query_id
stringlengths
1
4
query
stringlengths
11
185
positive_passages
listlengths
1
3
negative_passages
listlengths
0
30
3863
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ใด ?
[ { "docid": "31502#0", "text": "วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร (เดิมชื่อว่า วัดใหม่) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สถาปนาขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ 3[1]", "title": "วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร" } ]
[ { "docid": "84473#24", "text": "พลับพลาสมเด็จพระศรีสุริเยนทราฯ ตั้งอยู่ที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ปลูกอยู่ในสวนพระราชวังเดิม กล่าวกันว่า เป็นพลับพลาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงผนวชอยู่) ประทับเฝ้าเยี่ยมพระราชมารดา หลังจากสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีสวรรคตแล้วโปรดให้รื้อมาปลูกที่ริมคูด้านหน้าออกถนนพระสุเมรุ หน้าพระตำหนัก วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นอาสนศาลา ต่อมาจึงย้ายมาปลูกใหม่ในบริเวณตำหนักจันทร์ [17]", "title": "สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี" }, { "docid": "608595#1", "text": "พระธรรมบัณฑิต มีนามเดิมว่า อภิพล บุญส่ง เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2480 ที่ ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อนายธูป บุญส่ง โยมมารดาชื่อนางมูล บุญส่ง เมื่อครั้งวัยเยาว์ สำเร็จการศึกษาสายสามัญชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนในหมู่บ้าน จากนั้นเด็กชายอภิพลได้เดินทางเข้ามากรุงเทพมหานคร เพื่อบวชเรียน โดยเข้าพิธีบรรพชาเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร มีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงเข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พัทธสีมาวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลรัตนมุนี (แก้ว อตฺตคุตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระราชกวี (สนธิ์ กิจฺจกาโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังอุปสมบท ได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค อีกทั้งสนองงานแบ่งเบาภาระของเจ้าประคุณพระพรหมมุนีอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อย จนกระทั่งพระพรหมมุนีได้มรณภาพลง พระธรรมวราภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒโน) ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารสืบแทน ท่านก็ยังคงรับสนองงานเจ้าอาวาสรูปใหม่อยู่มิได้ขาด ต่อมาจึงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และเลขานุการเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ ฝ่ายธรรมยุตด้วยเมื่อปี พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยวิธีการเติมอากาศที่บึงพระราม 9 ซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ต่อมา ได้มีพระราชดำริให้ปรับปรุงพื้นที่และพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม 9 และมีพระราชประสงค์ให้ดำเนินการจัดตั้งวัดขึ้นในบริเวณชุมชนบึงพระราม 9 เพื่อเป็นทั้งพุทธสถานในการประกอบกิจของพระสงฆ์ในการสืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา", "title": "พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)" }, { "docid": "31502#6", "text": "ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า \"พระพุทธนาราวันตบพิตร\"[6]", "title": "วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร" }, { "docid": "4284#24", "text": "ในการเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระอารามที่สำคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารนั้น พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า \"ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง\" ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้[16]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "9140#5", "text": "หลังจากทรงสร้างเสร็จแล้ว ได้ทรงอาราธนาพระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว) หรือสามเณรสา ผู้สอบเปรียญธรรม 9 ประโยคได้ขณะเป็นสามเณร เป็นสามเณรนาคหลวง สายเปรียญธรรม รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. 2408 ปีฉลู ทรงกระทำการสมโภชทั้งเจ้าอาวาสและวัดใหม่เป็นเวลา 3 วัน", "title": "วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร" }, { "docid": "43286#2", "text": "สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ตั้งอยู่หน้าวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร", "title": "สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง" }, { "docid": "31502#7", "text": "นับตั้งแต่ใช้ชื่อวัดว่าวัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามแห่งนี้มีเจ้าอาวาสมาแล้วทั้งสิ้น 7 พระองค์/รูป[7] ได้แก่", "title": "วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร" }, { "docid": "31502#8", "text": "หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในพุทธศตวรรษที่ 24 หมวดหมู่:พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร หมวดหมู่:วัดไทยในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย หมวดหมู่:วัดในเขตพระนคร", "title": "วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร" }, { "docid": "31502#3", "text": "วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคตเสียก่อน ถึงวันที่ พฤษภาคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมวัดรังษีสุทธาวาสเข้าหาวัดบวรนิเวศวิหาร[5]", "title": "วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร" }, { "docid": "53236#3", "text": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือที่เรียกว่าวัดพระแก้ววังหน้า โดยที่พระองค์จะทรงสร้างอาคารใหญ่เป็นแบบพระมหาปราสาทมียอดสูง ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงห้ามไว้เนื่องจากไม่มีธรรมเนียมการสร้างอาคารมีเรือนยอดปราสาทในวังหน้ามาแต่ตั้งกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพยังทรงสร้างวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร (บวร หมายถึง วังหน้า, นิเวศ หมายถึง บ้านหรือวัง ความรวมจึงหมายความว่า วัดอันเป็นที่ประทับในวังหน้า นามวัดนี้รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานใหม่ให้เมื่อคราวรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชอยู่เป็นนัยว่า รัชกาลที่ 4 ทรงดำรงอยู่ในสถานะ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) โปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ล่องแพมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2372 อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การก่อสร้างวัดบวรนิเวศวิหารยังไม่เสร็จสิ้น ", "title": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ" }, { "docid": "599120#1", "text": "เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระบิดาได้ถวายไว้เล่าเรียนในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถึงรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อปีกุน พ.ศ. 2394 แล้วประทับอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นเปรียญธรรม 4 ประโยค ถึงปี พ.ศ. 2398 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธ์เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับพระนามฉายาว่า วุฑฺฒิสฺสโร ผนวชแล้วประทับอยู่วัดบวรนิเวศวิหารต่อมา ", "title": "หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา (สีขเรศ วุฑฺฒิสฺสโร)" }, { "docid": "191530#6", "text": "โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร ได้รับความเมตตาจากพระราชนันทาจารย์ (บุญชู ธมฺมสาโร) เจ้าคณะจังหวัดน่าน วัดพญาภู (พ.ศ. 2528) และนางสงวน เกษมสุวรรณ เจ้าของห้างขายยาลูกสาวหมอมี กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จัดสร้างพระพุทธรูป พระพุทธชินราชจำลองถวายแด่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เนื่องในวันเกิดเป็นประจำทุกปี ปีละ 12 องค์\nพ.ศ. 2528 ท่านได้จัดสร้างพระพุทธรูปโดยช่างบ้านช่างหล่อ กรุงเทพมหานคร และนำไปประกอบพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหารในขณะนั้น (ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นประธานในพิธี แล้วมอบให้แก่โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร", "title": "โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร" }, { "docid": "253913#0", "text": "สมเด็จพระวันรัต ฉายา พฺรหฺมคุตฺโต (นามเดิม:จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ผู้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพวรวิหาร", "title": "สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)" }, { "docid": "752758#3", "text": "หลังจากอุปสมบทได้ศึกษาที่วัดท่าโพธิ์ ถึงปี พ.ศ. 2454 พระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนทฺธโช) ได้ส่งไปศึกษากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปีนั้น หลังจากนั้นได้ติดตามพระอริยกระวี (เซ่ง อุตฺตโม) ในฐานะพระปลัดฐานานุกรมของท่านไปอยู่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ศึกษาต่อที่สำนักนั้นจนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยคในปี พ.ศ. 2456 และได้เปรียญธรรม 4 ประโยคในปี พ.ศ. 2458 แล้วหยุดสอบเพียงแค่นั้น เพื่อไม่ให้สูงกว่าอาจารย์คือพระรัตนธัชมุนี (ม่วง) ซึ่งได้เปรียญธรรม 4 ประโยคเช่นกัน ในปีนั้นท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูปริตรฐานานุกรมในสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ แล้วมีพระบัญชาให้ท่านไปเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร จนถึงปี พ.ศ. 2461 จึงย้ายกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ทำหน้าที่เลขานุการในสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ", "title": "พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ)" }, { "docid": "31502#1", "text": "พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์แห่งแรกในประเทศไทย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ วัดประจำรัชกาลที่ 9 (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)[2]", "title": "วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร" }, { "docid": "324573#12", "text": "ถึงปีวอก พ.ศ. 2379 เมื่อท่านมีพรรษา 11 อายุ 31 ปี ยังเป็นพระอันดับอยู่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนาเจ้าฟ้าพระมงกุฎไปครองวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และในสมัยนั้นพระสงฆ์วัดราชาธิวาสมีทั้งพระมหานิกายและพระธรรมยุตอยู่ด้วยกัน แต่อธิบดีสงฆ์เป็นมหานิกายจึงได้โปรดให้ท่านอยู่ครองฝ่ายธรรมยุตที่วัดราชาธิวาส ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหารเรียบร้อยแล้ว พระทับเพิ่งกลับจากธุดงค์ จึงโปรดให้ท่านเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ครั้งแรกท่านแปลได้ถึงเปรียญธรรม 7 ประโยค แล้วท่านไม่แปลต่อ ภายหลังจึงเข้าแปลอีกได้ 2 ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค", "title": "สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)" }, { "docid": "4261#10", "text": "วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2447 เวลาเช้า 3 โมงเศษ ทรงผนวชเป็นครั้งที่ 3 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ถึงเวลาบ่าย 4 โมงเย็น ได้ทรงทำทัฬหีกรรม ณ พระพุทธรัตนสถาน กับพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์พระองค์เดิม ผนวชแล้วประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[14] ถึงวันที่ 11 ธันวาคม ศกนั้น จึงทรงลาผนวช แล้วปฏิญาณพระองค์ถึงไตรสรณคมน์และรับศีล ยังทรงประทับในวัดบวรนิเวศวิหารต่อจนเช้าวันที่ 15 ธันวาคม จึงเสด็จฯ กลับ[15]", "title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "4236#13", "text": "พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายก และวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดเทพธิดารามวรวิหารและวัดราชนัดดารามวรวิหาร ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นต้น", "title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "888475#2", "text": "ปี พ.ศ. 2553 ท่านก็ได้ติดต่อกับคณะชมรมรักพระบรมพระสารีริกธาตุแห่งประเทศไทย อัญเชิญและรับพระบรมสารีริกธาตุมาจากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา มาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย เพื่อให้พุทธบริษัท 4 ได้สักการบูชาเป็นพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า เป็นบุญกุศลและศิริมงคลให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในบวรพระพุทธศาสนาต่อไป", "title": "วัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย" }, { "docid": "31502#4", "text": "วัดบวรนิเวศวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์เป็นพระประธาน คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศที่สยามมกุฎราชกุมาร", "title": "วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร" }, { "docid": "419833#6", "text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด เนื่องจากเห็นว่าวิหารที่ประดิษฐานพระศรีศาสดาอยู่เดิมนั้นชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก และไม่มีผู้ใดดูแลพระศรีศาสดา เพราะผลพวงจากสงครามอะแซหวุ่นกี้ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๘ คราวเมืองพิษณุโลกถูกเผา ประกอบกับพระศรีศาสดานี้มีลักษณะดีและมีความงดงาม ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)ทราบเรื่อง จึงให้อัญเชิญพระศาสดาจากวัดบางอ้อยช้างมาไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น \nต่อมาพุทธศักราช ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่ามีการชะลอพระศรีศาสดามายังกรุงเทพมหานคร จึงมีพระราชดำริว่าพระศาสดานั้นสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ ซึ่งเมื่อครั้งอยู่ ณ เมืองพิษณุโลกก็เคยประดิษฐานอยู่ ณ วัดเดียวกันมาก่อน ต่อมาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหารเช่นเดียวกับพระพุทธชินสีห์ เสมือนเป็นพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ แต่ยังมิได้สร้างสถานที่ประดิษฐานจึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังมุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามไปพลางก่อน ครั้นสร้างพระวิหารพระศาสดาจวนแล้วเสร็จจึงโปรดให้อัญเชิญพระศาสดามาประดิษฐาน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๗ ", "title": "พระศรีศาสดา" }, { "docid": "702554#2", "text": "ทว่าหลังมีการทดลองใช้ในกลุ่มพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย แต่จำเพาะในวัดบวรนิเวศราชวรวิหารเท่านั้น และไม่สู้แพร่หลายนัก เมื่อมิได้รับความนิยมอักษรนี้ก็เป็นอันยกเลิกไป มีบันทึกเพียงว่ามีการใช้อักษรอริยกะในการตีพิมพ์หนังสือปาฏิโมกข์ และหนังสืออื่น ๆ บ้าง นอกจากนี้ยังมีจารึกอักษรอริยกะที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารอีกแห่งหนึ่ง", "title": "อักษรอริยกะ" }, { "docid": "37917#9", "text": "หลังจากพระราชพิธีโสกันต์ผ่านพ้นไปแล้ว จึงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์ที่จะเสด็จไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ได้ผนวชเป็นสามเณรพร้อมกันตามโบราณราชประเพณี โดยวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 เวลาย่ำค่ำ มีการเวียนเทียนสมโภชทั้ง 4 พระองค์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เช้าวันรุ่งขึ้นแห่พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์จากพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ไปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผนวชเป็นสามเณรโดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในคืนนั้นพระองค์เจ้าสามเณรทั้ง 4 พระองค์ทรงประทับแรมที่พระพุทธปรางค์ปราสาท เช้าวันถัดมาพระองค์เจ้าสามเณรทรงรับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง เวลาย่ำค่ำจึงเสด็จไปอยู่ที่ตำหนักในวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[8] ถึงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 ทั้ง 4 พระองค์จึงทรงลาผนวช ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร[9]", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์" }, { "docid": "277254#0", "text": "พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร", "title": "พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)" }, { "docid": "56255#21", "text": "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร", "title": "กฐิน" }, { "docid": "41350#0", "text": "ดร. พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) เป็นพระภิกษุชาวเนปาล บวชเป็นสามเณรในประเทศเนปาล และมาศึกษาพระธรรม ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ซึ่งเมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วทรงให้การอุปถัมภ์มาตั้งแต่เป็นสามเณร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย", "title": "พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย)" }, { "docid": "6117#5", "text": "ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษา และได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี” จนกระทั่งพระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำในธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2477) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์", "title": "สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)" }, { "docid": "6103#3", "text": "ได้มีการส่งสมณทูตไปลังกาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2387 โดยทางเรือและเดินทางกลับในปีเดียวกัน พร้อมกับ ได้ยืมหนังสือพระไตรปิฎกมาอีก 30 คัมภีร์ พร้อมทั้งมีภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ชาวลังกา ติดตามมาด้วยกว่า 40 คน การที่มีพระสงฆ์ชาวลังกาเดินทางเข้ามาสยามบ่อยครั้ง จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ขณะผนวชและเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร รับภาระต้อนรับดูแลพระสงฆ์ชาวลังกา ดังนั้น วัดบวรนิเวศจึงมีหมู่กุฎีไว้รับรองพระสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่า คณะลังกา", "title": "สมเด็จพระอริยวงษญาณ (นาค)" }, { "docid": "951706#2", "text": "เมื่ออายุได้ 10 ปี บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ณ วัดศรีสำราญ ตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี และบรรพชาอีกครั้ง เมื่ออายุ 15 ปี ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร โดยมี สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์", "title": "พระเทพปริยัติวิมล (แสวง ธมฺเมสโก)" } ]
3864
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกคนที่เท่าไหร่ของประเทศไทย ?
[ { "docid": "220726#0", "text": "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น: ตู่, เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) เป็นนายทหารเกษียณอายุราชการชาวไทย ปัจจุบันเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่ปีนั้น เขายังเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งดังกล่าว 3 เดือน 2 วัน ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่มีรักษาการนายกรัฐมนตรี", "title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" } ]
[ { "docid": "292465#0", "text": "สนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนแรก อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี(ดร.ทักษิณ ชินวัตร) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรีหลายสมัย", "title": "สนธยา คุณปลื้ม" }, { "docid": "828130#8", "text": "วีระศักดิ์ ฟูตระกูล อดีตผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เช่นเดียวกับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ในปี พ.ศ. 2557 เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2558 - 2559 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559", "title": "วีระศักดิ์ ฟูตระกูล" }, { "docid": "622642#12", "text": "วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ในประชุมร่วม 7 ฝ่าย เพื่อหาทางออกของประเทศครั้งที่ 2 ตามประกาศกอ.รส. ฉบับที่ 8/2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในที่ประชุม ระหว่างการประชุม พลเอก ประยุทธ์ เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางที่เห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ หลังจากเวลาผ่านไปสองชั่วโมงก็ไม่มีข้อยุติ ต่อมา สุเทพ เทือกสุบรรณ กับ จตุพร พรหมพันธุ์ แยกไปหารือเป็นการส่วนตัว ขณะเดียวกัน พลเอก ประยุทธ์ก็ได้หารือกับผู้บัญชาการเหล่าทัพไปพร้อม ๆ กัน[28] เมื่อกลับมาหารือกันต่อ ประยุทธ์ได้สอบถาม ชัยเกษม นิติสิริ ในฐานะหัวหน้าตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ว่ารัฐบาลยืนยันไม่ลาออก ทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช่หรือไม่ ซึ่งชัยเกษม ระบุว่า นาทีนี้ไม่ลาออก และต้องการดำเนินการต่อจนกว่าจะครบวาระตามกฎหมาย [29]ประยุทธ์จึงตอบกลับว่าจะยึดอำนาจการปกครองด้วยประโยคที่ว่า \"หากเป็นแบบนี้ ผมขอโทษด้วยนะที่ต้องยึดอำนาจ\"[30] และสั่งจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรี ตลอดจนแกนนำ กปปส., นปช. และพรรคการเมืองที่เข้าร่วมเจรจา ทั้งหมดถูกนำไปกักขัง[31] ที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[32] ต่อมา เวลา 16:30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศตั้ง \"คณะรักษาความสงบแห่งชาติ\" (คสช.) ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการทันที รวมถึงให้กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) หมดอำนาจ แต่คำสั่งต่าง ๆ ยังมีผลต่อเนื่องอยู่[33]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557" }, { "docid": "220726#44", "text": "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาสมรสกับรองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีธิดาฝาแฝด 2 คน คือ ธัญญาและนิฏฐา จันทร์โอชา ซึ่งทั้งสองสำเร็จการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย(โดยใช้เวลาเรียน 3 ปีครึ่ง) และทั้งคู่เคยออกอัลบั้มเพลงร่วมกับ นิค นิติญา อ่ำสกุล เป็นวงดนตรีทริโอหญิงในนามวง BADZ วงดนตรีแนวพังก์ในสังกัดย่อยจีโนม เรคคอร์ด สังกัดอาร์เอส[106][107]", "title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" }, { "docid": "644214#66", "text": "มีรายชื่อรัฐมนตรีหลายคนที่เคยดำรงตำแหน่งในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและ กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน อาทิ วันที่ 30 สิงหาคม 2557 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ปรากฏว่า ดร.พรชัย รุจิประภา สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ กรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[87] ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี วันที่ 15 ธันวาคม 2559 รัฐบาลแต่งตั้งวีระศักดิ์ ฟูตระกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย วีระศักดิ์ เป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เช่นเดียวกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 รัฐบาลแต่งตั้ง นายกองเอก วิเชียร ชวลิต เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เขาเคยดำรงตำแหน่ง กรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61" }, { "docid": "623865#1", "text": "พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของ พันเอก ประพัฒน์ กับนางเข็มเพชร จันทร์โอชา มีชื่อเล่นว่า \"ติ๊ก\" สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า \"บิ๊กติ๊ก\" เป็นน้องชายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา สมรส กับ นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา มีบุตร ชื่อ ว่าที่ ร.ต.ปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา นายทหารสังกัดกองทัพภาคที่ 3 โรงเรียนเตรียมทหารได้มอบรางวัลเกียรติยศจักรดาว ให้พลเอกปรีชา ในปี 2559 และ ในปี พ.ศ. 2560 องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้มอบ เหรียญเกียรติคุณชั้นที่ 1 ให้แก่ พลเอก ปรีชา ", "title": "ปรีชา จันทร์โอชา" }, { "docid": "220726#5", "text": "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2497 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก(พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู[10][11] พลเอก ประยุทธ์มีชื่อเล่นว่า \"ตู่\" หรือที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า \"บิ๊กตู่\" เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน[12] ได้แก่ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ,ประคัลภ์ จันทร์โอชา และพลอากาศโทหญิงประกายเพชร จันทร์โอชา ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ [13][14]", "title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" }, { "docid": "206205#97", "text": "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของ ประเทศไทย, ผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหาร, หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอดีต ผู้บัญชาการทหารบก", "title": "โรงเรียนวัดนวลนรดิศ" }, { "docid": "46542#0", "text": "หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 17 อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์และประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง", "title": "หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล" }, { "docid": "220726#16", "text": "หลังรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้นำคณะยึดอำนาจที่มีภาพลักษณ์ไม่เหมือนผู้นำคณะยึดอำนาจ คนอื่นๆ กล่าวคือ สื่อมวลชนมักเรียกพลเอกประยุทธ์ อย่างน่ารักน่าเอ็นดูว่า \"ลูงตู่\" และดารานักร้อง ฯลฯ มักชมว่าเป็น \"คนน่ารัก ตลก\" ซึ่งผิดกับภาพลักษณ์ผู้นำคณะยึดอำนาจที่เป็นทหารที่เคยผ่านๆมา", "title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" }, { "docid": "1000228#0", "text": "ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร เกิดวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นทหารคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนายกสภาทนายความ (ประเทศไทย) ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสยาม อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความ", "title": "ถวัลย์ รุยาพร" }, { "docid": "643126#0", "text": "รองศาสตราจารย์ นราพร จันทร์โอชา (สกุลเดิม: โรจนจันทร์; เกิด: 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497) รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3 ในคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ตามพระราชโองการ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร\nอดีตนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก อดีตอาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นภรรยาของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ", "title": "นราพร จันทร์โอชา" }, { "docid": "131412#0", "text": "นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานคณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาและประธานกรรมการกีฬาอาชีพ รองประธานกรรมการคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในคณะรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตประธานกรรมการบริหารบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด", "title": "กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร" }, { "docid": "830829#0", "text": "นายกองเอก วิเชียร ชวลิต นักการเมืองไทย สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตสมาชิก สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลขาธิการคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค", "title": "วิเชียร ชวลิต" }, { "docid": "220726#4", "text": "ใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะที่ประเทศไทยเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสมัยแรก", "title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" }, { "docid": "334868#0", "text": "ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายกสมาคมอัสสัมชัญ (สมาคมศิษย์เก่า) คนปัจจุบัน ประธานกรรมการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานอำนวยการและรองประธานกรรมการสถาบันคีนันแห่งเอเซีย", "title": "ปิยะบุตร ชลวิจารณ์" }, { "docid": "364627#0", "text": "ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2489 กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคนที่ 16 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รักษาการรัฐมนตรีว่าการฯ) และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย", "title": "ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์" }, { "docid": "644214#2", "text": "เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 18:03 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[2]ในการนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณว่า “ข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อ ประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”[3]", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61" }, { "docid": "220726#2", "text": "ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 และเกี่ยวข้องกับการประท้วงต่อรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ พลเอกประยุทธ์อ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[4] และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหารต่อรัฐบาลและควบคุมประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินับแต่นั้น[5] สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับพลเอกประยุทธ์วางแผนโค่นพันตำรวจโททักษิณตั้งแต่ปี 2553[6] ซึ่งพลเอกประยุทธ์ปฏิเสธข่าวนี้ ต่อมา เขาออกรัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งให้อำนาจครอบคลุมแก่คณะผู้ก่อการ[7] และนิรโทษกรรมคณะฯ สำหรับรัฐประหาร วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูกเลือกมา และส่วนใหญ่เป็นนายทหาร[8]", "title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" }, { "docid": "220726#36", "text": "วันที่ 29 มีนาคม 2559 พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า \"จะมาบอกว่าเป็นนายกฯแล้วต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าพวกคุณเลือกผมมา คุณจะสั่งผมอย่างไรผมจะทำให้ แต่นี่ไม่ได้เลือกผมสักคน\"[90]", "title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" }, { "docid": "622642#8", "text": "วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 03:30 น. กำลังทหารพร้อมอาวุธ เข้าควบคุมสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ทั้งภาคพื้นดินและผ่านดาวเทียมหลายช่อง ตามคำสั่งประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ขอให้เชื่อมสัญญาณออกอากาศจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5[20] ต่อมา เวลา 06:30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ออกประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ กอ.รส. และออกคำสั่ง 12 ฉบับ (ยกเลิก 1 ฉบับ) [20][21]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557" }, { "docid": "644214#67", "text": "ภายใต้รัฐบาลนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาแย่ลงกว่ารัฐบาลก่อน อาทิ กรณีการประท้วงนายกลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย [88]รัฐบาลเลือกที่จะเพิกเฉยมากกว่าใช้กฎหมายการชุมนุมทางการเมืองมากกว่า 5 คน รัฐบาลเลือกที่จะเพิกเฉยต่อบุคคลชาวอเมริกาที่ได้รับข้อกล่าวหาร้ายแรงจากชาวไทยเช่น กรณีกล่าวหา จอร์จ โซรอส ว่าแทรกแซงการเมืองไทย สื่อสารมวลชนไทย โดยให้เงินบริจาคสื่อ ประชาไท ที่รับทราบว่าเป็นสื่อตรงข้ามรัฐบาล[89] ประชาชนชาวไทยรับทราบผ่านสื่อต่างๆ ว่าคณะรัฐมนตรีมีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีนและประเทศรัสเซีย[90]ตัวอย่างเช่นการเยือนทางมาไทยของนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ดมีตรี เมดเวเดฟ ซึ่งเป็นการเดินทางระดับนายกรัฐมนตรีรัสเซียในรอบ 25 ปี[91]และการบินไทยได้เปิดเส้นทางบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโวรัสเซียอีกครั้งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ด้าน สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งรองประธานาธิบดี นาย หลี่ หยวนเฉา เข้าพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นการเยือนระดับ รองประธานาธิบดีในรอบ 5 ปี[92]เขาเดินทางมาอีกครั้งในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ เข้าพบ นาย ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา[93] ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกัมพูชา นายฮุน มานี สมาชิกสภาแห่งชาติกัมพูชา[94]มาเยือน ประเทศไทยและเข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61" }, { "docid": "490434#0", "text": "ศาสตราจารย์ ดุสิต เครืองาม (เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2501) เป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ นักธุรกิจออกแบบและก่อสร้างโซลาร์ฟาร์ม โซลาร์รูฟ หลายสิบเมกะวัตต์ มีผลงานมากมายทั้งด้านวิชาการและด้านอุตสาหกรรม ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยโซลาร์ฟืวเจอร์ จำกัดนายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ", "title": "ดุสิต เครืองาม" }, { "docid": "703969#0", "text": "อิทธิพล คุณปลื้ม ชื่อเล่น: ติ๊ก (15 ธันวาคม พ.ศ. 2516 — ) กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี อยู่ในบังคับบัญชา รมว.ท่องเที่ยวและกีฬาในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นักการเมืองชาวไทย อดีตนายกเมืองพัทยา เกิดที่จังหวัดชลบุรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 2 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2551 สังกัดพรรคชาติไทย, พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ", "title": "อิทธิพล คุณปลื้ม" }, { "docid": "925904#12", "text": "เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561 เฌอปรางได้รับเชิญจากรัฐบาลให้เป็นพิธีกรรับเชิญในรายการเดินหน้าประเทศไทย พร้อมกับดาราศิลปินอีกหลายคน โดยเธอได้เดินทางเข้าพบกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นการขอบคุณแด่เฌอปราง และดาราศิลปินคนอื่นที่ได้เข้าพบ[23] ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เธอได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมากทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการร่วมทำงานกับรัฐบาล เพราะการตัดสินใจร่วมงานครั้งนี้ของเธอ อาจเป็นการเลือกข้างทางการเมือง ซึ่งก่อนหน้านี้เฌอปรางและสมาชิก BNK48 บางส่วน ได้เข้าพบพลเอกประยุทธ์ ที่ทำเนียบรัฐบาลมาแล้ว เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์สถานีวิทยุเพื่อครอบครัวของรัฐบาลด้วย อย่างไรก็ตาม ภายหลังต้นสังกัดได้ออกมาชี้แจงว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด[24] ด้านเฌอปรางได้ให้สัมภาษณ์ว่าการวิจารณ์เหล่านั้นเป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคล เพราะตนก็มีจุดยืนของตัวเอง และการรับงานนั้นก็ปรึกษาผู้ใหญ่อยู่ตลอดเวลา ส่วนกระแสที่เข้ามานั้นก็มีความกังวลบ้าง แต่ก็ยังมีการให้กำลังใจจากทุกคนอยู่[25]", "title": "เฌอปราง อารีย์กุล" }, { "docid": "106662#0", "text": "ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา เป็นข้าราชการชาวไทย ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอดีตนายกสภาและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ", "title": "จรัส สุวรรณเวลา" }, { "docid": "220726#32", "text": "วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เว็บไซต์ประชาไทรายงานว่า พลเอกประยุทธ์กล่าวตอนหนึ่งว่า จะส่งเสริมให้คนทั้งโลกกินข้าว ขนมจีน กินขนมปังแล้วจะอ้วน[83] วันเดียวกัน เว็บไซต์รัฐบาลไทยรายงานว่า พลเอกประยุทธ์ว่า อุทกภัยในภาคใต้เป็นเรื่องปกติ ปีหนึ่งเกิดสี่ครั้ง เกิดจากน้ำเหนือไหลผ่านภาคกลางลงสู่ภาคใต้[84] ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เขากล่าวตอนหนึ่งว่า ถ้าอยากมีรถไฟทางคู่ มีรถใหม่ มีรถความเร็วสูงเหมือนต่างประเทศ ให้หาเงินมา[85]", "title": "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" }, { "docid": "711112#3", "text": "แบดซ์ (Badz) ประกอบสมาชิกทั้งหมด 3 คนด้วยกันคือ นิค - นิติญา อ่ำสกุล (ร้องนำ) ซึ่งผ่านการประกวดร้องเพลงและได้รับรางวัลจากเวที สตาร์ ชาเลนจ์ ปี 2003, พลอย - ธัญญา จันทร์โอชา (กีตาร์) และ เพลิน - นิฏฐา จันทร์โอชา (เบส) สองพี่น้องฝาแฝดลูกสาวของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย", "title": "แบดซ์ (วงดนตรี)" }, { "docid": "22364#16", "text": "ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เขากล่าวให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระวังเกิดปฏิวัติซ้ำ [14] ต่อมาในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เขากล่าวตอนนึงว่า การบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ทำให้เศรษฐกิจดีหรือไม่นั้นต้องไปถามประชาชนว่ากินอิ่ม นอนหลับหรือไม่ ถ้าหากประชาชนยังไม่มีกินก็ต้องไปแก้ปัญหาตรงนี้ [15] ซึ่งนับเป็นปัญหาของทุกรัฐบาล ในขณะที่ คุณหญิง พันธุ์เครือ ยงใจยุทธ แสดงความเห็นว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความเคารพ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ต่อมาวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 พลเอก ชวลิต เสนอให้มีการถวายคืนพระราชอำนาจเพื่อเป็นทางออกของประเทศ[16]", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" } ]
3865
นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีไทยเมื่อปี พ.ศ. ใด ?
[ { "docid": "63252#2", "text": "ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไป ผลปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่ง นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทยที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้นยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554[3]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" } ]
[ { "docid": "385709#1", "text": "ก่อนการลงมติ พรรคเพื่อไทยได้มีการประชุมสมาชิกพรรค และมีมติให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นตัวแทนพรรคในการชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้แสดงเจตจำนงที่จะไม่เสนอชื่อผู้ใดเข้าชิงตำแหน่ง", "title": "การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2554" }, { "docid": "333439#5", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2554 ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่ง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557", "title": "สุชน ชามพูนท" }, { "docid": "432359#0", "text": "พลตำรวจตรี ธวัช บุญเฟื่องเกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2492 อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง อดีตผู้รักษาการเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 8 และเป็นนักเรียนเตรียมทหาร 10 รุ่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร", "title": "ธวัช บุญเฟื่อง" }, { "docid": "381772#0", "text": "บัณฑูร สุภัควณิช (13 เมษายน พ.ศ. 2492 -) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และอดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ", "title": "บัณฑูร สุภัควณิช" }, { "docid": "202656#2", "text": "ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย", "title": "ชัยสิทธิ์ ชินวัตร" }, { "docid": "157635#2", "text": "หลังจากพ้นเวลา 5 ปี ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกตำแหน่งหนึ่ง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556", "title": "วราเทพ รัตนากร" }, { "docid": "296109#4", "text": "ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) และถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (กิตติรัตน์ ณ ระนอง)", "title": "ศันสนีย์ นาคพงศ์" }, { "docid": "182795#0", "text": "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ เป็นอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคไทยรักไทย และเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง", "title": "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ" }, { "docid": "371185#7", "text": "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคพลังประชาชน และต่อมาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย จนกระทั่งในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ในเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้มีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค แทนนายสุพล ฟองงามที่ลาออกไปก่อนหน้านั้น ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากนั้นจึงได้ลาออกจากการเป็น ส.ส.ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)", "title": "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" }, { "docid": "63252#11", "text": "เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ในราวปลายปี พ.ศ. 2551 และหลังจากนั้นก็มี ส.ส.กับสมาชิกพรรคจำนวนมาก ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย ยิ่งลักษณ์ก็เป็นทางเลือกแรกของทักษิณ ที่จะให้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธโดยกล่าวว่า ตนไม่เคยต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรี และเพียงแต่สนใจจะทำธุรกิจของตนเท่านั้น โดยเธอจะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นบางครั้ง เฉพาะเมื่อทางพรรคส่งจดหมายเชิญเท่านั้น[12] ยงยุทธ วิชัยดิษฐจึงได้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแทน และในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมกับพวกอีก 28 คน ในคดีโครงการรับจำนำข้าว โดยมีข้อกล่าวหาว่าปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริตโดยไม่ยับยั้ง ซึ่งศาลได้นัดพิจารณาคดีในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลา 9.00 น. ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่ได่เดินทางไปฟังคำพิพากษาจนกระทั่งนำไปสู่การออกหมายจับ กลายเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง[13]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "195718#5", "text": "ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกรสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 15 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ ณัฎฐ์ บรรทัดฐาน บุตรชายของ บัญญัติ บรรทัดฐาน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แทนนางสาวอนุตตมา อมรวิวัฒน์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เข้ามาควบคุมอำนาจการบริหารประเทศ", "title": "ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ" }, { "docid": "306281#0", "text": "เลิศ ชินวัตร (พ.ศ. 2462-23 ตุลาคม พ.ศ. 2540) อดีตนักการเมืองชาวเชียงใหม่ เป็นบิดาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 และนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ", "title": "เลิศ ชินวัตร" }, { "docid": "237288#4", "text": "มีการวิจารณ์จากสื่อมวลชนว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พยายามที่จะตอบแทนตำแหน่งให้เนื่องจากในสมัยที่นาย ชัยเกษม นิติสิริ ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ฟ้องร้อง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและยังเป็นหนึ่งในฐานะกรรมการกฤษฎีกาที่ได้ร่วมทำคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 568-569/2549 เกี่ยวกับโครงการสลากพิเศษแบบเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวรวมทั้งสั่งไม่ฟ้อง การทุจริตในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และตำแหน่ง ประธานกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556", "title": "ชัยเกษม นิติสิริ" }, { "docid": "530858#1", "text": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร เกิดวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรคนโตของนายเลิศ ชินวัตร กับนางยินดี ชินวัตร มีน้อง 9 คน ได้แก่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร), นางเยาวเรศ ชินวัตร (สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์), นางปิยนุช (สมรสกับนายสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ), นายอุดร ชินวัตร, นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (สมรสกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์), นายพายัพ ชินวัตร (สมรสกับนางพอฤทัย จันทรพันธ์), นางมณฑาทิพย์ (สมรสกับนายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล), นางทัศนีย์ ชินวัตร และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร) ", "title": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "190640#0", "text": "ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 — ) ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นบุตรสาวของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และยังเป็นหลานสาวของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ของไทย ปัจจุบันศึกษาปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง", "title": "ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์" }, { "docid": "315905#12", "text": "กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้เคยเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงปลายรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยได้ออกมาเคลื่อนไหวค้ดค้านในหลายเรื่อง อาทิ การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราที่จะช่วยนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองที่ผ่านมา หรือการรวบรวมรายชื่อเพื่อกล่าวโทษนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น จากกรณีให้ความเท็จแก่ศาลในคดีจงใจปกปิดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น", "title": "กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" }, { "docid": "464000#3", "text": "พรรคเพื่อไทย มีมติส่ง นายเกษม นิมมลรัตน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยมีการแถลงเปิดตัวในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2555" }, { "docid": "63252#0", "text": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (; เกิดวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28, นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทย ด้วยวัย 44 ปี จัดว่าเป็นนายกรัฐมนตรีไทยซึ่งอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี[1][2], กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม และ เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนยศนายกองใหญ่", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "346017#4", "text": "พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา เข้าสู่งานการเมืองโดยการร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2544 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 23 และได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. เพื่อเปิดทางให้ผู้สมัครในลำดับถัดได้เลื่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และจากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 พลเอกยุทธศักดิ์เป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 4 แต่ในเดือนตุลาคมของปี พ.ศ. 2555 ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี และได้กลับเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ซึ่งมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ", "title": "ยุทธศักดิ์ ศศิประภา" }, { "docid": "78600#6", "text": "เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2548) ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 และ เสริมศักดิ์ ได้เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553 ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)", "title": "เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช" }, { "docid": "491099#4", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร", "title": "ทศพร เสรีรักษ์" }, { "docid": "386578#3", "text": "เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 เวลาประมาณ 17:27 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รวม 36 คน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ในการนี้ พระราชทานพระบรมราโชวาทว่า\nนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23-25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งประกอบด้วยนโยบายเร่งด่วน และนโยบายด้านต่าง ๆ คือเนื่องจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความแออัด จำนวนผู้โดยสารมากเกินขีดจำกัดของสนามบิน ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 รัฐบาลจึงได้มีคำสั่งให้สายการบินต้นทุนต่ำทั้งหมด ย้ายฐานการบินไปที่ท่าอากาศยานดอนเมืองดังเดิมภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 และได้ยกระดับท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นท่าอากาศยานระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้ปรับปรุงท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองให้มีความทันสมัย และขยายขีดความสามารถรับผู้โดยสารได้เป็น 30 ล้านคนต่อปี จากเดิม 18.5 ล้านคนต่อปี", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60" }, { "docid": "381772#4", "text": "ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555", "title": "บัณฑูร สุภัควณิช" }, { "docid": "463564#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 นายปกรณ์ เป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี และเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2555 โดยสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 และเป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่สื่อมวลชนให้ความสนใจว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ในที่สุดเขาไม่ได้เข้ารับตำแหน่งแต่อย่างใด", "title": "ปกรณ์ บูรณุปกรณ์" }, { "docid": "57369#0", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง แกนนำพรรคเพื่อไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝั่งธนบุรีหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตรองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคมวลชน ระหว่างวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ ตามคำสั่งคำสั่งที่ พิเศษ 1/2557 เรื่องจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ โดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2556[1]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "253586#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2551 ดร.โอฬาร ได้แต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของไทย ที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ดร.โอฬาร ยังเป็นคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย และะได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานผู้แทนการค้าไทย เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555", "title": "โอฬาร ไชยประวัติ" }, { "docid": "386779#0", "text": "นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย", "title": "กฤษณา สีหลักษณ์" }, { "docid": "113428#2", "text": "นายสุชน ชาลีเครือ เป็นหัวหน้าพรรคไทยรวมไทย พรรคการเมืองที่แจ้งเปลี่ยนชื่อมาจากพรรครักษ์แผ่นดินไทย เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556", "title": "สุชน ชาลีเครือ" }, { "docid": "764149#1", "text": "ไพบูลย์เป็นสมาชิกวุฒิสภาสองวาระ โดยวาระแรกจากการสรรหาภาครัฐ ดำรงตำแหน่งเต็มวาระ ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2554 และวาระที่สองจากการสรรหาภาคอื่น ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2555 - 2557 ในระหว่างการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เขาได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและประสานงานกลุ่ม 40 สว. ทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูง ตามกระบวนการภายใต้รัฐธรรมนูญ ในหลายรัฐบาล เพื่อให้ระบอบการปกครองอยู่ภายใต้หลักนิติรัฐ นิติธรรม และเป็นที่พึ่งของประชาชนต่อไปเดือนมีนาคม 2557 ไพบูลย์ นิติตะวันเป็นผู้ยื่นคำร้องฟ้องยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในคดีการโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 9 คน ที่ร่วมมีมติครม.ดังกล่าวให้พ้นจากตำแหน่งและสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 10 คน ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2557", "title": "ไพบูลย์ นิติตะวัน" }, { "docid": "386578#2", "text": "ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 แล้วนั้น บัดนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี (ตามรายนามข้างล่าง) ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60" } ]
3867
มิก้า ชูนวลศรี เริ่มเข้าวงการฟุตบอลเมื่อไหร่?
[ { "docid": "262037#3", "text": "มิก้าเริ่มเล่นฟุตบอลตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เมื่อย้ายจากเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปอยู่ที่เวลส์ [4]โดยเล่นอยู่ในทีมชุดเยาวชนของสโมสรคาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ ในปี 2005 และอยู่ในทีมชุดเยาวชนของสโมสรนาน 2 ปี ก่อนจะถูกคาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ ปล่อยตัวออกจากทีมชุดเยาวชนในเดือนสิงหาคม ปี 2007", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" } ]
[ { "docid": "262037#2", "text": "มิก้า ชูนวลศรี เกิดวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2532 ที่เมืองบริดเจนด์, เวลส์ สหราชอาณาจักร [1] มีพ่อชื่อ ชรินทร์ ชูนวลศรี เป็นอดีตนักฟุตบอลของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีแม่ชื่อเอเรียต[2] [3]เมื่ออายุได้ 1 ขวบพ่อของเขาได้พามาอยู่เมืองไทยที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนถึงอายุ 10 ขวบ จึงกลับไปที่เวลส์อีกครั้งหนึ่ง มิก้าเคยศึกษาที่ University of Glamorgan ในเซาธ์ เวลส์ แต่ย้ายมาอยู่เมืองไทยขณะเรียนได้ 2 ปี", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#24", "text": "มิก้า กลับมาเป็นตัวจริงของทีมอีกครั้งในยุคของ มาโน โพลกิ้ง แต่ผลงานในลีกของทีมกลับไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับทีมตกรอบโตโยต้า ลีกคัพ 2014 ตั้งแต่รอบ 32 ทีมสุดท้าย ทำให้ มาโน โพลกิ้ง ถูกปลดในเดือนพฤษภาคม [27]", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#30", "text": "มิก้า ได้ลงสนามในคิงส์คัพนัดแรก เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2015 นัดที่พบกับทีมชาติฮอนดูรัส ชุด U-20 ที่สนามเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา โดยลงเล่นเป็นตัวจริงและพาทีมชาติไทยชนะไป 3-1 [34] แต่เนื่องจากการแข่งขันรายการดังกล่าวไม่ได้รับการรับรองจากฟีฟ่า จึงยังไม่นับเป็นสถิติในการลงเล่นให้ทีมชาติชุดใหญ่", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#33", "text": "ไทยพรีเมียร์ลีก:แชมป์ (ฤดูกาล 2009) ไทยพรีเมียร์ลีก:แชมป์ (ฤดูกาล 2020)", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#0", "text": "มิก้า ชูนวลศรี (English: Mika Chunuonsee) นักฟุตบอลลูกครึ่งไทย-เวลส์ ของสโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด ในไทยพรีเมียร์ลีก สวมเสื้อหมายเลข 16 และเล่นในตำแหน่งกองหลัง", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#22", "text": "มิก้า ชูนวลศรีลงสนามให้สุพรรณบุรีในฤดูกาล 2013 ทั้งหมด 18 นัด (ในไทยพรีเมียร์ลีก 17 นัด ลีกคัพ 1 นัด) และยิงในลีกได้ 1 ประตู โดยสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 อย่างเหนือความคาดหมาย", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#32", "text": "ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 43 ปี พ.ศ. 2558:รองชนะเลิศ", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#9", "text": "มิก้า ได้รับโอกาสลงสนามให้สโมสรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน ในการแข่งขันลีกดิวิชั่น 1 ที่เปิดบ้านแพ้ให้กับสมาคมกีฬาไทยฮอนด้า 0–1 ที่สนามกีฬาสโมสรศุลกากร (ลาดกระบัง 54) และยิงประตูแรกในลีกดิวิชั่น 1 ได้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ในนัดที่เปิดบ้านเฉือนชนะสโมสรอาร์แบค เอฟซี 4–3 [11]โดยประตูดังกล่าวถือเป็นประตูแรกที่มิก้า ยิงได้ในลีกของประเทศไทย และมายิงในลีกได้อีกครั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน ในนัดที่ถล่มสโมสรนราธิวาส เอฟซีไปถึง 7–0 ที่สนามกีฬาสโมสรศุลกากร [12]", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#19", "text": "หลังจบฤดูกาล 2012 มิก้า ชูนวลศรี ได้รับความสนใจจากทีมระดับไทยพรีเมียร์ลีกหลายทีม โดยในเดือนพฤศจิกายน ปี 2012 สโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี ได้ซื้อตัวมิก้ามาร่วมทีมด้วยค่าตัว 2 ล้านบาท[23] ทำให้มิก้าได้เล่นในลีกสูงสุดอีกครั้งในไทยพรีเมียร์ลีก 2013 ได้รับเบอร์เสื้อหมายเลข 16 และลงเล่นภายใต้การคุมทีมของพยงค์ ขุนเณร โดยลงสนามให้สุพรรณบุรี เอฟซี นัดแรกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ปี 2013 ในไทยพรีเมียร์ลีก ที่สุพรรณบุรี เสมอกับ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 1–1 ที่สนามนิวไอโมบายสเตเดียม", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#16", "text": "เดือนมีนาคม ปี 2012 มิก้า ชูนวลศรี ย้ายมาเล่นในระดับดิวิชั่น 1 อีกครั้ง กับสโมสรบางกอก เอฟซี ที่มีทองสุข สัมปหังสิต เป็นผู้ฝึกสอนอยู่ในขณะนั้น โดยได้รับเสื้อหมายเลข 16 [17] หลังจากย้ายมาร่วมทีม มิก้า ซึ่งยังไม่หายจากอาการบาดเจ็บที่ได้รับตั้งแต่สมัยเล่นให้บีอีซี เทโรศาสน ไม่สามารถลงช่วยทีมในช่วงแรกได้ [18]โดยมิก้า ชูนวลศรีได้ลงสนามในดิวิชั่น 1 ให้บางกอก เอฟซี เป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน ปี 2012 ในนัดที่เสมอกับสโมสรสงขลา เอฟซี ที่สนามศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ (บางมด) ไป 1–1 โดยเป็นตัวสำรองที่ถูกส่งลงมาในครึ่งหลัง [19]", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#29", "text": "เดือนมกราคม 2015 มิก้า ชูนวลศรี ได้มีโอกาสติดทีมชาติครั้งแรกในรายการฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 43 จากเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย หลังจาก อดิศร พรหมรักษ์ ซึ่งเป็นตัววางได้รับอาการบาดเจ็บ[33]", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#4", "text": "หลังถูกคาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ ปล่อยตัว มิก้า ชูนวลศรี ก็ได้เซ็นสัญญาเข้าร่วมทีม เบรนทิเรียน แอธเลติก ในระดับเวลส์ลีก ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2007–2008 โดยลงเล่นเป็นกองกลาง และสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 5 ในลีก", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#13", "text": "ในฤดูกาล 2011นี้ มิก้าได้เปลี่ยนมาเล่นในตำแหน่งกองหลัง (แบ็คขวาและเซ็นเตอร์ฮาล์ฟ) โดยเป็นผู้เล่นตัวหลักและลงสนามอย่างต่อเนื่อง จากนั้นในเดือนมิถุนายน 2011 สโมสรได้เปลี่ยนแปลงผู้ฝึกสอนเป็นพยงค์ ขุนเณร [15] ซึ่งมิก้า ก็ยังรักษาตำแหน่งตัวจริงในทีมไว้ได้เช่นเดิม", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#11", "text": "แม้มิก้าจะพาทีมศุลกากรเลื่อนชั้นไม่สำเร็จ แต่ด้วยผลงานที่โดดเด่นในระดับดิวิชั่น 1 ทำให้หลังจบฤดูกาล 2010 สโมสรบีอีซี เทโรศาสน เซ็นสัญญาคว้าตัวมิก้า ชูนวลศรี ไปร่วมทีมในเดือนตุลาคม [13] โดยลงเล่นภายใต้การคุมทีมของปีเตอร์ บัตเลอร์ โค้ชชาวอังกฤษ และได้รับเสื้อหมายเลข 16", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#15", "text": "มิก้า ชูนวลศรี ลงสนามในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาลนี้ 24 นัด และพาสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 7", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#14", "text": "วันที่ 3 ธันวาคม มิก้า ได้รับบาดเจ็บหนักที่เอ็นหัวเข่าจากการถูกประวีณวัช บุญยงค์เข้าสกัด ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก นัดที่พบกับสโมสรบางกอกกล๊าส ที่ลีโอสเตเดียม[16] โดยต้องเข้ารับการผ่าตัดและพักยาวจนจบฤดูกาล", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#28", "text": "ฤดูกาล 2015 มิก้า ยังคงเป็นผู้เล่นตัวจริงของสโมสร และยิงประตูในไทยพรีเมียร์ลีกได้ 1 ประตู จากลูกฟรีคิกในนัดที่ชนะสุพรรณบุรี เอฟซี 4–3 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม [30] และถูกเรียกตัวติดทีมชาติไทย ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย นัดที่พบกับทีมชาติไต้หวัน ในเดือนพฤศจิกายน โดยนับเป็นการถูกเรียกตัวติดทีมชาติในการแข่งขันอย่างเป็นทางการของฟีฟ่าเป็นครั้งแรก หลังจากเคยเล่นให้ทีมชาติไทยมาแล้วในรายการคิงส์คัพ", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#17", "text": "หลังหายจากอาการบาดเจ็บ มิก้า เป็นผู้เล่นคนสำคัญในตำแหน่งกองหลัง และยิงประตูแรกให้บางกอก เอฟซี ได้เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ในการแข่งขันลีกดิวิชั่น 1 ที่เปิดบ้านแพ้ให้กับสโมสรนครราชสีมา เอฟซี 1–2 [20]", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#25", "text": "จากนั้น อเดบาโย กาเดโบ ผู้อำนวยการชาวไนจีเรียของสโมสรได้แถลงว่า มิก้า ชูนวลศรี ไม่ได้อยู่ในแผนการทำทีมในเลกที่ 2 และพร้อมปล่อยตัวออกจากทีมเพื่อให้ย้ายไปร่วมทีมแบงค็อก ยูไนเต็ด[28] โดยมิก้าลงสนามในเลกแรกของไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2014 ให้สุพรรณบุรี 12 นัด", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#23", "text": "ในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2014 สโมสรเปลี่ยนแปลงผู้ฝึกสอนเป็น อเล็กซานเดอร์ มาโน โพลกิ้ง โค้ชชาวเยอรมัน-บราซิล และมิก้า ที่หายจากอาการบาดเจ็บก็กลับมาลงสนามได้อีกครั้ง โดยลงเล่นเป็นตัวจริงในการแข่งขันนัดแรกของฤดูกาล ที่แพ้ในบ้านต่อสโมสรราชบุรี-มิตรผล เอฟซี ไป 1–2 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ [26]", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#10", "text": "การลงเล่นในดิวิชั่น 1 เขาสามารถสร้างผลงานได้อย่างโดดเด่นในตำแหน่งกองกลางตัวรับ และเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยให้สโมสรมีลุ้นเลื่อนชั้น และคว้าอันดับ 7 ได้เมื่อจบฤดูกาล โดยมิก้า ลงสนามในฤดูกาลนี้ 24 นัด (ในลีกดิวิชั่น 1 23 นัด ,เอฟเอ คัพ 1 นัด) ยิงในลีกดิวิชั่น 1 ได้ 2 ประตู", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#1", "text": "โดย มิก้า ชูนวลศรี เป็นผู้เล่นชาวไทยคนแรกที่ได้เล่นในเวลส์พรีเมียร์ลีก", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#26", "text": "ในเดือนมิถุนายน ช่วงเลกที่ 2 ของไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2014 มิก้า ย้ายมาร่วมทีมแบงค็อก ยูไนเต็ด ที่มี อเล็กซานเดอร์ มาโน โพลกิง ที่เคยร่วมงานกันที่สุพรรณบุรี เป็นกุนซือใหญ่ และได้เสื้อหมายเลข 16 [29] โดยมิก้า ชูนวลศรี ลงสนามให้แบงค็อก ยูไนเต็ด เป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก ที่เอาชนะสโมสรอาร์มี่ ยูไนเต็ด 3–0 ที่สนามศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) และมาทำประตูแรกให้สโมสรได้ในนัดต่อมาที่ออกไปเยือนสโมสรศรีสะเกษ เอฟซี วันที่ 29 มิถุนายน ที่สนามศรีนครลำดวน โดยมิก้าโหม่งลูกเตะมุมให้ทีมขึ้นนำ 1–0 ก่อนจะชนะไป 3–1", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#31", "text": "เดือนพฤศจิกายน 2015 มิก้า ถูกเรียกตัวติดทีมชาติไทยชุดใหญ่เป็นครั้งแรก ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย นัดที่พบกับทีมชาติไต้หวัน", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#8", "text": "หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2010 เริ่มแข่งขันไปได้ไม่นาน วันที่ 9 เมษายน ปี 2010 มิก้า ชูนวลศรี ได้ย้ายจากเมืองทองฯ ยูไนเต็ด มาเล่นให้กับสโมสรสุวรรณภูมิ-ศุลกากร ในไทยลีกดิวิชั่น 1 ที่มี ฌูแซ การ์ลูส ฟีร์ไรรา โค้ชชาวบราซิลเป็นกุนซืออยู่ในขณะนั้น แบบไม่มีค่าตัว และได้เบอร์เสื้อหมายเลข 10 [9] หลังจากย้ายมาร่วมทีมได้เพียงแค่ 10 วัน โดยที่ยังไม่มีโอกาสได้ลงเล่น สโมสรก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ฝึกสอนเป็นประภาส ฉ่ำรัศมี [10]", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#35", "text": "หมวดหมู่:นักฟุตบอลชาวไทย หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายเวลส์ หมวดหมู่:กองหลังฟุตบอล หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน หมวดหมู่:ผู้เล่นในไทยพรีเมียร์ลีก หมวดหมู่:นักฟุตบอลทีมชาติไทย หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#20", "text": "ในช่วงแรกมิก้าเป็นผู้เล่นตัวจริงของสโมสรด้วยตำแหน่งแบ็คขวา และลงสนามอย่างต่อเนื่อง โดยเขาช่วยให้สโมสรที่เพิ่งเลื่อนชั้นกลับขึ้นมาเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก เริ่มต้นฤดูกาลได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการไม้แพ้ทีมใดในลีกถึง 7 นัดติดต่อกัน โดยมิก้า ชูนวลศรี ทำประตูในลีกให้สุพรรณบุรี เอฟซี ได้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปี 2013 จากการโหม่งลูกเตะมุม ทำให้ทีมบุกมาขึ้นนำสโมสรราชบุรี-มิตรผล เอฟซี 1–0 ก่อนจะจบลงด้วยผลเสมอ 1–1 ที่สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี[24]", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#18", "text": "ถึงแม้เขาจะเป็นผู้เล่นตัวหลักแต่ผลงานของทีมในครึ่งฤดูกาลแรกกลับไม่ค่อยดีนัก โดยตกรอบ 64 ทีมสุดท้ายในถ้วยโตโยต้า ลีกคัพ 2012 ส่วนผลงานในลีกชนะเพียงแค่ 5 นัด จากการแข่งขัน 15 นัด ทำให้ทองสุข สัมปหังสิต ลาออกจากการเป็นผู้ฝึกสอน [21] และสโมสรได้แต่งตั้งให้เกียรติศักดิ์ เสนาเมืองเข้ามาทำหน้าที่แทน ในครึ่งฤดูกาลหลัง[22] แต่ก็ทำได้เพียงแค่จบฤดูกาลด้วยอันดับ 10 โดยมิก้า ชูนวลศรี ลงสนามในลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาลนี้ 29 นัด ยิงในลีก 1 ประตู", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" }, { "docid": "262037#12", "text": "มิก้า ชูนวลศรี ลงสนามนัดแรกให้บีอีซี เทโรศาสน ด้วยการลงเล่นเป็นตัวจริงในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 2011 นัดที่บุกไปชนะสโมสรทีทีเอ็ม-เอฟซี พิจิตร 2–1 ที่สนามกีฬากลางจังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ [14]", "title": "มิก้า ชูนวลศรี" } ]
3868
คาบสมุทรอิตาลี หมายถึงอะไร?
[ { "docid": "70066#0", "text": "คาบสมุทรอิตาลี หรือ คาบสมุทรแอเพนไนน์ (Italian: Penisola italiana, Penisola appenninica) เป็นคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาแอลป์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเอเดรียติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลไอโอเนียน และทางทิศตะวันตกติดกับทะเลติร์เรเนียนและทะเลลิกูเรียน คาบสมุทรนี้มีรูปร่างคล้ายรองเท้าบูท โดยบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาแอเพนไนน์เป็นแกนกลาง บริเวณตอนเหนือมีที่ราบลุ่มแม่น้ำโปซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอลป์กับเทือกเขาแอเพนไนน์นั้น เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม และเป็นที่ตั้งเมืองสำคัญของประเทศอิตาลี เช่น มิลาน ตูริน เวนิส โบโลญญา ปาร์มา เวโรนา", "title": "คาบสมุทรอิตาลี" } ]
[ { "docid": "68417#0", "text": "คาบสมุทร หมายถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีน้ำล้อมรอบทั้ง 3 ด้าน ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งทะเลหรือมหาสมุทรยกตัวอย่างเช่นคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรมลายูพื้นที่ ๆ มีน้ำล้อมรอบทั้ง 3 ด้านในบางครั้งก็ไม่ได้เรียกว่าคาบสมุทรเช่นหัวแหลมผาชัน สันดอนจะงอยหรือแหลม", "title": "คาบสมุทร" }, { "docid": "9941#0", "text": "อิตาลี (English: Italy; Italian: Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (English: Italian Republic; Italian: Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8", "title": "ประเทศอิตาลี" }, { "docid": "258407#1", "text": "สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโป ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งบริเวณคาบสมุทรอิตาลีทางตอนเหนือจะติดกับเทือกเขาแอลป์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลแอเดรียติกและทิศตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียน โดยแม่น้ำโปเป็นแม่น้ำที่มีความยาวมากที่สุดในอิตาลีและมีต้นกำเนิดจากเทือก เขาแอลป์ไหลเข้าสู่ประเทศอิตาลีทางทิศเหนือและไหลออกสู่ทะเลแอเดรียติกทาง ทิศตะวันออก", "title": "แม่น้ำโป" }, { "docid": "135239#0", "text": "คาร์โบนารี หรือคาร์โบนีเรีย (Carboneria) เป็นชื่อสมาคมลับของชาวอิตาลีซึ่งยึดหลักอุดมการณ์เสรีนิยมสนับสนุนระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐและเน้นความรักชาติ สมาคมนี้เริ่มต้นจากขบวนการต่อต้านการปกครองฝรั่งเศสในรัฐเนเปิลส์ระหว่างสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars ค.ศ.1803-1815) และต่อมาดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อต่อต้านระบบอนุรักษนิยมตลอดจนอำนาจและอิทธิพลของจักรวรรดิออสเตรียในคาบสมุทรอิตาลี เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการรวมชาติ\nคาร์โบนารีเป็นคำในภาษาอิตาลีแปลว่าคนเผาถ่าน โดยสมาคมได้จัดการชุมนุมครั้งแรกขึ้นทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลีประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต่อมาก็ขยายบทบาทไปทางตอนเหนือสู่แคว้นมาร์เชส (Marches) และโรมัญญา (Romagna) ใน ค.ศ.1814 ผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกจะต้องผ่านพิธีกรรมและมีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่สลับซับซ้อน ตลอดจนใช้คำพูดที่เป็นรหัสในการติดต่อสื่อสารกัน สมาชิกส่วนใหญ่มาจากชนชั้นขุนนาง ข้าราชการ และเจ้าของที่ดินรายย่อย หลัง ค.ศ.1815 สมาคมฯขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะกลุ่มชนชั้นกลางที่ได้รับผลประโยชน์ทางการค้าและอิทธิพลทางการเมืองระหว่างที่อยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสไม่พอใจกับสภาพทางการเมือง\nที่เป็นผลจากข้อตกลงของการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna) โดยเฉพาะหลักการการชดใช้แก่ผู้ชนะ (Compensation for the Victors) และหลักการการสืบสันตติวงศ์ (Legitimacy)", "title": "สมาคมคาร์โบนารี" }, { "docid": "269239#0", "text": "พระมหากษัตริย์อิตาลี (, , ) เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับประมุขผู้ครองคาบสมุทรอิตาลีมาตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน แต่ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดที่ปกครองคาบสมุทรอิตาลีทั้งหมดมาจนถึง สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ในปี ค.ศ. 1870 แม้ว่าจะมีกษัตริย์บางพระองค์ก่อนหน้านั้นที่ทรงอ้าง", "title": "พระมหากษัตริย์อิตาลี" }, { "docid": "262993#0", "text": "ชาวอิตาลี (, ) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ที่มีวัฒนธรรม และ การสืบเชื้อสายร่วมกัน และพูดภาษาอิตาลีเป็นภาษาแม่ ภายในอิตาลีการเป็นชาวอิตาลีคือการถือสัญชาติอิตาลีไม่ว่าจะสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดหรือมาจากประเทศใด ซึ่งแตกต่างจากผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอิตาลี และทางประวัติศาสตร์จากผู้มีเชื้อสายอิตาลีที่ไม่ได้อยู่ในดินแดนที่เป็นของอิตาลีบนคาบสมุทรอิตาลี", "title": "ชาวอิตาลี" }, { "docid": "70066#1", "text": "คาบสมุทรอิตาลีมีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 290 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ มีพื้นที่ประมาณ 260,000 ตารางกิโลเมตร (ไม่นับรวมพื้นที่เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย) เป็นคาบสมุทรที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจาก คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรไอบีเรีย และคาบสมุทรบอลข่าน ตามลำดับ เมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอิตาลีเรียงตามลำดับ 4 อันดับแรกได้แก่ โรม มิลาน เนเปิลส์ และตูริน ภูมิอากาศบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกคือ มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก และองุ่นเพื่อใช้ทำไวน์ เมืองท่าที่สำคัญบนคาบสมุทรอิตาลีได้แก่ เจนัว เวนิส และเนเปิลส์", "title": "คาบสมุทรอิตาลี" }, { "docid": "46997#0", "text": "ยุโรปใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งมีดินแดนติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอยู่ในคาบสมุทรใหญ่ 3 คาบสมุทรคือ คาบสมุทรไอบีเรีย คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน อยู่ในละติจูดที่ 35 องศาเหนือถึง 47 องศาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,316,290 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเชื้อสายเมดิเตอร์เรเนียน", "title": "ยุโรปใต้" }, { "docid": "848030#0", "text": "อิสเตรีย (; โครเอเชีย, สโลวีเนีย: \"Istra\"; Istriot: \"Eîstria\"; เยอรมัน: \"Istrien\") หรือชื่อเก่าในภาษาละตินคือ \"Histria\" เป็นคาบสมุทรขนาดกลางในทะเลเอเดรียติก คาบสมุทรเป็นที่ตั้งสำคัญของอ่าวในทะเลเอเดรียติกคือ Gulf of Trieste และ Kvarner Gulf คาบสมุทรอิสเตรียเป็นดินแดนของสามประเทศคือ ประเทศโครเอเชีย, ประเทศสโลวีเนีย, และ ประเทศอิตาลี.", "title": "อิสเตรีย" }, { "docid": "192924#0", "text": "คัมปาเนีย () เป็นแคว้นทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี มีประชากรราว 5.8 ล้านคน มากเป็นอันดับสองของประเทศ มีพื้นที่ 13,590 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นแคว้นที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในอิตาลี พื้นที่ของแคว้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีหมู่เกาะเฟลเกรเอและกาปรีเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองของแคว้นด้วย เมืองหลักของแคว้นคือเนเปิลส์ (นาโปลี) ", "title": "แคว้นคัมปาเนีย" }, { "docid": "70066#3", "text": "อิตาลี หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ยุโรป หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์อิตาลี หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปยุโรป", "title": "คาบสมุทรอิตาลี" }, { "docid": "9941#8", "text": "คาบสมุทรอิตาลีมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า ดินแดนลุ่มแม่น้ำไทเบอร์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลตั้งแต่เมื่อประมาณ 5 หมื่นปีที่แล้ว และด้วยอิตาลีนั้นตั้งอยู่บนคาบสมุทรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีอารยธรรมโบราณกล่าวคือ อารยธรรมมิโนอันและไมซีเนียน อารยธรรมที่เกี่ยวพันกับอารยธรรมกรีกโบราณ อิตาลีเป็นประเทศที่มีอารยธรรมมาช้านานและแผ่ขยายดินแดนอื่น ๆ ในทวีปยุโรป", "title": "ประเทศอิตาลี" }, { "docid": "294608#0", "text": "เทพปกรณัมโรมัน หรือ เทพปกรณัมละติน () หมายถึงความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าของผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลาติอุมและเมืองสำคัญๆ ในคาบสมุทรอิตาลีของโรมันโบราณ ที่อาจจะแบ่งได้เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งที่เป็นความเชื่อสมัยต่อมาและความเชื่อทางวรรณกรรมที่ประกอบด้วยความเชื่อที่มาจากเทพปกรณัมกรีก อีกส่วนหนึ่งเป็นความเชื่อเดิมที่เกิดขึ้นก่อนหน้าอิทธิพลกรีกที่มีลักษณะที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับเทพปกรณัมกรีกในสมัยต่อมา", "title": "เทพปกรณัมโรมัน" }, { "docid": "858129#4", "text": "นั้นทำให้ยุโรปถูกเรียกว่าคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีสแกนดิเนเวียทางเหนือของยุโรปเป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับสองซึ่งถูกแบ่งด้วยทะเลบอลติกและทวีปยุโรปยังมีคาบสมุทรเล็กๆอีกสามแห่งคือคาบสมุทรอิตาลี, คาบสมุทรไอบีเรียและคาบสมุทรบอลข่านซึ่งจะอยู่ทางใต้ของทวีป", "title": "ภูมิศาสตร์ยุโรป" }, { "docid": "192295#9", "text": "การสถาปนาราชอาณาจักรอิตาลีเป็นผลมาจากความพยายามแสวงหาจุดร่วมระหว่างนักชาตินิยมอิตาลีกับผู้สนับสนุนระบอบราชาธิปไตยซึ่งภักดีต่อราชวงศ์ซาวอย เพื่อก่อตั้งสหราชอาณาจักรปกครองดินแดนคาบสมุทรอิตาลีทั้งหมด", "title": "ราชอาณาจักรอิตาลี" }, { "docid": "858129#5", "text": "คาบสมุทรบอลข่านนั้นถูกแยกออกมาจากทวีปเอเชียโดยทะเลดำและทะเลอีเจียน ส่วนคาบสมุทรอิตาลีถูกแยกจากคาบสมุทรบอลข่านด้วยทะเลเอเดรียติกและคาบสมุทรไอบีเรียถูกแยกจากคาบสมุทรอิตาลีด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้นยังเป็นทะเลที่แยกยุโรปกับแอฟริกาออกจากกันอีกด้วย", "title": "ภูมิศาสตร์ยุโรป" }, { "docid": "249838#2", "text": "ยุโรปอยู่ทางตอนเหนือที่รวมทั้งคาบสมุทรใหญ่สามคาบที่รวมทั้งคาบสมุทรไอบีเรีย, คาบสมุทรอิตาลี และ คาบสมุทรบอลข่าน โดยมีแนวเทือกเขาเป็นที่กั้นเขตแดนทางตอนเหนือที่รวมทั้งเทือกเขาพิเรนีสที่แยกสเปนจากฝรั่งเศส, เทือกเขาแอลป์ที่แยกอิตาลีจากยุโรปกลาง, เทือกเขาไดนาริคแอลป์ตามแนวตะวันออกของทะเลเอเดรียติค และเทือกเขาบอลข่าน กับ เทือกเขาราดาพี (Rhodope Mountains) ของคาบสมุทรบอลข่านที่แยกทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากบริเวณแบบภาคพื้นทวีปของยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก", "title": "บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน" }, { "docid": "9941#10", "text": "ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช พวกอีทรัสคันได้มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอิตาลีตั้งแต่หุบเขาโป จนถึงบริเวณเมืองนาโปลี และดินแดนรอบ ๆ กรุงโรม ขณะเดียวกันชนเผ่าอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีก็รวมตัวกันจัดตั้งเป็นนครรัฐขึ้น เพื่อต่อต้านการขยายตัวและอำนาจของพวกอีทรัสคันและกรีก ชนเผ่าที่สำคัญในการต่อต้านอำนาจเหล่านี้ได้แก่พวกละติน หรือโรมัน ซึ่งเมื่อถึง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกละตินก็ได้มีอำนาจเหนือดินแดนอิตาลี เกาะซาร์ดิเนียและซิซิลี ทั้งหมดแล้ว", "title": "ประเทศอิตาลี" }, { "docid": "287103#1", "text": "ภายในห้าสิบปีหลังจากที่นอร์มันได้รับชัยชนะ ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวนอร์มันก็ตามมาตั้งเมืองตั้งกลุ่มการปกครองขึ้นทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี", "title": "ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้" }, { "docid": "287103#0", "text": "ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้ () การพิชิตอิตาลีตอนใต้ของนอร์มันเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ที่เป็นการต่อสู้ที่เกิดขึ้นหลายครั้งโดยผู้เข้าร่วมหลายฝ่าย ที่ต่างก็ได้ดินแตนมาเป็นของตน จนกระทั่งต่อมาเท่านั้นบริเวณนี้จึงได้รวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรซิซิลีที่ไม่แต่จะประกอบด้วยเกาะซิซิลีแต่รวมทั้งดินแดนหนึ่งในสามของทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี (ยกเว้นเบเนเวนโตที่ยึดได้สองครั้ง) และกลุ่มเกาะมอลตา และบางส่วนของแอฟริกาเหนือ", "title": "ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้" }, { "docid": "192920#0", "text": "เนเปิลส์ (), นาโปลี () หรือ นาปูเล (เนเปิลส์: ) เป็นเมืองหลักของแคว้นคัมปาเนียและจังหวัดเนเปิลส์ในอิตาลี มีชื่อเสียงในด้านความร่ำรวยทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี และศาสตร์การทำอาหาร เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในคาบสมุทรอิตาลีมาตลอด 2,800 ปีนับแต่ก่อตั้งเมืองขึ้นมา ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของอิตาลีติดกับอ่าวเนเปิลส์ กึ่งกลางระหว่างพื้นที่ภูเขาไฟสองแห่ง คือ ภูเขาไฟวิสุเวียสและกัมปีเฟลเกรย์", "title": "เนเปิลส์" }, { "docid": "4496#64", "text": "นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) เป็นชาวเกาะคอร์ซิกา มาเป็นทหารในฝรั่งเศส แต่งงานกับโจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ (Josephine de Beauharnais) แม่หม้ายลูกติดสอง นโปเลียนนำทัพเข้าบุกอิตาลีเพื่อต้านทานทัพที่จะมาบุกทางอิตาลี จนยึดคาบสมุทรอิตาลีได้ ตั้งรัฐบริวารมากมาย เช่น สาธารณรัฐซิสอัลไพน์ (Cisalpine) สาธารณรัฐเวนิส สาธารณรัฐพาร์เธโนเปีย (Parthenopian Republic) จนในค.ศ. 1797 ออสเตรียทำสนธิสัญญาคัมโป-ฟอร์มิโอ (Campo-Formio) ยอมยกเบลเยียมและอิตาลีให้ฝรั่งเศส ", "title": "ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส" }, { "docid": "263541#0", "text": "ทะเลเอเดรียติก () เป็นทะเลที่แยกคาบสมุทรอิตาลีจากคาบสมุทรบอลข่าน และเทือกเขาแอเพนไนน์จากเทือกเขาดินาริกแอลป์และเทือกเขาที่ติดกัน ทะเลเอเดรียติกเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางด้านตะวันตกของฝั่งทะเลคืออิตาลีขณะที่ฝั่งตะวันออกเป็นประเทศโครเอเชีย, มอนเตเนโกร, แอลเบเนีย, สโลวีเนีย และ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา", "title": "ทะเลเอเดรียติก" }, { "docid": "192295#0", "text": "ราชอาณาจักรอิตาลี (Italian: Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ", "title": "ราชอาณาจักรอิตาลี" }, { "docid": "255820#0", "text": "พรอว็องส์ () โดยทั่วไปแล้วหมายถึงบริเวณที่ประกอบไปด้วยจังหวัดวาร์, โวกลูซ และบุช-ดูว์-โรน รวมทั้งบางส่วนของอาลป์-เดอ-โอต-พรอว็องส์และอาลป์-มารีตีม ซึ่งเป็นบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนติดกับประเทศอิตาลี เดิมพรอว็องส์เป็นจังหวัดโรมันนอกคาบสมุทรอิตาลี", "title": "พรอว็องส์" }, { "docid": "269239#2", "text": "แต่การยึดอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เป็นไปเพียงระยะเวลาอันสั้น ในปี ค.ศ. 568 ชนลอมบาร์ดก็เข้ามารุกรานคาบสมุทรอิตาลี และก่อตั้งราชอาณาจักรอนารยชนเพื่อเป็นการต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ราชอาณาจักรส่วนใหญ่อยู่ในอิตาลีโดยเฉพาะในลอมบาร์เดีย ยกเว้นอาณาจักรบริวารราเวนนา (Exarchate of Ravenna) และอาณาจักรดยุคต่างๆ ที่รวมทั้งโรม, เวเนเชีย, เนเปิลส์ และทางตอนใต้ ระหว่างสองศตวรรษต่อมาลอมบาร์ดและไบแซนไทน์ก็ต่อสู้แย่งอำนาจกันในคาบสมุทรอิตาลี", "title": "พระมหากษัตริย์อิตาลี" }, { "docid": "70066#2", "text": "ประเทศอิตาลี ประเทศซานมารีโน นครรัฐวาติกัน", "title": "คาบสมุทรอิตาลี" }, { "docid": "192295#44", "text": "ด้วยการสนับสนุนการทวงคืนพื้นที่จากออสเตรีย-ฮังการีอย่างเหนียวแน่นจากกลุ่มชาตินิยม อิตาลีจึงเริ่มเจรจากับกลุ่มไตรภาคีจนการเจรจาสำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน ค.ศ. 1915 เมื่อสนธิสัญญาลอนดอน ได้ถูกลงนามกับรัฐบาลอิตาลี สนธิสัญญานี้รับรองสิทธิ์ของอิตาลีในการเรียกคืนดินแดนที่มีชาวอิตาลีอาศัยอยู่จากออสเตรีย-ฮังการีตามความต้องการ แม้แต่ดินแดนบนคาบสมุทรบอลข่านหรือดินแดนอาณานิคมของเยอรมันในแอฟริกา ข้อเสนอนี้ได้เติมเต็มความปรารถนาของนักชาตินิยมและนักจักรวรรดินิยมในอิตาลี รัฐบาลอิตาลีจึงได้เข้าร่วมกลุ่มไตรภาคีและสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีอย่างเต็มตัว", "title": "ราชอาณาจักรอิตาลี" }, { "docid": "9941#6", "text": "ประเทศอิตาลีมีลักษณะอากาศหลากหลายแบบ และอาจมีความแตกต่างจากภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนตามลักษณะพื้นที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ เช่นเมืองตูริน มิลาน และโบโลญญา มีลักษณะแบบอากาศภาคพื้นทวีปที่ค่อนข้างร้อนชึ้น (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Cfa) พื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลของแคว้นลิกูเรียและส่วนใหญ่ของคาบสมุทรที่อยู่ใต้ลงไปจากฟลอเรนซ์เป็นภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน: Csa) คือมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี โดยมีลมจากแอฟริกาพัดเอาความร้อนและความชี้นเข้ามา[1] พื้นที่ชายฝั่งของคาบสมุทรอิตาลีสามารถมีความแตกต่างกันได้มากจากระดับความสูงของภูเขาและหุบเขา โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูหนาวในที่สูงก็จะมีอากาศหนาว ชื้น และมักจะมีหิมะตก ภูมิภาคริมทะเลมีอากาศไม่รุนแรงในฤดูหนาว อากาศอุ่นและมักจะแห้งในฤดูร้อน และพื้นที่ต่ำกลางหุบเขามีอากาศค่อนข้างร้อนในฤดูร้อน", "title": "ประเทศอิตาลี" } ]
3869
ตำราสุริยยาตร์และมานัต ถูกเขียนขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "574470#1", "text": "ในปีพุทธศักราช 2228 (ค.ศ.1685) รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ฝรั่งเศสส่งคณะทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาเป็นครั้งแรกโดยมี เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์เป็นราชทูต นอกจากการเจริญสัมพันธไมตรีแล้ว คณะทูตยังมาทำการสำรวจจันทรุปราคาที่จะเกิดขึ้นในระยะนั้น โดยเตรียมกล้องดูดาวและอุปกรณ์มาพร้อมสรรพ เรื่องราวการสำรวจจันทรุปราคาและการถวายกล้องดูดาวให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงทอดพระเนตร ปรากฏในประวัติศาสตร์ของทั้งสองชาติ แต่มีเรื่องที่ทำให้คณะนักดาราศาสตร์ของฝรั่งเศสที่เดินทางมาต้องแปลกใจ โดยมีบันทึกในจดหมายเหตุของ บาดหลวง กีย์ ตาชารด์ ซึ่งเดินทางมาในคณะทูตด้วยว่า[2]", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" } ]
[ { "docid": "574470#4", "text": "แคสสินีได้ตรวจสอบตำราสุริยยาตร์ที่ได้ไป รายละเอียดตัวเลขในตำรานั้นตรงกับตำราสุริยยาตร์ฉบับจุลศักราชตัดสรุปอัปที่ใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ทุกประการ แคสสินีได้สังเกตเห็นการแก้ไขตัวเลขมัธยมอาทิตย์ มัธยมจันทร์ในตำรา และได้สรุปไว้ดังนี้[2]", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#9", "text": "ภาพแสดงผลการคำนวณสมผุสดาวอาทิตย์ตามตำราสุริยยาตร์และมานัต จากขั้นตอนการนำมัธยมอาทิตย์ลบอุจนีถึงได้ผลลัพธ์เป็นมหาสมผุสของดาวอาทิตย์ กรอบซ้ายมือแสดงเกณฑ์การคำนวณจากตำราสุริยยาตร์และมานัต กรอบกลางแสดงผลการคำนวณ และกรอบขวามือแสดงภาพวงโคจรของดาวอาทิตย์ที่คำนวณได้จากตำราสุริยยาตร์และมานัต โดยการวาดรูปแบบวงรีหลวงวิศาลฯ", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#17", "text": "จากภาพที่วาดขึ้นตามหลักการวงรีหลวงวิศาลฯ จะเห็นว่าวงโคจรของดาวพฤหัสบดีเมื่อมองจากดาวอาทิตย์นั้นเป็นรูปวงรี (Ellipse) และถ้ามองจากโลกแล้วจะเห็นการโคจรของดาวพฤหสับดีมีทั้งแบบ เดินหน้า หยุดนิ่ง เดินเร็ว (เสริด) เดินช้า (มนท) และถอยหลัง (พักร) แล้วแต่ตำแหน่งและความเร็วของดาวทั้งสองจะสัมพันธ์กัน", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "912118#0", "text": "ริซาละห์ ซะฮะบียะห์(ตำราทองคำ) คือตำราที่เกี่ยวกับเรื่องราวสุขภาพและการรักษาโรค ซึ่งมาจากท่านอิมามริฎอ(อฺ) อิมามท่านที่แปดของบรรดาชีอะห์ ตำราดังกล่าวถูกเขียนจากการร้องขอของคอลีฟะห์ในยุคสมัยนั้น คือ มะอฺมูน ตำราดังกล่าวถือเป็นแหล่งข้อมูลทรงคุณค่าเกี่ยวกับแพทย์ และถูกเรียกว่าริซาละห์ ซะฮะบียะห์(หมายถึง การบันทึกความรู้ทองคำ)เนื่องจากเขียนด้วยน้ำหมึกทองคำตามคำสั่งของมะอฺมูน  ควรรู้ว่าสายรายงานของตำราฉบับนี้คือ มุฮัมหมัด อิบนิ ญุมฮูร อัมมี หรือ ฮุเซ็น อิบนิ มุฮัมหมัด นูฟิลี ซึ่งถูกยืนยันความน่าเชื่อถือในการรายงานเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดย นะญาชี ", "title": "ตำราทองคำ" }, { "docid": "896345#7", "text": "มันดูเหมือนว่าการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอิจติฮาดและตักลีดนั้นจะย้อนกลับไปในยุคของการประพันธ์ศาสตร์ด้านอุซุลุลฟิกฮ์ เรื่องนี้ได้ผ่านตรวจสอบแล้วในตำราต่างๆด้านอุซูลของชีอะฮ์ นับตั้งแต่ยุคการเขียนตำรา อัซซะรีอะฮ์ อิลาอุซูลิชชะรีอะฮ์ ( เขียนโดย ซัยยิดมุรตะฎอ อะละมุลฮุดา เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 436) จนถึงยุคปัจจุบันนี้  และในตำรา ฟิกฮ์อิสติดลาลก็กล่าวถึงเรื่องของการตักลีดอยู่บ้าง ภายใต้หัวข้อวิเคราะห์เงื่อนไขและคุณสมบัติครบถ้วนของฟะกีฮ์ นับตั้งแต่ทศวรรษที่สิบเป็นต้นมา ตำราต่างๆในหัวข้อ อัลอิจติฮาดวัตตักลีด หรือหัวข้ออื่นๆ ก็ถูกเขียนขึ้นเป็นเอกเทศ และภายหลังจาก เชคอันซอรี  ก็เริ่มมีการเขียนตำราที่เกี่ยวกับมาตราการปฏิบัติศาสนกิจขึ้นอย่างแพร่หลาย เรื่องการอิจติฮาดและตักลีดถูกกล่าวไว้ในบทเกริ่นนำของตำราด้านฟิกฮ์มาตั้งแต่ยุคที่ได้เขียนหนังสือ อัลอุรวะตุลวุษกอ โดยซัยยิดมุฮัมหมัดกาซิม ฏอบาฏอบาอี ยัซดี (เสียชีวิตวิต ฮ.ศ. 1337) ", "title": "ตักลีด" }, { "docid": "574470#21", "text": "หมวดหมู่:โหราศาสตร์ หมวดหมู่:ดาราศาสตร์", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "320939#10", "text": "งานทางศาสนาบางครั้งก็เขียนเป็นหนังสือที่ตกแต่งอย่างหรูหรางดงาม เช่น หนังสือประกอบคริสต์ศาสนพิธี แต่พระคัมภีร์จากสมัยนี้ไม่มีการตกแต่งอย่างหนักเช่นที่ทำกันในสมัยปลายยุคโบราณ ตัวอย่างที่พบก็เป็นเพียงชิ้นส่วน หนังสือตำราเช่นตำราทางคริสต์ศาสนวิทยา, ประวัติศาสตร์, วรรณกรรม หรือ งานวิทยาศาสตร์จากนักประพันธ์ยุคโบราณเป็นงานก็อปปี และภาพประกอบก็จะเขียนด้วยหมึกเท่านั้น ถ้าเขียน", "title": "ศิลปะการอแล็งเฌียง" }, { "docid": "574470#2", "text": "“มีพราหมณ์ซึ่งเป็นโหรคนหนึ่งที่เมืองละโว้ ได้พยากรณ์อุปราคาครั้งนี้ไว้ผิดไปชั่วเสี้ยวนาฬิกาเท่านั้นเอง แต่ก็คำนวณเวลาที่คราสจับนั้นผิดไปอักโข โดยว่าการคลายนั้นจะปรากฏขึ้นที่เส้นขอบฟ้าภายหลังที่อาทิตย์อุทัยแล้ว ก่อนหน้านี้สองสามวัน เราได้ประชุมหารือกับท่านโหราจารย์ผู้นี้อยู่ แต่โดยที่เราฟังภาษาสยามไม่ออก เราจึงหมดปัญญาไม่สามารถทราบได้ว่าเขาใช้วิธีใดคำนวณอุปราคา”[3]", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "912118#5", "text": "หนึ่งในหัวข้อที่มีการวิจัยเกิดขึ้น คือเรื่องร่างกายของมนุษย์ ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์มากมายเข้าร่วมด้วย อาทิ Jabril ibn Bukhtishu และ Masawaiyh ครั้งหนึ่งผู้เข้าร่วมได้ทำการถกเถียงเกี่ยวกับโครงสร้างของมนุษย์ และประเภทของอาหารต่าง ๆ ในระหว่างนั้นท่านอิมามริฎอ(อฺ)ทำเพียงนิ่งเงียบ จากนั้นมะอฺมูนจึงขอให้อิมามแสดงความรู้ของตนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านอิมาม(อฺ)จึงกล่าวตอบว่าหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวมะอฺมูนเรียกร้องให้ท่านอิมามริฎอ(อฺ)ให้ทำตามที่ตนขอ คือเขียนตำราเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ ท่านอิมามริฎอ(อฺ)จึงเขียนตำรานี้ขึ้น และเพราะความสำคัญของเรื่องนี้มะอฺมูนมีคำสั่งให้ทำการบันทึกด้วยทองคำจึงเป็นที่มาของชื่อ “ริซาละห์ ซะฮะบียะห์”(ตำราทองคำ)\nเนื้อหาของหนังสือ", "title": "ตำราทองคำ" }, { "docid": "574470#5", "text": "“เพราะเหตุฉะนี้ข้าพเจ้าจึงได้ตัดสินว่า ที่เอา 40 ลิปดาออกเสียจากอาการโคจรของดวงจันทร์ และเอาอาการโคจรของดวงอาทิตย์ออกเสีย 3 ลิปดานั้น เป็นผลเนื่องจากความแตกต่างลางประการระหว่างเส้นเมริเดียนที่ได้ปรับเข้ากับหลักเกณฑ์เหล่านี้ไว้แต่ต้น กับเมริเดียนอีกเส้นหนึ่งที่ได้มีการตัดทอนต่อภายหลัง........ และสมมุติว่าเขาได้ทอนปรับเข้ากับเส้นเมริเดียนของประเทศสยามแล้วไซร้ หลักเกณฑ์อันนี้ก็จะลงกันได้กับหลักเกณฑ์อันแรก อย่างใกล้เคียงกับเส้นเมริเดียนนรสิงห์ (Narsinga) นั่นแล”[4]", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#18", "text": "จะเห็นได้ว่า ในการคำนวณดาวเคราะห์ของระบบสุริยจักรวาลตามตำราสุริยยาตร์และมานัต ให้ผลถูกต้องตามหลักดาราศาสตร์ หากแต่ว่าตำราสุริยยาตร์และมานัตถูกสร้างขึ้นมานานมากแล้วโดยไม่ได้มีการแก้ไขปรับปรุง จึงส่งผลให้มีความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์อยู่บ้าง และเหตุที่ไม่ได้มีการแก้ไขและปรับปรุงเลย ก็เป็นดังที่พระเทวโลกได้ชี้แจงไว้ นั่นคือไม่มีผู้ใดทราบถึงหลักการและเกณฑ์เลขที่ใช้ในการคำนวณ", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#20", "text": "และจากการทดสอบโดยผลการคำนวณจากตำราสุริยยาตร์และมานัตเปรียบเทียบกับผลการคำนวณทางดาราศาสตร์พบว่า[9] ช่วงเวลาที่ตำราสุริยยาตร์และมานัตถือกำเนิดขึ้นนั้น เป็นช่วงเวลาก่อนที่วงการดาราศาสตร์ตะวันตกจะค้นพบหลักการโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลที่ถูกต้อง และจากประวัติของวงการโหราศาสตร์ไทยที่ระบุว่ามีตำราสุริยยาตร์และมานัตใช้กันมานับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ก็สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่าวงการดาราศาสตร์ตะวันตกค้นพบหลักการโคจรและวิธีการคำนวณตำแหน่งของดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล หลังจากการถือกำเนิดของตำราสุริยยาตร์และมานัต", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#7", "text": "\"ตำราพระสุริยยาตร์และมานัตนี้ เป็นตำราที่เป็นหลักสำหรับคำนวณทำปฏิทินที่ใช้ในทางราชการ และปฏิทินโหราศาสตร์อยู่ทุกๆปี ข้าพเจ้าได้เริ่มเรียบเรียงให้เป็นตำราเรียน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ และค้างมาเป็นเวลาช้านาน จะได้ชี้แจงเหตุผลไว้ให้ทราบดังต่อไปนี้ แต่เดิมเมื่อข้าพเจ้าได้เรียนไปบ้างแล้ว รู้สึกว่ายังไม่ได้รับความเข้าใจในเหตุผลที่ครูให้ทำอย่างนั้นเลย เป็นแต่สักว่าทำไปได้ตามที่ครูสอนให้ เป็นการเบื่อและหนักใจมาก ข้าพเจ้าจึงได้ขอเรียนประวัติของโหราศาสตร์ ที่กล่าวด้วยเหตุผลตั้งเกณฑ์คำนวณขึ้นเป็นครั้งแรกแล้ว ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างไรจนถึงสมัยปัจจุปบันนี้แก่พระเทวโลก พระเทวโลกได้ชี้แจงว่า เกณฑ์การคำนวณโหราศาสตร์เท่าที่เล่าเรียนกันอยู่ในเวลานี้ เป็นแต่จำเกณฑ์ได้ก็ทำกันไปตามเกณฑ์ ส่วนเรื่องราวจะมีมาแต่เดิมเป็นอย่างไรนั้น เข้าใจว่าจะไม่ได้ตกเข้ามาในประเทศสยาม เพราะตำราโหราศาสตร์ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศสยามเป็นเดิมมา แต่ถ้าได้มีอยู่ก็คงจะได้ศูนย์เสียครั้งกรุงเก่าเสียแก่พะม่าแล้ว จึงไม่ได้มีใครพบเห็นที่ไหนเลย\" (สะกดตามต้นฉบับเดิม)", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "882845#46", "text": "ในจดหมายเหตุ\"เว่ยชู\" (魏書) ได้บันทึกว่าโจโฉเขียนตำราพิชัยสงครามและมอบให้กับเหล่าขุนพล เนื้อความในตำรา\"บังเต๊ก\"ถูกกล่าวอ้างถึงในตำราพิชัยสงคราม\"ปุจฉาวิสัชนาจักรพรรดิถังไท่จงกับหลี่เว่ยกง\" (唐太宗李衛公問對) ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่างจักรพรรดิถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถังกับขุนพลหลี่จิ้ง แสดงให้เห็นว่าเนื้อความตำราพิชัยสงคราม\"บังเต๊ก\"ที่โจโฉเขียนขึ้นยังคงมีตกทอดถึงสมัยราชวงศ์ถัง", "title": "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก" }, { "docid": "574470#15", "text": "ในกรอบขวามือด้านบนนั้น เป็นการคำนวณมนทสมผุสดาวพฤหัสบดีตามตำราสุริยยาตร์และมานัต ผลลัพธ์การคำนวณจะคงที่ กล่าวคือเมื่อมัธยมดาวพฤหัสบดีมีค่าใดค่าหนึ่ง ก็จะคำนวณผลลัพธ์มนทสมผุสดาวพฤหัสบดีได้ค่าเท่ากันทุกครั้งเสมอ เช่นเดียวกับการคำนวณดาวอาทิตย์", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "209254#0", "text": "ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล เป็นราชบัณทิตในสำนักวิทยาศาสตร์รุ่นแรกที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นราชบัณทิต ในวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2485 ตั้งแต่วัยหนุ่ม เป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านเป็นผู้มีความรู้ทางด้านชีววิทยาเป็นอย่างดียิ่งคนหนึ่ง ได้เขียนตำราทางชีววิทยาสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาไว้มาก นับว่าเป็นผู้บุกเบิกในการเขียนตำราเรียนทางด้านชีววิทยาในประเทศไทย ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีศัพท์บัญญัติทางวิทยาศาสตร์หรือชีววิทยาเหมือนในปัจจุบันนี้ จึงนับว่าเป็นงานเขียนตำราที่ยากยิ่งสำหรับในยุคนั้น เพราะต้องคิดสร้างศัพท์ขึ้นมาใช้เองด้วย แต่ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล ก็ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะ เขียนตำราเรียนทางด้านชีววิทยาให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาของชาติเป็นอย่างมาก", "title": "คลุ้ม วัชโรบล" }, { "docid": "574470#13", "text": "จากภาพที่วาดขึ้นตามหลักการวงรีหลวงวิศาลฯ จะเห็นว่าวงโคจรของดาวอาทิตย์เมื่อมองจากโลกนั้นเป็นรูปวงรี (Ellipse) ซึ่งหากมองในทางกลับกัน นี่คือวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งโคจรเป็นวงรีและมีดวงอาทิตย์เป็นจุดโฟกัสจุดหนึ่ง ตามกฎแห่งวงรีของ โยฮันเนส เคปเลอร์", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#12", "text": "ตัวเลขสองจำนวนในเส้นวงโคจรของดาวอาทิตย์นั้น คือค่าของจำนวนลิปดาในแต่ละราศี โดยเริ่มวัดจากจุดอุจนี (Aphelion) ของดาวอาทิตย์เป็นราศี 0 ไปทีละ 30 องศา และค่าของจำนวนอันโตนาทีที่คำนวณมาจากค่าลิปดาในแต่ละราศี ตัวอย่างในช่องวงโคจรที่มีเลข 0 กำกับ มีค่าเท่ากับ 1869 และ 124.60 ตัวเลข 1869 นั้นคือจำนวนลิปดาในช่องราศี 0 นั้น และคำนวณหาอันโตนาทีจากสัดส่วนที่ว่า 1 วันมี 1440 นาที มี 21600 ลิปดา ได้ 124.60 นาที ในทุกช่องราศีของเส้นวงโคจรของดาวอาทิตย์มีความหมายเช่นนี้", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#0", "text": "ตำราสุริยยาตร์และมานัต เป็นตำราสำหรับคำนวณตำแหน่งของดวงดาวซึ่งใช้ในวงการโหราศาสตร์ไทย มีข้อสันนิษฐานโดยอิงจากหลักฐานทางโบราณคดีว่า ตำราสุริยยาตร์และมานัตมีใช้ในวงการโหราศาสตร์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ในสมัยอยุธยาก็มีหลักฐานปรากฏถึงการมีอยู่ของตำราชุดนี้[1]", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#11", "text": "ช่องถัดมามีตัวเลขของราศีนับจากราศีเมษเป็นราศี 0 จนถึงราศีมีนเป็นราศี 11 และวงรีหลวงวิศาลฯแสดงรูปวงโคจรของดาวอาทิตย์ โดยมีตำแหน่งสมผุสดาวอาทิตย์เป็นรูปวงกลมซึ่งอยู่ระหว่างวงกลมของจักราศีและรูปวงโคจรของดาวอาทิตย์ วงในสุดแสดงวงกลมมัธยมอาทิตย์ โดยมีตำแหน่งอาทิตย์แสดงอยู่ด้วย", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#14", "text": "ภาพแสดงผลการคำนวณสมผุสดาวดาวพฤหัสบดีตามตำราสุริยยาตร์และมานัต จากขั้นตอนการนำมัธยมดาวพฤหัสบดีลบอุจนี จนถึงได้ผลลัพธ์เป็นมหาสมผุสของดาวดาวพฤหัสบดี กรอบซ้ายมือแสดงเกณฑ์การคำนวณตามตำราสุริยยาตร์และมานัต กรอบกลางแสดงผลการคำนวณ และกรอบขวามือแสดงภาพวงโคจรของดาวพฤหัสบดีที่คำนวณได้จากตำราสุริยยาตร์และมานัต โดยการวาดรูปแบบวงรีหลวงวิศาลฯ", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "872167#4", "text": "อารยภัฏเป็นผู้เขียนบทความหลายเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ซึ่งบางส่วนหายไปงานที่ยิ่งใหญ่ของเขาคืออารยภฏีย์ (Aryabhatiya) บทสรุปของคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ ซึ่งได้ถูกอ้างถึงอย่างกว้างขวางในวรรณคดีคณิตศาสตร์ของอินเดียและยังคงรอดมาได้ถึงยุคปัจจุบัน ส่วนที่เป็นคณิตศาสตร์ของอารยภฏีย์ครอบคลุมถึงการคำนวณ arithmetic พีชคณิต algebra ตรีโกณมิติวงกลมราบเรียบ plane trigonometry ตรีโกณมิติทรงกลม spherical trigonometry นอกจากนี้ยังมีเศษส่วนอย่างต่อเนื่อง continued fractions สมการกำลังสอง quadratic equations ผลรวมของชุดกำลัง sums-of-power series และตารางไซน์ (a table of sines) \nในอารยภฏีย์นั้นงานส่วนมากที่หายไปคือการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ก็ยังทราบได้ผ่านงานเขียนของบุคคลร่วมสมัยเดียวกับอารยภัฏคือวราห์มีฮีร์ (Varahamihira) และเหล่านักคณิตศาสตร์และนักวิจารณ์รุ่นต่อมารวมถึงพรหมคุปต์(Brahmagupta)และภาสกร ที่ 1(Bhaskara I) ผลงานนี้ปรากฏเป็นฐานข้อมูลแก่งานที่ชื่อว่า สุริยะ สิทธานตะ (Surya Siddhanta) หรือที่คนไทยรู้จักกันคือคัมภีร์สุริยาตร์และมานัตและใช้คำนวณเวลาเที่ยงคืน เที่ยงวัน และเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ", "title": "อารยภัฏ" }, { "docid": "291061#8", "text": "มิเลแบ่งการเขียนภาพ “โอฟีเลีย” เป็นสองขั้น: ขั้นแรกเขียนภูมิทัศน์และขั้นที่สองเขียนตัวโอฟีเลีย เมื่อพบฉากที่ต้องการแล้วมิเลก็นั่งเขียนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำฮอกสมิลล์—ไม่ไกลจากที่พักของเพื่อนร่วมกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ เพียงไม่เท่าไหร่—11 ชั่วโมงต่อวัน, หกวันต่อหนึ่งสัปดาห์ เป็นเวลากว่าห้าเดือนในปี ค.ศ. 1851", "title": "โอฟีเลีย (มิเล)" }, { "docid": "574470#8", "text": "ในการคำนวณดาวอาทิตย์ตามตำราสุริยยาตร์และมานัตนั้น เมื่อสร้างแบบจำลองด้วยภาพวาดโดยอาศัยหลักการวาดวงรีของหลวงวิศาลดรุณกรหรือที่เรียกว่า\"วงรีหลวงวิศาลฯ\"[6] จะเห็นภาพการโคจรเป็นรูปวงรีซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้องตามหลักดาราศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในสาระสำคัญของวงโคจรดาว ซึ่งผู้สร้างตำราสุริยยาตร์ค้นพบก่อนที่วงการดาราศาสตร์ตะวันตกจะค้นพบ", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#16", "text": "ในกรอบขวามือด้านล่างนั้น เป็นการคำนวณมหาสมผุสดาวพฤหัสบดีตามตำราสุริยยาตร์และมานัต ซึ่งเช่นเดียวกับมนทสมผุสผลลัพธ์การคำนวณจะคงที่ กล่าวคือเมื่อมัธยมดาวพฤหัสบดีและมัธยมรวิมีค่าใดค่าหนึ่ง ก็จะคำนวณผลลัพธ์มหาสมผุสดาวพฤหัสบดีได้ค่าเท่ากันทุกครั้งเสมอ", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#10", "text": "ในกรอบขวามือนั้น ตัวเลขรอบวงกลมจักราศีนอกสุด (ลิปดา มัธยม - มนทสมผุส) คือค่าลิปดาของมัธยมอาทิตย์ในจุดเปลี่ยนราศี ในการคำนวณสมผุสอาทิตย์ตามตำราสุริยยาตร์และมานัต ผลลัพธ์การคำนวณจะคงที่ กล่าวคือเมื่อมัธยมอาทิตย์มีค่าใดค่าหนึ่ง ก็จะคำนวณผลลัพธ์สมผุสอาทิตย์ได้ค่าเท่ากันทุกครั้งเสมอ ดังตัวอย่างที่จุดราศี 11–0 หรือ มีน-เมษ ตัวเลข 21469 คือจำนวนลิปดาของมัธยมอาทิตย์ที่จะให้ผลลัพธ์เป็นสมผุสอาทิตย์ที่ 0 ลิปดา หรือจุดเริ่มต้นของราศีเมษนั่นเอง ตัวเลขที่จุดเริ่มต้นของราศีอื่นๆก็มีความหมายเช่นเดียวกัน", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#3", "text": "หลังจากคณะทูตชุดแรกเดินทางมาเพียงสองปี ในปีพุทธศักราช 2230 (ค.ศ.1687) ฝรั่งเศสส่งคณะทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาเป็นครั้งที่สองโดยมี โกลด เซเบเรต์ เดอ บุลเล เป็นราชทูตคนที่ หนึ่ง และซิมอง เดอ ลา ลูแบร์ เป็นราชทูตคนที่สอง เมื่อคณะทูตชุดนั้นเดินทางกลับในปีถัดไป ลา ลูแบร์ ได้นำตำราสุริยยาตร์กลับไปด้วยและได้มอบตำราสุริยยาตร์ให้แก่ จิโอวานนี โดมินิโก แคสสินี นักดาราศาสตร์ของฝรั่งเศส (เดิมเป็นชาวอิตาลี) เพื่อตรวจสอบ แคสสินีผู้นี้คือผู้คำนวณระยะห่างระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ได้อย่างแม่นยำเป็นคนแรก[2]", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#6", "text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตำราสุริยยาตร์และมานัต ได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2473 เรียบเรียงโดยหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) โดยอยู่ในชุดตำราโหราศาสตร์ไทย เล่มที่ 3[5] ในชื่อว่า \"พระสุริยยาตร์และมานัต\" ผู้เขียนได้อธิบายไว้ในคำนำของหนังสือว่า", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" }, { "docid": "574470#19", "text": "เนื่องจากไม่มีผู้ใดทราบถึงหลักการและเกณฑ์เลขที่ใช้ในการคำนวณ จึงเคยมีผู้สันนิษฐานว่า ตำราสุริยยาตร์และมานัตมีหลักการคำนวณวงโคจรของดาวเคราะห์ในแบบ “เอปิไซเคิล” (Epicycle) [7]คือแบบที่มีความเห็นว่าโลกเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล และดาวต่างๆโคจรรอบโลก แต่เมื่อได้มีการค้นพบที่มาของเกณฑ์เลขที่ใช้ในการคำนวณ[8] ทำให้สามารถค้นพบหลักในการคำนวณของตำราสุริยยาตร์และมานัต และสามารถสร้างแบบจำลองทางเรขาคณิตและใช้กรรมวิธีตรีโกณมิติพิสูจน์ผลลัพธ์ของการคำนวณวงโคจรของดาวเคราะห์ ทั้งดาวเคราะห์ชั้นใน (Inferior Planets) และ ดาวเคราะห์วงนอก (Superior Planets) ทั้งในแบบมนทสมผุส (heliocentric system) และแบบมหาสมผุส (geocentric system) เพื่อยืนยันได้ว่า ตำราสุริยยาตร์และมานัตมีหลักการคำนวณวงโคจรของดาวเคราะห์ในแบบที่มีดาวอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง ได้ถูกต้องตามหลักการทางดาราศาสตร์", "title": "สุริยยาตร์และมานัต" } ]
3870
มาร์เวลคอมิกส์ ก่อตั้งโดยใคร ?
[ { "docid": "217876#0", "text": "บริษัท มาร์เวลเวิลด์ไวด์ (English: Marvel Worldwide, Inc.) หรือเรียกทั่วไปว่า มาร์เวลคอมิกส์ (English: Marvel Comics) และชื่อก่อนหน้านีนี้<b data-parsoid='{\"dsr\":[1319,1347,3,3]}'>บริษัท มาร์เวลพับลิชิง (English: Marvel Publishing, Inc.) และ มาร์เวลคอมิกส์กรุป (English: Marvel Comics Group) เป็นค่ายการ์ตูนและสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโรของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1939 โดย มาร์ติน กูดแมน ในนามของไทม์ลีคอมิกส์ มีนักเขียน นักวาดคนสำคัญ เช่น สแตน ลี แจ็ก เคอร์บี สตีฟ ดิตโก เป็นต้น มาร์เวลคอมิกส์ มีชื่อเสียงโด่งดังและรู้จักกันดี เช่น เอ็กซ์เมน สไปเดอร์-แมน ฮัลก์ กัปตันอเมริกา ไอรอนแมน ธอร์ เป็นต้น และศัตรูที่โด่งดังและรู้จักกันดี เช่น กรีนก็อบลิน แม็กนีโต ด็อกเตอร์ดูม โลกิ กาแล็กตัส และเรดสกัล เป็นต้น มาร์เวลคอมิกส์ และคู่แข่งสำคัญมายาวนานคือดีซีคอมิกส์ ร่วมหุ้นกันไป 80 % ของตลาดหนังสือการ์ตูนอเมริกันในปี ค.ศ. 2008 ปัจจุบันมาร์เวลคอมิกส์เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์", "title": "มาร์เวลคอมิกส์" } ]
[ { "docid": "335484#0", "text": "กัปตันอเมริกา (English: Captain America) เป็นตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ในหนังสือการ์ตูนอเมริกันที่จัดพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดย โจ ไซมอน (Joe Simon) และ แจ็ก เคอร์บี (Jack Kirby) ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือ Captain America Comics เล่มที่ 1 (มีนาคม ค.ศ. 1941) ซึ่งจัดพิมพ์โดยไทม์ลีคอมิกส์ บริษัทก่อนหน้ามาร์เวลคอมิกส์ โดยกัปตันอเมริกาถูกออกแบบให้เป็นซูเปอร์โซลเยอร์รักชาติที่เคยรบกับฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นตัวละครที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของไทม์ลีคอมิกส์ในช่วงยุคสงคราม ต่อมาสงครามได้ทำให้ความนิยมในซูเปอร์ฮีโร่ลดลงจน Captain America Comics ต้องปิดตัวในปี 1950 ต่อมามาร์เวลคอมิกส์ได้นำตัวละครนี้กลับมาในปี 1953 ซึ่งโลดแล่นได้ไม่นานก็ปิดตัวลงไป ภายหลังได้นำตัวละครนี้กลับมาอีกครั้งในปี 1964 ซึ่งนับตั้งแต่นั้น ตัวละครกัปตันอเมริกาก็โลดแล่นอยู้ในจักรวาลมาร์เวลมาจนถึงปัจจุบัน", "title": "กัปตันอเมริกา" }, { "docid": "217876#6", "text": "ดีซีคอมิกส์ รายชื่อตัวละครมาร์เวลคอมิกส์ รายชื่อภาพยนตร์โดยมาร์เวลคอมิกส์ จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล มาร์เวลสตูดิโอส์", "title": "มาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "569804#0", "text": "อาร์เมอร์ () เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรจากมาร์เวลคอมิกส์ โดยปรากฏตัวในการ์ตูนเรื่อง Astonishing X-Men ฉบับที่ 3 หน้าที่ 4", "title": "อาร์เมอร์ (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "217876#1", "text": "มาร์ติน กูดแมน ได้ก่อตั้งบริษัทซึ่งต่อมาที่รู้จักกันดีในนามของมาร์เวลคอมิกส์ ภายใต้ชื่อไทม์ลีพับลิเคชั่นส์ ในปี ค.ศ. 1939[1] เผยแพร่ในรูปแบบหนังสือการ์ตูนภายใต้สำนักพิมพ์ไทม์ลีคอมิกส์[2] กู๊ดแมน ผู้เผยแพร่นิตยสารเยื่อกระดาษที่ได้เริ่มต้นผลิตนิยายตะวันตกเยื่อกระดาษในปี ค.ศ. 1933 ได้ขยายตัวในตลาด และได้รับความนิยมอย่างสูงในรูปแบบใหม่ปานกลางของหนังสือการ์ตูน การเปิดตัวของเขาจากสำนักงานของบริษัท ที่มีอยู่ที่เลขที่ 330 ตะวันตก ถนนที่ 42 นครนิวยอร์ก เขาได้จัดตั้งบรรณาธิการ บรรณาธิการบริหาร และผู้จัดการธุรกิจอย่างเป็นทางการ ที่มีอับราฮัม กูดแมน เป็นผู้เผยแพร่ที่ระบุอย่างเป็นทางการ[1]", "title": "มาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "334763#0", "text": "ฮอรัส () เป็นตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ โดยมีต้นแบบมาจากเทพฮอรัสของตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์", "title": "ฮอรัส (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "334763#6", "text": "ในเหตุการณ์ซีเคร็ตอินเวชั่น อาตุมกล่าวว่าฮอรัสได้เชิญเขาให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแห่งเทพด้วยเช่นกัน", "title": "ฮอรัส (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "868481#0", "text": "ชี.ล.ด์. () เป็นหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายในหนังสือการ์ตูนอเมริกัน ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์", "title": "ชีลด์ (องค์กร)" }, { "docid": "778638#0", "text": "จิ๊กซอว์ () เป็นตัวละครโดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดยเลน ไวน์และรอสส์ แอนดรู ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน \"ดิอะเมซิงสไปเดอร์แมน\" เล่มที่ 162 (พฤศจิกายน 1976) เป็นหนึ่งในศัตรูของพันนิชเชอร์", "title": "จิ๊กซอว์ (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "576430#0", "text": "แดร์เดวิล () เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรสัญชาติอเมริกันจากมาร์เวลคอมิกส์ แดร์เดวิลสร้างสรรค์โดยนักเขียน สแตน ลี และนักวาด บิลล์ เอเวอเรตต์ โดยปรากฏตัวครั้งแรกในการ์ตูนเรื่อง แดร์เดวิล ฉบับ 1 (เมษายน ค.ศ. 1964) ", "title": "แดร์เดวิล (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "422562#0", "text": "มาร์เวลพินบอล () เป็นวิดีโอเกมพินบอล ที่ได้รับการพัฒนาโดยเซ็นสตูดิโอ เกมนี้มีโต๊ะพินบอลรูปแบบมาร์เวลคอมิกส์ โดยสามารถเล่นได้ในระบบเพลย์สเตชัน 3 กับเพลย์สเตชันเน็ตเวิร์ก และสามารถดาวน์โหลดรายการได้สำหรับ \"พินบอลเอฟเอ็กซ์ 2\" ในระบบเอ็กซ์บ็อกซ์ 360 และ เอ็กซ์บ็อกซ์ไลฟ์อาเขต เกมนี้เป็นเกมพินบอลอันดับสองสำหรับระบบเพลย์สเตชัน 3 ภายหลังจากที่ประสบความสำเร็จจากเกม \"เซ็นพินบอล\" เกมได้รับการเปิดตัว ณ วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2010 สำหรับระบบเอ็กซ์บ็อกซ์ 360 และ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2010 สำหรับระบบเพลย์สเตชัน 3", "title": "มาร์เวลพินบอล" }, { "docid": "199456#0", "text": "ร็อกแมน (Rockman) เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรจากมาร์เวลคอมิกส์ โดยปรากฏตัวในการ์ตูนเรื่อง U.S.A. Comics ฉบับเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 โดยในช่วงเวลานั้น ผู้วาด และผู้ออกแบบตัวละครไม่ได้มีการระบุไว้ภายในหนังสือการ์ตูน อย่างไรก็ตามผู้วาดและออกแบบหน้าปกวาดโดย ชาลส์ นิโคลัส และ เบซิล วูลเวอร์ตัน", "title": "ร็อกแมน (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "771840#0", "text": "แบล็กแพนเทอร์ () เป็นตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ในหนังสือการ์ตูนอเมริกันที่จัดพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดย สแตน ลี (Stan Lee) และ แจ็ก เคอร์บี (Jack Kirby) ปรากฏตัวครั้งแรกใน \"Fantastic Four\" ชุดที่ 1 เล่มที่ 52 (กรกฎาคม 1966) โดยตัวละครนี้เป็นซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีคนแรกของมาร์เวลคอมิกส์ แบล็กแพนเทอร์ถูกออกแบบให้เป็นตัวละครชายเชื้อชาติแอฟริกันที่ปกครองและพิทักษ์ประเทศสมมุติในแอฟริกาที่ชื่อ วาคานดา (Wakanda) ซึ่งมีฉากหน้าเป็นประเทศที่ยากจน แต่แท้จริงแล้วเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวิทยาการล้ำหน้าที่สุดในโลก ", "title": "แบล็กแพนเทอร์" }, { "docid": "298291#0", "text": "ฮัลค์ () หรือ ดร.โรเบิร์ต \"บรูซ\" แบนเนอร์ () เป็นตัวละครยอดมนุษย์ในหนังสือการ์ตูนปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์ เรื่อง \"The Incredible Hulk\" ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อค.ศ. 1962ของมาร์เวลคอมิกส์ (Marvel Comics) ออกแบบโดยสแตน ลี (Stan Lee) และแจ็ค เคอร์บี้", "title": "ฮัลค์" }, { "docid": "96522#47", "text": "หมวดหมู่:การ์ตูนอเมริกัน หมวดหมู่:ตัวละครมาร์เวลคอมิกส์ หมวดหมู่:ยอดมนุษย์", "title": "สไปเดอร์-แมน" }, { "docid": "234707#0", "text": "สำหรับตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ ดูที่ วูล์ฟเวอรีน (ตัวละคร)", "title": "วุลเวอรีน" }, { "docid": "610462#0", "text": "อัลฟา () เป็นตัวละครซุเปอร์ฮีโรของมาร์เวลคอมิกส์ ปรากฎตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน \"The Amazing Spider-Man\"", "title": "อัลฟา (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "867787#0", "text": "ไฮดร้า () เป็นองค์กรก่อการร้ายจากมาร์เวลคอมิกส์ โดยชื่อไฮดร้านั้นมีที่มาจากไฮดร้าซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานกรีก", "title": "ไฮดร้า (หนังสือการ์ตูน)" }, { "docid": "673374#0", "text": "รายชื่อของตัวละครในจักรวาลมาร์เวล ที่ถูกสร้างขึ้นและเป็นลิขสิทธิ์ของมาร์เวลคอมิกส์", "title": "รายชื่อตัวละครมาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "217876#8", "text": "on Facebook on Twitter on YouTube Vassallo, Michael J. , Comicartville Library, 2005, p.2. . .", "title": "มาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "867794#0", "text": "การ์เดียนส์ออฟเดอะกาแล็กซี่ () เป็นทีมซูเปอร์ฮีโรในหนังสือการ์ตูนอเมริกัน ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์", "title": "การ์เดียนส์ออฟเดอะกาแล็กซี่" }, { "docid": "217876#2", "text": "การตีพิมพ์ครั้งแรกของไทม์ลีโดยหนังสือการ์ตูน มาร์เวลคอมิกส์ ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 1939) รวมทั้งการปรากฏตัวครั้งแรกของซุเปอร์ฮีโรแอนดรอยด์ของคาร์ล บูร์กอส ชื่อฮิวแมนทอร์ช และการปรากฏตัวครั้งแรกของแอนตีฮีโรของบิลล์ อีเวอเรตต์ชื่อ กะลาสีนามอร์ ประสบความสำเร็จที่ดี และพิมพ์ครั้งที่สองต่อมาขายต่อเดือนรวมเกือบ 900,000 เล่ม[3] ในขณะที่เนื้อหาของมันมาจากบรรจุด้านนอกของ บริษัท ฟันนีส์ ไทม์ลีในปีต่อไปมีพนักงานของตัวเอง", "title": "มาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "771726#1", "text": "การ์ตูนชุดนี้เป็นการ์ตูนเรื่องหนึ่งที่อยู่ในชุดอัลทิเมต มาร์เวล (Ultimate Marvel) ของมาร์เวลคอมิกส์", "title": "อัลทิเมต สไปเดอร์-แมน" }, { "docid": "776538#0", "text": "นี่คือรายชื่อภาพยนตร์โดยมาร์เวลคอมิกส์", "title": "รายชื่อภาพยนตร์โดยมาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "576430#3", "text": "ตัวละครนี้ปรากฎตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนมาร์เวลคอมิกส์ แดร์เดวิล #1(เม.ย. ค.ศ.1964)สร้างขึ้นโดยนักเขียนสแตน ลี และนักวาดบิล เอเวอร์เรตต์ และออกแบบตัวละครโดยแจ็ก เคอร์บีให้มีกระบองเป็นอาวุธ", "title": "แดร์เดวิล (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "44079#0", "text": "เวนอม ( /ˈvenəm/ 'เวเนิม) เป็นตัวละครในการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์ ซึ่งเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของสไปเดอร์-แมน", "title": "เวนอม" }, { "docid": "867598#0", "text": "มาสเตอร์ออฟอีวิล () เป็นกลุ่มตัวร้ายในการ์ตูนเรื่องอเวนเจอร์สจาก มาร์เวลคอมิกส์", "title": "มาสเตอร์ออฟอีวิล" }, { "docid": "577538#0", "text": "แวนซ์ แอสโตรไวค์ () หรือ จัสติส () หรือชื่อก่อนหน้าที่รู้จักกันดีคือ มาร์เวลบอย () เป็นตัวละครกลายพันธุ์ซูเปอร์ฮีโร่ในมาร์เวลคอมิกส์ เขาเป็นยอดมนุษย์ที่สามารถใช้พลังจิตได้ แอสโตรไวค์ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของนิว วอร์ริเออร์ส และดิ อเวนเจอร์ส ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน Giant-Size Defenders ฉบับที่ 5 (กรกฎาคม 1975) สร้างสรรค์โดย ดอน เฮค และเจอร์รี่ คอนเวย์", "title": "แวนซ์ แอสโตรไวค์" }, { "docid": "771657#0", "text": "ธอร์ () เป็นตัวละครหลักของมาร์เวลคอมิกส์ ปรากฏตัวครั้งแรก\"Journey into Mystery\" เล่มที่ 83 ส.ค. 1962 สร้างขึ้นโดยสแตน ลี,แลร์รี่ ลีเบอร์,แจ็ค เคอร์บี้ เป็นตัวละครที่สร้างมาจากธอร์ เทพเจ้าสายฟ้าของตำนานเทพปกรณัมนอร์ส ", "title": "ธอร์ (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "957052#0", "text": "โกสต์ () เป็นตัวละครของมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดยเดวิด มิเชลินีและบ็อบ เลย์ตัน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน \"ไอรอนแมน\" เล่มที่ 219 (มิถุนายน 1987) เดิมเขาเคยเป็นวิศวกรบริษัทออมนิเซเพียนต์ (Omnisapient) แต่ภายหลังถูกบริษัทหลอกใช้และทรยศ ทำให้เขากลายเป็นตัวร้ายที่ใช้ความสามารถในการเจาะระบบคอมพิวเตอร์และชุดที่มีเทคโนโลยีล่องหนและตรวจจับไม่ได้ในการทำลายบริษัทยักษ์ใหญ่ รวมถึงสตาร์กอินดัสตรีส์ โกสต์จึงเป็นศัตรูกับไอรอนแมน ต่อมาโกสต์เข้าร่วมทีมธันเดอร์โบลส์และช่วยทีมอเวนเจอร์สสู้กับบริษัทออสคอร์ปของนอร์แมน ออสบอร์นและบริษัทแฮมเมอร์อินดัสตรีส์ของจัสติน แฮมเมอร์", "title": "โกสต์ (มาร์เวลคอมิกส์)" } ]
3871
กิมย้ง มีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด?
[ { "docid": "1231#2", "text": "เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1924 (ตรงกับ พ.ศ. 2467 ตามปฏิทินไทยในสมัยนั้น) ที่อำเภอไฮ้เล้ง เขตไห่หนิง มณฑลเจ้อเจียง แห่งภาคตะวันออกของจีน เป็นบุตรคนที่สองของตระกูลที่มีฐานะ เริ่มอ่านหนังสือตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อตอนอายุ 9 ขวบ ก็อ่านทั้งนิยายของจีนทั้งหมด และนิยายแปลของต่างประเทศ ในวัยเยาว์ได้อ่านวรรณกรรมคลาสสิกทั้ง 4 เรื่องของจีน ได้แก่ สามก๊ก (三国演义) ซ้องกั๋ง (水浒传) ไซอิ๋ว (西游记) และความฝันในหอแดง (红楼梦)[1]", "title": "กิมย้ง" } ]
[ { "docid": "59357#25", "text": "การที่ปล่อยครูบาเจ้าศรีวิชัยกลับภูมิลำเนาเดิม และสามารถจะอาศัยอยู่ในวัดใดก็ได้ นับเป็นการลดความไม่พอใจของประชาชนที่นับถือท่านเป็นอย่างมาก อธิกรณ์ในช่วงระยะที่สองนี้ เหมือนเป็นการทำให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นที่รู้จักในสังคมเมืองมากขึ้น ช่วยส่งให้บทบาทของท่านโดดเด่นและชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะในสายตาชาวเมือง มองเห็นว่ากลุ่มพระและชาวบ้านที่ติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัยมีจำนวนมาก และมีความหลากหลายทางชนชาติด้วยกัน จากการที่คณะสงฆ์ยอมปล่อยให้กลับภูมิลำเนา ในสายตาของคนท้องถิ่นล้านนาแล้ว กลับเห็นว่า ไม่มีใครสามารถทำอันตรายต่อท่าน ซึ่งเปรียบเสมือนตนบุญแห่งล้านนาได้ จากการกลับภูมิลำเนา สถานะและบารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นที่ศรัทธาสูงสุดในทุกกลุ่มชนของสังคมล้านนา ต่างก็ให้ความเคารพยกย่อง และให้การช่วยเหลือสนับสนุนในด้านการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ เป็นอย่างดี ", "title": "ครูบาศรีวิชัย" }, { "docid": "186221#13", "text": "ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ ได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม กล่าวคือ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดา และ/หรือมารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือภูมิลำเนาของผู้ปกครองของผู้เยาว์นั้น ทั้งนี้ จนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ ในกรณีที่บิดาและมารดามีภูมิลำเนาต่างหากจากกัน ภูมิลำเนาของผู้เยาว์จะได้แก่ภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาที่ผู้เยาว์นั้นพำนักอยู่ด้วย (มาตรา 44 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "186221#23", "text": "3. ถ้าไม่สามารถไปขึ้นทะเบียน ณ ท้องที่ตามข้อ 1. หรือข้อ 2. ไม่ว่าเพราะเหตุใดก็ตาม ให้ไปขึ้นทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอตามภูมิลำเนาของตนได้เลย แต่ถ้าภูมิลำเนาไม่ปรากฏก็ให้ไปขึ้นทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอของท้องที่ที่พบตัวบุคคลนั้น", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "40647#4", "text": "ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามสกุลจากราชทินนาม ตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช 2484 ว่า \"ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์ ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและได้นำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว จึงให้ถือว่าเป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย\" ", "title": "นามสกุลพระราชทาน" }, { "docid": "186221#12", "text": "บุคคลที่เป็นสามีและภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ภูมิลำเนาของบุคคลทั้งสองนี้ได้แก่ถิ่นที่อยู่ซึ่งทั้งสองอยู่กินกันฉันสามีและภรรยา เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแสดงเจตนาให้ชัดแจ้งว่าประสงค์จะมีภูมิลำเนาต่างหากจากกัน (มาตรา 43 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "870997#3", "text": "วัดบ้านสร้าง,เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย   สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๓๗๕   เดิมชื่อว่า “วัดบ้านขวางปากน้ำกรงเหล็ก”แล้วมากลายสภาพเป็นวัดร้าง,     และต่อมามีพระภิกษุรูปหนึ่ง  ชื่อหลวงตา “แย๋ว” (ไม่ปรากฏนามสกุล  และภูมิลำเนาเดิม ว่ามาจากที่ใด)  ท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ท่านได้พัฒนา  และบูรณปฏิสังขรณ์วัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ      ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา   ราวปี พ.ศ. ๒๓๘๐ ฯ", "title": "วัดบ้านสร้าง" }, { "docid": "1231#4", "text": "กิมย้งเสียชีวิตวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561 อายุรวม 94 ปี 7 เดือน 20 วัน", "title": "กิมย้ง" }, { "docid": "232366#5", "text": "ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี บริบูรณ์ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชี<b data-parsoid='{\"dsr\":[2394,2411,3,3]}'>ทหารกองเกิน</b>ภายในพุทธศักราชนั้น [2] ที่อำเภอท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่โดยจะได้รับใบสำคัญ สด. ๙ เมื่อลงบัญชี ณ อำเภอใดแล้ว อำเภอนั้นจะเป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[2588,2605,2,2]}'>ภูมิลำเนาทหาร</i>ของทหารกองเกินผู้นั้น ภูมิลำเนาทหารเป็นภูมิลำเนาเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับทะเบียนบ้านหรือสำมะโนครัว การจะย้ายภูมิลำเนาทหารต้องกระทำที่อำเภอแยกต่างหากจากการย้ายภูมิลำเนาตามทะเบียนราษฎร ทหารกองเกินที่ย้ายทะเบียนราษฎร์จะย้ายภูมิลำเนาทหารด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่มีหน้าที่แจ้งต่อนายอำเภอทุกครั้งที่ไปอยู่ต่างถิ่นเป็นเวลาเกินกว่า 30 วัน[3] หากไม่แจ้งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ", "title": "การเกณฑ์ทหารในประเทศไทย" }, { "docid": "186221#8", "text": "นอกจากนี้ บุคคลยังสามารถกำหนดให้ถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ () ของตนก็ได้ เพื่อไว้ใช้ทำการใด ๆ ตามแต่ประสงค์ การดังกล่าวกระทำได้โดยแสดงเจตนาให้ปรากฏชัดแจ้งว่าต้องการให้ถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "336059#3", "text": "เป็นสำนักงานสาขา 24 หน่วย ทำหน้าที่ในการสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ ที่มีภูมิลำเนาตามจังหวัดต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้ได้รับการสงเคราะห์โดยสะดวกทั่วถึงกัน เรียกชื่อว่า “สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขต” โดยตั้งอยู่ในจังหวัดใดก็ใช้ชื่อจังหวัดนั้นเรียกต่อท้าย ทุกเขตจะมีฐานะเท่ากันและขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ ดังนี้", "title": "องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" }, { "docid": "186221#9", "text": "ในกรณีที่ภูมิลำเนาของบุคคลไม่ปรากฏ กล่าวคือ บุคคลนั้นไม่เปิดเผยให้ผู้ใดทราบก็ดี หรือไม่มีความแน่ชัดว่าบุคคลนั้นต้องการให้ถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาของตนก็ดี หรือประการอื่นก็ดี ให้เอาถิ่นที่บุคคลนั้นพำนักอยู่เป็นหลักแหล่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น ซึ่งหากว่าบุคคลนั้นพำนักอยู่เป็นหลักแหล่งในหลายถิ่น จะถือเอาถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาก็ได้ (มาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "53361#0", "text": "อุ้ยเสี่ยวป้อ () เริ่มนำลงในหนังสือพิมพ์หมิงเป้า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1969 จวบกระทั่ง วันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1972 ค่อยนำลงจบเรื่อง ใช้เวลานำลงสองปีกับอีกสิบเอ็ดเดือน เป็นนิยายเรื่องสุดท้ายของ กิมย้ง ซึ่ง เหง่ยคัง ถือว่าเรื่องนี้เป็นสุดยอดพัฒนาการทางการประพันธ์ของกิมย้ง และเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือกิมย้งว่า \" ไม่มีใครเป็นคู่แข่งได้ \" ความเป็นยอดของเรื่องนี้อยู่ที่เป็นนิยายกำลังภายในที่ไม่ใช่นิยายกำลังภายใน นิยายกำลังภายในโดยทั่วไปมีขนบในการแต่งที่เห็นได้ง่ายอยู่สองประการคือ ตัวเอกต้องเป็นจอมยุทธหรืออย่างน้อยต้องมีวิทยายุทธ และตัวเอกต้องเป็นคนดีในแง่ของคุณธรรม แต่อุ้ยเสี่ยวป้อในเรื่องนี้มีลักษณะตรงข้ามกับขนบดังกล่าวทุกประการ ลักษณะดังกล่าวไม่เคยปรากฏในนิยายกำลังภายในเรื่องใดมาก่อน และเหง่ยคังว่าไม่มีเรื่องอื่นอีกต่อไป เรื่องนี้กิมย้งหันกลับไปใช้ประวัติศาสตร์จีนสมัยจักรพรรดิคังซี แห่ง ราชวงศ์ชิง มีส่วนสะท้อนการเมืองในจีนแผ่นดินใหญ่หลังปฏิวัติวัฒนธรรมอยู่ไม่น้อย แต่ความเด่นอยู่ที่สะท้อนธรรมชาติวิสัยมนุษย์ในสังคมปัจจุบันที่ต้องลดมาตรฐานศีลธรรมลงเพื่อความอยู่รอด เป็นนิยายที่มุ่งสะท้อนความจริงมากกว่าจะชี้นำผู้อ่านอย่างที่กิมย้งเคยสอดแทรกไว้ในแทบทุกเรื่อง นับเป็นการแหวกวงล้อมครั้งยิ่งใหญ่ของนักประพันธ์เอกผู้นี้ ", "title": "อุ้ยเสี่ยวป้อ" }, { "docid": "186221#4", "text": "ถิ่นใดจะเป็นภูมิลำเนาของบุคคลใดนั้น ต้องมีองค์ประกอบสองประการดังต่อไปนี้", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "232366#7", "text": "ทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้า 21 ปี ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายในพุทธศักราชนั้น [4] โดยจะได้รับหมายเรียก สด. ๓๕ เพื่อให้มารับการตรวจเลือกในปีถัดไป", "title": "การเกณฑ์ทหารในประเทศไทย" }, { "docid": "1231#1", "text": "กิมย้งมีหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเองและดูแลกิจการหนังสือพิมพ์ ชื่อ หมิงเป้า (明報) กิมย้ง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2018", "title": "กิมย้ง" }, { "docid": "6933#8", "text": "ประมาณปี พ.ศ. 2302 ตรงกับสมัยพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าสุวรรณปางคำปาหลัง(เจ้าปางคำ)พร้อมเสนาบดีจากเมืองเชียงรุ่งและพระวอซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวรราชภักดีและพระตา มีภูมิลำเนาเดิมที่บ้านหินโงม เป็นเสนาบดีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ มาตั้งแต่สมัย พระเจ้าอนุวงษ์ไทธิราช เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ฝ่ายนอกของกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสารผู้เป็นโอรส พระวอและพระตาได้อพยพไพร่พลข้ามลำน้ำโขงมาตั้งภูมิลำเนา มาบูรณะสร้างบ้านแปลงเมืองที่ \"เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน\"ให้เป็นเวียงใหม่เป็นเวียงนครใหญ่ชื่อว่า เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งเป็นเอกเทศราชไม่ขึ้นต่อผู้ใด มีกฏบัญญัติบ้านเมือง มีกษัตริย์ปกครอง มีดินแดนกำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียง มีแม่น้ำแม่พระเนียงเป็นสายหลัก มีเมืองหน้าด้านของตัวเอง ได้แก่เมืองนาด้วง ภูเวียง ผาขาว พรรณา พร้อมผู้คนและช้างเผือกคู่เวียง", "title": "จังหวัดหนองบัวลำภู" }, { "docid": "97871#1", "text": "ต้วนอี้เป็นองค์ชายต้าหลี่ บุตรของต้วนเจิ้นฉุน นิสัยใจดี มีเมตตา มองโลกในแง่ดี เมื่อทำสิ่งใดแล้ว จะเอาใจใส่จดจ่อ จนบิดาให้ฉายาว่าลูกงมงาย เนื่องจากไม่ชมชอบวิชาการต่อสู้จึงหนีออกจากบ้าน ทำให้ประสบเหตุการณ์อัศจรรย์มากมาย ทั้งกลืนคางคกชาดวัว เจ้าแห่งพิษ ทำให้พิษร้ายใดๆไม่อาจทำร้ายได้ สำเร็จยอดวิชาดรรชนีกระบี่หกชีพจร ลมปราณภูติอุดร และท่าเท้าท่องคลื่น จนกลายเป็นยอดฝีมือ เมื่อพบกับหวังอี้เยี่ยนก็หลงรักทันที แม้ว่านางจะมีชายอื่นในดวงใจ ต่อมาสาบานเป็นพี่น้องกับเฉียวฟง และซีจุ๊ ภายหลังได้เป็นฮ่องเต้ต่อจากพระปิตุลา\nต้วนอี้นับเป็นตัวละครที่มีลมปราณสูงสุดในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง เนื่องจากดูดลมปราณของบุคคลต่างๆมากมาย", "title": "ต้วนอี้" }, { "docid": "296424#32", "text": "\"ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่\"ป.พ.พ. ม.205\"เมื่อมิได้มีแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะพึงชำระหนี้ ณ สถานที่ใดไซร้ หากจะต้องส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้น ส่วนการชำระหนี้โดยประการอื่น ท่านว่าต้องชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้\"ป.พ.พ. ม.324\"ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย\"ป.พ.พ. ม.1336", "title": "ยืมใช้คงรูป" }, { "docid": "186221#10", "text": "ในกรณีที่บุคคลมีถิ่นที่อยู่หรือถิ่นอันเป็นหลักแหล่งในการประกอบอาชีพหลายแห่ง และทุกแห่งก็ล้วนสำคัญ ไม่อาจกำหนดได้ว่าถิ่นใดสำคัญกว่าเพื่อน ในกรณีเช่นว่านี้กฎหมายยอมรับให้บุคคลอาจมีภูมิลำเนาหลายแห่งได้ โดยจะถือเอาแห่งใดเป็นภูมิลำเนาของตนก็ได้ (มาตรา 38 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "186221#11", "text": "ในกรณีที่บุคคลใดมีที่อยู่ไม่เป็นหลักเป็นแหล่ง เช่น ครองชีพด้วยการสัญจรไปมา เป็นต้นว่า ทำงาน และปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ บนรถบรรทุก ในกรณีเช่นว่านี้ หากพบตัวบุคคลดังกล่าวในถิ่นไหนก็ให้ถือเอาถิ่นที่พบตัวนั้นเป็นภูมิลำเนาของบุคคลเช่นว่า (มาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "78021#0", "text": "ชิ้นน่ำคิ้ม เป็นตัวละครในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง เรื่อง มังกรหยก เป็นตัวละครดั้งเดิมที่กิมย้งสร้างขึ้นในฐานะที่เป็นมารดาของเอี้ยก้วย ในเรื่องมังกรหยกฉบับดั้งเดิมที่ได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์รายวัน แต่เนื่องจากมังกรหยกนั้นเป็นนิยายภายในที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้อ่านมาก ถึงขนาดมีการรออ่านเนื้อเรื่องจากแท่นพิมพ์เลยทีเดียว จากความนิยมในหมู่ผู้อ่านนี้เอง ภายหลังจึงได้มีการรวมเล่มมังกรหยกขึ้น ในการรวมเล่มนี้กิมย้งได้เรียบเรียงเนื้อหามังกรหยกขึ้นใหม่ โดยตัดเนื้อเรื่องบางส่วนที่มีรายละเอียดปลีกย่อยจนเกินไปออก ทำให้ตัวละครอย่างชิ้นน่ำคิ้มถูกตัดออกไป และได้ให้ตัวละครที่เป็นมารดาของเอี้ยก้วยคือ มกเนี่ยมชื้อ แทน ", "title": "ชิ้นน่ำคิ้ม" }, { "docid": "57543#2", "text": "เซียวเหล่งนึ่งนั้นมีใบหน้าดูสงบเยือกเย็น บริสุทธิ์ดังหิมะ และเย็นชาราวน้ำแข็ง เอี้ยก้วยเองยังเคยครุ่นคิดว่าสตรีนางนี้ สร้างจากแก้วผลึก หรือว่าเป็นมนุษย์หิมะหรืออย่างไร ที่แท้เป็นคนหรือภูตผี หรือว่าเป็นเทพธิดาสวรรค์กันแน่ มิใช่เพียงแต่เฉพาะกับเอี้ยก้วยเท่านั้น ไม่ว่ากับผู้ใดทุกครั้งที่นางปรากฏกาย ล้วนตรึงสายตาผู้คนให้จับจ้อง กิมย้งได้บรรยายถึงความงามของนางไว้ในหลายฉากหลายตอน ดังเช่นเมื่อครั้งที่เซียวเหล่งนึ่งปรากฏตัวที่งานชุมนุมชาวยุทธ ได้หยุดสายตาของเหล่าชาวยุทธที่มาร่วมงานให้จับจ้องไปที่นาง ", "title": "เซียวเหล่งนึ่ง" }, { "docid": "98221#3", "text": "ปรากฏว่ามีนักอ่านระบุว่าผู้แต่งดูแคลนลัทธิพุทธะตันตระของธิเบต สร้างภาพลบต่อนิกายลามะ แท้ที่จริงท่านกิมย้งให้ความเคารพต่อลัทธิพุทธะตันตระของทิเบตไม่ด้อยกว่าสำนักนิกายใดในพุทธศาสนา ในเรื่องนี้เขียนให้ลามะเป็นตัวร้าย หามีเจตนาตั้งข้อรังเกียจไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด ในฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ล่าสุด ท่านกิมย้งจึงได้เปลี่ยนจาก ฮวบอ้วง (ธรรมราชา) เป็น กงซื้อ (ราชครู)", "title": "ราชครูจักรทอง" }, { "docid": "223529#3", "text": "จุดที่แสดงความเป็นสุดยอดฝีมือของอาแชได้ดีที่สุดคือการที่อาแชบุกฝ่าเข้าไปในกองทัพแคว้นเวียดด้วยไม้ไผ่เพียงกิ่งเดียว และที่สำคัญนางได้กลับออกมาด้วยอาการไร้ซึ่งรอยขีดข่วน ยากที่จะหายอดฝีมือในเรื่องใดของกิมย้งเทียบเคียง ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้อาแชได้ฉายา \"หนึ่งเดียวสยบกองทัพ\" และชื่อเพลงกระบี่ของนางก็มีชื่อว่า เพลงกระบี่แคว้นเวียด", "title": "อาแช" }, { "docid": "1231#5", "text": "กิมย้ง หรือ จาเหลียงย้ง ได้สร้างผลงานจำนวน 15 เรื่อง โดยทั้งหมดที่กิมย้งเขียนล้วนเป็นนิยายกำลังภายใน เป็นเรื่องยาว 12 เรื่อง เรื่องขนาดกลาง 2 เรื่อง และ เรื่องสั้น 1 เรื่อง อันได้แก่", "title": "กิมย้ง" }, { "docid": "98070#0", "text": "สำนักสราญรมย์ () เป็นสำนักในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง เรื่องแปดเทพอสูรมังกรฟ้า\nสำนักสราญรมย์เป็นสำนักปราชญ์โบราณ ถือหลักการใช้ชีวิตสำราญ เสพย์ดนตรีกวีศิลป์ สำนักสราญรมย์ไม่ปรากฏผู้ก่อตั้ง ถือเป็นสำนักลึกลับสำนักหนึ่งในจักรวาลของกิมย้ง ไม่ปรากฏแผนผังลำดับผู้สืบทอด ที่มาที่ไปของสำนักไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด ปรากฏแต่ในยุคของแปดเทพอสูรมังกรฟ้า อู๋หยาจื่อ (無崖子) ดำรงตำแหน่งประมุขพรรค โดยมีนางเฒ่าทาริกาเทียนชัว (天山童姥) ประมุขวังคฤธรศักดิ์สิทธิ์เป็นศิษย์พี่ ลี้ชิวจุ้ย (李秋水) สนมของฮ่องเต้ซีเซี่ยเป็นศิษย์น้อง ", "title": "สำนักสราญรมย์" }, { "docid": "171674#0", "text": "เป็นหนึ่งในเคล็ดวิชาในตำนานของท่านกิมย้ง ว่ากันว่าผู้บัญญัติมีฉายา ต๊กโกวคิ้วป้าย แปลว่า แสวงหาความพ่ายแพ้ นับได้ว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่วิชาที่คำว่า \"วิทยายุทธย่อมเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา\" ใช้กับวิชานี้ไม่ได้ \nอาจด้วยแนวคิดอันสุดโต่งทางปรัชญาที่ท่านอาจารย์กิมย้งต้องการแฝงเอาไว้ในวิชานี้ ทำให้ เก้ากระบี่เดียวดาย เป็นเคล็ดที่ไม่แพ้ หากผู้ใดฝึกได้จนสำเร็จแล้วจึงทำได้แต่เพียง \"แสวงหาความพ่ายแพ้\" \nและหากมีใครไปถามอาจารย์กิมย้งว่า วิชาใดสามารถชนะวิชานี้ได้ ก็อาจได้คำตอบสั้นๆว่า ที่ให้ผู้คิดค้นนามว่า ต๊กโกวคิ้วป้าย ก็น่าจะเป็นคำตอบได้ดีที่สุดอยู่แล้ว อนึ่งถ้ามีผู้ใด \"เสมอ\" กับเก้ากระบี่เดียวดายได้ นั้นก็อาจเป็นการยกย่องวิชานั้นอย่างสูงสุดแล้วก็เป็นได้ ก ", "title": "เก้ากระบี่เดียวดาย" }, { "docid": "870997#19", "text": "-  พระปรางค์   ตั้งอยู่บริเวณหน้าอุโบสถ   ทั้งด้านขวา  และซ้าย   รวม  ๒ องค์  มีขนาดฐานกว้างด้านละ  ๕ เมตร   สูง  ๘ เมตร   สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ฯ\n- มีภาพจิตกรรม  เรื่องชาดก ซึ่งเขียนไว้ที่ผนังภายในอุโบสถ ทั้ง ๔ ด้าน   เขียนโดย “ครูอ่อน”  (ไม่ปรากฏนามสกุล  และภูมิลำเนาเดิม ว่ามาจากที่ใด) ฯ\nสิ่งปลูกสร้าง   ที่เป็นอาคารเสนาสนะต่าง ๆ   เช่น ", "title": "วัดบ้านสร้าง" }, { "docid": "186221#1", "text": "ตามกฎหมายไทย ภูมิลำเนาของบุคคลมีอยู่สองประเภท คือ ถิ่นที่อยู่อันบุคคลธรรมดาแสดงเจตนาว่าให้เป็นภูมิลำเนา และภูมิลำเนาของบุคคลประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นการเฉพาะ", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "186221#6", "text": "2. บุคคลนั้นแสดงเจตนาให้ถิ่นดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของตน โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ใด ๆ ที่บุคคลนั้นแสดงออกให้บุคคลอื่นรับรู้ได้ว่าตนต้องการให้ถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของตน (มาตรา 38 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)", "title": "ภูมิลำเนา" } ]
3872
นมวัวสามารถก่อภูมิแพ้ได้หรือไม่ ?
[ { "docid": "913526#0", "text": "การแพ้นมวัว หรือ การแพ้โปรตีนนมวัว เป็นโรคภูมิแพ้อาหารชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีภาวะภูมิแพ้ต่อโปรตีนบางชนิดหรือหลายชนิดที่เป็นส่วนประกอบของนมวัว อาการอาจเป็นอย่างรวดเร็วหรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ ถ้าเป็นอย่างรวดเร็ว เช่น แอนาฟิแล็กซิส หรือภาวะแพ้รุนแรง จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ต้องรักษาด้วยการให้อะดรีนาลีน ส่วนแบบค่อยเป็นค่อยไปมักพบในเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวันนับตั้งแต่กินนม อาจแสดงอาการเป็นผิวหนังอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ลำไส้ทำงานผิดปกติ เช่นลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอักเสบ ก็ได้[2]ในสหรัฐ กว่า 90% ของการแพ้อาหารเกิดจากอาหาร แปดชนิด โดยที่นมวัวพบเห็นได้มากที่สุด[3] เพราะอาการแพ้ส่วนใหญ่เกิดจากอาหารเพียงไม่กี่ชนิด จึงได้มีข้อกำหนดในการระบุสารก่อภูมิแพ้อย่างเด่นชัด รวมไปทั้งนม บนฉลากอาหารขึ้น[4][5][6][7] หนึ่งในหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันคือการป้องกันการติดเชื้อ โดยการรับรู้โปรตีนที่ผิดแปลกไป โดยปกติไม่ควรทำปฏิกิริยากับโปรตีนในอาหารมากเกินไป กรดในกระเพาะอาหารทำให้โปรตีนส่วนใหญ่กลายเปลี่ยนรูปหมายถึงการสูญเสียการจัดองค์ประกอบ 3 มิติและสูญเสียการก่อภูมิแพ้ ความร้อนจากการปรุงอาหารอาจมีผลเช่นเดียวกัน ภูมิคุ้มกันเป็นอีกวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้ปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรตีนจากอาหาร", "title": "การแพ้นมวัว" } ]
[ { "docid": "941416#1", "text": "ปฏิกิริยาภูมิแพ้จะไม่เกิดหลังการสัมผัสสารใดสารหนึ่งเป็นครั้งแรก การสัมผัสครั้งแรกจะทำให้ร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานและเซลล์ลิมโฟไซต์ความจำ (memory lymphocyte) สำหรับสารก่อภูมิต้านทานนั้น ๆ ทว่า ยามักมีสารหลายอย่างรวมทั้งสี ซึ่งอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้ ทำให้บางทีเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อการได้รับยาชนิดหนึ่งครั้งแรกได้ ตัวอย่างเช่น บุคคลที่มีภูมิแพ้ต่อสีย้อมแดงจะแพ้ต่อยาทุกชนิดที่ประกอบด้วยสีย้อมแดงนั้น", "title": "ภูมิแพ้ยา" }, { "docid": "138505#2", "text": "การทดสอบหลากหลายวิธีเพื่อวินิจฉัยอาการภูมิแพ้ เช่น การนำสารก่อภูมิแพ้ที่น่าจะเป็นไปได้ทาลงบนผิวหนังเพื่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาการบวม หรือการทดสอบเลือด ต่างก็สามารถช่วยให้ค้นพบสารก่อภูมิแพ้แบบเจาะจงที่เป็นอิมมูโนโกลบูลินอีได้", "title": "ภูมิแพ้" }, { "docid": "994695#15", "text": "เมื่อโปรตีนแยกออกเป็นโพลีเพ็ปไทด์ต่าง ๆ ส่วนที่ปิดมาก่อนก็จะเปิด ส่วนที่เปิดใหม่นี้อาจก่อภูมิต้านท้าน\nผลผลิตการแยกสลายโปรตีนข้าวสาลีด้วยน้ำดังว่า อาจใช้เป็นสารเติมแต่งอาหารและเครื่องสำอาง\nเพ็ปไทด์เหล่านี้บ่อยครั้งมีชนาด 1 kD (มีเรซิดิวกรดอะมิโน 9 อันต่อกัน) ซึ่งอาจเพิ่มปฏิกิริยาภูมิแพ้\nในคนที่แพ้ อาจก่อลมพิษเพราะถูกต้องโดยทันที", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "994695#18", "text": "ปฏิกิริยาอาจแรงขึ้นเมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ซ้ำ ๆ", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "326258#55", "text": "ภูมิไวเกิน ได้แก่ โรคภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ เกิดจากภูมิคุ้มกันตอบสนองไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้", "title": "ระบบภูมิคุ้มกัน" }, { "docid": "138505#0", "text": "ภูมิแพ้ () คือความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินของระบบภูมิคุ้มกัน อาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตอบสนองต่อสสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งสารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองนั้นเรียกว่า \"สารก่อภูมิแพ้\" โดยอาการตอบสนองต่อสารเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติแต่กำเนิด, สามารถคาดเดาได้ และไม่เรื้อรัง ภูมิแพ้เป็นหนึ่งในความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินและถูกเรียกในเชิงวิชาการว่า \"ประเภทที่หนึ่ง\" (type I) หรือ \"ประเภทเฉียบพลัน\" (immediate) อาการภูมิแพ้เหล่านี้เฉพาะเจาะจงเนื่องจากเกิดขึ้นโดยการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากเกินไป คือ แมสต์เซลล์ และเบโซฟิล โดยแอนติบอดีที่ชื่อว่า \"อิมมูโนโกลบูลินอี\" (IgE) การกระตุ้นนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบซึ่งมีระดับตั้งแต่ทำให้ระคายเคืองไปจนถึงการเสียชีวิต ", "title": "ภูมิแพ้" }, { "docid": "660490#3", "text": "วิธีการและการวัดแบบดั้งเดิมที่ใช้ในชีวอุตุนิยมวิทยาไม่ได้แตกต่างกันเมื่อนำไปใช้กับการศึกษาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายมนุษย์และชั้นบรรยากาศ แต่บางแง่มุมหรือการใช้งาน อาจจะได้รับการสำรวจอย่างกว้างขวางมากขึ้น เช่น ความหนาวเหน็บบนเนื้อหนังมนุษย์ได้รับการตรวจสอบเพื่อกำหนดช่วงระยะเวลาของแต่ละบุคคลตามอุณหภูมิที่กำหนดและสภาพของลม อีกตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับการศึกษาของสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ (เช่น ละอองเรณู และละอองลอย) และผลกระทบที่มีต่อแต่ละบุคคล: โดยสภาพลมฟ้าอากาศสามารถสนับสนุนหรือขัดขวางการปล่อยตัว เช่นเดียวกับการเคลื่อนย้ายและการสะสมของสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ ที่ซึ่งบางครั้งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนอย่างรุนแรง", "title": "ชีวอุตุนิยมวิทยา" }, { "docid": "358206#2", "text": "เนื่องจากภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสเกิดจากการที่ร่างกายย่อยแล็กโทสไม่ได้ จึงถือว่าไม่ได้เกิดจากกระบวนการภูมิแพ้ ไม่ถือเป็นโรคภูมิแพ้อาหาร และเป็นคนละโรคกับการแพ้โปรตีนนมวัว (cow's milk protein allergy)\nสภาวะปกติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสำหรับตัวอ่อนของสปีชีส์เพื่อรับมือกับการผลิตแล็กเทสที่ลดลงในช่วงปลายระยะหย่านม (ซึ่งเป็นระยะเวลาที่แตกต่างกันไปในแต่ละสปีชีส์) ในมนุษย์ สังคมที่ไม่บริโภคนม การผลิตแล็กเทสมักจะลดลงถึง 90% ในช่วงสี่ปีแรกของชีวิต ถึงแม้ว่าค่าการลดลงที่แม่นยำมีความแตกต่างกันอย่างมาก", "title": "ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส" }, { "docid": "447522#21", "text": "การทดสอบภูมิแพ้ อาจช่วยในการระบุว่าสิ่งใดคือตัวกระตุ้น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (เช่น การทดสอบแผ่นปะ) ซึ่งมีสำหรับการทดสอบอาหารและพิษบางอย่าง[11] การทดสอบเลือดสำหรับ IgE เฉพาะบางตัวอาจมีประโยชน์สำหรับการยืนยันการแพ้นม ไข่ ถั่ว และปลา[11] การทดสอบทางผิวหนังที่มีอยู่นั้นสำหรับยืนยันการแพ้ เพนิซิลลิน แต่ยังไม่มีสำหรับยาตัวอื่น[11] รูปแบบนอกระบบภูมิคุ้มกันของแอนาฟิแล็กซิสสามารถระบุได้โดยประวัติหรือการได้รับสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ และโดยไม่ใช้การทดสอบทางผิวหนังหรือเลือด[24]", "title": "แอนาฟิแล็กซิส" }, { "docid": "881118#0", "text": "ภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับสารก่อภูมิแพ้ ( เป็นการรักษาทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับรักษาภาวะภูมิแพ้บางประเภท ส่วนใหญ่ใช้กับภาวะภูมิแพ้ต่อสิ่งแวดล้อม ต่อพิษแมลง และโรคหอบหืด ส่วนการใช้ในภาวะแพ้อาหารนั้นยังไม่มีข้อมูลชัดเจน โดยทั่วไปจึงยังไม่แนะนำให้ใช้เป็นการทั่วไป มีหลักการคือการให้ผู้ป่วยสัมผัส (expose) ต่อสารก่อภูมิแพ้ (allergen) ในปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้นี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม", "title": "ภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับสารก่อภูมิแพ้" }, { "docid": "994695#9", "text": "โปรลามิน (เรียกว่าไกลอะดินในข้าวสาลี) คล้ายกับกลูเตลิน (เรียกว่ากลูเตนินในข้าวสาลี) มาก\nงานศึกษาในญี่ปุ่นพบว่า กลูเตนินก่อภูมิแพ้บ่อยครั้งกว่า แต่ไกลอะดินก่ออาการหนักกว่า\nงานศึกษาทาง proteomics ได้ค้นพบยีนแบบไอโซฟอร์ม (isoform gene) คือ γ-gliadin", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "994695#10", "text": "กลูเตนิน (คือโปรตีนกลุ่มกลูเตลินในข้าวสาลี) เป็นสารก่อภูมิแพ้หลักในข้าวสาลี\nในปัจจุบัน ยังมีสารก่อภูมิแพ้บางอย่างในข้าวสาลีที่ยังไม่ได้ระบุรายละเอียด\nแต่งานศึกษาต้น ๆ ได้พบสารก่อภูมิแพ้หลายอย่างในกลุ่มแอลบิวมิน", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "913526#1", "text": "การจัดการทำได้โดยงดการรับประทานนมวัวและผลิตภัณฑ์นม[8] ในผู้ป่วยที่แพ้นมวัวอย่างรุนแรง(แพ้ IgE ในนม) การได้รับโปรตีนนมวัวแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายได้[9][10]2% - 3% ของทารกและเด็กมีอาการแพ้นมวัว[8][11] เพื่อลดความเสี่ยง ทารกควรได้รักแต่นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยจนอายุ 4 เดือน หรือ 6 เดือน ก่อนเริ่มกินนมวัว หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติแพ้นมวัว อาจใช้นมผงเด็กที่ทำมาจากนมถั่วเหลืองแทน แต่ ประมาณ 10%-15%ของเด็กที่แพ้นมวัวมักแพ้ถั่วเหลืองด้วย[12] เด็กส่วนใหญ่จะไม่แพ้นมวัวเมื่อโตขึ้น แต่ประมาณ 0.5% จะยังแพ้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ได้มีการวิจัยภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับสารก่อภูมิแพ้ แต่ผลดีก็ยังไม่ชัดเจน[13][14]", "title": "การแพ้นมวัว" }, { "docid": "994695#26", "text": "งานศึกษาปี 2006 ในประเทศตุรกี คนไข้ RA 8 คนจาก 20 คนมีปฏิกิริยาต่อข้าวสาลีเมื่อทดสอบด้วย radioallergosorbent test (RAST)\nเมื่อเอาอาหารที่ผสมข้าวสาลีและอาหารอื่น ๆ ที่คนไข้แพ้ (ดังกำหนดด้วย RAST) ออก คนไข้ครึ่งหนึ่งมีตัวบ่งชี้ RA ในน้ำเหลืองที่ดีขึ้น\nในคนไข้ที่แพ้ข้าวสาลี ก็สามารถให้ทานข้าวไรย์อย่างไม่มีปัญหา\nซึ่งอาจชี้ว่า ผู้มีอาการ RA สำหรับโรค GSE/CD มาจากการตอบสนองเป็นภูมิแพ้ในลำดับต่อ ๆ มา (downstream effect)\nอนึ่ง แอนติบอดีต้านคอลลาเจนเนื้อวัวคืออิมมิวโนโกลบูลินจี () ที่ก่อปฏิกิริยาข้ามตัวก่อภูมิแพ้ (cross-reactive) อาจเป็นเหตุของ RA โดยบางส่วน", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "774430#1", "text": "อาาหรทั่วไปที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารมีนมวัว ถั่วลิสง ไข่ หอย ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut) ข้าวสาลี ข้าวเจ้าและผลไม้ พบภูมิแพ้ชนิดใดบ่อยที่สุดขึ้นอยู่กับประเทศ ปัจจัยเสี่ยงมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว การขาดวิตามินดี โรคอ้วนและระดับความสะอาดสูง ภูมิแพ้เกิดเมื่ออิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกาะกับโมเลกุลอาหาร ปกติโปรตีนในอาหารที่เป็นปัญหา เหตุนี้กระตุ้นการหลั่งสารเคมีอักเสบ เช่น ฮิสตามีน การวินิจฉัยปกติอาศัยประวัติการแพทย์ การเลี่ยงอาหารที่สงสัย (elimination diet) การทดสอบแทงผิวหนัง (skin prick test) การทดสอบเลือดหาแอนติบอดี IgE ที่จำเพาะกับอาหาร หรือการกระตุ้นให้ปรากฏโดยอาหารทางปาก (oral food challenge)", "title": "ภูมิแพ้อาหาร" }, { "docid": "994695#27", "text": "ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 มีรายงานว่าคนไข้ไมเกรนมีปัญหากับอาหารก่อภูมิแพ้ โดยมีปฏิกิริยาสามัญที่สุดต่อข้าวสาลี (78%) ส้ม ไข่ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต นม เนื้อวัว ข้าวโพด น้ำตาลจากอ้อย และยีสต์ โดยคล้ายกับคนไข้ RA\nเมื่องดอาหาร 10 อย่างที่ก่อปฏิกิริยามากที่สุด ไมเกรนจะลดลงอย่างมาก และความดันโลหิตก็ลดลงด้วย\nมีบางกรณีที่โทษข้าวสาลีโดยเฉพาะ", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "224353#4", "text": "สาเหตุจากอาการคัดจมูกอาจเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้จากไข้ละอองฟาง การรักษาหลักคือการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันแล้ว สารต้านฮิสทามีนและยาแก้คัดจมูกช่วยบรรเทาอาการได้แต่ไม่สามารถรักษาไข้ละอองฟางให้หายได้ หากผู้ป่วยแพ้เกสรดอกไม้ควรให้สารต้านฮิสทามีนต่อเนื่องตลอดฤดูที่เป็นเพื่อบรรเทาอาการ", "title": "คัดจมูก" }, { "docid": "138505#1", "text": "ภูมิแพ้ระดับเบา เช่น เยื่อจมูกอักเสบ พบได้ทั่วไปในหมู่ประชากรของมนุษย์และก่อให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง, การคัน, น้ำมูกไหล, กลาก, ลมพิษ และหอบหืด ซึ่งภูมิแพ้นี้เองที่ในบางสถานการณ์อาจจะเป็นต้นเหตุสำคัญในอาการหอบหืด ในคนไข้บางราย อาการแพ้รุนแรงต่อสภาวะแวดล้อม, สารก่อภูมิแพ้ทางโภชนาการ หรือยาบางชนิด อาจส่งผลให้เกิดอาการตอบสนองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่เรียกว่าแอนาฟิแล็กซิส นอกจากนี้อาการแพ้อาหารหรืออาการตอบสนองต่อพิษของการกัดต่อยจากแมลง เช่น ต่อและผึ้ง ก็มักเกี่ยวข้องกับอาการรุนแรงเหล่านี้", "title": "ภูมิแพ้" }, { "docid": "138505#3", "text": "การรักษาภูมิแพ้ เช่น การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือการรับประทานยาต้านฮิสทามีน ก็สามารถป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้แบบเจาะจงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นการรับสารสเตอรอยด์ซึ่งจะช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน และยาบรรเทาอาการคัดจมูกก็สามารถบรรเทาอาการแพ้ลงได้ ส่วนมากแล้วยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้รับประทาน ยกเว้นอะดรีนาลินที่จำเป็นต้องรับผ่านทางการฉีดยา นอกจากนี้แล้วยังมีอีกวิธีคือการบำบัดด้วยสารก่อนภูมิแพ้ ซึ่งจะฉีดสารก่อนภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่ออาการแพ้นั้นได้เอง", "title": "ภูมิแพ้" }, { "docid": "3812#41", "text": "น้อยครั้งที่การแพ้อาหารสามารถนำไปสู่ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ เช่น ภาวะช็อกที่เกิดจากการแพ้ ความดันโลหิตต่ำ และหมดสติ สารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาประเภทนี้คือถั่วลิสง แต่ผลิตภัณฑ์ยางก็สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่คล้ายกัน การรักษาขั้นต้นทำโดยการให้เอพิเนฟริน (อะดรีนาลิน) ซึ่งมักให้ในรูปตัวฉีดอัตโนมัติ (autoinjector)", "title": "อาหาร" }, { "docid": "994695#13", "text": "ภูมิแพ้ทางเดินหายใจเป็นโรคเกี่ยวกับอาชีพที่มักเกิดกับพนักงานบริการอาหาร\nงานศึกษาก่อน ๆ ได้พบสารก่อภูมิแพ้ถึง 40 อย่างจากข้าวสาลี\nแต่บางคนก็ยังแพ้โปรตีนข้าวไรย์ และบางคนก็แพ้เรณูหญ้าอย่างข้ามพันธุ์ด้วย\nงานศึกษาภายหลังหนึ่งแสดงว่า ภูมิแพ้ของคนทำขนมปัง (baker's allergy) จะขยายเป็นกับหญ้าและธัญพืชมากมายหลายหลาก (ข้าวสาลี ข้าวทริทิเคลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ หญ้าไรย์ ข้าวโอ๊ต สกุลข้าว ข้าวโพด สกุลข้าวฟ่าง เป็นต้น) แม้ภูมิแพ้ต่อข้าวสาลีและข้าวไรย์ดูจะใกล้กันที่สุด\nและภูมิแพ้เหล่านี้ก็ดูจะเป็นปฏิกิริยาต่อทั้งโปรตีนเมล็ด (seed) และโปรตีนเรณู (pollen)\nรวมทั้งปฏิกิริยาข้ามพันธุ์ต่อเรณูหญ้าไรย์และกลูเตนในข้าวสาลี", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "994695#14", "text": "โปรตีนเป็นโซ่กรดอะมิโนที่เอาน้ำออก\nเมื่อเอนไซม์ตัดโปรตีนเป็นชิ้น ๆ มันก็จะเติมน้ำใส่จุดที่ตัดด้วย เป็นกระบวนการที่เรียกว่า enzymatic hydrolysis (การแยกสลายด้วยน้ำอาศัยเอนไซม์) หรือการสลายโปรตีน (proteolysis)\nผลผลิตเบื้องต้นของกระบวนการนี้คือ โพลีเพ็ปไทด์ โดยที่มีขนาดเล็กกว่าก็จะเรียกว่า เพ็ปไทด์\nซึ่งเรียกว่า wheat protein hydrolysate (ผลผลิตการแยกสลายโปรตีนข้าวสาลีด้วยน้ำ)\nผลผลิตเช่นนี้อาจเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากโปรตีนข้าวสาลีที่ตอนแรกไม่เป็น เพราะได้เปิดจุดที่ก่อภูมิต้านทาน (antigenic) ของโปรตีน", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "994695#23", "text": "คล้ายกับแอนาฟิแล็กซิสเหตุข้าวสาลีที่การออกกำลังกายจุดชนวน (WDEIA) แอสไพริน (แต่ก็รวม tartrazine, sodium benzoate, สารชูรส, sodium metabisulfite, tyramine ด้วย) ก็อาจทำให้ไวแพ้ข้าวสาลีเพิ่มขึ้น\nงานศึกษาเรื่อง WDEIA แสดงว่า ความโน้มเอียงทางกรรมพันธุ์ที่จะเกิดภูมิแพ้ (atopy) และ WDEIA อาจเกิดเมื่อทานแอสไพริน หรือ แล้วทำให้โปรตีนข้าวสาลีเข้าไปในเลือดได้ โดย จะมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ในเนื้อเยื่อผิวหนัง\nบางคนอาจจะไวจนกระทั่งแม้แอสไพรินเพียงเล็กน้อยก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อทั้ง atopy และ WDEIA", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "994695#22", "text": "ภูมิแพ้ของคนทำขนมปัง (baker's allergy) เกิดจากไกลอะดินโอเมกา และ thioredoxin hB\nอนึ่ง สารก่อภูมิแพ้ในแป้งนอกเหนือจากกลูเตนที่ได้ระบุแล้วก็คือ aspergillus amylase ซึ่งใส่เพื่อให้อบขนมได้ดี\nลมพิษเพราะถูกสารก่อภูมิแพ้ (contact urticaria)\nผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้ (atopic dermatitis)\nผื่นแดง และลมพิษ ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกัน คือโดยทั่วไปเชื่อว่ามีเหตุจากโปรลามินที่ไม่ชอบน้ำของหญ้าเพาะปลูกเผ่า Triticeae บางอย่าง และหญ้าเผ่า Aveneae บางอย่าง\nในข้าวสาลี โปรตีนอย่างหนึ่งดังที่ว่าก็คือไกลอะดินโอเมกา ซึ่งเป็นผลผลิตของยีน Gli-B1\nงานศึกษาในมารดาและทารกที่ทานอาหารไร้สารก่อภูมิแพ้ได้แสดงว่า อาการเช่นนี้สามารถเลี่ยงได้ถ้ากลุ่มประชากรที่ไวแพ้ข้าวสาลีไม่ทานข้าวสาลีในช่วงปีแรกของชีวิต", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "774430#2", "text": "การสัมผัสสารที่อาจก่อภูมิแพ้ในช่วงต้นของชีวิตอาจช่วยป้องกัน การรักษามีการเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาหารและมีแผนหากเกิดการสัมผัสเป็นหลัก แผนดังกล่าวอาจรวมการให้อะดรีนาลิน (อีพิเนฟริน และการสวมเครื่องเพชรพลอยเตือนทางการแพทย์) ประโยชน์ของการรักษาด้วยการก่อภูมิคุ้มกันสารก่อภูมิแพ้ (allergen immunotherapy) สำหรับภูมิแพ้อาหารยังไม่ชัดเจน และในปี 2558 ยังไม่แนะนำ ภูมิแพ้อาหารบางชนิดหายไปเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งรวมภูมิแพ้นม ไข่และถั่วเหลือง ส่วนภูมิแพ้บางชนิด เช่น ภูมิแพ้ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียวและหอยตรงแบบไม่หาย ", "title": "ภูมิแพ้อาหาร" }, { "docid": "220114#36", "text": "botulinum neurotoxins ที่ผลิตจากแบคทีเรียสายพันธุ์ Clostridia เป็นเชื้อพิษที่ร้ายแรงที่สุด สามารถประดิษฐ์เป็นอาวุธได้ง่ายและตรวจจับยากเนื่องจากเป็นสารไร้สี ไร้กลิ่น ไร้รส เป็นอาวุธสงครามที่สร้างความตื่นกลัวได้ผลดีแม้เป็นเพียงข่าวลือว่าถูกนำมาใช้เป็นอาวุธต่อสู้ (มีผลทางจิตวิทยา) แนวโน้มรูปแบบที่จะถูกนำมาใช้คือปล่อยละอองในอากาศให้สูดดมเข้าไปในร่างกายหรือใส่สปอร์พิษปนเปื้อนในอาหาร มีความพยายามพัฒนามาใช้เป็นอาวุธชีวภาพตั้งแต่ 60 ปีที่แล้ว หลังปี 2005 ก็มีการคำนวณถึงความเสียหายต่อชีวิตหากผู้ก่อการร้ายนำสารนี้มาใช้อยู่หลายเหตุการณ์ด้วยกัน เช่น สมมุติการปนเปื้อนในอาหารตามภัตตาคาร ใส่สายพานลำเลียงนมวัวสำหรับส่งออกต่างประเทศ ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตอย่างมหาศาล เหตุเพราะ botulinum toxin หนึ่งหน่วยสามารถแพร่กระจายในอากาศทำให้คนที่อยู่ใต้ลมเป็นรัศมีครึ่งไมล์กลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสียชีวิตได้", "title": "ชีวพิษโบทูลินัม" }, { "docid": "994695#1", "text": "\"ภูมิแพ้ข้าวสาลี\" อาจเป็นชื่อที่ตั้งไม่ดี เพราะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้แพ้ในข้าวสาลี เช่น serine protease inhibitor, กลูเตลิน (glutelin) และโปรลามิน (prolamin) โดยปฏิกิริยาภูมิแพ้ก็จะเกิดต่อโปรตีนต่าง ๆ กัน\nมีสารก่อภูมิแพ้ 27 อย่างในข้าวสาลีที่ได้ระบุแล้ว\nปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่หนักสุดคือแอนาฟิแล็กซิสที่การออกกำลังกายหรือยาแอสไพรินจุดชนวน โดยเนื่องกับโปรตีนไกลอะดินโอเมกา (ω-gliadin) ที่คล้ายกับโปรตีนที่เป็นเหตุของ coeliac disease\nอาการที่สามัญกว่าอื่น ๆ รวมทั้งคลื่นไส้ ลมพิษ และความโน้มเอียงทางกรรมพันธุ์ที่จะเกิดภูมิแพ้ (atopy)", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" }, { "docid": "134529#0", "text": "เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ () เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อจมูก ซึ่งเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาไวเกินกับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ผู้ป่วยอาจมีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก จาม ตาแดง คันตา น้ำตาไหล และตาบวม น้ำมูกของผู้ป่วยมักเป็นน้ำมูกใส อาการมักเริ่มกำเริบภายในไม่กี่นาทีหลังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ อาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อการนอน การทำงาน และการเรียนได้ ผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรมักมีอาการในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี ผู้ป่วยโรคนี้หลายรายจะมีโรคอื่นๆ ในกลุ่มภูมิแพ้ร่วมด้วย ได้แก่ โรคหืด เยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้ และผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้\nผู้ป่วยมักถูกกระตุ้นให้มีอาการเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์เลี้ยง ฝุ่น หรือเชื้อรา การเกิดภูมิแพ้เหล่านี้เป็นผลจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกันทำให้เกิดโรค ปัจจัยบางอย่างช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ เช่น การใช้ชีวิตวัยเด็กในฟาร์ม การมีพี่น้องหลายคน เป็นต้น กลไกของการเกิดโรคที่สำคัญอยู่ที่สารภูมิคุ้มกันชนิดไอจีอี ซึ่งสามารถจับกับสารก่อภูมิแพ้และกระตุ้นให้เกิดการปล่อยสารการอักเสบหลายๆ อย่างออกมาภายในร่างกาย เช่นมีการปล่อยฮิสตามีนออกมาจากเม็ดเลือดขาวชนิดแมสท์เซลล์ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติผู้ป่วย ร่วมกับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือตรวจเลือดหาไอจีอีที่จำเพาะต่อการก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ การทดสอบเหล่านี้บางครั้งอาจให้ผลบวกลวง (ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าเป็นโรค แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นโรค) ได้ อาการของเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะคล้ายคลึงกับโรคหวัด แต่ต่างกันตรงนี้ภูมิแพ้จะเป็นนานกว่าคือเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์ และมักจะไม่มีไข้\nการได้มีโอกาสสัมผัสสัตว์ในวัยเด็กอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยโรคนี้ในตอนโตได้ ยาที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคได้มีหลายอย่าง เช่น สเตอรอยด์ ยาต้านฮิสตามีน เช่น ไดเฟนไฮดรามีน โครโมลินโซเดียม และยาต้านลิวโคไทรอีน เช่น มอนทีลูคาสท์ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาแล้วลดอาการได้ไม่ดีนัก หรือใช้แล้วมีผลข้างเคียง การทำภูมิคุ้มกันบำบัดต่อสารก่อภูมิแพ้เป็นวิธีหนึ่งที่อาจได้ผล ทำโดยค่อยๆ ให้สารก่อภูมิแพ้ในขนาดน้อยแก่ผู้ป่วย แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดขึ้นไปตามแนวทางที่กำหนด อาจให้ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือเป็นเม็ดอมใต้ลิ้นก็ได้ ผลการรักษามักคงอยู่ได้ 3-5 ปี และอาจมีประโยชน์อื่นคงอยู่นานกว่านั้น\nเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยที่สุด ในประเทศตะวันตกพบว่าปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยถึง 10-30% ในประชากร ส่วนในไทยพบ 23-30% พบบ่อยที่สุดในคนอายุ 20-40 ปี โรคนี้ถูกบรรยายไว้อย่างถูกต้องเป็นครั้งแรกเมื่อคริสตศตวรรษที่ 10 โดยแพทย์และปราชญ์ชาวเปอร์เซียชื่อมุฮัมหมัด อัล-รอสี ต่อมา ค.ศ. 1859 นายแพทย์ชาร์ลส์ แบล็คลีย์ชาวอังกฤษจึงได้พบว่าละอองเกสรเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการในโรคไข้ละอองฟางเมื่อ ค.ศ. 1859 ส่วนกลไกที่ทำให้เกิดอาการของโรคนั้นค้นพบโดยแพทย์เคลเมนส์ ฟอน เปอร์เกต์ ชาวออสเตรีย ชื่อโรค \"ไข้ละอองฟาง\" (Hay Fever) มีที่มาจากทฤษฎีเก่าที่เคยเชื่อว่าอาการของโรคนี้เกิดจากการสูดดมกลิ่นของฟางใหม่เข้าไป ซึ่งทฤษฎีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง", "title": "เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้" }, { "docid": "994695#29", "text": "การวินิจฉัยโรคนี้อาจต้องทำเป็นพิเศษ\nไกลอะดินโอเมกา-5 ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่มีฤทธิ์มากที่สุดของข้าวสาลี ไม่สามารถตรวจจับได้ในข้าวที่ไม่ขัดสี\nเพราะต้องสกัดออกมาแล้วสลายเป็นบางส่วน (เช่นกับที่เกิดในลำไส้) จึงจะมีฤทธิ์สูงสุด\nงานศึกษาต่าง ๆ ได้แสดงว่า การย่อยโปรตีนข้าวสาลีจนเป็นกรดอะมิโน 10 อย่างอาจเพิ่มการตอบสนองเป็นภูมิแพ้เป็น 10 เท่าตัว\nการทดสอบภูมิแพ้บางอย่างอาจไม่สามารถตรวจพบภูมิแพ้ข้าวสาลีได้ทุก ๆ แบบ จึงทำให้แสดงผลไม่ชัดเจน", "title": "ภูมิแพ้ข้าวสาลี" } ]
3874
ใครคือผู้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ ?
[ { "docid": "38960#0", "text": "โจแอนน์ \"โจ\" โรว์ลิง (English: Joanne \"Jo\" Rowling, OBE FRSL[1]) หรือนามปากกา เจ. เค. โรว์ลิง[2] และ<b data-parsoid='{\"dsr\":[1509,1531,3,3]}'>โรเบิร์ต กัลเบรธ (เกิด 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1965)[3] เป็นนักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ประพันธ์วรรณกรรมแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งได้รับความความสนใจจากทั่วโลก ได้รับรางวัลมากมาย และมียอดขายกว่า 500 ล้านเล่ม[4] และยังเป็นหนังสือชุดที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์[5] ด้านภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือก็เป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้มากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์[6] โรว์ลิงอนุมัติบทภาพยนตร์ทุกภาค[7] และตลอดจนควบคุมงานฝ่ายสร้างสรรค์ภาพยนตร์ภาคสุดท้ายในฐานะผู้อำนวยการสร้าง[8]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" } ]
[ { "docid": "494668#18", "text": "ฮอร์ครักซ์ () เป็นหนึ่งในวัตถุเวทมนตร์ในวรรณกรรมเยาวชนชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ. เค. โรวลิ่ง หนึ่งในวัตถุศาสตร์มืดที่ถูกสร้างมาเพื่อรักษาความเป็นอมตะของเจ้าของไว้ \nแนวคิดของฮอร์ครักซ์ ปรากฏครั้งแรกในตอน \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม\" \nและการแสวงหาและทำลายฮอร์ครักซ์ของโวลเดอมอร์ก็เป็นประเด็นหลักของเนื้อเรื่องในสองเล่มสุดท้ายของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้แก่ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม\" และ\"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต\"", "title": "วัตถุเวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "4336#39", "text": "ผลงานในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับแปลภาษาไทยได้รับการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ในขณะที่ฉบับภาษาอังกฤษได้ออกมาแล้วสี่เล่ม โดยต้องเร่งแปลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งสี่เล่มให้เสร็จโดยเร็วเพื่อง่ายต่อการแปลแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มที่ห้า ซึ่งโรว์ลิงยังเขียนไม่เสร็จ มีผู้แปลทั้งสิ้นสามคน ได้แก่ สุมาลี บำรุงสุขแปลเล่มที่หนึ่ง สอง ห้า หกและเจ็ด วลีพร หวังซื่อกุลแปลเล่มที่สาม และงามพรรณ เวชชาชีวะแปลเล่มที่สี่ หน้าปกฉบับภาษาไทยนั้นใช้ภาพแบบเดียวกับหน้าปกฉบับอเมริกัน ซึ่งเป็นผลงานของแมรี กรองด์เปร", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "195306#0", "text": "พรีเควลแฮร์รี่พอตเตอร์ เป็นบทความสั้น ๆ ของนักเขียน เจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งเธอเขียนขึ้นมาหลังจากแฮร์รี่ พอตเตอร์จบลง มีทั้งหมด 800 คำ 2 หน้ากระดาษด้วยกัน โดยเธอกล่าวว่า \"สองสามเดือนก่อน นักเขียนจำนวนหนึ่งได้รับเชิญให้เขียนการ์ดด้วยลายมือสำหรับการประมูล โดย Waterstone's ในวันที่ 10 มิถุนายน รายได้ทั้งหมดจะมอบให้กับ \"English PEN\" ซึ่งเป็นสมาคมของนักเขียน และสมาคม \"Dyslexia Society\"\"", "title": "พรีเควลแฮร์รี่พอตเตอร์" }, { "docid": "110806#4", "text": "ในนวนิยายชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ข้าราชการส่วนใหญ่ในกระทรวงเวทมนตร์ดูเหมือนจะมาจากการแต่งตั้งมากกว่าการเลือกตั้ง ผู้สำเร็จการศึกษาเวทมนตร์สามารถเข้าทำงานที่กระทรวงได้ทันที แต่ตำแหน่งต่าง ๆ มีกำหนดระดับการศึกษาและผลสอบไว้ต่างกัน อย่างไรก็ดี มีระบุว่า ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเวทมนตร์เองมาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่เคยมีการอธิบายว่า ใครเป็นผู้เลือกตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเวทมนตร์ ตลอดเรื่อง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ทั้งกระทรวงเวทมนตร์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเวทมนตร์ดูจะอ่อนไหวง่ายกับความเห็นของสาธารณชนชาวพ่อมด จึงพยายามควบคุมความคิดเห็นของผู้คนด้วยข่าวหนังสือพิมพ์", "title": "กระทรวงเวทมนตร์" }, { "docid": "10882#11", "text": "ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี เขากลายเป็นจุดสนใจของคนรอบข้างอีกครั้ง เมื่อกลายเป็นผู้เข้าแข่งขันในการประลองเวทไตรภาคี ซึ่งทำให้เพื่อนร่วมบ้านกริฟฟินดอร์ต่างยินดี ยกเว้นรอน ผู้รู้สึกว่าเรื่องนี้เหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้เขาหมดความอดทนด้วยความที่แฮร์รี่เด่นกว่าเขาในทุกๆ ด้าน รวมถึงบ้านอื่นๆ ที่คิดว่าเขาต้องการเรียกร้องความสนใจ โดยเฉพาะบ้านฮัฟเฟิลพัฟที่มีเซดริก ดิกกอรี่ที่เป็นตัวแทนของฮอกวอตส์อีกคนหนึ่ง แฮร์รี่คืนดีกับรอนในเวลาต่อมา เนื่องจากรอนเห็นแล้วว่าการประลองดังกล่าวอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ในขณะเดียวกันแฮร์รี่และเพื่อนก็สงสัยว่าใครเป็นคนหยอดชื่อของเขาลงไปในถ้วยอัคนี แต่หลังจากที่แฮร์รี่เผชิญหน้ากับลอร์ดโวลเดอมอร์ผู้กลับคืนชีพอีกครั้ง เขาจึงทราบว่าเป็นแผนของโวลเดอมอร์นั่นเอง ในการเผชิญหน้าครั้งนี้แฮร์รี่รอดมาได้อย่างหวุดหวิดจากการที่ไม้กายสิทธิ์ของเขามีแกนกลางเป็นขนนกฟินิกซ์เหมือนกับของโวลเดอมอร์ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ประหลาด ไม้ทั้งสองสะท้อนผลของคาถาซึ่งกันและกัน แต่ก็ต้องแลกกับการตายของเซดริกและเกราะคุ้มกันตัวแฮร์รี่ซึ่งถูกทำลายไปโดยเลือดของเขาเอง ความไว้ใจของแฮร์รี่ยังถูกทดสอบอีกครั้งเมื่อรู้ว่าศาสตร์จารย์มู้ดดี้ที่แฮร์รี่นับถือ แท้ที่จริงแล้วเป็นผู้เสพความตายปลอมตัวมาและทำให้แฮร์รี่เกือบตกอยู่ในอันตรายสูงสุด แต่ดัมเบิลดอร์ก็ช่วยเขาไว้ได้อีกครั้ง", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)" }, { "docid": "201011#11", "text": "เปล่งเสียงว่า: อะวาดา เคดาฟ-รา ผลของเวทมนตร์: ทำให้ผู้ต้องคำสาปตายทันทีโดยไม่เจ็บปวด ไม่มีคาถาต่อต้านหรือวิธีป้องกันคาถานี้ อย่างไรก็ตาม หากมีใครสละชีวิตของตนให้แก่อีกคน บุคคลที่ถูกช่วยนั้นจะไม่ได้รับผลกระทบที่เป็นอันตรายจากคำสาปทุกชนิดโดยผู้โจมตีโดยเจาะจงบุคคล (นั่นคือ ลิลี่ พอตเตอร์สละชีวิตของตนเพื่อแฮร์รี่ พอตเตอร์ในเงื้อมมือของโวลเดอมอร์ แฮร์รี่ก็จะได้รับการคุ้มครองจากคำสาปที่โวลเดอมอร์ร่าย) เป็นหนึ่งในสามคำสาปโทษผิดสถานเดียว หมายเหตุ: บุคคลเพียงสองคนที่เป็นที่ทราบว่ารอดชีวิตจากคำสาปพิฆาต คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับโวลเดอมอร์ เพราะฝ่ายหลังได้รับการคุ้มครองจากฮอร์ครักซ์ แฮร์รี่ถูกคาถานี้สองครั้ง นกฟีนิกซ์เองก็สามารถรอดชีวิตจากคำสาปพิฆาตได้ โดยพวกมันจะระเบิดเป็นไฟเช่นเดียวกับที่จะเกิดขึ้นเมื่อมันสิ้นอายุขัย และเกิดขึ้นใหม่จากเถ้าถ่าน นี่เกิดขึ้นในภาคีนกฟีนิกซ์ ที่มาของชื่อ: โรวลิงอธิบายว่า เป็นคาถาโบราณในภาษาอราเมอิก และเป็นคำดั้งเดิมของ \"อะบราคาดาบรา\" ซึ่งหมายความว่า \"ให้ทุกอย่างถูกทำลาย\" เดิมคาถานี้ใช้รักษาอาการเจ็บป่วย และ \"สิ่ง\" นั้นหมายถึงอาการเจ็บป่วย[8] การใช้ชื่อนี้ของโรวลิงอาจได้รับอิทธิพลมาจากคำว่า cadaver ในภาษาละตินที่แปลว่า ศพ", "title": "รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "4336#53", "text": "หนังสือชุดนี้ตกเป็นประเด็นโต้แย้งทางกฎหมายมากมายหลายคดี มีทั้งการฟ้องร้องจากกลุ่มคริสเตียนอเมริกันว่าการใช้เวทมนตร์คาถาในหนังสือเป็นการเชิดชูศิลปะของพวกพ่อมดแม่มดให้แพร่หลายในหมู่เด็ก ๆ รวมถึงข้อขัดแย้งอีกหลายคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า การที่นวนิยายชุดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและครอบครองมูลค่าตลาดสูงมาก ทำให้โรว์ลิง สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ของเธอ รวมถึงวอร์เนอร์ บราเธอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของตน ทั้งนี้รวมถึงการห้ามจำหน่ายสินค้าลอกเลียนแบบแฮร์รี่ พอตเตอร์ เหล่าเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ใช้ชื่อโดเมนคาบเกี่ยวกับคำว่า \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" พวกเขายังฟ้องนักเขียนอีกคนหนึ่งคือ แนนซี สโตฟเฟอร์ เพื่อตอบโต้การที่เธอออกมากล่าวอ้างว่า โรว์ลิงลอกเลียนแบบงานเขียนของเธอ[106][107][108] กลุ่มนักอนุรักษนิยมทางศาสนาจำนวนมากอ้างว่า หนังสือชุดนี้เชิดชูศาสตร์ของพ่อมดแม่มด ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก[109] นอกจากนี้ยังมีนักวิจารณ์อีกจำนวนหนึ่งวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังสือชุดนี้มีแง่มุมทางการเมืองซ่อนอยู่หลายประการ[110][111]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "4336#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิง เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และ เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดศาสตร์มืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ที่ต้องการจะมีชีวิตอมตะ มีเป้าหมายเพื่อพิชิตมักเกิ้ล หรือประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมดและทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "197283#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ () เป็นภาพยนตร์แนวแฟนตาซีออกฉายเมื่อ ค.ศ. 2002 กำกับโดย Chris Columbus และจัดจำหน่ายโย Warner Bros. Pictures ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ J. K. Rowling ซึ่งเคยตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1998 เป็นภาคต่อของ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" (2001) และเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 2 ในชุดภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" เป็นผลงานการเขียนบทของ Steve Kloves และอำนวยการสร้างโดย David Heyman เล่าเรื่องการผจญภัยของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในปีที่สองของการศึกษาในโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ซึ่งทายาทของซัลลาซาร์ สลิธีริน ได้เปิดห้องแห่งความลับ และปลดปล่อยสัตว์ร้ายภายในออกมาทำให้ผู้คนในโรงเรียนกลายเป็นหิน นำแสดงโดย Daniel Radcliffe รับบทแฮร์รี่ พอตเตอร์ Rupert Grint รับบทรอน วีสลีย์ และ Emma Watson รับบทเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ Richard Harris มารับบทเป็นศาสตราจารย์อัลบัส ดัมเบิลดอร์ ก่อนที่จะเสียชีวิตในปีเดียวกันกับที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "4336#43", "text": "ความสำเร็จของนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์ ตลอดไปจนถึงสำนักพิมพ์และผู้ถือสิทธิ์ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้งหมด โรว์ลิงได้รับผลตอบแทนมากจนกระทั่งนับได้ว่าเป็นนักเขียนเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ \"มหาเศรษฐี\" ของโลก[80] มีการจำหน่ายหนังสือไปแล้วกว่า 400 ล้านเล่มทั่วโลก และช่วยนำกระแสนิยมให้แก่ภาพยนตร์ชุดดัดแปลงโดย วอร์เนอร์บราเธอร์ส ด้วย ภาพยนตร์ดัดแปลงในแต่ละตอนต่างประสบความสำเร็จไปตามกัน สามารถติดอันดับเป็นภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลในทุกภาคที่เข้าฉาย[81][82] ชุดภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นได้รับการต่อยอดไปสู่รูปแบบวิดีโอเกมและสินค้าจดลิขสิทธิ์กว่า 400 รายการ ซึ่งมูลค่าโดยประมาณของแบรนด์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีมูลค่าสูงกว่ากว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ทำให้โรว์ลิงกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้าน[83] ในรายงานเปรียบเทียบบางแห่งยังกล่าวว่าเธอร่ำรวยกว่าสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสียอีก[84][85] ทว่าโรว์ลิงชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง[86]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "4336#45", "text": "ในช่วงแรก ๆ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้รับคำวิจารณ์ค่อนข้างดี ทำให้นวนิยายชุดนี้ขยายฐานผู้อ่านออกไปอย่างมาก หนังสือเล่มแรกของชุดคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ได้จุดประเด็นความสนใจแก่หนังสือพิมพ์ของสกอตแลนด์หลายเล่ม เช่น The Scotsman บอกว่าหนังสือเล่มนี้ \"มีทุกอย่างของความคลาสสิก\"[93] หรือ The Glasgow Herald ตั้งสมญาให้ว่าเป็น \"สิ่งมหัศจรรย์\"[93] ไม่นานหนังสือพิมพ์ของทางอังกฤษก็เข้าร่วมวงด้วย มีหนังสือพิมพ์มากกว่า 1 เล่มเปรียบเทียบงานเขียนชุดนี้กับงานของโรอัลด์ ดาห์ล หนังสือพิมพ์ The Mail on Sunday เรียกหนังสือเล่มนี้ว่าเป็น \"งานเขียนที่เปี่ยมจินตนาการนับแต่ยุคของโรอัลด์ ดาห์ล\"[93] ส่วน The Guardian เรียกหนังสือนี้ว่า \"นวนิยายอันงดงามที่สร้างโดยนักประดิษฐ์อัจฉริยะ\"[93]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "107269#7", "text": "ในภาคนี้ บรรดานักเรียนฮอกวอตส์ ปี 5 ต้อง สอบ ว.พ.ร.ส. (วิชาพ่อมดระดับสามัญ)นักเรียนทั้งหลายต่างกดดันเป็นที่สุดโดยเฉพาะแฮร์รี่ เมื่อกระทรวงเวทมนตร์เริ่มครอบงำโรงเรียนฮอกวอตส์ ไม่มีใครเชื่อว่า ลอร์ดโวลเดอมอร์ กำลังเข็มแข็งขึ้นเรื่อยมาหลังจากการประลองเวทไตรภาคี สิ้นสุดลง จนสุดท้ายแฮร์รี่ก็ต้องเจ็บปวดอีกครั้งเมื่อพบกับความสูญเสียครั้งสำคัญ(อีกครั้ง) ทางกระทรวงจะทราบความจริง หรือไม่ และความกดดันของโรงเรียนจะเป็นเช่นไร ต้องติดตาม...เดวิด เยตส์ ได้รับเลือกให้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังจากที่ Mike Newell (ผู้กำกับภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี\"), Jean-Pierre Jeunet, Matthew Vaughn, และ Mira Nair ปฏิเสธที่จะกำกับ เยตส์เชื่อว่าที่เขามีความเหมาะสมจะกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพราะทางสตูดิโอเห็นว่าเขาสามารถกำกับภาพยนตร์ที่ \"มีความสุดขั้วและเต็มไปด้วยอารมณ์\" ซึ่งมี \"เบื้องหลังทางการเมือง\" ได้ดี จากผลงานเก่าของเขาคือละครโทรทัศน์เรื่อง \"Sex Traffic\" นอกจากนี้แล้ว Steve Kloves ผู้เขียนบทที่เคยเขียนบทภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" 4 ภาคก่อนหน้านี้ ติดภารกิจ จึงมีการจัดให้ Michael Goldenberg มาเขียนบทแทน", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "113433#4", "text": "เขาพบกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ครั้งแรก ตอนที่เขาไปร้านเสื้อผ้าของมาดามมัลกิ้นส์ที่ตรอกไดแอกอน โดยตอนนั้นเขายังดูอีกฝ่ายไม่ออกว่าคือใคร โดยเขาถามอีกฝ่ายว่า \"พ่อแม่เขาเป็น พวกของเรา (สายเลือดบริสุทธิ์) หรือไม่\" และเขายังบอกอีกว่า คนที่มาจากครอบครัวมักเกิ้ล (พวกไร้เวทมนตร์) นั้นไม่ควรมาเรียนที่ ฮอกวอตส์ ด้วย ก่อนจะจากไปโดยไม่มีการแนะนำตัวกันเลย และเขาพบอีกครั้งก่อนบนรถไฟด่วนฮอกวอตส์และถูกแฮร์รี่ปฏิเสธมิตรภาพของเขา หลังจากที่เขาว่าร้าย รอน วีสลีย์ (คนที่ได้ชื่อว่า เป็นเพื่อนคนแรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์)", "title": "เดรโก มัลฟอย" }, { "docid": "10882#0", "text": "แฮร์รี่ เจมส์ พอตเตอร์</b>เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วันเดือนเดียวกับผู้แต่ง เจ. เค. โรว์ลิ่ง ได้เขียนให้แฮร์รี่เกิดวันเดียวกันกับเธอแต่คนละปี) เป็นลูกชายคนเดียวของเจมส์ พอตเตอร์และลิลี่ พอตเตอร์ เป็นตัวละครเอกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)" }, { "docid": "940971#1", "text": "\"แฮร์รี่ พอตเตอร์: ฮอกวอตส์ มิสเตอรี\" เป็นเกมเล่นตามบทบาทจัดในจักรวาล\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\"ของเจ. เค. โรว์ลิง โดยเกมจะจัดในช่วงวันเกิดของแฮร์รี่ พอตเตอร์และบรรยากาศในฮอกวอตส์ ผู้เล่นสามารถสร้างและปรับแต่งอวตารของตนเองได้ โดยเป็นนักเรีนที่กำลังศึกษาอยู่ในฮอกวอตส์ พวกเขาสามารถเรียนวิชาเวทย์มนตร์, ร่ายคาถา, ต่อสู้กับศัตรู และร่วมภารกิจ ในระหว่างที่เล่นเกมอยู่นั้น ผู้เล่นสามารถกำหนดชะตาของตัวละคร ซึ่งจะมีผลต่อความสัมพันธ์ของตัวละคร (และบางครั้งตัวเลือกอาจจะถูกล็อกเนื่องจากสถิตถผู้เล่นยังมีไม่มากพอ) ผู้เล่นสามารถคุยกับบุคคลสำคัญเช่น อัลบัส ดัมเบิลดอร์, รูเบอัส แฮกริด, เซเวอร์รัส สเนป และมิเนอร์ว่า มักกอนนากัล", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์: ฮอกวอตส์มิสทะรี" }, { "docid": "315583#0", "text": "\"โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์\" (English: The Wizarding World of Harry Potter) เป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของ สวนสนุกแฮร์รี่ พอตเตอร์ (English: Harry Potter Theme Park) เป็นสวนสนุกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ (Islands of Adventure) ในยูนิเวอร์แซล ออร์แลนโด รีสอร์ต เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เป็นความร่วมมือระหว่างค่าย วอร์เนอร์บราเธอร์ส กับยูนิเวอร์แซล และได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียนนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ โดยภายในสวนสนุกประกอบด้วย ฮอกวอตส์ หมู่บ้านฮอกส์มี้ด กระท่อมแฮกริด และรถไฟเหาะมังกร มีกำหนดเปิดในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553", "title": "โลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต)" }, { "docid": "494668#29", "text": "หมวกคัดสรรเป็นหมวกของก็อดดริก กริฟฟินดอร์ หนึ่งในสี่ผู้ก่อตั้งโรงเรียนฮอกวอตส์ เนื่องจากวันหนึ่งผู้ก่อตั้งที่สี่ปรึกษากันว่าหากวันหนี่งไม่มีพวกเขาแล้วใครจะเป็นผู้คัดเลือกนักเรียน ก็อดดริก กริฟฟินดอร์จึงถอดหมวกที่ใส่อยู่ แล้วผู้ก่อตั้งทั้งสี่ก็ร่ายเวทมนตร์ไว้ที่หมวกคัดสรร ซึ่งก็ได้ทำหน้าที่คัดสรรนักเรียนฮอกวอตส์มาโดยตลอดหมวกคัดสรรถูกเก็บไว้ที่ห้องศาสตราจารย์ใหญ่ ทำให้ได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงสามารถคาดเดาเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปี และ นำมาเตือนได้ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ฟอกส์นกฟีนิกซ์ของดัมเบิลดอร์ ได้เอาหมวกคัดสรรมาให้แฮร์รี่ที่ห้องแห่งความลับ และ ดาบกริฟฟินดอร์ที่แฮร์รี่หยิบมาจากในหมวกก็ทำให้แฮร์รี่รอดชีวิตกลับมาได้", "title": "วัตถุเวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "10882#24", "text": "เฮอร์ไมโอนี่มักเป็นที่จับตามองว่าเป็นคู่รักของแฮร์รี่ เพียงเพราะเธอเป็นเพื่อนผู้หญิงที่สนิทที่สุดของแฮร์รี่ ทั้งสองมักถูกคนรอบข้างจับคู่ให้อยู่บ่อยครั้ง ในปีที่สี่ของแฮร์รี่ วิกเตอร์ ครัม ผู้เป็นตัวแทนของเดิร์มสแตรงก์ในการประลองเวทไตรภาคีซึ่งแอบชอบเฮอร์ไมโอนี่และบอกความรู้สึกนั้นกับเธอในเวลาต่อมา รู้สึกอิจฉาแฮร์รี่ ที่มีโอกาสได้คุยกับเฮอร์ไมโอนี่ตลอดเวลา อีกคนหนึ่งที่ทำการจับคู่แฮร์รี่-เฮอร์ไมโอนี่อย่างเปิดเผยคือริต้า สกีตเตอร์ นักข่าวของหนังสือพิมพ์เดลี่พรอเฟ็ต ที่เขียนเรื่องราวที่ใส่สีตีไข่ที่กล่าวถึงรักสามเส้าระหว่างแฮร์รี่, เฮอร์ไมโอนี่ และวิกเตอร์ลงในบทความในหนังสือพิมพ์<i data-parsoid='{\"dsr\":[20773,20789,2,2]}'>เดลี่พรอเฟ็ต</i>ในปีเดียวกัน และท้ายที่สุด ในปีที่ห้า (แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์) ผู้ที่รู้สึกหึงแกมอิจฉาความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนระหว่างแฮร์รี่และเฮอร์ไมโอนี่ก็คือโช แชง", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)" }, { "docid": "17410#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี คือหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดยงามพรรณ เวชชาชีวะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเป็นฉบับภาษาไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 วรรณกรรมชุดนี้ถือว่ายาวมากอย่างไม่น่าจะมีใครทำมาก่อน โดยในฉบับภาษาไทยมีความยาวทั้งหมดถึง 832 หน้า (ฉบับบลูมส์บูรี่มีความยาวทั้งหมด 636 หน้า) หนังสือเล่มนี้สร้างสถิติโดยเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากกว่าชิ้นงานวรรณกรรมเยาวชนอื่นๆ มีเพียงหนังสือเล่มต่อๆ มาในชุดเดียวกันนี้เท่านั้นที่สามารถลบสถิตินี้ได้ นั่นคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม โดยเฉพาะจากการที่ เจ. เค. โรว์ลิ่งออกมาเตือนผู้อ่านก่อนหนังสือจะตีพิมพ์ว่าจะมีตัวละครเสียชีวิตในเล่มนี้ ซึ่งสร้างกระแสของการคาดการณ์ว่าตัวละครใดจะเสียชีวิต และสร้างปรากฏการณ์ 'คลั่งแฮร์รี่ พอตเตอร์' ทั่วโลก", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี" }, { "docid": "107228#6", "text": "ปีการศึกษาที่ห้าเริ่มต้นด้วยการประกาศข่าวโดยดัมเบิลดอร์ว่าอาจารย์ป้องกันตัวจากศาสตร์มืดคนใหม่คือ โดโรเลส อัมบริดจ์ แฮกริดไม่อยู่ที่โรงเรียน เมื่อพวกแฮร์รี่ มีช่วงเรียน กับอัมบริดจ์ เธอไม่ยอมให้ใครเรียนเกี่ยวกับการป้องกันตัวแบบปฏิบัติ แต่ให้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการป้องกันตัวแทน นักเรียนหลายคนประท้วงเรื่องนี้ จนแฮร์รี่พูดออกมาว่าโวลเดอมอร์กลับมา อัมบริดจ์ลงโทษกักบริเวณแฮร์รี่และให้คัดลายมือกับเธอในออฟฟิศ หลังจากที่แฮร์รี่กลับเข้ามาในห้องรวมกริฟฟินดอร์ เฮอร์ไมโอนี่ห็นรอยแดงบนมือของแฮร์รี่ ซึ่งเกิดจากปากกาขนนกที่เขียนด้วยเลือดแทนหมึก พวกแฮร์รี่ทนไม่ไหวที่แต่ละวันไม่ได้เรียนเกี่ยวกับการป้องกันตัวแบบจริงๆ เฮอร์ไมโอนี่วางแผนทั้งหมดให้แฮร์รี่เป็นหัวหน้าของทีม และมีคนหลายคนที่มาเข้าร่วมโดยทำการลับๆใน ห้องต้องประสงค์ภายใต้ชื่อทีมว่า กองทัพ ดัมเบิลดอร์ พวกเขาเรียนการป้องกันตัวจริงๆในห้องนั้น เรียนคาถาเดียวกับที่แฮร์รี่ทำได้ เช่น คาถาเสกผู้พิทักษ์ และเรียนจากหนังสือที่เฮอร์ไมโอนี่ได้มาจากห้องสมุด ไม่นานหลังจากที่ อัมบริดจ์ตั้งกฎมากมายเพื่อต่อต้านโรงเรียน เธอเองได้รับแต่งตั้งให้เป็นคนตรวจการเรียนการสอนของอาจารย์แต่ละคน หลังจากที่ประมวลผลออกมาแล้ว ซีบิล ทรีลอว์นีย์ ถูกไล่ออก แต่ดัมเบิลดอร์ออกมาช่วยเหลือ อัมบริดจ์รู้แผนการของแฮร์รี่จึงออกกฎห้ามการรวมกลุ่มโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ว่าเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม และเธอก็จัดกลุ่มของเธอเพื่อคอยตรวจสอบความประพฤติของนักเรียนแทนเธอ รวมทั้งคอยจับตาดูแฮร์รี่ พอตเตอร์ กลุ่มนักเรียนของเธอรวมไปถึง แครบ กอยล์ และ เดรโก มัลฟอย ซึ่งคอยจับตาดูและพยายามจะเข้าไปในห้องต้องประสงค์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์" }, { "docid": "10882#4", "text": "เจมส์และลิลี่ พอตเตอร์ พ่อแม่ของแฮร์รี่ถูกสังหารโดยโวลเดอมอร์ใน 31 ตุลาคม พ.ศ. 2524(วันฮาโลวีน) (ค.ศ. 1981) ขณะที่พยายามปกป้องลูกชาย แฮร์รี่จากโวลเดอมอร์ เจมส์ถูกสังหารก่อน ตามด้วยลิลี่ ผู้ปกป้องลูกด้วยการนำตัวเข้าไปขวางคำสาปพิฆาตจากโวลเดอมอร์ขณะพยายามฆ่าแฮร์รี่ การกระทำดังกล่าวทำให้เกิดพันธะปกป้องลึกลับซึ่งเกิดขึ้นจากความรักของแม่ และทำให้คำสาปพิฆาต \"อะวาดา เคดาฟ-รา\" ซึ่งโวลเดอมอร์เป็นผู้สาปมีผลสะท้อนกลับมายังตัวของเขาเอง ทำให้เขาบาดเจ็บสาหัส และสูญเสียพลังทั้งหมดที่เคยมี ในหนังสือเล่มที่สอง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ แฮร์รี่บอกกับโวลเดอมอร์ว่า \"ไม่มีใครรู้ว่าทำไมคุณถึงสูญเสียพลังอำนาจของคุณไปเมื่อคุณทำร้ายผม ผมไม่รู้ด้วยซ้ำไป แต่ผมรู้ว่าทำไมคุณฆ่าผมไม่ได้...\" เมื่อโวลเดอมอร์ไร้พลังอำนาจ จึงจำเป็นต้องหลบซ่อนตัว ในขณะที่แฮร์รี่กลายเป็นผู้โด่งดังและเป็นที่รู้จักในโลกผู้วิเศษว่าเป็น \"เด็กชายผู้รอดชีวิต\" มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นแผลเป็นรูปสายฟ้าตรงกลางหน้าผากซึ่งเกิดจากคำสาปของโวลเดอมอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)" }, { "docid": "209021#0", "text": "ลำดับเวลาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นลำดับเวลาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมเยาวชนชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" โดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง โดยลำดับเวลาดังกล่าวจะครอบคลุมถึงเหตุการณ์ที่ปรากฏในงานเขียนด้วย โดยเพิ่มเติมจากที่โรวลิ่งโพสต์ในเว็บไซต์ของเธอ จากการให้สัมภาษณ์หลายครั้งและจากสื่อสิ่งพิมพ์อื่น", "title": "ลำดับเวลาในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "222054#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอนที่ 7 ในชื่อ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ แต่เนื่องจากในภาคสุดท้ายนั้นมีรายละเอียดมากและทางผู้สร้างต้องการให้หนังจบลงอย่างสมบูรณ์แบบ จึงแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตตอนที่ 1 และตอนที่ 2 สำหรับตอนที่ 1 เริ่มถ่ายทำเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และจะเข้าฉายในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ตอนที่ 2 จะเข้าฉายในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ภาพยนตร์มีนักแสดงนำได้แก่ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ รูเพิร์ท กรินท์ และเอ็มม่า วัตสัน กำกับการแสดงโดย เดวิด เยตส์ เขียนบทโดยสตีฟ โคลฟ อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน และเดวิด แบร์รอน", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1" }, { "docid": "4336#33", "text": "โรว์ลิงเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เสร็จใน พ.ศ. 2538 และต้นฉบับถูกส่งไปยังตัวแทนผู้ซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือหลายคน (prospective agent)[43] ตัวแทนคนที่สอง คริสโตเฟอร์ ลิตเตล เสนอเป็นตัวแทนเธอและส่งต้นฉบับไปยังสำนักพิมพ์บลูมส์บรี หลังสำนักพิมพ์อื่นแปดสำนักปฏิเสธศิลาอาถรรพ์ บลูมส์บรีเสนอค่าตอบแทนล่วงหน้าเป็นเงิน 2,500 ปอนด์แก่โรว์ลิงเป็นค่าจัดพิมพ์[44][45] แม้เธอจะไม่ได้วางกลุ่มอายุเป้าหมายไว้ในใจเมื่อเริ่มต้นเขียนหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ สำนักพิมพ์เดิมตั้งเป้าไว้ที่เด็กอายุระหว่างเก้าถึงสิบเอ็ดปี[46] วันก่อนวันจัดพิมพ์ โรว์ลิงได้รับการร้องขอจากสำนักพิมพ์ให้ใช้นามปากกาที่ไม่บ่งบอกเพศมากกว่านี้ เพื่อดึงดูดกลุ่มอายุที่เป็นชายมากขึ้น ด้วยกลัวว่าพวกเขาอาจไม่สนใจอ่านนวนิยายที่พวกเขารู้ว่าผู้หญิงเขียน เธอเลือกใช้ชื่อ เจ. เค. โรว์ลิง (โจแอนน์ แคทลีน โรว์ลิง) โดยใช้ชื่อย่าของเธอเป็นชื่อที่สอง เพราะเธอไม่มีชื่อกลาง[45][47]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "91329#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต () เป็นนวนิยายแนวแฟนตาซี เขียนโดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิ่ง เป็นหนังสือเล่มที่เจ็ดและเป็นเล่มสุดท้ายในนวนิยายชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 เป็นการปิดฉากชุดนวนิยายซึ่งเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1997 จากการตีพิมพ์นวนิยายเรื่อง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" ในประเทศอังกฤษตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บลูมสบิวรี่ ประเทศอเมริกาตีพิมพ์โดยสกอลาสติก และในประเทศไทยตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ (ออกจำหน่ายวันที่ 7 ธันวาคมพ.ศ. 2550) ดำเนินเรื่องราวต่อจากเหตุการณ์ใน \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม\" ไปจนถึงการเผชิญหน้าครั้งสุดท้ายระหว่างสองพ่อมด แฮร์รี่ พอตเตอร์ และลอร์ดโวลเดอมอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต" }, { "docid": "209021#3", "text": "Warner Bros. ผู้ผลิตภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ และเป็นผู้ถือเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อแฮร์รี่ พอตเตอร์ รูปแบบดีวีดีของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ในตอน \"ห้องแห่งความลับ\" \"นักโทษแห่งอัซคาบัน\" และ \"ถ้วยอัคนี\" ก็ปรากฏลำดับเวลาด้วยเช่นกัน Warner Bros. ซึ่งเดิมพัฒนาลำดับเวลาดังกล่าวโดยเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ\" ในปี ค.ศ. 2002 โรวลิ่งได้ทบทวนและปรับปรุงแก้ไขหลายครั้งจนกระทั่งเธอเห็นควรให้ใช้เป็นลำดับเวลา \"อย่างเป็นทางการ\"", "title": "ลำดับเวลาในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "494668#25", "text": "ถ้วยอัคนีเป็นของวิเศษที่ปรากฏในแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี ซึ่งถ้วยนี้เป็นถ้วยที่ใช้ในการเลือกนักเรียนที่จะเป็นตัวแทนในการประลองเวทไตรภาคีของแต่ละโรงเรียน ซึ่งถ้าหากผู้ใดต้องการจะเข้าร่วมการแข่งขัน ก็ให้เขียนชื่อใส่ลงในถ้วย หลังจากนั้นถ้วยจะพ่นชื่อผู้ที่ได้เป็นตัวแทนของแต่ละโรงเรียนออกมา ถ้วยอัคนีนั้นเป็นวัตถุแห่งเวทมนตร์อันทรงพลังมาก มีเพียงคาถาพัลวัลจิตเท่านั้นที่สามารถตบตาได้", "title": "วัตถุเวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "494668#30", "text": "เป็นปากกาขนนกที่อัมบริดจ์ใช้ในการลงโทษนักเรียนที่ฮอกวอตส์เมื่อครั้งเป็นศาสตราจารย์วิชาการป้องกันตัวจากศาสตร์มืด จนถึงเป็นศาสตราจารย์ใหญ่แห่งฮอกวอตส์ \nปากกาขนนกของเธอปรากฏครั้งแรกตอนที่เธอต้องการลงโทษแฮร์รี่ พ๊อตเตอร์ เพราะเธอกล่าวหาว่าเขาพูดโกหกเกี่ยวกับการกลับมาของเจ้าแห่งศาสตร์มืด\nโดยเธอให้แฮร์รี่ พอตเตอร์ เขียนคำว่า \"ฉันจะไม่โกหก\" ปากกาของเธอไม่ต้องใช้น้ำหมึก เพราะเมื่อเขียนลงบนกระดาษข้อความที่เขียนนั้นจะถูกกรีดสลักลงที่หลังมือของผู้เขียน\nถือว่าเป็นการลงโทษที่โหดร้ายสำหรับนักเรียน และปากกานี้ได้ปรากฏอีกครั้งตอนที่เธอต้องการลงโทษนักเรียนเกี่ยวกับการก่อตั้งชมรมลับ นักเรียนที่ถูกลงโทษในครั้งนั้นเช่น\nเฟร็ด จอร์จ เฮอร์ไมโอนี่ เป็นต้น", "title": "วัตถุเวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "4336#3", "text": "หนังสือทั้งเจ็ดเล่มถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์สจำนวนแปดภาค โดยเนื้อเรื่องในหนังสือเล่มที่เจ็ด ผู้สร้างได้แบ่งออกเป็นสองตอน ภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[5767,5787,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล นอกจากนี้ ยังได้มีการผลิตสินค้าควบคู่กันอีกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ชื่อยี่ห้อแฮร์รี่ พอตเตอร์มีมูลค่ามากกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เนื้อหาที่ไม่ได้เปิดเผยในหนังสือได้เริ่มเผยแพร่ในรูปแบบอีบุ๊กผ่าน \"พอตเตอร์มอร์\"[11] ได้มีการต่อยอดความสำเร็จของแฮร์รี่ พอตเตอร์ไปในหลายรูปแบบ อาทิเช่น สวนสนุกโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์, สตูดิโอทัวร์ในลอนดอน, ภาพยนตร์ภาคแยกซึ่งดัดแปลงมาจากเนื้อหาของหนังสือสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ และภายหลังได้มีการดัดแปลงแฮร์รี่ พอตเตอร์สู่รูปแบบละครเวที ใช้ชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาป เปิดการแสดงในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ที่โรงละครพาเลซเธียเตอร์ เมืองลอนดอน โดยบทละครเวทียังได้ถูกพิมพ์จำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ลิตเติ้ลบราวน์ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์เดียวกันที่ตีพิมพ์นิยายผู้ใหญ่ของโรว์ลิ่งภายใต้ชื่อ โรเบิร์ต กัลเบรธอีกด้วย[12]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "197313#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน () ภาพยนตร์ลำดับที่ 3 โดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส จากวรรณกรรมเยาวชน แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ คริส โคลัมบัส ผู้กำกับภาคที่ 1 และ 2 กับเดวิด เฮย์แมนเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ จากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง นำแสดงโดย แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ท กรินท์, เอ็มม่า วัตสัน,ไมเคิล แกรมบอลล์ ที่มารับตำแหน่งดัมเบิลดอร์แทนคนก่อนเนื่องจาก คนรับตำแหน่งดัมเบิลดอร์คนก่อนเสียชีวิต ", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (ภาพยนตร์)" } ]
3875
สนามฟุตบอลบางกอกอารีนามีขนาดเท่าไหร่?
[ { "docid": "445746#0", "text": "บางกอกอารีนา (English: Bangkok Arena) หรือชื่อเดิมว่า บางกอกฟุตซอลอารีนา เป็นสนามกีฬาในร่มของประเทศไทย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 50 ไร่ ภายในศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมีโครงการพัฒนาเป็นศูนย์กีฬาทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครในอนาคต", "title": "บางกอกอารีนา" } ]
[ { "docid": "445746#9", "text": "เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ เป็นประธานในพิธีเปิดสนามบางกอกฟุตซอลอารีนา ซึ่งประกอบด้วยการบวงสรวงทางศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดู หลังจากนั้น คณะทำงานผู้แทนฟีฟ่าเข้าตรวจสอบสนามในช่วงบ่าย ต่อมาในช่วงเย็น มีการจัดแข่งขันฟุตซอลนัดพิเศษ ระหว่างทีมบีเอ็มเอออลสตาร์ (รวมกรุงเทพมหานคร) กับทีมรวมสื่อมวลชน อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างสนามยังไม่เสร็จเรียบร้อยและต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยคณะทำงานผู้แทนฟีฟ่า แจ้งให้ปรับปรุงห้องรับรองพิเศษและห้องน้ำ ส่วนงานก่อสร้างอยู่ระหว่างรอวัสดุปูพื้น[21]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#1", "text": "สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ลงมติให้ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 จึงเริ่มดำเนินโครงการก่อสร้างสนามฟุตซอลเพื่อใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขัน พร้อมทั้งการจัดพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขัน ในปี พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีซึ่งมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีมติให้กรุงเทพมหานครที่มีหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตรเป็นผู้ว่าราชการ รับผิดชอบโครงการด้วยวงเงินประมาณ 1,300 ล้านบาท โดยลงนามในสัญญาจ้างบริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) เพื่อเริ่มการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555[1] และมีพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555[2]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "370180#3", "text": "โครงการสร้างสนามกีฬาในร่มขนาดใหญ่ในจังหวัดไซตามะ เริ่มใน พ.ศ. 2537 โดยให้เรียกชื่อสนามกีฬาว่า \"ไซตามะอารีนา\" ไปพลางก่อน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540 มีการจัดตั้งบริษัทไซตามะอารีนา จำกัด ขึ้นบริหาร ครั้นวันที่ 12 เดือนเดียวกันนั้น มีการเลือกและประกาศชื่อสนามกีฬาอย่างเป็นทางการว่า \"ไซตามะซูเปอร์อารีนา\" ออกแบบโดย แดน เมส์ (Dan Meis) สถาปนิกชาวสหรัฐอเมริกา จากบริษัทเอลเลอร์เบเบ็กเกต จำกัด (Ellerbe Becket) ร่วมกับ ทีมออกแบบนิกเก็งเซกเก/แมส 2000 (Nikken Sekkei/MAS 2000 Design Team) ส่วนการก่อสร้างดำเนินการโดยกิจการร่วมค้าระหว่าง บริษัทไทเซ จำกัด (Taisei), บริษัทมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ จำกัด (Mitsubishi Heavy Industries) และ บริษัทยูดีเค จำกัด (UDK) ", "title": "ไซตามะซูเปอร์อารีนา" }, { "docid": "912620#0", "text": "ช้างอารีนา (, ชื่อเดิม: ไอ-โมบาย สเตเดียม) มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า ธันเดอร์คาสเซิลสเตเดียม () เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ สนามแห่งนี้มีความจุ 24,000 ที่นั่ง (ในปี พ.ศ. 2557 ได้ต่อเติมเป็น 32,600 ที่นั่ง) โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนภายใต้สัญญาการกำหนดชื่อจากไอ-โมบายและบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ จัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ, สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน ผ่านมาตรฐานสนามกีฬาระดับเอจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และยังผ่านมาตรฐานระดับโลกจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ และยังได้บันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าแห่งเดียวในโลกที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน ", "title": "ช้างอารีนา" }, { "docid": "445746#6", "text": "เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สนามแห่งนี้[2] โดยมีระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 250 วันจากเวลาปกติ 500 วัน เป็นผลให้ต้องเร่งรัดการก่อสร้าง ด้วยการปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง[11] มีการใช้วัสดุโครงสร้างทางวิศวกรรมที่ทันสมัย เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น อาทิการใช้เหล็กรับแรงดึงแทนการใช้สายเคเบิล เพื่อลดขั้นตอนการติดตั้งและการผลิต[12] การใช้คอนกรีตหล่อสำเร็จรูป แทนการหล่อคอนกรีตในเขตก่อสร้าง[13] รวมไปถึงการทำงานหลายอย่างไปพร้อมกัน เช่นการปูพื้นสนามพร้อมการทาสี การติดตั้งเก้าอี้บนอัฒจันทร์ในเวลาเดียวกับการก่อสร้าง[13] เป็นต้น", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#13", "text": "ด้านหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ กล่าวแสดงความเสียใจหลังทราบผลการตรวจสอบ เนื่องจากข้าราชการและฝ่ายการเมืองทำงานหนักมาตลอดหลายเดือน ส่วนตัวทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์แล้ว ถึงแม้จะเกิดอุทกภัยเป็นเวลา 4-5 เดือน แต่ก็ยังก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และเชื่อว่าสามารถใช้แข่งขันได้อย่างไม่มีปัญหา ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น (7 พฤศจิกายน) เสียด้วยซ้ำ เนื่องจากคณะทำงานของฟีฟ่าก็เดินทางมาเยี่ยมชมการทดสอบแล้ว ทั้งในส่วนพื้นสนามและความปลอดภัย โดยเฉพาะมีการนำประชาชนจำนวน 650 คนมาทดสอบความปลอดภัยของสนาม ตลอดจนปรับปรุงทางหนีไฟแล้ว ซึ่งเมื่อวานนี้ (5 พฤศจิกายน) ตนเห็นว่าคณะทำงานของฟีฟ่าก็แสดงความพึงพอใจ[26]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "52272#13", "text": "สำหรับสนามฟุตบอลในส่วนภูมิภาคที่สำคัญ นอกจากสนามกีฬากลางประจำจังหวัด ยังมีอีกหลายแห่งเช่น สนามกีฬากลางจังหวัดนนทบุรี, สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ใน จังหวัดเชียงใหม่, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 จังหวัดนครราชสีมา, ชลบุรีสเตเดียม ในจังหวัดชลบุรี, ช้างอารีนา ในจังหวัดบุรีรัมย์, มิตรผลสเตเดียม ในจังหวัดราชบุรี, สนามกีฬาจิระนคร และสนามกีฬาติณสูลานนท์ ในจังหวัดสงขลา เป็นต้น", "title": "ฟุตบอลในประเทศไทย" }, { "docid": "7043#28", "text": "ช้างอารีนา เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) สามารถจัดเกมการแข่งขันระดับชาติได้ เป็นสนามที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของทีม", "title": "จังหวัดบุรีรัมย์" }, { "docid": "445746#17", "text": "บางกอกฟุตซอลอารีนาเริ่มต้นการก่อสร้างในราวเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่มีการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 ทำให้มีระยะเวลาการก่อสร้างที่สั้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีสื่อหลากหลายแขนงได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์การดำเนินการก่อสร้าง เช่น พัชรินทร์ ธรรมรส จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์กล่าวว่า \"...หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องติดตามและใส่ใจที่จะร่วมกันผลักดันงานเพื่อประเทศชาติร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือ กทม. ป่านนี้เราอาจจะได้ชื่นชมกับสนามฟุตซอล... บทเรียนครั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันระดับโลกของคนไทย จะมีการเตรียมพร้อมทั้งแผนและการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย แบบไม่ต้องลุ้นกันหืดขึ้นคออย่างเช่นที่กำลังเป็นอยู่...\"[33] ภายหลังคณะกรรมการสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) มีมติให้ใช้สนามอินดอร์สเตเดียม หัวหมากในการจัดการแข่งขันในช่วงแรกแทน เนื่องจากพิจารณาว่าสนามบางกอกฟุตซอลอารีนาซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่นี้อาจเสร็จไม่ทันกำหนด[18] ในคอลัมน์ข่าวกีฬาของเว็บไซต์สนุก.คอมโดยเมฆา ฟ้าแวบแวบ กล่าวว่า \"...อยากรู้ว่าหากสนามฟุตซอลสร้างเสร็จไม่ทันกำหนด ใครจะรับผิดชอบ และสนามแห่งนี้จะมีแผนการใช้อย่างไรในอนาคต มีใครตอบตรงนี้ได้บ้าง...\" และ \"\"งานนี้เตรียมอับอายกันได้แล้ว\" ไม่ได้ดูถูกฝีมือคนไทย แต่ดูยังไงมันก็ไม่น่าจะเสร็จทัน!!!\"[34]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#11", "text": "ต่อมาในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ขณะที่การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 กำลังแข่งขันเป็นวันสุดท้ายของนัดที่สอง คณะกรรมการฟุตซอลของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ แถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ฟีฟ่า นครซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศให้ยกเลิกการใช้สนามบางกอกฟุตซอลอารีนาอย่างเป็นทางการ[4] เป็นผลให้ฟีฟ่าต้องย้ายสถานที่แข่งขันตั้งแต่รอบก่อนรองชนะเลิศ เฉพาะนัดที่กำหนดว่าจะแข่งขันที่สนามแห่งนี้ โดยเปลี่ยนไปใช้อาคารกีฬานิมิบุตร กรีฑาสถานแห่งชาติ ในรอบก่อนรองชนะเลิศ[24] และอินดอร์ สเตเดียม สนามกีฬาหัวหมาก ในรอบรองชนะเลิศ กับนัดชิงชนะเลิศตามลำดับ[25] โดยฟีฟ่าชี้แจงว่าก่อนหน้านี้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อเดินทางไปตรวจสอบความเรียบร้อยและความปลอดภัยทั่วไป ยังสถานที่ก่อสร้างจริงถึงสองครั้ง คือวันที่ 3 และ 5 พฤศจิกายนแล้ว[4]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#2", "text": "สนามกีฬาออกแบบโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการนำเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานเข้าประยุกต์ใช้ในการออกแบบอาคาร นอกจากนี้ ยังมีการใช้ดอกจอก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำเขตหนองจอก เป็นแนวคิดในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมอีกด้วย[3]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#8", "text": "จนกระทั่งในวันที่ 5 ตุลาคม ฟีฟ่าประกาศเปลี่ยนแปลง กำหนดการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 โดยให้ย้ายการแข่งขันในช่วงแรก ไปจัดที่อินดอร์ สเตเดียม ภายในสนามกีฬาหัวหมากแทน และเริ่มการแข่งขันที่บางกอกฟุตซอลอารีนาเป็นครั้งแรก ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน จนถึงนัดชิงชนะเลิศ[18] อย่างไรก็ตาม คณะทำงานของฟีฟ่าจะประเมินความพร้อมใช้งานของสนามอีกครั้ง ในวันที่ 25 ตุลาคม[19] ต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม มีการทดสอบระบบเสียงภายในสนาม รวมถึงติดตั้งจอภาพผลึกเหลวเพื่อเป็นป้ายบอกคะแนน บนหลังคาส่วนกลางเหนือสนาม ส่วนพื้นสนามอยู่ระหว่างการขนส่งมาถึงประเทศไทย ซึ่งล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้เดิม เนื่องจากมีปัญหาที่ด่านกักกันสินค้าทางฝั่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะสามารถติดตั้งได้ราววันที่ 26 - 28 ตุลาคม และจะทำการทดสอบพื้นสนาม ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555[20]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#20", "text": "หมวดหมู่:สนามกีฬาในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:เขตหนองจอก หมวดหมู่:สนามกีฬาในร่มในประเทศไทย", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#7", "text": "การก่อสร้างมีการตรวจประเมินจากคณะทำงานของฟีฟ่าเป็นระยะ ครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ร่วมกับสนามอื่นๆ ที่ใช้ในการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 อีกสามแห่ง มีผลเป็นที่น่าพอใจ[14] รวมถึงการตรวจสอบในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ผู้แทนจากฟีฟ่าแสดงความพอใจที่การก่อสร้างมีความคืบหน้า โดยจะต้องรอตรวจสอบความสมบูรณ์พร้อมของสนามในเดือนสิงหาคมอีกครั้ง[15] ในวันที่ 13 กันยายน นางนฤมล ศิริวัฒน์ ประธานคณะกรรมาธิการกีฬาวุฒิสภา คาดการณ์ว่าการก่อสร้างสนามอาจเสร็จสิ้นไม่ทันการแข่งขัน[16] อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครซึ่งรับผิดชอบงานก่อสร้างสนาม ก็เร่งการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง[11] โดยระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 2 ตุลาคม คณะทำงานของฟีฟ่าเดินทางมาตรวจประเมินความพร้อมของสนามแข่งขันอีกครั้ง[17]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "505035#0", "text": "สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี หรือรู้จักกันในชื่อ ดรากอนอารีนา เป็นสนามกีฬากลางของจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลจังหวัดราชบุรีและกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 สโมสรฟุตบอลใน ไทยพรีเมียร์ลีก มีความจุทั้งหมด 15,000 ที่นั่ง", "title": "สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี" }, { "docid": "483806#0", "text": "ยูนิเวอร์ซิตี้ออฟฟีนิกซ์สเตเดียม เป็นสนามฟุตบอลอเนกประสงค์ที่ตั้งอยู่ในเมืองเกล็นเดล, รัฐแอริโซนา โดยเปิดทำการครั้งแรกในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2006 เป็นสนามประจำของทีมแอริโซนา คาร์ดิแนลส์ ของเอ็นเอฟแอล และศิษย์เก่าไฟส์ต้าโบวล์ สนามกีฬานี้ตั้งอยู่ถัดจากประตูโจบิง.คอม อารีนา", "title": "ยูนิเวอร์ซิตีออฟฟีนิกซ์สเตเดียม" }, { "docid": "911439#2", "text": "คาราบัก ลงเล่นที่อาเซอร์ซุน อารีนา และสนามกีฬาโตฟิก บาห์รามอฟ ในบากู ซึ่งเป็นสนามแข่งขันของฟุตบอลทีมชาติอาเซอร์ไบจานอีกด้วย", "title": "สโมสรฟุตบอลคาราบัก" }, { "docid": "948193#2", "text": "อาเซอร์ไบจานลงเล่นนัดเหย้าส่วนใหญ่ที่สนามกีฬาโอลิมปิกบากูแห่งใหม่ในบากู โดยย้ายมาจากสนามกีฬาโตฟิก บาห์รามอฟ ในปี ค.ศ. 2015 แต่สนามแห่งเก่าก็ยังคงใช้จัดการแข่งขันกระชับมิตรอยู่บ้าง สนามแห่งอื่น ๆ ที่ผ่านเกณฑ์ของยูฟ่า ได้แก่ สนามกีฬานครลังการาน, บักเซลล์อารีนา และดัลกาอารีนา", "title": "ฟุตบอลทีมชาติอาเซอร์ไบจาน" }, { "docid": "934794#1", "text": "สนามเหย้าที่ใช้ในการแข่งขันในประเทศไทย ได้แก่ บางกอกอารีนารองรับผู้เข้าชมได้ถึง 12,000 คน และอินดอร์ สเตเดียม หัวหมากรองรับผู้เข้าชมได้ถึง 10,000 คน", "title": "ฟุตซอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี" }, { "docid": "445746#5", "text": "ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลอภิสิทธิ์อนุมัติงบประมาณเพื่อก่อสร้างสนามแห่งนี้ เป็นจำนวนเงิน 1,239 ล้านบาท[8] โดยกรุงเทพมหานครมอบหมายให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นผู้ออกแบบ รวมถึงศึกษาการใช้พื้นที่บริเวณสนาม[9] และลงนามในสัญญาจ้างบริษัท อีเอ็มซี จำกัด(มหาชน)เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555 [1] โดยหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์แจ้งต่อฟีฟ่าว่า กรุงเทพมหานครกำหนดให้สนามแห่งนี้มีชื่อว่า บางกอกฟุตซอลอารีนา (Bangkok Futsal Arena)[10]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "998019#0", "text": "ถนนเชื่อมสัมพันธ์ (อักษรโรมัน: Thanon Chueam Samphan) เป็นถนนสายหนึ่งของเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 6.5 กิโลเมตร เป็นถนนขนาด 2-7 ช่องทางจราจร มีจุดเริ่มต้นจากถนนสุวินทวงศ์ (แยกลำผักชี) ใน้องที่แขวงลำผักชีซึ่งมีแนวถนนต่อเนื่องจากถนนฉลองกรุง มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองลำต้นกล้วยเข้าสู่ท้องที่แขวงโคกแฝด ผ่านสนามกีฬาบางกอกอารีนา เมื่อถึงซอยเชื่อมสัมพันธ์ 4 จึงข้ามคลองเข้าสู่ท้องที่แขวงกระทุ่มราย ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ตัดกับถนนเลียบวารี และถนนสังฆสันติสุข (แยกหนองจอก) บริเวณสำนักงานเขตหนองจอก ตัดกับถนนบุรีภิรมย์บริเวณวงเวียนหอนาฬิกาหนองจอก ข้ามคลองแสนแสบเข้าสู่ท้องที่แขวงหนองจอก ไปสิ้นสุดถนนที่ถนนสกุลดี ในอดีตถนนเชื่อมสัมพันธ์เคยเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3120 (ลำผักชี -หนองจอก) ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร", "title": "ถนนเชื่อมสัมพันธ์" }, { "docid": "445746#10", "text": "ต่อมา กรุงเทพมหานครจัดให้มีกิจกรรมเพื่อเปิดใช้สนามอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนปีเดียวกัน โดยมีการแสดงคอนเสิร์ต และจัดแข่งขันฟุตซอล ชิงถ้วยรางวัลหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ โดยเชิญประชาชนเข้าชมเต็มความจุของสนาม[22] พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บางกอก อารีนา [23]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#14", "text": "แต่คาดว่าสาเหตุที่ฟีฟ่าไม่ใช้สนามแห่งนี้ เพราะมีการสั่งให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างห้องทำงานวีไอพีเพิ่มเติม สำหรับเจ้าหน้าที่ฟีฟ่าซึ่งจะเดินทางมาอีก 300 คน ซึ่งทางกรุงเทพมหานครก็กำลังดำเนินการอยู่ ทว่ามีประกาศยกเลิกการใช้สนามออกมาเสียก่อน นอกจากนี้ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ยังตัดพ้อว่า ฟีฟ่าไม่มีการแจ้งผลมาให้กรุงเทพมหานครทราบด้วยช่องทางติดต่อใดๆ ก็ตาม แม้แต่การโทรศัพท์มา เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นเมืองคู่สัญญาจัดการแข่งขัน จึงควรแจ้งมาที่ตนก่อนจะมีการแถลงข่าว เพราะทางกรุงเทพมหานครก็ปฏิบัติตามข้อกำหนดของฟีฟ่าทุกประการ[26]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#15", "text": "สนามกีฬาเป็นรูปแบบสนามกีฬาในร่ม ออกแบบให้เป็นอเนกประสงค์ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้สนามในกิจการอื่น ๆ ได้ในภายหลัง สนามมีความกว้าง 116 เมตร ความยาว 132 เมตร อัฒจันทร์ 5 ระดับชั้น สูง 25 เมตร (หลังคาสูง 34 เมตร) มีความจุผู้ชม 12,000 คน[29] ตัวอาคารมีขนาด 10 ไร่ รวมพื้นที่ใช้สอยประมาณ 30,000 ตารางเมตร[30] การออกแบบโครงสร้างของสนาม ใช้เหล็กรับแรงดึง (Cable Rod) ความยาว 132 เมตร ดึงโครงหลังคาเหล็ก น้ำหนักประมาณ 3,000 ตัน[31]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "283336#1", "text": "แพตสเตเดียมเริ่มก่อสร้างพร้อมกับการก่อตั้งทีมเมื่อปี 2510 โดยหน้าตาสนามนั้นเดิมเป็นสนามฟุตบอล(ไม่มีลู่วิ่ง) ซึ่งเหมือนสนามทีโอที, ลีโอสเตเดียม และธันเดอร์โดมที่เป็นสนามบอลเก่าแก่ โดยอัฒจันทร์ด้านแรกที่เรียกว่าโซน A สร้างสูงจึงทำให้ไม่ค่อยน่าชมการแข่งขันสักเท่าไหร่ เนื่องจากว่าการก่อสร้างต้องการให้ชั้นล่างเป็นฟิตเนส และห้องนักข่าว", "title": "แพตสเตเดียม" }, { "docid": "953271#0", "text": "สนามกีฬาคาลีนินกราด (, , \"Stadion Kaliningrad\") หรืออาจเรียกว่า อารีนาบัลตีกา (Arena Baltika) เป็นสนามฟุตบอลบนเกาะออคเตียบร์สกี เมืองคาลีนินกราด ประเทศรัสเซีย ซึ่งได้รับเลือกเป็นสนามแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 4 นัด และยังเป็นสนามเหย้าให้กับสโมสรฟุตบอลบัลตีกาคาลีนินกราด ที่เล่นอยู่ในลีกฟุตบอลแห่งชาติรัสเซีย โดยใช้แทนที่สนามเดิม สนามบัลตีกา", "title": "สนามกีฬาคาลีนินกราด" }, { "docid": "445746#3", "text": "ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ระหว่างการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 คณะกรรมการฟุตซอลของฟีฟ่า มีมติยกเลิกการใช้สนามบางกอกฟุตซอลอารีนา เนื่องจากการก่อสร้างไม่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยที่ฟีฟ่ากำหนด และให้ใช้สนามอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก เป็นสนามหลักในการแข่งขันแทน[4]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#4", "text": "สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553[5] โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้รับผิดชอบในภาพรวม ต่อมาในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเสนอทางเลือกดำเนินการเกี่ยวกับสนามหลักที่ใช้แข่งขัน เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ฟีฟ่ากำหนดความจุผู้ชมที่ 10,000-15,000 คน ต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ในสามรูปแบบคือ การก่อสร้างสนามกีฬาขึ้นใหม่ โดยเลือกจากสองพื้นที่ ได้แก่ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย และที่ดินบริเวณศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการของกรุงเทพมหานครที่เขตหนองจอก อีกรูปแบบหนึ่งคือการปรับปรุงสนามอินดอร์ สเตเดียม สนามกีฬาหัวหมาก กับอาคารกีฬานิมิบุตร กรีฑาสถานแห่งชาติ[6] โดยมีข้อสรุปว่า ให้ใช้ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ดำเนินการก่อสร้าง[7]", "title": "บางกอกอารีนา" }, { "docid": "445746#18", "text": "กรุงเทพมหานคร จัดรถขนส่งมวลชนถึงสนาม โดยให้บริการในสามเส้นทาง ดังต่อไปนี้[35]", "title": "บางกอกอารีนา" } ]
3878
วันกองทัพไทย ตรงกับวันที่เท่าไหร่ของทุกปี?
[ { "docid": "25568#0", "text": "วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทยตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1593 หรือ พ.ศ. 2135 แบบ พ.ศ. ราชการ หรือ พ.ศ. 2136 แบบ พ.ศ. มาตรฐานอุตสาหกรรม (พ.ศ. ISO)", "title": "วันกองทัพไทย" } ]
[ { "docid": "156352#0", "text": "กองทัพดัมเบิลดอร์ () ก่อตั้งขึ้นโดยแนวคิดของ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ ว่าอยากให้ แฮร์รี่ พอตเตอร์ เพื่อนซี้ของเธอเป็นครูสอนวิชา ป้องกันตัวจากศาสตร์มืด ภาคปฏิบัติ โดยโครงการนี้ก่อตั้งขึ้นในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ เพื่อให้สมาชิกที่เรียกตนเองว่า กด. ร่วมกันเรียนรู้เกี่ยวกับวิชา ป้องกันตัวจากศาสตร์มืด ที่ไม่เคยได้เรียนอย่างเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่นัก\nกองทัพดัมเบิลดอร์ เริ่มก่อตั้งครั้งแรก ณ ร้านหัวหมู หมู่บ้านฮอกส์มี้ด โดยได้ใช้อักษรย่อว่า ก.ด. เพื่อเป็นการรักษาความลับ โดยชื่อกด. ถูกเสนอให้ใช้ชื่อนี้โดย จินนี่ วีสลีย์ กองทัพดัมเบิลดอร์ได้ชุมนุมกันในห้องต้องประสงค์ที่อยู่บนชั้น 7 ของฮอกวอตส์ มีจุดประสงค์หลักเพื่อสอนคาถาและการป้องกันตัวจากศาสตร์มืด ได้มีสมาชิกเข้าร่วมมากขึ้นเนื่องจากเหล่านักเรียนนั้นไม่พอใจโดโรเลส อัมบริดจ์ อย่างไรก็ตาม กองทัพดัมเบิลดอร์ต้องยุติบทบาทลงเมื่อมารีเอตต้า เอจคอมป์ หนึ่งในสมาชิกบ้านเรเวนคลอได้นำความลับของกองทัพไปบอกแก่อัมบริดจ์ ภายหลังมารีเอ็ตต้าก็ได้คำสาปที่ปรากฏเป็นคำว่า \"ปากบอน\" บนแก้มของเธอ ซึ่งเป็นคำสาปที่เฮอร์ไมโอนี่เสกไว้ลงโทษคนที่นำความลับของกองทัพไปบอกผู้อื่น", "title": "กองทัพดัมเบิลดอร์" }, { "docid": "487832#13", "text": "หลังจากได้เอกาชนะผู้คัดค้านภายในทั้งหมดแล้ว ขณะนี้รัฐบาลถูกทดสอบให้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้เมื่อเถลิงอำนาจ รัฐบาลใช้มาตรการที่ก้าวร้าวกว่ามากในการดำเนินการปฏิรูปที่สำคัญบางอย่าง ค่าเงินถูกนำออกจากมาตรฐานทองคำ ทำให้การค้าฟื้นตัว รายจ่ายด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นสี่เท่า ทำให้อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีการริเริ่มรัฐบาลท้องถิ่นและจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2480 พัฒนาการประชาธิปไตยก้าวไปข้างหน้าเมื่อมีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาโดยตรงเป็นครั้งแรก แม้ว่าพรรคการเมืองยังไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นก็ตาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกก่อตั้งขึ้น จากการริเริ่มของปรีดี เป็นทางเลือกที่เข้าถึงได้มากกว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอภิชนนิยม (elitist) รายข่ายทางทหารก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน เป็นการบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงอิทธิพลของทหารที่เพิ่มขึ้น ระหว่าง พ.ศ. 2477 ถึง 2483 กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศของราชอาณาจักรมียุทธภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2475–2516)" }, { "docid": "158996#12", "text": "ยิ่งฮิวจ์ เดอ เดสเปนเซอร์ ผู้ลูกเป็นที่โปรดปรานของพระสวามีของพระองค์มากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้เป็นศัตรูกับฝ่ายตรงข้ามของพระองค์มากขึ้นเท่านั้น แลงคาสเตอร์ ที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับเดสเปนเซอร์ ส่งกองทหารเข้าสู่ลอนดอนและเรียกร้องให้ขับไล่พวกเดสเปนเซอร์ออกจากประเทศ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดถูกบีบให้ยอมทำตาม แต่ก็เอาคืนในตอนที่เดสเปนเซอร์กลับมาในเวลาต่อมาและโจมตีฝ่ายตรงข้ามกลับ พระองค์ถูกบีบให้ยอมจำนน แลงคาสเตอร์ถูกจับกุมตัวและถูกประหารหลังสมรภูมิแห่งโบโรบริจด์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่มีพระราชินีอิซาเบลลาร่วมเดินทางด้วยนำกองทัพขึ้นเหนือไปสู้กับชาวสกอต แบกรับความพ่ายแพ้ที่น่าอับอายที่สมรภูมิแห่งบายแลนด์ มัวร์ในยอร์กเชียร์ กษัตริย์ส่งพระมเหสีไปที่ศาสนสำนักไทน์มัธบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ จากนั้นขี่ม้าลงใต้ ไปหาทหารใหม่ กองทัพสกอตแลนด์ที่เดินหน้าลงใต้ทำให้พระราชินีอิซาเบลลาที่ตั้งครรภ์สามเดือนในตอนนั้นรู้สึกกังวลกับความปลอดภัยของตนเองและร้องขอความช่วยเหลือจากพระสวามี แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดยังคงถอยลงใต้ไปกับพวกเดสเปนเซอร์ต่อไป ทิ้งพระราชินีอิซาเบลลาไว้ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ทรงถูกตัดขาดจากทางใต้โดยกองทัพสกอตแลนด์ พระราชินีอิซาเบลลาหนีโดยอาศัยให้ผู้ติดตามของพระองค์ช่วยกันชาวสกอตออกไป ในขณะที่อัศวินของพระองค์บางส่วนไปจัดหาเรือมาให้ การต่อสู้ดำเนินยังคงดำเนินอยู่ในตอนที่พระราชินีอิซาเบลลาถอยลงเรือ นางกำนัลสองคนของพระองค์ถูกฆ่า พระราชินีที่โกรธจัดหาทางกลับยอร์กได้โดยปลอดภัย", "title": "อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "80139#34", "text": "ในปีถัดมา วุฒิสภาก็ให้อำนาจกับพัลพาทีนมากขึ้น ผู้ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด การกระทำเหล่านั้นจะทำในนามของความมั่นคง และพันพาทีนก็ไม่ต้องพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ใจต่อวุฒิสภาด้วยการกระทำมากมาย เป็นเพราะสมุหนายกได้ความเชื่อมั่นจากเสียงส่วนมากในวุฒิสภา นั่นเป็นเหตุผลที่เขาจะยืดสงครามออกไปให้นานเท่าไหร่ก็ได้ตราบเท่าที่รัฐบาลขึ้นตรงกับเขา พลเมืองของกาแลกซี่ ผู้ซึ่งได้หมดศรัทธาในสาธารณรัฐทั้โกงกินและไม่มีประสิทธิภาพมายาวนาน กลับมองว่าพัลพาทีนคือผู้ปกป้องพวกเขาจากกองทัพดรอยด์และผู้บัญชาการที่โหดร้าย นายพลกรีวัส", "title": "สาธารณรัฐกาแลกติก" }, { "docid": "858702#12", "text": "ระบบสามทวีปเป็นแนวคิดที่สร้างขึ้นในสมัยกรีซโบรานซึ่งเป็นยุคของการขยายอาณานิคมและการค้าทั่วไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและการเขียนเรื่องราวที่มีกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งการเขียนบันทึกเรื่องราวนั้นเป็นเรื่องสำคัญของนักภูมิศาสตร์ซึ่งต่อมาการเขียนเกี่ยวกับภูมิศาสตร์นั้นภูกห้ามเนื่องจากเหยุผลเพื่อป้องการแบ่งแยกดินแดนในสมันก่อนนั้นกรีกจะไม่ตอนรับคนจากทวีปเอเชียซักเท่าไหร่และเรียกคนที่มาจากเอเชียว่า \"mainland ēpeiros\" และกรีกก็มีดินแดนบนทวีปแอฟริกาตรงที่เป็นประเทศลิเบียในปัจจุบันซึ่งในสมัยนั้นจะเรียกว่าเกาะ\"nēsoi\" ส่วนเอเชียจะเรียกว่า\"ēpeiros\" เพราะยังไม่มีคำนิยามในคำว่า\"ทวีป\" รากศัพท์ของคำว่า \"ēpeir\" มาจากกลุ่มภาษาอินโด - ยูโรเปียน ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับภาษาอังกฤษว่า \"over\" หรือแปลเป็นไทยว่า \"มา\" และความหมายของคำว่า \"mainland ēpeiros\" ซึ่งเป็นคำเรียกคนจากเอเชียนั้นแปลว่า\"มาจากแผ่นดินใหญ่\" และคำว่า\"ēpeiros\"ในภาษาอาร์เมเนียนั้นหมายถึง \"ชายฝั่ง\" ส่วนในภาษาลาติน มันแปลเป็น \"ทวีปดินแดน\"", "title": "ภูมิศาสตร์เอเชีย" }, { "docid": "569316#11", "text": "อย่างไรก็ตาม ในสมัยก่อน สโมสรเจลีกไม่ค่อยจะจริงจังกับการแข่งชันเอเชียนแชมเปียนส์ลีกเท่าไหร่นักเนื่องจากต้องเดินทางไกลและคุณภาพของทีมที่ต้องแข่งด้วยนั้นยังไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แต่ในปี 2008 มีทีมญี่ปุ่นผ่านเข้าไปสู่รอบก่อนรองชนะเลิศถึง 3 ทีมด้วยกัน", "title": "เจลีก ดิวิชัน 1" }, { "docid": "706960#5", "text": "ดัชนีจีนีของประเทศไทย ซึ่งจัดทำโดยสหประชาชาติในปี ค.ศ.2013 อยู่ที่ 0.4 ส่วนสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐอเมริกาให้ค่าในปีเดียวกันไว้ที่ 0.536 (สำนักข่าวกรองกลาง) ทั้งนี้ค่าความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ของประเทศ ถูกตั้งไว้ตั้งแต่ 0 ถึง 1 โดยยิ่งมีค่าเพิ่มจาก 0 มากเท่าไหร่ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้มากเท่านั้น", "title": "การกระจายรายได้" }, { "docid": "402644#1", "text": "วันกองทัพของประเทศไทยคือวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย วันกองทัพเรือคือ 20 พ.ย.ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนนายเรือ", "title": "วันกองทัพ" }, { "docid": "28224#1", "text": "จีดีพีแบบความเสมอภาคของอำนาจซื้อ จะสะท้อนว่าประเทศนั้นๆได้ผลิตสินค้าและบริการรวมกันมากน้อยแค่ไหนหากใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ อาทิ ประเทศไทยผลิตน้ำตาลในหนึ่งปีได้หนึ่งแสนตัน การคำนวณแบบ PPP จะไม่สนว่าหนึ่งแสนตันนี้จะจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้เงินเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ แต่เราจะสนว่าราคาน้ำตาลในสหรัฐอเมริกาเป็นเท่าไหร่แล้วจึงนำราคานั้นมาคำนวณมูลค่า ก็จะได้เป็น PPP จากภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทย", "title": "ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ" }, { "docid": "651766#6", "text": "ซุยฟง เป็นตัวละครที่มีรูปลักษณ์ภายนอกดูสงบแต่ดุดัน ลักษณะพิเศษคือไว้ผมมัดด้วยเชือกสลับฟันปลาสองข้างและมัดสายคาดเอวสีหลือง อุปนิสัยเย็นชาและทำทุกอย่างตามที่ได้รับคำสั่งมาอย่างสุดความสามารถจึงแลดูเป็นคนไร้หัวใจบ้างในบางสถานการณ์ หากแต่ภายในลึกๆจริงก็แฝงความอ่อนโยนด้วยเช่นกัน เป็นผู้หญิงที่เทิดทูนโยรุอิจิมาก ซุยฟงนั้นจะให้ความสำคัญต่อลูกหน่วยของตนเองมากแต่ยังไม่มีใครรู้ถึงความห่วงใยนี้สักเท่าไหร่ เพราะ การกระทำของเจ้าหล่อนเป็นเหตุนั่นเอง ซุยฟงนั้นบางครั้งก็ปากไม่ตรงกับใจอยู่บ้างเหมือนกัน ทั้งๆที่ห่วงลูกน้องของตนเองแต่ก็มักต่อว่าต่อขานอยู่เรื่อย ซึ่งนี่คือหนึ่งในเหตุที่ทำให้ลูกน้องบางส่วนไม่เข้าใจในตัวตนของเจ้าหล่อนสักเท่าไหร่นัก ซุยฟงนั้นจะเป็นคนที่ยึดมั่นในคำสัญญามากเป็นคนที่เมื่อพูดออกไปแล้วก็จะไม่กลับคำเด็ดขาด เป็นคนที่มีความจงรักภักดีสูงต่อคนที่ตนเองยกย่องเทิดทูน", "title": "รายชื่อยมทูตในเทพมรณะ" }, { "docid": "296776#2", "text": "นอกเหนือจากความสำคัญตรงนี้แล้วยังรวมไปถึงการช่วยปูพื้นฐานให้กับนักเตะท้องถิ่นภายในทีมที่ยังไม่มีประสบการณ์ในเวทีลูกหนังไทยมากสักเท่าไหร่นัก หากนักเตะโนเนมเหล่านี้ได้ฝึกซ้อมและลงสนามร่วมกับแข้งต่างชาติมากประสบการณ์ พวกเขาก็น่าที่จะซึมซับศาสตร์ชั้นสูงในการเล่นฟุตบอลไปในตัวได้อีกทางหนึ่ง โดยเรื่องของการเตรียมเสริมแข้งต่างชาติดังกล่าวทางบอร์ดบริหารสโมสรก็เตรียมประชุมถึงความชัดเจนให้แน่นอนอีกครั้ง และคาดกันว่าทุกอย่างน่าจะลงตัวในช่วงพักเลกแรกอย่างแน่นอน", "title": "สโมสรฟุตบอลอุทัยธานี ฟอเรสท์" }, { "docid": "78613#3", "text": "ต่อมาเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ล่องใต้มาตรวจราชการที่ ตำบลสุไหงโก-ลก นายวงศ์ ไชยสุวรรณ ร้องขอให้ตั้งเป็นเทศบาล ฯ พณ ฯ นายกรัฐมนตรีเห็นด้วย ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะตำบลสุไหงโก-ลก เป็นเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483 มีนายวงศ์ ไชยสุวรรณ เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก เหตุการณ์นี้พระครูสุนทรธรรมภาณีได้เขียนคำกลอนบันทึกไว้ว่า\nใน พ.ศ. สองสี่แปดสิบสาม นายกนามจอมพล ป. พิบูลย์ศรี \nออกเที่ยวตรวจราชการงานที่มี มาถึงแดนโก-ลก โชคดีแรง \nกำนันวงศ์ร้องขอต่อ พณ,ท่าน ขอเปิดการเทศบาลขึ้นในแขวง \nจอมพล ป. เห็นตามความชี้แจง คุณวงศ์แต่งเปิดเขตเทศบาล \nฯลฯ \nในเจ็ดปีที่คุณวงศ์เป็นนายก สร้างโก-ลกให้สง่าหรูหราแสน \nทำประโยชน์มากมายเมืองชายแดน ตามแบบแปลนที่จะเล่ากล่าวต่อไป \nหนึ่งขอตั้งไปรษณีย์โทรเลข งานชิ้นเอกสร้างสรรค์ทันสมัย \nเรื่องที่สองร้องขอตั้งต่อไป โรงเรียนใหม่ถึงขั้นชั้นมัธยม \nทางกระทรวงศึกษาอนุญาต ความมุ่งมาตรมั่นหมายก็ได้ผล \nฯลฯ \nประการสี่มีข้อขอเสนอ ตั้งเป็นอำเภอปรารถนา \nเพราะโก-ลกคนมากหากเป็นป่า กิจธุระต้องไปสุไหงปาดี \nรัฐบาลเห็นพ้องอนุญาต แจ้งประกาศบอกกระบวนมาถ้วนถี่ \nให้ตั้งก่อนเป็นกิ่งจึงจะดี แต่บัดนี้เป็นอำเภอเสมอกัน \nหลังจากตั้งเทศบาลแล้ว 8 ปี ตำบลสุไหงโก-ลกจึงได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอสุไหงปาดี โดยมีเขตปกครอง 4 ตำบล คือ ตำบลสุไหงโก-ลก ตำบลปูโยะ ตำบลปาเสมัส และตำบลมูโนะ (โอนมาจากอำเภอตากใบ) กระทั่งวันที่ 1 มกราคม 2496 จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอสุไหงโก-ลก มีนายนอบ นพสงศ์ เป็นนายอำเภอคนแรก เขตการปกครอง 4 ตำบลเท่าเดิม ส่วนตำบลสุไหงโก-ลกเป็นเทศบาล ความน่าภูมิใจของเทศบาลนี้คือ เป็นเทศบาลเดียวในประเทศไทยที่จัดตั้งก่อนอำเภอถึง 13 ปีและเกิดจากความต้องการของประชาชน ปัจจุบันเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลกได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา\nประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณใจกลางสวนภูมินทร์ ( สวนรถไฟ ) เป็นพระบรมรูปหล่อสำฤทธิ์สีดำขนาดเท่าพระองค์จริง จัดสร้างโดยกรมศิลปากร เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก และประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาส เมื่อ ประมาณ ปี พ.ศ. 2510 โดยจัดสร้างหันหน้าพระพักต์ไปทางประเทศมาเลเซียแสดงถึงพระบารมีเมตตาเหนือประชาชนชาวสยามที่จะทรงปกป้องแผ่นดินไทยตลอดไปถึงแม้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจะเสด็จสวรรคตไปกว่าร้อยปีแล้วแต่พระบารมีเมตตายังทรงคุ้มครอบประชาชนชาวไทยอยู่ ปัจจุบันเป็นที่เคารพรักและสักการะของชาวเมืองและนักท่องเที่ยวทั่วไป\nเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ตั้งอยู่สุดปลายริมแม่น้ำโก-ลก มีทัศนียภาพที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ยามพักผ่อน ออกกำลังกายของประชาชนทั่วไป มีน้ำพุกลางสระน้ำขนาดใหญ่ สวนสุขภาพ เวทีเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ลานออกกำลังแอโรบิก และสวนพันธ์ไม้หายากต่างๆ\nด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ถือเป็นด่านการค้าชายแดน ระหว่างประเทศ ( ประเทศไทย และ ประเทศมาเลเซีย ) ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก สุดปลายถนนเอเชีย 18 โดยมีสะพานมิตรภาพเชื่อมไปยังเมืองลันตูปันจัง ประเทศมาเลเซีย ก่อสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2530 ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ถือเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าสไคญของจังหวัดนราธิวาส และมีขนาดใหญ่รองจากด่านสะเดา ที่จังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการสำคัญเช่น ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ที่ 1 ด่านตรวจพืช ด่านตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์บริการท่องเที่ยว สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคใต้เขต 3 และถือเป็นจุดผ่านแดนแห่งที่2 ที่มีสะพานข้ามทางรถไฟเชื่อมไปยังประเทศมาเลเซียอีกด้วย โดยมีเขตสถานีรถไฟอยู่ในประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ( ปัจจุบันหยุดเดินรถไปแล้ว เนื่องจากปัญหาการเดินรถ )ภายในเขตเทศบาลฯ มีบริการรถจักรยานยนต์รับจ้างสำหรับโดยสารภายในเมือง ส่วนระหว่างอำเภอมีบริการรถสองแถว รถตู้ รถโดยสารประจำทาง", "title": "เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก" }, { "docid": "77647#7", "text": "หลังจากตั้งเทศบาลแล้ว 8 ปี ตำบลสุไหงโก-ลกจึงได้ยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอสุไหงโก-ลก ขึ้นกับอำเภอสุไหงปาดี โดยมีเขตปกครอง 4 ตำบล คือ ตำบลสุไหงโก-ลก ตำบลปูโยะ ตำบลปาเสมัส และตำบลมูโนะ (รับโอนมาจากอำเภอตากใบ) กระทั่งวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2496 จึงได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอสุไหงโก-ลก มีนายนอบ นพสงศ์ เป็นนายอำเภอคนแรก เขตการปกครอง 4 ตำบลเท่าเดิม ส่วนตำบลสุไหงโก-ลกอยู่ในเขตเทศบาล ความน่าภูมิใจของเทศบาลนี้คือ เป็นเทศบาลเดียวในประเทศไทยที่จัดตั้งก่อนอำเภอถึง 13 ปีและเกิดจากความต้องการของประชาชน ปัจจุบันเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลกได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ปัจจุบันอำเภอสุไหงโก-ลกมีความเจริญและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง มีด่านการค้าชายแดนที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งตะวันออก เป็นศูนย์กลางของการค้าขายส่งสินค้าทั้งพืชผักผลไม้ ตลอดจนไม้ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และขนมนมเนยจากประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ที่ผ่านเข้าออกด่านสุไหงโก-ลกกว่าปีละหลายแสนคน", "title": "อำเภอสุไหงโก-ลก" }, { "docid": "465738#3", "text": "สำหรับการประเมินผลระหว่างการเล่นจะใช้ระบบเกจซึ่งจะมีให้จำนวนหนึ่งในช่วงเริ่มต้นของแต่ละเพลง หากผู้เล่นสามารถเล่นได้ตรงจังหวะมากเท่าไหร่เกจก็จะถูกเติมมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าผู้เล่นเล่นผิดจังหวะเกจก็จะลดลง หากเกจดังกล่าวหมดลงก่อนที่เพลงจะจบเกมจะจบลงทันที โดยเกณฑ์การเพิ่มและลดของเกจขึ้นอยู่กับความแม่นยำในการเล่นให้ตรงตามจังหวะของโน้ตที่ปรากฏขึ้นและความต่อเนื่องของความแม่นยำ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ระดับ โดยระดับ PERFECT, GREAT และ GOOD จะทำให้เกจเพิ่มขึ้น ส่วนระดับ POOR และ MISS จะทำให้เกจลดลง", "title": "กีตาร์ฟรีกส์" }, { "docid": "456966#2", "text": "การสู้รบในประเทศลาวเป็นการสู้รบระหว่างกองทัพเวียดนามเหนือ, กองทัพอเมริกัน, กองทัพไทยและกองทัพเวียดนามใต้ ซึ่งทำการสู้รบทั้งทางตรงและผ่านทหารกองโจร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อครอบครองด้ามขวานของลาว กองทัพเวียดนามเหนือสามารถเข้าควบคุมพื้นที่นี้ได้ และนำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้เป็นเส้นทางเสบียงโฮจิมินห์ และเป็นที่มั่นในการระดมกำลังเพื่อรุกเข้าไปยังเวียดนามใต้ จุดที่สองที่เกิดการสู้รบกันอย่างหนักที่ทุ่งไหหินและบริเวณโดยรอบ", "title": "สงครามกลางเมืองลาว" }, { "docid": "731038#2", "text": "การประเมินผลระหว่างการเล่นจะใช้ระบบเกจซึ่งจะมีให้จำนวนหนึ่งในช่วงเริ่มต้นของแต่ละเพลง หากผู้เล่นสามารถเต้นตามท่าบังคับได้ตรงจังหวะมากเท่าไหร่เกจก็จะถูกเติมมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าผู้เล่นเต้นผิดจังหวะหรือผิดท่าเกจก็จะลดลง หากเกจดังกล่าวหมดลงก่อนที่เพลงจะจบเกมจะจบลงทันที โดยเกณฑ์การเพิ่มและลดของเกจขึ้นอยู่กับความแม่นยำในการเต้นตามท่าบังคับให้ตรงตามจังหวะและความต่อเนื่องของความแม่นยำดังกล่าว ซึ่งมีทั้งหมด 4 ระดับ โดยระดับ PERFECT, GREAT และ GOOD จะทำให้เกจเพิ่มขึ้น ส่วนระดับ BOO จะทำให้เกจลดลง", "title": "แดนซ์เอโวลูชัน" }, { "docid": "63685#0", "text": "ทิก-แทก-โท () หรือ โอเอกซ์ ในชื่อภาษาไทย เป็นเกมกระดานชนิดหนึ่ง เนื่องจากวิธีการเล่นผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะผลัดกันเขียนรูปวงกลม (O) และกากบาท (X) บนกระดาษ ชาวไทยจึงนิยมเรียกว่าโอเอกซ์ให้ผู้เล่นเขียนตารางขนาด 3×3 บนกระดาษ (กว้าง 3 ช่อง ยาว 3 ช่อง) โดยความกว้างของช่องๆ หนึ่งนั้นจะกว้างเท่าไหร่ก็ได้ (ปกติมักจะเขียนเป็นช่องเล็กๆ พอให้ใส่เครื่องหมาย O หรือ X ได้พอดี) จากนั้นผู้เล่นทั้ง 2 คนจะกำหนดกันเองว่าใครจะเป็นฝ่ายได้เล่นก่อน คนที่เล่นก่อนจะเขียนเครื่องหมาย O (หรือ X ก็ได้แล้วแต่) จากนั้นอีกคนหนึ่งก็จะเขียนเครื่องหมายตรงข้ามกับผู้เล่นก่อนหน้านี้ทำไว้ โดยที่ผู้เล่นห้ามเขียนเครื่องหมายของตัวเองซ้ำช่องที่มีคนเขียนก่อนหน้านี้ จากนั้นทั้ง 2 ฝ่ายก็จะผลัดกันเขียนเครื่องหมายของตัวเองจนเต็มกระดาน 3×3 ดังกล่าว", "title": "โอเอกซ์" }, { "docid": "335906#10", "text": "นอกจากนี้ยังมีเอกสารหลายชิ้นที่แสดงว่าบุคคลที่จะเป็นตำรวจได้นั้นต้องคัดเลือกจากผู้ที่มีชาติกำเนิดสืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่ได้ทำคุณความดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และต้องเป็นบุคคลที่ทรงวางพระราชหฤทัย การบังคับบัญชาตำรวจก็ต้องขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะแต่พระองค์เดียว กิจการตำรวจในยุคนี้จะจัดตั้งเพื่อให้ทำหน้าที่ในวงจำกัด และมิได้ขยายไปยังส่วนการปกครองทั่วประเทศเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น กรมตำรวจจึงได้รับความสนใจที่จะปรับปรุงรูปแบบเพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่างประเทศตะวันตก", "title": "ตำรวจไทย" }, { "docid": "174635#10", "text": "หลังจากสงครามเซกิงาฮาระ อิเอะยะซุมอบรางวัลให้แก่มาซามูเนะที่ดิน 600,000 โคะกุ แล้วมาซามูเนะก็กลับถิ่นของตนก่อตั้งเมืองเซ็นไดขึ้นมา มาซามูเนะได้ทำการค้ากับชาวคริสต์ หลวงพ่อโซเทโฮะ ต่อมาโซเทโฮะก็ไปที่เมืองนะงะซะกิ และถูกประหารที่นั่น ใน พ.ศ. 2157-58 มาซามูเนะถูกตั้งให้เป็นขุนพลระดับหนึ่งในระหว่างที่อิะเอะยะซุเข้าบุกปราสาทโอซะกะ มาซามูเนะไม่ค่อยมีส่วนร่วมกับศึกนี้มากมายเท่าไหร่นัก ในปีต่อมา มาซามูเนะได้ไปเข้าพบอิเอะยะซุในวาระสุดท้าย เขาเป็นหนึ่งในไดเมียวที่เยี่ยมยอดจำนวนน้อยที่ยังรอดอยู่ได้มาเข้าพบวาระสุดท้ายของอิเอะยะซุ แต่อิเอะยะซุไม่ได้เชื่อใจเขามากเท่าไหร่นัก", "title": "ดาเตะ มาซามูเนะ" }, { "docid": "870755#1", "text": "เนื้อหาของเพลงพูดถึงสายลมที่พัดหอบเอาความสุขมามอบให้คน 2 คน แต่เมื่อถึงเวลาที่สายลมพัดผ่านไป ความสุขก็จะยังคงอยู่ ณ ที่ตรงนั้นเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และ ‘ทางที่ลมผ่าน’ ที่พวกเขาจินตนาการขึ้นมา ก็ยังคงรอให้สายลมนั้นพัดกลับมาอีกสักครั้ง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานสักเท่าไหร่ก็ตาม", "title": "ทางที่ลมผ่าน" }, { "docid": "290482#34", "text": "ยูกิ ยายะ (ญี่ปุ่น: 結木 やや \"Yuki Yaya\")ตำแหน่งเอซ อายุ 10 ปี อายุน้อยที่สุดในกลุ่ม เป็นคนชอบขนมหวานมาก ขาดขนมไม่ได้เลย โดยเฉพาะขนมฝีมือนาเดชิโกะและชอบของน่ารักๆ ร้องไห้ได้ง่ายมาก นิสัยก็จะตรงไปตรงมา ไม่พอใจอะไรก็ชอบโวยวายเหมือนเด็กๆ ว่ายน้ำไม่เป็น เต้นบัลเล่ต์เก่ง นอกจากนั้นเธอยังชอบเย็บตุ๊กตาด้วย ถึงฝีมือจะไม่ดีก็ตามที เวลาเธอเปลี่ยนคาแรคเตอร์จะมีบุคลิกเหมือนเด็กทารกจริงๆ คือโดนอะไรนิดก็ร้องไห้ แต่อาวุธของเธอนั่นรุนแรงมากเพราะมันคือ ลูกแซ็คที่สามารถยืดหดขนาดได้ตามใจชอบเพื่อให้ทับตัวศัตรู หรือฟาดใส่ศัตรูก็ยังได้ เวลาแปลงเป็นร่างจำแลงคือ \"dear baby\" หลายคนจะคิดว่าเธอคู่กับคุไคเพราะพวกเขาสนิทกันในซีซั่นแรกที่คุไคยังไม่จบชั้นประถม แต่ความจริงแล้วเธอแอบมีความรู้สึกดีให้กับซันโจ ไคริ ในตอนแรกพวกเขาไม่ค่อยชอบหน้ากันเท่าไหร่ในตอนที่ไคริยังเป็นการ์เดี่ยน ทะเลาะกันบ่อยแต่สุดท้ายทั้งสองก็เข้าใจและรู้สึกดีต่อกัน พอไคริจะออกจากการ์เดี่ยนยายะก็รูสึกเสียใจเมื่อเขาต้องไปเช่นกัน แต่ทั้งสองคนก็พัฒนาความสัมพันธ์กันอยู่เรื่อยๆ", "title": "รายชื่อตัวละครในคาแรคเตอร์ผู้พิทักษ์" }, { "docid": "25568#1", "text": "เดิมนั้นกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปี เป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ตามการคำนวณของ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ คำนวณได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135 (พ.ศ.ISO 2136) ซึ่งเชื่อว่าเป็นการคำนวณที่ไม่ถูกต้อง", "title": "วันกองทัพไทย" }, { "docid": "149531#1", "text": "ปรากฏว่า เตียวหุยสามารถรักษาระเบียบวินัยกองทัพไว้ได้อย่างดี สามารถชนะใจประชาชนและเอาชนะเมืองต่าง ๆ ได้โดยดี แต่ติดอยู่กับเมืองปากุ๋นของเงียมหงัน ที่ตีเท่าไหร่ก็ไม่ได้สักที เงียมหงันแม้จะอายุมากถึง 60 ปีแล้ว แต่ชำนาญการใช้ธนูและป้องกันเมืองไว้ได้อย่างดี เงียมหงันได้ประกาศไว้ว่า \"ทหารเสฉวนยอมหัวขาด ไม่มีทหารยอมแพ้\" เตียวหุยเข้าตีเท่าไหร่ก็ไม่สามารถหักตีเข้าไปได้ เงียมหงันก็สั่งให้รักษาเมืองไว้อย่างเดียว ไม่ต้องยกออกไปรบ เตียวหุยคิดไม่ตกว่าจะทำอย่างไร จึงโมโหกินเหล้าแล้วเฆี่ยนตีทหารอีก ขณะที่เฆี่ยนตีอยู่นั้น เตียวหุยคิดอุบายขึ้นได้ จึงแสร้งหลอกว่า ตนกินเหล้าเมามายแล้วเฆี่ยนตีทหารอีกเพื่อลวงเงียมหงัน และให้ทหารกองลาดตระเวณทำทีสำรวจเส้นทางเพื่อดูว่ามีทางไหนที่จะเล็ดรอดเมืองปากุ๋นไปได้ไหม ในที่สุดก็พบเส้นทางเล็ก ๆ สายหนึ่ง เตียวหุยสั่งให้เดินทางออกตอนตี 3 เงียมหงันซึ่งส่งสายลับเข้าไปปะปนในกองทัพเตียวหุยรายงานเช่นนั้น จึงจะยกทัพตามตีตลบหลังเตียวหุยตามเวลานั้น แต่กลับโดนกลอุบายของเตียวหุยจนเสียท่าถูกจับเป็นเชลย เมื่อตกอยู่ในเงื้อมมือเตียวหุย เตียวหุยได้ตัดสินใจที่จะประหารเงียมหงันซึ่งเงียมหงันได้ยินดีที่จะตาย และกล่าวว่า \"ท่านจงประหารเร็วเถิด เสฉวนมีแต่แม่ทัพที่หัวขาด แต่ไม่มีแม่ทัพที่ยอมแพ้\" เมื่อเตียวหุยได้ยินเช่นนั้นก็คิดว่าแม่ทัพคนนี้มีความจงรักภักดีอย่างหนักแน่นมั่นคง มิย่อท้อเมื่อเผชิญความตายจึงนับถือน้ำใจ และแก้มัดออกพร้อมกล่าวขอโทษเงียมหงันที่ตนล่วงเกิน เงียมหงันเห็นดังนั้นจึงลุกขึ้นคำนับเตียวหุย และอาสาเป็นกองหน้า สำหรับเดินทัพต่อไป เมือไปถึงด่านใดตำบลใด นายด่านทั้งปวงก็ออกมายอมเข้าด้วย \nเพราะเงียมหงันเป็นทัพหน้า และได้ไปสมทบกับทัพเล่าปี่ ก่อนขงเบ้ง ซึ่งมาทางน้ำเสียอีก ", "title": "เงียมหงัน" }, { "docid": "139528#4", "text": "ปี 2525 อัลบั้มชุดแรก \"รักปักใจ\" ในนามวง \"สาว สาว สาว\" กับสังกัดรถไฟดนตรีและจัดจำหน่ายโดยอีเอ็มไอ (ประเทศไทย) ซึ่งมีเพลงแนะนำคือ “แพะยิ้ม” อัลบั้มชุดนี้เป็นการนำเอาเพลงเก่ามาทำใหม่ และไม่เหมาะกับวัยของ 3 สาวเท่าไหร่นัก ชื่อเสียงของ “สาว สาว สาว” เลยไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่ ระบบในสมัยนั้นตัวเพลงจะทำหน้าที่ขายตัวเองมากที่สุดโดยไม่มีปัจจัยอื่นมาสนับสนุน ประกอบกับภาพลักษณ์ของทางวงไม่ชัดเจน", "title": "เสาวลักษณ์ ลีละบุตร" }, { "docid": "25568#2", "text": "ราวปี พ.ศ. 2535 - 2538 นักคำนวณปฏิทินที่สำคัญ ได้แก่ นายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต, นายสุชาติ เผือกสกนธ์ เลขาธิการมูลนิธิพระดาบ และ นายลอย ชุนพงษ์ทอง ที่ปรึกษาการคำนวณปฏิทินสำนักพระราชวัง และสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสภา ได้ตรวจสอบและลงความเห็นตรงกันว่า วันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม", "title": "วันกองทัพไทย" }, { "docid": "117337#2", "text": "ลักษณะไก่ตัวผู้จะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ตรงปากพร้อมกับมีจะงอยปากงุ้มที่แข็งแรงมาก ตรงส่วนหัวจะกว้างและมีขนสีเหลืองทองที่ค่อย ๆ จางไปทีละน้อยจนถึงลำตัวคล้ายสร้อยคอ มีดวงตานูนใสแจ๋วและก็มีหงอนสีดำเป็นจักร ๆ ไร้ตุ้มหู ตรงส่วนลำคอจะตั้งตรงมีลักษณะที่แข็งแรง ตรงส่วนปีกทั้งสองข้างนั้นสั้นแต่ว่าแข็งแรงมากพอสมควรและก็มีสีเหลือง บางทีอาจจะมีเส้นขนดำ ๆ 1-2 เส้นตรงแกนของขนด้วย อกกว้างแบบไก่พันธุ์เนื้อทั่วไปที่ควรจะเป็น ขนตรงบริเวณหน้าอกและ บริเวณใต้ปีกมีสีเหลืองบาง ๆ ส่วนหลังกว้างเป็นแผ่น ๆ ที่ขนานกับพื้น ขนหางบางนุ่มแต่ว่า มีหางไขสั้น ๆ อยู่ 1 เส้น ส่วนก้นนั้นเป็นรูปตัดอย่างชัดเจนมาก ลำขาใหญ่นั้นมีสีเหลืองกลมและแข็งแรงเหมาะกับลำตัวพอดี มีขนสีเหลืองปกคลุมตรงขาบาง ๆผิวหนังมีสีแดงระเรื่อเพราะไม่ค่อยจะมีขนเท่าไหร่แต่ถ้าเป็นไก่ตอนจะมีขนดกกว่านี้เยอะ ตรงส่วนหน้าขานั้นจะมีเกล็ดวางแถวแนวเป็นระเบียบสีเหลืองนิ้วเท้าเหยียดตรงแข็งแรงอีกทั้งมีเล็บสีขาวอมเหลือง ", "title": "ไก่เบตง" }, { "docid": "629501#16", "text": "泡沫紅茶 (pinyin:pàomò hóngchá): \"ชาแดงโฟม\" แปลตรงตัวตามภาษาจีนก็คือ ชาที่มีฟอง ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ชาโฟม แต่ชื่อนี้ไม่เป็นที่นิยมในเอเชียเท่าไหร่นัก ในหลาย ๆ ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาจีนเป็นหลัก จะเรียกว่า \"ชาบับเบิล\"[7] เครื่องดื่มชนิดนี้ไม่ได้ใส่เม็ดสาคูลงไป คำว่า ฟอง/ไข่มุก ได้มาจากการผสมชาร้อน ๆ หรือชาอุ่น ๆ (ใช้ชาดำ) กับน้ำเชื่อมหรือน้ำตาล เทน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ลงไปรวมกันในกระบอกเชคเกอร์ อาจจะเขย่าด้วยเครื่องหรือเขย่าด้วยมือก็ได้ ทำให้เกิดโฟมฟองขึ้นที่ผิวบนของชา ส่งผลให้ได้รสชาติที่นุ่มลิ้น 泡沫奶茶 (pinyin:pàomò nǎichá): \"ชานมโฟม\" ชาชนิดนี้ก่อนเสิร์ฟต้องเขย่า วิธีการเหมือน \"ชาแดงมีฟอง\" 珍珠奶茶 or 珍奶 for short) (pinyin:zhēnzhū nǎichá): \"ชานมเพิร์ล\" มักเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า ชานมบับเบิล คำว่า \"เพิร์ล/ไข่มุก\" หมายถึง เม็ดสาคูเล็ก ๆ ขนาด 1/12 นิ้วที่ใส่ในเครื่องดื่ม ถึงแม้จะมีบางเมนูเปลี่ยนมาใช้เม็ดสาคูที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 1/4 นิ้ว แต่ก็ยังใช้ชื่อ \"ชานมเพิร์ล\"เหมือนเดิม[1] 波霸奶茶 (pinyin:bōbà nǎichá): \"ชานมบับเบิล\" หรือที่เรียกกันว่า ชานมปัวป้า ชื่อนี้สื่อถึงขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ ซึ่งก็คือ เม็ดสาคูขนาดใหญ่ 1/4นิ้ว[1] 黑珍珠奶茶 (pinyin:hēi zhēnzhū nǎichá): \"ชานมแบล็กเพิร์ล\" ตั้งแต่มีการทำเม็ดสาคูขนาดใหญ่ 1/4นิ้วขึ้นมา มีการแยกเฉพาะเม็ดสาคูมาวางจำหน่ายในชื่อ \"แบล็กเพิร์ล\" (黑珍珠) ซึ่งเป็นที่นิยมมาก มีอีกชื่อหนึ่งคือ \"ปัวป้า\" (波霸) แต่ไม่ค่อยใช้กันเท่าไหร่นัก (奶) 茶珍珠 (pinyin:(nǎi) chá zhēnzhū): \"ชา (นม) เพิร์ล\" (ไม่นิยมใช้ชื่อนี้) 泡泡茶 (pinyin:pào pào chá): หรือ 珍珠奶茶 หมายถึง \"ชาบับเบิล\" ใช้กันในประเทศสิงคโปร์", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "590751#0", "text": "ด้วยรักคือรัก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2528 กำกับโดยหม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย นำแสดงโดยธงไชย แมคอินไตย์ หรือเบิร์ด ซึ่งรับบทเป็นพระเอกภาพยนตร์เรื่องแรก ซึ่งขณะนั้นเบิร์ด ยังไม่มีผลงานเพลง โดยประกบคู่แสดงกับนักร้องดังแห่งยุค อัญชลี จงคดีกิจ หรือ \"ปุ๊\" ซึ่งถือว่าเป็นศิลปินหญิงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในยุคนั้น โดยดนตรีประกอบภาพยนตร์ ใช้เพลง \"หนึ่งเดียวคนนี้\" ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับอัลบั้มดัง ของ อัญชลี จงคดีกิจ \nวิชนีย์ กับพรรคพวกเป็นนักร้องที่ไม่ได้ประสบความสำเร็จในอาชีพนักร้องสักเท่าไหร่ พี่ต้อ ผู้จัดการของวง จึงให้ พรพิชิต เพื่อนที่เป็นเสือผู้หญิงมาวางแผนจัดการ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงซะใหม่ วิชนีย์กับพรพิชิตในช่วงแรกนั้นไม่ถูกชะตากันเท่าไหร่นัก เพราะความปากจัดและตรงไปตรงมาของพรพิชิต แต่เมื่อการโปรโมทได้ผล วิชนีย์เปลี่ยนชื่อเป็น อัญชลี และเป็นนักร้องดัง ทั้งคู่ก็ยังเล่นเกมเพื่อเอาชนะกัน และเกิดความใกล้ชิดกันขึ้น จนทั้งสองคนรักกัน แต่ว่าพรพิชิตก็ยังรักความเป็นอิสระของตัวเองอยู่ จนกระทั่งวิชนีย์เป็นโรคร้ายและมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน", "title": "ด้วยรักคือรัก" }, { "docid": "869988#3", "text": "หลังจากนั้น ผ่านการคุมกับมากับสโมสรฟุตบอลกิราวานซ์ คิตากีวชู และโตเกียว เวอร์ดี ก่อนจะย้ายมาคุมเชียงใหม่ เอฟซีในปี 2015 แต่ไม่ค่อยประสบความสำคัญเท่าไหร่นัก จึงได้ย้ายกลับมาญี่ปุ่นเพื่อคุมสโมสรคาทัลเลอร์ โทยามะ ก่อนจะมาลงเอยกับคาโงชิมะยูไนเต็ดในปี 2017 พร้อมทั้งให้โอกาสสิทธิโชค ภาโส นักฟุตบอลชาวไทยได้ไปเล่นอยู่ที่สโมสรแห่งนี้ด้วยสัญญายืมตัว หลังจากสิทธิโชคทำผลงานได้ดีในช่วงทดสอบฝีเท้าที่ญี่ปุ่น", "title": "ยาซูโตชิ มิอูระ" }, { "docid": "936#44", "text": "พระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยโดยนิตินัย ในทางปฏิบัติ กองทัพอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกระทรวงกลาโหม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้สั่งการ และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกองบัญชาการกองทัพไทย โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บัญชาการ กองทัพไทยแบ่งออกเป็น 3 เหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ทุกวันนี้กองทัพไทยมีกำลังทหารทั้งสิ้น 1,025,640 นาย และมีกำลังหนุนกว่า 200,000 นาย และมีกำลังกึ่งทหารประจำการกว่า 113,700 นาย[57] ในปี 2558 เครดิตสวิสจัดอันดับว่าประเทศไทยมีดัชนีกำลังทางทหารสูงเป็นอันดับที่ 16 ของโลก[58] งบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าจาก 78,100 ล้านบาทในปี 2548 เป็น 207,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2559 คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.5 ของจีดีพี[59][60]", "title": "ประเทศไทย" } ]
3879
หินที่เกิดจากลาวาภูเขาไฟเรียกว่าหินอะไร ?
[ { "docid": "58812#0", "text": "หินภูเขาไฟ (Volcanic rock)หรือ หินอัคนีพุ (Extrusive rock) คือหินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหลอมเหลวที่ไหลขึ้นมาบนผิวโลก ที่เราเรียกกันว่า ลาวา (Lava) ที่ไหลขึ้นมาสู่บนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลกจากระเบิดของภูเขาไฟ จึงทำให้ลักษณะการเกิดหินอัคนีภูเขาไฟมีลักษณะที่มีเนื้อหินที่ละเอียด เพราะอัตราการเย็นตัวและตกผลึกของหินหลอมเหลวเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้หินอัคนีภูเขาไฟมีเนื้อหินหรือขนาดผลึกที่ละเอียด สังเกตผลึกหรือแร่ประกอบหินด้วยตาเปล่าได้ยาก เช่น หินบะซอลต์ หรือในบางครั้งก็เป็นเนื้อแก้วที่ไม่มีรูปผลึก เช่น หินออบซิเดียน และ หินพัมมิซ", "title": "หินภูเขาไฟ" } ]
[ { "docid": "5525#16", "text": "พบแหล่งภูเขาไฟบริเวณตอนกลางของลำปาง ในเขต อำเภอเมืองลำปาง-อำเภอแม่ทะ และเกาะคา-อำเภอสบปราบ โดยกลุ่มหินบะซอลต์ ที่เกิดจากลาวาของภูเขาไฟลำปางไหลอาบออกมาปกคลุมพื้นที่ มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คลุมพื้นที่อำเภอเกาะคา และอำเภอสบปราบ เรียกรวมกันว่า บะซอลต์สบปราบ มีพื้นที่ประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร อีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองลำปาง และอำเภอแม่ทะ รวมเรียกว่า บะซอลต์แม่ทะ ซึ่งได้แก่ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู กลุ่มนี้ให้ลาวาคลุมพื้นที่ประมาณ 120 ตารางกิโลเมตร ภูเขาไฟลำปางเกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยเลื่อนลึก (Deepseated fault) ขึ้นในแนวเหนือ-ใต้ เป็นช่องทางให้หินหนืดภายใต้ผิวโลก ทะลักล้นออกมาในแนวรอยเลื่อนนี้เกิดเป็นปล่องภูเขาไฟเรียงตัวในแนวนี้ด้วย[6]", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "39867#0", "text": "ลาวา หรือ หินหลอมเหลว (อังกฤษ: lava) คือ แม็กมาที่หลอมเหลวแล้วพุ่งออกมาจากใต้พื้นผิวโลก และหากลาวาเหล่านี้มีการเย็นตัวและตกผลึกบนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก เรียกว่า หินอัคนีภูเขาไฟ (extrusive rocks หรือ volcanic rocks)", "title": "หินหลอมเหลว" }, { "docid": "302540#3", "text": "จุดร้อนเหล่านี่ ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบเป็นหินบะซอลท์ เพราะว่ามันปะทุขึ้นมากจาชั้นธรณีฐานมหาสมุทร (เช่นที่ Hawaii และ Tahiti) จุดร้อนเหล่านี้เกิดจากการระเบิดน้อยกว่าการเกิดภูเขาไฟอันเนื่องมาจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (Subduction zone) ในบริเวณที่มีน้ำอยู่ใต้เปลือกโลกที่สำคัญ เมื่อจุดร้อนเกิดขึ้นใต้แผ่นเปลือกโลกทวีป แมกม่าที่มีองค์ประกอบเหมือนหินบะซอลท์จะเข้าไปในบริเวณที่เปลือกโลกทวีปนั้นมีความหนาแน่นน้อย ซี่งมันจะร้อนและทำให้เกิดการหลอมเหลว จึงทำให้เกิดเป็นหิน โดยที่หินไรโอไลท์เหล่านี้มีความร้อนพอสมควรและทำให้เกิดการระเบิดที่รุนแรง ทั้งๆที่มีปริมาณน้ำอยู่น้อย ยกตัวอย่างเช่นที่ภูเขาไฟ Yellowstone ซึ่งเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟที่ทรงพลังมากที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยา อย่างไรก็ตามเมื่อแมกม่าที่มีองค์ประกอบเป็นไรโอไลท์ระเบิดอย่างสมบูรณ์ ในที่สุดแล้วก็จะได้ก็จะได้การระเบิดของแมกม่าที่มีองค์ประกอบเป็นบะซอลท์ตามมา ผ่านไปตามแนวที่เปราะบางของชั้นแผ่นเปลือกโลก ตัวอย่างในกรณีนี้คือ Ilgachuz Range ในโคลัมเบีย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกของการเกิดเป็น Trachyte และไรโอไลท์ แต่ในระยะเวลาต่อมาเกิดการปะทุขึ้นของลาวาทีมีองค์ประกอบเป็นบะซอลท์", "title": "จุดร้อน" }, { "docid": "936833#2", "text": "ส่วนประกอบหลักของกรวยภูเขาไฟประกอบไปด้วยหินบะซอลต์ หินบะซอลติก แอนดีไซต์ หินสคอเรีย และหินตะกอนลาวาจากการประทุของภูเขาไฟ ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในช่วงระยะหลังของการขยายตัวของภูเขาไฟ ภูเขาไฟยังมีที่ราบลึกขนาด และกว้าง ที่แผ่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าเกิดขึ้นจากการถล่มเนื่องจากความลาดชันของภูเขาไฟ มีดินถล่มกว่า 3 ลูกบาศก์กิโลเมตร (0.72 บาศก์ไมล์) ทำให้แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดทางด้านเหนือเกิดรอยแหว่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 27 ตารางกิโลเมตร (10 ตารางไมล์)", "title": "ภูเขาโปปา" }, { "docid": "60632#25", "text": "เมื่อลาวาพาโฮโฮไหลลงไปในทะเลโดยปรกติแล้วจะเกิดเป็นหินบะซอลต์รูปหมอน อย่างไรก็ตามเมื่อลาวาอาอาไหลลงไปในทะเลกลับเกิดการสะสมตัวของเศษตะกอนเนื้อเถ้าภูเขาไฟ (tuffaceous debris) เป็นรูปกรวย (littoral cone) กรวยขนาดเล็กเกิดขึ้นเมื่อธารลาวาอาอาร้อนไหลลงไปในน้ำและเกิดการระเบิดเป็นไอร้อนพวยพุ่งขึ้นไปอย่างรุนแรง (littoral explosion หรือ steam explosion)", "title": "หินบะซอลต์" }, { "docid": "11525#2", "text": "หมู่เกาะกาลาปาโกสประกอบด้วย 18 เกาะหลัก เกาะเล็ก 3 เกาะ พร้อมเกาะเล็ก ๆ และโขดหินกลางทะเลอีกประมาณ 170 แห่ง โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 7,994 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,996,250 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในทะเล 59,500 ตารางกิโลเมตร เกาะต่าง ๆ มีชื่อเรียกทั้งในภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ\nหมู่เกาะนี้เกิดจากการสะสมตัวของลาวาจากภูเขาไฟ เมื่อ 7-9 ล้านปีมาแล้ว และยังมีภูเขาไฟมีพลัง แม้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ยังเกิดภูเขาไฟอยู่ประปราย ภูมิประเทศที่โดดเด่น คือพื้นผิวที่ขรุขระอันเกิดจากภูเขาไฟ ปล่องภูเขาไฟ และหน้าผา เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะอัลเบมาร์ล (Albermarle) หรือ เกาะอิซาเบลา (Isabela) มีรูปร่างเป็นฉาก ความยาวทั้งหมด 132 กิโลเมตร ครอบครองเนื้อที่เกินครึ่งของหมู่เกาะนี้ จุดที่สูงที่สุดในหมู่เกาะนี้ คือ ภูเขาอาซุล (Azul) สูง 1,689 เมตร โดยหมู่เกาะนี้ยังมีภูเขาไฟชื่อภูเขาไฟวูล์ฟ (Wolf Volcano) อยู่ทางด้านเหนือของเกาะอิซาเบลาไปหลายไมล์ ส่วนเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงไป คือ เกาะอินดิฟาทิเกเบิล (Indefatigable) หรือ เกาะซานตากรุซ (Santa Cruz)", "title": "หมู่เกาะกาลาปาโกส" }, { "docid": "58812#2", "text": "การปะทุแบบไม่รุนแรง เป็นการปะทุตามปล่องหรือรอยแตก รอยแยกของแผ่นเปลือกโลกลาวาไหลหลากเอ่อล้นไป ตามลักษณะภูมิประเทศ ลาวาจะถ่ายโอนความร้อนให้กับบรรยากาศภายนอกอย่างรวดเร็ว ทำให้อะตอมของธาตุ ต่าง ๆ มีเวลาน้อยในการจับตัวเป็นผลึก หินลาวาหลากจึงประกอบด้วยแร่ที่มีผลึกขนาดเล็กหรือเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นและจำแนกผลึกได้ด้วยตาเปล่า เช่น หินไรโอไลต์(Ryolite), หินแอนดีไซต์(Andesite), หินบะซอลต์(Basalt)", "title": "หินภูเขาไฟ" }, { "docid": "952842#2", "text": "ภูเขาไฟเอเรบัสเป็นภูเขาไฟที่มีกิจกรรมทางภูเขาไฟมากที่สุดในแอนตาร์กติกาและยังเป็นจุดปะทุของจุดร้อนเอเรบัสในปัจจุบัน ยอดปล่องภูเขาไฟมีทะเลสาบหินโฟโนไลต์หลอมเหลวซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของทะเลสาบลาวาที่อยู่ถาวรบนโลก เอเรบัสเป็นภูเขาไฟที่ประทุแบบสตรอมโบเลียนตามทะเลสาบลาวาหรือตามรอยแตกทั้งหมดของปล่องภูเขาไฟ ภูเขาไฟลูกนี้มีความโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์เนื่องจากกิจกรรมการปะทุต่อเนื่องอยู่ในระดับต่ำและผิดปกติทำให้ช่วยให้ศึกษาการประทุแบบสตรอมโบเลียนได้อย่างใกล้ชิด ภูเขาลูกนี้มีลักษณะเฉพาะร่วมกับภูเขาไฟบนโลกเพียงไม่กี่แห่ง เช่นภูเขาไฟสตรอมโบลีในประเทศอิตาลี การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของภูเขาไฟลูกนี้ค่อนข้างสะดวกเนื่องจากอยู่ห่างจากที่ตั้งของฐานสกอตของนิวซีแลนด์และสถานีแม็คเมอร์โดของสหรัฐเพียง 35 กม.", "title": "ภูเขาไฟเอเรบัส" }, { "docid": "145099#0", "text": "หินออบซิเดียน (Obsidian) เกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ เกิดจากหินหนืดที่มีซิลิกาสูงมากทำให้มีความหนืดสูง ทำให้เกิดการอัดตัวของแก๊สและกลายเป็นสาเหตุของการระเบิดที่รุนแรง ทำให้ลาวาแข็งตัวลงอย่างรวดเร็วผลึกแร่จึงไม่มีเวลาตกผลึก จึงเป็นหินที่มีผลึกเล็กมากหรือแทบไม่มีผลึก ลักษณะคล้ายแก้ว หินออบซิเดียนจึงถูกเรียกว่าแกรนิตเนื้อแก้ว ลักษณะหินมักมีสีดำเนื้อหินละเอียด มีความแข็งและขอบคม ในยุคโบราณมีการนำหินออบซิเดียนมาทำเป็นอาวุธ ในหินออบซิเดียนที่สัมผัสกับน้ำก็จะทำให้เกิดผลึกเส้นใยสีขาว กระจายคล้ายเกล็ดหิมะ ในประเทศไทยแทบไม่มีการพบ", "title": "หินออบซิเดียน" }, { "docid": "58812#4", "text": "หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดปานกลาง มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 52-66 เปอร์เซ็นต์ เกิดในลักษณะเดียวกับหินไรโอไรต์ แต่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กมากกว่า จึงมีสีเขียวเข้ม", "title": "หินภูเขาไฟ" }, { "docid": "907685#2", "text": "ภูเขาไฟรูปโล่เกิดจากการไหลของลาวาที่ไม่หนืด เมื่อลาวาเย็นตัวลงก็จะแข็งตัวกลายเป็นชั้นทับถมขึ้นเป็นรูปทรงภูเขาเตี้ย ๆ มีมุมชันไม่มากคือไม่เกิน 10 องศา ความสูงมักอยู่ในช่วงประมาณ 1/20 ของความกว้าง ในระยะแรกเมื่อก่อตัวจะเห็นเป็นลานลาวา (lava plateau) ต่างจากภูเขาไฟเชิงประกอบที่มีลักษณะเป็นการทับถมของเถ้าและลาวาสลับชั้น และต่างจากภูเขาไฟกรวยกรวดที่ประกอบด้วยเถ้าเป็นหลัก ภูเขาไฟรูปโล่มักจะปะทุต่อเนื่องตลอดเวลาแทนการปะทุเป็นครั้งคราวอย่างภูเขาไฟเชิงประกอบ ภูเขาไฟรูปโล่ใต้เมฆที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ ภูเขาไฟเมานาโลอาซึ่งสูง จากระดับน้ำทะเล และกว้าง ประมาณกันว่ามีปริมาตรหินบะซอลต์ที่ประกอบเป็นภูเขาไฟทั้งสิ้น ฐานรากของภูเขาไฟจมตัวอยู่ใต้เปลือกโลกลึกประมาณ ", "title": "ภูเขาไฟรูปโล่" }, { "docid": "60632#17", "text": "ปรกติแล้วด้านบนของลาวาบะซอลต์และกรวยเถ้าภูเขาไฟจะมีโพรงข่ายอยู่มากซึ่งทำให้หินมีเนื้อเป็นฟองและมีน้ำหนักเบา เถ้าภูเขาไฟมักมีสีแดงซึ่งเป็นสีของเหล็กออกไซด์ที่เกิดจากการผุพังของแร่ไพรอกซีนที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่สูง ลักษณะที่เป็นก้อนของลาวาเอเอ้ที่เป็นเถ้าภูเขาไฟ การไหลของกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ และการไหลของลาวาบะซอลต์เนื้อแน่นพบได้ทั่วไปในฮาวาย ลาวาพาโฮโฮมีความหนืดสูงเป็นลาวาบะซอลต์ที่ร้อนซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีรูกลวงคล้ายท่อเกิดเป็นชั้นบางๆ รูกลวงในลาวาเหล่านี้เป็นลักษณะทั่วไปของการปะทุแบบพาโฮโฮ", "title": "หินบะซอลต์" }, { "docid": "60632#26", "text": "เกาะเซอร์ตเซย์ในมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นภูเขาไฟลาวาบะซอลต์ที่ไหลชะลงไปบนพื้นมหาสมุทรในปี ค.ศ. 1963 การระเบิดของภูเขาไฟนี้ในช่วงแรกๆจะมีความรุนแรงมากโดยขณะที่หินหนืดเปียกน้ำจะทำให้หินถูกทำให้โป่งพองออกโดยไอร้อนที่พวยพุ่งออกมาเกิดเป็นกรวยของเถ้าภูเขาไฟ ลักษณะนี้ต่อมาได้กลายเป็นลักษณะเฉพาะของลาวาพาโฮโฮ", "title": "หินบะซอลต์" }, { "docid": "953265#2", "text": "สตอมโบลีปะทุอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เกือบ 2,000 ปีที่แล้ว รูปแบบของการปะทุจะปะทุขึ้นที่ปล่องบนยอดภูเขา และปากครั้งก็มีการปะทุบอมบ์ภูเขาไฟออกมาเล็กน้อย เป็นระยะ ๆ ตั้งแต่นาทีจนถึงชั่วโมง การปะทุแบบนี้เรียกว่าการประทุแบบสตรอมโบเลียนซึ่งสามารถพบได้ในภูเขาไฟอื่น ๆ ทั่วโลก เป็นการระเบิดที่ไม่รุนแรงแต่ปะทุเป็นระยะ ๆ และมักปะทุเศษชิ้นส่วนเปลือกนอก ขี้เถ้า เศษหินและบอมพ์ภูเขาไฟ การปะทุของสตรอมโบลีนั้นมีการปะทุแบบเฉพาะตัว ส่วนการไหลของลาวานั้นจะออกมาเฉพาะช่วงที่มีกิจกรรมทางภูเขาไฟสูง เกิดการปะทุขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีใน พ.ศ. 2545 และอีกครั้งใน พ.ศ. 2546, พ.ศ. 2550 และ 2556-2557 การปลดปล่อยก๊าซของภูเขาไฟลูกนี้จะวัดโดยมัลติ-แก๊สซึ่งจะตรวจสอบการเพิ่มขึ้นของแม็กม่าล่วงหน้าซึ่งจะช่วยพยากรกิจกรรมทางภูเขาไฟได้ล่วงหน้า", "title": "ภูเขาไฟสตรอมโบลี" }, { "docid": "58812#1", "text": "นอกจากนี้ยังมีหินอัคนีอีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทับถมของเศษหินที่ได้จากการระเบิดของภูเขาไฟ เมื่อมีการเชื่อมประสานด้วยแร่ จะได้หินที่เรียกว่า หินอัคนีตะกอนภูเขาไฟ (Pyroclastic Rocks)", "title": "หินภูเขาไฟ" }, { "docid": "77415#7", "text": "เริ่มต้นหน่วยหินถูกแทนที่ด้วยการทับถมสู่พื้นผิวหรือรุกล้ำเข้าไปในหินท้องที่ การทับถมสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อตะกอนจมลงสู่พื้นผิวโลก และต่อมาแข็งตัวเป็นหินตะกอน หรือเมื่อวัตถุภูเขาไฟ เช่น เถ้าภูเขาไฟหรือลาวาไหลปกคลุมพื้นผิว หินอัคนีแทรกซอน เช่น หินอัคนีมวลไพศาล หินอัคนีรูปเห็ด พนังและพนังแทรกชั้น ผลักขึ้นไปด้านบนสู่หินที่ทับอยู่ และตกผลึกขณะที่หินอัคนีแทรกซอนรุกล้ำเข้าไป", "title": "ธรรมชาติ" }, { "docid": "60632#16", "text": "หินบะซอลต์ที่ปะทุขึ้นไปในอากาศทำให้เกิดการสะสมตัว 3 แบบ คือ ตะกรันภูเขาไฟ เถ้าภูเขาไฟ และการไหลของลาวา", "title": "หินบะซอลต์" }, { "docid": "260077#1", "text": "ลักษณะเฉพาะของป่านี้ คือ ต้นไม้จะเจริญเติบโตอยู่บนหินลาวา (ที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อหลายล้านปีก่อน) และครอบคลุมบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ ", "title": "ป่าคดจาวัล" }, { "docid": "60632#18", "text": "หินเถ้าภูเขาไฟมีการพบน้อยแต่ก็ใช่ว่าจะไม่เป็นที่รู้จัก ปรกติแล้วลาวาบะซอลต์ที่ร้อนมากๆและหนืดเกินไปที่มีแรงดันไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการปะทุออกมา แต่บ่อยครั้งจะถูกกักอยู่ในปล่องภูเขาไฟและปล่อยแก๊สออกมา ภูเขาไฟมอนาโลเอในฮาวายได้ปะทุขึ้นมาในลักษณะดังกล่าวนี้ในศตวรรษที่ 19 และก็เกิดขึ้นที่เมาต์ทาราเวราของนิวซีแลนด์ในการปะทุอย่างรุนแรงในปี ค.ศ. 1886", "title": "หินบะซอลต์" }, { "docid": "297804#1", "text": "Remanent magnetism วัดได้โดยเครื่องมือที่เรียกว่า magnetometers เครื่องนี้รุ่นแรกๆ สามารถวัดความหนาแน่นและทิศทางของสนามแม่เหล็กได้เฉพาะหินภูเขาไฟและ highly magnetized iron-bearing red sediments magnetometers รุ่นที่ดีที่สุดในขณะนี้ สามารถวัดได้แม้จะมีความเป็นแม่เหล็กน้อยรวมทั้งหินคาร์บอเนต Remanent magnetism มีความซับซ้อนและสามารถรวมเข้าไปอยู่ใน secondary magnetism ที่เกิดจากผลกระทบที่ยาวนานของสนามแม่เหล็กโลกในปัจจุบันหรือจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธาตุแม่เหล็กอันหนึ่งไปสู่อีกอันหนึ่งเทคนิคการขจัดแม่เหล็กสามารถทำได้เมื่อต้องการทำลายผลกระทบที่เกิดจาก secondary magnetic ในห้องทดลอง ดังนั้นก็จะสามารถวัด primary magnetization ได้ นี่คือส่วนประกอบของ primary magnetic ซึ่งบันทึกลักษณะของสนามแม่เหล็กโลกในขณะที่มันก่อตัวขึ้นและเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการศึกษาวิชาธรณีวิทยา สิ่งสำคัญของ primary remanent magnetism สำหรับการศึกษาธรณีวิทยามีเหตุมาจาก ความจริงที่ว่าสนามแม่เหล็กโลกไม่คงสภาพเดิมตลอดช่วงเวลาเก่าแก่ในธรณีวิทยา แต่กลับถูกค้นพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ อำนาจแรงดึงดูดของสนามแม่เหล็กบนพื้นโลกเกิดจากความเข้าใจผิดๆ บางประการว่าเกิดจากการเคลื่อนที่ของของเหลวที่มีนิกเกิดและเหล็กในปริมาณสูงในบริเวณรอบๆ แกนโลก การเคลื่อนที่นี้ถูกสันนิษฐานว่าได้รับการควบคุมจากการพาความร้อนโดยอุณหภูมิและจากแรง Coriolis ที่เกิดจากการหมุนของโลก การศึกษาเกี่ยวกับ remanent magnetism ในหินภูเขาไฟและหินตะกอน แสดงให้เห็นว่า ส่วนประกอบหลักของขั้นแม่เหล็ก 2 ขั้นในสนามแม่เหล็กโลก ที่มุ่งไปข้างหน้าจะถูกพลิกกลับขั้นในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนจาก Precambrian time เห็นได้ชัดจากการพาความร้อนที่ไม่คงที่บริเวณรอบแกนโลก เมื่อสนามแม่เหล็กโลกมีสภาพขั้วในทิศทางหนึ่งแล้ว จะกล่าวได้ว่ามีขั้วที่ปกติเมื่อเปลี่ยนขั้นไป 180 องศาก็จะถูกเรียกว่ากลับขั้น การกลับตัวของขั้วสนามแม่เหล็กโลกถูกบันทึกไว้ในหินตะกอนและหินภูเขาไฟในรูปแบบขั้วที่ปกติและเมื่อกลับขั้นแล้ว ทิศทางของสนามแม่เหล็กในหินถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนโดย north-seeking magnetization ถ้า north-seeking magnetization ของก้อนหินชี้ไปที่ขั้วเหนือของสนามแม่เหล็กโลกในปัจจุบัน แสดงว่าหินนั้นมีขั้นปกติ แต่ถ้า north-seeking magnetization ชี้ไปที่ขั้วแม่เหล็กใต้ ก็แสดงว่าหินนั้นกลับขั้วหรือมีขั้วกลับกัน ดังนั้น หินตะกอนและหินภูเขาไฟที่แสดงขั้วตรงกับขั้นของสนามแม่เหล็กโลกในปัจจุบันก็จะเรียกว่าขั้วปกติ ในขณะที่หินที่มีขั้นตรงกันข้ามจะเรียกว่าขั้นกลับ reverse polarity การกลับขั้วของแรงดึงดูดของสนามแม่เหล็กโลกบนพื้นโลกเหล่านี้เกิดขึ้นในระยะเวลาเดียวกันกับมหันตภัยบนพื้นโลก ดังนั้นมันจะมีสัญลักษณ์ทางธรณีวิทยาในหินภูเขาไฟหรือหินตะกอน กระบวนการการกลับขั้วนั้นใช้เวลา 1000-10000 ปี (Clement, Kent and Opdyke, 1982) ความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กโลกจะลดลง 60-80 % ก่อนที่จะเกิดการกลับขั้วประมาณ 10000 ปี การกลับขึ้นจะใช้เวลาประมาณ 1000-2000 ปี ตามด้วยการเพิ่มของความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กของอีก 10000 ปี ข้างหน้า ( Cox, 1969) แม้ว่าจะมีการกลับขั้วครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 20000 ปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่การกลับตัวของสนามแม่เหล็กที่ไร้ซึ่งข้อสงสัยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 700000 ปีที่ผ่านมา ในปีแรกๆ ของ Paleomagnetic เชื่อว่า ช่วงของขั้นหนึ่งๆ ที่กินเวลาตั้งแต่ 100000 ปีขึ้นไปเรียกว่า epochs แต่ช่วงที่ใช้เวลาประมาณ 10000-100000 ปี จะเรียกกันว่า events ปัจจุบันทราบกันดีว่า การกลับขึ้นจะเกิดขึ้นได้หลากหลาย ช่วงเวลาเริ่มต้นน้อยที่สุดจาก 10000 ปี จนถึง 10 ล้านปี อย่างไรก็ตาม นักธรณีวิทยายังคงใช้คำว่า epochs กับ events ในความหมายเดียวกัน ทั้งๆ ที่ความหมายแตกต่างกัน(epochs ในปัจจุบันมีความหมายเดียวกับ chrons) การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลในหิน pre-Pleistocene ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงขั้นในหินตะกอนหรือหินภูเขาไฟที่ทำให้เกิดลวดลายที่จดจำได้ง่าย ใช้ในจุดประสงค์เพื่อลำดับเหตุการณ์และหาความสัมพันธ์", "title": "การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาล" }, { "docid": "900609#2", "text": "เกาะโจฮอฟประกอบด้วยลาวาที่มีหินบะซอลต์และหินทิฟฟ์ ส่วนใหญ่ของเกาะแห่งนี้ประกอบด้วยหินโอลิวีน และหินลาวาการไหลเวียนของลาวาเหล่านี้เกิดการทับถมจนเป็นชั้นขี้เถ้าภูเขาไฟที่ผุกร่อน ความหนารวมของหินภูเขาไฟที่มีอยู่ภายในเกาะโจฮอฟอยู่ที่ประมาณ 400 เมตร", "title": "เกาะโจฮอฟ" }, { "docid": "952842#3", "text": "ภูเขาไฟเอเรบัสจัดเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้นโดยครึ่งล่างเป็นรูปโล่ด้านบนเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้น ส่วนประกอบที่ปะทุออกมาจากเอเรบัสจะเป็นพวกผลึกดอก อะนอร์โทเคลส เทไฟร์ทและหินโฟโนไลต์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของลาวาในภูเขาไฟ ส่วนประกอบของการระเบิดที่เก่าแก่ที่สุดมีส่วนประกอบไม่ต่างกันแต่จะมีหินบาซาไนต์หลอมเหลวที่หนืดซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เป็นรูปโล่บริเวณตีนเขา หินบาซาไนต์และหินโฟโนไลต์หลอมเหลวจำนวนเล็กน้อยทำให้เกิดสันเขาแฟรงและสถานที่อื่น ๆ รอบภูเขาไฟเอเรบัส ภูเขาไฟเอเรบัสเป็นภูเขาไฟที่ปะทุโฟโนไลต์เพียงแห่งเดียวในโลกในปัจจุบัน", "title": "ภูเขาไฟเอเรบัส" }, { "docid": "266277#3", "text": "ลาวาจากการปะทุไหลเอ่อลงไปบนพื้นทะเลตื้นๆหรือไหลจากผืนดินลงไปในทะเลอาจเกิดการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วจนเกิดการระเบิดแตกออกเป็นเศษชิ้นตะกอนของหินเล็กๆ (littoral explosion หรือ steam explosion) ผลก็คือเกิดเศษชิ้นตะกอนหินภูเขาไฟขนาดเท่าเม็ดทรายจำนวนมหาศาลของหินบะซอลต์ที่มีองค์ประกอบของแร่เหล็กสูงและมีแร่ซิลิก้าต่ำ เมื่อเกิดการผุพังก็ยังคงมีสีดำของแร่หนักทำให้คลื่นชายฝั่งพัดพาเอาตะกอนที่เบากว่าออกไปโดยทิ้งไว้เฉพาะทรายดำที่มีน้ำหนักมากกว่า หาดทรายดำที่มีชื่อเสียงของฮาวายอย่างเช่น หาดทรายดำ Punaluu ซึ่งเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดโดยปฏิสัมพันธ์อย่างรุนแรงระหว่างลาวาร้อนกับน้ำทะเล ", "title": "ทรายดำ" }, { "docid": "58812#5", "text": "หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดน้อย มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 45-52 เปอร์เซ็นต์ มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาใต้เปลือกโลก หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี (พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว", "title": "หินภูเขาไฟ" }, { "docid": "300101#0", "text": "แอ่งยุบปากปล่อง หรือ แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด () เป็นแอ่งภูเขาไฟที่มีขอบแอ่งเอียงชันลาดลงสู่ก้นแอ่ง อาจมีหรือไม่มีกรวยภูเขาไฟขนาดต่างๆ โผล่อยู่ที่ก้นแอ่งก็ได้ แอ่งภูเขาไฟแบบนี้เกิดขึ้นจากการระเบิดอย่างรุนแรงและฉับพลันในส่วนลึกลงไปของภูเขาไฟ โดยมีพลังระเบิดมากพอที่จะผลักดันส่วนบนให้กระจัดกระจายออกไปรอบทิศทาง ทำให้ปริมาณหินมหาศาลเคลื่อนย้าย เกิดเป็นรอยรูปกระจาดขึ้น หลังจากนั้น การระเบิดย่อย ๆ หรือการหลั่งไหลของลาวาขึ้นสู่ผิวพื้นก้นกระจาด ก็อาจทำให้เกิดกรวดภูเขาไฟย่อย ๆ หรือใหญ่ ๆ ขึ้นท่ามกลางแอ่งก้นกระจาดอีกต่อหนึ่ง", "title": "แอ่งยุบปากปล่อง" }, { "docid": "302087#0", "text": "หินละลายรูปหมอน ลักษณะโครงสร้างเป็นรูปหมอน มีลักษณะที่สำคัญคือเป็นการที่ลาวาโผล่พ้นน้ำแล้วมีการเย็นตัวลง หินละลายรูปหมอนนี้จัดเป็นหินอัคนีภูเขาไฟ ซึ่งมีหลายขนาด อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้มากถึง 1 เมตร", "title": "หินละลายรูปหมอน" }, { "docid": "950450#1", "text": "โบลกันเดฟูเอโกมีชื่อเสียงจากการเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นในระดับต่ำเกือบต่อเนื่อง การปะทุของแก๊สและเถ้าถ่านเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้นทุก 15 ถึง 20 นาที ส่วนการปะทุขนาดใหญ่กว่านั้นพบไม่บ่อยนัก ลาวาประเภทหินแอนดีไซต์และหินบะซอลต์มีมากที่สุด และการปะทุในระยะหลังมีแนวโน้มที่จะพ่นแร่ธาตุสีเข้มออกมามากกว่าการปะทุในยุคแรกเริ่ม", "title": "โบลกันเดฟูเอโก" }, { "docid": "310934#2", "text": "เช่นเดียวกันภูเขาไฟส่วนใหญ่ในเทือกเขาคาสเคด ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์มีลักษณะเป็นกรวยปะทุ ประกอบด้วยหินลาวา แบ่งชั้นด้วยเถ้า หินพัมมิซ และหินตะกอนอื่น ๆ ภูเขาประกอบด้วยชั้นของหินบะซอลต์ และหินแอนดีไซท์ ผ่านโดมลาวาที่เป็นหินเดไซท์โป่งออกมา โดยโดมหินเดไซท์ที่ใหญ่ที่สุดก่อตัวใกล้กับยอดเขา และโดมขนาดเล็กกว่าคือ โดมโกทร็อกส์ ตั้งอยู่ข้างภูเขาไฟทางตอนเหนือ ซึ่งโดมทั้งสองแห่งนี้ถูกทำลายไปจากการระเบิดเมื่อ ค.ศ. 1980", "title": "ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์" }, { "docid": "58812#3", "text": "หินไรโอไลต์ (Ryolite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดมาก มีปริมาณซิลิกามากกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อละเอียดซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็ก มีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีชมพู และสีเหลือง", "title": "หินภูเขาไฟ" } ]
3880
เรือหลวงจักรีนฤเบศร มีความยาวเท่าไหร่?
[ { "docid": "26263#6", "text": "เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[7948,7963,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>เป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กที่สุดในโลก[8] นำแบบแผนมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส ของกองทัพเรือสเปนซึ่งพัฒนามาจากแบบแผนเรือควบคุมทะเล (Sea Control Ship - SCS) ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยลดระวางขับน้ำลง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน[9] มีความยาวตลอดลำ 182.6 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 164.1 เมตร ความกว้างกลางลำที่แนวน้ำ 22.5 เมตร ความกว้างดาดฟ้าบิน 30.5 เมตร ความสูงถึงดาดฟ้าบิน 18.5 เมตร ความสูงยอดเสา 42 เมตร และกินน้ำลึกเต็มที่ 6.2 เมตร[9] ตัวเรือถึงฐานเรดาห์สร้างด้วยเหล็กเหนียว (Mild steel) พื้นดาดฟ้าบินสร้างด้วยเหล็กกล้าแรงดึงสูง (High Tensile Steel) และเสากระโดงเรือสร้างด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์[5] กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 42 นาย พันจ่า 69 นาย จ่า 230 นาย พลทหาร 110 นาย[9] และทหารประจำหน่วยบิน 146 นาย[8]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" } ]
[ { "docid": "26263#24", "text": "ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 กองทัพเรือได้จัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล กรณีเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ เกาะเต่า เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยสั่งการให้เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[19208,19223,2,2]}'>จักรีนฤเบศร[19]พร้อมด้วยอากาศยาน ร.ล.สุโขทัย และเรือของกองทัพเรืออีกหลายลำออกเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดค้างบนเกาะเต่า โดยลำเลียงผู้ประสบภัยจำนวนทั้งสิ้น 743 คน เดินทางมายังท่าเทียบเรือจุกเสม็ด[19]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#17", "text": "เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[15491,15506,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ได้มีภารกิจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#16", "text": "เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[14870,14885,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>เป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ลำแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[17] มีระวางขับน้ำ 11,544 ตัน สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 9 ซึ่งคลื่นมีความสูง 13.8 เมตร[18]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#0", "text": "เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[2931,2946,2,2]}'>จักรีนฤเบศร (English: HTMS Chakri Naruebet; ย่อ: CVH-911) เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของราชนาวีไทย ประจำการในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือ เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส (Principe de Asturias) ของกองทัพเรือสเปน โดยปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการบิน ระบบอาวุธ และลดระวางขับน้ำลงเหลือสองในสาม[1][N 1] ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ได้ใช้งานปฏิบัติภารกิจด้านยุทธการและช่วยเหลือภัยพิบัติตลอดน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "445056#0", "text": "เรือหลวงอ่างทอง (791) () เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ลำแรกของกองทัพเรือไทย สังกัดกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ และเป็นเรือในประจำการที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน รองจาก เรือหลวงจักรีนฤเบศร และ เรือหลวงสิมิลัน", "title": "เรือหลวงอ่างทอง" }, { "docid": "26263#20", "text": "เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[16665,16680,2,2]}'>จักรีนฤเบศร[19]ออกเรือเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 23–29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่งเรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[16819,16834,2,2]}'>จักรีนฤเบศร ออกจากท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และจอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะหนู จังหวัดสงขลา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[17030,17045,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ได้เริ่มปฏิบัติการโดยใช้การบินตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และส่งชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมเรือยางลำเลียงเอาอาหารและสิ่งของจำเป็นมอบแก่ผู้ประสบภัย", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "423189#0", "text": "เรือธง () เป็นเรือที่มีผู้บัญชาการกองเรือ ใช้เป็นที่บังคับบัญชากองเรือ ชักธงตามยศของผู้บัญชาการนั้นไว้บนยอดเสาสูงสุดเพื่อให้เรือลำอื่นในกองเดียวกันสังเกตเห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะเป็นเรือที่ส่งอาณัติสัญญาณให้เข้าโจมตี กองทัพเรือไทยมีเรือธงได้แก่ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงแม่กลอง แม่คำของ \"เรือธง\" คือ เรือ", "title": "เรือธง" }, { "docid": "26263#19", "text": "ในวันที่ 4–7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[16411,16426,2,2]}'>จักรีนฤเบศร[19]ได้ออกเรือเพื่อให้การช่วยเหลือเรือประมงในทะเล ที่ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นลินดาโดยลาดตระเวนจากสัตหีบไปยังเกาะกูด จังหวัดตราดจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#10", "text": "ระบบตรวจการของเรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[12653,12668,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ประกอบไปด้วยเรดาร์อากาศ Hughes SPS-52C ย่านคลื่นความถี่ E/F และเรดาร์นำร่อง Kelvin-Hughes 1007 จำนวน 2 เครื่อง[3] มีการเตรียมการที่จะติดตั้งเรดาร์ผิวน้ำ SPS-64 และโซนาร์ใต้ท้องเรือ แต่จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ก็ยังไม่มีการติดตั้ง[3][10] ส่วนควบคุมการยิงก็ยังไม่ได้ติดตั้งด้วยเช่นกัน[3]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "44422#50", "text": "ซึ่งผู้ที่ได้รับเงินรางวัล 1 ล้านบาทในซีซั่นนี้คือ นายหิรัณย์ พรหมมา (กาย) อายุ 18 ปี ที่ผ่านเข้ารอบจากสเตจเรือหลวงจักรีนฤเบศร", "title": "เกมวัดดวง" }, { "docid": "26263#26", "text": "จักรีนฤเบศร จักรีนฤเบศร", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#13", "text": "โรงพยาบาลในเรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[13671,13686,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>มีหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดูแลด้านการสุขาภิบาลหน่วยเรือ และให้การช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่กำลังพลของเรือและจัดกำลังพลช่วยเหลือหน่วยอื่นๆที่จัดขึ้นในกรณีพิเศษ[16] ห้องรักษาพยาบาลประกอบด้วย ห้องตรวจโรค ห้องผ่าตัด ห้องเอกซ์เรย์ และห้องทันตกรรม ห้องผู้ป่วยสามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 15 เตียง ห้องผู้ประสบภัย สามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ จำนวน 26 เตียง[9]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "343149#16", "text": "กองทัพเรือไทยได้ส่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือที่บรรทุกเครื่องบินเป็นลำแรกของไทย มาให้ความช่วยเหลือ โดยใช้เป็นครัวในการปรุงอาหารจากนั้นจึงส่งอาหารมายังจังหวัดโดยเฮลิคอปเตอร์", "title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553" }, { "docid": "26263#21", "text": "ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2546 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ และมีชาวกัมพูชาเผาสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญได้รับความเสียหาย มีการเตรียมพร้อมในการอพยพเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยและประชาชนชาวไทยในกัมพูชาให้เดินทางกลับประเทศไทย ในแผน \"โปเชนตง 1\" และเตรียมพร้อมปฏิบัติการบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของเกาะกง[19] นอกน่านน้ำกัมพูชา เป็นการปฏิบัติการในชื่อแผน \"โปเชนตง 2\" โดยอากาศยานบนเรือเตรียมพร้อมปฏิบัติการในการใช้กำลังทางทหารต่อกัมพูชา หากมีความผิดพลาดเกินขึ้นในแผนโปเชนตง 1", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "74523#2", "text": "สำหรับประเทศไทยนั้น มีเครื่องบินแฮริเออร์แบบ AV-8S (รุ่นที่นั่งเดี่ยว)/TAV-8S (รุ่นที่นั่งคู่) Matador รวมกันจำนวน 9 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินมือสองได้รับจากสเปนพร้อมกับการส่งมอบ เรือหลวงจักรีนฤเบศรและประจำการบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร", "title": "ฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์" }, { "docid": "26263#25", "text": "แนะนำเรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[19999,20014,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ที่เปิดให้ผู้มาเยี่ยมชมรับชม", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#5", "text": "เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[7562,7577,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ขึ้นระวางประจำการสังกัดกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยมีนาวาเอกสุรศักดิ์ พุ่มพวง เป็นผู้บังคับการเรือ ปัจจุบันมีนาวาเอก เอตม์ ยุวนางกูร เป็นผู้บังคับการเรือคนที่ 8 (หมดวาระ กันยายน พ.ศ. 2559) [7]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#14", "text": "ระบบไฟฟ้าภายในเรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[14281,14296,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ประกอบไปด้วย[9]เครื่องขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#7", "text": "เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[9323,9338,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ผสมพลังงานดีเซลหรือแก๊ส (CODOG)[8] แต่ละระบบเชื่อมต่อกับใบจักร 4 ใบ/พวง[5]แบบปรับพิทช์ได้ ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล Bazán-MTU 16V1163 TB83 ( 5,600 แรงม้าที่ความเร็วลาดตระเวน) และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 (22,125 แรงม้า ใช้เมื่อต้องการเร่งสู่ความเร็วสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ) มีจำนวนอย่างละ 2 เครื่องยนต์[8][9] เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[9763,9778,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>มีความเร็วสูงสุด 27 นอต แม้ว่าเรือจะทำความเร็วได้ที่ 17.2 นอตเมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว[8] เรือมีระยะทำการ 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอตและ 7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต[8]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#9", "text": "เมื่อเข้าประจำการ เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[10904,10919,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ได้รับเครื่องฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ เอวี-8เอส (ที่นั่งเดี่ยว) และ ทีเอวี-8เอส (สองที่นั่ง) มือสองจากกองทัพเรือสเปนเข้าประจำการจำนวน 9 ลำ ปัจจุบันประสบปัญหาการดูแลรักษาและขาดแคลนอะไหล่ ปลดประจำการหมดแล้วทั้ง 9 ลำ[12] และยังมีเฮลิคอปเตอร์ซี ฮอร์ก เอส-70บี จำนวน 6 เครื่อง[9][8][13][10] เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[11465,11480,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>มีความสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 14 ลำ เช่น ไซคอร์สกี ซี คิง, ไซคอร์สกี เอส-76 และ ซีเอช-47 ชีนุก[8] หรือเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง 12 ลำ[14] มีโรงเก็บขนาด 2,125 ตารางเมตร[14]สามารถเก็บอากาศยานได้ 10 ลำ[3][10] มีดาดฟ้าบินขนาด 174.6 กว้าง 27.5 เมตร[3] และมีสถานีรับ-ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้บริการแก่อากาศยานที่นำเครื่องจอดลงบนดาดฟ้า ซึ่งดาดฟ้าบินนี้สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ได้ทุกประเภท โดยน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดระหว่าง 7,000-136,000 กิโลกรัม กรณีเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่เช่น ชีนุก สามารถรับส่งได้ที่จุดรับ-ส่งที่ 4 เท่านั้น โดยการรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์นั้นสามารถรับ-ส่งได้ 5 เครื่องพร้อมกัน[14] มีสกีจั๊ม 12° สำหรับให้เครื่องแฮริเออร์ขึ้นบิน[3] มีลิฟท์สำหรับอากาศยาน 2 ตัวแต่ละตัวรับน้ำหนักได้ 20 ตัน[3] และมีลิฟต์ลำเลียงสรรพาวุธอีก 2 ตัว[14]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#4", "text": "กองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[7194,7209,2,2]}'>จักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี[2] และใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร[2]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#23", "text": "ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[18540,18555,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ได้เดินทางออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ เดินทางถึงจังหวัดสงขลา โดยทอดสมอที่เกาะหนู เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย[20][21]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#12", "text": "ภายในเรือ<i data-parsoid='{\"dsr\":[13147,13162,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ประกอบด้วยห้องต่างๆ ทั้งส่วนที่ใช้ปฏิบัติงาน และห้องพัก รวมกว่า 600 ห้อง[15] โดยมีส่วนหลักๆ ดังนี้ สะพานเดินเรือซึ่งเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของเรือ หอบังคับการบิน ห้องควบคุมการจราจรทางอากาศ ห้องอุตุนิยมวิทยา ห้องควบคุมดาดฟ้าบิน ห้องบรรยายสรุปการบิน ห้องศูนย์ยุทธการ และห้องครัว[15]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#8", "text": "เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[10041,10056,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ติดตั้งอาวุธปืน 20 มม. จำนวน 4 แท่นยิง[9] และอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิดชนิดพื้นสู่อากาศแบบแซดเรล (SADRAL) 3 แท่นยิง ใช้ลูกอาวุธปล่อยเป็นจรวดนำวิถีมิสทราล (Mistral) ซึ่งเป็นแบบนำวิถีเข้าสู่เป้าด้วยตนเอง[3][10][11]อาวุธปล่อยนำวิถีถูกติดตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544[3] นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบปล่อยอาวุธทางดิ่ง Mark 41 แบบ 8 ท่อยิงสำหรับยิงจรวดซีสแปร์โรว (Sea Sparrow) และระบบป้องกันระยะประชิดฟารังซ์ (Phalanx) อีก 4 แท่นยิง[4]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#22", "text": "ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ โดยกองเรือยุทธการจัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล โดยมีกำลังพลรวมทั้งสิ้น 760 นาย ซึ่งประกอบด้วยเรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[18120,18135,2,2]}'>จักรีนฤเบศร[19] เรือหลวงนเรศวรและชุดแพทย์เคลื่อนที่ โดยมีภารกิจหลักคือค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้การรักษาพยาบาลบริเวณเกาะต่างๆ และพื้นที่ทะเลด้านใต้ของเกาะภูเก็ต และเก็บกู้ศพและลำเลียงศพจากเกาะพีพีดอน นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนและรับการตรวจเยี่ยมจากนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะและกองทัพเรือ", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#15", "text": "เครื่องจักรช่วยและเครื่องจักรอื่นๆภายในเรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[14461,14476,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ได้แก่[9] เครื่องปรับอากาศ ขนาด 155 ตัน จำนวน 3 เครื่อง เครื่องทำความเย็นขนาด 5 ตัน จำนวน 2 เครื่อง เครื่องปรับแต่งอาการโคลงของเรือจำนวน 2 ชุดเครื่อง เครื่องผลิตน้ำจืดแบบออสโมซิสผันกลับจำนวน 4 เครื่อง", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#11", "text": "เรือยังติดตั้งเครื่องยิงเป้าลวง SBROC 4 เครื่องและเป้าลวงลากท้าย SLQ-32[10]", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#18", "text": "ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นซีตาห์ที่จังหวัดชุมพร เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[15657,15672,2,2]}'>จักรีนฤเบศร[19]ได้ไปยังพื้นที่ประสบภัย และดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงจนการช่วยเหลือทางบกไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ประสบภัยได้ โดยการใช้เฮลิคอปเตอร์จากเรือ นำอาหารและน้ำดื่มไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" }, { "docid": "26263#3", "text": "เรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[5558,5573,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>ได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และมีการวางกระดูกงูในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537[3][4] ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทำพิธี ได้มีการทดลองแล่นเรือตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539-เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ร่วมกับกองทัพเรือสเปนที่โรต้า (Rota) ประเทศสเปน[3] รับมอบเรือและขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540[2] โดยมีพลเรือเอก วิจิตร ชำนาญการณ์ เป็นผู้รับมอบ[5] เรือได้รับหมายเลข 911 และเดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2540[4] ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2540[6] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเจิมเรือหลวง<i data-parsoid='{\"dsr\":[6895,6910,2,2]}'>จักรีนฤเบศร</i>เพื่อความเป็นสิริมงคล", "title": "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" } ]
3882
มารดาของคาโรลีเนอ อมาเลีย เอลีซาเบ็ทคือใคร?
[ { "docid": "215385#0", "text": "คาโรลีเนอ อมาเลีย เอลีซาเบ็ท แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล (German: Caroline Amalie Elisabeth von Braunschweig-Wolfenbüttel) ทรงเป็นเจ้าหญิงเยอรมันซึ่งอภิเษกเข้าสู่พระราชวงศ์อังกฤษ คาโรลีเนอประสูติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1768 ที่เบราน์ชไวค์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระธิดาของคาร์ล วิลเฮล์ม แฟร์ดีนันด์ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล กับเจ้าหญิงออกัสตาแห่งบริเตนใหญ่ (พระขนิษฐาองค์โตของพระเจ้าจอร์จที่ 3) คาโรลีเนอเป็นพระราชินีในพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1820 จนสิ้นพระชนม์เมื่อ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1821 ที่ลอนดอน อังกฤษ พระศพตั้งอยู่ที่มหาวิหารเบราน์ชไวค์", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" } ]
[ { "docid": "5513#66", "text": "Family of Main Page 32.อเล็คซานเดอร์ สวอน16. เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา8. สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร17. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร4. สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร18. สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก9. เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก19. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล2. สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร20. ดยุกอเล็กซานเดอร์แห่งเวือร์ทเทมแบร์ก10. ดยุกฟรันซิสแห่งเทก21. เคาท์เตสโคลไดน์เรเดย์ ฟอน คิส-เรด5. เจ้าหญิงแมรีแห่งเทก22. เจ้าชายอดอลฟัส ดยุคแห่งแคมบริดจ์11. เจ้าหญิงแมรี อเดเลดแห่งแคมบริดจ์23. เจ้าหญิงออกัสตา แห่งเฮสส์-คาสเซิล1. สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 224. โธมัส ลีออน-โบวส์ ลอร์ดกลาสมิส12. โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 13 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น25. ชาร์ลอตต์ กริมสตีด6. โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 14 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น26. ออสวอลด์ สมิธ13. ฟรานซิส ดอรา สมิธ27. เฮนเรีตตา มิลเดรด ฮอดจ์สัน3. สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี28. ลอร์ดชาลส์ เบนทิงค์14. ชาลส์ วิลเลียม เฟรเดอริก คาเวนดิช-เบนทิงค์29. เลดีเบนทิงค์7. เซซิเลีย นีนา คาเวนดิช-เบนทิงค์30. เอ็ดวิน เบอร์นาบี15. แคโรไลน์ ลุยซา เบอร์นาบี31. แอนน์ แคโรไลน์ ซอลส์บรี", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "862801#0", "text": "เจ้าหญิงเฮเลนา อาดิเลดแห่งเดนมาร์ก (); (เดิม: เจ้าหญิงเฮเลนา อาดิเลดแห่งชเลสวิก-โฮลชสตน์-ซอนเดอบูร์ก-อูลคัชเบิร์ก)เป็นพระชายาใน เจ้าชายฮารัลด์แห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นพระธิดาพระองค์ที่ 3ใน ฟรีดริชเฟอร์ดินานด์ ดยุกแห่งชเลสวิก-โฮลชสตน์ กับ เจ้าหญิงแคร์โรไลน์ มาทิลเดอ ดัชเชสแห่งชเลสวิก - โฮลชไตน์-ซอนเดอบูร์ก-ออกัสเตนเบิร์ก พระองค์ทรงเป็นพระมารดาใน เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก เป็นพระอัยยิกาใน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก เคานต์อิงกอล์ฟแห่งโรเซินบอร์ก เคานต์คริสเตียนแห่งโรเซินบอร์ก", "title": "เจ้าหญิงเฮเลนา แอดิเลดแห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "860713#0", "text": "เคานต์อิงกอล์ฟแห่งโรเซินบอร์ก (); หรือเดิม เจ้าชายอิงกอล์ฟแห่งเดนมาร์ก พระโอรสพระองค์กลางใน เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก กับ เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นพระอนุชาใน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก เขาลาออกจากการเป็น \"เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก\" และดำรงตำแหน่ง \"เคานต์แห่งโรเซินบอร์ก\" เขาเสกสมรสจำนวน 2 ครั้ง แต่ไม่มีโอรส-ธิดา", "title": "เคานต์อิงกอล์ฟแห่งโรเซินบอร์ก" }, { "docid": "68672#5", "text": "เอลิซาเบธ โบวส์-ลีออน เป็นธิดาคนที่สี่และที่เก้าในสิบคนของโคลด จอร์จ โบวส์-ลีออน ลอร์ด กลามิส (ต่อมาคือ เอิร์ลแห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น) และ เซซิเลีย นินา คาเวนดิช-เบ็นทิงค์ สถานที่เกิดของเอลิซาเบธยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ว่ากันว่าเกิดในคฤหาสน์เบลเกรฟ อุทยานกรอสเวเนอร์ ที่เป็นบ้านของบิดามารดาในกรุงลอนดอนและในรถพยาบาลม้าลากขณะจะไปยังโรงพยาบาล การเกิดของเอลิซาเบธได้รับการจดทะเบียนที่เมืองฮิทชิน เทศมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ ใกล้กับบ้านเซนต์พอลส์วัลเดนเบอรี ซึ่งเป็นบ้านพักชนบทของตระกูลสตราธมอร์ และเป็นที่เข้าพิธีบัพติศมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2443 ณ โบสถ์ท้องถิ่นในเขตนั้น\nเอลิซาเบธใช้ชีวิตในวัยเยาว์ส่วนมากที่เมืองเซนต์พอลส์วัลเดนและปราสาทกลามิส ซึ่งเป็นบ้านของบรรพบุรุษในตระกูลอยู่ในเมืองกลามิส มณฑลแองกัส สก็อตแลนด์ ได้รับการศึกษาครั้งแรกที่บ้านโดยมีครูพี่เลี้ยงมาสอนและชื่นชอบกีฬากลางแจ้ง ลูกม้าและสุนัขอย่างมาก เมื่ออายุ 8 ปี เอลิซาเบธก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน โดยได้ทำให้เหล่าครูผู้สอนประหลาดใจด้วยการเริ่มต้นเขียนเรียงความด้วยอักษรกรีกสองตัวจากหนังสือชื่อ Anabasis ของนักปราชญ์กรีกนามว่า ซีโนโฟน และวิชาที่เก่งที่สุดคือ วรรณคดีและประติมากรรม หลังจากกลับมาเรียนหนังสือเป็นส่วนตัวกับครูพี่เลี้ยงชาวเยอรมันก็สามารถผ่านสอบข้อเขียนในการสอบเก็บคะแนน Oxford Local Examination ด้วยความสามารถพิเศษขณะมีอายุเพียง 13 ปี", "title": "สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี" }, { "docid": "9941#31", "text": "#แคว้นเมืองหลวงพื้นที่ (ตร.กม.)ประชากร [7]1อาบรุซโซ Abruzzoลากวีลา L'Aquila10,7941,334,6752บาซีลีกาตา Basilicataโปเตนซา Potenza9,992590,6013กาลาเบรีย Calabriaกาตันซาโร Catanzaro15,0802,008,7094กัมปาเนีย Campaniaเนเปิลส์ (นาโปลี) Naples (Napoli)13,5955,812,9625เอมีเลีย-โรมัญญา Emilia-Romagnaโบโลญญา Bologna22,1244,337,9796ฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย Friuli-Venezia Giuliaตรีเอสเต Trieste7,8551,230,9367ลาซีโอ Lazioโรม (โรมา) Rome (Roma)17,2075,626,7108ลิกูเรีย Liguriaเจนัว (เจโนวา) Genoa (Genova)5,4211,615,0649ลอมบาร์ดี (ลอมบาร์เดีย) Lombardy (Lombardia)มิลาน (มีลาโน) Milan (Milano)23,8619,742,67610มาร์เก Marcheอังโกนา Ancona9,6941,569,57811โมลีเซ Moliseกัมโปบัสโซ Campobasso4,438320,79512ปีเอมอนเต Piemonteตูริน (โตรีโน) Turin (Torino)25,3994,432,57113ปูลยา Pugliaบารี Bari19,3624,079,70214ซาร์ดิเนีย (ซาร์เดญญา) Sardinia (Sardegna)กาลยารี Cagliari24,0901,671,00115วัลเลดาออสตา (วาเลโดสต์) Valle d'Aosta (Vallée d'Aoste)อาออสตา Aosta3,2634,337,97916ทัสกานี (ตอสกานา) Tuscany (Toscana)ฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ) Florence (Firenze)22,9973,707,81817เตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ Trentino-Alto Adigeเตรนโต Trento13,6071,018,65718อุมเบรีย Umbriaเปรูจา Perugia8,456894,22219ซิซิลี (ซีชีเลีย) Sicily (Sicilia)ปาแลร์โม Palermo25,7085,037,79920เวเนโต Venetoเวนิส (เวเนเซีย) Venice (Venezia)18,3914,885,548", "title": "ประเทศอิตาลี" }, { "docid": "782566#0", "text": "คาโรลีเนอ เบออิล (เกิด 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966) เกิดที่ฮัมบวร์ค เป็นนักแสดงและพิธีกรโทรทัศน์หญิงชาวเยอรมัน ผลงานที่ทำให้คาโรลีเนอ ได้เป็นที่นิยม คือ Storm of Love", "title": "คาโรลีเนอ เบออิล" }, { "docid": "215385#8", "text": "พระธิดาเจ้า หญิงชาร์ลอตต์ตกอยู่ในความดูแลของครูพี่เลี้ยงในคฤหาสน์ไม่ไกลจากคฤหาสน์มองตากิวที่คาโรลีเนอมักจะเสด็จไปเยี่ยม[19] การมีพระธิดาเพียงพระองค์เดียวดูเหมือนจะไม่พอเพียง คาโรลีเนอทรงรับอุปการะเด็กยากจนอีกแปดหรือเก้าคน ที่ทรงส่งไปให้คนดูแลเลี้ยงดูแทนในดิสตริคท์ที่ประทับ[20] ในปี ค.ศ. 1802 พระองค์ทรงรับเลี้ยงวิลเลียม ออสตินผู้มีอายุเพียงสามเดือนครึ่ง และทรงนำเข้ามาพำนักในที่ประทับ มาในปี ค.ศ. 1805 คาโรลีเนอก็ทรงมีเรื่องกับเซอร์จอห์นและเลดี้ดักกลาสผู้เป็นเพื่อนบ้านผู้อ้างว่าพระองค์ทรงส่งจดหมายหยาบคายไปรังควาน เลดี้ดักกลาสกล่าวหาคาโรลีเนอว่าทรงมีชู้ และกล่าวว่าวิลเลียม ออสตินเป็นพระโอรสนอกสมรสของคาโรลีเนอ[21]", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" }, { "docid": "215385#10", "text": "เมื่อมาถึงปลายปี ค.ศ. 1811 พระเจ้าจอร์จที่ 3 ก็ทรงมีอาการเสียพระสติอย่างถาวร เจ้าชายจอร์จจึงทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์ทรงจำกัดการเยี่ยมเยือนเจ้าหญิงชาร์ลอตของคาโรลีเนอ ซึ่งทำให้คาโรลีเนอกลายเป็นผู้ที่ขาดการติดต่อทางสังคมมากยิ่งขึ้น เมื่อชนชั้นสูงในสังคมหันมาร่วมงานเลี้ยงรับรองอันหรูหราของเจ้าชายจอร์จกันมากขึ้นแทนที่จะเป็นงานของคาโรลีเนอ[26] คาโรลีเนอจึงพยายามหาพันธมิตรผู้มีอำนาจที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อการห้ามไม่ให้พระองค์ได้พบปะกับพระธิดา ในจำนวนผู้สนับสนุนก็ได้แก่เฮนรี บรูม บารอนบรูมและโวซ์ที่ 1 นักการเมืองพรรควิกผู้ทะเยอทะยานผู้ต้องการที่จะปฏิรูป คาโรลีเนอจึงเริ่มทำการรณรงค์ต่อต้านเจ้าชายจอร์จ[27] เจ้าชายจอร์จตอบโต้ด้วยการปล่อยข่าวเกี่ยวกับการให้การของเลดี้ดักกลาสในกรณี \"การสืบสวนเรื่องละเอียดอ่อน\" บรูมจึงตอบโต้ด้วยการปล่อยข่าวเกี่ยวกับคำให้การของคนรับใช้เกี่ยวกับโซเฟีย ออสติน[28] เจ้าหญิงชาร์ลอตต์และสาธารณชนเข้าข้างพระมารดา เจน ออสเตนเขียนจดหมายเกี่ยวกับคาโรลีเนอว่า: \"สตรีที่น่าสงสาร, ข้าพเจ้าจะสนับสนุนเธอนานเท่าที่จะทำได้เพราะเธอ เป็น สตรี และ ข้าพเจ้าเกลียดสามีของเธอ\"[29]", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" }, { "docid": "215385#9", "text": "ในปี ค.ศ. 1806 ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการลับที่เรียกว่า \"การสืบสวนเรื่องละเอียดอ่อน\" (Delicate Investigation) เพื่อสอบสวนข้ออ้างของเลดี้ดักกลาส คณะกรรมการประกอบด้วยผู้มีความสำคัญระดับชาติสี่คนที่รวมทั้ง: นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วิลเลียม เกรนวิลล์ บารอนเกรนวิลล์ที่ 1, ลอร์ดชานเซลเลอร์ ทอมัส เอิร์สคิน บารอนเอิร์สคินที่ 1, ประธานยุติธรรมสูงสุดแห่งอังกฤษและเวลส์ เอ็ดเวิร์ด ลอว์ บารอนเอลเลนโบโรห์ที่ 1 และ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย จอร์จ สเป็นเซอร์ เอิร์ลสเป็นเซอร์ที่ 2 เลดี้ดักกลาสให้การว่าคาโรลีเนอเองทรงยอมรับต่อตนเองในปี ค.ศ. 1802 ว่าทรงพระครรภ์ และวิลเลียม ออสตินเป็นพระโอรสของพระองค์[22] และกล่าวต่อไปว่าคาโรลีเนอทรงมีกิริยาอันหยาบคายต่อพระราชองค์ ทรงแตะต้องตนเองอย่างไม่เหมาะไม่ควรทางเพศ และ ยอมรับว่าสตรีผู้ใดที่เป็นมิตรดีกับชายก็เชื่อได้ว่าจะกลายเป็นคนรักของชายผู้นั้น[22] นอกจากสมิธ, แมนบีย์ และแคนนิงแล้ว, ทอมัส ลอว์เร็นซ์ และเฮนรี ฮูดก็ถูกกล่าวหาว่าอาจจะมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้รักกับพระองค์ คนรับใช้ของคาโรลีเนอไม่สามารถยืนยันหรือไม่ยอมยืนยันว่าบุคคลเหล่านี้เป็นชู้รัก หรือเรื่องการมีครรภ์ของคาโรลีเนอ และกล่าวว่าวิลเลียม ออสตินได้รับการนำมามอบให้แก่พระองค์โดยโซเฟีย ออสตินมารดาของเด็กเอง โซเฟีย ออสตินถูกเรียกตัวมาให้การและยืนยันว่าเด็กเป็นลูกของตนเอง[23] คณะกรรมการตัดสินว่าข้อกล่าวหา \"ไม่มีมูล\" และแม้ว่าจะเป็นการสืบสวนลับแต่ก็ไม่อาจที่จะป้องกันข่าวซุบซิบจากการแพร่ขยายออกไป ข่าวการสืบสวนจึงรู้ไปถึงหนังสือพิมพ์ในที่สุด[24] การปฏิบัติตนของคาโรลีเนอต่อสุภาพบุรุษถือกันว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำที่นอกเหนือไปจากการกล่าวล้อเลียนระหว่างชายและหญิง คาโรลีเนออาจจะทรงโพล่งไปว่าทรงครรภ์ตามประสาของความโผงผางของพระองค์ แต่ผลที่ตามมาเป็นเรื่องที่ทำให้ทรงเสียชื่อเสียง[23] ต่อมาในปีนั้นคาโรลีเนอก็ได้รับข่าวร้ายว่าเบราน์ชไวค์ถูกรุกรานโดยฝรั่งเศส และพระราชบิดาถูกสังหารในยุทธการเยนา-เออร์ชตัดท์ คาโรลีเนอมีพระประสงค์ที่จะหนีจากบริเตนและเสด็จกลับเบราน์ชไวค์แต่เมื่อแผ่นดินใหญ่ยุโรปส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส พระองค์จึงไม่ทรงมีที่ปลอดภัยที่จะเสด็จไปได้[25]", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" }, { "docid": "858123#1", "text": "ซึ่งพระนาม คาโรลีเนอ ถูกตั้งตามพระนามของเจ้าหญิงคลัมมา ซึ่งเป็นพระปัยยิกาฝ่ายพระมารดา", "title": "เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "391528#0", "text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธ คาโรลีเนอ-มาทิลเดอ อเล็กซันดรีเนอ เฮเลนา โอลกา ธือรา ฟีโอโดรา อัสตริด มาร์กาเรเธอ เดซีเรแห่งเดนมาร์ก (8 พฤษภาคม ค.ศ. 1935 − 19 มิถุนายน ค.ศ. 2018) เป็นพระธิดาในเจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก กับเจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก ทรงมีศักดิ์เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก รัชกาลปัจจุบัน", "title": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "215385#7", "text": "คาโรลีเนอย้ายไปประทับที่ประทับส่วนพระองค์ที่ชาร์ลตันและต่อมาที่คฤหาสน์มองตากิวที่เป็นคฤหาสน์ของเอิร์ลแห่งแซนด์วิชที่แบล็คฮีธทางตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน เมื่อไม่ทรงต้องอยู่ในกรอบของพระสวามีหรือตามข่าวเล่าลือว่าในกรอบของพันธสัญญาของการสมรส คาโรลีเนอก็ทรงจัดการเลี้ยงผู้ใดก็ได้ที่โปรด[17] พระองค์ตรัสหยอกล้อกับนายพลเรือซิดนีย์ สมิธ และกัปตัน ทอมัส แมนบีย์ และอาจจะทรงมีความสัมพันธ์กับนักการเมืองจอร์จ แคนนิง[18]", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" }, { "docid": "858123#0", "text": "เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอ ประสูติเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2455 ณ พระราชวังเชโฟเดิน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์ที่ 2 ในเจ้าชายฮารัลด์แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงเฮเลนา อาดิเลดแห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดริคที่ 8 แห่งเดนมาร์ก ", "title": "เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32610#1", "text": "\"แองเจลีค ลีโมจ\" (ตัวผู้เล่น) นักเรียนสาวธรรมดาจากโรงเรียนสตรีสมอลนี่ ที่จู่ๆ วันหนึ่งก็ได้ถูกคัดเลือกให้เป็น 1 ในว่าที่ราชินีองค์ใหม่ของโลก ด้วยเหตุนี้ แองเจลีค จึงต้องเข้ารับการทดสอบเพื่อเป็นราชินี โดยการขอยืมพลังจากเทพพิทักษ์หนุ่มรูปงามทั้ง 9 มาพัฒนาโลก เพื่อให้ประชาชนบนโลกได้อาศัยอยู่กันอย่างสุขสบาย ซึ่งนอกจากจะต้องทำภารกิจที่ว่านี้ให้สำเร็จแล้ว แองเจลีคยังต้องพยายามกุมหัวใจของเทพพิทักษ์หนุ่มๆเหล่านี้ให้ได้ด้วย แต่เรื่องก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะยังมี \"โรซาเลีย เดอ คาตาร์เฮน่า\" ว่าที่ราชินีอีกคน ที่เป็นทั้งเพื่อนและคู่แข่งคนสำคัญของแองเจลีค ซึ่งเธอเองก็มีสิทธิ์ขอยืมพลังจากเหล่าเทพพิทักษ์หนุ่มเพื่อมาพัฒนาโลกได้เช่นกัน แถมยังคอยขัดขวางความสัมพันธ์ระหว่างแองเจลีคกับเหล่าเทพพิทักษ์อีกด้วย ดังนั้นนี่จึงเป็นหน้าที่ของผู้เล่นที่จะต้องควบคุมแองเจลีคให้สามารถกุมหัวใจของเหล่าเทพพิทักษ์ และผ่านการทดสอบเพื่อเป็นราชินีองค์ใหม่ให้ได้", "title": "แองเจลีค" }, { "docid": "516871#9", "text": "ในรอว์ (24 มีนาคม 2014) วิกกี เกร์เรโร ได้ออกมาประกาศจัดแมตช์ชิงแชมป์ดีวาส์ 14 คน ได้แก่ เอเจ ลี(แชมป์), เนโอมี, คาเมรอน, บรี เบลลา, นิกกี เบลลา, นาตาเลีย, อีวา มารี, เอ็มมา, อักซานา, อลิเซีย ฟอกซ์, ซัมเมอร์ เรย์, โรซา เมนเดส, เลย์ลา และทามีนา สนูกกา", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30" }, { "docid": "964025#0", "text": "เคานต์โอลัฟแห่งโรเซินบอร์ก () ประสูติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2466 เป็นพระโอรสพระองค์สุดท้องใน เจ้าชายฮารัลด์แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงเฮเลนา แอดิเลดแห่งเดนมาร์ก พระราชนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก และพระอนุชาใน เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก พระมาตุลาใน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก ", "title": "เคานต์โอลัฟแห่งโรเซินบอร์ก" }, { "docid": "221606#1", "text": "เอลีซาแบ็ต-หลุยส์ วีเฌ-เลอเบริงเกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1755 ที่เมืองปารีสในประเทศฝรั่งเศส โดยมีชื่อเมื่อแรกเกิดว่า มารี เอลีซาแบ็ต-หลุยส์ วีเฌ ลูกสาวของจิตรกรภาพเหมือนและภาพบนพัด หลุยส์ วีเฌ ผู้ที่เอลีซาแบ็ตได้รับการศึกษาทางศิลปะเมื่อเริ่มแรก มารดาของเอลีซาแบ็ตเป็นช่างแต่งผม เอลีซาแบ็ตถูกส่งไปอยู่กับญาติในเอเปร์นอง (Epernon) จนอายุ 6 ปีเมื่อเอลีซาแบ็ตเข้าคอนแวนต์และอยู่ที่นั่นอีก 5 ปี พ่อของเอลีซาแบ็ตเสียชีวิตเมื่อเอลีซาแบ็ตอายุได้ 12 ปี ในปี ค.ศ. 1768 แม่ของเอลีซาแบ็ตแต่งงานกับช่างอัญมณี, ฌาคส์ ฟรองซัวส์ เลอ เซเวร์ หลังจากนั้นครอบครัวก็ย้ายไปถนนแซงต์โอเนอร์ไม่ไกลจากพระราชวังหลวงแห่งปารีส (Palais Royal) ระหว่างนี้เอลีซาแบ็ตก็ได้รับการศึกษาแนะนำจากกาเบรียล ฟร็องซัว ดัวย็อง (Gabriel François Doyen), ฌ็อง-บาติสต์ เกริซ (Jean-Baptiste Greuze) และโฌแซ็ฟ แวร์แน (Joseph Vernet) และจิตรกรสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนั้น", "title": "เอลีซาแบ็ต-หลุยส์ วีเฌ-เลอเบริง" }, { "docid": "215385#11", "text": "ในปี ค.ศ. 1814 หลังจากการพ่ายแพ้ของนโปเลียนสมาชิกของพระราชวงศ์ต่างๆ จากราชอาณาจักรต่างๆ ในยุโรปก็มาเฉลิมฉลองกันในกรุงลอนดอนแต่คาโรลีเนอถูกกีดกัน[30] คาโรลีเนอไม่ทรงมีความสุขกับการที่ถูกปฏิบัติเช่นนั้น พระองค์จึงทรงเจรจาต่อรองกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ, โรเบิร์ต สจวต ไวท์เคานท์คาสเซิลรีห์ ว่าจะทรงยอมออกจากบริเตนเป็นการแลกเปลี่ยนกับรายได้ประจำปีเป็นจำนวน £35,000 ทั้งบรูมและเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ต่างก็ผิดหวังต่อการตัดสินใจของคาโรลีเนอ เพราะทั้งสองทราบดีว่าการจากไปของคาโรลีเนอเท่ากับเป็นการเพิ่มความมั่นคงให้แก่สถานภาพของเจ้าชายจอร์จและบั่นทอนเสถียรภาพของบุคคลทั้งสอง[31] คาโรลีเนอออกจากอังกฤษเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1814[32]", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" }, { "docid": "963652#0", "text": "เจ้าชายกอล์มแห่งเดนมาร์ก () ประสูติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2462 เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 4 และพระองค์แรกใน เจ้าชายฮารัลด์แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงเฮเลนา แอดิเลดแห่งเดนมาร์ก พระราชนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก และพระอนุชาใน เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก พระมาตุลาใน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก โดยพระองค์ทรงงานด้านทหารเรือเดนมาร์ก ", "title": "เจ้าชายกอล์มแห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "860717#0", "text": "เคานต์คริสเตียนแห่งโรเซินบอร์ก (); หรือเดิม เจ้าชายคริสเตียนแห่งเดนมาร์ก พระโอรสพระองค์เล็กใน เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก กับ เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นพระอนุชาใน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์กและ เคานต์อิงกอล์ฟแห่งโรเซินบอร์ก เขาลาออกจากการเป็น \"เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก\" และดำรงตำแหน่ง \"เคานต์แห่งโรเซินบอร์ก\" ดั่งพระเชษฐา เขาเสกสมรสกับ แอนน์ ดอริช (ต่อมาเป็น แอนน์ ดอริชแห่งโรเซินบอร์ก) มีโอรส-ธิดาจำนวน 3 คน", "title": "เคานต์คริสเตียนแห่งโรเซินบอร์ก" }, { "docid": "215385#5", "text": "จากบันทึกการติดต่อของเจ้าชายจอร์จเปิดเผยว่าทรงมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคาโรลีเนอเพียงสามครั้ง สองครั้งในคืนวันเสกสมรส และ อีกครั้งหนึ่งในวันที่สอง[10] ในการมีความสัมพันธ์ทางเพศเจ้าชายจอร์จทรงบันทึกว่าพระองค์ \"ต้องใช้ความพยายามพอสมควรที่จะเอาชนะความรังเกียจในตัว[คาโรลีเนอ]\"[11] เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ออกัสตาแห่งเวลส์ผู้เป็นพระราชธิดาองค์เดียวเกิดจากความสัมพันธ์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1796 ซึ่งทำให้พระองค์ทรงมีสิทธิเป็นลำดับที่สองของลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ จากนั้นเจ้าชายจอร์จและคาโรลีเนอก็มิได้ดำรงชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยา และจะปรากฏพระองค์แยกกันในที่สาธารณะ และทั้งสองพระองค์ต่างก็ทรงมีชู้รัก คาโรลีเนอทรงได้รับสมญานามว่า 'พระราชินีผู้ไร้จริยธรรม' กล่าวกันว่าการเสกสมรสเป็นไปอย่างไม่สะดวกใจเพราะความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าชายจอร์จและเลดี้เจอร์ซี แต่ก็อาจจะเป็นได้ว่าคาโรลีเนอเองก็แทบจะไม่มีความสนพระทัยต่อพระสวามี ซึ่งทำให้ไม่มีความสนใจในความสัมพันธ์ของพระองค์กับสตรีคนใด", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" }, { "docid": "215385#2", "text": "เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1795 คาโรลีเนอและมาล์มสบรีก็ออกจากคุกซ์ฮาเฟนโดย เรือรบหลวงจูปิเตอร์ เรือมาถึงฝั่งอังกฤษที่กรีนิชเมื่อวันอาทิตย์อีสเตอร์ที่ 5 เมษายนหลังจากที่ล่าไปเพราะสภาวะอากาศ ผู้ที่ไปต้อนรับคือฟรานซ์ส วิลเลียรส์ เคานเทสแห่งเจอร์ซีพระสนมในเจ้าชายจอร์จผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนางสนองพระโอษฐ์ห้องพระบรรทมของคาโรลีเนอ[5] เฮนรี วาซซาล-ฟ็อกซ์ บารอนฮอลแลนด์ที่ 3 กล่าวว่าอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตัน อ้างว่าเลดี้เจอร์ซีเองเป็นผู้เลือกคาโรลีเนอให้เป็นเจ้าสาวของเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเวลลิงตันกล่าวว่าเลดี้เจอร์ซีเลือกสตรีที่ \"มีกิริยามารยาทที่ขาดความเหมาะสม บุคลิกที่ไม่มีอะไรเด่น และ หน้าตาที่เรียบ เพื่อหวังให้เจ้าชายจอร์จรังเกียจพระชายาและสร้างความมั่นคงให้กับการเป็นพระสนมต่อไป\"[6]", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" }, { "docid": "710474#13", "text": "พฤติกรรมที่ผิดธรรมเนียมของเจ้าหญิงคาโรลีนได้เกิดขึ้นในปีค.ศ. 1807 โดยมีข้อกล่าวหาพระนางว่าทรงเคยมีเพศสัมพันธ์กับชายคนอื่นในช่วงที่ทรงแยกห่างจากพระสวามี เจ้าหญิงคาโรลีนทรงเลี้ยงดูเด็กหนุ่มน้อยที่ชื่อว่า วิลเลียม ออสติน ซึ่งถูกกล่าวหาเป็นบุตรของพระนางกับชายคนอื่น เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงหวังว่า \"การสืบสวนที่ละเอียดอ่อน\" จะได้หลักฐานในเรื่องการผิดประเวณี ซึ่งจะทำให้พระองค์สามารถหย่าร้างได้ และทรงห้ามไม่ให้เจ้าหญิงชาร์ลอตต์พบกับพระมารดาเด็ดขาด คณะผู้สืบสวนไม่ได้สอบปากคำเจ้าหญิงคาโรลีนหรือผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป้นคนรักของพระนาง แต่ได้จดจ่ออยู่แต่เพียงปากคำของคนรับใช้ในเจ้าหญิงคาโรลีน เมื่อคนรับใช้ถูกถามว่าเจ้าหญิงคาโรลีนทรงพระครรภ์หรือไม่ บางคนตอบว่าใช่ บางคนตอบว่าไม่ บางคนตอบว่าไม่แน่ใจ และอื่นๆซึ่งชี้ว่าพระนางทรงมีน้ำหนักมากและพระวรกายอวบอ้วนซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะบอก คนรับใช้ยืนยันว่าไม่มีใครเลยที่เป็นคนรักของพระนาง แม้ว่าคนรับใช้ชายของพระนาง คือ โจเซฟ โรเบิร์ตส์ จะกล่าวว่า เจ้าหญิงทรง \"รักในการร่วมเพศมาก\" เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ทรงรับรู้ถึงการสืบสวน เจ้าหญิงวัย 10 พรรษาทรงรู้สึกเจ็บปวดลึกๆเมื่อพระมารดาและพระนางทรงทำได้แค่เพียงสบมองพระพักตร์กันในสวนสาธารณะ และเจ้าหญิงคาโรลีนทรงเชื่อฟังคำสั่งของเจ้าชายที่ไม่ให้ติดต่อหรือตรัสสิ่งใดกับเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ โดยทรงแกล้งทำเป็นมองไม่เห็นพระธิดา เจ้าชายจอร์จทรงผิดหวังอย่างมาก เมื่อคณะผู้สืบสวนไม่พบหลักฐานว่าเจ้าหญิงคาโรลีนทรงมีพระบุตรองค์ที่สองจริง แม้ว่าจะเป็นที่ระบุชัดแจ้งว่าพฤติกรรมของเจ้าหญิงได้ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมาก พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเมตตาเจ้าหญิงคาโรลีน ทรงปฏิเสธที่จะพบพระนางในช่วงที่มีการสอบสวน แต่ทรงเริ่มให้พระนางเข้าเฝ้าพระองค์ได้หลังจากนั้น หลังจากสิ้นสุดการสอบสวนที่ละเอียดอ่อน เจ้าชายทรงมีพระอนุญาตอย่างไม่เต็มพระทัยนัก ทรงให้เจ้าหญิงชาร์ลอตต์พบกับพระมารดาอีกครั้ง โดยมีเงื่อนไขว่าอย่าให้วิลเลียม ออสตินมาเป็นพระสหายของเจ้าหญิง", "title": "เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์" }, { "docid": "215385#6", "text": "สามวันหลังจากการประสูติของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ออกัสตา เจ้าชายจอร์จก็ทรงพินัยกรรมใหม่ โดยทรงทิ้งทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ \"มาเรีย ฟิตซ์เฮอร์เบิร์ต, ผู้เป็นภรรยาของข้าพเจ้า\" และทิ้งเงินหนึ่งชิลลิงให้แก่คาโรลีเนอ[12] หนังสือพิมพ์อ้างว่าเลดี้เจอร์ซีทำการเปิด อ่าน และ แจกจ่ายพระสาส์นส่วนพระองค์ของคาโรลีเนอ[13] คาโรลีเนอทรงชิงชังเลดี้เจอร์ซีและไม่ทรงสามารถที่จะเดินทางได้โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากพระสวามี[14] หนังสือพิมพ์สร้างภาพพจน์ของเจ้าชายจอร์จว่าทรงใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างการสงคราม และ คาโรลีเนอว่าเป็นภรรยาผู้ถูกปฏิบัติด้วยอย่างขาดความเป็นธรรม[15] คาโรลีเนอเป็นที่นิยมของสาธารณชนเพราะทรงเป็นผู้ที่ไม่มีพิธีรีตอง[11] ซึ่งทำให้เจ้าชายจอร์จทรงชิงชังในความนิยมของประชาชนในตัวพระชายา และ ความไม่เป็นที่นิยมของประชาชนในตัวพระองค์เอง และทรงมีความรู้สึกเหมือนติดกับในชีวิตการเสกสมรสอันปราศจากความรักกับสตรีที่ทรงชิงชัง พระองค์จึงทรงต้องการที่จะแยกกันอยู่[16]", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" }, { "docid": "391528#1", "text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1935 ณ โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เป็นพระธิดาในเจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก กับเจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก", "title": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "215385#4", "text": "คาโรลีเนอและเจ้าชายจอร์จทรงเสกสมรสกันเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1795 ที่ชาเปลหลวงที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เจ้าชายจอร์จทรงเมามายระหว่างพระพิธี และมีพระดำริว่าคาโรลีเนอทรงเป็นสตรีที่ไม่มีเสน่ห์และสกปรก และตรัสกับมาล์มสบรีว่าพระองค์ทรงมีความสงสัยว่าคาโรลีเนอมิได้เป็นสตรีที่ยังทรงพรหมจารีย์[9] แต่พระองค์เองก็มิได้มีความบริสุทธิ์เพราะทรงได้ทำการเสกสมรสอย่างลับๆ กับมาเรีย ฟิตซ์เฮอร์เบิร์ต แต่การเสกสมรสดังกล่าวละเมิดพระราชบัญญัติการเสกสมรสของราชวงศ์อังกฤษ ค.ศ. 1772 ซึ่งทำให้การเสกสมรสดังกล่าวไม่มีผลทางกฎหมาย[10]", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" }, { "docid": "215385#1", "text": "ในปี ค.ศ. 1794 คาโรลีเนอก็ทำการการหมั้นหมายกับพระญาติจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์ผู้เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าจอร์จที่ 3 ทั้งสองพระองค์ไม่เคยทรงพบปะกันมาก่อนหน้านั้น เจ้าชายจอร์จทรงยอมตกลงที่จะเสกสมรสกับคาโรลีเนอเพราะทรงมีหนี้สินล้นพระองค์ ฉะนั้นถ้าทรงทำสัญญาเสกสมรสกับเจ้าหญิงผู้มีฐานะดีทางรัฐสภาก็จะอนุมัติเบี้ยเลี้ยงให้พระองค์เพิ่มขึ้น คาโรลีเนอดูเหมือนจะเป็นสตรีที่เหมาะสมเพราะทรงมีกำเนิดในราชตระกูลและทรงถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ นอกจากนั้นแล้วการเสกสมรสก็ยังเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างเบราน์ชไวค์และบริเตน แม้ว่าเบราน์ชไวค์จะเป็นเพียงอาณาจักรที่ไม่ใหญ่โตนักแต่บริเตนอยู่ในระหว่างสงครามกับฝ่ายปฏิวัติฝรั่งเศสจึงมีความต้องการที่จะหาพันธมิตรบนแผ่นดินใหญ่ยุโรป เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1794, เจมส์ แฮร์ริส เอิร์ลแห่งมาล์มสบรีที่ 1 ก็เดินทางไปยังเบราน์ชไวค์เพื่อไปนำคาโรลีเนอมายังบริเตน[1] ในอนุทินมาล์มสบรีบันทึกถึงความวิตกเกี่ยวกับความเหมาะสมระหว่างคาโรลีเนอและเจ้าชายจอร์จว่าคาโรลีเนอทรงขาดคุณสมบัติในด้านการควรไม่ควร, ไม่ทรงมีกิริยาและมารยาททางสังคมอันเหมาะสม, ตรัสโดยไม่คิด, ทรงปฏิบัติพระองค์นอกขอบเขต และ ไม่ทรงรักษาความสะอาดเช่นไม่ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์ที่ไม่สะอาด[2] และกล่าวต่อไปว่าคาโรลีเนอ \"ไม่ทรงมีจริยธรม และ ไม่ทรงมีสัญชาตญาณต่อคุณค่าและความจำเป็น[ของจริยธรรม]\"[3] แต่มาล์มสบรีมีความประทับใจในความเด็ดเดี่ยวของพระองค์ ระหว่างการเดินทางกลับอังกฤษคณะผู้เดินได้ยินเสียงปืนใหญ่เพราะเส้นทางที่ใช้ไม่ไกลจากแนวรบเท่าใดนัก ขณะที่พระมารดาของคาโรลีเนอมีความวิตกกังวลถึงความปลอดภัยไปต่างๆ นานา แต่คาโรลีเนอดูเหมือนไม่ทรงจะเดือดร้อนไปกับเหตุการณ์เท่าใดนัก[4]", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" }, { "docid": "248270#10", "text": "เจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย พระขนิษฐาของเธอซึ่งเป็นพระธิดาลับของพระราชินีมารี ผู้อื้อฉาวกับบาร์บู สเตอบีย์ เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงไม่สงสารพระขนิษฐาซึ่งประสูติท่ามกลางความอื้อฉาวของพระมารดาแต่กลับล้อเลียนเจ้าหญิงอีเลียนาเสมอ คอนสแตนติน อากโทรเอียนนูได้เรียบเรียงเหตุการณ์จากความทรงจำว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงกล่าวกับเจ้าหญิงอีเลียนาว่า \"อีเลียนามาที่หน้าต่างเร็วเข้า มาดูพ่อของเธอ\" ซึ่งบาร์บู สเตอบีย์ได้ออกจากรถพอดี[5]", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "215385#3", "text": "เมื่อได้ทรงพบปะกับคาโรลีเนอเป็นครั้งแรกเจ้าชายจอร์จก็ทรงเรียกขอบรั่นดีแก้วหนึ่ง คงจะเป็นเพราะทรงผิดหวังในตัวผู้ที่จะมาเป็นเจ้าสาวในอนาคต ขณะเดียวกันคาโรลีเนอก็ตรัสกับมาล์มสบรีว่า \"[เจ้าชายจอร์จ]ทรงอ้วนมากและไม่ทรงเหมือนกับภาพเหมือนที่ได้เห็น\"[7] ระหว่างพระกระยาหารค่ำวันนั้นเจ้าชายจอร์จก็ทรงตกพระทัยในกิริยาและการเหน็บแนมเลดี้เจอร์ซีของคาโรลีเนอ และคาโรลีเนอก็ทรงท้อพระทัยและผิดหวังเมื่อเจ้าชายจอร์จทรงลำเอียงไปทางเลดี้เจอร์ซีอย่างเห็นได้ชัด[8]", "title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล" } ]
3883
เพกทิน ถูกค้นพบเมื่อไหร่?
[ { "docid": "47788#1", "text": "เพกทินเป็นโพลีแซคคาไรด์ที่เป็นโครงสร้างของผนังเซลล์ของพืชชั้นสูงเกือบทุกชนิด จัดเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรตเช่นเดียวกับแป้งและเซลลูโลส ค้นพบในศตวรรษที่ 18 ทำหน้าที่เป็นสารที่ทำให้เกิดเจล โดยในปี ค.ศ.1825 Henri Braconnot (เภสัชกรและนักพฤกษเคมีชาวฝรั่งเศส) ได้ตั้งชื่อและริเริ่มศึกษากรรมวิธีการสกัดเพกทิน[2] [3] เพกทินมาจากภาษากรีกว่า “pektikos” ซึ่งแปลว่าทำให้ข้นแข็ง (to congeal) หรือทำให้กลายเป็นของแข็ง (to solidify)[4]. Kertesz[5] ได้ให้คำจำกัดความของเพกทินว่าเป็นกรดเพกตินิก (pectinic acid) ชนิดละลายน้ำได้ซึ่งมีปริมาณหมู่เมทิลเอสเทอร์หลากหลาย สามารถเกิดเป็นเจลในสภาวะที่มีน้ำตาลและความเป็นกรดที่เหมาะสมหรือสภาวะที่มีเกลือแคลเซียมร่วมอยู่ด้วย", "title": "เพกทิน" } ]
[ { "docid": "47788#16", "text": "หมวดหมู่:คาร์โบไฮเดรต หมวดหมู่:สารอาหาร หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:พอลิแซ็กคาไรด์ หมวดหมู่:วัตถุเจือปนอาหาร", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "3862#32", "text": "ปี ค.ศ. 1964 อาร์โน เพนซิอัส และ โรเบิร์ต วิลสัน ค้นพบการแผ่รังสีพื้นหลังจักรวาลโดยบังเอิญขณะทำการตรวจวิเคราะห์โดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับคลื่นไมโครเวฟตัวใหม่ของห้องทดลองเบลล์[31] การค้นพบของพวกเขาให้ข้อมูลมากพอที่จะทำนายไมโครเวฟพื้นหลังได้ การแผ่รังสีมีลักษณะเป็นเอกภาพและสอดคล้องกับสเปคตรัมวัตถุดำ การค้นพบนี้ยังช่วยส่งเสริมแนวคิดฝ่ายของทฤษฎีบิกแบง ขณะที่เวลานั้นแนวคิดต่างๆ ยังไม่อาจเอาชนะคัดง้างกันได้ เพนซิอัสกับวิลสันได้รับรางวัลโนเบลสำหรับการค้นพบครั้งนี้", "title": "บิกแบง" }, { "docid": "741685#6", "text": "เพอร์ซี่ย์ได้ถูกแต่งตั้งเป็นแม่ทัพที่ค่ายโรมัน ลีโอสามารถสร้างเรืออาร์โกสอง(เรือไทรรีมแบบกรีกสามารถลอยทั้งทางอากาศและน้ำ)ได้สำเร็จ และได้เดินทางไปที่ค่ายจูปิเตอร์เพื่อไปหาเพอร์ซี่ย์ เมื่อพบกันแล้วชาวโรมันก็ได้ต้อนรับอย่างไม่เต็มใจ เพราะอดีตกาลชาวโรมันและชาวกรีกมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ชาวโรมันจึงไม่ค่อยไว้ใจเท่าไหร่ ตามคำบอกของเพอร์ซี่ย์ทำให้ชาวโรมันไม่ตัดสินใจโจมตีเรือทันที แต่ลีโอก็ทำพลาดด้วยการยิงขีปนาวุธที่ติดตั้งบนเรืออาร์โกสองใส่ลานคนเมืองในค่ายโรมันซึ่งพบในภายหลังว่าเป็นไอโดลอน(จิตวิญญานล่องหนเข้าสิงคนได้)ไปเข้าสิงลีโอและทำการโจมตีโดยไม่รู้ตัว ทำให้พวกเขาต้องออกเรือในทันทีโดยมีโค้ชเฮจด์และชาวโรมันสองคนคือเพื่อนของเพอร์ซี่ย์ เฮเซลและแฟรงก์มาด้วย รวมเป็น 7 คนในคำพยากรณ์พอดี คือ เพอร์ซี่ย์ แอนนาเบ็ธ เจสัน ลีโอ ไพเพอร์ เฮเซล และแฟรงก์ พวกเขาออกเดินทางทำภารกิจ พวกเขาพบว่านิโค ดิแองเจโล ถูกจับตัวไปทำให้พวกเขาต้องไปช่วย โดยแอนนาเบ็ธถูกเอ่ยในคำพยากรณ์ว่า \"อาธีน่าเดินลำพัง\" เพื่อไปหารูปปั้นของแม่เธอ \"อาธีน่าพาเธนอส\" เธอได้พบกับอารัคนี(ผู้ที่ถูกอาธีน่าสาปให้เป็นแมงมุม เพราะไปอวดโอ่ว่าตนถักทอผ้าได้สวยงามกว่า)เอารูปปั้นไป โดยอารัคนีเกลียดบุตรธิดาแห่งอาธีน่า แต่ด้วยความฉลาดของแอนนาเบ็ธเธอใช้กลลวงให้อารัคนีถูกทอ กุญแจนิ้วแบบจีน เพื่อเป็นกับดักให้นางได้สำเร็จ ตามคำพยากรณ์ว่า \"กรงถักทอมอบชัยมั่นอย่างร้าวราน\" ต่อมาเพื่อนของเธอได้มาช่วยด้วยการระเบิดเพดานเข้ามาในห้องลึกใต้ดิน(พื้นซึ่งไม่แข็งแรงอยู่แล้วและมีรอยแตกเป็นรอยลึกถ้าตกลงไปก็จะพบกับนรกทาร์ทารัส)แต่เธอก็ทำพลาดเพราะใยแมงมุมของอารัคนี ทำให้เธอซึ่งสวมกอดกับเพอร์ซี่ย์อยู่ตกลงไปในรอยแตก และตรงดิ่งสู่นรกทาร์ทารัสด้วยกัน", "title": "วีรบุรุษแห่งโอลิมปัส" }, { "docid": "47788#0", "text": "เพกทิน (English: pectin) เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพ (biopolymer) หรือพอลิเมอร์ธรรมชาติ (natural polymer) ที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมาช้านานโดยใช้เป็นสารเพิ่มความข้นหนืด สารก่อเจล ในผลิตภัณฑ์แยม เจลลี่ และสารเพิ่มความคงตัวของระบบคอลลอยด์ในเครื่องดื่มน้ำผลไม้และผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อคล้ายเยลลี่ ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมามีการนำเพกทินมาใช้ในทางเภสัชกรรมและอุตสาหกรรมยาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเพกทินมีสมบัติเฉพาะที่ทำให้สามารถนำมาใช้เก็บกักหรือนำส่งยา โปรตีน และเพปไทด์ เป็นต้น [1] และจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยโดยเอนไซม์ในระบบการย่อยของร่างกายมนุษย์ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักโภชนาการมากขึ้น เพราะจากการวิจัยให้ผลออกมาว่าอาหารที่มีไฟเบอร์สูงจะช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ หรือในทางกลับกันคนที่กินอาหารที่มีไฟเบอร์น้อยก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "47788#7", "text": "การนำเอาเพกทินผสมร่วมในสูตรอาหารมีผลต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมและการย่อย เช่น ผลต่อการดูดซึมกลูโคส ผลต่อระดับคอเลสเตอรอล[5] [6] มีการศึกษาจำนวนมากทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ที่แสดงถึงประสิทธิภาพของเพกทินที่รับประทานในการลดอัตราการใช้น้ำตาลและการผลิตอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 2) ซึ่งโดยปกติจะทำการรักษาโดยการควบคุมอาหารเป็นอันดับแรก นอกจากนั้นการนำเอาเพกทินผสมร่วมในสูตรอาหารยังสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้ ทั้งนี้ขึ้นกับระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่เป็นอยู่เดิมและอาหารที่รับประทานเป็นประจำ นอกจากนั้นเพกทินยังมีผลยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งและมีผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัวแต่ไม่มีผลรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุในร่างกาย[6]", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "47788#12", "text": "การนำเพกทินไปใช้ประโยชน์อาจใช้เพกทินที่มีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหรือการพัฒนาเพกทินให้เป็นเกรดที่ใช้ได้ในอุตสาหกรรมยาและ/หรือการรักษา การสกัดและผลิตเพกทินจากมวลชีวภาพ (biomass) หรือของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการเกษตร (เช่น เปลือกส้ม เปลือกส้มโอ เปลือกกล้วย เปลือกและกากมะม่วง กากฟักทอง กากแอปเปิล เป็นต้น) รวมถึงการย่อยเพกทินให้ได้เป็นเพคติกโอลิโกแซคคาไรด์นับเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาวิจัยซึ่งช่วยเพิ่มอรรถประโยชน์ของสารในกลุ่มเพกทินนี้ด้วย อย่างไรก็ตามหากมีการดัดแปรโครงสร้างของเพกทินควรทำการทดสอบความเป็นพิษเพื่อให้แน่ใจว่ามีความปลอดภัยเพียงพอก่อนนำไปใช้ รวมถึงการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพด้วย", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "47788#2", "text": "สารประกอบเพกทินทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของเซลล์และเป็นสารที่สำคัญในบริเวณชั้นผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์หรือมิดเดิลลาเมลลา (middle lamella) ที่ยึดเหนี่ยวเซลล์เข้าด้วยกัน โดยจับกับเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และไกลโคโปรตีนของผนังเซลล์พืช[6] เพกทินช่วยเสริมผนังเซลล์ให้หนา แข็งแรง และยืดหยุ่นได้เล็กน้อย โดยเฉพาะบริเวณที่มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม เช่น ต้นอ่อน ใบ และผลไม้", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "47788#4", "text": "เพกทินเป็นเฮเทอโรโพลีแซกคาไรด์ที่ซับซ้อน ประกอบด้วย homogalactoronan, rhamnogalactoronan I, และ rhamnogalactoronan II เป็นโครงสร้างหลัก homogalactoronan ประกอบด้วย (1→4) -linked α-D-galacturonic acid หมู่คาร์บอกซิล หมู่เอสเทอร์ที่เติมเมทิลและหมู่ไฮดรอกซิล บางกลุ่มถูกเติมหมู่อะซีติลเชื่อมติดกับออกซิเจนตัวที่ 2 หรือ 3 ซึ่งมีผลต่อคุณสมบัติของเพกทิน rhamnogalactoronan I ประกอบด้วย (1→4) -linked α-D-galacturonic acid และ (1→2) -linked α-L-rhamnose ซึ่งจะรวมตัวซึ่งกันและกันในส่วนที่เป็นสายหลัก และบางส่วนของ rhamnose มีการแตกกิ่งเป็นสายย่อยด้านข้าง ซึ่งมี arabinose, galactan, และ arabinogalactan ที่ออกซิเจนตำแหน่งที่ 4 ของ rhamnose rhamnogalactoronan II มีโครงสร้างที่ซับซ้อนมาก ประกอบด้วย (1→4) -linked α-D-galacturonic acid ในส่วนสายหลัก และมีน้ำตาลแปลกๆ เช่น D-apiose, 2-keto-3-deoxy-D-manno-2-octulosonic acid (Rdo) , 3-deoxy-D-lyxo-2-heptolosaric acid (Dha) และอื่นๆซึ่งอยู่ในสายย่อยเชื่อมติดกับออกซิเจนตัวที่ 2 หรือ 3 ของ galacturonic acid ที่สายหลัก", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "727276#0", "text": "ผนังเซลล์ทุติยภูมิ เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์หยุดขยายขนาดแล้ว โดยประกอบด้วยสารจำพวกเซลลูโลส, คิวติน, ซูเบอริน, ลิกนิน, และเพกทินมาเกาะ เซลล์ที่มีผนังเซลล์ทุติยภูมิ ได้แก่ เซลล์เส้นใย, เซลล์เทรคีด และเวสเซลของท่อลำเลียงน้ำ", "title": "ผนังเซลล์ทุติยภูมิ" }, { "docid": "47788#9", "text": "สำหรับการวิจัยเพกทินทางด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรม (ดูรายละเอียดในเอกสารอ้างอิง[1]) สามารถใช้เพกทินในรูปแบบยาน้ำโดยใช้เพกทินผสมกับเกลือแคลเซียมรูปเชิงซ้อนซึ่งสามารถเกิดเป็นเจลของเพกทินกับเกลือแคลเซียมเมื่อตำรับยาอยู่ในทางเดินอาหาร (in-situ gelation) เพกทินสามารถใช้เป็นสารที่ทำให้อนุภาคจับกลุ่มกันอย่างหลวมๆ หรือเป็นสารช่วยแขวนตะกอนในตำรับยาน้ำแขวนตะกอนและเป็นสารก่ออิมัลชันโดยป้องกันการจับกลุ่มกันของวัฏภาคภายในของอิมัลชันได้ ส่วนการประยุกต์ใช้เพกทินในรูปแบบยาของแข็งอาจเตรียมเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์ทันทีหรือออกฤทธิ์นาน การวิจัยและพัฒนารูปแบบยาที่ออกฤทธิ์ได้ทันทีโดยการใช้เพกทินเป็นสารเพิ่มปริมาณ สารช่วยแตกตัว สารยึดเกาะในเม็ดยา หรือสารก่อเพลเลต ส่วนในรูปแบบยาชนิดออกฤทธิ์นานสามารถใช้เพกทินเป็นสารก่อเมทริกซ์เพื่อควบคุมการปลดปล่อยให้ช้าลง หรือโดยการเตรียมเป็นเจลบีดโดยอาศัยการเกิดพันธะระหว่างเพกทินกับเกลือแคลเซียม หรือการเตรียมอนุภาคขนาดไมโครเมตรโดยใช้เพกทินร่วมกับพอลิเมอร์อื่นโดยวิธีการพ่นแห้งหรือวิธีโคแอเซอร์เวชันเชิงซ้อน การเตรียมเพลเลตเคลือบฟิล์มเพกทินโดยใช้เทคนิคการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ผิวของเพลเลตช่วยให้ได้ชั้นเคลือบที่มีความหนาสม่ำเสมอและมีสมบัติเชิงกลที่ดีขึ้น รวมถึงสามารถชะลอการปลดปล่อยตัวยาได้ดี สามารถประยุกต์ใช้ได้กับตัวยาที่มีขีดการละลายแตกต่างกันได้", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "47788#5", "text": "ในปัจจุบันการใช้เส้นใยอาหาร (dietary fiber) เป็นอาหารเสริมสุขภาพมีมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารทั้งแง่วิชาการและสื่อโฆษณาเกี่ยวกับประโยชน์ในเชิงสุขภาพและการแพทย์ของเส้นใยอาหารเพิ่มมากขึ้น นอกจากเส้นใยอาหารจำพวกรำข้าวและเซลลูโลสแล้ว เพกทินก็จัดว่าเป็นเส้นใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำได้แต่ไม่ถูกย่อยโดยเอนไซม์ในทางเดินอาหาร เพกทินเป็นส่วนประกอบหลักในเส้นใยอาหารที่ได้จากพืชและผลไม้ส่วนใหญ่ [1]", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "47788#13", "text": "การวิจัยเพกทินบางประเด็นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์หรือเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค เช่น ฤทธิ์ในการยับยั้งการเกาะติดของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ (เพื่อใช้รักษาอาการท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ) ฤทธิ์ในการช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ ฤทธิ์ในการยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งบางชนิด รวมถึงการใช้ประโยชน์เป็นพรีไบโอติก (prebiotics) เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ทีมีประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้อาจนำไปสู่การประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์ต่อไป", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "727275#0", "text": "ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์ เป็นชั้นเพกทินซึ่งมีคุณสมบัติเหนียว ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์ทำหน้าที่เชื่อมยึดผนังเซลล์ของแต่ละเซลล์พืชเข้าด้วยกัน พืชต้องการผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์เพื่อสร้างความแข็งแรงแก่เซลล์ฺ ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์ประกอบด้วยสารจำพวกแคลเซียมแพกเทต และแมกนีเซียมแพกเทต", "title": "ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์" }, { "docid": "47788#10", "text": "เพกทินสามารถใช้ในระบบนำส่งยาชนิดติดอยู่ในกระเพาะอาหารเพื่อให้ระบบนำส่งยาลอยตัวได้ในกระเพาะอาหาร ระบบนำส่งนี้สามารถใช้ในกรณียาที่มีช่วงการดูดซึมในทางเดินอาหารแคบ ยาที่มีปัญหาเรื่องความคงตัวในลำไส้เล็ก หรือใช้เพื่อต้องการให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ในกระเพาะอาหาร เช่น กรณีต้องการกำจัดเชื้อ Helicobacter pylori ส่วนการนำส่งยาไปสู่ลำไส้ใหญ่สามารถใช้ได้ในกรณีที่ยาไม่คงตัวหรือไม่ถูกดูดซึมในทางเดินอาหารส่วนต้น ยาที่ใช้ในการรักษาพยาธิสภาพในลำไส้ใหญ่ หรือยาที่ต้องการให้ดูดซึมหรือออกฤทธิ์ช้า ระบบนำส่งยาสู่ลำไส้ใหญ่ต้องไม่ปลดปล่อยตัวยาออกมาในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก และยอมให้ตัวยาปลดปล่อยออกมาเมื่อระบบนำส่งยาไปถึงบริเวณลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีการนำเพกทินมาใช้ในการวิจัยและพัฒนาระบบนำส่งยาสู่ลำไส้ใหญ่ในรูปยาเม็ดเมทริกซ์ เจลบีด ยาเม็ดชนิดตอกเคลือบและยาเม็ดเคลือบฟิล์ม รวมถึงการใช้เพกทินเพื่อเตรียมเป็นบรรพเภสัชโดยต่อเชื่อมกับตัวยาเพื่อนำส่งยาไปสู่ลำไส้ใหญ่", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "243323#0", "text": "วัดพรหมทินใต้ เป็นวัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยมีโบราณสถาน , แหล่งขุดค้นทางโบราณคดี , พิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ , หลวงพ่อพระพุทธพรหม สูง 9 เมตร (หล่อเสร็จในวันเดียว) และยังมีพระพนัสบดีที่ขุดค้นพบในบริเวณวัดซึ่งมีอายุกว่า 1,300 ปี ปัจจุบันมีพระอธิการสายันต์ อินทวัณโณ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน", "title": "วัดพรหมทินใต้" }, { "docid": "387197#8", "text": "สารอาหารลิพิดของสไปรูไลนามีอยู่ราว 7% โดยน้ำหนัก[11] และอุดมไปด้วยกรดแกมมาไลโนเลนิก และยังพบกรดอัลฟาไลโนเลนิก, กรดไลโนเลอิก, กรดสเตียริโดนิก, กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก, กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิกและกรดอะราคิโดนิก[5][12] สไปรูไลนามีวิตามินบี1 (ไทอามีน), บี2 (ไรโบฟลาวิน), บี3 (ไนโคไทนาไมด์), บี6 (ไพริโดซีน), บี9 (กรดโฟลิก), วิตามินซี, วิตามินดี, วิตามินเอ และวิตามินอี[5][12] นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งโพแทสเซียม, แคลเซียม, โครเมียม, ทองแดง, เหล็ก, แมกนีเซียม, แมงกานีส, ฟอสฟอรัส, เซเลเนียม, โซเดียม และสังกะสี[5][12] สไปรูไลนามีรงควัตถุหลากหลายซึ่งอาจมีทั้งประโยชน์และชีวประสิทธิผล รวมทั้งบีตา-แคโรทีน, ซีแซนทีน, คลอโรฟิลล์-เอ, แซนโทฟิลล์, เอคินีโนน, ไมโซแซนโทฟิลล์, แคนทาแซนทิน, ไดอาโทแซนทิน, 3'-ไฮดรอกซีเอคินีโนน, บีตา-คริปโตแซนทิน และออสซิลาแซนทิน บวกกับไฟโคบิลิโปรตีน ซี-ไซโคไซยานินและอัลโลไซโคไซยานิน[1]", "title": "สไปรูลินา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)" }, { "docid": "116034#5", "text": "กระเจี๊ยบเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพกทิน, เมือก (mucilage) ซึ่งเกิดจากสารประกอบ acetylated acidic polysaccharide และกรดกาแลกทูโรนิก (galactulonic acid) และกัมช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ลุกลาม รักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบาย", "title": "กระเจี๊ยบ" }, { "docid": "243323#11", "text": "ก่อนปี 2553 ทางวัดและชาวบ้าน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการเสนอเรื่องไปทางจังหวัดเพื่อให้ทางจังหวัดนำไปดำเนินการต่อ และโบราณสถานวัดพรหมทินใต้ได้รับการบูรณะและปรับแต่งโดยกรมศิลปากร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และมีการขุดค้นค้นและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน", "title": "วัดพรหมทินใต้" }, { "docid": "706020#0", "text": "แมททิว เซลต์ () เป็นนักสนุกเกอร์อาชีพชาวอังกฤษจากย่านรอมฟอร์ด ตอนนี้อยู่ในแอตเทอร์สโตนและซ้อมที่แอเทกสนุกเกอร์คลับ (Atack Snooker Club) ในเมื่องนูเนียตัน เขาผ่านเข้ามาเล่นสายอาชีพหลังจากจบที่อันดับเจ็ดในรายการพอนทินส์อินเตอร์เนชันแนลโอเพนซีรีส์ (PIOS) ในฤดูกาล 2006/2007 เขามีเพื่อนและคู่ซ้อมคือ นีล โรเบิร์ตสัน และ รอนนี โอซุลลิแวน", "title": "แมตทิว เซลต์" }, { "docid": "47788#3", "text": "สารกลุ่มเพกทินเป็นโพลีแซกคาไรด์เชิงซ้อนในพืช พบในพืชชั้นสูงโดยปรากฏในชั้นระหว่างเซลล์หรือจุดเชื่อมต่อระหว่างผนังเซลล์ ทำให้เกิดช่องสำหรับอาหารและน้ำผ่าน ในผนังเซลล์[7] สารกลุ่มเพกทินเป็นสารเคลือบเส้นใยเซลลูโลสที่สำคัญและอาจจะเชื่อมต่อกับพันธะโควาเลนต์กับโพลีเมอร์อื่นๆ สารกลุ่มเพกทินจัดจำแนกได้เป็น โปรโตเพกทิน เพกทิน (เพกทินมีหมู่ methoxyl สูง – เพกทินจัดตัวเร็วและเพกทินจัดตัวช้า- และเพกทินมีหมู่ methoxyl ต่ำ) และกรดเพกติก เพกทินมีอิทธิพลต่อการเจริญ พัฒนาการและการแก่ชรา และมีผลต่อลักษณะเนื้อสัมผัสของเนื้อเยื่อพืชและผลไม้ มีการใช้เพกทินอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารด้วยคุณสมบัติในการก่อรูปเป็นเจล โดยใช้เป็นสารก่อเจและความคงตัวในแยม เยลลี่ และผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว ผิวของผลพืชตระกูลส้ม กากผลแอปเปิล และลำต้นของซูการ์ บีต เป็นแหล่งที่ดีของเพกทิน", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "47788#14", "text": "ข้อมูลจากงานวิจัยเกี่ยวกับเพกทินช่วยยืนยันว่าเพกทินมีประโยชน์ทั้งในเชิงสุขภาพ การแพทย์และเภสัชกรรม นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ในการใช้เพื่อเตรียมตำรับยาและการออกแบบระบบนำส่งยารูปแบบต่างๆ ทั้งชนิดออกฤทธิ์ทันที ชนิดออกฤทธิ์นาน และชนิดไปสู่เป้าหมายเฉพาะที่ในทางเดินอาหาร ซึ่งการออกแบบระบบนำส่งยาสามารถปรับให้เหมาะสมได้โดยการเลือกใช้ชนิดเพกทิน สภาวะในการเกิดเจล สารช่วยอื่นในตำรับและ/หรือสารเคลือบที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ระบบนำส่งยาตามต้องการ ในปัจจุบันงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการหาแหล่งของเพกทินจากธรรมชาติ การพัฒนาวิธีการผลิต การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพ และการพัฒนารูปแบบและระบบนำส่งยาที่ใช้ เพกทินกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจึงคาดว่าจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้ใหม่ๆ ในอนาคต", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "116034#4", "text": "ชาวมอญนิยมใช้กระเจี๊ยบทำแกงส้ม ในอินเดียนำไปทำอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงกระเจี๊ยบ ผัดกระเจี๊ยบใส่เครื่องเทศ เมือกในกระเจี๊ยบเป็นสารประเภทกัม (gum) และเพกทิน เมล็ดแก่นำไปทำเมล็ดกาแฟเทียมโดยนำไปคั่ว บดแล้วนำมาชงแทนกาแฟ นิยมดื่มในชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาที่อยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐ ทางตะวันออกกลางนำไปแต่งกลิ่นกาแฟ", "title": "กระเจี๊ยบ" }, { "docid": "47788#6", "text": "พืชสกุลส้มเป็นแหล่งที่มีเพกทินปริมาณมากซึ่งพบได้ทั้งในส่วนที่รับประทานได้และส่วนที่รับประทานไม่ได้ เช่น เปลือก กาก และแกน ในการศึกษาเกี่ยวกับเส้นใยอาหารที่ได้จากพืชสกุลส้มส่วนใหญ่มักใช้เพกทินบริสุทธิ์มากกว่าการใช้เปลือกหรือกากผลแห้ง อย่างไรก็ตามการบริโภคผลไม้จำพวกส้มช่วยเพิ่มปริมาณเพกทินในอาหารอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการผลิตเพกทินสกัดชนิดเข้มข้นที่ได้จากเปลือกส้มซึ่งเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้ก็ตาม", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "47788#11", "text": "ระบบนำส่งยาชนิดยึดติดเยื่อเมือกในทางเดินอาหารได้รับการพัฒนาเพื่อให้ยาอยู่ในทางเดินอาหารยาวขึ้นเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของยาในบริเวณเฉพาะที่หรือเพิ่มการดูดซึมยาเข้าสู่กระแสเลือด โดยเพิ่มระยะเวลาการสัมผัสของระบบนำส่งยากับเนื้อเยื่อในทางเดินอาหารซึ่งต้องอาศัยสารที่มีสมบัติยึดติดเยื่อเมือก โดยเพกทินได้รับการวิจัยยืนยันว่ามีสมบัติการยึดติดเยื่อเมือกที่ดี มีการใช้เพกทินในระบบนำส่งยาชนิดยึดติดในช่องปากโดยทำในรูปยาเม็ดหรือแผ่นแปะหรือยึดติดในทางเดินอาหารเพื่อเพิ่มระดับยาในกระแสเลือด การศึกษาสมบัติการยึดติดเยื่อเมือกแบบภายนอกร่างกายพบว่าเพกทินมีสมบัติยึดติดเยื่อเมือกในลำไส้ใหญ่ได้ดีที่สุด ส่วนการยึดติดในกระพุ้งแก้มจะมีค่ามากเมื่อเพกทินอยู่ในสภาวะแห้ง รูปแบบยาที่เป็นสารประกอบเชิงซ้อนของเพกทินและลิโพโซมสามารถยึดติดเยื่อเมือกในลำไส้เล็กของหนูทดลองได้ดีที่สุด การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่าระดับแคลเซียมในกระแสเลือดลดลงเมื่อให้สารประกอบเชิงซ้อนที่มียาแคลซิโทนินในหนูเมื่อเปรียบเทียบกับการให้แคลซิโทนินในรูปสารละลาย การเลือกชนิดของเพกทินที่เหมาะสมอาจช่วยให้รูปแบบยาสามารถยึดติดเยื่อเมือกในบริเวณที่ต้องการให้มีการดูดซึมยาได้", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "47788#15", "text": "Transclusion error: {{En}} is only for use in File namespace. Use {{lang-en}} or {{en icon}} instead.", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "47788#8", "text": "การใช้เพกทินในขนาดสูงอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งต้องให้ความสำคัญและศึกษาเพิ่มเติมต่อไป การใช้เพกทินเป็นสารสำคัญในตำรับยาเพื่อรักษาอาการท้องเสียโดยเพกทินช่วยกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อบุผิวในลำไส้ใหญ่หรือไปลดการยึดติดเยื่อบุผิวในลำไส้ใหญ่ของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค การใช้เพกทินร่วมกับยาอื่นต้องระมัดระวังเนื่องจากเพกทินสามารถเกิดอันตรกิริยากับตัวยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่มีประจุบวกหรือเพกทินอาจดูดซับตัวยาไว้ทำให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ", "title": "เพกทิน" }, { "docid": "65293#1", "text": "เปลือกหุ้มเมล็ดฝ้ายมีเพกทินซึ่งประกอบด้วยกรดกาแลกทูโรนิกและเมทิลเอสเทอร์เป็นองค์ประกอบ สามารถใช้เป็นตัวดูดซับตะกั่วในน้ำเสียได้ โดยถ้าล้างด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ก่อนใช้จะดูดซับได้มากขึ้น ", "title": "ฝ้าย" }, { "docid": "719161#2", "text": "ใบกรุงเขมามีสารเพกทิน เมื่อนำมาขยำกับน้ำจะเกิดเป็นวุ้น ใช้รับประทานได้ ในรากกรุงเขมามีสารแอลคาลอยด์ที่มีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น แก้ปวด ห้ามเลือด รักษาโรคทางระบบทางเดินอาหารและเป็นยาสมาน และในทางการแพทย์แผนไทยใช้รากกรุงเขมาแก้ไข้ ดีซ่าน", "title": "กรุงเขมา" }, { "docid": "277193#7", "text": "ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 จนกระทั่งสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ราชวงศ์แห่งอังกฤษนั้นมักจะถูกเรียกบ่อยครั้งว่า ฮันโนเวอร์, เบราน์ชไวก์ และเกลฟ ต่อมาปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทรงมีพระราชโองการให้ราชสำนักสืบค้นราชสกุลที่ถูกต้องที่สุดของพระราชสวามี คือ เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาซึ่งราชสกุลนี้จะกลายเป็นนามของพระราชวงศ์ที่จะใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระราชโอรสของพระองค์ และภายหลังจากการสืบค้นอย่างถี่ถ้วนแล้วสามารถสรุปได้ว่าเป็นราชวงศ์เวททิน แต่กระนั้นก็มิเคยเห็นนามนี้ปรากฏในพระปรมาภิไธยของสมเด็จพระราชินีนาถ พระราชโอรส หรือแม้กระทั่งพระราชนัดดาเลย โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7และสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ได้ทรงให้ออกพระนามพระราชวงศ์ว่า \"ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา\"", "title": "ราชวงศ์เวททิน" } ]
3884
ภาคใต้ประเทศไทย มีทั้งหมดกี่จังหวัด?
[ { "docid": "17498#7", "text": "ภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด ตามเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสภา ดังนี้", "title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)" } ]
[ { "docid": "388962#4", "text": "แต่ปัจจุบันได้มีการศึกษาเพิ่มเติม และประกาศเป็นชนิดใหม่ขึ้นอีก ได้แก่ในชนิด \"C. sowerbyi\" สามารถพบได้ในแหล่งน้ำบางแห่งในสหรัฐอเมริกาและที่ราบลุ่มภาคกลางในประเทศไทย และพบเป็นจำนวนมากที่ลำน้ำเข็กภายในอุทยานแห่งชาติเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งตรงกับช่วงที่ขยายพันธุ์ ในส่วนของชนิด \"C. sinensis\" พบได้ตั้งแต่ทางตอนใต้ของจีน ในประเทศไทยพบรายงานหลายที่ เช่น แม่น้ำป่าสัก, จังหวัดลพบุรี, บึงบอระเพ็ด และหลายแห่งในภาคอีสาน โดยมักพบในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง หรือโบก หรือกุมภลักษณ์ (แอ่งน้ำที่เป็นหลุมอยู่บนแก่งหินพบมากที่ภาคอีสาน) รวมถึงมีรายงานพบปนมากับน้ำประปาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 เพราะเชื่อว่าโดยปกติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำภูเขาที่อยู่ห่างออกไปราว 3 กิโลเมตร ซึ่งใช้สำหรับผลิตน้ำประปาในท้องที่นี้ ขณะที่ชนิด \"C. iseana\" นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าเป็นชนิดเดียวกับ \"C. sinensis\" ขณะที่บางส่วนเชื่อว่าทั้ง 3 ชนิดนั้น เป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด คือ \"C. sowerbyi\"", "title": "กะพรุนน้ำจืด" }, { "docid": "71160#0", "text": "กองทัพภาคที่ 4 (ทภ.4) ของกองทัพบกไทย รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และมีศูนย์บัญชาการส่วนหน้าอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อดูแลความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยโดยเฉพาะ", "title": "รายนามแม่ทัพภาคที่ 4" }, { "docid": "7070#4", "text": "จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตั้งอยู่ในภาคตะวันตก ตามการแบ่งระบบ 6 ภาคอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติและราชบัณฑิตยสภา ในขณะที่การแบ่งภูมิภาคด้วยระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสานใต้) จัดเป็นจังหวัดในภาคกลาง และการแบ่งทางอุตุนิยมวิทยาจัดเป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร มีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศอยู่ในตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จากอ่าวไทยถึงเขตแดนพม่าประมาณ 12 กิโลเมตร ระยะทางจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 399 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเศษ และตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ 318 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-6 ชั่วโมงการปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 388 หมู่บ้าน\nจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 61 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ และเทศบาลเมืองหัวหิน, เทศบาลตำบล 14 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 44 แห่ง โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีดังนี้", "title": "จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" }, { "docid": "343149#2", "text": "ส่วนสรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ระบุว่า มีจังหวัดประสบภัยทั้งสิ้น 12 จังหวัด 133 อำเภอ 874 ตำบล 6,197 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 609,511 ครัวเรือน 1,932,405 คน มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 80 คน มีสัญชาติไทยทั้งหมด", "title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553" }, { "docid": "332066#15", "text": "โดยทั่วไปประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์ดี พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝน 1,200–1,600 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั่วประเทศมีค่า 1,587.7 มิลลิเมตร ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่ผันแปรไปตามลักษณะภูมิประเทศ นอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล บริเวณประเทศไทยตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝน จะเพิ่มขึ้นบ้างพร้อมทั้งมีพายุฟ้าคะนอง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นมาก โดยจะมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขา หรือด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศและบริเวณภาคตะวันออก โดยเฉพาะที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา ได้แก่พื้นที่บริเวณตอนกลางของภาคเหนือและภาคกลาง และบริเวณด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนชุกเกือบตลอดปียกเว้นช่วงฤดูร้อน พื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงฤดูฝน โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนกันยายน ส่วนช่วงฤดูหนาวบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากที่สุดของภาคใต้อยู่บริเวณจังหวัดระนอง ซึ่งมีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยได้แก่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน ด้านหลังทิวเขาตะนาวศรี บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์[2]", "title": "ภูมิอากาศไทย" }, { "docid": "492947#3", "text": "นกพรานผึ้ง เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว นานครั้งจึงเห็นอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและเร็ว และเป็นนกประจำถิ่น จะอยู่ในถิ่นใดถิ่นหนึ่งไปตลอด ต่อเมื่อนกตัวเก่าตายไป นกตัวใหม่ถึงเข้ามาอยู่แทน ในประเทศไทยมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้ง ในป่าในเขตชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีรายงานพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ทั้งในพื้นที่ราบและที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร ", "title": "นกพรานผึ้ง" }, { "docid": "17498#1", "text": "ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่ทางเหนือสุดของภาคคือ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค (และของประเทศไทย) คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลอันดามัน ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา", "title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "529232#9", "text": "คณะรัฐมนตรีลงมติเมื่อปี พ.ศ. 2502 อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานระดับกอง สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ ขึ้นในส่วนภูมิภาค ภายใต้ชื่อว่า “ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต” (ปัจจุบันคือ สำนักประชาสัมพันธ์เขต) พร้อมทั้งเริ่มจัดตั้ง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ภายในที่ทำการ ของศูนย์ประชาสัมพันธ์เขตทั้งสามแห่ง ด้วยงบประมาณลงทุน 25 ล้านบาท ซึ่งทยอยเริ่มออกอากาศ ตั้งแต่ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2505 และใช้เครื่องส่งขนาด 500 วัตต์ ด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที เช่นเดียวกับในส่วนกลาง ประกอบด้วย สทท.จังหวัดลำปาง ในภาคเหนือ ทางช่องสัญญาณที่ 8, สทท.จังหวัดขอนแก่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางช่องสัญญาณที่ 5 และ สทท.จังหวัดสงขลา ในภาคใต้ ทางช่องสัญญาณที่ 9 ต่อมาภายหลัง กรมประชาสัมพันธ์ทยอยดำเนินการ ปรับปรุงเครื่องส่งให้เป็นระบบแพร่ภาพสีทั้งหมด ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 12 แห่งคือ ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดพิษณุโลก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุบลราชธานี, ภาคกลาง ที่จังหวัดกาญจนบุรี, ภาคตะวันออก ที่จังหวัดจันทบุรี, ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี", "title": "โทรทัศน์ในประเทศไทย" }, { "docid": "332066#24", "text": "การวัดสถิติพายุแบ่งตามเดือน พฤษภาคม พายุส่วนใหญ่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันตกของประเทศ บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ของภาคเหนือตอนบนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน และพื้นที่ของภาคกลางในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ต่อเนื่องกับจังหวัดตากและอุทัยธานี โดยคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมซึ่งมีทั้งหมด 6 ลูก มิถุนายน ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกของประเทศ ซึ่งในเดือนนี้บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณจังหวัดนครพนม หนองคายและตอนบนของสกลนคร โดยคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนมิถุนายนซึ่งมีทั้งหมด 6 ลูก สิงหาคม บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือ พื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดน่าน พะเยา แพร่ ลำปาง เชียงรายและเชียงใหม่ รวมถึงพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภูและเลย โดยคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนสิงหาคมซึ่งมี 18 ลูก กันยายน เดือนนี้เป็นเดือนแรกที่พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนตัวเข้ามาในภาคใต้ตอนบน แต่ยังมีโอกาสน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านยังคงเป็นประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลกมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามาคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนเข้ามาในเดือนนี้ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 39 ลูก ตุลาคม เป็นเดือนที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านประเทศไทยได้ทั้งในประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ โดยในเดือนนี้พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างได้บ้างแต่มีโอกาสน้อย ส่วนบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทั้งหมด ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่างต่อเนื่องถึงภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้ซึ่งมีจำนวน 48 ลูก พฤศจิกายน พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ได้มากกว่าประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้ซึ่งมีจำนวน 28 ลูก บริเวณที่พายุเคลื่อนผ่านได้มากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ พื้นที่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสงขลา ซึ่งมีศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมด อย่างไรก็ตามบริเวณประเทศไทยตอนบน ยังมีบางพื้นที่ที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ต่อกับภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสระแก้ว มีพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมด ธันวาคม เดือนนี้เป็นเดือนที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนพายุทั้งหมด จะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดสงขลาและพัทลุงมากที่สุด คือ 75 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 7 ลูกด้วยกัน", "title": "ภูมิอากาศไทย" }, { "docid": "5964#4", "text": "200px|thumbnail|ชายหาดแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยอยู่ห่างกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 245 กิโลเมตร[5] จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ทั้งหมด 6,338 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของพื้นที่ภาคตะวันออก และเท่ากับร้อยละ 1.8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่ของจังหวัดเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูงและภูเขา ภูมิอากาศของจังหวัดมีลักษณะแบบมรสุมเขตร้อน[6] จุดสูงสุดของจังหวัดอยู่ที่ยอดเขาสอยดาวใต้ ซึ่งเป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุดในภาคตะวันออก โดยมีความสูง 1,675 เมตร[7]", "title": "จังหวัดจันทบุรี" }, { "docid": "657963#1", "text": "ยางพาราประเภทยางดิบ ผลิตภัณฑ์ยาง และไม้ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ เป็นพืชสร้างรายได้ส่งออกมากเป็นอันดับสอง และมีปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งในปี พ.ศ. 2543 มีผลผลิตจากยางธรรมชาติประมาณ 2.4 ล้านตัน มีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 124,000 ล้านบาท เดิมพื้นที่ที่มีการปลูกยางส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก แต่ในปัจจุบันมีการขยายการปลูกเพิ่มขึ้นไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก โดยเฉพาะยางพาราจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดศรีสะเกษ จัดเป็นยางพาราคุณภาพดีไม่ต่างจากแหล่งผลิตเดิมในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก พื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกยางทั่วประเทศมีทั้งหมด 55.1 ล้านไร่ แต่พื้นที่ปลูกจริงมีประมาณ 19 ล้านไร่เกษตรกร 1,200,000 คน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาทในช่วงที่ผ่านมามีการประท้วงโดยเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในไทย เนื่องจากสาเหตุที่ราคายางในไทยตกต่ำอย่างน่าเป็นห่วง ปัญหาหลักเกิดจากอุปทานยางพาราในโลกเพิ่มสูงขึ้น ประเทศจีนซึ่งผู้บริโภคยางพาราอันดับ 1 ของโลกและเป็นผู้นำเข้ายางพาราอันดับ 1 ของไทย ได้มีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งในและต่างประเทศ (กลุ่มกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ในประเทศตัวเอง ทำให้มียางพาราออกมาสู่ตลาดอย่างมากมาย บทบาทของไทยในตลาดยางพาราโลกก็ลดลง", "title": "ยางพาราในประเทศไทย" }, { "docid": "7266#4", "text": "จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 4 ลิปดา ถึง 7 องศา 2 ลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 99 องศา 5 ลิปดา ถึง 100 องศา 3 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 973 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 2,478.997 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,549,361 ไร่ เป็นลำดับที่ 63 ของประเทศ และลำดับที่ 12 ของภาคใต้ รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดตรังทางทิศเหนือ จังหวัดสงขลาทางทิศตะวันออก และรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซียตลอดแนวชายแดน (ทางทิศใต้) ยาวประมาณ 56 กิโลเมตร ติดต่อฝั่งอันดามันยาวประมาณ 144.8 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกาะประมาณ 88 เกาะ", "title": "จังหวัดสตูล" }, { "docid": "10159#8", "text": "ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ ว่า เขามั่นใจว่าจะนำสันติภาพสู่ภูมิภาคภายใน พ.ศ. 2553[17] แต่เมื่อถึงปลายปีนั้น ความรุนแรงได้มีเพิ่มมากขึ้น ตรงกันข้ามกับการมองโลกในแง่ดีของรัฐบาล[18]กรมสอบสวนคดีพิเศษ จัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2554 และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลยอมรับว่าสถานการณ์ได้เพิ่มมากขึ้น และไม่สามารถแก้ไขได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน[19]หลังวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 3.00 น.คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ 10 เดือน 11 วัน โดยยกเลิกในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558", "title": "ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย" }, { "docid": "97959#1", "text": "ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ) ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน) ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น หนองคาย ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด​ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย(บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม", "title": "ภาษาไทยถิ่นอีสาน" }, { "docid": "75432#9", "text": "อาณาจักรลาวล้านช้าง หรือ \"แผ่นดินแห่งช้างล้านตัว\" เริ่มในปี ค.ศ. 1354 เมื่อพระยาฟ้างุ้ม () (ค.ศ. 1354 - 1373) กลับมายังเมืองซวา (, เปลี่ยนชื่อเป็น \"เซียงทอง\" หรือ \"เชียงทอง\" () ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หลวงพระบาง จากเมืองนี้ล้านช้างขยายอาณาเขตไปถึงบริเวณของประเทศลาวทั้งหมดและบริเวณที่ราบสูงโคราชของประเทศไทย รวมทั้งบางส่วนของสิบสองปันนาในภาคใต้ของประเทศจีน สิบสองจุไทย ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม และ เชียงแตง บริเวณจังหวัดสตึงแตรง ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน", "title": "ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)" }, { "docid": "311387#3", "text": "มีชนิดย่อยทั้งหมด 9 ชนิด ดังนี้นกปรอดหัวโขน เป็นที่นิยมในแง่ที่เป็นสัตว์เลี้ยง ที่เลี้ยงเพื่อฟังเสียงร้องอันไพเราะ และเพื่อการแข่งขันเสียงร้อง เช่นเดียวกับนกเขาชวา (\"Geopelia striata\") โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย คือ นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา ซึ่งการเลี้ยงนกชนิดนี้เป็นเหมือนหนึ่งในวัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนที่นั่น นกปรอดหัวโขนหากได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง สามารถมีอายุยืนนานได้ถึง 11 ปี และนกตัวใดที่มีเสียงร้องไพเราะและได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดแข่งขัน อาจมีสนนราคาถึงหลักล้านบาท", "title": "นกปรอดหัวโขน" }, { "docid": "17498#20", "text": "รายชื่อจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด รายชื่อจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเรียงตามความหนาแน่นของประชากร", "title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "563492#7", "text": "กรมอุตุนิยมวิทยาได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 7 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางอุตุนิยมวิทยา[2] แตกต่างจากการแบ่งแบบ 4 ภาค คือ มีการแยกภาคตะวันออกออกจากภาคกลาง ภาคใต้จะแบ่งเป็นภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดอุทัยธานีจัดให้อยู่ในภาคกลาง และจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จัดให้อยู่ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก", "title": "ภูมิภาคของประเทศไทย" }, { "docid": "222562#2", "text": "มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของกัมพูชา บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราและบอร์เนียว สำหรับในประเทศไทยพบบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้ จากรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีการพบนากจมูกขน 2 แห่ง คือ ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในปี พ.ศ. 2542 มีผู้สามารถจับตัวได้อีกที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ในบริเวณใกล้กับชายแดนมาเลเซีย\nนากจมูกขนนับว่าเป็นนากชนิดที่ได้ชื่อว่าหายากที่สุดในโลก เพราะมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้งและมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมน้อยมาก มักพบนากชนิดนี้ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ปากแม่น้ำใกล้กับทะเลหรือชายฝั่ง มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ", "title": "นากจมูกขน" }, { "docid": "477142#2", "text": "โดยเมื่อปี พ.ศ. 2524 ซึ่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นปีคนพิการสากล ด้วยการส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้แก่คนพิการ รวมถึงการแข่งขันกีฬา เพื่อให้ได้ออกกำลังกาย ซึ่งประเทศไทยก็สนองนโยบายด้วยการขยายการแข่งขัน ออกไปในส่วนภูมิภาค คือภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร โดยจัดแข่งขันใน 5 ชนิดกีฬาคือ กรีฑา, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, แบดมินตัน และเตะบอลเข้าเป้า มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันรวมทั้งหมด 933 คน[1]", "title": "กีฬาคนพิการในประเทศไทย" }, { "docid": "86954#0", "text": "เบตง () เป็นเทศบาลเมืองในภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งอยู่ใกล้กับเขตแดนประเทศมาเลเซีย ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีพื้นที่ทั้งหมด 78 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศไทย มีประชากรในปี พ.ศ. 2548 จำนวน 24,688 คน", "title": "เทศบาลเมืองเบตง" }, { "docid": "7013#0", "text": "นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "440518#5", "text": "เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา โดยสุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่าประมาณการความสูญเสียทางเศรษฐกิจหลังเกิดเหตุระเบิดขึ้นในอำเภอหาดใหญ่คาดว่าจะสูงถึง 800 ล้านบาท เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวไทยยกเลิกการเดินทางทั้งหมด ส่วนที่จังหวัดยะลาประเมินผลกระทบเบื้องต้นบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายถูกเพลิงไหม้ มีจำนวน 35 หลัง รถยนต์ได้รับความเสียหาย 11 คัน และรถจักรยานยนต์ 18 คัน", "title": "เหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555" }, { "docid": "909722#3", "text": "การค้ามนุษย์ในประเทศไทยไม่จำกัดเฉพาะคนไทยเท่านั้น สตรีจำนวนมากและเด็ก ๆ จากประเทศอื่นถูกค้ามนุษย์เข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศของไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีสตรีชาวพม่า กัมพูชาและลาวจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อถูกค้ามนุษย์ในซ่องในจังหวัดชายแดนภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และเชียงราย ภาคกลาง และภาคตะวันออก เช่น จังหวัดตราด, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ชลบุรีและชุมพร และจังหวัดสงขลา นราธิวาสและปัตตานี ใกล้ชายแดนมาเลเซียตอนใต้ ผู้หญิงและเด็กกว่า 80,000 รายถูกขายให้กับอุตสาหกรรมบริการทางเพศของไทยตั้งแต่ปี 2533 ผู้ขายบริการทางเพศหญิงส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นชาวต่างชาติและกว่า 60% ของสตรีที่เดินทางเข้าประเทศเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศมีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีโสเภณีเด็กจำนวนกว่า 75,000 คนในประเทศไทย ", "title": "การค้าหญิงและเด็กในประเทศไทย" }, { "docid": "334514#4", "text": "หลังจากบรรพชาอุปสมบท หลวงพ่อสมชาย ได้ศึกษาปริยัติธรรมจนจบนักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ. 2533 ท่านได้ปฏิเสธการรับตำแหน่งพระสังฆาธิการเจ้าอาวาส และได้มีศรัทธาออกธุดงค์ในช่วงหลังออกพรรษาของทุกปีไปยังพื้นที่ป่าเขาชนบททั้งในและนอกประเทศ เพื่อโปรดสาธุชนและฝึกปฏิบัติธรรม ตั้งแต่สิบสองปันนา (ประเทศจีน) เชียงตุง (ประเทศพม่า) รัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า) กัมพูชา รวมถึงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2534 หลวงพ่อสมชายได้ธุดงค์ไปจังหวัดภาคใต้ และได้เข้าพักที่สวนโมกขพลาราม และอยู่ฝากตัวเพื่อปฏิบัติศึกษาธรรมกับหลวงพ่อพุทธทาสก่อนที่ท่านพุทธทาสจะมรณภาพ และเป็นหนึ่งในพระลูกศิษย์ไม่กี่รูปที่อยู่ในวันฌาปนกิจสรีระของหลวงพ่อพุทธทาสในปี พ.ศ. 2536", "title": "พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ" }, { "docid": "7385#0", "text": "พัทลุง เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เคยเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง และยังมีสภาพภูมิประเทศทั้งที่ราบ เนินเขา และชายฝั่ง โดยทางทิศตะวันตกของจังหวัด จะเป็นพื้นที่ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา อันเนื่องมาจากมีพื้นที่ติดต่อกับเทือกเขานครศรีธรรมราช ถัดลงมาทางตอนกลางและทางทิศตะวันออกของจังหวัด จรดทะเลสาบสงขลาจะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนาข้าว ชาวภาคใต้จะเรียกจังหวัดนี้ว่า เมืองลุงจังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างละติจูดที่ 7 องศา 6 ลิปดาเหนือถึง 7 องศา 53 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 100 องศา 5 ลิปดาตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสายเอเชีย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41) เป็นระยะทางประมาณ 858 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ ระยะทางประมาณ 846 กิโลเมตร ความยาวของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 78 กิโลเมตรและความกว้างจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ 53 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,424.473 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,140,296 ไร่ (พื้นดิน 1,919,446 ไร่ พื้นน้ำ 220,850 ไร่) ", "title": "จังหวัดพัทลุง" }, { "docid": "120229#0", "text": "นี่คือรายชื่อจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด (GPP) ข้อมูลจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ หน่วยเป็น ล้านบาท\nรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด", "title": "รายชื่อจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด" }, { "docid": "652076#0", "text": "ภาคตะวันออกเฉียงใต้ (; ) เป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งในประเทศเวียดนาม ประกอบด้วย 1 เขตเทศบาลคือนครโฮจิมินห์ และอีก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดด่งนาย, จังหวัดบิ่ญเซือง, จังหวัดบิ่ญเฟื้อก, จังหวัดบ่าเสียะ-หวุงเต่า และจังหวัดเต็ยนิญ อีกสองจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศคือ จังหวัดบิ่ญถ่วนและจังหวัดนิญถ่วน บางครั้งจะนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากที่สุดในเวียดนาม ในปี ค.ศ. 2006 ภูมิภาคนี้ทำรายได้เข้าสู่รัฐประมาณ 148,000 ล้านด่ง (9,250,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ) จากรายได้ทั้งหมด 251,000 ล้านด่ง นอกจากนี้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นชุมชนเมืองสูงที่สุดในประเทศ โดยมีประชากรมากกว่าร้อยละ 50 อาศัยอยู่ในเขตเมือง (ในขณะที่อัตราส่วนประชากรในเขตเมืองทั้งประเทศคิดเป็นเพียงร้อยละ 25)", "title": "ภาคตะวันออกเฉียงใต้ (เวียดนาม)" }, { "docid": "111134#0", "text": "ชาวไทยเชื้อสายมลายู หมายถึงชาวไทยซึ่งมีเชื้อสายมลายู มีกระจายทั่วไปในทางภาคใต้ของประเทศไทย ประชากรใช้ภาษาตระกูลมาลาโย-โพลินีเชียน และส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีประชากร ร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด กระจายตัวหนาแน่นมากที่สุดทางภาคใต้ตอนล่าง ในภาคใต้ส่วนอื่นๆก็มีชาวไทยเชื้อสายมลายูกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนภาคกลางเองก็มีมากในกรุงเทพฯ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี เลยไปถึงจังหวัดฉะเชิงเทราในตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยวด้วย", "title": "ไทยเชื้อสายมลายู" }, { "docid": "10159#58", "text": "รัฐบาลในหลาย ๆ รัฐบาลได้จัดตั้ง หน่วยงานในลักษณะที่ส่งตำรวจทหาร และเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางหรือจากกรุงเทพมหานคร ลงไปทำงานในพื้นที่ แม้แต่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็แก้ปัญหาในลักษณะเดียวกัน แตกต่างตรงที่รัฐบาลแต่งตั้งบุคคลเองทั้งหมดในนาม ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล[141]หน่วยงานเหล่านี้ถูกแต่งตั้งขึ้นและยุบแล้วแต่งตั้งใหม่ในชื่อที่แตกต่างกันไป อาทิ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะกรรมการนโยบายเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะกรรมการบริหารจัดการในพื้นที่ตามนโยบายและยุทธศาสตร์เสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้[142]กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรภาค 4 ส่วนหน้า ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองร้อยบังคับการและบริการส่วนหน้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ปัญหามีปัญหาอย่างมากเนื่องจากมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของอำนาจในการคุมพื้นที่โดยฝ่ายทหารต้องการคุมพื้นที่ทั้งหมด และกดดัน รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ลดอำนาจ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลง ซึ่ง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอำนาจเพิ่มขึ้นในสมัยรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เนื่องจากมีการออก พรบ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553[143] การแก้ปัญหาของภาครัฐก่อให้เกิดปัญหาเสียเองเนื่องจากคนในภาครัฐแย่งอำนาจกันเองในการคุมพื้นที่", "title": "ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย" } ]
3885
เอ็มทีวีไทยแลนด์ ยุค2 เริ่มขึ้นเมื่อใด?
[ { "docid": "96843#1", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ออกอากาศครั้งแรกบนช่อง 49 เครือยูบีซี ต่อมาย้ายมาช่องยูบีซี 32 ต่อมา เอ็มทีวีไทยแลนด์ประกาศย้ายการออกอากาศในไทยวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จากเคเบิลทีวี ช่องทรูวิชั่นส์ไปแพร่ภาพทางทีวีดาวเทียม ดีทีเอช[1] หรือรับชมผ่านเคเบิลทีวีท้องถิ่น ขณะนี้เอ็มทีวีไทยแลนด์ ได้ย้ายการออกอากาศจากสไมล์ทีวี เน็ตเวิร์ค โดยได้กลับมาออกอากาศ ทาง ทรูวิชั่นส์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ย้ายมาอยู่ช่อง 85 เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 ออกอากาศในวันสุดท้ายของคืนวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปัจจุบันเอ็มทีวีได้กลับมาออกอากาศใหม่อีกครั้งทางช่องทรูวิชันส์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยถ่ายทอดสัญญาณของเอ็มทีวีเอเชียมา และออกอากาศอย่างเป็นทางการผ่านระบบซีแบนด์ (ที่ได้รับสัมปทานความถี่ช่องดาวเทียมของ อสมท.) และเคยูแบนด์ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 กลับมาฉายอีกครั้งในรูปแบบเอ็มทีวีไทยแลนด์", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" } ]
[ { "docid": "96843#36", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 มีส่วนร่วม 1 เวทีคือเวทีสีส้ม มีศิลปินที่มาร่วมแสดงเช่น ไทยเทเนี่ยม บอดี้สแลม แคลช อำพล ลำพูน เป็นต้น ส่วนในปี พ.ศ. 2550 เอ็มทีวีไทยแลนด์มีส่วนร่วม 2 เวที ทั้ง 3 วัน โดยเวทีเมนสเตจ มีศิลปินที่มาร่วมแสดง เช่น ทาทา ยัง สล็อต แมชชีน อีโบล่า เบบี้วอกซ์รีฟ ส่วนเวทีอินดี้ เช่น วง ซิลลี่ ฟูลส์ อพาร์ตเมนต์คุณป้า ขอนแก่น เป็นต้น", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#43", "text": "และในวันครบรอบ 3 ปีของเอ็มทีวีไทยแลนด์ ได้เชิญบรรดาศิลปิน นักร้องจากค่ายต่าง ๆ มากมาย วีเจ และผู้ชมรายการ ร่วมทำบุญบริจาคโลหิตและออกร้าน ในงาน “เอ็มทีวียังบลัดโดเนชัน 2004\" ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ[31]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "214921#0", "text": "ไลฟ์ออฟไรอัน () เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ ที่ตามติดชีวิตนักสเกตบอร์ดอาชีพที่ชื่อ ไรอัน เช็กเลอร์ โดยในแต่ละตอนมีความยาวประมาณ 22 นาที เป็นเรื่องราวชีวิตของไรอัน และครอบครัวของเขา รวมถึงเพื่อน ในเรื่องราวของครอบครัว การหาแฟน รวมถึงในฐานะโปรสเกตบอร์ด โดยส่วนมากของหลาย ๆ ตอนจะถ่ายทำในละแวกบ้านของเช็กเลอร์ในแซนเคลเมนที รัฐแคลิฟอร์เนียรายการผลิตโดยคาร์โบนเอนเทอร์เทนเมนต์ ให้กับทางเอ็มทีวี ออกอากาศทางเอ็มทีวี, เอ็มทีวี 2, เอ็มทีวียุโรป, เอ็มทีวีโปแลนด์, เอ็มทีวีเอเดรีย, เอ็มทีวีฮังการี, เอ็มทีวีโรมาเนีย, เอ็มทีวีโปรตุเกส, เอ็มทีวีเซ็นทรัล, เอ็มทีวีแคนาดา, เอ็มทีวีอิตาลี, เอ็มทีวีนิวซีแลนด์ ,เอ็มทีวียูเค, เอ็มทีวีลาตินอเมริกา, เอ็มทีวีเอเชีย และเอ็มทีวีไทยแลนด์ โดยออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2007 เวลา 22.30 น่. หลังจากนั้นออกอากาศฤดูกาลที่สองเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2008", "title": "ไลฟ์ออฟไรอัน" }, { "docid": "96843#15", "text": "ส่วนรายการที่ผลิตจากเอ็มทีวี เอเชีย ส่วนใหญ่จะเป็นรายการเพื่อสนับสนุน ศิลปินประจำเดือน เช่น เอ็มทีวีแอสก์ ไฟฟ์ติงส์ยูนีดทูโนว์ ท็อปเทนเฟเวอริตส์ เป็นต้น", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#0", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ (English: MTV Thailand) เป็นสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีในประเทศไทย ปัจจุบันบริหารงานโดยบริษัท อันลิมิเต็ด คอนเท้นท์ จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 โดยรายการแรกที่ออกอากาศคือรายการ เอ็มทีวีไทยแลนด์ฮิตลิสต์ ดำเนินรายการโดย วีเจแองจี้ ส่วนมิวสิกวิดีโอเพลงแรกที่เปิดคือ เพลงพันธ์ทิพย์ ของโลโซ สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักของเอ็มทีวีไทยแลนด์คือวัยรุ่นกินอาณาเขตตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น-ตอนปลาย อายุตั้งแต่ 12-25 ปี และกลุ่มเป้าหมายรองคืออายุตั้งแต่ 25-35 ปี", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#7", "text": "ไวอาคอมอินเตอร์เนชันแนลมีเดียเนตเวิร์กเอเชีย ประกาศข้อตกลงให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเด็ดขาดกับ บริษัท แอปเปิลทูล บริษัทในเครือวีอาร์วันมีเดียกรุป ทำให้เอ็มทีวีไทยแลนด์กลับมาออกอากาศในประเทศไทย โดยถ่ายทอดสัญญาณของเอ็มทีวีเอเชียมา เริ่มทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556 ทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 59 สำหรับแพ็กเกจฟรีวิว และจานดาวเทียม ไทยคม 5 ระบบซีแบนด์ และออกอากาศอย่างเป็นทางการวันที่ 1 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน ผ่านระบบดาวเทียมฟรีแบนด์ และเคยูแบนด์[11] หลังจากนั้นเอ็มทีวีไทยแลนด์กลับมาออกอากาศ ภายใต้บริษัท อันลิมิเต็ด คอนเท้นท์ จำกัด เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท ดีเอ็นเอ 2002 จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 50% กับทางนายกุลพงศ์ บุนนาค และนายอมฤต ศุขวณิช อีก 50% ด้วยทุนจดทะเบียนเบื้องต้น 20 ล้านบาท โดยได้รับสิทธิ์ดูแลเอ็มทีวีไทยแลนด์ 5 ปี[12]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#29", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ มีการจัดอันดับประจำสัปดาห์ ทั้งชาร์ทเพลงไทยและเพลงสากล ซึ่งวัดผลจากยอดขอเพลงจากผู้ฟังและจำนวนการเปิดเพลง ประกาศผลทุกวันเสาร์ในรายการ เอ็มทีวีชาร์ท และถือนับเป็นชาร์ทเพลงที่บ่งบอกความนิยมของผู้ฟังประเทศไทยชาร์ทหนึ่ง[22] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอันดับเพลงได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเกาหลี อย่างเช่น เมื่อครั้งที่วงโซนยอชิแด กลุ่มนักร้องสาวไปออกรายการโทรทัศน์ที่ชื่อ Park Joong Hoon Show Korea Sunday Night เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552 พิธีกรก็ได้บอกข้อมูลให้ทางวงให้ทราบว่าเพลง \"กี\" (Gee) ของทางวงขึ้นอันดับ 1 ชาร์ทเพลงสากล ทำให้ทางวงกล่าวขอบคุณแฟนเพลงชาวไทย เป็นภาษาไทยในครั้งนี้[23] หรือเมื่อครั้งที่เพลง \"Tell Me\" ของวงวันเดอร์เกิลส์ ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทเดียวกัน ทางสื่อเกาหลีก็เสนอข่าวดังกล่าวเกี่ยวกับวง ซึ่งทางวงก็รู้ข่าวว่าขึ้นอันดับ 1 ของชาร์ทนี้เมื่อครั้งที่อยู่ที่เกาหลี[24]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#4", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ เป็นสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีในประเทศไทย 24 ชั่วโมง เป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างเอ็มทีวีเอเชียเน็ทเวิร์ค และบริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด ภายใต้การบริหารงานของบริษัท มิวสิก เทเลวิชั่น เน็ทเวิร์ค จำกัด (บริษัทในเครือบริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544[3] โดยรายการแรกที่ออกอากาศคือรายการ เอ็มทีวีไทยแลนด์ฮิตลิสต์ ดำเนินรายการโดย วีเจแองจี้ ส่วนมิวสิกวิดีโอเพลงแรกที่เปิดคือเพลง \"พันธ์ทิพย์\" ของโลโซ ส่วนเพลงสากลเพลงแรกที่ออกอากาศคือเพลง \"ป็อป\" ของวงเอ็นซิงก์[4] โดยออกอากาศทางช่องยูบีซี 49 แทนช่องเอ็มทีวีเอเชียที่มีอยู่เดิมทางยูบีซี[5] ต่อมา 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ยูบีซีได้จัดลำดับเลขช่องรายการใหม่ โดยย้ายจากช่อง 49 มาอยู่ที่ช่อง 32[6]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#24", "text": "\"อาร์ทิสต์ออฟเดอะมันธ์\" เป็นศิลปินต่างประเทศที่มีชื่อเสียงแล้ว ที่ผ่านมาเช่น อาวริล ลาวีญ ลินคิน พาร์ค เป็นต้น โดยเอ็มทีวีไทยแลนด์ จะมีรายการพิเศษจากต่างประเทศ เช่นรายการ เมกกิงออฟวิดีโอ เป็นต้น ส่วน \"บัซเวิร์ธตี\" เป็นศิลปินใหม่ที่ได้รับความนิยม ที่ผ่านมา เช่น มิคา, อาร์กติก มังกี้ส์, มาย เคมิคอล โรแมนซ์ เป็นต้น ส่วน \"เอ็มทีวีฮอต\" เป็นตำแหน่งศิลปินเอเชียประจำเดือนที่ผ่านมา เช่น โบอา แวนเนส วู เอส.เอช.อี. และ เจย์ โจว์ เป็นต้น ส่วนตำแหน่งของศิลปินไทยคือ \"เอ็มทีวีอาร์ทิสต์โฟกัส\" และ \"เอ็มทีวีอเลิร์ตอาร์ทิสต์\" สำหรับศิลปิน \"เอ็มทีวีอาร์ทิสต์โฟกัส\" คือศิลปินที่มีชื่อเสียงแล้วกำลังจะมีผลงานอัลบั้มใหม่ ที่ผ่านมาส่วน \"เอ็มทีวีอาร์ทิสต์โฟกัส\" เดิมชื่อ \"เอ็มทีวีโมโตอเลิร์ตอาร์ทิสต์\" เป็นตำแหน่งศิลปินใหม่ที่น่าจับตามอง", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#23", "text": "ในแต่ละเดือน เอ็มทีวีไทยแลนด์ จะนำเสนอศิลปินประจำเดือน (Platform) โดยในส่วนของศิลปินต่างประเทศ มีตำแหน่ง \"อาร์ทิสต์ออฟเดอะมันธ์\" \"บัซเวิร์ธตี\" \"เอ็มทีวีฮอต\"", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#2", "text": "นอกจากการออกอากาศทางช่องสถานี เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีกิจกรรมคอนเสิร์ต งานเทศกาลดนตรี อีกทั้งยังมีโครงการและกิจกรรมการกุศลต่าง ๆ", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#9", "text": "เอ็มทีวี มีรายการสด 2 รายการคือ เอ็มทีวีอาฟเตอร์สคูล เวลา 18.00 น. และรายการเอ็มทีวีออนแอร์ไลฟ์ เวลา 19.00 ในรายการนี้มีสัมภาษณ์สดกับศิลปิน ส่วนในวันศุกร์จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#18", "text": "นอกจากออกแพร่ภาพทางช่องเคเบิลทีวีแล้ว เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีรายการออกอากาศทางฟรีทีวี คือรายการ เอ็มทีวีนิวส์ออนทีไอทีวี ทางช่องทีไอทีวี เป็นรายการสรุป ข่าว เบื้องหลังต่าง ๆ ไม่ว่าดนตรี หรือภาพยนตร์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[19] แต่ก็ได้ยกเลิกออกอากาศไปหลังจากที่สถานีทีไอทีวีถูกระงับการออกอากาศไป และต่อมากับรายการทางช่อง 5 ชื่อรายการ เอ็มทีวีสกูลแอตแท็ก ที่มีรูปแบบรายการนำศิลปินไปสร้างความประหลาดใจ ออกอากาศวันพฤหัส เวลา 17.05 – 17.30 น. ดำเนิน รายการโดย ศุภกาญจน์ ปลอดภัย และภูมิใจ ตั้งสง่า[20] ปัจจุบันยุติการออกอากาศไปแล้ว", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#3", "text": "เอ็มทีวีในเอเชียเริ่มมีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 โดยเริ่มจากเอ็มทีวีญี่ปุ่น หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2538 จึงได้มีเอ็มทีวีเอเชียซึ่งออกอากาศในหลายประเทศและได้รับความนิยม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2544-2545 เอ็มทีวีเอเชียได้แยกช่องออกเป็นอีกสามช่องคือ เอ็มทีวีฟิลิปปินส์ เอ็มทีวีไทยแลนด์ และเอ็มทีวีอินโดนีเซีย[2]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#26", "text": "ประจำบันตำแหน่งศิลปินประจำเดือน ในตำแหน่ง \"เอ็มทีวีฟีตเจอร์อาร์ทิส\" สำหรับศิลปินทั้งในและต่างประเทศ โดยศิลปินเพลงสากลเป็นศิลปินเดียวเช่นเดียวกับของเอ็มทีวีเอเชีย ส่วนศิลปินไทยและศิลปินเอเชีย เอ็มทีวีไทยแลนด์จะเป็นฝ่ายคัดเลือกศิลปินมานำเสนอ", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "135238#0", "text": "อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ (20 มีนาคม พ.ศ. 2490 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) วิศวกร และนักธุรกิจสื่อมัลติมีเดีย ในอดีตเคยเป็นนักจัดรายการวิทยุ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทไนท์สปอต เป็นดีเจที่จัดรายการแบบสากลเป็นคนแรกของเมืองไทย และเป็นผู้สร้างวิทยุ 24 ชั่วโมงคลื่นแรก ก่อตั้งค่าย WEA Records Ltd., โซนีมิวสิก (ซีบีเอส) และบีเอ็มจีไทยแลนด์ ในประเทศไทย ต่อมาก่อตั้งบริษัทมีเดีย พลัส ทำงานด้านผลิตรายการวิทยุควบคู่ไปพร้อมกับงานจัดคอนเสิร์ตจากศิลปินต่างประเทศ อิทธิวัฒน์ บุกเบิกวงการเคเบิลทีวี ด้วยการผลิตรายการโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงให้กับยูบีซีถึง 5 ช่อง ผลงานชิ้นเอกในยุคนี้ของคุณอิทธิวัฒน์คือการก่อตั้ง แชนแนลวีไทยแลนด์ นอกจากนั้นยังได้ก่อตั้งเอ็มทีวีไทยแลนด์ , วีเอชวัน และ เอฟทีวีไทยแลนด์ ", "title": "อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ" }, { "docid": "96843#45", "text": "มีหลายหน่วยงานได้จัดอันดับการรับชม โดยในช่วงที่เอ็มทีวีไทยแลนด์ออกอากาศทางยูบีซี 32 เอ็มทีวีไทยแลนด์เข้าถึงผู้ชมกว่า 400,000 ครัวเรือน และติด 1 ใน 5 ช่องรายการของยูบีซี เคเบิลทีวี ที่มีคนดูสูงสุด จากผลวิจัยเรดาร์รีเสิร์ช ของอินิทีเอทีฟ[13]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "83133#0", "text": "การณิก ทองเปี่ยม หรือ วีเจ นิกกี้ เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2523 เป็นวีเจทางช่องเอ็มทีวีไทยแลนด์ ศึกษาจบจากคณะเศรษฐศาสตร์ (ภาคอินเตอร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์ ได้จัดรายการ MTV After School รายการสดทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ทางช่องเอ็มทีวีไทยแลนด์ นอกจากนั้นยังเคยเป็นดีเจคลื่น 99.5 Advanced Radio", "title": "การณิก ทองเปี่ยม" }, { "docid": "96843#28", "text": "สำหรับตำแหน่ง \"เอ็มทีวีพุช\" เป็นตำแหน่งศิลปินประจำเดือนที่เหมือนกันกับเอ็มทีวีกว่าอีก 140 ประเทศทั่วโลก คือศิลปินที่เอ็มทีวีต่างลงความเห็นว่าควรผลักดันให้ศิลปินนั้นเกิด[21]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "135238#6", "text": "กระทั่งต่อมานับจากช่วงปีตั้งแต่ปี 2535 อิทธิวัฒน์บุกเบิกวงการเคเบิลทีวี ด้วยการผลิตรายการโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงให้กับยูบีซีถึง 5 ช่อง ผลงานชิ้นเอกในยุคนี้ของคุณอิทธิวัฒน์คือการก่อตั้ง แชนแนลวีไทยแลนด์ ช่องโทรทัศน์ดนตรี 24 ชั่วโมงช่องแรกของเมืองไทย นอกจากนั้นยังได้ก่อตั้งเอ็มทีวีไทยแลนด์ , วีเอชวัน และ เอฟทีวีไทยแลนด์ อีกด้วย", "title": "อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ" }, { "docid": "96843#25", "text": "นอกจากนั้นยังมีตำแหน่ง \"เอ็มทีวีดู๊ด\" ที่คัดสรรห้าบุคคลที่เป็นตัวอย่าง น่าเชื่อถือ ในอาชีพต่าง ๆ โดยสามารถติดตามรายการพิเศษของตำแหน่ง \"เอ็มทีวีดู๊ด\" จากรายการ เอ็มทีวีบล็อก", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#48", "text": "คู่แข่งของเอ็มทีวีไทยแลนด์ ช่องที่มีรูปแบบเป็นรายการเพลง เช่น แชนแนลวีไทยแลนด์ ที่มีรูปแบบรายการคล้ายกัน และยังมี ช่องเพลงเก่า มะจัง และช่องเพลงในปัจจุบัน ทรู มิวสิก ที่เดิมนำเสนอเฉพาะเพลงไทยแต่ได้เพิ่มเพลงสากลและเพลงเอเชียนขึ้นและมีการพัฒนาโดยมีวีเจนำเสนอรายการด้วย[36]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#47", "text": "มีเดียแอตลาสบายไซโนเวตได้ทำการสำรวจ 10 อันดับช่องเคเบิลที่มีผู้ชมมากที่สุดใน 1 สัปดาห์ (ข้อมูลระหว่าง Q4 2005 - Q3 2006) ช่องที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 คือ ดิสคัฟเวอรี่ แชนนอล อันดับ 2 คือ สตาร์มูฟวีส์ และอันดับ 3 คือ เอ็มทีวี [35]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#5", "text": "ต่อมาเอ็มทีวีไทยแลนด์ประกาศย้ายการออกอากาศในไทยวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จากเคเบิลทีวี ช่องทรูวิชั่นส์ เนื่องจากหมดสัญญา 5 ปี[7] ไปแพร่ภาพทางทีวีดาวเทียม ดีทีเอช และ กับลูกค้าเคเบิลท้องถิ่น 2 ล้านครัวเรือน โดยออกอากาศพร้อมช่องเครือข่ายอย่าง วีเอชวัน และนิกเคลโลเดียน[8] ออกอากาศต่อเนื่องถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551 หลังจากนั้นอยู่ในช่วงไม่ได้ออกอากาศที่ใด (ออฟแอร์)[9]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#12", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีรายการนำเสนอข่าวออกอากาศทุกวัน ความยาวประมาณ 10 นาที ในรายการ เอ็มทีวีบัซซ์ [17] และยังมีรายการเกี่ยวกับภาพยนตร์ คือรายการ เอ็มทีวีสกรีน", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#34", "text": "ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดอยู่ 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2548 ที่อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี และปี พ.ศ. 2549 ที่สยามพารากอน[26]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#40", "text": "เอ็มทีวีตระหนักถึงปัญหาเรื่องโรคเอดส์ มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพิ่มขึ้นทุกวัน เอ็มทีวีสามารถเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นและมีอิทธิพลทางความคิดของพวกเขา เอ็มทีวีเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มเยาวชน และวิถีการดำเนินชีวิตของพวกเขา", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#44", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ ร่วมกับเอ็มทีวียุโรปฟาวเดชันที่ได้รับการสนับสนุนจาก USAID กับโครงการเพื่อสังคมภายใต้ชื่อ เอ็มทีวีเอกซิต: เอ็นด์เอกซ์พลอยเทชันแอนด์แทรฟฟิกกิง ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ โครงการนี้เป็นสารคดีที่ถ่ายทอดความรู้และการป้องกัน เรื่องเกี่ยวกับ การค้ามนุษย์ การล่วงละเมิดทางเพศ และการถูกล่อลวงไปค้าประเวณีของผู้หญิง ซึ่งออกอากาศครั้งแรกทั่วยุโรป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งมีผู้ดำเนินรายการโดยนักแสดงชื่อดังจากฮอลลีวูด แองเจลินา โจลี และในปี พ.ศ. 2550 ในส่วนของประเทศไทย มูลนิธิ เอ็มทีวี ยุโรป ได้คัดเลือกนักร้องสาวชื่อดังของเมืองไทยอย่าง ทาทา ยัง มารับหน้าที่ดำเนินสารคดีในประเทศไทย[32] ส่วนในปี พ.ศ. 2551 ได้ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม มาเป็นแอมบาสเดอร์ประจำประเทศไทย[33]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#38", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ ยังจัดกิจกรรม วีเจฮันต์ที่ได้เปิดโอกาสให้กับหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ได้แสดงความสามารถของตัวเองผ่านการแข่งขัน[28] โดยผู้ชนะเลิศจะได้เป็นวีเจทางช่องเอ็มทีวีไทยแลนด์ ผู้ชนะเลิศในโครงการนี้เช่น วีเจภูมิ วีเจนิกกี้ วีเจอเล็กซ์ วีเจจอห์น วีเจแวว", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" } ]
3886
ปลายประสาทเมอร์เกิล มีหน้าที่อะไร?
[ { "docid": "885632#1", "text": "หน้าที่ของเซลล์เมอร์เกิลที่เป็นปลายในการถ่ายโอนความรู้สึกยังไม่ชัดเจน เพราะเป็นเซลล์ที่มีกลไกต่าง ๆ เพื่อสื่อประสาทผ่านไซแนปส์ รวมทั้งช่องไอออนแคลเซียม, โมเลกุลที่จำเป็นสำหรับถุงไซแนปส์ (synaptic vescicle) เพื่อปล่อยสารสื่อประสาท[4], และจุดต่อคล้ายไซแนปส์ระหว่างเซลล์กับปลายประสาทที่คู่กัน จึงมีการเสนอว่า ช่องไอออนไวแรงกลอยู่ที่เซลล์ ไม่ได้อยู่ที่ปลายประสาท[7] ถ้าผิวถูกลวก ปลายประสาทเมอร์เกิลจะเสียหายอย่างสามัญที่สุด", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" } ]
[ { "docid": "885632#0", "text": "ปลายประสาทเมอร์เกิล[1] เป็นปลายประสาทรับแรงกลมีขีดเริ่มเปลี่ยนต่ำชนิดหนึ่งที่พบใต้หนังกำพร้าและที่ปุ่มรากผม (hair follicle)[2] โดยมีหนาแน่นที่สุดที่ปลายนิ้วและริมฝีปาก[3] และที่มือของไพรเมตจะอยู่ใต้สันลายมือ/นิ้วที่ฐานของ primary epidermal ridge[4][5] เป็นใยประสาทที่ปรับตัวอย่างช้า ๆ แบบ 1 (SA1) หุ้มด้วยปลอกไมอีลินหนา (กลุ่ม Aβ) และมีเซลล์เยื่อบุผิวหุ้มเป็นแคปซูล (encapsulated) ค่อนข้างแข็งที่ปลาย ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ไมโครเมตร[6] และให้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงดัน ตำแหน่ง และสัมผัสนิ่ง ๆ ที่กดลงลึก เช่น รูปร่างหรือขอบวัสดุ", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#7", "text": "ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การบันทึกกระแสไฟฟ้าด้วยอิเล็กโทรดจากใยประสาทนำเข้าเส้นเดียวแสดงว่า ปลายประสาทเมอร์เกิลจะตอบสนองอย่างกระฉับกระเฉงในช่วงที่ปรากฏสิ่งเร้า (dynamic - พลวัต) แล้วก็ตอบสนองต่อไปในช่วงที่สิ่งเร้าไม่เปลี่ยนแปลงด้วย (static - นิ่ง) การตอบสนองในช่วงนิ่งสามารถคงยืนกว่า 30 นาที ระยะระหว่างอิมพัลส์ (inter-spike) ในช่วงที่ยิงสัญญาณอย่างคงยืนจะสม่ำเสมอ เทียบกับรูปแบบที่ไม่สม่ำเสมอถ้าได้จากตัวรับแรงกลที่ปรับตัวช้า ๆ แบบ II (คือ Ruffini ending)[5]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885647#10", "text": "ปลายประสาทเมอร์เกิลซึ่งเป็นตัวรับแรงกลที่ผิวหนังหลักอีกอย่างหนึ่ง ปรับตัวช้า มีขีดเริ่มเปลี่ยนต่ำ ส่งสัญญาณในอัตราที่สม่ำเสมอ และปกติจัดเป็นใยประสาท SA1 แต่งานศึกษาทางสัณฐานวิทยาของปลายประสาทซึ่งยุติที่เซลล์เมอร์เกิล ได้พบการเชื่อมต่อกันและการตอบสนองในรูปแบบต่าง ๆ\nที่ทำให้เสนอว่า การตอบสนองในอัตราไม่สม่ำเสมอที่ปกติจัดว่ามาจากใยประสาท SA2 (Ruffini ending) จริง ๆ อาจมาจากใยประสาท SA1 ที่มีปลายเป็นเซลล์เมอร์เกิล", "title": "ปลายรัฟฟินี" }, { "docid": "885632#19", "text": "ชื่อปลายประสาทตั้งตามนักกายวิภาคชาวเยอรมันผู้คนพบ คือฟรีดิก เมอร์เกิล (2388-2462)", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#18", "text": "Dorsal column-medial lemniscus pathway ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัมผัสละเอียด (รวมทั้งของปลายประสาทเมอร์เกิล) จากร่างกายรวมศีรษะครึ่งหลัง ผ่านไขสันหลังไปยังทาลามัส แล้วต่อไปยังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย โดย first order neuron อยู่ที่ปมประสาทรากหลัง ซึ่งส่งแอกซอนขึ้นผ่าน dorsal column ในไขสันหลังซีกร่างกายเดียวกันไปยัง second order neuron ที่ dorsal column nuclei ในก้านสมองซีกกายเดียวกัน ซึ่งก็ส่งแอกซอนข้ามไขว้ทแยง (decussate) ที่ medulla (ในก้านสมองเช่นกัน) แล้วขึ้นผ่าน medial lemniscus ไปยัง third order neuron ในทาลามัสส่วน ventral posteriorlateral nucleus (VPL)[25] ซึ่งก็จะส่งแอกซอนไปสุดที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex/postcentral gyrus) ของสมองกลีบข้าง โดยข้อมูลเกี่ยวกับสัมผัสจะส่งไปที่บริเวณ \"3b\" เป็นหลัก[26] Trigeminothalamic tract ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัมผัสละเอียดจากศีรษะส่วนหน้ารวมทั้งใบหน้า ไปยังทาลามัส แล้วต่อไปยังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย โดย first order neuron อยู่ที่ปมประสาทของเส้นประสาทสมอง (รวมทั้ง trigeminal [V], facial [VII], glossopharyngeal [IX], และ vagus [X]) ซึ่งส่งแอกซอนไปยัง second order neuron ในซีกร่างกายเดียวกันที่ Trigeminal nuclei[27] ซึงก็ส่งแอกซอนข้ามไขว้ทแยงที่ก้านสมอง (mid-pons[28]) ไปสุดที่ทาลามัสส่วน ventral posterior medial nucleus (VPM)[25] ส่วน third order neuron ในทาลามัสก็จะส่งแอกซอนไปที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex/postcentral gyrus) ของสมองกลีบข้างที่บริเวณ \"3b\" เป็นหลัก[26]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#21", "text": "ส่วน Ruffini corpuscle ที่จัดเป็นปลายประสาทของใย SA2 และได้ระบุอย่างชัดเจนในอุ้งเท้าไร้ขนของแมวด้วยทั้งกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเทคนิคเคมีภูมิคุ้มกัน กลับไม่พบที่ผิวหนังเกลี้ยงตรงนิ้วของแร็กคูน ลิง และมนุษย์ในงานศึกษาปี 2543, 2545, และ 2546[29] งานศึกษาเหล่านี้อาจแสดงว่า โครงสร้างรูปกระสวยที่จัดว่าเป็น Ruffini corpuscle ในบางที่ จริง ๆ เป็นเส้นเลือดส่วนที่ได้รับใยประสาทอย่างหนาแน่น เพราะมีการแสดงแล้วว่า เส้นเลือดเชื่อมกับใยประสาทนำเข้าของระบบซิมพาเทติก และยังเชื่อมกับใยแบบ Aδ และแบบ C อีกด้วย จึงเป็นไปได้ว่า ใย Aδ ที่เชื่อมกัน เป็นตัวรับแรงกลที่ไม่เพียงแต่ตรวจจับแรงตึงของหลอดเลือดเนื่องจากความดันโลหิตเท่านั้น แต่ยังตรวจจับแรงตึงที่ผิวหนังซึ่งมีผลต่อหลอดเลือดอีกด้วย[29]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#24", "text": "CS1 maint: uses editors parameter (link)", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#23", "text": "at the US National Library of Medicine Medical Subject Headings (MeSH) \"\" at Dorland's Medical Dictionary", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#8", "text": "มันยิงสัญญาณในอัตราสูงสุดเมื่อมีปลายแหลมดันที่ผิวหนังและยิงช้า ๆ เมื่อสิ่งเร้ามีปลายเรียวแบบไม่แหลมหรือเป็นแผ่นแบน ความนูนโค้งจะลดอัตราการยิ่งสัญญาณยิ่งกว่านั้น[11]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#4", "text": "ในผิวหนังที่มีขน ปลายประสาทเมอร์เกิลจะรวมกลุ่มเป็นโครงสร้างเนื้อเยื่อบุผิวพิเศษที่เรียกว่า \"touch domes\" ใต้หนังกำพร้าซึ่งเป็นจุดหนาระหว่างขน หรือที่ข้าง ๆ ปุ่มรากขนใกล้ทางออกของขนใต้หนังกำพร้า[5]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#10", "text": "ปลายประสาททำให้สามารถรับรู้สัมผัสแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#17", "text": "ปลายประสาทเมอร์เกิลในระบบรับความรู้สึกทางกายจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ ในสมองรวมทั้งทาลามัสและเปลือกสมอง ผ่านวิถีประสาทรวมทั้ง[24]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#5", "text": "ปลายประสาทเมอร์เกิลยังพบในต่อมน้ำนมอีกด้วย แต่ในที่ทุกแห่งที่พบ เยื่อบุผิวจะจัดเรียงเพื่อส่งแรงดันไปให้กับปลายประสาทได้ดีที่สุด", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#14", "text": "ปลายประสาทรับแรงกลในระบบรับความรู้สึกทางกาย จะมีลักษณะทางกายวิภาคโดยเฉพาะ ๆ ที่เหมาะกับสิ่งเร้า และโดยทั่วไปอาจเป็นแบบที่หุ้มปลอก/แคปซูล (เช่น Merkel ending) อันเป็นเนื้อเยื่อนอกเซลล์ประสาท หรืออาจเป็นปลายประสาทอิสระ เมื่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ ปลายประสาทแปรรูปเพราะสิ่งเร้าที่เหมาะสม (เช่นปลายแหลมสำหรับปลายประสาทเมอร์เกิล) โปรตีนที่ผิวของเซลล์ประสาทก็จะแปรรูปด้วย ทำให้ไอออน Na+ และ Ca2+ ไหลเข้าผ่านช่องไอออนของเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก (receptor potential) ซึ่งถ้าถึงขีดเริ่มเปลี่ยนก็จะทำให้เซลล์สร้างศักยะงานส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยเริ่มต้นส่งไปที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง[20][21] ตัวรับความรู้สึกแต่ละประเภท ๆ จากตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ จะมีใยประสาทเป็นของตนเองจนถึงไขสันหลังตลอดไปจนถึงสมอง[22] ความเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ทำให้ระบบประสาทกลางจำแนกได้ว่า เป็นความรู้สึกประเภทไรและมาจากส่วนไหนของร่างกาย", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#2", "text": "ปลายประสาทที่มีรูปเป็นจานแบน แต่ละอันจะแนบติดกับเซลล์เมอร์เกิลที่มีลักษณะทางเคมีที่ต่างกัน[5] ซึ่งรวมกันบางครั้งเรียกว่า Merkel cell-neurite complex หรือ Merkel disk receptor ใยประสาทอาจแยกเป็นสาขา ๆ โดยแต่ละสาขามีปลายเป็นเซลล์เมอร์เกิล[8] สาขาต่าง ๆ ของใยประสาทเดียวอาจแยกส่งไปถึงเซลล์เมอร์เกิลในกลุ่มต่าง ๆ ที่แยกกัน[9] และเซลล์เมอร์เกิลแต่ละตัวอาจมีแอกซอนส่งมาถึงมากกว่าหนึ่งใย[5]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#3", "text": "ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลายประสาทเมอร์เกิลมีอยู่อย่างกว้างขวาง โดยพบในชั้นฐาน (basal lamina) ของหนังแท้ใต้หนังกำพร้า ที่ผิวหนังทั้งเกลี้ยงทั้งมีผม/ขน, ในปุ่มรากผม (hair follicle), และในเยื่อเมือกทั้งในปากและที่ทวารหนัก ในมนุษย์ เซลล์เมอร์เกิล (ร่วมกับ Meissner's corpuscle) จะอยู่ติดใต้หนังกำพร้า (0.5-1.0มม. ใต้ผิวหนัง) โดยที่มือจะล้อมท่อต่อมเหงื่อใต้สันลายมือ/นิ้ว เทียบกับตัวรับแรงกลอย่างอื่นบางอย่าง เช่น Pacinian corpuscle และ Ruffini ending ที่อยู่ในหนังแท้ (2-3มม. ใต้ผิวหนัง) และเนื้อเยื่อที่ลึกกว่านั้น[8][5]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#9", "text": "ปลายประสาทเมอร์เกิลไวต่อการแปรรูปของผิวหนังมาก และอาจตอบสนองต่อการแปรรูปที่น้อยกว่า 1ไมโครเมตร เป็นเส้นประสาทนำเข้าแบบ I (SA1) ซึ่งมีลานรับสัญญาณที่เล็กกว่าแบบ II งานศึกษาหลายงานแสดงว่า เส้นประสาทแบบ I อำนวยการจำแนกสัมผัสแบบรายละเอียดสูง และทำให้ปลายนิ้วสามารถรู้สึกลวดลายที่ละเอียดได้ (เช่น เมื่อ \"อ่าน\" อักษรเบรลล์)", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#6", "text": "ปลายประสาทเมอร์เกิลไวที่สุดในบรรดาตัวรับแรงกล 4 อย่างต่อความถี่ต่ำ ราว ๆ 0.3-5เฮิรตซ์ และตอบสนองอย่างคงยืนต่อสิ่งเร้า เพราะตอบสนองอย่างคงยืน ปลายประสาทเมอร์เกิลจึงจัดว่าปรับตัวช้า ๆ (slowly adapting) เทียบกับ Pacinian corpuscle และ Meissner's corpuscle ซึ่งปรับตัวอย่างรวดเร็ว (rapidly adapting) คือตอบสนองต่อช่วงเกิดและช่วงหมดสิ่งเร้าที่เหมาะสม[10]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#12", "text": "ลานรับสัญญาณของตัวรับแรงกล ก็คือบริเวณพื้นที่ที่เซลล์ประสาทตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยคร่าว ๆ แล้ว ถ้ามีการสัมผัสผิวหนังสองที่ภายในลานรับสัญญาณเดียวกัน บุคคลนั้นจะไม่สามารถจำแนกจุดสองจุดจากการสัมผัสที่จุดเดียวได้ (เป็นการทดสอบที่เรียกว่า Two-point discrimination) และถ้ามีการสัมผัสภายในลานสัญญาณที่ต่างกัน บุคคลนั้นก็จะจำแนกได้ ดังนั้น ขนาดลานรับสัญญาณของตัวรับแรงกล จึงเป็นตัวกำหนดการจำแนกสิ่งเร้าที่ละเอียดได้ ยิ่งมีลานสัญญาณเล็กเท่าไรมีกลุ่มลานรับสัญญาณที่อยู่ใกล้ ๆ กันเท่าไร ก็จะสามารถจำแนกละเอียดยิ่งขึ้นเท่านั้น[16] เพราะเหตุนี้ ปลายประสาทเมอร์เกิลและ Meissner's corpuscle จึงรวมกลุ่มอยู่อย่างหนาแน่นที่ปลายนิ้วมือซึ่งไวความรู้สึก แต่หนาแน่นน้อยกว่าที่ฝ่ามือและหน้าแขนที่ไวสัมผัสน้อยกว่า", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "96117#9", "text": "ความเจ็บปวดจากโรคเส้นประสาท (Neuropathic pain) เกิดจากความเสียหายหรือโรคที่ระบบประสาทส่วนไหนก็ได้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย\nความเจ็บปวดจากโรคเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral neuropathic pain) จะทำให้รู้สึกเจ็บร้อน/ไหม้ เหน็บชา เหมือนไฟช็อต เหมือนถูกแทง เหมือนถูกตำด้วยเข็ม\nเช่น การกระทบถูกเส้นประสาท (ulnar nerve) ที่ข้อศอกจะทำให้เจ็บเนื่องจากเส้นประสาท", "title": "ความเจ็บปวด" }, { "docid": "885632#11", "text": "การถูระหว่างผิวหนังกับวัตถุ แรงสั่นความถี่ต่ำ[12] ขอบ มุม ปลายแหลม ลายผิว อักษรเบรลล์[13] แรงดัน ไม่ว่าจะเป็นแนวตั้งฉากหรือแนวขนานกับผิว[14] ความโค้ง รูปร่าง ขนาด ความนิ่มแข็ง[15]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#22", "text": "CS1 maint: uses editors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#13", "text": "เซลล์ประสาทที่มีปลายประสาทเมอร์เกิลมีลานรับสัญญาณเล็ก (11มม2 ที่ปลายนิ้ว[17]) ซึ่งเล็กสุดในบรรดาตัวรับแรงกลที่ผิวหนังเกลี้ยง 4 อย่าง และช่วยให้สามารถจำแนกสัมผัสที่อยู่ใกล้ ๆ กันได้ โดยสามารถจำแนกลายตะแกรงแนวตั้งหรือแนวขวางที่สันห่างกันเพียง 0.5-1.0มม. (spatial acuity)[18][19]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#15", "text": "ดูเพิ่มเติมที่วิถีประสาทเพื่อการรู้สัมผัสและการรู้อากัปกิริยา", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "988877#9", "text": "เซลล์ประสาทสั่งการร่างกาย (somatic motor neurons) เกิดที่ระบบประสาทกลาง (CNS) และส่งแอกซอนไปยังกล้ามเนื้อโครงร่าง\n(เช่น กล้ามเนื้อที่แขนขา ท้อง และ) ซึ่งมีหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกาย\nหมวดย่อยของนิวรอนเหล่านี้รวมทั้ง เซลล์ประสาทส่งออกอัลฟา (alpha efferent neuron) และ\nมีชื่อว่า \"นำออก\" ก็เพราะส่งกระแสประสาทจากระบบประสาทกลาง () ไปยังระบบประสาทส่วนปลาย ()", "title": "เซลล์ประสาทสั่งการ" }, { "docid": "579228#4", "text": "ในปี ค.ศ. 1906 ชาลส์ สก็อตต์ เชอร์ริงตัน พิมพ์ผลงานชิ้นสำคัญที่เสนอศัพท์ของกระบวนการรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ รวมทั้งคำว่า \"proprioception\" \"interoception\" และ \"exteroception\" \nexteroceptor เป็น\"อวัยวะ\"มีหน้าที่สร้างข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะภายนอกร่างกายรวมทั้ง ตา หู ปาก และผิวหนัง \nส่วน interoceptor สร้างข้อมูลเกี่ยวกับอวัยวะภายใน ในขณะที่คำว่า proprioception (คือการรับรู้อากัปกิริยา) หมายถึงความสำนึกรู้การเคลื่อนไหวที่ได้มาจากข้อมูลทางกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ \nเพราะการแบ่งประเภทโดยวิธีนี้ นักสรีรวิทยาและนักกายวิภาคศาสตร์จึงได้สืบต่อการค้นหาปลายประสาทที่มีกิจหน้าที่โดยเฉพาะในการส่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อต่อและความตึงเกร็งของกล้ามเนื้อ (เช่นปลายประสาทที่เรียกว่า muscle spindle และ Pacinian corpuscles\nเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า muscle spindle มีบทบาทที่สำคัญในการรับรู้อากัปกิริยา เพราะ ปลายประสาทที่สำคัญที่สุดของ muscle spindle ตอบสนองต่อระดับความเปลี่ยนแปลงของความยาวและความเร็วในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ดังนั้น จึงมีบทบาทในการรับรู้ทั้งตำแหน่งทั้งการเคลื่อนไหวของอวัยวะ \nส่วนปลายประสาทที่สำคัญรองลงมา ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อ และดังนั้น จึงส่งข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้ตำแหน่งของอวัยวะเพียงเท่านั้น \nโดยย่อ ๆ แล้ว muscle spindle ก็คือ ปลายประสาทรับรู้การขยายออกของกล้ามเนื้อ \nนอกจากนั้นแล้ว ก็เป็นที่ยอมรับว่า ปลายประสาทรับความรู้สึกที่ผิวหนังคือ cutaneous receptor ก็มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับรู้อากัปกิริยา โดยให้ข้อมูลการรับรู้ที่แม่นยำเกี่ยวกับตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของข้อต่อ รวมเข้าไปกับข้อมูลที่มาจาก muscle spindle", "title": "การรับรู้อากัปกิริยา" }, { "docid": "885632#25", "text": "หมวดหมู่:ตัวรับความรู้สึก หมวดหมู่:ระบบรับความรู้สึก", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#16", "text": "วิถีประสาทรับความรู้สึกทางกายที่ตัวรับความรู้สึกส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทกลางเพื่อการรับรู้เหนือจิตสำนึก โดยปกติจะมีนิวรอนส่งสัญญาณต่อ ๆ กันยาว 3 ตัว คือ first order neuron, second order neuron, และ third order neuron[23]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" }, { "docid": "885632#20", "text": "ปลายประสาทเมอร์เกิล ปรับตัวช้า มีขีดเริ่มเปลี่ยนต่ำ ส่งสัญญาณในอัตราที่สม่ำเสมอ และปกติจัดเป็นใยประสาท SA1 แต่งานศึกษาทางสัณฐานวิทยาของปลายประสาทซึ่งยุติที่เซลล์เมอร์เกิล ได้พบการเชื่อมต่อกันและการตอบสนองในรูปแบบต่าง ๆ[5] ที่ทำให้เสนอว่า การตอบสนองในอัตราไม่สม่ำเสมอที่ปกติจัดว่ามาจากใยประสาท SA2 (Ruffini ending) จริง ๆ อาจมาจากใยประสาท SA1 ที่มีปลายเป็นเซลล์เมอร์เกิล[5]", "title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล" } ]
3888
อังกฤษตอนใต้จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวนอร์มันเมื่อช่วงใด?
[ { "docid": "983916#4", "text": "แม้อังกฤษตอนใต้จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวนอร์มันแล้ว แต่ตอนกลางกับตอนเหนือนั้นต่างออกไป ในปี ค.ศ. 1068 วิลเลียมเดินทัพขึ้นเหนือผ่านวอริคและน็อตติงแฮมเข้าสู่ยอร์ก ประชาชนของยอร์กยอมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ทันที วิลเลียมจึงกลับไปลอนดอนทางแคมบริดจ์และยอร์ก", "title": "อังกฤษในสมัยกลางยุครุ่งโรจน์" } ]
[ { "docid": "320751#0", "text": "ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์ () การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ครั้งแรกในไอร์แลนด์เริ่มขึ้นราว 8000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อหมู่ชนของระบบสังคมล่าสัตว์-เก็บพืชผักเริ่มเดินทางเข้ามาจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปอาจจะโดยทางสะพานแผ่นดินที่เคยเชื่อมระหว่างสองทวีป หลักฐานทางโบราณคดีของประชากรกลุ่มนี้แทบจะไม่มีร่องรอยให้เห็น แต่ผู้สืบเชื้อสายจากคนกลุ่มนี้และต่อมาของกลุ่มคนที่โยกย้ายเข้ามาจากคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้ทิ้งร่องรอยของแหล่งโบราณคดีสำคัญๆ ของยุคหินใหม่เอาไว้ เช่นอนุสรณ์นิวเกรนจ์ การมาถึงของนักบุญแพทริคและผู้เผยแพร่ศาสนาในต้นจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 คริสต์ศาสนาก็เข้ามาแทนที่ลัทธิพหุเทวนิยมของเคลติคที่มาสิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิงในปี ค.ศ. 600\nตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 800 และอีกกว่าหนึ่งร้อยปีหลังจากนั้น ไวกิงก็เข้ามารุกรานไอร์แลนด์ และสร้างความวุ่นวายและความเสียหายให้แก่วัฒนธรรมของสำนักสงฆ์และกลุ่มตระกูลท้องถิ่นต่างๆ บนเกาะไอร์แลนด์ แต่กระนั้นสถาบันทั้งสองก็พิสูจน์ตนเองว่ามีความมั่นคงพอที่จะเอาตัวรอดและสามารถผสานกลืนไปกับวัฒนธรรมผู้ที่เข้ามารุกรานได้ การเข้ามาของอัศวินรับจ้างแคมโบร-นอร์มันภายใต้ริชาร์ด เดอ แคลร์ เอิร์ลแห่งเพมโบรคที่ 2 หรือที่เรียกกันว่า \"Strongbow\" ในปี ค.ศ. 1169 เป็นจุดเริ่มต้นของการตกอยู่ใต้อำนาจของนอร์มันและต่อมาของอังกฤษ ที่ดำเนินต่อมาอีกกว่า 700 ปี ราชบัลลังก์อังกฤษมิได้แสดงอำนาจการควบคุมเกาะไอร์แลนด์อย่างเต็มที่มาจนกระทั่งหลังจากการปฏิรูปอังกฤษ เมื่อความสวามิภักดิ์ของรัฐบริวารในไอร์แลนด์เริ่มเป็นปัญหาขึ้น ซึ่งกลายเป็นชนวนในการดำเนินการรณรงค์ทางการทหารของราชอาณาจักรอังกฤษในไอร์แลนด์ระหว่างปี ค.ศ. 1534 ถึงปี ค.ศ. 1691 ในช่วงเดียวกันนี้ก็เป็นช่วงที่อังกฤษดำเนินนโยบายการสร้างนิคมในไอร์แลนด์ ที่นำไปสู่การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้ตั้งถิ่นฐานที่เป็นชาวอังกฤษและชาวสกอตแลนด์ที่ถือนิกายโปรเตสแตนต์เป็นจำนวนพัน เมื่อไอร์แลนด์ของกอลได้รับความพ่ายแพ้ทั้งทางด้านการทหารและทางด้านการเมืองเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 แล้ว ก็เป็นที่เห็นกันได้ชัดเจนว่าปัญหาของความแตกต่างของการนับถือศาสนาต่างนิกายเป็นชนวนอันสำคัญที่แบ่งแยกไอร์แลนด์ ตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมาความขัดแย้งที่เกิดจากนิกายนิยม ก็กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์", "title": "ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์" }, { "docid": "16485#11", "text": "ใน พ.ศ. 2368 อังกฤษส่งคณะทูตเข้ามาในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง นำโดย ผู้แทนทางการทูตของบริษัทอินเดียตะวันออก เฮนรี เบอร์นี ขณะนั้น อังกฤษได้ผนวกพม่าตอนใต้แล้ว และจึงเป็นเพื่อนบ้านของสยามทางตะวันตก และอังกฤษยังพยายามขยายการควบคุมเหนือมลายูด้วย พระมหากษัตริย์ไม่เต็มพระทัยยอมข้อเรียกร้องของอังกฤษ แต่ที่ปรึกษาของพระองค์กราบทูลเตือนว่า สยามจะเผชิญชะตาเดียวกับพม่าหากไม่บรรลุข้อตกลงกับอังกฤษ ฉะนั้น ใน พ.ศ. 2369 สยามจึงบรรลุสนธิสัญญาพาณิชย์ฉบับแรกกับชาติตะวันตก คือ สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (หรือสนธิสัญญาเบอร์นี) ภายใต้เงื่อนไขแห่งสนธิสัญญา สยามตกลงจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีเป็นแบบเดียวกัน ลดภาษีการค้าต่างชาติและลดการผูกขาดของหลวงบางประเภท ผลคือ การค้าของสยามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร และอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มแผ่ขยาย ราชอาณาจักรมั่งคั่งขึ้นและกองทัพติดอาวุธดีขึ้น", "title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)" }, { "docid": "267800#2", "text": "บริเวณภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียอย่างกว้างๆ ตรงกับบริเวณระหว่างเทือกเขาพิเรนีสและแม่น้ำเอโบร (Ebro River) ประชากรในบริเวณนั้นมาจากหลายกลุ่มชนที่รวมทั้งชาวไอบีเรีย, ชาวบาสค์, ชาวยิว และ ชาวกอธผู้ได้รับการพิชิตและตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรอิเมียร์ของมุสลิมทางตอนใต้ หรือโดยจักรวรรดิแฟรงก์ทางตอนเหนือ ดินแดนเปลี่ยนมือไปตามความรุ่งเรืองหรือตกอับของจักรวรรดิทั้งสอง และอำนาจของขุนนางต่างๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในที่สุดประมุขและประชาชนของภูมิภาคชายแดนก็ก่อตั้งตนเป็นอิสระ ที่กลายมาเป็นราชอาณาจักรนาวาร์, ราชอาณาจักรอารากอน และ ราชอาณาจักรกาตาลุญญา", "title": "ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย" }, { "docid": "92811#0", "text": "ชาวไทยปักษ์ใต้ หรือ ชาวไทยภาคใต้ เป็นชาติพันธุ์ไทยที่ที่อพยพลงมาสู่คาบสมุทรไทยเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 5 เริ่มแรกมีการอพยพลงมาจำนวนไม่มาก แต่ในครั้งหลังที่อาณาจักรไทยทางตอนเหนือถูกรุกรานคนไทยจึงอพยพลงทางทิศใต้ ตะวันออก และตะวันตกเพิ่มมากขึ้น เมื่ออพยพลงมาถึงที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรขอม จึงได้มีการอพยพลงไปทางทิศใต้อีก เพราะไม่อยากตกอยู่ภายใต้อำนาจของชนชาติอื่น จนมาถึงคาบสมุทรไทยที่มีคนไทยตั้งอาณาจักรไว้อย่างมั่นคง คือ อาณาจักรตามพรลิงก์ ซึ่งมีอาณาเขตตั้งแต่ปะลิส ไทรบุรี(ไซบุรี) ปะหัง (ป่าห้าง) ยะโฮร์ (ยี่หน;ยอฮอ) ไปจรดเกาะเตะมาเซะ (ธรรมศักดิ์) หรือสิงคโปร์ในปัจจุบัน การอพยพครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น เนื่องจากเกิดโรคระบาดขึ้นทำให้มีผู้คนล้มตายไปมาก จึงได้มีการเกณฑ์ครัวจากภาคเหนือและภาคกลางลงไปเพื่อเป็นกำลังป้องกันข้าศึกจากทางใต้ และชาวไทยใต้นี้เป็นชาติพันธุ์ไทยที่มีส่วนผสมกับชาวมลายู และชาวซาไก เป็นชาวไทที่อาศัยอยู่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงสุดเขตดินแดนประเทศมาเลเซีย ในแถบตุมปัต ในรัฐกลันตัน ซึ่งมีชาวไทยอยู่มาก", "title": "ไทยใต้" }, { "docid": "227195#4", "text": "แต่สิ่งที่สำคัญรองจากสิ่งที่สำคัญที่สุดของความมีชัยชนะต่ออังกฤษของนอร์มันคือเป็นการนำอังกฤษเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่ยุโรป โดยเฉพาะการเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่ยังมีอิทธิพลทางด้านภาษาและวัฒนธรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ของโรมัน อังกฤษในสมัยแองโกล-แซกซันและนอร์สเป็นอังกฤษที่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่อังกฤษภายใต้การปกครองของนอร์มันเป็นอังกฤษของภาษาตระกูลโรมานซ์และวัฒนธรรมของโรมันโบราณ ซึ่งจะเห็นได้จากภาษาที่ใช้, สถาปัตยกรรมการก่อสร้างแบบโรมาเนสก์ และการปกครองระบบเจ้าครองนครที่มาแทนที่การปกครองที่ไม่มีระบบเท่าใดนักของอังกฤษในระหว่างยุคมืด แต่สิ่งที่แน่นอนคืออังกฤษในสมัยนอร์มันเป็นอังกฤษที่แตกต่างจากอังกฤษสมัยก่อนหน้านั้นที่เป็นอังกฤษที่มีอิทธิพลจากภายนอก", "title": "อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน" }, { "docid": "136962#3", "text": "ตัวโบสถ์เดิมเป็นแบบโรมาเนสก์ หรือ นอร์มัน ตามที่เรียกกันที่ประเทศอังกฤษ การต่อเติมภายหลังเป็นแบบกอทิกหลายยุค ตัววัดลึก 420 ฟุต กว้าง 144 ฟุต มีหอกลางที่ต่อเติมเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 สูง 225 ฟุต ข้างบนมียอดสี่ยอด ตัวโบสถ์ด้านในเป็นเพดานสมัยอังกฤษตอนต้น มีห้องใต้ดินสำหรับเก็บศพ (Crypt) แบบโรมาเนสก์อยู่ภายใต้บริเวณร้องเพลงสวด ห้องใต้ดินของอาสนวิหารนี้เป็นเพียงหนึ่งในสี่ของสถานที่แบบเดียวกันนี้ที่หลงเหลืออยู่ในประเทศอังกฤษ อีกสามแห่งอยู่ที่ อาสนวิหารวูสเตอร์ อาสนวิหารวินเชสเตอร์ และอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี จากนั้นก็มีหอประชุมนักบวช", "title": "อาสนวิหารกลอสเตอร์" }, { "docid": "171289#13", "text": "ผู้รับใช้มีปีกแห่งรัตติกาลมีชื่อเป็นสมญานาม ผู้รับใช้ที่ระบุชื่อใน\"ศุกร์รัตติกาล\" ได้แก่ \nเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานทำทองคำเปลว พลเมืองที่นี่จะใช้นามสกุล \"ทองแผ่น\" กันหมด หน้าที่ของพวกเขาคือหลอมทองและตีทองให้แบนเพื่อนำไปปิดตัวอักษร ตีเป็นแผ่นสำหรับจารึก และทองรูปอื่นๆ ความต้องการทองคำเปลวที่โรงงานต้องผลิตได้ทุกวันคือสี่พันคืบ อยู่ใต้การควบคุมของย่ำรุ่งของวันศุกร์เป็นลำดับแรก และเอลิบาเซ็ธเป็นลำดับที่สองคนผลักกระดาษทำงานอยู่ในท่าเรือและคลอง สวมชุดที่ทำจากกระดาษที่มีตัวอักษรเผื่อตกน้ำจะได้ไม่จม มีหน้าที่ขนส่งผู้โดยสารและบันทึกไปยังที่ต่างๆ ในบ้านเบื้องกลางโดยคลอง เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ขับเคลื่อนทางน้ำมีเกียรติสูงส่ง ซึ่งเป็นสมาคมพิเศษของคนผลักกระดาษไม่ขึ้นตรงต่อชั้นไหนๆ ของบ้านเบื้องกลาง เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้รับใช้ที่ถูกกินเครื่องแบบโดยพินัยกรรมส่วนที่ห้ามักมาทำงานเป็นพลเมืองที่อยู่บนที่ราบสูงบนสุด ส่วนใหญ่ตกมาจากบ้านเบื้องบน มีความสามารถในการใช้เวทมนตร์แต่ก็เจ้าเล่ห์มากนักรบของบ้านเบื้องบน สวมรองเท้าหนังเทียมขึ้นเงากับกางเกงลายตาราง และแต่งตัวแบบแปลกๆ เช่น ใส่เอี๊ยมเปิดกระดุม และหมวกเบเร่ต์เอียงเป็นมุมเดียวกันทั้งหมด อาวุธของพวกเขาเป็นมีดปลายแหลมเล่มยาวซึ่งบรรจุแกนสุญญะเข้มข้น ทำให้อาวุธนี้สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียว เพราะสุญญะจะกัดกินอาวุธไปจนหมด นักรบเหล่านี้สามารถทำการรบบนท้องฟ้าได้ โดยติดปีกซึ่งมีแสงสว่างเหมือนดวงดาว พวกเขาได้รับคำสั่งให้ลงมายึดประตูฟ้า ซึ่งจะเป็นการขัดขวางการทำงานของแพ และกลุ่มผู้รับใช้แห่งรัตติกาลของบ้านเบื้องกลาง รวมไปถึงช่วยส่งกำลังหนุนจากบ้านเบื้องบนไปยังส่วนอื่นๆ ต่อไป อยู่ภายใต้การควบคุมของย่ำรุ่งของวันเสาร์เป็นนักรบที่ห้าวหาญที่สุดของบ้านเบื้องบน พวกเขาล้วนสวมเสื้อนอกสีดำตัวยาวสมัยศตวรรษที่ 19 สวมวิกผมยาวลงแป้งจนแข็ง มีอาวุธเป็นดาบซึ่งรูปร่างเหมือนปลายปากกาหมึกซึมซึ่งมีความใหญ่และยาวมาก ซูซี่บอกว่าพวกเขาสามารถดูดเอาตับไตไส้พุงออกมาได้เพียงแค่มองตามทีได้ยินเขาเล่ากันมา แต่ว่าพวกเขาทั้งหมดเสียชีวิตพร้อมกับย่ำค่ำของวันเสาร์ พ่ายแพในการชิงกุญแจดอกที่ห้าของปลอมจากคนเป่าปี่และเด็กของคนเป่าปี่ของเขา อยู่ภายใต้การควบคุมของย่ำค่ำของวันเสาร์ทำหน้าที่ล้างระหว่างหูเด็กของคนเป่าปี่ (อย่างไรก็ตามการล้างระหว่างหูหนูเติบโตไม่ประสบความสำเร็จ) พวกเขามาจากบ้านเบื้องบน และรับใช้วันเสาร์เลอเลิศ ผู้ดูแลห้องน้ำเป็นส่วนหนึ่งของผู้ตรวจสอบบัญชีภายใน (แต่ไม่ใช่ผู้ตรวจสอบบัญชีภายในทั้งหมดจะเป็นผู้ดูแลห้องน้ำทุกคน) ดังนั้นพวกเขาจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของย่ำค่ำของวันเสาร์ การล้างระหว่างหูเด็กของคนเป่าปี่เป็นแผนการของวันเสาร์เพื่อการป้องกันไม่ให้เด็กของคนเป่าปี่คนใดกลายเป็นทายาทผู้ทรงสิทธิ์เด็ดขาดเนื่องจากเด็กของคนเป่าปี่ก็เป็นผู้รู้ตายเหมือนกัน พินัยกรรมสามารถเลือกใครคนใดคนหนึ่งเป็นทายาทผู้ทรงสิทธิ์ก็ได้ เป็นเด็กของคนเป่าปี่ที่ทำงานอยู่ในบ้านเบื้องบน ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายลูกบาศก์ห้องทำงานของพลเมือง ลิงหยอดน้ำมันมีหน้าที่หลายอย่าง ไม่ใช่หยอดน้ำมันอย่างเดียว แต่ทำทั้งขันสกรู ทำราง ฯลฯ รวมถึงการสร้างเส้ากระทุ้ง หัวหน้าของลิงหยอดน้ำมันแห่งกองซ่อมบำรุงโซ่และแรงเคลื่อนที่ยี่สิบเจ็ดมีชื่อว่า อาลีส (Alyse) พลเมืองหน้าเศร้าที่สอบตกจากการเรียนเวทมนตร์ พวกเขามีร่มประจำตัวเป็นร่มสีหม่นที่ถูกแมลงกัดแหว่งไปหมด พวกเขาเป็นพลเมืองมีลำดับความสำคัญต่ำสุด มีหน้าที่คอยจับตาดูเด็กของคนเป่าปี่ตลอดเวลา อยู่ภายใต้การควบคุมของยามเที่ยงของวันเสาร์", "title": "เจ้าหน้าที่ของบ้าน" }, { "docid": "78608#3", "text": "ตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดเกาหลีจากญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2488 เกาหลีจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศที่เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือกล่าวคือ ทางตอนเหนืออยู่ภายใต้การคุ้มครองดูแลของสหภาพโซเวียต มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ทางตอนใต้อยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกา มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) เมื่อเกาหลีพ้นจากการปกครองของญี่ปุ่นแล้ว ชาวพุทธทั้งหลายในเกาหลี โดยเฉพาะพระสงฆ์ได้มีการเคลื่อนไหว โดยการประชุมใหญ่แล้วลงมติให้รัฐบาลยกเลิกข้อบังคับต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกับหลักพระพุทธศาสนาซึ่งตราขึ้นในสมัยที่ญี่ปุ่นยึดครอง พร้อมทั้งให้คณะสงฆ์มีการปกครองตนเอง โดยมีสำนักงานอยู่ในนครหลวงและจังหวัดต่าง ๆ ให้มีสภาบริหารตนเองซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานใหญ่ และได้มีการจัดประชุมเพื่อตราธรรมนูญปกครองคณะสงฆ์ขึ้นที่สำนักงานใหญ่ เมื่อพ.ศ. 2489", "title": "ศาสนาพุทธในเกาหลี" }, { "docid": "746761#3", "text": "ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 แต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านฮุสเซียน ชาห์ว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้และก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1819 โดยอังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี ค.ศ. 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (Straits Settlement) ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนังและมะละกาด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) อย่างสมบูรณ์จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นจึงได้ขับไล่อังกฤษออกจากสิงคโปร์และเข้าไปยึดครองแทน", "title": "ประวัติศาสตร์สิงคโปร์" }, { "docid": "572946#0", "text": "เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ () เป็นบรรดาศักดิ์อังกฤษที่เคยพระราชทานให้สองครั้งในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ ครั้งหนึ่งในช่วงก่อนการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน และอีกช่วงหนึ่งคือในสมัยที่เป็นสหราชอาณาจักรแล้ว โดยเวสเซ็กซ์ นั้นมาจาก \"West Saxons\" ในบริเวณภาคใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ซึ่งครั้งหนึ่งนั้นเคยเป็นอาณาจักรของชาวแองโกล-แซกซันในช่วงเจ็ดอาณาจักร ซึ่งต่อมาได้มีการขยายอาณาเขตในช่วงศตวรรษถัดมาอันเป็นต้นกำเนิดของราชอาณาจักรอังกฤษในยุคต่อมา", "title": "เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์" }, { "docid": "227195#9", "text": "ความรู้สึกขัดแย้งระหว่างความเป็นนอร์มันและความเป็นแซ็กซอนจะรุนแรงเท่าใดนั้นก็ยังเป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันอยู่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความขัดแย้งนี้กล่าวว่าเป็นความขัดแย้งที่มาจากทั้งสองฝ่ายที่เห็นได้จากตำนานที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในเรื่อง “โรบิน ฮูด” (Robin Hood) และในนวนิยายเรื่อง “ไอแวนโฮ” (Ivanhoe) โดยเซอร์วอลเตอร์ สกอตต์ (Walter Scott) ซึ่งอาจจะเป็นทัศคติที่ค่อนข้างจะเกินความจริงไปบ้าง ความรู้สึกทางอคติที่แสดงออกโดยนักประวัติศาสตร์อังกฤษร่วมสมัยออร์เดริค ไวทาลิส (Orderic Vitalis) ใน “ประวัติศาสตร์ทางศาสนา” (Ecclesiastical Historii) จะเห็นได้จากการกล่าวสรรเสริญชาวอังกฤษผู้ต่อต้านดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี (สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ) นอกจากนั้นก็ยังมีกฎหมายที่เรียกว่า “ค่าปรับการฆาตกรรมนิรนาม” (Murdrum) ที่เดิมเป็นกฎหมายของเดนส์ที่นำมาใช้ในอังกฤษภายใต้การปกครองของพระเจ้คานูท ที่นอร์มันนำกลับมาใช้โดยการปรับหมู่บ้านที่เกิดการฆาตกรรมชาวนอร์มันอย่างลับๆ (หรือผู้ถูกฆาตกรรมที่ไม่ทราบชื่อที่กฎหมายสรุปว่าต้องเป็นนอร์มันโดยปริยายนอกจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่) เป็นจำนวนหนึ่งไฮห์ หรือ 46 มาร์ค หรือ ราว £31", "title": "อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน" }, { "docid": "420823#1", "text": "ชาวอังกฤษได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1789 แต่ทิ้งร้างไปใน ค.ศ. 1796 ต่อมาใน ค.ศ. 1858 รัฐบาลอินเดียของอังกฤษได้จัดตั้งสถานกักกันนักโทษที่พอร์ตแบลร์ ต่อมาได้รวมเข้ากับหมู่เกาะนิโคบาร์เป็นเขตการปกครองหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ในปี ค.ศ. 1872 และในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1942-1945) จนรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียในปี ค.ศ. 1947", "title": "หมู่เกาะอันดามัน" }, { "docid": "881909#7", "text": "ชาวอีสต์แองเกลียที่อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์เมอร์เซียเช่นกันก่อกบฏ บอร์นวูล์ฟ กษัตริย์แห่งเมอร์เซีย ต้องการจะมีอำนาจในมณฑลนี้อีกครั้ง ชาวอีสต์แองเกลียเอาตัวเองไปอยู่ภายใต้การคุ้มกันของเอ็กเบิร์ตแห่งเวสเซ็กซ์ที่มาช่วยเหลือ และตัวบอร์นวูล์ฟเองถูกปลงพระชนม์ในความขัดแย้งที่ตามมา วิกลาฟได้รับเลือกให้สืบทอดตำแหน่งของพระองค์ในปีค.ศ.829 อาศัยช่วงที่วิกลาฟไม่มีเวลาเตรียมตัว เอ็กเบิร์ตรีบเดินหน้าเข้าสู่เมอร์เซียและเนรเทศพระองค์ออกไปจากอาณาจักร ตั้งพระองค์องเป็นผู้ปกครองของอังกฤษทั้งหมดที่อยู่ใต้ฮัมเบอร์ จากนั้นเอ็กเบิร์ตก็หันความสนใจไปที่อาณาจักรของชาวแองเกลียแห่งนอร์ธัมเบรียที่พ่ายแพ้ต่อพระองค์เช่นกัน ตอนนี้พระองค์ควบคุมอังกฤษทั้งหมด พระองค์ได้รับชัยชนะ พระองค์คือเบร็ตวัลด้า", "title": "เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์" }, { "docid": "221181#4", "text": "เมื่อมาถึงปลายสมัยกลางทางตอนกลางและอิตาลีตอนใต้ที่เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันก็จนลงกว่าทางเหนือ โรมเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยซากสิ่งก่อสร้างโบราณและรัฐสันตะปาปา (Papal States) ก็เป็นบริเวณการปกครองอย่างหลวม ๆ ที่แทบจะไม่มีกฎหมายหรือระบบแต่อย่างใดเพราะสำนักพระสันตะปาปาย้ายไปอยู่ที่อาวินยองโดยความกดดันของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ทางด้านไต้เนเปิลส์, ซิซิลี และซาร์ดิเนียตกอยู่ภายใต้การปกครองของต่างประเทศมาระยะหนึ่งแล้วโดยอาหรับและต่อมาก็โดยนอร์มัน ซิซิลีมั่งคั่งขึ้นมาเป็นเวลาสองสามร้อยปีระหว่างการปกครองของเอ็มมิเรตแห่งซิซิลี (Emirate of Sicily) และเมื่อต้นสมัยราชอาณาจักรซิซิลีแต่มาเสื่อมโทรมลงเมื่อมาถึงปลายสมัยกลาง", "title": "สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี" }, { "docid": "137729#11", "text": "ในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 12 ยุโรปก็แบ่งออกเป็นนครรัฐและราชอาณาจักรต่าง ๆ บริเวณที่รวมทั้งในปัจจุบันที่เป็นเยอรมนี, เนเธอรแลนด์, เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรีย, ทางตะวันออกของฝรั่งเศส และส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอิตาลียกเว้นเวนิสก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และประมุขของท้องถิ่นก็ยังคงมีอำนาจพอสมควร ฝรั่งเศส สกอตแลนด์ สเปน และ ซิซิลี ต่างก็เป็นราชอาณาจักรอิสระ รวมทั้งอังกฤษที่ปกครองโดยกษัตริย์แพลนทาเจเน็ทผู้ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ในฝรั่งเศสในขณะเดียวกันด้วย.[6] นอร์เวย์มาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษ ขณะที่ประเทศสแกนดิเนเวียอื่น ๆ และโปแลนด์อยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมนี กษัตริย์อ็องฌูเป็นผู้นำวัฒธรรมกอทิกไปเผยแพร่ยังอิตาลีใต้", "title": "สถาปัตยกรรมกอทิก" }, { "docid": "158148#1", "text": "นอร์มังดีเป็นบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ก่อนปี ค.ศ. 1066 ไวกิงเป็นจำนวนมากเดินทางมาตั้งถิ่นฐานในนอร์มังดี ในปี ค.ศ. 911 สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ซิมเปิล (Charles the Simple) แห่งราชวงศ์คาโรลิงเกียนทรงอนุญาตให้ชาวไวกิงกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของโรลโลแห่งนอร์มังดี (Rollo of Normandy) ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของฝรั่งเศส โดยทรงหวังว่าไวกิงจะช่วยป้องกันดินแดนทางริมฝั่งทะเลจากการรุกรานของชาวไวกิงกลุ่มอื่นในอนาคตซึ่งก็ได้ผล ชาวไวกิงที่มาตั้งถิ่นฐานรู้จักกันว่า “Northmen” (ชาวเหนือ) ซึ่งมาเพี้ยนเป็น “Normandy” (นอร์มังดี) ต่อมา นอกจากนั้นชาวไวกิงก็ยอมรับวัฒนธรรมท้องถิ่นและละทิ้งความเชื่อลัทธิเพกัน และเปลื่ยนมานับถือคริสต์ศาสนา และเริ่มใช้ภาษาเอยล์ (Langues d'oïl) ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มแกลโล-โรมานซ์ที่พูดกันในท้องถิ่นแทนภาษานอร์สซึ่งกลายมาเป็นภาษานอร์มัน การยอมรับวัฒนธรรมรวมไปถึงการแต่งงานกับชนท้องถิ่น และยังใช้ดัชชีที่ได้รับมาเป็นฐานในการขยายเขตแดนไปทางตะวันตกผนวกดินแดนที่รวมทั้งเบส์แซง และแหลมโคเต็งแตง และหมู่เกาะแชนเนล (ปัจจุบันเป็นของอังกฤษ)", "title": "การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน" }, { "docid": "227195#5", "text": "นอกจากนั้นแล้วชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษก็ยังเป็นการเปลี่ยนระบบการทหารในอังกฤษทั้งทางลักษณะและวิธีการรบ หลังจากการยึดครองนายทหารแองโกล-แซกซันเดิมโดยเฉพาะชนรุ่นหลังจากการพ่ายแพ้ที่ยุทธการเฮสติงส์ผู้ไม่มีอนาคตความก้าวหน้าถ้าอยู่ต่อไปในอังกฤษภายใต้การปกครองของผู้ชนะ ก็เริ่มลี้ภัยไปต่างประเทศอังกฤษโดยการสนับสนุนของดยุควิลเลียมผู้พิชิตและพระโอรสวิลเลียม รูฟัสเพื่อความปลอดภัยของราชอาณาจักร กลุ่มแรกที่ลี้ภัยคือกลุ่มที่ไปเดนมาร์ก อีกจำนวนหนึ่งก็ลี้ภัยไปสมทบกับกลุ่มวารันเจียน (Varangians) ในคอนแสตนติโนเปิล ", "title": "อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน" }, { "docid": "1989#7", "text": "ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 แต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านฮุสเซียน ชาห์ว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้และก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1819 โดยอังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี ค.ศ. 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (Straits Settlement) ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนังและมะละกาด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) อย่างสมบูรณ์จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นจึงได้ขับไล่อังกฤษออกจากสิงคโปร์และเข้าไปยึดครองแทน", "title": "ประเทศสิงคโปร์" }, { "docid": "287103#1", "text": "ภายในห้าสิบปีหลังจากที่นอร์มันได้รับชัยชนะ ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวนอร์มันก็ตามมาตั้งเมืองตั้งกลุ่มการปกครองขึ้นทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี", "title": "ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้" }, { "docid": "932765#1", "text": "ในตอนที่เอเลนอร์ประสูติที่กลอสเตอร์ ลอนดอนของพระเจ้าจอห์นอยู่ในมือของกองทัพฝรั่งเศส จอห์นถูกบีบบังคับให้ลงนามในแม็กนาคาร์ต้า ส่วนราชินีอิซาเบลลาก็ตกอยู่ในความอับอาย เอเลนอร์ไม่เคยเจอพระบิดาของพระองค์ เนื่องจากพระองค์สิ้นพระชนม์ที่ปราสาทนวร์กในตอนที่เอเลนอร์อายุไม่ถึงปี ชาวฝรั่งเศส นำโดยเจ้าชายหลุยส์สิงห์ อนาคตพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 กำลังเดินทัพลงใต้ มีเพียงดินแดนในมิดแลนด์กับทางตะวันตกเฉียงใต้ที่ภักดีต่อพระเชษฐาของพระองค์ เฮนรี่ที่ 3 แห่งอังกฤษ บารอนปกครองตอนเหนือ แต่รวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกับผู้สนับสนุนกษัตริย์ภายใต้วิลเลี่ยม มาร์แชล เอิร์ลแห่งเพมโบรกคนที่ 1 ที่คุ้มครองพระเจ้าเฮนรี่น้อย และหลุยส์พ่ายแพ้ไป", "title": "เอลิเนอร์แห่งอังกฤษ เคาน์เตสแห่งเลสเตอร์" }, { "docid": "287103#0", "text": "ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้ () การพิชิตอิตาลีตอนใต้ของนอร์มันเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ที่เป็นการต่อสู้ที่เกิดขึ้นหลายครั้งโดยผู้เข้าร่วมหลายฝ่าย ที่ต่างก็ได้ดินแตนมาเป็นของตน จนกระทั่งต่อมาเท่านั้นบริเวณนี้จึงได้รวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรซิซิลีที่ไม่แต่จะประกอบด้วยเกาะซิซิลีแต่รวมทั้งดินแดนหนึ่งในสามของทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี (ยกเว้นเบเนเวนโตที่ยึดได้สองครั้ง) และกลุ่มเกาะมอลตา และบางส่วนของแอฟริกาเหนือ", "title": "ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้" }, { "docid": "3656#8", "text": "การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ลัทธิอาณานิคมอย่างเป็นทางการของอินเดียเริ่มจากการที่อังกฤษสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียขึ้นเป็น \"จักรพรรดินีแห่งอินเดีย (Empress of India)\" ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ซึ่งเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยขั้นตอนแรกซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอินเดียเข้าเป็นดินแดนใต้ปกครองอย่างเป็นทางการของอังกฤษได้เริ่มมาตั้งแต่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อรัฐสภาอังกฤษหลังถูกรบกวนด้วยแนวคิดที่ว่า บริษัทธุรกิจที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้มีความสนใจเบื้องต้นอยู่ที่การทำผลกำไรให้ได้เท่านั้น ในขณะที่มีอำนาจควบคุมโชคชะตาของคนจำนวนเป็นล้าน ๆ คน ได้ผ่านกฎหมายหลายฉบับออกมาในปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) และ พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) กฎหมายที่ออกมาเห่านี้ได้ให้อำนาจแก่รัฐสภาในการควบคุมนโยบายต่างๆของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก และมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงสุดของบริษัทในอินเดียซึ่งรู้จักกันในชื่อตำแหน่ง ว่า \"ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้น (governor-general)\" (ระบบการควบคุม 2 ระดับนี้ใช้กันต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1858) ในปี พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1818) บริษัทบริติชอินเดียตะวันออกปกครองอินเดียทั้งหมด กษัตริย์พื้นเมืองอินเดียบางส่วนถูกบีบให้ยอมสวามิภักดิ์ ยอมรับความเป็นเจ้าอาณานิคมของอังกฤษ ขณะที่บางส่วนถูกริบดินแดนไป พื้นที่บางส่วนของอนุทวีปตกอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของอังกฤษ ในขณะที่บางส่วนราชวงศ์พื้นเมืองยังคงปกครองบ้านเมืองของตนอยู่ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ", "title": "จักรวรรดินิยมในเอเชีย" }, { "docid": "2008#3", "text": "การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทำให้ภาษาอังกฤษยืมคำมาจากภาษานอร์มันอย่างมาก และสัญนิยมคำศัพท์และการสะกดเริ่มให้ลักษณะความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มภาษาโรมานซ์[10][11] แก่ภาษาที่ต่อมากลายเป็นภาษาอังกฤษกลาง การเลื่อนสระครั้งใหญ่ (Great Vowel Shift) ซึ่งเริ่มขึ้นทางตอนใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการกำเนิดของภาษาอังกฤษใหม่จากภาษาอังกฤษกลาง", "title": "ภาษาอังกฤษ" }, { "docid": "3656#51", "text": "ประเทศอัฟกานิสถาน - ก่อตั้งโดยสนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกัน ค.ศ. 1919 จากสหราชอาณาจักร เป็นเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี 1919 ประเทศจีน - ในอดีตคือ จักรวรรดิชิง ประเทศภูฏาน - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ ประเทศอิหร่าน - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่ก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของอังกฤษและรัสเซีย ประเทศอิรัก - ก่อตั้งโดยสนธิสัญญาอังกฤษ-อิรัก (1930) จากสหราชอาณาจักรในปี 1930 เป็นเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี 1932 ประเทศญี่ปุ่น - เป็นประเทศมหาอำนาจ ประเทศเกาหลี - เป็นรัฐเอกราช แต่ถูกบุกยึดครองโดยญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) ประเทศมองโกเลีย - ประกาศเอกราชจากจีน ในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) ประเทศเนปาล - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ ประเทศไทย - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่ก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของอังกฤษและฝรั่งเศส ประเทศซาอุดิอาระเบีย - ก่อตั้งขึ้นในปี 1932 จากการรวมอาณาจักรและดินแดนต่างๆในพื้นที่ของประเทศในปัจจุบันและดินแดนที่ใกล้เคียงในระหว่างปี 1902 ถึง 1916 ประเทศตุรกี - สืบทอดจักรวรรดิออตโตมันในปี 1923", "title": "จักรวรรดินิยมในเอเชีย" }, { "docid": "664822#2", "text": "ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชาวยุโรปเริ่มแผ่ขยายลัทธิล่าอาณานิคมมายังดินแดนแหลมแอฟริกา แต่ผู้ปกครองชาวเดอร์วิชในสมัยนั้น สามารถต่อสู้และขับไล่ชาติตะวันตกออกไปได้ จนกระทั่งปี 2463 สหราชอาณาจักรทำสงครามรูปแบบใหม่โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดที่เมืองตาลีกซ์ ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของชาวเดอร์วิช ส่งผลให้ดินแดนเดอร์วิช ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร (บริติชโซมาลีแลนด์) และมีดินแดนบางส่วนตกอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี (อิตาเลียนโซมาลีแลนด์) ต่อมาในปี 2484 ดินแดนทางตอนเหนือของโซมาเลียตกอยู่ภายใต้การบริหารจัดการทางทหารของสหราช อาณาจักรส่วนดินแดนทางใต้มีสถานะเป็นดินแดนในอารักขา หลังจากนั้น สหราชอาณาจักรถอนกำลังออกจากบริเวณดังกล่าวในปี 2503 และยินยอมให้ดินแดนของตนรวมตัวกับดินแดนที่อยู่ภายใต้การดูแลของอิตาลี และจัดตั้งรัฐใหม่โดยใช้ชื่อว่า สาธารณรัฐโซมาลี", "title": "ประวัติศาสตร์โซมาเลีย" }, { "docid": "7294#2", "text": "ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชาวยุโรปเริ่มแผ่ขยายลัทธิล่าอาณานิคมมายังดินแดน Horn of Africa แต่ผู้ปกครองชาว Dervish ในสมัยนั้น สามารถต่อสู้และขับไล่ชาติตะวันตกออกไปได้ จนกระทั่งปี 2463 สหราชอาณาจักรทำสงครามรูปแบบใหม่โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดที่เมือง Taleex ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของชาว Dervish ส่งผลให้ดินแดน Dervish ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร (British Somaliland) และมีดินแดนบางส่วนตกอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี (Italian Somaliland) ต่อมาในปี 2484 ดินแดนทางตอนเหนือของโซมาเลียตกอยู่ภายใต้การบริหารจัดการทางทหารของสหราช อาณาจักรส่วนดินแดนทางใต้มีสถานะเป็นดินแดนในอารักขา หลังจากนั้น สหราชอาณาจักรถอนกำลังออกจากบริเวณดังกล่าวในปี 2503 และยินยอมให้ดินแดนของตนรวมตัวกับดินแดนที่อยู่ภายใต้การดูแลของอิตาลี และจัดตั้งรัฐใหม่โดยใช้ชื่อว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี ", "title": "ประเทศโซมาเลีย" }, { "docid": "148709#18", "text": "เยอรมันในฝรั่งเศสกำลังเผชิญหน้ากับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรสามกลุ่มที่แข็งแกร่ง: ในทางตอนเหนือ กองทัพกลุ่มที่ 21 ของอังกฤษภายใต้บัญชาการโดยจอมพล เซอร์.เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ในภาคกลาง กองทัพกลุ่มที่ 12 ของอเมริกัน, ภายใต้บัญชาการโดยนายพลโอมาร์ แบรดลีย์ และทางตอนใต้ กองทัพกลุ่มที่ 6 ของสหรัฐ ภายใต้บัญชาการโดยพลโทเจคอบ แอล. ดีเวอร์ เมื่อกลางเดือนกันยายน กองทัพกลุ่มที่ 6 ได้รุกจากทางตอนใต้เข้ามาติดต่อกับการก่อตัวของแบรดลีย์ในการรุกจากตะวันตกและควบคุมทั้งหมดของกองกำลังของดีเวอร์ ผ่านจาก AFHQ (กองบัญชาการกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร)ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อให้กองทัพกลุ่มทั้งสามอยู่ภายใต้กองบัญชาการกลางของไอเซนฮาวร์ที่ SHAEF (กองบัญชาการทหารสูงสุด, Allied Expeditionary Forces).", "title": "แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)" }, { "docid": "139054#11", "text": "นอร์มันเริ่มสร้างปราสาทที่เป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของนอร์มันในอิตาลีมาตั้งแต่ต้น วิลเลียมแขนเหล็ก (William Iron Arm) สร้างปราสาทหนึ่งในคาลาเบรียในปี ค.ศ. 1045 หลังจากการเสียชีวิตของโรเบิร์ต จิสคาร์ด (Robert Guiscard) ในปี ค.ศ. 1085 แล้วคาบสมุทรทางด้านใต้ของอิตาลีก็ประสบกับสงครามกลางเมือง และตกอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำที่อ่อนแอลงทุกที การก่อความไม่สงบเกิดขึ้นต่อเนื่องกันมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ขุนนางชั้นรองพยายามต่อต้านอำนาจของพระมหากษัตริย์จากปราสาทของตนเอง ในโมลิเซนอร์มันก็เริ่มโครงการก่อสร้างปราสาทที่ทั้งใหญ่และซับซ้อน และนำเทคนิคการก่อสร้างที่เรียกว่า “opus gallicum” มาใช้ในอิตาลี", "title": "สถาปัตยกรรมนอร์มัน" }, { "docid": "224275#4", "text": "ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้ ประวัติศาสตร์อังกฤษ ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส", "title": "นอร์มัน" } ]
3889
คโลนะเซแพม มีระยะเวลาการออกฤทธิ์นานเท่าไหร่?
[ { "docid": "815703#0", "text": "คโลนะเซแพม (Clonazepam) เป็นยากันชักและรักษาโรคตื่นตระหนก และความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า อาการนั่งไม่ติดที่ (akathisia)[3] เป็นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ใช้โดยการรับประทาน[3] มีผลภายในหนึ่ง ชม. และอยู่นาน 6-12 ชม.[2] ผลข้างเคียงสามัญของยารวมทั้งง่วงนอน ร่างกายทำงานไม่ประสาน และกระวนกระวาย ถ้าใช้ในระยะยาว อาจมีผลเป็นการชินยา (tolerance) การติด และอาการขาดยาถ้าหยุดกะทันหัน[3] การติดยาเกิดขึ้นกับคน 1/3 ที่ใช้ยานานกว่า 4 อาทิตย์[4] ยาอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสำหรับคนไข้ที่มีอาการซึมเศร้า[3] ถ้าใช้ในระหว่างมีครรภ์อาจมีอันตรายต่อทารก[3] เป็นสารที่เข้ายึดกับตัวรับ GABAA ในระบบประสาทกลาง และเพิ่มผลของสารสื่อประสาท GABA[4]", "title": "คโลนะเซแพม" } ]
[ { "docid": "815703#13", "text": "ผลระยะยาวของยาอาจรวมโรคซึมเศร้า[4] ความหุนหันพลันแล่น (disinhibition) และความผิดปกติทางเพศ (sexual dysfunction)[56]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#33", "text": "นอกจากนั้นแล้ว ยายังสามารถทำให้อารมณ์แย่ลงโดยอ้อมเพราะนอนได้แย่ลง (benzodiazepine-induced sleep disorder) คือเหมือนกับเหล้า ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน แม้สามารถช่วยให้นอน แต่ว่าก็กวนโครงสร้างของการนอนด้วย คือ ลดระยะเวลานอน ผัดผ่อนช่วงการนอนแบบ REM sleep และลดเวลาของช่วงที่หลับลึกที่สุด (Slow-wave sleep) ซึ่งเป็นช่วงที่ช่วยฟื้นสภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจมากที่สุด[92][93][94]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#4", "text": "ยังเป็นยาที่อนุมัติใช้รักษาการชักแบบ typical, atypical absences, infantile myoclonic, myoclonic, และ akinetic ด้วย[14] คนไข้โรคลมชักกลุ่มน้อยที่ดื้อการรักษาอาจได้ประโยชน์จากการใช้ยาในระยะยาว ยากลุ่มเดียวกัน คือ clorazepate อาจใช้เป็นตัวเลือกเพราะชินยาช้ากว่า[4]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#19", "text": "เนื่องจากโอกาสเสี่ยงต่อความชินยาและการชักเหตุขาดยา จึงไม่แนะนำให้ใช้คโลนะเซแพมสำหรับการจัดการโรคลมชักในระยะยาว การเพิ่มขนาดยาอาจแก้ความชินยาได้ แต่ว่าการชินยาขนาดสูงกว่าก็ยังเป็นไปได้และผลที่ไม่พึงประสงค์อาจรุนแรงขึ้น", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#29", "text": "ทั้ง Clonazepam และเมแทบอไลต์ 7-aminoclonazepam สามารถวัดได้ในน้ำเลือด (plasma) ซีรัม หรือเลือดทั้งหมด เพื่อสอดส่องการใช้ยาตามแพทย์สั่งในคนไข้ที่กำลังได้ยาเพื่อการรักษา ผลจากการตรวจสอบเช่นนี้สามารถใช้ยืนยันการวินิจฉัยสำหรับคนไข้ที่ได้รับพิษ หรือช่วยในการตรวจสอบทางนิติเวชถ้ามีคนตายเหตุได้ยาเกิน ทั้งตัวยาเองและ 7-aminoclonazepam ไม่เสถียรในของเหลวในร่างกาย และดังนั้น ตัวอย่างควรจะเก็บถนอมด้วยโซเดียมฟลูออไรด์ในอุณหภูมิต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้และวิเคราะห์ให้เร็วที่สุดเพื่อให้เสียน้อยที่สุด[75]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#21", "text": "การชินยาคโลนะเซแพมชัดกว่าการชิน chlordiazepoxide[64] แต่โดยทั่วไปแล้ว การรักษาโรคลมชักด้วยยาคโลนะเซแพมในระยะสั้นมีประสิทธิผลดีกว่าในระยะยาว[65] มีงานศึกษาเป็นจำนวนมากที่พบการชินผลต้านการชักของยาเมื่อใช้ในระยะยาว ดังนั้น ยาจึงมีประสิทธิผลจำกัดในระยะยาว[66]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#42", "text": "ยาลดระดับของยาคาร์บามาเซพีน[108][109] และโดยนัยเดียวกัน คาร์บามาเซพีนก็ลดระดับของคโลนะเซแพมด้วย ยาต้านเชื้อรากลุ่มเอโซล (Azole) เช่นคีโตโคนาโซล อาจยับยั้งเมแทบอลิซึมของคโลนะเซแพม[4] ยาอาจมีผลต่อระดับยา phenytoin[108][110][111][112] และโดยนัยตรงกันข้าม phenytoin ก็อาจลดระดับคโลนะเซแพมในน้ำเลือดโดยเพิ่มความเร็วการกำจัดยาโดย 50% และลดระยะครึ่งชีวิต 31%[113] คโลนะเซแพมจะเพิ่มระดับยา primidone[111] และ phenobarbital[114]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#38", "text": "ไม่แนะนำให้ใช้คโลนะเซแพมในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี การใช้ในเด็กเล็ก ๆ ยิ่งอันตรายเป็นพิเศษ ปัญหาทางพฤติกรรมเกิดขึ้นบ่อยที่สุดถ้าใช้ยากับ phenobarbital เพื่อต้านการชัก[101][103]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#49", "text": "ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ไม่ได้เปลี่ยนระดับสารสื่อประสาทแบบ GABA ในสมอง[119] คโลนะเซแพมนอกจากไม่มีผลต่อระดับสารสื่อประสาทแล้ว ยังไม่มีผลต่อเอนไซม์ GABA transaminase แต่ว่ามีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ glutamate decarboxylase ซึ่งเร่งปฏิกิริยากำจัดคาร์บอกซิล (carboxylation) จากกลูตาเมต แล้วมีผลเป็น GABA โดยเป็นยาที่ต่างจากยาแก้ชักอื่น ๆ ที่ศึกษาในงานหนึ่ง[120]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#16", "text": "ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน เช่น คโลนะเซแพมอาจมีประสิทธิผลสูงในการคุมภาวะชักต่อเนื่อง แต่เมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน อาจจะมีผลข้างเคียงหนัก เช่น ปัญหาทางการรู้คิดและพฤติกรรม[58] มีผู้ใช้ยาเป็นระยะยาวจำนวนมากที่เกิดติดยาในขนาดน้อย ดังที่แสดงในงานศึกษาควบคุมด้วยยาหลอกและอำพรางสองด้านของยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ขนาดน้อยเพื่อรักษาในคนไข้ 34 คน ส่วนผลการติดทางสรีรภาพแสดงในงานที่ศึกษาการหยุดยา flumazenil[59] การใช้สุราหรือยาระงับระบบประสาทกลางอื่น ๆ เมื่อกำลังใช้ยา จะเพิ่มทั้งผลและผลข้างเคียงของยาเป็นอย่างยิ่ง", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#48", "text": "โดยย่อ ๆ แล้ว ยาออกฤทธิ์โดยเข้ายึดกับจุดยึดของยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ที่ตัวรับ GABA ของเซลล์ประสาทเป้าหมาย ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อประสาทแบบ GABA และเพิ่มระดับไอออนของคลอไรด์ที่ไหลเข้าไปในเซลล์ โดยมีผลตามมาคือการยับยั้งการสื่อประสาทแบบทั่วระบบประสาทกลาง[117][118]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#32", "text": "การใช้ยาในระยะยาวอาจมีผลต่อสมองคล้ายกับเหล้า และเป็นเหตุของโรคซึมเศร้าเหมือนกันด้วย[85] และเหมือนกับเหล้า ผลของยาต่อระบบเคมีประสาท รวมทั้งการทำงานที่ลดลงของระบบเซโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน เชื่อว่าเป็นเหตุของความซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้น[86][87][88][89][90][91]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#20", "text": "ส่วนการชินยาอาจเกิดจากการขจัดภูมิไวของตัวรับ (receptor desensitisation), การลดจำนวนของตัวรับ (downregulation), receptor decoupling, และการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของส่วนย่อยและการเปลี่ยนรหัส gene transcription[4] การชินผลต้านการชักของคโลนะเซแพมพบทั้งในสัตว์และมนุษย์ ในมนุษย์ การชินผลเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้ง[62][63] การใช้ benzodiazepine ในระยะยาวสามารถทำให้ชินยาโดยลดที่ยึดของ benzodiazepine", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "837390#42", "text": "Benzodiazepines เป็นยาระงับประสาทที่ช่วยให้นอนหลับ ที่ใช้ในการรักษา GAD และโรควิตกกังวลอื่น ๆ ด้วย[37] โดยแพทย์จะให้ Benzodiazepine สำหรับ GAD เพราะแสดงผลดีในระยะสั้น ยาจากกลุ่มนี้ที่นิยมก็คือ alprazolam, lorazepam, และคโลนะเซแพม แต่ว่า คณะกรรมการโรควิตกกังวลโลก (World Council of Anxiety) ไม่แนะนำให้ใช้ยาในระยะยาวเพราะว่าสัมพันธ์กับการดื้อยา ความพิการทางการเคลื่อนไหว ปัญหาทางการรู้คิดและความจำ การติดยาทางกายภาพ และอาการขาดยาเมื่อหยุดยา (benzodiazepine withdrawal syndrome)[47][48] ผลข้างเคียงรวมทั้งง่วงนอน ร่างกายทำงานไม่ประสาน และปัญหาการทรงตัว (equilibrioception)", "title": "โรควิตกกังวลไปทั่ว" }, { "docid": "815703#44", "text": "มีหลักฐานทางการแพทย์บ้างว่า สภาพวิรูปหลายอย่าง เช่น ที่หัวใจหรือที่ใบหน้า เกิดกับทารกเมื่อใช้ยาในระยะตั้งครรภ์เบื้องต้น แต่ว่า หลักฐานยังไม่ชัดเจนจนสรุปได้ และหลักฐานว่ายากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน เช่น คโลนะเซแพมทำให้เกิดความพิการในช่วงพัฒนาการหรือทำให้ระดับเชาวน์ปัญญาลดลงสำหรับทารกที่มารดาใช้ยาเมื่อตั้งครรภ์ ก็ยังไม่สามารถสรุปได้เช่นกัน และเมื่อใช้ในช่วงปลายครรภ์ อาจมีผลเป็นอาการขาดยาแบบรุนแรงในทารกเกิดใหม่ รวมทั้งภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (hypotonia), การหยุดหายใจ (apnea), อาการเขียวคล้ำ (cyanosis) และการตอบสนองทางเมแทบอลิซึมที่พิการต่อความหนาว[115]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#36", "text": "ผู้สูงอายุสลายยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ได้ช้ากว่าบุคคลที่อายุน้อยกว่าและดังนั้น จึงไวต่อผลของยามากกว่า แม้ว่าจะยาอาจจะวัดได้ระดับเดียวกันในเลือด ขนาดยาที่แนะนำให้ผู้สูงอายุก็คือประมาณครึ่งหนึ่งของปกติและไม่ควรให้ยาวนานกว่า 2 อาทิตย์ ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ที่มีฤทธิ์ยาวนานเช่นคโลนะเซแพมโดยทั่วไปไม่แนะนำให้กับผู้สูงอายุเพราะเสี่ยงต่อการสะสมในร่าง[4] ผู้สูงอายุเสี่ยงอันตรายเป็นพิเศษเนื่องจากการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ และจากผลของการสะสมยาในร่าง", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#17", "text": "เหมือนกับยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ทั้งหมด คโลนะเซแพมมีศักยภาพเพิ่มการทำงานของตัวรับ GABA (โดยทำงานเป็น GABA positive allosteric modulator) ในระบบประสาท[60][61] คน 1 ใน 3 ที่รักษาด้วยยากลุ่มนี้มากกว่า 4 อาทิตย์จะเกิดการติดยาและมีอาการขาดยาเมื่อลดขนาดยา การใช้ยาขนาดสูงและเป็นระยะยาวเพิ่มโอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของการติดและอาการขาดยา", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#30", "text": "ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน เช่น อัลปราโซแลม, คโลนะเซแพม, ลอราเซแพม และ ไดอาเซแพม สามารถเป็นเหตุของทั้งอารมณ์ซึมเศร้าและอารมณ์ฟุ้งพล่าน[76]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#24", "text": "การใช้ยาเกินอาจมีผลเป็น", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#23", "text": "ยากันชักในกลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน โดยเฉพาะคโลนะเซแพมควรลดขนาดอย่างช้า ๆ และค่อย ๆ ลดเมื่อจะหยุดยาเพื่อบรรเทาอาการขาดยา[48] มีการลองใช้ยาคาร์บามาเซพีนแก้อาการขาดยาของคโลนะเซแพม แต่พบว่าไม่มีผลช่วยภาวะชักต่อเนื่องที่มากับอาการขาดยา[70]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#3", "text": "โดยเหมือนกับยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน อื่น ๆ คโลนะเซแพมเป็นการรักษาลำดับต้นสำหรับการชักเฉียบพลัน แม้ว่าจะไม่เหมาะกับการรักษาระยะยาวเนื่องจากความไม่ได้ผลเพราะชินยา เป็นยาที่มีประสิทธิผลต่อโรคลมชักในเด็ก และการระงับการชักสามารถเกิดขึ้นแม้มีระดับต่ำในเลือด[11] ดังนั้น ยาบางครั้งจึงใช้สำหรับโรคลมชักวัยเด็กที่ไม่สามัญบางประเภท แต่ว่า ยาไม่มีผลช่วยทารก[12] เป็นยาที่สั่งโดยหลักเพื่อจัดการโรคลมชักอย่างฉับพลัน แต่ก็พบว่ามีประสิทธิผลในการควบคุมภาวะชักต่อเนื่อง (status epilepticus) แบบ non-convulsive อย่างฉับพลัน แต่ว่า ประโยชน์มักจะชั่วคราวสำหรับคนจำนวนมาก และการเพิ่มยา phenytoin เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคนไข้เหล่านี้[13]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#6", "text": "โรควิตกกังวล เช่นโรคกลัวสังคม (social phobia)[15] โรคตื่นตระหนก[16] ประสิทธิผลของยาในการรักษาโรคตื่นตระหนกในระยะสั้นพบในงานทดลองทางคลินิกแบบมีกลุ่มควบคุม และมีงานระยะยาวที่แสดงประโยชน์ของยาจนถึง 3 ปีโดยไม่เกิดอาการชินยา แต่ว่าการทดลองเหล่านี้ไม่ได้ควบคุมด้วยยาหลอก ยายังมีประสิทธิผลในการจัดการอาการฟุ้งพล่านแบบฉับพลัน (acute mania) อีกด้วย[17]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#35", "text": "เหมือนกับอาการยาเป็นพิษหรือเมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน การขาดยา benzodiazepine ก็สามารถเป็นเหตุต่อโรคซึมเศร้าได้ด้วย[96][97][98] แม้ว่า ความซึมเศร้าเนื่องจากยา (benzodiazepine-induced depressive disorder) จะแย่ลงทันทีที่เลิกใช้ยา หลักฐานแสดงว่า อารมณ์จะดีขึ้นหลังจากช่วงขาดยา และดีกว่าในช่วงใช้ยาอย่างสำคัญ[78] โรคซึมเศร้าที่เกิดจากการขาดยาปกติจะหายภายใน 2-3 เดือนแต่ในบางกรณีอาจจะคงยืนนานถึง 6-12 เดือน[99][100]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#28", "text": "แม้ว่าการได้ยาคโลนะเซแพมเกินจะเป็นปัญหาไม่ล้อเล่น แต่ว่า ยังไม่ปรากฏว่ามีคนเสียชีวิตจากการได้ยาเกิน แอลดี 50 ของทั้งหนูและหนูหริ่งมากกว่า 2,000มก. ต่อ กก. ของน้ำหนักตัว[74]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#7", "text": "ยาสามารถใช้รักษากลุ่มอาการขาอยู่ไม่นิ่ง (Restless legs syndrome) เป็นลำดับสาม เนื่องจากยังอยู่ในช่วงทดสอบอยู่[18][19] ยามีผลต่อการนอนกัดฟัน (bruxism) ในระยะสั้นด้วย[20] ความผิดปกติทางพฤติกรรมช่วงหลับระยะตาเคลื่อนไหวเร็ว (rapid eye movement behavior disorder) ก็ตอบสนองดีต่อการใช้ยาในขนาดต่ำ[21] การรักษาอาการนั่งไม่ติดที่ (akathisia) แบบฉับพลันหรือแบบเรื้อรังที่เกิดจากยาระงับอาการทางจิต[22][23] ภาวะหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Spasticity) เนื่องจาก amyotrophic lateral sclerosis[24] อาการขาดเหล้า[25]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#47", "text": "อาการสามารถเกิดขึ้นระหว่าง 3 วัน ถึง 3 อาทิตย์หลังคลอดและอาจคงอยู่เป็นระยะเวลาหลายเดือน วิถีเมแทบอลิซึมของยามักจะพิการในทารกเกิดใหม่ ถ้าใช้ยาในช่วงมีครรภ์หรือเมื่อให้นม แนะนำว่า ควรจะสอดส่องระดับยาในซีรัมและเช็คว่ามีการระงับระบบประสาทกลางหรือการหยุดหายใจหรือไม่ ในกรณีความวิตกกังวลของหญิงมีครรภ์เป็นจำนวนมาก การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การบำบัดโดยผ่อนคลาย (relaxation therapy) จิตบำบัด และการหลีกเลี่ยงคาเฟอีน อาจเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิผลและปลอดภัยกว่าการใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน[116]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#56", "text": "งานศึกษาแผนกฉุกเฉินในโรงพยาบาลของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปี 2549 พบว่า ยาระงับประสาท-ยานอนหลับ (sedative-hypnotics) เป็นยาที่เป็นเหตุให้คนไข้ไปแผนกฉุกเฉินมากที่สุด โดยมียากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน เป็นเหตุส่วนใหญ่ และคโลนะเซแพมเป็นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน อันดับสองที่เป็นเหตุ แต่ว่า ควรจะสังเกตว่า สุราอย่างเดียวเป็นเหตุให้ไปเยี่ยมแผนกฉุกเฉินเป็นสองเท่าของผู้ที่ทานยาในงานศึกษานี้ งานศึกษาตรวจสอบจำนวนครั้งที่ยาใช้ไม่ใช่เพื่อการแพทย์เป็นเหตุให้ไปเยี่ยมแผนกฉุกเฉิน เกณฑ์ว่าเป็นการใช้ยาไม่ใช่เพื่อการแพทย์ในงานนี้จงใจทำให้กว้าง เช่น รวมการใช้ยาเสพติด การใช้ยาเกินโดยอุบัติเหตุหรือโดยตั้งใจ หรือผลที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาตามสั่ง[144]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#37", "text": "ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ยังต้องระวังเป็นพิเศษถ้าเป็นบุคคลที่อาจจะตั้งครรภ์ ติดเหล้า หรือติดยา หรือว่า มีความผิดปกติทางจิตเวชที่เกิดร่วมกันอื่น ๆ[101] โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้คโลนะเซแพมในผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับเนื่องจากมีฤทธิ์แรงเทียบกับยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน อื่น ๆ[102]", "title": "คโลนะเซแพม" }, { "docid": "815703#15", "text": "วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ สั่น อาจเพิ่มปัญหาโรคตื่นตะหนกเมื่อเลิกยา ชัก[57] คล้ายกับโรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา (delirium tremens) ถ้าใช้เกินขนาดเป็นระยะเวลานาน", "title": "คโลนะเซแพม" } ]
3890
ซามูไรหมายถึงอะไร?
[ { "docid": "54270#0", "text": "ซามูไร (侍) แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซามูไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง", "title": "ซามูไร" } ]
[ { "docid": "54270#103", "text": "ซามูไรที่ไม่มีความสัมพันธ์กับตระกูลหรือไดเมียว () คนใดเลย จะถูกเรียกว่า โรนิง () ในภาษาญี่ปุ่น โรนิง มีความหมายว่า “คนคลื่น” หรือผู้ที่มีอนาคตอยู่ที่การเร่ร่อนอย่างไร้จุดหมายไปตลอดกาลเหมือนกับคลื่นในทะเล คำๆ นี้หมายถึงซามูไรที่ไม่ได้รับใช้เจ้านายของเขาอีกแล้ว เนื่องจากเจ้านายของเขาถึงแก่กรรม หรือเป็นเพราะตัวซามูไรเองถูกเนรเทศออกจากกลุ่ม หรืออาจจะเป็นเพราะซามูไรผู้นั้นเลือกที่จะเป็นโรนิงเองก็ได้", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "205316#0", "text": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ หรือ ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ () เป็นภาพยนตร์แนวขบวนการนักสู้ลำดับที่ 33 ของประเทศญี่ปุ่น เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 จนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00 น. ในช่วงซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ โดยออกอากาศทั้งหมด 49 ตอน , ตอนพิเศษทางโรงภาพยนตร์อีก 3 ตอน คือ ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ ฉบับจอเงิน[1] , ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ VS โกออนเจอร์ ฉบับจอเงิน BANG![2][3] ฉายวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2010 และ เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ VS ชินเคนเจอร์ เอพพิค ON จอเงิน ตอนพิเศษทางโอวีเอ อีก1ตอน คือ คาเอรุเทคิตะ ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ โทคุเบทสึบาคุ (การกลับมาของซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ ฉบับพิเศษ)ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2010 และ รับเชิญในมาสค์ไรเดอร์ดีเคด ในตอนที่24 และ 25", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "54270#122", "text": "เดอะ ลาสท์ ซามูไร (มหาบุรุษซามูไร) เป็นภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งการสิ้นสลายของชนชั้นซามูไรในญี่ปุ่น เนื้อเรื่องเป็นการผสมรวมระหว่างประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงและเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้น ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 และได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากผู้ชมในแถบทวีปอเมริกาเหนือ โครงเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้มีพื้นฐานที่แตะมาจากเหตุการณ์กบฏซะสึมะ ในปี พ.ศ. 2420 โดยการนำของไซโง ทะคะโมะริ และเรื่องราวของร้อยเอกจูล์ส บรูเนต์ (Jules Brunet) ทหารชาวฝรั่งเศสที่ไปร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับเอะโนะโมะโตะ ทะเกะอะกิ ในสงครามโบะชิง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตและกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการทำสงครามของซามูไร โดยมีสื่อกลางคือผู้กองนาธาน อัลเกร็น (แสดงโดยทอม ครูซ) ทหารชาวอเมริกันที่ถูกกลุ่มซามูไรกลุ่มสุดท้ายในญี่ปุ่นจับตัวไปเป็นเชลย โกสท์ ด็อก: เดอะ เวย์ ออฟ เดอะ ซามูไร (โกสต์ด็อก ดับนรกเส้นทางซามูไร) เป็นเรื่องราวของนักฆ่าผิวดำในสังคมอเมริการ่วมสมัย ผู้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำราฮางากุเระ (ตำราญี่ปุ่นว่าด้วยหลักปฏิบัติของซามูไร) นำแสดงโดยฟอเรสท์ วิทเทคเกอร์ เพลงประกอบภาพยนตร์ในเรื่องนี้เป็นเพลงแนวฮิพฮ็อพที่ทันสมัย สร้างอารมณ์ที่ขัดแย้งกับความเก่าแก่ของตำราฮางากุเระซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเรื่องนี้ได้อย่างมาก คิลบิล (นางฟ้าซามูไร) ของผู้กำกับเคว็นติน ทาแรนติโน ก็เป็นภาพยนตร์ฮอลีวูดอีกเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับซามูไร โดยเฉพาะในด้านของอาวุธที่ซามูไรใช้ ภาพยนตร์เรื่องนี้เรียกได้ว่าเป็นตัวแทนที่ออกมายกย่องเกียรติศักดิ์ของดาบคะตะนะเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ตัวภาพยนตร์เองก็ไม่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวของซามูไรจริง ๆ มากเท่าที่ควร แรงบันดาลใจเบื้องต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้จะมาจากอนิเมะหรือการ์ตูนญี่ปุ่นมากกว่า เช่นกันกับเรื่อง ซามูไร แวมไพร์ ไบเกอรส์ ฟรอม เฮล ภาพยนตร์แนวคัลท์ต้นทุนต่ำที่เนื้อเรื่องมีการบิดเบือนวัฒนธรรมแท้จริงของซามูไร ทางผู้สร้างได้พยายามทำให้ตัวละครหลักของเรื่องมีภาพของความเป็นทายาทในตระกูลซามูไรอย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวภาพยนตร์ที่แท้จริงกลับไปเหมือนเนื้อเรื่องในการ์ตูนญี่ปุ่นหรือในหนังสือการ์ตูนช่วงปลายยุคคริสต์ศตวรรษที่ 12 มากกว่า", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "748405#1", "text": "คำว่า \"ซาชิมิ\" หมายถึง \"ร่างกายที่ถูกเจาะ\" กล่าวคือ 刺身 = \"ซาชิมิ\" ซึ่ง 刺し = \"ซาชิ\" (เจาะ, ทิ่มแทง) และ 身 = \"มิ\" (ร่างกาย เนื้อสัตว์) คำนี้มีใช้ตั้งแต่ยุคมูโรมาจิ และเป็นไปได้ว่าได้รับการบัญญัติขึ้นเมื่อคำว่า 切る = คิรุ (ตัด) ซึ่งเป็นขั้นตอนการทำอาหารถูกมองว่าอัปมงคลเกินไปสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่ซามูไร คำนี้อาจแผลงมาจากการฝึกแทงหางและครีบปลาให้เป็นแผ่นบาง ๆ ในการระบุชนิดของปลาที่กำลังกิน", "title": "ซาชิมิ" }, { "docid": "54270#110", "text": "(): มีความหมายในทำนองว่า “สุภาพบุรุษ” คำๆ นี้ถูกใช้สำหรับซามูไรอย่างเช่นในคำว่า บุชิ () ซึ่งแปลว่า นักรบ หรือ ซามูไร เป็นต้น", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#72", "text": "ซามูไรสามารถหย่าขาดจากภรรยาของเขาได้ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง แต่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มีตำแหน่งสูงกว่าก่อน ซึ่งในความเป็นจริงการหย่าของซามูไรเกิดขึ้นมาน้อยมาก เหตุผลในการหย่าอาจจะเป็นเพราะว่า ภรรยาของเขาไม่สามารถให้บุตรชายแก่เขาได้ แต่วิธีการรับเด็กชายมาเลี้ยงก็สามารถใช้เป็นแนวทางแทนการหย่าได้เช่นกัน ซามูไรสามารถหย่าโดยใช้เหตุผลส่วนตัวที่ว่าเขาไม่ชอบภรรยาของเขาได้ แต่โดยทั่วไปเหตุผลนี้มักจะไม่ยกมาอ้างกัน เพราะมันจะสร้างความอับอายให้แก่ซามูไรระดับสูงที่จัดการแต่งงานให้ได้ แต่แม้ว่าโดยทั่วไปผู้ที่เป็นฝ่ายหย่าก่อนจะเป็นฝ่ายของซามูไร ฝ่ายหญิงก็สามารถเป็นฝ่ายที่เริ่มการหย่าก่อนได้เหมือนกัน หลังจากการหย่าแล้ว ฝ่ายซามูไรจะได้รับเงินค่าสินสอด ซึ่งมีไว้ป้องกันการหย่า กลับคืนมา", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "229946#5", "text": "เนื้อเรื่องมีฉากในเมืองเอะโดะ (คือโตเกียวในปัจจุบัน เอะโดะเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียวในปี พ.ศ. 2405) ประเทศญี่ปุ่น ในยุคเอโดะ ยุคที่มนุษย์ต่างดาวที่เรียกกันว่า \"ชาวสวรรค์\" () ได้มาตั้งรกรากบนโลกมนุษย์ ชาวสวรรค์ได้ออกคำสั่งริบยศถาบรรดาศักดิ์และยึดดาบของซามูไรไป ทำให้ยุครุ่งเรืองของซามูไรได้จบสิ้นลง ชาวสวรรค์ได้มีอำนาจเหนือเอโดะมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีคนหนึ่งที่ยังยึดมั่นในจิตวิญญาณของซามูไร เขาชื่อ ซากาตะ กินโทกิ เคยเป็นนักรบซามูไรต่อต้านชาวสวรรค์ ปัจจุบันเปิด\"ร้านรับจ้างสารพัด\" () มีผู้ช่วยคือ ชิมูระ ชินปาจิ หนุ่มแว่นที่ทำงานเพื่อเรียนรู้จิตวิญญาณของซามูไร และคางุระ เด็กหญิงชาวสวรรค์เผ่ายาโตะ ทั้งสามทำงานรับจ้างเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเช่าบ้านและเลี้ยงชีวิตในยุคมืดของซามูไร", "title": "กินทามะ" }, { "docid": "240951#1", "text": "ซากาตะ กินโทกิ เป็นอดีตซามูไรที่มีชีวิตอยู่ในยุคมืดของซามูไร ปัจจุบันเป็นเจ้าของร้านรับจ้างสารพัด ณ ย่านคาบุกิโจ เมืองเอโดะ โดยเช่าชั้นสองของร้านโอโทเซะสแน็กเปิดเป็นร้านรับจ้างสารพัด ในอดีตเคยเป็นซามูไรขับไล่ต่างแดน คือ ซามูไรที่ต่อสู้เพื่อขับไล่ชาวสวรรค์หรือมนุษย์ต่างดาวที่พยายามกดดันเอโดะให้เปิดประเทศ โดยตัวเขาเป็นที่รู้จักในหมู่ซามูไรว่าเป็นชิโรยาฉะ (มีความหมายว่า \"ปิศาจขาว\") หลังจากสงครามต่อต้านชาวสวรรค์ไม่ประสบความสำเร็จ กินโทกิจึงรู้ว่าไม่สามารถปกป้องเพื่อนพ้องได้ จึงวางมือจากการเป็นซามูไร แล้วมาเปิดร้านรับจ้างสารพัดแทน", "title": "ซากาตะ กินโทกิ" }, { "docid": "54270#134", "text": "ข้อมูลเกี่ยวกับซามูไรในคอลัมน์ \"รู้ไปโม้ด\" โดยน้าชาติ ประชาชื่น เว็บไซต์เกี่ยวกับนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ทางด้านซามูไร ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ซามูไร", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#116", "text": "เดอะ เซเว็น ซามูไร (เจ็ดเซียนซามูไร)]] เรื่องของหมู่บ้านเกษตรกรรมหมู่บ้านหนึ่งที่ได้ว่าจ้างซามูไรพเนจรกลุ่มหนึ่งเพื่อมาปกป้องพวกตนจากโจรป่า โยจิมโบ หนังที่เล่าเรื่องราวของอดีตซามูไรคนหนึ่งที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามระหว่างกลุ่มอิทธิพลสองกลุ่มที่อยู่ในเมืองเดียวกัน ด้วยการเข้าไปทำงานรับใช้ทั้งสองฝ่าย เดอะ ฮิดเด็น ฟอร์เทรซ ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับชาวนาผู้โง่เขลาสองคนที่เข้าไปช่วยนายพลผู้เป็นตำนานคนหนึ่งในการอารักขาเจ้าหญิง", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#99", "text": "คำว่า บุชิ หรือ บูชิ ( อ่านแบบญี่ปุ่นจะออกว่า บุ๊ฉิ แปลตามตัวอักษรว่า \"นักรบ\" หรือ \"ทหาร\") ปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า โชกุ นิฮงงิ () (พ.ศ. 1340) คำว่า “บึชิ” มีรากฐานมาจากภาษาจีน ต่อมาได้ถูกนำมาเพิ่มไว้ในภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมสำหรับคำว่า นักรบ: สึวะโมะโนะ และ โมะโนะโนะฟุ คำว่า \"บุชิ\" และคำว่า \"ซามูไร” ได้กลายมาเป็นความหมายเดียวกันในช่วงใกล้จะสิ้นสุดศตวรรษที่ 12", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#84", "text": "อาวุธที่ซามูไรใช้มีอยู่หลายชนิด แต่ดาบคะตะนะก็ไม่ได้เป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดของซามูไร เพราะว่าซามูไรไม่สามารถนำคะตะนะติดตัวเข้าไปในบางสถานที่ได้ วะกิซะชิ คือ อาวุธติดตัวซามูไรที่สำคัญที่สุด หลักบูชิโดได้สอนว่าจิตวิญญาณของซามูไรก็คือคะตะนะของพวกเขาแต่ละคน และบางครั้งซามูไรก็ถูกจินตนาการให้ต้องพึ่งพาคะตะนะเพื่อการต่อสู้ด้วย แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับหน้าไม้ของยุโรป หรือดาบของอัศวินที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นแค่เครื่องมือในการต่อสู้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ดาบคะตะนะมักจะไม่ถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในสมรภูมิกัน จนกระทั่งยุคคะมะกุระ ตัวดาบคะตะนะเองก็ยังไม่ได้เป็นอาวุธหลักจนกระทั่งเกิดยุคเอโดะขึ้นมา", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#13", "text": "หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว กลุ่มซามูไรผู้ทรงอำนาจก็กลายเป็นนักรบชนชั้นนำ (บุเกะ) ผู้ซึ่งมีเพียงชื่อเท่านั้นที่ดำรงอยู่ภายใต้สำนักกลุ่มผู้ปกครองชนชั้นสูง หรือราชสำนัก เมื่อซามูไรเริ่มเข้าไปเป็นเจ้าของเครื่องจรรโลงใจต่างๆ ของกลุ่มชนชั้นสูง อย่างศิลปะลายมือ บทกวี และเพลง ในทางกลับกัน สำนักผู้ปกครองชนชั้นสูงบางสำนักก็เข้าไปเป็นเจ้าของธรรมเนียมต่างๆ ของซามูไรบ้าง แต่ถึงแม้ว่าจักรพรรดิหลายๆ พระองค์จะสร้างแผนการอันชั่วร้ายและกฎระยะสั้นต่างๆ ออกมาเพื่อลดบทบาทของกลุ่มซามูไร อำนาจที่แท้จริงในขณะนั้นก็ยังอยู่ในกำมือของโชกุนและซามูไรอยู่ดี", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#68", "text": "การแต่งงานของซามูไรจะถูกจัดขึ้นมาโดยผู้ที่แต่งงานแล้วและมียศศักดิ์เท่ากับหรือเหนือว่าซามูไรผู้เป็นเจ้าบ่าวเท่านั้น (นี่เป็นพิธีสำคัญสำหรับซามูไรที่มียศศักดิ์ต่ำกว่า และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับซามูไรที่มียศศักดิ์สูงกว่า) ซามูไรส่วนมากมักจะแต่งงานกับผู้หญิงที่มาจากตระกูลซามูไรเหมือนกัน แต่สำหรับซามูไรที่มียศต่ำลงมา การแต่งงานกับหญิงสามัญชนถือเป็นเรื่องที่อนุโลมได้ ส่วนเรื่องของสินสมรส (สินเดิม) ฝ่ายเจ้าสาวจะเป็นผู้ที่นำมาให้เอง เพื่อใช้เริ่มต้นชีวิตใหม่ของพวกเขา", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#61", "text": "ชุโด () คือ ประเพณีแห่งสายใยรักที่เกิดขึ้นระหว่างซามูไรผู้แก่กล้าวิชากับซามูไรที่ยังไร้ประสบการณ์ ที่เปรียบได้ดัง “ดอกไม้แห่งจิตวิญญาณของซามูไร” ที่ได้ก่อร่างสร้างพื้นฐานที่แท้จริงของลัทธิความงามของผู้ที่เป็นซามูไรขึ้นมา ประเพณีนี้มีความคล้ายคลึงกับประเพณีของกรีกโบราณที่ชายวัยผู้ใหญ่มักจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กผู้ชาย", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#18", "text": "พายุฝนในปี พ.ศ. 1817 (ค.ศ. 1274) และพายุไต้ฝุ่นในปี พ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281) ช่วยให้กองกำลังซามูไรที่ทำหน้าที่ปกป้องญี่ปุ่นไล่ผู้บุกรุกชาวมองโกลกลับไปได้ แม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะมีกำลังพลที่มากกว่าอย่างมากก็ตาม ลมพายุทั้งสองนี้ได้กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อ คะมิ-โนะ-คะเซะ (หรือเรียกอย่างสั้นว่า \"คะมิกะเซะ\") ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า ลมแห่งเทพเจ้า หรือที่แปลกันอย่างง่ายว่า ลมพระเจ้า ไต้ฝุ่นคะมิกะเซะได้สร้างความเชื่อให้แก่ชาวญี่ปุ่นว่าแผ่นดินต่างๆ ของพวกเขาอยู่ภายใต้การปกป้องของเทพเจ้าและสิ่งเหนือธรรมชาติ", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "17806#4", "text": "ในญี่ปุ่นนั้นก็เหมือนกับในที่อื่นๆ ทั่วโลก ที่มีความนิยมมาช้านานที่จะมีการเล่นดนตรีในช่วงอาหารค่ำ หรืองานปาร์ตี้ โดยปกติ ธรรมเนียมดังกล่าวปรากฏในปกรณัมญี่ปุ่นสมัยแรกสุด นับเป็นเวลานานมาแล้ว ที่การร้องและการเต้นรำถือเป็นหนึ่งในความบันเทิงของผู้ใหญ่ในพื้นที่ชนบท มีการเล่นละครโน ในปาร์ตี้น้ำชา โดยเชิญแขกให้มาร่วมชมและร้องชมเชยการแสดง การร้องเพลงและเต้นรำยังเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหมู่ซามูไรด้วย ทั้งนี้คาดว่าซามูไรทุกคนจะสามารถเต้นรำหรือร้องเพลงได้ ในสมัยไทโชของญี่ปุ่น ร้านอุตะโคะเอะ คิซซา (หมายถึง ร้านกาแฟร้องเพลง) เริ่มเป็นที่นิยมและลูกค้าจะร้องไปกับวงดนตรีที่บรรเลงกันสดๆ", "title": "คาราโอเกะ" }, { "docid": "54270#96", "text": "คำว่า ซามูไร ซึ่งถูกเขียนด้วยอักษรจีน (หรือคันจิ) มีความหมายที่แท้จริงว่า “ผู้ที่ให้การรับใช้อย่างใกล้ชิดแก่เหล่าขุนนาง หรือผู้ที่มีตำแหน่งสูง” ในช่วงก่อนยุคเฮอัง ชาวญี่ปุ่นเรียกคำนี้ว่า ซะบุระปิ ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า ซะบุไร จนกระทั่งยุคเอโดะ ถึงจะเรียกว่า ซามูไร เหมือนในปัจจุบัน", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "39734#14", "text": "\"โอซากะ\" หมายถึง เนินเขาใหญ่ ในสมัยก่อน โอซากะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ \"นานิวะ\" และไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเปลี่ยนเป็นโอซากะตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหลักฐานพบการเรียกชื่อเมืองว่าโอซากะจากข้อความที่ปรากฏในหนังสือ ปี ค.ศ. 1496 ในสมัยก่อน โอซากะ เขียนเป็นคันจิว่า 大坂 แต่คันจิตัวหลังมักอ่านผิดเป็น 士反 ซึ่งมีความหมายว่า \"กบฏซามูไร\" เป็นความหมายที่ไม่ค่อยจะดีนัก ในสมัยปฏิรูปเมจิ ปี ค.ศ. 1870 จึงได้มีการเปลี่ยนคันจิของโอซากะใหม่เป็น 大阪 และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน และคันจิตัวหลัง คือ 阪 (อ่านออกเสียงแบบองโยมิว่า \"ฮัน\") ก็ใช้กันอย่างกว้างขวางว่ามีความหมายถึงนครโอซากะ และจังหวัดโอซากะเท่านั้น ", "title": "โอซากะ" }, { "docid": "62246#5", "text": "ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 1817 ชาวมองโกลของกุบไลข่านบุกญี่ปุ่นที่อ่าวฮากาตะ ด้วยกองทัพเรือ 800 ลำ และกำลังพลสามหมื่นนาย เหล่าซามูไรต้องการจะสู้กันตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทเยี่ยงสุภาพบุรุษกับนักรบระดับผู้นำ แต่ไม่ได้ผล พวกซามูไรต้องปะทะสู้ที่ชายหาดกับฝูงธนูอาบยาพิษและระเบิด เป็นสงครามที่ไม่มีระเบียบและตกเป็นรอง พายุไต้ฝุ่นช่วยทำลายกองเรือของชาวมองโกลจนหมดสิ้น การรบครั้งแรกเหมือนการหยั่งเชิงของชาวมองโกลเพื่อดูกำลังของศัตรู อีกเจ็ดปีต่อมาพวกมองโกลกลับมาอีกครั้งด้วยกองเรือ 4,000 ลำ พร้อมกองทหารอีกสองแสน พวกซามูไรรบพุ่งกับลูกธนูอย่างกล้าหาญ พวกเขาตัดเรื่องมารยาททิ้งไป ตกกลางคืนเหล่าซามูไรพายเรือลอบเข้าโจมตีพวกมองโกลประชิดตัวด้วยการใช้ดาบที่ช่ำชอง ดาบทหารมองโกลไม่มีทางสู้ดาบซามูไรได้เลย ระหว่างสงครามพายุไต้ฝุ่นก็ทำลายกองเรือของมองโกลอีกครั้ง กองเรือสองในสามจมไปกับทะเลพายุ ทหารมองโกลจมน้ำตายนับหมื่น พวกที่ว่ายน้ำเข้าฝั่งก็ตายด้วยคมดาบอย่างหมดทางสู้ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเมืองนี้ถูกปกป้องจากพระเจ้า และตั้งชื่อลมพายุนี้ว่า \"คามิกาเซะ\" (Kami-Kaze) หมายถึงลมศักดิ์สิทธิ์ หรือลมผู้หยั่งรู้ หลังจากนั้นพวกมองโกลก็ไม่ได้กลับมาตีญี่ปุ่นอีกเลย", "title": "คาตานะ" }, { "docid": "54270#129", "text": "ขณะที่ซามูไรกำลังมีชีวิตโลดแล่นอยู่ในการ์ตูนเรื่องต่างๆ ของญี่ปุ่น หนังสือการ์ตูนสัญชาติอเมริกันหลายๆ เรื่องก็ได้หยิบเอาลักษณะเฉพาะของซามูไรไปปรับแต่งใหม่ให้เข้ากับตัวละครของพวกเขาเองเช่นเดียวกัน ที่เห็นได้ชัดก็คือ วูล์ฟเวอรีน หนึ่งในยอดมนุษย์แห่งมาร์เวล ยูนิเวอร์ส ที่ปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 80 ก็มีความพยายามที่จะใช้อุดมการณ์และฐานคติของซามูไรเกี่ยวกับวิธีการในการควบคุมความอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในของเขา นอกจากนั้น ลักษณะของโรนิง หรือซามูไรที่ไร้เจ้านาย ก็ยังถูกนำไปใช้เป็นตัวละครของการ์ตูนอเมริกาบางเรื่องด้วย เช่นเรื่อง โรนิน ของแฟรงค์ มิลเลอร์ และ อุซะงิ โยจิมโบ ของสแตน ซาไก", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "420408#0", "text": "บูชิโด (, หมายถึง \"วิถีนักรบ\") เป็นคำภาษาญี่ปุ่นใช้อธิบายจรรยาบรรณแบบญี่ปุ่นและวิถีชีวิตซามูไร ซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับมโนทัศน์วีรคติของยุโรปอยู่บ้าง บูชิโดถือกำเนิดขึ้นจากประมวลศีลธรรมซามูไร และเน้นความมัธยัสถ์ ความภักดี ความชำนาญในศิลปะป้องกันตัว และรักษาไว้ซึ่งเกียรติกระทั่งตาย (honor unto death) บูชิโดเกิดจากลัทธิขงจื๊อใหม่ระหว่างช่วงสันติภาพแห่งรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ และตามตำราลัทธิขงจื๊อ บูชิโดยังได้รับอิทธิพลจากศาสนาชินโตและศาสนาพุทธ ซึ่งเปิดให้การดำรงอยู่ของซามูไรให้เติมด้วยปัญญาและความสงบเยือกเย็น บูชิโดพัฒนาขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 12 และเอกสารแปลหลายฉบับในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 แสดงอิทธิพลของบูชิโดที่มีอย่างกว้างขวางทั่วญี่ปุ่น แม้นักวิชาการบางคนได้แสดงความเห็นว่า \"คำว่า บูชิโด ด้วยตัวมันเองนั้นมีอยู่น้อยมากในวรรณกรรมก่อนสมัยใหม่\" ", "title": "บูชิโด" }, { "docid": "54270#39", "text": "ตามหลักการแล้ว พันธะที่เกิดขึ้นระหว่างซามูไรกับเจ้านายของพวกเขา (ส่วนใหญ่ก็คือไดเมียว) มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจากสมัยเก็มเปสู่สมัยเอโดะ ในช่วงนี้ ซามูไรจะให้ความสำคัญต่อคำสอนของปราชญ์ขงจื๊อและเม่งจื๊ออย่างมาก ตำราของปราชญ์ทั้งสองเป็นที่ต้องการของชนชั้นซามูไรที่มีการศึกษา", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#120", "text": "แต่อย่างไรก็ตาม ฐานคติเกี่ยวกับซามูไรที่สื่อออกมาผ่านภาพยนตร์ ในฐานะที่มีความแตกต่างกับอัศวินของยุโรป ได้นำไปสู่ช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างนักรบหรือวีรบุรุษของญี่ปุ่นกับของส่วนอื่นๆ ในโลก เนื่องจากซามูไรนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสูงหรือมีกล้ามเป็นมัดเพื่อให้ดูแข็งแรง พวกเขาสามารถที่จะเป็นซามูไรทั้งที่มีความสูงเพียง 150 เซนติเมตร หรืออ่อนแอ หรือว่าพิการก็ได้ เรื่องของขนาดและพลังจึงไม่ใช่ปัจจัยทางด้านความงามที่ยั่วยวนใจชาวญี่ปุ่นเท่าไรนัก ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดสามารถพบได้ในเรื่อง ซาโตอิจิ (ไอ้บอดซามูไร) ซามูไรตาบอดผู้มีฝีมือ ซึ่งถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์และภาพยนตร์ทางจอเงินอยู่หลายตอน", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#133", "text": "นอกจากเกมต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังมีเกมอย่าง ทากาดะ ชิงเง็ง, เซ็งโงกุ มูโซว, เบรฟว์ เฟ็นเซอร์ มูซาชิ, โอนิมูชา, เวย์ ออฟ เดอะ ซามูไร, เก็นจิ และ เซเว็น ซามูไร 20XX HAKUOUKIที่มีซามูไรเป็นตัวเอกเช่นกัน", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#101", "text": "เมื่อมาถึงตอนต้นยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะยุคอะซุชิโมะโมะยะมะและต้นยุคเอโดะ เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความหมายของคำว่า ซามูไร (ซึ่งนำมาใช้แทนคำว่า ซะบุไร ในตอนนั้น) ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#114", "text": "ละครชุดทางโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับซามูไรอีกเรื่องหนึ่งคือ อะบะเร็มโบะ โชงุง ละครเรื่องนี้ประกอบไปด้วยตัวละครที่เป็นซามูไรทุกระดับชั้นไล่ตั้งแต่โชกุนลงมาถึงซามูไรระดับล่างที่สุด รวมไปถึงโรนิง ที่ถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของเรื่องนี้ด้วย", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "52331#0", "text": "โรนิน () คือชื่อเรียกของซามูไร ที่ไร้สังกัดในช่วงสมัยการปกครองระบบขุนนางของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 1728 – พ.ศ. 2411) เหตุที่ทำให้ซามูไรเหล่านี้กลายเป็นโรนิง มาจากการที่เจ้านายของพวกเขาล่มสลาย หรือสูญเสียความนิยมหรือสิทธิพิเศษไป เมื่อซามูไรไร้ผู้ที่เป็นเจ้านายของตนแล้ว เขาก็จะมิใช่ซามูไรอีกต่อไป เพราะคำว่า ซามูไร มีที่มาจากคำกริยาที่ว่า \"\"ซาบุเรา\"\" ซึ่งแปลว่า \"รับใช้\" ความหมายของซามูไรจึงแปลว่า \"ผู้รับใช้\" เมื่อไม่มีเจ้านาย พวกเขาก็ไม่ใช่ผู้รับใช้อีก", "title": "โรนิง" }, { "docid": "4575#1", "text": "บาโช เกิดในอิงะ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิเอะ ในตระกูลซามูไร ภายหลังจากการใช้ชีวิตหลายปีภายใต้วิถีชีวิตซามูไร เข้าได้ค้นพบว่าการเป็นนักประพันธ์นั้นเหมาะกับเขามากกว่า เขาจึงได้ละทิ้งวิถีชีวิตซามูไร บาโชได้เริ่มใช้ชีวิตแบบกวีเมื่อได้รับใช้เจ้านายในฐานะซามูไร ในตอนแรกเขาได้ตั้งชื่อตนเองว่า \"โทเซ\" (桃青 \"Tosei\") ตามบทกวีโทเซ ซึ่งหมายถึงผลพีชเล็ก ๆ ด้วยบาโชมีความยกย่องนับถือในตัวกวีจีนชื่อหลี่ไป๋ (李白 Lǐ Bái) ซึ่งหมายถึงลูกพลัมสีขาว", "title": "มัตสึโอะ บาโช" } ]
3892
บริษัทซัมซุงตั้งอยู่ประเทศอะไร ?
[ { "docid": "107581#0", "text": "ซัมซุง หรือ ซัมซอง (อังกฤษ: Samsung ; เกาหลี: 삼성, ฮันจา: 三星, MC: Samseong, MR: Samsŏng, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล, ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมาก และธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แบรนด์ซัมซุง และเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้", "title": "ซัมซุง" } ]
[ { "docid": "137039#1", "text": "อี ได้ก่อตั้งบริษัทการค้าซัมซุงขึ้นในปี พ.ศ. 2481 ในเมืองแทกู หลังจากนั้นก็ได้ก่อตั้งบรัษัทซัมซุงโปรดักส์ บริษัทสิ่งทอ และ บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดระยะเวลาที่เค้าได้ทำคุณประโยชน์นานัปการให้กับประเทศเกาหลีใต้ เขาจึงกลายเป็นต้นแบบทีมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อแวดวงธุรกิจในยุคสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2504 เขาได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมนักธุรกิจ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เขาได้ก่อตั้งมูลนิธิวัฒนธรรมซัมซุงขึ้น ด้วยแนวคิดที่ต้องการจะอนุรักษ์และรับผิดชอบต่อสังคม", "title": "อี บย็อง-ช็อล" }, { "docid": "443734#5", "text": "บริษัทเช่น ฮุนไดมอเตอร์ ซัมซุงแอลซีดี และซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์มีโรงงานอยู่ที่เมืองอาซัน และมีนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 14 แห่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานประกอบรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และโรงงานอื่น ๆ", "title": "อาซัน" }, { "docid": "736336#0", "text": "ซัมซุง เอสจีเอช-ที409เป็นโทรศัพท์ประเภทฝาพับ นำเสนอโดย T-Mobile (สหรัฐอเมริกา) ในปี 2550 ที่ผลิตบริษัทซัมซุง", "title": "ซัมซุง เอสจีเอช-ที409" }, { "docid": "478165#37", "text": "ซัมซุงคาดว่า ปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 เอส 3 จะถูกวางขายบน 296 ผู้ให้บริการเครือข่ายใน 145 ประเทศ[4] และมากกว่า 10 ล้านที่ถูกขายไปแล้ว[129] ชิน จอง-กยุน ประธานแผนกการสื่อสารของซัมซุง ได้ยืนยันว่าในวันที่ 22 กรกฎาคม เอส 3 ถูกขายไปแล้ว 10ล้านเครื่อง[130] ตามการประเมินโดย ยูบีเอส (UBS) บริษัททางการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ ซัมซุงวางขายเอส 3 จำนวน 5–6ล้านเครื่อง ในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2555 และ 10–12ล้านเครื่อง ต่อไตรมาส ในช่วงเวลาที่เหลือของปี และยิ่งกว่านั้น บีเอ็นพี ปารีบาส (BNP Paribas) บริษัททางการเงินในปารีส กล่าวว่าเอส 3 นั้นจะถูกขาย 15ล้านเครื่องในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2555[131] ส่วน โนมุระ (Nomura) บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินในประเทศญี่ปุ่น คิดว่าน่าจะถูกวางขายมากถึง 18ล้านเครื่อง[132] และเอส 3 จะถูกขาย 40ล้านเครื่องภายในสิ้นปี[133] เพื่อความต้องการสูง ซัมซุงจำเป็นที่ต้องจ้างพนักงาน 75,000 คน และโรงงานในประเทศเกาหลีใต้นั้นสามารถผลิตได้สูงสุด 5ล้านเครื่องต่อเดือน[119][134]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "740397#0", "text": "ซัมซุง กาแลคซี อี5 เป็นสมาร์ตโฟนประเภทแอนดรอยด์ ผลิตโดยบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ วางจำหน่ายในช่วงเดือนมกราคม 2015", "title": "ซัมซุง กาแลคซี อี5" }, { "docid": "478165#6", "text": "การคาดเดาของผู้คนและเว็บไซต์ต่าง ๆ ก่อนจะที่จะมีการเปิดตัวหลายเดือนก่อนหน้า ซึ่งมีข่าวที่ค่อนข้างมากพอสมควร ก่อนจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 ก่อนหน้านั้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ในงานโมบายล์เวิลด์คองเกรส ในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน มีข่าวลือออกมาก่อนแล้วว่า จะใช้หน่วยประมวลผลควอด-คอร์ 1.5จิกะเฮิรตซ์ ส่วนจอจะมีความละเอียด 1080p (1,920×1,080 พิกเซล) และมีกล้องหลัก 12 ล้านพิกเซล และใช้จอแสดงผล จอสัมผัส เอชดี ซูเปอร์อโมเลดพลัส[33][34] ส่วนข่าวลืออื่น ๆ นั้นก็รวมไปถึง แรม 2จิกะไบต์, พื้นที่เก็บข้อมูล 64จิกะไบต์, 4 จี แอลทีอี, จอขนาด 4.8 นิ้ว, กล้องหลัก 8 ล้านพิกเซล และความหนาของเครื่อง 9 มิลลิเมตร[33][34] ซัมซุงได้ยืนยันถึงการผลิตรุ่นต่อของ กาแลคซีเอส 2 ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555 แต่ยังไม่ระบุถึงชื่อทางการ จนในช่วงปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 โรเบิร์ต ยี่ รองประธานอาวุโสของบริษัทซัมซุง ได้ยืนยันว่ามันจะมันจะมีชื่อว่า \"ซัมซุง กาแลคซีเอส 3\" (Samsung Galaxy S III)[35][36]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "848293#4", "text": "ตัวเครื่องของเอส 8 และเอส 8+ ได้ใช้แบตเตอรีที่ไม่สามารถถอดได้ขนาด 3000 และ 3500 mAh ตามลำดับ ซึ่งซัมซุงได้กล่าวไว้ว่าได้ใช้เวลาปรับปรุงและทดลองแบตเตอรีสำหรับรุ่นเหล่านี้นานกว่ารุ่นก่อน ๆ ที่ผ่านมา กาแลคซีเอส 8 รองรับ AirFuel Inductive (สมัยก่อนคือ PMA) และมาตรฐานการชาร์จไร้สาย Qi สืบเนื่องจากเหตุการณ์การเรียกคืนของซัมซุง กาแลคซี โน้ต 7 ซัมซุงกล่าวในงานแถลงข่าวว่า บริษัทมุ่งมั่นที่จะควบคุมคุณภาพและขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวดมากขึ้นในผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทในอนาคต", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 8" }, { "docid": "473908#0", "text": "คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด () เป็นคดีในศาลแรกในชุดที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างบริษัทแอปเปิล กับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด ว่าด้วยแบบผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ทั้งสองบริษัทเป็นผู้ผลิตสมาร์ตโฟนขายเกินครึ่งทั่วโลก ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2554 แอปเปิลเริ่มฟ้องร้องซัมซุงในคดีการละเมิดสิทธิบัตร ขณะที่แอปเปิลกับโมโตโรล่าโมบิลิตีได้มีการฟ้องร้องมาแล้วก่อนหน้านี้ การฟ้องร้องสิทธิบัตรเทคโนโลยีในหลายชาติของแอปเปิลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ \"สงครามสิทธิบัตรอุปกรณ์เคลื่อนที่\" ซึ่งเป็นการฟ้องร้องอย่างกว้างขวางในการแข่งขันอย่างดุเดือดในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ผู้บริโภคของโลก", "title": "คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด" }, { "docid": "856403#0", "text": "ซัมซุง กาแล็คซี่ โน้ต () เป็นชุดของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระดับสูงที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ซึ่งมือถือรุ่นนี้มีจุดประสงค์ที่มุ่งหลักไปทางปากกาคอมพิวเตอร์ โดยซัมซุง กาแล็คซี่ โน้ตทุกเครื่องประกอบด้วยปากกาสไตลัส และสามารถรองรับแรงกดปากกาได้ด้วย ซัมซุง กาแล็คซี่ โน้ตทุกเครื่องยังมีซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติรองรับปากกาสไตลัสได้ เช่น note-taking และ digital scrapbooking และมีมัลติสกรีนด้วย", "title": "ซัมซุง กาแล็คซี่ โน้ต (ชุด)" }, { "docid": "499542#0", "text": "ซัมซุงแอพ () เป็นร้านค้าแอพลิเคชันสำหรับมือถือซัมซุงและผู้ใช้โทรทัศน์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2009 หลังจากที่บริษัทได้รับการวางจำหน่ายของ ซัมซุงเวฟสมาร์ตโฟน", "title": "ซัมซุงแอพ" }, { "docid": "523393#0", "text": "ทัชวิซ (หรือ ซัมซุง ทัชวิซ) เป็นส่วนติดต่อประสานกับผู้ใช้ สร้างและพัฒนาโดยบริษัทซัมซุง อิเล็คทรอนิกส์ มีคุณสมบัติเป็นส่วนติดต่อประสานกับผู้ใช้ในระบบสัมผัส ทัชวิซนั้นใช้งานได้เฉพาะบนอุปกรณ์ซัมซุง บางครั้งทัชวิซมักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอีกหนึ่งระบบปฏิบัติการ ทัชวิซสามารถพบเห็นได้ในสมาร์ตโฟน ฟีเจอร์โฟนและแท็บเล็ตจากซัมซุง และไม่สามารถขอรับใบอนุญาตจากภายนอกได้ ทัชวิซเวอร์ชันแอนดรอยด์ยังมาพร้อมกับ Galaxy Apps ซึ่งเป็นร้านค้าแอปพลิเคชันที่ซัมซุงทำเองด้วย", "title": "ทัชวิซ" }, { "docid": "515410#0", "text": "ซัมซุง กาแลคซี () เป็นชุดของ สมาร์ตโฟน ที่ออกแบบและผลิตโดยบริษัทซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ โดยผลิตภัณฑ์ก็มีชุดของซัมซุง กาแลคซีเอส ที่เป็นสมาร์ทโฟนที่มีความฉลาดสูงสุด, ซัมซุง กาแลคซี แท็บ ที่เป็นแท็บเล็ต, ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เป็นแฟบเล็ตที่มีฟังก์ชันปากกาสไตลัสเพิ่มเข้ามา และซัมซุง กาแลคซี เกียร์ ที่เป็นนาฬิกาอัจฉริยะ", "title": "ซัมซุง กาแลคซี" }, { "docid": "591385#1", "text": "ใน ค.ศ. 2006 บริษัทซัมซุงเทควินได้ประกาศตัวหุ่นยนต์ปืนกล 5.56 มม. มูลค่า 200,000 ดอลลาร์ ที่ใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศ และสามารถเลือกติดตั้งเกรเนดลันเชอร์สำหรับการป้องกันที่เขตปลอดทหารเกาหลี มันมีความสามารถในการติดตามเป้าหมายเคลื่อนที่ได้หลายเป้าหมายโดยใช้กล้องอินฟราเรดและแสงที่ตามองเห็น ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ปฏิบัติการที่เป็นมนุษย์ ระบบการเฝ้าระวังอัจฉริยะและหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยสามารถระบุเป้าหมายและยิงออกไปได้ไกลกว่าสองไมล์ (3.2 กม.) โดยอัตโนมัติ ซึ่งหุ่นยนต์ได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยของประเทศเกาหลีใต้โดยใช้ระบบนำแสงคู่และเซ็นเซอร์อินฟราเรดสำหรับการระบุเป้าหมายตั้งแต่ 2.5 ไมล์ (4 กม.) ในเวลากลางวัน และที่ระยะทางประมาณครึ่งหนึ่งในเวลากลางคืน", "title": "ซัมซุง เอสจีอาร์-เอ1" }, { "docid": "529818#0", "text": "เอสวอยซ์ () เป็นซอฟต์แวร์ผู้ช่วยปัญญา (Intelligent personal assistant) และ ผู้นำร่องความรู้ (knowledge navigator) โดยถูกติดตั้งอยู่บนซัมซุง กาแลคซีเอส 3, ซัมซุง กาแลคซี โน้ต 2, ซัมซุง กาแลคซี โน้ต 10.1, ซัมซุง กาแลคซีเอส 3 มินิ, ซัมซุง กาแลคซีเอส 4, ซัมซุง กาแลคซี โน้ต 8.0, ซัมซุง กาแลคซี สเตลลาร์, ซัมซุง กาแลคซีเอส 2พลัส, ซัมซุง กาแลคซี แกรนด์, ซัมซุง กาแลคซี คาเมรา และ ซัมซุง กาแลคซี เอ็กซ์เพรส ซึ่งจะช่วยตอบคำถามจากผู้ใช้, ให้คำแนะนำต่างๆ รวมไปถึงการเข้าถึงเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต โดยซอฟต์แวร์นี้มีฐานข้อมูลบนวลิงโก (Vlingo)", "title": "เอสวอยซ์" }, { "docid": "478165#7", "text": "หลังจากมีการเชิญผู้สื่อข่าวเข้าร่วมงานในช่วงกลางเดือนเมษายน ซัมซุงได้ทำการเปิดตัวกาแลคซีเอส 3 ในระหว่างงานซัมซุงโมบายล์อันแพ็ก 2012 (Samsung Mobile Unpacked 2012) ที่ เอิร์ลคอร์ตเอ็กซ์ฮีบีชันเซ็นเตอร์ ใน ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 แทนที่จะมีการเปิดตัวในช่วงต้นปีในงานโมบายล์เวิลด์คองเกรส หรือ คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์โชว์[12][37] ซึ่งการตัดสินใจครั้งนี้เพราะซัมซุง ต้องการเวลาสำหรับความพร้อมในการเปิดตัว[38] การอธิบายในการเปิดตัวใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดย ลอสเย เดอ รีเซ ผู้อำนวยการตลาดของบริษัทซัมซุงเบลเยียม[39]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "949975#1", "text": "เสียงตอบรับต่อซัมซุง กาแลคซีเอส 9 มีหลากหลาย จอห์น แมคแคนจาก \"เทคเรดาร์\" ชื่นชมการปรับปรุงของกล้องและตำแหน่งตัวสแกนลายนิ้วมือ แต่วิจารณ์ข้อจำกัดของ AR Emoji และภาพรวมที่คล้ายกับรุ่นก่อน \"คอมพิวเตอร์เวิลด์\" ให้การตอบรับในแง่บวกโดยกล่าวว่าเอส 9 \"ดีกว่ารุ่นก่อน\" แต่วิจารณ์ว่าฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาไม่ได้ทำให้รู้สึก \"ตื่นตาตื่นใจ\" แดน ไซเฟิร์ตจาก \"เดอะเวิร์จ\" ให้คะแนน 8.5 โดยกล่าวว่าพึงพอใจกับการออกแบบและประสิทธิภาพ แต่วิจารณ์เรื่องแบตเตอรี บิกซ์บีและการอัปเดตจากทางซัมซุง ไอฟิกซ์อิต บริษัททำสื่อสอนการซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้คะแนนซัมซุง กาแลคซีเอส 9 4 เต็ม 10 โดยกล่าวชมชิ้นส่วนภายในส่วนใหญ่ที่เป็นมอดูล แต่วิจารณ์ด้านหน้าและด้านหลังที่เป็นกระจก ซึ่งอาจเสียหายได้เมื่อเริ่มถอดชิ้นส่วน", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 9" }, { "docid": "107581#1", "text": "ซัมซุงได้ก่อตั้งโดย ลี เบียงชอล ในปีพ.ศ. 2493 ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้นได้เน้น ไปที่การส่งออกสินค้า, แปรรูปอาหาร, สิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปลายปี พ.ศ. 2503 หลังจากการจากไปของประธานผู้ก่อตั้ง ลี เบียงชอล ทำให้ซัมซุงได้แยกกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มา ซัมซุงได้เป็นที่รู้จักเป็นสากลมากขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทในปัจจุบัน", "title": "ซัมซุง" }, { "docid": "591385#0", "text": "ซัมซุง เอสจีอาร์-เอ1 () เป็นหุ่นยนต์ทหารคุ้มกันสัญชาติเกาหลีใต้ โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อแทนที่แรงงานมนุษย์ในเขตปลอดทหารที่ชายแดนประเทศเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ มันเป็นหุ่นยนต์ระบบประจำที่ฝ่ายป้องกันของบริษัทซัมซุงเทควินซึ่งเป็นบริษัทย่อยของซัมซุง", "title": "ซัมซุง เอสจีอาร์-เอ1" }, { "docid": "473908#1", "text": "จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 แอปเปิลและซัมซุงได้ฟ้องร้องกันแล้ว 19 คดีใน 9 ประเทศ เมื่อถึงเดือนตุลาคม ได้มีการฟ้องร้องเพิ่มในอีกประเทศหนึ่ง รวมเป็น 10 ประเทศ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 ศาลสหรัฐสั่งให้ประธานบริหารของแอปเปิลและซัมซุงเจรจาระงับคดีเพื่อจำกัดหรือแก้ไขข้อพิพาทด้านสิทธิบัตร จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทั้งสองบริษัทยังพัวพันอยู่ในกว่า 50 คดีทั่วโลก โดยทั้งสองมีการเรียกร้องค่าเสียหายหลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อกัน", "title": "คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด" }, { "docid": "523779#0", "text": "บริษัทแอลจี อิเล็คทรอนิกส์ () หรือที่เรียกกันทั่วไปสั้น ๆ ว่า แอลจี (LG) เป็นบริษัทประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในเกาหลีใต้ รองจากซัมซุง, ฮุนได และ กลุ่มเอสเค. มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Yeouido-dong, ในโซล, ประเทศเกาหลีใต้. แอลจีประกอบธุรกิจใน 4 ส่วนด้วยกัน คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่, ความบันเทิงภายในบ้าน, เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, เครื่องปรับอากาศ และการประหยัดพลังงาน แอลจีเป็นบริษัทผลิตโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก (ซัมซุงครองอับดับหนึ่ง) และยังเป็นบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่มียอดขายมากที่สุดอันดับห้า ในไตรมาสที่สอง ในปี พ.ศ. 2555 อีกด้วย", "title": "แอลจี อีเลคทรอนิคส์" }, { "docid": "772669#0", "text": "ซัมซุง เอสพีเอส-เอ็ม810 (รู้จักกันในชื่อ อินสติงต์ เอส30 หรือ อินสติงต์ มินิ) เป็นโทรศัพท์มือถือจากบริษัทซัมซุง ในรูปแบบของจอสัมผัส และมีปุ่มกด 3 ปุ่ม(จากซ้ายไปขวา - [ย้อนกลับ], [ปุ่มโฮม], และ [ปุ่มโทรศัพท์]) ซัมซุง อินสติงต์ วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2009", "title": "ซัมซุง อินสติงต์ เอส30" }, { "docid": "107581#2", "text": "ปัจจุบันธุรกิจของซัมซุง แบ่งออกเป็น 4 หน่วยใหญ่ ๆ คือ เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้สำนักงาน โทรศัพท์มือถือ และส่วนประกอบหลัก ๆ ที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ดิจิตอลที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดของโลกในศตวรรษ 21 มีฐานการผลิต 25 แห่ง,บริษัทสาขาตลาด 36 แห่ง, สำนักงานย่อย 23 แห่ง ที่ประจำอยู่ใน 46 ประเทศทั่วโลก และกระจายอยู่ทั้ง 7 ทวีป คือ อเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง จีน CIS และละตินอเมริกา", "title": "ซัมซุง" }, { "docid": "761610#0", "text": "ซัมซุง เอสจีเอช-ยู600 เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผลิตในประเทศ ประเทศเกาหลีใต้ โดย ซัมซุง และเป็นส่วนหนึ่งของรุ่นอัลตร้า เอดิชั่น II หนึ่งในคุณสมบัติหลักคือสายและปุ่มเลือกที่ไวต่อการสัมผัส เริ่มออกวางจำหน่ายช่วงต้นปี 2007", "title": "ซัมซุง เอสจีเอช-ยู600" }, { "docid": "478165#8", "text": "วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 แอปเปิลดำเนินคดีฟ้องเบื้องต้นในศาลแขวง เขตตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา กับบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ โดยอ้างว่ากาแลคซีเอส 3 ได้ละเมิดสิทธิบัตรอย่างน้อย 2 อย่าง โดยขอให้ศาลรวมคดีเก่ากับซัมซุงด้วย (ดูเพิ่มที่ \"คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด\") และให้ศาลสั่งห้ามขายกาแลคซีเอส 3 ซึ่งจะมีการวางจำหน่ายในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ในสหรัฐอเมริกา[40] แอปเปิลอ้างว่าการละเมิดข้อกล่าวหาจะทำให้เกิดอันตรายและไม่สามารถแก้ไขได้ในประโยชน์ทางการค้า[41] โดยซัมซุงทำการต่อต้านให้ศาลเห็นว่า \"กาแลคซีเอส 3 นั้นเป็นวัตกรรมที่โดดเด่น\" และอยากให้การวางขายในวันที่ 21 มิถุนายน เป็นไปตามแผนที่วางไว้[41] ในวันที่ 11 มิถุนายน ลูซี โก ผู้พิพากษาเห็นว่า ขอให้แอปเปิลนั้น เลิกคำร้องขอในการห้ามขายของกาแลคซีเอส 3 ในวันที่ 21 มิถุนายน[42]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "478165#4", "text": "งานการออกแบบกาแลคซีเอส 3 นั้นเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 ภายใต้การกำกับดูแลงานของ ชาง ดอง-ฮูน รองประธานบริษัทและหัวหน้าแผนกดีไซน์ของบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ โดยการออกแบบนั้นอยู่ภายใต้หัวข้อ \"ออร์แกนิก\" หรือ อินทรียสาร การออกแบบนั้นจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงองค์ประกอบของธรรมชาติเช่น น้ำ หรือ ลม[26] โดยจะออกแบบให้ส่วนของโทรศัพท์มีความเว้าโค้ง รวมไปถึงหน้าโฮมในโทรศัพท์ที่เกี่ยวกับน้ำด้วย ซึ่งเมื่อแตะที่หน้าจอก็จะเสมือนการสัมผัสบนน้ำและมีคลื่นน้ำแสดงให้เห็น[26]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "738222#0", "text": "ซัมซุง กาแลคซี วิน () หรือบางแห่งใช้ชื่อ \"กาแลคซีแกรนด์ควอทโตร\" () เป็นสมาร์ตโฟนที่พัฒนาโดยบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 ซัมซุงกาแลคซีวินมีแกนรูปสี่เหลี่ยม Cortex-A5 ประมวลผล 1.2 GHz และ RAM 1 GB มีหน่วยความจำภายใน 8 GB การ์ดหน่วยความจำ micro-SD สูงสุดได้ถึง 32 GB อุปกรณ์ยังรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน 2G และ 3G และการเชื่อมต่อไวไฟ รวมถึงระบบนำทาง A-GPS ด้วย Google Maps ระบบปฏิบัติการเครื่อง Android 4.1 (Jelly Bean)", "title": "ซัมซุง กาแลคซี วิน" }, { "docid": "402862#20", "text": "มีการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มบริษัทใหญ่อย่าง chaebol เช่น กลุ่มบริษัท ฮุนได / แดวู / ซัมซุง / โกลสตาร์ (LG) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จตามนโยบายของพัก กลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจของพวกเขาด้วยนโยบายที่มีประสิทธิภาพมากของพัก ด้วยการปลูกฝังค่านิยมที่มุ่งเน้นการส่งออก บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเป็นการอำนวยความสะดวกอย่างหนึ่งในภาพรวมของการส่งออกของประเทศ", "title": "พัก ช็อง-ฮี" }, { "docid": "478165#17", "text": "ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ซัมซุงได้ทำการเปิดตัวซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร ภายใต้บริษัทซัมซุงแอปโพรฟฟอร์เอ็นเทอร์ไพรซ์ (Samsung Approved For Enterprise) หรือ เอสเอเอฟอี (SAFE) โดยมุ่งมั่นที่จะให้อุปกรณ์แอนดรอยด์สามารถใช้สำหรับพนักงานบริษัทในภาคเอกชนได้ หรือที่เรียกว่า Bring Your Own Device หรือการนำอุปกรณ์มาเอง[67] โดยเอส 3 รุ่นสำหรับองค์กรนี้สามารถรองรับ เออีเอส-256 (AES-256) ซึ่งเป็นการเข้ารหัส ชนิดหนึ่ง, เครือข่ายส่วนตัวเสมือน และ การจัดการโทรศัพท์มือถือ รวมไปถึง ไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เชนจ์ แอคทีฟซิงก์[68] โดยมีกำหนดการวางขายในประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นรุ่นสำหรับองค์กรที่คิดว่าน่าจะโดดเด่นโดยรีเสิร์ชอินโมชัน บริษัทผู้ผลิต แบล็คเบอร์รี หลังจากการปล่อยรุ่นสำหรับองค์กรในรุ่นกาแลคซี โน้ต, กาแลคซีเอส 2 และ กาแลคซี แท็บ ซึ่งเป็นแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์[68][69]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "107581#10", "text": "หมวดหมู่:บริษัทของเกาหลีใต้ หมวดหมู่:ธุรกิจเครื่องใช้ในครัวเรือน หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2481 หมวดหมู่:ซัมซุง หมวดหมู่:บริษัทนานาชาติที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เกาหลีใต้", "title": "ซัมซุง" } ]
3893
จิลเลนฮอลเป็นบุตรชายของใคร?
[ { "docid": "94199#1", "text": "จิลเลนฮอลเป็นบุตรชายของผู้กำกับ สตีเฟน จิลเลนฮอล และนักเขียนบทภาพยนตร์ นาโอมิ โฟเนอร์ โดยเขาเริ่มการแสดงตั้งแต่อายุ 11 ปี และเป็นที่รู้จักครั้งแรกในภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงเรื่อง Donnie Darko เขารับบทบาทเป็นวัยรุ่นผู้มีปัญหาทางจิต ในปี พ.ศ. 2547 ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง The Day After Tomorrow จากนั้นในปี พ.ศ. 2548 เขารับบทบาทเป็นนาวิกโยธินผู้ท้อแท้และสับสนในภาพยนตร์เรื่อง Jarhead ในปีเดียวกันรับบทบาทเป็น \"คาวบอยเกย์\" ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังจากภาพยนตร์เรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[2318,2335,2,2]}'>หุบเขาเร้นรัก", "title": "เจค จิลเลินฮาล" } ]
[ { "docid": "94199#20", "text": "สมาชิกในครอบครัวจิลเลนฮอลได้ทำงานฮอลลีวูดร่วมกับจิลเลนฮอลหลายเรื่อง แม็กกีพี่สาวของจิลเลนฮอลเคยแสดงภาพยนตร์ร่วมกับจิลเลนฮอล ในเรื่อง Donnie Darko และยังร่วมแสดงกับเขาในเรื่อง A Dangerous Woman ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยสตีเฟน จิลเลนฮอล พ่อของพวกเขา", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#6", "text": "จิลเลนฮอลจบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนฮาวาร์ด-เวสต์เลกในลอสแอนเจลิสในปี พ.ศ. 2541 จากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในรัฐนิวยอร์ก (พี่สาวและแม่ของเขาก็เรียนที่นี่) จิลเลนฮอลได้ศึกษาด้านศาสนาตะวันออกและปรัชญา ถึงปีที่ 2 แล้วได้พักการเรียนไว้เพื่อมุ่งเข้าสู่วงการบันเทิง อย่างไรก็ดีจิลเลนฮอลก็ได้กลับมาศึกษาต่อจนจบในที่สุด[4]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "421831#1", "text": "ยามาอูจิ ทาดาโยชิเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1592 เป็นบุตรชายของยามาอูจิ ยาซูโตโยะ น้องชายของท่านคาซูโตโยะ ต่อมาได้ถูกท่านคาซูโตโยะรับเป็นบุตรบุญธรรมเพราะท่านมีแต่ลูกสาวที่เสียชีวิตไปแล้ว และมีลูกบุญธรรมคนหนึ่งแต่เป็นลูกใครก็ไม่รู้และได้บวชเป็นพระไปแล้ว หลังจากที่ท่านคาซูโตโยะถึงแก่อสัญกรรมในปี 1605 ทาดาโยชิวัยเพียง 13 ปีจึงขึ้นเป็นไดเมียวสืบต่อมาโดยมียาซูโตโยะพ่อแท้ ๆ ปฏิบัติหน้าที่แทนจนถึงวัยที่ทาดาโยชิสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ซึ่งตอนยังเป็นทายาททางการเมืองนั้น โชกุนโทกูงาวะ อิเอยาซุได้ยกบุตรสาวบุญธรรมให้มาแต่งงานเป็นภรรยาของทาดาโยชิทำให้ตระกูลยามาอูจิกลายเป็นเครือญาติกับตระกูลโทกูงาวะ", "title": "ยามาอูจิ ทาดาโยชิ" }, { "docid": "864991#1", "text": "ฟุซะซะกิเป็นบุตรชายของ ฟุจิวะระ โนะ ฟุฮิโตะ โดยมีพี่น้องอีก 3 คนคือ มุชิมะโระ มะโระ และ อุมะไก ซึ่งทั้ง 4 พี่น้องได้ร่วมกันก่อตั้ง 4 สาขาย่อยของตระกูลฟุจิวะระ", "title": "ฮกเกะ (ฟุจิวะระ)" }, { "docid": "421755#0", "text": "การล้อมฮนโนจิ หรือ กบฏที่วัดฮนโน () เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1582 ที่วัดฮนโน เมื่ออาเกจิ มิตสึฮิเดะ หนึ่งในขุนศึกของโอดะ โนบูนางะ ระหว่างที่ต้องนำทัพออกรบเกิดทรยศโนบูนางะ และนำทัพกลับมาล้อมโนบูนางะที่ปราสาทเพื่อแก้แค้นโนบูนางะที่ทำให้เขาเสียหน้าต่อหน้าขุนศึกคนอื่น แต่โนบูนางะไม่อยู่เพราะเขาไปอยู่ที่วัดฮนโน มิตสึฮิเดะจึงนำกำลังไปล้อมที่นั่นและเริ่มโจมตีทำให้ขุนศึกคู่ใจโนบูนางะคือรัมมารุและโนฮิเมะภริยาของโนบูนางะตายในศึกครั้งนี้ด้วย เมื่อเห็นว่าตัวเองกำลังจะพ่ายแพ้แล้วโนบูนางะจึงฆ่าตัวตายด้วยการเซ็ปปูกุในกองเพลิง หลังจากนั้นมิตสึฮิเดะจึงนำกำลังไปล้อมและโจมตีปราสาทของโอดะ โนบูตาดะ บุตรชายคนโตและสังหารโนบูตาดะได้ในที่สุด ", "title": "การล้อมฮนโนจิ" }, { "docid": "94199#24", "text": "ดันส์และจิลเลนฮอลมีสุนัขพันธุ์เยอรมันเชฟเฟิร์ด ชื่อว่า แอตติคัส ที่ทั้งคู่ได้ช่วยเหลือออกจากศูนย์คุ้มครองสุนัขในลอสแอนเจลิส จิลเลนฮอลยังมีสุนัขพันธุ์ปัคเคิล ชื่อ บู แรดลีย์ สุนัขทั้ง 2 ตัวตั้งตามชื่อตัวละครในบทประพันธ์ของฮาร์เปอร์ ลี เรื่อง To Kill a Mockingbird หนึ่งในบทประพันธ์เรื่องโปรดของจิลเลนฮอล[35]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "101930#7", "text": "ด้านชีวิตส่วนตัว ฮีธเคยเป็นข่าวกับดารานักแสดงอย่าง เฮเธอร์ แกรมห์ ในช่วงปี 2000 ถึง 2001 และต่อมาก็คบหากับ นาโอมิ วัตต์ ที่เจอกันในกองถ่ายเรื่อง \"The Lords of Dogtown\" ซึ่งคบหากันอยู่ 3 ปี ระหว่างปี 2002-2004 จากนั้นฮีธได้แต่งงานกับ มิเชล วิลเลียมส์ ได้คลอดลูกสาวคนแรก มีเจค จิลเลนฮอลเป็นพ่อทูนหัวให้กับลูกสาว มาทิลดา โรส เลดเจอร์ แต่ชีวิตคู่กับมิเชลก็ได้จบลงเมื่อปลายปี 2007", "title": "ฮีธ เลดเจอร์" }, { "docid": "94199#15", "text": "ในภาพยนตร์เรื่องหุบเขาเร้นรัก จิลเลนฮอลได้แสดงร่วมกับฮีธ เลดเจอร์ ในบทคนงานในฟาร์มเลี้ยงแกะที่เกิดมีความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศ ท้องเรื่องเกิดในทศวรรษที่ 60 บนภูเขาโบรคแบ็กในรัฐไวโอมิง ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดด้วยการคว้ารางวัลสิงโตทองคำสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์เวนิซ (กันยายน พ.ศ. 2548) [25] และยังได้รับรางวัลลูกโลกทองคำถึง 4 สาขา และอีก 4 สาขาจากรางวัลบาฟต้า และ 3 สาขาจากรางวัลออสการ์ จิลเลนฮอลถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม แต่พ่ายให้กับจอร์จ คลูนีย์ไป ในส่วนรางวัลบาฟต้าได้รับรางวัลดาราสมทบชายยอดเยี่ยม นอกจากนั้นจิลเลนฮอลยังได้รับรางวัลยังอาร์ทิสต์อวอร์ดจาก ดิอเมริกันส์ฟอร์ดิอาร์ทสเนชันนัลอาร์ทสอวอร์ดส สำหรับความสำเร็จในอาชีพ", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#11", "text": "จิลเลนฮอลเกือบได้รับเลือกให้แสดงเป็นสไปเดอร์แมนในภาพยนตร์เรื่องสไปเดอร์แมน 2 โดยผู้กำกับ แซม ไรมิ หลังจากที่โทบีย์ แมคไกวร์ได้รับบาดเจ็บที่หลัง[19] อย่างไรก็ตามจิลเลนฮอลไม่ได้แสดงในภาพยนตร์ภาคต่อเรื่องนี้ ต่อมาได้รับบทในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เรื่อง The Day After Tomorrow ในปี พ.ศ. 2547 แสดงร่วมกับเดนนิส เควด[20]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "19644#18", "text": "แปะเฉีย พี่น้องร่วมสาบานของโจโก๋บิดาของโจโฉ ตอนแรกสังหารคนที่บ้านแปะเฉียเพราะเข้าใจผิด เมื่อหนีจากบ้านแปะเฉีย พบกับแปะเฉียระหว่างทาง จึงฆ่าแปะเฉียเสีย โฮงี โจรโพกผ้าเหลือง อุยเซียว โจรโพกผ้าเหลือง หันอิ้น ขุนนางของอ้วนสุด ที่ลิโป้ส่งให้มาตัดสินโทษ อองเฮา นายกองเสบียงของตนเอง ลิฮอง งักจิว ขุนพลอ้วนสุด เลียงกอง ขุนพลอ้วนสุด ตันกี๋ ขุนพลอ้วนสุด หลันเป้ง ขุนพลลิโป้ โกซุ่น ขุนพลของลิโป้ ตันก๋ง ที่ปรึกษาของลิโป้ ลิโป้ เอียวงัน เกียดเป๋ง แพทย์ประจำราชสำนัก คิดคบกับตังสินคิดฆ่าโจโฉ จึงวางแผนวางยาโจโฉ แต่โจโฉรู้ตัวก่อน เพราะบ่าวของตังสินมาบอกความลับ ตังสิน จูฮก ผู้ร่วมก่อการกับตังสิน จูลัน ผู้ร่วมก่อการกับตังสิน ตันอิบ ผู้ร่วมก่อการกับตังสิน โงห้วน ผู้ร่วมก่อการกับตังสิน พระสนมตังกุยฮุยและพระราชบุตรในครรภ์ น้องสาวของตังสิน พระสนมในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเซี่ยนเต้ ซึ่งโจโฉกำจัดเพื่อไม่ให้เหลือไว้เป็นเสี้ยนหนามรวมถึงลูกในท้องที่ยังไม่เกิด แม้สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเซี่ยนเต้ขอชีวิตเด็กไว้ แต่โจโฉไม่ยอมละเว้นให้ ชีสิว ที่ปรึกษาของอ้วนเสี้ยว สิมโพย ที่ปรึกษาของอ้วนเสี้ยว ขงหยง ชัวมอ แม่ทัพของเล่าเปียวที่มาสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ถูกโจโฉสั่งประหารด้วยอุบายของจิวยี่ เตียวอุ๋น แม่ทัพของเล่าเปียวที่มาสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ถูกโจโฉสั่งประหารด้วยอุบายของจิวยี่เช่นเดียวกับชัวมอ ม้าฮิว บุตรชายของม้าเท้ง น้องชายของม้าเฉียว ม้าเท้ง อุยกุ๋ย เบียวเต๊ก ฮกอ้วน คิดก่อการสังหารโจโฉ แต่แผนรั่วไหลเสียก่อน พระนางฮกเฮา บุตรสาวของฮกอ้วน พระอัครมเหสี(ฮองเฮา)สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเซี่ยนเต้ บอกสุ้น ขันทีในราชสำนักที่ส่งจดหมายลับของพระนางฮกเฮาไปให้ฮกอ้วน เกงจี เอียวสิ้ว ฮัวโต๋ หมอเทวดา", "title": "โจโฉ" }, { "docid": "94199#5", "text": "ตั้งแต่เด็ก จิลเลนฮอลยังได้คลุกคลีกับวงการภาพยนตร์เนื่องจากอาชีพของครอบครัว ในวัย 11 ปี เขาได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องแรกในปี พ.ศ. 2534 เรื่อง City Slicker รับบทเป็นลูกชายของบิลลี คริสตัล อย่างไรก็ตามพ่อแม่ไม่อนุญาตให้จิลเลนฮอลแสดงภาพยนตร์เรื่อง The Mighty Ducks (ภาพยนตร์ปี พ.ศ. 2535) เนื่องจากต้องออกจากบ้านร่วม 2 เดือน[4] ในปีถัดมาพ่อแม่ก็ได้อนุญาตให้เขาไปทดสอบบท แต่ก็มีข้อห้ามถ้าถูกคัดเลือก[8] แต่จิลเลนฮอลก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงในภาพยนตร์ของพ่อเขาอยู่หลายหน ในปี พ.ศ. 2536 ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง Dangerous Woman (แมกกีพี่สาวก็ร่วมแสดง) ต่อมาปี พ.ศ. 2537 กับละครโทรทัศน์เรื่อง Homicide: Life on the Street ในปี พ.ศ. 2541 แมกกีและเจคได้ร่วมออกรายการกับแม่ในรายการทำอาหาร \"Molto Mario\" ทางช่องฟู้ด เน็ตเวิร์ค ก่อนที่จะจบการศึกษาระดับไฮสคูล ภาพยนตร์เรื่องเดียวที่พ่อของเขาไม่ได้กำกับและได้อนุญาตให้แสดงคือเรื่อง Josh and S.A.M.[9]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#29", "text": "ในเวลาว่าง จิลเลนฮอลนิยมทำงานฝีมือจากไม้ ทำอาหาร[46] ส่วนกิจกรรมอื่นเขาเคยกล่าวว่า \"ผมไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ แต่ก็พยายามฝึกสติ\" และพยายามฝึกสมาธิทุกวัน[47]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#12", "text": "ผลงานเรื่องแรกบนเวทีละครของจิลเลนฮอลคือการแสดงในบทนำของละครลอนดอนที่ถูกนำมาทำใหม่ โดยเคนเนธ โลเนอร์แกน เรื่อง This Is Our Youth ละครเรื่องนี้เปิดแสดงนานถึงแปดสัปดาห์ที่เวสต์เอ็นด์ในลอนดอน เขาได้รับบทบาทเศรษฐีเด็กที่ใช้เวลาช่วงสุดสัปดาห์ในการขโมย ซื้อขายและเสพยาเสพย์ติด ร่วมกับเฮย์เดน คริสเตนเซนและแอนนา พาควิน สำหรับบทนี้จิลเลนฮอลได้รับรางวัลอีฟนิงสแตนดาร์ดเธียรเตอร์อวอร์ด ในประเภทนักแสดงหน้าใหม่ผู้มีผลงานโดดเด่น[21][22]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#25", "text": "จิลเลนฮอลมีข่าวกับ รีส วิเธอร์สปูนที่เพิ่งหย่ากับสามีไรอัน ฟิลิปเป้[36] ทั้งคู่เริ่มคบหากันหลังจากเจอกันในกองถ่าย Rendition ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ยุติลงเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 จากรายงานของนิตยสารพีเพิล[37]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#4", "text": "นอกจากนั้นพ่อและแม่ยังให้จิลเลนฮอลหารายได้พิเศษช่วงฤดูร้อนให้กับตัวเอง โดยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่คอยช่วยชีวิตคนบริเวณชายหาดและบริกรที่ภัตตาคารที่เพื่อนของพ่อเขาเป็นเจ้าของ[8]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#31", "text": "จิลเลนฮอลมีผลงานโดดเด่นที่สุดจากภาพยนตร์เรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[24832,24849,2,2]}'>หุบเขาเร้นรัก (Brokeback Mountain) จากบทบาทคาวบอยเกย์ \"แจ็ค ทวิสต์\" ได้รับรางวัลจาก 5 สถาบันใหญ่ นอกจากนั้นจิลเลนฮอลยังเคยได้รับรางวัลนักแสดงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง Donnie Darko จากโคลทรูดิส อวอร์ดส", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#26", "text": "จิลเลนฮอลมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมือง โดยได้ถ่ายโฆษณารณรงค์การเลือกตั้งในโครงการร็อก เดอะ โหวต (Rock the Vote) ในช่วงการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาปี พ.ศ. 2547 เขาได้ไปมหาวิทยาลัยเซาเธิร์นแคลิฟอร์เนีย กับพี่สาวเพื่อรณรงค์นักเรียนนักศึกษาให้ไปเลือกตั้ง[38] จิลเลนฮอลได้ร่วมหาเสียงสนับสนุนให้ ผู้สมัครจอห์น เคอร์รี ของพรรคเดโมแครต[39]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#19", "text": "จิลเลนฮอลแสดงภาพยนตร์เรื่อง Rendition ออกฉายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 มีฉากหลังเป็นตะวันออกกลาง กำกับโดยเกวิน ฮูด ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงกับรีส วิเธอร์สปูน[29] บทถัดไปของจิลเลนฮอลคือ หนังนำมาสร้างใหม่ในปี พ.ศ. 2547 เรื่อง Brothers กำกับโดย จิม เชอริแดน[30]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#22", "text": "จิลเลนฮอลมีแม่ทูนหัวชื่อ เจมี ลี เคอร์ติส นักแสดงชื่อดัง[4] ส่วนตัวเขาเองเป็นพ่อทูนหัวของ มาทิลดา โรส เลดเจอร์ (เกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548) เป็นลูกสาวนักแสดง ฮีธ เลดเจอร์ และ มิเชล วิลเลียมส์ ทั้งคู่เป็นนักแสดงจากเรื่องหุบเขาเร้นรัก[31] นอกจากนั้นลุงของจิลเลนฮอล ชื่อแอนเดอร์ส จิลเลนฮอล ยังเป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือพิมพ์ เดอะ ไมอามี เฮอร์รอลด์[32]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "180471#5", "text": "และแล้วลางร้ายก็ถือกำเนิดเมื่อชิลเลนบุตรสาวคนโต ไปมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งและมีลูกกับกับกรังคายน์ผู้เป็นบิดาของตน ความที่รู้ไปถึงหูของไอน์ฮัดซัดก็ทำให้นางโกรธมาก และก็ได้ไล่ชิลเลนออกจากการเป็นเทพีแห่งน้ำ และเนรเทศให้ลงมาอยู่บนโลกมนุษย์ ชิลเลนที่หนีมาอยู่กลางป่า และตกอยู่ในความสิ้นหวัง คำสาป และความเคียดแค้นต่อไอน์ฮัดซัดและกรังคายน์ จนในที่สุดก็ได้กำเนิดปีศาจร้ายออกมา ต่อมานางก็ได้ส่งเหล่าปีศาจที่ตนให้กำเนิดมาเข้าสู่สงครามกับเทพ แต่ท้ายสุดก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้ ชิลเลนที่ตกอยู่ในความเศร้าเสียใจอย่างหนักเพราะสูญเสียลูกๆ และความสิ้นหวังต่อการพ่ายแพ้ก็ได้พบกับสิ่งที่เรียกว่า \"ความตาย\" นางจึงตัดสินใจสร้างโลกแห่งความตายขึ้น โดยคนที่ตายจากเรื่องนี้ดวงวิญญาณจะไม่ดับสูญ แต่จะถูกอัญเชิญมาให้อยู่ในโลกที่ชิลเลนสร้างขึ้น", "title": "ลินเนจ 2" }, { "docid": "94199#30", "text": "เจค จิลเลนฮอลมีผลงานแสดงภาพยนตร์มาแล้ว 17 เรื่อง (ข้อมูลเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550) โดยเริ่มอาชีพการแสดงตั้งแต่อายุ 11 ปีในเรื่อง City Slickers ส่วนผลงานล่าสุดคือเรื่อง Rendition แสดงร่วมกับ รีส วิธเธอร์สปูน ออกฉายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 นอกจากนั้นจิลเลนฮอลยังเคยพากย์เสียงให้กับภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องสั้นเรื่อง The Man Who Walked Between the Towers", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "199867#2", "text": "ตระกูลฟูจิวาระ เริ่มต้นโดย ฟูจิวาระ โนะ คามาตาริ ซึ่งได้ทำการการปฏิรูปไทกะ จึงได้รับพระราชทาน นามสกุล ว่า ฟูจิวาระ จากจักรพรรดิเท็นจิ ฟูจิวาระ โนะ ฟูฮิโตะ บุตรชายของ คามาตาริ ได้ยกบุตรสาวให้ จักรพรรดิมมมุ เป็นพระจักรพรรดินี โอรสของพระองค์คือ เจ้าชายโอบิโตะ ซึ่งภายหลังเป็น จักรพรรดิโชมุ ฟูฮิโตะได้ยกบุตรสาวอีกคนหนึ่งให้กับ จักรพรรดิโชมุ ฟูฮิโตะมีทายาทเป็นชาย 4 คน คือ ฟูจิวาระ โนะ มูชิมาโระ, ฟูจิวาระ โนะ ฟูซาซากิ, ฟูจิวาระ โนะ อูมาไก และ ฟูจิวาระโนะ มาโระ ซึ่งแตกออกมาเป็น 4 ตระกูลย่อยคือ นังเกะ, ฮกเกะ, ชิกิเกะ และ เคียวเกะ ตระกูลฮกเกะ ได้ปกครองพื้นที่ทางเหนือและได้สืบทอดตระกูลฟูจิวาระต่อไป", "title": "ตระกูลฟูจิวาระ" }, { "docid": "94199#2", "text": "จิลเลนฮอลเป็นนักกิจกรรม มีบทบาทและร่วมสนับสนุนกิจกรรมการเมืองและทางสังคมหลายครั้ง ได้ร่วมโครงการประชาสัมพันธ์การรณรงค์เลือกตั้ง \"ร็อก เดอะ โหวต\" (Rock the Vote) และร่วมหาเสียงสนับสนุนให้พรรคเดโมแครต ในปี พ.ศ. 2547 และช่วยประชาสัมพันธ์ในงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของ อเมริกันซิวิลลิเบอร์ตีส์ยูเนียน (American Civil Liberties Union)", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "930402#1", "text": "เขาเป็นบุตรชายของ ฟุจิวะระ โนะ โยะริมิชิ และ ฟุจิวะระ โนะ กิชิ (ชื่อจริงของเธอไม่มีใครทราบจนทุกวันนี้) ธิดาของ ฟุจิวะระ โนะ ทะเนะนะริ เป็นหลานปู่ของ ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ", "title": "ฟุจิวะระ โนะ โมะโระซะเนะ" }, { "docid": "94199#27", "text": "จิลเลนฮอลกล่าวว่า \"มันทำให้ผมหมดความอดทนเมื่อนักแสดงพูดถึงเรื่องการเมือง ผมเป็นพลเมืองคนหนึ่งและผมเลือกเล่นภาพยนตร์ ที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง ผมพยายามและพูดในสิ่งที่ผมทำ ผิดหรือถูก นักแสดงหนุ่มนั้นล้วนมีอิทธิพล\"[4]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#8", "text": "Donnie Darko ภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ที่จิลเลนฮอลรับบทนำ ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ในตารางบ็อกซ์ออฟฟิส ในครั้งแรกที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2544 แต่ในที่สุดก็เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ชื่นชอบ[11] ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยริชาร์ด เคลลี โดยจิลเลนฮอลรับบทเป็นวัยรุ่นมีปัญหาที่หนีความตาย และได้พบกับกระต่ายสูง 6 ฟุตที่ชื่อ แฟรงค์ที่บอกเขาว่าโลกกำลังใกล้สู่จุดจบ จิลเลนฮอลได้รับคำวิจารณ์ตอบรับที่ดี แดน คอยส์จาก เว็บซาลอน.คอม วิจารณ์ว่า \"จิลเลนฮอลเล่นบทบาทที่ยากสองอย่าง ทั้งบทธรรมดาที่ไม่น่าสนใจและบทที่ลำบากได้ในเวลาเดียวกัน\"[12][13] จิลเลนฮอลได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอินดีเพนเดนต์สปิริตอวอร์ด สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2545 จิลเลนฮอลได้แสดงคู่กับเจนนิเฟอร์ อนิสตันในภาพยนตร์จากเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์เรื่อง The Good Girl และยังได้แสดงเรื่อง Lovely & Amazing ร่วมกับ แคเธอรีน คีเนอร์[14] ในภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องได้รับบทบาทเป็นชายหนุ่มที่ตกหลุมรัก และมีความสัมพันธ์ลึกกับหญิงที่แต่งงานแล้ว ภายหลังจิลเลนฮอลได้อธิบายว่า \"นี่คือบทบาทของวัยรุ่นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ\"[15]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "94199#3", "text": "จิลเลนฮอลเกิดในลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย เป็นบุตรชายของผู้กำกับ สตีเฟน จิลเลนฮอล และนักเขียนบทภาพยนตร์ นาโอมิ โฟเนอร์[4] บิดาของจิลเลนฮอลเติบโตมากับครอบครัวศาสนาสวีเดนบอร์เจียน (Swedenborgianism) ในครอบครัวตระกูลจิลเลนฮอล บรรพบุรุษชาวสวีเดนที่มีชื่อเสียงของตระกูลนี้คือ แอนเดอร์ส ลีโอนาร์ด จิลเลนฮอล นายทหารและผู้เชี่ยวชาญทางด้านแมลง[5] มารดาของจิลเลนฮอลเป็นครอบครัวยิว-อเมริกันที่มาจากนิวยอร์ก และเป็นภรรยาเก่าของอีริค โฟเนอร์ ศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ส่วนแมกกี จิลเลนฮอล พี่สาวมีอาชีพเป็นนักแสดงเช่นกัน จิลเลนฮอลถูกเลี้ยงดูแลในความเชื่อแบบยิว[6] พิธีฉลองอายุ 13 ปี (B'nai Mitzvah) ของเขาเกิดขึ้นที่ศูนย์คนไร้ที่อยู่ เพราะพ่อและแม่ต้องการให้เขาได้สำนึกถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่พิเศษกว่าผู้อื่น โดยตัดสินใจที่จะฉลองพิธีกับคนเหล่านั้นด้วยความเรียบง่ายกว่าที่เขาเคยได้รับ[7]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" }, { "docid": "952693#4", "text": "เหล่าขุนนางและครอบครัวชั้นสูงของชิลลาได้ส่งบุตรชายเข้าร่วมฮวารัง ไม่ว่าจะเป็น ซูโฮ(ชเวมินโฮ)หนุ่มหล่อเลือดร้อน ชอบใช้กำลัง บันรยู ชายหนุ่มเลือดเย็นที่เต็มไปด้วยควาททะเยอทยานกระหายอำนาจ ฮันฮยอง หนุ่มน้อยวัยใสที่สร้างความกระชุ่มกระชวยใจให้แก่สาวๆได้เป็นอย่างดี และ โยวูล หนุ่มหน้าสวยราวกับผู้หญิงแต่เต็มไปด้วยความลึกลับ รวมถึงมูมยองก็ได้ปลอมตัวเป็นลูกชายหมออันจีเข้าร่วมฮวารังเพื่อหาหนทางแก้แค้น แต่ใครจะคาดคิดว่าพระเจ้าจินฮึงจะตัดสินใจแสดงตัวต่อโลกภายนอกโดยการปลอมตัวเข้าร่วมฮวารังและใช้ชื่อปลอมว่า “จี-ดวี” ด้วย ", "title": "ฮวารัง อัศวินพิทักษ์ชิลลา" }, { "docid": "94199#28", "text": "จิลเลนฮอลเติบโตมาในครอบครัวที่ตระหนักถึงเรื่องสังคม เขาร่วมการรณรงค์กับ อเมริกันซิวิลลิเบอร์ตีส์ยูเนียน (เอซีแอลยู) เป็นองค์กรที่ทั้งครอบครัวของจิลเลนฮอลให้การสนับสนุน[40][41] จิลเลนฮอลตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม และนิยมการนำของเก่ามาใช้ใหม่ และเคยให้สัมภาษณ์ว่า ได้ออกเงิน 400 เหรียญต่อปีเพื่อปลูกต้นไม้ให้ป่าในประเทศโมซัมบิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งประชาสัมพันธ์รายการฟิวเจอร์ฟอร์เรส[42][43] หลังจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Day After Tomorrow เขาได้บินไปแถบอาร์กติกเพื่อรณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อน[44][45]", "title": "เจค จิลเลินฮาล" } ]
3895
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "28166#1", "text": "พระมงคลเทพมุนี มีนามเดิมว่า สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" } ]
[ { "docid": "396120#11", "text": "ในปี พ.ศ. 2534 เมื่อท่านได้บริหารกิจการเผยแผ่พระสัทธรรมให้เจริญขึ้นแล้ว ก็ได้ดำเนินขั้นตอนมาเป็นลำดับ จนกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาขึ้น ชื่อ \"วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม\" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)", "title": "พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)" }, { "docid": "28166#26", "text": "หมวดหมู่:พระราชาคณะชั้นเทพ หมวดหมู่:เจ้าอาวาส หมวดหมู่:ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย หมวดหมู่:ภิกษุชาวไทยที่มรณภาพแล้วศพไม่เน่าเปื่อย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดสุพรรณบุรี‎‎", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "105722#1", "text": "จันทร์เป็นบุตรชาวนา เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ทำงานเป็นคนรับใช้และฝึกวิชชาธรรมกายกับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนกระทั่งมีการอ้างว่า สามารถลงไปขอขมาบิดาซึ่งกำลังตกนรกอยู่ได้ พระมงคลเทพมุนียกย่องจันทร์ว่า \"ลูกจันทร์นี้เป็นหนึ่งไม่มีสอง\" ต่อมา อุบาสิกาจันทร์ได้ถ่ายทอดวิชาธรรมกายให้แก่พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย แล้วชวนกันก่อตั้งวัดพระธรรมกาย อุบาสิกาจันทร์ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จหลายประการของวัดพระธรรมกายด้วย", "title": "จันทร์ ขนนกยูง" }, { "docid": "28166#6", "text": "เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านจึงเริ่มปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากับพระอนุสาวนาจารย์นับแต่วันบวช เมื่อบวชแล้วพอรุ่งขึ้นอีกวัน หลวงพ่อก็เริ่มลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานต่อกับพระอาจารย์เนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษาเมื่อออกพรรษาที่วัดสองพี่น้องแล้ว ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อศึกษาด้านคันถธุระต่อ ในสมัยนั้นนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#13", "text": "จุดนั้นค่อยๆ ขยายขึ้นและโตเท่ากับดวงเดิม ดวงเก่าหายไป ท่านมองไปเรื่อยๆ ก็เห็นดวงใหม่ลอยขึ้นมาแทนที่ เหมือนน้ำพุที่พุ่งขึ้นมาแทนที่กันนั่นแหละ ต่างแต่ใสยิ่งขึ้นกว่าดวงเดิม ในที่สุดก็ เห็นกายต่างๆ ผุดซ้อนกันขึ้นมาจนถึงธรรมกาย เป็นพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์ยิ่งกว่า พระพุทธรูปบูชาองค์ใด เสียงพระธรรมกายกังวานขึ้นมาในความรู้สึกว่า \"ถูกต้องแล้ว\" เท่านั้นแหละ ความปีติสุขก็เกิดขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ท่านถึงกับรำพึงออกมาเบาๆ ว่า", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "116829#3", "text": "อุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พระครูบริหารบรมธาตุ (ป่วน เกสโร) วัดนางชี \nเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสมณธรรมสมาทาน เป็นกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “วรปุญฺโญ”", "title": "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)" }, { "docid": "28166#22", "text": "เมื่อมาถึงวัดปากน้ำ ท่านพบว่าวัดอยู่ในสภาพกึ่งวัดร้าง ภายในวัดมีสภาพทรุดโทรม ในสมัยนั้น ที่นี่เป็นสวนพลู สวนหมาก สวนมะพร้าว สวนเงาะ มีศาลาที่เก่ามาก มีโรงครัวเล็กๆ กุฏิก็มีไม่กี่หลัง เป็นกุฏิเล็กๆ ยกพื้น ปลูกด้วยไม้สัก พักได้รูปเดียว อยู่ตามร่องสวน พระภิกษุที่อยู่ก่อนมีจำนวน 13 รูป มักย่อหย่อนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ทำให้ท่านต้องพบอุปสรรคที่ไม่คาดคิดมาก่อนตั้งแต่วันแรกที่มาถึง แต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้าม ท่านกลับมีความคิดที่จะฟื้นฟูวัดปากน้ำให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอีกด้วย", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "65106#3", "text": "พ.ศ. 2506 เมื่อขณะศึกษาอยู่ชั้น ม. 8 (เทียบเท่า ม. 6 ปัจจุบัน) กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้อ่านพบหนังสือชื่อ \"วิปัสสนาบันเทิงสาร\" ลงเรื่องแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ซึ่งได้ศึกษาวิชชาธรรมกายมาจากพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงได้ไปขอเรียนการปฏิบัติธรรมจากแม่ชีท่านนี้", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" }, { "docid": "351941#7", "text": "1. \"กรณีศึกษา เรื่อง กฎแห่งกรรม\" ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของบุคคลจริงที่ส่งเรื่องราวของตนเองและครอบครัวถึงพระเทพญาณมหามุนี ด้วยต้องการทราบถึงบุพพกรรมและปรโลกของบุคคลเหล่านั้น โดยพระเทพญาณมหามุนีเรียกวิธีการที่ทำให้ทราบบุพพกรรมและปรโลกของบุคคลเหล่านั้น ว่า \"ฝันในฝัน\" ตามอย่างคำกล่าวของ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงสมาธิชั้นสูงและการใช้วิชชาธรรมกายเพื่อศึกษาความเป็นมาเป็นไปของสรรพสัตว์", "title": "โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา" }, { "docid": "28166#11", "text": "เมื่อท่านตั้งความปรารถนาแล้ว ก็เริ่มนั่งขัดสมาธิเข้าที่ภาวนา พอดีนึกถึงมดขี้ที่อยู่ในระหว่างช่องแผ่นหินซึ่งกำลังไต่ไปมา จึงหยิบขวดน้ำมันก๊าด เอานิ้วมือจุ่ม เพื่อจะเขียนวงให้รอบตัวกันมดรบกวน แต่พอจรดนิ้วที่พื้นหินยังไม่ถึงครึ่งวง ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า ชีวิตสละได้ แต่ทำไมยังกลัวมดขี้นอยู่เล่า นึกละอายตัวเอง จึงวางขวดน้ำมันลง แล้วนั่งเข้าที่ได้ประมาณครึ่งหรือค่อนคืน เมื่อใจหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็มองเห็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ซึ่งยังติดอยู่ที่ศูนย์กลางกายจากเมื่อเพล ยิ่งมองยิ่งใสสว่างมากขึ้น และขยายใหญ่ขนาดเท่าดวงอาทิตย์ ดวงใสยังคงสว่างอยู่อย่างนั้น โดยที่ท่านก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะทุกสำนักที่ท่านได้ศึกษามาไม่เคยมีประสบการณ์เช่นนี้มาก่อน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#16", "text": "นับแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอย่างเต็มที่ เพื่อค้นคว้าหาที่สุดแห่งธรรม ยิ่งค้นก็ยิ่งลึกซึ้งขึ้นไปทุกที ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้อีกประมาณเดือนเศษ จนออกพรรษา เมื่อรับกฐินแล้ว ก็ลาเจ้าอาวาสวัดบางคูเวียงไปพักอยู่ที่วัดบางปลาม้า เพื่อไปสอนธรรมที่ท่านได้รู้ได้เห็นแล้ว ท่านสอนอยู่ประมาณ 4 เดือน มีพระภิกษุที่สามารถปฏิบัติธรรมตามอย่างท่านได้ 3 รูป คือ พระภิกษุสังวาลย์ พระภิกษุแบน และพระภิกษุอ่วม รวมทั้งคฤหัสถ์อีก 4 คน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#9", "text": "\"เอ...แต่ก่อนเราไม่เคยรู้สึกเช่นนี้เลย พอตั้งสัจจะลงไปว่า ถ้ากลองเพลไม่ดังจะไม่ลุกจากที่ เหตุใดมันจึงเพิ่มความกระวนกระวายใจมากมายอย่างนี้ ผิดกว่าครั้งก่อนๆ ที่นั่งภาวนา เมื่อไรหนอ กลองเพลจึงจะดังสักที\" คิดไปจิตก็ยิ่งแกว่งและซัดส่ายมากขึ้น จนเกือบจะเลิกนั่งหลายครั้ง แต่เมื่อได้ ตั้งสัจจะไปแล้วท่านก็ทนนั่งต่อไป ในที่สุดใจก็ค่อยๆ สงบลงทีละน้อย แล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ในใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก ความปวดเมื่อยหาย ไปไหนไม่ทราบ ในเวลาเดียวกันนั้นเสียงกลองเพลก็ดังขึ้น", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "39464#1", "text": "พระเทพกิตติปัญญาคุณ ต่อมาอุปสมบทในปี พ.ศ. 2500 ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยมีพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ \nช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา เคยกล่าวว่า \"ฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป\" ซึ่งถูกฝ่ายขวา อันได้แก่ นวพล กลุ่มกระทิงแดง ในสมัยนั้นนำไปใช้เป็นวาทกรรม โจมตีฝ่ายซ้าย และยุยงให้คนไทยเกลียดชังนิสิตนักศึกษาที่ชุมนุมต่อต้านการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำไปสู่การสังหารหมู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519", "title": "พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิติศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ)" }, { "docid": "28166#0", "text": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกายชาวไทย ในบรรดาหมู่ผู้ศรัทธานับถือมักเรียกท่านด้วยชื่อ \"หลวงพ่อวัดปากน้ำ\" เนื่องจากท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร) ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะพระวิปัสสนาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของการปฏิบัติกรรมฐานพุทธานุสติที่เรียกว่า วิชชาธรรมกาย ซึ่งนับเป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "396124#2", "text": "ในปลายปี 2529 มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย โดยศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ (อดีตประธานศาลฎีกา) ประธานมูลนิธิฯ ได้ยื่นคำขอต่อกระทรวงศึกษาธิการเพื่อขออนุญาตสร้างวัด บนที่ดิน 72.5 ไร่ ภายในบริเวณที่ดินของมูลนิธิ/สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ริมถนนสายดำเนินสะดวก-บางแพ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และได้รับอนุญาตให้สร้างวัดได้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2530 และในวันที่ 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้เป็นผู้เจิมแผ่นศิลาฤกษ์ เพื่อประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอุโบสถ เมื่อการก่อสร้างอุโบสถจวนจะแล้วเสร็จ รวมทั้งมีเสนาสนะ พระภิกษุ สามเณร อยู่จำพรรษาศึกษาและปฏิบัติธรรม ตามสมควร ศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ ประธานมูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ก็ได้ขออนุญาตตั้งเป็นวัด และกระทรวงศึกษาธิการ (โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2534) จึงได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาขึ้น ชื่อ \"วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม\" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ปฏิบัติและสอนภาวนาถึงธรรมกายและพระนิพพานตามพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ในปีเดียวกัน เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่ตั้งสถาบันฯ ซึ่งเป็นเวลาที่ อาจารย์พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล (ปัจจุบันคือ หลวงพ่อ พระราชญาณวิสิฐ) อุปสมบทได้ 5 พรรษา อายุได้ 62 ปี ได้ศึกษาภาคปริยัติจากสำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนสำเร็จ เปรียญธรรม 3 ประโยค และ นักธรรมเอก เป็นพระมหาเปรียญ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ท่านจึงได้กราบลาพระเดชพระคุณหลวงพ่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และต่อจากนั้น ท่านยังได้ศึกษาภาคปริยัติแผนกบาลีต่อจนสำเร็จเป็นเปรียญธรรม 6 ประโยค เมื่อต้นปี พ.ศ. 2537 (เมื่ออายุ 65 ปี) วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จึงได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมสืบต่อวัตถุประสงค์ของ สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย เพื่อสืบบวรพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ที่พระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้สั่งสอนและถ่ายทอดไว้ ให้วัฒนาถาวรยิ่งๆ ขึ้นไป ตราบชั่วกาลนาน.", "title": "วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม" }, { "docid": "258375#6", "text": "วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ได้ให้การอบรมสั่งสอนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่รู้จักในผู้ปฏิบัติธรรมนี้ว่า “วิชชาธรรมกาย” และโดยได้ยึดหลักคำสอนของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร วิ. อดีตรองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ตลอดถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เจ้าสำนักและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี ประธานศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย (ศปท.) ", "title": "วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว" }, { "docid": "28166#14", "text": "การค้นพบวิชชาธรรมกายอันเป็นของจริงของแท้ เป็นทางบรรลุธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงบรรลุแล้ว เป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ท่านจึงมาคำนึงว่า", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#21", "text": "เมื่อถึงวันครบกำหนด ท่านเดินทางจากวัดพระเชตุพนฯ โดยเรือยนต์หลวงที่กรมการศาสนาจัดถวาย เพื่อเป็นเกียรติแก่พระอารามหลวง มีพระเถรานุเถระจากวัดพระเชตุพนฯ เดินทางมาส่ง และมีพระภิกษุติดตามท่านมาด้วย 4 รูป ทางด้านวัดปากน้ำ มีพระเถระผู้ใหญ่ในอำเภอนั้น พร้อมทั้งญาติโยมจำนวนมากมารอต้อนรับคณะของท่าน", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#24", "text": "เป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[14230,14245,2,2]}'>พระครูสมุห์ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2464 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสมณธรรมสมาทาน[1] 4 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เลื่อนพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระภาวนาโกศลเถร[2] พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2498 เลื่อนเป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชที่ พระมงคลราชมุนี สุทธศีลพรตนิเวฐ เจษฎาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3] 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#2", "text": "เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน-อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#5", "text": "เดือนกรกฎาคม 2449 ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่าจนฺทสโร พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดทั้งสองรูปอยู่วัดเดียวกัน คือ วัดสองพี่น้อง ในการเรียนด้านคันถธุระในพรรรษาแรก ท่านสงสัยอยากรู้คำแปลคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา ซึ่งไม่มีใครทราบ ท่านจึงเกิดความดำริที่จะไปเรียนคันถธุระต่อที่กรุงเทพฯ", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#18", "text": "เมื่อออกจากวัดประตูสาร ท่านได้ไปรับพระภิกษุหมก พระภิกษุปลดและพระภิกษุพล (พระครูโสภณราชวรวิหาร วัดเบญจมบพิตรฯ (ลาสิกขาบทแล้ว)) และพระภิกษุฮั้ว วัดป่าพฤกษ์ ที่วัดสองพี่น้อง กลับลงมากรุงเทพฯ ไปอยู่ที่สำนักเรียนวัดพระเชตุพนฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#19", "text": "ในสมัยนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ ต้องเผชิญกับความไม่เข้าใจของสังคมและพระเถรานุเถระในวงการพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการกล่าวอ้างถึงคำว่า \"ธรรมกาย\" อยู่มิได้ขาด ซึ่งคำว่า \"ธรรมกาย\" นั้น มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก หลักศิลาจารึก และคัมภีร์ต่างๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณมาก่อนแล้ว หากเพียงแต่ว่ามิได้รับการขยายความจากพระวิปัสนาจารย์ท่านอื่นๆ เพราะส่วนมากท่านเหล่านั้นไม่ชำนาญภาษาบาลีในระดับสูง จึงแนะนำการปฏิบัติที่รับต่อมาจากครูบาอาจารย์ถ่ายทอดให้ตนเท่านั้น ฯ", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "849377#0", "text": "วิชชาธรรมกาย เป็นวิธีเจริญกรรมฐานที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ค้นพบในปี พ.ศ.2459 ต่อมาจึงแพร่หลายในประเทศไทยและขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ใช้คำบริกรรมว่า \"สัมมาอะระหัง\" ขณะเจริญกรรมฐาน จึงเรียกสำนักกรรมฐานสายนี้ว่าสายบริกรรม สัมมา–อรหัง ถือเป็นหนึ่งในห้าสายปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ", "title": "วิชชาธรรมกาย" }, { "docid": "28166#10", "text": "วันนั้นท่านมีความสุขตลอดทั้งวัน ดวงธรรมขั้นต้นซึ่งเป็นดวงใสก็ยังเห็นติดอยู่ตรงศูนย์กลางกายตลอดเวลา ในช่วงเย็น หลังจากได้ร่วมลงฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนภิกษุ ท่านได้เข้าไปในพระอุโบสถแล้วตั้งสัตยาธิษฐานว่า \"แม้เลือดเนื้อจะ แห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที ถ้านั่งลงไปแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่จนตลอดชีวิต\" เมื่อ ตั้งจิตอธิษฐานเสร็จ จึงเริ่มนั่งและตั้งจิตอ้อนวอนแด่พระพุทธเจ้าว่า", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#12", "text": "ขณะที่ใจหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้น ก็มีเสียงหนึ่งดังขึ้นมาจากจุดกลางดวงนั้นว่า \"มัชฌิมาปฏิปทา\" แต่ขณะที่เสียงนั้นดังแผ่วขึ้นมาในความรู้สึก ก็เห็นจุดเล็กๆ เรืองแสง สว่างวาบขึ้นมาจากกลางดวงนั้น เสมือนจุดศูนย์กลางของวงกลม ความสว่างของจุดนั้นสว่างกว่าดวงกลมรอบๆ ท่านมองเรื่อยไป พลางคิดในใจว่า นี่กระมังทางสายกลาง จุดเล็กที่เราเพิ่งจะเห็นเดี๋ยวนี้อยู่กึ่งกลางพอดี ลองมองดูซิจะเกิดอะไรขึ้น", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#23", "text": "เมื่อท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำใหม่ๆ ท่านกล่าวว่า \"สร้างคนนั้นสร้างยาก เรื่องเสนาสนะไม่ยาก ใครมีเงินก็สร้างได้ แต่สิ่งสำคัญต้องสร้างคนก่อน\" ดังนั้น ในเบื้องต้นท่านมุ่งไปที่ความประพฤติของพระภิกษุ สามเณรในวัด ท่านต้องการให้ทุกรูปมีข้อวัตรปฏิบัติที่ดี ประพฤติตนตามพระธรรมวินัย จึงเรียกประชุมพระภิกษุ สามเณรที่อยู่มาก่อนทั้งหมดและให้โอวาทว่า", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "28166#15", "text": "ท่านยังคงนั่งเจริญภาวนาทบทวนอย่างนี้ต่อไปอีกประมาณ 30 นาที ก็เกิดภาพในสมาธิ เป็นภาพของวัดบางปลาปรากฏขึ้น ความรู้สึกขณะนั้นเหมือนตัวท่านอยู่ที่วัดนั้น ทำให้คิดว่าธรรมที่รู้เห็นได้ยากนั้น ที่วัดบางปลาจะต้องมีผู้ที่สามารถบรรลุธรรมได้แน่นอน ภาพของวัดบางปลาจึงปรากฏขึ้นในสมาธิ", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "400286#11", "text": "คฤหัสถ์วีระเมื่อได้เห็นของจริงในพระพุทธศาสนาเช่นนี้แล้ว จึงได้ตัดสินใจสละเพศคฤหัสถ์เข้าครองผ้ากาสาวพัสตร์ เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 โดยมีพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นที่พระภาวนาโกศลเถร เป็นองค์อุปัชฌาย์ และมีท่านพระครูปัญญาภิรัต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กับท่านพระครูพิพัฒน์ธรรมคณี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า คณุตฺตโม ภิกฺขุ", "title": "พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)" } ]
3896
มีการแบ่งสวิตช์แบบครอสส์บาร์ออกเป็นกี่ส่วน?
[ { "docid": "396391#5", "text": "เป็นการแบ่งสวิตช์แบบครอสส์บาร์ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ชั้นอินพุต ชั้นกลาง และ ชั้นเอาต์พุต สวิตซ์จะมีขนาดเล็กลง ง่ายต่อการสร้าง และมีราคาไม่แพง", "title": "การไม่ปิดกั้นของสวิตซ์แบบทอดข้ามต่ำสุด" } ]
[ { "docid": "396391#2", "text": "สวิตช์แบบครอสส์บาร์มีความสามารถในการเชื่อมต่ออินพุต N ค่า ไปยัง เอาต์พุต N ค่า ผลที่ได้จะเป็นการจัดกลุ่มแบบหนึ่งต่อหนึ่ง โดยจะเชื่อมต่อผู้โทรศัพท์ไปยังผู้รับซึ่งปลายสายว่างอยู่ ทำให้การให้บริการโทรศัพท์เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์", "title": "การไม่ปิดกั้นของสวิตซ์แบบทอดข้ามต่ำสุด" }, { "docid": "177020#4", "text": "ปัจจุบันโคมไฟระย้าถูกทำขึ้นจากหลายวัตถุดิบ และหลายรูปแบบ จนทำให้ยากที่จะแบ่งว่ามีกี่แบบกี่ประเภท  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน โดยทั่วไปการเลือกใช้โคมไฟระย้า จะเลือกตามสไตน์การแต่งห้อง จึงนิยมเลือกใช้และเรียกกันตามแบบของการออกแบบ เช่น โคมไฟระย้าคลาสสิค โคมไฟระย้าโมเดิร์น โคมไฟระย้า LED เป็นต้น", "title": "โคมระย้า" }, { "docid": "139222#20", "text": "SMPS บางตัวใช้ตัวกรองหรือขั้นตอนการสวิตช์เพิ่มเติมในวงจรเรียงกระแสเพื่อปรับปรุงรูปแบบของคลื่นกระแสไฟฟ้าที่ดึงมาจากไฟ AC input สิ่งนี้จะเพิ่มความซับซ้อนของระบบเข้าไปอีก แหล่งจ่ายไฟของคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะเพิ่มตัวแก้ PF เข้าไปใน SMPF และอาจโฆษณาว่ามี PF ที่ 1.0", "title": "แหล่งจ่ายไฟ" }, { "docid": "396391#30", "text": "ในการทำงานจริงของสวิตซ์จะสามารถสร้างจากสวิตซ์ย่อยที่มีจำนวนชั้นเป็นเลขคี่ แนวคิดของครอสส์บาร์สวิตซ์ที่มีสามชั้น และแต่ละส่วนก็แยกเป็นครอสส์บาร์สวิตซ์ แม้ว่าสวิตซ์ย่อยแต่ละอันจะมีความสามารถจำกัดแต่ก็มีการทำงานร่วมกัน จากการสังเคราะห์ผลของ NxN ครอสส์บาร์สวิตซ์", "title": "การไม่ปิดกั้นของสวิตซ์แบบทอดข้ามต่ำสุด" }, { "docid": "396391#12", "text": "ตัวอย่างเช่นการตั้งใจปรับขนาดให้เล็กลงอาจไม่ได้เป็นการประหยัดสวิตซ์ สวิตช์แบบครอสส์บาร์แบบ16x16จะมี256การเชื่อมต่อ ในขณะที่แบบทอดข้ามต่ำสุดจะมี 4x4x4x3 = 192 การเชื่อมต่อ ซึ่งการการสลับสายโทรศัพท์จริงๆจะมีแสนอินพุตและสิบล้านเอาต์พุตของสวิตซ์การเชื่อมต่อ", "title": "การไม่ปิดกั้นของสวิตซ์แบบทอดข้ามต่ำสุด" }, { "docid": "558978#27", "text": "สมาร์ทสวิตช์ (หรือสวิตช์ฉลาด) - เป็นสวิตช์ที่มีการจัดการแต่จำกัดในฟีเจอร์บางอย่าง สวิตช์นี้อยู่ระหว่างที่ไม่มีการจัดการและมีการจัดการ ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามาก สวิตช์ฉลาดสามารถเป็นเว็บอินเตอร์เฟส (แต่ใช้ CLI ไม่ได้) และสามารถกำหนดค่าพื้นฐานเช่น VLANs พอร์ตแบนด์วิดท์และดูเพล็กซ์ได้. สวิตช์ที่มีการจัดการอย่างเต็มที่ - มีการจัดการไม่จำกัด สามารถปรับแต่งหรือเพิ่มประสิทธิภาพและมักจะแพงกว่าสวิตช์ฉลาด สวิตช์นี้มักจะพบในเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีจำนวนของสวิตช์และการเชื่อมต่อที่จัดการแบบรวมศูนย์ซึ่งสามารถประหยัดเวลาและแรงงานในการบริหาร สวิตช์แบบนี้มีขนาดใหญ่และจะวางซ้อนกันในตู้", "title": "เนตเวิร์กสวิตช์" }, { "docid": "254254#0", "text": "แอร์โคเล เดรอแบร์ติ () (ราว ค.ศ. 1451 - ค.ศ. 1496) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีตอนต้นของตระกูลการเขียนภาพแบบเฟอร์ราราของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง แอร์โคเล เดรอแบร์ติเกิดเมื่อราว ค.ศ. 1451 เป็นบุตรของยามรักษาประตูที่ปราสาทของตระกูลเอสเต ต่อมาก็ได้เป็นจิตรกรประจำสำนักของตระกูล แต่งานเขียนของแอร์โคเลมีเหลืออยู่เพียงไม่กี่ชิ้น และงานส่วนใหญ่ก็ถูกทำลายไป", "title": "แอร์โกเล เด โรแบร์ตี" }, { "docid": "396391#4", "text": "มีการคิดหาทางที่จะสร้างสวิตช์แบบครอสส์บาร์ด้วยขนาดที่เล็กลง มีการเลียนแบบสวิตช์แบบครอสส์บาร์โดยการจัดเรียงสวิตช์แบบครอสส์บาร์ที่เล็กกว่า ซึ่งการเปลี่ยนโครงสร้างจากการใช้ชิ้นส่วนที่ได้มาตรฐานจะทำให้ได้โครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเรียกว่าเครือข่ายคลอส", "title": "การไม่ปิดกั้นของสวิตซ์แบบทอดข้ามต่ำสุด" }, { "docid": "396391#3", "text": "อย่างไรก็ตามสวิตช์แบบครอสส์บาร์ใช้เสียค่าใช้จ่ายเป็นเท่าตัวจากการใช้สวิตซ์แบบSPST ซึ่งสำหรับค่า N ขนาดใหญ่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป นอกจากนี้สวิตช์แบบครอสส์บาร์ยังมีปัญหาด้านกายภาพด้วย ไม่เพียงแต่การใช้เนื้อที่มาก แต่แถบโลหะของสวิตซ์นั้นเมื่อผ่านไปจะมีการโค้งและไม่น่าไว้ใจในคุณภาพ วิศวกรพบว่าแถบของวิตช์แบบครอสส์บาร์ในแต่ละชิ้นนั้นจะมีการเชื่อมต่อแบบเดียว การเชื่อมต่ออื่นๆในอีกสองแถบจะไม่ได้ถูกใช้ นับว่าเป็นโครงสร้างที่สิ้นเปลือง", "title": "การไม่ปิดกั้นของสวิตซ์แบบทอดข้ามต่ำสุด" }, { "docid": "396391#32", "text": "แบ่งพื้นที่ของมัลติแพล็คเซอร์ เป็นบางอย่างเช่นครอสส์บาร์สวิตซ์หรือการจัดเรียงของครอสส์บาร์สวิตซ์หรือบันยันสวิตซ์ ซึ่งเอาต์พุตตัวหนึ่งจะเลือกจากอินพุตใดๆ ในสวิตซ์ดิจิตอลนี้จะมีการจัดเรียงของ and gate การเชื่อมต่อจะมีการปรับในการการเชื่อมโยง ข้อดีของการออกแบบคือจำนวนของการแบ่งพื้นที่ของการเชื่อมต่อจะถูกหารด้วยจำนวนของช่องเวลาในการแบ่งเวลาของระบบ ซึ่งจะช่วยลดขนาดและค่าใช้จ่ายในการสับเปลี่ยนเส้นทาง นอกจากนี้ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือ เนื่องจากการเชื่อมต่อทางกายภาพที่จะล้มเหลวมีน้อย การแบ่งเวลาสวิตซ์ แต่ละตัวจะมีหน่วยความจำที่สามารถอ่านได้ในลำดับที่คงที่และเขียนโดยการโปรแกรมได้ ประเภทของสวิตซ์นี้ มีการสัปเปลี่ยนช่องเวลาในสัญญาณมัลติแพล็ก ซึ่งจะไปแบ่งช่องว่างของมัลติแพล็กเซอร์ ในชั้นที่ติดกัน ข้อดีของการออกแบบคือมีเพียงหนึ่งอินพุตและเอาต์พุต เนื่องจากมีการเชื่อมต่อที่ล้มเหลวน้อย จึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่าสวิตซ์แบบแบ่งพื้นที่ และมีสวิตซ์ที่ต้องการในชั้นนอกของสวิตซ์โทรศัพท์สมัยใหม่", "title": "การไม่ปิดกั้นของสวิตซ์แบบทอดข้ามต่ำสุด" }, { "docid": "659263#0", "text": "\"ครอว์ลิง\" () เป็นเพลงของวงดนตรีร็อกชาวอเมริกัน ลิงคินพาร์ก เป็นเพลงลำดับที่สองที่ออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลจากสตูดิโออัลบั้มชุดแรกของวง \"ไฮบริดทีโอรี\" ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2544 และชนะรางวัลแกรมมี ในสาขาการแสดงเพลงฮาร์ดร็อกยอดเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2545 เพลง \"ครอว์ลิง\" เป็นเพลงหนึ่งในไม่กี่เพลงในอัลบั้ม \"ไฮบริดทีโอรี\" ที่มีเนื้อเพลงแร็ปของ ไมค์ ชิโนะดะ ที่ไม่เป็นที่โดดเด่น กล่าวคือ มีเนื้อเพลงของเชสเตอร์ร้องมากกว่า เวอร์ชันแสดงสดของเพลง \"ครอว์ลิง\" ได้นำไปรวมเป็นบีไซด์ในซิงเกิล \"เบรกกิงเดอะแฮบิต\"", "title": "ครอว์ลิง" }, { "docid": "63545#13", "text": "อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ที่มีอยู่จะทำงานที่ไม่กี่กิโลโวลต์ในตัวเดี่ยว ๆ ในกรณีที่จะต้องทำงานกับแรงดันไฟฟ้าที่สูง ๆ ต้องใช้อุปกรณ์หลาย ๆ ตัวต่อกันแบบอนุกรม อีกครั้งที่ความเร็วในการสวิทช์เป็นปัจจัยสำคัญเนื่องจากอุปกรณ์ตัวที่สวิตช์ช้าที่สุดจะต้องทนต่อแรงดันไฟฟ้ารวม วาล์วปรอทในอดีตทำงานได้ถึง 100 กิโลโวลต์ในเครื่องเดียว ทำให้เป็นการง่ายในการนำไปประยุกต์ใช้ใน ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง หรือ HVDC", "title": "อิเล็กทรอนิกส์กำลัง" }, { "docid": "482112#0", "text": "\"สวิตช์ ออน!\" () เป็นเพลงของนักร้องป๊อบชาวญี่ปุ่น แอนนา ซึชิยะ วางจำหน่ายในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นเพลงเปิดสำหรับภาพยนตร์ญี่ปุ่นแนวโทคุซัทสึ ในซีรีส์มาสค์ไรเดอร์ เรื่องมาสค์ไรเดอร์โฟร์เซ", "title": "สวิตช์ ออน!" }, { "docid": "396391#6", "text": "ในระบบโทรศัพท์จะเป็นการเชื่อมต่อแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ซึ่งหมายถึงการที่จำนวนอินพุตจะเท่ากับจำนวนเอาต์พุตในแต่ละสวิตซ์ย่อยๆ หากต้องการสร้างแบบ16 ด้วยสวิตช์แบบครอสส์บาร์ 16 ตัว ในการออกแบบจะมี 4 สวิตซ์ย่อยในการรับอินพุต 16 ตัว ในส่วนของเอาต์พุต ก็จะมี4สวิตซ์ย่อย สำหรับ 16 ผลลัพธ์ เป็นการออกแบบที่ใช้สายไฟน้อย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งจำนวนน้อยที่สุดซึ่งใช้เชื่อมโยงสวิตซ์ย่อย 2 ตัว ก็คือใช้สายไฟเพียง 1 เส้น ดังนั้นสวิตซ์ย่อยของอินพุตแต่ละตัวจะมีเส้นเชื่อมเพียงเส้นเดียวไปยังสวิตซ์ย่อยกลาง และ สวิตซ์ย่อยกลางแต่ละตัวจะมีเส้นเชื่อมเพียงเส้นเดียวที่ถูกเชื่อมกับสวิตซ์ย่อยของเอาต์พุต", "title": "การไม่ปิดกั้นของสวิตซ์แบบทอดข้ามต่ำสุด" }, { "docid": "833273#2", "text": "ระหว่าง 31 พฤษภาคม-2 มิถุนายน ค.ศ. 1793 คณะผู้ประท้วงที่นำโดยเอแบร์ ได้เดินทางไปประท้วงด้านนอกของสภา เรียกร้องให้มีการกวาดล้างระบบการเมืองและระบบราชการแบบเดิม และเรียกร้องให้ลดราคาขนมปังลง ด้วยการสนับสนุนจากกองทัพ ก็ได้ส่งทหารเข้าจับกุม 31 ผู้นำของพรรคจีรอแด็งซึ่งรวมถึงฌัก ปีแยร์ บรีโซ ภายหลังการจับกุมครั้งนี้ก็ทำให้สโมสรฌากอแบ็งเข้ามามีอำนาจควบคุมคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมในวันที่ 10 มิถุนายน เป็นจุดเริ่มต้นการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ ไม่กี่เดือนต่อมา เอแบร์ได้ต่อต้านแนวคิดเทวัสนิยมของรอแบ็สปีแยร์ เขาได้ทำการเคลื่อนไหวเพื่อขจัดอิทธิพลของคริสตจักรออกไปจากสังคม โดยต่อต้านกิจกรรมของศาสนาคริสต์ทุกรูปแบบ เอแบร์ได้เริ่มเขียนโจมตีรอแบ็สปีแยร์", "title": "ฌัก เอแบร์" }, { "docid": "63545#10", "text": "อุปกรณ์ทั้งหลายมีความแตกต่างกันที่ความเร็วในการเปิดปิด บางไดโอดและบาง thyristors จะเหมาะสำหรับความเร็วค่อนข้างช้าและมีประโยชน์สำหรับการสวิทช์และการควบคุมความถี่, thyristors บางตัวเป็นประโยชน์ที่ไม่กี่กิโลเฮิรตซ์ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น MOSFETS และ BJTs สามารถสวิทช์ที่หมื่นกิโลเฮิร์ตซ์จนถึงไม่กี่เมกะเฮิรตซ์ แต่ระดับพลังงานลดน้อยลง พลังงานที่สูงมาก (ร้อยๆกิโลวัตต์) ที่ความถี่สูงมากๆ (ร้อยหรือหลายพันเมกะเฮิรตซ์) ยังคงเป็นพื้นที่ที่อุปกรณ์หลอดสูญญากาศครอบครองอยู่ การใช้อุปกรณ์สวิตชิ่งที่เร็วขึ้นช่วยลดการสูญเสียพลังงานในการปิดเปิดกลับไปกลับมา แต่อาจสร้างปัญหากับการรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมา วงจรไดรฟ์ที่เกท (หรือเทียบเท่า) ต้องถูกออกแบบให้จ่ายกระแสไดรฟ์ที่พอเพียงเพื่อให้อุปกรณ์ทำหน้าที่สวิตช์ได้อย่างเต็มที่ อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการไดรฟ์เพียงพอที่จะเปลี่ยนอย่างรวดเร็วอาจจะถูกทำลายด้วยความร้อนส่วนเกิน", "title": "อิเล็กทรอนิกส์กำลัง" }, { "docid": "132218#16", "text": "สำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเกตสวิตชิง ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละแพ็กเกตเรียง ลำดับตามกันโดยใช้วิธี (Store-and-forward) ถ้ามีข้อผิดพลาดในแพ็กเกตเกิตขึ้น สวิตช์นั้นก็จะทำการร้องขอให้สวิตช์ก่อนหน้านั้นส่งเฉพาะแพ็กเกตที่มีความผิดพลาดนั้นมาให้\nใหม่ ไม่จำเป็นจะต้องรอให้ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลมาให้ครบทุกแพ็กเกตแล้วจึงค่อยส่งข้อมูลไป\nให้สถานีอื่นต่อไป การทำงานแบบนี้จะทำให้การส่งข้อมูลในเครือข่ายแพ็กเกตสวิตชิงสามารถ\nทำงาน ได้เร็วมากจนดูเหมือนกับไม่มีการเก็บกักข้อมูลเลย แบบนี้ก็ดีนะ ", "title": "แพ็กเกตสวิตชิง" }, { "docid": "257269#3", "text": "ในปี 1962 ครอสบีถือเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลประสบความสำเร็จจาก Global Achievement Award เขายังได้รับรางวัลออสการ์ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากบท บาทหลวง ชัค โอ'มัลเลย์ ในภาพยนตร์ปี 1944 เรื่อง \"Going My Way\" ครอสบียังเป็นคนไม่กี่คนที่มีชื่อจารึกอยู่บนฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟมถึง 3 ครั้ง", "title": "บิง ครอสบี" }, { "docid": "36288#10", "text": "หุ่นยนต์ในเกมซุปเปอร์โรบอตไทเซ็นแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ \"ซูเปอร์โรบ็อต\" และ\"เรียลโรบ็อต\" ซูเปอร์โรบ็อตคือหุ่นยนต์ที่มีพลังชีวิตสูง สามารถรับการโจมตีได้หลายๆ ครั้ง แต่ขาดความว่องไวทำให้โดนโจมตีบ่อยๆ ซูเปอร์โรบ็อตมีอาวุธหรือท่าไม้ตายสำหรับโจมตีระยะใกล้ที่มีพลังทำลายสูง แต่ความแม่นยำต่ำ ตัวอย่างหุ่นยนต์ซูเปอร์โรบ็อต ได้แก่ มาชินก้าแซด เก็ตเตอร์โรโบ เป็นต้น เรียลโรบ็อตเป็นหุ่นยนต์ที่มีความว่องไว สามารถหลบการโจมตีของคู่ต่อสู้ได้บ่อยกว่าซูเปอร์โรบ็อต แต่มีพลังชีวิตน้อยและพลังป้องกันต่ำ จึงถูกทำลายได้ง่ายโดยการโจมตีเพียงไม่กี่ครั้ง อาวุธของเรียลโรบ็อตส่วนใหญ่เป็นอาวุธระยะไกลซึ่งมีความแม่นยำสูง แต่พลังโจมตีต่ำ ทำให้ต้องโจมตีศัตรูหลายครั้งก่อนจะเอาชนะได้ ตัวอย่างเรียลโรบ็อต ได้แก่ หุ่นยนต์กันดั้มเกือบทั้งหมด และวาลคิรีจากเรื่องมาครอส เป็นต้น อย่างไรก็ดีหุ่นยนต์บางตัวก็มีลักษณะไม่เป็นไปตามกฎข้างต้น เช่น ไรดีนเป็นซูเปอร์โรบ็อตที่อาวุธส่วนใหญ่เป็นอาวุธระยะไกล และดันไบน์เป็นเรียลโรบ็อตที่ถนัดการต่อสู้ระยะประชิตตัว", "title": "ซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น" }, { "docid": "558978#3", "text": "อีเทอร์เน็ตสวิตช์ทำงานที่ชั้น data link layer ของแบบจำลอง OSI เพื่อสร้างโดเมนการชนกันแยกต่างหากสำหรับแต่ละพอร์ตของสวิตช์ เข่นคอมพิวเตอร์ 4 ตัว (A, B, C และ D) บนสวิตช์ 4 พอร์ต A และ B สามารถถ่ายโอนข้อมูลไปมาในขณะที่ C และ D สามารถทำแบบเดียวกันพร้อมกัน ทั้งสองคู่สนทนากันและจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนอื่น ในโหมด full duplex คู่เหล่านี้ยังสามารถทับซ้อนกัน (เช่น A ส่งให้ B พร้อมกับ B ส่งให้ C, และต่อๆไป ) ในกรณีที่ใช้ repeater hub จะมีการแบ่งแบนด์วิดธ์และทำงานในโหมด half duplex ซึ่งทำให้ข้อมูลชนกันซึ่งจำเป็นจะต้องส่งใหม่", "title": "เนตเวิร์กสวิตช์" }, { "docid": "788725#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เบรธออฟเดอะไวลด์ (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 2017 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับวียู และ นินเท็นโดสวิตช์. วางจำหน่ายพร้อมกันทั่วโลกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2017 ทั้งแพลตฟรอม นินเทนโดวียู และ นินเทนโดสวิตช์ ตัวเกมรองรับหลายภาษา และรองรับ ระบบ amiibo", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา บรีทออฟเดอะไวลด์" }, { "docid": "558978#26", "text": "สวิตช์ที่ไม่มีการจัดการ - สวิตช์เหล่านี้มีอินเตอร์เฟซการตั้งค่าหรืออ๊อพชั่น คือเป็นแบบ plug and play โดยทั่วไปจะเป็นสวิตช์ราคาไม่แพง ดังนั้นจึงมักจะใช้ในสภาพแวดล้อมขนาดเล็กเช่นสำนักงานหรือบ้าน สวิตช์แบบนี้สามารถตั้งบนโต๊ะหรือติดตั้งในแร็ค สวิตช์ที่มีการจัดการ - สวิตช์เหล่านี้มีหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งวิธีการที่จะปรับเปลี่ยนการทำงาน วิธีการจัดการทั่วไปได้แก่: อินเตอร์เฟซบรรทัดคำสั่ง (Command Line Interface, CLI) ที่เข้าถึงได้ผ่านทางคอนโซลอนุกรม, เทลเน็ต หรือ Secure Shell, Simple Network Management Protocol (SNMP) ที่ช่วยให้สามารถจัดการจากคอนโซลระยะไกลหรือจาก เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงเช่นการเปิดใช้งาน spanning tree protocol, ตั้งค่าแบนด์วิดธ์, สร้างหรือปรับเปลี่ยน virtual lan (VLANs) ฯลฯ สองคลาสย่อยของสวิตช์ที่มีการจัดการที่มีขายในวันนี้ได้แก่:", "title": "เนตเวิร์กสวิตช์" }, { "docid": "44241#3", "text": "เมื่อพวกโกคูได้ยินเรื่องที่ท่านจอมเทพบอกก็พากันช็อคไปตามๆกัน และเตรียมตัวที่จะเริ่มการผจญภัยครั้งใหม่กับการหาดราก้อนบอลในอวกาศ โกฮังอาสาที่จะไป ปังก็จะไปด้วยแต่ผู้ใหญ่ก็ห้าม เมื่อมาถึงบ้านบูลม่าก็เตรียมพร้อมในส่วนของยานอวกาศเพื่อออกเดินทาง เบจิต้าจับได้ว่าทรังคซ์ชอบโดดงานในบริษัทแคปซูลฯ จึงลงโทษโดยการที่จะต้องไปอวกาศ และโกเท็นก็ต้องไปในคำสั่งของจีจี้โดยให้เบจิต้าจัดการ ในวันเดินทางโกคู ทรังคซ์ได้ขึ้นไปเตรียมตัวในยานอวกาศรอก็แต่โกเท็น แต่ปังไม่รู้มาจากไหน กดสวิตช์ให้ยานเดินเครื่องออกจากโลกไปโดยที่โกเท็นยังไม่ทันขึ้นยาน การเดินทางของคน 3 คน 3 วัยได้เริ่มขึ้นแล้ว", "title": "ดราก้อนบอล GT" }, { "docid": "558978#16", "text": "บริดจ์ที่คลาสสิกอาจจะเชื่อมต่อระหว่างกันโดยใช้spanning tree protocolที่จะป้องกันไม่ให้การส่งข้อมูลระหว่างกันในเครือข่ายแลนเกิดการวิ่งวน(ลูป). ในทางตรงกันข้ามกับเราเตอร์, บริดจ์สแปนนิ่งทรีจะต้องมีโครงสร้างที่มีเพียงเส้นทางที่ใช้งานหนึ่งเดียวระหว่างจุดสองจุด. มาตรฐานเก่าของ IEEE 802.1D โปรโตคอลสแปนนิ่งทรีอาจจะค่อนข้างช้าด้วยการหยุดรอถึง 30 วินาทีขณะที่สแปนิ่งทรีรวมตัวใหม่. สแปนนิ่งทรีที่เร็วกว่าจะใช้มาตรฐาน IEEE 802.1w มาตรฐานใหม่สุดสำหรับการบริดจ์เพื่อเส้นทางที่สั้นที่สุดคือ IEEE 802.1aq ซึ่งเป็นที่รวมของโปรโตคอล Spanning tree เก่าทั้งหมด (IEEE 802.1D STP, IEEE 802.1w RSTP, IEEE 802.1s MSTP) โดยจะปิดกั้นการจราจรบนเส้นทางทั้งหมดยกเว้นเส้นทางที่เลือก. IEEE 802.1aq (Shortest Path Bridging, SPB) ยอมให้ทุกเส้นทางใช้งานได้ด้วยหลายเส้นทางที่ค่าใช้จ่ายเท่ากัน ทำให้มีโครงสร้างเลเยอร์ 2 มีขนาดใหญ่กว่ามาก (สูงถึง 16 ล้านเทียบกับข้อจำกัดของ VLANs ที่ 4096 topologies), ทำให้การบรรจบกันได้เร็วขึ้นและช่วยปรับปรุงการใช้งานของ mesh topologies ผ่านแบนด์วิดท์ที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มความซ้ำซ้อนระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมดโดยให้การจราจรแชร์ส่วนแบ่งทั่วทุกเส้นทางของ mesh network .", "title": "เนตเวิร์กสวิตช์" }, { "docid": "407629#2", "text": "ซึ่งช่วงที่หลังจากจบสงครามศักดิ์สิทธิ์ในช่วงของเซจกับฮาคุเรย์ไปไม่กี่ปี เพราะรู้ว่าคลอธอาริเอสอยู่ที่หมู่บ้านลับแล แต่พอหาเจอหวังทำลายแต่ทำลายไม่ได้ จึงทำให้ทั้งหมู่บ้านเวลาถูกหยุดคนที่อยู่ที่นั่นไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เพราะเวลาถูกหยุด แต่มีเพียงไม่กี่คนที่รอด แต่ร่างกายหยุดการเจริญเติบโตไปหลายร้อยปี ในช่วง 5 ปีก่อนเริ่มสงครามิออนมาเอาคลอธเพื่อเป็นโกลด์เซนต์ โยมะก็ใช้กับดักน้นกับชิออนแต่ก็ล้มเหลวจนร่างงเทพของตนก็บาดเจ็บจนแค้น 15 ปีหลังจากจบสงคราม โยมะหรือไครอสตื่นขึ้นมา เพื่อเปลี่ยนอนาคตโดยหวังทำลายแซงทัวรี่ แล้วสู้กับิออนอย่างดุเดือดจนแพ้ แต่ไครอสก็ไม่ตาย แต่พอเทมมะกับซาช่าที่เป็นดวงวิญญาณใช้โล่อาเธน่าให้ไครอสส่อง ไครอสก็เสียชีวิตกับความชั่วร้ายสลายไป เพราะโล่นั้นจะสลายความชั่วร้ายทั้งหมดเพียงแค่ใช้ส่องเหมือนกระจก", "title": "เมฟิสโตเฟเลส โยมะ" }, { "docid": "838719#1", "text": "อีรอสเป็นดาวเคราะห์น้อยตัดวงโคจรดาวอังคาร (Mars-crosser) เป็นดวงแรกที่ทราบ วัตถุในวงโคจรดังกล่าวสามารถอยู่ตรงนั้นได้เพียงไม่กี่ร้อยล้านปีก่อนวงโคจรจะถูกรบกวนจากอันตรกิริยาความโน้มถ่วง การหาปฏิพันธ์พลวัตเสนอว่าอีรอสอาจเปลี่ยนเป็นตัดวงโคจรโลก (Earth-crosser) ในระยะเวลาสองล้านปี และมีโอกาสประมาณ 50% ในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในเวลา 10–10 ปี เป็นดาวเคราะห์น้อยที่อาจพุ่งชนโลก มีขนาดใหญ่ประมาณห้าเท่าของอุกกาบาตพุ่งชนโลกที่ก่อให้เกิดหลุมอุกกาบาตชีคชุลูบ (Chicxulub) ซึ่งนำไปสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์", "title": "433 อีรอส" }, { "docid": "979454#0", "text": "โคมไฟของทอมสัน เป็นปริศนาทางปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอนันต์ กำเนิดขึ้นมาในปี 1954 โดยนักปรัชญาชาวอังกฤษ เจมส์ เอฟ. ทอมสัน เป็นผู้ที่เริ่มการวิเคราห์ถึงความเป็นไปได้ของซูเปอร์ทาสก์ ที่ซึ่งเกี่ยวกับตัวเลขอนันต์\nให้หลอดไฟมีระบบเปิดปิดที่ใช้ทอกเกิลสวิตช์ ที่เมื่อกดสวิตช์หนึ่งครั้งแล้วหลอดไฟจะเปิด เมื่อกดอีกครั้งจะปิด ต่อไป ให้กระทำการตามขั้นตอนต่อไปนี้ : เริ่มตัวจับเวลา จะมuคนเปิดไฟ เมื่อผ่านไปหนึ่งนาที ก็ปิดไฟ และเมื่อผ่านไปอีกครึ่งนาที ก็เปิดไฟอีกครั้ง และเมื่อผ่านไปอีก / ของหนึ่งนาที ก็ปิดไฟอีกครั้ง และเมื่อผ่านไปอีก / ของหนึ่งนาที ก็เปิดไฟอีกครั้ง และทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ โดยรอให้ถึงครึ่งหนึ่งของ ณ เวลานั้น ๆ จึงกดสวิตช์ ผลรวมของเวลาอนุกรมอนันต์นี้คือสองนาที", "title": "โคมไฟของทอมสัน" }, { "docid": "142162#3", "text": "บริดจ์ไอดีจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่รูทบริดจ์ เป็นจุดอ้างอิงของเน็ตเวิร์กหนึ่ง สวิตช์ทุกตัวในเน็ตเวิร์กจะต้องมีรูทบริดจ์เป็นค่าเดียวกันเสมอ ทำให้สวิตช์ทุกตัวเห็นเน็ตเวิร์กโทโพโลยี (Network Topology) รูปเดียวกันเสมอ ซึ่งจะส่งผลให้ไม่เกิดลูปในเน็ตเวิร์กนั้นๆ", "title": "เกณฑ์วิธีต้นไม้แบบทอดข้าม" }, { "docid": "141712#0", "text": "แลนเสมือน () เหมือนการสร้าง logical segment สวิสต์ตัวหนึ่งสามารถแบ่งออกมาเป็นหลายๆ vlanได้ เหมือนมีswitchหลายตัวหรือมีhubหลายตัว แต่จริงๆมีแค่ตัวเดียวแล้วก็แบ่งซอยออกมา โดยมากแบ่งตามพื้นที่ใช้งาน แบ่งตามแผนก แบ่งตามหน่วยงาน แบ่งตามลักษณะการใช้งาน\nการจำลองสร้างเครือข่าย LAN แต่ไม่ขึ้นอยู่กับการต่อทางกายภาพเช่น สวิตช์หนึ่งตัวสามารถใช้จำลองเครือข่าย LAN ได้สิบเครือข่าย หรือสามารถใช้สวิตช์สามตัวจำลองเครือข่าย LAN เพียงหนึ่งเครือข่าย เป็นต้น \nการแบ่งกลุ่มของสวิตซ์ภายในเลเยอร์ 2 ที่ไม่ขึ้นกับ ลักษณะทางกายภาพใดๆ กล่าวแบบง่ายๆ ก็คือ เราไม่จำเป็นที่จะต้องนำสวิตซ์มาต่อกันเป็น ทอดๆ เพื่อจัดกลุ่มของสวิตซ์ว่า สวิตซ์กลุ่มนี้คือ กลุ่มเดียวกัน แต่ เราสามารถที่จะ จัดกลุ่มให้ สวิตซ์ที่อยู่ห่างไกลกันออกไปนั้น เป็นสมาชิกของสวิตซ์อีกกลุ่มหนึ่งทางแนวตรรกะ", "title": "แลนเสมือน" } ]
3897
แบคทีเรียแกรมลบคืออะไร?
[ { "docid": "391957#0", "text": "แบคทีเรียแกรมลบ (English: Gram-negative bacteria) เป็น แบคทีเรีย ที่ไม่สามารถรักษาสีคริสทัลไวโอเลต ในการย้อมสีแบบแกรมได้[1] ในการย้อมสีแบบแกรม สีตรงข้าม (ปกติคือ ซาฟรานิน) ซึ่งเดิมทีหลังคริสทัลไวโอเลต จะติดสีแบคทีเรียแกรมลบให้เป็นสีแดงหรือสีชมพู วิธีนี้เป็นประโยชน์ในการจำแนกแบคทีเรียขั้นต้น โดยใช้ความแตกต่างของผนังเซลล์ แบคทีเรียแกรมบวก จะยังคงรักษาสีม่วงของคริสตัลไวโอเลตได้แม้จะใช้สารชะสีออกแล้ว", "title": "แบคทีเรียแกรมลบ" } ]
[ { "docid": "25543#9", "text": "ยากลุ่มนี้ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียได้กว้างขวางโดยมีผลต่อแบคทีเรียแกรมบวกแทบทุกชนิดและมีผลต่อแบคทีเรียแกรมลบบางส่วนด้วย ดังนั้นทางการแพทย์จึงมักจะใช้ อะม็อกซี่ซิลิน (Amoxicillin) ในการรักษาโรคติดเชื้อเบื้อต้น โดยเฉพาะผิวหนัง หรือระบบทางเดินหายใจเนื่องจากแบคทีเรียสามารถสร้างสารเคมีมาทำลายยาจึงทำให้ยากลุ่มนี้ไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ สารเคมีที่แบคทีเรียสร้างนั้นเรียกว่า บีตา-แลกแทมเมส (β-lactamase) ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นสารเคมีบางอย่างเพื่อที่จะไปยับยั้งเบต้า-แลกแตมเมส สารเคมีที่ว่านี้ชื่อว่า บีตา-แลกแทมเมส อินฮิบิเตอร์ (β-lactamase inhibitor) ซึ่งพบว่าเมื่อนำสารนี้ใส่ร่วมกับยาเพนิซิลินแล้วทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของยาดีขึ้น นั่นคือเชื้อดื้อยาน้อยลงนั้นเอง แต่สารนี้สามารถเหนี่ยวนำให้ผู้ใช้ยามีอาการท้องเสียได้เช่นกัน สารเคมีที่ว่านี้แบ่งออกได้เป็นสามตัว คือ", "title": "เพนิซิลลิน" }, { "docid": "931566#0", "text": "คลอฟอคตอล () เป็นยาปฏิชีวนะที่มีคุณสมับติในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย (bacteriostatic antibiotic) มีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกในระบบทางเดินหายใจ และระบบหู คอ จมูก ปาก ยานี้มีจำหน่ายในตลาดยาฝรั่งเศสและอิตาลีภายใต้ชื่อการค้า Octoplus และ Gramplus ตามลำดับ ยานี้ไม่มีผลต่อแบคทีเรียแกรมลบ จึงไม่สามารถใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบได้ พบว่า ยานี้สามารถแพร่ผ่านเข้าไปยังเนื้อเยื่อปอดของมนุษย์ได้ดี", "title": "คลอฟอคตอล" }, { "docid": "5451#1", "text": "แบ่งตามรูปร่าง แบ่งได้หลายแบบทั้งกลม (cocci) ,แบบท่อน (bacilli,rod) ,แบบเกลียว (spiral) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการจัดเรียงเซลล์ต่างกัน แบ่งตามการย้อมติดสีแกรม (Gram's stain) มีได้สองลักษณะคือพวกที่ติดสีแกรมบวก (Gram positive) และที่ติดสีแกรมลบ (Gram negative) แต่บางชนิดสามารถติดสีทั้งสองเรียกว่า Gram variable ซึ่งเกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ของแบคทีเรีย แบ่งตามความต้องการใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งมีหลายแบบคือ aerobic bacteria, anaerobic bacteria, facultativeaerobic bacteria, microaerofilic bacteria เป็นต้น แบ่งกลุ่มแบคทีเรียตามแหล่งอาหารและพลังงานได้เป็น ออโตโทรป (autothroph) แหล่งคาร์บอนสำหรับสร้างสารอินทรีย์มาจาก CO2 ได้แก่แบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ เฮเทอโรโทรป (heterothroph) แหล่งคาร์บอนมาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่แบคทีเรียที่ดูดซับสารอาหารเป็นแหล่งพลังงานทั่วไป โฟโตโทรป (photothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากแสง คีโมโทรป (chemothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากสารเคมี", "title": "แบคทีเรีย" }, { "docid": "228483#1", "text": "จุลชีพก่อโรคนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปแท่งสั้น ซึ่งเคลื่อนที่โดยแฟลกเจลลัมหลายเส้น (peritrichous flagella) แบคทีเรียเจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิกาย 37 °C (99 °F)", "title": "ไข้รากสาดน้อย" }, { "docid": "26371#2", "text": "ออฟลอกซาซินเป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบ เช่น E.Coli., K.pneumoniae, Serratia sp., Proteus sp., P.aeruginosa, และ H. influenzae และยังสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวก เช่น Staphylococcus sp., Nemolytic-Streptococci และ EnterococciTarivid", "title": "ออฟลอกซาซิน" }, { "docid": "373355#0", "text": "MacConkey agar เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียประเภท Selective medium เพื่อเลี้ยงแบคทีเรียแกรมลบและเกิดสีต่างกันตามปฏิกิริยาการหมักแลกโตส", "title": "MacConkey agar" }, { "docid": "381733#1", "text": "ส่วนประกอบโดยทั่วไป ที่ใช้เลี้ยง \"Mycobacterium tuberculosis\" คือ:อาจเติม เพนนิซิลลิน และ กรดนาลิดิซิก ปริมาณเล็กน้อยเพื่อป้องกันการเจริญของ แบคทีเรียแกรมบวก และ แบคทีเรียแกรมลบ และจำกัดการเจริญของ Mycobacteria เท่านั้น การเติมสีมาลาไคต์กรีนเพื่อยับยั้งแบคทีเรียชนิดอื่น การเติมกลีเซอรอลจะเพิ่มการเจริญของ \"Mycobacterium tuberculosis\"ส่วนที่เป็นแป้งอาจจะตัดออกได้", "title": "Lowenstein-Jensen medium" }, { "docid": "26357#3", "text": "ในปัจจุบันมีการใช้อะมิกาซินบ่อยครั้งขึ้นในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน, แบคทีเรียแกรมลบที่ไม่ใช้ออกซิเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Pseudomonas, Acinetobacter, Enterobacter, E. coli, Proteus, Klebsiella, และ Serratia[9] มีเพียงเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก 2 สกุลเท่านั้นที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยอะมิกาซิน ได้แก่ Staphylococcus[9] และ Nocardia[10] นอกจากนี้อะมิกาซินยังถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อสกุลไมโคแบคทีเรียมที่ไม่ใช่วัณโรค (non-tubercular Mycobacterium infections) และวัณโรค (ในสายพันธุ์ที่ไวต่อยานี้) ในกรณีที่การรักษาทางเลือกแรกไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้[2] ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีการใช้อะมิกาซินเป็นยาปฏิชีวนะเดี่ยวในการรักษาโรคใดโรคหนึ่งน้อยมาก ส่วนใหญ่มักใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่น เพื่อเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน[11]", "title": "อะมิกาซิน" }, { "docid": "379992#0", "text": "Azotobacter เป็นจีนัสของแบคทีเรียที่เคลื่อนที่ได้ สร้างซิสต์ที่มีผนังหนา และผลิตสารเมือกจำนวนมาก ใช้ออกซิเจน อยู่อย่างเป็นอิสระในดิน มีความสำคัญในการตรึงไนโตรเจน ใช้เป็นส่วนประกอบของปุ๋ยชีวภาพ แบคทีเรียตัวแรกในจีนัสนี้ที่ค้นพบคือ \"Azotobacter chroococcum\", ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2444 โดยนักจุลชีววิทยาชาวดัตช์ Martinus Beijerinck \"Azotobacter\" เป็นแบคทีเรียแกรมลบ พบในดินที่เป็นกลางหรือเป็นด่าง ในน้ำและอยู่กับพืชบางชนิด", "title": "Azotobacter" }, { "docid": "322607#5", "text": "ภาวะพิษเหตุติดเชื้อส่วนมาก (ราวร้อยละ 70) เกิดจากแบคทีเรียรูปแท่งแกรมลบที่ผลิตสารชีวพิษภายในตัว (endotoxin-producing Gram-negative bacilli) สารชีวพิษภายในตัวดังกล่าวนี้คือไลโปโพลีแซคคาไรด์ (lipopolysaccharides; LPS) ที่ผนังเซลล์แบคทีเรีย ซึ่งประกอบด้วยแกนเป็นกรดไขมันที่มีพิษชื่อว่า ไลปิด เอ (lipid A) ที่พบได้ในแบคทีเรียแกรมลบทั่วไป และเปลือกโพลีแซคคาไรด์เชิงซ้อน (เช่น โอ แอนติเจน (O antigen)) ที่แตกต่างกันในแต่ละสปีชีส์ นอกจากนี้โมเลกุลของผนังเซลล์แบคทีเรียแกรมบวกและฟังไจก็อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อได้", "title": "ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ" }, { "docid": "322607#17", "text": "กระบวนการของการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราทำให้มีอาการและอาการแสดงที่หลากหลาย ประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยช็อกเหตุพิษติดเชื้อพบเชื้อแบคทีเรียรูปแท่งแกรมลบซึ่งผลิตชีวพิษภายในตัว (endotoxins) แต่จากอุบัติการณ์ของ Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อเมทิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus, MRSA) และการใช้หลอดสวนหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ทำให้เชื้อแบคทีเรียรูปกลมแกรมบวกเป็นสาเหตุได้บ่อยใกล้เคียงกับแบคทีเรียรูปแท่ง การเรียงลำดับความรุนแรงของโรคกลุ่มนี้คร่าวๆ ได้แก่ ภาวะแบคทีเรียหรือเชื้อราในเลือด ภาวะเลือดเป็นพิษ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อรุนแรงหรือกลุ่มอาการภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ช็อกเหตุพิษติดเชื้อที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา กลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะ และเสียชีวิตตามลำดับ", "title": "ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ" }, { "docid": "391957#2", "text": "หมวดหมู่:วิทยาแบคทีเรีย หมวดหมู่:แบคทีเรีย", "title": "แบคทีเรียแกรมลบ" }, { "docid": "391957#1", "text": "ความสามารถในการก่อโรคของแบคทีเรียแกรมลบเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบ ชั้นของลิโปโพลีแซคคาไรด์ (หรือ LPS หรือ ชั้นเอนโดทอกซิน).[1] ในคน LPS จะกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโดยการสร้างไซโตไคน์ การอักเสบ เป็นผลที่เกิดขึ้นจากไซโตไคน์ และเกิดความเป็นพิษต่อเจ้าบ้านได้", "title": "แบคทีเรียแกรมลบ" }, { "docid": "957141#0", "text": "Shigella เป็นชื่อสกุลของแบคทีเรียในวงศ์ Enterobacteriaceae เป็น แบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ (Gram negative bacteria) มีรูปร่างเป็นท่อน ไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนไหว เป็นแบคทีเรียก่อโรค (pathogen) ที่ติดต่อผ่านทางอาหารทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ (infection) ทำให้เกิดโรคบิด หรือshigellosis", "title": "Shigella" }, { "docid": "911215#44", "text": "การดื้อยาโดยธรรมชาติ (intrinsic resistance) ของแบคทีเรียแกรมลบ ต่อไลนิโซลิดมีสาเหตุเนื่องมาจากการผลักยาออกจากเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งการผลักออกจากเซลล์นี้จะเกิดได้ในอัตราที่รวดเร็วกว่าการสะสมยาสู่เซลล์[29][113]", "title": "ไลนิโซลิด" }, { "docid": "25499#0", "text": "แอมพิซิลลิน (Ampicillin) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น Amilin, Ampat, Ampexin, Ampicillin Pharmacia, Ampicyn ออกฤทธิ์คล้ายกับ Benzypeni-Benzypenicillin ยานี้สามารถทำลายแบคทีเรียได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ เช่นเชื้อทำให้เกิดโรคท้องเสีย หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถุงและท่อน้ำดีอักเสบ แผลมีหนอง ฝียานี้ หลังจากผสมน้ำแล้ว สามารถคงตัวได้ 7 วัน ที่อุณหภูมิห้อง (ไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส หรือ 77 องศาฟาเรนไฮส์)", "title": "แอมพิซิลลิน" }, { "docid": "26355#4", "text": "นีโฮมัยซินถูกแยกจากเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces fradiae และStreptomyces albogriseus ได้เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1949 (NBRC 12773)[6] โดยเป็นยาที่เป็นส่วนผสมของนีโอมัยซินบี (neomycin B หรือ framycetin) และอิพิเมอร์ (Epimers) ของมัน คือ นีโอมัยซินซี ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ5–15ของมวลทั้งหมด โดยทั้งสองสารเป็นสารสำคัญในสารผสมนีโอมัยซินที่ออกฤทธิ์ได้ดีในสภาวะที่เป็นด่าง[7] นีโอมัยซินละลายน้ำได้ดีแต่ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์[8] ทั้งนี้ นีโอมัยซินออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ แต่ด้วยการเกิดพิษต่อระบบการได้ยินที่เกิดได้ในอัตราที่สูงมาก จึงทำให้มีการจำกัดการใช้ยานี้ในรูปแบบยาใช้ภายนอกและยาที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากและทางเดินอาหารเท่านั้น[9]", "title": "นีโอมัยซิน" }, { "docid": "911479#0", "text": "ไทกีไซคลีน () เป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบทีเรีย จัดอยู่ในกลุ่มไกลซิลไซคลีน ในปัจจุบันยานี้มีเพียงรูปแบบที่ใช้สำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเท่านั้น ทั้งนี้ ไทกีไซคลีนถูกคิดค้นพัฒนาขึ้นมาเนื่องมาจากการมีอุบัติการณ์การดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่มีอัตราค่อนข้างสูงในปัจจุบัน เช่น \"Staphylococcus aureus\", \"Acinetobacter baumannii\", และ \"Escherichia coli\" เป็นต้น เนื่องด้วยยานี้เป็นหนึ่งในยากลุ่มเตตราไซคลีน การดัดแปลงโครงสร้างของยาจึงสามารถเพิ่มขอบข่ายการออกฤทธิ์ของยาให้ครอบคลุมได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรียบางสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน (multi-drug resistance bacteria) ด้วย", "title": "ไทกีไซคลีน" }, { "docid": "26349#2", "text": "โทบรามัยซินมีขอตเขตการออกฤทธิ์ที่แคบ ส่วนใหญ่แบคทีเรียแกรมลบ มีเพียงแบคทีเรียแกรมบวกสายพันธุ์เดียวที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยโทบรามัยซินได้เป็นอย่างดี คือ \"Staphylococcus aureus\" แต่ในทางคลินิกจะนิยมใช้โทบรามัยซินในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย \"Pseudomonas aeruginosa\" ในผู้ป่วยซิสติก ไฟโบรซิส โดยค่าความเข้มข้นของโทบรามัยซินต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย \"Pseudomonas aeruginosa\" และ \"Klebsiella pneumoniae\" ดังแสดงด้านล่าง:", "title": "โทบรามัยซิน" }, { "docid": "318143#0", "text": "ยากลุ่ม Cephalosporins จัดเป็นยาปฏิชีวนะกลุ่ม B-lactams ที่สกัดจากเชื้อรา \"Cephalosporium acremonium\" ซึ่งสารประกอบที่สกัดได้จากเชื้อรานี้มี 3 ชนิด คือ Cephalosporin P, Cephalosporin N และ Cephalosporin C ซึ่งยาที่ใช้ในปัจจุบันเป็นอนุพันธุ์กึ่งสังเคราะห์ที่ได้จาก Cephalosporin C เพราะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ", "title": "เซฟาโลสปอริน" }, { "docid": "26355#10", "text": "ขอบเขตการออกฤทธิ์ของนีโอมัยซินนั้นมีความคล้าบคลึงกันกับยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมลบได้เป็นอย่างดีอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแกรมบวกได้บางสายพันธุ์ ยานี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการพิษในมนุษย์ โดยมีรายงานการเกิดปฏิกิริยาการแพ้ยาอยู่บ่อยครั้ง[16] ในบางครั้งแพทย์จึงไม่ใช้ยาปฏิชีวนะรูปแบบครีมที่มีส่วนผสมของนีโอมัยซิน เช่น พอลีสปอรีน ซึ่งเป็นสูตรผสมระหว่างบาซิตราซิน และพอลีมัยซินบี และ/หรือเจนตามัยซิน หรือกรามิซิดีน[17] เชื้อแบคทีเรียแกรมลบสำคัญทางการแพทย์ที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยนีโอมัยซินได้ดี ได้แก่ Enterobacter cloacae, Escherichia coli และ Proteus vulgaris ซึ่งมีค่าความเข้มข้นของยาในระดับต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ (Minimum Inhibitory Concentration; MIC) เท่ากับ >16<i data-parsoid='{\"dsr\":[13872,13877,2,2]}'>μ</i>g/ml, 1<i data-parsoid='{\"dsr\":[13892,13897,2,2]}'>μ</i>g/ml, และ 0.25<i data-parsoid='{\"dsr\":[13919,13924,2,2]}'>μ</i>g/ml ตามลำดับ[18]", "title": "นีโอมัยซิน" }, { "docid": "102054#2", "text": "เชื้อในสกุล \"Acinetobacter\" spp. มีลักษณะสำคัญคือเป็นแบบทีเรียรูปร่างกลม-แท่ง ประเภทแกรมลบที่ไม่เคลื่อนไหว (non-motile Gram-negative coccobacilli) ซึ่งบางครั้งอาจติดสีคล้ายแบคทีเรียแกรมบวกได้ รูปร่างของเชื้ออาจเป็นได้ทั้งรูปร่างแบบกลมหรือแบบแท่ง แต่มักจะพบแบบกลมในอาหารเลื้ยงเชื้อแบบเหลว และในช่วงแรกของการเจริญเติบโต นอกจากนี้อาจยังมีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป ทำให้สามารถจำแนกเชื้อชนิดนี้ออกจากเชื้ออื่นๆที่ก่อโรคในสิ่งส่งตรวจได้ยาก", "title": "Acinetobacter" }, { "docid": "26342#53", "text": "ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (Infectious Disease Society of America; IDSA) reported that the weak antibiotic pipeline นั้นไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียที่เพิ่มมากขึ้น โดยนับตั้งแต่ ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา พบว่ามีการค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่และได้รับการรับรองให้ใช้กับมนุษย์ในสหรัฐอเมริกาเพียง 2 ชนิดเท่านั้น โดยในช่วงระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่สำหรับมนุษย์ที่ได้รับการรับรองให้ผลิตเชิงการค้านั้นมีจำนวนที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี โดยในรายงานดังกล่าวระบุว่ามียาปฏิชีวนะชนิดใหม่จำนวน 7 รายการที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมลบสกุลบาซิลลัส (Gram-negative bacilli; GNB) ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยทางคลินิกในขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ถึงกระนั้น ยาดังกล่าวก็ไม่ได้มีขอบเขตการออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียแกรมลบสกุลบาซิลลัสที่พบการดื้อยาปฏิชีวนะในปัจจุบัน[213][214] ตัวอย่างยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบหรือการนำยาปฏิชีวนะชนิดเดิมมาใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อป้องกันการเกิดการดื้อยาของแบคทีเรียหรือขยายขอบเขตการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะชนิดนั้นให้ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียได้หลากหลายมากขึ้น เช่น:", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "26351#5", "text": "เจนตามัยซินออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายสายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ซึ่งรวมถึงสกุลซูโดโมแนส, สกุลโปรตีอัส, เอสเชอริเชีย โคไล, เคลบเซลลา นิวโมเนียเอ, เอนเทอโรแบคเตอร์ แอโรจีเนส, สกุลเซอราเทีย, และแบคทีเรียแกรมบวกในสกุลสแตฟฟิโลคอคคัส[14] โดยยานี้มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ, การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ, การติดเชื้อในกระแสเลือด, และการติดเชื้อในกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนที่มีสาเหตุมาจากจุลชีพดังข้างต้นหรือแบคทีเรียอื่นที่ไวต่อยานี้[15] ทั้งนี้ เจนตามัยซินไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่เกิดจาการติดเชื้อแบคทีเรีย ไนซีเรีย โกโนเรียอี, ไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส หรือลีจิโอเนลลา นิวโมฟิเลีย เนื่องจากจะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะช็อกจากเอนโดทอกซินชนิดลิปิด เอ (lipid A endotoxin) ที่พบในแบคทีเรียแกรมลบดังข้างต้น นอกจากนี้ เจนตามัยซินยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบจำพวกเยอซิเนีย เพสทิส และฟรานซิเซลลา ทิวลาเรนสิส ซึ่งเป็นจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคไข้กระต่ายที่มักพบเกิดขึ้นในพรานล่าสัตว์หรือคนดักสัตว์[16]", "title": "เจนตามัยซิน" }, { "docid": "389717#0", "text": "Endo agar (หรือ Endo's medium) เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีสีชมพู เริ่มแรกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เลี้ยงเชื้อ \"Salmonella typhi\" ปัจจุบันนิยมใช้เลี้ยงโคลิฟอร์ม แบคทีเรียแกรมลบส่วนใหญ่เจริญได้ดีในอาหารนี้ แต่แบคทีเรียแกรมบวกเจริญไม่ได้ โคลิฟอร์มแบคทีเรียจะใช้แลกโตสในอาหารทำให้เกิดสีแดง (เช่น \"Eschericha coli\") ส่วนเชื้อที่ไม่ใช้แลกโตสจะเกิดโคโลนีที่ไม่มีสี , เช่น \"Salmonella\" sp.", "title": "Endo agar" }, { "docid": "911215#17", "text": "จากผลการศึกษาในการศึกษาดังข้างต้นพบว่า การใช้ไลนิโซลิดมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าการใช้แวนโคมัยซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเมื่อทำการรวบรมข้อมูลทั้งหมดแล้วพบว่า ร้อยละ 21.5 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไลนิโซลิดเสียชีวิต ขณะที่อีกหลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยไลนิโซลิดเสียชีวิตเพียงร้อยละ 16 โดยความแตกต่างของอัตราการเสียชีวิตนี้เป็นผลมาจากเชื้อสาเหตุที่ต่างกลุ่มกัน โดยเมื่อจำแนกกลุ่มผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มที่มีเชื้อสาเหตุเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกกับกลุ่มที่มีเชื้อสาเหตุเป็นทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ พบว่าในผู้ป่วยที่มีเชื้อสาเหตุเป็นเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกอย่างเดียวนั้นพบว่าไลนิโซลิดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเทียบเท่ากับแวนโคมัยซิน[54][55] จากผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาออกคำเตือนถึงบุคลากรทางการแพทย์ว่ายังไม่มีการรับรองให้ใช้ไลนิโซลิดในการรักษาโรคติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหรือโรคติดเชื้ออื่นใดที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก และถึงแม้ว่าจะมีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียแกรมลบว่าเป็นเชื้อสาเหตุหรือสงสัยว่าอาจเป็นเชื้อสาเหตุก็ควรเลือกใช้ยาปฏิชีวนะชนิดอื่นที่เหมาะสมเป็นทางเลือกแรกก่อน[54]", "title": "ไลนิโซลิด" }, { "docid": "911479#5", "text": "เป้ามหายการออกฤทธิ์ของไทกีไซคลีนนั้นคือทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรียที่พบเห็นการดื้อยาได้บ่อยอีกบางสายพันธุ์ ข้อมูลความเข้มข้นของยาในระดับต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่สำคัญบางชนิด (Minimal Inhibitory Concentration; MIC) ของไทกีไซคลีน ดังแสดงต่อไปนี้ได้:", "title": "ไทกีไซคลีน" }, { "docid": "26349#0", "text": "โทบรามัยซิน () เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งแยกได้จากเชื้อแบคทีเรีย \"Streptomyces tenebrarius\" และถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด โดยเฉพาะอย่าง การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ทั้งนี้ โทบรามัยซินสามารถออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียสกุลซูโดโมแนสได้", "title": "โทบรามัยซิน" }, { "docid": "911479#2", "text": "ไทกีไซคลีนถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (complicated skin and structure infections), การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน (complicated intra-abdominal infections) และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (community-acquired bacterial pneumonia) ขอบข่ายการออกฤทธิ์ของไทกีไซคลีน ดังแสดงต่อไปนี้\nการบริหารยาไทกีไซคลีนนั้นสามารถบริหารยาได้เฉพาะการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเท่านั้น โดยยานี้มีขอบข่ายการออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบหลายสายพันธุ์ นอกจากนี้แล้วยังออกฤทธิ์ครอบคลุมถึงจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนได้บางชนิด โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอื่นที่มีใช้อยู่ก่อน เช่น methicillin-resistant \"Staphylococcus aureus\" (MRSA) และ \"Acinetobacter baumannii\" แต่ไม่มีผลต่อเชื้อสกุล \"Pseudomonas\" \"spp\". และ \"Proteus\" \"spp\". ปัจจุบันไทกีไซคลินผ่านการทดลองทางคลินิกในขั้นที่ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน, การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยพบว่ายานี้ในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำมีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อนได้เทียบเท่ากับแวนโคมัยซินและแอซทรีโอนัมรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นอย่างน้อย และมีประสิทธิภาพเทียบเคียงได้กับอิมมิพีเนม/ซิลลาสตาตินในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน", "title": "ไทกีไซคลีน" } ]
3898
ใหม่ เจริญปุระ มีบิดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "51656#1", "text": "ใหม่ เจริญปุระ เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของนาย สุรินทร์ เจริญปุระ (รุจน์ รณภพ) และนางวินีย์ สนธิกุล มีพี่สาว 3 คน คือ เวณิก เจริญปุระ (แมว), พลอย เจริญปุระ (ปู), วิภาวี เจริญปุระ (กุ้ง) มีน้องสาวต่างมารดาคือ ทราย เจริญปุระ ใหม่ เจริญปุระ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2512 เริ่มเรียนหนังสือชั้นต้นที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ แล้วจึงย้ายไปเรียนต่อที่แฟรีทั่นสคูล เมืองเค้นนอกกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ความฝันของใหม่ในยามนั้นคือ \"จิตรกรเอก\" แต่เนื่องจากได้รับอิทธิพลทางสายเลือดจากคุณพ่อ ทำให้เธอใช้เวลาว่างส่วนใหญ่หมดไปกับการดูหนัง ร้องเพลงและ เล่นละครให้คนทางบ้านดู และเมื่อครอบครัวไปทานข้าวที่โรงแรมมณเทียร ค่ำคืนนั้นได้มีการเปิดตัวภาพยนตร์ และ สมบัติ เมทะนี พระเอกภาพยนตร์เรื่องนี้เคยรู้จักสนิทสนมกับครอบครัวของใหม่จึงชักชวนให้ไปร่วมงาน หลังจากงานเลิกแล้วเธอจึงรวบรวมความกล้าของตัวเอง เดินเข้าไปสมัครเล่นหนังเอง กับ ไพจิตร ศุภวารี โดยมิได้บอกว่าเธอเป็นลูกสาวของใคร และในปี 2527 ก็กำเนิดดาวดวงใหม่ขึ้นในวงการภาพยนตร์ไทยในชื่อ \"ใหม่ สิริวิมล\"", "title": "ใหม่ เจริญปุระ" } ]
[ { "docid": "51656#12", "text": "ปี 2553 คอนเสิร์ต Mai OnThe Beach (1รอบ) โอเชียน มารีน่า ยอร์ช คลับ พัทยา จ.ชลบุรี", "title": "ใหม่ เจริญปุระ" }, { "docid": "130993#1", "text": "ทราย เจริญปุระ มีชื่อจริงว่า อินทิรา เจริญปุระ เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นบุตรของนายสุรินทร์ เจริญปุระ หรือ รุจน์ รณภพ ผู้กำกับภาพยนตร์ ที่เกิดกับนางสุภาภรณ์ เจริญปุระ โดยเป็นบุตรคนโต มีน้องชายและน้องสาวร่วมมารดา คือ ภวัต เจริญปุระ (ท็อฟฟี่) และภรณ์รวี เจริญปุระ (น้ำพราว)", "title": "ทราย เจริญปุระ" }, { "docid": "139528#32", "text": "ปี 2555 ขึ้นคอนเสิร์ตใหญ่อีกครั้งกับ \"คอนเสิร์ต Dee & Seefa “The Lyrics of Love” พบกับทุกมุมมองความรัก จากปลายปากกาของ นิติพงษ์ ห่อนาค และนิ่ม สีฟ้า แอม เสาวลักษณ์แสดงร่วมกับ ใหม่ เจริญปุระ, จิรายุส วรรธนะสิน , คริสติน่า อากีล่าร์ ฯลฯ ในวันเสาร์ที่ 4 และอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ ณ Royal Paragon Hall แล้วก็มาถึงคอนเสิร์ตฉลอง 30 ปีของเธอกับ \"I am What I Amp Concert\" ในวันที่ 2-3 มิถุนายน ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ มีแขกรับเชิญเซอร์ไพรส์ทั้ง ใหม่ เจริญปุระ, มาช่า วัฒนพานิช, หฤทัย ม่วงบุญศรี, นัท มีเรีย, นิโคล เทริโอ และภัครมัย โปตระนันท์ ฯลฯ", "title": "เสาวลักษณ์ ลีละบุตร" }, { "docid": "51656#3", "text": "พ.ศ. 2534 - และเธอก็มีคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกหลังจากออกอัลบั้มมาแล้ว 2 ชุด ด้วยกระแสตอบรับที่ดีมากจากแฟนเพลงในชื่อว่า \"คอนเสิร์ต ใหม่ ร้อง เต้น เล่นละคร\" ณ MBK Hall หรือ เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ในปัจจุบันตัวคอนเสิร์ตที่นอกจากจะได้รับการตอบรับที่ดียังมีแขกรับเชิญคนสำคัญของใหม่ รุจณ์ รณภพ และคุณพ่อของเธอนั่นเอง ในปีนี้ใหม่มีทัวร์คอนเสิรตอย่างหนักและเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันในต่างประเทศและผลงานการแสดงทิ้งทวนเรื่อง \"ผู้หญิงแถวหน้า\" กับค่ายกันตนาโดยแสดงนำคู่กับ นพพล โกมารชุน และ จอนนี่ แอนโฟเน่ ก็ไม่สามารถถ่ายทำในตอนจบ ซึ่งตอนหลังความกระจ่างขึ้นเมื่อมีข่าวใหม่ชนะคดีกับตำรวจในแอลเอซึ่งได้เข้าใจผิดในตัวเธอลงหน้าหนึ่งไทยรัฐ", "title": "ใหม่ เจริญปุระ" }, { "docid": "130993#2", "text": "นอกจากนี้ยังมีพี่สาวต่างมารดา 4 คน คือ เวณิก เจริญปุระ (แมว), พลอย เจริญปุระ (ปู), วิภาวี เจริญปุระ (กุ้ง) และสิริวิมล เจริญปุระ (ใหม่) ทราย เข้าสู่วงการโดยการชักชวนของสุพล วิเชียรฉาย มีผลงานละครเรื่องแรกเมื่ออายุ 13 ปี คือเรื่อง “ล่า” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยแสดงร่วมกับสินจัย หงษ์ไทย และจักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ จากนั้นจึงได้แสดงละครอีกหลายเรื่อง เช่น บ้านสอยดาว กองพันทหารเกณฑ์ เจ้าสัวน้อย ฯลฯ จุดเด่นอย่างหนึ่งของเธอก็คือการมีส่วนสูงที่สะดุดตา เนื่องจากเธอสูงถึง 173 เซนติเมตร ", "title": "ทราย เจริญปุระ" }, { "docid": "185846#2", "text": "เรื่องราวแห่งความรักระหว่าง อิงอร (สิริวิมล เจริญปุระ หรือ ใหม่ เจริญปุระ) กฤช (อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม) และ แพร (ซัน คัมภิรานนท์) เด็กหญิงวัย 7 ขวบ เกิดขึ้นในสถานการณ์บีบบังคับ เมื่ออิงอรจำยอมพาแพร ซึ่งเป็นลูกสาวไปพบกฤชเพื่อวินิจฉัยอาการป่วย กฤชเป็นแพทย์หนุ่มที่มีแต่ความหดหู่อาลัยในชีวิต และนั่นเป็นครั้งแรกที่กฤชได้พบกับอิงอรและแพรเด็กสาวที่น่าสงสาร", "title": "เมมโมรี่ รักหลอน" }, { "docid": "320932#1", "text": "หลังจากรัชสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน มีกษัตริย์ปกครองอีก 2 พระองค์ คือพระเจ้าภววรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 หลังจากนั้นบ้านเมืองเกิดความแตกแยก อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน กลายเป็น เจนละบก และ เจนละน้ำ ทำให้เมืองอีศานปุระถูกลดความสำคัญลง และต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เชื้อสายของพระเจ้าอิศานวรมัน ได้รวบรวมทั้งสอง และสถาปนาอาณาจักรขึ้นใหม่ ชื่อว่า \"ยโศธรปุระ\" หรือเมืองพระนคร บริเวณจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน", "title": "อาณาจักรอิศานปุระ" }, { "docid": "375388#3", "text": "ดาวิกา เดิมชื่อ \"ดาวิก้า\" มาจากชื่อนางเอกภาพยนตร์รัสเซียที่บิดาชื่นชอบชื่อนี้ ส่วนชื่อเล่น \"ใหม่\" มาจากชื่อของใหม่ เจริญปุระ นักร้องที่มารดาชื่นชอบ", "title": "ดาวิกา โฮร์เน่" }, { "docid": "320932#0", "text": "อาณาจักรอิศานปุระ หรือ อาณาจักรเจนละ เป็นอาณาจักรโบราณ เจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ปัจจุบันคือภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และตอนล่างของประเทศลาว สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือพระเจ้าจิตรเสน ผู้ครองแคว้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู หลังจากที่ได้รับการสืบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอิศานวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์ราว พ.ศ. 1153 - พ.ศ. 1198 ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ในที่สุดก็ได้ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน เป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่า \"อิศานปุระ\"\nเมืองอิศานปุระ ที่พระเจ้าอิศานวรมันสถาปนาขึ้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (สมโบไพรกุก) ในเขตจังหวัดกัมปงธม ในประเทศกัมพูชา ซึ่งปรากฏหลักฐานปราสาทอิฐ ศาสนสถานในศาสนาฮินดูจำนวนมาก", "title": "อาณาจักรอิศานปุระ" }, { "docid": "51656#19", "text": "ปี 2542 Mai's Life ปี 2554 Mai Born 2 Love U", "title": "ใหม่ เจริญปุระ" }, { "docid": "51656#0", "text": "ใหม่ เจริญปุระ (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2512) เป็นนักร้อง Diva และนักแสดงชาวไทยระดับซุปเปอร์สตาร์หญิงแถวหน้าของเมืองไทย มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกคือ ขอแค่คิดถึง ในปี พ.ศ. 2527 โดยใช้ชื่อว่า \"ใหม่ สิริวิมล\" และประเดิมละครเรื่องแรก คนเริงเมือง พ.ศ. 2531 ให้กับไทยทีวีสีช่อง 3 อัลบั้มชุดแรก ไม้ม้วน ในปี พ.ศ. 2532 ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลนักร้องหน้าใหม่จากเวทีสีสันอะวอดส์ และในปี พ.ศ. 2535 อัลบั้ม ความลับสุดขอบฟ้า สามารถทำสถิติ นักร้องหญิงของแกรมมี่คนแรกที่สร้างยอดขายเทปทะลุ 2 ล้านตลับ เธอยังสามารถคว้ารางวัลจากสีสันอะวอดส์อีกครั้งในฐานะศิลปินหญิงยอดเยี่ยมจากอัลบั้ม \"แผลงฤทธิ์\" ในปี พ.ศ. 2541 และใหม่ยังได้รับฉายา Queen of poprock ยุค 90 อีกด้วย", "title": "ใหม่ เจริญปุระ" }, { "docid": "139528#22", "text": "ปี 2545 มีคอนเสิร์ตเดี่ยวอีกครั้ง \"Song & Story เรื่องเล่ากับเสียงเพลง\" แล้วก็คอนเสิร์ตรวมศิลปิน ดารา อย่าง \"คอนเสิร์ต 10 ปี Exact\" แสดงร่วมกับ ใหม่ เจริญปุระ, คริสติน่า อากีล่าร์, สินจัย เปล่งพานิช, เจษฎาภรณ์ ผลดี, ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีคอนเสิร์ตที่รวมตัวชาวดีว่าส์ของเมืองไทยอย่าง ใหม่ เจริญปุระ, หฤทัย ม่วงบุญศรี, นันทิดา แก้วบัวสาย และวิยะดา โกมารกุล ณ นคร ใน \"The Divas Concert\"", "title": "เสาวลักษณ์ ลีละบุตร" }, { "docid": "51656#8", "text": "ปี 2532 ละครซิทคอม ตะกายดาว ช่อง 9", "title": "ใหม่ เจริญปุระ" }, { "docid": "380963#1", "text": "ปราสาทบาปวนมีลักษณะเป็นรูปทรงพีระมิด มีฐานเป็นชั้น ๆ ส่วนบนสุด เป็นปราสาทประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะของตัวปราสาทประธานมียอดเรียวแหลม คล้ายกับปราสาทพนมรุ้ง มีระเบียงคตถึงสามชั้นที่เชื่อมต่อกันได้ตลอด โคปุระขนาดใหญ่สุด อยู่ทางด้านทิศตะวันออก เครื่องบนของโคปุระ ทำด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ซึ่งผุผังไปตามกาลเวลา โดยมีร่องรอยของการเจาะคานไว้บนหน้าบัวของโคปุระ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานของศิวลึงค์ทองคำ สัญลักษณ์แทนพระศิวะ แต่ได้สูญหายไปนานแล้ว ปราสาทบาปวนจัดได้ว่าเป็นต้นแบบของศิลปะแบบบาปวนโดยแท้จริง และเป็นศิลปะร่วมแบบเขมรของปราสาทในประเทศไทยหลายแห่งด้วยกัน ซึ่งลักษณะเด่นของศิลปะสมัยนี้ ได้แก่ ภาพสลักเล่าเรื่องทำเป็นช่องเล็ก ๆ ต่อเนื่องกันลงมาในแนวดิ่ง แต่ในสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเข้ามาแทนที่ในศาสนาพราหมณ์ ปราสาทบาปวนถูกรื้อลงไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพื่อนำไปสร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านหลังปราสาท ร่องรอยต่าง ๆ ถูกโกลนเพื่อให้เข้ากับลักษณะของพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ทางรัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ทำการรื้อและสำรวจทำหมายเลขกันใหม่ จนกระทั่งมาถึงยุคเขมรแดง เอกสารแผนผังการจัดทำการบูรณะปราสาทบาปวนถูกเผาทำลายจนราบเรียบ", "title": "ปราสาทบาปวน" }, { "docid": "543960#3", "text": "ชัยปุระยุคใหม่นั้นก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1727 โดยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 แห่งอาเมร์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชปุตราชวงศ์กาญจวาหา (Kachchwaha) ซึ่งปกครองระหว่างปีค.ศ. 1699 - ค.ศ. 1744 ซึ่งปกครองที่เมืองหลวงชื่อว่า \"อาเมร์\" (Amber) ตั้งอยู่ห่างจากชัยปุระเป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร โดยเหตุผลในการย้ายเมืองหลวงนั้นเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามมาด้วยการขาดแคลนแหล่งน้ำที่รุนแรงมากขึ้น พระองค์ได้ทรงศึกษาตำราสถาปัตยกรรมมากมาย พร้อมทั้งที่ปรึกษาต่างๆก่อนจะทำผังเมืองของชัยปุระ ในที่สุด ด้วยความช่วยเหลือของสถาปนิกคนสำคัญคือ \"วิทยาธร ภัตตาจารย์\" (Vidyadhar Bhattacharya) ปราชญ์วรรณะพราหมณ์จากเบงกอล ซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้าสถาปนิกของมหาราชา ซึ่งช่วยวางแผนและออกแบบอาคารต่างๆ รวมถึงพระราชวังหลวงใจกลางเมือง พร้อมทั้งกำแพงเมืองอย่างหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามกับจักรวรรดิมราฐา นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้ที่รักทางด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ทำให้ชัยปุระนั้นเกิดขึ้นได้อย่างสำเร็จด้วยองค์ประกอบสถาปัตยกรรมตามหลักของวัสดุศาสตร์ (Vastu Shastra) และหลักจากตำราอื่นๆ", "title": "ชัยปุระ" }, { "docid": "130993#0", "text": "ทราย เจริญปุระ (23 ธันวาคม พ.ศ. 2523 -) มีชื่อจริงว่า อินทิรา เจริญปุระ มีชื่อเล่นว่า \"ทราย\" เป็นนักแสดง นักร้องชาวไทย เป็นบุตรสาวของอดีตนักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง รุจน์ รณภพ มีศักดิ์เป็นน้องสาวต่างมารดากับใหม่ เจริญปุระ", "title": "ทราย เจริญปุระ" }, { "docid": "231709#0", "text": "เชือดก่อนชิม เป็นภาพยนตร์ไทยแนวลึกลับสยองขวัญของค่ายพระนครฟิลม์ ออกฉายในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552 ผลงานการกำกับของทิวา เมยไธสง โดยมีพจน์ อานนท์เป็นผู้อำนวยการสร้าง นำแสดงโดย ใหม่ เจริญปุระ,รัตนบัลลังก์ โตสวัสดิ์ ,ปิยวัฒน์ นิวาตวงศ์,พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ ,จิรัชญา จิรรัชชกิจ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับบุษ (ใหม่ เจริญปุระ) เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อสูตรโบราณที่ธุรกิจร้านกำลังแย่นอกจากนั้นยังต้องจ่ายหนี้ที่สามีก่อไว้ แต่วันหนึ่งเธอได้นำเอาเนื้อคนมาทำก๋วยเตี๋ยวและทำให้ธุรกิจร้านไปได้สวย นอกจากนั้นเธอยังได้พบกับอรรถพลนักศึกษามหาลัยที่คอยเอาใจใส่เธอ แต่กลับเกิดเรื่องกับน้องบัวน้องสาวต่างวัยของเธอที่ถูกประวิทย์และอ้อยฆ่าและอรรถพลที่หันไปคบกับนิดา เรื่องเหล่านี้ทำให้บุษเคียดแค้นใจและพร้อมที่จะล้างแค้นทุกคนที่ขวางทางเธอ ", "title": "เชือดก่อนชิม" }, { "docid": "983902#2", "text": "ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2531) ออกอากาศเป็นภาพยนตร์ไทยฟิลม์ ผลิตโดย พูนทรัพย์โปรดักชั่น นำแสดงโดย ใหม่ เจริญปุระ, ลิขิต เอกมงคล, อภิรดี ภวภูตานนท์,อภิชาติ หาลำเจียก, ไพโรจน์ ใจสิงห์, มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช, สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์", "title": "เรือมนุษย์" }, { "docid": "51656#21", "text": ": MAI-TINA BEAUTY ON THE BEAT CONCERT เปิดแสดง เสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2552 Impact Arena เมืองทองธานี : แอน-อั้ม-ใหม่-อนันดา คว้าดารานำยอดเยี่ยม สตาร์ อวอร์ด 2551 : เปิดแสดง วันที่ 27 มิถุนายน 2541", "title": "ใหม่ เจริญปุระ" }, { "docid": "227244#0", "text": "รุจน์ รณภพ (พ.ศ. 2474 — 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552) มีชื่อจริงว่า \"สุรินทร์ เจริญปุระ\" อดีตนักแสดง นักเขียนบท ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้กำกับละครโทรทัศน์ เข้าเรียนที่โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ มักกะสัน เลขประจำตัว 1286 เมื่อปี พ.ศ. 2494 รุ่นที่ 11 ผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือภาพยนตร์เรื่อง บ้านทรายทอง ฉบับที่ จารุณี สุขสวัสดิ์ และพอเจตน์ แก่นเพชร นำแสดง เมื่อ พ.ศ. 2522 นอกจากนี้ ยังเป็นบิดาของนักร้องและนักแสดง คือ ใหม่ เจริญปุระ และวิภาวี เจริญปุระ (เกิดกับวินีย์ สนธิกุล ภรรยาคนแรก) และ ทราย เจริญปุระ (เกิดกับสุภาภรณ์ เจริญปุระ ภรรยาคนที่สอง)", "title": "รุจน์ รณภพ" }, { "docid": "130993#6", "text": "ทราย เจริญปุระ ยังเขียนบทความประจำ คอลัมน์ \"รักคนอ่าน\" โดยรีวิวหนังสือต่างๆลงในนิตยสารมติชน สุดสัปดาห์ด้วย", "title": "ทราย เจริญปุระ" }, { "docid": "51656#4", "text": "พ.ศ. 2535 - ฟ้าหลังฝนย่อมสดใสเสมอใหม่กลับมามีผลงานละครอีกครั้ง ในเรื่อง \"วังน้ำวน\" ประชันบทบาทกับ มาช่า วัฒนพานิช และ ณหทัย พิจิตรา ซึ่งดังเป็นพลุแตกจากบทอาโป พร้อมทั้งเพลงประกอบโฆษณารถยนต์โตโยต้า รักแล้วรักเลย ก็ส่งผลให้ชื่อของใหม่กลับมาดังสุดๆอีกครั้ง และใหม่ยังกลับมาสานต่อความดังด้วยผลงานเพลงอัลบั้มชุดที่ 3 ในชื่อ \"ความลับสุดขอบฟ้า\" ก็ตามติดออกมาอีกเช่นกัน อัลบั้มนี้ได้ยกไปถ่ายทำมิวสิควิดีโอถึงประเทศอียิปต์และเธอเปิดอัลบั้มนี้ด้วยเพลง \"เสียใจได้ยินไหม\" มิวสิควิดีตัวแรกเป็นภาพหญิงสาวผมหยิกสั้นยืนพิงกำแพง ร้องเพลงสื่ออารมณ์ เรียบง่ายจนมิวสิกวิดีโอเพลงนี้ได้เข้าชิงมิวสิควิดีโอ MTV Video Music Award – International Viewer's Choice แม้จะพลาดรางวัลไป แต่อัลบั้มนี้ยังคงได้รับการตอบรับอย่างถล่มทะลายที่สุดในปีนั้นและใหม่ยังเป็นนักร้องหญิงไทยคนแรกที่มียอดขายเกินสองล้านตลับและมียอดรวมทั้งหมดที่ 2.6 ล้านตลับ [1] เพลงดังๆ เกือบทั้งอัลบั้มที่ติดหูคนฟังทั่วประเทศได้แก่ \"รักแล้วรักเลย\",“เธอรู้หรือเปล่า” , “ไม่มีปัญหา” , “หนักเกินไปแล้ว” , “สุดฤทธิ์สุดเดช \"ต่อไปนี้ไม่มีใคร” ฯลฯ แถมใหม่ยังมีคอนเสิร์ตใหญ่ของตัวเองถึง 2 ครั้ง คือ \"คอนเสิร์ต Mai สุดขอบ\"ที่ใหม่ได้ร้องและเต้นแบบสุดขอบและยังได้รับการต้อนรับจากแฟนๆอย่างเป็นอย่างดีจนต้องจัดคอนเสิร์ตเพื่อขอบคุณแฟนๆอีกครั้ง ในชื่อว่า\"คอนเสิร์ต Mai Encore for Thank You\" จัดขึ้นที่ MBK Hall และเธอเป็นตัวแทนนักร้องหญิงของประเทศไทยได้ร่วมขึ้นร้องเพลงสากลบนเวทีนางงามจักรวาล ปี1992 ที่จัดขึ้นในประเทศไทยอีกด้วย และในปีนี้เองสื่อมวลชนก็ได้ยกย่องเธอเป็นซุปเปอร์สตาร์หญิงอีกคนของเมืองไทย เรียกได้ว่าเป็นปีทองของผู้หญิงคนนี้จริงๆ", "title": "ใหม่ เจริญปุระ" }, { "docid": "567364#7", "text": "ส่วนแขกรับเชิญ ประกอบด้วยศิลปินซึ่งเป็นต้นแบบจากคอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ ครั้งแรก คือ ใหม่ เจริญปุระ คริสติน่า อากีล่าร์ มาช่า วัฒนพานิช ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์ และ เสาวลักษณ์ ลีละบุตร ", "title": "คอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้" }, { "docid": "281195#11", "text": "- SCNYL Family Concert ไทยพาณิชย์นิวยอร์กไลฟ์ประกันชีวิต อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี : ศิลปิน บี้ เดอะสตาร์ / ใหม่ เจริญปุระ : เมื่อวันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552", "title": "รายชื่อผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว" }, { "docid": "51656#16", "text": "ปี 2552 คอนเสิร์ต Seefah Music On The Beach (แขกรับเชิญ) ปี 2553 คอนเสิร์ต 25 ปี ไมโคร อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (แขกรับเชิญ)", "title": "ใหม่ เจริญปุระ" }, { "docid": "51656#9", "text": "ปี 2529 ละครเวที ไร่แสนสุข ปี 2530 ละครเวที บ้าก็บ้าวะ ปี 2558 ละครเวที แผ่นดินของเรา เดอะมิวสิคัล", "title": "ใหม่ เจริญปุระ" }, { "docid": "190373#20", "text": "ร้องเพลง เสียใจได้ยินไหม ของ ใหม่ เจริญปุระ และแพ้ให้กับหน้ากากอียิปต์ หรือ แนนซี่ นันทพร ในรอบแรก", "title": "สุนารี ราชสีมา" }, { "docid": "661383#1", "text": "โดยมีกรรมการตัดสินที่สามารถ \"เก็บ\" ผู้เข้าแข่งขันได้ในแต่ละรอบ นั่นคือ “เจ – เจตริน วรรธนะสิน” และ “ใหม่ เจริญปุระ” โดยมี ดีเจภูมิ ภูมิใจ ตั้งสง่า เป็นพิธีกร", "title": "ร้องสู้ไฟ Keep Your Light Shining Thailand" }, { "docid": "507052#1", "text": "พิมรา เจริญภักดี เกิดวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เกิดที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวเพียงคนเดียวของพลอย เจริญปุระ มารดาเป็นบุตรของรุจน์ รณภพ เป็นพี่สาวของใหม่ เจริญปุระ และทราย เจริญปุระ พิมราสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต และปริญญาโท คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขาการจัดการวัฒนธรรม ภาคภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", "title": "พิมรา เจริญภักดี" } ]
3900
ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี ตั้งแสดงอยู่ที่ใด?
[ { "docid": "246571#0", "text": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี (English: Arnolfini Portrait), การแต่งงานของอาร์นอลฟีนี (English: The Arnolfini Wedding) หรือ ภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี และภรรยา (Dutch: Portret van Giovanni Arnolfini en zijn vrouw; English: Portrait of Giovanni Arnolfini and his Wife) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้โอ๊กที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ จิตรกรเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" } ]
[ { "docid": "246571#22", "text": "สุนัขเป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดี[8] หรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์ของความไคร่ ที่ชี้ให้เห็นถึงความต้องการที่จะมีบุตรธิดาของคู่สามีภรรยา[10]", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#16", "text": "ข้อคิดเห็นใหม่ของมาร์กาเรต คอสเตอร์กล่าวว่าเป็นภาพเขียนแบบอนุสรณ์ของภรรยาผู้เสียชีวิตไปราวปีหนึ่งก่อนหน้านั้นซึ่งลบล้างทฤษฎีต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "221353#6", "text": "ม้วนหนังสือและหนังสือบนโต๊ะหน้าเวอร์จินแมรีเป็นสัญลักษณ์ของพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ และบทบาทของแมรีและพระเยซูเป็นการทำให้คำพยากรณ์ในอดีตกลายมาเป็นความจริง ดอกลิลีในแจกันบนโต๊ะเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพรหมจารีของแมรี สิงโตที่ตกแต่งบนแขนเก้าอี้อาจจะเป็นเป็นเครื่องหมายที่ระบุความสำคัญของที่นั่ง ที่อาจจะเป็นสัญลักษณ์ของบัลลังก์แห่งปัญญา (Throne of Wisdom) หรือบัลลังก์ของโซโลมอน ซึ่งพบในภาพเขียนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียนทางศาสนาหรือไม่เช่นใน \"ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี\" (Arnolfini Portrait) ของฟัน ไอก์ การจัดที่สำหรับซักล้างทางด้านหลังของภาพเป็นการจัดที่แปลกกว่าการตกแต่งภายในโดยทั่วไปที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการมีอ่างพิสซีนา (piscina) สำหรับนักบวชล้างมือระหว่างพิธีมิสซา โต๊ะสิบหกเหลี่ยมอาจจะหมายถึงประกาศกฮีบรูสิบหกคน และโดยทั่วไปแล้วโต๊ะจะหมายถึงแท่นบูชา โดยมีผู้ทำพิธีเป็นเทวดาเกเบรียลที่แต่งตัวอย่างนักบวช ภาพเขียนนี้ก็เช่นเดียวกับภาพ \"การประกาศของเทพ\" ของยัน ฟัน ไอก์ ที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ซับซ้อนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการประกาศของเทวดาเกเบรียลกับพิธีมิสซาของศีลศักดิ์สิทธิ์ (Sacraments) ของศีลมหาสนิท (Eucharist) [5] แมรีนั่งบนพื้นเพื่อเป็นการแสดงความถ่อมตัว รอยพับบนเสื้อตรงเข่าเล่นกับแสงที่ดูเหมือนดวงดาวที่อาจจะเป็นนัยเปรียบเทียบว่าพระองค์เป็นดาราแห่งดารา", "title": "ฉากแท่นบูชาเมรอด" }, { "docid": "246571#27", "text": "วงกลมเล็ก ๆ รอบกรอบกระจกนูน (convex mirror) บนผนังในฉากหลังของภาพวาดจากฉากของทุกขกิริยาของพระเยซู และอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของคำสัญญาของพระเจ้าที่จะทรงไถ่บาปให้แก่ผู้ที่ปรากฏอยู่ในกระจก นอกจากนั้นถ้าตีความหมายว่าเป็นภาพอนุสรณ์แล้วภาพทุกขกิริยาทางด้านภรรยาก็เป็นภาพการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูและการคืนชีพของพระองค์ ภาพทางสามีเป็นภาพที่เกี่ยวกับพระเยซูขณะที่ยังมีพระชนม์อยู่", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#14", "text": "ตั้งแต่นั้นมาก็มีการโต้แย้งกันในหัวข้อนี้ นักประวัติศาสตร์ศิลปะเอ็ดวิน ฮอลล์กล่าวว่าเป็นภาพที่แสดงการหมั้นหมายไม่ใช่การแต่งงาน ส่วนมาร์กาเรต ดี. แคร์รอลล์ นักประวัติศาสตร์ศิลปะอีกคนหนึ่งโต้ว่าเป็นภาพเขียนที่แสดงการตกลงทางธุรกิจระหว่างสามีและภรรยาในบทความชื่อ \"ในนามของพระเจ้าและผลประโยชน์: \"ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี\" โดยยัน ฟัน ไอก์\" ที่เขียนในปี ค.ศ. 1993", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#18", "text": "การวางท่าของบุคคลสองคนในภาพเป็นลักษณะการวางภาพตามที่ใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่แสดงการสมรสและบทบาทของเพศ – สตรียืนใกล้เตียงและลึกเข้าไปในห้องทางด้านขวาของภาพเป็นสัญลักษณ์ของบทบาทในฐานะผู้ดูแลบ้าน ขณะที่โจวันนียืนอยู่ริมหน้าต่างที่เปิดที่เป็นสัญลักษณ์ของหน้าที่ที่มีในโลกภายนอก โจวันนีมองตรงมายังผู้ชมภาพโดยยกมือขวาขึ้นมาเป็นการแสดงว่าเป็นผู้มีอำนาจขณะที่มือของภรรยาอยู่ต่ำกว่าและแสดงความอ่อนน้อมกว่า", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#7", "text": "ภาพนี้เป็นภาพที่แสดงถึงความมั่งคั่งของผู้เป็นแบบ ที่จะเห็นได้จากแต่งตัวอย่างหรูหราที่เป็นเสื้อผ้าสำหรับหน้าหนาวที่มีเสื้อคลุมทับแม้ว่าภายนอกจะเป็นหน้าร้อน ชายเสื้อโค้ทสั้นของสามีและเสื้อของภรรยาตกแต่งด้วยขนสัตว์ ซึ่งอาจจะเป็นขนสัตว์ที่มีราคาเช่นขนเซเบิล (sable) สำหรับชาย และเออร์มินสำหรับสตรี แต่อาร์นอลฟีนีใส่หมวกย้อมสีดำซึ่งเป็นหมวกที่ใช้สวมกันในหน้าร้อนในขณะนั้น เสื้อโค้ทสั้นอาจจะเป็นสีม่วงกว่าที่เห็นในปัจจุบันเพราะสีที่จางไป เนื้อผ้าที่ใช้ทำอาจจะเป็นกำมะหยี่ไหมซึ่งเป็นของที่มีราคาสูงอีกเช่นกัน เสื้อชั้นในเสื้อโค้ทเป็นเสื้อที่มีลายทอที่อาจจะเป็นดามาสค์ไหม เสื้อของภรรยามีกรุยจีบตกแต่งแขนเสื้ออย่างละเอียดเป็นชายยาวที่เรียกว่า dagging เช่นที่เห็นในภาพ เสื้อชั้นในก็มีชายที่แต่งด้วยขนสัตว์", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#20", "text": "ต้นเชอร์รีที่ออกผลอยู่นอกหน้าต่างอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ส้มที่ตั้งอยู่บนขอบหน้าต่างและหีบใต้หน้าต่างอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และไร้เดียงสาในสวนอีเด็นก่อนการถูกขับจากสวรรค์[8] การใช้ส้มเป็นสัญลักษณ์ในทางปรัชญาเช่นนี้ไม่ใช้กันนักในเนเธอร์แลนด์และถ้าใช้ก็เป็นการแสดงความมั่งคั่ง แต่ในอิตาลีส้มเป็นสัญลักษณ์ของความสามารถในการมีบุตรธิดาของคู่สมรส[9]", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#4", "text": "ภาพนี้เป็นภาพที่เชื่อกันอยู่เป็นเวลานานว่าเป็นภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี และโจวันนา เชนามี (ภรรยา) ภายในห้องแบบเฟลมิช แต่ในปี ค.ศ. 1997 ก็เป็นที่ทราบว่าอาร์นอลฟีนีและเชนามียังไม่แต่งงานกันในปี ค.ศ. 1447 ซึ่งเป็นเวลาสิบสามปีหลังจากปีที่ระบุว่าเป็นปีที่เขียนภาพและหกปีหลังจากที่ฟัน ไอก์ เสียชีวิตไปแล้ว ในปัจจุบันจึงเชื่อกันว่าเป็นภาพเขียนของลูกพี่ลูกน้องของโจวันนี ดี อาร์รีโก ที่ชื่อโจวันนี ดี นีโกลาโอ อาร์นอลฟีนี และภรรยา ที่อาจจะเป็นภรรยาคนที่สองที่ไม่มีเอกสารระบุ หรือตามทฤษฎีที่เสนอเมื่อไม่นานมานี้ว่าเป็นภรรยาคนแรกที่ชื่อคอสสแตนซา เทรนทาผู้ที่เสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1433[2] ตามทฤษฎีนี้ก็ทำให้ภาพนี้กลายเป็นภาพอนุสรณ์แสดงให้เห็นภาพของผู้ที่ยังมีชีวิตคนหนึ่งและผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วอีกคนหนึ่ง โจวันนี ดี นีโกลาโอ อาร์นอลฟีนีเป็นพ่อค้าชาวอิตาลีที่เดิมมาจากเมืองลุกกาผู้มาตั้งถิ่นฐานในเมืองบรูชอย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1419[3] อาร์นอลฟีนีเป็นแบบสำหรับภาพเหมือนอีกภาพหนึ่งที่เขียนโดยฟัน ไอก์ที่ปัจจุบันอยู่ที่เบอร์ลิน ที่ทำให้สันนิษฐานกันว่าอาจจะเป็นเพื่อนกับจิตรกร[4]", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#31", "text": "ประวัติการเป็นเจ้าของของภาพเขียนเท่าที่ทราบตามลำดับเวลา:[11]", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#3", "text": "จากการศึกษาภาพนี้อย่างละเอียด ศิลปินเดวิด ฮอกนีย์ (David Hockney) และนักฟิสิกส์ชาลส์ เอ็ม. แฟลโก (Charles M. Falco) ก็ตั้งสมมุติฐานว่าฟัน ไอก์ ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่ากล้องทาบเงาในการช่วยเขียนภาพ อย่างน้อยก็ในบางส่วนของภาพ ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่รู้จักกันว่า วิทยานิพนธ์ฮอกนีย์-แฟลโก (Hockney–Falco thesis)", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#21", "text": "รองเท้าแตะไม้ (patten) ที่วางอยู่ทางล่างซ้ายของภาพอาจจะเป็นการแสดงความเคารพพิธีสมรสและเป็นการชี้ให้เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่ตามปกติแล้วเป็นรองเท้าที่ใช้สวมนอกบ้าน ตามธรรมเนียมแล้วสามีมักจะให้รองเท้าแตะไม้เป็นของขวัญต่อภรรยา[8] หรืออาจจะเป็นการแสดงความสงบสุขของความเป็นอยู่ภายในบ้าน", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#34", "text": "หมวดหมู่:จิตรกรรมในคริสต์ทศวรรษ 1430 หมวดหมู่:ยัน ฟัน ไอก์ หมวดหมู่:จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก หมวดหมู่:จิตรกรรมสีน้ำมัน หมวดหมู่:ภาพชีวิตประจำวัน หมวดหมู่:งานสะสมของหอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#13", "text": "ในปี ค.ศ. 1934 เออร์วิน พานอฟสกี (Erwin Panofsky) พิมพ์บทความชื่อ \"\"การแต่งงานของอาร์นอลฟีนี\" โดย ยัน ฟัน ไอก์\" ใน \"นิตยสารเบอร์ลิงตัน\" กล่าวว่าลายเซ็นอันใหญ่โตของฟัน ไอก์บนผนังของด้านหลังและสิ่งอื่นในภาพก็เพื่อเป็นบ่งว่าเป็นเอกสารทางกฎหมายที่เป็นการบันทึกการสมรส[6]", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "149695#3", "text": "ศิลปินบางคนวางรูปของตนเองท่ามกลางกลุ่มคนในภาพเช่นงานเขียนของยัน ฟัน ไอก์ในภาพ \"ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี\" ที่มีอิทธิพลต่อภาพ \"นางสนองพระโอษฐ์\" โดย เดียโก เบลัซเกซ ต่อมาการเขียนภาพเหมือนของกลุ่มหรือครอบครัว หรือกลุ่มสมาคม ก็ค่อยมาเป็นสิ่งที่ทำกันโดยทั่วไปมากขึ้น", "title": "ภาพเหมือนตนเอง" }, { "docid": "246571#2", "text": "\"ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี\" เป็นภาพเขียนแบบลวงตาที่น่าประทับใจสำหรับช่วงเวลาที่เขียนที่เห็นได้จากรายละเอียดต่าง ๆ ในภาพโดยเฉพาะการใช้แสง และในการสร้างช่องว่างภายในของภาพ และเป็นภาพที่ทำให้ผู้ดูสามารถเชื่อได้จริง ๆ ว่าเป็นภาพของห้องและผู้ที่อยู่ในห้อง[1]", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#8", "text": "แม้ว่าเครื่องแต่งกายของทั้งสองคนเป็นเครื่องแต่งกายที่มีราคาสูงมาก แต่การใช้เครื่องประดับร่างกายนอกไปจากเสื้อก็เป็นไปอย่างจำกัดโดยเฉพาะในกรณีของฝ่ายชาย ภรรยาก็ใส่แต่เพียงสร้อยและแหวนทองเรียบ ๆ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเป็นการแต่งตัวให้เหมาะสมกับฐานะที่เป็นพ่อค้า เพราะภาพเหมือนของผู้มีตระกูลหรือเจ้านายในสมัยนั้นมักจะมีเครื่องตกแต่งที่เป็นทองและเสื้อผ้าที่มีค่ามากกว่าที่เห็นในภาพนี้", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#5", "text": "ภาพเขียนนี้[5]โดยทั่วไปแล้วอยู่ในสภาพที่ดี แม้ว่าสีเดิมจะหายไปบ้างและได้รับความเสียหายบ้างแต่ก็ไม่มากนัก และก็ได้รับการซ่อมแซมแล้ว เมื่อใช้เครื่อง reflectogram อินฟรา-เรดตรวจสอบก็พบว่ารายละเอียดของภาพหลายแห่งได้รับการแก้ไขที่รวมทั้งใบหน้าของตัวแบบทั้งสองคน กระจก และสิ่งอื่น ๆ", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#9", "text": "สิ่งอื่นในห้องที่แสดงฐานะก็ได้แก่โคมทองเหลืองขนาดใหญ่ที่ตกแต่งอย่างหรูหราตามมาตรฐานร่วมสมัยและเป็นของมีค่า ที่อาจจะมีกลไกสำหรับดึงขึ้นลงที่ใช้ในการจุดหรือดับเทียน ที่ฟัน ไอก์ไม่ได้เขียนรายละเอียดเพราะไม่มีเนื้อที่ในภาพ กระจกโค้งนูนกลมในฉากหลังมีกรอบที่ทำด้วยไม้ที่มีภาพเขียนในชุดทุกขกิริยาของพระเยซูในช่องกลมเล็ก ๆ ล้อมรอบกรอบ กระจกนูนในภาพมีขนาดใหญ่กว่าที่สามารถทำได้ในขณะนั้น สิ่งที่ขาดไปอีกอย่างหนึ่งคือเตาผิง อีกอย่างที่แสดงฐานะอีกอย่างหนึ่งคือส้มที่อยู่บนขอบหน้าต่างและบนหีบทางซ้ายของภาพ ส้มเป็นผลไม้ที่หายากและมีราคาแพงในเบอร์กันดี และอาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นธุรกิจของอาร์นอลฟีนีก็เป็นได้", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#17", "text": "นักประวัติศาสตร์ศิลปะมักซีมีลียาน มาร์เตินส์เสนอว่าเป็นภาพเขียนที่ตั้งใจจะให้เป็นของขวัญต่อตระกูลอาร์นอลฟีนีในอิตาลี ที่แสดงความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่งของคู่บ่าวสาวในภาพ มาร์เตินส์มีความรู้สึกว่าเป็นเหตุผลที่อาจจะอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่แปลกในภาพ เช่นการที่อาร์นอลฟีนีและภรรยาแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่เป็นเสื้อผ้าสำหรับฤดูหนาวขณะที่เป็นหน้าร้อนที่มีต้นเชอร์รีออกผลอยู่นอกหน้าต่าง และสาเหตุที่ฟัน ไอก์ลงชื่อตัวใหญ่โตกลางภาพเขียนว่า \"ยาน เดอ ไอก์อยู่ที่นี่ ค.ศ. 1434\"", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#11", "text": "ภาพสะท้อนในกระจกในฉากหลังเป็นรูปชายสองคนด้านในของประตูห้องที่ทั้งสองคนยืนอยู่ ชายที่ยืนอยู่ด้านหน้าใส่เสื้อที่น้ำเงินที่อาจจะเป็นฟัน ไอก์แ ต่ไม่ได้ทำท่าเขียนภาพเหมือนกับภาพ \"ลัสเมนินัส\" (Las Meninas) ของเดียโก เบลัซเกซ สุนัขในภาพเป็นพันธุ์ที่เพิ่งเริ่มผสมที่ปัจจุบันเรียกว่าบรัสเซลส์ กริฟฟอน", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#33", "text": "ยัน ฟัน ไอก์ ทุกขกิริยาของพระเยซู", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#15", "text": "ลอร์น แคมป์เบลล์ในแค็ตตาล็อกของหอศิลป์แห่งชาติไม่เห็นความจำเป็นในการแสวงหาความหมายที่มีเงื่อนงำของภาพเขียนนี้นอกไปจากการเป็นภาพเหมือนของคนสองคน ที่อาจจะเป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อฉลองการแต่งงานแต่ไม่ใช่เพื่อเป็นบันทึกทางกฎหมาย แคมป์เบลล์อ้างตัวอย่างของจุลจิตรกรรมจากหนังสือต้นฉบับที่แสดงภาพการเขียนอักษรบนผนังแบบตกแต่งที่นิยมทำกันในสมัยนั้น ภาพเขียนอีกภาพหนึ่งของฟัน ไอก์ของหอศิลป์แห่งชาติที่เรียกกันว่า \"Leal Souvenir\" มีลายเซ็นที่มีลักษณะเป็นลายเซ็นสำหรับเอกสารที่เกี่ยวกับกฎหมาย[3]", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#29", "text": "กระจกสะท้อนให้เห็นคนสองคนที่ประตู คนหนึ่งอาจจะเป็นฟัน ไอก์เอง ตามทฤษฎีที่ออกจะเป็นที่ขัดแย้งโดยผู้อื่นกล่าวว่าการมีบุคคลสองคนในกระจกก็เพื่อเป็นการแสดงว่ามีพยานสองคนตามการระบุที่ต้องการทางกฎหมาย และลายเซ็นของฟัน ไอก์บนผนังก็เป็นการแสดงว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการที่ฟัน ไอก์เป็นพยานผู้อยู่ในเหตุการณ์", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#10", "text": "อีกสิ่งหนี่งที่แสดงความมั่งคั่งคือเครื่องตกแต่งเตียงที่มีเพดานเหนือเตียง ที่ติดตั้งด้วยราวเหล็กจากเพดาน และรายละเอียดของเก้าอี้ หัวเตียง และม้านั่งที่แกะสลักติดกับผนังในฉากหลัง บนพื้นข้างเตียงปูด้วยพรมออเรียนทัล ผู้เป็นเจ้าของพรมชนิดนี้มักจะใช้ปูโต๊ะซึ่งก็ยังทำกันอยู่ในเนเธอร์แลนด์", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#19", "text": "แม้ว่าผู้ชมในปัจจุบันจะสรุปว่าภรรยากำลังตั้งครรภ์แต่ไม่เชื่อกันว่าจะเป็นเช่นนั้น นักประวัติศาสตร์ศิลปะหลายคนชี้ให้เห็นว่ามีภาพนักบุญสตรีหลายภาพที่แต่งกายในลักษณะเดียวกันและเชื่อว่าการแต่งกายลักษณะนี้เป็นความนิยมกันในสมัยนั้น[7]", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "246571#30", "text": "ฟัน ไอก์เขียนภาพบนผิวที่เหมือนกับผิวที่สะท้อนโดยการทาสีเคลือบใสหลายชั้น สีที่สว่างที่ใช้ในภาพช่วยทำให้เน้นความเป็นจริงมากขึ้นและแสดงถึงสิ่งต่าง ๆ ในภาพที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งของอาร์นอลฟีนี ฟัน ไอก์ใช้ประโยชน์ของการแห้งที่ช้าของสีน้ำมัน (เมื่อเทียบกับสีฝุ่น) ในการผสานสีที่ใช้วิธีที่เรียกว่า \"wet-in-wet\" คือเขียนสีใหม่บนสีเก่าที่ยังไม่แห้งเพื่อที่จะให้ได้แสงและเงาที่ต้องการและทำให้เพิ่มความเป็นสามมิติของภาพเพิ่มขึ้น ฟัน ไอก์เขียนรายละเอียดต่าง ๆ อย่างบรรจง และใช้ทั้งการใช้ทั้งแสงที่ส่องตรงและแสงที่กระทบกระจายสาดบนวัตถุต่าง ๆ ในภาพ มีผู้เสนอว่าฟัน ไอก์ใช้กระจกขยายในการเขียนรายละเอียดที่มีขนาดเล็กมากในภาพเช่นเงาบนลูกประคำแต่ละเม็ดที่ห้อยอยู่ข้างกระจกโค้งนูนบนผนังในฉากหลัง", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" }, { "docid": "146114#7", "text": "ฉากแท่นบูชาเกนต์ ส่วนหนึ่งของบานพับภาพที่เกนต์ ภาพเหมือนของมาร์กาเรต ฟัน ไอก์ พระแม่มารีและพระบุตร ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี", "title": "ยัน ฟัน ไอก์" }, { "docid": "246571#1", "text": "ยัน ฟัน ไอก์เขียนภาพ \"ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี\" ในปี ค.ศ. 1434 เป็นภาพที่เชื่อกันว่าเป็นภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี (Giovanni Arnolfini) พ่อค้าจากเมืองลุกกาในอิตาลีและภรรยาในห้องที่อาจจะเป็นที่บ้านที่พำนักอยู่ในเมืองบรูชในฟลานเดอส์ เป็นภาพที่ถือกันว่าเป็นภาพที่มีความเป็นต้นตอและความซับซ้อนมากที่สุดภาพหนึ่งของจิตรกรรมตะวันตก ฟัน ไอก์ลงชื่อและวันที่ว่าวาดในปี ค.ศ. 1434 ต่อมาหอศิลป์แห่งชาติแห่งลอนดอนซื้อภาพเขียนนี้ในปี ค.ศ. 1842", "title": "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" } ]
3901
บ้านนี้มีรัก กำกับการแสดงโดยใคร?
[ { "docid": "122640#0", "text": "บ้านนี้มีรัก เป็นละครโทรทัศน์ไทยประเภทซิตคอม ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด หรือฝ่ายบริหารละครโทรทัศน์และซิตคอม สถานีโทรทัศน์ช่องวัน อำนวยการผลิตโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ กำกับการแสดงโดย กิตติ เชี่ยววงศ์กุล ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ทีวี ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 19.00 น. เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และออกอากาศครั้งสุดท้ายทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558", "title": "บ้านนี้มีรัก" } ]
[ { "docid": "468836#0", "text": "มันมากับความมืด () ภาพยนตร์ไซไฟสัญชาติไทยในปี พ.ศ. 2514 เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกจากการกำกับของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือท่านมุ้ย ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง อีกทั้งยังเป็นบทบาทการแสดงครั้งแรกของ สรพงษ์ ชาตรี (ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงในปี พ.ศ. 2551) อีกทั้งยังถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์แนวไซไฟเรื่องแรกด้วยของวงการภาพยนตร์ไทย ซึ่งถือได้ว่าแหวกแนวของภาพยนตร์ไทยด้วย\nอุกกาบาตลึกลับพุ่งตกในอ่าวไทย ตามด้วยเหตุสยองเมื่อชาวเกาะกลายเป็นศพทั้งหมู่บ้านในชั่วข้ามคืน ไม่ช้าความตายก็คืบคลานเข้าฝั่งไทยจนหลายคนหวาดผวากับสิ่งที่เรียกว่า \"\"มันผู้มากับความมืด\"\" ร้อนจนนักวิทยาศาสตร์ชาวกรุง กับกลุ่มชาวบ้านที่เหลืออยู่ ต้องร่วมมือกันจัดการ \"\"มัน\"\" ให้ได้โดยเร็วก่อนทั้งประเทศจะไม่เหลือใคร", "title": "มันมากับความมืด" }, { "docid": "207452#0", "text": "\"นานาโกะ\" (อายะ อุเอะโตะ) เกิดและเติบโตในครอบครัวที่ยากจน เธอจึงยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มี 1 วันพิเศษในแต่ละอาทิตย์ ที่เธอจะได้ทำตัวเหมือนเจ้าหญิง แต่งตัวและใช้จ่ายเงินทองอย่างฟุ่มเฟีอยอย่างที่ใจอยากทำ วันหนึ่งเธอได้พบกับเด็กหญิงลูกมหาเศรษฐีที่ทำให้เธอได้รู้ว่าเงินไม่สามารถทดแทนสิ่งสำคัญในชีวิตได้\n\"ยูนะ\" (มากิ โฮริคิตะ) พลั้งมือทำร้ายคนรักจนเขาต้องกลายเป็นคนพิการ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เธอกลายเป้นคนขลาดกลัว ไม่กล้าออกมาพบปะผู้คน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับใคร เธอมักจะแต่งตัวมิดชิด ใส่หมวกปิดบังใบหน้า ไม่ให้ใครได้เห็นเธอ เพราะเธอกลัวว่าตัวเองจะไปทำร้ายใครเข้าอีก ผู้ดูแลของเธอแนะนำงานพิเศษที่เขาคิดว่าเธอน่าจะพอที่จะทำได้ นั่นคือ Live Chat ในโลกไซเบอร์ ที่ไม่มีใครรู้จักใคร ที่ๆ เราไม่ต้องสัมผัสกับผู้คนจริงๆ ที่นี่เธอได้พบกับชายหนุ่มชื่อทาโร่ เขาคอยปลอบใจเธอให้กล้าที่จะออกมาเผชิญโลกกว้างอีกครั้ง วันหนึ่งเธอได้รู้ว่าทาโร่เป็นใคร ยูนะจึงตัดสินใจที่จะไปพบกับทาโร่\n\"นาโอะ โยชิอิ\" (ยู ยามาดะ) เป็นหญิงสาวจากต่างจังหวัด ที่มีความใฝ่ฝันเหมือนหญิงสาวทั่วๆ ไป ทึ่ต้องการจะเป็นนักแสดง จนถึงกับยอมทิ้งบ้านและครอบครัว เดินทางเข้ามาโตเกียว เพื่อทำความฝันของตนเองให้เป็นจริง แต่ทว่าความฝันกั่บชีวิตจริงช่างต่างกัน เมื่อเธอต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากในการออดิชั่น แทบไม่มีงานแสดงที่เป็นชิ้นเป็นอัน พอให้เธอใช้ชีวิตอยู่ได้ เรื่องราวยิ่งเลวร้ายลง เมื่อเธอถูกนักต้มตุ๋นหลอกเอาเงินจำนวนมาก ที่เธอไปกู้ยิมมาไปจนหมด เพื่อใช้หนึ้ เธอตัดสินใจเป็นนักแสดงหนัง AV (Adult Video) วันหนึ่ง เธอก็ต้องตกใจเมื่อปู่ของเธอแอบมาเยี่ยมเธอถึงที่พัก นอกจากนี้คนรักของเธอยังมารู้อีกว่า เธอปิดบังความจริงเรื่องที่เธอเป็นนักแสดงหนัง AV ไว้\n\"เรียวโกะ ชิโมโจ\" (จุริ อุเอะโนะ) หญิงสาวที่ต้องการความรักอยู่ตลอดเวลา เธอถูกพ่อแม่ทอดทิ้งให้เติบโตในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้ามาตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้น เธอดำรงชีวิตด้วยเงินที่ได้จากการเล่นสล๊อต อยู่มาวันหนึ่งคนรักของเธอซึ่งทำงานเป็นโฮสต์ในไนต์คลับ ได้ทิ้งเคนตะเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ ไว้ให้เธอดูแล และหายตัวไป โดยบอกว่าเด็กคนนี้เป็นลูกของเขา เรียวโกะจำใจต้องเลี้ยงดูเคนตะเอาไว้ ทั้งที่เธอเกลียดเด็กเป็นที่สุด", "title": "Tsubasa No Oreta Tenshitachi" }, { "docid": "183372#2", "text": "นอกจากนี้ยังมีผลงานด้านการแสดง เช่น ละครโทรทัศน์ \"น้ำพุ\" , \"หลังคาแดง\" ผลงานละครซิตคอมเรื่อง รักริทึ่ม ทางช่อง 5 ละครซิตคอมเรื่อง เนื้อคู่ประตูถัดไปช่อง9 และเนื้อคู่อยากรู้ว่าใครช่อง 5 ละครสะท้อนสังคมเรื่อง \"จิตประภัสสร\" ทางไทยพีบีเอส ผลงานละครเวทีเรื่อง \"ชายกลาง\" ส่วนด้านงานภาพยนตร์ มีบทสมทบใน \"สายลับจับบ้านเล็ก\" ของผู้กำกับคมกฤษ ตรีวิมล ในบทบาทของนักสืบ \"สุทิน\" และเคยเล่นหนังเรื่อง \"แฝด\" และสมทบในภาพยนตร์ \"บุญชู 9\"", "title": "นิมิตร ลักษมีพงศ์" }, { "docid": "674390#0", "text": "จับกัง เป็นละครโทรทัศน์ไทย แนวคอเมดี้ สร้างครั้งแรกปี พ.ศ. 2558 บทประพันธ์โดย ปณธี กำกับการแสดงโดย ชัยวุฒิ เทพวงษ์ นำแสดงโดย ลิขิต บุตรพรม,ปาณิชดา แสงสุวรรณ,ภูษณะ บัวงาม,ชมพูนุช ปิยธรรมชัย,ธนากร ศรีบรรจง,ปริตา ไชยรักษ์ และนักแสดงอีกคับคั่ง ผลิตโดย บริษัท นพพรโปรโมชั่น แอนด์ พิคเจอร์ จำกัด ออกอากาศทาง ช่อง 7 สี และ \nจากที่ราบสูง สู่เมืองกรุงที่แสนวุ่นวาย มิตรภาพต้องสั่นคลอน เพราะความละโมบ ทะเยอทะยาน สัมพันธภาพแตกดับ จากเพื่อนรักกลายเป็นเพื่อนแค้น ใครจะแพ้ ใครจะชนะ ต้องเดิมพันด้วยชีวิต", "title": "จับกัง (ละครโทรทัศน์)" }, { "docid": "269855#0", "text": "ทหารเกณฑ์ ภาค1 เป็นภาพยนตร์ไทยแนวตลกจากฝีมือการกำกับของ ล้อต๊อก ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 โดยเป็นเรื่องราวสนุกสนานเฮฮาและความรักในค่ายทหารแห่งหนึ่งเมื่อรอง ต้อย สุข ไปหาอาจารย์ยอดเพื่อขอนำมนต์ก่อนไปคัดเลือกเกณฑ์ทหาร วันเกณฑ์พวกรองไปคัดเลือกแล้วเจออาจารย์ยอดมาคัดด้วย สุดท้ายจับได้ใบแดงทุกคนรวมทั้งพงศักดิ์ พระเอกลิเก หมู่ฉ่ำพาทหารไปทำความสะอาดบ้าน\nผู้พัน และพลทหารธรรมดาๆคนหนึ่งนั้นแอบไปหลงรักลูกสาวผู้พันซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา เหล่าทหารเกณฑ์ก็สร้างเรื่องวุ่นๆ ขึ้นในบ้านผู้พัน ผู้พันถูกคุณนายว่าเรื่องที่โกหกว่าเป็นฝีมะม่วง ผู้พันรู้ว่าจ่าฉ่ำเป็นคนบอกคุณนาย จึงสั่งห้ามจ่าฉ่ำไปที่บ้านอีก ผู้พันมาฝึกทหารตอนเช้าตามปกติจนครบหลักสูตร ผู้พันจัดงานเลี้ยงให้เหล่าทหารก่อนออกไปประจำชายแดน จ่าฉ่ำพาทหารออกตรวจหมู่บ้าน พบผู้ก่อการร้ายจึงออกอุบายหาผู้หญิงที่เป็นโรคไปให้พวกโจร พวกทหารจึงจับโจรได้ วันหนึ่งผู้การมาเยี่ยมค่าย ขณะกล่าวสุนทรพจน์อยู่ พวกโจรที่เหลือนำเครื่องบินมาทิ่งระเบิด ผู้พันสั่งว่าถ้าใครจัดการลูกระเบิดได้จะเลื่อนยศให้ จ่าฉ่ำเลยรีบจัดการกับระเบิด และมาส่งให้ผู้พันกับท่านผู้การ ", "title": "ทหารเกณฑ์ ภาค1" }, { "docid": "266789#16", "text": "ส่วนบทแพทตามบทจะเป็นเด็กแสบ ๆ เปรี้ยว ๆ กิ๊กเยอะ ตอนเขียนบท ผู้กำกับกล่าวว่า \"อยากได้เด็กแสบ ๆ เด็กสก๊อย แต่ก็รู้สึกธรรมดา\" แต่อาจจะดูไม่ดีนักในหนัง แต่เมื่อผู้กำกับนึกถึงภาพแพทแล้ว ความร้ายก็ยังคงดูน่ารักอยู่[5] อังศุมาลินเรียนการแสดงกับอรชุมา ในเรื่องการตีความ การสวมวิญญาณเข้าไปถึงตัวละคร อังศุมาลินให้สัมภาษณ์ถึงการเรียนนี้ว่า \"ต้องรู้ว่า 'เพลิน' อยู่ที่ไหน ชอบกินอะไร ชอบไปเที่ยวไหน แฟนคนแรกเป็นใคร เพื่อที่แสดงจริงจะได้นึกได้\" รวมถึงเรียนคือเรื่องสมาธิ[2]", "title": "รถไฟฟ้า มาหานะเธอ" }, { "docid": "557179#7", "text": "เฮเลน่าเคยคบหาดูใจกับนักแสดงชายหลายคนที่เธอร่วมแสดงด้วย แต่ทุกคนล้วนจบลงด้วยการเดทเพียงระยะเวลาสั้นๆประมาณ 1-2 ปี คือสตีฟ มาร์ติน นานที่สุดคือ 5 ปีกับเคนเน็ธ บรานาห์ นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ (รับบทเป็น กิลเดอรอย ล็อกฮาร์ต ในภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์) ก่อนจะมาตกล่องปล่องชิ้นกับผู้กำกับชื่อดังอย่าง ทิม เบอร์ตัน ที่พบรักกันระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Planet of the apes พิภพวานร เมื่อปีค.ศ.2001 และตัดสินใจหมั้นกันในปีต่อมา แม้ทั้งสองจะมีบุตรธิดาร่วมกัน 2 คนคือบิลลี่ เรย์และเนล เบอร์ตัน แต่ทั้งสองก็ยังคงอยู่ในสถานะคู่หมั้นคู่หมาย และยืนยันว่าไม่มีแผนการณ์จะแต่งงานกันในเร็วๆนี้แต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่าเธอและทิมยังสนุกกับการทำงานอยู่ และขอให้พื้นที่ส่วนตัวกับกันและกันเพื่อให้ได้ใช้ความคิดและเป็นตัวของตัวเองแบบที่พวกเขาต้องการ ด้วยการแยกกันอยู่คนละฝั่งบ้านซึ่งเชื่อมพื้นที่ตรงกลางติดกันเป็นหลังเดียว \nนอกจากนี้ทิมและเธอมีเพื่อนรักร่วมกันอยู่คนหนึ่งนั่นก็คือ จอห์นนี เดปป์ ซึ่งร่วมงานกันบ่อยเสียจนกล่าวได้ว่าทิมกำกับเรื่องไหน เรื่องนั้นต้องมีเดปป์และเฮเลน่าสุดที่รักร่วมแสดงเสมอ จนทุกคนพากันเรียกทั้ง 3 ว่า The Golden Trio เป็นเสียงเดียว นอกจากจะเป็นทั้งเพื่อนร่วมงานผู้รู้งาน และเพื่อนรักผู้รู้ใจ เดปป์ยังเป็นพ่อทูนหัวให้กับลูกๆของคนทั้งคู่อีกด้วย\nด้านอุปนิสัยส่วนตัว เฮเลน่าเป็นอีกคนหนึ่งซึ่งชื่นชอบการดื่มกาแฟและโค้กเป็นชีวิตจิตใจ ทั้งยังเป็นอดีตสิงห์นักสูบคนหนึ่ง แต่หลังจากคลอดบุตรชายคนแรกอย่างบิลลี่ เธอก็ตัดสินใจเลิกสูบได้อย่างเด็ดขาดเพื่อรักษาสุขภาพและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ที่อัธยาศัยดีมีอารมณ์ขัน ขี้เบื่อ เข้ากับคนง่าย สุภาพ สนุกสนานอยู่เสมอ ซึ่งขัดแย้งกับสิ่งที่คนภายนอกจินตนาการไว้ เพราะใครหลายคนชอบคิดกันไปต่างๆนาๆว่าการที่เธอเติบโตมาในครอบครัวของผู้ดีมีสกุล คงจะทำให้เธอเป็นคนเรียบร้อยเยี่ยงผ้าพับไว้ หรือมีความเป็นกุลสตรีสงวนท่าทีทุกอากัปกิริยา แต่เธอได้กล่าววปฏิเสธกับผู้สื่อข่าวว่า เธอไม่ใช่คนขี้อายหรือชอบอุดอู้อยู่แต่ในบ้านเท่าใดนัก เธอออกจะรู้สึกกดดันและวางตัวลำบากกับภาพลักษณ์ที่ผู้คนคาดหวังไว้ด้วยซ้ำ และเมื่อเทียบกับทิมแล้ว เขายังขี้อายกว่าเธอมาก ผู้สื่อข่าวจึงมักได้ภาพเธอกับครอบครัวกำลังเดินเล่นอยู่ริมถนนหรือย่านการค้าใกล้บ้านพักอยู่เป็นประจำ", "title": "เฮเลน่า บอนแฮม คาร์เตอร์" }, { "docid": "870796#0", "text": "รักหลงโรง เป็นละครโทรทัศน์ไทย แนว โรแมนติก-คอมมาดี-ดราม่า-ครอบครัว สร้างบทประพันธ์ของ ญนันทร และบทโทรทัศน์ของ คนเขียนเงา , หลี่เจิน ผลิตโดยเมคเกอร์ เจ กำกับการแสดงโดย ปิยะพงษ์ คำภากุล เป็นเรื่องราวของ กีรณา (ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง) ซุปตาร์สาวไฮโซหัวสูงที่ไปเติบโตในต่างแดน บวกกับหน้าตาสะสวยของเจ้าหล่อนทำให้เธอได้แจ้งเกิดในวงการบันเทิง และมีชื่อเสียงมากมาย ไม่ว่าใครต่างก็ต้องรุมล้อม และเอาใจเธอ ซึ่งที่แท้จริงแล้วกีรณาเป็นหลานสาวของเจ้าคณะลิเกที่กำลังตกอับ แต่แล้วดวงดาวที่กำลังส่องประกายแสงนี้กลับร่วงหล่นตกสู่พื้นดิน เช่นเดียวกันกับชะตาชีวิตของกีรณา ที่พลิกผันตกอับหมดสิ้นทุกสิ่งอย่าง เธอจึงหวนคืนสู่บ้านเกิดที่มีมรดกซึ่งทิ้งไว้ให้เธอต้องกอบกู้มันขึ้นมา นั่นก็คือคณะลิเก แต่มันก็ไม่ง่ายนักเพราะความเยอะของเจ้าตัว และการมีเรื่องกับ ตุลา (จรณ โสรัตน์) ชายหนุ่มปากร้าย ทำให้กีรณาหัวเสียอย่างมาก \"รักหลงโรง\" กำกับการแสดงโดย ปิยะพงษ์ คำภากุล ผลิตโดย บริษัท เมคเกอร์ เจ จำกัด เริ่มตอนแรกวันศุกร์ที่ 1 กันยายน – 24 กันยายน พ.ศ. 2560 ต่อจากเรื่องThe Single Mom คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวหัวใจฟรุ้งฟริ้ง", "title": "รักหลงโรง" }, { "docid": "548293#5", "text": "อัลบั้มชุดแรกของแอนเดรียนี้ ประสบความสำเร็จอย่างสูง วัยรุ่นที่ผ่านช่วงยุค 90 มา คงจะคุ้นเคยกับเพลงดังๆ ของเธอ ไม่ว่าจะเป็นเพลงน่ารักอย่างเพลง \"สบตา\" ที่บอกความรู้สึกถึงการแอบรัก ที่แสนจะบริสุทธิ์และน่ารัก หรือจะเป็นเพลง \"บ้านเธอสิ\" ที่เป็นเพลงเร็วสนุกสนาน ผสมการเต้นที่น่าตื่นเต้น จากภาพการแสดงสด ที่ใครหลายคนยังคงจดจำ ท่าฉีกขาแบบบัลเลต์ของเธอได้", "title": "แอนเดรีย สวอเรซ" }, { "docid": "133112#34", "text": "ในด้านการกำกับภาพ นิตยสารบีเควิจารณ์ไว้ว่า \"ภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม ทำได้ไม่ดีเรื่องการกำกับภาพ ผู้กำกับเสนอภาพที่น่าเบื่อด้วยมุมกล้องแบบตรงๆ และการให้แสงที่ไม่แน่นอนจากบ้านถึงโรงเรียน จากสตูดิโอถึงสยามสแควร์ ขาดอารมณ์สื่อและทิศทางของภาพ\"[41] แต่ในทางกลับกัน นิตยสารสตาร์พิกส์กลับชมว่า \"หนังสามารถทำให้คนดูได้เห็นถึงอารมณ์อันหลากหลายของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นสุขสดใสหรือทุกข์หม่นเศร้า นอกเหนือจากจะถ่ายทอดเรื่องราวอย่างไม่มีขาดตกบกพร่องแล้ว ยังมี “โชว์” เป็นของแถมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นฉากแสดงความหวังที่ผึ้งไต่ขึ้นจากแก้วน้ำ หรือการถ่ายลองเทคในสยามสแควร์โดยตามตัวละครวัยรุ่นแทบทั้งเรื่อง ซึ่งเดินสวนกันไปมาจากทุกทิศ\"[7]", "title": "รักแห่งสยาม" }, { "docid": "193802#93", "text": "ในวันที่ 31 ตุลาคม 2551 พลตรี จำลอง ศรีเมือง [16]กล่าวตำหนิ ดร.ดิสธร วัชโรทัย อันเนื่องมาจากก่อนหน้านี้ นายดิสธร วัชโรทัย ได้กล่าว ในวันที่ 30 ตุลาคม 2551 ว่าถ้ารักในหลวงให้อยู่ชุมพร ไม่ต้องไปที่อื่น รักในหลวงให้อยู่บ้าน รักในหลวงให้กลับบ้าน คุณไปแสดงพลังตรงนั้นไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย รังแต่จะทำให้เกิดความแตกแยก ผมกล้าพูดตรงนี้เพราะผมเป็นตัวจริงเสียงจริงนะครับ รับพระราชกระแสมาเองว่า พวกเราต้องขยาย ทำอย่างไรให้เขาทราบว่า เรามีหน้าที่และทำหน้าที่อะไร ผมไม่ได้เข้าข้างใคร ผมไม่รู้ว่าใครผิดใครถูก ผมรู้อย่างเดียวว่า ผมอยู่พรรคในหลวง และพรรคนี้ใหญ่โตมาก[17]การแสดงออกดังกล่าวถูกตีความอย่างกว้างว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไม่พอพระทัยการชุมนุมยึดทำเนียบรัฐบาลและปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เนื่องจากนาย ดร.ดิสธร วัชโรทัย มีตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพระราชวัง ราชการบริหารส่วนกลาง ณ เวลานั้น[18]", "title": "การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551" }, { "docid": "722958#6", "text": "ในช่วงกลาง เมื่อวันที่ (12 มกราคม พ.ศ. 2556 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2557) ปรับแต่เหลือเรื่องเดียวกัน จากนั้นก็เป็นละคร โดยแต่ละเรื่องจะเป็นรูปแบบที่เกิดปาฏิหารย์ขึ้น เช่นตายแล้วฟื้น คำขอจากพ่อ ถูกหวย คนรักฟื้นมาบอกรัก ช่วงสุดท้ายจะประกาศผลว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ (กดกรรมการในห้องส่ง 100 คน เลข 1 - 99 คน แทนเลข 0 วางหลักร้อย) พิสูจน์กันได้จากเรื่องนี้ บนตัวเลข เรื่องจริง ซึ่งมีเพียง เรื่องเดียวเท่านั้น (เรื่องจริงมีเลข 50 - 99 คน) (ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริงแสดงว่าคุณคิดถูก เรื่องนี้จะเข้ารอบทางบ้านทันที ถ้าไม่เป็นเรื่องจริงแสดงว่าคุณคิดผิด เรื่องนี้จะตกรอบทันที) ภายหลัง(พ.ศ. 2556) (เรื่องจริงมีเลข 1 - 49 คน) เรื่องจริงหรือเรื่องหลอกเพียงเรื่องเดียว (ถ้าเป็นเรื่องจริงไม่เป็นเรื่องหลอกแสดงว่าคุณคิดผิด เรื่องนี้จะเข้ารอบทางบ้านทันที ถ้าไม่เป็นเรื่องจริงเป็นเรื่องหลอกแสดงว่าคุณคิดถูก เรื่องนี้จะตกรอบทันที เรื่องนี้เรื่องเดียวไม่เคยเกิดขึ้นแต่อย่างใด) เรื่องไหนที่ได้ออกอากาศ จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท ในอดีตถ้าเรื่องของใครนำมาออกอากาศจะได้รับเงิน 5,000 บาทไป", "title": "จ้อจี้" }, { "docid": "344633#0", "text": "บ้านนี้ที่บางรัก เป็นซิตคอมโปรเจกต์พิเศษของเอ็กแซ็กท์ ที่นำซิตคอมเรื่อง บางรักซอย 9 และ บ้านนี้มีรัก ของ เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ มาผสมผสานกัน โดยมีตัวละครเหมือนเดิม และมาแสดงร่วมกัน กำกับการแสดงโดย พงษ์ศักดิ์ ฉิมเจริญ และ กิตติ เชี่ยววงศ์กุล นอกจากนี้ ยังมีแขกรับเชิญพิเศษคือ ปิยธิดา วรมุสิก และตัวละครใหม่ของเรื่องบ้านนี้มีรัก รับบทโดย บุษกร ตันติภนา ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 18.00 - 19.00 น. ออกอากาศวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยออกอากาศทั้งหมด 16 ตอนเป็นตอนแรกที่เปิดตัวนักแสดงทั้งหมด และความสัมพันธ์ของแต่ละคน เช่น แป้ง กับ รัก เป็นเพื่อนสนิทกัน น้าเยาว์ กับ คุณน้อย สนิทกัน ปิ๊ก ไม่ถูกกันกับ ลิงก์ เนื่องเป็นคู่แข่งกันมาตั้งแต่เด็ก พอโตขึ้นทั้งคู่ก็ดันมาชอบผู้หญิงคนเดียวกันอีก สกล ก็ไม่ถูกกับ เฮียหมู และ ก๊วยเจ๋ง กับ มิค สนิทกัน แฮงค์ กับ ฮาร์ท เป็นฝาแฝดกัน ในเรื่องนี้ เป็นต้น", "title": "บ้านนี้ที่บางรัก" }, { "docid": "953421#2", "text": "“A Moment Of Romance” หรือ “ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ” หนังฮ่องกงปี พ.ศ. 2533 เป็นผลงานเรื่องแรกๆ ของอู๋ เชี่ยนเหลียน ที่ตอกย้ำว่าผู้เห็นแววนักแสดงในตัวเธอมองไม่ผิด เพราะหนังที่กำกับโดย เบนนี ชาน และอำนายการสร้างโดย ตู้ ฉีฟง หนังประสบความสำเร็จถล่มทลายไปทั่วเอเชีย ชื่อของ \"อาหัว\" และ \"โจโจ้\" กลายเป็นตัวแทนความรักที่ทั้งโรแมนติกและรัดทดใจที่สุดในยุคนั้น ซึ่งแม้ว่าภาคต่อของหนังในปี พ.ศ. 2536 ที่เบนนี ชานกำกับ จะเปลี่ยนพระเอกเป็น กัว ฟู่เฉิง แต่นางเอกยังคงเป็นเธอคนเดิม ก่อนที่ในภาค 3 ที่กำกับโดย ตู้ ฉีฟง ในปี พ.ศ. 2539 จะเป็นการโคจรกลับมาพบกับอีกครั้งของหลิว เต่อหัว และ อู๋ เชี่ยนเหลียน ดังนั้นหากกล่าวว่า อู๋ เชี่ยนเหลียน คือสัญลักษณ์ของหนัง \"ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ\" ก็คงจะไม่เกินเลยไป", "title": "แจ็กเกอลิน อู๋" }, { "docid": "896600#1", "text": "ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด บทโทรทัศน์โดย กษิดินทร์ แสงวงศ์ กำกับการแสดงโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ นำแสดงโดย จิรายุส วรรธนะสิน, นุสบา ปุณณกันต์", "title": "รักหลอก ๆ อย่าบอกใคร" }, { "docid": "488791#0", "text": "ลำซิ่งซิงเกอร์ เป็นละครเวทีเรื่องแรกของค่าย จีทีเอช ซึ่งดำเนินการร่วมกับ ซีเนริโอ โดยจะเปิดรอบการแสดงในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 13 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยเริ่มเปิดขายบัตรในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 กำกับการแสดงโดย ปิยะกานต์ บุตรประเสริฐ ผู้กำกับที่เคยฝากผลงานจากซิทคอมเรื่อง เนื้อคู่ประตูถัดไป และ เนื้อคู่อยากรู้ว่าใคร ที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังมากมาย โดยละครเวทีเรื่องนี้ได้ถูกนำกลับมาทำใหม่จากที่เคยละครเวทีนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2546 โดยได้นักแสดงที่มีฝืมือมาอย่างคับคั่งอาทิ แพนเค้ก เขมนิจ, เต๋อ ฉันทวิชช์, โอปอล์ ปาณิสรา เป็นต้น โดยจะเปิดทำการแสดงที่เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ \nแววตา (แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์) สาวบ้านนาแห่งหมู่บ้านนกกระจิบ ผู้มีทั้งพรสวรรค์และความใฝ่ฝันอย่างแรงกล้าที่จะเป็นนักร้องหมอลำ เพียงแต่…ความฝันของเธอดันสวนทางกับความต้องการของผู้เป็นแม่ เพราะมารวย (นันทิดา แก้วบัวสาย) ดันเกลียดอาชีพนักร้องแบบเข้าไส้!!", "title": "ลำซิ่งซิงเกอร์" }, { "docid": "178374#83", "text": "วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ดร.ดิสธร วัชโรทัย ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์กล่าวที่ ศูนย์การประชุมในชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร ใจความว่า ถ้ารักในหลวงให้อยู่ชุมพร ไม่ต้องไปที่อื่น รักในหลวงให้อยู่บ้าน รักในหลวงให้กลับบ้าน คุณไปแสดงพลังตรงนั้นไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย รังแต่จะทำให้เกิดความแตกแยก ผมกล้าพูดตรงนี้เพราะผมเป็นตัวจริงเสียงจริงนะครับ รับพระราชกระแสมาเองว่า พวกเราต้องขยาย ทำอย่างไรให้เขาทราบว่า เรามีหน้าที่และทำหน้าที่อะไร ผมไม่ได้เข้าข้างใคร ผมไม่รู้ว่าใครผิดใครถูก ผมรู้อย่างเดียวว่า ผมอยู่พรรคในหลวง และพรรคนี้ใหญ่โตมาก[145] การแสดงออกดังกล่าวถูกตีความอย่างกว้างขวางว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไม่พอพระทัยการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เนื่องจาก ขณะนั้น ดร.ดิสธร วัชโรทัย ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพระราชวัง ราชการบริหารส่วนกลาง[146]", "title": "การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551" }, { "docid": "460144#1", "text": "ฟ้า และ ฝน เป็นพี่น้องกัน โดยที่ฟ้าซึ่งเป็นพี่ชายมักโดนกลั่นแกล้งรังแกเสมอ ๆ และถูกล้อว่าเป็นตุ๊ด ขณะที่ฝนน้องสาวแข็งแกร่งกว่า พ่อของทั้งคู่จึงฝากให้ฝนดูแลฟ้าด้วย พ่อและแม่ของทั้งคู่เป็นเจ้าของรีสอร์ต ที่จังหวัดระยอง ทั้งคู่มีเพื่อนชื่อ ริณ หรือ แอริณ แม่ของริณเสียไปเพราะความเจ็บป่วย ริณจึงต้องดิ้นรนเลี้ยงดูตนเอง เมื่อทั้งหมดเรียนจบมัธยม และเข้ามหาวิทยาลัยในที่เดียวกัน ริณได้กลายเป็นนักแสดงชื่อดังในเวลาไม่นาน ขณะที่ฟ้าก็ได้เปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นผู้หญิงเต็มตัว ได้พบกับ ป๊อป นักกีฬาบาสเก็ตบอล ฟ้าคบกับป๊อป โดยที่ไม่รู้มาก่อนเลยว่าป๊อปคิดกับฟ้าเพียงแค่น้องสาว ขณะที่ริณก็ได้ทำงานคู่กับ เคน นักร้องหนุ่มมาแรงของวงการ และทั้งคู่ก็คบหากัน วันหนึ่ง เคน ได้ไปแสดงคอนเสิร์ตที่ระยอง ก็ได้พบกับ จูน เด็กสาวรุ่นน้องของริณ ลูกสาวเจ้าของร้านขายก๋วยเตี๋ยว จูนเป็นเด็กที่เป็นตัวของตัวเองไม่เหมือนใคร นั่นทำให้เคนสนใจในตัวจูน เมื่อข่าวคราวได้แพร่สะพัดออกไป ทำให้ริณเกิดหึง ขณะที่ฟ้าก็ได้พบกับความจริงว่า ป๊อปแท้ที่จริงแล้วคิดกับฟ้าเพียงแค่น้องสาว และป๊อปจริง ๆ แล้วกลับชอบฝน ผู้ซึ่งไม่รู้จักความรักเลย\"With Love…ด้วยรัก\" เป็นผลงานภาพยนตร์ในแนวโรแมนติกดราม่าจากการผลิตของบริษัท 96 ฟิล์ม จากการกำกับของสายใจ พิมพ์ทอง ผู้กำกับฯ ซึ่งมีผลงานในเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก และยังได้นักแสดงซึ่งเป็ฌนนักแสดงหน้าใหม่เกือบทั้งหมดมาแสดงนำ", "title": "With Love…ด้วยรัก" }, { "docid": "285889#1", "text": "ละครเรื่องหวานใจยัยต่างดาว กำกับการแสดงโดย กิตติ บุญสกุลศักดิ์ แนวละคร Romantic Comedy แสดงนำโดย ณัฐวุฒิ สกิดใจ, อรจิรา แหลมวิไล, เมย์ เฟื่องอารมย์, พงษ์พันธ์ เพชรบัณฑูร, ชลิต เฟื่องอารมย์, พลอยปภัส ธนันต์ชัยกานต์, อติมา ธนเสนีวัฒน์, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, ตี๋ ดอกสะเดา, ธงธง มกจ๊ก, จุ๊บจิ๊บ เชิญยิ้ม, สาริน บางยี่ขัน, ด.ช. ริชาร์ด เกียนี่ต้อมพาวีสี่มารักษาตัวที่บ้านของเขาซึ่งอาศัยอยู่กับ ตาชื่น ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แต้ม น้องสาวจอมห้าวที่เรียนชั้น ม.ปลาย และ ตั้ม น้องชายวัยกำลังซุกซน ทุกคนไม่เชื่อเรื่องที่วีสี่เล่าว่าเธอเป็นมนุษย์ต่างดาว กลับเข้าใจว่าเธอได้รับบาดเจ็บจนเพี้ยนไป ตั้งแต่นั้นมาวีสี่เลยพักอาศัยอยู่ที่บ้านต้อม โดยต้อมบอกใครๆว่าเธอเป็นสาวใช้คนใหม่ที่เพิ่งมาจากต่างหวัด ทำเอา รัชนี คุณครูสาวที่หลงรักต้อมเกิดหึงหวงวีสี่ จึงแกล้งหาเรื่องเล่นอยู่เป็นประจำ และเกิดรู้ความจริงว่าเธอเป็นมนษย์ต่างดาวเธอจึงหันไปร่วมมือกับ อาจารย์สนธยา ครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้มีเป้าหมายจะใช้วีสี่เป็นหนูทดลองในโครงการของตน เพื่อให้วีสี่ปลอดภัยจาการถูกรังแก ต้อมเลยพาเธอไปฝากงานที่ค่ายเพลงของ เสี่ยสำเริง ที่เขาเป็นพนักงานอยู่ เสี่ยสำเริงจอมหื่นเกิดติดใจในความน่ารักของวีสี่จึงหาโอกาสรวบหัวรวบหางเธอทุกวิธี แต่โชคดีที่ โป้ง กับ ลิซ่า เพื่อนซี้ของต้อมคอยช่วยเหลือ", "title": "หวานใจยัยต่างดาว" }, { "docid": "311395#2", "text": "ในชมรมการละครนั้น แลนดอนได้รับบทนำของเรื่องทั้งที่เขาไม่พอใจแต่จำต้องรับอย่างเลี่ยงไม่ได้ และเพื่อความไม่ต้องการเสียหน้า แลนดอนจึงไหว้วานขอความช่วยเหลือจากเจมี่ที่มีบทนำร่วมกัน โดยตกลงกันว่าแลนดอนจะไปซ้อมการแสดงที่บ้านของเธอทุกเย็น ส่วนเจมี่มีข้อแม้ว่าจะต้องไม่ตกหลุมรักเธอ แลนดอนจึงยอมรับข้อเสนออย่างง่ายดาย วันหนึ่ง กลุ่มเพื่อนของเขาสงสัยว่าแลนดอนกับเจมี่อาจจะคบกัน แลนดอนรู้สึกเป็นเรื่องหน้าอายจึงหักหน้าเจมี่ต่อหน้ากลุ่มเพื่อนของเขา เย็นวันนั้นแลนดอนจึงรู้สึกผิดและไปที่บ้านเจมี่เพื่อขออภัยและขอซ้อมการแสดงด้วย แต่เจมี่ำไม่ยินยอม แลนดอนจำต้องฝึกซ้อมการแสดงด้วยตนเองทุกวัน และเมื่อถึงวันแสดงจริง แลนดอนก็แสดงบทตัวเองได้ดีจนทุกคนคาดไม่ถึง ส่วนเจมี่ก็ปรากฏกายด้วยใบหน้าที่งดงามและท่าทางอันงามสง่า ต่างจากวันอื่นที่ไม่มีใครสนใจเธอ แลนดอนรู้สึกตะลึงกับความสามารถในการขับร้องเพลงของเจมี่ เมื่อการแสดงจบลงแลนดอนเผลอจูบเจมี่ต่อหน้าสายตาเพื่อน ๆ และผู้ปกครองของเธอ รวมถึงบาทหลวงเรเวอร์เร็นด์ (ปีเตอร์ โคโยท) ที่ไม่ยอมรับในตัวแลนดอน และเบลินด้า (ลอเรน เจอร์แมน) แฟนเก่าของเขาที่ยังมีเยื่อใยอยู่ด้วย", "title": "ก้าวสู่ฝันวันหัวใจพบรัก" }, { "docid": "266789#15", "text": "หลังจากผู้กำกับเขียนบทอยู่ปีกว่า จึงเริ่มคิดกับโปรดิวเซอร์เรื่องตัวนักแสดงหญิง โดยได้ทำการทดสอบการแสดงนักแสดงหญิงกว่า 600 คน ทั้งดารา โมเดลลิง และหน้าใหม่ ใช้เวลาคัดเลือกสำหรับบทนี้กว่า 6-7 เดือน[4] โดยในตอนทดสอบบทก็ให้แนวทางผู้ทดสอบบท คือลูกคนจีน และมีความตลก ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ซึ่งคริส หอวังมีคุณลักษณะตรงนี้ ทั้งนี้ตัวละครตัวนี้ แสดงถึงความพยายามของผู้หญิงคนหนึ่งที่อยากมีความรักและมีความขี้แพ้อยู่ในตัวด้วย[2] ตอนแรกทางทีมงานไม่ได้นึกถึงคริส เพราะจากบทเป็นผู้หญิงที่ครอบครัวหัวโบราณ แต่คริสที่รู้จักจะเป็นคนทันสมัยมาก นำแฟชั่น จนเมื่อเข้าช่วงท้ายของการทดสอบการแสดง ทีมงานส่งรูปถ่ายคริสมาให้ผู้กำกับดู ซึ่งผู้กำกับรู้สึกว่า \"คงไม่มีใครเหมาะกับบทนี้มากกว่าคริส\" และเมื่อคริสเรียนการแสดงเพิ่มเติมกับอรชุมา ยุทธวงศ์ (ครูแอ๋ว) ถึงกับบอกว่า \"บทนี้เขียนมาสำหรับเพื่อคริสเลย\"[2] จากบทบาทนี้คริสเปิดเผยว่า \"ทั้งเรื่องไม่มีแต่งหน้า คือแต่งน้อยมาก\"", "title": "รถไฟฟ้า มาหานะเธอ" }, { "docid": "962616#4", "text": "เมื่อได้ค่ายที่บ้านสระเกศแล้วสมเด็จพระนเรศวรทรงติดตามพระเจ้าเชียงใหม่ขึ้นไปถึงนครสวรรค์ ทรงทราบข่าวว่าพระเจ้าเชียงใหม่นี้หนีไปอาศัยอยู่กับพระมหาอุปราชาที่เมืองกำแพงเพชรแล้ว หากติดตามไปอาจเสียทีพระมหาอุปราชาได้ จึงได้วางกำลังส่วนหนึ่งเป็นหน่วยลาดตระเวนเอาไว้ที่เมืองนครสวรรค์ แล้วยกทัพเสด็จกลับพระนครในการถ่ายทำฉากสำคัญ คือฉากการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวร กับกองทัพของพระยาพสิม และนรธาเมงสอ ในฉากนี้มีนักแสดงทั้งฝ่ายรบ และนักแสดงประกอบเข้าฉากมากมาย ในการถ่ายทำในฤดูกาลนี้มีนักแสดงท่านหนึ่งที่ไม่สามารถมาแสดงได้ คือ พิชวุฒิ เปี่ยมธรรมโรจน์ ผู้รับบทเป็น สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) เพราะเขาสอบอัยการสำเร็จ หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล ผู้กำกับได้กล่าวว่าจะหานักแสดงใหม่มารับบทแทน แต่ยังไม่เปิดเผยว่าเป็นใคร", "title": "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคศึกบ้านสระเกศ" }, { "docid": "896600#2", "text": "ครั้งที่สองปี พ.ศ. 2548 ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด, บริษัท ซีเนริโอ จำกัด บทโทรทัศน์โดย กษิดินทร์ แสงวงศ์, พฤกษ์ เอมะรุจิ กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ นำแสดงโดย รัฐศาสตร์ กรสูต, โสภิตนภา ชุ่มภาณี", "title": "รักหลอก ๆ อย่าบอกใคร" }, { "docid": "637774#8", "text": "จุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอกลับมารุ่งโรจน์ในวงการบันเทิงอีกครั้ง คงจะหนีไม่พ้น ศึกรักจอมราชันย์ ละครพีเรียดชื่อดังแห่งปี 2004 ที่ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายทั้งในฮ่องกง ไต้หวัน แผ่นดินใหญ่ ตลอดจนถึงประเทศไทย แต่ใครเลยจะรู้ว่าในความเป็นจริงนั้น เติ้งชุ่ยเหวินไม่ใช่คนที่ถูกวางตัวให้เล่นเป็น หยูเฟย สนมเอกคนโปรดของเจียชิ่งฮ่องเต้ในตอนแรก ทว่ากลับเป็นตัวสำรองของผู้กำกับที่ได้รับเล่นเรื่องนี้ เพราะนักแสดงหญิงคนอื่นปฏิเสธบทนี้ไปต่างหาก อีกทั้งทางทีมงานก็ไม่ได้ให้ความสำคัญในการโปรโมทเธอในฐานะ นักแสดงหญิงตัวเอกของเรื่องมากนักเมื่อเทียบกับนักแสดงนำคนอื่นๆ แต่ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน ประกอบกับบทหยูเฟยที่มีลักษณะเป็นหญิงแกร่ง ฉลาดเฉลียว โหดเหี้ยมแต่ก็มีความน่ารักอ่อนโยน จึงถูกอกถูกใจผู้ชมยุคใหม่ที่เริ่มเบื่อนางเอกหงิมๆสนิมสร้อยเข้าอย่างจัง ไม่เว้นแม้กระทั่ง ฉงเหยา นักเขียนนวนิยายชื่อดังเจ้าของบทประพันธ์ชุดตำนานรักดอกเหมยและองค์หญิงกำมะลอ เธอจึงกลายเป็นนักแสดงหญิงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในละครเรื่องนั้นไปโดยปริยาย", "title": "เติ้ง ชุ่ยเหวิน" }, { "docid": "961286#0", "text": "ณัฐพล รัตนิพนธ์ ชื่อเล่น บอล นักแสดงชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2524 จบปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม และเรียนต่อปริญญาโทจาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี คณะ รัฐศาสตร์ เริ่มเข้าวงการบันเทิงเป็นตัวประกอบ เดินไปเดินมาจนผู้กำกับเห็นว่า เด็กคนนี้น่ารักดี เลยให้โอกาสมาเล่นละคร จนถึงวันนี้ก็เล่นมาเกือบ 10 เรื่อง และมีผลงานพิธีกรต่างๆเช่นรายการ TV Guide ช่อง 5 รายการ Young MEA Dec Mission ช่อง NBT เป็นต้น และมีผลงานด้านละคร ผลงานเด่น บ้านทรายทอง ช่อง 3 และ ผ่าโลกบันเทิง ช่อง 7 จนมีผลงานละครต่อเนื่องและเป็นนักแสดงสตั้นแมนมีฝีมือทำให้ใครๆก็รู้จัก บอล ณัฐพล รัตนิพนธ์ นักแสดงและภาพยนตร์ชาวไทย", "title": "ณัฐพล รัตนิพนธ์" }, { "docid": "76722#6", "text": "และในปีพ.ศ. 2554 อั้มก็ได้มีงานแสดงภาพยนตร์ อีกครั้ง ชื่อเรื่อง \"30 กำลังแจ๋ว\" รับบทเป็น \"จ๋า\" คู่กับ ภูภูมิ พงศ์ภาณุ กำกับภาพยนตร์โดย สมจริง ศรีสุภาพ ผลิตโดยเอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ ซึ่ง คิง สมจริง ผู้กำกับ กล่าวถึงเหตุผลที่เลือกอั้ม มารับบทนี้ว่า \"\"อั้ม คือนางเอกที่ใช่มากๆ สำหรับเรื่องนี้ เพราะส่วนตัวผมเห็น อั้ม ในหลายบทบาท อั้ม มีศักยภาพทางการแสดงสูงมาก เค้าน่าจะทำบทบาทนี้ให้มีความลึกซึ้ง โรแมนติก และ กินใจได้ด้วยบทบาทการแสดงของเขา และ ด้วยความเป็นตัวเขาก็สื่อถึงผู้หญิงอายุ 30 ออกมาได้ชัดเจนนะ อั้ม เขาก็มีครบหมดทุกมุม เรียกว่าครบเครื่องน่ะ ผมชอบทุกคาแรกเตอร์ของเขานะไม่ว่าจะมีรัก เลิกรัก อย่างเวลาที่เขามีความรักนะเขาจะสวยสุดๆ เวลาที่มีอุปสรรคถึงเขาจะมีความเศร้าแต่เขาก็ยังเข้มแข็ง คุณว่าไหมล่ะนาทีนี้ถ้าใครพูดถึงเรื่องนี้ ก็ต้องนึกถึง อั้ม พัชราภา เท่านั้น\"\" รวมทั้งจันทิมา เลียวศิริกุล หนึ่งในผู้บริหารของค่าย M๓๙ ในฐานะโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้เปิดเผยว่า \"\"เริ่มต้นที่พัฒนาบทคือพี่คิงนำเสนอว่าผู้หญิงที่อยู่ในหัวเลยคือ อั้ม พัชราภา เพราะว่าผู้หญิงในเรื่องค่อนข้างที่จะเก่ง แล้วก็ไม่ค่อยจะมีปัญหากับการสนใจสังคม รู้จักตัวเอง รู้จักใจตัวเอง แต่เมื่อถึงเวลาตัดสินใจแล้ว จะเลือกใช้สมองหรือใช้หัวใจ มั่นใจมาก อั้มเพอร์เฟ็กต์กับคำว่าผู้หญิงเก่งและรู้จักตนเองและเชื่อว่าอั้มเล่นได้เพราะว่าอั้มเก่งมาก\"\"", "title": "พัชราภา ไชยเชื้อ" }, { "docid": "479008#0", "text": "' “รักหรรษา..คาราโอเกะ”' เป็นเรื่องราวความรักกุ๊กกิ๊กชิงไหวชิงพริบระหว่าง หรรษา (บอย พิษณุ) หนุ่มปากมอมที่ฝันอยากมีร้านคาราโอเกะเป็นของตัวเอง กับ โป๊ยเซียน (นาเดีย นิมิตรวานิช) สาวข้างบ้านจอมแก่นไม่ยอมใคร \nถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ โดย บริษัท โพลีพลัสเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2549 กำกับการแสดงโดย บุญชู พิทักษ์เลิศกุล ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ 17.00-18.00น.", "title": "รักหรรษาคาราโอเกะ" }, { "docid": "806172#0", "text": "รักบ้านเรา (ละครเทิดพระเกียรติ) เป็นละครโทรทัศน์แนว การอยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคมอย่างมีความสุข บทประพันธ์ของ บทโทรทัศน์โดย กำกับการแสดงโดย สราวุธ วิเชียรสาร ผลิตโดย บริษัท ทูแฮนส์ จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์–ศุกร์ เวลา 19.00 - 19.45 น. ทาง สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี นำแสดงโดย ศรราม เทพพิทักษ์, ลภัสรดา ช่วยเกื้อ, ภูริ หิรัญพฤกษ์, อลิชา หิรัญพฤกษ์ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย เริ่มตอนแรกวันที่ พ.ศ. 2551–พ.ศ. 2551 ", "title": "รักบ้านเรา" }, { "docid": "344326#4", "text": "ผู้กำกับเทวดา เอาแต่ใจตัวเอง เกิดเมืองไทยไปโตเมืองนอก ไม่สนใจใครนอกจากตนเอง ไม่มีความรักแท้ เน้นแต่ความสำเร็จส่วนตน แต่พอได้มาพบกับลูกจัน จึงเปลี่ยนไป ทะลุมิติไปสู่อดีตเห็นความรัก ความเสีย สละเพื่อบ้านเพื่อเมือง ทำให้ความคิดเปลี่ยนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น \nเป็นหญิงไทยหัวใจแกร่งเพราะเติบโตมากับบิดาและแม่นม รักชาติ รักศักดิ์ศรี ยอมทำทุกอย่างเพื่อบ้านเมือง แม้ต้องแต่งงานกับคนที่ไม่ได้รัก ทะลุผ่านมิติกาลเวลามาด้วยเหตุมหัศจรรย์ กล้าหาญ มีน้ำใจ \nเป็นนางเอกหนัง ลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนของเสี่ยเกรียง เอาแต่ใจตัวเอง อดีตเคยเป็นแฟนกับต้อม ปัจจุบันเป็นแฟนกับมาร์ค ไม่ชอบลูกจันเพราะไม่อยากให้ใครมาเด่นกว่าตนเอง จึงทำทุกวิถีทางเพื่อครอบครอง \nนักรบไทย ใจห้าวหาญ รูปร่างแมน บึกบึน เท่ สง่างาม รบเก่ง พูดจามีหลักการ รักชาติบ้านเมือง ยิ่งกว่าชีวิต ร่วมกับพระยาตากนำทัพไปตีเมืองจันได้สำเร็จ เสียสละความรักของตัวเองได้เพื่อชาติบ้านเมือง \nอดีตผู้กำกับมือดีของเสี่ยเกรียง แต่เด็กรุ่ใหม่ไฟแรงกว่าเลยตกกระป๋อง เป็นคนรักเดียวใจเดียวและยอมทำทุกอย่างเพื่อให้คนรักสมหวัง รู้ทั้งรู้ว่าเขาหมดรักในตัวเองแล้วก็ตาม \nคนรักของขุนไกร ร้ายลึก แต่ความรักไม่สมหวังเพราะขุนไกรต้องแต่งงานกับลูกจัน ทำให้ไม่พอใจ แต่ก็ยังรักขุนไกรไม่เปลี่ยนแปลง ถึงจะร้ายแต่ก็ไม่คิดเผาบ้านเผาเมืองตัวเอง เมื่อพ่อถลำผิดจึงขอตัดพ่อตัดลูกเพราะไม่ขอทรยศชาติบ้านเมือง \nเพื่อนซี้มาร์คเป็นคนเขียนบทอารมณ์ขัน มีความเชื่อในเรื่องการย้อนอดีตทุลุมิติ มีโลกจินตการณ์สูง เป็นคนจริงใจ รักเพื่อน \nพระเอกเกาหลี รูปหล่อ สำอาง ฝีมือการแสดงอ่อนหัด ถูกปั่นหัวเพื่อเป็นเครื่องมือของต้อม เป็นคนรักจริง หลงรักลูกจัน ทั้งที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้", "title": "หัวใจรักข้ามภพ" }, { "docid": "704537#0", "text": "วุ่นนักรักเต็มบ้าน เป็นละครโทรทัศน์ไทยแนวโรแมนติก-คอมเมดีที่นำซีรีส์เกาหลีชื่อดังอย่าง Full House สะดุดรักที่พักใจ มาสร้างเป็นละครซีรีส์เวอร์ชันภาษาไทย นำแสดงโดย พิรัชต์ นิธิไพศาลกุล, สุชาร์ มานะยิ่ง ละครเรื่องวุ่นนักรักเต็มบ้านเริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557–16 มีนาคม พ.ศ. 2557 ออกอากาศทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 19.00 - 20.00 น. ทางช่อง ทรูโฟร์ยู และทางช่อง ทรูเอเชียน เอชดี ผลิตโดย บริษัท เฮโล โปรดักส์ชั่น จำกัด กำกับการแสดงโดย สรัสวดี วงศ์สมเพ็ชร", "title": "วุ่นนักรักเต็มบ้าน" } ]
3906
จังหวัดนราธิวาส มีอำเภอที่ใหญ่ที่สุดชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "7013#0", "text": "นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก", "title": "จังหวัดนราธิวาส" } ]
[ { "docid": "70280#0", "text": "ท่าอากาศยานนราธิวาส () ตั้งอยู่ที่บ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ปัจจุบันมีทางวิ่ง 2,500 เมตรเพื่อรองรับอากาศยานลำใหญ่ในอนาคต เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2556 ได้เปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ เดินทางจากท่าอากาศยานนราธิวาสไปท่าอากาศยานเมืองญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ด้วยเครื่องบินของสายการบินไทย", "title": "ท่าอากาศยานนราธิวาส" }, { "docid": "77647#0", "text": "อำเภอสุไหงโก-ลก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส มีตัวเมืองขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ตอนล่าง", "title": "อำเภอสุไหงโก-ลก" }, { "docid": "852008#0", "text": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เป็นพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศ เป็นผืนป่าที่ประกอบไปด้วยผืนป่าสองผืน คือ ป่าฮาลา ในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส และ ป่าบาลา ในพื้นที่อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส แม้ป่าทั้งสองผืนนี้จะไม่ได้ติดเป็นป่าผืนเดียวกัน แต่ทว่าในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าร่วมกัน", "title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา" }, { "docid": "123391#0", "text": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์พูม่าตกที่จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2540 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2540 เมื่อเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งในขบวนเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จำนวน 6 ลำ เดินทางจากบ้านโต๊ะโมะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มุ่งหน้ากลับพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เครื่องเกิดขัดข้อง และชนยอดเขา ตกกลางป่าบริเวณเทือกเขาลิจอ บ้านไอปาเกาะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เมื่อเวลา 19.45 น.", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์พูม่าตกที่จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2540" }, { "docid": "10159#24", "text": "หลังจากรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งทำให้ ทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่ง รัฐบาล สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีการประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลคงกฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา เฉพาะอำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะเดา อำเภอสะบ้าย้อย[39] ใน31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลคงกฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา เฉพาะอำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะเดา อำเภอสะบ้าย้อย[40] นับว่ารัฐบาล สุรยุทธ์ จุลานนท์ ใช้อำนาจตามกฎหมายมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ กล่าวคือใช้อำนาจตาม พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา และขยายพื้นที่กฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี และจังหวัดสงขลาเฉพาะอำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะเดา อำเภอสะบ้าย้อย", "title": "ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย" }, { "docid": "17498#1", "text": "ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่ทางเหนือสุดของภาคคือ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค (และของประเทศไทย) คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลอันดามัน ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา", "title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "7013#10", "text": "อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอตากใบ อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอระแงะ อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงปาดี อำเภอจะแนะ อำเภอเจาะไอร้อง", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "50748#4", "text": "จังหวัดนราธิวาส มีสถาบันอุดมศึกษา รวม 7 แห่ง โดยมีประชากรกลุ่มอายุที่ได้รับการศึกษาระดับนี้เพียงร้อยละ 2.4 ซึ่งต่ำที่สุดของประเทศ โดยอัตราการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาของผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2543 มีเพียงร้อยละ 37.2 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาเฉลี่ยทั่วประเทศ ในปีเดียวกัน ที่ร้อยละ 81.1 ค่อนข้างมาก\nภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชาแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดของประเทศ ประมาณร้อยละ 80 ของชาวมุสลิมที่มีอยู่ทั่วประเทศ และยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษาที่มีการบูรณาการหลักการทางศาสนาอิสลามที่เปิดสอนถึงระดับอุดมศึกษา ทำให้ปัจจุบันจึงมีนักเรียนมุสลิมของไทยต้องเดินทางไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่จังหวัดนราธิวาส นอกจากจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนในพื้นที่และประหยัดงบประมาณของประเทศในการสูญเสียดุลการค้าระหว่างประเทศแล้ว ยังเป็นการช่วยเสริมสร้างเอกภาพและคมมั่นคงของชาติ ต้องการเชื่อมโยงการศึกษากับศาสนาเข้าสู่วิถีชีวิตของประชาชนชาวมุสลิม ช่วยก่อให้เกิดความรัก ความผูกพัน และสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรมและประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐและประชาชนชาวมุสลิม ให้เกิดความรัก ความสามัคคี ลดความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง รวมทั้งการก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้\nในระยะแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยใช้ชื่อว่าโครงการจัดตั้ง \"มหาวิทยาลัยนราธิวาส\" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 หลังจากนั้นจึงได้มีการยกฐานะขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์\" เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระวินิจฉัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 พระราชทานตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รูปมงกุฎสีทอง ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ตอนกลางเป็นอักษรย่อพระนาม กว. และอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสีน้ำทะเล ซึ่งสีฟ้าน้ำทะเล หรือสีฟ้าอมเขียว ของอักษรพระนามย่อ และอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสีประจำพระองค์ ", "title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "23931#63", "text": "การแพทย์และสาธารณสุข ตึกกัลยาณิวัฒนา โรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ศูนย์หัวใจนราธิวาสราชนครินทร์ และอาคารแพทยศาสตรศึกษาราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา", "title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "78627#0", "text": "โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อพัฒนาพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส โดยมีที่ตั้งโครงการ อยู่ที่ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส\nพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2524 พระองค์ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรโดยทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ทอดพระเนตรเห็นสภาพพื้นที่และความจำเป็นที่จะยกระดับความเป็นอยู่ ภาระเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่จังหวัดให้ดีขึ้น จึงมีพระราชดำริและพระราชกระแสรับสั่งต่อเจ้าหน้าที่และผู้ติดตามเสด็จ ให้พิจารณาปรับปรุงกิจการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่พรุ โดยมีพระราชกระแสรับสั่งต่อ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี (ในขณะนั้น) นายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส (ในขณะนั้น) นายเล็ก จินดาสงวน ผู้ช่วยอธิบดีกรมชลประทาน (ในขณะนั้น) นายวารินทร์ บุษบรรณ เกษตรจังหวัดนราธิวาส (ในขณะนั้น) นายอำเภอท้องที่ และข้าราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้", "title": "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง" }, { "docid": "78630#10", "text": "เป็นอาคารผู้ป่วยนอกและหอผู้ป่วยพิเศษแห่งใหม่ในโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เนื่องจาก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ที่ต้องรองรับการบริการรักษาพยาบาลในเขตจังหวัดนราธิวาสและประเทศเพื่อนบ้านจึงมีความจำเป็นต้องสร้างและขยายขอบเขตการให้บริการ ปัจจุบันโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกเป็นโรงพยาบาลทั่วไปอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส", "title": "โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก" }, { "docid": "128649#5", "text": "ภาษานี้เป็นภาษาที่มีผู้พูดอาศัยกระจายในวงกว้าง ชื่อเรียกของภาษานี้จึงมีให้เรียกต่างๆกันไปอย่าง ภาษาเจ๊ะเห มาจากชื่อตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ เป็นคำเรียกในวงกว้าง ชี้เฉพาะว่าภาษานี้มีผู้พูดกลุ่มใหญ่อยู่ในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หรือภาษาตุมปัต ที่เรียกในกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตัน โดยเฉพาะที่เมืองตุมปัต ที่มีคนเชื้อสายไทยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเรียกตามท้องถิ่นอย่าง ภาษาสายบุรี เป็นต้น", "title": "สำเนียงตากใบ" }, { "docid": "304791#0", "text": "โรงเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามียะห์ เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ถนนตรีรัตน์ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส \nเปิดทำการสอน ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2506 โดยนายหะยีดาโอ๊ะ หะยีมะดีเยาะ ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสกับคณะผู้ก่อตั้ง \nโดยเริ่มแรกโรงเรียนอยู่ในความอุปถัมภ์ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสในปีแรกรับเฉพาะนักเรียนชายเท่านั้น และเริ่มรับนักเรียนหญิงเมื่อปีการศึกษา 2507 \nในปีต่อๆมาโรงเรียนได้ปรับปรุงระบบบริหารและเพิ่มจำนวนการรับนักเรียนเข้าเรียน ทำให้อาคารเรียนไม่เพียงพอ ทางสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส \nจึงย้ายสถานที่เรียนใหม่ในที่ดินแปลงปัจจุบัน ซึ่งนาย สุริยน ไรวา คหบดีได้อุทิศที่ดินเพื่อเป็นสถานที่สร้างอาคารเรียน ในปีการศึกษา 2512 ทางราชการเริ่มส่งราชการครูมาช่วยสอนวิชาสามัญเป็นปีแรก \nทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อในปีการศึกษา 2514 นายหะยีดาโอ๊ะ หะยีมะดีเยาะ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนถึงแก่กรรม จึงให้นายฮารุน หะยีดาโอ๊ะ เข้าดำรงตำแหน่งเจ้าของโรงเรียนแทนโดยมี \nนายอูมาร์ ตอยิบเป็นผู้จัดการ ปีการศึกษา 2525 โรงเรียนเปิดสอนแผนการเรียน วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ และได้เข้าโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร พร้อมเปิดแผนการเรียนสายธุรกิจ (บัญชี) \nและคหกรรม (การตัดเย็บ) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในช่วงปีการศึกษา 2527-2543 โรงเรียนได้มีการสร้างอาคารเพิ่มขึ้นหลายอาคารเพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทุกปี \nจนกระทั่งในปีการศึกษา 2544 ได้ดำเนินการสร้างอาคารเรียนจำนวน 4 ชั้น 20 ห้องเรียน เป็นที่เสร็จเรียบร้อย...", "title": "โรงเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามียะห์" }, { "docid": "50748#5", "text": "แรกเริ่มศูนย์กลางการจัดการศึกษา มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เป็นที่ตั้งของสำนักงานกลาง อยู่ที่อำเภอเมืองนราธิวาส ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานอธิการบดี ณ ศูนย์ราชการใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นที่จัดตั้งพื้นที่การศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต", "title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "298601#0", "text": "เทศบาลเมืองนราธิวาส เป็นเทศบาลแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส", "title": "เทศบาลเมืองนราธิวาส" }, { "docid": "7013#11", "text": "อำเภอเมืองนราธิวาส เทศบาลเมืองนราธิวาส เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอตากใบ เทศบาลเมืองตากใบ อำเภอบาเจาะ เทศบาลตำบลบาเจาะ เทศบาลตำบลต้นไทร อำเภอยี่งอ เทศบาลตำบลยี่งอ อำเภอระแงะ เทศบาลตำบลตันหยงมัส เทศบาลตำบลมะรือโบตก อำเภอรือเสาะ เทศบาลตำบลรือเสาะ อำเภอศรีสาคร เทศบาลตำบลศรีสาคร อำเภอแว้ง เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา เทศบาลตำบลแว้ง อำเภอสุคิริน เทศบาลตำบลสุคิริน อำเภอสุไหงโก-ลก เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เทศบาลตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงปาดี เทศบาลตำบลปะลุรู", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "96221#3", "text": "นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ โดยการสนับสนุนของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่ อพยพมาจาก เขตภาคอีสาน ในหลายสิบปีก่อนหน้า ส่วนภาคใต้ ยังสามารถพบการจัดงานบุญบั้งไฟ ในเขตอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยเป็นการละเล่นของชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทีนี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยถือเป็นเพียงพื้นที่เดียวในภาคใต้ของไทย นอกจากภาคอีสานที่มีการเล่นประเพณีนี้", "title": "บุญบั้งไฟ" }, { "docid": "326459#5", "text": "วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ตั้งอยู่ เลขที่ 102 หมู่ 5 ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีพื้นที่ของวิทยาเขตครอบคลุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ตั้งอยู่เลขที่ 102 หมู่ที่ 5 ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96130 อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 24 กิโลเมตร เดิมมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 997 ไร่ และในปี พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ มอบที่ดินให้วิทยาลัยเพิ่มเติมอีก 811 ไร่ ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,808 ไร่ อาณาเขตติดต่อ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน\nส่วนที่ 1. เนื้อที่เดิม 997 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้\nส่วนที่ 2. เนื้อที่ใหม่ 811 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้", "title": "วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "128399#1", "text": "อำเภอสุคิรินตั้งอยู่ทางตอนล่างด้านใต้สุดของจังหวัดนราธิวาส มีสภาพเป็นป่าและภูเขาโอบล้อมรอบ มีเนื้อที่ประมาณ 577 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 323,125 ไร่ โดยเกือบทั้งหมดอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองสุคิริน อำเภอสุคิรินอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาสประมาณ 120 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้", "title": "อำเภอสุคิริน" }, { "docid": "10159#43", "text": "4 มกราคม - เกิดเหตุเผาโรงเรียน 20 แห่ง ในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ทำให้ทหารเสียชีวิต 4 นาย และได้อาวุธปืนไปกว่า 413 กระบอก[63]ทำให้รัฐบาลเสียหน้าอย่างมาก พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ไม่พอใจเป็นอย่างมาก ตำหนิทหารที่ไม่ระมัดระวัง ถึงกับพูดว่า ถ้าคุณมีกองทหารทั้งกองพันอยู่ที่นั้น แต่คุณก็ยังไม่ระวังตัว ถ้าอย่างนั้นก็สมควรตาย[64]ชึ่งเหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยเรียกวันดังกล่าวว่า วันเสียงปืนแตก 5 มกราคม มีประกาศกองทัพภาคที่ 4 เรื่อง การใช้กฎอัยการศึกจังหวัดนราธิวาส เฉพาะอำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอยี่งอ และอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดปัตตานี เฉพาะอำเภอกะพ้อ และจังหวัดยะลา เฉพาะอำเภอรามัน[65]ยกเลิกเมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2548[66] 26 มกราคม - มีประกาศกองทัพภาคที่ 4 เรื่อง การใช้กฎอัยการศึก อำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาส อำเภอควนโดน อำเภอละงู อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล อำเภอเมือง อำเภอหนองจิก อำเภอยะหริ่ง อำเภอมายอ อำเภอยะรัง อำเภอแม่ลาน อำเภอสายบุรี อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอไม้แก่นและอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองและกิ่งอำเภอเมืองกรงปินัง จังหวัดยะลา ยกเลิกเมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 8 กุมภาพันธ์ - ศูนย์ประสานงานคณะกรรมการอิสลามประจำ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอยุบหน่วยงานเนื่องจากไม่พอใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร[67] 12 มีนาคม - สมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ที่รับทำคดีเกี่ยวกับความมั่นคงในชายแดนใต้ ถูกลักพาตัว 28 เมษายน - กลุ่มก่อความไม่สงบปฏิบัติการครั้งใหญ่ ทำให้ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 107 คน ทหารและตำรวจเสียชีวิต 5 นาย[53] 5 ธันวาคม - โปรยนกกระดาษกว่า 60 ล้านตัว ตามโครงการ \"60 ล้านใจ สานสายใยพี่น้องใต้ ด้วยดอกไม้และนกกระดาษ\" จากนั้นโจรใต้แจกใบปลิวในจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง ขู่ฆ่าประชาชนที่เก็บนกกระดาษ", "title": "ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย" }, { "docid": "128413#0", "text": "อำเภอเมืองนราธิวาส เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส", "title": "อำเภอเมืองนราธิวาส" }, { "docid": "343829#1", "text": "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 400 เตียง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 180 ถนนระแงะมรรคา ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 71 ไร่ 90 ตารางวา เปิดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อปี พ.ศ. 2484 แรกเริ่มเป็นเพียงสุขศาลาเท่านั้น จวบจนปี พ.ศ. 2495 กระทรวงสาธารณสุขได้ยกฐานะขึ้นเป็นโรงพยาบาลชื่อว่า \"โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์\" โดยมีนายแพทย์สุรินทร์ พรหมพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก ขณะนั้นมีเตียงผู้ป่วย 16 เตียง ต่อมาได้ดำเนินการพัฒนาเรื่อย ๆ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-4 จนมีขีดความสามารถตามมาตรฐานของโรงพยาบาลทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข ", "title": "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "326459#0", "text": "วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส เดิมมีชื่อว่า วิทยาลัยเกษตรกรรม ตั้งอยู่เลขที่ 102 หมู่ที่ 5 บ้านป่าไผ่ ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ห่างจากตัวจังหวัด 24 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,808 ไร่ ", "title": "วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "78613#0", "text": "เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก หรือเมืองสุไหงโก-ลก ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลสุไหงโก-ลกอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ถือได้ว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนราธิวาส เป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและการลงทุนศูนย์กลางการเงินและธนาคารที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชายแดนภาคใต้เนื่องด้วยเป็นหัวเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญมีด่านศุลกากรที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งนำเข้า และส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซียได้รับการประกาศยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง เมื่อ ปี พ.ศ. 2545 ", "title": "เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก" }, { "docid": "23931#65", "text": "อื่น ๆ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส เขตวัฒนา สวนสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สวนแม่-สวนลูก) จังหวัดปัตตานี ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 14 โรงพยาบาลศิริราช", "title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "23931#64", "text": "การศึกษา อาคารกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาคาราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ โรงเรียนกัลยาณิวัฒนา ๑ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนกัลยาณิวัฒนา ๒ อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา (เดิมชื่อ สถาบันวัฒนธรรมศึกษา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ห้องสมุดกัลยาณิวัฒนา โรงเรียนวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร", "title": "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "233744#0", "text": "ต่อไปนี้เป็นรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนราธิวาสโรงเรียนบ้านปาหนัน อำเภอศรีสาคร\nโรงเรียนบ้านปูลากาป๊ะ อำเภอเมืองนราธิวาส\nโรงเรียนบ้านแป๊ะบุญ อำเภอบาเจาะ\nโรงเรียนบ้านมะนังกาหยี อำเภอเมืองนราธิวาส\nโรงเรียนบ้านมะรือโบตก อำเภอระแงะ\nโรงเรียนบ้านมือบา อำเภอสุไหงโก-ลก\nโรงเรียนบ้านมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก\nโรงเรียนบ้านสรายอ(ทรายทองอุทิศ) อำเภอสุไหงโก-ลก\nโรงเรียนบ้านยะลูตง (ประชุมวิทยาสาร) อำเภอบาเจาะ\nโรงเรียนบ้านแยะ อำเภอยี่งอ\nโรงเรียนบ้านริแง อำเภอจะแนะ\nโรงเรียนบ้านรือเปาะ อำเภอจะแนะ\nโรงเรียนบ้านลาเมาะฮีเล อำเภอรือเสาะ\nโรงเรียนบ้านลุโบะดาโต๊ะอำเภอยี่งอ\nโรงเรียนบ้านลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ\nโรงเรียนบ้านสะแนะ อำเภอรือเสาะ\nโรงเรียนบ้านสาคร อำเภอศรีสาคร\nโรงเรียนบ้านสิโป อำเภอระแงะ\nโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก\nโรงเรียนบุญลาภนฤมิตร อำเภอสุไหงโก-ลก***\nโรงเรียนอนุบาลรังผึ้ง อำเภอสุไหงโก-ลก***\nโรงเรียนเกษมทรัพย์ อำเภอสุไหงโก-ลก***\nโรงเรียนบ้านสุชาดา อำเภอสุไหงโก-ลก***\nโรงเรียนอนุบาลผดุงวิทย์ อำเภอสุไหงโก-ลก***\nโรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ อำเภอสุไหงโก-ลก***\nโรงเรียนแสงธรรมวิทยา อำเภอสุไหงโก-ลก***\nโรงเรียนสวนสว่างศึกษา อำเภอสุไหงโก-ลก***\nโรงเรียนบ้านสุไหงบาตู อำเภอบาเจาะ\nโรงเรียนบ้านสุไหงบาลา อำเภอเมือง\nโรงเรียนบ้านหัวเขา อำเภอเมืองนราธิวาส\nโรงเรียนบ้านอาตะบือแระ อำเภอบาเจาะ\nโรงเรียนบ้านฮูแตทูวอวิทยาลัย อำเภอเมืองนราธิวาส***\nโรงเรียนบ้านฮูลูคอนแวนต์ อำเภอระแงะ****\nโรงเรียนแหลมทองวิทยา อำเภอระแงะ***\nโรงเรียนอนุบาลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ\nโรงเรียนอัลเราะห์มานอนุสรณ์ อำเภอเจาะไอร้อง***\nอิลมาฮาดุลรอบยานี 174 หมู่ที่ 2 ตำบลตาลิบง อำเภอระเงะ จังหวัดนราธิวาส \nฮีดายาตูลกรุอาน 68/1 หมู่ที่ 8 ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส \nอิบตีดาวิทยา 148 หมู่ที่ 7 ตำบลลาโลธ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส \nกุรอานกูเร๊าะฮ์ซับอียะห์ 113 ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส \nดะวะห์ตูลอิสลามียะห์ 46 หมู่ที่ 2 ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส \nดาราวิทยา 129 หมู่ที่ 9 ตำบลตันหยงมัส อำเภอระเงะ จังหวัดนราธิวาส \nดาราศาสตร์วิทย 26 หมู่ที่ 1 ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส \nดารุสสาลาม 7 ถ.เทศบาล 8 ตำบลตันหยงมัส อำเภอระเงะ จังหวัดนราธิวาส \nดารุสสาลาม 129/1 หมู่ที่ 9 ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส \nดารุสลาม 128/97 หมู่ที่ 6 ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส \nดารุลมาอี หมู่ที่ 7 ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส \nดารุลอามาน 65/1 หมู่ที่ 3 ตำบลสุวารี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส \nดารุลฮิกมะห์ หมู่ที่ 1 ตำบลกาลิชา อำเภอระเงะ จังหวัดนราธิวาส \nดารุลอุลลม 87 หมู่ที่ 3 ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส \nดารุลกุรอานิลการีม 137 หมู่ที่ 4 ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส \nดารุลนาอีม 187 หมู่ที่ 5 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส \nดีลกียาดะห์ อัลดีสลามียะ 72/2 หมู่ที่ 4 ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส \nดีนนียะห์อิสลามียะห์ 62/4 หมู่ที่ 5 ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส \nต้นตันหยง 157/4 หมู่ที่ 7 ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส \nตายุลอิสลาม 36 ถ.บือเจาะ หมู่ที่ 1 ตำบลบาเจาะ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส \nนราวิทย์อิสลาม 3 ถ.คชรัตน์ หมู่ที่ 3 ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส \nนะห์ฏอตุลสุบาน 225 หมู่ที่ 1 ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส \nนะฎอฏุลอิสลามียะห์ หมู่ที่ 1 ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส \nนัสรินวิทยา 143 หมู่ที่ 7 ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส \nนัสดอตุลซุบฟานียะฮฺ 96/2 หมู่ที่ 1 ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส \nนิรันดรวิทยา 23 ถ.จารุเสถียร หมู่ที่ 9 ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส \nนูรุลวาตานียะห์อิสลามียะห์ หมู่ที่ 6 ตำบลเรียน อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส \nนูรุลอิห์ซาน 21/1 หมู่ที่ 2 ตำบลเชิงคีรี อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส \nนูรุลฮูดา 190/1 หมู่ที่ 1 ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส \nนูรุดดิน หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะแด อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส \nนุรุลฮีดายะห์ 43 หมู่ที่ 7 ตำบลมาโมง อำเภอสุคิรินทร์ จังหวัดนราธิวาส \nบูกิตอิสลามียะห์ หมู่ที่ 2 ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส \nประทีปวิทยา 11 หมู่ที่ 7 ตำบลมารือโบตก อำเภอระเงะ จังหวัดนราธิวาส \nปะดาดออิสลามิค 124/3 หมู่ที่ 3 ตำบลนานาค อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส \nฟัตฮูเราะห์มาน หมู่ที่ 2 ตำบลซากอ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส", "title": "รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "50748#19", "text": "ครั้นเมื่อมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ดำเนินการจัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษา และได้จัดการเรียนการสอนรวมทั้งผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยจึงได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ณ หอประชุมคณะพยาบาลศาสตร์ (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนราธิวาส-เดิม) มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ซึ่งนับได้ว่าเป็น \"พิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของจังหวัดนราธิวาส\"", "title": "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "7013#25", "text": "ระยะทาง 1,149 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์–จังหวัดชุมพร และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี–จังหวัดนครศรีธรรมราช–จังหวัดพัทลุง–อำเภอหาดใหญ่ และต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 เข้าสู่จังหวัดปัตตานี–จังหวัดนราธิวาส มีรถโดยสารประจำทางกรุงเทพฯ–นราธิวาส–สุไหงโก-ลก บริการทุกวัน", "title": "จังหวัดนราธิวาส" } ]
3907
พรรคชาตินิยมเวียดนาม หรือเหวียตโกว๊กมีผู้นำพรรคคนแรกชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "743373#0", "text": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม (Vietnamese: Việt Nam Quốc Dân Đảng; 越南國民黨) หรือเหวียตโกว๊ก (Vietnamese: Việt Quốc 越國) เป็นพรรคการเมืองชาตินิยมในเวียดนามที่ได้พยายามกอบกู้เอกราชเวียดนามจากฝรั่งเศสในระหว่างต้นศตวรรษที่ 20 โดยได้กำเนิดในช่วงยุค 1920 เมื่อปัญญาชนวัยหนุ่มได้เริ่มเผยแผ่หลักการปฏิวัติ ในปี ค.ศ.1927 หลังจากที่สำนักพิมพ์ประสบความล้มเหลวเพราะการล่วงล้ำของฝรั่งเศสและการปิดกั้นความคิด พรรคชาตินิยมเวียดนามจึงได้ถูกก่อตั้งโดย เหงียน ท้าย ฮอก โดยนำรูปแบบมาจากพรรคก๊กมินตั๋งของประเทศจีนในยุคนั้น (รูปอักษรจีนของทั้งสองพรรคเขียนเหมือนกัน ดังนี้ 國民黨) พรรคชาตินิยมเวียดนามได้มีชนชั้นกลางเข้าร่วมด้วยอยู่พอสมควร โดยเฉพาะคุณครูอาจารย์และปัญญาชน แต่ไม่ได้รับความสนใจจากชาวนาและกรรมการ พรรคจึงได้ก่อตั้งขึ้นอย่างลับๆ", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" } ]
[ { "docid": "743373#13", "text": "หลังจากเหตุการณ์เอียนบ๊าย พรรคชาตินิยมเวียดนามได้แยกย้ายกันไป ลี ฮู กัญ ได้พยายามฟื้นฟูพรรคโดยรวบรวมสมาชิกที่เหลือเข้าด้วยกัน กลุ่มที่ยังจงรักภักดีต่อฮอกยังคงเคลื่อนไหวในฮานอยและไฮฟอง ความล้มเหลวในการพยายามลอบสังหารนายทหารฝรั่งเศสทำให้ถูกฝรั่งเศสปราบปรามอย่างหนัก ใน พ.ศ. 2474 – 2475 ผู้ที่รอดชีวิตจึงลี้ภัยไปยูนนาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผู้สนับสนุนกลุ่มของเงียบยังเคลื่อนไหวอยู่ พรรคชาตินิยมเวียดนามในยูนนานกลายเป็นส่วนหนึ่งของพรรคก๊กมินตั๋งในจีน", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "545828#0", "text": "เญิ้ต ลิญ () เป็นนามปากกาของ เหงียน เตื่อง ตาม () เกิดเมื่อ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 ผู้เป็นนักการเมืองและนักเขียนคนสำคัญของเวียดนาม เขามีอุดมการณ์ที่ขัดแย้งกับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม จึงตั้งพรรคประชาชนเวียดนามขึ้นใน พ.ศ. 2454 และต่อมาได้รวมเข้ากับพรรคแห่งชาติเวียดนาม ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของกลุ่มปัญญาชน ต่อมา ใน พ.ศ. 2489 ลิญได้เข้าร่วมรัฐบาลกับโฮจิมินห์ แต่อีก 2 เดือนต่อมาก็เกิดความขัดแย้ง จนลิญออกจากรัฐบาล ลี้ภัยไปจีนและฮ่องกง หลังจากที่มีการแบ่งประเทศเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ลิญเลือกที่จะไปอยู่เวียดนามใต้ ", "title": "เญิ้ต ลิญ" }, { "docid": "235351#15", "text": "ผู้นำของเขมรแดงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คณะกรรมการของพรรคระหว่างครองอำนาจได้แก่ \nในระหว่างที่มีอำนาจ เขมรแดงจัดการให้ประเทศปลอดจากอิทธิพลของต่างชาติ ปิดโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ยกเลิกธนาคาร การเงิน สกุลเงิน สั่งให้การนับถือศาสนาผิดกฎหมาย บังคับให้ประชาชนอพยพออกจากเมือง ไปอยู่ในนารวม เพื่อเปลี่ยนชาวกัมพูชาทั้งหมดให้เป็นประชาชนเก่าที่อยู่ได้ด้วยการเกษตร ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องล้มตาย ทั้งการขาดอาหาร โรคระบาด และถูกประหาร ในพนมเปญและเมืองอื่นๆ เขมรแดงบังคับให้ประชาชนอพยพออกมาเพราะอ้างว่าสหรัฐอเมริกาจะมาทิ้งระเบิด ประชาชนต้องไปอยู่ตามคอมมูน และค่ายสำหรับใช้แรงงาน คนบางกลุ่มถูกเลือกไปประหารชีวิต เช่นเจ้าหน้าที่ของสาธารณรัฐเขมร และคนที่มีความรู้ รวมทั้งคนที่สงสัยว่าจะทรยศ\nอย่างไรก็ตาม ภายในพรรคได้เกิดความแตกแยกภายในโดยเกิดกลุ่มที่ต่อต้าน พล พตขึ้น โดยเกิดการต่อต้านใน พ.ศ. 2520 และ 2521 ทำให้มีผู้ถูกประหารชีวิตนับพันคนรวมทั้งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย ทั้งนี้ ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์รุ่นเก่าที่เคยมีความเกี่ยวข้องกับเวียดนามจะตกเป็นเป้าหมายของ พล พต\nในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2520 พล พตประกาศถึงการมีอยู่ของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาในสุนทรพจน์นาน 5 ชั่วโมง โดยประกาศตั้งอังการ์ (ภาษาเขมร: អង្គការ หมายถึงองค์กร) เป็นหน่วยงานที่ครองอำนาจสูงสุดในกัมพูชา ก่อนหน้านี้การมีอยู่ของพรรคถือว่าเป็นความลับ และพล พตยังคงถือเป็นความลับอยู่ในช่วงสองปีแรกที่ขึ้นครองอำนาจ เพื่อป้องกันศัตรูภายใน การประกาศการมีอยู่ของพรรคเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆก่อนที่ พล พตจะเดินทางไปเยือนจีน และเขมรแดงต้องพึ่งพาจีนมากขึ้นในการต่อต้านเวียดนาม พล พตกล่าวว่าพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2503 โดยไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม\nในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 เนื่องจากความขัดแย้งที่สะสมมาหลายปี ทำให้มีผู้อพยพชาวกัมพูชาจำนวนมากเข้าไปสู่เวียดนาม พล พตกลัวการโจมตีของเวียดนาม จึงให้กองทหารของเขาข้ามแดนเข้าไปในเวียดนามและเผาทำลายหมู่บ้านโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากจีนหรือสหรัฐ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2522กลุ่มนิยมเวียดนามในพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชานำโดยแปน โสวัณได้จัดการประชุมพรรคใกล้กับชายแดนเวียดนามและได้ร่วมมือกับเฮง สัมรินจัดตั้งแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา เพื่อต่อต้านเขมรแดง ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แตกออกเป็นสองส่วน กลุ่มที่นำโดยแปน โสวัณแยกไปเป็นอีกพรรคหนึ่ง", "title": "พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา" }, { "docid": "145359#0", "text": "พรรคกิจกรรมประชาชนแห่งเวียดนาม (; ) เป็นองค์กรต่อต้านคอมมิวนิสต์พลัดถิ่นของเวียดนาม มีที่ตั้งในสหรัฐ ผู้นำพรรคคือเหงียน ซิบิญ และดร.เหงียน ซวนงาย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2534 เป้าหมายของพรรคคือรวมชาวเวียดนามให้เป็นเอกภาพภายใต้ระบอบประชาธิปไตยและดำเนินนโยบายทางงด้านการศึกษา การดูแลสุขภาพ เศรษฐกิจและสิทธิมนุษยชน มีการจัดตั้งสำนักงานในกัมพูชาแต่ถูกจับกุมและส่งตัวไปดำเนินคดีในเวียดนาม พวกเขาพยายามเข้าไปรณรงค์เพื่อหาเสียงสนับสนุนในเวียดนามแต่สมาชิกของกลุ่ม 21 คน ที่เข้าไปในเวียดนามถูกจับขังคุกนานกว่า 2 ปี", "title": "พรรคกิจกรรมประชาชนแห่งเวียดนาม" }, { "docid": "743373#1", "text": "ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1928 พรรคชาตินิยมเวียดนามเริ่มเป็นที่รู้จักจากการลอบสังหารเจ้าพนักงานชาวฝรั่งเศสและผู้ช่วยชาวเวียดนาม จุดเปลี่ยนของพรรคได้เข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1929 จากเหตุการณ์การลอบสังหารบาซินซึ่งเป็นเหตุการณ์การสังหารแรงงานเกณฑ์ชาวฝรั่งเศส แม้ว่าการสมรู้ร่วมคิดกับผู้ก่อการไม่ชัดเจนนัก แต่เจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสกลับกล่าวหาว่าพรรคชาตินิยมเวียดนามคือผู้มีส่วนร่วม สมาชิกประมาณ 300-400 ของสมาชิก 1,500 คนถูกปราบปรามและถูกจับกุม ผู้นำหลายคนถูกจับกุม แต่ห้อกได้จัดการจนสามารถหลบหนีไปได้", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "580872#1", "text": "พรรคนี้ก่อตั้งโดยเจื่อง ตื๋อ อัญ หรือที่รู้จักกันในชื่อ อัญ ก๋า เฟือง (พี่ชายใหญ่เฟือง) สมาชิกเริ่มต้นของพรรคมีหลากหลาย เช่น ดร. ฟัน ฮวี กวต และ ดร. เหงียน ตอน ฮวาน ในสมัยที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ไดเวียดได้จัดให้มีการต่อสู้ทางทหารเพื่อเอกราช สมาชิกไดเวียดบางคนได้รับการฝึกอบรมจากก๊กมินตั๋งในยูนนานก่อนจะมีการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่นิยมญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นเข้ามายึดครองอินโดจีน หลังจากการแบ่งแยกเวียดนามใน พ.ศ. 2497 กลุ่มไดเวียดถูกคว่ำบาตรในเวียดนามเหนือ แต่ยังมีกิจกรรมต่อไปในเวียดนามใต้ โดยเป็นกลุ่มต่อต้านประธานาธิบดีโง ดิ่ญ เสี่ยม และมีส่วนในการปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลของเสี่ยมโดยกองทัพสาธารณรัฐเวียดนาม", "title": "พรรคไดเวียด" }, { "docid": "743373#17", "text": "ข้อตกลงระหว่างพรรคชาตินิยมเวียดนามกับเวียดมิญไร้ประโยชน์ในเวลาต่อมา รัฐมนตรีที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายคอมมิวนิสต์จะมีรัฐมนตรีช่วยที่เป็นคอมมิวนิสต์และไม่ได้รับข้อมูลในการบริหารที่ครบถ้วน การเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพรรคชาตินิยมเวียดนามและเวียดมิญ โดยเวียดมิญกล่าวหาว่าทหารของพรรคชาตินิยมเวียดนามโจมตีสถานี ส่วนพรรคชาตินิยมโจมตีเวียดมิญว่าจัดการเลือกตั้งไม่เป็นธรรม", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "743373#7", "text": "การจัดรูปแบบของพรรคใช้ตามพรรคก๊กมินตั๋งในจีน แต่ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างระหว่างกัน การต่อสู้เน้นการต่อสู้ทางทหารเพื่อยึดอำนาจ และการฝึกอบรมประชาชนระยะหนึ่งก่อนจะจัดตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกพรรคส่วนใหญ่เป็นครู ลูกจ้างของอาณานิคมฝรั่งเศสหรือเจ้าหน้าที่ในกองทัพอาณานิคม มีกรรมกรน้อยมาก ความนิยมของพรรคตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกต่อต้านฝรั่งเศสในเวียดนามภาคเหนือในทศวรรษ 2463 พรรคนี้ได้มองหาแนวร่วมจากกลุ่มชาตินิยมอื่นๆในเวียดนามเพื่อร่วมต่อสู้เรียกร้องเอกราช พรรคได้ประณามพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามของโฮจิมินห์ในการที่ทรยศต่อฟาน โบ่ย เจิว นักชาตินิยม โดยจับตัวส่งให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกเงินค่าหัว[8]", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "743373#12", "text": "ในเย็นวันเดียวกัน กลุ่มพรรคชาตินิยมเวียดนามได้ออกปฏิบัติการอีกหลายที่ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ สมาชิกพรรคทำร้ายตำรวจที่ฮานอย ขว้างระเบิดเข้าไปในตึกของรัฐบาล ฝ่ายฝรั่งเศสส่งทหารมาปราบปราม การสู้รบดำเนินไปจนถึง 22 กุมภาพันธ์ ฝ่ายฝรั่งเศสจึงเป็นฝ่ายชนะ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ผู้ถูกจับกุมจำนวน 13 คน ถูกประหารชีวิต โดย ฮอก และจิญรวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย การประหารชีวิตเกิดขึ้นเมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2473 ฮอกได้เขียนหนังสือถึงรัฐบาลฝรั่งเศสว่าเขายินดีร่วมมือกับฝรั่งเศส แต่การไม่ยอมประนีประนอมทำให้ต้องเป็นกบฏ ฝรั่งเศสอยู่ในอินโดจีนฝรั่งเศสได้แต่ต้องยกเลิกระบบศักดินาและเป็นมิตรกับชาวเวียดนามมากกว่านี้ พรรคต้องการให้มีการศึกษาที่เป็นสากล การฝึกฝนทางการค้าและอุตสาหกรรม และยุติการฉ้อราษฎร์บังหลวง", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "655408#0", "text": "เหงียน เติ๊น สุง (; 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 — ) คืออดีตนายกรัฐมนตรีของเวียดนาม ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภาเวียดนาม เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากที่ฟาน วัน ขาย นายกรัฐมนตรีคนก่อนหน้าลาออก เหงียน เติ๊น สุงได้รับเลือกให้เป็นผู้นำอันดับสามของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามต่อจากประธานาธิบดีเจือง เติ๊น ซาง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝุ่ง กวาง ทัญ", "title": "เหงียน เติ๊น สุง" }, { "docid": "541279#0", "text": "โด๋ยเม้ย () เป็นภาษาเวียดนามแปลว่าบูรณะหรือดำเนินการใหม่ เป็นนโยบายเศรษฐกิจของเวียดนามที่เสนอโดยเหงียน วัน ลิญ เป็นการเน้นตลาดเสรีแต่ใช้ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ นโยบายนี้ได้เสนอในที่ประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ. 2529 และครั้งที่ 7 พ.ศ. 2534 การเสนอนโยบายนี้เกิดจากความล้มเหลวของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามที่ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจของเวียดนามดีขึ้น นโยบายนี้ต่างจากเปเรสตรอยกาของสหภาพโซเวียต เพราะการปรับโครงสร้างใหม่ เป็นสิ่งที่ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เห็นว่าเป็นการทำลายบทบาทของพรรค ทำให้กลุ่มอนุรักษนิยมเปิดกว้างทางเศรษฐกิจอย่างระมัดระวัง ทำให้การดำเนินการตามนโยบายโด๋ยเม้ยเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ", "title": "โด๋ยเม้ย" }, { "docid": "984631#1", "text": "เหงียน ฟู้ จ่องได้รับการเลือกตั้งเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554 และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในสมัชชาพรรคครั้งที่ 12 ในปี พ.ศ. 2559 เป็นหัวหน้าคณะเลขาธิการศูนย์กลางพรรค และเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางทางทหาร นอกเหนือจากนั้นยังเป็นหัวหน้าโดยพฤตินัยของคณะกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในเวียดนาม ทำให้ปัจจุบันเขาถือว่าเป็นคนที่มีอำนาจมากที่สุดในเวียดนาม", "title": "เหงียน ฟู้ จ่อง" }, { "docid": "743373#3", "text": "กลุ่มที่เหลืออยู่ได้ใช้สันติวิธีในการต่อสู้ ขณะที่กลุ่มอื่นๆนั้นได้หนีไปยังมณฑลยูนนาน ซึ่งพวกเขาได้อาวุธและฝึกซ้อมรบอยู่ที่นั้น ระหว่างยุค 1930 พรรคได้ถูกบดบังโดยพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน เวียดนามได้ถูกยึดครองโดยญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จากความวุ่นวายภายหลังการยอมแพ้ของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1945 พรรคชาตินิยมเวียดนามกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อเอกราชของเวียดนามเป็นระยะเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ความวุ่นวายได้หมดไป โฮจิมินห์ได้กวาดล้างกลุ่มทหารของพรรคชาตินิยมเวียดนามออกไปกลุ่มทหารคอมมิวนิสต์เวียดนาม ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกลายเป็นผู้ต่อต้านจักรวรรดินิยมอย่างไร้ผู้เทียมเท่า หลังสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1สิ้นสุดลง เวียดนามได้ถูกแบ่งแยกเป็นสองส่วน ทางพรรคได้ย้ายไปอยู่เวียดนามใต้ ภายหลังเหตุการณ์ไซ่ง่อนแตกแล้ว พรรคได้ย้ายไปยังนอกประเทศและยังเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในปัจจุบัน", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "743373#10", "text": "ใน พ.ศ. 2472 พรรคชาตินิยมได้แตกแยกออกเป็นส่วน นำโดยเหงียน แท เงียบ บางแหล่งเชื่อว่าเงียบมีการติดต่อกับฝรั่งเศสอย่างลับๆ ในกลางปีนั้น ฮอกเสนอที่จะให้มีการลุกฮือทั่วไป โดยเฉพาะโดยทหารชาวเวียดนามในกองทัพฝรั่งเศส สมาชิกระดับกลางของพรรคคัดค้านเพราะเห็นว่ายังไม่พร้อมที่จะเคลื่อนไหว แต่ฮอกยืนยันว่าต้องการยกระดับองค์กรไปสู่การต่อสู้อย่างรุนแรง แผนการปลุกระดมเพื่อลุกฮือในที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงดำเนินในช่วงปลายปี พ.ศ. 2472 โดยกองกำลังของพรรคชาตินิยมเข้าร่วมกับทหารชาวเวียดนามในการโจมตีเมืองสำคัญทางเหนือคือฮานอยและไฮฟอง ผู้นำพรรคได้ตกลงที่จะจำกัดการต่อสู้เฉพาะในตังเกี๋ยเพราะที่อื่นพรรคยังอ่อนแออยู่", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "580872#0", "text": "พรรคไดเวียดหรือพรรคชาตินิยมแห่งเวียดนามใหญ่ (Nationalist Party of Greater Vietnam; ภาษาเวียดนาม: Đại Việt Quốc dân đảng หรือ Đại Việt) เป็นพรรคการเมืองที่เน้นชาตินิยมและต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่มีกิจกรรมในเวียดนามเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 พรรคนี้ยังคงมีกิจกรรมอยู่นอกเวียดนาม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยแบบหลายพรรค", "title": "พรรคไดเวียด" }, { "docid": "743373#6", "text": "พรรคชาตินิยมเวียดนามจัดตั้งขึ้นจากการประชุมในฮานอย เมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดนเหงียน ท้าย ฮอก เป็นผู้นำ พรรคนี้ถือเป็นพรรคที่เน้นแนวทางปฏิวัติพรรคแรกในเวียดนาม ก่อตั้งก่อนพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน 3 ปี พรรคนี้เน้นสังคมนิยม ต้องการจัดตั้งสาธารณรัฐเวียดนามที่เป็นเอกราช ขับไล่ฝรั่งเศสออกไปด้วยวิธีทางการทหาร", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "476337#1", "text": "แม้ว่าพระนโรดม รณฤทธิ์จะประกาศเลิกเล่นการเมืองไปเมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 แต่พระองค์ยังมีอิทธิพลต่อนโยบายของพรรค โดย ชิม เสียก เลง มีแนวโน้มจะเป็นผู้นำคนต่อไป และพรรคเปลี่ยนไปใช้ชื่อว่าพรรคชาตินิยม พระนโรดม รณฤทธิ์ กลับมาเล่นการเมืองอีกเมื่อ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พรรคจึงกลับมาใช้ชื่อพรรคนโรดม รณฤทธิ์อีกครั้ง", "title": "พรรคนโรดม รณฤทธิ์" }, { "docid": "743373#16", "text": "ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นได้จัดตั้งจักรวรรดิเวียดนามขึ้นเป็นรัฐหุ่นเชิด และได้ปล่อยตัวนักกิจกรรมทางการเมืองที่ต่อต้านฝรั่งเศสหลายคน รวมทั้งสมาชิกพรรคชาตินิยมเวียดนาม ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กลุ่มเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ได้ขึ้นสู่อำนาจและจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลหลังจากญี่ปุ่นถอนตัวออกไปจากเวียดนาม กลุ่มพรรคชาตินิยมเวียดนามประมาณ 100 คน ได้เดินทางจากจีนเข้าสู่เวียดนามแต่กลับถูกเวียดมิญสังหารที่แนวชายแดน พรรคชาตินิยมเวียดนามในเวียดนามเหนือได้รับการสนับสนุนจากพรรคก๊กมินตั๋งในจีน พรรคชาตินิยมได้ควบคุมที่มั่นตามแนวชายแดนจีน-เวียดนามใกล้ลาวก่าย พวกเขาได้ตั้งสถาบันวิชาการทหารที่เยนไบ๊ เพื่อฝึกทหารของตนเอง พรรคชาตินิยมเวียดนามได้จัดตั้งกลุ่มในฮานอยและออกหนังสือพิมพ์เพื่อเผยแพร่นโยบายและอุดมการณ์", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "743373#2", "text": "ปลายปี ค.ศ. 1929 พรรคได้เริ่มอ่อนแอลงจากการแตกแยกภายในพรรคเอง ภายใต้การกดดันที่เพิ่มมากขึ้นของฝรั่งเศส ผู้นำของพรรคหลายคนได้เปลี่ยนวิธีการต่อต้านฝรั่งเศสจากการลอบสังหารเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสเปลี่ยนเป็นการขับไล่โดยการก่อจลาจล หลังจากที่รวบรวมอาวุธมาได้แล้ว พรรคจึงได้ทำการก่อการกำเริบเอียนบ๊าย ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 เพื่อให้การก่อกำเริบเป็นไปอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว พรรคได้ร่วมกับกองทหารเวียดนามของฝรั่งเศสที่ไม่ค่อยน่าไว้ใจซึ่งได้ทำการต่อต้านฝรั่งเศสด้วยเช่นกันนั้น การก่อเริบจึงได้ลุกลามอย่างรวดเร็วแต่ก็ถูกปราบปรามลงอย่างง่ายดาย ด้วยการลงโทษที่รุนแรง ห้อกและผู้นำคนอื่นได้ถูกจับกุมและประหารชีวิตและพรรคก็ไม่ได้กลับมามีความเข้มแข็งในเวียดนามอีก", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "743373#8", "text": "ปัญหาที่สำคัญของพรรคชาตินิยมคือเงิน ทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างยากลำบาก ได้เปิดที่พักและร้านอาหารในชื่อ Vietnam Hotel ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2471 เพื่อหาเงิน รัฐบาลอาณานิคมฝรั่งเศสได้เฝ้าระวังเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจนี้ การเปลี่ยนแปลงภายในพรรคเกิดขึ้นในเดือนธันวาคมเมื่อ เหงียน ควก ญู ขึ้นเป็นผู้นำแทนฮอก มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อเป็นรัฐบาลเงา ได้แก่แผนกกฎหมาย บริหาร และยุติธรรม ข้อมูลของฝรั่งเศสคาดว่าใน พ.ศ. 2472 พรรคนี้มีสมาชิกราว 1,500 คน ส่วนใหญ่อยู่ทางที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง สมาชิกส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง ส่วนแรงงานมักอยู่กับพรรคคอมมิวนิสต์", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "743373#15", "text": "พรรคชาตินิยมเวียดนามค่อยๆถูกกลืนเข้ากับองค์กรเรียกร้องเอกราชเวียดนามที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนของโฮจิมินห์ ใน พ.ศ. 2483 โฮได้เดินทางมายังยูนนาน เขาได้เสนอความร่วมมือระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนกับขบวนการชาตินิยมเช่น พรรคชาตินิยมเวียดนาม ในเวลานั้น สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นแล้ว ญี่ปุ่นได้เข้ามาครอบงำจีนตะวันออก และเข้ามามีอำนาจแทนที่ฝรั่งเศสในเวียดนาม โฮได้เดินทางต่อไปกวางสี ซึ่งเป็นที่กองทัพของฝ่ายชาตินิยมต่อต้านญี่ปุ่นตั้งอยู่และร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งของจีน และความร่วมมือของนักชาตินิยมได้เกิดขึ้น โฮได้จัดตั้งสันนิบาตเอกราชเวียดนามหรือเวียดมิญ โฮ หง็อก ลาม หรือต่อมาคือฝั่ม วัน ดง ซึ่งเป็นนักชาตินิยมในพรรคชาตินิยมเวียดนามได้เข้าร่วมกับโฮ ต่อมา เวียดมิญ ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อเต็มเป็นสันนิบาตปลดปล่อยเวียดนาม ไม่ใช่สถานการณ์ที่ง่ายนัก ผู้นำพรรคชาตินิยมเวียดนามอีกคนนึง เจี่ยว หอย กง ซึ่งจบมาจากสถาบันวิชาการทหารก๊กมินตั๋งต้องการท้าทายพรรคคอมมิวนิสต์ในระยะเริ่มต้น ในขณะที่วู ฮอง คาน เป็นผู้นำกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงในพรรคชาตินิยมเวียดนาม สันนิบาตปฏิวัติเวียดนามเป็นสหภาพของกลุ่มชาตินิยมเวียดนามหลายกลุ่ม นำโดย กลุ่มพรรคชาตินิยมเวียดนามที่นิยมจีน นายพลจากก๊กมินตั๋ง จาง ฟากุย ได้สร้างสันนิบาตขึ้นมาเพื่อสร้างอิทธิพลของจีนในอินโดจีนเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสและญี่ปุ่น[10] สันนิบาตนี้นำโดยเหงียน ไฮ ทาน ซึ่งเกิดในจีนและพูดภาษาเวียดนามไม่ได้ นายพลจางพยายามขัดขวางกลุ่มคอมมิวนิสต์ในเวียดนามและโฮจิมินห์ไม่ให้เข้ามาสร้างอิทธิพลในสันนิบาต ก๊กมินตั๋งให้ความช่วยเหลือเวียดนามกลุ่มนี้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น[11]", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "379329#0", "text": "พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเวียดนาม (The Viet Nam Democratic Socialist Party; ภาษาเวียดนาม: Đảng Dân chủ Xã hội Việt Nam) เป็นพรรคการเมืองในเวียดนามใต้ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2487 โดยฮวีญฟู๊โส ผู้ก่อตั้งฮว่าหาว พรรคนี้ก่อตั้งโดยการรวมตัวกันนักสังคมนิยมที่เป็นชนชั้นกลางในไซ่ง่อนและจังหวัดใกล้เคียง ฮวีญฟู๊โสถูกเวียดมินห์ฆ่าตายเมื่อ พ.ศ. 2490 หลังจากนั้นพรรคจึงสลายตัวไป ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 นายพลเหงียนซ้ากโหง่ได้กล่าวอ้างว่าได้ฟื้นฟูพรรคนี้ขึ้นอีก พรรคนี้ได้สามที่นั่งในการเลือกตั้งแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2502", "title": "พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเวียดนาม" }, { "docid": "743373#11", "text": "ณ เวลาประมาณ 1:30 น. ของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 ทหารประมาณ 40 คนที่ประจำการที่เอียนบ๊าย ถูกกองกำลังของพรรคชาตินิยมเวียดนาม 60 คนโจมตี เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 29 คนถูกโจมตี กบฏได้แบ่งแยกกำลังกันไปสังหารเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ฝ่ายพรรคชาตินิยมเวียดนามสามารถชักธงของตนบนยอดตึกได้ แต่อีก 2 ชั่วโมงต่อมา ปรากฏว่าการก่อกบฏนี้ล้มเหลว ในเวลา 7:30 น. กองทัพอินโดจีนฝรั่งเศสได้ต่อต้านการโจมตีและออกคำสั่งไปยังทหารที่เยนไบ๊", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "346336#0", "text": "หวอ เงวียน ซ้าป หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ โวเหงียนเกี๊ยบ (; 25 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นนายทหารนอกราชการสังกัดกองทัพประชาชนเวียดนามและนักการเมือง เขาเป็นผู้บัญชาการหลักสงครามใหญ่ 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2489-2497) และสงครามเวียดนาม (อีกนัยหนึ่งคือสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2, พ.ศ. 2503-2518) และมีส่วนร่วมในยุทธการครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่ยุทธการที่หลั่งเซิน (พ.ศ. 2493) ยุทธการที่ฮหว่าบิ่ญ (พ.ศ. 2494-2495) ยุทธการที่เดียนเบียนฟู (1954) การรุกวันตรุษญวน (พ.ศ. 2511) การรุกวันอีสเตอร์ (ในเวียดนามเรียกชื่อว่า \"การรุกเหงียนเว้\", พ.ศ. 2515) การทัพโฮจิมินห์ (พ.ศ. 2518) และ สงครามจีน-เวียดนาม (พ.ศ. 2522) นอกจากนี้ย้าบยังเป็นนักหนังสือพิมพ์ รัฐมนตรีมหาดไทยในรัฐบาลเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ ผู้บัญชาการทหารของเวียดมินห์ ผู้บัญชาการกองทัพประชาชนเวียดนาม รัฐมนตรีกลาโหม และรับตำแหน่งในคณะกรมการเมือง (โปลิตบูโร) ของพรรคแรงงานเวียดนาม (พรรคลาวด่ง) อีกด้วย", "title": "หวอ เงวียน ซ้าป" }, { "docid": "379308#0", "text": "พรรคสังคมนิยมแห่งเวียดนาม (The Socialist Party of Vietnam; ภาษาเวียดนาม: Đảng Xã hội Việt Nam) เป็นพรรคการเมืองในเวียดนามในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2489 – 2531 เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปไตยแห่งเวียดนาม พรรคสังคมนิยมได้เข้าร่วมกับรัฐบาลซึ่งต่อมาเป็นรัฐบาลของเวียดนามเหนือ ฮวางมิญสั่มเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระยะหนึ่ง ผู้บริหารคนสำคัญของพรรค เช่น เหงียนเสียน ซึ่งเป็นตัวแทนเลขาธิการพรรคระหว่าง พ.ศ. 2489 – 2499 และเป็นเลขาธิการพรรคตั้งแต่ พ.ศ. 2499 จนพรรคสลายตัว และฮวางมิญสั่มตัวแทนเลขาธิการพรรคระหว่าง พ.ศ. 2499 – 2531", "title": "พรรคสังคมนิยมแห่งเวียดนาม" }, { "docid": "743373#4", "text": "ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับเวียดนามเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 เมื่อมิชชันนารีให้ความช่วยเหลือแก่เหงียน อัญ ที่ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเกียลองแห่งราชวงศ์เหงียน แต่ต่อมา ในสมัยจักรพรรดิมิญหมาง ได้ปราบปรามชาวคริสต์ในเวียดนามอย่างรุนแรง ฝรั่งเศสเริ่มรุกรานเวียดนามเมื่อ พ.ศ. 2401 และยึดครองเวียดนามเป็นอาณานิคมทั้งหมดใน พ.ศ. 2426 การต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชเกิดขึ้นเป็นระยะ เช่น การต่อสู้ของขบวนการเกิ่นเวือง การปฏิวัติทางภาคใต้ พ.ศ. 2459 และการก่อการกำเริบของไทเหงียน เป็นต้น", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "743373#9", "text": "การลอบสังหารชาวฝรั่งเศสในฮานอย แอร์เว บาซินเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้พรรคชาตินิยมตกต่ำลง ไม่แน่นอนว่าผู้ยิงบาซินเสียชีวิตเป็นสมาชิกพรรคหรือได้วางแผนด้วยตัวเอง[9] ฝรั่งเศสได้โจมตีสมาชิกพรรคเท่าที่สามารถหาได้ มีสมาชิกพรรคถูกจำคุกถึง 78 คน สมาชิกหลักที่เป็นคณะกรรมการส่วนใหญ่ถูกจับได้ยกเว้นฮอกและญู", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" }, { "docid": "759249#9", "text": "ในช่วงนั้นเอง จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสามคนล้วนแถลงให้กำลังใจจื่อ-ยฺหวี ไช่ อิงเหวิน (蔡英文) จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ระบุว่า \"พลเมืองชาวสาธารณรัฐจีนไม่สมควรเอาโทษเธอที่โบกธงชาติสนับสนุนบ้านเกิดเมืองนอนของเธอ เธอถูกบีบให้กล่าววาจาอันเห็นได้ชัดว่า ขัดต่อความประสงค์ที่แท้จริงของเธอ ฉะนั้น นี่ย่อมเป็นเรื่องร้ายแรง ย่ำยีจิตใจชาวไต้หวันทั้งมวล\" ส่วนจู ลี่หลุน (朱立倫) จากพรรคชาตินิยม (國民黨) กล่าวว่า รับไม่ได้ที่คนจีนเอาความเกลียดชังไปลงยังเด็กหญิงวัยสิบหกปี เขายังว่า ได้ชมวีดิทัศน์ที่เธอขอขมาแล้ว ยิ่งรับไม่ได้กับการกระทำของหฺวาง อัน และเจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์ ขณะที่หม่า อิงจิ่ว (馬英九) ผู้ซึ่งกำลังพ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดี ว่า \"ไม่ได้ทำอะไรผิด กลับถูกบีบให้ขอโทษเช่นนี้ ผมอยากบอกหนูโจวว่า หนูไม่จำเป็นต้องขอโทษใครเลย พวกเราสนับสนุนหนูเสมอ\"", "title": "โจว จื่อ-ยฺหวี" }, { "docid": "743373#5", "text": "ใน พ.ศ. 2468 มีปัญญาชนในฮานอยกลุ่มเล็กๆ นำโดยครูชื่อ ฟาม ตวน ไต และพี่ชายคือฟาม ตวน ลาม ได้จัดตั้งโรงพิมพ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการปฏิวัติโดยใช้ความรุนแรงเพื่อเรียกร้องเอกราชให้เวียดนาม เผยแพร่หนังสือและแผ่นพับเกี่ยวกับซุน ยัตเซ็น และการปฏิวัติในจีน พ.ศ. 2454 และเปิดโรงเรียนเพื่อสอนการเขียนภาษาเวียดนามด้วยอักษรกว็อกหงือหรืออักษรละตินให้แก่ชนชั้นทำงาน กลุ่มนี้ได้ดึงดูดใจนักเรียนจากภาคเหนือ โดยเฉพาะกลุ่มของเหงียน ท้าย ฮอก ฮอกเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนพานิชย์ฮานอย[1][2] ต่อมาโรงพิมพ์ของพวกเขาถูกฝรั่งเศสสั่งปิด กลุ่มนี้จึงได้จัดกิจกรรมทางการเมืองโดยตรง ใน พ.ศ. 2470 กลุ่มนี้มีสมาชิกราว 200 คน กระจายอยู่ใน 18 จังหวัดทางภาคเหนือและภาคกลางของเวียดนาม", "title": "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" } ]
3909
แบคทีเรีย คืออะไร?
[ { "docid": "5451#0", "text": "แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแบบ", "title": "แบคทีเรีย" } ]
[ { "docid": "923370#11", "text": "การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เองทั่วไปในธรรมชาติ โดยมีการค้นพบยีนที่มีมาแต่โบราณซึ่งเป็นยีนทำให้แบคทีเรียเหล่านั้นดื้อต่อยาปฏิชีวนะ โดยยาปฏิชีวนะนั้นอาจเป็นยาที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยแบคทีเรียนั้น ๆ ซึ่งยีนที่ทำให้เกิดการดื้อยาดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นรีซิสโตม (resistome) ที่พบการเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยยีนเหล่านั้นอาจถูกถ่ายทอดจากแบคทีเรียที่ไม่ก่อโรคไปยังแบคทีเรียอื่นที่ก่อโรคและทำให้แบคทีเรียที่ได้รับยีนนี้เข้าไปสามารถทนต่อยาปฏิชีวนะได้เช่นกัน", "title": "แบคทีเรียดื้อยา" }, { "docid": "911835#2", "text": "เป็นที่ทราบกันดีว่ายากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งอาร์บีกาซินก็เป็นหนึ่งในยากลุ่มนี้ จะออกฤทธิ์โดยจับกับหน่วยย่อย 30 เอสบนไรโบโซมของแบคทีเรีย ทำให้ขึ้นตอนการแปลรหัสพันธุกรรมของทีอาร์เอ็นเอนั้นเกิดความผิดพลาด ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตได้ ส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นตายไปในที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากการขนส่งกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์เข้าสู่เซลล์ของเชื้อแบคทีเรียนั้นจำเป็นต้องมีการใช้พลังงาน ซึ่งแบคทีเรียกลุ่มที่ไม่ต้องการออกซิเจนนั้นมีพลังงานไม่มากพอที่จะใช้ในกระบวนการนี้ ทำให้กลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์มีผลต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้ได้น้อย", "title": "อาร์บีกาซิน" }, { "docid": "923370#16", "text": "เนื่องจากแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้แบคทีเรียดื้อยาที่แพร่กระจายลงสู่สิ่งแวดล้อมนั้นสามารถเจริญเติบโตและแพร่จำนวนได้มากภายในระยะเวลาอันสั้น ยิ่งไปกว่านั้น แบคทีเรียที่ดื้อยาเหล่านี้ยังสามารถถ่ายทอดยีนดื้อยาไปยังแบคทีเรียสายพันธุ์หรือสเตรนอื่น ๆ ได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายทอดยีนในแนวราบ (horizontal gene transfer; HGT) ดังนั้น ถึงแม้ว่ายาปฏิชีวนะที่แบคทีเรียดังกล่าวดื้อยาจะไม่ถูกปล่อยลงสู่ธรรมชาติเพิ่มเติมในอนาคต ยีนที่ดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวก็จะยังคงพบเห็นอยู่ในแบคทีเรียธรรมชาติทั่วไป เนื่องจากแบคทีเรียดังกล่าวจะมีการแบ่งตัวและถ่ายทอดยีนดื้อยาให้กันจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้ยังพบว่า มีการแพร่กระจายเป็นวงกว้างของแบคทีเรียดื้อยาในสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นที่คาดการณ์กันว่าแบคทีเรียดื้อยาที่พบเหล่านี้อาจเป็นแหล่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในสิ่งแวดล้อมทางทะเล", "title": "แบคทีเรียดื้อยา" }, { "docid": "808443#1", "text": "โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมีสาเหตุจากแบคทีเรียที่เกิดเองตามธรรมชาติในช่องคลอดเกิดเสียสมดุล โดยแบคทีเรียชนิดที่พบบ่อยมากที่สุดเกิดการเปลี่ยนแปลงและจำนวนรวมของแบคทีเรียที่มีเพิ่มขึ้นร้อยเท่าถึงพันเท่า ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การสวนล้างอวัยวะ การมีคู่สัมพันธ์ทางเพศคนใหม่หรือหลายคน ยาปฏิชีวนะ และการใช้ ห่วงอนามัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อดังกล่าวไม่นับว่าเป็นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การวินิจฉัยโรคจะเข้าข่ายต้องสงสัยโดยอาศัยดูจากอาการที่มีและอาจยืนยันว่าเป็นจริงได้ด้วยการตรวจสอบตกขาวแล้วพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่ช่องคลอดสูงกว่าปกติและพบแบคทีเรียเป็นจำนวนมากมหาศาล มักเกิดความเข้าใจสับสนกันระหว่างโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (BV)กับ โรคติดเชื้อยีสต์หรือราในช่องคลอด หรือกับ การติดเชื้อพยาธิหนวดทริโคโมนาส", "title": "โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย" }, { "docid": "911479#19", "text": "ไทกีไซคลีนได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (complicated skin and soft tissue infections; cSSTI), การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน (complicated intra-abdominal infections; cIAI) และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (community-acquired bacterial pneumonia; CAP) ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในสหราชอาณาจักร ยานี้ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไปในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (ไม่รวมถึงแผลเบาหวานติดเชื้อแบคทีเรียที่เท้า) และการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะอื่นที่มีข้อข่งใช้เดียวกัน", "title": "ไทกีไซคลีน" }, { "docid": "923370#5", "text": "การเพิ่มขึ้นของการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียนั้นมีความสัมพันธ์กับปริมาณการสั่งใช้ยาหรือการใช้ยาดังกล่าว รวมไปถึงการรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบตามที่ได้ควรได้รับ โดยการสั่งยาใช้ปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมนี้มีสาเหตุมาจากหลายประการ ทั้งจากการที่ผู้ป่วยยืนยันที่จะให้แพทย์สั่งใช้ยาปฏิชีวนะแก่ตน ถึงแม้จะไม่มีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าว และแพทย์บางรายก็อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้แก่ผู้ป่วยของตนตามที่ร้องขอ เนื่องจากไม่มีเวลามากพอที่จะอธิบายให้ผู้ป่วยตระหนักรู้ได้ถึงเหตุผลที่ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาการเจ็บป่วยครั้งนั้น ๆ และในบางกรณี แพทย์ผู้สั่งใช้ยาเองก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าเมื่อใดที่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือมีความระมัดระวังมากเกินไปในการสั่งใช้ยาเนื่องมาจากเหตุผลทางการแพทย์ รวมไปถึงเหตุผลทางกฏหมาย นอกจากนี้แล้ว การที่มีระดับความเข้มข้นของยาปฏิชีวนะในร่างกายต่ำมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดการดื้อยาของแบคทีเรียได้ผ่านกระบวนการการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ของแบคทีเรียนั้น ๆ ส่งผลให้แบคทีเรียดังกล่าวสามารถเจริญเติบโตอยู่ได้ตามปกติถึงแม้จะมีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดเดิมที่ให้ความเข้มข้นของยาในกระแสเลือดมากขึ้นกว่าเดิมก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น การดื้อยาของแบคทีเรีย \"Pseudomonas aeruginosa\" และ \"Bacteroides fragilis\" ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์จากการได้รับยาปฏิชีวนะในขนาดที่ให้ความเข้มข้นของยาดังกล่าวในร่างกายต่ำกว่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียดังกล่าว (subinhibitory concentration)", "title": "แบคทีเรียดื้อยา" }, { "docid": "911215#21", "text": "ทั้งนี้ ไลนิโซลิดเป็ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสืบพันธุ์หรือการเติบโตต่อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่ได้ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยตรง (bacteristatic antibiotic) อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวจะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยตรง (bactericidal) ต่อเชื้อแบคทีเรียสกุลสเตรปโตคอกคัส[3][63] การศึกษาบางการศึกษาพบว่า แม้ว่าไลนีโซลิดจะมีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตและการสิบพันธุ์ในการทดลองนอกกายมนุษย์นั้น (in vitro) แต่ไลนีโซลิดกลับมีพฤติกรรมในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยตรงในการทดลองในกายมนุษย์ (in vivo) ด้วยการยับยั้งการผลิตสารพิษบางชนิดของเชื้อแบคทีเรียสกุลสแตฟฟิโลคอคคัส และสกุลสเตรปโตคอกคัส (streptococcus)[29] นอกจากนี้ ไลนิโซลิดยังมีผลหลังการใช้ยาปฏิชีวนะ (post-antibiotic effect) 1 – 4 ชั่วโมงในแบคทีเรียส่วนใหญ่ ซึ่งหมายความว่าการเติบโตของแบคทีเรียได้รับการกดไว้ชั่วคราวแม้จะหยุดใช้ยาดังกล่าวแล้วก็ตาม[17]", "title": "ไลนิโซลิด" }, { "docid": "354232#0", "text": "สโตรมาโตไลต์ () เป็นโครงสร้างคล้ายหินพิเศษซึ่งมักเกิดจากการงอกพอกพูนในบริเวณน้ำตื้น เกิดขึ้นจากแบคทีเรีย อย่างเช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (ไซยาโนแบคทีเรีย) นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากแบคทีเรียและสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดอื่นได้อีกด้วย\nเมือกที่แบคทีเรียหลั่งออกมาจะดักจับตะกอนขนาดเล็กเอาไว้ ก่อนที่จะถูกยึดเข้าด้วยกันด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งมาจากแบคทีเรียอีกเช่นกัน ทั้งหมดทำให้เกิดขึ้นเป็นโครงสร้างที่พบเห็นได้ตามชายทะเลบริเวณอ่าวบางแห่ง ไซยาโนแบคทีเรียใช้น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และแสงอาทิตย์เพื่อสร้างอาหาร ตลอดจนได้ผลิตภัณฑ์เป็นก๊าซออกซิเจน ", "title": "สโตรมาโตไลต์" }, { "docid": "19724#25", "text": "พลังงานในแสงอาทิตย์ถูกพืช ไซยาโนแบคทีเรีย แบคทีเรียสีม่วง แบคทีเรียซัลเฟอร์สีเขียวและโพรทิสต์บางชนิดจับไว้ กระบวนการนี้มักนับรวมกับการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสังเคราะห์ด้วยแสง อย่างไรก็ดี พลังงานที่ถูกจับและระบบการตรึงคาร์บอนสามารถแยกกันทำงานได้ในโปรคารีโอต เช่น แบคทีเรียสีม่วงและแบคทีเรียซัลเฟอร์สีเขียวสามารถใช้แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงาน ขณะที่เปลี่ยนระหว่างการตรึงคาร์บอนกับการหมักสารอินทรีย์", "title": "เมแทบอลิซึม" }, { "docid": "26342#9", "text": "ต่อมาในปี ค.ศ. 1928, เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ได้ค้นพบเพนิซิลลิน ซึ่งเป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยราเพื่อฆ่าหรือหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด เฟลมมิงทำงานเพื่อช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บจากสงครามและมีการติดเชื้อแบคทีเรียของแผล ในการเพาะเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเขาได้ค้นพบโดยบังเอิญว่าถาดเพาะเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในบริเวณที่มีการปนเปื้อนรานั้นไม่มีการเจริญของแบคทีเรียดังกล่าว ซึ่งต่อมาทราบภายหลังว่ารานั้นคือสายพันธุ์ Penicillium chrysogenum [40] เฟลมมิงได้ตั้งสมมติฐานว่าราดังกล่าวอาจหลั่งสารบางอย่างที่มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย เขาได้นำถาดเพาะเชื้อชิ้นนั้นไปเพาะเลี้ยงต่อ แล้วพบว่าเชื้อรานั้นได้ฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด และเขาได้ตั้งชื่อสารนั้นว่า เพนิซิลลิน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1929 เฟลมมิงเชื่อว่าคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียของสารนี้นั้นอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ เขาจึงได้เริ่มศึกษาถึงคุณสมบัติทางชีววิทยาของเพนิซิลลินและพยายามที่จะใช้สารสกัดอย่างหยาบ (crude preparation) ที่ได้จากการศึกษาเพื่อรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด แต่อย่างไรก็ตาม เขาไม่สามารถพัฒนาสารนี้เพิ่มเติมต่อไปได้เนื่องจากไม่มีความช่วยเหลือนักเคมีที่มีความรู้และประสบการณ์[41][42]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "328944#0", "text": "แบคทีเรียกรัมบวก () เป็นแบคทีเรียที่ย้อมติดสีม่วง (คริสทัลไวโอเลต) ในการย้อมสีกรัม ซึ่งตรงข้ามกับแบคทีเรียกรัมลบที่ไม่ติดสีม่วงของคริสทัลไวโอเลต แต่จะติดสีของสีที่สอง (ซาฟรานินหรือฟุคซีน) แบคทีเรียกรัมบวกสามารถรักษาสีของคริสทัลไวโอเลตได้เพราะในผนังเซลล์มีเปบทิโดไกลแคนมาก และไม่มีเยื่อหุ้มชั้นนอกแบบที่พบในแบคทีเรียกรัมลบ", "title": "แบคทีเรียกรัมบวก" }, { "docid": "750844#0", "text": "ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย () เป็นภาวะที่พบแบคทีเรียในเลือด โดยปกติเลือดเป็นสิ่งแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ ดังนั้นการพบแบคทีเรียในเลือดนั้น จึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติเสมอ", "title": "ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย" }, { "docid": "25367#4", "text": "เดเมโคลไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะที่ได้รับการรับรองให้ใช้เพื่อการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด อาทิ โรคไลม์ สิวที่เกิดจากแบคทีเรีย]] หลอดลมอักเสบจากแบคทีเรีย เนื่องจากพบการดื้อยาของแบคทีเรียต่อยานี้ได้มากขึ้นในปัจจุบัน จึงพบเห็นการใช้เดเมโคลไซคลีนเพื่อรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้ไม่มากเท่าใดนัก", "title": "เดเมโคลไซคลีน" }, { "docid": "26342#36", "text": "การดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียนั้นเป็นภาวะฉุกเฉินภาวะฉุกเฉินที่พบเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบัน โดยการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียเป็นการตอบสนองและการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในขณะที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียนั้นๆ โดยการดื้อยานี้อาจเกิดจากการปรับตัวทางกายภาพหรือทางพันธุกรรมของแบคทีเรียนั้นก็ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของเชื้อเพิ่มขึ้นแม้จะมีการใช้ยาปฏิชีวนะในขนาดที่สูงขึ้นก็ตาม ในบางสภาวะการใช้ยาปฏิชีวนะอาจทำให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดื้อมากขึ้น ในขณะที่แบคทีเรียซึ่งยังมีความไวต่อยาถูกกำจัดออกไป[160] ตัวอย่างเช่น การใช้ยาปฏิชีวนะในการคัดแยกสายพันธุ์แบคทีเรียที่ได้รับการตกแต่งพันธุกรรมด้วยยีนดื้อยาในปี ค.ศ. 1943 โดยเรียกการทดลองนี้ว่า การทดลองของเดลบรัค–ลูเรีย (Luria–Delbrück experiment)[161] สถานการณ์การดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียในปัจจุบันนี้พบว่า ยาปฏิชีวนะหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียหลากหลายสายพันธุ์ในอดีต เช่น เพนิซิลลิน และอิริโทรมัยซิน กลับมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆได้น้อยลง ทั้งนี้เนื่องมาจากอัตราการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียมีเพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีต[162]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "26342#39", "text": "กลไกการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียในระดับโมเลเท่าที่ทราบในปัจจุบันนั้น การดื้อยาต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียตั้งแต่กำเนิด (Intrinsic resistance) อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม (genetic makeup) ของแบคทีเรียสายพันธ์นั้น[168][169] ตัวอย่างเช่น ตำแหน่งที่เป็นเป้าหมายการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะอาจจะหายไปจากจีโนมของแบคทีเรีย ส่วนการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียที่เกิดภายหลัง (Acquired resistance) นั้นจะเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ในโครโมโซมของแบคทีเรีย หรือการได้รับยีนดื้อยาจากแบคทีเรียอื่นผ่านทางดีเอ็นเอที่อยู่นอกโครโมโซม (extra-chromosomal DNA)[168] ทั้งนี้ ในแบคทีเรียบางสายพันธุ์ที่สามารถผลิตสารที่ออกฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะได้นั้นจะสามารถดื้อต่อยาปฏิชีวนะดังกล่าวได้อย่างอัตโนมัตและอาจมีการถ่ายทอดความสามารถในการดื้อต่อยาปฏิชีวนะนี้ไปยังแบคทีเรียอื่นๆได้เช่นกัน[170][171] การแพร่กระจายของแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะนั้นส่วนใหญ่จะพบในรูปแบบถ่ายทอดพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่นหรือการติดต่อตามแนวดิ่ง (vertical transmission) และโดยการรวมตัวกันใหม่ของยีน (Genetic Recombination) ในดีเอ็นเอโดยการถ่ายทอดยีนในแนวราบ (Horizontal gene transfer)[164] โดยแบคทีเรียดื้อยาสามารถถ่ายทอดยีนดื้อยาที่ถูกบรรจุอยู่ในพลาสมิดไปยังสเตรนอื่นหรือสายพันธุ์อื่นได้[164][172] โดยพลาสมิดบางชนิดที่บรรจุยีนดื้อยาที่แตกต่างกันไว้หลายยีนสามารถทำให้แบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนานได้[172] โดยการดื้อยาปฏิชีวนะข้ามชนิดหนือข้ามกลุ่มกันในเชื้อแบคทีเรียนั้นอาจพบเกิดขึ้นได้ในกรณีที่กลไกการดื้อต่อยาเหล่านั้นถูกควบคุมโดยยีนตำแหน่งเดียวกัน[172]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "26362#1", "text": "เป็นที่คาดการณ์กันว่าซิโซมัยซินนั้นเป็นยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก เช่นเดียวกับยาอื่นในกลุ่มนี้ ซิโซมัยซินนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการ โดยความเข้มข้นของซิโซมัยซินที่ฆ่าเชื้อแบทีเรียได้ร้อยละ 90 (MBC) นั้นมีค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันกับความเข้มข้นต้ำสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ในห้องปฏิบัติการ (MIC). ยิ่งไปกว่านั้น เชื้อแบคทีเรีย \"Pseudomonas aeruginosa\" ที่แยกได้จากห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ยังตอบสนองต่อซิโซมัยซินได้ดี การดื้อต่อยาซิโซมัยซินของแบคทีเรียนั้นอาจเป็นผลมาจากทั้งโดยการสร้างเอนไซม์หรือด้วยกลไกที่ไม่ใช่เอนไซม์ ทั้งนี้ ซิโซมัยซินสามารถถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยเอนไซม์เดียวกันที่ทำให้เจนตามัยซินหมดฤทธิ์ อย่างไรก็ตาม เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ที่ดื้อต่อเจนตามัยซินนั้นยังคงตอบสนองต่อซิโซมัยซินได้ดี ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากกลไกการดื้อต่อเจนตามัยซินของแบคทีเรียเหล่านั้นเป็นกลไกที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการสร้างเอนไซม์ออกมาเปลี่ยนแปลงตัวยา", "title": "ซิโซมัยซิน" }, { "docid": "853013#0", "text": "แบคทีเรียก่อโรคหมายถึงกลุ่มหนึ่งของแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ (บทความนี้จะเน้นแบคทีเรียที่ก่อโรคในมนุษย์)", "title": "แบคทีเรียก่อโรค" }, { "docid": "25437#19", "text": "ซิฟิลิส จากการติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum โรคคุดทะราด ที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย Treponema pertenue โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย จากแบคทีเรียสายพันธุ์ Listeria monocytogenes โรคติดเชื้อวินเซนต์ (Vincent's infection) ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย Fusobacterium fusiforme โรคแอคติโนมัยโคสิส จากการติดเชื้อแบคทีเรีย Actinomyces israelii โรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียในสกุลคลอสทริเดียม", "title": "ดอกซีไซคลีน" }, { "docid": "875623#0", "text": "วิทยาแบคทีเรีย () เป็นสาขาเฉพาะแขนงหนึ่งของชีววิทยาที่ศึกษาด้านสัณฐานวิทยา นิเวศวิทยา พันธุศาสตร์ และชีวเคมีของแบคทีเรีย วิทยาแบคทีเรียเป็นส่วนหนึ่งของจุลชีววิทยาซึ่งมีการจำแนก การจัดหมวดหมู่ลักษณะจำเพาะของแบคทีเรียแต่ละสปีชีส์", "title": "วิทยาแบคทีเรีย" }, { "docid": "25437#13", "text": "โรคไข้พุพองเทือกเขาร็อกกี, ไข้รากสาดใหญ่ และไข้ไทฟัสชนิดอื่นๆ, โรคไข้คิว,[46] โรคฝีริคเค็ทเซีย, และโรคไข้เห็บที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียสกุลริคเค็ทเซีย การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจาก Mycoplasma pneumoniae[47] กามโรคต่อมน้ำเหลือง หรือฝีมะม่วง, โรคริดสีดวงตา ซึ่งรวมไปเยื่อตาอักเสบจากแบคทีเรีย, และการติดเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis ในท่อปัสสาวะ, มดลูก หรือไส้ตรง ในกลุ่มประชากรผู้ใหญ่ที่มีพยากรณ์ของโรคไม่ซับซ้อน โรคนกแก้ว (Psittacosis) ท่อปัสสาวะอักเสบจากแบคทีเรียที่ไม่ใช่โกโนคอคคอล เช่น Ureaplasma urealyticum ไข้กลับซ้ำ ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย Borrelia recurrentis แผลริมอ่อน ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus ducreyi กาฬโรค จากการติดเชื้อ Yersinia pestis โรคทูลาริเมีย (Tularemia) อหิวาตกโรค การติดเชื้อแบคทีเรีย Campylobacter fetus โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียในสกุล Brucella (โดยให้การรักษาร่วมกับสเตรปโตมัยซิน) โรคบาร์โตเนลโลสิส (Bartonellosis) หรือโรคไข้แมวข่วน (Cat scratch fever) แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ (Granuloma inguinale) (จากการติดเชื้อแบคทีเรียในสกุล Klebsiella) โรคไลม์ [48]", "title": "ดอกซีไซคลีน" }, { "docid": "750844#2", "text": "ภาวะเลือดมีแบคทีเรียอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายอย่าง เช่น ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการมีแบคทีเรียในเลือดอาจทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ หรือลุกลามเป็นภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ซึ่งมีอัตราการตายสูง เชื้อแบคทีเรียในเลือดอาจแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ได้ เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือกระดูกและไขกระดูกอักเสบ ซึ่งมักเกิดตามมาจากการมีแบคทีเรียในเลือด ในกรณีที่มีความเสี่ยงเช่นนี้ อาจมีการให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือการป้องกันด้วยการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันได้", "title": "ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย" }, { "docid": "26342#51", "text": "เฟจเพื่อการรักษาโรค เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ โดยการรักษาแบบเฟจเพื่อการรักษาโรคนี้จะเป็นการทำให้แบคทีเรียก่อโรคนั้นๆเกิดการติดเชื้อไวรัสที่มีแบคทีเรียดังกล่าวเป็นโฮสต์จำเพาะ โดยไวรัสดังกล่าวจัดเป็นแบคเทอริโอฟาจ (bacteriophage) หรือเรียกโดยย่อว่า ฟาจ เป็นไวรัสที่ต้องอาศัยอยู่กับเซลล์ของแบคทีเรียเพื่อการเจริญและเพิ่มจำนวน โดยฟาจแต่ละชนิดจะมีความจำเพาะต่อแบคทีเรียสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งเป็นอย่างมาก ดังนั้นฟาจดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบต่อจุลชีพอื่นๆ หรือจุลชีพประจำถิ่นในทางเดินอาหารของโฮสต์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พบไม่ได้ในยาปฏิชีวนะที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน[202] แบคเทอริโอฟาจสามารถทำให้แบคทีเรียก่อโรคเกิดการติดเชื้อได้และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตหรือฆ่าเซลล์แบคทีเรียนั้นๆ ได้โดยการทำให้เกิดการแตกออกของเซลล์ (lytic cycle)[202][203] โดยฟาจจะเข้าจับกับเซลล์แบคทีเรียและแทรกสอดดีเอ็นเอของตนเข้าไปในเซลล์นั้น ซึ่งดีเอ็นเอเหล่านั้นจะถูกถอดรหัสพันธุกรรมและสังเคราะห์ส่วนประกอบชีวภาพของฟาจใหม่ขึ้นภายในเซลล์ของแบคทีเรีย ทำให้มีฟาจใหม่เกิดขึ้นภายในเซลล์แบคทีเรียจำนวนมาก จนเกิดการแตกออกของเซลล์นั้นๆในที่สุด โดยฟาจใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะเข้าทำลายเซลล์อื่นของแบคทีเรียในสายพันธ์เดิมด้วยกระบวนการข้างต้นต่อไป[203] การที่ฟาจมีความจำเพาะต่อแบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งๆเป็นอย่างมากนี้จะช่วยให้แบคทีเรียอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อโฮสต์ไม่ถูกทำลายไปด้วย อย่างไรก็ตาม การใช้ฟาจในการรักษานี้ก็มีข้อเสียเช่นเดียวกันกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ โดยจีโนมที่ฟาจแทรกสอดเข้ามาในเซลล์ของแบคทีเรียนั้นอาจมียีนหรือสารอื่นที่ก่อให้เกิดพิษสอดแทรกอยู่ ดังนั้น จึงต้องมีการศึกษาและจำแยกยีน สารประกอบหรือสารพิษต่างๆจากฟาจนั้นอย่างละเอียดและรอบคอบก่อนนำมาใช้ในทางคลินิก นอกจากนี้ การศึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียด้วยฟาจนั้นพบว่าการบริหารยาทางช่องปากและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำนั้นมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สูงกว่าการบริหารยาโดยการทาบนพื้นผิว (topical application) และมีความกังวลเกียวกับการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แน่นอนต่อฟาจที่จัดเป็นแอนติเจนต่อร่างกายนี้ รวมไปถึงอุปสรรคด้านกฎหมายและจริยธรรมมากมายที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้รองรับและสอดคล้องกับการใช้เฟจเพื่อรักษาโรค[202] ถึงกระนั้น การใช้แบคเทอริโอฟาจเพื่อทดแทนยาต้านจุลชีพในการรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อดื้อยาหลายชนิดที่ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะแบบเดิมๆ ก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจแม้ว่าจะมีความท้าทายมากมายก็ตาม[202][204]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "59247#4", "text": "โคลิฟอร์มแบคทีเรีย เป็นแบคทีเรียชี้แนะ (Bacteriological indicator) ซึ่งถ้าตรวจพบในน้ำก็แสดงว่าน้ำนั้นน่าจะไม่ปลอดภัย คืออาจมีเชื้อโรคอยู่ในน้ำ ซึ่งคุณสมบัติของแบคทีเรียชี้แนะที่ดีมีดังนี้", "title": "แบคทีเรียโคลิฟอร์ม" }, { "docid": "391957#0", "text": "แบคทีเรียแกรมลบ (English: Gram-negative bacteria) เป็น แบคทีเรีย ที่ไม่สามารถรักษาสีคริสทัลไวโอเลต ในการย้อมสีแบบแกรมได้[1] ในการย้อมสีแบบแกรม สีตรงข้าม (ปกติคือ ซาฟรานิน) ซึ่งเดิมทีหลังคริสทัลไวโอเลต จะติดสีแบคทีเรียแกรมลบให้เป็นสีแดงหรือสีชมพู วิธีนี้เป็นประโยชน์ในการจำแนกแบคทีเรียขั้นต้น โดยใช้ความแตกต่างของผนังเซลล์ แบคทีเรียแกรมบวก จะยังคงรักษาสีม่วงของคริสตัลไวโอเลตได้แม้จะใช้สารชะสีออกแล้ว", "title": "แบคทีเรียแกรมลบ" }, { "docid": "356198#0", "text": "ไซยาโนแบคทีเรีย หรือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae หรือ cynobacteria) จัดอยู่ในไฟลัม Cynobacteria ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ สาหร่ายชนิดนี้มีโครงสร้างของนิวเคลียสคล้ายคลึงกับนิวเคลียสของแบคทีเรีย และบางชนิดยังมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทางชีวเคมีคล้ายแบคทีเรียด้วย แต่ต่างจากแบคทีเรีย เพราะสาหร่ายชนิดนี้มีคลอโรฟิลล์เอ และมีการปล่อยออกซิเจนออกสู่สิ่งแวดล้อมจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งไม่พบในแบคทีเรีย", "title": "ไซยาโนแบคทีเรีย" }, { "docid": "26342#28", "text": "โดยปกติแล้วการแบ่งกลุ่มยาปฏิชีวนะนั้นจะแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์, โครงสร้างทางเคมี หรือขอบเขตการออกฤทธิ์ โดยมีเป้าหมายการออกฤทธิ์มุ่งไปที่การขัดขวางการทำงานในระดับเซลล์หรือการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย[16] ซึ่งเป้าหมายเหล่านั้นอาจเป็นผนังเซลล์ (กลุ่มเพนิซิลลิน และกลุ่มเซฟาโลสปอริน) หรือเยื่อหุ้มเซลล์ (พอลีมิกซิน) หรือรบกวนการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นของแบคทีเรีย (กลุ่มไรฟามัยซิน, กลุ่มลิปิอาร์มัยซิน, กลุ่มควิโนโลน, และกลุ่มซัลโฟนาไมด์) โดยที่ออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งดังข้างต้นนั้นจะมีคุณสมบัติเป็น ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (bactericidal antibiotic) ส่วนยาปฏิชีวนะอื่นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย (กลุ่มแมโครไลด์, กลุ่มลินโคซาไมด์ และเตตราไซคลีน) จะเป็น ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรีย (bacteriostatic antibiotic) ยกเว้นกลุ่มอะมิโมไกลโคไซด์ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย[99] นอกเหนือไปจากนี้มักเป็นการแบ่งตามความจำเพาะในการออกฤทะกับเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์แคบ (Narrow-spectrum antibiotics) จะหมายถึงยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อแบคทีเรียกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาทิ แบคทีเรียแกรมลบ หรือแบคทีเรียแกรมบวก เป็นต้น ในขณะที่ ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง (Broad-spectrum antibiotics) จะออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียได้หลายกลุ่ม นอกเหนือจากการแบ่งกลุ่มดังข้างต้น ได้มีการคิดค้นพัฒนายาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งหากย้อนไปในอดีตราว 40 กว่าปีที่แล้วตั้งแต่ที่มีการค้นพบสารประกอบกลุ่มใหม่ที่มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย ก็ไม่ได้มีการค้นพบยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นเท่าใดนัก จนกระทั่งในช่วงปลายคริสต์ทศวรรตที่ 2000 และต้นคริสต์ทศวรรตที่ 2010 ได้มีการพัฒนาคิดค้นยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่ขึ้นได้สำเร็จและถูกนำมาใช้ทางคลินิกมากถึง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไลโปเพปไทด์ (เช่น แดพโตมัยซิน), กลุ่มไกลซิลไซคลีน (เช่น ไทกีไซคลีน), กลุ่มออกซาโซลิไดโอน (เช่น ไลนิโซลิด), และ กลุ่มลิปิอาร์มัยซิน (เช่น ฟิแดกโซมัยซิน)[100][101]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "26342#26", "text": "ผลลัพธ์ที่ดีจากการได้รับการรักษาด้วยาปฏิชีวนะนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคน, ตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย, และคุณสมบัติทางเภสัชพลศาสตร์และเภสัชจลนศาสตร์ของยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษา[90] ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของยาปฏิชีวนะนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรค และอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมภายในเซลล์ของแบคทีเรีย รวมไปถึงความเร็วในการแบ่งตัวของแบคทีเรียชนิดนั้นๆอีกด้วย[91] โดยปัจจัยที่กล่าวมาดังข้างต้นล้วนเป็นผลลัพธ์ที่ได้มาจากการศึกษาทดลองภายในห้องปฏิบัติการและล้วนให้ผลที่สอดคล้องกับการบำบัดรักษาจริงในทางคลินิก[90][92] ทั้งนี้ เนื่องจากการออกฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของยาปฏิชีวนะนั้นขึ้นอยู่กับความเข้นข้นของยาปฏิชีวนะชนิดนั้นๆ[93] การศึกษานอกร่างกายมนุษย์ ซึ่งทดลองภายในห้องปฏิบัติการ (in vitro) ได้มีการจำแนกประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของยาปฏิชีวนะโดยใช้ ความเข้มข้นของยาต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (minimum inhibitory concentration; MIC) และ ความเข้มข้นยาต่ำสุดที่ฆ่าแบคทีเรียได้ร้อยละ 90 (minimum bactericidal concentration; MBC)[90][94] โดยใช้ค่าดังกล่าว ร่วมกับคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาปฏิชีวนะชนิดนั้นๆ และคุณลักษณะอื่นทางเภสัชวิทยาในการทำนายประสิทธิภาพและผลลัพธ์การรักษาของยาปฏิชีวนะชนิดใดชนิดหนึ่งในทางคลินิก[95]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" }, { "docid": "923370#14", "text": "นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ได้ว่าโลหะหนัก และสารก่อมลพิษอื่น ๆ อาจมีส่วนในการทำให้เกิดการแพร่กระจายของแบคทีเรียดื้อยาได้โดยโลหะหนักและสารพิษเหล่านั้นจะทำให้แบคทีเรียที่ไม่ดื้อยาไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม แบคทีเรียที่ดื้อยาจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าวและจะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเพื่อทดแทนแบคทีเรียไม่ดื้อยาที่ลดจำนวนลงไป", "title": "แบคทีเรียดื้อยา" }, { "docid": "911479#2", "text": "ไทกีไซคลีนถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (complicated skin and structure infections), การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน (complicated intra-abdominal infections) และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (community-acquired bacterial pneumonia) ขอบข่ายการออกฤทธิ์ของไทกีไซคลีน ดังแสดงต่อไปนี้\nการบริหารยาไทกีไซคลีนนั้นสามารถบริหารยาได้เฉพาะการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเท่านั้น โดยยานี้มีขอบข่ายการออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบหลายสายพันธุ์ นอกจากนี้แล้วยังออกฤทธิ์ครอบคลุมถึงจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนได้บางชนิด โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอื่นที่มีใช้อยู่ก่อน เช่น methicillin-resistant \"Staphylococcus aureus\" (MRSA) และ \"Acinetobacter baumannii\" แต่ไม่มีผลต่อเชื้อสกุล \"Pseudomonas\" \"spp\". และ \"Proteus\" \"spp\". ปัจจุบันไทกีไซคลินผ่านการทดลองทางคลินิกในขั้นที่ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน, การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยพบว่ายานี้ในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำมีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อนได้เทียบเท่ากับแวนโคมัยซินและแอซทรีโอนัมรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นอย่างน้อย และมีประสิทธิภาพเทียบเคียงได้กับอิมมิพีเนม/ซิลลาสตาตินในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน", "title": "ไทกีไซคลีน" }, { "docid": "26342#52", "text": "ในการคิดค้นและพัฒนายาต้านจุลชีพชนิดใหม่นั้น พืชถือว่าเป็นแหล่งที่มาสำคัญของสารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียซึ่งอาจนำมาพัฒนาต่อยอดได้ ดังจะเห็นได้จากการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อการป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจุลชีพต่างๆ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงในปัจจุบัน[205][206] โดยในปัจจุบัน การพัฒนายาต้านจุลชีพใหม่หลายชนิดนั้นมีแนวโน้มที่จะมุ่งความสนใจไปยังการค้นคว้าสารประกอบจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพ โดยเรียกสารเหล่านั้นว่าเป็นสารในกลุ่ม 'antibiotic-ome' (ซึ่งมีการให้นิยามว่าหมายถึง ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย) ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับการค้นคว้ายาต้านเชื้อแบคทีเรียในยุคปัจจุบันที่มีการศึกษาลึกถึงระดับจีโนม[193][207] โดยสารในพืชสมุนไพรที่ค้นพบว่ามีฤทธิ์ทางยานั้นจะถูกเรียกว่า สารพฤกษเคมี ซึ่งสารพฤกษเคมีบางชนิด ได้แก่ แทนนิน แอลคาลอยด์ เทอร์พีนอยด์ และฟลาโวนอยด์ พบว่ามีสมบัติในการต้านแบคทีเรียด้วย[205][208][209] นอกจากนี้ ผลการทดลองในเนื้อเยื่อนอกร่างกายมุนษย์ (in vitro) ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระบางชนิดที่มีส่วนประกอบเป็นสารพฤกษเคมี (สารกลุ่มโพลีฟีนอล) เช่น สารสกัดจากเมล็ดองุ่น พบว่าก็มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียเช่นกัน[210][211][212] โดยสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียเหล่านี้มีกลไกการออกฤทธิ์ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปขึ้น โดยอาจออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์เปบทิโดไกลแคนซึ่งเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์แบคทีเรีย ทำให้เกิดความเสียหายต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย ปรับเปลี่ยนสมบัติความไม่เข้ากันกับน้ำ (hydrophobicity) ของพื้นผิวเยื่อหุ้มเซลล์แบคทีเรีย หรืออาจกระตุ้นระบบควอรัมเซนซิง (quorum-sensing) ของแบคทีเรียให้ผลิตสารที่เป็นสัญญาณระบุตำแหน่งที่เอื้อต่อการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ[208] อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันอุบัติการณ์และความรุนแรงของการเกิดแบคทีเรียดื้อยาจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ที่เป็นอนุพันธ์ของสารประกอบจากสมุนไพรซึ่งได้รับการคาดหวังว่าจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของภาวะฉุกเฉินดังกล่าวลงนั้น ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาค้นคว้าในห้องปฏิบัติการเท่านั้น[207]", "title": "ยาปฏิชีวนะ" } ]
3910
พายุหมุนเขตร้อน ลูกแรก ในปีพ.ศ.2561 มีชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "914491#5", "text": "วันที่ 30 ธันวาคม 2560 หย่อมความกดอากาศต่ำทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันทางตะวันออกเฉียงเหนือของปาเลา[9] วันที่ 1 มกราคม 2561 โดยภาพรวมแล้วระบบเคลื่อนที่ไปทางแนวตะวันตก ต่อมา PAGASA ได้เริ่มออกคำแนะนำและให้ชื่อท้องถิ่นว่า อากาโตน (Agaton)[10] และต่อมาทั้ง JMA และ JTWC ก็ได้ออกคำแนะนำเช่นกัน โดยพายุได้รับรหัสเรียกขานจาก JTWC ว่า 01W[11] วันที่ 3 มกราคม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน โดย JMA ได้ให้ชื่อกับพายุว่า บอละเวน (Bolaven) ทำให้มันกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ได้รับชื่อของฤดูกาล อย่างไรก็ตาม อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา บอละเวนอ่อนกำลังลงอย่วงรวดเร็ว[12] วันที่ 4 มกราคม JMA ยุติการติดตามพายุบอละเวนในขณะที่มันอยู่ทางตะวันออกของเวียดนาม", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561" } ]
[ { "docid": "751916#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2559 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี ระบบพายุแรกก่อตัวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ทำให้ฤดูกาลพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกในยุคดาวเทียมฤดูนี้ มีพายุก่อตัวช้าที่สุดหนึ่งในห้า โดยมีเพียงฤดูกาล พ.ศ. 2516 2526 2527 และ 2541 เท่านั้นที่มีพายุก่อตัวช้ากว่าฤดูนี้", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559" }, { "docid": "756168#0", "text": "ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2559 คือช่วงของฤดูกาลในอดีต ที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ฤดูกาลอย่างเป็นทางการจะเริ่มนับในวันที่ 1 มิถุนายน และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน เหล่านี้วันตามขอบระยะเวลาของแต่ละช่วงฤดูถือเป็นช่วงเวลาที่มีพายุก่อตัวมากที่สุดในแอ่งแอตแลนติก อย่างไรก็ตามการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ทุกเวลา ฤดูกาลนี้เริ่มต้นเร็วกว่าปกติถึงเกือบ 5 เดือน ก่อนที่จะมีการเริ่มต้นฤดูกาลอย่างเป็นทางการ โดยพายุเฮอร์ริเคนอเล็กซ์ ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติกในวันที่ 13 มกราคมอเล็กซ์เป็นพายุกึ่งโซนร้อนลูกแรกในเดือนมกราคม นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 และจากการบันทึก พบว่ามีพายุหมุนเขตร้อน หรือพายุหมุนนอกเขตร้อนเพียงสี่ลูกที่ก่อตัวในช่วงเดือนนี้ ต่อมาในวันที่ 14 มกราคม เวลา 15:00 UTC อเล็กซ์ ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอร์ริเคน และกลายเป็นพายุเฮอร์ริเคนลูกที่สองในเดือนมกราคม นับตั้งแต่พายุเฮอร์ริเคนหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2481เหนือการก่อตัว การเตือนภัยพายุโซนร้อนถูกใช้ระหว่างแม่น้ำสะวันนาถึงแม่น้ำลิตเติ้ล ฝนตกหนักที่เกี่ยวข้องกับบอนนีก่อให้เกิดน้ำท่วมเฉพาะที่ พร้อมกับตำรวจทางหลวงรัฐเซาท์แคโรไลนาได้ปิดการจราจรเส้นทางมุ่งหน้าลงใต้ของทางหลวงอินเตอร์สเตตหมายเลข 95 ในแจสเปอร์เคาน์ตี รัฐเซาท์แคโรไลนา คลื่นยักษ์พัดเข้าตลอดแนวชายฝั่งของสหรัฐอเมริกาตะวันออกเฉียงใต้ มีการค้นพบร่างของชายอายุ 20 ปี ในเบรฟวาร์ดเคาน์ตี รัฐฟลอริดา หลังจากเขาจมน้ำเสียชีวิต ขณะที่มีการพบร่างชายอายุ 21 ปี ในนิวแฮโนเวอร์เคาน์ตี รัฐนอร์ทแคโรไลนา ภายหลังจากที่เขาได้หายตัวไปหลายวัน ในทั้งหมด บอนนีถูกประมาณว่าเป็นสาเหตุของความเสียหายมากกว่า 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน ค.ศ. 2016)การก่อตัวเป็นพายุโซนร้อนนี้ เป็นการก่อตัวเร็วที่สุดในบันทึกของพายุลูกที่ 3 ที่ได้รับชื่อภายในแอ่งแอตแลนติก เหนือกว่าบันทึกก่อนหน้านี้ซึ่งเกิดขึ้นในฤดูกาล ค.ศ. 1887 (พ.ศ. 2430) เพียง 7 วันรายชื่อต่อไปนี้จะใช้สำหรับพายุที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือในปี พ.ศ. 2559 หากมีชื่อที่ถูกปลด จะมีการประกาศโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2560 และชื่อที่ไม่ได้ถูกปลดจากรายการนี้จะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2565 โดยรายการที่ใช้ในปีนี้เป็นรายการเดียวกับที่ใช้ในฤดูกาล พ.ศ. 2553 โดยในฤดูนี้มีชื่อที่เปลี่ยนแปลงคือ อีกอร์ และ โทมัส ซึ่งถูกปลดและแทนที่ด้วย เอียน และ โทไบอัส ตามลำดับ ", "title": "ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2559" }, { "docid": "726660#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2543 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2543 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2543" }, { "docid": "988314#2", "text": "ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 การยืนยันเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ถูกต้อง เมื่อศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติของสหรัฐ ได้รายงานว่ามีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ด้านตะวันออก ในปีต่อ ๆ มา มีระบบพายุบางลูกที่มีการสงสัยว่ามันมีลักษณะบางอย่างที่ต้องจัดให้มันเป็นพายุหมุนเขตร้อน เช่น ระบบพายุในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 มีพายุหมุนนอกเขตร้อนก่อตัวขึ้นแล้วเปลี่ยนผ่านมาเป็นพายุหมุนเขตร้อน จากนั้นได้พัดขึ้นฝั่งประเทศบราซิล ซึ่งมีความรุนแรงเป็นถึงพายุเฮอร์ริเคนระดับ 2 ตามมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ในขณะที่พายุดังกล่าวกำลังเป็นภัยคุกคามต่อรัฐซานตากาตารีนาของประเทศบราซิลอยู่นั้น หนังสือพิมพ์ได้เรียกพายุนี้ในพัดหัวข่าวว่า \"Furacão Catarina\" ซึ่งหมายถึง พายุเฮอร์ริเคนกาตารีนา (\"Furacão\" แปลว่า พายุเฮอร์ริเคน และ \"Catarina\" ที่เป็นชื่อของรัฐกาตารีนา หมายความถึง พายุเฮอร์ริเคนที่กำลังคุกคาม(รัฐ)กาตารีนา) หลังจากนั้นสื่อสากลก็ได้ติดตามระบบพายุดังกล่าวและเรียกพายุดังกล่าวว่า \"Hurricane Catarina\" ชื่อนี้จึงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ", "title": "พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้" }, { "docid": "669185#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2558 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558" }, { "docid": "411248#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555 เป็นช่วงของปีที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2555 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555" }, { "docid": "54301#0", "text": "พายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนจะได้รับการตั้งชื่อโดยศูนย์เตือนภัยต่าง ๆ เพื่อความสะดวกระหว่างนักพยากรณ์อากาศกับประชาชนทั่วไปในการคาดการณ์, ผู้สังเกตการณ์, และการเตือนภัย เนื่องจากระบบของพายุนั้น สามารถมีอายุนานกว่าสัปดาห์หรือมากกว่านั้น และในเวลาเดียวกัน ก็อาจมีพายุเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งลูกภายในแอ่งเดียวกัน การตั้งชื่อพายุจึงเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการสับสนเกี่ยวกับพายุแต่ละลูก การใช้ชื่อที่ระบุเฉพาะตัวของพายุหมุนเขตร้อนแต่ละลูกต้องย้อนกลับไปหลายปี พร้อมกับระบบการตั้งชื่อตามชื่อสถานที่หรือสิ่งต่าง ๆ ก่อนจะมีการเริ่มต้นการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ โดยการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการมีใช้กับพายุที่ก่อตัวในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกเหนือ, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันออก, กลาง, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันตก, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกใต้ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อพายุหมุนเขตร้อนในภูมิภาคออสเตรเลีย และพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดีย โดยชื่อต่าง ๆ จะได้รับการกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยเมื่อมีพายุหมุนเขตร้อนมีความเร็วลมเฉลี่ยในหนึ่ง, สาม หรือ สิบนาที มากกว่า 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับแอ่งนั้น ๆ", "title": "การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน" }, { "docid": "914491#3", "text": "วันที่ 15 มีนาคม ศูนย์พยากรณ์อุทกอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติเวียดนาม (VNCHMF) ได้คาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนสิบสองถึงสิบสามลูกที่มีผลกระทบกับเวียดนามในปี 2561 ซึ่งถือว่ามากกว่าค่าเฉลี่ย[5] วันที่ 23 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกงคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนห้าถึงแปดลูกที่เข้ามาในระยะ 500 กิโลเมตรจากฮ่องกง ซึ่งถือว่าปกติค่อนไปทางมาก โดยพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกจะส่งผลกระทบกับฮ่องกงในเดือนมิถุนายนหรือเร็วกว่านั้น[6] วันที่ 11 พฤษภาคม องค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ได้ออกการคาดหมายฤดูกาลฉบับแรก โดยคาดการณ์ว่าในฤดูกาล 2561 นี้ จะมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนสูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย คาดว่าจะมีพายุ 27 ลูกได้รับชื่อ (มีความรุนแรงขั้นต่ำเป็นพายุโซนร้อน) ในจำนวนนี้ 17 ลูกสามารถเป็นพายุไต้ฝุ่นได้ และในจำนวนนั้น 9 ลูกสามารถเป็นพายุที่ทรงกำลังได้[1] ต่อมาในวันที่ 6 กรกฎาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดหมายฉบับที่สอง โดยยังคงคาดว่าจะมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนสูงกว่าค่าปกติเช่นเดิม และเปลี่ยนโดยเพิ่มค่าของพายุที่ทรงกำลังจาก 9 เป็น 10 ลูก[2] ส่วน PAGASA ได้ออกคาดการณ์ภาพรวมฤดูกาลฉบับที่สองและเป็นฉบับสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ซึ่งครอบคลุมช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม โดยคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนหกถึงแปดลูกก่อตัวขึ้นหรือเคลื่อนเข้าสู้พื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงาน ในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ขณะที่อีกสี่ถึงหกลูกพยากรณ์ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ในวันที่ 7 สิงหาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดหมายฉบับสุดท้าย โดยเปลี่ยนแปลงเฉพาะการลดจำนวนพายุที่ทรงกำลังจาก 10 ลูกเหลือ 9 ลูก และดัชนีเอซีอีที่ 319 หน่วย[3]", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561" }, { "docid": "988314#3", "text": "ในการประชุมเชิงปฏิบัติการสากลครั้งที่หกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในเรื่องพายุหมุนเขตร้อน (IWTC-VI) เมื่อปี พ.ศ. 2549 มีการตั้งคำถามว่ามีพายุหมุนเขตร้อนหรือนอกเขตร้อนก่อตัวขึ้นภายในแอตแลนติกใต้ก่อนพายุกาตารีนาหรือไม่ พบว่าระบบพายุที่อาจเกิดขึ้นจริงนั้น ก่อตัวขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2513, มีนาคม พ.ศ. 2537, มกราคม พ.ศ. 2547, มีนาคม พ.ศ. 2547, พฤษภาคม พ.ศ. 2547, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และมีนาคม พ.ศ. 2549 และมีข้อเสนอแนะว่าควรพยายามค้นหาระบบพายุผ่านทางภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลใจความสำคัญ อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่าความพยายามนี้อาจมีอุปสรรค เนื่องจากขาดภาพถ่ายดาวเทียมเหนือแอ่งนี้ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2509 การศึกษาได้รับการดำเนินการและถูกเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งสรุปว่ามีพายุหมุนกึ่งเขตร้อนในแอตแลนติกใต้จำนวน 63 ลูก ระหว่าง พ.ศ. 2500 ถึง 2550 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 มีพายุกึ่งโซนร้อนก่อตัวขึ้นภายในแอ่ง และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ก็มีพายุโซนร้อนก่อตัวขึ้น และได้รับชื่อว่า อะนีตา โดยศูนย์ลมฟ้าอากาศเอกชนและสาธารณะบราซิล ในปี พ.ศ. 2554 ศูนย์อุทกศาสตร์ กองทัพเรือบราซิลได้ริเริ่มการกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ที่ก่อตัวภายในพื้นที่รับผิดชอบไปจนถึงด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก เมื่อพายุมีความเร็วลมต่อเนื่องอย่างน้อย 65 กม./ชม.", "title": "พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้" }, { "docid": "988314#0", "text": "พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้ เป็นเหตุการณ์ลมฟ้าอากาศที่ปรากฎไม่บ่อยครั้งภายในซีกโลกใต้ เนื่องจากลมเฉือนที่มีกำลังแรงรบกวนการก่อตัวของพายุหมุน ทั้งยังขาดแคลนลมฟ้าอากาศแปรปรวน (Weather disturbances) ที่เหมาะสมสำหรับการก่อตัวภายในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ด้วย ทำให้ระบบพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงนั้นหาพบได้ยากมาก และพายุเฮอร์ริเคนกาตารีนาในปี พ.ศ. 2547 ก็เป็นพายุเฮอร์ริเคนเพียงลูกเดียวที่บันทึกได้ในประวัติศาสตร์ของฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พายุในแอตแลนติกใต้มีการก่อตัวขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยช่วงที่มีอัตราสูงที่สุดจะอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ศูนย์อุทกศาสตร์ กองทัพเรือบราซิล ได้ริเริ่มการตั้งชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ที่อยู่ในด้านตะวันตกของแอ่งใกล้กับประเทศบราซิล โดยจะตั้งชื่อเมื่อพายุดังกล่าวมีความเร็วลมต่อเนื่องอย่างน้อย 65 กม./ชม. ซึ่งเป็นความเร็วลมระดับต่ำสุดสำหรับการแปรปรวน ที่ถูกนิยามกำหนดให้เป็นพายุโซนร้อนในแอ่งแอตแลนติกเหนือ โดยรายชื่อด้านล่างนี้เป็นพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนที่มีชื่อเสียงในแอตแลนติกใต้", "title": "พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้" }, { "docid": "764826#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2494 เป็นช่วงฤดูที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวโดยทั่วไปน้อยกว่าค่าเฉลี่ย โดยพายุหมุนเขตร้อนหลายลูกโดดเด่นในฟิลิปปินส์ ซึ่งมีข้อยกเว้นอยู่ในช่วงเดือนมกราคม ซึ่งไม่พบการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อน และเดือนตุลาคม เป็นเดือนที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุดด้วยพายุหมุนเขตร้อนสี่ลูก ในภาพรวมแล้วมีพายุดีเปรสชันเขตร้อน 21 ลูก ในจำนวนนั้น 17 ลูกทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนและได้รับชื่อ ในจำนวนนั้น 16 ลูกทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่น", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2494" }, { "docid": "759813#1", "text": "พายุหมุนเขตร้อนมีแนวโน้มที่จะพัฒนาในช่วงฤดูร้อน แต่ก็ยังได้รับการตั้งข้อสังเกตกับแอ่งที่มีพายุเกิดมากที่สุด ซึ่งมีแนวโน้มในทุกเดือน วัฎจักรภูมิอากาศ อย่างเช่น ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้-เอลนีโญ (ENSO) และ ความผันแปรของแมดเดน-จูเลียน สามารถปรับระยะเวลาและความถี่ในการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อนได้ ข้อจำกัดความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อน เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับอุณหภูมิของน้ำในระหว่างทางที่พายุเคลื่อนผ่าน โดยเฉลี่ยทั่วโลก มีพายุหมุนเขตร้อนในระดับพายุโซนร้อน 86 ลูกทุกปี ในจำนวนนั้นทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่น/พายุเฮอร์ริเคน 47 ลูก และ 20 ลูกเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรง (อย่างน้อยมีความรุนแรงระดับ 3 ตามมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน)", "title": "การกำเนิดพายุหมุนเขตร้อน" }, { "docid": "570870#0", "text": "พายุไต้ฝุ่นอุซางิ () เป็นพายุหมุนเขตร้อนทรงพลัง ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นไต้ฝุ่นลูกที่ 3 และพายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 19 ที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในปี พ.ศ. 2556 โดยเริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556 ทางตะวันออกของเกาะลูซอน และเพิ่มความรุนแรงกลายเป็นดีเปรสชั่นในวันถัดมา ได้รับชื่อครั้งแรกจาก PAGASA ว่า \"Odette\" ต่อมาในวันเดียวกัน JMA ประกาศให้พายุนี้เป็นพายุโซนร้อน ใช้ชื่อ \"Usagi\" ขณะที่ JTWC ประกาศให้เป็นพายุดีเปรสชั่น", "title": "พายุไต้ฝุ่นอูซางิ (พ.ศ. 2556)" }, { "docid": "981839#2", "text": "พายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงเกือบทุกลูกมักจะเข้าสู่วัฏจักรนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง การศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เกือบครึ่งของพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมด และเกือบทั้งหมดของพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วลมต่อเนื่องมากกว่า 204 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะประสบกับวัฏจักรการแทนที่กำแพงตา ตัวอย่างเช่น พายุเฮอร์ริเคนเอลเลน ในปี พ.ศ. 2523 มีการเกิดวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาซ้ำ ๆ กัน ผันแปรระหว่างสถานะพายุระดับ 5 และระดับ 3 ตามมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สันหลายครั้ง พายุเฮอร์ริเคนจูลีเอตต์ เป็นกรณีศึกษาหายากของพายุที่มีกำแพงตาสามขั้น พายุไต้ฝุ่นจูน ในปี พ.ศ. 2518 เป็นพายุลูกแรกที่ถูกรายงานว่ามีกำแพงตาสามขั้น", "title": "วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา" }, { "docid": "797288#0", "text": "การสะสมพลังงานในพายุหมุน ( หรือย่อว่า ACE) คือมาตราที่ถูกใช้โดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ในการแสดงกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนแต่ละลูก และทั้งมวลในฤดูพายุหมุนเขตร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก ซึ่งใช้การประมาณพลังงานลมของพายุหมุนเขตร้อนตลอดอายุขัยของมัน โดยมีการคำนวณในทุก ๆ หกชั่วโมง ค่าเอซีอีของฤดูกาล คือ ผลรวมของค่าเอซีอีของพายุแต่ละลูก ซึ่งการบันทึกทางประวัติศาสตร์ ค่าเอซีอีที่สูงที่สุดในโลกเป็นของพายุเฮอร์ริเคนโอกในปี พ.ศ. 2549 ที่ 82", "title": "การสะสมพลังงานในพายุหมุน" }, { "docid": "976075#1", "text": "ในช่วงเดือนตุลาคม ก่อนที่ฤดูกาลจะเริ่มต้นขึ้น สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM) ได้ออกประกาศการคาดหมายฤดูกาลสำหรับพายุหมุนเขตร้อนในฤดูกาล พ.ศ. 2561–2562 โดยระบุว่าฤดูอย่างเป็นทางการจะมีช่วงตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ไปจนถึง 30 เมษายน 2562 การคาดหมายดังกล่าวเป็นการคาดหมายแบบรวมทั้งแอ่ง ประกอบด้วย ภูมิภาคตะวันออก เหนือ และตะวันตก รวมถึงภูมิภาคย่อยตะวันตกด้านเหนือ การพยากรณ์คำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงสภาวะเอลนิโญล่าสุดที่มีกำลังอ่อนถึงเป็นกลางในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิก การคาดหมายแสดงถึงกิจกรรมโดยรวมภายในแอ่ง รวมถึงในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งระบุว่ามีกิจกรรมของพายุใกล้เคียงถึงน้อยกว่าค่าเฉลี่ย สำหรับภูมิภาคตะวันตก คือบริเวณระหว่าง เส้นเมริเดียน 90 องศาตะวันออก ถึง 125 องศาตะวันออกนั้น สำนักอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าจะมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (7 ลูก) โดยมีโอกาสถึง 56% ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนเพิร์ท ยังตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนสองลูก โดยอย่างน้อยหนึ่งลูกที่เป็นพายุโซโคลนกำลังแรงส่งผลกระทบต่อรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย สำหรับภูมิภาคย่อยตะวันตกด้านเหนือ บริเวณระหว่างเส้นเมริเดียน 125 องศาตะวันออก ถึง 142.5 องศาตะวันออก มีโอกาสที่จะมีพายุมากกว่าค่าเฉลี่ย 54% ส่วนภูมิภาคตะวันออก บริเวณระหว่างเส้นเมริเดียน 142.5 องศาตะวันออกถึง 160 องศาตะวันออก พยากรณ์ว่ามีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนใกล้เคียงค่าปกติ โดยมีโอกาส 60% ที่จะมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย", "title": "ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2561–2562" }, { "docid": "982937#0", "text": "ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2561 คือช่วงของฤดูกาลในอดีต ที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก เป็นฤดูกาลที่ผลิตค่าการสะสมพลังงานในพายุหมุน (ACE) สูงที่สุดเท่าที่บันทึกมาในแอ่งแปซิฟิกตะวันออก โดยฤดูกาลนี้จะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และวันที่ 1 มิถุนายน ในตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก และไปจบลงพร้อมกันในวันที่ 30 พฤศจิกายน โดยขอบเขตดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุดในแอ่งแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวขึ้นได้ตลอดเวลา ดังที่แสดงให้เห็นโดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกแรกของฤดูกาลนี้ ซึ่งก่อตัวเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม โดยฤดูกาลนี้มีพายุก่อตัวและได้รับชื่อจำนวน 23 ลูก ถือเป็นฤดูกาลที่มีพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดเป็นอันดับที่สี่", "title": "ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2561" }, { "docid": "490892#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 เป็นฤดูกาลที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2556 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556" }, { "docid": "748226#0", "text": "ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 เป็นต้นมา มีสามหน่วยงานที่ตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นผลให้บ่อยครั้งที่พายุหมุนมักจะมีสองชื่อในเวลาเดียวกัน ซึ่งในช่วง พ.ศ. 2488 ถึง 2543 กองทัพเรือแห่งสหรัฐอเมริกาในนามศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ก่อนที่สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น จะเข้ามารับช่วงต่อในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งทั้งสองหน่วยงานจะใช้ชื่อที่ตั้งไว้กับพายุ ก็ต่อเมื่อพายุหมุนมีการทวีกำลังแรงสู่ระดับพายุโซนร้อน ส่วนสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะตั้งชื่อให้กับพายุตั้งแต่ พ.ศ. 2506 โดยจะทำการตั้งชื่อให้กับระบบพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ หรือพายุดีเปรสชันเขตร้อนใด ๆ ที่ก่อตัวภายในพื้นที่รับผิดชอบของตน ซึ่งมีอาณาเขตระหว่างละติจูด 135°ตะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างลองจิจูด 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุลูกนั้น ๆ จะมีชื่อที่ถูกกำหนดไว้อยู่แล้วก็ตาม ทั้งสามหน่วยงานที่มีการตั้งชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก จะมีการปลดเกษียณชื่อของพายุหมุนเขตร้อนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ จะปลดเกษียณชื่อพายุหมุนของตนเมื่อพายุลูกนั้น ๆ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างน้อย 1 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ และ/หรือ เป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนอย่างน้อย 300 รายในฟิลิปปินส์", "title": "รายชื่อพายุถูกปลดของฟิลิปปินส์" }, { "docid": "389905#3", "text": "ฤดูกาลนี้ GCACIC ทำนายไว้เมื่อเดือนพฤษภาคมว่า จะมีพายุหมุนเขตร้อน 31 ลูก พายุโซนร้อน 27 ลูก และพายุไต้ฝุ่น 17 ลูก จะก่อตัวหรือเคลื่อนเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือปีนี้ ในการพยากรณ์เมื่อเดือนกรกฎาคม GCACIC ลดจำนวนพายุหมุนเขตร้อนที่จะพัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่นลงหนึ่งลูก ซึ่งพวกเขาโทษกำลังของร่องความกดอากาศต่ำอินเดีย-พม่า สำหรับตอนใต้ของจีน GCACIC พยากรณ์ไว้ในเดือนพฤษภาคมว่า จะมีพายุหมุนเจ็ดลูกขึ้นฝั่งจีนใต้ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ระหว่างปีเทียบกับค่าเฉลี่ยห้าลูก พวกเขายังพยากรณ์ต่อไปอีกว่าพายุหมุนห้าลูกจะขึ้นฝั่งตอนใต้ของจีนระหว่างเดือนพฤษภาคมและสิงหาคม ขณะที่อีกสองลูกจะขึ้นฝั่งระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคม หลังพายุหมุนสองลูกขึ้นฝั่งตอนใต้ของจีนแล้วระหว่างเดือนมิถุนายนแล้ว เดือนกรกฎาคม GCACIC พยากรณ์ว่าพายุหมุนเจ็ดลูกจะขึ้นฝั่ง ระหว่างฤดูหลักระหว่างเดือนกรกฎาคมและธันวาคม สำหรับคาบสมุทรเกาหลีและญี่ปุ่น GCACIC พยากรณ์ในเดือนพฤษภาคมว่า พายุหมุนหกลูกจะมีผลกระทบต่อญี่ปุ่นหรือคาบสมุทรเกาหลีระหว่างปี เทียบกับค่าเฉลี่ยสี่ลูก และพยากรณ์ว่าจะมีจำนวนพายุขึ้นฝั่งญี่ปุ่นมากกว่าค่าเฉลี่ย หลังพายุหมุนสามลูกส่งผลกระทบต่อภูมิภาคในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน GCACIC พยากรณ์ว่า พายุหมุนเจ็ดลูกจะมีผลกระทบต่อคาบสมุทรเกาหลีหรือญี่ปุ่นระหว่างช่วงหลักของฤดู", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554" }, { "docid": "829975#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 เป็นฤดูกาลที่สงบในแง่ของดัชนีเอซีเอและมีพายุไต้ฝุ่นน้อยที่สุดนับแต่ปี 2554 ฤดูกาลนี้มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นจำนวน 27 ลูก ในจำนวนนี้ 11 ลูกทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น และมีพายุเพียงสองลูกที่ทวีกำลังไปถึงระดับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น ทั้งพายุส่วนมากยังมีช่วงชีวิตสั้นและมีกำลังอ่อน ส่งผลให้ดัชนีเอซีอีมีค่าต่ำมาก ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 เป็นเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2560 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560" }, { "docid": "585238#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557 เป็นฤดูกาลที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2557 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557" }, { "docid": "669185#1", "text": "ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การคาดการณ์ครั้งแรกของปีได้รับการคาดการณ์โดย PAGASA ในช่วงเดือนมกราคม 2558 ภายในแนวโน้มสภาพภูมิอากาศตามฤดูการสำหรับเดือนมกราคม – มิถุนายน มีการตั้งข้อสังเกตว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 1-2 ลูกเกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม และ 1-3 ลูกเกิดขึ้นและพัฒนาหรือเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ต่อมาในเดือนมีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกง คาดการณ์ว่าฤดูมรสุมในฮ่องกง จะอยู่ในระดับใกล้เคียงค่าปกติที่ 6 ลูก คือมีพายุหมุนเขตร้อน 4-7 ลูก ผ่านเข้ามาในระยะ 500 กม. แปซิฟิกเอ็นโซ (Pacific ENSO) ออกการปรับปรุงในไตรมาสที่สองของปีโดย NOAA บอกว่ามีการผันผวนของเอลนีโญ โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าจะมีความเสี่ยงจากพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายในไมโครนีเซียแบบเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากผลกระทบของเอลนีโญ เป็นผลให้พวกเขาคาดการณ์ว่าความเสี่ยงของพายุไต้ฝุ่นกำลังแรงที่จะมีผลกระทบต่อไมโครนีเซียอยู่ในระดับสูง โดยเกาะส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า จะมีโอกาส 1 ใน 3 ที่จะได้รับผลกระทบจากลมที่รุนแรง คลื่นขนาดใหญ่ และปริมาณน้ำฝนจากพายุไต้ฝุ่น โดยพวกเขายังคาดการณ์อีกว่าจะมีโอกาสเกือบ 100% ของผลกระทบที่รุนแรงจากพายุไต้ฝุ่นลูกหนึ่งในไมโครนีเซีย ต่อมาวันที่ 6 พฤษภาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน ได้ออกการคาดการณ์แรกของฤดูกาล ซึ่งคาดว่าจะมีกิจกรรมในมหาสมุทรมากที่สุด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ซึ่งคาดว่าการมีกิจกรรมจะสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยหน่วยงานคาดว่าจะมีพายุโซนร้อน 27 ลูก, พายุไต้ฝุ่น 17 ลูก และพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 11 ลูก และดัชนีเอซีอีคาดการณ์ไว้ที่ 400", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558" }, { "docid": "585238#1", "text": "ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการณ์คาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย\nช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 VNCHMF คาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวและพัฒนา ที่อาจจะส่งผลกระทบกับประเทศเวียดนาม 1 ถึง 2 ลูก ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง เมษายน พ.ศ. 2557 ภายในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน แนวโน้มสภาพอากาศตามฤดูกาลของ PAGASA ทำนายว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนหนึ่งถึงสองลูกที่จะก่อตัวหรือพัฒนาขึ้น และ/หรือ เคลื่อนตัวเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ในขณะที่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน จะมีทั้งหมดสามถึงหกลูก ขณะที่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน จะมีทั้งหมดแปดถึงสิบลูก และขณะที่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม จะมีทั้งหมดห้าถึงเจ็ดลูก\nวันที่ 28 กรกฎาคม 2557 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในฤดูกาล 2557 นี้จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยจำนวน 2 ลูก โดยลูกแรกมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน และลูกที่สองจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนล่างในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมน้ำท่วมและดินถล่มส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 70 คนในฟิลิปปินส์", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557" }, { "docid": "829975#1", "text": "ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การพยากรณ์แรกของปีถูกเผยแพร่โดย PAGASA เมื่อวันที่ 20 มกราคม ในการคาดการณ์แนวโน้มสภาพภูมิอากาศในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน[4] การคาดการณ์ดังกล่าวบันทึกว่ามีพายุหมุนเขตร้อนหนึ่งถึงสองลูกปรากฏขึ้นในระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม ขณะที่อีกสองถึงสี่ลูกจะก่อตัวขึ้นหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ในระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกงได้พยากรณ์ว่าฤดูพายุหมุนเขตร้อนปีนี้จะใกล้เคียงกับค่าปกติ คือ มีพายุหมุนเขตร้อนสี่ถึงเจ็ดลูกเข้าใกล้ในระยะ 500 กิโลเมตร (310 ไมล์) ของดินแดนโดยที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่หก[7]", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560" }, { "docid": "976049#0", "text": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2561–2562 เป็นฤดูกาลในปัจจุบันของวัฏจักรรายปีของการก่อตัวพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อน โดยจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 และไปสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน 2562 โดยมีข้อยกเว้นสำหรับมอริเชียสและเซเชลส์ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 วันที่เหล่านี้เป็นช่วงเวลาตามธรรมเนียมนิยมซึ่งเป็นช่วงจำกัดของแต่ละปี ซึ่งมีพายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนก่อตัวภายในแอ่ง ภายในทางตะวันตกของเส้น 90 °ตะวันออก และทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแอ่งนี้จะได้รับการเฝ้าระวังโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในเรอูนียงในการวิเคราะห์หลังพายุ (Post-storm analysis) ระบบพายุได้ถูกปรับเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง แต่ไม่มีการตั้งชื่อให้กับพายุลูกนี้", "title": "ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2561–2562" }, { "docid": "389905#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 เป็นช่วงของปีที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2554 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่ก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุหมุนถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและมีตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554" }, { "docid": "985735#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2545 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545" }, { "docid": "732437#10", "text": "มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก คือพื้นที่ที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดบนดาวเคราะห์โลก ในทุกปีจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวประมาณ 25.7 ลูกโดยเฉลี่ย ซึ่งบางครั้งกลายเป็นพายุโซนร้อนหรือรุนแรงกว่านั้น ซึ่งมีพายุไต้ฝุ่นเฉลี่ย 16 ลูกในแต่ละปี ระหว่างปี พ.ศ. 2511 ถึง 2532 แอ่งนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร และทางตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล รวมถึงทะเลจีนใต้ด้วย ซึ่งเราอาจเห็นกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนในแอ่งนี้ได้ตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม ช่วงที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม", "title": "แอ่งพายุหมุนเขตร้อน" }, { "docid": "751014#0", "text": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2544 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม ดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร \"W\" ข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้ว มีพายุก่อตัวขึ้นในแอ่งนี้เฉลี่ย 27 ลูกต่อปี", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544" } ]
3911
จิฟฟี่ เป็นร้านสะดวกซื้อในประเทศไทยที่เปิดอยู่ในสถานีบริการน้ำมันมีสาขาในต่างประเทศหรือไม่ ?
[ { "docid": "619399#0", "text": "จิฟฟี่ (English: Jiffy) เป็นร้านสะดวกซื้อในประเทศไทยที่เปิดอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน โดยเริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ในนามบริษัท เจ็ท จิฟฟี่ ช็อปส์ จำกัด พร้อมกับสถานีบริการน้ำมันเจ็ท ของคอนอโค ฟิลลิปส์ ในนามบริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด หลังจากที่ ปตท. ซื้อกิจการของเจ็ทมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จิฟฟี่ได้มีการขยายสาขาในหลายรูปแบบทั้งร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และซูเปอร์มาร์เก็ต ปรับปรุงร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมันเดิม ขยายสาขาในอาคาร และมหาวิทยาลัย และขยายสาขาไปในต่างประเทศ เป็นต้น", "title": "จิฟฟี่" } ]
[ { "docid": "410836#8", "text": "พื้นที่เขตเทศบาลตำบลไพรบึงเป็นที่ตั้งของหน่วยงานและศูนย์บริการสาธารณูปโภคด้านต่างๆ ดังนี้\nนอกจากนั้น บริเวณสี่แยกหัวช้าง ในเขตบ้านหัวช้าง ตำบลสำโรงพลัน ของอำเภอไพรบึง ซึ่งห่างจากเขตเทศบาลไพรบึงไปทางทิศใต้ (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111) ประมาณ 3 กิโลเมตร ถือเป็นชุมทางการคมนาคมและการขนส่งขนาดใหญ่อีกจุดหนึ่ง เนื่องจากเป็นจุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ถนนโชคชัย-เดชอุดม) ชุมทางแห่งนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพักรถและพักผ่อนสำหรับผู้เดินทาง ซึ่งประกอบด้วยสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่ง ร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ ตลอดจนป้อมตำรวจหน่วยบริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรไพรบึง ", "title": "เทศบาลตำบลไพรบึง" }, { "docid": "619399#5", "text": "ในปี พ.ศ. 2553 ปตท.ได้แตกแขนงร้าน Jiffy ออกมา 3 รูปแบบ ในรูปแบบร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ คือ จิฟฟี่ คิทเช่น (English: Jiffy Kitchen) ร้านอาหารร้อนๆ อิ่มอร่อย ถูกปากคนไทยในราคาประหยัด จิฟฟี่ บิสโทร (English: Jiffy Bistro) ซึ่งเน้นการซื้อกลับไปกินที่บ้านหรือสำนักงาน และมีบริการส่งภายในอาคาร ปตท. และ จิฟฟี่ มาร์เก็ต (English: Jiffy Market) ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกของ ปตท. ที่มีสินค้าหลากหลาย เริ่มผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์จิฟฟี่วางจำหน่าย และเปิดจิฟฟี่นอกปั๊มแห่งแรกที่อาคาร Energy Complex C ในโมเดล Jiffy และอาคาร Energy Complex A ภายใต้ชื่อ Jiffy Market และผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์จิฟฟี่ วางจำหน่ายในร้านค้าทุกรูปแบบของจิฟฟี่ เปิดสถานีบริการน้ำมันปตท.จิฟฟี่สาขาใหม่ โคราช-สีคิ้ว และสาขาระยอง-ไออาร์พีซี", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "78603#16", "text": "29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 - การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี ในรูปของรัฐวิสาหกิจประเภทกิจการพลังงาน โดยควบรวมรัฐวิสาหกิจเดิม 2 แห่งคือ องค์การเชื้อเพลิง (สังกัด กรมการพลังงานทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม) และองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการพลังงานปิโตรเลียม หรือธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะของการพึ่งพาตนเอง เนื่องจากประเทศไทย ประสบวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการอุปโภค-บริโภค เช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก ในระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนชื่อสถานีบริการน้ำมัน จากตราสามทหาร มาเป็น ปตท.ด้วย และใช้คำขวัญว่า นิยมไทย ศรัทธาไทย ใช้ ปตท. พ.ศ. 2523 วางจำหน่ายน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ชื่อการค้า พีทีที เพอร์ฟอร์มา ไดน่าดีแอล วางจำหน่ายน้ำมันเครื่องดีเซลสำหรับรถไถนาอย่างเป็นทางการ พีทีที ไดนาแทรค ก่อตั้งบริษัท พีทีที ยูทีลีตี้ จำกัด และได้ออกแบบตราสัญลักษณ์ของปตท. เป็นรูปเปลวไฟสีฟ้า ไฟสีน้ำเงิน วงกมสีแดงมาเป็นตราขององค์กรจนถึงปัจจุบัน โดยเสนอต่อกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2528 - คณะรัฐมนตรี ได้ให้ ปตท.จัดตั้ง \"บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด\" เพื่อดำเนินการสำรวจ ค้นหาพื้นที่ และผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและต่างประเทศ และต่อมา ก็ได้จัดตั้ง \"บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด\" เพื่อดำเนินการกิจการปิโตรเคมี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ พ.ศ. 2531 - ปตท. ฉลองครบรอบ 10 ปี พ.ศ. 2531 - เริ่มวางจำหน่ายน้ำมันเบนซินที่มีสารตะกั่วในปริมาณต่ำ (พีทีที ไดน่าดีเอล ยูโร วัน) และวางจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษค่าออกเทนสูง พีทีที ไฮออกเทน (มีค่าออกเทนสูงสุด 97) เปลี่ยนคำขวัญใหม่มาเป็น พลังไทย เพื่อไทย (เปลี่ยนคำขวัญใหม่เมื่อปี 2530 - 2550) พ.ศ. 2532 - เริ่มวางจำหน่ายน้ำมันเบนซิน พีทีที ไฮออกเทน สูตรใหม่ ลดสารตะกั่วลง 7% พ.ศ. 2533 - จำหน่ายน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำรายแรกภายใต้ชื่อการค้า พีทีที ไฮซีเทน (ค่าซีเทน 52) วางจำหน่ายน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว พีทีที ไฮออกเทน (ปรับปรุงจากสูตรเดิม) และวางจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นสำหรับจักรยานยนต์ 2 จังหวะ สูตรลดควันขาว พีทีที ไฮสปีด 2 ที โลวสโมค พ.ศ. 2535 - ปรับโฉมสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศเป็นรูปแบบใหม่ Landor โดยใช้รูปแบบนี้ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2550) พ.ศ. 2536 - ก้าวสู่การเป็นผู้นำสูงสุดของตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง วางตลาดน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วที่มีค่าออกเทนสูงที่สุด สำหรับรถยนต์เบนซินสมรรถนะสูง พีทีที เพอร์ฟอร์มา 98 ซึ่งเป็นน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนสูงที่สุดในประเทศ โดยในขณะนั้นมีเพียงปตท. และเจ็ทเท่านั้นที่ขายน้ำมันออกเทน 98 และน้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่ว สำหรับรถยนต์เบนซินทั่วไป พีทีที แม็กซ์ (มีค่าออกเทน 92) และ ปตท.ฉลองครบรอบ 15 ปี พ.ศ. 2538 - ยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินมีสารตะกั่วอย่างเป็นทางการทั่วประเทศก่อนผู้ค้าน้ำมันรายอื่น และวางตลาดน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่วสูตรใหม่ สำหรับรถยนต์เบนซินสมรรถนะสูง พีทีที ซูเปอร์ 97 และน้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่ว สำหรับรถยนต์เบนซินทั่วไป พีทีที แม็กซ์ 92 (ปรับปรุงจาก พีทีที แม็กซ์ เดิม) พ.ศ. 2539 - วางจำหน่ายน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำสูตรใหม่ (กำมะถัน 0.25%) ในชื่อ พีทีที ไฮซีเทน 55 พ.ศ. 2540 - ร่วมมือกับ เอเอ็มพีเอ็ม ก่อตั้งบริษัท ปตท.มาร์ท จำกัด เพื่อเปิดให้บริการร้านสะดวกซื้อเอเอ็มพีเอ็มในสถานีบริการน้ำมัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และวางจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว สำหรับรถยนต์เบนซินสมรรถนะสูง พีทีที เพอร์ฟอร์มา โกลด์ (มีค่าออกเทน 95) เพิ่มสถานีบริการน้ำมันเป็น 1,500 สาขา (ปัจจุบันเหลือ 1,300 สาขา) พ.ศ. 2541 - ปตท. ฉลองครบรอบ 20 ปี พ.ศ. 2542 - เปิดตัวรางวัล ลูกโลกสีเขียว พ.ศ. 2543 - วางจำหน่ายน้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่วสูตรใหม่ สำหรับรถยนต์เบนซินทั่วไป และรถจักรยานยนต์ พีทีที แม็กซ์ 91 พ.ศ. 2544 - การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้แปรสภาพรัฐวิสาหกิจ มาเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อให้ประชาชนชาวไทย สามารถเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบ พนักงาน ลูกจ้าง และส่วนธุรกิจทั้งหมดของ ปตท. ไปเป็น บมจ.ปตท. แทนและได้ยุบเลิกการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม [7] และในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน บมจ.ปตท. ได้ทำการเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวันแรก พ.ศ. 2545 - เปิดจำหน่ายแก๊สโซฮอล์เป็นรายแรก ณ สน.ปตท.สาขาสำนักงานใหญ่ ภายใต้ชื่อการค้า พีทีที แก๊สโซฮอล์ 95 และ เปิดตัวร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน (Cafe Amazon) พ.ศ. 2546 - ร่วมมือกับ เซเว่น อีเลฟเว่น (บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเปิดให้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน วางจำหน่ายน้ำมันเบนซินผสมสารลดความฝืด ฟริคชั่น โมดิฟายเออร์ ในชื่อ พีทีที อัลฟา เอ็กซ์ (มีค่าออกเทน 91 และ 95) วางจำหน่ายน้ำมันดีเซลสูตรใหม่ในชื่อ พีทีที เดลต้า เอ็กซ์ เริ่มจำหน่าย NGV ให้กับผู้ใช้รถยนต์ และเริ่มสร้างสถานีบริการน้ำมันรูปแบบใหม่ ระดับ Platinum ที่สถานีบริการน้ำมันสาขา สน.ปตท.กล้วยน้ำไท และปตท. ครบรอบ 25 ปี พ.ศ. 2547 - วางจำหน่ายน้ำมันดีเซลสูตรใหม่ ผ่านมาตรฐาน Euro III ในชื่อ พีทีที เดลต้า เอ็กซ์ ยูโร ทรี ปรับโฉมสถานีบริการทั่วประเทศจากรูปแบบ Landor เดิมให้ทันสมัยขึ้น (บางสาขา) และเริ่มสร้างสถานีบริการน้ำมันในรูปแบบ Platinum ภายใต้แนวคิด Pump in the Park ในชื่อ PTT Park เป็นแห่งแรกที่สถานีบริการน้ำมันสาขา สน.ปตท.สวัสดิการ ร.1. รอ. พ.ศ. 2548 - วางจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 สูตรใหม่ ผสมสารฟริคชั่น โมดิฟายเออร์ ในชื่อ พีทีที แก๊สโซฮอล์ 95 พลัส และ บมจ.ปิโตรเคมีแห่งชาติ และ บมจ.ไทยโอเลนฟินส์ ได้เข้าควบรวมกิจการ ไปเป็น บมจ.ปตท.เคมิคอล พ.ศ. 2549 - บมจ.ปตท. ได้เข้าไปถือหุ้นใน บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย ของ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ไออาร์พีซี บมจ.อะโรเมติกส์ไทย และ บมจ.โรงกลั่นน้ำมันระยอง ได้เข้าควบรวมกิจการ ไปเป็น บมจ.ปตท.อโรเมติกส์และการกลั่น พ.ศ. 2550 - วางจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ในชื่อ พีทีที แก๊สโซฮอล์ 91 พลัส - บริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของสถานีบริการน้ำมัน เจ็ท และร้านสะดวกซื้อ จิฟฟี่ ตัดสินใจขายกิจการสถานีบริการน้ำมันและร้านสะดวกซื้อให้กับ ปตท. ทั้งหมด 147 สาขา 22 จังหวัด จัดตั้งบริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด และศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา กรณีการแปรรูปฯ ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืน และท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน กลับคืนไปให้กับกระทรวงการคลัง เพราะถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน พ.ศ. 2551 - ปตท. ฉลองครบรอบ 30 ปี พ.ศ. 2551 - ก้าวสู่การเป็นผู้นำสูงสุดของตลาดน้ำมันหล่อลื่น และกลายเป็นผู้นำตลาดน้ำมันเต็มตัว จากเดิมที่มีเอสโซ่ เชลล์ และคาลเท็กซ์เป็นผู้นำตลาดตามลำดับ วางจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ในชื่อ พีทีที E20 พลัส และวางจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล B5 ในชื่อ พีทีที B5 พลัส พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่เพื่อเรียกร้องให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ และวางจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ในชื่อ พีทีที E85 พลัส (บางสาขา) เปลี่ยนคำขวัญเป็น พลังที่ยั่งยืน เพื่อไทย ตั้งแต่ตอนที่ ปตท. ครบรอบ 30 ปี (ถึง พ.ศ. 2555) พ.ศ. 2552 - สถานีบริการน้ำมันเจ็ททั้ง 147 สาขา ใน 22 จังหวัดปรับเปลี่ยนเป็นสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั้งหมดแล้ว คงเหลือร้านสะดวกซื้อ จิฟฟี่ ไว้เพียงอย่างเดียว และริเริ่มพัฒนาสถานีบริการน้ำมันภายใต้แนวคิด PTT Life Station โดยปรับโฉมสถานีบริการน้ำมันกว่า 1,300 แห่งทั่วประเทศแบบยกเครื่อง โดยมี 3 รูปแบบที่มีขนาดแตกต่างกันไป คือ PTT Park ,Platinum และ Standard เปิดตัวร้านสะดวกซื้อ Jiffy Express ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กที่คัดสินค้า Top 200 มาวางขาย พ.ศ. 2553 - แนะนำโมเดลใหม่ของร้านสะดวกซื้อ Jiffy ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เกต Jiffy Market และร้านอาหาร Jiffy Bistro และเปิดตัวผลิตภัณฑ์น้ำมันเกรดพรีเมียมในราคาเท่าเดิมภายใต้ชื่อ พีทีที บลู อินโนเวชัน (โดยทดแทนชื่อพีทีที อัลฟา เอ็กซ์ (ทดแทนด้วยชื่อ บลู แก๊สโซลีน),เดลต้า เอ็กซ์ (ทดแทนด้วยชื่อ บลู ดีเซล),และแก๊สโซฮอล์ 91 - 95 พลัส (ทดแทนด้วยชื่อ บลู แก๊สโซฮอล์ 91 - 95) รวมทั้งทดแทนชื่อแก๊สโซฮอล์ E20, E85 เป็น บลู แก๊สโซฮอล์ E20 และ บลู แก๊สโซฮอล์ E85) พ.ศ. 2554 - ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าปฏิบัติการปิโตรเลียมขั้นต้นรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่แทน ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ พ.ศ. 2555 - เกิดเหตุระเบิดที่หม้อต้มไอน้ำที่ออกจากขบวนการผลิตแก๊สธรรมชาติอัด ซึ่งอยู่ในสถานีจ่ายแก๊สธรรมชาติอัด ใน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น[8] ส่งผลให้สถานีเสียหายและไม่มีแก๊สออกจำหน่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปตท.เปลี่ยนคำขวัญเป็น พลังที่ยั่งยืน และใช้จนถึงปี พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2556 - เปิดตัวบัตรสะสมคะแนนเพื่อแลกรับสิทธิพิเศษมากมายเมื่อใช้บริการที่สถานีบริการ ปตท. และร้านค้าที่ร่วมรายการ ภายใต้ชื่อ PTT Blue Card เริ่มพัฒนาสถานีบริการน้ำมันที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เต็มรูปแบบ ในชื่อ The Crystal PTT โดยนำร่องที่สาขาถนนชัยพฤกษ์ และร่วมมือกับ เค.อี.แลนด์ สร้างคอมมูนิตี้มอลล์และสถานีบริการน้ำมัน ขยายกิจการสถานีบริการน้ำมันในประเทศลาว เปิดตัวน้ำมันดีเซลเกรดพรีเมียม ด้วยเทคโนโลยีเดียวกับการผลิตน้ำมันอากาศยาน พีทีที ไฮฟอร์ซ พรีเมียม ดีเซล เปิดตัวและปรับปรุงร้านสะดวกซื้อ Jiffy 3 รูปแบบ คือ Jiffy (กำลังปรับปรุงร้านและสร้างร้านใหม่) Jiffy Daily (เปลี่ยนมาจาก Jiffy Express เติมมุมขายอาหารและเครื่องดื่ม) และ Jiffy Plus Supermarket (เปลี่ยนมาจาก Jiffy Super Fresh Market เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตเต็มรูปแบบแห่งแรกจาก ปตท.) เปิดขายแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุก Pearly Tea ธุรกิจใหม่จาก ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก เปิดธุรกิจร้าน Jiffy ในประเทศลาว และร้าน Jiffy นอกปั๊มแห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2557 - เปิดตัวโครงการ The Crystal PTT คอมมูนิตี้มอลล์และสถานีบริการน้ำมันอย่างเป็นทางการ โดยประกอบไปด้วยสถานีบริการน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ Jiffy ร้านกาแฟ Cafe Amazon ซูเปอร์มาร์เก็ต Jiffy Plus Supermarket ร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ บนพื้นที่ 12 ไร่บนถนนชัยพฤกษ์ เปิดปั๊มน้ำมันบริการตนเอง ราคาถูกกว่าเติมน้ำมันแบบปกติ Self Serve แห่งแรกที่ สน.ปตท.ศรีนครินทร์ และเปิดตัวแมสคอตของ ปตท. ในชื่อ ก็อตจิ พ.ศ. 2558 - เปิดตัวสติ๊กเกอร์ไลน์ให้ผู้ใช้ไลน์สามารถโหลดฟรีในอีเวนท์แบบมีเสียงพูดได้ Godji The Adventure (เสียงพากย์ก๊อตจิโดย ศรีอาภา เรือนนาค) ให้กับผู้ใช้ไลน์ที่เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการของ ปตท. เปลี่ยนคำขวัญมาเป็น เพื่อคนไทย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน และเปิดตัวผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ปตท. ฉลากใหม่ กระป๋องใหม่ เพิ่มสมรรถนะและปกป้องเครื่องยนต์ให้กับเครื่องยนต์โดยเฉพาะ ภายใต้คำขวัญ The Moving Innovation พ.ศ. 2559 - นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือแจ้งกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 11/2559 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 ได้มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท. โดยการโอนกิจการของหน่วยธุรกิจน้ำมัน รวมถึงสินทรัพย์และหนี้สินของหน่วยธุรกิจดังกล่าว ตลอดจนหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องให้แก่ บริษัท ปตท. ธุรกิจค้าปลีก จำกัด และการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก เป็นบริษัทแกน ของกลุ่ม ปตท. ในการดำเนินธุรกิจ และ ค้าปลีก และแผนการเสนอขายหุ้นสามัญเบื้องต้นของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก และ การนำ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (\"การปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท.\") และเห็นชอบให้ ปตท. นำเสนอการปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท. ดังกล่าว ต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (\"คนร.\") คณะรัฐมนตรี และประชุมผู้ถือหุ้นของ ปตท. เพื่อพิจารณาอนุมัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป พร้อมเปิดตัวโครงการแยกขยะก่อนทิ้งที่สถานีบริการนํ้ามัน ปตท.ภายใต้โครงการ แยกแลกยิ้ม พ.ศ. 2561 - ปตท. ฉลองครบรอบ 40 ปี พ.ศ. 2561 - นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. จะปรับเปลี่ยนโลโก้ของสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศ ตามแนวทางการปรับโครงสร้างองค์กร ที่จะมีการตั้ง บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด หรือ PTTOR เป็นบริษัทย่อยของ ปตท. ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาจัดทำโลโก้หลายรูปแบบมาเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ปตท. พิจารณา ก่อนเสนอให้กระทรวงพลังงานพิจารณาในเร็วๆนี้ เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ปตท. ประจำปีนี้ ในวันที่ 12 เมษายน “การเปลี่ยนแปลงโลโก้ปั๊ม ปตท.ใหม่จะยังคงลักษณะโลโก้เดิม โดยจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เพื่อสร้างความแตกต่างกับโลโก้ปัจจุบัน เพื่อทำให้ ปตท. สามารถขายโอนโลโก้เป็นสมบัติของ PTTOR ที่เป็นบริษัทลูกได้ง่ายขึ้น และผมมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นหรือความนิยมของผู้บริโภค แต่หากใช้โลโก้เดิมอยู่ PTTOR อาจต้องจ่ายค่าเช่าโลโก้ให้ ปตท. แทน ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ก็มีบริษัทลูกมากมายที่มีโลโก้เป็นของตัวเอง เช่น บริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด หรือ PTTRM , บริษัท โพลิเมอร์มาเก็ตติ้ง จำกัด เป็นต้น และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์น้ำมันสูตรใหม่ในราคาเท่าเดิม พร้อมสารสูตรพิเศษรายแรกของโลก ให้คุณแรงดั่งใจ ทุกสัมผัส ในชื่อ พีทีที อัลตร้าฟอร์ช (โดยทดแทนชื่อพีทีที บลู อินโนเวชัน) เช่น บลู แก๊สโซลีน (ทดแทนด้วยชื่อ อัลต้าฟอร์ซ แก๊สโซลีน), บลู ดีเซล (ทดแทนด้วยชื่อ อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล) , และ บลู แก๊สโซฮอล์ 91 - 95 (ทดแทนด้วยชื่อ อัลตร้าฟอร์ซ แก็สโซฮอล์ 91 - 95) รวมทั้งทดแทนชื่อ บลู แก๊สโซฮอล์ E20, E85 เป็น อัลตร้าฟอร์ซ แก๊สโซฮอล์ E20 และ อัลตร้าฟอร์ซ แก๊สโซฮอล์ E85)", "title": "ปตท." }, { "docid": "619399#17", "text": "เป็นรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ตของจิฟฟี่ เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2553 ที่อาคาร Energy Complex และสถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขากรุงเทพ-บางแค (วงแหวน) โดยสาขาหลังนี้ต่อมาถูกพัฒนาเป็นจิฟฟี่ ซูเปอร์เฟรช มาร์เก็ต มีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้นกว่าจิฟฟี่", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#8", "text": "ในส่วนของตลาดต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2556 จิฟฟี่ได้เปิดสาขาในต่างประเทศแห่งแรกที่ประเทศลาว โดยร่วมมือกับบริษัท ลาวดิสทริบิวเตอร์ จำกัด และเปิดในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขานาทรายทอง และในปีเดียวกันก็ได้เปิดอีกสาขาที่สาขาพลต้อง โดยมีแผนที่จะไปเปิดจิฟฟี่ในประเทศอื่นๆ ในอาเซียน", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#1", "text": "จิฟฟี่เปิดดำเนินการในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ในนามบริษัท เจ็ท จิฟฟี่ ช็อปส์ จำกัด พร้อมกับสถานีบริการน้ำมันเจ็ทในปีเดียวกับ ในนามบริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยเงินลงทุนกว่า 5 พันล้านบาท เพื่อเปิดสถานีบริการน้ำมันเจ็ท และร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ในสถานีบริการน้ำมัน และเปิดสถานีบริการน้ำมันและร้านสะดวกซื้อแห่งแรกในปี พ.ศ. 2536 โดยในขณะนั้นสถานีบริการน้ำมันเจ็ทเป็นสถานีบริการน้ำมันที่ได้รับความนิยมสูงมากโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวและครอบครัวคนรุ่นใหม่ เนื่องจากสถานีบริการที่ใหญ่มากบนพื้นที่ 3-5 ไร่ การตกแต่งปั๊มและร้านค้าที่ดูสดใส สนุกสนาน ห้องน้ำสะอาด มีการทำความสะอาดทุก 15 นาที มีไฟส่องสว่างทั่วสถานีบริการ ศาลาให้นั่งพักผ่อน พันธมิตรร้านค้าต่างๆ ที่เข้ามาเปิดในปั๊ม และสินค้ากว่า 4,000 รายการบนพื้นที่ของร้านจิฟฟี่ตั้งแต่ 150-550 ตร.ม. ที่ดึงดูดให้ลูกค้าขับรถมาเข้าใช้บริการ จึงทำให้คู่แข่งในขณะนั้นต้องปรับตัว แต่ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จในด้านมาตรฐานของปั๊มได้เนื่องจากทุกสถานีบริการเจ็ททางคอนอโคเข้ามาดูแลเอง ต่างจากรายอื่นที่มีแฟรนไชส์ จึงทำให้มาตรฐานของแต่ละปั๊มไม่เท่ากัน ในด้านของการเลือกที่ดินสร้างสถานีบริการได้เลือกสร้างบนเส้นทางนอกเมือง (ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่พีทีจี เอ็นเนอยี ซัสโก้ และผู้ค้ารายใหญ่ในปัจจุบันใช้ในการสร้างสถานีบริการในยุคที่ที่ดินในเมืองมีราคาแพงและหายาก) วางตำแหน่งของลูกค้าเป็นนักเดินทาง เจ็ทและจิฟฟี่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในประเทศไทย", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "9595#1", "text": "ปี พ.ศ. 2538– พ.ศ. 2540นายสายชล เพยาว์น้อย เจ้าของธุรกิจบ้านใร่กาแฟเป็นคนที่ชอบเดินทางศึกษาวัฒนธรรมไปตามเส้นเดินทางสายต่าง ๆ ทั้งภาค ภาคอีสาน ภาคเหนือภาคใต้ ตลอดการเดินทางมักจะแวะดื่มกาแฟกระป๋องตามสถานีบริการน้ำมัน ครั้งเดินทางไปยังสายอีสานได้พบกาแฟแบบชาวบ้านตั้งซุ้ม โต๊ะ ในสถานีบริการน้ำมัน แบบคั่วชง มีจุดเด่นในด้านรสชาติ และ วิธีการในการนำเสนอ ลูกค้าจะเห็นกรรมวิธี และ ลีลาการชงกาแฟของชาวบ้านดูมีศิลปะเพิ่มคุณค่าให้กาแฟในแก้วนั้น ๆ ปรุงแบบแก้วต่อแก้ว ใช้กาแฟคั่วใหม่จากภาชนะที่ฝาปิดสนิทบดสด ๆ ชงสด ๆ จึงนำแนวทางของชาวบ้านมานำเสนอในรูปแบบของบ้านใร่กาแฟ คือ เพิ่มอาคารกาแฟ จัดการความสะอาด ความสะดวกสบาย เป็นระบบธุรกิจ เพิ่มแนวคิดทางสถาปัตยกรรม เป็นอาคารทรงไทยโมเดิร์น จัดการภูมิทัศน์โดยรอบ\nบ้านใร่กาแฟสร้างสาขาแรกที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท.รังสิต – องค์รักษ์คลอง 7 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2540 โดยมีชื่อว่าบ้านแรก สาขาบ้าน 9 มีสัญลักษณ์เป็นใบไม้สีเขียว หลังเปิดได้ 13 วัน เช้าวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2541 เกิดอุบัติเหตุรถเข้าพุ่งชนร้าน ต้องปิดร้านโดยฉับพลัน จากนั้นจึงสร้างสาขา 9/2 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2541 ในสถานีบริการน้ำมัน JET และออกแบบใหม่เป็นอาคารทรงสามเหลี่ยม ซึ่งรูปแบบตัดมาจากหน้าบานบ้านทรงไทย จากนั้นได้รับโอกาสจากบริษัท CONOCO ประเทศไทย JET อนุมัติให้ก่อสร้างในแบบบ้าน 8 (บ้านกรุง) บนเส้นทางถนนพหลโยธินเป็นสาขาแรกในสถานีบริการฯของ JET เปิดทำการขายวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541ซึ่งเป็นสาขาบ้านสามเหลี่ยมแรก ปี พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านใร่กาแฟซึ่งได้แนวความคิดจาก สังคมและภูมิปัญญาของชาวบ้านของไทย ในปี พ.ศ. 2549 มีสาขาทั้งหมด 110 สาขา", "title": "บ้านใร่กาแฟ" }, { "docid": "619399#9", "text": "ในปี พ.ศ. 2557 เปิดสถานีบริการน้ำมันปตท.จิฟฟี่สาขาใหม่ ปทุมธานี-สามโคก ขาออก (กม.70) ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก ร่วมมือกับเค.อี.แลนด์ เปิดตัวโครงการคอมมูนิตี้มอลล์และสถานีบริการน้ำมันในชื่อ The Crystal PTT อย่างเป็นทางการโดยมีส่วนของสถานีบริการน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ Jiffy ร้านกาแฟ Cafe Amazon ร้านชานมไข่มุก Pearly Tea ซูเปอร์มาร์เก็ต Jiffy Plus Supermarket และร้านค้าต่างๆ ในโครงการบนพื้นที่ 12 ไร่บนถนนชัยพฤกษ์ และเปิดร้านสะดวกซื้อจอยนอกสถานีบริการสาขาใหม่ที่อาคาร BBC เอกมัย สี่แยกทศกัณฑ์ - พุทธมณฑลสาย 2 สตาร์ เอวีนิว เชียงใหม่ และกิ่งแก้ว", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#13", "text": "เป็นรูปแบบร้านอาหารร้านแรกของจิฟฟี่ เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2551 ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขากรุงเทพฯ-รามอินทรา 2 ชูจุดเด่นที่การบริการอาหารร้อนๆ อิ่มอร่อยหลากหลายเมนูในราคาคุ้มค่า รสชาติเหมาะกับคนไทย ปัจจุบันมีทั้งหมด 1 สาขา คือสมุทรสาคร-พระราม 2 (กม. 35)", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "131345#23", "text": "โครงสร้างหลักทางเศรษฐกิจของอำเภอไพรบึงมาจากการเกษตรกรรม ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง การบริการและอุตสหกรรมขนาดเล็ก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ข้าวหอมมะลิ และพืชสวน ตลอดจนผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรหลายชนิด เช่น ไข่เค็มพอกดินจอมปลวก ซึ่งเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ที่ได้รับการส่งเสริมของอำเภอ พื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่เขตเทศบาลตำบลไพรบึงและสี่แยกหัวช้าง ซึ่งเป็นชุมทางการเดินทางและการคมนาคมขนส่งที่คึกคัก ชุมทางแห่งนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพักรถและพักผ่อนสำหรับผู้เดินทาง ซึ่งประกอบด้วยสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่งและขนาดเล็ก 1 แห่ง, ร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ, รีสอร์ตสำหรับพักค้างคืน 2 แห่ง ตลอดจนป้อมตำรวจหน่วยบริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรไพรบึง สี่แยกหัวช้างจึงเป็นพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจที่คึกคักที่สุดแห่งหนึ่งของอำเภอ", "title": "อำเภอไพรบึง" }, { "docid": "619399#6", "text": "ในปี พ.ศ. 2555 ปิดสถานีบริการน้ำมันปตท.จิฟฟี่สาขา โคราช-เชอราตัน และสาขาระยอง-ไออาร์พีซี โดยสาขาแรกเปลี่ยนเป็นสถานีบริการน้ำมันรายอื่น และสาขาหลังเปลี่ยนร้านสะดวกซื้อเป็นเซเว่นอีเลฟเว่น", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "361171#4", "text": "ปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2553 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อจาก บริษัท สยามสหบริการ จำกัด (มหาชน) (Siam United Service Public Company Limited) มาเป็น บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) (Susco Public Company Limited) และในวันที่ 3 ธันวาคม 2555 บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท ปิโตรนาส รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันปิโตรนาส ผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นปิโตรนาส และผู้บริหารร้านสะดวกซื้อซูเรีย โดยซื้อกิจการมาทั้งหมด 96 สาขา ในหลายจังหวัดในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดขนาดใหญ่และขนาดกลาง ทำให้ซัสโก้มีสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับสถานีบริการน้ำมันเดิมของซัสโก้จะมีอยู่ถึง 230 สาขา และครอบคลุมทั่วประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เน้นตลาดต่างจังหวัดเป็นหลัก มีในกรุงเทพฯ น้อยกว่า 20 สาขา ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2550 บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) เคยเข้าซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมันทีพีไอของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันทีพีไอ ผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นทีพีไอ และผู้บริหารร้านสะดวกซื้อทีพีไอ มาร์ท โดยซื้อกิจการมาทั้งหมด 23 สาขา ปัจจุบันอยู่ระหว่างติดต่อผู้ทำธุรกิจร้านะดวกซื้อ ร้านกาแฟ และศูนย์บริการถยนต์ให้มาเปิดสาขาในสถานีบริการน้ำมันปิโตรนาสเดิมและซัสโก้ด้วย และกำลังปรับปรุงปั๊มน้ำมันปิโตรนาส 96 สาขาให้แล้วเสร็จในปี 2557", "title": "ซัสโก้" }, { "docid": "131345#31", "text": "ทางแยกหัวช้างในเขตบ้านหัวช้าง ตำบลสำโรงพลัน ซึ่งอยู่ห่างจากเขตเทศบาลตำบลไพรบึง (ตัวอำเภอ) ไปทางทิศใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111 (ช่วงไพรบึง-ขุนหาญ) ถือเป็นชุมทางการคมนาคมและการขนส่งขนาดใหญ่จุดหนึ่ง เนื่องจากเป็นจุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ถนนโชคชัย-เดชอุดม) ชุมทางแห่งนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพักรถและพักผ่อนสำหรับผู้เดินทาง ซึ่งประกอบด้วยสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่ง และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็ก 1 แห่ง ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ร้านจำหน่ายของฝาก ร้านเครื่องดื่ม สถานพักตากอากาศสำหรับค้างคืน 2 แห่ง ตลอดจนป้อมตำรวจหน่วยบริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรไพรบึง ทางแยกหัวช้างจึงเป็นพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจที่คึกคักที่สุดแห่งหนึ่งของอำเภอไพรบึง", "title": "อำเภอไพรบึง" }, { "docid": "619399#11", "text": "เป็นรูปแบบของร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2536 ที่สถานีบริการน้ำมันเจ็ท และเป็นรูปแบบแรกของจิฟฟี่ เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด มีสินค้ากว่า 4,000 รายการให้เลือกซื้อ ประกอบด้วยอาหาร ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่มร้อน-เย็น ของใช้ เป็นต้น มีการพัฒนารูปแบบและขนาดพื้นที่ 6 รูปแบบ ตั้งแต่ 150 ตารางเมตรจนถึง 550 ตารางเมตร โดยจะเปิดในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่บริหารโดย บริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด อาคารต่างๆ มหาวิทยาลัย และมีแผนที่จะขายแฟรนไชส์ให้บุคคลทั่วไป แต่อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้อยู่ โดยสาขาที่ ปตท. ขยายเองจะใช้เงินลงทุนสาขาละ 10 ล้านบาท และขยายสถานีบริการสาขาละ 60 ล้านบาท โดยในปัจจุบันมีการขยายสาขาเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ และปิดบริการไปแล้ว 4 สาขาคือสาขาโคราช-เชอราตัน (สาขาแรกที่นครราชสีมา) ในปี พ.ศ. 2555 สาขาระยอง-ไออาร์พีซี (สาขาที่ 6 ที่ระยอง) ในปี พ.ศ. 2554 สาขาเชียงใหม่-แม่ริม 2 และสาขาโคราช-แมคโคร ในปี พ.ศ. 2557", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#3", "text": "จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 ด้วยค่าการตลาดที่ต่ำมากในประเทศไทย อีกทั้งเงินลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาทนั้นมีผลตอบแทนที่ไม่คุ้มทุนกับที่ลงทุนไป คอนอโคจึงตัดสินใจขายธุรกิจเจ็ทและจิฟฟี่ทั้ง 147 สาขาใน 22 จังหวัดออกไป และมีกรมธุรกิจพลังงานมาดูแล หลังจากที่มีการเปิดประมูลโดยมี 3 รายเข้ามาประมูลคือ ปตท. ที่มีแผนลงทุนสร้างปั๊มขนาดใหญ่ 200 สาขา เชลล์ที่จับมือกับบิ๊กซีเพื่อเปิดธุรกิจค้าปลีกหลังจากมีร้านสะดวกซื้อซีเล็คมากว่า 10 ปี และปิโตรนาสที่เพิ่งเข้ามาลงทุน ในที่สุด ปตท. ก็เป็นผู้ชนะการประมูล ทำให้มีผลดีทั้งต่อ ปตท. และคอนอโค ทั้งคอนอโคที่สามารถขายธุรกิจที่ไม่ทำกำไรออกไป ปตท. ก็มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น เป็นผู้นำตลาดเต็มตัว และลดเวลาในการสร้างปั๊มขนาดใหญ่ลง โดย ปตท. ได้จัดตั้งบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัดเพื่อบริหารสถานีบริการและร้านสะดวกซื้อเหล่านี้", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#19", "text": "เป็นรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ตแบบที่ 2 ของจิฟฟี่ที่ปรับปรุงมาจากจิฟฟี่ มาร์เก็ต เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2555 ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขาบางแค โดยเน้นในเรื่องของสินค้าที่หลากหลายกว่าจิฟฟี่ และมีอาหารและเครื่องดื่มจากจิฟฟี่ ช้อยส์จำหน่าย เช่น Pearly Tea และ Food to go และยังมีร้านกาแฟ Cafe Amazon และร้านขายยาอีกด้วย ในอนาคต ปตท. มีแนวคิดที่จะนำจิฟฟี่ ซูเปอร์เฟรช มาร์เก็ตไปเปิดในย่านชุมชนด้วย ปัจจุบันมีอยู่ 1 สา่ขา และมีแผนในการขยายให้ครบ 3 สาขา หาก 3 สาขาแรกประสบความสำเร็จก็จะนำไปเปิดให้บริการในย่านชุมชนต่างๆ แบ่งเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล 80% และต่างจังหวัด 20%", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "35112#2", "text": "ปัจจุบันแมคโดนัลด์มีสาขากว่า 30,000 สาขาใน 121 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ให้บริการลูกค้ามากกว่า 50 ล้านคนต่อวัน เครือแมคโดนัลด์ยังประกอบธุรกิจร้านอาหารยี่ห้ออื่น และธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือไปจากร้านอาหาร เช่น ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น มีผลประกอบการ 20.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกำไรสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ตัวเลขปี พ.ศ. 2548)", "title": "แมคโดนัลด์" }, { "docid": "619399#20", "text": "เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตเต็มรูปแบบจากจิฟฟี่และ ปตท. ที่ใหญ่กว่าโมเดลมาร์เก็ตและซูเปอร์เฟรช เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2556 ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขาชัยพฤกษ์ ในโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ The Crystal PTT บนพื้นที่ 12 ไร่บนถนนชัยพฤกษ์ โดยมีสินค้ากว่า 10,000 รายการเช่น อาหารสด ผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็ง อาหารทะเล ขนมขบเคี้ยว สินค้านำเข้าต่างๆ และอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน และมีบริการแปรรูปอาหารสดให้กับลูกค้า มีสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มจากแบรนด์ Jiffy Choice เช่น Pearly Tea และ Food to go และร้านกาแฟ Cafe Amazon อีกด้วย สำหรับโครงการ The Crystal PTT หากประสบความสำเร็จก็จะมีการขยายให้ครบ 3 สาขา เป็นการขยายสถานีบริการและร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตจิฟฟี่ไปในตัวด้วย ส่วนจิฟฟี่ พลัส ซูเปอร์มาร์เก็ต ได้ปิดทำการและเปลี่ยนชื่อเป็น \"ท็อปส์ มาร์เก็ต\" สาขาชัยพฤกษ์และร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ สาขาปตท. ชัยพฤกษ์ ยังคงเปิดตามปกติ ตามลำดับ", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#12", "text": "ปัจจุบันจิฟฟี่มีสาขาทั้งหมด 148 สาขา (ไม่นับจิฟฟี่รูปแบบอื่น) แบ่งเป็นสาขาในสถานีบริการ 146 สาขา และสาขานอกสถานีบริการ 2 สาขา จังหวัดที่มีสาขามากที่สุดคือกรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 24 สาขา รองลงมาคือจังหวัดชลบุรี มีทั้งหมด 21 สาขา และรองลงมาคือจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี มีจังหวัดละ 12 สาขา โดยแผนของ ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีกคือการปรับปรุงร้านจิฟฟี่จากสถานีบริการเจ็ทเดิมทั้ง 146 สาขาให้ทันสมัย เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยเริ่มปรับปรุงในปี พ.ศ. 2552 นำร่อง 7 สาขา เป็นสาขาต้นแบบเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงสถานีบริการสาขาอื่นๆ ต่อไป โดย 7 สาขาแรกคือสาขากรุงเทพ-รามอินทรา 1 ,กรุงเทพ-รามอินทรา 2 ,นครปฐม-ปิ่นเกล้า (กม. 26) ,นนทบุรี-บางบัวทอง-สุพรรณบุรี (กม. 28) ,สระบุรี-แก่งคอย 1 ,อยุธยา-วังน้อย (กม. 57) และสมุทรสาคร-พระราม 2 (กม. 35) และในปัจจุบันกำลังปรับปรุงสาขาต่างๆ ให้เป็น Platinum Gas Station โดยในปี 2557 จะปรับปรุงทั้งหมด 50 สาขา และในปี 2558 จะปรับปรุงจนครบ 150 สาขาของจิฟฟี่ที่อยู่ในการดูแลของ ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก ควบคู่ไปกับการเปิดร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการใหม่ๆ และนอกสถานี เช่นสาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#16", "text": "เป็นรูปแบบร้านอาหารร้านที่ 2 ของจิฟฟี่ เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2553 มีอาหารประเภทเดียวกับจิฟฟี่ คิทเช่น แต่เน้นการซื้อกลับไปกินที่บ้านหรือสำนักงาน มี 2 สาขา ที่อาคาร Energy Complex (สำนักงานใหญ่ของ ปตท. และบางจาก) และสาขากรุงเทพฯ-บางแค (วงแหวน)", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#14", "text": "เป็นรูปแบบของร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กของจิฟฟี่ เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2552 ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขาบางบัวทอง-สุพรรณบุรี กม.28 เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด โดยคัดสินค้าขายดี 250 อันดับแรกของจิฟฟี่สาขานั้นๆ มาวางขายในร้านจิฟฟี่ เอ็กซ์เพรส เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "317191#4", "text": "เป็นร้านสะดวกซื้อที่เปิดให้บริการในสถานีบริการน้ำมันบางจาก ทั้งสถานีบริการน้ำมันที่บริหารโดยบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด ตัวแทนจำหน่ายจากภายนอก และสหกรณ์การเกษตรที่ร่วมเป็นพันธมิตรกับบางจาก เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2537 ในชื่อเลมอนกรีน และในปี พ.ศ. 2545 ได้เปิดดำเนินการร้านสะดวกซื้อในชื่อ ใบจาก และเริ่มปรับปรุงรูปโฉมร้านในปี พ.ศ. 2554 โดยใช้ชื่อว่า ใบจากมาร์ท มีพื้นที่ขาย 50-60 ตร.ม. สำหรับเลมอนกรีน และ 80-100 ตร.ม. ปัจจุบันมีทั้งหมด 83 สาขา ใน 31 จังหวัด\nเป็นร้านกาแฟที่เปิดให้บริการในสถานีบริการน้ำมันบางจาก ทั้งสถานีบริการน้ำมันที่บริหารโดยบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด ตัวแทนจำหน่ายจากภายนอก สหกรณ์ที่มีสถานีบริการน้ำมันบางจากตั้งอยู่บางแห่ง และตั้งอยู่ในสถานที่ต่างๆ เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีอยู่ในเกือบทุกจังหวัดที่มีสถานีบริการน้ำมันบางจากตั้งอยู่", "title": "บางจาก คอร์ปอเรชัน" }, { "docid": "619399#7", "text": "ในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของร้านจิฟฟี่อีกครั้ง ประกอบด้วยร้าน จิฟฟี่ (English: Jiffy) ร้านสะดวกซื้อ ใช้เงินลงทุน 10 ล้านบาทต่อสาขา จิฟฟี่ เดลี่ (English: Jiffy Daily) มุมจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ใช้เงินลงทุน 5 ล้านบาท และ จิฟฟี่ ซูเปอร์เฟรช มาร์เก็ต (English: Jiffy Super Fresh Market) ซูเปอร์มาร์เก็ต Stand Alone ใช้เงินลงทุน 50 ล้านบาท สร้างแบรนด์ จิฟฟี่ ช้อยส์ (English: Jiffy Choice) ซึ่งจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มพร้อมรับประทาน โดยมี 3 แบรนด์ คือ Food to go อาหารกล่องปรุงสดใหม่ Corndog ไส้กรอกประเภทคอร์นดอก และ Pearly Tea ชานมไข่มุก ซึ่งมีจำหน่ายในร้านจิฟฟี่ และจับมือกับ เค.อี.แลนด์ สร้างสถานีบริการน้ำมันพลังงานแสงอาทิตย์และคอมมูนิตี้มอลล์แห่งแรกของ ปตท. ในชื่อ The Crystal PTT โดยมีร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ ร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน ร้านชานมไข่มุก Pearly Tea ร้านอาหารพร้อมทานจิฟฟี่ ช้อยส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตจิฟฟี่ พลัส ซูเปอร์มาร์เก็ต และส่วนคอมมูนิตี้มอลล์ และเปิดร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่นอกสถานีบริการแห่งแรกของโมเดลร้านสะดวกซื้อที่อาคารพันธุ์ไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ปตท. มีแผนที่จะเปิดจิฟฟี่ ซูเปอร์เฟรช มาร์เก็ตในย่านชุมชน และจะขายแฟรนไชส์ของเพอร์ลี่ ทีและจิฟฟี่ให้กับบุคคลภายนอก โดยเพอร์ลี่ ทีได้เปิดขายแฟรนไชส์แล้ว ส่วนร้านจิฟฟี่อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ เปิดสถานีบริการน้ำมันปตท.จิฟฟี่สาขาใหม่ 2 สาขา สาขาฉะเชิงเทรา-เขาหินซ้อน ขาเข้า กม.54 และสาขาฉะเชิงเทรา-เขาหินซ้อน ขาออก กม.50", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2552 ปตท.ได้ปรับปรุงสถานีบริการทั้ง 147 สาขาใน 22 จังหวัดแล้วเสร็จ และซื้อแบรนด์จิฟฟี่กลับมาแทนที่จะนำเซเว่น อีเลฟเว่นมาลงแทน หรือสร้างแบรนด์ใหม่ และเริ่มพัฒนาสถานีบริการน้ำมันและร้านสะดวกซื้อภายใต้แนวคิด Platinum Gas Station ตามแนวคิด PTT Life Station ของ ปตท. โดยมีการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสถานีบริการและห้องน้ำ ปรับปรุงร้านสะดวกซื้อเดิมให้ทันสมัยด้วย 4 สไตล์ คือ Trendy Cozy Lively และ Freshy โดยในช่วงแรกได้ปรับปรุงไปแล้ว 7 สาขาจาก 146 สาขา และปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงสถานีบริการ และในบางสาขาได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบสถานีบริการเป็นสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ในรูปแบบ PTT Platinum Gas Station และเปิดร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กกว่าจิฟฟี่ที่แตกแขนงออกมาจากจิฟฟี่คือ จิฟฟี่ เอ็กซ์เพรส (English: Jiffy Express) โดยคัดสินค้าขายดี 250 อันดับแรกมาวางขายในร้าน และเปิดตัวร้านสะดวกซื้อ จอย (English: Joy) เพื่อเปิดในสถานีบริการน้ำมันเจ็ทที่ปรับเปลี่ยนเป็นสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติดั้งเดิมของ ปตท. โดยสถานีบริการบริการน้ำมันเจ็ทที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นสถานีบริการก๊าซธรรมชาติคือสาขากรุงเทพฯ-เอกชัย บางขุนเทียน", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "317191#6", "text": "เป็นร้านสะดวกซื้อที่เปิดให้บริการในสถานีบริการน้ำมันบางจาก เฉพาะสถานีบริการน้ำมันที่บริหารโดยบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด เท่านั้น และจะเน้นจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดสารพิษเป็นหลัก ปัจจุบันมีในสถานีบริการน้ำมันบางจาก 6 สาขา โดยสาขาแรกตั้งอยู่ที่สาขา บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด - ประชาชื่น เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยร่วมทุนกับบริษัท มงคลชัยพัฒนา จำกัด ก่อตั้งสหกรณ์เลมอนฟาร์มพัฒนา จำกัด\nบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้จับมือกับบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเปิดดำเนินการร้านสะดวกซื้อมินิบิ๊กซีในสถานีบริการน้ำมันบางจาก เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2555 มีร้าน 2 ขนาด คือ 150 ตร.ม. และ 200 ตร.ม. โดยเปิด 5 สาขาแรกที่สาขา บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด - พระราม 3 (3) และบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด - เจริญกรุงตัดใหม่ โดยยกเลิกร้านใบจากมาร์ทเดิม ส่วนสาขาบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด - สุขาภิบาล 1 (2) ,บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด - อ่อนนุช 44 และบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด - พัฒนาการ เป็นการเปิดมินิบิ๊กซีใหม่ เนื่องจากทั้งสามสาขาไม่มีร้านใบจากมาร์ท โดยบิ๊กซีพัฒนาร้านขึ้นมาเพื่อขยายกลุ่มลูกค้าที่ขับรถมาเติมน้ำมันและซื้อสินค้า ขณะที่บางจากสามารถใช้มินิบิ๊กซีแข่งขันกับบริษัทน้ำมันที่มีปั๊มและร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ พื้นที่ 200-300 ตร.ม. ซึ่งใบจากมาร์ทสู้ไม่ได้ เพราะมีขนาดเพียง 80-100 ตร.ม. และยังสามารถขยายธุรกิจเสริมในสาขามินิบิ๊กซีย่านธุรกิจ ด้วยการให้บริการร้านกาแฟอินทนิล หรือบริการล้างรถกรีนวอช เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้นอนออยล์เป็น 20% และเป็นการเติมเต็มให้กับมินิบิ๊กซีอีกด้วย โดยในปี 2556 จะขยายสาขาในสถานีบริการน้ำมันบางจากเพิ่มเป็น 70 สาขา ในปี 2557 จะยกเลิกร้านใบจากมาร์ท และเลมอนกรีนทั้งหมด ในปี 2558 จะขยายสาขาเพิ่มในสถานีบริการน้ำมันบางจากที่บริหารโดยบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด ที่ยังไม่มีหรือเคยมีร้านใบจากมาร์ทหรือเลมอนกรีนรวมกับของเดิมให้ครบ 300 สาขา และในปี 2561 จะเปิดในสถานีบริการน้ำมันบางจากให้ครบ 500 สาขา โดยรวมถึงสถานีบริการน้ำมันของผู้ร่วมลงทุนด้วย\nปัจจุบันร้านเบเกอรี่ S&P มีตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมันบางจากสาขา บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด - วิภาวดีรังสิต", "title": "บางจาก คอร์ปอเรชัน" }, { "docid": "78603#30", "text": "ร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ (มีเฉพาะที่สถานีบริการน้ำมันที่บริหารโดยบริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด และในสำนักงานใหญ่ ปตท. เท่านั้น)(ก่อนหน้านี้บริหารงานโดย บริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของกิจการสถานีบริการน้ำมัน เจ็ท) ร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน ร้านสะดวกซื้อจอย เป็นรูปแบบร้านสะดวกซื้อมาตรฐานรูปแบบที่ 2 ของจิฟฟี่ แต่เน้นเจาะตลาดสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของ ปตท. และตามอาคารสำนักงานต่างๆ และจำหน่ายสินค้าที่แตกต่างจากจิฟฟี่ โดยเฉพาะสถานีบริการน้ำมันเจ็ทที่เปลี่ยนเป็นสถานี NGV เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2552 เช่น สาขากรุงเทพฯ-บางขุนเทียน (เอกชัย) เนื่องจากสาขาดังกล่าวอยู่ใกล้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ปัจจุบันทางปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีกได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นร้านสะดวกซื้อภายใต้แนวคิด Cafe Convenience เปิดบริการโดยมีร้านกาแฟ Cafe Amazon และร้านชานมไข่มุก Pearly Tea เพื่อสร้างความแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อทั่วไปโดยได้เริ่มขยายสาขาตามอาคารสำนักงาน ชุมชน และย่านการค้า ปัจจุบันมี 4 สาขา (เฉพาะรูปแบบใหม่) ในกรุงเทพฯ มี 2 สาขา และ สมุทรปราการ โดยสาขาแรกอยู่ที่อาคาร BBC เอกมัย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยจะขยายอีกกว่า 30 สาขาในปี พ.ศ. 2558 ร้านชา Pearly Tea หรือเพิร์ลลี่ ที (มีเฉพาะที่สำนักงานใหญ่ ปตท. อาคาร 2 อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ A อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ C และสถานีบริการน้ำมันสาขา สน.ปตท.กรุงเทพ-พระราม 2 (กม. 5) สน.ปตท.กรุงเทพ-วงแหวน (บางแค) สน.ปตท.เพชรบุรี-บ้านลาด สน.ปตท.นครราชสีมา-สีคิ้ว สน.ปตท.ฉะเชิงเทรา-บางไผ่ สน.ปตท.ชลบุรี-บ้านบึง 3 สน.ปตท.ชลบุรี-บายพาส 2 สน.ปตท.ชลบุรี-บายพาส 3 สน.ปตท.ปทุมธานี-ไพน์เฮิรสท์ สน.ปตท.ระยอง-สุขุมวิท 2 สน.ปตท.ลพบุรี-ท่าวุ้ง สน.ปตท.สมุทรสาคร-พระราม 2 (กม. 35) สน.ปตท.สระบุรี-แก่งคอย 1 สน.ปตท.อยุธยา-เอเชียไฮเวย์ (กม. 55) สน.ปตท.อยุธยา-เอเชียไฮเวย์ (กม. 89) สน.ปตท.อยุธยา-วังน้อย (กม. 57) สน.ปตท.อุดรธานี-อุดรดุษฏี (กม. 121) ศูนย์บริการมือถือครบวงจรโมบายชัวร์ (Mobile Sure ครบวงจร On The Way) ศูนย์บริการยานยนต์ครบวงจร Fit Auto ศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง Procheck ร้านอาหาร เท็กซัสชิคเก้น ร้านอาหาร เอ แอนด์ ดับบลิว ร้านขนมบ้านอัยการ ร้านกาแฟอาหาร แบล็คแคนยอนคอฟฟี ร้านอาหาร เชสเตอร์กริลล์ ร้านอาหาร แด๊ดดี้ โด ร้านอาหาร แดรี่ควีน ร้านไอศกรีม ฮาเก้น-ดาส ร้านอาหาร เคเอฟซี ร้านอาหาร คิทเช่น พลัส ร้านอาหาร มิสเตอร์ โดนัท ร้านอาหารนิตยาไก่ย่าง ร้านเบเกอรี่ เอส แอนด์ พี ซินดิเคท ร้านอาหาร วราภรณ์ ร้านอาหาร แมคโดนัลด์ ร้านอาหาร เบอร์เกอร์คิง (มีเฉพาะที่สถานีบริการน้ำมันสาขา บจ.เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป (ขาออก)) ร้านอาหาร Namaste India Fastfood (มีเฉพาะที่สถานีบริการน้ำมันสาขา บจ.เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป (ขาออก)) ร้านกาแฟ สตาร์บัคส์ (มีเฉพาะที่สถานีบริการน้ำมันสาขา บจ.เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป (ขาเข้า) และสาขา บจ.เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป (ขาออก)) ร้านกาแฟคาเฟ่ ดิโอโร่ (มีเฉพาะที่สถานีบริการน้ำมันสาขา บจ.เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป (ขาเข้า) และสาขา บจ.เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป (ขาออก)) ร้านอาหารจิฟฟี่ คิทเช่น (มีเฉพาะที่สถานีบริการน้ำมันสาขา สน.ปตท.ฉะเชิงเทรา-บางไผ่ สน.ปตท.สมุทรสาคร-พระราม 2 (กม. 35) และสาขา สน.ปตท.สระบุรี-แก่งคอย 1) ร้านอาหารจิฟฟี่ บิสโทร์ (มีเฉพาะที่สำนักงานใหญ่ ปตท. เท่านั้น) ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ศูนย์สุขภาพ เชตวัน ศูนย์บริการยานยนต์ครบวงจร ค็อกพิท ร้านขายยาดี-เชน ร้านเทปและซีดี อิมเมจิน ร้านขายของฝาก เอกชัย ร้านขายของฝาก ไร่กำนันจุล ร้านขายยาฟาสซิโน ร้านเสื้อผ้า 71 Export ร้านเสื้อผ้าเพย์เลส ร้านหนังสือนายอินทร์ ร้านขายชองฝาก เจ้าสัว ร้านขายของฝาก พรทิพย์ Wizard Motor Clean ร้านขายของฝาก ปึงหงี่เชียง ร้านขายของฝาก ดอยคำ (มีเฉพาะที่สถานีบริการน้ำมันสาขา บจ.เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป (ขาเข้า) และสาขา บจ.เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป (ขาออก)) ร้านแตงโม ร้านคาร์เฟ่ลุกซ์", "title": "ปตท." }, { "docid": "619399#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2544 จิฟฟี่ได้จับมือกับท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เปิดจิฟฟี่ คิทเช่น บาย ท็อปส์ (English: Jiffy Kitchen by Tops) โดยต่อมาในยุคของ ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีกได้ใช้บริการของท็อปส์ได้การจัดส่งสินค้าเข้าร้านจิฟฟี่ด้วย แต่ยุคของเจ็ทใช้บริการของสตาร์มาร์ท ร้านสะดวกซื้อของสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ ที่ได้ปิดกิจการไปเมื่อปี พ.ศ. 2552", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#18", "text": "เป็นรูปแบบของร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กของจิฟฟี่ เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2555 โดยเป็นร้านจิฟฟี่ที่มีการเติมมุมจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มของจิฟฟี่ ใช้เงินลงทุนสาขาละ 5 ล้านบาท โดยมีแผนในการขยายให้ครบ 30 สาขา", "title": "จิฟฟี่" }, { "docid": "619399#15", "text": "เป็นรูปแบบร้านสะดวกซื้อมาตรฐานรูปแบบที่ 2 ของจิฟฟี่ แต่เน้นเจาะตลาดสถานีบริการก๊าซธรรมชาติของ ปตท. และตามอาคารสำนักงานต่างๆ และจำหน่ายสินค้าที่แตกต่างจากจิฟฟี่ โดยเฉพาะสถานีบริการน้ำมันเจ็ทที่เปลี่ยนเป็นสถานี NGV เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2552 เช่น สาขากรุงเทพฯ-บางขุนเทียน (เอกชัย) เนื่องจากสาขาดังกล่าวอยู่ใกล้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ปัจจุบันทางปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีกได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นร้านสะดวกซื้อภายใต้แนวคิด Cafe Convenience เปิดบริการโดยมีร้านกาแฟ Cafe Amazon และร้านชานมไข่มุก Pearly Tea เพื่อสร้างความแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อทั่วไปโดยได้เริ่มขยายสาขาตามอาคารสำนักงาน ชุมชน และย่านการค้า ปัจจุบันมี 4 สาขา (เฉพาะรูปแบบใหม่) ในกรุงเทพฯ มี 2 สาขา และสมุทรปราการและเชียงใหม่จังหวัดละ 1 สาขา โดยสาขาแรกอยู่ที่อาคาร BBC เอกมัย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยจะขยายอีกกว่า 30 สาขาในปี พ.ศ. 2558", "title": "จิฟฟี่" } ]
3912
เจ้าหญิงเกรซแห่งโมนาโกเกิดที่เมืองอะไรในอเมริกา?
[ { "docid": "86092#2", "text": "เกรซ เคลลี</b>เกิดที่ย่านอีสฟอลล์ในเมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 4 คนของนายแจ็คและนางมากาเร็ต เคลลี บิดาของเกรซเป็นบุตร 1 ใน 10 คนของครอบครัวชาวอเมริกันคาทอลิกที่อพยพมาจากสาธารณรัฐไอร์แลนด์ แจ็คผู้เป็นบิดาเคยเป็นวีรบุรุษของชาวอเมริกันมาแล้วจากการได้เหรียญทองโอลิมปิกมากถึง 3 เหรียญในแข่งขันเรือกรรเชียงคู่ในขณะที่กีฬาชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมสูงสุด แจ็คทำธุรกิจการค้าอิฐที่ใหญ่ที่สุดในฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ และประสบความสำเร็จในระดับมหาเศรษฐีคนหนึ่ง พี่น้องของแจ็คหลายคนประสบความสำเร็จในชีวิตด้านศิลปะ คนหนึ่งเป็นนักเขียนบทละครย่อยที่โด่งดัง อีกคนหนึ่งได้รับรางวัลพูลิตเซอร์", "title": "เกรซ เคลลี" } ]
[ { "docid": "348605#1", "text": "อันเดรีย กาสิรากี เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ณ โรงพยาบาลกลางเจ้าหญิงเกรซ เขตมอนเตการ์โล ประเทศโมนาโก เป็นพระโอรสคนโตในเจ้าหญิงการอลีน เจ้าหญิงแห่งฮาโนเวอร์ กับสเตฟาโน กาสิรากี สุภาพบุรุษชาวอิตาลี โดยชื่อ \"อันเดรีย\" มาจากชื่อของเพื่อนสนิทของบิดาในวัยเยาว์ กาสิรากีมีแม่ทูนหัวและพ่อทูนหัวคือ เจ้าหญิงสเตฟานีแห่งโมนาโก กับนายมาร์โก กาสิรากี", "title": "อันเดรีย กาสิรากี" }, { "docid": "86092#21", "text": "เจ้าฟ้าหญิงกาโรลีนแห่งฮาโนเวอร์ ประสูติวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2500 เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 ประสูติ 14 มีนาคม พ.ศ. 2501 เจ้าหญิงสเตฟานี มารี เอลิซาเบทแห่งโมนาโก ประสูติ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508", "title": "เกรซ เคลลี" }, { "docid": "349021#1", "text": "นายหลุยส์ ดูว์ครุแอ เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ณ โรงพยาบาลกลางเจ้าหญิงเกรซ เขตมอนเตการ์โล พระโอรสองค์ใหญ่ในเจ้าหญิงสเตฟานีแห่งโมนาโก กับนายดาเนียล ดูว์ครุแอ อดีตราชองครักษ์ส่วนพระองค์ของเจ้าหญิง เจ้าหญิงสเตฟานีทรงมีความสัมพันธ์กับองค์รักษ์ส่วนพระองค์ ทำให้เจ้าชายแรนีเยที่ 3 แห่งโมนาโก พระราชทานให้ทั้งสองเสกสมรสกัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 หลังจากการเกิดของดูว์ครุแอมาแล้วสองปี ดูว์ครุแอมีน้องสาวร่วมบิดา-มารดาคือ โปลีน ดูว์ครุแอ (เกิด พ.ศ. 2537) ต่อมาบิดาและพระมารดาของดูว์ครุแอได้หย่ากันในปี พ.ศ. 2539", "title": "หลุยส์ ดูว์ครุแอ" }, { "docid": "64083#23", "text": "เจ้าหญิงมาร์กาเรเทแห่งปรัสเซีย (มาร์กาเรเท เบียทริซ ฟีโอดอรา; 22 เมษายน พ.ศ. 2415 - 22 มกราคม พ.ศ. 2497) ทรงอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2436 ณ โบสถ์ฟรีเด็นส์ เมืองพอทสดัม กับ เจ้าชายฟรีดริช คาร์ล ลุดวิก คอนสแตนตินแห่งเฮสส์-คาสเซิล (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2411 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 พระโอรสในเจ้าชายฟรีดริช คาร์ล ผู้ครองรัฐแห่งเฮสส์ และเจ้าหญิงแอนนาแห่งปรัสเซีย) ซึ่งดำรงพระอิสริยยศเป็น ผู้ปกครองรัฐแห่งเฮสส์-คาสเซิล (Landgrave of Hesse-Cassel) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2468 และมีพระโอรสคือ เจ้าชายฟรีดริช วิลเฮล์มแห่งเฮสส์-คาสเซิล (ฟรีดริช วิลเฮล์ม ซิกิสมุนด์ วิคเตอร์; 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 - 12 กันยายน พ.ศ. 2459) เจ้าชายแม็กซิมิเลียนแห่งเฮสส์-คาสเซิล (แม็กซิมิเลียน ฟรีดริช วิลเฮล์ม จอร์จ เอ็ดวาร์ด; 20 ตุลาคม พ.ศ. 2437 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2457) เจ้าชายฟิลิปป์ ผู้ปกครองรัฐแห่งเฮสส์ (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2523) สืบทอดพระอิสริยยศ ผู้ปกครองรัฐแห่งเฮสส์-คาสเซิล เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 อภิเษกสมรส 23 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองรักโกนิจี ประเทศอิตาลี กับ เจ้าหญิงมาฟาลดา มาเรีย เอลิซาเบ็ตตา แอนนา โรมานาแห่งซาวอย (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2487 พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีวิกตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี และเจ้าหญิงเอเลนาแห่งมอนเตเนโกร) และมีพระโอรสธิดาคือ เจ้าชายโมริตซ์ ผู้ปกครองรัฐแห่งเฮสส์-คาสเซิล (โมริตซ์ ฟรีดริช คาร์ล เอมานูเอล ฮัมเบิร์ต; 6 สิงหาคม พ.ศ. 2469 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556) เจ้าชายไฮน์ริชแห่งเฮสส์ (ไฮน์ริช วิลเฮล์ม คอนสแตนติน วิกเตอร์ ฟรันซ์; 30 ตุลาคม พ.ศ. 2470 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542) เจ้าชายอ็อตโตแห่งเฮสส์ (อ็อตโต อดอล์ฟ; 3 มิถุนายน พ.ศ. 2480 - 3 มกราคม พ.ศ. 2541) เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเฮสส์ (เอลิซาเบธ มาร์กาเรเธ เอเลนา โยฮันนา มาเรีย โยลันดา โพลีซีนี; ประสูติ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483) เจ้าชายวอล์ฟกังแห่งเฮสส์-คาสเซิล (วอล์ฟกัง โมริตซ์; 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2532) อภิเษกสมรส (1) 17 กันยายน พ.ศ. 2467 ณ เมืองซาเล็ม แคว้นบาเดิน กับ เจ้าหญิงมารี อเล็กซานดรา ไธรา วิคตอเรีย หลุยซา คาโรลา ฮิลดาแห่งบาเดิน (1 สิงหาคม พ.ศ. 2445 - 29 มกราคม พ.ศ. 2487 พระธิดาในเจ้าชายแม็กซิมิเลียน ผู้ปกครองรัฐแห่งบาเดิน และเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งฮาโนเวอร์) (ไม่มีพระโอรสและธิดา); (2) 7 กันยายน พ.ศ. 2491 ณ เมืองแฟรงค์เฟิร์ต กับ อ็อตติลี เมิลเลอร์ (24 มิถุนายน พ.ศ. 2446 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534) (ไม่มีพระโอรสและธิดา) เจ้าชายริชาร์ดแห่งเฮสส์-คาสเซิล (ริชาร์ด วิลเฮล์ม เลโอโพลด์; 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) เจ้าชายคริสตอฟแห่งเฮสส์-คาสเซิล (คริสตอฟ แอร์นส์ ออกุสต์; 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2486) อภิเษกสมรส 15 ธันวาคม พ.ศ. 2473 ณ เมืองครอนแบร์ก กับ เจ้าหญิงโซฟีแห่งกรีซและเดนมาร์ก (26 มิถุนายน พ.ศ. 2457 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 พระธิดาในเจ้าชายแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก และเจ้าหญิงอลิซแห่งบัทเทนแบร์ก) และมีพระโอรสธิดาคือ เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเฮสส์ (คริสตินา มาร์กาเรเธ; 10 มกราคม พ.ศ. 2476 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554) อภิเษกสมรส (ครั้งแรก) ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (หย่าร้างในปี 2505) กับ เจ้าชายอันเดรจแห่งยูโกสลาเวีย (28 มิถุนายน พ.ศ. 2472 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2533) (ดูด้านล่าง) เจ้าหญิงโดโรเธียแห่งเฮสส์ (โดโรเธีย ชาร์ล็อต คาริน; ประสูติ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2477) เจ้าชายคาร์ลแห่งเฮสส์ (คาร์ล อดอล์ฟ อันเดรียส; ประสูติ 26 มีนาคม พ.ศ. 2480) เจ้าหญิงคลาริซซาแห่งเฮสส์ (คลาริซซา อลิซ; ประสูติ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487)", "title": "ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" }, { "docid": "474683#2", "text": "ไฟร์และเรน เจ้าหญิงแห่งอาณาจักรดวงอาทิตย์ ซึ่งมีนิสัยซุกซนอย่างกับลิง จนได้ฉายาว่า \"เจ้าหญิงที่ไม่เหมือนเจ้าหญิง\" ได้ก่อความซุกซนจนกระทั่งได้พบกับเจ้าหญิงผมสีชมพูเหมือนในรูปถ่ายประจำตระกูล นั่นก็คือเจ้าหญิงเกรซนั่นเอง เมื่อทั้งคู่ได้รับพลังวิเศษ [โพรมิแนนซ์]จากเจ้าหญิงเกรซก็ถึงเวลาที่ทั้งคู่ต้องออกเดินทางช่วยเหลือชาวเมือง", "title": "เจ้าหญิงแฝดแห่งแดนมหัศจรรย์" }, { "docid": "347458#1", "text": "แจซมิน เกรซ กรีมัลดี เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2535 ณ โรงพยาบาลเดเซิร์ต เมืองปาล์มสปริงส์ เทศมณฑลริเวอร์ไซด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นพระธิดานอกสมรสของเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก กับนางตามารา จีน โรโตโล มารดาของเธอเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลีที่เกิดในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เธอได้อาศัยร่วมกับมารดาอย่างปกติสุขมาโดยตลอด ซึ่งก่อนหน้านี้มารดาของเธอได้สมรสกับนายเดวิด ชูมักเกอร์ และหย่ากันในปี ค.ศ. 1992 แต่ทั้งคู่ก็มีไม่บุตรด้วยกัน และในปีเดียวกันที่มารดาของเธอหย่า ก็ได้มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับเจ้าชายอัลแบร์แห่งโมนาโก จนนางตามาราตั้งครรภ์ ทั้งนี้นางตามารา ผู้เป็นมารดาเคยเป็นบริกรหญิงที่เฟรนช์ริเวียรา ในปี ค.ศ. 1991", "title": "แจซมิน เกรซ กรีมัลดี" }, { "docid": "347768#0", "text": "เจ้าหญิงสเตฟานีแห่งโมนาโก (; 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508) เป็นพระราชธิดาองค์เล็กในเจ้าชายแรนีเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก กับเกรซ เคลลี นักแสดงชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง พระขนิษฐาในเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์ปัจจุบันแห่งโมนาโก และเจ้าหญิงการอลีน เจ้าหญิงสเตฟานีมีพระปรีชาสามารถในการร้องเพลง การออกแบบชุดว่ายน้ำ และการเดินแบบ นอกจากนี้พระองค์ยังมีความสามารถในการเล่นยิมนาสติก ปัจจุบันพระองค์อยู่ในลำดับที่ 6 ในการสืบราชบัลลังก์โมนาโก หลังจากการเปลี่ยนแปลงกฎมนเทียรบาล", "title": "เจ้าหญิงสเตฟานีแห่งโมนาโก" }, { "docid": "12911#53", "text": "เดือนมิถุนายน 2525 เสด็จร่วมทอดพระเนตรการสวนสนามทหารกองเกียรติยศในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชินีนาถ และเจ้าหญิงทรงปรากฏพระองค์บนระเบียงมุขพระราชวังบักกิงแฮมต่อประชาชนที่มาเข้าเฝ้า[20]และใน พ.ศ. 2525 เจ้าหญิงไดอานาเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศโดยเพียงพระองค์เดียวเป็นครั้งแรก เพื่อเสด็จไปทรงร่วมพระราชพิธีพระศพของเจ้าหญิงเกรซแห่งโมนาโก ต่อมาในปีเดียวกัน เสด็จพร้อมด้วยเจ้าชายชาลส์ไปในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of the Crown จากสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์[96]", "title": "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์" }, { "docid": "86092#1", "text": "หลังการอภิเษกสมรสแล้ว เจ้าหญิงเกรซถือสัญชาติพร้อมกันสองสัญชาติ คือทั้งอเมริกันและโมนาโก ชีวิตที่เป็นดัง “เทพนิยาย” ทำให้พระองค์เป็นชาวอเมริกันผู้เลื่องลือและเป็นที่รักมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20", "title": "เกรซ เคลลี" }, { "docid": "493551#0", "text": "เจ้าหญิงมารีอา ฟรังซิชกาแห่งโปรตุเกส หรือ เจ้าหญิงแห่งบราแกนซา (มารีอา ฟรังซิชกา เดอ อัซซิส มาเตอนิแดด ซาเวียร์ เดอ เปาลา เดอ อัลคันทารา อันโตเนีย โจวควินา กอนซากา คาร์ลอตา โมนิกา เซนโฮรินฮา โซเตอร์ อี คาเอีย เดอ บราแกนซา; 22 เมษายน พ.ศ. 2343 - 4 กันยายน พ.ศ. 2377) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งโปรตุเกส เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสกับเจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน \nเจ้าหญิงมารีอา ฟรังซิชกาแห่งโปรตุเกสประสูติในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2343 ณ พระราชวังหลวงเกวลูซ ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสกับเจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน", "title": "เจ้าหญิงมารีอา ฟรังซิชกาแห่งโปรตุเกส" }, { "docid": "1948#1", "text": "ราชวงศ์กรีมัลดี เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1299 เมื่อฟร็องซัว กรีมัลดี เจ้าที่ดินในยุโรปยุคศักดินาบุกเข้ายึดป้อมปราการโมนาโกบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้วยการปลอมตัวเป็นบาทหลวง แล้วนำกองกำลังขนาดย่อมเข้าไปในดินแดนแห่งนั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการครอบครองอาณาจักรโมนาโกของตระกูลกรีมัลดีตั้งแต่นั้นมา \nตระกูลกรีมัลดีครองโมนาโกอยู่ได้เพียงสี่ปี ก็ถูกขับออกจากดินแดนนั้นไป ชาร์ลส์ กรีมัลดี หวนกลับมาครอบครองดินแดนโมนาโกได้อีกในปี ค.ศ. 1331 แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นลอร์ดแห่งโมนาโกและขยายดินแดนออกไปยังเมืองม็องตงและโรเกอบรูน และสร้างโมนาโกจนยิ่งใหญ่ กลายเป็นเมืองท่าสำคัญ สำหรับการค้าและฐานทัพเรือสำคัญของยุโรป\nหลังจากนั้นได้มีการสืบทอดตำแหน่งลอร์ดแห่งโมนาโกเรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ.1489 พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และดุ๊กแห่งซาวอยจึงได้ทรงรับรองความเป็นเอกราชของโมนาโก ต่อมาในปี ค.ศ.1512 พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสก็ทรงรับรองการเป็นพันธมิตรถาวรระหว่างโมนาโกกับฝรั่งเศส\nอย่างไรก็ตาม เมื่อถึงยุคการปกครองของลอร์ดออกุสติน โมนาโกกลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางในราชสำนักฝรั่งเศส ทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง จนกระทั่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งสเปนมีพระบัญชาให้โมนาโกอยู่ภายใต้อารักขาของสเปนการปกครองโดยลอร์ดแห่งโมนาโกดำเนินเรื่อยมา จนถึงช่วงศตวรรษที่ 15 เมื่อจอห์น กรีมัลดี ลอร์ดแห่งโมนาโกได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการสืบสันตติวงศ์ขึ้น นับเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งในการสืบราชสมบัติของโมนาโก\nเจ้าผู้ครองนครยุคแรกนั้น ยังใช้ฐานันดรศักดิ์ว่า ลอร์ด มาจนถึงกระทั่งปี ค.ศ. 1612 ลอร์ดโอโนเร่ที่ 2 กรีมัลดี ลอร์ดแห่งโมนาโกจึงได้เปลี่ยนชื่อฐานันดรศักดิ์เป็น เจ้าชาย เพื่อให้มีวินัยถึงการเป็นรัฐและอิสรภาพ ซึ่งได้รับการยอมรับจากฝรั่งเศสและสเปน เนื่องจากขณะนั้นโมนาโกยังอยู่ในอารักขาของสเปน\nเจ้าชายโอโนเร่ที่ 2 กรีมัลดี ยังดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับประเทศฝรั่งเศส จนพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 หลุยส์ อิบโปลิบเตแห่งฝรั่งเศส ยอมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือและป้องกันการรุกรานจากฝรั่งเศส ถือเป็นการยืนยันและยอมรับความเป็นเอกราชของโมนาโก ไม่ขึ้นตรงต่อฝรั่งเศสอีกต่อไป แต่สเปนยังไม่ยินยอม เป็นเหตุให้เจ้าชายพระองค์นี้ ทรงประกาศสงครามกับสเปนและได้รับชัยชนะเป็นอิสระจากสเปน ในปี ค.ศ.1641\nอย่างไรก็ตามการสืบสันตติวงศ์นี้ ขาดช่วงลงเมื่อเจ้าชายอังตวนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1731 โดยไม่มีพระโอรส มีแต่พระธิดาเท่านั้น แต่พระธิดาองค์โต หลุยส์ อิบโปลิบเต ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับ ยากส์ ฟร็องซัวร์ เลโอเนอร์ เดอ มาติยง ทายาทตระกูลขุนนางแห่งแคว้นนอร์ม็องดี ในปี ค.ศ.1715 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าชายแห่งโมนาโก ทรงพระนามว่า เจ้าชาย ยากส์ที่ 1\nปี ค.ศ. 1949 เจ้าชายเรนิเยที่ 3เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากเจ้าชายหลุยส์ที่ 2 ทรงเป็นประมุขแห่งโมนาโกที่ทำให้ราชวงศ์โมนาโกกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เพราะการเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับดาราภาพยนตร์สาวชาวอเมริกัน เกรซ เคลลี เมื่อ ปี ค.ศ. 1956 และทรงเป็นประมุขที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของโมนาโก ถึง 55 ปี ก่อนจะสิ้นพระชนม์ ตำแหน่งประมุขแห่งโมนาโกจึงตกอยู่กับเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 จนถึงปัจจุบันโมนาโกปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมาตั้งแต่พ.ศ. 2454 มีเจ้าชายเป็นประมุขแห่งรัฐ พระองค์ปัจจุบันคือเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 หัวหน้ารัฐบาลของโมนาโกคือมีนีสตร์เดตา (\"Ministre d'Etat\") แต่งตั้งโดยพระประมุข เป็นผู้นำของคณะที่ปรึกษารัฐบาล", "title": "ประเทศโมนาโก" }, { "docid": "86092#25", "text": "ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2525 ด้วยพระชนมายุ 52 พรรษา เจ้าหญิงเกรซและเจ้าหญิงสเตฟานีพระราชธิดาได้ขับรถมุ่งสู่โมนาโกจากที่ประทับในชนบท พระองค์ประชวรกะทันหันด้วยโรคเส้นโลหิตแตกในสมอง ทำให้รถโรเวอร์ที่ทรงขับอยู่พลิกคว่ำตกจากไหล่เนินที่สูงหลายตลบ และเสด็จสวรรคตในวันรุ่งขึ้น มีการโจษจันกันว่าจุดเกิดเป็นถนนช่วงโค้งที่เดียวกันกับที่ใช้เป็นฉากภาพยนตร์ แต่พระโอรสทรงปฏิเสธ เจ้าหญิงสเตฟานีได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย", "title": "เกรซ เคลลี" }, { "docid": "348208#3", "text": "ด้วยเหตุที่อาแล็กซ็องดร์ เป็นบุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้สมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่มีสิทธิในราชสกุลกรีมัลดี ตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยขึ้นครองราชย์สมบัติของโมนาโก เนื่องจากรัชทายาทผู้สืบทอดราชบัลลังก์นั้นจะต้องเป็นบุตรที่มีบิดามารดาสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าจะเกิดการหย่าหลังจากการสมรสแล้วก็ตาม (ในกรณีของพระโอรส-ธิดาของเจ้าหญิงสเตฟานี) เพราะฉะนั้นอาแล็กซ็องดร์จึงไม่มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ของโมนาโก เช่นเดียวกับ แจซมิน เกรซ กรีมัลดี พระธิดานอกสมรสอีกคนหนึ่งของเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 แต่อาแล็กซ็องดร์ยังมีสิทธิในการรับมรดกจากพระบิดาตามคำกล่าวของทนายส่วนพระองค์ แต่อย่างไรก็ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์อันดับแรกของโมนาโกจึงตกอยู่กับเจ้าหญิงกาโรลีน และอันดับต่อไปคือ อันเดรีย กาสิรากี บุตรของเจ้าหญิงกาโรลีนที่สมรสถูกต้องตามกฎหมาย", "title": "อาแล็กซ็องดร์ ก็อสต์" }, { "docid": "347458#7", "text": "ในวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 หลังจากการตรวจดีเอ็นเอ ผลปรากฏว่าแจซมินมีผลเลือดตรงกับเจ้าชายอัลแบร์ เจ้าชายอัลแบร์จึงได้ยอมรับและให้ทนายความส่วนพระองค์ออกแถลงการว่า พระองค์เป็นบิดาของแจซมิน และได้ทำการเชื้อเชิญให้เด็กหญิงผู้นี้เข้ามาศึกษาและอาศัยในโมนาโก แต่อย่างไรก็ตามแจซมิน และอาแล็กซองดร์ พระโอรสนอกสมรสอีกคนของเจ้าชายอัลแบร์ ก็ไม่มีสิทธิในการสืบทอดราชบัลลังก์ เนื่องจากผู้ที่เป็นรัชทายาทสืบอำนาจต่อจากเจ้าชายอัลแบร์คือเจ้าหญิงกาโรลีน และอันดับต่อไปคือ อันเดรีย กาสิรากี บุตรของเจ้าหญิงกาโรลีน", "title": "แจซมิน เกรซ กรีมัลดี" }, { "docid": "86092#26", "text": "พระศพของเจ้าหญิงเกรซได้รับการฝังไว้ในโบสถ์เซนต์นิโคลาส ประเทศโมนาโก และต่อมาเจ้าชายเรนีเยก็ถูกฝังไว้เคียงของเจ้าหญิงเกรซหลังจากเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2548 มีประชาชนมากกว่า 100 ล้านคนที่ชมการถ่ายทอดพิธีฝังพระศพเจ้าหญิงเคลลี", "title": "เกรซ เคลลี" }, { "docid": "86092#22", "text": "เจ้าหญิงเกรซ ไม่ได้หวนกลับสู่วงการจอเงินอีก พระองค์ทรงเลือกที่จะเป็นผู้นำประเทศฝ่ายสตรี ในปี พ.ศ. 2505 ฮิตช์ค็อกได้ทูลชวนพระองค์ให้มาแสดงภาพยนตร์อีก พระองค์อยากจะลองแต่ไม่มีผู้ใดเห็นด้วยรวมทั้งเจ้าชายเรนีเย เจ้าหญิงจึงตอบปฏิเสธไป แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหญิงเกรซก็ได้เข้าสู่วงการศิลปินในรูปแบบพิเศษโดยการอ่านบทกลอนในภาพยนตร์ชุดสารคดีเมื่อ พ.ศ. 2520 พระองค์ในฐานะเจ้าหญิงได้มีบทบาทในการยกระดับสถาบันศิลปะของโมนาโก มีการจัดตั้ง<i data-parsoid='{\"dsr\":[9173,9196,2,2]}'>มูลนิธิเจ้าหญิงเกรซ</i>ขึ้นเพื่ออุปถัมภ์ศิลปินของประเทศ", "title": "เกรซ เคลลี" }, { "docid": "666369#1", "text": "เจ้าหญิงกาเบรียลาประสูติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ณ โรงพยาบาลกลางเจ้าหญิงเกรซ มีพระอนุชาฝาแฝดคือ เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก ที่ประสูติหลังพระองค์ 2 นาที", "title": "เจ้าหญิงกาเบรียลา เคาน์เตสแห่งการ์ลาแด็ส" }, { "docid": "349877#0", "text": "เจ้าชายแรนีเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก (31 พฤษภาคม ค.ศ. 1923 – 6 เมษายน ค.ศ. 2005) พระนามเต็ม แรนีเย หลุยส์ อ็องรี มักซ็องส์ แบร์ทร็อง กรีมัลดี\n(Rainier Louis Henri Maxence Bertrand Grimaldi) พระโอรสในเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ ดัชเชสแห่งวาเลนตินัว พระราชธิดานอกสมรสในเจ้าชายหลุยส์ที่ 2 แห่งโมนาโก กับเจ้าชายปีแยร์ ดยุกแห่งวาเลนตินัว ทรงอภิเษกสมรสกับนักแสดงผู้ได้รับรางวัลออสการ์ชาวอเมริกัน เกรซ เคลลี และมีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงการอลีน เจ้าหญิงแห่งฮาโนเวอร์, เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก และเจ้าหญิงสเตฟานีแห่งโมนาโก ภายหลังเกรซ เคลลี ได้สิ้นพระชนม์ลงก่อน หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสี เจ้าชายแรนีเยทรงครองตนเป็นโสดตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ถือเป็นองค์อธิปัตย์ที่ครองราชสมบัติยาวนานที่สุดของโมนาโกเป็นเวลากว่า 50 ปี และอันดับที่สองของโลก รองจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ", "title": "เจ้าชายแรนีเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก" }, { "docid": "12911#16", "text": "การปรากฏกายครั้งแรกต่อสาธารณชนของไดอานาพร้อมกับเจ้าชายชาลส์ คือ งานบอลล์เพื่อการกุศลในเดือนมีนาคม 2524 ที่โกลด์สมิธส์ฮอลล์ และที่แห่งนั้นเธอได้มีโอกาสเข้าเฝ้า เจ้าหญิงเกรซ เจ้าหญิงพระชายาแห่งโมนาโก[38][39]", "title": "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์" }, { "docid": "381147#0", "text": "เจ้าหญิงชาร์ลีนแห่งโมนาโก (พระนามเดิม ชาร์ลีน ไลเนตต์ วิตต์สท็อก, ประสูติ 25 มกราคม พ.ศ. 2521) อดีตนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติแอฟริกาใต้ และได้ดำรงอิสริยยศเป็น \"เจ้าหญิงแห่งโมนาโก\" ในฐานะพระชายาในเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก หลังจากที่ตำแหน่งดังกล่าวได้ว่างลงหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงเกรซ พระมารดาของสวามี", "title": "เจ้าหญิงชาร์ลีนแห่งโมนาโก" }, { "docid": "86092#13", "text": "ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2498 เกรซ เคลลี</b>ได้รับการขอร้องให้เป็นตัวแทนของสหรัฐฯ ในเทศกาลภาพยนตร์กาน ขณะที่อยู่ที่นั่น เธอได้รับเชิญไปร่วมงานถ่ายภาพในวังโมนาโกกับเจ้าชาย<b data-parsoid='{\"dsr\":[6099,6111,3,3]}'>เรนีเย เจ้าผู้ครองประเทศโมนาโก หลังจากผลัดผ่อนหลายครั้งจากความไม่สะดวกหลายอย่าง ในที่สุด เกรซก็ได้ไปถึงโมนาโก ที่ซึ่งทำให้เกรซได้พบกับเจ้าชาย", "title": "เกรซ เคลลี" }, { "docid": "859807#0", "text": "เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งฮาโนเวอร์ ทรงเป็นพระธิดาใน เจ้าหญิงการอลีน เจ้าหญิงแห่งฮาโนเวอร์ และ เจ้าชายแอนสท์ ออกุสแห่งฮาโนเวอร์ พระองค์มีพระเชษฐาและพระภคินีต่างพระบิดา 3 คน คือ อันเดรีย กาสิรากี ชาล็อต กาสิรากี ปีแยร์ กาสิการี ทั้งยังทรงเป็นพระราชนัดดาใน เจ้าชายแรนีเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก กับ เจ้าหญิงเกรซแห่งโมนาโก และเป็นพระภาคิไนยใน เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก กับ เจ้าหญิงสเตฟานีแห่งโมนาโก", "title": "เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งฮาโนเวอร์" }, { "docid": "666367#1", "text": "เจ้าชายฌักประสูติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ณ โรงพยาบาลกลางเจ้าหญิงเกรซ มีพระเชษฐภคินีฝาแฝดคือ เจ้าหญิงกาเบรียลา เคาน์เตสแห่งการ์ลาแด็ส ที่ประสูติกาลก่อนพระองค์ 2 นาที", "title": "เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก" }, { "docid": "357435#1", "text": "ชาล็อต กาสิรากี เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1986 ณ โรงพยาบาลกลางเจ้าหญิงเกรซ เขตมอนเตการ์โล ประเทศโมนาโก พระธิดาในเจ้าหญิงกาโรลีนแห่งโมนาโก กับสเตฟาโน กาสิรากี สุภาพบุรุษชาวอิตาลี โดยชื่อ \"ชาล็อต\" มาจากพระนามของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ ดัชเชสแห่งวาเลนตินัว พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี", "title": "ชาล็อต กาสิรากี" }, { "docid": "339820#0", "text": "เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก () พระนามเต็ม อาลแบร์ อาแล็กซ็องดร์ หลุยส์ ปีแยร์ กรีมัลดี (Albert Alexandre Louis Pierre Grimaldi; 14 มีนาคม ค.ศ. 1958 —) ผู้นำราชวงศ์กรีมัลดี และพระประมุขแห่งโมนาโกองค์ปัจจุบัน พระองค์เป็นพระราชโอรสในเจ้าชายแรนีเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก กับเจ้าหญิงเกรซแห่งโมนาโก อดีตดารานักแสดงชื่อดังชาวอเมริกัน มีพระภคินีและพระขนิษฐา คือ เจ้าหญิงการอลีน และเจ้าหญิงสเตฟานีแห่งโมนาโก", "title": "เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก" }, { "docid": "349608#1", "text": "เจ้าหญิงอองตัวแนต สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554 ณ โรงพยาบาลกลางเจ้าหญิงเกรซ ประเทศโมนาโก สิริพระชนมายุได้ 90 พรรษา ส่วนพระราชพิธีฝังพระศพจะจัดขึ้นในเวลา 10.00 นาฬิกา ของวันที่ 24 มีนาคม ปีเดียวกัน ณ มหาวิหารนักบุญนิโคลัส ประเทศโมนาโก", "title": "เจ้าหญิงอองตัวแนตแห่งโมนาโก" }, { "docid": "86092#14", "text": "หลังจากกลับสหรัฐฯ และเริ่มแสดงภาพยนตร์เรื่องใหม่เรื่อง “หงส์” (The Swan - พ.ศ. 2499) ซึ่งบังเอิญสวมบทบาทเป็นเจ้าหญิง ไม่นานจากนั้น เกรซ เคลลีเริ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กับเจ้าชายเรนีเยเป็นการส่วนตัว ในเดือนธันวาคมปีนั้น เจ้าชายก็ได้เสด็จมาอเมริกาเป็นทางการ ซึ่งมีการโจษจันว่าเสด็จเพื่อแสวงหาพระชายาเนื่องจากสนธิสัญญากับฝรั่งเศสซึ่งทำไว้เมื่อ พ.ศ. 2461 บ่งไว้ว่า เมื่อใดที่เจ้าชายแห่งโมนาโกไม่มีรัชทายาท โมนาโกจะต้องรวมกับฝรั่งเศส", "title": "เกรซ เคลลี" }, { "docid": "515156#1", "text": "โปลีน ดูว์ครุแอ เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ณ โรงพยาบาลกลางเจ้าหญิงเกรซ เขตมอนเตการ์โล พระธิดาในเจ้าหญิงสเตฟานีแห่งโมนาโก กับนายดาเนียล ดูว์ครุแอ อดีตราชองครักษ์ส่วนพระองค์ของเจ้าหญิง เจ้าหญิงสเตฟานีทรงมีความสัมพันธ์กับองค์รักษ์ส่วนพระองค์ ทำให้เจ้าชายแรนีเยที่ 3 แห่งโมนาโก พระราชทานให้ทั้งสองเสกสมรสกัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 โปลีน ดูว์ครุแอมีพี่ชายร่วมบิดา-มารดาคือ หลุยส์ ดูว์ครุแอ (เกิด พ.ศ. 2535) ต่อมาบิดาและพระมารดาของโปลีนได้หย่ากันในปี พ.ศ. 2539", "title": "โปลีน ดูว์ครุแอ" }, { "docid": "347594#0", "text": "เจ้าหญิงการอลีน เจ้าหญิงแห่งฮันโนเฟอร์ (, ; 23 มกราคม พ.ศ. 2500) พระนามเดิม เจ้าหญิงการอลีนแห่งโมนาโก () เป็นอดีตรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งพระราชวงศ์โมนาโก เป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ในเจ้าชายแรนีเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก กับเกรซ เคลลี นักแสดงชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง พระองค์มีพระอนุชาและพระขนิษฐา คือ เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 กับเจ้าหญิงสเตฟานีแห่งโมนาโก", "title": "เจ้าหญิงการอลีน เจ้าหญิงแห่งฮันโนเฟอร์" }, { "docid": "86092#0", "text": "เจ้าหญิงเกรซแห่งโมนาโก หรือ เกรซ แพทริเซีย เคลลี (English: Grace Patricia Kelly; 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 – 14 กันยายน พ.ศ. 2525) เป็นนักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลอะแคเดมี ได้เสกสมรสกับเจ้าชายเรนิเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2499 เจ้าหญิงเกรซเป็นพระมารดาของเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก", "title": "เกรซ เคลลี" } ]
3913
กล้องดิจิตอลในปัจจุบันมักใช้เซนเซอร์รูปภาพแบบใด?
[ { "docid": "393916#1", "text": "กล้องดิจิตอลในปัจจุบันมักใช้เซนเซอร์รูปภาพแบบ CCD หรือ CMOS ซึ่งทั้งสองประเภทสามารถตรวจจับแสงและแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กโทรนิคได้เหมือนกัน แต่เทคโนโลยีเซนเซอร์ CCD มีมานานกว่าและแทบจะเรียกได้ว่าเป็นเซนเซอร์รูปภาพที่ครองตลาดสำหรับผู้บริโภค โดย CCD เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1993 และพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่ง CMOS เริ่มมามีส่วนแบ่งตลาดและเกือบจะทดแทนเทคโนโลยี CCD ในปี 2008 [1]", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" } ]
[ { "docid": "393734#4", "text": "ไฟล์ภาพดิบส่วนใหญ่จะเก็บบันทึกข้อมูลที่รับรู้ตามรูปลักษณะเชิงเรขาคณิตของส่วนรับภาพของเซนเซอร์ (บางครั้งเรียก พิกเซล) แทนที่จะเป็นจุดในภาพขั้นสุดท้าย เช่น เซนเซอร์ที่มีการจัดเรียงส่วนรับภาพหกเหลี่ยมก็จะเก็บบันทึกข้อมูลสำหรับแต่ละช่องเซลล์หกเหลี่ยมนั้น แล้วซอฟต์แวร์แปลงข้อมูลก็จะเปลี่ยนให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมในระหว่างการล้างอัดภาพดิจิตอลในภายหลัง", "title": "ไฟล์ภาพดิบ" }, { "docid": "393916#28", "text": "ตัววัดประสิทธิภาพเซนเซอร์มีอยู่ด้วยกันหลายตัวที่สามารถนำมาใช้ประเมินประสิทธิภาพของเซนเซอร์รูปภาพ เช่น ช่วงรายละเอียดแสง (dynamic range), สัดส่วนสัญญาณต่อคลื่นรบกวน (signal-to-noise ratio) เป็นต้น สำหรับตัวเซนเซอร์ประเภทที่เทียบเคียงกันได้นั้น ช่วงรายละเอียดแสงและสัดส่วนดังกล่าวจะสูงขึ้นเมื่อขนาดเพิ่มมากขึ้น", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#0", "text": "เซนเซอร์รูปภาพ (English: image sensor) คืออุปกรณ์ที่แปลงภาพที่เห็นด้วยตาเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยมากแล้วจะเป็นส่วนประกอบในกล้องดิจิตอล และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับภาพอื่นๆ เซนเซอร์ในยุคแรกๆ นั้นจะมีลักษณะเป็นกระบอกกล้องวีดิทัศน์ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ หรือเซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง (charge-coupled device - CCD) แบบกึ่งตัวนำเมทัลอ็อกไซด์ควบเสริม (complementary metal-oxide-semiconductor - CMOS)", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#27", "text": "5. ขนาดของ Image Sensor หากเราใช้ตัว Image Sensor ขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะให้คุณภาพที่ดีกว่า Image Sensor ขนาดเล็ก (จำนวน pixel เท่ากัน) เพราะจะมีขนาดของ Photosite ใหญ่กว่า ทำให้ไวต่อแสง มี Bit สีมากกว่า มีความคมชัดและรายละเอียดดีกว่า แต่ราคาจะแพงมากขึ้นตามขนาดของ Image Sensor ที่ใหญ่ขึ้น ตัวกล้องจะใหญ่ขึ้นตามด้วย จึงใช้เฉพาะกล้องระดับมืออาชีพเท่านั้นชนิดของ Image Sensor", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#22", "text": "การดูว่าจำนวน Pixel เท่าไรจะเพียงพอต่อการใช้งาน จะดูจากขนาดภาพที่ต้องการใช้งานเป็นหลัก เช่น ต้องการภาพไปใช้ส่ง E-Mail ซึ่งภาพจะมีขนาดประมาณ 4.87 แสนพิกเซล ใช้กล้องขนาด 1 ล้านพิกเซลก็เพียงพอ แต่ถ้าไปใช้งานขยายภาพขนาด 8.25x11.5 นิ้ว ควรมีความละเอียดประมาณ 8.5 ล้านพิกเซลจะได้ภาพคุณภาพสูงสุด เป็นต้น การใช้ Image Sensor ที่มีความละเอียดสูงเกินกว่าขนาดภาพที่ต้องการไม่เกิดประโยชน์ในการใช้งานใด ๆนอกจากจะต้องจ่ายค่ากล้องที่มีราคาแพงขึ้น ใช้แบตเตอรี่มากขึ้น เปลืองการ์ดเก็บข้อมูลมากขึ้น", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#34", "text": "เซนเซอร์ X3 มีใช้ในกล้องของซิกม่า", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "74545#9", "text": "ระบบกระเปาะลาดตระเวนทางอากาศทางยุทธวิธีหรือทาร์ปส์ (\"Tactical Airborne Reconnaissance Pod System, TARPS\") ถูกสร้างขึ้นในปลายปีพ.ศ. 2513 สำหรับทอมแคท กระเปาะทาร์ปส์จะติดตั้งอยู่ที่ด้านขวาของลำตัวส่วนท้ายและต้องมีการเชื่อมต่อเพิ่มเติม มีเอฟ-14เอประมาณ 65 ลำและเอฟ-14ดีทั้งหมดที่ถูกดัดแปลงให้ใช้กระเปาะดังกล่าว ระบบนี้จะควบคุมโดยนั่งบินที่นั่งอยู่ด้านหลังเพื่อใช้มันในการลาดตระเวนหาข้อมูล ระบบทาร์ปส์ถูกนำมาใช้ในปีพ.ศ. 2523 ทาร์ปส์ถูกพัฒนาด้วยกล้องดิจิตอลในปีพ.ศ. 2539 กล้องดิจิตอลทำการพัฒนาต่อในปีพ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อว่า\"ทาร์ปส์-ซีดี\"", "title": "เอฟ-14 ทอมแคท" }, { "docid": "115184#1", "text": "กล้องดิจิตอล มีวิวัฒนาการจากเทคโนโลยีอะนาล็อกที่ใช้กับเครื่องอัดวิดีโอเทป หรือวีทีอาร์ ที่ใช้บันทึกภาพจากโทรทัศน์ แปลงข้อมูลเป็นกระแสไฟฟ้าดิจิตอล ไปบันทึกบนเทปแม่เหล็กห้องทดลอง บิงครอสบีที่มี นายจอห์น มูลลิน วิศวกร เป็นหัว หน้าทีมในปี 2494 (ค.ศ.1956) สร้าง สรรค์เทคโนโลยี วีทีอาร์ยุคแรกนี้ และพัฒนาต่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ชื่อ วีอาร์ 1000 ใช้ในวงการโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย โดยทีมงานของชาร์ลส์ พี. กินสเบิร์ก และบริษัท แอมเพ็กซ์ คอร์เปอเรชั่นทั้งกล้องที่ใช้ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ กล้องวิดีโอ รวมทั้งกล้องดิจิตอล ใช้เทคโนโลยีซีซีดี (Charged Coupled Device) หรืออุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่ใช้แปลงสัญญาณแสงและสีเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อใช้บันทึกลงในวัสดุเก็บข้อมูลในยุคทศวรรษ 60 หรือราวปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซ่า ใช้ระบบดิจิตอลบันทึกภาพยานอวกาศบนพื้นผิวดวงจันทร์โดยส่งภาพดิจิตอลที่ได้กลับมายังพื้นผิวโลกและนาซ่าใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการตกแต่งภาพกระสวยอวกาศที่ส่งมาให้สวยเนียนขณะเดียวกัน ภาคเอกชนก็พัฒนาระบบดิจิตอลอย่างไม่หยุดยั้ง ในปี 2515 บริษัทเท็กซัส จดสิทธิบัตรกล้องอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นในปี 2524 บริษัทโซนี่วางจำหน่ายกล้องดิจิตอลยี่ห้อ Mavica สำหรับเอกชนเป็นครั้งแรกของโลก\nข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพ บันทึกลงในดิสก์ขนาดจิ๋วและนำไปต่อเชื่อมกับเครื่องอ่านวิดีโอเพื่อดูภาพในโทรทัศน์ หรือต่อเชื่อมกับเครื่องพิมพ์เพื่อพิมพ์ภาพสีสันสวยงามออกมา แต่กล้องมาวิคาไม่เป็นกล้องดิจิตอลพันธุ์แท้เพราะมีระบบถ่ายภาพแบบภาพนิ่งต่อมาบริษัทโกดัก เทคโนโลยี ยักษ์ใหญ่แห่งวงการถ่ายรูป คิดค้นระบบแผงเซ็นเซอร์ตรวจจับภาพที่รับสัญญาณแสงและสีจากกล้องแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อเก็บข้อมูล กล้องชนิดใหม่นี้เป็นที่นิยมสำหรับมืออาชีพและครัวเรือนจากนั้นในปี 2529 นักวิทยาศาสตร์จากโกดักคิดค้นระบบเซ็นเซอร์ ซึ่งมีความละเอียดภาพมากที่สุดในโลกเป็นครั้งแรกและบันทึกความละเอียดภาพได้กว่า 1.4 ล้านพิกเซลและนำมาพิมพ์เป็นภาพดิจิตอลความละเอียดสูงขนาด 5x7 นิ้ว ", "title": "กล้องดิจิทัล" }, { "docid": "393916#5", "text": "ชิปแบบ CCD (Charge Coupled Device): เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า สามารถถ่ายภาพได้คุณภาพที่ดีกว่า แต่ก็มีต้นทุนที่สูงกว่าเช่นกัน มักนำมาใช้กับ โทรศัพท์มือถือ ราคาแพง ในการคำนวณค่าของแสงที่มาตกกระทบที่แต่ละ Photosite จะมีการประจุค่านั้นโดยตรง เช่นเดียวกับ CMOS และจะแปลงค่าแสงที่เป็น อนาล็อก ให้เป็นแบบ ดิจิตอล ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งประจุได้โดยตรงไปยัง Chip โดยไม่เกิดการตัดทอนสัญญาณ หรือสิ่งที่รบกวนสัญญาณภาพ ซึ่งเกิดจากเทคโนโลยีกระบวนการผลิตขั้นสูง เพื่อให้เซนเซอร์มีคุณภาพ และไวต่อแสงที่มาตกกระทบ ซึ่งทำให้คุณภาพของภาพถ่ายที่ได้ดีกว่า CMOS แต่ CCD ก็ยังต้องใช้พลังงานมากกว่า CMOS อยู่ และการผลิดต้องใช้แผ่นซิลิคอนแบบพิเศษที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะ จึงทำให้ต้นทุนในการผลิตนั้นสูงกว่า CMOS ไปด้วย", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "198238#1", "text": "CCD เป็นชิ้นส่วนสำคัญของเทคโนโลยีในการถ่ายภาพดิจิทัล ในเซนเซอร์รูปภาพของ CCD, พิกเซลจะถูกแสดงความหมายโดยตัวเก็บประจุ MOS แบบ p-doped ตัวเก็บประจุเหล่านี้จะถูกไบอัสเหนือค่าเกณฑ์สำหรับการผกผันเมื่อการควบรวมภาพเริ่มต้นขึ้น ช่วยให้การแปลงของโฟตอนที่เข้ามาให้เป็นประจุอิเล็กตรอนที่รอยต่อระหว่างเซมิคอนดักเตอร์กับออกไซด์() ; จากนั้น CCD จะถูกใช้อ่านประจุเหล่านี้ แม้ว่า CCDs ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีเดียวที่จะทำการตรวจจับแสง เซนเซอร์รูปภาพของ CCD ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับการใช้งานมืออาชีพ, การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ ในที่ซึ่งข้อมูลภาพคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการ ในการใช้งานที่มีความต้องการคุณภาพน้อยลงเช่นกล้องดิจิทัลของมือสมัครเล่น และมืออาชีพ เซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง()แบบ CMOS จะถูกนำมาใช้โดยทั่วไป; CCDs ได้เปรียบด้านคุณภาพอย่างสูงที่ใช้ได้ดีในช่วงต้น ข้อได้เปรียบนั้นได้ถูกทำให้แคบลงเมื่อเวลาผ่านไป", "title": "อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ" }, { "docid": "393916#42", "text": "บริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ที่จำหน่ายเซนเซอร์รูปภาพ ได้แก่", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#21", "text": "2. Image Size หรือขนาดภาพ หมายถึงจำนวน Pixel ที่จะปรากฏบนภาพ ยิ่งจำนวน Pixel มากจะได้ภาพที่สามารถนำไปขยายใหญ่ได้มากขึ้นโดยไม่เกิดการแตก คล้ายกับฟิล์มเกรนหยาบกับเกรนละเอียด ขนาดภาพของ Image Sensor จะบอกเป็นจำนวน Effective Pixel เช่น กล้องมี Effective Pixel ขนาด 6.17 ล้านพิกเซล", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#26", "text": "การปรับตั้งความไวแสงสูงขึ้นในกล้องดิจิตอลจะเกิดสัญญาณรบกวน ทำให้ภาพมีคุณภาพลดลงไปบ้าง เช่นเดียวกับการเพิ่มเวลาล้างของฟิล์มถ่ายภาพ", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393734#0", "text": "ไฟล์ภาพดิบ () นั้นคือไฟล์รูปภาพที่บันทึกข้อมูลโดยแทบไม่ผ่านการประมวลผลภาพใด ๆ จากเซ็นเซอร์จับภาพของกล้องดิจิตอล, เครื่องสแกนภาพ หรือเครื่องสแกนฟิล์มหนัง ชื่อไฟล์สกุล '\"ดิบ\"' หรือที่แปลจากภาษาอังกฤษว่า raw นั้นก็เพราะตัวไฟล์ไม่ได้ผ่านการประมวลผลใด ๆ ดังนั้นจึงยังไม่พร้อมสำหรับนำไปอัดภาพหรือตกแต่งด้วยโปรแกรมแต่งภาพ ซึ่งตามปกติแล้ว รูปภาพจะถูกประมวลโดยตัวแปลงภาพ raw ภายในช่วงสีภายในแบบกว้างซึ่งสามารถตกแต่งได้แม่นยำก่อนจะแปลงไปเป็นไฟล์ภาพ โพสิทีฟ เช่น TIFF หรือ JPEG เพื่อการเก็บบันทึก, สั่งพิมพ์ หรือสำหรับตกแต่งเพิ่มเติม ซึ่งมักจะเข้ารหัสรูปภาพในช่วงสีที่ขึ้นกับตัวอุปกรณ์ (device-dependent) หนึ่ง ๆ รูปภาพเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า ไฟล์ภาพดิบ หรือทับศัพท์ว่า ไฟล์ภาพสกุล RAW แม้จะไม่ได้มีเพียงสกุลภาพดิบสกุลเดียวก็ตาม เพราะตามจริงแล้ว มีไฟล์ภาพดิบนับร้อยที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันตามรุ่นของอุปกรณ์ดิจิตอลต่าง ๆ (เช่นกล้องหรือเครื่องสแกนฟิล์ม) ", "title": "ไฟล์ภาพดิบ" }, { "docid": "393916#8", "text": "สถาปัตยกรรมที่เป็นลูกผสมระหว่าง CCD และ CMOS มีชื่อว่า \"sCMOS\" โดยประกอบไปด้วยแผงวงจรรวมสำหรับอ่านผล CMOS (CMOS readout integrated circuits - ROICs) ที่เชื่อมต่อวัสดุซับสเตรทภาพ CCD ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวถูกพัฒนาเพื่ออุปกรณ์ตรวจจับภาพอินฟราเรดและในปัจจุบันได้นำมาปรับใช้กับเทคโนโลยีอุปกรณ์ตรวจจับที่มีซิลิคอนเป็นส่วนประกอบ อีกกรรมวิธีหนึ่ง จะใช้ระยะที่เล็กมากๆ ที่มีในเทคโนโลยี CMOS รุ่นใหม่ๆ ไปใช้กับโครงสร้างที่คล้ายกับ CCD ด้วยเทคโนโลยีของ CMOS ทั้งหมด หรือคือนำเทคโลโยีดิจิตอลไปใช้กับโครงสร้างอนาล็อก โดยวิธีนี้จะใช้การแยกประตูโพลีซิลิคอนแต่ละช่องด้วยระยะที่เล็กมากๆ เซนเซอร์เหล่านี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนวิจัยและพัฒนา และจะสามารถผนวกเอาศักยภาพต่างๆ ของทั้ง CCD และ CMOS เข้าไว้ด้วยกัน", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#25", "text": "4. ความไวแสง หรือ Sensitivity ความไวแสงของ Image Sensor เป็นความไวแสงที่เทียบจากความไวแสงของฟิล์มในมาตรฐานของ ISO (International Standard Organization) ยิ่งความไวแสงสูงจะทำให้สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงหรือช่องรับแสงแคบได้มากกว่า กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะเริ่มความไวแสงที่ความไวแสงประมาณ ISO 100 แต่สามารถเลือกความไวแสงได้หลายค่าในกล้องตัวเดียว เช่น 100 , 200, 400, 800, 1600 ซึ่งไม่เหมือนฟิล์มที่จะไม่สามารถเปลี่ยนความไวแสงฟิล์มได้(ยกเว้นนำไปล้างเพิ่มหรือลดเวลาล้าง) และสามารถถ่ายภาพแต่ละภาพโดยใช้ความไวแสงที่แตกต่างกันได้ (ส่วนฟิล์มต้องตั้งความไวแสงค่าเดียวตลอดเวลา) ทำให้สะดวกในการใช้งานในสภาพแสงต่าง ๆ กัน", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#3", "text": "ชิปแบบ CMOS มีลักษณะเป็นเซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง ที่สร้างโดยกระบวนการประจุกึ่งตัวนำสำหรับ CMOS ซึ่งจะมีแผงวงจรเพิ่มขึ้นมาข้างเซนเซอร์ภาพเพื่อแปลงพลังงานแสงเป็นแรงดันไฟฟ้า จากนั้นแผงวงจรเสริมบนตัวชิปก็จะแปลงแรงดันไฟฟ้านั้นเป็นข้อมูลดิจิตอลได้ทันที", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#14", "text": "Image Sensor ของกล้องดิจิตอลในปัจจุบันจะให้ความลึกสีที่ 8 bit/สี ถ้าเป็นกล้องที่คุณภาพดีจะอยู่ที่ 10 หรือ 12 bit/สี", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "176473#0", "text": "เซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง () เป็นเซนเซอร์รูปภาพที่ประกอบด้วยวงจรประยุกต์ซึ่งบรรจุเซนเซอร์พิกเซลอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละพิกเซลบรรจุตัวตรวจจับรูปภาพและตัวเพิ่มพลังงานไฟฟ้าแบบตอบสนอง มีเซนเซอร์พิกเซลตอบสนองที่ใช้กันอยู่ทั่วไปหลากหลายชนิดเช่น CMOS APS พบได้ในกล้องของโทรศัพท์มือถือหรือกล้องเว็บ หรือDSLR การเซนเซอร์รูปภาพประเภทนี้ใช้ประมวลการ CMOS (และมักพูดกันในชื่อ เซนเซอร์ CMOS) ซึ่งมาใช้แทนที่อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ (CCD) ได้", "title": "เซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง" }, { "docid": "393916#24", "text": "3. Aspect Ratio หรือ สัดส่วนภาพ หรือสัดส่วนของภาพด้านกว้าง:ด้านยาว สัดส่วนตรงนี้มีความสำคัญกับการนำภาพไปใช้งาน เช่น ต้องการใช้อัดขยายภาพขนาด 4x6 นิ้ว เท่ากับภาพมีสัดส่วน 1:1.5 แต่ใช้กล้องดิจิตอลที่มีสัดส่วนกว้างยาว 1200x1600 พิกเซล หรือ 1:1.33 สัดส่วนกว้างยาวของภาพที่ต้องการและ Image Sensor ไม่เท่ากัน เมื่อนำภาพไปขยายจะได้ภาพไม่เต็มกระดาษ หรือเกิดการตัดส่วนภาพบนกระดาษไป กล้องดิจิตอลระดับมือสมัครเล่นจะมีสัดส่วนภาพอยู่ประมาณ 1:1.33 เพื่อให้เข้ากับจอมอนิเตอร์หรือ TV ส่วนกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพจะมีสัดส่วนประมาณ 1:1.5 ซึ่งเท่ากับฟิล์มขนาด 35 มม.", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#38", "text": "ระบบแยกสีสามเซนเซอร์ หรือที่เรียกว่า 3CCD ใช้เซนเซอร์รูปภาพแบบภินทนะ (discrete image sensor) สามตัว โดยแยกสีด้วยปริซึ่มสองสี ซึ่งถือได้ว่าเป็นเซนเซอร์ที่มีคุณภาพดีที่สุด และมีราคาแพงกว่าเซนเซอร์เดี่ยว แสงจะลอดผ่านเข้ามาในตัวกล้อง และตกกระทบกับปริซึ่มคู่ ซึ่งทำหน้าที่แยกแสงออกเป็นแม่สีหลัก แดง, เขียว และน้ำเงิน โดยแต่ละลำแสงจะส่องผ่านไปยังเซนเซอร์ (โดยมากแล้วจะใช้ CCD จึงเป็นที่มาของชื่อ 3CCD) ทั้งนี้ ระบบการแยกสามสีนี้มักมีใช้ในกล้องถ่ายวีดิทัศน์ระดับกลางขึ้นไป", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#41", "text": "เซนเซอร์เฉพาะทางมีไว้สำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ เช่น ภาพตรวจจับความร้อน, การอัดภาพหลายช่วงคลื่น, กล้องส่องลำคอ, กล้องรังสีแกมม่า, เซนเซอร์สำหรับรังสีเอกซ์ และการใช้งานทางดาราศาสตร์ที่ต้องการความแม่นยำสูง", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#2", "text": "เซนเซอร์แบบ CCD มีลักษณะเป็นอุปกรณ์อนาล็อก ประกอบไปด้วยหลอดโฟโต้ไดโอดทำด้วยซิลิคอน เมื่อแสงตกกระทบตัวชิปแล้วจะถูกเก็บไว้เป็นประจุอิเล็กโทรนิกปริมาณน้อยๆ ในตัวเซนเซอร์ ซึ่งประจุเหล่านี้จะถูกแปลงไปเป็นแรงดันไฟฟ้าทีละหนึ่งพิกเซลขณะที่ถูกอ่านจากตัวชิป จากนั้นกระแสไฟในตัวกล้องจะแปลงแรงดันไฟฟ้านี้ไปเป็นข้อมูลดิจิตอลอีกทีหนึ่ง", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "393916#44", "text": "หมวดหมู่:การถ่ายภาพดิจิทัล หมวดหมู่:กล้องถ่ายภาพ", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "618657#261", "text": "กล้องดิจิทัลเป็นกล้องที่ใช้ถ่ายวิดีโอหรือภาพนิ่งแบบดิจิทัล, โดยการบันทึกภาพผ่าน เซนเซอร์รูปภาพอิเล็กทรอนิกส์. สตีเว่น Sasson เป็นวิศวกรที่อีสต์แมนโกดักคิดค้น และสร้างกล้องดิจิตอลครั้งแรกที่ใช้อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและเซ็นเซอร์รูปภาพในปี 1975.[234][235]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "393916#19", "text": "ยิ่ง Bit สีมาก การไล่ระดับโทนสีในส่วนสว่างและส่วนมืดซึ่งเป็นปัญหาของกล้องดิจิตอลก็จะลดลงเรื่อย ๆ", "title": "เซนเซอร์รูปภาพ" }, { "docid": "199626#0", "text": "ภาพทดสอบ () หรือรู้จักกันในชื่อ แถบสี หรือ แท่งสี () คือหน้าจอสำหรับการทดสอบของโทรทัศน์ ออกอากาศช่วงปิดสถานี ประเทศแรกที่นิยมใช้คือสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ บางครั้งการส่งสัญญาณผ่านรถถ่ายทอดสัญญาณแต่ยังไม่มีรายการใด ในขณะที่ยังแพร่พาภาพอยู่ (บ่อยครั้งมักจะเปิดสถานีและปิดสถานี) ซึ่งใช้มาตั้งแต่การแพร่ภาพโทรทัศน์เป็นครั้งแรก ภาพทดสอบแรกคือภาพทดสอบรูปร่างกาย สิ่งนี้จะใช้กล้องถ่ายโทรทัศน์จับภาพได้อย่างชัดเจน และมักจะใช้เป็นเครื่องวัดขนาดภาพนิ่ง การจัดตำแหน่ง และความเข้ากันของวัตถุ จะใช้กล้องถ่ายวิดีโอ หรือกล้องแบบพกพาก็ได้ ส่วนภาพแถบสีใช้สำหรับวัดขนาดและตำแหน่งของวัตถุ หรือการแก้ไขทิศทางของสัญญาณ สิ่งเหล่านี้คือผู้ที่คิดค้นภาพทดสอบ สิ่งนี้อาจมีจุดขาดตกบกพร่องในเรื่องของโครงสร้าง ช่างกล้อง จากนั้นจึงได้คิดค้นภาพทดสอบแบบดิจิตอลซึ่งอนุญาตให้จำหน่ายภาพทดสอบนี้ ท่านผู้ชมและสถานีโทรทัศน์ได้ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อให้เหมาะสมต่อหน้าที่", "title": "ภาพทดสอบ" }, { "docid": "129994#1", "text": "ในปี พ.ศ. 2529 เคยโด่งดังมากกับการผลิตกล้องคิวสแน็ป โดยใช้เทคโนโลยีพลาสติกที่พัฒนาไปมากในยุคนั้นมาผลิตตัวกล้องเลนส์ทำกล้องใช้แล้วทิ้ง ขายได้ในราคาถูก หลังจากนั้นฟูจิฟิล์มก็ได้เริ่มผลิตกล้องดิจิตอลก่อนเจ้าตลาดกล้องอย่าง แคนนอน และนิคอน จนเคยเป็นผู้นำตลาดกล้องดิจิตอลในยุคตลาดนี้เริ่มใหม่ๆ ปัจจุบัน ฟูจิเป็นผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับจินตภาพและข้อมูลข่าวสารที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และยังเพิ่มตัวแทนการจัดจำหน่ายออกไปมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก", "title": "ฟูจิฟิล์ม" }, { "docid": "198238#23", "text": "CCDs ที่ประกอบด้วยตารางของพิกเซลถูกใช้ในกล้องดิจิทัล, ออฟติคอลสแกนเนอร์, และกล้องวิดีโอ ถูกใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดแสง พวกมันมักจะตอบสนองต่อ 70 เปอร์เซ็นต์ของแสงที่ตกกระทบ (หมายถึงประสิทธิภาพของควอนตัมประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) ทำให้พวกมันมีประสิทธิภาพ ห่างไกลมากกว่าฟิล์มถ่ายภาพ ที่จับภาพได้เพียงประมาณร้อยละ 2 ของแสงที่ตกกระทบ\nชนิดของ CCD ที่พบมากที่สุดมีความไวต่อแสงใกล้อินฟราเรด ซึ่งจะช่วยในการถ่ายภาพ อินฟราเรด, ในอุปกรณ์ night-vision และการถ่ายภาพ/การบันทึกภาพวิดีโอที่ลักซ์เป็นศูนย์ (หรือใกล้ศูนย์) สำหรับ เครื่องตรวจจับแบบซิลิกอนธรรมดา ความไวจะถูกจำกัดที่ 1.1 ไมโครเมตร ผลกระทบอื่นๆอันหนึ่งของความไวของพวกมันที่มีต่ออินฟราเรดคือ อินฟราเรดจาก การควบคุมระยะไกล มักจะปรากฏบนกล้องดิจิตอลหรือกล้อง camcorder ที่ใช้ CCD ถ้าพวกมันไม่มีตัวกั้นอินฟราเรด", "title": "อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ" } ]
3914
พระเจ้าซ็องจง เสียชีวิตเมื่อใด?
[ { "docid": "70430#0", "text": "พระเจ้าซ็องจง ( ค.ศ. 1457 - ค.ศ. 1494) เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 9 ของราชวงศ์โจซ็อน (ค.ศ. 1469 - 1494)", "title": "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน" } ]
[ { "docid": "999152#1", "text": "ชินซูกึนมีบทบาทสำคัญในการทำให้บ้านเมืองในยุคนั้นเกิดการนองเลือดอย่างหนักเมื่อเขาร่วมมือกับ อิม ซาฮง อดีตราชเลขาในรัชสมัย พระเจ้าซ็องจง พระราชาลำดับที่ 9 พระราชบิดาของเจ้าชายย็อนซันทูลยุยงเจ้าชายย็อนซันให้จัดการกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้ พระมเหสีเจฮ็อน อดีตพระมเหสีของพระเจ้าซ็องจงและพระราชมารดาของเจ้าชายย็อนซันต้องสิ้นพระชนม์", "title": "ชินซูกึน" }, { "docid": "70430#5", "text": "พระเจ้าซ็องจงทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นกษัตริย์ตามแบบของลัทธิขงจื้อพระองค์แรกของราชวงศ์โจซ็อน ในรัชสมัยของพระองค์เกาหลีได้กลายเป็นสังคมขงจื้ออย่างเต็มตัว ในค.ศ. 1478 ทรงตั้ง<i data-parsoid='{\"dsr\":[3761,3774,2,2]}'>ฮงมุนกวาน (홍문관, 弘文館) [2] ไว้เป็นสถานศึกษาและห้องสมุดคล้ายกับจีพยอนจอนของพระเจ้าเซจงมหาราช ฮงมุนกวานเมื่อรวมกับ<i data-parsoid='{\"dsr\":[3924,3936,2,2]}'>ซากันวอน (사간원, 司諫院) และ<i data-parsoid='{\"dsr\":[3951,3962,2,2]}'>ซาฮอนบู (사헌부, 司憲府) แล้วเรียกว่า สามกรม[3] เป็นหน่วยงานที่คอยตรวจสอบการทำงานของขุนนางผู้ใหญ่กลุ่มขุนนางเก่า หรือแม้แต่องค์กษัตริย์เอง และเป็นที่สำหรับขุนนางกลุ่มซาริมที่จะเข้ามามีบทบาทในราชสำนัก[4] พระเจ้าซ็องจงยังทรงดำเนินนโยบายกดขี่พระพุทธศาสนาโดยการห้ามสร้างวัดและห้ามมิให้พระภิกษุเข้าเมืองฮันซ็อง พระเจ้าซ็องจงทรงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอและไร้ความเด็ดขาด ในราชบัลลังก์ของพระองค์เอง และอำนาจของพระองค์ ทรงถูกบั่นทอนลงอย่างมาก จากเหล่าขุนนางของพระองค์เอง และยังทรงถูกแทรกแซงจาก พระพันปีอินซู อีกด้วย", "title": "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "237597#0", "text": "พระเจ้าคย็องจงแห่งโครยอ ( ค.ศ. 955 - ค.ศ. 981) จักรพรรดิองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 975 - ค.ศ. 981) เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าควางจง และพระมเหสีแทมก (ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างพระราชมารดากับพระเจ้าควางจง) เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในค.ศ. 975 พระเจ้าคยองจงก็ขึ้นครองราชย์ต่อและสานงานปฏิรูปการปกครองที่พระราชบิดาได้ริเริ่มไว้โดยออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินเดิมที่ดินในอาณาจักรโครยอนั้นเป็นสิ่งที่สามารถสืบทอดไปให้ลูกหลานได้ โดยเฉพาะขุนนางตระกูลใหญ่ที่มีที่ดินกว้างใหญ่ตั้งแต่ปลายสมัยชิลลาและยังได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแทโจเป็นรางวัลคุณความชอบในการตั้งอาณาจักร ทางราชสำนักไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์หรือเก็บภาษีจากที่ดินส่วนตัวของขุนนางเหล่านั้นได้ เมื่อออกพระราชบัญญัตินี้แล้ว ขุนนางคนใดก็ตามที่เสียชีวิตที่ดินนั้นจะไม่สามารถส่งต่อให้ลูกหลานได้แต่จะกลับมาเป็นของราชสำนักแทน", "title": "พระเจ้าคย็องจงแห่งโครยอ" }, { "docid": "70430#7", "text": "ต่อมาพระมเหสียุนเข้าวังโดยการถวายตัวเป็นนางในแต่พระเจ้าซ็อนจงทรงลืมไปแล้วด้วยผ่านมาหลายสิบปี แต่ฟื้นความจำได้เพราะเคยหักตราหยกมอบให้พระมเหสีครึ่งนึงและเก็บไว้อีกครึ่งหนึ่ง พระมเหสีจึงได้เป็นพระสนมและเป็นพระมเหสีเพราะได้ให้ประสูติพระโอรสเมื่อ ค.ศ. 1476 ซึ่งพระเจ้าซ็องจงทรงสถาปนาขึ้นเป็นองค์ชายรัชทายาท พระมเหสียุน เป็นพระมเหสีที่มีอุปนิสัยอ่อนโยนและเป็นมิตรกับทุกๆคนเช่นเดียวกับมเหสีซุกยอน แต่เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นมเหสีที่เคร่งครัดในกฎระเบียบและมีความตรงไปตรงมาเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่ไม่พอใจของเหล่าพระสนมเท่าไรนัก เนื่องจากพระสนมหลายคนไม่ปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบของฝ่ายในจึงมักถูกลงโทษจากพระมเหสีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เหล่าสนมไม่พอใจและร่วมมือกันใส่ร้ายพระมเหสียุนต่างๆ นานา ประกอบกับพระมเหสียุนทรงมีเรื่องบาดหมางพระทัยกับพระเจ้าซ็องจงในเรื่องชู้สาวและการเสด็จออกเที่ยวกลางคืน รวมถึงเรื่องกับพระพันปีอินซู พระราชมารดาพระเจ้าซ็อนจง จนถึงขั้นทำให้พระพักตร์ของพระเจ้าซ็องจงได้รับบาดเจ็บเนื่องด้วยความหึงหวง เหตุเกิดจากระหว่างที่พระนางท้องพระเจ้าซ็องจงทรงทำตัวเหลวไหลออกเสพกามโลกีย์นอกวังกับนางโลมชื่อ \"ออลูตง\" พระมเหสียุนผู้เคร่งครัดกฎระเบียบยอมแหกกฎปลอมตัวออกนอกวังเพื่อไปขอร้องออลูตงให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับพระเจ้าซ็องจงถึงขึ้นลดตัวลงไปคำนับ เมื่อพระเจ้าซ็อนจงกลับเข้าวัง พระมเหสีผู้ทรงพระครรภ์จำเอามือพยายามจะเข้ากอดพระเจ้าซ็องจงที่ทรงเดินหนีแต่พระเจ้าซ็อนจงทรงผลักพระมเหสีที่ทรงพระครรภ์ พระมเหสีพยายามใช้มือที่ถือตราหยกเกาะเพื่อไม่ให้ล้มลงและกระทบกระเทือนถึงลูกที่อยู่ในท้อง จึงเอื้อมมือไปเกาะสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดจึงทำให้พระพักตร์ของพระเจ้าซ็องจงมีบาดแผลเล็กน้อย แต่ทว่าเหตุการ์ณนี้นำมาซึ่งเหตุให้พระนางถูกปลดออกจากตำแหน่งและเนรเทศออกนอกวัง และเมื่อเสด็จออกไปอยู่นอกวังแล้ว พระนางก็ยังทรงถูกใส่ร้ายเช่นเดิมและด้วยความเข้าใจผิดของพระพันปีอินซู จึงได้มีพระเสาวนีย์ให้ประทานยาพิษแก่อดีตพระมเหสียุนจนสิ้นพระชนม์ไปในที่สุด โดยที่พระเจ้าซ็อนจงมิได้ช่วยอะไรเลยนอกจากนี้ยังเป็นผู้ลงตราในราชโองการะประหารพระมเหสียุนด้วยยาพิษที่ทำให้ทรมานและกระอักเลือดตายอย่างช้าๆในที่สุด พระเจ้าซ็องจงสวรรคตเมื่อค.ศ. 1494 มีพระสุสานชื่อว่า ซ็อนรึง (선릉, 宣陵)", "title": "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "70430#1", "text": "พระเจ้าซ็องจง มีพระนามเดิมคือ องค์ชายจาซาน (자산군, 者山君) ประสูติเมื่อค.ศ. 1457 เป็นพระโอรสขององค์ชายรัชทายาทอีกยอง (의경세자, 懿敬世子) และพระชายาซูบิน ตระกูลฮัน แต่ทว่าพระราชบิดาก็ได้สิ้นพระชนม์ไปในปีเดียวกัน องค์ชายแฮยางพระอนุชาขององค์ชายรัชทายาทอีกยองจึงได้เป็นองค์ชายรัชทายาทแทน และขึ้นครองบัลลังก์เมื่อค.ศ. 1468 เป็นพระเจ้าเยจง (예종, 睿宗) ในค.ศ. 1467 องค์ชายจาซานทรงเปลี่ยนพระนามเป็น องค์ชายจัลซาน (잘산군, 乽山君) และอภิเษกกับธิดาของฮันมยองฮี (한명회, 韓明澮) คือ พระชายาชอนฮัน ตระกูลฮัน (천안군부인, 天安郡夫人 ภายหลังเป็น พระมเหสีคงฮเย (공혜왕후, 恭惠王后))", "title": "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "329996#2", "text": "ขุนนางฝ่ายทหารชื่ออิมยอน (임연, 林衍) ไม่พอใจที่พระเจ้าวอนจงทรงมีนโยบายเป็นมิตรกับมองโกล จึงก่อการกบฏยึดอำนาจจากพระเจ้าวอนจงในค.ศ. 1269 อิมยอนพยายามจะลดอิทธิพลของมองโกลไปจากราชสำนักโครยอ แต่เสียชีวิตไปเสียก่อนในค.ศ. 1270 บุตรชายคืออิมยูมู (임유무, 林惟茂) จึงขึ้นมามีอำนาจแทนบิดา องค์ชายรัชทายาทซึ่งอยู่ที่เมืองปักกิ่งได้ขอให้กุบไลข่าน (Kublai Khan) ส่งทัพมาปราบกบฏในปีเดียวกัน อิมยูมูถูกสังหารในการรบ ", "title": "พระเจ้าวอนจงแห่งโครยอ" }, { "docid": "425366#0", "text": "สมเด็จจักรพรรดินีวอนซอง ตระกูล คิม (,?-1028) เป็นพระมเหสีของ พระเจ้าฮย็อนจง และเป็นพระราชมารดาของพระราชาถึง 2 พระองค์คือ พระเจ้าทอกจง และ พระเจ้าจองจงที่ 2", "title": "พระนางว็อนซ็อง" }, { "docid": "338330#1", "text": "อดีตสมเด็จพระราชินียุน ทรงเป็นที่รู้จักในนามสมเด็จพระราชินีเจฮ็อนพระราชมารดาของเจ้าชายย็อนซันพระราชชายาในพระเจ้าซ็องจง เดิมทรงเป็นเพียงพระสนมแต่หลังจากสมเด็จพระราชินีคงฮเย ตระกูลฮัน สิ้นพระชนม์โดยไร้ทายาท พระเจ้าซ็องจงจึงตั้งพระนางขึ้นเป็นพระราชินีเพื่อความมั่นคงและสันติสุขของราชอาณาจักร", "title": "พระนางเชฮ็อน" }, { "docid": "338330#3", "text": "คืนหนึ่งในปี ค.ศ. 1479 พระนางทรงมีการทะเลาะกับพระเจ้าซ็องจงจนทำให้เกิดรอยเล็บข่วนบนพระพักตร์ของพระเจ้าซ็องจง ซึ่งพระนางอินซูพระราชมารดาทอดพระเนตรเห็นรอยเหล่านั้นถึงแม้พระเจ้าซ็องจงจะทรงปกปิดไว้ทำให้พระนางอินซูทรงโกรธเป็นอย่างมากถึงกับสั่งปลดสมเด็จพระราชินียุนออกจากตำแหน่งพระมเหสีและเนรเทศออกจากพระราชวังภายหลังถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการประทานยาพิษในปี ค.ศ. 1482 ต่อมาหลังจากนั้นเจ้าชายย็อนซันได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าซ็องจงได้พยายามรื้อฟื้นคดีเพื่อคืนฐานะเดิมแก่พระมารดาและกวาดล้างผู้ที่มีส่วนข้องการสำเร็จโทษทำให้ราชสำนักวุ่นวายปั่นป่วน นอกจากนั้นทำตัวเสเพลไม่สนใจกิจบ้านเมือง จนในที่สุดเจ้าชายย็อนซันก็ถูกขุนนางก่อรัฐประหารจนถูกปลดจากบัลลังก์", "title": "พระนางเชฮ็อน" }, { "docid": "871200#1", "text": "เป็นธิดาของ ฮัน มย็อง-ฮเว ขุนนางคนสำคัญที่มีส่วนช่วยให้องค์ชายซูยังพระอัยกาของพระเจ้าซ็องจงขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น พระเจ้าเซโจ ซึ่งตระกูลฮันของพระมเหสีคงฮเยนั้นเป็นตระกูลเดียวกับ พระพันปีหลวงอินซู จากตระกูลฮัน พระราชมารดาของพระเจ้าซ็องจงต่อมา ฮัน มย็อง-ฮเว ได้ถวายตัวบุตรสาวของตนเข้ามาเป็นพระชายาในองค์ชายชาซาน", "title": "พระนางคงฮเย" }, { "docid": "70430#3", "text": "องค์ชายจัลซานจึงขึ้นครองราชสมบัติด้วยพระชนมายุเพียงสิบสามพระชันษา และมีพระอัยยิกาจาซ็อง (자성대왕대비, 慈聖大王大妃 เป็นผู้ว่าราชการแทนหลังม่าน (수렴청정, 垂簾聽政) พระเจ้าซ็องจงในต้นรัชกาลนั้นทรงเป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิด อำนาจทั้งหมดตกแก่ชินซุกจู และฮันมยองฮี ซึ่งเป็นขุนนางที่มีอำนาจมาตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเซโจพระอัยกาของพระเจ้าซ็องจง และเป็นผู้ผลักดันให้พระเจ้าซ็องจงได้เป็นกษัตริย์ในที่สุด พระเจ้าซ็องจงทรงสถาปนาพระราชบิดาองค์ชายรัชทายาทอีกยอง เป็น พระเจ้าทอกจง (덕종, 德宗) และพระชายาซูบินพระราชมารดาเป็น พระพันปีอินซู (인수대비, 仁粹大妃) ในค.ศ. 1474 กฎหมายประจำอาณาจักรหรือ<i data-parsoid='{\"dsr\":[2757,2773,2,2]}'>คยองกุกแดจอน (경국대전, 經國大典) ที่ชำระมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าเซโจก็ได้เสร็จสิ้นลง", "title": "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "840317#0", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดินีชินมย็องซุนซ็อง ตระกูลยู แห่งชุงจู () พระมเหสีองค์ที่ 3 ใน พระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โครยอ พระราชมารดาของพระราชาแห่งโครยอถึง 2 พระองค์คือ พระเจ้าจองจงที่ 1 พระราชาลำดับที่ 3 และ พระเจ้าควางจง พระราชาลำดับที่ 4 เป็นพระอัยยิกาในพระเจ้าคย็องจง พระราชาลำดับที่ 5 และเป็นพระปัยยิกาในพระเจ้ามกจง พระราชาลำดับที่ 7 ", "title": "พระนางชินมย็องซุนซ็อง" }, { "docid": "108141#1", "text": "พระเจ้าจุงจงประสูติเมื่อปีค.ศ. 1488 เป็นพระราชโอรสพระเจ้าซองจง และพระนางช็องฮย็อน ตระกูลยุน ได้รับพระนามว่า เจ้าชายชินซ็อง (진성대군, 晉城大君) เจ้าชายชินซ็องมีพระเชษฐาต่างพระราชมารดาเป็นรัชทายาทอยู่แล้วขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1494 ภายหลังเป็นเจ้าชายย็อนซันแต่หลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคัปจา เจ้าชายยอนซันประพฤติองค์เหลวแหลกไม่สนพระทัยกิจการบ้านเมืองจนเกิดกลียุค จนเมื่อค.ศ. 1506 คณะรัฐประหารนำโดย พัควอนจง (박원종, 朴元宗) ซองฮีอัน (성희안, 成希顔) ยูซุนจอง (유순정, 柳順汀) ฯลฯ นำกำลังทหารเข้าบุกยึดพระราชวังคย็องบก ถอดเจ้าชายย็อนซันจากราชสมับติและขอคำรับรองจากพระนางช็องฮย็อนหรือพระพันปีจาซุน (자순대비, 慈順大妃) ในการยกเจ้าชายชินซ็องขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ เหตุการณ์นี้เรียกว่า รัฐประหารพระเจ้าจุงจง (중종반정, 中宗反正)\nหลังจากที่พระเจ้าจุงจงขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดวันก็เกิดเหตุการณ์ปลดพระมเหสีตระกูลชิน เนื่องจากบิดาของพระมเหสีคือชินซูกึน (신수근, 愼守勤) ซึ่งเป็นราชเลขานุการในรัชสมัยของเจ้าชายยอนซันและได้ถูกสังหารไปในเหตุการณ์รัฐประหารพระเจ้าจุงจงคณะรัฐประหารเกรงว่าพระมเหสีจะแก้แค้นให้กับพระบิดาจึงปลดพระมเหสีชินออกจากตำแหน่งและเนรเทศไปนอกวังไปในค.ศ. 1506 (ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน จึงได้รับตำแหน่งคืนเป็นพระนางทันกย็อง (단경왕후, 端敬王后))", "title": "พระเจ้าจุงจง" }, { "docid": "338330#2", "text": "สมเด็จพระราชินียุนเป็นผู้หญิงที่มีความงดงามเป็นเลิศ พระนางได้รับการอภิเษกกับพระเจ้าซ็องจงในปี ค.ศ. 1476 หลายเดือนต่อมาพระนางได้ให้ประสูติพระราชโอรสนามว่า อี ยุง ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าชายย็อนซัน และขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระราชินียุนได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้หญิงเจ้าอารมณ์มีความอิจฉาริษยาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะต่อชายาองค์อื่นของพระเจ้าซ็องจงจนถึงขั้นลอบวางยาพิษชายาองค์หนึ่งในปี ค.ศ. 1477", "title": "พระนางเชฮ็อน" }, { "docid": "70430#2", "text": "แต่พระเจ้าเยจงก็ทรงอยู่ในราชสมบัติได้ไม่นานสวรรคตไปเสียก่อนในค.ศ. 1469 โดยที่ทรงเหลือพระโอรสพระชนมายุสี่ชันษาไว้ คือ องค์ชายเจอัน (제안대군, 齋安大君) พระมเหสีจองฮี หรือ พระพันปีจาซ็อง ร่วมกับชินซุกจู (신숙주, 申淑舟) และฮันมยองฮี ได้ตัดสินพระทัยว่าองค์ชายเจอันนั้นพระชนมายุน้อยเกินกว่าจะเป็นกษัตริย์ และยกราชบัลลังก์ให้กับพระโอรสองค์โตขององค์ชายรัชทายาทอีกยอง คือองค์ชายโวลซาน (월산군, 月山君) แต่พระองค์นั้นมีพระพลานามัยไม่สู้ดีนัก จึงมอบราชบัลลังก์ให้แก่พระอนุชาขององค์ชายโวลซาน คือ องค์ชายจัลซาน", "title": "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "426480#0", "text": "ฮัน มย็อง-ฮเว (; 1415 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1487) เป็นขุนนางคนสำคัญในรัชกาล พระเจ้าซ็องจง และเป็นพระบิดาของ พระมเหสีคงฮเย พระมเหสีองค์แรกของพระเจ้าซ็องจงและเป็นแกนนำในการใส่ความ พระมเหสีเจฮ็อน พระมเหสีองค์ที่ 2 จนถูกสำเร็จโทษ", "title": "ฮัน มย็อง-ฮเว" }, { "docid": "70430#4", "text": "เมื่อพระเจ้าซ็องจงขึ้นครองราชย์ได้มีการปูนบำเน็จขุนนางผู้มีความดีความชอบ (공신, 功臣) ซึ่งขุนนางกลุ่มนี้มีอภิสิทธิ์หลายอย่างและมีทรัพย์สินร่ำรวย[1] รวมทั้งดำรงตำแหน่งสำคัญระดับสูงของระบอบการปกครอง เรียกว่า กลุ่มขุนนางเก่า (훈구파, 勳舊派) ซึ่งมีอำนาจมาตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเซโจ เหตุการณ์ที่พระเจ้าเซโจทรงแย่งราชบัลลังก์มาจากพระเจ้าทันจงและกวาดล้างขุนนางที่ต่อต้านทำให้เกิดนักปราชญ์ขึ้นกลุ่มใหม่ ที่ต้องลี้ภัยการเมืองไปอาศัยอยู่ตามป่าเขาถูกกีดกันจากวงราชการ เรียกว่า กลุ่มซาริม (사림파, 士林派) เมื่อพระเจ้าซ็องจงมีพระชนมายุครบยี่สิบชันษาเมื่อค.ศ. 1476 ทรงว่าราชการด้วยพระองค์เองและทรงดึงขุนนางกลุ่มซาริม นำโดยคิมจงจิก (김종직, 金宗直) เข้ามารับราชการในสามกรม (삼사, 司) เพื่อคานอำนาจกับกลุ่มขุนนางเก่า", "title": "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "841199#0", "text": "พระเจ้ามุนว็อนแห่งโครยอ () มีพระนามเดิมว่า องค์ชายวังจ็อง เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ใน พระเจ้าแทโจ ที่ประสูติแต่ พระนางชินมย็องซุนซ็อง () และเป็นพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดาเดียวกับ พระเจ้าจองจงที่ 1 พระราชาลำดับที่ 3 และ พระเจ้าควางจง พระราชาลำดับที่ 4", "title": "พระเจ้ามุนว็อนแห่งโครยอ" }, { "docid": "67959#4", "text": "พระเจ้าแทโจทรงเสียพระทัยมากเมื่อพระโอรสเข่นฆ่ากันเองเพื่อแย่งชิงบัลลังก์อีกทั้งยังเสียใจจากการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสี พระเจ้าแทโจจึงทรงสละราชบัลลังก์และทำการแต่งตั้งโอรสคนที่สองของเขา ลีบังกวา หรือ พระเจ้าช็องจง เป็นพระราชาคนใหม่ สิ่งที่ พรเจ้าจองจงกระทำเป็นครั้งแรกคือกลับไปอยู่ที่เมืองหลวงเดิม แคซ็อง ซึ่งเขาเชื่อว่าที่นั่นจะสะดวกสบายมากกว่า แต่ ลีบังวอน ได้ทำการสะสมอำนาจไว้ทำให้เกิดความขัดแย้งกับพระเชษฐาของเขา ลีบังกัน ที่ก็ต้องการอำนาจเช่นกัน ในปี ค.ศ.1400 พระเชษฐาขององค์ชายลีบังวอนอีกพระองค์ คือ องค์ชายฮวีอัน (회안대군, 懷安大君) ลีบังกัน (이방간, 李芳幹) ก่อกบฏจะยึดอำนาจจากลีบังวอน องค์ชายลีบังวอนนำทัพเข้าปราบสองฝ่ายต่อสู้กันในเหตุการณ์จลาจลขององค์ชาย (왕자의난, 王子-亂) ครั้งที่สอง องค์ชายลีบังกันพ่ายแพ้และถูกเนรเทศ องค์ชายลีบังวอนบังคับให้พระเจ้าจองจงสถาปนาพระองค์เองเป็นองค์ชายรัชทายาท จนในที่สุดพระเจ้าจองจงก็ทรงทนไม่ได้อีก สละราชบัลลังก์ให้พระอนุชาขึ้นครองราชย์ต่อ ลีบังวอน ได้เป็นกษัตริย์องค์ที่สามของราชวงศ์โชซ็อน", "title": "พระเจ้าแทจง" }, { "docid": "238967#2", "text": "ในรัชสมัยของพระเจ้ามยองจงมีกบฏหลายครั้ง คือ กบฏของชาวบ้านที่ไม่พอใจการถูกกดขี่โดยขุนนางท้องถิ่น ในค.ศ. 1172 ค.ศ. 1176 ค.ศ. 1182 และ ค.ศ. 1194 ทางราชสำนักใช้ความพยายามอย่างมากในการปราบกบฏชาวบ้านซึ่งแต่ละครั้งมีจำนวนผู้เข้าร่วมเป็นหมื่น คยองแดซึงเสียชีวิตในค.ศ. 1183 ลีอีมิน (이의민, 李義旼) ขุนนางทหารอีกคนที่แต่เดิมเป็นทาสก็เข้ายึดอำนาจแทน แต่ก็ถูกขุนนางทหารชื่อชเวชุงฮอน (최충헌, 崔忠獻) และน้องชายชเวชุงซู (최충수, 崔忠粹) ก็เข้ายึดอำนาจในค.ศ. 1196 ในค.ศ. 1197 ขุนพลสองพี่น้องตัดสินใจปลดพระเจ้ามยองจงจากบัลลังก์ให้ท่านชายพยองยาง (평량공, 平凉公) พระอนุชาของพระเจ้ามยองจงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าชินจง พระเจ้ามยองจงและรัชทายาททรงถูกเนรเทศไปเกาะคังฮวา จนพระเจ้ามยองจงสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1202พระมเหสี", "title": "พระเจ้ามย็องจงแห่งโครยอ" }, { "docid": "108141#7", "text": "คิมอันโร (김안로, 金安老) ถูกนัมกอนและชิมจองกล่าวหาว่าทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงและถูกเนรเทศไปในปีค.ศ. 1524 ใน ค.ศ. 1527 นัมกอนเสียชีวิต ชิมจองได้ขึ้นเป็นอัครมหาเสนาบดีแทน แต่คิมอันโลจัดฉากการสาปแช่งรัชทายาทด้วยหนู (작서의변, 灼鼠의變) และใส่ร้ายพระสนมคยองบินตระกูลพัคและชิมจองว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ในการวางแผนยกเจ้าชายพกซ็อง (복성군, 福城君) พระโอรสของพระสนมคยองบินเป็นรัชทายาทแทน ชิมจองจึงถูกประหารชีวิตและพระสนมคย็องบินกับพระโอรสถูกปลดจากตำแหน่งและเนรเทศ ในค.ศ. 1531 คิมอันโลได้รับพระราชทานอภัยโทษเพราะการเปิดโปงการสาปแช่งรัชทายาทที่ตนเองจัดฉากขึ้น และได้ยุยงให้พระเจ้าจุงจงสำเร็จโทษอดีตพระสนมและเจ้าชายพงซ็องไปเสียในค.ศ. 1533 แต่คิมอันโลก็ถูกพระนางมุนจ็องเปิดโปงคิมอัลโลได้และคิมอันโลก็ถูกเนรเทศและประหารชีวิตในค.ศ. 1537", "title": "พระเจ้าจุงจง" }, { "docid": "224175#2", "text": "ในปี ค.ศ. 1458 พระเจ้าเซโจสวรรคต และพระเจ้าเยจงได้ราชสมบัติ ในยุคนี้พระเจ้าเยจงพยายามเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองใหม่และกวาดล้างเหล่าผู้มีอิทธิพลในวังแม้พระมารดาจะว่าราชการแผ่นดินอยู่หลังม่าน โดยมียูจากวางเป็นกำลังสำคัญ พระองค์ได้ห้ามการติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นและยังประหารองค์ชายนัมอัยที่เป็นโอรสในพระพี่นางของพระองค์ แล้วจากนั้นก็ทรงพยายามบีบคั้นจอนคยอนในทุกๆ ด้าน รวมถึงการโปรดให้มีพระบัญชาห้ามขันทีแต่งงานทำให้จอนคยอนนำเหล่าขันทีซึ่งทนการกดขี่ไม่ไหวออกมาการประท้วงหน้าพระตำหนัก ทำให้พระเจ้าเยจงยอมถอนรับสั่งคืน แต่จอนคยูนก็ถูกทรมานสาหัสและปลดจากตำแหน่ง แต่กระนั้นจอนคยูนก็ยังมีกิจกรรมทางการเมืองอยู่จนถูกเพ่งเล็งและลงพระอาญาหลายครั้ง ต่อมาพระเจ้าเยจงก็ประชวรหนักและสวรรคตหลังจากครองราชย์ได้เพียง 14 เดือน ทำให้เกิดความวุ่นวายในราชสำนัก จอนคยูนสนับสนุนราชโอรสลำดับที่สองของอดีตรัชทายาทอึยกยองคือ องค์ชายชาซาน ให้ขึ้นเป็นพระเจ้าซองจงและจัดแจงให้พระองค์ได้อภิเษกกับธิดาของฮันมย็องฮี (ใต้เท้าซังตัง) ได้สำเร็จทำให้จอนคยูนมีความดีความชอบมากจนได้กลับมาสู่ตำแหน่งเดิมอีกครั้ง และพระเจ้าซองจงก็ยังโปรดให้จอนคยูนถวายลูกสาวบุญธรรม (ยุนโซฮวา) ให้เข้าวังมาเป็นพระสนม ทำให้จอนคยอนกลับมามีอำนาจในราชสำนักอีกครั้ง แต่ช็อนกยุนมักเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ อยู่ตลอดเวลา เนื่องมาจากความบอบช้ำที่สะสมตลอดสมัยพระเจ้าเยจงจนในปี ค.ศ. 1470 ช็อนกยุนก็เสียชีวิตลงทั้งๆ ที่ถวายงานพระเจ้าซ็องจงได้เพียงปีเดียว นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของกรมขันทีและราชสำนัก", "title": "ช็อนกยุน" }, { "docid": "207667#0", "text": "แคซ็อง () เดิมมีชื่อว่า ช็องโด เป็นเมืองหลวงเก่าของเกาหลีสมัยราชวงศ์โครยอ ตังแต่รัชกาลพระเจ้าแทโจ แต่พอขึ้นรัชกาลพระเจ้าแทโจแห่งราชวงศ์โชซ็อน ทรงย้ายราชธานีจากแคซ็องไปอยู่ที่ฮันยังหรือฮันซ็อง (กรุงโซลในปัจจุบัน) พอถึงรัชกาลพระเจ้าแทจง โปรดให้ย้ายราชธานีกลับมาที่นี่ แต่พอขึ้นรัชกาลพระเจ้าเซจงมหาราชก็โปรดให้ย้ายราชธานีกลับไปที่ฮันยังจนถึงปัจจุบัน", "title": "แคซ็อง" }, { "docid": "70430#6", "text": "พระมเหสีจากตระกูลยุน ในอดีตเคยเล่นผูกพันและรักกับพระเจ้าซ็อนจงแต่เด็ก ทว่าถูกกำแพงชนชั้นปิดกั้นด้วยเหตุผลทางชนชั้นและครอบครัวกล่าวคือบิดาของพระมหสีถูกใส่ร้ายว่าเป็นกบฏ ตำแหน่งของบิดาพระมเหสีในตอนนั้นคือเจ้ากรมการศึกษาซึ่งเทียบเท่ารัฐมนตรีในปัจจุบัน ครอบครัวของพระมเหสีจึงแทบถูกเนรเทศ ส่วนทางครอบครัวพระเจ้าซ็อนจงตอนนั้นแม้เป็นเพียงองค์ชายและยังไม่ได้อยู่ในวังแต่พระราชมารดาไม่โปรดที่พระเจ้าซ็อนจงออกไปเล่นและพบปะเช่นนั้น", "title": "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "999542#0", "text": "ซ็อง ฮี-อัน (; ; ค.ศ. 1461–1513) เป็นนักการเมืองและปรัชญาเมธีลัทธิขงจื๊อใหม่แห่งราชวงศ์โชซ็อน ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชกาลพระเจ้าจุงจงตั้งแต่ ค.ศ. 1513 จนเสียชีวิต ทั้งเป็นหนึ่งในผู้นำรัฐประหารและมีความดีความชอบสูงสุดในการยกพระเจ้าจุงจงขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์", "title": "ซ็อง ฮี-อัน" }, { "docid": "68752#14", "text": "นักประวัติศาสตร์เกาหลีเรียกเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์พระมเหสีมินว่า เหตุการณ์ปีอึลมี () หลังจากเหตุการณ์พระเจ้าโคจงและเจ้าชายรัชทายาทเสด็จลี้ภัยยังสถานกงสุลรัสเซียในโซล ทางฝ่ายรัฐบาลญี่ปุ่นมีการตั้งข้อกล่าวหาแก่ราชทูตมิอุระโกโรและผู้ร่วมก่อการทั้งหมด แต่ทว่าทั้งหมดพ้นข้อกล่าวหาเนื่องจากไม่มีหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด ต่อมาค.ศ. 1897 พระเจ้าโคจงทรงสถาปนาจักรวรรดิเกาหลี (Korean Empire) และจัดพิธีพระศพให้แก่พระมเหสีมินอย่างสมพระเกียรติ โดยใช้ขบวนแห่พระศพประกอบไปด้วยทหารกว่า 5,000 นาย แม้ว่าพระศพที่หลงเหลืออยู่นั้นจะประกอบไปด้วยเพียงพระดัชนีหนึ่งเท่านั้น หลังสิ้นพระชนม์ไปแล้วพระมเหสีมินได้รับพระนามว่า พระมเหสีมย็องซ็อง และต่อมาเมื่อพระเจ้าโคจงทรงปราบดาภิเษกเป็นพระจักรพรรดิควางมู พระมเหสีมย็องซ็องจึงได้รับการเลื่อนขึ้นเป็น พระจักรพรรดินีมย็องซ็อง</b>ในที่สุด", "title": "จักรพรรดินีมย็องซ็อง" }, { "docid": "70430#8", "text": "สมเด็จพระราชา ซ็องจง คังจอง อินมุน โฮนมู ฮุมซ็อง คงฮโย แห่งเกาหลี", "title": "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "237527#0", "text": "พระเจ้าควังจงแห่งโครยอ ( ค.ศ. 925 - ค.ศ. 975) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 949 - ค.ศ. 975) พระนามเดิม วังโซ (왕소, 王昭) เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแทโจ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โครยอกับพระนางชินมย็องซุนซ็อง (신명순성왕후, 神明順成王后) จากตระกูลยู องค์ชายวังโซมีพระเชษฐา คือ องค์ชายวังโย (왕요, 王堯) ในค.ศ. 943 พระเจ้าแทโจสวรรคต พระเจ้าฮเยจงซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระราชมารดากับองค์ชายทั้งสองขึ้นครองราชย์แต่ตกอยู่ใต้อำนาจของวังคยู ในค.ศ. 945 พระเจ้าฮเยจงสวรรคต องค์ชายวังโยขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจองจง แต่ครองราชย์เพียงสี่ปีก็สิ้นพระชนม์ในค.ศ. 949 องค์ชายวังโซจึงขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าควางจง", "title": "พระเจ้าควังจงแห่งโครยอ" }, { "docid": "338330#0", "text": "นางยุนอดีตมเหสี (; ; 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1455 – 29 สิงหาคม ค.ศ. 1482) เดิมคือ พระมเหสีเจฮ็อน (; ) ทายาทรุ่นที่สิบเอ็ดธิดาของแม่ทัพยุน กวัน (윤관) เป็นพระมเหสีของพระเจ้าซ็องจงกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโชซ็อน อดีตดำรงตำแหน่งพระสนมและหลังจากสมเด็จพระราชินีคงฮเยพระมเหสีพระองค์แรกของพระเจ้าซ็องจงสิ้นพระชนม์พระนางจึงได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโชซ็อน", "title": "พระนางเชฮ็อน" } ]
3916
มะละกอสุกมีสารลูทีนหรือไม่ ?
[ { "docid": "58040#2", "text": "พลังงาน 43 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม น้ำตาล 7.82 กรัม เส้นใย 1.7 กรัม ไขมัน 0.26 กรัม โปรตีน 0.47 กรัม วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม 6% เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม 3% ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.023 มิลลิกรัม 2% วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม 2% วิตามินบี 3 0.357 มิลลิกรัม 2% วิตามินบี 5 0.191 มิลลิกรัม 4% วิตามินบี 6 0.038 มิลลิกรัม 3% วิตามินบี 9 38 ไมโครกรัม 10% วิตามินซี 62 มิลลิกรัม 75% วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม 2% วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม 2% ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม 2% ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม 2% ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6% ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม 2% ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม 1% ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม 4% ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม 1% ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม 1% ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม", "title": "มะละกอ" } ]
[ { "docid": "608166#0", "text": "วงศ์มะละกอ หรือ Caricaceae เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงคู่ในอันดับ Brassicales,พบในเขตร้อนของอเมริกากลาง อเมริกาใต้และแอฟริกา เป็นพืชไม่ผลัดใบ อายุสั้น มีสปีชีส์เดียวคือ \"Vasconcellea horoviziana\" เป็นไม้เลื้อยและมีสามสปีชีส์ของสกุล \"Jarilla\" เป็นไม้ล้มลุก หลายสปีชีส์มีผลที่รับประทานได้และเป็นแหล่งของปาเปน .", "title": "วงศ์มะละกอ" }, { "docid": "337587#1", "text": "พระครูศีลสารวิสิฐ อุปสมบทเมื่อ วันที่ 26 เดือน เมษายน พ.ศ. 2533 ณ. พัทธสีมา วัดทุ่งคา ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปางโดยมีท่าน พระครูสิริปัญญาโสภิต ( แก้ว กาญฺจโณ ) อดีตเจ้าคณะอำเภอแจ้ห่ม วัดผ้าขาว ตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิจิตรสารการ วัดแม่สุก ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการบุญเปลี่ยน กิตฺติสาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยท่านได้รับฉายานามจากพระอุปัชฌาย์ว่า “ วิสุทฺธสีโล ” ซึ่งแปลว่า ผู้มีศีลอันบริสุทธิ์", "title": "พระครูศีลสารวิสิฐ (วิสุทธิ์ วิสุทฺธสีโล)" }, { "docid": "60934#1", "text": "สารกอยโตรเจนในพืชเมื่อโดนความร้อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน นอกจากนั้นยังมีพืชบางชนิดที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ จะมีสารที่ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับกอยโตรเจน กล่าวคือกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้มากขึ้น", "title": "กอยโตรเจน" }, { "docid": "745043#2", "text": "แซนโทฟิลล์พบมากในพืชใบเขียว โดยมีส่วนช่วยในการปรับพลังงานแสงและเป็นสารระงับพลังงานส่วนเกินจากการสังเคราะห์ด้วยแสง (non-photochemical quenching) ตัวอย่างของพืชที่พบแซนโทฟิลล์มาก ได้แก่ มะละกอ ลูกท้อ ลูกพรุน ฟักทอง นอกจากนี้ยังพบในร่างกายและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไข่ ไขมันและหนังสัตว์", "title": "แซนโทฟิลล์" }, { "docid": "15578#2", "text": "ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้งแรกเมื่อใด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่าง ๆ ของส้มตำ อาจได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้ มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ชาวสเปนและโปรตุเกสนำมาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ชาวฮอลันดาอาจนำพริกเข้ามาเผยแพร่ในเวลาต่อมา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นีกอลา แฌร์แวซ (Nicolas Gervaise) และซีมง เดอ ลา ลูแบร์ พรรณนาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว และได้กล่าวถึงกระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มีกะหล่ำปลี และชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย แต่ไม่มีการกล่าวถึงมะเขือเทศและพริกสด", "title": "ส้มตำ" }, { "docid": "288151#7", "text": "ในประเทศไทยคนสมัยก่อนนำผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร เนื่องจากรสชาติเนื้อฟักข้าว เหมือนมะละกอ วิธีการนำมารับประทานโดยการนำมาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริก หรือใส่แกง ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำมาเป็นผักได้ โดยการนึ่งหรือลวกให้สุก เช่นเดียวกับผลอ่อนนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค น้ำปรุงสามรส หรือจิ้มน้ำพริกได้เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันจากงานวิจัยหลายแห่งพิสูจน์แล้วว่าการบริโภคเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุก มีประโยชน์มากกว่าการบริโภคผลอ่อน เพราะในเยื่อหุ้มเมล็ด มีสารที่มีประโยชน์มากมาย เช่น สารต้านอนุมูลอิสระสูง, ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ฯลฯ", "title": "ฟักข้าว" }, { "docid": "58653#7", "text": "แหล่งวิตามินในธรรมชาติจำนวนปริมาณสารอาหารที่ได้รับผักตำลึงน้ำหนัก 100 กรัม18,608 IUยอดชะอมน้ำหนัก 100 กรัม10,066 IUคะน้าน้ำหนัก 100 กรัม9,300 IUแครอทน้ำหนัก 100 กรัม9,000 IUยอดกระถินน้ำหนัก 100 กรัม7,883 IUผักโขมน้ำหนัก 100 กรัม7,200 IUฟักทองน้ำหนัก 100 กรัม6,300 IUมะม่วงสุก1 ผล(โดยเฉลี่ย)4,000 IUบรอกโคลี1 หัว(โดยเฉลี่ย)3,150 IUแคนตาลูบน้ำหนัก 100 กรัม3,060 IUแตงกวา1 กิโลกรัม1,750 IUผักกาดขาวน้ำหนัก 100 กรัม1,700 IUมะละกอสุก1 ชิ้นยาว(โดยเฉลี่ย)1,500 IUหน่อไม้ฝรั่งน้ำหนัก 100 กรัม810 IUมะเขือเทศน้ำหนัก 100 กรัม800 IUพริกหวาน1 เม็ด(โดยเฉลี่ย)500-700 IUแตงโม1 ชิ้นใหญ่700-1,000 IUกระเจี๊ยบเขียวน้ำหนัก 100 กรัม470 IU", "title": "วิตามินเอ" }, { "docid": "478466#3", "text": "พาเพอินที่ผลิตมักจะเป็นแบบแห้ง โดยการเก็บรวบรวมน้ำยางจากผลของต้นมะละกอ น้ำยางจะถูกเก็บรวบรวมหลังจากที่ต้นมะละกอถูกทำให้เป็นรอยหรือเป็นแผลจากการกรีดจนมีน้ำยางหยดลงในภาชนะ\nหลังจากน้ำยางนี้ที่แห้งแล้ว จะถูกจัดเก็บในรูปของวัสดุแห้ง ขั้นตอนในการทำให้บริสุทธิ์นี้มีความจำเป็นต้องเอาสารปนเปื้อนออก การทำให้บริสุทธิ์นี้ประกอบด้วยการละลายและการสกัดเอาเอนไซม์ที่ใช้งานได้ออก\nอย่างเป็นระบบ จนได้เป็นพาเพอินที่บริสุทธิ์ พาเพอินหลังจากที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวแล้วอาจนำมาทำในรูปแบบผงหรือของเหลวก็ได้", "title": "พาเพอิน" }, { "docid": "58040#4", "text": "หมวดหมู่:ผลไม้ หมวดหมู่:วงศ์มะละกอ หมวดหมู่:ผลไม้เขตร้อน", "title": "มะละกอ" }, { "docid": "353070#14", "text": "ผลไม้ที่เป็นที่รู้จักกันดีในกัมพูชา คือ ทุเรียน มังคุด ละมุด และลูกน้ำนม ผลไม้อื่นๆที่เป็นที่นิยมเช่นกันได้แก่ กีวี ชมพู่ สับปะรด มะพร้าว ขนุน มะละกอ แตงโม กล้วย ตาล มะม่วง เงาะ ผลไม้เหล่านี้รับประทานเป็นของหวาน และมีบางชนิดเช่นมะม่วงสุก แตงโมและสับปะรดจะรับประทานกับข้าวและปลาเค็ม ผลไม้บางชนิดใช้ทำเครื่องดื่มที่เรียก \"ตึก กรอลก\" (ទឹក ក្រឡុក) เช่น ทุเรียน ทุเรียนเทศ มะม่วง กล้วย​ ลำไย ขนุน ​​​", "title": "อาหารกัมพูชา" }, { "docid": "418971#1", "text": "ผลสุกรับประทานได้ หรือนำไปแปรรูปเป็นของหวาน ผลช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เนื้อไม้มีรสขมปนหวาน เป็นยาบำรุงประสาท แก้ร้อนใน แก้ไข้ ขับพยาธิ แก่นใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่น ใช้เป็นยาแก้ไข้ ผลดิบทางภาคอีสานนำไปตำส้มตำ โดยสับทั้งเปลือก ใช้แทนมะละกอ ปรุงรสเปรี้ยวด้วยมะยมและมะเฟือง", "title": "จัน" }, { "docid": "3812#8", "text": "ผลไม้เป็นรังไข่ของพืชที่สุกแล้ว รวมทั้งเมล็ดที่อยู่ข้างใน พืชจำนวนมากมีผลไม้วิวัฒนาแล้วซึ่งมีลักษณะดึงดูดเป็นแหล่งอาหารแก่สัตว์ เพื่อที่ว่าสัตว์จะได้กินผลไม้นั้นและขับถ่ายเอาเมล็ดพืชไกลออกไป ดังนั้น ผลไม้จึงเป็นส่วนสำคัญในอาหารหลายวัฒนธรรม ผลไม้สวนครัว อย่างมะเขือเทศ มะละกอ และมะเขือ กินเหมือนผัก", "title": "อาหาร" }, { "docid": "12473#3", "text": "ด้านการศึกษา เนื่องจากไข่แหนเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว สามารถนำมาปลูกเลี้ยงไว้ในพื้นที่ที่มีขนาดเล็กได้ จึงเหมาะแก่การทำมาใช้เป็นอุปกรณ์ในการศึกษา เช่น การศึกษาอิทธิพลของสารที่ควบคุมการขยายพันธุ์ของพืช\nด้านโภชนาการ ไข่แหนเป็นอาหารของสัตว์น้ำและสัตว์ปีกหลายชนิด นอกจากนี้ คนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ยังได้นำไข่แหนมาประกอบเป็นอาหาร ไข่แหนมีสารพิษต้านฤทธิ์สารอาหาร จึงต้องนำไข่แหนมาทำให้สุกก่อนรับประทาน นอกจากนี้ ไข่แหนยังมีแคลเซียมและบีตา-แคโรทีนสูงมากอีกด้วย", "title": "ผำ" }, { "docid": "170636#9", "text": "เจ้านางคำแว่น (เจ้าจอมแว่น) พระธิดาในพระนครศรีบริรักษ์ (ศักดิ์) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) เจ้านางคำสุก (เจ้าจอมมารดาทองสุก) พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์ พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร ทรงเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) เจ้านางแก้วยอดฟ้า (เจ้านางแก้วยอดฟ้ากัลยาณีศรีกษัตริย์) พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ เจ้านางเขียวค้อม (ไม่ปรากฏพระนามเดิม) พระราชธิดาในเจ้ามหาอุปฮาต (ดวงหน้า) พระราชอนุชาของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร พระองค์เป็นพระสนมในพระเจ้าตากสินเมืองธนบุรี เจ้าหญิงพระองค์นี้ปรากฏพระนามในพงศาวดารเมืองยโสธรเท่านั้น", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "58040#1", "text": "คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอดิบ ต่อ 100 กรัม", "title": "มะละกอ" }, { "docid": "562846#0", "text": "ราชดัด (L.) Merr. เป็นพืชในวงศ์ Simaroubaceae ชื่ออื่นๆคือ ดีคน (อุบลราชธานีและภาคกลาง) กะดัด ฉะดัด(ใต้) กาจับหลัก ยาแก้ฮากขม(เชียงใหม่) พญาดาบหัก(ตราด) เพี้ยฟาน(นครราชสีมา ขอนแก่น) เพียะฟาน(นครศรีธรรมราช) มะลาคา(ปัตตานี) สอยดาว(จันทบุรี) เท้ายายม่อมน้อย มะขี้เหา มะดีควาย เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกลำต้นเรียบ สีขาวปนเทา มีขนสีเหลืองปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ ขอบใบหยักมนเป็นฟันเลื่อยตลอดทั้งขอบใบ ปลายในแหลม โคนใบมน ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน เนื้อใบบาง นิ่ม ดอกช่อ เป็นดอกแยกเพศ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กมาก มี 4 แฉก กลีบดอกรูปช้อนใหญ่กว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อย สีขาวอมเขียวถึงสีแดงอมเขียวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบ และที่ปลายยอด สีอมม่วงหรือสีน้ำตาลแดง กลีบดอกมี 4 กลีบ มีขน เกสรตัวผู้มี 4 อัน ฐานอับเรณูทรงกลมใหญ่ ก้านชูเกสรเป็น 4 พู ผลเป็นผลสด กลมเป็นพวง มีเนื้อ รูปกลม ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดเล็ก ออกรวมกลุ่มกัน 1-4 ผล เปลือกผลแข็ง เมื่อผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีสีดำ คล้ายเมล็ดมะละกอแห้ง มีเมล็ดเดียว ผิวเรียบ สีน้ำตาล ", "title": "ราชดัด" }, { "docid": "608170#0", "text": "สกุลมะละกอ หรือ Carica เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์ Caricaceae มีเพียง มะละกอ สปีชีส์เดียว อต่เดิมสกุลนี้เคยมีสมาชิก 20 - 25 สปีชีส์ แต่ต่อมาถูกย้ายไปยังสกุล \"Vasconcellea\", และบางส่วนไปยังสกุล \"Jacaratia\" และ \"Jarilla,\" ดังต่อไปนี้:", "title": "สกุลมะละกอ" }, { "docid": "337587#0", "text": "พระครูศีลสารวิสิฐ (วิสุทธิ์ วิสุทฺธสีโล) พระนักพัฒนา ประธานการบูรณะพระธาตุยือเต่า อันเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาแห่งหนึ่งในอำเภอแจ้ห่ม อีกทั้งยังจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคตอันใกล้นี้ มีนามเดิมว่า วิสุทธิ์ คำเป็ง เกิดเมื่อวันพุธ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ณ.บ้านทุ่งคา ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นบุตรของ นายมูล นางเม็ด คำเป็ง อายุ 41 ปี พรรษาที่ 21 วิทยฐานะ น.ธ.เอก วัดทุ่งคา ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดทุ่งคาวันที่ 11 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2526 ณ. ที่วัดทุ่งคา ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง โดยมี พระครูสิริปัญญาโสภิต ( แก้ว กาญฺจโณ ) อดีตเจ้าคณะอำเภอแจ้ห่ม วัดผ้าขาว ตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์", "title": "พระครูศีลสารวิสิฐ (วิสุทธิ์ วิสุทฺธสีโล)" }, { "docid": "520945#0", "text": "มะเม่า หรือ หมากเม่า () ทางพิษณุโลกเรียกเม่าหลวง ระนองเรียกมัดเซ เป็นไม้ยืนต้นในสกุล \"Antidesma\" ใบเดี่ยว สีเขียวเป็นมัน โคนใบเรียวมน ดอกออกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกแยกเพศแยกต้น ผลกลม ออกรวมกันเป็นพวง ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดง สุกเต็มที่เปลี่ยนเป็นสีดำ พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย\nผลรับประทานได้ มีรสเปรี้ยว โดยรับประทานเป็นผลไม้สดหรือแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ไวน์ แยม น้ำส้มสายชู นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงสายตา ใบอังไฟแล้วประคบ แก้อาการฟกช้ำ และมีสารอาหารจำนวนมาก เช่น วิตามินซี วิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระ", "title": "มะเม่า" }, { "docid": "58040#0", "text": "มะละกอ เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้", "title": "มะละกอ" }, { "docid": "342827#0", "text": "แกงส้ม เป็นอาหารไทย ประเภทแกงที่มีรสเปรี้ยว โดยเป็นแกงที่ใส่เนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นปลาหรือกุ้ง ผักที่ใช้อาจเป็นผักบุ้ง มะละกอ หัวไชเท้า กะหล่ำดอก ดอกแค หรือไข่เจียวชะอม ใช้น้ำพริกแกงส้มละลายน้ำ ต้มให้เดือด ใส่ผักและเนื้อสัตว์ ปรุงรสด้วยน้ำส้มมะขาม น้ำตาลปี๊บ เกลือ มีรสชาติเผ็ด หวาน เค็ม เปรี้ยว\nน้ำพริกแกงส้มมี 2 แบบ คือ\nเครื่องปรุงที่ใช้ปรุงรสเปรี้ยวในแกงส้มมีหลายชนิด เช่น ยอดชะมวง ลูกเถาคัน มะมุด มะม่วงอ่อน มะขามเปียก มะขามสด หน่อไม้ดองเปรี้ยว หัวมะพร้าวดองเปรี้ยว ส้มแขก ตะลิงปลิง มังคุดแก่ที่ผิวยังเป็นสายเลือด แตงกวาสุกแก่หรือแตงเปรี้ยว ซึ่งเป็นแตงกวาที่ปล่อยให้สุกเหลืองคาต้น นำมาฝานใส่แกง ทำให้มีรสเปรี้ยวได้\nแกงส้มแบบภาคใต้จะปรุงรสเปรี้ยวด้วย มะนาว, มะขาม,ขมิ้นในน้ำพริกแกง คนภาคอื่นจึงเรียกว่า \"แกงเหลือง\"", "title": "แกงส้ม" }, { "docid": "701369#4", "text": "การหมักด้วยวิธีการนี้จะอาศัยสารโปรตีเอส (Proteaes) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า \nโปรตีนเอนไซม์ ซึ่งสารเหล่านี้จะมีมากมายในผลไม้ เช่น สับปะรด, มะละกอ, แตงฮันนีดิว, กีวี เป็นต้น ซึ่งเอนไซม์ชนิดนี้จะให้ผลโดยการที่ทำให้เส้นใยในกล้ามเนื้อและยังทำให้เส้นใยคอลลาเจนสลายตัวอย่างรวดเร็ว หรือใช้ Papain Liquid Meat Tenderizer ซึ่งมีเอนไซม์ปาปาอิน (Papain) แต่ควรระวังเพราะอาจทำให้เนื้อยุ่ยจนเกินไป", "title": "การหมักเนื้อ" }, { "docid": "776030#1", "text": "คะน้าเม็กซิโกเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน, วิตามิน, แคลเซียม, โพแทสเซียม และเหล็ก และยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จริงแล้ว ใบคะน้าเม็กซิโกยังมีระดับสารอาหารสูงกว่าผักใบเขียวชนิดใด ๆ ที่ปลูกบนดินถึง 2-3 เท่าอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ใบคะน้าเม็กซิโกดิบนั้นมีพิษเนื่องจากมีสารกลูโคไซด์ซึ่งจะปลดปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมา จึงจำเป็นต้องทำให้สุกก่อนรับประทาน โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการทำให้สุกเพื่อลดฤทธิ์ของสารที่เป็นพิษให้อยู่ในระดับปลอดภัย การต้มในภาชนะอะลูมิเนียมอาจทำให้น้ำต้มเป็นพิษและก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้", "title": "คะน้าเม็กซิโก" }, { "docid": "608702#0", "text": "มะละกอภูเขา เป็นพืชในวงศ์ Caricaceae มีลักษณะเช่นดียวกับมะละกอแต่มีขนาดเล็กกว่า ก้านดอกสั้นมาก ผลรูปไข่กลับ เนื้อสีเหลืองอมส้ม ไม่เละ รสเปรี้ยว กลิ่นหอม เป็นพืชพื้นเมืองในแถบเทือกเขาแอนดีส ตั้งแต่โคลัมเบียจนถึงชิลีตอนกลาง นำมาปลูกในสหรัฐ ศรีลังกา และอินโดนีเซีย รับประทานผลสุก หรือนำไปต้มกับน้ำตาล ในอเมริกาใต้ใช้ทำน้ำผลไม้และแยม พืชชนิดนี้มีความต้านทานต่อไวรัสใบด่างวงแหวนมากกว่ามะละกอ", "title": "มะละกอภูเขา" }, { "docid": "337587#2", "text": " :*พ.ศ. 2545 เป็นประธานสร้างท่อระบายน้ำ วัดพระธาตุเจ้ายือเต่า ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง\nและได้สร้างถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ทางเข้าด้านหน้าวัด ณ วัดทุ่งคา ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง", "title": "พระครูศีลสารวิสิฐ (วิสุทธิ์ วิสุทฺธสีโล)" }, { "docid": "217376#0", "text": "ซอสมะเขือเทศ คือซอสที่ทำจากมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบหลัก ใช้สำหรับเติมรสเปรี้ยวอมหวานให้กับอาหาร\nซอสมะเขือเทศปลอม คือ ซอสไม่ได้ทำมาจากมะเขือเทศจริง หรือมีมะเขือเทศเป็นเพียงส่วนประกอบรองเท่านั้น อีกทั้งยังแต่งกลิ่นเพิ่มเติม ซอสมะเขือเทศปลอมมักทำมาจากมะละกอเป็นส่วนหลัก มะละกอเป็นผลไม้ที่กินได้ไม่เป็นอันตราย", "title": "ซอสมะเขือเทศ" }, { "docid": "916913#5", "text": "เมื่อลูกทารกเข้าสู่เดือนที่ 6  ลูกต้องได้รับอาหารเสริมอื่นนอกเหนือจากนม  ไข่มักจะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆให้เป็นอาหารสำหรับเด็ก เพราะไข่เป็นแหล่งสารอาหารชั้นดี หาง่าย ราคาไม่แพง เหมาะกับทารก ในช่วงเริ่มต้นของการเลี้ยงลูกอาจใช้ไข่เป็นอาหารเสริม เริ่มจากการต้มไข่ให้สุกทั้งฟอง แกะเปลือกเอาไข่ขาวออก เหลือไข่แดงที่สุกแข็งแล้ว เอามาบี้ผสมในข้าวตุ๋นให้ลูก ไข่ขาวเป็นอาหารที่เด็กเล็กอาจจะแพ้ได้ง่าย ดังนั้นอาหารเสริมประเภทไข่ ควรเริ่มจากเพิ่มไข่แดงลงในอาหารเสริมก่อน เพื่อป้องกันการแพ้อาจเริ่มให้ไข่ขาวเมื่อลูกอายุ 1 ขวบ   ", "title": "ทารก" }, { "docid": "686167#11", "text": "มะละกอได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ต้านไวรัสใบด่างจุดวงแหวน () 'SunUp' เป็นมะละกอพันธุ์ซันเซ็ทเนื้อสีแดงที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมที่เป็น homozygous ย​​ีน (ฮอมอไซกัสยีน, ยีนคู่ใดคู่หนึ่งที่มียีนที่แสดงลักษณะเด่นอยู่ด้วยกัน หรือยีนที่แสดงลักษณะด้อยอยู่ด้วยกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]) โปรตีนหุ้มของไวรัสใบด่างวงแหวน; 'Rainbow' คือพันธ์ F1 ไฮบริดเนื้อสีเหลืองที่พัฒนาขึ้นโดยการผสมข้ามพันธุ์ของ 'SunUp กับ 'Kapoho' เนื้อสีเหลืองไม่ดัดแปลง นิวยอร์กไทม์สระบุว่า \"ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 อุตสาหกรรมมะละกอของฮาวายกำลังเผชิญกับภัยพิบัติเพราะโรคมะละกอไวรัสใบด่างจุดวงแหวนร้ายแรง ผู้ช่วยให้รอดเพียงผู้เดียวของมันคือสายพันธุ์ที่ออกแบบมาเพื่อมีความต้านทานต่อไวรัส ถ้าปราศจากมัน อุตสาหกรรมมะละกอของรัฐจะพีงทะลาย วันนี้ 80% ของมะละกอของฮาวายถูกดัดแปลงพันธุกรรมและยังคงไม่มีวิธีการที่ใช้ได้ทั่วไปหรือแบบอินทรีย์ในการควบคุมไวรัสใบด่างจุดวงแหวน\"", "title": "อาหารดัดแปรพันธุกรรม" }, { "docid": "58040#3", "text": "ดอกมะละกอตัวผู้ ดอกมะละกอตัวเมีย ใบมะละกอ ต้นมะละกอและดอก ต้นมะละกอและผล", "title": "มะละกอ" }, { "docid": "505819#1", "text": "มิราเคิลมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ผลสุกแก่จะมีสีแดงสดใส เมื่อรับประทานผลสุกแก่เข้าไปแล้วสารไกโคโปรตีนในผลจะไปเคลือบผิวของลิ้นอยู่นานประมาณ 1-2 ชั่วโมง เมื่อรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวตามเข้าไปจะไม่รู้สึกเปรี้ยว ในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นรสชาติหวาน โดยทำให้มีโอกาสของการนำไปใช้ประโยชน์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะต้องงดน้ำตาล แต่ถ้ากินผลไม้ชนิดนี้ก่อน แล้วสามารถทำอาหารได้โดยไม่ใส่น้ำตาลก็อร่อยได้เหมือนอาหารปกติ มิราเคิลจึงเป็นพืชที่กำลังมีการศึกษาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และตรวจสอบถึงความเป็นพิษกันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ประเทศทั่วโลก", "title": "มิราเคิล (พืช)" } ]
3917
รัตนชาติเกิดจากสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่?
[ { "docid": "58828#0", "text": "รัตนชาติ</b>หรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[57,72,3,3]}'>หินอัญมณี (English: gemstone) เป็นกลุ่มประเภทของแร่ประเภทหนึ่ง โดยหมายถึง แร่หรือหินบางชนิด หรืออินทรียวัตถุธรรมชาติที่นำมาเจียระไน ตกแต่ง หรือแกะสลัก เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ มีความงาม ทนทาน และหายาก โดยปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เพชร และพลอย ซึ่งหมายถึง อัญมณีทุกชนิดยกเว้นเพชร หากผ่านการตกแต่งหรือเจียระไนแล้ว เรียกว่า อัญมณี นอกจากนี้ สารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่อาจจัดเป็นรัตนชาติได้แก่ ไข่มุก และปะการังและอำพัน", "title": "รัตนชาติ" } ]
[ { "docid": "474720#1", "text": "การแปรผันเกิดขึ้นในประชากรสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ซึ่งบางส่วนเกิดขึ้นเพราะการกลายพันธุ์สุ่มในจีโนมของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง และการกลายพันธุ์นั้นถูกส่งต่อไปยังลูกหลาน ตลอดชีวิตของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ จีโนมของสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งทำให้ลักษณะมีการแปรผัน (varient) สิ่งแวดล้อมของจีโนม ได้แก่ ชีววิทยาโมเลกุลในเซลล์ เซลล์อื่น สิ่งมีชีวิตอื่น ประชากร สปีชีส์ เช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมอชีวนะ สิ่งมี่ชีวิตที่มีลักษณะแปรผันบางอย่างอาจมีชีวิตรอดและสืบพันธุ์ได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตที่มีการแปรผันแบบอื่น ฉะนั้น ประชากรจึงเกิดวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสืบพันธุ์เองก็สำคัญเช่นกัน และเป็นประเด็นที่ชาลส์ ดาร์วินบุกเบิกในความคิดการคัดเลือกทางเพศของเขา การคัดเลือกโดยธรรมชาติมีผลต่อฟีโนไทป์ หรือคุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่สังเกตได้ แต่พื้นฐานทางพันธุกรรมซึ่งสืบทอดได้ของฟีโนไทป์ใด ๆ ที่ให้ข้อได้เปรียบในการสืบพันธุ์จะกลายมาปรากฏมากขึ้นในประชากร (ดูที่ ความถี่แอลลีล) เมื่อเวลาผ่านไป ขบวนการนี้สามารถส่งผลให้ประชากรมีความพิเศษในระบบนิเวศ และอาจลงเอยด้วยการถือกำเนิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นขบวนการที่สำคัญ แม้จะมิใช่ขบวนการเดียว ซึ่งทำให้วิวัฒนาการเกิดขึ้นในประชากรสิ่งมีชีวิต ในการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมเสมือนเป็นตะแกรงที่การแปรผันบางอย่างเท่านั้นที่ผ่านไปได้", "title": "การคัดเลือกโดยธรรมชาติ" }, { "docid": "338420#1", "text": "แคท รัตกาล มีชื่อจริงว่า พุทธชาติ ยศแก้วอุด เกิดเมื่อวันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เกิดที่จังหวัดลำปาง จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการคว้าตำแหน่งรองอันดับ 1 มิสมอเตอร์โชว์ ปี พ.ศ. 2542 จากการสนับสนุนของ อุ๊บ วิริยะ พงษ์อาจหาญ นักปั้นศิลปินชื่อดัง ต่อมาหันเข้าสู่วงการเพลงโดยได้เซ็นสัญญาเป็นนักร้องในสังกัดค่ายแกรมมี่โกลด์ โดยใช้ชื่อในวงการว่า \"แคท รัตติกาล\" ซึ่งแคทได้มีผลงานกับค่ายเพลงดังกล่าวจำนวน 2 อัลบั้ม เมื่อหมดสัญญากับแกรมมี่โกลด์ ได้ย้ายมาสังกัดค่ายอาร์สยาม ตามคำชักชวนของ\"เหน่ง\" จิรวัฒน์ ปานพุ่ม พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น \"แคท รัตกาล\" จนถึงปี พ.ศ. 2558 หลังจากนั้น ได้ประกาศอำลาวงการ แล้วหันไปปฏิบัติธรรมตลอดชีวิต", "title": "แคท รัตกาล" }, { "docid": "7156#0", "text": "ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวินส์ (English: Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี ค.ศ. 1859 ในหนังสือชื่อ The Origin of Species (กำเนิดของสรรพชีวิต) ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ผลงานนี้ปฏิเสธแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของสปีชีส์[1][2] ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ชุมชนวิทยาศาสตร์และสาธารณชนส่วนมากจึงยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการในฐานะที่เป็นความจริง อย่างไรก็ดี ยังมีคำอธิบายที่เป็นไปได้ทางอื่นๆ อีก และยังไม่มีการยอมรับทฤษฎีนี้เป็นเอกฉันท์ว่าเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ตราบจนกระทั่งเกิดแนวคิดการสังเคราะห์วิวัฒนาการยุคใหม่ (modern evolutionary synthesis) ขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1950[3][4] การค้นพบของดาร์วินยังถือเป็นรูปแบบการรวบรวมทางทฤษฏีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ที่อธิบายถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต[5][6]", "title": "ชาลส์ ดาร์วิน" }, { "docid": "53733#1", "text": "รัตนพลมีชื่อจริงแต่เดิมว่า อนุชา โพธิ์ทอง เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ที่ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของนายสมใจ และนางสมจิต โพธิ์ทอง ครอบครัวของรัตนพลมีอาชีพทำไร่ ฐานะทางบ้านยากจนมาก แม้จะเป็นเจ้าของที่ดินมากถึง 50 กว่าไร่ แต่เป็นที่บนเขาไม่สามารถเพาะปลูกหรือใช้ประโยชน์อะไรได้ รัตนพลกว่าจะได้เข้าเรียนหนังสือก็อายุเข้า 7 ขวบแล้วและจบเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ป.4) เท่านั้น เมื่อตอนเด็กเคยเก็บเงินเพื่อที่จะกินก๋วยเตี๋ยวเพราะเกิดมาไม่เคยกินมาก่อน โดยแบ่งกันกิน 2 คนกับน้องชาย คือ รัตนชัย ส.วรพิน เพียงชามเดียว จึงต้องชกมวยด้วยความยากจน กอรปกับที่เป็นเด็กที่เก่งเรื่องการเล่นกีฬาอยู่แล้ว โดยเริ่มจากมวยไทยในงานวันเด็กของโรงเรียน ใช้ชื่อว่า \"ไลอ้อน ลูกน้ำใจ\" รวมถึงเคยใช้ชื่อที่เป็นการประชดชีวิตตนเองด้วยว่า \"ทนเอาหน่อย ต่อยใช้หนี้\" จากนั้นจึงเข้ามาสู่ค่ายมวย ได้เริ่มฝึกฝนมวยอย่างจริงจัง แรก ๆ ได้ตระเวนชกอยู่ที่แถวบ้าน และย้ายไปอยู่ค่ายมวยที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนจะได้เข้ามาอยู่ในสังกัดค่าย \"ส.วรพิน\" ของนางวรพิน รังษีกุลพิพัฒน์ หรือ เจ๊วรพิน ที่ย่านตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร จากการแนะนำของ หงษ์หยก ส.วรพิน นักมวยรุ่นพี่ที่สังกัดค่าย ส.วรพิน โดยทำการซ้อมเพียง 9 วันเท่านั้น แล้วขึ้นชกเลย โดยชื่อรัตนพลนั้นแท้ที่จริงแล้ว เป็นชื่อนักมวยคนอื่นที่ทางรัตนพลในขณะนั้นได้เป็นคู่ซ้อม และชกเอารัตนพลตัวจริงมีแผลแตก ไม่สามารถขึ้นชกได้ จึงได้สวมชื่อเป็นรัตนพล ส.วรพิน ขึ้นชกแทน และสามารถเอาชนะคะแนนไปได้ และเมื่อได้แก้มือโดยมีเดิมพันเป็นเงินรางวัลสูง ก็ยังสามารถเอาชนะไปได้อีก จากนั้นเมื่อได้ชกมวยไทยในเวทีกรุงเทพมหานครมาพอสมควรแล้ว ก็หันมาชกมวยสากล ที่เวทีราชดำเนิน จากเหตุที่นักมวยขาด ผลปรากฏออกมาก็เป็นฝ่ายชนะน็อกยกแรก ครั้งต่อมาก็เอาชนะน็อกไปได้ในยกที่ 2 และได้สร้างชื่อขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยมีโอกาสขึ้นชิงแชมป์อินเตอร์เนชั่นแนล (แชมป์เงา) ในรุ่น 105 ปอนด์ของ IBF และเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ และได้ชกป้องกันตำแหน่งไว้ได้ครั้งหนึ่ง", "title": "รัตนพล ส.วรพิน" }, { "docid": "77294#4", "text": "นักมวยไทยคนสุดท้ายที่ครองแชมป์โลกของสถาบันนี้คือ รัตนพล ส.วรพิน โดยทำการชกเคลื่อนไหวครั้งสุดท้าย คือในปี พ.ศ. 2540 หลังจากรัตนพลเสียแชมป์ไปแล้ว สหพันธ์มวยนานาชาติก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวใด ๆ เลยในระดับแชมป์โลกในประเทศไทยนานถึง 15 ปีเต็มด้วยกัน จนกระทั่งในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 มีการชกเพื่อคัดเลือกตัวขึ้นไปชิงแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท (122 ปอนด์) ระหว่าง แท่งทอง เกียรติทวีสุข กับ มาบูเท้ ซินยาบี นักมวยชาวแอฟริกาใต้ ที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งผลการชกแท่งทองเป็นฝ่ายชนะทีเคโอไปในยกที่ 10 (แต่ก็ปรากฏว่าหลังจากนี้ไปเพียง 9 วัน แท่งทองก็ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิต ทำให้การชกเคลื่อนไหวในระดับการชิงแชมป์โลกของสหพันธ์มวยนานาชาติ เป็นครั้งแรกในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นการชกชิงแชมป์โลกที่ว่างในรุ่นฟลายเวท (112 ปอนด์) ระหว่าง อำนาจ รื่นเริง กับ ร็อคกี้ ฟูเอนเตส นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่เวทีมวยชั่วคราว อาคารลิปตพัลลภฮอลล์ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา)", "title": "สหพันธ์มวยนานาชาติ" }, { "docid": "58828#29", "text": "และใน \"พระอัคนีโบราณ\" บทที่ ๒๔๖ โศลก ๗-๘ ได้บัญญัติไว้แต่ครั้งบุรพกาล คือ \"รัตนชาติปราศจากราคินและเปล่งประกายที่สะท้อนถึงความแวววาวรุ่งเรือง ควรถือเป็นสื่อนำซึ่งความโชคดี ส่วนชิ้นที่เกิดตำหนิข้างใน,แตกร้าว และไร้ความสุกใสแวววาวหรือขุ่นมัว ขรุขระ หยาบด้าน ไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด\"[8]", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "4456#3", "text": "นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษชื่อ ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) และ แอลเฟรด รัสเซล วอลแลนซ์ (Alfred Russel Wallance) ได้เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก (theory of evolution by natural selection) วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการคัดเลือกตามธรรมชาติ ซึ่งทฤษฏีดังกล่าว กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ภายในชนิดเดียวกัน (สปีชีส์ ; species) จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ซึ่งเราเรียกว่าแตกต่างภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันนี้ว่า ความผันแปร (variations) โดยความผันแปรดังกล่าว จะเป็นผลให้สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่รอดในได้สภาวะแวดล้อม ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดสภาวะแห้งแล้ง แมลง สายพันธุ์ที่มีความสามารถกินอาหารได้หลายชนิดทั้งใบพืชและหญ้า จะสามารถมีชีวิตรอดได้ดีกว่าแมลง สายพันธุ์ที่สามารถกินหญ้าได้อย่างเดียว เมื่อสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์หนึ่งสามารถมีชีวิตได้นาน ก็สามารถมีลูกหลานได้มากกว่าสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์อื่นที่มีอายุสั้นและเมื่อเวลาผ่านไปสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์นั้นจะมีจำนวนมากขึ้นและเกิดเป็นชนิดใหม่ (new species)", "title": "สิ่งมีชีวิต" }, { "docid": "879354#28", "text": "คำภาษาอังกฤษว่า \"missing link\" (ห่วงลูกโซ่ที่ยังขาด) เป็นแนวคิดก่อนทฤษฎีวิวัฒนาการเชิงเทวัสนิยมเกี่ยวกับ มหาลูกโซ่ของสัตว์ (great chain of being) ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเชื่อมโซ่เข้าด้วยกันตั้งแต่ดิน ตลอดจนอาณาจักรสิ่งมีชีวิต จนถึงทูตสวรรค์ และในที่สุดก็คือพระเป็นเจ้า\nอนึ่ง แนวคิดว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเชื่อมกันโดยการแปรพันธุ์ (transmutation) ก็มีอยู่ก่อนทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน\nเช่น นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Jean-Baptiste Lamarck มองว่า สิ่งชีวิตในรูปแบบง่ายที่สุดกำลังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แล้วดิ้นรนพยายามให้ถึงความซับซ้อนและลักษณะที่ดีพร้อม (คือมนุษย์) ผ่านการแปรพันธุ์เป็นรูปแบบต่าง ๆ\nในมุมมองนี้ \"สัตว์ที่ต่ำกว่า\" ก็คือผู้มาถึงกระบวนการแปรพันธุ์ใหม่\nและดังนั้น สัตว์ที่อยู่ในระหว่างสภาพการแปรพันธุ์ของสัตว์ที่ \"ต่ำกว่า\" และที่ \"สูงกว่า\" ก็คือสัตว์ที่เรียกว่า \"ห่วงลูกโซ่ที่ยังขาด\"", "title": "ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ" }, { "docid": "58828#30", "text": "จากหลักโหราศาสตร์โบราณของเอเชีย ชีวิตบนโลกล้วนขึ้นอยู่กับนพเคราะห์ หรือ ๙ อิทธิพล ซึ่งตำแหน่งที่สถิตของนพเคราะห์ในแผนภูมิดวงชะตาของแต่ละบุคคล ล้วนส่งอิทธิพล ต่อดวงชีวิตของคนๆนั้น กล่าวกันว่าการสวมใส่ ๙ รัตนชาติ จะช่วยให้ดวงดาวตามโหราศาสตร์สมดุล และมีสิริมงคลต่อผู้สวมใส่ ทางโหราศาสตร์เอเชียโบราณยังกล่าวว่าพลังรัตนชาติเหล่านี้ยังผลดีและผลลบต่อชีวิตมนุษย์เช่นกัน ดังนั้น ก่อนการสวมใส่ดารารัตนชาติ จึงควรจำเป็นต้องปรึกษาโหรโบราณ ระบบพระเวท ควรเป็นผู้ที่ศึกษาและเชี่ยวชาญทางดารารัตนชาติเพื่อให้ต้องโฉลกต่อพื้นฐานดวงชะตาของแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเป็นเพียงรัตนเดี่ยวๆหรือการแนะนำให้ประดับรัตนที่สมพงษ์ร่วมในเรือนเดียวกัน [9][10]", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "712933#1", "text": "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แถมสุข นุ่มนนท์ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ณ บ้านตึกแถว ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงท่าโรงยาเก่า ใกล้กับปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของร้อยตรีถัด รัตนพันธุ์ และ นางแส รัตนพันธุ์ (สกุลเดิม ณ พัทลุง) มีพี่น้องร่วมบิดา – มารดา 3 คน คือ แถมสิน รัตนพันธุ์ แถมศรี รัตนพันธ์ และแถมสร้อย รัตนพันธุ์ ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นายสุรัตน์ นุ่มนนท์ บุตรคนเดียวของนายจำรัส และนางสง่า นุ่มนนท์ เมื่อปี 2506 มีบุตร 2 คน คือ 1. นายรณดล นุ่มนนท์ สมรสกับนางสาวปาลีรัฐ ศิลปพันธุ์ มีบุตร 2 คน คือ นายปารณ นุ่มนนท์ และ นายปาณัท นุ่มนนท์ 2. ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ สมรสกับ นางสาวสุวรรณี โสภณธรรมกิจ มีบุตร 1 คนคือ นายนิธิรันดร์ นุ่มนนท์ และสมรสกับ ดร.ธนิศา เครือไวศยวรรณ มีบุตร 1 คนคือ เด็กชายธีรธรรม นุ่มนนท์", "title": "แถมสุข นุ่มนนท์" }, { "docid": "193210#5", "text": "คุณหญิงโสมสุดา และวิลานี พาปารวีไปเลี้ยงขอบคุณที่ร้านอาหารแห่งหนนึ่ง เธอได้พบกับหมอรัตนินอีกครั้ง ปารวีไม่อยากเห็นหน้าหมอจึงขอตัวกลับก่อน ที่ทำงานปารวีกับแจ้วมีท่าทีสนิทสนม ทำให้พรแฟนของแจ้วที่เป็นทอมบอยเกิดอาการไม่พอใจ จึงมาหเรื่องชกต่อยปารวี หมอรัตนินมาเห็นพอดีจึงคิดว่าปารวีเป็นทอม\nหมอรัตนินมาหาปารวีที่บ้านเพื่อเอาเช็คเงินสดมาให้เพื่อตัดปัญหารัตนาวดีกับปลายฝน ตามที่คุณหญิงร้องขอ แต่ปารวีไม่เอา และฉีกมันทั้ง แทนบุญผู้ชายอ่อนแอกลับกล้าที่จะพาปลายฝนหนี ทำให้รัตนาวดีตามมาอาละวาดถึงบ้านปารวี \nปราณีทนไม่ได้โรคหัวใจจึงกำเริบขึ้นมา หมอรัตนินคอยดูแลอาการแม่ของปารวี เพื่อชดเชยกับสิ่งที่น้องสาวของเขาทำลงไป", "title": "เจ้าสาวกลัวฝน" }, { "docid": "222809#14", "text": "จากหลักโหราศาสตร์โบราณของเอเชีย ชีวิตบนโลกล้วนขึ้นอยู่กับนพเคราะห์ หรือ 9 อิทธิพล ซึ่งตำแหน่งที่สถิตของนพเคราะห์ในแผนภูมิดวงชะตาของแต่ละบุคคล ล้วนส่งอิทธิพล ต่อดวงชีวิตของคนๆนั้น กล่าวกันว่าการสวมใส่ 9 รัตนชาติ จะช่วยให้ดวงดาวตามโหราศาสตร์สมดุล และมีสิริมงคลต่อผู้สวมใส่ ทางโหราศาสตร์เอเชียโบราณยังกล่าวว่าพลังรัตนชาติเหล่านี้ยังผลดีและผลลบต่อชีวิตมนุษย์เช่นกัน ดังนั้น ก่อนการสวมใส่ดารารัตนชาติ จึงควรจำเป็นต้องปรึกษาโหรโบราณ ระบบพระเวท ควรเป็นผู้ที่ศึกษาและเชี่ยวชาญทางดารารัตนชาติเพื่อให้ต้องโฉลกต่อพื้นฐานดวงชะตาของแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเป็นเพียงรัตนเดี่ยวๆหรือการแนะนำให้ประดับรัตนที่สมพงษ์ร่วมในเรือนเดียวกัน", "title": "นพรัตน์" }, { "docid": "35661#4", "text": "ชื่อดั้งเดิมของพระสูตรนี้ในภาษาสันสกฤตคือ \"สัทธรรมปุณฑรีกสูตร\" (; Saddharma Puṇḍarīka Sūtra; สทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตฺร) แปลว่า พระสูตรว่าด้วยบัวขาวแห่งธรรมอันล้ำเลิศ (\"ปุณฑรีก\" หมายถึง บัวขาว) ในภาษาอังกฤษเรียกตามความหมายว่า \"Sūtra on the White Lotus of the Sublime Dharma\" แต่นิยมเรียกทั่วไปโดยย่อว่า \"Lotus Sūtra\" (แปลว่า \"พระสูตรบัวขาว\") พระสูตรนี้ได้รับความนับเป็นอย่างมากในบรรดาประเทศที่นับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน มีการแปลชื่อพระสูตรออกเป็นชื่อภาษาท้องถิ่นของประเทศต่างๆ ดังนี้พระศากยมุนีพุทธะ ทรงค้นพบว่ามี “จักรวาลภายใน” ที่กว้างใหญ่อยู่ในพระวรกายของพระองค์เอง ทรงก้าวข้ามตัวตนชีวิตภายใน และแผ่ขยายตัวตนชีวิตนี้ออกไป จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับจักรวาลภายนอกที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งก็คือพลังชีวิตของจักรวาล ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ว่าคือธรรมะหรือกฎของชีวิต เมื่อทรงตรัสรู้แล้ว ปัญญาและความเมตตากรุณาของพระองค์มุ่งไปที่การช่วยให้ประชาชนหลุดพ้นจากความทุกข์ สิ่งนี้ปรากฏให้เห็นอยู่ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาจำนวนมาก\nในบรรดาคัมภีร์เหล่านี้ สัทธรรมปุณฑริกสูตรแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการแสดงรูปธรรมของธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และเป็นพระสูตรที่ผู้คนในซีกโลกตะวันออกยึดถืออย่างแพร่หลาย เนื่องด้วยคุณลักษณะของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ภายใต้ 3 หัวข้อหลัก ดังต่อไปนี้\n1. การอยู่ร่วมกันของชีวิตทุกรูปแบบ\nใน “บทกุศโลบาย” (บทที่ 2) ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ทรงเปิดเผยจุดมุ่งหมายที่ทรงปรากฏขึ้นมาในโลกนี้ โดยตรัสถึง “เหตุปัจจัยที่เป็นเรื่องยิ่งใหญ่อันดับหนึ่ง” คือเพื่อ “เปิดประตู” พุทธปัญญา “ชี้” พุทธปัญญา ทำให้ประชาชน “รู้แจ้ง” พุทธปัญญา และ “เข้าสู่” พุทธปัญญา พุทธปัญญาที่กล่าวถึง ก็คือ ปัญญาที่มีพร้อมอยู่ในพลังชีวิตของจักรวาลและส่องแสงออกมา เป็นความหมายเดียวกับคำว่า ธรรมชาติพุทธะ\nบุคคลทั้งหลายมีพร้อมพุทธปัญญาที่เป็นส่วนหนึ่งภายในชีวิตของพวกเขา ดังนั้น จึงไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติ เพศ อาชีพ หรือวัฒนธรรม เพราะธรรมชาติพุทธะมีพร้อมอยู่ในชีวิตของทุกคน และด้วยการตื่นรู้นี้ ประชาชนทุกคนก็จะสามารถเดินไปบนหนทางสู่ความสุขได้ ประชาชนล้วนเป็นมนุษย์ที่มีพร้อมความสามารถที่จะดำเนินชีวิตที่แสดงศักยภาพสูงสุดในชีวิตให้ปรากฏออกมาได้ นี่คือสิ่งที่สร้างวัฒนธรรมโลกของการอยู่ร่วมกันและความกลมเกลียวให้เป็นจริงได้\nใน “บทการเปรียบเทียบเรื่องยาสมุนไพร” (บทที่ 5) ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร แนวคิดของการอยู่ร่วมกันและความกลมเกลียวนี้ถูกแสดงให้เห็นผ่านแนวคิดเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวของสมุนไพร 3 ชนิดและต้นไม้ 2 ชนิด สมุนไพรและต้นไม้ทั้งหมดเหล่านี้ ต่างกันทั้งความสูงและรูปร่าง แต่เมื่อฝนตก ทั้งหมดต่างก็ดูดซับสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของพรรณไม้แต่ละชนิด ท้องฟ้าและฝนที่ตกลงมาคืออาหารหล่อเลี้ยงพลังชีวิตของจักรวาล ซึ่งก็คือคำสอนของพระพุทธะ และเป็นอาหารหล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตนับล้าน ๆ ทั่วจักรวาล\n2. การแสวงหาความเป็นนิรันดร์\nบทที่ 11 ของสัทธรรมปุณฑริกสูตรเริ่มต้นด้วยการปรากฏออกมาของหอรัตนะ อันยิ่งใหญ่โผล่ขึ้นมาจากพื้นโลกและพระประภูตรัตนพุทธะจากอดีต ที่ประทับอยู่ในหอรัตนะ ทรงเป็นผู้ให้การรับรองว่า สิ่งที่พระศากยมุนีพุทธะกำลังเทศนาทั้งหมดล้วนถูกต้อง จากนั้น ใน “บทการปรากฏขึ้นมาจากพื้นโลก” (บทที่ 15) พื้นดินได้เปิดออกอีกครั้ง เหล่าโพธิสัตว์จำนวนมากมายได้ปรากฏขึ้นมาและทำความเคารพต่อที่ประชุมเทศนาสัทธรรมปุณฑริกสูตร พระเมตไตรยโพธิสัตว์เป็นตัวแทนในที่ประชุมถามว่า ผู้คนเหล่านี้ทั้งหมดคือใคร ในบทต่อมาคือ “บทการหยั่งอายุกาลของพระตถาคต” (บทที่ 16) พระศากยมุนีพุทธะทรงตอบคำถามของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ โดยตรัสเกี่ยวกับพระพุทธะนิรันดร์ และให้ความกระจ่างว่าสถานะที่แท้จริงของพระองค์คือ พระพุทธะที่ทรงรู้แจ้งตั้งแต่สมัยกาลนาน\nพระพุทธะนิรันดร์คือพระพุทธะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมะนิรันดร์ เป็นพระพุทธะผู้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจังหวะพื้นฐานของจักรวาล “บทการหยั่งอายุกาลฯ” เปิดเผยการดำรงอยู่ตลอดกาลของพระพุทธะนิรันดร์ ที่ปรากฏขึ้นมาในโลกที่เราอาศัยอยู่ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ทั้งที่พระพุทธะเป็นผู้ที่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว\n3. การเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสันติภาพ\nสัทธรรมปุณฑริกสูตรได้เปิดเผยเรื่องการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพในรูปของโพธิสัตว์ทั้งหลายที่โลดแล่นขึ้นมาจากพื้นโลก แสดงถึงพลังชีวิตนิรันดร์ของจักรวาล และโพธิสัตว์อื่น ๆ ที่ปรากฏในบทท้าย ๆ ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร บทเหล่านี้บรรยายถึงพระไภษัชยราชโพธิสัตว์ผู้เชี่ยวชาญด้านยาและการเยียวยาชีวิต พระคัทคัทสวรโพธิสัตว์ ผู้เป็นสัญลักษณ์การรังสรรค์ด้านศิลปะ เช่น ดนตรี พระสมันตภัทรโพธิสัตว์\nผู้แสดงคุณสมบัติของการเรียนรู้และความคิด และโพธิสัตว์ที่รู้จักกันในนาม พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นผู้ที่คอยรับฟังปัญหาและความกังวลใจของประชากรโลก โดยรีบรุดไปช่วยเหลือและทำให้ประชาชนเกิดความกล้าหาญและปราศจากความกลัว\nที่น่าสนใจเป็นพิเศษอันเนื่องจากสารัตถทางสันติภาพ คือ โพธิสัตว์องค์หนึ่งที่รู้จักกันในนามพระสทาปริภูตโพธิสัตว์ ชื่อนี้มาจากคำกล่าวที่ท่านกล่าวกับผู้คนเสมอว่า “ข้าพเจ้ามีความเคารพพวกท่านอย่างลึกซึ้ง ข้าพเจ้าไม่กล้าที่จะปฏิบัติต่อพวกท่านด้วยการดูถูกเหยียดหยามหรือความจองหอง” การปฏิบัติเช่นนี้แสดงถึงทัศนะที่ท่านมีต่อผู้คนทั้งหลาย กล่าวคือเป็นการแสดงความเคารพธรรมชาติพุทธะภายในชีวิตของพวกเขา สัทธรรมปุณฑริกสูตรกล่าวว่า ท่านจะโค้งคำนับด้วยความเคารพแก่พวกเขาทุกคน ซึ่งเป็นวิธีแสดงความเคารพคุณค่าและคุณธรรมที่มีพร้อมอยู่ในชีวิตของพวกเขา\nสัทธรรมปุณฑริกสูตรสอนว่า ธรรมชาติพุทธะมีพร้อมอยู่ในปวงสรรพสัตว์และสามารถแสดงออกมาในความเป็นจริง บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันที่มีอยู่ภายในชีวิตของมนุษย์ทุกคน จึงทำให้แนวคิดของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้\nจากการเทศนาเรื่องพระพุทธะนิรันดร์และธรรมะนิรันดร์ว่าเป็นพลังชีวิตของจักรวาล สัทธรรมปุณฑริกสูตรสอนถึงวิธีที่พลเมืองโลกจะสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพโลกได้ โดยแสดงเป็นเชิงสัญลักษณ์ด้วยคุณสมบัติพิเศษและการทำหน้าที่ของโพธิสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏในพระสูตรนี้", "title": "สัทธรรมปุณฑรีกสูตร" }, { "docid": "281907#0", "text": "สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ () คือระดับที่จัดโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติแก่สิ่งมีชีวิตที่เมื่อพิจารณาแล้วไม่อยู่ในประเภทใดใด ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้จึงถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เข้าข่ายสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Threatened species) หรือในข่ายสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Near Threatened) หรือ (ก่อน ค.ศ. 2001) สิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต่อการอนุรักษ์ (Conservation Dependent) สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ นกกระสาแดง, นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่, เพนกวินจักรพรรดิ, แมวดาว, แมวน้ำลายพิณ และอื่น ๆ", "title": "สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์" }, { "docid": "41051#1", "text": "นายแถมสิน เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2472 ที่จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรของ ร้อยตรีถัด รัตนพันธุ์ (ผู้ร่วมก่อการกบฏ ร.ศ. 130, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงคนแรก ที่ได้รับเลือกตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2477, อดีตเลขานุการของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม สมัยที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ศรีกรุง และสยามราษฎร์) และ นางแส รัตนพันธุ์ (สกุลเดิม ณ พัทลุง) หลานสาวของพระยาโสภณพัทลุงกุล อดีตเจ้าเมืองพัทลุงคนสุดท้าย มีพี่- น้อง 4 รวมคน เรียงตามลำดับดังนี้ คือ แถมศรี, แถมสิน,แถมสุข และแถมสร้อย ชีวิตครอบครัวของแถมสิน รัตนพันธุ์ สมรสกับ นางลัดดา รัตนพันธุ์ มีบุตรชาย 1 คนคือ นายสิน รัตนพันธุ์ นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ปัจจุบันอาศัยอยู่ร่วมกัน ในบ้านพักย่านถนนอรุณอมรินทร์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร", "title": "แถมสิน รัตนพันธุ์" }, { "docid": "58828#1", "text": "รัตนชาติหรืออัญมณี เป็นผลึกที่มีมลทินอยู่ภายใน ทำให้มีสีต่าง ๆ กันไป มีความแข็ง สามารถเจียระไนให้เกิดมุม เพื่อให้เกิดการกระจายแสงเห็นความแวววาว มลทินในแร่ ทำให้แร่มีสีต่าง ๆ กัน แร่คอรันดัมบริสุทธิ์ เป็นสารพวกอะลูมิเนียมออกไซด์ มีสีขาว ถ้ามีมลทินจำพวกโครเมียมผสม ทำให้มีสีแดง เช่นทับทิม ส่วน เหล็ก ไทเทเนียม ทำให้มีสีน้ำเงิน (ทับทิมกับไพลิน เป็นแร่คอรันดัมเหมือนกัน แต่มีมลทินต่างชนิดกัน)", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "879427#24", "text": "ก่อนดาร์วิน การปรับตัวมองว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ตายตัวระหว่างสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย\nคือยังไม่เข้าใจว่า เมื่อภูมิอากาศเปลี่ยน ที่อยู่อาศัยก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย\nและเมื่อที่อยู่อาศัยเปลี่ยน ชีวชาติก็จะเปลี่ยนไปด้วย\nอนึ่ง แม้ที่อยู่อาศัยก็อาจเปลี่ยนไปตามชีวชาติด้วย ยกตัวอย่างเช่น สิ่งมีชีวิตซึ่งมาจากที่อื่นแล้วทำลายสิ่งมีชีวิตในอีกเขตหนึ่ง\nและจำนวนสปีชีส์ซึ่งอยู่ในที่อยู่อาศัยหนึ่ง ๆ ก็ยังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย\nดังนั้น ความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องธรรมดา แม้ความรวดเร็วและระดับการเปลี่ยนแปลงจะต่างกันบ้าง", "title": "การปรับตัว (ชีววิทยา)" }, { "docid": "58828#31", "text": "ข้อคิดเห็นที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิง เช่น การระบุขนาด-น้ำหนักของรัตนชาติ เพื่อการสวมใส่,หรือรัตนต้องสัมผัสผิวผู้สวมใส่,หรือควรสวมใส่รัตนชาติให้กับดวงดาวที่ให้โทษ,หรือดวงดาวที่เป็นมงคล,หรือการยอมรับรัตนที่มีตำหนิ,หรือรัตนที่ผ่านการเผาแล้วไม่มีพลัง,การยอมรับว่าไข่มุกเลี้ยงคือมุกแท้,หรือ การทำบุญอุทิศรัตน เพื่อมงคลในชีวิต,หรือรัตนต้องประดับกับโลหะที่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก มิฉะนั้นจะไม่มีพลัง,ฯลฯ เหล่านี้ล้วนยังไม่สามารถเป็นข้อเท็จจริงได้เพราะไม่มีข้ออ้างอิงหรือคัมภีร์บัญญัติไว้เป็นหลักฐานว่า สิ่งเหล่านี้คือข้อเท็จจริง แต่อาจกล่าวได้ว่า \"ผู้ให้คำแนะนำทางดารารัตน\"เป็นเจ้าของความคิดเห็นเหล่านี้ แม้ว่าจะไม่มีหลักคัมภีร์และหลักฐานทางตำรามาสนับสนุนก็ตาม โดยที่นับถือกันว่า \"รัตนชาติ\"สะท้อนพลังงานทางธรรมชาติหรือทางโหราศาสตร์ แต่การพิสูจน์ถึง\"พลัง\"ให้รัตนแสดงค่าบ่งชี้และวัดผลได้นั้น จึงจะถือเป็นก้าวแรกของการยอมรับทางวิทยาศาสตร์", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "646912#1", "text": "นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรสุกิจ และป้วยงิ้ม รัตนชัยชาญ มีพี่น้อง 3 คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (รุ่น 2514) ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และ Master of Comparative Law Southern Methodist University, USAด้านชีวิตครอบครัวมีบุตรชื่อ นายสุกฤษดิ์ รัตนชัยชาญ", "title": "ชูเกียรติ รัตนชัยชาญ" }, { "docid": "19590#30", "text": "ทูบีนัมเบอร์วัน มูลนิธิอุบลรัตน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิชีวิตสดใส โรงเรียนอนุบาลชีวิตสดใส มูลนิธิคุณพุ่ม มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ สมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย โรงเรียนเพียงหลวง สมาคมลูกกตัญญูแห่งชาติ", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "58828#8", "text": "เพชรดี หมายถึง เพชร แร่รัตนชาติสีขาว (Diamond) มณีแดง หมายถึง ทับทิม แร่รัตนชาติสีแดง (Ruby) เขียวใสแสงมรกต หมายถึง มรกต แร่รัตนชาติสีเขียว (Emerald) เหลืองใสสดบุษราคัม หมายถึง บุษราคัม แร่รัตนชาติสีเหลือง (แซฟไฟร์สีเหลือง) แดงแก่ก่ำโกเมนเอก หมายถึง โกเมน แร่รัตนชาติสีเลือดหมู (Garnet) สีหมอกเมฆนิลกาฬ หมายถึง แซฟไฟร์ แร่รัตนชาติสีน้ำเงิน(ไพลิน) (แซฟไฟร์สีน้ำเงิน) มุกดาหารหมอกมัว หมายถึง มุกดา หรือ จันทรกานต์ แร่รัตนชาติสีขาวขุ่นคล้ายสีหมอก มีลักษณะพิเศษมีเหลือบรุ้งสีออกฟ้าสีนวล (Moonstone) แดงสลัวเพทาย หมายถึง เพทาย แร่รัตนชาติสีแดงเข้ม (Hyacinth) เขียนอีกอย่างหนึ่งว่า (Yellow Zircon) (ซึ่งเป็นรัตนชาตชนิดเดียวกัน) สังวาลสายไพฑูรย์ หมายถึง ไพฑูรย์ เป็นอัญมณีหรือหินสีชนิดหนึ่งหรือแร่รัตนชาติ มีหลายสีเช่น สีเหลืองนวล สีเหลืองทอง สีน้ำผึ้ง สีเขียวแอปเปิล สีน้ำตาล ฯลฯ (Chrysoberyl-cat eye)", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "906443#1", "text": "คุณเคยสงสัยมั้ยว่า…ทำไมเหตุการณ์บ้าๆ ต้องมาเกิดขึ้นกับคุณ\nความคิดนี้เริ่มต้นขึ้น เมื่อ วินนี่ (ปู ไปรยา) และ เอิร์น (แอร์ ภัณฑิลา)บังเอิญไปอยู่ใน ธนาคาร ที่เกิดการปล้นกลางวันแสกๆ โดย 2 โจรต่างชาติ บ๊อบบี้ (ไรอัน เคลลี่) และแฟนสาว จูเวล (เมดิสัน แมคเคลลี่)แผนการหนีตายเกิดขึ้น พร้อมกับ การจับ วินนี่ และ เอิร์น ไปเป็นตัวประกันและใช้ปีนจี้ให้ เชาว์ (กอล์ฟ พิชญะ) โชเฟอร์ชาวจีน ที่ถูกเรียกให้มารอรับหน้าธนาคารให้พาหนีแบบไม่คิดชีวิต ชะตากรรมของตัวประกันแต่ละคนจะเป็นยังไง ? เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นความบังเอิญ หรือ มีเบื้องหลังซ่อนอยู่ ? เมื่อ 5 ชีวิต ที่ต้องหนีตาย ต้องมาพบกับเรื่องลึกลับ ในสถานที่ ที่เหมือนตกอยู่ในฝันร้าย ณ คฤหาสน์ร้างกลางป่า ปมต่างๆ จะค่อยๆ ถูกคลี่คลายออกมา คำตอบ ของความบังเอิญค่อยๆ จะค่อยๆ ถูกเปิดเผย ความลึกลับ เขย่าขวัญ จะค่อยๆ ถูกเปิดโปงและทำให้คุณ อาจไม่เชื่อสายตา และความคิดเมื่อสิ่งที่เห็น อาจไม่ใช้ความจริง สิ่งที่อยู่ตรงหน้าอาจแยกไม่ออกว่า เป็น \"คน\" หรือ \"วิญญาณ\" เพราะเรื่องทุกเรื่อง...มักมีเบื้องหลังซ่อนอยู่\nออกฉาย เรต น 15+", "title": "คนปล้นวิญญาณ" }, { "docid": "288552#1", "text": "อุดมเดช รัตนเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2502 ที่จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของร้อยเอก ชโลม รัตนเสถียร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี กับพรรณี รัตนเสถียร ชีวิตครอบครัว สมรสกับพัชรา รัตนเสถียร (สกุลเดิม: กลิ่นสุคนธ์) มีบุตรชาย 2 คนคือ ภัทร และภัทรัตน์", "title": "อุดมเดช รัตนเสถียร" }, { "docid": "343391#3", "text": "เคยมีผลงานเพลงร่วมกับ ฤทธิพร อินสว่าง โดยเป็น featuring ในเพลง \"รักและศรัทธา\" ออกอัลบั้ม \"สะบัด\" กับค่ายอินเทอร์นอล และเป็นผู้ริเริ่มจัดทำเพลง \"ขวานไทยใจหนึ่งเดียว\" ตามโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ ด้านชีวิตส่วนตัว วินิจสมรสกับ เพ็ญ พิสุทธิ์ นักแสดงชื่อดังในอดีต มีบุตรสาว 2 คน เป็นนักกีฬาขี่ม้าทีมชาติไทยชื่อสายลับ เลิศรัตนชัย และเสียงซอ เลิศรัตนชัย ", "title": "วินิจ เลิศรัตนชัย" }, { "docid": "493000#0", "text": "ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย เกิดวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2535 เป็นนักกีฬาแบดมินตันหญิงชาวไทย ผู้ซึ่งได้รับเหรียญทองแบดมินตันในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ในประเภทหญิงเดี่ยว และเหรียญเงินจากแบดมินตันในเอเชียนเกมส์ 2010 ในประเภททีมหญิง รวมทั้งเป็นตัวแทนทีมชาติไทยผู้เข้าแข่งขันรายการเจแปนซูเปอร์ซีรีส์ 2012 ", "title": "ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย" }, { "docid": "728697#0", "text": "วิชา รัตนโชติ เกิดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นนักกีฬาว่ายน้ำ อดีตนักกีฬาทีมชาติ 2532-2543 ได้รับทุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ไปฝึกซ้อมกับทีมชาติสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 4 ปี", "title": "วิชา รัตนโชติ" }, { "docid": "617485#24", "text": "การเผยแพร่บทความ สิ่งที่พบจากคำทำนายของดาเนียลและคำพยากรณ์ของเซนต์ยอห์น หลังจากที่นิวตันเสียชีวิต, นิวตันได้บรรยายความรู้สึกต่อความเชื่อของเขาว่าคำพยากรณ์ที่ปรากฏในพระคัมภีร์นั้นจะไม่สามารถเข้าใจได้จนกว่าจะ \"ถึงวาระสุดท้าย\" และเมื่อถึงเวลานั้นแล้วก็ตาม \"จะไม่มีคนชั่วคนใดเข้าใจได้เลย\" เมื่ออ้างถึงสิ่งนั้นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (\"ยุคสุดท้าย, ยุคที่จะเปิดเผยสิ่งต่างๆ , กำลังเข้าใกล้เข้ามา\") นิวตันยังได้คาดการณ์ว่า \"วาระแห่งการประกาศข่าวประเสริฐที่จะพบได้ทั่วไปนั้นใกล้เข้ามาแล้ว\" และ \"ข่าวประเสริฐจะต้องถูกเผยแพร่ไปยังชนชาติต่างๆ ก่อนที่เหตุการณ์เลวร้ายครั้งใหญ่จะตามมา และนั้นคือวาระสุดท้ายของโลก\".[41]", "title": "ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน" }, { "docid": "58828#5", "text": "หากจะแปลตามตัว รัตนชาติ ที่เดิมเขียนกันว่า รัตนชาต ก็จะแปลไว้ว่า สิ่งที่ถือกำเนิดมาเป็นแก้ว (รัตน=แก้ว ชาต=เกิด) ซึ่งในประเทศไทยเอง ก็พบว่ามีรัตนชาต 9 อย่างอันเป็นมิ่งมงคล แต่บางชนิดหายากหรือหาไม่พบในประเทศไทยปัจจุบันแล้ว", "title": "รัตนชาติ" }, { "docid": "7288#0", "text": "การออกแบบ เป็นการสร้างสรรค์ทางศิลปะอย่างหนึ่งของมนุษย์ชาติ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการที่ควบคู่กันมากับมนุษย์โดยตลอด เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของศิลปะที่มนุษย์ ทุกคนจะต้องรู้จักและสัมผัสกับผลงานการออกแบบอยู่ตลอดเวลา ในชีวิตและประสบการณ์ประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดก็ตาม เพราะการออกแบบนั้นก็คือความเพียรพยายามของมนุษย์ในอันที่จะนำเอาทรัพยากรต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาดัดแปลงขึ้นเป็นสิ่งที่จะเอื้ออำนวย ความสะดวกสบาย และเกิดคุณประโยชน์เกิดคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์สนองตัญหาความอยาก (Needs) ของมนุษย์ในที่สุดนั่นเอง", "title": "ทัศนศิลป์และการออกแบบ" } ]
3918
ดาวพลูโตเป็นดาวในระบบสุริยะจักรวาลหรือไม่ ?
[ { "docid": "6011#0", "text": "ดาวพลูโต (English: Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน[1] โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่[2] มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี พ.ศ. 2557 ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 32.6 หน่วยดาราศาสตร์ แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 5.5 ชั่วโมง ถึงจะไปถึงดาวพลูโตที่ระยะทางเฉลี่ย (39.5 หน่วยดาราศาสตร์)", "title": "ดาวพลูโต" } ]
[ { "docid": "739868#1", "text": "การค้นพบดาวพลูโตของไคลด์ ทอมบอ ในปี พ.ศ. 2473 ทำให้สมมติฐานของโลเวลล์ถูกต้อง แล้วดาวพลูโตก็ได้รับสถานะเป็นดาวเคราะห์ดวงที่เก้าอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2521 ดาวพลูโตถูกสรุปว่ามีแรงโน้มถ่วงน้อยเกินไปที่จะส่งผลกระทบต่อดาวเคราะห์ยักษ์ได้ ทำให้มีการค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่สิบขึ้น แต่การค้นหาก็ถูกเว้นระยะไปในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เมื่อยานวอยเอจเจอร์ 2 พบว่าความคลาดเคลื่อนของวงโคจรดาวยูเรนัสนั้น เกิดจากการให้ค่ามวลของดาวเนปจูนสูงเกินไป หลังจากปี พ.ศ. 2535 การค้นพบวัตถุน้ำแข็งขนาดเล็กที่มีวงโคจรคล้ายหรือกว้างกว่างดาวพลูโตได้นำไปสู่ข้อสงสัยที่ว่าดาวพลูโตยังควรจะถูกจัดเป็นดาวเคราะห์อยู่หรือควรจะถูกจัดให้อยู่กับดลุ่มวัตถุน้ำแข็งเหล่านั้น เหมือนกับดาวเคราะห์น้อย ที่ถูกจัดแยกเป็นประเภทต่างหาก ถึงแม้ว่าจะมีดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ซึ่งถูกสำรวจในขั้นต้นแล้วว่าควรจะจัดให้เป็นดาวเคราะห์ ในปี พ.ศ. 2549 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ได้จัดกลุ่มให้ดาวพลูโตและดาวอื่นๆที่มีขนาดใหญ่เป็นดาวเคราะห์แคระ ทำให้ดาวเนปจูนกลายเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ", "title": "ดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูน" }, { "docid": "275489#2", "text": "ในระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์คล้ายโลกจำนวน 4 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร และมีดาวเคราะห์แคระคล้ายโลกอีก 1 ดวง คือ ซีรีส วัตถุบางชนิดเช่น พลูโต แม้จะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์คล้ายโลก เพราะมีพื้นผิวที่เป็นของแข็งชัดเจน ทว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาวนั้นเป็นน้ำแข็ง เชื่อว่าในระหว่างการก่อตัวของดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ อาจมีดาวเคราะห์ชั้นในเป็นจำนวนมากกว่านี้ แต่ดาวเคราะห์เหล่านั้นเกิดรวมตัวกันหรือแตกกระแทกสลายไปจนเหลือเพียง 4 ดวง ในจำนวนนี้มีเพียงโลกเท่านั้นที่มีชั้นบรรยากาศซึ่งห่อหุ้มด้วยน้ำ", "title": "ดาวเคราะห์คล้ายโลก" }, { "docid": "6011#51", "text": "ดาวบริวารของดาวพลูโตถูกสันนิษฐานว่าก่อตัวจากการปะทะของดาวพลูโตกับวัตถุขนาดเดียวกันชิ้นหนึ่ง ในช่วงยุคแรก ๆ ของระบบสุริยะ การปะทะได้ปลดปล่อยวัสดุที่ซึ่งภายหลังได้รวมตัวกันก่อเป็นดาวบริวารรอบ ๆ ดาวพลูโต[122] ถึงอย่างนั้น เคอร์เบอรอสมีความสะท้อนแสงต่ำกว่าดาวบริวารดวงอื่นมาก[123] ซึ่งยากต่อการอธิบายด้วยการปะทะครั้งใหญ่[124]", "title": "ดาวพลูโต" }, { "docid": "669611#2", "text": "แม้ว่าจะมีวัตถุที่ประกอบไปด้วยน้ำแข็งมากมายในระบบสุริยะ แต่ไม่มีวัตถุไหนที่เข้าข่ายเป็นดาวเคราะห์น้ำแข็ง (ดาวพลูโตเคยถูกพิจารณาให้เป็นดาวเคราะห์น้ำแข็ง ก่อนที่จะถูกลดสถานะให้เป็นดาวแคระในปี 2006) ส่วนดาวเคราะห์น้ำแข็งนอกระบบนั้น มีที่สันนิษฐานไว้หลายดวง อาทิ OGLE-2005-BLG-390Lb OGLE-2013-BLG-0341Lb และ MOA-2007-BLG-192Lb เป็นต้น", "title": "ดาวเคราะห์น้ำแข็ง" }, { "docid": "6011#17", "text": "นับตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา วัตถุหลายชิ้นต่างถูกค้นพบว่าโคจรอยู่ในบริเวณเดียวกับดาวพลูโต แสดงให้เห็นว่าดาวพลูโตเป็นสมาชิกหนึ่งของบริเวณที่เรียกว่าแถบไคเปอร์ ทำให้สถานะการเป็นดาวเคราะห์ของมันเป็นข้อถกเถียง ด้วยคำถามที่ว่าดาวพลูโตควรจะถูกจัดรวมหรือแยกออกจากวัตถุแวดล้อมนั้น ตามพิพิธภัณฑ์หรือท้องฟ้าจำลองมักจะสร้างความขัดแย้งโดยนำดาวพลูโตออกจากการเป็นดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ ท้องฟ้าจำลองเฮย์เดนที่กลับมาเปิดใหม่หลังการปรับปรุงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ก็มีดาวเคราะห์เพียงแปดดวงในแบบจำลองระบบสุริยะ ทำให้กลายเป็นประเด็นใหญ่ไปเกือบปีหลังจากนั้น[47]", "title": "ดาวพลูโต" }, { "docid": "545#42", "text": "วัตถุในระบบสุริยะสามารถแบ่งออกได้เป็น ดาวเคราะห์รอบใน แถบดาวเคราะห์น้อย และดาวเคราะห์รอบนอก ในกลุ่มดาวเคราะห์รอบในประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ส่วนในกลุ่มดาวเคราะห์รอบนอกเป็นดาวแก๊สยักษ์ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวเคราะห์หินขนาดเล็ก พลูโต[26] พ้นจากดาวเนปจูนไปจะมีแถบไคเปอร์ และกลุ่มเมฆออร์ต ซึ่งแผ่กว้างเป็นระยะทางถึงหนึ่งปีแสง", "title": "ดาราศาสตร์" }, { "docid": "3746#75", "text": "อีรีส (68 AU โดยเฉลี่ย) เป็นวัตถุในแถบหินกระจายขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จัก เป็นต้นเหตุของการถกเถียงกันเรื่องคุณสมบัติของการเป็นดาวเคราะห์ เพราะมันมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโตอย่างน้อย 5% โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2,400 กิโลเมตร (1,500 ไมล์) ถือเป็นดาวเคราะห์แคระขนาดใหญ่ที่สุดที่เป็นที่รู้จัก[80] อีรีสมี ลักษณะวงโคจรมีค่าความเยื้องศูนย์กลางค่อนข้างสูงเหมือนกับดาวพลูโต จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ที่ประมาณ 38.2 AU (ประมาณระยะวงโคจรของดาวพลูโต) ส่วนจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ประมาณ 97.6 AU มีความเอียงกับระนาบสุริยวิถีสูงมาก", "title": "ระบบสุริยะ" }, { "docid": "3746#4", "text": "นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส", "title": "ระบบสุริยะ" }, { "docid": "193528#0", "text": "มาคีมาคี (; ; ภาษาราปานุย: มาเกมาเก ) มีชื่อเดิมว่า (136472) มาคีมาคี เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ (เท่าที่ค้นพบแล้วในขณะนี้) และเป็นหนึ่งในสองวัตถุที่ใหญ่ที่สุดของแถบไคเปอร์ (KBO) ซึ่งอยู่ในหมู่วัตถุชั้นเอกของแถบไคเปอร์ ดาวมาคีมาคีมีเส้นผ่านศูนย์กลางสามในสี่ของดาวพลูโต ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ซึ่งแปลกจากวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ แถบไคเปอร์ด้วยกัน อุณหภูมิเฉลี่ยที่ต่ำมากของดาวดวงนี้ (ประมาณ 30 เคลวิน) แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของมันถูกปกคลุมด้วยมีเทน อีเทน และอาจจะมีไนโตรเจนแข็งด้วย", "title": "ดาวมาคีมาคี" }, { "docid": "6011#28", "text": "ระนาบโคจรเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยปกป้องดาวพลูโตได้มากพอ เพราะ การรบกวนจากดาวเคราะห์ข้างเคียง (โดยเฉพาะ ดาวเนปจูน) สามารถเบี่ยงเบนเส้นทางการโคจรของดาวพลูโต (เช่น การหมุนควงของวงโคจร) จนทำให้การปะทะกันมีความเป็นไปได้มากขึ้น กระบวนการป้องกันบางอย่างจึงต้องมีขึ้น โดยกระบวนการที่สำคัญที่สุด คือ การที่ดาวพลูโตและดาวเนปจูนเกิดการสั่นพ้องของวงโคจร โดยเมื่อดาวพลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปได้สองรอบ แล้วดาวเนปจูนจะเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ได้สามรอบ และเมื่อวัตถุทั้งสองโคจรกลับมาในตำแหน่งแรกเริ่ม กระบวนการนี้ก็ยังดำเนินต่อไป โดยกินเวลาประมาณ 500 ปี ในแต่ละวัฎจักร 500 ปีนี้ เมื่อดาวพลูโตโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดดาวเนปจูนจะอยู่เยื้องหลังดาวพลูโตไปกว่า 50° เมื่อดาวพลูโตโคจรมาอยู่ในตำแหน่งนี้อีกครั้งหนึ่ง ดาวเนปจูนจะโคจรไปได้หนึ่งรอบครึ่ง ซึ่งเป็นไปในกรณีเดียวกันกับเมื่อดาวเนปจูนโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด นั่นทำให้ระยะห่างระหว่างดาวพลูโตกับดาวเนปจูนมีค่าเท่ากับ 17 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งมากกว่าระยะห่างระหว่างดาวพลูโตกับดาวยูเรนัส (11 หน่วยดาราศาสตร์)[69]", "title": "ดาวพลูโต" }, { "docid": "101137#2", "text": "ในอดีตได้มีการทำนายถึงกาลอวสานของโลก ในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์ \"แกรนด์ครอส\" (ปรากฏการณ์ที่ดาวทั้ง 9 ดวงในระบบสุริยะจักรวาล เรียงตัวเป็นรูปไม้กางเขน โดยมีโลกเป็นศูนย์กลาง) อันส่งผลให้เกิดความหายนะทั่วระบบสุริยะจักรวาล ", "title": "ขบวนการกู้ภัย โกโกไฟว์" }, { "docid": "3688#6", "text": "นิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต (♇) และดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และ 10 ถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูด และวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ", "title": "ดาวเคราะห์" }, { "docid": "66568#0", "text": "ไทรทัน () เป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเนปจูน เป็นสถานที่เพียงหนึ่งในสี่แห่งในระบบสุริยะ ที่มีก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศ นอกเหนือจากโลก ,ดาวบริวารไททัน (Titan Moon) ของดาวเสาร์ และ ดาวพลูโต", "title": "ไทรทัน (ดาวบริวาร)" }, { "docid": "66568#3", "text": "ไทรทันเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object) มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณขอบของระบบสุริยะ เลยวงโคจรของดาวพลูโต ออกไปและถูกดาวเนปจูนดูดจับเข้ามาเป็นบริวาร รูปทรงสัณฐานของไทรทันที่สังเกตเห็น จะมีแนวเฉดฟ้าอ่อนจาก Nitrogen ice เช่นเดียวกับไอของน้ำแข็งแห้ง", "title": "ไทรทัน (ดาวบริวาร)" }, { "docid": "6011#18", "text": "มีวัตถุจำนวนมากที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโตซึ่งถูกค้นพบในบริเวณเดียวกัน เป็นเหตุให้มีการถกเถียงว่าดาวพลูโตควรจะถูกจัดให้เป็นหนึ่งในวัตถุแถบไคเปอร์ เหมือนกับซีรีส พัลลัส จูโน และเวสตาที่สูญเสียสถานะการเป็นดาวเคราะห์ไปหลังจากที่ค้นพบดาวเคราะห์น้อยเป็นจำนวนมากในแถบเดียวกัน ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 มีการค้นพบ อีริส วัตถุพ้นดาวเนปจูนชิ้นใหม่ ซึ่งถูกประมาณกันว่าจะมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต ทำให้มันกลายเป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบหลังปี พ.ศ. 2389 แต่เดิมตำแหน่งนี้เป็นของ ไทรทัน ตัวผู้ค้นพบอีริสเองก็เรียกมันว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สิบ ถึงแม้ว่าในเวลานั้นจะยังไม่มีมติอย่างเป็นทางการที่จะเรียกมันว่าดาวเคราะห์[48] คนอื่น ๆ ในวงการดาราศาสตร์ได้ค้นพบข้อโต้แย้งที่หนักแน่นพอที่จะนำไปสู่การจัดประเภทของดาวพลูโตให้เป็นดาวเคราะห์แคระ[49]", "title": "ดาวพลูโต" }, { "docid": "3746#70", "text": "ดาวพลูโต (39 AU โดยเฉลี่ย) เป็นดาวเคราะห์แคระ และเป็นวัตถุในแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จัก เมื่อแรกที่ค้นพบดาวพลูโตในปี ค.ศ. 1930 มันถูกจัดว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่เก้า แต่ในปี ค.ศ. 2006 มีการจัดประเภทใหม่หลังจากที่มีการกำหนดคำจำกัดความของ \"ดาวเคราะห์\" อย่างเป็นทางการ ดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรประมาณ 17 องศาเทียบกับระนาบสุริยวิถี มีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ 29.7 AU (ในระดับวงโคจรของดาวเนปจูน) และมีจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดที่ 49.5 AU", "title": "ระบบสุริยะ" }, { "docid": "3746#32", "text": "เมื่อพิจารณาจากทั้งแง่กายภาพและการเคลื่อนที่ วัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภทคือ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ และ วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ไม่ว่าจะมีขนาดใดก็ตามที่โคจรรอบดวงอาทิตย์จะมีมวลมากพอจะสร้างตัวเองให้มีรูปร่างเป็นสัณฐานกลม และขับไล่ชิ้นส่วนเล็กๆ ที่อยู่รอบตัวเองให้ออกไปให้พ้นระยะ จากคำจำกัดความนี้ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจึงมี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวพลูโตถูกปลดออกจากตำแหน่งดาวเคราะห์เนื่องจากมันไม่สามารถขับไล่วัตถุเล็กๆ อื่นๆ ในบริเวณแถบไคเปอร์ออกไปพ้นวงโคจรของมันได้[31]", "title": "ระบบสุริยะ" }, { "docid": "3746#76", "text": "เราไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่า ระบบสุริยะสิ้นสุดที่จุดไหน หรืออวกาศระหว่างดาวเริ่มต้นขึ้นที่จุดไหน เพราะขอบเขตรอบนอกของระบบเป็นไปด้วยอิทธิพลของแรง 2 ชนิดที่แตกต่างกัน คือ ลมสุริยะ และแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ อิทธิพลด้านนอกสุดของลมสุริยะกินเนื้อที่ออกไปประมาณ 4 เท่าของระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดาวพลูโต เรียกว่าขอบเขตเฮลิโอพอส ซึ่งอาจนับเป็นจุดเริ่มต้นของสสารระหว่างดาวก็ได้[81] อย่างไรก็ดี เชื่อว่าทรงกลมรอชของดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นเนื้อที่ภายใต้อิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ กินพื้นที่ไกลออกไปมากกว่านั้นถึงกว่าหนึ่งพันเท่า", "title": "ระบบสุริยะ" }, { "docid": "6011#62", "text": "นิวฮอไรซันส์</i>บินเข้าใกล้ดาวพลูโตที่สุดในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 หลังจากการเดินทางข้ามระบบสุริยะกว่า 3,462 วัน การสังเกตทางวิทยาศาสตร์ของดาวพลูโตเริ่มขึ้นตั้งแต่ 5 เดือนก่อนที่ยานจะบินผ่านดาวพลุโต และดำเนินต่อไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือนหลังบินผ่าน การสังเกตดำเนินการโดยใช้อุปกรณ์สำหรับการสำรวจระยะไกลซึ่งรวมทั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพ และอุปกรณ์ส่งสัญญาณคลื่น จุดมุ่งหมายทางวิทยาศาสตร์ของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[59447,59466,2,2]}'>ยานนิวฮอไรซันส์ คือระบุรายละเอียดลักษณะทางกายภาพและสัณฐานของดาวพลูโตกับแครอน ดาวบริวารของมัน ทำแผนที่แต่ละส่วนของผิวดาว และวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศปกติของดาวพลูโตและอัตราของหลุดออกของมัน", "title": "ดาวพลูโต" }, { "docid": "6011#56", "text": "เหมือนกับดาวดวงอื่น ๆ ในแถบไคเปอร์ พลูโตถูกคาดว่าจะมีเศษซากของดาวเคราะห์เล็ก ๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่จากจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งเป็นเศษดาวที่ไม่สามารถรวมตัวกันได้ในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะ นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าดาวพลูโตอยู่ในวงโคจรดังปัจจุบันนี้ได้ เนื่องจากการย้ายตำแหน่งฉับพลัน โดยดาวเนปจูนในช่วงแรก ๆ ของระบบสุริยะ ขณะที่ดาวเนปจูนเคลื่อนออกไปเรื่อย ๆ จนถึงตำแหน่งของวัตถุในแถบไคเปอร์ก่อนเกิด ได้ดึงดาวดวงนี้มาโคจรรอบตัวเอง (ไทรทัน) และทำให้อัตราส่วนวงโคจรของดาวดวงอื่นคงที่ และบางส่วนของถูกเหวี่ยงออกไปจนกลายเป็นวงโคจรที่ผิดปกติ วัตถุในแถบหินกระจายซึ่งเป็นบริเวณที่วงโคจรไม่เสถียร อยู่พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไป ถูกคาดว่าวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ในตำแหน่งนั้นปัจจุบัน เกิดจากผลกระทบที่ดาวเนปจูนเคลื่อนออกมาจากบริเวณใกล้ดวงอาทิตย์[133] แบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2547 โดยอาเลสซันโดร มอร์บีเดลลี จากหอสังเกตการณ์โกตดาซูร์ในนิส เสนอว่าการย้ายตำแหน่งของดาวเนปจูนสู่แถบไคเปอร์นั้น อาจเกิดจากการก่อตัวของอัตราส่วนวงโคจร 1:2 ของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ ซึ่งได้สร้างแรงผลักจากความโน้มถ่วง ทำให้วงโคจรของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนขยายกว้างขึ้น จนสุดท้ายเกิดการสลับที่ เป็นผลให้วัตถุแถบไคเปอร์ดั้งเดิมถูกผลักออกไปด้วย ซึ่งสามารถอธิบายถึงการกระหน่ำครั้งใหญ่ช่วงปลาย ที่เกิดขึ้นเมื่อ 600 ล้านปีก่อนหลังจากการก่อตัวของระบบสุริยะ และจุดกำเนิดของโทรจันดาวพฤหัสบดี[134] มันเป็นไปได้ว่าก่อนหน้าที่ดาวเนปจูนจะย้ายตำแหน่งจนรบกวนวงโคจรดาวต่าง ๆ ในตำแหน่งดั้งเดิม ดาวพลูโตเคยมีวงโคจรที่ระยะ 33 หน่วยดาราศาสตร์จากดวงอาทิตย์[135] แบบจำลองนิซแสดงผลว่า จะมีวัตถุขนาดเท่าดาวพลูโตจำนวนมากอยู่ในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดดั้งเดิม ซึ่งรวมทั้งไทรทันและอีริส[134]", "title": "ดาวพลูโต" }, { "docid": "3746#71", "text": "คารอน เป็นดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ที่สุดของดาวพลูโต แต่ยังไม่มีการยืนยันชัดเจนว่ามันจะยังสามารถจัดประเภทเป็นดาวเคราะห์แคระได้หรือไม่ ทั้งพลูโตและคารอนมีจุดศูนย์รวมแรงโน้มถ่วงในการโคจรอยู่ระหว่างกันและกัน ทำให้ดูเหมือนว่า พลูโตกับคารอนเป็นระบบดาวคู่ ยังมีดวงจันทร์ขนาดย่อมกว่าอีก 2 ดวงคือ นิกซ์ และ ไฮดรา โคจรรอบพลูโตกับคารอน", "title": "ระบบสุริยะ" }, { "docid": "3746#33", "text": "ดาวเคราะห์แคระ คือเทหวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์และมีมวลมากพอจะทำให้ตัวเองมีสัณฐานกลมเนื่องจากแรงโน้มถ่วง แต่ไม่สามารถขจัดชิ้นส่วนก่อนเกิดดาวเคราะห์ออกไป ทั้งไม่สามารถเป็นดาวบริวาร[31] จากคำจำกัดความนี้ ระบบสุริยะจึงมีดาวเคราะห์แคระที่รู้จักแล้ว 5 ดวงคือ ซีรีส พลูโต เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส[32] วัตถุอื่นๆ ที่อาจสามารถจัดประเภทเป็นดาวเคราะห์แคระได้ ได้แก่ เซดนา ออร์กัส และควาอัวร์ ดาวเคราะห์แคระที่โคจรอยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูนเรียกชื่อรวมๆ ว่า \"พลูตอยด์\"[33] นอกเหนือจากนี้ วัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ที่โคจรไปรอบดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ[31]", "title": "ระบบสุริยะ" }, { "docid": "46995#0", "text": "136199 อีริส (Eris) หรือ 2003 UB เป็นดาวเคราะห์แคระหนึ่งในวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) เป็นดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่ เป็นลำดับที่ 2 ในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน มีขนาดเล็กกว่าดาวพลูโตเล็กน้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1445 กิโลเมตร(ขนาดดาวพลูโต 1473 กิโลเมตร) มีดวงจันทร์บริวาร 1 ดวง ชื่อ ดิสโนเมีย (Dysnomia)", "title": "ดาวเอริส" }, { "docid": "985899#5", "text": "ปฏิทรรศน์นี้สามารถกล่าวได้สองอย่าง\nอย่างแรกคือ \"ทำไมจึงไม่พบมนุษย์ต่างดาวหรือสิ่งประดิษฐ์ของพวกเขาในโลกใบนี้ หรือในระบบสุริยะนี้\" \nถ้าการเดินทางระหว่างดวงดาวเป็นไปได้ แม้แต่การเดินทางอย่างช้า ๆ ซึ่งโลกเราก็เกือบจะมีแล้ว ก็จะใช้เวลาเพียงแค่ 5-50 ล้านปีเพื่อยึดครองดาราจักรทั้งหมด\nนี่เป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เทียบกับธรณีกาล ไม่ต้องกล่าวถึงจักรวาลกาล\nดังนั้น ปัญหาก็คือ ทำไมจึงยังไม่มีการยึดครองดาราจักรเพราะมีดาวฤกษ์ที่เก่าแก่กว่าดวงอาทิตย์มากมายและเพราะน่าจะมีสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดซึ่งวิวัฒนาการขึ้นในที่อื่น ๆ \nอนึ่ง แม้ถ้าการยึดครองจักรวาลทำไม่ได้หรือไม่ต้องการ การสำรวจจักรวาลก็อาจทำได้ด้วยเครื่องสำรวจดวงดาว\nซึ่งอาจทิ้งร่องรอยให้เห็นได้ในระบบสุริยะ เช่น เครื่องจักรที่เสียแล้ว หรือหลักฐานของการขุดเหมืองแร่ แต่ก็ไม่เคยพบสิ่งเหล่านี้", "title": "ปฏิทรรศน์ของแฟร์มี" }, { "docid": "6011#25", "text": "โดยรวมแล้ว วงโคจรของดาวพลูโตไม่มีความเสถียรภาพ ถึงแม้ว่าการประมวลผลจากคอมพิวเตอร์จะสามารถคำนวณตำแหน่งของดาวพลูโตได้ถึงหลายล้านปีข้างหน้า (ทั้งไปข้างหน้าและย้อนกลับ) แต่หลังจากที่คำนวณจนไปถึงช่วงเวลาเลียปูนอฟของ 10–20 ล้านปี และมากกว่านั้น การคำนวณจะเริ่มผิดพลาดมากขึ้น: ดาวพลูโตมีความว่องไวต่อรายละเอียดที่เล็กเกินกว่าจะวัดได้ของระบบสุริยะ ปัจจัยที่คาดเดาได้ยากเหล่านั้น เป็นตัวทำให้วงโคจรของดาวพลูโตค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลง[65][66]", "title": "ดาวพลูโต" }, { "docid": "3875#75", "text": "ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารขนาดค่อนข้างใหญ่ มีพื้นผิวแข็ง คล้ายดาวเคราะห์โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณหนึ่งในสี่ของโลก เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดในระบบสุริยะเมื่อเทียบสัดส่วนกับดาวเคราะห์ แม้ว่าแครอนมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบสัดส่วนกับดาวเคราะห์แคระพลูโต ดาวบริวารที่โคจรรอบดาวเคราะห์อื่น ๆ ก็เรียก \"ดวงจันทร์\" ตามดวงจันทร์ของโลก", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "154005#54", "text": "เหตุการณ์ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ชนดาวพฤหัสบดีใน ค.ศ. 1994 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังภารกิจซ่อมบำรุงกล้องฮับเบิลครั้งที่ 1 เพียงไม่กี่เดือน ภาพถ่ายดาวพฤหัสบดีจากกล้องฮับเบิลเป็นภาพถ่ายดาวพฤหัสบดีที่คมชัดที่สุดนับตั้งแต่ยานวอยเอเจอร์ 2 ถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีใน ค.ศ. 1979 และเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาการชนระหว่างดาวหางกับดาวพฤหัสบดีซึ่งเชื่อกันว่าเกิดขึ้นทุก ๆ ไม่กี่ศตวรรษ นอกจากนี้มันยังใช้ศึกษาวัตถุที่อยู่นอกระบบสุริยะ รวมถึงดาวเคราะห์แคระพลูโตและอีริส", "title": "กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล" }, { "docid": "3746#73", "text": "เฮาเมอา (43.34 AU โดยเฉลี่ย) และมาคีมาคี (45.79 AU โดยเฉลี่ย) เป็นวัตถุดั้งเดิมในแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จัก เฮาเมอามีรูปสัณฐานเหมือนไข่ มีดวงจันทร์บริวาร 2 ดวง มาคีมาคีเป็นวัตถุสว่างที่สุดในแถบไคเปอร์รองจากดาวพลูโต แต่เดิมดาวทั้งสองมีชื่อรหัสว่า 2003 EL61 และ 2005 FY9 ตามลำดับ ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อดาว (พร้อมทั้งยกสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระ) ในปี ค.ศ. 2008 วงโคจรของดาวทั้งสองยิ่งมีความเยื้องมากกว่าดาวพลูโตเสียอีก (ที่ 28° และ 29°) [78] แต่ดาวทั้งสองนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากวงโคจรของดาวเนปจูน เพราะอยู่ในย่านที่เป็นสมาชิกดั้งเดิมของแถบไคเปอร์", "title": "ระบบสุริยะ" }, { "docid": "3746#72", "text": "วงโคจรของดาวพลูโตอยู่ในแถบการสั่นพ้อง มีค่าสั่นพ้องวงโคจรกับดาวเนปจูนที่ 3:2 หมายความว่า พลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ 2 รอบต่อการโคจรของดาวเนปจูน 3 รอบ วัตถุในแถบไคเปอร์ที่ร่วมอยู่ในวงโคจรการสั่นพ้องจะเรียกว่าเป็นพวก พลูติโน[77]", "title": "ระบบสุริยะ" } ]
3919
เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554 มีผู้เสียชีวิตกี่ราย ?
[ { "docid": "383929#1", "text": "ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้มีรายงานถึงอุบัติเหตุ ที่เฮลิคอปเตอร์แบบฮิวอี้ปฏิบัติหน้าที่จับกุมผู้บุกรุกป่าไม้ เนื่องด้วยสภาพอากาศปิด ได้ส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวตกลงไปในบริเวณตะเข็บชายแดน ในวันที่ 17 กรกฎาคม มีรายงานการพบศพผู้เสียชีวิต 5 นาย ซึ่งต่อมา ในวันที่ 18 กรกฎาคม ทางกองทัพบกไทยได้ส่งทีมช่วยเหลือไปรับศพโดยใช้เฮลิคอปเตอร์แบบแบล็กฮอว์กเป็นพาหนะ และเนื่องด้วยสภาพอากาศปิด จึงเลื่อนภารกิจดังกล่าวออกไปหนึ่งวัน จนมาถึงในวันที่ 19 กรกฎาคม ได้มีการส่งทหาร 8 นายและนักข่าว 1 นายเดินทางไปรับศพ ผลปรากฏว่าเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กได้ตกลงไปในป่า การกระแทกกับพื้นส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์แตกกระจาย และผู้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวเสียชีวิตทั้ง 9 ราย[2] ในเบื้องต้น ได้มีการลำเลียงศพมาบางส่วน และในวันที่ 24 กรกฎาคม ทางหน่วยได้ส่งทีมไปรับศพผู้สูญเสียเจ็ดรายที่เหลือ โดยได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 212 (ฮ.ท.212) (เบลล์ 212) จำนวน 3 ลำ ปรากฏว่าลำสุดท้ายได้ตกลงไปในป่า และเพลิงลุกไหม้[3] มีรายงานผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าวสามราย และรอดชีวิตหนึ่งราย ซึ่งทีมช่วยเหลือได้ประสานงานโดยการนำรถไปรับศพมาเพื่อทำพิธีทางศาสนาที่จังหวัดกาญจนบุรีอย่างสมเกียรติ[4]", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" } ]
[ { "docid": "383929#14", "text": "พันตรีประพันธ์ เจียมสูงเนิน (นักบิน 1) ได้เลื่อนยศเป็น พลโท พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย พันตรีชูพันธ์ พลวรรณ (นักบิน 2) ได้เลื่อนยศเป็น พลตรี พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย จ่าสิบเอกสมคิด วงษ์ตาแสง (ช่างเครื่อง) ได้เลื่อนยศเป็น พันโท พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก สิบเอกอร่าม พงษ์สิงห์ ได้เลื่อนยศเป็น ร้อยเอก พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย พลตรีตะวัน เรืองศรี (ผู้บัญชากองพลทหารราบที่ 9) ได้เลื่อนยศเป็น พลเอก พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ ร้อยเอกเจษ สุขใจ ได้เลื่อนยศเป็น พันเอก พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก ร้อยเอกจักรพันธ์ บำรุงพืช ได้เลื่อนยศเป็น พันโท พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย สิบตรีอิทธิศักดิ์ หิณะสุทธิ์ ได้เลื่อนยศเป็น ร้อยโท พร้อมค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันชีวิต ประมาณกว่า 2 ล้านบาท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย ศรวิชัย คงตันนิกูล (ช่างภาพสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5) [2] โดยกองทัพบกจะให้เงินช่วยเหลือใกล้เคียงกับกำลังพลของกองทัพบก", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#5", "text": "พันตรีประพันธ์ เจียมสูงเนิน (นักบิน 1 - ผู้บังคับหมวดบริการและซ่อมบำรุง กองบินปีกหมุนที่ 9 ผสม) พันตรีชูพันธ์ พลวรรณ (นักบิน 2 - นักบินกองบินปีกหมุนที่ 9 ผสม) จ่าสิบเอกสมคิด วงษ์ตาแสง (ช่างเครื่อง - ช่างบินปีกหมุน กองบินปีกหมุนที่ 9 ผสม) สิบเอกอร่าม วงศ์สิงห์ (ช่างซ่อมเครื่องบินปีกหมุนโจมตี ตอนซ่อมบำรุงเครื่องบิน หมวดบริการและซ่อมบำรุง กองบินปีกหมุนที่ 9) พลตรีตะวัน เรืองศรี (ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9) ร้อยเอกเจษ สุขใจ (รองผู้บังคับการร้อยลาดตระเวณระยะไกล ที่ 9) ร้อยเอกจักรพันธ์ บำรุงพืช (นายทหารยุทธการ ฝ่ายยุทธการและการข่าว ร้อยลาดตระเวณระยะไกล ที่ 9) สิบตรีอิทธิศักดิ์ หิณะสุทธิ์ (พลทหารโทรเลข ร้อยลาดตระเวณระยะไกล ที่ 9) ศรวิชัย คงตันนิกูล (ช่างภาพสายการเมืองสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 - อดีตช่างภาพสายการเมืองสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย) [2][7]", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#21", "text": "หมวดหมู่:อุบัติเหตุทางการบินในประเทศไทย หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#13", "text": "เฮลิคอปเตอร์: แบล็กฮอว์ก", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#12", "text": "พันตรีกิติศักดิ์ จีนเอี่ยม (นักบิน 1) ได้เลื่อนยศเป็น พลตรี และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก ร้อยโทปรัชญา นวลศรี (นักบิน 2) ได้เลื่อนยศเป็น พันเอก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย จ่าสิบเอกรังสรรค์ พลสายบัว (ช่างเครื่อง) ได้เลื่อนยศเป็น พันเอก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก จ่าสิบเอกณรงค์เดช พงษ์นุ่มกูล (ช่างเครื่อง) ได้เลื่อนยศเป็น พันเอก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก พันตรีกิติภูมิ เอกพันธ์ (นายทหารยุทธการหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ) ได้เลื่อนยศเป็น พลตรี และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#2", "text": "เฮลิคอปเตอร์: ยูเอช-1 ไอโรควอยส์ (ฮิวอี้) วันที่เกิดเหตุ: 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (พิกัด NQ 254/127 [5])", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#8", "text": "ในลำที่ 3 นี้ มีผู้รอดชีวิต 1 นายคือ สิบเอกพัฒนพร ต้นจันทร์ (ช่างเครื่อง) [8][9]", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "985675#0", "text": "เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 20:30 น. ตามเวลาท้องถิ่น เกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ รุ่น AgustaWestland AW169 ตกใกล้คิงเพาเวอร์สเตเดียม เมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561 สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี ออกประกาศแถลงรายชื่อผู้เสียชีวิตจำนวน 5 ราย เป็นผู้โดยสาร 3 คน คือนายวิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี และประธานกรรมการกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชันแนล นายกวีพร พรรณแพร และนางสาวนุสรา สุขหน้าไม้ เจ้าหน้าที่สโมสรชาวไทย และนักบิน 2 คน", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีตก พ.ศ. 2561" }, { "docid": "779666#26", "text": "ต่อมาวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เกิดเหตุสังหารหมู่ลูกเรือชาวจีน 13 ราย ที่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 เกิดเหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555 มีผู้เสียชีวิต 14 ราย และในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เกิดเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 มีผู้เสียชีวิต 20 ราย วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ได้เกิดคดีฆาตกรรมยกครัว 8 ศพ ที่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ", "title": "อาชญากรรมในประเทศไทย" }, { "docid": "925048#1", "text": "เฮลิคอปเตอร์ทางทหาร ยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก ในขณะนั้นมีผู้โดยสารบนอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ 4 คน ได้แก่ มูราด, นาเวิร์ด, ผู้บัญชาการปกป้องพลเรือนของรัฐ และบุคคลอีกหนึ่งคน ซึ่งกำลังเดินทางไปเมืองซานเตียโก ยามิลเตเปก ในขณะที่กำลังนำจอดบนภาคพื้นดิน นักบินได้เกิดการเสียการควบคุมอากาศยาน อากาศยานเฮลิคอปเตอร์ได้ตกทับรถสองคันที่จอดที่ลานกว้าง ครอบครัวเจ้าของรถได้อาศัยหลับนอนในรถตอนช่วงกลางคืนในระหว่างช่วงเกิดเหตุแผ่นดินไหว มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 14 คน และบาดเจ็บอีก 15 คน ทั้ง 4 คนบนอากาศยานเฮลิคอปเตอร์รอดชีวิตได้", "title": "แผ่นดินไหวในรัฐวาฮากา พ.ศ. 2561" }, { "docid": "125695#0", "text": "เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวกประชิดกับ ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางด้านเหนือน้ำ ของเขื่อนเพชรขึ้นไปตามถนน 27 กิโลเมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 58 เมตร ระดับสันเขื่อน 106 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ฐานตอนที่กว้างที่สุด 250 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ", "title": "เขื่อนแก่งกระจาน" }, { "docid": "383929#10", "text": "นายทหารทุกนาย ต่างได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ[4] และได้รับการเลื่อนยศจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการปูนบำเหน็จพิเศษ 8 ขั้น แยกเป็น 7 ขั้นที่เกิดจากการปฏิบัติภารกิจการบินทางอากาศ และทุกนายได้ถูกบรรจุกำลังในศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ตลอดจนปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ทั้งออกสนามมากกว่า 6 เดือน จึงได้รับเพิ่มอีก 1 ขั้น รวมเป็น 8 ขั้น รวมถึงครอบครัวต่างได้รับการช่วยเหลือทางสวัสดิการประมาณรายละกว่า 2 ล้านบาท และครอบครัวของช่างภาพผู้สูญเสียชีวิตนั้นได้รับการช่วยเหลือจากทางการในระดับเดียวกัน[12] และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งมีดังนี้:", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#20", "text": "ทางด้านนักโหราศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญเรื่องฮวงจุ้ย มีความเห็นว่าบริเวณพื้นที่ป่าแก่งกระจานนั้น มีลักษณะฮวงจุ้ยคล้ายกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา[17] นอกจากนี้แล้ว ยังมีภาพถ่ายของอุบัติเหตุครั้งที่ 3 ที่เมื่อเผยแพร่ออกมาแล้ว มีรูปของสิ่งที่ดูคล้ายคน 2 คน นั่งอยู่ในจุดเกิดเหตุท่ามกลางเปลวไฟ อย่างไรก็ตาม ทางกองทัพบกได้ปฏิเสธเรื่องนี้ แต่ยอมรับว่าเหตุการณ์นี้ทำให้กำลังพลของกองทัพเสียขวัญ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจได้มีการทำพิธีทำบุญครั้งใหญ่[18]", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#9", "text": "ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้มีรายงานความคืบหน้าในการกู้ซากแบล็กฮอว์ก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่สูนย์ประสานงาน ได้รับรายงานว่ามีการพบ ELT 96 สีส้ม หรือ กล่องดำ ที่บันทึกการบินของเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กที่ประสบอุบัติเหตุแล้ว[10] โดยสันนิษฐานว่า จากสภาพของแบล็กฮอว์กที่ตกจนชิ้นส่วนแตกกระจายแต่ล้อยางไม่แตกนั้น อาจเกิดจากการที่เฮลิคอปเตอร์ตกลงไปแบบหงายท้องเนื่องด้วยหลงสภาพการบิน[5] ส่วนในวันที่ 24 กรกฎาคม ได้มีการชี้แจงว่าเฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 ไม่ได้ประสบอุบัติเหตุเนื่องจากปัญหาสภาพอากาศเหมือนเฮลิคอปเตอร์ที่ตก 2 ลำแรก หากแต่เกิดจากการที่เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 เสียการทรงตัว และเกิดการสูญเสียการบังคับ เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 จึงตกลงมา[11]", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#15", "text": "นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี ยังได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลการกุศลของชมรมผู้สื่อข่าวการเมือง ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เพื่อหารายได้ช่วยเหลือครอบครัวช่างภาพประจำสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 นี้เช่นกัน[13]", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#7", "text": "พันตรีฐิระรัตน์ แก้วกระมล ผู้บังคับอากาศยาน ตอนขนส่งทางอากาศ หมวดขนส่งกำเนิด สังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 ศูนย์การบินทหารบก (นักบิน 1) ร้อยโทปูรณะ หวานใจ ตอนขนส่งทางอากาศ หมวดขนส่งทางอากาศ สังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 (นักบิน 2) จ่าสิบเอกวิเชียร จันทร์พัฒน์ ช่างซ่อมบินปีกหมุน หมวดบริการและซ่อมบำรุงเครื่องบิน (ช่างเครื่อง)", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#16", "text": "เฮลิคอปเตอร์: เบลล์ 212", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#4", "text": "เฮลิคอปเตอร์: ยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก วันที่เกิดเหตุ: 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (พิกัด NQ 243118 [5])", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#19", "text": "อีกทั้ง ในเหตุการณ์อุบัติเหตุครั้งแรก เมื่อพบศพผู้เสียชีวิตแล้วทั้งหมด 5 ศพ แต่ไม่พบชิ้นส่วนศีรษะที่ขาดหายไป และเมื่อจะนำศพขนกลับ ไม่สามารถกระทำได้เพราะมีฝนตกลงมา เชื่อว่าเป็นเพราะยังหาชิ้นส่วนของร่างกายไม่ครบ นอกจากนี้แล้ว ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุครั้งที่ 2 เมื่อ พล.ต.ตะวัน เรืองศรี หัวหน้าหน่วยที่ค้นหาเหตุอุบัติเหตุครั้งแรก ก่อนขึ้นเครื่องเริ่มปฏิบัติการณ์ได้เอ่ยประโยคที่เสมือนเป็นลางบอกเหตุว่า \"เดินทางไปด้วยตัวเองเพื่อนำน้อง ๆ ทั้ง 5 กลับมาให้ได้ในวันนี้ (19 ก.ค.) เพราะญาติ ๆ ของพวกเขารออยู่\" และเมื่อสื่อมวลชนได้พยายามติดตามขอเข้าไปทำข่าวในพื้นที่ด้วย ปรากฏว่า พล.ต.ตะวัน ได้กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า \"อย่าไปเลย เดี๋ยวก็ตกกันหมด\" [16]", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#11", "text": "เฮลิคอปเตอร์: ฮิวอี้", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "24830#5", "text": "ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกกลางทุ่งนาที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีนักแสดงหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิงล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก หลังจากนั้น ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือชื่อ \"บันทึกลับจากทุ่งใหญ่\" จำหน่ายราคา 5 บาท จำนวน 5,000 เล่ม[4] เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จนขายหมดในเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง และได้รับการขยายผลโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงในชมรมคนรุ่นใหม่ออกหนังสือชื่อ \"มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ\" ที่มีเนื้อหาตอนท้ายเสียดสีนายกรัฐมนตรี เป็นผลให้ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดี สั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำ 9 คนซึ่งเป็นผู้จัดทำหนังสือ ออกจากสถานะนักศึกษา ทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมระหว่างวันที่ 21–27 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ท้ายสุด ดร.ศักดิ์ต้องยอมคืนสถานะนักศึกษาทั้ง 9 คน และ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ ได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ", "title": "เหตุการณ์ 14 ตุลา" }, { "docid": "123507#0", "text": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2516 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับคณะนายทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ จำนวนประมาณ 60 คนที่เดินทางไปตั้งค่ายพักแรม เพื่อฉลองวันเกิด และใช้อาวุธสงครามล่าสัตว์ป่าภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน พ.ศ. 2516 ทั้งที่มีความพยายามขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่อุทยาน สื่อมวลชนและนิสิตนักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยหนึ่งในผู้ร่วมคณะ มี พันเอกณรงค์ กิตติขจร และดาราสาว เมตตา รุ่งรัตน์ รวมอยู่ด้วย ต่อมาคณะข้าราชการนี้ได้เดินทางกลับกรุงเทพมหานครด้วยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก จำนวน 2 ลำ แต่เฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง หมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกระหว่างทาง ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีผู้เสียชีวิต 6 คน และพบซากสัตว์ป่า โดยเฉพาะซากกระทิง เป็นจำนวนมาก ", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2516" }, { "docid": "122990#2", "text": "ในอดีตแก่งกระจานเป็นพื้นที่ในเขตการปกครองท้องที่ของอำเภอท่ายาง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง กิ่งอำเภอแก่งกระจาน ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 ประกอบไปด้วยพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลแก่งกระจาน ตำบลสองพี่น้อง และตำบลวังจันทร์ ต่อมามีการจัดตั้งตำบลในเขตกิ่งอำเภอแก่งกระจานเพิ่มขึ้นอีก 3 ตำบล ดังนี้ \nและในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2536 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอแก่งกระจานขึ้นเป็น อำเภอแก่งกระจาน", "title": "อำเภอแก่งกระจาน" }, { "docid": "383929#3", "text": "พันตรีเกียรติศักดิ์ จันเอี่ยม นักบินสังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 (นักบิน 1) ร้อยโทปรัชญา นวลศรี นักบินสังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 (นักบิน 2) จ่าสิบเอกรังสรรค์ พลสายบัว ช่างเครื่องปีกหมุน สังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 (ช่างเครื่อง) จ่าสิบเอกณรงค์เดช พงษ์นุ่มกูล ตำแหน่งช่างปีกหมุน สังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 (ช่างเครื่อง) พันตรีกิติภูมิ เอกพันธ์ รองผู้บังคับการกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 19 (นายทหารยุทธการหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ) [2][6]", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#18", "text": "ในเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้มีความเชื่อว่า ที่เฮลิคอปเตอร์ตกถึง 3 ครั้งติดต่อกัน ผู้เสียชีวิตมากมายนั้น เป็นเพราะแรงอาถรรพ์หรือคำสาปของชาวกะเหรี่ยงที่เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในผืนป่าแห่งนั้น โดยชาวกะเหรี่ยงอาวุโสที่มีอายุกว่า 103 ปี ที่มีชื่อเรียกกันในท้องถิ่นว่า ปู่คออี๋ ซึ่งเป็นผู้นำจิตวิญญาณและเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องคาถาอาคม กล่าวว่าเป็นเพราะแรงคำสาปของชาวกะเหรี่ยงที่เจ็บแค้นที่ถูกทหารไทยขับไล่ที่อยู่อาศัยจนมีผู้บาดเจ็บและล้มตาย เมื่อปี พ.ศ. 2538 อีกทั้งมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 17 ศพ ซึ่งเลข 7 เป็นเลขอาถรรพ์ตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง เนื่องจากเลข 7 เมื่อเขียนกลับหัวแล้วจะคล้ายกับคำว่าตายในภาษากะเหรี่ยงโบราณ[15]", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#6", "text": "เฮลิคอปเตอร์: เบลล์ 212 วันที่เกิดเหตุ: 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (พิกัด NQ 719299 [5])", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#17", "text": "พันตรีฐิระรัตน์ แก้วกมล (นักบิน 1) ได้เลื่อนยศเป็น พลโท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก ร้อยโทบูรณา หวานใจ (นักบิน 2) ได้เลื่อนยศเป็น พันโท และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย จ่าสิบเอกวิเชียร จันทร์พัฒน์ ได้เลื่อนยศเป็น พลตรี และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย สิบเอกพัฒนพร ต้นจันทร์ ได้เงินบำรุงขวัญและค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[14] พระราชทานดอกไม้เยี่ยมไข้ โดยให้พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในการนี้ด้วย และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรีได้เข้าเยี่ยมด้วยตนเอง", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" }, { "docid": "386369#99", "text": "วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ชาวบ้านป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ และตำบลบึงนคร อำเภอหัวหิน กว่า 1,500 คน ซึ่งอยู่ในจุดบริเวณแม่น้ำปราณไหลผ่าน ในพื้นที่แถบภูเขาได้รับความเดือดร้อนหลังเกิดฝนตกหนักในเทือกเขาตะนาวศรีหลายวันติดต่อกัน ส่งผลเกิดน้ำป่าไหลทะลักจากต้นแม่น้ำเพชรบุรี จุดที่เฮลิคอปเตอร์ตกในป่าแก่งกระจาน น้ำป่าทะลักไหลลงแม่น้ำปราณบุรีกลางดึก ทำให้เส้นทางการคมนาคมถูกตัดขาด[137]", "title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554" }, { "docid": "383929#0", "text": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554 เป็นอุบัติเหตุครั้งสำคัญของประเทศไทย ที่เฮลิคอปเตอร์ตก 3 ลำต่อเนื่องกันในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต และนำมาซึ่งความโศกเศร้าของบุคคลในครอบครัว[1]", "title": "เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554" } ]
3920
เดอะเลเจนด์ออฟเซลดามีตัวเอกชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "137542#1", "text": "ตัวเอกที่สามารถเล่นได้เพียงคนเดียวคือเด็กหนุ่มชื่อ ลิงก์ (Link) เขามักได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือ เจ้าหญิงเซลดา (Zelda) แห่ง อาณาจักรไฮรัล (Hyrule) รวมทั้งตัวประกอบอื่นๆ ซึ่งถูกจับตัวไปโดย กาน่อน (Ganon) ศัตรูตัวหลักของเรื่อง แต่อย่างไรก็ตามตัวละครบางตัวอาจปรากฏหรือไม่ปรากฏในภาคอื่นๆ ก็ได้ หรืออาจมีตัวละครตัวอื่นที่จะต้องช่วยเหลือหรือต้องต่อสู้ด้วยแทน เนื้อเรื่องโดยปกติมักจะเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ที่เรียกว่า ไทรฟอร์ซ (Triforce) มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมสีทองสามอัน ซึ่งเป็นตัวแทนของพลังอันไม่สิ้นสุดของพระเจ้าสามองค์", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (เกมชุด)" } ]
[ { "docid": "787701#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา สกายวอร์ดซอร์ด (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2011 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับวี.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา สกายวอร์ดซอร์ด" }, { "docid": "793182#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา แฟนทัมเอาเออร์แกลสส์ (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2007 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับนินเทนโด ดีเอส.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา แฟนทัมเอาเออร์แกลสส์" }, { "docid": "137542#2", "text": "เกมชุดเดอะเลเจนด์ออฟเซลดาได้รับการยอมรับในวงกว้างว่าเป็นหนึ่งในวิดีโอเกมที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ ควบคู่ไปกับ มาริโอ โปเกมอน และเมทรอยด์ เกมชุดนี้ประกอบไปด้วยเกมอย่างเป็นทางการ 14 ภาค เกมย่อยอีกหลายภาค บนเครื่องเล่นวิดีโอเกมชนิดต่างๆ เกมหลายภาคได้รับความชื่นชมจากผู้เล่นเป็นอย่างมากและประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 เกมชุดเดอะเลเจนด์ออฟเซลดาทั้งหมดมียอดขายไปแล้วกว่า 47 ล้านสำเนา (รวมตลับเกมและแผ่นซีดี) [1] เกมชุดนี้ยังได้ขยายการส่งเสริมการขายด้วยตุ๊กตาและของเล่น นอกจากนี้ยังมีการนำไปดัดแปลงเป็นมังงะ หนังสือการ์ตูน และภาพยนตร์การ์ตูน", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (เกมชุด)" }, { "docid": "589357#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ลิงกส์อะเวกเคนนิง (; ) ผลิตขึ้นในปี ค.ศ.1993 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับเกมบอย เกมนี้เป็นเกมลำดับที่ 4 ของซีรีส์และเป็นภาคแรกที่ทำลงเครื่องเล่นเกมพกพา", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ลิงส์อะเวกเคนนิง" }, { "docid": "137542#8", "text": "มิยะโมะโตะยังกล่าวอีกว่า เมื่อเขาได้ยินชื่อภรรยาของสกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ (F. Scott Fitzgerald) ที่ชื่อว่าเซลดา (Zelda) เขาคิดว่าชื่อดังกล่าวฟังแล้ว \"เป็นมิตรและสื่อความหมาย\"[5] เขาจึงเลือกชื่อนั้นมาเป็นชื่อเจ้าหญิง และในที่สุดก็ตั้งชื่อเกมชุดว่า เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (The Legend of Zelda)", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (เกมชุด)" }, { "docid": "657419#3", "text": "ต่อมา ภาคต่อของเกมนี้ คือ เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา อะลิงก์บีทวีนเวิร์ลส์ ได้วางจำหน่ายสำหรับนินเท็นโด 3ดีเอสในช่วงพฤศจิกายน ปี 2556", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: อะลิงก์ทูเดอะแพสต์" }, { "docid": "832594#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เมเยอราส์แมสก์ 3D (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2015 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับนินเท็นโด 3ดีเอส. เกมนี้เป็นเกมรีเมคของเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เมเยอราส์แมสก์ สำหรับนินเทนโด 64.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เมเยอราส์แมสก์ 3D" }, { "docid": "787531#2", "text": "เมเยอราส์แมสก์ประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจ นักวิจารณ์ต่างพากันชื่นชมในความลึกล้ำและลูกเล่นใหม่ๆของเกม แต่ก็มีข้อติติงอยู่ที่การควบคุมและการแสดงผลซึ่งยังเป็น 3 มิติ ต่อมาได้มีการรีเมคโดยใช้ชื่อว่า เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เมเยอราส์แมสก์ 3D ลงนินเทนโด 3ดีเอสในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งใช้กราฟิค 3 มิติ รองรับการใช้3ดีเอส\nหลังจากภารกิจในภาค \"ออคารินาออฟไทม์\" ลิงก์ได้ออกเดินทางไปฝึกวิชาต่อ ในขณะที่เดินทางอยู่บนม้านั้น ก็ได้มีทาทล์และทาเอลทำให้ม้าของลิงก์ตกใจและทำให้เขาสลบ. สกัลคิดปรากฏแต่สวมหน้ากากลึกลับ. จากนั้น, เขาหนีด้วยม้าของลิงก์. ต่อมาลิงก์ตกลงมาสู่พึ้นดินของหลุมและเห็นสกัลคิดและสกัลคิดสาปลิงก์กล่ยเป็นชาวเดกู.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เมเยอราส์แมสก์" }, { "docid": "793118#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ไทรฟอร์ซฮีโร่ (, ), ยังอีกที่รู้จักคือ \"เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เดอะทรีไทรฟอร์ซมัสกิตเทียร์\" เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2015 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับนินเทนโด 3ดีเอส.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ไทรฟอร์ซฮีโร่" }, { "docid": "137542#4", "text": "ลำดับเวลาที่แน่นอนของเนื้อเรื่องเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบ เพราะบางคนรู้สึกว่าเกมในแต่ละภาคมีเนื้อเรื่องที่ไม่ค่อยต่อเนื่องกัน ซึ่งเมื่อเกมภาคใหม่ออกสู่สาธารณชน จะทำให้ลำดับเหตุการณ์บนเส้นเวลาทั้งหมดเกิดความซับซ้อนและเป็นที่โต้เถียงอย่างหนัก", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (เกมชุด)" }, { "docid": "792595#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา โฟร์ซอดส์แอดเวนเจอร์ส (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2004 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับเกมคิวบ์.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา โฟร์ซอดส์แอดเวนเจอร์ส" }, { "docid": "798380#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ทไวไลต์พรินเซสส์ (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2006 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับวี และ เกมคิวบ์.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ทไวไลต์พรินเซสส์" }, { "docid": "657419#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ หรือ (; ) เป็นเกมแอคชั่นแอดเวนเจอร์ที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับเครื่องเล่นเกม ซูเปอร์แฟมิคอม เกมนี้เป็นภาคที่สามของซี่รีย์เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ซึ่งจัดจำหน่ายในญี่ปุ่นในปี 1991 อเมริกาเหนือและยุโรปในปี 1992 โดยที่ชิเงะรุ มิยะโมะโตะและทีมงานเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาทั้งหมด", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: อะลิงก์ทูเดอะแพสต์" }, { "docid": "589357#6", "text": "ภาคนี้เป็นภาคมุมมองด้านบนภาคแรกที่ตัวเอกสามารถกระโดดได้ (รวมทั้งฉากแบบ\"ไซด์สครอลลิ่ง\" ซึ่งคล้ายๆกับ เซลดา II ดิแอดเวนเจอร์ออฟลิงก์) ผู้เล่นสามารถเพิ่มความสามารถของลิงก์ด้วยไอเท็ม ซึ่งพบได้ในดันเจี้ยนหรือการคุยกับตัวละคร ไอเท็มที่ได้มานั้นสามารถใช้เปิดทางที่เราไม่สามารถผ่านไปได้ และจำเป็นต้องใช้ในการตะลุยดันเจี้ยนด้วย (ผู้เล่นสามารถขโมยไอเท็มในร้านค้าได้ แต่ชื่อผู้เล่นจะเปลี่ยนเป็น \"THIEF\" ตลอดทั้งเกม และเมื่อกลับเข้าไปในร้าน เจ้าของร้านจะฆ่าเราจนตาย)", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ลิงส์อะเวกเคนนิง" }, { "docid": "793734#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เดอะมินิชแคป (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2004 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับเกมบอยอัดวานซ์.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เดอะมินิชแคป" }, { "docid": "798422#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา อะลิงก์ทูเดอะแพสต์และโฟร์ซอดส์ (English: The Legend of Zelda: A Link to the Past and Four Swords) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2002 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับเกมบอยอัดวานซ์. เกมนี้ใช้อะลิงก์ทูเดอะแพสต์จากเครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอมมาเชื่อมต่อกัน.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา อะลิงก์ทูเดอะแพสต์และโฟร์ซอดส์" }, { "docid": "589357#7", "text": "นอกจากภารกิจหลักแล้ว ในเกมยังมีภารกิจย่อยต่างๆ รวมถึงการเก็บเปลือกหอยที่ซ่อนอยู่ในเกม เมื่อเก็บครบ 20 อัน เราจะได้ดาบอันทรงพลังที่สามารถปล่อยลำแสงได้ขณะที่มีหัวใจเต็มหลอด คล้ายกับเกม \nเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ภาคนี้ยังเป็นภาคแรกที่มีมินิเกมแลกของ โดยที่เราต้องให้ไอเท็มกับตัวละครหนึ่งแล้วตัวละครนั้นจะให้ไอเท็มอีกชิ้นหนึ่งกลับมาแทนและยังเป็นภาคแรกที่สามารถปรับแต่งปุ่ม A กับ B สำหรับใช้ไอเท็มต่างๆได้ ทำให้ปริศนาในเกมมีความหลากหลายและสามารถใช้ไอเท็มร่วมกันได้ นอกจากนั้น ภาคนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของอีเวนท์ประจำเกมซีรีส์เซลด้าหลายอีเวนท์ อาทิ ตกปลา, เรียนรู้บทเพลงใหม่จากออคารินา ซึ่งภายหลังได้ไปอยู่ในเกมเซลด้าภาคถัดมา เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ออคารินาออฟไทม์", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ลิงส์อะเวกเคนนิง" }, { "docid": "791737#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1986 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับแฟมิคอม.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (วิดีโอเกม)" }, { "docid": "137542#15", "text": "หมวดหมู่:วิดีโอเกมแอ็กชันผจญภัย หมวดหมู่:เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (เกมชุด)" }, { "docid": "589357#2", "text": "ลิงกส์อเวกเคนนิงประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจ นักวิจารณ์ต่างพากันชื่นชมในความลึกล้ำและลูกเล่นใหม่ๆของเกม แต่ก็มีข้อติติงอยู่ที่การควบคุมและการแสดงผลซึ่งยังเป็นขาวดำ ต่อมาได้มีการรีเมคโดยใช้ชื่อว่า\nเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ลิงกส์อะเวกเคนนิง ดีเอ็กซ์ ลงเกมบอยคัลเลอร์ในปี ค.ศ.1998 ซึ่งใช้กราฟิคสี รองรับการใช้เกมบอย ปริ้นเตอร์ซึ่งสามารถพิมพ์รูปได้ และเพิ่มดันเจี้ยนที่ต้องใช้สีในการแก้ปัญหาเข้ามาด้วย เกมทั้งสองเวอร์ชันสามารถขายได้มากกว่าหกล้านตลับทั่วโลก และได้ปรากฏในหลายสื่อที่เกี่ยวกับวิดีโอเกมว่าเป็นหนึ่งในเกมที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลอีกด้วย", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ลิงส์อะเวกเคนนิง" }, { "docid": "798422#2", "text": "หมวดหมู่:วิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2545 หมวดหมู่:เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา อะลิงก์ทูเดอะแพสต์และโฟร์ซอดส์" }, { "docid": "791741#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา อะลิงก์บีทวีนเวิร์ลส์ () เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2013 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับนินเท็นโด 3ดีเอส. เกมนี้เป็นแบบ 3 มิติของ.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา อะลิงก์บีทวีนเวิร์ลส์" }, { "docid": "261462#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ออคารินาออฟไทม์ (; ) เป็นเกมแนวผจญภัยลำดับที่ 5 จากเกมชุดเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา สร้างขึ้นโดยบริษัทนินเทนโด (Nintendo) ในรูปแบบของ นินเทนโด 64 (Nintendo 64) เผยแพร่ในญี่ปุ่นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 อเมริกาในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 และยุโรปในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2541 เกมนี้มียอดขายทั่วโลกกว่า 7.6 ล้านตลับ เนื้อหาในเกมก็เหมือนกับภาคก่อน ๆ คือ ลิงก์จะต้องช่วยเหลืออาณาจักรไฮรัลให้รอดพ้นจากจอมมารกานอนดอร์ฟ", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ออคารินาออฟไทม์" }, { "docid": "792805#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา สปิริตแทร็กส์ (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2009 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับนินเทนโด ดีเอส.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา สปิริตแทร็กส์" }, { "docid": "787670#2", "text": "เดอะวินด์เวกเกอร์ประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจ นักวิจารณ์ต่างพากันชื่นชมในความลึกล้ำและลูกเล่นใหม่ๆของเกม แต่ก็มีข้อติติงอยู่ที่การควบคุมและการแสดงผลซึ่งยังเป็นการ์ตูน 3 มิติ ต่อมาได้มีการรีเมคโดยใช้ชื่อว่า เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เดอะวินด์เวกเกอร์ HD ลงวียูในปี ค.ศ. 2013 ซึ่งใช้กราฟิคคมชัด.\nในภาคนี้ ยังคงรูปแบบเกมแอคชั่นผจญภัยเหมือนภาคอื่นๆ โดยที่มุมมองส่วนใหญ่จะเป็นมุมมองจากข้างบน ผู้เล่นจะต้องผจญภัยอยู่ในเกรีทซีต่อสู้กับศัตรูและตะลุยดันเจี้ยน ในภาคนี้ดันเจี้ยนจะกว้างและยากกว่าภาคก่อนๆ และมีบอสที่เรียกว่า กานอนดอร์ฟ ซึ่งเราต้องจัดการแล้วเอาดาบมาสเตอร์ซอร์ดมาเพื่อจบเกม โดยที่เมื่อเราชนะเมเยอราแต่ละตัว เราจะออกจากหอคอย ถ้าหัวใจเราหมด เราจะตายแล้วเริ่มใหม่ที่ประตูบานล่าสุดที่เราเปิดในเกม", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เดอะวินด์เวกเกอร์" }, { "docid": "137524#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา () อาจหมายถึงThe Legend of Zelda ซีรีส์หลัก", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา" }, { "docid": "787531#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เมเยอราส์แมสก์ (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2000 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับนินเทนโด 64.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เมเยอราส์แมสก์" }, { "docid": "137542#5", "text": "คู่มือประกอบในภาค อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ (A Link to the Past) บนเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมได้เปิดเผยว่า ลิงก์ (ตัวเอก) ในภาคนี้เป็นบรรพบุรุษของลิงก์จากเครื่องแฟมิคอม เช่นเดียวกับภาค ออคารินาออฟไทม์ (Ocarina of Time) ในเครื่องนินเทนโด 64 ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์แบบเดียวกันกับลิงก์ในเครื่องซูเปอร์แฟมิคอม ส่วนภาค เดอะวินด์เวกเกอร์ (The Wind Waker) กล่าวไว้ว่า อาณาจักรไฮรัลที่น้ำท่วมเป็นผลมาจาก \"วีรบุรุษ\" ที่ผจญภัยต่อไปในอาณาจักรอื่น ซึ่งข้อความนี้อาจพูดเป็นนัยว่า หมายถึงลิงก์จากออคารินาออฟไทม์ที่ผจญภัยต่อใน อาณาจักรเทอร์มินา (Termina) ของภาค เมเยอราส์มาสก์ (Majora's Mask) ซึ่งทั้งหมดไม่มีข้อมูลระบุว่าช่วงเวลาของอาณาจักรไฮรัลของแต่ละภาคอยู่ห่างกันเท่าไร", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (เกมชุด)" }, { "docid": "787670#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เดอะวินด์เวกเกอร์ (, ) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2002 เป็นเกมแนวแอคชั่นผจญภัย พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับเกมคิวบ์.", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เดอะวินด์เวกเกอร์" } ]
3921
ไบรโอซัวเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือไม่ ?
[ { "docid": "220877#3", "text": "โครงร่างแข็งของไบรโอซัวจะเจริญเติบโตในรูปแบบและรูปร่างที่หลากหลาย เช่น รูปคล้ายกองดิน รูปพัด รูปกิ่งก้านสาขา และรูปขดม้วนเป็นเกลียว โครงสร้างแข็งเหล่านี้มีช่องเปิดเป็นรูเล็กๆจำนวนมาก โดยช่องเปิดหนึ่งๆจะเป็นที่อยู่ของซูอิดหนึ่งๆ ซูอิดมีลำตัวกลวงมีช่องว่างเป็นที่อยู่ของไส้พุงที่เป็นที่ผ่านของอาหารและสิ่งขับถ่าย มีช่องเปิดออกด้านหนึ่งเป็นช่องปากและเปิดออกอีกด้านหนึ่งเป็นช่องทวาร ซูอิดมีโครงสร้างเป็นชุดระยางพิเศษทำหน้าที่หาอาหาร เรียกว่า โลโฟพอร์ ซึ่งเป็นชุดของหนวดโดยรอบขอบช่องปาก อาหารของซูอิดเป็นพวกจุลชีพ เช่น ไดอะตอม และสาหร่ายเซลล์เดียวอื่นๆ ในทางกลับกัน ไบรโอซัวก็เป็นเหยื่อของสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วย เช่น ดาวทะเล และปลา ไบรโอซัวไม่มีส่วนประกอบใดที่จะทำหน้าที่หายใจหรือระบบหมุนเวียนเนื่องจากขนาดเล็กของมัน อย่างไรก็ตามมันมีระบบประสาทอย่างง่าย ผลงานศึกษาที่หลากหลายเกี่ยวกับผลึกศาสตร์ในโครงสร้างแข็งของไบรโอซัวชี้ชัดว่าประกอบไปด้วยผลึกของแร่แคลไซต์และอะราโกไนต์ที่เรียงกันเป็นชุดเส้นใยที่ซับซ้อนอยู่ภายในเนื้ออินทรีย์สาร", "title": "ไบรโอซัว" } ]
[ { "docid": "19300#0", "text": "ในทางชีววิทยา เซลล์ (English: Cell) เป็นโครงสร้างและหน่วยทำงานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ในบางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต (\"building blocks of life\") สิ่งมีชีวิตบางชนิดเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (unicellular organism) เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ แต่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น พืช สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) (มนุษย์มีเซลล์อยู่ประมาณ 100 ล้านล้าน หรือ 1014 เซลล์)", "title": "เซลล์ (ชีววิทยา)" }, { "docid": "220877#0", "text": "ไบรโอซัวเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มโคโลนีขนาดเล็ก ที่สามารถสร้างโครงสร้างแข็งด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้วจะมีลักษณะคล้ายปะการัง สมาชิกของสัตว์ในไฟลั่มไบรโอซัวนี้รู้จักกันในนามของ “สัตว์มอสส์” (moss animals หรือ moss animalcules) ซึ่งหากแปลตรงตัวจากศัพท์ภาษากรีก ไบรโอซัวจะหมายถึง เสื่อทะเล (sea mats) โดยทั่วไปแล้วไบรโอซัวชอบอาศัยอยู่ในน้ำทะเลเขตร้อน อากาศอบอุ่น และพบได้ทั่วโลก ปัจจุบันมีประมาณ 8,000 ชนิด ซึ่งมากกว่าชนิดของซากดึกดำบรรพ์ที่ได้รับการบันทึกไว้หลายเท่าตัว", "title": "ไบรโอซัว" }, { "docid": "254943#2", "text": "พืชไม่มีท่อลำเลียงเป็นพืชกลุ่มแรกในพืชบก อย่างไรก็ตามสปอโรไฟต์ในพืชกลุ่มนี้เป็นสิ่งที่แตกต่างออกไปอย่างมากในโครงสร้างและฟังก์ชัน วงจรชีวิตสั้นและต้องมีทั้งพ่อและแม่ พืชเหล่านี้เรียกว่า 'ไบรโอไฟต์' มีอยู่สามกลุ่ม:พืชเหล่านี้มีขนาดเล็กและอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปียกชื้น อาศัยน้ำในการแพร่กระจายสปอร์ ", "title": "พืชบก" }, { "docid": "729#6", "text": "หลักทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory). ซึ่งทฤษฎีนี้ระบุว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะต้องประกอบไปเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์ ซึ่งเซลล์ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดของการทำงานในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ กระบวนการทางกลศาสตร์และทางเคมีต่างก็ล้วนอาศัยเซลล์เป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการเช่นเดียวกัน ทั้งเชื่อว่าเซลล์สามารถเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด (perexisting cells) ได้เท่านั้น หลักวิวัฒนาการ (Evolution). เชื่อในการเลือกสรรของธรรมชาติ (natural selection) และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หลักทฤษฎีพันธุกรรม (Gene Theory). เชื่อว่าลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ถูกเก็บเป็นรหัสสิ่งมีชีวิตใน DNA ในยีนอันเป็นมูลฐานแห่งการถ่ายทอดพันธุกรรม หลักภาวะธำรงดุล (Homeostasis). เป็นหลักที่เชื่อในการรักษาสมดุลของสิ่งมีชีวิต ในการปรับระบบภาวะแวดล้อมทั้งทางฟิสิกส์และเคมีของระบบภายในสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับระบบภายนอกสิ่งมีชีวิต", "title": "ชีววิทยา" }, { "docid": "81635#0", "text": "ชีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต", "title": "ชีวิต" }, { "docid": "5187#0", "text": "เซลล์พันธุศาสตร์ () เป็นการศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับเซลล์ ศึกษารูปร่าง ลักษณะ และจำนวน ของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิต ตำแหน่งที่ตั้งของยีนบนโครโมโซม รวมถึงการศึกษาการแบ่งเซลล์ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต", "title": "เซลล์พันธุศาสตร์" }, { "docid": "220877#8", "text": "ซากดึกดำบรรพ์ไบรโอซัวถูกพบในช่วงแรกๆของหินยุคออร์โดวิเชียนตอนล่างซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของช่วงขยายเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน ไบรโอซัวที่พบเป็นองค์ประกอบหลักของชุมชนพื้นท้องทะเลยุคออร์โดวิเชียนเหมือนกับที่พบในปัจจุบันซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พื้นตะกอนใต้ท้องทะเลมีความเสถียรมั่นคง และยังเป็นแหล่งอาหารสำหรับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นทะเลนั้นด้วย ในช่วงอนุยุคมิสซิสซิปเปียน (354 ถึง 323 ล้านปีมาแล้ว) ไบรโอซัวถือว่าเป็นสิ่งที่พบเห็นได้โดยทั่วไป เศษชิ้นส่วนที่แตกหักจะพบได้ทั่วไปในชั้นหินปูน มีรายงานการบรรยายซากดึกดำบรรพ์ไบรโอซัวมากกว่า 1,000 ชนิด เป็นไปได้ว่ามีไบรโอซัวแล้วตั้งแต่ยุคแคมเบรียนแต่มีลำตัวอ่อนได้สลายตัวไปหมดและไม่ถูกเก็บรักษาไว้เป็นซากดึกดำบรรพ์ หรือบางทีไบรโอซัวอาจวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่มีลักษณะคล้ายโฟโรนิดในช่วงดังกล่าวก็ได้", "title": "ไบรโอซัว" }, { "docid": "136012#0", "text": "ชีววิทยาของเซลล์ หรือ วิทยาเซลล์ () เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ ทั้งในด้านคุณสมบัติทางสรีรวิทยา, โครงสร้าง, ออร์แกเนลล์ที่อยู่ภายใน, ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม, วัฎจักรเซลล์, การแบ่งเซลล์, และการตายของเซลล์ [หรืออะพอพโทซิส (apoptosis)] การศึกษาคุณสมบัติของเซลล์ดังกล่าวเป็นการศึกษาในระดับจุลทรรศน์และระดับโมเลกุล การวิจัยในทางชีววิทยาของเซลล์นั้นกว้างขวางและหลากหลายมากตั้งแต่ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรียไปจนถึงเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่นในมนุษย์", "title": "ชีววิทยาของเซลล์" }, { "docid": "761920#1", "text": "กระบวนการนี้ทำให้เซลล์ที่แบ่งแล้วสามารถจัดระเบียบในพื้นที่ทางกายภาพได้ในช่วงการเจริญระยะตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังอาจพบได้ในสิ่งมีชีวิตที่เจริญเต็มที่แล้ว ในการเพาะเลี้ยงเซลล์ และในเนื้องอก นอกจากนี้คำนี้ยังอาจหมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่วงจรชีวิตไม่มีระยะเอมบริโอ หรือกระบวนการวิวัฒนาการของส่วนของร่างกายก็ได้", "title": "การเกิดสัณฐาน" }, { "docid": "220877#13", "text": "ก่อนหน้านั้นไบรโอซัวได้ถูกจำแนกออกเป็นสองกลุ่มย่อยคือ เอคโตพรอคต้าและเอนโตพรอคต้า โดยอาศัยผังลำตัวที่เหมือนกันและอาศัยรูปแบบการดำเนินชีวิตของไบรโอซัวทั้งสองกลุ่ม (นักวิจัยบางคนได้เพิ่มซายคลิโอพอราเข้าไปด้วยโดยคิดกันว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มของเอนโตพรอคต้า) อย่างไรก็ตามกลุ่มของเอคโตพรอคต้าเป็นพวกซีโลเมต (มีลำตัวกลวง) และตัวอ่อนจะผ่านไปตามรอยแยกตามแนวรัศมี ขณะที่กลุ่มของเอนโตพรอคต้าเป็นพวกอะซีโลเมต (ลำตัวไม่กลวง) โดยตัวอ่อนจะผ่านไปตามรอยแยกที่ขดม้วน การศึกษาทางโมเลคคิวล่ายังมีความคลุมเครือเกี่ยวกับตำแหน่งที่แน่นอนของกลุ่มเอนโตพรอคต้า แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพวกเอคโตพรอคต้า ด้วยเหตุผลนี้พวกเอนโตพรอคต้าได้ถูกพิจารณาให้เป็นไฟลั่มหนึ่งต่างหาก การแยกไบรโอซัวจำนวน 150 ชนิดของกลุ่มเอนโตพรอคต้าทำให้ไบรโอซัวเป็นชื่อพ้องกับเอคโตพรอคต้า นักวิจัยบางคนยอมรับชื่อหลังนี้ให้เป็นชื่อของกลุ่ม ขณะที่ส่วนใหญ่ยังคงใช้ชื่อเดิม", "title": "ไบรโอซัว" }, { "docid": "811564#1", "text": "ที่มาของเพลง มาจากเรื่องของเซลล์ที่เชื่อว่าการต่อสู้ชีวิตมีอยู่ในทุกระดับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในจักรวาลนี้ล้วนต้องผ่านการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า “เซลล์” ไปจนถึงพืช สัตว์ และมนุษย์เองก็มีเซลล์อยู่ประมาณ 100 ล้านล้านเซลล์ และภายในเซลล์แต่ละตัวก็ยังมีสารชีวโมเลกุล อีกมากมาย ซึ่งอาจต้องฝ่าฟันอะไรอยู่หลายอย่างเพื่อชีวิตรอดของตนก็เป็นได้ เพราะชีวิตที่อยู่รอดนั้นอาจไม่มีความหมายหากเป็นการอยู่รอดบนความพ่ายแพ้", "title": "เบิร์นมีอไลฟ์" }, { "docid": "130672#0", "text": "การเกิดเซลล์สืบพันธุ์ () คือกระบวนการอย่างหนึ่งในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นการแบ่งเซลล์และทำให้เกิดความแตกต่างกันของเซลล์แม่ (gametocyte) ที่มีโครโมโซมสองชุด (diploid) หรือชุดเดียว (haploid) ให้กลายเป็นเซลล์สืบพันธุ์ (gamete) ที่มีโครโมโซมเพียงชุดเดียว การเกิดเซลล์สืบพันธุ์เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) หรือไมโทซิส (mitosis) ขึ้นอยู่กับวงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ", "title": "การเกิดเซลล์สืบพันธุ์" }, { "docid": "182361#2", "text": "ปัจจุบันการศึกษาในพืชบกโดยทั่วไปแล้วแสดงเป็นสองรูปแบบ แบบแรกนั้นลิเวอร์เวิร์ตแยกออกไปเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยฮอร์นเวิร์ต ในขณะที่มอสส์นั้นเป็นญาติใกล้ชิดกับ polysporangiates (รวมถึงพืชที่มีท่อลำเลียง). ในอีกรูปแบบหนึ่งคือ ฮอร์นเวิร์ตแยกออกไปเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยพืชที่มีท่อลำเลียง ขณะที่มอสส์เป็นญาติใกล้ชิดกับลิเวอร์เวิร์ต สามกลุ่มดั้งเดิมถูกนำมาอยู่ร่วมกันทั้งสามชั้นในส่วนไบรโอไฟต์ อย่างไรก็ตามตั้งแต่สามกลุ่มของไบรโอไฟต์มาจากกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันแต่ไม่ได้รวมทายาททั้งหมดไว้ในกลุ่ม (paraphyletic) ทำให้ปัจจุบันถูกแบ่งใหม่ออกเป็นสามส่วนที่แยกจากกัน", "title": "พืชไม่มีท่อลำเลียง" }, { "docid": "5186#40", "text": "สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ อาจมียีนหลายพันยีน แต่ไม่ได้แสดงออกทั้งหมดพร้อม ๆ กัน ยีนแต่ละยีนจะแสดงออกก็ต่อเมื่อกำลังมีการถอดรหัสเป็นเอ็มอาร์เอ็นเอเท่านั้น โดยมีกระบวนการในเซลล์ที่ควบคุมการแสดงออกของยีนอยู่หลายวิธีเพื่อให้มีการผลิตโปรตีนเมื่อเซลล์ต้องการใช้โปรตีนนั้น ๆ เท่านั้น ปัจจัยการถอดรหัสหรือทรานสคริปชันแฟคเตอร์เป็นโปรตีนควบคุมซึ่งจับกับตำแหน่งเริ่มต้นของยีน ทำหน้าที่กระตุ้นหรือยับยั้งการถอดรหัสยีนนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ในจีโนมของ \"Escherichia coli\" มียีนจำนวนหนึ่งซึ่งจำเป็นในการสังเคราะห์กรดอะมิโนทริปโตเฟน แต่ในสภาพแวดล้อมที่มีทริปโตเฟนเพียงพออยู่แล้ว ยีนซึ่งช่วยในการสังเคราะห์ทริปโตเฟนนี้ก็ไม่มีความจำเป็น การมีทริปโตเฟนจะส่งผลต่อการทำหน้าที่ของยีนโดยตรงโดยโมเลกุลของทริปโตเฟนจะจับกับทริปโตเฟนรีเพรสเซอร์ซึ่งเป็นปัจจัยการถอดรหัสตัวหนึ่ง ทำให้โครงสร้างของรีเพรสเซอร์แปลี่ยนแปลงไปจนไปจับกับยีน ยับยั้งการถอดรหัสและการแสดงออกของยีนนั้น ๆ ถือเป็นการควบคุมโดยการป้อนกลับทางลบของกระบวนการสังเคราะห์กรดอะมิโนทริปโตเฟน\nความแตกต่างในการแสดงออกของยีนนั้นเห็นได้ชัดเจนในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ มีจีโนมที่เหมือนกันแต่ตัวเซลล์กลับมีโครงสร้างและหน้าที่ที่แตกต่างกันเนื่องจากมีการแสดงออกของยีนคนละชุดกัน เซลล์ทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มาจากเซลล์ตั้งต้นเพียงเซลล์เดียวซึ่งเจริญเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ หลากหลายตามการตอบสนองต่อสัญญาณภายในเซลล์และค่อย ๆ สร้างรูปแบบการควบคุมการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกันเพื่อให้มีหน้าที่ของเซลล์ต่าง ๆ กัน ทั้งนี้ไม่มียีนเดี่ยว ๆ ยีนใดยีนหนึ่งที่รับผิดชอบการเจริญเป็นโครงสร้างของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ แต่เป็นรูปแบบที่เกิดจากปฏิกิริยาอันซับซ้อนของเซลล์และยีนจำนวนมาก", "title": "พันธุศาสตร์" }, { "docid": "729#14", "text": "ชีววิทยาของเซลล์เป็นสาขาที่ศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของเซลล์ รวมไปถึงพฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมของเซลล์ ทั้งระดับจุลภาคและระดับโมเลกุล สาขาวิชานี้จะศึกษาวิจัยทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว อย่างเช่นแบคทีเรีย และเซลล์ที่ทำหน้าที่พิเศษในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ อย่างเช่นมนุษย์", "title": "ชีววิทยา" }, { "docid": "715921#0", "text": "เซลล์ไข่เหรอหรือโอวุมคือเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบโอโอกามี (oogamy, การสืบพันธุ์โดยใช้เซลล์อสุจิและเซลล์ไข่โดยที่เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิมากและไม่สามารถเคลื่อนที่ได้) เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิมาก อาจใหญ่จนเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพื่อเซลล์ไข่ผสมกับเซลล์อสุจิจะเกิดเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นคู่ (ดิพลอยด์) เรียกว่าไซโกต ซึ่งสามารถเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตได้", "title": "เซลล์ไข่" }, { "docid": "220877#2", "text": "ไบรโอซัวเป็นสัตว์ที่รวมกลุ่มเป็นโคโลนี โคโลนีหนึ่งๆอาจประกอบไปด้วยไบรโอซัวหลายล้านซูอิด (zooids) ขนาดของโคโลนีมีความแปรผันจากขนาดไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึงมีขนาดใหญ่ได้มากกว่าหนึ่งเมตร แต่ซูอิดหนึ่งๆในแต่ละโคโลนีจะมีขนาดเล็กมาก ปรกติแล้วจะมีความยาวน้อยกว่าหนึ่งมิลลิเมตร ในโคโลนีหนึ่งๆซูอิดต่างกันจะทำหน้าที่แตกต่างกันไป บางซูอิดทำหน้าที่หาอาหารให้กับโคโลนี (autozooids) แต่ซูอิดอื่นๆก็ทำหน้าที่ของตนไป (heterozooids) บางซูอิดอุทิศตนเพื่อทำหน้าที่ให้ความแข็งแกร่งให้กับโคโลนี (kenozooids) ขณะที่ซูอิดอื่นๆทำความสะอาดโคโลนี (vibracula) มีไบรโอซัวเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อาศัยอยู่โดดๆไม่รวมกันเป็นโคโลนี คือ Monobryozoon ambulans", "title": "ไบรโอซัว" }, { "docid": "81635#2", "text": "ทุกชีวิตมีประกอบด้วยส่วนที่เล็กสุดเรียกว่าเซลล์ บางสิ่งมีชีวิตก็มีเพียง เซลล์เดียว(สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว) บางสิ่งมีชีวิตก็ประกอบด้วยหลายๆเซลล์มารวมกัน(สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์) เพื่อให้มีหน้าทีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง กลุ่มของเซลล์ที่มารวมๆกันเป็นกลุ่มของเซลล์เรียกว่าเนื้อเยื่อ และในสัตว์จะเราจะแบ่งกลุ่มเนื้อเยื้อเป็นสี่ประเภทหลักๆ คือ กลุ่มเนื้อเยื่อบุผิว , กลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน , กลุ่มเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ , กลุ่มเนื้อเยื่อประสาท กลุ่มเนื้อเยื้อบางส่วนจะทำงานร่วมกัน เป็นอวัยวะ ที่มีหน้าที่เฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น ( หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือด หรือผิวหนังที่ทำหน้าทีปกป้องเราจากสภาพแวดล้อมภายนอก ) การร่วมตัวของกลุ่มเนื้อเยื้อรวมกันเป็นระบบอวัยวะของร่างกาย เช่น ระบบสืบพันธุ์ , ระบบย่อยอาหาร ซึ่งร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต", "title": "ชีวิต" }, { "docid": "19300#5", "text": "วิธีการจัดกลุ่มเซลล์ไม่ว่าเซลล์นั้นจะอยู่ตามลำพังหรืออยู่เป็นกลุ่ม ได้แก่ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (unicellular) ซึ่งดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด จนไปถึงการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มที่เรียกว่า โคโลนี (colonial forms) หรือ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular) ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะกลายเป็นเซลล์เฉพาะทางที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ เช่น เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์", "title": "เซลล์ (ชีววิทยา)" }, { "docid": "465574#0", "text": "สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว () หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่สามารถศึกษาลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิตเชลล์เดียวได้โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์", "title": "สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว" }, { "docid": "220877#9", "text": "ไบรโอซัวเป็นสมาชิกที่สำคัญของชุมชนสเคอโรไบอันส์ (สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นผิวที่แข็งอย่างเช่น เปลือกหอยและหิน) ทั้งจากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์และจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Taylor and Wilson, 2003)", "title": "ไบรโอซัว" }, { "docid": "854287#1", "text": "การศึกษาไบรโอไฟต์เริ่มในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยโยฮันน์ ยาคอบ ดิลเลเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ตีพิมพ์ผลงานการสืบพันธุ์ของเฟิร์นและมอสส์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1792 โยฮันน์ เฮดวิจ นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันเช่นกันได้ศึกษาและจัดกลุ่มมอสส์อย่างเป็นระบบ จนต่อมาเขาได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งไบรโอโลยี การศึกษาไบรโอไฟต์ในปัจจุบันนอกจากด้านอนุกรมวิธานแล้ว ยังศึกษาในด้านดีเอ็นเอและความสัมพันธ์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ รวมถึงในระบบนิเวศ", "title": "ไบรโอโลยี" }, { "docid": "152106#2", "text": "กระบวนการสื่อสารระหว่างเซลล์ของ Dicty เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง เพราะมันมีช่วงชีวิตทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและหลายเซลล์ การศึกษาเรื่องนี้จะเป็นตัวไขความลับการพัฒนาจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวไปสู่สิ่งมีชีวิตชั้นสูงที่ประกอบด้วยหลายเซลล์ทำหน้าที่แตกต่างกันได้ สารเคมีที่ทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการสื่อสารนี้คือ ไซคลิก อะดีโนซีน โมโนฟอสเฟต (cyclic adenosine monophosphate) หรือ cAMP โดยเริ่มต้นจากเซลล์แรก (founder cell) ที่ได้รับความเครียด (stress) จากการอดอาหารจะปลดปล่อย cAMP ออกมาทำให้เซลล์ที่อยู่โดยรอบตอบสนองโดยการเดินทางเข้ามาสู่เซลล์ดังกล่าว และยังถ่ายทอดและขยายสัญญาณ cAMP ออกไปสู่เซลล์โดยรอบอีก ทำให้เกิดลวดลายและมีการรวมตัวกันแน่นหนายิ่งขึ้น จนมีลักษณะคล้ายหนอน (slug) ที่สามารถคืบคลานไปได้พร้อมกันๆ ราวกับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงตัวเดียว", "title": "Dictyostelium discoideum" }, { "docid": "5186#29", "text": "สิ่งมีชีวิตยูคาริโอตมักอาศัยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเพื่อให้ได้ทายาทที่มีพันธุกรรมผสมกันจากพ่อแม่ กระบวนการนี้ในสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมหนึ่งชุดและที่มีโครโมโซมสองชุดมีความแตกต่างกัน โดยเซลล์ซึ่งมีโครโมโซมชุดเดียวจะรวมกันและนำสารพันธุกรรมมารวมกันได้เป็นเซลล์ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมสองชุดจะสร้างเซลล์ซึ่งมีโครโมโซมชุดเดียวโดยการแบ่งตัวเป็นสองเซลล์โดยไม่มีการทำซ้ำชุดดีเอ็นเอ เพื่อสร้างเซลล์ลูกที่ได้รับโครโมโซมจากพ่อแม่ต้น/ตัวละหนึ่งโครโมโซมแบบสุ่ม ส่วนใหญ่ของวงจรชีวิตสัตว์และพืชส่วนมากมีเซลล์ที่มีโครโมโซมสองชุด โดยมีช่วงชีวิตที่เป็นเซลล์ที่มีโครโมโซมชุดเดียวเฉพาะเซลล์สืบพันธุ์อย่างสเปิร์มและไข่เท่านั้น", "title": "พันธุศาสตร์" }, { "docid": "181377#4", "text": "พืชส่วนมากมีดิพลอยด์(โครโมโซมสองชุด)ในเซลล์ของพวกมัน( โครโมโซมหนึ่งชุดที่อยู่คู่กันนั้นบรรจุข้อมูลพันธุ์กรรมที่เหมือนกัน ) ขณะที่มอสส์(และไบรโอไฟต์อื่นๆ)มีโครโมโซมหนึ่งชุด( คือโครโมโซมหนึ่งชุดในสำเนาหนึ่งเดียวภายในเซลล์ ) เมื่อระยะในวงจรชีวิตของมอสส์เมื่อมันสมบูรณ์จะมีการจับคู่กันของโครโมโซมแต่เกิดแค่ในขั้นสปอโรไฟต์", "title": "มอสส์" }, { "docid": "854287#0", "text": "ไบรโอโลยี (; มาจากคำในภาษากรีก bryon แปลว่า มอสส์หรือลิเวอร์เวิร์ตและ logos แปลว่า การศึกษา) เป็นหนึ่งในสาขาของวิชาพฤกษศาสตร์ โดยเป็นการศึกษาพืชไม่มีท่อลำเลียงหรือไบรโอไฟต์ อันได้แก่มอสส์ ฮอร์นเวิร์ตและลิเวอร์เวิร์ต สาขานี้มักเกี่ยวข้องกับวิทยาไลเคน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดมีลักษณะและวิถีชีวิตเฉพาะนิเวศคล้ายคลึงกัน แต่ไบรโอไฟต์และไลเคนไม่ได้อยู่ในอาณาจักรเดียวกัน", "title": "ไบรโอโลยี" }, { "docid": "184672#9", "text": "ในปีค.ศ. 1999 ไบรโอนี่ในวัยชรา(วาเนสซา เรดเกรฟ)ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนวนิยายเรื่องสุดท้ายของเธอ ไบรโอนี่เปิดเผยว่าเธอเป็นโรค Vascular dementia ทำให้ความจำของเธอจะเสื่อมลงในไม่ช้า นอกจากนี้เธอยังเปิดเผยอีกว่าตอนจบของนิยายกับชีวิตจริงไม่เหมือนกัน ในความจริงเธอไม่ได้ไปหาเซซิเลีย เซซิเลียกับร็อบบีเองก็ไม่ได้พบกันหรือใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะร็อบบีได้เสียชีวิตที่ดันเคิร์ก ส่วนเซซิเลียจมน้ำจากเหตุการณ์ท่อระเบิดที่สถานีรถไฟใต้ดิน เสียชีวิตเช่นกัน ไบรโอนี่กล่าวว่านวนิยายเรื่องนี้คือการไถ่บาป(Atonement)ของเธอ", "title": "ตราบาปลิขิตรัก" }, { "docid": "3875#12", "text": "คาดกันว่าปฏิกิริยาเคมีพลังงานสูงทำให้เกิดโมเลกุลที่สามารถถ่ายแบบตนเองได้เมื่อราวสี่พันล้านปีก่อน อีกครึ่งพันล้านปีต่อมา เกิดบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายของสรรพชีวิต[51] วิวัฒนาการของการสังเคราะห์ด้วยแสงทำให้บรรดาสิ่งมีชีวิตสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้โดยตรง ออกซิเจนในรูปโมเลกุล (O2) ที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงมีการสะสมในบรรยากาศ และด้วยผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์จึงได้ก่อชั้นเกราะโอโซน (O3) ขึ้นในบรรยากาศเบื้องบน[52] การรวมเซลล์ขนาดเล็กในเซลล์ที่ใหญ่กว่าทำให้เกิดพัฒนาการของเซลล์ซับซ้อนเรียกว่า ยูแคริโอต[53] สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ต่าง ๆ ภายในโคโลนีมีการแบ่งหน้าที่เฉพาะมากขึ้น เนื่องจากชั้นโอโซนช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตอันเป็นอันตรายออกไป สิ่งมีชีวิตจึงอยู่อาศัยได้บนพื้นผิวโลก[54] หลักฐานทางบรรพชีวินแรก ๆ ของสิ่งมีชีวิตบนโลกคือ ซากดึกดำบรรพ์ผืนจุลชีพที่พบในหินทรายอายุ 3.48 พันล้านปีในออสเตรเลียตะวันตก[55][56] แกรไฟต์ชีวภาพในชั้นหินตะกอนแปรอายุเก่าแก่ประมาณ 3.7 พันล้านปีค้นพบในกรีนแลนด์ตะวันตก[57] หลักฐานโดยตรงของสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างแรกอยู่ในหินออสเตรเลียอายุ 3.45 พันล้านปีที่แสดงซากดึกดำบรรพ์ของจุลินทรีย์[58][59]", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "729#25", "text": "กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) เป็นการศึกษาโครงสร้างและการจัดเรียงตัวของร่างกายมนุษย์ สาขาวิชาหลักของกายวิภาคศาสตร์ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์ หรือมิญชวิทยา หรือวิทยาเนื้อเยื่อ (Histology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับจุลภาคซึ่งต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ สัณฐานวิทยา (Morphology) ศึกษาโครงสร้างและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต สรีรวิทยา (Physiology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี แบ่งเป็น 2 สาขาย่อย คือ สรีรวิทยาของพืช และสรีรวิทยาของสัตว์ * อณูชีววิทยา (Molecular biology) หรือ ชีววิทยาโมเลกุล เป็นสาขาย่อย ที่แตกออกมาจากชีวเคมี เน้นศึกษาโครงสร้างและการทำงานของยีน (gene) ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรมบนสายดีเอ็นเอ หรือ อาร์เอ็นเอ ตลอดจนการควบคุมการทำงานของยีน ในระดับต่าง ๆ จนออกมาเป็น สาย อาร์เอ็นเอ และ เป็น โปรตีน พันธุศาสตร์ (Genetics) คือ สาขาแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยการศึกษาหน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน, กรรมพันธุ์ (heredity) , และวิวัฒนาการในสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ลักษณะทางพันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต จากชั่วชีวิตหนึ่งไปอีกชั่วชีวิตหนึ่ง เซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics) ศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับเซลล์ รูปร่าง ลักษณะ และจำนวนของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิต ตำแหน่งที่ตั้งของยีนบนโครโมโซม และการแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิต นิเวศวิทยา (Ecology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม คัพภวิทยา หรือ วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) เป็นการศึกษาการเจริญของเอ็มบริโอ เอ็มบริโอคือขั้นหนึ่งของการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่ หรือในพืชคือในระยะก่อนการงอก (germination) ชีววิทยาของเซลล์ (cell biology) หรือ วิทยาเซลล์ (cytology) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ ทั้งในด้านคุณสมบัติทางสรีรวิทยา, โครงสร้าง, ออร์แกเนลล์ที่อยู่ภายใน, ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม, วัฎจักรเซลล์, การแบ่งเซลล์, และการตายของเซลล์ มหพยาธิวิทยา (Gross pathology) หมายถึงลักษณะแสดงในระดับมหัพภาค (หรือระดับตาเปล่า) ของโรคที่เกิดในอวัยวะ, เนื้อเยื่อ และช่องตัว ศัพท์ดังกล่าวใช้กันทั่วไปในวิชาพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology) เพื่อหมายถึงการตรวจเพื่อวินิจฉัยหาข้อมูลในชิ้นเนื้อตัวอย่างหรือการชันสูตรพลิกศพ (autopsy)", "title": "ชีววิทยา" } ]
3922
ปลาร้าคืออะไร?
[ { "docid": "48544#0", "text": "ปลาร้า หรือ ปลาแดก (ปาแดก) ปลาน้อย ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว รวมถึงบางส่วนของเวียดนามและพม่า โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีการทำปลาร้าเป็นเอกลักษณ์ของตน ปัจจุบัน ปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายตามน้ำหนักตามตลาดสดต่างๆ ในวรรณกรรมลาวโบราณบางเรื่องเรียกปลาร้าว่า ปลาแดกฮ้า หรือปลาแดกร้า ในลาวและอีสานมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปลาร้าโดยตรงคือวรรณกรรมเรื่อง ปลาแดกปลาสมอ หรือลำบุษบา หรือท้าวกำพร้า คนไทยทางภาคเหนือนิยมเรียกปลาร้าว่า ฮ้า ดังนั้นคำว่าปลาร้าจึงเป็นภาษาลาวที่ชาวไทยภาคกลางและภาคเหนือรับอิทธิพลทางภาษามาจากชนชาติลาว", "title": "ปลาร้า" } ]
[ { "docid": "348415#3", "text": "ซึ่งสำหรับในประเทศไทย ปลาแปบควายทั้ง 3 ชนิด ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาแห้ง, ปลาร้า และบริโภคโดยปรุงสด อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย", "title": "ปลาแปบควาย" }, { "docid": "5152#16", "text": "เพลง \"ถ้าเธอจะไป\" ขับร้องโดย แพรว คณิตกุล (ปรากฏในตอน \"รัก...ต้อง...ห้าม\") เพลง \"นิยามรัก\" ขับร้องโดย นูโว (ปรากฏในตอน \"นิยามรัก\") เพลง \"ปลาร้า shala la\" ขับร้องโดย ตั๊กแตน ชลดา อัลบั้ม อยากหลับตาในอ้อมกอดเธอ (ปรากฏในตอน \"ปลาร้าน้ำตาตก\") เพลง \"คงเดิม (นั่งเล่น Version)\" ขับร้องโดย โปเตโต้ (ปรากฏในตอน \"ทางใคร ทางมัน...เจอกันที่หัวหิน\") เพลง \"มาวัดกันมั้ย\" ขับร้องโดย หนูดิต คิตตี้ (ปรากฏในตอน \"ลาก่อนพี่เอิร์ธ 2\")", "title": "1" }, { "docid": "353070#10", "text": "ปลาร้าหรือ\"ปร็อฮก\" (ប្រហុក) เป็นส่วนผสมพื้นฐานในอาหารกัมพูชา กลิ่นและรสของปลาร้าทำให้อาหารเขมรมีเอกลักษณ์ของตนเอง ปลาร้าเตรียมได้หลายวิธีและรับประทานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ปลาร้าทอด (ប្រហុកចៀន) เป็นการนำปลาร้าไปผสมกับเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมูและพริก แล้วนำไปทอด รับประทานกับผัก เช่น แตงกวา มะเขือ และข้าว \"ปรอฮก​​ ก็อบ\" (ប្រហុកកប់) หรือ\"ปรอฮก อัง\" (ប្រហុកអាំង) เป็นการนำปลาร้ามาห่อใบตองแล้วย่างไฟให้สุก", "title": "อาหารกัมพูชา" }, { "docid": "48544#11", "text": "นอกจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ทางภาคใต้มีปลาร้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนโดยเฉพาะเรียกปลาร้าเลสาบ นิยมทำในบริเวณทะเลสาบสงขลา ปลาที่นิยมทำคือปลาดุก การทำปลาร้าแบบภาคใต้นี้ จะหมักปลากับเกลือและน้ำตาลโตนด 1 คืน แล้วนำไปตากแดด 2-3 วัน จึงรับประทานได้ [4]", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "353070#11", "text": "นอกจากปลาร้าแล้ว กะปิหรือกาปิ (កាពិ) ซึ่งเป็นกุ้งหรือเคยหมัก อาจนำมาใช้ปรุงอาหารแทนปลาร้าได้ และยังใช้น้ำปลาในการปรุงรสอาหาร โดยเฉพาะซุปและผัด\nปลาน้ำจืดเป็นเนื้อสัตว์ที่สำคัญในอาหารกัมพูชาทั้งในรูปปลาร้า ปลาแห้ง อาหารที่มีชื่อเสียงของกัมพูชาคืออาม็อก ปรุงจากปลาดุกนึ่งกับเครื่งแกงและกะทิ ปลาตัวเล็กทอดกรอบเป็นอาหารที่นิยมรับประทานโดยทั่วไป นอกจากปลาแล้ว หมูหรือไก่ก็เป็นเนื้อสัตว์ที่นิยมในกัมพูชาโดยทั่วไป เช่นเดียวกับเวียดนาม อาหารมังสวิรัตน์ นิยมรับประทานในหมู่ชาวพุทธที่เคร่งครัด", "title": "อาหารกัมพูชา" }, { "docid": "78142#12", "text": "ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม คือ สุรากลั่นชุมชน ผลิตสุราแช่ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ทอผ้าพื้นเมือง ขนม แหนม ปลาร้าอบ น้ำพริก ", "title": "อำเภอสอง" }, { "docid": "48544#9", "text": "ปลาแดกโหน่ง เป็นปลาร้าที่มีกลิ่นอันร้ายกาจ ส่งกลิ่นฟุ้งได้ไกล รสชาติแปลกประหลาด สีออกดำคล้ำ นิยมใช้ปรุงส้มตำ ปลาร้าชนิดนี้จะทำมาจากปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาขาวนา ส่วนผสมที่ใช้ ปลาสี่ส่วน เกลือหนึ่งส่วน รำหนึ่งส่วน", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "48544#3", "text": "ปลาร้านำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด ตั้งแต่ น้ำพริก หลน จนถึงนำไปทอด นึ่ง เผา แล้วแต่ขนาดของปลาร้า นำปลาร้าไปต้มกับน้ำแล้วกรองเอาแต่น้ำเป็นน้ำปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสที่สำคัญของอาหารอีสาน อาหารที่ปรุงด้วยปลาร้าที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือส้มตำโดยส้มตำที่ใส่ปลาร้านั้นจะเรียกว่า ส้มตำลาว หรือ ส้มตำปลาร้า เพื่อให้ต่างจากส้มตำใส่กุ้งแห้งที่เรียกส้มตำไทย [2] ปลาร้าที่นิยมใส่ในส้มตำมี 3 แบบคือ[3]", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "819012#12", "text": "หมู่ที่ 5 หมู่บ้านบึงปลาร้า ", "title": "องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ" }, { "docid": "11904#4", "text": "น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้ำมะนาว ใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาวได้ เช่นในปลาร้าหลน น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกมะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้วย ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก ใบมะกรูดนั้นใส่ในต้มยำทุกชนิด น้ำยาขนมจีน ยำหอย ใส่ในแกงเช่น แกงเผ็ด แกงเทโพ แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะมีรสขมมีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ผลมะกรูดผ่าซีกที่บีบน้ำออกแล้ว ใช้เป็นยาดับกลิ่นในห้องสุขาได้\nมะกรูดหวาน () เป็นมะกรูดสายพันธุ์หนึ่ง ใบนิ่ม ผิวใบเรียบ ผลใหญ่กว่ามะกรูดเปรี้ยว ผลมีรสหวาน ใช้รับประทานเป็นผลไม้ ไม่นิยมใช้ปรุงอาหาร เป็นผลไม้ท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงคราม", "title": "มะกรูด" }, { "docid": "13363#9", "text": "ข้าวหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมขึ้นชื่อที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก นิยมปลูกกันมากในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และนครราชสีมา ปลาแดก คืออาหารที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากกว่า 5,000 ปี โดยการนำปลาหรือสัตว์ชนิดอื่น เช่น อึ่งอ่าง มาหมักกับเปลือและรำข้าวหรือข้าวคั่ว ใช้เป็นอาหารและเครื่องปรุงรส ปลาร้าหลน หรือหลนปาแดก คือการนำปลาร้าเป็นตัว ขนาดใหญ่พอประมาณนำไปทอดในกระทะให้สุก นิยมรับประทานกับข้าวเหนียว เครื่องเคียง เช่น พริกสด โหระพา กระเทียม ข้าวจี่ คือนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนโรยเกลือเสียบไม้ นำไปย่างไฟ แล้วทาทับด้วยไข่ น้ำผึ้ง หรือน้ำตาล ปลาร้าบอง หรือปาแดกบอง คือการนำปลาร้าเป็นตัวมาสับให้ละเอียดพร้อมกับใส่เครื่องปรุง เช่น ตะไคร้ พริก หอม กระเทียม ใบมะกรูด ลาบ เช่น ลาบหมู, ลาบไก่, ลาบซี้น, ลาบเนื้อ, ลาบควาย, ลาบไข่มดแดง, ลาบปลาตอง[9] ไข่มดแดง แกงอ่อม หรืออ่อม แกงเห็ด ก้อย แกงผักหวานไข่มดแดง หม่ำเนื้อ ข้าวเหนียวไก่ย่าง ส้มตำ หรือตำบักหุ่ง เลือดแปง หมก คืออาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยมใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผัก และหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ เนื้อหมูแห้งแดดเดียว เนื้อวัวแห้งแดดเดียวหรือซี้นแห้ง ซกเล็ก ซั่ว เช่น ซั่วไก่ เอาะ เช่น เอาะกะปู เหนี่ยน เช่น เหนี่ยนบักเขีย เหนี่ยนบักมี่ ป่น เช่น ป่นปลา ป่นกบ มีทั้งป่นแห้งและป่นน้ำ ซุบ เช่น ซุบหน่อไม้ แจ่ว คือน้ำพริกอีสาน เช่น แจ่วปลา แจ่วกุ้ง แจ่วหมากเผ็ด แจ่วบอง แจ่วฮ้อน คือจิ้มจุ่มอีสาน ซิ้นดาด คือหมูกระทะอีสาน เข้าหลาม คือข้าวหลาม เข้าปุ้น คือขนมจีนอีสาน รับประทานกับน้ำยาประเภทต่าง ๆ เช่น น้ำนัว (น้ำปลาร้า) น้ำยาป่า น้ำยาโคราช น้ำงัว (เนื้อวัว) หรือรับประทานกับส้มตำประเภทต่าง ๆ เช่น ตำเข้าปุ้น ตำป่า ตำซั่ว (ตำซ่า) เป็นต้น เข้าเปียก คือกวยจั๊บอีสานเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลเวียดนาม น้ำผัก ยำสลัดลาว แหนมเนือง คืออาหารที่ได้รับอิทธิพลเวียดนาม รับประทานใส่กะปิ ซอสหวาน ซีอิ๊วขาว และผักโหระพา เฝอ คือก๋วยเตี๋ยวที่ได้รับอิทธิพลเวียดนาม บางท้องถิ่นรับประทานใส่ซอสพริก กะปิ ซีอิ๊วดำ บางท้องที่ใส่มะเขือเทศลงในน้ำซุป หมาน้อยหรือหม้อน้อย ต้ม เช่น ต้มส้ม ต้มไก่ ต้มแซบ ต้มยำ ซ่า หรือซว่า แกงกล้วย เป็นอาหารพื้นบ้านอีสานใต้", "title": "ภาคอีสาน (ประเทศไทย)" }, { "docid": "48544#2", "text": "ลักษณะของปลาร้าอีสานคือมักทำจากปลาน้ำจืดขนาดเล็ก เช่น ปลาสร้อยขาว ปลากระดี่มาหมักกับรำข้าวและเกลือ แล้วบรรจุใส่ไห จะหมักไว้ประมาณ 7-8 เดือน แล้วนำมารับประทานได้ ในบางท้องที่มีค่านิยมว่า หมักให้เกิดหนอนจะยิ่งเพิ่มรสชาติยิ่งขึ้น ปลาร้าเป็นการถนอมปลาโดยการหมักไว้เป็นอาหารนอกฤดูกาล โดยมีข้อมูลเชิงสถิติระบุไว้ว่า กำลังการผลิตปลาร้าทั่วประเทศ 20,000-40,000 ตัน/ปี ครัวเรือนอีสานผลิตปลาร้าเฉลี่ย 27.09 กิโลกรัม/ปี อัตราการบริโภคปลาร้าโดยเฉลี่ยประมาณ 15-40 กรัม/คน/วัน ปริมาณการซื้อขายปลาร้าทั่วประเทศคิดเป็นมูลค่าประมาณ 9 ล้านบาทต่อวัน[1]", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "595508#0", "text": "มอก หรือ ม่อก เป็นอาหารลาวประเภทหนึ่งที่ปรุงด้วยการนึ่ง โดยนำเครื่องปรุงทั้งหมดมาผสมกับเครื่องแกง ได้แก่ หอมแดง ตะไคร้ พริกแห้ง ใส่ในถ้วย ห่อใบตอง หรือนำไปยัดไส้ แล้วนึ่งให้สุก อาหารประเภทนี้มีหลายชนิด ตัวอย่างมอกที่ใส่ในถ้วยแล้วนึ่ง ได้แก่ มอกเห็ดแค้น นำเห็ดมาผสมกับหมูสับแล้วใส่ถ้วยนึ่ง ประเภทห่อใบตองแล้วนึ่งได้แก่ มอกไข่ปลา นำไข่ปลาผสมกับมันหมูสับ มอกปลาร้า นำปลาร้ามาผสมกับหมูสับ มอกไข่มด นำไข่มดผสมกับหมูสับ มอกไก่ นำไก่หั่นเป็นชิ้นแล้วผสมกับเครื่องแกง มอกปลาลิง นำปลาลิงหั่นเป็นชิ้นแล้วผสมกับเครื่องแกง ประเภทยัดไส้แล้วนึ่งได้แก่ มอกปูแป้ง ผสมเนื้อปู หมูสับกับเครื่องปรุงอื่นๆ แล้วยัดใส่กระดองปูที่แกะเนื้อออกแล้ว นำไปนึ่ง มอดดอกแค นำหมูสับยัดในดอกแคป่าแล้วนำไปนึ่ง มอกพริก นำหมูสับมายัดใส่พริกที่เอาเม็ดออกแล้ว นึ่งให้สุก", "title": "มอก" }, { "docid": "352980#21", "text": "แจ่วมะเด่น มีเครื่องปรุง มะเขือเทศ พริกสด ปลาร้า กระเทียม", "title": "ชาวไทพวน" }, { "docid": "48544#8", "text": "ปลาแดกนัวหรือปลาแดกต่วง เป็นปลาร้าที่หมักให้มีกลิ่นนุ่มนวล ปลาที่ใช้ทำจะเลือกปลาขนาดกลางและขนาดเล็ก ส่วนผสมประกอบด้วย ปลาสี่ส่วน เกลือหนึ่งส่วนครึ่ง และรำหนึ่งส่วน", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "48544#1", "text": "ปลาร้า หรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[873,885,3,3]}'>ปลาแดก เป็นอาหารหลัก และเครื่องปรุงรสที่สำคัญที่สุดในวัฒนธรรมของภาคอีสาน จนถือเป็นหนึ่งใน<i data-parsoid='{\"dsr\":[968,997,2,2]}'>วิญญาณห้าของความเป็นอีสาน ได้แก่ ข้าวเหนียว ลาบ ส้มตำ หมอลำ และปลาร้า ชีวิตชาวอีสานก่อนปี พ.ศ. 2500 ครอบครัวชาวนาทุกครอบครัวจะทำปลาร้ากินเอง โดยหมักปลาร้าไว้มากหรือน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและความอุดมสมบูรณ์ของปลา", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "48544#5", "text": "สิ่งที่บ่งชี้คุณภาพของปลาร้า คือ คุณค่าด้านสารอาหาร รส กลิ่น สี นักโภชนาการยอมรับกันว่า เมื่อเปรียบเทียบปลาร้ากับอาหารหมักดองประเภทอื่น เช่น ปลาจ่อม ปลาส้มฟัก กะปิ ปลาร้าให้คุณค่าด้านสารอาหารค่อนข้างสูง คือ ให้โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ โดยเฉพาะปลาร้าที่ทำมาจากปลาช่อน", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "787044#0", "text": "เทพธิดาปลาร้า เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก-คอมเมดี บทประพันธ์ของ เรียวช่อชลอุ่มบทโทรทัศน์โดย เรียวช่อชลอุ่ม กำกับการแสดงโดย อดุลย์ บุญบุตร ผลิตโดย บริษัท มาสเตอร์ วัน วิดีโอ โปรดักชั่น จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์–ศุกร์ เวลา 19.00 - 20.00 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย พศุตม์ บานแย้ม, ณปภา ตันตระกูล และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย เริ่มตอนแรกวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552–4 มกราคม พ.ศ. 2553", "title": "เทพธิดาปลาร้า" }, { "docid": "352980#22", "text": "มีวิธีการทำเริ่มจากนำกระเทียมใส่เกลือแลัวตำ พริกสดปิ้งไฟหลังจากนั้นนำไปตำ มะเขือเทศก็นำไปปิ้งไฟ นำมาปลาร้ามาสับห่อด้วยใบตองแล้วนำไปหมกไฟ แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาตำรวมกัน กินกับมะเขือ แตง ถั่ว\nฝอเขียด มีส่วนผสมดังนี้คือ\nเขียด มะแว้งเขือ พริกสด เกลือ หอม ปลาร้า มะเขือแจ้ ขมิ้น ข่า ตะไคร้ กระเทียม\nมีวิธีทำดังนี้คือ นำกระเทียมใส่เกลือ ข่า ตระไคร้ หั่น ขมิ้น ตำให้ละเอียด พริกแห้งนำไปเผาไปนิหน่อย นำไปตำรวมกับเครื่องที่ตำไว้ ใส่ปลาร้า เขียดเอาขี้ออกมาสับให้ละเอียด นำไปคั่ว นำส่วนผสมทั้งหมดไปผัดรวมกันให้หอม ใส่มะแว้งเขือ มะเขือแจ้ ใส่น้ำนิดหน่อยคนให้เข้ากัน", "title": "ชาวไทพวน" }, { "docid": "600966#0", "text": "เหลิวมั้ม หรือ ปลาร้าหม้อไฟ () เป็นอาหารเวียดนามชนิดหนึ่ง นิยมมากในเวียดนามภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เป็นการนำปลาร้าไปต้มกับหมูสามชั้น หอม กระเทียม ตะไคร้ พริกสับ กระชาย ต้มให้เดือด ใส่เนื้อสัตว์ลงไป ที่นิยมได้แก่ ปลาช่อน ปลาไหล กุ้ง หมึก หอยตลับ ผักที่นิยมคือมะเขือม่วง สะเดาดิน สายบัว ไหลบัว ผักพาย หัวปลี ผักบุ้ง ถั่วพู มะระ ดอกโสน ดอกแค และเห็ด ถ้านำไปรับประทานกับขนมจีนเรียก \"บู๊นมั้ม\" ()", "title": "เหลิวมั้ม" }, { "docid": "48544#4", "text": "ปลาร้าต่วงหรือปลาแดกน้อย ทำจากปลาตัวเล็ก หมักกับเกลือ รสเค็มกลมกล่อม ปลาร้าโหน่ง รสจืดกว่าปลาร้าต่วง โดยหมักปลากับเกลือและรำข้าว รำข้าวจะช่วยเร่งให้ปลาร้าเป็นเร็ว สีออกแดงและหอม ปลาร้าขี้ปลาทู ทำจากไส้ปลาทู มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ นิยมนำมาทำเป็นน้ำปลาร้าไว้ปรุงรสส้มตำ", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "128063#5", "text": "ภาษาพื้นเมืองที่ใช้พูดในท้องถิ่น คือ ลาว ย้อ ภูไท ผลิตภัณฑ์ดีเด่น ได้แก่ ผ้าขาวม้า ปลาร้า อาหาร ", "title": "อำเภอเซกา" }, { "docid": "48544#6", "text": "ส่วนรสชาติ กลิ่น สีของปลาร้านั้นขึ้นอยู่กับปลาร้าที่ได้สัดส่วนระหว่างปลา เกลือและอุณหภูมิ หากปลาร้าไม่เน่า เพราะเกลือได้สัดส่วน และเป็นเกลือสินเธาว์ตัวปลาจะแข็ง มีสีแดง ส่วนกลิ่นที่หอมและรสที่ไม่เค็มเกินไปขึ้นอยู่กับการใช้ข้าวคั่วและรำใหม่ ที่มีคุณภาพดี ชาวอีสานจะเรียกปลาร้าตามคุณภาพของรสและกลิ่น เช่น ปลาแดกหอม ปลาแดกนัวหรือปลาแดกต่วง และปลาแดกโหน่ง", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "48544#13", "text": "หมวดหมู่:อาหารอีสาน หมวดหมู่:อาหารไทยภาคใต้ หมวดหมู่:อาหารมอญ หมวดหมู่:อาหารหมักดอง หมวดหมู่:อาหารประเภทเนื้อปลา", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "565281#4", "text": "เป็นปลาที่พื้นถิ่นนิยมบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยบริโภคกันทั้งสด และรมควันหรือทำเป็นปลาร้า รวมถึงมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย", "title": "ปลาปากเปี่ยนบ้านด่าน" }, { "docid": "819012#48", "text": "- คลองบึงปลาร้า ไหลผ่านหมู่ที่ 3, 5 ", "title": "องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ" }, { "docid": "48544#10", "text": "ปลาร้าที่หมักนานกว่าสามเดือนขึ้นไปจะให้รสชาติที่ดี ถ้าปลาช่อนตัวใหญ่อาจต้องใช้เวลาถึงหนึ่งปี ไม่ต้องพะวงกับเชื้อโรคในปลาร้า เพราะนักโภชนาการเชื่อว่า เกลือในปริมาณที่พอเหมาะมากพอจะทำให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ ทำให้อาหารบูดเน่าได้ ดังนั้นถ้าปลาร้าที่ทำจากปลาที่ล้างสะอาด สด ใช้เกลือสินเธาว์และภาชนะบรรจุที่เหมาะสมจะทำให้ได้ปลาร้าที่มีคุณภาพดี จากการศึกษาวิจัยยังพบอีกว่า ปลาร้าที่หมักนานกว่าสามเดือนขึ้นไป พยาธิใบไม้ตับ จะตายหมดไม่สามารถติดต่อมายังคนได้ไม่ว่าจะรับประทานปลาร้าดิบหรือสุกก็ตาม", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "48544#12", "text": "ปลาร้าแบบมอญต่างจากปลาร้าแบบอีสาน นิยมทำจากปลากระดี่ นำมาเคล้ากับเกลือ ผึ่งให้แห้ง นำมาโขลกกับเกลือและข้าวสุกให้เกลือเข้าเนื้อแล้วหมักในไห ใช้เวลาหมักเป็นปี ไม่ใส่ข้าวคั่วแบบปลาร้าอีสาน และใช้เวลาหมักนานกว่า ปลาร้าแบบนี้ ชาวมอญนิยมนำไปทำปลาร้าทรงเครื่องหรือกะเซียก ซึ่งมีลักษณะคล้ายปลาร้าหลน[5]", "title": "ปลาร้า" }, { "docid": "48544#7", "text": "ปลาแดกหอม เป็นปลาร้าที่มีกลิ่นหอมสีแดงน่ารับประทาน ทำจากปลาตัวโตเช่น ปลาช่อนและปลาดุก ส่วนประกอบในการหมักใช้เกลือมากกว่าสูตรทั่วไป คือ ปลาสี่ส่วน เกลือสองส่วนและข้าวคั่วหรือรำหนึ่งส่วน", "title": "ปลาร้า" } ]
3923
บับเบิลที มีส่วนผสมของชาหรือไม่ ?
[ { "docid": "629501#0", "text": "บับเบิลที (หรือที่เรียกกันว่า เพิร์ลมิลก์ที (ชานมไข่มุก) บับเบิลมิลก์ที หรือ ปัวป้ามิลก์ที) (Chinese:波霸奶茶; pinyin:bōbà nǎichá ถ้ามีไข่มุก 珍珠奶茶; zhēnzhū nǎichá) เครื่องดื่มประจำชาติไต้หวัน ก่อกำเนิดในช่วงปี 1980 เคี้ยวหนึบหนับ ลูกกลม ๆ ที่ทำมาจากแป้งมันสำปะหลังนี้เป็นที่นิยมนำมาใส่ในเครื่องดื่ม คนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า \"ไข่มุก\"", "title": "ชานมไข่มุก" } ]
[ { "docid": "629501#6", "text": "นมที่ผสมลงไปนั้นไม่ถือว่าเป็นส่วนผสมหลัก แต่ก็พบว่าหลายสูตรใส่ผสมลงไปด้วย บางร้านใช้ครีมเทียมเป็นส่วนผสมที่ใช้แทนนม แทนที่จะใช้น้ำนมจริง ๆ เพราะชาวเอเชียตะวันออกส่วนมากแพ้น้ำตาลแล็คโตสในนม เหตุผลอื่น ๆ ก็คือ ราคาถูกกว่า หาได้ง่ายกว่า วันหมดอายุนานกว่านมแท้ ๆ[2] ในประเทศฝั่งตะวันตก มีการใช้น้ำนมถั่วเหลืองมาผสมแทนสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากนมวัว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เครื่องดื่มมีรสชาติและหน้าตาต่างกันไป", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "2417#67", "text": "ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือ\"นิฮงชุ\") ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น", "title": "ประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "629501#11", "text": "ร้านชาไข่มุกส่วนใหญ่จะมีเมนูที่หลีกเลี่ยงส่วนผสมของชาหรือกาแฟ ส่วนมากจะเป็นเครื่องดื่มประเภทที่ปั่นรวมกับน้ำแข็ง เรียกว่า สโนว์ บับเบิล อาจมีการนำส่วนผสมอื่น ๆ ที่ใส่ในชาไข่มุกมาผสมรวมลงไปก็ได้ จะได้เป็นเครื่องดื่มที่มีหน้าตาเหมือนเกล็ดหิมะ แต่ความเย็นในเครื่องดื่มจะทำให้เม็ดไข่มุกแข็งตัวมากขึ้น จะทำให้ใช้หลอดดูดไม่ขึ้นและเคี้ยวลำบาก ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มประเภทเกล็ดหิมะใส่ไข่มุก จะต้องรีบดื่มให้ไวกว่าเครื่องดื่มประเภทชาไข่มุกธรรมดา", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "634224#0", "text": "กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทมีอยู่ตามธรรมชาติในกาแฟ ชา มาเต (llex paraguariensis) และพืชประเภทอื่น ๆ เป็นส่วนผสมของเครื่องบริโภคมากมาย โดยเฉพาะในเครื่องดื่มที่โฆษณาว่า เป็นเครื่องดื่มชูกำลัง นอกจากนั้นแล้ว ยังมีกาเฟอีนในน้ำอัดลมเช่นโคคา-โคล่าและเป็ปซี่ โดยกำหนดในฉลากแสดงองค์ประกอบว่า เป็นเครื่องปรุงรส", "title": "ภาวะพิษกาเฟอีน" }, { "docid": "60978#1", "text": "ผงฟู สามารถพบในขนมปังจำพวก แพนเค้ก วาฟเฟิล และมัฟฟิน โดยทั่วไป baking powder 1 ช้อนชาสามารถทำให้ส่วนขึ้นฟูโดยใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง ของเหลว 1 ถ้วยตวง และไข่ไก่ 1 ฟอง อย่างไรก็ตามถ้าส่วนผสมมีฤทธิ์เป็นกรดแล้วการเติม baking powder มากเกินไปจะดูเป็นการฟุ่มเฟือยและทำให้เสียรสชาติได้ ส่วนผสมที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงได้แก่ buttermilk น้ำมะนาว โยเกิร์ต หรือ น้ำผึ้ง ควรใส่ผงฟูเพียงเล็กน้อยเท่านั้น", "title": "ผงฟู" }, { "docid": "629501#7", "text": "นอกจากนั้น บางสูตรยังใส่รสชาติต่าง ๆ เพิ่มลงไปในชาไข่มุก ที่นิยมกันคือผลไม้ต่าง ๆ เช่น สตอเบอร์รี่ แอ๊ปเปิ้ลเขียว เสาวรส มะม่วง เลม่อน แตงโม องุ่น ลิ้นจี่ ลูกพีช สัปปะรด แคนตาลูป ฮั่นนี่ดิว กล้วย อโวคาโด มะพร้าว กีวี และ ขนุน ส่วนผสมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผลไม้ที่นิยม เช่น เผือก พุดดิ้ง ช็อคโกแลต กาแฟ มอคค่า บาร์เล่ย์ งา อัลมอนด์ ขิง ลาเวนเดอร์, กุหลาบ, คาราเมล และ ไวโอเล็ต ,ทุเรียน ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะนิยมในเครื่องดื่มที่ไม่ใส่นมเท่านั้น เนื่องจากกรดในน้ำผลไม้จะทำให้นมแข็งตัวตกตะกอน", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "597030#1", "text": "การผสมส่วนผสมจะใช้การเทกลับไปกลับมาระหว่างแก้วสองใบจนเกิดฟอง เป็นการทำให้ชาเย็นลง และทำให้ชากับนมระเหยเข้ากันดี การผสมชานี้กลายเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ชาชักและนาซีเลอมะก์ถือเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นมรดกของมาเลเซีย", "title": "ชาชัก (เครื่องดื่ม)" }, { "docid": "629501#17", "text": "เมื่อก่อน เคยมีการรายงานว่า เม็ดสาคู, นมผง และน้ำเชื่อมรสผลไม้ มีส่วนผสมของสารปรุงแต่งต้องห้าม ในเดือนพฤษภาคม ปี 2011 ฟู้ดสแกนดอล ในไต้หวันตีแผ่เรื่องราวของ DEHP (สารเสริมสภาพพลาสติก) (สารเคมีพลาสติไซเซอร์ที่มีสารก่อมะเร็ง) ที่พบในสารกันบูดในเครื่องดื่มและน้ำเชื่อมรสผลไม้ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกนอกประเทศ และใช้ในร้านชาไข่มุกทั่วโลก DEHP (สารเสริมสภาพพลาสติก) นี้มีผลกับระดับฮอร์โมนในร่างกาย[8][9] ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2011 กระทรวงสาธารณสุขของประเทศมาเลเซีย นายเลียว เทียงไหล ประกาศให้บริษัทที่จำหน่าย \"น้ำเชื่อมรสสตอเบอร์รี่\" (หนึ่งในส่วนผสมที่ใช้ในชาไข่มุกบางเมนู) หยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เนื่องจากทดสอบแล้วพบว่า มีสารก่อมะเร็งดังกล่าวปะปนอยู่[10]", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "8038#0", "text": "กาเฟอีน () เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ, ชา, โคล่า กาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาต และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ กาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก", "title": "กาเฟอีน" }, { "docid": "721992#0", "text": "ชาบูชาบู () เป็นอาหารญี่ปุ่นประเภทหม้อไฟแบบหนึ่ง คล้ายกับสุกี้ยากี้ มีส่วนผสมต่าง ๆ เช่น ผัก เนื้อหั่นบาง ๆ และอาหารทะเล โดยการปรุงจะนำวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้จุ่มแช่ลงในน้ำเดือด หรือน้ำซุป และปล่อยทิ้งไว้สักพัก จากนั้นนำส่วนผสมอย่างอื่น เช่น เต้าหู้ บะหมี่ ลงตุ๋นให้เข้ากัน แล้วรับประทานโดยจุ่มลงในซอส ", "title": "ชาบูชาบู" }, { "docid": "629501#9", "text": "เม็ดมันสำปะหลัง (ปัวป้า) ในชาไข่มุกให้ความรู้สึกเคี้ยวหนึบหนับ ในหลาย ๆ สูตรมีการเพิ่มส่วนผสมบางอย่างเข้าไปเพื่อเพิ่มรสชาติให้กับเครื่องดื่ม เช่น ไข่มุกสีเขียว:มีการเพิ่มรสชาเขียวเข้าไปเล็กน้อย ปรับให้เคี้ยวง่ายกว่าไข่มุกแบบเดิม เยลลี่ตัดออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตัดเป็นรูปดาว รูปสี่เหลี่ยม ทำเป็นลายทาง เพิ่มสีและรสชาติต่าง ๆ เข้าไป เช่น วุ้นมะพร้าว, บุก ลิ้นจี่ หญ้า มะม่วง และ ชาเขียว การทำเป็นสีรุ้งจะใช้ผลไม้ผสมกับผงบุก ทำให้งอได้และเคี้ยวกรุบกรอบมากกว่าไข่มุกแบบเดิม ส่วน ถั่วอะซูกิ หรือ ถั่วเขียวบด รวมถึง เครื่องต่าง ๆ ที่นิยมใช้ราดหน้าขนมหวานช่วยเพิ่มรสชาติและความกลมกล่อมได้เป็นอย่างดี ในร้านชาทั่ว ๆ ไป จะมีการใส่ ว่านหางจระเข้ พุดดิ้งไข่ (คัสตาร์ดพุดดิ้ง) สาคู หรือ เผือกที่ปั้นเป็นลูกกลมชิ้นเล็ก ๆ ด้วย", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "558104#1", "text": "ปลาไหลเผือกใหญ่เป็นพืชที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใช้ รากถ่ายพิษต่างๆ ถ่ายพิษไข้พิษเสมหะ และโลหิต แก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ตัดไข้ทุกชนิด แก้ลม แก้วัณโรคระยะบวม ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ ความดันเลือดสูง อัมพาต ขับถ่ายน้ำเหลือง แก้ท้องผูก ใช้รากเป็นส่วนผสมของยาบำรุงกำลัง นำรากผสมกับรากโลดทะนงแดง และพญาไฟ ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้ ใช้เลิกเหล้า รากผสมกับรากย่านางแดง และพญายา ฝนน้ำกินขับพิษ ในตำรายาโบราณ เป็นส่วนผสมของยาสามราก ที่ใช้ขับพิษ และแก้อาการลงแดงจากการติดยาเสพติด เป็นส่วนผสมของยาประสะเหมือดคน และยาจันทน์ลีลา และยาแก้ไข้ห้าราก ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียนำรากไปต้มกับชาใช้กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ", "title": "ปลาไหลเผือกใหญ่" }, { "docid": "629501#5", "text": "ความหลากหลายของส่วนผสมในชาไข่มุกนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของชา โดยส่วนมาก จะใช้ชาประเภทที่ต่างกัน เช่น ชาดำชนิดต่าง ๆ ชาเขียว หรือแม้เต่กาแฟ ชาที่นิยมคือ ชาอู่หลง และเอิร์ลเกรย์ ส่วนชามะลิก็เป็นชาที่นิยมกันมากอยู่แล้ว ชนิดอื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันคือ หยวนหยาง (鴛鴦 แปลว่า เป็ดแมนดาริน/นกเป็ดน้ำ) ค้นพบในฮ่องกง ประกอบไปด้วยชาดำครึ่งหนึ่ง และกาแฟครึ่งหนึ่ง บ้างนิยมผสมนมลงไป หรือถ้าเป็นชาที่ชงใหม่ ๆ จะได้เป็นรสชาติของชาอ่อน ๆ มาแทน", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "47307#3", "text": "ดอกคอร์นฟลาวเวอร์เป็นเครื่องตกแต่งอาหารได้ และใช้เป็นส่วนผสมในชา", "title": "คอร์นฟลาวเวอร์" }, { "docid": "26357#18", "text": "ทั้งนี้ ฤทธิ์ของอะมิกาซินจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับยาที่ได้มากจากชีวพิษโบทูลินัม,[12] ยาชา, ยาหย่อนกล้ามเนื้อ, หรือการได้รับเลือดที่มีส่วนผสมของซิเตรทในขนาดสูง ซึ่งนิยมใช้เป็นสารที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด[2]", "title": "อะมิกาซิน" }, { "docid": "190399#2", "text": "ใช้ภาษาของรัฐปัญจาบ ซึ่งเรียกว่า ภาษา “ปัญจาบี” (Punjabi) เป็นหลัก (หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “คุรุ มุขขิ” (Gur Mukhi) ซึ่งแปลว่า ภาษาของครู) ส่วนภาษารองขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่ศาสนิกชนอาศัยอยู่\nเนื่องจากหลักของศาสนาซิกข์-นามธารีเน้นสอนให้มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ ศาสนิกชนจึงเป็นนักมังสวิรัติประเภท Lacto Vegetarian คือรับประทานเพียงพืช ผัก ผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำนม และผลิตภัณฑ์จากน้ำนมทุกประเภท แต่หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหาร และยาที่มีส่วนผสมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เช่น ไข่ ปลา ไก่ หมู กุ้ง วัว เป็นต้น และหลีกเลี่ยงอาหารซึ่งมีโทษต่อร่างกาย เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ สุรา รวมทั้งเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือ คาเฟอีน (เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ฯลฯ) และไม่เสพสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษทุกประเภท", "title": "นามธารี" }, { "docid": "958105#0", "text": "ไอริชเบรกฟาสต์ (อังกฤษ: Irish breakfast tea) เป็นชาดำเบลนด์ชนิดหนึ่ง มีความเข้มข้นกว่าชาอิงลิชเบรกฟาสต์ เนื่องจากมีปริมาณของชาอัสสัมในส่วนผสมมากกว่า", "title": "ชาไอริชเบรกฟาสต์" }, { "docid": "629501#18", "text": "ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2012 นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยอาเคิน (RWTH) ในประเทศเยอรมันได้ทำการวิเคราะห์ส่วนผสมของชาไข่มุกเพื่อหาสารอาจที่ก่อให้เกิดการแพ้ ผลการตรวจสอบ พบว่า มีส่วนผสมของ สไตรีน, อะซีโตฟีโนน และ สารที่ผ่านกรรมวิธีการเติมโบรมีน[11][12] หนังสือพิมพ์ในประเทศเยอรมัน Rheinische Post ตีพิมพ์บทวิเคราะห์ดังกล่าว ส่งผลให้ตัวแทนในประเทศเยอรมันของทางไต้หวันต้องออกมาแถลงการณ์ กล่าวว่า จะมีการตรวจสอบอาหารทุกประเภทในไต้หวันอย่างละเอียด[13] ต่อมา ในเดือนกันยายน องค์การอาหารและยาของไต้หวันได้ออกมาแจ้งผลการวิเคราะห์รอบสองซึ่งผ่านการควบคุมโดยองค์กรประเทศเยอรมัน พบว่า ชาไข่มุกของไต้หวันปลอดจากสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่พบส่วนผสมของโลหะหนัก หรือสารอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด[14]", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "37305#10", "text": "การตวงยา อาหาร และส่วนผสมในการทำอาหาร ยังอาจมีการใช้ หน่วย ช้อน ด้วย เช่น ให้รับประทานยาครั้งละ 1 ช้อนชา, 1 ช้อนโต๊ะ ซึ่ง 1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา", "title": "มาตราตวง" }, { "docid": "223656#0", "text": "ชานม เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่พบในหลายวัฒนธรรม ที่มีส่วนผสมของชาและนม และจะมีความแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่สำคัญ, วิธีการเตรียม รวมถึงส่วนผสมอื่น ๆ เหล่านี้", "title": "ชานม" }, { "docid": "629501#8", "text": "ชาไข่มุกบางสูตรนำส่วนผสมแต่ละอย่างมาใส่รวมกัน หลาย ๆ ร้านชาในอเมริกา มีเมนูผสมมากมายให้ลูกค้าเลือกสรร บางร้านใส่กาแฟ หรือผสมแล้วปั่นให้ด้วย", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "200348#2", "text": "สะระแหน่มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีม (Ice cream) และชาสมุนไพร ทั้งร้อนและเย็น และมักผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่นเช่น สเปียร์มินต์ อีกทั้งยังเหมาะในการเป็นเครื่องเคียงในอาหารจำพวกผลไม้สดและขนมหวาน", "title": "สะระแหน่" }, { "docid": "205562#9", "text": "ส่วนใหญ่ในเครื่องดื่มชูกำลังจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือ , วิตามินบี และสมุนไพร บางยี่ห้อก็ใส่ส่วนผสมเพิ่มเติมเช่น แปะก๊วย โสม บางยี่ห้อก็จะใส่น้ำตาลในปริมาณที่สูง บางยี่ห้อก็ถูกออกแบบให้มีพลังงานต่ำ แต่ส่วนผสมหลักของเครื่องดื่มชูกำลังก็คือคาเฟอีน ซึ่งเป็นส่วนผสมชนิดเดียวกันกับกาแฟหรือชา ", "title": "เครื่องดื่มชูกำลัง" }, { "docid": "8295#31", "text": "เครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ของเปรูคือ ปิสโกซาวร์ (Pisco sour) ซึ่งมีส่วนผสมของเหล้าปิสโก (บรั่นดีที่ทำจากองุ่น) น้ำมะนาว น้ำแข็ง ไข่ขาว และน้ำหวาน ชาวเปรูยังนิยมดื่มเครื่องดื่มจากข้าวโพดสีม่วงที่เรียกว่า ชีชาโมราดา (Chicha morada) อีกด้วย", "title": "ประเทศเปรู" }, { "docid": "623604#0", "text": "สังขยา เป็นขนมชนิดหนึ่งของไทยทำจาก ไข่ น้ำตาล กะทิ นำมากวนให้เข้ากัน นิยมแต่งสีและกลิ่นด้วยใบเตยให้ได้สีเขียว หรือผสมกับน้ำชาเรียกสังขยาชาเย็น ใช้ทาขนมปังหรือใช้เป็นไส้ขนมปัง ซาลาเปาในมาเลเซียและอินโดนีเซียมีขนมลักษณะเดียวกันนี้เรียก กายา หรือศรีกายา เป็นแบบที่ทำให้ข้น ใช้ทาขนมปัง ใช้เป็นไส้ขนมได้ด้วย ส่วนผสมเป็นไข่ กะทิ น้ำตาล เคี่ยวให้เข้ากัน นิยมใส่ใบเตยให้เป็นสีเขียวอ่อนหรือใส่ไข่ให้เป็นสีส้ม กายาที่ใช้กินกับขนมปังจะต่างจากกายาที่กินกับข้าวเหนียว", "title": "สังขยา (ขนมปัง)" }, { "docid": "102350#0", "text": "น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น \"สบู่ล้างจาน\" หรือ \"ครีมล้างจาน\" เนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม", "title": "น้ำยาล้างจาน" }, { "docid": "629501#2", "text": "ชาไข่มุกสูตรดั้งเดิม ทำมาจาก ชาดำไต้หวันร้อน ใส่ไข่มุกที่มาจากแป้งมันสำปะหลัง (粉圓) เม็ดเล็ก ๆ นมข้นหวาน และน้ำเชื่อม (糖漿) หรือน้ำผึ้ง ต่อจากนั้นก็มีสูตรใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ต่างก็ชื่นชอบดื่มแบบเย็นกันมากกว่าดื่มแบบร้อน มีการทดลองเปลี่ยนประเภทของชาที่ใช้อยู่ตลอดเวลา แต่เดิมเริ่มจาก ชาเขียวไข่มุก ซึ่งใช้ ชาเขียว (茉香綠茶) กลิ่นมะลิมาแทนชาดำที่เคยใช้ เพิ่มขนาดเม็ดไข่มุกให้ใหญ่ขึ้น (波霸/黑珍珠)[1] มีการเพิ่มรสชาติของลูกพีช และผลพลัม ต่อมามีการเพิ่มรสชาติของผลไม้หลากหลายชนิด ในบางสูตร ถึงกับตัดชาออกไป ไม่เหลือส่วนผสมของชาไว้เลย เพื่อคงรสชาติผลไม้ไว้ให้ได้มากที่สุด มีการค้นพบว่า น้ำผลไม้เหล่านี้ ทำให้ไข่มุกเปลี่ยนสี (รวมถึง \"เยลลี่ชิ้นเล็ก ๆ \" ในเครื่องดื่มพวกทาโฮ คล้าย ๆ เต้าฮวย) เพราะฉะนั้น จึงมีการเลือกสีของไข่มุกให้เข้ากับเครื่องดื่มผลไม้แต่ละชนิด และเพื่อให้ได้รสชาติของชาดำร้อนหรือชาเขียวที่ดีขึ้น อาจมีการเติมผงสกัด น้ำผลไม้ เนื้อผลไม้ น้ำเชื่อม ลงไป เมื่อใส่รวมกันในกระบอกเชคเกอร์ หรือปั่นรวมกับน้ำแข็งในเครื่องปั่นรวม เพิ่มไข่มุกและส่วนผสมอื่น ๆ (อย่างเช่น วนิลลา น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือ น้ำตาล) ในตอนสุดท้าย", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "715157#0", "text": "มสาลาจาย (, แปลตรงตัวว่า \"ชาใส่เครื่องเทศ\"; ; ; ) เป็นเครื่องดื่มชาแต่งกลิ่นชนิดหนึ่งจากเอเชียใต้ ได้จากการต้มใบชาดำกับเครื่องเทศและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ปัจจุบันมสาลาจายได้รับความนิยมไปทั่วโลกโดยกลายเป็นรายการเด่นของร้านกาแฟหรือร้านน้ำชาหลายแห่ง บางแห่งอาจเรียกเครื่องดื่มชนิดนี้สั้น ๆ ว่า \"จาย\" ซึ่งแปลว่าชา หรือเรียกโดยซ้ำคำเป็น \"ชาจาย\" วิธีการเตรียมแบบดั้งเดิมจะนำใบชาไปต้มกับนมและเครื่องเทศ เช่น เมล็ดกระวานเขียว อบเชยแท่ง ขิงบด กานพลูบด เมล็ดพริกไทยดำ เป็นต้น เสร็จแล้วจึงกรองเอากากออก แต่ก็มีการผลิตมสาลาจายเป็นจำนวนมากเพื่อการค้าปลีกในรูปแบบถุงชาสำหรับชงแช่, ผงส่วนผสมสำเร็จรูป หรือชาเครื่องเทศเข้มข้น (concentrate)", "title": "มสาลาจาย" }, { "docid": "873336#3", "text": "ชาเบลนด์ (อังกฤษ: Blends) คือชาที่เกิดจากการนำใบชาตั้งแต่สองชนิดมาผสมเข้าด้วยกันหรือเป็นการผสมส่วนผสมอื่น ๆ ที่มิใช่ชาเช่นดอกไม้ น้ำมันหอม ผลไม้แห้ง ซึ่งส่งผลให้ชาเกิดกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างไปจากเดิม มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มรสชาติหรือเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้มีชาอีกหลายตัวที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาใหม่เช่น ชาปรินซ์ ออฟ เวลส์ (อังกฤษ: Prince of Wales tea) ซึ่งเป็นชาที่ปรุงแต่ขึ้นเพื่อเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเวลส์ และชาเอิร์ลเกรย์ซึ่งปรุงแต่งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ชาลส์ เกรย์ เอร์ลเกรย์ที่ 2 เป็นต้น", "title": "ชาแดง" } ]
3924
ยโสธร มีคำขวัญว่าอย่างไร ?
[ { "docid": "7605#2", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ตราประจำจังหวัด: รูปพระธาตุอานนท์ ปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดยโสธร ขนาบด้วยรูปสิงห์ 2 ตัว เบื้องล่างของภาพดังกล่าวรองรับด้วยรูปดอกบัวบานเป็นการแสดงถึงการที่จังหวัดยโสธรแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด: ต้นกระบาก ([Anisoptera costata]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นยางนา ([Dipterocarpus alatus]error: {{lang}}: text has italic markup (help))[2] ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวแดง ([Nymphaea rubra]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาชะโอนหรือปลาเซียม ([Ompok bimaculatus]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดยโสธร" } ]
[ { "docid": "126093#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดยโสธรโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุมออกจากจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรวมกันเป็นจังหวัดยโสธรตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2515 และเป็นกำเนิด อำเภอเมืองยโสธร ในปัจจุบัน", "title": "อำเภอเมืองยโสธร" }, { "docid": "7605#51", "text": "อำเภอเมืองยโสธร โรงเรียนยโสธรพิทยาคม โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากร ตั้งตรงจิตร 15 โรงเรียนยโสธรพิทยาสรรค์ โรงเรียนศิลาทองพิทยาสรรค์ โรงเรียนสอนแก้วว่องไววิทยา โรงเรียนสิงห์สามัคคีวิทยา", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "6470#23", "text": "คำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์แต่งขึ้นในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้นได้นำนโยบายนี้เข้าสู่ที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการและมีการคิดประกอบคำขวัญจังหวัดอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นตัวอย่าง เพื่อมอบให้วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์กำหนดกรอบแนวคิดการประกวดคำขวัญประจำจังหวัดต่อไป อย่างไรก็ดี คำขวัญที่คิดในที่ประชุมส่วนราชการได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักทั่วไป จึงไม่ได้มีการคิดประกวดคำขวัญใหม่ ทำให้คำขวัญดังกล่าวยังคงใช้เป็นคำขวัญประจำจังหวัดมาจนปัจจุบัน[20]", "title": "จังหวัดอุตรดิตถ์" }, { "docid": "491855#0", "text": "วัดมหาธาตุ ถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองยโสธรมาตั้งแต่แรกสร้างเมือง ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองยโสธร อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ซึ่งภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง พระพุทธปรูปบูชาประจำเมืองที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย , พระธาตุอานนท์ พระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์แห่งเดียวในประเทศไทย และหอไตรกลางน้ำที่มีศิลปะงดงาม มีพระราชรัตนกวี (สำลี คุตสีโล) เป็นเจ้าอาวาสวัดรูปปัจจุบัน ", "title": "วัดมหาธาตุ (จังหวัดยโสธร)" }, { "docid": "137339#1", "text": "ในยุคสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศสได้เกิดคำขวัญขึ้นมาว่า \"เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ หรือความตาย\" \"(Liberté, Égalité, Fraternité, ou la Mort!)\" แต่หลังจากนั้นในสมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสและการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง คำขวัญดังกล่าวก็ได้ถูกลืมหายไปจนกระทั่งปี พ.ศ. 2391 ปีแอร์ เลอรูซ์ได้นำคำขวัญกลับคืนมาใช้อีกครั้งหนึ่ง และนายกเทศมนตรีนครปารีสได้เขียนคำขวัญดังกล่าวบนกำแพงเมือง จนกระทั่งสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ที่คำขวัญนี้ได้กลายเป็นคำขวัญอย่างเป็นทางการ", "title": "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ" }, { "docid": "296783#0", "text": "สโมสรฟุตบอลยโสธร หรือ ยโสธร เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดยโสธร ปัจจุบันเล่นใน ไทยลีก 4 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ", "title": "สโมสรฟุตบอลยโสธร" }, { "docid": "362947#4", "text": "ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชื่อว่า\"โรงเรียน ยโสธรพิทยาคม\" พ.ศ. 2516 เปิดสอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนยโสธรพิทยาคม ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจริยธรรมดีเด่น จากกระทรวง ศึกษาธิการ พ.ศ. 2531 โรงเรียนได้รับรางวัล \"โรงเรียนพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา\" ประจำปีการศึกษา 2530 \nพ.ศ. 2537 ได้รับรางวัล \"โรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมดีเด่น ระดับเขตการศึกษา 10\"สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียนยโสธรพิทยาคมคมได้แก่ พระมิ่งมงคลศากยมุนีศรียโสธร เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร ตั้งอยู่ ณ ลานอเนกประสงค์หลังศาลาเฉลิมพระเกียรติ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นภายในพระอุระได้มีการบรรจุวัตถุมงคลต่างๆไว้มากมาย พระมิ่งมงคลศากยมุนีศรียโสธร เป็นอนุสรณ์สถานที่ทางโรงเรียนยโสธรพิทยาคม จัดสร้างขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่สถานศึกษา และใช้เป็นสถานที่สักการบูชาของคณะครู นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องทั่วไป ซึ่งพระมิ่งมงคลศากยมุนีศรียโสธร มีศิลปะการก่อสร้างที่มีความประณีต และงดงามเป็นอย่างมาก\nตั้งแต่ก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนยโสธรพิทยาคม มีผู้บริหารโรงเรียนแล้วทั้งสิ้น 18ท่านดังนี้\nชื่อคณะสีมาจากชื่อดอกไม้นานาชนิด", "title": "โรงเรียนยโสธรพิทยาคม" }, { "docid": "7605#95", "text": "รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดยโสธร รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดยโสธร รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดยโสธร รายชื่อวัดในจังหวัดยโสธร รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดยโสธร สโมสรฟุตบอลยโสธร ยูไนเต็ด", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "438399#1", "text": "เทศบาลเมืองยโสธรตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ได้รับจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลยโสธร อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2487 เมื่ออำเภอยโสธร ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 เทศบาลตำบลยโสธร จึงได้เปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาลเมืองยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515", "title": "เทศบาลเมืองยโสธร" }, { "docid": "138805#0", "text": "คำเขื่อนแก้ว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยโสธร เดิมชื่อบ้านลุมพุก ขึ้นแขวงเมืองยโสธร บริเวณอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2451 ได้ลดฐานะเมืองยโสธรลงเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี และได้ตั้งบ้านลุมพุกขึ้นเป็นอำเภออุทัยยะโสธรขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเจ้าเหลี่ยม ณ จำปาศักดิ์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งจังหวัดยโสธรขึ้น โดยแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี และได้รวมเอาอำเภอคำเขื่อนแก้วมาขึ้นกับจังหวัดยโสธรตั้งแต่บัดนั้น ครั้งหนึ่งอำเภอคำเขื่อนแก้วเคยใช้ชื่อว่า อำเภอลุมพุก และประชาชนทั่วไปก็มักใช้เรียกอำเภอคำเขื่อนแก้วว่าอำเภอลุมพุกตลอดมา", "title": "อำเภอคำเขื่อนแก้ว" }, { "docid": "7605#84", "text": "ภานในตัวเมืองยโสธร มีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังอำเภอ เช่น อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอกุดชุม อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัด ระยะทางจากอำเภอเมืองยโสธรไปยังอำเภอต่างๆ คือ", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "98119#59", "text": "ในปี ค.ศ. 1985 นิตยสารโรลลิ่งสโตนได้เขียนเกี่ยวกับวงอย่าง แบล็กแฟล็ก (Black Flag), ฮุสเกอร์ดุ, มินิตเม็น (Minutemen) และเดอะรีเพลซเม็นส์ ว่า \"วงพังก์ดั้งเดิมได้ผ่านไปแล้ว วงพังก์ร็อกอเมริกันที่ดีที่สุดได้เข้ามาแทน พวกเขาได้รู้จักว่าการเล่นดนตรีเป็นอย่างไร และได้ค้นพบเมโลดี้ การโซโล่กีตาร์ และเนื้อเพลงที่มีอะไรมากไปกว่าการตะโกนคำขวัญทางการเมือง\"[84] โดยช่วงสิ้นสุดทศวรรษที่ 1980 วงเหล่านี้ได้แปลเปลี่ยนมาเป็นออลเทอร์นาทิฟร็อก โดยออลเทอร์นาทิฟร็อกได้รวมความหลากหลายของสไตล์ อย่าง อินดี้ร็อก, โกธิกร็อก, กรันจ์ และอื่น ๆ ทำให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยอยู่ในต้นแบบของพังก์ร็อกสู่กระแสนิยมทางด้านดนตรี[85]", "title": "พังก์ร็อก" }, { "docid": "296783#1", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้มาดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร และได้นำทีมฟุตบอลเยาวชนไปแข่งขันในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนั้น ก็ได้แชมป์ชนะเลิศฟุตบอล อายุไม่เกิน 18 ปี ที่เป็นตัวแทนเขต 3 ไพรม์มินิสเตอร์ ต่อมาจึงได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรและเทศบาลเมือง จัดตั้งสโมสรฟุตบอลยโสธรยูไนเต็ดขึ้น ก้าวสู่ฟุตบอลอาชีพ โดยมีผู้ฝึกฝึกสอน จำนวน 3 คน คือ เอกสุทธชัย ไชยวิเศษ, พูลศักดิ์ วิเศษแก้ว และ นคร แสนวงษ์ เป็นผู้ฝึกสอน โดยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ทางสโมสรได้ประกาศแต่งตั้ง หม่ำ จ๊กมก หรือ เพ็ชรทาย วงศ์คำเหลา ศิลปินตลกชื่อดังของเมืองไทยชาวจังหวัดยโสธร เป็นประธานสโมสรคนใหม่\nสนามเหย้าทางสโมสร \"สิงห์บั้งไฟโก้\" ยโสธร ยูไนเต็ด จะใช้สนามกีฬากลางสวนสาธารณะพญาแถน ขณะนี้นายสฤษดิ์ ประดับศรี นายกอบจ.ยโสธร เจ้า ของพื้นที่อนุญาตให้สโมสรสิงห์บั้งไฟโก้ ยโสธร ยูไนเต็ด ใช้เป็นสนามกีฬากลางสวนสาธารณะพญาแถนเป็นสนามเหย้าของสโมสรไปจนกว่าจะเข้าร่องเข้ารอย ทางสโมสรถึงจะมองหาสถานที่สร้างสนามส่วนตัวของสโมสร และต้องขอขอบคุณทางนายก อบจ. ยโสธร ที่จัดงบประมาณกว่า 1 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสนามโดยการปลูกหญ้าให้เขียวขจี และปรับปรุงห้องพักเก็บ ตัวนักเตะ ที่อยู่ด้านใต้อัฒจันทร์นั่งชมฟุตบอลบริเวณสนามกีฬากลาง", "title": "สโมสรฟุตบอลยโสธร" }, { "docid": "362947#0", "text": "โรงเรียนยโสธรพิทยาคม () อักษรย่อ (ย.ส.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เป็นโรงเรียนเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตที่ ๒๘ จังหวัดศรีสะเกษและยโสธร กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ถนนแจ้งสนิท ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 35000", "title": "โรงเรียนยโสธรพิทยาคม" }, { "docid": "362947#3", "text": "ปีพ.ศ. 2493 ทางจังหวัดได้จัดสร้างอาคารเรียน เป็นอาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูงมุงกระเบื้องจำนวน 6 ห้องเรียน โดยมีนาย เสนอ นาระดล ศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี และ นายวิจิตร อาจารยางกูร ศึกษาธิการอำเภอยโสธร เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2493 จึงได้ย้ายมาเรียนที่อาคารสร้างใหมโดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มี นายพร ศุภศร เป็นครูใหญ่คนแรก มีเนื้อที่ 55 ไร่ 3 งาน 20.5 ตารางวา อำเภอยโสธร ได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดยโสธรเมื่อวันท ี่1 มีนาคม 2515 โรงเรียนยโสธรจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น โรงเรียนประจำจังหวัดยโสธร เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษาเปิดทำการสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ", "title": "โรงเรียนยโสธรพิทยาคม" }, { "docid": "11847#0", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด เป็นคำขวัญที่แต่ละจังหวัดในประเทศไทยแต่งขึ้น เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจ และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ มักเป็นคำคล้องจองสั้น ๆ เพื่อให้จดจำง่าย นอกจากคำขวัญประจำจังหวัดแล้ว ปัจจุบันยังมีการแต่งคำขวัญประจำท้องถิ่นในส่วนย่อยลงไปอีก เช่น คำขวัญประจำอำเภอ คำขวัญประจำเขต (ในกรุงเทพมหานคร) เป็นต้น", "title": "รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด" }, { "docid": "7605#61", "text": "โรงเรียนซ่งแย้ทิพยา อำเภอไทยเจริญ โรงเรียนพระแม่มารีย์โสธร อำเภอเมืองยโสธร โรงเรียนยโสธรวิทยาคาร อำเภอเมืองยโสธร โรงเรียนสันติธรรมวิทยาคม โรงเรียนอนุบาลทองขาว", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "7605#62", "text": "วิทยาลัยชุมชนยโสธร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร วิทยาลัยเทคนิคยโสธร วิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีพิพัฒน์อินเตอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีเอกวรรณยโสธร วิทยาลัยเทคโนโลยียโสธรอินเตอร์เนชั่นแนว วิทยาลัยเทคโนโลยีมหาชนะชัย วิทยาลัยอาชีวศึกษายโสธร วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลิงนกทา", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "7605#81", "text": "จังหวัดยโสธรอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 532 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดยโสธรได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัวและรถประจำทาง โดยทางรถยนต์จากกรุงเทพฯ มาจังหวัดยโสธร มี 2 เส้นทาง คือ", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "7605#80", "text": "ข้าวหอมมะลิ จังหวัดยโสธรขึ้นชื่อในเรื่องการเกษตรกรรมปลูกข้าวหอมมะลิพันธุ์ดี เป็นที่ต้องการของทั้งในและนอกประเทศ แตงโมหวาน นอกเหนือจากข้าวหอมมะลิ ชาวยโสธรยังปลูกแตงโมเป็นอาชีพเสริมมีผลผลิตมากที่สุดในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม หมอนขวานผ้าขิด ผลิตกันมากที่บ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว ทำจากผ้าทอลายขิดซึ่งเป็นผ้าทอพื้นเมืองของภาคอีสาน มีลวดลายวิจิตรงดงาม รูปแบบหลากหลาย ปลาส้ม ลอดช่องยโสธร เป็นขนมหวานขึ้นชื่อของจังหวัดยโสธร งานหัตถกรรมเครื่องจักสาน เป็นงานฝีมืออันประณีตทำจากไม้ไผ่ของชาวบ้านทุ่งนางโอก ตำบลทุ่งนางโอก อำเภอเมืองยโสธร งานแกะสลักเกวียนจำลองและเครื่องทองเหลือง ที่บ้านนาสะไมย์ ตำบลนาสะไมย์ อำเภอเมืองยโสธร", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "217712#7", "text": "จากความคิดเห็นนี้และไม่ว่าความสัมพันธ์ของวิสต์เลอร์กับมารดาจะเป็นอย่างไร ภาพนี้ก็ถูกใช้กันไปต่างๆ ในสมัยวิคตอเรียและต่อมาโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาในการเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่, ความรู้สึกต่อพ่อแม่ และคุณค่าของครอบครัวโดยทั่วไป ตัวอย่างเช่นเมื่อไปรษณีย์สหรัฐออกแสตมป์ “มารดาของวิสต์เลอร์” พร้อมกับคำขวัญ “เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นเกียรติแก่แม่ทั้งหลายในสหรัฐอเมริกา”", "title": "มารดาของวิสต์เลอร์" }, { "docid": "362947#1", "text": "และโรงเรียนยโสธรพิทยาคมได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล\"World Class Standard School\" ซึ่งมีโรงเรียนในจังหวัดยโสธร เพียง 2 แห่งเท่านั้นที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลคือ โรงเรียนยโสธรพิทยาคม และโรงเรียนเลิงนกทา", "title": "โรงเรียนยโสธรพิทยาคม" }, { "docid": "7605#88", "text": "พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) อดีตรักษาการเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระเทพสังวรญาณ (พวง สุขินทริโย) วัดศรีธรรมาราม อำเภอเมืองยโสธร พระธรรมธัชมุนี (อมร ญาโณทโย) กรรมการมหาเถรสมาคม รองเจ้าคณะภาค ๑๐ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระราชรัตนกวี (สำลี คุตสีโล) เจ้าคณะจังหวัดยโสธร วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองยโสธร พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ วัดป่าศิลาพร อำเภอเมืองยโสธร หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าบ้านหนองแสง อำเภอเมืองยโสธร พระครูปภากรศีลขันธุ์ (หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร) วัดป่าสุนทราราม อำเภอเลิงนกทา หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อำเภอเมืองยโสธร พระราชภาวนาพินิจ (หลวงปู่สนธิ์ อนาลโย) วัดพุทธบูชา กรุงเทพมหานคร พระมหาเดวิทย์ ยสสี วัดวินิจธรรมาราม อำเภอกุดชุม พระนักเทศน์ พระทองใส จนฺทสิริ วัดดอนมะฮ่วน อำเถอคำเขื่อนแก้ว พระนักเทศน์ หลวงปู่บุญมา สุชีโว วัดป่าสุขเกษม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู พระครูถาวรเขมกิจ (สำราญ ถาวรสัทโธ) วัดบ้านโพนงอย อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "7605#1", "text": "จังหวัดยโสธรถูกจัดตั้งขึ้นโดยคณะปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 อันให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วรวมกันตั้งเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 สืบไป โดยมีนายชัยทัต สุนทรพิพิธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรคนแรก[1]", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "7605#30", "text": "จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิติขจร ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดยโสธรที่ค้างคาอยู่ ออกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2514 โดยได้แยกอำเภอต่างๆที่อยู่ในการปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีเดิม 6 อำเภอ คือ อำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว รวมเข้าเป็นจังหวัดยโสธร จังหวัดที่ 71 ของประเทศไทย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป และแต่งตั้งนายชัยทัต สุนทรพิพิธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรคนแรก", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "287158#1", "text": "วิทยาลัยชุมชนยโสธร ตั้งอยู่ ณ ถนนสุวรรณภูมิ-ยโสธร ตำบลสำราญ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร", "title": "วิทยาลัยชุมชนยโสธร" }, { "docid": "438399#0", "text": "เทศบาลเมืองยโสธร เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดยโสธร มีพื้นที่ 9.7 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 20,345 คน", "title": "เทศบาลเมืองยโสธร" }, { "docid": "7605#73", "text": "ยโสธร-อำนาจเจริญ-เขมราษฎร์ธานี: หมู่บ้านหัตถกรรมศรีฐาน-พระมงคลมิ่งเมือง-วัดถ้ำแสงเพชร-วนอุทยานภูสิงห์-ภูผาผึ้ง-ถนนคนเดินเขมราษฎร์ธานี-แก่งช้างหมอบ-วัดพระโตบ้านปากแซง ยโสธร-มุกดาหาร: หมู่บ้านหัตถกรรมนาสะไมย์-ภูหินปูน-อ่างเก็บน้ำห้วยโพงตอนบน-วัดอัครเทวดามิคาแอล-วัดป่าสุนทราราม-ภูหมู-อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว-อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ-ตลาดอินโดจีน-สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)-แก่งกะเบา ยโสธร-อุบลราชธานี: ธาตุก่องข้าวน้อย-ดงเมืองเตย-พระธาตุกู่จาน-สวนสัตว์อุบลราชธานี-วัดพระธาตุหนองบัว-แก่งสะพือ-อุทยานแห่งชาติผาแต้ม-เขื่อนสิรินธร-ด่านพรมแดนช่องเม็ก ยโสธร-ศรีสะเกษ: วัดพระพุทธบาทยโสธร-สวนรุกขชาติน้อมเกล้า-ทุ่งบัวแดง-เขื่อนราษีไศล-ปราสาทสระกำแพงใหญ่-วัดพระธาตุเรืองรอง-สวนสมเด็จฯศรีสะเกษ-อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ยโสธร-สุรินทร์: เขื่อนยโสธร-กู่พระโกนา-กู่กาสิงห์-หมู่บ้านช้างตากลาง-ปราสาทหินศีขรภูมิ-ด่านพรมแดนช่องจอม ยโสธร-ร้อยเอ็ด: บึงเกลือ-ปรางค์กู่-ศูนยวิทยาศาสตร์ร้อยเอ็ด-วัดบูรพาภิราม-บึงพลาญชัย ยโสธร-กาฬสินธุ์: อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน-หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทห้องแซง-พระมหาเจดีย์ชัยมงคล-ผาหมอกมิวาย-แหลมพะยอม-เมืองฟ้าแดดสงยาง-เขื่อนลำปาว-พิพิธภัณฑ์ได้โนเสาร์", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "138803#1", "text": "ปี พ.ศ. 2501 ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยโสธรในสมัยนั้นดำริเห็นว่าท้องที่ตำบลโนนเปือย ตำบลโพนงาม ตำบลกำแมด และตำบลไผ่ อยู่ห่างไกลจากอำเภอยโสธร หนทางทุรกันดาร ลำบากแก่ราษฎรในการไปมาติดต่อราชการ ณ ที่ว่าการอำเภอยโสธร ประกอบกับเจตนารมณ์อันแรงกล้าของราษฎรทั้ง 4 ตำบลดังกล่าวที่มีความต้องการให้ทางราชการยกฐานะ 4 ตำบลเป็นกิ่งอำเภอ โดยราษฎรยินดีจะสร้างอาคารสถานที่ราชการให้ โดยไม่ต้องรบกวนงบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด เพื่อสนองเจตนาอันแน่วแน่ของประชาชนและเพื่อความเจริญของบ้านเมืองในอนาคต ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ จึงประชุมกำนันทั้ง 4 ตำบล ซึ่งได้แก่ นายสงค์ วงษ์ไกร กำนันตำบลโนนเปือย นายสาย จันทพาล กำนันตำบลโพนงาม นายวรรณทอง ยาวะโนภาส กำนันตำบลกำแมด และนายหา ยาวะโนภาส กำนันตำบลไผ่ มีมติเป็นเอกฉันท์คัดเลือกชัยภูมิซึ่งได้แก่พื้นที่บางส่วนของ \"ดงเย็น\" เป็นที่ดอนและตั้งอยู่ใกล้ชิดกับหมู่บ้าน \"กุดชุม\" ตำบลโนนเปือย เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอ\nในปีพุทธศักราช 2503 ก็ได้ลงมือสร้างกันอย่างจริงจัง โดยกำนันทั้ง 4 ตำบลดังกล่าว เป็นผู้นำที่เข้มแข็งรับอาสาชักชวนราษฎรสละตอไม้และแรงงานในการปราบพื้นที่ตั้งกิ่งอำเภอฯ ในอาณาบริเวณประมาณ 70 ไร่ และได้ตั้งปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอยโสธรผลัดเปลี่ยนกันออกมาดำเนินการกำกับดูแลการก่อสร้างและข้าราชการผู้เป็นกำลังอันสำคัญยิ่งที่มีส่วนผลักดันให้งานนี้เป็นผลสำเร็จก็คือ นายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ ปลัดอำเภอโท อำเภอยโสธร ซึ่งนอกจากจะมากำกับดูแลการก่อสร้างเป็นประจำแล้วยังได้รับภารกิจพิเศษให้เป็นหัวหน้าคณะร่วมกับนายอ่วม นามสละ ที่ดินอำเภอยโสธร นายบุญชู ดีหนองยาง ครูใหญ่ ออกดำเนินการเรี่ยไรข้าวเปลือกจากราษฎรทั้ง 4 ตำบล เพื่อรวบรวมขายเอาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าช่างฝีมือ และวัสดุสำคัญในการก่อสร้าง ผลปรากฏว่าได้เงินจากการขายข้าวเปลือกเพียงพอแก่การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ในที่สุดผลแห่งการร่วมมือร่วมใจของประชาชนและข้าราชการก็เสร็จสิ้นลงในราวเดือนพฤษภาคม 2504 มีสถานที่ราชการและบ้านพักซึ่งสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงของราษฎรสำเร็จเรียบร้อย\nอนึ่ง ผู้มีส่วนสำคัญยิ่งอีกท่านหนึ่งในการสนับสนุนเป็นกำลังใจให้การก่อสร้างกิ่งอำเภอฯ เป็นผลสำเร็จคือ ท่านพระครูปลัดปาเรสโก (ผั่น) เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองหิน ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร และท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างวัดประชาชุมพลขึ้นมาพร้อมๆ กับการสร้างกิ่งอำเภอฯ และในระยะเวลาต่อมาหลังจากสร้างกิ่งอำเภอฯ แล้วเสร็จไม่นาน ท่านก็เป็นผู้ดำเนินการตั้งหลักเมืองให้เป็นศักดิ์ศรีแก่กิ่งอำเภอด้วย\nเมื่อสร้างกิ่งอำเภอฯ เสร็จแล้ว ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยโสธร ก็รายงานผลไปยังกระทรวงมหาดไทย ขอแยกตำบลโนนเปือย ตำบลโพนงาม ตำบลกำแมด และตำบลไผ่ จากอำเภอยโสธร ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอกุดชุมตามนามหมู่บ้านกุดชุม ซึ่งสถานที่ที่ตั้งกิ่งอำเภอฯ อยู่ใกล้ที่สุด ในที่สุดได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอกุดชุม เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2504 โดยทางราชการได้แต่งตั้งนายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ ปลัดอำเภอโทอำเภอยโสธรมาดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอโท ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอกุดชุมคนแรก และเริ่มเปิดสถานที่ราชการติดต่อกับประชาชน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2504 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายกำจัด ผาติสุวัณณ) เป็นประธานกระทำพิธีเปิด\nกิ่งอำเภอกุดชุม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อพุทธศักราช 2515 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พุทธศักราช 2515 คณะปฏิวัติได้ประกาศยกฐานะอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร อำเภอกุดชุมจึงเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดยโสธรตั้งแต่นั้นมา", "title": "อำเภอกุดชุม" } ]
3925
เกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ที่ออกอากาศช่องไหน ?
[ { "docid": "685421#0", "text": "เกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อมาจากแสบคูณสอง และเป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 3 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544 และยุติการออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2548 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มีพิธีกรคือเกียรติ กิจเจริญ ติ๊ก กลิ่นสี และ ไดอาน่า จงจินตนาการ (พ.ศ. 2546 - 2548)", "title": "เกมพันหน้า" } ]
[ { "docid": "202881#0", "text": "กามเทพผิดคิว เป็นรายการประเภทเกมโชว์แนวนัดบอดเป็นรายการของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด โดยมีพิธีกรคือ เกียรติ กิจเจริญ (ตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ถึง กลางปี พ.ศ. 2540) และ หนู คลองเตย (ตั้งแต่ กลางปี พ.ศ. 2540 ถึง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 และยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540 โดยออกอากาศทุกวันศุกร์เวลา 12.15 - 13.15 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นรายการเกมโชว์รายการแรกและรายการเดียวของเวิร์คพอยท์ที่ออกอากาศในช่วงกลางวันในวันธรรมดา และกลับมาออกอากาศอีกครั้งหนึ่งทางช่อง 6 รอบรู้ ดูสนุก ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 11.30 - 12.20 น. หลังจากยุติการออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ไป 1 ปีเศษในเกมนี้พิธีกรจะบอกโจทย์คำถามโดยแขกรับเชิญต้องสอบถามปรัศนีทั้ง 3 คนด้วยกันและสอบถามตามคำถามนั้นในแต่ละข้อและช่วงสุดท้ายพิธีกรจะให้แขกรับเชิญกดไฟของปรัศนีทั้ง 3 และเมื่อกดแล้วพิธีกรจะเผยโฉมปรัศนีทั้ง 3 คน", "title": "กามเทพผิดคิว" }, { "docid": "220594#2", "text": "บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ต่อมาได้ขยายการผลิตรายการในหลากหลายรูปแบบ และหลายสถานี เช่น ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 3 ช่อง 9 (โมเดิร์นไนน์ทีวี) ช่อง ITV ช่องไทยรัฐทีวี และอื่นๆ เป็นจำนวนกว่า 100 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศ เช่น เกมโชว์ ควิซโชว์ เรียลลิตี้โชว์ การประกวด วาไรตี้โชว์ ทอล์คโชว์ รายการตลก ละครเวที ละครซิทคอม ละครเรื่องยาว ละครสั้น สารคดีโทรทัศน์ และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศ ทุกวัย และยังได้รับรางวัลจากหลายสถาบัน ", "title": "เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย" }, { "docid": "685421#1", "text": "รายการ<b data-parsoid='{\"dsr\":[1919,1935,3,3]}'>เกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 3 และเป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 6 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544 ทางช่อง 7 สี ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.20 - 23.45 น. เป็นเวลา 85 นาที โดยเป็นเกมโชว์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในสิ่งต่างๆ เช่น ไดโนเสาร์ นก กรุงเทพฯ ในอดีต ฯลฯ และเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านสามารถเข้ามาร่วมสนุกโดยการเขียนจดหมายมาสมัครร่วมรายการ หรือสมัครทางเว็บไซต์ได้อีกด้วย โดยมีเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท ต่อมาในช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 ทางรายการได้นำเอาไดอาน่า จงจินตนาการ มาเป็นพิธีกรของรายการ และเพิ่มเกมใหม่ รวมถึงลดเงินรางวัลลง ต่อมาในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ได้ย้ายวันและเวลาการออกอากาศ พร้อมทั้งปรับรูปแบบเกมและฉากใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งลดเวลาเหลือ 60 นาที ในวันอาทิตย์ เวลา 12.15 - 13.15 น. และเวลา 12.00 - 13.00 น. ตามลำดับ และยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2548 โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการมาเป็น เกมพันหน้า เอื้ออาทร เกมพันหน้า เดอะฮีโร่ เกมพันหน้า ซูเปอร์เซเว่น ในปัจจุบัน", "title": "เกมพันหน้า" }, { "docid": "342251#0", "text": "นาทีทอง คือชื่อรายการเกมโชว์ยุคแรกของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยออกอากาศเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ ช่วงเวลา 11.30-13.00 น. เริ่มแรกจัดเป็นรายการสด รูปแบบรายการเป็นลักษณะกึ่งวาไรตี้ มีช่วงเกมโชว์ ช่วงการแสดงตลก การแสดงจากศิลปินนักร้อง และนัดพบคนดัง อยู่ในรายการเดียวกัน โดยเฉพาะช่วงเกมโชว์ มีการเปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันทางบ้าน ปาลูกดอกติดวงล้อ เพื่อชิงรางวัลแจ็คพอตมูลค่าสูงที่สุดในขณะนั้น โดยแต่ละช่องของวงล้อจะมีขนาดใหญ่เล็กบ้างตามค่างวดของตัวเลข ส่วนช่วงการแสดงตลกมีคณะ \"ขายหัวเราะ\" ของล้อต๊อกมาร่วมรายการอยู่ระยะหนึ่ง มีพิธีกรและผู้ช่วยพิธีกรรายการหลายคนตามวาระ รายการนี้ยุติการออกอากาศในช่วงปี พ.ศ. 2530 โดยใช้ชื่อรายการครั้งสุดท้ายว่า \"นาทีทองประลองยุทธ์\" โดยมีบริษัท โอสถสภา เป็นผู้ร่วมเสนอรายการ", "title": "นาทีทอง" }, { "docid": "220594#6", "text": "เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย ผลิตรายการต่างๆ ทั้งเกมโชว์ ควิซโชว์ เกมโชว์สำหรับเด็ก ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ วาไรตี้คอเมดี้โชว์ เรียลลิตี้โชว์ การประกวด ละครเวที สารคดี และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นจำนวนกว่า 100 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, สถานีโทรทัศน์ช่องวัน, สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์, สถานีโทรทัศน์นาว 26, สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ,สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี และ สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี ปัจจุบัน เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย มีรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 10 รายการ เป็นรายการประเภททอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ วาไรตี้เกมโชว์ สารคดี เรียลลิตี้โชว์ และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ ออกอากาศทางช่อง 5 HD ช่อง 7 HD ช่อง 9 MCOT HD และช่องไทยพีบีเอส HD (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา รายการที่ขายลิขสิทธิ์และออกอากาศในแอปพลิเคชัน LINE TV และ AIS PLAY เน้น \"ตัวเอน\")", "title": "เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย" }, { "docid": "935164#0", "text": "เกมพันหน้า ซูเปอร์เซเว่น เป็นรายการเกมโชว์และเรียลลิตีโชว์ภาคต่อของรายการ เกมพันหน้า ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 12:00 - 13:30 น. ผลิตโดย บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด โดยครั้งนี้มีการเปลี่ยนพิธีกรคู่เป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี โดยผู้ที่รับหน้าที่พิธีกร คือ ฟรอยด์ - ณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์ และโบ - ธนากร ชินกูล ส่วนกิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ และติ๊ก กลิ่นสี พิธีกรคู่ที่เคยรับหน้าที่นี้มาเป็นเวลา 17 ปี ได้ผันตัวไปเป็นกรรมการประจำรายการ และมีผู้จัดการทีมที่นำชมรมมาแข่งในแต่ละสัปดาห์ คือ บอล เชิญยิ้ม", "title": "เกมพันหน้า ซูเปอร์เซเว่น" }, { "docid": "258494#0", "text": "เกมโซน (English: Game Zone) เป็นรายการเกมโชว์ออกอากาศในปี 2539-2545 ผลิตรายการโดยบริษัท แมสมอนิเตอร์ จำกัด (บริษัทในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) และออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และเป็นรายการเกมโชว์ที่ 2 ของไทยที่ได้ขายลิขสิทธิ์ให้กับต่างประเทศซึ่งประเทศที่ซื้อมาคือประเทศอินโดนีเซีย", "title": "เกมโซน" }, { "docid": "685421#22", "text": "กเกมพันหน้า กเกมพันหน้า กเกมพันหน้า หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2544 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2548 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 7", "title": "เกมพันหน้า" }, { "docid": "213584#6", "text": "สาระแน แปซิฟิค ได้ผลิตรายการต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 20 รายการ ทั้งเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ ทีวี, สถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็มแชนเนล, สถานีโทรทัศน์ช่องวัน และสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ไลน์ทีวี ปัจจุบันสาระแน แปซิฟิคมีรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 4 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ และวาไรตี้คอเมดี้โชว์ ออกอากาศทางช่อง 9MCOT HD ช่องไทยรัฐทีวี HD ช่อง 8 และช่อง7 HD (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา)", "title": "ลักษ์ 666" }, { "docid": "828758#0", "text": "ฟ้าแลบเด็ก เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวควิซโชว์ ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 11.15 - 12.00 น. เริ่มออกอากาศเทปแรกวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560 และ เวลา 11.00 - 11.30 น. ออกอากาศวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561 ทางช่องเวิร์คพอยท์ ดำเนินรายการโดย ภานุพันธ์ ครุฑโต (พัน พลุแตก)", "title": "ฟ้าแลบเด็ก" }, { "docid": "765104#0", "text": "4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม () หรือมักเรียกโดยย่อว่า 4 ต่อ 4 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวทายปัญหา (ควิซโชว์) โดยมีรูปแบบรายการต้นฉบับมาจากรายการ \"แฟมิลีฟิวด์\" (Family Feud) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2544 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และต่อมาได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน", "title": "4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม" }, { "docid": "781537#0", "text": "รายการ ศึกวันดวลเพลง สงครามแชมป์ ฤดูกาลที่ 1 (ปี 1) เป็นรายการเกมโชว์การแข่งขันเพลงลูกทุ่ง โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 20.00 - 21.45 น.ทาง ช่องวัน เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2559 ผลิตโดย บริษัท เดอะวันเอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ผู้ดำเนินรายการ ภคชนก์ โวอ่อนศรี (แฟรงค์) และ เตือนใจ ศรีสุนทร (ฝน ธนสุนธร)ปัจจุบันออกอากาศ 19.45-21.50 น.เพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 2 ชั่วโมง 5 นาที เริ่ม 11 มิถุนายนนี้\nรายการ ศึกวันดวลเพลง สงครามแชมป์ เป็นรายการเกมโชว์การแข่งขันเพลงลูกทุ่งที่เอาแชมป์ และ แชมป์มาแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะชิงเงินรางวัลมูลค่า 1,000,000 บาท โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 19.45 - 21.45 น.ทาง ช่องวัน", "title": "ศึกวันดวลเพลง สงครามแชมป์ ฤดูกาลที่ 1" }, { "docid": "934171#0", "text": "เกมพันหน้า เดอะฮีโร่ เป็นรายการเกมโชว์และเรียลลิตีโชว์ภาคต่อของรายการ เกมพันหน้า ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 11:45 - 12:45 น. ผลิตโดย บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด โดยมี กิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ และ ติ๊ก กลิ่นสี เป็นผู้ดำเนินรายการ และมี บอล เชิญยิ้ม เป็นผู้กำหนดโจทย์", "title": "เกมพันหน้า เดอะฮีโร่" }, { "docid": "426414#0", "text": "บ้านเจ้าปัญญา เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท SCG ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 น. - 17.50 น. มาแทนรายการเกมเผาขน โดยรายการนี้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล และออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556จะมีคนเข้าแข่งขัน 3 คู่ด้วยกัน โดยที่จะมีคำถาม อยู่ 3 ข้อ โดยที่คู่ไหนที่ได้ 2 คะแนน จะได้สิทธิในการเข้ารอบแจ็กพอต โดยมีการแข่ง 2 แบบ คือ", "title": "บ้านเจ้าปัญญา" }, { "docid": "967221#0", "text": "คอปเพิลออร์น็อท? คู่ไหน...ใช่เลย () เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์การแข่งขันจับคู่ปรัศนีย์ที่มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับความรักที่แตกต่างและหลากหลาย เช่น เพศสภาพ, ฐานะ, บุคลิก หรืออายุ เป็นต้น เพื่อชิงเงินรางวัล ผลิตรายการโดย บริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (ในนาม บริษัท โพลคาดอท เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด) ซึ่งได้ซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการจาก ฝิเฝนได เอนเตอร์เทนเมนท์ ของประเทศฝรั่งเศส เพื่อนำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลหมายเลข 33) ดำเนินรายการโดย ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร และ ศกุนตลา เทียนไพโรจน์", "title": "Couple or Not? คู่ไหน..ใช่เลย" }, { "docid": "230186#7", "text": "เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ ได้ผลิตรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์ต่างๆ ทั้งเกมโชว์ ควิซโชว์ เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ วาไรตี้โชว์ซิตคอม ละครโทรทัศน์ ละครซิทคอม ละครซีรีส์ และเรียลลิตี้โชว์เป็นจำนวนกว่า 250 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์วัน ปัจจุบันเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอมีรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 12 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ ละครโทรทัศน์และละครซิตคอม ออกอากาศทางช่องวัน 31", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "679482#0", "text": "เกมแจกเก๋ง เป็นรายการเกมโชว์แนวควิซโชว์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันมีโอกาสได้เป็นเจ้าของ \"รถเก๋งป้ายแดง\" ได้ง่าย ๆ เพียงแค่นั่งอยู่บนเก้าอี้ให้ได้จนจบเกมโดยที่ไม่ \"หงายเก๋ง\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 19:00 - 19:40 น. และออกอากาศซ้ำอีกครั้งในเวลา 11:20 - 12:00 น. ของวันถัดไป โดยมีสัญญา คุณากรเป็นผู้ดำเนินรายการ", "title": "เกมแจกเก๋ง" }, { "docid": "34424#7", "text": "การบินไทยไขจักรวาล (พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2548) รายการตอบปัญหาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งมีการบินไทยเป็นผู้สนับสนุน ออกอากาศทุกวันอังคารที่ 1 และ 3 ของเดือน เวลา 17.00 น. (ภายหลังออกอากาศทุกวันศุกร์ สัปดาห์และเวลาออกอากาศเดียวกัน) ถ่ายทอดสดจากห้องส่งของสถานีฯ ดำเนินรายการโดย พลตรีถาวร ช่วยประสิทธิ์ (2518-2521) และหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ (2521-2548) เกมจารชน (16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2548) เกมโชว์แนวสายลับรายการแรก และได้รับรางวัลเอเชียนเทเลวิชั่นอวอร์ด ปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) สาขาเกมโชว์ยอดเยี่ยม เป็นรายการแรกของไทย ดำเนินรายการโดย ศัลย์ อิทธิสุขนันท์, มยุรา เศวตศิลา, เกียรติศักดิ์ อุดมนาค (พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2543), โหน่ง ชะชะช่า (พ.ศ. 2543-พ.ศ. 2548) ครอบจักรวาล รายการสารคดีปกิณกะ ว่าด้วยการท่องเที่ยวและแนะนำอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ ผลิตโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัดถนัดศรี ดำเนินรายการโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ คอนเสิร์ต คอนเทสต์ (พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2531) รายการประกวดร้องเพลงและการแสดงจากศิลปินต้นแบบ เพื่อชิงแชมป์ออฟเดอะแชมป์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 - 14.00 น. คู่สร้างคู่สม (พ.ศ. 2519-พ.ศ. 2533, พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2543) รายการทอล์คโชว์เรื่องราวของสามีภรรยาที่มีชีวิตรักอันหลากหลาย ยุคแรก ดำเนินรายการโดย ดำรง พุฒตาล และยุคหลังดำเนินรายการโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง และ ญาณี จงวิสุทธิ์ ออกอากาศวันอาทิตย์เวลา 23.25 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เจาะใจ (3 มกราคม พ.ศ. 2534 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2558) รายการทอล์คโชว์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน โดยไม่ย้ายวันออกอากาศ ปัจจุบันออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.35-23.40 น. ยุคแรกที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ดำเนินรายการโดย ดำรง พุฒตาล และ สัญญา คุณากร ซีอุย (พ.ศ. 2527) ละครสำหรับผู้ใหญ่เรื่องแรกๆ ผลิตโดยกันตนา ออกอากาศทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 15.30 น. ตามล่าหาความจริง (พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2547) รายการสารคดีเชิงข่าวรายการแรกๆ ของแปซิฟิกฯ ดำเนินรายการโดย ประไพพัตร โขมพัตร ออกอากาศวันอาทิตย์เวลา 22.00 น. ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ย้ายไปออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 18.00 น. จนยุติการออกอากาศ ที่นี่..ประเทศไทย (2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2547) รายการวาไรตี้ เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศไทยในเรื่องต่างๆ ของ บมจ.มีเดีย ออฟ มีเดียส์ ยุคบริหารโดย โฆสิต สุวินิจจิต และ ยุวดี บุญครอง ดำเนินรายการโดย ลอร่า-ศศิธร รามโกมุท วัฒนกุล และ แอ๊ด-ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 21.15-22.00 น. บ้านเลขที่ 5 (พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2549) รายการที่มีผู้ชมมากที่สุดในระยะ 10 ปีแรก ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 07.30 น. โดยราวหนึ่งปีก่อนหน้านั้น แปซิฟิกฯ ผู้เช่าเวลา ทำการถ่ายทอดข่าวจากซีเอ็นเอ็น และต่อมาหลังจากนั้น เปลี่ยนชื่อเป็นสยามทูเดย์ และย้ายเวลาไปเป็นช่วงเย็น ปัจจุบันยุติรายการแล้ว แบบว่าโลกเบี้ยว (พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2546) รายการมิวสิกวิดีโอสลับการแสดงตลก โดยภิญโญ รู้ธรรมและคณะ ผลิตโดย แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (ต่อมาโอนให้บริษัทลูก ทีนทอล์ค) ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 น. ก่อนจะย้ายเป็นทุกวันพุธ เวลาบ่าย ป๊อบท็อป รายการวาไรตี้เกมโชว์รายการแรกของสถานี ดำเนินรายการโดย พันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง แผ่นดินธรรม (พ.ศ. 2530 - ปัจจุบัน) - รายการสารคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และชีวประวัติของพระองค์ บรรยายโดย อำรุง เกาไศยนันท์ จัดทำโดย มูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14:00 - 14:30 น. ย้ายไปออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 06:30 - 07:00 น. ย้ายมาออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 06:30 - 07:00 น. ปัจจุบัน ออกอากาศ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:25 - 05:50 น. และมีเผยแพร่ไปตามสถานีเครือข่ายไปทั่วโลกประมาณ 154 ประเทศ พลิกล็อก (พ.ศ. 2525-พ.ศ. 2532) เกมโชว์ในยุคแรกของเจเอสแอลที่มีชื่อเสียง ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00 น. ต่อมาเจเอสแอลนำชื่อรายการและรูปแบบเกมกลับมาผลิตใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2541 พิภพมัจจุราช (พ.ศ. 2511) ภาพยนตร์โทรทัศน์ของรัชฟิล์มทีวี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง พุทธประทีป ไฟว์ไลฟ์ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556) รายการเพลงสำหรับวัยรุ่นนอนดึก ออกอากาศทุกวันจันทร์-เสาร์ , ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 00.30-01.30 น. (ปัจจุบันย้ายไปที่ช่อง แบงแชนแนล) แฟนพันธุ์แท้ (1 กันยายน พ.ศ. 2543 - 17 เมษายน พ.ศ. 2552 และ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557) รายการควิซโชว์ท้าทายความรู้ ความสามารถ ไหวพริบ และปฏิภาณ ในเรื่องราวที่ผู้แข่งขันชื่นชอบ เพื่อพิสูจน์ความเป็นแฟนพันธุ์แท้ตัวจริง ยุคแรกดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล ต่อมาเปลี่ยนเป็น แทนคุณ จิตต์อิสระ และ เอก ฮิมสกุล) และ ปัจจุบัน กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ ดำเนินรายการ ซึ่งล่าสุดรายการนี้หลุดผังรายการของทางสถานีนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 และได้ย้ายไปอยู่ที่ช่อง เวิร์คพอยท์ทีวี เริ่มเดือนเมษายน 2558 เป็นต้นไป มาตามนัด (พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2538) เกมโชว์ที่ออกอากาศช่วงหลังข่าวภาคค่ำเป็นรายการแรกของสถานีฯ และมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ ผลิตโดยรัชฟิล์มทีวี ยุคที่สองซึ่งมีชื่อเสียงมากที่สุด ดำเนินรายการโดย เศรษฐา ศิระฉายา และญาณี จงวิสุทธิ์ พ.ศ. 2555 กลับมาออกอากาศใหม่ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ยุทธการขยับเหงือก (พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2540) รายการตลกปัญญาชนของเจเอสแอล โดยกำหนดให้พิธีกรรายการทุกคน มีคำนำหน้าชื่อเล่นว่า \"เสนา\" รวมดาวสาวสยาม (พ.ศ. 2522-พ.ศ. 2540) รายการปกิณกะเพลงลูกทุ่งรายการแรกที่พลิกโฉมวงการโทรทัศน์ จัดโดย วิญญู จันทร์เจ้า ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.30-15.00 น. ก่อนจะย้ายเป็นวันจันทร์เว้นจันทร์ เวลาเย็น โลกดนตรี (พ.ศ. 2514-พ.ศ. 2539) คอนเสิร์ตทางโทรทัศน์ที่ออกอากาศมานาน ถ่ายทอดสดทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 สงครามชีวิตโอชิน (พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2528) ภาพยนตร์โทรทัศน์ยอดนิยม ที่ผลิตโดยเอ็นเอชเคของญี่ปุ่น ซึ่งรัชฟิล์มทีวีนำมาเสนอฉายเป็นครั้งแรก และต่อมา ไทยทีวีสีช่อง 3 นำมาออกอากาศอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2553 สโมสรผึ้งน้อย (พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2537) รายการสำหรับเด็กรายการแรก ดำเนินรายการโดย น้านิด-พัทจารี อัยศิริ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 16.30 น. มีสมาชิกที่อยู่วงการบันเทิงอย่างยาวนานคือ จอย-ศิริลักษณ์ ผ่องโชค และวงดนตรีเอกซ์วายแซด หุ่นไล่กา (พ.ศ. 2512) ภาพยนตร์โทรทัศน์ของรัชฟิล์มทีวี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ระเบิดเถิดเทิง (7 มกราคม พ.ศ. 2539 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557) ซิทคอมเกมโชว์ที่อายุยาวนานที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในวันอาทิตย์ เวลา 16.00 - 17.00 น. และเวลา 14.00 - 15.25 น. ปัจจุบันออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.35 - 13.55 น. โดยใช้ชื่อว่า ระเบิดเที่ยง แถวตรง ซึ่งล่าสุดรายการนี้หลุดผังรายการของทางสถานีนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 และได้ย้ายรายการนี้ไปอยู่ที่ช่อง เวิร์คพอยท์ทีวี เริ่ม 4 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป รักในรอยแค้น (3 มกราคม–25 เมษายน พ.ศ. 2535) ละครโทรทัศน์เรื่องแรกของเอ็กแซ็กท์ นำแสดงโดย ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง และนุสบา วานิชอังกูร โดยในปี พ.ศ. 2545 เอ็กแซ็กท์นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของละครเรื่องนี้ นำแสดงโดย ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ และเอวิตรา ศิระสาตร์ โรงเรียนของหนู (พ.ศ. 2534-พ.ศ. 2546) เป็นรายการซึ่งนำเสนอเรื่องราว ของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้ประชาชนที่มีรายได้ข้างมากได้ช่วยเหลือเพื่อเป็นทุนการศึกษา ออกอากาศทุกเย็นวันพฤหัสบดี ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางเนชั่นทีวี จนถึงปัจจุบัน ไอคิว 180 (พ.ศ. 2528-พ.ศ. 2541) รายการตอบปัญหาเยาวชน โดยสุ่มตัวเลขมาเป็นโจทย์ให้นักเรียนคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ที่กำหนด โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือซีเมนต์ไทย ดำเนินรายการโดย ดร.ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.30-19.00 น. ต่อมาเปลี่ยนเป็นช่วงเย็นวันธรรมดา และย้ายไปออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "449355#0", "text": "นักประดิษฐ์พันล้าน เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่อง เวิร์คพอยท์ทีวี เปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันที่รักในการประดิษฐ์และมีความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่มีโอกาสทำรายได้มูลค่ามหาศาลในอนาคต รายการนี้ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2555 และออกอากาศเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557แต่ละสัปดาห์ ผู้แข่งขัน (คนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้) นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าดีพอที่จะได้เป็นนักประดิษฐ์พันล้านประจำรายการ โดยนำเสนอที่มาของสิ่งประดิษฐ์ รวมถึงสาธิตการใช้โดยผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมรายการจะมาร่วมสังเกตและอาจทดลองใช้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวด้วยก็ได้ จากนั้นกรรมการประจำรายการจะซักถามผู้แข่งขัน รวมถึงวิจารณ์และให้คำแนะนำแก่ผู้แข่งขัน เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ดำเนินรายการจะให้กรรมการแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์สิ่งประดิษฐ์ที่ผู้แข่งขันนำเสนอ พร้อมทั้งตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว รวมทั้งอาจมีข้อเสนอแนะจากกรรมการทั้งสอง ", "title": "นักประดิษฐ์พันล้าน" }, { "docid": "259767#0", "text": "ลุ้นข้ามโลก เป็นรายการโทรทัศน์ ประเภทเกมโชว์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั่วโลก ออกอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2537 - 2543 ผลิตรายการโดย บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00-13.00 น. ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยในปี พ.ศ. 2542-2543 รายการลุ้นข้ามโลกเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็น 15.00-16.00 น. ในชื่อรายการ ลุ้นข้ามโลก โชว์ออฟรายการนี้ออกมาในรูปแบบของเกมโชว์ทายปัญหาจากการท่องเที่ยวในต่างประเทศ โดยในแต่ละครั้งจะเชิญผู้ร่วมรายการ 3 คนมาแข่งขันกัน", "title": "ลุ้นข้ามโลก" }, { "docid": "213416#2", "text": "รายการ เกมทศกัณฐ์ ออกอากาศทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์รายการแรกที่รางวัลแจ๊คพอตที่มีเงินรางวัลสูงสุดถึง 10 ล้านบาทนับถือว่าเป็นรางวัลแจ๊คพอตสูงที่สุดในวงการของรายการเกมโชว์โทรทัศน์ไทยและในเอเชีย (โดยเฉพาะ \"เกมทศกัณฐ์ยกทัพ\" ที่มีรางวัลแจ๊คพอตสูงถึง 30 ล้านบาท) เพียงตอบคำถามใบหน้าของบุคคลที่มีชื่อเสียงสำคัญ ๆ ของคนทั่วทั้งโลก ตอบถูกครบ 10 หน้า รับไปเลยรางวัลแจ๊คพอตสูงที่สุด 10 ล้านบาทและนับตั้งแต่ออกอากาศเกมทศกัณฐ์จนไปถึงยกสยาม เป็นเวลาเกือบ 8 ปีทางรายการได้แจกรางวัลไปทั้งหมดเกือบ 70 ล้านบาท", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "274668#5", "text": "ทีวี ธันเดอร์ ได้ผลิตรายการต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 200 รายการ ทั้งเกมโชว์ ควิซโชว์ เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ ละครซิทคอม ละครยาว และเรียลลิตี้โชว์ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ทรูโฟร์ยู, สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี และสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี โดยปัจจุบันมีรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวนทั้งหมด 5 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ ควิซโชว์ วาไรตี้โชว์ และเรียลลิตี้โชว์ ทางช่อง 3 HD ช่อง 5 ช่องทรูโฟร์ยู ช่องไทยรัฐทีวี HD และช่อง PPTV HD (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา รายการที่ขายลิขสิทธิ์ลงแอปพลิเคชัน LINE TV เน้น \"ตัวเอน\")", "title": "ทีวี ธันเดอร์" }, { "docid": "43460#44", "text": "ตลกรายวัน[19] (26 มีนาคม พ.ศ. 2513 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2535) - รายการที่สองของสถานีฯ และเป็นรายการสุดท้ายของแต่ละวัน ตามผังรายการครั้งแรกของสถานีฯ มีเนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องตลก ออกอากาศทุกวัน เวลา 11.00-12.00 น. ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ย้ายมาออกอากาศเวลา 21.00-22.00 น. แต่ในต่างจังหวัดยังออกอากาศเวลาเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2516 ออกอากาศเป็นสองช่วงเวลาคือ 20.30-22.00 น. และ 23.00-0.00 น. เฉพาะในกรุงเทพมหานคร และออกอากาศช่วงเดียว คือ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 23.00 น. อวสานสิ้นปี 2535 รับรางวัล (15 มกราคม พ.ศ. 2514) เกมโชว์รายการแรกของสถานีฯ ที่ในระยะแรกออกอากาศเป็นเวลา 10 นาทีของทุกวัน แต่เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้ชมสูงมาก จนกระทั่งสถานีฯ ขยายเวลาในวันจันทร์-วันศุกร์ เป็น 30 นาที และวันเสาร์-วันอาทิตย์ เป็น 1 ชั่วโมง เปาบุ้นจิ้น (พ.ศ. 2517, พ.ศ. 2537 และ พ.ศ. 2558) ภาพยนตร์ชุดจีนจากไต้หวัน ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมาก ในทั้งสองช่วงเวลา (พ.ศ. 2517 ออกอากาศทุกวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 19.00 น. และ พ.ศ. 2537 ออกอากาศทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 20.30 น.) โดยยุคแรกนั้น บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ถึงกับเกาะกระแสด้วยการออกผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก ในเครื่องหมายการค้า เปาบุ้นจิ้น เลยทีเดียว (ปัจจุบันใช้เพียงชื่ออย่างสั้นว่า เปา เท่านั้น) ไฟพ่าย (1 กันยายน พ.ศ. 2519) ละครโทรทัศน์ยุคใหม่เรื่องแรกของสถานีฯ ผลงานของภัทราวดี มีชูธน ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันพุธ เวลา 19.30-20.00 น. ด้วยแนวทางที่ให้ผู้แสดงศึกษาบทล่วงหน้า และจำบทเอง โดยไม่ต้องมีผู้บอกอยู่ข้างฉากเช่นในยุคก่อนหน้า มีการซักซ้อมล่วงหน้า และบันทึกเทปแทนการออกอากาศสด กระบี่ไร้เทียมทาน (พ.ศ. 2523) ภาพยนตร์ชุดจีนที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมากอีกเรื่องหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ นำแสดงโดย ฉีเส้าเฉียน (เล่นเป็นตัวละครเอก ฮุ้นปวยเอี๊ยง) ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถึงกับนำกรณีที่ตัวละครในเรื่องนี้นัดหมายพิสูจน์วิชายุทธกัน มาขึ้นเป็นพาดหัวข่าวในหน้า 1 เลยทีเดียว เณรน้อยเจ้าปัญญา (พ.ศ. 2526) ภาพยนตร์การ์ตูนจากญี่ปุ่น ที่สร้างโดยอิงจากชีวประวัติของพระอิกคิว โซจุน ได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชนเป็นอย่างมาก ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเย็น ๆ เนื่องจากความฉลาดรอบรู้ของเณรเด็ก อิกคิวซัง ตัวเอกของเรื่อง อีกทั้งยังมีคติสอนใจในทุกตอนอีกด้วย ภาษาไทยวันละคำ (พ.ศ. 2527) รายการสอนภาษาไทย ในเชิงอธิบายความหมายของถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ ดำเนินรายการโดย ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น ซึ่งได้รับความสนใจ และเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมาก จากผู้ชมทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะเด็กและเยาวชน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของรายการ (รายการนี้ถูกล้อเลียน โดยรายการเพชฌฆาตความเครียด ภายใต้ช่วงว่า \"ภาษาไทยคำละวัน\" ของ ปัญญา นิรันดร์กุล) ดูดีดีมีรางวัล (พ.ศ. 2531) นับเป็นควิซโชว์ตอบคำถามชิงรางวัลในยุคแรก ๆ ที่เปิดรับผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านทั่วประเทศ เนื่องจากทางสถานีฯ กำลังเริ่มโครงการขยายเครือข่ายร่วมกับ อ.ส.ม.ท. จึงเกิดแนวคิดในการสมนาคุณตอบแทนแก่ผู้ชม ที่ติดตามชมรายการของสถานีฯ มาตลอด ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ และ หัทยา เกษสังข์ (ปัจจุบันนามสกุล วงศ์กระจ่าง) ฝันที่เป็นจริง (พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2539) รายการที่นำเสนอวิถีชีวิตของบุคคล ผู้ต่อสู้กับชะตากรรมอันยากลำบาก ผ่านรูปแบบละครสั้น และปิดท้ายรายการด้วยการสนทนากับบุคคลเจ้าของเรื่อง พร้อมทั้งมอบร้านค้ารถเข็น ให้เป็นอุปกรณ์ดำรงชีพต่อไป ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของรายการ เป็นเวทีแจ้งเกิดให้กับ ไตรภพ ลิมปพัทธ์ จนกลายเป็นพิธีกรที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น โดยมีผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก บรีส เป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการ ทไวไลท์โชว์ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 และ 7 มิถุนายน - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557) รายการวาไรตี้ทอล์กโชว์ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ ซึ่งในช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้น ได้รับจัดสรรเวลาจากสถานีฯ ถึง 3 ชั่วโมง (15.00-18.00 น.) ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ แต่เพียงผู้เดียวมาตลอด 14 ปี ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางไอทีวี ราวปี พ.ศ. 2547 ปี 2557 กลับมาออกอากาศอีกครั้ง โดยออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 15.30 - 17.00 น สีสันบันเทิง (พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน) ข่าวบันเทิงรายการแรกของสถานีฯ เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับรายการ แวด-วงบันเทิง ออกอากาศก่อนหน้าละครภาคค่ำทุกวัน เวลาประมาณ 20.20 น. ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ผู้ดำเนินรายการที่มีชื่อเสียงจากรายการนี้ อาทิ หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง, พรหมพร ยูวะเวส เป็นต้น โต้คารมมัธยมศึกษา (พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2538) รายการแข่งขันโต้วาที สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ดำเนินรายการโดย กรรณิกา ธรรมเกษร และ จตุพล ชมภูนิช ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 11.30-12.30 น. เป็นรายการที่สร้างชื่อเสียงแก่นักพูดระดับประเทศ อาทิ สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ สุพจน์ พงษ์พรรณเจริญ เปิดอก (พ.ศ. 2536 -พ.ศ. 2539) วาไรตี้ทอล์กโชว์ แก้ไขปัญหาชีวิตครอบครัวและสังคม ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ จันทร์ และ อังคาร เวลา 18.30 - 19.00 น. ดำเนินรายการโดย ดวงตา ตุงคะมณี มยุรา เศวตศิลา ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี ภาณุเดช วัฒนสุชาติ และเพลงไตเติ้ลรายการโดย เทียรี่ เมฆวัฒนา มาสเตอร์คีย์ (พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน) เกมโชว์ในยุคใหม่ ที่ออกอากาศในช่วงกลางวัน (ปัจจุบันย้ายไปอยู่ช่วงเช้า) ดำเนินรายการโดย เมทนี บุรณศิริ และ สุเทพ โพธิ์งาม โดยทั้งสองเป็นพิธีกรตั้งแต่ครั้งแรกของรายการจนถึงต้นปี 2553 168 ชั่วโมง (พ.ศ. 2538) วาไรอิตีโชว์สำหรับคนนอนดึก ปัจจุบันออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 00.00-00.30 น. ดำเนินรายการโดย จอนนี่ แอนโฟเน่, วิบูลย์ ลีรัตนขจร, วุฒินันท์ ภิรมย์ภักดี, โบ๊ท วิบูลย์นันท์ และ พีรพล เอื้ออารียกูล ตีสิบ (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน) วาไรอิตีทอล์กโชว์ ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 22.30-00.30 น. ปัจจุบันมีระดับความนิยมของผู้ชม (เรตติ้ง) มากที่สุดของสถานีฯ รองจากรายการประเภทละคร มีช่วง<i data-parsoid='{\"dsr\":[41942,41953,2,2]}'>ดันดารา ที่มีชื่อเสียง ดำเนินรายการโดย วิทวัส สุนทรวิเนตร์ และ ณปภา ตันตระกูล ชิงร้อยชิงล้าน (7 มกราคม พ.ศ. 2541 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558) รายการเกมโชว์ยอดนิยมของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยในช่วงปี 2541 ออกอากาศทุกวันพุธ 22.00 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2542 และอีกครั้งในช่วงปี 2555 - 2558 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ 14.45 น. - 16.45 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซือกง (พ.ศ. 2541 - ปลายปี พ.ศ. 2542) ภาพยนตร์ชุดจีนจากไต้หวัน ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.30-19.30 น. สถานีฯ ทำประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ชุดนี้ ด้วยคำขวัญซึ่งเป็นที่นิยมในระยะต่อมาว่า \"อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล\" เกมเศรษฐี (4 มีนาคม พ.ศ. 2543 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2547) ควิซโชว์รูปแบบตอบคำถาม รายการแรกของประเทศไทย มีเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท เพียงตอบคำถามได้ถูกต้องทั้ง 16 ข้อ ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ ต่อมาย้ายไปออกอากาศทางไอทีวี ราวปี พ.ศ. 2547 กำจัดจุดอ่อน (7 มีนาคม พ.ศ. 2545) ควิซโชว์ตอบคำถาม ซึ่งผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ต้องออกจากการแข่งขันไปทีละคน มีลักษณะเด่นที่ผู้ดำเนินรายการจะใช้วาจาเชือดเฉือนผู้เข้าแข่งขัน ด้วยน้ำเสียงกระด้างและเรียบเฉย จึงมีผู้วิจารณ์ว่าไม่เหมาะกับสังคมไทย ดำเนินรายการโดย กฤษติกา คงสมพงษ์ รักใสใส หัวใจสี่ดวง (พ.ศ. 2545) ภาพยนตร์ชุดไต้หวัน นำแสดงโดย กลุ่มศิลปินเอฟโฟร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในไต้หวันและเมืองไทย เรื่องเล่าเช้านี้ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน) เป็นรายการนำเสนอข่าวที่ใช้รูปแบบการเล่าด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เปลี่ยนไปจากการนั่งอ่านข่าวจากสคริปต์ในรูปแบบเดิม ดำเนินรายการโดย ภาษิต อภิญญาวาท พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ และ เอกราช เก่งทุกทาง โคกคูนตระกูลไข่ (2 สิงหาคม พ.ศ. 2546 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549) ซิตคอมของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) นำแสดงโดย หม่ำ จ๊กมก จินตหรา สุขพัฒน์ สันติสุข พรหมศิริ เท่ง เถิดเทิง ฯลฯ ออกอากาศทุกวันเสาร์ 14.00 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางช่อง 5 ตั้งแต่วันเสาร์ที่4 มีนาคม พ.ศ. 2549 แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง (พ.ศ. 2548 - ต้นปี พ.ศ. 2549) ภาพยนตร์ชุดจากเกาหลีใต้ เรื่องแรกของสถานีฯ ออกอากาศทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 18.00-20.00 น. อัจฉริยะข้ามคืน (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 7 มกราคม พ.ศ. 2551) รายการเรียลลิตี้ควิซโชว์รายการแรกของไทย มีจุดเด่นที่เกมการแข่งขันที่ต้องใช้การวิเคราะห์โจทย์เป็นหลัก โดยเฉพาะเกมที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย นั้นคือ เกมถอดรหัสลับอัจฉริยะ ดำเนินรายการโดย แทนคุณ จิตต์อิสระ และ ปัญญา นิรันดร์กุล สตรอเบอรี่ชีสเค้ก (8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 27 กันยายน พ.ศ. 2558) รายการโทรทัศน์แนววาไรตี้ โดยเปิดโอกาสวัยรุ่นได้แสดงออกทุกรูปแบบ ที่จะให้ผู้ชมได้สัมผัสโลกของวัยรุ่น โดยมีพิธีกรวัยรุ่น 9-15 คน(โดยประมาณ) รับหน้าที่ดำเนินรายการ โดยตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2556 รายการได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่ มีพิธีกรผู้ชายเพิ่มเข้ามาด้วย และเปลี่ยนชื่อรายการเป็น รายการ สตรอเบอรี่ครับเค้ก ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 29 เมษายน พ.ศ. 2553) ควิซโชว์ที่ผู้ร่วมรายการต้องแข่งขันตอบคำถามกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา จึงเป็นที่นิยมเนื่องจากผู้ชมเอ็นดูในความฉลาดและน่ารักของเด็ก ๆ ดำเนินรายการโดย กนิษฐ์ สารสิน ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ (6 มีนาคม พ.ศ. 2554 - 4 กันยายน พ.ศ. 2559) เรียลลิตี้โชว์ประกวดความสามารถหลากหลายรูปแบบ ไม่จำกัดอายุ เพศ จำนวน ประเภทของโชว์ โดย บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ซื้อลิขสิทธิ์การประกวดบริเทนส์กอตแทเลินต์ จากประเทศอังกฤษ มาออกอากาศในประเทศไทย โดยมี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการผลิตรายการ (ชื่อเต็ม: ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์บันดาลชีวิต โดยซันซิลและเรโซนา) (ปัจจุบัน ย้ายไปออกอากาศช่องเวิร์คพอยท์) เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ (6 กันยายน พ.ศ. 2555 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) เรียลลิตี้โชว์ประกวดร้องเพลง ผลิตรายการ โดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบัน ย้ายไปออกอากาศช่องพีพีทีวี) เดอะเฟซไทยแลนด์ (4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน) เรียลลิตี้โชว์เพื่อค้นหาสุดยอดนางแบบ เทรนเนอร์ ได้แก่ เมทินี กิ่งโพยม, รฐา โพธิ์งาม, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, คริส หอวัง และน้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ เนลท์ให้โอกาสประเทศไทยเป็นครั้งแรกในเอเชีย ผลิตรายการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) Davinci เกมถอดรหัส (2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน) เกมโชว์แนวควิซโชว์ที่ทดสอบความรู้รอบตัวและไหวพริบของผู้เข้าแข่งขันผ่านคำถามที่มาในรูปแบบของรูปภาพที่นำมาร้อยเรียงกันเป็นคำปริศนา ผลิตรายการโดย บริษัท อะมะเตะระสุ จำกัด The Eyes มองตาก็รู้ใคร (5 มีนาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน) เกมโชว์ที่ทดสอบการจดจำดวงตาของเหล่าคนดังทั่วโลกจากทุกวงการ ผลิตรายการโดย บริษัท อะมะเตะระสุ จำกัด", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3" }, { "docid": "330907#0", "text": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เริ่มทำการผลิตรายการ \"เวทีทอง\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นรายการแรก ต่อมา บริษัทขยายการผลิตรายการและละครประเภทต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบ เป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อนำเสนอออกอากาศมาโดยตลอดระยะเวลา 28 ปี ของการดำเนินงานธุรกิจผลิตและรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์ โดยบริษัทมีทีมครีเอทีฟที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ เช่น เกมโชว์, ควิซโชว์, เรียลลิตี้เกมโชว์, เรียลลิตี้เกมโชว์ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, วาไรอิตีโชว์, เกมโชว์ควิซโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน, เรียลลิตี้โชว์สำหรับสำหรับเด็กและเยาวชน, เกมโชว์ซิตคอม, ละครซิตคอม, วาไรตี้โชว์ซิตคอม, วาไรตี้โชว์วันหยุดนักขัตฤกษ์, ละครซิตคอมวันหยุดนักขัตฤกษ์, รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์, ละครโทรทัศน์เรื่องยาว, วาไรอิตีโชว์และละครเรื่องยาว, ละครเทิดพระเกียรติ และ สารคดีทางโทรทัศน์ โดยนำไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ นั่นคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ ช่องเวิร์คพอยท์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศทุกวัย โดยแต่ละรายการของบริษัทฯ ประสบความสำเร็จ และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา, รางวัลโทรทัศน์ทองคำ, รางวัลศิลปินแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และรางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชีย (เอเชี่ยนเทเลวิชั่นอวอร์ดส์) เป็นต้น รวมถึงยอดขายโฆษณาที่สม่ำเสมอของทางบริษัทฯ", "title": "รายชื่อผลงานของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "939148#2", "text": "บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ นั่นคือรายการ \"\"ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์\"\" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นรายการแรกภายในปี พ.ศ. 2553 ต่อมาได้ขยายรูปแบบการผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสถานี เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องทรูโฟร์ยู, ช่องวัน และช่องพีพีทีวี มาโดยตลอดเป็นระยะเวลากว่า 9 ปี โดยมีเนื้อหาและรูปแบบรายการที่หลากหลาย เช่น เกมโชว์, ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน, ทอล์คโชว์, วาไรตี้โชว์, ละครโทรทัศน์ และละครซิทคอม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศทุกวัย และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขาในประเทศ รวมทั้งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลและได้รับรางวัลต่าง ๆ จากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา, รางวัลโทรทัศน์ทองคำ และรางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชีย (เอเชียนเทเลวิชั่นอวอร์ดส์) อีกด้วย", "title": "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "321078#0", "text": "โชคดี นาทีทอง รายการเกมโชว์รายการสดจากห้องส่งช่อง 7 สี โดย ดำเนินรายการโดย อิ๋งอิ๋ง สิทธิณี กิตติสิทโธ และ อิ๋งอ้อย สิทธิวดี กิตติสิทโธ ผลิดรายการโดย บริษัท สิทธิณี ครีเอชั่น จำกัด ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 12.00 น. - 13.00 น. ออกอากาศครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2541 เป็นรายการเกมโชว์รายการแรกและรายการเดียว ของ บริษัท สิทธิณี ครีเอชั่น จำกัด ", "title": "โชคดี นาทีทอง" }, { "docid": "62504#0", "text": "เกมเศรษฐี เป็นรายการเกมโชว์ประเภทควิซโชว์ ที่ได้รับลิขสิทธิ์จากรายการ \"Who Wants to Be a Millionaire?\" โดยได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยในสมัยแรกมีสโลแกนว่า เกมที่ทำให้คุณเป็นเศรษฐีได้ใน 16 คำถาม ต่อมาได้ย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ ไตรภพ ลิมปพัทธ์ ผลิตรายการโดยบริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด และใช้ชื่อรายการใหม่ว่า เกมเศรษฐีเด็ก The Team และ เกมเศรษฐี Super Team ต่อมาได้เปลี่ยนกลับมาสร้างเกมเศรษฐีในรูปแบบ 16 คำถาม 3 ตัวช่วยเหมือนเดิม เงินรางวัลสูงสุดคือ 100,000 บาท ปัจจุบันรายการนี้ได้ยุติการออกอากาศลงแล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีได้ยุติการแพร่ภาพลงเพื่อเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ", "title": "เกมเศรษฐี (รายการโทรทัศน์)" }, { "docid": "880551#0", "text": "รายการ ล้วงลับจับเท็จ เป็นรายการวาไรตี้เกมโชว์ที่จะมาล้วงทุกความลับของเหล่าดาราว่าเรื่องราวเรื่องเล่าไหนของเหล่าดาราจะเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องเท็จ โดยออกอากาศครั้งแรกทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00 - 12.00 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ต่อจากซิทคอม มาวัดกันมั้ย ทาง ช่องวัน ซึ่งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560 รายการจะปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็น 15.45 - 17.00 น. ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ดำเนินรายการได้แก่ ปิติภัทร คูตระกูล (แบม) และ พัสกร พลบูรณ์ (ใบเฟิร์น) และเดือนมกราคม 2561 ขึ้นศักราชใหม่ทางสถานีได้ย้ายวันและเวลาการออกอากาศใหม่ไปเป็นทุกวันเสาร์ เวลา 17.00 - 18.00 น. เริ่มวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561 จนมาถึงเทปสุดท้ายของรายการได้ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561ทางรายการจะมีแขกรับเชิญสัปดาห์ละ 3 คน มาร่วมเล่นเกมกับพิธีกรทั้ง 2 คน โดยมีผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านคนไหนสามารถจับเท็จได้ในแต่ละรอบก็จะมีสิทธิ์ลุ้นได้รับของรางวัลสุดพิเศษจากทางรายการที่ทีมงานรายการจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ให้ไปเลยทันที", "title": "ล้วงลับจับเท็จ" }, { "docid": "859890#0", "text": "เกมพันหน้า เอื้ออาทร เป็นรายการเกมโชว์และวาไรตี้โชว์ภาคต่อของรายการ เกมพันหน้า ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น.- 13.00 น. ภายหลัง 11:45 - 12:45 น. และ 11:45 - 13:10 น. ตามลำดับ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ผลิตรายการโดย บริษัท ทริปเปิ้ลทู จำกัด โดยมี กิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ และ ติ๊ก กลิ่นสี เป็นผู้ดำเนินรายการ", "title": "เกมพันหน้า เอื้ออาทร" } ]
3926
วัดอัมพวัน ก่อตั้งเมื่อไหร่?
[ { "docid": "304270#1", "text": "วัดอัมพวัน ตั้งอยู่เลขที่ ๙๑ หมู่ ๑ ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย สร้างขึ้นในราวพุทธศักราช ๒๔๑๕ ได้รับพระราชทานวิสุง คามสีมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๒๐ ตามตำนานกล่าว กันว่ากรมช้างในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ได้ให้ควาญช้างนำช้าง ไปเลี้ยงยังป่าละเมาะใกล้คลองตาสา หรือวัดกลาง ในปัจจุบัน พื้นที่วัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรีทางด้านทิศเหนือ และแวดล้อมด้วยหมู่บ้านชาวมอญมาแต่อดีต สันนิษฐานว่าเป็นชาวมอญที่สืบเชื้อสายกันมา ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สืบเนื่องจากที่ชาวมอญจากเมืองมอญอพยพตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเข้ามา หลังประกาศเอกราช ณ เมืองแครง โดยมีพระมหาเถรคันฉ่องเป็นผู้ช่วยเหลือ ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ปูนบำเหน็จแก่ขุนนางและพระสงฆ์มอญขนานใหญ่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชนมอญบางขันหมาก จังหวัดลพบุรีนั้น น่าจะเห็นเด่นชัดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่สร้างพระราชวังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ที่ลพบุรี คงได้เกณฑ์ชาวมอญส่วนหนึ่งมาก่อเตาเผาอิฐสร้างพระราชวัง และอาราธนาพระสงฆ์มอญมาด้วย และยังสร้างวัด “ตองปุ” ให้พระสงฆ์มอญจำพรรษา นอกจากชื่อวัดอัมพวันแล้ว ยังมีชาวบ้านเรียกขานชื่อวัดไปต่าง ๆ กันอีกหลายชื่อ ได้แก่ “วัดค้างคาว” ด้วยเหตุที่สมัย ก่อนนั้นในเขตวัดอัมพวันมีค้างคาวแม่ไก่มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก", "title": "วัดอัมพวัน (ลพบุรี)" } ]
[ { "docid": "390713#0", "text": "หลวงพ่อโหน่ง อินฺทสุวณฺโณ (พ.ศ. 2408 — 25 ธันวาคม พ.ศ. 2477) เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน จังหวัดสุพรรณบุรี \nหลวงพ่อโหน่ง อินฺทสุวณฺโณ ท่านเกิดในปี พ.ศ. 2408 ตรงกับปลายรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นชางตำบลบ้านตาล อำเภอสองพี่น้อง เป็นบุตรของนายโต และนางจ้อย มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน ท่านเป็นคนที่ 2 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2432 ณ วัดสองพี่น้อง โดยมีพระอาจารย์จันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดิษฐ์และพระอธิการสุด เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ ตามลำดับ ตั้งแต่บวชมา ท่านไม่เคยฉันเนื้อสัตว์เลย เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งคอก 2 พรรษา วัดสองพี่น้อง 7 พรรษา จากนั้นก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่อัมพวัน (วัดคลองมะดัน) ตลอดมา ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่อัมพวัน ท่านได้ทำนุบำรุงวัดจนรุ่งเรือง หลวงพ่อท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รวมสิริอายุได้ 69 ปี นับพรรษาได้ 45 พรรษา", "title": "หลวงพ่อโหน่ง อินฺทสุวณฺโณ" }, { "docid": "139009#1", "text": "ทะเบียนวัดของสำนักงานศึกษาการอำเภอสามชุก ประมาณว่าสร้างราว พ.ศ. 2300 เดิมชาวบ้านเรียกว่า \"วัดอัมพวัน\" มาเปลี่ยนเป็น \"วัดสามชุก\" ภายหลัง เมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2481", "title": "วัดสามชุก" }, { "docid": "189651#0", "text": "ถนนสืบศิริ (Thanon Suep Siri) เป็นถนนส่วนหนึ่งของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 อยู่ในช่วงสุดท้ายจากจำนวนถนนทั้งหมด 8 ช่วง เริ่มจากแยกเข้าเมืองปักธงชัย อำเภอปักธงชัย จนถึง สามแยกวัดใหม่อัมพวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา", "title": "ถนนสืบศิริ" }, { "docid": "6803#42", "text": "วัดปรางค์หลวง วัดอัมพวัน วัดสวนแก้ว", "title": "จังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "207849#0", "text": "พระธรรมสิงหบุราจารย์ นามเดิม จรัญ จรรยารักษ์ ฉายา ตธมฺโม เป็นพระภิกษุชาวไทย ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 ", "title": "พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)" }, { "docid": "55626#14", "text": "ระหว่างปี พ.ศ. 2480-2483 ได้ศึกษาพระกัมมัฏฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน เช่น พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) เจ้าอาวาสวัดบางนมโค หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค พระครูรัตนาภิรมย์ (อยู่ ติสฺโส) เจ้าอาวาสวัดบ้านแพน พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย หลวงพ่อโหน่ง อินฺทสุวณฺโณ วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ", "title": "พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)" }, { "docid": "363800#13", "text": "ปี พ.ศ. 2479 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ปรารภถึงการเดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี คณะศิษย์ทั้งหลายจึงได้จัดประชุมคณะสงฆ์และร่วมทำบุญในวันมาฆบูชา ณ วัดป่าอ้อมแก้ว หรือ วัดเกาะแก้วอัมพวัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นวัดที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2473 ซึ่งการประชุมคณะสงฆ์ครั้งนี้ถือเป็นภารกิจสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ที่จังหวัดนครพนมและถือเป็นการให้โอวาทครั้งสุดท้ายแก่คณะศิษย์ที่ไม่ได้เดินทางติดตามไปที่จังหวัดอุบลราชธานี การประชุมในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการประชุมพระธุดงค์กรรมฐานครั้งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น", "title": "พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล)" }, { "docid": "6263#25", "text": "อุทยาน ร.2 ค่ายบางกุ้ง ดอนหอยหลอด ตลาดน้ำท่าคา วัดบางกะพ้อม วัดจุฬามณี[9] ตลาดน้ำอัมพวา ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (วัดอัมพวันเจติยาราม)", "title": "จังหวัดสมุทรสงคราม" }, { "docid": "609820#11", "text": "สนับสนุนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ บริจาคเงินให้มูลนิธิสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร) วัดสามพระยา เพื่ออุดหนุนการศึกษาเด็กขาดแคลน จัดตั้งทุนพระเทพกิตติมุนี ในมูลนิธิวัดอัมพวัน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นทุนการศึกษา สมทบทุนนิธิ ส.ป.ช. สงเคราะห์การศึกษา สงเคราะห์ปริยัติธรรมวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จัดตั้งทุนเพื่อการศึกษาของพระภิกษุสามเณรวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี", "title": "พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร)" }, { "docid": "304270#5", "text": "ศาลาการเปรียญวัดอัมพวันสร้างขึ้นในราวปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ รูปทรงคล้ายกับศาลาการเปรียญเครื่องไม้ ที่นิยมสร้างขึ้นตามวัดที่เห็นได้ทั่วไปในภาคกลาง เป็นศาลาการเปรียญเครื่องไม้ขนาด ๑๓ ห้อง เป็นศาลาแบบโล่งไม่มีฝา ยกพื้นสูง หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ด เป็นศาลาที่สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งหลังแม้แต่ช่อฟ้า ใบมะกา หางหงษ์ และหน้าบันก็ทำด้วยเครื่องไม้ทั้งสิ้นมีบันไดก่ออิฐถือปูนเป็นทางขึ้นที่ด้านหลังและด้านข้าง", "title": "วัดอัมพวัน (ลพบุรี)" }, { "docid": "302803#5", "text": "นอกจากวัดอัมพวันเจติยารามแล้ว สมเด็จพระรูปฯ ยังได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดโบราณอีกวัดหนึ่ง ซึ่งทรุดโทรมสิ้นสภาพแล้ว ชื่อ วัดทอง ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์ พระราชทานนามว่า วัดกาญจนสิงหาสน์ ", "title": "สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี" }, { "docid": "53089#14", "text": "ประวัติความเป็นมาของวัด วัดอัมพวันเป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าจารึกเป็นภาษาจีนว่า คนจีนได้สร้างอุโบสถวัดอัมพวัน สมัยเหม็งเชี้ยว คนจีนได้นำเรือกำปั่นมาทำการค้าขายกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับชาวฮอลันดา จอดหน้าวัดอัมพวัน ได้สร้างโบสถ์วัดอัมพวัน สมัยเจ้าอาวาสวัดอัมพวันชื่อ พระครูญาณสังวร อายุ 99 ปี สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว ฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทาน พระหน้าปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไว้ในโบสถ์ จนถึงการสร้างโบสถ์หลังใหม่มาจนถึงทุกวันนี้", "title": "อำเภอพรหมบุรี" }, { "docid": "189652#0", "text": "ถนนมุขมนตรี เป็นถนนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เชื่อมระหว่างห้าแยกหัวรถไฟ บริเวณหน้าสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมา ถนนมุขมนตรีเป็นถนนแยกที่หนึ่งของห้าแยกหัวรถไฟ ตัดผ่านสถานีรถไฟนครราชสีมา ย่านสวายเรียง วัดหนองจะบก วัดใหม่อัมพวัน ย่านอัมพวัน วัดสวนพริกไทย วัดหลักร้อย ทางหลวงหมายเลข 2 (เลี่ยงมือง) วัดภูเขาลาด สิ้นสุดที่บ้านภูเขาลาด ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่", "title": "ถนนมุขมนตรี" }, { "docid": "304270#0", "text": "วัดอัมพวัน เป็นวัดในตำบลบางขันหมาก อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี", "title": "วัดอัมพวัน (ลพบุรี)" }, { "docid": "294871#6", "text": "อายุ 8-14 ขวบ เข้าเรียนที่โรงเรียน(ศาลา)วัดอัมพวันเจติยาราม \nอายุ 12-14 ปี โรงเรียนเกษตรกรรม ประจำอำเภออัมพวา \nอายุ 15-17 ปี โรงเรียนฝึกหัดครู ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม \nอายุ 18-19 ปี โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จากนั้นไม่ได้ศึกษาต่อ", "title": "เลิศ อัศเวศน์" }, { "docid": "7605#64", "text": "อำเภอเมืองยโสธร วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง) วัดศรีธรรมาราม (พระอารามหลวง) วิมานพญาแถน สวนสาธารณะบุ่งน้อยบุ่งใหญ่ สวนสาธารณะพญาแถน ธาตุก่องข้าวน้อย พระพุทธบาทจำลอง วัดอัมพวัน วัดทุ่งสว่างชัยภูมิ วัดป่าบ้านหนองแสง (หลวงปู่สอ พันธุโล) วัดป่าศิลาพร (หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ) วัดป่าหนองไคร้ (หลวงปู่ประสาร สุมโน) หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านนาสะไมย์ - บ้านทุ่งนางโอก โครงการพัฒนาพื้นที่หนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วัดบ้านโพนงอย ต.ขั้นไดใหญ่ อ.เมือง จ.ยโสธร (พระครูถาวร เขมกิจ)", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "571061#32", "text": "บรรพชา วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๗ ปีมะแม ณ วัดอัมพวัน ตำบลมะเดื่อหวาน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการอ่ำ ปุณฺโณ วัดอัมพวัน ตำบลมะเดื่อหวาน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี", "title": "วัดดุสิดารามวรวิหาร" }, { "docid": "37312#2", "text": "สุรัฐ พุกกะเวส มีน้อง ดังรายนาม ดังนี้ในวัยเยาว์ สุรัฐ ได้อยู่ในอุปการะของนายชิน พุกกะเวส ผู้เป็นญาติ เพื่อศึกษา โดยโยกย้ายไปหลายโรงเรียน เริ่มจาก โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ , โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม , หลังจากนั้นจึงมาเรียนต่อกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนมัธยมวัดสระเกศ , โรงเรียนพระนครวิทยาลัย , โรงเรียนมัธยมวัดราชบูรณะ แล้วกลับไปศึกษาที่โรงเรียนวัดทรงธรรม ที่จังหวัดสมุทรปราการ จนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ความเป็นคนขยันหมั่นเพียร จึงได้เข้ามาศึกษาต่อมัธยม 6 อีกครั้งที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ปากคลองตลาด จนจบ เท่ากับ สุรัฐ จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถึงสองหน", "title": "สุรัฐ พุกกะเวส" }, { "docid": "304270#2", "text": "วัดสุสาน เคยถูกใช้เรียกวัดอัมพวันอยู่ในสมัยหนึ่ง ด้วยเหตุที่ในยุคหนึ่งวัดอัมพวันปลูกสร้างกุฏิสงฆ์แยกออกเป็น ๒ หลังอย่างชัดเจน เพราะอยู่ห่างไกลกันมีป่ารกทึบคั่นกลาง จึงดูเหมือนแยกกันเป็น ๒ วัด คือ วัดนอก ริมแม่น้ำลพบุรี และ วัดใน อยู่ลึกเข้ามาจากริมแม่น้ำติดป่าช้า เนื่องจากสมัยนั้น วัดอัมพวันปกครองโดยหลวงปู่ทอกรัก เจ้าอาวาส และยังมี อาจารย์แจะ ซึ่งมีพรรษาใกล้เคียงกับหลวงปู่ทอกรัก วิสัยของอาจารย์แจะท่านชอบสันโดษ จึงปลีกวิเวกไปปลูกกุฏิอยู่ข้างป่าช้า ต่อมาภายหลังมีพระสงฆ์ย้ายไปอยู่กับท่านเพิ่มขึ้น", "title": "วัดอัมพวัน (ลพบุรี)" }, { "docid": "21165#2", "text": "พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี อ้างว่า ฝันถึงสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระวันรัตบอกกล่าวว่า รูปเป็นผู้แต่งคาถาพาหุงนี้ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเอง ให้พระองค์ไว้สวดเป็นประจำในพระบรมมหาราชวังและระหว่างออกศึกสงคราม จึงมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชแห่งพม่า และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากกรุงหงสาวดีได้สำเร็จ", "title": "พระคาถาพาหุง" }, { "docid": "385009#2", "text": "เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ได้บรรพชา ณ วัดอัมพวัน ต.บางอ้อ อ.บ้านนา มีพระครูวิสุทธิธรรมธาดา วัดอัมพวัน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลธรรมประยุต วัดกุฎีเตี้ย ต.อาษา อ.บ้านนา เป็นพระกรรมวาจาจารย์\nพร้อมกันนี้ยังได้รับมอบหมายจากเจ้าคณะจังหวัดนครนายก ให้รับผิดชอบการศึกษาและเผยแผ่ของคณะสงฆ์ในจังหวัด\nทั้งนี้ เมื่อช่วงเช้าวันที่ 20 ก.ค. หลังจากพระราชวรนายก ได้ฉันภัตตาหารเช้าแล้วได้เข้าพักผ่อนอยู่ภายในกุฏิชั้นล่าง ต่อมาช่วงสายก็พบว่านอนแน่นิ่งไม่รู้สึกตัว จึงช่วยนำส่งโรงพยาบาลนครนายก แล้วมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. \nคณะศิษย์ได้กำหนดพิธีสักการะรดน้ำศพ ณ ศาลาบำเพ็ญกุศล วัดอุดมธานี ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตั้งแต่เวลา 12.00 น. และจะพระราชทานน้ำหลวงสรงศพในเวลา 16.00 น. พระราชวรนายก สิริรวมอายุได้ 69 ปี 11 เดือน 49 พรรษา", "title": "พระราชวรนายก (สำรวม ปิยธัมโม)" }, { "docid": "304270#8", "text": "หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา หมวดหมู่:วัดในจังหวัดลพบุรี", "title": "วัดอัมพวัน (ลพบุรี)" }, { "docid": "28098#9", "text": "หลวงปู่คำพอง ขนฺติโก วัดป่าอัมพวัน จ.เลย", "title": "หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ" }, { "docid": "304270#3", "text": "วัดสุด ก็เป็นอีกชื่อหนึ่งที่หมายถึงวัดอัมพวัน ด้วยเหตุที่ชุมชนมอญบางขันหมากมีชาวมอญอาศัยกันอยู่อย่างหนา แน่น ประกอบกับชาวมอญเป็นผู้ที่มีจิตเป็นกุศลยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า นิยมสร้างวัดไว้ในบวรพุทธศาสนา และใช้เป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของบุตรหลานชาวมอญบางขันหมากจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้น ในชุมชนถึง ๔ แห่งด้วยกัน คือ วัดโพธิ์ระหัต วัดกลาง วัดอัพวัน และวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม ซึ่งวัดอัมพวันอยู่ใต้สุดของตำบลบางขันหมากใต้ ติดกับตำบลพรหมมาสตร์ ชาวบ้านจึงนิยมเรียกวัดอัมพวันตามสำเนียงมอญว่า “เภี่ยฮะโม” ส่วนในภาษา ไทยเรียกว่า “วัดสุด” ตามภูมิประเทศนั่นเอง", "title": "วัดอัมพวัน (ลพบุรี)" }, { "docid": "53089#12", "text": "วัดอัมพวันเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก สภาพทั่วไปนั้นมีต้นไม้ประมาณ 300 ต้น เป็นไม้ดอกไม้ใบที่ปลูกใหม่ เดิมสภาพพื้นที่จะเป็นที่ที่น้ำท่วมถึง มาบัดนี้ทางวัดได้ทำถนนและคูกั้นน้ำ จึงสามารถป้องกันน้ำไว้ได้ จึงได้มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น", "title": "อำเภอพรหมบุรี" }, { "docid": "362094#3", "text": "ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 เขตเทศบาลเมืองเมืองปักมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 14,322 คน แยกเป็นชาย 6,813 คน หญิง 7,509 คน มีผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99 มีจำนวนวัด 4 วัด ได้แก่ วัดกลางปักธงชัย วัดโพธิ์เมืองปัก วัดอัมพวัน และวัดโนนขุนชัย ประชากรในเขตเทศบาลเมืองเมืองปักส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือนและการเกษตร", "title": "เทศบาลเมืองเมืองปัก" }, { "docid": "462821#0", "text": "โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยาเป็นโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 และเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาประจำอำเภอม่วงสามสิบ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 ปัจจุบันมีอายุ 39 ปี โดยปัจจุบันมีนักเรียนประมาณ 1,700 คน มีบุคลากรในสถานศึกษาประมาณ 65 คน และมีเนื้อที่ 151 ไร่ 68 ตารางวา", "title": "โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา" }, { "docid": "907646#16", "text": "ในปีนี้ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ปรารภถึงการเดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี คณะศิษย์ทั้งหลายจึงได้จัดประชุมคณะสงฆ์และร่วมทำบุญในวันมาฆบูชา ณ \"วัดอ้อมแก้ว\" หรือ วัดเกาะแก้วอัมพวัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งถือเป็นภารกิจสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ที่จังหวัดนครพนมและถือเป็นการให้โอวาทครั้งสุดท้ายแก่คณะศิษย์ที่ไม่ได้เดินทางติดตามไปที่จังหวัดอุบลราชธานี การประชุมในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการประชุมพระธุดงค์กรรมฐานครั้งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น ", "title": "พระอาจารย์ดี ฉนฺโน" }, { "docid": "304270#4", "text": "อุโบสถวัดอัมพวันยังคงสภาพเดิมของอุโบสถที่สร้างขึ้นในรุ่นแรกๆ ของวัดมอญในชุมชนมอญบ้านบางขันหมากแห่งนี้ได้ดีที่สุด ลักษณะของอุโบสถวัดอัมพวันเป็นอุโบสถขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูน ฐานยกพื้นสูงจากพื้นดินเล็กน้อยเป็นฐานบัว หน้าบันเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว กรอบหน้าบันหยักเป็นรูปสามเหลี่ยมฟันปลา ไม่มีลวดลายแบบง่ายๆ ตัวอาคารก่อด้วยผนังทึบทั้ง ๔ ช่อง มีประตูทางเข้าด้านหน้า ๒ ประตู ไม่มีการประดับเช่นกัน แต่มีบันไดนาคปูนปั้นที่ประตูทางขึ้น หลังคาทรงจั่วมีชั้นลด ๒ ชั้นมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ มีกำแพงแก้วเตี้ยๆ ส่วนซุ้มประตูทางเข้ากำแพงแก้วด้านข้างคงเป็นซุ้มประตูแบบเดิม คือเป็นซุ้มประตูขนาดเล็กล้อมรอบและมีซุ้มประตูทางเข้าที่ด้านหน้า ๑ ประตู และด้านซ้ายมืออีก ๑ ประตู ซุ้มประตูทางที่กำแพงแก้วด้านหน้าคงจะทำขึ้นใหม่ในคราวหลัง แต่เมื่อได้ทำการบูรณะซ่อมแซมอุโบสถในราวปี พ.ศ. ๒๔๙๓ จึงได้เปลี่ยนใบเสมาไม้เป็นเสมาปูนปั้นตามแบบที่นิยมทั่วไป ปัจจุบันมีเสมาไม้สักของวัดอัมพวันเหลืออยู่เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น", "title": "วัดอัมพวัน (ลพบุรี)" } ]
3927
ใครเป็นผู้จัดการแข่งขัน ตูร์เดอฟร็องส์ 1903?
[ { "docid": "629503#0", "text": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903 เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ครั้งแรก โดยได้รับการสนับสนุนจากหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ซึ่งเป็นชื่อเดิมของหนังสือพิมพ์รายวัน L'Équipe การแข่งขันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-19 กรกฎาคม โดยแบ่งเป็น 6 สเตจ (stage) รวมระยะทางกว่า 2,428km (1,509mi) โดยผู้ชนะในรายการนี้ได้แก่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) [1]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" } ]
[ { "docid": "629503#5", "text": "เดิมการแข่งขันกำหนดจัดขึ้นระยะเวลา 5 อาทิตย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ไปจนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม โดยมีค่าสมัครเข้าแข่งขันจำนวน 20 ฟรังค์ (francs) ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันน้อยมาก โดยมีผู้สมัครเข้าแข่งขันเพียง 15 คน ทั้งที่เหลือเวลาอีกเพียง 1 อาทิตย์ก็จะเริ่มการแข่งขันแล้ว Desgrange จึงตัดสินใจเลื่อนกำหนดการแข่งขันออกไปเป็นวันที่ 1 ถึง 9 กรกฎาคม โดยเพิ่มเงินรางวัลให้สูงขึ้นถึง 20,000 ฟรังค์ และลดค่าสมัครเข้าแข่งขันให้เหลือเพียง 10 ฟรังค์ รวมทั้งยังการันตีว่า ผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลารวมได้ดีที่สุด 50 รายแรกจะได้รับเงินอย่างน้อย 5 ฟรังค์ ต่อวัน [6] ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้มีผู้สมัครเข้าแข่งขันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 79 คน และเข้าแข่งขันจริงจำนวน 60 คน [7]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#7", "text": "การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) มีทั้งหมด 6 สเตจ (stage) หากเทียบกับสเตจของการแข่งขันสมัยใหม่ สเตจตูร์เดอฟร็องส์มีระยะทางที่ยาวมากกว่าปกติโดยมีระยะทางเฉลี่ยมากกว่า 400km (250mi) ในขณะที่ระยะทางเฉลี่ยของการแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) มีเพียง 171km (106mi) ผู้เข้าแข่งขันจะได้พัก 1-3 วัน ระหว่างการเดินทางข้ามแต่ละสเตจ และเส้นทางส่วนมากจะราบเรียบ โดยมีเพียงสเตจเดียวเท่านั้นที่มีภูเขารวมอยู่ด้วย การแข่งขันจะเป็นแบบรายบุคคล และชำระค่าสมัครเข้าแข่งขันจำนวน 10 ฟรังค์ (€87.50 at 2003 prices) สำหรับการแข่งขันประเภทจัดอันดับผู้ชนะโดยนับจากเวลารวมที่น้อยที่สุด (general classification) หรือ 5 ฟรังค์ สำหรับการแข่งขันในแต่ละสเตจ และเนื่องจากระยะทางที่ยาวของแต่ละสเตจ ทุกสเตจจะเริ่มการแข่งขันตั้งแต่ก่อนฟ้าสางยกเว้นสเตจแรก และสำหรับสเตจสุดท้ายเริ่มการแข่งขันตั้งแต่ 21:00 [8]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "474715#0", "text": "ฌัก อ็องก์ตีล () นักจักรยานชาวฝรั่งเศส เป็นชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ชนะการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ 5 ครั้ง ในปี 1957 และสี่ปีติดต่อกันระหว่าง 1961 ถึง 1964 เป็นชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ชนะจีโรดีตาเลีย ในปี 1960 และเป็นชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ชนะครบทั้งสามรายการใหญ่ เมื่อเขาชนะวูเอลตาอาเอสปันญาในปี 1963 ในการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์เมื่อปี 1961 เขาได้ประกาศก่อนเริ่มการแข่งขันว่าจะสวมเสื้อแจกเกตสีเหลืองตั้งแต่จบวันแรก และจะสวมเสื้อตัวนี้ตลอดทั้งรายการ เขาสามารถทำได้เช่นนั้นจริง โดยเป็นผู้นำตลอดการแข่งขันตั้งแต่วันแรก", "title": "ฌัก อ็องก์ตีล" }, { "docid": "629503#11", "text": "ผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลาได้เร็วที่สุด 8 อันดับแรกของแต่ละสเตจได้รับรางวัลตั้งแต่ 50 ฟรังค์ ไปจนถึง 1,500 ฟรังค์ แตกต่างกันไปในแต่ละสเตจ และสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด 14 อันดับแรก ก็ได้รับรางวัลด้วยเช่นกัน คือ ผู้ชนะอันดับแรกได้รับ 3,000 ฟรังค์ และ ลำดับที่ 14 ได้รับ 25 ฟรังค์ [6] ผู้เข้าแข่งขันอีก 7 คนที่แข่งจนครบเวลาของประเภท general classification ได้รับรางวัลคนละ 95 ฟรังค์ (5 ฟรังค์ต่อวัน สำหรับการแข่งขันทั้งหมด 19 วัน) โดยมีข้อกำหนดว่า พวกเขาจะต้องไม่ได้รับเงินรางวัลเกิน 200 ฟรังค์ และมีความเร็วเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20km/h (12mph) ในสเตจอันใดอันหนึ่ง [6]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "10634#8", "text": "หมวดหมู่:การแข่งขันจักรยาน หมวดหมู่:กีฬาในประเทศฝรั่งเศส", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "512172#1", "text": "สถานที่ตั้งของปาร์กเดแพร็งส์ตั้งในภูมิประเทศซึ่งเคยเป็นสถานที่ล่าสัตว์ของเหล่าเชื้อพระวงศ์ของฝรั่งเศส ในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยสนามที่ใช้อยู่ในปัจจุบันถือเป็นแห่งที่ 3 ที่ก่อสร้างในสถานที่แห่งนี้ โดยครั้งแรกเปิดใช้ ในปี ค.ศ. 1897 ตามด้วยครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1932\nปาร์กเดแพร็งส์เคยใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลยูโรเปียนคัพ นัดชิงชนะเลิศ มาแล้ว 6 ครั้ง รวมถึงฟุตบอลสโมสรชิงแชมป์ยุโรปครั้งแรก ในชื่อยูโรเปียนแชมเปียนคลับคัพ ในปี ค.ศ. 1956 นอกจากนั้น ยังใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1938 (รอบชิงชนะเลิศ) และ 1998 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (รอบชิงชนะเลิศ) ในปี ค.ศ. 1960, 1984 และ 2016\nปาร์กเดแพร็กส์เคยถูกใช้เป็นเส้นชัยของการแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟร็องส์ ในช่วงปี ค.ศ. 1903 ถึง 1967 และยังมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในฐานะสนามจัดการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติของฝรั่งเศส", "title": "ปาร์กเดแพร็งส์" }, { "docid": "10634#0", "text": "ตูร์เดอฟร็องส์ (French: Tour de France หมายถึง การท่องฝรั่งเศส) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากร็องด์บุกล์ (La Grande Boucle) และ เลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "629503#3", "text": "ภายหลังจากเหตุการณ์เรื่องเดรฟุส (Dreyfus affair) จบลง หนังสือพิมพ์เลอ เวโล (Le Vélo)ได้ถูกแย่งพื้นที่โฆษณาไป และมีการจัดตั้งหนังสือพิมพ์ขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อว่า โลโต้เวโล (L'Auto-Vélo) ในปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ซึ่ง Henri Desgrange อดีตนักแข่งขันจักรยานรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) หนังสือพิมพ์ดังกล่าวได้ถูกกดดันให้เปลี่ยนชื่อเป็นโลโต้ (L'Auto) Desgrange ต้องการรักษาฐานลูกค้าซึ่งเป็นแฟนคลับของการแข่งขันจักรยาน ซึ่งมียอดซื้อสูงถึง 20,000 ฉบับ [2]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "10634#6", "text": "ก่อนหน้าที่แลนซ์ อาร์มสตรอง นักแข่งจักรยานชาวอเมริกันจะถูกตัดสิทธิ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 จากข้อหาใช้สารกระตุ้น เขาเป็นผู้ที่ชนะการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์มากที่สุด คือ 7 สมัยติดต่อกัน ปัจจุบันผู้ที่ชนะการแข่งขันมากที่สุดเป็นสถิติร่วมระหว่างนักแข่ง 4 คน คือ มีเกล อินดูเรน (สเปน) ชนะ 5 สมัยติดต่อกัน แบร์นาร์ อีโนล (ฝรั่งเศส) ชาก อองเกอตีล (ฝรั่งเศส) และเอดดี เมิกซ์ (เบลเยียม) ชนะคนละ 5 สมัย", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "629503#2", "text": "โมรีซ กาแรง เป็นผู้ชนะในสเตจแรกตั้งแต่การแข่งขันรอบ pre-race favourite และยังคงเป็นผู้นำตลอดการแข่งขัน เขายังเป็นผู้ชนะในสองสเตจ (stage) สุดท้าย โดยมีเวลานำผู้เข้าแข่งขันทีทำเวลารองลงไปถึง 3 ชั่วโมง ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ทั้งระหว่างและภายหลังการแข่งขัน ซึ่งทำให้การแข่งขันดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จนต้องมีการจัดขึ้นอีกครั้งในปีถัดมา และยังส่งผลให้หนังสือพิมพ์เลอ เวโล (Le Vélo) ต้องปิดตัวลงในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#10", "text": "ตลอดเส้นทางการแข่งขันจะมีเจ้าหน้าที่ประจำจุดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้เข้าแข่งขันปั่นจักรยานในเส้นทางที่ถูกต้อง[5][6] ในสมัยนั้นเสื้อสีเหลือง (yellow jersey) ซึ่งมอบให้แก่ผู้ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดตลอดการแข่งขัน (general classification) ยังไม่ได้นำมาใช้ แต่จะได้รับสายรัดข้อมือสีเขียวแทน [5]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "728125#0", "text": "ตูร์เดอฟร็องส์ 2015 () เป็นการแข่งขันครั้งที่ 102 ของตูร์เดอฟร็องส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของรายการใหญ่ โดยการแข่งขันเริ่มขึ้นที่ ยูเทรกต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม จนถึงช็องเซลีเซ ปารีส ในวันที่ 26 กรกฎาคม รวมเป็นระยะทาง 3,360.3 กิโลเมตร (2,088 ไมล์) การแข่งขันนี้มีนักปั่นจักรยานเข้าร่วม 198 คน จาก 22 ทีมที่เข้ารอบในรอบ 21 ทีม โดยมีผู้ชนะคือ คริส ฟรูม ของทีมสกาย ส่วนอันดับสองและสามเป็นของไนโร ควินตานา และ อาเลคันโดร บัลเบร์เด นักปั่นทีมโมวิสตาร์ ตามลำดับ", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 2015" }, { "docid": "629503#9", "text": "ในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) นักแข่งจักรยานอาชีพสามารถจ้างผู้นำหน้า (pacer) เพื่อให้นำทางระหว่างการแข่งขันได้ แต่ Desgrange ได้สั่งห้ามการกระทำดังกล่าว ซึ่งแท้จริงแล้ววัตถุประสงค์แรกเริ่มคือ ต้องการให้ใช้ผู้นำหน้าเฉพาะสเตจสุดท้ายและระยะทางยาวที่สุด อย่างไรก็ตาม การจ้างผู้นำหน้าได้ถูกยกเลิกไปหลังการแข่งขันสเตจที่ 5 [5][10][11]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#4", "text": "เมื่อ Desgrange และลูกจ้างชื่อ Géo Lefèvre กลับมาจากการแข่งขันจักรยาน Marseille–Paris [3] Lefèvre ได้แนะนำให้จัดการแข่งขันรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคล้ายกับการแข่งขัน six-day races ที่โด่งดังและจัดการแข่งขันอยู่ [4] Desgrange จึงนำเสนอแนวคิดดังกล่าวให้แก่ Victor Goddet ผู้ดูแลด้านการเงิน ซึ่งตอบตกลงและการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ก็ถูกประกาศลงในหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) [5]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#12", "text": "การแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ในสมัยนั้นแตกต่างกับการแข่งขันในปัจจุบัน คือ อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันซึ่งออกจากการแข่งขันกลางคันในแต่ละสเตจสามารถเริ่มการแข่งขันใหม่ได้อีกในสเตจถัดไป แต่เวลารวมที่เขาทำได้จะไม่นำมานับรวมสำหรับการคัดเลือกผู้ชนะประเภท general classification ซึ่งทำให้ Hippolyte Aucouturier ซึ่งออกจากการแข่งขันไปในสเตจแรกกลับมาเป็นผู้ชนะในสเตจที่ 2 และ 3 รวมถึง Charles Laeser ผู้ชนะของสเตจที่ 4 ก็แข่งขันในสเตจที่ 3 ไม่จบด้วยเช่นกัน [7]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "351228#1", "text": "บริษัทลูกของอีพีเอ ชื่อว่า องค์การกีฬาอามอรี (Amaury Sport Organisation - ASO) เป็นบริษัทผู้จัดการแข่งขันกีฬารายการสำคัญหลายรายการ เช่น การแข่งขันจักรยานตูร์เดอฟร็องส์, บูเอลตาอาเอสปัญญา, ปารีส-นิส, การแข่งขันรถวิบากปารีส-ดาการ์", "title": "ฟีลิป อามอรี" }, { "docid": "629503#13", "text": "ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 60 คน มีทั้งนักแข่งอาชีพ (professionals) และกึ่งอาชีพ (semi-professionals) ประกอบด้วยผู้เข้าแข่งขันจากประเทศฝรั่งเศสจำนวน 49 คน เบลเยียม 4 คน สวิสเซอร์แลนด์ 4 คน เยอรมัน 2 คน และอิตาลี 1 คน โดยในจำนวนนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบธุรกิจผลิตจักรยานจำนวน 21 คน และที่เหลือ 39 คน เข้าแข่งขันด้วยตนเอง [6][7][12] ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 24 คน เข้าแข่งขันเฉพาะบางสเตจเท่านั้น โดยในการแข่งขันรายการนี้ มีนักปั่นจักรยานที่ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันถือโอกาสเข้าร่วมปั่นในบางสเตจด้วย นักปั่นรายหนึ่งเข้าร่วมทั้งในสเตจที่ 2 และ 4 และอีกสามรายเข้าร่วมในบางส่วนของสเตจที่ 2 นอกจากนี้ยังมีรายหนึ่งเข้าร่วมในสเตจที่ 3 อีก 15 รายเข้าร่วมในสเตจที่ 4 และอีก 4 รายเข้าร่วมในสเตจที่ 5 [7]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#16", "text": "ในเวลานั้น กาแรงยังคงเป็นผู้นำของการแข่งขัน โดยมี Emile Georget ตามหลังอยู่ถึงสองชั่วโมง[16] ในสเตจที่ห้า ยางรถของ Georget แบนทั้งสองเส้น และเขายังผล็อยหลับไประหว่างที่หยุดพักข้างทาง จึงทำให้เขาไม่สามารถเอาชนะได้ [3] กาแรงจึงยังคงเป็นผู้นำในการแข่งขันต่อไปด้วยการคว้าชัยชนะในสเตจนี้ไปครอง โดยมีสามชั่วโมงนำหน้าคนอื่นอยู่นับจนถึงวันสุดท้ายของการแข่งขัน[17] กาแรงขอร้องให้นักปั่นคนอื่นในกลุ่มที่เป็นผู้นำการแข่งขันอยู่ปล่อยให้เขาเป็นผุ้ชนะในสเตจ แต่ Fernand Augereau ปฏิเสธคำร้องขอของเขา Garin then had Lucien Pothier throwing his bicycle at Augerau, และต่อมา Augereau ก็พลาดล้มลง จึงทำให้เหลือแต่ กาแรง Pothier และ Pasquier ที่ยังคงแข่งขันต่อไป โดย Pothier ก็ไม่สามารถปั่นเข้าเส้นชัยได้ ในขณะที่กาแรงเป็นผู้ชนะในประเภท sprint ไปอย่างง่ายดาย [18] Augerau ได้รับเงินรางวัล 100 ฟรังค์ จาก Velo-Sport Nantes สำหรับผู้ที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดในกิโลเมตรสุดท้ายของสเตจใน Nantes velodrome [19] สเตจสุดท้ายเป็นสเตจที่มีระยะทางยาวที่สุดคือ 471km (293mi) จากเมือง, Nantes ไปยัง Velodrome ในกรุงปารีส โดยมีผู้เข้าชมการแข่งขันกว่า 20,000 คน ร่วมเป็นสักขีพยานชัยชนะในสเตจที่สามของกาแรง โดยทำเวลาไปได้ 2 ชั่วโมง 59 นาที 31 วินาที โดยเวลาดังกล่าวยังคงเป็นเวลาที่ดีที่สุดของการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ [5]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#1", "text": "การแข่งขันถูกจัดขึ้นมาเพื่อโปรโมทหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ภายหลังจากที่ยอดจำหน่ายเริ่มดิ่งลงจากการแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ Le Vélo ที่วางจำหน่ายมาอย่างยาวนาน เดิมการแข่งขันมีกำหนดจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน แต่ถูกเลื่อนออกไป 1 เดือน และเพิ่มเงินรางวัลมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีจำนวนผู้สมัครเข้าแข่งขันน้อยจนเป็นที่น่าผิดหวัง การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ในครั้งแรกจัดการแข่งขันบนถนน เมื่อเทียบกับการแข่งขันแกรนด์ทัวร์ (Grand Tours) การแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์มีจำนวนสเตจ (stage) ที่น้อยกว่า แต่มีระยะทางไกลกว่าที่แข่งขันอยู่ในปัจจุบัน ผู้เข้าแข่งขันไม่จำเป็นต้องปั่นครบทั้ง 6 สเตจ (stage) แม้ว่าการเข้าแข่งขันครบทุกช่วงจะเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดอันดับผู้ชนะโดยพิจารณาจากผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดตลอดเส้นทางการแข่งขันที่เรียกว่า general classification.", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "10634#7", "text": "ในปี 2007 บียานร์น รีส์ ยอมรับว่าได้ใช้สารกระตุ้นระหว่างการแข่งขันทำให้ผู้จัดการแข่งขันปฏิเสธที่จะยอมรับสถานะผู้ชนะเลิศของเขา ทว่าสหพันธ์จักรยานสากล (Union Cycliste Internationale - UCI) แถลงว่าหมดเวลาที่จะตัดสิทธิ์เขาจากการเป็นผู้ชนะเลิศ จึงเพียงแต่ขอร้องให้เขาคืนเสื้อสีเหลืองที่แสดงสถานะของการเป็นผู้ชนะเลิศ [2]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "10634#1", "text": "ตูร์เดอฟร็องส์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "629503#20", "text": "Tour de France หมวดหมู่:Tour de France by year Tour de France", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#14", "text": "ผู้ชนะในรอบ pre-race favourites ได้แก่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) และ Hippolyte Aucouturier[3] กาแรง ขึ้นนำในการแข่งขันตั้งแต่ออกจากจุดเริ่มต้นและเป็นผู้ชนะของสเตจแรกซึ่งมีระยะทาง 471km (293mi) จากกรุงปารีสถึงเมืองลียง การแข่งขันเริ่มขึ้นในเวลา 15:16 น. โดยผู้เข้าแแข่งปั่นด้วยความเร็ว 35กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้เข้าแข่งขันที่ล้มเลิกกลางคันรายแรกหยุดที่ระยะทางประมาณ 50km (31mi).[13] กาแรง และ Emile Pagie เป็นผู้นำในการแข่งขันโดยถึงจุด control point ที่เมืองเนอแวร์ (Nevers) เวลา 23:00 น. กาแรงคาดการณ์ว่า พวกเขาจะถึงเส้นชัยในเวลา 8:00 ของเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ช่วงกลางคืน คู่แข่งของกาแรง, Aucouturier, มีอาการตะคริวที่ท้องทำให้ไม่สามารถแข่งจนจบสเตจได้ [5][13] นอกจากนี้ การทำผิดกฎของการแข่งขันเป็นครั้งแรกก็เกิดขึ้นตั้งแต่สเตจแรก โดย Jean Fischer ได้ใช้รถยนต์สำหรับ pacer ซึ่งถือว่าผิดกฎ[5][13] Pagie ล้มลงแต่ก็ลุกกลับขึ้นมาได้อีก เขาและกาแรง รั้งตำแหน่งผู้นำในการแข่งขันตลอดคืนนั้น จนกระทั่งเวลา 9:00 น. ทั้งคู่จึงเข้าเส้นชัยที่เมืองลียง โดยกาแรงเข้าเส้นชัยก่อนหน้า Pagie เพียงแค่ 1 นาที [13]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "10634#3", "text": "การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้ (L'Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "629503#17", "text": "การแข่งขันในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันระหว่างการแข่งขันในสเตจทางเรียบและสเตจที่มีภูเขา ดังนั้น รูปภาพที่แสดงด้านล่างเป็นเพียงการแสดงให้เห็นว่า สเตจใดมีภูเขาอยู่ด้วย", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#19", "text": "ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญอันเป็นผลมาจากการจัดแข่งขันนี้ ภายหลังจบการแข่งขัน หนังสือฉบับพิเศษที่จัดพิมพ์จำนวนจำกัดได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้น 130,000 ฉบับ [22] และยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์ปกติได้พุ่งสูงขึ้นจากเดิม 25,000 ฉบับ เป็น 65,000 ฉบับ [2] ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของยอดขายนี้ทำให้การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์กจัดขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) นักปั่นจักรยานได้กลายมาเป็นวีรบุรุษของชาติ ในขณะที่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันในปี พ.ศ. 2447 อีกครั้งกลับไม่สามารถรักษาตำแหน่งแชมป์เอาไว้ได้เนื่องจากเขาถูกตัดสิทธิ์จึงทำให้ขาดคุณสมบัติ โมรีซ กาแรง ได้ใช้เงินรางวัลที่เขาได้รับจากชัยชนะในปี พ.ศ. 2446 รวมทั้งหมด 6,075 ฟรังค์ (francs) [7] (เทียบเท่ามูลค่าประมาณ US$40,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา และ 23,000 ปอนด์ ในปี 2549 [5]) ซื้อสถานีบริการน้ำมันและใช้ชีวิตที่เหลือของเขาอยู่ที่นั่นจนสิ้นอายุขัย [5]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#8", "text": "การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ครั้งแรกไม่มีการปั่นข้ามภูเขาแต่มีการปั่นผ่านช่องเทือกเขาเล็กน้อย ช่องเทือกเขาแรก คือ des Echarmeaux (712m (2,336ft)) ซึ่งอยู่ในช่วงต้นของสเตจที่เริ่มจากกรุงปรารีสไปเมืองลียง (Lyon) ในปัจจุบันคือถนนสายเก่าที่วิ่งจากเมืองโอเติง (Autun) ไปเมืองลียง นอกจากนี้ยังมีช่องเทือกเขา col de la République (1,161m (3,809ft)) ซึ่งอยู่ในสเตจที่เริ่มจากเมืองลียงไปเมืองมาร์แซย์ หรือในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ col du Grand Bois ซึ่งอยู่ติดชายแดนของเมืองแซ็งเตเตียน (St-Étienne)[9]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#6", "text": "Géo Lefévre ทำหน้าที่เป็นกรรมการจัดงาน ผู้ตัดสิน และ ผู้จับเวลา โดย Henri Desgrange เป็นกรรมการจัดงานทั่วไป (directeur-général) ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ติดตามการแข่งขันก็ตาม", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#18", "text": "ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 21 คน เข้าร่วมแข่งขันจนครบทั้งหมด 6 สเตจ โดยเวลาในแต่ละสเตจของนักปั่นจักรยานเหล่านี้ได้นำไปนับรวมสำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด (general classification) โดยผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" } ]
3928
สัญญาณโทรศัพท์ เริ่มใช้ครั้งแรกที่ไหน ?
[ { "docid": "24448#3", "text": "1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ความสามารถหลักๆ คือการให้บริการเสียงอย่างเดียว รองรับเพียงการโทรเข้าและรับสาย ยังไม่รองรับการส่งหรือรับ Data ใดๆ แม้แต่จะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งในยุคนั้นผู้คนก็ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอื่นๆ นอกจากการโทรเข้าออกอยู่แล้ว และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในเวลานั้น เป็นผู้มีฐานะหรือนักธุรกิจที่ใช้ติดต่องาน เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นมีราคาสูงมาก ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMT, AMPS, DataTac เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSM, cdmaOne, PDC มีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัส โดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอลนี้ จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยในเรื่องของสัญญาณเสียงที่ใช้ติดต่อสื่อสารให้มีความคมชัดมากขึ้นด้วย โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึงช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะเชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้ ให้บริการทั้งเสียงและข้อมูล มีการทำงานแบบ circuit switching ที่ความเร็ว 9.6-14.4 kbps 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS ซึ่งพัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (แต่ถูกจำกัดการใช้งานจริงอยู่ที่ 40 kbps) สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชันการรับส่งข้อมูลในส่วนของ MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าก็ถูกพัฒนาให้เป็นเสียงแบบ Polyphonic จากของเดิมที่เป็น Monotone และเข้ามาสู่ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3 2.75G ยุคนี้เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS นั่นเอง และในปัจจุบันนี้เราก็ยังคงได้ยินและมีการใช้เทคโนโลยีนี้กันอยู่ ซึ่งได้พัฒนาในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลไร้สาย ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น , EDGE ให้ความเร็วน้อยกว่า 10 KBPS 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ยุคนี้จะเน้นการสื่อสารทั้งการพูดคุยแบบเสียงตามปกติและแบบรับส่งข้อมูลซึ่งในส่วนของการรับส่งข้อมูล ที่ทำให้ 3G นั้นต่างจากระบบเก่า 2G ที่มีพื้นฐานในการพูดคุยแบบเสียงตามปกติอยู่มาก เนื่องจากเป็นระบบที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้รองรับกับการรับส่งข้อมูลโดยตรง มีช่องความถี่และความจุในการรับส่งสัญญาณที่มากกว่า ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือนั้นเร็วมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมัลติมีเดียดีขึ้น และยังมีความเสถียรกว่า 2G ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวิดีโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMA, TD-SCDMA, CDMA2000 ความเร็ว มากกว่า 144 kbps 3.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น HSDPA ใน W-CDMA 4G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ LTE หรือ", "title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่" } ]
[ { "docid": "116024#2", "text": "AirCard คือ โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีการเชื่อมสัญญาณเข้ากับ Cellsite ของเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทำให้เล่นเน็ตที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ", "title": "แอร์คาร์ด" }, { "docid": "567370#9", "text": "ต่อมา วิธีการส่งเช่น SONET (Synchronous optical networking) เป็นการส่งผ่านใยแก้วนำแสงที่ทำให้การส่งผ่านดิจิทัลก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก แม้ว่าระบบการขนส่งแบบแอนะล็อกที่มีอยู่จะ multiplex ช่องความถี่เสียงแบบแอนะล็อกหลายช่องให้อยู่บนสื่อกลางการส่งเพียงตัวเดียวก็ตาม, การส่งดิจิทัลทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงและได้ช่องทางที่ถูก multiplexed บนสื่อกลางการส่งมากขึ้น วันนี้ อุปกรณ์ปลายทางมักจะยังคงเป็นแอนะล็อก แต่สัญญาณอนาล็อกโดยทั่วไปจะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ณ พื้นที่ให้บริการอินเตอร์เฟซ ( หรือ SAI), หรือที่สำนักงานกลาง ( หรือ CO) หรือที่ชุมสาย หรือที่จุดรวมสัญญาณอื่น ๆ อุปกรณ์ Digital loop carriers (DLC) เป็นเครือข่ายดิจิตอลที่ถูกวางใกล้ชิดกับสถานที่ของลูกค้ามากกว่าที่เคย, ผลักไส local loop แบบแอนะล็อกให้กลายเป็นตำนานไปเลยความเชี่ยวชาญของระบบโทรศัพท์ดิจิตอล, ระบบโทรศัพท์ Internet Protocol (IP) เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแบบดิจิตอลที่เป็นรากฐานอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้าง, ส่ง, และรับ sessions การสื่อสารโทรคมนาคมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น Voice over Internet Protocol (VoIP), สะท้อนให้เห็นถึงหลักการแต่มันก็ถูกเรียกด้วยคำอื่นๆอีกมากมาย VoIP ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเทคโนโลยีตัวทำลายที่มาแทนที่เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานของโทรศัพท์แบบดั้งเดิมอย่างรวดเร็ว เมื่อเดือนมกราคม 2005 ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ถึง 10 % ได้เปิดใช้บริการโทรศัพท์ดิจิตอลนี้ บทความของนิวสวีค ประจำเดือนมกราคม 2005 ชี้ให้เห็นว่า โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต อาจจะ \"สิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป\" ในปี 2006 บริษัท VoIP หลายแห่ง เสนอบริการนี้ให้กับผู้บริโภคและธุรกิจ", "title": "ระบบโทรศัพท์" }, { "docid": "783074#59", "text": "หนุ่ยตื่นขึ้นมาบนรถด้วยอาการมึนงง ก่อนจะพบว่าเต็นท์พาเขาขึ้นรถมาง้อออมที่ต่างจังหวัดด้วย ระหว่างที่แวะเติมน้ำมันก็มีสายโทรศัพท์เบอร์ที่ไม่คุ้นเคยโทรมาหาหนุ่ย ก่อนจะพบว่าเธอคือ พิ้งค์ (ปาณิสรา ริกุลสุรกาน) แฟนสาวของคนที่มาทำร้ายร่างกายหนุ่ย พิ้งค์ขอโทษหนุ่ยและถามอีกว่าอยู่ที่ไหน หนุ่ยบอกว่ากำลังจะไปต่างจังหวัด พิ้งค์จึงขอตามไปด้วย ทั้ง 3 คนมุ่งหน้าเข้าสู่จังหวัดอุทัยธานี โดยที่ไม่รู้ว่าบ้านของออมอยู่ที่ไหน เต็นท์จึงเปิดดูข้อมูลในเฟซบุ๊กแต่ก็พบว่าถูกออมลบเพื่อนทิ้งไปแล้ว จึงขอใช้เฟซบุ๊กของหนุ่ยเพื่อที่จะได้ไปขอออมเป็นเพื่อในเฟซบุ๊ก ระหว่างที่รอออมตอบรับ หนุ่ยก็เป็นตัวตั้งตัวตีในการพาทุกคนออกไปเที่ยว เพื่อหวังว่าจะได้อยู่ใกล้ชิดกับพิ้งค์ แต่กลายเป็นว่าพิ้งค์ชอบเต็นท์มากกว่า", "title": "เลิฟซองส์เลิฟซีรีส์" }, { "docid": "310159#10", "text": "แผ่นดินไหวทำให้ท่อส่งน้ำประปาเสียหาย และมีรายงานว่าไฟฟ้า โทรศัพท์ (รวมโทรศัพท์มือถือ) และอินเทอร์เน็ต ใช้งานไม่ได้เป็นพื้นที่วงกว้าง ระบบโทรศัพท์มือถือขัดข้องเนื่องจากสถานีถ่ายทอดสัญญาณได้รับความเสียหายโดยตรง อีกทั้งพลังงานสำรองก็ถูกใช้จนหมด", "title": "แผ่นดินไหวในชูเอะสึ พ.ศ. 2547" }, { "docid": "790025#0", "text": "โทรศัพท์บ้าน () คือโทรศัพท์ชนิดที่ใช้งานตั้งอยู่กับที่ สื่อสารผ่านสายโลหะหรือใยแก้วนำแสง (ต่างกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งสื่อสารไร้สายผ่านสัญญาณวิทยุ) เป็นโทรศัพท์ที่ใช้กันตามครัวเรือน ห้างร้าน และสำนักงานทั่วไปในรูปของเครื่องโทรศัพท์ตั้งโต๊ะ โดยมีสายเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานในพื้นที่เพื่อให้สามารถโทรเข้าออกได้ และส่วนใหญ่โทรศัพท์บ้านจะทำงานโดยอาศัยไฟเลี้ยงจากชุมสายโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ทำให้สามารถใช้งานได้ในช่วงเวลาที่ไฟฟ้าดับ", "title": "โทรศัพท์บ้าน" }, { "docid": "189555#5", "text": "เป้าหมายในการออกแบบโพรโทคอล SIP ก็เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเริ่มต้นการส่งสัญญาณโทรศัพท์ (signaling and call setup protocol) บนเครือข่ายแบบ IP-based และสามารถทำงานร่วมกับ public switched telephone network (PSTN) ที่มีอยู่เดิมได้ทันที และ SIP ถูกออกแบบมาโดยอ้างอิงถึงการเชื่อมต่อกันระว่าง proxy server และ user agents เพื่อให้มีลักษณะคล้ายกับการทำงานของโทรศัพท์มากที่สุด เช่น การส่งหมายเลข (dialing a number), การส่งสัญญาณกระดิ่ง (ringing), การส่งสัญญาญรอการเชื่อมต่อ (ring back) และการส่งสัญญาณสายไม่ว่าง (busy tone)", "title": "Session Initiation Protocol" }, { "docid": "146932#4", "text": "1 ระบบเชื่อมต่อสัญญาณในระดับสายตา ใช้ในงานสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง อย่างเช่น การโทรศัพท์ทางไกล ใช้การส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์จากจุดหนึ่ง ไปยังสถานีทวนสัญญาณจากจุดหนึ่งและส่งผ่านสัญญาณไปเรื่อยๆ จนถึงปลายทาง และในการส่งโทรทัศน์ก็จะทำการส่งสัญญาณโทรทัศน์จากห้องส่งไปยังเครื่องส่งไมโครเวฟ ส่งไปทางสายอากาศ และแพร่กระจากคลื่นของโทรทัศน์ของสถานีนั้นๆ ระยะห่างของสถานีสัญญาณจะเป็นดังนี้ ถ้าความถี่สูงระยะห่างก็จะน้อยแต่ถ้า ความถี่ของคลื่นไมโครเวฟต่ำระยะห่างของสถานีทวนสัญญาณก็จะมาก ", "title": "ไมโครเวฟ" }, { "docid": "8211#4", "text": "ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมที่ใช้คู่สายทองแดง หรือที่เรียกกันว่าโทรศัพท์พื้นฐาน ปกติจะขนส่งทั้งสัญญาณควบคุมและสัญญาณเสียงบน คู่สายบิด (สายไฟหุ้มฉนวนสองเส้นบิดเป็นเกลียว) เดียวกัน (C ในรูป) เรียกสายนี้ว่า สายโทรศัพท์", "title": "เครื่องโทรศัพท์" }, { "docid": "238586#1", "text": "โดยระบบไอพีทีวีในประเทศไทยทางผู้ให้บริการจะทำการรับสัญญาณจากดาวเทียม จากนั้นจะทำการแปลงข้อมูล (Encode) จากสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล จากนั้นจะทำการเข้ารหัส (Encryption) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มี Set Top Box (STB) สามารถถอดรหัสนำสัญญาณไปรับชมได้ เมื่อได้เป็นสัญญาณดิจิทัลแล้ว ข้อมูลที่ได้จะถูกนำส่งผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ ทางฝั่งผู้ใช้ก็จะนำสายโทรศัพท์มาต่อเข้ากับเราเตอร์เพื่อแยกสัญญาณอินเทอร์เน็ตกับสัญญาณโทรทัศน์จากนั้นก็นำสัญญาณโทรทัศน์ที่แยกแล้วต่อเข้ากับตัว Set Top Box เพื่อทำการถอดรหัส (Decryption) จากนั้นสัญญาณที่ถูกถอดรหัสก็จะแสดงผลออกมาทางจอโทรทัศน์", "title": "ไอพีทีวี" }, { "docid": "8211#10", "text": "เมื่อมกราคม 2005, ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จำนวนสูงถึง 10 % ได้ เปลี่ยนมาใช้บริการโทรศัพท์แบบดิจิทัลนี้ ในเดือนเดียวกัน บทความของนิวสวีคชี้ให้เห็นว่า โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตอาจจะ \"สิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป\" ในปี 2006 บริษัทหลายแห่งให้บริการ VoIP กับผู้บริโภคและธุรกิจ\nจากมุมมองของลูกค้า, ระบบโทรศัพท์ IP ใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบนด์วิธสูง และต้องการอุปกรณ์สถานที่ลูกค้า () หรือ CPE ที่มีลักษณะพิเศษในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต, หรือผ่านเครือข่าย​​ข้อมูลส่วนตัวอื่นๆที่ทันสมัย จริงๆแล้ว อุปกรณ์ของลูกค้าอาจจะเป็นเพียง อะแดปเตอร์โทรศัพท์แอนะล็อก ( ATA ) ซึ่งใช้เชื่อมต่อเครื่องโทรศัพท์แบบอนาล็อกแบบเก่าเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย IP, หรืออาจเป็นเครื่องโทรศัพท์ไอพีที่มีเทคโนโลยีเครือข่ายและอินเตอร์เฟซที่สร้างขึ้นในชุดตั้งโต๊ะ ที่ทำงานเหมือนโทรศัพท์ที่คุ้นเคยแบบเดิม ", "title": "เครื่องโทรศัพท์" }, { "docid": "116024#0", "text": "แอร์คาร์ด () คือ อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Desktop หรือ Laptop) ของเราเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูงโดยผ่านโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในขณะที่เราเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตไปแล้วยังสามารถใช้โทรศัพท์โทร.เข้า-ออกได้ในเวลาเดียวกัน เพราะระบบมีการใช้ช่องสัญญาณคนละช่องสัญญาณกัน แต่ใช้ Cellsite เดียวกัน หรือทำหน้าที่เป็นแฟ็กซ์ไร้สายได้ด้วย ดังนั้นไม่ว่าเราจะนั่งรถ ลงเรือ หรืออยู่ที่ไหนขอมีเพียงสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็ใช้งานได้ทั้งนั้น เหมาะสำหรับใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ทั้ง PC Notebook Laptop เพื่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูง โดยผ่านโครงข่ายสัญญาโทรศัพทืมือถือที่ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRSและEDGE ในปัจจุบัน", "title": "แอร์คาร์ด" }, { "docid": "27441#1", "text": "GSM ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับช่องสัญญาณควบคุมและสัญญาณเสียงแบบ TDMA ซึ่งแตกต่างจากเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือก่อนหน้านั้น จึงถือว่าเป็นโทรศัพท์มือถือในยุคที่สอง หรือ 2Gซึ่งหมายถึง การพัฒนาระบบขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง", "title": "จีเอสเอ็ม" }, { "docid": "8211#2", "text": "องค์ประกอบที่สำคัญของเครื่องโทรศัพท์(หรือบางครั้งเรียกว่า telephone set)ได้แก่ handset และแท่นวาง (แต่เดิมแยกออกจากกัน แต่บางครั้งวางประกอบอยู่ด้วยกัน). handset ประกอบด้วยไมโครโฟน(ตัวส่ง)เพื่อพูดเข้าและหูฟัง(ตัวรับ)ที่จะทำเสียงของคนที่อยู่ไกลออกไปขึนมาใหม่ นอกจากนี้ เครื่องโทรศัพท์ส่วนใหญ่มีกระดิ่ง(ringer)ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงเมื่อมีโทรศัพท์เรียกเข้ามาและแป้นหมุนที่ใช้ในการป้อนหมายเลขโทรศัพท์เมื่อต้องการจะโทรออก ในราวทศตวรรษที่ 1970 เครื่องโทรศัพท์ที่ใช้หน้าปัดแบบหมุนส่วนใหญ่ถูกแทนที่ด้วยหน้าปัดแบบกดปุ่ม Touch-Tone ที่ทันสมัย ซึ่งได้เปิดตัวครั้งแรกโดย AT & T ในปี 1963. เครื่องรับและเครื่องส่งสัญญาณมักจะถูกสร้างบน handset เดียวกัน ซึ่งจะถูกยกขึ้นทาบกับปากและหูของผู้ใช้ในระหว่างการสนทนา แป้นหมุนอาจจะอยู่ได้ทั้งบน handset หรือบนแท่นวางที่ต่อกับตัว handset ด้วยสายไฟสั้นๆ(cord) เครื่องส่งสัญญาณจะแปลงคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งจะถูกส่งผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ไปยังเครื่องโทรศัพท์ปลายทาง เครื่องรับโทรศัพท์ปลายทางจะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียงออกทางลำโพง ระบบโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการสื่อสารแบบสองทาง ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ทั้งสองด้านสามารถพูดคุยกันได้พร้อมกัน", "title": "เครื่องโทรศัพท์" }, { "docid": "8211#0", "text": "เครื่องโทรศัพท์ () เป็นอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมที่อนุญาตให้ ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่า สามารถสนทนากัน เมื่อพวกเขาไม่ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันที่จะได้ยินเสียงกันโดยตรง เครื่องโทรศัพท์จะแปลงเสียง, โดยทั่วไปเป็นเสียงมนุษย์, ให้เป็นสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสำหรับการส่งผ่านทางสายเคเบิลหรือผ่านสื่ออื่น ๆในระยะทางไกล, และ เมื่อถึงผู้รับปลายทาง จะเปลี่ยนสัญญาณดังกล่าวกลับให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถเข้าใจได้ คำว่าโทรศัพท์ได้รับการดัดแปลงเป็นคำศัพท์หลายภาษา มันมาจากกรีก: τῆλε ,Tele แปลว่าไกล และ φωνή , แปลว่าเสียง เมื่อรวมกัน หมายถึงเสียงที่อยู่ห่างไกล สำหรับระบบโทรศัพท์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีนั้น ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Telephony", "title": "เครื่องโทรศัพท์" }, { "docid": "394385#1", "text": "ในการค้นหาแต่ละขั้นตอนจะมีการคำนวณหรือ คาดการณ์ว่าสิ่งที่ค้นหานั้น น่าจะอยู่ที่ไหนของช่วงการค้นหาที่เหลือ แม้เทคนิคนี้จะมีลักษณะคล้ายกับการค้นแบบทวิภาค (Binary search) แต่ก็ไม่ใช่เสียทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ของนายสมชาย จะไม่ไปหาที่ตรงกลางของสมุดโทรศัพท์ แต่จะไปหายังตำแหน่งที่เริ่มต้นด้วยตัว “ส” โดยการประมาณว่าอยู่ที่ตรงหน้าที่เท่าไรของสมุดโทรศัพท์ แล้วค่อย ๆ เลือกหน้าต่อไปที่ใกล้เคียงที่สุดจนกว่าจะพบ ดังนั้น แทนที่จะใช้การค้นแบบทวิภาค (Binary search) ที่เริ่มต้นตรงกลางเสมอ ก็เปลี่ยนมาใช้การค้นโดยการประมาณช่วง (Interpolation Search) ซึ่งเป็นการค้นหาตำแหน่งโดยการประมาณ", "title": "การค้นหาโดยการประมาณช่วง" }, { "docid": "85697#102", "text": "เมื่อเร็วๆนี้ แอมป์โดเฮอร์ตี้ได้ถูกพบการใช้งานอย่างแพร่หลายในเครื่องส่งสัญญาณที่สถานีฐาน โทรศัพท์มือถือสำหรับความถี่ย่าน GHz การใช้งานสำหรับเครื่องส่งสัญญาณในอุปกรณ์เคลื่อนที่ยังได้รับการสาธิตให้เห็นอีกด้วย", "title": "ตัวขยายสัญญาณ" }, { "docid": "155545#0", "text": "อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณเพื่อเข้าถึงสายผู้เช่าดิจิทัล หรือ ดีสแลม () ใช้ในการแยกสัญญาณจากสายทองแดง จากส่วนที่ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต (ส่วนใหญ่จะเป็นที่ให้บริการโทรศัพท์ เช่น ทีโอที) ซึ่ง DSLAM จะแยกสัญญาณออกเป็นสองสัญญาณคือ สัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณอินเทอร์เน็ต เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่นสัญญาณโทรศัพท์ DSLAM จะส่งสัญญาณผ่าน ATM แล้วส่งไปให้องค์การโทรศัพท์ทำการเชื่อมต่อเลขหมายปลายทาง ส่วนสัญญาณอินเทอร์เน็ต DSLAM ก็จะส่งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องส่งสัญญาณแบบ ATM ไปยังหน่วยงานบริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เพื่อทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและให้บริการ", "title": "ดีสแลม" }, { "docid": "348815#4", "text": "ในระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, SDMA จะมีคุณสมบัติในการระบุตำแหน่งที่ตั้งในพื้นที่ของโทรศัพท์ปลายทาง, เครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น โดยจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน Network bandwidth\nซึ่งจะแตกต่างจากระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเดิมที่จะมีสถานีศูนย์กลางเป็นตัวเชื่อมโยง แผ่กระจายสัญญาณไปในทุกทิศทางในพื้นที่ โดยที่ไม่รู้ว่าในสถานที่นั้นจะมีอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่หรือไม่ ซึ่งสถาปัตยกรรม SDMA จะเป็นการใช้ช่องทาง (channel) ของคลื่นสัญญาณวิทยุบนพื้นฐานของตำแหน่งอุปกรณ์มือถือ ด้วยวิธีนี้สถาปัตยกรรม SDMA ไม่เพียงแต่จะป้องกันเรื่องคุณภาพของสัญญาณแล้ว ยังป้องกันคลื่นเสียงที่ก่อให้เกิดการรบกวนและการเสื่อมสภาพของสัญญาณที่มาจากบริเวณพื้นที่ ที่อยู่ติดกัน แต่อย่างไรก็ตาม SDMA ยังช่วยป้องกันการซ้ำซ้อนของสัญญาณในพื้นที่ที่ไม่มีอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้งานอยู่หรือไม่มีอยู่ในบริเวณนั้น", "title": "Space Division Multiple Access" }, { "docid": "774372#1", "text": "ระบบโทรศัพท์พื้นฐานมีลักษณะเด่นจากความน่าเชื่อถือของระบบที่สูงมาก ใช้งานได้ในเหตุการณ์ภัยพิบัติ\nให้เสียงสนทนาที่ชัดเจน และไม่มีปัญหาช่องสัญญาณเต็ม, ซึ่งปัจจุบัน ระบบโทรศัพท์พื้นฐานมีคุณสมบัติต่อไปนี้:", "title": "โทรศัพท์พื้นฐาน" }, { "docid": "85522#11", "text": "สายอากาศที่ดีจะต้องจับคู่ส่วนที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเข้ากับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ขนส่งสัญญาณผ่านอากาศ (หรืออวกาศ) ที่ความเร็วของแสง และเกือบจะไม่มีการสูญเสียในการส่ง เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณวิทยุจะใช้ถ่ายทอดสัญญาณ(ข้อมูล)ในระบบ ได้แก่การออกอากาศวิทยุ(เสียง), โทรทัศน์, โทรศัพท์มือถือ, วายฟาย (WLAN) เครือข่ายข้อมูล, สายทรังค์และในการเชื่อมโยงสัญญาณแบบจุดต่อจุด (โทรศัพท์, เครือข่ายข้อมูล), การเชื่อมโยงดาวเทียม, อุปกรณ์ควบคุมจากระยะไกลหลายอย่างเช่นเครื่องเปิดประตูโรงรถและเซ็นเซอร์ไร้สายระยะไกล และอื่น ๆ อีกมาก คลื่นวิทยุยังใช้โดยตรงในการตรวจวัดในเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งเรดาร์ จีพีเอสและวิทยุดาราศาสตร์ ในทุกกรณีเครื่องส่งสัญญาณและเครื่องรับสัญญาณที่นำมาใช้จะต้องใช้สายอากาศ โดยที่สายอากาศดังกล่าวบางครั้งจะถูกซ่อนอยู่ (เช่นสายอากาศภายในวิทยุ AM หรือภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปที่ติดตั้งวายฟาย)", "title": "สายอากาศ" }, { "docid": "8211#7", "text": "เครื่องโทรศัพท์แบบ landline เชื่อมต่อด้วยสายไฟหนึ่งคู่เข้าโครงข่ายโทรศัพท์ ในขณะที่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถพกพาและติดต่อสื่อสารกับโครงข่ายโทรศัพท์โดยการส่งสัญญาณวิทยุ. โทรศัพท์แบบ cordless ใช้ handset แบบพกพาที่ติดต่อสื่อสารโดยการส่งวิทยุกับสถานีฐาน แล้วสถานีฐานจะติดต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ด้วยสายอีกที", "title": "เครื่องโทรศัพท์" }, { "docid": "563278#22", "text": "การเข้าถึงแบบ Dial-Up ใช้โมเด็มและโทรศัพท์ที่ทำงานกับ public switched telephone network (PSTN) เพื่อเชื่อมต่อกับโมเด็มของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โมเด็มฝั่งผู้ใช้แปลงสัญญาณดิจิทัลของคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนะล็อกที่เดินทางผ่านสายโทรศัพท์ท้องถิ่นจนถึงชุมสายของบริษัทโทรศัพท์หรือ central office (CO) จากนั้นหลังจากทำการตรวจสอบบัญชีผู้ใช้ว่าถูกต้องจึงจะเชื่อมโยงผู้ใช้เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "567370#7", "text": "ระบบนี้กำลังถูกท้าทายอย่างรุนแรงโดย, และจะต้องยอมทำตาม, เทคโนโลยี Voice over IP (VoIP) ซึ่งปกติจะเรียกว่า โทรศัพท์ IP หรือ โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต. โทรศัพท์ IP เป็นรูปแบบที่ทันสมัย​​ของระบบโทรศัพท์ที่ใช้โพรโทคอล TCP/IP ที่นิยมใช้ในอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งข้อมูลเสียงในรูปแบบดิจิทัล นอกจากนี้ยังแตกต่างจากบริการโทรศัพท์แบบดั้งเดิม, บริการโทรศัพท์ IP ไม่ถูก regulated โดยรัฐบาล ในสหรัฐฯ Federal Communications Commission (FCC ) ควบคุมการเชื่อมต่อ ระหว่างเครื่องโทรศัพท์ไปยังเครื่องโทรศัพท์ แต่กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้วางแผนที่จะควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์และผู้ให้บริการโทรศัพท์ IP. การใช้อินเทอร์เน็ต สัญญาณจะเดินทางเป็นแพ็กเกตของข้อมูลบนเส้นทางที่ใช้ร่วมกัน หลีกเลี่ยงการคิดค่าผ่านทางจาก PSTN ความท้าทายในระบบ IP Telephony คือการส่งมอบแพ็กเกตของเสียง, ของโทรสารหรือของ วิดีโอที่เชื่อถือได้ให้กับผู้ใช้. โทรศัพท์ IP จำนวนมากมุ่งเน้นไปที่ความท้าทายดังกล่าว", "title": "ระบบโทรศัพท์" }, { "docid": "790025#1", "text": "เครื่องโทรศัพท์บ้านบางชนิดยังสามารถรองรับการทำงานเป็นโทรศัพท์ไร้สาย ซึ่งเครื่องแม่จะต่อกับสายโทรศัพท์ปกติ แต่หูโทรศัพท์จะเชื่อมต่อกับเครื่องแม่ด้วยสัญญาณวิทยุ ทำให้สามารถรับและโทรออกจากที่ใดก็ได้ในบ้านโดยที่ผู้รับไม่ต้องเดินมายกหูที่เครื่อง (แต่เครื่องแม่ของโทรศัพท์บ้านชนิดนี้จะต้องเสียบปลั๊กกับไฟบ้านด้วย ซึ่งจะใช้งานไม่ได้หากไฟฟ้าดับ)", "title": "โทรศัพท์บ้าน" }, { "docid": "108503#5", "text": "ข้อเสียของการใช้ดาวเทียมรูปแบบนี้คือ ระดับความสูงที่มาก สัญญาณจึงต้องใช้เวลาเดินทางไปและกลับประมาณ 0.25 วินาที่ ทำให้เกิดการเหลื่อมเวลาที่สร้างปัญหาแก่สัญญาณวิทยุสื่อสารและสัญญาณโทรศัพท์ที่ต้องโต้ตอบกันไปมา แต่ก็ไม่มีปัญหาใดๆ สำหรับสัญญาณโทรทัศน์เพราะเป็นสัญญาณทางเดียว", "title": "ดาวเทียมพ้องคาบโลก" }, { "docid": "8211#6", "text": "อุปกร่ณ์ส่งสัญญาณ หรือ ringer, รูปซ้ายประกอบด้วยกระดิ่ง (A7) หรือ beeper หรือ หลอดไฟอื่น ๆ (A7) เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้ให้รู้ว่ามีสายเรียกเข้า และปุ่มตัวเลขหรือหน้าปัดแบบหมุน (A4) เพื่อป้อนหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการโทรออก ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของบริการโทรศัพท์ landline คือสายไฟ ดังนั้นโทรศัพท์จึงส่งเสียงทั้งขาเข้าและขาออกโดยใช้สายไฟคู่บิดเดียวกัน สายคู่บิดจะมีจำนวนรอบการบิดต่อระยะความยาวจำนวนหนึ่งที่จะหักล้างการรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้า () หรือ EMI และ crosstalk ได้ดีกว่าสายเดียวหรือคู่สายที่ไม่บิด สัญญาณเสียงขาออกจากไมโครโฟนที่แข็งแรงไม่ได้เอาชนะสัญญาณ ลำโพงที่เข้ามากับ sidetone ที่มีความแรงน้อยกว่าเพราะขดลวดไฮบริด (A3) ตัดลบสัญญาณ ของไมโครโฟนออกจากสัญญาณที่ส่งไปยังลำโพง กล่องแยก(B)ป้องกันฟ้าผ่าด้วย lightning arrester (B2) และตัวปรับความต้านทานของสาย(B1)เพื่อเติมเต็มสัญญาณไฟฟ้าสำหรับความยาวของสายโทรศัพท์, B1 ทำการการปรับเปลี่ยนที่คล้ายกันกับ A8 สำหรับความยาวสายภายใน. แรงดันไฟฟ้าที่สายเป็นลบเมื่อเทียบกับดิน เพื่อลดการกัดกร่อนแบบ galvanic corrosion เพราะไฟฟ้าแรงดันลบจะดึงดูดไอออนบวกของโลหะเข้ามาที่สายไฟ", "title": "เครื่องโทรศัพท์" }, { "docid": "40391#18", "text": "หนึ่งในตัวอย่างที่รู้จักดีที่สุดของเทคโนโลยีไร้สายก็คือโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือที่เรียกว่าโทรศัพท์มือถือ ที่มีมากกว่า 4.6 พันล้านผู้เช่าทั่วโลก ณ สิ้นปี 2010. โทรศัพท์ไร้สายเหล่านี้ใช้คลื่นวิทยุเพื่อช่วยให้ผู้ใช้โทรศัพท์โทรฯเข้าออกจากหลาย ๆ สถานที่ทั่วประเทศ ที่สัญญาณส่งไปถึง", "title": "การสื่อสารไร้สาย" }, { "docid": "567370#4", "text": "ปัจจุบัน เครื่องโทรศัพท์ถูกทำให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และถูกผนวกเข้าอยู่ในระบบโทรศัพท์แบบดิจิทัล นั่นคือมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้บริการโทรศัพท์นั่นเอง การใช้โทรศัพท์สามารถทำได้แบบดิจิทัล แต่จะจำกัดเฉพาะในกรณีที่ไมล์สุดท้ายเป็นแบบดิจิทัล หรือในที่จะมีการแปลงระหว่างสัญญาณดิจิตอลและอนาล็อกเกิดขึ้นภายในเครื่องโทรศัพท์ ความก้าวหน้านี้ ได้ลดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารและเพิ่มคุณภาพของบริการเสียง สิ่งนี้ถูกพบว่าเป็นประโยชน์ในการให้บริการเครือข่ายใหม่ที่เรียกว่า integrated Switched Digital Network หรือ ISDN ที่มีการถ่ายโอนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วผ่านสายโทรศัพท์", "title": "ระบบโทรศัพท์" }, { "docid": "228200#0", "text": "เสียงเรียกเข้า หรือ สัญญาณเรียก () คือเสียงที่สร้างขึ้นจากโทรศัพท์ โดยเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อเตือนให้ผู้ใช้ทราบว่ามีสายเข้าหรือได้รับข้อความ หรืออาจหมายถึงเสียงบนโทรศัพท์ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้", "title": "เสียงเรียกเข้า" } ]
3930
การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอนมีกี่ขั้นตอน?
[ { "docid": "760231#0", "text": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน (English: Neutron capture therapy (NCT)) เป็นการรักษาโรคแบบไม่รุกล้ำ(เข้าในร่างกาย)เพื่อรักษาเนื้องอกร้ายแรงแบบแพร่กระจายเป็นที่ เช่นเนื้องอกในสมองหลักและมะเร็งที่หัวและลำคอกำเริบ มีสองขั้นตอนได้แก่: ขั้นตอนแรก ผู้ป่วยจะถูกฉีดด้วยยาที่ใช้กำหนดตำแหน่งเนื้องอก ยานี้จะประกอบด้วยไอซโทปไม่มีกัมมันตภาพรังสีที่มีความโน้มเอียงหรือภาคตัดขวาง (ฟิสิกส์) (σ) สูงต่อการจับยึดนิวตรอนช้า ตัวแทนการจับยึด (English: capture agent) จะมีภาคตัดขวางมากกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับขององค์ประกอบอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่นไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน ในขั้นตอนที่สอง ผู้ป่วยจะปล่อยรังสีนิวตรอนเอพิเทอร์มัล ซึ่งหลังจากการสูญเสียพลังงานเมื่อพวกมันเจาะข้าไปในเนื้อเยื่อ รังสีเอพิเทอร์มัลจะถูกดูดซึมโดยตัวแทนการจับยึดซึ่งภายหลังก็ปลดปล่อยอนุภาคพลังงานสูงที่มีประจุออกมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบทำลายล้างทางชีวภาพ (รูปที่ 1 )", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" } ]
[ { "docid": "758183#0", "text": "การกระตุ้นนิวตรอน () เป็นกระบวนการที่ นิวตรอน ไปเหนี่ยวนำให้เกิดกัมมันตภาพรังสีในวัสดุ และจะเกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสของอะตอมจับยึดนิวตรอนอิสระ กลายเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่าและเข้าสู่สภาวะกระตุ้น นิวเคลียสที่ถูกกระตุ้นมักจะสลายตัวทันทีโดยการเปล่ง รังสีแกมมา หรือเปล่งอนุภาคเช่น อนุภาคบีตา อนุภาคแอลฟา ผลผลิตฟิชชัน และนิวตรอน (ในนิวเคลียร์ฟิชชัน) ดังนั้นกระบวนการของการจับยึดนิวตรอน แม้ว่าจะหลังจากการสลายตัวระดับกลางใด ๆ มักจะส่งผลให้เกิดผลผลิตจากการกระตุ้นที่ไม่เสถียร นิวเคลียสกัมมันตรังสีดังกล่าวสามารถแสดงครึ่งชีวิตในพิสัยตั้งแต่เศษส่วนขนาดเล็กของหนึ่งวินาทีจนถึงหลายปี", "title": "การกระตุ้นนิวตรอน" }, { "docid": "760231#18", "text": "หลังจากเข้วโปรแกรม fellowship สองปีในห้องปฏิบัติการของ Sweet, การศึกษาทางคลินิกก็ถูกริเริ่มโดย ฮิโรชิ Hatanaka ในประเทศญี่ปุ่นในปี 1967 เขาใช้ลำแสงนิวตรอนความร้อนพลังงานต่ำ ซึ่งมีคุณสมบัติเจาะเนื้อเยื่อต่ำและโซเดียม borocaptate (BSH) เป็นตัวแทนจัดส่งโบรอน ในตอนแรก สารนี้ถูกพัฒนาเป็นตัวแทนจัดส่งโบรอนโดยอัลเบิร์ต Soloway ที่ MGH[18] ในขั้นตอนของ Hatanaka[19] มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ของเนื้องอกได้ถูกตัดออกเป็นชิ้นด้วยการผ่าตัด (\"debulking\") และในบางเวลาหลังจากนั้น BSH ได้ถูกนำมาใช้โดยการฉีดอย่างช้า ๆ มักจะเข้าทางเส้นเลือดแดงภายใน แต่ต่อมาก็ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ สิบสองถึง 14 ชั่วโมงต่อมา BNCT ได้ถูกดำเนินการที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อีกตัวหนึ่งที่แตกต่างกันโดยใช้ลำแสงนิวตรอนความร้อนพลังงานต่ำ คุณสมบัติในการเจาะเนื้อเยื่อที่น้อยของลำแสงนิวตรอนความร้อน มีความสามารถเพียงพอที่จะสะท้อนกับผิวและยกพนังกระดูกขึ้นเพื่อที่จะฉายรังสีไปที่สมองที่โผล่อกมาโดยตรง ขั้นตอนนี้ได้ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดย Sweet และเพื่อนร่วมงานของเขา", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#15", "text": "* เหล่านี้เป็นเพียงสองตัวแทนจัดส่งโบรอนที่มีการใช้ในทางคลินิก", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#8", "text": "ปริมาณรังสีที่ส่งมอบให้กับเนื้องอกและเนื้อเยื่อปกติในช่วงการทำ BNCT จะเกิดจากการสะสมของพลังงานที่ได้จากสามประเภทของรังสีจากการแตกตัวเป็นไอออนโดยตรงที่แตกต่างกันใน การถ่ายโอนพลังงานเชิงเส้น (LET) ของพวกมันซึ่งเป็นอัตราการสูญเสียพลังงานไปตามเส้นทางของอนุภาคที่แตกตัวเป็นไอออนดังนี้:", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "758183#1", "text": "การกระตุ้นนิวตรอนเป็นวิธีที่พบบ่อยเท่านั้นที่สามารถเหนี่ยวนำวัสดุที่มีความเสถียรให้กลายเป็นสารกัมมันตรังสีโดยเนื้อแท้ของมันเอง วัสดุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั้งหมด รวมทั้งอากาศ น้ำและดินสามารถถูกเหนี่ยวนำ (กระตุ้น) โดย การจับยึดนิวตรอน ให้เปล่งกัมมันตภาพรังสีในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยเป็นผลมาจากการผลิตไอโซโทปรังสีที่อุดมไปด้วยนิวตรอน บางอะตอมต้องใช้นิวตรอนมากกว่าหนึ่งตัวเพื่อให้มันกลายเป็นไม่เสถียร ซึ่งทำให้พวกมันยากขึ้นที่จะกระตุ้นเพราะความน่าจะเป็นของการจับยึดสองเท่าหรือสามเท่าโดยหนึ่งนิวเคลียสจะยากกว่าของการจับยึดเพียงครั้งเดียว ยกต้วอย่างเช่นน้ำ มันถูกสร้างขึ้นจากไฮโดรเจนและออกซิเจน ไฮโดรเจนต้องมีการจับยึดสองครั้งเพื่อให้บรรลุความไม่เสถียรเป็นไฮโดรเจน-3 (ทริเทียม) ในขณะที่ออกซิเจนธรรมชาติ (ออกซิเจน-16) ต้องจับยึดสามครั้งเพื่อให้กลายเป็นออกซิเจน-19 ที่ไม่เสถียร ดังนั้นน้ำค่อนข้างยากที่จะกระตุ้นเมื่อเทียบกับเกลือทะเล (โซเดียมคลอไรด์) ซึ่งอะตอมของทั้งโซเดียมและคลอรีนจะไม่เสถียรด้วยการจับยึดเพียงครั้งเดียวในแต่ละอะตอม ข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้ตระหนักถึงตั้งแต่แรกที่ชุดทดสอบอะตอมใน Operation Crossroads ในปี 1946", "title": "การกระตุ้นนิวตรอน" }, { "docid": "760231#13", "text": "ปัจจัยถ่วงทางชีวภาพได้ถูกนำมาใช้ในทุกการทดลองทางคลินิกล่าสุดกับผู้ป่วยที่มีระดับสูงของ gliomas โดยการใช้ boronophenylalanine (BPA) ร่วมกับลำแสงนิวตรอนเอพิเทอร์มัล ส่วนประกอบ 10B(n,α)7Li ของปริมาณรังสีที่ให้กับหนังศีรษะจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของโบรอนที่วัดได้ในเลือดในช่วงเวลาของ BNCT ที่สมมติว่า เลือดต่ออัตราส่วนความเข้มข้นของโบรอนในหนังศีรษะเป็น 1.5:1 และปัจจัยประสิทธิภาพทางชีวภาพรวม (English: compound biological effectiveness CBE)) สำหรับ BPA ในผิวหนังมีค่าเท่ากับ 2.5 ปัจจัยของ ประสิทธิผลทางชีวภาพสัมพันธ์ (English: relative biological effectiveness (RBE)) เท่ากับ 3.2 ได้ถูกนำมาใช้กับเนื้อเยื่อทั้งหมดสำหรับส่วนประกอบ LET ที่สูงของลำแสงเช่นอนุภาคแอลฟา ปัจจัย RBE ถูกใช้ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพทางชีววิทยาของชนิดที่แตกต่างกันของรังสีจากการแตกตัวเป็นไอออน ส่วนประกอบที่มี LET สูงจะรวมถึงโปรตอนที่เกิดจากปฏิกิริยาการจับยึดที่มีไนโตรเจนเนื้อเยื่อปกติและโปรตอนหดตัวที่เป็นผลมาจากการปะทะกันของนิวตรอนเร็วกับไฮโดรเจน[12] มันจะต้องเน้นย้ำว่าการกระจายเนื้อเยื่อของตัวแทนการจัดส่งของโบรอนในมนุษย์ควรจะคล้ายกับที่มีในแบบจำลองของสัตว์ทดลองเพื่อที่จะใช้ค่าที่ได้มาจจาการทดลองสำหรับการประมาณของปริมาณ รังสี สำหรับการแผ่รังสีจากคลินิก[12] สำหรับข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัดปริมาณรังสีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และ การวางแผนเพื่อการบำบัด ผู้อ่านที่สนใจจะหาอ่านได้จากการทบทวนแบบครอบคลุมในหัวข้อนี้[13]", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#19", "text": "ผู้ป่วยประมาณ 200 กว่าคนได้รับการรักษาโดย Hatanaka และต่อมาจากเพื่อนร่วมงานของเขา นายนาคากาวา[20] เนื่องจากความแตกต่างของประชากรผู้ป่วย ในแง่ของการวินิจฉัยด้วยกล้องจุลทรรศ์ของเนื้องอกและเกรด ขนาดของมัน และความสามารถของผู้ป่วยที่จะดำเนินกิจกรรมประจำวันตามปกติ (สถานะประสิทธิภาพ Karnofsky) มันเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพการรักษา อย่างไรก็ตามข้อมูลการรอดชีวิตไม่เลวร้ายยิ่งไปกว่าผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานในเวลานั้น และมีผู้ป่วยหลายคนที่รอดชีวิตในระยะยาว และส่วนใหญ่น่าจะเป็นเพราะพวกเขาได้รับการเยียวยาจากเนื้องอกในสมองของพวกเขา[21]", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#12", "text": "เนื่องจากทั้งเนื้องอกและเนื้อเยื่อปกติโดยรอบจะปรากฏอยู่ในสนามรังสี แม้จะมีลำแสงนิวตรอนเอพิเทอร์มัลอยู่ด้วย มันก็จะมีปริมาณรังสีพื้นหลังที่ไม่เจาะจงและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ประะกอบด้วยรังสีที่มี LET ทั้งสูงและต่ำ แต่ความเข้มข้นที่สูงกว่าของ 10B ในเนื้องอกจะส่งผลให้มันได้รับปริมาณรังสีทั้งหมดสูงกว่าเนื้อเยื่อปกติท​​ี่อยู่ติดกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการเพิ่มผลกำไรของการรักษาด้วย BNCT[12] ปริมาณรังสีรวม (Gy) ที่ส่งมอบให้กับเนื้อเยื่อใด ๆ สามารถแสดงในหน่วยเทียบเท่าโฟตอนได้ในรูปผลรวมของแต่ละส่วนประกอบยา LET สูงคูณด้วยปัจจัยถ่วง (GyW) ซึ่งขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพด้านรังสีชีวภาพที่เพิ่มขึ้นของแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้ .", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#7", "text": "ในทางทฤษฎี BNCT เป็นชนิดที่เลือกสรรอย่างสูงของ การบำบัดด้วยรังสี ที่สามารถกำหนดเป้​​าหมายไปที่เซลล์มะเร็งได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายจากรังสีต่อเซลล์ปกติและเนื้อเยื่อท​​ี่อยู่ติดกัน ปริมาณรังสีสูงถึง 60-70 Gy สามารถฉายไปยังเซลล์มะเร็งในหนึ่งหรือสองครั้งของการจ่ายยาเมื่อเทียบกับ 6-7 สัปดาห์สำหรับการฉายรังสีโฟตอนด้วยลำแสงภายนอกโดยทั่วไป แต่ประสิทธิภาพของ BNCT จะขึ้นอยู่กับการกระจายแบบเนื้อเดียวกันของ 10B ภายในเนื้องอกและเงื่อบไขนี้ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาหลักที่ยังแกัไม่ได้ที่จำกัดความสำเร็จของมันอยู่", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#17", "text": "มันไม่ได้มีการศึกษาจนถึงทศวรรษที่ 1950 ที่การทดลองทางคลินิกครั้งแรกถูกริเริ่มโดย Farr ที่สถาบันวิจัยแห่งชาติ Brookhaven (BNL) ในนิวยอร์ก[16] และโดย Sweet และ บราวเนลที่โรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซต (MGH) โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (MITR) ของ Massachusetts Institute of Technology (MIT)[17] และสารประกอบโบรอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำอีกหลายอย่างที่แตกต่างกันเนื่องจากโบรอนมีส่วนประกอบที่เป็นยา อย่างไรก็ตามผลการศึกษาเหล่านี้ไม่เป็นไปตามที่หวังและไม่มีการทดลองทางคลินิกอย่างอื่นอีกในประเทศสหรัฐอเมริกาจน​​ถึงทศวรรษที่ 1990", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#6", "text": "ความหลากหลายของตัวแทนการส่งมอบของธาตุโบรอนได้มีการสังเคราะห์ แต่ก็มีเพียงสองตัวเท่านั้นที่มีการใช้ในการทดลองทางคลินิกในปัจจุบัน ตัวแรกได้ถูกนำมาใช้เป็นหลักในประเทศญี่ปุ่น มันคือ polyhedral borane anion, sodium borocaptate or BSH (Na2B12H11SH), ตัวที่สองได้ถูกนำมาใช้ในการทดลองทางคลินิกในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นและไม่นานมานี้อาร์เจนตินาและไต้หวัน หลังจากการบริหารงานของ BPA หรือ BSH โดยฉีดเข้าเส้นเลือดดำ, จุดเกิดเนื้องอกจะมีการฉายรังสีด้วยนิวตรอนที่มีแหล่งกำเนิดเป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ถูกดัดแปลงเป็นพิเศษ จนถึงปี 1994 ลำแสงนิวตรอนพลังงานต่ำ (<0.5 eV) ถูกนำมาใช้เป็นหลักในประเทศญี่ปุ่น[5] แต่เนื่องจากพวกมันมีความลึกของการเจาะเข้าไปในเนื้อเยื่อที่จำกัด , ลำแสงนิวตรอนเอพิเทอร์มัลพลังงานที่สูงกว่า (>.5eV<10 keV) ซึ่งมีความลึกของการเจาะมากขึ้นได้ถูกนำมาใช้ในการทดลองทางคลินิกในสหรัฐอเมริกา [6][7] ยุโรป[8][9] และญี่ปุ่น[10][11]", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "310590#3", "text": "Pu-240, Pu-241, Pu-242 สามารถสร้างขึ้นจากการจับยึดนิวตรอน ไอโซโทปมวลคี่ Pu-239 และ Pu-241 มีโอกาสประมาณ 3/4 ของฟิชชันบนการจับยึดของนิวตรอนความร้อนและมีโอกาสประมาณ 1/4 ที่จะจับยึดนิวตรอนไว้ได้และเปลี่ยนเป็นไอโซปอื่น ไอโซปโทปมวลคู่เป็นวัสดุต้นกำเนิดไม่ได้เป็นวัสดุฟิสไซล์และมีความเป็นไปได้โดยรวมของการยึดจับนิวตรอน (ภาคตัดขวาง) ต่ำกว่า เพราะฉะนั้นไอโซปโทปเหล่านี้จึงมีแนวโน้มเกิดการสะสมในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้ในเครื่องปฏิกรณ์อุณหภาพที่อยู่ในทุกๆโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในปัจจุบัน ในพลูโทเนียมที่มีการนำกลับมาใช้ใหม่ในอย่างเครื่องปฏิกรณ์อุณหภาพอย่างเชื้อเพลิง MOX () ก็มี Pu-240 เป็นไอโซโทปที่เป็นองค์ประกอบส่วนมาก พลูโทเนียมทุกไอโซโทปและแอกทิไนด์อื่นๆสามารถเกิดฟิชชันได้ด้วยนิวตรอนเร็ว Pu-240 มีการดูดซับนิวตรอนความร้อนปานกลางในภาคตัดขวาง การเกิดขึ้นของ Pu-241 ในเครื่องปฏิกรณ์อุณหภาพเป็นส่วนสำคัญที่มากพอๆกับการสร้าง Pu-239", "title": "ไอโซโทปของพลูโทเนียม" }, { "docid": "760231#11", "text": "3. อนุภาคแอลฟา ประจุสูง LET สูง (นิวเคลียสของ 4He) ที่ถูกถอดเสื้อผ้าและ ลิเธียม-7 ไอออน, ถูกปล่อยออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ของการจับยึดนิวตรอนความร้อนและปฏิกิริยาฟิชชันกับ 10B [10B(n,α)7Li]", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#16", "text": "ความท้าทายที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาตัวแทนการจัดส่งโบรอนได้เป็นความต้องการสำหรับเป้​​าหมายเนื้องอกที่กำหนดเพื่อให้บรรลุความเข้มข้นของโบรอนเพียงพอที่จะผลิตปริมาณการรักษาด้วยรังสีที่ตำแหน่งของเนื้องอกด้วยการฉายรังสีน้อยที่สุดไปที่เนื้อเยื่อปกติ การทำลายแบบกำหนดของเซลล์เนื้องอกในสมอง (Glioma) ในบริเวณเซลล์ปกติหมายถึงความท้าทายที่ยิ่งใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับโรคมะเร็งที่ตำแหน่งอื่น ๆ ในร่างกาย เนื่องจาก gliomas ที่เป็นมะเร็งมีภาวะแทรกซึมอย่างสูงต่อสมองปกติ สร้างความหลากหลายในการตรวจชิ้นเนื้อและความแตกต่างกันในรายละเอียดจีโนมของพวกมัน ตามหลักการ NCT คือการรักษาด้วยรังสีที่สามารถเลือกที่จะจัดส่งปริมาณที่รุนแรงอย่างมากของรังสีไปยังเซลล์เนื้องอกในขณะที่ไว้ชีวิตเซลล์ปกติท​​ี่อยู่ติดกัน", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#2", "text": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอนเป็นระบบเลขฐานสองที่ใช้สององค์ประกอบที่แยกจากกันเพื่อให้บรรลุผลการรักษา แต่ละส่วนประกอบในตัวของมันเองเป็นแบบไม่เกี่ยวกับการทำลายเซลล์มะเร็ง (English: non-tumoricidal) แต่เมื่อพวกมันถูกนำมารวมเข้าด้วยกันพวกมันจะมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งอย่างรุนแรง", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "109379#18", "text": "ประเภทของเครื่องปฏิกรณ์ส่วนใหญ่มีความไวต่อกระบวนการที่เรียกว่า xenon poisoning, หรือหลุมไอโอดีน. Xenon-135 ที่ถูกผลิตขึ้นในขั้นตอนฟิชชั่นจะทำหน้าที่เป็น \"neutron poison\" ที่ดูดซับนิวตรอนและดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะปิดเครื่องปฏิกรณ์ลง. การสะสมของ Xenon-135 สามารถควบคุมได้โดยการรักษาระดับพลังงานให้สูงพอที่จะทำลายมันให้เร็วที่สุดเท่าที่มันถูกผลิตออกมา. ฟิชชั่นยังผลิตไอโอดีน-135 อีกด้วย ซึ่งส่งผลให้สลายตัว(ทีมีครึ่งชีวิตต่ำกว่าเจ็ดชั่วโมง) เป็นซีนอน-135 ใหม่. เมื่อเครื่องปฏิกรณ์ถูกปิดตัวลง, ไอโอดีน-135 ยังคงสลายตัวไปเป็นซีนอน-135, ทำให้การรีสตาร์ทเครื่องปฏิกรณ์ยากมากขึ้นเป็นหนึ่งหรือสองวัน. สถานะชั่วคราวนี้คือ \"หลุมไอโอดีน\". ถ้าเครื่องปฏิกรณ์ที่มีความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาส่วนเกินมากเพียงพอ, มันก็สามารถเริ่มต้นใหม่ได้. เมื่อซีนอน-135 ส่วนเกินจะถูกแปรไปเป็นซีนอน-136 ซึ่งไม่ใช่ neutron poison, ภายในไม่กี่ชั่วโมงเครื่องปฏิกรณ์จะประสบกับ \"xenon burnoff (power) transient\". แท่งควบคุมจะต้องถูกกดให้ลึกมากขึ้นเพื่อแทนที่การดูดซึมของนิวตรอนจากซีนอน-135 ที่หายไป. ความล้มเหลวในการทำตามขั้นตอนดังกล่าวอย่างถูกต้องเป็นขั้นตอนสำคัญในการเกิดภัยพิบัติเชอร์โนบิล[10].", "title": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์" }, { "docid": "760231#10", "text": "2. โปรตอน LET สูง ที่ผลิตโดยกระเจิงของนิวตรอนเร็วและจากการจับยึดของนิวตรอนความร้อนโดยอะตอมไนโตรเจน [14N(n,p)14C]; และ", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "59843#5", "text": "ถ้าความแตกต่างกันของพลังงานระหว่างอะตอมพ่อแม่และอะตอมลูกสาวมีน้อยกว่า 1.022 MeV, การปล่อยโพซิตรอนเป็นสิ่งต้องห้ามเนื่องจากพลังงานที่ใช้ในการสลายมีไม่เพียงพอที่จะยอมให้เกิดขึ้น ดังนั้นการจับยึดอิเล็กตรอนจึงเป็นโหมดการสลายตัวแต่เพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่นรูบิเดียม-83 (37 โปรตอน, 46 นิวตรอน) จะสลายตัวไปเป็น Krypton-83 (36 โปรตอน, 47 นิวตรอน) โดยการจับยึดอิเล็กตรอนแต่เพียงอย่างเดียว (เพราะความแตกต่างพลังงานหรือพลังงานสลายมีค่าประมาณ 0.9 MeV เท่านั้น)", "title": "การจับยึดอิเล็กตรอน" }, { "docid": "310590#6", "text": "Pu-238 ไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ปกติที่ผลิตเป็นจำนวนมากในวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แต่ส่วนหนึ่งที่ผลิตจากเนปทูเนียม-237 โดยการจับยึดนิวตรอน (ปฏิกิริยานี้สามารถใช้ร่วมกับเนปทูเนียมบริสุทธิ์ในการผลิต Pu-238 ที่ค่อนข้างจะเป็นอิสระจากไอโซโทปอื่นๆของพลูโทเนียมอีกด้วย สำหรับใช้ในเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี) โดย (n, 2n) ปฏิกิริยาของนิวตรอนเร็วใน Pu - 239 หรือโดยการสลายให้อนุภาคแอลฟาของคูเรียม-242 ซึ่งถูกสร้างโดยจับยึดนิวตรอนจาก Am-241 มันมีนิวตรอนความร้อนตัดตามขวางที่สำคัญสำหรับการฟิชชัน แต่ก็มีแนวโน้มที่จะจับยึดนิวตรอนและกลายเป็น Pu-239.", "title": "ไอโซโทปของพลูโทเนียม" }, { "docid": "758161#1", "text": "การจับยึดนิวตรอนโดยผลผลิตฟิชชันครึ่งชีวิตสั้นจะถูกเรียกว่า การวางยาพิษเครื่องปฏิกรณ์ (); การจับยึดนิวตรอนโดยผลผลิตฟิชชันชีวิตยาวหรือเสถียรจะถูกเรียกว่า reactor slagging.", "title": "พิษนิวตรอน" }, { "docid": "760231#9", "text": "1. รังสีแกมมา LET ต่ำ ที่เป็นผลส่วนใหญ่มาจากการจับยึดของนิวตรอนความร้อนโดยอะตอมไฮโดรเจนเนื้อเยื่อปกติ [1H(n,γ)2H] (อ่านว่า 1H + n ได้ γ + 2H);", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "758175#1", "text": "การจับยึดนิวตรอนมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์นิวเคลียสโดยรังสีคอสมิกของธาตุที่หนัก ในดวงดาว มันสามารถเกิดขึ้นในสองวิธี ได้แก่ กระบวนการอย่างรวดเร็ว (r-process) หรือกระบวนการอย่างช้า (s-process) นิวเคลียสของมวลที่มากกว่า 56 ไม่สามารถเกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ความร้อนได้ (เช่นโดยนิวเคลียร์ฟิวชัน) แต่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการจับยึดนิวตรอน", "title": "การจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#1", "text": "ทั้งหมดของประสบการณ์ทางคลินิกกับ NCT จนถึงวันนี้จะทำกับไอโซโทปของโบรอน-10ที่ไม่มีกัมมันตรังสี และถูกเรียกว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[2059,2105,3,3]}'>การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอนจากธาตุโบรอน (BNCT)[2] ในเวลานี้ การใช้ไอโซโทปที่ไม่มีกัมมันตรังสีอื่น ๆ เช่น gadolinium ได้ถูกจำกัด และจนถึงปัจจุบัน มันก็ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ในทางคลินิก. BNCT ได้รับการประเมินทางคลินิกในฐานะที่เป็นทางเลือกในการรักษาด้วยรังสีธรรมดาสำหรับการรักษาเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรง (gliomas) และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ถูกใช้ในการรักษาโรคมะเร็งหัวและลำคอที่ระบาดเฉพาะที่และกำเริบ[3]", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "758309#6", "text": "เพื่อให้บรรลุปฏิกิริยาลูกโซ่ฟิวชั่นที่มีประสิทธิภาพ นิวตรอนที่ถูกผลิตในระหว่างฟิชชันจะต้องถูกจับยึดโดยนิวเคลียสที่ทำฟิชชันได้ จากนั้นก็ทำการแยกนิวเคลียสออก แล้วก็ปลดปล่อยนิวตรอนมากขึ้นไปอีก ในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบฟิชชันส่วนมาก เชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะไม่ถูกกลั่นให้ดีพอที่จะสามารถที่จะดูดซับนิวตรอนเร็วที่จะยืดยาวปฏิกิริยาลูกโซ่ฟิชชันให้ดำเนินการต่อไป และเนื่องจากมีการลดลงของ ภาคตัดขวาง ของนิวตรอนพลังงานสูง ดังนั้น ตัวหน่วงนิวตรอน จะต้องถูกนำมาใช้เพื่อชะลอความเร็วของนิวตรอนเร็วลงไปที่ความเร็วของนิวตรอนความร้อนเพื่อที่จะเปิดให้มีการดูดซึมที่เพียงพอ ตัวหน่วงนิวตรอนที่พบบ่อยได้แก่ แกรไฟท์, น้ำเบา (น้ำทั่วไป), และน้ำหนัก เครื่องปฏิกรณ์ไม่กี่ตัว (เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบนิวตรอนเร็ว) และ อาวุธนิวเคลียร์ ทั้งหมดจะต้องพึ่งพานิวตรอนเร็ว ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในการออกแบบและในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้ องค์ประกอบของสาร เบริลเลียม จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเนื่องจากความสามารถของมันในการทำหน้าที่เป็นตัวเบี่ยงเบนนิวตรอนหรือเลนส์ มันยอมให้มีการใช้วัสดุฟิสไซล์ในปริมาณที่น้อยกว่าและเป็นเบื้องต้นของการพัฒนาทางเทคนิคที่นำไปสู่​​การสร้าง ระเบิดนิวตรอน", "title": "การแผ่รังสีจากนิวตรอน" }, { "docid": "760231#5", "text": "ทั้งอนุภาคแอลฟาและลิเธียมไอออนจะทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนระยะใกล้ในบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่เกิดปฏิกิริยา โดยมีระยะห่างประมาณ 5–9ไมโครเมตร ซึ่งระยะดังกล่าวเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของเซลล์เป้าหมาย ความรุนแรงของปฏิกิริยาการจับยึดจะถูกจำกัดอยู่ที่โบรอนที่มีเซลล์ เพราะฉะนั้น BNCT จึงถือได้ว่าเป็นการบำบัดด้วยรังสีของเป้าหมายทั้งประเภททางชีวภาพและทางกายภาพ ความสำเร็จของ BNCT จะขึ้นอยู่กับการส่งมอบแบบเลือกของปริมาณที่เพียงพอของ 10B ให้กับเนื้องอกด้วยเพียงปริมาณน้อยเฉพาะจุดรอบ ๆ เนื้อเยื่อปกติ[4] ดังนั้น เนื้อเยื่อปกติถ้าพวกมันไม่ได้รับปริมาณที่เพียงพอของโบรอน-10 พวกมันจะสามารถรอดจากการจับยึดจากนิวเคลียสและปฏิกิริยาฟิชชัน ความทนทานของเนื้อเยื่อปกติจะถูกกำหนดโดยปฏิกิริยาการจับยึดนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อปกติไฮโดรเจนและไนโตรเจน", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "758175#0", "text": "การจับยึดนิวตรอน () เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบหนึ่งที่ นิวเคลียสของอะตอม หนึ่งตัวและ นิวตรอน หนึ่งตัวหรือมากกว่ามีการชนกันและรวมเข้าด้วยกันทำให้เกิดเป็นนิวเคลียสตัวใหม่ที่หนักขึ้น เนื่องจากนิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้า พวกมันจึงสามารถแทรกตัวเข้าสู่นิวเคลียสได้ง่ายกว่าโปรตอนประจุบวก ซึ่งจะถูกไล่ออกไปโดยไฟฟ้าสถิต", "title": "การจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#20", "text": "การทำ BNCT ให้กับผู้ป่วยเนื้องอกในสมองและบางคนที่มีเนื้องอกผิวหนังก็กลับมาดำเนินการต่อในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงกลางทศวรรษที่​​ 1990 กับเครื่องปฏิกรณ์เพื่อการวิจัยทางการแพทย์ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Brookhaven (BMRR) และฮาร์วาร์ด/Massachusetts Institute of Technology (MIT) โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์เอ็มไอทีเพื่อการวิจัย (MITR) เป็นครั้งแรก BPA ถูกใช้เป็นตัวแทนการจัดส่งโบรอน และผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีด้วยลำแสงตรงของนิวตรอนเอพิเทอร์มัลพลังงานที่สูงกว่า ซึ่งมีคุณสมบัติทะลุเนื้อเยื่อมากกว่านิวตรอนความร้อน นี้ได้รับการยอมรับอย่างดี แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญใน MSTS เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบดั้งเดิม[22][23]", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#4", "text": "10B + nth → [11B] *→ α + 7Li + 2.31 MeV", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" }, { "docid": "760231#3", "text": "การบำบัดด้วยจับยึดนิวตรอนจากธาตุโบรอน (English: Boron neutron capture therapy (BNCT)) จะมีพื้นฐานมาจากการจับยึดจากนิวเคลียสและปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันที่เกิดขึ้นเมื่อโบรอน 10ที่ไม่มีกัมมันตภาพรังสี(ที่เกิดขึ้นจากประมาณ 20% ของธาตุโบรอนธรรมชาติ) ถูกทำให้มีการฉายรังสีที่มีนิวตรอนพลังงานที่เหมาะสมเพื่อให้ได้โบรอน-11 (11B*)ที่ตื่นตัว จากนั้นมันจะสลายตัวไปเป็นอนุภาคแอลฟาพลังงานสูง (นิวเคลียสของ 4He ที่\"ถูกเปลื้องผ้าออก\" ) และนิวเคลียสของ ลิเธียม-7 (7Li) พลังงานสูง ปฏิกิริยานิวเคลียร์จะเป็นดังนี้:", "title": "การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน" } ]
3931
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์เมื่อไหร่?
[ { "docid": "4261#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี", "title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
[ { "docid": "551810#2", "text": "เจ้าพิมพิสารได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็น\"พระยาราชวงศ์\" เมื่อพระยาอินทวิไชยผู้เป็นราชมาตุลาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2390 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็น\"พระยาแพร่\" ขณะมีชันษาได้ 34 ปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระยาพิมพิสารไม่ลงไปเข้าเฝ้า จึงไม่ได้รับพระราชทานนามใหม่ขึ้นเป็นเจ้าอย่างเจ้านครเชียงใหม่ เจ้านครลำพูน เจ้านครลำปาง และเจ้านครเมืองน่าน", "title": "พระยาพิมพิสารราชา" }, { "docid": "4249#45", "text": "พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ได้แก่ \"พระมหาพิชัยมงกุฎ\" หนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งการสร้างพระลัญจกรประจำพระองค์นั้น จะใช้แนวคิดมาจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ \"มงกุฎ\" นั่นเอง โดยพระราชลัญจกรจะเป็นตรางา ลักษณะกลมรี ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา ซึ่งแสดงถึงทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านอักษรศาสตร์และดาราศาสตร์ ส่วนทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์ เพชร ซึ่งมาจากพระฉายาเมื่อพระองค์ผนวชว่า \"วชิรญาณ\"", "title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "181633#1", "text": "ในปี พ.ศ. 2452 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ว่าจ้าง บริษัทโฮวาร์ด เออร์สกิน สร้างตึกเพื่อใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจะใช้เป็นที่ประทับแรมของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกรณีที่พระองค์เสด็จมายังมณฑลปราจีนบุรีอีก แต่พระองค์เสด็จสรรคตเสียก่อนในปีพุทธศักราช 2453 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2455 ตึกหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชวงศ์อีกหลายพระองค์ เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมตึกหลังนี้เป็นมรดกตกทอดมาถึงพระยาอภัยวงศ์วรเศรฐ และถวายเป็นของทูนพระขวัญ ในวันอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 (พระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ ทรงมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานบ้านและที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิ์ขาดแก่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี", "title": "โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร" }, { "docid": "41622#0", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หรือ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้านพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย (ธิดาพระอินทรอำไพ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 แรม 10 ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก จ.ศ. 1184 ตรงกับวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2365 ในสมัย ร.2 พระองค์เจ้านพวงศ์ เป็นพระโอรสหนึ่งในสองพระองค์ที่ประสูติก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงขึ้นครองราชย์ (อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร) แรกประสูติ เป็น หม่อมเจ้านพวงศ์ พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ในสมัย ร.4 จึงได้เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส" }, { "docid": "4249#10", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่พระมงกุฎ วชิรญาณะ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าพระมงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แต่พระองค์ยังไม่ทรงลาผนวชและตรัสว่าต้องอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่ควบคุมกำลังทหารเป็นอันมากได้", "title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "41626#0", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร หรือ พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ วรฤทธิราชมกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมเจ้าน้อย ธิดาของพระอินทรอำไพ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์) ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 14 ค่ำ ปีวอกฉศก จ.ศ. 1186 ตรงกับวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2367 ในสมัย ร.2 พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ เป็นพระโอรสหนึ่งในสองพระองค์ที่ประสูติก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะขึ้นครองราชย์ (อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส) แรกประสูติ เป็น หม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ในสมัย ร.4 จึงได้เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร" }, { "docid": "58216#0", "text": "เนื่องด้วยปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ.117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ในรัชกาลที่ 5 เป็นเวลายาวนาน 2 เท่า ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดจัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ทวีธาภิเศก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ถวายบรมอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิฉัย และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ", "title": "พระราชพิธีทวีธาภิเศกในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "47445#0", "text": "ตำหนักสวนจิตรลดา เป็นตำหนักซึ่งเดิมเป็นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ อยู่ใกล้กับวังปารุสกวัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ขึ้นบริเวณทุ่งส้มป่อย และทรงย้ายไปประทับที่นั่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำหนักสวนจิตรลดา แลกเปลี่ยนกับที่ดินบริเวณท่าวาสุกรี ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถแต่เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมได้ทรงดำรัสสร้างหอขึ้นมาอีกแห่งอยู่ที่จังหวัด นนทบุรี", "title": "ตำหนักสวนจิตรลดา" }, { "docid": "209640#28", "text": "พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดสร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ครบรอบวันสถาปนาโรงเรียน 96 ปี ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งโรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน ชื่อ \"โรงเรียนวัดสุทธิวราราม\" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "4281#15", "text": "พระองค์ทรงปฏิบัติราชการโดยพระวิริยะอุตสาหะ ปรากฏพระเกียรติคุณและสติปัญญาจนสามารถรับราชการสำคัญสนองพระเดชพระคุณต่างพระเนตรพระกรรณได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[7] ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตเพียงไม่กี่วัน", "title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "4219#8", "text": "ลำดับรูปพระนามขึ้นครองราชย์สิ้นสุดการครองราชย์รัชกาลที่ 1พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช6 เมษายน พ.ศ. 23257 กันยายน พ.ศ. 2352รัชกาลที่ 2พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย7 กันยายน พ.ศ. 235221 กรกฎาคม พ.ศ. 2367รัชกาลที่ 3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว21 กรกฎาคม พ.ศ. 23672 เมษายน พ.ศ. 2394รัชกาลที่ 4พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว6 เมษายน พ.ศ. 23941 ตุลาคม พ.ศ. 2411รัชกาลที่ 5พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว1 ตุลาคม พ.ศ. 241123 ตุลาคม พ.ศ. 2453รัชกาลที่ 6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว23 ตุลาคม พ.ศ. 245326 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468รัชกาลที่ 7พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว26 พฤศจิกายน พ.ศ. 24682 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478) (สละราชสมบัติ)รัชกาลที่ 8พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478)9 มิถุนายน พ.ศ. 2489รัชกาลที่ 9พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช9 มิถุนายน พ.ศ. 248913 ตุลาคม พ.ศ. 2559รัชกาลที่ 10สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร13 ตุลาคม พ.ศ. 2559ยังอยู่ในราชสมบัติ", "title": "ราชวงศ์จักรี" }, { "docid": "56297#3", "text": "ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่\nและได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์", "title": "กบฏ ร.ศ. 130" }, { "docid": "9091#5", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้สวรรคต เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร กราบทูลว่าจะเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎตรัสว่าท่านฟากข้างโน้น (หมายถึงเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์) มีพระชะตาแรงต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ให้ถวายราชสมบัติแก่ท่านนั้นด้วย เพราะหากพระองค์รับราชสมบัติเพียงพระองค์เดียวจะเกิดอัปมงคล ด้วยไปกีดกันบารมีของสมเด็จพระอนุชา ถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์เหมือนอย่างสมเด็จพระนเรศวรสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยก็จะพ้นจากอัปมงคล เจ้าพระยาพระคลังจึงไปเข้าเฝ้าเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ณ พระราชวังเดิมตามรับสั่ง[1] เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เหล่าขุนนางมาประชุมพร้อมกันแล้วกราบทูลเชิญทั้งสองพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ[11] เมื่อเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว จึงมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ก็ทรงพระปรีชารอบรู้กิจการต่าง ๆ มีผู้ใหญ่ผู้น้อยนิยมนับถือมาก สมควรที่จะพระราชทานยศใหญ่กว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลแต่ก่อน ๆ[12] แต่เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯ ยังไม่ได้รับพระสุพรรณบัฏตั้งพระนาม ทำให้ไม่มีพระนามเดิม ดูเป็นการต่ำทรามไป จึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏตั้งพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอิศเรศจุฑามณี ชั้นหนึ่งก่อน[13] แล้วจึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏในการพระราชพิธีบวรราชาภิเษกในวันที่ 25 พฤษภาคม ว่า", "title": "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "45112#1", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์จึงเสด็จมาประทับเป็นครั้งคราว ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ จึงทรงเปลี่ยนนามพระที่นั่งเป็น พระที่นั่งบรมพิมาน ตามนามพระที่นั่งองค์ใหญ่ อันป็นพระวิมานที่ประทับในพระอภิเนาว์นิเวศน์ของสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชที่รื้อไป ", "title": "พระที่นั่งบรมพิมาน" }, { "docid": "260409#4", "text": "จากที่กล่าวข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่าวัดมณีฯ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ด้วยเป็นวัดหลวง ที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์และด้วยเหตุที่สภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีน้ำล้อมรอบ เหมาะแก่การเสด็จประพาสประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ จึงทำให้มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล และเสด็จมาประทับพักผ่อนหลายพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เคยเสด็จท้องพรหมาสตร์เล่นสักวาเมื่อวันขึ้นสิบค่ำ เดือนสิบสอง ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. 2415 ) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชทานกฐิน 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2458 และ พ.ศ. 2469 การเสด็จแต่ละครั้งก็จะประทับ ณ พระตำหนักแพ กลางท้องพรหมาสตร์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เคยเสด็จเมื่อตอนลาผนวชก่อนขึ้นเสวยราชย์ หรือมีพระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุ์วงศ์วรเดช และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็เคยเสด็จถวายพระกฐิน ณ วัดนี้เช่นกัน ", "title": "วัดมณีชลขัณฑ์" }, { "docid": "70063#20", "text": "เหตุการณ์ที่เป็นเหตุสำคัญในการลดพระอิสริยยศเห็นจะเป็นเมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซ้อมละครเรื่องพระร่วง ที่พระที่นั่งสโมสรเสวกมาตย์ ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ครั้งนั้น ในบทบาทการแสดงต้องมีการแตะเนื้อต้องตัว เจรจาตอบโต้ และผลักไสกันระหว่างนายมั่น (แสดงโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับสาวใช้ของนางจันทร์ (แสดงโดยคุณเครือแก้ว อภัยวงศ์ (พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี)) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ผู้ร่วมแสดงทุกคนแสดงอย่างสมจริง ภาพนั้นคงไม่สบพระทัยของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ผู้ประทับทอดพระเนตรการซ้อมอยู่ชั้นบน จึงเกิดเหตุการณ์ฮาป่าขึ้น คือสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีทรงกระทืบพระบาท และโปรดให้ข้าหลวงของพระองค์ โห่ฮาและใช้เท้าตบพื้นพระที่นั่ง ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่เบื้องล่าง แสดงให้เห็นว่าพระองค์ ไม่ทรงพอพระทัย เป็นอันตะลึงงันกันไปทั้งโรงละคร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหยุดการซ้อม และเสด็จขึ้นทันที", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา" }, { "docid": "6107#5", "text": "วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 พระองค์ได้รับสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศเป็น \"พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส สุนทรพรตวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธ์ธรรมวรยุต ศรีวิสุทธิคณนายก สาสนดิลกธรรมานุวาทย์ บริสัษยนารถสมณุดมบรมบพิตร\" และเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก แต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่แห่งพระสงฆ์ ทั้งกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาเขต และเลื่อนพระอิสริยยศจากกรมหลวงขึ้นเป็นกรมพระยา มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า ", "title": "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส" }, { "docid": "4775#9", "text": "ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไทยยังคงทำสงครามกับพม่ามาโดยตลอดซึ่ง เจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนในการทำสงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษ บทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราชสำนักจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งยังผนวชอยู่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดให้สร้างพระราชวัง วัด และพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัวเมืองและพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์” หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “วังบ้านปืน” และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและน้ำทะเลอาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวัง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ขึ้นที่ชายหาดชะอำเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์", "title": "จังหวัดเพชรบุรี" }, { "docid": "4261#64", "text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เพื่อโรงเรียนแห่งนี้เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาอย่างแท้จริงแก่กุลบุตรชาวไทย และเป็นเสมือนพระอารามหลวงประจำรัชกาล และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า \"โรงเรียนมหาดเล็กหลวง\"[94] ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามโรงเรียนให้ใหม่ว่า “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสืบต่อไป[95]", "title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "578054#4", "text": "ครั้งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว คราวเสด็จฯ เยี่ยมหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เสด็จฯ ประทับแรม 3 ราตรี ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน 2460", "title": "พระราชวังรัตนรังสรรค์" }, { "docid": "324573#12", "text": "ถึงปีวอก พ.ศ. 2379 เมื่อท่านมีพรรษา 11 อายุ 31 ปี ยังเป็นพระอันดับอยู่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนาเจ้าฟ้าพระมงกุฎไปครองวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และในสมัยนั้นพระสงฆ์วัดราชาธิวาสมีทั้งพระมหานิกายและพระธรรมยุตอยู่ด้วยกัน แต่อธิบดีสงฆ์เป็นมหานิกายจึงได้โปรดให้ท่านอยู่ครองฝ่ายธรรมยุตที่วัดราชาธิวาส ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหารเรียบร้อยแล้ว พระทับเพิ่งกลับจากธุดงค์ จึงโปรดให้ท่านเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ครั้งแรกท่านแปลได้ถึงเปรียญธรรม 7 ประโยค แล้วท่านไม่แปลต่อ ภายหลังจึงเข้าแปลอีกได้ 2 ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค", "title": "สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)" }, { "docid": "4054#19", "text": "หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร", "title": "พระสุนทรโวหาร (ภู่)" }, { "docid": "7052#6", "text": "ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรในปี พ.ศ. 2502 ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระประสงค์จะสนองพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นพระบรมชนกนาถ และ พระราชสวามี จึงทรงต้องพระประสงค์จะอุปถัมภ์กิจการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มไว้ ดังนั้นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จึงทรงรับวชิราวุธวิทยาลัยไว้ในพระอุปถัมภ์ โดยจะทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อบำรุงวชิราวุธวิทยาลัย และทรงเสด็จพระดำเนินมาบำเพ็ญพระกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้เมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ก็ยังทรงพระราชทานเงินเพื่อบำรุงไว้เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" }, { "docid": "4236#22", "text": "พ.ศ. 2367 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ \"กรมพระราชวังบวรสถานมงคล\" โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า", "title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "31412#1", "text": "คำว่า \"เพาะช่าง\" ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2456 สืบเนื่องมาจากงานเฉลิมพระชนมพรรษา ในการที่โรงเรียนเพาะช่างได้รับพระราชทานกำเนิดจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ก็เพราะพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงห่วงใยในศิลปะการช่างของไทยจะถูกอิทธิพลของศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะศิลปวัฒนธรรมตะวันตกที่แพร่หลายเข้าครอบงำ อาจถึงคราวเสื่อมสูญได้ จึงมีพระราชประสงค์จะทำนุบำรุงศิลปะการช่างของไทยให้พัฒนาถาวรสืบไป ปัจจุบันเพาะช่างได้เปิดหลักสูตรการสอนในระดับปริญญาตรี 4 ปี ทั้งภาคปกติและภาคสบทบ มีทั้งหมด 4 กลุ่มวิชา คือ ศิลปประจำชาติ ศิลปหัตถกรรม วิจิตรศิลป์ และออกแบบ โดยสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเพาะช่างคนปัจจุบันคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาสดังนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงสืบทอดพระราชดำริของสมเด็จพระบรมชนกนาถต่อมา ประจวบกับบรรดาข้าราชการในกระทรวงธรรมการ ได้เรี่ยไรกันสร้างอาคารเรียน 2 ชั้นขึ้น ในโรงเรียนหัตถกรรมราชบูรณะเป็นถาวรวัตถุ อุทิศเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารเรียน และพระราชทานว่า \"โรงเรียนเพาะช่าง\" ", "title": "วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "31649#3", "text": "ภายในวังปารุสก์ยังมีตำหนักอีกองค์หนึ่ง คือ ตำหนักสวนจิตรลดา ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำหนักสวนจิตรลดา แลกเปลี่ยนกับที่ดินบริเวณท่าวาสุกรี ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ และโปรดฯ ให้รื้อกำแพงที่คั่นกลางออก รวมตำหนักทั้งสองเข้าด้วยกัน ส่วนกำแพงสร้างที่ใหม่ทรงให้ประดับตราจักรและกระบอง ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ ไว้ที่ประตูกำแพงโดยรอบ ", "title": "วังปารุสกวัน" }, { "docid": "267041#9", "text": "ลำดับรูปรายพระนาม/รายนามระยะการดำรงตำแหน่งหมายเหตุ1สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาพ.ศ. 2468ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรเมื่อปลายรัชกาล ซึ่งภายหลังขึ้นครองราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)", "title": "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "196664#2", "text": "เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 ได้ทรงบัญญัติคำนำพระนามพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ และได้ใช้คำนำพระนามนี้มาจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ แทน", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "18064#41", "text": "พระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์ ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เพื่อรวบรวมข้อมูลพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ตลอดจนบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและจัดตั้งมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยเหลือกิจการของหอวชิราวุธานุสรณ์[40][38]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" } ]
3933
สหภาพยุโรป มีกี่ประเทศ?
[ { "docid": "116954#0", "text": "รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป (English: Member State of the European Union) คือประเทศใดประเทศหนึ่งใน 28 ประเทศที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ตั้งแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) เป็นต้นมา เดิมทีประเทศก่อตั้งมีเพียง 6 ประเทศ ซึ่งได้มีการขยายสมาชิกทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยที่ครั้งที่ใหญ่ที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ที่มีรัฐสมาชิกเข้าร่วมกว่า 10 ประเทศ ปัจจุบันสหภาพยุโรปประกอบด้วยประเทศ 21 สาธารณรัฐ, 6 ราชอาณาจักร และ 1 ราชรัฐ", "title": "รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป" } ]
[ { "docid": "2065#0", "text": "สหภาพยุโรป (English: European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า[1] เกษตรกรรม[2] การประมงและการพัฒนาภูมิภาค[3] การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร", "title": "สหภาพยุโรป" }, { "docid": "961426#1", "text": "ประเทศกรีซได้ขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่น ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเพลิงไหม้และจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยการส่งคำขอผ่านทางกลไกการคุ้มครองทางแพ่งของสหภาพยุโรปสำหรับความช่วยเหลือระหว่างประเทศ กรรมาธิการยุโรปเพื่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการวิกฤติได้มาถึงกรุงเอเธนส์ในวันที่ 24 กรกฎาคมเพื่อประสานความช่วยเหลือของสหภาพยุโรป ส่วนกลไกการคุ้มครองทางแพ่งของสหภาพยุโรปได้ช่วยระดมเครื่องบิน, ยานพาหนะ, บุคลากรทางการแพทย์ และนักดับเพลิงจากประเทศในสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ระบบดาวเทียมโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรปได้รับการเปิดใช้งานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้มีแผนที่เฉพาะระดับสูง ในขณะที่นิกอส ทอสกัส รัฐมนตรีกรีก กล่าวว่าไม่เคยมีข้อเสนอมากมายที่จะช่วยเหลือในการดับเพลิงเช่นนี้มาก่อน โดยยกย่องความสามัคคีที่แสดงให้เห็นของประเทศต่าง ๆ", "title": "ไฟป่าแคว้นแอตติกา พ.ศ. 2561" }, { "docid": "373756#3", "text": "ขณะที่การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะถูกประกาศมากที่สุดในประเทศยูโรโซนไม่กี่ประเทศ แต่ปัญหาดังกล่าวก็เป็นที่รับรู้กันตลอดทั้งภูมิภาค ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 วิกฤตการณ์ดังกล่าวเริ่มปรากฏสู่ผิวหน้า ความกังวลส่วนใหญ่อยู่ที่การก่อหนี้ใหม่เพื่อชดใช้หนี้สาธารณะของกรีซ ชาวกรีกโดยทั่วไปปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัด และแสดงความไม่พอใจออกมาด้วยการประท้วง ปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 สถานการณ์วิกฤตการณ์ถูกรัฐบาลกรีซควบคุมไว้ได้อีกครั้ง โดยรัฐบาลจัดการผ่านมาตรการรัดเข็มขัดใหม่ และผู้นำสหภาพยุโรปสัญญาจะให้เงินสนับสนุนแก่กรีซ", "title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป" }, { "docid": "2065#31", "text": "สหภาพยุโรปสถาปนาตลาดเดียวทั่วดินแดนของสมาชิกทั้งหมดซึ่งมีพลเมือง 508 ล้านคน ในปี 2557 สหภาพยุโรปมีจีดีพีรวมกัน 18.640 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างประเทศ (international dollar) คิดเป็นสัดส่วน 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลกเรียงตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) สหภาพยุโรปที่เป็นองค์การการเมืองมีผู้แทนในองค์การการค้าโลก รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปมีความมั่งคั่งสุทธิประเมินมากที่สุดในโลก คิดเป็น 30% ของความมั่งคั่งทั่วโลก 223 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างประเทศ", "title": "สหภาพยุโรป" }, { "docid": "788745#0", "text": "การออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ เบร็กซิต () เป็นที่ถกเถียงมานานในหมู่บุคคล สถาบันกฎหมาย และพรรคการเมือง ตั้งแต่ที่สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มแรกของสหภาพยุโรป (EU) ในปี ค.ศ. 1973 ทั้งนี้ การออกจากสหภาพยุโรปของประเทศสมาชิกสามารถกระทำได้ตามมาตรา 50 แห่งสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรป (สนธิสัญญาลิสบอน) ซึ่งบัญญัติไว้ว่า : \"รัฐสมาชิกใด ๆ อาจตัดสินใจออกจากสหภาพตามข้อกำหนดแห่งกฎหมายของรัฐนั้น\"", "title": "การออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "5255#1", "text": "ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก[1] โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก[2] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลตา", "title": "ประเทศฮังการี" }, { "docid": "155314#5", "text": "เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสเป็นสมาชิกก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community) ซึ่งต่อมาภายหลังได้พัฒนาเป็นสหภาพยุโรป ดังนั้นประเทศฝรั่งเศสจึงต้องถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยบางส่วนให้กับสหภาพยุโรปตามรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพยุโรป และรัฐบาลฝรั่งเศสจำต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาและกฎข้อบังคับแห่งสหภาพยุโรป", "title": "การปกครองประเทศฝรั่งเศส" }, { "docid": "2065#3", "text": "สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก[8] ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ[9] นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ[10] สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต", "title": "สหภาพยุโรป" }, { "docid": "71537#1", "text": "นักวิทยุสมัครเล่นมักเรียกตัวเองว่า \"ham\" สำหรับที่มาของคำว่า \"ham\" นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อใด และนักวิทยุสมัครเล่นมักจะเรียกหรือกล่าวถึงนักวิทยุสมัครเล่นที่เสียชีวิตว่า \"silent key\"\nมีไม่กี่ประเทศที่ได้บันทึกเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักวิทยุสมัครเล่นไว้ นอกจากจำนวนของนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น นักวิทยุสมัครเล่นส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไทย เกาหลีใต้ และสหภาพยุโรป มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเป็นนักวิทยุสมัครเล่น คือ เยเมน และ เกาหลีเหนือ ในบางประเทศก็เป็นการยากที่ประชาชนทั่วไปจะได้รับอนุญาตเนื่องจากค่าใบอนุญาตที่สูงมาก ในบางประเทศก็อนุญาตให้ชาวต่างชาติด้วย ซึ่งมีจำนวนน้อยที่นักวิทยุสมัครเล่นจะได้รับอนุญาตในหลายๆ ประเทศพร้อมกัน", "title": "นักวิทยุสมัครเล่น" }, { "docid": "17145#11", "text": "เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เอสโตเนียและลิทัวเนีย พร้อมประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย รวม 10 ประเทศ ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์ สรุปพัฒนาการของลัตเวียต่อสหภาพพยุโรปในช่วงเวลาที่ผ่านมา 1. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 รัฐสภาลัตเวียได้ให้สัตยาบันต่อความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (Free Trade Accord) เป็นผลให้ลัตเวียสามารถเป็นภาคีสมาชิกความตกลงดังกล่าว กับสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โดย ส่งผลให้ลัตเวียได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ จากสหภาพยุโรป ในรูปของอัตราภาษีศุลกากร โควตาและ GSP 2. ลัตเวียได้ลงนามความตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรป (Association Agreement) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2538 โดยมีการกำหนดระยะเวลาปรับตัวไว้ ต่อมาลัตเวียได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ EU โดยสมบูรณ์ต่อ คณะกรรมมาธิการยุโรป 3. เมื่อวันที่ 26กันยายน 2539 ลัตเวียได้ส่งคำตอบแบบสอบถามรายละเอียดให้ คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาถึงความพร้อมที่จะทำการเจรจาว่าด้วยการเข้าเป็นสมาชิกภาพ EU โดยสมบูรณ์ ซึ่งลัตเวียได้พยายามทุกวิถีทางที่จะปฏิรูประบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้สอดคล้องกับมาตรฐานและระเบียบกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป เพื่อที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปโดยสมบูรณ์ในช่วงปี ค.ศ.2004 พร้อมกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก ซึ่งได้แก่ ลัตเวียและลิทัวเนีย ทั้งนี้ แม้ว่า ลัตเวียจะไม่ได้ร่วมอยู่ในกลุ่มแรกที่สหภาพยุโรป เริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อรับสมาชิกใหม่ เนื่องจากระดับการพัฒนาของลัตเวียนั้นยังล้าหลัง และไม่เจริญเท่าประเทศอื่น ๆ เช่น เอสโตเนีย โปแลนด์ ฮังการี และสาธารณรัฐเช็ก ก็ตาม แต่ลัตเวียถือว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นเป้าหมายสำคัญในด้านการต่างประเทศ", "title": "ประเทศลัตเวีย" }, { "docid": "1821#5", "text": "ใน ค.ศ. 1949 สภายุโรปก่อตั้งขึ้นตามคำปราศรัยของ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ซึ่งมีแนวคิดในการรวมยุโรปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ทุกประเทศในยุโรปเป็นสมาชิกยกเว้นเบลารุส คาซัคสถานและนครรัฐวาติกัน การบูรณาการยุโรปอื่น ๆ อย่างการรวมกลุ่มโดยบางประทศนำไปสู่การก่อตั้งสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งมีรูปแบบสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ[7] สหภาพยุโรปก่อตั้งขึ้นในยุโรปตะวันตกแต่เริ่มเพิ่มสมาชิกในยุโรปตะวันออกตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ใช้สกุลเงินยูโรซึ่งชาวยุโรปนิยมใช้กันทั่วไป; และในเขตเชงเก้นของอียูจะยกเลิกการควบคุมชายแดนและการอพยพระหว่างประเทศสมาชิก เพลงประจำสหภาพยุโรปคือ \"ปีติศังสกานท์\"และมีวันยุโรปเพื่อการเฉลิมฉลองสันติภาพและเอกภาพประจำปีในทวีปยุโรป", "title": "ทวีปยุโรป" }, { "docid": "2065#4", "text": "รัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปครอบคลุมพื้นที่ 4,423,147 ตารางกิโลเมตร ยอดเขาสูงสุดในสหภาพยุโรป คือ ยอดเขามงบล็องในเทือกเขาเกรเอียนแอลป์ (Graian Alps) มีความสูง 4,810.45 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จุดต่ำสุดในสหภาพยุโรปคือ แลมเมอฟยอร์เดน (Lammefjorden) ประเทศเดนมาร์ก และซาวด์เพลสปอลเดอร์ (Zuidplaspolder) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ความสูง 7 เมตรต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ภูมิภาพ ภูมิอากาศและเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปได้รับอิทธิพลจากแนวชายฝั่ง ซึ่งมีความยาว 65,993 กิโลเมตร", "title": "สหภาพยุโรป" }, { "docid": "665#2", "text": "เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO,G7และG20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก", "title": "ประเทศเยอรมนี" }, { "docid": "871210#3", "text": "เศรษฐกิจสหภาพยุโรปโดยรวมถือได้ว่าร่ำรวยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เหนือกว่าสหรัฐที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงวิกฤตการณ์การเงิน ในปี ค.ศ. 2009 ยุโรปยังคงเป็นภูมิภาคที่มั่งคั่งที่สุดในโลก โดยมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการจำนวน 33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นตัวแทนของความมั่งคั่งมากกว่าหนึ่งในสามของโลก แตกต่างจากอเมริกาเหนือ (29.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งที่ความมั่งคั่งทะลุยอดก่อนวิกฤติสิ้นปี", "title": "เศรษฐกิจยุโรป" }, { "docid": "3103#30", "text": "การกำกับดูแลพันธุวิศวกรรมเกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนินการของรัฐบาลในการประเมินและจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม, และการพัฒนาและการเปิดตัวของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ), รวมทั้งพืชดัดแปลงพันธุกรรมและปลาดัดแปลงพันธุกรรม. มีความแตกต่างหลายอย่างในการกำกับดูแล GMOs ระหว่างประเทศด้วยกัน, โดยมีบางส่วนของความแตกต่างที่ชัดเจนมากที่สุดเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป. การกำกับดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพันธุวิศวกรรม. ยกตัวอย่างเช่น, พืชไม่ได้มีไว้สำหรับเป็นอาหารโดยทั่วไปจะไม่ถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบสำหรับความปลอดภัยของอาหาร. สหภาพยุโรปใหความแตกต่างระหว่างการอนุมัติสำหรับการเพาะปลูกในสหภาพยุโรปกับการอนุมัติสำหรับการนำเข้าและการประมวล. ขณะที่มีเพียงไม่กี่ GMOs เท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการเพาะปลูกในสหภาพยุโรป, แต่มี GMOs จำนวนมากได้รับการอนุมัติให้ทำการนำเข้าและการประมวล. การเพาะปลูก GMOs ได้สะกิดการอภิปรายเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของพืชจีเอ็มและ nonGM. ขึ้นอยู่กับการกำกับดูแลการอยู่ร่วมกัน, แรงจูงใจทั้งหลายสำหรับการเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมมันแตกต่างกัน.", "title": "เทคโนโลยีชีวภาพ" }, { "docid": "2065#2", "text": "สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป[7] การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552", "title": "สหภาพยุโรป" }, { "docid": "33242#2", "text": "บรัสเซลส์เป็นที่ตั้งขององค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญหลายแห่ง หน่วยงานสำคัญของสหภาพยุโรป 2 หน่วยงาน คือ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) และคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of the European Union) ที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงบรัสเซลส์ นอกจากนี้บรัสเซลส์ยังเป็นที่ตั้งของนาโต (NATO) อีกด้วย ทำให้หลายประเทศมีสถานทูตในบรัสเซลส์ถึง 3 แห่ง คือ สถานทูตปกติของแต่ละประเทศ สถานทูตประจำสหภาพยุโรป และสถานทูตประจำนาโต", "title": "บรัสเซลส์" }, { "docid": "2065#8", "text": "ในการเข้าเป็นสมาชิก ประเทศนั้นต้องเข้าเกณฑ์โคเปนเฮเกนซึ่งนิยามไว้ ณ ที่ประชุมยุโรปในกรุงโคเปนเฮเกนเมื่อปี 2536 เกณฑ์ดังกล่าวกำหนดให้มีประชาธิปไตยเสถียรซึ่งเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม เศรษฐกิจแบบตลาดที่ทำหน้าที่ และการยอมรับพันธกรณีของสมาชิกภาพรวมทั้งกฎหมายสหภาพยุโรป การประเมินการบรรลุเกณฑ์ดังกล่าวของประเทศเป็นความรับผิดชอบของที่ประชุมยุโรป ยังไม่มีรัฐสมาชิกใดเคยออกจากสหภาพ แม้กรีนแลนด์ (จังหวัดปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก) ถอนตัวในปี 2528 ปัจจุบันสนธิสัญญาลิสบอนมีวรรคในข้อที่ 50 กำหนดสำหรับสมาชิกในการออกจากสหภาพยุโรป", "title": "สหภาพยุโรป" }, { "docid": "1820#31", "text": "ธัญพืช 69.7 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 37.6 ล้านตันเป็นข้าวสาลีและ 16.4 ล้านตันเป็นเมล็ดข้าวโพด ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปและเป็นอันดับ 5 ของโลก ไวน์ 48 ล้านเฮกโตลิตร อันดับ 2 ของโลกและในสหภาพยุโรปรองจากประเทศอิตาลี นม 22.2 ล้านลิตร อันดับ 2 ของสหภาพยุโรปรองจากประเทศเยอรมนีและเป็นอันดับ 5 ของโลก หัวผักกาดหวาน 29.4 ล้านตัน ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของสหภาพยุโรปและอันดับ 2 ของโลก เมล็ดพืชที่ให้น้ำมัน 6 ล้านตัน ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของสหภาพยุโรป", "title": "ประเทศฝรั่งเศส" }, { "docid": "600925#1", "text": "การเดินขบวนเริ่มขึ้นในคืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เมื่อมีการประท้วงอุบัติขึ้นหลายแห่งพร้อมกันในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ หลังรัฐบาลยูเครนระงับการเตรียมลงนามความตกลงการสมาคม (Association Agreement) และความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป โดยสนับสนุนการพึ่งพาประเทศรัสเซียทางเศรษฐกิจมากขึ้น ประธานาธิบดีได้ร้องขอเงินกู้และเงินอุดหนุน 20,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ สหภาพยุโรปเต็มใจให้เงินกู้ 610 ล้านยูโร (838 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ทว่า รัสเซียเต็มใจเสนอเงินกู้ 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รัสเซียยังเสนอราคาแก๊สแก่ยูเครนในราคาที่ถูกลง นอกเหนือจากเงินแล้ว สหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบและกฎหมายในยูเครนอย่างมาก แต่รัสเซียไม่มีการกำหนดดังกล่าว วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 เริ่มมีการปะทะระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและกระบอง ส่วนผู้ประท้วงใช้ก้อนหินและหิมะ โดยตำรวจเป็นฝ่ายใช้ก่อน หลังการเดินขบวนไม่กี่วันให้หลัง มีจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประท้วงมากขึ้น แม้การเรียกร้องให้รื้อฟื้นบูรณาการยูเครน-สหภาพยุโรปจะยังไม่ได้รับการสนองตราบจนปัจจุบัน แต่ยูโรไมดานได้แสดงลักษณะเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์นิยมทางการเมืองสำคัญแก่สหภาพยุโรปซ้ำ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น \"การเดินขบวนนิยมยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์\" ", "title": "ยูโรไมดาน" }, { "docid": "96953#1", "text": "ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปจัดตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาโรม พ.ศ. 2500 ร่วมกับประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (ECSC) และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป (EURATOM) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเป็นสถาบันหนึ่งในประชาคมยุโรป (European Communities) ภายใต้สนธิสัญญารวมประชาคม (Merger Treaty, หรือสนธิสัญญาบรัสเซลส์) พ.ศ. 2508 \nประชาคมเศรษฐกิจยุโรปถูกจัดรวมเข้ากับสหภาพยุโรปเมื่อจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2536 โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ถูกเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น ประชาคมยุโรป เพื่อสะท้อนถึงฐานนโยบายที่กว้างกว่าที่ครอบคลุมโดยสนธิสัญญา ประชาคมฯ ได้ประกอบเป็นเสาหลักแรกของสามเสาหลักสหภาพยุโรปกระทั่งยุบไปใน พ.ศ. 2552 โดยสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งผนวกอดีตเสาหลักสหภาพยุโรปและให้เหตุผลว่า สหภาพยุโรปจะ \"เข้าแทนที่และรับช่วงต่อประชาคมยุโรป\" ข้อนี้ว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศอิสระซึ่งมีอยู่ก่อน พ.ศ. 2536\nประเทศสมาชิก มี 12 ประเทศคือ", "title": "ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป" }, { "docid": "2860#8", "text": "หลังจากที่สหรัฐฯ ลังเลที่จะแสดงท่าทีในเรื่องนี้ เนื่องจากความร่วมมือด้านการทหารที่มีอยู่ แต่ต่อมาสหรัฐฯ EU และ OSCE ได้เรียกร้องให้องค์การนานาชาติเข้าไปสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ประธานาธิบดี Karimov ปฏิเสธและยืนยันไม่ให้มีการสอบสวนดังกล่าว เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากองค์การสหประชาชาติที่สหรัฐฯ เป็นแกนนำได้ช่วยเหลือนำผู้ลี้ภัยชาวอุซเบกที่ลี้ภัยไปยังคีร์กีซสถานส่งต่อไปยังประเทศโรมาเนีย รัฐบาลของประธานาธิบดี Karimov ได้ออกคำสั่งให้ถอนฐานทัพของสหรัฐที่ประจำอยู่ที่เมือง Karshi-Khanabad ซึ่งเป็นเมือง หน้าด่านชายแดนติดกับอัฟกานิสถานออกจากอุซเบกิสถานภายในสิ้นปี 2548 เมื่อเดือนตุลาคม 2548 ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ EU ได้มีมติให้ใช้มาตรการคว่ำบาตรกับอุซเบกิสถาน โดยจะงด ค้าอาวุธ ลดเงินทุนช่วยเหลือและระงับโครงการบางส่วนของThe EU-Uzbek Partnership and Cooperation Agreement (PAC) รวมทั้งงดการตรวจลงตราแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอุซเบกิสถานอีกสิบสองคนด้วย ล่าสุด ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 มีมติให้ยกเลิกการระงับการให้วีซ่าเข้าสหภาพยุโรปแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอุซเบกิสถานจำนวน 4 คน จาก 12 คนที่สหภาพยุโรปเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์รุนแรงที่ Andijan ", "title": "ประเทศอุซเบกิสถาน" }, { "docid": "17186#2", "text": "ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา", "title": "ประเทศฟินแลนด์" }, { "docid": "2065#35", "text": "กองทุนโครงสร้างและกองทุนความเชื่อมแน่นกำลังสนับสนุนการพัฒนาภูมิภาคด้อยพัฒนาของสหภาพยุโรป ดินแดนดังกล่าวส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในรัฐยุโรปกลางและใต้ หลายกองทุนจัดหาการช่วยเหลือฉุกเฉิน การสนับสนุนสมาชิกผู้สมัครเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศของตนเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป (Phare, ISPA, และ SAPARD) และสนับสนุนเครือจักรภพรัฐเอกราช (TACIS) TACIS ปัจจบุนัเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุโรปเอดทั่วโลก โครงการกรอบการวิจัยและเทคโนโลยีสหภาพยุโรปสนับสนุนการวิจัยที่ดำเนินการโดยกลุ่มจากสมาชิกสหภาพยุโรปทุกประเทศเพื่อมุ่งสู่พื้นที่การวิจัยยุโรปเดียว", "title": "สหภาพยุโรป" }, { "docid": "135537#0", "text": "สำนักงานเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแห่งสหภาพยุโรป () สหภาพยุโรปเป็นผู้ให้เงินสนับสนุนโครงการความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมต่าง ๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือที่คณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในกรุงบรัสเซลส์ และรัฐบาลของ 27 ประเทศสมาชิกสหภาพ ยุโรปให้รวมกันนั้น คิดเป็นมากกว่าร้อยละ 50 ของเงินช่วยเหลืออย่างเป็นทางการทั้งหมด โดยมีคณะกรรมาธิการยุโรปเป็นผู้รับผิดชอบบริหารเงินเกือบครึ่งหนึ่งของงบประมาณดังกล่าว สำหรับปี 2550 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้การสนับสนุนโครงการด้านมนุษยธรรมเป็นเงินทั้งสิ้น 768 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวนหลายล้านคนในกว่า 60 ประเทศ นอกสหภาพยุโรป", "title": "สำนักงานผู้อำนวยการใหญ่เพื่อการคุ้มครองพลเมืองยุโรปและปฏิบัติการการช่วยเหลือมนุษยธรรม" }, { "docid": "2716#29", "text": "สวิตเซอร์แลนด์เข้าไปประมูลหรือดำเนินกิจกรรมที่เป็นการจัดซื้อโดยรัฐในอีกประเทศหนึ่งได้เท่าเทียมคนชาติ การลดอุปสรรคการค้าระหว่างกัน และเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1999 สวิตเซอร์แลนด์และสหภาพยุโรปได้\nลงนามความตกลงดังกล่าวซึ่งสภาแห่งชาติของสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้สัตยาบันความตกลงฯ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1999 และผ่านการลงประชามติจากประชาชนร้อยละ 62.7 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 รวมทั้งได้ผ่านการให้สัตยาบันจากรัฐสภาเบลเยี่ยมเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประเทศสุดท้ายแล้วเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 ซึ่งหลังจากนั้น รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้เริ่มการเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรปอีก 10 สาขา คือ การบริการ การจ่ายเงินบำนาญ การแปรรูปสินค้าเกษตร สิ่งแวดล้อม สถิติ การศึกษา กิจการเยาวชน บัญชีเงินฝากธนาคาร ความร่วมมือเพื่อต่อต้านการฉ้อโกง และความร่วมมือด้านการศาสนา กิจการตำรวจและการอพยพย้ายถิ่นฐาน\nอย่างไรก็ตาม มีกระแสเรียกร้องให้เปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปโดยทันทีเพื่อเร่งรัดการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งรัฐบาลสวิสไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องนี้ เนื่องจากเห็นว่า\nสวิตเซอร์แลนด์จะพร้อมเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปในช่วงระหว่างปี 2004-2007 และอาจพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหลังปี 2010 แต่เมื่อมีประชาชน 100,000 คน เข้าชื่อเรียกร้องให้จัดการลงประชามติ\nรัฐบาลสวิสก็ได้จัดการลงประชามติขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2001 ผลปรากฏว่าประชาชนกว่าร้อยละ 76.7\nลงคะแนนไม่เห็นด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สนับสนุนการเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรป จะเป็นชาวสวิสในเขตสวิส\nฝรั่งเศส ในขณะที่ชาวสวิสเยอรมันเกินร้อยละ 85 ลงคะแนนไม่เห็นด้วย", "title": "ประเทศสวิตเซอร์แลนด์" }, { "docid": "2065#15", "text": "ที่ประชุมยุโรป (European Council) ให้ทิศทางการเมืองแก่สหภาพยุโรป มีการประชุมอย่างน้อยปีละสี่ครั้งและประกอบด้วยประธานที่ประชุมยุโรป (คนปัจจุบันคือ ดอนัลต์ ตุสก์) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปและผู้แทนหนึ่งคนจากรัฐสมาชิกแต่ละรัฐ (อาจเป็นประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล) ผู้แทนระดับสูงของสหภาพด้านกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง (คนปัจจุบันคือ เฟเดริกา โมเกรินี) ก็เข้าร่วมประชุมด้วยเช่นกัน มีผู้อธิบายว่าเป็น \"ผู้มีอำนาจการเมืองสูงสุด\" ของสหภาพยุโรป ที่ประชุมยุโรปเกี่ยวข้องโดยตรงในการเจรจาการเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาและการนิยามวาระและยุทธศาสตร์นโยบายของสหภาพยุโรป", "title": "สหภาพยุโรป" }, { "docid": "116097#10", "text": "การกำกับพันธุวิศวกรรมเกี่ยวข้องกับแนวทางที่รัฐบาลใช้ประเมินและจัดการความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมและการพัฒนาและการออกสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม รวมถึงพืชดัดแปรพันธุกรรมและปลาดัดแปรพันธุกรรม มีข้อแตกต่างในการกำกับจีเอ็มโอในแต่ละประเทศ การกำกับต่างกันมากในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับการใช้ผลิตภัณฑ์พันธุวิศวกรรมตามเจตนา ตัวอย่างเช่น โดยทั่วไปทางการที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของอาหารจะไม่ทบทวนพืชที่มิได้เจตนาให้เป็นอาหาร สหภาพยุโรปแยกระหว่างการอนุมัติให้เพาะปลูกในสหภาพยุโรปและการอนุมัติสำหรับนำเข้าและแปรรูป แม้สหภาพยุโรปอนุมัติให้เพาะปลูกจีเอ็มโอไม่กี่ชนิด แต่มีจีเอ็มโอหลายชนิดที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าและแปรรูป การเพาะปลูกจีเอ็มโอจุดชนวนการถกเถียงเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของพืชจีเอ็มและมิใช่จีเอ็ม แรงจูงใจสำหรับการเพาะปลูกพืชจีเอ็มแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการกำกับการอยู่ร่วมกัน", "title": "สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม" }, { "docid": "116954#1", "text": "การเพิ่มโรมาเนียและบัลแกเรียเข้าเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2550 รวมทั้งโครเอเชียในปีพ.ศ. 2556 ทำให้ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีรัฐสมาชิกทั้งสิ้น 28 ประเทศ การต่อรองและเจรจาให้ประเทศอื่นๆ เข้าเป็นสมาชิกยังคงดำเนินการอยู่เรื่อยๆ ขั้นตอนการขยายสหภาพยุโรปนี้บางครั้งเรียกว่าการรวมกลุ่มยุโรป ก่อนที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้นั้น ประเทศนั้นจะต้องผ่านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมืองที่รู้จักกันดีในชื่อ \"เกณฑ์โคเปนเฮเกน\" ซึ่งกำหนดไว้ว่าประเทศที่มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกจะต้องเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีองค์กรที่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและเคารพต่อกฎหมาย ภายใต้สนธิสัญญาสหภาพยุโรป การขยายสหภาพยุโรปต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละรัฐสมาชิกและผ่านการรับรองจากสภายุโรปอีกด้วย", "title": "รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป" } ]
3935
มณีภัสสร มอลลอย มีพี่น้องกี่คน?
[ { "docid": "375172#1", "text": "ไมร่า เกิดเมื่อ 18 กันยายน พ.ศ. 2540 ที่กรุงเทพมหานคร บิดาเป็นชาวอเมริกัน มารดาเป็นชาวไทย มีน้องสาว 1 คน ชื่อ ไนน่า - ปุณณิกา มอลลอย", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" } ]
[ { "docid": "969192#11", "text": "หลังจากเมธถูกตัดสินคดี ภัสสรได้บอกความจริงอีกส่วนหนึ่งที่ทุกคนยังไม่ได้บอก นั่นคือภัสสรเป็นคนที่เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด กล่าวคืออาม่าใช้ให้คริสไปซื้อยาบำรุงมาให้พิมดื่ม แต่เพราะคริสอิจฉาที่ทุกคนท้องและกลัวว่าลูกของเมธจะได้รับความดีความชอบมากกว่า เธอจึงใส่ยาขับเลือดให้พิมกินทีละน้อยจนยาค่อยๆ เริ่มออกฤทธิ์ พิมเสียใจมากที่ถูกทั้งบ้านหักหลังเธอจึงผูกคอฆ่าตัวตาย ส่วนคริส เพราะภัสสรเอาเรื่องที่เธอทำมาบอกอากง อากงจึงขับไล่คริสออกจากบ้านและให้หย่าขาดกับประเสริฐ แต่เพราะคริสท้อง เธอจึงได้อยู่ที่บ้านต่อในฐานะแม่ของพีทผู้ซึ่งเป็นตั่วซุงเท่านั้น เมธขอให้ภัสสรปล่อยวางและเดินหน้าต่อเพราะเขาเองก็ทำใจและปล่อยวางเรื่องทั้งหมดแล้ว ภัสสรจึงตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของโรงแรม และซื้อหุ้นของโรงแรมจำนวนหนึ่งที่พีทเสนอขาย ทุกคนเริ่มปรับความเข้าใจกันใหม่อีกครั้งเว้นแต่เต้ยกับเหม่เหมที่มองหน้าไม่ติดอีกต่อไป ส่วนอี้ถูกสังคมประนามฐานทำเกินกว่าเหตุ ลูกค้าทุกคนแบนกิจการร้านตัดผมที่เขาสร้างขึ้น เขาจึงหนีไปใช้ชีวิตตามลำพัง ก่อนกลับมาบริหารโรงแรมร่วมกับแม่แทน อาม่าขอโทษภัสสรที่ทำให้เหตุการณ์ทุกอย่างเลวร้ายกว่าที่คิดและไม่เคยเข้าใจอะไรภัสสรเลย ภัสสรจึงปล่อยวางและใช้ชีวิตร่วมกับคนที่เหลือในบ้านอย่างมีความสุขปนความจางต่อไป", "title": "เลือดข้นคนจาง" }, { "docid": "323601#29", "text": "เวลา 13.20 น. แกนนำ นปช. ลงมติตัดสินใจประกาศยุติการชุมนุม พร้อมทั้งยอมเข้ามอบตัว กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยในเวลาดังกล่าว แกนนำ นปช. คนสำคัญคือ จตุพร พรหมพันธุ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย เป็นต้น ต่างขึ้นบนเวทีแยกราชประสงค์ จากนั้นจตุพร เริ่มกล่าวเป็นคนแรกว่า \"ชีวิตของพวกผมเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่นี่เป็นชีวิตของคนอื่น พวกผมรอด แต่พี่น้องต้องตาย ถ้าเขาขยับมาถึงเวที ผมรู้ว่า พี่น้องพร้อมพลีชีพ ไม่รู้กี่ชีวิต เราร่วมทุกข์ร่วมสุขมายาวนานที่สุด และก็รู้กันว่า อีกไม่รู้กี่ชีวิตที่ต้องตาย ถ้า ศอฉ.บุกมาถึงที่นี่ พี่น้องก็ยอมพลีชีพกันทุกคน ผมยอมไม่ได้ ฉะนั้น วันนี้ไม่ใช่ยอมจำนน แต่ไม่ต้องการให้พี่น้องเราต้องเสียชีวิตอีกแล้ว ทนความตายของพี่น้องไม่ได้อีกต่อไป พวกผมเพื่อนๆ จะเดินทางไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผมรู้ว่าพี่น้องขมขื่น ทุกคนที่ขึ้นมาที่นี่ เราไม่รู้จะพูดกับพี่น้องกันอย่างไร เพราะหัวใจพี่น้องเลยความตายกันมาทุกคน วันนี้ เราหยุดความตาย แต่ยังไม่หยุดการต่อสู้ เพราะตอนนี้ยังตายอยู่เรื่อยๆ เรามาช่วยหยุดความตาย หัวใจการต่อสู้ไม่เคยหมด เราไม่ได้ทรยศ กว่าจะมาถึงเวที ไม่รู้อีกกี่ร้อยชีวิต เรามาหยุดความตายกันเถิด\" ณัฐวุฒิกล่าวเป็นคนถัดมาว่า \"เราขอยุติเวทีการชุมนุมแต่เพียงเท่านี้ แต่การต่อสู้ยังไม่ยุติ การต่อสู้ยังต้องเดินหน้าไปตามกระบวนการประชาธิปไตยต่อไป เราไม่อาจต้านทานความอำมหิตนี้ได้อีก ขอให้พี่น้องเดินออกไปทางสนามศุภชลาศัย การ์ดจะดูแลให้พี่น้องเดินทางกลับด้วยความสงบ และปลอดภัย\"[61] ทั้งนี้ระหว่างที่ณัฐวุฒิกำลังแถลง มีเสียงปืนยิงดังแทรกขึ้นมา ทำให้แกนนำ นปช.บนเวทีตกใจ แต่ยังคงแถลงต่อไปจนเสร็จสิ้น ผู้ชุมนุมบางส่วนทยอยเดินไปทางที่แกนนำแจ้ง ส่วนแกนนำเดินทางเข้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[62]", "title": "การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553" }, { "docid": "47992#7", "text": "ภายหลังจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต สิ้นพระชนม์ได้ 6 เดือน หม่อมมณี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ก็ได้สมรสใหม่กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐาแท้ๆของพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต และมีพระธิดา คือ หม่อมราชวงศ์อรมณี ภาณุพันธุ์ แต่ก็หย่าร้างกันในปี พ.ศ. 2493 ต่อมาได้สมรสกับนายแพทย์ปชา สิริวรสาร และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า เป็น \"คุณหญิงมณี สิริวรสาร\" เมื่อ พ.ศ. 2532 และเสียชีวิตเมื่อต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542", "title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต" }, { "docid": "375172#17", "text": "2014: ผลงานซิงเกิ้ลเพลงไทย \"เป็นเธอได้ไหม\" อำนวยการผลิต และ แต่งทำนองเพลงโดย เศกพล อุ่นสำราญ (Koh MrSaxman) 2012: เพลง \"ผิดหรือไรที่ใจฝัน\" จากละครเวที \"เรยา เดอะ มิวสิคัล\" Reya the Musical ประพันธ์ดนตรีโดย สมเถา สุจริตกุล คำร้องโดย ถ่ายเถา สุจริตกุล [7] 2011: เพลง \"Serment au Clair de Lune\" ในอัลบัม “A tout jamais\" บทเพลงพระราชนิพนธ์ภาษาฝรั่งเศสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแปลและเรียบเรียงโดยคุณเปรมิกา สุจริตกุล [8] 2006: เพลง \"2 Things\" ขับร้องและแต่งคำร้องโดย มณีภัสสร มอลลอย ทำนองและดนตรีโดย ชัยวุฒิ จึงเจริญพาณิชย์ (โทนี่)Monotone เป็นเพลงรอสาย AIS Calling Melody", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#11", "text": "16 พฤศจิกายน 2557 ไมร่าได้มีโอกาสร่วมร้องเพลงกับ​ Kenny G สุดยอดศิลปินแจ๊สแซกโซโฟนระดับโลก ในคอนเสิร์ต \"River Jazz Festival\", 26 เมษายน 2558 ได้ร่วมแสดงในคอนเสิร์ต \"A Magical Night with Andrea Bocelli\" อันเดรอา โบเชลลี สุดยอดศิลปินโอเปร่าระดับโลก , 15 ธันวาคม 2558 โก้ มิสเตอร์ แซ็กแมน และไมร่า ได้ไปแสดงคอนเสิร์ต \"A Tribute to King of Jazz\" ที่ Lincoln Center, New York, USA ให้แก่ท่าน Ban Ki-Moon เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) และนักการทูตประจำสหประชาชาติจากประเทศต่างๆ, 31 ธันวาคม 2558 ร่วมแสดงในงาน Thailand Countdown 2016 ณ. เวทีกลางน้ำหน้าองค์พระปรางค์ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#14", "text": "2014: เข้ารอบ 6 คนสุดท้ายในรายการ Rising Star ของสถานีโทรทัศน์ ABC ประเทศสหรัฐอเมริกา​(จากผู้แข่งขันทั่วประเทศกว่า 20,000คน) 2011: ชนะเลิศรายการ Thailand’s Got Talent 2011 [6] 2008: ชนะเลิศถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี \"Future Park Junior Talent Award 2008\" 2008: ชนะเลิศ “Dutchmill Kids Star Talent Contest 2008” 2008: Fairbairn Exhibition Scholarship (Shrewsbury International School) 2007: ชนะเลิศการประกวดร้องเพลง Online “Nescafe My Cup Fantasia 2” 2006: ชนะเลิศการประกวดร้องเพลง “MIFA Singing Contest 2006” (รุ่นอายุ 8-12 ปี)", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#8", "text": "เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ในคอนเสิร์ตHitman: David Foster and friends live in Bangkokที่อิมแพคเมืองทองธานี ไมร่านั่งดูอยู่ในคอนเสิร์ต David Fosterลงมาจากเวทีเรียกให้ผู้ชมลุกออกมาร้องเพลง ผู้ชมที่นั่งดูอยู่รอบๆไมร่าได้ร่วมกันตะโกนชื่อไมร่า ไมร่า จนเดวิดเรียกไมร่าออกไปร้องเพลงไมร่าได้สร้างความประทับใจให้กับเดวิดและผู้ชมในฮอลล์นั้น และอีกสักพักเดวิดก็เรียกไมร่าขึ้นไปบนเวทีอีกครั้งโดยให้ร้องเพลงสดๆคู่กับนักร้องโอเปราของเขา เมื่อไมร่าก้าวลงจากเวที เดวิดได้พูดว่า \"ผมแน่ใจว่าผมจะต้องได้พบคุณอีกบ่อยๆ\" โดยหลังจากนั้นไม่กี่เดือนต่อมา วันที่ 12 เมษายน 2556 เดวิด ฟอสเตอร์ ได้เชิญให้ไมร่าไปร้องเพลงกับเขาที่ ลอสแองเจิลลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในงานฉลองครบรอบ65ปีของประเทศอิสราเอล", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#3", "text": "ไมร่ามีพรสวรรค์ด้านการร้องเพลง โดยสามารถจดจำทำนองและเนื้อเพลงที่ไม่เคยร้องมาก่อนได้อย่างรวดเร็ว[2] ก่อนเข้าประกวดรายการไทยแลนด์ ก็อต ทาเลนท์ ไมร่าเคยผ่านประสบการณ์การร้องเพลงโชว์ในเวทีต่างๆ เช่น การร่วมร้องเพลงกับศิลปินแกรมมี่ในงานท็อปอวอร์ด 2006 ร้องเพลงประสานเสียงและร่วมแสดงละครโอเปร่า เรื่อง Ayodhya ของคณะบางกอกโอเปร่า และเมื่อไมร่าอายุได้ 10 ปีร่วมกับน้องสาวไนน่าอายุ 8 ปี ได้ทำการแสดงร้องเพลงตามสถานที่และงานต่างๆโดยใช้ชื่อ Myra and Nina Show, ร้องนำเพลง สรรเสริญพระบารมี ในงาน \"๙ ในดวงใจ\" เมื่อวันที่ ๙ เดือน ๙ ปี ๒๐๐๙ ณ.สวนลุมพินี ควบคุมวงโดย อาจารย์บรู๊ซ แกสตัน, ร้องเพลง “Ben” ในงานระลึกถึงการจากไปของMichael Jackson “Michael Jackson, You Are Not Alone” ที่ Central World และยังเคยเป็นตัวแทนเด็กไทยบนเวทีการประกวด นางงามจักรวาล ปี พ.ศ. 2548 (Miss Universe 2005) [3]", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "969192#3", "text": "สมาชิกในครอบครัวของตระกูลได้รวมตัวกันในวาระสำคัญ เช่นงานวันเกิดอากง อาม่า เทศกาลต่าง ๆ จนเมื่ออากงเสียชีวิต ได้ทำพินัยกรรมไว้ โดยแบ่งมรดกกิจการโรงแรมเป็น 4 ส่วน ให้ลูกชายทั้ง 3 คน และหลานชายผู้ซึ่งมีฐานะเป็น \"ตั่วซุง\" พีท (กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม) ซึ่งเป็นลูกของประเสริฐซึ่งเป็นลูกชายคนโต ส่วนภัสสรได้เงินก้อนจำนวนหนึ่ง เธอไม่พอใจมากกับการแบ่งพินัยกรรมแบบนี้ เธอจึงเริ่มมีปากเสียงกับประเสริฐ แต่แล้วไม่กี่วันหลังจากเหตุการณ์นั้นประเสริฐถูกยิงเสียชีวิต โดยที่ตำรวจไม่สามารถหาหลักฐานอะไรได้จากสถานที่เกิดเหตุ นั่นจึงทำให้ภัสสรต้องตกเป็นผู้ต้องสงสัยลำดับแรกเนื่องจากเป็นผู้พบศพของประเสริฐคนแรกและมีแรงจูงใจที่จะฆ่าอยู่แล้ว นั่นจึงทำให้ อี้ (ธนภพ ลีรัตนขจร) ลูกชายคนโตของภัสสรต้องออกตามสืบหาแรงจูงใจและฆาตกรตัวจริงเพิ่มเติม เพื่อให้ภัสสรพ้นผิดจากข้อกล่าวหา", "title": "เลือดข้นคนจาง" }, { "docid": "375172#6", "text": "หลังจากได้แชมป์ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ไมร่าได้ไปร่วมแสดงการร้องเพลงในงานอีเว้นท์ให้กับบริษัทต่างๆทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และร่วมแสดงในคอนเสิร์ตต่างๆมากมาย รวมทั้งไปร่วมร้องเพลงในคอนเสิร์ตที่ประเทศฝรั่งเศส, ร้องเพลงในงานเปิดตัวรถโรลสรอยซ์ที่ประเทศสิงคโปร์, ได้รับเชิญไปออกรายการDay Day Up ที่ประเทศจีนซึ่งเป็นรายการที่มียอดผู้ชมสูงสุดเป็นอันดับสามของประเทศจีน, ได้รับเชิญไปร้องเพลงในงานเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จัดโดยสถานทูตอังกฤษในประเทศไทย", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#19", "text": "หมวดหมู่:นักร้องไทย หมวดหมู่:นักร้องหญิงชาวไทยเชื้อสายอเมริกัน หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายอเมริกัน", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#18", "text": "2015: ละครเวทีภาษาอังกฤษ เรื่อง \"Dracula\" นำแสดงโดย ฮิวโก จุลจักร จักรพงษ์ และ ไมร่า มอลลอย โดย Ewing Entertianment Worldwide กำกับการแสดงโดย โจ ฮาร์มสตัน ผู้กำกับละครเวทีจาก West End ประเทศอังกฤษ 2012: ละครเวที \"เรยา เดอะมิวสิคัล\" ชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต แสดงเป็น เรยา, ไมร่าแสดงเป็นเรยาวัยเด็ก ประพันธ์ดนตรีโดย สมเถา สุจริตกุล บทละครและคำร้องโดย ถ่ายเถา สุจริตกุล, อำนวยเพลงโดย ทฤษฎี ณ พัทลุง, กำกับการแสดงโดย เกรียงศักดิ์ ศิลากอง กำหนดแสดง 14 กันยายน - 7 ตุลาคม 2555 ที่โรงละครอักษรา แสดง 20 รอบ [9][10] 2012: ละครโอเปร่าเรื่อง \"A Boy and a Tiger\" โดย อ.บรูซ แกสตัน ในงาน Rotary International Convention 2012 ที่อิมแพค เมืองทองธานี 2006: ละครโอเปร่า เรื่อง \"Ayodhya\" อโยธยา ของคณะบางกอกโอเปร่า โดย อ.สมเถา สุจริตกุล ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#2", "text": "การศึกษา ไมร่าเริ่มการศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียนนานาชาติแฮร์โรว์ จนถึง year 1 และได้ย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี่ ตั้งแต่ year 2 จนถึง year 11 (ม.4) [1] โดยเป็นนักเรียนทุนดนตรีสาขาขับร้องและน้กเรียนทุนศิลปะ เป็นนักร้องในคณะประสานเสียงและเป็นนักดนตรีวิโอลาในวงออเครสตร้าของโรงเรียน และได้ย้ายไปศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจนจบชั้นมัธยม 5 และ 6 จากโรงเรียน Beverly Hills High School, Los Angeles, USA โดยได้รับเกรดเฉลี่ย 4.00 ทุกภาคการศึกษา ไมร่ามีความสามารถพูด อ่าน เขียนได้หลายภาษา สามารถร้องเพลงได้หลายภาษา เช่น ไทย อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน ละติน อิตาเลียน และร้องเพลงได้หลายสไตล์ เช่น ป๊อป แจ๊ส อาร์แอนด์บี มิวสิคัล โอเปร่า และเพลงคลาสสิก สามารถเล่นเปียโน เล่นวิโอล่า เล่นกีตาร์ เล่นยูเคอเลลี และเรียนหนังสือได้ระดับเกรดที่ดีมาก[1]", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#4", "text": "เมื่ออายุเพียง 8 ปี และเพิ่งเริ่มเรียนร้องเพลงที่โรงเรียนดนตรีมีฟ้าได้แค่เพียงสองเดือนก็ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของสาขาเข้าประกวด MIFA Singing Contest 2006 ของโรงเรียนดนตรีมีฟ้า(แกรมมี่)ทั่วประเทศ และได้รับรางวัลชนะเลิศในรุ่นอายุ 8 - 12 ปี ซึ่งเป็นการประกวดร้องเพลงครั้งแรกในชีวิตของไมร่า(คลิปการร้องเพลงประกวดนี้คุณพ่อของไมร่านำไปเข้าในยูทูป และในปี 2009 มียอดผู้เข้าชมเกือบ 3,000,000คน ได้รับการจัดอันดับจากยูทูปเป็นคลิปเพลงแจ๊สอันดับ 4 จากคลิปเพลงแจ๊สบนยูทูปทั่วโลก) และหลังจากนั้นไมร่าก็เข้าประกวดในเวทีสำคัญๆอีกสองสามครั้งและได้รับรางวัลชนะเลิศในทุกเวที จนกระทั่งถึง ปี 2008 เมื่ออายุเกือบครบ 11 ปี ไมร่าได้เข้าประกวด Future Park Junior Talent Award ตามคำขอร้องของคุณป้า และได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งนับว่าเป็นรางวัลสูงสุดแล้วจึงไม่เข้าประกวดร้องเพลงที่ใดอีกเลย", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#15", "text": "2017: เพลง แค่มีเธอ (Still have you) - เพลงประกอบภาพยนตร์ไทย เน็ตไอดาย #สวยตายล่ะมึง! 2016: เพลง \"How Far I'll Go\" เวอร์ชันภาษาไทย เพลงประกอบภาพยนตร์ดิสนีย์แอนิเมชั่น \"Moana\" 2016: เพลง \"Blood Is LiFe\" เพลงประกอบละครเวที Dracula 2014: ผลงานเพลง 5 เพลง ค่ายCapitol records ประเทศสหรัฐอเมริกา", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#7", "text": "กันยายน 2555 ไมร่าได้รับบทเป็นเรยาตอนเด็ก ในละครเวทีเรื่อง เรยาเดอะมิวสิคัล ซึ่งนำแสดงโดย ชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ประพันธ์ดนตรีโดย อ.สมเถา สุจริตกุล บทละครและคำร้องโดย ถ่ายเถา สุจริตกุล, อำนวยเพลงโดย ทฤษฎี ณ พัทลุง", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#16", "text": "1. \"Con te partirò\" (Time To Say Goodbye) 2. \"Gravity\" 3. \"Stars\" 4. \"Your Song\" 5. \"Chandelier\"", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#13", "text": "ปัจจุบันไมร่าเป็นนักเรียนทุน(Merit scholarship)ของมหาวิทยาลัย Berklee College of Music ที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซต ประเทศสหรัฐอเมริกา ในสาขาการประพันธ์เพลงและขับร้อง โดยเริ่มเข้าศึกษาตั้งแต่ปี 2558", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#10", "text": "เมื่อเดือน เมษายน 2557 ไมร่าได้สมัครออนไลน์เพื่อเข้าร่วมประกวดร้องเพลงในรายการประกวดร้องเพลงรายการใหม่ของประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อรายการ Rising Star และเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ไมร่าได้โพสต์ในเฟสบุคว่าได้รับคัดเลือกเป็น 30 คนสุดท้ายที่จะเข้าแข่งขันในรายการ Rising Star ซึ่งจะทำการออกอากาศเป็นครั้งแรกในประเทศอเมริกาในวันที่ 22 มิถุนายน 2557 ซึ่งต่อมาในวันนั้นไมร่าได้เป็นผู้แข่งขัน 10 ทีมแรก และได้ผ่านเข้ารอบ 18 คนสุดท้ายในการแข่งขัน, ไมร่าได้ผ่านเข้ารอบการแข่งขันมาจนถึงอาทิตย์ที่ 9 ของการแข่งขันทั้งหมด 10 อาทิตย์ โดยได้เข้าไปถึงรอบ 6 คนสุดท้ายของรายการ Rising Star เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม และเป็นผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุน้อยที่สุดของรายการโดยมีอายุเพียง 16 ปี", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#12", "text": "ปี 2559 ไมร่าได้ร่วมแสดงละครเวทีเรื่อง Dracula ในบท ลูซี่ โดยมี ฮิวโก จุลจักร จักรพงษ์ แสดงเป็นแดร็กคูล่า เป็นละครเวทีที่แสดงเป็นภาษาอังกฤษ ผู้กำกับคือ โจ ฮาร์มสตัน ผู้กำกับละครเวทีจาก West End ประเทศอังกฤษ, HBO Asia เลือกไมร่า เข้าร่วมเป็นนักแสดงภาพยนตร์ซีรีส์ เรื่อง \"Halfworlds\" Season 2 ในบท Wish ผู้ซึ่งสามารถมองเห็นอนาคต และในซีรีส์เรื่องนี้ ไมร่าได้ขับร้องเพลงประกอบซีรีส์ และได้ร่วมแต่งทำนองเพลงด้วย, วันที่ 8 พฤศจิกายน 2016 ในงานแถลงข่าวภาพยนตร์แอนนิเมชั่นเรื่องใหม่ของดิสนีย์ \"Moana\" ที่ประเทศสิงคโปร์ ประกาศว่าไมร่าได้รับเลือกจากดิสนีย์ให้เป็นผู้พากย์เสียงและร้องเพลงเป็นโมอาน่าในเวอร์ชันภาษาไทย โดยจะมีมิวสิควีดีโอ ออกมาวันที่ 15 พฤศจิกายน และ ภาพยนตร์เปิดฉายในประเทศไทยวันที่ 1 ธันวาคม", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#9", "text": "ตัดสินใจที่จะเดินตามความฝันในการเป็นนักร้องนักแสดงที่ประเทศอเมริกาให้ได้ ไมร่าได้ย้ายไปอยู่ที่ ลอสแองเจิลลิส ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2556 และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (grade11) ที่โรงเรียน Beverly Hills High School โดยมีผลการเรียนได้เกรดเฉลี่ย 4 ทุกวิชาในทุกภาคการศึกษา", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "375172#5", "text": "ปี 2554 ไมร่าอายุ 13 ปี ตัดสินใจเข้าประกวดรายการไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ฤดูกาลแรกด้วยตนเอง เพราะชอบและติดตามดูรายการGot Talentทั้งของอเมริกาและอังกฤษมาโดยตลอด จนได้เป็นผู้ชนะเลิศของรายการ ด้วยผลคะแนนอันดับ 1 โดยผ่านเข้ารอบออดิชั่น ด้วยการร้องเพลงครอสโอเวอร์ ในเพลง \"Time to Say Goodbye\" จนผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศด้วยเพลงภาษาละติน \"Pie Jesu\"และเพลงไทย \"ดาว\" และรอบชิงชนะเลิศด้วยการร้องเพลงครอสโอเวอร์ Time to Say Goodbye และเพลงมิวสิคัล Think of Me[4] นอกจากนี้ยังรับรางวัล ที่สุดแห่งการพลิกโฉมจากซันซิล และเป็นพรีเซ็นเตอร์แชมพูซันซิลเป็นเวลา 1 ปี[2] โดยตั้งเป้าหมายของตัวเองว่าอยากเป็นนักร้องนักแสดงที่ประเทศอเมริกาให้ได้ [5]", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "525642#0", "text": "กัญญฉัตร ฝนมณี หรือ มายด์แดนซ์ เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 เป็นคนกรุงเทพมหานคร เป็นนักแสดงและพิธีกรรายการสตอเบอรี่ชีสเค้ก ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา ภาษาญี่ปุ่น มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน มายด์แดนซ์ เป็นลูกคนที่ 4 เข้ามาอยู่สตอเบอร์รี่ชีสเค้กตั้งแต่ปี 2553-2556", "title": "กัญญฉัตร ฝนมณี" }, { "docid": "548630#1", "text": "กรภัสสรณ์ รัตนเมธานนท์ หรือชื่อเดิม พรพรรณ รัตนเมธานนท์ (จอยซ์) เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 เป็นลูกคนแรกของครอบครัว มีน้องชาย 2 คน ในจำนวนพี่น้อง 3 คน พ่อชื่อ นายสุวิทย์ รัตนเมธานนท์เข้าวงการตั้งแต่อายุ 14 ปี เริ่มงานชิ้นแรกจากการเล่นมิวสิควิดีโอเพลง \"ทางออก\" ของสมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ หลังจากนั้นสมเกียรติ ผู้ก่อตั้งค่ายโดโจ ซิตี้ ได้ทาบทามกรภัสสรณ์เป็นศิลปินคู่กับ สุรัตนาวี สุวิพร หรือ \"โบ\" ในนาม \"ไทรอัมพ์ส คิงดอม\"", "title": "กรภัสสรณ์ รัตนเมธานนท์" }, { "docid": "375172#0", "text": "มณีภัสสร มอลลอย หรือชื่อเล่น ไมร่า (18 กันยายน 2540 — ) เป็นนักร้องและนักแสดงไทย ซึ่งชนะเลิศการประกวดความสามารถในรายการไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ฤดูกาลที่ 1 เมื่ออายุเพียง 13 ปี ด้วยการร้องเพลงแบบครอสโอเวอร์, และ ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับตำแหน่งเป็นผู้เข้ารอบ 6 คนสุดท้าย ของรายการประกวดร้องเพลง Rising Star ซีซั่นแรกของสถานีโทรทัศน์ ABC ประเทศสหรัฐอเมริกา", "title": "มณีภัสสร มอลลอย" }, { "docid": "969192#2", "text": "ตระกูลจิระอนันต์เป็นครอบครัวไทยเชื้อสายจีน เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมจิรานันตา กรุงเทพฯ และพัทยา อากง สุกิจ (นพพล โกมารชุน) และอาม่า ปราณี (ภัทราวดี มีชูธน) เป็นผู้ก่อตั้งโรงแรม โดยปัจจุบันโรงแรมบริหารโดยลูกชายคนโต ประเสริฐ (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) และลูกสาวคนที่สามคือ ภัสสร (คัทลียา แมคอินทอช) ส่วนลูกชายคนที่สองคือ เมธ (ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง) เป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว อยู่บ้าน รับ-ส่งลูกหลาน และลูกชายคนสุดท้องคือ กรกันต์ (สุพจน์ จันทร์เจริญ) แต่งงานกับอดีตดาราหนัง น้ำผึ้ง (เก็จมณี พิชัยรณรงค์สงคราม) และใช้ชีวิตแบบเสเพลไปวัน ๆ โดยไม่ทำการทำงานใด ๆ", "title": "เลือดข้นคนจาง" }, { "docid": "271669#8", "text": "หลังการสิ้นพระชนม์ของพระภัสดาคนแรก หม่อมมณีได้เข้าเสกสมรสครั้งที่สองกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต มีพระธิดาเพียงคนเดียว คือ ", "title": "มณี สิริวรสาร" }, { "docid": "144545#1", "text": "(20 มิถุนายน พ.ศ. 2452 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470)พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ เสกสมรสกับ หม่อมมณี บุนนาค อดีตชายาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต มีธิดา 1 คน คือ\nและกับหม่อมอำไพ แสงสุข มีโอรส 1 คน คือ", "title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์" }, { "docid": "271669#9", "text": "และในปี พ.ศ. 2490 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ได้พาครอบครัวกลับประเทศไทย เมื่อหม่อมมณีกลับมาอยู่ประเทศไทย ได้ไปทำงานในตำแหน่งอาจารย์พิเศษสอนภาษาอังกฤษที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามคำเชิญชวนของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตรซึ่งเป็นอาจารย์หัวหน้าภาควิชาในขณะนั้น หลังจากหย่ากับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์แล้ว จึงลาออกจากอาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มาสร้างบ้านหลังใหม่อยู่ที่ถนนเพลินจิต รับงานแปลบทความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษให้กับสำนักงานข่าวสารอเมริกัน", "title": "มณี สิริวรสาร" } ]
3937
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มีบิดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "18064#0", "text": "พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" } ]
[ { "docid": "384639#37", "text": "ดูบทความหลักที่ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยขึ้นจัดเพื่อแสดงความจงรักภักดีและความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โดยกำหนดวันพระราชพิธีระหว่างวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยกำหนดการพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ การบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 8 เมษายน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 9 เมษายน พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันที่ 10 เมษายน การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระอัฐิ ในวันที่ 11 เมษายน การเชิญพระอัฐิขึ้นประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และการเชิญพระผอบพระสรีรางคารไปบรรจุยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในวันที่ 12 เมษายน", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#4", "text": "สำนักพระราชวัง มีประกาศเรื่อง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ความว่า", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#82", "text": "ของสำนักราชเลขาธิการ วินิตา ดิถียนต์, ชัชพล ไชยพร. . กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรโสภณ จำกัด, 2550. . เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 6 รอบ. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2542.", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#37", "text": "ขบวนเชิญพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไปประดิษฐาน ณ พระวิมานวังรื่นฤดี ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์นำขบวน จากกองสันดิบาล ตำรวจนครบาล รถยนต์พระที่นั่งเชิญพระโกศพระอัฐิ เป็นรถยนต์คาร์ดิลแลคสีขาว ซึ่งเป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ขององค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ปักธงราชวงศ์ใหญ่ฝ่ายใน และรถยนต์ข้าราชบริพารจากกองราชพาหนะ สำนักพระราชวัง ขบวนเคลื่นออกจากท้องสนามหลวงไปตามถนนราชดำเนินเลี้ยวเข้าสู่ถนนนครสวรรค์ขึ้นทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปลงถนนสุขุมวิท เลี้ยวเข้าถนนสุขุมวิท 38 ถึงยังวังรื่นฤดี มีข้าหลวงฝ่ายในของวังรื่นฤดีเฝ้ารับพระอัฐิ จากนั้นนางสุรัสวดี กุวานนท์ แม็คซี่ เชิญพระโกศพระอัฐิไปยังท้องพระโรงวังรื่นฤดี เชิญขึ้นบนพระตำหนัก เข้าสู่ห้องนมัสการประดิษฐานบนพระวิมาน นางสุรัสวดี กุวานนท์ แม็คซี่ จุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป และจุดธูปเทียนบูชาพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัฐิพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นอันเสร็จพิธี", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#10", "text": "ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้เสด็จผ่านพิภพขึ้นสืบสนองพระองค์ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีประกาศเปลี่ยนคำนำพระนามสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้เป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ[12]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#53", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชูปโภคสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้[53]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#38", "text": "วันที่ 11 เมษายน 2555 เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เสด็จถึง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมอัฐิสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมอัฐิสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระอัฐิพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระบรมอัฐิสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมราชบุพการีที่เชิญออกประดิษฐานบนแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร และทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ พระแท่นสุวรรณเบญจดล จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ไปถวายพัดรองที่ระลึกงานทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี แด่สมเด็จพระราชาคณะ จากนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระบรมราชบุพการี และพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ที่พระแท่นมณฑลมุก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารทรงจุดธูปเทียนทรงจุดธูปเทียนสำหรับพระบรมอัฐิพระบรมราชบุพการีทรงธรรม และสำหรับสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีทรงธรรม พระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนาจบแล้ว ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ ทรงทอดผ้าไตรสดับปกรณ์พระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระสงฆ์ 86 รูป สดับปกรณ์พระอัฐิ จากนั้นทรงทอดผ้าไตรสดับปกรณ์พระบรมอัฐิและพระอัฐิพระบรมราชบุพการี ทรงหลั่งทักษิโณทก ทรงกราบที่หน้าพระพุทธรูปประจำพระชนมวารพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ ที่พระแท่นมณฑลมุก เสด็จฯ ไปทรงกราบพระบรมอัฐิและพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการี ที่หน้าพระแท่นนพปฎลเศวตฉัตร แล้วเสด็จฯ ไปทรงกราบพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินกลับ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#66", "text": "เป็นหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเรียบเรียงโดยคุณหญิงวนิตา ดิถียนต์ และ ดร.ชัชพล ไชยพร สำนักนายกรัฐมนตรีให้จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา จำนวน 711 หน้า โดยผู้เรียบเรียงได้มอบลิขสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#58", "text": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริให้ไปจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นการถาวรขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม แทนการจัดนิทรรศการชั่วคราวที่พระเมรุอย่างในอดีต ซึ่งจำเป็นต้องรื้อถอนไป ถ้านำงบประมาณส่วนนี้ไปจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเป็นการถาวรภายในพระราชวังสนามจันทร์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีทรงร่วมกันบูรณะก็จะเป็นประโยชน์ยั่งยืนกว่า ทั้งนี้จะได้เป็นการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทั้งสามพระองค์ด้วย โดยจัดแสดงภายในพระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี และพระที่นั่งวัชรีรมยา โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#69", "text": "เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 มีลักษณะดังนี้[70] ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญมีอักษรพระนามย่อ \"พ.ร.\" ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี และมีพระวชิระ ดอกบัว และดารารัศมีประดับอยู่โดยรอบ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘\" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาและ \"ประเทศไทย\" ตามลำดับ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีลักษณะดังนี้[71] ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญมีอักษรพระนามย่อ \"พ.ร.\" ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี ล้อมด้วยลายไทยประดิษฐ์ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"พระชนมายุ ๘๔ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒\" เบื้องล่างมีข้อความว่า \"ประเทศไทย\" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่าง เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555 มีลักษณะดังนี้ ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญเป็นรูปพระเมรุมาจัดวาง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ หลังรูปพระเมรุมีรูปแสงพระอาทิตย์แผ่รัศมีผ่าน ปุยเมฆ สื่อความหมายว่าแสงสุดท้ายและเป็นการน้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "242955#0", "text": "โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (ตัวอักษร) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วน ปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ รูปแบบสหศึกษา ตั้งอยู่บริเวณถนนขุนลุมประพาส ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นโรงเรียนในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี", "title": "โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ" }, { "docid": "18064#70", "text": "บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดออกตราไปรษณียากรที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังต่อไปนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#83", "text": "อาริยา สินธุ, สกุลไทย ชัชพล ไชยพร, พระผู้ทรงเป็น “เพชรรัตน” แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชสุดาได้ จากฟ้ามาแทน โดย ชัชพล ไชยพร พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ข่าวการสิ้นพระชนม์, INN News.", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#28", "text": "ในการประโคมงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในการประโคมย่ำยามด้วย ดังนั้น จึงมี 2 หน่วยงานเข้าร่วมประโคม คือ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#80", "text": "ทุนจุฬาเพชรรัตน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนเพชรรัตน มหาวิทยาลัยศิลปากร ทุนเพชรรัตน สำนักงานบรรเทาทุกข์ สภากาชาดไทย ทุนเพชรรัตนการุญ ศิริราชมูลนิธิ ทุนเพชรรัตนการุณ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 15 ทุนเพชรรัตนอุปถัมภ์ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ทุนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทุนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ นิธิวัดราชบพิธ ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ กองทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โรงเรียนราชินี ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โสสะมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#2", "text": "ในเวลาต่อมาสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เริ่มมีพระอาการเส้นพระโลหิตอุดตัน มีรับสั่งน้อยลง แต่ทรงทราบกิจทุกเรื่อง[1] แต่พระอาการดังกล่าวทำให้พระวรกายด้านซ้ายขยับยาก คณะแพทย์ศิริราชจึงได้ถวายพระโอสถ มีนางพยาบาลมาดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และมีนักกายภาพบำบัดมาถวายการออกกำลัง[1]", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#68", "text": "กรมธนารักษ์ออกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังต่อไปนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#47", "text": "หมายกำหนดการ พระราชพิธีพระราชทานเพลงิ พระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พุทธศักราช ๒๕๕๕", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "7052#6", "text": "ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรในปี พ.ศ. 2502 ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระประสงค์จะสนองพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นพระบรมชนกนาถ และ พระราชสวามี จึงทรงต้องพระประสงค์จะอุปถัมภ์กิจการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มไว้ ดังนั้นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จึงทรงรับวชิราวุธวิทยาลัยไว้ในพระอุปถัมภ์ โดยจะทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อบำรุงวชิราวุธวิทยาลัย และทรงเสด็จพระดำเนินมาบำเพ็ญพระกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้เมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ก็ยังทรงพระราชทานเงินเพื่อบำรุงไว้เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" }, { "docid": "18064#3", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน[1][2]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#51", "text": "สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478) สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#49", "text": "หมวดหมู่:สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี หมวดหมู่:การสิ้นพระชนม์ในพระบรมวงศานุวงศ์ไทย", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#52", "text": "สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำเข็มที่ระลึก สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพื่อให้ประชาชนร่วมกับรัฐบาลน้อมเกล้าฯ แสดงความจงรักภักดี และนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบมูลนิธิเพชรรัตน - สุวัทนา ซึ่งมี อักษรพระนาม พ.ร. ภายใต้พระชฎามหากฐินรัชกาลที่ 6 และอุณาโลมเลียนลักษณะเลข 6 ทำด้วยโลหะชุบทอง หมายถึง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 มีพระขัตติยชาติอันประเสริฐดั่งทองนพคุณ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#45", "text": "วันที่ 4 เมษายน 2555 มีการพระราชทานเพลิงพระบุพโพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณที่จัดขึ้นสืบต่อกันมาในการพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย ในช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเรือเอกหม่อมเจ้าปุสาน สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงพระบุพโพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#13", "text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พระราชทานพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังนี้", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#65", "text": "จัดงานพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 285 รูป ถวายเป็นพระกุศล โดยในกรุงเทพมหานครจัด ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำหรับจังหวัดอื่นๆ นั้น ขอเชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญตักบาตรตามความเหมาะสมต่อไป กิจกรรมการบริจาคโลหิตถวายเป็นพระกุศล จัดทำสารคดีพระประวัติ พระกรณียกิจ และพระเกียรติคุณ เผยแพร่ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จัดทำหนังสือเรื่อง \"ดวงแก้วแห่งพระมงกุฎเกล้า\" ฉบับพ็อคเก็ตบุ๊ค จัดทำหนังสือจดหมายเหตุการจัดงานฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญที่ระลึก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำดวงตราไปรษณียากรที่ระลึก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ออกแบบภาพวัว เพื่อจัดทำเสื้อจำหน่ายให้แก่มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จัดทำนาฬิกาที่ระลึกจำหน่าย", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "393672#3", "text": "ท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ เป็นทั้งคุณข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระอาจารย์ในพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งทรงไว้วางพระทัยมาก ท่านผู้หญิงเคยตามเสด็จ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประพาสสหรัฐอเมริกา", "title": "ศรีนาถ สุริยะ" }, { "docid": "18064#64", "text": "โดยใช้ชื่อการจัดงานเป็นภาษาไทยว่า \"งานฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" สำหรับชื่องานภาษาอังกฤษ คือ \"The Celebrations of the 84th Birthday Anniversary of Her Royal Highness Princess Bejaratana\" นอกจากนี้ยังมีการจัดพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรม ดังนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#56", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเรียงลำดับตามปีที่ได้รับพระราชทาน ดังนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#11", "text": "จากนั้นในปี พ.ศ. 2489 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบแทน ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงคำนำพระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ที่ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ ดังเดิม เนื่องจากคำว่า \"ภคินี\" หมายถึง ลูกพี่ลูกน้องหญิง[13] เนื่องจากสังคมไทยจะพิจารณาจากความเป็น \"ลูกผู้พี่\" และ \"ลูกผู้น้อง\"[14] จึงทรงพระนามตามพระฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ดังปรากฏในปัจจุบันว่า สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ส่วนพระนามในภาษาอังกฤษตามทางราชการใช้ว่า \"Her Royal Highness Princess Bejaratana\"[15]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" } ]
3938
สงครามกลางเมืองสเปน เกิดขึ้นเมื่อใด ?
[ { "docid": "80960#2", "text": "พบว่ามีหลายเหตุผลที่ได้นำไปสู่สงครามครั้งนี้ และส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื้อรังที่เพิ่มพูนขึ้นในแต่ละปี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นศตวรรษแห่งความโกลาหลของสเปน และประสบกับสงครามกลางเมืองและการปฏิวัติหลายครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวคิดของพวกปฏิรูปและพวกอนุรักษนิยมที่ต้องการจะตัดอีกฝ่ายออกจากอำนาจ พวกเสรีนิยมซึ่งเฟื่องฟูขึ้นจากรัฐธรรมนูญแห่งปี 1812 ได้พยายามล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสเปน และสร้างขึ้นเป็นรัฐเสรีนิยมแทน ส่วนพวกอนุรักษนิยมต้องการที่จะป้องกันการล้มล้างระบอบกษัตริย์และค้ำจุนราชวงศ์ พวกคาลิสท์ (English: Carlists) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนเคาท์คาร์ลอสและผู้สืบทอดตระกูลของเขา ได้ผนึกกำลังกันเพื่อฟื้นฟูธรรมเนียมดั้งเดิมของเปน (ระบอบสมบูรณาฐาสิทธิราชย์และคาทอลิก) และต่อต้านลัทธิเสรีนิยมและสาธารณรัฐนิยมของรัฐบาลสเปนในขณะนั้น บางครั้ง พวกคาลิสท์ได้ร่วมมือกับพวกชาตินิยม ในความพยายามที่จะฟื้นฟูเสรีภาพทางประวัติศาสตร์และถือสิทธิ์ในการปกครองดินแดนของตนที่ได้รับมาจากฟวยโร (Spanish: Fuero) แห่งแคว้นแบ็คส์และแคว้นคาตาโลเนีย หลังจากครึ่งศตรวรรษหลังเป็นต้นมา พวกเสรีนิยมได้ถูกกลืนกินโดยพวกสังคมนิยมฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิอนาธิปไตย ซึ่งมีอำนาจและจำนวนคนในสเปนมากกว่าประเทศอื่นใดในทวีปยุโรป ซึ่งคาดว่าจะมาจากภายในสหภาพโซเวียต", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" } ]
[ { "docid": "80960#3", "text": "สเปนได้พบกับระบอบการปกครองหลายรูปแบบมาตั้งแต่สมัยระหว่างสงครามนโปเลียนในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการปะทุของสงครามกลางเมือง ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตรวรรษที่ 19 สเปนอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ถูกโจมตีจากหลายทิศทาง สาธารณรัฐสเปนที่หนึ่งจึงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1873 แต่มีอายุสั้นมาก ลัทธิราชาธิปไตยได้กลับคืนมาอีกครั้ง ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1887 ถึงปี ค.ศ. 1931 แต่หลังจากปี ค.ศ. 1923 เป็นต้นมา สเปนก็อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการของมิกูเอล พรีโม ดี ริเวอร์รา ภายหลังจากที่เขาถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1930 ราชวงศ์สเปนก็ไม่อาจรักษาอำนาจของตนไว้ได้ และสาธารณรัฐสเปนที่สองก็ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1931 รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนมาจากพวกหัวซ้ายและพวกสายกลาง และกฎหมายปฏิรูปหลายฉบับก็ถูกผ่านออกมา อย่างเช่น กฎหมายว่าด้วยการแบ่งปันที่ดินแห่งปี 1932 ซึ่งเป็นการแจกจ่ายดินแดนให้กับชาวนาที่ยากจน ชาวสเปนกว่าล้านคนมีชีวิตอยู่ในสภาพถูกปกครองจากเจ้าของที่ดินในลักษณะของกึ่งศักดินา การปฏิรูปหลายอย่างและการห้ามศาสนาเข้ามามีส่วนทางการเมือง รวมทั้งการตัดกำลังทางทหารและการปฏิรูป ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "287670#2", "text": "ความขัดแย้งที่สำคัญในทวีปยุโรประหว่างช่วงเวลานี้ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914-1918) สงครามกลางเมืองรัสเซีย (ค.ศ. 1917-1923) สงครามกลางเมืองสเปน (ค.ส. 1936-1939) และสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) ผลจากสงครามสองประการแรกก่อให้เกิดความขัดแย้งเล็กน้อยในรัฐเอกราชใหม่ในทวีปยุโรปตะวันออกตามมา", "title": "สงครามสามสิบปีครั้งที่สอง" }, { "docid": "80960#0", "text": "สงครามกลางเมืองสเปน (English: Spanish Civil War) เป็นการรบในประเทศสเปนที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้แก่ \"ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ\" ประกอบด้วยกลุ่มมัชฌิมา กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวกาตาลาและชาวบาสก์ที่หัวรักถิ่นและเป็นอนาธิปไตย กับ \"ฝ่ายชาตินิยม\" ที่เป็นฝ่ายก่อการกบฏ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ พวกการ์ลิสต์ พวกคาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสต์ฟรังกิสต์ ซึ่งกองทัพสเปนเองก็ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็พยายามระดมหาพันธมิตรต่างประเทศมาช่วยรบ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐดึงสหภาพโซเวียตและเม็กซิโก ส่วนฝ่ายชาตินิยมดึงพวกฟาสซิสต์จากอิตาลีและนาซีเยอรมนี", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "989569#0", "text": "การมีส่วนร่วมของเยอรมันในสงครามกลางเมืองสเปน ปี ค.ศ. 1936 เริ่มต้นด้วยการแพร่ระบาดของสงครามในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1936 โดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ส่งหน่วยกองกำลังอากาศและหน่วยยานเกราะที่มีประสิทธิภาพทันทีเพื่อช่วยเหลือนายพลฟรันซิสโก ฟรังโกและฝ่ายชาตินิยมของเขา สหภาพโซเวียตได้ส่งกองกำลังขนาดเล็กเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลของฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ ในขณะที่อังกฤษและฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆอีกกว่า 24 ประเทศได้ตั้งกฏห้ามส่งอาวุธยุทโธปกรณ์หรือทหารเข้าไปในสเปน เยอรมนียังได้ลงนามเช่นกัน แต่ก็ได้ละเลยไปด้วย สงครามครั้งนี้ได้ให้ประสบการณ์การรบกับเทคโนโลยีล่าสุดสำหรับการทหารเยอรมัน อย่างไรก็ตาม, การแทรกแซงยังได้เกิดความเสี่ยงของการก้าวเข้าสู่สงครามโลกซึ่งฮิตเลอร์ยังไม่พร้อม เขาจึงได้จำกัดในการช่วยเหลือและแทนที่ด้วยการสนับสนุนให้มุสโสลินีส่งหน่วยทหารอิตาลีขนาดใหญ่ ฝ่ายชาตินิยมของฟรังโกก็ได้รับชัยชนะ; เขายังคงความเป็นกลางอย่างเป็นทางการในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายอักษะในรูปแบบต่างๆตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940-1943 แม้กระทั่งได้รับข้อเสนอให้เข้าร่วมสงคราม เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1940 เพื่อแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือในการสร้างจักรวรรดิอาณานิคมสเปน สเปนยังคงดำรงอยู่ในช่วงเวลาสามปีและเป็นบทนำขนาดเล็กที่ไปสู่สงครามโลกซึ่งเกิดขี้นในปี ค.ศ. 1939", "title": "การมีส่วนร่วมของเยอรมันในสงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "560869#20", "text": "ฟางเส้นสุดท้ายขาดลงเมื่อศพขององค์กรผู้พิทักษ์เหล็ก ถูกส่งกลับมาจากสเปนหลังจากไปช่วยนายพลฟรังโกรบในสงครามกลางเมืองสเปน เมื่อเคลื่อนขบวนศพไปที่ใดก็จะมีประชาชนนับแสน ๆ คนออกมายืนไว้อาลัยตามท้องถนนจนแน่นขนัด กษัตริย์ผู้ริษยาเริ่มคิดหาวิธีจัดการศัตรูการเมืองขั้นเด็ดขาดแล้ว หลังการเลือกตั้งในปี 1937 พรรคของคอร์เดรียนูได้คะแนนมาเป็นอันดับสาม นโยบายฟาสซิสต์ ต่อต้านยิวและคอมมิวนิสต์เหมือนดั่งพรรคนาซีที่คุ้มหัวอยู่ห่าง ๆ นับว่าเรียกเสียงประชาชนได้ไม่น้อย เค้ากระจายแนวคิดโดยอาศัยหลัก \"คูอิบ\" หรือรังนก โดยแต่ละรังจะมีสมาชิก 13 คน หากมีสมาชิกเพิ่มจะแตกรังออกเป็นสองแล้วเติมเต็มสมาชิกใหม่เรื่อย ๆ", "title": "ราชอาณาจักรโรมาเนีย" }, { "docid": "909487#0", "text": "หน่วยทหารนกแร้ง () เป็นหน่วยทหารที่ประกอบไปด้วยบุคลากรทหารจากกองทัพอากาศและกองทัพบกของนาซีเยอรมนี ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ให้กับฝ่ายชาตินิยมในช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1936 ถึง เดือน มีนาคม ค.ศ. 1939 หน่วยทหารนกแร้งได้ทำการพัฒนายุทธวิธีในการทิ้งระเบิดซึ่งได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในสงครามโลกครั้งที่สองที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า การทิ้งระเบิดที่เกอร์นิคาเป็นปฏิบัติการที่น่าอัปยศมากที่สุดที่ถูกกระทำโดยหน่วยทหารนกแร้ง ฮูโก ชแปร์เริล (Hugo Sperrle) เป็นผู้บัญชาการคอยสั่งการขบวนการหน่วยเครื่องบินรบและวิลเฮล์ม ริทเทอร์ ฟอน โทมา ( Wilhelm Ritter von Thoma) เป็นผู้บัญชาการคอยสั่งการกองกำลังทางภาคพื้นดิน", "title": "คอนดอร์ลีจัน" }, { "docid": "80960#30", "text": "หมวดหมู่:สงครามตัวแทน", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "80960#20", "text": "ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา สเปนได้กลายมาเป็นจุดสนใจขององค์การลัทธิรักสงบหลายแห่ง อย่างเช่น \"Fellowship of Reconciliation\", \"War Resisters League\" และ \"War Resisters' International\"", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "287669#0", "text": "สงครามกลางเมืองยุโรป เป็นคำซึ่งอธิบายถึงแนวคิดที่เชื่อว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง และสมัยระหว่างสองสงครามโลกเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อซึ่งเกิดขึ้นในทวีปยุโรป คำดังกล่าวมักใช้อ้างอิงถึงการเผชิญหน้าหลายครั้งซึ่งเกิดขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ไม่มีข้อยุติที่เหมาะสมเกี่ยวกับรายละเอียดและเหตุผลเชื้อมโยง เช่น ระดับความเกี่ยวพันของนานาชาติในสงครามกลางเมืองสเปน และในบางครั้ง สงครามกลางเมืองรัสเซีย คำดังกล่าวมักถูกใช้อธิบายแนวคิดของการเสื่อมสภาพความเป็นเจ้าในโลกของทวีปยุโรป และการเกิดขึ้นของสหภาพยุโรป ดร. ฟรานซ-วิลลิง อธิบายว่า ในสมัยดังกล่าว \"การต่อสู้กันเองของทวีปยุโรปทำให้ยุโรปเสียตำแหน่งในโลกและความเป็นเจ้า และทำให้ตนเองถูกแบ่งออกในสองขั้วอิทธิพล ขั้วหนึ่งคืออเมริกา อีกขั้วหนึ่งคือรัสเซีย\" ", "title": "สงครามกลางเมืองยุโรป" }, { "docid": "35450#6", "text": "เนื้อร้องฉบับภาษาเยอรมันซึ่งโด่งดังและแพร่หลายที่สุดคือของ Emil Luckhardt แต่งในปี ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส นอกจากฉบับนี้แล้วยังมีฉบับภาษาเยอรมันอื่น ๆ อีก 7 ฉบับซึ่งเนื้อร้องเปลี่ยนแปลงไปตามอุดมการณ์ของผู้แต่ง ไม่ว่าจะเป็นสังคมนิยม คอมมิวนิสต์หรืออนาธิปไตย เช่น ฉบับของ Franz Diederich ที่แต่งในปี ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) ฉบับของ Sigmar Mehring ฉบับของ Erich Mühsam ที่แต่งในปี ค.ศ. 1919 (พ.ศ. 2462) หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฉบับของ Erich Weinert ที่แต่งในปี ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) ให้สมาชิกกองพลเทลมัน กองทหารอาสาสัญชาติเยอรมันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองพลน้อยนานาชาติที่เข้าร่วมรบในสงครามกลางเมืองสเปน เป็นต้น แต่ไม่มีฉบับใดแพร่หลายเท่าฉบับของ Luckhardt ซึ่งมีเนื้อร้องดังต่อไปนี้", "title": "แองเตอร์นาซิอองนาล" }, { "docid": "125017#0", "text": "อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (อังกฤษ: Weapon of Mass Destruction, WMD) คืออาวุธที่สามารถสังหารมนุษย์, สัตว์หรือพืชในจำนวนมาก และอาจทำลายสภาพแวดล้อมของโลกอย่างมหาศาล ซึ่งจำแนกได้เป็นอาวุธหลายประเภทด้วยกันได้แก่ อาวุธปรมาณู, อาวุธชีวภาพ, อาวุธเคมี รวมไปถึงอาวุธกัมมันตภาพรังสี (ต่างจากอาวุธปรมาณูตรงที่ให้แรงระเบิดน้อยกว่ามาก แต่แพร่กัมมันตรังสีในปริมาณที่เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับอาวุธปรมาณู) ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นจากกองกำลังที่มีอำนาจทางการเงินและเทคโนโลยีที่ด้อยกว่า (เช่น ผู้ก่อการร้าย) เป็นที่โต้เถียงกันว่าศัพท์นี้ (ในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาไทยนั้น ไม่ค่อยพบเห็นการใช้คำนี้มากนัก) ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อใด โดยนิยามนี้อาจถูกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2480 (เมื่ออ้างอิงถึงการทำลายล้างเมืองเกอร์นิคาในสเปนด้วยการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดในสงครามกลางเมืองสเปน) หรือใน พ.ศ. 2488 (เมื่ออ้างอิงถึงการที่สหรัฐอเมริกาใช้อาวุธปรมาณูกับเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิในญี่ปุ่น) และเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ศัพท์นี้ก็ถูกใช้กับอาวุธอื่นนอกจากอาวุธตามปกติมากขึ้น แต่คำนี้ถูกใช้มากที่สุดในการรุกรานอิรักใน พ.ศ. 2546 ที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำการโจมตี (โดยอ้างเหตุในการรุกรานว่าอิรักนั้นครอบครองอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง)", "title": "อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง" }, { "docid": "702991#1", "text": "บาดาโฆซถูกชาวมัวร์เข้ายึดครองในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรบาดาโฆซซึ่งเกิดขึ้นหลังอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบาล่มสลาย นับตั้งแต่ที่ชาวคริสต์สามารถพิชิตดินแดนคืนได้จากชาวมุสลิม บริเวณเมืองนี้ก็ตกเป็นข้อพิพาทระหว่างสเปนกับโปรตุเกสอยู่หลายศตวรรษ ทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีอำนาจและก่อให้เกิดการสู้รบหลายครั้งไม่ว่าจะเป็นสงครามการสืบราชบัลลังก์สเปน (ค.ศ. 1705), สงครามคาบสมุทร (ค.ศ. 1808–1811), การล้อมบาดาโฆซ (ค.ศ. 1812) หรือสงครามกลางเมืองสเปน (ค.ศ. 1936) ร่องรอยของประวัติศาสตร์สเปนได้ปรากฏให้เห็นอย่างกว้างขวางในเมืองนี้", "title": "บาดาโฆซ" }, { "docid": "395563#0", "text": "คาตาลันฟุตบอลแชมเปียนชิป () หรือ กัมปิอูนัตดากาตาลุญญา () เป็นการแข่งขันฟุตบอลในกาตาลุญญา เป็นลีกฟุตบอลแรกของสเปน ก่อนลาลีกาที่กำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1929 โดยถ้วยนี้เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1900 โดยอัลฟอนส์ มากายา ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างทีมฟุตบอลสเปน ลีกนี้แข่งขันขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1901 ถึง 1940 จนยกเลิกไปในช่วงการปฏิวัติของจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน", "title": "คาตาลันฟุตบอลแชมเปียนชิป" }, { "docid": "80960#26", "text": ", เอกสารของมหาวิทยาลัยแห่งอิลินนอยส์ โดย Albert และ Vera Weisbord เรื่องราวระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน , a detailed chronicle of the events of the war Ronald Hilton, in the libcom.org library", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "145757#6", "text": "กาเซเรสมีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงการพิชิตดินแดนคืน (ตามที่ได้กล่าวแล้ว) และในช่วงการค้นพบทวีปอเมริกา เนื่องจากชนชั้นสูงที่ทรงอิทธิพลของสเปนจำนวนมากได้มาสร้างบ้านเรือนและวังเล็ก ๆ ที่นี่ และสมาชิกในตระกูลต่าง ๆ จากเมืองนี้ (รวมทั้งจากแคว้นเอซเตรมาดูรา) หลายคนได้ร่วมเดินทางไปยังทวีปอเมริกาเพื่อแสวงหาความมั่งคั่ง จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 กาเซเรสได้กลายเป็นเมืองหลักของจังหวัด ทำให้เกิดความเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ ขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากชะงักงันไปในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน สำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานของรัฐหลายแห่งสามารถพบได้ที่เมืองนี้ ซึ่งในปี ค.ศ. 2007 มีประชากรจำนวน 91,606 คน", "title": "กาเซเรส" }, { "docid": "975798#0", "text": "ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ (), ยังเป็นที่รู้จักกันคือ ฝ่ายจงรักภักดี ( or \"bando gubernamental\"), เป็นฝ่ายในสงครามกลางเมืองสเปน ในปี ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1939 ที่สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนที่ 2 เพื่อต่อกรกับฝ่ายชาตินิยมหรือฝ่ายกบฏของการก่อการกำเริบของทหาร ชื่อนามว่า พวกนิยมสาธารณรัฐ เป็นคำที่ถูกใช้เป็นส่วนใหญ่โดยสมาชิกและฝ่ายสนับสนุน ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามได้ใช้คำหยาบคายว่า Rojos (สีแดง) เพื่อเรียกถึงฝ่ายนั้น", "title": "ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ (สงครามกลางเมืองสเปน)" }, { "docid": "975792#0", "text": "ฝ่ายชาตินิยม () หรือฝ่ายกบฏ() เป็นฝ่ายที่สำคัญในสงครามกลางเมืองสเปน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1939 ประกอบไปด้วยกลุ่มนักการเมืองหลายกลุ่มที่สนับสนุนการก่อรัฐประหารสเปนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1936 เพื่อต่อกรกับสาธารณรัฐสเปนที่ 2 รวมทั้งกลุ่ม Falange, พรรค CEDA และสองคู่แข่งผู้เรียกร้องสิทธิราชบัลลังก์ ฝ่ายอัลฟอนซิสท์และฝ่ายคาลิสท์ ในปี ค.ศ. 1937 กลุ่มทั้งหมดได้เข้าร่วมกับกลุ่ม Falange หนึ่งในผู้นำหลัก()ของการก่อรัฐประหาร ปี ค.ศ. 1936 นายพล ฟรันซิสโก ฟรังโก ได้นำฝ่ายกลุ่มนี้ตลอดในช่วงสงครามและต่อมาก็ได้กลายเป็นผู้นำเผด็จการแห่งเสปน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 ถึง ค.ศ. 1975", "title": "ฝ่ายชาตินิยม (สงครามกลางเมืองสเปน)" }, { "docid": "201098#1", "text": "เรื่องราวในภาพยนตร์เกิดขึ้นในประเทศสเปน ราว ค.ศ. 1944 ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน ตัวเอกของเรื่องเป็นเด็กหญิงชื่อโอฟีเลีย รับบทโดยอิวาน่า บาเคโร่ มีพ่อเลี้ยงเป็นนายทหารพรรคฟาแลงก์ ที่ออกตามล่ากองกำลังกบฏฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของนายพลฟรันซิสโก ฟรังโก ภาพยนตร์กล่าวถึงจินตนาการของโอฟีเลียว่าได้พบกับเขาวงกตของเทพฟอน ซึ่งได้มอบหนังสือนิทานชื่อ Book of Crossroads และกล่าวว่าจริงๆแล้วเธอเป็นเจ้าหญิงในเทพนิยายชื่อ เจ้าหญิงโมแอนนา โอฟีเลียจะต้องปฏิบัติภารกิจตามที่เทพฟอนสั่ง จึงจะได้กลับไปครองอาณาจักรของเธอ", "title": "อัศจรรย์แดนฝัน มหัศจรรย์เขาวงกต" }, { "docid": "57399#27", "text": "มักจะเกิดความดุเดือดในเกมการแข่งขันระหว่างทีมที่แข็งแกร่งที่สุดของประเทศนี้ โดยเฉพาะใน ลาลิกา โดยเกมการแข่งขันระหว่างบาร์ซาและเรอัลมาดริด เรียกว่า เอลกลาซิโก () ตั้งแต่เริ่มมีการแข่งขันระดับประเทศ ทั้ง 2 สโมสรเหมือนเป็นตัวแทนของคู่แข่งกันทั้ง 2 ภูมิภาคของสเปน คือ กาตาลุญญาและกัสคิยา รวมถึง 2 เมืองด้วย การแข่งขันยังสะท้อนให้เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการเมืองและความตึงเครียดของทั้ง 2 วัฒนธรรม สามารถเห็นได้จากการออกกฎหมายในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน", "title": "สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา" }, { "docid": "75901#7", "text": "ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน ในแคว้นอารากอนได้ปรากฏการก่อตั้งชุมนุมอนาธิปไตย (ผู้ต้องการล้มกฎหมายและการปกครอง) ขึ้นหลายแห่ง", "title": "แคว้นอารากอน" }, { "docid": "80960#16", "text": "ไอร์แลนด์เป็นเพียงประเทศเดียวที่มีอาสาสมัครสนับสนุนฝ่ายชาตินิยมมากกว่าฝ่ายสาธารณรัฐ ถึงแม้ว่ารัฐบาลไอร์แลนด์จะประกาศว่าการที่ผู้ใดมีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้จะเป็นการผิดกฎหมายก็ตาม แต่ว่ามีชาวไอริชประมาณ 250 คนที่จากบ้านเกิดไปเพื่อรบให้กับฝ่ายสาธารณรัฐ และพวกเสื้อฟ้าอีกประมาณ 700 คนที่ไปรบให้กับฝ่ายชาตินิยม", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "989569#1", "text": "นาซีได้ให้การสนับสนุนแก่นายพลฟรังโกมีสาเหตุด้วยหลายปัจจัย รวมทั้งเป็นที่ทำให้เกิดหันเหความสนใจจากยุทธศาสตร์ยุโรปกลางของฮิตเลอร์ และสร้างรัฐสเปนที่เป็นมิตรกับเยอรมันเพื่อข่มขู่ฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังได้โอกาศที่จะฝึกกำลังคนและทดสอบอาวุธยุทโธปกรณ์และยุทธวิธี", "title": "การมีส่วนร่วมของเยอรมันในสงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "41498#1", "text": "อะเลคันโดรคิดค้นเกมนี้ขึ้นในช่วงที่เขาได้รับบาดเจ็บจากระเบิดในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน เขามีความคิดที่ว่า คนจำนวนมากรวมถึงเด็กที่อยู่ในโรงพยาบาลไม่สามารถที่จะเล่นฟุตบอลได้ จึงได้เกิดความคิดพัฒนาเกมขึ้น โดยได้ไอเดียมาจากการเล่นปิงปอง (ซึ่งจำลองการเล่นเทนนิสบนพื้นโต๊ะ) อะเลคันโดรให้คาเบียร์ อัลตูนา (Javier Altuna) เพื่อนที่เป็นช่างไม้สร้างโต๊ะฟุตบอลโต๊ะขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาถึงแม้ว่าอเลคานโดรได้จดสิทธิบัตรผลงานนี้ในปี พ.ศ. 2480 แต่ได้ทำเอกสารสิทธิบัตรสูญหายไประหว่างการหลบหนีการรัฐประหารลัทธิฟาสซิสต์ในฝรั่งเศส", "title": "ฟุตบอลโต๊ะ" }, { "docid": "959767#0", "text": "กองพลเทลมัน () เป็นกองพลของกองพลน้อยนานาชาติ ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน กองพลได้รับการตั้งชื่อตามผู้นำคอมมิวนิสต์เยอรมันที่ถูกคุมขัง แอ็นสท์ เทลมัน (เกิด 16 เมษายน 1886, ถูกประหารชีวิต 18 สิงหาคม 1944) กองพลมีกำลังพลรวมประมาณ 1,500 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมัน, ออสเตรีย, สวิส และสแกนดิเนเวีย กองพลได้ร่วมต่อสู้ในการป้องกันกรุงมาดริด ในบรรดาผู้บัญชาการกองพลเป็นนักเขียนชาวเยอรมัน, นักประวัติศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง Ludwig Renn (ต่อมาได้ไปเป็นเสนาธิการกองพลน้อยนานาชาติที่ 11) และเจ้าหน้าที่ปรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง Hans Kahle ซึ่งต่อมาได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้นำกองพันสาธารณรัฐที่ 45 กองพลเช่นกองพลน้อยนานาชาติโดยทั่วไป ยังดึงดูดการมีส่วนร่วมของปัญญาชน เช่นนักเขียนที่มีชื่อเสียง Willi Bredel ที่ได้กลายเป็นคอมมิสซาร์", "title": "กองพลเทลมัน" }, { "docid": "223970#1", "text": "ในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1905 ข้าหลวงแห่งเมืองเซบิยาได้แต่งตั้งประธานสโมสรฟุตบอลเซบิยาคนแรก คือโคเซ ลุยส์ กาเยโกส (Jose Luis Gallegos) โดยเกมอย่างเป็นทางการนัดแรกของสโมสรนั้นต้องรออีก 9 ปีคือ ค.ศ. 1914 ในการพบกับ \nทีมเรเกรอาตีโบอวยล์บา โดยในปี ค.ศ. 1935 สโมสรคว้าแชมป์ครั้งแรกด้วยการคว้าแชมป์โกปาเดลเซบิยา (บอลถ้วยแห่งเมืองเซบิยา) หลังจากนั้นสโมสรก็สามารถคว้าแชมป์โกปาเดลเรย์เป็นครั้งแรกด้วยการเอาชนะทีมซาบาเดย์ไป 3-0\nในฤดูกาล 1939-1940 ทางสโมสรก็ได้เข้าร่วมลาลีกาเป็นครั้งแรก และลีกได้กลับมาจัดอีกครั้งหลังเกิดสงครามกลางเมืองสเปน และเซบิยาสามารถถล่มเอาชนะบาร์เซโลนา ไป 11-1, ชนะบาเลนเซีย ไป 10-3 และถล่มเอาชนะเอร์กูเลสไป 8-3", "title": "สโมสรฟุตบอลเซบิยา" }, { "docid": "25747#29", "text": "ประเทศสเปนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศนาซีเยอรมันและประเทศอิตาลี ซึ่งในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน นาซีเยอรมันและประเทศอิตาลีได้ให้การสนับสนุนสเปนชาตินิยมโดยอยู่ภายใต้การนำของจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก ด้วยการส่งทหาร เครื่องบิน รถถัง และอาวุธ โดยรัฐบาลอิตาลีได้จัดหา \"กองทหารอาสาสมัคร\" (อิตาลี: Corpo Truppe Volontarie) และเยอรมนีได้ส่ง \"กองพันนกแร้ง\" (อังกฤษ: Legion Condor) โดยอิตาลีได้ส่งทหารไปยังสเปนกว่า 75,000 นาย ส่วนเยอรมนีส่งทหารไป 19,000 นาย ทำให้สเปนชาตินิยมชนะเหนือฝ่ายสาธารณรัฐสเปนได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้อุบัติขึ้น ในระยะแรกประเทศสเปนซึ่งอยู่ภายใต้การนำของฟรังโกได้ยืนอยู่ข้างเยอรมนีและอิตาลีในลักษณะผู้ไม่เข้าร่วมประกาศสงครามมากว่าการเป็นประเทศไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด แต่อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2486 ฟรังโกได้ปรับเปลี่ยนนโยบาย นำเอาประเทศสเปนออกจากการเกี่ยวข้องกับฝ่ายอักษะได้อย่างชาญฉลาด ทำให้สเปนไม่ต้องตกอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม", "title": "ฝ่ายอักษะ" }, { "docid": "80960#5", "text": "ไม่เพียงแต่จะมีการสนับสนุนการก่อตั้งลัทธิใหม่ขึ้นมาเท่านั้น แต่การทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างการเมืองกับศาสนาทำให้มีการต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1933 สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ได้ติเตียนการกีดกันเสรีภาพของรัฐบาลสเปน และการยึดทรัพย์สินของคริสตจักรและโรงเรียนสอนศาสนาต่าง ๆ ผ่านทางจดหมายที่ท่านส่งมา", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "69616#5", "text": "ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กาตาลุญญาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสงครามนโปเลียนและสงครามการ์ลิสต์ แต่ในครึ่งหลังของศตวรรษก็มีการพัฒนาอุตสาหกรรม เมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรม จึงเกิดกระแสการฟื้นฟูวัฒนธรรมกาตาลุญญาร่วมกับกระแสชาตินิยม ในขณะเดียวกันก็เกิดขบวนการแรงงานขึ้นมาหลายกลุ่ม และด้วยการกลับมาของระบอบประชาธิปไตยในสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (ค.ศ. 1931–1939) ทบวงการปกครองกาตาลุญญาก็ได้รับการฟื้นฟูในฐานะฝ่ายบริหารของแคว้นปกครองตนเอง หลังสงครามกลางเมืองสเปน รัฐบาลเผด็จการของฟรันซิสโก ฟรังโก ได้ออกมาตรการกดขี่หลายประการ สถาบันต่าง ๆ ของกาตาลุญญาถูกล้มล้าง มีการสั่งห้ามใช้ภาษากาตาลาเป็นภาษาราชการของแคว้นอีกครั้ง จากคริสต์ทศวรรษ 1950 จนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 กาตาลุญญามีความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จึงดึงดูดแรงงานจำนวนมากจากทั่วประเทศสเปนให้เข้ามาทำมาหากิน ทำให้บาร์เซโลนากลายเป็นเขตมหานครอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรปและส่งผลให้กาตาลุญญากลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ นับตั้งแต่สมัยการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของสเปน (ค.ศ. 1975–1982) เป็นต้นมา กาตาลุญญาได้รับอิสระทางการเมืองและวัฒนธรรมกลับคืนมาบางส่วน และเป็นแคว้นที่มีพลวัตทางเศรษฐกิจมากที่สุดแคว้นหนึ่งของสเปนในปัจจุบัน", "title": "แคว้นกาตาลุญญา" }, { "docid": "3139#3", "text": "ช่วงหกปีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นับจากนั้น ริเอโกเข้าร่วมกับกลุ่มฟรีเมสันและกลุ่มเสรีนิยมเพื่อสมคบกันต่อต้านพระเจ้าเฟอร์ดินันด์ที่ 7 ในปี ค.ศ. 1819 พระเจ้าเฟอร์ดินันด์ที่ 7 ทรงแต่งทัพจำนวน 10 กองพันออกไปปราบปรามขบวนการต่อต้านในอเมริกาใต้ ซึ่งริเอโกได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองพันชาวอัสตูเรียส อย่างไรก็ตาม หลังจากเขาไปถึงเมืองท่ากาดิซ เมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1820 เดล ริเอโกพร้อมทั้งนายทหารคนอื่น ๆ ได้ก่อกบฏขึ้นและเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1812 กลับมาใช้อีกครั้ง ความขัดแย้งครั้งนี้ภายหลังจะเรียกกันว่าสงครามกลางเมืองสเปน ค.ศ. 1820-1823 กองทหารของริเอโกได้เคลื่อนทัพผ่านเมืองต่าง ๆ ในแคว้นอันดาลูเซีย โดยหวังที่จะปลุกเร้าให้เกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านกษัตริย์ แต่ไม่เป็นผล อย่างในก็ตามได้เกิดการลุกฮือขึ้นในแคว้นกาลิเซีย และแผ่ขยายไปทั่วทั้งประเทศสเปน เมื่อถึงวันที่ 7 มีนาคม ปีเดียวกัน กองทหารโดยการนำของนายพลบาเยสเตโรสได้ล้อมพระราชวังในกรุงมาดริดไว้ และในวันที่ 10 มีนาคม พระเจ้าเฟอร์ดินันด์ที่ 7 ทรงยินยอมให้นำรัฐธรรมนูญกลับมาบังคับใช้อีกครั้ง", "title": "ราฟาเอล เดล เรียโก" } ]
3939
ภูมิทัศน์ หมายถึงอะไร ?
[ { "docid": "19540#0", "text": "โดยทั่วไปคำว่า \"ภูมิทัศน์\" หมายถึง ภาพรวมของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่มนุษย์ รับรู้ทางสายตาในระยะห่าง อาจเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่ประกอบด้วยรูปทรงของแผ่นดิน น้ำ ต้นไม้ สัตว์และสรรพสิ่งมนุษย์สร้างในสภาพอากาศหนึ่งและช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกว่าภูมิทัศน์ธรรมชาติ หรือภาพรวมของเมืองหรือส่วนของเมือง เรียกว่าภูมิทัศน์เมืองนอกจากนี้ยังมีการใช้คำ “ภูมิทัศน์” กับพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะเด่นชัด เช่น ภูมิทัศน์ทะเล ภูมิทัศน์ภูเขา ภูมิทัศน์ทะเลทราย หรือ ภูมิทัศน์พระจันทร์ ซึ่งหมายถึงภาพรวมของพื้นที่บนผิวดวงจันทร์ที่มนุษย์อวกาศไปเยือน", "title": "ภูมิทัศน์" } ]
[ { "docid": "146556#5", "text": "แนวความคิดเกี่ยวกับ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” มีต้นตอจากภาพเขียนภูมิทัศน์แบบประเพณีของยุโรป นับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2050 เป็นต้นมา ศิลปินยุโรปหลายคนได้เขียนภาพภูมิทัศน์แบบตามใจผู้คน โดยย่อตัวคนในภาพเขียนให้เล็กลงและจัดกลุ่มให้อยู่ในภูมิทัศน์ประเภทต่างๆ ที่กว้างใหญ่ ", "title": "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" }, { "docid": "146556#6", "text": "คำว่า “ภูมิทัศน์” ในตัวของมันเองได้ผนวก “ภูมิ” หรือผืนแผ่นดิน ซึ่งมีต้นตอมาจากคำว่าแผ่นดินในภาษาเยอรมันกับคำกริยา \"\"scapjan/ schaffen\"\" ซึ่งมีความหมายว่า “แผ่นดินที่ถูกขึ้นรูป” (shaped lands) และในขณะนั้นถือว่าเป็นผืนแผ่นดินที่ถูกขึ้นรูปด้วยแรงธรรมชาติ และรายละเอียดของ “แผ่นดินที่ถูกขึ้นรูป” (\"landshaffen\" -shaped lands) ได้กลายเป็นเนื้อหาของ “ภาพเขียนภูมิทัศน์” ", "title": "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" }, { "docid": "149232#2", "text": "คำว่า “landscape” มาจากภาษาดัทช์ landscape “landschap” ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เก็บเกี่ยวแล้ว และนำเข้ามาใช้ในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อต้น คริสต์ศตวรรษที่ 15 การเขียนภาพภูมิทัศน์เป็นศิลปะการเขียนแบบหนึ่งในยุโรป ซึ่งใช้เป็นฉากหลังของกิจการต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะคริสต์ศาสนา เช่น ภาพในหัวเรื่อง “พระเยซูหนีไปอียิปต์”, หรือฉากการเดินทางของแมไจเพื่อนำของขวัญมาให้พระเยซู หรือ ภาพเขียนเกี่ยวกับนักบุญเจอโรมเมื่อไปจำศีลอยู่ในทะเลทราย", "title": "จิตรกรรมภูมิทัศน์" }, { "docid": "230611#3", "text": "อาชิฮารา โยชิโนบุ (Ashihara Yoshinobu,Translated by Lynne E. Riggs, 1983, p. 39) ให้ความหมายของภูมิทัศน์เมือง คือ ภาพรวมของเมืองซึ่งเกิดจากองค์ประกอบทางกายภาพต่างๆซึ่งปรากฏแก่สายตา และก่อให้เกิดผลทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้รับรู้องค์ประกอบ โดยคุณลักษณะของภูมิทัศน์เมืองถูกกำหนดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างถนนและกลุ่มอาคารในพื้นที่เมือง ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่กำหนดคุณลักษณะของภูมิทัศน์เมืองในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อภูมิทัศน์เมือง ได้แก่ วัสดุที่ใช้ (Materials) ขนาดสัดส่วน (Proportions) และเส้นรอบรูป (Profiles) หรือ เส้นขอบที่มองจากด้านหน้าอาคาร และด้านข้างอาคาร ", "title": "ภูมิทัศน์เมือง" }, { "docid": "146556#1", "text": "กรรมาธิการมรดกโลกได้บ่งชี้และรับรองประเภทของภูมิทัศน์วัฒนธรรมไว้ 3 ประเภท ได้แก่ (1) ภูมิทัศน์ที่เกิดจากการจงใจของมนุษย์ (2) ภูมิทัศน์ทั้งหมดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งด้วยความจงใจทำ และไม่ได้จงใจทำ และ (3) ภูมิทัศน์ที่มีร่องรอยการปรุงแต่งโดยมนุย์น้อยที่ (แต่มีคุณค่าสูง) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่คัดจาก “แนวทางปฏิบัติของกรรมาธิการ” มีดังนี้ :", "title": "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" }, { "docid": "19541#0", "text": "ในเชิงของการพัฒนาโครงการ \"งานภูมิทัศน์\" หมายถึงพื้นที่ภายนอกอาคารที่มีการปรับแต่งพื้นที่ให้มีประโยชน์ใช้สอยที่มีประสิทธิภาพ มีความร่มรื่นสวยงามและมีเอกลักษณ์ รวมทั้งการมีองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น ระบบการให้แสงสว่าง ระบบให้น้ำต้นไม้ ระบบระบายน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบอำนวยความสะดวก เช่น ม้านั่ง ถังขยะ ป้าย ตลอดจนสิ่งประเทืองใจ เช่น น้ำพุ น้ำตก หรือประติมากรรม", "title": "งานภูมิทัศน์" }, { "docid": "19541#2", "text": "ในเชิงการออกแบบและก่อสร้าง “งานภูมิทัศน์” หมายถึงชุดงานที่แยกออกจากงานอาคารและงานภายในเพื่อความสะดวกในการประมูลและก่อสร้างเนื่องจากผู้รับเหมาก่อสร้างภูมิทัศน์มีความชำนาญและมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างจากผู้รับเหมางานอาคารและงานภายใน", "title": "งานภูมิทัศน์" }, { "docid": "209558#0", "text": "อาจารย์สมพร ยกตรี (6 สิงหาคม พ.ศ. 2479 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551) เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน ร่วมกับรองศาสตราจารย์ศิริชัย หงษ์วิทยากร และอาจารย์โสภณ มงคลวัจน์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2479 และถึงแก่กรรมในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ท่านเป็นผู้ริเริ่มโครงการ 80 พรรษา 8 พรรณไม้หมายเมือง และไม้หมายทาง ตลอดชีวิตการทำงานทุ่มเทให้กับการสอนในวิชาชีพภูมิทัศน์ รวมทั้งด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จนเป็นที่ยอมรับ และได้รับการขนานนามว่าเป็น \"เก๊าไม้ ล้านนา\"\nนายสมพร ยกตรี มีตำแหน่งสุดท้ายเป็นอาจารย์ระดับ 7 บิดาชื่อนายคำแสน ยกตรี มาราดาชื่อนางเต่า ยกตรี เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 6คน", "title": "สมพร ยกตรี" }, { "docid": "230611#0", "text": "ภูมิทัศน์เมือง แม้จะเป็นคำที่ไม่คุ้นเคยโดยทั่วไป หรือมักใช้กันเฉพาะในวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม แต่ความหมาย และความเข้าใจนั้น เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว นั่นเป็นเพราะชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ต่างดำรงชีพในสังคมเมืองที่ประสบพบเห็นความงามของเมืองจนชินตา อย่างไรก็ตามการสร้างความเข้าใจตามความหมาย และแนวคิดเกี่ยวกับภูมิทัศน์เมือง ย่อมช่วยให้เห็นคุณค่าของความงดงามของเมืองที่เกิดจากการใช้ธรรมชาติ และการสรรสร้างของมนุษย์ เพื่อปั้นแต่งเมืองแต่ละเมืองให้เกิดความสวยงามที่แตกต่างกัน \nคำว่า\"ภูมิทัศน์เมือง\" เป็นคำแปลที่มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า \"Urban Landscape\" หรือ \"Townscape\" ซึ่งเกิดจากการรวมกันของคำว่า Urban หรือ Town ที่แปลว่า \"เมือง\" ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แสดงลักษณะพื้นที่เมืองที่ถูกล้อมรอบด้วยกำแพง หรือเป็นพื้นที่ในเขตรัศมีที่แยกตัวจากพื้นที่ชนบท และมีแบบแผนของการจัดองค์กรภายใน และคำว่า Landscape ที่แปลว่า \"ภูมิทัศน์\" หมายถึง การรับรู้สภาพแวดล้อมภูมิประเทศทั้งที่ปรากฏตามจริง และภาพลักษณ์ในจิตใจที่รู้สึกได้ (เกริก กิตติคุณ, ภูมิทัศน์เมือง, หน้า 1-2) ", "title": "ภูมิทัศน์เมือง" }, { "docid": "184832#0", "text": "ภูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน (อังกฤษ: Energy-efficient landscaping) เป็นงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมประเภทหนึ่งที่มีความมุ่งหมายเพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งมีข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุและการก่อสร้างงานภูมิทัศน์และพลังงานที่ใช้ในระหว่างการใช้งานและการดูแลรักษา", "title": "ภูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน" }, { "docid": "4202#36", "text": "งานออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบสนามบินและภายในส่วนเปิดโล่งของอาคารผู้โดยสารมีลักษณะของความเป็นไทย เดิมออกแบบโดย ปีเตอร์ วอล์กเกอร์ ภูมิสถาปนิกชาวอเมริกัน วอล์กเกอร์ระบุว่า ภูมิทัศน์ถนนภายในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ประกอบด้วยงานภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ที่สามารถสัมผัสได้แม้จากในรถที่กำลังแล่น", "title": "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" }, { "docid": "19540#3", "text": "จิตรกรรมภูมิทัศน์ (Landscape art) ได้แก่งานจิตรกรรมภาพวิวทิวทัศน์ หรือสื่ออื่นที่แสดงภูมิทัศน์ ภาพถ่ายภูมิทัศน์ (Nature photography) ได้แก่งานการถ่ายภาพภาพวิวทิวทัศน์ ภูมิทัศน์สถาปัตยกรรม หรือภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape architecture) ได้แก่ศิลปะและวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการวางแผน การออกแบบ และการจัดการงานภูมิทัศน์สาธารณะ งานภูมิทัศน์และสวนส่วนบุคคลซึ่งสามารถแบ่งเป็นสาขาย่อยได้ดังนี้ การออกแบบภูมิทัศน์ (Landscape design) ได้แก่การออกแบบที่ว่างทั้งในเมืองและชนบท ภูมิทัศน์วิศวกรรม (Landscape engineering) ได้แก่งานด้านเทคนิคในงานภูมิสถาปัตยกรรม การวางแผนภูมิทัศน์ (Landscape planning) ได้แก่การวางแผนพื้นที่ขนาดใหญ่ และ/หรืองานพัฒนาโครงการภูมิทัศน์ระยะยาว การจัดการงานภูมิทัศน์ (Landscape management) ได้แก่การดูแลและจัดการภูมิทัศน์มนุษย์สร้างและภูมิทัศน์ธรรมชาติ งานภูมิทัศน์สวน (Landscape gardening) ได้แก่งานออกแบบสวนในคฤหาสก์ขนาดใหญ่ ซึ่งนิยมทำและมีความสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 ในยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ นับเป็นต้นตอของภูมิสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์ชุมชน (Urban landscape) ได้แก่การออกแบบหรือปรับปรุงคุณภาพทางทัศนียภาพในสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนของเมือง โดยเฉพาะที่เป็นชุมชนให้มีความร่มรื่น สวยงาม มีเอกลักษณ์และร่มรื่น ภูมิทัศน์นิเวศวิทยา (Landscape ecology) ได้แก่สาขาย่อยในวิชานิเวศวิทยาที่ว่าด้วยการศึกษาสาเหตุ ผลกระทบและกระบวนการของรูปลักษณ์ภูมิทัศน์ของพื้นที่ที่ถูกเปลี่ยนแปลง ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural landscapes) ได้แก่ “การรวมเข้าด้วยกันในงานของธรรมชาติและงานของมนุษย์” เป็นการแสดงให้เห็นภาพของวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์และการตั้งถิ่นฐานตามกาลเวลาที่ล่วงเลยมา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากข้อจำกัดทางกายภาพและ/หรือโอกาสในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและจากการสืบทอดทางสังคม เศรษฐกิจและพลังอิทธิพลทางวัฒนธรรมทั้งที่เกดภายในและที่ได้รับจากภายนอก", "title": "ภูมิทัศน์" }, { "docid": "230611#34", "text": "เพื่อบรรลุผลที่ได้จากการการวางแผน ควรได้รับการสนองตอบจากชุมชน และสังคมท้องถิ่น โดยไม่ทำให้ขีดความสามารถที่จะสนองตอบต่อความจำเป็นต้องการในอนาคตเสียไป โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพภูมิทัศน์เมืองให้เกิดขึ้น แนวทางการจัดการสภาพภูมิทัศน์เมือง ควรให้ความสำคัญต่อสิทธิของประชาชนในท้องถิ่น และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและแผนงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์แก่ประชาชน ทำได้โดยให้ความรู้และการศึกษาทั้งในโรงเรียน และนอกระบบ มีการฝึกอบรม รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์การจัดทำแนวทางหรือคู่มือการพัฒนาภูมิทัศน์เมือง ทั้งนี้กระบวนการมีส่วนร่วมนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุกระดับตั้งแต่ระดับองค์กรหน่วยงานของรัฐ จนถึงในระดับชุมชนขนาดเล็ก การพัฒนาสภาพภูมิทัศน์เมือง ต้องใช้มิติของภาคประชาชนในการจัดการและการแก้ปัญหาร่วมกัน กระบวนการมีส่วนร่วมก่อให้เกิดพลังของทุกฝ่ายในการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชน สามารถนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่มีประสิทธิภาพ", "title": "ภูมิทัศน์เมือง" }, { "docid": "19541#3", "text": "ปกติงานภูมิทัศน์จะแยกแบบออกเป็นสองชุดแต่สัมพันธ์กัน ได้แก่งาน ภูมิทัศน์ดาดแข็ง (Hardscape) ได้แก่ส่วนของงานที่เป็นองค์ประกอบแข็ง เช่น ผิวพื้น โครงสร้างและงานระบบต่างๆ และ \"ภูมิทัศน์ดาดอ่อน\" ได้แก่ส่วนของงานที่เป็นงานดิน งานปลูก", "title": "งานภูมิทัศน์" }, { "docid": "146556#8", "text": "ผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการแพร่หลายแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้แก่คาร์ล โอ. ซาวเออร์ นักภูมิศาสตร์มนุษย์ ซาวเออร์มีความแน่วแน่ในการผลักดันหน่วยงานทางวัฒนธรรมให้มีอิทธิพลในการสร้างรูปโฉมของพื้นผิวโลกในเขตกำหนดเฉพาะ ในการให้นิยามนี้ ซาวเออร์บ่งชี้ว่าสิ่งแวดล้อมทางกายภาพควรคงไว้ซึ่งความสำคัญที่เป็นมัชชิมหรือตัวกลางร่วมอยู่กับกิจกรรมทางวัฒนธรรมของมนุษย์ นิยามคลาสสิกของซาวเออร์มีดังนี้:\n“\"ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นรูปแบบที่ปั้นแต่งมาจากภูมิทัศน์ธรรมชาติโดยกลุ่มวัฒนธรรมกลุ่มหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นตัวการ (agent) ธรรมชาติเป็นตัวกลาง (medium) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมคือผลลัพธ์\"” ", "title": "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" }, { "docid": "245707#2", "text": "ยันเริ่มเขียนภาพดอกไม้และผลไม้ก่อน หลังจากนั้นก็เริ่มสร้างชื่อเสียงในการเขียนภาพภูมิทัศน์และทะเลทัศน์ ลักษณะการเขียนของยันต่างจากของบิดาและจากของน้องชาย งานสมัยแรกของยันมักจะเป็นภาพภูมิทัศน์ที่เป็นฉากจากพระคัมภีร์โดยเฉพาะฉากป่าที่ไม่เหมือนกับงานของคิลลิส ฟัน โกนิงก์สโล (Gillis van Coninxloo) จิตรกรภูมิทัศน์ผู้มีฝีมือ ต่อมายันก็เริ่มเขียนภาพภูมิทัศน์ที่แท้จริงและบุรีทัศน์ ในบั้นปลายเขาก็หันกลับไปเขียนภาพนิ่ง", "title": "ยัน เบรอเคิล (ผู้พ่อ)" }, { "docid": "230611#31", "text": "แนวทางการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ควรคำนึงถึงเอกลักษณ์ของเมือง ทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจรวมเข้าด้วยกัน โครงการก่อสร้างที่ส่งผลกระทบในทางลบที่มีต่อภูมิทัศน์เมือง โดยไม่ได้คำนึงเอกลักษณ์เฉพาะและวิถีชีวิตของเมือง ได้ทำลายบรรยากาศการรับรู้ทางสุนทรียภาพที่ส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์เมือง ทั้งนี้แนวทางการจัดการภูมิทัศน์เมืองที่เสริมสร้างการพัฒนาและการอนุรักษ์อย่างสอดคล้องกัน ควรยึดถือปฏิบัติ ดังนี้ (เกริก กิตติคุณ, ภูมิทัศน์เมือง,หน้า 82 – 93)", "title": "ภูมิทัศน์เมือง" }, { "docid": "277418#2", "text": "แม้ว่าจะเป็นจิตรกรรมภูมิทัศน์ตามชื่อของภาพ และตามลักษณะการเขียนแบบของจิตรกรรมภูมิทัศน์ของจิตรกรรมยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นที่ประกอบด้วยคนตัวเล็ก ๆ ไกล ๆ (staffage) ในภาพ ที่ริเริ่มโดยโยฮาคิม พาทิเนอร์ (Joachim Patiner) แต่การมีตัวแบบตอนหน้าของภาพที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาหลักโดยทั่วไปของภาพ ทำให้เป็นการผสมระหว่างจิตรกรรมภูมิทัศน์และภาพชีวิตประจำวัน ซึ่งเท่ากับเป็นการละเมิดหลักการลำดับคุณค่าของศิลปะ จิตรกรรมภูมิทัศน์อื่น ๆ ของเบรอเคิลเช่นภาพ \"คนล่าสัตว์ในหิมะ\" (The Hunters in the Snow) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1565 และอื่น ๆ แสดงฤดูต่าง ๆ และมีตัวคนประกอบ แต่ไม่มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของภาพ หรือไม่ได้มีหัวข้อจากระดับศิลปะที่ \"สูง\" ไปกว่าภาพเขียนหลัก", "title": "ภูมิทัศน์และอิคารัสปีกหัก" }, { "docid": "146556#9", "text": "นับตั้งแต่ซาวเออร์ได้ใช้คำศัพท์อย่างเป็นทางการและที่ได้เผยแพร่แนวคิดอย่างได้ผลเป็นต้นมา แนวคิดว่าด้วยภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้มีการนำมาใช้ในหลายด้าน มีการนำไปประยุกต์ อภิปราย พัฒนาและปรับแต่งในแวดวงวิชาการเป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2535 กรรมาธิการมรดกโลกที่เลือกตั้งขึ้นเพื่อจัดประชุม “ผู้เชี่ยวชาญ” เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการยกร่างแนวปฏิบัติของกรรมาธิการที่รวม “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในรายการทรัพย์สินมรดก (heritage listing properties) ที่ไม่มีรูปแบบที่เป็นธรรมชาติเพียงอย่างเดียว หรือ เป็นวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว (เช่นมรดกแบบผสม) \nคณะกรรมาธิการมรดกโลกได้ให้การรับรองแนวคิดของ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ซึ่งการนำมาใช้นี้ได้ปรากฏให้เห็นในหมู่ผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายทั่วโลก มีหลายชาติที่ได้บ่งชี้ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ไว้อย่างชัดเจน มีการประเมินภูมิทัศน์วัฒนธรรม จัดทำรายชื่อภูมิทัศน์วัฒนธรรม จัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมและทำให้ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกรวมทั้งการแตกสาขาอย่างเป็นระบบในลักษณะเชิงปฏิบัติที่นับว่าน่าท้าทาย ", "title": "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" }, { "docid": "146556#12", "text": "ปัจจุบันมีบางมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนและให้ปริญญาสาขาเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน \"ภูมิทัศน์วัฒนธรรมศึกษา\" เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ ในเนเปิล เซนต์-เอแตงน์ และสตุทการ์ดที่ให้ “\"ปริญญาภูมิทัศน์วัฒนธรรมศาสตรมหาบัณฑิต\"” ", "title": "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" }, { "docid": "146556#7", "text": "นักภูมิศาสตร์ชื่อ\"ออตโต ชลูเทอร์\"ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” อย่างเป็นทางการในคำศัพท์ทางวิชาการของเขาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2445) ในปี พ.ศ. 2451 \"ชลูเทอร์\"ได้ให้เหตุผลว่า ด้วยการนิยามภูมิศาสตร์ให้เป็น “วิทยาศาสตร์ภูมิทัศน์” ย่อมเป็นเหตุผลที่ทำให้ภูมิศาสตร์กลายเป็นวิชาที่มีเนื้อหาเฉพาะที่ถือได้ว่าไม่อยู่ในวิชาอื่นใด ชลูเทอร์ได้บ่งชี้ให้เห็นรูปแบบภูมิทัศน์ 2 แบบได้แก่: “\"ภูมิทัศน์ธรรมชาติ\"” หรือภูมิทัศน์ที่มีมาก่อนที่จะถูกเปลี่ยนแปลงมากโดยมนุษย์ และ “\"ภูมิทัศน์วัฒนธรรม\"” หรือภูมิทัศน์ที่มีรูปที่เกิดจากวัฒนธรรมของมนุษย์ งานสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ได้แก่การสืบค้นหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทั้งสองประเภทนี้", "title": "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" }, { "docid": "19432#4", "text": "นักออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมและวิศวกรสำรวจ เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางกายภาพที่มีอยู่ และที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางกายภาพที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เป็นผู้วางแผนผัง กำหนดจัดวาง คาดการณ์การใช้งานอย่างเป็นเหตุ-ผล เป็นผู้ที่รู้ซึ้งถึงความสัมพัน์ระหว่างการจัดวางองค์ประกอบทางธรรมชาติและกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ มีความเหมาะสม ทั้งรู้ทรงของพื้นที่ ที่ว่าง ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งรวมไปถึงงานภูมิทัศน์อ่อน (งานพืชพรรณ เช่น การออกแบบปลูกต้นไม้ และการสรรค์สร้างพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งทุกประเภท บุคคลเหล่านี้ทำงานภาครัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น บางคนอาจทำงานภาคเอกชนหรือทำงานอิสระ รับเป็นที่ปรึกษาส่วนราชการ อุตสาหกรรม พาณิชกรรมและเอกชนรายบุคคล\nผู้จัดการภูมิทัศน์ ใช้ความรู้ด้านวัสดุพืชพรรณและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในการให้คำแนะนำในการดูแลรักษาระยะยาวและในการพัฒนาภูมิทัศน์ บุคคลเหล่านี้ทำงานเกี่ยวกับพืชสวน การจัดการสถานที่ ป่า การอนุรักษ์ธรรมชาติและเกษตรกรรม \nนักวิทยาศาสตร์ภูมิทัศน์ มีทักษะพิเศษเช่น ปฐพีวิทยา อุทกวิทยา ภูมิสัณฐาน หรือพฤกษศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาในงานภูมิทัศน์ งานของบุคคลเหล่านี้อาจไล่ตั้งแต่การสำรวจบริเวณไปจนถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมของบริเวณขนาดใหญ่เพื่อการวางแผนหรือการจัดการ และอาจทำรายงานผลกระทบในโครงการพัฒนาหรือในความสำคัญเฉพาะของพรรณไม้หรือสัตว์บางชนิดในพื้นที่\nนักวางแผนภูมิทัศน์ เกี่ยวข้องและดูแลในด้านตำแหน่งที่ตั้ง วิวทิวทัศน์ นิเวศวิทยาและการใช้ที่ดินในเชิงนันทนาการของเมือง ชนบท และพื้นที่ชายฝั่ง งานที่บุคคลกลุ่มนี้ทำรวมถึงการเขียนรายงานด้านนโยบายและยุทธวิธี และลงท้ายด้วยการส่งผังรวมสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ การประเมินและและประมาณค่าพร้อมทั้งการจัดทำแผนการจัดการเพื่อนำไปใช้ในการทำแผนนโยบาย บางคนอาจมีสร้างสมความชำนาญเฉพาะเพิ่มเติม เช่น งานภูมิทัศน์โบราณคดี หรือกฎหมายที่เกี่ยวของกับภูมิทัศน์", "title": "ภูมิสถาปัตยกรรม" }, { "docid": "146556#10", "text": "การทบทวนทางวิชาการในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการรวมพลระหว่างกรรมาธิการมรดกโลก ผู้เชี่ยวชาญพหุคูณทั่วโลกและประเทศที่นำแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมไปใช้ได้ให้ข้อสังเกตและสรุปไว้ว่า: \n\"\"แม้ว่าแนวคิดภูมิทัศน์ได้ถูกปลดปล่อยจากมีความสัมพันธ์ดั้งเดิมกับศิลปะมาเป็นเวลานานพอควร .. แต่มันก็ยังปรากฏมีความเด่นในมุมมองทางภูมิทัศน์ที่แนบแน่นเกี่ยวพันกันเสมือนเป็นพี่น้องกับแผนที่หรือกับข้อความปรากฏให้เห็นอยู่ นั่นคือ ความหมายทางภูมิทัศน์และรูปแบบของสังคมยังคงอ่านออกได้ง่ายอยู่\"\" ", "title": "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" }, { "docid": "19540#2", "text": "คำว่าภูมิทัศน์ยังหมายรวมถึง", "title": "ภูมิทัศน์" }, { "docid": "35374#1", "text": "ตัวอย่างงานออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญคือสวนที่ สโตว์ในบัคคิงแฮมเชอร์ เคนท์นับเป็น “เจ้าตำหรับสวนอังกฤษ” (English School of Landscape Gardening) ที่ได้รับอิทธิพลจากการไปศึกษาที่อิตาลีซึ่งเคนท์ได้ชื่นชมภาพเขียนภูมิทัศน์ของโคลด ลอร์แรน (Claude Lorrain) นิโคลาส์ ปูแซน และซัลวาตอเร โรซา โดยถือเป็นการ “ปฏิรูปสวนอังกฤษ” ให้เป็นรูปแบบ “ธรรมชาติ” ที่มีเนินทุ่งหญ้าและน้ำ นับเป็นการบุกเบิกงานภูมิทัศน์ธรรมชาติที่เปิดกว้างขึ้นให้แก่ “บราวน์ผู้สามารถ” ซึ่งมีโอกาสได้พบเคนท์ในขณะฝึกงานที่สวนสโตว์ และบราวน์ได้ยึดแนวและปรับปรุงรูปแบบ “สวนอังกฤษให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในชั่วคนต่อมา กล่าวกันว่าจุดอ่อนของตัวเคนท์ในงานจัดภูมิทัศน์คือการขาดความรู้ในด้านพืชพรรณและทักษะด้านเทคนิคภูมิทัศน์ แต่ความสามารถในการนำศิลปะสถาปัตยกรรมมาผสมกลมกลืนธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมสามารถชดเชยจุดอ่อนนี้ได้ เคนท์เคยกล่าวไว้ว่า “\"งานสร้างสวนทั้งหมดแท้จริงก็คืองานสร้างภาพเขียนภูมิทัศน์\"”", "title": "วิลเลียม เคนท์" }, { "docid": "230611#1", "text": "การ์ดอน คัลเลน (Gordon Cullen, 1961, p. 8) สถาปนิกผู้ศึกษาภูมิทัศน์เมือง ได้ให้ความหมายภูมิทัศน์เมืองว่า สิ่งแวดล้อตามเส้นทาง และพื้นที่นอกอาคารที่สามารถมองเห็นและรับรู้ได้ในเมือง ไม่ว่าเป็นลักษณะและรูปทรงที่โอบล้อมจุดที่เรายืนอยู่ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ภูมิทัศน์เมืองจากการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งภายในเมือง หรือ ศิลปะการสร้างเมืองที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สายสัมพันธ์ทางสายตาระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมในเมือง ที่เน้นการรับรู้สภาพแวดล้อมโดยการมองเห็น และการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ตอบรับและสอดคล้องกับการรับรู้ของผู้คนโดยผ่านทางการจัดวางองค์ประกอบทางกายภาพในสภาพแวดล้อมของเมือง เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมในเมือง และในบางครั้ง จุดสังเกตและจุดศูนย์รวมก็รวมอยู่ในสถานที่เดียวกัน", "title": "ภูมิทัศน์เมือง" }, { "docid": "146556#3", "text": "(2) “ภูมิทัศน์ที่มีวิวัฒนาการมาในเชิงอินทรีย์” (organically evolved) ซึ่งอาจเป็น “ภูมิทัศน์แผ่นดินร้าง” (หรือซากดึกดำบรรพ์) หรือ “ภูมิทัศน์ต่อเนื่อง” (continuing landscape) ", "title": "ภูมิทัศน์วัฒนธรรม" }, { "docid": "245693#18", "text": "กิลเลส ฟาน โคนิงซลู (Gillis van Coninxloo) เป็นผู้เริ่มการภูมิทัศน์แอนต์เวิร์ปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นกว่าภาพเขียนภูมิทัศน์อย่างที่เคยเขียนกันมาโดยจิตรกรเช่นโยฮาคิม พาทิเนอร์ (Joachim Patiner) กิลเลสมีอิทธิพลเป็นอันมากต่อการเขียนภูมิทัศน์ทางเหนือเมื่อไปพำนักอยู่ที่อัมสเตอร์ดัมอยู่ระยะหนึ่งในฐานะหนึ่งในผู้ก่อตั้งตระกูลการเขียนแบบแฟรงเค็นทาล (Frankenthal School) การเขียนภูมิทัศน์ของป่าและภูเขานิยมเขียนโดยอับราฮัม โกเวร์ตส์ (Abraham Govaerts), อเล็กซานเดอร์ เคียริงค์ซ (Alexander Keirincx), กิจเบรชท เลเต็นส์ (Gijsbrecht Leytens), โทไบอัส เวร์เฮคต์ (Tobias Verhaecht) และยูส เด โมมเพอร์ (Joos de Momper) พอล บริล (Paul Bril) ผู้ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่โรมมีความเชี่ยวชาญในการเป็นจิตรกรภูมิทัศน์เขียนภาพตกแต่งคฤหาสน์โรมันและเขียนจิตรกรรมขนานเล็กที่เรียกว่าจิตรกรรมตู้\nยาน วิลเด็นส์ (Jan Wildens) และลูคัส ฟาน อูเดน (Lucas van Uden) เขียนภูมิทัศน์ธรรมชาติที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรูเบนส์และมักจะทำงานร่วมกับช่างเขียนรูปคนหรือช่างผู้เชี่ยวชาญการเขียนรูปสัตว์เพื่อเขียนฉากหลัง รูเบนส์หันไปเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน์ในคริสต์ทศวรรษ 1630 โดยเน้นการเขียนในบริเวณรอบ ๆ บ้านของตนเอง ", "title": "จิตรกรรมบาโรกแบบเฟลมิช" }, { "docid": "248993#0", "text": "พระราชวังและอุทยานแห่งพ็อทซ์ดัมและเบอร์ลิน () หมายถึงกลุ่มวังและสวนภูมิทัศน์ที่ตั้งอยู่ในเมืองพ็อทซ์ดัมและเบอร์ลินในประเทศเยอรมนีที่ไดัรับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปีค.ศ. 1990 ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม เพราะความมีคุณค่าในความกลมกลืนของภูมิทัศน์ทางประวัติศาสตร์—และเป็นตัวอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของการออกแบบภูมิทัศน์ภายในบริบทของปรัชญาของความเป็นรัฐของปรัสเซีย ", "title": "พระราชวังและอุทยานแห่งพ็อทซ์ดัมและเบอร์ลิน" } ]
3940
วัดราชาธิวาส เป็นวัดนิกายอะไร?
[ { "docid": "232345#0", "text": "วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร หรือ วัดราชาธิวาสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร[1] สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2310 (กองพุทธสถาน)[2] ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งพระนคร ห่างจากสนามหลวงสองกิโลเมตรเศษไปทางเหนือ ใกล้ท่าวาสุกรี สามเสน มีเนื้อที่ตั้งวัด 34 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา โดยมีพระธรรมกวี (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน", "title": "วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร" } ]
[ { "docid": "23852#4", "text": "ภาพสัตว์ ในจิตรกรรมไทยประเพณีแบ่งภาพสัตว์ออกเป็นสองประเภท คือ สัตว์สามัญทั่วไป และสัตว์หิมพานต์ หรือเรียกว่า สัตว์กระหนก ซึ่งประเภทหลังนี้ปรากฏในจิตรกรรมวัดราชาธิวาสในรูปแบบของลวดลายตกแต่งแต่ก็เป็นลวดลายที่ประดิษฐ์ใหม่ เช่น ลายไก่ฟ้าบนขื่อประตูที่น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะจีน เป็นต้น ส่วนสัตว์สามัญก็ปรากฏไม่มากเพราะมุ่งเน้นที่ตัวละครสำคัญ จะมีบ้างเช่น ช้างปัจจัยนาค หรือสัตว์ร้ายที่มาขวางทางพระนางมัทรี ซึ่งเขียนขึ้นอย่างถูกต้องตามกายวิภาค แต่ก็มีส่วนผิดเพี้ยนบ้างเช่น ในนครกัณฑ์ ช้างทรงมีขนาดเล็กกว่าความเป็นจริง อาจจะเป็นเพราะกัณฑ์นี้เขียนโดยนายริโกลีที่เป็นชาวตะวันตกไม่คุ้นเคยกับสัดส่วนของช้างก็เป็นได้ นอกจากนั้นก็ยังมีรูปสัตว์สามัญที่วาดประดับผนังในส่วนนอกกรอบของเนื้อเรื่องเป็นพื้นที่เล็กๆ หลังประตูเช่น กระต่าย กวาง นกยูง ลิง", "title": "พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาส" }, { "docid": "643831#0", "text": "พระธรรมวโรดม นามเดิม เซ่ง ฉายา อุตฺตโม เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะใต้ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ", "title": "พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม)" }, { "docid": "232345#1", "text": "วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงสถาปนาจาก “วัดสมอราย” ได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชาธิวาสวิหาร” มีความหมายว่า “วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา”[3] เป็นวัดแรกที่ถือกำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย", "title": "วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร" }, { "docid": "232345#3", "text": "ศาลาการเปรียญตั้งอยู่หน้าวัด เป็นศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงให้สร้างเลียนแบบจากศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นศาลาการเปรียญที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[4]", "title": "วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร" }, { "docid": "716273#0", "text": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว จนฺทสิริ) เป็นพระภิกษุธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าคณะใหญ่คณะกลางและเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ", "title": "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว จนฺทสิริ)" }, { "docid": "23852#8", "text": "สำหรับความสอดคล้องกับประติมากรรม ก็เกิดการแสดงออกซึ่งแตกต่างไปจากอดีตเช่นเดียวกัน ในจิตรกรรมไทยประเพณี เบื้องสะกัดหน้ามักจะเขียนภาพมารผจญ เสมือนว่าองค์พระประธานกำลังทรงพิชิตหมู่มาร แต่ในวัดราชาธิวาส บทบาทของพระประธานกลับกลายเป็นเหตุการณ์เทศนาโปรดเหล่าศากยกษัตริย์ที่กรุงกบิลพัสดุ์ และเกิดฝนโบกขรพรรษ อันเป็นเหตุให้ตรัสเล่าเรื่องเวสสันดรชาดก ความสอดคล้องอีกประการหนึ่งก็คือ พระประธานคือพระสัมพุทธพรรณีและพระนิรันตรายซึ่งอยู่เบื้องหน้าพระประธาน เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นโดยมีพระราชประสงค์ให้มีลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติ ละทิ้งมหาบุรุษลักษณะซึ่งเหนือมนุษย์ไป อาจจะเป็นไปได้ว่าการเขียนภาพแบบสัจจนิยมเช่นนี้ก็เพื่อให้ต้องกับพระราชประสงค์เดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสอดคล้องกับฐานะความเป็นวัดฝ่ายธรรมยุตนิกายซึ่งโปรดให้ตั้งขึ้นเพื่อปฏิรูปพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์", "title": "พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาส" }, { "docid": "529857#1", "text": "โรงเรียนวัดราชาธิวาสสถาปนาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 พระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสขณะนั้น ในลักษณะอาคารเรียนชั่วคราวและได้มีการก่อสร้างเป็นอาคารเรียนถาวร ในลำดับต่อมา คือ ตึกไชยันต์ 2462 และตึกสามพี่น้อง โดยทุนทรัพย์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์พักตร์ ไชยันต์ ภายหลังได้งบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการให้สร้างตึกวาสุกรี ตึกสมอรายขึ้นเพิ่มเติมและสร้างตึกสามพี่น้อง ตึกไชยันต์ของใหม่ แทนของเก่าที่ทรุดโทรม ปัจจุบันโรงเรียนวัดราชาธิวาสมี 4 อาคารเรียน โรงเรียนได้เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชายทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมาจนถึงปี พ.ศ. 2538 จึงได้เริ่มเปิดรับนักเรียนหญิงตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ", "title": "โรงเรียนวัดราชาธิวาส" }, { "docid": "60540#5", "text": "2. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระเถรชั้นเดิมแห่งคณะธรรมยุต พระองค์หนึ่ง ทรงแสดงพระมติ “อันที่จริงคณะธรรมยุตค่อยเป็นมาโดยลำดับ ปีที่ออกหน้า ควรจะกำหนดว่าเป็นปีที่ตั้งนั้น คือ จ.ศ. 1191” ปี จ.ศ. 1191 ตรงกับ พ.ศ. 2372 อันเป็นที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนวชได้ 6 พรรษา และเสด็จจากวัดมหาธาตุกลับไปประทับ ณ วัดสมอราย(วัดราชาธิวาส) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงสะดวกในการที่จะปรับปรุงแก้ไข การประพฤติปฏิบัตพระธรรมวินัยในส่วนพระองค์เองได้โดยสะดวกพระทัย เพราะการประทับอยู่ในวัดมหาธาตุ อันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช และเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระองค์ด้วยนั้น คงทรงเห็นว่าไม่เป็นการเหมาะสมที่จะประพฤติปฏิบัติวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ที่แปลกจากทำเนียมปฏิบัติที่เคยเป็นมา ฉะนั้น การเสด็จกลับไปประทับที่วัดสมอราย จึงเท่ากับเป็นการเริ่มต้นการปรับปรุงแก้ใขวัตรปฏิบัติทางพระธรรมวินัยของพระองค์ พร้อมทั้งคณะศิษย์ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างจริงจัง", "title": "ธรรมยุติกนิกาย" }, { "docid": "276211#17", "text": "- พระอุโบสถวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร เช่น รูปทรงเสาของเสาอุโบสถ", "title": "วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก" }, { "docid": "92403#45", "text": "เมื่อมีพระชันษาได้ 14 ปี พระองค์ทรงออกผนวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยครั้งหนึ่งก่อน ต่อมาเมื่อพระชันษาถึง 21 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อทำอุปัชฌาย์วัตรครบ 3 วันแล้ว จึงได้เสด็จไปทำวิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ภายหลังได้กลับไปประทับที่วัดมหาธาตุ ตั้งต้นเรียนคันธธุระอย่างจริงจัง และได้พระวิเชียรปรีชา (ภู่) เจ้ากรมราชบัณฑิตซึ่งมีความเชี่ยวชาญยิ่งในขณะนั้น เป็นอาจารย์สอนภาษามคธ ทรงศึกษาอยู่ 3 ปี ก็ทรงรอบรู้ภาษามคธเป็นอย่างดี จนได้เข้าสอบแปลบาลีได้เป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค และต่อมาได้ทรงตั้งคณะธรรมยุตินิกายขึ้น", "title": "การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย" }, { "docid": "616113#0", "text": "พระสัมพุทธพรรณี(จำลอง) เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์หนึ่งของไทย ปัจจุบันประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดราชาธิวาส\nพระสัมพุทธพรรณี(จำลอง) เป็นพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 20 นิ้ว วัสดุโลหะกะไหล่ทอง หล่อโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว\nเป็นพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 20 นิ้ว วัสดุโลหะกะไหล่ทองไม่มีพระเกตุมาลา พระจีวรเป็นริ้วเช่นเดียวกับครองผ้าของพระภิกษุ ซึ่งจำลองจากพระสัมพุทธพรรณี องค์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยใต้ฐานพระพุทธรูปเป็นที่ประดิษฐานพระสรีรังคารสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า \nพระสัมพุทธพรรณี(จำลอง)ปัจจุบันประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดราชาธิวาส", "title": "พระสัมพุทธพรรณี (จำลอง)" }, { "docid": "23852#1", "text": "วัดราชาธิวาส เดิมมีนามว่า \"วัดสมอราย\" เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง มีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง ครั้งแรกโดยกรมพระราชวังบวรสุรสีหนาท 1 ครั้งใหญ่ที่สุดคือในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงรื้อสร้างใหม่เกือบทั้งวัด อุโบสถวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งทรงได้รับแรงบันดาลใจมาจากอิทธิพลขอม แต่ก็ได้รักษาผนังอุโบสถเดิมเอาไว้โดยทรงแบ่งเนื้อที่อุโบสถออกเป็นสามส่วน ด้านหน้ามีประตู 3 ช่อง มีห้องเป็น 3 ตอน ห้องหน้าเป็นระเบียง ห้องกลางเป็นห้องพิธี มีพระสัมพุทธพรรณีจำลองเป็นพระประธาน นั่งในซุ้มเรือนแก้วที่ทรงออกแบบใหม่ มีเศวตฉัตร 9 ชั้น เบื้องบนมีภาพพระพุทธเจ้าอยู่เหนือเมฆกำลังตอบปัญหาของพระสารีบุตรและพระอินทร์เฝ้า ที่ใกล้พระประธานมีรูปศากยกษัตริย์พระประยูรญาติมาเฝ้าอยู่เบื้องหลัง ซุ้มเรือนแก้วเป็นตราประจำ 5 รัชกาล คือ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ด้านหน้าประดิษฐานพระนิรันตรายองค์เล็ก บนเพดานเป็นลวดลายมีดาวเป็นที่เสียบหลอดไฟฟ้า ส่วนในประดิษฐานพระประธานขนาดใหญ่ซึ่งเป็นพระประธานฝีมือเก่าคือพระสัมพุทธวัฒโนภาสที่มีมาก่อน ซึ่งในส่วนกลางที่กว้างที่สุดนี้เองเป็นส่วนที่เขียนจิตรกรรมฝาผนัง โดยภาพพระเวสสันดรชาดกปรากฏในทุกๆด้านของผนัง", "title": "พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาส" }, { "docid": "232345#4", "text": "ก่อนมีคณะธรรมยุต วัดนี้มีเจ้าอาวาสมาแล้ว 5 รูป นับแต่เริ่มกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนี้", "title": "วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร" }, { "docid": "529857#0", "text": "โรงเรียนวัดราชาธิวาส () เป็นโรงเรียนสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมายาวนาน ตั้งอยู่ในพื้นที่ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ซึ่งเป็น พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เมื่อก่อนเป็นโรงเรียนชายล้วน จนถึง พ.ศ. 2538 เป็นโรงเรียน สหศึกษา ตั้งอยู่ที่ ซอยสามเสน 9 แขวง วชิรพยาบาล เขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300", "title": "โรงเรียนวัดราชาธิวาส" }, { "docid": "762856#0", "text": "พระสุธรรมาธิบดี นามเดิม เพิ่ม นาควาณิช ฉายา อาภาโค เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร แม่กองธรรมสนามหลวง และกรรมการมหาเถรสมาคม ", "title": "พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค)" }, { "docid": "222619#2", "text": "อาจารย์สนั่นเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดสามพระยาจนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 จึงย้ายไปเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส ซึ่งเป็นช่วงที่บิดาปลูกบ้านใหม่อยู่ในซอยวัดราชาธิวาสใกล้ๆกับวัด และไปเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 6 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ชีวิตในวัยรุ่นของอาจารย์สนั่นเป็นชีวิตที่รื่นรมย์ สนุกสนาน ชีวิตอยู่กับแม่น้ำเจ้าพระยา ชอบเล่นน้ำ เล่นกีฬามาก จนไม่มีเวลาอ่านหนังสือทำให้สอบตกในชั้นมัธยมปีที่ 7 และสอบตกอีกเมื่อเรียนชั้นมัธยมปีที่ 8 แต่ด้วยความมานะและตั้งใจจริงอันเป็นนิสัยติดตัวมาตั้งแต่เด็ก ทำให้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 8 ได้ใน พ.ศ. 2476 และมีความรับผิดชอบในชีวิตมากขึ้น เป็นผู้ใหญ่ขึ้น ประกอบกับเริ่มมีความรักชอบกับหลานพระยานรรัตนราชมานิตชื่อ “สัจจา”", "title": "สนั่น เกตุทัต" }, { "docid": "324573#9", "text": "ขณะอยู่วัดราชาธิวาส ท่านได้ศึกษาในสำนักของพระธรรมวิโรจน์ (เรือง) วัดราชาธิวาส และศึกษาเล่าเรียนในสำนักพระอาจารย์อาจ พนรัตน์ ที่วัดไทรทอง (วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร) บ้าง ที่พระมหาเกื้อ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร บ้างเนือง ๆ ", "title": "สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)" }, { "docid": "232345#9", "text": "หมวดหมู่:พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร หมวดหมู่:วัดไทยในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย หมวดหมู่:วัดในเขตดุสิต", "title": "วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร" }, { "docid": "9140#1", "text": "วัดราชประดิษฐฯ เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย ข้าราชการ ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก วัดราชประดิษฐฯ จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้นเพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่น ๆ ของฝ่ายธรรมยุตเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย และด้วยเหตุนี้เองวัดแห่งนี้จึงได้รับยกให้เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4", "title": "วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร" }, { "docid": "23852#0", "text": "การศึกษาในเรื่องจิตรกรรมที่อุโบสถวัดราชาธิวาสนี้ จะมุ่งประเด็นไปยังการเปรียบเทียบลักษณะร่วมและลักษณะที่แตกต่างของจิตรกรรมไทยแนวประเพณีก่อนหน้านั้น กับภาพจิตรกรรมไทยที่ได้รับอิทธพลตะวันตกโดยเฉพาะในขอบเขตของพระเวสสันดรชาดกในวัดราชาธิวาส ", "title": "พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาส" }, { "docid": "762856#3", "text": "พ.ศ. 2506 พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) ถูกปลดจากเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสและถอดจากสมศักดิ์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี) และพระธรรมปาโมกข์ (วิน ธมฺมสาโร) ได้สนับสนุนให้ท่านมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อ แม้ในระยะแรกจะประสบปัญหายุ่งยากในการปกครอง แต่ในที่สุดท่านก็เป็นที่ยอมรับจากพระในวัด ได้ปกครองและพัฒนาวัดเรื่อยมาตราบจนมรณภาพพระสุธรรมาธิบดี ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคหัวใจขาดเลือด เมื่อวันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เวลา 03.30 น. ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ สิริอายุได้ พรรษา 63 ศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาการเปรียญ วัดราชาธิวาสวิหาร", "title": "พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค)" }, { "docid": "232345#8", "text": "ศาลาการเปรียญที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ศาลาการเปรียญที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง พระสัมพุทธพรรณี (จำลอง) พระประธานอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร พระเจดีย์ รูปทรงเลียนแบบสมัยศรีวิชัย ซึ่งสร้างครอบเจดีย์เดิมสมัยรัชกาลที่ 5 จิตรกรรมสีปูนเปียก เรื่องพระเวสสันดรชาดก", "title": "วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร" }, { "docid": "762856#2", "text": "พ.ศ. 2474 ย้ายมาอยู่วัดราชาธิวาส และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2475 ณ วัดราชาธิวาส โดยมีพระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ และวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดราชาธิวาส โดยมีพระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระภัทรธรรมธาดา (ฮั้ว โสภิโต) ขณะยังเป็นพระครูโสภิตอาวาสวัตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ การบวชทั้งสองครั้งมีเจ้าจอมสว่าง ในรัชกาลที่ 5 เป็นเจ้าภาพหลังจบการศึกษาแล้วได้ย้ายมาอยู่วัดพระนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดรามประดิษฐ์ ได้พัฒนาวัดจนรุ่งเรืองทั้งด้านถาวรวัตถุและการจัดการศึกษา ถึงปี พ.ศ. 2503 จึงย้ายกลับมาอยู่วัดพระนคร", "title": "พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค)" }, { "docid": "60540#8", "text": "ครั้นปี พ.ศ. 2372 อันเป็นปีที่ผนวชได้ 6 พรรษา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ มาถึงระยะนี้ คงมีภิกษุสามเณรที่นิยมการปฏิบัติตามอย่างพระองค์และมาถวายตัวเป็นศิษย์มากขึ้น จึงได้เสด็จจากวัดมหาธาตุกลับไปวัดสมอราย(วัดราชาธิวาส) อันเป็นวัดนอกกำแพงพระนครและเป็นวัดฝ่ายอรัญญวาสี หรือวัดป่า ที่มีชื่ออยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้ก็คงเพื่อความสะดวกพระทัย ในอันเป็นที่พระองค์พร้อมทั้งคณะศิษย์จะได้ประพฤติปฏิบัติ และบำเพ็ญกิจวัตรต่าง ๆ ทางพระธรรมวินัยที่เห็นว่าถูกว่าควรได้ตามประสงค์ แต่ศิษย์บางส่วนก็ยังคงอยู่ที่วัดมหาธาตุต่อมา", "title": "ธรรมยุติกนิกาย" }, { "docid": "190992#28", "text": "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เคยร่วมจัดงานสมานมิตร เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับโรงเรียนเพื่อนบ้าน โดยมี 3 โรงเรียนดังนี้ โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ โรงเรียนวัดราชาธิวาส และโรงเรียนวัดน้อยนพคุณ", "title": "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร" }, { "docid": "23852#2", "text": "ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเวสสันดรชาดกที่วัดราชาธิวาส เขียนขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงร่างภาพทั้ง 4 ด้านของผนัง ครบทั้ง 13 กัณฑ์ และได้ให้นายซีริโกลี ชาวอิตาเลียนระบายสี ส่วนในกัณฑ์ที่ 13 คือนครกัณฑ์ นายซีริโกลีเป็นผู้ร่างและระบายสีเอง จิตรกรรมทั้งหมดเขียนขึ้นด้วยเทคนิคปูนเปียกหรือเฟรสโก โดยระบายสีลงบนผนังที่ปูนฉาบผนังยังไม่แห้ง ซึ่งวิธีนี้แตกต่างจากจิตรกรรมไทยประเพณีในช่วงก่อนหน้านั้น ซึ่งมักเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วยสีฝุ่น (Tempera) การนำวิธีการวาดแบบตะวันตกเข้ามานี้ทำให้สีของจิตรกรรมติดทนทานไม่กะเทาะล่อนง่าย \nหลังจากการหลั่งไหลเข้ามาอย่างมากของอิทธิพลตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงของศิลปะไทยในจิตรกรรมอย่างต่อเนื่อง ความงามในรูปแบบอุดมคติ (Idealistic) ที่เน้นสุนทรียภาพด้วยรูปทรงอันเป็นสัญลักษณ์และนามธรรมที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้องของทัศนวิสัย แสง เงา มิติ ถูกแทนที่ด้วยลักษณะสมจริง (realistic) ดังเห็นได้จากภาพจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 ลงมาหลายแห่ง เช่น พระที่นั่งผนวช วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม วัดปทุมวนาราม เป็นต้น แต่สำหรับวัดราชาธิวาสนี้นับว่าเป็นข้อยกเว้น เพราะได้ก้าวข้ามไปถึงความสมบูรณ์อย่างสูงสุดในเทคนิคจิตรกรรมแบบตะวันตก แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งรสสัมผัสของศิลปะไทย เนื่องจากการผสมผสานวิธีการวาดของตะวันตกและตะวันออกไว้ด้วยกัน โดยสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรง “เป็นอัจฉริยะแต่ผู้เดียวที่แหวกวงล้อมของศิลปะไทยที่กำลังจะดิ่งจมลึกลงไปในมหาสมุทรของอารยธรรมตะวันตก” ดังนั้นรูปแบบของการนำเสนอ ภาพทั้งหมดถูกเขียนขึ้น จึงมีลักษณะสมจริง การแสดงกล้ามเนื้อที่เหมือนจริงทางกายวิภาค การใช้แสงและเงาในภาพ การใช้ทัศนมิติทั้งเชิงเส้นและเชิงอากาศ (linear perspective and aerial perspective) อย่างสมจริง การย่นย่อระยะ (foreshortening) รวมทั้งการใส่อารมณ์ทางสีหน้าซึ่งปรากฏน้อยในจิตรกรรมไทยประเพณี ในการจัดภาพโดยรวมจะใช้ผนังแต่ละด้านเป็นกรอบเล่าเรื่องโดยไม่ใช้สินเทา โดยมีหน้าต่างคั่นแต่ละภาพออกจากกันและด้านบนของกรอบหน้าต่างเป็นภาพขนาดใหญ่แบบ narrative continutied คือภาพๆเดียวแต่เล่าเรื่องราวของกัณฑ์มากกว่าหนึ่งกัณฑ์ขึ้นไป โทนสีที่ใช้ถูกควบคุมให้มีลักษณะกลมกลืนกันทั้งหมด โดยใช้สีอ่อนที่ดูนุ่มนวลและส่วนใหญ่จะเป็นสีชมพูอ่อนหรือส้มอ่อน ซึ่งนอกจากจะให้ความรู้สึกอบอุ่นแล้วยังสอดคล้องกับสีของสถาปัตยกรรมซึ่งเป็นสีน้ำตาลอมชมพูด้วย แตกต่างจากงานไทยประเพณีโดยเฉพาะต้นรัตนโกสินทร์ที่เน้นพื้นสีเข้มเพื่อเน้นสีทองและปิดทองอย่างมากมาย ขณะที่การลงรักปิดทองของวัดราชาธิวาสจะถูกใช้ในการประดับประดาส่วนของสถาปัตยกรรมเช่นซุ้มเรือนแก้วติดผนังมากกว่า \nการนำเสนอและรูปแบบลักษณะสามารถแบ่งออกได้ดังนี้", "title": "พระเวสสันดรแนวตะวันตก วัดราชาธิวาส" }, { "docid": "900327#1", "text": "แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทุ่งนาและลำคลองมีชื่อเรียกว่า \"ทุ่งสามเสน\" ติดริมแม่เจ้าพระยา มีปรากฏตั้งแต่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวโปรตุเกสที่ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เมื่อเกิดศึกสงคราม ชาวโปรตุเกสได้รับราชการสงครามมีความดีความชอบ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินให้เข้ามาอยู่อาศัยเมื่อราว พ.ศ. 2217 จึงได้มีการสร้างวัดคอนเซ็ปชัญ หรือวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล ศาสนาสถานของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งในตอนแรกเป็นเพียงแค่โบสถ์ไม้ นับเป็นศาสนสถานของคาสนาคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และกลายเป็นชุมชนเรียกว่า \"บ้านโปรตุเกส\" หากแต่แถบทุ่งสามเสนนี้ ก็เป็นพื้นที่ ๆ มีผู้คนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยปรากฏหลักฐาน คือ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร (วัดสมอราย) ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ก่อนอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร (วัดสมอแครง) รวมถึงวัดโบสถ์สามเสนที่สร้างในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา", "title": "ถนนสามเสน" }, { "docid": "56255#21", "text": "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร", "title": "กฐิน" }, { "docid": "232345#6", "text": "ตั้งแต่เจ้าอาวาสลำดับที่ 6 เป็นต้นมา วัดเปลี่ยนมาสังกัดคณะธรรมยุต", "title": "วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร" } ]
3941
ประเทศมาเลเซียประกอบไปด้วยกี่จังหวัด ?
[ { "docid": "1924#0", "text": "มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก", "title": "ประเทศมาเลเซีย" } ]
[ { "docid": "24826#3", "text": "กิจการรถไฟของไทยนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 ตรงกับรัตนโกสินทร์ศกที่ 105 ไทยได้ให้สัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กสร้างทางรถไฟสายแรกจาก กรุงเทพมหานคร ถึงสมุทรปราการ เป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น โดยสังกัดกระทรวงโยธาธิการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์เสด็จประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพมหานครถึงอยุธยา เป็นระยะทาง 71 กิโลเมตร ซึ่งทางการได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟหลวง ปัจจุบันทางรถไฟที่สำคัญของประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นรวมสี่สาย คือ สายเหนือ ถึงจังหวัดเชียงใหม่และสุโขทัย สายใต้ ถึงประเทศมาเลเซีย สายตะวันออก ถึงจังหวัดสระแก้ว และสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมเป็นระยะทาง 3,855 กิโลเมตร", "title": "รถไฟ" }, { "docid": "514309#5", "text": "สอบสวนนายเตียว เก๊ก หลิง ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า ร่วมกับนายโก ชิน เฮง เพื่อนร่วมแก๊งชาวมาเลเซียที่หลบหนีไปได้ นำอุปกรณ์เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า \"แจมมิ่ง\" ซึ่งพัฒนาจาก \"สกิมมิ่ง\" (ดู \"การลอกข้อมูลบัตร\") เดินทางจากประเทศมาเลเซียมาเช่ารถยนต์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตระเวนไปก่อเหตุที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตลอดจนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี กระทำโดยใช้เครื่องลอกข้อมูลซึ่งมีความสามารถลอกข้อมูลจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปเก็บไว้จัดทำเป็นบัตรปลอมออกใช้ต่อไป เสร็จแล้วจะตรวจสอบว่าเหยื่อมีเงินในบัญชีเท่าไร รายใดมีมากก็โอนเงินเข้าบัญชีที่จังหวัดสงขลา แล้วโอนต่อไปไว้ในบัญชีเพื่อนร่วมแก๊งที่ประเทศมาเลเซีย จึงค่อยกลับไปแบ่งเงินกัน ทำมาแล้วหลายครั้ง ได้เงินไปไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท หลังก่อเหตุพาเพื่อนร่วมแก๊งกลับไปส่งที่มาเลเซียก่อนย้อนกลับมาส่งคืนรถเช่ากระทั่งถูกตำรวจรวบตัว", "title": "การฉ้อโกงบัตรเครดิต" }, { "docid": "63662#2", "text": "นับเป็นปลาที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบอาศัยเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น คือ แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำโขง พบน้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา และแม่น้ำตาปี ในต่างประเทศพบที่พม่า, มาเลเซีย และบนเกาะบอร์เนียว โดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ", "title": "ปลาสะตือ" }, { "docid": "77183#16", "text": "การดำเนินกิจกรรมของสมาคมชาวพุทธเชื้อสายไทยในตอนเหนือประเทศมาเลเซียนั้นไม่เพียงดำเนินการทางด้านวัฒนธรรมอย่างเดียวแต่พยายามรวมกลุ่มเพื่อมีอำนาจางการเมืองด้วยเช่นกัน เช่นข้อเรียกร้องที่เป็นประเด็นสำคัญๆ และนำเสนอผ่านสมาคมไทยกลันตัน และสมาคมสยามมาเลเซียมายังรัฐบาลก็คือ การขอมีสิทธิเป็นบูมีปูเตอรา การขอมีพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด (การขอมีพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดให้เป็นที่สักการะของชาวพุทธจากทั่วโลก ก็ถือเป็นประเด็นสำคัญ ปัจจุบันนี้ ประเทศมามาเลเซียมีพระพุทธรูปทรงนั่งที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากพระพุทธรูปทรงนั่งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพระพุทธรูปทรงนั่งในประเทศมาเลเซียจะประดิษฐานอยู่ที่วัดมัชฌิมาราม หมู่บ้านตือรือโบะ (Tereboh) อำเภอตุมปัต (Tumpat) รัฐกลันตัน (Kelantan) ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศมาเลเซียจากฝั่งอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ก็จะพบเห็น พระพุทธรูปดังกล่าวทางด้านซ้ายมือห่างจากเปิงกาลันกุโบร์ (Pengkalan Kubor) ริมฝั่งแม่น้ำตรงกันข้ามอำเภอตากใบประมาณ 5 - 8 กิโลเมตร) ให้เป็นที่สักการบูชาของชาวพุทธจากทั่วโลก การขอแก้ไขให้มีการระบุชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยในแบบฟอร์มการขอเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ การขอประกาศวัฒนธรรมไทยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแห่งชาติ การขอประกาศวันสงกรานต์เป็นวันหยุดราชการ การขอมีสิทธิในกองทุนช่วยเหลือด้านการศึกษาและด้านการประกอบทางธุรกิจ ตลอดจนการขอมีสิทธิเป็นสมาชิกของพรรคอัมโน (UMNO)", "title": "มาเลเซียเชื้อสายไทย" }, { "docid": "50375#0", "text": "เทือกเขาสันกาลาคีรี หรือภาษามลายูเรียกว่า บันจารันตีตีวังซา () หรือ บันจารันเบอซาร์ () เป็นเทือกเขาที่กั้นพรมแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียเกือบตลอดทั้งแนว ทอดตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มต้นจากเขตแดนจังหวัดสตูลกับมาเลเซีย ทอดตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส กับมาเลเซีย เทือกเขานี้ยังมีแนวเข้าไปในประเทศมาเลเซียด้วย ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาสันกาลาคีรี คือ กูนุงโกร์บู (Gunung Korbu) อยู่ในเขตรัฐเประก์ของมาเลเซีย", "title": "เทือกเขาสันกาลาคีรี" }, { "docid": "1924#19", "text": "มาเลเซียมีสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย ได้แก่ ดาโต๊ะ นาซีระห์ บินตี ฮุสซัยน์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และมีสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา และกงสุญใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา ได้แก่ นายไฟซัล แอต มุฮัมมัด ไฟซัล บิน ราซาลี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555", "title": "ประเทศมาเลเซีย" }, { "docid": "52181#0", "text": "เปรัก หรือ เประก์ (, อักษรยาวี: ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศมาเลเซีย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองบนมาเลเซียตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกอดะฮ์และจังหวัดยะลาของประเทศไทยทางทิศเหนือ รัฐปีนังทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐกลันตันและรัฐปะหังทางทิศตะวันออก รัฐเซอลาโงร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันตกจรดช่องแคบมะละกา", "title": "รัฐเปรัก" }, { "docid": "119199#1", "text": "ก่อตั้งขึ้นโดย ดร.ปิยะ ภิรมย์ภักดี เพื่อให้บริการการเดินทางแก่ผู้บริหาร ซึ่งต้องการความคล่องตัว สะดวกสบาย และเป็นส่วนตัวในการบินสู่สาขาต่าง ๆ ของบริษัท บุญรอด ทั้งใน และนอกประเทศ เมื่อความสะดวกที่ไร้ขีดจำกัดได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น พีบีแอร์จึงได้ดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศต่อกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้สัมผัสกับบริการเช่าเหมาลำ และส่งเสริมธุรกิจการบินในประเทศไทยให้มีทางเลือกในการเดินทางแก่ประชาชนมากขึ้น เมื่ออากาศยานใหม่เริ่มเข้าประจำฝูงบิน ความคิดที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวในประเทศไทยจึงบังเกิดขึ้น ส่งผลให้พีบีแอร์เริ่มเปิดเส้นทางบินสู่ชุมพรในลักษณะกึ่งประจำ และใส่ใจความร่วมมืออย่างเต็มที่กับทุกกิจกรรม การบินจนได้รับความไว้วางใจให้เป็นสายการบินที่รัฐกำหนด (Designated) ให้ทำการบินในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอนใต้ ร่วมกับประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย (IMT-GT) ต่อมาได้รับอนุมัติเพิ่มเติมสิทธิการประกอบธุรกิจการบินจากกระทรวงคมนาคมให้เป็นแบบประจำมีกำหนด เพื่อสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานที่ได้เปิดเส้นทางบินสู่จังหวัดชุมพร จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมทั้งการเปิดตลาดกระบี่–ภูเก็ต, กระบี่–สิงคโปร์ และเชื่อมเส้นทางขอนแก่น–เชียงใหม่ ในเบื้องต้นตามที่ได้รับมอบ เพื่อยืนยันความประสงค์ที่จะเสนอบริการการบินที่แตกต่าง แต่เน้นความสะดวกและปลอดภัยสูงสุด", "title": "พีบีแอร์" }, { "docid": "61026#1", "text": "ชินเข้าวงการด้วยการออกอัลบั้มเพลงกับกลุ่มบอยแบนด์ บิ๊กทรี (Big 3) และต่อมาได้มีอัลบั้ม \"G-JR 10 Club\" ซึ่งออกร่วมกับเพื่อนในโครงการ จี-จูเนียร์ 10 ศิลปิน และได้มีอัลบั้มเดี่ยวคืออัลบั้ม \"CHIN UP\" วางแผงเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 มีซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้มคือเพลง \"ปากไม่ตรงกับใจ\" และต่อมาอัลบั้มที่ 2 \"Maybe I am Bad\" วางแผงเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551 มีซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้มคือเพลง \"หัวใจไม่ใช่กระดาษ\" จากนั้นชินได้มีโอกาส ร่วมเป็นนักแสดงนำในซีรีส์เรื่อง \"Love18 (รักวุ่นวายหัวใจ18)\" ซึ่งเป็นซีรีส์ที่ถ่ายทำที่ไต้หวันทั้งเรื่องและเป็นซีรีส์วัยรุ่นที่เรตติ้งสูงที่สุดในมาเลเซีย มีอัลบั้มเพลงประกอบ Series LOVE-18 วางแผงเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 ต่อมาผลงานเพลงอัลบั้มที่ 3 ของเขา ชื่อ I Believe วางแผงเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554 มีเพลงเด่นอย่าง คืนนี้อยากได้กี่ครั้ง ต่อมา พ.ศ. 2556 ชินมีผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ทองสุก 13 เพลง เธอจะอยู่ในใจของฉันเสมอ Feat.น้ำชา ชีรณัฐ และเพลง อย่าบอกฉันว่าให้ไป ประกอบละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายรณพีร์ ต่อมาปี พ.ศ. 2557 ชินมีผลงานเพลงประกอบละคร หนีก็ล่า ซ่าก็รัก เพลง หนีก็รัก feat. วริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศร ", "title": "ชินวุฒ อินทรคูสิน" }, { "docid": "492947#3", "text": "นกพรานผึ้ง เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว นานครั้งจึงเห็นอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและเร็ว และเป็นนกประจำถิ่น จะอยู่ในถิ่นใดถิ่นหนึ่งไปตลอด ต่อเมื่อนกตัวเก่าตายไป นกตัวใหม่ถึงเข้ามาอยู่แทน ในประเทศไทยมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้ง ในป่าในเขตชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีรายงานพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ทั้งในพื้นที่ราบและที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร ", "title": "นกพรานผึ้ง" }, { "docid": "518972#2", "text": "ซูซูกิ สวิฟท์ รุ่นที่ 2 เริ่มการผลิตในปี พ.ศ. 2547 เป็นรุ่นแรกที่มีการผลิตรุ่นซีดาน 4 ประตู โดยบริษัท Maruti บริษัทร่วมทุนในอินเดีย แต่ยังไม่มีจำหน่ายรุ่นซีดานในประเทศไทย รุ่นนี้มีการประกอบในประเทศจีน ,ฮังการี ,อินเดีย ,อินโดนีเซีย ,ญี่ปุ่น ,มาเลเซียและปากีสถาน มีเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เปิดตัวครั้งแรกในปี2004ที่paris motorshow โดยตอนแรกมีเครื่องยนต์ 2ขนาดคือ 1 1300cc 92แรงม้า โดยเครื่องรุ่นนี้ไม่มีขายในไทย 2 1500cc 102แรงม้า รุ่นนี้คือรุ่นที่มีขายในไทย โดยตัวถังมี3ประตูและ5ประตูโดยในญี่ปุ่นมีเฉพาะรุ่น5ประตูส่วน3ประตูมีขายในเยอรมันคู่กับ5ประตู โดยตุลาคมปี2005ที่ญี่ปุ่นได้เปิดตัว swift sport เครื่อง1600cc 123แรงม้าแต่งสปอร์ต โดยในไทยก็ได้เริ่มเปิดตัวโดยรุ่นที่ขายในไทยเป็นรุ่นเครื่อง1500 ในระยะแรกนั้นนำเข้าจากญี่ปุ่นซึ่งเปิดราคามา1500000บาทขายในmotor expoปี2006 ซึ่งแพงมากมีคนมาซื้อไปไม่กี่ราย โดยเป็นรถที่ประกอบในอินโดนีเซียนำเข้ามาทั้งคันโดยมี2รุ่นคือ GA กับ GL โดยรุ่น GA ไม่มีแอร์ออโตไม่มี ABS ไม่มี airbag ไม่มีไฟเลี้ยวกระจกมองข้าง ส่วนรุ่น GL เป็นรุ่นทอป ส่วนมากก็มีคนซื้อแต่GLนั่นแหละ โดยในงานtokyo motor show ปี2009ก็ออกคอนเซบคาร์ suzuki swift plug in hybrid มาโชว์แต่ไม่ได้ขายจริงโดยใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็ก ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน สามารถชาร์จไฟจากบ้านได้ และจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งแบตเตอรี่เริ่มอ่อน เครื่องยนต์จึงทำงานเพื่อชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ ไม่ได้ช่วยขับเคลื่อนรถแต่อย่างใด", "title": "ซูซูกิ สวิฟท์" }, { "docid": "413275#0", "text": "อุทกภัยในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2549-2550 เป็นอุทกภัยต่อเนื่องที่ส่งผลกระทบต่อมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ถึง 13 มกราคม พ.ศ. 2550 อุทกภัยครั้งนี้เกิดขึ้นจากฝนที่ตกมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากพายุไต้ฝุ่นอูตอร์ ซึ่งพัดถล่มฟิลิปปินส์และเวียดนามไม่กี่วันก่อนหน้านั้น จนถึงสัปดาห์ที่สามของเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ยะโฮร์ได้รับผลจากอุทกภัยหนักกว่าสิงคโปร์ และบางส่วนของอินโดนีเซียถูกน้ำท่วมเนื่องจากพายุไต้ฝุ่นลูกเดียวกัน", "title": "อุทกภัยในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2549–2550" }, { "docid": "52015#6", "text": "บริษัท ข่าวสด จำกัด (บมจ.มติชน ถือหุ้นร้อยละ 99.99) - ประกอบกิจการผลิตและจำหน่าย หนังสือพิมพ์รายวัน ข่าวสด (โดยจ้าง บมจ.มติชน เป็นผู้พิมพ์) ที่สามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดหนังสือพิมพ์ จนมียอดจำหน่ายเป็นอันดับที่สามของประเทศ ในกลุ่มหนังสือพิมพ์รายวัน ด้วยระยะเวลาดำเนินงานเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น นอกจากนี้ บจก.ข่าวสด ยังผลิตและจำหน่ายหนังสือเป็นการเฉพาะกิจด้วย บริษัท งานดี จำกัด (บมจ.มติชน ถือหุ้นร้อยละ 99.5) - ประกอบกิจการจัดจำหน่ายหนังสือในเครือ บมจ.มติชน และของสำนักพิมพ์อื่น ๆ ไปสู่เอเย่นต์ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด โดยวิธีการขนส่ง ทั้งทางบก และทางอากาศ บจก.งานดี มีเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายหนังสือพิมพ์ในเครือมติชน อยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยใช้ระบบการจัดจำหน่ายประเภทขายฝาก แก่ผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากบริษัท แล้วจึงรับช่วงขายต่อแก่ร้านค้าต่อไป", "title": "มติชน" }, { "docid": "544830#0", "text": "มะค่าแต้ หรือ มะค่าหนาม มะค่าหลุม มะค่าลิง () เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminosae ผลัดใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ดอกช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ฝักแบนหรือกลมแบน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พบครั้งแรกที่จังหวัดราชบุรี โดย J.E. Teijsmann ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย กระจายพันธุ์ในกัมพูชา ลาว มาเลเซีย ไทย และ เวียดนาม ", "title": "มะค่าแต้" }, { "docid": "78162#2", "text": "ในต่างประเทศเช่น ประเทศมาเลเซียเรียกประชากรกลุ่มนี้ว่า \"Semang\" ในปี 2002 มีการสำรวจประชากรอยู่ที่ 2,000-3,000 คน และปัจจุบันคาดว่าอยู่ที่ 4,500-5,000 คนซาไกที่อาศัยอยู่ที่อำเภอธารโต, จังหวัดยะลา ได้รับพระราชทานนามสกุลจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยใช้ชื่อสกุลว่า \"ศรีธารโต\" แต่ปัจจุบันซาไกธารโตส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ ", "title": "ซาไก" }, { "docid": "16419#35", "text": "อำเภอเบตงเป็นอำเภอหนึ่งที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนจากหลากหลายเชื้อชาติ และศาสนา ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างมีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง การเดินทางสู่อำเภอเบตง ปัจจุบันมีเส้นทางคมนาคมทางรถยนต์เพียงอย่างเดียวโดยมีเส้นทางหลักจากจังหวัดยะลา คือ ทางหลวงหมายเลข 410 เป็นถนน 2 ช่องทางจราจร และมีไหล่ทาง มีระยะทางจากจังหวัดยะลาถึงอำเภอเบตงประมาณ 140 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางบนไหล่เขาที่คดเคี้ยว อย่างไรก็ตามการเดินทางสู่อำเภอเบตงยังสามารถใช้เส้นทางผ่านประเทศมาเลเซียได้ ซึ่งต้องมีหนังสือเดินทาง (Passport) หรือหนังสือผ่านแดน (Border Pass) ในการเดินทาง ดังนี้หมายเหตุ ด่านชายแดนเบตง ได้เปิดและปิดตามเวลาของประเทศไทย เวลา 05.00 - 22.00 น. ของทุกวัน", "title": "อำเภอเบตง" }, { "docid": "134996#0", "text": "อำเภอสะเดา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา เป็นอำเภอหนึ่งที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยมีด่านพรมแดนที่สำคัญถึง 2 ด่าน คือ พรมแดนไทย-มาเลเซีย (รัฐเกดะห์) (ด่านสะเดา) และพรมแดนไทย-มาเลเซีย (รัฐปะลิส) (ด่านปาดังเบซาร์) นอกจากนี้สะเดายังเปรียบเสมือนประตูสู่ประเทศไทยของชาวมาเลเซียและสิงคโปร์", "title": "อำเภอสะเดา" }, { "docid": "302808#14", "text": "ตามที่ชุมชนชาวจีนในประเทศต่าง ๆ ที่มีกลุ่มชาวจีนอยู่ จะมีการจัดพิธีพ้อต่อกันเป็นประจำ\nในสิงคโปร์และมาเลเซีย จะมีการจัดพิธีเดือนเจ็ดกันทุกปี มีพิธีคล้าย ๆ กับภูเก็ต แต่มีเกร็ดย่อยพิธีเยอะกว่า โดยแบ่งช่วงเป็นสองช่วงเหมือนกับภูเก็ต คือไหว้ที่ศาลเจ้า หรือ สถานที่จัดงาน เพื่อสักการะพระกวนอิมไต่สือ โดยจะมีผู้ประกอบพิธีจะเป็นเต๋า และมีการไหว้วิญญาณเร่ร่อน พอตกดึกจะจัดให้มีมหรสพต่าง ๆ ในอดีตจะเป็นงิ้ว หรือ หุ่นกระบอก แต่ปัจจุบันนิยมใช้วงดนตรี เสร็จแล้วจะเผ่ากระดาษเป็นอย่างสุดท้าย\nเนื่องจากที่ฮ่องกง โดยส่วนมากเป็นชาวจีนกวางตุ้ง จึงมีพิธีบางพิธี แตกต่างจาก ภูเก็ต มาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน พิธีพ้อต่อ มีการไหว้วิณณาญเร่ร่อน โดยตอนเช้าประชาชนจะไปที่ศาลเจ้า หรือ วัดเต๋า ที่มีการประกอบพิธี และจะกลับมาไหว้วิญาญานเร่รอนกันเกือบทุกบ้าน ซึ่งชาวฮ่องกงให้ความสำคัญมาก แต่จะไหว้เป็นเครื่องกระดาษ มากกว่าอาหาร ทางด้านพิธีกรรม ตามหมู่บ้านต่าง ๆ จะจัดเด็กชายจำนวนหลายคน ถือโคมไฟและเคาะกระป๋องให้เกิดเสียง เดินไปทั่วหมู่บ้าน เพื่อเป็นการส่องแสงสว่างแก่วิญญาน จะต่างจากสิงคโปร์และมาเลเซีย คือ เวลากลางคืนที่ฮ่องกงไม่มีการจัดงานมหรสพผู้คนจะไม่ออกจากบ้าน\nจะมีงานเทศกาลคล้าย ๆ เทศกาลพ้อต่อ เช่นกัน นั้นก็คือ เทศกาลทิ้งกระจาด หรือใน สำเนียงแต้จิ๋ว เรียกว่า ซิโกวโผวโต่ว ซึ่งจัดในเดือนจัดเดือนเจ็ดจีน ของทุกปี หรือ เทศกาลสารทจีน มีการไหว้วิญญานเร่ร่อน และ การทิ้งกระจาด เพื่อเป็นการอุทิศกุศลให้แก่วิญญาน และเป็นการทำทานช่วยเหลือผู้ยากไร้ แต่ลักษณะของพิธี และ เทศกาล จะต่างกับที่ ภูเก็ต ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง และไต้หวัน. ที่จัดเหมือนประเพณีที่อื่น", "title": "เทศกาลพ้อต่อ" }, { "docid": "277281#1", "text": "พรมแดนระหว่างประเทศนี้ได้ใช้ร่วมกันมาตั้งแต่ 1909 ระหว่างไทย (ซึ่งในตอนนั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าสยาม) กับอังกฤษซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในตอนเหนือของมาเลเซีย ซึ่งก็คือ เกอดะฮ์ (ไทรบุรี) กลันตัน ปะลิส และตรังกานูในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในสมัยก่อนทั้งสี่รัฐนี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของสยามมาก่อน และเป็นรัฐพรมแดนระหว่างประเทศของมาเลเซีย ซึ่งได้แก่ (เรียงจากตะวันตกไปตะวันออก) ปะลิส เกอดะฮ์ เประก์ และกลันตัน กับ 4 จังหวัดพรมแดนระหว่างประเทศของไทย (เรียงจากตะวันตกไปตะวันออก) คือ จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส", "title": "ชายแดนมาเลเซีย-ไทย" }, { "docid": "51464#2", "text": "ในวันอีดจะมีการประกอบศาสนกิจ (จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล เป็นส่วนใหญ่ และจังหวัดอื่น ๆ ตามกันไป มีหลักการว่าพระราชพิธีตรุษอีด จะประกอบในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย บรูไน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ โอมาน และประเทศอื่น ๆ ที่มีประชากรมุสลิมจำนวนมาก โดยมีพระมหากษัตริย์ในประเทศนั้นเสด็จเป็นองค์ประธานด้วยพระองค์เอง สำหรับ อินโดนีเซีย ก็มีการเฉลิมฉลองเช่นเดียวกัน โดยทางรัฐบาลกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการต่อเนื่องกันนานหลายวัน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่นายจ้างจะให้โบนัสแก่ลูกจ้างในเทศกาลนี้ และอนุญาตให้เดินทางกลับภูมิลำเนาได้", "title": "วันอีด" }, { "docid": "123116#9", "text": "ดังนั้น การปรับตัวของ SMES ไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์เพื่อช่วงชิงโอกาสในการขยายการลงทุนในและต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันด้วยการมีต้นทุนที่ต่ำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวัตถุประสงค์โครงการนี้ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยส่งเสริมผู้ซื้อพบผู้ขาย เพื่อสร้างพันธมิตร พัฒนาสินค้า เปิดตลาด ยกระดับ SMEs ผ่านกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจและจัดงานแสดงสินค้า มากมายทั้งในประเทศทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเวียดนาม", "title": "SMEs Project" }, { "docid": "222562#2", "text": "มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของกัมพูชา บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราและบอร์เนียว สำหรับในประเทศไทยพบบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้ จากรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีการพบนากจมูกขน 2 แห่ง คือ ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในปี พ.ศ. 2542 มีผู้สามารถจับตัวได้อีกที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ในบริเวณใกล้กับชายแดนมาเลเซีย\nนากจมูกขนนับว่าเป็นนากชนิดที่ได้ชื่อว่าหายากที่สุดในโลก เพราะมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้งและมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมน้อยมาก มักพบนากชนิดนี้ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ปากแม่น้ำใกล้กับทะเลหรือชายฝั่ง มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ", "title": "นากจมูกขน" }, { "docid": "7013#0", "text": "นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "7013#14", "text": "ชาวจังหวัดนราธิวาสส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา การเพาะปลูกพืชทางเศรษฐกิจ คือ ยางพารา ลองกอง เงาะ ทุเรียน เป็นต้น พืชที่สร้างชื่อเสียงของนราธิวาสคือ ลองกองบ้านซีโปตันหยงมัส มีรสชาดหวานนุ่มหอมอร่อยสามารถขายได้ราคาดี นอกจากการเกษตรแล้วบางส่วนก็ทำธุรกิจค้าขาย และทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน เป็นต้น", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "101104#3", "text": "\"ย้องแท้วฟู้\" หรือเต้าหู้ยัดไส้ที่ชาวไทยรู้จักในชื่อ “เต้าหู้แคะ” ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งของ “ก๋วยเตี๋ยวแคะ” ในประเทศไทยด้วยนั้น เป็นวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านโบราณของชาวแคะที่สืบทอดมาเป็นเวลายาวนานนับพันปีจนกลายเป็นอาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อของประเทศจีนเอง ตลอดจนประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย และอื่นๆ ที่มีชนเชื้อชาติแคะอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นชนเชื้อชาติจีนที่มีพลเมืองรวมกันมากที่สุดในโลก และประเทศมาเลเซียยังได้ขึ้นบัญชี \"ย้องแท้วฟู้\" เป็นหนึ่งใน 100 รายการมรดกวัฒนธรรมอาหารแห่งชาติมาเลเซียด้วย ", "title": "เย็นตาโฟ" }, { "docid": "662157#1", "text": "เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา บิดาชื่อนายคล้อย ทวนยก มารดาชื่อ นางตั้ง ทวนยก ภรรยาชื่อ นางเจียม ทวนยก มีบุตรชาย ๓ คน \nนายควน ทวนยก จะออกงานแสดงร่วมอยู่กับคณะการละเล่นพื้นบ้านเป็นส่วนใหญ่ ทั้งหนังตะลุงและโนรา รวมทั้งการแสดงร่วมกับคณะนาฏศิลป์วิทยาลัยครูสงขลา เริ่มเป่าปี่เมื่ออายุ ๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๔๙๘)\nปัจจุบัน เป็นนายปี่หนังตะลุงให้นายหนังหลายคณะทั้งในจังหวัดสงขลา พัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช และภายหลังตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๓ เริ่มเป่าปี่มวยอีกประมาณ ๔๐ ครั้ง สำหรับภาคอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังแสดงในต่างประเทศอีกด้วย ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สวิทสเซอร์แลนด์ ฯลฯ นอกจากนี้ นายควน ทวนยก ยังได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาทางด้านดนตรีพื้นบ้านโดยเฉพาะทางด้านปี่หนังตะลุงและปี่โนราที่มีลักษณะโดดเด่นกว่างานสร้างสรรค์อื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ได้แก่ เพลงประกอบระบำ ๕๐ เพลง การคิดแต่งทำนองการขึ้นปี่ เป็นต้น", "title": "ควน ทวนยก" }, { "docid": "440518#3", "text": "หลังเหตุระเบิดทั้งสองจุด ได้เกิดเหตุระเบิดที่ชั้นใต้ดินของโรงแรมลีการ์เด้นพลาซ่า ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แรงระเบิดสร้างความเสียหายต่ออาคาร มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และได้รับบาดเจ็บ 416 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการได้รับการสูดกลิ่นควัน ซึ่งมีการรายงานในเบื้องต้นว่ามาจากการรั่วไหลของแก๊ส แต่ภายหลังได้นำมาประกอบเข้ากับรถยนต์ การระเบิดนี้ได้รับการพิจารณาจากบางแหล่งข้อมูลว่า ผู้ก่อเหตุต้องการเพิ่มการจลาจล เนื่องด้วยเป้าหมายคือโรงแรมที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียและสิงคโปร์", "title": "เหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555" }, { "docid": "909722#3", "text": "การค้ามนุษย์ในประเทศไทยไม่จำกัดเฉพาะคนไทยเท่านั้น สตรีจำนวนมากและเด็ก ๆ จากประเทศอื่นถูกค้ามนุษย์เข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศของไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีสตรีชาวพม่า กัมพูชาและลาวจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อถูกค้ามนุษย์ในซ่องในจังหวัดชายแดนภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และเชียงราย ภาคกลาง และภาคตะวันออก เช่น จังหวัดตราด, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ชลบุรีและชุมพร และจังหวัดสงขลา นราธิวาสและปัตตานี ใกล้ชายแดนมาเลเซียตอนใต้ ผู้หญิงและเด็กกว่า 80,000 รายถูกขายให้กับอุตสาหกรรมบริการทางเพศของไทยตั้งแต่ปี 2533 ผู้ขายบริการทางเพศหญิงส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นชาวต่างชาติและกว่า 60% ของสตรีที่เดินทางเข้าประเทศเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศมีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีโสเภณีเด็กจำนวนกว่า 75,000 คนในประเทศไทย ", "title": "การค้าหญิงและเด็กในประเทศไทย" }, { "docid": "763470#0", "text": "รัฐและดินแดนสหพันธ์ของประเทศมาเลเซีย เป็นการแบ่งเขตการปกครองของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศสหพันธ์รัฐ ประกอบไปด้วยรัฐ (\"Negeri\") 13 แห่ง และดินแดนสหพันธ์ (\"Wilayah Persekutuan\") 3 แห่ง", "title": "รัฐและดินแดนสหพันธ์ของประเทศมาเลเซีย" }, { "docid": "1924#20", "text": "ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก ได้แก่ (1) การดำเนินความร่วมมือภายใต้กลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ อาทิ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซีย (Joint Commission: JC) คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน (Joint Development Strategy: JDS) คณะกรรมการด้านความมั่นคง ได้แก่ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee: HLC) และคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee: RBC) ซึ่งทั้ง 3 ระดับเป็นกรอบความร่วมมือของฝ่ายทหารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคง และความร่วมมือชายแดน คณะกรรมการด้านความมั่นคงกรอบอื่น ๆ เฉพาะเรื่อง อาทิ คณะกรรมการร่วมด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และความร่วมมือในกรอบ Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) และอาเซียน และ (2) ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนร่วมกัน การร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศและการเสริมสร้างมาตรการสร้างความไว้วางใจ (Confidence Building Measures) บนพื้นฐานของกรอบ 3Es ได้แก่ การศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการประกอบกิจการ (Entrepreneurship)", "title": "ประเทศมาเลเซีย" } ]
3942
กีฬาฟุตบอลเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไหร่?
[ { "docid": "52272#1", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2458 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้ริเริ่มนำกีฬาฟุตบอลเข้ามาเล่นในไทยเป็นครั้งแรก จนกระทั่งเกิดความนิยมแผ่ขยายกว้างขวางไปทั่วประเทศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้ง<i data-parsoid='{\"dsr\":[859,881,2,2]}'>สโมสรคณะฟุตบอลสยาม ขึ้นโดยมีพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงลงแข่งขันเป็นผู้เล่นเอง และเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 มีการจัดแข่งขันในระดับนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างทีมชาติสยาม (ปัจจุบันคือ ฟุตบอลทีมชาติไทย) กับทีมราชกรีฑาสโมสร ที่สนามราชกรีฑาสโมสร โดยมีดักลาส โรเบิร์ตสัน เป็นกรรมการผู้ตัดสิน[1]", "title": "ฟุตบอลในประเทศไทย" } ]
[ { "docid": "106749#1", "text": "โดยที่ทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีก ทั้ง โปรลีก และ ไทยลีก เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ มีการปรับโครงสร้างลีกและสโมสรเกิดขึ้น โดยในฤดูกาลนี้ ทางสมาคมฯ ในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการแข่งขัน จึงได้มีการกำหนดจำนวนทีมและการจัดการแข่งขันร่วมกับทาง กกท. โดยจะให้ทีมสโมสรชนะเลิศและรองชนะเลิศ ของการแข่งขัน โปรลีก 2549 เข้าร่วมการขันของสมาคมฯ ร่วมกับ สโมสรที่แข่งขัน ไทยลีก 2549 อยู่ก่อนแล้ว โดยจะให้มีสโมสรตกชั้นลงไปแข่งขันในดิวิชั่น 1 4 สโมสรเมื่อจบฤดูกาล", "title": "ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2550" }, { "docid": "251453#0", "text": "ระวิ โหลทอง นักธุรกิจสื่อมวลชนและกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอล ผู้ก่อตั้งบริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ซึ่งริเริ่มนำเสนอกีฬาฟุตบอลอังกฤษในประเทศไทย และขยายไปสู่ฟุตบอลลีกดังของโลก เช่นเซเรียอา ของอิตาลี, บุนเดสลีกาของเยอรมนี และลาลีกาของสเปน ระวิเริ่มงานจากการเป็นผู้สื่อข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าข่าวกีฬา ก่อนจะลาออกตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เพื่อทำธุรกิจหนังสือพิมพ์กีฬาของตัวเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ระวิเป็นผู้เสนอให้ปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทย ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยร่วมกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ก่อตั้งการแข่งขันระบบลีกสูงสุดในชื่อไทยลีก (ปัจจุบันคือ ไทยพรีเมียร์ลีก) ปัจจุบันระวิดำรงตำแหน่งเจ้าของสโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด", "title": "ระวิ โหลทอง" }, { "docid": "52861#2", "text": "ปี 2549 ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 ซึ่งถือว่าเป็นลีกสูงสุดที่มีการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการแข่งขัน โดยในปีนี้เองดูเหมือนจะเป็นการชิมลางการรวมลีกการแข่งขันของ 2 ลีกที่มาจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย กับ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 ประจำปี 2549 ได้ดึงแชมป์และรองแชมป์ของปีก่อนหน้านี้ อย่างทีมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีกับทีมฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นไปเล่นในระดับไทยแลนด์ลีกสูงสุด และส่งทีมอย่าง ทีโอทีกับการท่าเรือฯ ในชุดที่ถือว่าเป็นชุดบีเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 อีกด้วย โดยในปีนั้นได้มีกฎให้ทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจะต้องมีตราสัญลักษณ์ประจำสโมสร ดังนั้น ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก จึงได้มีตราสัญลักษณ์ประจำสโมสรเป็นครั้งแรก และใช้สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลกเป็นสนามเหย้า โดยในฤดูกาลนั้นทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกทำผลงานจบลงด้วยอันดับที่ 6 ของตารางการแข่งขัน", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "52371#7", "text": "ต่อมา ได้มีการจัดตั้ง บริษัท ไทยลีก จำกัด ขึ้นมาแทน บจก.พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ ตามคำแนะนำของ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และ สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ โดยได้โอนหุ้นจำนวน 99.98% ที่ทางนายกสมาคมฯ ถือไว้ ให้กับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย\nต่อมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีนโยบายในการพัฒนาศักยภาพสโมสรฟุตบอลลีกอาชีพอย่างยั่งยืน และยกระดับลีกภายในประเทศ ให้ก้าวไปสู่ลีกชั้นนำของอาเซียนและเอเชีย เริ่มจากการตั้งและปรับเปลี่ยนชื่อลีกแต่ละระดับให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน เน้นความเรียบง่าย กระชับ น่าจดจำและร่วมสมัยที่สุด", "title": "ไทยลีก" }, { "docid": "52390#1", "text": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ เริ่มส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในการแข่งขัน กีฬาแห่งชาติ ฟุตบอลไทยแลนด์คัพ และ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ มาอย่างยาวนาน โดยในระดับเยาวชนจะใช้ชื่อ ทีมเยาวชนนครสวรรค์ ซึ่งเคยได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศ ฟุตบอลเยาวชนแห่งประเทศไทย ปี 2521, ชนะเลิศ กีฬาฟุตบอลเยาวชนระดับภูมิภาค ปี 2526 และ ในระดับบุคคลทั่วไป ในช่วงที่ไม่มีระบบการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ สโมสรฟุตบอลที่เป็นตัวแทนของจังหวัดนครสวรรค์ บางครั้งก็ส่งในนาม สมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ หรือ ส่งร่วมกับ สมาคมสโมสรอื่นๆ ในจังหวัด โดยเฉพาะ สมาคมสโมสรถาวรฟาร์ม โดยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งใน กีฬาแห่งชาติ, ไทยแลนด์ คัพ ", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์" }, { "docid": "599197#0", "text": "ฟุตบอลชายหาดทีมชาติไทย เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลชายหาดระหว่างประเทศ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์กรกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย", "title": "ฟุตบอลชายหาดทีมชาติไทย" }, { "docid": "52272#11", "text": "สนามฟุตบอลในประเทศไทยโดยส่วนมาก มักสร้างขึ้นพร้อมกับ สนามแข่งขันกรีฑาและอัฒจันทร์โดยรอบ ในสถานะของสนามหลัก (Main Stadium) ภายในศูนย์กีฬาระดับต่างๆ โดยมักตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือเป็นส่วนหนึ่งของสนามกีฬากลางในแต่ละจังหวัด ต่อมาหลังจากปี พ.ศ. 2552 เมื่อฟุตบอลระบบลีกอาชีพของไทยเป็นที่นิยมอย่างสูง สโมสรฟุตบอลชั้นนำหลายแห่งจึงเริ่มลงทุนจัดสร้างสนามฟุตบอลโดยเฉพาะเป็นของตนเอง", "title": "ฟุตบอลในประเทศไทย" }, { "docid": "52648#0", "text": "สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลฟุตบอลในประเทศไทย รวมถึงฟุตบอลทีมชาติไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2459 อันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเข้าร่วมกับสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2468 และเข้าร่วมกับสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2500", "title": "สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์" }, { "docid": "107488#0", "text": "ไทยลีกดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2550 เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกระดับสาม ของไทย โดยเริ่มตันการแข่งขันตั้งแต่ 21 เมษายน พ.ศ. 2550 ถึง วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550 และเป็นฤดูกาลแรกที่สโมสรจังหวัด จาก โปรวินเชียลลีก เข้าร่วมการแข่งขัน โดยมีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน 12 สโมสร และหาทีมเลื่อนชั้นสู่ ลีก ดิวิชั่น 1 สองทีม และ ตกชั้นไปยัง ถ้วย ข หรือ แซต แชมเปี้ยนชิพ สองทีม \nโดยที่ทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีก ทั้ง โปรลีก และ ไทยลีก เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ มีการปรับโครงสร้างลีกและสโมสรเกิดขึ้น โดยในฤดูกาลนี้ ทางสมาคมฯ ในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการแข่งขัน จึงได้มีการกำหนดจำนวนทีมและการจัดการแข่งขันร่วมกับทาง กกท. โดยจะให้ทีมสโมสรอันดับที่ 15 และ 16 ของการแข่งขัน โปรลีก 2549 เข้าร่วมการขันของสมาคมฯ ร่วมกับ สโมสรที่ไม่ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นหรือตกชั้นการแข่งขัน ดิวิชั่น 2 2549 โดยจัดสโมสรแข่งขัน ทั้งหมด 12 ทีม แบบพบกันหมด โดยสโมสรที่ทำผลงานอยู่ใน สองอันดับสุดท้ายจะตกชั้นลงไปแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. หรือ แซต แชมเปี้ยนชิพ", "title": "ไทยลีกดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2550" }, { "docid": "889701#0", "text": "แกลิคฟุตบอล เป็นกีฬาที่มีการผสมผสานจากหลายกีฬาไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอล รักบี้ แฮนด์บอลและบาสเก็ตบอล กีฬาแกลิคฟุตบอลกำเนิดจากประเทศไอร์แลนด์ตั้งแต่สมัยยุคกลางก่อนที่จะถูกปรับเปลี่ยนและตั้งกฏกติการมารตรฐานเมื่อปึพุทธศักราช 2430 และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในเวลาต่อมาโดยเฉพาะในประเทศไอร์แลนด์ และเริ่มเป็นที่รู้จักในหลายประเทศที่มีชาวไอร์แลนด์อพยพไปตั้งรกรากทั้งในอเมริกา ออสเตรเลียและฯลฯ ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเกียงกันว่ากีฬาแกลิคฟุตบอลถือว่าเป็นต้นกำเนิดของกีฬาออสซี่รูลส์ (Australia Football)เนื่องด้วยพื้นฐานการเล่นการผ่านบอลการทำแต้มที่ความคล้ายคลึงกัน กระนั้นกีฬาแกลิคฟุตบอล เป็นกีฬาที่เหมาะกับสรีระคนไทยเพราะเป็นกีฬาที่อาศัยความคล่องตัว ความเป็นทีม ความเร็ว ความแม่นยำ แท็คติก โดยอาศัยทักษะ การส่งลูกบอลโดยใช้ฝ่ามือหรือกำปั้นเคาะให้บอลออกจากมืออีกข้าง การส่งลูกบอลโดยการเตะ การเดาะลูกบอลขึ้นด้วยเท้าระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้า การเด้งลูกบอลระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและที่สำคัญเป็นกีฬาที่ไม่อาศัยการชนหรือการกระแทกต่างๆนานาๆ", "title": "แกลิกฟุตบอล" }, { "docid": "926010#0", "text": "ไทยแลนด์ยูธลีก ฤดูกาล 2560 () เป็นการแข่งขัน ฟุตบอลลีกเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่สองของประเทศไทย ภายใต้การดูแลของ การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในโครงการ \"สานฝันฟุตบอลไทยไปฟุตบอลโลก\"", "title": "ไทยแลนด์ยูธลีก ฤดูกาล 2560" }, { "docid": "836672#0", "text": "ไทยแลนด์ยูธลีก ฤดูกาล 2559 () เป็นการแข่งขัน ฟุตบอลลีกเยาวชนแห่งชาติ ครั้งแรกของประเทศไทย ภายใต้การดูแลของ \nการกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย \nโดยเป็นหนึ่งในโครงการ \"สานฝันฟุตบอลไทยไปฟุตบอลโลก\"", "title": "ไทยแลนด์ยูธลีก ฤดูกาล 2559" }, { "docid": "52382#3", "text": "ต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีนโยบายในการรวมลีกเข้าด้วยกัน ทำให้ทางสมาคมกีฬาฯ ต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทำให้ทางสมาคมกีฬาฯต้อง ปรับปรุงสโมสรให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น จึงได้จัดตั้ง บริษัท สโมสรฟุตบอลขอนแก่น จำกัด เพื่อทำการบริหารสโมสร ส่งลงทำการแข่งขัน ไทยลีกดิวิชัน 1 โดยได้จดทะเบียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ทะเบียนการค้าเลขที่ 0405550000730\nและได้ทำบันทึกช่วยจำ ร่วมกับ การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในการเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกที่ทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จัดการแข่งขัน", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดขอนแก่น" }, { "docid": "778568#0", "text": "สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี หรือ เอ็มพาวเวอร์สเตเดี้ยม เป็นสนามฟุตบอลของ สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้ และสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ มีความจุทั้งหมด 6,800 ที่นั่ง ในระหว่างการสร้าง ในอดีตเคยเป็นสนามฟุตบอลของ ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ", "title": "สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี" }, { "docid": "306914#12", "text": "ในประเทศไทย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และประธานคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นประธานแถลงข่าว “ประเทศไทยเซ็นสัญญาคว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018” ซึ่งจะจัดการแข่งขันขึ้นระหว่างวันที่ 14 มิ.ย. - 15 ก.ค. 2561 ที่ประเทศรัสเซีย โดยความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐบาล นำโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและการกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมด้วยภาคเอกชน 9 องค์กร ที่ร่วมลงทุนในครั้งนี้ ซึ่งการเจรจาที่ผ่านมามีความล่าช้าไปเล็กน้อย เนื่องจากคิงเพาเวอร์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนเจรจาในตอนต้น เพิ่งได้รับแจ้งถึงนโยบายข้อกำหนดของฟีฟ่าว่า จะเจรจาและลงนามในสัญญาเฉพาะกับบริษัทผู้ประกอบธุรกิจบรอดแคสติ้งเท่านั้น ซึ่งในเวลาที่กระชั้นชิด เพื่อให้ฟีฟ่าอนุมัติได้รวดเร็ว จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาระดับโลก จึงประสานให้บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเจรจา และลงนามในสัญญา ทำให้คนในประเทศไทยสามารถรับชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลกครั้งนี้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ตั้งแต่รอบแรกจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ครบทั้ง 64 แมตช์ โดยสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง ทรูโฟร์ยู ช่อง 24, อมรินทร์ ทีวี ช่อง 34 และช่อง 5", "title": "ฟุตบอลโลก 2018" }, { "docid": "52272#14", "text": "ซึ่งสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) กำหนดให้สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน รายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ต้องมีใบรับรองสโมสร (Club licensing) อย่างถูกต้องตามที่เอเอฟซีกำหนด จึงสามารถใช้สนามเหย้าทำการแข่งขันได้ โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยมีอยู่ 8 สนามคือ นิวไอโมบายสเตเดียม, เอสซีจีสเตเดียม, ลีโอสเตเดียม, ชลบุรีสเตเดียม, สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต, สนามกีฬากลางจังหวัดนนทบุรี, มิตรผลสเตเดียม และสนามทุ่งทะเลหลวง นอกจากนี้ ยังมีอีกสองสนาม ที่เอเอฟซีใกล้จะออกใบรับรองสโมสรคือ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา และสนามกีฬากลางจังหวัดชัยนาท สำหรับสนามฟุตบอลที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) รับรองมาตรฐาน ในประเทศไทยมีอยู่ 2 สนามคือ นิวไอโมบายสเตเดียม และมิตรผลสเตเดียม", "title": "ฟุตบอลในประเทศไทย" }, { "docid": "376502#0", "text": "คิงส์คัพ () เป็นการแข่งขันกีฬาที่มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยนักกีฬาผู้เข้าร่วมแข่งขันจะเป็นผู้ที่ได้รับเชิญ ซึ่งการแข่งขันทั้งหมดนี้เป็นการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของกีฬา ฟุตบอล, มวยไทย, มวยสากลสมัครเล่น, ‎เซปักตะกร้อ, เรือใบ, กอล์ฟ และโปโลช้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาฟุตบอล ที่อาจมีการพิจารณาทีมฟุตบอลจากการแข่งอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพในบางช่วง", "title": "คิงส์คัพ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "52862#0", "text": "สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดนครปฐม ปัจจุบันเล่นอยู่ในระดับไทยลีก 4 เนื่องจากในการแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2560 ทางสโมสรถูกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยปรับตกชั้นไปสู่ไทยลีก 4 เนื่องจากไม่สามารถส่งเอกสารเกี่ยวกับคลับไลเซนซิงได้ตามเวลาที่กำหนด สนามเหย้า คือ สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม เคยแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีก 2551 ซึ่งจบฤดูกาลในอันดับ 9 (สูงสุดในประวัติศาสตร์สโมสร) ใน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุอื้อฉาวเกี่ยวกับแฟนบอลทำร้ายผู้ตัดสิน", "title": "สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด" }, { "docid": "984334#0", "text": "ฟุตบอล โตโยต้า ลีกคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2561 เป็นนัดชิงชนะเลิศของ โตโยต้า ลีกคัพ 2561, เป็นฤดูกาลที่ 9 ของฟุตบอลถ้วยลำดับที่สองของการแข่งขันฟุตบอลไทยซึ่งจัดการแข่งขันขึ้นโดย สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ครั้งนี้จะลงสนามที่ สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต ใน ปทุมธานี, ประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561, เป็นการโคจรมาพบกันระหว่าง สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ทีมยักษ์ใหญ่จาก ภาคเหนือ และ บางกอกกล๊าส ทีมยักษ์ใหญ่จาก โซนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ของประเทศไทย.", "title": "โตโยต้า ลีกคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2561" }, { "docid": "936#121", "text": "มวยไทยเป็นกีฬาประจำชาติไทย นักมวยไทยมักเป็นแชมเปียนระดับไลต์เวทของสมาคมมวยโลกเสมอ[197]:107 ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศไทยรับกีฬาตะวันตกเข้ามาหลายชนิด โดยเริ่มมีการแข่งขันในโรงเรียนในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามมาด้วยในระบบการศึกษาสมัยใหม่[200]:38 ฟุตบอลเป็นกีฬายอดนิยมในประเทศไทย[201] โดยทีมชาติไทยได้แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน 4 สมัย แต่ยังไม่เคยผ่านเข้ารอบฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ส่วนสนุกเกอร์ แบดมินตัน เทนนิส รักบี้ กีฬาขี่ม้าและกีฬาทางน้ำได้รับความนิยมรองลงมา สำหรับกีฬาไทยเดิมที่ได้รับความนิยมนั้น ได้แก่ ว่าวพนัน (kite fighting) แข่งเรือและตะกร้อ[202]", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "38909#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956ที่เมลเบิร์น โดยเป็นครั้งแรกของทางทีมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ทีมไทยจับฉลากพบกับสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 0-9 (ความพ่ายแพ้ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์) ตกรอบทันที โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 6 ประตูต่อ 1 โดยทีมชาติบัลแกเรียได้เหรียญทองแดง ทีมชาติยูโกสลาเวีย ได้เหรียญเงิน และสหภาพโซเวียตได้เหรียญทองไปครอง[2] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า \"ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0\" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีรับสั่งถึงสมาคมฟุตบอลฯ ให้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ หนึ่งในนักฟุตบอลชุดโอลิมปิกไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนี เพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ฟุตบอลทีมชาติไทยก็คว้าเหรียญทองในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันเรียกว่าซีเกมส์) ครั้งที่ 3 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จนถึง พ.ศ. 2552 ประเทศไทยชนะเลิศการแข่งขันทุก ๆ สองปีรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง", "title": "ฟุตบอลทีมชาติไทย" }, { "docid": "855883#1", "text": "เนื่องด้วยความนิยมในฟุตบอลลีกของไทยในเวลานั้น กระจายแค่อยู่ในวงจำกัดเพียงใน กรุงเทพมหานคร (ในปกติ ไทยลีก จะแข่งขันในสนามเป็นกลางหรือสนามเหย้าซึ่งส่วนใหญ่ ที่ตั้งจะอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล) ทำให้มีความพยายามที่จะส่งเสริมฟุตบอลลีกให้มีความนิยมในเขตภูมิภาคมากขึ้น ทำให้ในปี พ.ศ. 2542 จึงได้จัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพขึ้น โดย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ประสานงานกับทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพระดับภูมิภาค โดยใช้ชื่อว่า โปรวินเชียลลีก โดยมี วรวีร์ มะกูดี ซึ่งเป็นเลขาธิการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ (ในขณะนั้น) ร่วมมือกัน โดยการแข่งขันนี้ เป็นโครงการลีกอาชีพนำร่องของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยเชิญสมาคมกีฬาจังหวัดต่างๆที่ได้รับการคัดสรร มาเข้าร่วมแข่งขันในระบบลีก", "title": "โปรวินเชียลลีก ฤดูกาล 2542/43" }, { "docid": "52369#4", "text": "ต่อมาในปี 2549 การกีฬาแห่งประเทศไทย และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดการแข่งขันเอง และใช้ชื่อการแข่งขันว่า โปรเฟสชั่นนอล ลีก (\"โปรลีก\") และได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีก ทั้ง โปรลีก และ ไทยลีก เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้โปรลีก แปรสภาพเป็นการแข่งขัน แซต แชมเปียนชิพ (\"SAT Championship\") โดยมีลักษณะการแข่งขันคล้ายคลึงกับ โปรลีก 2 โดยที่ทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศ จะได้สิทธิในการไปร่วมเล่นในลีกฟุตบอล ไทยลีกดิวิชัน 2", "title": "โปรวินเชียลลีก" }, { "docid": "668549#0", "text": "กีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 หรือ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 13 เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดระดับประเทศของประเทศไทย การแข่งขันครั้งนี้จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งกำหนดให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 23 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2526 โดยมีนายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานกรรมการจัดการแข่งขัน มีการแข่งขันกีฬารวม 15 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากลสมัครเล่น ฟุตบอล ยูโด เทนนิส เซปักตะกร้อ ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล ยิมนาสติก จักรยาน ยกน้ำหนัก และรักบี้ฟุตบอล (กีฬาสาธิต วอลเลย์บอลชายหาด) มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 10 เขต จำนวน 2,359 คน รวมนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น 2,848 คน \nกีฬาสาธิต", "title": "กีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13" }, { "docid": "296747#1", "text": "แรกเริ่มเกิดจากนโยบายทางด้านกีฬาของประเทศไทย ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในด้านการกีฬา และพัฒนาวงการฟุตบอลอาชีพของไทย ซึ่งจังหวัดมุกดาหารได้เริ่มก่อตั้งทีมสโมสรฟุตบอลเป็นของตัวเอง ลงทะเบียนกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในชื่อเริ่มแรกว่า สโมสรฟุตบอลจังหวัดมุกดาหาร ต่อมาได้มีการร่วมมือด้านกีฬากับแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลมุกดาหาร-สะหวันนะเขต (Mukdahan-Savannakhet Football Club) โดยมีฉายาในขณะนั้นว่า แก้วมุกดา (The Perfume Flower Trees) ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง และชื่อมีความคล้องจองกับสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นสัญลักษณ์ยุคใหม่ของจังหวัดคือ หอแก้วมุกดาหารหรือหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก คือ หอสังเกตการณ์ที่มีความสูง 65.50 เมตร สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2539 ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ครบ 50 ปี) ทีมสโมสรฟุตบอลมุกดาหาร-สะหวันนะเขตมีการเปลี่ยนโลโก้สัญลักษณ์ จากสัญลักษณ์หลักที่เป็นรูปหอแก้วมุกดาหาร เป็นรูปสัญลักษณ์ของ พญานาค ซึ่งเป็นตำนานตามความเชื่อท้องถิ่นของจังหวัด", "title": "สโมสรฟุตบอลมุกดาหาร ไชยยืนยง" }, { "docid": "52272#12", "text": "ทั้งนี้สนามฟุตบอลในกรุงเทพมหานคร มีหลายแห่งที่สำคัญเช่น ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น), ราชมังคลากีฬาสถาน, สนามกีฬากองทัพบก, สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์), สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สนามฟุตบอลเทพหัสดิน, แพตสเตเดียม, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เป็นต้น ส่วนสนามฟุตบอลที่สำคัญในเขตปริมณฑล มีอาทิ เอสซีจีสเตเดียม, สนามทีโอที แจ้งวัฒนะ ในจังหวัดนนทบุรี, สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต, ลีโอสเตเดียม ในจังหวัดปทุมธานี เป็นต้น", "title": "ฟุตบอลในประเทศไทย" }, { "docid": "52669#21", "text": "2530 รางวัลดาวซัลโว ฟุตบอลเขตการศึกษาแห่งประเทศไทย 2542 รางวัลดาวซัลโว ซีเกมส์ครั้งที่ 20 ประเทศบรูไน 2543 เกียรติประวัติ ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมไทย “คนต้นแบบ” โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2543 รางวัลนักฟุตบอลทรงคุณค่า ไทเกอร์คัพครั้งที่ 3 ประเทศไทย 2543 รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม อีเอสพีเอ็น 2543 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม อีเอสพีเอ็น 2544 รางวัลดาราเอเชีย 2544 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 1 2544 รางวัลนักฟุตบอลดีเด่น ซันโย 2546 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม 2547 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม 2548 เข็มเกียรติยศ ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ฟุตบอลเวียดนาม จากรัฐมนตรีกีฬาประเทศเวียดนาม 2547-ปัจจุบัน ผู้ให้การสนับสนุนกิจการ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 2550 โล่ประกาศเกียรติคุณ ชมรมเชียร์ไทย 2551 รางวัลสุดยอดคนต้นแบบ เมืองขอนแก่น 2557 รางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8 [36][37][38] 2557 รางวัลผู้ฝึกสอนนักกีฬาสมัครเล่นดีเด่น วันกีฬาแห่งชาติ[39] 2557 รางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม สยามโกลเดนอวอร์ดส์ 2558 ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง[40] 2558 รางวัลผู้ฝึกสอนนักกีฬาสมัครเล่นดีเด่น วันกีฬาแห่งชาติ 2558 บุคคลแห่งปี สำนักข่าวเนชั่น[41] 2559 Fever Awards 2016 รางวัลนักกีฬาฟีเวอร์ปี 2016", "title": "เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง" }, { "docid": "438044#0", "text": "สนามกีฬากลางจังหวัดตราด สนามกีฬาหลักของจังหวัดตราดเป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ ตั้งอยู่ที่ถนนเนินตาเแมว ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เป็นที่ตั้งของ ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตราดและโรงเรียนกีฬาจังหวัดตราด ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ปัจจุบันใช้สนามฟุตบอลเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลจังหวัดตราด ในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 2", "title": "สนามกีฬากลางจังหวัดตราด" }, { "docid": "52399#3", "text": "ในปี 2550 ทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีก ทั้ง โปรลีก และ ไทยลีก เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ มีการปรับโครงสร้างลีกและสโมสรเกิดขึ้น ทำให้สโมสรที่จบอันดับ 4 ถึง 14 ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 2550 ซึ่งทีมได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน\nซึ่งต่อมาได้มีการควบรวมลีก ทำให้ทีมได้สิทธิ์ทำการแข่งขันใน โดยทีม ได้เข้าร่วมการแข่งขันในสาย บี โดยผลงานของทีมในปีนั้น ไม่ดีนัก โดยจบอันดับที่ 11 ของสาย จาก 12 สโมสร (ฤดูกาลนั้นตกชั้น 5 ทีม) ต้องตกชั้นไปทำการแข่งขันใน ไทยลีกดิวิชัน 2", "title": "สโมสรฟุตบอลฉะเชิงเทรา ไฮ-เทค" }, { "docid": "899606#0", "text": "เรื่องอื้อฉาวฟุตบอลไทย พ.ศ. 2560 เป็นข่าวอื้อฉาวที่เกิดขึ้นในการแข่งขันไทยลีก และไทยลีก 2 เรื่องราวทั้งหมดถูกตรวจสอบโดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยนักเตะผู้กระทำผิดได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสมรู้ร่วมคิดกับนายทุนในการทุจริตผลการแข่งขัน ซึ่งมีความผิดตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2560\nนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา ทาง สปอร์ตเรดาห์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบการประพฤติมิชอบในวงการกีฬา ได้เปิดเผยข้อมูลกับทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับ หรือ \"ล้มบอล\" โดยได้ให้ความรู้ในการป้องกันการล้มการแข่งขัน และร่วมมือกับทางหน่วยงานของรัฐ ในการตรวจตรา ส่อดส่องการทุจริต ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยทาง สปอร์ตเรดาห์ ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ เงินหมุนเวียน การพนัน การแข่งขันฟุตบอล ไทยพรีเมียร์ลีก ว่ามีจำนวนเงินสูงถึง 52 ล้านบาท ต่อ 1 การแข่งขัน โดยใน ประเทศไทย ทาง กกท. ได้มีกฎหมายที่บังคับใช้กับผู้กระทำผิดในกรณีนี้ไว้แล้ว โดยออกเป็น พระราชบัญญัติ คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยเริ่มมีผลบังคับใชัตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556", "title": "เรื่องอื้อฉาวฟุตบอลไทย พ.ศ. 2560" } ]
3943
จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์อะไร?
[ { "docid": "25629#0", "text": "ฉินฉื่อหฺวังตี้ ตามสำเนียงกลาง หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ตามสำเนียงอื่น (Chinese:秦始皇帝; pinyin:Qín Shǐ Huángdì; 260–210 ก่อนคริสตกาล[3]) เป็นชื่อที่ปัจจุบันใช้เรียกพระเจ้าเจิ้ง () แห่งเมืองฉิน มีความหมายตรงตัวว่า \"ปฐมจักรพรรดิฉิน\"", "title": "จิ๋นซีฮ่องเต้" } ]
[ { "docid": "86346#4", "text": "หลังยุคฟูซี เสินหนง (神農) ได้เป็นผู้ปกครองแทน เสินหนงได้สอนให้ผู้คนรู้จักการเพาะปลูก และใช้คันไถ และยุคต่อมาก็คือ ยุคของหวงตี้ (黃帝) หรือ จักรพรรดิเหลือง หวงตี้ได้ทำสงครามกับเหยียนตี้ที่ปั่นเฉวียน (阪泉) สุดท้ายเหยียนตี้พ่ายแพ้ หวงตี้จึงขยายอำนาจการปกครองจากทางตอนเหนือลงไปทางใต้ จนถึงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงและฮั่นสุ่ย ซึ่งหวงตี้ได้รับการนับถือจากชาวจีนรุ่นต่อมาว่าเป็น ฮ่องเต้หรือจักรพรรดิองค์แรกของจีน และชื่อของพระองค์ก็กลายมาเป็นคำว่า ฮ่องเต้ หรือ จักรพรรดิ ความหมายของชื่อก็กลายมาเป็นสีประจำตัวฮ่องเต้ด้วย คือ สีเหลือง ชาวจีนเชื่อว่า ในราชวงศ์ชั้นหลัง เช่น ราชวงศ์เซี่ย, ราชวงศ์ซาง, ราชวงศ์โจว ต่อมาต่างก็สืบเชื้อสายจากหวงตี้ทั้งนั้น", "title": "ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน" }, { "docid": "43621#0", "text": "ราชวงศ์ฉิน (; ; ) หรือจิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. 323–พ.ศ. 338 (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐและทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ต่อมากษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 322–พ.ศ. 333 ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงใน พ.ศ. 337", "title": "ราชวงศ์ฉิน" }, { "docid": "293018#1", "text": "โดยแคว้นแรกที่โปรดให้เข้าตีก็คือ แคว้นหาน ไม่นานแคว้นหานก็ยอมแพ้หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงนำทัพบุกเข้าตี แคว้นจ้าว ไม่นาน แคว้นจ้าวก็ยอมแพ้หลังจากนั้นก็โปรดให้บุกแคว้นเอี้ยน,แคว้นเว่ย,แคว้นเย่ว์,แคว้นฉู่และโปรดให้บุก แคว้นฉี เป็นแคว้นสุดท้ายเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้ในที่สุดฉินอ๋องทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จและในภายหลังทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนทรงพระนามว่า จิ๋นซีฮ่องเต้", "title": "สงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้" }, { "docid": "820697#1", "text": "ไดเวียดถูกจีนปกครองนับตั้งแต่สมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ ซึ่งแม้ผู้นำไดเวียดจะพยายามอย่างไร ก็ไม่สามารถประกาศอิสรภาพของตนได้ จนภายหลังราชวงศ์ถังล่มสลาย ก็ได้เกิดสงครามใหญ่กับราชวงศ์เหลียว โดยมีนายพลโง เกวียน เป็นผู้นำ และสามารถตีจีนแตกพ่ายไปในที่สุด เมื่อปี ค.ศ.938 (พ.ศ. 1481) จนมาถึงราชวงศ์ลี้ก็ได้เป็นชื่อตนเป็นไดเวียด", "title": "ยุทธนาวีบักดั่ง (ค.ศ. 1288)" }, { "docid": "344167#0", "text": "จาง เฟิงอี้ () เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2499 เป็นนักแสดงชื่อดังของฮ่องกงและจีน ทั้งในละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์เด่นของเขาคือ จิ๋นซีฮ่องเต้ รับบทเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้\nและยังรับบทเป็น จักรพรรดิถังไท่จง (หลี่ ซื่อหมิน) ในละครเรื่อง บูเช็คเทียน ส่วนภาพยนตร์เด่นของเขาคือ สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ รับบทเป็นโจโฉ", "title": "จาง เฟิงอี้" }, { "docid": "880289#1", "text": "เจ้าเกาเริ่มรับราชการในรัชสมัย จิ๋นซีฮ่องเต้ กระทั่งได้ถูกส่งไปรับใช้องค์ชาย หูไห่ พระราชโอรสองค์รองกระทั่งได้เป็นพระอาจารย์ขององค์ชาย ใน 210 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคตเจ้าเกาและ หลี่ซือ ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีในขณะนั้นได้ร่วมมือกันปลอมแปลงพระราชโองการทำให้องค์ชายหูไห่ได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิฉินที่ 2 แทนองค์ชาย ฝูซู พระเชษฐาที่รัชทายาทที่ถูกราชโองการปลอมให้ปลงพระชนมชีพพระองค์เองในภายหลัง", "title": "เจ้าเกา" }, { "docid": "11237#9", "text": "กำแพงเมืองจีนสร้างเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยฮ่องเต้องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมาเลย", "title": "กำแพงเมืองจีน" }, { "docid": "7708#154", "text": "ครั้งที่ 1 เมื่อขงจื๊อสิ้นชีพแล้วได้ 200 ปีเศษ หรือพุทธศตวรรษที่ 3 จิ๋นซีฮ่องเต้ กษัตริย์แห่งนครฉี ทรงปราบรัฐใหญ่ ๆ 6 รัฐหมดแล้ว จึงปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ปกครองประเทศจีนแต่เพียงพระองค์เดียว พระองค์ปรารถนาจะให้ราชบัลลังก์ของพระองค์ยั่งยืนอยู่ชั่วกาลนาน ทรงเห็นชอบกับคำแนะนำของ หลีซือ นายกรัฐมนตรีว่า บรรดาศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ทำให้คนฉลาดและมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ยากที่จะปกครอง ควรที่จะล้มเลิกศาสนาและปรัชญาเหล่านั้น จิ๋นซีฮ่องเต้จึงทรงรับสั่งให้นำคัมภีร์ของศาสนาและปรัชญาทั้งหมดมารวมกันแล้วเผาทำลายทั้งหมด กล่าวกันว่า กองไฟเผาคัมภีร์เหล่านี้ลุกโชติช่วงติดต่อกันไม่ดับเป็นเวลา 3 เดือน พวกนักปราชญ์ของศาสนาและปรัชญาถูกฆ่าถึง 460 คนเศษ ลัทธิขงจื๊อและม่อจื๊อ ได้รับความกระทบกระเทือนมากที่สุด เพราะรัฐบาลเห็นว่าเป็นศัตรูหมายเลข 1 แต่ความหวังของจิ๋นซีฮ่องเต้ที่จะให้ราชวงศ์ของพระองค์ยั่งยืนเป็นหมื่นปีก็พังลง เพราะหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้วก็ได้เกิดกบฏล้มราชบัลลังก์ โดย หลิวปัง ขุนพลคนหนึ่งเป็นหัวหน้า ทำการได้สำเร็จจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าฮั่นเกาจู่ ตั้งราชวงศ์ฮั่น สืบสันตติวงศ์ต่อมา ราชวงศ์ฮั่นได้ปกครองบ้านเมืองมาตามลำดับ จนถึงพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 5 ทรงฟื้นฟูปรัชญาขงจื๊อขึ้นใหม่ และทรงให้การสนับสนุนเป็นการใหญ่ ปรัชญาขงจื๊อจึงได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง", "title": "ขงจื๊อ" }, { "docid": "21447#2", "text": "ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น[2] พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนัก[3], เหล่าพ่อค้าที่คดโกงทางเศรษฐกิจ, ปฏิรูปโดยใช้ระบบศักดินาโดยโอนมอบสิทธิครอบครองที่ดินให้แก่พระโอรสของพระองค์ทั่วประเทศจีนและพยายามแนะนำให้พระโอรสใช้หลักกระแสรับสั่งที่เผยแพร่โดยราชสำนักหมิงชื่อว่า หวงหมิงซูซุ่น หลักการนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อพระราชนัดดาของพระองค์ จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ซึ่งขึ้นเป็นฮ่องเต้องค์ที่ 2 ทรงคิดรวบอำนาจและพยายามที่จะกำจัดอำนาจของพระปิตุลาของพระองค์เอง ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือการทัพที่จิงหนานขึ้น หลังจากการทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงองค์ชายหยันได้สืบราชสมบัติต่อเป็นฮ่องเต้ ในปี ค.ศ. 1402 พระนามว่า จักรพรรดิหย่งเล่อ", "title": "ราชวงศ์หมิง" }, { "docid": "872390#3", "text": "อาน เซือง เวือง คือว่า กำแพงคงป้องกันสิ่งต่างๆในเมืองให้ปลอดภัยได้ แต่ก็ทราบดีว่าหากถูกศัตรูที่มีกำลังกล้าแข็งล้อมรอบก็คงไม่อาจป้องกันเมืองไว้ได้ตลอดไป เต่าสีทองทราบความกังวลของ อาน เซือง เวือง จึงปรากฏให้เห็นในความฝันอีกครั้ง \"ความเจริญรุ่งเรืองหรือความเสื่อมสลายขึ้นอยู่กับเจตจำนงของสวรรค์ แต่สวรรค์จะช่วยผู้ที่เหมาะสม บัดนี้ท่านได้แสดงให้เห็นแล้วว่าไว้ใจข้ามาก ข้าจะทำของขวัญจากเล็บของข้ามอบให้ ท่านจงนำไปใช้เป็นหน้าไกของหน้าไม้ มันจะช่วยขับวิญญาณชั่วร้ายออกไปและปราบได้ทั้งกองทัพ แต่ท่านต้องไม่ลืมว่าความมั่นคงของอาณาจักรขึ้นอยู่กับความระมัดระวังของท่านเองด้วย เต่าดึงเล็บข้างหนึ่งออกมามอบให้ อาน เซือง เวือง แล้วกลับคืนลงสู่แม่น้ำ\" อาน เซือง เวือง พอใจมากเมื่อตื่นมาพบเล็บวิเศษในมือ จึงสั่งให้ช่างอาวุธทำหน้าไม้ล้ำค่าซึ่งใช้เล็บวิเศษเป็นไกและกล่องผลึกงดงามไว้สำหรับบรรจุลูกศร อาน เซือง เวือง รำลึกถึงพระคุณของเต่าเสมอ พระองค์เชื่อมั่นว่าอาณาจักรของพระองค์จะมีสันติภาพและสงบเรียบร้อยเป็นเวลาหลายปี\nในเวลานั้นประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์ฉิน ซึ่งจิ๋นซีฮ่องเต้ได้ปราบปรามอาณาจักรรอบๆมาเป็นเมืองขึ้นได้ทั้งหมดและยกกองทัพมาถึงทะเลจีนใต้ ในปีเดียวกันกับที่ อาน เซือง เวือง เริ่มสร้างกำแพง จิ๋นซีฮ่องเต้ส่งไพร่พลและทัพม้าขนาดใหญ่ลงมาจากจีนตอนใต้พื่อรุกรานอาณาจักรเอิวหลัก แต่ก็พ่ายแพ้หลายต่อหลายครั้ง และในที่สุดก็ถูกทำลายด้วยธนูวิเศษก่อนที่จะยกทัพมาประชิดพระนครโก๋ลวา สามปีต่อมา จิ๋นซีฮ่องเต้ได้ส่งกองทหารห้าแสนนาย นำโดยนายพลเจี่ยวด่า ทำให้ภาคเหนือของอาณาจักรเอิวหลักตกอยู่ในมือของจีนอย่างง่ายดาย กองทหารจีนยกมาเป็นสามขบวนคือ พลม้า พลเท้า พลเรือ กองทัพนั้นยกมาพร้อมธงปลิวไสวในอากาศ เสียงอาวุธกระทบกันดังสนั่นหวั่นไหว นายพลเจี่ยวด่าสั่งให้ยกทัพไปตั้งบนภูเขา ให้กองเรือเทียบรอในแม่น้ำ ปิดล้อมพระนครไว้ กษัตริย์อาน เซือง เวือง เฝ้าสังเกตการณ์อย่างสุขุมจากหน้าต่างของป้อมปราการ ขณะที่กองทหารทั้งสามขบวนหลั่งไหลเข้าล้อมพระนครโก๋ลวา พระองค์กลับปล่อยให้กองทัพจีนเข้ามาโดยไม่ยกทัพออกไปต้านและไม่สั่งให้เตรียมกำลังป้องกันพระนครแต่อย่างใด เมื่อทหารรายงานว่า ทหารจีนมากันมืดฟ้ามัวดิน พระองค์กลับกล่าวอย่างพอใจว่า \"พวกเขาคงจะลืมหน้าไม้วิเศษของข้าแล้วกระมัง\" แล้วพระองค์ก็เล่นหมากรุกต่อโดยไม่แยแส เมื่อข้าศึกมาประชิดประตูเมืองโก๋ลวา อาน เซือง เวือง ยืนขึ้นไปหยิบหน้าไม้ แต่หลังจากยิงครั้งแรก ก็ยิงไม่ออก เมื่อยิงอีก ข้าศึกก็ยังคงหลั่งไหลเหมือนกระแสน้ำบ่าท่วมเข้ามา", "title": "ป้อมปราการโก๋ลวา" }, { "docid": "425006#2", "text": "หลังจากสถานีโทรทัศน์ซีทีวีเลิกกิจการในปี ค.ศ. 2521 เธอได้แสดงละครโทรทัศน์กำลังภายอีกหลายเรื่องให้กับสถานีโทรทัศน์แห่งเอเชีย เช่น \"ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม\" (Tai Chi Master), \"นักชกผู้พิชิต\" (The Legendary Fok), \"ศึกสองนางพญา\" (Princess Cheung Ping), \"ศึกสายเลือด\" (The Dynasty), \"แผ่นดินรักแผ่นดินเลือด\" (The Radical City), \"จิ๋นซีฮ่องเต้\" (The Rise of the Great Wall), \"13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง\" (The Rise and Fall of Qing Dynasty) เป็นต้น ทำให้เธอได้รับฉายาว่า \"ราชินีภาพยนตร์กำลังภายใน\"", "title": "หมี เสว่" }, { "docid": "15673#10", "text": "ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน (จิ๋นซีฮ่องเต้) เมื่อรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวแล้ว ได้สถาปนาเมืองหลวงของประเทศขึ้น คือ เมืองเสียนหยาง ตั้งอยู่ทางเหนือของซีอานในปัจจุบัน ในอดีตจัดเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น มีประชากรประมาณ 5 ถึง 6 แสนคน เกือบเท่ากับ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ แต่จอมจักรพรรดิทรงเห็นว่า เมืองหลวง เสียนหยาง ยังมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอ จึงโปรดให้สร้างเมือง เออฝาง ขึ้นทางใต้ของเมืองเสียนหยาง กล่าวกันว่า หลังจากราชวงศ์ฉินถูกชาวนาโค่นบัลลังก์แล้วบรรดาพระราชวัง และ ตำหนักในเมืองทั้งสองถูกเผาทำลายสิ้น โดยใช้เวลาเผานานถึง 3 เดือน\nสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้มีการสร้างเมืองหลวงใหม่ชื่อ ฉางอาน ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ระหว่างที่ตั้งเมืองหลวงเก่าทั้งสอง ปัจจุบันยังสามารถมองเห็นที่ตั้งเมืองฉางอานได้ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซีอาน เมือง ฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่นนี้มีอาณาเขตโดยรอบ 25,000 เมตร พื้นที่ 35 ตารางกิโลเมตร ตำหนักภายในเมืองมีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ เล่ากันว่า หลังจากสร้างตำหนักเสร็จแล้ว องค์จักรพรรดิฮั่น ตรัสว่า \"ช่างใหญ่อะไรปานนี้\" 800 ปีหลังจากนั้น จักรพรรดิ ราชวงศ์ สุย ได้สร้างเมืองหลวงอีกเมืองหนึ่งขึ้นทางใต้ของ ฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่น ชื่อ ต้าสิ้ง และเปลี่ยน ฉางอาน เป็นสวนดอกไม้ส่วนพระองค์ และเนื่องจากจักรพรรดิราชวงศ์สุยมา", "title": "ซีอาน" }, { "docid": "225276#0", "text": "จิ๋นซีฮ่องเต้ (, , พินอิน: Chun chi wong) เป็นภาพยนตร์จีนชุดที่กล่าวถึงพระราชประวัติของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกของจีนตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จนได้มาอยู่ในราชสำนักฉิน ผ่านเรื่องราวมากมายจนได้เป็นฉินอ๋อง รวมถึงแผนการรวบรวมแผ่นดิน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างกำแพงเมืองจีน และกล่าวถึงช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ", "title": "จิ๋นซีฮ่องเต้ (ภาพยนตร์จีนชุด)" }, { "docid": "43808#9", "text": "เมื่อฮั่นผิงตี้สิ้นพระชนม์ลง หยูจื่ออิง ซึ่งยังเป็นเด็กขึ้นครองราชย์ต่อมา หวังหมั่งเห็นเป็นโอกาส จึงถอดถอนหยูจื่ออิง แล้วตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ (ค.ศ. 8-23) นับแต่นั้น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกก็ถึงกาลล่มสลายราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติจีน เป็นยุคสมัยที่ก่อเกิดศูนย์รวมทางจิตใจของความเป็นชนชาติจีน หรือที่ต่อมาเรียกกันว่าชาวฮั่น หลังจากฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ปฐมกษัตริย์จีนที่สามารถรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งแล้ว ในสมัยจั้นกว๋อ การสู้รบระหว่างแว่นแคว้นต่าง ๆ ได้ทำให้เกิดการหล่อหลอมวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ เข้าด้วยกัน", "title": "ราชวงศ์ฮั่น" }, { "docid": "186543#0", "text": "อ๋อง ( \"หวัง\" หรือ \"หวาง\") แปลเป็นภาษาไทยคือกษัตริย์ เป็นตำแหน่งสูงสุดของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ยจนถึงราชวงศ์โจว ซึ่งสมัยนั้นจีนยังไม่รวมเป็นจักรวรรดิที่เป็นปึกแผ่น ซึ่งแต่ละแคว้นก็จะมีอ๋องเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น ซึ่งต่อมาฉินอ๋องเจิ้งแห่งแคว้นฉินทรงรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น พระองค์ถือว่าพระองค์มีคุณงามความดีเหนืออ๋องในอดีตทั้งมวล ทรงเห็นว่าตำแหน่งอ๋องไม่ยิ่งใหญ่เพียงพอสำหรับพระองค์ ฉินอ๋องเจิ้นจึงทรงพระราชดำริคำเรียกขึ้นใหม่คือ ฮ่องเต้ ฉินอ๋องเจิ้นทรงใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่", "title": "อ๋อง" }, { "docid": "43621#1", "text": "อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเสียนหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า \"เจ้าแผ่นดิน หวาง หรือ อ๋อง แปลว่า เจ้า ตี๋ลี่ หรือ ตี้ แปลว่า แผ่นดิน\" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า \"เจิ้น\" (เดิมเรียกว่า \"กู\" ) เป็นการเปิดฉากโอรสแห่งสวรรค์ครองเมือง มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข 1 เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า \"อิ๊\" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า \"เจ๊ก\") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ต่อมาฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซ่งหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน", "title": "ราชวงศ์ฉิน" }, { "docid": "25629#1", "text": "พระองค์ทรงสถาปนาราชวงศ์ฉินเมื่อปีที่ 220 ก่อนคริสตกาล และทรงผนวกดินแดนจีนสำเร็จในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นอันสิ้นสุดยุครณรัฐ[4] พระองค์ไม่ทรงใช้ตำแหน่ง \"หฺวัง\" (ราชา) ดังที่เคยใช้กันมาในสมัยราชวงศ์ซางและราชวงศ์โจว แต่ทรงใช้ตำแหน่ง \"หฺวังตี้\" (ราชาธิราช หรือนิยมแปลกันว่า จักรพรรดิ) จึงถือกันว่า ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งประเทศจีน ตำแหน่ง \"หฺวังตี้\" นี้พระเจ้าแผ่นดินจีนทรงใช้สืบต่อกันมาอีกสองพันปี", "title": "จิ๋นซีฮ่องเต้" }, { "docid": "411591#1", "text": "หวังเหว่ยเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1941 ที่ฮ่องกง เริ่มต้นอาชีพนักแสดงเมื่ออายุได้ 20 ต้น ๆ ในยุคต้นทศวรรษที่ 60 จากการนำแนะโดยเพื่อนสนิทของบิดา จนได้มีโอกาสรับบทในภาพยนตร์ภาษาจีนกลาง ต่อมาก็มีผลงานในภาพยนตร์ภาษากวางตุ้งด้วย ซึ่งที่โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือบทนำจากเรื่อง \"Story of a Discharged Prisoner\" เมื่อปี ค.ศ. 1967 ผลงานของผู้กำกับ หลงกง ที่เล่าเรื่องราวของชายหนุ่มขี้คุก กับชีวิตหลังได้รับอิสรภาพ ซึ่งต่อมา จอห์น วู ได้หยิบเค้าโครงเรื่องไปสร้างใหม่เป็นภาพยนตร์เรื่อง \"A Better Tomorrow\" หรือ \"โหดเลวดี\" ในปี ค.ศ. 1987 ซึ่งประสบความสำเร็จไปทั่วโลก โดยบทตัวละครของ หวังเหว่ย รับบทเป็นตัวละครน้องชาย ซึ่งใน \"A Better Tomorrow\" แสดงโดย เลสลี่ จาง นั่นเอง\nหวังเหว่ยเป็นที่รู้จักกันจากการเป็นนักแสดงในบทร้ายหรือบทสมทบจากภาพยนตร์และซีรีส์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุคทศวรรษที่ 70 และ 80 อาทิ \"Project A\" หรือ \"เอไกหว่า\", \"Police Story 2\" หรือ \"วิ่งสู้ฟัด 2\" แต่ที่สร้างชื่อให้มากที่สุด คือ การเป็นนักแสดงในสังกัด ATV ในปี ค.ศ. 1971 งานซึ่งเป็นที่จดจำได้ก็เช่นการสวมบท นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ฮ่องเต้องค์แรกของราชวงศ์ชิง ในซีรีส์อิงประวัติศาสตร์ชุด \"13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง\" และยังร่วมแสดงในซีรีส์กำลังภายในเรื่อง \"ยอดยุทธจักรมังกรฟ้า\" และ\"จิ๋นซีฮ่องเต้\" ในบทของ \"หลี่ปู้เหว่ย\" เป็นต้น\nผลงานในระยะหลังได้แก่การรับบทเป็น \"งักปุ๊กคุ้ง\" จากซีรีส์กำลังภายในเรื่อง \"กระบี่เย้ยยุทธจักร\" ในปี ค.ศ. 1996 ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบทบาทการแสดงที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิต เนื่องจากสามารถถ่ายทอดบุคลิกวิญญูชนจอมปลอมของงักปุ๊กคุ้งออกมาได้เป็นอย่างดีเยี่ยม รวมทั้งในซีรีส์แฟนตาซีแนวเดินทางข้ามเวลา คือ \"เจาะเวลาหาจิ๋นซี\"\nชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางแบบชื่อ โห เมิ่งนา ในปี ค.ศ. 1971 มีทายาทเป็นลูกชายสองคนและลูกสาวอีกคน โดย สตีเฟนนี หวัง บุตรสาวปัจจุบันเป็นนักแสดงในสังกัด TVB ด้วย", "title": "หวังเหว่ย" }, { "docid": "865779#11", "text": "ในเวลานั้นประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์ฉิน ซึ่งจิ๋นซีฮ่องเต้ได้ปราบปรามอาณาจักรรอบๆมาเป็นเมืองขึ้นได้ทั้งหมดและยกกองทัพมาถึงทะเลจีนใต้ ในปีเดียวกันกับที่ อาน เซือง เวือง เริ่มสร้างกำแพง จิ๋นซีฮ่องเต้ส่งไพร่พลและทัพม้าขนาดใหญ่ลงมาจากจีนตอนใต้พื่อรุกรานอาณาจักรเอิวหลัก แต่ก็พ่ายแพ้หลายต่อหลายครั้ง และในที่สุดก็ถูกทำลายด้วยธนูวิเศษก่อนที่จะยกทัพมาประชิดพระนครโก๋ลวา สามปีต่อมา จิ๋นซีฮ่องเต้ได้ส่งกองทหารห้าแสนนาย นำโดยนายพลเจี่ยวด่า ทำให้ภาคเหนือของอาณาจักรเอิวหลักตกอยู่ในมือของจีนอย่างง่ายดาย กองทหารจีนยกมาเป็นสามขบวนคือ พลม้า พลเท้า พลเรือ กองทัพนั้นยกมาพร้อมธงปลิวไสวในอากาศ เสียงอาวุธกระทบกันดังสนั่นหวั่นไหว นายพลเจี่ยวด่าสั่งให้ยกทัพไปตั้งบนภูเขา ให้กองเรือเทียบรอในแม่น้ำ ปิดล้อมพระนครไว้ กษัตริย์อาน เซือง เวือง เฝ้าสังเกตการณ์อย่างสุขุมจากหน้าต่างของป้อมปราการ ขณะที่กองทหารทั้งสามขบวนหลั่งไหลเข้าล้อมพระนครโก๋ลวา พระองค์กลับปล่อยให้กองทัพจีนเข้ามาโดยไม่ยกทัพออกไปต้านและไม่สั่งให้เตรียมกำลังป้องกันพระนครแต่อย่างใด เมื่อทหารรายงานว่า ทหารจีนมากันมืดฟ้ามัวดิน พระองค์กลับกล่าวอย่างพอใจว่า \"พวกเขาคงจะลืมหน้าไม้วิเศษของข้าแล้วกระมัง\" แล้วพระองค์ก็เล่นหมากรุกต่อโดยไม่แยแส เมื่อข้าศึกมาประชิดประตูเมืองโก๋ลวา อาน เซือง เวือง ยืนขึ้นไปหยิบหน้าไม้ แต่หลังจากยิงครั้งแรก ก็ยิงไม่ออก เมื่อยิงอีก ข้าศึกก็ยังคงหลั่งไหลเหมือนกระแสน้ำบ่าท่วมเข้ามา[10]", "title": "อาน เซือง เวือง" }, { "docid": "12891#0", "text": "พระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน ( \"หวงตี้\"; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ", "title": "จักรพรรดิจีน" }, { "docid": "4554#38", "text": "หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงฉางอัน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงแล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องและเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของพระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน อานลู่ซานแม่ทัพชายแดนจึงก่อการปฏิวัติและยึดเมืองหลวงฉางอานเป็นป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งแต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ พ.ศ. 1161-1450 (ค.ศ. 618-907)", "title": "ประวัติศาสตร์จีน" }, { "docid": "213763#0", "text": "จักรพรรดิฉินที่ 2 หรือ จักรพรรดิหูไห่ มีพระนามเดิมว่าองค์ชายหูไห่ เป็นพระราชโอรสองค์รองของ จิ๋นซีฮ่องเต้ ประสูติเมื่อปี 229 ปีก่อนค.ศ. ทรงอยู่ภายใต้การสั่งสอนของเจ้าเกามหาขันที เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปี 210 ปีก่อนคริสตกาล และองค์ชายฝูซูพระเชษฐาต่างพระมารดาที่รัชทายาทถูกราชโองการปลอมที่เขียนขึ้นโดยเจ้าเกา และ หลี่ซือ อัครมหาเสนาบดีให้ปลงพระชนม์ชีพพระองค์เองพร้อมกับขุนศึกคู่พระทัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ ซึ่งก็คือแม่ทัพโม่งเถียน พระองค์จึงขึ้นทรงราชย์แทนแต่ทรงครองราชย์ได้เพียง 3 ปีก็ถูกเจ้าเกาปลงพระชนม์และยกเจ้าอิงขึ้นทรงราชย์ต่อ", "title": "จักรพรรดิฉินที่ 2" }, { "docid": "25629#3", "text": "หมวดหมู่:จักรพรรดิราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:มหาราช หมวดหมู่:ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร", "title": "จิ๋นซีฮ่องเต้" }, { "docid": "872670#4", "text": "หลังจาก จักรพรรดิจิ๋นซี ได้รวบรวมอาณาจักรจีนที่แตกแยก 6 อาณาจักร อันได้แก่ หาน, จ้าว, เว่ย, ฉู่, เอี๋ยน, และ ฉี, ในสงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้ ต่อมาจิ๋นซีได้เปลี่ยนเป้าหมายความสนใจมาที่ชนเผ่าซฺยงหนูทางทิศเหนือและทิศตะวันตกและชนเผ่าไป่เยฺว่ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน โดยต้อองการรวมดินแดนทั้งสองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชาวจีนฮั่น ประมาณ 218 ก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดิจิ๋นซีในฐานะจักรพรรดิฉินองค์แรกได้ส่งกองกำลังทหารโดยมีแม่ทัพถูซุยคุมกองทัพฉิน จำนวน 500,000 คนเพื่อแบ่งออกเป็นห้าทัพโจมตีเผ่าไป่เยฺว่ในแคว้น หลิงหนาน ทัพแรกได้มารวมพลกันที่ หยูหาน (ในปัจจุบันคือ เขตหยูกาน ใน มณฑลเจียงซี) และเข้าตีพวกชนเผ่า หมิ่นเย่ว์ กองทัพฉินได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วและการจัดตั้งกองบัญชาการหมินจง ทัพที่สองได้สร้างป้อมค่ายทหารขึ้นที่หนานเย (เขตหนานคัง ใน มณฑลเจียงซีปัจจุบัน) ป้อมค่ายทหารได้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างแรงกดดันต่อชนเผ่าทางใต้และพิทักษ์ราชวงศ์ฉิน ทัพที่สามได้ยึดครองเมืองพานยฺหวี ทัพที่สี่ได้มารวมพลกันใกล้ๆกับภูเขาจิ๋วหยี่ และทัพที่ห้าได้มารวมพลกันข้างนอกถันเฉิง (ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ มณฑลหูหนาน เขตชนบทปกครองตนเองจิงโจว เหมียวและตง) จักรพรรดิจิ๋นซีได้มอบหมายให้ข้าราชการระดับขุนนางนามว่า \"ฉือหลู่\" เพื่อดูแลการขนส่งลำเลียงอาวุธและเสบียง ฉือหลู่ได้นำทัพผ่าน อุโมงค์หลิง (ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำเซียงและแม่น้ำหลีเจียง) เพื่อควบคุมระบบเส้นทางลำเลียง หลังจากนั้นได้สำรวจและสร้างเส้นทางเชื่อมต่อกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำไข่มุก เป็นการสร้างระบบเครือข่ายขนส่งทางน้ำเพื่อเพเอ่มความปลอดภัยให้กับการลำเลียงทางทหารของกองทัพฉิน ต่อมากองทัพฉินได้บุกยึด \"หุบเขาตะวันตก\" (Chinese:西甌) ของเผ่าไป่เยฺว่ กองทัพฉินได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย หัวหน้าชนเผ่าหุบเขา หยี ซู ซ่ง ถูกสังหารในการรบ แต่อย่างไรก็ตามชนเผ่าไป่เยฺว่แห่งหุบเขาตะวันตกไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฉินและหลบหนีเข้าไปในป่า จากนั้นพวกเขาก็ได้คัดเลือกหัวหน้าเผ่าคนใหม่และรวบรวมกำลังเข้าโจมตีกองทัพฉินอีกครั้ง ชนเผ่าไป่เยฺว่แห่งหุบเขาตะวันตกได้ทำการโจมตีในเวลากลางคืนโดยที่ฉินไม่ทันตั้งตัวและสังหารทหารฉินไปจำนวนมาก แม่ทัพแห่งฉิน ถูซุย ถูกสังหารในระหว่างการรบ ราชสำนักฉินทราบข่าวถือการสูญเสียอย่างหนักในการรบและทางราชสำนักได้ส่งแม่ทัพคนใหม่นามว่า เจ้าถัว มาบัญชาการรบในฐานะแม่ทัพจีนแห่งกองทัพฉิน ในปี 214 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิจิ๋นซีได้ส่ง เริน เสี่ยว และ เจ้า ถัว มาควบคุมกองทัพในการเสริมการโจมตีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ชนเผ่าไป่เยฺว่แห่งหุบเขาตะวันตกได้ถูกปราบจนพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงและแคว้นหลิงหนานทั้งหมดได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของชาวจีนฮั่น[4][5][6] ในปีเดียวกันนั้นราชสำนักฉินได้สถาปนา หนานไฮ่, กุ้ยหลิน และกองบัญชาการเซียงขึ้น เริน เสี่ยว ได้ถูกแต่งตั้งเป็นผู้ว่าปกครองหนานไฮ่ซึ่งต่อมาหนานไฮ่ได้ถูกแบ่งการปกครองออกเป็น พานยฺหวี, หลงชวน, โบหลัว, และ จี่หยาง ส่วน เจ้าถัว ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองหลงชวน", "title": "หนานเยฺว่" }, { "docid": "865779#7", "text": "ไม่มีหลักฐานที่ได้บันทึกหรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เกี่ยวกับอาณาจักรเอิวหลักได้ถูกปกครองบริหารด้วยรูปแบบวิธีการใด อย่างไรก็ตาม ตามบันทึกตำนาน เขาจะถือว่า เป็นผู้นำที่ชาญฉลาดและมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์เวียดนาม แน่นอนว่าเขาเป็นนายพลที่มีพรสวรรค์ ผู้ที่รู้วิธีหาผลประโยชน์จากความสับสนและความสับสนวุ่นวายในประเทศจีนในช่วงเวลานั้น ไม่เพียง แต่จะคว้าที่ดินเพื่อเป็นของตัวเอง แต่ยังเพื่อรักษาความมั่งคั่งและความอยู่รอดของรัฐด้วย ในช่วงเวลานั้นหลายรัฐในจีนกำลังต่อสู้เพื่อปกครองดินแดนจีนทั้งหมด จนในที่สุดแล้วรัฐฉินได้ขึ้นสู่อำนาจและรวบรวมรัฐต่าง ๆ ของจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้จักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ ขณะที่จิ๋นซีฮ่องเต้ได้สร้างกำแพงเมืองจีนเพื่อป้องกันจักรวรรดิ อาน เซือง เวือง ได้เริ่มก่อสร้างป้อมปราการแบบเกลียวหรือป้อมปราการโก๋ลวาขึ้น เพื่อป้องกันอาณาจักรเอิวหลากจากการรุกรานของราชวงศ์ฉินที่ทรงอำนาจของจีน", "title": "อาน เซือง เวือง" }, { "docid": "293018#0", "text": "สงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้ () เป็นสงครามครั้งสำคัญที่สุดของจีน เกิดขึ้นเมื่อ 230 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับปลาย ยุคจ้านกว๋อ ซึ่งแคว้นฉินที่นำโดย ฉินหวง ได้พยายามรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่ง", "title": "สงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้" }, { "docid": "931015#1", "text": "ทางด่วนสายแรกที่ได้มีบันทึกไว้ในประเทศจีน ย้อนกลับไปเมื่อกว่าสองพันปีมาแล้วในสมัยราชวงศ์ฉิน เมื่อจักรพรรดิพระองค์แรก จิ๋นซีฮ่องเต้ ได้สร้างทางหลวงรัฐระยะทาง 750 กิโลเมตร เชื่อมต่อจากเมืองหลวงชื่อเสียนหยางไปยังพรมแดนทางด้านเหนือของออร์ดอส เพื่อเป็นการวางแผนป้องกัน ต่อมา ทางหลวงแห่งชาติจีนสมัยใหม่สายแรกที่ก่อสร้างระดับดิน คือ ทางด่วนเซี่ยงไฮ้–เจียติ้ง เปิดใช้บริการในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1988 มีระยะทาง ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางด่วนของเซี่ยงไฮ้ ช่วงต้นของยุค 1990 ก็จะเห็นการเริ่มต้นของแผนขนาดใหญ่ของประเทศที่จะพัฒนาโครงข่ายถนน โดยในปี ค.ศ. 1999 โครงข่ายนี้ได้มีระยะทางมากกว่า สำหรับเส้นทางของทางด่วนสายหลักหลายสายจะขนานไปกับเส้นทางเดิมของทางหลวงแห่งชาติจีน", "title": "ทางด่วนในประเทศจีน" }, { "docid": "794161#0", "text": "เผาตำรา ฝังบัณฑิต () กล่าวถึงเหตุการณ์เผาตำราที่คาดว่าเกิดขึ้นเมื่อปี 213 ก่อนคริสตกาล และฝังนักคิดและปัญญาชนสำนักวิชาขงจื๊อทั้งเป็นจำนวน 460 คนเมื่อปี 210 ก่อนคริสตกาล โดย จิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฉินในยุคจีนโบราณ เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความสูญเสียตำราและคัมภีร์ที่มีเนื้อหาหลักปรัชญาของขบวนการสำนักความคิดทั้งร้อยจำนวนมาก หลักปรัชญาทางการของรัฐบาล (“การยึดถือกฎ”) ยังคงอยู่รอดมาได้", "title": "เผาตำรา ฝังบัณฑิต" }, { "docid": "43621#5", "text": "ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐานทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า \"China\" ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า \"จีน\" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น", "title": "ราชวงศ์ฉิน" } ]
3944
กระดูกสันหลังมนุษย์มีเท่ากันทุกคนหรือไม่ ?
[ { "docid": "70700#0", "text": "โครงกระดูกมนุษย์ ประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และอวัยวะต่าง ๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วงวัยรุ่น", "title": "โครงกระดูกมนุษย์" } ]
[ { "docid": "548912#1", "text": "คำว่า \"Chironex\" มีรากศัพท์จากคำว่า \"chiro\" (Χέρι) ในภาษากรีก แปลว่า \"มือ\" กับคำว่า \"nex\" ภาษาละตินแปลว่า \"ความตาย\" เมื่อโตเต็มที่ จะมีหนวดมากถึง 60 เส้นซึ่งยืดได้ไกลถึง 3 เมตร มีเมดูซ่าขนาดเท่าลูกบาสเก็ตบอล มีดวงตาทั้งหมด 24 ดวงอยู่รอบ ๆ และมีดวงตาหลัก 2 ดวงอยู่ในดวงแต่ละคู่ ที่มีลักษณะคล้ายกับดวงตามนุษย์ คือ มีทั้งเลนส์ตา, ม่านตา และตาดำ ซึ่งทำให้เห็นภาพได้ดี และสามารถมองภาพในแบบตีลังกาได้ และมองได้รอบทิศ 360 องศา และนับเป็นระบบการมองเห็นที่ดีมากเมื่อเทียบกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดถึงการทำงานของตา ", "title": "Chironex fleckeri" }, { "docid": "71181#0", "text": "กระดูกซี่โครง () เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณส่วนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebral column) ทางด้านหลัง กับกระดูกอก (Sternum) ทางด้านหน้า และประกอบขึ้นเป็นโครงร่างของผนังช่องอกและช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในของช่องอกที่สำคัญ เช่นปอดและหัวใจ โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่จะมีกระดูกซี่โครงทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ซี่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีจำนวนของกระดูกซี่โครงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติได้เล็กน้อย", "title": "กระดูกซี่โครง" }, { "docid": "63205#2", "text": "แพทย์อายุรเวทเชื่อว่าร่างกายมนุษย์มี เจ็ด \"จักระ\" ซึ่งบางคนอ้างว่าเป็น 'จุดรวมจิตวิญญาณ' ที่อยู่ตามแนวกระดูกสันหลัง ความคิดของลัทธินิวเอจ (New Age) เชื่อมโยงแต่ละจักระกับสีของแสงในสเปกตรัมที่มองเห็นได้ ร่วมกับการทำงานของอวัยวะและระบบร่างกาย มุมมองนี้เชื่อว่าการไม่สมดุลของจักระก่อให้เกิดโรค ทว่าการใช้สีอย่างถูกต้องสามารถนำสมดุลของร่างกายกลับมา วัตถุประสงค์ของแต่ละสีมีดังนี้:", "title": "สีบำบัด" }, { "docid": "4416#6", "text": "หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนต้น ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยนั้น เครื่องสังคโลก ในทวีปยุโรปมีการค้นพบมนุษย์ไฮดรา (Hydra) มนุษย์อมิรา (Amira) ในทวีปเอเชียมีการค้นพบมนุษย์ชวา (java Man) และมนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ในทวีปแอฟริกามีการค้นพบมนุษย์โฮโมอิเรกตุส (Homoerectus) มนุษย์กินมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานประเภทโครงกระดูกของสัตว์ที่มนุษย์กินเป็นอาหาร ซึ่งสามารถบอกให้เราทราบถึงสภาพแวดล้อมของมนุษย์ในขณะนั้นซึ่งยังมีความเป็นสัตว์อยู่มากเนื่องจากกระดูกสันหลังยังคงเหมือนลิงอยู่ และหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินมีลักษณะเป็น[[ขวาน ดาบ มีด ค้อน กระเทาะแบบกำปั้น", "title": "ยุคก่อนประวัติศาสตร์" }, { "docid": "928319#10", "text": "การประมวลผลของโกลเมอรูลัสในสุนัขแบ่งออกเป็น 3 ส่วน\nคือ การรับสัญญาณ (acquisition) การถ่ายโอนสัญญาณ (transduction) และการประมวลสัญญาณ (processing)\nสุนัขบางชนิดมีเซลล์รับกลิ่นจำนวนเป็น 100 เท่าของมนุษย์ ทำให้สามารถตรวจจับและแยกแยะกลิ่นได้ชัดในบรรดากลิ่นเป็นล้าน ๆ ได้\nการได้กลิ่นของปลามีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือเกิดในน้ำ\nเพราะกลิ่นมีพาหะเป็นน้ำ ดังนั้น กลิ่นจึงต้องเป็นสารเคมีที่ละลายน้ำได้\nเยื่อรับกลิ่นของปลาก็มีเซลล์ 3 ชนิดเหมือนกับสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ\nรวมทั้งเซลล์รับกลิ่น เซลล์ค้ำจุน (supporting cell) และเซลล์ชั้นฐาน (basal cell)", "title": "โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)" }, { "docid": "612635#1", "text": "นวนิยายกล่าวถึงเด็กกำพร้าวัยสิบเก้าปีคนหนึ่งซึ่งลืมตาขึ้นดูโลกก่อนเกิดพิบัติภัยโภปาล (Bhopal disaster) ไม่กี่วัน เป็นเหตุให้กระดูกสันหลังพิกลจนต้องเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการคลานไปเหมือนเดรัจฉานมานับแต่จำความได้ ทุกคนเรียกเขาว่า \"ไอ้สัตว์\" (Animal) ทั้งเขาเองก็แสดงกริยาเยี่ยงสัตว์ ไม่มีน้ำใจต่อผู้ใด ไม่นับถือศีลธรรมหรือมรรยาท และหมกมุ่นแต่เรื่องราคะ ทว่า ภายหลังเขาตกหลุมรักนิศา (Nisha) บุตรสาวของนักดนตรีในเมือง เขาจึงประสงค์จะเป็นมนุษย์ขึ้นมาบ้าง ครั้นนายแพทย์ชาวอเมริกันคนหนึ่งเข้ามาประจำการที่เมือง เขาจึงขอความช่วยเหลือให้เขาได้ยืนด้วยขาทั้งสองราวกับคนอื่น แต่เมื่อพยายามไปเขาก็เห็นว่า สี่ขาเหมาะแก่เขาที่สุดแล้ว ที่สุด เขาจึงเลือกเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงหนึ่งเดียวในโลกนี้ที่ได้ชื่อว่า \"ไอ้สัตว์\" แทนที่จะเลือกเป็นเหมือนมนุษย์อีกนับล้านที่ยืนตัวตรง", "title": "เรียกผมว่าไอ้สัตว์" }, { "docid": "172004#0", "text": "กระดูกนิ้วเท้าท่อนกลาง () เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่ปล้องกลางระหว่างข้อนิ้วของนิ้วเท้า สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วเท้าท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับเท้าของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, กีบ, หรือครีบ", "title": "กระดูกนิ้วเท้าท่อนกลาง" }, { "docid": "420192#2", "text": "อึ่งขนาดเล็กมาก ประมาณ 7.7 มิลลิเมตร อาศัยอยู่บนพื้นดิน และวงจรชีวิตของมันไม่มีช่วงที่เป็นลูกอ๊อด ออกหากินในเวลากลางคืนและกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร พวกมันสามารถกระโดดได้ไกลกว่าความยาวลำตัว 30 เท่า เพศผู้เรียกคู่ด้วยเสียงร้องคล้ายแมลงความถี่ 8,400-9,400 เฮิรตซ์\nการค้นพบ \"P. amauensis\" ทำให้สถิติสัตว์มีกระดูกสันหลังเล็กที่สุดในโลก ต้องเปลี่ยนมาจาก ปลาซิวแคระ (\"Paedocypris progenetica\") จากอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเจ้าของสถิติก่อนหน้านี้ ที่มีขนาด 7.9 มิลลิเมตร", "title": "Paedophryne amauensis" }, { "docid": "616109#0", "text": "คนส่วนมากไม่เคยเป็นหนี้คนส่วนน้อยมากเท่านี้ () เป็นวลีของวินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร จากฉบับเต็มว่า ไม่มีครั้งใดในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งของมนุษย์ ที่คนส่วนมากเป็นหนี้คนส่วนน้อยมากเท่านี้ ถ้อยคำถูกตัดทอนเพื่อใช้ในการโฆษณาปลุกระดมความรักชาติระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "คนส่วนมากไม่เคยเป็นหนี้คนส่วนน้อยมากเท่านี้" }, { "docid": "168031#0", "text": "โครงกระดูกแกน () เป็นชุดของกระดูกที่ประกอบด้วยกระดูกในร่างกายมนุษย์จำนวน 80 ชิ้นในศีรษะและลำตัวของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ กะโหลกศีรษะมนุษย์ (human skull) , กระดูกหูในหูชั้นกลาง (ossicles) , กระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) ในลำคอ, หน้าอก และกระดูกสันหลัง โครงกระดูกแกนและโครงกระดูกรยางค์รวมกันเป็นโครงกระดูกมนุษย์", "title": "โครงกระดูกแกน" }, { "docid": "381362#1", "text": "\"โคเรียเซอราทอปส์\" มีความโดดเด่นตรงเงี่ยงที่อยู่บนกระดูกสันหลังส่วนหาง และกระดูกข้อต่อ ในบางส่วนของปลายกระดูกสันหลังส่วนหาง เงี่ยงบนกระดูกสันหลังส่วนหางมีความสูงกว่ากระดูกสันหลังส่วนลำตัวกว่าห้าเท่าที่แนบติดกัน อีและคณะตั้งข้อสังเกตว่าเซอราทอปเซียนอื่นๆอีกหลายชนิดยังมีเงี่ยงสูงบนหางของพวกมันด้วยเช่นกัน โดยลักษณะเช่นนี้จะปรากฏในหลายสายพันธุ์ของเทอราทอปเซียน อีและคณะได้ตั้งสมมติฐานว่าเป็นคุณสมบัติที่ถูกพัฒนาอยางเป็นอิสระ บางทีอาจจะเป็นการปรับตัวสำหรับการว่ายน้ำ อีและคณะได้ดำเนินการสายวิวัฒนาการ และได้ค้นพบว่าโคเรียเซอราทอปส์มีตำแหน่งอยู่ระหว่างอาร์คีโอเซอราทอปส์ และได้มาอยู่ในกลุ่มเซอราทอปเซียน", "title": "โคเรียเซอราทอปส์" }, { "docid": "11220#0", "text": "สัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ", "title": "สัตว์มีกระดูกสันหลัง" }, { "docid": "618657#43", "text": "หุ่นทดสอบการชนเป็นอุปกรณ์การทดสอบที่ใช้หุ่นแทนคนเต็มรูปแบบที่จำลองขนาด, สัดส่วนของน้ำหนักและ เสียงที่เปล่งออกของร่างกายมนุษย์ และมักจะติดตั้งเครื่องมือวัดเพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานแบบไดนามิกของ ATD ในผลกระทบต่อรถจำลอง. การใช้การวิจัยที่ใช้ซากศพของมนุษย์และสัตว์จากการศึกษาก่อนหน้านี้, หุ่นทดสอบการชนเทียมเป็นครั้งแรกเป็นหุ่นมนุษย์ที่ชื่อ \"เซียร์ราแซม\". มันถูกคิดค้นในปี 1949 โดย ซามูเอล ดับบลิว แอลเดอร์สัน ที่ห้องปฏิบัติการวิจัยแอลเดอร์สัน(ARL)ของเขา กับ เซียร์รา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด สำหรับกองทัพ อากาศสหรัฐในขณะที่มีการดำเนินการทดสอบที่นั่งดีดตัวของเครื่องบิน, สายรัดนักบิน และ หมวกกันน็อกนักบิน.[48][49] หุ่นชุดแรกๆของเดอร์สัน และของบรรดาคู่แข่งของเขาค่อนข้างจะเป็นของธรรมดาๆ, ที่ไม่มีโครงสร้างกระดูกเชิงกราน และข้อต่อกระดูกสันหลังน้อย. ด้วยผู้ผลิตรถยนต์อเมริกันที่สนใจในหุ่นทดสอบการชนที่ทนทานที่จะสามารถผ่านการทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่า ในขณะที่ได้ผลลัพธ์ในสเปกตรัมที่กว้างของข้อมูลในระหว่างการชนรถยนต์จำลอง, หุ่นทดสอบการชนตัวแรกที่ใช้สำหรับการทดสอบรถยนต์ถูกคิดค้นอีกครั้งโดย ซามูเอล เดอร์สัน ในปี 1968. มันถูกเรียกว่า วีไอพี (Very Important Person) และมันถูกสร้างขึ้นด้วยขนาดของผู้ใหญ่เฉลี่ยคู่กับกรงซี่โครงเหล็ก, ข้อต่อ, คอที่ยืดหยุ่นและกระดูกสันหลัง.[50]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "86520#2", "text": "เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาโตกว่าเหยี่ยวและอินทรีมาก ดวงตาอยู่ด้านหน้าของใบหน้าเหมือนมนุษย์และสัตว์ตระกูลแมว หัวหมุนได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก หูของนกเค้าแมวมีความไวมากเป็นพิเศษสำหรับการฟังเสียงในเวลากลางคืนและหาเหยื่อ มีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว และมีประสาทสายตาที่มองเห็นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่าโดยปกติแล้วตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ มักพบก้อนที่สำรอกคายออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่างในรังหรือบริเวณใกล้เคียงกับรัง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อนทิ้งทีหลัง", "title": "นกเค้า" }, { "docid": "654839#6", "text": "สมองมนุษย์มีคุณสมบัติซึ่งพบร่วมในสมองสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดหลายประการ ซึ่งรวมการแบ่งพื้นฐานเป็นสามส่วน เรียก สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลางและสมองส่วนหลัง โดยมีโพรงสมองซึ่งมีของเหลวบรรจุอยู่ และชุดโครงสร้างสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั่วไปซึ่งรวมก้านสมองส่วนท้ายและพอนส์ของก้านสมอง, สมองน้อย, สิ่งคล้ายหลังคาตา (optic tectum), ทาลามัส, ไฮโปทาลามัส, ปมประสาทฐาน (basal ganglia), ส่วนป่องรู้กลิ่น (olfactory bulb) ฯลฯ", "title": "สมองมนุษย์" }, { "docid": "12075#2", "text": "สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์", "title": "สมอง" }, { "docid": "703099#6", "text": "กระดูกสันหลังของมนุษย์งอไปด้านหน้าข้างบน (lumbar region) และงอไปทางด้านหลังข้างล่าง (thoracic region)\nถ้าไม่มีส่วนโค้งด้านบน กระดูกสันหลังก็จะต้องเอนไปข้างหน้าตลอดเวลา (เมื่อตัวตรง) ซึ่งต้องใช้แรงกล้ามเนื้อมากกว่าสำหรับสัตว์ที่เดินสองเท้า\nแต่เพราะว่ามีส่วนโค้งด้านบน มนุษย์ใช้แรงกล้ามเนื้อน้อยกว่าในการยืนและการเดินตัวตรง \nทั้งส่วนโค้งด้านบนและส่วนโค้งด้านล่างช่วยทำให้ศูนย์กลางมวลของมนุษย์ตั้งอยู่เหนือเท้าโดยตรง \nนอกจากนั้นแล้ว การปรับร่างกายให้ตรงในช่วงการเดินจะมีน้อยกว่าซึ่งช่วยในการรักษาพลังงาน", "title": "การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า" }, { "docid": "145737#0", "text": "หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6", "title": "หลอดอาหาร" }, { "docid": "615934#1", "text": "ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่[7] เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า[8][9] หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้วย[10]", "title": "เทสโทสเตอโรน" }, { "docid": "221919#0", "text": "ออสตราโคเดิร์ม (Ostracoderm) เป็นปลาโบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เกิดขึ้นเป็นกลุ่มแรกๆ พบเป็นซากฟอสซิลอายุระหว่างยุคออร์โดวิเชียนจนถึงยุคดีโวเนียน ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ถือเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เกิดก่อนสัตว์กลุ่มอื่นๆ ความยาวไม่เกิน 30 ซม..\nไม่มีขากรรไกร มีตาด้านข้าง 1 คู่ แพนหางแบบสองแฉก แต่ละแฉกไม่เท่ากัน ส่วนหัวมีแผ่นกระดูกปกคลุม กระดูกสันหลังยาวจนเกือบถึงปลายหาง มีจมูก 1-2 รู ช่องเหงือกเปิดที่ผิวลำตัว ไม่เชื่อมต่อกับคอหอย มี 7-10 คู่", "title": "ออสตราโคเดิร์ม" }, { "docid": "172000#0", "text": "กระดูกนิ้วมือท่อนปลาย () เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกนิ้วมือที่อยู่ปลายสุดของนิ้วมือ สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในครีบของปลาวาฬหรือปีกของนก", "title": "กระดูกนิ้วมือท่อนปลาย" }, { "docid": "355321#10", "text": "สมองส่วนกลาง ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลางที่ระดับซุพีเรียร์ คอลลิคูลัส เอ็มบริโอของไก่ อายุฟักตัว 34 ชั่วโมง มุมมองจากด้านหลัง ขยาย 30 เท่า เอ็มบริโออายุระหว่าง 18-21 วัน ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลางที่ระดับอินฟีเรียร์ คอลลอคูลัส ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลางที่ระดับซุพีเรียร์ คอลลิคูลัส แผนภาพแสดงการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ซีรีบรัมของมนุษย์ มุมมองด้านข้าง ภาพตัดแนวหน้าหลังของสมองของมนุษย์ สมองส่วนกลาง (Animation) มุมมองภายในของเบซัล แกงเกลีย มุมมองภายนอกของเบซัล แกงเกลีย พื้นผิวด้านหน้าของก้านสมอง พื้นผิวด้านหลังของก้านสมอง พื้นผิวด้านนอกของก้านสมอง", "title": "สมองส่วนกลาง" }, { "docid": "654839#7", "text": "เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สมองมนุษย์จึงมีลักษณะพิเศษซึ่งพบร่วมในสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ที่สำคัญสุดคือ เปลือกสมองใหญ่หกชั้นและชุดโครงสร้างที่สัมพันธ์กัน เช่น ฮิปโปแคมปัสและอะมิกดาลา สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีสมองส่วนหน้าซึ่งผิวด้านบนคลุมด้วยชั้นเนื้อเยื่อประสาท เรียก พัลเลียม (pallium) แต่ยกเว้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พลัลเยมเป็นโครงสร้างเซลล์สามชั้นค่อนข้างเรียบง่าย ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พัลเลียมมีโครงสร้างเซลล์หกชั้นที่ซับซ้อนกว่า และได้ชื่อใหม่ว่า เปลือกสมองใหญ่ ฮิปโปแคมปัสและอะมิกดาลายังกำเนิดจากพัลเลียมด้วย แต่ซับซ้อนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมาก", "title": "สมองมนุษย์" }, { "docid": "107305#0", "text": "โครงกระดูกของผู้ใหญ่ โดยทั่วไปประกอบด้วยกระดูก 206-350 ชิ้น ขึ้นกับอายุ จำนวนของกระดูกของแต่ละคนอาจแตกต่างกันขึ้นกับความหลากหลายทางกายวิภาค (anatomical variation) เช่น ประชากรมนุษย์จำนวนหนึ่งที่มีกระดูกซี่โครงต้นคอ (cervical rib) หรืออาจมีจำนวนกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวเกินมา", "title": "รายชื่อกระดูกในร่างกายมนุษย์" }, { "docid": "43092#0", "text": "กระดูกสันหลัง (English: vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง", "title": "กระดูกสันหลัง" }, { "docid": "4218#17", "text": "หลักฐานของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์มาจากงานวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหลายสาขา (ดูรายละเอียดอื่นที่ต้นบทความ) แหล่งความรู้หลักของกระบวนการวิวัฒนาการปกติมาจากซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งเริ่มมีการสั่งสมหลักฐานของพันธุ์มนุษย์เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1829 (ดู \"ประวัติการศึกษาสมัยดาร์วิน\") แต่เริ่มตั้งแต่มีการพัฒนาด้านพันธุศาสตร์ในสาขาอณูชีววิทยาที่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 (ดู \"ประวัติ-การปฏิวัติทางพันธุศาสตร์\") การวิเคราะห์ดีเอ็นเอก็ได้กลายมาเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญพอ ๆ กัน ส่วนงานศึกษาในเรื่องกำเนิดและพัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (ontogeny) วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogeny) และโดยเฉพาะวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเชิงพัฒนาการ (evolutionary developmental biology) ของทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้ให้ความรู้ใหม่ ๆ พอสมควรเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดรวมทั้งของมนุษย์ มีงานศึกษาเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับกำเนิดและชีวิตของมนุษย์ ซึ่งก็คือมานุษยวิทยา (anthropology) โดยเฉพาะบรรพมานุษยวิทยา (paleoanthropology) เป็นศาสตร์ที่พุ่งความสนใจไปที่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์[43]", "title": "วิวัฒนาการของมนุษย์" }, { "docid": "710699#0", "text": "ความเสมอภาค (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะกล่าวในมิติทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจ คนทั่วไปมักสับสนคำว่า “เสมอภาค” กับ “เหมือนกัน” (sameness) กล่าวคือ คิดว่าการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์เท่ากับการทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน จนมักโต้แย้งว่าความเสมอภาคไม่มีทางเป็นไปได้ จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าหลักการของความเสมอภาค ไม่ได้และไม่เคยเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนต้องเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ เพศสภาพ บุคลิก ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้มนุษย์ต้องไม่เสมอภาคกัน เพราะความเสมอภาค (Equality) ตรงข้ามกับความไม่เสมอภาค (Inequality) ไม่ได้ตรงข้ามกับคำว่าความแตกต่าง (Difference) อย่างที่หลายคนทึกทัก นั่นหมายความว่า มนุษย์เราแตกต่างกันโดยธรรมชาติ แต่ก็สามารถและควรเท่าเทียมกันได้ (different but Equal) ดังนั้นเมื่อกล่าวว่า คนเสมอภาคกัน จึงไม่ได้หมายความว่าคนเหมือนกันทุกด้านไม่ว่าจะเป็นชาติตระกูล หน้าตา ความสามารถ สติปัญญา แต่การที่บอกว่าเสมอภาคกันมีความหมายว่า มนุษย์เท่าเทียมกันทั้งในความเป็นมนุษย์ และตามกฎหมายของรัฐ (Kurian, 2011: 515) ดังที่มีวลีสำคัญที่สะท้อนความเสมอภาคคือ “Equality Before the Law” ซึ่งหมายความว่าบุคคลทุกผู้ทุกนามย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกระบวนของกฎหมายอย่างเป็นธรรม หรือความเสมอภาคกันในทางการเมืองคือ พลเมืองที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดย่อมสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียมกัน ในบางกรณี ที่ความเสมอภาคยึดโยงเข้ากับหลักความเป็นธรรม (Justice) จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อผู้คนที่แตกต่างกันด้วยมาตรการเฉพาะเพื่อช่วยให้ความแตกต่างกันโดยธรรมชาติได้รับการแก้ไขให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น เช่น มาตรการช่วยเหลือคนด้อยโอกาส คนทุพพลภาพ เพื่อความเสมอภาคในสังคม ดังนั้น การมองอย่างฉาบฉวยว่าการเรียกร้องให้คนเท่ากันหมายถึงการเรียกร้องให้คนเหมือนกันนั้น จึงเป็นความเข้าใจผิดในประเด็นพื้นฐาน", "title": "ความเสมอภาคทางสังคม" }, { "docid": "703099#5", "text": "กะโหลกศีรษะของมนุษย์ตั้งอย่างสมดุลอยู่บนกระดูกสันหลัง ช่องที่ไขสันหลังออกจากกะโหลก (foramen magnum) อยู่ข้างใต้กะโหลก ซึ่งทำให้น้ำหนักของศีรษะเยื้องไปทางด้านหลังของกระดูกสันหลัง\nนอกจากนั้นแล้ว ใบหน้าที่แบนช่วยทำให้เกิดความสมดุลที่ปุ่มกระดูกท้ายทอย\nดังนั้น หัวจึงตั้งตรงได้โดยไม่ต้องมีสันเหนือเบ้าตา (supraorbital ridge) ที่ใหญ่และมีกล้ามเนื้อยึดที่แข็งแรง ดังที่พบในเอป\nผลที่เกิดก็คือ กล้ามเนื้อหน้าผากของมนุษย์ใช้เพียงเพื่อการแสดงออกของสีหน้าเท่านั้น (ไม่เหมือนกับเอปหรือบรรพบุรุษมนุษย์ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อเดียวกันในการตั้งศีรษะให้ตรง)", "title": "การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า" }, { "docid": "172005#0", "text": "กระดูกนิ้วเท้าท่อนปลาย () เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกนิ้วเท้าที่อยู่ปลายสุดของนิ้วเท้า สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วเท้าท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้าย ๆ กับเท้าของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในครีบของปลาวาฬหรือปีกของนก", "title": "กระดูกนิ้วเท้าท่อนปลาย" }, { "docid": "171996#0", "text": "กระดูกนิ้วมือท่อนกลาง () เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่ปล้องกลางระหว่างข้อนิ้วของนิ้วมือ สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, กีบ, หรือครีบ", "title": "กระดูกนิ้วมือท่อนกลาง" } ]
3945
เทศกาลดนตรีพัทยา เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "75833#0", "text": "เทศกาลดนตรีพัทยา หรือ พัทยา มิวสิก เฟสติวัล (Pattaya Music Festival) เป็นเทศกาลดนตรีประจำปีที่จัดขึ้นที่พัทยา จังหวัดชลบุรี จัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)[1] ร่วมกับจังหวัดชลบุรีและเมืองพัทยา โดยเริ่มมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 และถือว่าได้รับความสำเร็จมาโดยตลอด ประกอบกับความตั้งใจที่จะพัฒนายกระดับงานขึ้นสู่สากล เปลี่ยนชื่อมาเป็น พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล (Pattaya International Music Festival) ในปี พ.ศ. 2548 ครั้งนี้จัดโดยเอ็มทีวีไทยแลนด์[2] และในปี พ.ศ. 2549 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เดอะ แกรนด์ พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล มิวสิก เฟสติวัล เพื่อเฉลิมฉลอง ในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ลักษณะตัวงานจะจัดในช่วงวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมีนาคมของทุกปี มีการแสดงของกลุ่มนักร้อง นักดนตรี ทั้งไทยและต่างประเทศในช่วงเวลา 18.00-24.00 น.", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" } ]
[ { "docid": "75833#13", "text": "เปลี่ยนชื่อมาเป็น พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล (Pattaya International Music Festival)จัดงานโดยเอ็มทีวีไทยแลนด์ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด \"No Boundary Music Exchange\" ที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงความบันเทิงของเสียงเพลงที่ไร้พรมแดน ผ่านการประชันความสามารถทางดนตรีของเหล่าศิลปินชื่อดังทั้งจากประเทศไทยและนานาชาติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2548 แบ่งเวทีการแสดงออกเป็น 3 เวที คือ", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#1", "text": "ส่วนในปี พ.ศ. 2550 พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล จัดขึ้นวันที่ 16-18 มีนาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งจัดมาเป็นครั้งที่6 ณ ศูนย์กีฬาเมืองพัทยา ถนนชัยพฤกษ์ จังหวัดชลบุรี ในปีนี้มี 2 เวทีคือ เวที Main Stage และ เวที Indie Stage", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#37", "text": "หมวดหมู่:เทศกาลดนตรีที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 หมวดหมู่:เทศกาลดนตรีในประเทศไทย หมวดหมู่:พัทยา", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#9", "text": "จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2547 ที่เมืองพัทยา จัดโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ การจัดงานพัทยา มิวสิก เฟสติวัล ปีนี้ แบ่งเป็น 3 เวที [3]", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#30", "text": "ส่วนศิลปินต่างประเทศที่เข้าร่วมเทศกาลนี้คือ After School, f(x) และ Wheesung จากเกาหลี, Zhang Li Yin (จางรี่หยิน) จากประเทศจีน, วง Leprozy’s จากลาว, from the Philippines, Christian Bautista, Tom Malaysia + J (Duo Artists) ฯลฯ[9]", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#32", "text": "ส่วนศิลปินต่างประเทศที่เข้าร่วมเทศกาลในปีนี้นี้คือ Rain (เรน) และ Son Dam Bi (ซนดัมบิ) จากเกาหลี NINA จากฟิลิปินส์ TIK Princess จากลาว PAK จากเวียดนาม หนุมาน จากญี่ปุ่น ฯลฯ[11]", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#31", "text": "พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล 2011 ครั้งที่ 10 จัดขึ้นในวันที่ 18 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2554[10] แบ่งเป็น 4 เวทีการแสดงได้แก่ เวทีแหลมบาลีฮาย, เวทีพัทยากลาง(ข้างโรงแรม ฮาร์ดร๊อค), เวทีพัทยาซอย 4 และ เวทีพัทยาใต้ โดยมีศิลปินมาร่วมงานอย่าง โปเตโต้ , กอล์ฟ-ไมค์, ดาเอ็นโดรฟิน, ชิน ชินวุฒ, พาราด็อกซ์, เสลอ, แท๊ททู คัลเลอร์, โซคูล, แพนเค๊ก, เพลกราวน์, กะลา, ซีล, แบล๊กเฮด, พั้นซ์, ออฟ ปองศักดิ์, นิว-จิ๋ว, พลพล เป็นต้น", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#28", "text": "เทศกาลดนตรีนานาชาติ พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล มิวสิก เฟสติวัล 2009 โดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม พ.ศ. 2552 ภายใต้แนวคิด “AMAZING THAILAND AMAZING VALUE” แบ่งเป็น 3 เวที คือ เวทีแหลมบาลีฮาย, เวทีพัทยากลาง และเวทีพัทยาซอย 4 มีศิลปินนักร้องทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วม อาทิ วีทรีโอ ,เรโทรสเป๊กส์ ,เคลียร์ ,ซุปเปอร์ซับ ,สวีทนุช เจ็ทเซ็ทเตอร์, ดูบาดู ,แคลอรี บลา บลา,แบล็คเฮด เพลย์กราว ,โดม โนโลโก้, ซีล, เตชินท์ ,ไมค์ไอดอล, โรส, มิ้น สวรรยา, อีโบล่า ,กบ เสาวนิตย์, ญารินดา ,ฟารเรนไฮต์ กอล์ฟ-ไมค์, วงแคลช, วงโนโลโก้, โปเตโต้, บิ๊กแอส, บอดี้สแลม, ก้านคอคลับ และ กลุ่มศิลปิน เดอะสตาร์ วง SHINEE, วง GIRLS' GENERATION จากเกาหลี, KYM JIN SHA จากจีน, KENNY KWAN จากฮ่องกง, MINH THU จากเวียดนาม, RYNN LIM จากมาเลเซีย, CIRQUE DE FREAK จากออสเตรเลีย ฯลฯ[6]", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "60386#10", "text": "พัทยามิวสิกเฟสติวัล จัดที่ชายหาดพัทยา ชลบุรี ระหว่างวันที่ 19 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2547 มีดนตรีหลายแนว", "title": "เทศกาลดนตรีแจ๊สในประเทศไทย" }, { "docid": "75833#6", "text": "พัทยา มิวสิก เฟสติวัล ปี 2546 วันที่ 21 - 23 มีนาคม จัดงานโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มี 3 เวทีหลักคือ", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "627867#2", "text": "ด้านงานบันเทิงในไทย อัน จิน-คย็อง เคยมาเล่นคอนเสิร์ตในงานเทศกาลดนตรีพัทยา และได้ถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณา PhD (พีเอชดี) รวมถึงจะได้ร่วมงานด้านดนตรีกับประเทศไทยในอนาคต", "title": "อัน จิน-คย็อง" }, { "docid": "75833#23", "text": "โดย อาร์ เอส โปรโมชั่น การรวมพลคนดนตรีครั้งยิ่งใหญ่ในรอบปีจากเหล่าศิลปินชื่อดังของอาร์เอส บริเวณ ท่าเรือแหลมบาลีฮาย พัทยาใต้ ศิลปินที่มา คือ บาว-ปาน, ฟิล์ม รัฐภูมิ, โปงลางสะออน, เจมส์, แดน-บีม, เกิร์ลลี่ เบอร์รี่, มิ้น สวรรยา, เกียร์ ไนท์, ดัง พันกร, ไอน้ำ, โฟร์-มด, หิน เหล็ก ไฟ, ต้อย หมวกแดง", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2552 เทศกาลดนตรีนานาชาติ “พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล มิวสิก เฟสติวัล 2009” (PATTAYA INTERNATIONAL MUSIC FESTIVAL 2009) โดยบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ระหว่าง วันศุกร์ที่ 20 - วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2552 แบ่งเป็น 3 เวทีหลัก โดยมีศิลปินชั้นนำจากทั่วเอเชีย มาร่วมในงานครั้งนี้ ณ เวทีชายหาดเมืองพัทยา ภายใต้แนวคิด“AMAZING THAILAND AMAZING VALUE” การถ่ายทอดสดทางช่อง แบงแชลแนล หนึ่งในสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมช่องล่าสุดช่องใหม่ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "60386#6", "text": "พัทยามิวสิกเฟสติวัล จัดที่ชายหาดพัทยา ชลบุรี ระหว่างวันที่ 21 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2546 มีดนตรีหลายแนว ", "title": "เทศกาลดนตรีแจ๊สในประเทศไทย" }, { "docid": "75833#33", "text": "พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล 2014 ครั้งที่ 13 จัดขึ้นในวันที่ 21-23 มีนาคม พ.ศ. 2557 โดยมี 4 เวทีการแสดง ได้แก่ เวทีหลัก ข้างโรงแรมฮาร์ดร็อกพัทยา เวทีเรกเก้ หน้าถนนคนเดินพัทยา เวทีเซ็นทรัลเฟส และเวทีสีเขียวบริเวณพัทยากลาง", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "60386#4", "text": "พัทยามิวสิกเฟสติวัล จัดที่ชายหาดพัทยา ชลบุรี ระหว่างวันที่ 24 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2545 มีดนตรีหลายแนว ทั้ง แจ๊ส ร็อก ป๊อป", "title": "เทศกาลดนตรีแจ๊สในประเทศไทย" }, { "docid": "75833#4", "text": "เวที POP-ROCK บริเวณริมถนนพัทยาเหนือใกล้ศาลาว่าการเมืองพัทยา เวที INDY-HIP HOP-POP JAZZ ริมหาดพัทยาเหนือ ติดสำนักงานการบินไทย เวที EASY LISTENTING- POP JAZZ ริมหาดพัทยา ซอย 4", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#20", "text": "เวทีสีส้ม ณ พัทยา ซอย 9", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#34", "text": "เทศกาลดนตรีริมชายหาดที่ยิ่งใหญ่ของเมืองพัทยา พัทยามิวสิคเฟสติวัล 2558 Pattaya Music Festival 2015 ซึ่งจะกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -22 มีนาคม 2558 [12]", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#22", "text": "เวทีสีเขียว ณ บริเวณแหลมบาลีฮาย พัทยาใต้", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#18", "text": "เวทีสีเหลือง ณ บริเวณพัทยา ซอย 6", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "60386#16", "text": "มหกรรมดนตรีแจ๊สเทิดพระเกียรติ 2549 จัดแสดงที่กรุงเทพ พัทยา เชียงใหม่ และภูเก็ต ระหว่างวันที่ 9 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ศิลปินที่มาร่วมแสดง ประกอบด้วย", "title": "เทศกาลดนตรีแจ๊สในประเทศไทย" }, { "docid": "75833#36", "text": "เทศกาลดนตรีเมืองพัทยา (Pattaya Music Festival 2017) เนื่องจากงดจัดงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศเมืองพัทยา ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 และเพื่อความเหมาะสมกับบรรยากาศหลังวันที่ 13 ตุลาคม 2559 [14]", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "84166#6", "text": "ในประเทศไทยมีเทศกาลดนตรี เช่น เทศกาลดนตรีพัทยา และเทศกาลดนตรีแจ๊สต่างๆ เช่น หัวหิน แจ๊ส เฟสติวัล เป็นต้น", "title": "คอนเสิร์ต" }, { "docid": "36559#39", "text": "เทศกาลดนตรีพัทยาเป็นเทศกาลดนตรีประจำปีที่จัดขึ้นที่พัทยา โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ลักษณะตัวงานจะจัดในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี มีการแสดงของกลุ่มนักร้อง นักดนตรี ทั้งไทยและต่างประเทศ", "title": "เมืองพัทยา" }, { "docid": "75833#10", "text": "เวที1 (เวทีสีแดง) อยู่บริเวณพัทยาบาร์ซา ถนนพัทยาเหนือ เป็นการแสดงดนตรีแนวป็อป ร็อกและลูกทุ่ง เวที 2 (เวทีสีเขียว) บริเวณริมหาดพัทยากลาง ระหว่าง ซอย 4-5 ดนตรีแนวอินดี้และฮิปฮอป เวที 3 (เวทีสีฟ้า) อยู่บริเวณถนนพัทยาใต้ ท่าเทียบเรือใหม่ การแสดงดนตรีแนวแจ๊ส", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#24", "text": "พัทยา อินเตอร์เนชันแนล มิวสิก เฟสติวัล จัดขึ้นวันที่ 16-18 มีนาคม พ.ศ. 2550 ณ ศูนย์กีฬาเมืองพัทยา ถนนชัยพฤกษ์ จังหวัดชลบุรี ในปีนี้มี 2 เวทีคือ เวที Main Stage และ เวที Indie Stage [5] ซึ่งเป็นปีที่ได้รับเสียงตอบรับในด้านความไม่สะดวกในการเดินทางเข้าชมของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#35", "text": "เทศกาลดนตรีริมชายหาดที่ยิ่งใหญ่ของเมืองพัทยา พัทยามิวสิคเฟสติวัล 2559 Pattaya Music Festival 2016 ซึ่งจะกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 20 มีนาคม 2559 [13]", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" }, { "docid": "75833#3", "text": "พัทยา มิวสิก เฟสติวัล ปี 2545 จัดขึ้นในวันที่ 22 - 24 มีนาคม 2545 จัดงานโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มี 3 เวทีหลักคือ", "title": "เทศกาลดนตรีพัทยา" } ]
3946
เลโอนิด เบรจเนฟ เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "357059#0", "text": "เลโอนิด อิลลิช เบรจเนฟ (Russian: Леонид Ильич Брежнев; English: Leonid Illyich Brezhnev; 19 ธันวาคม 2449 – 10 ธันวาคม 2525) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตและประธานาธิบดีโซเวียตคนที่ 8 ระหว่างสงครามเย็น", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" } ]
[ { "docid": "843276#0", "text": "วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 เลโอนิด อิลลิช เบรจเนฟ เลขาธิการกลางคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต คนที่ 3, ผู้นำสหภาพโซเวียตคนที่ 5 และประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต คนที่ 4 ถึงแก่อสัญกรรมลง ด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด สิริอายุ 75 ปี การถึงแก่อสัญกรรมได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการโดยวิทยุและโทรทัศน์ของสหภาพโซเวียตในวันที่ 11 พฤศจิกายน โดยมีรัฐพิธีศพและฝังร่างที่ กำแพงสุสานเครมลิน ยูรี อันโดรปอฟ ทายาททางการเมืองของเบรจเนฟ ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการกลางในวันที่ 15 พฤศจิกายน 5 วันหลังอสัญกรรมของเบรจเนฟ", "title": "อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "357059#11", "text": "หมวดหมู่:นักการเมืองโซเวียต หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดดนีโปรเปตรอฟสค์ * หมวดหมู่:ชาวรัสเซียเชื้อสายยูเครน หมวดหมู่:ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร หมวดหมู่:วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "357059#9", "text": "และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2507 ที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้เลือกเลโอนิด เบรสเนฟเป็นเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์แทนนิกิตา ครุสชอฟ ที่ถูกปลดออกเนื่องจากดำเนินนโยบายผิดพลาดหลายประการ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกานั้น เบรสเนฟได้เคยเดินทางไปเยือนอเมริกาในปี พ.ศ. 2516 โดยมีประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ให้การต้อนรับทั้งคู่ได้มีการลงนามในเอกสารหลายฉบับ รวมทั้งสัญญาการป้องกันสงครามนิวเคลียร์ด้วย คือ", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "783479#0", "text": "ดิอันโนนวอร์ (; , \"มหาสงครามของผู้รักชาติ\"; หรือ , \"สงครามนิรนาม\") เป็นสารคดีโทรทัศน์ 20 ตอนของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2521 มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองส่วนแนวรบตะวันออกระหว่างเยอรมนีนาซีกับสหภาพโซเวียต แต่ละตอนจะมีความยาว 47 นาที ด้วยเอาฟิล์มต้นฉบับของสหภาพโซเวียตมาฉายตั้งแต่ปฏิบัติการบาร์บารอสซาถึงยุทธการที่เบอร์ลิน\nนอกจากนี่ยังมีการสัมภาษณ์พิเศษของเกออร์กี จูคอฟ, วาซีลี ชุยคอฟ รวมถึงเลโอนิด เบรจเนฟ ด้วย", "title": "ดิอันโนนวอร์" }, { "docid": "357059#5", "text": "พ.ศ. 2486 เมื่อกองทัพโซเวียตได้รับชัยชนะ พรรคคอมมิวนิสต์จึงเริ่มเรียกเจ้าหน้าที่ของพรรคกลับจากสมรภูมิ เบรสเนฟก็ถูกเรียกกลับมารับหน้าที่เดิมคือเลขาธิการพรรคประจำท้องถิ่น เมื่อมีการสวนสนามฉลองชัยชนะที่จัตุรัสแดงในมอสโก เบรสเนฟก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการของกองทัพที่ 4", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "843276#4", "text": "ทางฝั่งโลกที่หนึ่งที่ได้คาดการณ์ว่าเลโอนิด เบรจเนฟถึงแก่อสัญกรรม หลังส่งสารแสดงความยินดีแก่ฌูแซ เอดัวร์ดู ดุช ซังตุช ประธานาธิบดีแห่งแองโกลาในวันประกาศอิสรภาพของแองโกลา จากการประกาศอันล่าช้าทางฝั่งโลกที่หนึ่งมองว่าอาจมีปัญหาในการสืบทอดอำนาจต่อจากเบรจเนฟ", "title": "อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "798026#0", "text": "อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช โคซีกิน (; ; 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2523) เป็นประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น ดำรงตำแหน่งคู่กับเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ จึงเรียกยุคนี้ว่าสมัยผู้นำร่วมเบรจเนฟ-โคชิกิน", "title": "อะเลคเซย์ โคซีกิน" }, { "docid": "5505#6", "text": "นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานว่า อุบัติเหตุดังกล่าวอาจเกิดมีสาเหตุจากนักบินร่วมของเขา หรืออาจเป็นคำสั่งของ เลโอนิด เบรจเนฟ ผู้นำโซเวียตคนใหม่ ที่อิจฉาความโด่งดังของเขา", "title": "ยูรี กาการิน" }, { "docid": "809649#0", "text": "ลัทธิเบรจเนฟ (; ) เป็นนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตครั้งที่แรกที่ระบุไว้อย่างชัดเจนมากที่สุดโดยเอส. เอวาเลฟ ใน 26 กันยายน 1968 ในบทความของหนังสือพิมพ์ปราฟดา ชื่อ \" อำนาจอธิปไตยและพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศสังคมนิยม \"\nเลโอนิด เบรจเนฟ ย้ำในการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสหพรรคแรงงานโปแลนด์ครั้งที 5 ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 1968 ซึ่งกล่าวไว้ว่า:", "title": "ลิทธิเบรจเนฟ" }, { "docid": "357059#7", "text": "เมื่อโจเซฟ สตาลิน เลขาธิการใหญ่ของพรรคถึงแก่อสัญกรรมลง ในปี พ.ศ. 2496 และนิกิตา ครุสชอฟ ได้รับดำรงตำแหน่งแทน เบรสเนฟในฐานะเป็นผู้ที่ครุสชอฟเคยเชื่อถือในความสามารถก็ได้รับการสนับสนุนจากครุสชอฟให้ได้เป็นสมาชิกในคณะเปรสิเดียมซึ่งเป็นคณะผู้นำสูงสุดในปี พ.ศ. 2500 ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานสภาสูงสุดของโซเวียตอันเป็นตำแหน่งเทียบเท่าประมุขของประเทศ", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "862537#13", "text": "หมวดหมู่:เลโอนิด เบรจเนฟ", "title": "มรดกของเลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "4165#17", "text": "ในวันที่ 14 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1964 คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ อเล็กซี โคชิกิน ได้เข้าทำรัฐประหารยึดอำนาจจากครุชชอฟ โดยครุชชอฟถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่ง", "title": "สหภาพโซเวียต" }, { "docid": "357059#2", "text": "ในช่วงนั้น สหภาพโซเวียตต้องประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ พวกกรรมกรคนงานต่างขอค่าแรงเพิ่ม และขอลดเวลาทำงานลงเหลือ 8 ชั่วโมง เลโอนิดได้เรียนรู้ถึงการต่อสู้ระหว่างชนชั้นนายทุนและกรรมาชีพในคราวนี้เอง", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "357059#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2464 จบการศึกษาและออกมาทำงานเป็นกรรมกรท่าเรือ พร้อมกับสมัครเข้าเรียนในวิทยาลัยช่างรังวัดและสำรวจไปด้วย และสมัครเป็นสมาชิกยุวชนพรรคคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2466ขณะมีอายุได้ 17 ปี และเป็นสมาชิกคอมมิวนิสต์เต็มตัวในปี พ.ศ. 2474หลังจากเขามีลูกแล้ว 1 คน", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "612152#2", "text": "ก่อนหน้าการสถาปนาตำแหน่งประธานาธิบดี ประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียตโดยนิตินัยคือ ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดของสภาโซเวียตสูงสุด (Presidium of the Supreme Soviet) ซึ่งสื่อนอกโซเวียตมักเรียกว่า \"ประธานาธิบดี\" ทว่าเกือบระยะเวลาของสหภาพโซเวียต อำนาจการเมืองฝ่ายบริหารที่มีผลทั้งหมดอยู่ในมือของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต โดยประธานคณะผู้บริหารสูงสุดใช้อำนาจในหน้าที่เชิงสัญลักษณ์และแต่ในนามเป็นส่วนมาก เลขาธิการพรรคสี่คนสุดท้ายตั้งแต่ปี 2520 เลโอนิด เบรจเนฟ, ยูรี อันโดรปอฟ, คอนสตันติน เชียร์เนนโคและกอร์บาชอฟดำรงตำแหน่งเป็นประมุขแห่งรัฐโดยนิตินัยร่วมกับเลขาธิการพรรคระหว่างสมัยดำรงตำแหน่งด้วย ", "title": "ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต" }, { "docid": "4165#62", "text": "ในปี 1917 ก่อนเกิดการปฏิวัติ ภาวะสุขภาพมีความสำคัญอยู่เบื้องหลังต่อการพัฒนาประเทศ ดังที่เลนินกล่าวในภายหลังว่า \"เหาจะพ่ายแพ้ต่อลัทธิสังคมนิยม หรือลัทธิสังคมนิยมจะพ่ายแพ้ต่อเหา\"[97] หลักการการดูแลสุขภาพของสหภาพโซเวียตถูกกำหนดโดย People's Commissariat for Health ในปี 1918 การดูแลสุขภาพต้องถูกควบคุมโดยรัฐและจะจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดการปฏิวัติ มาตราที่ 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต 1977 ประชาชนมีสิทธิ์ในการคุ้มครองสุขภาพและการเข้าถึงสถาบันสุขภาพใด ๆ ในสหภาพโซเวียตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ก่อนที่ เลโอนิด เบรจเนฟ ขึ้นมาเป็นเลขาธิการพรรค ระบบสาธารณสุขของสหภาพโซเวียตได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ[98] อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนี้จากยุคเบรจเนฟสู่ยุคกอร์บาชอฟ ระบบการดูแลสุขภาพของโซเวียตถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักสำหรับข้อบกพร่องขั้นพื้นฐานหลายอย่างเช่นคุณภาพการให้บริการ และความไม่สม่ำเสมอในการจัดหาเครื่องมือแพทย์[99] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข Yevgeny Chazov และ รัฐบาลสหภาพโซเวียตได้ให้ความสำคัญในด้านทางการแพทย์ของโซเวียตเป็นอย่างมาก และพัฒนาโรงพยาบาลให้อยู่ในระดับสากล โดยได้มีการปรับปรุงระบบใหม่เป็นเงินหลายพันล้านรูเบิลโซเวียต[100]", "title": "สหภาพโซเวียต" }, { "docid": "201956#0", "text": "การเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ( ย่อว่า SALT) คือ การเจรจาเพื่อจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและ สหภาพโซเวียต ที่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น START (Strategic Arms Reduction Treaty)การเจรจาเริ่มครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 ได้มีการเจรจาหลายครั้ง จนที่สุดได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นครั้งแรก คือ SALT I ออกมาในเดือน ค.ศ. 1971 และในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 ที่กรุงมอสโก ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกซัน และประธานาธิบดี เลโอนิด เบรจเนฟ ได้ลงนามในสัญญา Anti-Ballistic Missile Treaty และ Interim Agreement Between The United States of America and The Union of Soviet Socialist Republics on Certain Measures With Respect to the Limitation of Strategic Offensive Arms\nต่อมาได้มีการเจรจา SALT II START I และ START II อีก 3 ครั้ง", "title": "การเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์" }, { "docid": "158959#10", "text": "แม้ครุชชอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในปี ค.ศ. 1962 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้เขายังส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และในฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจโดยคณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ อะเลคเซย์ โคซีกิน ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1964 หลังจากนั้นครุชอฟได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบสุขในกรุงมอสโกด้วยเงินบำนาญและเสียชีวิตในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1971 รวมอายุได้ทั้งหมด 77 ปี", "title": "นีกีตา ครุชชอฟ" }, { "docid": "805811#0", "text": "การประชุมครั้งที่ 27 ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต () จัดขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม ค.ศ. 1986 ที่อาคารรัฐสภาเครมลินกรุงมอสโก สหภาพโซเวียตเป็นการประชุมครั้งแรกที่จัดขึ่นโดยมีฮาอิล กอร์บาชอฟเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตคนใหม่การประชุมนี้เปลี่ยนรูปแบบใหม่ในรอบ 20 ปีที่เคยทำโดยเลโอนิด เบรจเนฟและเปลี่ยนแปลงแผน 5 ปี ที่เคยทำโดยนักการเมืองโซเวียตรุ่นก่อนหน้าคือมีฮาอิล ซุสลอฟ เลโอนิด เบรจเนฟ ยูรี อันโดรปอฟ ดมีตรี อุสตีนอฟ และคอนสตันติน เชียร์เนนโค", "title": "การประชุมครั้งที่ 27 ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต" }, { "docid": "357059#1", "text": "เลโอนิด อิลยิช เบรจเนฟ เกิดเมื่อวันที่ 19 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2449 ที่เมืองคาเมนสโกยี ในรัฐยูเครน เป็นลูกคนที่ 2ในจำนวน 2 คน ของกรรมกรถลุงหล็ก ในวัยเยาว์แม้จะมีฐานะยากจน แต่เขาก็เป็นนักเรียนที่ขยันขันแข็ง เป็น 1 ใน 5 ของลูกกรรมกรที่มีโอกาสได้เรียนในหมู่เด็กในหมู่เด็กที่มีฐานะดีกว่า", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "751798#0", "text": "อัดมีรัล โฟลตา โซเวียตโคกอร์ โซยูซา คุซเนซอฟ () เป็นเรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบินของสหภาพโซเวียตและประเทศรัสเซีย ในปัจจุบันมีสถานะเป็นเรือธงของกองทัพเรือรัสเซีย ถูกต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือทะเลดำในยูเครนสมัยยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ในตอนแรกเรือลำนี้จะถูกตั้งชื่อว่า ริกา ต่อมาเมื่อวางกระดูกงูจึงเปลี่ยนเป็นชื่อ เลโอนิด เบรจเนฟ เมื่อปล่อยลงน้ำและทดสอบเรือใช้ชื่อว่า ทบิลิซี ก่อนที่สุดท้ายจะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า คุซเนซอฟ โดยตั้งชื่อตามจอมพลเรือ นีโคไล เกราซีโมวิช คุซเนซอฟ ผู้บัญชาการทหารเรือแห่งสหภาพโซเวียต", "title": "เรือบรรทุกเครื่องบินรัสเซียอัดมีรัลคุซเนซอฟ" }, { "docid": "803291#5", "text": "เลโอนิด เบรจเนฟ ได้เข้ามากุมอำนาจหลังการโค่นล้มครุชชอฟ อุสตีนอฟถูกลดตำแหน่งไปยังกรมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ในปี พ.ศ. 2508 เบรจเนฟแต่งตั้งให้อุสตีนอฟเป็นสมาชิกผู้สมัครของโปลิตบูโรและเลขานุการของคณะกรรมการกลางกำกับดูแลของทหาร, อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้เขายังอยู่ในความดูแลของการพัฒนาระเบิดเชิงกลยุทธ์ของสหภาพโซเวียตและระบบขีปนาวุธข้ามทวีป เขาออกคำสั่งในเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2513 ให้มีออกแบบพัฒนาของสถานีอวกาศอวกาศของโซเวียต", "title": "ดมีตรี อุสตีนอฟ" }, { "docid": "831539#0", "text": "นีโคไล วิคโทโรวิช ปอดกอร์นืย (, ) เป็นรัฐบุรุษโซเวียตในช่วงสงครามเย็น เขาเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ยูเครนซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐที่ปกครองยูเครนโดยพฤตินัยในปี ค.ศ. 1957 ถึงปี ค.ศ. 1963 และเป็นประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1965 ถึงปี ค.ศ. 1977 ต่อมาปอดกอร์นืยก็ถูกแทนที่ตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารสูงสุดโดย เลขาธิการกลาง เลโอนิด เบรจเนฟ ซึ่งในปีนั่นปอดกอร์นืยได้เลียที่นั่งใน โปลิตบูโร จึงทำให้ปอดกอร์นืยต้องลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมด", "title": "นีโคไล ปอดกอร์นืย" }, { "docid": "357059#4", "text": "พ.ศ. 2480 เขาได้รับเลือกเป็นรองประธานกรรมการบริหาร และเป็นกรรมการท้องถิ่นของพรรคในปี พ.ศ. 2481 และพอถึงปี พ.ศ. 2484 กองทัพเยอรมันภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็บุกโจมตีเมืองต่างๆ ของรัสเซียและเกิดการปะทะกันขึ้น เบรสเนฟได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการของกองทหาร และได้ออกรบในแนวหน้าในเดือนกรกฎาคมปีนั้นเอง", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "357059#6", "text": "พ.ศ. 2493 เบรสเนฟได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์มอลโดวา สาธารณรัฐที่รวมอยู่ในสหภาพโซเวียต ในปีเดียวกันนี้ เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำเขตเลนินในดเนปรอปีตอฟสก์ และได้เป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต เมื่อปี พ.ศ. 2495 ขณะมีอายุได้ 46 ปี", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "931519#6", "text": "ในปี 1980 ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษารัสเซีย โดยกล่าวว่า", "title": "รายพระนามและชื่อประธานในพิธีเปิดโอลิมปิก" }, { "docid": "357059#10", "text": "เลโอนิด เบรสเนฟ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต หรืออีกนัยหนึ่งประธานาธิบดี ตลอดมาจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 สิริอายุได้ 75 ปี", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "862537#0", "text": "ความเข้าใจอย่างเต็มรูปแบบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสหภาพโซเวียตและสหพันธรัฐรัสเซีย อิทธิพลของเลโอนิด เบรจเนฟ</b>เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญในประวัติศาสตร์ เขาเป็นทั้งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ (CPSU) และประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 จนถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1982 ซึ่งถือเป็นยุคแห่งความซบเซาทางสังคมและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียต[1]", "title": "มรดกของเลโอนิด เบรจเนฟ" }, { "docid": "357059#8", "text": "ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งประธานสภา เบรสเนฟได้มีผลงานเด่นๆ หลายเรื่องเกี่ยวกับการทบทวนกฎหมายต่างๆ ที่รัฐบาลเสนอเพื่อจะพัฒนาอุตสาหกรรมและก่อสร้าง การยกเลิกภาษีเงินเดือนคนงานอุตสาหกรรมและการเพิ่มค่าแรงงานให้กับการทำงานบริการสาธารณะ เช่น การศึกษา และสาธารณสุข เป็นต้น", "title": "เลโอนิด เบรจเนฟ" } ]
3947
ประเทศโรมาเนียเมืองหลวงชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "560869#3", "text": "ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1862 (24 มกราคม Old Style) ราชรัฐทั้งสองได้รวมตัวกันอย่างเป็นทางการ กลายเป็น สหราชรัฐแห่งโรมาเนีย, โดยมีกรุงบูคาเรสต์เป็นเมืองหลวง", "title": "ราชอาณาจักรโรมาเนีย" } ]
[ { "docid": "396741#0", "text": "หลวงปู่หลุย (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532) พระเถระสายอีสานสายหลวงปู่มั่น สายธรรมยุติ เป็นพระอริยสงฆ์ผู้มีศีลวัตรปฏิบัติอันงดงาม\nหลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และนางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร ในช่วงวัยเด็กท่านศึกษาจบระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และได้ทำงานเป็นเสมียน กับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อ.เชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จ.ร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด ท่านได้นับถือศาสนาคริสต์ อยู่ 5 ปี จนลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุยส์ หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และต่อมาท่านได้กลับใจเปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาพุทธแทน และได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2466 เป็นพระมหานิกาย ณ อ.แซงบาดาล จ.ร้อยเอ็ด ในช่วงพรรษาที่ 1 ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม", "title": "หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร" }, { "docid": "7156#4", "text": "ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน เกิดที่เมืองชรูซบรี ชรอพเชอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่บ้านของตระกูล คือเดอะเมานท์[16] เขาเป็นบุตรคนที่ห้าในจำนวนทั้งหมด 6 คนของครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ บิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน มารดาชื่อ ซูซานนา ดาร์วิน (สกุลเดิม เวดจ์วูด) เขาเป็นหลานของเอรัสมัส ดาร์วิน กับ โจสิอาห์ เวดจ์วูด ทั้งสองตระกูลนี้เป็นคริสตชนยูนิทาเรียน (Unitarian) ผู้เคร่งครัดที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียว แต่ตัวโรเบิร์ต ดาร์วิน นั้นเป็นคนหัวเสรี และให้ชาลส์บุตรชายไปรับศีลในโบสถ์ของนิกายแองกลิกัน แต่ชาลส์กับพี่น้องก็ไปเข้าโบสถ์ของยูนิทาริสต์กับมารดา เมื่อชาลส์อายุ 8 ขวบ ได้หลงใหลในประวัติศาสตร์ธรรมชาติและเริ่มสะสมสิ่งต่างๆ เมื่อเขาเข้าโรงเรียนเมื่อปี ค.ศ. 1817 มารดาของเขาเสียชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนั้น นับจากเดือนกันยายน ค.ศ. 1818 เขาก็ไปอยู่ประจำที่โรงเรียนซรูซบรีอันเป็นโรงเรียนนิกายแองกลิกัน กับพี่ชายของตนคือ เอรัสมัส อัลวีย์ ดาร์วิน[17]", "title": "ชาลส์ ดาร์วิน" }, { "docid": "832348#0", "text": "หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ศิษย์ของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม เจ้าอาวาสวัดถ้ำสหาย (วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิต) หมู่ที่ ๓ ต.ทับกุง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี \nหลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร เกิดเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ.หนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี", "title": "หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร" }, { "docid": "67758#1", "text": "การเตรียมไดคลอโรมีเทนสามารถทำได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1840 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองรี วิกเตอร์ เรโญลต์ (Henri Victor Regnault) โดยแยกไดคลอโรมีเทนออกจากของผสมของคลอโรมีเทนกับคลอรีนระหว่างที่ถูกแสงอาทิตย์", "title": "ไดคลอโรมีเทน" }, { "docid": "55626#4", "text": "ก่อนที่พระราชพรหมยานจะเกิดนั้น มารดาของท่านฝันว่า เห็นพระพรหมมีสีเหลืองเป็นทองคำเหมือนพระพุทธรูป นอนลอยไปในอากาศ มีเพชรประดับแพรวพราวทั้งตัว เข้าทางหัวจั่วด้านทิศเหนือ เข้ามานั่งที่ตักท่าน มารดาก็กอดไว้ แล้วก็หายเข้าไปในกาย เมื่อเกิดมาใหม่ ๆ หลวงพ่อเล็ก เกสโร ซึ่งมีฐานะเป็นลุง ได้กล่าวว่า เจ้าเด็กคนนี้มาจากพรหม ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า \"พรหม\" และต่อมาภายหลัง คนที่จดสำมะโนครัวเขามาเปลี่ยนชื่อให้เป็น \"สังเวียน\" ท่านยายกับชาวบ้านเรียกว่า \"เล็ก\" ส่วนท่านมารดาและพี่ ๆ น้องๆ เรียกว่า \"พ่อกลาง\"", "title": "พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)" }, { "docid": "149643#10", "text": "หมอโฮจุน เป็นแพทย์หลวงในราชสำนัก เขียนหนังสือเรื่อง ทงอึยโพกัม (ความวิเศษของการแพทย์ตะวันออก) เริ่มเขียนในพ.ศ. 2139 แต่หยุดไปด้วยสงครามเจ็ดปี และเสร็จสิ้นในพ.ศ. 2152 สมัยองค์ชายควางแฮ\nองค์ชายควางแฮทรงโปรดปรานซังกุงคนหนึ่งมา ชื่อว่า คิมคเยชิ หรือ คิมซังกุง พอพระองค์ทรงครองราชย์ทรงแต่งตั้งเป็น พระสนมซุกวอน ตระกูลคิม", "title": "เจ้าชายควังแฮ" }, { "docid": "936825#7", "text": "หลวงพ่อนิยมมีความสนใจ และเริ่มศึกษาเรื่องวิทยาคมตั้งแต่มีอายุได้เพียง 10 ขวบ กับโยมตาสืบ เปลี่ยนสี (เป็นอาจารย์ฆราวาสจอมขมังเวท และหมอยาเลื่องชื่อ) อีกทั้งท่านยังได้รับการสักยันต์ และร่ำเรียนวิชาจากพระเกจิอาจารย์แห่งภาคตะวันออกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อเฉย สุชาโต วัดตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี, หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม อ.เมือง จ.ระยอง, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อทัต วรุตฺตโม วัดช่องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อสงฆ์ วัดหนองสนม, หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร วัดวังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง", "title": "พระครูเมตตาธิการี (นิยม กนฺตจาโร)" }, { "docid": "119779#3", "text": "โรเบิร์ต ฮันเตอร์ นับได้ว่าเป็นชาวตะวันตกที่สามารถพูดภาษาไทยและเข้าใจคนไทยได้เป็นอย่างดี และมีความรู้จักกับขุนนางในราชสำนักคนสำคัญหลายคน ชีวิตส่วนตัวได้สมรสกับหญิงไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่บ้านกุฎีจีน มีชื่อว่า แองเจลิน่า โดยมีชื่อภาษาไทยว่าทรัพย์ เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์รุ่นที่สี่ เรียกกันอย่างยกย่องว่า ท่านผู้หญิงทรัพย์ เธอเป็นผู้นำชุมชนกระดีจีน(กุฎีจีน) โดยฮันเตอร์ตั้งใจไว้ว่าจะใช้ชีวิตทั้งหมดอยู่ในประเทศไทย", "title": "หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์)" }, { "docid": "40282#42", "text": "พระองค์ทรงเป็นผู้นำชักชวนสตรีไทย ให้เลิกการคลอดบุตรในลักษณะที่ต้องอยู่ไฟมาใช้วิธีการพยาบาลแบบสากล ที่สุขสบายและได้ผลดีกว่า นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระราชดำริจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงและได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2436 เพื่อเป็นศูนย์กลางบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ซึ่งต่อมาภายหลังที่ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส เรื่องเขตแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เมื่อ พ.ศ. 2436 อันนำมาซึ่งการบาดเจ็บให้กับทหารและราษฎรจำนวนมาก สภาอุณาโลมแดง ได้เป็นศูนย์กลางในการบรรเทาทุกข์ลงอย่างมาก หลังจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว สภาอุณาโลมแดง จึงใช้ชื่อว่า สภากาชาดสยาม ซึ่งแปรเปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทยในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรแรกในประเทศไทย[38] ทั้งนี้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เป็นสภาชนนี และพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกา ซึ่งพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งองค์สภานายิกาสืบต่อมารวมเวลาถึง 26 ปี[39] อีกทั้งพระองค์ยังได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ แก่โรงพยาบาลหลายแห่งทั้งใน กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด", "title": "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง" }, { "docid": "832348#3", "text": "ในปี 2526 หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร ได้เดินธุดงส์มาจนพบถ้ำสหาย ซึ่งสมัยก่อนเป็นที่อยู่ของพวกสหายคอมมูนิสต์แถวนี้ หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร จึงตั้งชื่อว่าวัดถ้ำสหายจันทร์นิมิต โดยจันทร์นิมิต ก็มาจากหลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร เป็นผู้นิมิตเห็นนั่นเอง จึงเป็นที่มาของ วัดถ้ำสหาย (วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิต) จนถึงปัจจุบันนี้", "title": "หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร" }, { "docid": "28282#0", "text": "หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระเถระในสายพระป่าในประเทศไทย", "title": "หลวงปู่ฝั้น อาจาโร" }, { "docid": "179895#0", "text": "นายนอร์แมน ซัตตัน (Norman Sutton – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2424 – 24 ธันวาคม พ.ศ. 2493) ซึ่งนักเรียนและคนทั่วไปในสมัยนั้นเรียกท่านว่า \"ครูซัตตัน\"อาจารย์ใหญ่โรงเรียนปทุมคงคา รักษาการณ์อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ผู้วางโครงการเพิ่มหลักสูตรวิชาคำนวณและภาษาฝรั่งเศส เสนอให้นักเรียนสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 8 แทนนักเรียนมัธยมปีที่ 6 และปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการสอนให้เข้มไปพร้อมจริยศึกษาและพลศึกษา ความเข้มงวดในการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ให้เป็นคนดีของครูซัตตันเป็นที่เลื่องลือในบรรดาลูกศิษย์และมีการเล่าต่อๆ กันมาอีกหลายรุ่น\n== ประวัติ ==\nครูซัตตันเกิดที่ตำบลโคมซัลใกล้เมืองลีดส์ มณฑลยอร์คเชียร์ ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุ 14 ปีได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนแยตเลย์และสอบชิงทุนเข้าเรียนต่อวิชาครูที่วิทยาลัยเบอโรโรด ที่ไอเซิลเวิธได้ในเวลา 4 ปีต่อมา วิทยาลัยครู \"เบอโรโรด\" (Borough Road College) ที่มีชื่อเสียงแห่งนี้มีคนไทยได้รับทุนเล่าเรียนหลวงมาเรียนและจบการศึกษากันหลายคน ได้แก่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาราชนกูร (รื่น ศยามานนท์) พระยาภะรตราชา (มล. ทศทิศ อิศรเสนา) พระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร) และอื่นๆ อีกหลายท่าน รวมทั้ง “ครูฝรั่ง” ที่รัฐบาลจ้างให้เข้ามาสอนในประเทศไทยจำนวนมาก จึงนับว่าวิทยาลัยแห่งนี้มีสัมพันธ์ด้านการศึกษาที่ดียิ่งกับประเทศสยามในขณะนั้น ", "title": "นอร์แมน ซัตตัน" }, { "docid": "94477#3", "text": "ต่อมาศิษย์ของท่านชื่อว่า สิทธะนาฬาปาทะ (นโรปะ) ได้แปลคัมภีร์ \"สฬสธัมโมปเทส\" เป็นภาษาบาลี และก็มีลูกศิษย์ของท่านชื่อว่า รัตนเถระ และคณาจารย์จากสถาบันนี้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในทิเบตด้วย คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงของสถาบันแห่งนี้ คือ สิทธะนโรปะ สิทธะหลุยปาทะ สิทธะอานังควัชระ สิทธะตาฆนะ สิทธะสาวรีปาทะ สิทธะอาวธูตปาทะ สิทธะนานาโพธะ สิทธะญาณวัชระ สิทธะพุทธญาณปาทะ สิทธะอโมฆนาถะ และสิทธะธรรมสิริเมไตร เป็นต้น ซึ่งบางรูปก็เป็นชาวจิตตะกอง", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศบังกลาเทศ" }, { "docid": "25771#0", "text": "หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง () เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม", "title": "หนานจิง" }, { "docid": "972474#0", "text": "พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม อมโร) อดีตเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ เป็นพระเถราจารย์ที่เป็นศิษย์หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว ที่มีประวัติว่าเคยเดินทางมาศึกษากับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี แห่งวัดระฆัง พร้อมกับคณาจารย์ชาวบ้านสวนอีกหลายท่านอาทิ พ่อเจ็ก วัดหัวฝาย และหลวงพ่อแป๊ะ เจ้าอาวาสวัดคุ้งยางใหญ่ รวม 6 พรรษา จากนั้นหลวงพ่อฤทธิ์ พร้อมคณะคณาจารย์จึงเดินทางกลับสุโขทัย หลวงพ่อห้อมเมื่อบวชในภายหลังจึงได้ไปศึกษาหาความรู้และเป็นที่เคารพนับถือในฐานคณาจารย์สายหลวงพ่อฤทธิ์ และสายสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ที่ถูกนับถือในสุโขทัยและจังหวัดอื่น ๆในวงกว้าง\nหลวงพ่อห้อม อมโร เกิดเมื่อวันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือน ปีวอก ตรงกับปีสากลคือ 19 มกราคม 2451 เวลา 5 โมงเย็นโดยประมาณ เป็นบุตรนายเรื่อง ครุฑนาค มารดาคือ นางมาลัย ครุฑนาค เกิดที่บ้านคลองตะเคียน ตำบลบ้านสวน จังหวัดสุโขทัย ในขณะที่คลอดมีญาติมิตร มาร่วมแสดงความยินดีกันจำนวนมาก ปู่จึงถือนิมิตรนี้ในการตั้งชื่อว่า \"ห้อม\"\nห้อม ครุฑนาค ในวัยถึงแก่การอุปสมบทตามประเพณีของชาวพุทธ ได้เข้าบวชที่พัทธสีมาวัดคุ้งยางใหญ่ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย เมื่อ วันพฤหัสบดี แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง วันที่19 มีนาคม 2471 โดยมีพระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) ในขณะที่มีสมณศักดิ์ที่พระครูวินัยสาร(ทิม ยสทินฺโน) เจ้าคณะอำเภอเมืองสุโขทัย ต่อมาท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระครูสังฆรักเจ๊ก เจ้าอาวาสวัดหัวฝาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการแป๊ะ เจ้าอาวาสวัดคุ้งยางใหญ่เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีผู้เข้าร่วมอุปสมบทด้วยกันทั้งสิ้น 27 คน เข้าโบสถ์เวลาเช้ามืด ได้นามฉายา อมโร\nหลวงพ่อห้อม อมโร เป็นศูนย์กลางศรัทธาของจังหวัดสุโขทัย ในวงกว้าง ด้วยการที่มีศิษย์ได้นิมนต์ท่านไปสร้างวัดในหลาย ๆ แห่ง อาทิ วัดอมราวาส หรือวัดศูนย์ ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ในเขตตำบลบ้านเกิดของท่าน หรือวัดคลองตะเคียน อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อห้อมได้ไปริเริมสร้างวัด จนกระทั่งกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชนหมู่ 6 ตำบลบ้านสวน ด้วยความที่ท่านเป็นพระสงฆ์ด้านการปกครอง เป็นพระภิกษุนักพัฒนา รวมไปถึงส่งเสริมการพัฒนาวัดในหลายๆ แห่ง จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือในวงกว้าง", "title": "พระราชพฤฒาจารย์" }, { "docid": "108141#9", "text": "พระเจ้าจุงจงสวรรคตในปีค.ศ. 1544 รัชทายาทที่เป็นพระโอรสของพระนางชังกย็องจึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าอินจง (인종, 仁宗) ทำให้ขุนนางฝ่ายยุนใหญ่ขึ้นมามีอำนาจ แต่ก็เป็นเพียงช่วงเวลาอันสั้น พระเจ้าอินโจก็อยู่ในราชสมบัติได้ไม่นานก็สวรรคต พระเจ้าจุงจงมีสุสานหลวงชื่อว่า \"จองนึง\" (정릉, 靖陵)", "title": "พระเจ้าจุงจง" }, { "docid": "485789#0", "text": "พิงก์ฟรายเดย์: โรแมนรีโลเดด () เป็นสตูดิโออัลบั้มที่สองของศิลปินอเมริกันนิกกี มินาจที่ปล่อยออกมาในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยทางค่าย Young Money, Cash Money, Universal Republic. ซึ่งอ้างอิงชื่อจากอัลบั้มเปิดตัวของเธอคือ พิงก์ฟรายเดย์ และปล่อยซิงเกิลพิเศษคือ โรมัน รีโหลด. อัลบั้มนี้ได้เปิดตัวซิงเกิลแรกที่ชื่อว่า \"สตาร์ชิพส์\" โดยซิงเกิลนี้สามารถติดชาร์ตเป็นอันดับต้น ๆ ได้", "title": "พิงก์ฟรายเดย์: โรแมนรีโลเดด" }, { "docid": "209184#0", "text": "สำหรับประเทศไทยปลูกกาแฟโรบัสตาร้อยละ 98 โดยมากปลูกทางภาคใต้ เช่น ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร อีกประมาณร้อยละ 2 เป็นกาแฟอะแรบิกาซึ่งปลูกมากตามดอยต่าง ๆ ทางภาคเหนือ กาแฟที่มีชื่อเสียงของไทยได้แก่ กาแฟดอยช้าง ซึ่งปลูกบนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นกาแฟได้จากกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานระดับสากล และรสชาติดีเทียบเคียงกับกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก ส่วนแหล่งปลูกอื่นๆ ในภาคเหนือได้แก่ บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน, บ้านแม่ตอนหลวง อำเภอดอยสะเก็ด, บ้านแม่หลอด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ สวนยาหลวง บ้านสันเจริญ อำเภอท่าวังผา, บ้านมณีพฤกษ์ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็นต้น", "title": "แหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียง" }, { "docid": "163651#14", "text": "ผ้าปักเริ่มด้วยฉากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพผู้ไม่มีพระราชโอรสเพื่อการสืบราชสมบัติ และดูเหมือนว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะทรงส่งฮาโรลด์ กอดวินสันผู้เป็นขุนนางคนสำคัญของอังกฤษไปนอร์ม็องดีแต่ผ้าปักมิได้ระบุเหตุผลของการเดินทางของฮาโรลด์ เมื่อไปถึงนอร์ม็องดีฮาโรลด์ก็ถูกจับเป็นนักโทษโดยกีย์ เคานต์แห่งปองทู พอได้รับข่าวดยุควิลเลียมก็สั่งให้กีย์ส่งตัวฮาโรลด์มาให้พระองค์ ดยุควิลเลียมคงทรงมีความประทับใจในตัวฮาโรลด์ กอดวินสันอยู่บ้างเพราะทรงออกสงครามร่วมกับฮาโรลด์ในการต่อสู้กับโคนันที่ 2 ดยุคแห่งเบรอตาญผู้เป็นศัตรูของดยุควิลเลียม ขณะที่เดินผ่านมง-แซ็ง-มีแชลเพื่อไปยังเบรอตาญ ฮาโรลด์ก็ได้ช่วยนายทหารสองคนของดยุควิลเลียม บารอนเอียน เด ลา โกลด์ฟินช์ และหลวงพ่อพอล เลอ คีนให้รอดจากทรายดูด ฮาโรลด์และดยุควิลเลียมไล่ตามโคนันจากโดลเดอเบรอตาญไปจนถึงแรนส์และในที่สุดดินองเมื่อโคนันยอมแพ้ อาจจะเป็นได้ว่าดยุควิลเลียมอาจจะแต่งตั้งให้ฮาโรลด์เป็นอัศวินหลังจากที่ทรงชนะสงครามต่อโคนันแล้วฮาโรลด์ก็สาบานต่อวัตถุมงคลของนักบุญ สันนิษฐานเป็นรากฐานที่ทำให้พงศาวดารของนอร์มันตีความหมายว่าการสาบานของฮาโรลด์ว่าเป็นการประกาศสนับสนุนดยุควิลเลียมในการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ แต่ตัวผ้าปักมิได้ระบุดังที่ว่า หลังจากนั้นฮาโรลด์ก็เสด็จกลับอังกฤษและเข้าเฝ้าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้กริ้วที่ฮาโรลด์ไปสาบานต่อดยุควิลเลียม เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตฮาโรลด์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน ในพรมผนังบาเยอฮาโรลด์ กอดวินสันได้รับการสมมงกุฏโดยสไตกานด์ (Stigand) อัครบาทหลวงแห่งแคนเตอร์บรีผู้ที่ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นที่น่าสงสัย หลักฐานอื่นๆ ของนอร์มันต่างก็กล่าวเช่นเดียวกันทำให้ดูราวกับว่าการสวมมงเกุฏเป็นไปโดยไม่ชอบธรรม แต่หลักฐานอังกฤษกล่าวว่าทรงได้รับการสมมงกุฏโดยเอเดรดอัครบาทหลวงแห่งยอร์กซึ่งทำให้รู้สึกว่าการเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษของฮาโรลด์เป็นไปอย่างถูกต้อง", "title": "พรมผนังบาเยอ" }, { "docid": "586595#6", "text": "เล่าลือกันว่า เมื่อพระยาชัยสุนทร (เก) ได้พบพระพุทธรูปหลวงพ่อองค์ดำแล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะนำไปประดิษฐานไว้ที่หอโฮงการเจ้าเมือง (โฮงหรือจวนสำเร็จราชการ) ที่เมืองกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นการเสริมบารมีแก่ตน แต่ชาวบ้านในละแวกนั้นไม่ต้องการให้นำหลวงพ่อองค์ดำไปจากหมู่บ้าน เนื่องจากชาวบ้านมีความเคารพนับถือและเลื่อมใสศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อองค์ดำมาแต่โบราณ พระยาชัยสุนทร (เก) จึงได้นำช้างทรง 5 เชือก มาอัญเชิญพระพุทธรูปออกไปให้สมฐานะผู้ปกครองเมือง ทำให้ชาวบ้านยอมถวายหลวงพ่อองค์ดำแก่พระยาชัยสุนทร (เก) ด้วยความไม่เต็มใจ เมื่อพระยาชัยสุนทร (เก) นำหลวงพ่อองค์ดำไปประดิษฐานที่หอโฮงการก็ทำเกิดเหตุอาเพศหลายประการแก่ตน อาทิ พ่อตาผู้เป็นบิดาของหม่อมห้ามถึงแก่กรรมด้วยโรคแปลกประหลาด แม่ยายผู้เป็นมารดาของหม่อมห้ามถึงแก่กรรม เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างนางสนมและหม่อมห้ามของพระองค์ เกิดไฟไหม้หอโฮงการ และพระองค์เองก็มีเหตุตกจากหลังช้างทรงจนได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น อาเภทเหล่านี้เป็นเหตุให้หลวงพ่อองค์ดำประดิษฐาน ณ หอโฮงการเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ได้เพียง 1 ปีเศษ ต่อมาพระยาชัยสุนทร (เก) จึงได้อัญเชิญไปถวายไว้เพื่อสืบทอดพระวรพุทธศาสนาและประดิษฐานที่วัดกลางพระอารามหลวง ซึ่งในขณะนั้นอาชญาคูอ้มดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ได้ไปจำพรรษาที่วัดเหนือและต่อมาได้จำพรรษาที่วัดกลาง จนถึงสมัยของพระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ) จึงได้นำหลวงพ่อองค์ดำประดิษฐานไว้ที่กุฎิเพื่อป้องกันการสูญหาย แต่ทว่าด้วยชื่อเสียงของหลวงพ่อองค์ดำทำให้ชาวบ้านต้องมาสักการะบูชา พระครูสุขุมวาทวรคุณ (สุข สุขโณ) จึงนำหลวงพ่อองค์ดำไปแห่รอบเมืองเพื่อขอฝนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวเมืองกาฬสินธุ์ เป็นเหตุให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลทำให้ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อองค์ดำอีกนามหนึ่งว่า หลวงพ่อซุ่มเย็น ต่อมา ชาวเมืองกาฬสินธุ์เรียกขานนามว่า พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย[11]", "title": "พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)" }, { "docid": "887220#0", "text": "เซีย เคต อิโซเบลล์ เฟอร์เลอร์ () เกิด 18 ธันวาคม ค.ศ. 1975 เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์เพลง และผู้กำกับมิวสิกวิดีโอชาวออสเตรเลีย เธอเริ่มต้นอาชีพนักร้องโดยการเป็นนักร้องในวงแนวแอซิดแจ๊ซในคลับท้องถิ่นที่แอดิเลด กับวงที่ชื่อ คริสป์ (Crisp) ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 วงคริสป์แยกวงไป เธอจึงได้ออกผลงานเดี่ยวอัลบั้มสตูดิโอ ใช้ชื่อว่า \"OnlySee\" ในประเทศออสเตรเลีย จากนั้นเธอย้ายมายังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นนักร้องนำวงดูโออังกฤษ ชื่อวง ซีโรเซเวน (Zero 7)", "title": "เซีย (นักดนตรี)" }, { "docid": "340723#2", "text": "จากคำบอกเล่าของพระเดชพระคุณหลวงพ่อห้อม อมโร (พระราชพฤฒาจารย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ เดิมชื่อว่าวัดศิริ ตามที่ชื่อผู้สร้างวัดนี้ขึ้นมาซึ่งเป็นอดีตตาทวดของหลวงพ่อห้อม ที่ชื่อว่า ดี คำว่า วัดน้อย นี้มาจากวัดนี้เป็นวัดเล็กๆอยู่ข้างคลองน้ำ ซึ่งฝั่งตรงข้ามทางทิศใต้ มีวัดชื่อวัดคุ้งยางใหญ่ หรือที่ชาวบ้านต.บ้านสวน เรียกว่า วัดใหญ่ ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวางใหญ่โตกว่ามาก ชาวบ้านสวนจึงเรียก วัดศิริ นี้ว่า วัดน้อย ", "title": "วัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม" }, { "docid": "521108#0", "text": "โรเซนดาล () เป็นทั้งเมืองและเทศบาลทางตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่เดิมรวมกับเมืองนิสเพิน ใช้ชื่อว่า โรเซนดาลเอนนิสเพิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1997 เทศบาลโรเซนดาลเอนนิสเพิน และเวาว์ (Wouw) รวมเป็นเทศบาลเดียวกันใช้ชื่อว่า โรเซนดาล", "title": "โรเซนดาล" }, { "docid": "56394#1", "text": "พระปทุมวรราชสุริยวงศ์(ท้าวคำผง - ต้นสายสกุล \" ณ อุบล \" ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก ได้ได้ก่อสร้างวัดที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งชื่อว่า วัดหลวง เพื่อให้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลแก่ประชาชนทั่วไป\nเมื่อพระมหาเถระได้เข้ามาอยู่จำพรรษาแล้วท่านเห็นว่า วัดนี้เป็นวัดบ้าน หรือ ฝ่ายคามวาสีไม่เหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรม]วิปัสสนากรรมฐาน จึงได้หาสถานที่ใหม่ คือ ป่าดงอู่ผึ้ง ห่างจากวัดหลวงไปทางทิศเหนือ 100 เส้น มีหนองน้ำ ชื่อว่า หนองสะพัง เป็นสถานที่อันสงบวิเวก เหมาะจึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ (พ.ศ. 2322) ชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เพื่อให้คู่กับวัดหลวงซึ่งก่อตั้งขึ้นก่อนแล้วนั้น แต่ก็ยังไม่ทันได้ตั้งเป็นวัดให้เรียบร้อยสมบูรณ์ เจ้าเมืองคือ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง - ต้นสายสกุล \" ณ อุบล \" ) ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อนเมื่อ พ.ศ. 2338)\nพ.ศ. 2348 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม - ต้นสายสกุล \" พรหมวงศานนท์ \" ) ได้มาก่อสร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ต่อจนสำเร็จใน พ.ศ. 2350 และได้ยกฐานะเป็นวัดชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพังหรือหนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง (มีหลักฐานการสร้างวัดอยู่ที่ ศิลาจารึก ซึ่งตั้งอยู่ข้างหลัง (ด้านซ้าย) ของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปงระบุปีที่สร้างวัดนี้ ตรงกับ พ.ศ. 2350) โดยมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปพระอินแปง หรือ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ", "title": "วัดมหาวนาราม" }, { "docid": "223003#1", "text": "โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลจัดสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2452 เนื่องจากขณะนั้นกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ต้องการให้ทุกจังหวัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น พระยาอิศราธิชัย หรือ หมี ณ ถลาง ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ในขณะนั้น จึงได้ริเริ่มสร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในเขตวัดแก้วโกรวาราม โดยมีพ่อค้า คหบดีและข้าราชการ ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันสร้างโรงเรียนแห่งนี้ขึ้น ให้ชื่อว่า “โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล” โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูงประมาณเมตรเศษ ทรงหลังคาแบบปั้นหยา มุงสังกะสี มี 4 ห้องเรียนตั้งอยู่ที่ตั้งศาลาการเปรียญปัจจุบันนี้", "title": "โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล" }, { "docid": "564796#5", "text": "หลังจากยอดขายเริ่มลดลง โรเจอส์ ได้เข้าร่วมกับวงแจ๊ซ นามว่า \"The Bobby Doyle Trio\" ซึ่งเล่นดนตรีตามคลับต่างๆมากมาย และยังได้อัดเพลงกับ Columbia Records อีกด้วย\nวงนี้แยกวงในปี 1965 หลังจากนั้นในปี 1966 โรเจอส์ ได้ปล่อยซิงเกิ้ล แจ๊ส-ร็อค ภายใต้ Mercury Records ชื่อว่า \"Here's That Rainy Day\" แต่ไม่ประสบความสำเร็จ\nโรเจอส์ ยังได้ทำงาน ในฐานะโปรดิวซ์เซอร์เพลง นักแต่งเพลง และนักดนตรีให้ศิลปินอื่นด้วย เช่น Mickey Gilley และ Eddy Arnold \nในปี 1966 เขาเข้าร่วมกับวง \"The New Christy Minstrels\" ในฐานะนักร้องและ นักเล่น ดับเบิลเบส", "title": "เคนนี โรเจอส์" }, { "docid": "828796#1", "text": "โฮงอันเป็นที่ประทับตลอดจนใช้ว่าราชการและสำเร็จราชการงานเมืองของพระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร และเจ้าเมืองนั้น บ้างก็เรียกว่า หอโฮงหลวง หอโฮงการ โฮงหลวง หอหลวง หอคำ หรือเรียกต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์และราชทินนามของเจ้าเมืองหรือเจ้านคร เช่น โฮงพระยาประจันตประเทศธานี (เจ้าเมืองสกลนคร) โฮงเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์ (เจ้าเมืองอุบลราชธานี) เป็นต้น", "title": "โฮง" }, { "docid": "61435#6", "text": "เมื่ออายุได้ได้ 8 ปี โนวส์ได้พบกับ ลาทาเวีย โรเบอร์ซัน ในขณะที่มีการออดิชั่นวงดนตรีหญิงล้วน[13] พวกเธอและเพื่อนของโนวส์ เคลลี โรว์แลนด์ ถูกจัดให้เป็นกลุ่มที่เน้นการเต้นและร้องเพลงแร็ป ใช้ชื่อว่า เกิร์ลสไทม์[8] ในที่สุดพวกเขาก็ได้คัดให้เหลือสมาชิก 6 คน[7] ด้วยโนวส์และโรว์แลนด์ เกิร์ลสไทม์ จึงได้ดึงดูดผู้ชมทั่วประเทศเป็นอย่างมาก เวสต์ คอส โปรดิวเซอร์เพลงแนวอาร์แอนด์บีและอาร์น ฟราเจอร์ ได้เข้าไปในฮิวสตันเพื่อดูแลพวกเธอ และเขาก็ได้พาพวกเธอไปยังสตูดิโอเพลงของเขา เดอะแพลนต์เรเคิดดิงสตูดิโอส์ ในภาคเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยน้ำเสียงของโนวส์ ทำให้ฟราเจอร์คิดว่าเธอเป็นผู้มีบุคลิกภาพและความสามารถในการร้องเพลง[7] ด้วยความพยายามที่จะให้เกิร์ลสไทม์เป็นกลุ่มดนตรีแนวหน้าในอุตสาหกรรมดนตรี ฟราเจอร์ได้ส่งพวกเธอไปในรายการ สตาร์เสรช[14] ซึ่งเป็นรายการประกวดร้องเพลงที่ดังที่สุดในอเมริกาในขณะนั้น[7] แต่ผลออกมาไม่ค่อยดี เพราะเพลงที่พวกเธอแสดงยังไม่ค่อยสมบูรณ์แบบเท่าไหร่นัก[15][16] โนวส์ได้กล่าวไว้ โนวส์ได้รู้สึกถึงการเสื่อมถ้อยในอาชีพของเธอเป็นครั้งแรกหลังจากที่ไม่ชนะรายการนี้ แต่เธอก็เริ่มกลับมามีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นหลังจากที่ได้เรียนรู้จากบริตนีย์ สเปียรส์ และจัสติน ทิมเบอร์เลค ที่ได้มีมีประสบการณ์เดียวกันกับพวกเธอ[7]", "title": "บียอนเซ่ โนวส์" }, { "docid": "998502#3", "text": "ในพ.ศ. 2453 นายสุ่นฮี้ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น \"ขุนอนุสารสุนทร\" และในพ.ศ. 2467 ก็ได้เลื่อนเป็น \"หลวงอนุสารสุนทร\" ที่ตำแหน่งกรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่ หลวงอนุสารสุนทรยังเป็นผู้ริเริ่มกิจการเดินรถโดยสารขึ้นในเชียงใหม่ รับส่งผู้โดยสารระหว่างเชียงใหม่–ลำพูน ในการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก ดังนั้นท่านจึงริเริ่มให้มีโรงเรียนขึ้น โดยหลวงอนุสารสุนทรได้ติดต่อหาครูสอนภาษาอังกฤษมาจากเมืองมะละแหม่งชื่อหม่องส่วยต่อ เปิดเป็นโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้น ชื่อว่า \"โรงเรียนหม่องส่วยต่อ\" ", "title": "หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา)" }, { "docid": "806299#33", "text": "ต่อมา โดยหวังว่าจะพบสารอนุพันธ์ที่ยับยั้งการนำเซโรโทนินไปใช้ใหม่ (reuptake) โดยเฉพาะ\nนักวิทยาศาสตร์ของบริษัทคือ ดร. เดวิด ที วอง (ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในปี 2554) เสนอที่จะทดสอบสารอนุพันธุ์นอกกาย (in vitro) ว่าเป็นตัวยับยั้งเซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีนหรือไม่\nการทดสอบบรรดาสารสังเคราะห์ที่ทำในปี 2515\nแสดงว่า สารประกอบที่ภายหลังตั้งชื่อว่าฟลูอ็อกเซทีนมีฤทธิ์มากที่สุดและเป็นตัวยับยั้งการนำเซโรโทนินไปใช้ใหม่โดยเฉพาะ\nซึ่ง ดร. วองตีพิมพ์บทความแรกในปี 2517\nและในปีต่อมา ยาก็ได้รับชื่อเป็นทางการและบริษัทได้ตั้งชื่อการค้าว่าโปรแซ็ก\nในปี 2520 บริษัทในเครือข่าย (Dista Products Company) จึงยื่นคำขอเพื่อทดลองฟลูอ็อกเซทีนทางคลินิกระยะที่ 1 ต่อ FDA", "title": "ฟลูอ็อกเซทีน" } ]
3948
โรงเรียนนายร้อยตำรวจตั้งอยู่ที่จังหวัดใด?
[ { "docid": "49575#0", "text": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (Royal Police Cadet Academy: RPCA) เป็นหน่วยงานระดับกองบัญชาการ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตั้งอยู่ที่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีภารกิจหลักในการฝึกอบรม ให้การศึกษา อบรมหล่อหลอมนักเรียนนายร้อยตำรวจให้มีคุณลักษณะเหมาะสมที่จะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และฝึกอบรมผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรอื่น ผู้ที่ศึกษาตามหลักสูตรหลักของในโรงเรียนนายร้อยตำรวจเรียกว่า \"นักเรียนนายร้อยตำรวจ\" (นรต.) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจจะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น \"ว่าที่ร้อยตำรวจตรี\" โดยนายตำรวจสัญญาบัตรที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้ารับพระราชทานกระบี่จากพระองค์ท่าน หรือองค์ผู้แทนพระองค์ตลอดมา", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" } ]
[ { "docid": "262342#0", "text": "พิธีพระราชทานกระบี่ เป็นพิธีที่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย พระราชทานกระบี่แก่ว่าที่ร้อยตรี ว่าที่เรือตรี ว่าที่เรืออากาศตรี และว่าที่ร้อยตำรวจตรี ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โรงเรียนนายเรือ สถานศึกษาทางการทหารในต่างประเทศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามลำดับ อันหมายถึงการสำเร็จการศึกษาโดยสมบูรณ์ของเหล่าทหาร-ตำรวจ พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องประเทศชาติต่อไป", "title": "พิธีพระราชทานกระบี่" }, { "docid": "310045#0", "text": "พลตำรวจตรี วิชัย สังข์ประไพ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) เป็นอดีตผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 เจ้าของฉายา \"\"มือปราบหูดำ\"\" พล.ต.ต.วิชัย มีชื่อเล่นว่า \"แต้ม\" เกิดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2498 ในครอบครัวชาวนาที่ค่อนข้างยากจน ที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยการเป็นลูกคนที่ 4 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 7 คน โดยที่พ่อแม่เมื่อเสร็จสิ้นจากการทำนาแล้วก็รับจ้างก่อสร้างเป็นกรรมกร \nในวัยเด็กเคยใฝ่ฝันอยากเป็นทหาร เพราะประทับใจจากการที่เห็นทหารในเครื่องแบบนั่งเรือผ่านหน้าบ้านที่อยุธยา เข้าสู่กรุงเทพมหานครแล้ว ได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนบางยี่ขันสงเคราะห์ ซึ่งเป็นโรงเรียนสงเคราะห์ลูกหลานของพนักงานโรงงานสุราบางยี่ขัน ซึ่ง พล.ต.ต.วิชัย เป็นลูกคนแรกด้วยของครอบครัวที่ได้เข้าเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ จากนั้นได้สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารแล้วแต่ไม่ได้ จึงเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, โรงเรียนนักเรียนพลตำรวจนครบาล รุ่นที่ 25, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, หลักสูตรอบรมโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานรุ่นที่ 35, ปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และศึกษาเพิ่มเติมหลักสูตรนักเรียนนายร้อยอบรม รุ่นที่ 25, หลักสูตรโรงเรียนผู้กำกับการ รุ่นที่ 35 และหลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า (ปรม. รุ่นที่ 6) ได้ติดยศ ร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.) เมื่อปี พ.ศ. 2524", "title": "วิชัย สังข์ประไพ" }, { "docid": "335906#33", "text": "(๑) กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๒) - (๑๐) ตำรวจภูธรภาค ๑ – ๙ (๑๑) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๑๒) กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (๑๓) กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (๑๔) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (๑๕) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (๑๖) กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว (๑๗) สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ (๑๘) สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (๑๙) สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (๒๐) กองบัญชาการศึกษา (๒๑) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (๒๒) โรงพยาบาลตำรวจ หมายเหตุ ปัจจุบันศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกยุบเนื่องจากไม่มีความจำเป็นและได้ยกฐานะกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวเป็นกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยวแทนที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560", "title": "ตำรวจไทย" }, { "docid": "49575#13", "text": "2. ฝ่ายปกครองและการฝึก รับผิดชอบด้านการปกครองบังคับบัญชา ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุนงานกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ นักเรียนอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รวมทั้งจัดการฝึกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกแบบตำรวจ การฝึกยุทธวิธีตำรวจ การฝึกพลศึกษาและต่อสู้ป้องกันตัว ประกอบด้วยส่วนราชการ ดังนี้", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "302844#3", "text": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (Royal Police Cadet Academy : RPCA) เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการให้การศึกษาอบรมนักเรียนนายร้อยตำรวจ และนักเรียนอบรมหลักสูตรต่างๆ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ในตำแหน่งรองสารวัตรหรือเทียบเท่า ตามความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ \nโรงเรียนนายร้อยตำรวจประกอบด้วยบุคลากรหลักๆ 3 ฝ่าย ได้แก่", "title": "นายตำรวจปกครอง" }, { "docid": "52132#0", "text": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจไต้หวัน เป็นสถาบันหลักในการผลิตตำรวจของสาธารณรัฐจีน ตั้งอยู่ที่ กุยซัน เขตเถาหยวน", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจไต้หวัน" }, { "docid": "49575#59", "text": "นายร้อยตำรวจ นายร้อยตำรวจ", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "445116#1", "text": "โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อปีการศึกษา 2525 โดยรับนักเรียนชาย - หญิงเข้าเรียนครั้งแรกจำนวน 262 คน จัดห้องเรียน 6 ห้อง ในระยะแรกที่เปิดทำการสอนนั้น เปิดเป็นสาขาของโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า \"โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล 2\" ใช้อาคารเรียนของโรงเรียนบ้านหมากแข้ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนศรีสุข อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นที่ทำการโดยได้รับความกรุณาจาก นายอำนวย อุเทศ ศึกษาธิการเขต เขตการศึกษา 9 (ปัจจุบันเกษียณราชการ) นายอิศรา จรัณยานนท์ ศึกษาธิการจังหวัด (ปัจจุบันเกษียณราชการ) นายสนิทพงษ์ นวลมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล (ปัจจุบันเกษียณราชการ) นางวัฒนา พิธรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหมากแข้ง (ปัจจุบันเกษียณราชการ) ได้ เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันแสวงหาที่ดินเพื่อก่อตั้งเป็นโรงเรียนอย่างเต็ม กำลังความสามารถ จนในที่สุดก็ได้รับความอนุเคราะห์จาก พันตำรวจโทพิชัย สุนทรสัจบูลย์ (ยศขณะนั้นตำแหน่งรองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชศรีมาปัจจุบันยศพัน ตำรวจโท ตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 จังหวัด) บริจาคที่ดินจำนวน 30 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา เพื่อประโยชน์ในการศึกษา จนกรมสามัญได้ประกาศตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2526 ถือเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งที่ 4 ของจังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บริจาคที่ดินและคุณตาของท่านคือ ร้อยตำรวจเอก ขุนรักษ์นิกร ตราชู จึงตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา และในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนในสถานที่ปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี\nอาคารภายในโรงเรียนมีทั้งหมด 10 อาคาร", "title": "โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา" }, { "docid": "49575#2", "text": "สำหรับประวัติสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ [1] ตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มตั้งขึ้นในประเทศไทย จนกระทั่งมีที่ตั้งล่าสุดที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งตามลำดับดังนี้", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "49575#9", "text": "ในวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันตำรวจ คณะนายตำรวจปกครองและนักเรียนนายร้อยตำรวจ จะทำการอัญเชิญธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจนี้ไปทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนาม", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "49575#36", "text": "สภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจให้มีความทันสมัย มีความเหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาโดยตลอด นอกจากนั้น โรงเรียนนายร้อยตำรวจยังได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการเปิดหลักสูตรร่วมกัน เช่น ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "49575#10", "text": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยแบ่ง หน้าที่ภารกิจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายปกครองและการฝึก ฝ่ายวิชาการ และมีหน่วยงานขึ้นตรงต่อ โรงเรียนนายร้อยตำรวจอีกจำนวนหนึ่ง ดังนี้[2]", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "16482#5", "text": "ในส่วนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ และนายตำรวจปกครองของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้กระทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยประจำหน่วยตำรวจ และสวนสนาม ภายในโรงเรียนนายร้อยตำรวจเนื่องในวันตำรวจเป็นประจำตลอดมาทุกปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้จัดให้มีพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของเหล่าข้าราชการตำรวจ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ขึ้น ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี และได้อัญเชิญธงชัยประจำหน่วยตำรวจซึ่งมีความสำคัญเช่นเดียวกับธงชัยเฉลิมพลของทหาร จำนวนทั้งสิ้น 13 ธง มากระทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณและสวนสนามในครั้งดังกล่าว", "title": "วันตำรวจ" }, { "docid": "49575#58", "text": "ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 (ตรงกับนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 66) เป็นต้นมา โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้เปิดรับสมัครนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเป็นรุ่นแรก จำนวน 70 นาย โดยคัดเลือกจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 นาย และข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเพศหญิงอายุไม่เกิน 25 ปี อีก 10 นาย ผลปรากฏว่ามีผู้สมัครสอบคัดเลือกถึงกว่า 17,000 คน และได้รับนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดทุกปี", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "49575#1", "text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2444 ณ มณฑลนครราชสีมา อันเป็นรากฐานเริ่มต้นของโรงเรียนนายร้อยตำรวจยุคปัจจุบัน โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือที่ 67/719 ลงวันที่ 19 เมษายน ร.ศ.121 (พ.ศ. 2445) กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นแล้ว แต่ติดขัดเรื่องที่ในการตั้งโรงเรียน จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไปตั้งที่ ต.ห้วยจระเข้ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาและลงพระปรมาภิไธยพระราชทานพระบรมราชานุญาต เป็นหนังสือถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ 2 ฉบับ ฉบับแรกหนังสือที่ 59/234 ลงวันที่ 20 เมษายน ร.ศ.121 ฉบับที่ 2 หนังสือที่ 131/361 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม ร.ศ.121 โปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามความกราบบังคมทูลขอของกรมหลวงดำรงราชานุภาพ อันเป็นหลักฐานที่แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้น", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "674044#5", "text": "ในการเริ่มต้นก่อตั้งสถานีตำรวจภูธร กุสตาฟ เชาได้จัดวางอัตรากำลังสำหรับสถานีตำรวจแต่ละแห่งไว้ 250 นาย มีนายตำรวจระดับผู้บังคับบัญชาทั้งชาวสยามและเดนมาร์ก โดยกระจายสถานีตำรวจออกไปในแต่ละท้องที่ประมาณ 400 สถานี ซึ่งต้องใช้กำลังตำรวจร่วมหมื่นนาย เนื่องจากต้องการกำลังพลจำนวนมาก เจ้ากรมตำรวจภูธรจึงรายงานความเห็นและขออนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยเพื่อจัด ตั้งโรงเรียนสำหรับผลิตนายตำรวจขึ้นเอง ในปี พ.ศ. 2444 จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ในบริเวณที่ราชการให้ชื่อว่า\"ประตูชัยณรงค์\" ซึ่งเดิมชาวเมืองเรียกกันว่า \"ประตูผี\" (ปัจจุบันคือที่ตั้งกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3) ไปก่อน แล้วจึงค่อยย้ายไปในที่ที่เหมาะสมต่อไป", "title": "พระยาวาสุเทพ (กุสตาฟ เชา)" }, { "docid": "302844#4", "text": "“นายตำรวจปกครอง” ตามระเบียบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ว่าด้วยการปกครองบังคับบัญชานักเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2552 หมายความว่า “นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรในโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ปกครองนักเรียนนายร้อยตำรวจ” ทั้งนี้ มิได้มีการกำหนดตำแหน่งหรือมีชื่อเรียกตำแหน่งว่า “นายตำรวจปกครอง” โดยเฉพาะแต่อย่างใด แต่เป็นคำเรียกรวมสำหรับนายตำรวจที่ทำหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา สอดส่องดูแลความประพฤตินักเรียนนายร้อยตำรวจหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ อบรมแบบธรรมเนียมของวิชาชีพตำรวจ และทำหน้าที่ในการอบรมหล่อหลอมความคิด จิตวิญญาณ ปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีให้แก่นักเรียนและผู้เข้ารับการอบรม ทั้งนี้นายตำรวจปกครองนั้น หมายความถึงนายตำรวจในสังกัดกองบังคับการปกครองที่ทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชานักเรียนเตรียมทหารด้วย", "title": "นายตำรวจปกครอง" }, { "docid": "16482#6", "text": "ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนาม เนื่องในวันตำรวจเฉพาะนักเรียนนายร้อยตำรวจและคณะนายตำรวจปกครองของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ณ ลานฝึกศรียานนท์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ", "title": "วันตำรวจ" }, { "docid": "63529#5", "text": "ในปี พ.ศ. 2506 กรมตำรวจได้ขอให้โรงเรียนเตรียมทหารรับนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยตำรวจด้วย โรงเรียนเตรียมทหารจึงเป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับนายทหาร นายตำรวจ โดยสมบูรณ์ ในระยะแรกนั้นโรงเรียนเตรียมทหารยังไม่มีที่ตั้งถาวร ได้ใช้อาคารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ", "title": "โรงเรียนเตรียมทหาร" }, { "docid": "34460#1", "text": "พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นชาวอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นายเกษม วัฒนะ อดีตข้าราชการครู และนายอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับ นางสวง วัฒนะ สมรสกับ พ.ญ.วันทนีย์ (ศรีอุทารวงค์) วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ ร้อยโท พีรวิชญ์ วัฒนะ และ นางสาว พิชญ์สินี วัฒนะ ส่วนประวัติการศึกษา โกวิทเข้าศึกษาชั้นประถมที่ โรงเรียนเทพประสิทธิ์วิทยา โรงเรียนผักไห่สุทธาประมุข โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และจบจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 22", "title": "โกวิท วัฒนะ" }, { "docid": "49575#6", "text": "ปัจจุบันโรงเรียนนายร้อยตำรวจบริหารงานภายใต้พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และ พระราชบัญญัติโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "49575#42", "text": "ขณะก่อสร้างอาคารต่างๆภายในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ต.อ.วิจิตรฯ ได้ขอคำแนะนำจากพระเถระผู้ใหญ่ขอตั้งคำขวัญประจำชั้นปีของนักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อเป็นกุศโลบายและแนวทางในการอบรมปลูกฝัง นรต. ซึ่งเมื่อก่อสร้างอาคารต่างๆเสร็จใน พ.ศ. 2497 ( นรต.รุ่นที่ 9,10,11) ก็ได้ตั้งคำขวัญประจำชั้นปีของนักเรียนนายร้อยตำรวจติดไว้ประจำอาคารนอนของ นรต.ทั้ง 4 อาคาร ดังนี้", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "49575#4", "text": "ซึ่ง พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น เป็นผู้วางรากฐานให้ย้ายสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไปตั้ง ณ อ.สามพราน จ.นครปฐม เมื่อ พ.ศ. 2497 และเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ณ อ.สามพราน จ.นครปฐม อย่างเป็นทางการ", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "49575#5", "text": "แม้ว่าจะได้ทรงพระราชทานก่อตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2444 ณ กองตำรวจภูธรเขต 3 นครราชสีมา แต่โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้ถือเอาวันที่ 19 เมษายน ร.ศ.121 (พ.ศ. 2445) เป็นวันสถาปนาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาและลงพระปรมาภิไธยตอบหนังสือของกรมหลวงดำรงราชานุภาพไว้เป็นหลักฐาน", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "49575#3", "text": "สมัยที่ 1 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร นครราชสีมา พ.ศ. 2444 - พ.ศ. 2447 มีนายร้อยโท ม.ร.ว.แดง (หม่อมแดง) ผู้บังคับการกองตำรวจภูธรเขต 3 นครราชสีมา ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นคนแรก สมัยที่ 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2458 สมัยที่ 3 โรงเรียนนายหมวด คลองไผ่สิงโต กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2464 สมัยที่ 4 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2464 - พ.ศ. 2476 สมัยที่ 5 โรงเรียนนายร้อยทหารบก (ยศ.) กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2489 ทั้งนี้ ได้มีการเริ่มนับรุ่นของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ครั้งแรกเป็น นรต.รุ่นที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2480 ในขณะที่ศึกษาร่วมกับนักเรียนนายร้อยทหารบก สมัยที่ 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2498 สมัยที่ 7 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2497 - ปัจจุบัน", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "302844#0", "text": "นายตำรวจปกครอง หรือ นายตำรวจฝ่ายปกครอง () คือ ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรกลุ่มหนึ่งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รวมถึงนายตำรวจปกครองที่ทำหน้าที่ปกครองในโรงเรียนเตรียมทหาร) ที่ทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชานักเรียนนายร้อยตำรวจ นักเรียนอบรม และนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ\nนายตำรวจปกครองนั้นไม่ใช่อาจารย์ ไม่ได้มีหน้าที่เหมือนอาจารย์ฝ่ายปกครอง ของโรงเรียนทั่วๆไป นายตำรวจปกครอง มีบทบาทหน้าที่ต่างๆกว้างขวางมาก ดังนี้", "title": "นายตำรวจปกครอง" }, { "docid": "41812#4", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 จึงได้เข้าเรียนต่อที่ The Crocodile Creek Royal Police Cadet Academy โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ (โรงเรียนนายร้อยตำรวจในปัจจุบัน) จังหวัดนครปฐม ขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ 5 ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ. 2472", "title": "ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์)" }, { "docid": "49575#33", "text": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีภารกิจหลักในการให้การศึกษาอบรมทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และการอบรมหล่อหลอมคุณลักษณะความเป็นนายตำรวจสัญญาบัตรให้แก่ผู้ที่เข้ารับการศึกษาอบรมในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งหลักสูตรหลักและเป็นหลักสูตรประจำของโรงเรียนนายร้อยตำรวจคือ \"หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ\"", "title": "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" }, { "docid": "335906#13", "text": "ในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อผลิตนายตำรวจให้ทำหน้าที่ผู้บังคับหมวดรับราชการในกรมตำรวจภูธร โดยในขณะนั้นมีนายร้อยโท ม.ร.ว.แดง (หม่อมแดง) ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 3 นครราชสีมา ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรคนแรก ถือเป็นรากฐานเริ่มต้นของโรงเรียนนายร้อยตำรวจยุคปัจจุบัน ซึ่งในปี ร.ศ.121 (พ.ศ. 2445) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ มีพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจจากมณฑลนครราชสีมา ไปตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยจระเข้ จ.นครปฐม ตามการกราบบังคมทูลขอของกรมหลวงดำรงราชานุภาพ", "title": "ตำรวจไทย" } ]
3949
ใครเป็นผู้อำนวยการสร้าง รายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล?
[ { "docid": "35751#5", "text": "ในขณะที่ 22 กำลังออกอากาศอยู่นั้น ข่าวการยกเลิกการสร้างรายการ ได้รับการยืนยัน ในวันที่ 14 ตุลาคม 2558 โดยได้ข้อสรุปว่า ในวันที่ 4 ธันวาคม 2558 จะเป็นการออกอากาศครั้งสุดท้ายของรายการ แต่ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้มีการประกาศว่า รายการจะได้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง แต่เปลี่ยนช่องทางออกอากาศ เป็นช่อง VH1 และ ไทรา แบงก์ส จะไม่ได้กลับไปเป็นกรรมการหลักในรายการอีกต่อไป แต่จะยังคงทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างเช่นเดิม โดยคณะกรรมการตัดสินจะถูกปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ต่อมา จึงได้ประกาศว่า นักร้องและนักแสดงชาวอังกฤษชื่อดัง ริต้า โอรา จะได้เป็นกรรมการหลักคนใหม่ให้กับฤดูกาลใหม่ที่จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงฤดูใบไม่ร่วง ปี พ.ศ. 2559 โดยมีคณะกรรมการที่เหลือประกอบด้วย คือ สุดยอดนางแบบชื่อดัง แอชลีย์ กราแฮม, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จากนิตยสาร เปเปอร์ แม็กกาซีน ดรูว์ เอลเลียต และสไตลิสต์ชื่อดัง ลอว์ โรช", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล" } ]
[ { "docid": "35751#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล (America's Next Top Model หรือในชื่อย่อว่า ANTM) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ที่ทำการคัดเลือกหญิงสาวจากรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา ที่ใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นนางแบบ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องขับเคี่ยวกันจากบททดสอบมากมาย ตั้งแต่การถ่ายภาพ การถ่ายโฆษณา ที่ล้วนต้องอาศัยความสามารถระดับสูงก่อนจะมาเป็นสุดยอดนางแบบของอเมริกา ซึ่งผู้ชนะในแต่ละฤดูกาลจะได้รับรางวัลดังนี้", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล" }, { "docid": "283787#1", "text": "นิโคลเป็นผู้ผ่านรอบคัดเลือกรอบ 14 คนสุดท้ายของรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 13 ซึ่งเป็นฤดูกาลสำหรับสาวที่สูงไม่เกิน 5 ฟุต 7 และเธอก็เป็นผู้ชนะในฤดูกาลนั้น ไม่กี่เดือนก่อนที่จะเปิดรอบคัดตัว นิโคลก็ได้พบกับช่างภาพเดนเวอร์ ที่อาร์ทแกลอรี่ ซึ่งเขาได้แนะนำให้เธอลองมาออดิชั่นเหมือนกับที่เคยแนะนำ แอลลิสัน ฮาร์วาร์ด จาก อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12 มาแล้ว", "title": "นิโคล ฟ็อกซ์" }, { "docid": "728588#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 22 (หนุ่มหล่อ & สาวสวย 3) เป็นฤดูกาลที่ 22 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเป็นครั้งที่ 3 ของรายการ ทีมีผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ชาย ร่วมเข้าแข่งขันในรายการด้วย อีกทั้งรายการยังได้ทำการเปิดรับสมัคร ผู้เข้าแข่งขันที่มีรูปร่างเล็ก ซึ่งต่างจากฤดูกาลที่ผ่านมา ที่มีข้อจำกัดในเรื่องของ ความสูง ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่ม ออกอากาศในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558 โดยคณะกรรมการยังคงประกอบไปด้วย ไทรา แบงส์, เคลลี่ ครูโทน, เจ.อเล็กซานเดอร์ และ ผู้กำกับการถ่ายภาพ ยู ไซ เช่นเคย และแตกต่างจาก 3ฤดูกาลที่ผ่านมา ในฤดูกาลนี้ จะตัดสินเพียงแค่คะแนนจากคณะกรรมการทั้งสาม และคะแนนจากการแข่งขันชิงรางวัลเท่านั้น โดยจะยกเลิกการใช้ผลโหวตจากผู้ชมทางบ้าน", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 22" }, { "docid": "192335#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 11 (America's Next Top Model, Cycle 11) เป็นฤดูกาลที่ 11 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดลโดยความคิดริเริ่มของสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทรา แบงส์ ซึ่งทางรายการได้ออกอากาศเป็นครั้งที่ห้า ทางช่อง CW ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551 ประโยคและธีมที่นำมาใช้โปรโมทฤดูกาลนี้คือ \"ฟีล เดอะ เลิฟ\" ในการแข่งขันครึ่งแรกนั้นได้ถ่ายทำใน ลอสแอนเจลิส โดยที่ได้ย้ายกลับมาจากที่ที่ใช้ถ่ายทำในครั้งก่อนซึ่งก็คือ นิวยอร์ก และในรอบ 6 คนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ เป้าหมายในต่างประเทศที่ผู้เข้าแข่งขัน ต้องไปทำการแข่งขันกันต่อ คือ เมืองอัมสเตอร์ดัม ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพลงที่ใช้ในการโปรโมตของฤดูกาลนี้คือ When I Grow Up โดย Pussycat Dolls", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 11" }, { "docid": "282625#0", "text": "แคนาดาเน็กซ์ท็อปโมเดล (\"Canada's Next Top Model\" หรือในชื่อย่อว่า \"CNTM\") เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ที่ทำการคัดเลือกหญิงสาวจากเมืองต่างๆ ของแคนาดา ที่ใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นนางแบบ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องขับเคี่ยวกันจากบททดสอบมากมาย ตั้งแต่การถ่ายภาพ การถ่ายโฆษณา ที่ล้วนต้องอาศัยความสามารถระดับสูงก่อนจะมาเป็นสุดยอดนางแบบของอเมริกา โดยพิธีกรของรายการก็คือ เจย์ แมนูเอล ผู้ควบคุมด้านศิลป์จากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล นั่นเอง", "title": "แคนาดาเน็กซ์ท็อปโมเดล" }, { "docid": "517406#77", "text": "ยี่สิบนาทีก่อนการเดินแบบ ไทร่า และกรรมการตัดสิน ได้เข้ามาพบกับพวกเขาในห้องแต่งตัว เพื่อแจ้งให้ทราบว่า จะต้องมีผู้เข้าแข่งขันหนึ่งคน ถูกคัดออก ก่อนการเดินแบบครั้งสุดท้าย สร้างความตกตะลึงให้กับพวกเขาเป็นอย่างมาก โดยจะนำภาพถ่ายโฆษณา Guess มาตัดสิน เริ่มจากจอร์แดน ที่ถ่ายภาพออกมาได้อย่างสวยงาม เหมาะกับการโฆษณา แต่ดูธรรมดาเกินไป กับการเป็นแบรนด์ดัง มาร์วิน มีโครงหน้าที่ดูงดงามและข็งแกร่งมากในภาพถ่าย แต่โดยรวมแล้วออกมาไม่เป็นแฟชั่นชั้นสูง และเขายังดูเด็กเป็นอย่างมากในภาพ และโครี่ ที่แสดงความเป็นผู้ชายออกมาได้เป็นอย่างดี แต่ภาพถ่ายโดยรวมดูธรรมดา และไม่ดึงดูดใจ สุดท้ายแล้ว รายการได้จบลงก่อนที่จะประกาศว่า ใครจะได้เป็นผู้เข้าแข่งขันชิงตำแหน่งสองคนสุดท้าย", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 20" }, { "docid": "605534#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 21 (หนุ่มหล่อ & สาวสวย2) เป็นฤดูกาลที่ 21 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์รายการ ทีมีผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ชาย ร่วมเข้าแข่งขันในรายการด้วย ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่ม ออกอากาศใน ปี 2557 โดยคณะกรรมการยังประกอบไปด้วย ไทรา แบงส์, เคลลี่ ครูโทน, สุดยอดนายแบบชาย ร็อบ อีวานส์ ถูกเปลี่ยนเป็น เจ.อเล็กซานเดอร์ และ ผู้กำกับการถ่ายภาพ เปลี่ยนจาก จอห์นนี่ วูเจ็ค เป็น ยู ไซ โดยที่ในฤดูกาลนี้ประชาชนยังสามารถโหวตให้คะแนนผู้เข้าแข่งขัน ได้เหมือนใน สองฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการคัดออกในแต่ละสัปดาห์ได้เหมือนเดิม", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 21" }, { "docid": "452159#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 19 เป็นฤดูกาลที่ 19 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยจะได้ผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ใน ระดับอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยชื่อดังของอเมริกา ทั้งหมด 13 คนมาเข้าแข่งขันกัน โดยในฤดูกาลนี้ ประชาชนจะสามารถร่วมโหวตให้คะแนน จากการเผยแพร่ภาพถ่ายของผู้เข้าแข่งขันในแต่ละสัปดาห์ ก่อนที่จะรายการจะออกอากาศ และจะคิดออกมาเป็นคะแนนเฉลี่ย ซึ่งในการคัดออกแต่ละครั้ง จะนำคะแนนในส่วนนี้มารวมกับ คะแนนจากทั้งกรรมการ คะแนนจากการแข่งขันประจำสัปดาห์ ซึ่งให้ได้ตั้งแต่ 1-10 โดยเมื่อรวมคะแนนทั้งหมดออกมาแล้ว จะเป็นตัวตัดสินว่า สาวคนไหนจะได้ถูกส่งกลับบ้านในแต่ละสัปดาห์", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 19" }, { "docid": "391196#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17 เป็นฤดูกาลที่ 17 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ได้จะออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554 โดยในฤดูกาลนี้จะเป็นการรวบรวมผู้เข้าแข่งขันจากฤดูกาลต่างๆที่ผ่านมาทั้งหมด ที่มีบุคลิกโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งหมด 14คน มาแข่งขันกัน", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17" }, { "docid": "357935#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 16 เป็นฤดูกาลที่ 16 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 16" }, { "docid": "605534#97", "text": "ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุด และเป็นผู้ชนะที่เป็นผู้ชายคนแรกของประวัติศาสตร์รายการ อเมริกา เน็กซ์ ทอป โมเดล คือ คีธ คาร์ลอส", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 21" }, { "docid": "260729#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 13 (America's Next Top Model, Cycle 13) เป็นฤดูกาลที่ 13 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ทางช่อง CW ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 สำหรับฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขันจำนวนเท่ากับ ฤดูกาลที่ 10 และ 11 โดยมีทั้งสิ้น 14 คน และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สุดยอดนางแบบ หญิงสาวสูง 5 ฟุต 7 นิ้วและเตี้ยกว่านั้น , ความงามอยู่ภายใต้มาตรฐานความสูง เพื่อก้าวสู่ผู้ชนะ 14 สาวต้องพิสูจน์ความงามที่มาในทุกรูปทรง , ขนาดและความสูง สำหรับคำโฆษณาที่ใช้ในฤดูกาลนี้คือ \"'The Lineup Is 5\"7' And Under. Not The Usual Suspects. BOOK 'EM!\" และเพลงที่ใช้สำหรับประกอบตัวอย่างของรายการในฤดูกาลนี้คือเพลง \"Good Girls Go Bad\" ของ Cobra Starship", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 13" }, { "docid": "194331#31", "text": "บรีปฏิเสธที่จะสุงสิงกับสตีฟ-โอ และลิซ่าพยายามเรียกร้องความสนใจด้วยการฉี่ใส่ผ้าอ้อมต่อหน้าทุกคน ในห้องตัดสิน ภาพของนิค คิม และบรี สร้างความประทับใจให้กับกรรมการเป็นอย่างมาก ในขณะที่ภาพของนิโคล กับ เจย์ล่า ไม่สามารถสร้างความประทับใจให้กับกรรมการได้เลย ทำให้พวกเธอต้องกลายเป็นสองคนสุดท้าย และไทร่าทำให้ทุกคนต้องตกตะลึงเมื่อเธอประกาศออกมาว่าสาวๆ ต้องเก็บกระเป๋าและบินไปแข่งกันต่อที่ลอนดอน โดยที่ไม่มีใครต้องตกรอบเลยและนี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของรายการที่ไม่มีใครถูกคัดออกเลย", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5" }, { "docid": "427956#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18 เป็นฤดูกาลที่ 18 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยจะออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555\nโดยในฤดูกาลนี้ จะได้ผู้เข้าแข่งขัน 7คน จาก บริเทน เน็กซ์ ท็อป โมเดล ซึ่งได้แข่งขันในฤดูกาลที่ผ่านมาแล้ว มาร่วมแข่งขันกับ นางแบบหน้าใหม่ของ สหรัฐอเมริกา", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18" }, { "docid": "467054#2", "text": "อเมริกาเน็กซต์ท็อปโมเดล เริ่มฉายในสหราชอาณาจักรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 ทางช่อง ลิวิง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และในปีเดียวกัน บริเตนก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการมาได้สำเร็จ สำหรับฤดูกาลแรกของบริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล นั้นยังได้ออกอากาศพร้อมกับ อเมริกาเน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5 อีกด้วย", "title": "บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล" }, { "docid": "467054#1", "text": "รายการนี้ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ซึ่งจัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทรา แบงส์ โดยเริ่มฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นอกจากนี้หลายๆ ประเทศยังได้ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการไปสร้างและออกอากาศในประเทศนั้น ๆ ด้วย ", "title": "บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล" }, { "docid": "194336#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 จัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทร่า แบงคส์ โดยคำโฆษณาประจำฤดูนี้ก็คือ \"They are all gorgeous, but only one has what it takes\"", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2" }, { "docid": "300471#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14 (America's Next Top Model, Cycle 14) เป็นฤดูกาลที่ 14 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยจะออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ทางช่อง CW ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553 สำหรับคำโฆษณาที่ใช้ในฤดูกาลนี้คือ \"Work It Out\" และเพลงที่ใช้สำหรับประกอบตัวอย่างของรายการในฤดูกาลนี้คือเพลง \"Go Getta\" ของ Stella Mwangi", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 14" }, { "docid": "317581#0", "text": "บราซิลเน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3 เป็นฤดูกาลที่ 3 ของ บราซิลเน็กซต์ท็อปโมเดล, รายการเรียลลิตี้ โชว์ ชื่อดังของบราซิล ดำเนินรายการโดย นางแบบชื่อดังอย่าง เฟอร์นันด้า มอตต้า ซื้อลิขสิทธิ์รายการมาจาก อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล เพื่อค้นหานางแบบแฟชั่นแถวหน้า เริ่มทำการค้นหาในเดือน กรกฎาคม และ สิงหาคม แต่ถูกออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 9 กันยายน 2552", "title": "บราซิลเน็กซ์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3" }, { "docid": "227925#1", "text": "รายการนี้ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ซึ่งจัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทรา แบงส์ โดยเริ่มฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นอกจากนี้หลายๆ ประเทศยังได้ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการไปสร้างและออกอากาศในประเทศนั้นๆ ด้วย ", "title": "นิวซีแลนด์เน็กซ์ท็อปโมเดล" }, { "docid": "467054#3", "text": "ในฤดูกาลที่ 7 ทางรายการได้เปลี่ยนชื่อรายการจาก \"บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล\" มาเป็น \"บริเทนแอนด์ไอร์แลนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล\" เพื่อเปิดกว้างการรับสัมครนางแบบในประเทศไอร์แลนด์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อกลับเป็นเหมือนเดิม แต่ยังคงรับสมัครนางแบบในไอร์แลนด์\nในปี 2555 ผู้เข้าแข่งจากฤดูกาลที่ 2 - 5 ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 18 ในชื่อว่า อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล:บริทิช อินเวชั่น (America's Next Top Model: British Invasion) โดยทั้งหมดจะต้องไปแข่งขันเป็นทีมกับนางแบบชาวอเมริกัน และ โซฟี่ ซัมเนอร์ จากฤดูกาลที่ 5 ได้คว้าตำแฟน่งผู้ชนะเลิศในฤดูกาลดังกล่าวด้วย", "title": "บริเทนส์เน็กซต์ท็อปโมเดล" }, { "docid": "282625#2", "text": "รายการนี้เรียกได้ว่าเป็นอีกสาขาหนึ่งของรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดลเพราะเป็นการจับมือกันระหว่าง CTVglobemedia และ CBS โดยทีมงานผู้จัดส่วนใหญ่ล้วนมาจากรายการ อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ทั้งสิ้น", "title": "แคนาดาเน็กซ์ท็อปโมเดล" }, { "docid": "333259#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 15 เป็นฤดูกาลที่ 15 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553 ในฤดูกาลนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลายอย่าง กับตัวรายการเพื่อเพิ่มความสนใจ และน่าติดตามมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตากล้องชื่อดังที่จะมาถ่ายรูปให้กับผู้เข้าแข่งขันแต่ละสัปดาห์ ดีไซเนอร์ชื่อดังที่จะมาคอยให้คำสอนแก่ผู้เข้าแข่งขันและเป็นกรรมการพิเศษในห้องตัดสินในแต่ละสัปดาห์อีกด้วย รว่มด้วย การทำงานกับนิตยสารชื่อดังระดับโลก Vogue Italia ", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 15" }, { "docid": "813778#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 23 เป็นฤดูกาลที่จะเริ่มออกอากาศในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทางช่อง VH1 ซึ่งได้ถูกนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ถูกยกเลิกการผลิตไปในช่อง The CW ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยในฤดูกาลนี้จะกลับมาผลิตเป็นรูปแบบดั้งเดิมของรายการอีกครั้ง ที่รับสมัครผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้หญิงทั้งหมด โดยจะยกเลิกการสมัครจากผู้ชาย อีกทั้ง ฤดูกาลนี้ยังจะได้ นักร้องและนักแสดงสาวชาวอังกฤษชื่อดัง ริต้า โอรา มาเป็นกรรมการหลักคนใหม่ แทนที่ ไทรา แบงส์ รวมถึง คณะกรรมการยังได้ทำการเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด โดยจะประกอบไปด้วย สุดยอดนางแบบไซส์ใหญ่ แอชลีย์ เกรแฮม, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จากนิตยสาร เปเปอร์ แม็กกาซีน ดรูว์ เอลเลียต และสไตลิสต์ชื่อดัง ลอว์ โรช แทนที่กรรมการชุดเก่าคือ เคลลี่ ครูโทน และผู้ฝึกสอนการเดินแบบ มิส เจ.อเล็กซานเดอร์ โดย ไทร่า จะยังคงทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการผลิต อยู่เช่นเดิม", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 23" }, { "docid": "194337#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล (หรือที่รู้จักกันในชื่อ America's Next Top Model, Cycle 1) รายการเรียลลิตี้ที่จัดทำโดยสุดยอดนางแบบและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ไทร่า แบงส์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ \"ค้นหาสุดยอดนางแบบเพียงหนึ่งเดียว\"", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 1" }, { "docid": "903745#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 24 เป็นฤดูกาลล่าสุด ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561 และเป็นฤดูกาลที่สอง ที่จะออกอากาศ ทางช่อง VH1 โดยในฤดูกาลนี้จะยังคงรับสมัครเฉพาะผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้หญิงทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลนี้จะเป็นครั้งแรก ที่ไม่จำกัดอายุในการรับสมัครของผู้เข้าแข่งขัน ไทรา แบงส์ จะกลับมาทำหน้าที่เป็นกรรมการหลักและพิธีกรให้กับฤดูกาลนี้อีกครั้ง หลังจากที่ฤดูกาลที่แล้ว เป็นนักร้องสาวชื่อดัง ริต้า โอรา ในขณะที่คณะกรรมการจะยังคงประกอบไปด้วย สุดยอดนางแบบไซส์ใหญ่ แอชลีย์ เกรแฮม, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จากนิตยสาร เปเปอร์ แม็กกาซีน ดรูว์ เอลเลียต และสไตลิสต์ชื่อดัง ลอว์ โรช อยู่เช่นเดิม", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 24" }, { "docid": "667426#0", "text": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3 เป็นฤดูกาลที่ 3 ของ เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ที่ต้องการค้นหาสุดยอดนางแบบ เพื่อทำงานในวงการนางแบบ ในระดับมืออาชีพ โดยผู้ที่เข้าแข่งขัน จะต้องมีเชื้อสายของเอเชียเท่านั้น โดยส่วนมากจะมากจากเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ซึ่งในฤดูกาลนี้จะถ่ายทำรายการ ใน ประเทศสิงคโปร์ เริ่มออกอากาศวันที่ 25 มีนาคม 2558 เป็นวันแรก", "title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3" }, { "docid": "517406#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 20 (หนุ่มหล่อ&สาวสวย) เป็นฤดูกาลที่ 20 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล โดยในฤดูกาลนี้ จะเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์รายการ ทีมีผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ชาย ร่วมเข้าแข่งขันในรายการด้วย ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่ม ออกอากาศในเดือนสิงหาคม ของ ปี 2556 โดยคณะกรรมการยังประกอบไปด้วย ไทรา แบงส์, เคลลี่ ครูโทน, ร็อบ อีวานส์ และ ไบรอันบอย เหมือนเดิม โดยที่ประชาชนยังสามารถโหวตให้คะแนนผู้เข้าแข่งขัน ได้เหมือนในฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการคัดออกในแต่ละสัปดาห์ได้เหมือนเดิม", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 20" }, { "docid": "213988#0", "text": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12 (America's Next Top Model, Cycle 12) เป็นฤดูกาลที่ 12 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ทางช่อง CW ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 หลังจากที่ 2 ฤดูกาลก่อนหน้านี้ได้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 14 ในฤดูกาลนั้จึงกลับมาเป็น 13 คนในแบบฤดูกาลก่อนๆมา ในรอบ 6 คนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ ได้ไปแข่งขันต่อที่ เมืองเซาเปาลู ประเทศบราซิล", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12" } ]
3951
เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ เสียชีวิตเมื่อไหร่?
[ { "docid": "289359#0", "text": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ (Lao: ເຈົ້າບຸນອຸ້ມ ນະ ຈຳປາສັກ; ประสูติ: 12 ธันวาคม พ.ศ. 2454 – สิ้นพระชนม์: 17 มีนาคม พ.ศ. 2523) หรือ เสด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 13 (พระองค์สุดท้าย) ทรงประสูติในราชวงศ์จำปาศักดิ์และสืบพระราชสันตติวงศ์มาจากสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาราชอาณาจักรจำปาศักดิ์และพระมหากษัตริย์แห่งนครจำปาศักดิ์พระองค์แรกของลาว เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว 2 สมัย อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรลาว และประมุขแห่งราชสกุล ณ จำปาศักดิ์ และสกุล จำปา ทรงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางการเมืองลาวในฐานะลาวฝ่ายขวาหลังได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยพระราชอาณาจักรลาวในปี พ.ศ. 2518 ทรงได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวลาวในฐานะที่เป็นผู้ยอมสละราชบัลลังก์พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ เพื่อให้ประเทศลาวรวมเป็นแผ่นดินเดียวกัน และทรงดำรงพระอิสริยยศแห่งราชวงศ์สูงเป็นลำดับที่ 3 ของพระราชอาณาจักร รองจากพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตและสมเด็จเจ้าฟ้าองค์มกุฎราชกุมาร", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" } ]
[ { "docid": "289359#8", "text": "เสด็จเจ้าบุญอุ้ม จะทรงรักษาไว้ซึ่ง ฐานันดรศักดิ์ ด้วยการสืบทอดเชื้อสายโดยตรง ทางเพศชาย นามยศเจ้านครจำปาศักดิ์ ตำแหน่งและอภิสิทธิ์ต่างๆ ของเจ้านครจำปาศักดิ์ จะเป็นอันดับรองโดยตรงจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตและองค์มกุฎราชกุมาร เสด็จเจ้านครจำปาศักดิ์ จะทรงได้รับ ค่าใช้จ่ายเพื่อบริหารงาน และการอำนวยความสะดวกประจำปี จากงบประมาณแห่งพระราชอาณาจักรลาว เท่ากับ 2/3 ของพระราชวังฯ เสด็จเจ้านครจำปาศักดิ์จะทรงได้รับอสังหาริมทรัพย์ ที่ประทับ ไฟฟ้า รถยนต์ประจำตำแหน่ง ตลอดทั้งคนขับ เสด็จเจ้านครจำปาศักดิ์โดยตำแหน่ง ทรงเป็นองค์ตรวจราชการเมืองการปกครองต่างพระเนตร-พระกรรณ พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต โดยตำแหน่งนี้ จะทรงขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต เพื่อการรวมลาวเป็นหนึ่งเดียว เสด็จเจ้านครจำปาศักดิ์ จะทรงไม่ยอมรับที่จะขึ้นครองราชอาณาจักรจำปาศักดิ์[5]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#31", "text": "ต่อมา ใน พ.ศ. 2490 หลังจากฝรั่งเศสแต่งตั้งให้เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ เป็นผู้สำเร็จราชการการเมืองการปกครองต่างพระเนตรพระกรรณในพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักลาว และภายหลังการสถาปนาราชอาณาจักรลาวซึ่งได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว เจ้าบุญอุ้มไม่พอพระทัยและไม่ปรารถนาที่จะให้ราชสกุลของพระองค์เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม ตามความต้องการของพระปิตุลาทั้ง 2 พระองค์ เจ้าบุญอุ้มจึงมีความดำริที่จะใช้ราชสกุลให้แตกต่างจากสกุลพระราชทานของกษัตริย์สยาม โดยอาศัยพระราชนิยมเดิมจากสกุล ณ จัมปาศักดิ์ เป็นเหตุให้พระองค์ทรงตั้งราชสกุล ณ จำปาศักดิ์ (Na Champassak) ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นราชสกุลของพระองค์เองในฐานะประมุขสูงสุดของราชวงศ์จำปาศักดิ์ และสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จำปาศักดิ์ทั้งหมด ซึ่งมีพระประสูติกาลและประทับอยู่ในพระราชอาณาจักรลาวและนครจำปาศักดิ์", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#35", "text": "หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีลาว หมวดหมู่:พระบรมวงศานุวงศ์ลาว หมวดหมู่:บุคคลจากแขวงจำปาศักดิ์ หมวดหมู่:สกุล ณ จำปาศักดิ์ หมวดหมู่ : สกุล จำปา", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "572345#4", "text": "ช่วงปี พ.ศ. 2484 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน ประเทศไทยได้รับดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสบางส่วนคืนจากฝรั่งเศส โดยนำท้องที่การปกครองเมืองจำปาศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมไปถึงดินแดนประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ได้แก่พื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสตึงแตรงและพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพระวิหาร ยกขึ้นเป็นจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ โดยมีเจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) เป็นผู้ครองนคร แต่เมื่อสงครามสิ้นสุด ไทยในฐานะผู้แพ้สงครามต้องส่งดินแดนดังกล่าวคืนให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2497 จึงได้รวมอาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 อาณาจักรขึ้นเป็นราชอาณาจักรลาว พื้นที่ดังกล่าวจึงได้ยกขึ้นเป็นแขวงจำปาศักดิ์ของประเทศลาวมาจนถึงปัจจุบัน โดยเจ้าครองนครองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ ก่อนการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์", "title": "แขวงจำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#11", "text": "(ลงพระนาม) ศรีสว่างวงษ์[6]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#2", "text": "สภาวะความวุ่นวายทางการเมืองของลาวหลังได้รับเอกราช ทำให้ลาวแบ่งขั้วทางการเมืองออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ลาวฝ่ายขวาซึ่งนิยมสหรัฐอเมริกา ลาวฝ่ายซ้ายซึ่งนิยมเวียดนาม และยังมีฝ่ายเป็นกลางที่พยายามประนีประนอมระหว่างสองฝ่ายข้างต้น เจ้าบุญอุ้มทรงเป็นหนึ่งในสามเจ้าลาวที่มีบทบาทในฐานะลาวฝ่ายขวา เมื่อเจ้าสุวรรณภูมาพยายามดำเนินนโยบายเป็นกลางใน พ.ศ. 2493 และสามารถเจรจากับลาวฝ่ายซ้ายคือฝ่ายของเจ้าสุพานุวงสำเร็จแล้ว เจ้าบุญอุ้มซึ่งมีไทยและสหรัฐอเมริกาหนุนหลังได้ทรงคัดค้านอย่างแข็งขัน ทำให้รัฐบาลของเจ้าสุวรรณภูมาถูกกดดันจนต้องล้มไป", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#26", "text": "(เจ้าบุนอุ้ม นะ จำปาสัก) วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เวียงจันทน์, ประเทศลาว", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#16", "text": "ข้าพเจ้าขอขอบใจต่อรัฐบาลฝรั่งเศส ที่ได้ตัดสินใจเปิดเผยสัญญาที่ได้ถือกันเป็นความลับ ให้บรรดาท่านได้ทราบ ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณต่อพระเจ้ามหาชีวิต ที่ได้ทรงเห็นชอบร่วมกันอันเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าต้องได้รับความเจ็บปวด จากความไม่เข้าใจที่เกิดจากเอกสารลับ ที่ได้ร่างขึ้นอย่างกะทันหัน", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#10", "text": "\"...ท่านวอนเคารพในการตรวจสอบ และขอร้องแก่เรา เพื่อที่จะทราบความรู้สึกของเรานั้น เราขอแสดงว่า การให้คำค้ำประกันในทางส่วนตัวอันเกี่ยวข้องทางตำแหน่งเจ้าราชวงษ์ ณ จำปาศักดิ์นั้นซึ่งเป็นที่ยอมรับรู้ในโพรโทคอล ผนวกท้ายสัญญาโมดัสวิวังดี ยังคงใช้ได้แน่นอน เราเสียดายเพียงแต่ในระยะเวลาที่ประเทศลาวได้ถูกปลดปล่อยในสถาบันประชาธิปไตยเช่นนี้ ซึ่งในฐานันดรศักดิ์ของเจ้าของเรา จะต้องลดลงมาอยู่ภายใต้เสียงโหวตของประชาชน ตามบันทึกข้อตกลงในโพรโทคอลเกี่ยวกับตัวท่าน... ฝ่าพระบาท เรายอมรับนับถือในความเสียสละของท่าน และความเที่ยงธรรมของท่าน ในการช่วยอุ้มชู และเสริมสร้างความคิดเห็นให้แก่ประเทศชาติ เราขอแสดงความรู้สึกอันจริงใจความรักแบบความเคารพอย่างสูงมายังฝ่าพระบาท", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#3", "text": "พ.ศ. 2497 ท้าวกระต่าย โดนสโสฤทธิ์ ผู้ที่ได้รับใช้ฝรั่งเศสมาอย่างซื่อสัตย์ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ท้าวกระต่ายผู้นี้ เป็นผู้ที่วอชิงตันได้เลือกสรรมาแล้วว่าจะเป็นผู้ทำทุกอย่างในการขัดขวางไม่ให้มีการตั้งรัฐบาลผสม และภรรยาคนที่ 2 ของท้าวกระต่ายก็เป็นพระขนิษฐาของเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ สหรัฐอเมริกาจึงเล็งว่า ควรจะผลักดันให้เจ้าบุญอุ้มได้เป็นพระเจ้ามหาชีวิตองค์ต่อไปแทนพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ที่กำลังประชวรอยู่ [2] ต่อมา ใน พ.ศ. 2502 ท้าวโง่น ชนะนิกรได้ขึ้นมาจัดตั้งรัฐบาลแทน จากนั้น นายพลพูมี หน่อสะหวันจึงเข้ายึดอำนาจการปกครองในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2502 ต่อมา ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2503 ร้อยเอกกองแล วีระสานก็เข้ายึดอำนาจในกรุงเวียงจันทน์ และสนับสนุนให้เจ้าสุวรรณภูมากลับมาจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง เจ้าบุญอุ้มทรงคัดค้านและไม่ยอมเจรจากับร้อยเอกกองแล", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#21", "text": "ขอเดชะพระบารมี ควรมิควรสุดแล้วแต่จะโปรด เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ...\" [9]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#6", "text": "ต่อมา เมื่อสหรัฐได้นำเจ้าบุญอุ้มเข้าร่วมการประชุมเจนีวาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2504 การเจรจาได้ยืดเยื้อจนถึง พ.ศ. 2505 ในที่สุด ที่ประชุมยอมให้เจ้าสุวรรณภูมาเป็นผู้นำของลาว บทบาททางการเมืองของเจ้าบุญอุ้มจึงลดลง หลังจากนั้น ฝ่ายขบวนการปะเทดลาวสามารถรุกคืบหน้าจนได้ชัยชนะใน พ.ศ. 2518 ส่วนเจ้าบุญอุ้มได้เสด็จลี้ภัยออกนอกประเทศ ทรงประทับและสิ้นพระชนม์ที่ฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2523[4]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#5", "text": "หลังจากกองแลยึดอำนาจที่กรุงเวียงจันทน์แล้ว ทำให้ไทยและสหรัฐอเมริกาเข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในลาว ไทยและสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนฝ่ายนายพลพูมี หน่อสะหวัน ซึ่งพยายามสร้างกองกำลังของตนเองที่แขวงสุวรรณเขต ทางตอนกลางของลาว ไทยได้เปิดโอกาสให้สหรัฐตั้งฐานทัพภายในประเทศเพื่อสะสมกองกำลังทิ้งระเบิดในลาว อันนำมาซึ่งความโกรธแค้นของลาวที่มีต่อไทยและสหรัฐอเมริกาอย่างมาก ฝ่ายเจ้าสุวรรณภูมาทรงพยายามเจรจากับฝ่ายปะเทดลาวเพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสม สหรัฐพยายามกดดันให้เจ้าสุวรรณภูมาเปิดการเจรจากับนายพลพูมี หน่อสะหวัน จนทำให้เจ้าสุวรรณภูมาต้องเสด็จลี้ภัยไปประเทศกัมพูชา เมื่อ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2503 ฝ่ายร้อยเอกกองแลหันไปร่วมมือกับขบวนการปะเทดลาว ต่อมา พ.ศ. 2504 จึงได้มีจัดตั้งรัฐบาลลาวฝ่ายขวา โดยมีเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์เป็นผู้นำ ทำให้สงครามกลางเมืองในลาวขยายตัวมากยิ่งขึ้น", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#14", "text": "ข้าพเจ้ายอมรับฐานันดรศักดิ์ \"เจ้านครจำปาศักดิ์\" ก็เนื่องด้วยข้าพเจ้ามั่นใจว่ามันเป็นการถูกต้อง เป็นธรรม ในบรรยากาศของประเทศลาวใหม่ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่นามสกุลของครอบครัวข้าพเจ้า จะไม่ถูกลบล้างจากความทรงจำ พรหมลิขิตไม่เข้าข้างอาณาจักรจำปาศักดิ์เสียแล้ว และมันก็เป็นความประสงค์ของพวกเราทุกคน ที่จะไม่ยกมันขึ้นมาอีก", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "749826#0", "text": "วังจำปาศักดิ์ อยู่ที่ปากเซ ประเทศลาว เคยเป็นที่พำนักของเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ สร้างขึ้นเพื่อเจ้าบุญอุ้มโดยเฉพาะ แต่เจ้าบุญอุ้มจำต้องละทิ้งวังนี้ไปในปี 1974 ก่อนที่วังจะสร้างเสร็จ เพราะพรรคสังคมนิยมชื่อ \"ประเทศลาว\" ยึดอำนาจพระมหากษัตริย์ได้ วังนี้สร้างสำเร็จบริบูรณ์ภายหลังการปฏิวัติ จึงได้ใช้เป็นที่ประชุมของพรรค และเป็นที่รับรองแขกผู้ทรงเกียรติ ครั้นปี 1995 บรรษัทไทยแห่งหนึ่งเปิดวังนี้เป็นโรงแรม หลังเจรจากับรัฐบาลลาวเป็นผลสำเร็จ", "title": "วังจำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#33", "text": "ราชสกุลของพระองค์ทรงใช้คำว่า จำปา เป็นคำนำหน้าซึ่งเป็นการเขียนแบบภาษาลาว ส่วนราชสกุลที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ของสยามนั้นใช้คำว่า จัมปา (จมฺปา) ซึ่งมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต คำว่า ศักดิ์/สัก ของนามราชสกุลในรูปอักษรโรมันนั้น เจ้าบุญอุ้มทรงสะกดว่า sak ตามเสียงภาษาลาวตรงตัว แต่นามราชสกุลที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 แห่งสยามนั้นใช้คำว่า sakdi ตามรากศัพท์ภาษาสันสกฤต ศกฺติ", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#18", "text": "หลังจากเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ ถูกลดสถานะความเป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์แล้ว พระองค์ทรงดำรงบทบาทในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองลาวด้วย ในเอกสารหน่วยผสม 333. เรื่อง 700 ปีแห่งมรสุมในพระราชอาณาจักรลาว ของคณะกรรมการป้องกันการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ ได้เผยแพร่พระราชสาส์นของสมเด็จเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ ฉบับแปลเป็นภาษาไทย (ลับมาก) ได้กราบทูลไปถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งพระราชอาณาจักรลาว มีความว่า[8]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#12", "text": "นครจำปาศักดิ์และหัวเมืองอันรวมเป็นราชอาณาจักรล้านช้างของชาวลาวตอนใต้ ได้พบกับมรสุมทางการเมืองจากหลายฝ่ายทั้งสยามและฝรั่งเศส จนกระทั่งวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1948 กองประชุมสภาร่วมได้เสนอให้เสด็จเจ้าบุญอุ้มดำรงตำแหน่งประธานสภาร่วม พระองค์ทรงกล่าวคำปราศรัย ณ ที่ประชุม ในคำปราศรัยนั้นเต็มไปด้วยความรู้สึกสูญเสีย ความคับแค้นใจ ความไม่พึงพอใจที่พระองค์ถูกลดฐานะบทบาทในการที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ ซึ่งบรรพบุรุษของพระองค์ได้สถาปนามายาวนานถึง 236 ปี ให้กลายเป็นเพียงเจ้าผู้ครองนครและไร้อำนาจเต็มในการจัดการกับเมืองต่างๆ ที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ ดังความว่า", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#25", "text": "เสด็จเจ้าบุนอุ้ม นะ จำปาสัก เจ้านะคอนจำปาสัก ผู้กวดราชการต่างสมเด็จเจ้ามหาชีวิต", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#9", "text": "เมื่อเจ้าบุญอุ้มทรงยอมสละสิทธิ์เหนือดินแดนราชอาณาจักรจำปาศักดิ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรลาวจึงมีพระราชเลขาตอบกลับมา เพื่อแสดงความพอพระทัยและขอบพระทัยในความเสียสละของพระองค์ ดังความว่า", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#22", "text": "เสด็จเจ้าบุญอุ้มได้พระราชทานคำนิยมในหนังสือ ความเป็นมาของลาวหรือเล่าเรื่องชาติลาว ต่อจากคำนิยมของสมเด็จเจ้ามหาอุปราชเพชราช ซึ่งรวบรวมโดย อู่คำ พมวงสา จัดพิมพ์โดยยุวสมาคมแห่งประเทศลาว แล้วได้มอบไว้เป็นสมบัติของหอสมุดกลางจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในหน้า ฌ-ญ ปรากฏคำนิยมของพระองค์ความว่า", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#30", "text": "วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระราชอาณาจักรสยาม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล ณ จัมปาศักดิ์ (Na Champassakdi) ลำดับสกุลพระราชทานที่ 1618 แก่บรรดาพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่แห่งราชวงศ์จำปาศักดิ์ที่เสด็จมาประทับและรับราชการในประเทศไทย ด้วยไม่ปรารถนาจะเป็นข้าราชการของอินโดจีนฝรั่งเศส 2 พระองค์ คือ เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบงหรือเจ้าเบ็งคำ) ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายอำเภอเมืองพิษณุโลก ปลัดเมืองแพร่ และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ (เจ้าอุยหรือเจ้าอุ้ย) อภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งพระราชอาณาจักรลาว ณ นครเวียงจันทน์ อดีตข้าราชการกระทรวงมหาดไทยในพระราชอาณาจักรสยาม เจ้านายทั้ง 2 พระองค์นี้ทรงเป็นพระราชโอรสในยั้งขะหม่อมสมเด็จเจ้ายุติธรรมธร (เจ้าคำสุกหรือเจ้าคำศุข) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 11 และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จเจ้าย่ำขะหม่อมปาศักดิ์ (ฮุย) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 7 นอกจากนี้ ทั้ง 2 พระองค์ยังทรงเป็นพระปิตุลา (อา) ของเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ อีกด้วย", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#4", "text": "10 กันยายน พ.ศ. 2503 พูมี หน่อสะหวันได้ประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรลาว และประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ขณะเดียวกันก็ได้จัดตั้งคณะปฏิวัติตามแบบอย่างของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ผู้เป็นน้า โดยให้เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ เป็นหัวหน้าคณะ นิตยสารไทม์ของอเมริกันได้เคยชมเชยเจ้าบุญอุ้มไว้ว่าเป็นแบบฉบับของผู้ชายเจ้าสำราญของลาวโดยแท้ พระองค์ทรงมีของโปรดอยู่ 3 อย่างคือ เงิน เหล้า และผู้หญิง ดังนั้นเมื่อเจ้าบุญอุ้มได้มาเป็นผู้นำคณะปฏิวัติก็เป็นเรื่องขบขันกันทั่วทั้งเวียงจันทน์ เหตุที่เจ้าบุญอุ้มและพูมีไม่พอใจรัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมาและทำรัฐประหารซ้อนล้มรัฐบาลนั้น พูมีอ้างว่าเพราะรัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมาไม่สามารถรักษาสถานการณ์ได้ ทรงปล่อยให้เวียดมินห์บุกรุกราชอาณาจักรลาวทางด้านแขวงพงสาลี ซำเหนือ และเชียงขวาง แต่ข้อเท็จจริงนั้นเป็นเพราะพูมีไม่พอใจในนโยบายเป็นกลางและสันติของเจ้าสุวรรณภูมา ซึ่งมีกีนิม พลเสนา ผลักดันอยู่เบื้องหลัง และเพราะในการดำเนินนโยบายเป็นกลางในสายตาของพูมีที่สวมแว่นอเมริกันเห็นว่า เป็นการเปิดโอกาสให้คอมมิวนิสต์และแนวลาวรักชาติมีอำนาจมากขึ้น พูมีจึงพยายามที่จะเอาชนะทางการทหารเพื่อใช้ต่อรองทางการเมือง แต่ก็ไม่อาจทำได้สำเร็จ [3]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#29", "text": "หลังการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ ใน ค.ศ.1975 (พ.ศ. 2518) ทำให้พระราชวังของเจ้าบุญอุ้มอยู่ในความดูแลของรัฐบาล ส่วนพระองค์เองทรงเสด็จลี้ภัยไปประทับอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ใน ค.ศ.1978 (พ.ศ. 2521) กล่าวกันว่า พระองค์ไม่เคยมีโอกาสประทับอยู่ในพระราชวังแห่งนี้เลย เนื่องจากต้องเสด็จลี้ภัยออกนอกประเทศตั้งแต่ก่อนพระราชวังจะสร้างเสร็จ พระราชวังแห่งนี้ถูกก่อสร้างทิ้งค้างไว้ไม่นาน ทางรัฐบาลลาวจึงปรับปรุงใช้เป็นที่จัดประชุมพรรคและใช้เป็นที่พำนักของแขกบ้านแขกเมืองมาจนถึง พ.ศ. 2538 รัฐบาลลาวจึงเปิดโอกาสให้บริษัทของคนไทยคือ ดร.ปองศักดิ์ ว่องพาณิชเจริญ ชาวจังหวัดศรีสะเกษ จัดการต่อเติมจนเสร็จสิ้น และเปิดเป็นโรงแรมในภายหลัง ปัจจุบันพระราชวังของเจ้าบุญอุ้มได้ถูกดัดแปลงเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งของเมืองปากเซชื่อว่า โฮงแฮมจำปาสักพาเลด หรือโรงแรมจำปาสักพาเลส (Champasak Palace Hotel)[17] บริหารโดยบริษัท จำปาสัก พาเลด โรงแรมและการท่องเที่ยว แต่เดิมผู้ลงทุนชาวไทยเคยเปลี่ยนชื่อโรงแรมแห่งนี้เป็นพระราชวังจำปาสักตามคำแปลเดิม โดยไม่ได้รอการอนุญาตจากทางการ ต่อมาทางการไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อนี้ เนื่องจากเป็นชื่อที่สนับสนุนแนวคิดในระบอบการปกครองเดิม จึงได้เปลี่ยนกลับมาเป็นชื่อจำปาสักพาเลดตามเดิม ต่อมาโรงแรมได้ถูกสัมปทานให้กับชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม[18] ปัจจุบัน ภายในห้องล็อบบี้ของโรงแรมกรุด้วยไม้และมีการแกะสลักอย่างงดงาม ห้องประชุมตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปชาวลาวลุ่มและชาวเผ่าต่าง ๆ ของลาวใต้[19] และมีจำนวนห้องพักทั้งหมด 115 ห้อง", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#1", "text": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2454 ภายในพระราชวังหรือหอโฮงหลวงนครจำปาศักดิ์ ณ ดอนท่าลาด แขวงนครจำปาศักดิ์ เมื่อครั้งลาวยังตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสในเจ้ายั้งขะหม่อมสมเด็จเจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 12 (ระหว่าง พ.ศ. 2436 – 2489) และพระอัครชายาเจ้าเฮือนหญิงสุดสมร เป็นพระราชนัดดาในเจ้ายั้งขะหม่อมสมเด็จเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์พระองค์ที่ 11 ทรงมีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา 2 พระองค์คือ เจ้าสมบูรณ์ ณ จำปาศักดิ์ และเจ้าบุญอ้อม ณ จำปาศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาวในรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว ทรงสำเร็จการศึกษาจากสำนักการศึกษาอินโดจีนฝรั่งเศส ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม [1] ใน พ.ศ. 2484 เมื่อนครจำปาศักดิ์กลับมาเป็นของไทยหลังกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้คืนนครจำปาศักดิ์กลับไปแก่ไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้สถาปนาให้เจ้าบุญอุ้มเป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ เมื่อลาวได้รับเอกราชจำปาศักดิ์จึงถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของลาว เจ้าบุญอุ้มจึงสละสิทธิ์การเป็นกษัตริย์เหนือดินแดนดังกล่าว", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#34", "text": "อย่างไรก็ตาม เจ้านายในจำปาศักดิ์บางองค์ที่ประทับอยู่ในพระราชอาณาจักรลาวและนครจำปาศักดิ์ ยังมีการใช้ราชสกุลที่รับพระราชทานจากพระองค์ว่า ณ จำปาศักดิ์ หรือ นะจำปาสัก (ນະຈຳປາສັກ) หรือ นะ จำปาสัก (ນະ ຈຳປາສັກ) และ นะจำปาสักดิ (ນະຈຳປາສັກດິ) ก็มี ราชสกุลที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการเขียนตามแบบอย่างภาษาลาวตามความเข้าใจของเจ้านายจำปาศักดิ์บางพระองค์ เนื่องจากในชั้นต้นนั้นภาษาลาวในฝ่ายอาณาจักรไม่นิยมใช้ ดิ์ และนิยมเขียนตามคำอ่านคล้ายการสะกดคำพื้นฐานของภาษาไทย ส่วนนามสกุลที่มีความเกี่ยวข้องกับราชสกุล ณ จัมปาศักดิ์ มีหลายสกุล สันนิษฐานว่า ราชสกุล ณ จัมปาศักดิ์ เป็นต้นนามสกุลต้นแบบของสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า \"จำปา\" ทั้งหมด แต่มิได้ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าสืบทอดมาจากราชสกุลนี้[20]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "63740#3", "text": "พระองค์มีบทบาทในทางการเมืองลาวเป็นอย่างมากและมีความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพของลาวไว้หลังจากที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองลาวอันสืบเนื่องมาจากการประชุมเจนีวา ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งได้รับรองความเป็นเอกราชของลาวอย่างสมบูรณ์ แต่ไม่ได้ตั้งเงื่อนไขว่าผู้ใดจะได้ปกครองลาว โดยมี \"3 ฝ่ายเจ้า\" นั้นคือ เจ้าสุวรรณภูมา ผู้ซึ่งประทับในกรุงเวียงจันทน์ ที่ประกาศพระองค์เป็นกลางและได้รับการสนับสนุนโดย สหภาพโซเวียต, เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ ซึ่งมีอิทธิพลและอำนาจในลาวใต้และเป็นฝ่ายขวาหนุนสหรัฐอเมริกา และ เจ้าสุภานุวงศ์ ผู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายคอมมิวนิสต์และอยู่ในเขตลาวเหนือ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งไปมากกว่านี้ ทั้งเจ้าสุวรรณภูมาและเจ้าบุญอุ้มนี้ ได้ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรี \"ที่ถูกต้อง\" และทั้งสองฝ่ายได้จัดการเรื่องนี้ผ่านทางพระเจ้ามหาชีวิต", "title": "สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา" }, { "docid": "289359#27", "text": "หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยได้คืนดินแดนจำปาศักดิ์ที่ได้มาเมื่อปี พ.ศ. 2484 ให้แก่ฝรั่งเศส แต่ลาวต้องกลับไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสตามเดิม เจ้าบุญอุ้มผู้เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของเจ้านครจำปาศักดิ์พระองค์ก่อน ได้รับการตอบแทนจากฝรั่งเศสอย่างมหาศาล ด้วยการสถาปนาให้เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ และมีฐานที่มั่นทางการเมืองอยู่ ณ เมืองปากเซทางตอนใต้ของลาว พระองค์จึงมีโอกาสและช่องทางแสวงหาทรัพย์สินจำนวนมาก โดยเฉพาะผลกำไรจากกิจการเหมืองแร่และกิจการค้าอาวุธกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ ตลอดจนงบประมาณประจำปีจำนวนมากที่รัฐบาลต้องจ่ายให้ตามสัญญาต่อท้าย เมื่อพระองค์ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาที่เมืองปากเซ ในปี พ.ศ. 2511 พระองค์ก็ทรงสร้างพระราชวังอันหรูหราและใหญ่โตขึ้นที่บ้านพระบาท[10] บนเนินสูงใจกลางเมืองปากเซ เพื่อใช้เป็นที่ประทับของพระองค์ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ และใช้เป็นสถานที่ว่าราชการเมือง ห่างจากตัวเมืองปากเซไปทางทิศตะวันออกบนทางหลวงหมายเลข 13 ระยะทางประมาณ 500 เมตร ใกล้กับวัดพระบาท ราว 0.2 กิโลเมตร และใกล้กับพิพิธภัณฑ์มรดกทางประวัติศาสตร์จำปาศักดิ์ ราว 0.8 กิโลเมตร[11]", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" }, { "docid": "289359#7", "text": "หลังจากฝรั่งเศสได้ยึดจำปาศักดิ์จากสยามและยินยอมให้ลาวประกาศเอกราชแล้ว ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสได้บังคับพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตแห่งพระราชอาณาจักรลาว ให้มีความเห็นร่วมในการลดฐานะความเป็นเจ้าของเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ ในการที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ ให้กลายเป็นเพียงเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์คอยตรวจราชการต่างพระเนตรพระกรรณ และเป็นประมุขแห่งราชสกุลเท่านั้น จากการเห็นชอบโดยรวมระหว่าง 2 ฝ่าย ได้ลงมติว่าฐานะของเสด็จเจ้าบุญอุ้ม จะต้องเป็นไปตามสัญญาต่อท้าย (Protocole secret annexe au Modus Vivendi) ลงวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1946 ดังนี้", "title": "เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์" } ]
3952
ใครคือกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่ง อาณาจักรอยุธยา?
[ { "docid": "42761#0", "text": "สมเด็จพระบรมราชา (ที่ 3) หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 33 และเป็นรัชกาลสุดท้ายแห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2301-2310", "title": "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" } ]
[ { "docid": "907071#0", "text": "พระนางสิริมายาเทวี (, ; ? – 28 มกราคม 1368) หรือในวรรณคดีเรื่อง ราชาธิราช เรียก นางมุเตียว พระมเหสีองค์สุดท้ายใน พระยาอู่ กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี และเป็นพระราชมารดาของ พระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 9", "title": "พระนางสิริมายาเทวี" }, { "docid": "2358#15", "text": "ช่วง 50 ปีสุดท้ายของราชอาณาจักรมีการสู้รบอันนองเลือดระหว่างเจ้านาย โดยมีพระราชบัลลังก์เป็นเป้าหมายหลัก เกิดการกวาดล้างข้าราชสำนักและแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถตามมา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้าย บังคับให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร พระอนุชา ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ขณะนั้น สละราชสมบัติและขึ้นครองราชย์แทน", "title": "อาณาจักรอยุธยา" }, { "docid": "517263#0", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย (, \"Petar I Karađorđević\") (พระบรมราชสมภพ 29 มิถุนายน 1844 - เสด็จสวรรคต 16 สิงหาคม 1921) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของประเทศเซอร์เบีย 1903-1918 และต่อมาผู้ปกครองของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ในปี 1929) จึงให้รวมอาณาจักรเข้าด้วยกัน ภายใต้พระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน พระองค์จึงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย พระองค์ทรงเป็นผู้นำกองทัพเซอร์เบียรบชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง", "title": "สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย" }, { "docid": "218240#0", "text": "ฉือ จ้งกุ้ย (; 914–947) ในเอกสารทางประวัติศาสตร์เรียก พระเจ้าสิ้นบัลลังก์แห่งจิ้นยุคหลัง (後晉出帝) หรือ ยุวกษัตริย์แห่งจิ้นยุคหลัง (後晉少帝) และเมื่อตายแล้วได้บรรดาศักดิ์ว่า องค์ชายจิ้น (晉王) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนช่วงห้าราชวงศ์สิบอาณาจักรจากราชวงศ์จิ้นยุคหลัง เป็นกษัตริย์องค์ที่สองและองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ดังกล่าว", "title": "ฉือ จ้งกุ้ย" }, { "docid": "292592#0", "text": "คิมยูชิน (, 595-673 เดือน 9) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 595เป็นลูกของคิมซอฮย็อน และ มานมยอง ปู่ทวดของเขาคือ คิมแฮ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรคายา ส่วนมานมยองแม่ของเขาก็เป็นถึงลูกสาวของซุกฮึลจงน้องชายของกษัตริย์จินฮึง การที่มานมยอง ลูกสาวของ ซุกฮึลจง ซึ่งถือเป็นเชื้อสายกษัตริย์ของอาณาจักรชิลลามาแต่งงานกับคิมซอฮย็อนเลือดเนื้อเชื้อไขของกษัตริย์แห่งอาณาจักรคายา ภายหลังได้ก้าวขึ้นสู่ผู้มีอำนาจทางการทหารสูงสุดของอาณาจักรชิลลาและเป็นแม่ทัพผู้มีบทบาทสำคัญในการรวบรวมแผ่นดินเกาหลีของอาณาจักรชิลลาในรัชสมัย พระเจ้ามูยอล และ พระเจ้ามุนมู", "title": "คิม ยูชิน" }, { "docid": "881010#0", "text": "องค์ชายโก อันซึง (Go Anseung , 668 – 683) องค์ชายแห่ง อาณาจักรโคกูรยอ สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นพระราชโอรสหรือพระราชนัดดาของ พระเจ้าโพจัง กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรโคกูรยอ", "title": "อันซึง" }, { "docid": "159863#3", "text": "พระเจ้าพุกามพระองค์สุดท้ายคือพระเจ้านรสีหบดี สร้างเจดีย์องค์สุดท้ายแห่งพุกามเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1819 และเมื่อสร้างเจดีย์องค์นี้เสร็จ ได้มีผู้ทำนายว่าอาณาจักรพุกามจะถึงกาลอวสาน ซึ่งต่อมาก็เป็นจริงดังนั้น เมื่อกองทัพราชวงศ์หยวนยกทัพเข้ามาบุกในปี พ.ศ. 1827 และอาณาจักรพุกามถึงคราวล่มสลายในปี พ.ศ. 1830 รวมระยะเวลาแล้ว 243 ปี มีกษัตริย์อยู่ทั้งหมดทั้งสิ้น 11 พระองค์", "title": "อาณาจักรพุกาม" }, { "docid": "537713#6", "text": "รัชสมัยพญาครานเมือง (หรือ การเมือง หรือ กรานเมือง) ได้ทำการย้ายเมืองหลวงลงมายังภูเพียงแช่แห้ง เมื่อปี พ.ศ. 1902 ด้วยมีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถติดต่อค้าขายกับเมืองทางใต้ได้สะดวกกว่าเมืองหลวงเก่า และได้ทรงสร้างพระธาตุแช่แห้ง เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างศูนย์รวมจิตใจแก่ทวยราษฎร์[6] หลังได้รับพระธาตุและพระพิมพ์มาจากอาณาจักรสุโขทัย[7] ที่เป็นรัฐเครือญาติ[15] แต่ความสัมพันธ์อันดีดังกล่าวสร้างความไม่ชอบใจแก่อาณาจักรอยุธยานัก ที่ช่วงเวลานั้นอยุธยาพยายามขยายอำนาจสู่สุโขทัย พญาครานเมืองจึงถูกกษัตริย์อยุธยาลอบวางยาพิษจนสิ้นพระชนม์ทันที และยิ่งทวีความร้าวฉานเมื่อพญาผาคอง (หรือ ผากองผู้หลาน) ส่งทัพไปช่วยพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย รบกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา[16] แต่ผลคือทัพน่านที่ยกไปช่วยนั้นแตก และถูกกรุงศรีอยุธยาจับเป็นเชลยอันมาก[17] และท้าวคำตัน รัชกาลถัดมา ก็ถูกกรุงศรีอยุธยาลอบปลงพระชนม์อีกครั้งโดยใส่ยาพิษในน้ำอาบองค์สรงเกศ[16]", "title": "นครรัฐน่าน" }, { "docid": "279038#0", "text": "พระเจ้าอึยจา () กษัตริย์องค์ที่ 31 และองค์สุดท้ายแห่ง อาณาจักรแพกเจ เป็นพระราชโอรสองค์โตใน พระเจ้ามู และพระราชินีซอนฮวาซึ่งเป็นองค์หญิงของอาณาจักรชิลลา ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทเมื่อปี พ.ศ. 1175 เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. 1184 พระองค์จึงขึ้นครองราชย์สืบต่อมาพระเจ้าอึยจาครองราชย์ได้ 19 ปีก็สวรรคตในปี พ.ศ. 1203 พร้อมกับการล่มสลายของอาณาจักรแพกเจ", "title": "พระเจ้าอึยจา" }, { "docid": "16870#0", "text": "พระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (คำให้การชาวกรุงเก่า) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัยพระนามว่าเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8[5] เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2246 — พ.ศ. 2251", "title": "สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8" }, { "docid": "148544#12", "text": "บทที 7. นิมิตของดาเนียล ถึงอาณาจักรโลก จากสัตว์สี่ชนิดออกมาจากทะเล สิงโตมีปีก หมีคาบโครงกระดูก เสือดาวมีสี่หัว และสัตว์ปลาดมีเขาสิบเขา และมีผู้บริสุทธิ์ที่บอกแก่ดาเนียลว่า กษัตริย์สี่องค์ของโลกมนุษย์ จะทำศึกสงครามและตั้งอาณาจักรยิ่งใหญ่ของตน และกษัตริย์สุดท้ายจะมีอำนาจและโหดร้ายมากที่สุด และในสุดท้ายพระเจ้าจะเป็นผู้พิพากษา", "title": "หนังสือดาเนียล" }, { "docid": "903515#0", "text": "พระเจ้ามังฆ้องแห่งแปร ( ; ประมาณ 1510s – เมษายน 1553) กษัตริย์องค์ที่ 4 และองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรแปรครองสิริราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 1539 ถึง 1542 พระองค์ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเชษฐาต่างพระมารดา พระเจ้านรปติ เมื่อ ค.ศ. 1539 โดยพระองค์เริ่มเกณฑ์ทหารทั่วอาณาจักรและทำการจ้างทหารต่างชาติเพื่อต้านทานการรุกรานของ อาณาจักรตองอู ", "title": "พระเจ้ามังฆ้องแห่งแปร" }, { "docid": "217966#0", "text": "ซาโลมอน (ศัพท์คริสต์ศาสนา) หรือ โซโลมอน (ศัพท์ประวัติศาสตร์) (ละติน: Solomon; ) มาจากราก S-L-M ที่แปลว่า \"ความสงบ\" ในอิสลามว่า สุลัยมาน หรือตามฉายาคือ ซาโลมอนผู้ทรงปัญญา ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ใช้ในคัมภีร์ฮีบรูคือ เจดิดิอา () ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งอิสราเอล ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูหมวดทานัคของศาสนายูดาห์ คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ และในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กล่าวว่ากษัตริย์ซาโลมอนเป็นบุตรของดาวิด และกล่าวว่าเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของสหราชอาณาจักรอิสราเอลและกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่จะแยกเป็นราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือและราชอาณาจักรยูดาห์ทางใต้ หลังจากการแยกตัวผู้ที่สืบเชื้อสายก็ปกครองแต่เพียงราชอาณาจักรยูดาห์เท่านั้น", "title": "ซาโลมอน" }, { "docid": "51381#0", "text": "ราชวงศ์ปราสาททอง เป็นราชวงศ์ที่ 4 ครองอาณาจักรอยุธยาเป็นเวลา 59 ปี (พ.ศ. 2172 - พ.ศ. 2231) มีชื่อตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ผู้สถาปนาราชวงศ์ด้วยการยึดอำนาจจากสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายในราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททองได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรอยุธยา ราชวงศ์ปราสาททองมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ 4 พระองค์เป็นลำดับดังนี้", "title": "ราชวงศ์ปราสาททอง" }, { "docid": "850862#0", "text": "ฟาโรห์ซิฟต้าห์ เป็นฟาโรห์อียิปต์โบราณผู้ปกครองที่เจ็ดและครั้งสุดท้ายของราชวงศ์ที่ 6 นักวิชาการบางคนอาจจำแนกเป็นกษัตริย์คนแรกของรวม 7 และ 8 ราชวงศ์ได้ ในฐานะกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ 6 ฟาโรห์ซิฟต้าห์ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักมวยอียิปต์ผู้เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของยุคราชอาณาจักร ฟาโรห์ซิพต้าห์มีความสุขในรัชสมัยสั้น ๆ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 22 ก่อนคริสตศักราชในช่วงเวลาที่อำนาจของฟาโรห์กำลังพังทลายลงและชาวนาที่ราบสูงในท้องถิ่นกำลังลุกขึ้น แม้ว่าเขาจะเป็นผู้ชายที่นามว่า ซิพต้าห์ มักเป็นคนเดียวกับผู้ปกครองหญิงในนามว่า นิโตคริส", "title": "ฟาโรห์เนทเจอร์คาเร ซิพทาห์" }, { "docid": "93486#7", "text": "ได้กล่าวถึงกษัตริย์เมืองเพชรบุรีไว้ว่า ปฐมกษัตริย์สยามทรงพระนามว่าพระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร ครองนครไชยบุรี พ.ศ. 1300 สืบราชสันติวงศ์มาสิบชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายทรงพระนามว่าพญาสุนทรเทพมหาเทพราช โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงตั้งชื่อใหม่ว่าธาตุนครหลวง (Tasoo Nocorn Louang) ในปี พ.ศ. 1731 กษัตริย์องค์ที่ 12 สืบต่อมาจากพญาสุนทรฯ ทรงพระนามว่าพระพนมไชยศิริ พระองค์โปรดฯ ให้ราษฎรไปอยู่ ณ เมืองนครไทยทางตอนเหนือของเมืองพิษณุโลก ส่วนพระองค์เองไปสร้างเมืองใหม่ชื่อพิบพลี (Pipeli) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพระมหากษัตริย์สืบต่อมา 4 ชั่วกษัตริย์จนถึงองค์สุดท้ายทรงพระนามว่า รามาธิบดี ได้สร้างเมืองสยามขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1894 จากบันทึกนี้กับตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก เพียงแต่เพี้ยนนามเท่านั้น คือ พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชกับพระพนมไชยศิริ ส่วนองค์ที่สร้างกรุงศรีอยุธยานั้นพระนามตรงกัน\nอย่างไรก็ตาม เรื่องพระพนมไชยศิรินี้ บางตำนานได้กล่าวไว้ว่า เป็นเจ้าเมืองเวียงไชยปราการได้หนีข้าศึกมาจากเมืองสุธรรมวดี (สะเทิม) เมื่อ พ.ศ. 1547 ในตอนแรกจะอพยพครอบครัวไปทางทิศตะวันตกของแม่น้ำกก แต่ในขณะนั้นในแม่น้ำมีมาก จึงล่องใต้มายังตำบลหนึ่งแล้ว จึงสร้างเมืองขึ้นให้ชื่อว่า กำแพงเพชร และที่เมืองสุโขทัยยังมีเมือง ๆ หนึ่งชื่อ เมืองเพชรบุรี อยู่ที่อำเภอคีรีมาศริมฝั่งคลองสาระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง", "title": "อาณาจักรพริบพรี" }, { "docid": "282507#0", "text": "ระบอบกษัตริย์ของเกาหลีนั้นเริ่มมีมาเมื่อกว่า 2000-2500 ปีก่อน โดยกษัตริย์องค์แรกคือพระเจ้าทันกุนแห่งอาณาจักรโชซ็อนโบราณ และปกครอง เรื่อยมาและมีหลายรัฐหลายราชวงศ์ก่อนที่ระบอบกษัตริย์ของเกาหลีจะมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1910 ในรัชสมัยพระเจ้าซุนจงพระราชาองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โชซ็อน โดยการถูกญี่ปุ่นโค่นล้ม", "title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์เกาหลี" }, { "docid": "272370#5", "text": "อันดอร์รากึ่งรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรและต่อมาสหอำนาจกับฝรั่งเศสมาตั้งแต่ ค.ศ. 1607 (พระมหากษัตริย์และต่อมาประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประมุขของอันดอร์รา ประมุขอีกองค์หนึ่งคือพระสังฆราชของสังฆมณฑลอัวร์เกลล์ของกาตาลุญญาในสเปน)ในปี พ.ศ. 1921 (ค.ศ. 1378) อาณาจักรอยุธยารุกรานอาณาจักรสุโขทัยและผนวกเข้าเป็นรัฐบริวารของตน หลังจากที่พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1981 (ค.ศ. 1446) โดยปราศจากรัชทายาท สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงส่งพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 1991 (ค.ศ. 1448) พระราเมศวรได้ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระบิดาเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยานามว่า \"สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ\" ทำให้ทั้งสองอาณาจักรถูกรวมเข้าไว้ใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในด้านการปกครอง ทั้งสองอาณาจักรยังคงดำรงรัฐบาลของตนแยกออกจากกัน โดยรัฐบาลกรุงสุโขทัย ณ เมืองพิษณุโลก มีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับรัฐบาลกรุงศรีอยุธยาตลอดช่วงรัชกาลของพระบรมไตรโลกนาถ และหลังจากที่พระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2031 (ค.ศ. 1488) รัฐบาลกรุงสุโขทัยจึงถูกรวมกลับมาไว้ ณ กรุงศรีอยุธยา และแต่งตั้งเสนาบดีผู้มีความใกล้ชิดกับอยุธยามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล", "title": "รัฐร่วมประมุข" }, { "docid": "100991#3", "text": "ฟิงโกลฟินอภิเษกกับอไนเร มีโอรสธิดาได้แก่ ฟิงกอน ทัวร์กอน และอาเรเดล ฟิงกอนและโอรสธิดาทุกองค์ได้เดินทางติดตามเฟอานอร์กลับมายังมิดเดิ้ลเอิร์ธ หลังจากเฟอานอร์สิ้นพระชนม์ และมายดรอสสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์ ฟิงโกลฟินจึงได้ขึ้นเป็นจอมกษัตริย์แห่งโนลดอร์ พระองค์ครองอาณาจักรฮิธลุมและดอร์-โลมิน ที่อยู่ทางเหนือของแผ่นดินเบเลริอันด์ ฟิงกอนโอรสองค์ใหญ่ประทับอยู่กับพระองค์ แต่ทัวร์กอนซึ่งสนิทกับฟินร็อด แยกตัวไปสร้างอาณาจักรของตัว เป็นอาณาจักรลับแลชื่อว่า กอนโดลิน และได้ดำรงอยู่เป็นอาณาจักรสุดท้ายของเอลฟ์บนแผ่นดินเบเลริอันด์", "title": "ราชวงศ์ฟินเว" }, { "docid": "54603#0", "text": "สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ หรือ พระเจ้าท้ายสระ หรือ พระเจ้าภูมินทราชา หรือ พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275", "title": "สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9" }, { "docid": "910361#0", "text": "อลิมามาง (, ) เจ้าเมืองเมาะตะมะใน พม่าตอนล่าง ของ อาณาจักรพุกาม ระหว่างประมาณ ค.ศ. 1259 ถึง 1285 ได้รับการแต่งตั้งโดย พระเจ้านรสีหบดี กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรพุกาม เมื่ออาณาจักรพุกามถูกรุกรานโดยจักรวรรดิมองโกลในตอนเหนือ เขาและขุนนางอื่น ๆ ในภาคใต้เริ่มวางแผนที่จะประกาศอิสรภาพออกจากพุกาม กระทั่งถูกสังหารโดยผู้นำท้องถิ่นนาม มะกะโท ซึ่งต่อมาได้ประกาศเอกราชจากอาณาจักรพุกามและสถาปนาตนเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว ในอีก 2 ปีต่อมา", "title": "อลิมามาง" }, { "docid": "232668#1", "text": "พุทธศักราช 2106 พระเจ้าบุเรงนองแห่งอาณาจักรตองอูได้ตีหัวเมืองเหนือของสยามไล่มาตั้งแต่สุโขทัย, สวรรคโลก, และที่สองแคว ซึ่งที่พิษณุโลกสองแควนั้น พระมหาธรรมราชา (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) ผู้รั้งเมืองอยู่นั้นได้ขอความช่วยเหลือจากพระนครศรีอยุธยา แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากอยุธยา พระมหาธรรมราชาจึงแปรพักตร์ไปเข้าด้วยกับพระเจ้าบุเรงนองเพื่อร่วมกันโจมตีอยุธยา โดยที่พระเจ้าบุเรงนองได้ขอเอาตัว พระนเรศ หรือ องค์ดำ (ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์) พระโอรสองค์โตในพระมหาธรรมราชาและพระนางวิสุทธิ์กษัตริย์ (ปวีณา ชารีฟสกุล) ไปเป็นตัวประกันในหงสาวดีโดยที่ให้สัตย์สาบานว่าจะเลี้ยงดูอย่างดีดุจพระโอรส", "title": "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา" }, { "docid": "219806#0", "text": "พระเจ้าโพจัง (?-ค.ศ. 682) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 28 และกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรโกคูรยอหนึ่งในสามราชอาณาจักรเกาหลี ทรงขึ้นครองราชย์จากการสนับสนุนของยอน แกโซมุน ผู้นำทางทหารที่ปลงพระชนม์กษัตริย์องค์ก่อนในรัชกาลของพระองค์โกคูรยอได้ทำสงครามกับราชวงศ์ถังและมีชัยชนะมาโดยตลอดแต่หลังจากยอน แกโซมุนเสียชีวิตลงในที่สุดอาณาจักรโกคูรยอก็พ่ายแพ้และยอมแพ้ต่อกองทัพพันธมิตรชิลลาและถังในปี ค.ศ. 668 (พ.ศ. 1211) ทำให้อาณาจักรโกคูรยอที่ยิ่งใหญ่และเข้มแข็งที่ปกครองเกาหลีมานานถึง 605 ปีสิ้นสุดลงพระเจ้าโพจังสวรรคตในปี ค.ศ. 682 (พ.ศ. 1225) ภายหลังเหล่าเชื้อพระวงศ์ได้รวบรวมประชาชนชาวโคกูรยอไปตั้งอาณาจักรแห่งใหม่คือ อาณาจักรบัลแฮ", "title": "พระเจ้าโพจังแห่งโคกูรยอ" }, { "docid": "51126#0", "text": "พระเจ้าอลองพญา หรือ พระเจ้าอลองพญารี (English: Alaungpaya, Burmese: အလောင်းမင်းတရား พระนามของพระองค์ออกสำเนียงเป็นภาษาพม่าว่า \"อลองเมงตะยาจี\" หรือ \"อลองพะ\" มีความหมายว่า \"พระโพธิสัตว์\"; สิงหาคม ค.ศ. 1714 — 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1752 ถึง 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760 รวมได้ 8 ปี 51 วัน เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบอง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่าพระองค์กำเนิดเป็นสามัญชน โดยเป็นผู้นำหมู่บ้านแถบพม่าตอนบน สามารถรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นปราบปราม มณีปุระ กอบกู้ ล้านนา คืนจากอยุธยาและขับชาวอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งให้การสนับสนุนราชอาณาจักรหงสาวดีฟื้นฟูของชาวมอญพระองค์ก่อตั้งเมืองย่างกุ้งในปี ค.ศ. 1755 สวรรคตจากพระอาการประชวรระหว่างการบุกอาณาจักรอยุธยา", "title": "พระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "154427#0", "text": "ราชอาณาจักรอังกฤษ () เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี ค.ศ. 927-1649 และระหว่างปี ค.ศ. 1660-1707 โดยมีสมเด็จพระเจ้าเอเธลสตันแห่งอังกฤษแห่งราชวงศ์เวสเซ็กซ์เป็นกษัตริย์องค์แรกและ สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่แห่งราชวงศ์สจวตเป็นกษัตรีย์องค์สุดท้าย ราชอาณาจักรอังกฤษกลายมาเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ราชอาณาจักรอังกฤษตั้งอยู่ทางใต้ของเกาะอังกฤษและบริเวณที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่าอังกฤษ ", "title": "ราชอาณาจักรอังกฤษ" }, { "docid": "34007#0", "text": "วัดหน้าพระเมรุ (Wat Na Phra Meru) หรือ วัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า \"วัดพระเมรุราชการาม\" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งต้นสมัยอยุธยา[1] มีแต่เพียงตำนานกล่าวว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2046 แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน[2] วัดหน้าพระเมรุเป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก บ้างสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้กับวัดหัสดาวาส (ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างและยังเหลือสิ่งก่อสร้างที่ไม่ถูกทำลายอยู่บ้าง) พระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[3] พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา หรือได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงนั้น เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์", "title": "วัดหน้าพระเมรุ" }, { "docid": "292592#1", "text": "ค.ศ. 595 เป็นปีที่เขาเกิด โดยคิมยูชินเป็นลูกของคิมซอฮย็อน และ มานมยอง คุณปู่ทวดของเขาคือ คิมแฮ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรคายา ส่วนมานมยองแม่ของเขาก็เป็นถึงลูกสาวของซุกฮึลจงน้องชายของกษัตริย์จินฮึง การที่มานมยอง ลูกสาวของ ซุกฮึลจง ซึ่งถือเป็นเชื้อสายกษัตริย์ของอาณาจักรชิลลามาแต่งงานกับคิมซอฮย็อนเลือด เนื้อเชื้อไขของกษัตริย์แห่งอาณาจักรคายานั้น เป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะได้รับอนุญาตจากเครือญาติของทั้งสองฝ่ายให้แต่งงานกัน และที่เมืองมานโนคุนนี่เองที่ทั้งคู่ได้ให้กำเนิด คิมยูชิน", "title": "คิม ยูชิน" }, { "docid": "837623#2", "text": "พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองแห่งอาณาจักรตองอูได้ตีหัวเมืองเหนือของสยามไล่มาตั้งแต่สุโขทัย, สวรรคโลก, และที่สองแคว ซึ่งที่พระพิษณุโลกสองแควนั้น พระมหาธรรมราชา (อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ผู้รั้งเมืองอยู่นั้นได้ขอความช่วยเหลือจากพระนครศรีอยุธยา แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากอยุธยา พระมหาธรรมราชาจึงแปรพักตร์ไปเข้าด้วยกับพระเจ้าบุเรงนองเพื่อร่วมกันโจมตีอยุธยา โดยที่พระเจ้าบุเรงนองได้ขอเอาตัว พระนเรศ หรือ องค์ดำ (ภาณุกร วงษ์บุญมาก) พระโอรสองค์โตในพระมหาธรรมราชาและพระนางวิสุทธิ์กษัตริย์ (ศิรประภา สุขดำรงค์) ไปเป็นตัวประกันในหงสาวดีโดยที่ให้สัตย์สาบานว่าจะเลี้ยงดูอย่างดีดุจพระโอรส", "title": "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสา" }, { "docid": "154431#0", "text": "ราชอาณาจักรซัคเซิน ) หรือ ราชอาณาจักรแซกโซนี () เป็นราชอาณาจักรตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐเช็กในปัจจุบันระหว่างปี ค.ศ. 1806 ถึงปี ค.ศ. 1918 โดยมีพระเจ้าฟรีดิช ออกัสตัสที่ 1 แห่งซัคเซินแห่งราชวงศ์เวททินเป็นกษัตริย์องค์แรก และพระเจ้าฟรีดิช ออกัสตัสที่ 3 แห่งซัคเซินแห่งราชวงศ์เวททินเป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย ราชอาณาจักรซัคเซินเป็นราชรัฐอิสระหลังสมัยนโปเลียนและเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871 ก่อนที่จะถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไวมาร์ในปี ค.ศ. 1918 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เดรสเดิน ในปัจจุบันราชอาณาจักรซัคเซินคือเสรีรัฐซัคเซินของประเทศเยอรมนี", "title": "ราชอาณาจักรซัคเซิน" }, { "docid": "134630#5", "text": "เนื่องจากวาลันดิลและทายาทไม่ได้อ้างสิทธิ์ในบัลลังก์แห่งกอนดอร์ อาณาจักรทั้งสองจึงแยกออกจากกัน แต่ผู้ปกครองแห่งอาร์นอร์ยังคงนับว่าเป็น จอมกษัตริย์ (High King) ในขณะที่ทางใต้ ผู้ปกครองเป็น 'เพียง' กษัตริย์ (King) เท่านั้นอาณาจักรอาร์นอร์ถึงกาลล่มสลายเมื่อเหล่าภูตแหวน บริวารของเซารอน นำโดยวิชคิง บุกเข้าโจมตีอาณาจักรและยึดครอง อังก์มาร์ ไปได้ ก่อตั้งเป็นอาณาจักรอังก์มาร์ ทำให้อำนาจของอาร์นอร์ลดน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งกษัตริย์องค์สุดท้าย คือ อาร์เวดุย ทรงสูญหายไปในระหว่างการเดินทัพเรือ เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรเหนือที่เคยเกรียงไกร", "title": "อาร์นอร์" } ]
3953
กลศาสตร์ควอนตัม ถูกค้นพบเมื่อไหร่?
[ { "docid": "81875#1", "text": "กลศาสตร์ควอนตัมเริ่มในปี พ.ศ. 2443 เมื่อ มักซ์ พลังค์ ตีพิมพ์ทฤษฎีที่อธิบายถึงการปล่อยสเปกตรัมออกจากวัตถุดำ ซึ่ง 18 ปีต่อมา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์", "title": "กลศาสตร์ควอนตัม" } ]
[ { "docid": "10347#32", "text": "ปรากฏการณ์ในทางกลศาสตร์ควอนตัม เช่น การเคลื่อนย้ายสสารเชิงควอนตัม (Quantum teleportation), ปฏิทรรศน์อีพีอาร์ (the EPR paradox) หรือ การพัวพันกันเชิงควอนตัม (หรือ ควอนตัมเอนแทงเกิลเมนต์ (Quantum entanglement)) อาจจะมีปรากฏให้เห็นอยู่ในเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างกลไกที่ช่วยทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกันในระยะทางที่ไกลมาก ๆ เช่น ในระยะทางระหว่างดวงดาว ที่มีอัตราเร็วมากกว่าแสง (FTL) หรือ ในเรื่องของการเดินทางข้ามเวลา, และในความเป็นจริงแล้วการตีความบางส่วนของกลศาสตร์ควอนตัม เช่น การตีความแบบโบห์ม (Bohm interpretation) เข้าใจว่าข้อมูลบางอย่างจะถูกแลกเปลี่ยนกันระหว่างอนุภาคอย่างทันทีทันใดเพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคเอาไว้ [30] ปรากฏการณ์นี้จะถูกเรียกว่า \"การกระทำของผีจากระยะไกล\" (spooky action at a distance) โดยผู้ที่ให้คำจำกัดความนี้ก็คือ ไอน์สไตน์", "title": "การเดินทางข้ามเวลา" }, { "docid": "847691#0", "text": "ในวิชากลศาสตร์ควอนตัม แฮมิลโทเนียนเป็นตัวดำเนินการที่สอดคล้องกับผลรวมของพลังงานในระบบของเหตุการณ์ที่พบเจอเป็นส่วนใหญ่ มักจะใช้สัญลักษณ์เป็น \"H\" หรือ \"Ȟ\" หรือ \"Ĥ\" โดยสเปกตรัมคือชุดของค่าที่หาออกมาได้เมื่อทำการวัดค่าพลังงานรวมของระบบ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีความสอดคล้องกับความสัมพันธ์ของเวลา (time-evolution)ของระบบนั้นๆ ซึ่งมีความสำคัญมากกับสูตรการคำนวณของควอนตัมเป็นส่วนใหญ่", "title": "แฮมิลโทเนียน (กลศาสตร์ควอนตัม)" }, { "docid": "842003#0", "text": "ในวิชากลศาสตร์ควอนตัม  ระดับพลังงานจะเกิดการDegenerateได้ก็ต่อเมื่อ สถานะทาง ควอนตัม (quantum) มีความแตกต่างกันตั้งแต่ 2 สถานะขึ้นไป หรือจะพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า สถานะทางกลศาสตร์ควอนตัมที่มีความแตกต่างกันตั้งแต่ 2 สถานะขึ้นไป มีค่าพลังงานที่เท่ากันนั้นแสดงว่าเกิดDegeneratcy จำนวนความแตกต่างนั้นบอกได้ถึงระดับพลังงานที่มีค่าเฉพาะ ซึ่งสามารถดูได้จาก Degre of Degenerate สามารถเขียนสมการทางคณิตศาสตร์โดยสมการของฮามิลโทเนียน (Hamiltonian)สำหรับระบบที่มีฟังก์ชันคลื่นที่อิสระต่อกันมากกว่า 1 ร่วมกับการมีค่าของระดับพลังงานเดียวกัน ", "title": "Degeneracy" }, { "docid": "81875#6", "text": "สูตรการแผ่รังสีของวัตถุดำ เป็นผลงานแรกๆ ของทฤษฎีควอนตัม ในกลางคืน วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2443 โดยพลังก์ มันมาจากรายงานของรูเบนส์ (Rubens) จากการค้นพบล่าสุดในการค้นหาอินฟราเรด คืนนั้นเองพลังก์เขียนสูตรลงบนโปสการ์ด รูเบนส์ ได้รับโปสการ์ดนั้นในเช้าวันถัดมา", "title": "กลศาสตร์ควอนตัม" }, { "docid": "861054#7", "text": "หลักการแปรค่าที่กล่าวข้างบนเป็นพื้นฐานของวิธีการแปรค่าที่ใช้ในกลศาสตร์ควอนตัมและเคมีควอนตัม เพื่อหาค่าประมาณของสถานะพื้น", "title": "วิธีการแปรค่า (กลศาสตร์ควอนตัม)" }, { "docid": "835075#0", "text": "ในวิชากลศาสตร์ควอนตัม สมการชเรอดิงเงอร์ เป็นสมการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายระบบทางฟิสิกส์ ที่เป็นผลจากปรากฏการณ์ควอนตัม เช่น ทวิภาคของคลื่นและอนุภาค สมการชเรอดิงเงอร์เป็นสมการที่สำคัญในการศึกษาระบบทางกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งแอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ (Erwin Schrödinger) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย ได้ค้นพบ \"สมการชเรอดิงเงอร์\" ในปี พ.ศ. 2468 และถูกตีพิมพ์ในปีต่อมา จากการค้นพบสมการชเรอดิงเงอร์ ทำให้แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2476 สมการนี้เป็นสมการเชิงอนุพันธ์ย่อยหรือที่รู้จักกันว่าสมการคลื่น โดยสามารถแก้สมการชเรอดิงเงอร์เพื่อหาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของคลื่นได้", "title": "สมการชเรอดิงเงอร์" }, { "docid": "614515#0", "text": "มักซ์ บอร์น (, 11 ธันวาคม ค.ศ. 1882 - 5 มกราคม ค.ศ. 1970) เป็นนักฟิสิกส์ผู้มีส่วนพัฒนาทฤษฎีด้านกลศาสตร์ควอนตัม และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1954 ร่วมกับวัลเทอร์ โบเทอจากผลงานการคิดค้นสูตรที่ใช้ในการอธิบายฟังก์ชันความน่าจะเป็นในสมการคลื่นของชเรอดิงเงอร์ ในวิชากลศาสตร์ควอนตัม", "title": "มักซ์ บอร์น" }, { "docid": "860752#0", "text": "การคำนวณทางคณิตศาสตร์ของกลศาสตร์ควอนตัม ถูกสร้างขึ้นตามแนวคิดของตัวดำเนินการ กล่าวคือ ปริมาณที่สังเกตหรือที่วัดได้ในทางกายภาพของอนุภาคจากการทดลอง เช่น ตำแหน่ง โมเมนตัมเชิงเส้น พลังงาน โมเมนตัมเชิงมุม เป็นต้น สามารถแทนได้ด้วยตัวดำเนินการ A ใด ๆ ในกลศาสตร์ควอนตัม หากต้องการทราบข้อมูลหรือปริมาณดังกล่าวจะต้องใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์มากระทำกับฟังก์ชันไอเกนของอนุภาคนั้น ๆ ดังนั้น ผลของการวัดจะทำให้ฟังก์ชันไอเกนของอนุภาคกลายเป็นฟังก์ชันไอเกนที่สอดคล้องกับตัวดำเนินการ ตามสมการ ", "title": "ตัวดำเนินการในกลศาสตร์ควอนตัม" }, { "docid": "81875#0", "text": "กลศาสตร์ควอนตัม (English: quantum mechanics) เป็นสาขาหนึ่งในทฤษฎีรากฐานของฟิสิกส์ ที่มีความสามารถในการอธิบายผลการทดลองต่างๆ และถูกใช้แทนที่กลศาสตร์นิวตัน (หรือกลศาสตร์ดั้งเดิม) และ กลศาสตร์ไฟฟ้าของแม็กซ์เวลล์ (หรือทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า) ซึ่งกลศาสตร์ดั้งเดิมเหล่านี้ไม่สามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ในวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม แต่กลศาสตร์ควอนตัมนั้นสามารถคำนวณได้แม่นยำมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขนาดของวัตถุที่สนใจนั้นเล็กถึงขนาดอะตอม จึงกล่าวได้ว่ากลศาสตร์ควอนตัมนั้นเป็นรากฐานเบื้องต้นของฟิสิกส์ที่มีความสำคัญมากกว่ากลศาสตร์นิวตันและกลศาสตร์ไฟฟ้าของแม็กซ์เวลล์ หรือใกล้เคียงกับความจริงมากกว่านั่นเอง", "title": "กลศาสตร์ควอนตัม" }, { "docid": "358058#49", "text": "พี.เอ.เอ็ม.ดิเรก (P.A.M.Direc) พบว่าวงเล็บปัวส์ซองในแบบกลศาสตร์คลาสสิคมีความเชื่อมโยงกันกับวงเล็บการสลับที่ของกลศาสตร์ควอนตัม โดย พี.เอ.เอ็ม.ดิเรกสามารถที่จะกำหนดค่าวงเล็บปัวส์ซองในกลศาสตร์คลาสสิคได้จากการสลับที่ของตัวดำเนินการในกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งแสดงความหมายว่ากลศาสตร์คลาสสิคอยู่ในขอบเขตที่ค่าคงที่แพลงค์เป็นศูนย์", "title": "กลศาสตร์แฮมิลตัน" }, { "docid": "860752#12", "text": "สรุปคือ ฟังก์ชันคลื่นเป็นฟังก์ชันกำลังสองที่สามารถหาปริพันธ์ได้ ฟังก์ชันคลื่นใด ๆ ที่ไม่สามารถยกกำลังสองแล้วหาปริพันธ์ได้จะไม่มีความหมายในกลศาสตร์ควอนตัม", "title": "ตัวดำเนินการในกลศาสตร์ควอนตัม" }, { "docid": "81875#3", "text": "สำหรับความเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีทางฟิสิกส์อื่นๆ นั้น หากรวมสัมพัทธภาพพิเศษลงในกลศาสตร์ควอนตัม จะเรียกว่า พลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม หรือทฤษฎีสนามควอนตัม", "title": "กลศาสตร์ควอนตัม" }, { "docid": "861054#0", "text": "ในกลศาสตร์ควอนตัม วิธีการแปรค่า (Variational method) เป็นวิธีหนึ่งในการหาค่าประมาณของสถานะที่พลังงานต่ำสุดหรือสถานะพื้น (Ground state) และสถานะกระตุ้น (Excited state) บางสถานะได้ วิธีการนี้จะช่วยในการประมาณฟังก์ชันคลื่น ได้ เช่น ระดับพลังงานย่อยของโมเลกุล (Molecular orbitals) โดยพื้นฐานสำหรับวิธีการนี้คือ หลักการแปรค่า (Variational principle)", "title": "วิธีการแปรค่า (กลศาสตร์ควอนตัม)" }, { "docid": "81875#2", "text": "ข้อแตกต่างของกลศาสตร์ดั้งเดิมและกลศาสตร์ควอนตัม กลายเป็นเรื่องประหลาด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2469 แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก และ แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ สามารถอธิบายทฤษฎีดังกล่าวทางคณิตศาสตร์ได้", "title": "กลศาสตร์ควอนตัม" }, { "docid": "109205#3", "text": "ในปี ค.ศ. 1925 แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก (Werner Heisenberg), แมกซ์ บอร์น (Max Born), และปาสควาล จอร์ดาน (Pascual Jordan) ได้คิดค้นกลศาสตร์เมทริกซ์ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกลศาสตร์ควอนตัม", "title": "กลศาสตร์เมทริกซ์" }, { "docid": "530225#2", "text": "การค้นพบและการแสดงลักษณะเฉพาะของ<b data-parsoid='{\"dsr\":[2159,2179,3,3]}'>ประสาทสัมพันธ์ (neural correlates) คงไม่ทำให้ปรากฏซึ่งทฤษฎีของการรับรู้อารมณ์ (theory of consciousness) ที่จะสามารถอธิบายว่า ระบบอย่างหนึ่ง ๆ สามารถที่จะรู้สึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างไร หรือว่า ระบบอย่างหนึ่ง ๆ เกี่ยวข้องกับการรับรู้อารมณ์ได้อย่างไร นี่แหละที่เรียกกันว่า ปัญหายากของการรับรู้อารมณ์ (hard problem of consciousness)[5] แต่ความเข้าใจใน<i data-parsoid='{\"dsr\":[2586,2623,2,2]}'>ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์</i>น่าจะเป็นก้าว ๆ หนึ่งเข้าไปสู่ทฤษฎีเช่นนั้น นักประสาทชีววิทยาโดยมากสันนิษฐานว่า ตัวแปรที่ทำให้เกิดการรับรู้อารมณ์น่าจะอยู่ที่เซลล์ประสาท ที่มีความเป็นไปตามหลักฟิสิกส์แบบฉบับ (classical physics) แม้ว่านักวิชาการบางคนจะได้เสนอทฤษฎีการรับรู้อารมณ์แบบควอนตัม ที่เป็นไปตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics)[6] อย่างไรก็ดี ในบทความตีพิมพ์ปี 2549 ของนักวิทยาศาสตร์ประสาทคอชฮ์และนักฟิสิกส์เฮพพ์ สรุปความลงได้ว่า ทฤษฎีการรับรู้อารมณ์แบบควอนตัมปราศจากความน่าเชื่อถือและหลักฐาน และไม่จำเป็น[7][8]", "title": "ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์" }, { "docid": "81875#4", "text": "ในปัจจุบัน ถือได้ว่า กลศาสตร์ควอนตัม และ สัมพัทธภาพทั่วไป เป็นเสาหลักของฟิสิกส์ยุคใหม่ ซึ่งยังไม่มีผู้ใดสามารถรวมสองทฤษฎีนี้เข้าด้วยกันได้ แต่ทฤษฎีสตริงอาจเป็นคำตอบสำหรับปัญหานี้", "title": "กลศาสตร์ควอนตัม" }, { "docid": "847691#1", "text": "แฮมิลโทเนียนมาจากชื่อของเซอร์วิลเลียม โรวัน แฮมิลตัน ซึ่งเป็นผู้ปฏิรูปการปฏิวัติของกลศาสตร์นิวโทเนียน (Newtonian mechanics) ซึ่งปัจจุบันมีชื่อเรียกว่า กลศาสตร์แฮมิลโทเนียน (Hamiltonian mechanics) และเป็นสิ่งที่สำคัญมากในวิชาฟิสิกส์ควอนตัม (quantum physics) ", "title": "แฮมิลโทเนียน (กลศาสตร์ควอนตัม)" }, { "docid": "39058#6", "text": "ในด้านกลศาสตร์ควอนตัม แฟร์มียังได้คิดค้น กฎทองคำของแฟร์มี (Fermi's golden rule) ซึ่งเป็นสมการที่ใช้ในการอธิบายอัตราการเปลี่ยนสถานะของอนุภาคอีกด้วย", "title": "เอนรีโก แฟร์มี" }, { "docid": "39058#4", "text": "ด้วยเหตุนี้สถิติแบบแฟร์มี-ดิแรกถูกไปสู่การประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางตั้งแต่การอธิบายปรากฏการณ์ระดับสเกลเล็ก ๆ ในระดับอะตอมไปจนถึงวัฏจักรชีวิตของดาวฤกษ์\nให้สังเกตว่าเป็นปี พ.ศ. 2469 แฟร์มี และ พอล ดิแรก ศึกษาเรื่องนี้ เป็นปีที่เพิ่งเริ่มมีวิชากลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) ที่สมบูรณ์เท่านั้น และดิแรกเองก็ยังเป็นหนึ่งในผู้ค้นพบวิชากลศาสตร์ควอนตัมด้วย", "title": "เอนรีโก แฟร์มี" }, { "docid": "5992#6", "text": "ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นภาวะเอกฐานที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม", "title": "หลุมดำ" }, { "docid": "56848#37", "text": "ลูกกระสุนปืนใหญ่ของนิวตัน (Newton's cannonball) (กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน) Brownian ratchet เครื่องจักรที่ใช้ \"perpetual motion\" ของ (ริชาร์ด ไฟยน์แมน ซึ่งไม่ขัดแย้งกฎข้อที่สองและไม่เกิดงาน) Casimir cones (หลักการของเครื่องจักรแบบเกือบเป็น perpetual motion กระตุ้นโดย เอนโทรปี) เรือของกาลิเลโอ (Galileo's ship) (หลักสัมพัทธภาพคลาสสิค) ค.ศ. 1632 Galileo's Leaning Tower of Pisa experiment (ข้อแย้งหลักความโน้มถ่วงแบบอริสโตเติล) GHZ experiment (กลศาสตร์ควอนตัม) EPR paradox (กลศาสตร์ควอนตัม) (forms of this have actually been performed) Ladder paradox (ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ) Maxwell's demon (เทอร์โมไดนามิกส์) 1871 Quantum suicide (กลศาสตร์ควอนตัม) Schrödinger's cat (กลศาสตร์ควอนตัม) Twin paradox (ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ) Wigner's friend (กลศาสตร์ควอนตัม) Wittgenstein's rod (engineering mechanics) - an exercise in visualization Bucket argument - แย้งว่าสเปซนั้นสัมบูรณ์ ไม่ใช่สัมพัทธ์", "title": "การทดลองทางความคิด" }, { "docid": "102875#6", "text": "ผลงานเชิงทฤษฎีของพอล ดิแรก ในเรื่อง ปฏิอนุภาค ทำให้นักฟิสิกส์คนอื่น ๆ สร้างผลงานระดับรางวัลโนเบลจากการค้นพบปฏิอนุภาคจริง ๆ ซึ่ง พอล ดิแรก ก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ.1933 (ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 31 ปี) จากผลงานเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับปฏิอนุภาคของอิเล็กตรอนและผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนเกี่ยวกับกลศาสตร์คลื่น (Wave Mechanics) ร่วมกับแอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ ", "title": "พอล ดิแรก" }, { "docid": "287239#5", "text": "[[กลศาสตร์ควอนตัม]]ได้ให้ความหมายของการวัดไว้ว่าเป็น \"การยุบตัวของฟังก์ชันคลื่น\" ความหมายที่กำกวมเช่นนี้มาจาก[[ปัญหาการวัด]]ซึ่งเป็นข้อปัญหาพื้นฐานที่แก้ไม่ได้ของกลศาสตร์ควอนตัม", "title": "การวัด" }, { "docid": "51301#40", "text": "ทฤษฎีสนามควอนตัม ถูกสร้างขึ้นในการขยายกลศาสตร์ควอนตัมเพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ มันอยู่ในรูปใหม่ในที่สุดในช่วงปลาย ค.ศ. 1940 ในผลงานของ ริชาร์ด ไฟยน์แมน Julian Schwinger, Sin-Itiro Tomonaga และ Freeman Dyson นี่กลายเป็นข่ายงานของ ฟิสิกส์อนุภาค ยุคใหม่ซึ่งศึกษา แรงพื้นฐาน และ elementary particles ในปี ค.ศ. 1954 Yang Chen Ning และ Robert Mills ได้พัฒนา class ของ gauge theories ซึ่งนำมาซึ่งขอบข่ายของ Standard Model ซึ่งสมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ในช่วง ค.ศ. 1970 และประสบความสำเร็จในการอธิบายอนุภาคมูลฐานเกือบทั้งหมดที่ค้นพบในช่วงนั้น", "title": "ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์" }, { "docid": "51301#29", "text": "ในช่วงต้นของ ค.ศ. 1900 แมกซ์ พลังค์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นีลส์ บอห์ร และคนอื่น ๆ ได้พัฒนาทฤษฎี ควอนตัม เพื่ออธิบายผลการทดลองที่ต่างออกไป เช่น ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก และสเปกตรัมของ วัตถุดำ โดยการเสนอระดับพลังงานที่ไม่ต่อเนื่องกันและในปี ค.ศ. 1925 วูล์ฟกัง เพาลี ได้ตั้ง หลักการกีดกันของเพาลี และแนะนำการมีอยู่ของ สปิน ที่ควอนไทซ์กับ เฟอร์มิออน ในปีนั้น Erwin Schrödinger ได้เขียนสูตร กลศาสตร์คลื่น ซึ่งได้ให้กลักการทางคณิตศาสตร์สำหรับบรรยายสถานการณ์ทางฟิสิกส์จำนวนมากเช่น อนุภาคในกล่อง และ quantum harmonic oscillator ซึ่งเขาแก้เป็นครั้งแรก เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก ได้บรรยายเมื่อ ค.ศ. 1925 ถึงหลักการทางคณิตศาสตร์ที่แหวกแนวเช่นกัน เรียกว่า matrix mechanics ซึ่งพิสูจน์ว่าเทียบเท่ากับกลศาสตร์คลื่น ในปี ค.ศ. 1928 พอล ดิแรก ได้สร้างสูตรเชิงสัมพัทธภาพมาจาก matrix mechanics ของไฮเซนเบิร์ก และทำนายการมีอยู่ของ โพซิตรอน กับค้นพบ quantum electrodynamics", "title": "ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์" }, { "docid": "81875#12", "text": "กลศาสตร์ควอนตัม หมวดหมู่:กลศาสตร์ หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์", "title": "กลศาสตร์ควอนตัม" }, { "docid": "847691#9", "text": "มีการประยุกต์ใช้แฮมิลโทเนียนในระบบที่ใช้สมการคลื่น \"Ψ\"(r, \"t\") (wave function) มาอธิบาย โดยวิธีนี้ก็เป็นวิธีการแบบทั่วๆไปในการแก้สมการของทางกลศาสตร์ควอนตัม", "title": "แฮมิลโทเนียน (กลศาสตร์ควอนตัม)" }, { "docid": "860752#7", "text": "ตัวอย่างฟังก์ชันกำลังสองที่สามารถหาปริพันธ์ได้ คือ ฟังก์ชันคลื่นแบบกลศาสตร์ควอนตัม :formula_4", "title": "ตัวดำเนินการในกลศาสตร์ควอนตัม" }, { "docid": "410612#0", "text": "การทดลองของสเติร์น-เกอร์แลค ตั้งชื่อตาม ออตโต สเติร์น และ วอลเทอร์ เกอร์แลค เป็นการทดลองในปี ค.ศ. 1922 ที่มีความสำคัญยิ่งในสาขากลศาสตร์ควอนตัม โดยทดสอบดูทิศทางการหักเหของอนุภาคซึ่งใช้ในการวางหลักการพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม และเป็นตัวบ่งชี้ว่าอิเล็กตรอนและอะตอมมีคุณสมบัติควอนตัมภายใน และการตรวจวัดในกลศาสตร์ควอนตัมมีผลกระทบต่อตัวระบบที่กำลังตรวจวัดนั้นเองด้วย", "title": "การทดลองของสเติร์น-เกอร์แลค" } ]
3955
ไทป์-มูน ก่อตั้งโดยใคร?
[ { "docid": "218127#1", "text": "ในเดือนตุลาคม 1998 นิยายชุดนี้ได้ถูกเริ่มตีพิมพ์ลงบนเว็บไซต์ ทะเคะโบวคิ () ซึ่งเป็นเว็บไซต์โดจิน ของนะสุ และ ทะเคะอุจิ โดยตีพิมพ์ลงได้เพียง 5 ตอน ส่วน 2 ตอนสุดท้ายนั้นได้ถูกตีพิมพ์และวางจำหน่ายในงาน คอมิเก็ต 56 ในเดือนสิงหาคม 1999 ก่อนที่พวกเขาจะก่อตั้งกลุ่ม ไทป์-มูน ขึ้น ในปี 2001 ได้มีการจำหน่ายตัวอย่างของ ซึกิฮิเมะ พลัส-ดิสก์ ซึ่งเป็นแฟนดิกส์ของ ซึกิฮิเมะ ทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนทำให้มีการทำเป็น โดจินชิ ขึ้นในงานคอมิเก็ต 61 ในวันที่ 30 ธันวาคม 2001", "title": "คะระ โนะ เคียวไก" } ]
[ { "docid": "112565#3", "text": "ในเดือนธันวาคม ปี 2002 ไทป์-มูน ได้ร่วมมือกับกลุ่ม ฟรานส์ ปัง (หรือที่รู้จักกันในนาม วาตานาเบะ เซย์ซาคุโจ ในอดีตจนถึงปี 2003) สร้างเกมต่อสู้ขึ้นมาภายใต้ชื่อว่า เมลตี้ บลัด ซึ่งเป็นโดจินเกมเกม บนเครื่องPC ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับซึกิฮิเมะ และต่อมาก็ได้เป็นที่นิยมจากภาคเสริมอย่าง เมลตี้ บลัด รีแอ็ค ซึ่งได้ออกวางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม ปี 2004 และยังมีแพทช์อัปเดต เมลตี้ บลัด รีแอ็ค ไฟนอล ทูน ออกมาให้ดาวน์โหลดผ่านทาง อินเทอร์เน็ต ต่อมา เมลตี้ บลัด ก็ได้กลายเป็นเกมที่มีผู้เล่นเล่นกันอย่างแพร่หลายและเป็นเกมต่อสู้ 2Dที่มาจากโดจินซอฟท์ที่เยี่ยมที่สุดเท่าที่เคยผลิตมา ต่อมาได้ถูกนำไปลงในอาเขตโดยใช้ชื่อว่า เมลตี้ บลัด: แอ็ค คาเด็นซ่า ในเดือนมีนาคม 2006 และได้ออกวางจำหน่ายสำหรับเครื่อง PS2 ในเดือนสิงหาคม 2006", "title": "ไทป์-มูน" }, { "docid": "168840#0", "text": "ไรเดอร์ เป็น ตัวละครสมมติ จากตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ โดย ไทป์-มูน", "title": "ไรเดอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)" }, { "docid": "70553#0", "text": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ หรือ เฟท/สเตย์ ไนท์ () เป็นเอโรเกะ สร้างโดยไทป์-มูน วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 2547 ต่อมา สตูดิโอดีน ได้นำไปทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนฉายทางโทรทัศน์ โดยมีเจเนออนเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 6 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2549 นอกจากนี้ในปี 2550 ไทป์-มูน ได้นำมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์มาสร้างใหม่สำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 ภายใต้ชื่อ \"เฟท/สเตย์ ไนท์ [เรียลตา นัว]\" โดยตัดเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้เยาว์ออกทั้งหมด เฟท/สเตย์ ไนท์ ยังถูกดัดแปลงเป็นมังงะ ซึ่งในขณะนี้กำลังตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็นเอซ ฉบับรายเดือน", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "218127#52", "text": "หมวดหมู่:Aniplex หมวดหมู่:ไทป์-มูน หมวดหมู่:ภาพยนตร์อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2556", "title": "คะระ โนะ เคียวไก" }, { "docid": "69629#0", "text": "ปฐมบทสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ หรือ เฟท/ซีโร่ () ผลงานจากซีรีส์ เฟท/สเตย์ ไนท์ ของ ไทป์-มูน ที่เรื่องราวจะกล่าวถึงสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 ในรูปแบบนิยาย ถูกเขียนขึ้นโดยอุโรบุจิ เก็น ภาพโดย ทาคาชิ ทาเคอุจิ วางจำหน่ายในงานคอมิเก็ต 70 เมื่อวันที่ 29 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยผลงานชิ้นนี้เกิดจากการรวมมือของทั้งสองค่ายอย่าง ไทป์-มูน และค่าย ไนโตรพลัส โดยที่ค่ายหลังจะทำหน้าที่ในการควบคุมการผลิตเท่านั้น\nโดยมีทั้งหมด 4 เล่มจบ ซึ่งเล่มที่ 2 วางจำหน่ายวันที่ 31 มีนาคม 2007 เล่มที่ 3 ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2007 และเล่มที่ 4 ในวันที่ 29 ธันวาคม 2007 ต่อมาได้มีการนำไปสร้างในฉบับมังงะ โดยตีพิมพ์ครั้งแรกลงในนิตยสาร ไทป์มูนเอซ โดย ชิซุกิ โมริ และ โทโมยะ ฮารุโนะ ภายใต้สำนักพิมพ์ คาโดคาว่า โชเทน วางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 21 เมษายน 2008", "title": "ปฐมบทสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "209621#0", "text": "แลนเซอร์ เป็น ตัวละครสมมติ จากตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ โดย ไทป์-มูน", "title": "แลนเซอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)" }, { "docid": "70553#22", "text": "เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2549 ไทป์-มูน ได้ประกาศที่จะวางจำหน่ายนิยายในซีรีส์เฟทเรื่องใหม่ ภายใต้ชื่อว่า เฟท/ซีโร่ ซึ่งเป็นเรื่องราวก่อนเหตุการณ์ใน เฟท/สเตย์ ไนท์ โดยจะมุ่งไปที่สงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 เล่มแรกวางจำหน่ายในวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง ไทป์-มูน และ ไนโตรพลัส", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "71944#0", "text": "มาโต้ ชินจิ () ตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์", "title": "มาโต้ ชินจิ" }, { "docid": "70275#0", "text": "เอมิยะ ชิโร่ () ตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์", "title": "เอมิยะ ชิโร่" }, { "docid": "129352#0", "text": "Gilgamesh ตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์", "title": "กิลกาเมช (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)" }, { "docid": "121754#0", "text": "เบอร์เซิร์กเกอร์ เป็นตัวละครสมมติจากตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ โดย ไทป์-มูน", "title": "เบอร์เซิร์กเกอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)" }, { "docid": "70553#28", "text": "หมวดหมู่:ไทป์-มูน หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่น หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่นแนวเซเน็ง‎", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "70553#8", "text": "เช่นเดียวกันกับ ซึกิฮิเมะ ตัวละครใน เฟท/สเตย์ ไนท์ มีความเกี่ยวข้องกันกับตัวละครในผลงานชิ้นอื่นๆ ของ ไทป์-มูน", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "112565#5", "text": "ผลงานของ ไทป์-มูน ในช่วงปี 1998-2003(ช่วงที่ยังทำกลุ่มโดจินซอฟท์อยู่) มีรายชื่อดังต่อไปนี้", "title": "ไทป์-มูน" }, { "docid": "116392#38", "text": "หลังจากที่เขมรแดงขึ้นมามีอำนาจแล้ว สิ่งแรกที่ทำคือ ประกาศให้ชาวเขมรทุกคนทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน เงินทอง หรือแม้แต่คนที่ตัวเองรักทั้งหลาย เพื่อมาทำงานให้กับคอมมูน คอมมูนคือหน่วยย่อยของเขมรแดง มีคอมมูนละ 10,000 คน หน้าที่ที่คนในค่ายต้องทำทุกวันคือทำงานเกี่ยวกับการเกษตรทั้งหมด ตามแต่ที่คอมมูนใดจะสั่งลงมา แต่ทุกคอมมูนเหมือนกันหมดคือทำงานโดยใช้แรงงานคนทั้งหมดโดยไม่มีเครื่องมือใด ๆ ช่วยทุ่นแรง และต้องทำงานเป็นเวลา 11 ชั่วโมง เป็นเวลา 9 วันติดใครทำงานช้าหรืออิด ๆ ออด ๆ จะถูกลงโทษอย่างหนัก ส่วนวันที่ 10 ต้องมานั่งฟังพวกเขมรแดงอบรมเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์", "title": "เขมรแดง" }, { "docid": "122313#0", "text": "รายชื่อตัวละครที่ปรากฏในเกมวิชช่วล โนเวลเอโรเกะ ชื่อ \"เฟท/สเตย์ ไนท์\" ที่สร้างโดย ไทป์-มูน และได้ถูกนำไปสร้างเป็น อะนิเมะ โดย สตูดิโอ ดีน", "title": "ตัวละครในมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "70544#0", "text": "โทซากะ ริน () ตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ เป็นนักเรียนดีเด่นและดาวประจำโรงเรียนที่ชิโร่ศึกษาอยู่ ฉากหน้าเธอเป็นนักเรียนดีเด่นคนหนึ่ง แต่เบื้องหลังเธอเป็น 1 ในจอมเวทย์ทั้ง 7 ที่มาเข้าร่วมสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 5 ทีมีสายเลือดตระกูลจอมเวทย์ติดตัวอยู่ ", "title": "โทซากะ ริน" }, { "docid": "112565#4", "text": "ไทป์-มูนได้เปิดตัวบริษัทในปี 2003 โดยมีการให้โหลดตัวทดลองไปเล่มตามนิตยสารเกม และ เว็บดังๆต่างๆ ต่อมามีผลงานชิ้นแรกคือเกมวิชช่วลโนเวลเอโรเกะ เฟท/สเตย์ ไนท์ ในช่วงจำหน่ายสัปดาห์แรกนั้นซอฟท์เกมนั้นขายไม่หมด แต่ไม่น่าเชื่อว่าอาทิตย์ต่อมาซอฟท์นั้นหายไปหมดแล้วราคาก็พุ่งขึ้นไปอย่างน่ากลัว ในวันที่มีการประกาศว่าจะนำไปสร้างเป็นแอนิเมชันความยาว 24 ตอนจบ และเริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 6 มกราคม 2006 ส่วนมังงะนั้นได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในวันที่ 26 ธันวาคม 2005 ลงในนิตยสาร โชเน็น เอซ (ที่มีมังงะเรื่องดังหลายเรื่องตีพิมพ์อยู่ด้วย เช่น อีวานเกเลียน และ เคโรโระ ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก เป็นต้น) ต่อมาได้มีเกมเนื้อเรื่องต่อกันอย่าง เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย ออกมาวางจำหน่ายในวันที่ 28 ตุลาคม 2005 และภาคเพลย์สเตชัน2 ได้ถูกวางจำหน่ายในวันที่ 9 เมษายน 2007 บนเครื่อง PS2", "title": "ไทป์-มูน" }, { "docid": "112565#2", "text": "ต่อจากนั้น ในเดือนมกราคม 2001 ไทป์-มูน ได้วางจำหน่ายเกมซึกิฮิเมะอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้มี \"พลัส-ดิสก์\" ใช้สำหรับ เกมซึกิฮิเมะ แถมมาด้วย ข้างในนั้นประกอบไปด้วยไฟล์แก้บัค ภาพวอลเปเปอร์ ต่อมาในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ก็ได้มีการวางจำหน่ายเกมภาคต่อของซึกิฮิเมะ ซึ่งนั่นก็คือ คาเก็ตสึ โทยะ ซึ่งเป็นภาคที่ตัวละคร \"เรน\" ได้เป็นตัวละครหลักของเรื่อง และต่อมาในเดือนเมษายน 2003 ในงานเรโวลูชั่น 33 ก็ได้วางจำหน่ายแผ่นรวมฮิตของ ซึกิฮิเมะ ซึ่งนั่นก็คือ \"ซึกิ-บาโกะ\" ซึ่งภายในจะประกอบไปด้วยซีดี 3 แผ่น คือแผ่นเกมซึกิฮิเมะ, พลัสดิสก์ และ คาเก็ตสึ โทยะ พร้อมกับรีมิกซ์ซาวนด์แทร็คประกอบในทั้งสองเกม และโปรแกรมเสริมอีกมากมาย และการเป็นดำเนินงานครั้งสุดท้ายของกลุ่มโดจิน ที่เรียกว่าไทป์-มูน เพราะหลังจากนี้พวกเขาก็เลิกการประกอบกิจกรรมแบบกลุ่มโดจินมาทำเป็นรูปแบบค่ายเกมแทนในภายหลัง ", "title": "ไทป์-มูน" }, { "docid": "72187#0", "text": "เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย () เป็นเกมส์วิชช่วล โนเวล ที่สร้างโดยกลุ่มไทป์-มูนวางจำหน่ายในปี 2548 ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ใน เฟท/สเตย์ ไนท์ คำว่า อทาราเซีย ในชื่อของเกมนั้นมีความหมายว่า เงียบสงบ ซึ่งถ้ารวมความหมายของชื่อเรื่องแล้ว จะได้ว่า \"ความเงียบสงัด\"", "title": "เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย" }, { "docid": "73031#0", "text": "อเวนเจอร์ ตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวล เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย ของ ไทป์-มูน", "title": "อเวนเจอร์ (เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย)" }, { "docid": "102850#0", "text": "โคโตมิเนะ คิเรย์ () ตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ ", "title": "โคโตมิเนะ คิเรย์" }, { "docid": "84904#0", "text": "คุซุกิ โซอิจิโร่ () ตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์", "title": "คุซุกิ โซอิจิโร่" }, { "docid": "70553#2", "text": "ในปี 2549 เจเนออนและสตูดิโอดีนได้นำ เฟท/สเตย์ ไนท์ มาดัดแปลงเนื้อหาและสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนความยาว 24 ตอน ในปีเดียวกัน ไทป์-มูน ยังได้ประกาศจะวางแผง เฟท/สเตย์ ไนท์ สำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ภายใต้ชื่อ \"เฟท/สเตย์ ไนท์ [เรียลตา นัว]\" ในครึ่งปีหลัง แต่เลื่อนมาจำหน่ายในปี 2550 แทน ไทป์-มูน ยังได้ร่วมมือกับไนโตรพลัสเขียนนวนิยายเรื่อง เฟท/ซีโร่ เล่าเรื่องสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่เกิดขึ้นก่อนสงครามใน เฟท/สเตย์ ไนท์ นอกจากนี้ เมื่อต้นปี 2550 เจเนออนยังได้จัดรายการวิทยุ \"เฟท/สเตย์ ทูน\" โดยมี คานะ อุเอดะ และ อายาโกะ คาวาสุมิ นักพากย์ผู้รับบทเป็นตัวละครเอกในการ์ตูนโทรทัศน์ เป็นพิธีกรอีกด้วย จริงหรอ?", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "76855#0", "text": "บาเซตต์ ฟราก้า แม็กเรมินซ์ () เป็นตัวละครจากเกมวิชชวลโนเวล เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย ของ ไทป์-มูน ", "title": "บาเซตต์ ฟราก้า แม็กเรมินซ์" }, { "docid": "199404#0", "text": "มาโฮสึไค โนะ โยรุ () เป็น นิยาย ที่แต่งขึ้นโดย นาสุ คิโนโกะ สมาชิกของสตูดิโอ ไทป์-มูน วางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 28 กรกฎาคม 1996 โดยหลังจากที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับ \"ซึกิฮิเมะ\" และ \"เฟท/สเตย์ ไนท์\" ไปก่อนหน้านี้ ทางสตูดิโอได้แถลงข้อมูลเกี่ยวกับ วิชช่วล โนเวล โปรเจกต์ล่าสุดที่กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการผลิต ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมได้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร \"ไทป์-มูน เอซ\" ที่ได้วางจำหน่ายในวันที่ 21 เมษายน 2008", "title": "มาโฮสึไค โนะ โยรุ" }, { "docid": "112565#0", "text": "ไทป์-มูน () เป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเกมชื่อดังจากประเทศ ญี่ปุ่น โดยเป็นที่รู้จักกันดีในผลงาน วิชช่วล โนเวล นอกจากนั้นบริษัทนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม () โดยคำๆนี้สมาชิกคนนึงคือคิโนโกะเป็นคนตั้งขึ้นมา เพราะตัวเขาเกี่ยวข้องกับ 小説 ที่แปลว่า Notes จึงมีคำกล่าวว่า Notes ก็คือ TYPEMOON นั้นเอง แต่อีกสาเหตุนั้นมาจากการที่ ทาเคอุจิ ไปค้นหาในอินเทอร์เน็ตแล้วเจอคำว่า 月型(TSUKI GATA)จึงเล่นผวนคำมาเป็น KATA TSUKI (型月) TYPE=KATA (GATA = 型 MOON = 月) จึงทำให้เกิดคำว่า TYPEMOON ขึ้นมา หลังจากที่เป็นที่โด่งดังด้วยผลงานวิชช่วล โนเวล \"ซีกิฮิเมะ\" ในฐานะของกลุ่มผู้ผลิต โดจินซอฟท์ ไทป์-มูน ก็ได้รวมตัวกันเป็นบริษัทและร่วมมือกันสร้างผลงานวิชช่วลโนเวลชิ้นใหม่อย่าง \"เฟท/สเตย์ ไนท์\" ซึ่งผลงานทั้งหมดนี้ก็ได้ถูกนำไปดัดแปลงออกมาในรูปแบบ อะนิเมะ และ มังงะ โดยมีแรงสนับสนุนจากแฟนๆ เป็นกำลังผลักดัน", "title": "ไทป์-มูน" }, { "docid": "112565#1", "text": "ในกลุ่ม ไทป์-มูน มีสมาชิกเพียงสองคนคือแต่ออกกลุ่มโดจินในนาม ไทป์-มูน กับ ทาเกะโบคิ ไปพร้อมๆกัน ในส่วนของเนื้อเรื่อง ผลงานโนเวลชิ้นแรกของพวกเขาคือนิยายเรื่อง \"คาระ โนะ เคียวไค\" ที่ได้ออกวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 1999 โดยจำหน่ายแค่เพียงเนื้อเรื่องบทที่ 5-6 เท่านั้น ส่วนบทที่ 1-4 นั้นได้มีการแจกจ่ายบทเว็บส่วนตัวในเดือนตุลาคม 1998 และได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกครั้งในปี 2001 และได้รับการติดต่อซื้อลิขสิทธิ์จากบริษัท คาโดคาวะ มาทำเป็นไลท์โนเวล อีกทีในปี 2004 \nในเดือนสิงหาคม ปี 1999 กลุ่ม ไทป์-มูน ได้ทำแผ่นดิสท์แจกเกี่ยวการทำวิลช่วลโนเวลของพวกเขา และในเดือนธันวาคม ปี 2000 ไทป์-มูน ได้ออกผลงานเกมวิชช่วลโนเวล เอโรเกะ \"ซึกิฮิเมะ\" สำหรับเล่นบนเครื่องPC ซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากแฟนๆ เป็นอย่างดีมากและเป็นที่รู้จักกันในทันที นั่นเป็นเพราะเนื้อหาที่ชวนให้หลงใหลล้ำลึกน่าติดตาม ตามแบบฉบับของคิโนโกะ นาสุ บวกกับงานภาพที่ดูดีของทาเคอุจิ ทาคาชิ \nต่อมาซึกิฮิเมะได้ถูกนำไปสร้างเป็นแอนิเมชันในปี 2003 ภายใต้ชื่อว่า ชินเก็ตสึทัน ซึกิฮิเมะ โดย J.C.Staff และจัดจำหน่ายโดย Geneon นอกจากนั้นยังมีในรูปแบบมังงะ ซึ่งอยู่ในนิตยสาร เด็งเก็งคิ ไดโอ ของค่าย มีเดียเวิร์ค ซึ่งใช้ชื่อเหมือนกับฉบับแอนิเมชัน และได้วางจำหน่ายในปี 2004", "title": "ไทป์-มูน" }, { "docid": "102989#0", "text": "แอสซาซิน เป็น ตัวละครสมมติ จากนิยายเรื่อง \"เฟท/ซีโร่\" โดย ไทป์-มูน และ ไนโตรพลัส.", "title": "แอสซาซิน (เฟท/ซีโร่)" } ]
3957
วีระยุทธ ดิษยะศริน ทำอาชีพอะไร ?
[ { "docid": "44404#1", "text": "ปัจจุบันนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดำรงตำแหน่งเป็นอุปนายกสมาคมกีฬาทางอากาศ และการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[4][5]", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" } ]
[ { "docid": "758444#1", "text": "จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 14 (ตท.14) รุ่นเดียวกับ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ, นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน และเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25 (จปร.25) รุ่นเดียวกับ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม, พลเอก ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม, พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ", "title": "ประสูตร รัศมีแพทย์" }, { "docid": "44405#2", "text": "เมื่อ พ.ศ. 2545 เครื่องบินนางสาวสยามได้รับการปรับปรุงและอนุรักษ์ โดยสร้างขึ้นมาใหม่ ใช้เครื่องยนต์เดิม ภายใต้การดูแลของ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ และมีความพยายามที่จะบินย้อนเส้นทางของนาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง 70 ปีครบรอบการบินครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2475 โดยใช้นักบินจำนวน 6 คน นำโดยนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน", "title": "นางสาวสยาม" }, { "docid": "44404#0", "text": "นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2498) เป็นอดีตพระสวามี[1][2][3] ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นอดีตพระชามาดาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นอดีตพระขนิษฐภรรดา (น้องเขย) ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และเป็นผู้อนุรักษ์และฟื้นฟู นางสาวสยาม เครื่องบินพลเรือนลำแรกของไทยให้กลับมาใช้งานได้", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "44404#2", "text": "นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน [6] เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของพลอากาศเอกประหยัด ดิษยะศริน อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กับคุณหญิงวิจิตรา ดิษยะศริน (สกุลเดิม วิกิณิยะธนี)[7] มีน้องสองคน คือ ปาริชาติ ดิษยะศริน หอวัฒนกุล[8] อดีตภรรยาของพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์[9][10](อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) และพลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน[11](ผู้บัญชาการทหารอากาศ )", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "327400#0", "text": "พระประยุทธชลธี หรือ นาวาโท พระประยุทธชลธี ราชนาวี มีชื่อจริงว่า แป๊ะ วีราสา เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดตราด และเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ในสมัยนายควง อภัยวงศ์", "title": "พระประยุทธชลธี (แป๊ะ วีราสา)" }, { "docid": "638401#2", "text": "จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน รุ่นที่ 15 รุ่นเดียวกับ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 รุ่นเดียวกับ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ , นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และเข้ารับการศึกษาต่อเนื่องที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25 รุ่นเดียวกับ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม , พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม, พลเอกประสูตร รัศมีแพทย์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดพล.อ.ธีรชัย นาควานิช หรือ บิ๊กหมู เตรียมทหารรุ่น 14 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 39 น้องรัก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นนายทหารจากถิ่นบูรพาพยัคฆ์ ที่ขึ้นนั่งเก้าอี้แม่ทัพบกเป็นคนที่ 5", "title": "ธีรชัย นาควานิช" }, { "docid": "263039#2", "text": "พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ เคยสมรสกับปาริชาติ ดิษยะศริน น้องสาวของนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ภายหลังได้หย่าร้างกัน ปัจจุบันสมรสกับสาวิตรี ดามาพงศ์ (สกุลเดิม รัตนสุวรรณชาติ) ทั้งสองมีบุตรฝาแฝดเป็นชายชื่อ พาทิศ (เอิง) และเป็นหญิงชื่อ พิมพ์พิชญา (ออ)", "title": "เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" }, { "docid": "19590#10", "text": "การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 1 เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีอภิเษกสมรสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีและ นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน ขณะมียศ เรืออากาศโท เมื่อ พ.ศ. 2525 การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 2 เพื่อทรงงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 3 เพื่อทรงงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 4 เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อ พ.ศ. 2538 การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 5 เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อ พ.ศ. 2539 การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่ 6 เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "44404#3", "text": "อนึ่งสกุล ดิษยะศริน เป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฏใน ทะเบียนนามสกุลที่เราได้ให้ไป ปรากฏอยู่ในลำดับที่ตามสมุดทะเบียน 1389 สะกดว่า ดิษยศริน และสะกดอย่างโรมันว่า Tishyasarin แต่ในราชกิจจานุเบกษา ครั้งที่ 17 ประกาศวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ลงว่า ดิษยะศริน จึงได้ยึดถือการสะกดนามสกุลดังกล่าวสืบมา[12]", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "20876#1", "text": "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ หรือพระองค์หริภา เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน ประสูติเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ณ พระตำหนักใหม่ สวนจิตรลดา โดยมีพระโสทรกนิษฐภคินี 1 พระองค์ คือพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ", "title": "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์" }, { "docid": "790490#8", "text": "วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2527 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และเรืออากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน ไปยังพลับพลาอิศริยาภรณ์เพื่อพระราชทานเพลิงศพ", "title": "พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร)" }, { "docid": "981353#0", "text": "พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรคนสุดท้องของพลอากาศเอก ประหยัด ดิษยะศริน อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กับคุณหญิงวิจิตรา ดิษยะศริน (สกุลเดิม วิกิณิยะธนี) มีพี่ชายและพี่สาว คือ นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และ ปาริชาติ ดิษยะศริน หอวัฒนกุล อดีตภรรยาของพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางพงศ์อุมา ดิษยะศริน", "title": "ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน" }, { "docid": "44404#9", "text": "ภายหลังทั้งสองได้หย่ากัน[18] แต่ยังคงติดต่อกับพระธิดาทั้งสองอยู่[5][19] ปัจจุบันนาวาอากาศเอกวีระยุทธ สมรสกับกับจิตสิรินท์ ดิษยะศริน (แพตตี้)[20][21]", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "590216#0", "text": "พระตำหนักกองบิน 41 เป็นพระตำหนักส่วนพระองค์อีกหลังหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอฯ ทั้ง 2 พระองค์ และนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่", "title": "พระตำหนักกองบิน 41" }, { "docid": "898240#0", "text": "นภสร วีระยุทธวิไล มีชื่อเล่นว่า ปุยเมฆ เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2540 เป็นนักแสดงหญิงและนางแบบชาวไทย ปุยเมฆ นภสร เคยเล่นทั้งมิวสิกวิดิโอและซีรีส์ เช่น มิวสิควิดิโอเพลง ดีต่อใจ ศิลปิน มาตัง The Star 11 ซีรีส์ My Dear Loser รักไม่เอาถ่าน รับบท ไอน้ำ และซีรีส์U-Prince Series ตอน เซอร์เวย์ รับบท เจ้าหญิงคาริน เป็นต้น", "title": "นภสร วีระยุทธวิไล" }, { "docid": "44404#6", "text": "ปัจจุบันลาออกจากราชการทหาร ทำธุรกิจร้านอาหารที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และดำรงตำแหน่งนายก สมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[14] ซึ่งผลงานที่มีชื่อเสียงคือการอนุรักษ์และฟื้นฟูเครื่องบิน นางสาวสยาม เครื่องบินพลเรือนลำแรกของไทย ให้กลับมาใช้งานได้[15] ภายหลังได้ย้ายกลับมาพำนักในประเทศไทย[16]", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "44400#0", "text": "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กับนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร", "title": "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ" }, { "docid": "44404#10", "text": "นอกจากเครื่องบินแล้ว นาวาอากาศเอกวีระยุทธยังชื่นชอบรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ และพาราไกลดิง[4]", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "44404#5", "text": "นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน รับราชการทหารอากาศ ตำแหน่งนักบินประจำหมวดบินที่ 2 หน่วยบินขับไล่โจมตีใบพัด, หน่วยบิน 112 เชียงใหม่ จากนั้นเป็นผู้บังคับฝูงบิน 411 เชียงใหม่ รองผู้บังคับกองบิน 41 เชียงใหม่ และเป็นผู้บังคับการกองบิน 41 เชียงใหม่ ก่อนจะไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตทหารฯ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "20876#0", "text": "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ (ประสูติ: 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กับนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร", "title": "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์" }, { "docid": "44400#1", "text": "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ หรือพระนามลำลองว่า พระองค์ติ๊ด ประสูติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กับนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน มีพระกนิษฐภคินีคือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระองค์และพระกนิษฐภคินีมีฐานันดรศักดิ์เป็น \"พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า\" ตั้งแต่ประสูติ ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพระยศดังกล่าวเทียบเท่าตำแหน่ง \"พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า\"", "title": "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ" }, { "docid": "555986#9", "text": "จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จากนั้นเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 รุ่นเดียวกับ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม , พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ , นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และเข้ารับการศึกษาต่อเนื่องที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25 รุ่นเดียวกับ พลเอกธีรชัย นาควานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พลเอกประสูตร รัศมีแพทย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด\nอุดมเดช สีตบุตร ได้รับแต่งตั้งแป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกหน้าที่หนึ่ง", "title": "อุดมเดช สีตบุตร" }, { "docid": "44404#8", "text": "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ (ประสูติ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 — ปัจจุบัน) พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (ประสูติ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 — ปัจจุบัน)", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "44404#4", "text": "นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2514, โรงเรียนเตรียมทหาร พ.ศ. 2516, โรงเรียนนายเรืออากาศ พ.ศ. 2521, โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง พ.ศ. 2527, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ วิทยาลัยการทัพอากาศ พ.ศ. 2530, และสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาผู้นำสังคม ธุรกิจ การเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต[13]", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "44404#11", "text": "พ.ศ. 2525 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้น 1 (ภ.ป.ร. 1)[22]", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "4219#7", "text": "จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ใหญ่) วัชรเรศร วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สอง) จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สาม) วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สี่) คุณพลอยไพลิน มหิดล เจนเซน และเดวิด วีลเลอร์ (พระธิดาคนโตในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและสามี) แม็กซิมัส วีลเลอร์ (พระนัดดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) ลีโอนาร์โด วีลเลอร์ (พระนัดดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) คุณสิริกิติยา เจนเซน (พระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย และสินธู ศรสงคราม (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสามี) ร้อยเอก จิทัศ และเจสสิกา ศรสงคราม (พระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และภรรยา) สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (อดีตหม่อมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร) ปีเตอร์ เจนเซน (อดีตพระสวามีในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) พลตรีหญิง ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (อดีตพระมเหสีในรัชกาลปัจจุบัน)", "title": "ราชวงศ์จักรี" }, { "docid": "44404#7", "text": "นาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน เคยสมรสกับ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และมีพระธิดา 2 พระองค์ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์[17] คือ", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "44404#12", "text": "หมวดหมู่:ทหารอากาศชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยการทัพอากาศ หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร‎‎ หมวดหมู่:นักบินชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า) หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1", "title": "วีระยุทธ ดิษยะศริน" }, { "docid": "544827#15", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปยังเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในการนี้พระบรมวงศานุวงศ์ หม่อมหลวงบัว กิติยากร และนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน โดยเสด็จฯในการนี้ด้วย เมื่อสด็จฯถึง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะพระศพ จากนั้นทรงศีล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯขึ้นพระเมรุ จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับพระศพทรงธรรมบนพระเมรุ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรมและเทียนดูหนังสือเทศน์ ทรงธรรม จบแล้วทรงทอดผ้าไตรสดับปกรณ์ พระสงฆ์สดับปกรณ์ จากนั้นทุกพระองค์เสด็จขึ้นพระเมรุทรงวางดอกไม้จันทน์พระราชทานเพลิงพระศพ เสร็จแล้วโปรดให้ข้าราชการ พระสงฆ์ ประชาชนถวายดอกไม้จันทน์บนพระเมรุ จากนั้นเสด็จฯกลับ ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี" } ]
3959
รายการ เวทีทอง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "148402#0", "text": "เวทีทอง เป็นรายการเกมโชว์และรายการโทรทัศน์รายการแรกของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และย้ายไปออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันเสาร์ ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันเสาร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 จนกระทั่งออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันเสาร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยได้ผลิตรายการใหม่ รายการตู้ซ่อนเงินขึ้นมาแทน", "title": "เวทีทอง" } ]
[ { "docid": "148402#41", "text": "ภายหลังจากยุคเวทีทองซึ่งมีเกียรติ กิจเจริญ และหม่ำ จ๊กมกเป็นพิธีกร ได้ผ่านพ้นไปแล้ว เวทีทองในยุคดีเจแอนดี้ และดีเจภูมินั้น กระแสความนิยมเริ่มลดลง แม้ว่าในช่วงซิกซ์ทีนจะยังคงได้รับความนิยมอยู่ก็ตาม ทั้งนี้ องค์ประกอบหลายๆ ด้าน ตลอดจนกระแสของรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลทำให้รายการเวทีทอง ได้รับผลกระทบอย่างมาก[7] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกย้ายเวลามาอยู่ในวันเสาร์ เวลา 22.00 น. ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เวทีทองถูกย้ายเวลามาออกอากาศในช่วงกลางคืน ทั้งๆที่ตลอดระยะเวลากว่า 17 ปี เวทีทอง ไม่เคยออกอากาศในช่วงกลางคืนมาก่อน แล้วช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เป็นเวลาเดิมของเศษ 1 ส่วน 2 ชั่วโมง ที่ ทีมงานศึกเพชรยินดี ได้จัดรายการการชกมวยไทย ในรายการ ศึกมวยไทยลุมพินีเกริกไกร ซึ่งทำการแข่งขันที่ สนามมวยลุมพินี ซึ่งรายการเวทีทอง ไปออกอากาศแทนเวลาดังกล่าว ทำให้แฟนรายการมวยฯ ไม่ค่อยนิยมติดตามรับชมการแข่งขันรายการฯดังกล่าว จึงดูเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงการจากไปของรายการ", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "148402#21", "text": "ใน<b data-parsoid='{\"dsr\":[16762,16775,3,3]}'>เวทีทอง</b>นั้นได้มีเกมสำหรับคนที่ตกรอบ หรือดาวเทียมในรอบหาดาวทอง (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) , รอบคำศัพท์ปริศนา (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550) หรือรอบพาดหัวข่าว (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547) โดยในช่วงแรก (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) จะมีสิ่งของที่เกี่ยวกับสีทองทั้งหมด 5 ชิ้น เช่น มงกุฏตกรอบ, ถ้วยรางวัลตกรอบ, สายสะพายตกรอบ, เข็มขัดมวยตกรอบ เป็นต้น ภายในนั้นจะมีทองคำซ่อนอยู่ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกสิ่งของขึ้นมา 1 ชิ้นจากทั้งหมด 3 ชิ้น และเมื่อเลือกสิ่งของนั้นได้แล้ว พิธีกรจะค้นหาทองคำ (อยู่ในรูปของโลโก้<b data-parsoid='{\"dsr\":[17314,17327,3,3]}'>เวทีทอง) ซึ่งซ่อนอยู่ในสิ่งของนั้น โดยมูลค่าทองคำจะมี 2 สลึง, 1 บาท และ 2 บาท หากได้ทองคำมูลค่าเท่าไหร่ ผู้เล่นจะได้รับทองคำไปมูลค่าตามนั้น", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "148402#6", "text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (7 สิงหาคม 2542 - 13 มกราคม 2550) รวม 7 ปี 4 เดือน 8 วัน ออกอากาศเป็นระยะเวลามากที่สุด เป็นยุคที่กลับมาออกอากาศ 1 ชั่วโมงอีกครั้ง พร้อมย้ายเวลาเป็นช่วง 11 โมง ,เที่ยงตรง ,บ่าย 2 ,และ 4 ทุ่มตามลำดับ มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุค \"เวทีทอง Magic\" เมื่อปี 2542-2545 และได้รับความนิยมน้อยที่สุดในช่วง \"เวทีทอง\" ยุคดีเจภูมิและแอนดี้ ที่ย้ายเวลามาเป็น 4 ทุ่ม จนกระทั่งยุติการออกอากาศในที่สุด (ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ \"การยุติการออกอากาศ\") ช่องเวิร์คพอยท์ (10 มกราคม 2559 - ปัจจุบัน)", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "148402#5", "text": "สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (14 ตุลาคม 2532 - 28 ธันวาคม 2540) รวม 7 ปี 2 เดือน 14 วัน เป็นยุคที่เริ่มต้นการออกอากาศของเวทีทอง ในบ่ายวันเสาร์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นย้ายมาเป็นวันอาทิตย์ในช่วง 11 โมง พร้อมกับเพิ่มเวลาเป็น 1 ชั่วโมง 10 นาที ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคกิ๊ก-หม่ำ เมื่อปลายปี 2535 - 2540 จนกระทั่งต้องย้ายการออกอากาศเมื่อช่อง 7 ได้มีนโยบายออกมาให้ทุกรายการของสถานีผลิตรายการด้วยต้นทุนที่ต่ำลงเนื่องจากเหตุการณ์สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 แต่ทางเวิร์คพอยท์ยอมรับนโยบายนี้ไม่ได้ จึงถอนทุกรายการออกจากสถานีทั้งหมด อาทิ \"ชิงร้อยชิงล้าน\" รวมถึง \"เวทีทอง\" ด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (3 มกราคม พ.ศ. 2541 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) รวม 1 ปี 7 เดือน 28 วัน ออกอากาศเป็นระยะเวลาน้อยที่สุด เป็นอยู่ที่เพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 1 ชั่วโมง 15 นาทีพร้อมกับกลับมาออกอากาศวันเสาร์อีกครั้งและเป็นต้นกำเนิดของ \"เวทีทอง Magic\" ในยุคนี้ เวทีทองยุคนี้ทั้งย้ายช่อง, วัน ,เวลาออกอากาศ มาเป็น 9 โมงเช้าของวันเสาร์ ส่งผลให้ไม่ได้รับความนิยมมาก เท่าเดิมที่อยู่ช่อง 7 และต้องย้ายการออกอากาศอีกครั้งเนื่องจากมีปัญหาด้านเวลาออกอากาศ", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "47775#2", "text": "รศ.ดร.เจิมศักดิ์ เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้ค้นคว้า วิจัย เชี่ยวชาญ ด้านการตลาดสินค้าเกษตร สินค้าโภคภัณฑ์ และการพัฒนาชนบท เป็นที่รู้จักในบทบาทผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ ประเภทการเมือง เศรษฐกิจ สังคมด้วย เช่น รายการเวทีชาวบ้าน, มองต่างมุม, เหรียญสองด้าน, ตามหาแก่นธรรม ทางช่อง 11, ฃอคิดด้วยฅนและลานบ้านลานเมือง ทางช่อง 9 ปัจจุบันมีรายการที่ออกอากาศ เช่น รายการ \"ลงเอย..อย่างไร\" ทุกวันพุธ เวลา 21.00 -22.00 น. และรายการ \"คลายปม\" ร่วมกับ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา และ วันชัย สอนศิริ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 21.00 -22.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) รายการ \"มุมมองของเจิมศักดิ์\" F.M.92.25 เวลา 08.00-09.30 น. ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ และรายการวิทยุ \"พูดตรงใจกับ ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง\" ทุกวันอาทิตย์เวลา 10.00 - 12.00 น. ทาง F.M. 92.25 รายการ \"นักสำรวจ\" ทางช่อง 3 ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 06.45 น.และเป็นคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์แนวหน้าและในเว็บไซต์ผู้จัดการแบบไม่ประจำ อีกทั้งมีสำนักพิมพ์ของตนเองคือ สำนักพิมพ์ฃอฅิดด้วยฅน พิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือแนวการเมือง เศรษฐกิจ สังคม มีหนังสือของสำนักพิมพ์ฃอคิดด้วยฅน ที่ได้รับความนิยม เช่น รู้ทันทักษิณ 1-5, แปลงทักษิณเป็นทุน, อยู่กับทักษิณ, การเมืองไทยหลังรัฐประหาร, รู้ทันภาษา รู้ทันการเมือง เป็นต้น", "title": "เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง" }, { "docid": "148402#45", "text": "หมวดหมู่:เกมโชว์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ในอดีต หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 3 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 5 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 7 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2532 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2550 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2559 หมวดหมู่:เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ทีวี", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "757875#1", "text": "รายการเวทีทอง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยรูปแบบรายการเวทีทองในยุคแรก (ออกอากาศระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533) เป็นการเปิดโอกาสให้นักแสดงอาชีพสมัครเล่น ที่มีความสามารถ มาแสดงอะไรก็ได้บนเวที หลังจากวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 ได้ปรับรูปแบบรายการเป็นรายการเกมโชว์เกี่ยวกับภาษา ซึ่งรายการเวทีทองมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการอยู่หลายครั้ง หลังจากรายการเวทีทองได้ยุติการออกอากาศไปตั้งแต่วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นระยะเวลา 9 ปี โดยในปี พ.ศ. 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ (ช่องเวิร์คพอยท์) ได้มีการผลิตรายการเพิ่มอีกหลายรายการ และหนึ่งในนั้นคือรายการ \"เวทีทอง\" โดยการกลับมาออกอากาศครั้งนี้จะใช้ชื่อรายการว่า \"เวทีทอง เวทีเธอ\" พร้อมกับรูปแบบรายการใหม่ ฉากใหม่ และผู้ดำเนินรายการชุดใหม่เกมนี้จะมีภาพปริศนาอยู่ทั้งหมด 2 ภาพ (หลังจากเทปที่ 9 ทางรายการได้เพิ่มเป็น 4 ภาพ) โดยแต่ละภาพจะสื่อถึงคำต่าง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทายคำศัพท์จากภาพนั้นให้ถูกต้อง โดยก่อนอื่นจะต้องแย่งกันกระโดดบนแท่นไฟ 9 ปุ่มให้ติด หากไฟติดที่ใคร ผู้นั้นจะได้สิทธิ์ในการตอบภาพปริศนาเป็นคนแรก และจะมีเวลาให้ตอบในแต่ละภาพ ภาพละ 7 วินาที (หลังจากเทปแรก ผู้เข้าแข่งขันที่กดไฟติดในแต่ละภาพ จะได้รับสิทธิพิเศษ โดยมีเวลา 10 วินาทีในการตอบ) ถ้าตอบถูกจะได้คะแนนสะสม 10 คะแนน (หลังจากเทปแรก คะแนนปรับลดเหลือ 5 คะแนน) และจะได้พัก (หลังจากเทปที่ 9 ผู้เข้าแข่งขันที่สะสมคะแนนได้ครบ 10 คะแนนก่อนจะได้พัก) ทั้งนี้ ถ้าหมดเวลา 7 วินาทีแล้ว ผู้เข้าแข่งขันคนถัดไปจะมีสิทธิ์ตอบบ้าง แต่เมื่อครบ 3 คน (หรือ 2 คน หากมีผู้ตอบภาพปริศนาถูกไปแล้ว 1 คน หรือมีคนสะสมคะแนนได้ครบ 10 คะแนน หลังจากเทปที่ 9) แล้วยังไม่มีใครตอบถูกอีก พิธีกรจะมีคำใบ้และให้ผู้เข้าแข่งขันตอบใหม่ และเกมก็จะวนเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีผู้ตอบถูก และตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 7 มกราคม 2561 ได้เปิดให้ผู้ชมทางบ้าน ส่งภาพปริศนามาทางแฟนเพจของทางรายการ ภาพปริศนาของใครได้ออกอากาศ จะได้รับของรางวัลจากทางรายการ เป็นเสื้อยืดที่มีลายสกรีนเป็นโลโก้ของรายการเวทีทอง เวทีเธอ", "title": "เวทีทอง เวทีเธอ" }, { "docid": "510797#3", "text": "วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555 ซุปเปอร์แบงค์เข้าแข่งขันคู่เอกรายการศึกขุนศึกตระกูลหยาง โดยได้พบกับรุ่งรัตน์ ต.พิทักษ์กลการ ซึ่งเป็นคู่มวยที่ไม่เคยพบกันมาก่อน และซุปเปอร์แบงค์เป็นฝ่ายชนะ ที่เวทีมวยลุมพินี วันที่ 6 มิถุนายน ซุปเปอร์แบงค์เข้าแข่งขันคู่เอกนำรายการศึกวันทรงชัย ที่เวทีมวยราชดำเนิน โดยได้พบกับน้องเบียร์ โชคงามวงศ์ ที่ซึ่งทั้งคู่ไม่เคยพบกันที่ใดมาก่อน และซุปเปอร์แบงค์เป็นฝ่ายชนะคะแนน วันที่ 28 มิถุนายน ซุปเปอร์แบงค์เข้าแข่งขันคู่เอกนำรายการศึกวันทรงชัย ที่เวทีมวยราชดำเนิน โดยเป็นฝ่ายเสมอยอดทองไท ป.เตละกุล วันที่ 28 กันยายน ซุปเปอร์แบงค์เข้าแข่งขันคู่เอกนำรายการศึกเพชรสุภาพรรณ ที่เวทีมวยลุมพินี โดยได้พบกับนิววังจั่น ปกรณ์พรสุรินทร์ จากการต่อสู้ครั้งดังกล่าว ซุปเปอร์แบงค์เป็นฝ่ายชนะน็อกได้ในยกที่ 2 วันที่ 11 ตุลาคม ซุปเปอร์แบงค์เป็นหนึ่งในนักมวย 10 คู่เอกของรายการศึกวันทรงชัย ซึ่งจัดขึ้น ณ เวทีมวยราชดำเนิน โดยได้พบกับคู่ชก คือ สิงห์ทองน้อย ป.เตละกุล วันที่ 9 พฤศจิกายน ซุปเปอร์แบงค์เข้าแข่งขันในคู่เปิดรายการศึกเพชรสุภาพรรณเงินล้าน ที่เวทีมวยลุมพินี โดยพบกับน้องเบียร์ โชคงามวงศ์ ซึ่งซุปเปอร์แบงค์เป็นฝ่ายแพ้น็อกครั้งแรก", "title": "ซุปเปอร์แบงค์ ม.รัตนบัณฑิต" }, { "docid": "922142#0", "text": "The Show ศึกชิงเวที เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้เกมโชว์ ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ดำเนินรายการโดย สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ ออกอากาศทุกวันอังคาร 20.15 - 21.45 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรก 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561", "title": "The Show ศึกชิงเวที" }, { "docid": "148402#2", "text": "รายการ<b data-parsoid='{\"dsr\":[2646,2659,3,3]}'>เวทีทอง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยรูปแบบรายการเวทีทองในยุคแรก (14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533) เป็นการเปิดโอกาสให้นักแสดงอาชีพสมัครเล่นที่มีความสามารถมาแสดงอะไรก็ได้บนเวที หลังวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 ได้ปรับรูปแบบรายการเป็นรายการเกมโชว์เกี่ยวกับภาษา ซึ่งรายการเวทีทอง มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการอยู่หลายครั้ง", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "148402#9", "text": "ธงชัย คะใจ (ต้อย เวทีทอง) (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547) ภานุพันธ์ ครุฑโต (ดร.พัน) (พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550) พัน ได้กลับเข้ามาในรายการเวทีทองอีกครั้งในฐานะผู้เข้าแข่งขันในยุค เวทีทอง เวทีเธอ", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "148402#40", "text": "ในรายการ<b data-parsoid='{\"dsr\":[31764,31777,3,3]}'>เวทีทอง มีการใช้เพลงไตเติ้ลรายการหลายรูปแบบ โดยในช่วงที่วัชระ ปานเอี่ยมเป็นพิธีกร เพลงรายการจะเป็นเพลงบรรเลงแนวนิวเวฟ[5] แบบยุค 80 และมีเสียงคอรัส เวทีทอง ในตอนท้าย ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนพิธีกรมาเป็นเสกสรร ชัยเจริญ และหม่ำ จ๊กมก เพลงไตเติ้ลได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นเพลงเวทีทองซึ่งเป็นรากของเพลงไตเติ้ลเวทีทองที่เป็นที่คุ้นหูในหมู่ผู้ชมรายการขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2536 เวทีทองจึงได้ใช้เพลงไตเติ้ลที่มีผู้ขับร้องเป็นครั้งแรก ซึ่งขับร้องโดยคุณ ธานินทร์ เคนโพธิ์, เกียรติ กิจเจริญ (ซูโม่กิ๊ก) และหม่ำ จ๊กมก[6] โดยเพลงไตเติ้ลในปี พ.ศ. 2536 ได้ถูกใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2545 จึงเปลี่ยนเพลงอีกครั้งเพื่อให้สอดรับกับธีมของรายการที่เปลี่ยนแปลงไปแต่หลังจากนั้นจะไม่มีเนื้อเพลงที่ร้องแต่จะมีเสียงคอรัสคำว่าเวทีทองทำให้ผู้ชมคุ้นหูเป็นอย่างมาก และในยุคเวทีทอง เมจิก ก็ได้มีการเพิ่มจังหวะเพลงแบบอินเดียเข้าไปด้วย แต่รูปแบบเพลงยังคงเหมือนเดิม และเวทีทองในปี พ.ศ. 2545 กลับใช้เพลงบรรเลงแทนแต่ทำนองรูปแบบยังคงเดิมแต่เสียงเพลงจะเป็นแนวเทคโนไซเบอร์ซึ่งเป็นแนวธีมหลักของยุคนั้นและเมื่อถึงยุคของเวทีทองซิกซ์ทีน ก็ได้มีการเปลี่ยนเพลงมาเป็นเพลงขับร้องทำนองฮิปฮอปคล้ายเสียงยุคแรก ตามสไตล์ของรายการและมีเพลงแทรกที่เข้ามาคือเพลง 16 ปี แห่งความหลังของสุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งเสมือนช่วงในระยะเวลา 16 ปีไปด้วย ส่วนเพลงบรรเลงในรายการนั้นต่างกับเวทีทองยุคก่อนๆ เป็นอย่างมากจนไม่เหลือเค้าของเวทีทองยุคก่อนๆ และในเวทีทองยุคสุดท้าย เพลงไตเติ้ลถูกใช้เป็นเพลงบรรเลงจนยุติการออกอากาศ", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "504711#3", "text": "เพชรอู่ทองเป็นนักมวยไทยที่ได้รับการกล่าวถึงในรายการใหญ่หลายรายการ อาทิ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เพชรอู่ทองเข้าแข่งขันรายการขุนศึกตระกูลหยาง ที่เวทีมวยลุมพินี โดยได้พบกับเทียนขาว ท.แสงเทียนน้อย วันที่ 8 สิงหาคม เพชรอู่ทองเข้าแข่งขันคู่เอกรายการศึก ส.สมหมาย ที่เวทีมวยราชดำเนิน โดยได้พบกับอุ้ยเสี่ยวป้อ ซูจีบะหมี่เกี๊ยว และเพชรอู่ทองเป็นฝ่ายชนะคะแนนขาด วันที่ 18 กันยายน เพชรอู่ทองเข้าแข่งขันคู่เอกรายการศึกขุนศึกตระกูลหยาง ที่เวทีมวยลุมพินี โดยได้พบกับลูกนิมิต สิงห์คลองสี่ จากการแข่งขันครั้งดังกล่าว เพชรอู่ทองเป็นฝ่ายชนะคะแนนขาด วันที่ 11 ตุลาคม เพชรอู่ทองเข้าแข่งขันรายการศึกวันทรงชัย ที่เวทีมวยราชดำเนิน และเป็นฝ่ายเสมอกับยอดทองไท ป.เตละกุล วันที่ 15 พฤศจิกายน เพชรอู่ทองเข้าแข่งขันคู่เอกของรายการศึกวันกิ่งทอง ที่เวทีมวยราชดำเนิน โดยได้พบกับพลังทิพย์ น.ศรีผึ้ง", "title": "เพชรอู่ทอง อ.ขวัญเมือง" }, { "docid": "69071#2", "text": "การรวมตัวของแก๊งสามช่า เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นการออกอากาศครั้งแรกของรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า การรวมตัวของแก๊งสามช่านี้เป็นแนวความคิดของ พาณิชย์ สดสี ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวิร์คพอยท์ เอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) ฝ่ายผลิต ที่ว่า \"รายการบันเทิงดีต้องมีทีมตลกเก่ง\" อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านั้นเวิร์คพอยท์ได้หม่ำ จ๊กมก มาเป็นนักแสดงตลกประจำรายการชิงร้อยชิงล้านมาแล้ว 7-8 ปี และได้รับความนิยมให้แก่ผู้ชมเป็นอย่างมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนกระทั่งปัจจุบัน แนวความคิดนี้ได้แพร่ขยายไปสู่รายการบันเทิงอื่น ๆ ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) อีกหลายรายการ จะเห็นได้จากหลายๆ รายการของเวิร์คพอยท์ที่มีนักแสดงประจำแก๊งสามช่าเป็นพิธีกรหรือแสดงในรายการด้วย เช่น ระเบิดเถิดเทิง เวทีทอง ตลก 6 ฉาก ชัยบดินทร์โชว์ ชิงช้าสวรรค์ เป็นต้น\nในปัจจุบัน\nในอดีต\n\"บริษัทเครือบั้งไฟฯของ หม่ำ จ๊กมก มีบริษัทลูกทั้งหมด 24 บริษัท และบริษัท ในเครือ 4 บริษัท\"", "title": "แก๊งสามช่า" }, { "docid": "148402#33", "text": "ในระยะเวลาต่อมาได้มีการเปลี่ยนกติกาใหม่โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อรายการ เวทีทอง 6 แผ่นป้าย และอีกชุดหนึ่ง จะเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ ผลิตภัณฑ์โอวัลติน) โดยถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดได้ชุดตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อของรายการเวทีทอง และถูกตำแหน่ง จะได้รับทองคำหนัก 2 บาท แต่ถ้าเปิดได้แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับกิ๊ฟเซ็ทของผู้สนับสนุนหลักไปแผ่นป้ายละ 1 ชุด หากเปิดได้ตัวอักษรคำว่า เ-ว-ที-ท-อ-ง ครบ 6 ป้าย จะได้รับรางวัลเป็นทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง แต่ถ้าเปิดเจอชุดอักษรสปอนเซอร์หลักครบ 6 ป้าย จะได้รับกิ๊ฟเซ็ท6ชุด โดยฝ่ายผู้เข้าแข่งขันได้รับแค่ฝ่ายเดียว", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "148402#42", "text": "และในช่วงปลายปี 2549 ได้เริ่มมีการโฆษณารายการเกมโชว์ใหม่ คือรายการ ตู้ซ่อนเงิน ซึ่งออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกันกับเวทีทอง จึงเป็นที่แน่ชัดว่าเวทีทองได้มาถึงจุดอวสานแล้ว และด้วยเหตุนี้รายการเวทีทองจึงต้องยุติการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2550 นับเป็นการปิดตำนานเกมโชว์ชื่อดังที่อยู่คู่เมืองไทยมานานถึง 18 ปี และเป็นการปิดฉากรายการแรกที่ผลิตขึ้นโดย<b data-parsoid='{\"dsr\":[35140,35230,3,3]}'>บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) อีกด้วย", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "100634#10", "text": "มยุราเริ่มบทบาทการเป็นพิธีกรเมื่อสุรางค์ เปรมปรีดิ์ มอบหมายให้เป็นพิธีกรในรายการ 7 สีคอนเสิร์ต คู่กับธงไชย แมคอินไตย ซึ่งเป็นรายการสด เริ่มออกอากาศครั้งแรก 4 มกราคม 2529 ณ ลานเพลิน 7 สี ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี จนเธอได้รับเลือกให้เป็นพิธีกรในเวทีต่าง ๆ มากมาย เช่น เวทีการประกวดนางสาวไทย เวทีการประกวดมิสทีนไทยแลนด์ เวทีการประกาศผลรางวัลเมขลา ผู้ประกาศรายการช่อ 7", "title": "มยุรา เศวตศิลา" }, { "docid": "165453#0", "text": "รายการตาสว่าง (Sleepless in Bangkok)เป็นรายการโทรทัศน์ประเภท ทอล์กโชว์ ที่ให้ความบันเทิง สนุกสนาน เพลิดเพลิน บนสาระ ที่นำเสนอเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันและเรื่องราวที่น่าสนใจ ผลิตโดย บริษัท ดีทอล์ก จำกัด ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยมี ดู๋ สัญญา คุณากร เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งในยุคแรก ออกอากาศทุกวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 22.50-23.50 ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9) เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ต่อมารายการตาสว่างได้ลดวันออกอากาศ จาก 4 วัน เหลือ 1 วัน คือวันพุธ แต่เพิ่มเวลาเป็น 2 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 22.15-24.00 เริ่มออกอากาศในเวลาใหม่เมื่อวันพุธที่ 23 กรกฎาคม 2551 นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการและเวทีของรายการอีกด้วย และสิ้นสุดออกอากาศเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เนื่องจากทางอสมทได้มีการปรับผังรายการใหม่ในปี 2553", "title": "ตาสว่าง (รายการโทรทัศน์)" }, { "docid": "193464#11", "text": "ใน ปี 2013 กยูฮย็อนได้เข้าร่วมรายการซึ่งเป็นรายการใหม่ที่มีชื่อว่า mamma mia ทางช่อง KBS 2TV แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตารางการออกอากาศของรายการ ทำให้เวลาการออกอากาศไปตรงกับรายการ Radio Star ซึ่งกยูฮย็อนเป็นพิธีกรอยู่เช่นเดียวกัน ทำให้กยูฮย็อนต้องถอนตัวออกจากรายการเนื่องจากตารางการออกอากาศที่ทับซ้อนกันนั่นเอง และในปีเดียวกัน กยูฮย็อนก็ได้รับการทาบทามให้แสดงละครเวทีเรื่อง Moon Embracing the Sun โดยรับบทเป็นตัวเอกของเรื่องนั่นก็คือบทของ พระเจ้าลีฮวอน โดยละครเวทีเรื่องนี้นั้น จะเปิดทำการแสดงตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2014", "title": "กยูฮย็อน" }, { "docid": "42149#18", "text": "เพลงเงินล้าน - (พ.ศ. 2531 - ปัจจุบัน) รายการประกวดร้องเพลงโดยโรงเรียนวาทินี ออกอากาศทุกบ่ายวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน โลกใบจิ๋ว - (พ.ศ. 2533-พ.ศ. 2550) เป็นรายการสำหรับเด็ก ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 18.30 น. มอร์นิงทอล์ก - (พ.ศ. 2545) รายการสนทนาภาคภาษาอังกฤษ ออกอากาศต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนชีวิต - (พ.ศ. 2549) ละครโทรทัศน์เรื่องแรกของสถานี และเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกของประเทศไทยที่สร้างและออกอากาศร่วมกับต่างประเทศ (ประเทศลาว) เสียงสวรรค์เมื่อวันวาน - (พ.ศ. 2550) เป็นรายการเพลงอมตะของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ โดยผลิตรายการร่วมกับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ออกอากาศเป็นประจำทุกวันเสาร์ ร่วมมือร่วมใจ - (พ.ศ. 2551 - 2555) รายการที่จะเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องทุกข์ในเรื่องราวและปัญหาต่างๆ ดำเนินรายการโดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ปิยะฉัตร กรุณานนท์ และ สิริเสาวภา เอกเอี่ยมสิน ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ 14.00-15.00 น. ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศช่องสปริงนิวส์ ติวเข้ม เติมเต็มความรู้ (ชื่อเดิม ติวเตอร์ แชนแนล) - (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการให้ความรู้ทางวิชาการแก่นักเรียนทั่วประเทศ ผลิตรายการโดย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.00-10.00 น. กรองสถานการณ์ - (พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2554) รายการสนทนาข่าวประจำวัน ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลาหลังข่าวภาคค่ำ ความจริงวันนี้ - (พ.ศ. 2551) รายการโทรทัศน์ประเภทความเห็นทางการเมืองของประเทศไทย ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00 น. คลายปม - (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - ยุติออกอากาศแล้ว) รายการวิเคราะห์ เจาะลึก สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน และเปิดโปงที่มาที่ไปของปัญหาบ้านเมืองนั้นๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ดร.เสรี วงศ์มณฑา และ อ.วันชัย สอนศิริ (ดร.เสรี กับ อ.วันชัย จะสลับกันมาร่วมรายการกับ ดร.เจิมศักดิ์) ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 21.00 น. - 22.00 น. เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก - (10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 26 กันยายน พ.ศ. 2554) รายการสารคดีเชิงข่าวของสำนักข่าวทีนิวส์ ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศช่องไบรท์ทีวี ลงเอยอย่างไร - (พ.ศ. 2552 - ยุติออกอากาศแล้ว) รายการสนทนาปัญหาต่างๆ ของบ้านเมือง เพื่อร่วมกันหาทางออกของปัญหาต่างๆ โดยมีแขกรับเชิญมาร่วมรายการซึ่งจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ออกอากาศทุกคืนวันพุธ 21.00-22.00 น. เกาที่คัน - (พ.ศ. 2552 - ยุติออกอากาศแล้ว) รายการวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์ที่มาที่ไปของปัญหาแบบเจาะลึก ดำเนินรายการโดย ดร.เสรี วงศ์มณฑา และ รณชาติ บุตรแสนคม ออกอากาศทุกคืนวันศุกร์ 21.00-22.00 น. ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศช่องทีเอ็นเอ็น 2 ศึกมวยดีวิถีไทย (พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน) รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันชกมวยไทยที่นำเสนอภายใต้แนวคิด \"มวยไทยบันเทิง\" มีจุดเด่น คือ การนำเด็กมาทำหน้าที่นำนักมวยเข้าสู่เวทีก่อนการชกในแต่ละคู่ หรือที่เรียกกันว่า \"เยาวชนต้นกล้ามวยไทย\"(ปัจจุบันย้ายไปถ่ายทอดสดทางช่อง 3 เอสดี) ศึกยอดมวยไทย (2 มกราคม - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559) รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันชกมวยไทย ออกอากาศทุกวันเสาร์ 14.00-16.00 น. (ปัจจุบันย้ายไปถ่ายทอดสดทางทรูโฟร์ยู ในชื่อรายการมวยมันส์วันศุกร์)[9]", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย" }, { "docid": "181483#3", "text": "ทว่า หลังจากได้ยุติการออกอากาศรายการเวทีไทลง ในกลางปี พ.ศ. 2555 ได้มีการเปิดช่องรายการเวทีไทขึ้น ทางจานดาวเทียมพีเอสไอ , จีเอ็มเอ็ม แซท และเคเบิลท้องถิ่น โดยเป็นการผลิตรายการต่างๆ เพื่อคนรักษ์ลูกทุ่ง และยังมีการนำคอนเสิร์ตเวทีไท มาออกอากาศซ้ำ (สถานีเวทีไท ออกอากาศเต็มรูปแบบ เมื่อเดือนมิถุนายน 2556 แต่ปัจจุบัน ได้ยุติการออกอากาศ ในปี 2558)", "title": "เวทีไท" }, { "docid": "148402#8", "text": "ตั้งแต่เวทีทอง ยุคที่ 5 และยุคซิกซ์ทีน เป็นต้นมาได้เพิ่มผู้ร่วมดำเนินรายการมาโดยส่วนมากจะมาในช่วงตอบจดหมายด้วยกันและเป็นผู้ช่วยดำเนินรายการพร้อมโชว์มุขตลกในรายการด้วย", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "139354#0", "text": "มาสเตอร์คีย์ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 10.00 -10.30 น. (เริ่ม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) ผลิตโดย บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด ปัจจุบันมีผู้ดำเนินรายการได้แก่ เมทนี บุรณศิริ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยเริ่มจาก มาสเตอร์คีย์, มาสเตอร์คีย์ ฟอร์เอฟเวอร์, มาสเตอร์คีย์ เดอะวินเนอร์, มาสเตอร์คีย์ สี่ภาค, มาสเตอร์คีย์ 10 ปีทอง, มาสเตอร์คีย์ มหาสนุก, มาสเตอร์คีย์ ไทยแลนด์, มาสเตอร์คีย์ คู่หูคู่เพลง และล่าสุดคือ มาสเตอร์คีย์ เวทีแจ้งเกิด", "title": "มาสเตอร์คีย์" }, { "docid": "148402#31", "text": "และรายการสตอเบอรี่ชีสเค้ก เทปวันที่ 29 มีนาคม 2552 (ย้อนอดีตเกมโชว์) ได้จำลองเกมในรายการช่วงชั่งทองให้พิธีกรได้ร่วมสนุก โดยในเทปนั้นมีเกมในรายการเกมโชว์อีก 4 รายการ ได้แก่ พลิกล็อก เกมพิศวง มาตามนัด และเกมจารชน และรายการ My Man Can แฟนฉันเก่ง เทปวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ได้จำลองเกมในช่วงชั่งทองของเวทีทองมาเป็นภารกิจในเกมที่ 5 อีกด้วย", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "148402#1", "text": "ตั้งแต่วันอาทิตย์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งทางช่องเวิร์คพอยท์[1][2]ในชื่อใหม่ เวทีทอง เวทีเธอ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 13:30 - 14:30 น.[3]", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "148402#43", "text": "ในปี 2559 ทางช่องเวิร์คพอยท์ได้มีการผลิตรายการเพิ่มอีกหลายรายการ รวมทั้ง เวทีทอง เวทีเธอ[2]", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "193911#1", "text": "ต่อมารายการได้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง ทางสถานีประชาธิปไตย (ดี-สเตชัน) โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552 ซึ่งในช่วงนี้ ได้มีพิธีกรเสริมทดแทน กรณีที่พิธีกรชุดเดิมคนใดคนหนึ่ง ไม่สามารถมาดำเนินรายการได้ อีก 3 คน คือ นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายสมหวัง อัสราษี และนางสาวนารีรัตน์ นานเนิ้น แต่เนื่องจาก ดี-สเตชัน ถูกสั่งระงับออกอากาศ รายการจึงจำเป็นต้องยุติไปอีกครั้ง\nแต่ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กล่าวบนเวทีปราศรัยของกลุ่มคนเสื้อแดงในงานแดงทั้งแผ่นดินสัญจรว่ารายการจะกลับมาออกอากาศอีกครั้ง ทางสถานีประชาชน (พีเพิลแชแนล) ฉายอีกครั้งวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552", "title": "ความจริงวันนี้" }, { "docid": "148402#32", "text": "รอบสุดท้าย (Jackpot) ของเวทีทองจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้ายด้วยกัน ในช่วงแรก จะเป็นการเปิดป้ายเพื่อประกอบตัวอักษรเป็นข้อความ โดยจะมีตัวอักษร 2 ชุด ชุดละ 6 แผ่นป้าย ทั้งนี้ ชุดหนึ่ง จะเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อของผู้สนับสนุนหลักในเกม (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ ผลิตภัณฑ์โอวัลติน) โดยจะแบ่งเป็น โ-อ-วั-ล-ติ-น และอีกชุดหนึ่ง จะเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อรายการ เวทีทอง โดยจะแบ่งเป็น เ-ว-ที-ท-อ-ง สำหรับเกมนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้าย 6 แผ่นป้าย ให้ได้ชุดตัวอักษรที่เป็นชื่อผู้สนับสนุนรายการหลัก ซึ่งแต่ละแผ่นป้ายที่เปิดได้จะได้ทองคำหนัก 1 บาท แต่ถ้าเปิดเจอชุดอักษร เวทีทอง จะไม่ได้รับทองคำแต่อย่างใด แต่ถ้าหากผู้เล่นสามารถเปิดเจอชุดอักษรที่ประสมกันเป็นชื่อผู้สนับสนุนรายการ ได้ครบ 6 แผ่นป้าย และถูกตำแหน่ง จะได้รับรางวัลเป็นทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "757875#0", "text": "เวทีทอง เวทีเธอ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้มีการนำกลับมาผลิตเป็นรูปแบบใหม่อีกครั้ง หลังจากยุติการออกอากาศไปตั้งแต่วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นระยะเวลา 9 ปี โดยรายการในรูปแบบใหม่นี้ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.30 - 14.45 น. ดำเนินรายการโดย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค (เสนาหอย) และ ผดุง ทรงแสง (แจ๊ส ชวนชื่น)", "title": "เวทีทอง เวทีเธอ" } ]
3960
มหาวิทยาลัยใดเปิดสอนสาขาจิตวิทยาครั้งแรกของประเทศไทย?
[ { "docid": "32948#0", "text": "คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้งขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งคณะจิตวิทยา ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2539 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2539 นับเป็นคณะที่ 18 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นคณะจิตวิทยาแห่งแรกของประเทศไทย ปี 2559 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะจิตวิทยา อันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับของ QS World University Rankings by Subject 2016[2]", "title": "คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" } ]
[ { "docid": "535940#0", "text": "ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในสาขาวิชาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสังกัดภาควิชาจิตวิทยา บรรณารักษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ทำการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ณ ศูนย์รังสิต และ สูงกว่าปริญญา ณ ท่าพระจันทร์ เป็นสถาบันแรกที่ทำการสอนจิตวิทยาในประเทศไทยและเป็นเพียงสถาบันเดียวที่ประสาทปริญญาในรูปแบบศิลปศาสตร์บัณฑิต (โดยตัวหลักสูตรเป็นจิตวิทยาบริสุทธิ์ตามรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบตะวันตกมิได้เป็นกึ่งศิลปศาสตร์แต่อย่างใด)\nภาควิชาจิตวิทยาเป็นส่วนราชการไทยระดับภาควิชา (department) สังกัดคณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนับเป็นสาขาวิชาที่เปิดดำเนินการสอนขึ้นเป็นลำดับที่ 6 ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นสถาบันการเรียนการสอนทางด้านจิตวิทยาที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอันดับแรกของประเทศไทย เมื่อปี พุทธศักราช 2507 โดยแต่เดิม ก่อนปี 2507 ที่มีโครงสร้างหลักสูตรจิตวิทยานั้น พบว่ายังไม่ได้มีการก่อตั้งภาควิชาจิตวิทยาขึ้นอย่างเป็นทางการ และยังไม่ได้รับสังกัดในคณะใดๆ หากแต่มีการเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาอยู่ก่อนแล้ว โดยที่เป็นลักษณะของการไปบรรยายส่งเสริมเข้าในเนื้อหาของคณะต่างๆ ตามที่จำเป็นต้องใช้ประกอบในเนื้อหาวิชานั้นๆ เช่น นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิชาผู้บริโภค การตลาด เป็นต้น จนกระทั่งคณาจารย์ได้ร่วมกันวางแผนหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาตรี) 4 ปี ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านจิตวิทยา เพื่อนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปใช้สนับสนุนในเนื้องานและการประกอบวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้ทางจิตวิทยา\nเมื่อครั้งแรกเริ่มก่อตั้ง ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการสนับสนุนในแง่มุมของหลักวิชาการเป็นอย่างดีจากสมาคมฟุลไบรท์ (องค์กรนักจิตวิทยาซึ่งประกอบด้วยชาวต่างชาติผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแก้ปัญหาครอบครัว) จิตวิทยามุ่งศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ มีการทดลองด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ต้นแบบจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน หรือ APA อนึ่ง ในสมัยแรกนั้นภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนทุกชั้นปีการศึกษาที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ตั้งแต่ปีที่ได้รับการสถาปนา แต่ต่อมาทางภาควิชาได้ขยายส่วนมาจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ครบทั้ง 4 ชั้นปี อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนั้นที่ต้องการขยายพื้นที่การศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคณะ ดังนั้นจึงส่งผลให้ปัจจุบันนี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต", "title": "สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "11809#13", "text": "นอกจากนี้ยังมีส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นหน่วยจัดการเรียนการสอนและพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัย คือ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ต่างจังหวัด 23 แห่ง จัดการเรียนการสอน ปริญญาตรี โท บางคณะ และสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ\nมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เริ่มขยายการเรียนการสอนสู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่2/2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ปวงชนชาวไทยในต่างประเทศทั่วโลก เพื่อนำการอุดมศึกษาไทยสู่สากลอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาการอุดมศึกษาไทยแข่งขันในเวทีการศึกษาโลก พัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งสร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและประเทศชาติให้กว้างไกลทั่วสากล\nหลักสูตรที่เปิดสอนในต่างประเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และกำลังจะเปิดสอนระดับปริญญาเอก ปัจจุบัน ขยายสู่ 29 ประเทศทั่วโลก มีศูนย์สอบ 38 แห่งในประเทศต่าง ๆ และกำลังขยายเพิ่มขึ้น การจัดสอบได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการให้ความอนุเคราะห์สถานที่สอบ และการดำเนินการจัดสอบ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศต่าง ๆ ที่มีผู้สมัครเรียน \nประเทศที่มีศูนย์สอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง 29 ประเทศ ดังต่อไปนี้ \nชาวรามคำแหงเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทาน ปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประจำทุกปี ", "title": "มหาวิทยาลัยรามคำแหง" }, { "docid": "460447#1", "text": " มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปิดสอนวิชาด้านสังคมศาสตร์ตั้งแต่พ.ศ. 2486 เป็นต้นมาพร้อมๆ \nกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายวิชาที่เปิดสอนในระยะแรกได้แก่ \nวิชากฎหมาย เปิดสอนในคณะสหกรณ์ ส่วนรายวิชาด้านสังคมศาสตร์นั้นเปิดสอนเฉพาะบางรายวิชาเช่น \nวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้น สังคมวิทยาชนบท แต่ยังไม่มีภาควิชาสังกัด\nภายในคณะแต่อย่างใด จนกระทั่งวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 จึงได้มีการจัดตั้งภาควิชาขึ้นจำนวน 5 ภาควิชา คือ ภาควิชาจิตวิทยา \nภาควิชาปรัชญาและศาสนา ภาควิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา\nภาควิชาประวัติศาสตร์ ทำหน้าที่ในการผลิตศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ จนกระทั่งในพ.ศ. 2544 ภาควิชาประวัติศาสตร์จึงเปิดสอนหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต\nสาขาวิชาประวัติศาสตร์ร่วมด้วย ภาควิชาได้ผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมไทยรับใช้สังคมในมิติต่าง ๆ ทั้งศึกษาต่อ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชนและต่างประเทศ รวมถึงการผลิตนักประวัตศาสตร์ที่มีคุณภาพ มีความรู้รับใช้สังคมและประเทศชาติ", "title": "ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" }, { "docid": "2781#31", "text": "สำหรับประเทศไทย การศึกษาทางด้านจิตวิทยาในระดับอุมดมศึกษานั้นได้ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว ซึ่งสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ได้มีการจัดตั้งหลักสูตรจิตวิทยาในระดับปริญญาตรีขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาปนาเป็นภาควิชาหนึ่งในคณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts) ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2507 โดยภาควิชาจิตวิทยาฯ ได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนจากสมาคมฟุลไบรท์ไทย หรือ Thai Fulbright Association (TFA) ทำให้หลักสูตรดังกล่าวมีมาตรฐาน มีความทันสมัย ทัดเทียมกับหลักสูตรการศึกษาจิตวิทยาในต่างประเทศ", "title": "จิตวิทยา" }, { "docid": "83231#0", "text": "สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2523 โดยสาขาวิชานิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เปิดทำการเรียนการสอนในสาขานิติศาสตร์เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย \" (รองจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรามคำแหง) \"และเป็นสถาบันอุดมศึกษาอันดับที่ 6 ของประเทศไทยที่เปิดสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ (รองจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์) ปัจจุบันสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมาย จนถึงหลักสูตรปริญญาทางนิติศาสตร์ ", "title": "สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" }, { "docid": "12339#273", "text": "สาขาวิชาธรรมนิเทศ, สาขาวิชาภาษาศาสตร์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, สาขาวิชาชีวิตและความตาย, สาขาวิชาปรัชญา, สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา, สาขาวิชาพุทธศาสตร์ และศิลปะแห่งชีวิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (คณะครุศาสตร์), สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, สาขาวิชาการพัฒนาสังคม, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, สาขาวิชาสันติศึกษา, สาขาวิชาบาลีศึกษา, สาขาวิชามหายานศึกษา, สาขาวิชาสันสกฤต และสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (แขนงวิชาการสอนทั่วไป สำหรับผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพครู, สาขาการสอนสังคมศึกษา การสอนภาษาไทย การสอนภาษาอังกฤษ และการสอนพระพุทธศาสนา)", "title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" }, { "docid": "42307#2", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2537 ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีความคิดที่จะจัดตั้ง \"คณะรัฐศาสตร์\" แต่เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ดังนั้น การจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์จึงต้องถูกชะลอเอาไว้ก่อน ถัดมาในปี พ.ศ. 2545 ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีการเสนอ \"โครงการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์\" ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยคณะใหม่นี้จะประกอบด้วย 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการเมืองการปกครองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เนื่องจากคณะที่จัดตั้งขึ้นใหม่ มีการจัดการเรียนการสอนทั้งสาขารัฐศาสตร์และสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งถ้าหากใช้ชื่อว่า \"คณะรัฐศาสตร์\" ดังเช่นคณะที่มีการเรียนสอนทั้ง 2 สาขาวิชาดังกล่าวที่ก่อตั้งระยะแรกๆ ของประเทศ ก็จะไม่ครอบคลุม และคณะที่มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์เพียงสาขาเดียว ก็กำหนดชื่อคณะว่า \"คณะรัฐประศาสนศาสตร์\" ดังนั้น ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2548 จึงมีมติให้มีการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ขึ้น โดยให้มีฐานะเป็นหน่วยงานอิสระในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้กำหนดชื่อคณะใหม่ว่า \"คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์\" เพื่อแสดงถึงภารกิจด้านการเรียนการสอนทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น", "title": "คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" }, { "docid": "105893#4", "text": "ในส่วนของสาขาวิชาต่างๆ คณะศิลปศาสตร์ได้ขยายการเรียนการสอนในสายมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้กว้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนมากให้ โดยมีการบุกเบิกสาขาและศาสตร์ต่างเรื่อยมาตามลำดับหลังจาก 5 สาขาก่อตั้งอาทิ สาขาวิชาจิตวิทยา (พ.ศ. 2507) สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ (พ.ศ. 2509) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (พ.ศ. 2513) สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น สาขาวิชาปรัชญา สาขาวิชาภาษาเยอร์มัน สาขาวิชาฝรั่งเศส และ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (พ.ศ. 2514) สาขาวิชาภาษาจีน และ สาขาวิชาภาษาไทย (พ.ศ. 2518) สาขาวิชาการละคอน (พ.ศ 252X) สาขาวิชาศาสนา (พ.ศ. 2525) ต่อมาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสาขาวิชาสถิติได้รับการยกฐานะให้ขึ้นตรงกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมกับการก่อตั้งและขยายการศึกษาไปศูนย์รังสิตในปี พ.ศ 2529 และสาขาวิชาการละคอนได้รับการยกฐานะจากงบประมาณจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์และโอนสาขาวิชาการละคอนไปสังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ 2539 เป็นต้นมา ส่วนสาขาวิชาศาสนาได้ทำการปิดการเรียนการสอนและยุบเหลือแค่วิชาโท สาขาวิชาภาษารัสเชีย (พ.ศ. 2518 และได้รับการยกเป็นภาควิชาในปี 2536) คณะศิลปศาสตร์ยังได้ริเริ่มการสอนหลักสูตรนานาชาติเพื่อตอบสนองความต้องการในยุคสมัยใหม่โดยเปิดสอน สาขาวิชาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา ในปี พ.ศ 2541", "title": "คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "315973#1", "text": "สำหรับในประเทศไทยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนจะเปิดสอนวิชาชีพทางครุศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ มีเพียงสถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เปิดสอนสาขาวิชาทางครุศาสตร์สถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เพื่อผลิตนักวิชาการหรือครูวิชาชีพทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ให้กับวิทยาลัยเพาะช่าง ช่างศิลป์ หรือ วิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาชีพทางศิลปะ และสาขาวิชาทางครุศาสตร์เกษตร เพื่อผลิตนักวิชาการ นักการเกษตร ครูผู้สอนวิชาเกษตรระดับมัธยมศึกษาหรือครูวิชาชีพทางการเกษตร เพื่อป้อนให้กับวิทยาลัยเกษตรที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดนทั้งสองสาขานี้ไม่มีในมหาวิทยาลัยอื่นๆอีก\nการจัดการศึกษาด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรมในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในชื่อ \"คณะฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี\" ต่อมาเปลี่ยนชื่อจาก คณะฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เป็น ภาควิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2513 และได้ยกฐานะเป็น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2517 แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาไฟฟ้า และสาขาวิชาอุตสาหการ (ปัจจุบันคือ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)", "title": "คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม" }, { "docid": "378602#8", "text": "ปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาโทเพิ่มอีก 3 สาขาวิชาคือ การสอนสังคมศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว และอาชีวศึกษา เริ่มมีการเปิดสอนปริญญาโท ภาคพิเศษในวันเสาร์และวันอาทิตย์ รวม 7 สาขา คือ การวัดและประเมินผลการศึกษา ประถมศึกษา การศึกษานอกระบบ หลักสูตรและการสอน การบริหารการศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว และการส่งเสริมสุขภาพ", "title": "คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" }, { "docid": "852507#2", "text": "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้ง \"ศูนย์การศึกษาและวิจัยสุขชีวศาสตร์สุขภาพ\" ขึ้น เพื่อตอบสนองนโยบายเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการยกคุณภาพมาตรฐานชุมชน และท้องถิ่นของประเทศพร้อมทั้งมหาวิทยาลัยมีความพร้อมและประสบการณ์ในการเรียนการสอนกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก) สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เทคโนชีวภาพ คหกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมอาหารและการบริการ การโรงแรมและการท่องเที่ยวมานาน พร้อมทั้งจะเปิดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ขึ้นในขณะนั้น นอกจากการจัดการเรียนการสอนแล้ว มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องทำการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะการพัฒนาภูมิปัญญาไทยสู่มาตรฐานสากล ทั้งด้านสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ การพยาบาล การแพทย์แผนไทยประยุกต์ น้ำอบและสมุนไพร สะปาชาววัง น้ำแร่ และอาหารไทย เป็นต้น", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดระนอง" }, { "docid": "12339#244", "text": "(ข) หลักสูตรคณะครุศาสตร์ ประกอบด้วย ๑๑ สาขาวิชา คือ (๑) สาขาวิชาสังคมศึกษา (๒) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (๓) สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (๔) สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว", "title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" }, { "docid": "559140#2", "text": "แต่เดิมมีการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปีจำนวน 7 สาขาวิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ทั่วไป คอมพิวเตอร์ศึกษา การศึกษาปฐมวัย และสังคมศึกษา และเคยเปิดสาขาวิชาอื่นๆ ได้แก่ ดนตรี และจิตวิทยา ในปีพ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยได้กำหนดเปิดสาขาวิชาเพิ่มเติมจำนวน 11 สาขา รวมทั้งหมด 18 สาขา โดยจะรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป ในปัจจุบันคณะครุศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี 18 สาขา ปริญญาโท 1 สาขา และปริญญาเอก 1 สาขา ดังนี้", "title": "คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์" }, { "docid": "145860#9", "text": "จิตวิทยาคลินิกเป็นสาขาวิชาหรือวิชาเอกหนึ่งในหลักสูตรจิตวิทยา เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทเป็นต้นไป) โดยในระดับปริญญาตรี นิสิต-นักศึกษาจะสามารถเลือกเรียนได้ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 ยกเว้นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่แยกสาขาวิชาตั้งแต่การเลือกอันดับคณะในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (ปัจจุบัน คือ TCAS) เช่นเดียวกับระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดสอนเป็นสาขาวิชาหรือแขนงวิชาเอกตามหลักสูตรที่กำหนด และเมื่อจบการศึกษาแล้ว บัณฑิตสามารถสอบเพื่อขอรับใบอนุญาต (License) เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก โดยบัณฑิตทุกคนต้องเข้าอบรมหลักสูตร \"การฝึกปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก\" หรือ Internship ในสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อวิชาชีพ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือนเสียก่อน", "title": "จิตวิทยาคลินิก" }, { "docid": "2781#19", "text": "การวิจัยประยุกต์ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน การประยุกต์ใช้ เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน เป็นต้น", "title": "จิตวิทยา" }, { "docid": "331855#2", "text": "รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต และครุศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นักเรียนทุนกระทรวงศึกษาธิการ) หลังจบการศึกษาจึงเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาจึงย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นอาจารย์พิเศษ โรงเรียนผู้บังคับหมวดทหารอากาศ สถาบันจิตวิทยาและความมั่นคง มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยวชิรพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกรมตำรวจ และอีกหลายสถาบัน", "title": "สุนีย์ สินธุเดชะ" }, { "docid": "665357#1", "text": "บัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานในระดับคณะซึ่งก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เพื่อรับผิดชอบการบริหารจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเริ่มเปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2523 เป็นต้นมา ในปีการศึกษา 2523 เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา หลักสูตรและการสอน และสาขาวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง ต่อมาในปีการศึกษา 2524 รับนักศึกษาเพิ่มอีก จำนวน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรแหล่งน้ำ รวมเป็นเปิดสอนทั้งสิ้นในปีการศึกษา 2524 จำนวน 7 สาขาวิชา และได้เปิดรับนักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้นทุกๆปี จนถึงปัจจุบัน", "title": "บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น" }, { "docid": "332781#1", "text": "ในปี พ.ศ. 2544 มหาวิทยาลัยรามคำแหงโดยคำสั่งของสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้จัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อจัดการเรียนการสอน การอบรม วิจัย และบริการวิชาการเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแก่ประชาชนที่สนใจ นับได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งแรกๆของประเทศไทยที่มีการนำความรู้ด้านทัศนมาตรศาสตร์และเทคโนโลยีด้านสารสนเทศทางสุขภาพมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานดังกล่าว นับเป็นมิติใหม่ในการเรียนรู้และศึกษาอบรมทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งจะเป็นแบบการดำเนินงานทางด้านสาธารณสุขสมัยใหม่ของการให้บริการทางสุขภาพให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าระบบที่ใช้อยู่เดิมในขณะนั้น การเปิดสอนวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ กล่าวได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการศึกษาไทย โดยเฉพาะในสาขาทัศนมาตรศาสตร์ที่ยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดในประเทศไทยหรือแม้แต่ในเอเชียเปิดสอนหลักสูตรตามแบบหลักสูตรของสหรัฐอเมริกามาก่อน เพื่อให้ในอนาคตคนไทยไม่ว่าจะเป็นคนกรุงเทพฯ หรือชาวชนบท จะมีโอกาสได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพที่เท่าเทียมและเสมอภาคกันมหาวิทยาลัยรามคำแหงร่วมกับมหาวิทยาลัยอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นแห่งแรกของทวีปเอเชีย โดยได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดคณาจารย์มาช่วยสอนและให้คำแนะนำต่าง ๆ ในระยะแรก ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว มหาวิทยาลัยเชื่อมั่นว่าจะทำให้คุณภาพการเรียนการสอนในสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ตามหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (Doctor of Optometry) เทียบเท่ากับมาตรฐานสากลของสาขาวิชานี้", "title": "สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง" }, { "docid": "207533#0", "text": "ดร. อันธิยา เลิศอัษฎมงคล (ชื่อเล่น แอนนี่) เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2518 เป็นนักแสดง พิธีกร วีเจทางช่องเอ็มทีวีไทยแลนด์ เคยเป็นผู้ประกาศคั่นรายการทางช่อง 7 จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่น 28) ระดับปริญญาบัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกภาษาอิตาเลียน และระดับมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา (Counseling Psychology) จากUniversity of San Francisco นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของนิตยสาร \"แองเจิล\" และสถาบันสอนภาษา Baby Language Thailand by DBL และปัจจุบันก็เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษเด็ก และสอนบัลเลต์เด็ก", "title": "อันธิยา เลิศอัษฎมงคล" }, { "docid": "145860#8", "text": "เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเรียนการสอนสาขาจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย จึงมีจำนวนผู้ที่ปฏิบัติงานในวิชาชีพนี้จำนวนไม่มากนัก โดยในปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะประมาณ 700 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2560)", "title": "จิตวิทยาคลินิก" }, { "docid": "13210#4", "text": "ต่อมาในวันที่ 2 มีนาคม ปี พุทธศักราช 2520 ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศยกฐานะภาควิชาการศึกษาเป็นคณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูเชียงราย ให้เป็นสถานบันการศึกษาและวิจัย สามารถเปิดทำการสอนได้ถึง\nระดับอุดมศึกษา โดยได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาการศึกษา แขนงวิชาเอกภาษาไทย สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ดนตรีศึกษา พลศึกษา การประถมศึกษา และจิตวิทยาการแนะแนว ทั้งหมดประมาณ 9 สาขาวิชาเอก", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย" }, { "docid": "12339#249", "text": "(ข) หลักสูตรระดับปริญญาโท ประกอบด้วย ๒๒ สาขา วิชา คือ (๑) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (๒) สาขาวิชาปรัชญา (๓) สาขาวิชาธรรมนิเทศ (๔) สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา(๕) สาขาวิชาสันติศึกษา (๖) สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา (๗) สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ (๘) สาขาวิชามหายานศึกษา(๙) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (๑๐) สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา(๑๑)สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว (๑๒) สาขาวิชาชีวิตและความตาย (๑๓) สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา(๑๔) สาขาวิชาพุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชีวิต (๑๕) สาขาวิชาภาษาศาสตร์ (๑๖) สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ (๑๗) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (๑๘) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนาเชิงพุทธ (๑๙) สาขาวิชาการพัฒนาสังคม (๒๐) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ(หลักสูตรนานาชาติ) (๒๑) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรนานาชาติ) และ (๒๒) สาขาวิชาอาเซียนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) (ค) ระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เปิดสอน ตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๔๓ เป็นต้นมา ปัจจุบัน มีหลักสูตรระดับปริญญาเอก จำนวน ๑๑ สาขาวิชา ประกอบด้วย (๑) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (๒) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรนานาชาติ) (๓) สาขาวิชาปรัชญา (๔) สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์ (๕) สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา (๖)สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา (๗) สาขาวิชาภาษาศาสตร์ (๘) สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ (๙) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (๑๐) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) และ(๑๑) สาขาวิชาการพัฒนาสังคม", "title": "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" }, { "docid": "102111#4", "text": "ภายหลังจบการศึกษาธเนศได้เข้าทำงานที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเข้าศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่ได้เลิกเรียนกลางคัน ซึ่งเขาให้เหตุผลว่า \"ไม่ชอบอาจารย์ที่สอน\" การที่เขาเลิกเรียนกลางคันนั้นทำให้เขาใช้ชีวิตล่องลอย และเป็นสาเหตุที่ทำให้พ่อและแม่ของเขาทะเลาะกัน ดังนั้นพ่อของเขาจึงส่งเขาให้ไปเรืยนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาจึงได้เข้าศึกษาระดับปริญญาโทสาขาสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา M.S. (Sociology), University of Wisconsin Madison, U.S.A. โดยหัวข้อวิทยานิพนธ์ของเขาคือ \"Grumsci Historism\" เมื่อจบการศึกษาธเนศได้กลับมายังประเทศไทยเพื่อสมัครเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่แรก แต่โดนปฏิเสธโดยทางมหาลัยให้เหตุผลว่าเพราะเขามารยาทไม่ดี ไม่ทักทายสวัสดีผู้ใหญ่ตามขนบธรรมเนียมไทย ต่อมาเขาก็ได้สมัครเป็นอาจารย์ จนได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเวลา 5 ปี ก่อนจะเดินไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาทฤษฎีการเมืองและสังคมที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเขาให้เหตุผลว่า \"เรียนตามแฟน\" โดยในตอนแรกนั้นเขาได้รับทุนที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด แต่เขาเลือกที่จะไม่ไปเพราะแฟนเขาไม่ได้ทุนนั้น สุดท้ายแล้วเขาก็เรียนที่อังกฤษส่วนแฟนไปเรียนที่อเมริกาแทนที่จะเป็นตามที่ตกลงกัน โดยเขาให้เหตุผลว่า \"การอยู่ด้วยกัน (ตัวติดกัน) ทำให้เบื่อหน่ายกันเร็ว\" หลังจากได้ศึกษาในปริญญาเอกก็เกิดปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ หัวข้อวิทยานิพนธ์ของเขาคือ \"Talking Foucault Comically\" ซึ่งวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ไม่ได้เป็นวิชาการในแบบใดแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะรัฐศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ อันเนื่องมาจากเขาพบว่าแนวคิดของตัวเองไม่ได้จำกัดเฉพาะทางสังคมศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ ซึ่งยิ่งทำให้เขารู้ว่าตัวเองเป็นนักคิดที่ไม่ได้จำกัดกรอบใด พูดให้ถึงที่สุดก็คือเขามีความเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) อันเป็นความคับแคบและข้อจำกัดของระบบการศึกษาที่ไม่ให้คิดข้ามกรอบในสาขาที่ตนเองศึกษาอยู่และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์นั้นก็เป็นมหาวิทยาลัยอนุรักษ์นิยมจนเกินไป สุดท้ายวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขาไม่ได้รับการพิจารณาให้สอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ เพราะเหล่าอาจารย์เห็นว่าไม่ตรงสาขาวิชาใด เพราะเป็นสหวิทยาการ มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและต้องการให้แก้ไขให้ตรงกับสาขา ทำให้ธเนศสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทแทน M.Phil (Social & Political Theory), University of Cambridge, England[1] ธเนศได้กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2560", "title": "ธเนศ วงศ์ยานนาวา" }, { "docid": "670329#10", "text": "สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับบัณฑิตศึกษา เป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ที่สนใจให้กีฬาเฉพาะทางหรือการออกกำลังกายเฉพาะทาง โดยหลักสูตรปริญญาโทส่วนใหญ่จะรวมทั้งการเรียนทั่วไปและการทำวิจัย โดยเนื้อหาที่เรียนจะรวมถึงวิชาสรีรวิทยา, จิตวิทยา, กิจกรรมกลางแจ้งหรือการฝึกสอน และการสร้างพัฒนาการ เพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่เจาะลึกขึ้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมกับพัฒนาทักษะในการทำวิจัย และเมื่อเรียนจบก็สามารถทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับกีฬา, สุขภาพและสมรรถภาพทางกาย จนถึงการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในประเทศไทยมีเปิดสอนหลายสถาบัน ได้แก่\nโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา", "title": "วิทยาศาสตร์การกีฬา" }, { "docid": "344437#133", "text": "นักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดผู้หนึ่งได้ทำงานศึกษาอย่างกว้างขวางว่า การทำงานให้ดีมีผลอะไรหรือไม่ เขาเสนอว่า บุคคลรุ่นหลัง ๆ (โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา) ถูกสอนให้พุ่งความสนใจไปในการหาเงินทอง แม้ว่าการมีเงินจะไม่ได้ช่วยให้เกิดความสุขอย่างแน่นอน วิธีการแก้ที่นักจิตวิทยาเสนอคล้ายกับหลักการชีวิตที่สบายใจ ที่ดี ที่มีความหมายดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว เขาเชื่อว่า ควรจะฝึกให้เยาวชนทำงานให้ดีที่สุดในวิชาการสาขาของตน และมีชีวิตที่อยู่ไม่ว่าง ตามความเชื่อทางศีลธรรมของตน[172]", "title": "จิตวิทยาเชิงบวก" }, { "docid": "52635#0", "text": "รองศาสตราจารย์ โสรีช์ โพธิแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว จาก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้รับทุนฟุลไบรท์ ไปศึกษาทางด้านสาขา Ed.D. in Counselor Education ณ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ ในรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา", "title": "โสรีช์ โพธิแก้ว" }, { "docid": "856491#1", "text": "สาขาวิชาศิลปศาสตร์ แรกเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ซึ่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ยึดหลักการการศึกษาตลอดชีวิต มุ่งพัฒนาคุณภาพของประชาชนทั่วไป เพิ่มความรู้แก่ประกอบอาชีพ และขยายโอกาสแก่ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา เพื่อสนองตอบความต้องการด้านวิชาการอันหลากหลายของบุคคลและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จึงเปิดสอนสาขาวิชาต่างๆ จำนวน 12 สาขาวิชา เพื่อให้การศึกษาต่อเนื่องในระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตร ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีหลักการว่า บัณฑิตทุกคนของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นบัณฑิตของสาขาวิชาใด พึงมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าใจสังคม และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถดำรงตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาจิตใจ และความเป็นอยู่ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้มอบหมายให้สาขาวิชาศิลปศาสตร์รับผิดชอบการเปิดสอนชุดวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป ด้านภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ไทยศึกษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ให้แก่นักศึกษาในทุกสาขาวิชาของมหาวิทยาลัย ", "title": "สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" }, { "docid": "273869#5", "text": "ในระยะแรกของการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยฯ ทุกภาควิชาในคณะฯ ได้จัดทำหลักสูตรในสาขาวิชาเอกของตน โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรีได้มีการเปิดสอนตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ในสาขาวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และตามหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ในสาขาวิชาจิตวิทยา แต่อย่างไรก็ตามการสอนตามหลักสูตรเดิม ในทางการศึกษาก็ยังคงมีอยู่ทั้งในระดับปริญญาตรี (กศ.บ.) และในระดับปริญญาโท (กศ.ม.)", "title": "คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "32948#1", "text": "การศึกษาคณะจิตวิทยาได้เริ่มขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน หลักสูตรครุศาสตร์ ตั้งแต่ครั้งแรกเป็นแผนกครุศาสตร์ สังกัดคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 คณะครุศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นคณะ การเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาจึงอยู่ในความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์ เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2505 เริ่มมีการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกษาและแนะแนวขึ้น การเรียนการสอน และการวิจัยทางจิตวิทยาได้พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยมีขอบเขตกว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2506 จึงได้มีการจัดแผนกวิชาจิตวิทยาขึ้น เพื่อรับผิดชอบการสอนในสาขาวิชาจิตวิทยาแขนงต่าง ๆ สำหรับนิสิตปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาเปิดสอน ปีการศึกษา 2517 นับเป็นหลักสูตรปริญญาเอกหลักสูตรแรกที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย คณะจิตวิทยาได้จัดตั้งขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งคณะจิตวิทยา ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2539 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2539 นับเป็นคณะที่ 18 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอยู่ในคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยกำหนดให้วันที่ 7 กรกฎาคม 2539 เป็นวันสถาปนาคณะจิตวิทยา คณะจิตวิทยาตั้งอยู่ใกล้กับห้างสรรพสินค้า MBK Center บริเวณเดียวกับคณะสหเวชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและคณะพยาบาลศาสตร์ คณะจิตวิทยาเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีภาคไทยครั้งแรกในปีพ.ศ. 2545 โดยมีนิสิตรุ่นแรกทั้งสิ้น 25 คน นิสิตปัจจุบันในปีการศึกษา 2561 เป็นนิสิตรุ่นที่ 17 นอกจากนี้คณะจิตวิทยายังได้เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีในหลักสูตรนานาชาติ (JIIP) โดยความร่วมมือระหว่างคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย", "title": "คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "389204#0", "text": "สากลวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ ( \"สากลวิทฺยาลัยภูมินฺทภฺนํเพญ\"; ) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุด มหาวิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษา ซึ่งมีอยู่ประมาณ 12,000 คน ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน นอกจากหลักสูตรระดับปริญญาที่ครอบคลุมในสาขาต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แล้วมหาวิทยาลัยยังมีหลักสูตรวิชาชีพ เปิดสอนในสาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ จิตวิทยา และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ สากลวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ ยังมีหลักสูตรทางภาษาต่างประเทศที่มีชื่อเสียง เปิดสอนในสถาบันภาษาต่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย", "title": "สากลวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ" } ]
3961
ขรัวอินโข่ง คือใคร?
[ { "docid": "61259#0", "text": "ขรัวอินโข่ง มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 (ไม่ปรากฏวันเดือนปีเกิด) ศิลปินผู้ได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรเอกประจำรัชกาลที่ 4 แห่งสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปินในสมณเพศ ศิลปินไทยคนแรกที่ใช้เทคนิคการเขียนภาพฝาผนังแบบตะวันตกที่แสดงปริมาตรใกล้ไกล นับเป็นศิลปินก้าวหน้าแห่งยุคที่ผสมผสานแนวดำเนินชีวิตแบบไทยกับตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงยกย่องว่า ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนไม่มีตัวสู้ในสมัยนั้น", "title": "ขรัวอินโข่ง" } ]
[ { "docid": "61259#30", "text": "หมวดหมู่:ภิกษุในนิกายเถรวาท หมวดหมู่:จิตรกรชาวไทย หมวดหมู่:ภิกษุชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดเพชรบุรี", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#22", "text": "ขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรไทยคนแรกที่เขียนภาพคนเหมือนแบบตะวันตก (Portrait) เป็นคนแรก โดยเขียนภาพเหมือนพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการศึกษาหลักฐานด้านประวัติศาสตร์จิตรกรรมของไทย ยังคงถือกันว่างานชิ้นนี้นับเป็นงานภาพคนเหมือนที่มีชื่อเสียงชิ้นแรกของประเทศไทย ปัจจุบันภาพเหมือนพระบรมสาทิสลักษณ์ฯ ดังกล่าวประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#8", "text": "\"...ท่านเป็นช่างเขียนไทยที่คิดค้นหาวิธีเขียนภาพให้มีชีวิตจิตใจ เขียนได้เหมือนของจริงและนิยมใช้สีหม่น ๆ เช่น สีน้ำเงินปนเขียวเขียน ซึ่งถ้ามิได้เป็นช่างฝีมือดีจริงแล้วก็หาอาจทำให้ภาพงดงามได้ด้วยสี 2 สีนี้ไม่และเป็นคนแรกที่ได้เริ่มนำคตินิยมอันนี้มาเป็นศิลปะของไทย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ตรัสไว้ว่า \"ความนิยมเขียนอย่างฝรั่งนั้น พระอาจารย์อินโข่งเป็นผู้นำขึ้นในรัชกาลที่ 4\" (จากวารสารศิลปากรปีที่ 6 เล่ม 7 หน้า 55) เพราะฉะนั้นจึงนับว่าพระอาจารย์อินโข่งเป็นจิตรกรเอกผู้หนึ่ง", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#11", "text": "เว็บไซต์ทางการเกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ในหัวข้อ “จิตรกรรม” กล่าวถึงอืทธิพลของภาพเขียนตะวันตกที่เริ่มเข้ามาในประเทศไทยในขณะนั้นไว้ว่า", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#23", "text": "กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งผนวชที่วัดราชาธิวาสวรวิหาร ได้ทรงคิดแนวเรื่องปริศนาธรรมขึ้นแล้วโปรดเกล้าให้ขรัวอินโข่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบดังกล่าว พิสิฐ เจริญวงศ์ กล่าวถึงภาพปริศนาธรรมของขรัวอินโข่งไว้ในสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยเล่ม 2 ของราชบัณฑิตยสถาน (2545) ไว้ว่า", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#10", "text": "\"....ภาพต่าง ๆ ของขรัวอินโข่งเขียนไว้นุ่นนวล มีระยะใกล้ไกลถูกหลักเกณฑ์ทุกอย่างทั้งๆ ที่ขรัวอินโข่งไม่เคยเห็นภาพตัวจริงของฝรั่งเลย นอกจากมโนภาพที่ฝันไปเท่านั้น เป็นประจักษ์พยานว่า แม้คนไทยจะหันมาเขียนภาพเรียลลิสม์ (Realism) แบบฝรั่งก็สามารถเขียนได้ดีอย่างไม่มีที่ติ และไม่แพ้เขาเลย....\"", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#16", "text": "นอกจากนั้น น. ณ ปากน้ำก็ยังได้อธิบายเปรียบเทียบงานของขรัวอินโข่งกับช่างเขียนมีชื่อชาวตะวันตกไว้อย่างน่า สนใจว่า", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#14", "text": "อิทธิพลภาพเขียนแบบตะวันตกเชื่อกันว่าได้มาจากภาพพิมพ์ที่หมอสอนศาสนาหรือมิชชันนารีนำมาจากต่างประเทศ รวมทั้งภาพของยุโรปที่ส่งมาจำหน่ายแพร่หลายในเมืองไทยในสมัยนั้น ขรัวอินโข่งได้นำมาพัฒนาและประยุกต์ในงานจิตรกรรมไทยเป็นภาพทิวทัศน์แบบตะวันตกโดยใช้ตัวละครและสถานที่แบบตะวันตก เช่น ภาพปริศนาธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหารและวัดบรมนิวาส", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#19", "text": "\"....ขรัวอินโข่ง วาดภาพเหมือนจริง และด้วยวิธีวาดแบบทัศนียวิสัย 3 มิติ ทำให้ภาพเกิดความลึก การใช้สีแบบเอกรงค์ (monochrome) ที่ประสานกลมกลืนกัน ทำให้ภาพของขรัวอินโข่งมีบรรยากาศที่ชวนฝัน ทำให้ผู้ดูเกิดจินตนาการฝันเฟื่องตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นภาพวาดรูปต้นไม้ในป่า รูปต้นไม้และโขดเขาที่เพิงผาทางด้านผนังทิศเหนือ ด้านล่างที่มณฑป พระพุทธบาทวัดพระงามนั้นถึงจะไม่มีรูปบุคคลปรากฏอยู่ด้วยเลย แต่ภาพทั้งสองนี้ก็แลดูสวยด้วยธรรมชาติเพียงอย่างเดียว หรือภาพต้นสนที่เอนลู่ตามลมด้วยแรงพายุที่พัดอย่างแรงกล้านั้น ก็แลดูน่ากลัวสมจริงสมจังสัมพันธ์กับความน่ากลัวของภูตผีปีศาจที่มาขอส่วนบุญกับพระเจ้าพิมพิสาร… ภาพวาดทุกภาพของขรัวอินโข่ง แสดงให้เห็นถึงความประสานกลมกลืนของสีและบรรยากาศที่สลัว ๆ เสมือนกับทำให้ความคิดฝันที่ค่อนข้างเลือนลางนั้น ค่อย ๆ กระจ่างชัดในอารมณ์ รวมทั้งบรรยากาศที่อยู่ท่ามกลางขุนเขาและแมกไม้ที่ร่มครึ้ม ทำให้จิตใจเกิดจินตนาการคล้อยไปตามภาพที่ได้เห็น…เมื่อวาดภาพชีวิตทางยุโรป ขรัวอินโข่งจึงพยายามสร้างอารมณ์และบรรยากาศเป็นประเทศเมืองหนาว โดยใช้วิธีแบบทึมๆ”", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#7", "text": "นอกจากนี้พระองค์ยังได้กล่าวถึงเทคนิคการเขียนภาพของขรัวอินโข่งว่า", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#21", "text": "“......ขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรหัวก้าวหน้า ผู้พัฒนาแนวทางจิตรกรรมไทยแบบประเพณี สร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังในแนวความคิดใหม่ โดยนำเอารูปแบบจิตรกรรมตะวันตกที่เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบ ผู้คน การแต่งกาย ตึกรามบ้านเมือง ทิวทัศน์ การใช้สี แสงเงา บรรยากาศที่ให้ความรู้สึกในระยะและความลึกมาใช้อย่างสอดคล้องกับเรื่องที่ได้แสดงออกเกี่ยวกับคติและปริศนาธรรม...”", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#29", "text": "ยิ้ม ปัณฑยางกูร ขรัวอินโข่ง สารานุกรมไทยเล่ม 3 ราชบัณฑิตยสถาน 2499 น. ณ ปากน้ำ (ประยูร อุลุชาฎะ) พจนานุกรมศิลป. พระนคร: เกษมบรรณกิจ. 2515 วนิดา ทองมิตร จิตรกรรมแบบสากล สกุลช่างขรัวอินโข่ง. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์ 2522. พิสิฐ เจริญวงศ์ ขรัวอินโข่ง สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยเล่ม 2. ราชบัณฑิตยสถาน 2545 วิยะดา ทองมิตร. จิตรกรรมแบบสากล สกุลช่างขรัวอินโข่ง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและค้นคว้า ศิลปวัฒนธรรมไทย, 2522. (ND1023.ข42ว66)", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#26", "text": "ภาพที่เก็บรักษาไว้ที่ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ ในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน ต้นร่างสมุดภาพ เป็นสมุดไทยสีขาว 2 เล่มเก็บรักษาไว้ ในห้องเลขที่ 15 (มุขท้ายพระที่นั่งพรหเมศรธาดา) ภาพเขียนคือพระบรมรูปรัชกาลที่ 4 หนึ่งภาพ ภาพพระบฏมหาชาติ (เขียนค้าง) 5 ภาพ ภาพเรื่องพระอภัยมณีตอนศรีสุวรรณชมสวน 1 ภาพ พิพิธภัณฑ์หอศิลปแห่งชาติ ภาพวาดสีฝุ่น 5 ภาพ ภาพวาดในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ภาพวาดที่เสาและภาพวาดเหนือช่องหน้าต่าง เป็นภาพปริศนาธรรม ส่วนภาพวาดระหว่างช่องหน้าต่างเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจวัตรของพระสงฆ์ หรือเทศกาลงานบุญเนื่องในพุทธศาสนา ที่เสาพระอุโบสถซึ่งระบายพื้นเสาเป็นสีต่าง ๆ แสดงปริศนาธรรม อันเปรียบด้วยน้ำใจคน 6 ประเภทที่เรียก ฉฬาภิชาติ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพเขียนประกอบสุภาษิตคำพังเพยในพระอุโบสถ ทางซ้ายมือเป็นภาพเขียนเรื่อง อลีนวิตชาดก (เรื่องพระยาเผือก) และภาพสุภาษิตต่าง ๆ ที่บานหน้าต่างพระอุโบสถ ภาพวาดพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ในหอราชกรมานุสรและหอราชพงศานุสร (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นหอพระขนาบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ข้างละห้อง หอพระหลังนี้เป็นหลังข้างเหนือ เป็นที่ไว้พระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งทรงพระราชอุทิศถวายพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่า ภาพวาดในพระอุโบสถวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ภาพวาดในพระอุโบสถวัดมหาสมณาราม เพชรบุรีเมื่อรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดมหาสมณารามแล้ว ก็โปรดฯ ให้ขรัวอินโข่ง วาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง นับเป็นภาพวาดแห่งเดียวในเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วย ภาพการไปนมัสการพระพุทธบาท ภาพการไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ทางพุทธศาสนา เช่น ภาพนมัสการพระปฐมเจดีย์ ภาพนมัสการพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ภาพพระนครคีรี เพชรบุรี ภาพพระพุทธโฆษาจารย์แปลคัมภีร์ที่ลังกาและ ภาพทวารบาล ในพระอุโบสถวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ภาพผนังและภาพเหนือช่องหน้าต่างเป็นภาพปริศนาธรรม ภาพวาดระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพประเพณีทางพุทธศาสนาของคนไทย ภาพวาดที่มณฑปพระพุทธบาท วัดพระงามอยุธยา ภาพส่วนใหญ่ ณ ที่นี้ มีลักษณะเป็นภาพไทยผสมเทคนิคการเขียนธรรมชาติแบบยุโรปซึ่งเป็นภาพอันให้อารมณ์ประทับใจ (งานชิ้นเยี่ยมที่สุดชิ้นหนึ่งของจิตรกรขรัวอินโข่ง) เรื่องพุทธประวัติบนผนังภายในมณฑปเหนือซุ้มโค้ง", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#27", "text": "โดยปกติแล้ว ขรัวอินโข่งผู้เป็นจิตกรคนสำคัญแห่งยุคย่อมต้องมีลูกศิษย์ที่เป็นลูกมือช่วยวาดภาพเป็นจำนวนไม่น้อย จึงสันนิษฐานว่าขรัวอินโข่งน่าจะมีศิษย์จำนวนมาก แต่ที่ได้เป็นจิตรกรมีชื่อเสียงเด่นได้รับการบันทึกไว้มีคนเดียว คือ พระครูกสิณสังวร วัดทองนพคุณ", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#5", "text": "สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสเล่าประทานหม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุลว่า", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "31507#3", "text": "ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด", "title": "วัดราชบุรณราชวรวิหาร" }, { "docid": "61259#6", "text": "\"…เป็นช่างเขียนไทยคนแรกที่มีความรู้ไม่แต่เขียนได้ตามแบบโบราณเท่านั้น ยังเขียนได้ตามแบบฝรั่งสมัยใหม่ได้ด้วย เป็นการแสดงความก้าวหน้าในทางเขียนรูปของไทย รูปภาพต่าง ๆ ที่ขรัวอินโข่งเขียนนั้นมีเงา เป็นการเขียนที่มีชีวิตจิตใจผิดกับนักเขียนไทยคนอื่นๆ เคยโปรดฯ ให้เขียนรูปต่างๆ เป็นฝรั่งๆ ไว้ที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารรูปพวกนี้เป็นพวกแรกๆ ของขรัวอินโข่ง ต่อมาเขียนรูปพระนเรศวรชนช้างไว้ในหอราชกรมานุสรหลังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามฝีมือดีนัก ในพระอุโบสถเขียนไว้ที่ห้องพระยาช้างเผือก กับเขียนรูปภาพประกอบโคลงสุภาษิตต่างๆ ภาพเหล่านี้เขียนเมื่อตอนแก่ ได้เคยพบเห็นด้วยตนเอง ผมแกขาวเป็นดอกเลา ภาพเหล่านี้อยู่ตามหน้าต่าง และประตูในพระอุโบถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ฝีมือพระอาจารย์อินโข่งในพิพิธภัณฑสถานยังมีอีกหลายรูป มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เขียนจากพระองค์เอง เป็นต้น\" (จากบทวรรณคดี ฉบับพฤศจิกายน 2495)", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#15", "text": "งานจิตรกรรมไทยของขรัวอินโข่งในช่วงแรกยังคงเป็นแบบไทยดั้งเดิมดังได้กล่าวมาแล้ว ในระยะหลังแม้จะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมและศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะด้านการเขียนภาพหรือจิตรกรรม ซึ่งใช้วิธีการเขียนภาพแบบตะวันตกที่ใช้แสงและเงาสร้างเป็นภาพ 3 มิติทำให้เห็นภาพมีความลึกได้รับแสงไม่เท่ากันตามจริง แต่ภาพไทยที่เขียนแบบตะวันตกของขรัวอินโข่งก็ยังคงลักษณะไทยไว้ได้โดยยังคงแสดงลักษณะท่าทางและความอ่อนช้อยที่เน้นท่าพิเศษแบบไทยดังปรากฏในภาพเขียนแบบไทยทั่วไป นอกจากนี้ขรัวอินโข่งยังแสดงความอัจฉริยะในการสร้างจินตนาการจากความคิดและความเชื่อของไทยที่ยังคงมีอยู่ในสมัยนั้น", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#9", "text": "น. ณ ปากน้ำ กล่าวถึงงานของขรัวอินโข่งว่า", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#25", "text": "ขรัวอินโข่งมีผลงานมากมาย แต่ยังไม่ปรากฏโดยชัดเจนว่ามีผู้ใด้จัดรวมรวมเป็นเอกสารไว้อย่างเป็นระบบมีหมายเลขกำกับเฉพาะและครบถ้วน พิสิฐ (2545) กล่าวไว้ว่ามีบันทึกผลงานเท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานได้แก่", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#3", "text": "ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[1864,1881,3,3]}'>ขรัวอินโข่ง</b>เรียนการเขียนภาพอย่างเป็นงานเป็นการจากที่ใดและเมื่อใด โดยเฉพาะในวัยเด็กและวัยหนุ่ม เข้าใจกันว่าอาศัยการมีพรสวรรค์และได้อาจได้หัดเขียนภาพแบบไทยกับช่างเขียนบางคนในสมัยนั้นจนเกิดความชำนาญขึ้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวดติวงศ์ทรงเล่าว่า ขรัวอินโข่งเป็นพระที่ชอบเก็บตัวไม่ค่อยยอมรับแขก มักชอบปิดกุฏิใส่กุญแจให้คนเห็นว่าไม่อยู่เพื่อใช้เวลาที่สงบทำสมาธิวางแนวเรื่องเพื่อใช้สำหรับเขียนภาพฝาผนังโบสถ์วิหารซึ่งในสมัยแรกๆ ยังคงเป็นภาพปริศนาธรรมแบบไทย", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#20", "text": "เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เรื่องเดียวกันกล่าวถึงลักษณะเฉพาะในการเขียนภาพของขรัวอินโข่งไว้เช่นเดียวกันว่า", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#28", "text": "ไม่มีผู้ใดทราบว่าชีวิตในบั้นปลายของขรัวอินโข่งเป็นอย่างไร และวันมรณภาพเป็นวันเดือนปีใด เมื่ออายุเท่าใดและโดยสาเหตุใด แต่เชื่อกันว่าครองสมณเพศตลอดชีวิต แต่เชื่อแน่ว่ามรณภาพในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับชีวิตและงานของขรัวอินโข่งเลยในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นที่หวังว่างานค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับศิลปินคนสำคัญยิ่งท่านหนึ่งของชาติในภายหน้าอาจให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#1", "text": "ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งหลุดพ้นมาเป็นงานในรูปแบบปริศนาธรรม ความสามารถพิเศษเฉพาะตัวคือการ วาดภาพธรรมชาติโดยเฉพาะต้นไม้ และการควบคุมอารมณ์ของสีในภาพให้มีความกลมกลืนและ เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือภาพปริศนาธรรมที่ฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศและวัดบรมนิวาส", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#18", "text": "วิยะดา ทองมิตร กล่าวถึงคุณค่าของผลงานของขรัวอินโข่งไว้ว่า", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "9771#12", "text": "ประตูต่างๆในพระนครคีรีมีทั้งหมด 8 ประตูโดยแบ่งเป็น\nประตูรอบ ๆ พระราชวังหรือประตูชั้นกลาง\nประตูในพระมหามณเฑียรหรือประตูชั้นในวัดมหาสมณาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองฯ เดิมชื่อวัดสมณะ หรือวัดมหาสมณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาประทับเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ต่อมาเมื่อได้สร้างพระนครคีรีแล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดแห่งนี้ พระราชทานนามว่า วัดมหาสมณาราม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดเขาวัง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร\nอุโบสถวัดมหาสมณารามฯ ภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถเขียนด้วยสีฝุ่น กล่าวกันว่าเป็นฝีมือของ ขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเขียนภาพของขรัวอินโข่งมีลักษณะเฉพาะตัวคือ จะวางภาพเต็มพื้นที่ทั้งหมด ไม่มีภาพเทพชุมนุมเรียงเป็นแถวแบบเดิม มีแต่ภาพเหล่าเทวดานางฟ้า ปรากฏตามก้อนเมฆบ้าง ภาพที่เขียนจะอยู่ในเนื้อเดียวกันทั้งหมด จะมีการแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ฉากหลังมักเป็นภาพธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร ผนังหน้าพระอุโบสถ เขียนภาพการเดินทางไปนมัสการพระพุทธบาท ถือว่าเป็นภาพชิ้นเยี่ยมของพระอุโบสถประกอบด้วยทิวทัศน์อันงดงาม มณฑปพระพุทธบาทตั้งอยู่บนไหล่เขาซึ่งอุดมไกด้วยต้นไม้นานาชนิด เบื้องล่างเป็นภาพที่มีความงามตามธรรมชาติ มีการจัดภาพอย่างงดงามลงตัว เป็นประโยชน์ในการศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี\nอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนครคีรี สนามหน้าเขาวัง", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี" }, { "docid": "61259#2", "text": "ชีวิตในวัยเด็กของ<b data-parsoid='{\"dsr\":[1043,1060,3,3]}'>ขรัวอินโข่ง</b>ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด รวมทั้งปีที่เกิด ทราบเพียงว่าขรัวอินโข่งเกิดที่ตำบลบางจาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชื่อเดิมว่า \"อิน\" เดินทางเข้ามาบวชเป็นสามเณรที่กรุงเทพฯ แม้อายุเกินมากแล้วก็ยังไม่ยอมบวชพระจนถูกล้อเป็นเณรโค่ง แต่ในที่สุดสามเณรอินจึงได้ยอมบวชเป็นพระที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ชื่อจึงสันนิษฐานกันว่ามาจากการถูกเรียกล้อว่า “อินโค่ง” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงอธิบายว่า “โค่ง” กับ “โข่ง” แปลว่า “ใหญ่” ต่อมาโค่งเพี้ยนเป็น “โข่ง” จึงเรียกกันว่า “อินโข่ง” ส่วนคำว่า “ขรัว” ได้มาหลังจาก “พระอินโข่ง” มีพรรษาและทรงความรู้มากขึ้นจึงได้รับการเคารพนับถือเป็นพระอาจารย์ซึ่งเจ้านายสมัยนั้นนิยมเรียกว่า “ขรัว” คนทั่วไปจึงเรียกพระภิกษุอินว่า “ขรัวอินโข่ง” ถึงปัจจุบัน", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#4", "text": "จากการสันนิษฐานเช่นเดียวกันว่า อิทธิพลของตะวันตกที่เริ่มหลั่งไหลเข้ามามากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จึงมีการเร่งรัดพัฒนาประเทศเป็นแบบตะวันตกมากขึ้นทั้งด้านวัฒนธรรมและวิทยาการ ซึ่งรวมถึงรูปแบบศิลปะแบบตะวันตกจากทั้งยุโรปและอเมริกา เชื่อกันว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[2662,2679,3,3]}'>ขรัวอินโข่ง</b>เป็นศิลปินที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่แหวกแนวจากรูปแบบประเพณีเดิมอยู่แล้ว จึงกล้ารับเทคนิคแบบตะวันตกมาประยุกต์ด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี ในระยะแรก ขรัวอินโข่งยังคงเขียนภาพจิตรกรรมไทยเป็นแบบดั้งเดิม โดยเขียนภาพเกี่ยวกับชาดกและพระพุทธศาสนาเป็นภาพแบบ 2 มิติ เช่น ภาพยักษ์ หน้าลิง ภาพวาดที่วัดมหาสมณารามและหอราชกรมานุสร", "title": "ขรัวอินโข่ง" }, { "docid": "61259#13", "text": "อิทธิพลสำคัญอีกประการหนึ่งอาจเกิดจากความคุ้นเคยของขรัวอินโข่งที่มีอยู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎระหว่างผนวชที่วัดราชาธิวาสวรวิหาร สืบเนื่องจากการที่ได้ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังจนได้ทรงตั้งธรรมยุตินิกายขึ้น ได้ทรงคิดแนวเรื่องปริศนาธรรมขึ้นแล้วโปรดเกล้าให้ขรัวอินโข่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบ", "title": "ขรัวอินโข่ง" } ]
3962
จังหวัดพิษณุโลกมีกี่อำเภอ ?
[ { "docid": "5419#0", "text": "จังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี พ.ศ. 2558 จำนวน 863,404 คน[1] มีพื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 9 อำเภอ มีเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นเขตเมืองศูนย์กลางของจังหวัดและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงไชยบุรี ประเทศลาวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" } ]
[ { "docid": "400929#2", "text": "(1) พระราชธรรมคณี (นารถ ลวณรกฺโณ น.ธ.เอก) เจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม ตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "37994#62", "text": "สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้เป็นที่สักการบูชา ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ได้โปรดให้สร้างไว้อีก พระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรยังประดิษฐานไว้เป็นที่สักการบูชา อยู่ในพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (ปัจจุบันคือ พระที่นั่งบรมพิมาน) จนทุกวันนี้[53] ตราประจำจังหวัดของไทยที่มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดหนองบัวลำภู มีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในหลายแห่งทั่วประเทศ เช่น พระบรมราชานุสรณ์ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก, ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา, พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี, ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ริมหนองบัวลำภู ในจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นต้น มีการนำพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราขไปตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก[54][55] และค่ายทหารต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่จังหวัดพิษณุโลก ค่ายนเรศวร ที่จังหวัดลพบุรี ค่ายนเรศวรมหาราช ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนทางกรมตำรวจได้นำพระนามของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อค่ายตำรวจตระเวนชายแดนที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีว่า \"ค่ายนเรศวร\" ด้วยเช่นกัน[56] ชาวไทยนิยมนำหุ่นรูปไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาวไปบนบานกับพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะเชื่อกันว่าเป็นไก่พันธุ์เดียวกับตัวที่เอาชนะไก่ชนของพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีได้[57]", "title": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" }, { "docid": "5419#32", "text": "จังหวัดพิษณุโลกแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 9 อำเภอมีดังนี้", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "118639#3", "text": "จากนั้นตัดผ่านอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร และเข้าสู่จังหวัดพิษณุโลกในเขตอำเภอบางระกำ จากนั้นจึงเข้าสู่อำเภอเมือง ผ่านสี่แยกหนองอ้อ (ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศใต้) แยกถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ สามแยกต้นหว้า (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1058 ทางเข้าเมืองพิษณุโลก) และสิ้นสุดที่สี่แยกบ้านคลองในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยตัดกับถนนสิงหวัฒน์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12) ชื่อเรียกถนนตั้งแต่แยกเอ็กซ-เรย์จนถึงสี่แยกบ้านคลองมีชื่อว่า ถนนสีหราชเดโชชัย", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117" }, { "docid": "208538#2", "text": "ถนนวงแหวนส่วนนี้เป็นถนนลาดยางขนาด 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจร มีสะพานต่างระดับที่แยกตัดกับถนนสิงหวัฒน์ และแยกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (พิษณุโลก - อุตรดิตถ์) นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามทางรถไฟ และสะพานข้ามแม่น้ำน่านอีกด้วยถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศใต้ มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกอินโดจีน (6 กิโลเมตรจากเมืองพิษณุโลก) จากนั้นมุ่งหน้าทางทิศใต้ แล้วจึงโค้งมาทางทิศตะวันตก ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1064 (ถนนบึงพระ) ผ่านวิทยาลัยเทคนิคสองแคว แล้วตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1063 (ทางไปอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก) ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำน่าน ผ่านสี่แยกหนองอ้อ (ถนนนครสวรรค์-พิษณุโลก) และสิ้นสุดโดยบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1065 (ทางไปอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก)", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126" }, { "docid": "6470#19", "text": "ต่อมาหลังจากการตัดเส้นทางรถไฟผ่านเมืองอุตรดิตถ์สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทำให้แหล่งชุมนุมการค้าย่านท่าเสาและท่าอิฐเริ่มหมดความสำคัญลง เพราะรถไฟสามารถวิ่งขึ้นเมืองเหนือได้โดยไม่ต้องหยุดขนถ่ายเสบียงที่เมืองอุตรดิตถ์ และประกอบกับการที่ทางราชการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ปิดกั้นแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าปลาในปี พ.ศ. 2510 ทำให้การคมนาคมทางน้ำยุติลงสิ้นเชิง โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้น เส้นทางคมนาคมทางถนนในจังหวัดอุตรดิตถ์มีเพียงไม่กี่เส้นทาง และด้วยทำเลที่ตั้งและความไม่สะดวกในการคมนาคมทางถนนในช่วงนั้นดังกล่าว ทำให้ตัวเมืองอุตรดิตถ์ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคเหนือกลายเป็นเมืองในมุมปิด ไม่เหมือนเมื่อครั้งการคมนาคมทางน้ำรุ่งเรือง และด้วยภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยดังกล่าว จึงทำให้ในช่วงต่อมารัฐบาลได้หันมาพัฒนาเมืองพิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างแทน[19]", "title": "จังหวัดอุตรดิตถ์" }, { "docid": "816546#0", "text": "โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพิษณุโลก เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่างท้องที่ประสบปัญหาอุทกภัย รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกทั่วไปฤดูฝนและฤดูแล้ง ตลอดจนสำหรับการอุปโภค-บริโภค มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำที่ระดับกักเก็บ 61.39 ตารางกิโลเมตร ความจุอ่าง 769 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตร 155,166 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวังทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก และอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกกั้นแม่น้ำแควน้อย", "title": "เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน" }, { "docid": "966906#1", "text": "ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 11 บ้านหนองหิน ตำบลพันชาลี อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ", "title": "วัดหนองกาดำบำรุงธรรมตำบลพันชาลีอำเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "97959#1", "text": "ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ) ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน) ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น หนองคาย ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด​ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย(บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม", "title": "ภาษาไทยถิ่นอีสาน" }, { "docid": "400929#4", "text": "(3) พระครูศรีสุธรรมาภรณ์ (ยงยุทธิ์ ป.ธ.6) รองเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก รูปที่ 1 วัดมะขามเตี้ย ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(1) พระราชธรรมคณี (นารถ ลวณรกฺโณ น.ธ.เอก) เจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม ตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "5487#3", "text": "ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ และอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพรหมพิราม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก และอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง", "title": "จังหวัดสุโขทัย" }, { "docid": "118639#1", "text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 ในช่วงนครสวรรค์ถึงพิษณุโลก สัญญาก่อสร้างเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 47 เดือนจนแล้วเสร็จ และเปิดใช้งานในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2525 โดยมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 131 กิโลเมตร แต่เดิมเป็นเส้นทางลาดยางขนาด 2 ช่องจราจร และได้รับการขยายเป็น 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจรตลอดเส้นทางในปี พ.ศ. 2545–2547 โดยมีบางช่วงในจังหวัดพิษณุโลกมีการขยายการจราจรถึง 12 ช่องจราจร โดยเป็นช่องทางหลัก ทิศทางละ 4 ช่องจราจร และช่องทางคู่ขนาน ทิศทางละ 2 ช่องจราจร (ช่วงหน้ามหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก) สำหรับช่วงที่เหลือมีการรวมสายทางทางหลวงหมายเลข 1325 และ 1104 ในช่วงอำเภอเมืองพิษณุโลกถึงอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1047 ในช่วงอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ถึงอำเภอบ้านโคก เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรตลอดสาย ", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117" }, { "docid": "947327#0", "text": "แม่น้ำแควน้อย มีต้นกำเนิดจากเขาสูงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดพิษณุโลก มีต้นน้ำอยู่ในอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นกลุ่มภูเขาในทิวเขาของหลวงพระบางและทิวเขาเพชรบูรณ์ ภูเขาที่เป็นต้นน้ำ ได้แก่ ภูไก่ห้อย ภูขัด ไหลลงมาในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านที่ราบหุบเขาแควน้อยซึ่งเป็นหุบเขาแคบๆทางตอนเหนือของอำเภอนครไทย ผ่านอำเภอวัดโบสถ์ มีเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริรัชกาลที่ 9 กักเก็บน้ำ ผ่านตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม และบรรจบกับแม่น้ำน่านในบริเวณบ้านปากโทกอำเภอเมืองพิษณุโลก รวมความยาวแม่น้ำแควน้อย 185 กิโลเมตร", "title": "แม่น้ำแควน้อย (จังหวัดพิษณุโลก)" }, { "docid": "75101#0", "text": "อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก", "title": "อำเภอเมืองพิษณุโลก" }, { "docid": "129000#2", "text": "เมื่อมาถึงแยกวังทอง บริเวณกิโลเมตรที่ 211+841 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 จะใช้เส้นทางนับเลขกิโลเมตรร่วมกันกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เป็นระยะทาง 11.894 กิโลเมตร จนถึงสี่แยกอินโดจีน ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จึงได้เริ่มต้นเส้นทางใหม่ บริเวณกิโลเมตรที่ 223+735 ขึ้นไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126) ที่แยกดงประโดก ผ่านอำเภอวัดโบสถ์ ผ่านตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิรามเพียง 11 กิโลเมตร แล้วเข้าอำเภอวัดโบสถ์อีกครั้ง ก่อนที่จะเข้าเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านตำบลนาอิน ตำบลนายาง อำเภอพิชัย ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน ตำบลวังกะพี้ ตำบลป่าเซ่า ตำบลคุ้งตะเภา ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ขึ้นเขาพลึงเข้าเขตจังหวัดแพร่ โดยบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ที่ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย โดยเส้นทางตั้งแต่พิษณุโลกถึงอำเภอเด่นชัย เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 13 จากนั้นใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 มาทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 11.513 กิโลเมตร แล้วแยกทางจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ที่ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย ไปทางทิศตะวันตก และผ่านอำเภอลองเป็นอำเภอสุดท้าย", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11" }, { "docid": "400929#5", "text": "(2) พระศรีรัตนมุนี (ขวัญรัก ป.ธ.9) เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก (ตามมติประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 05/2561 มติที่ 125/2561 เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ การเสนอแต่งตั้ง พระศรีรัตนมุนี ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ได้รับตราตั้งพระบัญชาฯ วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "5419#34", "text": "thumbnail|220px|ตัวเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลกมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 103 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง, เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพิษณุโลก, เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองอรัญญิก, เทศบาลตำบล 24 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 76 แห่ง[5] โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "709773#2", "text": "หลังจากการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 อัมพร จันทรวิจิตร ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 39 ของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ระหว่างดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ เช่น เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียนโรงเรียนบ้านสวนวิทยาคม อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียนโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนบ้านผาหลังมี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ", "title": "อัมพร จันทรวิจิตร" }, { "docid": "129000#1", "text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ที่ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี ตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีเส้นทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร มีระยะทางในจังหวัดสิงห์บุรีเพียง 7 กิโลเมตรเท่านั้น ก็เข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นข้ามคลองอนุศาสนนันท์ ข้ามทางรถไฟสายเหนือ แล้วตัดกับถนนพหลโยธิน (ครั้งที่ 1) ที่ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นเส้นทางตรงขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอท่าตะโก อำเภอไพศาลี อำเภอหนองบัว แล้วเข้าสู่เขตจังหวัดพิจิตร ผ่านอำเภอดงเจริญ แล้วตัดกับทางหลวงหมายเลข 113 (พิจิตร-บ้านวังชมภู) ที่ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ แล้วขึ้นไปอำเภอวังทรายพูน อำเภอสากเหล็ก และเข้าสู่เขตจังหวัดพิษณุโลก ผ่านอำเภอบางกระทุ่มเป็นระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร และไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่แยกวังทอง ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11" }, { "docid": "114522#3", "text": "ถนนในช่วงสุโขทัย–พิษณุโลก มีชื่อเรียกว่า ถนนสิงหวัฒน์ เริ่มต้นในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มุ่งไปยังทิศตะวันออก บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125 หรือถนนเลี่ยงเมืองสุโขทัย จากนั้นผ่านอำเภอกงไกรลาศ เข้าสู่จังหวัดพิษณุโลก ผ่านอำเภอพรหมพิราม จากนั้นเข้าสู่อำเภอเมืองพิษณุโลก ตัดกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 ที่แยกเลี่ยงเมือง (บ้านกร่าง) จากนั้นผ่านศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก ศาลหลักเมืองพิษณุโลก ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก สิ้นสุดที่เชิงสะพานนเรศวรริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ภายในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12" }, { "docid": "400929#6", "text": "(3) พระครูศรีสุธรรมาภรณ์ (ยงยุทธิ์ ป.ธ.6) รองเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก รูปที่ 1 วัดมะขามเตี้ย ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "114522#4", "text": "ถนนในช่วงพิษณุโลก–หล่มสัก มีชื่อเรียกว่า ถนนมิตรภาพ เป็นถนนสายที่สองที่ได้รับการช่วยเหลือในการก่อสร้างจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา หลังจากก่อสร้างถนนมิตรภาพสายแรก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ช่วงสระบุรี–นครราชสีมา) ถนนในช่วงนี้เริ่มต้นที่เชิงสะพานนเรศวร ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ตัดผ่านใจกลางเมืองพิษณุโลก ข้ามทางรถไฟสายเหนือ แล้วตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 กับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศใต้ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 ที่สี่แยกอินโดจีน แล้วบรรจบกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ ที่แยกซีพี จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกไปยังอำเภอวังทอง เข้าสู่เขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านอำเภอเขาค้อ จนสิ้นสุดที่สี่แยกพ่อขุนผาเมือง ซึ่งตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2466 ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันได้รับการขยายเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรตลอดทั้งสาย", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12" }, { "docid": "193388#1", "text": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เดิมชื่อ โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 289 หมู่ 5 ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดแห่งที่ 3 ของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้ทำการเปิดเรียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2517 สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2511 ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา (ต่อมาเป็นกรมสามัญศึกษา) ในขณะนั้นได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โดยมีนายมานะ เอี่ยมสกุล เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมและได้ปรารภกับ นายมานะ เอี่ยมสกุล ว่าต้องการจะได้ที่ดินประมาณ 200 ไร่ เพื่อก่อตั้งวิทยาลัยชั้นสูงหรือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ขึ้นในจังหวัดพิษณุโลกอีกหนึ่งแห่ง ต่อมานายละเมียน อัมพวะสิริ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมในสมัยนั้น ได้ทราบจากนายประเสริฐ สิทธิชัย ผู้จัดการโรงงานพิษณุโลกองค์การทอผ้า ว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าเป็นพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งกระทรวงกลาโหมควบคลุมดูแลอยู่ประมาณ 200 ไร่เศษ ตั้งอยู่ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายมานะ เอี่ยมสกุล ได้แจ้งให้อธิบดีกรมสามัญศึกษาทราบ ต่อมากรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ติดต่อขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาอีกหนึ่งแห่ง อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้แจ้งให้อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ทราบว่า กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกบนพื้นที่ดังกล่าวอีกหนึ่งแห่ง และได้เปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2517 โดยนายประสิทธิ์ มากลิ่น ดำรงตำแหน่งผู้บริหารคนแรกและได้เปิดรับนักเรียน ครั้งแรกระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง 186 คน ครูอาจารย์จำนวน 7 คน โดยได้ฝากที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมก่อน ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน 2518 นายประสิทธิ์มากลิ่น อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษาคนแรก ได้ทำการย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม มาทำการเรียน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน", "title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ" }, { "docid": "400929#3", "text": "(2) พระศรีรัตนมุนี (ขวัญรัก ป.ธ.9) เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก (ตามมติประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 05/2561 มติที่ 125/2561 เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ การเสนอแต่งตั้ง พระศรีรัตนมุนี ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ได้รับตราตั้งพระบัญชาฯ วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "5419#33", "text": "อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "684381#1", "text": "เริ่มต้นจากเมืองไชย แขวงอุดมไซ ประเทศลาว ผ่านทางหลวง 2W ผ่านพรมแดนลาวที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ถึงสามแยกแม่จั๊ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้าย ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ช่วงถนนพิษณุโลก - เด่นชัย ผ่านอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอตรอน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก ถึงสี่แยกอินโดจีน เลี้ยวขวาผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ช่วงถนนมิตรภาพ เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 ช่วงถนนนครสวรรค์ - พิษณุโลก ผ่านอำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ผ่านอำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอบึงนาราง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ผ่านอำเภอบรรพตพิสัย อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ บรรจบกับทางหลวงเอเชียสาย 2 ถนนพหลโยธิน ที่จังหวัดนครสวรรค์ รวมระยะทางที่ผ่านในประเทศลาว 203 กิโลเมตร และประเทศไทย 557 กิโลเมตร", "title": "ทางหลวงเอเชียสาย 13" }, { "docid": "5419#27", "text": "ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเนินมะปราง อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "182490#0", "text": "ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นศูนย์วิจัยด้านดัชนีความเป็นธรรมทางการแพทย์และการสาธารณสุข โดยเป็นหน่วยงานอิสระในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักงานตั้งอยู่ ณ อาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก \nปัจจุบันได้รับการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ(มศธส.) สำนักงานตั้งอยู่ที่ 173/113 หมู่ที่ 7 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000", "title": "ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" }, { "docid": "54475#1", "text": "อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว แต่เดิมเป็นวนอุทยานภูสอยดาว ได้สำรวจจัดตั้งเป็นวนอุทยานภูสอยดาว โดยสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 มีพื้นที่เพียง 20,000 ไร่ จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2535 กรมป่าไม้ได้จัดสรรงบประมาณให้สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลกทำการสำรวจพื้นที่ เพิ่มเติมเพื่อผนวกเข้ากับพื้นที่เดิมของวนอุทยานภูสอยดาว ผลการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และในเขตป่าไม้ถาวรตามป่าภูสอยดาวท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ป่าภูสอยดาว ท้องที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ตามมติคณะรัฐมนตรีได้เนื้อที่รวม 48,962.5 ไร่ หรือ 78.34 ตารางกิโลเมตร", "title": "อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว" } ]
3963
มาสค์ไรเดอร์ไกมุ มีกี่ตอน?
[ { "docid": "556487#0", "text": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ () เป็นชื่อของภาพยนตร์ญี่ปุ่นแนวโทคุซัทสึ ในซีรีส์มาสค์ไรเดอร์ ประจำปี 2013 เป็นลำดับที่ 24 ผลิตโดย โตเอะ คัมปะนี และ อิชิโนะโมะริ โปรดักชั่นส์ โดยออกอากาศต่อจาก มาสค์ไรเดอร์วิซเซิร์ด ทางทีวีอาซาฮี ในช่วง ซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ โดยมีกำหนดการออกอากาศในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2013 และสิ้นสุดการออกอากาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2014 รวมจำนวนตอนทั้งหมด 47 ตอน", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" } ]
[ { "docid": "556487#3", "text": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ (仮面ライダー鎧武) / คาสึราบะ โคตะ (葛葉紘汰) แสดงโดย ซาโนะ กาคุ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#32", "text": "มาสค์ไรเดอร์บราโว (仮面ライダーブラボー) / โอเรน ปิแอร์ อัลฟองโซ (凰蓮・ピエール・アルフォンゾ) แสดงโดย โยชิดะ เมทัล", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#99", "text": "\"E-X-A (ExcitingxAttitude)\"", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "4344#17", "text": "มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ เป็นมาสค์ไรเดอร์เพียงคนเดียวในยุคเฮย์เซย์เฟส 2 ที่ไม่ได้มาปรากฏตัวในซีรียส์รุ่นพี่อย่าง มาสค์ไรเดอร์ไกมุ แต่มีหนังโรงภาคที่ทั้งสองคนได้มาพบกัน", "title": "มาสค์ไรเดอร์ ซีรีส์" }, { "docid": "892602#0", "text": "มาสค์ไรเดอร์ X มาสค์ไรเดอร์ ไดรฟ์ & ไกมุ: สงครามไรเดอร์ครั้งใหม่ () เป็นภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึข้ามฝั่ง ที่เป็นการเจอกันระหว่าง มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ และมาสค์ไรเดอร์ไกมุ ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2014", "title": "มาสค์ไรเดอร์ X มาสค์ไรเดอร์ ไดรฟ์ &amp; ไกมุ: สงครามไรเดอร์ครั้งใหม่" }, { "docid": "556487#106", "text": "\"Ranbu Escalation\" ()", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#98", "text": "ร้องโดย ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร feat.Kamen Rider Girls ใช้ในตอนที่ ตอนที่ 3 - 39, 41 เพลงประกอบการต่อสู้", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#83", "text": "โซนิคแอร์โรว์ อาวุธประจำตัวรูปแบบธนูของไกมุ เกราะจินบา และ อาร์มเมิร์ดไรเดอร์รุ่นใหม่ สามารถใช้ฟันแบบดาบและยิงแบบธนูได้ในตัว", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "644281#0", "text": "มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ () เป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นแนวโทคุซัทสึ ในซีรีส์มาสค์ไรเดอร์ ประจำปี 2014 เป็นลำดับที่ 25 ผลิตโดย โตเอะ คัมปะนี และ อิชิโนะโมะริ โปรดักชั่นส์ โดยออกอากาศต่อจาก มาสค์ไรเดอร์ไกมุ ทุกวันอาทิตย์ 8.00 ทางช่องทีวีอาซาฮี ในช่วง ซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2014 และได้สิ้นสุดการออกอากาศเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2015 มีจำนวนตอนทั้งหมด 48 ตอน", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ" }, { "docid": "556487#49", "text": "ในอดีตซิดเป็น 1 ในแก๊งพ่อค้ายาแต่ถูกอินเวสทำร้ายจนพรรคพวกถูกฆ่าจนเหลือแต่ตน กับถูกเรียวมะชักชวน มาสค์ไรเดอร์นัคเคิล (仮面ライダーナックル) / แซ็ค (ザック) แสดงโดย มัตสึดะ กาคุ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "4344#16", "text": "ในตอนจบพิเศษของซีรี่ยส์ มาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด ได้พบกับเหล่ารุ่นพี่ในยุคเฮย์เซย์ทุกคน และในซีรี่ยส์ มาสค์ไรเดอร์ไกมุ ได้มีหนังโรงรวมไรเดอร์รุ่นพี่ทุกคนตั้งแต่ยุคโชวะถึงเฮย์เซย์อีกครั้งนับตั้งแต่ มาสค์ไรเดอร์ดีเคด เป็นต้นมา", "title": "มาสค์ไรเดอร์ ซีรีส์" }, { "docid": "890138#0", "text": "รวมพล 5 มาสค์ไรเดอร์ ปะทะ ดร. แพ็คแมน () เป็นภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึข้ามฝั่ง ที่เป็นการเจอกันระหว่าง มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด และมาสค์ไรเดอร์โกสต์ ซึ่งเป็นตัวละครหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ และเป็นการปรากฎตัวของไรเดอร์รุ่นพี่ ได้แก่ มาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด ,มาสค์ไรเดอร์ไกมุ และมาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์ ซึ่งต่อสู้กับพวกวายร้ายของ ดร.แพ็ก-แมน ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2016 โดยภาพยนตร์นี้ทำรายได้ถึง 723 ล้านเยน (6.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)", "title": "รวมพล 5 มาสค์ไรเดอร์ ปะทะ ดร. แพ็คแมน" }, { "docid": "556487#8", "text": "มาสค์ไรเดอร์บารอน (仮面ライダーバロン) / คุมง ไคโตะ (駆紋戒斗) แสดงโดย โคบายาชิ ยูทากะ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#41", "text": "มาสค์ไรเดอร์มาริกะ (仮面ライダーマリカ) / มินาโตะ โยโกะ (湊 耀子) แสดงโดย สึคุอิ มินามิ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "843889#0", "text": "\"ดูบทความหลักที่ มาสค์ไรเดอร์ไกมุ\"", "title": "รายชื่อตัวละครในมาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#57", "text": "เปโก (ペコ) แสดงโดย โมโมเสะ ซาคุ สมาชิกที่อ่อนที่สุดของทีมบารอน ชอบใช้วิธีโกงตอนอินเวสเกมเพื่อเอาชนะทีมของตนเองตามคำสั่งของแซ็ค โดยใช้หนังสติ๊กยิงผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม แต่ต่อมาก็เลิกใช้กลโกงเพราะถูกไคโตะจับได้ 3 เดือนต่อมาหลังจากนั้นเมืองซาวาเมะฟื้นตัวขึ้นมาเป็นสมาชิกในทีมบีทไรเดอร์รุ่นใหม่ที่แซ็คเป็นหัวหน้า", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#101", "text": "\"Toki no Hana\" ()", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "890138#2", "text": "เมื่อการรุกรานของ “แพ็คแมน” ไวรัสเกมลึกลับที่มีชีวิต ได้นำมาซึ่งอันตรายต่อมวลมนุษย์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยในขณะที่ไวรัสสุดอันตรายกำลังระบาด เท็นคูจิ ทาเครุ หรือ มาสค์ไรเดอร์โกสต์ เกิดติดไวรัสนี้เข้า ทำให้เขาไม่สามารถแปลงร่างได้ “โฮโจ เอมุ” หรือ มาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด จึงพยายามสืบหาศัตรูที่เป็นต้นตอของการระบาด แต่กลับพบว่าตัวเขาเองมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ความจริงอันยิ่งใหญ่ที่โถมกระหน่ำเข้ามาควบคุมชะตากรรม จนเกิดการรวมตัวของเหล่าตำนานมาสค์ไรเดอร์ทั้ง 5 แห่งยุคราวกับปาฏิหาริย์ จะมีวิธีการใดเพื่อกอบกู้สถานการณ์เลวร้ายนี้ มาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด ที่หยุดพักและออกเดินทาง มาสค์ไรเดอร์ไกมุ ที่หายตัวไปจากพื้นพิภพ มาสค์ไรเดอร์ไดรฟ ที่สูญเสียคุณเบลท์ไป (เข็มขัดประตัวใช้สำหรับแปลงร่าง) และความลับของมาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด ที่รอการเปิดเผยเป็นตอนสปินออฟที่มี ดัน คุโรโตะ / มาสค์ไรเดอร์เก็นมุ เป็นตัวเอกในตอนนี้ โดยเนื้อหาของตอนจะอยู่ช่วงระหว่างตอนที่ 11 ของทีวีซีรีส์ ตอนละ 10 นาที มีจำนวน 3 ตอนด้วยกัน โดย 2 ตอนแรกจะเผยแพร่ทางยูทูบแชนแนลโตเอะ เดือนละตอน ส่วนตอนที่ 3 จะอยู่ใน DVD", "title": "รวมพล 5 มาสค์ไรเดอร์ ปะทะ ดร. แพ็คแมน" }, { "docid": "556487#46", "text": "ในอดีตโยโกะเป็น นักฆ่าฝีมือฉกาจ พยายามมาฆ่าเรียวมะตามคำสั่ง แต่ถูกเรียวมะชักชวนกันยื่นข้อเสนอจนมาเป็นเลขาของเรียวมะ มาสค์ไรเดอร์ซีกุร์ด (仮面ライダーシグルド) / ล็อกดีลเลอร์ ชิด (錠前ディーラー シド) แสดงโดย นามิโอกะ คาซุกิ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#25", "text": "มาสค์ไรเดอร์กริดอน (仮面ライダーグリドン) / มาสค์ไรเดอร์คุโรคาเงะ (仮面ライダー黒影) คนที่ 2 / โจโนะอุจิ ฮิเดยาสุ (城乃内 秀保) แสดงโดย มัตสึดะ เรียว", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#103", "text": "\"Rise Your Flag\"", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#14", "text": "มาสค์ไรเดอร์ริวเกน (仮面ライダー龍玄) / มาสค์ไรเดอร์ซันเงสึชิน (仮面ライダー斬月·真) คนที่ 2 / คุเรชิมะ มิทสึซาเนะ (呉島光実) แสดงโดย ทาคาซึงิ มาฮิโระ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "892568#0", "text": "มาสค์ไรเดอร์ ไกมุ & วิซาร์ด : ระเบิดศึกสงครามซามูไร () เป็นภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึข้ามฝั่ง ที่เป็นการเจอกันระหว่าง มาสค์ไรเดอร์ไกมุ และมาสค์ไรเดอร์วิซาร์ด โดยเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 15 ปีของมาสค์ไรเดอร์ในยุคเฮย์เซย์ ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2013", "title": "มาสค์ไรเดอร์ ไกมุ &amp; วิซาร์ด : ระเบิดศึกสงครามซามูไร" }, { "docid": "892585#0", "text": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ THE MOVIE: ศึกชิงถ้วยผลไม้ทองคำ () เป็นภาพยนตร์ของซีรีส์โทรทัศน์มาสค์ไรเดอร์ไกมุ เริ่มออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 โดยออกฉายคู่กับ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ THE MOVIE: ศึกชิงถ้วยผลไม้ทองคำ" }, { "docid": "556487#20", "text": "มาสค์ไรเดอร์ซันเงสึ (仮面ライダー斬月) / มาสค์ไรเดอร์ซันเงสึชิน (仮面ライダー斬月·真) คนแรก / คุเรชิมะ ทาคาโทระ (呉島貴虎) แสดงโดย คุโบตะ ยูกิ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#36", "text": "มาสค์ไรเดอร์ดยุ๊ค (仮面ライダーデューク) / เซนโกคุ เรียวมะ (戦極 凌馬) แสดงโดย อาโอกิ ซึเนโนริ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#29", "text": "มาสค์ไรเดอร์คุโรคาเงะ (仮面ライダー黒影) คนแรก / ฮาเสะ เรียวจิ (初瀬 亮二) แสดงโดย ชิรามาตะ อัตสึชิ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "843889#28", "text": "รองหัวหน้าทีมบารอน ตอนแข่งอินเวสเกมมักใช้ล็อกซีดคลาส C+ ขึ้นไป คอยสั่งให้เปโกใช้กลโกงตอนอินเวสเกมแต่ต่อมาก็เลิกใช้กลโกงเพราะถูกไคโตะจับได้ ผู้แปลงร่างเป็นมาสค์ไรเดอร์นัคเคิล โดยใช้เข็มขัดเซนโกคุไดรเวอร์รุ่นผลิตจำนวนมากที่ไคโตะขโมยมาตอนที่หนีออกมาจากบริษัทยุกดราชิลคอร์ปอร์เรชันมอบให้ก่อนลาออกจากทีม \nปัจจุบันเป็นหัวหน้าคนใหม่ของทีมบารอน และใช้เซนโกคุไดรเวอร์รุ่นผลิตจำนวนมากกับคุรุมิล็อกซีดที่ตนทำให้กลายเป็นอาร์มเมิร์ดไรเดอร์ของทีมบารอน คอยช่วยเหลือพวกโคตะกำจัดพวกอินเวสที่รุกราน โดยเชื่อว่าซักวันไคโตะจะกลับมาเข้าทีมอีกครั้ง ", "title": "รายชื่อตัวละครในมาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "556487#50", "text": "รองหัวหน้าทีมบารอน ตอนแข่งอินเวสเกมมักใช้ล็อกซีดคลาส C+ ขึ้นไป คอยสั่งให้เปโกใช้กลโกงตอนอินเวสเกมแต่ต่อมาก็เลิกใช้กลโกงเพราะถูกไคโตะจับได้ ผู้แปลงร่างเป็นมาสค์ไรเดอร์นัคเคิล โดยใช้เข็มขัดเซนโกคุไดรเวอร์รุ่นผลิตจำนวนมากที่ไคโตะขโมยมาตอนที่หนีออกมาจากบริษัทยุกดราชิลคอร์ปอร์เรชันมอบให้ก่อนลาออกจากทีม ปัจจุบันเป็นหัวหน้าคนใหม่ของทีมบารอน และใช้เซนโกคุไดรเวอร์รุ่นผลิตจำนวนมากกับคุรุมิล็อกซีดที่ตนทำให้กลายเป็นอาร์มเมิร์ดไรเดอร์ของทีมบารอน คอยช่วยเหลือพวกโคตะกำจัดพวกอินเวสที่รุกราน โดยเชื่อว่าซักวันไคโตะจะกลับมาเข้าทีมอีกครั้ง", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" } ]
3965
เมยท์ มิเชลล์ ราดรีเกซมีมารดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "642144#4", "text": "ราดรีเกซ เกิดที่เมืองแซนแอนโทนีโอ (San Antonio) รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา แม่ของเธอ คาเมน มิลาดี้ ราดรีเกซ เป็นคนพื้นเมืองของโดมินิกัน และพ่อของเธอ ราฟาเอล ราดรีเกซ เป็นชาวเปอร์โตริโก ทำงานในกองทัพสหรัฐ[8][9][10] ราดรีเกซได้ย้ายตามแม่ของเธอไปอยู่สาธารณรัฐโดมินิกันเมื่อเธออายุได้ 8 ขวบและอาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งอายุ 11 ปี หลังจากนั้นเธอย้ายไปอยู่ที่เปอร์โตริโกจนอายุได้ 17 ปี และสุดท้ายเธอตั้งรกรากที่เมืองเจอร์ซีย์ (Jersey City) รัฐนิวเจอร์ซีย์ เธอหยุดเรียนไปตอนมัธยมปลายแต่ก็มาเรียนGED ต่อ[11] เธอถูกไล่ออกมา 5 โรงเรียน[12] เธอเข้าเรียนหลักสูตรเร่งรัดที่โรงเรียนทางธุรกิจก่อนที่จะออกจากอาชีพนักแสดง โดยเธอนั้นมีความฝันสูงสุดที่จะเป็นนักเขียนบทและผู้อำนวยการสร้าง[13]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" } ]
[ { "docid": "826530#0", "text": "เร็ว..แรงทะลุนรก 8 () หรือ Fast & Furious 8 หรือ Fast 8 (บางครั้งใช้ F8) เป็นภาพยนตร์โลดโผน กำกับโดยเอฟ. แกรี เกรย์ เขียนบทโดยคริส มอร์แกน เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 8 ในชุด \"เดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส\" นำแสดงโดยวิน ดีเซล, มิเชลล์ ราดรีเกซ, ดเวย์น จอห์นสัน, ไทรีส กิบสัน, ลูดาคริส, ชาร์ลิส โตรน, เจสัน สเตธัม, เคิร์ต รัสเซลล์และสกอตต์ อีสต์วุด ภาพยนตร์เข้าฉายในสหรัฐ วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2017", "title": "เร็ว..แรงทะลุนรก 8" }, { "docid": "642144#7", "text": "ราดรีเกซมีบทบาทที่โดดเด่นในภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงบทบาทของเธอที่เป็นแล็ตตี้ โอติซ ในภาพยนตร์เรื่อง เร็ว แรง ทะลุนรก (The Fast and the Furious) ในปี 2001 และในบทของเรน โอคัมโป ในหนังเรื่องผีชีวะ(Resident Evil) ในปี 2002. เธอปรากฏตัวในหนังเรื่องคลื่นยักษ์รักร้อน(Blue Crush) และสวาทหน่วยจู่โจมระห่ำโลก(S.W.A.T.)[20] ในปี 2004, ราดรีเกซได้พากษ์เสียงของเธอในวิดีโอเกมชื่อว่า Halo 2, เล่นในตัวชื่อว่ามารีน(Marine)[21] เธอยังมีการให้เสียงของอลิซ ริคาร์โรว์(Liz Ricarro) ในการ์ตูนเน็ตเวิร์คซีรีส์(การ์ตูนเน็ตเวิร์ค series) ของ IGPX.[6] จากปี 2005 ถึง 2006 เธอได้รับบทเล่นเป็นตำรวจ แอนนา โลนิการ์ คอร์เทซ(Ana Lucia Cortez)[22] ในซีรีส์โทรทัศน์ชื่อ Lost เธอปรากฏตัวในซีชั่นที่ 2 (ตัวละครที่ปรากฏตัวในครั้งแรกเป็นเรื่องย้อนหลังในช่วงจบซีชั่นแรกชื่อว่า \"Exodus: Part 1\") และมาปรากฏตัวอีกครั้งในฐานะนักแสดงรับเชิญในซีชั่นที่ 5 \"The Lie\" ในปี 2009 เธอกลับมาอีกครั้งในตอนสุดท้ายของซีรีส์ที่ชื่อตอนว่า \"What They Died For\", ในปี 2010 เมื่อปี 2006 ราดรีเกซที่ตอนสำคัญที่เป็นเอพพิโซดของตัวเธอเองใน G4's แสดงเป็น Icons.[23]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#20", "text": "ในวันที่ 1 ธันวาคม ปี 2005 ราดรีเกซถูกจับกุมจากการขับรถ[54] โรดิเกซได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าเธอไม่ยอมรับความผิดเมื่อถูกฟ้องร้อง[55] แต่ในวันของการพิจารณาคดีของเธอในเดือนเมษายน ปี 2006, เธอกลับรับสารภาพและยินดีที่จะจ่ายค่าปรับ เธอเลือกที่จะเป็นจ่ายเงิน 500 ดอลลาร์สหรัฐและถูกคุมขังเป็นเวลา 5 วันแทนที่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน 240 ชั่วโมง.[51] เธอได้อ้างว่าปริมาณสารสเตียรอยด์ที่เธอได้รับในปริมาณที่สูงจากการเบาเทาอาการแพ้มีผลกับพฤติกรรมของเธอ[56] เพราะอุบัติเหตุที่ไกลลัว(Kailua) มันอยู่ในช่วงการคุมความประพฤติของเธอที่ลอสแอนเจลิส เธอถูกตัดสินจำคุกถึง 60 วันในคุก และถูกคุมความประพฤติโปรแกรมการฟื้นฟูเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอร์และอีก 30 ในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อชุมชน, รวมถึงงานรณรงค์ต่อต้านแม่เมาแล้วขับ(Mothers Against Drunk Driving) โดยผู้พิพากษาลอสแอนเจลิสในวันที่ 1 พฤษภาคม ปี 2006.[57] เพราะความอึดอัด เธอได้รับการปล่อยตัวจากคุกเพียงหลังจากที่เธอเดินเขาไปในคุกในวันเดียวกัน เธอนำประสบการณ์เข้าไปเขียนในบล็อกของเธอ[58]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#5", "text": "ในช่วงเวลาหนึ่งเธอถูกเลี้ยงโดยคุณยายและถูกนำขึ้นเป็นพยานพระยะโฮวา ตามศาสนาแม่ของเธอ แม้ว่าเธอจะเริ่มละทิ้งศรัทธา[14][15] การทดสอบดีเอ็นเอของโรดิเกซจัดทำขึ้นตามโปรแกรมของรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อว่า Finding Your Roots ว่าบรรพบุรุษของเป็น 72.4% ยุโรป, 21.3% แอฟริกัน, and 6.3%เป็นชนพื้นเมืองอเมริกัน[16] ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีบางส่วนขัดแย้งกันระหว่างเชื้อชาติกับครอบครัวของเธอ ตั้งแต่พ่อของเธอเป็นเปอร์โตริโกผิวขาวและแม่ของเธอซึ่งเป็นโดมินิกันซึ่งเป็นผิวสี", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#19", "text": "ในปี 2005 ขณะที่หนังเรื่อง Lost ใน รัฐฮาวาย ราดรีเกซถูกจับกุมจากตำรวจโฮโนลูลู(โฮโนลูลู) หลายครั้ง เธอถูกกล่าวหาเรื่องการขับรถในเขตเกาะเกาะโอวาฮู(เกาะโอวาฮู) ในวันที่ 1 พฤศจิกายนและถูกปรับเป็นเงิน 357 ดอลลาร์สหรัฐ. เธอต้องจ่าย 300 ดอลลาร์สหรัฐในเรื่องการขับในวันที่ 20 ตุลาคมและถูกปรับ 197 เหรียญในวันที่ 24 เดือนสิงหาคม[53]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#13", "text": "ราดรีเกซได้ผันตัวเข้ามาทำงานเป็นนักจัดรายการ(ดีเจ) ปี 2009 – เป็นไนท์คลับที่เป็นนานาชาติและเป็นดีเจในรอบปฐมทัศน์ภาพยนตร์ที่ช่วงท้ายมีงานปาร์ตี้[35] โรดิเกซระบุว่ามีการมิกเพลงที่เป็นแนวเฮาส์มิวสิค(เฮาส์ (แนวดนตรี)) และมีการบันทึก เธอพูดไว้ว่า \"ส่วนใหญ่ฉันชอบเล่นในที่ที่มีคนมากที่เป็นกลุ่มผู้ใหญ่เพื่อฉันจะย้อนกลับไปในยุค 1930s ไปถึงปี 1960s, 1970 และ1980s – เอามาไว้ในบ้าน มีแนวฮิปฮอปแล้วก็อาร์แอนด์บี ฉันชอบที่จะผสมผสานเสียงดนตรีอีเล็กทรอนิค\"", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#15", "text": "ในช่วงต้นปี 2000 ราดรีเกซได้ยุติการหมั้นกับแฟนหนุ่มที่เป็นชาวมุสลิม โดยเหตุผลหรือข้ออ้างมาจากความแตกต่างทางศาสนาของฝ่ายชายที่เขาขอร้องจากเธอ[36] หลังจากนั้นได้มีข่าวว่าเธออาจมีความสัมพันธ์กับวิน ดีเซล ที่เป็นพระเอกคู่กับเธอในหนังเรื่อง เร็ว แรง ทะลุนรก (Fast and the Furious)[37] และโอลิเวียร์ มาร์ติเนซ (Olivier Martinez) ที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับเธอในหนังเรื่อง ส.ว.า.ท. หน่วยจู่โจมระห่ำโลก (S.W.A.T.) [38][39]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "354831#0", "text": "เจซัส โรดรีเกซ () เกิดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันเชื้อสายเม็กซิโก เป็นอดีตนักมวยปล้ำดับเบิลยูดับเบิลยูอี(WWE) เป็นอดีตโฆษกผู้ประกาศให้กับอัลเบร์โต เดล รีโอ ในชื่อว่า ริคาร์โด โรดรีเกซ () และนักมวยปล้ำสวมหน้ากากในชื่อ เอลโลคัล () เคยทำงานเป็นผู้ฝึกอบรมมวยปล้ำอาชีพ Fit Pit และยังเคยเป็นนักมวยปล้ำอาชีพชื่อ คีเมรา ()", "title": "ริคาร์โด โรดรีเกซ" }, { "docid": "642144#0", "text": "เมยท์ มิเชลล์ ราดรีเกซ (English: Mayte Michelle Rodriguez[1]; /rɑːˈdriːɡɛz/) เกิดเมื่อ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1978[2] รู้จักกันดีในชื่อ มิเชลล์ ราดรีเกซ, เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน เป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ และเป็นดีเจ[3] เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากบทบาทในภาพยนตร์เป็นนักมวยเจ้าปัญหาในภาพยนตร์อิสระเรื่อง Girlfight ในปี 2000 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและทำให้เธอสามารถคว้ารางวัลมาได้หลายรางวัล รวมไปถึงรางวัล Independent Spirit Award ซึ่งจะประกาศก่อนรางวัลออสการ์ 1 วันซึ่งถือเป็นรางวัลสำคัญสำหรับหนังอิสระต้นทุนต่ำ[4] และรางวัล Gotham Award ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับแนวหนังอินดี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าเปิดตัวครั้งแรกได้ดี[5] และในปีต่อมา เธอเริ่มได้รับบทนำที่ชื่อว่า เล็ตตี้ โอติซ (รายชื่อตัวละครในเดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส) ในภาพยนตร์ดังเรื่อง เร็ว แรง ทะลุนรก (The Fast and the Furious) ในปี 2001, บทบาทของเธอในเวลาต่อมาที่เธอแสดงเรื่อง Fast & Furious ในปี 2009 และ เร็ว..แรงทะลุนรก 6 ในปี 2013", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "537457#0", "text": "เร็ว..แรงทะลุนรก 6 () รู้จักในอีกชื่อว่า Fast Six หรือ Furious 6 เป็นภาพยนตร์โลดโผน/ระทึกขวัญลำดับที่ 6 ในชุด\"เดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส\" เขียนบทโดยคริส มอร์แกน และกำกับโดยจัสติน ลิน นำแสดงโดย วิน ดีเซล, พอล วอล์กเกอร์, ดเวย์น จอห์นสัน และ มิเชลล์ ร็อดริเกซ เข้าฉายเมื่อปี ค.ศ. 2013", "title": "เร็ว..แรงทะลุนรก 6" }, { "docid": "642144#1", "text": "เส้นทางสายอาชีพของเธอ, โรดิเกซเล่นในบทบาทที่ยากลำบาก, เป็นนักแสดงหญิงอิสระคนที่ประสบความสำเร็จในวงการแสดงภาพยนตร์, รวมไปถึงหนังที่เธอแสดงในเรื่อง คลื่นยักษ์รักร้อน(Blue Crush),สวาทหน่วยจู่โจมระห่ำโลก(S.W.A.T.),วันยึดโลก(Battle: Los Angeles), และ อวตาร(Avatar) และเธอยังเป็นที่รู้จักดีในบทบาทนักแสดงภาพยนตร์แนวแอ๊กชั่นตลกสนุกสนาน(action comedy) ในเรื่อง ระห่ำกระฉูด(Machete) และคนระห่ำ ดุกระฉูด(Machete Kills) และ เรน โอแคมโบ(Rain Ocampo) ยังมีในหนังแนวนิยายวิทยาศาสตร์(บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ films) ในเรื่อง ผีชีวะ(Resident Evil) และผีชีวะ 5( Resident Evil: Retribution)", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#21", "text": "ในเดือนกันยายน ปี 2007 ราดรีเกซได้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดการถูกคุมความประพฤติโดยการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณชนไม่เสร็จสิ้นและไม่ปฏิบัติตามโปรแกรมบำบัดแฮกอลฮอร์ มีรายงานว่าเธอส่งเอกสารเดิมที่ระบุว่าเธอทำงานบำเพ็ญประโยชน์ในวันที่ 5 เดือนกันยายนในปี 2006, แต่ก็ได้รับการยืนยันว่าเธอทำจริงที่เมืองนิวยอร์กในวันนั้น. ทนายความของเธออ้างว่าเป็นข้อผิดพลาดของฝ่ายธุรการ.[59] ในวันที่ 10 เดือนตุลาคม ปี 2007 เธอถูกตัดสินให้จำคุก 180 วันหลังจากที่เธอละเมิดการคุมความประพฤติของเธอ เธอคาดว่าเวลาในคุก 180 วันเต็มในคุกนั้นไม่เหมาะสมเนื่องจากเธอต้องพักงานเธอและถูกกักบริเวณในบ้าน.[60] อย่างไรก็ตามหลังจากที่เข้าไปในคุกที่เป็นสถานกักกันที่ตั้งอยู่ในเขตลินวูดส์(Lynwood) แคลิฟอเนียร์ ในวันที่ 23 ธันวาคม ปี 2007[61] เธอได้รับการปล่อยตัวหลังจากถูกคุมขังได้ 18 วัน ในวันที่ 9 เดือนมกราคม ปี 2008 เนื่องจากความแออัดในคุก[62]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#9", "text": "ในปี 2010, ราดรีเกซได้ปรากฏตัวในของโรเบิร์ท ราดรีเกซ (Robert Rodriguez) หนังเรื่อง Machete ซึ่งหนังได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวกและทำเงินไป 44 ล้านเหรียญในบ๊อกออฟฟิต[31] ในปี 2011 ประกบคู่คับ อารอน เอคฮาร์ท (อารอน เอคฮาร์ท) ในหนังแนวแนวนิยายวิทยาศาสตร์ เรื่อง Battle: Los Angeles หนังทำรายได้มากว่า 200ล้านเหรียญในบ๊อกออฟฟิต ในปี 2012 เธอกลับไปเล่นหนังในบทของร่างโคลนที่เป็นทั้งตัวดีและตัวร้ายในบทของ เรน โอแคมโบ ในหนังเรื่อง ผีชีวะ 5 ตอนสงครามไวรัสล้างนรก (Resident Evil: Retribution) ในปี 2013 เธอรับบทบาทเป็น เล็ตตี้ โอติซ ในเรื่อง เร็ว..แรงทะลุนรก 6 ในปีเดียวกันราดรีเกซมาเล่นหนังในของโรเบิร์ท ราดรีเกซในเรื่อง Machete Kills.", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#11", "text": "\"โอ้ไม่นะ, ฉันรู้สึกว่าเพิ่งได้รับบทบาทในหนังเรื่อง Girlfight เมื่อปีที่ผ่านมา. คุณจะยอมให้ตัวเองได้รับบท ถ้าฉันตัดสินใจฉันไม่ต้องการที่จะได้รับบทในวันพรุ่งนี้ ฉันจะต้องเล่นหนังอินดี้ที่ได้รับบทสาวยากจนที่ต้องมีประสบการณ์ที่ทนทุกข์ทรมารและต้องการที่จะเอาชนะผ่านมันมาให้ได้จากการร้องไห้หรือถูกข่มขืน แต่ช่วงท้ายๆ ของวันฉันรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้แสดง ฉันเพียงต้องการใครบางคนฉันเชื่อในสิ่งนั้นฉันอยากให้ทุกคนสนใจหรือสนุกไปกับมัน ฉันอยู่ตรงนี้เพื่อให้ความบันเทิงกับผู้ชมและช่วยให้ผู้หญิงนั้นแข็งแกร่งขึ้น และนั่นคือสิ่งที่ฉันทำในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ฉันบอกกับตัวเองและฉันก็มีกล่องของตัวเองและจะพูดว่าเมื่อมีสิ่งต่างๆที่จะใส่ในจานของฉัน ฉันก็จะพูดว่าไม่ และในที่สุดฉันก็จะเหมือนลูกไก่ที่แข็งแรงที่จะถูกฆ่าและมันก็ไม่ผิดปกติอะไร\"", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#2", "text": "ราดรีเกซยังมีงานทางซีรีส์ทางรายการโทรทัศน์ที่เล่นเป็นแอนนา โลนิการ์ คอร์เทซ(Ana Lucia Cortez) ในซีชั่น 2 ของหนังซีรีส์เรื่องอสุรกายดงดิบ(Lost) เธอเป็นส่วนหนึ่งของนักแสดงซึ่งมีการแยกเป็นหลายชุดก่อนที่ซีรีส์จะจบลง เธอยังมีการทำงานเกี่ยวกับเสียงมากมาย(voice work) ในวิดีโอเกม เช่น เกม Call of Duty และเกม Halo, และหนัง 3 มิติแอนนิเมชั่น( 3D แอนิเมชัน) เรื่องหอยทากจอมซิ่งสายฟ้า(Turbo) และซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง IGPX.[6]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#17", "text": "ในเดือนตุลาคม 2013, หนังสือเอนเตอร์เทนเมนท์รายสัปดาห์(เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี) ได้ยกคำพูดของเธอที่ว่า \"ฉันได้ทั้งสองอย่าง ฉันทำในสิ่งที่ฉันชอบ ฉันแปลกมากที่มานั่งอยู่ตรงนี้และฉันไม่พยายามทนในเมื่อฉันสามารถทำได้ ผู้ชายก็มีอะไรที่น่าทึ่ง เหมือนดังลูกไก่\"[7] แล้วเธอก็ได้อธิบายคำพูดของเธอกับนิตยสารที่มีชื่อว่าLatina ว่า \"ฉันว่ามันเก่าแล้ว. ในที่สุดมันก็จะทำเกิดความยุ่งยากจนฉันไม่อยากจะกลับไปทำอีก. ฉันอยากจะซื่อสัตย์และมองดูสิ่งที่กำลังจะเกิด.\"[45] ในเดือนพฤษภาคม ปี 2014, เธอกล่าวว่าการที่เธอให้สัมภาษณ์เธอหวังว่าการกระทำของเธอจะสามารถช่วยคนอื่นๆ ที่เจอในสถานการณ์ที่คล้ายกัน \"โดยอาจจะเปิดปากใหญ่โตที่เต็มได้ด้วยไขมันของฉัน เหมือนกับจะทำให้ก้าวผ่านขึ้นไปอีกขั้นโดยที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครบางคนที่เป็นคล้ายๆกัน\"[46] เธอได้ให้คำอธิบายหลังจากการให้สัมภาษณ์อีกครั้งนั้นหลังจากนั้นว่าตัวเธอเองเป็นไบเซ็กชวล: \"ไบ , ใช่ ฉันตกอยู่ในแบบ B-ของ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ(กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ)\" ราดรีเกซขาดความแปลกใหม่ในบทนักแสดงหญิงที่มีอยู่ในบทภาพยนตร์ เธอกล่าวว่า \"มีอะไรที่ผิดปกติกับการเป็นไบเซ็กชวลเหรอ? ฉันหมายถึง,พวกเราต่อต้านสิ่งที่จะมารบกวนในที่ที่เราจะไป\"[47]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#6", "text": "มีการเปิดทดสอบหน้ากล้องหรือเรียกว่าแคสติ้งดาราหน้าใหม่ซึ่งเป็นการออดิชั่นครั้งแรกของเธอ ราดรีเกซชนะผู้ที่เข้าสมัคร 350 คนในหนังอิสระทุนต่ำ ที่ชื่อว่า Girlfight.ด้วยการรับบทเป็นไดน่า ก๊อทแมน(Diana Guzman),ซึ่งเป็นบทวัยรุ่นที่ก้าวร้าวแล้วได้รับการฝึกฝนเพื่อจะเป็นนักมวย,[17] ราดรีเกซได้รับรางวัลต่อหลายรางวัลและถูกเสนอชื่อในฐานะนักแสดงอิสระ, รวมทั้งได้รับรางวัลนักแสดงหลักจากงาน National Board of Review และ Deauville Film Festival,[18] และก็ยังมีอีกหลายรางวัล เช่น Independent Spirit Awards,[4] Gotham Awards,[5] Las Vegas Film Critics Sierra Awards, และอีกหลายที่ได้รับ ตัวภาพยนตร์เองก็ได้รับรางวัลสูงสุดจาก Sundance[19] และชนะเลิศรางวัลเยาวชนที่เทศกาลประกวดภาพยนตร์ที่เมืองคานส์(เทศกาลภาพยนตร์เมืองกาน) ในปี 1999, เธอได้รับคัดเลือกในบทบาทที่เป็น Sisqó's ในมิวสิควิดีโอ ชื่อว่า \"Thong Song\". ในปี 2002, เธอปรากฏตัวในมิวสิควิดีโอเพลงที่มีชื่อว่า \"Always On Time\".", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "754169#0", "text": "บาร์โตโลเม อัลแบร์โต มอตต์ (; ชื่อในการแสดง: ทอม ราดรีเกซ; ; 1 ตุลาคม ค.ศ. 1987 —) เป็นนักแสดงชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายอเมริกัน เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้เข้าแข่งขันในทีวีเรียลลิตี้โชว์ \"พินอยบิกบราเธอร์ : ดับเบิลอัพ\" และเขาได้ร่วมแสดงภาพยนตร์ในเรื่อง \"Be Careful With My Heart\", \"Temptation Island\", \"My Husband's Lover\" รับบทเป็น วินเซนต์ โซรีอาโน และ \"My Destiny\" รับบทเป็น ลูคัส แมทธิว อันดราดา", "title": "ทอม ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#10", "text": "หลังจากภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ ที่ชื่อว่า Girlfight ราดรีเกซได้รับบทอย่างต่อเนื่องและมีคาแรคเตอร์แนวทอมบอยที่ทำงานในสถานีตำรวจหรือทำงานในหน่วยงานของกองทัพ ราดรีเกซกล่าวว่าไม่สนใจว่าตัวเองจะได้รับบทบาทอย่างไร แต่เธอจะรับผิดชอบกับบทบาทที่ได้รับอย่างดีที่สุด[32]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#16", "text": "ในเดือนกรกฎาคม 2006, ราดรีเกซได้บอกกับนิตยสาร Cosmopolitan ว่าเธอไม่ใช่เลสเบี้ยน, แต่ว่า\"เธอได้เคยมีประสบการณ์กับทั้งสองเพศ\" [40] ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2006, เธอได้ถูกเปิดเผยว่าเธอเป็นไบเซ็กชวล กับตอนที่เธอเล่นหนังเรื่องผ่าภิภพแวมไพร์(Bloodrayne)ที่ได้ร่วมงานกับดาราที่ชื่อว่า คริสแตนน่า โลเค่น(Kristanna Loken) ได้สร้างความคิดเห็นหลายความเห็นผู้ที่ให้การสนับสนุน มีการตีความกันอย่างกว้างขวางจากสื่อถึงความสัมพันธ์ของทั้งคู่ แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากคนทั้งคู่[41] ในเดือนมิถุนายน ปี 2007 นิตยสารเลสเบี้ยนที่ชื่อว่าCurve ได้นำเสนอเรื่องราวอ้างว่าราดรีเกซนั้นเป็นไบเซ็กชวล[42] ราดรีเกซได้วิพากษ์วิจารณ์นิตยสารเล่มนี้ว่า\"เอาคำพูดยัดใส่ปากของเธอ\".[43] เธอก็ได้บอกอีกครั้งว่าเธอไม่ใช่เลสเบี้ยนในเดือนพฤศจิกายน ปี 2008 จากการที่เธอให้สัมภาษณ์กับหนังสือนิตยสารสำหรับผู้หญิงที่ชื่อว่า Cayena ซึ่งเป็นนิตยสารของสาธารณรัฐโดมินิกัน.[44]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#22", "text": "on IMDb on Instagram on Facebook", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#14", "text": "หลายต่อหลายครั้งในช่วงอาชีพของเธอ เธอได้รับการจัดอันดับในนิตยสาร Stuff ว่าเป็น \"เป็น 1 ในผู้หญิง 102 คนที่เซ็กซี่ที่สุดในโลก\", หนังสือ Maxim\" เป็นผู้หญิงที่ติดหนึ่งใน 100 ของผู้หญิงที่เซ็กซี่ที่สุด\" และติดอันดับที่ 74 ของนิตยสาร เอฟเอชเอ็ม \"ผู้หญิง 100 อันดับแรกที่เซ็กซี่ที่สุดในปี 2009\"", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#3", "text": "หนังของเธอทำรายมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2013 ความบันเทิงรายสัปดาห์ ได้มีบทความเกี่ยวกับราดรีเกซ ว่าเป็น \"นักแสดงหญิงที่โดดเด่นที่สุดในฐานะนักแสดงหญิงประเภทแนวแอ็กชั่นที่เป็นชาวละตินที่เห็นได้ชัดเจนในฮอลลิวูด\".[7]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "930604#0", "text": "ส.ว.า.ท. หน่วยจู่โจมระห่ำโลก (อังกฤษ: S.W.A.T.) เป็นภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกา สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2003 กำกับโดย คลาร์ก จอห์นสัน นำแสดงโดย ซามูเอล แอล. แจ็กสัน, โคลิน ฟาร์เรล, มิเชลล์ ราดรีเกซ, แอลแอล คูล เจ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีภาพยนตร์ภาคต่อคือ ส.ว.า.ท. หน่วยจู่โจมระห่ำโลก 2", "title": "ส.ว.า.ท. หน่วยจู่โจมระห่ำโลก" }, { "docid": "642144#18", "text": "ในเดือนมีนาคม ปี 2002, ราดรีเกซได้ถูกจับกุมในข้อหาทำร้ายร่างกายหลังจากที่ต่อสู้ตบตีกับเพื่อนร่วมห้องของเธอ[48] ค่าปรับได้ถูกหยุดไว้เนื่องจากเพื่อนร่วมห้องของเธอปฏิเสธข้อกล่าวหาในชั้นศาล.[49] ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2003, ราดรีเกซขึ้นศาลเพื่อเผชิญหากับข้อกล่าวหาทางอาญา(misdemeanor) 8 ข้อ และถูกจ่ายค่าปรับกับ 2 เหตุการณ์ซึ่งรวมไปถึงกรณีขับรถชนแล้วหนีและชกต่อย.[50] ในเดือนมิถุนายน ปี 2004 , โรดิเกซสารภาพไม่ขอสู้คดี(no contest) ในลอสแอนเจลิสที่ถูกจับกุมใน 3 ข้อหาชนแล้วหนี,เมาแล้วขับ และขับรถโดยที่ใบอนุญาตในการขับขี่ถูกระงับ.[51] เธอถูกจำคุก 48 ชั่วโมง, ต้องบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม(งานบริการชุมชน)ที่ห้องเก็บศพในโรงพยาบาลนิวยอร์ก, เข้าโปรแกรมบำบัดแอลกอฮอล์ 3 เดือน, และได้รับการรอลงอาญา(probation) เป็นเวลา 3 ปี [52]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "826530#8", "text": "วิน ดีเซล, เคิร์ต รัสเซล, มิเชลล์ ราดรีเกซ, ไทรีส กิบสันและลูดาคริสยืนยันจะกลับมาในภาคต่อนี้ รวมถึงลูคัส แบล็คที่เคยแสดงใน \"เร็ว..แรงทะลุนรก ซิ่งแหกพิกัดโตเกียว\" ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 ดเวย์น จอห์นสันและเจสัน สเตธัมให้สัมภาษณ์ว่าจะกลับมาร่วมแสดงเช่นกัน", "title": "เร็ว..แรงทะลุนรก 8" }, { "docid": "642144#12", "text": "ในระหว่าที่กำลังมีทัวร์เพื่อโปรโมทหนังเรื่อง เร็ว..แรงทะลุนรก 6 ราดรีเกซเริ่มได้รับร่วมธุรกิจกับฮอลลีวูดที่จะผันตัวเป็นคนเขียนบาท เธอมีงานเขียนบทอยู่สองเรื่องที่กำลังพัฒนาอยู่และมีแผนที่จะหยุดพักงานแสดงเพื่อจะติดตามผลงานเขียนของเธอ หนึ่งในแนวความคิดอยู่บนพื้นฐานเป็นหนังครอบครัวเธอได้ให้คำอธิบายว่า \"เรื่องราว 2012 ที่เกี่ยวข้องกับความบริสุทธิ์ เกี่ยวกับสัตว์และเกี่ยวกับเด็ก\",[33] และมีจุดอื่นๆ ที่กับลังปรับปรุงแก้ไขในการที่เอามาทำใหม่เป็นหนังโจรเยอรมันปี 1997 ที่เธอให้คำอธิบายเกี่ยวกับหนังไว้ว่า \"เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ 4 สาวที่หนีออกมาจากคุกและกำลังถูกตามล่าตัวทั่วประเทศโดยเอฟบีไอ\"[34]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#23", "text": "หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2521 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:20th-century American actresses หมวดหมู่:21st-century American actresses หมวดหมู่:Actresses from New Jersey หมวดหมู่:Actresses from San Antonio, Texas หมวดหมู่:American people of Dominican Republic descent หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรป หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายชนพื้นเมืองอเมริกัน หมวดหมู่:American people of African descent หมวดหมู่:American actresses of Puerto Rican descent หมวดหมู่:Hispanic and Latino American actresses หมวดหมู่:Military brats หมวดหมู่:บุคคลจากแซนแอนโทนีโอ หมวดหมู่:People from Jersey City, New Jersey หมวดหมู่:American television actresses หมวดหมู่:นักเขียนบทชาวอเมริกัน หมวดหมู่:American writers of Dominican Republic descent หมวดหมู่:นักแสดงภาพยนตร์หญิงชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักพากย์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:Former Jehovah's Witnesses หมวดหมู่:ดีเจอเมริกัน‎ หมวดหมู่:Bisexual actors", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" }, { "docid": "642144#8", "text": "ในปี 2008,โรดิเกซปรากฏตัวในหนังเรื่อง ซึแอตเติล ปิดเมืองเดือดระอุ(Battle in Seattle)[24] ใน 2009, เธอแสดงในหนังเรื่อง เร็วแรงทะลุนรก 4(เดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส), ซึ่งเป็นภาคที่ 4 ของหนังเรื่อง The Fast and the Furious film series.[25][26] หลังจากนั้นอีกปี, ราดรีเกซได้เริ่มในหนังของเจมส์ แคเมลอน ในหนังทุนสร้างสูงแนวไซไฟผจญภัยในเรื่องอวตาร, ซึ่งกลายเป็นหนังที่รายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์(highest-grossing film in history) และก็เป็นหนังที่ราดรีเกซก็ประสบความสำเร็จ เธอให้ความสนใจกับการกับมาในภาพยนตร์เรื่องที่ 2[27][28] ในปี 2009 โรดิเกซได้ร่วมแสดงในหนังของโดมิดิกันที่ชื่อว่า Trópico de Sangre, ซึ่งเป็นหนังอิสระที่สร้างโดยมิราเบลน้องสาวของเธอ(Mirabal sisters)[29][30]", "title": "มิเชลล์ ราดรีเกซ" } ]
3966
แชฟเฟอร์ ชิเมียร์ เกิดที่เมืองอะไร?
[ { "docid": "224858#1", "text": "นี-โย เกิดในรัฐอาร์คันซอ เมืองแคมเดน มีชื่อทางศาสนาว่า แชฟเฟอร์ ชิเมียร์ สมิธ[3] บิดาของเขาเป็น ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน ส่วนมารดาของเขามีเชื้อสายผสมระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันกับอเมริกันเชื้อสายจีน[4] ทั้งคู่เป็นนักดนตรี ตั้งแต่ยังเด็กเขาอยู่กับแม่เพียงคนเดียวเพราะพ่อแยกทางกันไป[5] และเพื่อหวังว่าจะได้โอกาสที่ดีขึ้น แม่ของเขาย้ายพร้อมครอบครัวไปอยู่ในลาสเวกัส รัฐเนวาดา", "title": "นี-โย" } ]
[ { "docid": "333255#2", "text": "มีเรื่องเล่าที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในปัจจุบัน ว่าชายลึกลับในชุดสีเทาที่เป็นผู้ว่าจ้างโมทซาร์ทให้แต่งเรควีเอ็มบทนี้ คือ อันโตนีโอ ซาลีเอรี สืบเนื่องมาจากความนิยมในบทละครเรื่อง \"Mozart and Salieri\" (1830) ของอะเล็กซานเดอร์ ปุชกิน ซึ่งดัดแปลงเป็นอุปรากรโดยริมสกี-คอร์ซาคอฟในปี ค.ศ. 1897 ซึ่งกลายมาเป็นโครงเรื่องหลักในละครเวที และภาพยนตร์ \"อะมาเดอุส\" โดยปีเตอร์ แชฟเฟอร์ ซึ่งไม่ตรงกับความจริงในประวัติศาสตร์ \nเรควีเอ็ม แมส ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ แบ่งออกเป็นน 14 มูฟเมนต์ โดยแยกเป็น 7 ท่อนหลัก ดังนี้", "title": "เรควีเอ็ม (โมทซาร์ท)" }, { "docid": "452612#0", "text": "เหตุรถไฟชนกันชเซโคซินี เป็นอุบัติเหตุรถไฟชนประสานงากันในประเทศโปแลนด์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 21:07 น. ตามเวลายุโรป ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 16 รายบาดเจ็บ 60 คน นับเป็นอุบัติเหตุรุถไฟครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโปแลนด์ รายงานระบุว่า รถไฟสองขบวนแล่นมาบนรางเดียวกัน ขบวนหนึ่งแล่นมาจากเมืองทางตะวันออก มุ่งหน้ายังกรุงวอร์ซอ ขณะที่อีกขบวนแล่นมาผิดรางขณะเดินทางจากกรุงวอร์ซอไปยังเมืองกรากุฟทางตอนใต้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุว่าเหตุใด ขบวนที่มุ่งหน้าลงใต้จึงวิ่งมาผิดราง จากอุบัติเหตุครั้งนี้ ทำให้เกิดการตั้งข้อสงสัยต่อความปลอดภัยของระบบรางรถไฟของโปแลนด์ ซึ่งเพิ่งมีการปรับปรุงเมื่อไม่นานมานี้ ขณะที่ระบบส่วนใหญ่ยังมีการใช้มาตั้งแต่ยุคคอมมิวนิสต์ ด้านนายสลาโวเมียร์ โนวัค รัฐมนตรีคมนาคมโปแลนด์กล่าวยืนยันว่า การเดินทางด้วยรถไฟยังคงมีความปลอดภัย และการปรับปรุงระบบการเดินรถทุกครั้ง รัฐบาลยังคงคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นลำดับแรก และอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นบนเส้นทางที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว", "title": "เหตุรถไฟชนกันที่ชเซโคซินี พ.ศ. 2555" }, { "docid": "6977#17", "text": "การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 643 ที่เมืองชาลันธร แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าทำที่กัศมีร์หรือแคชเมียร์ การสังคายนาครั้งนี้มีลักษณะของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเข้ามาผสม ทำให้ฝ่ายเถรวาทไม่นับว่าเป็นหนึ่งในการสังคายนา", "title": "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" }, { "docid": "111404#1", "text": "วงคอร์น (Korn) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 ที่ฮันทิงตัน บีช ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยมือกีตาร์อย่าง เจมส์ \"มันกี้\" แชฟเฟอร์ (James \"Munky\" Shaffer)และ ไบรอัน \"เฮด\" เวลช์ (Brian \"Head\" Welch) มือกีตาร์และร้องนำเดินทางกลับมายังบ้านเกิด ณ เมือง เบเคอร์สฟิลด์ (Bakersfield) เพื่อเยี่ยมเยือนนักร้อง นำแห่งวงดนตรีท้องถิ่นที่มีชื่อว่า วงเซ็กอาร์ท (Sexart) นั่นก็คือ โจนาธาน เดวิส (Jonathan Davis) โดยขณะนั้น เดวิส ทำงานประจำ เป็นผู้ช่วยพนักงานสืบสวนอาชญากรรม ทั้ง แชฟเฟอร์ และ เวลช์ ชักชวน เดวิส มาเป็นนักร้องนำ และยังได้ชักชวน เดวิด ซิลเวอเรีย (David Silveria) มาเป็นมือกลอง และ เรจินัลด์ \"ฟิลดี้\" อาร์วิซู (Reginald \"Fieldy\" Arvizu) มาเป็นมือเบส", "title": "คอร์น" }, { "docid": "668488#1", "text": "เพลงทั้งหมดแต่งโดยเชสเตอร์ เบนนิงตัน, อาเมียร์ เดแรก, ไรอัน ชัก และ แอนโทนี แวลคิก", "title": "เอาต์ออฟแอชิส" }, { "docid": "604117#0", "text": "อมาเดอุส () เป็นภาพยนตร์ใน ค.ศ. 1984 แนวชีวิตและย้อนยุคทางประวัติศาสตร์ กำกับโดยมิโลช โฟร์มัน เขียนโดยปีเตอร์ แชฟเฟอร์ ดัดแปลงมาจากบทละครเวทีเรื่อง \"อมาเดอุส\" (ค.ศ. 1979) ของปีเตอร์ แชฟเฟอร์ รูปแบบของอเล็กซานเดอร์ พุชกิน เรื่อง \"Mozart i Salieri\" (Моцарт и Сальери, 1830) ซึ่งการแต่งเพลงของอันโตนีโอ ซาลีเอรี ได้รับรู้ความเป็นอัจฉริยะของว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท แต่ก็อัดอั้นมาจากความภูมิใจและริษยา เรื่องนี้ตั้งอยู่ในเวียนนา ออสเตรีย ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18", "title": "อมาเดอุส" }, { "docid": "845857#0", "text": "มุฮัมมัด แอดเมียร์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1998 เป็นนักคริกเกตชายชาวปากีสถาน ซึ่งเริ่มเล่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 ในตำแหน่งแบทส์แมน ของทีมลาฮอร์", "title": "มุฮัมมัด แอดเมียร์ (นักคริกเกต)" }, { "docid": "224858#26", "text": "นี-โย มีบุตรชายกับแฟนสาวในปี 2005 โดยตั้งชื่อว่า ชิเมียร์ ตามชื่อกลางของนี-โย[3] ถึงแม้ว่านี-โย จะชื่อว่าเขาเป็นพ่อของเด็ก แต่ภายหลังก็ได้พบว่าไม่ใช่ลูกของเขาเอง ซึ่งต่อมาก็ได้ทำการดำเนินคดีกับแม่ของเด็ก[50]", "title": "นี-โย" }, { "docid": "122502#6", "text": "ภาษาโดกรี ภาษาแคชเมียร์ ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู และภาษาฮินดี ต่างเป็นภาษาที่ใช้พูดในบริเวณที่มีความขัดแย้งสูง ทำให้เกิดปัญหาว่าภาษาเหล่านี้เป็นภาษาเอกเทศหรือสำเนียง ในบางครั้งถือว่าภาษาปาหารีตะวันตกเป็นสำเนียงของภาษาปัญจาบ ภาษาปาหารีตะวันตกบางสำเนียงเช่นรัมบานี เคยถูกจัดเป็นสำเนียงของภาษาแคชเมียร์ ในบางครั้งภาษาปัญจาบก็เคยถูกจัดเป็นสำเนียงของภาษาฮินดี นักภาษาศาสตร์สมัยใหม่จัดให้ภาษาโดกรี ภาษาแคชเมียร์ ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู และภาษาฮินดีเป็นภาษาเอกเทศในภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน ภาษาเหล่านี้จะมีภาษามาตรฐานที่ใช้ในการเขียนและมีสำเนียงย่อยๆอีกมาก", "title": "ภาษาโดกรี" }, { "docid": "54331#1", "text": "เจนเซน แอคเคิลส์ เกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) ที่เมืองดัลลัส รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา โดยพ่อของเขา อลัน แอคเคิลส์และแม่ของเขา ดอนน่า แชฟเฟอร์ เขามีเชื้อสายนักแสดงจากพ่อของเขาเองตั้งแต่ยังเล็ก โดยได้เป็นนายแบบตั้งแต่ยังเด็ก ๆ", "title": "เจนเซน แอคเคิลส์" }, { "docid": "275500#0", "text": "แผ่นดินไหวที่แคชเมียร์ พ.ศ. 2548 เกิดเมื่อเวลา 08:52:37 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 03:52:37 น. UTC) ของวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ที่เขตอาซาด แคชเมียร์ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปากีสถาน ใกล้ชายแดนอินเดีย มีจุดศูนย์กลางอยู่ใกล้กับเมืองมูซัฟฟาราบัด เมืองหลวงของแคว้น ด้วยความรุนแรง 7.6", "title": "แผ่นดินไหวในแคชเมียร์ พ.ศ. 2548" }, { "docid": "580742#0", "text": "แนซ อายเดเมียร์ อัคยอล () เกิดวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1990 ที่อิสตันบูล เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชาวตุรกี ซึ่งมีส่วนสูงถึง 186 ซม. และทำหน้าที่ในตำแหน่งมือเซตให้แก่วาคีฟบังค์สปอร์กูลือบือซึ่งเป็นทีมแชมป์ยุโรปในปัจจุบันตลอดจนเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติตุรกี เธอเคยชนะการแข่งขันลีกหนึ่งรายการร่วมกับทีมเฟแนร์บาห์เช กับอีกสามรายการแข่งขันร่วมกับทีมเอซาชีบาแชแซนทีวา เธอเป็นมือเซตที่มีอายุน้อยที่สุดที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ในฐานะผู้เริ่มต้น นอกจากนี้ เธอยังชนะการแข่งขันซีอีวีแชมเปียนส์ลีกสองสมัยในปี ค.ศ. 2012 และ 2013", "title": "แนซ อายเดเมียร์" }, { "docid": "745933#3", "text": "ในภูมิภาคแห่งนี้ เมื่อเดือนเมษายนปีเดียวกันก็ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 M มีจุดเหนือศูนย์กลางอยู่ในประเทศเนปาล ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 9,000 คน เป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปีของประเทศ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ครั้งหนึ่งในพื้นที่ใกล้เคียงกันกับครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อสิบปีก่อน เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 แผ่นดินไหวขนาดใกล้เคียงกัน (7.6 M) จุดศูนย์กลางอยู่ในแคชเมียร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 87,351 คน ประชากร 2,800,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย ข้อสังเกตคือแผ่นดินไหวครั้งนั้นมีจุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปเพียง 15 กิโลเมตร เทียบกับแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่มีจุดศูนย์กลางลึกลงไปกว่า 212.5 กิโลเมตร\nแผ่นดินไหวหลักในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13:39 น. ตามเวลาในประเทศอัฟกานิสถาน (09:09 UTC) ที่ความลึกจากผิวดิน 212.5 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองฟายซาบัด (ประชากร 44,000 คน) เมืองหลักของจังหวัดบาดัคชาน ประเทศอัฟกานิสถาน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 82 กิโลเมตร สำนักธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (USGS) วัดความรุนแรงครั้งแรกได้ 7.7 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ ต่อมาปรับลดขนาดลงเหลือ 7.6 และปรับลดครั้งล่าสุดเหลือ 7.5 M", "title": "แผ่นดินไหวในประเทศอัฟกานิสถาน พ.ศ. 2558" }, { "docid": "28087#0", "text": "โบโรเมียร์ เป็นตัวละครตัวหนึ่งในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือภาคแรกและช่วงต้นของภาคที่สอง \nโบโรเมียร์เป็นมนุษย์ชาวกอนดอร์ บุตรชายคนโตของเดเนธอร์ สจ๊วตแห่งกอนดอร์คนสุดท้าย และเป็นพี่ชายของฟาราเมียร์ เขาเกิดในปีที่ 2978 ของยุคที่สาม มีร่างกายสูงใหญ่ ผมสีดำ นัยน์ตาสีเทา เป็นผู้ทระนงองอาจ เก่งกล้าในการรบ และมีความเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีของอาณาจักรแห่งชาวดูเนไดน์มาก โบโรเมียร์ได้เป็นผู้นำกองกำลังชาวกอนดอร์เข้าต่อกรกับทัพของเซารอนหลายครั้ง ก่อนที่เขาจะออกเดินทางไปยังริเวนเดลล์ เนื่องจากนิมิตฝันที่มองเห็น \"ยมทูตแห่งอิซิลดูร์\"", "title": "โบโรเมียร์" }, { "docid": "956418#4", "text": "หลังเสร็จสิ้นสงครามอิมจิน โทะโยะโทะมิแพ้ราบคาบ ฮิเดะโยะชิก็เสียชีวิตในปีค.ศ.1598 ก็เกิดศึกเซกิงาฮาระขึ้นในปีค.ศ.1600 แต่ก่อนที่จะเกิดศึกนั้น ตัวของชิมะสุ โยชิฮิโระอยู่ที่โอซาก้าซึ่งมีทหารแค่น้อยนิดทำให้โยชิฮิโระในตอนแรกนั้นคิดทำเซ็ปปุกุปลิดชีวิตตนเอง แต่เมื่อชิมะสุ โทโยฮิสะผู้หลานเข้ามาช่วย โยชิฮิโระจึงเปลี่ยนใจและเดินทัพไปที่ปราสาทฟุชิมิซึ่งอยู่ในเขตของตระกูลโทกุงาวะเพื่อขอสวามิภักดิ์ แต่เนื่องจากโมริอิ โมโตทาดะ ทหารของโทกุงาวะ อิเอยาสุซึ่งเป็นเจ้าเมืองนั้นยังไม่ทราบเรื่องจึงไม่ให้เข้าเมือง ทำให้ชิมะสุ โยชิฮิโระต้องจำใจเข้าตีปราสาทฟุชิมิและเข้าร่วมกับอิชิดะ มิตสึนาริในที่สุด", "title": "ชิมะสุ โยชิฮิโระ" }, { "docid": "351659#0", "text": "อาเมียร์ ข่าน () นักมวยสากลชาวอังกฤษเชื้อสายปากีสถาน มีชื่อเต็มว่า อาเมียร์ อิคบอล ข่าน (อูรดู: امیر اقبال خان, Amir Iqbal Khan) เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1986 ที่เมืองโบลตัน ในเกรท แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ โดยครอบครัวนั้นเป็นชาวปากีสถานที่มาตั้งรกรากอยู่ที่ประเทศอังกฤษ โดยมีต้นตระกูลมาจากเมืองราวัลปินดี", "title": "อาเมียร์ ข่าน" }, { "docid": "449286#0", "text": "โบลตัน () เป็นเมืองในเกรตเตอร์แมนเชสเตอร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ ทางตะวันตกของเมืองแมนเชสเตอร์ เมืองโบลตันมีประชากร 139,403 คน โบลตัน มีความโดดเด่นด้านการกีฬา มีสโมสรฟุตบอลโบลตันวันเดอเรอส์ และมีนักมวยแชมป์โลกจากสมาคมมวยโลก รุ่นไลต์เวลเตอร์เวท อาเมียร์ ข่าน เกิดที่เมืองแห่งนี้", "title": "โบลตัน" }, { "docid": "355296#9", "text": "เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2010 วิลเชียร์ทำประตูแรกในแชมเปียนส์ลีก โดยชิปข้าม อันดรีย์ ปีอาตอฟ (Andriy Pyatov) ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม ในรอบแบ่งกลุ่มที่เจอกับสโมสรฟุตบอลชาคห์ตาร์โดเนตสค์ ชนะไป 5-1[33] เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 วิลเชียร์ได้เซ็นสัญญาระยะยาวฉบับใหม่[34] เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 วิลเชียร์ทำประตูแรกในพรีเมียร์ลีก ในนัดอาร์เซนอลพบสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลา ชนะไป 4–2 วิลเชียร์ได้รับคำชมในผลงานที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา โดยทีมชนะไป 2-1 ในนัดนี้เขาส่งผ่าน 93.5% โดย 91% เกิดขึ้นใน 1 ใน 3 ส่วนของสนาม ในแดนคู่แข่ง[35][36][37] ผู้จัดการทีมอาร์เซนอลอาร์แซน แวงแกร์ พูดถึงผลงานครั้งนี้ของเขาว่า \"โดดเด่น\"[38] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 วิลเชียร์ได้รับรางวัลผู้เล่นดาวรุ่งแห่งปีจากสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ และยังอยู่ในรายชื่อทีมแห่งปีของฤดูกาล 2011 ของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ ร่วมกับเพื่อนร่วมทีมอื่นของอาร์เซนอล ซาเมียร์ นาสรีและบาการี ซาญา[39]", "title": "แจ็ก วิลเชียร์" }, { "docid": "275500#2", "text": "แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก บริเวณอาซาด แคชเมียร์ เป็นบริเวณที่บรรจบกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนกับแผ่นเปลือกโลกอินเดียน ที่ก่อให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย", "title": "แผ่นดินไหวในแคชเมียร์ พ.ศ. 2548" }, { "docid": "95816#3", "text": "ใน ค.ศ. 1868 เกิดการปฏิรูปเมจิ ระบอบโชกุนล่มสลาย และอำนาจสูงสุดหวนกลับคืนสู่องค์จักรพรรดิ ชิบะกลายเป็นเมืองศูนย์กลางของการเมือง การคมนาคม และวัฒนธรรมของพื้นที่ในแถบนี้ ทั้งที่เริ่มแรกชิบะเป็นเพียงตำบลที่เกิดจากหลายหมู่บ้านมารวมกัน การเจริญเติบโตของชิบะดำเนินไปจนถึงปี ค.ศ. 1944 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ชิบะกลายเป็นศูนย์กลางทางด้านการผลิตยุทโธปกรณ์และยุทธปัจจัย ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุให้ชิบะตกเป็นหนึ่งในเป้าหมายในการทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริกา เมื่อสงครามสิ้นสุด ชิบะทั้งเมืองถูกทำลายเกือบหมด อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามมีการการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนานใหญ่และนำไปสู่การจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเคโย ซึ่งส่งผลทำให้เมืองชิบะไดรับสถานะเป็นเมืองโดยข้อบังคับในปี ค.ศ. 1992", "title": "ชิบะ (เมือง)" }, { "docid": "191715#8", "text": "รีดเริ่มต้นงานผู้จัดการทีมแบบเต็มตัวในฤดูกาล 1995-1996 เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมซันเดอร์แลนด์ในดิวิชั่น1(ปัจจุบันคือ ลีกแชมเปี้ยน ชิพ)ซึ่งเป็นทีมที่ต้องดิ้นรนหนีการตกชั้นแต่ปีเตอร์ รีดกลับพาทีมได้แชมป์และคว้าสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นพรีเมียร์ ลีกแบบพลิกความคาดหมายทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบของแฟนบอลซันเดอร์แลนด์อย่างมาก แม้จะเลื่อนชั้นขึ้นมาปีเดียวแล้วสโมสรตกชั้นก็ตาม ", "title": "ปีเตอร์ รีด" }, { "docid": "3101#11", "text": "แต่ละโครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด ที่เหมือนกัน ซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองในระยะอินเตอร์เฟส (Interphase) เพื่อจะแยกออกจากกันในระยะแอนาเฟส anaphase ของการแบ่งเซลล์ โครมาทิดทั้งสองจะติดกันอยู่ตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere) รวมเรียกเซนโทรเมียร์แบ่งเป็น 2 ส่วน แต่ละโครมาทินก็เรียกว่าโครโมโซม นั่นคือ 1 โครโมโซม มี 1 เซนโทรเมียร์ โครโมโซม ของเซลล์ร่างกายจะอยู่กันเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่เรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม (Homologous Chromosome)", "title": "โครโมโซม" }, { "docid": "13813#1", "text": "ด้วยความเจริญเติบโตของเมืองในยุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู อาคารที่เกิดขึ้นในเมืองชิคาโกส่วนมากเป็นอาคารระฟ้า (Skyscrapers) เพื่อความต้องการของเมือง อาคารระฟ้าของกลุ่มชิคาโกสคูลจึงเกิดขึ้นมากมาย รูปแบบของงานสถาปัตยกรรมสามารถตอบสนองการใช้งานของอาคารได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบโครงสร้าง แบบถ่ายน้ำหนัก (Post and Lintel) ", "title": "สถาปัตยกรรมตระกูลชิคาโก" }, { "docid": "224858#0", "text": "แชฟเฟอร์ ชิเมียร์ สมิธ (English: Shaffer Chimere Smith) หรือเป็นที่รู้จักในนาม นี-โย (English: Ne-Yo) เกิดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1979 เป็นนักร้องเพลงแนวอาร์แอนด์บี นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์เพลง และนักแสดงชาวอเมริกัน นี-โยมีชื่อเสียงด้านการแต่งเพลงเมื่อเขาแต่งเพลง \"เล็ตมีเลิฟยู\" ให้กับมาริโอ ความสำเร็จดังกล่าวทำให้นี-โยได้พบกับหัวหน้าค่ายเดฟแจม และเซ็นสัญญาด้วย", "title": "นี-โย" }, { "docid": "776707#0", "text": "การแข่งขันออลอิงแลนด์ โอเพ่น ซูเปอร์ซีรีส์ พรีเมียร์ 2016 เป็นการแข่งขันแบดมินตันรายการแรกของระดับซูเปอร์ซีรีส์ ประจำปี พ.ศ. 2559 การแข่งขันออลอิงแลนด์ โอเพ่น ครั้งนี้จัดขึ้นที่ เมืองเบอร์มิงแฮม ,ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 8 ถึง 13 มีนาคม พ.ศ. 2559 ผู้ชนะเลิศของการแข่งขันในรายการนี้จะได้รับเงินรางวัล 550,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 19,250,000 บาท", "title": "ออลอิงแลนด์ โอเพ่น ซูเปอร์ซีรี่ส์ พรีเมียร์ 2016" }, { "docid": "388562#0", "text": "ศรีนคร (แคชเมียร์: سری نگر; อูร์ดู: شرینگر; โดกรี: श्रीनगर; ) เป็นเมืองหลวงของรัฐทางเหนือสุดของอินเดีย รัฐชัมมูและกัศมีร์ ตั้งอยู่ในหุบเขาแคชเมียร์ บนฝั่งแม่น้ำเฌลัม สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,600 เมตร เป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่สุดของอินเดียที่ไม่ได้นับถือศาสนาฮินดู โดยมีมุสลิม 97% เมืองมีประชากร 894,940 คน (ค.ศ. 2001) เมืองผลิตพรม ไหม เงิน เครื่องหนัง ภาชนะทองแดง มีการแกะสลักไม้ การท่องเที่ยว", "title": "ศรีนคร" }, { "docid": "32286#0", "text": "นครฮิโรชิมะ () คือเมืองเอกของจังหวัดฮิโรชิมะ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาคชูโงกุทางตะวันตกของเกาะฮนชู และยังเป็นเมืองแรกของโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยเครื่องบิน บี-29 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้นครฮิโรชิมะเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ และอนุสาวรีย์ของเด็กหญิงซาดาโกะผู้ทำให้เกิดประเพณีการพับนกกระเรียนกระดาษพันตัว เพื่อภาวนาให้หายป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บ นามของเมืองว่า \"ฮิโรชิมะ\" (広島) นั้น มีความหมายว่า \"เกาะที่กว้างใหญ่ไพศาล\"", "title": "ฮิโรชิมะ" }, { "docid": "781217#0", "text": "นอร์มาน คาสเมียร์ (เกิด 16 ตุลาคม ค.ศ. 1930) เป็นนักกีฬาฟันดาบชาวเยอรมัน นอร์มานได้เข้าร่วมการแข่งขันประเภทเดี่ยว และ ประเภททีม ประเภทดาบเล็กเรียว ในการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูร้อน 1952", "title": "นอร์มาน คาสเมียร์" }, { "docid": "294727#3", "text": "อาเมียร์เป็นเด็กชายชาวพาชทุนผู้มีฐานะดี และ ฮะซันเด็กชายชาวฮาซาราเป็นลูกของผู้รับใช้ของบิดาของอาเมียร์ใช้เวลาวัยเด็กเติบโตขึ้นในคาบูลด้วยกันในช่วงเวลาที่บ้านเมืองยังสงบสุข -- วิ่งเล่นกันตามถนนซอกซอย บิดาของอาเมียร์ (ในเรื่องกล่าวถึงในเรื่องว่า “บาบา” ตลอดเรื่อง) รักเด็กชายทั้งสองคนแต่ดูเหมือนมักจะติเตียนอาเมียร์ว่าเป็นเด็กที่ไม่มีความแข็งแกร่งหรือความเป็นชายพอ อาเมียร์หวั่นกลัวในใจว่าบิดาอาจจะโทษตนเองว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของมารดาขณะที่ให้กำเนิดอาเมียร์ แต่อาเมียร์ก็มีบุคคลที่เป็นเสมือนบิดาชื่อราฮีม ข่าน (เพื่อนของบาบา) ผู้ที่มีความเข้าใจในตัวของอาเมียร์มากกว่าบิดา และเป็นผู้สนับสนุนความชอบเขียนหนังสือของอาเมียร์ อาเมียร์เล่าให้ผู้อ่านฟังว่าคำแรกของตนคือ 'บาบา' และคำแรกของฮะซันคือ 'อาเมียร์' ที่เป็นนัยยะว่าอาเมียร์มีความนิยมและชื่นชมในตัว 'บาบา' เป็นที่สุด ขณะที่ฮะซันชื่นชมในตัว 'อาเมียร์' ", "title": "เด็กเก็บว่าว" } ]
3967
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ ขึ้นครองราชเมื่อใด ?
[ { "docid": "158392#1", "text": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1284 ที่ปราสาทคาร์นาร์ฟอน เกว็นเน็ด เวลส์ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 และ สมเด็จพระราชืนีเอเลเนอร์แห่งคาสตีล ทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระราชินีอิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307 จนจนกระทั่งถูกปลดจากราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1327 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1327 ที่ปราสาทบาร์คลีย์ กลอสเตอร์เชอร์ อังกฤษ การที่พระองค์ทรงละเลยขุนนางผู้มีอำนาจไปเข้ากับผู้ที่ทรงโปรดปรานทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและในที่สุดก็ทรงถูกปลดจากการครองราชย์และปลงพระชนม์ในที่สุด พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเป็นที่รู้จักกันในฐานะที่เป็นฆาตกรและข้อกล่าวหาที่เป็นผู้ที่รักเพศเดียวกัน", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ" } ]
[ { "docid": "158568#32", "text": "พระราชโอรสเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ในพระนามว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "156222#3", "text": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังวินด์เซอร์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1312 เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า “เอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์” สมัยการปกครองของพระราชบิดาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 เป็นสมัยที่เต็มไปด้วยความพ่ายแพ้ทางทหาร ความขัดแย้งกับขุนนางผู้มีอำนาจ การฉ้อโกงของข้าราชสำนัก แต่การทรงมีรัฐทายาทที่เป็นผู้ชายในปี ค.ศ. 1312 ก็เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับราชบัลลังก์อยู่ชั่วระยะหนึ่ง[2] เพื่อให้ความความมั่นคงยั่งยืนต่อไปพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 จึงทรงแต่งตั้งเอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์ขึ้นเป็น “เอิร์ลแห่งเชสเตอร์” เมื่อพระชนมายุเพียง 12 วันและอีกสองเดือนต่อมาก็พระราชทานข้าราชบริพารครบชุดสำหรับการมีราชสำนักเป็นการส่วนพระองค์ให้แก่พระราชโอรส เพื่อให้ทรงมีความอิสระในการเป็นขุนนางเต็มตัวด้วยพระองค์เองราวกับเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว[1]", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "158568#31", "text": "เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1774 เมื่อสมาคมโบราณคดีแห่งลอนดอนเปิดโลงพระศพก็พบว่าพระวรกายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดยังอยู่ในสภาพดีไม่เน่าเปื่อยมาเป็นเวลา 467 ปี ร่างของพระองค์ยังนอนอยู่ในโลงตะกั่วเดิมแม้ว่าราชบัลลังก์สกอตแลนด์จะรวมตัวกับราชบัลลังก์อังกฤษในปี ค.ศ. 1603 เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษหลังจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 เสด็จสวรรคต การรวมตัวเป็นสหภาพระหว่างสองอาณาจักรมาสำเร็จตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ในชื่อว่าราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "156222#7", "text": "เมื่อเริ่มขึ้นครองราชย์สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ก็เลือกที่จะริเริ่มความขัดแย้งกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ขึ้นอีกตามนโยบายของ พระราชบิดาและพระอัยกาก่อนหน้านั้น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงยกเลิกสนธิสัญญาเอดินบะระ-นอร์ทแธมป์ตัน (Treaty of Edinburgh-Northampton) ที่ลงนามระหว่างสมัยผู้สำเร็จราชการ ซึ่งเป็นการประกาศสิทธิในการปกครองของอังกฤษในราชอาณาจักรสกอตแลนด์ จึงเป็นผลให้เกิด สงครามอิสรภาพสกอตแลนด์ครั้งที่ 2 (Second War of Scottish Independence)", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "156222#8", "text": "สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 มีพระราชประสงค์ที่จะยึดดินแดนที่อังกฤษเสียไปคืน และทรงสามารถยึดเบอร์ริคคืนได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1333 พระองค์ก็ทรงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดที่ ยุทธการฮาลิดันฮิลล์ (Battle of Halidon Hill) ต่อกองทัพของยุวกษัตริย์พระเจ้าเดวิดที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงอยู่ในฐานะที่จะแต่งตั้งให้เอ็ดเวิร์ด บาล์ลิโอล (Edward Balliol) ขึ้นครองราชบัลลังก์สกอตแลนด์โดยได้รับดินแดนทางใต้ของสกอตแลนด์เป็นรางวัล (โลเธียนส์, ร็อกซเบิร์กเชอร์, เบอร์วิคเชอร์, ดัมฟรีสเชอร์, แลนนาร์คเชอร์ และพีเบิลเชอร์) แม้ว่าจะทรงได้รับชัยชนะที่ดูพพลินและฮาลิดัน แต่ไม่นานนักโรเบิร์ต บรูซ (Robert the Bruce) ก็ยึดกลับ และภายในปี ค.ศ. 1335 การยึดครองของอังกฤษโดยบาล์ลิโอลก็อ่อนตัวลง หลังจากยุทธการคัลเบรียน (Battle of Culblean)", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "480093#41", "text": "ในปี ค.ศ. 1041 (พ.ศ. 1584) พระเจ้าฮาร์ธาคานูททรงอัญเชิญพระอนุชาต่างพระบิดาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ กลับจากการลี้ภัยในนอร์ม็องดีมาอยู่ในราชสำนักของพระองค์และคงคิดจะตั้งเอ็ดเวิร์ดให้เป็นรัชทายาทด้วย พระเจ้าฮาร์ธาคานูทมิได้ทรงเสกสมรสและไม่มีพระราชโอรสธิดา แต่ก็มีข่าวลือว่ามีพระโอรสนอกสมรส วิลเลียม คานูท พระเจ้าฮาร์ธาคานูทเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585) ที่แลมเบ็ธ พระบรมศพถูกฝังไว้ที่วินเชสเตอร์ที่เดียวกับพระราชบิดาและพระราชมารดา สิ้นสุดราชวงศ์กอร์ม เอ็ดเวิร์ดขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ฟื้นฟูราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของแซ็กซอน ในการโจมตีอังกฤษครั้งสุดท้ายของชาวนอร์เวย์ล้มเหลว แต่เป็นการนำไปสู่การยึดครองอังกฤษของพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิตในปีค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609)\nพระเจ้าแม็กนัส ผู้ทรงธรรม หรือ สมเด็จพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์ เป็นพระโอรสนอกสมรสในพระเจ้าโอลาฟที่ 2 แห่งนอร์เวย์กับนางอัลวีฮิลด์ เสด็จพระราชสมภพราวค.ศ. 1024 (พ.ศ. 1567) ทรงราชบัลลังก์นอร์เวย์ระหว่างปีค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1587) ถึงค.ศ. 1047 (พ.ศ. 1590) และทรงราชบัลลังก์เดนมาร์กระหว่างปีค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585) ถึงค.ศ. 1047 (พ.ศ. 1590)", "title": "ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก" }, { "docid": "156222#19", "text": "ในปี ค.ศ. 1356 ขณะที่ทรงต่อสู้ในสงครามอยู่ทางเหนือของอังกฤษเจ้าชายดำพระราชโอรสองค์โตก็ได้รับชัยชนะในยุทธการปัวตีเยร์ (Battle of Poitiers) ในฝรั่งเศสแม้ว่ากองทัพฝรั่งเศสมีกำลังเหนือกว่า ฝ่ายอังกฤษนอกจากจะสามารถเอาชนะได้แล้วก็ยังจับตัวพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสได้ด้วย หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเนื่องกันหลายครั้งอังกฤษก็ยึดดินแดนต่างๆ ในฝรั่งเศสมามาก พระเจ้าจอห์นที่ 2 ตกอยู่ในความควบคุมของอังกฤษ รัฐบาลฝรั่งเศสก็เกือบล่ม ไม่ว่าการอ้างสิทธิของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสจะจริงแท้เท่าใดหรือเป็นเพียงแต่ข้ออ้างในการริเริ่มสงครามก็ตาม[12] สถานะการณ์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้การอ้างสิทธิใกล้ความเป็นจริงขึ้น แต่การรณรงค์ต่างๆ ในปี ค.ศ. 1359 ซึ่งเป็นการรณรงค์ที่ตั้งใจจะให้เป็นการตัดสินก็ไม่ได้มีผลที่เด็ดขาด ในปี ค.ศ. 1360 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงยอมรับสนธิสัญญาเบรตีญี (Treaty of Brétigny) ซึ่งเป็นการยกเลิกการอ้างสิทธิในการครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระองค์เป็นการแลกเปลี่ยนกับดินแดนต่างๆ ที่ทรงยึดจากฝรั่งเศส", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "143107#10", "text": "เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตด้วยวัณโรคในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 สิริพระชนมายุได้ 15 พรรษา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดไม่ต้องการให้เจ้าหญิงแมรี่ครองราชสมบัติ เพราะเกรงว่าพระนางจะฟื้นฟูโรมันคาทอลิกและอาจล้มล้างการปฏิรูปศาสนาของพระองค์ เพราะเหตุผลนี้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงวางแผนที่จะตัดพระนางออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ อย่างไรก็ตามที่ปรึกษาของพระองค์ไม่แนะนำให้ตัดสิทธิของเจ้าหญิงแมรี่ แต่พระองค์ก็ตั้งใจให้สิทธิในการครองราชย์แก่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ตัดสิทธิในการครองราชย์ทั้งสองคน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้ให้สิทธิในการครองราชย์แก่เลดี้เจน เกรย์ ลูกสะใภ้ของจอห์น คัดเลย์เอิร์ล แห่ง วอร์วิก ต่อมากฎหมายใน พ.ศ. 2087 ได้ให้เจ้าหญิงทั้งสองกลับมาสู่สิทธิในการสืบราชสมบัติอีกครั้ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์ เจ้าหญิงแมรี่ได้ถูกเรียกตัวกลับมาลอนดอน อย่างไรก็ตาม ในตอนแรกพระนางสงสัยว่าการเรียกตัวครั้งนี้อาจเป็นข้ออ้างในการจับกุมพระนาง ในการกระทำครั้งนี้เป็นการทำให้ เลดี้เจน เกรย์รับสิทธิในการครองราชย์สะดวกขึ้น ในวันที่ 10 กรกฎาคม เลดี้เจน เกรย์ยอมรับในการขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ การครองราชย์ของเจน เกรย์มีผู้สนับสนุนน้อย หลังจากนั้น 9 วันพระนางได้ถูกเชิญลงจากตำแหน่ง เจ้าหญิงแมรี่ได้เดินทางมาลอนดอนท่ามกลางผู้สนับสนุนมากมาย ท้ายที่สุด เลดี้เจน เกรย์ และ จอห์น ดัดเลย์ ถูกส่งไปจำคุกและคอยการประหารที่หอคอยลอนดอน", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "156222#4", "text": "เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1327 เมื่อเอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์มีพระชนมายุได้ราว 14 พรรษา พระนางอิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษพระราชมารดาและโรเจอร์ มอร์ติเมอร์และรัฐสภาก็ปลดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 จากราชบัลลังก์ และยกเอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ โดยทรงเข้าพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1327 โดยมีสมเด็จพระราชินีอิสซาเบลลาและโรเจอร์ มอร์ติเมอร์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มอร์ติเมอร์ถือได้ว่าเป็นผู้ปกครองอังกฤษโดยพฤตินัย อีกทั้งยังข่มเหงน้ำพระทัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดโดยไม่ให้ความนับถือต่อพระองค์และทำให้ทรงเสียพระพักตร์โดยตลอด เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1328 ในขณะมีพระชนมายุได้ 15 พรรษา ก็ได้ทรงเสกสมรสกับฟิลิปปาแห่งเฮนอลต์ วัย 16 พรรษา ณ ยอร์กมินสเตอร์[3]", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "158392#22", "text": "เมื่อข้าราชบริพารของพระราชินีอิสซาเบลลาผู้จงรักภักดีต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดถูกเรียกตัวกลับและถูกส่งกลับอังกฤษโดยพระราชินีอิสซาเบลลากลับมาถึงราชสำนักอังกฤษเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1325 ก็ได้ถวายรายงานต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดว่าพระราชินีอิสซาเบลลาทรงมีความสัมพันธ์กับโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลแห่งมาร์ชที่ 1 ในปารีส และวางแผนที่จะรุกรานอังกฤษ", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "139796#8", "text": "เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีเสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท ผู้ที่อ้างสิทธิในราชบัลลังก์มีด้วยกันอย่างน้อยสามฝ่าย -- ดยุกวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี, ฮาโรลด์ กอดวินสัน เอิร์ลผู้มีอำนาจแห่งเวสเซ็กซ์ และพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 3 แห่งนอร์เวย์ ดยุกวิลเลียมอ้างว่ามีเชื้อสายเกี่ยวข้องกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทางพระปิตุฉาเอ็มมาแห่งนอร์ม็องดีผู้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2และเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด นอกจากนั้นดยุกวิลเลียมยังอ้างว่าขณะที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงลึ้ภัยอยู่ในนอร์ม็องดีระหว่างการยึดครองของเดนมาร์กในอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงให้สัญญายกราชบัลลังก์ให้เมื่อดยุกวิลเลียมเดินทางมาเยึ่ยมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ลอนดอนในปี ค.ศ. 1052 และยังอ้างว่าหลังจากที่ได้ช่วยฮาโรลด์ กอดวินสันจากเรือแตกและเคานต์แห่งปัวตู ทั้งสองคนก็ได้ร่วมกันต่อสู้โคนันที่ 2 ดยุกแห่งบริตานี จนได้รับชัยชนะ ดยุกวิลเลียมจึงแต่งตั้งให้ฮาโรลด์เป็นอัศวิน ฮาโรลด์จึงได้ให้คำปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อดยุกวิลเลียมต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1064", "title": "พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "158392#33", "text": "การสละราชสมบัติของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการที่ลอนดอนเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1327 วันต่อมาจึงเป็นวันแรกของรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ผู้มีพระชนมพรรษา 14 ปีและเป็นผู้ที่ยังถูกควบคุมโดยพระราชินีอิสซาเบลลาและมอร์ติเมอร์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 เองก็ยังทรงถูกจำขัง", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "158392#0", "text": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ (English: Edward II of England) (25 เมษายน ค.ศ. 1284 – 21 กันยายน ค.ศ. 1327) พระนามเดิมคือ เอ็ดเวิร์ดแห่งคายร์นาร์ฟอน (English: Edward of Caernarfon) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษ", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "232544#16", "text": "เมื่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพขึ้นครองราชบัลลังก์เดนส์-แซ็กซอน กองทัพนอร์สก็รวบรวมกำลังกันจากอาณานิคมของนอร์เวย์ต่างๆ ในหมู่เกาะบริติชเข้ามาโจมตีอังกฤษในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเพื่อสนับสนุนพระเจ้าแม็กนัส และหลังจากที่พระเจ้าแม็กนัสสิ้นพระชนม์ พระอนุชาฮาราลด์ ฮาร์ดดราดาก็อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ เมื่อฮาโรลด์ กอดวินสันขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ฮาราลด์ ฮาร์ดดราดาก็รุกรานนอร์ทธัมเบรียโดยการสนับสนุนของทอสติก กอดวินสัน (Tostig Godwinson) พระอนุชาของฮาโรลด์ กอดวินสัน แต่ก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อฮาโรลด์ กอดวินสันในยุทธการแสตมฟอร์ดบริดจ์ อาทิตย์เดียวก่อนที่ฮาโรลด์ กอดวินสันจะพ่ายแพ้ในยุทธการเฮสติงส์ต่อดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี ในปี ค.ศ. 1066", "title": "เดนลอว์" }, { "docid": "160008#3", "text": "พระเจ้าเอ็ดการ์เป็นพระโอรสองค์เดียวของเอ็ดเวิร์ดผู้ลี้ภัย รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษและเป็นพระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ หรือที่รู้จักกันในพระนามว่า “Edmund Ironside” เมื่อเอ็ดเวิร์ดผู้ลี้ภัยสิ้นพระชนม์ ได้รับเลือกให้เป็นรัชทายาทโดยนิตินัยโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เอ็ดการ์ได้รับการเลี้ยงดูในราชสำนักของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดพร้อมกับพระขนิษฐามาร์กาเร็ตผู้ที่ต่อมาเป็นนักบุญมาร์กาเร็ตแห่งสกอตแลนด์ และ คริสตินา ", "title": "พระเจ้าเอ็ดการ์ที่ 2 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "237722#1", "text": "เอ็ดเวิร์ดประสูติเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1330 เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระราชินีฟิลลิปปา และเป็นพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ เอ็ดเวิร์ดทรงเป็นผู้นำทางการทหารผู้มีความสามารถและทรงเป็นผู้ที่เป็นที่นิยมขณะที่ยังทรงมีชีวิตอยู่ เอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์เพียงปีเดียวก่อนที่พระราชบิดาจะเสด็จสวรรคต ทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์องค์แรกที่ไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ราชบัลลังก์จึงตกไปเป็นของริชาร์ด พระโอรสองค์โตของพระองค์เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เสด็จสวรรคต", "title": "เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ" }, { "docid": "157431#2", "text": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเป็นกษัตริย์แองโกล-แซ็กซอนองค์ก่อนองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรอังกฤษและของราชวงศ์เวสเซ็กซ์ รัชสมัยของพระองค์เป็นสมัยที่อำนาจของพระมหากษัตริย์เสื่อมลงแต่อำนาจของขุนนางเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการนำมาสู่ความเกี่ยวพันกับนอร์ม็องดีโดยการรุกรานอังกฤษของดยุคแห่งนอร์ม็องดีผู้เข้ามายึดราชบัลลังก์อังกฤษจากพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันและพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี" }, { "docid": "158392#21", "text": "เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1325 พระราชินีอิสซาเบลลาทรงตกลงในสนธิสัญญาสงบศึกซึ่งฝรั่งเศสได้เปรียบกว่าอังกฤษซึ่งระบุว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดต้องมาแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าชาร์ลส์ในฝรั่งเศสด้วยพระองค์เอง แต่แทนที่จะทรงทำเช่นนั้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงส่งพระราชโอรสไปแทน การกระทำนี้เป็นผลที่นำมาสู่ความหายนะของทั้งพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและเดสเพนเซอร์ เมื่อพระราชโอรสมาถึงฝรั่งเศสพระราชินีอิสซาเบลลาก็ทรงประกาศว่าจะไม่เสด็จกลับอังกฤษนอกจากว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะปลดเดสเพนเซอร์ออกจากราชสำนัก", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "156222#17", "text": "หลังจากการสวรรคตพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1347 แล้ว พระเจ้าหลุยส์ที่ 5 แห่งบาวาเรียพระราชโอรสก็ทรงเจรจาต่อรองกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเพื่อต่อต้านพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งเยอรมนีในการเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ในเดือนพฤษภาคมปี ค.ศ. 1348 ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยไม่เข้าร่วมแข่งขันในการครองราชบัลลังก์เยอรมัน", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "158392#30", "text": "สภาวการณ์เช่นนี้ทำให้รัฐสภาตัดสินใจเรียกประชุมสภาสามัญชนเพื่อมาเจรจาตัดสินกันว่าควรจะทำอย่างไรกับสถานะการณ์ที่เป็นอยู่ อัครบาทหลวงแห่งยอร์คและสมาชิกบางคนออกตัวว่ากลัวกลุ่มชนชาวลอนดอนที่จงรักภักดีต่อมอร์ติเมอร์ บางคนก็ต้องการจะให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมีพระราชดำรัสประกาศการสละราชสมต่อรัฐสภาโดยตรงแทนที่จะทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยพระราชินีอิสซาเบลลาและผู้มีอำนาจอื่นๆ ในขณะนั้น มอร์ติเมอร์ตอบโต้โดยสั่งให้ริชาร์ด เดอ โบฮุนนายกเทศมนตรีลอนดอนขณะนั้นเขียนจดหมายถึงรัฐสภาขอให้รัฐสภาคุ้มครองพระราชินีอิสซาเบลลาและเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด และให้ปลดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจากราชบัลลังก์ นอกจากนั้นมอร์ติเมอร์ก็ยังเรียกประชุมขุนนางอย่างลับๆ ในคืนเดียวกัน ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นพ้องต้องกันในการปลดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจากราชบัลลังก์", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "157344#7", "text": "พระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับขึ้นครองราชบัลลังก์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1470 ในสมัยที่เรียกว่าการคืนสู่ราชบัลลังก์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 (Readeption of Henry VI) พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จไปลี้ภัยที่ดัชชีเบอร์กันดีพร้อมกับริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ ชาร์ลผู้อาจหาญ ดยุกแห่งเบอร์กันดีผู้เป็นสามีของมาร์กาเรตแห่งยอร์กน้องสาวพระองค์ท่าน แม้ว่าชาร์ลจะไม่เต็มใจช่วยเอ็ดเวิร์ดเมื่อเริ่มแรกแต่เมือฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเบอร์กันดี ชาร์ลจึงตัดสินใจช่วยเอ็ดเวิร์ดและรวบรวมกำลังในการต่อสู้เพื่อจะชิงราชบัลลังก์คืน", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "227033#15", "text": "หลังจากสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 899 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสพระราชโอรสก็ขึ้นครองราชสืบต่อจากพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและพระอนุชาเขยเอเธลเรดแห่งเมอร์เซียก็ทรงต่อต้านการโจมตีของเดนมาร์กและเริ่มโครงการขยายดินแดน, ยึดอาณาบริเวณที่เป็นของเดนมาร์ก และก่อตั้งระบบป้อมปราการเพื่อป้องกันอาณาบริเวณที่เป็นเจ้าของ เมื่อเอเธลเรดสิ้นพระชนม์เอเธลเฟลดพระขนิษฐาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ปกครองในพระนาม \"Lady of the Mercians\" และดำเนินการขยายดินแดนต่อร่วมกับเชษฐา ในปี ค.ศ. 918 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงควบคุมอังกฤษในบริเวณตั้งแต่ใต้แม่น้ำฮัมเบอร์ลงมาได้ทั้งหมด ปีเดียวกันนั้นเอเธลเฟลดก็สิ้นพระชนม์ ราชอาณาจักรเมอร์เซียก็รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์", "title": "อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน" }, { "docid": "158392#32", "text": "เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1327 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงได้รับแจ้งที่ปราสาทเคนนิลเวิร์ธถึงมติของรัฐสภาและข้อกล่าวหาต่างที่มีต่อพระองค์ ข้อกล่าวหารวมทั้ง: ไม่ทรงมีสมรรถภาพในการปกครองโดยการที่ทรงอนุญาตให้ผู้อื่นมาปกครองแทนพระองค์ซึ่งทำให้มีผลเสียหายต่อประชาชนและสถาบันศาสนา; ไม่ทรงฟังคำแนะนำที่ดีและทำตามคำแนะนำที่ทำให้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ไม่เหมาะสม; ทรงเสียดินแดนสกอตแลนด์, แกสโคนี และ ไอร์แลนด์เพราะไม่ทรงมีความสามารถทางการปกครองที่จะรักษาดินแดนเหล่านั้นไว้ได้; ทรงสร้างความเสียหายต่อสถาบันโรมันคาทอลิกและทรงจำขังผู้แทนของศาสนา; ทรงอนุญาตให้ขุนนางถูกฆาตกรรม, ยึดทรัพย์, จำขัง และ เนรเทศ; ไม่ทรงมีความยุติธรรมและยังทรงปกครองโดยเอาผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมและอนุญาตให้ผู้อื่นกระทำเช่นเดียวกัน; และทรงหลบหนีไปกับผู้มีความผิดต่างๆ ต่อราชอาณาจักรโดยทิ้งราชอาณาจักรไว้ให้ว่างลงโดยปราศจากรัฐบาลซึ่งเป็นผลทำให้ประชาชนหมดความเชื่อมั่นและความศรัทธาในรัฐบาล พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงคาดไม่ถึงถึงความรุนแรงของข้อกล่าวหาต่างๆ และผลการตัดสินทรงกันแสงไปในขณะที่ทรงฟัง เมื่อเสร็จจากการอ่านข้อกล่าวหา รัฐบาลก็ยื่นข้อแนะนำให้ทรงเลือกระหว่าการสละราชสมบัติให้กับพระราชโอรส หรือ ปฏิเสธข้อกล่าวหาและสละราชสมบัติให้กับผู้ใดผู้หนึ่งที่ไม่ใช่พระญาติแต่มีประสบการณ์ในการปกครองซึ่งในกรณีนี้ก็คงจะหมายถึงมอร์ติเมอร์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงสละราชสมบัติให้กับพระราชโอรส เซอร์วิลเลียม ทรัสส์เซลผู้เป็นตัวแทนรัฐสภาจึงประกาศแทนรัฐสภายกเลิกความจงรักภักดีต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 จึงสิ้นสุดลง", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "158392#28", "text": "หลังจากจำขังพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แล้วพระราชินีอิสซาเบลลาและมอร์ติเมอร์ก็มีปัญหาว่าจะทำเช่นใดกับพระองค์ วิธีที่ง่ายที่สุดคือปลงพระชนม์ ตำแหน่งพระมหากษัตริย์ก็จะตกไปเป็นของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดซึ่งพระราชินีอิสซาเบลลาทรงสามารถควบคุมได้ และเป็นการป้องกันการกู้ราชบัลลังก์คืนแก่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดไปด้วยในตัว แต่คำสั่งการปลงพระชนม์ต้องมาจากการพิจารณาคดีและการตัดสินของศาลว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเป็นกบฏ แม้ว่าขุนนางจะเห็นพ้องกันว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดไม่ทรงใส่ใจในการปกครองบ้านเมือง แต่ขุนนางบางคนให้ข้อคิดเห็นว่าในเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าฉะนั้นพระเจ้าแผ่นดินจึงไม่สามารถถูกปลดหรือถูกตัดสินให้ประหารชีวิตทางนิตินัยได้ ถ้าทำเช่นนั้นพระเจ้าก็จะลงโทษประเทศ การตัดสินจึงเป็นที่ตกลงกันว่าจะจำขังพระองค์ตลอดพระชนม์ชีพแทนที่", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "158568#20", "text": "ในระยะแรกเอ็ดเวิร์ดมีพระประสงค์ที่จะใช้นาม “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4” ตามพระนามกษัตริย์แซ็กซอนสามพระองค์ที่ปกครองอังกฤษก่อนหน้านั้น แต่ไม่ทราบว่าจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม พระองค์มารู้จักกันในพระนามว่า “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด” โดยไม่มีลำดับตัวเลข เมื่อพระราชโอรสที่มีพระนามเดียวกันขึ้นเสวยราชย์ก็ทรงใช้พระนามว่า “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2” และ “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด” จึงกลายเป็น “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1” ซึ่งเป็นการริเริ่มการลำดับหมายเลขหลังพระนามพระมหากษัตริย์ตั้งแต่นอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษในปี ค.ศ. 1066 เป็นต้นมา แม้ว่าพระนาม “เอ็ดเวิร์ด” จะเป็นพระนามที่ใช้ทั้งก่อนและหลังจากนอร์มันได้รับชัยชนะก็ตาม", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "161133#1", "text": "จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ. 871 ไปจนถึงสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1016 การปกครองของราชวงศ์เวสเซ็กซ์มักจะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายอื่นโดยเฉพาะจาก บริเวณเดนลอว์ (Danelaw) ที่ปกครองโดยกฎหมายของเดนมาร์ก และต่อมาโดยสเวน ฟอร์คเบียร์ดผู้ยึดราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1013 ถึง ค.ศ. 1014 ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดและผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ปกครองอังกฤษจนปี ค.ศ. 1042 หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่ชั่วระยะหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1042 ถึงปี ค.ศ. 1066 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ และ สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน หรือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็สิ้นสุดลงไม่นานหลังจากยุทธการเฮสติงส์โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮาโรลด์ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ “พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต” (William the Conqueror) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน", "title": "ราชวงศ์เวสเซกซ์" }, { "docid": "156222#0", "text": "สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ (English: Edward III of England; French: Édouard III d'Angleterre; 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1312 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1377) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1327 ถึงปี ค.ศ. 1377 พระองค์นับเป็นกษัตริย์อังกฤษผู้ประสบความสำเร็จที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง โดยทรงฟื้นฟูความมั่นคงของราชบัลลังก์ หลังจากที่เสื่อมโทรมลงไปมากในรัชสมัยของพระราชบิดา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 และทรงเป็นผู้ที่ทำให้ราชอาณาจักรอังกฤษเป็นรัฐที่มีอำนาจทางทหารมากที่สุดในยุโรป และเป็นรัชสมัยที่มีการวิวัฒนาการทางการปกครองทางนิติบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิวัฒนาการของระบบรัฐสภา แต่ในสมัยเดียวกันนี้พระองค์ก็ทรงต้องเผชิญกับความหายนะจากกาฬโรคระบาดในยุโรป พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงครองราชย์เป็นเวลานานถึง 50 ปีซึ่งไม่มีพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดที่ครองราชย์นานเช่นนั้นตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 และต่อจากนั้นก็ไม่มีพระองค์ใดจนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในฐานะกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "156222#1", "text": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้เพียง 14 พรรษา หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 พระราชบิดา ทรงถูกถอดจากการเป็นกษัตริย์ เมื่อพระชนมายุได้ 17 พรรษา พระองค์ก็ทรงเป็นผู้นำในรัฐประหารโค่นล้มโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลแห่งมาร์ชที่ 1 ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงเริ่มครองราชย์ด้วยพระองค์เอง หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ก็ทรงประกาศอ้างสิทธิ์ของพระองค์ว่าเป็นผู้สืบทอดอันชอบธรรมต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1340 อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามซึ่งเรียกกันว่า สงครามร้อยปี หลังจากที่เพลี่ยงพล้ำในระยะแรกของสงคราม สถานการณ์ก็ดีขึ้นมากสำหรับฝ่ายอังกฤษ ชัยชนะที่เครซีและปัวติเยร์ทำให้อังกฤษได้รับผลประโยชน์เป็นอย่างมากจากสนธิสัญญาเบรตีญี (Treaty of Brétigny) แต่ตอนปลายรัชสมัย ก็ทรงประสบกับความล้มเหลวในกิจการระหว่างประเทศและการเมืองภายใน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะความเฉื่อยชาและพระสุขภาพพลานามัยที่ทรุดโทรมลงอย่างมาก", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "165651#1", "text": "แม้พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ราชวงศ์กาเปเตียงจะมีพระโอรสถึงสามองค์ ซึ่งทั้งสามพระองค์ก็ได้เป็นกษัตริย์ แต่กลับไม่มีพระองค์ใดมีทายาทเลย ในค.ศ. 1328 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 สิ้นพระชนม์ พระนางอิซาเบลลา พระขนิษฐาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 ทรงอภิเษกกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ และมีพระโอรสเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ดังนั้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของพระเจ้าชาร์ลส์ที่จะขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศส แต่ไม่มีขุนนางฝรั่งเศสคนใดจะยอมให้กษัตริย์อังกฤษมาครองฝรั่งเศสเป็นแน่ จึงยกกฎซาลิก (Salic Law) อันเก่าแก่ของชาวแฟรงก์โบราณออกมาอ้างว่าการสืบสันตติวงศ์นั้นจะต้องผ่านทางผู้ชายเท่านั้น เท่ากับตัดพระนางอิซาเบลลาและพระเจ้าเอ็ดวาร์ดออกไป และยกบัลลังก์ให้ฟิลิป ลูกชายของชาร์ลส์แห่งวาลัว เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 4 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์วาลัว", "title": "ราชวงศ์วาลัว" } ]
3968
พระราชินีของอังกฤษชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "5513#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (English: Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" } ]
[ { "docid": "143107#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (English: Mary I of England, 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งอรากอน คาสตีลและเนเปิล และสมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "159473#42", "text": "เมื่อพระเจ้าเฮนรีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1189 สองสามวันหลังจากที่ทรงได้รับการบาดเจ็บจากกีฬาต่อสู้บนหลังม้า (jousting match) สิ่งแรกที่ริชาร์ดผู้เป็นรัชทายาททรงทำเป็นสิ่งแรกคือทรงส่งวิลเลียม มาร์แชล เอิร์ลแห่งเพมโบรคที่ 1 ไปอังกฤษกับพระราชโองการให้ปล่อยพระราชินีอาลีเยนอร์จากการจำขังแต่ผู้คุมก็ได้ปล่อยพระองค์แล้วเมื่อพระราชโองการไปถึง[11] พระราชินีอาลีเยนอร์ทรงม้าไปยังเวสต์มินสเตอร์เพื่อรับคำสาบานแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่จากขุนนางและผู้ครองนครต่างๆ ในนามของพระเจ้าริชาร์ด พระราชินีอาลีเยนอร์ทรงปกครองอังกฤษในนามของพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 โดยทรงลงพระนามว่า “อาลีเยนอร์, ในนามของพระเจ้า, พระราชินีแห่งอังกฤษ” เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1189 พระเจ้าริชาร์ดก็เสด็จมาอังกฤษจากบาเฟลอร์ยังพอร์ทสมัธและทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น นอกจากนั้นก็ยังทรงปกครองอังกฤษในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินระหว่างที่พระเจ้าริชาร์ดเสด็จไปสงครามครูเสดครั้งที่ 3 เมื่อพระเจ้าริชาร์ดถูกจับพระราชินีอาลีเยนอร์ก็ทรงเป็นผู้เจรจาต่อรองค่าตัวของริชาร์ดโดยเสด็จไปเยอรมนีด้วยพระองค์เอง", "title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน" }, { "docid": "160616#1", "text": "เอ็มมาแห่งนอร์มังดีประสูติราว ค.ศ. 985 เป็นพระธิดาของริชาร์ดผู้ไม่กลัวใคร ดยุคแห่งนอร์มังดี (Richard the Fearless) และกันนอรา ดัชเชสแห่งนอร์มังดี เป็นพระราชินีในสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ ระหว่างค.ศ. 1002 ถึง ค.ศ. 1016 และมีพระราชโอรสกับพระเจ้าเอเธล์เรดผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ต่อมาทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชและเป็นพระราชินีระหว่าง ค.ศ. 1017 ถึง ค.ศ. 1035 และมีพระราชโอรสผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท เอ็มมาแห่งนอร์มังดีเป็นพระอัยกีของ สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เอ็มมาสิ้นพระชนม์เมื่อ 6 มีนาคม ค.ศ. 1052 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ", "title": "เอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ" }, { "docid": "159473#30", "text": "สิบสามปีต่อมาพระราชินีอาลีเยนอร์และดยุกเฮนรีมีพระราชโอรสธิดาด้วยกัน 8 พระองค์: วิลเลียม เคานท์แห่งปัวตีเย, เฮนรียุวกษัตริย์, พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ, เจฟฟรีที่ 2 ดยุกแห่งบริตานี, พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ, มาทิลดาแห่งอังกฤษ ดัชเชสแห่งแซ็กโซนี, เลโอโนราแห่งอังกฤษ พระราชินีแห่งคาสตีล และ โจนแห่งอังกฤษ พระราชินีแห่งซิซิลี วิลเลียมพระราชโอรสองค์โตสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เฮนรีเคานท์แห่งอองจูจึงได้สวมมงกุฏเป็นพระมหากษัตริย์ร่วมแทนที่ แต่ในเมื่อเฮนรีมิได้เป็นพระมหากษัตริย์ด้วยพระองค์เองจึงได้เรียกกันในพระนาม “เฮนรียุวกษัตริย์” (Henry the Young King) แทนที่จะมีพระนามว่าเฮนรีที่ 3 ตามนิตินัย ซึ่งตามประเพณีแล้วเฮนรีควรจะเป็นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดา ริชาร์ดควรจะได้ดินแดนของพระราชมารดา และจอห์นควรจะเป็นผู้ครองไอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์มิได้เป็นไปตามที่คาดหมายกันว่าควรจะเป็น", "title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน" }, { "docid": "62144#9", "text": "ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Queen Consort สำหรับพระราชินีประเภทนี้ การแปลภาษาไทยจะขอแปลพระอิสริยยศนี้ว่า สมเด็จพระราชินี หรือ สมเด็จพระราชินีอัครมเหสี", "title": "สมเด็จพระราชินี" }, { "docid": "158996#2", "text": "ทรงเดินทางไปฝรั่งเศสภายใต้การอำพรางว่าเป็นภารกิจทางการทูต ราชินีอิซาเบลลาเริ่มต้นความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกับโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ และทั้งสองตกลงใจที่จะปลดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดลงจากตำแหน่งและขับไล่ตระกูลเดสเปนเซอร์ออกไป พระราชินีกลับมาอังกฤษพร้อมกับกองทัพทหารรับจ้างกลุ่มเล็กๆ ใน ค.ศ.1326 รีบเคลื่อนตัวไปทั่วอังกฤษอย่างรวดเร็ว กองทัพของกษัตริย์ทอดทิ้งพระองค์ พระราชนีอิซาเบลลาปลดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดลงจากตำแหน่ง ทรงกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในนามของพระโอรส พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 หลายคนเชื่อว่าหลังจากนั้นพระราชินีอิซาเบลลาจัดการฆาตกรรมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 รัชสมัยของพระราชินีอิซาเบลลากับมอร์ติเมอร์เริ่มแตกเป็นเสี่ยงๆ ส่วนหนึ่งเพราะการใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่ายของพระองค์ แต่ก็เป็นเพราะการแก้ไขปัญหาระยะยาวที่สำเร็จแต่ไม่เป็นที่นิยมของพระราชินี เช่น สงครามกับสกอตแลนด์ ด้วย", "title": "อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "233777#0", "text": "อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส หรือ อิซาโบแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส () (ราว ค.ศ. 1370 - 24 กันยายน ค.ศ. 1435) อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียประสูติราว ค.ศ. 1370 ทรงเป็นบุตรีของสตีเฟนที่ 3 ดยุคแห่งบาวาเรีย และทัดดิอา (Taddea Visconti) ผู้มาจากตระกูลขุนนางวิสคอนติผู้ครองมิลาน อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียเป็นพระราชินีในพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส หลังจากที่เสกสมรสเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1385 แล้วพระองค์ก็ทรงมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในปลายรัชสมัยอันมีวิกฤตการณ์ของพระสวามี อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียเป็นพระมารดาของพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระราชินีอังกฤษสองพระองค์ -- พระราชินีอิสซาเบลลาในพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ และพระราชินีแคทเธอรินในพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ", "title": "อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย" }, { "docid": "227699#3", "text": "เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ อลิซาเบธ เจ้าหญิงผู้ไร้เดียงสาเข้มแข็งขึ้นมาในฐานะพระราชินีแห่งอังกฤษ และพระนางก็ไม่รับรักจากชายคนไหนอีกเลย ไม่ได้อภิเษกสมรสตลอดทั้งพระชนชีพ จนได้ฉายาว่า \"ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์\" (The Virgin Queen) และต่อมาพระนางได้กลายเป็นสมเด็จพระราชินีที่ยิ่งใหญ่ แผ่อาณาเขตจักรวรรดิอังกฤษให้กว้างไกลออกไป", "title": "อลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์เลือด" }, { "docid": "143107#5", "text": "ขณะที่การครองคู่ของพระบิดาและพระมารดาเริ่มไม่ค่อยดี เพราะสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีนมิได้ทรงประสูติพระโอรสตามที่พระเจ้าเฮนรี่ทรงปรารถนา พระเจ้าเฮนรี่พยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนเป็นอันโมฆะ แต่ต้องผิดหวังเพราะสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ไม่ยินยอม การตัดสินใจของสันตะปาปาถูกบีบบังคับด้วยอำนาจของจักรพรรดิชารล์ที่ 5 แมรีนั้นแต่เดิมนั้นได้หมั้นกับหลานของพระมารดาของพระนาง พระเจ้าเฮนรีได้เรียกร้องว่า การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนนั้นไม่บริสุทธิ์ เพราะพระนางเคยอภิเษกสมรสมาก่อนแล้ว แม้ว่าทั้งคู่ทรงอภิเษกสมรสกันอย่างสมบูรณ์ ในพ.ศ. 2076พระเจ้าเฮนรี่ได้ทรงอภิเษกสมรสอย่างลับๆกับสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน หลังจากนั้นไม่นานโธมัส เครนเมอร์ อาร์คบิชอปแห่งเคนเตอร์เบอร์รี่ ได้ประกาศว่าการอภิเษกกับ สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอนถือเป็นอันโมฆะ และการอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีนถือเป็นอันถูกต้อง พระเจ้าเฮนรี่ประกาศไม่ขึ้นตรงต่อสันตะปาปาแห่งโรมันคาทอลิก และประกาศตนเป็นหัวหน้าแห่งโบสถ์แห่งอังกฤษ ทำให้พระนางแคทเธอรีนต้องถูกถอดยศจากสมเด็จพระราชินีและลดชั้นกลายเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ที่เป็นหม้าย เจ้าหญิงแมรี่ได้กลายเป็นบุตรนอกสมรส ตำแหน่งของพระนางต้องถูกรับช่วงต่อโดย เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและเป็นธิดาในสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน เจ้าหญิงแมรี่จึงกลายเป็น เลดี้ แมรี่", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "159473#1", "text": "พระราชินีอาลีเยนอร์ประสูติเมื่อราว ค.ศ. 1122 ที่ปราสาทเบแล็ง ฝรั่งเศส เป็นพระธิดาของวิลเลียมที่ 10 ดยุกแห่งอากีแตนและดัชเชสเอเนอร์แห่งแชเทลเลโรลท์ เป็นพระราชินีของฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1137 ถึงวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1152 และพระราชินีของอังกฤษในพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1154 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1189 นอกจากนั้นก็ยังเป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์อังกฤษสองพระองค์สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ และสมเด็จพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ และทรงมีส่วนร่วมในการเดินทางไปต่อสู้ในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 อาลีเยนอร์แห่งอากีแตนสิ้นพระชนม์เมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 1204 ที่อารามฟองเทวฟรอด์ ในฝรั่งเศส พระราชินีอาลีเยนอร์ทรงเป็นสตรีที่มีฐานะดีและอำนาจมากที่สุดในยุโรปในยุคกลาง", "title": "อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน" }, { "docid": "355474#38", "text": "เป็นหนังสือนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ซึ่งเกี่ยวกับชู้รักของพระราชินีในยุโรปหลายพระองค์ ซึ่งรวมถึงพระนางแคโรไลน์ มาทิลดาที่มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับสตรูเอนซี อันทำให้ต้องประสบชะตากรรมที่เลวร้ายในเวลาต่อมา เฮอร์แมนเปิดเผยรายละเอียดที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิตของบรรดาพระราชินี หนังสือเริ่มนี้ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศสและหลากหลายภาษารวมทั้งในภาษาไทยใช้ชื่อว่า \"เร้นรักราชินี\"", "title": "แคโรไลน์ มาทิลดาแห่งบริเตนใหญ่" }, { "docid": "207451#0", "text": "สมเด็จพระราชินีมาทิลดา แห่งสกอตแลนด์ แท้จริงแล้วพระนามของพระองค์คือ เอดีธาแห่งสกอตแลนด์ เป็นพระราชินีใน สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ เป็นพระราชินีองค์แรกของ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ", "title": "มาทิลดาแห่งสกอตแลนด์" }, { "docid": "449689#0", "text": "สมเด็จพระราชินีแคเทอรินแห่งอังกฤษ เดิมชื่อ แคเทอริน เฮาเวิร์ด (Catherine Howard) เสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 1523 สวรรคต 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1542 เป็นสมเด็จพระราชินีอัครมเหสีพระองค์ที่ 5 ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และบางครั้งบางคราวเป็นที่รู้จักจากพระราชสมัญญาที่องค์กษัตริย์ทรงพระราชดำรัสเรียกว่า \"my beauty rose \" พระองค์เป็นธิดาของลอร์ดเอ็ดมัด เฮาเวิร์ด บุตรของดยุคแห่งนอฟอล์ค ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายแท้ๆของเลดี้เอลิซาเบธ ฮอร์เวิร์ดซึ่งเป็นมารดาของพระนางแอนน์ โบลีน พระราชินีพระองค์ที่ 2ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8แห่งอังกฤษ\nแคเทอรินทรงเสกสมรสกับพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1540 ที่พระราชวังโอตแลนด์ แทบจะทันทีหลังพระพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงหย่าขาดจากพระราชินีแอนน์แห่งคลีฟ ซึ่งในขณะนั้น พระเจ้าเฮนรี่ ที่ 8 กับพระนาง ทรงมีอายุต่างกัน 20 กว่าปี พระราชินีแคเทอรินทรงถูกสำเร็จโทษภายหลังจากการเสกสมรสไม่ถึง 2 ปี เนื่องจากคบชู้กับ โทมัส คัลเปเปอร์ พระราชดำรัสสุดท้ายคือ", "title": "แคเทอริน เฮาเวิร์ด" }, { "docid": "449683#0", "text": "เจน ซีมอร์ (c. 1507/1508 – 24 ตุลาคม 1537) เป็นธิดาของเซอร์จอห์น ซีมอร์ และมาร์เกอรี เวนต์เวิร์ท หลังการทรงงานในฐานะนางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอน และสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน พระองค์ก็ทรงดึงดูดความสนใจจากสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ\nในฐานะสมเด็จพระราชินี เจนทรงเคร่งขรึมและไว้พระองค์ มีนางพระกำนัลเพียงไม่กี่คนคอยสนองงาน 2 คนในจำนวนนั้นคือน้องสาวและน้องสะใภ้ของพระองค์ ใน พ.ศ. 2079 เจนทรงเริ่มที่จะมีบทบาททางการเมือง หากแต่ทรงถูกเตือนโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีว่า \"อย่าลืมว่าราชินีองค์ก่อนถูกตัดหัวเพียงเพราะวุ่นวายทางการเมือง\" สมเด็จพระราชินีเจนมีพระประสูติกาล เจ้าชายรัชทายาท เอ็ดเวิร์ด (พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ) และสวรรคตหลังจากนั้น\nมีคนบางคนกล่าวไว้ว่า เจน ซีมอร์ เป็นพระราชินีที่พระเจ้าเฮนรีที่ 8 รักอย่างแท้จริง และทรงโปรดปรานมากที่สุด พระองค์ไม่เคยรักใครอย่างจริงจังอีกเลย หลังจากพระราชินีเจน ซีมอร์ สิ้นพระชนม์ พระราชินีเจน ซีมอร์ ก็ทรงทำให้พระองค์ไม่เคยผิดหวัง โดยการประสูติพระราชโอรส", "title": "เจน ซีมอร์" }, { "docid": "160623#0", "text": "แอนน์แห่งเดนมาร์ก (; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1574 — 2 มีนาคม ค.ศ. 1619) เป็นพระธิดาองค์ที่สองของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์กและโซฟีแห่งเมคเลนบูร์ก-กึสโทร สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ เป็นพระมเหสีในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ แอนน์แห่งเดนมาร์กเป็นพระราชินีแห่งสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1589 และเป็นพระราชินีแห่งอังกฤษตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1589 กระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1619 ที่พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ตในอังกฤษ พระศพของพระองค์ตั้งอยู่ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ", "title": "แอนน์แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "972705#0", "text": "เอเลนอร์แห่งอังกฤษ (; ) หรือ เอเลนอร์ แพลนทาเจเนต เป็นพระราชินีแห่งกัสติยาและโตเลโด ในฐานะพระมเหสีของอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา พระองค์เป็นพระโอรสธิดาคนที่หกและพระธิดาคนที่สองของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษกับอาลีเยนอร์แห่งอากีแตน", "title": "เอเลนอร์แห่งอังกฤษ พระราชินีแห่งกัสติยา" }, { "docid": "161502#1", "text": "พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียประสูติเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609 ที่พระราชวังลูฟร์ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและพระนางมารี เดอ เมดีซิส สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ต่อมาเป็นพระราชินีในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1625 ถึงวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียสิ้นพระชนม์เมื่อ 10 กันยายน ค.ศ. 1669 ที่วังแห่งโคลอมบ์ ฝรั่งเศส พระศพตั้งอยู่ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส \nพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียเป็นพระราชินีแห่ง ราชอาณาจักรอังกฤษ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ โดยการเสกสมรสกับพระเจ้าชาลส์ และเป็นพระราชมารดาในพระมหากษัตริย์สองพระองค์ คือ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และ พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และเป็นพระอัยกีในพระเจ้าวิลเลียมที่ 3และพระราชินีนาถแมรี และพระราชินีนาถแอนน์", "title": "เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "215546#1", "text": "โจแอนนาแห่งนาวาร์เสด็จพระราชสมภพราวปี ค.ศ. 1370 ในปัมโปลนาในราชอาณาจักรนาวาร์ ปัจจุบันอยู่ในประเทศสเปน เดิมพระองค์ถูกตั้งชื่อว่า จีน ตามพระมารดาและพระอัยกีฝั่งบิดา จีนที่ 2 พระราชินีแห่งนาวาร์ ชื่อของพระองค์ถูกปรับให้เป็นแบบอังกฤษเป็น โจน หรือ โจแอนนา หลังกลายเป็นพระราชินีแห่งอังกฤษ พระบิดาของของโจนคือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 กษัตริย์แห่งนาวาร์ ที่มีฉายานามว่าชาร์ลส์ผู้เลวร้าย พระมารดาของโจนคือจีน (หรือแฌน) แห่งวาลัวส์ พระธิดาของพระเจ้าฌอง (หรือจอห์น) ที่ 2 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ที่ถูกเรียกว่าฌองผู้ดีงาม พระมารดาของโจนสิ้นพระชนม์ตอนโจนพระชนมายุได้ 3 พรรษา", "title": "โจแอนนาแห่งนาวาร์" }, { "docid": "158392#22", "text": "เมื่อข้าราชบริพารของพระราชินีอิสซาเบลลาผู้จงรักภักดีต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดถูกเรียกตัวกลับและถูกส่งกลับอังกฤษโดยพระราชินีอิสซาเบลลากลับมาถึงราชสำนักอังกฤษเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1325 ก็ได้ถวายรายงานต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดว่าพระราชินีอิสซาเบลลาทรงมีความสัมพันธ์กับโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลแห่งมาร์ชที่ 1 ในปารีส และวางแผนที่จะรุกรานอังกฤษ", "title": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "548936#1", "text": "ภายหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในปีค.ศ. 1901 ถือเป็นการปิดฉากลงของยุคสมัยที่ปราศจากพระอัครมเหสีของสหราชอาณาจักร ตั้งแต่สมัยเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีซึ่งไม่ได้ถูกเข้าพิธีสวมมงกุฎในฐานะของพระราชสวามี ตามธรรมเนียมแล้ว พระอัครมเหสีจะต้องถูกสถาปนาโดยพระราชพิธีสวมมงกุฎด้วยมงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนา อย่างไรก็ตามในปีค.ศ. 1831 สมเด็จพระราชินีแอเดเลดในสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 ได้เข้าพิธีสวมมงกุฎด้วยมงกุฎองค์ใหม่ ซึ่งประกอบด้วยส่วนโค้ง 2 โค้ง (4 ก้าน) และมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งตั้งชื่อว่า \"มงกุฎพระราชินีอเดลเลด\" เนื่องจากมงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนานั้นเก่าและล้าสมัยเกินไป", "title": "มงกุฎพระราชินีอเล็กซานดรา" }, { "docid": "187618#0", "text": "สภาองคมนตรีแห่งพระราชินี หรือ สภาองคมนตรีแห่งอังกฤษ () เป็นชื่อเรียกสภาองคมนตรีของอังกฤษในระหว่างที่มีพระมหากษัตริย์เป็นอิตถีเพศ (ยามเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงดำรงบุรุษเพศ สภานี้เรียก สภาองคมนตรีแห่งพระมหากษัตริย์ หรือ \"King-in-Council\") นัยยะตามตัวอักษรของสภาดังกล่าวแล้วหมายว่าสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษทรงบริหารพระราชกิจตามคำแนะนำของสภาองคมนตรี ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งอังกฤษ โดยพฤตินัยสภาองคมนตรีแห่งพระราชินีปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการชุดพิเศษชุดหนึ่งซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เป็นผลให้การดำเนินงานของสภาองคมนตรีอยู่ภายใต้การพิจารณาทบทวนโดยศาล () สมเด็จพระราชินีนาถจะมีพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับราชการแผ่นดินได้ก็แต่โดยคำแนะนำของสภาองคมนตรี พระราชเสาวนีย์ดังกล่าวในภาษาอังกฤษเรียกว่า \"order-in-council\"", "title": "สภาองคมนตรีแห่งพระราชินี" }, { "docid": "549045#1", "text": "นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1690 เป็นต้นมา พระอัครมเหสีแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ และสหราชอาณาจักร นั้นจะต้องผ่านพิธีสวมมงกุฎโดยใช้มงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนา ซึ่งแรกสร้างขึ้นสำหรับพระราชินีในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสมเด็จพระราชินีอเดลเลด ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมที่จะให้ทรงมงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนาในพระราชพิธี เนื่องมาจากเหตุผลต่างๆ เช่น สภาพอันเก่าและทรุดโทรมของมงกุฎเกินกว่าการซ่อมแซม ขนาด น้ำหนัก และรูปแบบ ซึ่งจะไม่เป็นการสมพระเกียรติของพระองค์ จึงมีพระบรมราชวินิจฉัยให้จัดทำมงกุฎองค์ใหม่ขึ้นในปีค.ศ. 1831 ", "title": "มงกุฎพระราชินีอเดลเลด" }, { "docid": "211859#0", "text": "แคทเธอรินแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Catherine of Valois) (27 ตุลาคม ค.ศ. 1401 – 3 มกราคม ค.ศ. 1437) แคทเธอรินประสูติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1401 ที่ปารีสในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระธิดาของ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศสและอิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Isabella of Bavaria) ทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ และทรงได้รับการราชาภิเษกเป็นพระราชินีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1421 เป็นพระราชินีระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1420 - 31 สิงหาคม ค.ศ. 1422 แคทเธอรินสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1437 ที่ลอนดอนในราชอาณาจักรอังกฤษ", "title": "แคเธอรินแห่งวาลัว" }, { "docid": "161511#1", "text": "เอลิซาเบธแห่งยอร์ค[1]ประสูติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1466 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน เป็นพระธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษและเอลิซาเบธ วูดวิลล์ พระราชินีเอลิซาเบธแห่งยอร์คทรงเสกสมรสกับพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เมื่อปี ค.ศ. 1486 เป็นพระราชินีตั้งแต่ วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1486 จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503 ที่พระราชวังริชมอนด์ ลอนดอน พระราชินีเอลิซาเบธเป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ และพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ", "title": "เอลิซาเบธแห่งยอร์ก" }, { "docid": "158996#7", "text": "พระราชินีอิซาเบลลาถูกหมั้นหมายกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษโดยพระบิดาในตอนที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์ ข้อเสนอได้รับการพูดคุยใน ค.ศ.1298 ในตอนที่พระราชินีอิซาเบลลามีพระชนมายุไม่ถึง 3 พรรษา หลังความล่าช้าที่ยาวนานอันเนื่องมาจากความขัดแย้งในเงื่อนไขของสัญญาการอภิเษกสมรส สุดท้ายทั้งสองพระองค์ก็อภิเษกสมรสกับที่บูโลญ-ซูร์-แมร์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ.1308 ในตอนที่พระราชินีอิซาเบลลาพระชนมายุ 12 พรรษา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดกับพระราชินีอิซาเบลลาเป็นพระญาติลำดับที่สองที่ห่างกันหนึ่งขั้น และมีบรรพบุรุษร่วมกันคือเรมอน เบเรนเกร์ เคานต์แห่งโพรงว็องซ์ กับภรรยา เบียทริซแห่งซาวัว พระปัยกี (ทวด) ทางฝั่งบิดาของพระราชินีอิซาเบลลา มาร์กาเร็ตแห่งโพรว็องซ์ พระราชินีแห่งฝรั่งเศส เป็นพระเชษฐภคินีของพระอัยกี (ปู่) ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เอเลนอร์แห่งโพรว็องซ์ พระราชินีอิซาเบลลาได้นำสายเลือดของกษัตริย์แซ็กซัน พระเจ้าแฮโรลด์ที่ 2 กลับมาสู่ราชตระกูลอังกฤษอีกครั้ง พระองค์เป็นพระนัดดา (หลานย่า) ของพระราชินีอิซาเบลลาแห่งอารากอน พระมเหสีของพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส พระมารดาของพระราชินีอิซาเบลลาแห่งอารากอน วิโอลันต์แห่งฮังการี เป็นพระธิดาของพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี พระนัดดา (หลานปู่) ของพระเจ้ากีซาที่ 2 แห่งฮังการี ที่มีกับพระราชินียูโฟรซีนแแห่งเคียฟ พระนัดดา (หลานย่า) ของพระธิดาของพระเจ้าแฮโรลด์ กีธาแห่งเวสเซ็กซ์ ที่เสกสมรสกับวลาดิเมียร์ที่ 2 โมโนมัคแห่งเคียฟ", "title": "อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "355474#37", "text": "แร้กซ์ออลเดินทางกลับไปยังลอนดอน วึ่งขณะนั้นในเชลล์เกิดโรคไข้รากสาดใหญ่ระบาดและมหาดเล็กคนหนึ่งของพระนางเสียชีวิต อีกทั้งโซฟี พระธิดาเลี้ยงก็เริ่มมีอาการป่วย พระนางทรงกังวลต่อสุขภาพของพระธิดาเลี้ยงโดยไม่ได้พักผ่อน พระนางจึงทรงพระประชวรไปด้วยอีกคน ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2318 พระนางทรงทราบข่าวว่าโซฟีพ้นขีดอันตรายแล้ว ตรัสว่า \"เช่นนี้ข้าก็นอนตายตาหลับแล้วสินะ\" พร้อมกับหลับพระเนตร แล้วพระเนตรไม่เปิดอีกเลยจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ ขณะมีพระชนมายุเพียง 23 พรรษา พระบรมศพได้ถูกฝังที่ โบสถ์เซนต์แมรีแห่งเชลล์ เคียงข้างพระศพของ โซเฟีย โดโรเธียแห่งเซลล์ พระปัยยิกาของพระองค์ ซึ่งทรงมีชะตากรรมที่คล้ายคลึงกันหลังจากพระนางสิ้นพระชนม์ได้มีการประพันธ์หนังสือ เพลงและภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวประวัติของพระนางแคโรไลน์ มาทิลดามากมาย อาทิ เช่น\nเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพระนางแคโรไลน์ มาทิลดากับสตรูเอนซี แพทย์ชาวเยอรมันซึ่งทรงโปรดปราน และสร้างอิทธิพลในราชสำนักเดนมาร์กอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยหนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาเดนมาร์ก \nเป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติของโยฮันน์ ฟรีดิช สตรูเอนซีซึ่งใช้ชื่อว่า The Queen's Physician อันเนื่องมาจากสตรูเอนซีศึกษาด้านฟิสิกส์และการแพทย์จนเป็นที่พอพระทัยของพระนางมาทิลดาและได้รับกล่าวขานว่าเป็น \"นักฟิสิกส์ของพระราชินี\" หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ\nเป็นหนังสือเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระนางแคโรไลน์ มาทิลดาซึ่งเป็นพระราชประวัติตั้งแต่ทรงก้าวขึ้นสู่อำนาจและสิ้นสุดพระราชอำนาจ จนกระทั่งทรงถูกเนรเทศจากประเทศ โดยจะเน้นในเรื่องการอภิเษกสมรสระหว่างพระราชวงศ์เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองอันนำพาซึ่งโศกนาฏกรรม โดยได้นำเรื่องราวของพระนางซึ่งเป็นหนึ่งในการอภิเษกสมรสระหว่างพระราชวงศ์เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ\nเป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติของโยฮันน์ ฟรีดิช สตรูเอนซีและพระนางแคโรไลน์ มาทิลดา ซึ่งเกี่ยวกับการเดินทางมาของเขาในฐานะนักฟิสิกส์และแพทย์ในราชสำนักเดนมาร์กซึ่งได้เข้ามามีอำนาจและได้ตกหลุมรักพระราชินี และกายเป็นจุดกำเนิดของ\"ยุคสตรูเอนซี\"ซึ่งได้ทำการปฏิรูปเดนมาร์กสู่ความทันสมัย แต่ต่อมาได้ถูกปฏิวัติล้มล้างโดยเขาได้ถูกประหารส่วนพระราชินีถูกเนรเทศ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เขียนในเชิงย้อนรอยประวัติศาสตร์แฝงไปด้วยแง่คิดมุมมองทางการเมืองของตัวละครในเรื่อง โดยหนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ทั้งในภาษาสวีเดน,ภาษาเดนมาร์กและภาษาอังกฤษ ", "title": "แคโรไลน์ มาทิลดาแห่งบริเตนใหญ่" }, { "docid": "239459#57", "text": "ตราอาร์มของเจ้าหญิงมารีในฐานะเจ้าหญิงอังกฤษ พระปรมาภิไธยของสมเด็จพระราชินีมารีช่วงแรก พระปรมาภิไธยของสมเด็จพระราชินีมารี พระปรมาภิไธยของสมเด็จพระราชินีมารี", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "158996#0", "text": "อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส (ภาษาอังกฤษ: Isabella of France; ค.ศ.1295 - 22 สิงหาคม ค.ศ.1358) บางครั้งถูกบรรยายไว้ว่าเป็น นางหมาป่าแห่งฝรั่งเศส เป็นพระราชินีแห่งอังกฤษในฐานะพระมเหสีของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ.1326 จนถึง ค.ศ.1330 พระองค์เป็นพระราชบุตรที่รอดชีวิตคนสุดท้องและพระธิดาคนเดียวของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับพระราชินีโจแอนแห่งนาวาร์ พระราชินีอิซาเบลลาเป็นที่เลื่องลือในตอนนั้นในเรื่องของความงาม, ทักษะการทูต และความเฉลียวฉลาด", "title": "อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "161502#8", "text": "ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1642 เมื่อความขัดแย้งเริ่มต้นในอังกฤษพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียประทับอยู่ที่ฝรั่งเศส เพื่อจะหาทุนสนับสนุนฝ่ายกษัตริย์ (Royalist) และไม่ได้เสด็จกลับอังกฤษจนกระทั่งปี ค.ศ. 1643 เมื่อทรงขึ้นฝั่งอังกฤษก็ทรงมาพร้อมกับกองทหารที่บริดลิงตันในยอร์กเชอร์ เพื่อมาสมทบกับกองทหารฝ่ายกษัตริย์ของอังกฤษทางตอนเหนือ และทรงตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ยอร์ก พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียประทับอยู่กับกองทหารทางเหนืออยู่หลายเดือนก่อนที่เสด็จลงมาพบกับพระเจ้าชาลส์ที่อ็อกฟอร์ด การที่สถานะการณ์ของพระเจ้าชาลส์ทรุดลงหลังจากการแทรกแซงของสกอตแลนด์ และการที่พระเจ้าชาลส์ไม่ทรงยอมรับข้อตกลงของรัฐบาลในการสงบศึก ทำให้พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียเสด็จหนีไปฝรั่งเศสพร้อมกับพระโอรสในปี ค.ศ. 1644 พระเจ้าชาลส์ถูกสำเร็จโทษในปี ค.ศ. 1649 ทิ้งพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียให้ฐานะที่เกือบไม่มีทรัพย์สินใดใดเหลือ", "title": "เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส" }, { "docid": "7078#12", "text": "หลังจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายไทย ย้ายออกจากพระบรมมหาราชวังไปแล้ว แต่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษยังคงอยู่ในพระบรมหาราชวัง โดยย้ายจากที่เดิมมาอยู่ที่ตึก 2 หลังริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย เรียกว่า \"โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบริมพระที่นั่งสุทธัยสวรรค์\" ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ วังพระองค์เจ้าภานุมาศ ซึ่ง หมายถึง \"วังหน้า\" เดิมในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวังหน้า โดยอาศัยเก๋งจีนที่เป็นฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สอน หลังจากอาศัยอยู่ที่นี่ช่วงหนึ่ง ก็ได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่สตรีสวนสุนันทาลัย ( ปากคลองตลาด ) เนื่องจากโรงเรียนนี้มีนักเรียนน้อยลงเรื่อยๆ จำต้องปรับปรุง มีการพักการเรียนการสอนไว้ก่อน โรงเรียนสวนกุหลาบซึ่งยังไม่มีสถานที่แน่นอน จึงได้ย้ายมา เปิดการสอนเป็นชั่วคราว เรียกว่า โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัย จนกระทั่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้มีหนังสือขอพระราชทานที่โรงเรียนสตรีสุนันทาลัยเพื่อปรับปรุงให้เป็น \"โรงเรียนราชินี\" โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัยจึงได้ย้ายมารวมอยู่กับโรงเรียนเทพศิรินทร์ เพราะว่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียนครั้งใหญ่ ใช้งบประมาณในการสร้างโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบแห่งใหม่ โดยมีข้อตกลงในการก่อสร้าง \"ตึกแม้นนฤมิตร์\" เป็นตึกเรียนหลังใหม่ และให้ชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบตึกแม้นนฤมิตร์ ทั้งนี้โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้กรมศึกษาธิการเป็นผู้ดำเนินการทำสัญญาก่อสร้าง ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนามโรงเรียนสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์ตึกแม้นนฤมิตร์แทน โดยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าพระองค์ได้ออกเงินเพียงส่วนน้อยเท่านั้น", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" } ]
3969
มูฮัมหมัด อาลี เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "220283#0", "text": "มูฮัมหมัด อาลี (English: Muhammad Ali) เป็นอดีตยอดนักมวยชาวอเมริกันในรุ่นเฮฟวี่เวทผู้เป็นตำนาน อาลีมีชื่อจริงแต่กำเนิดว่า เคสเซียส มาเซลลัส เคลย์ จูเนียร์ (Cassius Marcellus Clay Jr.) แต่นิยมเรียกว่า เคสเซียส เคลย์ (Cassius Clay) เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1942 ที่เมืองหลุยส์วิลล์ รัฐเคนตักกี้ สหรัฐอเมริกา", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" } ]
[ { "docid": "675043#0", "text": "อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด (, ); เกิด พ.ศ. 2481) เป็นผู้ประกอบการและนักการเมืองชาวโซมาเลีย เขาเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโซมาเลียตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2534 - มกราคม พ.ศ. 2540", "title": "อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด" }, { "docid": "220283#11", "text": "ผลการชก โฟร์แมนเป็นฝ่ายเดินเข้าหาและปล่อยหมัดใส่อาลีตั้งแต่ยกแรก ขณะที่อาลีได้แต่ปัดป้องและถอยพิงเชือก จนกระทั่งถึงยกที่ 8 ขณะที่โฟร์แมนเริ่มหมดแรง อาลีเริ่งระดมปล่อยหมัดจนกระทั่งชนะน็อกโฟร์แมนได้กลับมาเป็นแชมป์โลกสมัยที่ 2 ได้ในที่สุด ซึ่งในอีกหลายปีต่อมาโฟร์แมนได้เปิดเผยว่า ตนถูกฝ่ายอาลีและดอน คิง เอาเปรียบทุกอย่างและมีการเตรียมเชือกกั้นเวทีให้หย่อนกว่าปกติเพื่อที่อาลีจะได้โยกหลบหมัดของตนได้อย่างเต็มที่", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "300269#0", "text": "รายพระนามพระคู่ครองในราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี เป็นพระยศของคู่สมรสของกษัตริย์แห่งอียิปต์ในช่วงราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ซึ่งตำแหน่งนี้ได้เริ่มการใช้ในรัชสมัยของพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ (\"ครองราชย์\" 1917-1936) ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงพระยศของพระองค์เองจากสุลต่านแห่งอียิปต์เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์พร้อมกับตำแหน่งพระคู่สมรสด้วย โดยผู้ที่ได้รับแต่งตั้งพระยศสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์พระองค์แรกคือ สมเด็จพระราชินีนาซลีแห่งอียิปต์ (1919-1936) ส่วนพระราชินีองค์สุดท้ายคือสมเด็จพระราชินีฟาดิลาแห่งอียิปต์ (1976-1999) แม้ว่าจะเสกสมรสภายหลังจากที่พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ สละราชบัลลังก์แล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ยังถือเป็นผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ ภายหลังฟาดิลาก็ได้หย่าขาดจากพระราชสวามี ปัจจุบันจึงดำรงพระยศเป็นเจ้าหญิงนอกราชบัลลังก์", "title": "รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี" }, { "docid": "220283#14", "text": "มูฮัมหมัด อาลี ถือว่าเป็นนักมวยผู้เป็นตำนานในหลายด้าน นอกจากบุคลิกที่โดดเด่น กล้าคิด กล้าพูด หลายเรื่องที่อาลีแสดงความเห็นและแสดงออกทางสังคมล้วนแต่มีนัย มีความหมายทั้งสิ้น ประกอบกับกระแสการเมืองทั้งในสหรัฐอเมริกาและการเมืองโลกขณะนั้นยิ่งทำให้อาลีกลายเป็นบุคคลที่โดดเด่นขึ้นมา ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในมหาวิทยาลัยและสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลแห่งปีของหลายสถาบัน และได้รับเลือกให้เป็นบุคคลในวงการกีฬาแห่งปี ค.ศ. 1974 ของนิตยสารสปอร์ตอิลลัสเตรด อีกทั้งยังเป็นนักมวยรายแรกที่กล้าทำนายผลการชกของตัวเองล่วงหน้า แม้จะฟังดูว่าอวดตัวเอง แต่อาลีก็สามารถทำได้ในหลายต่อหลายครั้ง จนทำให้มีจอห์นนี เวคกิน นักดนตรีชาวอังกฤษแต่งเพลงให้แก่อาลีชื่อ \"Black Superman\" ซึ่งต่อมาคำนี้ได้กลายเป็นฉายาของอาลีในภาษาอังกฤษด้วย และในส่วนของแฟนมวยชาวไทยได้ให้ฉายาแก่อาลีในแบบที่สอดคล้องกับชื่อภาษาอังกฤษว่า \"สิงห์จอมโว\"", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "531927#0", "text": "สุลต่านมูฮัมหมัด อาลี () เป็นพระราชโอรสของ สุลต่านอับดุล จาลิลุล จับบาร์ ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม เมื่อ พ.ศ.2203 ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาของพระองค์ และสวรรคตในปีถัดมา คือ พ.ศ. 2204 อดีตอัครมหาเสนบดี ฮักกุล มูบิน ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์", "title": "สุลต่านมูฮัมหมัด อาลี แห่งบรูไน" }, { "docid": "220283#5", "text": "ในปี ค.ศ. 1966 อาลีได้รับหมายเกณฑ์เพื่อเข้าร่วมรบในสงครามเวียดนามเขาถูกจัดให้อยู่ในประเภท A-1 (ดีเยี่ยม) โดยทางการให้สัญญาว่า ตำแหน่งของเขาจะอยู่ห่างจากสมรภูมิหลายร้อยไมล์ แต่อาลีก็ตอบโต้คำสั่งด้วยประโยคที่เป็นอมตะว่า \"ผมไม่เคยมีเรื่องราวอะไรกับพวกเวียดกง\" (I ain't got no quarrel with them Viet Cong) นั่นทำให้ในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1967 อาลีปฏิเสธอย่างเป็นทางการว่าจะไม่เข้าร่วมในกองทัพ อีก 10 วันต่อมาเขาถูกดำเนินคดีที่ฮุสตันในข้อหาหลีกเลี่ยงทหาร ผู้พิพากษา โจ อิงแกรม ตัดสินให้เขาได้รับโทษสูงสุดคือจำคุก 5 ปี และปรับเป็นเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างการยื่นอุทธรณ์อาลีถูกสั่งห้ามชก", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "301721#0", "text": "ซุปเปอร์แมน vs มูฮัมหมัด อาลี () เป็นหนังสือการ์ตูน ที่นำเอาซุปเปอร์ฮีโร่ที่มีชื่อเสียงอย่าง ซุปเปอร์แมน มาสู้กับนักมวยสากลรุ่นเฮฟวี่เวทนามว่า มูฮัมหมัด อาลี \"(เจ้าของฉายา แบล็คซุปเปอร์แมน)\" ในรูปของลายเส้นการ์ตูน จัดพิมพ์โดย \"สนพ.ดีซีคอมิกส์\" ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1978 หนา 72 หน้ากระดาษ ราคาแรกจำหน่าย 2.50 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2010 ได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่อีกครั้งด้วยเช่นกัน", "title": "ซุปเปอร์แมน vs มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "961416#0", "text": "เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด () เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2522 ณ ไคโร ประเทศอียิปต์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ และ ดอมีนิก-ฟร็องซ์ โลบ ปีการ์ ทรงเป็นองค์รัชทายาทในราชบัลลังก์อียิปต์และซูดาน พระองค์และครอบครัวถูกเนรเทศขณะพระองค์มีพระชนมายุไม่ถึง 1 พรรษา พระองค์ทรงเติบโตใน โมร็อกโก และ ยุโรป เมื่อทรงเจริญวัย ทรงงานด้วยอสังหาริมทรัพย์ใน ปารีส ", "title": "เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด" }, { "docid": "79679#0", "text": "ดอน คิง () มีชื่อเต็มว่า โดนัลด์ ดอน คิง (Donald Don King) เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1931 ที่เมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เมื่อตอนอายุ 14 เคยติดคุกข้อหาฆ่าคนตายมาแล้ว ดอน คิง เริ่มอาชีพในวงการมวยด้วยการเป็นผู้จัดการให้กับ เออร์นี่ เชฟเวอร์ นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวท และเริ่มมีชื่อเสียงจากการเป็นโปรโมเตอร์ผู้จัดศึก \"The Rumble in the Jungle\" ในปี ค.ศ. 1974 ที่กรุงกินชาซา ประเทศซาอีร์ ซึ่งเป็นการป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่นเฮฟวี่เวทระหว่าง จอร์จ โฟร์แมน กับ มูฮัมหมัด อาลี ซึ่งมวยคู่นี้ได้สร้างปรากฏการณ์หลายอย่างให้เกิดขึ้นในโลกด้วย ไม่เพียงแต่เป็นการแข่งขันกีฬาธรรมดา แต่ยังมีนัยแฝงทางการเมืองรวมอยู่ด้วย เนื่องจากขณะนั้นกระแสทางการเมืองทั่วโลกกำลังต่อต้านชนชาติผิวสี แต่การที่ดอน คิง กล้าเข้าไปจัดมวยชิงแชมป์โลกถึงใจกลางทวีปแอฟริกา นับเป็นการท้าทายอย่างยิ่ง และมวยคู่นี้จบลงที่อาลีเป็นฝ่ายชนะน็อกไปในยกที่ 8 ได้กลับมาเป็นแชมป์โลกสมัยที่ 2 ทั้ง ๆ ที่เกมการชกก่อนหน้านั้นเป็นไปอย่างชนิดที่อาลีเป็นรองสุดกู่ ท่ามกลางเสียงครหาว่าผู้จัดเจตนาขึงเชือกกั้นเวทีให้หย่อน เพื่อที่จะให้อาลีพยายามโยกหลบหมัดของโฟร์แมนได้สะดวก อีกทั้งฝ่ายโฟร์แมนเองก็ได้บอกภายหลังการชกว่า ตนถูกเอาเปรียบแทบทุกอย่าง", "title": "ดอน คิง" }, { "docid": "220283#6", "text": "ตัวอย่างของอาลียังทำให้ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ที่ยังลังเลที่จะต่อต้านนโยบายของรัฐบาลประธานาธิบดีจอห์นสัน ได้แสดงแนวความต่อต้านสงครามของตนออกมาเป็นครั้งแรก[3]", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "220283#10", "text": "อีกครั้งหนึ่งที่นับเป็นการชกครั้งประวัติศาสตร์ของอาลีและของวงการมวยโลก คือ การพบกับ จอร์จ โฟร์แมน ซึ่งขณะนั้นโฟร์แมนเป็นแชมป์โลกอยู่ และเป็นการชิงแชมป์โลกครั้งที่ 3 ในชีวิตของอาลี ในศึกที่มีชื่อว่า \"The Rumble in the Jungle\" ที่กรุงกินซาซ่า ประเทศซาอีร์ การชกครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการจัดชกมวยระดับโลกเป็นครั้งแรกใจกลางทวีปแอฟริกาด้วย แต่หากยังมีนัยทางการเมืองแฝงอยู่ด้วย เพราะในขณะนั้นกระแสการเหยียดสีผิวกระเพื่อมรุนแรงมากในทั่วทุกมุมโลก โดยโปรโมเตอร์ผู้จัดครั้งนี้คือ ดอน คิง ซึ่งต่อมาศึกครั้งนี้ได้สร้างชื่อให้กับดอน คิง แจ้งเกิดได้ในวงการมวยระดับโลกมาจนปัจจุบัน", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "220283#22", "text": "นอกจากนี้แล้ว มูฮัมหมัด อาลี ยังได้เคยออกสตูดิโออัลบั้มกับโคลัมเบียเรเคิดส์ ในปี ค.ศ. 1963 ใช้ชื่อว่า \"I Am The Greatest\" มีเพลงเด่น คือ Stand by Me ซึ่งคัฟเวอร์มาจากต้นฉบับของเบน อี. คิง[1]", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "220283#20", "text": "อีกครั้งในปี ค.ศ. 2001 ในชื่อ \"Ali\" (ชื่อภาษาไทย อาลี กำปั้นท้าชนโลก ฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2002) เป็นภาพยนตร์เรื่องราวชีวประวัติของอาลีล้วน ๆ กำกับโดย ไมเคิล แมนน์ นำแสดงเป็นอาลี โดย วิลล์ สมิธ ภาพยนตร์ได้มีชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขารางวัลดารานำชายและดาราประกอบชาย ถึง 2 รางวัลด้วยกัน", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "342557#0", "text": "มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (; ) เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2419 เป็นบิดาแห่งปากีสถาน และเป็นผู้แยกดินแดนระหว่างฮินดูกับมุสลิม เป็นดินแดนของประเทศปากีสถาน จินนาห์เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2491 สิริอายุได้ 71 ปี", "title": "มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์" }, { "docid": "220283#17", "text": "นอกจากนี้แล้ว อาลียังเป็นที่รับรู้กันดีว่าเป็นโรคพาร์กินสันหรือโรคเมาหมัด ซึ่งเป็นผลจากการชกมวย แต่ในพิธีเปิดโอลิมปิคที่แอตแลนต้า อาลีได้รับเกียรติจากคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ให้เป็นบุคคลสุดท้ายที่จุดคบเพลิงด้วยมือที่สั่นเทา แต่อาลีก็สามารถทำได้ เป็นที่ประทับใจของผู้คนทั่วโลก แม้กระทั่งบิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผู้เป็นประธานพิธีเปิดถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความซาบซึ้ง[1]", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "220283#1", "text": "อาลีขึ้นชกมวยครั้งแรกเมื่ออายุได้เพียง 12 ปี โดยมีครูฝึกเป็นตำรวจเชื้อสายไอริชชื่อ โจ มาร์ติน จุดประสงค์แรกก็คือให้อาลีใช้เป็นทักษะการต่อสู้เพื่อปกป้องจักรยานราคา 60 ดอลลาร์ของตนจากเด็กละแวกบ้านเดียวกัน อาลีได้พัฒนาฝีมือการชกขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งคว้าแชมป์มวยสากลสมัครเล่นรุ่นไลท์เฮฟวี่เวทของเมืองหลุยส์วิลล์ จากนั้นได้ครองแชมป์ระดับภูมิภาคของชิคาโก ได้แชมป์มวยสากลสมัครเล่นแห่งชาติ และประสบความสำเร็จสูงสุดจากการได้เหรียญทองในรุ่นไลท์เฮฟวี่เวทในการแข่งขันโอลิมปิคที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี แต่การเดินทางด้วยเครื่องบินในครั้งนั้น อาลีกลัวเครื่องบินจะตกมาก ถึงขนาดสวมใส่เสื้อชูชีพไว้ตลอดการเดินทาง[1]", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "588621#1", "text": "การจัดตั้งสันนิบาตมุสลิมนี้ เกิดขึ้นหลังจากการแบ่งแคว้นเบงกอลของอังกฤษเป็นเบงกอลตะวันตกที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูกับเบงกอลตะวันออกที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ใน พ.ศ. 2448 ซึ่งมุสลิมในอินเดียเห็นด้วยแต่ผู้นับถือศาสนาฮินดูคัดค้าน ทำให้ชาวมุสลิมเชื่อมั่นในความคิดของเซอร์ไซยิด อาหมัด ข่านที่เห็นว่าผู้นับถือศาสนาฮินดูและมุสลิมเป็นคนละเชื้อชาติ จึงได้จัดตั้งสันนิบาตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของมุสลิม และยังเรียกร้องให้อังกฤษจัดตั้งเขตเลือกตั้งพิเศษเฉพาะชาวมุสลิม ซึ่งอังกฤษได้ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2452 ผู้นำในระยะแรกของสันนิบาตมุสลิมคือ โมฮัมหมัด อาลี และได้ชักชวนมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ให้เข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ. 2456 หลังจากอาลีถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2473 มูฮัมมัด อิกบาลได้เป็นผู้นำต่อมา และเป็นผู้เสนอความคิดที่จะจัดตั้งรัฐมุสลิมขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งต่อมา เชาธารี ราห์มัด อาลีนำไปสานต่อเป็นแนวคิดการจัดตั้งปากีสถาน", "title": "สันนิบาตมุสลิมแห่งอินเดีย" }, { "docid": "446206#0", "text": "ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลีเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศอียิปต์ระหว่างปี ค.ศ. 1805-ค.ศ. 1953", "title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี" }, { "docid": "220283#7", "text": "จากนั้นอาลีได้ทำในสิ่งที่ชาวโลกตะลึง เมื่อจู่ ๆ เขาประกาศว่าเขาหันมานับถือศาสนาอิสลาม โดยคำสอนของศาสนาไม่ให้ไปเข่นฆ่าผู้คน ดังนั้นการเกณฑ์เป็นทหารจึงเป็นสิ่งที่เขารับไม่ได้ และได้เปลี่ยนชื่อจากเคสเซียส เคลย์ มาเป็น มูฮัมหมัด อาลี อย่างที่รู้จักกันแพร่หลาย ซึ่งชื่อนี้ อีไลจาห์ มูฮัมหมัด ผู้นำมุสลิมในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ตั้งให้ โดยมีความหมายว่า \"ควรค่าแก่การสรรเสริญ\" แต่อย่างไรก็ตาม อาลีเคยให้สัมภาษณ์ว่า ในตอนแรกทีขึ้นชกมวยเขาเคยใช้ชื่อว่า \"เคสเซียส เอ็กซ์\" (Cassius X) ตามแบบแมลคัม เอ็กซ์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิคนผิวดำในสหรัฐอเมริกา[1]", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "675043#1", "text": "มูฮัมหมัดขึ้นสู่อำนาจหลังจากที่รัฐบาลของกลุ่มต่อต้านติดอาวุธรวมทั้งตัวเขาเอง รัฐสภาแห่งสหรัฐโซมาลี สามารถปลดประธานาธิบดีไซอัด บาร์รีผู้ครองอำนาจอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามมูฮัมหมัดไม่สามารถที่จะใช้อำนาจของเขาเกินกว่าส่วนของเมืองหลวงได้ อำนาจได้รับการแทนที่โดยผู้นำกลุ่มอื่นๆ ในภาคใต้ ครึ่งหนึ่งของประเทศ และโดยหน่วยงานของดินแดนปกครองตนเองในภาคเหนือ", "title": "อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด" }, { "docid": "220283#13", "text": "สำหรับการชกที่ถือว่าอาลีต้องเจ็บตัวมากที่สุด คือการพ่ายแพ้แก่ เคน นอร์ตัน นักมวยโนเนมในขณะนั้น เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1973 แม้จะเป็นฝ่ายแพ้คะแนน แต่หลังการชกอาลีถูกตรวจพบว่าถึงกับกรามหักจากฤทธิ์หมัดของนอร์ตัน", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "3648#11", "text": "ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1882 อังกฤษส่งเรือรบไปยังเมืองท่าอเล็กซานเดรีย และยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ประกาศว่าอียิปต์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอียิปต์ที่รักชาติได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช ใน ค.ศ. 1922 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อียิปต์ โดยเมื่อแรกรับเอกราช ได้สถาปนาเป็นราชอาณาจักรอียิปต์ ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์ โดยสุลต่านฟูอัด ได้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และปกครองต่อมาอีกสองพระองค์คือ พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี และระบอบกษัตริย์แห่งอียิปต์ โดยได้มีการทำรัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐจนถึงปัจจุบัน", "title": "ประเทศอียิปต์" }, { "docid": "220283#19", "text": "ชีวิตของมูฮัมหมัด อาลี ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 กับเรื่อง \"When We Were Kings\" เป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับเรื่องราวของศึก Rumble in the Jungle ที่ซาอีร์ ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อได้รับรางวัลออสการ์ ประเภทภาพยนตร์สารคดีในปีนั้นด้วย (ในประเทศไทยได้นำมาฉายที่โรงภาพยนตร์ที่เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในชื่อภาษาไทยว่า \"วันเวลาของราชันย์\" และต่อมาทางสหมงคลฟิล์มผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ได้ออกวิดีโอออกมาจัดจำหน่ายและให้เช่า)", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "285829#1", "text": "พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ เสด็จราชสมภพเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1868 ณ พระราชวังกีซา กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 7 ในเคดีฟอิสมาอิล พาชากับฟาเรียล คาดิน โดยพระองค์สืบเชื้อสายจากมูฮัมหมัดอาลี พาชา และมีเชื้อสายแอลเบเนีย เมื่อพระองค์ประสูติอียิปต์ยังไม่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่อังกฤๅก็เข้ามามีอิทธิพลต่ออียิปต์จนสุลต่านอิสมาอิล พาชา พระบิดาของพระองค์ ได้ส่งพระองค์เข้าไปศึกษายังประเทศอิตาลี ก่อนศึกษาวิชาทหารที่ตูริน พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี โดยพระองค์ครองราชย์เป็นสุลต่านแห่งอียิปต์และซูดานเมื่อ ค.ศ. 1917 ", "title": "พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์" }, { "docid": "220283#9", "text": "นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวทในระยะเวลาเดียวกันนั้นที่นับได้ว่าเป็นคู่ปรับคนสำคัญของอาลีคือ โจ ฟราเซียร์ ทั้งคู่พบกันบนเวทีหลายครั้ง และทุกครั้งก็นับการเป็นการชกครั้งประวัติศาสตร์ ในครั้งแรกฟราเซียร์สามารถเอาชนะคะแนนอาลีได้ในเวลา 15 ยก แต่กระนั้นฟราเซียร์ก็ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนานถึง 10 เดือน ด้วยฤทธิ์หมัดของอาลี ต่อมาทั้งคู่ชกกันอีกที่ฟิลิปปินส์ ในศึกที่มีชื่อว่า \"Thrilla in Manila\" คราวนี้ฟราเซียร์เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปในยกที่ 14", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "220283#4", "text": "อาลีขึ้นชิงแชมป์โลกครั้งแรกกับซอนนี่ ลิสตัน นักมวยจอมโหดผู้เคยผ่านการติดคุกมาแล้ว เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 ในการชกครั้งนี้หลายฝ่ายคาดว่าอาลีคงต้องถูกน็อกอย่างแน่ แต่อาลีกลับเป็นฝ่ายที่สามารถชนะน็อกลิสตันได้ และได้ชื่อเสียงมาในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "220283#8", "text": "คำร้องอุทธรณ์ของอาลีมาประสบความสำเร็จในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1971 คำตัดสินของศาลสูงสุดยกฟ้องด้วยเสียง 8:0 นับเป็นระยะเวลา 3 ปีที่อาลีไม่ได้ขึ้นเวทีชกมวยเลย ซึ่งปัจจุบันหลายฝ่ายเห็นว่า นั่นคือช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตของเขา น่าจะเป็นช่วงที่อาลีขึ้นถึงจุดสูงสุดในชีวิตการชกมวยได้ แต่กลับต้องเลยผ่านไปอย่างน่าเสียดาย", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "220283#16", "text": "หลังแขวนนวม มูฮัมหมัด อาลี ได้ทำงานเกี่ยวกับสาธารณกุศลไปทั่วโลก และในสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี ค.ศ. 1990 เมื่ออิรักบุกยึดคูเวตได้แล้ว กองทัพอิรักได้จับกุมตัวประกันชาวอเมริกันได้กว่า 2,000 ราย อาลีได้เสนอตัวเข้าไปเป็นผู้เจรจาปล่อยตัวประกันด้วยตนเองกับประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ถึงกรุงแบกแดก ด้วยคิดว่าชื่อเสียงของเขาและการที่เป็นชาวมุสลิมเหมือนกันจะช่วยให้การเจรจาเป็นไปได้ด้วยดี ปรากฏว่าความพยายามของอาลีเป็นที่สำเร็จ เมื่อทางฮุสเซนยอมปล่อยตัวประกันออกมา 15 ราย หลังจากใช้เวลาเจรจาเพียง 50 นาที [1]", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" }, { "docid": "220283#21", "text": "มูฮัมหมัด อาลี ได้รับเกียรติเป็นตัวละครสำคัญในหนังสือการ์ตูน Superman vs Muhammad Ali ซึ่งวางจำหน่ายช่วงปี ค.ศ. 1978 ซึ่งในฉบับนี้หน้าปกยังมีบุคคลดังในยุคนั้นแฝงอยู่อีกหลายคน เช่น แฟรงก์ ซินาตรา, เดอะแจ็กสันไฟฟ์ หรือแม้กระทั่งบุคคลสมมติเช่น เล็กซ์ ลูเธอร์ และแบทแมน และจัดพิมพ์ใหม่อีกครั้งในช่วงปี ค.ศ. 2010", "title": "มูฮัมหมัด อาลี" } ]
3970
ออสเตรเลีย มีเมืองหลวงชื่ออะไร ?
[ { "docid": "37922#0", "text": "แคนเบอร์รา (English: Canberra) เป็นเมืองหลวงของเครือรัฐออสเตรเลีย มีประชากรประมาณ 403,468 คน(ข้อมูลเมื่อมิถุนายน 2559) โดยแคนเบอร์ร่าเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของเครือรัฐออสเตรเลีย และนับว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียที่ไม่ติดต่อกับชายฝั่งทะเล แคนเบอร์ราตั้งอยู่ที่ตอนเหนือของออสเตรเลียน แคปิตอล เทอร์ริทอรี (Australian Capital Territory, มณฑลนครหลวงของออสเตรเลีย) มีระยะทางห่างจากเมืองซิดนีย์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 170 ไมล์(280 กิโลเมตร) และห่างจากเมืองเมลเบิร์น 410 ไมล์(660 กิโลเมตร) โดยคนท้องที่มักรู้จักกันในชื่อ \"แคนเบอร์รัน\"(อังกฤษ: Canberran) แม้ว่าคำว่าแคนเบอร์ร่าจะเป็นชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการ และยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน", "title": "แคนเบอร์รา" } ]
[ { "docid": "122499#0", "text": "เพิร์ท () เป็นเมืองหลวงของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ในประเทศออสเตรเลีย มีประชากรอาศัยอยู่ 1,507,900 (ธันวาคม 2006) ทำให้เพิร์ทเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และเป็น 3 ใน 4 ของรัฐ ความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่อันดับที่ 4 ในออสเตรเลีย ด้วยอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 2.1 (2006) และคาดว่าจะเจริญได้ถึงร้อยละ 2.5 ในปี 2007 ", "title": "เพิร์ท (ออสเตรเลีย)" }, { "docid": "314183#0", "text": "ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี () เป็นเขตเมืองหลวงของออสเตรเลียและถือเป็นดินแดน เขตการปกครองตนเองภายในที่เล็กที่สุด ตั้งอยู่ภายในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ดอกไม้ประจำดินแดนคือดอกรอแยลบลูเบล และสัตว์ประจำดินแดนคือ Gang-Gang cockatoo", "title": "ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี" }, { "docid": "189420#0", "text": "บราซีเลีย () เป็นเมืองหลวงของประเทศบราซิล ได้รับการก่อตั้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2503 ก่อนหน้านี้เมืองหลวงของประเทศได้แก่ ซัลวาดอร์ (พ.ศ. 2092-2306) และรีโอเดจาเนโร (พ.ศ. 2306-2503) เมืองนี้ได้รับการวางแผนผังเมืองเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐอเมริกา และกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ชื่อบราซีเลียมาจากภาษาละตินแปลว่า \"บราซิล\" ", "title": "บราซีเลีย" }, { "docid": "63150#0", "text": "มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ( หรือ ANU) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) ตั้งอยู่ ณ กรุงแคนเบอร์รา เมืองหลวงของประเทศออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียมีความโดดเด่นในด้านการวิจัยเป็นหลัก และถูกจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ 8 แห่งของออสเตรเลีย (Group of Eight), สมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (Association of Pacific Rim Universities) และ พันธมิตรมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยระหว่างประเทศ (International Alliance of Research Universities)", "title": "มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย" }, { "docid": "126491#0", "text": "นิวเซาท์เวลส์ (อังกฤษ: \"New South Wales\") เป็นหนึ่งในหกรัฐของเครือรัฐออสเตรเลีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ นิวเซาท์เวลส์เป็นอาณานิคมบริเตนแห่งแรกในออสเตรเลีย แรกเริ่มกินดินแดนกว้างขวางกว่าปัจจุบัน ก่อนที่จะแยกไปเป็นรัฐอื่นๆภายหลัง เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐคือซิดนีย์", "title": "รัฐนิวเซาท์เวลส์" }, { "docid": "24794#0", "text": "สปริงฟีลด์ () เป็นชื่อเมืองในสหรัฐอเมริกาซึ่งเชื่อว่ามีมากกว่า 121 เมืองที่ชื่อว่าสปริงฟีลด์ใน 34 รัฐ โดยในรัฐเพนซิลเวเนีย มีอยู่ 9 เมือง และรัฐวิสคอนซินมีอยู่ 4 เมืองที่ชื่อเดียวกัน โดยเมืองสปริงฟีลด์ที่เป็นที่รู้จักกันมากคือ เมืองสปริงฟีลด์ในรัฐแมสซาชูเซตส์ มีประชากร ประมาณ 150,000 คน และเมืองสปริงฟีลด์ที่เป็นเมืองหลวงของรัฐอิลลินอยส์ มีประชากรประมาณ 110,000 คน นอกจากนี้ เมืองสปริงฟีลด์ยังมีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก เช่นใน ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา ไอร์แลนด์ และแอฟริกาใต้", "title": "สปริงฟีลด์" }, { "docid": "152213#5", "text": "รัฐต่ำกว่าประเทศ () บางรัฐที่ใช้ระบบองค์นิติบัญญัติแบบสภาเดียวได้แก่ เนแบรสกา กวม และ เวอร์จินไอส์แลนด์ ในประเทศสหรัฐฯ รัฐและอาณาเขตของออสเตรเลีย คือควีนส์แลนด์ นอร์เทิร์นเทอริทอรี และอาณาเขตเมืองหลวงออสเตรเลีย ทุกจังหวัดและอาณาเขตของแคนาดา ทุกรัฐ () ของประเทศเยอรมัน และทุกภาค (Regioni) ของอิตาลี", "title": "ระบบสภาเดี่ยว" }, { "docid": "184498#0", "text": "ขบวนการอธิปไตยชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย (Australian Aboriginal Sovereignty) เป็นขบวนการทางการเมืองระหว่างชาวพื้นเมืองในออสเตรเลียในพุทธศตวรรษที่ 25 ที่ต้องการปกครองบางส่วนของออสเตรเลียโดยชาวพื้นเมืองเอง ใน พ.ศ. 2515 สถานทูตกระโจมอะบอริจินเริ่มตั้งสภาในแคนเบอร์รา เมืองหลวงของออสเตรเลียเพื่อเรียกร้องรัฐของชาวพื้นเมือง", "title": "ขบวนการอธิปไตยชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย" }, { "docid": "28355#0", "text": "เกาะชวา (อินโดนีเซีย: Pulau Jawa, ชวา: Pulo Jawa) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต่อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก", "title": "เกาะชวา" }, { "docid": "272140#0", "text": "แอดิเลด ( ) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของออสเตรเลีย กับประชากรมากกว่า 1.1 ล้านคน ชื่อเมืองตั้งตามพระนามของอเดลเลดแห่งแซ็กซ-ไมนิงเก็น สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร เมืองก่อตั้งในปี ค.ศ. 1836", "title": "แอดิเลด" }, { "docid": "2274#61", "text": "ออสเตรเลียมี 37 มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และสองมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น เดียวกับสถาบันผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ จำนวนมาก ที่จัดให้หลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติในระดับการศึกษา ที่สูงขึ้น.[204] มหาวิทยาลัยซิดนีย์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1850 ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในสามปีต่อมา มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ รวมถึงบรรดาของกลุ่มแปดสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแอดิเลด (ซึ่งมีความสัมพันธ์กับห้ารางวัลโนเบล), มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของ Canberra, มหาวิทยาลัย Monash และมหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาเวลส์", "title": "ประเทศออสเตรเลีย" }, { "docid": "207474#0", "text": "สตีเฟน โรเบิร์ต \"สตีฟ\" เออร์วิน () (22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 - 4 กันยายน พ.ศ. 2549) ชื่อเล่นว่า \"นักล่าจระเข้\" เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์ป่าชาวออสเตรเลีย บุคคลในโทรทัศน์ และนักอนุรักษ์ธรรมชาติ เออร์วินมีชื่อเสียงทั่วโลกจากรายการโทรทัศน์ \"เดอะคร็อกโคไดล์ฮันเตอร์\" (The Crocodile Hunter) สารคดีสัตว์ที่ออกอากาศทั่วโลก จัดรายการร่วมกับภรรยาชื่อ เทร์รี เขาและภรรยาเป็นเจ้าของสวนสัตว์ออสเตรเลียซู ก่อตั้งโดยพ่อแม่ของเออร์วินในเบียร์วาห์ ประมาณ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) ทางเหนือของบริสเบน เมืองหลวงของรัฐควีนส์แลนด์ เออร์วินเสียชีวิตในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากถูกเงี่ยงปลากระเบนธงแทงหน้าอกขณะถ่ายทำสารคดีชุด \"โอเชียนส์เดดลีเอสต์\" (Ocean's Deadliest) สมาคมอนุรักษ์ธรรมชาติซีเชปเพิร์ด (Sea Shepherd Conservation Society) ตั้งชื่อเรือ เอ็มวาย สตีฟ เออร์วิน (MY Steve Irwin) เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา", "title": "สตีฟ เออร์วิน" }, { "docid": "56836#0", "text": "บริสเบน () เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของรัฐควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลีย อีกทั้งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศออสเตรเลีย มีจำนวนประชากรเกือบ 2.2 ล้านคน โดยถ้ารวมทั้งรัฐควีนสแลนด์แล้วจะมีมากกว่า 4.5 ล้านคน บริสเบนเป็นเมืองที่อยู่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก และมีแม่น้ำบริสเบน (Brisbane River) ไหลผ่านบนที่ราบระหว่างมอร์ทันเบย์ (Moreton Bay) กับเทือกเขาเกรตดิไวดิง (Great Dividing Range) ส่วนชื่อเมืองตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์โทมัส บริสเบน (Sir Thomas Brisbane).", "title": "บริสเบน" }, { "docid": "2274#13", "text": "ปี ค.ศ. 1851 เอดเวิร์ด ฮาร์กรีฟส์ ค้นพบสายแร่ทอง ในที่ ๆ เขาตั้งชื่อว่าโอฟีร์ (Ophir) ในนิวเซาท์เวลส์ ทำให้เกิดยุคตื่นทอง นำคนจำนวนมากเดินทางมาออสเตรเลีย[57] ในปีค.ศ. 1901 หกอาณานิคมในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ ในชื่อ<i data-parsoid='{\"dsr\":[30393,30415,2,2]}'>เครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) ประกอบด้วยรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และรัฐแทสเมเนีย รวมหกรัฐเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหนึ่งเดียว เฟเดอรัลแคพิทัลเทร์ริทอรีก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1911 เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐ จากส่วนหนึ่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์ บริเวณแยส-แคนเบอร์รา และเริ่มดำเนินงานรัฐสภาในแคนเบอร์ราในปี ค.ศ. 1927[58] ในปี ค.ศ. 1911 นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี แยกตัวออกมาจากเซาท์ออสเตรเลีย และเข้าเป็นดินแดนในกำกับของสหพันธ์ ออสเตรเลียสมัครใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมถึง 60,000 คนจากประชากรชายน้อยกว่าสามล้านคน[51]", "title": "ประเทศออสเตรเลีย" }, { "docid": "268908#0", "text": "รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย () หรือเรียกอย่างภาษาไทยเดิมว่า รัฐออสเตรเลียตะวันตก เป็นรัฐในประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย และเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสาธารณรัฐซาฮา มีประชากร 2.1 ล้านคน (10% ของประเทศ) มี 85% ของคนที่อาศัยทางมุมใต้-ตะวันตกของรัฐ มีเมืองหลวงคือนคร เพิร์ท", "title": "รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย" }, { "docid": "37922#4", "text": "หมวดหมู่:เมืองหลวง หมวดหมู่:เมืองในประเทศออสเตรเลีย", "title": "แคนเบอร์รา" }, { "docid": "27483#0", "text": "ซิดนีย์ เป็นเมืองหลวงของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย มีประชากรมากว่า 4 ล้านคนและเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในออสเตรเลีย\nซิดนีย์ ตั้งขึ้นเมืองปี พ.ศ. 2331 บนหาดฝั่งทางตะวันออกของออสเตรเลียเมื่ออาร์เธอร์ ฟิลิปป์ และลูกเรือขึ้นฝั่งและอ้างกรรมสิทธิของอังกฤษเหนือดินแดนออสเตรเลีย", "title": "ซิดนีย์" }, { "docid": "134915#0", "text": "โฮบาร์ต เป็นเมืองหลวงของรัฐแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย และเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดลำดับที่ 2 รองลงมาจากซิดนีย์ จากการก่อตั้งเมืองในประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803)", "title": "โฮบาร์ต" }, { "docid": "2051#42", "text": "กรีซมีชื่อเสียงทางเรื่องศิลปะเป็นต้นแบบของงานสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด่นและสง่างามของเสาหินแบบวิหารพาร์เธนอน ที่ตกแต่งตรงส่วนบนของหัวเสาด้วยศิลปะแบบกรีกมี 3 แบบ คือ ดอริก, ไอโอนิก และคอรินเธียน จะเห็นเสาหินแบบกรีกเป็นส่วนตกแต่งด้านหน้าของอาคารสำคัญ ๆ และสิ่งก่อสร้างที่เป็นงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อของโลกตามเมืองหลวงของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย สถานที่ทำงานสำคัญ ๆ ของประเทศที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ ล้วนนำสถาปัตยกรรมศิลป์ของกรีซไปประยุคผสมผสาน ในการก่อสร้างเป็นการยอมรับในอารยธรรมที่รุ่งเรืองของกรีซโบราณและเป็นการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่เคยเฟื่องฟูในอดีตของกรีซไปทุกมุมโลกนอกจาก งานสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของกรีซที่เผยแพร่ไปทั่วโลกแล้ว งานจิตรกรรมและประติมากรรมของกรีซยังเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรดาพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ต่าง ๆ พยายามเสาะหามาเป็นสมบัติเก็บสะสมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้", "title": "ประเทศกรีซ" }, { "docid": "135900#2", "text": "ในครั้งนั้น ออสเตรเลียเข้มงวดมากเกี่ยวกับกฎหมายกักกันพืชและสัตว์ ก่อนที่จะอนุญาตให้นำม้าเข้าประเทศจะมีกระบวนการที่ยุ่งยากมาก เพื่อตัดปัญหาความยุ่งยากดังกล่าว จึงตัดสินใจให้มีการแข่งขันขี่ม้านอกประเทศ ซึ่งออสเตรเลียเลือกกรุงสต็อกโฮล์ม เมืองหลวงของประเทศสวีเดนเป็นสถานที่แข่งขัน ในขณะที่กีฬาชนิดอื่นๆทั้งหมดทำการแข่งขันที่เมลเบิร์น", "title": "กีฬาขี่ม้าในโอลิมปิกฤดูร้อน" }, { "docid": "27483#2", "text": "ซิดนีย์ไม่ใช่เมืองหลวงของประเทศ แต่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของออสเตรเลีย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญและได้รับการยกย่องเป็นเมืองหนึ่งที่สวยและน่าอยู่ที่สุดในโลก", "title": "ซิดนีย์" }, { "docid": "2274#21", "text": "นอกจากนี้ยังมีดินแดนหลัก ๆ บนแผ่นดินใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี (เขตเมืองหลวง) และดินแดนเล็กน้อยอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว ดินแดนนั้นมีลักษณะเดียวกับรัฐ แต่รัฐสภากลางสามารถค้านกฎหมายใดก็ได้จากสภาของดินแดน [70]ในขณะที่ในระดับรัฐ กฎหมายสหพันธ์จะค้านกับกฎหมายรัฐได้เพียงในบางด้านตามมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติอื่น ๆ นั้นเป็นของรัฐสภาของแต่ละรัฐ", "title": "ประเทศออสเตรเลีย" }, { "docid": "37922#1", "text": "แคนเบอร์ราได้รับเลือกเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงประจำออสเตรเลียเมื่อ พ.ศ. 2451 เป็นข้อตกลงระหว่างซิดนีย์และเมลเบิร์น แคนเบอร์ราต่างจากเมืองอื่น ๆ ในออสเตรเลียตรงที่เป็นเมืองที่มีการจัดผังเมืองไว้ล่วงหน้า (planned city) ที่มีการสร้างด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะ หลังจากที่มีการประกวดนานาชาติเพื่อหาการออกแบบเมืองแล้ว ได้มีการเลือกการออกแบบของ วอลเตอร์ เบอร์ลีย์ กริฟฟิน (Walter Burley Griffin) สถาปนิกจากชิคาโก (Chicago) และเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2456 ผังเมืองได้รับอิทธิพลจาก garden city movement และได้รวมถึงพื้นที่ธรรมชาติพอสมควร ทำให้แคนเบอร์ราได้รับฉายาว่า \"bush capital\" ถึงแม้ว่าการเติบโตและการพัฒนาแคนเบอร์รา มีอุปสรรคจากสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง รวมถึงเศรษฐกิจตกต่ำ (Great Depression) แคนเบอร์ราได้กลายเป็นเมืองที่เฟื่องฟูหลังสงครามโลกครั้งที่ 2", "title": "แคนเบอร์รา" }, { "docid": "899457#0", "text": "โกลด์โคสต์ () เป็นนครในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย อยู่ห่างจากเมืองหลวงของรัฐ บริสเบนทางทิศใต้-ตะวันออกเฉียงใต้ ราว มีประชากร 638,090 คน ในปี ค.ศ. 2016 โกลด์โคสต์เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 6 ของออสเตรเลีย เป็นเมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวงรัฐที่ใหญ่ที่สุด และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของรัฐควีนส์แลนด์", "title": "โกลด์โคสต์ (รัฐควีนส์แลนด์)" }, { "docid": "131346#23", "text": "นับแต่ ค.ศ. 1718 การขนส่งไปอาณานิคมอเมริกาเป็นการลงโทษสำหรับอาชญากรรมหลายอย่างในบริเตน โดยนักโทษประมาณ 1,000 คนถูกขนส่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกต่อปี หลังการเสียสิบสามอาณานิคมใน ค.ศ. 1783 รัฐบาลบริติชถูกบีบให้หาที่ใหม่ และหันไปดินแดนออสเตรเลียซึ่งเพิ่งค้นพบ ชาวยุโรปเคยสำรวจชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียแล้ว โดยนักสำรวจชาวดัตช์ วิลเล็ม เจนซ์ ใน ค.ศ. 1606 และภายหลังบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์เปลี่ยนชื่อเป็นนิวฮอลแลนด์ แต่ไม่มีความพยายามยึดเป็นอาณานิคม ใน ค.ศ. 1770 เจมส์ คุกค้นพบชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียระหว่างการเดินเรือเที่ยววิทยาศาสตร์ไปมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เขาอ้างสิทธิ์ทวีปเป็นของบริเตน และตั้งชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ใน ค.ศ. 1778 โจเซฟ แบงส์ นักพฤกษศาสตร์ซึ่งเดินทางไปกับคุก นำเสนอหลักฐานต่อรัฐบาลถึงความเหมาะสมของอ่าวโบตานีในการตั้งทัณฑนิคม และใน ค.ศ. 1787 เรือขนนักโทษเที่ยวแรกก็ออกเดินทาง โดยมาถึงใน ค.ศ. 1788 บริเตนดยังส่งนักโทษมายังนิวเซาท์เวลส์เรื่อยมาจน ค.ศ. 1840 อาณานิคมออสเตรเลียกลายเป็นผู้ส่งออกขนสัตว์และทองคำซึ่งมีรายได้มหาศาล หลัก ๆ เพราะการตื่นทองในอาณานิคมวิกตอเรียทำให้เมืองหลวงเมลเบิร์นเป็นเมืองที่รวยที่สุดในโลก และนครใหญ่สุดในจักรวรรดิบริติชรองจากกรุงลอนดอน", "title": "จักรวรรดิบริติช" }, { "docid": "2274#17", "text": "ออสเตรเลียมีรัฐสภาเก้าแห่ง หนึ่งสภาของสหพันธ์ หกสภาของแต่ละรัฐ และสองสภาของแต่ละดินแดน รัฐสภาของสหพันธ์ ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนเขตละหนึ่งคน วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน (เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี) ละสองคน[68] ทั้งสองสภาจัดการเลือกตั้งทุกสามปี สมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี โดยการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด", "title": "ประเทศออสเตรเลีย" }, { "docid": "78213#0", "text": "เกาะนอร์ฟอล์ก เป็นดินแดนของออสเตรเลีย เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่มีประชากรอาศัยอยู่ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีอาณาเขตตั้งอยู่ระหว่าง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และนิวแคลิโดเนีย โดยมีเพื่อนบ้านคือ 2 เกาะที่เป็นเขตเกาะของประเทศออสเตรเลีย อยู่ใกล้ ๆ กัน เกาะนอร์ฟอล์กมีเมืองหลวงชื่อคิงส์ตัน แต่ว่าเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะคือเบินต์ไพน์", "title": "เกาะนอร์ฟอล์ก" }, { "docid": "572806#0", "text": "คิงส์ตัน () เป็นเมืองหลวงของเกาะนอร์ฟอล์ก ดินแดนของประเทศออสเตรเลีย อำนาจกฎหมาย บริหาร และตุลาการของดินแดนต่างตั้งที่ทำการอยู่ในเมืองนี้ คิงส์ตันเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับที่สองในออสเตรเลีย และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่อทั้งชาวเกาะนอร์ฟอล์กและชาวออสเตรเลียทั้งมวล", "title": "คิงส์ตัน (เกาะนอร์ฟอล์ก)" }, { "docid": "268901#1", "text": "รัฐมีพื้นที่ติดกับรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ส่วนด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับ รัฐควีนส์แลนด์ ด้านตะวันออกติดกับรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐวิกตอเรีย และทางทิศใต้ติดกับอ่าวเกรตออสเตรเลียไบท์และมหาสมุทรใต้ กับประชากรราว 1.6 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า 10% ของประชากรในออสเตรเลีย เป็นรัฐหรือดินแดนที่มีประชากรอันดับ 5 ของออสเตรเลีย ประชากรส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองแอดิเลด เมืองหลวงของรัฐ ที่ยังคงเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้และแม่น้ำเมอร์เรย์", "title": "รัฐเซาท์ออสเตรเลีย" } ]
3971
ใครเป็นผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา?
[ { "docid": "2358#5", "text": "การกำเนิดอาณาจักรอยุธยาที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดนั้น อธิบายว่า รัฐไทยซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เจริญขึ้นมาจากราชอาณาจักรละโว้ (ซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้การควบคุมของขะแมร์) และอาณาจักรสุพรรณภูมิ แหล่งข้อมูลหนึ่งระบุว่า กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 เพราะภัยโรคระบาดคุกคาม สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายราชสำนักลงไปทางใต้ ยังที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำเจ้าพระยา บนเกาะที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ซึ่งในอดีตเคยเป็นนครท่าเรือเดินทะเล ชื่อ อโยธยา (Ayothaya) หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร นครใหม่นี้ถูกขนานนามว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ซึ่งภายหลังมักเรียกว่า กรุงศรีอยุธยา แปลว่า นครที่ไม่อาจทำลายได้[7]", "title": "อาณาจักรอยุธยา" } ]
[ { "docid": "106095#1", "text": "ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการขุดคลองภาษีเจริญที่ข้างวัดด้านทิศตะวันตก วัดจึงมีลำน้ำหลักล้อมอยู่ทั้ง 3 ด้าน ส่วนด้านใต้เป็นคลองเล็กแสดงอาณาเขตของวัดในสมัยก่อน วัดปากน้ำ เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ( ระหว่าง พ.ศ. 2031-2172) สถาปนาโดยพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏพระนามแน่ชัด เป็นวัดประจำหัวเมืองธนบุรี ปรากฏในตำนานเรื่องวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาว่าเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา อันหมายถึงพระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสีทรงสถาปนาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น หลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานภายในวัดมีอายุย้อนไปถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้พบร่องรอยคลองเล็กด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของวัด ที่โบราณขุดไว้เป็นแนวเขตที่ดินของวัดหลวงสมัยอยุธยา ที่ตั้งของวัดปากน้ำจึงมีลักษณะเป็นเกาะรูปสี่เหลี่ยมมีน้ำล้อมอยู่ทุกด้าน สถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุที่อยู่คู่วัดมาเช่น หอพระไตรปิฏก ตู้พระไตรปิฎกทรงบุษบก ล้วนเป็นฝีมือช่างหลวงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และตัวพระอุโบสถก็ใช้เทคนิคการก่อสร้างในสมัยนั้น ได้ค้นพบนามเจ้าอาวาส 1 รูป ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) คือ พระครูธนะราชมุนี วัดปากน้ำ ได้มีบทบาทสำคัญมาแต่โบราณเพราะได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงที่อยู่นอกกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดสำคัญประจำหัวเมืองหน้าด่านทางทะเล ", "title": "วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ" }, { "docid": "27839#0", "text": "ของ \"กฤต\" พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นใน พ.ศ. 1893 และได้ถูกพม่าทำลายลงในพุทธศตวรรษที่ 23 แม้จะถูกทำลายลงก็ยังคงมีร่องรอยความยิ่งใหญ่และความเจริญรุ่งเรืองของเมืองดังที่ปรากฏมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี ได้มีการรื้ออิฐจากสถาปัตยกรรมในกรุงศรีอยุธยาเพื่อไปก่อสร้างกรุงเทพมหานคร ทำให้โบราณสถานต่าง ๆ ถูกทำลายและทิ้งร้างไป ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อนุรักษ์และฟื้นฟูโบราณสถานในกรุงศรีอยุธยาขึ้นอีกครั้ง", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา" }, { "docid": "157971#2", "text": "ในวัยเยาว์เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงดำรงพระยศเป็นพระราเมศวรและครองเมืองพิษณุโลกอยู่นั้น ทรงได้สัญญาว่าหากได้ครองราชย์ในกรุงศรีอยุธยา จะทรงสถาปนาพระยายุทธิษฐิระ ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่เมื่อทรงครองราชย์แล้ว ทรงจัดการปฏิรูปการปกครอง และตั้งให้พระยายุทธิษฐิระเป็นเพียงพระยาสองแคว ซึ่งบรรดาศักดิ์ลดลงกว่าตำแหน่งพระมหาธรรมราชา (พระร่วงเจ้าสุโขทัย) เป็นอย่างมาก พระยายุทธิษฐิระ ด้วยหวังจะเป็นพระร่วงเจ้าด้วยสิทธิ์อันชอบธรรมแห่งราชวงศ์ เพราะก่อนหน้านี้หลังพระมหาธรรมราชาที่ 4 ทิวงคต พระยายุทธิษฐิระ ซึ่งเป็นพระยาเชลียง ครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ ก็คิดจะตั้งตนเป็นพระมหาธรรมราชา (พระร่วงเจ้าสุโขทัย) ต่อจากพระอัยกา แต่ข้าราชบริพารทางสองแคว ก็ยกพระราเมศวรขึ้นเป็นพระร่วงแทน พระยายุทธิษฐิระ ด้วยเกรงพระบารมี จึงทรงนิ่งเสีย แต่เมื่อทรงไม่ได้ตามประสงค์จึงทรงเรื่มเอาใจออกห่างกรุงศรีอยุธยา และไปเข้ากับ พญาติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนา จากพญา เป็น พระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนาม พญาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช (ชาวล้านนา เรียกพระมหากษัตริย์ ว่า พญา หรือ พระญา ซึ่งหมายถึง ผู้นำ ผู้ยิ่งใหญ่ หรือหัวหน้า ไม่ใช่ พระยา ซึ่งหมายถึง ยศ ขุนนาง ในอยุธยา) ", "title": "พระยายุทธิษเฐียร" }, { "docid": "15710#0", "text": "ราชวงศ์สุโขทัย เป็นราชวงศ์ที่ 3 ที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา โดยสืบเชื้อสายจากกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง สุโขทัย ราชวงศ์สุโขทัยถูกสถาปนาขึ้นโดย สมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชโอรสในตำแหน่ง ขุนพิเรนทรเทพ ที่เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากพ่อขุน หรือกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยแต่ดั้งเดิม เป็นราชวงศ์ที่ถูกผลัดเปลี่ยนขึ้นมาแทนที่ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ หรือราชวงศ์สุวรรณภูมิ ที่สูญสิ้นไปหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า โดยที่ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าให้สถาปนาขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือพระองค์ในการทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยา ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยา ภายใต้การเป็นเมืองขึ้นของพม่าต่อไป", "title": "ราชวงศ์สุโขทัย" }, { "docid": "559761#3", "text": "นายทองได้พิราลัยไปในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ นาค ธิดาของท่านได้รับการสถาปนาเป็น \"สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี\" สั้น ภริยาของท่านจึงได้รับการสถาปนาเป็น \"สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี\" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามสกุล และได้พระราชทานนามสกุล ณ บางช้าง แก่ผู้สืบเชื้อสายจากท่าน", "title": "ทอง ณ บางช้าง" }, { "docid": "109907#11", "text": "ดังนั้นหลังจากปี พ.ศ. 2185 สุลต่านสุไลมานก็ตั้งต้นเป็นเอกราช สถาปนาตนเองเป็นเจ้าเมืองเสงขลา ดำเนินการค้ากับ ฮอลันดา อังกฤษ และประเทศอื่นๆ โดยตรงไม่ผ่านการส่งอากรสู่อยุธยาทำให้ พระเจ้าปราสาททอง กษัทติย์ ของอยุธยาในขณะนั้น ต้องส่งกองทหารมาปราบหลายครั้งตลอดรัชการของพระองค์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากสงขลาแห่งนี้ ได้ตั้งเมืองอยู่ในชัยภูมิที่ดี และ มีการก่อสร้างกำแพงเมือง คันคู ตลอดจน ป้อมปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อป้องกันเมืองทั้งทางน้ำและทางบกมากกว่า ยี่สิบป้อม (บางเล่มก็ระบุว่า 17 ป้อมผู้เขียนอยู่ระหว่างค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม) ดังหลักฐานจากข้อเขียนของ วัน วลิต (Van Vliet) ผู้แทนบริษัท Dutch East India CO,Ltd. ประจำกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเคยเดินทางมาเยือนเมืองสุรต่านที่หัวเขาแดง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2185 ได้เขียนรายงานไว้ว่า พระเจ้าปราสาททอง ได้เคยส่งกองเรือจากกรุงศรีอยุธยามาร่วมกับกองทัพเมืองนครศรีธรรมราช (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสงขลา) ทำการโจมตีเมืองสงขลาถึงสองครั้งในช่วงเวลาเพียง สองปี แต่ต้องประสพความพ่ายแพ้ไปทั้งสองครั้ง ", "title": "ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา" }, { "docid": "5240#16", "text": "ดังนั้นหลังจากปี พ.ศ. 2185 สุลต่านสุไลมานก็ตั้งต้นเป็นเอกราช สถาปนาตนเองเป็นเจ้าเมืองเสงขลา ดำเนินการค้ากับ ฮอลันดา อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ โดยตรงไม่ผ่านการส่งอากรสู่อยุธยาทำให้ พระเจ้าปราสาททอง กษัทติย์ ของอยุธยาในขณะนั้น ต้องส่งกองทหารมาปราบหลายครั้งตลอดรัชการของพระองค์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากสงขลาแห่งนี้ ได้ตั้งเมืองอยู่ในชัยภูมิที่ดี และ มีการก่อสร้างกำแพงเมือง คันคู ตลอดจน ป้อมปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อป้องกันเมืองทั้งทางน้ำและทางบกมากกว่า ยี่สิบป้อม (บางเล่มก็ระบุว่า 17 ป้อมผู้เขียนอยู่ระหว่างค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม) ดังหลักฐานจากข้อเขียนของ วัน วลิต (Van Vliet) ผู้แทนบริษัท Dutch East India CO, Ltd. ประจำกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเคยเดินทางมาเยือนเมืองสุรต่านที่หัวเขาแดง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2185 ได้เขียนรายงานไว้ว่า พระเจ้าปราสาททอง ได้เคยส่งกองเรือจากกรุงศรีอยุธยามาร่วมกับกองทัพเมืองนครศรีธรรมราช (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสงขลา) ทำการโจมตีเมืองสงขลาถึงสองครั้งในช่วงเวลาเพียง สองปี แต่ต้องประสพความพ่ายแพ้ไปทั้งสองครั้ง ", "title": "จังหวัดสงขลา" }, { "docid": "27458#0", "text": "วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า \"ตำบลเวียงเล็กหรือเวียงเหล็ก\" ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกข้าศึกทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย ", "title": "วัดพุทไธศวรรย์" }, { "docid": "22602#14", "text": "โดยชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และทำให้สิ้นสุดสภาพจลาจลการแยกชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313", "title": "สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "37994#6", "text": "หลังจากพระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีแล้ว พระองค์ได้หนีกลับมายังกรุงศรีอยุธยาโดยที่พระเจ้าบุเรงนองทรงยินยอมอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาทรงขอไว้ เมื่อเสด็จกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2115 สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชทานนามให้พระองค์ว่า \"พระนเรศวร\" และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราช พระชนมายุ 17 พรรษา ไปปกครองเมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา[2]", "title": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" }, { "docid": "71177#1", "text": "วัดคูหาสวรรค์วรวิหาร เดิมเรียกชื่อว่า “วัดศาลาสี่หน้า” เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง สิ่งที่ยังคงหลงเหลือและแสดงความเป็นสิ่งของสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ “ลายหน้าบันสลักไม้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของพระอุโบสถ ปีกของหน้าบันเล็กตามหลังคาลดชั้นอีกด้านละสองปีก เป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยา และใบสีมาที่เป็นสีมาคู่ ทำด้วยหินทรายแดง ฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย ส่วนซุ้มสีมานั้นสร้างเพิ่มเติมขึ้นที่หลัง แบบเดิมใบสีมาประดิษฐานอยู่บนแท่นปูนเท่านั้น” ", "title": "วัดคูหาสวรรค์วรวิหาร" }, { "docid": "93486#9", "text": "ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีคือ พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราช ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง เพชรบุรีเกิดข้าวยากหมากแพง ราษฎรอดอยาก เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พระเจ้าอู่ทองจึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อาณาจักรเพชรบุรีจึงขึ้นตรงกับกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญของอาณาจักรจึงเป็นเพียงเมืองหนึ่งของอยุธยา", "title": "อาณาจักรพริบพรี" }, { "docid": "6993#15", "text": "พ.ศ. ๒๓๑๐ กองทัพพระเจ้ามังระก็ตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นเหตุให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย แต่ไม่นานในปลายปีเดียวกันพระยาตากขุนนางของกรุงศรีอยุธยาก็รวบรวมกองทัพขับไล่กองกำลังของพระเจ้ามังระที่ประจำอยู่ในอยุธยาแตกหนีกลับไปได้ และพระยาตากก็สถาปนาราชวงศ์ใหม่และย้ายเมืองหลวงมายังกรุงธนบุรี", "title": "จังหวัดขอนแก่น" }, { "docid": "119091#0", "text": "วัดธรรมิกราช เดิมชื่อ วัดมุขราช เป็นอดีตพระอารามหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ใน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดธรรมิกราช สร้างขึ้นโดย พระยาธรรมิกราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง จึงสันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นก่อนที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยา ซึ่งเดิมชื่อวัดมุขราช ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตามผู้สร้างเป็นวัดธรรมิกราช", "title": "วัดธรรมิกราช" }, { "docid": "342810#8", "text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรุงศรีอยุธยาแห่งที่สอง มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนบ้านพักอาศัย เรือนไทยที่คงเหลือจากสงครามก็ถูกถอดและนำประกอบใหม่", "title": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "17503#11", "text": "หลังจากศึก ณ เมืองเชียงใหม่เสร็จสิ้น พระองค์เสด็จยังเมืองพิษณุโลก ในการนี้พระองค์เสด็จนมัสการพระพุทธชินราชและเปลื้องเครื่องต้นทำสักการบูชาสมโภช 7 วัน แล้วจึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา สำหรับการพระพุทธศาสนาภายในกรุงศรีอยุธยานั้น พระองค์โปรดให้สถาปนาพระมหาธาตุสูง 17 วา ยอดสูง 3 วา ณ บริเวณที่พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฎิหารย์ โดยพระราชทานชื่อว่าวัดพระมหาธาตุ นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดให้สถาปนาวัดภูเขาทองขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1930", "title": "สมเด็จพระราเมศวร" }, { "docid": "42321#4", "text": "เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึก ได้ให้ทหารรักษาการอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น และที่ธนบุรี บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย แยกเป็นก๊กเป็นเหล่าถึง 6 ก๊ก พระยาตากสินเป็นก๊กหนึ่งรวบรวมไพล่พลตั้งอยู่ที่จันทบุรี เข้าตีข้าศึกที่รักษากรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. 2311 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ในขณะนั้นทรงได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[4025,4042,3,3]}'>พระมหามนตรี เจ้ากรมพระตำรวจในขวา[2]", "title": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท" }, { "docid": "59325#19", "text": "พ.ศ. ๒๓๑๐ กองทัพพระเจ้ามังระก็ตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นเหตุให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย แต่ไม่นานในปลายปีเดียวกันพระยาตากขุนนางของกรุงศรีอยุธยาก็รวบรวมกองทัพขับไล่กองกำลังของพระเจ้ามังระที่ประจำอยู่ในอยุธยาแตกหนีกลับไปได้ และพระยาตากก็สถาปนาราชวงศ์ใหม่และย้ายเมืองหลวงมายังกรุงธนบุรี", "title": "อำเภอสุวรรณภูมิ" }, { "docid": "758127#0", "text": "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว เป็นวรรณกรรมไทย เรื่องราวเหตุการณ์อิงประวัติศาสตร์ ในยุคปลายกรุงศรีอยุธยา ก่อนและหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กอบกู้เอกราชและสถาปนากรุงธนบุรี จากนวนิยายชื่อดังของ วรรณวรรธน์ ผู้แต่งคนเดียวกับ ข้าบดินทร์ ที่สร้างเป็นละครมาแล้วในปี พ.ศ. 2558 ละครเรื่องนี้มีการปรับเปลี่ยนให้เน้นเรื่องความรักชาติเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อปลุกกระแสความเสียสละของบรรพบุรุษไทย ที่สร้างชาติไทยขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้", "title": "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" }, { "docid": "995539#1", "text": "เจ้าพระยามหาเสนาเป็นบุตรขุนนางสมัยกรุงศรีอยุธยา บิดาท่านเป็นญาติกับบิดาของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. 2310 ได้หนีไปอยู่กัมพูชา เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาอาณาจักรธนบุรีขึ้น จึงกลับมารับราชการอยู่ ณ กรุงธนบุรี", "title": "เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย)" }, { "docid": "77744#2", "text": "หลังจากพระเฑียรราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระองค์ได้ทรงสถาปนาขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งเป็นราชนิกูลข้างพระราชมารดาแต่เดิมขึ้นเป็นเจ้า ทรงนามว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช กรุงหงสาวดีเห็นว่าเป็นช่วงผลัดแผ่นดินจึงบุกโจมตีกรุงศรีอยุธยา เรียกว่าสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทราบจึงทรงนำทัพออกต้านศึก และในขณะที่พระมหาจักรพรรดิทรงกระทำยุทธหัตถีกับ พระเจ้าแปรอยู่ ช้างพระที่นั่งของพระมหาจักรพรรดิก็เสียที ทำให้พระเจ้าแปรไล่ชน แต่สมเด็จพระสุริโยทัยได้นำช้างมาขวาง ทำให้พระศรีสุริโยทัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นกรุงศรีอยุธยาก็ส่งเรือรบไปยิงค่ายพม่า ทำให้พม่าต้องถอยทัพกลับหงสาวดี เมื่อกลับถึงเมืองพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กลับยึดติดกับการตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้จึงทรงติดสุราอย่างหนักจนออกว่าราชการไม่ได้ต้องให้บุเรงนองผู้เป็นพระญาติเป็นผู้สำเร็จราชการแทน", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง" }, { "docid": "936#13", "text": "จากนั้น กรุงศรีอยุธยายังมุ่งเพิ่มความสัมพันธ์กับชาติยุโรปต่อมาอีกหลายรัชกาล[22]:164–5 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับฝรั่งเศส ฮอลันดา และอังกฤษ ผู้เดินทางชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ยกอาณาจักรอยุธยาว่าเป็นสามมหาอำนาจแห่งเอเชียร่วมกับจีนและอินเดีย[12]:ix อิทธิพลของชาวต่างชาติในกรุงศรีอยุธยาที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความเกลียดกลัวต่างชาติ จนลงเอยด้วยการปฏิวัติในปี 2231[22]:185–6 อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์กับชาติยุโรปอื่นยังเป็นปกติและต่อมาบาทหลวงฝรั่งเศสก็กลับมามีอิสระในการเผยแผ่ศาสนา[22]:186", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "312325#3", "text": "หลังจากพระยาวชิรปราการทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2 ได้สำเร็จ ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วได้ย้ายเมืองหลวงจาก กรุงศรีอยุธยา มายังภาคกลางตอนล่าง แล้วสถาปนาใหม่ว่า กรุงธนบุรี แล้วสถาปนาราชวงศ์ธนบุรีเป็นราชวงศ์ที่ปกครองกรุงธนบุรี", "title": "ราชวงศ์ธนบุรี" }, { "docid": "53591#3", "text": "สันนิษฐานว่าเพลงยาวนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่นักวิชาการยังไม่อาจสรุปแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่ง แม้ว่าในตอนท้ายของบทกลอนได้บันทึกกำกับไว้ว่า \"พระนารายณ์เป็นเจ้านพบุรีทำนาย...\" หากว่าเป็นจริงตามนั้น \"พระนารายณ์\" ก็หมายถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วน\"นพบุรี\" คือเมืองลพบุรี", "title": "เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา" }, { "docid": "546236#1", "text": "ต่อมา ใน พ.ศ. 2291 เกิดสงครามกับเวียดนามอีก นักองค์ทองสู้ไม่ได้ นำครอบครัวอพยพเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา เวียดนามได้สถาปนานักพระสัตถากลับมาเป็นกษัตริย์อีกครั้งหนึ่ง ครั้งนั้นออกญากลาโหม และออกญาสวรรคโลก (อูฐ) ได้รวบรวมกำลังตีทัพเวียดนามแตกไป นักพระสัตถาหนีกลับไปเวียดนามและสิ้นพระชนม์ที่นั่น หลังจากชนะศึกแล้ว ออกญาทั้งสองมีใบบอกเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา ทางกรุงศรีอยุธยาได้แต่งตั้งพระศรีไชยเชษฐ์ พระโอรสของสมเด็จพระศรีธรรมราชาธิราชขึ้นเป็นกษัตริย์แทน จนกระทั่งสมเด็จพระศรีไชยเชษฐ์สิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. 2298 นักองค์ทองจึงขึ้นครองราชย์สมบัติอีกครั้ง", "title": "พระรามาธิบดี (นักองค์ทอง)" }, { "docid": "4775#4", "text": "แม้อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีอำนาจครอบคลุมเพชรบุรี แต่เพชรบุรีก็ยังมีอิสระอยู่มาก สามารถส่งทูตไปจีนได้ ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีในช่วงสมัยสุโขทัยคือ พระพนมทะเลศิริ ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองจึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี", "title": "จังหวัดเพชรบุรี" }, { "docid": "93486#0", "text": "อาณาจักรพริบพรี (เพชรบุรี) อาณาจักรแคว้นหนึ่งของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อยุธยาโดยตรง ทั้งนี้มีกษัตริย์ปกครองราชอาณาจักร ภายหลังเกิดโรคระบาดจึงได้มีการย้ายการตั้งถิ่น ความสำคัญของทฤษฎีหนึ่งของนักประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญถึงที่มาของกษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา ก็คือ พระเจ้าอู่ทอง ซึ่งมีที่มาจากการกล่าวอ้างในหนังสือลาร์ลูแบร์ และคำให้การของคนกรุงเก่า มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานอยู่ในสองฝั่งของแม่น้ำเพชรบุรี", "title": "อาณาจักรพริบพรี" }, { "docid": "43526#12", "text": "ภายหลังพระวินัยธร องอาจอาริโยพบหนังสือ “กฎแห่งกรรม” ของท.เลียงพิบูลย์ เข้าโดยบังเอิญพบเห็นเรื่องราวขององค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2291 เช่นเดียวกับที่เคยนิมิตเห็นน่าจะเป็นองค์เดียวกัน มีเนื้อหาดังนี้ “องค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ประสูติเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2291 เป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) กับสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ องค์หญิงเป็นพระธิดาของกรมหลวงบวรวังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ บ้านเมืองมีเหตุเดือดร้อนมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงผู้ใดประจบสอพลอผู้นั้นจะได้เป็นใหญ่ทั้งที่ไร้ความสามารถ ผู้ครองแผ่นดินได้แต่ลุ่มหลงและเสพสุขในกามา หากใครมีบุตรีต้องนำตัวมาถวายใครขัดขืนจะถูกประหารชีวิต เหลืออยู่ก็แต่กรมหลวงบวรวังในที่ท่านไม่ทรงยอมข้องเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด ไม่คบค้าสมาคมกับใคร", "title": "วัดบางกุ้ง" }, { "docid": "22602#0", "text": "สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นการอธิบายถึงความแตกแยกระหว่างกลุ่มการเมืองน้อยใหญ่ในอาณาจักรอยุธยาเดิม ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2310 โดยในทัศนะของนิธิ เอียวศรีวงศ์ สภาวะดังกล่าวแทบจะทำให้รัฐไทยล่มสลายลงไปตามเจตนาของพม่าในการรุกรานอาณาจักรอยุธยาเลยทีเดียว สภาวะดังกล่าวยังคงดำเนินอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก่อนที่บ้านเมืองอันเป็นปึกแผ่นอย่างแท้จริงจะถูกสถาปนาขึ้นอีกครั้งหลังจากการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก", "title": "สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "22272#1", "text": "วัดพนัญเชิง เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพระนางเชิง และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวไว้ว่า ได้สถาปนาพระพุทธรูปพุทธเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี พ.ศ. 1867 ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี ", "title": "วัดพนัญเชิงวรวิหาร" } ]
3972
พนมเทียนเริ่มต้นการเขียนเพชรพระอุมาในปีพ.ศ.อะไร?
[ { "docid": "28360#0", "text": "เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่มีขนาดความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และนับว่าเป็นนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดในโลก[1] บทประพันธ์โดย พนมเทียน ซึ่งเป็นนามปากกาของนายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และตีพิมพ์ต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน ใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี[2] โดยพนมเทียนเริ่มต้นการประพันธ์เพชรพระอุมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 และสิ้นสุดเนื้อเรื่องทั้งหมดในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 รวมระยะเวลาในการประพันธ์ทั้งสิ้น 25 ปี 7 เดือน กับ 2 วัน[3]", "title": "เพชรพระอุมา" } ]
[ { "docid": "28360#54", "text": "เพชรพระอุมาได้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ระบบ 35 มม. ซีเนมาสโคป สร้างโดย วิทยาภาพยนตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2514 หลังซื้อลิขสิทธิ์จากพนมเทียน วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2513 ถ่ายทำเกือบตลอดทั้งเรื่องภายในประเทศไทยและแอฟริกา [34] กำกับโดย ส. อาสนจินดา บทภาพยนตร์โดย ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง ถ่ายภาพโดย พูนสวัสดิ์ ธีมากร เพลงประกอบโดย สุรพล โทณะวณิก ฉายที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2514", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "98897#0", "text": "เส้นทางการเดินทางในเพชรพระอุมา เป็นเส้นทางการเดินทางของตัวละครภายในเพชรพระอุมาที่เกิดจากจินตนาการของพนมเทียน ในการกำหนดเส้นทางการเดินทางของตัวละครในภาคแรกและภาคสมบูรณ์ โดยที่มีจุดเริ่มต้นจากหมู่บ้านหนองน้ำแห้งของรพินทร์ ไพรวัลย์ หมู่บ้านหล่มช้างจนถึงเมืองมรกตนครในภาคแรก และจากหมู่บ้านหนองน้ำแห้ง อาณาจักรนิทรานครจนถึงเมืองมรกตนครในภาคสมบูรณ์", "title": "เส้นทางการเดินทางในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#5", "text": "เพชรพระอุมาใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี[8] ซึ่งระยะเวลาที่ยาวนานนั้นมาจากการที่พนมเทียนเป็นนักเขียนอาชีพ และยึดถือเอาสิ่งสำคัญที่สุดของงานเขียนก็คือผู้อ่าน[9] โดยตราบใดที่งานเขียนของตนเองยังคงได้รับความนิยมและมีผู้สนใจติดตามอ่าน ตราบนั้นความสุขใจในการเขียนก็เป็นสิ่งที่มีความสุขมากที่สุดของพนมเทียน[9] ทำให้เนื้อเรื่องของเพชรพระอุมาถูกสร้างสรรค์และเขียนแต่งขึ้นตามจินตนาการ ร่วมกับประสบการณ์ในการเดินป่าอย่างละเอียดลออ จนกระทั่งมีความยาวมากทั้งภาคแรกและภาคสมบูรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ สามารถจินตนาการตามตัวอักษรและสร้างอารมณ์ร่วมในการติดตามเนื้อเรื่องและการดำเนินเรื่องของตัวละครต่าง ๆ ได้[9]", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#6", "text": "แงซาย เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่ไม่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริง เกิดจากจินตนาการสร้างสรรค์ของพนมเทียนทั้งหมด ไม่มีต้นแบบจำลองมาจากลักษณะเฉพาะตัวของผู้ใด ที่สามารถจำลองเอามาใส่ในตัวของแงซายได้ โดยที่พนมเทียนนั้นเลือกเอาลักษณะต้นแบบของแงซาย มาจากภาพปั้นของเทพบุตรของกรีกที่ชื่อนาซิสซัส แล้วสร้างสรรค์เสริมแต่งให้แงซายมีชีวิตโลดแล่นในเพชรพระอุมา ที่ถือว่าเป็นพระเอกอีกคนหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้ มีสติปัญญาไหวพริบปฏิภาณเป็นเลิศ เจ้าเล่ห์ ขี้เล่น อีกทั้งยังเป็นคู่อริและคู่ปรับ คู่รักคู่แค้นของรพินทร์ ไพรวัลย์", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#53", "text": "คุณสรกานต์ ศรีตองอ่อน สามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องคือ \"วันจันทร์ ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2519\" และได้รับตำแหน่งสุดยอดแฟนพันธุ์แท้เพชรพระอุมาพร้อมทั้งของรางวัลคือหนังสือพร้อมตู้หนังสือที่ทางสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรมจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ พร้อมลายเซ็นคุณพนมเทียนทุกเล่ม, แผ่นทองคำแท้จารึกไว้เป็นหลักฐาน", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#28", "text": "อิสซาเบล มูร์ เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ อิสซาเบล นักเต้นระบำสเก็ตฟลอร์โชว์ พนมเทียนจำลองเอาลักษณะนิสัยของอิสซาเบล มูร์ แพทย์สาวหนึ่งในคณะนายจ้างใหม่ของรพินทร์ ไพรวัลย์ โดยนำมาจากเพื่อนสาวคนสนิทของนักร้องโชว์คนหนึ่งซึ่งเป็นนักร้องหญิงจากประเทศอังกฤษในราตรีสโมสรแห่งหนึ่งบริเวณหัวมุมถนนสาธร ที่พนมเทียนเคยไปเที่ยวเตร่ในสมัยหนุ่ม ๆ ประมาณ 40 กว่าปีมาแล้ว", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#0", "text": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา เป็นการรวบรวมตัวละครในเพชรพระอุมา ซึ่งเป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่พนมเทียนใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี มีตัวละครในการดำเนินเนื้อเรื่องในแต่ละภาคเป็นจำนวนมาก พนมเทียนได้กำหนดลักษณะนิสัยของตัวละครให้โลดแล่นมีชีวิตชีวา สร้างความสนุกสนานให้แก่นักอ่านจำนวนมาก ที่ต่างมีความผูกพันกับตัวละครต่าง ๆ ในเพชรพระอุมา", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#15", "text": "หนานอิน เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ หนานไพร พนมเทียนได้จำลองลักษณะนิสัย อากัปกิริยามาจากครูพรานของพนมเทียน เป็นหัวหน้าหมู่บ้านในแถบจังหวัดกาญจนบุรี หมู่บ้านของพรานเกิดและเส่ย โดยชื่อของหนานไพรนั้นในเพชรพระอุมาเป็นครูพรานของรพินทร์ ไพรวัลย์ แต่มีบทบาทเพียงแค่ชื่อในการกล่าวอ้างถึงเท่านั้น พนมเทียนจึงจำลองบุคลิกภาพ อุปนิสัยทั้งหมดของหนานไพรมาถ่ายทอดแก่ตัวหนานอินแทน\nพรานคู่ใจของพรานชด ประชากร หรือ อนุชา วราฤทธิ์", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#14", "text": "พรานเกิดและพรานเส่ย เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงรวมทั้งขื่อจริงคือ เกิดและเส่ย พนมเทียนนำมาจากลักษณะนิสัยของเกิดและเส่ย สองพรานเด็กหนุ่มอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพนมเทียน ที่ร่วมเดินป่าในแถบเหมืองห้วย เขตสุดของจังหวัดกาญจนบุรี และด้วยความที่ชื่อของเกิดและเส่ยเป็นชื่อแปลกและยากที่จะมีใครเหมือน ทำให้พนมเทียนจำได้อย่างแม่นยำ และนำเอาลักษณะเฉพาะบางส่วนของเกิดและเส่ย มาจำลองถ่ายทอดลงในตัวของพรานเกิด พรานเส่ย ซึ่งเป็นตัวละครที่ไม่ค่อยมีบทบาทเด่นเฉพาะตัวมากนัก โดยพนมเทียนนั้นกำหนดให้พรานเกิดและพรานเส่ยมีหน้าที่ \"แซวและกระเซ้าเหย้าแหย่\" บุญคำเล่น ตามประสาพรานเด็กหนุ่มพรานคู่ใจของรพินทร์ ไพรวัลย์", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#13", "text": "ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 4 ดังกล่าวข้างต้น เมื่อนำมาเขียนเพชรพระอุมา พนมเทียนก็สามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ อารมณ์และจินตนาการของตัวละครในนวนิยายได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งต้นแบบของโครงเรื่อง ก็มาจากประสบการณ์จริงบวกกับจินตนาการของพนมเทียนนั่นเอง", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "98662#0", "text": "คำนิยมเพชรพระอุมา เป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิหลายท่าน ที่มีต่อนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมาจากสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ซึ่งการแสดงความนิยมต่อเพชรพระอุมานี้ เป็นการการันตีถึงผลงานการประพันธ์ของพนมเทียนและความเป็นสุดยอดของวรรณกรรมชิ้นเอกของเมืองไทย ซึ่งผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิที่ได้ให้เกียรติมาให้คำนิยมต่อเพชรพระอุมา มาจากหลายอาชีพและหน้าที่การงาน เช่น ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย ฯพณฯ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายเสนาะ เทียนทอง ดร.พิจิตต รัตตกุล", "title": "คำนิยมเพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#3", "text": "พนมเทียนเริ่มต้นการเขียนเพชรพระอุมาในปี พ.ศ. 2507 โดยตกลงทำข้อสัญญากับสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา (ซึ่งปัจจุบันสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา ได้ยุติกิจการไปแล้ว) ในการเขียนนวนิยายแนวผจญภัยในป่าจำนวนหนึ่งเรื่อง โดยมีข้อกำหนดความยาวของนวนิยายเพียงแค่ 8 เล่มจบเท่านั้น แต่กลับได้รับความนิยมอย่างล้นหลามทำให้ต้องเขียนเพชรพระอุมาเพิ่มเติมต่อจนครบ 10 เล่ม และขอยุติการเขียนตามข้อสัญญา[6] แต่ทางสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยายังไม่อนุญาตให้พนมเทียนยุติการเขียน และได้ขอร้องให้เขียนเพิ่มเติมต่ออีก 5 เล่ม พร้อมกับบอกกล่าวถึงความนิยมของนักอ่านที่มีต่อเพชรพระอุมา ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนต้องมีการตีพิมพ์ซ้ำหลาย ๆ ครั้งด้วยกันในระยะปลาย ๆ ของเล่มที่ 10[6] จนสถิติการตีพิมพ์และการจัดจำหน่ายของนวนิยายเรื่องนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และได้รับการตอบรับจากนักอ่านหลาย ๆ รุ่นเป็นอย่างดีในการช่วยขัดเกลาเนื้อเรื่องของเพชรพระอุมา และแจ้งเตือนแก่พนมเทียนถึงชื่อตัวละครหรือสถานที่ที่ปรากฏในเพชรพระอุมาที่มีการผิดพลาด[7]", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#23", "text": "ด็อกเตอร์บิลล์ สแตนลีย์ เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่ไม่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริง เกิดจากจินตนาการสร้างสรรค์ของพนมเทียน พนมเทียนสร้างบิลล์จากการเก็บเอาลักษณะนิสัยของเพื่อนชาวอเมริกันหลาย ๆ คนด้วยกัน นำมาถ่ายทอดให้แก่บิลล์ หัวหน้าคณะนายจ้างชุดใหม่ของรพินทร์ ไพรวัลย์", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#21", "text": "ต่อมาได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชวนะบุตร ในปี พ.ศ. 2518 จำนวน 22 เล่ม แบ่งเป็นตอน ๆ รวมทั้งสิ้น 5 ตอน ได้แก่ เพชรพระอุมา ตอนไพรมหากาฬ จำนวน 5 เล่ม, ตอน ดงมรณะ จำนวน 4 เล่ม, ตอน อาถรรพณ์นิทรานคร จำนวน 4 เล่ม, ตอน ป่าโลกล้านปี จำนวน 5 เล่ม และตอน แงซายจอมจักรา จำนวน 4 เล่ม และได้รับการตีพิมพ์เพชรพระอุมาภาคสมบูรณ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ภายหลังจากพนมเทียนเขียนเพชรพระอุมาภาคแรกจบ โดยเริ่มเพชรพระอุมา ตอน จอมพราน ในวันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2519 ถึง วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2525 และได้นำภาคแรกมาตีพิมพ์ซ้ำจนจบในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2527 และตีพิมพ์ภาคสามของเพชรพระอุมา ตอน มงกุฎไพร ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2533 โดยนิตยสารจักวาลปืน[13]", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#4", "text": "เพชรพระอุมาออกวางจำหน่ายในรูปแบบของพ็อกเก็ตบุ๊ค เป็นแบบรายวันคือ 10 วัน ต่อหนังสือ 1 เล่ม และยังคงดำเนินเนื้อเรื่องต่อไปจนถึงเล่มที่ 40 จนกระทั่งมีความยาวถึง 98 เล่ม เนื้อเรื่องก็ยังไม่สามารถจบลงได้[6] จนกระทั่งเพชรพระอุมาฉบับพ็อตเก็ตบุ๊คเล่มที่ 99 ได้ออกวางจำหน่ายในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 จึงได้รับการตีพิมพ์ต่อเนื่องใน \"จักรวาลรายสัปดาห์\" ในปี พ.ศ. 2513 เป็นระยะเวลา 5 ปี และตีพิมพ์ต่อเนื่องใน \"หนังสือพิมพ์เดลินิวส์\" ในปี พ.ศ. 2518 เป็นระยะเวลาอีก 6 ปี พนมเทียนก็ยังไม่สามารถจบเรื่องราวการผจญกัยในป่าของเพชรพระอุมา จนกระทั่งได้รับการตีพิมพ์ต่อใน \"จักรวาลปืน\" ในปี พ.ศ. 2525 อีก 8 ปี เรื่องราวทั้งหมดจึงสามารถจบลงได้ในปี พ.ศ. 2533[6]", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#18", "text": "มาเรีย ฮอฟมัน เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ มาเรีย เดอครูซ พนมเทียนได้จำลองคุณสมบัติเฉพาะของมาเรีย ฮอฟมัน หญิงสาวลูกครึ่งฝรั่งเศส - เยอรมัน ที่มีฝีมือในการยิงปืนเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีเสน่ห์ผูกมัดใจชายจากเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งที่มีอายุมากกว่า 4 - 5 ปี ซึ่งพบกับพนมเทียนในสมัยที่ยังท่องเที่ยวในสหพันธรัฐมลายู หรือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "142697#2", "text": "พนมเทียนได้นำความรู้เรื่องการแกะรอย และสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการแกะรอยไว้ในเพชรพระอุมา ได้แก่ความรู้ในการแกะรอยเพื่อติดตามสัตว์และการแกะรอยเพื่อติดตามบุคคล โดยการใช้เครื่องหมายเพื่อกำหนดสัญลักษณ์หรือทำร่องรอยเอาไว้ การกำหนดสัญลักษณ์สามารถกำหนดได้จากสัตว์หรือบุคคลที่ถูกแกะรอยได้สร้างหรือทิ้งไว้ ในการแกะรอยเพื่อตามล่าสัตว์ ในเพชรพระอุมา พนมเทียนได้สะท้อนทักษะและวิชาความรู้ในเชิงพรานของรพินทร์ ไพรวัลย์ ให้เห็นถึงลักษณะและร่องรอยที่พรานป่า นิยมใช้เป็นสิ่งสำคัญในการแกะรอยติดตามสัตว์หรือกลุ่มคนดังนี้", "title": "การแกะรอยในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#30", "text": "เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายที่ได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดียิ่ง กระทั่งสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าไม่ยอมให้พนมเทียนยุติการเขียน ถึงขนาดที่ว่า \"...ในช่วงที่พนมเทียนกำลังเขียนเรื่องนี้ตีพิมพ์ขายเป็นเล่มพ็อกเก็ตบุ๊คติดต่อกันนั้น ถึงกับมีผู้อ่านมาเข้าคิวรอซื้อกันหน้าโรงพิมพ์เลยทีเดียว...\"[15]", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "28404#0", "text": "ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (23 พฤศจิกายน 2474 - ) นักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2540 เป็นเจ้าของนามปากกา พนมเทียน ผู้แต่ง เพชรพระอุมา", "title": "ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ" }, { "docid": "28360#9", "text": "จากโครงเรื่องเดิมของคิง โซโลมอน'ส มายน์ส เพียงแค่ 4 บรรทัดเท่านั้น[10] แต่พนมเทียนสามารถนำมาเขียนเป็นเพชรพระอุมาโดยเล่าเรื่องราวการเดินป่า การดำรงชีวิตและการล่าสัตว์ รวมทั้งภูมิประเทศในป่าดงดิบด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ไปจนจรดชายแดนพม่าและน่าจะล่วงเลยไปถึงแถบเทือกเขาหิมาลัย (เพราะในตอนท้ายเรื่องมีฉากที่ต้องอยู่ในภูมิประเทศที่มีหิมะตก) ในปัจจุบัน โดยดึงประเด็นจุดสำคัญของชีวิตการเดินป่าของตนเองที่เคยผ่านมาก่อนผสมเข้าในไปโครงเรื่องของเพชรพระอุมาด้วย", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#24", "text": "พันเอกลาร์รี่ คีธ เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ จอห์น แบล็คบีร์ พนมเทียนสร้างพันเอกลาร์รี่ คีธ โดยจำลองลักษณะนิสัยเกือบทั้งหมดจากนายทหารแห่งอเมริกา อดีตนายทหารผ่านสงครามเวียดนาม นักสำรวจถิ่นมนุษย์ยุคหินในแถบจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมเดินป่าด้วยกันของพนมเทียน", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "98662#1", "text": "ในแต่ละตอนของเพชรพระอุมา ต่างมีคำนิยมที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประพันธ์ของพนมเทียน ความสนุนสนานของการดำเนินเรื่อง ความรู้ในด้านต่าง ๆ ของการเดินป่า การใช้ภาษาในการตัดพ้อหรือพร่ำพรรณา ที่พนมเทียนสามารถท่ายถอดให้แก่ตัวละครทุกตัวในเพชรพระอุมา ให้มีชีวิตชีวาโลดแล่นจนเป็นที่รู้จักและผูกพันกับนักอ่านทุกรุ่นทุกสมัย ซึ่งคำนิยมเพชรพระอุมาจากผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิหลายท่าน ได้แก่", "title": "คำนิยมเพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#10", "text": "พนมเทียนนำเอาความรู้ความชำนาญในการเดินป่า การดำรงชีวิตและการล่าสัตว์จากประสบการณ์จริงของตนเอง มาเป็นพื้นฐานในการเขียนนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา โดยเค้าโครงเรื่องและส่วนประกอบต่าง ๆ ได้นำมาจากเรื่องเล่าขานและสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากนักท่องไพรรุ่นอาวุโส หรือเรื่องเล่ารอบกองไฟของพรานพื้นเมืองต่าง ๆ ยามพักผ่อนภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในการล่าสัตว์และเล่าเรื่องราวต่าง ๆ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#9", "text": "พันตรีไชยยันต์ อนันตรัย เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ ยงค์ พนมเทียนนำลักษณะนิสัยของพันตรีไชยยันต์ อนันตรัย มาจากเพื่อนสนิทที่เป็นนักเดินป่าด้วยกัน ประกอบอาชีพเป็นช่างซ่อมรถยนต์และเจ้าของอู่รถทางภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีฝีมือในการยิงปืนแม่นทั้งปืนสั้นและปืนยาว เป็นคนเสียงดังและโครมครามมากกว่าพนมเทียนในการออกป่าล่าสัตว์ด้วยกัน ในขณะที่พนมเทียนสร้างไชยยันต์ขึ้นมา ก็สามารถหลับตาและเห็นกริยาท่าทางต่าง ๆ ของยงค์ที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน จึงนำมาถ่ายทอดให้แก่ไชยันต์ ทั้งที่ตัวจริงของยงค์ ต้นแบบของไชยยันต์นั้นไม่ได้เป็นนายทหารเหมือนกับในเพชรพระอุมา", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#48", "text": "นางสาวสุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง \"นวนิยายแนวผจญภัย:จาก คิง โซโลมอน'ส มายน์ส ล่องไพร จนถึง เพชรพระอุมา (ภาคแรก)\" ในปี พ.ศ. 2541 นางสาวสริญญา คงวัฒน์ ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง \"วิเคราะห์ภาพสะท้อนเชิงพรานในนวนิยายเพชรพระอุมา ของพนมเทียน\"[31]", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#4", "text": "หม่อมราชวงศ์ดาริน วราฤทธิ์ เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่ไม่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริง เกิดจากจินตนาการสร้างสรรค์ของพนมเทียน สาวสวยที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอุปนิสัยใจคอที่เข้มแข็ง เอาแต่ใจตัวเองแต่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยว มั่นคงในเรื่องของความรัก มีฝีมือในการยิงปืนและเก่งกล้าสามารถ เป็นตัวละครที่พนมเทียนสร้างขึ้นมาจากจินตนาการทั้งหมด ไม่มีการจำลองเอาลักษณะนิสัยเฉพาะมาจากบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง เพียงแต่นำเอาบุคลิกภาพและลักษณะบางประการของดาริน มาจากสุภาพสตรีท่านหนึ่งที่พนมเทียนคบหาในฐานะเพื่อน", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#7", "text": "โครงเรื่องของเพชรพระอุมานั้น พนมเทียนได้เค้าโครงเรื่องมาจากแนวความคิดของเรื่องคิง โซโลมอน'ส มายน์ส ของ เซอร์ฯ แฮกการ์ด ซึ่งเป็นเค้าโครงของการผจญภัยเรื่องที่ดีมากเรื่องหนึ่ง[10] โดยก่อนหน้าที่พนมเทียนจะเขียนเพชรพระอุมาก็ได้มีการวางโครงเรื่องคร่าว ๆ ไว้เช่นเดียวกับงานเขียนอื่น ๆ ซึ่งโครงเรื่องคร่าว ๆ ของเพชรพระอุมานั้น พนมเทียนวางเอาไว้เพียงเล็กน้อยโดยกำหนดให้เป็นเรื่องราวการผจญภัยในป่าของนายพรานผู้นำทางคนหนึ่งเท่านั้น[10]", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "28360#6", "text": "พนมเทียนนั้นมีวิธีการเขียนเนื้อเรื่องเพชรพระอุมาในรูปแบบการเขียนของตนเอง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยพยายามเขียนบรรยายถึงลักษณะท่าทาง ตลอดจนอากัปกิริยาต่าง ๆ ของตัวละครทุกตัวที่ปรากฏในเพชรพระอุมา โดยไม่ยอมให้เป็นการเขียนที่เรียกได้ว่าเขียนแบบผ่านเลยไป ทำให้ผู้อ่านที่ติดตามอ่านมาโดยตลอดไม่ได้อรรถรสและความเข้มข้นของเนื้อเรื่อง[9] แต่พนมเทียนจะเขียนโดยแจกแจงอากัปกิริยาทุกขณะและทุกฝีก้าวของตัวละคร เพื่อให้ผู้อ่านสามารถมองเห็นการกระทำต่างหรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่นกระทิงหรือเสือโคร่งถูกรพินทร์ ไพรวัลย์ยิงล้มลง ก็จะเขียนบรรยายเริ่มตั้งแต่รพินทร์และคณะเดินทางพบเจอกับสัตว์ เกิดการต่อสู้หรือติดตามแกะรอยจนถึงประทับปืนและเหนี่ยวไกยิง จนกระทั่งสัตว์นั้นล้มลงเสียชีวิต หรือแม้แต่การพูดจาเล่นลิ้นยั่วยวนกวนประสาทของแงซายและรพินทร์ ไพรวัลย์ จนถึงการพร่ำพรรณนาคำรักหวานซึ้งระหว่างไชยยันต์ อนันตรัยและมาเรีย ฮอฟมัน พนมเทียนก็สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างดีเยี่ยมจนสามารถทำให้ผู้อ่านได้รับรู้ว่าในขณะนั้นเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง จนทำให้เพชรพระอุมากลายเป็นนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดในโลก[9]", "title": "เพชรพระอุมา" }, { "docid": "98425#10", "text": "พรานบุญคำ เป็นตัวละครในเพชรพระอุมาที่มีต้นแบบมาจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ บุญคำหรือตาคำ พนมเทียนจำลองเอาลักษณะนิสัยของพรานบุญคำ พรานคู่ใจและสมุนมือขวาของรพินทร์ ไพรวัลย์ มาจากอดีตพรานป่าที่อยู่ในภาคกลาง แล้วไปเป็นหัวหน้าคนงานที่ทำหน้าที่ตัดไม้หมอนรถไฟให้แก่สัมปทานของอาของพนมเทียน ที่อำเภอสุไหงปาตี จังหวัดนราธิวาส ในสมัยที่พนมเทียนเริ่มฝึกหัดเข้าป่าล่าสัตว์เมื่อประมาณ 40 กว่าปีมาแล้ว", "title": "ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา" } ]
3973
การแข็งตัวขององคชาต จะแข็งตัวได้เมื่อมีสิ่งเร้าเท่านั้นหรือไม่ ?
[ { "docid": "284771#2", "text": "เพราะว่าเป็นการตอบสนองอัตโนมัติ การแข็งตัวอาจเกิดขึ้นจากสิ่งเร้าหลายอย่างรวมทั้งการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulation[1]) และอารมณ์ทางเพศ ดังนั้น จึงไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจโดยสิ้นเชิง การแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับหรือเมื่อตื่นนอนมีศัพท์ทางแพทย์ภาษาอังกฤษว่า nocturnal penile tumescence และความปราศจากการแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับสามารถใช้ในการแยกแยะเหตุที่เป็นไปทางกายภาพหรือทางจิตใจของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสาเหตุทางร่างกาย (ICD-10 N48.4) หรืออวัยวะเพศไม่ตอบสนอง (เหตุทางใจ ICD-10 F52.2)", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" } ]
[ { "docid": "810384#17", "text": "แม้ว่าองคชาตโดยมากจะแข็งตัวขึ้นไปด้านบน (ดังภาพตัวอย่างประกอบ) มันเป็นเรื่องธรรมดาและปกติที่เมื่อองคชาตแข็งตัวจะขี้ไปในลักษณะแนวเกือบตั้งขึ้นหรือเกือบตั้งลงในแนวนอนหรือแม้ในแนวตรง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความตึงของเส้นเอ็นพยุงที่เก็บไว้ในตำแหน่ง", "title": "องคชาตของมนุษย์" }, { "docid": "204917#8", "text": "จากการศึกษาความยาวองคชาตขณะยังไม่แข็งตัว มีค่าความยาวที่ 3.5 นิ้ว (8.9 ซม.) (วัดโดยทีมงาน) ความยาวขณะยังไม่แข็งตัวไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับขณะแข็งตัว องคชาตสั้นเมื่อหดตัวอาจขยายตัวอย่างมากก็ได้ หรือองคชาตที่ใหญ่กว่าขณะหดตัวอาจไม่ขยายตัวได้มากก็ได้", "title": "ขนาดองคชาตมนุษย์" }, { "docid": "284771#26", "text": "ก่อนที่จะร่วมเพศ องคชาตของสุนัขไม่ได้มี \"การแข็งตัว\" แต่สามารถร่วมเพศได้ก็เพราะอวัยวะมีกระดูกแคบ ๆ ที่เรียกว่า baculum ซึ่งเป็นลักษณะสามัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก (eutheria) โดยมาก หลังจากที่สัตว์ตัวผู้สอดอวัยวะเข้าไปแล้ว ก็มักจะรัดสัตว์ตัวเมียแน่นขึ้นแล้วทำการร่วมเพศเร็วขึ้น และก็จะอยู่ในช่วงระยะเวลานี้ที่องคชาตขยายออก โดยไม่เหมือนกับการร่วมเพศในมนุษย์ ที่องคชาตโดยปกติจะแข็งตัวก่อนการสอดเข้าไป การร่วมเพศในสุนัขจะมีการสอดเข้าไปก่อน แล้วการขยายออกของอวัยวะจนถึง \"ความแข็งตัว\" (erection) ก็จะเกิดขึ้น[27]", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "240822#23", "text": "แม้ว่าจะไม่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ชายบางพวกสามารถหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่มีการถูกต้องอวัยวะ\nคือทำให้เกิดการหลั่งได้โดยไม่ต้องมีการเร้าอารมณ์ทางเพศโดยสัมผัส\nบางพวกทำโดยเกร็งและคลายกล้ามเนื้อที่ท้องและที่แก้มก้นพร้อม ๆ กับการจินตนาการ\nและบางพวกทำโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อใกล้ ๆ กับองคชาต ซึ่งอาจทำให้องคชาตแข็งตัวยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศอย่างรุนแรง", "title": "การหลั่งน้ำอสุจิ" }, { "docid": "284771#0", "text": "การแข็งตัวขององคชาต (English: erection, ศัพย์การแพทย์: penile erection, penile tumescence) เป็นปรากฏการณ์ทางสรีรภาพของอวัยวะเพศชายในสัตว์หลายสปีชีส์ ที่องคชาตแข็งตัวขึ้น คั่งไปด้วยเลือด และขยายใหญ่ขึ้น เป็นผลของปฏิกิริยาอันสลับซับซ้อนของจิตใจ ระบบประสาท ระบบหลอดเลือด และระบบต่อมไร้ท่อ มักจะ</i>เกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์ทางเพศ แต่จริง ๆ อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ รูปร่าง มุมตั้ง และทิศทางขององคชาตที่แข็งตัวมีความแตกต่างกันอย่างมากแม้ในหมู่มนุษย์", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "284771#11", "text": "การแข็งตัวเป็นตัวชี้บอกอารมณ์ทางเพศอย่างหนึ่ง และเป็นสิ่งที่จะต้องมีสำหรับผู้ชายในการร่วมเพศ ถุงอัณฑะอาจจะเกิดการรัดตัว (แต่ไม่แน่นอน) และโดยทั่วไปแล้ว เยื่อหุ้มปลายก็จะค่อย ๆ ร่นลงโดยอัตโนมัติ ทำการเปิดหัวองคชาต แต่ว่าบางคนอาจจะต้องร่นเยื่อหุ้มปลายลงด้วยมือ", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "284771#9", "text": "เปลือกสมอง (cerebral cortex) อาจก่อให้เกิดการแข็งตัวได้แม้ปราศจากสิ่งเร้าทางกาย (โดยตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางตา ทางหู ทางจมูก หรือจากจินตนาการ) โดยส่งสัญญาณผ่าน \"ศูนย์การแข็งตัว\" ที่ไขสันหลังเขต lumbar และ sacral และเปลือกสมองก็สามารถห้ามการแข็งตัวแม้จะมีสิ่งเร้าทางกายได้ด้วย เหมือนกับที่องค์ประกอบอื่น ๆ ทางใจ ทางอารมณ์ความรู้สึก และทางสิ่งแวดล้อมสามารถห้ามได้เช่นกัน", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "810384#8", "text": "ความยาวขณะองคชาตอ่อนตัว ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความยาวขององคชาตขณะแข็งตัว นั่นคือ บางองคชาตอาจเล็กมากในขณะอ่อนตัว อาจยาวขึ้นมากในขณะแข็งตัว ขณะที่บางองคชาตอาจใหญ่มากขณะอ่อนตัว แต่อาจขยายตัวได้น้อยกว่าเมื่อแข็งตัว ท่ามกลางบรรดาอันดับวานร องคชาตของมนุษย์นั่นใหญ่ที่สุดโดยการวัด แต่เทียบกับชิมแปนซีและสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ในความยาว", "title": "องคชาตของมนุษย์" }, { "docid": "333905#0", "text": "ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ () เนื่องจาก ปัญหาการแข็งตัวขององคชาต () เป็นอาการที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้แต่ไม่เพียงพอที่จะร่วมกิจกรรมทางเพศกับคู่สัมพันธ์ได้อย่างพึงพอใจ การแข็งตัวขององคชาตเป็นผลมาจากการสูบฉีดของเลือดเข้าไปเก็บไว้ในเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำภายในอวัยวะเพศ กระบวนการนี​​้ส่วนใหญ่มักจะถูกกระตุ้นที่เป็นผลมาจากการเร้าอารมณ์ทางเพศเมื่อสัญญาณถูกส่งจากสมองไปยังเส้นประสาทในอวัยวะเพศชาย สาเหตุความผิดปรกติทางอินทรีย์ที่สำคัญที่สุดคือโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเบาหวาน อีกทั้งปัญหาทางระบบประสาท (เช่นการบาดเจ็บจากการผ่าตัดต่อมลูกหมาก) การขาดฮอร์โมน (hypogonadism) แล​​ะผลข้างเคียงของยา", "title": "ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ" }, { "docid": "284771#31", "text": "ส่วนองคชาตของนกมีโครงสร้างแตกต่างจากของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือมีการแข็งตัวจากการขยายออกของผนังทวารร่วม (cloaca) และเกิดจากการคั่งด้วยน้ำเหลือง ไม่ใช่เลือด[37] องคชาตแข็งตัวของเป็ดประจำถิ่นทวีปอเมริกาใต้สปีชีส์ Oxyura vittata อาจจะมีความยาวถึงเท่ากับตัว แต่ปกติมักจะยาวประมาณครึ่งหนึ่งของตัวเท่านั้น[38][39]", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "615934#23", "text": "งานศึกษาแสดงว่าระดับเทสโทสเตอโรนของหนูตัวผู้จะเพิ่มขึ้นตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เคยเป็นกลางมาก่อนหลังจากฝึก (conditioned) ให้ตอบสนองทางเพศ[41] โดยทำให้เกิดรีเฟล็กซ์ที่องคชาต (เช่น การแข็งตัวและการหลั่งอสุจิ) ซึ่งทฤษฎีการแข่งขันของตัวอสุจิ (Sperm competition theory) อธิบายว่า ช่วยผลิตตัวอสุจิที่มีโอกาสชนะสูงขึ้น ทำให้มีโอกาสสูงขึ้นในการสืบพันธุ์ ในเมื่อหนูตัวผู้มากกว่าหนึ่งตัวผสมพันธุ์กับตัวเมีย", "title": "เทสโทสเตอโรน" }, { "docid": "284771#3", "text": "องคชาตที่ไม่แข็งตัวเต็มที่มีศัพท์การแพทย์ภาษาอังกฤษว่า partial tumescence", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "336438#3", "text": "หลักฐานสนับสนุนความเป็นไปได้ว่า กระเพาะปัสสาวะที่เต็มสามารถส่งผลให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต\nได้มีมานานแล้ว และมีการตั้งชื่อว่า reflex erection (การแข็งตัวขององคชาตโดยรีเฟล็กซ์)\nเส้นประสาทที่ควบคุมการแข็งตัวโดยรีเฟล็กซ์อยู่ที่ไขสันหลังที่ sacral vertebrae (คือระดับ S2-S4) คือ กระเพาะปัสสาวะที่เต็มมักจะมีผลเป็นการเร้าเส้นประสาทเหล่านั้นอย่างเบา ๆ มีผลเป็น NPT", "title": "องคชาตแข็งตัวขณะหลับ" }, { "docid": "336438#0", "text": "องคชาตแข็งตัวขณะหลับ () เป็นภาวะการแข็งตัวขององคชาตในขณะนอนหลับ เป็นอาการปกติทางกายภาพของเพศชายทุกคนที่ไม่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยปกติจะเกิดขึ้นประมาณ 3 ถึง 5 ครั้งในเวลากลางคืน ขณะร่างกายอยู่ในภาวะหลับตื้น (REM sleep) \nเชื่อกันว่า NPT มีส่วนในการรักษาองคชาตให้มีสุขภาพดี", "title": "องคชาตแข็งตัวขณะหลับ" }, { "docid": "284771#12", "text": "เมื่อถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ (วัยแตกเนื้อหนุ่ม) การแข็งตัวจะเกิดบ่อยขึ้น[13] แต่การแข็งตัวขององคชาตเป็นเรื่องธรรมดาในเด็กและในทารก และเกิดขึ้นก่อนที่จะคลอดด้วยซ้ำ[14]", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "810384#15", "text": "การแข็งตัวคือการแข็งและขยายขึ้นขององคชาต ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะมีอารมณ์ทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีอารมณ์ทางเพศได้เช่นกัน กลไกทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวขององคชาตเป็นการกว้างขึ้นอัตโนวัติของหลอดเลือดแดงหล่อเลี้ยงไปยังองคชาต ซึ่งจะช่วยให้เลือดไหลไปมากขึ้นเพื่อเต็มเติมเนื้อเยื้อฟองน้ำของอวัยวะภายในองคชาต ซึ่งทำให้มันยาวขึ้นและแข็ง เนื้อเยื่อของอวัยวะเพศในตอนนี้ขยายขี้นไปกดหลอดเลือดดำที่จะนำเลือดออกจากองคชาต เลือดที่มากขึ้นเมื่อเข้ามาแล้วจะคงอยู่ในองคชาตเมื่อสภาวะสมดุลถึงที่ปริมาตรที่เท่ากันของเลือดไหลเข้าสู่หลอดเลือดแดงที่ขยายตัวและออกไปทางเส้นเลือดดำที่ตืบ ขนาดการแข็งตัวที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นความสำเร็จของดุลยภาพนี้", "title": "องคชาตของมนุษย์" }, { "docid": "284771#8", "text": "หลังจากการหลั่งน้ำอสุจิหรือหลังจากการยุติของสิ่งเร้า องคชาตปกติจะอ่อนตัวลง แต่เวลาที่ใช้อาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความยาวและความหนาขององคชาต[8]", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "284771#14", "text": "ความยาวขององคชาตที่อ่อนตัวไม่ได้เป็นตัวชี้บอกความยาวของอวัยวะเมื่อแข็งตัวที่แน่นอน องคชาตอ่อนตัวที่สั้นกว่าอาจจะแข็งตัวเป็นอวัยวะที่ยาวกว่ามาก ในขณะที่องคชาตอ่อนตัวที่ยาวอาจแข็งตัวมีขนาดที่สั้นกว่า[17] โดยทั่ว ๆ ไป หลังจากผ่านวัยเริ่มเจริญพันธุ์แล้ว อวัยวะที่แข็งตัวจะมีขนาดเท่ากันตลอดทั้งชีวิต แต่ก็อาจเพิ่มขึ้นได้โดยอาศัยการผ่าตัด[18] แต่ว่าการขยายขนาดองคชาตจะเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดความเห็นหลายหลาก และในการศึกษาหนึ่งพบว่า ชายโดยมากที่ผ่านการขยายขนาดไม่แฮ็ปปี้กับผลที่ได้[19]", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "284771#28", "text": "เนื่องจากว่า มีเนื้อเยื่อที่ทำให้แข็งตัวเพียงเล็กน้อยในองคชาตของวัว เมื่อเกิด \"การแข็งตัว\" องคชาตจึงขยายออกเพียงแค่เล็กน้อย แต่ปกติองคชาตนั้นก็แข็งอยู่แล้วเมื่อ \"อ่อนตัว\" และแข็งเพิ่มขึ้นอีกเมื่อแข็งตัว การยื่นออกมาขององคชาตไม่มีผลจากการแข็งตัว แต่มีผลจากการคลายตัวของ retractor penis muscle (กล้ามเนื้อการหดตัวที่องคชาต) และการทำ sigmoid flexure (ส่วนของลำไส้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดต่อลำไส้ตรงและทวารหนัก) ให้ตรง[29][30]", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "240822#0", "text": "การหลั่งน้ำอสุจิ () คือการหลั่งน้ำอสุจิออกจากองคชาต มักเกิดพร้อมกับการถึงจุดสุดยอดทางเพศ ถือเป็นด่านสุดท้ายและเป็นเป้าหมายทางธรรมชาติของการเร้าอารมณ์ทางเพศ และเป็นสิ่งที่จำเป็นในการให้เกิดปฏิสนธิ (คือการตั้งครรภ์) การหลั่งอาจเกิดขึ้นได้เพราะโรคในต่อมลูกหมาก แม้จะเป็นกรณีที่หายาก และบางครั้งอาจเกิดขึ้นเองในขณะหลับ (เป็นการหลั่งในช่วงกลางคืน หรือที่เรียกว่า ฝันเปียก) \nมีภาวะหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิ (เช่นอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว) หรือที่ทำให้เกิดมีความเจ็บปวดไม่รู้สึกสบายเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิ", "title": "การหลั่งน้ำอสุจิ" }, { "docid": "284771#32", "text": "ในการแพทย์ภาษาอังกฤษ การแข็งตัวขององคชาตบ่อยครั้งเรียกว่า \"penile erection\" และภาวะที่แข็งตัวหรือกระบวนการแข็งตัวเรียกว่า \"tumescence\" หรือ \"penile tumescence\"", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "284771#4", "text": "การแข็งตัวเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำเป็นลำยาวตลอดองคชาตที่เรียกว่า corpora cavernosa เริ่มเต็มไปด้วยเลือด ซึ่งอาจะเกิดขึ้นจากการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulation[1]) หรืออารมณ์ทางเพศ", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "284771#15", "text": "แม้ว่าองคชาตมักจะแข็งตัวแล้วชี้ขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องทั่วไปที่เป็นปกติถ้าชี้ขึ้นจนเกือบตั้ง หรือชี้ลงจนเกือบเป็นแนวตั้ง หรือแม้แต่จะชี้เป็นแนวตรงออกไป ขึ้นอยู่กับความตึงของเส้นเอ็นที่รั้งอวัยวะไว้ อวัยวะที่แข็งตัวยังมีรูปร่างต่าง ๆ กันไปอีกด้วย เริ่มตั้งแต่ลำตรง ๆ หรือลำที่โค้งขึ้น โค้งลง โค้งไปทางซ้าย หรือโค้งไปทางขวา แต่ว่า ระดับความโค้งที่เพิ่มขึ้นสามารถเกิดจากโรค Peyronie's disease ได้ ซึ่งมีผลทางกายภายและทางใจต่อคนไข้ และอาจจะมีอาการเป็นภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสาเหตุทางร่างกาย และเจ็บเมื่ออวัยวะแข็งตัว การบำบัดมักจะใช้ยาทาน (เช่นยา colchicine) หรือแม้แต่การผ่าตัดซึ่งจะใช้เป็นขั้นสุดท้าย", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "321858#0", "text": "กรงพรหมจรรย์ () เป็นอุปกรณ์ที่ห่อหุ้มอวัยวะเพศชายสำหรับการป้องกันการปลุกเร้าและการแข็งตัวขององคชาต กรงพรหมจรรย์แบบพลาสติกสมัยใหม่มักใช้เพื่อป้องกันทางเพศและการเล่นแบบ BDSM", "title": "กรงพรหมจรรย์" }, { "docid": "284771#25", "text": "ภาวะองคชาตแข็งค้างเป็นภาวะทางกายที่มีผลเป็นความเจ็บปวด เป็นการแข็งตัวขององคชาตเป็นเวลาอย่างน้อย 4 ช.ม. ที่ไม่ยอมอ่อนตัวลง แม้ว่าจะไม่มีการกระตุ้นใด ๆ ทั้งทางกายและทางใจ", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "336438#1", "text": "ผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศใช้การแข็งตัวขององคชาตยามกลางคืน\nเพื่อเช็คดูว่า คนไข้ที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีสาเหตุมาจากกายหรือจิตใจ\nโดยประกอบอุปกรณ์ที่ยืดหยุ่นได้ที่องคชาตของคนไข้เมื่อนอนหลับ\nอุปกรณ์นั้นจะสามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงความหนาของอวัยวะ และจะส่งข้อมูลไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อการวิเคราะห์ต่อไป\nถ้ามีการแข็งตัวในยามกลางคืน ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศก็จะรับวินิจฉัยว่าเป็นสภาวะทางกายที่มีเหตุจากอารมณ์ความรู้สึกทางใจ เช่นความวิตกกังวลทางเพศ\nและถ้าไม่มี ก็จะวินิจฉัยว่า เกิดจากเหตุทางกายภาพ", "title": "องคชาตแข็งตัวขณะหลับ" }, { "docid": "333905#6", "text": "การแข็งตัวของอวัยวะเพศชายมีการจัดการโดยกลไกสองแบบได้แก่ 1. การแข็งตัวแบบสะท้อนซึ่งจะประสบความสำเร็จโดยการสัมผัสโดยตรงที่ลำอวัยวะเพศชาย และ 2. การแข็งตัวด้วยการสร้างมโนภาพซึ่งจะทำได้โดยการกระตุ้นแบบเร้าโลมหรือเร้าอารมณ์ แบบแรกใช้ประสาทส่วนปลายและส่วนล่างของเส้นประสาทไขสันหลังในขณะที่แบบหลังใช้ระบบ limbic ของสมอง ในทั้งสองแบบ ระบบประสาทที่ไม่ได้รับความเสียหายเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความสำเร็จและมีความสมบูรณ์สำหรับการแข็งตัว การกระตุ้นของลำอวัยวะเพศชายโดยระบบประสาทจะนำไปสู่​​การหลั่งของไนตริกออกไซด์ (NO) ซึ่งจะทำให้เกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อเรียบของ corpora cavernosa (เนื้อเยื่อการแข็งตัวหลักของอวัยวะเพศชาย) และเป็นผลให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว นอกจากนี้ในระดับที่เพียงพอของฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรนที่ผลิตโดยอัณฑะ) และต่อมใต้สมองที่ไม่เสียหายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาระบบสุขภาพที่ดีของการแข็งตัว อย่างที่สามารถเข้าใจได้จากกลไกของการแข็งตัวตามปกติ ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจพัฒนาขึ้นจากการขาดฮอร์โมนและการผิดปกติของระบบประสาท อีกทั้งการที่เลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะเพศชายไม่พอเพียงหรือมีปัญหาทางด้านจิตใจ การจำกัดของการไหลเวียนของเลือดอาจเกิดขึ้นจากความบกพร่องของการทำงานของหลอดเลือดเนื่องจากสาเหตุปกติท​​ี่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจ และยังสามารถเกิดจากการสัมผัสเป็นเวลานานกับแสงไฟที่สว่างจ้า", "title": "ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ" }, { "docid": "284771#30", "text": "เมื่อไม่แข็ง องคชาตของม้าจะอยู่ในหนังหุ้มปลาย โดยมีความยาว 50 ซ.ม. และความหนา 2.5-6 ซ.ม. ที่หัวหนา 15-20 ซ.ม. กล้ามเนื้อ retractor penis muscle จะเกร็งตัวเพื่อดึงองคชาตเข้าไปในฝัก และคลายออกเพื่อให้องคชาตยื่นออกจากฝัก[32] เมื่อแข็งตัว องคชาตจะยาวขึ้นเป็นสองเท่า[33] และความหนาขององคชาตและหัวองคชาตจะขยายเพิ่มขึ้นถึง 3-4 เท่า[32] การแข็งตัวและการยื่นตัวออกของอวัยวะค่อย ๆ เป็นไป โดยการขยายออกของเนื้อเยื่อ (corpus cavernosum) ที่คั่งเต็มไปด้วยเลือดมีผลให้อวัยวะแข็ง[34][35] ม้าตัวผู้โตเต็มที่จะแข็งตัวภายใน 2 นาทีที่มาอยู่ใกล้ๆ ม้าตัวเมียที่พร้อมจะผสมพันธ์ และจะขึ้นคร่อมตัวเมีย 5-10 วินาทีหลังจากนั้น[36]", "title": "การแข็งตัวขององคชาต" }, { "docid": "204917#4", "text": "องคชาตจะต้องแข็งตัวอย่างเต็มที่ที่สุด เพื่อที่จะทำการวัดอย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งอาจเป็นการยากที่จะทำในเชิงปฏิบัติ อย่างน้อยครั้งหนึ่งเคยมีแพทย์ชาวบราซิลได้ทำการฉีดยาไปที่องคชาตเพื่อให้แข็งตัวเต็มที่ และก็ได้ผลที่สอดคล้องกัน แพทย์บางคนวัดองคชาตโดยการยืดส่วนที่หย่อนยานขององคชาตให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนการวัดด้วยตัวเองมักจะเชื่อถือไม่ได้เพราะคนมักจะรายงานขนาดอวัยวะเพศให้ใหญ่เกินความจริง", "title": "ขนาดองคชาตมนุษย์" } ]
3974
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีสังกัดพรรคใด?
[ { "docid": "263349#1", "text": "ปี พ.ศ. 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม[3] และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี[4][5] ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ[6] ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง[7] ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน 2549[8][9] รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี 2544 และ 2549[10] ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์[11][12]", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" } ]
[ { "docid": "363014#14", "text": "ด้านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะตอบมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ โดยระบุว่ารัฐบาลชุดนี้มีตัวเลขการส่งออกและท่องเที่ยวสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ และรัฐบาลต้องกู้เงินเพราะผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสมัยพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล รัฐบาลบริหารหนี้สาธารณะได้ดีกว่าสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สำหรับประเด็นปัญหาราคาข้าว อภิสิทธิ์ย้อนถามมิ่งขวัญว่า บริหารข้าวอย่างไรจนถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ส่วนประเด็นกองทุนน้ำมันนั้น อภิสิทธิ์ระบุว่า กองทุนเคยเป็นหนี้ถึง 9 หมื่นล้านบาทสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรเช่นกัน และด้านปัญหาน้ำมันปาล์ม ชี้ว่า สมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยขายน้ำมันปาล์มขวดละ 47.50 บาท แพงกว่าปัจจุบัน จึงเห็นว่า ข้อมูลที่มิ่งขวัญนำมาเสนอนี้เป็นการตัดต่อ", "title": "การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย มีนาคม พ.ศ. 2554" }, { "docid": "372115#9", "text": "พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2551 มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหัวหน้าพรรค โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ส่วนพรรคเพื่อไทยยังไม่เปิดเผยผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจน จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการจัดผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 2 ชุด คือบัญชีผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อเพื่อทำงานในสภา กับบัญชีผู้บริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554" }, { "docid": "202656#2", "text": "ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย", "title": "ชัยสิทธิ์ ชินวัตร" }, { "docid": "15237#1", "text": "เดิมเขาเคยเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อย่างแข็งขัน แต่ต่อมาเป็นผู้นำขบวนการต่อต้านทักษิณ ช่วงต้น พ.ศ. 2549 สนธิเป็นหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่นำการชุมนุมขับทักษิณ ชินวัตรจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนยุติบทบาทหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งโค่นรัฐบาลทักษิณ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สนธิออกนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอีกครั้งในการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง หลังรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ซึ่งเข้าฝ่ายทักษิณชนะการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป โดยนำกลุ่มพันธมิตรฯ ปะทะกับกำลังความมั่นคง ตลอดจนยึดทำเนียบรัฐบาล ท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ สนธิเป็นผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์อยู่บ้าง และยุติการประท้วงของกลุ่มหลังอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี", "title": "สนธิ ลิ้มทองกุล" }, { "docid": "27822#11", "text": "จากนั้นเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรก ก็ด้วยการสนับสนุนของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง. โดยในปี 2537 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังได้ดำ​​รงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสังกัดพรรคพลังธรรมของพลตรี จำลอง อีกด้วย. พล.ต.จำลอง มีภาพของการเป็นผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรื่อยมา. จากนั้น พล.ต.จำลอง ก็ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ อีกสมัยในปี พ.ศ. 2539 แต่ทว่าคราวนี้ พล.ต.จำลอง ไม่อาจชนะการเลือกตั้งได้เหมือนเมื่ออดีต เมื่อเป็นฝ่ายพ่ายการเลือกตั้งไปอย่างขาดลอย โดยแพ้ให้แก่ นายพิจิตต รัตตกุล อดีตผู้สมัครด้วยกัน. จากนั้นมาบทบาททางการเมืองของ พล.ต.จำลอง ศรีเมืองก็ค่อย ๆ ลดลง โดยเจ้าตัวได้ก่อตั้งโรงเรียนผู้นำ อบรมบุคลากรที่จะมีบทบาทเป็นผู้นำของสังคมต่อไปในอนาคตขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อย่างสมถะอยู่ที่นั่น[3] แต่เมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พล.ต.จำลอง ก็ยังคงเป็นผู้ให้การสนับสนุนอยู่ เช่น คดีซุกหุ้น พล.ต.จำลอง ก็เป็นหนึ่งบุคคลที่เข้าร่วมฟังการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในห้องพิพากษาด้วย.", "title": "จำลอง ศรีเมือง" }, { "docid": "182795#0", "text": "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ เป็นอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคไทยรักไทย และเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง", "title": "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ" }, { "docid": "349249#0", "text": "นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย", "title": "วิเชษฐ์ เกษมทองศรี" }, { "docid": "377440#0", "text": "ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตรองเลขาธิการพรรคชาติไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี และอดีตสมาชิก พรรคเพื่อไทย ปัจจุบัน เป็นสมาชิก พรรคชาติไทยพัฒนา", "title": "ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ" }, { "docid": "223814#1", "text": "ซึ่งพรรคพลังใหม่ เป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก แต่ได้รับการจับตามองอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นพรรคที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งรวมนักการเมืองน้ำดี หรือนักการเมืองรุ่นใหม่ และเป็นพรรคที่เอนไปทางฝ่ายซ้าย หรือสังคมนิยม ทางพรรคได้ส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี พ.ศ. 2517 ซึ่งบังคับให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง มีสมาชิกพรรคพลังใหม่ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 12 คน อาทิ นายเลิศ ชินวัตร บิดาของ ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, นายปรีดา พัฒนถาบุตร และนายชัชวาลย์ ชมภูแดง", "title": "พรรคพลังใหม่" }, { "docid": "63261#0", "text": "เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ คนที่ 20 อดีตนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุบลราชธานีเป็นผู้ดูแลพื้นที่ภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย และเป็นน้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และเป็นพี่สาวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย", "title": "เยาวเรศ ชินวัตร" }, { "docid": "961976#2", "text": "นคร มาฉิมกลับมาปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อนครโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวขอโทษ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งตรงกับวันเกิดของ ทักษิณ โดยได้กล่าวยอมรับว่าเป็นส่วนในการล้มล้างรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรีทั้งสอง และกล่าวถึงกลุ่มสมคบคิดเพื่อล้มล้างรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้มีความพยายามจากพรรคประชาธิปัตย์ในการออกมาตอบโต้และกล่าวหาว่านครเอาความเท็จมานำเสนอ ", "title": "นคร มาฉิม" }, { "docid": "190640#0", "text": "ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 — ) ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นบุตรสาวของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และยังเป็นหลานสาวของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ของไทย ปัจจุบันศึกษาปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง", "title": "ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์" }, { "docid": "988110#3", "text": "จากนั้นในการประชุมใหญ่ของพรรคไทยรวมพลังเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคไทยรักษาชาติ พร้อมกับเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคอุดมการณ์ของพรรค และนโยบายของพรรค รวมถึงนายกมลได้ลาออกจากตำแหน่งรักษาการหัวหน้าพรรคโดยมีกระแสข่าวว่าพรรคไทยรักษาชาติเป็นพรรคสาขาของพรรคเพื่อไทยเพราะมีอดีต ส.ส. และอดีตรัฐมนตรีของ พรรคเพื่อไทย จำนวนหนึ่งได้เตรียมย้ายมาสังกัดและเข้ามาบริหารพรรคไทยรักษาชาติ นอกจากนี้ยังมีการตีความชื่อย่อของทางพรรคในช่วงแรกๆ ว่ามีนัยหมายถึงทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีอีกด้วย ", "title": "พรรคไทยรักษาชาติ" }, { "docid": "265885#7", "text": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคความหวังใหม่ อยู่ในลำดับที่ 11 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ทักษิณ ชินวัตร)", "title": "กระแส ชนะวงศ์" }, { "docid": "272602#8", "text": "ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีกระแสข่าวว่า พล.ต.อ.พงศพัศ จะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในสังกัดพรรคเพื่อไทย โดยการทาบทามของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ในเวลาต่อมา พล.ต.อ.พงศพัศได้ปฏิเสธข่าวนี้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นยังคงมีกระแสข่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดย พล.ต.อ.พงศพัศ มีท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ โดยกล่าวว่าอยู่ที่มติของคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และการตัดสินใจของตัวเขาเอง", "title": "พงศพัศ พงษ์เจริญ" }, { "docid": "32631#1", "text": "การประท้วงทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นครั้งแรก และเริ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้นเมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2548 ส่วนหนึ่งจากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และขยายตัวในวงกว้างไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา ในการรณรงค์ขับนี้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นหลาย ๆ กลุ่ม ในเรื่องกระบวนการและประเด็นในการขับ ส่วนในกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงกลุ่มคาราวานคนจน และขบวนรถอีแต๋นเดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็ได้รวมตัวชุมนุมเพื่อสนับสนุนให้นายทักษิณ ชินวัตรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยปักหลักอยู่ที่สวนจตุจักร และตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย ผลจากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ที่อดีตพรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชนและพรรคชาติไทยไม่ได้ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทย ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค ยังคงได้รับคะแนนเสียงข้างมาก (56.45% ในผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ) แต่ในบางพื้นที่ของเขตซึ่งไม่มีผู้สมัครอื่นลงแข่งนั้น ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย แต่ในท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้เป็นโมฆะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีกลุ่มเครือข่ายแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และอาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ล่าชื่อกว่า 92 คน ปลุกกระแส \"ต้านทักษิณ\" และออกแถลงการณ์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ยุติบทบาทจากการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทันที ซึ่งในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการรวมตัวกันครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของแกนนำเครือข่ายการต่อต้าน การประท้วงขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน ขณะที่พ.ต.ท. ทักษิณชินวัตร กำลังเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก", "title": "การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง" }, { "docid": "195785#0", "text": "นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตนักแสดงละครโทรทัศน์ และพิธีกรรายการโทรทัศน์", "title": "เฉลิมชัย มหากิจศิริ" }, { "docid": "377506#0", "text": "ต่อพงษ์ ไชยสาส์น อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นบุตรชายของนายประจวบ ไชยสาส์น อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม", "title": "ต่อพงษ์ ไชยสาส์น" }, { "docid": "120486#2", "text": "จตุพร เป็นอดีตโฆษกพรรคไทยรักไทย และอดีต ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค แจ้งเกิดทางการเมืองจากการเป็นผู้นำนักศึกษาช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เมื่อเกิดการปราบปรามผู้ชุมนุมที่ ถนนราชดำเนิน และผู้ชุมนุมย้ายไปปักหลักที่รามคำแหง โดยมีจตุพรขึ้นเวทีปราศรัยด้วย โดยร่วมกับเพื่อนๆ นักศึกษาอีกหลายคน เช่น อุสมาน ลูกหยี วัชระ เพชรทอง[1] นายจตุพร ทำงานการเมืองโดยมีกลุ่มนักศึกษารามคำแหง พรรคศรัทธาธรรมที่ตัวเองเป็นผู้ก่อตั้ง จึงมีชื่อที่รู้จักกันดีในสมัยเรียนว่า ตู่ ศรัทธาธรรม เป็นฐานกำลังคอยเคลื่อนไหว เช่น การให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร[2]การมอบดอกไม้ กกต. การเดินขบวนไปหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ในสมัยที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนไหวขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี", "title": "จตุพร พรหมพันธุ์" }, { "docid": "63256#0", "text": "เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (ชื่อเล่น: แดง) อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ประธาน ส.ส.ภาคเหนือ พรรคเพื่อไทย vfu9เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็มลิงก์ เอเชีย คอรัปชั่น จำกัด อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และหัวหน้ากลุ่มวังบัวบาน พรรคไทยรักไทย เป็นภริยาของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26 เป็นน้องสาวคนรองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 และเป็นพี่สาวของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 28", "title": "เยาวภา วงศ์สวัสดิ์" }, { "docid": "8188#1", "text": "อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนว่าเป็นผู้ที่สามารถอธิบายกฎหมายได้เข้าใจที่สุด จากการได้รับการยอมรับจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง", "title": "วิษณุ เครืองาม" }, { "docid": "65583#16", "text": "ไม่มีฝ่ายใดออกมาอ้างแสดงความรับผิดชอบในเหตุระเบิดดังกล่าว และทั้งพรรคไทยรักไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ต่างปฏิเสธความเกี่ยวข้อง[4] ในช่วงที่ยังไม่มีหลักฐานต่อสาธารณชนเป็นรูปธรรม ได้มีการออกมากล่าวถึงทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับผู้ที่น่าจะอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว", "title": "เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549" }, { "docid": "65583#2", "text": "ชายคนหนึ่งถูกจับกุมในกรุงเทพมหานครเนื่องจากพกพาอุปกรณ์ระเบิด และตำรวจจังหวัดเชียงใหม่อ้างว่าภารโรงของมัสยิดที่เกิดระเบิดขึ้นนั้นยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้ทำระเบิดขึ้น ไม่มีผู้ใดอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดดังกล่าว นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวประณาม \"พวกอำนาจเก่า\" ว่าเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบกับเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น โดยหมายความถึงรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และกลุ่มผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[3] ทั้งพรรคไทยรักไทย และอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด[4] ในภายหลัง พล.อ.สุรยุทธ์ได้กลับคำและยอมรับการกล่าวถึงว่าพันธมิตรของทักษิณเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น \"เป็นเพียงการวิเคราะห์ด้านข่าวกรอง\" และไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลชัดเจนสนับสนุน[5]", "title": "เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549" }, { "docid": "188871#2", "text": "นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคความหวังใหม่ สองสมัย ได้แก่ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 แต่ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้คะแนนเป็นอันดับ 2 รองจากนายวิทยา ทรงคำ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ซึ่งลำดับที่ 3 คือ นายขวัญชัย สกุลทอง จากพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนนายมอนอินทร์ รินคำ อดีต ส.ส. 2 สมัย ได้คะแนนเพียง 208 คะแนน แต่ได้รับแต่งตั้งเป็นประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย พร้อมกับสมาชิกส่วนใหญ่ของพรรคความหวังใหม่ในปี พ.ศ. 2545", "title": "กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่" }, { "docid": "296109#0", "text": "ศันสนีย์ นาคพงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังธรรม, อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย, อดีตผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งมีชื่อเสียงคู่กับจักรพันธุ์ ยมจินดา และเอกชัย นพจินดา", "title": "ศันสนีย์ นาคพงศ์" }, { "docid": "57369#0", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง แกนนำพรรคเพื่อไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝั่งธนบุรีหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตรองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคมวลชน ระหว่างวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ ตามคำสั่งคำสั่งที่ พิเศษ 1/2557 เรื่องจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ โดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2556[1]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "63252#24", "text": "นับแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 มีการชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... ซึ่งเดิมวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. เป็นผู้เสนอร่าง แต่ภายหลังมีการแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ นำโดยประยุทธ์ ศิริพานิชย์ รองประธานกรรมาธิการ และอดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย จนมีการคัดค้านจากพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[47]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "331754#3", "text": "ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล เริ่มเข้าสู่งานการเมือง โดยการชักชวนของทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคพลังธรรมและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 6 สังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมา ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล จึงเข้าร่วมกับทักษิณ ชินวัตร ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งเป็นโฆษกพรรคคนแรก (คณะกรรมการชุดที่ขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง) กระทั่งในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ผู้แทนการค้าไทย และต่อมาจึงได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ", "title": "กันตธีร์ ศุภมงคล" }, { "docid": "15624#7", "text": "ในการเลือกตั้งครั้งต่อมา นายเสนาะ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และสนับสนุนให้ พตท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย และไม่รับตำแหน่งทางการเมือง โดยให้นางอุไรวรรณ เทียนทอง ภรรยา รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลในโควตากลุ่มวังน้ำเย็น ในระยะหลัง นายเสนาะถูกลดบทบาทความสำคัญในพรรค จนกระทั่งในการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548 นายเสนาะได้วิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อย่างรุนแรง", "title": "เสนาะ เทียนทอง" }, { "docid": "50151#0", "text": "พานทองแท้ ชินวัตร ชื่อเล่น: โอ๊ค (2 ธันวาคม พ.ศ. 2522) นักธุรกิจชาวไทย สมาชิกพรรคเพื่อไทย บุตรชายของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย กับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ เกิดที่เมืองฮันต์สวิลล์ ในรัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา มีน้องสาวสองคน คือพินทองทา และแพทองธาร", "title": "พานทองแท้ ชินวัตร" } ]
3975
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "4226#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ", "title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" } ]
[ { "docid": "977572#3", "text": "จนเมื่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาตั้ง ณ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาปี พ.ศ. 2329 องเชียงสือซึ่งเป็นหลานของกษัตริย์ญวน ที่ได้หนีภัยการเมืองเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 เห็นว่าหมดภัยทางบ้านเกิดเมืองนอน แต่จะทูลลากลับก็เกรงพระทัย จึงหนีลงเรือหนีไปทางปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงทราบ ทรงยกกองเรือตามไปแต่ไม่ทันกัน ทรงกริ้วมาก ทรงเห็นว่า องเชียงสือรู้ความตื้นลึกหนาบางของไทยเป็นอย่างดี จึงโปรดฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ ลงสำรวจพื้นที่สร้างเมืองใหม่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา กรมพระราชวังบวรฯ เห็นว่าบริเวณ \"ลัดโพธิ์\" มีชัยภูมิที่ดี จากนั้นได้สร้างป้อมค่ายหนึ่งป้อมชื่อ \"ป้อมวิทยาคม\" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้รับสั่งให้สร้างเมืองบริเวณปากลัด แต่ยังไม่สำเร็จเพราะเกิดศึกกับพม่าก่อน แต่มีการถมคลองลัดโพธิ์ให้แคบเพื่อป้องกันการโจมตีจากทะเล อีกทั้งอาจทำให้น้ำเค็มจากปากน้ำไหลมาถึงกรุงเทพได้เร็วขึ้น", "title": "บางกะเจ้า" }, { "docid": "607515#2", "text": "คุณฉิมรักใคร่ชอบพอคุณสีเมื่อสมัยกรุงธนบุรี เนื่องจากมีเคหสถานใกล้กับเคหสถานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งขณะนั้นยังดำรงยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขึ้นครองราชย์แล้ว จึงได้พระราชทานให้เป็นสนมเอกแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ราวปี พ.ศ. 2328 และได้ให้ประสูติกาลพระราชธิดาสองพระองค์ คือภายหลังเจ้าจอมมารดาสี คงสมบูรณ์อยู่มากคืออ้วนมาก จนถูกเรียกกันทั่วไปว่า \"เจ้าคุณพี\" ดังปรากฏในคำกลอนพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้เหล่านางในตามเสด็จประพาสสวนขวาโดยลงเรือพายทำนองไล่จับกัน ทรงเขียนกลอนกล่าวถึงรูปพรรณของเจ้าจอมมารดาสีว่า \"\"จับได้เรือเจ้าคุณพี ท่านเป็นผู้ดีมาแต่แผ่นดินโน้น ท่านงามนักเจียวเมื่อสาว เดี๋ยวนี้อ้วนราวกะตะโพน\"\" สอดคล้องกับคำตรัสเล่าของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวความว่า \"\"แต่เมื่อได้เห็นตัวนั้นเป็นผู้ใหญ่มีพระองค์เจ้าแล้วถึง ๒ องค์ รูปพรรณแปรปรวนอ้วนพีจึงได้เรียกชื่อนี้จนตาย\"\"", "title": "เจ้าจอมมารดาสี ในรัชกาลที่ 2" }, { "docid": "4226#32", "text": "ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ออกพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[16516,16554,3,3]}'>พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงสร้างอุทิศถวาย[8] และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เพิ่มพระปรมาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า \"พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก\"[7]", "title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" }, { "docid": "126732#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๒๗๙ - พ.ศ. ๒๓๕๒ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕ - พ.ศ. ๒๓๕๒) รัชกาลที่ ๑ แห่งราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 10 แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา ๓ ยาม ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม \"ทองดี\") และพระอัครชายา (พระนามเดิม \"หยก\"หรือ ดาวเรือง)\nพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช ๑๑๔๔) ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา ปลาทอง ดร", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" }, { "docid": "70366#1", "text": "พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี มีพระนามเดิมว่ากุ เป็นพระกนิษฐาต่างพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น \"พระองค์เจ้ากุ\" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระยศเปน\"พระเจ้าบรมวงษ์\" สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีกุน จ.ศ. 1189 ตรงกับ พ.ศ. 2370 ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันอาทิตย์ แรม 14 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด", "title": "พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี" }, { "docid": "183705#1", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)ได้ถวายคุณตานีเพื่อเข้าเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านเป็นเจ้าจอมที่เป็นที่โปรดปรานคนหนึ่ง ในพระราชวังฝ่ายในออกนามเจ้าจอมตานีว่า เจ้าคุณวัง เจ้าจอมตานีมีพี่น้องร่วมบิดาซึ่งได้ถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกอีกหลายคน เช่น เจ้าจอมนกเกิดจากคุณมิ่ง เจ้าจอมส้มเกิดจากคุณฉิม เจ้าจอมชูเกิดจากคุณดุ๊ และเจ้าจอมจิตรเกิดจากคุณกอง", "title": "เจ้าจอมมารดาตานี ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "18659#1", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ มีพระราชปรารภว่า ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงหล่อพระศรีสรรเพชญ์ และพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อๆ มา ทรงหล่อพระรูปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้ทรงเป็นบรมกษัตริย์ขึ้นไว้สักการบูชา ด้วยอาศัยปรารภเหตุทั้งสองอย่างนี้ จึงทรงพระราชศรัทธาสร้างพระพุทธรูปใหญ่ หุ้มด้วยทองคำ เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 เมื่อทรงปรึกษาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังผนวช จึงมีพระราชดำริว่าพระพุทธรูปความมีความสูงในราวหกศอก จึงได้ทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง อย่างจักรพรรดิราช 2 องค์ จารึกพระนามองค์หนึ่งว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช จักรพรรดินารถบพิตร อีกพระองค์หนึ่งจารึกพระนามว่า พระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนารถธรรมิกราชบพิตร ซึ่งเดิมเรียกว่า แผ่นดินต้น แผ่นดินกลาง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงหวั่นวิตกว่าประชาชนจะเรียกแผ่นดินของพระองค์ว่า \"แผ่นดินปลาย\" ซึ่งหมายถึงสิ้นสุดสมัยรัตนโกสินทร์ อันจะเป็นอัปมงคล จึงมีพระบรมราชโองการให้ตั้งนามแผ่นดินตามพระพุทธปฏิมากรทั้ง 2 พระองค์ แผ่นดินต้นให้ใช้ว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แผ่นดินกลางให้ใช้ว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนสร้อยพระนามเป็น “นภาลัย”", "title": "พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย" }, { "docid": "32760#0", "text": "วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมป้อมเพชร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระอัยกาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ให้ชื่อว่าวัดทอง เป็นวัดของฝ่ายวังหน้า ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็โปรดเกล้าให้บูรณะวัดนี้ทั้งหมด จึงถือว่า วัดนี้เป็นวัดประจำราชวงศ์จักรี", "title": "วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร" }, { "docid": "170711#0", "text": "เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) หรือ พระยายมราช (แบน) เป็นแม่ทัพคนหนึ่งในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้มีพระบรมราชโองการสั่งยกทัพไปช่วยเขมรเพื่อป้องกันการรุกรานจากญวน โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสรยศเป็น เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพใหญ่ ซึ่งได้ขอตัวพระยายมราช (แบน) ไปด้วย ด้วยเป็นนายทหารฝีมือดี เมื่อเสด็จนำกองทัพไปถึงเมืองกัมพูชาแล้ว พระยาสรรค์ก่อกบฏขึ้นในกรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบนำทัพกลับเพื่อจัดการกบฏ แต่ทางกัมพูชานี้ได้ทิ้งไว้ให้พระยายมราช (แบน) เป็นผู้ดูแล ไม่นานนัก เมื่อเสด็จมาถึงและได้ปราบดาภิเษกเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าแล้ว ส่วนพระยายมราช (แบน) ก็ติดราชการอยู่ที่เมืองกัมพูชาอยู่", "title": "เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)" }, { "docid": "564086#2", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าจอมทองคำ ซึ่งเป็นพระราชภาคิไนยขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าฝ่ายในพระองค์หนึ่ง ประทับ ณ พระตำหนักเขียวเบื้องหลังหมู่พระมหามณเทียรร่วมกับพระมารดา พระองค์ไม่มีเจ้ากรมต่างหาก แต่เป็นสังกัดในกรมพระยาเทพสุดาวดี จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นเอง แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นปีใด", "title": "สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองคำ" }, { "docid": "985025#0", "text": "ที่ชา คือการเล่นเครื่องน้ำชาอย่างไทย ที่ใช้ถ้วยชาและปั้นชาอย่างจีน โดยกำหนดวิธีการเล่นแบบไทยโดยเฉพาะ เหมือนกับการเล่นปั้นชา และ เครื่องโต๊ะ\nที่ชาและถ้วยชาที่นิยมเล่นในไทยนั้น สันนิฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระหว่าง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้วยน้ำชาที่เข้ามานั้น ส่วนมากเป็นลายสีและลายน้ำทอง ถ้วยลายครามมีน้อยมาก ถ้วยชง(ถ้วยไก้หว่าน 蓋碗)มักเป็นทรงถ้วยน้ำพริก ถ้วยตวง(จอกชา 品茗杯)มักเป็นทรงบัว ส่วนถ้วยตวงที่มีฝาเป็นของที่ไทยสั่ง ถ้วยในยุคนี้ที่นับถือว่าวิเศษสุด คือ ถ้วยชุด4 เป็นของราชบรรณาการจากจักรพรดิจีนถวายมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นถ้วยชาอย่างที่เรียกว่า เครื่องเปลือกไข่ คือบางเกือบจะเท่าเปลือกไข่ ทรงโอพื้นขาว เขียนลายหนังสือเล็กเส้นหมึกขอบแดง ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเก็บรักษาไว้ตลอดรัชกาล แล้วตกไปเป็นของผู้อื่น แล้วนำมาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้วยชาแตกไป1ใบ จึงเอาทองคำทำแทนเนื้อที่แตกแทน", "title": "ที่ชา" }, { "docid": "127203#2", "text": "ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่มีการย้ายสถานที่ในการประดิษฐานหลายครั้ง เช่น พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท เป็นต้น ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ย้ายพระบรมรูปมาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระบรมชนกนาถ ", "title": "วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "39563#2", "text": "หมู่พระมหามณเฑียร เป็นหมู่พระที่นั่งที่ใช้ที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการของพระมหากษัตริย์ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 เพื่อทรงใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลในพระราชพิธีปราบดาภิเษกและประทับอยู่ตลอดรัชกาล หลังจากนั้นพระมหามณเฑียรได้ใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลสำหรับประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ สืบเนื่องกันมาทุกรัชกาลในราชวงศ์จักรี", "title": "พระมหามณเฑียร" }, { "docid": "761909#2", "text": "จนกระทั่ง พ.ศ. 2330 พญามังไชยได้ถูกนำตัวลงไปเฝ้ากษัตริย์สยามรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี จึงถูกกักตัวไว้ให้อยู่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงไม่ไว้วางพระทัยต่อพญามังไชยที่เคยเป็นข้าเก่าผู้สวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีที่พระองค์เพิ่งได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แทน และพญามังไชยเคยยกกองทัพเมืองแพร่เข้าร่วมกับพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2310 อีกทั้งพญามังไชยพร้อมครอบครัวเคยไปอยู่เมืองอังวะกับกษัตริย์พม่าเป็นเวลานาน ภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแต่งตั้งเป็น “พระเมืองไชย” หรือ “พระยานครไชยวงศา” และทรงเรียกพระนามตนเองว่า “พระเมืองไชย” หรือ “พระยานครไชยวงศา” แทน “พระยาศรีสุริยวงศ์” ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้ง ", "title": "พระยาศรีสุริยวงศ์ (มังไชย)" }, { "docid": "170636#14", "text": "เจ้าจอมแว่นเป็นผู้มีความกล้าหาญ และมีศิลปะในการเพ็ดทูลเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่มีผู้ใดกล้านำขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) และหากเจ้าจอมแว่นเห็นว่าเรื่องนั้นเป็นสิ่งสมควรและถูกต้องแล้ว ก็จะกราบทูลทันทีมิได้เกรงกลัวพระราชอาญา ความกล้าหาญของเจ้าจอมแว่นเป็นที่ประจักษ์เมื่อปี พ.ศ. 2339 คราวที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายจากการว่าราชการงานเมือง ขณะบรรทมหลับก็เกิดพระสุบินและทรงละเมอ ทำให้ข้าราชบริพารตกใจไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรดี เจ้าจอมแว่นจึงใช้ความหาญกล้าตัดสินใจกัดนิ้วพระบาท จนพระเจ้าอยู่หัวทรงรู้สึกพระองค์และตื่นพระบรรทม เจ้าจอมแว่นจึงได้รับความดีความชอบและเป็นที่โปรดปรานของพระองค์อย่างมาก และด้วยความจงรักภักดีสุจริตใจของเจ้าจอมแว่นนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหาราช (รัชกาลที่ 1) จึงไม่ทรงพิโรธ[17] ความกล้าหาญของเจ้าจอมแว่นอีกครั้งหนึ่งได้ปรากฏ ดังนี้", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "95911#1", "text": "เจ้าอนุวงศ์ทรงได้รับการเฉลิมพระนามตามจารึกประวัติศาสตร์ว่า สมเด็จบรมบพิตรพระมหาขัติยธิเบศไชยเชษฐา ชาติสุริยวงศ์องค์เอกอัครธิบดินทรบรมมหาธิปติราชาธิราช มหาจักรพรรดิ์ภูมินทรมหาธิปตนสากลไตรภูวนาถ ชาติพะโตวิสุทธิมกุตสาพาราทิปุลอตุลยโพธิสัตว์ขัติย พุทธังกุโลตรนมหาโสพัสสันโต คัดชลักขรัตถราชบุรีสีทัมมาธิราช บรมนาถบรมบพิตร จากการเฉลิมพระนามนี้ชี้ให้เห็นว่า นครเวียงจันทน์มีเจ้าผู้ปกครองแผ่นดินในฐานะพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงเอกราชมากกว่าที่จะอยู่ในฐานะเมืองขึ้นหรือเมืองส่วยอย่างที่นักวิชาการหลายท่านเข้าใจ นอกจากนี้ ในจารึกหลายหลักยังออกพระนามของพระองค์แตกต่างกันไป ดังนี้ เจ้าอนุวงศ์ เอกสารทางประวัติศาสตร์บางแห่งออกพระนามว่า เจ้าอนุรุธราช ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓ ของสมเด็จพระเจ้าไชยเสฏฐาธิราชที่ ๓ (พระเจ้าสิริบุญสาร หรือ เจ้าองค์บุญ ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๔ และพระมหากษัตริย์เอกราชแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์สุดท้าย ก่อนตกเป็นประเทศราชของกรุงธนบุรี สันนิษฐานว่าพระราชมารดาทรงเป็นพระอัครมเหสีฝ่ายขวา เจ้าอนุวงศ์ทรงเป็นพระราชนัดดาในเจ้าองค์ลอง พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๒ (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๗๓-๒๓๒๒) ส่วนเจ้าองค์ลองนั้นทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (หรือพระไชยองค์เว้) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๑ (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๕๐-๒๒๗๓) เจ้าอนุวงศ์ทรงมีพระราชอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกโดยกำเนิด และมีลำดับในการสืบราชสันตติวงศ์ตามระบบเจ้ายั้งขะหม่อมทั้ง ๔ หรือระบบอาญาสี่ของลาวเป็นลำดับที่ ๓ (โดยนับจากพระเชษฐาสู่พระอนุชา) พระยศของพระองค์ต่างจากพระยศของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) แห่งกรุงเทพมหานครผู้เป็นคู่ปรับของพระองค์ ซึ่งมีพระยศเป็นพระองค์เจ้าโดยกำเนิด ความสัมพันธ์ของเจ้าอนุวงศ์กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ของสยาม ทรงเป็นไปอย่างสนิทแนบแน่นและเป็นความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติ เนื่องจากเจ้าคุณจอมเจ้าหญิงคำแว่น (เจ้าจอมแว่น หรือคุณเสือ) และเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงคำสุก (ทองสุก) พระราชนัดดาทั้งสองของพระองค์ ทรงเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกและพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) และพระราชธิดาของเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงคำสุก (ทองสุก) คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพยวดี หรือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทบุรี ทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้ายในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ด้วย นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และการเมืองบางท่านกล่าวว่า สถานะของพระองค์เมื่อครั้งประทับอยู่ ณ กรุงเทพมหานครนั้นเป็นเสมือนองค์ประกันความจงรักภักดีต่อกรุงสยามของกรุงเวียงจันทน์ เสมอสถานะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อครั้งประทับในกรุงหงสาวดีของพม่า", "title": "เจ้าอนุวงศ์" }, { "docid": "42321#3", "text": "เมื่อทรงเจริญวัยได้รับราชการเป็นมหาดเล็กตำแหน่งนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ใน พ.ศ. 2310 เมื่อข้าศึกยกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นพระนครอ่อนแอมาก พระยาวชิรปราการ (สิน) จึงพาสมัครพรรคพวกตีฝ่าออกจากพระนครศรีอยุธยา มุ่งไปรวบรวมกำลังที่หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ที่ชลบุรี เพื่อจะรบสู้ขับไล่ข้าศึกจากพระนคร เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกบ้านเมืองสับสนเป็นจลาจล นายสุดจินดาได้เสด็จลงเรือเล็กหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา และมุ่งจะเสด็จไปยังเมืองชลบุรีด้วยเช่นกัน ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ได้นำครอบครัวและบริวารอพยพหลบภัยข้าศึกไปตั้งอยู่ ณ อำเภออัมพวา เมืองสมุทรสงครามซึ่งแต่เดิมขึ้นกับเมืองราชบุรี ก่อนที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจะเสด็จไปถึงชลบุรี ได้เสด็จไปพบพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่อำเภออัมพวาก่อน ได้ทรงชวนให้เสด็จไปหลบภัย ณ ชลบุรี ด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ยังไม่พร้อม แต่ได้พระราชทานเรือใหญ่ พร้อมเสบียงอาหาร และพระราชดำริให้ไปฝากตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และทรงแนะนำให้เสด็จไปรับท่านเอี้ยง พระชนนีของพระยาตากสิน ซึ่งอพยพไปอยู่ที่บ้านแหลม พร้อมทั้งทรงฝากดาบคร่ำ และแหวน 2 วง ไปถวายเป็นของกำนัลด้วย", "title": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท" }, { "docid": "373826#3", "text": "เจ้าสุกผู้บิดาได้นำเจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็กมาถวายตัวแก่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ พร้อมกับน้องสาวอีกสองคนดังกล่าว ได้เป็นละครหลวงรุ่นเล็ก ในรัชกาลที่ 1 รับบทเป็น นางวิยะดา เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแล้ว เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็กมีอายุประมาณ 11-12 ปี จึงได้เป็นละครหลวงในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในบทนางมะเดหวี สนองพระเดชพระคุณรับราชการเป็นพระสนม และให้ประสูติกาลพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน (พ.ศ. 2366—2456)", "title": "เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก ในรัชกาลที่ 2" }, { "docid": "858928#4", "text": "พ.ศ. 2399 ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์เจ้าดวงจันทร์ มีพระชันษาได้ 73 ปีเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ทรงมีพระชันษายืนนานเท่ารัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินดี เสด็จไปพระราชทานเครื่องสักการะกับต้นไม้เงินต้นไม้ทองคู่หนึ่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์เจ้าดวงจันทร์ถึงในพระราชวังบวร แต่นั้นก็เป็นราชประเพณีถ้าเจ้านายมีพระชันษยืนเท่าพระชนมายุของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็จะทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องสักการะ ถ้าเป็นเจ้านายทรงศักดิ์สูงก็จะพระราชทานต้นไม้เงินต้นไม้ทองด้วยเฉลิมพระเกียรติด้วย แล้วเลยเป็นประเพณีสืบมาถึงรัชกาลอื่นภายหลัง แต่ในรัชกาลที่ 4 มีเพียงพระองค์เจ้าดวงจันทร์พระองค์เดียว ที่ได้รับพระราชทานเครื่องสักการะ", "title": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจันทร์ (ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)" }, { "docid": "86481#1", "text": "แต่เดิมนั้นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีรัชกาลที่ 1-3 นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยของพระองค์เองโดยขึ้นต้นว่า “สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี” และมีสร้อยพระนามเหมือนกันทั้ง 3 รัชกาล ราษฎรจึงต้องสมมตินามแผ่นดินเอาเองเมื่อกล่าวถึงพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ในสมัยรัชกาลที่ 3 ราษฎรได้เรียกนามแผ่นดินรัชกาลที่ 1 ว่า \"แผ่นดินต้น\" รัชกาลที่ 2 ว่า \"แผ่นดินกลาง\" รัชกาลที่ 3 ว่า \"แผ่นดินนี้\" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ไม่ทรงโปรดการออกนามแผ่นดินดังกล่าว เนื่องจากทรงเกรงว่าต่อไปราษฎรจะเรียกรัชกาลของพระองค์ว่า \"แผ่นดินปลาย\" หรือ \"แผ่นดินสุดท้าย\" อันเป็นอัปมงคล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระมหากษัตริย์สองรัชกาลแรก ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม องค์หนึ่งถวายพระนามว่า \"พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก\" อุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชรัชกาลที่ 1 และอีกองค์หนึ่งถวายพระนามว่า \"พระพุทธเลิศหล้าสุราไลย\" (ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ถวายสร้อยพระนามใหม่ว่า \"พระพุทธเลิศหล้านภาไลย\") อุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถรัชกาลที่ 2 และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกนามแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ทั้งสองรัชกาลตามนามพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้", "title": "พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย)" }, { "docid": "170636#9", "text": "เจ้านางคำแว่น (เจ้าจอมแว่น) พระธิดาในพระนครศรีบริรักษ์ (ศักดิ์) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) เจ้านางคำสุก (เจ้าจอมมารดาทองสุก) พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์ พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร ทรงเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) เจ้านางแก้วยอดฟ้า (เจ้านางแก้วยอดฟ้ากัลยาณีศรีกษัตริย์) พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ เจ้านางเขียวค้อม (ไม่ปรากฏพระนามเดิม) พระราชธิดาในเจ้ามหาอุปฮาต (ดวงหน้า) พระราชอนุชาของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร พระองค์เป็นพระสนมในพระเจ้าตากสินเมืองธนบุรี เจ้าหญิงพระองค์นี้ปรากฏพระนามในพงศาวดารเมืองยโสธรเท่านั้น", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "116615#4", "text": "ท่านหมัดในช่วงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ครั้งยังเป็นพระยาชลบุรีอยู่เป็นผู้นำองเชียงสือเจ้าเมืองญวนซึ่งถูกกบฏไกเซินล้มล้างราชบัลลังก์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยองเชียงสือขอเป็นบุตรบุญธรรมพระยาชลบุรี เชียงสือได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาททั้งในราชการสงครามและได้นำเอาประเพณีการแสดงต่าง ๆ ของญวนมาเผยแพร่ จนเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๔๔ องเชียงสือสามารถปราบกบฏไกเซินได้ด้วยความช่วยเหลือด้านอาวุธและอาหารของกองทัพไทย จึงตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าเวียดนามยาลอง ส่งต้นไม้ทองเงินมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก", "title": "พระยาราชวังสัน (หวัง)" }, { "docid": "127203#1", "text": "วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ", "title": "วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "6748#4", "text": "ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด", "title": "วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร" }, { "docid": "131215#3", "text": "1.1 \"พระราโชบายของพระมหากษัตริย์สยาม\" หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเห็นว่าบ้านเมืองอยู่ในสภาพแตกกระจายเป็นก๊กเป็นเหล่า จึงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมไพล่พลให้เป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นเมือง จึงมีพระราโชบายให้จัดตั้งเมืองขึ้นและได้ถือเป็นแนวปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆมา ดังนั้น เมื่อมีเจ้าเมืองใดขอตั้งเมืองใหม่จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองได้ตามประสงค์", "title": "อำเภอพิบูลมังสาหาร" }, { "docid": "570900#1", "text": "เจ้าจอมมารดาเจ้านางทองสุก มีนามเดิมว่า เจ้าหญิงคำสุกแห่งเวียงจันทน์ มีนามฉายาว่า เจ้านางเขียวค้อม ประสูติที่นครเวียงจันทน์ ถือกำเนิดในราชวงศ์เวียงจันทน์ เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอินทวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ในสมัยตกเป็นประเทศราชของสยาม และเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่และหลานอา) ในสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารและสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ พระองค์ได้เสด็จตามพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มาจากนครเวียงจันทน์ พร้อมกับพระราชบิดาและพระบรมวงศานุวงศ์คือ เจ้านันทเสน เจ้าพรหมวงศ์ เจ้าอนุวงศ์ เจ้านางแก้วยอดฟ้า พร้อมด้วยขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปรบชนะเมืองเวียงจันทน์ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เหตุการณ์ครั้งนั้นสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ มาสู่ราชสำนักกรุงธนบุรีด้วย ", "title": "เจ้าจอมมารดาทองสุก ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "9097#3", "text": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า \"วัดโพธาราม\" หรือ \"วัดโพธิ์\" ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ในปี พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า \"วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส\" เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช", "title": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" }, { "docid": "423592#0", "text": "พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ทางไปอำเภอประโคนชัย สร้างในปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงก่อตั้งเมืองบุรีรัมย์ เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก พระบรมราชานุสาวรีย์มีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ฉลองพระองค์แบบนักรบตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ประทับบนช้างศึก จากจดหมายเหตุประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 7 กล่าวว่า ใน พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบพระยาซึ่งคบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอินแห่งจำปาศักดิ์ ขณะเดินทัพพบเมืองร้างอยู่ที่ลุ่มน้ำห้วยจระเข้มาก มีชัยภูมิดีแต่ไข้ป่าชุกชุม ชาวเขมรป่าดงไม่กล้าเข้ามาอยู่อาศัย แต่ตั้งบ้านเรือนอยู่โดยรอบ จึงรวบรวมผู้คนตั้งเป็นเมืองแปะ และให้บุตรเจ้าเมืองพุทไธสมันซึ่งติดตามมาด้วยเป็นเจ้าเมือง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองบุรีรัมย์", "title": "พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" }, { "docid": "140862#19", "text": "ที่ 5 พระโกศทองใหญ่ สร้างในรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2351) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้รื้อทองที่หุ้มกระโกศกุดั่นมาทำพระโกศทองใหญ่ขึ้นไว้ สำหรับพระบรมศพของพระองค์ แต่เมื่อ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระอาลัยมาก จึงโปรดฯให้เชิญพระโกศทองใหญ่ไปประกอบพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพเป็นครั้งแรก และเป็นประเพณีในรัชกาลต่อมา ที่พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพอื่นเป็นพิเศษนอกจากพระบรมศพ", "title": "โกศ" } ]
3976
คนเมืองยองสืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองอะไร?
[ { "docid": "35035#1", "text": "คนเมืองยองสืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่งและเมืองอื่น ๆ ในสิบสองพันนา ซึ่งเป็นคนลื้อหรือไทลื้อ และเมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูนในปี พ.ศ. 2348 คนทั่วไปจึงเรียกว่า คนเมืองยอง เพราะในสมัยนั้นรัฐประชาชาติหรือรัฐชาติ (nation state) แบบตะวันตกยังไม่เกิดขึ้น ในสมัยนั้นผู้คนต่างบ้านหลายเมืองที่มาอยู่ร่วมกัน จึงเรียนขานกันตามชื่อบ้านเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมืองเชียงตุง เป็นต้น ฉะนั้นคนไทยองจึงไม่ใช่คนไทที่เป็นชาติพันธุ์ยอง แต่เป็นคนไทลื้อที่อาศัยอยู่เมืองยอง", "title": "เมืองยอง" } ]
[ { "docid": "35035#18", "text": "ในปีถัดมา พ.ศ. 2348 กองทัพจากหัวเมืองต่าง ๆ นำโดยกองทัพเมืองเชียงใหม่ได้ยกขึ้นไปถึงเมืองยองและได้ \"เทครัว\" คือนำผู้คนในเมืองยองและหัวเมืองใกล้เคียง เป็นจำนวนมากให้มาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนและเชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้คนเบาบาง การ \"เทครัว\"จากเมืองยองครั้งนี้ เป็นการอพยพผู้คนครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง ที่มีการนำมาทั้งระบบของเมืองอันประกอบด้วยเจ้าเมืองยอง บุตร ภรรยา ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์ และผู้นำท้องถิ่นระดับต่าง ๆ ตลอดจนไพร่พลจำนวนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูน", "title": "เมืองยอง" }, { "docid": "6866#14", "text": "ไทเลย เป็นชื่อเรียกคนเมืองเลย ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า คนเมืองเลยคือกลุ่มชนที่อพยพจากชายแดนตอนเหนืออาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากไทหลวงพระบาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเซไล (บ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง ปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2396 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านแห่ (บ้านแฮ่ปัจจุบัน) ได้ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าเมืองเลย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองเลยก็รวมตัวกันเป็นเมืองใหญ่ โดยการรวมตัวของ อำเภอกุดป่อง อำเภอท่าลี่ ซึ่งขึ้นกับมณฑลอุดร อำเภอด่านซ้าย ซึ่งขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก เมืองเชียงคาน ซึ่งขึ้นกับเมืองพิชัย อำเภอต่าง ๆ เหล่านี้จึงโอนขึ้นกับเมืองเลยทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา", "title": "จังหวัดเลย" }, { "docid": "128010#14", "text": "ปี พ.ศ. 2345 แสนปั๋น เจ้าเมืองย่างถึงแก่กรรม เมืองย่างเกิดน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ โดยครั้งนั้นพญาอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านได้มาตรวจสภาพพื้นที่เมืองย่าง เห็นว่ามีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ดี มีพื้นที่ราบกว้างขวาง ประกอบกับในบริเวณเมืองย่างนั้นมีชาวไทลื้อที่เจ้าเมืองเล็นอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบางส่วน อีกทั้งมีชาวไทลื้อที่อพยพมาในสมัยพญาภูคามาตั้งบ้านเรือนอยู่แล้วนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการปกครอง จึงพิจารณาเห็นสมควรโปรดให้ชาวไทลื้อที่ได้อพยพมาจากเมืองยอง เมืองยู้ เมืองเชียงลาบ ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งริมสองฟากฝั่งแม่น้ำย่าง โดยโปรดให้นำช่างปั้นหม้อชาวไทลื้อให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านดอนไชย (ปัจจุบันขึ้นกับตำบลศิลาเพชร) เมืองเชียงลาบให้ตั้งบ้านเรือนที่บริเวณลุ่มน้ำย่างใกล้พระธาตุจอมพริก ลื้อเมืองยองให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้พระธาตุจอมนาง และลื้อเมืองยู้ให้ตั้งบ้านเรือนที่ท้ายแม่น้ำย่าง", "title": "ตำบลยม" }, { "docid": "15785#2", "text": "ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์", "title": "ภาษาไทยถิ่นเหนือ" }, { "docid": "80180#0", "text": "ฟ้อนยอง เป็นฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เมื่อพ.ศ. 2534 โดยโครงการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น (ฟ้อนยอง) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนี่งในโครงการโรงเรียมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม(มพชส.)ของโรงเรียนวชิรป่าซางร่วมกับสภาตำบลนครเจดีย์ และกรรมการนำสตรีตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของชาวยอง (ไทลื้อจากเมืองยอง) เนื่องจากพื้อนที่อำเภอป่าซางประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทลื้อเมืองยองหรือเรียกว่า \"คนยอง\" ซึ่งมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตนสืบทอดกันมาช้านานดังนั้นจึงสร้างรูปแบบทางวัฒนธรรมของชาวยองขึ้นมาในรูปของการฟ้อนรำ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางวัฒนธรรมร่วมกันของชาวยองและเผยแพร่ให้ปรากฏแก่คนทั่วไป", "title": "ฟ้อนยอง" }, { "docid": "18179#5", "text": "ชาวไทยอง หรือ ชาวเมืองยอง ใช้เรียกกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเมืองยอง และกระจายอยู่ในด้านตะวันออกของรัฐฉาน ประเทศพม่า เขตสิบสองพันนา ในมณฑลยูนนานของจีน ภายหลังได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนใน จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย และน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายใต้กุศโลบาย \"เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง\" ของ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ เพื่อรื้อฟื้นอาณาจักรล้านนาภายหลังการยึดครองของพม่าสิ้นสุดลง\nจากตำนาน ชาวเมืองยองนั้น ได้อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่งและเมืองอื่นๆ ในสิบสองปันนา ซึ่งเป็นคนไทลื้อ และได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูน และ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2348 ด้วยสาเหตุของสงคราม เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง 4 ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยอง จำนวน 20,000 คนเข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ ตั้งบ้านเรือนตามลุ่มน้ำแม่ทา น้ำแม่ปิง ผู้คนทั่วไปในแถบนั้นจึงเรียกคนที่มาจากเมืองยองว่า ชาวไทยอง [1]\nในสมัยนั้นผู้คนต่างเมืองที่มาอยู่ร่วมกัน จะเรียกขานคนที่มาจากอีกเมืองหนึ่งตามนามของคนเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมืองเชียงตุง เป็นต้น แต่ของคนเมืองยองนั้น ต่อมาคำว่าเมืองได้หายไป คงเหลืออยู่คำว่า คนยอง ดังนั้น ยอง จึงมิใช่เป็นเผ่าพันธุ์ และเมื่อวิเคราะห์จากพัฒนาการ ประวัติศาสตร์ของเมืองยองแล้ว ชาวไทยอง ก็คือ ชาวไทลื้อนั่นเอง", "title": "ไทลื้อ" }, { "docid": "6471#23", "text": "ชาวไทยวน หรือ คนเมือง ส่วนใหญ่อพยพมาจากเชียงแสนและบริเวณต่างๆ ของล้านนา ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด ชาวไทลื้อ (ไทลื้อ, ไทยอง) ส่วนใหญ่อพยพมาจากสิบสองปันนาและหัวเมืองต่างๆ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีทั้งอพยพมาด้วยความสมัครใจและอพยพมาเนื่องจากเกิดศึกสงครามทั้งภายในหัวเมืองลื้อเอง และอพยพมามากที่สุดยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองของเจ้ากาวิลละแห่งเชียงใหม่ และเจ้าอัตถวรปัญโญฯ แห่งนครน่าน และยุคของเจ้าสุมนเทวราช อีกทั้งมีการอพยพเข้ามาเรื่อยๆ ครั้งเกิดการปฏิวัติการปกครองประเทศของจีน ชาวไทลื้ออาศัยตั้งบ้านเรือน อยู่กระจัดกระจายตามลุ่มน้ำต่างๆ ในจังหวัดน่านมีมากที่สุด คือ อำเภอปัวแทบทุกตำบล อำเภอท่าวังผา อำเภอสองแคว อำเภอเชียงกลาง และอำเภอทุ่งช้าง เลยไปถึงอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ภาษาไทลื้อในจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) ไทลื้อฝั่งสิบสองปันนาตะวันออก ได้แก่ เมืองล้า เมืองมาง (อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำน่าน บริเวณชุมชนบ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา และแถวตำบลยอด อำเภอสองแคว) สำเนียงพูดใกล้เคียงกับภาษาไทยอีสานปนลาวพวน (2) ไทลื้อฝั่งสิบสองปันนาตะวันตก ได้แก่ เมืองยู้ เมืองยอง เมืองเชียงลาบ เมืองเสี้ยว (อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำย่าง บริเวณชุมชนตำบลยม ตำบลจอมพระ(บ้านถ่อน) อำเภอท่าวังผา แถบลุ่มแม่น้ำปัว ตำบลศิลาเพชร ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว ถึงตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ) สำเนียงพูดเหมือนสำเนียงคนยองในจังหวัดลำพูน-เชียงใหม่ ชาวไทพวน หรือ ลาวพวน อยู่ที่บ้านฝายมูล อำเภอท่าวังผา และบ้านหลับมืนพวน อำเภอเวียงสา ชาวไทเขิน หรือ ชาวขึน อพยพมาจากเชียงตุง ปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกกลืนทางวัฒนธรรมจากคนเมือง ทั้งภาษาพูดและเครื่องแต่งกาย แต่บางหมู่บ้านยังมีการนับถือผีเจ้าเมืองของไทเขินอยู่ จึงรู้ว่าเป็นไทเขิน เช่นบ้านหนองม่วง อำเภอท่าวังผา ส่วนบ้านเชียงยืน ตำบลยม อำเภอท่าวังผา ถูกชาวไทลื้อกลืนวัฒนธรรมจนไม่เหลือเค้าของชาวไทเขิน ชาวไทใหญ่ หรือ เงี้ยว หรือ ไตโหลง มีถิ่นฐานในรัฐฉาน และเชียงตุง อาศัยอยู่บริเวณแถวอำเภอทุ่งช้าง ในปัจจุบันถูกกลืนวัฒนธรรมจนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นชาวไทใหญ่", "title": "จังหวัดน่าน" }, { "docid": "32562#2", "text": "จากตำนาน ชาวเมืองยองนั้น ได้อพยพมาจากเมืองเชียงรุ้งและเมืองอื่นๆ ในสิบสองปันนา ซึ่งเป็นคนไทลื้อ และได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูน และ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2348 ด้วยสาเหตุของสงคราม เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง 4 ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยอง จำนวน 20,000 คนเข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ ตั้งบ้านเรือนตามลุ่มน้ำแม่ทา น้ำแม่ปิง ผู้คนทั่วไปในแถบนั้นจึงเรียกคนที่มาจากเมืองยองว่า ชาวไทยอง ", "title": "ไทยอง" }, { "docid": "35035#11", "text": "ในกรณีของคนเมืองยองต่อมาคำว่าเมืองได้หายไป คงเหลืออยู่คำว่า \"ฅนยอง\" ดังนั้น ยองจึงมิใช่ชาติพันธุ์ เมื่อวิเคราะห์จากพัฒนาการและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของเมืองยองแล้ว คนยองก็คือคนเผ่าไทลื้อนั่นเอง ในปัจจุบันชาวเมืองยองในรัฐชานและในจังหวัดน่าน ยังเรียกตัวเองว่า เป็น \"คนลื้อเมืองยอง\"", "title": "เมืองยอง" }, { "docid": "32562#3", "text": "ในสมัยนั้นผู้คนต่างเมืองที่มาอยู่ร่วมกัน จะเรียกขานคนที่มาจากอีกเมืองหนึ่งตามนามของคนเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมืองเชียงตุง เป็นต้น แต่ของคนเมืองยองนั้น ต่อมาคำว่าเมืองได้หายไป คงเหลืออยู่คำว่า คนยอง ดังนั้น ยอง จึงมิใช่เป็นเผ่าพันธุ์ และเมื่อวิเคราะห์จากพัฒนาการ ประวัติศาสตร์ของเมืองยองแล้ว ชาวไทยอง ก็คือ ชาวไทลื้อนั่นเอง", "title": "ไทยอง" }, { "docid": "35035#29", "text": "ซึ่งสอดคล้องกับที่ ร้อยโท ดับเบิ้ลยู ซี แมคเคลาน์ (W.C. McCloed) ข้าราชการชาวอังกฤษ ได้รายงานไว้ในช่วงระยะเวลาที่เดินทางเข้ามาในเมืองลำพูนในปี พ.ศ. 2389 ฅนยองหรือชาวยอง (คนลื้อเมืองยอง) จึงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมืองลำพูน ประชากรมากกว่าร้อยละ 89 สืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองยู้ เมืองหลวย ในแถบหัวเมืองทางตอนบน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่าและสิบสองพันนาของจีน องค์ประกอบด้านประชากรจึงแตกต่างไปจากหัวเมืองอื่น ๆ ในล้านนา การผสมผสานและการปรับตัวของฅนยองในเมืองลำพูนจึงไม่ใช่เป็นลักษณะของคนส่วนน้อยในสังคม (Minority Group) ดังเช่นกลุ่มชาวไทเขิน ลัวะ กะเหรี่ยง ยางแดง ไทใหญ่หรือเงี้ยว จีน หรือฮ่อ ที่อพยพเข้ามาในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ คนยองในเมืองลำพูนจึงยังคงรักษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมบางอย่าง เช่นภาษาไว้ได้ค่อนข้างยาวนานจนถึงปัจจุบัน", "title": "เมืองยอง" }, { "docid": "4977#36", "text": "คนไทยพื้นราบ ประกอบด้วยชาวไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ดังนี้ ไทยวน หรือคนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และทางตอนใต้ของจีน ชาวไทยภูเขา ประกอบด้วย อาข่า มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า บุคคลหลายสัญชาติที่อพยพมาจากพม่าเข้าอยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัยต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย ชาวลาวอพยพ คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. 2517 ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย ชาวจีน</b>ชนกลุ่มน้อยซึ่งสืบเชื้อสายจีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหารพรรคก๊กมินตั๋ง ได้มาตั้งรกรากในพื้นที่ ที่มีความโดดเด่นได้แก่ หมู่บ้านสันติคีรี", "title": "จังหวัดเชียงราย" }, { "docid": "18179#12", "text": "อำเภอปัว เป็นอำเภอที่มีชาวไทลื้ออยู่มากที่สุด ประกอบด้วย ต.ศิลาเพชรเป็นชาวไทลื้อ ที่อพยพมาจากเมืองยอง คือ บ้านดอนไชย บ้านทุ่งรัตนา มาจากเมืองเลน คือ บ้านป่าตอง บ้านนาคำ(หัวโต้ง) บ้านทุ่งศรีบุญยืน ,ตำบลศิลาแลง เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่ง เมืองเลน เมืองยอง เมืองเงิน และเมืองพวน(ลื้อในเมืองพวนไม่ใช่ไทพวน) คือ บ้านดอนไชย-ไร่อ้อย บ้านฝาย(นาร้าง) บ้านหัวน้ำ บ้านตีนตก บ้านเฮี้ย บ้านหัวดอย, ต.วรนคร อพยพมาจากเมืองเลน (ลิน) เมืองยอง ปัจจุบันอยู่ในเขตพม่า คือ บ้านเก็ต บ้านร้องแง บ้านดอนแก้ว บ้านมอน ต.ปัว อพยพมาจากเมืองขอน เมืองยองและเมืองพวน คือ บ้านขอน บ้านป่าลาน อพยพมาจากเมืองยอง เมืองพวน คือ บ้านดอนแก้ว อพยพมาจากเมืองยอง คือ บ้านปรางค์ ต.สถาน อพยพมาจากเมืองยอง เมืองเชียงลาบ เมืองล้า เมืองเงิน คือ บ้านนาป่าน บ้านสันติสุข นอกนั้นในยังมีอีกไม่ต่ำกว่า 20 หมู่บ้านในอำเภอปัวที่เป็นชาวไทลื้อ ส่วนในต่างประเทศนั้น มีการกระจายตัวกันเกือบทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่นในรัฐฉาน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม(เมืองแถน และ เมืองเดียนเบียนฟู ก็มีการบันทึกไว้ว่ามีชาวไทลื้อ อยู่ที่นั่นด้วย)", "title": "ไทลื้อ" }, { "docid": "128674#2", "text": "อำเภอขุนหาญเป็นแหล่งชุมชนเก่าแก่ เป็นพื้นที่ลุ่มของลำห้วยหลายสาขา มีความอุดมสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ก่อนเป็นชาวกุยหรือส่วย (ซึ่งได้สืบเชื้อสายกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน และมีชาวบ้านที่ใช้ภาษากุยหรือส่วยอยู่มากในตำบลโนนสูง ตำบลโพธิ์กระสังข์ และบางส่วนของตำบลกระหวัน) ในยุคต่อมาชาวขอมหรือชนที่ใช้ภาษาเขมรเข้ามาและกระจายกันตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ และสืบสานประเพณีต่อ ๆ กันมา ส่วนผู้คนที่ใช้ภาษาลาวได้เข้ามาภายหลัง ซึ่งสันนิษฐานว่าเข้ามาตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นยุคที่ทางราชสำนักเวียงจันทน์เกิดความวุ่นวายและผู้คนได้อพยพข้ามลำน้ำโขงมาตั้งหลักแหล่งใหม่ ผู้คนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในแถบนี้ คือ (ตามตำนานและเรื่องบอกเล่าของผู้คนสมัยก่อน) กลุ่มของนายหาญ นายเอก นายอุด ซึ่งทั้งสามคนนี้ได้แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน นายหาญได้ไปตั้งหลักแหล่ง ณ บริเวณที่ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านแดง ตำบลขุนหาญ นายเอกไปตั้งที่บ้านตาเอก (ปัจจุบันนี้อยู่ในเขตตำบลกันทรอม) ส่วนนายอุดแยกไปไกลทางทิศตะวันตก ตั้งหลักแหล่งที่ปัจจุบันเรียกว่าบ้านตาอุด เขตอำเภอขุขันธ์", "title": "อำเภอขุนหาญ" }, { "docid": "279644#0", "text": "เมื่ออาณาจักรโคกูรยอแตกใน พ.ศ. 1211 ในครั้งนั้นมีผู้คนกลุ่มต่าง ๆ เป็นจำนวนมากอพยพหลบหนีออกจากโคกูรยอไปอย่างกระจัดกระจายไปทุกทิศทุกทางไปอาศัยอยุ่อย่างกระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ กระทั่งใน พ.ศ. 1239 ราชวงศ์ถังเกิดสงครามกับพวกคิตัน ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนกลุ่มหนึ่งที่มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในแมนจูเรีย ช่วงเวลานั้นเองที่มีชาวโคกูรยอที่กระจัดกระจายไป ได้พยายามรวมตัวกันขึ้นใหม่เพื่อหมายไปตั้งถิ่นฐานเดิมในโคกูรยอ คนกลุ่มนี้นำโดย กอลโกล จุงซัง พาคนเหล่านี้กลับขึ้นไปยังดินแดนตอนเหนือ แต่ระหว่างทาง กอลโกล จุงซัง เกิดเสียชีวิตลง หน้าที่การนำต่อมาจึงเป็นของบุตรชายคือ แท โจยอง ผู้นำคนต่อไป จนกระทั่งถึงตอนเหนือของโคกูรยอเดิม แล้วตั้งถิ่นฐานใหม่ตรงบริเวณมณฑลจี้หลิน ของจีนในปัจจุบัน แล้วสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้น คือ เมืองดองเกียว แล้วเรียกแผ่นดินที่ปักหลักใหม่แห่งนี้ว่า อาณาจักรจิน โดยถือว่าเป็นอาณาจักรสืบต่ออาณาจักรโคกูรยอ", "title": "อาณาจักรพัลแฮ" }, { "docid": "68367#9", "text": "จนมีการใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) มีฐานะเป็นเมือง หรือเรียกตามภาษาภาคเหนือว่า \"เวียง\" และมีชื่อว่า \"เวียงป้อ\" มีผู้ครองเมืองซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนครน่านชื่อว่า \"เจ้าอินต๊ะวงษา\" แต่ประชาชนนิยมศึกษาว่า \"เจ้าหลวงเวียงสา\"\nชาติพันธุ์ของผู้คนในเวียงสาเป็นคนพื้นเมือง ถิ่นเดิมคือพวกละว้า ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นคนรูปร่างใหญ่ สูง โครงกระดูกใหญ่โต มีภาษาสำเนียงพื้นถิ่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง อาศัยทำมาหากินตั้งบ้านเรือน ถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำน่านและแม่น้ำว้า และอีกส่วนหนึ่งเป็นคนเมืองโยนก หรือ ชาวไทยเชียงแสนที่เรียกตัวเองว่าไทยยวนหรือคนเมือง ซึ่งอพยพเป็นข้าขอบขันทะสีมากับสยามประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ที่เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญได้กวาดต้อนผู้คนมาสร้างบ้านแปงเมืองให้สงบสุขร่มเย็นเป็นปึกแผ่น\nวิถีของผู้คนในเวียงสาเป็นคนรักสงบ โอบอ้อมอารี มีความสมัครสมานสามัคคี เรียบง่าย อ่อนงาม ทำมาหากินโดยสุจริต แต่ก่อนมีอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ บนพื้นที่ราบลุ่ม กว้างใหญ่ ที่มีแม่น้ำไหลผ่านถึงเจ็ดสาย จึงเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร สัตว์บก สัตว์น้ำ หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองให้อิ่มหนำสำราญ ดำรงรักษาวิถีรากเหง้า วัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมไว้จากรุ่นสู่รุ่น อันส่งผลให้ “เวียงสา” เจริญรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุขจนตราบทุกวันนี้\nอำเภอเวียงสาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 17 ตำบล 128 หมู่บ้าน ได้แก่", "title": "อำเภอเวียงสา" }, { "docid": "320088#1", "text": "หลังจากปี ค.ศ. 1840 การอพยพก็ทำกันอย่างขนานใหญ่จนกลายเป็นขบวนการโยกย้ายประชากรระดับชาติ ผู้ที่อพยพที่รวมทั้งที่อพยพไปยังบริเตนมีด้วยกันเป็นจำนวนทั้งสิ้นราวระหว่าง 9 ถึง 10 ล้านคนที่อพยพหลังปี ค.ศ. 1700 จำนวนที่อพยพสูงกว่าเมื่อไอร์แลนด์มีประชากรเป็นจำนวนสูงสุดในประวัติศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1830 เป็นจำนวน 8.5 คน ระหว่าง ค.ศ. 1830 จนถึง ค.ศ. 1914 ประชากรอีกเกือบ 5 ล้านคนอพยพไปยังเฉพาะสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1890 สองในห้าของชาวไอร์แลนด์ที่เกิดมีถิ่นฐานอยู่ในต่างประเทศ เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ก็มีผู้คนราว 80 ล้านคนจากทั่วโลกที่อ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากชาวไอริช ในจำนวนนั้นชาวอเมริกัน 45 ล้านคนอ้างว่าเชื้อสายหลักของตนเป็นชาวไอริช", "title": "การพลัดถิ่นของชาวไอริช" }, { "docid": "471673#2", "text": "สืบเนื่องจาก พระเจ้าไชยสิริกษัตริย์แคว้นโยนกเชียงแสน ครองเมืองชัยปราการ (เมืองฝาง) อพยพผู้คนหนีการโจมตีจากพวกมอญลงมาทางใต้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และผู้คนต่างที่อพยพลงมาด้วยได้พากันแยกย้ายไปตั้งบ้านเมืองของตนอยู่ตามแคว้นต่าง ๆ โดยมีเมืองใหญ่ ๆ 2 เมืองคือ เมืองอโยธยาแคว้นละโว้ และเมืองอู่ทองแคว้นสุพรรณภูมิ ต่อมา\nพระเจ้าไชยสิริทรงขยายอาณาเขตไปทางใต้และได้ปกครองแคว้นศิริธรรมราช และได้ตั้งเมืองนครศิริธรรมราช (นครศรีธรรมราช) เป็นเมืองหลวง", "title": "แคว้นสุพรรณภูมิ" }, { "docid": "107203#2", "text": "การอพยพผู้คนมายังล้านนา พวกเจ้าก็จะให้อยู่ในเมืองพร้อมไพร่ที่คอยรับใช้บางส่วน ไพร่ที่ถูกกวาดต้อนมา หากเป็นช่างฝีมือหรือไพร่ชั้นดีกำหนดให้อยู่ในเมือง เช่น กลุ่มไทใหญ่มีฝีมือในการปั้นหม้อให้อยู่บริเวณ ช้างเผือก ช้างม่อย วัวลาย (ในตัวเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน) ส่วนไพร่ไร้ฝีมือจะให้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกเมืองเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ยองที่ลำพูนและสันกำแพง เมื่อตั้งถิ่นฐานแล้วสักระยะหนึ่งชุมชนขยายใหญ่ขึ้นก็เกิดการกระจายตัวออกจากเวียงยองสู่ป่าซางและบ้านโฮ่ง พวกที่มาตั้งถิ่นฐานใหม่จะตั้งชื่อบริเวณที่ตนมาอยู่อาศัยใหม่ตามชื่อหมู่บ้านเดิมที่ถูกกวาดต้อนลงมา แต่บางแห่งก็ตั้งชื่อตามลักษณะทางกายภาพของทำเลที่ตั้งใหม่ ", "title": "อำเภอบ้านโฮ่ง" }, { "docid": "35035#23", "text": "เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำนานเมืองยองไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้แต่อย่างใด แต่ในทางตรงกันข้าม กลับกล่าวถึงการสู้รบอย่างหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน กองทัพของเชียงใหม่ที่ยกมา ยังประกอบด้วยกองทัพของเจ้าเชียงตุงและเจ้าจอมหง (เจ้าเชื้อสายเชียงตุง) การรบครั้งนี้ทำให้จอมหงแม่ทัพคนสำคัญคนหนึ่งของฝ่ายเชียงใหม่เสียชีวิต แต่เมืองยองก็แพ้ต่อกองทัพเมืองเชียงใหม่ ดังที่ตำนานเมืองยองกล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า ..แต่นั้นครั้นรบกัน ได้แพ้ (ชนะ) เมืองยองแล้ว ก็เอากันไปหาบ้านเมืองแห่งเขาหั้นและ.. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองยองไม่ได้ยอมสวามิภักดิ์ตามที่ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวไว้ และในขณะที่เอกสารที่เขียนโดยชาวอังกฤษชื่อ เจ. จอร์จ สกอตต์ (J. George Scott) ได้กล่าวถึงสงครามครั้งนี้ว่า คนเมืองยองได้ตื่นตระหนกตกใจหนีเข้าป่าไปจำนวนหนึ่ง และอีกจำนวนหนึ่งถูกบังคับและกวาดต้อนไป บ้านเมืองถูกทำลายและได้รับความเสียหายจากกองทัพสยาม", "title": "เมืองยอง" }, { "docid": "15228#6", "text": "เมืองปายเป็นเมืองที่มีคนตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยประวัติศาสตร์บริเวณที่ตั้งเมืองปายเป็นเมืองสำคัญของล้านนาในสมัยราชวงศ์มังรายซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ต่อมาเมืองปายได้ร้างไปพร้อมกับเมืองเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. 2318-2338 เมืองปายได้ฟื้นฟูเป็นหมู่บ้านและพัฒนาเป็นอำเภอปาย โดยมีผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ได้แก่ คนไทยวน (คนเมือง) ชาวไทใหญ่ ชาวปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากเมืองปายตั้งอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันเมืองปายเป็นเมืองชุมทางที่สำคัญเมืองหนึ่งบนเส้นทางระหว่างเชียงใหม่กับแม่ฮ่องสอน", "title": "อำเภอปาย" }, { "docid": "35035#22", "text": "ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เป็นเอกสารพื้นเมืองเพียงฉบับเดียวที่ให้รายละเอียดถึงเหตุการณ์ที่กองทัพเชียงใหม่ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองในปี พ.ศ. 2348 ในการที่พระเจ้ากาวิละยกทัพไปตีเมืองยองครั้งนี้ ก็อ้างว่าเป็นการกระทำดังที่กษัตริย์ในราชวงศ์มังรายได้ปฏิบัติมาก่อน แต่จากการที่เมืองยองได้ยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี และยังได้ถวายสิ่งของต่าง ๆ รวมไปถึงนางหน่อแก้วเกี๋ยงคำ น้องต่างมารดาของเจ้าฟ้าหลวงเมืองยองให้กับเจ้าอุปราชธรรมลังกาด้วยพร้อมกับผู้คนอีก 19,999 คน และอาวุธต่าง ๆ เช่น ปืนใหญ่ถึง 1,999 กระบอกกับช้างม้าเป็นอันมาก แสดงให้เห็นว่าทางเมืองยองก็ได้มีกำลังไพร่พลและอาวุธอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย", "title": "เมืองยอง" }, { "docid": "35035#28", "text": "การที่ชาวยองเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นจำนวนมาก ในระยะแรก กลุ่มเจ้าเจ็ดตนที่ปกครองเมืองลำพูนได้ยินยอมให้เจ้าเมืองยองและญาติพี่น้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งแตกต่างจากเจ้าเมืองอื่น ๆ ที่อพยพมาในคราวเดียวกัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2444–2445 ได้มีการสำมะโนประชากรในเมืองลำพูนเป็นครั้งแรกในสมัยของของเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูนลำดับที่ 9 พบว่ามีประชากรทั้งหมด 199,934 คน ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองยองและเมืองอื่นที่อยู่ใกล้เคียง", "title": "เมืองยอง" }, { "docid": "35035#2", "text": "ตัวเมืองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเชียงตุง ห่างกันประมาณ 80 กิโลเมตร ห่างจากชายแดนอำเภอแม่สายประมาณ 157 กิโลเมตร ตัวเมืองยองเป็นแอ่งที่ราบกลางหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ มีความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำที่ดี นับเป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ตั้งแต่อดีตจึงมีผู้คนอพยพจากที่ต่าง ๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานตลอดเวลา ภูมิประเทศด้านตะวันตกสูงกว่าด้านตะวันออก แม่น้ำสายสำคัญคือแม่น้ำลาบ แม่น้ำวัง และแม่น้ำยอง ไหลไปทางทิศตะวันออก ไปสู่แม่น้ำโขง", "title": "เมืองยอง" }, { "docid": "109302#25", "text": "ปี พ.ศ. 2385 เจ้าเมืองเชียงแข็งได้อพยพผู้คนไปขอพึ่งเจ้าเมืองเชียงตุงมหาขนานเนื่องจาก เจ้าเมืองน่านกวาดคนลื้อเชียงแขง เมืองพง มาอยู่เมืองน่าน ทำให้ผู้คนเหลือน้อยลง และบ้านเมืองก็แห้งแล้ง ทำนาไม่ได้ผล เจ้าฟ้ามหาขนานให้เจ้าเมืองเชียงแข็งปั้งเมืองอยู่ที่บ้านยู้เขตเมืองยอง เรียกว่า เมืองหลวยใต้ ดังนั้นเมืองเชียงลาบซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองหลวยใต้ก็กลายเป็นอาณาเขตของเมืองเชียงแขงไปด้วย", "title": "เชียงลาบ" }, { "docid": "107203#1", "text": "อำเภอบ้านโฮ่งเดิมมีฐานะเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอป่าซาง แยกเป็นกิ่งอำเภอบ้านโฮ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2460 และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ในสมัยพระเจ้ากาวิละฟื้นฟูบ้านเมืองได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียงมาไว้ที่เมืองลำพูน โดยตั้งเมืองลำพูนขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2348 ส่วนทางเมืองยองเองเจ้านายของเมืองยองก็ไม่คิดขึ้นกับล้านนาแต่ยังยินยอมสวามิภักดิ์กับพม่าพาผู้คนจำนวนหนึ่งกลับไปตั้งเมืองใหม่เป็นเมืองยองสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในการฟื้นฟูเชียงใหม่นั้นพระเจ้ากาวิละได้เทครัวคนจากเมืองอื่นๆมาหลายครั้ง สำหรับชาวยองมีการเทครัวลงมาจากเมืองยองราว พ.ศ. 2351-2353 และ พ.ศ. 2356 หลังจากนั้นก็ยังมีอีกแต่ไม่เด่นชัด", "title": "อำเภอบ้านโฮ่ง" }, { "docid": "863013#13", "text": "หลังการยุบเมืองรามราชลงเป็นตำบลแล้ว ทายาทบุตรหลานและราษฎรบ้านรามราชที่สืบเชื้อสายมาจากพระอุทัยประเทศ (บัว) และที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษซึ่งอพยพมาจากเมืองเชียงฮ่มทั้งหมด ได้ตั้งสกุลขึ้นว่า นิวงษา คำว่า นิ มาจากพระนามของ ท้าวนิ กรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ของเมืองเชียงฮ่ม ผู้เป็นพระบิดาของพระอุทัยประกาศ (บัว) เจ้าเมืองรามราชองค์แรก นิวงษาจึงหมายถึงผู้สืบเชื้อสายมาแต่ท้าวนิ อย่างไรก็ตาม ทายาทบางส่วนมีการเขียนนามสกุลเป็น นีวงษา ก็มี", "title": "พระอุทัยประเทศ (บัว นิวงษา)" }, { "docid": "184644#0", "text": "ภาษายอง (Yong) เป็นภาษาหนึ่งของชาวไทลื้อ ตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มคำ-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไต-แสก มีผู้พูดในประเทศไทย ราวหนึ่งแสนคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดลำพูน บางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยอง รัฐฉาน ประเทศพม่า มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทลื้อ", "title": "ภาษายอง" }, { "docid": "6866#1", "text": "มีหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาว่า ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนกเชียงแสนที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้าง ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้ายในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่ เป็น \"เมืองด่านซ้าย\" อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยางในที่สุด โดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้าย เป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง", "title": "จังหวัดเลย" } ]
3977
จอห์น ฟอน นอยมันน์ คือใคร?
[ { "docid": "715#0", "text": "จอห์น ฟอน นอยมันน์ (John von Neumann, Neumann János, 28 ธ.ค. ค.ศ. 1903 - 8 ก.พ. ค.ศ. 1957) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี มีผลงานสำคัญในหลายสาขา ทั้ง ควอนตัมฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ จะว่าไปแล้วก็ทุกๆ สาขาในวิชาคณิตศาสตร์ เลยก็ว่าได้", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" } ]
[ { "docid": "715#1", "text": "เขาเป็นบุตรชายคนโต ในพี่น้อง 3 คน ชื่อเดิมของนอยมันน์ คือ János Lajos Margittai Neumann เกิดที่เมืองบูดาเปส บิดาคือ Neumann Miksa (Max Neumann) เป็นนักการธนาคาร และ มารดาคือ Kann Margit (Margaret Kann) นอยมันน์มีชื่อเล่น ว่า \"Jancsi\" เขาเติบโตมาในครอบครัวชาวยิวที่ไม่เคร่งครัด และได้แสดงถึงความจำที่เป็นเลิศ มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยสามารถทำการหารเลข 8 หลักในใจได้ตอนอายุ 6 ปี. ในปี ค.ศ. 1911 ก็เข้าเรียนที่ Lutheran Gymnasium (ในประเทศเยอรมนี, gymnasium หมายถึง โรงเรียนมัธยมปลาย) พอปี ค.ศ. 1913 เนื่องจากคุณพ่อของเขาได้รับตำแหน่ง (ยศ) เขาจึงได้รับชื่อในภาษาเยอรมัน von จึงใช้ชื่อเต็มเป็น János von Neumann", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "392619#2", "text": "ตัวสร้างเลขสุ่มเทียมที่อาศัยคอมพิวเตอร์ ยุคแรกๆ คิดค้นโดย จอห์น ฟอน นอยมันน์ ในปี ค.ศ. 1946 รู้จักกันในนามของ วิธีมิดเดิลสแควร์ (middle-square method) ขั้นตอนวิธีนี้ง่ายมาก รับตัวเลขอะไรเข้ามาเป็น ตัวตั้งต้น ก็นำตัวเลขนั้นมายกกำลัง 2 แล้วนำหลักตรงกลางออกจากผลลัพธ์ที่ได้ ก็จะได้ตัวเลขสุ่มขึ้นมาตามต้องการ ซึ่งสามารถนำตัวเลขนี้มาเป็น ตัวตั้งต้น ในการสร้างตัวเลขสุ่มอื่นๆต่อไปได้เรื่อยๆ ", "title": "ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม" }, { "docid": "299403#12", "text": "ในขณะเดียวกันแวร์เนอร์มาหาแทลฮายม์ เพื่อเอาเงินมาให้ ซึ่งแทลฮายม์โกรธมินนา จึงปฏิเสธไม่รับเงินอีกคัร้ง ต่อมาแทลฮามย์ไปหามินนา เพื่อที่จะว่าเธอเรื่องที่จะถอนหมั้น ในขณะนั้นลุงของมินนาก็ได้เข้ามา ซึ่งแทลฮายม์คิดว่าลุงคนนั้นแย่มากที่รังแกมินนา จึงพยายามปกป้องมินนา แต่หลังจากลุงกล่าวว่าไม่รู้เรื่องตัดออกจากกองมรดกและมินนาเปิดโปรงเรื่องทั้งหมด ซึ่งบอกให้ดูแหวนของตนว่าเป็นแหวนของใคร แทลฮายม์ก็เข้าใจทุกอย่างและทั้งสองคนก็ได้กลับมาเป็นคู่เหมือนเดิม", "title": "มินนา ฟอน บาร์นเฮลม์" }, { "docid": "715#9", "text": "นอยมันน์ได้พิสูจน์ว่า การใช้เครื่องจักรที่สร้างตนเองซ้ำได้ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ในการทำเหมืองขนาดใหญ่มากๆ อย่างการทำเหมืองบนดวงจันทร์ หรือ แถบดาวเคราะห์น้อย เนื่องจากกลไกแบบนี้จะมีการเติบโตเป็นแบบเลขชี้กำลัง", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "8339#1", "text": "เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ซึ่งถูกวีรบุรุษเพอร์ซิอุสฟันคอ ในขณะที่เลือดจากลำคอพุ่งกระเซ็นนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง เพกาซัสเป็นพี่ของคริสซาออร์ ซึ่งก็เกิดมาหลังจากนั้น ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลย ตอนที่เพกาซัสเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่เพกาซัสวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงามที่เหล่ากวีและศิลปินชื่นชมกันนักหนา คือ น้ำพุฮิปโปครีนี ที่เป็นที่รู้จักในวรรณคดีกรีกโบราณ ว่ากันว่า หากใครได้ดื่มน้ำพุนี้แล้ว โอกาสที่จะเป็นกวีเอกอยู่แค่เอื้อม นอกจากนี้แล้วเพกาซัสยังทำหน้าที่คอยเก็บสายฟ้าให้ซุส\nเพกาซัสโดนปราบโดยเด็กหนุ่มรูปงามชาวเมืองโครินทร์ คือ เบลเลอโรฟอน เบลเลอโรฟอนเป็นโอรสของกษัตริย์เมืองโครินท์ คือ กลอคุส ซึ่งต่อมาเบลเลอโรฟอนได้ขี่เพกาซัสปราบสัตว์ประหลาดร้ายไคเมร่า", "title": "เพกาซัส" }, { "docid": "715#7", "text": "นอยมันน์นั้น ได้รับการขนานนามว่าเป็น บิดาของทฤษฎีเกม (game theory). เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ Theory of Games and Economic Behavior โดยร่วมเขียนกับ Oskar Morgenstern ในปี ค.ศ. 1944 เขาได้คิดหลักการ \"MAD\" (mutually assured destruction) ซึ่งเทียบเท่าสำนวนจีนว่า \"หยกกระเบื้องล้วนแหลกราญ\" หรืออาจแปลไทยได้เป็น \"รับรองได้ว่าเจ๊งไปด้วยกันทั้งคู่แน่\" ซึ่งเป็นหลักการซึ่งใช้เป็นหลักสำคัญ ในการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ของอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "92021#1", "text": "ผู้เริ่มศึกษาทฤษฎีเกมในระยะแรกคือ จอห์น ฟอน นอยมันน์ และออสการ์ มอร์เกินสเติร์น โดยได้ตีพิมพ์ตำรา \"Theory of Games and Economic Behavior\" ใน พ.ศ. 2487 ต่อมา จอห์น แนชได้พัฒนาการศึกษาในด้านนี้และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการนำทฤษฎีเกมไปประยุกต์ใช้ในด้านเศรษฐศาสตร์ นอกจากแนชแล้ว มีนักทฤษฎีเกมคนอื่นอีกเจ็ดคนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์", "title": "ทฤษฎีเกม" }, { "docid": "12125#67", "text": "เอมิลลี ลุยส์ มารี ฟร็องซวส โฌซฟีน เปลลาปรา บุตรสาวของฟร็องซัวส-มารี เลอรัว คาร์ล ยูจัง ฟอน มูห์ลเฟลด์ บุตรชายของวิคตอเรีย โครส์ เอเลน นโปเลโอน โบนาปาร์ต บุตรสาวของเค้าน์เตสมองโตลอง จูลส์ บาร์เธเลมี-ซังต์-ติแลร์ (ชาตะ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1805 มรณะ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895) โดยไม่ทราบว่ามารดาของเขาเป็นใคร", "title": "จักรพรรดินโปเลียนที่ 1" }, { "docid": "692#14", "text": "พอสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มสงบปี ค.ศ. 1944 ทัวริงก็เริ่มสานต่อโครงการเก่าตั้งชื่อ \"Buiding the Brain\" แต่ตัดสินใจล้มโครงการไปในปี ค.ศ. 1945 พอได้ข่าวว่าจอห์น ฟอน นอยมันน์ออกบทความเรื่อง EDVAC ออกมาจากฝั่งอเมริกา", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "392619#4", "text": "ปัญหาของ คือท้ายที่สุดแล้ว จะมีการซ้ำกับลำดับสุ่มซึ่งสร้างขึ้นก่อนหน้า บางอันจะทำให้เกิดการวนซ้ำเร็วมากเช่น 00000 ซึ่งถ้านำไปทดลองทำตามวิธีนี้จะพบว่า ตัวเลขสุ่มที่ได้ทุกครั้งคือ 0000000000 ซึ่งฟอน นอยมันน์ ก็ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเช่นกัน แต่เขาคิดว่ามันเพียงพอแล้วกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานของเขา เขาได้ใช้กลวิธีการทางคณิตศาสตร์บางอย่างในการคาดเดาล่วงหน้าก่อนจะใส่เป็น ตัวตั้งต้น ซึ่งจะสามารถซ่อนข้อผิดพลาดดังกล่าวไว้ได้ ต่อมา ถูกแทนที่จากวิธีการอื่นซึ่งซับซ้อนและมีความละเอียดอ่อนมากกว่าซึ่งลำดับสุ่มเสมือนที่ได้มีความใกล้เคียงลำดับสุ่มแท้จริงมากกว่า", "title": "ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม" }, { "docid": "268543#1", "text": "ฟอนดาเริ่มโดดเด่นในการเป็นนักแสดงละครบรอดเวย์ จากนั้นก้าวสู่ฮอลลีวูดในปี 1935 และเริ่มโดดเด่นขึ้นมาหลังจากได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในปี 1940 จากบท ทอม โจด ในเรื่อง \"The Grapes of Wrath\" ผลงานดัดแปลงจากบทประพันธ์ของ จอห์น สไตน์เบก ใน 6 ทศวรรษในฮอลลีวูด ฟอนดา มีผลงานการแสดงอย่าง \"The Ox-Bow Incident\", \"Mister Roberts\" และ \"12 Angry Men\" ", "title": "เฮนรี ฟอนดา" }, { "docid": "715#2", "text": "เขาเรียนจบปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยบูดาเปส ประเทศฮังการี ตอนอายุ 23 ปี", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "182735#0", "text": "สถาปัตยกรรมฟอนนอยมันน์ () คือรูปแบบการออกแบบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ที่ใช้หน่วยประมวลผลกับพื้นที่บันทึกความจำเป็นโครงสร้างในการเก็บคำสั่งและข้อมูล รูปแบบนี้ตั้งชื่อตามจอห์น ฟอน นอยมันน์ ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์และนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ในยุคบุกเบิก", "title": "สถาปัตยกรรมฟอนนอยมันน์" }, { "docid": "758827#2", "text": "สหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกที่มีอาวุธชนิดนี้ โดยทำการทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ลูกแรกของโลกในปี ค.ศ. 1952 มีโค้ดเนมคือ (Ivy Mike) นับแต่นั้นคอนเซ็ปต์ดังกล่าวจึงมีหลายชาตินิวเคลียร์ส่วนใหญ่ของโลกลอกแบบไปใช้ในออกแบบอาวุธของตน การออกแบบอาวุธนิวเคลียร์ชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นในสหรัฐนี้จะเรียกว่า โครงแบบเทลเลอร์–อูลาม (Teller–Ulam configuration) ตามชื่อผู้มีส่วนสำคัญสองคน คือ เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์และสแตนิสลอว์ อูลาม ซึ่งพัฒนาใน ค.ศ. 1951 ให้สหรัฐ และด้วยคอนเซ็ปต์นี้บางอย่างได้ถูกพัฒนาต่อด้วยการมีส่วนร่วมของ จอห์น ฟอน นอยมันน์ สหภาพโซเวียดเป็นชาติที่สองที่มีอาวุธชนิดนี้ โดยทำการทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ของตนเองลูกแรก ใช้ชื่อว่า \"RDS-6s (Joe 4)\"เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1953 จากนั้นจึงตามมาด้วย สหราชอาณาจักร จีนและฝรั่งเศสตามลำดับซึ้งต่างก็พัฒนาอุปกรณ์คล้ายกันนี้\nอาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์เป็นระเบิดนิวเคลียร์ชนิดที่ออกแบบได้ทรงประสิทธิภาพที่สุดสำหรับผลและพลังงานในระเบิดที่มีผลเกิน 50 กิโลตันขึ้นไป จึงทำให้อาวุธนิวเคลียร์แทบทั้งหมดที่ห้าประเทศนิวเคลียร์ใช้อยู่ในปัจจุบันภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ล้วนเป็นอาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ที่ใช้การออกแบบของเทลเลอร์-อูลามทั้งสิ้น คุณลักษณะสำคัญของการออกแบบอาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ถูกเก็บเป็นความลับอย่างเป็นทางการมาเกือบสามทศวรรษ ซึ่งคุณลักษณะที่ว่านี้ คือ", "title": "อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์" }, { "docid": "715#12", "text": "หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวยิว ฟอน นอยมันน์, จอห์น หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐนิวเจอร์ซีย์ หมวดหมู่:บุคคลจากบูดาเปสต์ หมวดหมู่:ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "715#10", "text": "นอยมันน์นับเป็นบุคคลที่ฉลาดล้ำลึก และความจำที่เป็นเลิศเกือบจะเรียกได้ว่า จำได้ทุกอย่าง ในระดับรายละเอียดเลยก็ว่าได้ เขาเป็นคนชอบออกสังคมไม่เก็บตัว ชอบดื่มเหล้า เต้นรำและการเริงรมย์ เป็นคนสนุกสนาน และขบขัน เสียชีวิตที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "692#9", "text": "ปี พ.ศ. 2477 ทัวริงก็จบจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยก็เลยเชิญเขาอยู่เป็น Fellow ด้านคณิตศาสตร์ต่อ (ส่วนใหญ่ Fellow ของเคมบริดจ์จะเป็นพวกที่จบปริญญาเอก แต่ทัวริงจบเพียงปริญญาตรี) ปี พ.ศ. 2478 ทัวริงไปเรียนกับจอห์น ฟอน นอยมันน์ เรื่อง ปัญหาของการตัดสินใจ (Entscheidungs problem) ที่ถามว่า \"Could there exist, at least in principle, a definite method or process by which it could be decided whether any given mathematical assertion was provable?\" ทัวริงก็เลยมาคิด ๆ โดยวิเคราะห์ว่า คนเราทำอย่างไรเวลาทำงานที่เป็นกระบวนการที่มีกฎเกณฑ์ (methodical process) แล้วก็นึกต่อว่า วางกรอบว่าให้เป็นอะไรซักอย่างที่สามารถทำได้อย่างเป็นกลไก (mechanically) ล่ะ? เขาก็เลยเสนอทฤษฏีออกมาเป็น \"The analysis in terms of a theoretical machine able to perform certain precisely defined elementary operations on symbols on paper tape\". โดยยกเรื่องที่เขาคิดมาตั้งแต่เด็กว่า 'สถานะความคิด' (state of mind) ของคน ในการทำกระบวนการทางความคิด มันเกี่ยวกับการเก็บ และเปลี่ยนสถานะจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนี่ง ได้ตามการกระทำทางความคิด โดยทัวริงเรียกสิ่งนี้ว่า คำสั่งตรรกะ (logical instructions) แล้วก็บอกว่าการทำงานต้องมี กฎเกณฑ์ที่แน่นอน (definite method) (ต่อมาเรียกว่า ขั้นตอนวิธี)", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "136178#0", "text": "ห () เป็นวงจรเชิงผสมหคำนวณ (Arithmetic) และตรรกะ (Logic)ห (command) หง\nจอห์น ฟอน นอยมันน์ห\"หน่วยคำนวณและตรรกะ\"' ห\nตัวจอห์น ฟอน นอยมันน์หอย", "title": "หน่วยคำนวณและตรรกะ" }, { "docid": "103131#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2483 แชนนอนได้เข้าทำงานเป็นนักวิจัยใน ซึ่งในที่นั้นแชนนอนได้พบปะพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียง อาทิ จอห์น ฟอน นอยมันน์ นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ผู้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์แบบปัจจุบัน หรือบางครั้งแม้แต่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในที่แห่งนั้นเอง แชนนอนเริ่มเกิดแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสารสนเทศขึ้นมา", "title": "คล็อด แชนนอน" }, { "docid": "182735#1", "text": "โครงสร้างของสถาปัตยกรรมฟอนนอยมันน์ ประกอบด้วยรูปแบบการทำงานหลักๆ 3 แบบได้แก่:", "title": "สถาปัตยกรรมฟอนนอยมันน์" }, { "docid": "715#6", "text": "ช่วง ค.ศ. 1936 จนถึง 1938 แอลัน ทัวริง ได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปที่สถาบัน และเรียนจบปริญญาเอก โดยมีนอยมันน์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนครั้งนี้ของทัวริง เกิดขึ้นหลักจากที่เขาได้ดีพิมพ์บทความวิชาการ \"On Computable Numbers with an Application to the Entscheidungs-problem\" ในปี ค.ศ. 1934 ได้ไม่นาน. งานตีพิมพ์นี้ เกี่ยวข้องกับ หลักการของ logical design และ universal machine. ถึงแม้จะเป็นที่แน่ชัดว่า นอยแมนรู้ถึงแนวความคิดของทัวริง แต่ก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เขาได้ใช้หลักการของทัวริง ในการออกแบบเครื่อง IAS ที่ถูกสร้างในเวลา 10 ปีต่อมา", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "715#11", "text": "จาก ที่เขียนโดย George B. Dantzig ซึ่งเป็นผู้ที่คิดค้น simplex method ที่ใช้แก้ปัญหาการโปรแกรมเชิงเส้น เขาได้เขียนถึงนอยมันน์ จากประสบการณ์ที่ได้ไปพบและขอคำแนะนำจากนอยมันน์ และยังได้สะท้อนถึงบุคลิกของนอยมันน์ และได้เล่าถึงตอนที่นอยมันน์ได้ช่วยเหลือ โดยการตอบคำถามของ Hotelling (ผู้คิดค้น Principal components analysis) ระหว่างการนำเสนอผลงานการโปรแกรมเชิงเส้นของเขา", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "715#4", "text": "ในปี ค.ศ. 1930 นอยมันน์ได้รับเชิญให้ไปยังเมืองพรินซ์ตัน, รัฐนิวเจอร์ซีย์ และได้เป็นหนึ่งในหกบุคคล (J. W. Alexander, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, Marston Morse, Oswald Veblen, จอห์น ฟอน นอยมันน์ และ Hermann Weyl) ที่ถูกคัดเลือกเพื่อเป็นอาจารย์ประจำชุดแรกของ Institute for Advanced Study เขาเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ที่นั่น ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสาขาวิชาในปี ค.ศ. 1933 จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตเขา", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "395512#1", "text": "ขั้นตอนวิธีการหาเกณฑ์ค่าเสียโอกาสมากน้อยที่สุดมีที่มาจากทฤษฎีเกมของจอห์น ฟอน นอยมันน์ ซึ่งเกิดจากการศึกษาเกมศูนย์เพื่อหาวิธีการลดความเสี่ยงจากการสูญเสียเมื่อแพ้", "title": "ขั้นตอนวิธีมินิแมกซ์" }, { "docid": "86106#1", "text": "จอห์น เคลโซ่ (จอห์น คูแซค) นักข่าวหนุ่มจากนิวยอร์กถูกส่งไปเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ชื่อ ซาวานน่าห์ ที่อยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา เพื่อไปทำข่าวงานเลี้ยงวันเกิดของเศรษฐีผู้ใจบุญของเมือง ที่ชื่อ จิม วิลเลี่ยมส์ (เควิน สเปซี่ย์) ในคืนวันงานเลี้ยง ได้มีเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ชื่อ บิลลี่ คาร์ล แฮนสัน (จูด ลอว์) เสียชีวิตในงานด้วยถูกฆาตกรรม ไม่มีใครรู้ว่าเป็นฝีมือใคร แต่เชื่อว่าจิมมีส่วนพัวพัน จอห์น เคลโซ่ ได้สัมภาษณ์หลายคนในเมืองเกี่ยวกับจิม ซึ่งหลายคนก็ได้พูดถึงจิมในแง่มุมก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งตลอดระยะเวลาที่จอห์นได้ทำข่าวสืบสวนอยู่ที่นี่ เขาก็ได้เรียนรู้และเติบโตขึ้น และในที่สุด ก็รู้ตัวฆาตกรซึ่งเป็นบุคคลที่ทุกคนคาดไม่ถึงและเบื้องหลังที่ไม่น่าเชื่อ", "title": "บาปฆาตกร" }, { "docid": "715#8", "text": "นอยมันน์เป็นคนคิด สถาปัตยกรรมแบบ ฟอน นอยมันน์ ซึ่งใช้กันในคอมพิวเตอร์ (แบบที่ไม่ได้ประมวลผลแบบขนาน) ส่วนใหญ่ พูดได้ว่า คอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดในโลกนี้ เป็นเครื่องจักรแบบ ฟอน นอยมันน์ เขาเป็นผู้ริเริ่มสาขา cellular automata และได้สร้างตัวอย่างชุดแรกของ self-replicating automata โดยใช้แค่กระดาษกราฟ กับ ดินสอธรรมดาๆ (ไม่มีคอมพิวเตอร์ช่วยเลย) คำว่า เครื่องจักรแบบ ฟอน นอยมันน์ ยังหมายความถึง เครื่องจักรที่สร้างตนเองซ้ำได้ (self-replicating machine)", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "715#3", "text": "ระหว่างปี ค.ศ. 1926 ถึง 1930 เขาทำงานเป็น \"อาจารย์อิสระ\" (\"Privatdozent\" เป็นตำแหน่งในระบบมหาวิทยาลัยยุโรป สำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งนี้ไม่มีเงินเดือนประจำ) โดยในขณะนั้นเขาเป็นอาจารย์อิสระที่อายุน้อยที่สุดมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "715#5", "text": "ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอยมันน์ได้มีส่วนร่วมใน โครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ซึ่งเป็นโครงการสร้างระเบิดปรมาณู", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "823#144", "text": "ความรุ่งเรืองของฟาสซิสต์และนาซีในคริสต์ทศวรรษ 1930 ทำให้นักวิทยาศาสตร์ยุโรปจำนวนมาก รวมทั้ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, เอนรีโก แฟร์มี และจอห์น ฟอน นอยมันน์เข้าเมืองสหรัฐ[504] ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการแมนฮัตตันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ นำไปสู่ยุคอะตอม ขณะที่การแข่งขันด้านอวกาศสร้างความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านจรวด, วัสดุศาสตร์ และวิชาการบิน[505][506]", "title": "สหรัฐ" } ]
3978
คัมภีร์ของศาสนาคริสต์มีชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "28968#0", "text": "คัมภีร์ไบเบิล[1] หรือ พระคัมภีร์ (English: Bible; Hebrew: ביבליה‎; Aramaic: ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ‎; Greek: Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ บาป และแผนการของพระยาห์เวห์ในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture)", "title": "คัมภีร์ไบเบิล" } ]
[ { "docid": "719183#1", "text": "บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:17 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:21 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์", "title": "ห้าม​โลภ​" }, { "docid": "17915#0", "text": "พันธสัญญาเดิม (English: Old Testament) เป็นศัพท์ศาสนาคริสต์ใช้เรียกคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ของชาววงศ์วานอิสราเอลโบราณ[1] ที่รวมกันเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์ จำนวนหนังสือในพันธสัญญาเดิมจะแตกต่างกันตามแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ยอมรับเฉพาะหนังสือ 24 เล่มในคัมภีร์ทานัคว่าเป็นพันธสัญญาเดิม แต่แบ่งใหม่เป็น 39 เล่ม ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คอปติกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรแห่งเอธิโอเปีย มีจำนวนหนังสือที่รับเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมของตนมากกว่า[2]", "title": "พันธสัญญาเดิม" }, { "docid": "719176#1", "text": "บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:13 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:17 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์", "title": "ห้ามฆ่าคน" }, { "docid": "719180#1", "text": "บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:15 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:19 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์", "title": "ห้ามลักขโมย" }, { "docid": "538424#2", "text": "ศาสนศึกษาเกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลด้วยหลักวิชาประวัติศาสตร์กำลังเป็นที่นิยม และคัมภีร์ของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูก็เพิ่งถูกแปลเป็นภาษายุโรปเป็นครั้งแรก นักศาสนศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในยุคแรก ๆ คือ ศาสตราจารย์มักซ์ มึลเลอร์ ในช่วงแรกนั้นยังใช้ชื่อว่าศาสนาเปรียบเทียบหรือศาสนศาสตร์", "title": "ศาสนศึกษา" }, { "docid": "719178#1", "text": "บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:14 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:18 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์", "title": "ห้ามล่วงประเวณีผัวเมียเขา" }, { "docid": "388199#3", "text": "ชาวคริสต์ที่ยังหลงเหลือในญี่ปุ่นถูกเรียกว่า \"คริสตังลับ\" เพราะชนกลุ่มนี้ยังคงนับถือศาสนาคริสต์อย่างลับ ๆ โดยจะปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในห้องลับภายในบ้านของตนเอง เมื่อเวลาผ่านไป รูปเคารพของบรรดานักบุญในคริสต์ศาสนาได้ถูกแปลงรูปให้คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปและรูปของพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระแม่มารีย์ที่ถูกพรางให้เหมือนเจ้าแม่กวนอิม () ผู้สวดมนต์ยังได้ดัดแปลงคำสวดมนต์ให้ฟังคล้ายกับบทสวดมนต์ในศาสนาพุทธ แต่ยังคงรักษารูปคำเดิมที่ยังไม่แปลจากภาษาละติน ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปนปะปนอยู่ ข้อความในคัมภีร์ไบเบิลถูกถ่ายทอดในลักษณะของมุขปาฐะเนื่องจากหวาดเกรงว่าทางการจะริบพระคัมภีร์ฉบับตีพิมพ์ไปเสีย การดำรงอยู่ของชุมชนชาวคริสต์ต้องขึ้นอยู่กับผู้นำที่เป็นที่พึงพาได้ เนื่องจากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 นั้นมีการกวาดล้างนักบวชคาทอลิกอย่างกว้างขวาง อย่างเช่นบทสวดวันทามารีย์จะมีความแตกต่างจากภาษาละตินดังนี้", "title": "คากูเระคิริชิตัง" }, { "docid": "44658#2", "text": "ในปัจจุบันโทราห์ใช้ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ ในขณะที่ชาวมุสลิมเชื่อว่า คัมภีร์นี้ถูกบิดเบือน แต่งเติม และตัดตอน อีกทั้งบทบัญญัติหลายประการก็ถูกยกเลิกไปแล้ว และพระผู้เป็นเจ้าได้ประทานอัลกุรอานลงมาแทน ชาวมุสลิมจึงไม่ได้ใช้คัมภีร์นี้", "title": "โทราห์" }, { "docid": "142891#1", "text": "ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ \"กิจการของอัครทูต\" และ \"จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย\" ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น \"อัครทูตมายังพวกต่างชาติ\" และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ศาสนาคริสต์ก็เริ่มแยกตัวออกมาจากศาสนายูดาห์อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามคริสตชนยังคงยอมรับคัมภีร์ทานัคของศาสนายูดาห์เป็นพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในภาคพันธสัญญาเดิม", "title": "ศาสนาคริสต์ยุคแรก" }, { "docid": "353173#1", "text": "หลาย ๆ ศาสนาเชื่อว่า คัมภีร์ของตนมาจากการวิวรณ์ของพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ชาวยิวเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานคัมภีร์โทราห์ที่ภูเขาซีนาย ชาวมุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกุรอานแก่นบีมุฮัมมัดเป็นคำ ๆ ทีละอักษร ส่วนศาสนาฮินดูก็ถือว่าพระเวทเป็น “อเปารุเษยะ” (ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์) แต่บรรดาฤๅษีได้สดับฟังจากพระเจ้ามาโดยตรง จึงเรียกว่า \"ศรุติ\" (สิ่งที่ได้ฟังมา) คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า", "title": "วิวรณ์" }, { "docid": "217966#0", "text": "ซาโลมอน (ศัพท์คริสต์ศาสนา) หรือ โซโลมอน (ศัพท์ประวัติศาสตร์) (ละติน: Solomon; ) มาจากราก S-L-M ที่แปลว่า \"ความสงบ\" ในอิสลามว่า สุลัยมาน หรือตามฉายาคือ ซาโลมอนผู้ทรงปัญญา ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ใช้ในคัมภีร์ฮีบรูคือ เจดิดิอา () ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งอิสราเอล ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูหมวดทานัคของศาสนายูดาห์ คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ และในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กล่าวว่ากษัตริย์ซาโลมอนเป็นบุตรของดาวิด และกล่าวว่าเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของสหราชอาณาจักรอิสราเอลและกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่จะแยกเป็นราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือและราชอาณาจักรยูดาห์ทางใต้ หลังจากการแยกตัวผู้ที่สืบเชื้อสายก็ปกครองแต่เพียงราชอาณาจักรยูดาห์เท่านั้น", "title": "ซาโลมอน" }, { "docid": "44658#0", "text": "โทราห์ (; \"โทราห์\"; \"เตารอต\"; ) เป็นชื่อของชุดคัมภีร์ชุดแรกในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งประกอบด้วยหนังสือ 5 เล่มแรกในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ หมายถึง \"บทบัญญัติ\" ซึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยแปลว่า ธรรมบัญญัติ หรือ พระบัญญัติ ", "title": "โทราห์" }, { "docid": "719150#1", "text": "อารัมภบทนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:2 และ หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:6 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์", "title": "เราคือยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้า" }, { "docid": "332688#0", "text": "คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน () หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย", "title": "คริสต์ศาสนิกชน" }, { "docid": "79741#0", "text": "โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (English: Moses; Hebrew: מֹשֶׁה‎; Arabic: موسى‎ มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสนาบาไฮ", "title": "โมเสส" }, { "docid": "298623#51", "text": "วัตถุประสงค์หนึ่งของการตกแต่งคริสต์ศาสนสถานก็เพื่อเป็นการยืนยันความสำคัญและความมีบทบาทของคริสต์ศาสนสถานต่อคริสต์ศาสนาและต่อผู้ถือผู้ถือคริสต์ศาสนา ในความหมายอย่างกว้างๆ คริสต์ศาสนสถานคือผู้ถือคริสต์ศาสนาเอง แต่ในความหมายอย่างแคบๆ แล้วคริสต์ศาสนสถานก็จะหมายถึงองค์กร และ โดยเฉพาะองค์กรที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายโดยผู้นอกศาสนา, คตินิยม, ความแตกแยก และ การปฏิรูป ซึ่งทำให้จำเป็นที่จะต้องบำรุงรักษา และ ยืนยันความคงอยู่ในฐานะของการเป็นทางสู่ความรอด\nการตกแต่งคริสต์ศาสนสถานมักจะสะท้อนบทบาทของสถาบันศาสนา วัตถุประสงค์สำคัญวัตถุประสงค์หนึ่งคือการแสดงว่า “คริสต์ศาสนสถาน” ก่อตั้งขึ้นโดยสาวกและประวัติความเป็นมาก็สามารถสืบสาวกลับไปยังต้นตอได้โดยไม่มีช่องว่าง วิธีหนึ่งที่ใช้ในการแสดงความต่อเนื่องคือการเป็นเจ้าของเรลิกของสาวกหรือนักบุญผู้พลีชีพเพื่อศาสนาจากสมัยคริสเตียนยุคแรก การไปแสวงหาหรือซื้อขายแลกเปลี่ยนอวัยวะของนักบุญหรือเรลิกที่เกี่ยวข้องกับพระเยซูเป็นกิจการที่กระทำกันอย่างแพร่หลายรุ่งเรืองในสมัยกลาง ตัวอย่างเช่นมีคริสต์ศาสนสถานสามแห่งที่ต่างก็อ้างว่าเป็นเจ้าของร่างของมารีย์ชาวมักดาลา หรือจำนวนวัดที่อ้างว่าเป็นเจ้าของพระทนต์น้ำนมของพระแม่มารีย์ก็มีมากกว่าจำนวนฟันน้ำนมของเด็กเป็นต้น", "title": "พระคัมภีร์คนยาก" }, { "docid": "218166#0", "text": "คัมภีร์ฮีบรู (; ) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (; ) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม", "title": "คัมภีร์ฮีบรู" }, { "docid": "298623#9", "text": "หัวข้อเรื่องที่เขียนจากคัมภีร์ไบเบิลจะพบโดยทั่วไปในบริเวณต่าง ๆ ที่ประชากรนับถือคริสต์ศาสนาโดยทั่วไป ในโรมาเนียมีกลุ่มคริสต์ศาสนสถานที่ต่างจากคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ ที่ตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังทั้งภายนอกและภาพในโบสถ์กันอย่างอร่ามหรูหรา บนซุ้มโค้งใหญ่เป็นภาพ “การพิพากษาครั้งสุดท้าย”", "title": "พระคัมภีร์คนยาก" }, { "docid": "119979#26", "text": "กลุ่มศาสนาอับราฮัม () ได้แก่ศาสนาที่มาจากประเพณีเซมิติก () โบราณอันเดียวกันซึ่งสืบย้อนไปถึง \"อับราฮัม\" (ประมาณ 1900 ปีก่อน ค.ศ. หรือ 1350 ปีก่อน พ.ศ.) ซึ่งผู้เฒ่าผู้ปกครองกลุ่มชน () ที่มีการกล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิลฮีบรูภาคพันธสัญญาเดิม และในฐานะผู้ตั้งศาสนาในพระคัมภีร์อัลกุรอาน และยังถูกเรียกเป็นผู้ตั้งศาสนาที่ปรากฏในเจเนซิส 20:7 ด้วยเช่นกัน ความเชื่อเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดกลุ่มศาสนาขนาดใหญ่ที่สัมพันธ์กันโดยการ \"ถือพระเจ้าองค์เดียวกัน\" ซึ่งรวมถึงลัทธิศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามซึ่งมีผู้นับถือรวมกันประมาณครึ่งโลก", "title": "มนุษยศาสตร์" }, { "docid": "352667#17", "text": "[[คริสตกาลที่ 16]] สถาบันของนิกายโรมันคาทอลิกและออร์โธด็อกซ์ พิจารณาลงความเห็นตรงกันว่า ควรเพิ่มประโยคสำคัญ และเพิ่มเติมฉบับอื่นๆ ของคัมภีร์ โดยนำมาบรรจุรวมไว้เป็น แบบฉบับสมบูรณ์เล่มใหม่ของคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ เป็นการรวบรวมวรรณกรรมทางศาสนาบรรจุเป็นเล่มครั้งที่สอง ที่ต่างจากฉบับแรกที่ได้มาจากคัมภีร์ของฮีบรู ข้อความและวรรณกรรมบรรจุใหม่เหล่านี้ บางนิกายของคริสต์ศาสนายอมรับแต่บางนิกายปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นคำสอนของพระเจ้า เช่น Wisdom 0f Solomom และThe Story of Susanna เป็นต้น", "title": "หนังสือปัญญาจารย์" }, { "docid": "298623#52", "text": "เมื่อมีเรลิกแล้วทางคริสต์ศาสนสถานก็จะสร้างภาชนะ, หีบ หรือ กรอบตกแต่งสิ่งเหล่านี้กันอย่างหรูหราด้วยงาช้าง, ทอง และ อัญมณีอันมีค่า นักบุญบางองค์ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักบุญผู้มีอำนาจในการรักษาอาการเจ็บป่วย ก็จะเป็นปัจจัยในการดึงดูดนักแสวงบุญเข้าวัดซึ่งเป็นการสร้างความมั่งคั่งและชื่อเสียงให้แก่วัดที่เกี่ยวข้อง และถ้าเป็นนักบุญที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีการดึงดูดก็จะครอบคลุมไปถึงคริสต์ศาสนาอื่นที่ตั้งเรียงรายบนเส้นทางการแสวงบุญมาจนถึงคริสต์ศาสนสถานที่เป็นที่เก็บรักษามงคลวัตถุของนักบุญผู้นั้น คริสต์ศาสนสถานสามแห่งที่เป็นที่นิยมกันที่สุดของนักแสวงบุญในสมัยกลางคือโบสถ์โฮลีเซพัลเครอในกรุงเยรูซาเลม, มหาวิหารซันตีอาโกเดกอมปอสเตลาในสเปน และ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีในเค้นท์ในอังกฤษ ", "title": "พระคัมภีร์คนยาก" }, { "docid": "58200#6", "text": "ชื่อของทูตสวรรค์หมวดนี้มาจากภาษากรีกเก่าซึ่งแปลได้ว่า ผู้ปกครอง (Rulers) หน้าที่ของพวกเขาคือคอยปกป้องศาสนา คอยดลใจบรรดาผู้นำประชาชนให้ตัดสินใจนำผู้อื่นไปในทางที่ถูกต้องในพระคัมภีร์กล่าวถึงเทวัญ กลุ่มนี้ว่าเกี่ยวข้องกับอำนาจทั้งทางดีและร้าย (อฟ 6.12: 2.22) มีประมุขได้แก่ อนาเอล ฮามิเอล และ Nisroch (ต่อมาได้กลายเป็นเทพตกสวรรค์) ว่ากันว่า ฮามิเอลเป็นผู้มารับผู้เผยพระวจนะเอโนค (Enoch) พามาสู่สรวงสวรรค์หลังจากที่เอโนคถึงแก่กรรม ทูตสวรรค์องค์อื่น ๆ ในวงศ์นี้ ได้แก่ Cervill (เซอร์วิลล์) มีชื่อว่าเป็นเจ้าชายแห่งความแข็งแรง ผู้ช่วยเหลือกษัตริย์ดาวิดในสงครามที่ปะทะกับ โกลิอัท", "title": "ลำดับชั้นของทูตสวรรค์ในศาสนาคริสต์" }, { "docid": "28968#4", "text": "คริสต์ศาสนิกชนใช้คัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์รวมเข้าในสารบบคัมภีร์ไบเบิลด้วยโดยเรียกว่าพันธสัญญาเดิม แต่สารบบของคัมภีร์ฮีบรูเสร็จสมบูรณ์เมื่อไรกลับไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด มีปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในหนังสือบุตรสิรา[5] ซึ่งเขียนขึ้นราว 130 ปีก่อนคริสตกาล ว่าคัมภีร์ฮีบรูประกอบด้วยธรรมบัญญัติ ผู้เผยพระวจนะ และข้อเขียนอื่น ๆ เมื่อคริสต์ศาสนาเกิดขึ้นแล้วหนังสือในสารบบพันธสัญญาเดิมก็ยังไม่ลงตัว เพราะภายในคริสตจักรเห็นไม่ตรงกันว่าควรรับคัมภีร์อธิกธรรมเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมหรือไม่ จนกระทั่งเกิดสภาสังคายนาแห่งฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1442 จึงได้ข้อสรุปในคริสตจักรโรมันคาทอลิกว่าให้รวมคัมภีร์อธิกธรรมเข้าในสารบบด้วย[6] เมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชาวโปรเตสแตนต์ได้คัดค้านการรวมคัมภีร์อธิกธรรมในสารบบคัมภีร์ไบเบิล คริสตจักรโรมันคาทอลิกจึงตั้งสภาสังคายนาแห่งเทรนต์ (ค.ศ. 1545-63) และสภามีประกาศยืนยันให้ยอมรับคัมภีร์อธิกธรรมว่าเป็นพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ด้วย ผู้ใดไม่ยอมรับให้ผู้นั้นต้องถูกตัดออกจากศาสนจักร[7] ส่วนโปรเตสแตนต์ยังยืนยันไม่รับคัมภีร์อธิกธรรมเพราะยืนยันว่าคริสตจักรโรมันคาทอลิกเพิ่มเติมขี้นมาเอง ซึ่งต่างไปจากเนื้อหาในคัมภีร์ฮีบรูทำให้คัมภีร์ไบเบิลของทั้งสองนิกายต่างสารบบกันมาจนถึงปัจจุบัน", "title": "คัมภีร์ไบเบิล" }, { "docid": "18078#1", "text": "จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของอไควนัสคือ การผสมผสานเทววิทยาศาสนาคริสต์ให้เข้ากับตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติล ในที่สุดแนวความคิดของอาริสโตเติลก็กลับมามีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นักคิดชาวตะวันตกก็เริ่มหันมาศึกษางานของอริสโตเติลกันมากขึ้น มีผู้กล่าวว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ พระเจ้าพึงพอใจยอมอนุญาตให้เป็นผู้สรุปความรู้ทุกสาขาวิชา เท่ากับยอมรับว่าอาริสโตเติลเป็นเหมือนคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักบวชของศาสนา เป็นตัวบทกฎหมาย และเป็นนักวินัยทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ กำหนดความรู้ทุกสาขาวิชา", "title": "ทอมัส อไควนัส" }, { "docid": "181747#0", "text": "ในพระคัมภีร์ไบเบิลของคริสต์ศาสนาได้กล่าวถึงเมืองสำคัญไว้จำนวนมาก", "title": "รายชื่อเมืองสำคัญในศาสนาคริสต์" }, { "docid": "79564#0", "text": "อับราฮัม(ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ อิบรอฮีม (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (; ; ) เป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มศาสนาอับราฮัม เรื่องราวของท่านถูกบันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ 11 ถึง บทที่ 25 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ และคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามก็ถืออับราฮัมเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ด้วย ", "title": "อับราฮัม" }, { "docid": "352644#0", "text": "คัมภีร์นอกสารบบ (; \"สิ่งที่ซ่อนเร้น, ยากที่จะเข้าใจ, หลอกลวง, จากแหล่งข้อมูลที่ไม่อาจยืนยันได้\") ในทางศาสนาคริสต์ หมายถึง หนังสือเกี่ยวกับประวัติชีวิตของพระเยซู แต่ไม่ได้บรรจุในสารบบคัมภีร์ไบเบิล และไม่ได้รับการยอมรับจากคริสตจักรส่วนใหญ่ คัมภีร์ดังกล่าวมักเขียนไม่สอดคล้องกับหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์กระแสหลัก", "title": "คัมภีร์นอกสารบบ" }, { "docid": "51612#1", "text": "ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจั้งและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก", "title": "ลัทธิเต๋า" }, { "docid": "218166#1", "text": "สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม \"คัมภีร์อธิกธรรม\" และ \"Anagignoskomena\" เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง", "title": "คัมภีร์ฮีบรู" } ]
3979
เจ. เค. โรว์ลิงมีบิดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "38960#4", "text": "โรว์ลิงเกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1965[20][21] ที่เมืองเยตส์ มณฑลกลอสเตอร์เชอร์ 10ไมล์จากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบริสตอล[22][23] ประเทศอังกฤษ เธอเป็นลูกสาวคนโตของปีเตอร์ โรว์ลิง วิศวกรการบินของบริษัทโรลส์-รอยซ์[24] และแอนน์ โรว์ลิง (นามสกุลเดิม โวแลนท์) นักเทคนิควิทยาศาสตร์[25] ทั้งคู่พบกันบนขบวนรถไฟจากสถานีรถไฟคิงครอสไปเมืองอาร์บรอท เมื่อปี 1964[26] ก่อนจะแต่งงานกันในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1965[26] ตาทวดของเธอชื่อดูกัล แคมป์เบลล์ เป็นชาวสก็อต เกิดที่เมืองแลมแลช บนเกาะอาร์ราน ประเทศสก็อตแลนด์[27][28] ตาของแม่เธอชื่อหลุยส์ โวแลนท์ เป็นชาวฝรั่งเศสและเคยได้รับรางวัลเหรียญกล้าหาญครัวเดอะแกร์ จากวีรกรรมการป้องกันหมู่บ้านคอร์แซลล์ เลอ คองต์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นอกจากนี้โรว์ลิงยังเชื่อว่าเขาเคยได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ในช่วงสงคราม ซึ่งเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์เดียวกันกับที่เธอได้ในปี 2009 ภายหลังเธอก็ได้รับการยืนยันหลังจากมีส่วนร่วมในตอนนึงของรายการสารคดีชุดWho Do You Think You Are?[29][30]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" } ]
[ { "docid": "38960#53", "text": "โรว์ลิงได้มอบเงินและให้การสนับสนุนแก่งานวิจัยและการรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ซึ่งเป็นโรคที่แม่ของเธอป่วยก่อนที่จะเสียชีวิตลงในปี 1990 จากนั้นในปี 2006 โรว์ลิงบริจาคเงินจำนวนมากเพื่อการสร้างศูนย์ปฏิรูปทางการแพทย์แห่งใหม่ที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ ภายหลังใช้ชื่อว่าคลินิคแอนน์ โรว์ลิงเพื่อการปฏิรูปประสาทวิทยา[177] ในปี 2010 เธอบริจาคเงินให้กับศูนย์เพิ่มอีก 10 ล้านปอนด์[178] นอกจากนี้ประเทศสก็อตแลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่โรว์ลิงให้การดูแลอยู่ยังมีอัตราผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมากที่สุดในโลกอย่างไม่ทราบเหตุผลแน่ชัด ในปี 2003 โรว์ลิงได้เข้าร่วมการรณรงค์เพื่อสร้างมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการดูแลผู้ปวยโรคนี้[179] อย่างไรก็ตามในปี 2009 เธอประกาศขอถอนตัวออกจากการเป็นผู้อุปถัมภ์ของสมาคมผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งในสก็อตแลนด์หรือเอ็มเอสเอสเอส พร้อมระบุว่าเธอไม่สามารถแก้ไขปัญหาความบาดหมางกันระหว่างองค์กรทางเหนือกับสาขาทางใต้ที่มีอย่างไม่หยุดยั้งได้ เป็นการบั่นทอนกำลังใจและนำไปสู่การลาออกในที่สุด[179]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#78", "text": "Media related to เจ. เค. โรว์ลิง at Wikimedia Commons : Rowling's article on Jessica Mitford for The Telegraph of Rowling's speech at Harvard University's 2008 commencement. on IMDb in libraries (WorldCat catalog)", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#44", "text": "ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2007 โรว์ลิงบอกว่าเธอกำลังเขียนหนังสืออีกหนึ่งเล่ม โดยกล่าวว่า “หนังสือสำหรับเด็กที่ตอนนี้เขียนเสร็จไปกว่าครึ่งก็อาจเป็นหนังสือเล่มต่อไปที่ฉันจะตีพิมพ์”[150] ต่อมาในเดือนมีนาคม ปี 2008 โรว์ลิงกล่าวในบทสัมภาษณ์ว่าเธอได้กลับไปเขียนหนังสือที่ร้านกาแฟในเอดินบะระอีกครั้ง[151] และตั้งใจจะเขียนนิยายสำหรับเด็กเรื่องใหม่ ซึ่งโรว์ลิงยังยืนยันว่าเทพนิยายการเมืองสำหรับเด็กของเธอใกล้ที่จะสมบูรณ์แล้ว[152]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#31", "text": "โรว์ลิงแต่งงานกับวิสัญญีแพทย์ นีล เมอร์เรย์ (เกิด 30 มิถุนายน ค.ศ. 1971) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2001 ในพิธีแบบส่วนตัวที่คฤหาสน์ของเธอ ใกล้กันกับเมืองเมืองแอปเบอร์เฟลดี[112] หลังจากนั้นโรว์ลิงให้กำเนิดลูกชายชื่อเดวิด กอร์ดอน โรว์ลิง เมอร์เรย์ ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2003[113] หลังจากที่เริ่มต้นเขียน<i data-parsoid='{\"dsr\":[48886,48924,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม</i>ไม่นาน เธอได้หยุดการเขียนหนังสือไว้เพื่อมาดูแลเดวิดช่วงที่เขายังเป็นทารก[114]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#47", "text": "ในปี 2007 โรว์ลิงกล่าวว่า เธอมีแผนที่จะเขียนหนังสือสารานุกรมเกี่ยวกับโลกเวทมนตร์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งรวบรวมเนื้อหาสาระและข้อความสำคัญต่างๆที่ยังไม่เคยได้ตีพิมพ์[159] โดยกำไรจากการขายทั้งหมดจะมอบให้แก่การกุศล[160] ในระหว่างงานแถลงข่าวที่โรงละครโกดักเธียเตอร์เมื่อปี 2007 โรว์ลิงได้ถูกถามถึงสารานุกรมของเธอว่าพัฒนาไปถึงไหนแล้ว เธอได้ตอบกลับไปว่า “มันยังไม่ได้พัฒนาไปถึงไหน และฉันก็ยังไม่เริ่มเขียน ฉันไม่เคยบอกว่ามันจะเป็นสิ่งต่อไปที่ฉันจะทำ”[161] ปลายปี 2007 โรว์ลิงได้บอกว่า สารานุกรมเล่มนี้อาจต้องใช้เวลากว่า 10 ปีจึงจะเขียนเสร็จ[162]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#59", "text": "โรว์ลิงได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2008กับหนังสือพิมพ์เอล ปาอิสของสเปนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 โดยกล่าวว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้จะส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อประเทศอื่นทั่วโลกและยังกล่าวว่าบารัก โอบามาและฮิลลารี คลินตันจะกลายเป็นบุคคลที่ \"ไม่ธรรมดา\" ของทำเนียบขาว ในบทสัมภาษณ์เดียวกันโรว์ลิงยังได้ระบุว่าโรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดีคือวีรบุรุษของเธอ[191]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#56", "text": "โรว์ลิงยังให้การสนับสนุนมูลนิธิแชนนอนทรัสต์ ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ดำเนินโครงการโทลบายโทลรีดดิงและโครงการเดอะแชนนอนรีดดิงในคุกของเกาะอังกฤษ ให้การช่วยเหลือและให้ความรู้แก่นักโทษที่ไม่สามารถอ่านหนังสือออก[185]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#66", "text": "ในช่วงปี 2011 โรว์ลิงได้แสดงอาการต่อหน้านักข่าวกว่า 50 ครั้ง[206] ในปี 2001 คณะกรรมการการร้องทุกข์นักข่าวได้รับการร้องทุกข์ของโรว์ลิงเกี่ยวกับชุดภาพถ่ายที่ถ่ายโดยช่างภาพนิรนามซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารโอเค!แมกกาซีน เป็นภาพของเธอกับลูกสาวที่นั่งอยู่บนม้านั่งในประเทศมอริเชียส[207] ต่อมาในปี 2007 เดวิด ลูกชายของโรว์ลิงซึ่งโรว์ลิงและสามีของเธอให้การช่วยเหลือ โดยได้รับคำตัดสินของศาลให้แพ้คดีจากการฟ้องร้องเพื่อสั่งระงับสิ่งพิมพ์ที่ตีพิมพ์รูปถ่ายของเดวิด ซึ่งรูปถูกถ่ายด้วยกล้องเลนส์ยาวและต่อมาได้มีการตีพิมพ์ลงในนิตยสารซันเดย์เอกซ์เพรสส์ในบทความที่เขียนถึงชีวิตครอบครัวของโรว์ลิงและความเป็นแม่ของเธอ อย่างไรก็ตามในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ศาลได้กลับคำตัดสินให้เป็นความชอบธรรมของเดวิดในที่สุด[208]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#70", "text": "โรว์ลิงได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์, มหาวิทยาลัยเอดินบะระ, มหาวิทยาลัยเอดินเบอระเนเปียร์, มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์,[214] มหาวิทยาลัยแอเบอร์ดีน[215][216] และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเธอได้ขึ้นการสุนทรพจน์ในวันสำเร็จการศึกษาเมื่อปี 2008[217] ต่อมาในปี 2009 โรว์ลิงได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์จากนีกอลา ซาร์กอซี[29]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#67", "text": "โรว์ลิงเกลียดแท็บลอยด์ของอังกฤษโดยเฉพาะเดลิเมล์ จากการที่นำเสนอบทสัมภาษณ์ของสามีเก่าของเธอ ทำให้นักข่าวคนหนึ่งได้กล่าวว่า \"เวอร์นอน ลุงของแฮร์รี่ เป็นคนป่าเถื่อนอย่างพิดารและไร้สมองอย่างน่าประหลาด มันจึงไม่ยากเลยที่จะคาดเดาว่าโรว์ลิงเขียนให้เขาอ่านหนังสือพิมพ์เล่มไหน (ในถ้วยอัคนี)\" นับจากเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 โรว์ลิงพยายามเรียกร้องค่าเสียหายจากเดลิเมลล์ที่ได้เขียนโจมตีเธอผ่านบทความเกี่ยวกับช่วงที่เธอเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว และทำให้มีการคาดเดากันว่าความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยปัญหาระหว่างโรว์ลิงกับนักข่าวเป็นแรงบันดาลใจเบื้องหลังตัวละครริต้า สกีตเตอร์ นักข่าวซุบซิบคนดังที่ปรากฏตัวครั้งแรกใน<i data-parsoid='{\"dsr\":[92590,92622,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี แต่โรว์ลิงก็ได้ระบุในปี 2008ว่าเธอสร้างตัวละครนี้ขึ้นก่อนที่เธอจะมีชื่อเสียง", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#5", "text": "โรว์ลิงมีน้องสาวหนึ่งคนชื่อว่าไดแอนน์[9] เกิดให้หลังเธอ 23 เดือน[23] เมื่อโรว์ลิงอายุสี่ขวบ ครอบครัวของเธอย้ายไปอยู่ที่วินเทอร์บอร์น ซึ่งเป็นหมู่บ้านละแวกใกล้เคียง[31] เธอเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์ไมเคิล ที่ก่อตั้งโดยวิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ซ นักการเมืองผู้เรียกร้องให้เกิดการเลิกทาสในอังกฤษและฮันนาห์ มอร์ นักปฏิรูปการศึกษาของอังกฤษ[32][33] อัลเฟรด ดันท์ ครูใหญ่ที่โรงเรียนแห่งนี้ภายหลังได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้เธอสร้างตัวละครอัลบัส ดัมเบิลดอร์ ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ขึ้น[34]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#11", "text": "โรว์ลิงย้ายไปทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่เมืองปอร์โต ประเทศโปรตุเกส[9][36]หลังเห็นโฆษณาในหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน[26] เธอสอนในเวลากลางคืนและเริ่มงานเขียนในเวลากลางวันพร้อมกับฟังไวโอลินคอนแชร์โตของไชคอฟสกีไปด้วย[24] 18เดือนหลังย้ายมาอยู่ที่ปอร์โต เธอได้พบกับยอร์จ อารังชีส นักข่าวโทรทัศน์ชาวโปรตุเกส ที่บาร์แห่งหนึ่ง ก่อนจะแลกเปลี่ยนความสนใจกันเกี่ยวกับเจน ออสเตน[26] ทั้งคู่แต่งงานกันในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1992 และมีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคนชื่อเจสสิกา อิซาเบล โรว์ลิง อารังชีส (ตั้งชื่อตามเจสสิกา มิดฟอร์ด)[26] ซึ่งก่อนหน้านี้โรว์ลิงเคยแท้งบุตรมาแล้วหนึ่งครั้ง[26] ทั้งสองแยกทางกันในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993[26][46] แม้จะไม่ทราบรายละเอียดที่แน่ชัดแต่ผู้เขียนชีวประวัติของเธอได้ระบุว่าโรว์ลิงต้องพบเจอกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวตลอดช่วงชีวิตคู่ของเธอกับอารังชีส[26][47] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1993 โรว์ลิงและลูกสาว ซึ่ง ณ ขณะนั้นยังเป็นทารก ได้ย้ายไปอยู่บ้านในละแวกใกล้กันกับบ้านของน้องสาวโรว์ลิงในเอดินบะระ ประเทศสก็อตแลนด์[23] พร้อมกับสามบทแรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ในกระเป๋าเดินทาง[24]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "898311#0", "text": "โลกเวทมนตร์ () (หรือชื่อเดิม โลกเวทมนตร์ของเจ. เค. โรว์ลิง ()) เป็น และ จักรวาลสมมติ ที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์มาจากนวนิยายแฟนตาซี ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ของนักเขียน เจ. เค. โรว์ลิง จัดจำหน่ายโดยบริษัท วอร์เนอร์บราเธอส์ และผลิตโดยบริษัท เฮย์เดย์ฟิล์มส์ ซึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ได้ผลิตภาพยนตร์ออกมาแล้ว 10 เรื่อง แบ่งเป็นภาพยนตร์ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" แปดภาคและภาพยนตร์ \"สัตว์มหัศจรรย์\" สองภาค และยังมีอีกสามเรื่องอยู่ในขั้นตอนการผลิต ภาพยนตร์ชุดนี้ทำรายได้มาแล้วกว่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก เป็นแฟรนไชส์ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลอันดับที่สาม รองจากจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล และ สตาร์ วอร์ส", "title": "โลกเวทมนตร์" }, { "docid": "38960#42", "text": "ในปี 2015 โรว์ลิงได้กล่าวผ่านเว็บไซต์โรเบิร์ต กัลเบรธว่าหนังสือเล่มที่สามของชุดนวนิยายคอร์โมรัน สไตรก์ ว่า \"จะมีแผนการวิกลจริตจำนวนมาก มากที่สุดตั้งแต่ที่ฉันเคยเขียนหนังสือมา\"[145] หลังจากนั้นในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2015 โรว์ลิงได้ประกาศว่าเธอเขียนจบแล้วและหนังสือจะวางแผงในช่วงปลายปี 2015 ใช้ชื่อเรื่องว่า Career of Evil[146]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#62", "text": "เป็นเวลาหลายปีที่กลุ่มคนนับถือศาสนาโดยเฉพาะคริสต์ศาสนิกชน ได้ประณามหนังสือของโรว์ลิงว่าส่งเสริมเรื่องเวทมนตร์คาถาว่าเป็นเรื่องจริง โรว์ลิงระบุว่าเธอเป็นคริสต์ศาสนิกชน[195] และเข้าคริสตจักรแห่งสก็อตแลนด์ในระหว่างที่เธอเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เจสสิกา ลูกสาวของเธอเข้ารับพิธีล้างบาป[195][196] เธอเคยบอกไว้ครั้งหนึ่งว่า \"ฉันเชื่อในพระเจ้า ไม่ใช่เวทมนตร์\"[197] ในช่วงแรกเธอเคยรู้สึกว่า หากผู้อ่านทราบถึงความเชื่อในศาสนาคริสต์ของเธอก็อาจจะสามารถเดาเนื้อเรื่องของเธอออกได้[198]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#3", "text": "แม้เธอจะเขียนหนังสือภายใต้นามปากกา “เจ. เค. โรว์ลิง”[15] แต่ชื่อของเธอก่อนที่จะแต่งงานใหม่นั้นคือ “โจแอนน์ โรว์ลิง” อย่างไรก็ตามสำนักพิมพ์ของเธอคาดว่าเด็กผู้ชายซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายอาจจะไม่อยากอ่านหนังสือที่เขียนโดยผู้หญิง จึงขอให้เธอใช้ตัวย่อสองตัวแทนชื่อเต็ม และเนื่องด้วยเธอไม่มีชื่อกลางเธอจึงเลือกตัว K (ย่อมากจาก แคทรีน) ชื่อย่าของเธอมาเป็นตัวย่อที่สองของนามปากกา[16] เธอมักจะเรียกตัวเองว่า “โจ”[17] ภายหลังการแต่งงาน ในบางครั้งที่ต้องติดต่อธุรกิจส่วนตัวเธอก็จะใช้ชื่อ โจแอนน์ เมอร์เรย์ ซึ่งเป็นนามสกุลของสามีแทน[18][19]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#28", "text": "เดือนกันยายน ปี 2013 วอร์เนอร์บราเธอร์สได้ประกาศร่วมมือกับโรว์ลิงในการดัดแปลงเรื่องราวของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[44481,44502,2,2]}'>นิวท์ สคามันเดอร์ ผู้เขียนหนังสือสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ เป็นรูปแบบภาพยนตร์ชุด ซึ่งโรว์ลิงจะเขียนบทภาพยนตร์ภาคแรกที่เป็นเรื่องราว 70 ปีก่อนเหตุการณ์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์[102] และในปี 2014 ก็ได้มีการประกาศว่าภาพยนตร์ชุดนี้จะแบ่งออกเป็นสามภาคด้วยกัน[103]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#65", "text": "โรว์ลิงมีความสัมพันธ์ที่ยากลำบากกับนักข่าวมาโดยตลอด เธอยอมรับว่าเธอเป็นคนประเภท\"ขี้หงุดหงิด\"และไม่ชอบความไม่แน่นอนของการรายงานข่าว โรว์ลิงได้ตอบโต้ความมีชื่อเสียงของเธอด้วยการเป็นคนรักสันโดษที่เกลียดการโดนสัมภาษณ์[205]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "4336#64", "text": "หลังจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางแผงได้ไม่นานนัก ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนและทำแบบแปลนการสร้างสวนสนุกที่ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา โดยจำลองสถานที่ต่าง ๆ ในวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกี่ยวกับสถานที่ในโลกเวทมนตร์เช่น ฮอกวอตส์และหมู่บ้านฮอกส์มี้ด เป็นต้น สวนสนุกแห่งนี้วางแผนการสร้างโดย จิม ฮิล มีแบบจำลองปราสาทฮอกวอตส์ รวมไปถึงหมู่บ้านฮอกส์มีดส์อีกด้วย ผู้สร้างสวนสนุกยังได้เชิญ เจ. เค. โรว์ลิง ให้มาร่วมทำการเนรมิตสวนสนุกแห่งนี้ เพื่อทำให้เหมือนกับสถานที่ในหนังสือของเธอให้มากที่สุด ซึ่งโรว์ลิงก็ตอบตกลง สวนสนุกตั้งอยู่ในไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ซึ่งเป็นเกาะรวมเครื่องเล่นแนวผจญภัยของยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ท โดยได้ใช้ชื่อว่าอย่างเป็นทางการว่าโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์และเปิดให้เข้าชมในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553[135] โดยมีทั้งนักแสดงจากภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (แฮร์รี่ พอตเตอร์), ไมเคิล แกมบอน (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์), รูเพิร์ท กรินท์ (รอน วีสลีย์) แมทธิว ลิวอิส (เนวิลล์ ลองบัตท่อม) และทอม เฟลตัน (เดรโก มัลฟอย) รวมถึง เจ.เค. โรว์ลิ่ง และผู้ประพันธ์เพลงให้กับภาพยนตร์ 3 ภาคแรกอย่าง จอห์น วิลเลียมส์ มาร่วมงานครั้งนี้ด้วย", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "38960#57", "text": "โรว์ลิงได้ระบุชื่อเจสสิกา มิดฟอร์ด นักเขียนผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ให้เป็นนักเขียนที่มีอิทธิพลต่อเธอมากที่สุด เธอกล่าวว่า \"เจสสิกา มิดฟอร์ดได้กลายเป็นวีรสตรีของฉันตั้งแต่ฉันอายุ 14 ปี ในตอนที่ฉันบังเอิญได้ยินพี่สาวของปู่ที่น่ายำเกรงของฉันเล่าว่ามิดฟอร์ดหนีออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 19 เพื่อร่วมต่อสู้กับสาธารณรัฐสเปนในสงครามกลางเมืองสเปนได้อย่างไร\" และพร้อมกับเสริมว่าสิ่งที่ให้แรงบันดาลใจต่อเธอมากที่สุดก็คือการที่มิดฟอร์ดเป็น \"คนหัวขบถอย่างที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้และเป็นโดยกำเนิด กล้าหาญ ชอบผจญภัย ตลกและไม่เลื่อมใสต่อสิ่งใด เธอไม่ชอบอะไรมากไปกว่าการได้ต่อสู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนขี้อวดและหลอกลวง\"[186] โรว์ลิงได้บอกว่าเจน ออสเตนคือนักเขียนคนโปรดของเธอ[187] เธอได้บอกกับนิตยสารโอแมกกาซีนว่า เอ็มมา คือหนังสือที่เธอชอบที่สุด[188] ส่วนในช่วงวัยเด็ก โรว์ลิงได้กล่าวว่าแรงบันดาลใจแรกๆของเธอคือหนังสือเรื่องตู้พิศวง ของซี. เอส. ลิวอิส, ม้าน้อยสีขาว ​ของ​เอลิซา​เบ็ธ​ ​กูดจ์ และ<i data-parsoid='{\"dsr\":[82819,82835,2,2]}'>หนูกระเบื้อง ของพอล กาลลิโก[189]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#40", "text": "ไม่นานหลังการเปิดเผย บรู๊คคิดว่าจู๊ด คาลิคการีอาจเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของโรว์ลิง เพื่อเรียกความสนใจของสาธารณชนต่องานเขียนของเธอ[135] โดยจูดี้ “จู๊ด” คาลิคการี เป็นเพื่อนสนิทกับภรรยาของคริส กอสเซจ ผู้ร่วมหุ้นของบริษัททนายความรัสเซลล์และตัวแทนด้านกฎหมายของโรว์ลิง[140][141] โรว์ลิงก็ได้ออกคำแถลงกล่าวว่าเธอรู้สึกโกรธและผิดหวัง[140] ภายหลังรัสเซลจึงได้ออกมาขอโทษเรื่องข่าวหลุดและยืนยันว่าไม่ใช่แผนการตลาด[137]และได้บริจาคเงินให้กับมูลนิธิทหารในนามของโรว์ลิงเพื่อเป็นค่าชดใช้ทางกฎหมายแก่โรว์ลิง[142] ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 สำนักงานควบคุมระเบียบทนายความ (SRA) ได้ออกมาตำหนิกอสเซจผ่านทางจดหมายและปรับเงินเขาอีก 1,000 ปอนด์ เนื่องจากการละเมิดกฎสิทธิส่วนบุคคลของลูกความ[143]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#32", "text": "นอกจากนี้โรว์ลิงยังเป็นเพื่อนกับซารา บราวน์ ภรรยาของอดีตนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ซึ่งพวกเขาพบกันในตอนที่ร่วมมือกันในโครงการการกุศล และเมื่อซาร่า บราว์นให้กำเนิดลูกชายเมื่อปี 2003 โรว์ลิงก็เป็นคนแรกๆที่ไปเยี่ยมเธอที่โรงพยาบาล[115] ภายหลังโรว์ลิงให้กำเนิดลูกสาวคนสุดท้องชื่อแมคแคนซี จีน โรว์ลิง เมอร์เรย์ ในวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2005 ซึ่งเธอก็ได้เขียนคำอุทิศในหนังสือ<i data-parsoid='{\"dsr\":[49915,49954,2,2]}'>แฮร์รี่ พตอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ให้แก่ลูกสาวเธออีกด้วย[116]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#26", "text": "โรว์ลิงได้มีส่วนร่วมควบคุมงานฝ่ายสร้างสรรค์บางส่วนในภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบบทภาพยนตร์ทุกภาค[99]และรวมไปถึงการเป็นผู้อำนวยการสร้างในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตทั้งสองภาคอีกด้วย[100]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#34", "text": "โรว์ลิงได้แยกทางกับคริสโตเฟอร์ ลิตเติ้ล ตัวแทนคนเก่าในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 และได้ย้ายไปอยู่กับบริษัทตัวแทนแห่งใหม่ซึ่งก่อตั้งโดยนีล แบลร์ อดีตพนักงานของลิตเติ้ล[24][119] ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 บริษัทแบลร์พาร์ทเนอร์ชิพ บริษัทตัวแทนใหม่ของเธอ ได้ออกมาประกาศผ่านเว็บไซต์ว่าโรว์ลิงกำลังจะมีผลงานหนังสือสำหรับผู้ใหญ่เล่มใหม่ และจากการรายงานของนักข่าว โรว์ลิงได้บอกว่าหนังสือเล่มใหม่ของเธอจะแตกต่างจากแฮร์รี่ พอตเตอร์เป็นอย่างมาก ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 สำนักพิมพ์ลิตเติ้ลบราวน์ได้ประกาศชื่อหนังสือโดยใช้ชื่อว่าเก้าอี้ว่าง (The Casual Vacancy) และจะวางแผงในวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2012[120] โรว์ลิงได้ให้สัมภาษณ์และปรากฏตัวต่อสื่อมวลชนหลายครั้งเพื่อโฆษณาหนังสือของเธอ ไม่ว่าจะเป็นย่านเซาท์แบงค์ เซ็นเตอร์,[121] เทศกาลหนังสือนิยายเชลต์นัม,[122] รายการเดอะชาร์ลี โรสโชว์[123] และเทศกาลหนังสือเล็นนอกซ์เลิฟ[124] หลังการวางแผงได้สามสัปดาห์ เก้าอี้ว่างสามารถขายได้มากกว่า 1 ล้านเล่มทั่วโลก", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#50", "text": "โรว์ลิงซึ่งครั้งหนึ่งก็เคยเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ณ ตอนนี้เธอรับตำแหน่งเป็นประธานของมูลนิธิคอมมิครีลิฟ (ชื่อเดิมคือ วันแพเรนท์แฟมิลี) เธอได้เป็นผู้แทนของมูลนิธิคนแรกเมื่อปี 2000[166][167] โรว์ลิงร่วมมือกับซาร่า บราวน์ ในการเขียนหนังสือเด็กเพื่อให้ช่วยเหลือความช่วยเหลือแก่มูลนิธิวันแพเรท์แฟมิลีส์[168]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#0", "text": "โจแอนน์ \"โจ\" โรว์ลิง (English: Joanne \"Jo\" Rowling, OBE FRSL[1]) หรือนามปากกา เจ. เค. โรว์ลิง[2] และ<b data-parsoid='{\"dsr\":[1509,1531,3,3]}'>โรเบิร์ต กัลเบรธ (เกิด 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1965)[3] เป็นนักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ประพันธ์วรรณกรรมแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งได้รับความความสนใจจากทั่วโลก ได้รับรางวัลมากมาย และมียอดขายกว่า 500 ล้านเล่ม[4] และยังเป็นหนังสือชุดที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์[5] ด้านภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือก็เป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้มากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์[6] โรว์ลิงอนุมัติบทภาพยนตร์ทุกภาค[7] และตลอดจนควบคุมงานฝ่ายสร้างสรรค์ภาพยนตร์ภาคสุดท้ายในฐานะผู้อำนวยการสร้าง[8]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#36", "text": "ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาโรว์ลิงได้พูดถึงการเขียนนวนิยายบันเทิงคดีอาชญากรรมอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งในงานเทศกาลหนังสือเอดินบะระปี 2007 เอียน แรนคินได้อ้างว่าภรรยาของเขาเห็นโรว์ลิงเขียนนวนิยายแนวนักสืบไว้อย่าง\"ลวกๆ\" ที่ร้านกาแฟ[126] ภายหลังแรนคินได้ออกมาถอนคำพูดพร้อมกับบอกว่ามันเป็นเพียงแค่มุกตลกของเขาเท่านั้น[127] แต่ข่าวลือก็ยังคงมีอยู่ต่อไปหลังมีรายงานในปี 2012 หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนได้ออกมาคาดการณ์ว่าหนังสือเล่มต่อไปของโรว์ลิงจะเป็นนวนิยายแนวบันเทิงคดีอาชญากรรม[128] และจากการให้สัมภาษณ์กับสตีเวน ไฟรเมื่อปี 2005 ที่โรว์ลิงได้บอกว่าเธออยากจะเขียนหนังสือเล่มต่อๆไปด้วยชื่อปลอม แต่เธอเองก็ได้ยอมรับกับเจเรมี แพ็กซ์แมนไว้ตั้งแต่ปี 2003 ว่าหากเธอเขียนด้วยชื่อปลอมนักข่าวอาจจะรู้ได้ในทันที[129]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#20", "text": "ชื่อของหนังสือเล่มที่เจ็ดซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของหนังสือชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[33301,33321,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>ได้รับการประกาศในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2006 โดยใช้ชื่อว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต (The Deathly Hallows) [75] และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 มีการประกาศว่าโรว์ลิงได้เขียนข้อความลงบนรูปปั้นครึ่งตัวในห้องพักของเธอที่โรงแรมบัลโมรัล เมืองเอดินบะระ ว่าเธอได้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มที่เจ็ดเสร็จในห้องนี้เมื่อวันที่ 11 มกราคม ปี 2007[76] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต</i>วางจำหน่ายในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (เวลาเที่ยงคืนหนึ่งนาที)[77] และทำลายสถิติหนังสือที่ขายได้ไวที่สุดตลอดกาลที่ภาคก่อนเคยทำได้สำเร็จ[78] สามารถขายได้ถึง 11 ล้านเล่มในการวางขายวันแรกที่สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา[78] และบทสุดท้ายของหนังสือก็เป็นหนึ่งในบทที่เธอเขียนไว้ตั้งแต่ช่วงปี 1990 แล้ว[79]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#33", "text": "เดือนตุลาคม ปี 2012 บทความของนิตยสารนิวยอร์กได้ระบุว่าครอบครัวโรว์ลิงได้พักอาศัยอยู่บ้านสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในเอดินบะระ มีต้นสนสูงล้อมและปกปิดหน้าบ้านไว้ ก่อนหน้านั้นโรว์ลิงเคยอาศัยอยู่ใกล้กันกับเอียน แรนคิน นักเขียนชาวสก็อต โดยเขาได้กล่าวถึงเธอว่า เธอเป็นคนเงียบๆ ชอบเหม่อลอยและดูเหมือนเธอจะเป็นคนสำคัญของลูกๆ[24][117] จากข้อมูลล่าสุดในเดือนมิถุนายน ปี 2014 ได้ระบุว่าครอบครัวโรว์ลิงยังคงอาศัยอยู่ที่สก็อตแลนด์เช่นเดิม[118]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "38960#6", "text": "ในวัยเด็กโรว์ลิงมักจะเขียนเรื่องราวแฟนตาซี ซึ่งเธอมักจะอ่านให้น้องสาวฟังอยู่บ่อยๆ[15] เมื่ออายุเก้าขวบ ครอบครัวเธอย้ายไปอยู่ที่บ้านกระต๊อบ ในหมูบ้านทัดชิล มณฑลกลอสเตอร์เชอร์ ใกล้กันกับเมืองเช็พสโตว์ ประเทศเวลส์[23] เธอเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนไวย์ดีน ที่ที่แม่ของเธอทำงานอยู่ในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์[25] ในช่วงวัยรุ่นตอนต้นโรว์ลิงได้รับหนังสือจากพี่สาวของปู่เป็นอัตชีวประวัติของเจสสิกา มิดฟอร์ด เรื่อง Hons and Rebels[35] โรว์ลิงอ่านหนังสือของเธอทุกเล่มและมิดฟอร์ดได้กลายเป็นวีรสตรีของโรว์ลิงไปในที่สุด[36]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" } ]
3981
เรสเซิลเมเนีย XXVI ถูกจัดขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "246123#0", "text": "เรสเซิลเมเนีย XXVI เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบ Pay-Per-View (PPV) ของศึก เรสเซิลเมเนีย เป็นครั้งที่ 26 จัดโดย เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE), โดยมีกำหนดจัดวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2010 ที่ ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฟีนิกซ์ สเตเดียม ใน เกลนเดล, แอริโซนา.[1] โดย เรสเซิลเมเนีย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มาจัดใน รัฐแอริโซนา และเป็น เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 3 ที่เป็นการแสดงกลางแจ้ง[1][2] โดยเป็นศึกที่รวมการแสดงนักมวยปล้ำแต่ละค่ายของ WWE เอาไว้ทั้งหมด โดยก่อนเริ่มศึกได้มีการร้องเพลง America the Beautiful ก่อนที่จะเริ่มต้นรายการอีกด้วย", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26" } ]
[ { "docid": "237984#6", "text": "อันเดอร์เทเกอร์ ได้เจอกับ จิมมี สนูกกา ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 7 เป็นครั้งแรกของ อันเดอร์เทเกอร์ และสามารถเอาชนะไปมาได้สำเร็จด้วยสถิติ 1-0 (สมัยนั้นยังไม่การจดจำสถิติ) ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 8 ได้เอาชนะเจก โรเบิตส์ เพิ่มสถิติเป็น 2-0 ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 9 ได้เอาชนะไจแอนท์ ก็อนซาเลซไปแบบ DQ เป็นสถิติ 3-0 ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 11 ได้เอาชนะคิงคองบันดี ด้วยสถิติ 4-0 ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 12 ได้เอาชนะเควิน แนชด้วยสถิติ 5-0 ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 13 ได้เอาชนะไซโค ซิด ในแมตช์ไม่มีกติกาชิงแชมป์ WWF ทำให้ได้แชมป์ WWF และสร้างสถิติ 6-0 ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 14 ได้เอาชนะน้องชายอย่างเคนด้วยสถิติ 7-0 ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 15 ได้เอาชนะบิ๊กบอสแมน ในกติกานรกในกรงเหล็ก ผู้แพ้ถูกจับแขวนคอ เพิ่มสถิติ 8-0 อันเดอร์เทเกอร์ได้มารับบทอเมริกัน แบด แอส (นักเลงขี่มอเตอร์ไซค์ชาวอเมริกัน) และได้เอาชนะทริปเปิลเอช ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 17 สร้างสถิติ 9-0 ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18 ได้เอาชนะริก แฟลร์ ทำสถิติชนะครบ 10 ครั้ง (เป็นการนับสถิติไร้พ่ายของอันเดอร์เทเกอร์อย่างเป็นทางการครั้งแรก)", "title": "ดิอันเดอร์เทเกอร์" }, { "docid": "218758#1", "text": "ในฝั่งของรอว์ คริส เจอริโค ได้มีเรื่องกับนักมวยปล้ำในตำนาน ได้แก่ ริกกี สตีมโบต, จิมมี สนูกกา, ร็อดดี ไพเพอร์ และริก แฟลร์ จนทำให้ต้องเจอกันในเรสเซิลเมเนีย โดยมีริก แฟลร์ยีนอยู่ข้างเวทีด้านของแรนดี ออร์ตัน ชึ่งในรอยัลรัมเบิล (2009) ออร์ตันได้เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิล ซึ่งมีสิทธิ์ในการชิงแชมป์โลกในเรสเซิลเมเนีย และได้เลือกชิงแชมป์ WWEกับทริปเปิลเอช ซึ่งเป็นลูกเขยของตระกูลแม็กแมนรอคอยการแก้แค้นให้พ่อตาจึงท้าให้ออร์ตันชิงแชมป์กับเขาในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25ในฝั่งของสแมคดาวน์ โดยทางด้านของแมทท์ ฮาร์ดี และเจฟฟ์ ฮาร์ดี ชึ่งในรอยัลรัมเบิล (2009) แมทท์ได้เอาเก้าอี้ฟาดใส่เจฟฟ์ จนทำให้เจฟฟ์เสียแชมป์ WWE ให้กับเอดจ์ เป็นเพราะแมทท์อิจฉาเจฟฟ์ นอกจากนี้ แมทท์ยังได้ยิงพลุใส่เจฟฟ์ ขับชนใส่เจฟฟ์ และยังเผาบ้านเจฟฟ์ จนทำให้หมาของเจฟฟ์ตาย ทั้งคู่จึงกลายมาเป็นศัตรูคู่แค้นกันจนในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 แมทท์และเจฟฟ์จะต้องเจอกันในแมตช์ Extreme Rules ในรายการรอว์ มีการคัดเลือกนักมวยปล้ำจากรอว์ ไปปล้ำกติกา Money In The Bank จำนวน 6 คน โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 8 คน โดยผู้ชนะจะสามารถท้าชิงแชมป์อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใดก็ได้ ด้านของจอห์น ซีนา ซึ่งในNo Way Out (2009) ซีนาต้องป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในกรงเหล็กมรณะ หรือ Elination Chamber กับนักมวยปล้ำถึง 5 คน ได้แก่ เรย์ มิสเตริโอ, เคน, ไมค์ นอกซ์, คริส เจริโค และโคฟี คิงส์ตัน ผลปรากฏว่า ตอนเปิดตัว เอดจ์ได้วิ่งเข้ามาลอบทำร้ายโคฟี หลังจากเสียแชมป์ WWE ให้กับทริปเปิลเอชไปแล้ว ทำให้โคฟีหมดสิทธิ์การปล้ำ และเอดจ์ก็เข้าไปในกรงแทน และก็ใช้กลโกงสารพัดจนกระชากเข็มขัดแชมป์โลกเฮฟวี่เวทไปจากซีนา ซีนาแค้นมากที่ตนเสียแชมป์โลกให้เอดจ์ ตนจึงพยายามหาโอกาสชิงเข็มขัดคืนมา แต่ก็ไม่ได้ซักที เพราะวิกกี เกร์เรโร ภรรยาของเอดจ์ ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของสแมคดาวน์ ได้กีดกันทุกวิถีทางไม่ให้เอดจ์ได้เจอกับซีนา แต่ซีนาก็ไม่ยอมแพ้ ขู่วิกกีเรื่องที่เธอแอบเป็นกิ๊กกับบิ๊กโชว์ จนเธอจำต้องยอมให้ซีนา ได้ชิงแชมป์กับเอดจ์ แต่สุดท้ายความจริงก็ปรากฏให้เอดจ์ รู้ว่าเธอปันใจให้กับ บิ๊กโชว์ ทำให้คู่นี้กลายเป็นศัตรูกัน ทั้งๆที่กะจะรุมซีนาแต่แรก 3 คนนี้ได้เจอกันในเรสเซิลเมเนียชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25" }, { "docid": "429505#1", "text": "เรื่องราวการชิงแชมป์ WWE ระหว่าง เดอะ ร็อก กับ จอห์น ซีนา ในศึก รอยัลรัมเบิล (2013) จอห์น ซีนาได้เป็นผู้ชนะรอยัลรัมเบิล โดยเหวี่ยงไรแบ็กเป็นคนสุดท้าย ทำให้ซีนาสามารถเลือกได้ว่าจะไปชิงแชมป์ WWE หรือ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในเรสเซิลเมเนีย โดยซีนาเลือกที่จะชิงแชมป์ WWE กับ เดอะ ร็อก ในรอว์ คืนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ได้มีการหาผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE ในเรสเซิลเมเนีย ระหว่าง ซีนา กับ ซีเอ็ม พังก์ ผลปรากฏว่าเป็นซีนาเป็นฝ่ายชนะไป และได้ไปชิงแชมป์ WWE กับ เดอะ ร็อก ในศึก เรสเซิลเมเนีย", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29" }, { "docid": "246123#3", "text": "2 ซิงเกิ้ลเพลงจาก Kevin Rudolf ได้ถูกนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ โดยการจัดจำหน่ายบัตรใช้เพลง Welcome to the World ในเดือน พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2009 [4] และในเดือน มกราคม ปี ค.ศ. 2010 WWE ได้จัดทำโฆษณาการนับถอยหลังของ เรสเซิลเมเนีย คือ เพลง ไอ เมด อิท [5] เพลง ไอ เมด อิท เป็นเพลงล่าสุดที่ใช้เป็นเพลงประจำศึก เรสเซิลเมเนีย และในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2010 ระหว่างการจัดรายการ สแมคดาวน์ ได้มีการประชาสัมพันธ์ว่า เพลงในอัลบั้ม AD/DC ไอร่อนแมน 2 คือ เพลง ทันเดอร์สตรัค จะใช้เป็นเพลงประจำศึก เรสเซิลเมเนีย อีก 1 เพลง", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26" }, { "docid": "391003#60", "text": "26. Retrace XXVI : The Pool of Tears ", "title": "แพนโดร่า ฮาร์ท" }, { "docid": "347305#1", "text": "โดยตั๋วได้ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 เรสเซิลเมเนีย ครั้งที 23 ทำรายได้ไปถึง 5.38 ล้านในการจำหน่ายตั๋ว ซึ่งทำลายสถิติก่อนหน้านี้อยู่ที่ 3.9 ล้านที่จัดขึ้นในศึกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 18 ต่อมาตั้งแต่ปี 2013 ได้กลายเป็นศึกที่มีผู้เข้าชมในสนามมากที่สุดอันดับที่สองในประวัติศาสตร์เรซเซิลมาเนีย ซึ่งถูกทำลายสถิติด้วยผู้เข้าชมในสนาม 80,676 คน ในศึกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23" }, { "docid": "881015#1", "text": "ต่อไปนี้การค้นพบดาวแมบได้รับการแต่งตั้งชั่วคราว S / 2003 U1 และดวงจันทร์ยังถูกกำหนดให้ดาวยูเรนัส XXVI", "title": "แมบ (ดาวบริวาร)" }, { "docid": "246123#4", "text": "เรสเซิลเมเนีย กับ ประเภทแมตช์การปล้ำ จะถูกกำหนดโดย การวางพล็อตเรื่อง และ เขียนบท โดยที่ เรสเซิลเมเนีย ทำการแสดงไม่เกี่ยวกับรายการทีวีของ WWE รายการใดทั้งสิ้น โดยนักมวยปล้ำจะถูกวางตัวให้เป็น ตัวร้าย หรือ ซุปเปอร์ฮีโร่ ทั้งหมดโดยการจัดแมชท์[6] นักมวยปล้ำทั้งหมดที่มาจาก รอว์ และ สแมคดาวน์ บางคนเท่านั้นที่มีความบาดหมางจากรายการทีวีของ WWE จะได้มาแสดงที่ เรสเซิลเมเนีย [7]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26" }, { "docid": "832115#9", "text": "หลังจากพลาดการเป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 แชมป์ Universal ในการปล้ำ Elimination Chamber คืนต่อมา แชมป์ Intercontinental The Miz ออกมาโวยวายว่าเขาสมควรเป็นหนึ่งในคู่เอกเรสเซิลเมเนีย พร้อมกับบอกว่าจะทำให้แชมป์ Intercontinental มีค่ามากกว่าแชมป์ Universal แต่ Kurt Angle ก็ไม่เคยเคารพเขา แถมยังบอกว่าจะจัดแมตช์ให้ในวันนี้เพื่อที่จะหาคนมาท้าชิงแชมป์ซึ่ง Seth Rollins ออกมาเป็นคู่ต่อสู้และเอาชนะ Miz ไปได้ จากนั้น Finn Balor ออกมาเป็นคู่ต่อสู้ให้ Miz อีกคนแต่ Miztourage ขึ้นรุม Balor ทำให้ Gallows & Anderson ขึ้นมาร่วมแจมด้วย Angle ออกมาสั่งให้เริ่มแมตช์ใหม่พร้อมทั้งแบนผู้ติดตามทั้งสองฝ่าย แถมยังบอกว่าถ้าแมตช์นี้จบไม่สวยเขาจะไม่ให้ Miz ปล้ำในเรสเซิลเมเนีย ปรากฏว่า Balor เอาชนะไปได้ หลังเวที Rollins ประกาศท้าชิงแชมป์ Intercontinental กับ Miz ในเรสเซิลเมเนีย สัปดาห์ต่อมา Rollins และ Balor ได้ร่วมมือกันจัดการกับ Miztourage แบบแฮนดิแคปไปได้ หลังแมตช์ Angle ประกาศให้ Miz ป้องกันแชมป์กับ Rollins และ Balor แบบ 3 เส้าที่เรสเซิลเมเนีย", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34" }, { "docid": "832115#2", "text": "ในวันที่ 8 เมษายนก่อนที่จะเริ่มเรสเซิลเมเนีย 34 นั้น WWE และ Snickers จะจัดงานบล็อกปาร์ตีเรสเซิลเมเนียที่ลาน Champions Square นอกจากนี้คู่หูอเมริกัน Chloe x Halle จะมาร่วมร้องเพลง \"America the Beautiful\" เปิดรายการเรสเซิลเมเนีย 34", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34" }, { "docid": "448934#0", "text": "ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด () เป็นชื่อที่กำหนดโดยสหประชาชาติซึ่งแสดงถึงการที่มีค่าดัชนีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ต่ำ เมื่อจัดลำดับเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก แนวคิดของการจัดกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2512–2513 รายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุดกลุ่มแรกถูกกำหนดโดยสหประชาชาติในข้อมติที่ 2768 (XXVI) เมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ประเทศที่จะถูกจัดว่าเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุดจะต้องมีลักษณะสามประการนี้ ได้แก่ ", "title": "ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด" }, { "docid": "832115#5", "text": "Asuka ได้เป็นผู้ชนะ Royal Rumble ของผู้หญิงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ทำให้สามารถเลือกชิงแชมป์หญิง Raw หรือ SmackDown เส้นไหนก็ได้ที่เรสเซิลเมเนีย ทางด้าน Commissioner ของ Raw Stephanie McMahon บอกว่า Asuka ยังไม่ต้องตัดสินใจก็ได้ว่าจะเลือกชิงแชมป์คนไหน เพราะ Alexa Bliss ต้องป้องกันแชมป์หญิง Raw ใน Elimination Chamber นอกจากนี้ Asuka ยังต้องเจอกับ Nia Jax ซึ่งถ้า Jax ชนะจะได้ร่วมชิงแชมป์เป็น 3 เส้าที่เรสเซิลเมเนีย ซึ่ง Bliss ป้องกันแชมป์ได้และ Asuka ชนะ Jax ใน Fastlane หลังจากที่แชมป์หญิง SmackDown อย่าง Charlotte Flair สามารถป้องกันแชมป์กับ Ruby Riott ไว้ได้ Asuka ได้ข้ามค่ายออกมาท้าชิงแชมป์กับ Charlotte ที่เรสเซิลเมเนีย ส่วน Bliss ต้องป้องกันแชมป์กับ Nia Jax", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34" }, { "docid": "246123#1", "text": "ก่อนการคัดเลือกสถานที่ที่ต้องใช้จัด ในศึก เรสเซิลเมเนีย ในปี 2010 ทาง Global Spectrum, ซึ่งเป็นผู้ประสานงานของสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยฟินิกซ์ได้ติดต่อไปทาง เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE) ให้ร่วมคัดเลือกสถานที่นี้ ให้เป็นสถานที่จัดของ เรสเซิลเมเนีย ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2008 ทาง WWE ได้คัดเลือกให้สถานที่นี้จัด ศึก เรสเซิลเมเนีย ในปี 2010.[3] โดยมีการแถลงข่าวในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ที่สนาม ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฟีนิกซ์ สเตเดียมซ์ ว่านี้ คือ จุดสำคัญที่ เรสเซิลเมเนีย ได้มาจัด ณ รัฐฟินิกซ์ เป็นครั้งแรก โดยถือว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยบัตรจำหน่ายที่ ทิคเกตส์มาสเตอร์ ในเวลา 10.00 น. ตามเขตเวลา MST", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26" }, { "docid": "255599#3", "text": "ในรายการ รอว์ มีการคัดเลือกนักมวยปล้ำจากรอว์ ไปปล้ำกติกา Money In The Bank จำนวน 7 คน โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 7 คน โดยผู้ชนะจะสามารถท้าชิงแชมป์อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใดก็ได้", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 24" }, { "docid": "254297#7", "text": "เรย์ได้เปิดศึกกับโคดี โรดส์และท้าเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 โดยเรย์เป็นฝ่ายแพ้ ต่อมาเรย์ได้ย้ายไปอยู่รอว์ จากผลการดราฟท์ ในรอว์ 25 เมษายน ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2011)เรย์สามารถเอาชนะโคดีในแมตช์จับกดที่ไหนก็ได้และล้างแค้นโคดีได้สำเร็จ ในรอว์ เรย์ได้ปล้ำสามเส้ากับเดอะมิซและอัลเบร์โต เดล รีโอ เพื่อหาผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE กับจอห์น ซีนา ใน I Quit Match ในโอเวอร์ เดอะ ลิมิต (2011) ซึ่งเดอะมิซเป็นฝ่ายชนะ หลังแมตช์อาร์-ทรูธได้มาลอบทำร้ายเรย์ ต่อมาเรย์ได้ขอท้าเจอกับทรูธ ในโอเวอร์เดอะลิมิต แต่เรย์ก็เป็นฝ่ายแพ้ไป ในแคปิเทล พูนิชเมนท์ เรย์ได้แพ้ให้ซีเอ็ม พังก์ ในรอว์ 25 กรกฎาคม เรย์ได้เจอกับเดอะมิซ ผู้ชนะก็จะได้แชมป์ WWE ทันที สุดท้ายเรย์ได้เป็นผู้ชนะและคว้าแชมป์ WWE เป็นสมัยแรกมาได้สำเร็จ คืนเดียวกัน เรย์ต้องป้องกันแชมป์กับจอห์น ซีนา สุดท้ายเรย์ก็เสียแชมป์ให้กับซีนา ในรอว์ 15 สิงหาคม เรย์ได้ชิงแชมป์ WWE กับอัลเบร์โต เดล รีโอ เจ้าของตำแหน่ง สุดท้ายเรย์ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ หลังแมตช์ เดล รีโอได้ลอบทำร้ายเรย์จนได้รับบาดเจ็บ แต่ซีนาออกมาขัดขวางเอาไว้ หลังจากนั้น เรย์ก็ต้องพักการปล้ำยาวนานหลายเดือน ในรอว์ 12 ธันวาคม เรย์ได้ออกมาปรากฏตัวและประกาศมอบรางวัลสแลมมีอวอร์ด ซุปเปอร์สตาร์แห่งปี ถึงแม้อาการบาดเจ็บของเรย์ยังไม่หายดี วันที่ 26 เมษายน 2012 เว็บไซต์ WWE.com ได้ประกาศว่าเรย์ถูกแบนเป็นเวลา 60 วัน หลังจากไม่ผ่านการตรวจสุขภาพตามระเบียบการของสมาคม สำหรับการฝ่าฝืนระเบียบการของสมาคม ซึ่งเป็นการถูกแบนครั้งที่สองแล้ว ถ้าหากมีครั้งที่สามเมื่อไหร่ เรย์จะถูกไล่ออกในทันที", "title": "เรย์ มิสเตริโอ" }, { "docid": "648438#3", "text": "เป็น เรสเซิลเมเนีย ครั้งแรกที่มีโลโก้ซึ่งเป็นปุ่ม \"เล่น\" สีแดง ตามในบทความข่าวของ ซาน โฮเซ เมอร์คิวรี, วินซ์ แม็กแมน อธิบายปุ่มเล่นแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญทางเทคนิคของ Silicon Valley เพลงประกอบศึก เรสเซิลเมเนีย มีชื่อเพลงว่า \"Rise\" โดย David Guetta feat. Skylar Grey และ \"Money and the Power\" โดย Kid Ink และมีการประกาศว่า ศิลปินแร็ปชื่อดีกรี รางวัลแกรมมี อย่าง แอลแอล คูล เจ จะมามีส่วนร่วมในช่วงเปิด เรสเซิลเมเนีย และได้มีการประกาศอีกว่าศิลปินนักร้องอย่าง Kid Ink, Skylar Grey ร่วมด้วยตำนานมือกลองอย่าง Travis Barker จะมาขึ้นแสดงมินิคอนเสิร์ตในรายการนี้ด้วย", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31" }, { "docid": "246123#8", "text": "ได้มีการคัดเลือกนักมวยปล้ำไปปล้ำกติกา Money In The Bank จำนวน 10 คน โดยผู้ชนะจะสามารถท้าชิงแชมป์อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใดก็ได้ [22] โดยผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้แก่ คริสเตียน, ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์, เคน, ดรูว์ แม็กอินไทร์, เชลตัน เบนจามิน, แจ็ก สแวกเกอร์, เอ็มวีพี, แมต ฮาร์ดี, อีแวน บอร์น และโคฟี คิงส์ตัน[23][24]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26" }, { "docid": "896552#1", "text": "พีระมิดแห่งนี้ถูกละเลยโดยนักโบราณคดีในสมัยก่อน การเจอพีระมิดครั้งแรกเจอโดยคาร์ล ริชาร์ด ผู้ซึ่งเรียกมันว่า Lepsius XXVI แต่การวิจัยเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2517 โดยทีมมหาวิทยาลัยในประเทศเช็ก มีการเจอรูปปั้นประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเรพร้อมข้อความระยะสั้นว่า nTri bAw nfrf ra (\"พระเจ้าเป็นอำนาจของเนเฟอร์อิร์คาเร\") พีระมิดเนเฟอร์อิร์คาเรไกลที่สุดในทะเลทรายของพีระมิดแห่งอบิวเสียทั้งหมด เป็นพีระมิดที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศอียิปต์รองจากจากพีระมิดแห่งเอนัส", "title": "พีระมิดเนเฟอร์อิร์คาเร" }, { "docid": "246123#2", "text": "ในปี ค.ศ. 2010 รูปแบบการจัดศึก เรสเซิลเมเนีย ได้ลงนิตยสารของ WWE แสดงภาพว่า ระหว่างการจัดศึก เรสเซิลเมเนีย จะมีการเปิดหลังคาของสนามเพื่อให้โล่งแจ้งอีกด้วย หลังจากที่มีการจัด เรสเซิลเมเนีย ในที่โล่งแจ้งมาแล้ว 2 ครั้ง คือ เรสเซิลเมเนีย IX และ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 24", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26" }, { "docid": "246123#11", "text": "เรสเซิลเมเนีย XXVI หมวดหมู่:มวยปล้ำอาชีพในปี พ.ศ. 2553", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26" }, { "docid": "361116#14", "text": "เรื่องราวของการชิงแชมป์ ของ โคดี โรดส์ และ บิ๊กโชว์ เพื่อชิงแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล ในรอว์ (20 กุมภาพันธ์ 2012) ในแมตช์แบทเทิลรอยัล โดยเหลือ คริส เจอริโค กับ บิ๊กโชว์ ซึ่งเจอริโคได้เป็นผู้ชนะ จากการช่วยเหลือของโคดี โดยดึงมือบิ๊กโชว์ ลงมาข้างล่าง ทำให้บิ๊กโชว์ได้วิ่งไล่ตามโคดีไป ต่อมาโคดีได้ทำคลิปล้อเลียนบิ๊กโชว์ โดยเอาภาพเหตุการณ์ที่น่าอับอายของบิ๊กโชว์ ในเรสเซิลเมเนีย แต่ละครั้งมาล้อเลียน และถูกเรียกว่าเป็นตัวตลกของเรสเซิลเมเนีย ทุกๆ ปี ทำให้บิ๊กโชว์แค้นมากและได้ขอท้าเจอกันในเรสเซิลเมเนีย", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28" }, { "docid": "17481#0", "text": "วันสหประชาชาติ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งให้ผู้คนทั่วโลกทราบถึงเป้าหมาย จุดประสงค์และการบรรลุผลของสหประชาชาติ โดยกำหนดวันที่กฎบัตรสหประชาชาติ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เป็นวันกำเนิดขององค์การสหประชาชาติ และในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ได้มีมติของสหประชาชาติที่ 2782 (XXVI) สนับสนุนให้วันสหประชาชาติเป็นวันหยุดประจำชาติในประเทศสมาชิกทุกๆ ประเทศ", "title": "วันสหประชาชาติ" }, { "docid": "881015#0", "text": "แมบ (/ mæb / MAB) หรือ ยูเรนัส XXVI เป็นดาวที่อยู๋วงโคจรด้านในของดาวยูเรนัส มันถูกค้นพบโดย Mark R. Showalter และ Jack J. Lissauer ในปี 2003 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล มันถูกตั้งชื่อตามราชินีแมบ นางฟ้าราชินีจากชาวบ้านที่พูดถึงในอังกฤษ โดยวิลเลียม เชคสเปียร์จากละครโรมิโอและจูเลียต", "title": "แมบ (ดาวบริวาร)" }, { "docid": "246123#7", "text": "อีกหนึ่งคู่ที่มีการปล้ำเพื่อชิงเข็มขัด แชมป์ WWE ในศึก เรสเซิลเมเนีย คือ จอห์น ซีนา พบ บาทิสตา โดยเริ่มจากที่ จอห์น ซีนา กับ เบรต ฮาร์ต มีปัญหากับ เจ้าของ WWE วินซ์ แม็กแมน[18] ต่อมา ในศึกรอว์ ในเดือนกุมภาพันธ์ บาทิสตา มาช่วย วินซ์ และทำร้ายเบรต[19] หลังจากที่การปล้ำจบลง ซีนาได้ออกมาช่วยเบรต และ โจมตี บาทิสตา[20] ต่อจากนั้นใน รายการ อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010) ในแมทช์เปิดรายการ ซีนา ชนะ เชมัส คว้าแชมป์ WWE มาครอง ในแมตท์ อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ เพื่อการชิงแชมป์ WWE แต่หลังจากที่จบแมชท์ วินซ์ได้ประกาศให้ บาทิสตา ชิงแชมป์ WWE กับ ซีนา ต่อจากนั้นโดยทันที โดยที่ ซีนา พึ่งปล้ำเสร็จ ยังไม่ได้รับการพักผ่อน ทำให้ ซีนา แพ้ บาทิสตา พร้อมกับเสียแชมป์โลก WWEไปอีกด้วย [21] ในศึกรอว์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ซีนา แค้นมากจึงขอท้าเจอ บาทิสตา รีแมตช์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย แต่วินซ์ให้ ซีนา รีแมตช์ กับ บาทิสตา ในรายการวันนั้น ให้ชนะ จึงจะได้รีแมตช์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย และในคืนนั้น จอห์น ซีนา ชนะ ฟาล์ว จึงได้ ไปปล้ำชิงแชมป์ WWE ในศึก เรสเซิลเมเนีย", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26" }, { "docid": "703994#8", "text": "เรื่องราวสู่ เรสเซิลเมเนีย 32 ยังไม่ได้รับการตอบรับดีจากนักวิจารณ์ เจสันพาวเวลของโปรมวยปล้ำ Dot Net เสียใจที่ \"สร้างเพื่อเรสเซิลเมเนีย ได้รับระเบียบความคิดสร้างสรรค์\" และ WWE บัญชีรายชื่อที่ได้รับบาดเจ็บตีไม่ได้แก้ตัว \"บุ๊กกิ้งเลอะเทอะหรือเรื่องราวที่มีช่องว่างใหญ่และช่องว่างตรรกะ\"[19] เจฟฟ์ แฮมลินแห่ง Wrestling Observer criticized \"มีโมเมนตัมสำหรับเรสเซิลเมเนีย ไม่เป็นที่ทั้งหมด กรณีที่ขายตัวเองหมดจดในชื่อแบรนด์ของตน\"[20] เบนทักเกอร์ของโปรมวยปล้ำไฟฉายเขียน \"ไม่ได้ตั้งแต่เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 13 ของ WWE ซูเปอร์โบว์ลมาร่วมกันในการดังกล่าวเป็นแฟชั่นที่แปลกประหลาดกับ WWE ทำให้บางส่วนของมากที่สุดในการตัดสินใจหัวเกาผมเคยเห็นในทุกเพศทุกวัย\"[21] ไคล์ Fowle ของ A.V. Club ประกาศว่า WWE ของ \"เรือมุ่งตรงไปที่โขดหิน\" และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง \"ศึกชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทเป็นภัย\"[22]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32" }, { "docid": "703994#7", "text": "เรสเซิลเมเนีย กับประเภทแมตช์การปล้ำ จะถูกกำหนดโดยการวางพล็อตเรื่อง และเขียนบท โดยนักมวยปล้ำจะถูกวางตัวให้เป็น ธรรมะ หรือ อธรรม ทั้งหมดโดยการจัดแมตช์ นักมวยปล้ำทั้งหมดของ WWE บางคนเท่านั้นที่มีความบาดหมางจากรายการทีวีของ WWE จะได้มาแสดงที่เรสเซิลเมเนีย[17][18]", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 32" }, { "docid": "313907#12", "text": "บัตรได้จัดจำหน่ายในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2010 โดยงานที่จะจัดก่อนถึง เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 มีชื่อเรียกรวมกันว่า \"WrestleMania Week\" โดยมีงาน เรสเซิลเมเนีย แอ๊กซ์เซส สำหรับแฟนๆ ได้มาพบปะ และพูคุยกัน กับ นักมวยปล้ำ ,งาน ฮอลล์ ออฟ เฟม สำหรับการมอบรางวัลให้กับนักมวยปล้ำ ที่ได้เข้าสู่หอเกียรติยศ,งาน เรสเซิลเมเนีย อาร์ต ครั้งที่ 4 สำหรับให้นักมวยปล้ำนำภาพมาแสดง , และงาน Pro-Am Golf tournament. โดยที่เรสเซิลเมเนีย แอ๊กซ์เซส จัดที่ จอร์เจีย เวิร์ด คองเกรส เซ็นเตอร์, ส่วนงาน ฮอลล์ ออฟ เฟม จัดขึ้นที่ ฟิลิปส์ อารีน่า", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27" }, { "docid": "832115#11", "text": "ใน Fastlane Randy Orton ได้คว้าแชมป์ United States จาก Bobby Roode ทำให้เป็นแชมป์แกรนด์สแลมคนที่ 18 ของ WWE หลังแมตช์ Jinder Mahal ออกมาไล่อัด Orton แต่ Roode มาจัดการ Glorious DDT ใส่ทั้ง Mahal และ Orton ต่อมาใน SmackDown 13 มีนาคม Roode ได้ขอท้ารีแมตช์ชิงแชมป์ US กับ Orton ที่เรสเซิลเมเนีย Mahal ก็ออกมาเยาะเย้ยทั้งคู่และมีแมตช์เอาชนะ Roode ไปได้ ก่อนโดน Orton ใส่ RKO และมีการประกาศชิงแชมป์ US 3 เส้าระหว่าง Orton, Roode และ Mahal ที่เรสเซิลเมเนีย ใน SmackDown 27 มีนาคม Mahal ได้ร่วมทีมกับ Rusev ชนะ Orton กับ Roode ไปได้โดย Rusev เป็นคนจับกด Orton และได้มีการประกาศเพิ่ม Rusev เข้าร่วมชิงแชมป์ US เป็น 4 เส้าที่เรสเซิลเมเนีย", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34" }, { "docid": "313907#11", "text": "ในกันยายน ปี 2009 มีการรายงานว่าเมืองแอตแลนต้าได้เข้าร่วมการคัดเลือกเมืองที่จะเป็นสถานที่ ที่จะจัด เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 โดยใช้สถานที่จัดคือ จอร์เจีย โดม.โดยเมื่อมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2010 เมืองแอตแลนต้าก็ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นสถานที่จัด เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 โดยที่ WWE's senior vice president of special events, John Saboor ได้กล่าวในงานว่า แอตแลนต้าได้รับเลือกในที่สุด เหตุผลก็คือ \"ในบันทึกการจัดกิจกรรมใหญ่พวกเขา พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างดี มีพื้นฐานที่ดี เหมาะต่อการจัดงานของ WWE\" ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ เรสเซิลเมเนีย มาจัดที่รัฐ จอร์เจีย", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27" } ]
3983
ในเปลือกของเฟอร์ริติน ไอออนเหล็กจะอยู่ในรูปแบบผลึก ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "837352#5", "text": "ในเปลือกของเฟอร์ริติน ไอออนเหล็กจะอยู่ในรูปแบบผลึก (crystallite) ซึ่งจะคล้าย ๆ กับแร่ ferrihydrite คอมเพล็กซ์เฟอร์ริตินแต่ละหน่วยจะสามารถสะสมธาตุเหล็ก (Fe3+) ได้ประมาณ 4,500 ไอออน[6][9]", "title": "เฟอร์ริติน" } ]
[ { "docid": "837352#14", "text": "หน่วยย่อย H และ M ของเฟอร์ริตินในยูแคริโอต และหน่วยย่อยทั้งหมดของแบคทีเรียและอาร์เคีย (ซึ่งล้วนเป็นแบบ H) จะมี ferroxidase เป็นเอนไซม์เปลี่ยนเหล็กจากรูปแบบ Fe2+ (ferrous, di-iron) เป็น Fe3+ (ferric) ซึ่งจำกัดปฏิกิริยาที่เกิดระหว่าง Fe2+ กับไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ที่เรียกว่า Fenton reaction ซึ่งผลิตอนุมูลอิสระของไฮดรอกซิลที่มีอันตรายมาก การทำงานของ ferroxidase จะเกิดที่จุดยึด di-iron ที่ตรงกลางของหน่วยย่อย H แต่ละหน่วย[19][20] หลังจากกระบวนการออกซิเดชันของ Fe (II) ผลิตภัณฑ์ที่เป็น Fe (III) จะอยู่ในสภาพไม่ค่อยเสถียร (metastable) ตรงกลางของ ferroxidase จนกระทั่ง Fe (II) เข้าไปแทนที่มัน[20][21] ซึ่งดูจะเป็นกลไกสามัญของเฟอร์ริตินในอาณาจักรสิ่งมีชีวิตทั้งสาม[19] เฟอร์ริตินแบบ L ไม่มีการทำงานของ ferroxidase แต่อาจมีหน้าที่ส่งอิเล็กตรอนผ่านกรงโปรตีน (protein cage)[22]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#15", "text": "ระดับเฟอร์ริตินจะสูงขึ้นอย่างมากเมื่อมีการอักเสบหรือมะเร็ง ชีวพิษภายในตัว (Endotoxin) เป็นตัวเพิ่มการผลิตเฟอร์ริติน แต่ก็มีสิ่งชีวิต เช่น แบคทีเรียสกุล Pseudomonas ที่แม้จะมีชีวพิษภายในตัว ก็จะลดระดับเฟอร์ริตินอย่างสำคัญภายใน 48 ชม. แรกที่เกิดการอักเสบ ฉะนั้น โดยมากแล้ว เหล็กที่สะสมภายในร่างกายจะกันไม่ให้แก่สิ่งที่ก่อโรค ซึ่งช่วยขัดขวางเมแทบอลิซึมของมัน[23]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "35824#12", "text": "โบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารที่สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถานที่สำคัญ มีองค์ปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางอาคารและเป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญอีกด้วย\nการก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นส่วนวัสดุสำคัญ วัสดุอืนๆที่ใช่ ประกอบอาคารคือ กระเบื้องดินเผา ไม้ ศิลาทราย เหล็ก และอิฐ เป็นต้น การตกแต่งตัวอาคารใช้ปูนฉาบและประดับด้วยลายปูนปั้นตามปรางค์ประธานและซุ้มทิศ ปูนปั้นใช้หินปูนและเปลือกหอยเผาบดแล้วผสมด้วยกาวหนังสัตว์หรือส่วนผสมที่มีความข้นเหนียวและคลุกเคล้ากับน้ำอ้อยเพื่อให้ปูนแข็งตัวช้าทำให้ง่ายต่อการปั้นแต่งเป็นลวดลาย เทคนิคในการก่อสร้าง การก่อสร้างปรางค์ประธาน ซุ้มทิศ ระเบียง ล้วนใช้สิลาแลงและเรียงซ้อนขึ้นไปโดยมิได้ใช้ปูนสอ แต่บางแห่งก็ใช้เหล็กรูป ตัวไอ หรือ ตัวที ช่วยยึดระหว่างก้อนศิลา", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์" }, { "docid": "837352#1", "text": "เฟอร์ริตินเป็นคอมเพล็กซ์โปรตีนรูปทรงกลมที่มีหน่วยย่อย 24 หน่วยและเป็น \"โปรตีนเก็บธาตุเหล็กในเซลล์\" หลักทั้งในโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยเก็บเหล็กในรูปแบบที่ละลายน้ำได้และไม่มีพิษ ส่วนเฟอร์ริตินที่ไม่รวมเข้ากับธาตุเหล็กก็จะเรียกว่า apoferritin", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "22370#0", "text": "ผลึก () เป็นของแข็งที่มีองค์ประกอบเป็นอะตอม โมเลกุล หรือ ไอออน ซึ่งอยู่รวมกันอย่างมีระเบียบ เป็นรูปแบบที่ซ้ำกันและแผ่ขยายออกไปในเนื้อที่สามมิติ โดยทั่วไปสสารที่เป็น ของเหลว จะเกิดผลึกได้เมื่ออยู่ภายใต้กระบวนการโซลิดิฟิเคชัน (solidification) ภายใต้สภาวะที่สมบูรณ์ผลที่ได้จะเป็น ผลึกเดี่ยว (single crystal) ที่ซึ่งทุกอะตอมในของแข็งมีความพอดีที่จะอยู่ใน แลตทิช เดียวกัน หรือ โครงสร้างผลึกเดียวกัน แต่โดยทั่วไปจะเกิดหลายรูปแบบของผลึกในระหว่างโซลิดิฟิเคชัน ทำให้เกิดของแข็งที่เรียกว่า พอลิคริสตัลลีน (polycrystalline solid) ตัวอย่าง เช่น โลหะ ส่วนใหญ่ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันจะเป็น พอลิคริสตัล (polycrystals) ผลึกที่โตคู่กันอย่างสมมาตร จะเกิดเป็นผลึกที่เรียกว่า ผลึกแฝด (crystal twins) โครงสร้างผลึกจะขึ้นอยู่กับสารเคมี สภาวะแวดล้อมขณะเกิดการแข็งตัวและความกดดันขณะนั้น กระบวนการเกิดโครงสร้างผลึกเราเรียกว่าคริสตัลไลเซชัน (crystallization)", "title": "ผลึก" }, { "docid": "837352#24", "text": "การทานอาหารมังสะวิรัติอาจทำให้มีระดับเฟอร์ริตินในเลือดต่ำเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก โดยพบใน 19% ของคนทานเจในงานศึกษาในประเทศไทยปี 2542[30]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "940700#0", "text": "ซิลิคอนคาร์ไบด์ () หรือ คาร์บอรันดัม (carborundum) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ SiC ในรูปบริสุทธิ์ไม่มีสี แต่มีสีเขียวถึงดำจากการปนเปื้อนธาตุเหล็ก ซิลิคอนคาร์ไบด์มีรูปแบบผลึกกว่า 250 แบบ แต่พบมากที่สุดในรูปแอลฟา (α-SiC) ซึ่งมีโครงสร้างผลึกแบบหกเหลี่ยม ก่อตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 1700 °C และรูปบีตา (β-SiC) ซึ่งเป็นโครงสร้างแบบซิงก์เบลนด์ ก่อตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 1700 °C ในธรรมชาติพบในแร่มอยซาไนต์ แต่สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการอะคีสัน ", "title": "ซิลิคอนคาร์ไบด์" }, { "docid": "837352#12", "text": "ไลโซโซมเป็นตัวปล่อยเหล็กจากเฟอร์ริตินโดยหลักผ่านกระบวนการสลายเฟอร์ริติน[18]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#3", "text": "เฟอร์ริตินเป็นโปรตีนกลวงรูปกลมมีมวลอะตอมที่ 450kDa โดยมีหน่วยย่อย 24 หน่วยและอยู่ในเซลล์ทุกชนิด[6] โดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดผ่าศูนย์กลางภายในภายนอกที่ 8 และ 12 นาโนเมตร ตามลำดับ[8]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "772661#2", "text": "โดยทั่วไปแล้ว สารประกอบโคออร์ดิเนชันของโลหะแทรนซิชันจะมีรูปทรงเรขาคณิตเป็นทรงแปดหน้า (octahedral) ที่มีลิแกนด์ 6 ตัวล้อมรอบไอออนของโลหะ ในสนามผลึกรูปทรงแปดหน้านั้น ระดับพลังงานของ \"d\"-ออร์บิทัลจะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม โดย Δ คือ พารามิเตอร์ของการแยกสนามผลึก (crystal-field splitting parameter) เมื่อออร์บิทัล \"d\", \"d\" และ \"d\" จะมีพลังงานต่ำกว่าออร์บิทัล \"d\" and \"d\" เนื่องจากอยู่ไกลจากลิแกนด์มากกว่า ออร์บิทัลกลุ่มที่มีพลังงานต่ำกว่าทั้ง 3 เรียกว่า t และออร์บิทัล 2 ออร์บิทัลที่มีพลังงานสูงกว่า เรียกว่า e ", "title": "ทฤษฎีสนามผลึก" }, { "docid": "107751#7", "text": "มีหลายวิธีที่จะกระตุ้นสารกึ่งตัวนำ ทำให้มีหลายวิธีที่จะผลิตควอนตัมดอท โดยทั่วไป เส้นควอนตัม ควอนตัมเวล และควอนตัมดอทจะเพิ่มขึ้นด้วยเทคนิคอีพิแทกเชียล ในการผลิตผลึกนาโนโดยวิธีทางเคมี หรือโดยการถ่ายเทไอออน หรือในการแบ่งระดับนาโนโดยเทคนิคลิโทกราฟิก\nผลึกนาโนของสารกึ่งตัวนำที่เป็นคอลลอยด์สังเคราะห์ขึ้นโดยสารเริ่มต้นที่ละลายในสารละลายเช่นเดียวกับกระบวนการทางเคมีทั่วไป การสังเคราะห์ควอนตัมดอทแบบคอลลอยด์มีพื้นฐานจากองค์ประกอบหลัก 3 ประการคือ สารเริ่มต้น สารลดแรงตึงผิวอินทรีย์ และตัวทำละลาย เมื่อให้ความร้อนแก่ปฏิกิริยาจนได้อุณหภูมิสูงเพียงพอ สารเริ่มต้นจะเปลี่ยนรูปทางเคมีไปเป็นโมโนเมอร์ เมื่อโมโนเมอร์เกิดการอิ่มตัวยวดยิ่งจนถึงระดับที่เพียงพอจะเริ่มเกิดผลึกนาโน โดยมีกระบวนการก่อนิวเคลียส อุณหภูมิระหว่างการเติบโตเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ในการหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเติบโต ของผลึกนาโน ซึ่งควรจะสูงเพียงพอสำหรับการจัดตัวใหม่และการคลายตัวของอะตอมระหวางกระบวนการสังเคราะห์ ซึ่งควรจะต่ำจนเพียงพอที่จะสนับสนุนการเติบโตของผลึก ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องควบคุมระหว่างการเติบโตของผลึกคือความเข้มข้นของโมโนเมอร์ กระบวนการเติบโตของผลึกนาโนจะเกิดขึ้นได้สองแบบคือแบบเน้นและแบบไม่เน้น ความเข้มข้นของโมโนเมอร์ที่สูง ขนาดวิกฤต (ขนาดที่ผลึกนาโนจะไม่มีการเติบโต)จะเล็กมาก ทำให้มีการเติบโตของอนุภาคทั้งหมด ในระบบนี้ อนุภาคที่เล็กกว่าจะเติบโตได้เร็วกว่าอันที่ใหญ่กว่า ทำให้มีการเน้นที่การกระจายตัวของขนาดต่อผลที่ได้จนเกือบจะเป็นอนุภาคที่มีการกระจายตัวแบบเดียว การเน้นที่ขนาดจะเหมาะสมเมื่อความเข้มข้นของโมโนเมอร์คงที่ เช่น ค่าเฉลี่ยของขนาดผลึกนาโนที่ปรากฏจะใหญ่กว่าขนาดวิกฤติเล็กน้อย เมื่อความเข้มข้นของโมโนเมอร์หมดลงระหว่างการเติบโต ขนาดวิกฤติจะใหญ่กว่าขนาดเฉลี่ยที่ปรากฏทำให้เกิดการกระจายตัวแบบไม่เน้น", "title": "ควอนตัมดอต" }, { "docid": "837352#32", "text": "หมวดหมู่:เมแทบอลิซึมของเหล็ก หมวดหมู่:เมแทบอลิซึมของโลหะ หมวดหมู่:เหล็ก หมวดหมู่:การตรวจเลือด หมวดหมู่:พยาธิสภาพทางเคมี", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "615359#0", "text": "เฟอร์ไรไซยาไนด์ () เป็นแอนไอออนโดยมีสูตร [Fe(CN)] มักจะถูกเรียกว่า hexacyanoferrate(III) และเป็นของหายาก แต่การเรียกชื่อเป็นระบบ hexacyanidoferrate(III) เกลือที่พบบ่อยที่สุดของแอนไอออนเป็น โพแทสเซียม เฟอร์ไรไซยาไนด์ วัสดุผลึกสีแดงที่ใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในเคมีอินทรีย์", "title": "เฟอร์ไรไซยาไนด์" }, { "docid": "837352#8", "text": "เฟอร์ริตินมีหน้าที่เก็บธาตุเหล็กในรูปแบบที่ไม่เป็นพิษ และขนส่งมันไปยังที่ที่ต้องการ[13] หน้าที่และโครงสร้างของเฟอร์ริตินจะแสดงออกต่าง ๆ กันในเซลล์ต่าง ๆ ซึ่งโดยหลักคุมโดยปริมาณและเสถียรภาพของเอ็มอาร์เอ็นเอ (Messenger RNA, mRNA) และความเข้มข้นของ mRNA ยังแปรไปตามวิธีการที่เก็บและประสิทธิภาพในการถอดรหัสมัน[6]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#9", "text": "การมีธาตุเหล็กเองเป็นตัวจุดชนวนหลักอย่างหนึ่งให้ผลิตเฟอร์ริติน[6] โดยมีข้อยกเว้นบ้าง (เช่น เฟอร์ริตินในไข่ของหอยฝาเดียว Lymnaea ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการมีธาตุเหล็ก)[9] ส่วนเหล็กที่เป็นอิสระ คือไม่ยึดกับเฟอร์ริติน จะเป็นพิษต่อเซลล์เนื่องจากเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดอนุมูลอิสระจากสารกลุ่ม reactive oxygen species ที่เกิดจากปฏิกิริยา Fenton Reaction[14] ดังนั้น สัตว์มีกระดูกสันหลังจึงได้วิวัฒนาการกลไกป้องกันที่ซับซ้อนเพื่อจับเหล็กในเนื้อเยื่อต่าง ๆ", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#25", "text": "ระดับเฟอร์ริตินต่ำก็พบในคนไข้กลุ่มอาการขาไม่เป็นสุข (restless legs syndrome) บางคน ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับภาวะเลือดจาง แต่เนื่องจากมีธาตุเหล็กน้อยแต่ยังไม่ถึงภาวะเลือดจาง[31][32]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#23", "text": "ถ้าระดับเฟอร์ริตินต่ำ จะมีโอกาสเสี่ยงขาดธาตุเหล็ก ซึ่งนำไปสู่ภาวะเลือดจาง สำหรับภาวะเลือดจาง ระดับเฟอร์ริตินต่ำเป็นการทดสอบทางแล็บที่จำเพาะที่สุดต่อภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (คือ ถ้าค่าต่ำพอ การมีเฟอร์ริตินต่ำแสดงว่าภาวะเลือดจางที่มี มีโอกาสเกิดจากการขาดธาตุเหล็กมากที่สุด)[28] แต่ว่า นี่ไม่ใช่เป็นการทดสอบที่ไว (คือการมีระดับปกติในเลือดไม่ได้แสดงว่าไม่ขาดธาตุเหล็ก) เนื่องจากระดับสามารถสูงขึ้นเนื่องจากการติดเชื้อหรือการอักเสบเรื้อรัง[29] และภาวะเหล่านี้อาจเปลี่ยนระดับเฟอร์ริตินที่ควรจะต่ำให้สูงจนถึงปกติ ดังนั้น การมีระดับเฟอร์ริตินต่ำให้ข้อมูลมากกว่าเมื่อมีระดับปกติ แต่ระดับเฟอร์ริตินต่ำก็อาจแสดงว่ามีโรคไทรอยด์ ขาดวิตามินซี หรือเป็นโรค celiac disease ได้ด้วย", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#30", "text": "ช่องที่อยู่ในเฟอรร์ริตินและ mini-ferritin (DNA-binding proteins from starved cells ตัวย่อ Dps) ได้ทดลองใช้เป็นห้องปฏิกิริยาเพื่อสร้างอนุภาคนาโนโลหะ[36][37][38][39] เปลือกของโปรตีน เช่น ของเฟอร์ริติน สามารถใช้เป็นตัวจำกัดการเติบโตของอนุภาคและใช้เป็นตัวเคลือบอนุภาค โดยใช้เปลือกโปรตีนขนาดต่าง ๆ กัน ก็จะสามารถสังเคราะห์อนุภาคนาโนขนาดต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติทางเคมี ทางกายภาพ และทางชีวเวชที่ต่าง ๆ กัน", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#10", "text": "ภายในเซลล์ เหล็กจะเก็บเป็นคอมเพล็กซ์โปรตีนโดยเป็น ferritin หรือ hemosiderin ส่วน Apoferritin จะเป็นเฟอร์ริตินที่เข้ายึดเหล็กที่เป็นอิสระ เมื่อเซลล์ใน reticuloendothelial (RE) system ซึ่งเป็นส่วนของระบบภูมิต้านทานสะสมเหล็กมากขึ้น โปรตีนที่สะสมจะรวมตัวกันเป็น hemosiderin เซลล์ใน RE สามารถดึงเอาเหล็กทั้งที่อยู่ในรูปแบบเฟอร์ริตินและ hemosiderin ได้ แต่ว่า จาก hemosiderin จะยากกว่า เมื่อคงตัว ระดับเหล็กในเลือดจะสัมพันธ์กับเหล็กที่สะสมในร่างกาย ดังนั้น การวัดเฟอร์ริตินในเลือดโดย FR5Rl เป็นการทดสอบทางห้องปฏิบัติการที่สะดวกที่สุดเพื่อประเมินปริมาณเหล็กที่สะสมในร่างกาย", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#27", "text": "ถ้าระดับเฟอร์ริตินสูง แสดงว่ามีการสะสมเหล็กเกิน หรือว่ามีปฏิกิริยาอักเสบอย่างฉับพลัน (acute inflammatory reaction) ที่มีการสร้างเฟอร์ริตินโดยไม่ได้มีเหล็กเกิน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อติดเชื้อ ระดับเฟอร์ริตินอาจสูงขึ้นโดยไม่ได้แสดงว่ามีเหล็กเกิน เฟอร์ริตินยังใช้เป็นตัวบ่งชี้โรคเหล็กเกินต่าง ๆ รวมทั้ง ภาวะเหล็กเกิน (hemochromatosis) และ hemosiderosis โรคสติลล์ที่เริ่มเป็นในผู้ใหญ่, porphyrias, hemophagocytic lymphohistiocytosis/macrophage activation syndrome ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคที่อาจทำระดับเฟอร์ริตินให้สูง", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "171522#2", "text": "เพราะเป็นสารอนุพันธ์ของพิวรีน (purine) แบบเฮเทอโรไซคลิก (heterocyclic) และไบไซคลิก (bicyclic) กรดยูริกจะไม่ให้โปรตอนคือ H+ (protonation) จากออกซิเจน (คือจากด้าน −OH) เหมือนกับกรดคาร์บอกซิลิก งานศึกษาด้วยการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์กับไอออนของไฮโดรเจนยูเรตของผลึกแอมโมเนียมไฮโดรเจนยูเรต (ammonium hydrogen urate) ซึ่งเกิดในร่างกาย (in vivo) โดยเป็นตะกอนสะสมเนื่องจากโรคเกาต์ แสดงว่า ออกซิเจนแบบคีโทนในตำแหน่งที่ 2 ของโครงสร้างพิวรีน (บนคาร์บอนระหว่างไนโตรเจนสองอะตอมในวงแหวนที่มีสมาชิก 6 หน่วย) อยู่ในรูปแบบของ OH group ในขณะที่ออกซิเจนที่อยู่ข้าง ๆ ไนโตรเจนในตำแหน่งที่ 1 และ 3 มีประจุไอออนร่วมกันในวงแหวนแบบ pi-resonance-stabilized ที่มีสมาชิก 6 หน่วย", "title": "กรดยูริก" }, { "docid": "837352#0", "text": "เฟอร์ริติน (English: Ferritin) เป็นโปรตีนในเซลล์ทั่วไปที่สะสมธาตุเหล็กและปล่อยมันอย่างเป็นระบบ โปรตีนนี้มีในสิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมด รวมทั้งสาหร่าย แบคทีเรีย พืชชั้นสูง และสัตว์ ในมนุษย์ มันมีหน้าที่เป็นสารบัฟเฟอร์เพื่อไม่ให้ขาดเหล็กหรือมีเหล็กเกิน[3] และพบในเนื้อเยื่อโดยมากในรูปแบบของโปรตีนในไซโตซอล (ในไซโทพลาซึมของเซลล์) แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่อยู่ในเลือดโดยทำหน้าที่เป็นตัวขนส่งธาตุเหล็ก ระดับเฟอร์ริตินในเลือดยังเป็นตัวชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ของปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย และดังนั้น จึงสามารถตรวจสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency anemia)[4]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#11", "text": "เพราะว่าเหล็กเป็นธาตุที่สำคัญในกระบวนการ mineralization จึงมีเฟอร์ริตินในเปลือกของสิ่งมีชีวิตเช่นมอลลัสกา เพื่อควบคุมความเข้มข้นและการกระจายของเหล็ก และดังนั้น จึงมีอิทธิพลต่อสัณฐานและสีของเปลือกด้วย[15][16] มันยังมีบทบาทในของเหลว (haemolymph) ในตัวของมอลลัสกาชั้นพอลิพลาโคฟอรา ซึ่งทำหน้าที่ขนส่งเหล็กไปยัง radula (ส่วนที่คล้ายลิ้นใช้กินอาหาร) เพื่อกระบวนการ mineralization[17]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "117427#33", "text": "เหล็กกล้าเป็นโลหะผสมประกอบด้วยธาตุเหล็ก (iron) , คาร์บอน 0.2-1.7 หรือ 2.0% ไม่เกินกว่านี้โดยน้ำหนัก (C:1000-10,8.67Fe) ขึ้นกับเกรดที่ใช้งาน คาร์บอนเป็นธาตุที่มีผลอย่างมากต่อโลหะผสม แต่ธาตุอื่นๆที่นำมาใช้เช่น แมงกานีส, ทังสะเตน, คาร์บอนและธาตุอื่นๆทำหน้าที่ให้เกิดปฏิกิริยาการชุบแข็งในผลึกอะตอมของเหล็ก จากการเลื่อนไหลของโครงสร้างอื่นๆภายในเนื้อเหล็กกล้า จำนวนของธาตที่ผสมและรูปแบบของมันเป็นตัวควบคุมบทบาทในเหล็กกล้า (ธาตุตัวถูกละลาย ขั้นตอนการตกตะกอน) เช่น ความแข็ง ความเหนียว ความทนต่อแรงดึงของการมีผลต่อเหล็กกล้า เหล็กกล้าที่มีการเพิ่มคาร์บอนสามารถให้ความแข็งที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเหล็กแต่ให้ความเปราะมากขึ้นด้วย การถูกละลายได้ของคาร์บอนในเหล็ก (iron) ในรูปแบบออสเตนไนต์ คือ 2.14% โดยน้ำหนัก การเกิดขึ้นที่ 1149 C คาร์บอนที่เข้มข้นมากกว่านี้หรืออุณหภูมิต่กว่านี้จะสร้างโครงสร้างเซีเมนไต์ (โครงสร้างเปราะ) โลหะผสมที่มีคาร์บอนมากกว่านี้ คือเหล็กหล่อที่ได้มาจากการหลอม (Cast iron) เพราะมันมีจุดหลอมต่ำ เหล็กกล้ามีความโดดเด่นจากเหล็กเหนียว (wrought iron) ซึ่งมีธาตุอื่นผสมเพียงเล็กน้อย 1-3% ของน้ำหนักโดยสแลก (slag) ในรูปแบบของอนุภาคขนาดเล็กในทุกทิศทาง การให้เกรนที่มีลักษณะโครงสร้างเหล็ก มันมีความต้านทานต่อสนิมมากกว่าเหล็กกล้าและเชื่อมได้ง่าย ในทุกวันนี้เราพูดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า เหมือนกับว่าเจาะจงเพียงเป็นอย่างเดียวกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ พวกมันได้เคยถูกแบ่งไว้เป็น 2 แบบ", "title": "การเชื่อม" }, { "docid": "837352#4", "text": "ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยย่อยจะเป็นแบบเบา (light, L, Ferritin light chain) และแบบหนัก (heavy, H, FTH1) โดยมีมวลโมเลกุลที่ 19kDa และ 21kDa ตามลำดับ ลำดับยีนของหน่วยย่อยทั้งสองมีกำเนิดโครงสร้างเดียวกัน (homologous) ประมาณ 50%[6] ส่วนสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีเฟอร์ริตินเพิ่มอีกแบบที่เรียกว่าแบบ \"M\"[9] ส่วนเฟอร์ริตินรูปแบบเดียวที่พืชและแบคทีเรียมีคล้ายกับแบบ H[9] มีเฟอร์ริตินอีกสองอย่างที่พบในหอยฝาเดียว Lymnaea โดยเฟอร์รินตินที่อยู่ในตัว (somatic) และในไข่ (yolk) จะต่างกัน (ดูรายละเอียดต่อไป)[9] มีรูปแบบอื่นอีกที่คล้ายกับที่พบในตัวของ Lymnaea ที่เกี่ยวกับการสร้างเปลือกของหอยนางรม[10] ในปรสิตสกุล Schistosoma มีรูปแบบสองอย่างที่ต่างกันระหว่างตัวเมียและตัวผู้[9] รูปแบบทั้งหมดที่กล่าวถึงแล้วมีลำดับหลักคล้ายกับรูปแบบ H ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง[9] ส่วนในแบคทีเรีย E. coli เฟอร์ริตินที่พบคล้ายกับแบบ H ของมนุษย์ที่ 20%[9]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#17", "text": "เฟอร์ริตินในไมโทคอนเดรียมีบทบาทหลายอย่าง คือมีส่วนร่วมในการทำงานของ ferroxidase, ของการยึดไอออนธาตุเหล็ก (iron), ของ oxidoreductase, ของการยึดเหล็กแบบ ferric, ของการยึดไอออนโลหะ (metal ion binding) และของการยึดโลหะทรานซิชัน ในกระบวนการชีวภาพ มันยังมีส่วนร่วมในกระบวนการออกซิเดชัน-รีดักชัน ในการขนส่งไอออนเหล็กข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ และภาวะธำรงดุลของไอออนเหล็กภายในเซลล์", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#7", "text": "งานวิจัยปี 2544 แสดงว่าเฟอร์ริตินของไมโทคอนเดรีย (mitochondrial ferritin) เป็นสารตั้งต้นของโปรตีน (protein precursor) อย่างหนึ่ง และจัดเป็นโปรตีนที่จับกับโลหะภายในไมโทคอนเดรีย[11] หลังจากที่โปรตีนผ่านกระบวนการของไมโทคอนเดรียไปแล้ว ก็จะสามารถสร้างเป็นเปลือกเฟอร์ริตินที่ใช้การได้ โดยมีโครงสร้างขนาด 1.70 อังสตรอม วัดโดยการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction) โดยมี residue 182 แห่ง และ 67% ของโครงสร้างจะเป็นรูปวนก้นหอย (helical) กราฟ Ramachandran plot[12] แสดงว่า โครงสร้างของเฟอร์ริตินไมโทคอนเดรียเป็นรูปวนก้นหอยแบบ alpha โดยมี beta sheet น้อย และไม่เหมือนกับเฟอร์ริตินของมนุษย์ประเภทอื่น ๆ ยีนของมันปรากฏกว่าไม่มีส่วน intron", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#29", "text": "ตามงานศึกษาปี 2547 คนไข้โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (anorexia nervosa) สามารถมีระดับเฟอร์ริตินที่สูงในช่วงขาดอาหารอย่างฉับพลัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเหล็กออกสะสมในเลือด โดยจำนวนเม็ดเลือดแดงจะตกลง[34] ส่วนงานศึกษาปี 2556 เสนอว่า เนื่องจากความผิดปกติของเมแทบอลิซึมในโรคนี้ จึงอาจมีการหลั่ง isoferritin ออก นอกจากนั้นแล้ว เฟอร์ริตินยังมีหน้าที่สำคัญที่ไม่เกี่ยวกับการเก็บเหล็ก เช่นเป็นตัวป้องกันอันตรายที่เกิดจากออกซิเดชัน และระดับ isoferritin อาจทำให้ระดับเฟอร์ริตินที่วัดสูงขึ้น การวัดเฟอร์ริตินผ่านกระบวนการ immunoassay หรือ immunoturbidimeteric อาจจะจับค่า isoferritin เหล่านี้ซึ่งไม่ได้สะท้อนการเก็บสะสมเหล็กในร่างกายจริง ๆ[35]", "title": "เฟอร์ริติน" }, { "docid": "837352#21", "text": "ระดับเฟอร์ริตินในเลือดสามารถวัดได้ในห้องปฏิบัติการโดยเป็นส่วนของการตรวจสอบเหล็กเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กหรือไม่ ระดับเฟอร์ริตินในเลือดปกติจะมีสหสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณเหล็กที่ร่างกายสะสม แต่ว่า ระดับก็อาจจะสูงกว่าปกติในกรณีที่มีภาวะเลือดจางเหตุโรคเรื้อรัง (anemia of chronic disease) ที่เฟอร์ริตินสูงขึ้นโดยเป็นส่วนของ acute phase protein ที่เกิดจากการอักเสบ และไม่ใช่เป็นตัวชี้ว่ามีเหล็กเกิน", "title": "เฟอร์ริติน" } ]
3984
กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนจัดขึ้นครั้งแรกที่ไหน ?
[ { "docid": "55088#1", "text": "การจัดการแข่งขันจะจัดขึ้นทุกสองปี โดยมีกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูหนาวและกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ซึ่งทั้งสองมหกรรมกีฬานี้จะจัดแข่งขันในปีเดียวกัน แต่ต่างเวลาและสถานที่ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2504 โดยจัดขึ้นที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลก" } ]
[ { "docid": "297547#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2011 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 26 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่เซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม ถึง 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2011" }, { "docid": "297544#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2003 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 22 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่แดกู เกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2546", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2003" }, { "docid": "297546#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2009 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 25 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่เบลเกรด เซอร์เบีย ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2009" }, { "docid": "297523#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1981 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 11 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่บูคาเรสต์ โรมาเนีย ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม ถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2524", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1981" }, { "docid": "297530#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1985 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 13 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่โกเบ ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม ถึง 4 กันยายน พ.ศ. 2528", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1985" }, { "docid": "297513#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1973 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 7 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่มอสโก สหภาพโซเวียต ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม ถึง 25 สิงหาคม พ.ศ. 2516", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1973" }, { "docid": "297531#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1987 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 14 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่Zagreb โครเอเชีย ระหว่างวันที่ 8 กรกฎาคม ถึง 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2530", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1987" }, { "docid": "297539#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1997 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 19 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่ซิซิลี อิตาลี ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1997" }, { "docid": "297534#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1989 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 15 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่Duisburg เยอรมนีตะวันตก ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม ถึง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2532", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1989" }, { "docid": "297518#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1977 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 9 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่โซเฟีย บัลแกเรีย ระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม ถึง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2520", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1977" }, { "docid": "297545#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2005 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 23 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่เมืองอิซมีร์ ประเทศตุรกี ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม ถึง 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2005" }, { "docid": "297505#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1963 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 2 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่โซเฟีย บัลแกเรีย ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน พ.ศ. 2506", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1961" }, { "docid": "297507#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1965 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 3 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่Porto Alegre บราซิล ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 8 กันยายน พ.ศ. 2508", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1963" }, { "docid": "919861#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2017 (; ) หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 29 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ระหว่างวันที่ 19–30 สิงหาคม พ.ศ. 2560\nเมืองที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเจ้าภาพกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2015 มีทั้งสิ้น 2 เมือง ได้แก่ กรุงบราซีเลีย, ประเทศบราซิล และ กรุงไทเป, ประเทศไต้หวัน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 มีมติมอบสิทธิการเป็นเจ้าภาพดังกล่าวแก่กรุงไทเป\nมาสคอตของการแข่งขันครั้งนี้ก็คือ หมีดำ ชื่อ บราโว", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2017" }, { "docid": "297537#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1995 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 18 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่ฟูกุโอกะ ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน พ.ศ. 2538", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1995" }, { "docid": "297511#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1971 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 6 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่ตูริน อิตาลี ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม ถึง 6 กันยายน พ.ศ. 2514", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1970" }, { "docid": "297516#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1975 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 8 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่โรม อิตาลี ระหว่างวันที่ 18 กันยายน ถึง 21 กันยายน พ.ศ. 2518", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1975" }, { "docid": "297536#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1993 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 17 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่Buffalo, New York สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 8 กรกฎาคม ถึง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2536", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1993" }, { "docid": "297549#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2015 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 28 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่ควังจู เกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม–14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2015" }, { "docid": "297542#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2001 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 21 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน พ.ศ. 2544", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2001" }, { "docid": "297540#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1999 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 20 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่Palma de Mallorca สเปน ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม ถึง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1999" }, { "docid": "297509#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1967 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 4 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่บูดาเปสต์ ฮังการี ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม ถึง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2510", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1965" }, { "docid": "297548#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2013 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 27 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่Kazan รัสเซีย ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม ถึง 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2013" }, { "docid": "297527#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1983 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 12 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่Edmonton, Alberta แคนาดา ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2526", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1983" }, { "docid": "674507#0", "text": "กีฬาว่ายน้ำในกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1999 เป็นชนิดกีฬาหนึ่งที่จัดการแข่งขันในกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1999 ณ เมืองPalma de Mallorca ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม ถึง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 โดยจัดการแข่งขันที่สนามPavelló Son Hugo", "title": "กีฬาว่ายน้ำในกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1999" }, { "docid": "297521#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1979 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 10 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่เม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 2 กันยายน ถึง 13 กันยายน พ.ศ. 2522", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1979" }, { "docid": "297510#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1969 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 5 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่โตเกียว ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 4 กันยายน พ.ศ. 2512", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1967" }, { "docid": "919935#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2019 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 30 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่เนเปิลส์ ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 3–14 กรกฎาคม พ.ศ. 2562", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2019" }, { "docid": "297503#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1961 (English: 1961 Summer Universiade) หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 1 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่ตูริน อิตาลี ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม ถึง 7 กันยายน พ.ศ. 2504", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1959" }, { "docid": "297535#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1991 () หรือการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 16 เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีการแข่งขันกีฬาหลายชนิด จัดขึ้นที่Sheffield สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม ถึง 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2534", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 1991" } ]
3985
ใครเป็นผู้วาดภาพโมนาลิซ่า?
[ { "docid": "7998#0", "text": "เลโอนาร์โด ดา วินชี (Italian: Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น", "title": "เลโอนาร์โด ดา วินชี" } ]
[ { "docid": "667426#7", "text": "เช้าวันถัดมา สาวๆทุกคนได้ลงเรือไปพร้อมกับโจอี้, วิล และ ฮา ซาง เบก แฟชั่นดีไซเนอร์ เพื่อไปเต้นคัฟเวอร์เคป็อปที่ย่านคลาล์คคีล์โดยใช้เพลง Oppa! You Are Mine ของตาฮิติ เกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีในการเต้นคัฟเวอร์ครั้งนี้ เมื่อการเต้นได้สิ้นสุดลง โจอี้บอกว่าการแข่งขันประจำสัปดาห์นี้มีผู้ชนะสามคน ซึงเอมี่ เมลิสซ่า และฟรานเชสก้าเป็นผู้ชนะในครั้งนี้ ซึ่งผู้ชนะจะได้เลือกลูกทีมสองคนในการถ่ายภาพประจำสัปดาห์ ซึ่งเอมี่ได้เลือกบาร์บาร่าและลอร์เร็ตต้าอยู่ในทีม เมลิสซ่าได้เลือกเซลีนและกานี่อยู่ในทีมของเธอ และฟรานเชสก้าได้เลือกโมนิก้าและอแมนด้าอยู่ในทีม ส่วนเคียน่า เคบี รานิและทาห์เลียที่ไม่ได้ถูกเลือกโจอี้ได้ให้พวกเธอที่เหลือรวมกลุ่มโดยอัตโนมัติ หลังจากที่ทุกคนได้กลับมาถึงบ้านพักแล้ว พวกเธอก็ได้รับจดหมายจากจอร์จิน่าอีกครั้ง ซึ่งเป็น VTR จากตาฮิติที่ได้กล่าวทักทายผู้เข้าแข่งขันทุกคน พอถึงช่วงค่ำทาห์เลียและเคียน่าได้เกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น เคียน่าได้อธิบายบางสิ่งให้สาวๆที่อยู่ในวงสนทนาให้ฟังว่าเธอรุกรานบางคนที่นี่เพื่อให้เธอรู้สึกเข้มแข็งขึ้น ซึ่งสาวๆที่นั่งฟังอยู่ไม่อยากจะเข้าใจในสิ่งที่เธออธิบายเพราะพวกเธอไม่ได้มาเพื่อต่อสู้กับใครทั้งนั้น", "title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3" }, { "docid": "192553#39", "text": "การถ่ายภาพครั้งแรกในเซี่ยงไฮ้ สาวๆ จะต้องใส่ชุดของพวกเธอเองมาถ่ายโฆษณาและภาพถ่ายให้กับเครื่องสำอางคัฟเวอร์เกิร์ล ควีนคอลเล็คชั่น ในห้องตัดสิน มีเพียงชานทาลและซาลิช่าเท่านั้น ที่ได้รับคำชมจากกรรมการ โฆษณาและภาพถ่ายของเจน่าห์ทำออกมาได้ดี แต่กรรมการไม่ประทับใจในบุคลิกของเธอ โฆษณาของเฮทเธอร์และลิซ่าเรียกได้ว่าเลวร้ายที่สุดถึงแม้จะได้ภาพถ่ายที่วิเศษก็ตาม ซึ่งทำให้เธอต้องกลายเป็นสองคนสุดท้าย และลิซ่าเป็นผู้ที่ต้องกลับบ้านเพราะกรรมการรู้สึกว่าเธอยังไม่เข้มแข็งพอสำหรับวงการนี้", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 9" }, { "docid": "36435#4", "text": "ในปี ค.ศ. 1516 ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซา ในราคา 4,000 เอกือ", "title": "โมนาลิซา" }, { "docid": "194331#27", "text": "ประมวลภาพเหตุการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมา และภาพต่างๆ ที่ไม่เคยเห็นในรายการเช่นการดื่มเหล้าของลิซ่า รวมถึงการทะเลาะกันระหว่างคอรีนและลิซ่า", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5" }, { "docid": "667426#20", "text": "ในห้องตัดสิน เอมี่, บาร์บาร่า, กานี่, เมลิสซ่า และโมนิก้า ได้รับคำชมเชยในภาพถ่ายเป็นอย่างมาก ในขณะที่ ทาห์เลีย และ เคบี ก็ได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวกเช่นเดียวกัน ซึ่งในสัปดาห์นี้ กรรมการคิดว่า ภาพของ กานี่ และโมนิก้า เป็นภาพที่โดดเด่นที่สุด และภาพของโมนิก้า ได้ถูกเลือกให้เป็นภาพสำหรับใช้ในโฆษณาจริง ของโคลสอัพ ทิ้งให้ ฟรานเชสก้า และ อแมนด้า ต้องตกเป็นสองคนสุดท้าย เนื่องมาจาก กรรมการคิดว่า ฟรานเชสก้า ยังคงถ่ายภาพออกมาดูเป็นแคตตาล็อกอีกครั้ง และกรรมการได้ให้โอกาสกับเธอหลายครั้งแล้ว และ อแมนด้า ที่ในครั้งนี้แสดงออกมาว่าขาดความพยายาม จนทำให้ถ่ายภาพออกมาแย่ที่สุด และมีลุคส์ที่ดูไม่หลากหลาย จอร์จิน่า จึงให้เธอแสดงอารมณ์โกรธออกมา โดยจะลงที่ใครก็ได้ ในห้องตัดสิน เธอจึงได้ตำหนิ แดเนียล มานันต้า ที่ต่อว่า ภาพของเธอแย่ที่สุดในกลุ่ม อย่างไรก็ตาม อแมนด้าได้รับโอกาสแก้ตัวอีกครั้ง ทำให้ ฟรานเชสก้า ต้องถูกส่งกลับบ้านในสัปดาห์นี้ สาวๆที่เหลือ แปดคนสุดท้าย ได้ถูกพามาพบกับ โจอี้ และ เม็กน่า มิสทรี่ ผู้กำกับแฟชั่น จาก ซาโลร่า ซึ่งได้มาให้คำแนะนำสาวๆเกี่ยวกับการสร้างสไตล์การแต่งตัว และสาวๆจะได้แข่งขันกันเลือกชุดตามสไตล์ จากโจทย์ที่ได้รับ โดยพวกเธอถูกจับคู่กัน ดังนี้", "title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3" }, { "docid": "7998#6", "text": "ภาพเหมือนตัวเอง นักบุญจอห์น/เทพบาคคัส(นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์) (Saint John in the Wilderness Bacchus) พระเยซูรับศีลจุ่ม (vers 1475-1478) ภาพเหมือนนักดนตรี (Portrait of a Musician) (v. 1490) นักบุญเจอโรมในป่า (Saint Jerome) (v. 1480-1482) การชื่นชมของแมไจ (The Adoration of the Magi) (v. 1481-1482) La belle Ferronière (v. 1483-1490) ภาพเหมือนล้อเลียน นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์(Saint John the Baptist) (v. 1513-1516) ศึกษาตัวอ่อนมนุษย์ (Studies of embryos) (v.1509-1514) ภาพสเก็ตช์อาคาร ภาพสเก็ตช์ทหารสามหมวกเกราะ (Profile of a warrior in helmet) โมนาลิซ่า ภาพวาดที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ภาพกายวิภาคที่ก้าวล้ำยุคสมัยไปมาก ที่เรารู้จักกันในนามของ \"วิทรูเวียนแมน\" (Vitruvian Man) พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) (1498)", "title": "เลโอนาร์โด ดา วินชี" }, { "docid": "667426#22", "text": "ในการถ่ายภาพครั้งนี้ พวกเธอจะได้ถ่ายแฟชั่นเซ็ทให้กับ ซาโลรา โดยแต่ละคนจะต้องถ่ายถึง สามชุด โดยโจอี้ จะเป็นผู้จับเวลา ทาห์เลีย ได้เวลาถ่ายภาพมากที่สุดถึง ยี่สิบนาที ในขณะที่คนอื่นๆได้เพียง สิบห้านาที และโมนิก้า มีเพียง สิบนาทีเท่านั้น อแมนด้า กระพริบตาในระหว่างการถ่ายภาพอีกครั้ง ในขณะที่ บาร์บาร่า ตีโจทย์ไม่แตกและดูสับสน เมลิสซ่า ขาดอารมณ์ที่หลากหลาย และโมนิก้า ที่รู้สึกเครียด จนทำให้ถ่ายภาพออกมาไม่ดี เคบี, เอมี่ และ กานี่ ทำออกมาได้น่าประทับใจ และถึงแม้ว่า ทาห์เลีย จะได้เวลามากที่สุด แต่กลับต้องพยายามอย่างหนักในการถ่ายภาพ", "title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3" }, { "docid": "260729#47", "text": "ประมวลเหตุการณ์ที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นจนถึงตอนสุดท้ายและภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในฤดูกาลสาวเตี้ย กับการเดินแบบคู่ควีนวอลค์ของไทร่ากับบีอันก้าในรอบคัดเลือก นิโคลตั้งชื่อเล่นให้เพื่อนทุกคนเพราะเธอจำชื่อใครไม่ได้เลย การแข่งขันกินลูกกวาดระหว่างเอริน คาร่า และลิซ่า การทำความสะอาดบ้านของเจนนิเฟอร์ อารมณ์ศิลป์ของนิโคล งานอดิเรกของเรย์ เกมของคาร่า และโรเจอร์ แมวตัวโปรดของซันเดที่ฮาวาย", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 13" }, { "docid": "192553#40", "text": "'ผู้ที่ถูกเรียกชื่อคนแรก: ชานทาล โจนส์ ผู้ที่ยืนเป็นสองคนสุดท้าย: เฮทเธอร์ คูซมิช และ ลิซ่า แจ็คสัน ผู้ที่ถูกคัดออก: ลิซ่า แจ็คสัน ช่างถ่ายภาพ: จิม เวด ผู้กำกับโฆษณา: เจฟฟรี่ย์ ชู แขกรับเชิญพิเศษ: ลูอิส ลิว, เบรนท์ โพเออร์ สาวคัฟเวอร์เกิร์ลประจำสัปดาห์: เฮทเธอร์ คุซมิช", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 9" }, { "docid": "391196#36", "text": "เริ่มต้นสัปดาห์นี้ สาวๆได้แข่งขันชิงรางวัลประจำสัปดาห์ โดยพวกเธอจะต้องเขียน บล็อก ลงใน เว็บเพจ vogue.it โดยพวกเธอจะมีเวลา สามชั่วโมง เพื่อเลือกชุด และไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อถ่ายภาพของตัวเอง ก่อนที่จะกลับไปยังบ้านพัก เพื่อเขียนบล็อก เกี่ยวกับ การดำเนินชีวิตที่ เกาะครีตและแฟชั่น ซึ่ง ฟรานก้า ซอซานี่ จะเป็นผู้ตัดสิน ว่าบล็อกของใครทำออกมาได้ดีที่สุด แอลลิสันและลอร่า เขียนข้อความออกมาน้อยเกินไป ทำให้ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากฟรานก้า ลิซ่า ล้มเหลวเมื่อพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของแฟชั่น แต่ แองเจลี ทำออกมาได้ดีที่สุด ทำให้เธอ เป็นผู้ชนะ โดยรางวัลของเธอ คือจะได้กลับมาเที่ยวที่ เกาะครีตอีก เป็นเวลา เจ็ดวัน และมงกุฏสีทอง", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17" }, { "docid": "146217#21", "text": "การาวัจโจ “ใส่เงา (oscuro) ในการสร้างค่าต่างแสง” ค่าต่างแสงเป็นกรรมวิธีการเขียนที่มีใช้กันมานานก่อนหน้านั้นแต่คาราวัจโจเป็นผู้ที่ทำให้เป็นกรรมวิธีที่มีความหมายที่ชัดเจนขึ้น โดยการทำให้เงามืดขึ้นและวางตัวแบบในแสงที่จัดจ้า การวาดเช่นนี้ทำให้ผู้เขียนต้องเพิ่มความสังเกตความเป็นจริงทางด้านสรีระและทางจิตวิทยาของตัวแบบในภาพมากยิ่งขึ้น ความสามารถในการใช้ค่าต่างแสงของคาราวัจโจทำให้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ศิลปินแต่ก่อให้เกิดปัญหากับคณะกรรมการผู้จ้างงานทางศาสนาบ่อยครั้ง คาราวัจโจมีความสามารถในการเขียนภาพอย่างรวดเร็วจากตัวแบบจริงโดยเพียงแต่ร่างหยาบๆ บนผืนผ้าใบด้วยด้ามแปรง ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นที่ชิงชังในบรรดาช่างเขียนผู้ชำนาญที่ติเตียนการไม่ยอมวาดจากภาพร่างและการที่ไม่ยอมวาดตัวแบบอย่างอุดมคติอย่างที่ช่างเขียนอื่นทำ แต่ตัวแบบของคาราวัจโจเป็นตัวแบบที่เป็นจริงเป็นจังตามที่คาราวัจโจเห็น บางตัวก็สามารถบอกได้ว่าเป็นใครรวมทั้งมาริโอ มินนิติ และฟรานเชสโค โบเนริ ทั้งสองคนเป็นเพื่อนศิลปินด้วยกัน มาริโอปรากฏในภาพหลายภาพในยุคแรกของการเขียน ฟรานเชสโคปรากฏเป็นเทวดา, นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์, และเดวิดในภาพเขียนหลังจากนั้น แบบสำหรับสตรีก็รวมทั้ง ฟิลลิเด เมลันโดรนิ, แอนนา บิอันชินิ, และมัดดาเลนา อันโตเย็ตติ (“ลีนา” ที่กล่าวถึงในเอกสารในศาลเกี่ยวกับกรณี “อาร์ติโชค”) และเช่นฮาเร็มของคาราวัจโจ สตรีทั้งหมดเป็นโสเภณีมีชื่อ ผู้ปรากฏในภาพเป็นบุคคลในศาสนาต่างๆ เช่นพระแม่มารี และนักบุญต่างๆ คาราวัจโจเองก็ปรากฏในภาพที่เขียนเองหลายภาพๆ สุดท้ายปรากฏเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ทางด้านขวาสุดของภาพ “การพลีชีพของนักบุญเออร์ซูลา”", "title": "การาวัจโจ" }, { "docid": "36435#6", "text": "ตอนที่ ดา วินชี เสียชีวิตแล้วได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผู้ติดตามของเขา ฟรานเซสโก เมลซิ (Francesco melci) และเมื่อฟรานเซสโก เมลซิ เสียชีวิตลงก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกก็เริ่มกระจัดกระจาย ", "title": "โมนาลิซา" }, { "docid": "36435#10", "text": "กล่าวกันว่าภาพวาดนี้ ดา วินชี ตั้งใจจะวาดภาพของตนเองเมื่อเป็นหญิง และภาพวาดชิ้นนี้เมื่อส่องกับกระจกเงา จะพบว่ามุมการมองภาพรู้สึกเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างจากการมองแบบปกติ เหมือนที่ ดา วินชี กล่าวไว้ว่า \"ภาพเขียนที่จิตรกรจะคิดว่าสวยงามในทุก ๆ ด้านและทุก ๆ มุมมอง ต้องพิจารณาภาพภาพในกระจกเงา\" และจากการฉายรังสีที่ภาพวาด ทำให้พบว่าภาพเขียนนี้ซ่อนเจตนาที่แท้จริงหลายอย่าง และยังเคยถูกเขียนทับอีกด้วย", "title": "โมนาลิซา" }, { "docid": "391196#27", "text": "ในห้องตัดสิน เคธี่ กริฟฟิน ต้อนรับสาวๆโดยการสวมบทบาทเป็นเจ้าของรายการแทน ไทร่า จนกระทั่งไทร่ากลับมา และ ประกาศรางวัลชิ้นใหม่ล่าสุดที่ผู้ชนะจะได้รับ คือ เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับน้ำหอมกลิ่นใหม่ของ อเมริกาส์เน็กส์ท็อปโมเดล \nภาพของแองเจลี ลอร่า และลิซ่า ได้รับคำวิจารณ์ทางบวกเป็นอย่างมากจากกรรมการ ในขณะที่บีอังก้า เคย์ล่า และ แชนน่อนได้รับคำวิจารณ์ในด้านลบ บีอังก้าโจมตีกรรมการด้วยความคิดของเธอหลังจากถูกถามเกี่ยวกับการกระทำของเธอในการแข่งขันของรางวัลประจำสัปดาห์ หลังจากการปรึกษาของกรรมการ ไทร่าได้ประกาศว่า เธอมีภาพเพียง 7 ภาพในมือของเธอ ซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้เข้าแข่งขัน 2 คน จะต้องถูกส่งกลับบ้าน ไม่เพียงเพราะสิทธิ์ภูมิคุ้นกัน แต่เพราะเป็นภาพที่ดีที่สุดในความเห็นของกรรมการทั้งหมด ลิซ่า จึงถูกเรียกชื่อเป็นคนแรก บีอังก้า, เคย์ล่าและ แชนน่อนตกเป็นสามคนสุดท้าย สาเหตุที่ทั้งสามต้องตกเป็นสามคนสุดท้าย คือ แชนน่อนดูไม่พยายามมากนักในการถ่ายภาพ เคย์ล่าที่ดูจะแผ่วลงในการแข่งขัน และบีอังก้า ที่มีทัศนคติอันเลวร้ายและการกระทำอันย่ำแย่ของเธอ ท้ายที่สุดแล้ว แชนน่อนได้รับโอกาสให้อยู่ต่อไปในการแข่งขัน ซึ่งทำให้ เคย์ล่าและบีอังก้า ถูกคัดออกจากการแข่งขัน", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17" }, { "docid": "194331#31", "text": "บรีปฏิเสธที่จะสุงสิงกับสตีฟ-โอ และลิซ่าพยายามเรียกร้องความสนใจด้วยการฉี่ใส่ผ้าอ้อมต่อหน้าทุกคน ในห้องตัดสิน ภาพของนิค คิม และบรี สร้างความประทับใจให้กับกรรมการเป็นอย่างมาก ในขณะที่ภาพของนิโคล กับ เจย์ล่า ไม่สามารถสร้างความประทับใจให้กับกรรมการได้เลย ทำให้พวกเธอต้องกลายเป็นสองคนสุดท้าย และไทร่าทำให้ทุกคนต้องตกตะลึงเมื่อเธอประกาศออกมาว่าสาวๆ ต้องเก็บกระเป๋าและบินไปแข่งกันต่อที่ลอนดอน โดยที่ไม่มีใครต้องตกรอบเลยและนี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของรายการที่ไม่มีใครถูกคัดออกเลย", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 5" }, { "docid": "6275#3", "text": "อนึ่ง ภาพถ่ายแรกที่ได้จากกล้องฮับเบิล ถูกเปรียบเทียบเป็นภาพโมนาลิซ่าแห่งวงการดาราศาสตร์", "title": "เอ็ดวิน ฮับเบิล" }, { "docid": "391196#41", "text": "ในห้องตัดสิน พบว่า แองเจลี ได้ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน โดยไม่ได้ระบุเหตุผลที่แน่ชัด และคณะกรรมการ ได้กลับมาตัดสินกันที่ ลอสแอนเจลิส ในด้านภาพถ่าย คัฟเวอร์เกิร์ล ภาพของแอลลิสัน ถูกวิจารณ์ว่า ล้มเหลวในการแสดงออกทางสายตา และดูเหม่อลอย ในขณะที่ภาพของ ลิซ่า ได้รับคำชมว่า ดูมีเสน่ห์ดึงดูดใจ ในการถ่ายโฆษณา แอลลิสันถูกวิจารณ์ว่า เหมือนขาดความมั่นใจ และดูเป็นคนเก็บตัวมากเกินไป และลิซ่า ได้รับคำชมในการแสดงบุคลิกภาพของตัวเองออกมาในโฆษณา สำหรับการเดินแบบ แอลลิสัน ได้รับคำชมในเรื่องของการว่ายน้ำที่งดงาม แต่กลับถูกตำหนิอย่างหนักในการเดินแบบ และลิซ่า ที่เดินแบบได้ดี แต่กลับล้มเหลวไม่เป็นท่าในการว่ายน้ำ", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17" }, { "docid": "391196#20", "text": "ไทร่า ได้สร้างความตกตะลึงให้สาวๆ โดยได้บอกว่า การเรียกชื่อในสัปดาห์นี้ จะให้ ลา โทย่า เป็นผู้เลือกว่า ใครจะถูกเรียกคนที่เท่าไหร่ โดย ลอร่า ได้ถูกเรียกชื่อเป็นคนแรก เนื่องจากถ่ายภาพออกมาได้ดีที่สุด ตรงกันข้าม แองเจลีและลิซ่า ต้องกลายเป็น สองคนสุดท้ายอีกครั้ง ไทร่า จึงให้ ลา โทย่า ประกาศว่า ใครจะเป็นที่ถูกคัดออก ลา โทย่า กล่าวว่า พี่ชายของเธอ เป็นผู้ให้ความรัก และมักชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ โดยทั้งสองสาว จะได้รับโอกาสอีกครั้ง และจะไม่มีใครถูกคัดออกในสัปดาห์นี้สาวๆถูกพาไปยังชายหาด เพื่อทำการแข่งขันประจำสัปดาห์ ซึ่งเป็นการแข่งขัน เพื่อการกุศล โดย สาวๆถูกแบ่งเป็น 2 ทีม ทีมละ 9 คนเพื่อแข่งขัน ฟุตบอลชายหาด และเพื่อเพิ่ม จำนวนผู้เล่น สาวๆที่ถูกคัดออดไปแล้วทั้ง บริททานี่ ชีน่า ไอซิส และ คามิลล์ ก็ได้ถูกเพิ่มเข้ามาในการแข่งขันด้วย สาวๆทั้งสองทีมได้ผู้เล่นจากทีม The NFL มาร่วมเล่นด้วย ทีมละ 2 คน ซึ่งทีมที่ชนะ จะได้เงิน 5000 ดอลลาร์ เพื่อบริจาคให้แก่ผู้เล่น ระหว่างการแข่งขัน ไนเจลได้เรียกให้สาวๆทุกคนทำการแข่งขันถ่ายภาพ ระหว่างแข่งฟุตบอล เพื่อชิงรางวัลของพวกเธอเอง ท้ายที่สุดแล้ว ทีมสีน้ำเงิน ซึ่งประกอบด้วย แอลลิสัน,แองเจลี,บีอังก้า,บรี และ ลอร่า เป็นผ่ายชนะ แต่การแข่งขันถ่ายภาพนั้น เคย์ล่า กลับเป็นผู้ชนะ และรางวัลที่เธอได้รับ คือ การถ่ายภาพ ขึ้นในเว็บไซต์ ของ ไทร่า โดยมี อังเดร ลีออน ทอลลีย์ เป็นผู้เลือกชุด และกำกับการถ่ายภาพ", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17" }, { "docid": "391196#42", "text": "ในการพิจาณาของคณะกรรมการครั้งสุดท้าย กรรมการมีความเห็นตรงกันว่า แอลลิสันและลิซ่า มีตัวตนที่ตรงกับแบรนด์ของเธอมากที่สุดคือ ไม่เหมือนใคร และ บ้าบิ่น แอลลิสัน มีความประหลาด และดวงตาที่งดงาม ทำให้เธอถ่ายภาพออกมาได้สวยงาม และเธอยังที่เป็นที่รักของช่างภาพและเหล่าบรรดาดีไซน์เนอร์ อย่างไรก็ตาม เธอมีบุคลิกที่ดูเงียบเกินไป ซึ่งกรรมการคิดว่า เธออาจจะไม่เหมาะกับการเป็นผู้สื่อข่าวพิเศษให้กับ เอ็กซ์ตร้า นอกจากนั้น ดวงตาของเธอ ยังมีปัญหาสำหรับการถ่ายภาพ ที่จะต้องถ่ายภายใต้แสงสว่างที่รุนแรงอีกด้วย", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17" }, { "docid": "391196#14", "text": "ในห้องตัดสิน แอลลิสัน, แองเจลี, โดมินิคและลอร่า ได้รับการตอบรับที่ดีจากคณะกรรมการ คามิลล์ ถูกวิจารณ์ว่า ที่ผ่านมา ยังถ่ายภาพได้ไม่โดดเด่นเพียงพอ และรวมถึงในครั้งนี้ด้วย ภาพของ อเล็กซานเดรีย ดูแก่กว่าความเป็นจริงมาก ในขณะที่ ลิซ่า ถูกตำหนิว่า ถ่ายภาพออกมาแย่ ซึ่งทำให้คณะกรรมการเอือมระอา เมื่อเธอกลับไปโทษนายแบบที่ถ่ายร่วมกับเธอแทน หลังจากนั้น แองเจลี ได้ถูกเรียกชื่อเป็นคนแรก ทิ้งให้ ลิซ่าและคามิลล์ ต้องตกเป็นสองคนสุดท้าย โดย คามิลล์ ถ่ายภาพออกมาได้แย่ และลิซ่า ซึ่งมีคำแก้ตัวตลอดเวลา ในที่สุด ลิซ่า ได้รับโอกาสแก้ตัวอีกครั้ง ทำให้ คามิลล์ต้องถูกคัดออกเริ่มต้นด้วย แชนน่อน ได้เขียนตารางเพื่อจัดคิวในการใช้ของโทรศัพท์ของทุกคนภายในบ้าน ซึ่ง บีอังก้า ได้สังเกตถึงความบกพร่องของการจัดคิว จึงได้ไปขอคำอธิบายจาก แชนน่อน โดย แชนน่อน ได้ร้องไห้ออกมา เนื่องจากเธอคิดว่า บีอังก้า กำลังจะโจมตีเธอ ลิซ่า ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งครั้งนี้ เมื่อเธอได้พยายามจะช่วย แชนน่อน เถียงแทน", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17" }, { "docid": "443948#1", "text": "ปู่ของนากะเป็นชาวสวีเดน ฉะนั้น นากะจึงมีหนึ่งส่วนที่เป็นสวีเดนและอีกสามส่วนเป็นญี่ปุ่น โดยชื่อริอิซะของเธอมาจากภาพวาดโมนาลิซา ของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ปู่ของเธอหลงใหล", "title": "ริอิซะ นากะ" }, { "docid": "36435#0", "text": "โมนาลิซา () หรือ ลาโจกอนดา () หรือ ลาโชกงด์ () คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร เลโอนาร์โด ดา วินชีวาดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง ค.ศ. 1503–1507 เป็นภาพที่มีชื่อเสียงทั่วโลกภาพหนึ่ง เป็นที่รู้จักในฐานะภาพของสุภาพสตรีที่มีรอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส", "title": "โมนาลิซา" }, { "docid": "391196#5", "text": "บีอังก้ารู้สึกไม่พอใจที่เธอ จะต้องถูกต่อผมสีแดง และแชนน่อน ปฏิเสธที่จะสวมชุดชั้นใน ซึ่งเธอได้เลือกที่จะสวมชุดว่ายน้ำแทน ซึ่งทำให้มิสเตอร์เจย์ สับสนเป็นอย่างมาก ในระหว่างการถ่ายภาพ ไอซิส, แองเจลี, ลิซ่า และลอร่า ทำออกมาได้ดี ในขณะที่ บีอังก้า, บริททานี่ และอเล็กซานเดรีย ต้องพยายามอย่างหนัก เพื่อที่ถ่ายภาพออกมาให้ดี หลังจากถ่ายภาพจบ มิสเตอร์เจย์ได้บอกกับสาวๆว่า พวกเธอจะต้องพบกับ คณะกรรมการ ต่อหน้าผู้ชม ที่ลาน โนเกีย พลาซ่า โดยกรรมการพิเศษรับเชิญคนแรกของฤดูกาลนี้ คือ นิคกี้ มินาจ", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17" }, { "docid": "391196#44", "text": "ท้ายที่สุด หลังจากที่ไทร่า ได้แสดงครึ่งหลังของวิดีโอแฟชั่น โมเดล แลนด์ จึงได้ปรากฏภาพของผู้ชนะ ของ อเมริกา เน็กซ์ ทอป โมเดล ออล สตาร์ คือ ลิซ่า ดามาโต้", "title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 17" }, { "docid": "150190#7", "text": "อาร์เทมิเซียได้รับความสำเร็จเมื่อไปทำงานอยู่ที่ฟลอเรนซ์ เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเข้าสมาชิกของสถาบันการวาดภาพ (Academy of Drawing) และมีความสัมพันธ์อันดีกับศิลปินสำคัญๆ ร่วมสมัยเช่น คริสโตฟาโน อัลลอริ (Cristofano Allori) และได้รับการอุปถัมภ์จากผู้มีอิทธิพลเช่นแกรนดยุคโคสิโมที่ 2 เดอ เมดิชิและโดยเฉพาะแกรนดัชเชสคริสตีนา นอกจากนั้นอาร์เทมิเซียก็ยังมีความสัมพันธ์เป็นอันดีกับกาลิเลโอ กาลิเลอีโดยได้เขียนจดหมายติดต่อกันอยู่ระยะหนึ่ง และกับหลานไมเคิล แอนเจโลชื่อเดียวกันที่กำลังก่อสร้างบ้านบวยนาร์โรติและได้ขอให้อาร์เทมิเซียมาวาดภาพบนเพดานของห้องภาพเขียน", "title": "อาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี" }, { "docid": "667426#28", "text": "ในห้องตัดสิน เคบี และกานี่ ได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกจากคณะกรรมการ และถึงแม้ว่า โมนิก้า และบาร์บาร่า จะได้ถ่ายภาพเพียงแค่ 10 เฟรม เท่านั้น แต่ภาพของพวกเธอ กลับออกมาโดดเด่นมากที่สุด พวกเธอจึงได้ถูกเลือกให้เป็น ตัวแทนสินค้าคนใหม่ ของ ซูบารุ ในขณะที่ อแมนด้า ถ่ายภาพออกมาได้ดี แต่ก็เป็นอีกครั้ง ที่เธอถูกตำหนิในเรื่องของการกระพริบตาบ่อยเกินไป เอมี่ ถูกวิจารณ์เรื่องของขาดอารมณ์สีหน้าที่หลากหลาย และดูไม่ขายสินค้า เมลิสซ่า ถ่ายภาพออกมาไม่ตรงกับโจทย์ที่ได้รับ เธอจึงถูกตำหนิอย่างหนัก ทำให้เธอตกเป็นสองคนสุดท้าย ร่วมกับ ทาห์เลีย ที่คิดมากเกินไป จนทำให้ถ่ายภาพออกมาได้ไม่ดี เนื่องจากเธอได้ปฏิเสธที่จะใส่ชุดชั้นในในการถ่ายภาพ ซึ่งสุดท้ายแล้ว จอร์จิน่า ได้ยื่นภาพให้กับทาห์เลีย จึงทำให้ เมลิสซ่า ต้องเป็นผู้ที่ถูกส่งกลับบ้านสาวๆกลับถึงบ้านพัก หลังจากการตัดสินครั้งก่อน และต่างรู้สึกเสียใจที่ เมลิสซ่า ถูกคัดออกจากการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เคบี ที่สนิทกับเธอที่สุด โดยตอนนี้สาวๆในบ้าน ได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจน ในขณะที่ เอมี่ รู้สึกไม่พอใจ ที่ทาห์เลีย ยังได้อยู่ต่อในการแข่งขัน แทนที่เมลิสซ่า", "title": "เอเชียส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3" }, { "docid": "794859#0", "text": "นางสีเวย นางสีเหว่ย หรือ อินายสีเวย เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารของวัดต้าม่อน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ อันเป็นผลงานของฝีมือช่างชุดเดียวกันกับจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน คือ หนานบัวผัน จิตรกรพื้นถิ่นเชื้อสายไทลื้อ \"อินายสีเวยทัดอดกสลิด (ดอกแก้ว)\" เป็นภาพวาดชิ้นเอกของจิตรกรรมฝาผนังวัดต้าม่อนที่กล่าวขาญกันว่า นี่คือภาพที่ถ่ายทอดความงามแบบล้านนาของสาวงามชาวเมืองต้าได้เป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุด ดังที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็น \"โมนาลิซ่าไทยแลนด์\" ", "title": "นางสีเวย" }, { "docid": "7998#5", "text": "การประกาศของเทพ - หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์, ประเทศอิตาลี (ค.ศ. 1473) พระแม่มารีแห่งภูผา (Virgin of the Rocks) - พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. 1483) พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) - Convent of Santa Maria delle Grazie (Refectory), Milan (ค.ศ. 1495-1498) โมนาลิซ่า หรือ Mona Lisa พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. 1503-1507) ชุดภาพเหมือนล้อเลียน (ค.ศ. 1490-1505) ยุทธการอันเกียริ (The Battle of Anghiari)- พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส วาดจากต้นฉบับของ รูเบ็นส์ และจิตรกรนิรนาม", "title": "เลโอนาร์โด ดา วินชี" }, { "docid": "99871#2", "text": "โทโมอากิ อิชิซูกะ เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 ที่จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ในวงการดนตรีรู้จักกันในชื่อ \"พาตะ\" ซึ่งเป็นชื่อเล่นที่ได้มาจากมังงะเรื่อง Patalliro! ของ มิเนโอะ มายะ โดยบุคคลิกของเขาคล้ายกับตัวละครเอกในเรื่องที่ชื่อ แจ็ค บาบาโรซ่า บันโคแรน บางครั้งจะถูก HIDE เรียกว่า เจ้าชายผมแดง PATA เป็นคนเรียบง่ายมีความเป็นตัวของตัวเอง ในตอนเด็กเขาเรียนหนังสือเก่ง คะแนนจะอยู่ 1 ใน 10 ตลอด ถนัดวิชาคณิตศาสตร์\nตอนอนุบาลเรียนออร์แกน แต่เกลียดการซ้อมโน้ตด้วยแม็กเน็ตลงบน 5 เส้น เลยเลิกเรียนภายใน 4-5 ครั้ง ชั้นประถมก็เรียนวาดภาพ ป.4 ได้รางวัลประเภทภาพสีน้ำของเมืองชิบะ ขึ้นม.ต้นก็เรียนวาดภาพสีน้ำมัน แต่พอโตขึ้นเขากลับบอกว่าไม่ถนัดวาดรูปเลย เขาไม่ค่อยชอบกีฬาแต่เพื่อนรอบข้างจะเล่นกัน เขาเลยเล่นฟุตบอลนิดหน่อย เข้าสังกัดชมรมเทนนิสตอนม.ต้น พอ ม.2 ก็ได้เป็นนักกีฬาตัวจริง สาเหตุที่เริ่มเล่นเทนนิสก็เพราะเขาติดการ์ตูน (ผู้หญิง) เรื่อง ACE O NERAEI เขาชอบอ่านการ์ตูน ของสะสมของเขาก็คือหนังสือการ์ตูน เขาไป ร.ร.จริงจังจนถึง ม.1 เท่านั้น หลังจากนั้นก็เริ่มขาดเรียนบ่อยๆ และพอ ม.3 ก็ไม่ได้ไป ร.ร.เลย เขายอมรับว่าเขาเป็นเด็กที่เกลียด ร.ร.มาก ไม่ใช่เพราะถูกรังแกหรือเกลียดการเรียน แต่เขารำคาญการที่ต้องไป ร.ร. เพราะร.ร.เดิมของเขานั้นเดินจากบ้านแค่ 10 นาทีเท่านั้น แต่ ร.ร. ม.ปลายต้องใช้เวลาในการเดินทางถึง 1.30 ชม. ทำให้เขาเริ่มที่จะไม่ไป เขาหมกตัวอยู่ในบ้านเพื่อดีดกีตาร์ทั้งวัน ตอนกลางคืนก็จะฟังรายการเพลงต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลทางด้านดนตรีทั้งหมด เขาเริ่มฟังดนตรีมาตั้งแต่ ป.4 ดนตรีแรกที่สัมผัสคือ เพลงของ THE BEATLES ที่พี่ชายของเพื่อนเอามาให้ฟัง จากนั้นก็ชอบ KISS, AERO SMITH และวง ROCK ต่างๆ เช่น CHEAP TRICK เป็นต้น แต่ที่สร้างความประทับใจให้เขามาที่สุดในตอนนั้นคือ ริค นิลเซน มือกีตาร์วง CHEAP TRICK เขาชอบความเท่ห์ของริคทำให้เขาเริ่มซ้อมกีตาร์โฟลกของน้องสาว จากนั้นก็ชอบ ริช แบล็คมอร์ (DEEP PURPLE-RAIN BOW) ทำให้เขากลายเป็นหนุ่ม HARD ROCK เขาไม่มีโอกาสโชว์ฝีมือทางกีตาร์ เพราะเขาไม่มีเพื่อนที่ตีกลองได้เลยทำให้ตั้งวงไม่ได้ เขาจึงได้แต่ซ้อมกีตาร์กับเพื่อนนิดหน่อยเท่านั้น หลังเข้าเรียนชั้น ม.ปลาย ก็เริ่มตั้งวงกับเพื่อนที่รู้จักที่ร้านขายเครื่องดนตรี และนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาได้ค่อยได้ไป ร.ร. ในงาน ร.ร.ฤดูใบไม้ร่วง เขาพาวงดนตรีของเขามาร่วมงาน ชายคนที่ไม่ค่อยมา ร.ร.แต่มาปรากฏตัวบนเวที มีเทคนิคกีตาร์เกินกว่าเด็กชั้น ม.ปลาย ทำให้เพื่อนๆ สนใจ เขาจึงกลายเป็นฮีโร่ภายใน 1 วัน หลังจากนั้นเขาก็ไม่ไป ร.ร.อีกเลย \nวงที่เข้าร่วมชื่อ BLACK ROSE เขาได้ดูการแสดงบนเวทีของ X ในการแข่งขันของชิบะ ในตอนนั้น TOSHI ยังผมสั้นอยู่ YOSHIKI ก็หน้าแก่จนคิดไม่ถึงว่าเป็นเด็ก ม.ปลาย หลังจากนั้นเขาก็ย้ายมาอยู่วง JUDY แสดงที่ LIVE HOUSE ในโตเกียว จึงทำให้เริ่มสนิทกับ TOSHI และ YOSHIKI ในที่สุดวง JUDY ก็แยกตัวกันไป PATA ก็ไปทำงานพิเศษ ในเวลานั้น YOSHIKI โทรมาหาและบอกว่า “คนเล่นกีตาร์ลาออกไปแล้ว ช่วยมาเล่นให้หน่อยได้มั้ย” เขาอยากเล่นกีตาร์มากจึง ตอบตกลงไปด้วยความดีใจ และนี่ก็เป็นเหตุให้เข้าร่วมวง X ได้ในที่สุด \nทรงผมของ PATA ในตอนแรกๆ จะเป็นทรง MOHICAN (ไถ่ผมทั้ง 2 ข้างออกหมดยกเว้นตรงกลางแล้วตั้งขึ้นเหมือนนกหัวขวาน) ผู้ออกแบบทรงผมและสีผม (สีแดง) ก็คือ HIDE นั้นเอง PATA ยอมตัดผมทรงนี้เพราะไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร แต่ปัจจุบันก็ไว้ผมยาวหยิกเป็นลอนๆ ดูเท่ห์มากเวลาเล่นกีตาร์", "title": "โทโมอากิ อิชิซูกะ" } ]
3986
ตูร์เดอฟร็องส์ 1903 ถูกจัดขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "629503#0", "text": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903 เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ครั้งแรก โดยได้รับการสนับสนุนจากหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ซึ่งเป็นชื่อเดิมของหนังสือพิมพ์รายวัน L'Équipe การแข่งขันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-19 กรกฎาคม โดยแบ่งเป็น 6 สเตจ (stage) รวมระยะทางกว่า 2,428km (1,509mi) โดยผู้ชนะในรายการนี้ได้แก่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) [1]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" } ]
[ { "docid": "629503#5", "text": "เดิมการแข่งขันกำหนดจัดขึ้นระยะเวลา 5 อาทิตย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ไปจนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม โดยมีค่าสมัครเข้าแข่งขันจำนวน 20 ฟรังค์ (francs) ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันน้อยมาก โดยมีผู้สมัครเข้าแข่งขันเพียง 15 คน ทั้งที่เหลือเวลาอีกเพียง 1 อาทิตย์ก็จะเริ่มการแข่งขันแล้ว Desgrange จึงตัดสินใจเลื่อนกำหนดการแข่งขันออกไปเป็นวันที่ 1 ถึง 9 กรกฎาคม โดยเพิ่มเงินรางวัลให้สูงขึ้นถึง 20,000 ฟรังค์ และลดค่าสมัครเข้าแข่งขันให้เหลือเพียง 10 ฟรังค์ รวมทั้งยังการันตีว่า ผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลารวมได้ดีที่สุด 50 รายแรกจะได้รับเงินอย่างน้อย 5 ฟรังค์ ต่อวัน [6] ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้มีผู้สมัครเข้าแข่งขันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 79 คน และเข้าแข่งขันจริงจำนวน 60 คน [7]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#7", "text": "การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) มีทั้งหมด 6 สเตจ (stage) หากเทียบกับสเตจของการแข่งขันสมัยใหม่ สเตจตูร์เดอฟร็องส์มีระยะทางที่ยาวมากกว่าปกติโดยมีระยะทางเฉลี่ยมากกว่า 400km (250mi) ในขณะที่ระยะทางเฉลี่ยของการแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) มีเพียง 171km (106mi) ผู้เข้าแข่งขันจะได้พัก 1-3 วัน ระหว่างการเดินทางข้ามแต่ละสเตจ และเส้นทางส่วนมากจะราบเรียบ โดยมีเพียงสเตจเดียวเท่านั้นที่มีภูเขารวมอยู่ด้วย การแข่งขันจะเป็นแบบรายบุคคล และชำระค่าสมัครเข้าแข่งขันจำนวน 10 ฟรังค์ (€87.50 at 2003 prices) สำหรับการแข่งขันประเภทจัดอันดับผู้ชนะโดยนับจากเวลารวมที่น้อยที่สุด (general classification) หรือ 5 ฟรังค์ สำหรับการแข่งขันในแต่ละสเตจ และเนื่องจากระยะทางที่ยาวของแต่ละสเตจ ทุกสเตจจะเริ่มการแข่งขันตั้งแต่ก่อนฟ้าสางยกเว้นสเตจแรก และสำหรับสเตจสุดท้ายเริ่มการแข่งขันตั้งแต่ 21:00 [8]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "474715#0", "text": "ฌัก อ็องก์ตีล () นักจักรยานชาวฝรั่งเศส เป็นชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ชนะการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ 5 ครั้ง ในปี 1957 และสี่ปีติดต่อกันระหว่าง 1961 ถึง 1964 เป็นชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ชนะจีโรดีตาเลีย ในปี 1960 และเป็นชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ชนะครบทั้งสามรายการใหญ่ เมื่อเขาชนะวูเอลตาอาเอสปันญาในปี 1963 ในการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์เมื่อปี 1961 เขาได้ประกาศก่อนเริ่มการแข่งขันว่าจะสวมเสื้อแจกเกตสีเหลืองตั้งแต่จบวันแรก และจะสวมเสื้อตัวนี้ตลอดทั้งรายการ เขาสามารถทำได้เช่นนั้นจริง โดยเป็นผู้นำตลอดการแข่งขันตั้งแต่วันแรก", "title": "ฌัก อ็องก์ตีล" }, { "docid": "629503#11", "text": "ผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลาได้เร็วที่สุด 8 อันดับแรกของแต่ละสเตจได้รับรางวัลตั้งแต่ 50 ฟรังค์ ไปจนถึง 1,500 ฟรังค์ แตกต่างกันไปในแต่ละสเตจ และสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด 14 อันดับแรก ก็ได้รับรางวัลด้วยเช่นกัน คือ ผู้ชนะอันดับแรกได้รับ 3,000 ฟรังค์ และ ลำดับที่ 14 ได้รับ 25 ฟรังค์ [6] ผู้เข้าแข่งขันอีก 7 คนที่แข่งจนครบเวลาของประเภท general classification ได้รับรางวัลคนละ 95 ฟรังค์ (5 ฟรังค์ต่อวัน สำหรับการแข่งขันทั้งหมด 19 วัน) โดยมีข้อกำหนดว่า พวกเขาจะต้องไม่ได้รับเงินรางวัลเกิน 200 ฟรังค์ และมีความเร็วเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20km/h (12mph) ในสเตจอันใดอันหนึ่ง [6]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "10634#8", "text": "หมวดหมู่:การแข่งขันจักรยาน หมวดหมู่:กีฬาในประเทศฝรั่งเศส", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "512172#1", "text": "สถานที่ตั้งของปาร์กเดแพร็งส์ตั้งในภูมิประเทศซึ่งเคยเป็นสถานที่ล่าสัตว์ของเหล่าเชื้อพระวงศ์ของฝรั่งเศส ในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยสนามที่ใช้อยู่ในปัจจุบันถือเป็นแห่งที่ 3 ที่ก่อสร้างในสถานที่แห่งนี้ โดยครั้งแรกเปิดใช้ ในปี ค.ศ. 1897 ตามด้วยครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1932\nปาร์กเดแพร็งส์เคยใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลยูโรเปียนคัพ นัดชิงชนะเลิศ มาแล้ว 6 ครั้ง รวมถึงฟุตบอลสโมสรชิงแชมป์ยุโรปครั้งแรก ในชื่อยูโรเปียนแชมเปียนคลับคัพ ในปี ค.ศ. 1956 นอกจากนั้น ยังใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1938 (รอบชิงชนะเลิศ) และ 1998 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (รอบชิงชนะเลิศ) ในปี ค.ศ. 1960, 1984 และ 2016\nปาร์กเดแพร็กส์เคยถูกใช้เป็นเส้นชัยของการแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟร็องส์ ในช่วงปี ค.ศ. 1903 ถึง 1967 และยังมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในฐานะสนามจัดการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติของฝรั่งเศส", "title": "ปาร์กเดแพร็งส์" }, { "docid": "10634#0", "text": "ตูร์เดอฟร็องส์ (French: Tour de France หมายถึง การท่องฝรั่งเศส) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากร็องด์บุกล์ (La Grande Boucle) และ เลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "629503#3", "text": "ภายหลังจากเหตุการณ์เรื่องเดรฟุส (Dreyfus affair) จบลง หนังสือพิมพ์เลอ เวโล (Le Vélo)ได้ถูกแย่งพื้นที่โฆษณาไป และมีการจัดตั้งหนังสือพิมพ์ขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อว่า โลโต้เวโล (L'Auto-Vélo) ในปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ซึ่ง Henri Desgrange อดีตนักแข่งขันจักรยานรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) หนังสือพิมพ์ดังกล่าวได้ถูกกดดันให้เปลี่ยนชื่อเป็นโลโต้ (L'Auto) Desgrange ต้องการรักษาฐานลูกค้าซึ่งเป็นแฟนคลับของการแข่งขันจักรยาน ซึ่งมียอดซื้อสูงถึง 20,000 ฉบับ [2]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "10634#6", "text": "ก่อนหน้าที่แลนซ์ อาร์มสตรอง นักแข่งจักรยานชาวอเมริกันจะถูกตัดสิทธิ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 จากข้อหาใช้สารกระตุ้น เขาเป็นผู้ที่ชนะการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์มากที่สุด คือ 7 สมัยติดต่อกัน ปัจจุบันผู้ที่ชนะการแข่งขันมากที่สุดเป็นสถิติร่วมระหว่างนักแข่ง 4 คน คือ มีเกล อินดูเรน (สเปน) ชนะ 5 สมัยติดต่อกัน แบร์นาร์ อีโนล (ฝรั่งเศส) ชาก อองเกอตีล (ฝรั่งเศส) และเอดดี เมิกซ์ (เบลเยียม) ชนะคนละ 5 สมัย", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "629503#2", "text": "โมรีซ กาแรง เป็นผู้ชนะในสเตจแรกตั้งแต่การแข่งขันรอบ pre-race favourite และยังคงเป็นผู้นำตลอดการแข่งขัน เขายังเป็นผู้ชนะในสองสเตจ (stage) สุดท้าย โดยมีเวลานำผู้เข้าแข่งขันทีทำเวลารองลงไปถึง 3 ชั่วโมง ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ทั้งระหว่างและภายหลังการแข่งขัน ซึ่งทำให้การแข่งขันดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จนต้องมีการจัดขึ้นอีกครั้งในปีถัดมา และยังส่งผลให้หนังสือพิมพ์เลอ เวโล (Le Vélo) ต้องปิดตัวลงในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#10", "text": "ตลอดเส้นทางการแข่งขันจะมีเจ้าหน้าที่ประจำจุดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้เข้าแข่งขันปั่นจักรยานในเส้นทางที่ถูกต้อง[5][6] ในสมัยนั้นเสื้อสีเหลือง (yellow jersey) ซึ่งมอบให้แก่ผู้ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดตลอดการแข่งขัน (general classification) ยังไม่ได้นำมาใช้ แต่จะได้รับสายรัดข้อมือสีเขียวแทน [5]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "728125#0", "text": "ตูร์เดอฟร็องส์ 2015 () เป็นการแข่งขันครั้งที่ 102 ของตูร์เดอฟร็องส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของรายการใหญ่ โดยการแข่งขันเริ่มขึ้นที่ ยูเทรกต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม จนถึงช็องเซลีเซ ปารีส ในวันที่ 26 กรกฎาคม รวมเป็นระยะทาง 3,360.3 กิโลเมตร (2,088 ไมล์) การแข่งขันนี้มีนักปั่นจักรยานเข้าร่วม 198 คน จาก 22 ทีมที่เข้ารอบในรอบ 21 ทีม โดยมีผู้ชนะคือ คริส ฟรูม ของทีมสกาย ส่วนอันดับสองและสามเป็นของไนโร ควินตานา และ อาเลคันโดร บัลเบร์เด นักปั่นทีมโมวิสตาร์ ตามลำดับ", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 2015" }, { "docid": "629503#9", "text": "ในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) นักแข่งจักรยานอาชีพสามารถจ้างผู้นำหน้า (pacer) เพื่อให้นำทางระหว่างการแข่งขันได้ แต่ Desgrange ได้สั่งห้ามการกระทำดังกล่าว ซึ่งแท้จริงแล้ววัตถุประสงค์แรกเริ่มคือ ต้องการให้ใช้ผู้นำหน้าเฉพาะสเตจสุดท้ายและระยะทางยาวที่สุด อย่างไรก็ตาม การจ้างผู้นำหน้าได้ถูกยกเลิกไปหลังการแข่งขันสเตจที่ 5 [5][10][11]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "10634#5", "text": "รายชื่อผู้ชนะเลิศตั้งแต่ครั้งแรกในภาษาอังกฤษอยู่ทางด้านขวา", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "629503#4", "text": "เมื่อ Desgrange และลูกจ้างชื่อ Géo Lefèvre กลับมาจากการแข่งขันจักรยาน Marseille–Paris [3] Lefèvre ได้แนะนำให้จัดการแข่งขันรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคล้ายกับการแข่งขัน six-day races ที่โด่งดังและจัดการแข่งขันอยู่ [4] Desgrange จึงนำเสนอแนวคิดดังกล่าวให้แก่ Victor Goddet ผู้ดูแลด้านการเงิน ซึ่งตอบตกลงและการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ก็ถูกประกาศลงในหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) [5]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#12", "text": "การแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ในสมัยนั้นแตกต่างกับการแข่งขันในปัจจุบัน คือ อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันซึ่งออกจากการแข่งขันกลางคันในแต่ละสเตจสามารถเริ่มการแข่งขันใหม่ได้อีกในสเตจถัดไป แต่เวลารวมที่เขาทำได้จะไม่นำมานับรวมสำหรับการคัดเลือกผู้ชนะประเภท general classification ซึ่งทำให้ Hippolyte Aucouturier ซึ่งออกจากการแข่งขันไปในสเตจแรกกลับมาเป็นผู้ชนะในสเตจที่ 2 และ 3 รวมถึง Charles Laeser ผู้ชนะของสเตจที่ 4 ก็แข่งขันในสเตจที่ 3 ไม่จบด้วยเช่นกัน [7]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#13", "text": "ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 60 คน มีทั้งนักแข่งอาชีพ (professionals) และกึ่งอาชีพ (semi-professionals) ประกอบด้วยผู้เข้าแข่งขันจากประเทศฝรั่งเศสจำนวน 49 คน เบลเยียม 4 คน สวิสเซอร์แลนด์ 4 คน เยอรมัน 2 คน และอิตาลี 1 คน โดยในจำนวนนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบธุรกิจผลิตจักรยานจำนวน 21 คน และที่เหลือ 39 คน เข้าแข่งขันด้วยตนเอง [6][7][12] ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 24 คน เข้าแข่งขันเฉพาะบางสเตจเท่านั้น โดยในการแข่งขันรายการนี้ มีนักปั่นจักรยานที่ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันถือโอกาสเข้าร่วมปั่นในบางสเตจด้วย นักปั่นรายหนึ่งเข้าร่วมทั้งในสเตจที่ 2 และ 4 และอีกสามรายเข้าร่วมในบางส่วนของสเตจที่ 2 นอกจากนี้ยังมีรายหนึ่งเข้าร่วมในสเตจที่ 3 อีก 15 รายเข้าร่วมในสเตจที่ 4 และอีก 4 รายเข้าร่วมในสเตจที่ 5 [7]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#16", "text": "ในเวลานั้น กาแรงยังคงเป็นผู้นำของการแข่งขัน โดยมี Emile Georget ตามหลังอยู่ถึงสองชั่วโมง[16] ในสเตจที่ห้า ยางรถของ Georget แบนทั้งสองเส้น และเขายังผล็อยหลับไประหว่างที่หยุดพักข้างทาง จึงทำให้เขาไม่สามารถเอาชนะได้ [3] กาแรงจึงยังคงเป็นผู้นำในการแข่งขันต่อไปด้วยการคว้าชัยชนะในสเตจนี้ไปครอง โดยมีสามชั่วโมงนำหน้าคนอื่นอยู่นับจนถึงวันสุดท้ายของการแข่งขัน[17] กาแรงขอร้องให้นักปั่นคนอื่นในกลุ่มที่เป็นผู้นำการแข่งขันอยู่ปล่อยให้เขาเป็นผุ้ชนะในสเตจ แต่ Fernand Augereau ปฏิเสธคำร้องขอของเขา Garin then had Lucien Pothier throwing his bicycle at Augerau, และต่อมา Augereau ก็พลาดล้มลง จึงทำให้เหลือแต่ กาแรง Pothier และ Pasquier ที่ยังคงแข่งขันต่อไป โดย Pothier ก็ไม่สามารถปั่นเข้าเส้นชัยได้ ในขณะที่กาแรงเป็นผู้ชนะในประเภท sprint ไปอย่างง่ายดาย [18] Augerau ได้รับเงินรางวัล 100 ฟรังค์ จาก Velo-Sport Nantes สำหรับผู้ที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดในกิโลเมตรสุดท้ายของสเตจใน Nantes velodrome [19] สเตจสุดท้ายเป็นสเตจที่มีระยะทางยาวที่สุดคือ 471km (293mi) จากเมือง, Nantes ไปยัง Velodrome ในกรุงปารีส โดยมีผู้เข้าชมการแข่งขันกว่า 20,000 คน ร่วมเป็นสักขีพยานชัยชนะในสเตจที่สามของกาแรง โดยทำเวลาไปได้ 2 ชั่วโมง 59 นาที 31 วินาที โดยเวลาดังกล่าวยังคงเป็นเวลาที่ดีที่สุดของการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ [5]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#1", "text": "การแข่งขันถูกจัดขึ้นมาเพื่อโปรโมทหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) ภายหลังจากที่ยอดจำหน่ายเริ่มดิ่งลงจากการแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ Le Vélo ที่วางจำหน่ายมาอย่างยาวนาน เดิมการแข่งขันมีกำหนดจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน แต่ถูกเลื่อนออกไป 1 เดือน และเพิ่มเงินรางวัลมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีจำนวนผู้สมัครเข้าแข่งขันน้อยจนเป็นที่น่าผิดหวัง การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ในครั้งแรกจัดการแข่งขันบนถนน เมื่อเทียบกับการแข่งขันแกรนด์ทัวร์ (Grand Tours) การแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์มีจำนวนสเตจ (stage) ที่น้อยกว่า แต่มีระยะทางไกลกว่าที่แข่งขันอยู่ในปัจจุบัน ผู้เข้าแข่งขันไม่จำเป็นต้องปั่นครบทั้ง 6 สเตจ (stage) แม้ว่าการเข้าแข่งขันครบทุกช่วงจะเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดอันดับผู้ชนะโดยพิจารณาจากผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดตลอดเส้นทางการแข่งขันที่เรียกว่า general classification.", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "10634#1", "text": "ตูร์เดอฟร็องส์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "629503#20", "text": "Tour de France หมวดหมู่:Tour de France by year Tour de France", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#14", "text": "ผู้ชนะในรอบ pre-race favourites ได้แก่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) และ Hippolyte Aucouturier[3] กาแรง ขึ้นนำในการแข่งขันตั้งแต่ออกจากจุดเริ่มต้นและเป็นผู้ชนะของสเตจแรกซึ่งมีระยะทาง 471km (293mi) จากกรุงปารีสถึงเมืองลียง การแข่งขันเริ่มขึ้นในเวลา 15:16 น. โดยผู้เข้าแแข่งปั่นด้วยความเร็ว 35กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้เข้าแข่งขันที่ล้มเลิกกลางคันรายแรกหยุดที่ระยะทางประมาณ 50km (31mi).[13] กาแรง และ Emile Pagie เป็นผู้นำในการแข่งขันโดยถึงจุด control point ที่เมืองเนอแวร์ (Nevers) เวลา 23:00 น. กาแรงคาดการณ์ว่า พวกเขาจะถึงเส้นชัยในเวลา 8:00 ของเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ช่วงกลางคืน คู่แข่งของกาแรง, Aucouturier, มีอาการตะคริวที่ท้องทำให้ไม่สามารถแข่งจนจบสเตจได้ [5][13] นอกจากนี้ การทำผิดกฎของการแข่งขันเป็นครั้งแรกก็เกิดขึ้นตั้งแต่สเตจแรก โดย Jean Fischer ได้ใช้รถยนต์สำหรับ pacer ซึ่งถือว่าผิดกฎ[5][13] Pagie ล้มลงแต่ก็ลุกกลับขึ้นมาได้อีก เขาและกาแรง รั้งตำแหน่งผู้นำในการแข่งขันตลอดคืนนั้น จนกระทั่งเวลา 9:00 น. ทั้งคู่จึงเข้าเส้นชัยที่เมืองลียง โดยกาแรงเข้าเส้นชัยก่อนหน้า Pagie เพียงแค่ 1 นาที [13]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "474860#0", "text": "อาลแบร์ บูร์ลง () เป็นอดีตนักขี่จักรยานถนนอาชีพชาวฝรั่งเศส เขาเกิดในซ็องแซร์ก ใน ค.ศ. 1947 บูร์ลงเป็นผู้ชนะอันดับที่ 14 ของรายการตูร์เดอฟร็องส์ โดยเกือบเป็นช่วงแรกที่เขาได้แยกทางออกไป และขี่มาแบบเดี่ยวเป็นระยะ 253 กม. (157 ไมล์) ซึ่งเป็นเส้นทางที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ตูร์เดอฟร็องส์หลังช่วงสงคราม", "title": "อาลแบร์ บูร์ลง" }, { "docid": "10634#3", "text": "การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้ (L'Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์" }, { "docid": "629503#17", "text": "การแข่งขันในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันระหว่างการแข่งขันในสเตจทางเรียบและสเตจที่มีภูเขา ดังนั้น รูปภาพที่แสดงด้านล่างเป็นเพียงการแสดงให้เห็นว่า สเตจใดมีภูเขาอยู่ด้วย", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#19", "text": "ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์โลโต้ (L'Auto) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญอันเป็นผลมาจากการจัดแข่งขันนี้ ภายหลังจบการแข่งขัน หนังสือฉบับพิเศษที่จัดพิมพ์จำนวนจำกัดได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้น 130,000 ฉบับ [22] และยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์ปกติได้พุ่งสูงขึ้นจากเดิม 25,000 ฉบับ เป็น 65,000 ฉบับ [2] ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของยอดขายนี้ทำให้การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์กจัดขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) นักปั่นจักรยานได้กลายมาเป็นวีรบุรุษของชาติ ในขณะที่ โมรีซ กาแรง (Maurice Garin) ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันในปี พ.ศ. 2447 อีกครั้งกลับไม่สามารถรักษาตำแหน่งแชมป์เอาไว้ได้เนื่องจากเขาถูกตัดสิทธิ์จึงทำให้ขาดคุณสมบัติ โมรีซ กาแรง ได้ใช้เงินรางวัลที่เขาได้รับจากชัยชนะในปี พ.ศ. 2446 รวมทั้งหมด 6,075 ฟรังค์ (francs) [7] (เทียบเท่ามูลค่าประมาณ US$40,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา และ 23,000 ปอนด์ ในปี 2549 [5]) ซื้อสถานีบริการน้ำมันและใช้ชีวิตที่เหลือของเขาอยู่ที่นั่นจนสิ้นอายุขัย [5]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#8", "text": "การแข่งขันจักรยานทางไกลตูร์เดอฟร็องส์ครั้งแรกไม่มีการปั่นข้ามภูเขาแต่มีการปั่นผ่านช่องเทือกเขาเล็กน้อย ช่องเทือกเขาแรก คือ des Echarmeaux (712m (2,336ft)) ซึ่งอยู่ในช่วงต้นของสเตจที่เริ่มจากกรุงปรารีสไปเมืองลียง (Lyon) ในปัจจุบันคือถนนสายเก่าที่วิ่งจากเมืองโอเติง (Autun) ไปเมืองลียง นอกจากนี้ยังมีช่องเทือกเขา col de la République (1,161m (3,809ft)) ซึ่งอยู่ในสเตจที่เริ่มจากเมืองลียงไปเมืองมาร์แซย์ หรือในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ col du Grand Bois ซึ่งอยู่ติดชายแดนของเมืองแซ็งเตเตียน (St-Étienne)[9]", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#6", "text": "Géo Lefévre ทำหน้าที่เป็นกรรมการจัดงาน ผู้ตัดสิน และ ผู้จับเวลา โดย Henri Desgrange เป็นกรรมการจัดงานทั่วไป (directeur-général) ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ติดตามการแข่งขันก็ตาม", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" }, { "docid": "629503#18", "text": "ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 21 คน เข้าร่วมแข่งขันจนครบทั้งหมด 6 สเตจ โดยเวลาในแต่ละสเตจของนักปั่นจักรยานเหล่านี้ได้นำไปนับรวมสำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด (general classification) โดยผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ", "title": "ตูร์เดอฟร็องส์ 1903" } ]
3987
ISO ย่อมาจากอะไร ?
[ { "docid": "37109#0", "text": "องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน [3] (English: The International Organization for Standardization: ISO) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่กำหนดมาตรฐาน", "title": "องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน" } ]
[ { "docid": "37109#1", "text": "ชื่อทางการขององค์การนี้มีสามภาษาได้แก่ ภาษาอังกฤษ The International Organization for Standardization ภาษาฝรั่งเศส Organisation internationale de normalisation และภาษารัสเซีย Международная организация по стандартизации [2] และเนื่องจากมันมีหลายภาษา อักษรย่อก็น่าจะออกมาแตกต่างกัน (เช่น IOS สำหรับภาษาอังกฤษ, OIN สำหรับภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ) องค์การได้เลือกใช้ ISO เป็นอักษรย่อ โดยยืมมาจากคำในภาษากรีก ἴσος (isos แปลว่า เท่ากัน) [4] อย่างไรก็ดี ในการประชุมเพื่อก่อตั้งองค์การและคัดสรรชื่อขององค์การ คำกรีกดังกล่าวยังมิได้ปรากฏ จึงอาจอธิบายได้ว่าเป็นการคิดขึ้นมาภายหลัง [5]", "title": "องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน" }, { "docid": "421401#1", "text": "การใช้ตัวย่อของหน่วย ppm (ppb, ppt, ฯลฯ) ขัดกับมาตรฐานทางเทคนิค ISO 80000-1:2009 ข้อกำหนด 6.5.5 ดังนั้นมันจึงไม่ถูกต้องทางเทคนิค การแสดงอัตราส่วนอนุภาคที่เหมาะสมในปริมาตรหรือมวลที่แน่นอน เพื่อให้เข้ากันได้กับมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับใช้ในเอกสารทางเทคนิคเป็นอาทิ คือการแสดงอัตราส่วนด้วยกำลังของสิบ ต่อลูกบาศก์เมตรหรือต่อกิโลกรัมแล้วแต่กรณี", "title": "สัญกรณ์ส่วนในหลายส่วน" }, { "docid": "66070#0", "text": "ISO 3166-2:TH เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศไทย ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1", "title": "ISO 3166-2:TH" }, { "docid": "230614#20", "text": "ปีที่นับตามสัปดาห์ของ ISO จะเริ่มจากวันแรก (วันจันทร์) ของสัปดาห์ที่ 01 ไปจนสิ้นสุดวันอาทิตย์ที่อยู่ก่อนวันแรกของปีถัดไป ทำให้มีสัปดาห์เต็ม 7 วันเป็นจำนวน 52 หรือ 53 สัปดาห์ โดยไม่มีช่วงทับซ้อนหรือเว้นว่าง การนับปีตามสัปดาห์ของ ISO จะเบี่ยงเบนไปจากปีตามปฏิทินเกรโกเรียนโดยปกติ ในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์, หรือวันเสาร์-อาทิตย์, หรือเฉพาะวันอาทิตย์ ของจุดเริ่มต้นของปีปฏิทิน (ซึ่ง ISO จะถือว่าอยู่ในปีก่อนหน้า) และในวันจันทร์-อังคาร-พุธ, หรือวันจันทร์-อังคาร, หรือเฉพาะวันจันทร์ ของจุดสิ้นสุดของปีปฏิทิน (ซึ่ง ISO จะถือว่าอยู่ในสัปดาห์ที่ 01 ของปีใหม่) สำหรับวันพฤหัสบดี ปีปฏิทินและปีตาม ISO จะตรงกันเสมอ ตัวอย่างเช่น", "title": "ISO 8601" }, { "docid": "893517#0", "text": "ISO 3166-2:KR เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศเกาหลีใต้ (ชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเกาหลี) ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1", "title": "ISO 3166-2:KR" }, { "docid": "371987#0", "text": "ISO 3166-2:AE เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 7 รัฐISO 3166-1", "title": "ISO 3166-2:AE" }, { "docid": "12218#29", "text": "ISO 9001:2008 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ISO 9001:2008 กองบริการการศึกษา ISO 9001:2008 กองนโยบายและแผน ISO 9001:2008 กองพัฒนานักศึกษา ISO 9001:2008 บัณฑิตวิทยาลัย ISO 9001:2008 คณะวิทยาการจัดการ ISO 9001:2008 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ISO 9001:2008 คณะเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ISO 9001:2008 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ISO 9001:2008 คณะศิลปกรรมศาสตร์ ISO 9001:2008 สถาบันวิจัยและพัฒนา ISO ISO/IEC 27001: 2013 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" }, { "docid": "82662#1", "text": "ในปีค.ศ. 1987 ได้มีการตีพิมพ์มาตรฐาน ISO 9000 เป็นฉบับแรก หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1991 ได้ร่างมาตรฐาน ISO 9000-3 สำหรับเป็นแนวทางของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และได้มีการแก้ไขเป็น ISO/IEC 90003 Guidelines for the application of ISO 9001:2000 to computer software เพื่อกำหนดเป็นแนวทางสำหรับการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 9001:2000 สำหรับด้านคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์", "title": "ISO/IEC 90003" }, { "docid": "53159#1", "text": "วอน (ฮันกึล: 대한민국 원; ฮันจา: 大韓民國 원) (สัญลักษณ์: ₩, ภาษาเกาหลี: 원, won) เป็นสกุลเงินของประเทศเกาหลีใต้ ตัวย่อตามมาตรฐานใน ISO 4217 คือ KRW ธนบัตรของเกาหลีใต้จะมี 4 ชนิดคือ", "title": "วอน (สกุลเงินเกาหลีใต้)" }, { "docid": "7635#0", "text": "ดอลลาร์สหรัฐ (English: United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก[1] รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท", "title": "ดอลลาร์สหรัฐ" }, { "docid": "934381#0", "text": "ISO 3166-2:SJ เป็นรายการรหัสสำหรับสฟาลบาร์และยานไมเอนในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่นและกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 ", "title": "ISO 3166-2:SJ" }, { "docid": "230614#15", "text": "ถึงแม้มาตรฐานอนุญาตให้ใช้รูปแบบ YYYY-MM-DD และ YYYYMMDD เพื่อแสดงวันที่ให้ครบถ้วน แต่ถ้าวันที่ของเดือน [DD] ถูกละเว้นออกไป จะมีเพียงแค่ YYYY-MM เท่านั้นที่สามารถใช้ได้ ไม่อนุญาตให้ใช้ YYYYMM เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับรูปแบบวันที่อย่างย่อ YYMMDD ซึ่งก็ยังมีการใช้กันมาก", "title": "ISO 8601" }, { "docid": "893541#0", "text": "ISO 3166-2:PT เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศโปรตุเกส ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1", "title": "ISO 3166-2:PT" }, { "docid": "647919#0", "text": "บริษัทกีฬาเอย์บาร์ (; ) หรือเรียกอย่างย่อว่า เอเซเด เอย์บาร์ () เป็นสโมสรแห่งหนึ่งที่ปัจจุบันเล่นในลาลีกาของสเปน มาจากเมืองเอย์บาร์ทางภาคเหนือของประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ปัจจุบันเล่นที่สนามกีฬาเทศบาลอิปูรัวที่มีความจุ 5,250 ที่นั่ง เอย์บาร์เป็นสโมสรฟุตบอลยุโรปแห่งแรกที่ได้รับมาตรฐาน ISO-9001", "title": "เอเซเด เอย์บาร์" }, { "docid": "893550#0", "text": "ISO 3166-2:ID เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศอินโดนีเซีย ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1", "title": "ISO 3166-2:ID" }, { "docid": "109443#1", "text": "รหัสที่แสดงแทนภาษาต่าง ๆ นี้ ประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก 3 ตัว โดยที่ตัวอักษรเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องเป็นตัวอักษรย่อของ\nภาษานั้น ๆ แต่สามารถใช้รหัสนั้นในการจำแนกภาษาได้", "title": "ISO 639-2" }, { "docid": "15106#0", "text": "รหัสมาตรฐาน ISO 3166-2 คือส่วนที่ 2 ของมาตรฐาน ISO 3166 อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ ในแต่ละประเทศ หรือเขตการปกครองอิสระ จุดประสงค์ของการสร้างมาตรฐานเพื่อใช้เป็นคำย่อขนาดสั้น สำหรับสถานที่ ใช้ทั่วโลก ในปัจจุบันมีรหัสทั้ง 3700 รหัส ตัวอย่างรหัสได้แก่ เช่น จังหวัดศรีสะเกษ คือ รหัส TH-33 สำหรับรหัสในแต่ละประเทศ ดูที่ ISO 3166-1 (รหัสประเทศ) โดยจะมีรหัสใกล้เคียงกับรหัสอินเทอร์เน็ตของแต่ละประเทศ", "title": "ISO 3166-2" }, { "docid": "893527#0", "text": "ISO 3166-2:US เป็นรายการรหัสสำหรับสหรัฐอเมริกา ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1", "title": "ISO 3166-2:US" }, { "docid": "371981#0", "text": "ISO 3166-2:LA เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศลาว ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1", "title": "ISO 3166-2:LA" }, { "docid": "46915#0", "text": "โครูนาเช็ก เป็นสกุลเงินของประเทศเช็กเกีย อักษรย่อตามรหัส ISO 4217 คือ CZK ใน ", "title": "โครูนาเช็ก" }, { "docid": "19004#0", "text": "เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ () หรือ ไอเอสบีเอ็น (ตัวย่อ: ISBN) เป็นรหัสที่กำหนดขึ้นให้ใช้กับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือทั่วไป มีจุดมุ่งหมายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหนังสือแต่ละเรื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมข้อมูลสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ในด้านการสั่งซื้อ การขาย การบริการ การเงิน และการนำสินค้าออกจำหน่ายไปยังสำนักพิมพ์ในประเทศต่าง ๆ ระบบ ISBN ถูกสร้างขึ้นในสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2509 โดยบริษัทผู้จัดพิมพ์และขายหนังสือ ดับเบิลยู เอช สมิธ และถูกเรียกว่า เลขมาตรฐานหนังสือ (Standard Book Numbering หรือ SBN) ต่อมา มีการนำ SBN มาใช้เป็นมาตรฐานสากล ISO 2108 ในปี พ.ศ. 2513 รหัสมาตรฐานที่คล้ายกัน หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (the International Standard Serial Number หรือ ISSN) ใช้สำหรับนิตยสารที่ออกตามกำหนดเวลา", "title": "เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ" }, { "docid": "935739#3", "text": "มาตรฐาน ISO 3166 ได้รับการบำรุงโดย หน่วยงานบำรุงรักษา ISO 3166 (ISO 3166 Maintenance Agency) ชื่อย่อคือ (ISO 3166/MA) ในอดีตตั้งอยู่ในสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมเยอรมัน (Deutsches Institut für Normung) ชื่อย่อคือ (DIN) ในเบอร์ลินประเทศเยอรมนี แต่ปัจจุบันตั้งอยู่ที่สำนักงานกลาง ISO ในกรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่หลักคือ:", "title": "ISO 3166" }, { "docid": "11016#0", "text": "ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language: SQL, อ่านอย่างย่อว่า \"เอสคิวแอล, ซีเควล, ซีควล\") เป็นภาษาสอบถามที่นิยมมากที่สุดของการจัดการฐานข้อมูล สำหรับสร้าง แก้ไขและเรียกใช้ฐานข้อมูล โดยใช้มาตรฐานของแอนซี (ANSI) และ ไอเอสโอ (ISO) ปัจจุบันการใช้งานใช้ในหลายจุดประสงค์มากกว่าใช้สำหรับจัดการโปรแกรมเชิงวัตถุที่เป็นจุดประสงค์แรกของการสร้างภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง", "title": "ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง" }, { "docid": "230614#49", "text": "ISO 8601:2000 ได้อนุญาตให้มีการนำเสนออย่างย่อ (โดยมีข้อตกลงร่วมกัน) ซึ่งจะทำให้องค์ประกอบที่อยู่นำหน้า (ทางซ้าย) ของวันที่หรือเวลาถูกละเว้นไว้ จึงทำให้สามารถใช้เลขปีสองหลักในรูปแบบ YY-MM-DD และ YYMMDD แต่ก็ทำให้เกิดความกำกวม แนวคิดนี้จึงถูกยกเลิกไปใน ISO 8601:2004", "title": "ISO 8601" }, { "docid": "893604#0", "text": "ISO 3166-2:MM เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศพม่า ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ไอเอสโอ) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1", "title": "ISO 3166-2:MM" }, { "docid": "7913#0", "text": "กีบ () เป็นหน่วยเงินของประเทศลาว (รหัสสากลตาม ISO 4217 อักษรย่อ LAK) หนึ่งกีบมี 100 อัด () ในปี พ.ศ. 2522 เกิดการปฏิรูปค่าเงินขึ้น โดยเปลี่ยน 100 กีบแบบเก่าให้เท่ากับ 1 กีบในปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 คือ 1 ยูโร เท่ากับ 13,636 กีบ และ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 10,500 กีบ ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นผู้รับผิดชอบพิมพ์เงินตราออกใช้", "title": "กีบ (สกุลเงิน)" }, { "docid": "372093#0", "text": "ISO 3166-2:AL เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในสาธารณรัฐแอลเบเนีย", "title": "ISO 3166-2:AL" }, { "docid": "2793#0", "text": "เหรินหมินปี้ (จีนตัวย่อ: 人民币 ; จีนตัวเต็ม: 人民幣 ; พินอิน: rénmínbì ; ตามตัวอักษรหมายถึง \"เงินตราของประชาชน\") เป็นเงินตราอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกโดย ธนาคารประชาชนแห่งชาติจีน (People's Bank of China) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านเงินตราของ จีนแผ่นดินใหญ่ ตัวย่อใน ISO 4217 คือ CNY", "title": "เหรินหมินปี้" }, { "docid": "893527#2", "text": "รหัสแต่ละตัวจะแบ่งเป็นสองส่วน ซึ่งคั่นด้วยยติภังค์ (-) ส่วนแรกคือ US ซึ่งเป็นรหัสประเทศตามมาตรฐาน ISO 3166-1 แบบสองอักขระของสหรัฐอเมริกา และส่วนที่สองเป็นตัวอักษร ซึ่งเป็นอักษรย่อทางไปรษณีย์ของแต่ละรัฐ เขตการปกครอง หรือพื้นที่รอบนอก เว้นแต่เกาะเล็กรอบนอกของสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีอักษรย่อทางไปรษณีย์", "title": "ISO 3166-2:US" }, { "docid": "897035#4", "text": "ในการนี้รัฐผู้ออกอาจเพิ่มรายละเอียดเกินกว่าที่ระบุไว้นี้ได้ เช่น เลขประจำตัวประชาชน ส่วนสูง สีดวงตา ที่อยู่ สถานที่เกิด ฯลฯ แต่ไม่จำเป็น\nนอกเหนือจากที่กำหนดใน ISO 3166-1 แล้ว ผู้ออกหนังสือเดินทางอาจจะเลือกใช้อักษรย่ออื่นแทนตนได้ตามความเหมาะสม เช่น", "title": "หนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้" } ]
3988
เสือชีตาห์มีที่อยู่อาศัยในทุ่งหญ้าสะวันนาใช่หรือไม่?
[ { "docid": "74018#0", "text": "เสือชีตาห์ (English: Cheetah) เป็นเสือเล็กชนิดหนึ่ง เนื่องไม่สามารถส่งเสียงคำรามได้ แต่จากรูปร่างภายนอก ทำให้นิยมเรียกกันว่า เสือชีตาห์ เสือชีตาห์มีที่อยู่อาศัยในทุ่งหญ้าสะวันนา เป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วมากวิ่งได้เร็วประมาณ 110–120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นสัตว์บกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก[2] เป็นผลมาจากความสามารถในการโค้งงอของกระดูกสันหลังในการเคลื่อนที่และเมื่อพุ่งตัวกระดูกสันหลังจะเหยียดออก ปัจจุบันเสือชีตาห์ลดจำนวนลงในทวีปเอเชียเหลืออยู่แค่ในอิหร่านไม่เกิน 20 ตัว ส่วนในแอฟริกาประมาณการว่าเหลืออยู่ราว 4,000 ตัวเท่านั้น", "title": "เสือชีตาห์" } ]
[ { "docid": "585173#3", "text": "พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก เช่น เคนยา, แทนซาเนีย, ซิมบับเว และบอตสวานา มีพฤติกรรมและอุปนิสัยคล้ายกับลิงบาบูนชนิดอื่น ๆ คือ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในทุ่งหญ้าสะวันนา และป่าโปร่ง กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและเนื้อสัตว์ เช่น รากไม้, เมล็ดพืช, ใบไม้, หญ้า, ผลไม้ และสัตว์ขนาดเล็ก ", "title": "ลิงบาบูนเหลือง" }, { "docid": "11209#36", "text": "เสือเป็นสัตว์ที่มีขนปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย และลายของเสือนับว่ามีรูปแบบที่สวยงามโดดเด่นกว่าลายของสัตว์ชนิดอื่น ความสวยงามของลายเสือเป็นสิ่งล่อตาล่อใจให้มนุษย์ออกล่าเพื่อเอาหนังมาทำเป็นเครื่องประดับบ้านหรือเครื่องนุ่งห่ม เช่นหนังของเสือโคร่ง เสือดาว เป็นที่น่าสงสัยว่าเสือแต่ละชนิดนั้นมีลายขนที่แตกต่างกัน เช่น ลายดอก ลายจุด ลายทางยาวหรือสีขนที่เรียบ ๆ ไม่มีลวดลาย เนื่องจากลายของเสือนั้นเกิดจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เสืออาศัย เพราะเสือจะใช้ลายและสีขนเพื่อปกปิดตัวจากศัตรูหรือใช้สำหรับพรางตัวในการออกล่าเหยื่อ เช่น สิงโต จะมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองที่กลมกลืนกับทุ่งหญ้าในแอฟริกา เสือไฟหรือแมวป่าที่ออกล่าเหยื่อในบริเวณทุ่งหญ้าเตี้ย ๆ จึงไม่มีลายไว้สำหรับพรางตัว ", "title": "เสือ" }, { "docid": "655705#0", "text": "ทุ่งหญ้า () เป็นพื้นที่ซึ่งพืชพรรณส่วนใหญ่เป็นหญ้า (Poaceae) แต่ยังพบพืชวงศ์กก (Cyperaceae และ Juncaceae) ได้ ทุ่งหญิงเกิดตามธรรมชาติในทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ทุ่งหญ้าพบในภูมินิเวศ (ecoregion) ส่วนใหญ่ของโลก ตัวอย่างเช่น มีการจำแนกห้าภูมินิเวศบนดินทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น สะวันนาและชีวนิเวศทุ่งไม้พุ่ม (shrubland) เป็นห้าประเภท ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดเขตชีวภาพของโลก", "title": "ทุ่งหญ้า" }, { "docid": "74018#6", "text": "เสือชีตาห์พบในทวีปแอฟริกาตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา บริเวณทุ่งหญ้าในตะวันออก และตอนใต้ของแอฟริกา นอกจากนี้ยังพบในอินเดีย บางส่วนของอิหร่านและอัฟกานิสถาน", "title": "เสือชีตาห์" }, { "docid": "791981#2", "text": "ดิก-ดิก ตัวผู้เท่านั้นที่จะมีเขา ลักษณะเขาแหลมสั้น ความยาวประมาณ 3–7.5 เซนติเมตร เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นพุ่มไม้ที่เป็นหนามแหลมจำพวกอะเคเซียเชื่อมต่อกับทุ่งหญ้าสะวันนา เพื่อป้องกันตัวเองจากสัตว์นักล่า โดยต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ", "title": "ดิก-ดิก" }, { "docid": "74018#12", "text": "การเลี้ยงเสือชีตาห์มีผู้แนะนำให้แยกตัวผู้และตัวเมียไว้ต่างหาก ให้นำมารวมกันเฉพาะระยะผสมพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์กันแล้วมันคงอยู่ด้วยกันอีกนานไม่แยกจากกันทันทีเหมือนสัตว์อื่นบางชนิด เคยพบพ่อช่วยเลี้ยงลูกอ่อนด้วย แต่ก็มีรายงานพ่อและแม่กินลูก เหมือนกัน โดยเฉพาะแม่เสือสาวมักไม่ค่อยรับลูกและไม่ยอมให้ลูกกินนม การพยายามแยกลูกมาเลี้ยงเอง ยังไม่มีใครทำสำเร็จ", "title": "เสือชีตาห์" }, { "docid": "161573#1", "text": "แถบสีแดง หมายถึงดวงอาทิตย์และทุ่งหญ้าสะวันนา สีน้ำเงินหมายถึงแม่น้ำแกมเบียซึ่งไหลผ่านกลางประเทศ กั้นกลางระหว่างป่าไม้และทุ่งหญ้าสะวันนา สีเขียวหมายถึงผืนแผ่นดินและป่าไม้ สีขาวหมายถึงสันติภาพ จะเห็นได้ชัดว่า ธงชาติแกมเบียไม่มีสัญลักษณ์ในที่สื่อถึงความคิดทางการเมืองเลย", "title": "ธงชาติแกมเบีย" }, { "docid": "406114#0", "text": "แรดดำตะวันตก หรือ แรดดำแอฟริกันตะวันตก () เป็นสปีชีส์ย่อยหายากของแรดดำ การสำรวจล่าสุดไม่พบแม้แต่เพียงตัวเดียว และใน ค.ศ. 2011 มันถูกประกาศว่าสูญพันธุ์โดย IUCN ครั้งหนึ่งมันเคยอาศัยอยู่กระจัดกระจายในทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งแอฟริกากลางตะวันตก แต่ถูกบุกรุกล่า", "title": "แรดดำตะวันตก" }, { "docid": "678341#0", "text": "สะวันนา () เป็นระบบนิเวศทุ่งหญ้าที่มีลักษณะไม้ต้นมีที่ว่างกว้างจนร่มไม้ไม่ปิด ร่มไม้เปิดทำให้แสงถึงพื้นเพียงพอเพื่อสนับสนุนชั้นไม้ล้มลุกซึ่งประกอบด้วยหญ้าเป็นหลัก", "title": "สะวันนา" }, { "docid": "592743#4", "text": "พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ีตอนเหนือของนามิเบียและแองโกลา, ทางตอนเหนือของแอฟริกาใต้, บุรุนดีและเคนยา โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ ๆ เป็นทุ่งหญ้าสะวันนาที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่สำหรับการทำรัง โดยมีหญ้าไม่สูงแต่ขึ้นหนาทึบสำหรับหาอาหาร บางครั้งอาจพบเห็นออกหาอาหารเป็นกลุ่ม", "title": "นกเงือกดินใต้" }, { "docid": "74018#7", "text": "เสือชีตาห์มีชนิดย่อยทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่[3]", "title": "เสือชีตาห์" }, { "docid": "11347#8", "text": "ภายใต้การจำแนกสองสปีชีส์ใหม่นี้ \"Loxodonta africana\" หมายความถึงแต่ช้างสะวันนา ซึ่งเป็นช้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพศผู้มีความสูงระหว่าง 2.2 ถึง 8.7 เมตรเมื่อวัดจากพื้นถึงไหล่ และหนัก 2,700 กิโลกรัม โดยตัวที่หนักที่สุดนั้นมีบันทึกไว้ที่ 9,000 กิโลกรัม เพศเมียตัวเล็กกว่า สูงจากพื้นถึงไหล่วัดได้ 3 เมตร ช้างสะวันนามักจะพบได้ในทุ่งหญ้าเปิด บึงและริมทะเลสาบ มีถิ่นที่อยู่อาศัยครอบคลุมเขตซะวันนาแถบตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา", "title": "ช้าง" }, { "docid": "706928#52", "text": "นิโดรินาดูเชื่องและสบาย ๆ กว่านิโดริโน มันเป็นแม่ที่เอาใจใส่ เคี้ยวอาหารให้ลูกของมัน แม้ว่ามันไม่ชอบต่อสู้นัก เมื่อมันต่อสู้ มันจะใช้กรงเล็บและกัด นิโดรินาแสดงความผูกพันกับนิโดรินาและสายพันธุ์เดียวกัน และมันจะหงุดหงิดเมื่อถูกแยก อย่างไรก็ตาม เมื่อมันโกรธ นิโดรินาจะเป็นศัตรูที่น่ากลัว สามารถกรีดร้องเป็นเสียงคลื่นความถี่สูง (ultrasonic) เพื่อให้คู่ต่อสู้สับสน นิโดรินาอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนาและที่ราบอากาศร้อน อาศัยร่วมกับนิโดริโน พวกมันพบได้ง่ายในคันโต แต่หายากในซินโน", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "314220#10", "text": "ที่อยู่ของนกต้องมีองค์ประกอบสองอย่าง คือ\nมีพื้นโล่งหรือมีใบและหญ้าน้อยเพื่อที่จะหาอาหาร\nและเวิ้งที่อยู่ที่พื้นผิวแนวตั้งต่าง ๆ เช่นต้นไม้ หน้าผา กำแพง กล่องที่ทำให้นกอยู่ กองฟาง หรือแม้แต่รังสัตว์ขุดในดินที่สัตว์เจ้าของทิ้งไปแล้ว \nเนื่องจากว่า องค์เหล่านี้หาได้ในระบบนิเวศน์มากมาย\nดังนั้น นกจึงสามารถเข้าไปอยู่ในที่ต่าง ๆ เช่น ทุ่งโล่ง ทุ่งหญ้าสเตปป์มีต้นไม้ ทุ่งหญ้าสะวันนา ป่าละเมาะ ที่โล่งในป่า และป่าเบญจพรรณ\nสปีชีส์ย่อยในเกาะมาดากัสการ์ยังสามารถเข้าไปอยู่ในป่าใหญ่ที่ทึบกว่าอีกด้วย\nการปรับนิเวศน์ธรรมชาติเพื่อการเพาะปลูกเกษตรกรรม มีผลให้นกกะรางหัวขวานมีเพิ่มขึ้นในสวน ไร่ และนา\nแต่ว่า การทำเกษตรกรรมอย่างกว้างขวางในพื้นที่ ก็จะลดจำนวนของนกลงได้ด้วย \nการล่านกเป็นปัญหาในยุโรปตอนใต้และในเอเชีย", "title": "นกกะรางหัวขวาน" }, { "docid": "483575#1", "text": "จากการที่มีพอมีฝนตกอยู่บ้าง ทำให้ทะเลทรายคาลาฮารี ได้ชื่อว่าเป็นทะเลทรายที่อุดมสมบูรณ์และเปียกชื้นที่สุดของแอฟริกา มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก สภาพภูมิประเทศเป็นทุ่งหญ้าสลับกับต้นไม้ มีลักษณะคล้ายทุ่งสะวันนา ในอดีตทะเลทรายคาลาฮารีเคยมีพื้นที่กว้างขวางไปจรดถึงทะเลทรายสะฮาราทางตอนเหนือ ปัจจุบันอุณหภูมิในช่วงเวลากลางวันที่แดดร้อนจัดอาจสูงได้ถึง 70 องศาเซลเซียสบนพื้นดิน และในเวลากลางคืนก็มีอุณหภูมิถึงขั้นติดลบ", "title": "ทะเลทรายคาลาฮารี" }, { "docid": "455169#4", "text": "ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น \nไบโอมสะวันนา.\nไบโอมทะเลทราย \nไบโอมทุนดรา", "title": "ชีวนิเวศ" }, { "docid": "74018#9", "text": "อาศัยอยู่ตามลำพัง ตัวผู้ที่เป็นพี่น้องกันจะรวมกลุ่มกันอยู่ และมีอาณาเขตร่วมกัน เสือชีตาห์เป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลก สามารถทำความเร็วได้ถึง 80 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่มันจะวิ่งได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น อาหารของมัน ได้แก่ กวางขนาดเล็ก เสือชีตาห์สามารถฝึกให้เชื่องได้ง่าย ในสมัยโบราณมักถูกนำมาฝึกให้ล่าสัตว์ ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ปีนต้นไม้ไม่เก่ง แต่กระโดดได้สูงถึง 4.5 เมตร ใช้การถ่ายปัสสาวะเป็นเครื่องกำหนดอาณาเขตของมัน ชอบล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยซ่อนตัวบนที่สูงกว่าเหยื่อ เมื่อพบเหยื่อจะหมอบคลานเข้าไปหาและจะอยู่ใต้ลม พอเข้าใกล้เหยื่อ จะใช้เท้าหน้าตะบบให้เหยื่อล้มลงแล้วกัดที่คอ ชอบกินเลือดสด ๆ และเครื่องใน มีตับ ไต หัวใจ และจมูก ลิ้น ตา เนื้อที่หัวซี่โครงและขา นอกนั้นไม่ค่อยกิน มันไม่ลากซากไปกินและไม่หวนกลับมากินซากเดิมอีก ซากเน่าปกติไม่กิน นอกจากหิวจัดจริง ๆ เสือชีตาห์แม้จะปราดเปรียวบนพื้นดิน แต่ก็สามารถปีนต้นไม้ได้และเก่ง โดยสามารถไต่ไปมาตามต้นไม้อย่างคล่องแคล่วด้วย ในเวลากลางคืนมีระบบสายตาที่มองเห็นได้เป็นอย่างดี", "title": "เสือชีตาห์" }, { "docid": "205680#4", "text": "ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน", "title": "ความหลากหลายทางชีวภาพ" }, { "docid": "726951#1", "text": "ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ยมากกว่า 18 องศาเซลเซียสในทุก ๆ เดือน และมีฤดูฝนและฤดูแล้งเหมือนภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เดือนที่แห้งแล้งที่สุดในภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนนั้นมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร ภูมิอากาศแบบนี้นั้นดูเหมือนจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในแต่ละช่วงของปีน้อยกว่าภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ภูมิอากาศลักษณะนี้มีฤดูที่แล้งที่สุดอยู้ในช่วงวันเหมายันหรือหลังจากนั้น", "title": "ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน" }, { "docid": "593468#2", "text": "มีพฤติกรรมการจับคู่เพียงคู่เดียวตลอดชีวิต อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางครั้งอาจมีสมาชิกได้ถึง 100 ตัว แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกา หากินตามพื้นดินมากกว่าจะขึ้นต้นไม้ จะบินหรือขึ้นต้นไม้ต่อเมื่อจำเป็น เช่น หนีศัตรู มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งและทุ่งหญ้าสะวันนา ในธรรมชาติมักตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อชนิดต่าง ๆ เช่น ลิงบาบูน, เสือชีตาห์, ไฮยีนา, หมาจิ้งจอก, เสือดาว และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและบริโภคเนื้อและไข่เป็นอาหารสำหรับมนุษย์", "title": "ไก่ต๊อก" }, { "docid": "727286#0", "text": "ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา หรือ ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน เป็นประเภทของภูมิอากาศซึ่งได้รับการแบ่งประเภทตามระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินให้แทนด้วยตัวอักษร \"Aw\" และ \"As\"\nภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนามีอุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละเดือนมากกว่า 18 องศาเซลเซียสในทุก ๆ เดือนของปี และสามารถกล่าวได้ว่ามีฤดูแล้ง โดยฤดูที่แล้งที่สุดมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร โดยภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนานี้มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน และมีฤดูแล้งที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด", "title": "ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา" }, { "docid": "424885#6", "text": "จระเข้แคระอาศัยอยู่ในบ่อน้ำตามหนองบึง และพบตามแม่น้ำในป่าฝนบ้างเล็กน้อย มีบึนทึกว่าพบที่บ่อน้ำในทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งมันจะขุดโพรงเพื่ออาศัยระหว่างฤดูแล้ง", "title": "จระเข้แคระ" }, { "docid": "418543#2", "text": "ลิ่นต้นไม้เป็นสัตว์หากินกลางคืน บนต้นไม้หรือพื้นดิน พบในป่าชื้นเขตร้อนในที่ลุ่ม รวมทั้งทุ่งหญ้าสะวันนาและป่าละเมาะ มันสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่รกร้างได้", "title": "ลิ่นต้นไม้" }, { "docid": "882055#5", "text": "ลักษณะภูมิอากาศของตำบลบัวงามนั้นหากอาศัยเกณฑ์การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน (Köppen climate classification) จะถูกจัดอยู่ในภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เช่นเดียวกันพื้นที่อื่นๆทางตอนบนของประเทศไทย โดยมีฤดูกาล 3 ฤดู ได้แก่", "title": "ตำบลบัวงาม (อำเภอเดชอุดม)" }, { "docid": "702395#0", "text": "ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานา อิงถึงพืชและสัตว์ของประเทศบอตสวานา โดยประเทศบอตสวานา 90 เปอร์เซ็นต์ถูกครอบคลุมโดยนิเวศน์แบบสะวันนา ที่แตกต่างจากไม้พุ่มหญ้าสะวันนาในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในพื้นที่แห้งแล้งไปจนถึงต้นไม้สะวันนา ซึ่งประกอบด้วยต้นไม้และทุ่งหญ้าในพื้นที่เปียก แม้ภายใต้สภาพอากาศร้อนของทะเลทรายคาลาฮารี ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์เอาตัวรอดอยู่ โดยประเทศนี้มีมากกว่า 2,500 สายพันธุ์ของพืช และ 650 สายพันธุ์ของต้นไม้ พืชผักและผลไม้ป่าของที่นี่ยังมีความสำคัญอย่างมากกับประชากรในชนบทที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย และเป็นแหล่งที่มาหลักของอาหาร, เชื้อเพลิง และยาสำหรับคนที่อาศัยอยู่จำนวนมาก", "title": "ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานา" }, { "docid": "938237#0", "text": "แพรรี () เป็นระบบนิเวศที่นักนิเวศวิทยาถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวนิเวศทุ่งหญ้า สะวันนา และป่าละเมาะเขตอบอุ่น โดยยึดภูมิอากาศเขตอบอุ่น ปริมาณฝนตกปานกลาง และประกอบด้วยหญ้า ไม้ล้มลุก และไม้พุ่มเป็นพืชพรรณชนิดหลัก ไม่ใช่ไม้ต้น บริเวณทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นรวมทั้งปัมปัสในอาร์เจนตินา บราซิลทางใต้ และอุรุกวัย ตลอดจนสเตปป์ของยูเรเชีย บริเวณที่เรียก \"แพรรี\" มักอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ คำนี้ครอบคลุมบริเวณที่เรียกที่ลุ่มในแผ่นดิน (Interior Lowlands) ของแคนาดา สหรัฐ และเม็กซิโก ซึ่งรวมเกรตเพลนส์ทั้งหมด ตลอดจนดินแดนที่ชื้นกว่าและมีเขามากกว่าทางทิศตะวันออก", "title": "แพรรี" }, { "docid": "329507#0", "text": "นกกระเรียนมงกุฎเทา หรือ นกกระเรียนหงอนพู่ (; ) เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน พบในทุ่งหญ้าสะวันนาในทวีปแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา ทำรังในพื้นที่เปียกชื้น ไม่ใช่นกอพยพ", "title": "นกกระเรียนมงกุฎเทา" }, { "docid": "11451#14", "text": "ประเทศกายอานาสามารถภูมิภาคตามธรรมชาติได้ถึง 5 ภูมิภาค; ประชากรส่วนมากอาศัยตามที่ราบสูงลูกฟูกและที่ราบต่ำชายทะเลที่อุดมสมบูรณ์ตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ไวท์เบลทฺที่อยู่ในประเทศเป็นแหล่งสะสมแร่ของกายอานา ป่าฝนหนาทึบบริเวณทางใต้ของประเทศ ทุ่งหญ้าแบบสะวันนาทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ และที่ราบภายในทุ่งหญ่งสะวันนาที่ประกอบด้วยภูเขาที่ค่อย ๆ สูงขึ้นไปทางชายแดนของประเทศบราซิล", "title": "ประเทศกายอานา" }, { "docid": "143115#4", "text": "สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติขุนน่านปกคลุมด้วยป่าดิบเขาประมาณร้อยละ 90 ป่าดิบแล้ง ร้อยละ 7 และทุ่งหญ้า ร้อยละ 3 ชนิดพันธุ์ไม้พบเห็นตั้งแต่ไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางนา ยางแดง ตุ้มเต๋น ก่อ กำยาน กำลังเสือโคร่ง จำปีป่า มะม่วงป่า หว้า ทะโล้ มะไฟ แก้มขาว ติ้ว ตะไคร้ต้น หรือ ตะไคร้ภูเขา รวมไปถึงไม้ไผ่ เฟิร์นชนิดต่างๆ ไผ่เลื้อย ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่พบบริเวณน้ำตกสะปัน และลำน้ำว้า กล้วยไม้ดิน กระแตไต่ไม้ เอื้องผึ้ง เอื้องชะนี หรือ เอื้องมือชะนี หวายป่า เอื้องหมายนา เนระพูสีไทย หรือ ค้างคาวดำ เป็นต้น", "title": "อุทยานแห่งชาติขุนน่าน" } ]