query_id
stringlengths
1
4
query
stringlengths
11
185
positive_passages
listlengths
1
3
negative_passages
listlengths
0
30
3989
เกม เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อไหร่ ?
[ { "docid": "68995#0", "text": "เดอะคิงออฟไฟเทอส์ (ญี่ปุ่น: ザ・キング・オブ・ファイターズ ; อังกฤษ: The King of Fighters หรือในชื่อย่อว่า KOF) เป็นซีรีส์เกมแนวต่อสู้ของบริษัทเอสเอ็นเค ประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มออกวางจำหน่ายครั้งแรกบนเครื่องนีโอจีโอและเกมตู้ ในปี ค.ศ. 1994 และได้พัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เดอะคิงออฟไฟเทอส์ก็ได้ออกวางจำหน่ายในหลาย ๆ เครื่องเกมด้วยกันเช่น นีโอจีโอ CD, นีโอจีโอ พ็อคเก็ต, เกมบอย และ เกมบอย แอดวานซ์, เอ็นเกจ, เซก้า แซทเทิร์น, ดรีมแคสท์, เพลย์สเตชัน, เพลย์สเตชัน 2, เพลย์สเตชัน 3, เอ็กซ์บอกซ์ และ เอ็กซ์บอกซ์ 360 นอกจากนี้ยังมีซีรีส์ส เดอะคิงออฟไฟเทอส์: แม็กซิมั่ม อิมแพ็ค ซึ่งเป็นซีรี่ยส์ที่แตกแขนงมาจาก KOF ปกติด้วย", "title": "เดอะคิงออฟไฟเทอส์" } ]
[ { "docid": "274206#6", "text": "ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" ภาคที่ไม่มีเนื้อเรื่อง \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2002\" และ \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส นีโอเวฟ\" ทีมอาร์ทออฟไฟท์ติ้งยึดรูปแบบในปี 94 เป็นหลัก แต่ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '98\" และ \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2002: Unlimited Match\" ยูริจะมาแทนที่ทาคุม่าแทน และในอีกสองภาคของเครื่อง เกมบอยแอดวานซ์ ก็คือภาค \"EX: Neo Blood\" and \"EX2\" คิงมาแทนที่โรเบิร์ตในเกม และมียูริร่วมทีม เขายังร่วมแจมในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส เคียว\" ซึ่งจะออกมาช่วยตัวละครหลัก นั่นก็คือ เคียว คุซานางิ ในการตามหา ยูกิ แฟนสาวของเคียว ส่วนในเกม \"\" และ \"\" เรียวเป็นตัวละครที่สามารถนำมาใช้ได้ โดยมีอีกตัวละครที่เรียว ใช้ชื่อว่า มิสเตอร์คาราเต้เป็นตัวละครลับอีกด้วย", "title": "เรียว ซากาซากิ" }, { "docid": "274263#6", "text": "ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2000\" ยูริกับมาอยู่ทีมนักสู้หญิงอีกครั้ง ร่วมกับไม , ฮินาโกะ ชิโจ และก็คาสุมิ โทโด ซึ่งมาขอให้คิงไปอยู่ทีมอาร์ทออฟไฟท์ติ้งแทน เนื่องจากเธอต้องการอิสระมากขึ้น ยูริกลับมาอยู่ทีมอาร์ทออฟไฟท์ติ้งอีกครั้ง ใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2001\" ซึ่งเธอต้องการจะชนะเลิศ เนื่องจากต้องการนำเงินชนะเลิศไปช่วยบริษัทของโรเบิร์ตซึ่งกำลังอยู่ในภาวะย่ำแย่ ส่วนในเกม\"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2002\" ซึ่งไม่มีเนื้อเรื่อง ยูริกลับเข้าร่วมทีมนักสู้หญิงอีกครั้งโดยร่วมทีมกับ ไม และ เมย์ ลี แต่เธอก็กลับไปอยู่ในทีมอาร์ทออฟไฟท์ติ้งอีกครั้งใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2002: Unlimited Match\" ซึ่งเป็นเวอร์ชันรีเมค ใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2003\" ยูริยังคงอยู่ในทีมอาร์ทออฟไฟท์ติ้งเช่นเดิม แต่ว่า มีแค่เรียวกับโรเบิร์ต เพราะว่ากฎในปีนี้เปลี่ยนมาเป็น 3 คนต่อทีมอีกครั้ง ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XI\" คราวนี้คิงมาแทนโรเบิร์ต เนื่องจากโรเบิร์ตมีปัญหาทางบริษัทอีกครั้ง และทาคุม่าก็กำลังป่วยหนัก แถมอีกอย่าง ยูริ ทาคุม่า และโรเบิร์ต ยังใช้โอกาสนี้ ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่าง คิงกับเรียว ให้ลงเอยกันให้ได้", "title": "ยูริ ซากาซากิ" }, { "docid": "311673#0", "text": "มาโคโตะ มิโซกูชิ (; ) เป็นนักตัวละครจากเกม\"ไฟท์เตอร์สฮิสทอรี\" (ในเครื่องเล่นเกมระบบนีโอจีโอ และซูเปอร์แฟมิคอม) รวมไปจนถึงเกม \"Karnov's Revenge\" (ระบบนีโอจีโอ) ซึ่งผลิตโดยบริษัท Data East จากประเทศญี่ปุ่น ผู้ใช้วิชาคาราเต้แบบจิซเซนในการต่อสู้ นอกจากนี้ เขายังเป็นตัวละครรับเชิญในเกม\"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส ภาค KOF: Maximum Impact Regulation A\" ซึ่งผลิตโดยบริษัท SNK Playmore", "title": "มาโคโตะ มิโซกูชิ" }, { "docid": "329160#0", "text": "จุน ฮุน (; ; ) เป็นตัวละครจากเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" (ปรากฏตัวครั้งแรกในเกม\"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '99\" ) ซึ่งเป็นนักเทควันโด้ชาวเกาหลี เขาเป็นทั้งสหายและเป็นคู่แข่งคนสำคัญของคิม คัพฟาน ผู้ให้เสียงพากย์จุน ฮุน คือคุณคาซูยะ อิชิโจ", "title": "จุน ฮุน" }, { "docid": "313030#0", "text": "ตั้วหลง (; ; ) เป็นตัวละครจากเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2003\" และกลับมาอีกครั้งใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XIII\" โดยอยู่ร่วมทีมเดียวกันกับ \"อลิซาเบธ บลังทอร์ช\" และ \"เสินอู่\"", "title": "ดูโอ ลอง" }, { "docid": "256126#0", "text": "อิโอริ ยางามิ ( (ยางามิ อิโอริ); ) เป็นตัวละครจากเกม เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส ของบริษัทเอสเอ็นเค อิโอริปรากฏตัวครั้งแรกในเกม เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '95 อิโอริเป็นหนึ่งในตัวละครหลักของซีรี่ยส์และได้รับความนิยมในลำดับต้นๆจากผู้เล่น นอกจากนี้เขายังมีคู่ปรับและศัตรูคู่อาฆาตตลอดกาลคือ เคียว คุซานางิ ", "title": "อิโอริ ยางามิ" }, { "docid": "287241#1", "text": "\"แคปคอม vs. เอสเอ็นเค 2\" เป็นเกมต่อสู้ที่รวมตัวละครและรูปแบบการเล่นจากเกมต่อสู้หลาย ๆ เกมของบริษัทแคปคอมและเอสเอ็นเค โดยที่มีเกมสตรีทไฟท์เตอร์และเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์สเป็นเกมหลัก นอกจากนี้ยังมีอีกหลาย ๆ เกมที่ได้นำระบบรวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยมารวมไว้ในเกมนี้เช่น สตรีทไฟท์เตอร์ III, กาโร มาร์คออฟเดอะวูล์ฟ และ ซามูไร สปีริท", "title": "แคปคอม vs. เอสเอ็นเค 2" }, { "docid": "274263#2", "text": "ในเกม \"อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง\" ภาคแรกนั้น ยูริใส่เสื้อยืดสีชมพู และไว้หางเปีย ส่วนใน \"อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง 2\" ยูริใส่ชุดต่อสู้สีขาว ผ้าคาดหัวสีแดง เสื้อข้างในสีน้ำเงิน ถุงมือสีน้ำเงิน ถุงน่องสีน้ำเงิน และรองเท้าผ้าใบคอนเวิร์สสีแดง ส่วนในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" ซีรีส์ภาคหลังๆ มีการปรับปรุงเครื่องแต่งกายของยูริเล็กน้อย ซึ่งเธอจะใส่รองเท้า clog-like สีแดงแทน แทนรองเท้าผ้าใบ ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2000\" และ \"2001\" ในเกม \"\" เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกม \"อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง 2\" ที่ยูริมีชุดแบบใหม่ ซึ่งเธอจะใส่เสื้อสีเขียว กางเกงขาสั้น ถุงมือและรองเท้าสีเขียว ในเกม \"\" มีชุดพิเศษแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้เธอดูคล้ายผู้ร่วมสำนัก เคียวกุเก็นริว ของเธอ ถ้าเราเลือกสีแบบ B จะทำให้เธอแต่งตัวดูเหมือน เรียว (ผมสีบลอนด์, ชุดต่อสู้สีส้ม สายคาดสีดำ) ขณะที่เลือกสีแบบ F จะดูเหมือน ชุดของ โรเบิร์ต การ์เซีย จากเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '99\" ถึง \"2002\", โดยจะมีผมสีน้ำตาล ชุดต่อสู้สีส้ม ถุงน่องยาวสีดำ และไม่มีผ้าคาดหัว", "title": "ยูริ ซากาซากิ" }, { "docid": "312827#0", "text": "แอช คริมสัน (; ) เป็นหนึ่งในตัวละครจากเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2003\" โดยที่การปรากฏตัวครั้งนี้เป็นหัวหน้าทีมตัวเอก ซึ่งคอนเซ็ปต์ของแอชเป็นคอนเซ็ปต์ตัวเอกที่ชั่วร้าย แอชมีความสามารถในการใช้เปลวเพลิงสีเขียวในการต่อสู้ ", "title": "แอช คริมสัน" }, { "docid": "274263#7", "text": "ยูริยังปรากฏตัวในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส นีโอเวฟ\" โดยเธอนั้นอยู่ในทีมนักสู้หญิง ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส เคียว\" ซึ่งมีตัวละครหลัก เคียว คุซานางิ ไปเห็นยูริพูดกับทาคุม่ากับเรียว เรื่องที่เธอนั้นอยากจะกลับไปอยู่ทีมนักสู้หญิง หลังจากนั้นเอง เคียวจึงต่อสู้กับพวกเขา เพื่อเป็นการตัดสินว่า ยูริจะได้ออกจากทีมรึเปล่า ยูริยังคอยช่วยเคียว ในการตามหายูกิแฟนสาวของเคียวที่ถูกลักพาตัวไป ร่วมกับเรียวและโรเบิร์ตอีกด้วย เธอยังเป็นตัวละครสนับสนุน (เรียกว่า \"สไตรค์เกอร์\") ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส EX\" สำหรับทีมอาร์ทออฟไฟท์ติ้ง และยังเป็นตัวละครที่นำมาใช้ได้โดยอยู่ทีมเดียวกับเรียวและทาคุม่า ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส EX2\" เธอยังมีบทบาทในเกม 3D คือเกม \"\" และ \"\" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทัวร์นาเม้นท์ใหม่ในเซาท์ทาวน์ อีกครั้งเธอยัง มีส่วนร่วมหลายเกมมาก อาทิเช่น \"SNK vs. Capcom\" ซีรีส์ ยกเว้นใน \"\" (เธอจะออกมาในฉากจบของเรียวและมิสเตอร์คาราเต้) ในเกมรวมนักสู้สาว \"SNK Gals' Fighters\" ยูริเป็นตัวละครที่นำมาใช้ได้ ซึ่งในเกม เธออยากจะสร้างยิมเป็นของตัวเอง", "title": "ยูริ ซากาซากิ" }, { "docid": "256424#0", "text": "เคียว คุซานางิ (; ) เป็นหนึ่งในตัวละครเอกจากเกม เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์สของบริษัทเอสเอ็นเค เคียวปรากฏตัวครั้งแรกในเกม เดอะคิงออฟไฟเตอร์ส '94 ในฐานะหัวหน้าทีมญี่ปุ่น นอกจากนี้เขายังมีคู่ปรับตลอดกาลคือ อิโอริ ยางามิ", "title": "เคียว คุซานางิ" }, { "docid": "313191#0", "text": "เบนิมารุ นิไคโด (; ) เป็นตัวละครจากเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '94\" โดยมักอยู่ร่วมทีมเดียวกันกับ \"เคียว คุซานางิ\" และ \"โกโร่ ไดม่อน\" ในสังกัดทีมญี่ปุ่น เบนนิมารุถือเป็นตัวละครที่มีเพลงหมัดและเพลงเตะที่คล่องแคล่วว่องไวรายหนึ่งของเกม และมีผู้นิยมใช้เล่นอยู่พอสมควร", "title": "เบนิมารุ นิไคโด" }, { "docid": "258223#0", "text": "นาโครูรู (; ) เป็นตัวละครหญิงจากเกมซามูไรสปิริตส์ โดยเป็นหนึ่งในตัวละครหญิงที่นักเล่นเกมต่อสู้รู้จักกันมากที่สุด นาโครูรูมีมีดสั้นเป็นอาวุธคู่กาย ซึ่งมีรูปแบบการโจมตีที่เน้นจังหวะเป็นสำคัญ และมีนกเหยี่ยวนามว่า \"มามาฮาฮา\" เป็นผู้ช่วย และมีสุนัขป่าเป็นผู้ช่วยในเกมภาคต่อมา เธอมีน้องสาวอีกหนึ่งคนนามว่า ริมูรูรู และนาโครูรูยังเคยปรากฏตัวอยู่ในเกมชุด \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" ทั้งในภาค \"95\" (ของระบบ เกมบอย) และภาค \"2000\" (เป็นสไตร์คเกอร์ ของ \"ยูริ ซากาซากิ\") และเธอยังเป็นตัวละครลับใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" รูปแบบของเกม \"ปาจิงโกะ\" นอกจากนี้ นาโครูรู ยังเป็นตัวละครในเกม \"Capcom vs. SNK 2\" ด้วยเช่นกัน", "title": "นาโครูรู" }, { "docid": "308702#0", "text": "K9999 หรือ เค โฟร์-ไนน์ () เป็นตัวละครจากเกมเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกในฐานะของสมาชิกทีม NESTS ในเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2001", "title": "K9999" }, { "docid": "299734#0", "text": "ไฮเดิร์น (; ) เป็นตัวละครจากเกมเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส โดยปกติจะอยู่ในสังกัดทีมอิคาริ โดยมี คลาร์ค และราล์ฟ เป็นสมาชิกในทีม นอกจากนี้ ไฮเดิร์นยังมีบุตรสาวบุญธรรมชื่อ เลโอนา ซึ่งเข้ามีบทบาทของเกมในภายหลัง", "title": "ไฮเดิร์น" }, { "docid": "329209#2", "text": "เมย์ ลี ได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าร่วมแข่งขันศึก เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2001 ในฐานะหนึ่งในลูกศิษย์ของคิม คัพฟาน ตั้งแต่เธอจำความได้ เธอมีเพียงคิมและจุน ฮุนเป็นต้นแบบ วันหนึ่งในช่วงของการฝึก เธอได้ยินถึงการแข่งขันเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส ซึ่งมีทีมเกาหลีเข้าร่วมเช่นเคย (โดยมีชาง, ชอย, จุน ฮุน และคิม คัพฟาน ที่เป็นผู้นำของทีม) อย่างไรก็ตาม ในช่วงครบกำหนด จุน ฮุนได้รับบาดเจ็บที่ขาจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เมย์จึงมีความต้องการเข้าเป็นสมาชิกคนใหม่ของทีม คิมแนะนำให้เธอจับตามองสมาชิกทีมของเธอ โดยเฉพาะอดีตมิจฉาชีพอย่างชางและชอย นอกจากนี้ทั้งชาง, ชอย และเมย์ต่างสวมเครื่องแต่งกายไม่เหมือนคิมเท่าใดนัก", "title": "เมย์ ลี" }, { "docid": "329209#0", "text": "เมย์ ลี (; ) หรือชื่อจริง \"เมย์\" จินจู ลี () เป็นตัวละครจากเกมซีรีส์เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส (ปรากฏตัวครั้งแรกในเกมเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2001) ซึ่งเป็นนักเทควันโด้ชาวเกาหลี ผู้แสดงให้เห็นถึงความเป็นวัยรุ่นผู้มีความกระปรี้กระเปร่า และใช้วิชาเทควันโด้ในการปราบสิ่งชั่วร้าย โดยมีเอกลักษณ์ที่เป็นรูปแบบไม่เหมือนใครในเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์สโดยที่เธอ สามารถเปลี่ยนโหมดการต่อสู้เป็นแบบฮีโร่ได้ และมีเอกลักษณ์ประจำตัวเป็นถุงมือขนาดใหญ่กับผ้าพันคอสีแดง ผู้ให้เสียงพากย์เมย์ ลี คือคุณโทโมโกะ คาวาคามิ", "title": "เมย์ ลี" }, { "docid": "287232#0", "text": "เอสเอ็นเค (; ) เป็นบริษัทผลิตเกมคอมพิวเตอร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น โดยได้ผลิตเกมต่อสู้ที่มีชื่อเสียงออกมามากมาย และเคยผลิตเกมตู้หลายรายการ เช่น \"ตำนานหมาป่ากระหายเลือด\", \"อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง\", \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\", \"ซามูไร สปีริท\", \"เมทัลสลัก\" และ \"นีโอจีโอ แบทเทิล โคลีเซียม\" ตลอดจนเคยผลิตเครื่องเล่นเกม \"NEO GEO\" มาแล้วครั้งหนึ่งด้วยเช่นกัน", "title": "เอสเอ็นเค" }, { "docid": "305910#0", "text": "โรเบิร์ต การ์เซีย (; ) เป็นตัวละครจากเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" (ปรากฏตัวครั้งแรกในเกม \"อาร์ท ออฟ ไฟท์ติ้ง\") ซึ่งเป็นนักคาราเต้สายเคียวคุเกนริวชาวอิตาลี ซึ่งเป็นทั้งสหายและศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับ \"เรียว ซากาซากิ\" และโรเบิร์ตมีแฟนสาวชื่อ \"ยูริ ซากาซากิ\" ซึ่งเป็นน้องสาวของเรียวนั่นเอง", "title": "โรเบิร์ต การ์เซีย" }, { "docid": "274263#5", "text": "ยูริเป็นตัวละครที่สามารถนำมาใช้ได้ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" ซีรีส์ โดยครั้งแรกนั้น เธออยู่ทีมนักสู้หญิง ซึ่งมี ไม ชิรานุอิ และคิงเป็นเพื่อนร่วมทีมในการแข่งขันคิงออฟไฟท์เตอร์ ทว่าตัวละครยูรินี้ ไม่ได้ถูกตั้งใจนำมาใส่ไว้ในทีมตั้งแต่แรก ฝ่ายพัฒนาเกม ต้องการสร้างทีมอังกฤษ(KOF 94 ทีมจะเป็นชื่อประเทศ ทีมนักสู้หญิงจึงเป็นทีมอังกฤษ) โดยมี บิลลี่ คาน ไม และ บิ๊กแบร์ร่วมทีม แต่ว่าทาง SNK เจอปัญหาในการสร้าง sprite ของบิ๊กแบร์ และด้วยอีกประการ ทางสตาฟของเกม อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง ต้องการให้ยูริอยู่ในเกมเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์สด้วย ด้วยเหตุนี้ เธอจึงถูกใส่ไว้ในทีมนักสู้หญิง ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '96\" ยูริถูกเชิญให้มาร่วมทีมอาร์ทออฟไฟท์ติ้งร่วมกับเรียวและโรเบิร์ต ดังนั้นทาคุม่าจึงขอลาออกจากทีมไป ส่วนใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '98\" ยูริมีท่าซึ่งเป็นท่าที่เธอใช้ในเกม \"อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง 2\" ซึ่งยูริที่ใช้ท่าจากเกมอาร์ทออฟไฟท์ติ้ง 2 นั้น เป็นตัวละครลับ จากนั้น มีกฎใหม่ที่ว่า 1 ทีมมี 4 คน ทาคุม่าจึงกลับเข้ามาร่วมทีมอาร์ทออฟไฟท์ติ้งอีกครั้ง ใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '99\"", "title": "ยูริ ซากาซากิ" }, { "docid": "166703#0", "text": "เทอร์รี่ โบการ์ด (テリー・ボガード, Terī Bogādo?) เป็นตัวละครในเกมต่อสู้ของ \"SNK Playmore\" และเป็นตัวละครหลักในเกม \"Fatal Fury\" นอกจากนี้เทอร์รี่ยังถือเป็นตัวละครในทุกภาคของ \"Fatal Fury\" และ \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" ด้วยเช่นกัน ซึ่งจุดเด่นของเขาก็คือการมีเสียงทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอเมริกันอังกฤษ ทำให้ใน พ.ศ. 2540 เทอร์รี่ได้เป็นที่แปดของตัวละครในเกมที่ชื่นชอบอีกด้วย", "title": "เทอร์รี่ โบการ์ด" }, { "docid": "4441#15", "text": "เกมต่อสู้ (Fighting Game) คือเกมที่เป็นลักษณะเอาตัวละครสองตัวขึ้นไปมาต่อสู้กันเอง ลักษณะเกมประเภทนี้จะเน้นให้ผู้เล่นใช้จังหวะและความแม่นยำกดท่าโจมตีต่าง ๆ ออกมา จุดสำคัญที่สุดในเกมต่อสู้คือการต่อสู้ต้องถูกแบ่งออกเป็นยก ๆ และจะมีเพียงผู้เล่นเพียงสองฝ่ายเท่านั้นและตัวละครที่ใช้จะต้องมีความสามารถที่ต่างกันออกไป เกมประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมได้แก่ เทคเคน, สตรีทไฟท์เตอร์, เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส", "title": "วิดีโอเกม" }, { "docid": "374104#0", "text": "ร็อค ฮาวเวิร์ด (; ) เป็นตัวละครในเกมต่อสู้ของ \"SNK Playmore\" ปรากฏตัวครั้งแรกในเกมต่อสู้ \"กาโร่ มาร์คออฟเดอะวูลฟ์ส\" และเกมต่อสู้ข้ามฝั่งของ SNK นอกจากนี้ร็อคได้ปรากฎตัวให้ได้เล่นเป็นครั้งแรกในซีรี่ส์เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส โดยที่ปรากฎตัวในภาค เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XIV ให้เสียงพากย์โดย เอจิ ทาเคโมโตะ ส่วนเวอร์ชันภาษาอังกฤษตั้งแต่ภาค \"KOF: Maximum Impact\" รวมถึงภาคต่อมาให้เสียงโดย ไมค์ เลน", "title": "ร็อค ฮาวเวิร์ด" }, { "docid": "312812#3", "text": "ภายหลังจากการแข่งขันเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์สครั้งแรกสิ้นสุดลง การแข่งขันครั้งใหม่ก็ได้เริ่มขึ้น โดยคราวนี้วูล์ฟกัง คราวเซอร์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน แอนดี้คิดว่าการแข่งขันครั้งนี้อาจเป็นไปอย่างยากลำบาก \nเมื่อได้มีประกาศการจัดการแข่งขันเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '94 แอนดี้ได้เข้าร่วมทีมเดียวกันกับเทอร์รี่ และโจ นับแต่นั้นเป็นต้นมา เขาตกลงใจที่จะติดตามพี่ชายของเขาไปทุกคราวในการแข่งขันเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์สครั้งต่อมา แต่ดูเหมือนว่าเขาจะไม่เต็มใจเข้าร่วมแข่งเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อมีการกดดันเลือกเฉพาะโจ กับไมเข้าร่วมทีมเป็นหลัก ในขณะที่กติกาใหม่ใน KOF '99 อนุญาตให้มีสมาชิกในทีมสี่ราย โดยไม ชิรานุอิ เข้าร่วมทีมใน KOF'99 และบลู แมรี่ เข้าร่วมทีมใน KOF 2000", "title": "แอนดี้ โบการ์ด" }, { "docid": "274206#1", "text": "เรียวฝึกวิชาการต่อสู้ โดยใช้รูปแบบการต่อสู้ของ เคียวกุเก็นริว คาราเต้ วิชาการต่อสู้จากครอบครัวของเขาเอง เพื่อนสนิทของเขาชื่อ \"โรเบิร์ต การ์เซีย\" มาที่เมืองเซาท์ทาวน์เพื่อช่วยน้องสาวของเรียว \"ยูริ ซากาซากิ\" จากการถูกจับเป็นตัวประกัน จากการต่อสู้ครั้งนั้น เรียวกับโรเบิร์ตได้รู้ว่า ครอบครัวซากาซากิ ตกเป็นเป้าหมายในการคุกคามของ \"กีส โฮเวิร์ด\" และทั้งสองได้เผชิญหน้ากัน เรียวถูกนำไปร่วมสู้ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" เป็นประจำ โดยมีคนในครอบครัว กับเพื่อนของเขาเป็นเพื่อนร่วมทีม บางครั้งเขาก็ไปอยู่ในเกมอื่นของทาง SNK โดยใช้ชื่อว่า () ในเกม \"อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง\" ภาคแรก เรียวนั้น มีผมสีแดง แต่ Artwork ของเรียวนั้น ผมเป็นสีบลอนด์ สีผมใน Sprite ฉากต่อสู้ของเขาเป็นสีบลอนด์ครั้งแรก ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '94\" และ \"อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง 2\" ถึงอย่างไร เรียวก็กลับมามีผมสีแดงอีกครั้ง ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XII\" โดยเกมส่วนใหญ่ เรียวมักจะใส่ชุดต่อสู้สีส้ม และเสื้อข้างในสีดำ แต่ว่าในเกม \"อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง 2\" เขาไม่ได้ใส่ชุดสีดำไว้ข้างใน ในเกม \"บูริกิวัน\" เขาดูคล้ายกับทาคุม่าในเกม คิงออฟไฟท์เตอร์สมาก เพียงแต่ว่า ผมของเขาเป็นสีบลอนด์ ใส่ชุดต่อสู้สีเทา แทนที่จะเป็นสีส้มตามปกติ ในเกม \"\" เรียวดูแก่กว่าปกติ เขาไม่ได้ใส่เสื้อต่อสู้สีส้ม โดยเขาใส่เพียงแค่ชุดสีดำข้างใน ในเกม \"\" เรียวมีชุดที่คล้ายกับเกม บูริกิวัน ให้เลือกใส่ด้วย โดยต้องเล่นเขาให้จบ โดยเราจะใส่ของเพิ่มให้กับตัวละครได้ ของเรียวจะมีเช่น หน้ากาก เท็งงุ ที่ทาคุม่าใส่บ่อยๆ ในเกม \"\", เรียวนั้นจะมีสองเวอร์ชัน คือเรียวปกติในซี่รี่ย์ KOF กับเวอร์ชันมิสเตอร์คาราเต้ หน้ากากเท็งงุของเขา แตกต่างจากของพ่อของเขาเล็กน้อย ซึ่งนั่นก็เป็นครั้งแรกที่เขาใส่หน้ากากต่อสู้", "title": "เรียว ซากาซากิ" }, { "docid": "305272#1", "text": "คิม คัพฮวาน เป็นครูผู้สอนศิลปะการต่อสู้เทควันโด ผู้มีความภาคภูมิใจที่ส่งเสริมให้โลกรู้จักใช้ศิลปะการต่อสู้นี้เพื่อผดุงความยุติธรรม เขาเคยเดินทางไปสู้กับคราวเซอร์มาแล้วครั้งหนึ่งเพื่อความท้าทาย ในขณะเดินทางนี้เอง ที่ทำให้เขาได้พบกับเทอร์รี่ โบการ์ด และเป็นเพื่อนกันในเวลาต่อมา คิมยินดีช่วยเทอร์รี่เสมอ และยินดีประลองฝีมือเพื่อกระชับมิตร ส่วนในด้านครอบครัว คิมมีภรรยาชื่อเมียง ซุกกับบุตรชายสองคนชื่อคิม ดอง ฮวน กับคิม แจ ฮุน\nในศึกเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส คิมมักอยู่ร่วมทีมเดียวกันกับ ชาง และ ชอย ซึ่งเป็นสองวายร้ายกลับใจ และยินดีเข้าร่วมทีมตามคำเชิญชวนของคิม โดยมีคิมเป็นหัวหน้าทีม อย่างไรก็ตาม ในศึกเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์สครั้งหลัง สมาชิกทีมคิมก็มักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นระยะๆ เช่น เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XI ที่คิมอยู่ร่วมทีมเดียวกันกับ เทอร์รี่ โบการ์ด กับดั๊ค คิง รวมไปจนถึง \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XIII\" ที่มี หัว ใจ กับ ไรเด็น เข้าร่วมทีม", "title": "คิม คัพฮวาน" }, { "docid": "274206#4", "text": "เรียวเป็นสมาชิกทีม อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '94\" โดยมีโรเบิร์ต กับ ทาคุม่า ร่วมทีม ทางฝ่ายพัฒนาเกม มีปัญหาเรื่องสมดุลของตัวละครเรียว กับตัวละครอื่น เรื่องว่าด้วยท่าไม้ตายสุดยอด ซึ่งไม่ได้ถูกนำออกไป ด้วยเหตุนี้ เรียวจึงถูกวิจารณ์ว่าเป็นตัวละครตัวหนึ่ง ที่แข็งแกร่งที่สุดในเกม เกมถูกสร้างมาด้วยความคิดที่ว่า อยากจะให้เรียวปะทะกับ เทอร์รี่ โบการ์ด ตัวละครหลักจากเกม \"ตำนานกาโร่\" ซีรีส์ ในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ '96\" ทาคุม่าเลิกที่จะล้างมือจากการแข่งขัน ด้วยเหตุนี้ ยูริ ซากาซากิจึงเข้าทีม \"อาร์ทออฟไฟท์ติ้ง\" แทน จากนั้น พอมีกฎใหม่ว่า ให้ 1 ทีม มี 4 คน ใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส '99\" ทาคุม่าก็กลับมาร่วมทีมอาร์ทออฟไฟท์ติ้งอีกครั้ง", "title": "เรียว ซากาซากิ" }, { "docid": "274206#5", "text": "จากนั้น \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2000\" ยูริก็ได้กลับไปร่วมทีม นักสู้หญิง อีกครั้ง โดนมีคิง ร่วมทีมแทนเธอ หลังจากนั้น โรเบิร์ตมีปัญหากับทางบริษัทของเค้าใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2001\", ยูริจึงต้องกลับมาร่วมทีมเพื่อให้กำลังใจโรเบิร์ต และจากนั้น ก็เปลี่ยนกฎเป็น 1 ทีม มี 3 คนอีกครั้งใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส 2003\" ทีมอาร์ทออฟไฟท์ติ้ง จึงประกอบไปด้วย โรเบิร์ต ยูริ และ เรียว ใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XI\" โรเบิร์ตไม่สามารถมาร่วมแข่งได้ คิงจึงถูกขอให้เข้าร่วมทีมโดยทาคุม่า ซึ่งกำลังป่วยอยู่ เขาก็ยังปรากฏตัวในเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XII\" แต่ว่า KOF ภาคนี้ ไม่มีทีมหลักของแต่ละตัวละคร", "title": "เรียว ซากาซากิ" }, { "docid": "316517#0", "text": "K' () หรือ \"เคแดช\" เป็นตัวละครจากเกม \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส\" ที่ปรากฏตัวครั้งแรกในภาค '99 ในฐานะตัวละครเอก นอกจากนี้ K' ยังได้หวนกลับมาทำศึกอีกครั้งใน \"เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส XIV\" ซึ่งมาพร้อมกับแว่นตาสีแดงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของเขา", "title": "K′" }, { "docid": "308029#0", "text": "เชอร์มี่ (; ; ) เป็นตัวละครจากเกมเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกในภาค \" '97\" และใช้ทักษะการโจมตีแบบจับทุ่มในการแข่งขัน ทั้งนี้ สมาชิกในทีมของเชอร์มี่ ได้แก่ \"ยาชิโร่ นานาคาเสะ\" และ \"คริส\" และเชอร์มี่ยังเป็นตัวละครที่ได้รับการระบุว่ามีขนาดหน้าอกใหญ่ที่สุดในเกมด้วย ซึ่งมีขนาดหน้าอกเท่ากันกับ แองเจิ้ล", "title": "เชอร์มี่" } ]
3990
ภาษาชวา มีตัวอักษรหรือไม่ ?
[ { "docid": "70623#0", "text": "อักษรชวา (ภาษาชวา: อักซาราจาวา) หรือ ฮานาจารากา () เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาชวา โดยก่อนหน้าที่จะใช้อักษรชวาเขียน ราว พ.ศ. 1900 ภาษาชวาเขียนด้วยอักษรปัลลวะ อีก 200 ปีถัดมาเขียนด้วยอักษรกวิ จนราว พ.ศ. 2200 อักษรชวาหรือจารากันจึงพัฒนาขึ้นมา อักษรนี้ถูกห้ามใช้ในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองอินโดนีเซียระหว่าง พ.ศ. 2483 -2488 ราวพ.ศ. 2000 มีการเขียนภาษาชวาด้วยอักษรอาหรับเช่นกัน เรียกว่าเปกอลหรือกันดิล ตั้งแต่เนเธอร์แลนด์นำการเขียนด้วยอักษรละตินเข้ามาเผยแพร่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2300 ทั้งอักษรชวาและอักษรอาหรับจึงถูกแทนที่ด้วยอักษรละติน ปัจจุบันอักษรชวาใช้ทางวิชาการและการประดับตกแต่ง ผู้ที่อ่านได้จะได้รับการยกย่องมากอักษรนี้เคยใช้เขียนภาษาบาหลีและภาษาซุนดา แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินหมดแล้ว", "title": "อักษรชวา" } ]
[ { "docid": "36010#7", "text": "เมื่อมีหน่วยเสียงที่มีโครงสร้างเป็นสระ-พยัญชนะ-สระ โดยสระทั้งสองเสียงเป็นเสียงเดียวกัน ภาษาชวางกลางลดเสียงสระตัวท้าย i เป็น e และ u เป็น o ภาษาชวาตะวันออกลดทั้งสองเสียงส่วนภาษาชวาตะวันตกคงเสียงเดิมไว้ เช่น cilik ภาษาชวากลางเป็น จิเละ ภาษาชวาตะวันออกเป็น เจะเละ ภาษาชวาตะวันตกเป็น จิลิก", "title": "ภาษาชวา" }, { "docid": "111464#0", "text": "ภาษามาดูรา (Madura language) เป็นที่ใช้พูดบนเกาะมาดูรา ในประเทศอินโดนีเซีย และเกาะอื่นๆ เช่นเกาะกาเงียน เกาะซาปูดี และทางตะวันออกของชวาตะวันออก พบในสิงคโปร์ด้วย อยู่ในกลุ่มย่อยซุนดา ของภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตก ตระกูลอสสโตรนีเซียน เคยเขียนด้วยอักษรชวา ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละติน มีผู้พูด 13,600,000 คนในอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2543) ภาษานี้มีรากศัพท์เหมือนกับภาษากาเงียน 75% และเข้าใจกันได้ยาก ภาษานี้มีหลายสำเนียง สำเนียงซูเมเนบ จัดเป็นสำเนียงมาตรฐาน สำเนียงบังกาลนที่พูดในสุราบายา เป็นสำเนียงที่ใช้ทางการค้ามากที่สุด เป็นสำเนียงที่ใช้ในเมืองและได้รับอิทธิพลจากภาษาอินโดนีเซียมาก และผู้พูดภาษานี้ใช้ภาษาอินโดนีเซียด้วย แปลไบเบิลเป็นภาษานี้ใน พ.ศ. 2537", "title": "ภาษามาดูรา" }, { "docid": "70623#4", "text": "อักษรตัวเต็มพื้นฐานมี 20 ตัวได้แก่", "title": "อักษรชวา" }, { "docid": "101717#2", "text": "ชื่อ \"ซูการ์โน\" นั้นถอดสะกดเป็นอักษรโรมันตามระบบใหม่ของอินโดนีเซียว่า \"Sukarno\" เริ่มใช้ในปี 1947 ก่อนหน้านั้นสะกดว่า \"Soekarno\" ตามอักขรวิธีของภาษาดัตช์ ชาวอินโดนีเซียจะจดจำเขาในนาม บุงการ์โน (Bung Karno) หรือ ปะก์การ์โน (Pak Karno) เขามีเพียงชื่อเดียวเฉกเช่นชาวชวาทั่วไปที่ไม่ใช้นามสกุล เขามีชื่อทางศาสนาคือ อัคมัด ซูการ์โน ส่วนชื่อ \"ซูการ์โน\" เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตในภาษาชวา \"สุกรฺโณ\" มีความหมายว่า \"กรรณะผู้ประเสริฐ\"", "title": "ซูการ์โน" }, { "docid": "36010#11", "text": "ในยุคของราชอาณาจักรมัชปาหิต ได้เกิดภาษาใหม่ขึ้นคือภาษาชวายุคกลางที่อยู่ระหว่างภาษาชวาโบราณและภาษาชวาสมัยใหม่ จริงๆแล้ว ภาษาชวายุคกลางมีความคล้ายคลึงกับภาษาชวาสมัยใหม่จนผู้พูดภาษาชวาสมัยใหม่ที่ศึกษาวรรณคดีสามารถเข้าใจได้ ราชอาณาจักรมัชปาหิตเสื่อมลงเนื่องจากการรุกรานของต่างชาติและอิทธิพลของศาสนาอิสลาม และการคุกคามของสุลต่านแห่งเดมักที่อยู่ทางชายฝั่งด้านเหนือของเกาะชวา ราชอาณาจักรมัชปาหิตสิ้นอำนาจลงเมื่อ พ.ศ. 2021\nภาษาชวาสมัยใหม่เริ่มปรากฏเมื่อพุทธศตวรรษที่ 21 พร้อมๆกับการเข้ามามีอิทธิพลของศาสนาอิสลาม และการเกิดรัฐสุลต่านมะตะรัม รัฐนี้เป็นรัฐอิสลามที่สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมจากยุคราชอาณาจักรมัชปาหิต วัฒนธรรมชวาแพร่หลายไปทางตะวันตก เมื่อรัฐมะตะรัมพยายามแพร่อิทธิพลไปยังบริเวณของผู้พูดภาษาซุนดาทางตะวันตกของเกาะชวา ทำให้ภาษาชวากลายเป็นภาษาหลักในบริเวณนั้น เช่นเดียวกับภาษาบาหลี ไม่มีการใช้ภาษาซุนดาเป็นภาษาเขียนจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 และได้รับอิทธิพลจากภาษาชวามาก คำศัพท์ 40% ในภาษาซุนดาได้มาจากภาษาชวา", "title": "ภาษาชวา" }, { "docid": "726331#0", "text": "ภาษาโอซิง (Osing language) มีผู้พูด 300,000 คน (พ.ศ. 2543) ในชวาตะวันออกตามแนวชายฝั่งตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ มีความใกล้เคียงกับภาษาชวาตะวันออก จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลาโย-โพลีนีเซีย เขียนด้วยอักษรชวา ผู้พูดภาษานี้เป็นมุสลิม", "title": "ภาษาโอซิง" }, { "docid": "70623#12", "text": "อักษรชวามีการเรียงลำดับที่มีเอกลักษณ์ เพราะจะเป็นบทกวีในตัวของมันเองด้วย คือ \"Hana caraka, data sawala, paḍa jayanya, maga baṭanga,\" ซึ่งมาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องอายี ซากา[1] ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์องค์แรกของชวา อักษรชวานี้จะเรียงลำดับตามแบบของภาษาสันสกฤตก็ได้", "title": "อักษรชวา" }, { "docid": "36010#10", "text": "การแพร่กระจายของวัฒนธรรมชวารวมทั้งอักษรชวาและภาษาชวาเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1836 ซึ่งเกิดจากการขยายตัวไปทางตะวันออกของราชอาณาจักรมัชปาหิตซึ่งเป็นอาณาจักรที่นับถือศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ไปสู่เกาะมาดูราและเกาะบาหลี ภาษาชวาแพร่ไปถึงเกาะบาหลีเมื่อ พ.ศ. 1906 และมีอิทธพลอย่างลึกซึ้ง โดยภาษาชวาเข้ามาแทนที่ภาษาบาหลีในฐานะภาษาทางการปกครองและวรรณคดี ชาวบาหลีรักษาวรรณคดีเก่าที่เป็นภาษาชวาไว้มาก และไม่มีการใช้ภาษาบาหลีเป็นภาษาเขียนจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24", "title": "ภาษาชวา" }, { "docid": "36010#12", "text": "แม้ว่าจะเป็นจักรวรรดิอิสลาม แต่ราชอาณาจักรมะตะรัมก็ยังรักษาหน่วยเดิมที่มาจากวัฒนธรรมเก่าไว้และพยายามรวมเข้ากับศาสนาใหม่ จึงเป็นเหตุผลที่ยังคงมีการใช้อักษรชวาอยู่ ในขณะที่อักษรดั้งเดิมของภาษามลายูเลิกใช้ไปตั้งแต่เหลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม โดยหันไปใช้อักษรที่มาจากอักษรอาหรับแทน ในยุคที่ศาสนาอิสลามกำลังรุ่งเรืองราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เกิดภาษาชวาใหม่ขึ้น มีเอกสารทางศาสนาอิสลามฉบับแรกๆ ที่เขียนด้วยภาษาชวาใหม่ ซึ่งมีคำศัพท์และสำนวนที่ยืมมาจากภาษาอาหรับมาก ต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากภาษาดัตช์และภาษาอินโดนีเซีย ทำให้ภาษาชวาพยายามปรับรูปแบบให้ง่ายขึ้น และมีคำยืมจากต่างชาติมากขึ้น\nนักวิชาการบางคนแยกภาษาชวาที่ใช้พูด ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 ว่าเป็นภาษาชวาสมัยใหม่ แต่ก็ยังคงถือว่าเป็นภาษาเดียวกับภาษาชวาใหม่", "title": "ภาษาชวา" }, { "docid": "644472#1", "text": "ความแตกต่างหลักระหว่างอักษรยาวีและอักษรเปโกนคืออักษรจะเขียนตามเสียงที่เปล่งออกมา เพราะในภาษาชวามีสระที่หลากหลายกว่าภาษามลายูทำให้จำเป็นต้องเขียนสระให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความสับสน ถ้าอักษรเปโกนเขียนแบบไม่มีเครื่องหมายสระอย่างอักษรยาวีจะเรียก คุนดุล อักษรเปโกนมีเครื่องหมายสำหรับเสียงที่ไม่มีในภาษาอาหรับด้วย", "title": "อักษรเปโกน" }, { "docid": "94596#0", "text": "ภาษาบาหลี เป็นภาษาท้องถิ่นของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ใช้พูดในเกาะชวา เกาะบาหลีและเกาะลอมบอก มีผู้พูด 3.8 ล้านคน คิดเป็น 2.1 % ของประชากรอินโดนีเซียทั้งประเทศ โดยที่ชาวบาหลีส่วนใหญ่จะพูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง เขียนด้วยอักษรบาหลีและอักษรละติน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน ใกล้เคียงกับภาษาซาซักและภาษากัมเบอราในเกาะซุมบาวา มีการแบ่งระดับชั้นภายในภาษา", "title": "ภาษาบาหลี" }, { "docid": "70623#1", "text": "อักษรชวาและอักษรบาหลีเป็นอักษรรุ่นใหม่ของอักษรกวิซึ่งสืบทอดมาจากอักษรพราหมี พัฒนาขึ้นในชวาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14 ใช้ในการเขียนเอกสารทางศาสนาในใบลาน อักษรกวิได้พัฒนามาเป็นอักษรชวาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 22 อักษรชวาใช้ในศาลในสุรการ์ตาและยอร์กยาการ์ตา และแพร่หลายในเกาะชวาและหมู่เกาะซุนดาน้อย ใช้เขียนเอกสารทางประวัติศาสตร์ และอื่นๆ", "title": "อักษรชวา" }, { "docid": "60458#1", "text": "ได้แก่ อักษรเทวนาครี อักษรคุรมุขี อักษรเบงกาลี อักษรคุชราต อักษรโอริยา อักษรทมิฬ อักษรมาลายาลัม อักษรเตลุกุ อักษรกันนาดาและอักษรสิงหล (ในศรีลังกา) อักษรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดอยู่ในตระกูลนี้คือ อักษรพม่า อักษรมอญ อักษรไทย อักษรลาว อักษรเขมร อักษรจาม อักษรไทลื้อ อักษรล้านนา อักษรขอมไทย อักษรขอมบาลี อักษรชวา อักษรบาหลี โดยผ่านทางอักษรปัลลวะในอินเดียใต้ และอักษรกวิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โบราณ ลักษณะที่ต่างจากอักษรในอินเดีย คือมีพยัญชนะที่ใช้แทนเสียงเดียวกันเพราะภาษาเหล่านี้มีเสียงพยัญชนะน้อยกว่า (เช่น อักษรไทย) มีพยัญชนะ 2 ชุดที่ออกเสียงต่างกันเมื่อประสมสระ (เช่น อักษรเขมร อักษรมอญ) หรือลดจำนวนพยัญชนะ (เช่น อักษรลาว)อักษรกลุ่มนี้เขียนในแนวนอนจากซ้ายไปขวา", "title": "ตระกูลอักษรพราหมี" }, { "docid": "83802#0", "text": "ภาษาซุนดาเป็นภาษาที่ใช้พูดในหมู่ชาวซุนดา ประเทศอินโดนีเซียในเขตชวาตะวันตก อยู่ในตระกูลออโตรนีเซียน สาขามลาโย-โพลีนีเซียน สำเนียงปรีงาอันเป็นสำเนียงที่มีการสอนในระดับประถมศึกษา ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละติน", "title": "ภาษาซุนดา" }, { "docid": "643525#0", "text": "อักษรโซราเบ (Sorabe หรือ Sora-be) เป็นอักษรอาหรับที่ใช้เขียนภาษามาลากาซีในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 คำว่าโซราเบนั้นแปลตรงตัวว่าการเขียนใหญ่ โดยมาจากภาษาอาหรับ \"sura\" (การเขียน) และภาษามาลากาซี \"be\" (ใหญ่) ระบบการเขียนนี้ถูกนำเข้ามาผ่านทางการค้ากับชาวอาหรับมุสลิม แต่นักวิชาการบางกลุ่มเห็นว่าอาจจะได้รับจากชาวชวามุสลิม เนื่องจากมีมีความคล้ายคลึงระหว่างอักษรโซราเบกับอักษรเปโกน ที่ใช้เขียนภาษาชวา อักษรนี้ที่เป็นลายมือเขียนราว 200 ชิ้นนั้นพบว่าไม่มีอันที่เขียนก่อนพุทธศตวรรษที่ 22", "title": "อักษรโซราเบ" }, { "docid": "70623#2", "text": "ตัวอักษรโลหะสำหรับอักษรชวาผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 2373 โดยชาวดัตช์ อักษรแบบตัวเขียนผลิตขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 25 ใน พ.ศ. 2469 ได้จัดมาตรฐานการสะกดคำภาษาชวา อย่างไรก็ตาม การใช้อักษรชวาถูกห้ามในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นเข้ามายึดครอง ในปัจจุบันไม่มีหนังสือพิมพ์หรือวารสารตีพิมพ์ด้วยอักษรชวา และใช้ในงานวิชาการเท่านั้น การใช้ในชีวิตประจำวันถูกแทนที่ด้วยภาษาอินโดนีเซียซึ่งใช้สอนในโรงเรียน และสอนอักษรนี้เป็นรายวิชาหนึ่ง รัฐบาลท้องถิ่นในชวากลางใช้อักษรชวาในป้ายคู่กับภาษาอินโดนีเซียตั้งแต่ พ.ศ. 2555", "title": "อักษรชวา" }, { "docid": "70623#3", "text": "อักษรชวามีอักษร 35 ตัว แต่แทนหน่วยเสียงต่างกันขึ้นกับว่าใช้เขียนภาษาใด พยัญชนะมีเสียงอะหรือออเป็นพื้นเสียง ซึ่งเสียงสระนี้จะเปลี่ยนไปตามเครื่องหมายสระ เครื่องหมายวรรคตอน เช่น จุลภาค มหภาค และเครื่องหมายคำพูดใช้ในบทกวี เขียนจากซ้ายไปขวาและเขียนโดยไม่เว้นระหว่างคำ พยัญชนะมี 2 แบบ คือ ตัวเต็ม (อักษรา) และตัวเชิง (ปาซางัน) มีอักษรพิเศษเรียก อักษรา มุรทา หรือ อักษรา เกเท ใช้เขียนชื่อบุคคลที่เป็นที่เคารพ สระมีสองชุดคือสระจมและสระลอย", "title": "อักษรชวา" }, { "docid": "36010#16", "text": "จังหวัดชวาตะวันออกยังเป็นบ้านเกิดของผู้พูดภาษามาดูรา แต่ชาวมาดูราส่วนใหญ่พูดภาษาชวาได้ด้วย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา มีการเขียนภาษามาดูราด้วยอักษรชวา ในลัมปุง มีชนพื้นเมืองที่พูดภาษาลัมปุงเพียง 15% ที่เหลือเป็นผู้อพยพมาจากส่วนอื่นๆของอินโดนีเซีย ซึ่งผู้อพยพเข้ามาส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาชวา ในสุรินาเมซึ่งเป็นอดีตอาณานิคมของดัตช์ ในอเมริกาใต้ มีผู้ที่เป็นลูกหลานของชาวชวา และยังพูดภาษาอยู่ราว 75,000 คน", "title": "ภาษาชวา" }, { "docid": "2853#11", "text": "ภาษาตากาล็อกเคยเขียนด้วยอักษรบายบายินก่อนการเข้ามาของสเปน ในศตวรรษที่ 16 อักษรนี้ประกอบด้วยสระ 3 ตัว และพยัญชนะ 14 ตัว เมื่อเทียบกับตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรนี้มีความคล้ายคลึงกับอักษรกวิโบราณของชวา ซึ่งเชื่อว่าสืบทอดมาจากอักษรบูกิสในซูลาเวซี ต่อมาอักษรนี้ได้เลิกใช้ไป เพราะนิยมใช้อักษรละตินที่เข้ามาในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปน", "title": "ภาษาตากาล็อก" }, { "docid": "36010#13", "text": "แต่เดิมภาษาชวาเขียนด้วยอักษรพื้นเมืองคืออักษรชวา ต่อมาจึงเขียนด้วยอักษรอาหรับและอักษรโรมัน อักษร f q v x และ z ใช้เฉพาะคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาในยุโรปเท่านั้น", "title": "ภาษาชวา" }, { "docid": "95479#0", "text": "อักษรบูฮิดหรือมังยัน พัฒนามาจากอักษรกวิของชวา บาหลี และสุมาตรา ซึ่งมาจากอักษรปัลลวะอีกทีหนึ่ง อักษรนี้ยังใช้อยู่ในฟิลิปปินส์ โดยชาวบูฮิดในมินโดโร เขียนจากซ้ายไปขวา ในแนวนอน อักษรแต่ละตัวมีเสียงสระเกาะอยู่ และจะเปลี่ยนเสียงสระเมื่อเพิ่มเครื่องหมายบนพยัญชนะ", "title": "อักษรบูฮิด" }, { "docid": "70623#14", "text": "ชาวซุนดาบางส่วนใช้อักษรชวาในการเขียนภาษาซุนดา แต่ได้ดัดแปลงตัวอักษรและเปลี่ยนชื่อเรียกขากจากจารากันในภาษาชวาเป็นจาจารากัน มี 18 ตัวโดยตัดตัว dha และ tha ออกไป", "title": "อักษรชวา" }, { "docid": "644472#0", "text": "อักษรเปโกน (Pegon) เป็นอักษรอาหรับที่ใช้เขียนภาษาชวาและภาษาซุนดา นอกเหนือจากการเขียนด้วยอักษรชวา และใช้มาก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นอักษรโรมันในยุคอาณานิคม นิยมใช้เขียนงานทางศาสนาและกวีนิพนธ์ในพุทธศตวรรษที่ 20 คำว่าเปโกนมาจากภาษาชวา \"pégo\" หมายถึงเบี่ยงเบน เพราะเป็นการเขียนภาษาชวาด้วยอักษรอาหรับซึ่งไม่ได้เป็นอักษรพื้นเมืองของชาวชวา ", "title": "อักษรเปโกน" }, { "docid": "36010#8", "text": "ภาษาชวามีคำศัพท์ที่ต่างกันไปในแต่ละสำเนียง เช่นคำว่าคุณ ชวากลางเป็น kowe ภาษาชวาตะวันออกเป็น kon ภาษาชวาตะวันตกเป็น rika\nหลักฐานการเขียนในเกาะชวาย้อนหลังไปได้ถึงยุคของจารึกภาษาสันสกฤต จารึกตรุมเนคระ ใน พ.ศ. 993 ส่วนการเขียนด้วยภาษาชวาที่เก่าที่สุดคือจารึกสุกภูมีซึ่งระบุวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1346 จารึกนี้พบที่เกอดีรีในชวาตะวันออกและเป็นสำเนาของจารึกต้นฉบับที่น่าจะมีอายุ 120 ปีก่อนหน้านั้น แต่หลักฐานเหลือเพียงจารึกที่เป็นสำเนาเท่านั้น เนื้อหากล่าวถึงการสร้างเขื่อนใกล้กับแม่น้ำสรินยังในปัจจุบัน จารึกนี้เป็นจารึกรุ่นสุดท้ายที่ใช้อักษรปัลลวะ จารึกรุ่นต่อมาเริ่มใช้อักษรชวา", "title": "ภาษาชวา" }, { "docid": "11124#2", "text": "คำว่า \"ยาวี\" นั้นมาจากคำว่า \"jawa\" หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน", "title": "อักษรยาวี" }, { "docid": "437640#1", "text": "ปัจจุบัน ภาษาบูรุศซัสกีมีคำยืมจากภาษาอูรดูมาก (รวมทั้งคำยืมจากภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤตที่รับผ่านภาษาอูรดู) และมาจากภาษาเพื่อนบ้านเช่นกลุ่มภาษาดาร์ดิก เช่น ภาษาโคชวาร์และภาษาซีนา และมีบางส่วนมาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิก และจากภาษาบัลติ ภาษาวาคี ภาษาพาซตู แต่ก็มีคำศัพท์ดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก กลุ่มภาษาดาร์ดิกเองก็มีการยิมคำไปจากภาษาบูรุศซัสกี ภาษานี้มีสำเนียงหลักๆ 3 สำเนียงแบ่งตามหุบเขาที่อาศัยอยู่คือ ฮันซา นคร และยาซิน สำเนียงยาซินได้รับอิทธิพลจากภาษาเพื่อนบ้านน้อยที่สุดและต่างจากอีกสองสำเนียงมาก แต่ทั้งสามสำเนียงยังเข้าใจกันได้\nไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างภาษาบูรุศซัสกีกับภาษาใดๆ มีความพยายามที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาบูรุศซัสกีกับกลุ่มภาษาคอเคซัส หรือในสมมติฐานเคเน-คอเคเซียน George van Driem พยายามหาความสัมพันธ์ของภาษาบูรุศซัสกีกับภาษาเยนิสเซียนเพื่อตั้งเป็นตระกูลภาษาการาซุก อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2551ได้พบความสัมพันธ์ระหว่างภาษาเยนิสเซียนกับภาษาเดเนในตระกูลภาษาเดเน-เยนิสเซียนและยังไม่พบหลักฐานแสดงความสัมพันธ์กับภาษาบูรุศซัสกี นอกจากนั้น ยังพยายามเชื่อมโยงภาษาบูรุศซัสกีกับกลุ่มภาษาปาเลโอ-บัลกันและกลุ่มภาษาบัลโต-สลาฟแต่ก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอ\nภาษาบูรุศซัสกีไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง มีการใช้อักษรอาหรับสำหรับภาษาอูรดูแต่ระบบการออกเสียงไม่ได้กำหนดแน่นอน นาซีร อัลดิน นาซิร ฮุนไซ เขียนบทกวีภาษาบูรุศซัสกีโดยใช้ตัวอักษรของภาษาอูรดู เอกสารภาษาทิเบตได้บันทึกภาษาบรูซาจากหุบเขากิลกิตซึ่งปัจจุบันคือภาษาบูรุศซัสกี เชื่อว่าภาษาบรูซาได้นำลัทธิบอนเข้าสู่ทิเบตและเอเชียกลาง อักษรของพวกเขาอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรทิเบตแต่ไม่มีอักษรของภาษาบรูซาเหลืออยู่ในปัจจุบัน", "title": "ภาษาบูรุศซัสกี" }, { "docid": "36010#2", "text": "ภาษาชวาจัดว่าเป็นภาษาคลาสสิกภาษาหนึ่งของโลก มีวรรณคดีมานามถึง 12 ศตวรรษ นักวิชาการแบ่งภาษาชวาออกเป็นสี่ยุคด้วยกันคือภาษาชวาโบราณ เริ่มจากพุทธศตวรรษที่ 14 ภาษาชวายุคกลางเริ่มจากพุทธศตวรรษที่ 18 ภาษาชวายุคใหม่เริ่มจากพุทธศตวรรษที่ 21 และภาษาชวาปัจจุบันเริ่มในพุทธศตวรรษที่ 25 ภาษาชวาเขียนด้วยอักษรชวาที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี อักษรอาหรับ-ชวาที่เป็นอักษรอาหรับดัดแปลงสำหรับภาษาชวา และอักษรละติน", "title": "ภาษาชวา" }, { "docid": "70623#9", "text": "เป็นอักษรที่เรียกอักษรมุรทาและมหาปรานา ใช้เขียนคำขึ้นต้นของชื่อบุคคลที่เป็นที่เคารพ โดยการใช้คล้ายกับการใช้อักษรตัวใหญ๋ของอักษรละตินที่ใช้เขียนภาษาชวาในปัจจุบัน", "title": "อักษรชวา" }, { "docid": "919369#0", "text": "มังกะยอชวา (พระนามภาษาพม่า: မင်းကြီးစွာ; อักษรโรมัน: Minyekyawswa, Minchit Sra; ออกเสียง: \"เมงเยจอสวา\") หรือ มังสามเกียด (ตามที่พงศาวดารไทยและพงศาวดารมอญเรียก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยโดยทรงนำทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง รวมถึงได้ทรงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช", "title": "มังกะยอชวา" } ]
3991
กรีก มีเมืองหลวงชื่ออะไร ?
[ { "docid": "2051#7", "text": "สภาพอากาศของกรีซ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เทือกเขาแอลป์ และ Temperate แบบแรก ภูมิประเทศแบบฝนตกในฤดูหนาว แห้งแล้งในฤดูร้อน อุณหภูมิไม่ค่อยสูง อย่างไรก็ตามก็มีหิมะตกบางในกรุงเอเธนส์ หมู่เกาะซิคละดิส หรือเกาะครีตมีสภาพอากาศหนาว เทือกเขาแอลป์ก่อตัวมาจากทางตะวันตกของกรีซ สภาพอากาศแบบสุดท้ายก่อตัวจากทางตอนกลางและทางมาซิโดเนียตะวันออก เทรซ Xanthi และ Evros เหนือ มีอากาศหนาว ชื้น ในฤดูหนาว และ แห้งแล้งในฤดูร้อน เป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับกรุงเอเธนส์ที่ ตั้งอยู่ระหว่างสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กับเทือกเขาแอลป์ ดังนั้นชานเมืองทางตอนใต้จะมีสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ทางตอนเหนือมีสภาพอากาศแบบ เทือกเขาแอลป์", "title": "ประเทศกรีซ" } ]
[ { "docid": "992447#0", "text": "จังหวัดบลากอเยฟกราด (, \"oblast Blagoevgrad\" หรือ Благоевградска област, \"Blagoevgradska oblast\") หรือในชื่อ Pirin Macedonia(, \"Pirinska Makedoniya\") เป็นจังหวัด (oblast) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของบัลแกเรีย มีเขตแดนติดต่อกับจังหวัดอีกสี่จังหวัดของบัลแกเรียทางเหนือและตะวันออก ภูมิภาคมาซิโดเนียของกรีกทางใต้ และประเทศมาซิโดเนียทางตะวันตก มี 14 เทศบาล 12 เมือง โดยเมืองหลวงอยู่ที่บลากอเยฟกราด เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ Bansko, Gotse Delchev, Melnik, Petrich, Razlog, Sandanski, และ Simitli", "title": "จังหวัดบลากอเยฟกราด" }, { "docid": "185940#11", "text": "ในปี ค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ทรงย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันจากกรุงโรม มายังเมืองไบเซนทิอุม ซึ่งตามตำนานเล่าว่า บิซัส (Buzas) แห่งเมการา (Megara) ได้นำชาวกรีกมาสร้างไว้ในราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ภายหลังที่จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ย้ายมืงหลวงมายังเมืองไบเซนทิอุมแล้ว โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นกรุงโรมใหม่ หรือ โนวา โรม (Nova Rome) อย่างไรก็ดี ภายหลังที่จักรพรรดิคอนสแตนตินสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 337 กรุงโนวา โรม ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คอนสแตนติโนเปิล เพือเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์", "title": "ประวัติศาสตร์อานาโตเลีย" }, { "docid": "410516#0", "text": "เซฟาโลเนีย หรือ เคฟาลลีนีอา (กรีก: Κεφαλονιά or Κεφαλλονιά; ; ) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะไอโอเนียน ตั้งอยู่ในทะเลไอโอเนียน นอกจากฝั่งตะวันตกของประเทศกรีซ มีพื้นที่ 781 ตร.กม. (302 ตร.ไมล์) เมืองหลวงคือเมือง อาร์โกสโตลี", "title": "เซฟาโลเนีย" }, { "docid": "271025#0", "text": "ราชอาณาจักรทอเลมี (, ) ตั้งอยู่ในอียิปต์ปัจจุบัน เป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากที่อเล็กซานเดอร์มหาราชได้รับชัยชนะต่ออียิปต์ในปี 332 ก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อคลีโอพัตราสิ้นพระชนม์ เมื่อโรมันได้รับชัยชนะต่ออียิปต์ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช ราชอาณาจักรทอเลมีก่อตั้งขึ้นโดยทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ผู้ประกาศตนเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ ทอเลมีสร้างอียิปต์เป็นรัฐกรีกที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของซีเรียซีเรียไปจนถึงไซรีนในลิเบีย และทางใต้ไปถึงนิวเบีย โดยมีอเล็กซานเดรียเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมกรีกและการค้า เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในอียิปต์ทอเลมีก็ประกาศตนว่าเป็นผู้ครองต่อจากฟาโรห์ ผู้ครองราชย์ต่อมารับธรรมเนียมของอียิปต์โบราณในการเสกสมรสกับพี่น้องกันเอง ปฏิบัติตัวและแต่งตัวอย่าอียิปต์ วัฒนธรรมกรีกรุ่งเรืองในอียิปต์จนกระทั่งเมื่อถูกพิชิตโดยมุสลิม ราชวงศ์ทอเลมีต้องต่อสู้กับการปฏิวัติภายในประเทศและการสงครามกับภายนอกซึ่งนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของอำนาจจนกระทั่งมาถูกผนวกโดยราชอาณาจักรโรมัน", "title": "ราชอาณาจักรทอเลมี" }, { "docid": "923846#0", "text": "อวาริส (/ ævərɪs /; อียิปต์โบราณ: ḥw.twꜥr.t บางครั้งแปลว่า \"ฮัต-วาเรต\" กรีก: Αὔαρις, Auaris) เป็นเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ภายใต้การปกครองของชาวฮิกซอส ตั้งอยู่ในปัจจุบันบอก เอล-ดับ'อา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของปากแม่น้ำไนล์ ในฐานะที่เป็นเส้นทางหลักของแม่น้ำไนล์อพยพไปทางทิศตะวันออกตำแหน่งที่ศูนย์กลางของอียิปต์ ทำให้มันเป็นเมืองหลวงการบริหารที่สำคัญของชาวฮิกซอส มันถูกครอบครองจากประมาณ 1783 ถึง 1550 ปีก่อนคริสตกาล หรือจากราชวงศ์สิบสามของอียิปต์ผ่านช่วงกลางที่สองจนกว่าชาวฮิกซอสจะถูกชับไล่โดยฟาโรห์อาโมสที่ 1 ฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบแปด ชื่อในภาษาอียิปต์โบราณเมื่อพันปีก่อนคริสต์ศักราชอาจออกเสียง ฮาอัต-วูรัต หมายความว่า 'บ้านใหญ่' และหมายถึงเมืองหลวงของเขตปกครอง ในปัจจุบันยังมีชื่อเมืองที่คล้ายกันคือ เมืองฮาวารา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตไฟยุม หรือชาวอเล็กซานเดรียเรียกชื่อเมืองนี้ว่า \"อาไทน์รา\"", "title": "อวาริส" }, { "docid": "504800#0", "text": "ซีรากูซา ( ; ; ; \"Syrakoúsai\") เป็นเมืองประวัติศาสตร์ในแคว้นปกครองตนเองซิซิลี ในทะเลไอโอเนียน เป็นเมืองหลวงของจังหวัดซีรากูซา ประเทศอิตาลี เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์กรีกโบราณทั้งด้านวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม มีซากปรักหักพังของวิหารและโรงละครกรีกประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช บางส่วนของกำแพงเมืองและป้อมปราการ ทวิอัฒจันทร์ของโรมัน และสุสานใต้ดินหลายแห่ง เป็นสถานที่เกิดของอาร์คิมิดีส นักคณิตศาสตร์และวิศวกรชาวกรีก เป็นเมืองเก่าแก่อายุ 2,700 ปี มีบทบาทสำคัญในยุคโบราณ หนึ่งในมหาอำนาจในโลกแห่งเมดิเตอร์เรเนียน", "title": "ซีรากูซา" }, { "docid": "909036#0", "text": "บัตทุสที่ 1 แห่งซิเรเน (; ) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม บัตทุส อริสโตเติล (Βάττος Ἀριστοτέλης; Battus Aristottle) หรือ อาริสตาเออุส (Aristaeus; Ἀρισταίος) เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มอาณานิคมกรีกโบราณของซิเนไทกาและเมืองหลวงของซิเรเน พระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกซิเรเน ซึ่งเป็นกษัตริย์กรีกแห่งแรกในแอฟริกาเหนือและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์บัตเทียด นอกจากนี้พระนามของพระองค์ได้นำมาตั้งเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ชนิดหนึ่งคือ บัตทุส ฟิเลนอร์", "title": "บัตทุสที่ 1" }, { "docid": "4360#0", "text": "อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก", "title": "อักษรกรีก" }, { "docid": "2051#14", "text": "ในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) กรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกพวกเติร์กยึดครอง และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2043 (ค.ศ. 1500) ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์ก ดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลก เพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีกออร์ทอดอกซ์ ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์ก กรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิด นักเขียน และนักปรัชญา เช่น ไบรอน แชลเลย์ และเกอเธ อย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซ ทำให้ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ตัดสินใจเข้ามาแทรกแซง หลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้ว กลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่งบาวาเรีย เป็นกษัตริย์ปกครองกรีซในปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกัน จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 1 จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซในปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ", "title": "ประเทศกรีซ" }, { "docid": "775321#0", "text": "สงครามกรีก-เปอร์เซีย () หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา", "title": "สงครามกรีก-เปอร์เซีย" }, { "docid": "541679#0", "text": "ฟเตหปุระสีกรี (; ; ) เป็นเมืองตั้งอยู่ในเขตอำเภออัคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1569 โดยสมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร และยังใช้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโมกุลระหว่างปี ค.ศ. 1571–1585 ภายหลังจากชัยชนะจากสงครามกับชาวเมืองจิตเตารครห์ (Chitaurgarh) และรณถัมโภระ (Ranthambore) พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยย้ายเมืองหลวงจากอัคระมายังที่แห่งใหม่บริเวณนี้ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งของสะพานสิครีเป็นระยะทาง เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญลัทธิศูฟี พระนามว่า \"ซาลิม คิชติ\" (Salim Chishti) โดยได้ใช้เวลาออกแบบผังเมืองและสร้างถึง 15 ปี ซึ่งรวมถึงกำแพงเมืองรอบด้าน พระราชวัง ตำหนัก ฮาเร็ม ศาล มัสยิด และอาคารสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทรงตั้งชื่อเมืองว่า \"ฟะเตฮาบาด\" (Fatehabad) มาจากคำภาษาอาหรับว่า \"ฟัตห์\" แปลว่า \"ชัยชนะ\" และต่อมากลายเป็น \"ฟเตหปุระสีกรี\" (Fatehpur Sikri) ฟเตหปุระสีกรี นั้นถือเป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างในสถาปัตยกรรมโมกุลที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศอินเดีย", "title": "ฟเตหปุระสีกรี" }, { "docid": "248134#2", "text": "ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, \"คู\", ตุรกี: \"Kandiye\") ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit)", "title": "ครีต" }, { "docid": "2051#42", "text": "กรีซมีชื่อเสียงทางเรื่องศิลปะเป็นต้นแบบของงานสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด่นและสง่างามของเสาหินแบบวิหารพาร์เธนอน ที่ตกแต่งตรงส่วนบนของหัวเสาด้วยศิลปะแบบกรีกมี 3 แบบ คือ ดอริก, ไอโอนิก และคอรินเธียน จะเห็นเสาหินแบบกรีกเป็นส่วนตกแต่งด้านหน้าของอาคารสำคัญ ๆ และสิ่งก่อสร้างที่เป็นงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อของโลกตามเมืองหลวงของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย สถานที่ทำงานสำคัญ ๆ ของประเทศที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ ล้วนนำสถาปัตยกรรมศิลป์ของกรีซไปประยุคผสมผสาน ในการก่อสร้างเป็นการยอมรับในอารยธรรมที่รุ่งเรืองของกรีซโบราณและเป็นการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่เคยเฟื่องฟูในอดีตของกรีซไปทุกมุมโลกนอกจาก งานสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของกรีซที่เผยแพร่ไปทั่วโลกแล้ว งานจิตรกรรมและประติมากรรมของกรีซยังเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรดาพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ต่าง ๆ พยายามเสาะหามาเป็นสมบัติเก็บสะสมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้", "title": "ประเทศกรีซ" }, { "docid": "404914#0", "text": "ฮอมส์ () หรือ ฮิมศ์ () หรือเดิมรู้จักในชื่อ เอเมซา (กรีก: Ἔμεσα, \"Emesa\") เป็นเมืองตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศซีเรีย เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าราชการฮอมส์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 501 เมตร (1,644 ฟุต) ตั้งอยู่ห่างจากกรุงดามัสกัสทางทิศเหนือราว 162 กิโลเมตร (101 ไมล์) บนฝั่งแม่น้ำออรันตีส ฮอมส์ยังเป็นเมืองศูนย์กลางที่เชื่อมโยงเมืองภายในกับเมืองชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน", "title": "ฮอมส์" }, { "docid": "303665#1", "text": "ถือเป็นรัฐที่เล็กที่สุด และตั้งอยู่นอกชายฝั่งทะเลแคริบเบียนของเวเนซุเอลา ถือเป็นรัฐที่เป็นเกาะรัฐเดียวในเวเนซุเอลา ชื่อของรัฐมาจากวีรกรรมของผู้อยู่อาศัยในช่วงระหว่างที่เกิดสงครามประกาศอิสรภาพเวเนซุเอลา ซึ่งเข้าใจว่าคล้ายกับทหารชาวสปาร์ตาของกรีกโบราณ เกาะมาร์การิตาอย่างเดียวมีพื้นที่ 934 ตร.กม. ในปี ค.ศ. 1909 รัฐได้รับการสถาปนาขึ้นและในปี 1947 เกาะกูบากัวก็เพิ่มเข้าไป เมืองหลวงของรัฐคือเมือง ลาซูนซีออง แต่ศูนย์กลางเมืองจริงอยู่ที่เมือง ปอร์ลามาร์", "title": "รัฐนวยวาเอสปาร์ตา" }, { "docid": "924499#0", "text": "ซาอิส (อาหรับ: صاالحجر; กรีกโบราณ: Σάϊς; คอปติก: ⲥⲁⲓ) หรือ ซา เอล ฮาการ์ เป็นเมืองของอียิปต์โบราณในแถบแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันตกบนดินดอนปากแม่น้ำไนล์ มันเป็นเมืองหลวงของเมือง ซาป-เมฮ์ ในอียิปต์ล่าง และกลายเป็นเมืองหลวงศูนย์รวมอำนาจในราชวงศ์ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์โบราณ (732-720 ปีก่อนคริสตกาล) และราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์โบราณ (664- 525 ปีก่อนคริสตกาล) ในช่วงยุคปลาย ชื่ออียิปต์โบราณเรียกเมืองนี้ว่า ซาอู", "title": "ซาอิส" }, { "docid": "944188#2", "text": "แม้หลักฐานโบราณคดีจะชี้ว่าชาวไมซีนีเป็นคนชาติพันธ์กรีก และพูดภาษากรีก แต่ชื่อ \"มูแคไน\" ไม่น่าจะเป็นคำกรีก แต่อาจจะเป็นชื่อสถานที่ที่เรียกโดยชาวพื้นเมือง (autochthon) ที่อาศัยอยู่มาก่อนพวกกรีก ตามตำนานกล่าวว่าชื่อเมืองไมซีนีมีความเกี่ยวข้องกับ คำว่า \"เห็ด\" (: \"mycēs\") ในภาษากรีก นักภูมิศาสตร์โบราณ เพาเซเนียส () ให้เครดิตการตั้งชื่อแก่ เพอร์ซิอัส ผู้ที่ตำนานเทพปกรณัมกรีกกล่าวว่าเป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้น ณ สถานที่ที่ตนได้สังหาร อะคริซิอัส (หรืออะไครเซียส) กษัตริย์แห่งอาร์กอส ผู้เป็นพระเจ้าตาของตน แต่ได้สละสิทธิปกครองเมืองให้กับ เมกาเปนทีส () ผู้เป็นหลานอีกคนหนึ่งของอะคริซิอัส และตั้งชื่อให้กับเมืองว่า \"\"มูแคไน\"\" ตามด้ามดาบของตนที่มีรูปร่างคล้ายเห็ด\nในโฮเมอร์ เมืองไมซีนีเป็นอาณาจักรของอะกาเมมนอน วีรบุรุษชาวกรีกผู้นำเหล่านักรบอะคีอันไปสู้ในสงครามกรุงทรอย เทพีเฮรามเหสีของซุสโปรดปรานเมืองนี้เป็นพิเศษ", "title": "ไมซีนี" }, { "docid": "168552#1", "text": "แบกแดดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1305 โดยคอลีฟะห์อัล-มันซูร์ แห่งราชวงศ์อับบาสิยะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไทกริสติดกับคลองที่เชื่อมแม่น้ำยูเฟรติส แบกแดดมีความรุ่งเรืองมากในสมัยคอลีฟะห์ฮารูน อัล-เราะชีด เมื่อแรกสร้างนั้น เมืองนี้สร้างขึ้นที่หมู่บ้านเก่าแก่ชื่อแบกแดด อยู่ทางเหนือของเทซิฟอน ที่เคยเป็นเมืองหลวงของเปอร์เซียโบราณ เมื่อสร้างแล้วได้ตั้งชื่อว่า มะดีนะห์ อัลซาเลม แปลว่าเมืองแห่งสันติ แต่คนทั่วไปยังนิยมเรียกว่าแบกแดดตามชื่อเดิม ความยิ่งใหญ่ของแบกแดดในสมับคอลีฟะห์นี้ปรากฏในวรรณคดีอาหรับที่มีชื่อเสียงคือพันหนึ่งราตรีหรืออาหรับราตรี ผู้แต้ช่งดั้งเดิมคืออัล-จาห์ชิยาร์ ในแบกแดดได้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวิทยาการ โดยนำวิทยาการที่เป็นภาษากรีก ภาษาละติน ภาษาเปอร์เซีย ภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอาหรับ ทำให้แบกแดดมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านโคลงกลอนจากเปอร์เซีย ทางด้านดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์จากอินเดีย การแพทย์และวิทยาศาสตร์จากกรีก", "title": "แบกแดด" }, { "docid": "620869#0", "text": "บิแซนเทียม (; ) เป็นนครกรีกโบราณตั้งอยู่ ณ ที่ซึ่งภายหลังเป็นคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูลสมัยใหม่) ผู้อยู่ในนิคมกรีกจากเมการาก่อตั้งนครแห่งนี้เมื่อ 657 ปีก่อน ค.ศ. มีการสร้างนครใหม่และเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมันในรัชกาลจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ใน ค.ศ. 330 และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นคอนสแตนติโนเปิล นครดังกล่าวเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่ง ค.ศ. 1453 เมื่อถูกพิชิตและกลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิออตโตมัน นับแต่สถาปนาประเทศตุรกีสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1923 ชื่อนครภาษาตุรกี อิสตันบูล ได้แทนที่ชื่อคอนสแตนติโนเปิลในทางตะวันตก", "title": "บิแซนเทียม" }, { "docid": "578891#4", "text": "เมืองหลวงคาดกันว่าเป็นเมืองสาคละ (sagala) เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในภาคเหนือของรัฐปัญจาบ (เชื่อกันว่า ปัจจุบันคือเมือง สิอาลกอต (Sialkot) ในปากีสถาน ต่อมาพระองค์เดินทางไปทั่งภาคเหนือของอินเดีย และเยี่ยมชมเมืองปัฏนะ เมืองหลวงของจักรวรรดิราชวงศ์เมารยะ แผนการบางอย่างในการพิชิตเมืองปัฏนะถูกเสนอพระเจ้ายูคราติทส์ (eucratides) ซึ่งเป็นกษัตริย์กรีก – อาณาจักรบักเตรีย เริ่มทำสงครามอินเดีย – กรีกในทางชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ พระองค์เป็นหนึ่งในไม่กี่คน ของกษัตริย์บักเตรียที่ถูกกล่าวถึงโดยนักเขียนชาวกรีก ในสมาคมนักประวัติศาสตร์แห่งเมืองอาร์เตมิต้า (apolodorus of artemita) ถูกกล่าวถึงโดยสตราโบ เขาอ้างว่า กษัตริย์ชาวกรีกจากแคว้นบักเตรียเป็นผู้พิชิตที่ยิ่งใหญ่กว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และบอกว่า พระเจ้าเมนันเดอร์ เป็นกษัตริย์บักเตรียหนึ่งในสองพระองค์ อีกพระองค์คือ พระเจ้าเดเมตริอุสพระองค์ขยายอำนาจเข้าไปในอินเดียไกลมากที่สุด \n—สตราโบ นักภูมิศาสตร์\nทั้งสตราโบยังได้บอกว่า พวกชาวกรีกพิชิตได้กระทั่งเมืองปาฏลีบุตร (ปัฏนะ) ในภาคเหนือของอินเดีย:", "title": "พระเจ้ามิลินท์" }, { "docid": "97375#1", "text": "เขาได้เรียนรู้ฝึกฝนการออกแบบและก่อสร้างจากพ่อของเขาที่ชื่อ โจวันนี และอา (หรือลุง) ของเขาชื่อ บาร์โตโลเมโอ ผู้ซึ่งเป็นสถาปนิกที่ประสบความสำเร็จในเมืองเวโรนา มีเกเลเองก็มีแนวทางการดำเนินวิชาชีพคล้ายกับจาโกโป ซานโซวีโน (Jacopo Sansovino) คือเป็นสถาปนิกที่รับเงินตอบแทนทำงานให้กับสาธารณรัฐเวนิสโดยตรง แต่สิ่งที่ต่างจากซานโซวีโนคือ งานของมีเกเลจะเป็นงานที่อยู่ในเขตชายแดนนอกเมืองหลวงของสาธารณรัฐ ผู้คนมักจะจดจำมีเกเลในฐานะสถาปนิกผู้ทำการออกแบบเพื่อกิจการการทางทหาร และถูกจ้างมาเพื่อทำการออกแบบเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของระบบป้อมปราการให้กับสาธารณรัฐในเมืองต่าง ๆ เช่น ครีต (Crete) กันดีอา (Candia) ดัลเมเชีย (Dalmatia) และคอร์ฟู (Corfù) เช่นเดียวกับปราการหลักที่ลีโด (Lido) ซึ่งเป็นแนวป้องกันเรือที่จะเข้ามาในทะเลสาบเวนิส (Venetian lagoon) จากการที่เขาได้ท่องเที่ยวไปในหลาย ๆ แห่งตามบันทึกแล้ว มีเกเล ซานมีเกลีอาจจะเป็นสถาปนิกชาวอิตาลีเพียงคนเดียวที่ได้เห็นสถาปัคยกรรมกรีกของแท้ ซึ่งอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้เขานำเสาดอริกของโรมัน มาไว้ในงานออกแบบของเขา ", "title": "มีเกเล ซานมีเกลี" }, { "docid": "6384#0", "text": "เอเธนส์ (English: Athens; Greek: Αθήνα [aˈθina] อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี[2] และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล[3] ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก[4][5]", "title": "เอเธนส์" }, { "docid": "36835#3", "text": "อเล็กซานเดอร์ประสูติเมื่อวันที่ 20 (หรือ 21) กรกฎาคม ปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล, ที่เมืองเพลลา เมืองหลวงของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา เป็นโอรสของพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 มารดาเป็นภริยาคนที่ 4 ของพีลิปโปสชื่อนางโอลิมเพียสแห่งเอพิรุสเป็นธิดาของ นีโอโทเลมุสที่ 1 แห่งเอพิรุส นครรัฐกรีกทางเหนือ แม้พีลิปโปสจะมีชายาถึง 7-8 คน แต่นางโอลิมเพียสก็ได้เป็นชายาเอกอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง", "title": "อเล็กซานเดอร์มหาราช" }, { "docid": "130015#22", "text": "ส่วนราชวงศ์โมริยะเองก็ถูกโค่นไปในพ.ศ. 358 โดยราชวงศ์สังกะ อำนาจของแคว้นมคธอ่อนแอลง พระเจ้าเดเมตริอุสที่ 1 แห่งแบคเทรีย เป็นพันธมิตรกับราชวงศ์โมริยะจึงนำทัพเข้าบุกอินเดีย ตั้งอาณาจักรกรีกขึ้นในแคว้นปัญจาบ ต่อมาพระเจ้าเมนันเดอร์ (พระเจ้ามิลินท์) สามารถยกทัพบุกปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธได้ อาณาจักรกรีก-อินเดียรุ่งเรืองภายใต้พระเจ้าเมนันเดอร์ ศิลปะแบบกรีผสมผสานกับพระพุทธศาสนากลายเป็นพระพุทธรูปองค์แรก", "title": "ประวัติศาสตร์อินเดีย" }, { "docid": "923835#0", "text": "เฮราคลีโอโพลิส แมกนา (กรีก: Μεγάλη Ἡρακλέους πόλις, Megálē Herakléous pólis) หรือ เฮราคลีโอโพลิส (Ἡρακλεόπολις, Herakleópolis) เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอียิปต์โบราณ ซึ่งชื่อเมืองนั้นเป็นภาษาโรมัน ตั้งอยู่ประมาณ 15 กิโลเมตร (9.3 ไมล์) ทางตะวันตกของเมืองเบนิ ซูเอฟของอียิปต์ในปัจจุบัน", "title": "เฮราคลีโอโพลิส" }, { "docid": "33612#2", "text": "ประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์แบ่งเป็นสองราชอาณาจักร คือ อียิปต์บน และอียิปต์ล่าง ทั้งสองอาณาจักรรวมกันสมัยพระเจ้านาเมอร์ (กรีกเรียกเมเนส) และสมัยพระเจ้าอหา มีเมืองหลวงชื่อเมมฟิส (กำแพงขาว)", "title": "อียิปต์โบราณยุคราชวงศ์" }, { "docid": "2721#10", "text": "ประมาณ 1200 ปีก่อนคริสตกาล ชายฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียถูกครอบครองโดยชาวกรีกไอโอเลียนและอีโอเนียน ชาวเปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอาเคเมนิดสามารถพิชิตพื้นที่ทั้งหมดได้ในศตวรรษที่ 6 ถึง 5 ก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นดินแดนแห่งนี้ก็ตกเป็นของอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปี 334 ก่อนคริสตกาล อานาโตเลียจึงถูกแบ่งออกเป็นดินแดนเฮลเลนิสติกขนาดเล็กหลายแห่ง (รวมทั้ง บิทูเนีย คัปปาโดเกีย แพร์กามอน และพอนตุส) ซึ่งดินแดนเหล่านี้ตกเป็นของจักรวรรดิโรมันในกลางศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เลือกเมืองไบแซนเทียมให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของจักรวรรดิโรมัน และตั้งชื่อให้ว่า \"โรมใหม่\" (ภายหลังกลายเป็น\"คอนสแตนติโนเปิล\" และ\"อิสตันบูล\") หลังจากที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกเสื่อมลง เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์", "title": "ประเทศตุรกี" }, { "docid": "137380#0", "text": "มินนีแอโพลิส () เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐมินนิโซตาในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเคาน์ตีเฮนเนพิน ระหว่างแม่น้ำมิสซิสซิปปี และแม่น้ำมินนิโซตา เมืองมินนีแอโพลิสมีประชากร 372,811 (สัมมโน 2548) และตั้งอยู่ติดกับเมืองเซนต์พอล เมืองหลวงของรัฐมินิโซตา ซึ่งทั้งคู่มักจะถูกเรียกว่า \"ทวินซิตี\" (Twin Cities) หรือเมืองแฝด ชื่อเมือง มินนีแอโพลิส มาจากคำผสมของคำว่า Mni คำในภาษาดาโคตาที่หมายถึง \"น้ำ\" และคำว่า polis ในภาษากรีกที่หมายถึง \"เมือง\" ", "title": "มินนีแอโพลิส" }, { "docid": "944672#0", "text": "เพลลา () เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ทางตอนกลางของมาเซโดเนีย ประเทศกรีซ รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ในสมัยกรีซโบราณ และเป็นสถานที่ประสูติของทั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 พระราชบิดาของพระองค์ ชื่อ \"เพลลา\" ในภาษากรีกโบราณ หมายถึง \"ก้อนหิน\" ", "title": "เพลลา" }, { "docid": "151138#0", "text": "ลิเดีย ( ; อัสซีเรีย: \"Luddu\" ; กรีก: \"Λυδία\") เป็นอาณาจักรโบราณ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอานาโตเลีย (หรือ เอเชียไมเนอร์) มีเมืองหลวงชื่อ ซาร์ดิส ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดอิชมีร์และจังหวัดมานิสา ในประเทศตุรกีในปัจจุบัน", "title": "ลิเดีย" } ]
3992
วัดหนองหอยก่อสร้างเมื่อใด?
[ { "docid": "657138#1", "text": "วัดหนองหอยเป็นวัดเก่า สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๖ เดิมชื่อ วัดน้อยตั้งอยู่ที่บ้านห้วย หมู่ที่ ๔ ตำบลเขาแร้ง อยู่ใกล้กับวัดโสดาประดิษฐาราม สมัยนั้นหลวงปู่งาม เป็นเจ้าอาวาส ท่านเห็นว่าอยู่ใกล้กับวัดโสดาประดิษฐารามมาก และมีโยมผู้ศรัทธาได้ถวายที่ดินบริเวณ หมู่บ้านหนองหอยซึ่งที่ราบเชิงเขาให้ ท่านจึงได้เริ่มสร้างวัดขึ้นที่หมู่บ้านหนองหอย เนื่องจากวัดตั้งอยู่ที่หมู่บ้านหนองหอย ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่า “วัดหนองหอย” วัดหนองหอยมีเจ้าอาวาสปกครองดูแลต่อกันมาหลายรูป รูปปัจจุบันคือ พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ (ดาวเรือง อาจารคุโณ) วัดหนองหอยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๑๖ และได้ทำการปิดทองฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๗", "title": "วัดหนองหอย" } ]
[ { "docid": "657138#33", "text": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศม์ พระวรชายาฯ ได้รับการถวายอาคารโครงการบ้านพักคนชราวัดหนองหอย และพื้นที่โดยรอบประมาณ ๒๐ ไร่ จากเจ้าอาวาส พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ (ดาวเรืองอาจารคุโณ) วัดหนองหอย ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ให้ใช้ประโยชน์ตามพระอัธยาศัย และทรงมีพระวินิจฉัยให้จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวภาคกลาง เพื่อเป็นศูนย์ต้นแบบในการดำเนินโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ ในเขตจังหวัดภาคกลาง โดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการ", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "950107#4", "text": "ในช่วงนี้จะเกิดความสับสนว่า ชาวภูไทกะป๋อง ซึ่งอาศัยอยู่บ้านหนองหอย ในเขตเมืองสกลนคร แทนที่จะจัดตั้งเมืองที่บ้านหนองหอย แต่เหตุใดจึงจัดตั้งเมืองวาริชภูมิขึ้นที่บ้านป่าเป้า ซึ่งอยู่ในเขตเมืองหนองหาน เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการจัดตั้งเมืองที่บ้านหนองหอย ถูกคัดค้านจาก พระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนคร ซึ่งข้อขัดแย้งนี้เกิดขึ้นเป็นเวลานานมาแล้ว ตั้งแต่สมัย ท้าวราชนิกูล และได้พยายามร้องขอกับ พระยาประจันตประเทศธานี หลายครั้งแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ พระพิทักษ์เขตขันธ์ เจ้าเมืองหนองหาน จึงยกพื้นที่บ้านป่าเป้า ในเขตเมืองหนองหาน ให้กับพระสุรินทรบริรักษ์ เพื่อจัดตั้งเมืองวาริชภูมิ และได้เกลี้ยกล่อมให้ พระสุรินทรบริรักษ์ ไปอพยพชาวภูไทกะป๋อง ที่อาศัยอยู่บ้านหนองหอย มาอยู่ที่บ้านป่าเป้าแทน แต่ไม่เป็นผล เนื่องจากชาวภูไทกะป๋อง เป็นคนรักฐิ่นฐาน จึงไม่ยอมย้ายบ้านเมืองไปอยู่ที่อื่น ทำให้เมืองวาริชภูมิ ต้องย้ายมาตั้งที่บ้านหนองหอยดังเดิม จึงเกิดข้อพิพาทเขตแดนระหว่างเมืองหนองหาน และเมืองสกลนคร อย่างไม่จบสิ้น", "title": "พระสุรินทรบริรักษ์" }, { "docid": "657138#42", "text": "ซึ่งผู้ที่มาสักการบูชา ต่างก็มีความเชื่อความศรัทธา ต่อองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ว่า หากได้มา กราบไหว้สักการบูชาแล้ว จะพบแต่ความสุขความเจริญ หากขอพรสิ่งใด ก็มักได้สมดังตั้งใจ หากท่านใด มีความทุกข์ หรือข้อกังขา ก็จะมาทำบุญไหว้พระ และเสี่ยงเซียมซีถามความ ซึ่งผลที่ได้ออกมา ก็มักจะตรงตามที่ตนตั้งข้อคำถามต่อองค์ท่าน แต่ก็มีในบางรายที่มาเพื่อขอโชคลาภ ซึ่งก็ได้สมดังตั้งใจเช่นกัน", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "6830#34", "text": "วัดพันเลา อยู่ในท้องที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดร้างขื่อดั้งเดิมที่ชุมชนเรียกสืบทอดต่อกันมา คาดว่ามาจากชื่อวัดที่มีคำนำหน้าว่า “พัน” นำหน้านั้น น่าจะหมายถึง ยศทางทหาร หรือขุนนาง ที่เดิมวัดนี้อาจเป็นวัดอุปถัมภ์ของนายทหารหรือขุนนางชื่อ “เลา” ตั้งอยู่ริมถนนท่าวังตาลซึ่งอยู่นอกเวียงกุมกามทางด้านทิศเหนือ สภาพโบราณสถานมีการก่ออิฐกระจายหลายแห่ง พบชิ้นส่วนของพระพุทธรูป และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอะไร และยังคงคาดว่ามีอีกหลายวัดที่จมอยู่ใต้พื้นดิน และบ้านเรือนของชาวบ้านที่กำลังรอการบูรณะขึ้นมา", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "423807#1", "text": "แต่เดิมในพื้นที่ตำบลหนองหอย ในหมู่บ้านเสาหินมีหนองน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ มีทั้งนกและหอยในหนองน้ำแห่งนี้มากมาย โดยเฉพาะหอยซึ่งมีมาก จนชาวบ้านเรียกกันว่า \"หนองหอย\" จึงเป็นชื่อของตำบลหนองหอยในปัจจุบัน", "title": "ตำบลหนองหอย (อำเภอเมืองเชียงใหม่)" }, { "docid": "96473#1", "text": "วัดหนองปล้อง เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เนินเขาเตี้ย ๆ ห่างจากหนองน้ำประจำหมู่บ้านประมาณ 300 เมตร หนองน้ำนั้นชาวบ้านได้เรียกชื่อว่า “หนองปล้อง” เพราะว่ามีหญ้าปล้องขึ้นเต็มหนองน้ำนั้น ต่อมามีผู้คนมาอยู่อาศัย ทำมาหากิน และอยู่กันเป็นปึกแผ่น ได้รวมตัวกันตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมา และเอาชื่อหนองน้ำนั้นเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองปล้อง” จนถึงทุกวันนี้ และชาวบ้านมี ความเห็นรวมกันว่าควรมีที่สะดวกในการบำเพ็ญกุศลใกล้ ๆ หมู่บ้าน จึงจัดการก่อสร้างที่พักสงฆ์ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2523 บนเนินเขาเตี้ยใกล้หมู่บ้าน และได้นิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษาฉลองศรัทธาชาวบ้าน โดยเรียกชื่อที่พักสงฆ์นี้ว่าที่พักสงฆ์พุทธสุวรรณหงษ์บรรพต หลังจากนั้นมาก็มีพระสงฆ์จำพรรษา ตลอดมามิได้ขาดทุกปี ภายหลังชาวบ้านมีความเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรตั้งชื่อที่พักสงฆ์เสียใหม่ว่า ที่พักสงฆ์หนองปล้อง ให้สอดคล้องกับหมู่บ้าน ต่อมานายสมคิด แย้มนุช (ผู้ใหญ่บ้าน) และ แม่ชีกิมลี้ อักษรนิติ (ผู้อุปถัมภ์วัด) พร้อมด้วยชาวบ้านได้พิจารณาว่า ที่พักสงฆ์หนองปล้องนั้นยังไม่เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงให้ นายสมคิด แย้มนุช ทำเรื่องขออนุญาตสร้างวัด และได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 แล้วได้ไปนิมนต์พระสมศักดิ์ สิรินฺธโร จากจากวัดป่าคา ตำบลประดู่ยืน อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี มาจำพรรษาพร้อมทั้งปกครองวัดนี้ (นิมนต์มาเมื่อปี พ.ศ. 2530) และได้ก่อสร้างเสนาสนะเรื่อยมา หลังจากได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ต่อมาได้ดำเนินการขอตั้งวัดในพระพุทธศาสนา ซึ่งได้รับประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีนามว่า “วัดหนองปล้อง” เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2541", "title": "วัดหนองปล้อง" }, { "docid": "657138#8", "text": "ในปัจจุบันนี้วัดหนองหอยเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไป ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เนื่องจากที่วัดหนองหอยแห่งนี้ มีรูปเหมือนองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมประดิษฐานอยู่ ณ ยอดเขาหนองหอย ซึ่งจะเรียกกันว่า “เขาพระโพธิสัตว์กวนอิม วัดหนองหอย” เป็นที่ล่ำลือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ไม่ว่าจะขออะไรก็จะได้ดังใจ จะมีผู้คนมาสักการบูชากันมิขาด โดยเฉพาะ ในวันเทศกาลหรือวันหยุด หากท่านได้มาสักการะองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ณ เขาพระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านอาจจะเกิดความสงสัยว่าเป็นวัดไทยหรือวัดจีน เพราะมีองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม และรูปแบบการสร้าง เครื่องสักการบูชาที่เห็นอยู่ ตลอดจนรูปเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์องค์อื่นๆ ซึ่งจะพบเห็นได้ในวัดจีน หรือโรงเจต่างๆ แต่ที่เขาพระโพธิสัตว์กวนอิมวัดหนองหอยนี้ เป็นวัดไทยและเป็นส่วนหนึ่งของวัดหนองหอย ซึ่งสร้างขึ้นโดย พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ (ดาวเรือง อาจารคุโณ) เจ้าอาวาสวัดหนองหอยรูปปัจจุบัน ท่านได้เริ่มก่อสร้างมาประมาณ ๓๐ ปีเศษแล้ว จากที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างใด ๆ บนเขานี้เลย", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "296624#3", "text": "ต่อมาพวกชาวบ้านวังตาคลองกลุ่มนี้ได้พากันมาพบเห็นป่าดงโนนมะกอก มีบริเวณเป็นพื้นที่ราบกว้างขวางมาก และบางแห่งนั้นก็มีเนินดินกองเป็นโนนสูง และฤดูฝนน้ำก็ไม่ท่วมอีกด้วย เป็นการเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี บริเวณพื้นที่รอบด้านนอกของป่าโนนมะกอกโดยทั่วไปนั้น มีพื้นที่กว้างขวางมากเป็นการเหมาะสมในการทำมาหากินทำนาทำไร่ได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยมีทั้งแหล่งน้ำต่างๆ มีทั้งห้วยหนองลำคลองน้อยใหญ่มีอยู่ทั่วไป กับทั้งปูปลาผักหญ้าก็หากินง่าย และพวกเขายังได้มาพบเห็นเศษก้อนหินเล็กๆ น้อยๆ หรือกากก้อนหินคล้ายๆ กับถูกเผาไฟมาแล้ว กองกระจัดกระจายเป็นกองสูงอยู่ทั่วไปอยู่ที่บนโนนมะกอก จึงได้พากันสันนิษฐานว่าป่าดงมะกอกแห่งนี้คงเคยได้เป็นเตาหลอมเหล็กของบ้านคนเราในสมัยโบราณเป็นเวลานานมาแล้วประมาณหลายร้อยปี หรือเป็นพันปีที่ได้ผ่านมาแล้ว ชาวบ้านวังตาลองก็ได้ย้ายบ้านเรือนของตนออกมาจากหมู่บ้านวังตาคลอง แล้วได้มาทำการสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่อยู่ทางทิศตะวันออกของป่าโนนมะกอกเป็นครั้งแรกของหมู่บ้านถลุงเหล็ก แล้วพวกเขาก็พากันตั้งชื่อบ้านว่า คุ้มบ้านโนนมะกอก ส่วนว่าบ้านวังตาคลองเมื่อคนพากันอพยพบ้านเรือนออกหนีไปหมดแล้ว พวกชาวบ้านโดยทั่วไปพากันเรียกท่าน้ำแห่งนี้ว่า วังบ้านเก่าวังตาคลอง ต่อมา\nการตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นในหมู่บ้านถลุงเหล็กครั้งแรกนั้น โดยการนำพาของบุคคลหลายเชื้อสาย อาทิเช่น คนเชื้อสายพ่อเฒ่าจีน แม่เฒ่ากองศรี ต้นนามสกุล “จินดา” คนเชื้อสายพ่อเฒ่าสี แม่เฒ่าหน่อย ต้นนามสกุล “นำใน” คนเชื้อสายพ่อเฒ่าอินทร์ แม่เฒ่าดี ต้นนามสกุล “พรมรักษา” คนเชื้อสายของพ่อเฒ่าคง แม่เฒ่ามิ ต้นสกุล “คงชาวนา” คนเชื้อสายพ่อเฒ่าอ่อน แม่เฒ่ามี ต้นสกุล “พิมพ์ทองงาม” คนเชื้อสายพ่อเฒ่าทอง แม่เฒ่าจันดา ต้นสกุล “แสงก่ำ” คนเชื้อสายพ่อเฒ่าสุข แม่เฒ่ากันหา ต้นสกุล “สุขสบาย” และเชื้อสายของบุคคลอื่นๆ อีกเป็นต้น ข้าพเจ้าคนเขียนไม่สามารถจะจดจำเรื่องราวของคนเฒ่าคนแก่เล่าเรื่องให้ฟังจนหมดได้ ในสมัยของคนเราได้พากันมาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นอยู่ในหมู่บ้านถลุงเหล็กในครั้งแรกนั้น คนไทยเรายังไม่มีการใช้นามสกุล ในสมัยนั้นทางราชการบ้านเมืองได้เอาชื่อพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของเราเป็นการแทนนามสกุลมาเป็นเวลานาน ต่อมาจนถึงในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ท่านได้ตราพระราชบัญญัติขึ้นให้คนไทยเรามีการใช้นามสกุลเป็นครั้งแรก ประมาณวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 จึงได้มีนามสกุลของคนเชื้อสายดังกล่าวมาแล้วข้างต้น\nหลังจากพวกชาวบ้านวังตาคลองมาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นที่คุ้มบ้านโนนมะกอกเป็นครั้งแรกแล้ว และต่อมาก็ได้มีคนทั่วไปได้พากันอพยพครอบครัวของพวกเขาเข้ามาอยู่รวมกับคุ้มบ้านเนินมะกอกเรื่อยๆ เป็นต้นว่ามาจากบ้านดงแกเครือ , บ้านพุคา , บ้านกุดขี่ , บ้านท่าแค , บ้านดงสวอง-หนองแขม , บ้านครัว (สระบุรี) , บ้านคลองมะขามเทศ (ท่าวุ้ง) , บ้านเช่า (บ้านหมี่) , หล่มสัก (เพชรบูรณ์) , ภาคอีสาน และคนมาจากเมืองจันทน์ เป็นต้น ได้พากันทยอยเข้ามาเรื่อยๆ แล้วได้มาสร้างบ้านเรือนรวมกันเป็นกลุ่มๆ อยู่ในบริเวณพื้นที่ของป่าโนนมะกอก แล้วจึงพากันตั้งชื่อบ้านของพวกตนว่า คุ้มบ้านโนนมะกอก , คุ้มบ้านหนองป่าชี ฐ คุ้มบ้านต้นมะขามใหญ่ , คุ้มบ้านโนนวัดร้าง เป็นต้น รวมแล้วมี 4 คุ้มบ้านด้วยกัน\nแต่ว่าในขณะนั้นคุ้มบ้านดังกล่าวยังไม่มีวัดจะให้พระสงฆ์และสามเณรอยู่เพื่อประกอบการทางศาสนาแต่อย่างใด แต่มาพวกชาวบ้านคุ้มต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว ได้ร่วมกันปรึกษาหารือกัน คิดจุสร้างวัดไว้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่อไป\nจึงได้พากันไปหาเพื่อเป็นการปรึกษาหารือกับท่านพระสงงฆ์ที่ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยนั้น มาช่วยพิจารณาเลือกสถานที่ที่จะทำการก่อสร้างวัดต่อไป กับท่านพระสงฆ์องค์หนึ่งท่านมีฉายานามว่า “พระจันทะบาล” บางคนเรียกว่าพระพุทธบาล ท่านเป็นคนที่มีเชื้อสายอยู่ในกลุ่มบุคคลที่ได้มาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นในหมู่บ้านถลุงเหล็กเป็นครั้งแรก แต่ในขณะนั้นท่านอยู่วัดในอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี แต่จะเป็นวัดอะไรนั้นไม่ทราบ มีแต่คนรุ่นเก่าได้เล่าต่อๆ กันมา ว่าท่านพระจันทะบาลองค์นี้ท่านเป็นพี่ชายของหลวงพ่อแป้น และหลวงพ่อแป้นองค์นี้ในขณะนั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดหนองบัว และวัดคลองเกตุ อำเภอโคกสำโรงในขณะนั้น\nท่านพระจันทะบาลก็ได้มาช่วยเลือกหาดูสถานที่ที่จะทำการก่อสร้างวัดได้เป็นครั้งแรกนั้น คือบริเวณพื้นที่วัดศิริมงคล วัดถลุงเหล็กใหญ่ของพวกเราอยู่ในขณะนี้ เพราะว่าในขณะนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นป่าดงโพรงหญ้าและป่าไม้น้อยใหญ่มีอยู่ทั่วไป ประกอบด้วยตามบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีสันดินเป็นเนินสูง และมีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกของสถานที่นั้นด้วย พวกชาวบ้านเรียกว่าหนองสำโรงใหญ่ เพราะมีต้นสำโรงใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหนองน้ำนั้น และเป็นหนองน้ำสำหรับที่กักเก็บน้ำไว้กินไว้ใช้ของชาวบ้าน คุ้มบ้านโนนมะกอก , คุ้มบ้านหนองป่าขี่ , คุ้มบ้านต้นมะขามใหญ่ , คุ้มบ้านโนนวัดร้าง อยู่ก่อนแล้ว คุ้มบ้านดังกล่าวได้ช่วยทำการก่อสร้างวันขึ้นเป็นครั้งแรกในสถานที่ดังกล่าวแล้ว เพื่อจะให้พระสงฆ์และสามเณรอยู่ในวัด ได้ช่วยกันดูแลรักษาหนองน้ำไว้ ไม่ให้วัวควายลงมากินน้ำนอนในน้ำเหมือนแต่ก่อนที่ผ่านมา\nเมื่อพวกชาวบ้านในหมู่บ้านดังกล่าวได้ช่วยกันทำการสร้างวัดขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่วัดนั้นยังไม่มีพระอุโบสถหรือโบสถ์ของวัดไว้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของพระสงฆ์และพวกชาวบ้านในขณะนั้น พวกชาวบ้านพร้อมด้วยพระสงฆ์ได้พากันไปทำการสร้างศาลาหลังเล็กๆ ไว้ในหนองน้ำอยู่ติดกับลำคลองห้วยน้อยหรือคลองโพนทองอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด ไกลจากวัดประมาณ 100 เมตร เป็นครั้งแรกแล้วเรียกว่า “ฉิม” ไว้แทนพระอุโบสถ เพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนาของพระสงฆ์ในขณะนั้น ต่อมาพวกชาวบ้านทั่วไปเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่าท่าฉิมต่อมาถึงทุกวันนี้ ต่อมาพวกชาวบ้าน คุ้มบ้านโนนมะกอก , คุ้มบ้านหนองป่าขี่ , คุ้มบ้านต้นมะขามใหญ่ , คุ้มบ้านโนนวัดร้าง ได้ช่วยกันทำการขุดสระน้ำที่หนองน้ำต้นสำโรงใหญ่เป็นครั้งแรกแล้วเรียกว่าสระน้ำต้นสำโรงใหญ่ เพราะมีต้นสำโรงใหญ่อยู่ริมสระน้ำ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2479 ต้นสำโรงใหญ่ดังกล่าวถูกลมพายุพัดอย่างแรงมาก ได้หักโค่นล้มลงทับศาลาการเปรียญเสียหายไปด้วย สระน้ำดังกล่าวนี้อยู่ที่วัดศิริมงคล (วัดถลุงเหล็กใหญ่) ในขณะนี้ \nหลังจากนั้นต่อมาได้มีพ่อเฒ่าสุก แม่เฒ่ากันหา ต้นสกุลสุขสบาย , พ่อเฒ่าเท่อ แม่เฒ่าซารี่ ต้นสกุล , พ่อเฒ่าทอง แม่เฒ่าจันดา ต้นสกุลแสงก่ำ พร้อมด้วยครอบครัวของคนอื่นๆ อีกหลายครอบครัวในสมัยนั้นได้พากันย้ายบ้านเรือนของตนออกมาจากคุ้มบ้านโนนมะกอก , คุ้มบ้านหนองป่าขี่ , คุ้มบ้านต้นมะขามใหญ่ , คุ้มบ้านโนนวัดร้าง และมาจากบ้านอื่นๆ อีก มาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดที่ทำการสร้างขึ้นครั้งแรกนั้น คือวันศิริมงคล วัดถลุงเหล็กใหญ่อยู่ในขณะนี้ แล้วตั้งชื่อบ้านว่าบ้านใหม่ บางคนก็เรียกว่าบ้านใต้วัดต่อมาจนถึงทุกวันนี้\nต่อมาพวกชาวบ้านทั่วไปหากันเรียกคุ้มบ้านโนนมะกอก , คุ้มบ้านหนองป่าขี่ , คุ้มบ้านต้นมะขามใหญ่ , คุ้มบ้านโนนวัดร้าง รวมเข้ากันเรียกว่าหมู่บ้านเก่า ตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันนี้\nต่อมาพวกชาวบ้านเก่ากับพวกชาวบ้านใหม่ ได้ร่วมกันทำการก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นในวัด 1 หลัง ขณะนี้อยู่ที่วัดศิริมงคล (วัดถลุงเหล็กใหญ่) ไว้เพื่อประกอบทำพิธีทางศาสนาของพระสงฆ์และพวกชาวบ้านต่อมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ได้ผ่านมา การก่อสร้างพระอุโบสถของวัดในครั้งแรกนั้นจะเป็นวัน เดือน ปีพ.ศ.อะไรนั้นไม่ทราบได้ เพราะไม่เห็นหลักฐานในการสร้างพระอุโบสถดังกล่าวนั้น\nต่อมาได้มีคนหลายกลุ่มได้พากันย้ายครอบครัวของตนมาจากหมู่บ้านต่างๆ มาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นใหม่อยู่ในระหว่างกึ่งกลางของหมู่บ้านเก่ากับหมู่บ้านใหม่ติดต่อกัน แล้วเรียกชื่อบ้านว่าบ้านกลางต่อมาเท่าทุกวันนี้ ในขณะนั้นได้มีบ้านเรือนของคนที่อยู่ในบ้านกลางในสมัยคนเขียนยังเป็นเด็กและได้รู้ได้เห็นพอจำความได้ คือมีบ้านเรือนพ่อเฒ่ากำนันเสน บ้านเรือนพ่อเฒ่าผู้ใหญ่นก บ้านเรือนพ่อเฒ่าดี บ้านเรือนพ่อเฒ่าสีทา บ้านเรือนพ่อเฒ่าเสา บ้านเรือนพ่อเฒ่าสอน บ้านเรือนพ่อเฒ่าสี บ้านเรือนพ่อเฒ่าทอง บ้านเรือนพ่อเฒ่าสีดา บ้านเรือนพ่อเฒ่าแสง บ้านเรือนพ่อเฒ่าหรั่ง บ้านเรือนพ่อเฒ่าเมฆ บ้านเรือนพ่อเฒ่าทมมา บ้านเรือนแม่เฒ่าพุก และบ้านเรือนของคนอื่นๆ อีก รวมแล้วมีประมาณ 17-18 หลังคาเรือน ในขณะนั้นเป็นเวลานานมากกว่า 70 ปี ที่ได้ผ่านมา ขณะนี้ พ.ศ. 2536\nต่อมาพ่อเฒ่ากำนันวันทา แม่เฒ่าชา อยู่ในหมู่บ้านใหม่หรือบ้านใต้วัดในขณะนั้น ได้นำพาญาติพี่น้องและลูกหลานและชาวบ้านหลายคนได้ร่วมช่วยกันทำการก่อสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในพื้นที่นาของพ่อเฒ่ากำนันวันทา แม่เฒ่าชา อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านเก่าเป็นครั้งแรก ต่อมาเป็นเวลาหลายสิบปีได้ผ่านมา ก็ได้เปลี่ยนชื่อวัดอีกว่าวัดราชวันทนาราม วัดถลุงเหล็กน้อยจนเท่าถึงทุกวันนี้ การสร้างวัดดังกล่าวนี้จะเป็นวัน เดือน ปี พ.ศ.อะไรนั้นจำไม่ได้ ต่อมาพวกชาวบ้านโดยทั่วไปพากันเรียกว่าหมู่บ้านเก่า วัดใหม่ หมู่บ้านใหม่วัดเก่า ต่อมาจนถึงทุกวันนี้\nเจ้าอาวาสของวัดราชวันทนาราม หรือวัดถลุงเหล็กน้อยเท่าที่จำได้คือ พระอาจารย์ชาเนี้ยว พระอาจารย์ออน พระอาจารย์ชาทุย พระอาจารย์ชารุณ พระอาจารย์บู้ พระอาจารย์สุมิตรหรือพระครูปัญญาคุณวัตร เป็นต้น วัดราชวันทนารามหรือวัดถลุงเหล็กน้อย อยู่ในหมู่ที่ 6 บ้านถลุงเหล็ก ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ขณะนี้ พ.ศ. 2536\nต่อมาได้มีคนหลายกลุ่มมาจากหมู่บ้านต่างๆ พากันมาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นใหม่อีกอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสระน้ำของวัดศิริมงคล หรือวัดถลุงเหล็กใหญ่ในขณะนี้แล้วเรียกว่าบ้านหัวสระต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ก็เป็นเวลานานกว่า 70 ปีที่ได้ผ่านมา ตามที่ข้าพเจ้าคนเขียนได้รู้ได้เห็นพอจะได้ มีบ้านเรือนพ่อเฒ่าผู้ใหญ่เคี้ยว บ้านเรือนพ่อเฒ่าวงษ์ บ้านเรือนพ่อเฒ่าบัว บ้านเรือนพ่อเฒ่าม้าน บ้านเรือนพ่อเฒ่าพลู บ้านเรือนแม่เฒ่าหมอน บ้านเรือนแม่เฒ่าด้วง และมีบ้านเรืองของคนอื่นๆ อีก รวมแล้วมีประมาณ 18-19 หลังคาเรือน ในขณะนั้นคนเขียนยังเป็นเด็ก จำนามสกุลของบุคคลดังกล่าวไม่ค่อยได้ จึงไม่เขียนนามสกุลของท่านไว้ในที่นี้\nต่อแม่พ่อเฒ่าสร้อย แม่เฒ่าถิน สุขสบาย ได้ย้ายบ้านเรือนของตนออกมาจากคุ้มบ้านโนนมะกอก อยู่ในหมู่บ้านเก่าในขณะนี้ มาปลูกสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่ในครั้งแรกที่ทุ่งนาของตน อยู่ใกล้กับหนองน้ำใหญ่ที่มีผักแว่นมากขณะนั้น อยู่ในระหว่างกึ่งกลางของวัดถลุงเหล็กใหญ่กับวัดถลุงเหล็กน้อยติดต่อกัน เป็นเวลา เป็นเวลานานผ่านมาแล้วได้ตั้งชื่อบ้านว่าบ้านหนองผักแว่นมาจนถึงทุกวันนี้\nต่อมาพ่อเฒ่าจุ่น แม่เฒ่านารี ทองอร่าม ก็ได้ย้ายบ้านเรือนของตนออกไปจากหมู่บ้านใหม่หรือใต้วัด ไปสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่อยู่บริเวณของต้นมะขามใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านหัวสระเป็นครั้งแรก แล้วเรียกว่าบ้านโนนมะขามเฒ่า เป็นเวลาหลายสิบปีที่ได้ผ่านมา\nการตั้งหมู่บ้านสร้างเรือนของหมู่บ้านดังกล่าวได้มาแล้ว แต่ละหมู่บ้านนั้นจะเป็นวัน เดือน ปี พ.ศ.อะไรนั้นไม่ทราบได้ เพราะว่าไม่มีผู้ใดทำหลักฐานไว้\nนับแต่หมู่บ้านเก่า หมู่บ้านใหม่หรือใต้วัด หมู่บ้านกลาง หมู่บ้านหัวสระ หมู่บ้านหนองผักแว่น และบ้านโนนมะขามเฒ่า หมู่บ้านดังกล่าวนี้ได้รวมเข้าเป็นหมู่บ้านเดียวกันแล้วเรียกว่าบ้านถลุงเหล็ก ให้สอดคล้องต้องกันกับคนในสมัยโบราณมาก่อนอยู่ที่โนนมะกอกนั้นเป็นหลักฐาน และหมู่บ้านดังกล่าวทั้งหมดนี้ก็ได้รวมกันอยู่ในบริเวณเดียวกันที่ป่าดงโนนมะกอกดังกล่าว จึงเรียกชื่อบ้านรวมกันว่าบ้านถลุงเหล็กมาจนถึงทุกวันนี้", "title": "ตำบลถลุงเหล็ก" }, { "docid": "657138#2", "text": "ตามประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดหนองหอย ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้น ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "657138#11", "text": "พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ ท่านได้กำหนดวางศิลาฤกษ์ วิหารพระโพธิสัตว์กวนอิม ในวันจันทร์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เวลา ๑๓.๑๕ น. ได้ทำการยกเสาเอกวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. และได้ทำการก่อสร้างสืบมา โดยการลงกำลังแรงด้วยตนเองบ้าง ถ้ามีเงินจ้างคนอื่นบ้าง ก่อสร้างเรื่อยมาจนกระทั่งในวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. อันเป็นวันคล้ายวันประสูติ ของพระโพธิสัตว์กวนอิม (ตามปฏิทินจีน ปี ๒๕๒๕) พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ ได้ทำการเททอง หล่อองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมขึ้น ณ เขาพระโพธิสัตว์กวนอิมนี้ เป็นพระโพธิสัตว์กวมอิมหล่อด้วยโลหะทองเหลือง ปางยื่นมือประทานพร พระหัตถ์ซ้ายทรงแจกันมณีอันบรรจุน้ำค้างทิพย์แห่งความกรุณา ในหัตถ์ขวาทรงกิ่งสน มีความสูงประมาณ ๓.๕๙ เมตร มีน้ำหนักประมาณ ๒ ตัน ยืนประทับฐานดอกบัว และได้อัญเชิญประดิษฐานในวิหาร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "119539#1", "text": "วัดหนองคันธมาศ ได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 เนื่องจากประชาชนในหมู่บ้านหนองคัน หมู่ที่ 5 ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งมีจำนวนมากต้องเดินทางไปทำบุญกันที่วัดกลางบ้าง วัดคุ้งวารีบ้างซึ่งระยะทางก็ไกลมาก โดยเฉพาะฤดูฝนการไปตักบาตรทำบุญในระยะนั้นจะลำบากมาก เพราะถนนหนทางยังไม่เจริญ จึงได้ชักชวนผู้ที่มีจิตศรัทธาในหมู่บ้านและทั่วไป มาร่วมกันก่อสร้างวัดขึ้น โดยอาศัยทุนทรัพย์ของผู้มีจิตศรัทธาทั้งในหมู่บ้านและทั่วไปร่วมกันก่อสร้างขึ้นพื้นที่ตั้งของวัดมีลักษณะด้านทิศตะวันออกติดถนนทางรถไฟ ทิศเหนือติดถนนสาธารณะ ทิศใต้ติดหมู่บ้าน ทิศตะวันตกติดทุ่งนาได้รับพระบรมราชานุญาต ให้สร้างวัดตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี พ.ศ. 2430", "title": "วัดหนองคันธมาศ" }, { "docid": "657138#50", "text": "หมวดหมู่:วัดในจังหวัดราชบุรี", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "657138#34", "text": "ปัจจุบันสภาพวัดดีขึ้นมาก การเดินทางสัญจรไปมาสะดวกสบาย วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ หากพุทธศาสนิกชนท่านใดมีเวลาว่าง จึงขอเชิญไปเที่ยวชมวัดที่มีบรรยากาศสบาย ๆ สนใจสอบถามเส้นทางไปวัด โทร. ๐๓๒-๓๙๖-๐๔๔-๔๕ แฟกซ์ ๐๓๒- ๓๙๖ ๐๔๔ รับรองว่า “สุขใจและอิ่มบุญ” แน่นอน", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "423807#2", "text": "ตำบลหนองหอยเปลี่ยนแปลงฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหอย เป็นเทศบาลตำบลหนองหอยเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2550", "title": "ตำบลหนองหอย (อำเภอเมืองเชียงใหม่)" }, { "docid": "532638#1", "text": "จากอดีตสู่ปัจจุบันเมื่อปี 2524 กระทรวงมหาดไทย ได้ตรากฤษฎีกาขยายเทศบาลเมืองอุบลราชธานีจากเดิม 6 กิโลเมตร ขณะนั้นมีโรงเรียนในสังกัด 1 โรงเรียนเท่านั้น(โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล) ทำให้การบริการด้านการศึกษาไม่เพียงพอ สภาเทศบาลและคณะเทศมนตรีในสมัยนั้นโดย นายประจวบ ศรีธัญรัตน์ นายกเทศมนตรี ได้ให้มอบหมายให้นายสวาสดิ์ แก้ววรรณา หัวหน้ากองการศึกษา นายไพโรจน์ ใจภักดี ศึกษานิเทศก์ ในสมัยนั้นประสานงานไปยังกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พร้อมกับออกสำรวจการจัดตั้งโรงเรียนแห่งใหม่เพิ่มขึ้นอีก ครั้งแรกได้ขออนุญาตใช้ที่ดินเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ อยู่ในซอยตรงข้ามด้านทิศตะวันตก วัดศรีทอง ถนนอุบล-ตระการในปี พ.ศ. 2525 ชาวคุ้มวัดพระธาตุหนองบัวโดยการนำของ คุณพ่อธงชัย กุลราช ข้าราชการบำนาญ และ พันตำรวจเอกมั่น กุลราช อดีตผู้กำกับการตำรวจตะเวนชายแดนที่22 พร้อมด้วยชามคุ้มประมาณ 400 ครอบครัว ได้ร่วมกันลงชื่อร้องขอเทศบาล ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณชุมชนวัดพระธาตุหนองบัว ซึ่งเป็นชุมชนใหม่ และประชาชนกำลังมาอยู่เริ่มหนาแน่น คณะเทศมนตรีจึงได้เสนอต่อสภาเทศบาลเพื่อพิจารณาต่อไป\nในปี พ.ศ. 2528 เทศบาลเมืองอุบลราชธานี ได้รับอนุมัติจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยให้จัดตั้งโรงเรียนเทศบาลแห่งที่ 2 ขึ้นโดยได้รับการประกาศจัดตั้งที่บริเวณสาธารณประโยชน์คุ้มวัดศรีทองในเนื้อที่ 30 ไร่ ในซอยถนนอุบล-ตระการ แต่การสำรวจอีกครั้งพบว่าที่ดินในบริเวณดังกล่าวเป็นบ่อลึกต้องถมดินปรับระดับ เทศบาลต้องจ่ายเงินค่าถมพื้นที่เป็นล้านบาท นอกจากนี้การสำรวจนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนแห่งใหม่เพียง 100 คนเศษ จำนวนนี้บางส่วนได้เข้าเรียนโรงเรียนประถมที่อื่นแล้ว และยังเป็นชุมชนที่ไม่หนาแน่น จากนั้นเทศบาลก็ได้ออกสำรวจเนื้อที่แห่งใหม่ ก็ได้มาพบที่ดินสารธารณประโยชน์อยู่ในซอยวัดบ้านนาควายติดกับสนามบินกองบิน 21 เนื้อที่ประมาณ 14 ไร่ ที่ดินดังกล่าวนี้มีปัญหามากและเป็นป่าช้าเก่าของวัดและชาวคุ้มเมื่อปลายปี พ.ศ. 2528 ถึงต้นปีการศึกษา 2529 นายประจวบศรีธัญรัตน์นายกเทศมนตรีได้ให้ นายเสถียร นาคสุข ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา นายสุขนิตย์ โสทะรักษ์ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบลพร้อมคณะครูอีก 1 คณะ ออกทำการสำรวจข้อมูลจำนวนนักเรียนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนเทศบาลของชาวคุ้มวัดพระธาตุหนองบัวประมาณ 400-500 ครอบครัว และมีความประสงค์จะเข้าเรียนโรงเรียนแห่งใหม่ในคุ้มวัดพระธาตุหนองบัวประมาณ 150-200 คน จากนั้นก็ได้สำรวจที่ดินที่จะก่อสร้างจนได้ที่ดินของเอกชนคือ พันตำรวจโทประสิทธิ์ ศาลาสุข ซึ่งอยู่ตรงข้ามวัดหนองบัว ด้านหลังติดกับหนองบัวซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณ โดยเจ้าของที่ดินแบ่งขายให้เทศบาลจำนวน 5 ไร่ 2 งาน คณะเทศมนตรีจึงได้นำเสนอต่อสภาเทศบาล และสภาเทศบาลได้อนุมัติงบประมาณของเทศบาลจัดซื้อที่ดินดังกล่าวราคา 920,512 บาท ตามโฉนดเลขที่ 2613 เล่มที่ 27 หน้าที่ 13 \nเนื่องจากเทศบาลนครอุบลราชธานีได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนเทศบาลแห่งที่ 2 เป็นที่ดินอยู่บริเวณคุ้มวัดศรีแสงทอง ดังนั้น คณะเทศมนตรีจึงได้นำเรียนต่อ สภาเทศบาลเพื่ออนุมัติเปลี่ยนสถานที่ก่อตั้งมายังที่ดินแห่งใหม่ ที่เทศบาลจัดซื้อพร้อมรายการเปลี่ยนแปลงไปยังกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงได้จัดสรรงบประมาณมาเป็นค่าก่อสร้างอาคารของโรงเรียนเทศบาลแห่งที่ 2 เป็นเงินอุดหนุนเฉพาะกิจจำนวน 2,000,000 บาท การก่อสร้างอาคารเรียนแห่งใหม่นี้ได้เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม 2529 เป็นอาคาร ค.ส.ล.3ชั้น 8 ห้องเรียน ชั้นล่างโล่ง ขนาด 8x36 เมตร ตามแบบแปลนของเทศบาลเมืองอุบลราชธานีพร้อมรั้วคอนกรีตอิฐบล็อกด้านหน้าและเสาร์ธง การก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 เนื่องจากโรงเรียนที่ตั้งใหม่นี้ ด้านหน้าอยู่ตรงข้ามวัดพระธาตุหนองบัว และด้านหลังอยู่ติดหนองบัวซึ่งเป็นหนองน้ำสารณ คู้บ้านคู่เมืองชาวคุ้มและเทศบาลจึงได้จัดตั้งมลคลนามคือ\"โรงเรียนเทศบาล2หนองบัว\"การก่อตั้งโรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัวของเทศบาลเมืองอุบลราชธานีประสบความสำเร็จได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในสมัยการบริหารงานของหน่วยงาน สภาพปัจจุบัน สถานที่ตั้งโรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว ตั้งอยู่ริมถนนธรรมวิถีหน้าวัดพระธาตุหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000 โดยห่างจากถนนชยางกูร ระหว่างกิโลเมตรที่ 2-3 ไปทางทิศตะวันตกตามถนนธรรมวิถีห่างจากถนนชยางกูรประมาณ 450 เมตร", "title": "โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว (อุบลราชธานี)" }, { "docid": "657138#48", "text": "ไปนมัสการสักการบูชา พระโพธิสัตว์กวนอิม ณ เขาพระโพธิสัตว์กวนอิม วัดหนองหอยนั้นปัจจุบันนี้ เดินทางไปได้โดยสะดวก เนื่องจากเป็นถนนลาดยางตลอด เส้นทางสายเขางู – บ้านโป่ง ห่างจากตัวเมืองราชบุรี ประมาณ ๑๒ กม. ก่อนถึงจะเห็นวิหารพระโพธิสัตว์กวนอิม อยู่บนยอดเขาอย่างโดดเด่น ที่จอดรถกว้างขวาง มีห้องน้ำสะอาด เพียงพอ วิวทิวทัศน์โดยรอบสวยงามเป็นธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์สดชื่น ปัจจุบันนี้ท่านใดที่เดินทางมา จ.ราชบุรี ต่างก็จะแวะเวียนมาสักการบูชา และขอพรองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ณ เขาพระโพธิสัตว์กวนอิม วัดหนองหอย พระอารามหลวงนี้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนและครอบครัว ซึ่งต่างก็ได้รับความสุข เบิกบานใจ ในกุศลที่ได้ทำ โดยทั่วกัน", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "15228#17", "text": "พ.ศ. 2032 มหาเทวี (พระมารดาพญายอดเชียงราย) พระราชทานที่ถวายพระมหาสามีสัทธัมมราชรัตนะ ก่อสร้างมหาเจดีย์ มหาวิหาร ผูกพัทธสีมาอุโบสถวัดศรีเกิด (ปัจจุบันชาวบ้านเรียกวัดหนองบัว (ร้าง) บ้านแม่ฮี้ ตำบลแม่ฮี้) พ.ศ. 2033 มีการถวายข้าทาสอุปัฏฐากพระมหาสามีสัทธัมมราชรัตนะ อุโบสถ มหาวิหาร มหาเจดีย์ พระพุทธรูป ห้ามไม่ให้ผู้ใดนำข้าทาสเหล่านี้ไปทำงานอื่นหากยังเคารพนับถือพญายอดเชียงรายอยู่ หากฝ่าฝืนขอให้ตกนรกอเวจี", "title": "อำเภอปาย" }, { "docid": "657138#0", "text": "วัดหนองหอย (พระอารามหลวง) เป็นวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ตั้งมาประมาณ ๑๔๑ ปี เป็นวัดที่เก่าแก่มีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธในจังหวัดราชบุรี", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "657138#26", "text": "พระสังกัจจายน์", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "657138#3", "text": "ผู้บริหาร, สมภาร, เจ้าอาวาสที่ปกครองวัดสืบต่อกันมาเท่าที่ทราบนามของวัดหนองหอยจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "657138#10", "text": "เดิมที่เขาพระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ไม่มีผู้คนอาศัยและไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆจนกระทั่งในวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ (ดาวเรือง อาจารคุโณ) เจ้าอาวาสวัดหนองหอยรูปปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงสามเณร ได้ขึ้นมาพำนักอาศัยเพื่อปฏิบัติภาวนา จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ท่านได้นิมิตเห็นองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านได้เกิดศรัทธาต่อองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม เพราะพระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นพระโพธิสัตว์ที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ท่านจะโปรดสัตว์โลกทุกชนิด โดยไม่เลือกว่าในฐานะใด จะยากดีมีจน และไม่เลือกกาลเวลา พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ จึงเกิดความตั้งใจ ที่จะสร้างรูปเหมือนองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชา จึงได้ขออนุญาต พระครูบรรพตพัฒนคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองหอย ทำการสร้างศาลาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์กวนอิม โดยท่านให้ช่างปั้นรูปเหมือนพระโพธิสัตว์กวนอิม สูงประมาณ ๑ เมตร และอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในศาลาเป็นครั้งแรก กาลต่อมามีสาธุชนทั่วไปทราบข่าว ได้มาร่วมสร้าง รวมทั้งสร้างวิหารพระโพธิสัตว์กวนอิมด้วยใช้เวลาในการก่อสร้างมาถึงปัจจุบัน ๓๐ ปีเศษ", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "6830#32", "text": "วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่เขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่ได้รับการฟื้นฟูบูรณะขึ้นมาใหม่ในสมัยหลัง ปัจจุบันวัดนี้มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "572259#0", "text": "วัดคลองเจริญ ตั้งอยู่ที่ บ้านคลองเจริญ หมู่ที่ 8 ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ", "title": "วัดคลองเจริญ" }, { "docid": "657138#36", "text": "ของเขาเจ้าแม่กวนอิม เมื่อได้สร้างรูปเหมือนองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ประดิษฐานในวิหารแล้ว พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ ได้กำหนดให้มีงานนมัสการปิดทอง พระรูปเหมือนขององค์พระโพธิสัตว์กวนอิมในวันตรุษจีนของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นงานประจำปี ของเขาเจ้าแม่กวนอิม วัดหนองหอย พระอารามหลวง โดยจัดให้มีงาน ๗ วัน ๗ คืน ในระหว่างงานจะมีการแจกวัตถุมงคล อั่งเปาขวัญถุง มีอาหารมังสะวิรัติให้รับประทานฟรีทุกวัน", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "33887#5", "text": "เป็นวัดที่อยู่ในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว ในบริเวณวัดมีพระพุทธรูปปางพระผอม เป็นพระพุทธรูป ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมกับพระพุทธรูปตามระเบียงวัดเบญจมบพิตร นอกจากนี้ยังมีพลับพลาที่ประทับแรกนาขวัญ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่เรียกว่า \"ศาลาแดง\" เดิมตั้งอยู่ที่วังพญาไท ในกรุงเทพฯ สร้างเป็นพลับพลาไม้สักทั้งหลังแม้แต่หลังคา นับเป็นพลับพลาที่สวยงามและทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมชิ้นหนึ่ง \nตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว ใช้ทางหลวงหมายเลข 346 (ปทุมธานี-บางเลน) ถึงหลักกม.ที่ 21-22 แล้วแยกเข้าวัดไปอีก 10 กม. วัดนี้เป็นแหล่งเก่าแก่ของหอยนางรมยักษ์ มีอายุกว่า 1,000 ปี มีเจดีย์ที่ก่อสร้างขึ้นจากการนำเอาหอยนางรมมาสร้างเป็นรูปเจดีย์ จึงเรียกว่า \"เจดีย์หอย\" มีอยู่ด้วยกัน 2 องค์ องค์แรกอยู่ปากทางเข้าวัด องค์ที่สองอยู่ในบริเวณวัด ในบริเวณวัดมีบึงน้ำขนาดใหญ่มีปลาสวายที่ทางวัดเลี้ยงอยู่เป็นจำนวนมาก และบ่อเต่าอยู่ข้างๆบึง นักท่องเที่ยวสามารถซื้ออาหารเลี้ยงปลาและเต่าได้\nตั้งอยู่ที่ บ้านลำมหาเมฆ หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว ห่างจากจังหวัดตามเส้นทางถนนปทุมธานี-บางเลน ประมาณ 14 กม. อยู่ระหว่างทางไปวัดเจดีย์หอย จะพบทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าวัด ระยะทางจากทางแยกนี้ประมาณ 1 กม. สิ่งที่น่าสนใจคือ บริเวณบึงน้ำไหลของวัดมีนก หลากหลายชนิดอาศัยสร้างรัง ฟักไข่ตามธรรมชาติจำนวนมาก ได้แก่ นกกระยางขาว นกกระสา นกกาน้ำ และนกชนิดอื่นๆ", "title": "อำเภอลาดหลุมแก้ว" }, { "docid": "657138#6", "text": "พระพุทธรัตนโกสินทร์มหามุนี ชาวบ้านทั่วไปเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า หลวงพ่อใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๘ วา ๙ นิ้ว สูง ๓๐ เมตร เริ่มก่อสร้างปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ (ยี่สิบล้านบาท) ก่อสร้างบนยอดเขาขนาดกลางชื่อ “เขาน้อยสรรพยา” หลังจากสร้างหลวงพ่อใหญ่แล้วชาวบ้านเรียกว่า “เขาพระใหญ่” ภายในฐานที่ประดิษฐาน หลวงพ่อใหญ่ ได้สร้างเป็นวิหารและภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐาน รูปหล่อพระพุทธเจ้า ๓ องค์ ซึ่งเป็นคตินิยมของชาวจีน รูปหล่อพระโพธิสัตว์กวนอิม และยังมีรูปหล่อเทพเจ้าที่เคารพนับถือของชาวจีน รวมทั้งมีภาพเขียนสีน้ำมันซึ่งเป็นรูปของ ๑๘ อรหันต์และ เทพเจ้าของฮินดูอันงดงาม", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "657138#35", "text": "นอกจากอดีตเจ้าอาวาสแต่ละองค์ที่ปกครองดูแลวัดมาตามยุคสมัยแล้ว ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ความเจริญให้วัดอย่างมากในปัจจุบันคือเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "657138#5", "text": "๑) พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ ตำแหน่ง เจ้าอาวาสหนองหอย พระอารามหลวง ๒) พระครูสิริราชบุรานุวัตร ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ๓) จำนวนพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาวัดหนองหอย พระอารามหลวง ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ มีจำนวน ๓๗ รูป สามเณร ๑๒ รูป", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "357238#0", "text": "วัดวังตะคร้อ ตั้งอยู่ที่ บ้านวังตะคร้อ หมู่ที่4 ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ", "title": "วัดวังตะคร้อ" } ]
3993
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร พบครั้งแรกโดยใคร ?
[ { "docid": "63068#6", "text": "ในปี พ.ศ. 2510 นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปัจจุบันคือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย) ได้ทำการดักจับนกนางแอ่นจากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์[6] เพื่อทำการศึกษาเรื่องการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์ต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และในระหว่างเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 กิตติ ทองลงยา[7] ได้ค้นพบนกตัวหนึ่งที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างจากนกนางแอ่นชนิดอื่นที่จับได้ นกตัวนี้มีขนาดใหญ่กว่านกนางแอ่นทั่วไปมาก ขนเป็นสีดำคล้ำ ตาขาวและใหญ่ ปากและสะโพกสีขาว หางกลมมน ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมาอย่างชัดเจน", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" } ]
[ { "docid": "63068#18", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรจัดอยู่ในบัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES)[16] นอกจากนี้นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรยังจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อีกด้วย", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "326762#7", "text": "แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ของชนิดแอฟริกาประกอบไปด้วย ป่าริมแม่น้ำ หรือเกาะที่มีตลิ่งทรายสำหรับทำรัง พื้นที่ทำรังของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรยังไม่ทราบแต่ถ้าแหล่งผสมพันธุ์วางไข่คล้ายคลึงกันจากความสัมพันธ์กับชนิดแอฟริกาก็จะเป็นหุบเขาที่มีแม่น้ำขนาดใหญ่ไหลผ่านซึ่งมีตลิ่งทรายและเกาะสำหรับทำรัง และมีป่าให้นกบินจับแมลงกิน นางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาใช้ที่ราบชายฝั่งเป็นถิ่นอาศัยในฟดูหนาว บนพื้นฐานถิ่นอาศัยในฟดูหนาวเท่าที่ทราบซึ่งไม่ใช่แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรหากินในบริเวณพื้นที่เปิดโล่งใกล้แหล่งน้ำและเกาะคอนนอนตามพงอ้อหรือพืชน้ำในเวลากลางคืน", "title": "นกนางแอ่นแม่น้ำ" }, { "docid": "320577#2", "text": "ประเทศไทยมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ทำให้มีนกถิ่นเดียวเพียงไม่กี่ชนิด บางทีนกที่สวยงามอย่างนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรซึ่งพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว อาจสูญพันธุ์ไปแล้วก็ได้", "title": "รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย" }, { "docid": "63068#11", "text": "ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน นกวัยอ่อนมีหัวสีน้ำตาล คอแกมขาว ลำตัวออกสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย ไม่มีขนเส้นเรียวเล็กที่ปลายหาง[9] นกวัยอ่อนจะผลัดขนในเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์[2]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "326762#0", "text": "นกนางแอ่นแม่น้ำ หรือ นกนางแอ่นเทียม () เป็นสกุลนกนางแอ่นในวงศ์ย่อย Pseudochelidoninae ที่อยู่ในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) ประกอบไปด้วย 2 สปีชีส์คือ นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (\"Pseudochelidon eurystomina\") ที่พบในสาธารณรัฐคองโกและประเทศกาบอง และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (\"Pseudochelidon sirintarae\") ที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก เป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีขนส่วนใหญ่เป็นสีดำ บินจับแมลงกินเป็นอาหาร พวกมันดูเหมือนจะใช้ชีวิตอยู่บนพื้นมากกว่านกนางแอ่นชนิดอื่น อาจเดินมากกว่าเกาะคอน และนกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจหากินในเวลากลางคืน นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาทำรังบนตลิ่งทรายริมแม่น้ำโดยการขุดโพรงลงไป ส่วนแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรยังไม่ทราบ", "title": "นกนางแอ่นแม่น้ำ" }, { "docid": "63068#16", "text": "ถ้าถิ่นอาศัยของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเหมือนกับนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา ถิ่นอาศัยจะเป็นป่าในหุบเขาที่มีแม่น้ำขนาดใหญ่ไหลผ่าน มีตลิ่งทรายและเกาะสำหรับทำรัง และมีป่าไม้มากพอที่นกจะสามารถจับแมลงกินได้[2]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#9", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีความยาวจากปากจดหางประมาณ 12 -13 ซม. ความยาวเฉพาะหาง มากกว่า 9 ซม. ลำตัวสีดำสนิท มีเหลือบสีน้ำเงิน-เขียวเข้มบางส่วน บริเวณตะโพกสีขาวแยกบริเวณหลังสีดำเหลือบสีน้ำเงิน-เขียวเข้มและตอนบนของหางสีเดียวกันออกจากกัน หัวสีเข้มกว่าหลัง บริเวณคางมีกระจุกขนสีดำคล้ายกำมะหยี่ไปถึงหลังส่วนบน[2] ปีกสีดำ หางสีดำเหลือบเขียว ขนหางมนกลมแต่ขนคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวยาวประมาณ 10 ซม.ปลายแผ่เล็กน้อย มองเห็นได้ชัดเจน[8]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#13", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรกินแมลงเป็นอาหารเหมือนกับนกนางแอ่นชนิดอื่นรวมถึงพวกด้วงด้วย มันจับเหยื่อโดยการโฉบจับในอากาศ[2] จากขนาดและโครงสร้างปากที่พิเศษของนก มันอาจกินแมลงที่ตัวใหญ่กว่านกนางแอ่นชนิดอื่น[4] นกชนิดนี้มีลักษณะการบินที่ บินเรื่อย ลอยตัว ไม่รวดเร็วเท่านกนางแอ่นชนิดอื่น และก็เหมือนกับนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาที่ไม่ค่อยมีพฤติกรรมเกาะคอน[2] จากรูปทรงเท้าที่ผิดไปจากนกนางแอ่นชนิดอื่นและการที่พบโคลนที่เท้าในตัวอย่างหนึ่งของนกชนิดนี้แสดงว่านกชนิดนี้อาจจะอยู่บนพื้นมากกว่าเกาะคอน[12]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#0", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง (English: White-eyed River-Martin, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#20", "text": "มีการลดจำนวนลงอย่างมากของประชากรนกนางแอ่นในบึงบอระเพ็ดจากหนึ่งแสนตัวในราวปี พ.ศ. 2513 เหลือเพียง 8,000 ตัวที่นับได้ในฤดูหนาวของปี พ.ศ. 2523-2524 แม้ว่าจะยังไม่แน่ใจ แต่เหตุการณ์นี้คือการแสดงถึงการลดลงหรือเปลี่ยนถิ่นเนื่องมาจากการถูกรบกวน[4] สาเหตุอื่นที่ทำให้นกชนิดนี้ลดจำนวนลงประกอบด้วย จากการรบกวนบริเวณตลิ่งทรายแม่น้ำ การสร้างเขื่อนในพื้นที่ต้นน้ำ การแก้ไขอุทกภัย การประมง การตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงถิ่นอาศัยเพื่อการเกษตร[13] อย่างน้อยนกนางแอ่นก็ยังชอบจับคอนตามพืชน้ำในบึงบอระเพ็ดมากกว่าตามไร่อ้อย แต่ก็ไม่ค้นพบนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรในฝูงนกจับคอนเหล่านั้น[4]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "327829#3", "text": "นอกจากนี้กิตติยังค้นพบนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (\"Pseudochelidon sirintarae\") ในปี พ.ศ. 2512 นกนางแอ่นที่พบบริเวณบึงบอระเพ็ด และได้พระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาตั้งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งนกชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปแล้วในปัจจุบัน", "title": "กิตติ ทองลงยา" }, { "docid": "63068#12", "text": "แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรนั้นยังไม่มีการค้นพบ จึงไม่ทราบในชีววิทยาการขยายพันธุ์ของนกเลย แต่คาดกันว่ามันน่าจะคล้ายกับนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาโดยทำรังตามโพรงบริเวณตลิ่งทรายริมแม่น้ำ[10] วางไข่ชุดละ 2-3 ฟอง อาจเป็นในเดือนเมษายน-พฤษภาคมก่อนฝนจากมรสุมจะทำให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้น[2] แต่ความแตกต่างทางกายวิภาคของรูปร่างเท้าและขาทำให้รู้ว่ามันไม่สามารถขุดโพรงได้[11] ในฤดูหนาวพบว่ามันเกาะนอนอยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ที่เกาะอยู่ตามใบอ้อและใบสนุ่น[10] บางครั้งก็พบอยู่ในกลุ่มนกกระจาบและนกจาบปีกอ่อน", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#19", "text": "ประชากรในธรรมชาติของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเชื่อว่ามีอยู่น้อยมาก เพราะเป็นนกชนิดโบราณที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน แม้นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย แต่ก็ยังถูกจับไปพร้อม ๆ กับนกนางแอ่นชนิดอื่นในฤดูหนาวของแต่ละปีเพื่อขายเป็นอาหารหรือเป็นนกปล่อยทำบุญในพุทธศาสนา และหลังจากการค้นพบ มีการดักจับนกได้ถึงเกือบ 120 ตัวเพื่อขายให้กับผู้อำนวยการสถานีประมงนครสวรรค์ และแน่นอนว่าไม่สามารถรักษาชีวิตของนกเหล่านั้นไว้ได้[11] และด้วยเพราะมีจำนวนประชากรเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้ไม่สามารถพบเห็นได้ง่ายนัก[2] แต่อาจมีรายงานที่ไม่ยืนยันว่าพบเห็นนกในประเทศกัมพูชาในปี พ.ศ. 2547[17]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#17", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกเฉพาะถิ่น (endermic) ที่พบได้เพียงแห่งเดียวในโลกคือที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ จากรายงานการพบเห็นในปี พ.ศ. 2515, 2520 และ 2523 และก็ไม่มีการพบเห็นอีกเลยจนปัจจุบัน[2] แม้จะมีรายงานว่าพบนกในปี พ.ศ. 2529 แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยัน[13] สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) และ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (2540) จัดนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง[15] มีการประมาณจำนวนของนกชนิดนี้ว่าลดลงหรือจะลดลงถึง 80% ภายในสามรุ่น IUCN จะไม่พิจารณาว่านกชนิดสูญพันธุ์จนกว่าได้ดำเนินการสำรวจเป้าหมายครอบคลุมแล้ว แต่นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทยหรือจากโลก[1]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#21", "text": "บึงบอระเพ็ดได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์เพื่อพยายามจะปกป้องนกชนิดนี้[13] แต่จากการสำรวจค้นหานกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่เหลือรอดซึ่งประกอบด้วยการสำรวจที่บึงบอระเพ็ดหลายครั้ง การค้นหานกชนิดนี้ การสำรวจแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำวังในภาคเหนือของประเทศไทยปี พ.ศ. 2512 และการสำรวจของแม่น้ำในภาคเหนือของประเทศลาวในปี พ.ศ. 2539 กลับประสบความล้มเหลว[13]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "326762#13", "text": "ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดโอกาสในการค้นพบคือมีการลดจำนวนลงอย่างมากของประชากรนกนางแอ่นในบึงบอระเพ็ดจากหนึ่งแสนตัวใน ราวปี ค.ศ. 1970 เหลือเพียง 8,000 ตัวที่นับได้ในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1980–1981 แม้ว่าจะยังไม่แน่ใจ แต่เหตุการณ์นี้คือการแสดงถึงการลดลงหรือเปลี่ยนถิ่นเนื่องมาจากการถูกรบกวน สาเหตุอื่นที่ทำให้นกชนิดนี้ลดจำนวนลงประกอบด้วย จากการรบกวนบริเวณตลิ่งทรายแม่น้ำ การสร้างเขื่อนในพื้นที่ต้นน้ำ การแก้ไขอุทกภัย การประมง การตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงถิ่นอาศัยเพื่อการเกษตร อย่างน้อยนกนางแอ่นก็ยังชอบจับคอนตามพืชน้ำในบึงบอระเพ็ดมากกว่าตามไร่อ้อย แต่ก็ไม่ค้นพบนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรในฝูงนกจับคอนเหล่านั้น บึงบอระเพ็ดได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์เพื่อพยายามจะปกป้องนกชนิดนี้ แต่จากการสำรวจค้นหานกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่เหลือรอดซึ่งประกอบด้วยการสำรวจ ที่บึงบอระเพ็ดหลายครั้ง การสำรวจแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำวังในภาคเหนือของประเทศไทยปี ค.ศ. 1969 และการสำรวจของแม่น้ำในภาคเหนือของประเทศลาวในปี ค.ศ. 1996 กลับประสบความล้มเหลวในการค้นหานกชนิดนี้ มีการพบเห็นที่เป็นไปได้แต่ยังไม่มีการตรวจสอบว่าพบนกชนิดนี้ในปี ค.ศ. 2004", "title": "นกนางแอ่นแม่น้ำ" }, { "docid": "326762#12", "text": "มีรายงานการพบเห็นนกเจ้าฟ้าหญิงสิริธรในปี ค.ศ. 1972, 1977 และ 1980 และก็ไม่มีการพบเห็นอีกเลยจนปัจจุบัน แม้จะมีรายงานว่าพบนกจากประเทศไทยในปี ค.ศ. 1986 และจากประเทศกัมพูชาในปี ค.ศ. 2004 แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยัน สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง มีการประมาณจำนวนของนกชนิดนี้ว่าลดลงหรือจะลดลงถึง 80% ภายในสามรุ่น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ IUCN จะไม่พิจารณาว่านกชนิดสูญพันธุ์จนกว่าได้ดำเนินการสำรวจเป้าหมายครอบคลุม แม้มีการปกป้องด้วยกฎหมายภายใต้บัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) นกยังคงถูกจับไปพร้อมๆกับนกนางแอ่นชนิดอื่นในฤดูหนาวของแต่ละปีเพื่อขายเป็นอาหารหรือเป็นนกปล่อยทำบุญในพุทธศาสนา และหลังจากการค้นพบ มีการดักจับนกได้ถึงเกือบ 120 ตัวเพื่อขายให้กับผู้อำนวยการสถานีประมงนครสวรรค์ และแน่นอนว่าไม่สามารถรักษาชีวิตของนกเหล่านั้นไว้ได้ อาจด้วยเพราะมีจำนวนประชากรเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆทำให้ไม่สามารถพบเห็นได้ง่ายนัก", "title": "นกนางแอ่นแม่น้ำ" }, { "docid": "63068#1", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีสีดำออกเขียวเหลือบ ตะโพกขาว หางมีขนคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวแผ่ตรงปลาย วงรอบตาสีขาวหนา ปากสีเหลืองสดออกเขียว ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน แต่นกวัยอ่อนไม่ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมา สีขนออกสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย พฤติกรรมเป็นที่ทราบน้อยมากรวมถึงแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ คาดว่าเหมือนนกนางแอ่นชนิดอื่นที่บินจับแมลงกินกลางอากาศ และเกาะคอนนอนตามพืชน้ำในฤดูหนาว", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#22", "text": "มีการจัดพิมพ์แสตมป์รูปนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรจำนวน 3,000,000 ดวงร่วมกับนกชนิดอื่นอีก 3 ชนิดคือนกแซวสวรรค์ขาว-แดง นกพญาปากกว้างหางยาว และนกติตสุลต่านในชุดนกไทย ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2518 แสตมป์มีราคา 75 สตางค์[18] และในปี พ.ศ. 2517 มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าเป็นเหรียญทองคำมีราคาหน้าเหรียญ 5,000 บาทซึ่งด้านหนึ่งเป็นรูปนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอยู่ในท่าบิน[19][20]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#5", "text": "ในปี พ.ศ. 2515 มีการเสนอว่านกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมีลักษณะต่างจากนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาอย่างเพียงพอที่จะแยกออกเป็นสกุล Eurochelidon[5] แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมนักจากผู้แต่งคนอื่น ๆ ในภายหลัง อย่างไรก็ตามองค์การชีวปักษานานาชาติ (BirdLife International) ได้ใช้เป็นชื่อสกุล Eurochelidon ในปัจจุบัน[1]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "326763#3", "text": "นกอีกชนิดหนึ่งในสกุลเดียวกันคือนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae) ที่พบเพียงแห่งเดียวในโลกคือบึงพอระเพ็ดในประเทศไทยและอาจสูญพันธุ์ไปแล้ว ทั้งสองชนิดมีลักษณะเด่นที่แยกได้จากนกนางแอ่นอื่นๆหลายประการ ประกอบด้วย ขาและเท้าแข็งแรง ปากอวบ อวัยวะส่วนที่ส่งเสียงมีขนาดใหญ่ และโครงสร้างที่แตกต่างกันของหลอดลม[3] จากการศึกษาทางพันธุศาสตร์ยืนยันว่านกนางแอ่นแม่น้ำทั้งสองชนิดมาจากเครือบรรพบุรุษที่ต่างจากนกนางแอ่นในวงศ์ย่อย Hirundininae[7]", "title": "นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา" }, { "docid": "326763#0", "text": "นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา หรือ นกนางแอ่นเทียมคองโก (English: African River Martin) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของวงศ์ย่อยนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) เป็นนกขนาดกลาง มีขนสีดำ ตาสีแดง ปากอวบกว้างสีส้ม-แดง หางเหลี่ยม โครงสร้างต่างจากนกนางแอ่นชนิดอื่นคือ มีเท้าและขาแข็งแรง มีการเสนอให้แยกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่พบในเอเชียที่เป็นนกสกุลเดียวกันออกเป็นอีกวงศ์ย่อย", "title": "นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา" }, { "docid": "63068#2", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นสมาชิกหนึ่งในสองของนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์ย่อย Pseudochelidoninae อีกชนิดหนึ่งคือนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (Pseudochelidon eurystomina) ที่พบในลุ่มน้ำคองโกในทวีปแอฟริกา ทั้งสองชนิดมีคุณลักษณะพิเศษที่แยกนกทั้งสองชนิดออกจากนกนางแอ่นชนิดอื่น ประกอบไปด้วย เท้าและขาที่แข็งแรง และปากอวบ[2] จากลักษณะที่ต่างจากนกนางแอ่นชนิดอื่นและแยกไกลกันทางภูมิศาสตร์ของนกนางแอ่นทั้งสองชนิดแสดงว่านกเหล่านี้เป็นประชากรส่วนที่เหลือของกลุ่มสปีชีส์ที่แยกออกจากเชื้อสายหลักของนกนางแอ่นก่อนที่จะมีการวิวัฒนาการ[2]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#15", "text": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรพบในบริเวณบึงบอระเพ็ด เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม คาดว่าถิ่นอาศัยในช่วงฤดูหนาวจะเป็นบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งน้ำจืดที่เปิดโล่งเพื่อสำหรับหาอาหาร และมีอ้อและพืชน้ำสำหรับจับคอนนอนในเวลากลางคืน[13] นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจเป็นนกอพยพ แต่พื้นที่แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ยังไม่เป็นที่ทราบ อาจเป็นหุบเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่านอย่างภาคเหนือของประเทศไทยหรือทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน[2] อย่างไรก็ตามมีการอ้างว่าลักษณะของนกชนิดนี้ในม้วนภาพเขียนจีนนั้นคล้ายกับนกแอ่นทุ่งใหญ่ (Glareola maldivarum)[14] มีการเสนอว่าเป็นไปได้ที่ประเทศกัมพูชาและพม่าเป็นถิ่นอาศัยของนกชนิดนี้[13] และยังมีข้อสงสัยว่ามันจะเป็นนกอพยพเสียทั้งหมดหรือไม่[4]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#8", "text": "นักปักษีวิทยาของเมืองไทยต่างมีความเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ (พระยศขณะนั้น) ทรงเป็นผู้ที่สนพระทัยในเรื่องธรรมชาติวิทยาของเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง จึงขอพระราชทานนามมาตั้งชื่อนกชนิดนี้ว่า “นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร” และมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า White-eyed River Martin (Pseudochelidon sirintarae)", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "326762#9", "text": "นกนางแอ่นแอฟริการ้อง \"ชี ชี\" หรือ \"เชียร์-เชียร์-เชียร์\" เมื่อบินกันเป็นฝูง ระหว่างการอพยพจะส่งเสียงร้องห้าวคล้ายนกนางนวลและเสียงกรุ๋งกริ๋งคล้ายกระพรวน ไม่มีการบรรยายถึงเสียงร้องของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร", "title": "นกนางแอ่นแม่น้ำ" }, { "docid": "63068#3", "text": "ชื่อสกุล Pseudochelidon (Hartlaub, 1861) มาจากภาษากรีกโบราณ คำหน้า ψευδο/pseudo แปลว่า \"ปลอม\" และคำหลัง χελιδον/chelidôn แปลว่า \"นกนางแอ่น\"[3] และชื่อสปีชีส์ได้รับพระราชทานพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาตั้งชื่อนกชนิดนี้[4]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "326762#8", "text": "นกนางแอ่นทั้งสองชนิดเป็นนกขนาดกลาง ยาว 14-18 ซม. ขนสีดำคล้ายนกนางแอ่นส่วนใหญ่ มีหัวขนาดใหญ่ สีเหลือบฟ้า ลำตัวเจือสีเขียว ปีกสีน้ำตาล ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมีขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวแผ่ตรงปลาย ตะโพกขาว ตาและวงขอบตาขาว และปากสีเหลือง นกนางแอ่นแอฟริกามีวงตาและปากสีแดง ไม่มีแต้มตรงตะโพก นกวัยอ่อนของทั้งสองชนิดคล้ายนกโตเต็มวัย แต่มีหัวสีน้ำตาล นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรไม่มีขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมา", "title": "นกนางแอ่นแม่น้ำ" }, { "docid": "63068#24", "text": "จเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หมวดหมู่:นกที่พบในประเทศไทย หมวดหมู่:สัตว์ป่าสงวน หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "63068#4", "text": "ชนิดของ Pseudochelidon ทั้งเอเชียและแอฟริกาแตกต่างกันในขนาดของปากและตาแสดงว่ามีระบบนิเวศวิทยาการกินอาหารที่แตกต่างกัน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจกินอาหารที่มีขนาดใหญ่กว่า สปีชีส์ในประเทศไทยนั้นปากพอง ปากอ้าแข็ง (เนื้อด้านในของปาก) ไม่เหมือนนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาที่นุ่ม มีเนื้อมาก และปากอ้าได้กว้างน้อยกว่า[4]", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" } ]
3995
หัวใจอยู่ที่ตำแหน่งใดของร่างกาย?
[ { "docid": "11116#4", "text": "ในมนุษย์ หัวใจอยู่ในช่องอกเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจมีน้ำหนักประมาณ 250-350 กรัม และมีขนาดประมาณสามในสี่ของกำปั้น", "title": "หัวใจ" } ]
[ { "docid": "286098#2", "text": "ชื่อ \"หัวใจ\" มาจากการเล่นคำในภาษาไทย คือมาจากคำว่า \"หัว\" รวมกับคำว่า \"ใจ\" กลายเป็นคำว่า \"หัวใจ\" และชื่อดนตรีประกอบฉากหลังฉากต่อสู้ของ\"หัวใจ\"ใน ตำนานกาโร่เด็นเซทสึ คือ \"King Cobra ga Yatte Kuru (King Cobra is Finally Here)\" นอกจากนี้ \"หัวใจ\" ยังเคยได้รับการผลิตเป็นของเล่นหุ่นไวนีล โดยผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งปัจจุบันถือเป็นของสะสมเกี่ยวกับมวยไทยที่หายากมากแล้วรายการหนึ่ง รวมทั้งใน\"เดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIII\" ยังได้มีการออกแบบให้หัวใจมีร่างกายเปลี่ยนเป็นสีฟ้าซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของนักมวยไทยที่ไม่เคยมีในเกมต่อสู้ใด ๆ มาก่อนด้วยเช่นกัน", "title": "หัวใจ (เดอะคิงออฟไฟเทอส์)" }, { "docid": "180227#40", "text": "ดัมเบิลดอร์ได้บอกว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากที่สุด ขนาดคุณนายบล็อกซัมยังถึงกับประสาทเสียไปหลายสัปดาห์เมื่อแอบได้ยินญาติผู้ใหญ่ของเธอเล่าเรื่องนี้ ผู้ปกครองควรคิดให้ดีว่าลูกของพวกเขาโตพอหรือยังที่จะเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง หลังจากนั้นเขาเขียนว่าไม่มีผู้ใดหลบเลี่ยงความเจ็บปวดทางใดๆ ได้ เหมือนกับการมีชีวิตอยู่ ผู้วิเศษในเรื่องได้ทำการแบ่งแยกร่างกายและจิตใจของเขาออกจากกัน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเขาให้ตกต่ำลงสู่อมนุษย์ ทำให้หัวใจของเขาขึ้นขนเหมือนสัตว์ร้าย ในที่สุดเมื่อเขาต้องการหัวใจกลับคืนมาก็ยากที่จะฟื้นฟู ท้ายสุด นิทานเรื่องนี้มีอิทธิพลให้เกิดสำนวน \"หัวใจขึ้นขน\" ในหมู่ผู้วิเศษ ซึ่งหมายความว่าพ่อมดที่ไม่ชอบการผูกมัด หรือเย็นชา", "title": "นิทานของบีเดิลยอดกวี" }, { "docid": "298996#0", "text": "การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ () เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างกาย. การตรวจนี้เป็นการตรวจแบบภายนอกโดยไม่ต้องเจาะทะลุผิวหนังหรือเข้าไปภายในร่างกาย (). การบันทึก ECGs ยังสามารถทำได้ภายนอกร่างกายโดยเครื่องบัมทึกแบบลูปที่ปลูกถ่ายไม่ได้ ().", "title": "การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ" }, { "docid": "204705#1", "text": "การสลายตัวเอง () เป็นการเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีที่มีน้ำย่อยเซลล์ออกมาจากตัวเอง ทำให้เนื่อเยื่อเกิดการสลายตัว และเนื่องจากการสลายตัวของเซลล์เองเป็นปฏิกิริยาทางเคมี จึงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและสภาพของสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย ถ้าอุณหภูมิสูงจะเกิดปฏิกิริยาการเน่าสลายตัวอย่างรวดเร็วเช่น ศพในบริเวณทะเลทราย ความร้อนระอุของทรายจะเป็นตัวช่วยเร่งให้ศพเกิดการเน่าสลายตัวเร็วยิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าอุณหภูมิต่ำจะเกิดปฏิกิริยาการเน่าสลายตัวอย่างช้าเช่น ศพในบริเวณขั้วโลกเหนือ ความเย็นของหิมะ ธารน้ำแข็งจะเป็นตัวช่วยรักษาสภาพของศพให้เกิดการเน่าสลายตัวอย่างช้า ๆ อวัยวะภายในร่างกายส่วนใดที่มีน้ำย่อยเซลล์จำนวนมาก อวัยวะในส่วนนั้นจะเกิดการเน่าสลายตัวอย่างรวดเร็ว เช่นเมื่อตายร่างกายจะเกิดการย่อยสลายที่บริเวณตับอ่อน ซึ่งจะเกิดการเน่าสลายตัวก่อนหัวใจเป็นต้น", "title": "การเน่าเปื่อย" }, { "docid": "313226#11", "text": "พยากรณ์โรคของ MI อาจแตกต่างกันได้มากในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย ตำแหน่งและขนาดของกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือด และการรักษา ในสหรัฐอเมริกาช่วง ค.ศ. 2005-2008 มีการเก็บข้อมูลพบว่ามัธยฐานการเสียชีวิตที่ 30 วัน ของผู้ป่วย MI อยู่ที่ 16.6% (10.9-24.9) การนำค่าต่าง ๆ ที่ตรวจได้ในห้องฉุกเฉินมาประเมินจะทำให้สามารถแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเสี่ยงของการเกิดผลไม่พึงประสงค์หลังการรักษาได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าผู้ป่วยชนิดความเสี่ยงต่ำ 0.4% เสียชีวิตที่ 90 วัน หลังได้รับการรักษา ในขณะที่ผู้ป่วยความเสี่ยงสูงเสียชีวิต 21.1%", "title": "กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด" }, { "docid": "26540#3", "text": "หัวใจทำหน้าที่สูบเลือดไปทั่วร่างกาย หัวใจของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ซีกคือ atrium 2 ห้องที่อยู่ข้างบนและ ventricle 2 ห้องที่อยู่ด้านล่าง right Atrium คือ ห้องขวาบน ทำหน้าที่รับเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจากเส้นเลือด Superior venacava (มาจากส่วนบนของร่างกาย) และ Inferior venacava (มาจากส่วนล่างของร่างกาย) แล้วส่งต่อไปยัง หัวใจห้องขวาล่างหรือ right Ventricle ผ่านลิ้นหัวใจ Tricuspid valve ซึ่งห้องนี้จะส่งเลือดที่มี poor oxygen ไปยังปอดโดยการใช้เส้นเลือด Pulmonary Artery โดยผ่านลิ้นเซมิลูนาร์ (ลิ้นกั้นระหว่างหลอดเลือดพัลโมนารีอาร์เตอรีกับเวนตริเคิลขวา) หลังจากนั้น left Atrium หรือ หัวใจห้องซ้ายบนที่เราเห็นจะรับเลือดที่มีออกซิเจนมาจากปอดผ่านทางเส้นเลือด Pulmonary Vein แล้วส่งต่อไปยัง left Ventricle คือหัวใจห้องซ้ายล่าง ผ่านลิ้นหัวใจชื่อ Bicuspid valve หรือ Mitral valve ที่จะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย โดยต่อกับเอออร์ตา", "title": "ระบบไหลเวียน" }, { "docid": "281883#2", "text": "ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิของสัตว์ไม่เป็นที่ทราบจนกระทั่งเทอร์มอมิเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้น และทำให้พบว่าส่วนต่างๆ ของร่างกายสร้างและสูญเสียความร้อนต่างกันไปเป็นอันมาก แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วระบบการหมุนเวียนของกระแสโลหิตจะช่วยรักษาอุณภูมิเฉลี่ยภายในร่างกายอยู่บ้าง ฉะนั้นการระบุว่าส่วนใดของร่างกายที่สะท้อนอุณภูมิของอวัยวะภายในได้อย่างใกล้เคียงที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยทั่วไปแล้ว ทวารหนักถือกันว่าเป็นตำแหน่งที่สะท้อนอุณภูมิของอวัยวะภายในได้อย่างใกล้เคียงที่สุด หรือในบางกรณีของเพศหรือสปีชีส์ก็อาจจะเป็นภายในช่องคลอด, มดลูก หรือ กระเพาะปัสสาวะ", "title": "การปรับอุณหภูมิกาย" }, { "docid": "590394#0", "text": "อัตราหัวใจเต้น () หมายถึงความเร็วของการบีบตัวของหัวใจในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ โดยทั่วไปนิยมใช้หน่วย \"ครั้งต่อนาที\" อัตราหัวใจเต้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับสรีรวิทยาของร่างกาย เช่นความต้องการออกซิเจนและการขับคาร์บอนไดออกไซด์ของร่างกาย สิ่งที่มีผลกับอัตราหัวใจเต้นได้แก่กิจกรรมของร่างกาย เช่น การออกกำลังกาย การนอนหลับ ความเจ็บป่วย การย่อยอาหาร และยาบางชนิด ถ้าหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอเรียกว่าภาวะหัวใจเสียจังหวะ (arrhythmia) ความผิดปกติของการเต้นหัวใจในบางครั้งอาจเป็นแสดงถึงการเป็นโรคแต่ก็ไม่เสมอไป", "title": "อัตราหัวใจเต้น" }, { "docid": "136169#4", "text": "นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 1970s, CT ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายภาพทางการแพทย์เพื่อเสริมกับรังสีเอกซ์และการบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์ (). เมื่อเร็วๆนี้มันถูกใช้สำหรับการแพทย์แบบป้องกันหรือการตรวจคัดกรองโรคเช่น CT colonography สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่, หรือการสแกนหัวใจขระเคลื่อนไหวเต็มที่สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงของโรคหัวใจ. มีหลายสถาบันเสนอการสแกนร่างกายทั้งตัวสำหรับประชาชนทั่วไปถึงแม้ว่าการปฏิบัติดังกล่าวขัดแย้งกับคำแนะนำและตำแหน่งอย่างเป็นทางการขององค์กรวิชาชีพจำนวนมากในภาคสนาม.", "title": "การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "424339#3", "text": "ในปี ค.ศ. 1628 วิลเลี่ยมตีพิมพ์ผลงานลงในหนังสือ \"การทำงานของหัวใจและระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายสัตว์\" มีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจว่ามีหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิต ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจว่ามีหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิต ลักษณะของหัวใจคล้ายกับถุงกล้ามเนื้อที่เต้นอยู่ตลอดเวลา และการเต้นของหัวใจก็ทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตโดยมีเลือดแดงที่ไหลออกจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย จากนั้นเลือดแดงจะกลายเป็นเลือดดำ และกลับขึ้นมาสู่หัวใจอีกครั้งหนึ่ง เลือดจะถูกส่งเข้าไปยังห้องหัวใจซีกขวาด้านบนก่อน จากนั้นจึงไหลเข้าสู่ห้องหัวใจซีกขวาด้านล่าง และส่งออกจากห้องนี้ไปสู่ปอด ซึ่งมีหน้าที่นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) ในเลือดออกไป แล้วนำก๊าซออกซิเจนที่หายใจเข้าไปแทนที่ เมื่อปอดฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดงแล้วจะถูกส่งกลับไปยังห้องหัวใจซีกซ้ายด้านบนอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจะถูกส่งไปยังห้องหัวใจซีกซ้ายด้านล่าง ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเลือดไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกายและจะเป็นระบบเช่นนี้เรื่อยไป เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่หัวใจหยุดเต้นก็เท่ากับว่าหยุดการสบฉีดโลหิต เลือดในร่างกายก็จะกลายเป็นเลือดดำ ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้และเสียชีวิตในที่สุด ", "title": "วิลเลียม ฮาร์วีย์" }, { "docid": "47849#32", "text": "ความรุนแรงของอันตรายที่เกิดต่อร่างกายซึ่งได้รับกัมมันตภาพรังสี ขึ้นกับปริมาณของกัมมันตภาพรังสีในช่วงเวลาที่ร่างกายได้รับ และส่วนของร่างกายที่รับกัมมันตภาพรังสีนั้น\nตามปกติมนุษย์ได้รับกัมมันตภาพรังสีจากสภาพแวดล้อมในธรรมชาติอยู่ตลอดเวลาแล้วแต่ในปริมาณที่น้อยจึงไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อร่างกายของเราเลย\nการบำบัดช่วยให้เรามีภูมิคุ้มกันโรคด้วยสารกัมมันตภาพรังสีหรือการตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะทำให้ร่างกายได้รับกัมมันตภาพรังสีในปริมาณสูง\nแต่ก็ยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเฉียบพลันเหมือนกับอยู่ในเหตุการณ์การระเบิดของปรมาณูหรือการระเบิดในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาการที่ปรากฏหลังจากที่ร่างกายได้รับกัมมันตภาพรังสี\nจะมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ถ้าอาการหนักผมอาจร่วง แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้จะไม่ปรากฏในทันที ดังนั้นประชาชนและผู้เกี่ยวข้องกับกัมมันตภาพรังสีจึงไม่ใส่ใจต่อการป้องกันอันตราย\nเมื่อเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับสารกัมมันตภาพรังสีจะทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากอะตอม หรือพันธะเคมีเสียหายทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเซลล์เกิดขึ้น\nความเสียหายมีตั้งแต่เล็กน้อยที่ร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้ จนถึงเสียหายมากก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของกัมมันตภาพรังสีที่ได้รับและระยะเวลา\nโดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมองและเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เป็นตำแหน่งของร่างกายที่ไวต่อการรับกัมมันตภาพรังสีมากที่สุด สำหรับเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ทีนะ", "title": "ฟิสิกส์นิวเคลียร์" }, { "docid": "70562#4", "text": "ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กัน โดยเมื่อใดที่ร่างกายตึงเครียด จะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเทติก ทำงานมากขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงผิวหนังลดลง ตรงกันข้ามกับภาวะผ่อนคลายที่ระบบประสาท พาราซิมพาเทติก ทำงานมากขึ้นอย่างสมดุลจะทำให้ร่างกายหายใจช้าลง ชีพจรและความดันโลหิตลดลง มือเท้าอุ่นขึ้น", "title": "จิต" }, { "docid": "39688#13", "text": "ใยประสาทนำเข้า (Afferent nerve fiber) ของระบบประสาทนอกส่วนกลางทำหน้าที่นำกระแสประสาทรับความรู้สึกไปยังสมอง โดยมักมาจากอวัยวะรับสัมผัส เช่น ผิวหนัง ภายในกล้ามเนื้อจะมีส่วนที่เรียกว่า muscle spindle ที่รับรู้ความตึงและความยาวของกล้ามเนื้อ และส่งสัญญาณดังกล่าวไปยังระบบประสาทกลาง (central nervous system) เพื่อช่วยในการคงรูปร่างท่าทางของร่างกายและตำแหน่งของข้อต่อ ความรู้สึกของตำแหน่งร่างกายที่วางตัวในที่ว่างเรียกว่า การรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) การรับรู้อากัปกิริยาเป็นความตระหนักของร่างกายที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวว่าตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายตั้งอยู่ที่บริเวณใด ณ ขณะนั้น ซึ่งสามารถสาธิตให้เห็นได้โดยการให้ผู้ถูกทดสอบยืนหรือนั่งนิ่งๆ ให้ผู้อื่นปิดตาของผู้ถูกทดสอบและยกแขนของผู้ถูกทดสอบขึ้นและหมุนรอบตัว หากผู้ถูกทดสอบมีการรับรู้อากัปกิริยาที่เป็นปกติ เขาจะทราบได้ว่าขณะนั้นมือของเขาอยู่ที่ตำแหน่งใด ตำแหน่งต่างๆ ภายในสมองมีความเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวและตำแหน่งร่างกายกับการรับรู้อากัปกิริยา", "title": "กล้ามเนื้อ" }, { "docid": "171450#0", "text": "การออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมทางกายใด ๆ ก็ได้ที่เสริมหรือคงสภาพสมรรถภาพทางกาย ความแข็งแรงและสุขภาพทั่วไปของร่างกาย\nอาจทำเพราะเหตุต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อเสริมการเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย ป้องกันไม่ให้แก่เร็ว เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนโลหิต \nปรับปรุงทักษะทางกีฬา ลดหรือรักษาน้ำหนัก และเพื่อความสนุก\nการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันและช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่นโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด เบาหวาน และโรคอ้วน\nหลาย ๆ คนเลือกออกกำลังกายนอกบ้านที่ทำเป็นกลุ่มเพื่อสังสรรค์ และเพื่อความสุข\nอนึ่ง การออกกำลังกายยังช่วยสร้างเสริมสุขภาพจิตและลดความเครียดได้", "title": "การออกกำลังกาย" }, { "docid": "771840#1", "text": "แบล็กแพนเทอร์ คือ ตำแหน่งกษัตริย์และผู้พิทักษ์แห่งประเทศวาคานดา โดย ที'ชาล์ลา (T'Challa) คือ แบล็กแพนเทอร์คนปัจจุบัน เขาเป็นโอรสของกษัตริย์ ที'ชากา ที่ศึกษาและแสวงหาความรู้ต่างๆ \nฝึกฝนร่างกายและฝึกฝนทักษะการต่อสู้ เพื่อให้พร้อมที่จะสืบทอดตำแหน่งดังกล่าว หลังจากที่เขารับตำแหน่งแล้ว ที'ชาล์ลาก็ได้ดื่มสารสกัดจาก \"สมุนไพรรูปหัวใจ\" ทำให้เขามีศักยภาพร่างกายเหนือมนุษย์\nและชุดแบล็กแพนเทอร์ของเขาก็สร้างมาจาก \"แร่ไวเบรเนียม\" ที่ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีอันล้ำสมัยของวาคานดา โดยที'ชาล์ลาได้ใช้พลัง, ความสามารถ และเทคโนโลยีของวาคานดาในการปกป้องประเทศและปกป้องโลกจากภัยคุกคามต่างๆในฐานะแบล็กแพนเทอร์", "title": "แบล็กแพนเทอร์" }, { "docid": "11116#10", "text": "หัวใจห้องบนขวา (Right atrium) มีหน้าที่รับเลือดที่มาจากท่อเลือดดำบน (superior vena cava) ซึ่งรับเลือดมาจากร่างกายส่วนบน และท่อเลือดดำล่าง (Inferior vena cava) รับเลือดมาจากร่างกายช่วงล่าง ผนังของหัวใจห้องนี้ค่อนข้างบาง โดยเฉพาะทางด้านที่ติดกับหัวใจห้องบนซ้าย จะมีรอยบุ๋มที่เรียกว่า ฟอซซา โอวาเล (Latin: Fossa ovale) ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างหัวใจห้องบนสองห้องระหว่างที่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์ เลือดจากหัวใจห้องบนขวาจะไหลเข้าสู่หัวใจห้องล่างขวา ผ่านทางลิ้นหัวใจไทรคัสปิด (Tricuspid valve)", "title": "หัวใจ" }, { "docid": "305937#2", "text": "ในการฉีกเซาะของเอออร์ตา เลือดได้แทรกผ่านชั้นอินทิมาเข้าไปยังชั้นมีเดีย ความดันที่สูงได้ฉีกแยกเนื้อเยื่อของชั้นมีเดีย แบ่งแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนใน 2/3 และส่วนนอก 1/3 การฉีกเซาะนี้สามารถลุกลามต่อไปได้ตลอดความยาวของเอออร์ตาทั้งขาไปและขากลับ การฉีกเซาะที่ลามไปทางบริเวณช่วงแยกอิลิแอค (iliac bifurcation) ถือเป็นการฉีกเซาะไปทางด้านหน้า (anterograde) ส่วนการฉีกเซาะที่ลามไปทางโคนเอออร์ตาถือเป็นการฉีกเซาะไปทางด้านหลัง (retrograde) รอยฉีกเซาะเริ่มแรกส่วนใหญ่อยู่ไม่เกิน 100 มิลลิเมตรหลังลิ้นหัวใจเอออร์ติก ดังนั้นการฉีกเซาะไปทางด้านหลังสามารถเข้าไปชั้นเยื่อหุ้มหัวใจทำให้เกิดมีเลือดในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (hemopericardium) ได้ง่าย การฉีกเซาะไปทางด้านหน้าอาจลุกลามไปถึงบริเวณช่วงแยกอิลิแอค อาจทะลุผนังหลอดเลือด หรือเกิดช่องเปิดกลับเข้ารูหลอดเลือดได้ทำให้เกิดเป็น double barrel aorta ซึ่งจะลดความดันของการไหลของเลือดและลดโอกาสการแตกทะลุ การแตกทะลุที่ทำให้เกิดมีเลือดไหลเข้าช่องร่างกายตามแต่ตำแหน่งที่เกิดการแตกทะลุ อาจแตกเข้าช่องหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneal) หรือแตกเข้าช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial) ก็ได้", "title": "การฉีกเซาะของเอออร์ตา" }, { "docid": "11116#14", "text": "หน้าที่หลักของหัวใจคือการสูบฉีดเลือดผ่านระบบไหลเวียนเพื่อไปเลี้ยงร่างกายทั้งร่าง การไหลเวียนนี้แบ่งออกเป็นการไหลเวียนเลี้ยงกายที่ส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายและรับเลือดที่ใช้แล้วกลับ และการไหลเวียนผ่านปอด ซึ่งส่งเลือดไปฟอกที่ปอดและรับเลือดกลับจากปอดมาหัวใจเพื่อเตรียมสูบฉีดต่อไปยังร่างกาย ขณะที่เลือดไหลเวียนผ่านปอดจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซ รับเอาออกซิเจนเข้ามาในเลือด และส่งคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปยังปอดผ่านการหายใจ หลังจากนั้นระบบไหลเวียนกายจะส่งเลือดแดงที่มีออกซิเจนมากไปยังร่างกาย และรับเลือดดำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มากและมีออกซิเจนน้อยกลับมายังปอด[1]", "title": "หัวใจ" }, { "docid": "909696#1", "text": "PCI ปฐมภูมิเป็นการใช้ PCI อย่างรีบด่วนมากในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีหลักฐานหัวใจเสียหายรุนแรงบนภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (MI ชนิด ST ยก) นอกจากนี้ PCI ยังใช้ในผู้ป่วยหลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบอื่นหรืออาการปวดเค้นไม่เสถียร ซ่ึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการเพิ่ม สุดท้าย PCI อาจใช้ในผู้ป่วยอาการปวดเค้นเสถียรโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ยาควบคุมอาการได้ยาก PCI เป็นทางเลือดของการปลูกถ่ายทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery bypass grafting) ซึ่งเลี่ยงหลอดเลือดที่ตีบตันโดยใช้หลอดเลือดปลูกถ่ายจากตำแหน่งอื่นในร่างกาย ในบางกรณี (เช่น มีการอุดกั้นมาก หรือมีโรคพื้นเดิมเบาหวาน) CABG อาจให้ผลดีกว่า", "title": "การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ" }, { "docid": "424339#2", "text": "ระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้แต่ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์หรือนายแพทย์ท่านใดรู้ความจริงที่ว่าเลือดเดินทางอย่างไรในร่างกาย อีกทั้งหน้าที่ของหัวใจก็เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อประมาณปี 600 ก่อนคริสต์ศักราช นายแพทย์ชาวกรีก คลาดิอุส กาเลน (Clandius Galen) ได้ศึกษาและอธิบายว่า ระบบโลหิตในร่างกายมนุษย์มีลักษณะคล้ายน้ำขึ้นน้ำลง ส่วนหัวใจมีหน้าที่ในการทำให้เลือดอุ่น ส่วนหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันเลย เพราะฉะนั้นวิธีการรักษาเมื่อเลือดมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำได้โดยการผ่าตัดนำเลือดดำออกมา", "title": "วิลเลียม ฮาร์วีย์" }, { "docid": "775721#6", "text": "อาการที่ชวนให้สงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ ได้แก่แพทย์จะสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ ถ้าตรวจพบสิ่งต่อไปนี้ ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไปเพื่อเป็นการยืนยันการวินิจฉัย แพทย์จะทบทวนประวัติอาการโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง และทำการตรวจร่างกายเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตรวจร่างกายระบหัวใจและหลอดเลือดอย่างละเอียด การวัดความดันโลหิตต้องวัดทุกตำแหน่ง ทั้งซ้ายและขวา พิจารณาความแรงของชีพจรที่แขนขา และที่คอ การตรวจเพื่อฟังเสียง bruit ในบริเวณของเส้นเลือดที่ตีบแคบ ตำแหน่งที่ตรวจพบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณหน้าอก คอ และ ผนังหน้าท้อง หลังจากตรวจร่างกายอย่างละเอียด อาจจำเป็นต้องตรวจเพิ่มทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจเอ็กซเรย์หลอดเลือด อัลตราซาวน์ MRI หรือ CT scan", "title": "หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ" }, { "docid": "60371#5", "text": "ในทางโภชนาการ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ได้ให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่อย่างใด มีพลังงานแคลเลอรีสูง มีองค์ประกอบของไขมันอิ่มตัว และโซเดียมสูงมาก ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ, เบาหวาน และอาการหลอดเลือดในสมองตีบ โดยประเทศที่มีการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากที่สุดในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2554 คือ เกาหลีใต้ ที่มีขายอยู่ทุกมุม แม้กระทั่งสระว่ายน้ำหรือห้องสมุด เพราะสะดวกต่อการบริโภคและราคาถูก การรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์จะก่อให้เกิดความบกพร่องของระบบเผาผลาญอาหาร ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโรคเบาหวาน และยังทำให้เกิดโรคเบาหวานและหัวใจ โดยเฉพาะในผู้หญิง แต่จะไม่พบในผู้ชาย", "title": "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" }, { "docid": "143242#2", "text": "หลอดเลือดดำชั้นผิวมีความสำคัญในทางสรีรวิทยาในแง่การระบายความร้อนให้แก่ร่างกาย เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายจะลัดเลือดจากหลอดเลือดดำชั้นลึกมายังหลอดเลือดดำชั้นตื้นเพื่อระบายความร้อนออกไปยังสิ่งแวดล้อม หลอดเลือดดำชั้นผิวสามารถมองเห็นได้จากผิวหนัง โดยเฉพาะเมื่ออวัยวะนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ หลอดเลือดดำชั้นผิวจะพองออก สังเกตได้เมื่อเรายกแขนขึ้นเหนือระดับหัวใจ เลือดจะไหลออกจากหลอดเลือดนั้น แต่เมื่อเราวางแขนลงในระดับต่ำกว่าหัวใจ เลือดจะไหลกลับเข้ามาใหม่ หลอดเลือดนี้สามารถเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อเรายกของหนักๆ", "title": "หลอดเลือดดำผิว" }, { "docid": "370841#1", "text": "แอกโซลอเติลเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ที่มีถิ่นที่อยู่ค่อนข้างจำกัด โดยจะพบได้เฉพาะทะเลสาบหรือพื้นที่ชุ่มน้ำใกล้กับกรุงเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโกเท่านั้น จุดเด่นของแอกโซลอเติลก็คือ มีพู่เหงือกสีแดงสดซึ่งเป็นอวัยวะช่วยในการหายใจซึ่งติดตัวมาตั้งแต่ฟักออกจากไข่ โดยที่ไม่หายไปเหมือนกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกอื่น เช่น กบหรือซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ซึ่งที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งของแอกโซลอเติล คือ เมื่ออวัยวะไม่ว่าส่วนใดของร่างกายขาดหายไปจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายนอกหรืออวัยวะสำคัญภายในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด ", "title": "แอกโซลอเติล" }, { "docid": "24465#21", "text": "การให้การวินิจฉัยไข้เลือดออกส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในพื้นที่ระบาด เช่น ประเทศไทย เป็นการวินิจฉัยทางคลินิก อาศัยอาการและผลการตรวจร่างกาย[1] อย่างไรก็ดีอาการระยะแรกของไข้เลือดออกแยกจากการติดเชื้อไวรัสอื่นได้ยาก[5] สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ระบาด อาการที่น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออกคืออาการไข้ร่วมกับอาการสองอย่างจากอาการต่าง ๆ ต่อไปนี้ คลื่นไส้อาเจียน ผื่น ปวดตามตัว เม็ดเลือดขาวต่ำ การทดสอบทูนิเกต์ผลบวก หรืออาการเตือนใด ๆ ตามตาราง[20] ซึ่งอาการเตือนเหล่านี้มักปรากฏก่อนโรคดำเนินไปเป็นไข้เลือดออกรุนแรง[9] การทดสอบทูนิเกต์เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มากในพื้นที่ที่ไม่สามารถส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ทันที ทำโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตพันรอบแขนและรัดไว้ให้ความดันโลหิตอยู่ระหว่างความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ห้านาที จากนั้นนับจุดเลือดออกที่ปรากฏขึ้น ยิ่งมีจุดมากก็ยิ่งมีความน่าจะเป็นของการเป็นไข้เลือดออกมาก[9]", "title": "ไข้เด็งกี" }, { "docid": "5003#5", "text": "ฝ่ายที่ถูกคู่ต่อสู้เข้าฟันโดนร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วไม่สามารถโต้ตอบกลับไปโดนร่างกายคู่ต่อสู้ได้ทันที ให้เป็นฝ่ายเสียคะแนน 1 คะแนน\nการแข่งขันแต่ละครั้ง จะมีกรรมการผู้ตัดสิน และกรรมการผู้ช่วยผู้ตัดสินดังนี้นับจากการแข่งชิงตำแหน่ง “ขุนพลจุฬาฯ” กีฬาฟันดาบไทย ได้พัฒนามาเป็นลำดับดังนี้", "title": "กีฬาฟันดาบไทย" }, { "docid": "613657#3", "text": "ในประเทศฮังการีมีการนำสาร Brazilin ไปใช้ในการรักษาโรคหัวใจกบซึ่งถูกสารพิษ ปรากฏว่าได้ผลที่น่าพึงพอใจ และยังพบว่าสารนี้ไม่เป็นอันตรายกับผู้ป่วย แม้จะดื่มเข้าไปในปริมาณมาก แต่ไม่ทิ้งสารตกค้างในร่างกายแต่อย่างใด", "title": "ฝาง" }, { "docid": "17616#8", "text": "ในการศึกษาวิจัยในประเด็นที่เชื่อกันว่า การเกิดโรคหลอดเลือดแข็งนั้นถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้จากการเสื่อมถอยตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์เมื่อมีอายุมากขึ้นและไม่มีวิธีการใดที่จะรบกวนการเกิดกระบวนการดังกล่าวได้นั้นยังคงไม่มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม จนกระทั่งในช่วงต้นทศวรรษที่ 40[24] ในปี คศ. 1949 John Gofman ได้ค้นพบไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความเข้มข้นต่ำ (low-density lipoprotein; LDL) ในกระแสเลือด จากนั้นอีกไม่กี่ปีถัดมา Gofman ก็ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการมีระดับ LDL ในกระแสเลือดสูงกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease)[23] จากนั้นในปี คศ. 1959 สถานบันวิจัยเซลล์ชีววิทยาและพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลมักซ์ พลังค์ (Max Planck Institute of Molecular Cell Biology and Genetics; MPI-CBG) ในเยอรมนีได้ค้นพบว่าเอนไซม์ HMG-CoA reductase นั้นเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลของร่างกายมนุษย์[25] และต่อมาในปี คศ. 1961 จากการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ฉบับหนึ่งที่มีชื่อการศึกษาว่า Framingham study (Framingham Heart Study) ได้ค้นพบว่า การมีระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดที่สูงกว่าปกตินั้นถือเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular diseases)[26][27] หลังจากนั้นไม่นาน เอกสารตีพิมพ์ของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) ได้ยืนยันถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมอาหารในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูง [23] อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ 60 ได้มีการค้นพบในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมว่า ถึงแม้จะมีการควบคุมการรับประทานอาหารเป็นอย่างดี ร่างกายก็ยังสามารถสร้างคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นได้ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้โดยผ่านกระบวนการการเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้สังเคราะห์คอเลสเตอรอลในตับ[28] และในช่วงนั้น บทบาทของการใช้ยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราการเกิดความพิการจากโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นยังสรุปได้ไม่แน่ชัดและยังคงเป็นเพียงการตั้งสมมติฐานที่ยังไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นได้เด่นชัด[29] จนกระทั่งในปี คศ. 1984 การศึกษาวิจัยที่มีชื่อว่า LRC-CPPT ได้ค้นพบว่า การลดลงของระดับ LDL ในกระแสเลือดนั้นสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราการเกิดความพิการจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยชายที่มีระดับ LDL ในกระแสเลือดสูงได้[30]", "title": "สแตติน" }, { "docid": "822356#1", "text": "เมื่อใดที่ออกกำลังกายจนเกิดภาวะทั้ง 4 ประการข้างต้นหมายความว่า ทุกระบบไม่สามารถให้ออกซิเจนตอบสนองความต้องการของร่างกายได้มากกว่านี้อีกแล้ว เราจึงต้องทดสอบจนแน่ใจว่าถึงภาวะของ VO max จริง ๆ นักวิทยาศาสตร์การกีฬาจะใช้หลักการว่า VO max เกิดขึ้นเมื่อชีพจรถึงจุดสูงสุดแล้วไม่ว่าจะเพิ่มงาน (workload) ไปอีกเท่าใดก็ตาม ค่า VO max นี้เป็นดัชนีหลักที่ใช้ในการบอกสมรรถภาพร่างกายของแต่ละคนและเนื่องจากเป็นการสะท้อนหน้าที่สูงสุดของ 4 ระบบหลักของร่างกาย ค่า VO max จึงเป็นดัชนีทั้งทางแอโรบิคของร่างกาย (aerobic index) และดัชนีความทนทานของหัวใจ (cardiac endurance)", "title": "การใช้ออกซิเจนสูงสุด" }, { "docid": "11611#100", "text": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะมีวิธีการจำศีลด้วยการหลบซ่อนตัวอยู่ในที่ที่ปลอดภัย เช่นขุดรูหรือหลบซ่อนในโพรงไม้หรือภายในถ้ำ การจำศีลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะเป็นการอยู่นิ่ง ๆ ไม่ขยับหรอเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ระบบสรีระของร่างกายก็จะมีการปรับตัวเช่นกัน เช่นอุณหภูมิภายในโพรง ถ้าหรือในรู บางครั้งอาจจะมีอุณหภูมิที่ต่ำมากจนเกือบถึงจุดเยือกแข็ง ก็จะมีการปรับตัวทางสรีระด้วยการลดอัตราการเมทาโบลิซึมลง อัตราการเต้นของหัวใจจะช้ามาก เช่นกระรอกดิน ก่อนจำศีลจะมีอัตราการเต้นของหัวใจประมาณ 200 - 400 ครั้ง/นาที[10] แต่เมื่อจำศีลอัตราการเต้นของหัวใจจะลดลงเหลือเพียงแค่ 4 - 5 ครั้ง/นาทีเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิดจะจำศีลทั้งในฤดูร้อนและฤดูหนาว เมื่อสภาพภูมิอากาศภายนอกเป็นปกติ จึงจะยุติการจำศีล", "title": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม" } ]
3996
ระบบประสาทมีไฟฟ้าสถิตหรือไม่ ?
[ { "docid": "786915#17", "text": "ความรู้สึกของไฟฟ้าช็อกจะเกิดจากการกระตุ้นของเส้นประสาทเมื่อกระแสเป็นกลางไหลผ่านร่างกายมนุษย์ พลังงานที่เก็บไว้ในรูปไฟฟ้าสถิตย์บนวัตถุหนึ่งจะแปรผันขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุและค่าคาปาซิแตนซ์ของมัน, แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใส่ประจุให้มัน และค่าคงที่ไดอิเล็กตริกของตัวกลางโดยรอบ สำหรับการสร้างแบบจำลองของ ผลกระทบของการปล่อยปล่อยไฟฟ้าสถิตบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความไว มนุษย์จะถูกแสดงเป็นตัวเก็บประจุขนาด 100 pf ถูกใส่ประจุจากแรงดันไฟฟ้า 4000 ถึง 35000 โวลต์ เมื่อสัมผัสกับวัตถุ พลังงานนี้จะถูกปลดปล่อยในเวลาน้อยกว่าหนึ่งส่วนล้านวินาที[7] ในขณะที่พลังงานทั้งหมดมีขนาดเล็ก ด้วยค่าสิบยกกำลังของมิลลิจูล มันก็ยังสามารถสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความไว วัตถุขนาดที่ใหญ่กว่าจะเก็บพลังงานได้มากกว่า ซึ่งอาจเป็นอันตรายโดยตรงจากการสัมผัสของมนุษย์ หรืออาจจะให้ประกายไฟที่สามารถจุดชนวนก๊าซหรือฝุ่นละอองไวไฟ", "title": "ไฟฟ้าสถิต" } ]
[ { "docid": "786915#49", "text": "ประจุไฟฟ้า ไฟฟ้าสถิต เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสถิต การปลดปล่อยไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้าไทรโบ เครื่องยนต์วิมเฮิร์ส เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "654635#17", "text": "การเจริญของประสาทในระบบประสาทของผู้ใหญ่มีกลไกอย่างการสร้างไมอีลินใหม่ (remyelination) การสร้างเซลล์ประสาท เซลล์เกลีย แกนประสาท ไมอีลินหรือจุดประสานประสาทใหม่ การสร้างใหม่ของประสาทแตกต่างระหว่างระบบประสาทนอกส่วนกลางและระบบประสาทส่วนกลาง โดยกลไกการทำหน้าที่และโดยเฉพาะขอบเขตและความเร็ว", "title": "การเจริญของประสาทในมนุษย์" }, { "docid": "145709#3", "text": "ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง", "title": "ประสาทสมอง" }, { "docid": "467746#0", "text": "ระบบประสาทนอกส่วนกลาง (: PNS) เป็นระบบประสาทที่แตกแขนงออกมาจากระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย ประสาทสมอง (cranial nerve) ประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) ประสาทกาย (somatic nerve) และเซลล์แกงเกลียน (ganglion cell) โดยระบบประสาทรอบนอกนั้น สามารถแบ่งเป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) ", "title": "ระบบประสาทนอกส่วนกลาง" }, { "docid": "169791#0", "text": "ประสาทวิทยา () เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท กล่าวคือเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาโรคที่จัดว่าเกี่ยวข้องกับระบบประสาทกลาง, ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และระบบประสาทอิสระ รวมทั้งหลอดเลือด เนื้อเยื่อปกคลุม และอวัยวะที่ประสาทสั่งการ เช่น กล้ามเนื้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาจะได้รับการฝึกเพื่อการสืบค้น, การวินิจฉัย และรักษาความผิดปกติของระบบประสาท", "title": "ประสาทวิทยา" }, { "docid": "593774#4", "text": "องค์ประกอบของระบบรับความรู้สึกทางกาย กระจายไปทั่วส่วนสำคัญในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและของสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เป็นระบบที่ประกอบด้วยปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) และเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลางเช่นผิวหนัง กล้ามเนื้อ และอวัยวะอื่น ๆ ตลอดจนถึงนิวรอน/เซลล์ประสาทที่อยู่ในระบบประสาทกลาง", "title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย" }, { "docid": "563389#1", "text": "มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท", "title": "สภาวะตื่นตัว" }, { "docid": "12074#4", "text": "ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง หรือ ซีเอ็นเอส(central nervous system - CNS) และ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือ พีเอ็นเอส (peripheral nervous system - PNS) ระบบประสาทกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยทั่วไปเรียกส่วนหลักของระบบประสาทนอกส่วนกลางว่า เส้นประสาท (ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็น แกนประสาท หรือ แอกซอน (axon) ของเซลล์ประสาท) ระบบประสาทนอกส่วนกลางยังสามารถแบ่งออกเป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system)", "title": "ระบบประสาท" }, { "docid": "586043#36", "text": "กลุ่มบุคคลที่ชอบประดับร่างได้ทำการทดลองใช้อุปกรณ์แม่เหล็กฝังเพื่อที่จะเลียนแบบประสาทสัมผัสแบบนี้[34] แต่ว่า โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ (และเชื่อว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นด้วย) สามารถตรวจจับสนามไฟฟ้าโดยอ้อมโดยกำหนดผลที่เกิดขึ้นที่ขน ตัวอย่างเช่น ลูกโป่งที่มีชารจ์ไฟฟ้าจะมีแรงกดที่ขนแขนของมนุษย์ ซึ่งสามารถรู้สึกได้ทางกายสัมผัส และสามารถระบุได้ว่ามีเหตุมาจากไฟฟ้าสถิต ไม่ได้มาจากลมหรือเหตุอื่น ๆ แต่ว่า นี่ไม่ใช่เป็นการรับรู้สนามแม่เหล็ก แต่เป็นกระบวนการรับรู้หลังระบบรับความรู้สึก", "title": "ประสาทสัมผัส" }, { "docid": "146039#1", "text": "เส้นประสาทเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) โดยเส้นประสาทนำเข้า (afferent nerve) จะนำความรู้สึกจากอวัยวะต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง ไปยังระบบประสาทกลาง (central nervous system) ในขณะที่เส้นประสาทนำออก (efferent nerve) จะนำสัญญาณกระตุ้นจากระบบประสาทกลางไปยังกล้ามเนื้อและต่อมต่าง ๆ แอกซอนของเส้นประสาทนำเข้าและเส้นประสาทนำออกอาจจะรวมอยู่ในเส้นประสาทเดียวกัน โดยจะเส้นประสาทนั้นเรียกว่า เส้นประสาทระคน (mixed nerve) ตัวอย่างเช่นเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) ควบคุมการเคลื่อนไหวและรับความรู้สึกจากมือ", "title": "เส้นประสาท" }, { "docid": "137276#1", "text": "ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกได้เป็นระบบประสาทกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system) และระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือ พีเอ็นเอส (peripheral nervous system) ระบบประสาทกลางประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal cord) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการควบคุมพฤติกรรม ส่วนระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเซลล์ประสาททั้งหมดที่อยู่นอกระบบประสาทกลาง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ หรือ เอเอ็นเอส (autonomic nervous system) \nระบบประสาทกายประกอบด้วยเซลล์ประสาทนำเข้า (afferent neuron) ที่ส่งข้อมูลการรับความรู้สึกจากอวัยวะรับความรู้สึกมายังสมองและไขสันหลัง และเซลล์ประสาทนำออกที่ขนส่งข้อมูลสั่งการออกไปยังกล้ามเนื้อหรืออวัยวะที่ตอบสนองอื่นๆ ระบบประสาทอิสระแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) ซึ่งเป็นชุดของเส้นประสาทที่กระตุ้นการตอบสนองแบบ \"สู้หรือหนี\" (\"fight-or-flight\" response) ส่วนระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system) ตรงกันข้ามกันคือเตรียมความพร้อมร่างกายให้พักผ่อนและเก็บพลังงานเอาไว้", "title": "ประสาทกายวิภาคศาสตร์" }, { "docid": "597704#0", "text": "สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท () หรือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงข้ามระบบประสาท เป็นการเปลี่ยนการจัดระเบียบของนิวรอนเพื่อรวมส่วนของระบบประสาทรับความรู้สึกหลายระบบมาทำหน้าที่เดียวกัน\nเป็นสภาพพลาสติกของระบบประสาท (neuroplasticity) ประเภทหนึ่งที่มักเกิดขึ้นเมื่อระบบประสาทขาดข้อมูลความรู้สึกที่มีเหตุจากโรคหรือความเสียหายในสมอง \nการจัดระเบียบใหม่ของเครือข่ายนิวรอนอยู่ในระดับที่สูงสุดถ้าภาวะขาดความรู้สึกเป็นแบบระยะยาว เช่นความบอดแต่กำเนิด หรือความหนวกก่อนรู้ภาษา \nในกรณีเช่นนี้ สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาทเป็นเหตุให้ระบบประสาทอื่นที่ไม่เสียหายเช่นการเห็นและ/หรือการได้ยิน มีสมรรถภาพเพิ่มขึ้นทดแทนระบบประสาทที่เสียหาย \nการเพิ่มสมรรถภาพอย่างนี้เกิดจากการเชื่อมต่อทางประสาทใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเชื่อมคอร์เทกซ์ที่ขาดข้อมูลความรู้สึกของตนไป", "title": "สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท" }, { "docid": "908488#0", "text": "วิถีประสาท () เป็นเซลล์ประสาท (นิวรอน) ที่เชื่อมต่อกันเป็นทอด ๆ เพื่อส่งกระแสประสาทจากส่วนหนึ่งของระบบประสาทไปยังอีกส่วนหนึ่ง\nนิวรอนอาจจะเชื่อมต่อกันโดยใยประสาทเพียงเส้นเดียว หรือโดยมัดใยประสาทที่เรียกว่า ลำเส้นใยประสาท (tract)\nวิถีประสาทที่เชื่อมส่วนที่ห่างไกลกันในสมองหรือระบบประสาท จะเป็นมัดใยประสาทที่เรียกรวม ๆ กันว่า เนื้อขาว (white matter)\nวิถีประสาทที่เชื่อมส่วนที่ใกล้ ๆ กัน เช่น ในระบบประสาทที่ใช้สารสื่อประสาทโดยเฉพาะ ๆ (neurotransmitter system) มักจะเรียกว่า เนื้อเทา (grey matter)", "title": "วิถีประสาท" }, { "docid": "385741#0", "text": "ระบบประสาทซิมพาเทติก () เป็นระบบประสาทหลักหนึ่งในสามส่วนของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งอีกสองส่วนประกอบด้วย ระบบประสาทเอ็นทีริก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ", "title": "ระบบประสาทซิมพาเทติก" }, { "docid": "12074#6", "text": "ระบบประสาทอิสระ ยังสามารถแบ่งออกเป็น ระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ระบบประสาทซิมพาเทติกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายหรือสถานการณ์ที่ตึงเครียด ระบบประสาทอันนี้ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเพิ่มความดันเลือด และเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานตรงกันข้ามกับระบบประสาทซิมพาเทติก กล่าวคือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานเมื่อร่างกายรู้สึกผ่อนคลายหรือกำลังพัก มีผลทำให้รูม่านตาหดตัว, หัวใจเต้นช้าลง, เส้นเลือดขยายตัว และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหาร, ระบบสืบพันธุ์ และระบบขับถ่ายทำงานอีกด้วย", "title": "ระบบประสาท" }, { "docid": "786915#44", "text": "ในปัจจุบัน เส้นใยนาโน (nanofibres) ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในวัสดุนาโนที่สำคัญ เป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากเส้นใยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในระดับนาโนเมตร ซึ่งมีข้อดี คือ มีอัตราส่วนระหว่างพื้นผิวต่อปริมาตร (surface-to-volume ratio) สูงมากกว่า 1,000 เท่า เมื่อเทียบกับเส้นใยในระดับไมโครเมตร (microfibres) และมีขนาดของรูพรุน (pore) ที่เล็ก ส่งผลทำให้มีสมบัติต่าง ๆ เช่น สมบัติเชิงกล สมบัติทางไฟฟ้า หรือสมบัติอื่น ๆ ที่ดีมาก เหมาะสำหรับงานเฉพาะด้าน ซึ่งต้องการความได้เปรียบของขนาดที่จิ๋วแต่แจ๋ว ไปใช้ เช่น การประยุกต์ใช้งานของเส้นใยนาโนพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ ไม่เป็นพิษ และมีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ สำหรับงานทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก ( bone tissue engineering ) ผ้าปิดแผล (wound dressing) ระบบส่งยา (drug delivery system) ระบบการกรองอย่างละเอียด (ultrafiltration) เป็นต้น สำหรับเทคนิคที่นำมาใช้ในการเตรียมเส้นใยนาโนมีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีการมีข้อดี ข้อเสีย ที่แตกต่างกันไป ซึ่ง เทคนิคอิเล็กโตรสปินนิ่ง (electrospinning) หรือ การปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิต เป็นทางเลือกใหม่ที่ได้ถูกนำมาใช้เตรียมเส้นใยนาโนของวัสดุพอลิเมอร์ และสารอนินทรีย์ออกไซด์หลากหลายชนิด", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "64580#33", "text": "เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสถิตหรือเครื่องไฟฟ้าสถิต เป็นอุปกรณ์เครื่องจักรกลที่ผลิตกระแสไฟฟ้าที่อยู่กับที่หรือไฟฟ้าที่แรงดันสูงและกระแสต่อเนื่องต่ำ ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตย้อนหลังกลับไปที่ อารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแต่สำหรับเมื่อพันปีก่อน มันก็ยังคงเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่น่าสนใจและ ลึกลับโดยไม่มีทฤษฎีที่จะอธิบายพฤติกรรมของมันและมักจะสับสนกับแม่เหล็ก ในตอนท้ายของ ศตวรรษที่ 17 นักวิจัยมากมายได้พัฒนาวิธีการทางปฏิบัติของการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยแรงเสียดทาน แต่การพัฒนาของเครื่องไฟฟ้าสถิตไม่ได้เริ่มต้นอย่างจริงจังจนกระทั่งศตวรรษที่ 18 เมื่อ พวกมันกลายเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ใหม่ของไฟฟ้า เครื่องกำเนิด ไฟฟ้าสถิตทำงานโดยใช้มือ(หรือกำลังอื่นๆ) ที่จะเปลี่ยนงานเชิงกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เคี่องกำเนิดไฟฟ้าสถิตพัฒนาประจุไฟฟ้าสถิตของสัญญลักษณ์ตรงข้ามให้กลายเป็นสองตัวนำไฟฟ้า โดยใช้กำลังไฟฟ้าเท่านั้นและงานโดยการใช้แผ่นเคลื่อนที่, กลองหรือสายพานขนประจุไฟฟ้าไปยังขั้วไฟฟ้าที่มีศักย์ไฟฟ้าสูง ประจุจะถูกสร้างจากหนึ่งในสองวิธีคือผลของ triboelectric (แรงเสียดทาน)หรือการเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิต", "title": "เครื่องกำเนิดไฟฟ้า" }, { "docid": "786915#24", "text": "การไหลของของเหลวไวไฟเช่นน้ำมันเบนซินภายในท่อสามารถสร้างและสะสมไฟฟ้าสถิต ของเหลวไม่มีขั้วเช่นเบนซิน, โทลูอีน, ไซลีน, ดีเซล, น้ำมันก๊าดและน้ำมันดิบชนิดเบาแสดงความสามารถที่สำคัญสำหรับการสะสมประจุและการเก็บรักษาประจุในระหว่างการไหลด้วยความเร็วสูง การปลดปล่อยไฟฟ้าสถิตสามารถจุดประกายไอน้ำมันเชื้อเพลิง[17] เมื่อพลังงานการปลดปล่อยไฟฟ้าสถิตสูงพอ มันจะสามารถจุดประกายไอน้ำมันเชื้อเพลิงกับส่วนผสมอากาศ เชื้อเพลิงที่แตกต่างกันจะมีขีดจำกัดไวไฟแตกต่างกันและต้องมีพลังงานปลดปล่อยไฟฟ้าสถิตที่จะจุดชนวนในที่ระดับที่แตกต่างกันด้วย", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "786915#23", "text": "น้ำมันหม้อแปลงเป็นส่วนหนึ่งของระบบฉนวนไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้​​าขนาดใหญ่และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ การเติมมันลงไปใหม่ให้กับอุปกรณ์ขนาดใหญ่ต้องป้องกันการเติมประจุไฟฟ้าสถิตของของเหลวซึ่งอาจเกิดความเสียหายต่อฉนวนของหม้อแปลงที่มีความไว", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "194145#0", "text": "ระบบประสาทอิสระหรือระบบประสาทอัตโนวัติ () เป็นการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองและควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ ทำหน้าที่อยู่นอกอำนาจจิตใจแบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ", "title": "ระบบประสาทอิสระ" }, { "docid": "188997#3", "text": "แม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพเป็นเรื่องที่ศึกษากันเป็นหลักโดยใช้เทคนิคของสรีรวิทยาไฟฟ้า (electrophysiology) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 แพทย์และนักฟิสิกส์ชาวอิตาลีชื่อ ลุยจี กัลวานี (Luigi Galvani) ได้บันทึกเป็นครั้งแรกว่ากบสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสได้ ในขณะที่เขากำลังทดลองเรื่องไฟฟ้าสถิต กัลวานีจึงตั้งชื่อให้ไฟฟ้านี้ว่า \"ไฟฟ้าจากสัตว์\" เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่คนในยุคนั้นก็เรียกกันว่า แกลแวนิซึม (Galvanism) กัลวานีพิจารณาว่าการกระตุ้นของกล้ามเนื้อเป็นผลมาจากของเหลวหรือวัสดุนำไฟฟ้าที่อยู่ในเส้นประสาท", "title": "แม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ" }, { "docid": "58892#33", "text": "เซลล์ประสาทนำเข้า (Afferent neuron) ส่งข้อมูลจากเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ไปยังระบบประสาทกลาง โดยบางครั้งเรียกว่า เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neurons) เซลล์ประสาทส่งออก (Efferent neuron) ส่งสัญญาณจากระบบประสาทกลางไปยังเซลล์ปฏิบัติงาน (effector cell) โดยบางครั้งเรียกว่า เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) เซลล์ประสาทต่อประสาน (interneuron) เชื่อมนิวรอนภายในเขตโดยเฉพาะ ๆ ของระบบประสาทกลาง", "title": "เซลล์ประสาท" }, { "docid": "769894#1", "text": "แรงดันไฟฟ้าอาจเกิดจากสนามไฟฟ้าสถิต หรือจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสนามแม่เหล็ก หรือจากสนามแม่เหล็กที่แปรตามเวลาหรือทั้งสามอย่างรวมกัน โวลต์มิเตอร์สามารถใช้ในการวัดแรงดันไฟฟ้า (หรือความต่างศักย์) ระหว่างจุดสองจุดในระบบ; บ่อยครั้งที่ศักย์อ้างอิงทั่วไปเช่นกราวด์ของระบบจะถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในจุดที่ใช้วัด แรงดันไฟฟ้าอาจหมายถึงแหล่งที่มาของพลังงาน (แรงเคลื่อนไฟฟ้า) หรือพลังงานที่หายไป, ที่ถูกใช้หรือที่ถูกเก็บไว้ (แรงดันตกคร่อม)", "title": "โวลเตจ" }, { "docid": "119766#1", "text": "เครื่องถ่ายเอกสารระบบไฟฟ้าสถิต เป็นกระบวนการถ่ายเอกสารแบบใช้กระดาษเคลือบ ซึ่งใช้ประจุไฟฟ้าลบในการถ่ายทอดภาพจากต้นฉบับ เช่นเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารแบบใช้กระดาษธรรมดา แต่กระบวนการของระบบไฟฟ้าสถิต ใช้วัสดุและเทคนิคคล้ายกับการอัดรูปถ่าย กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยการทำให้กระดาษเคลือบมีประจุไฟฟ้าลบ แล้วปล่อยให้กระดาษเคลือบสัมผัส กับลำแสงที่สะท้อนมาจากต้นฉบับ จากนั้นผ่านกระดาษลงในสารละลายออกและเป่าให้แห้งด้วยอากาศร้อนก่อนออกจากเครื่อง กระดาษเคลือบเป็นกระดาษที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษ หน้ากระดาษด้านที่สัมผัสกับแสงเคลือบด้วยซิงค์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่มีความไวต่อแสง ส่วนด้านหลังกระดาษเคลือบด้วยสารละลายเรซินซึ่งจะอุดรูพรุนของกระดาษ ทำให้กระดาษ ไม่ดูดซับของเหลวเมื่อถูกจุ่มลงในสารละลาย เนื่องจากกระดาษมีความไวต่อแสง ดังนั้น จึงต้องป้องกันไม่ให้ถูกแสง นอกจากในช่วงเวลาที่ถ่ายเอกสารเท่านั้น", "title": "เครื่องถ่ายเอกสาร" }, { "docid": "783166#9", "text": "แรงเคลื่อนไฟฟ้าในหน่วยไฟฟ้าสถิตจะเป็น statvolt (ในเซนติเมตรกรัมระบบที่สองของหน่วยที่เท่ากับจำนวนเอิร์กต่อหน่วยประจุไฟฟ้าสถิต)", "title": "แรงเคลื่อนไฟฟ้า" }, { "docid": "137370#0", "text": "ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (English: central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน", "title": "ระบบประสาทกลาง" }, { "docid": "243647#0", "text": "ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก () เป็นหนึ่งในสองระบบหลักของ ระบบประสาทอัตโนมัติ เส้นประสาทในระบบพาราซิมพาเทติก คือเส้นประสาทที่มาจากบริเวณเหนือไขสันหลัง คือบริเวณที่เป็นสมองส่วนกลาง และเมดัลลาออบลองกาตา และเส้นประสาทที่มาจากบริเวณต่ำ", "title": "ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก" }, { "docid": "786915#48", "text": "การป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นเพราะมีการสะสมของอะตอมหรือประจุไฟฟ้าในในร่างกาย รวมทั้งยังไปถึงสภาพอากาศที่แห้งอีกด้วย ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น จึงมีวิธีการป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตนั่นก็คือ -ควรดื่มน้ำให้มากๆ ทาโลชั่นบำรุงผิว เพื่อไม่ให้ร่างกายหรือผิวพรรณนั้นแห้งกร้านที่เป็นตัวทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต -หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่เป็นขนสัตว์ และผ้าใยสังเคราะห์ -ควรสวมใส่ถุงเท้าผ้าคอตตอน และเลือกใส่รองเท้าที่เป็นพื้นยาง", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "12074#1", "text": "ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้", "title": "ระบบประสาท" } ]
3997
โดยคำว่า ชีววิทยา มาจากภาษาอะไร?
[ { "docid": "729#0", "text": "ชีววิทยา (English: Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน[1] โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า \"bios\" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ \"logos\" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล อาจารย์กรองทิพย์สอนไม่รู้เรื่องเลย เปลี่ยนคนสอนที", "title": "ชีววิทยา" } ]
[ { "docid": "860308#0", "text": "คำว่า คอเคลีย มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า \"หอยโข่ง/หอยทาก, เปลือก, หรือเกลียว\" ซึ่งก็มาจากคำกรีก คือ kohlias\nส่วนคำปัจจุบันที่หมายถึง หูชั้นในรูปหอยโข่ง พึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17\nคอเคลียของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งมีเซลล์ขนที่แปลแรงสั่นที่วิ่งไปในน้ำที่ล้อมรอบ ให้เป็นกระแสไฟฟ้าที่ส่งไปยังสมองเพื่อประมวลเสียง\nส่วนอวัยวะที่มีรูปเป็นหอยโข่งประมาณว่าเกิดในต้นยุคครีเทเชียสราว ๆ 120 ล้านปีก่อน\nนอกจากนั้นแล้ว เส้นประสาทที่วิ่งไปยังคอเคลียก็เกิดในยุคครีเทเชียสเหมือนกัน\nวิวัฒนาการของคอเคลียในมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญทางวิทยาศาสตร์เพราะว่าดำรงเป็นหลักฐานได้ดีในซากดึกดำบรรพ์\nในศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการ และนักบรรพชีวินวิทยา ได้พยายามพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อข้ามอุปสรรคในการทำงานกับวัตถุโบราณที่บอบบาง\nในอดีต นักวิทยาศาสตร์จำกัดมากในการตรวจดูตัวอย่างโดยไม่ทำให้เสียหาย\nแต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ระดับไมโคร (micro-CT scanning)\nช่วยให้สามารถแยกแยะซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์จากซากตกตะกอนอื่น ๆ\nและเทคโนโลยีรังสีเอกซ์ ก็ช่วยให้ตรวจสมรรถภาพการได้ยินของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วได้ และช่วยสร้างความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับทั้งบรรพบุรุษมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน", "title": "วิวัฒนาการของคอเคลีย" }, { "docid": "156405#2", "text": "กลุ่มภาษาเจอร์มานิกจะได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาสลาวิกน้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่มีเขตแดนติดต่อกัน เพราะว่าชาวสลาฟมักจะอพยพลงไปทางใต้มากกว่า แทนที่จะไปทางตะวันตก มีแนวโน้มที่จะลดอิทธิพลของกลุ่มภาษาสลาวิกในกลุ่มภาษาเจอร์มานิกด้วยเหตุผลทางการเมือง มีเพียงภาษายิดดิชเพียงภาษาเดียวเท่านั้น ที่พอจะมีอิทธิพลของกลุ่มภาษาสลาวิกที่เห็นได้ชัด แต่ก็ยังพบอิทธิพลดังกล่าวอยู่ในภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น คำว่า Grenze (ชายแดน) ในภาษาเยอรมัน มาจากคำว่า *granica ซึ่งเป็นคำร่วมเชื้อสายของกลุ่มภาษาสลาวิก คำว่า quark (เนยแข็งชนิดหนึ่ง) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งยืมมาจากคำว่า Quark ในภาษาเยอรมัน ก็มาจากคำว่า tvarog ในภาษาสวีเดนยังมีคำว่า torg (ตลาด) tolk (ล่าม) และ pråm (เรือบรรทุก) ซึ่งมาจากคำว่า tъrgъ tlŭkŭ และ pramŭ ในกลุ่มภาษาสลาวิกตามลำดับ", "title": "กลุ่มภาษาสลาวิก" }, { "docid": "879348#1", "text": "นักชีววิทยาวิวัฒนาการจูเลียน ฮักซ์ลีย์ ได้บัญญัติคำว่า \"clade\" ใน พ.ศ. 2500 เพื่อกล่าวถึงผลจากวิวัฒนาการแบบแยกสาย (cladogenesis)", "title": "เคลด" }, { "docid": "4208#1", "text": "นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า \"ระบบนิเวศ\" (\"Ökologie\") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' () ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ () ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้:นิเวศวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เช่นเดียวกัน มีการนำนิเวศวิทยาไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติจำนวนมากด้านชีววิทยาอนุรักษ์ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (เช่น นิเวศเกษตร () เกษตรกรรม ป่าไม้ วนเกษตร ประมง) ผังเมือง (นิเวศวิทยาชุมชนเมือง), สุขภาพชุมชน เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ () และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ (นิเวศวิทยาของมนุษย์) ตัวอย่างเช่น วิธีการที่เรียกว่า \"วงกลมของความยั่งยืน\" () ซึ่งจะมีการใส่ใจถึงนิเวศวิทยามากกว่าแค่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว สิ่งมีชีวิต (รวมทั้งมนุษย์) และทรัพยากร ประกอบขึ้นเป็นระบบนิเวศซึ่งเป็นผลให้มีการรักษาระดับกลไกการฟีดแบ็คทางชีวฟิสิกส์ที่ควบคุมกระบวนการที่กระทำต่อองค์ประกอบของโลกที่เป็นชีวภาพ () และกายภาพ () ระบบนิเวศมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตอย่างยั่งยืนและสร้างทุนทางธรรมชาติ เช่น การผลิตชีวมวล (อาหาร เชื้อเพลิง เส้นใยและยา) ควบคุมสภาพภูมิอากาศ วัฏจักรของชีวธรณีเคมี () ของโลก การกรองน้ำ การก่อตัวของดิน การควบคุมการชะล้างพังทลาย การป้องกันน้ำท่วมและลักษณะทางธรรมชาติอื่นๆ ที่มีมูลค่าทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือมูลค่าภายในตัวมันเอง", "title": "นิเวศวิทยา" }, { "docid": "12072#6", "text": "คำว่า ประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscience) มักใช้ในการพูดถึงสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระบบประสาท (nervous system) อาจจะกล่าวได้ว่า จิตวิทยา (psychology) จริง ๆ แล้วเป็นสาขาย่อยของประสาทวิทยาศาสตร์ แต่นักทฤษฎีจิต-ร่างกายโต้แย้งคำกล่าวนี้ คำว่า ประสาทชีววิทยา​ (neurobiology) สามารถนำมาใช้แทนคำว่าประสาทวิทยาศาสตร์ เฉพาะการศึกษาที่เน้นการศึกษาทางชีววิทยาของระบบประสาท อย่างไรก็ตามความจำกัดความของสองคำนี้ก็ยังคลุมเครืออยู่", "title": "ประสาทวิทยาศาสตร์" }, { "docid": "104288#3", "text": "นิติเวชวิทยา แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า forensic medicine (forensic มาจากภาษาละตินว่า forensis แปลว่า ที่ตกลงข้อพิพาททางกฎหมาย ส่วน medicine ในที่นี้หมายถึง วิชาแพทย์ แปลว่า แพทยศาสตร์ หรือเวชศาสตร์) แต่ตามกฎเกณฑ์การแปลนั้น คำว่า \"วิทยา\" จะแปลมาจากคำในภาษาอังกฤษ ที่ลงท้ายด้วย \"logy\" เสมอ เช่น ชีววิทยา แปลมาจาก biology สรีรวิทยา มาจาก physiology จิตวิทยา มาจาก psychology ปาราสิตวิทยา มาจาก parasitology และสังคมวิทยา มาจาก sociology เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าใช้ \"นิติเวชวิทยา\" ย่อมไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น และปัจจุบันคำว่า \"เวชศาสตร์\" แปลมาจากคำว่า \"medicine\" ซึ่งมีที่ใช้อยู่หลายคำ ได้แก่ เวชศาสตร์การบิน มาจาก avitation medicine เวชศาสตร์อุตสาหกรรม มาจาก industrialmedicine เวชศาสตร์ป้องกันมาจาก preventive medicine กีฬาเวชศาสตร์ มาจาก sports medicine เป็นต้น ดังนั้นการแปล forensic medicine เป็นนิติเวชศาสตร์ จึงนับว่า เป็นศัพท์ที่เข้าชุดกันดี นอกจากนี้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ก็ยอมรับคำว่า \"นิติเวชศาสตร์\" นี้เข้าไว้ด้วยแล้ว ", "title": "นิติเวชศาสตร์" }, { "docid": "879427#0", "text": "ในชีววิทยา คำว่า การปรับตัว () มีความหมาย 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกัน คือ", "title": "การปรับตัว (ชีววิทยา)" }, { "docid": "17183#0", "text": "พิษวิทยา ( มาจากคำว่า toxicos และ logos ในภาษากรีก) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของสารพิษที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีววิทยาของสิ่งมีชีวิต อาการพิษ กลไกการเกิดพิษ วิธีการรักษา และการตรวจสอบความเป็นพิษของสาร \nประวัติความเป็นมาของวิชาพิษวิทยาโดยคร่าว ๆ อาจกล่าวได้ว่ามนุษย์เริ่มรู้จักเรื่องสารพิษมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล มนุษย์ในสมัยก่อนรู้จักสังเกตสิ่งมีชีวิตรอบตัว เช่น พืชมีพิษหรือสัตว์มีพิษ และมีการนำพิษจากสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการฆาตกรรม ฆ่าตัวตาย หรือตัดสินโทษประหารในสมัยก่อน เช่น ", "title": "พิษวิทยา" }, { "docid": "32293#22", "text": "กลไกเหล่านี้ได้รับการวางให้เป็นทฤษฎีเพือใช้เป็นพื้นฐานทางจิตวิทยาของวัฒนธรรม เพื่อความเข้าใจคำว่าวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง เราจะต้องมีความเข้าใจในเงื่อนไขทางชีววิทยาของความเป็นไปได้เสียก่อน", "title": "วัฒนธรรม" }, { "docid": "799296#7", "text": "มศว บางเขน เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ) 2 ปีและ 4 ปี ในวิชาเอกภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ธุรกิจศึกษา ประวัติศาสตร์ เคมี คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ทั่วไป และเทคโนโลยีทางการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี วิชาเอกสถิติและวิชาเอกชีววิทยา หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ.) วิชาเอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ปี พ.ศ.2530 เปิดสอนระดับปริญญาโทหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) วิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก และยังคงเปิดติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันที่ประสานมิตร ", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน" }, { "docid": "396255#1", "text": "ในปี ค.ศ. 1983 ได้ตั้งชื่อทฤษฎี ให้กับระบบที่มีการกำกับดูแลที่ซับซ้อนใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎี Universal Darwinism นั้น ชี้ให้เห็นถึงวิวัฒนาการที่ไม่จำกัดเพียงระบบทางชีววิทยา นั่นหมายถึงมันไม่ได้จำกัดอยู่ในกรอบแคบ ๆ ของลักษณะยีน แต่ใช้กับระบบที่ซับซ้อนใด ๆ ที่แสดงหลักการของการสืบทอด การเปลี่ยนแปลง และการเลือก จึงสามารถเติมเต็มลักษณะของระบบวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น ศาสต์ใหม่ของมีมีติกที่แสดงถึงระบบอนาล็อกใจกลางของพันธุศาสตร์ในการวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมที่ทอดยาวข้ามขอบเขตของชีววิทยา ความรู้ และจิตวิทยา ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา คำว่า \"meme\" ถูกนิยาม และให้ความหมายโดย ในปี ค.ศ. 1976 เป็นหน่วยพื้นฐานของการส่งผ่านทางวัฒนธรรมหรือการเลียนแบบ และในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด มีความหมายว่า องค์ประกอบของวัฒนธรรมที่อาจจะส่งผ่านบนโดยวิธีการที่ไม่ใช่ทางพันธุกรรม", "title": "ขั้นตอนวิธีการลอกแบบ" }, { "docid": "24220#0", "text": "ไวรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา[1] อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงสิ่งที่ไม่อาจจะสรุปได้ว่าเป็นสิางมีชีวิตที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 [2] ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ [3] วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology)", "title": "ไวรัส" }, { "docid": "872369#63", "text": "ถ้าสถานการณ์เหมาะสมและมีเวลาพอ วิวัฒนาการจะนำไปสู่การเกิดสปีชีสใหม่\nแต่การนิยามคำว่าสปีชีส์ให้แม่นยำและครอบคลุมก็เป็นเรื่องยาก\nนักชีววิทยาวิวัฒนาการชาวเยอรมัน Ernst Mayr นิยามสปีชีส์ว่าเป็นประชากรหรือกลุ่มประชากรที่สมาชิกมีโอกาสผสมพันธุ์กัน แล้วมีลูกที่สามารถรอดชีวิตและสืบพันธุ์ได้\nดังนั้น สมาชิกของสปีชีส์หนึ่งจะไม่สามารถมีลูกที่อยู่รอดแล้วสืบพันธุ์ กับสมาชิกของสปีชีส์อื่น ๆ\nนักชีววิทยาได้ยอมรับนิยามนี้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าจะไม่สามารถใช้กับสิ่งมีชีวิตบางอย่างเช่น แบคทีเรีย เพราะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ", "title": "บทนำวิวัฒนาการ" }, { "docid": "854605#3", "text": "ในภาษาอังกฤษคำว่า beaver มาจากคำภาษาอังกฤษคำว่า beofor หรือ beferor (และในอดีตมีการบันทึกว่าน่าจะเป็นคำว่า bebr)ซึ่งรากของคำว่า bebruz ในภาษาโปรโต-เจอร์มานิก หรือในกลุ่มภาษาอื่นๆเช่นคำว่า bibar จากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก คำว่า bjorr จากภาษานอร์สโบราณหรือคำว่า Biber จากภาษาเยอรมันเป็นต้น", "title": "บีเวอร์" }, { "docid": "879427#13", "text": "นักชีววิทยาวิวัฒนาการชาวยูเครน-อเมริกันผู้ทรงอิทธิพล Theodosius Dobzhansky ได้ให้นิยามคำภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้", "title": "การปรับตัว (ชีววิทยา)" }, { "docid": "5920#43", "text": "ไม่มีความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเชื้อชาติในทางชีววิทยา นักโบราณคดีจำนวนน้อยสนับสนุนแนวคิดว่า \"เชื้อชาติ\" (race) ของมนุษย์เป็นมโนทัศน์ชีววิทยาพื้นฐาน นักโบราณคดีส่วนมากยังยึดมั่นว่า คำว่า \"เชื้อชาติ\" ถือว่าเชื้อชาติเป็นกลุ่มที่ผูกพันกันอย่างชัดเจนด้วยลักษณะเฉพาะที่สำคัญ มักเป็นลำดับที่มีระเบียบและใช้เพื่ออ้างความชอบธรรมแก่ความไม่เท่าเทียมทางสังคมโดยปริยาย ด้วยเหตุผลเหล่านี้ นักโบราณคดีจึงมีแนวโน้มปฏิเสธการใช้คำว่า \"เชื้อชาติ\" เพื่ออธิบายความหลากหลายทางชีววิทยา พวกเขามักเห็นว่า \"เชื้อชาติ\" เป็นความนึกคิดทางสังคมซึ่งเสริมแต่งบนความแปรผันทางชีววิทยาที่ซ่อนอยู่ แต่ปิดบังบางส่วน[82][83][84] มุมมองขัดแย้งมีว่า เป็นไปได้ที่จะพูกถึง \"เชื้อชาติ\" โดยไม่ต้องทำการสันนิษฐานองค์ประกอบและลำดับขั้น และนักชีววิทยาบางคนและนักนิติวิทยาศาสตร์จำนวนมากใช้คำว่า \"เชื้อชาติ\" เพื่ออธิบายความแปรผันทางชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษแห่งทวีป (continental ancestry) เป็นที่ตกลงกันโดยทั่วไปว่า ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่าง รวมทั้งโรคที่พบได้ทั่วไปบางโรค สัมพันธ์กับบรรพบุรุษแห่งทวีปจากภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และบรรพบุรุษทางพันธุกรรมตามที่กำหนดโดยการระบุเชื้อชาตินั้นกำลังเป็นเครื่องมือแพร่หลายมากขึ้นในการประเมินความเสี่ยงทางการแพทย์[79][80][81][85][86][87][88][89]", "title": "มนุษย์" }, { "docid": "734612#1", "text": "\"\"Acinetobacter\"\" ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อแยกออกจาก \"Achromobacter\" spp. ใน ค.ศ. 1954 \"Acineto-\" สันนิษฐานว่ามาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า \"Acinetique\" โดยมีรากศัพท์ภาษากรีกมาจากคำว่า \"ακίνητο\" แปลว่า ไม่เคลื่อนที่ (Akinetic) ส่วน \"-bacter\" มาจากคำว่า \"Bacterium\" ที่ใช้เรียกแบคทีเรียโดยรวม โดยมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า \"βακτήριον\" ซึ่งแปลว่า สิ่งขนาดเล็กหรือแท่งสั้น ๆ ในขณะที่ \"\"baumannii\"\" ถูกบัญญัติขึ้นมาจากนามสกุลของ Paul และ Linda Baumann เพื่อเป็นเกียรติสามีภรรยานักชีววิทยาทั้งสอง \"A. baumannii\" ถูกจัดอยู่ใน Superkingdom Prokaryota; Kingdom Bacteria; Subkingdom Negibacteria; Phylum Proteobacteria; Class Gammaproteobacteria; Order Pseudomonadales; Family Moraxellaceae: Genus \"Acinetobacter\" และเนื่องจากความยุ่งยากในการจำแนกเพราะความคล้ายในระดับสปีชีส์จากการทดสอบทางชีวเคมีหลายชนิด \"Acinetobacter\" spp. genospecies 1-3 และ 13BJ ซึ่งถูกจำแนกด้วย DNA-DNA hybridization จึงจัดรวมเป็นกลุ่มสปีชีส์เรียกว่า \"A. calcoaceticus-baumannii\" complex ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มีชื่อสปีชีส์แล้ว 6 สปีชีส์ ได้แก่ \"A. calcoaceticus, A. baumannii, A. pittii, A. nosocomialis, A. seifertii,\" และ \"A.\" \"dijkshoorniae\" ", "title": "Acinetobacter baumannii" }, { "docid": "256039#0", "text": "อาเคเชีย () เป็นไม้สกุลของไม้พุ่มหรือไม้ต้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Mimosoideae ของวงศ์ถั่ว บันทึกเป็นครั้งแรกในแอฟริกาโดยนักชีววิทยาชาวสวีเดนคาโรลัส ลินเนียส ในปี ค.ศ. 1773 มักจะเป็นไม้ที่มีหนามและฝัก ชื่อมาจากคำว่า ภาษากรีก “ακις” (อาคิส) ที่แปลว่าปลายแหลมเพราะเป็นพืชที่มีหนามแหลมของสปีชีส์ “Acacia nilotica” (“อาเคเชียไนล์”) ของอียิปต์", "title": "อาเคเชีย" }, { "docid": "151887#1", "text": "โดยคำว่า Monster ที่หมายถึง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินคำว่า \"Monstrum\" ซึ่งหมายถึง การเกิดสิ่งผิดปกติทางชีววิทยามักจะที่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ว่าสิ่งที่ถูกต้องภายในเพื่อธรรมชาติ", "title": "สัตว์ประหลาด" }, { "docid": "27492#9", "text": "กะเทยไม่ใช่ เกย์ เพราะเกย์กับกะเทยมีรสนิยมและวิถีการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน คำว่ากะเทยในบางครั้งจะใช้คำเรียกว่า \"เลดี้บอย\" หรือ \"เพศที่สาม\" สำหรับบุคคลเพศชายที่แต่งตัวเป็นเพศหญิงในการแสดงในภาษาอังกฤษส่วนมากจะเรียกแดร็กควีน (drag queen) และในละครคาบุกิของญี่ปุ่นที่ห้ามผู้หญิงแสดง จะมีการให้ผู้ชายแต่งตัวเป็นผู้หญิงแสดงแทน คำว่า กะเทย ยังเป็นศัพท์ทางชีววิทยาหมายถึง สัตว์ที่มีสองเพศในตัวเดียวกัน (hermaphrodite)", "title": "กะเทย" }, { "docid": "19300#2", "text": "คำว่า เซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็ก ๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระ", "title": "เซลล์ (ชีววิทยา)" }, { "docid": "364373#1", "text": "เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก ประสาทชีววิทยา ปัจจัยทางจิตใจ และกระบวนการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรค ยาเสพติดและยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการแย่ลงได้ งานวิจัยในปัจจุบันเน้นไปทางบทบาทของประสาทชีววิทยา แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุทางกายที่เป็นสาเหตุเดี่ยวๆ ของโรคได้ก็ตาม เนื่องจากโรคนี้มีการแสดงออกของอาการได้หลายรูปแบบ จึงยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำวินิจฉัยโรคจิตเภทนี้เป็นโรคเพียงโรคเดียวหรือเป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ถึงแม้คำภาษาอังกฤษของ schizophrenia จะมาจากภาษากรีกที่แปลว่าการแบ่งแยกของจิตใจ แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ทำให้มีหลายบุคลิกอย่างที่สังคมบางส่วนเข้าใจ", "title": "โรคจิตเภท" }, { "docid": "5920#44", "text": "การใช้คำว่า \"เชื้อชาติ\" ให้มีความหมายคล้ายกับ \"สปีชีส์ย่อย\" ในมนุษย์นั้นเลิกไปแล้ว Homo sapiens ไม่มีสปีชีส์ย่อย ในความหมายโดยนัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ คำนี้ใช้ไม่ได้กับสปีชีส์ที่เป็นเอกพันธุ์ทางพันธุกรรมอย่างมนุษย์ ดังที่แถลงไว้ในแถลงการณ์ว่าด้วยเชื้อชาติ[90] (ยูเนสโก ค.ศ. 1950 ) การศึกษาทางพันธุศาสตร์ได้พิสูจน์ถึงการขาดพรมแดนทางชีววิทยาที่ชัดเจนแล้ว ฉะนั้น คำว่า \"เชื้อชาติ\" จึงพบใช้น้อยครั้งเป็นศัพท์เฉพาะทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะในทางมานุษยวิทยาเชิงชีววิทยาหรือพันธุศาสตร์มนุษย์[91] สิ่งที่ในอดีตเคยนิยามว่าเป็น \"เชื้อชาติ\" เช่น ผิวขาว ผิวดำ หรือเอเชีย ปัจจุบันนิยามว่าเป็น \"กลุ่มชาติพันธุ์\" หรือ \"ประชากร\" ตามสาขาที่พิจารณา (สังคมวิทยา มานุษยวิทยา พันธุศาสตร์) [92][93]", "title": "มนุษย์" }, { "docid": "625166#4", "text": "ในปี 1939 ลอร์ดนอร์ทบอร์น บัญญัติคำว่า \"การทำไร่นาอินทรีย์\" ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า \"Look to the Land\" (1940) จากมุมมองที่ว่า \"ไร่นาคือระบบของสิ่งมีชีวิต\" เป็นการอธิบายถึงภาพรวมของการทำไร่นาแบบรักษาความสมดุลทางชีววิทยา—ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาเรียกว่า \"การทำไร่นาโดยใช้สารเคมี\" ซึ่งต้องพึ่งพา \"การนำเข้าปุ๋ย\" และ \"ไม่สามารถสร้างความพอเพียงในตัวเองหรือองค์รวมของอินทรีย์\" ซึ่งสิ่งนั้นทำให้เกิดความแตกต่างจากสิ่งที่วิทยาศาสตร์ใช้คำว่า \"อินทรีย์\" ที่หมายถึง กลุ่มโมเลกุลที่มีคาร์บอนโดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับสารเคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ในกลุ่มโมเลกุลนี้รวมทุกอย่างที่เสมือนว่าจะกินได้ รวมถึงยาฆ่าแมลงและสารพิษส่วนใหญ่ด้วย ดังนั้น การใช้คำว่า \"organic\" (-อินทรีย์) และคำว่า \"inorganic\" (-อนินทรีย์ ซึ่งบางครั้งได้ถูกนำมาใช้อย่างผิด ๆ ว่าเป็นคำตรงกันข้ามของ -อินทรีย์ ในสื่อทั่วไป) เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทางเทคนิคและไม่เหมาะสมโดยสิ้นเชิงในการกล่าวถึงการทำไร่นา การผลิตอาหาร และในเรื่องของอาหารเอง", "title": "อาหารอินทรีย์" }, { "docid": "500997#9", "text": "ศัพท์ วิทยาศาสตร์เทียม มีพบใช้งานมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2547 เช่นในบทความของ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ที่มีการใช้คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม ในคอลัมน์ คลื่นความคิด ของนิตยสาร สารคดี คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม มีการเรียกกล่าวกันมากขึ้น หลังเกิดกรณีการร้องเรียนให้ตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดจีที200 โดย ผศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคลื่อนไหวเพื่อการตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดดังกล่าว ได้ออกมาให้นิยามคำศัพท์ และลักษณะของวิทยาศาสตร์เทียม ไว้เป็นกฎ 9 ข้อ", "title": "วิทยาศาสตร์เทียม" }, { "docid": "879427#48", "text": "ทางเลือกทวิบทเช่นนี้ทำให้นักชีววิทยาวิวัฒนาการชาวอินเดีย-อังกฤษฮอลเดน (J. B. S. Haldane) ได้พูดตลกไว้ว่า \n\"การมีเป้าหมาย (Teleology) เป็นเหมือนกับเมียน้อยของนักชีววิทยา เพราะเขาไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่มีเธอ แต่เขาก็ไม่เต็มใจที่จะให้เห็นพร้อมกับเธอต่อหน้าธารกำนัล\"\nส่วนนักปรัชญาชีววิทยาชาวอเมริกันเดวิด ฮัลล์ ได้แสดงข้อคิดเห็นว่า เมียน้อยของฮอลเดน \"ได้กลายเป็นภรรยาที่ได้แต่งงานอย่างถูกกฎหมายแล้ว (เพราะ) นักชีววิทยาไม่รู้สึกจำต้องขอโทษการใช้ภาษาแบบแสดงจุดมุ่งหมายอีกต่อไป แต่กลับอวดมัน\"", "title": "การปรับตัว (ชีววิทยา)" }, { "docid": "256372#4", "text": "ในปัจจุบันการใช้คำว่า “โลกใหม่” ในบริบทของประวัติศาสตร์จะใช้เมื่อกล่าวถึงการเดินทางของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส, การพิชิตยูคาทานโดยสเปน และเหตุการณ์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยเดียวกัน นอกจากนั้นแล้วคำว่า “โลกใหม่” บางครั้งก็ยังใช้ในบริบทของชีววิทยาเมื่อกล่าวถึงโลกเก่า (Palearctic, Afrotropic) และ สปีชีส์ของโลกใหม่ (Nearctic, Neotropic)", "title": "โลกใหม่" }, { "docid": "4218#38", "text": "คำว่า Homo ซึ่งเป็นชื่อสกุลทางชีววิทยาของมนุษย์ เป็นคำภาษาละตินที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า \"human\" และแปลเป็นภาษาไทยว่า มนุษย์ เป็นคำที่เลือกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนคาโรลัส ลินเนียสในปี ค.ศ. 1758[67] (ผู้เริ่มเรียกสัตว์สกุลต่าง ๆ โดยใช้ทวินาม) ในระบบการจำแนกสิ่งมีชีวิตของเขา คำว่า \"human\" ในภาษาอังกฤษ มาจากคำภาษาละตินว่า humanus ซึ่งก็เป็นคำวิเศษณ์ของคำว่า homo[68] ลินเนียสและนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ในยุคนั้นพิจารณาว่า วงศ์ลิงใหญ่เป็นสัตว์ที่ใกล้กับมนุษย์ที่สุด จากความคล้ายคลึงกันโดยสัณฐานและโดยกายวิภาค[69][70]", "title": "วิวัฒนาการของมนุษย์" }, { "docid": "788807#1", "text": "โดยที่คำว่า \"Aceros\" (/อาแกร็อส/) มาจากคำว่า \"cera\" หรือ \"keras\" ซึ่งเป็นภาษากรีก (κερος) แปลว่า \"เขาสัตว์\" และ A ที่เป็นอุปสรรค หมายถึง \"ไม่\" โดยรวมหมายถึง \"ไม่มีเขา\" อันหมายถึง นกเงือกในสกุลนี้ไม่มีโหนกแข็งอยู่บนหัวเหมือนนกเงือกสกุลอื่นบางชนิดของสกุลนี้สูญพันธุ์ไปแล้วจากเกาะลีฟู ในหมู่เกาะลอยัลตี โดยเคยมีอยู่เมื่อ 30,000 ปีก่อน ซึ่งเดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในสกุลนี้ แต่นักชีววิทยาบางคนได้จัดให้อยู่ในสกุล \"Rhyticeros\"", "title": "Aceros" } ]
3998
ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์เรีกว่าอะไร?
[ { "docid": "3831#0", "text": "ศาสนาคริสต์ (English: Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา[1] เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ [2] ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[631,644,3,3]}'>คริสตชน", "title": "ศาสนาคริสต์" } ]
[ { "docid": "936#91", "text": "มีชาวไทยนับถือศาสนาคริสต์ประมาณร้อยละ 1.1[148] ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54.56) นับถือนิกายโปรเตสแตนต์[เชิงอรรถ 2] ศาสนาคริสต์เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อมิชชันนารีชาวโปรตุเกสจากมะละกาเข้ามาเผยแผ่ศาสนา[155] นอกจากนี้ ยังมีผู้นับถือศาสนาอื่นอีก เช่น ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ ศาสนายูดาห์ ศาสนาบาไฮ รวมประมาณร้อยละ 0.1[148] ชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนพอสมควรยังคงถือศาสนาของชาติพันธุ์จีน รวมทั้งเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพื้นบ้านจีน (เช่น อนุตตรธรรมและเต๋อเจี่ยฮุ่ย) ศาสนาเหล่านี้ไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ และในการศึกษาทางสถิตินับสาวกเป็นพุทธเถรวาท[156] สำหรับประชาคมชาวยิวนั้น มีประวัติยาวนานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "7851#7", "text": "74.1% ของจำนวนประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 4.6% ของจำนวนประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์, ประชากรจำนวนประมาณ 180,000 คน นับถือนิกายคริสต์นิกายออโธด็อกส์, ประชากรจำนวนประมาณ 8,140 คนนับถือนิกายยิว, ประชากรจำนวนระหว่าง 15,000-338,998 คนนับถือศาสนาอิสลาม (ประเทศเริ่มมีศาสนาอิสลามมาตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1912), ประชากรจำนวนมากกว่า 10,000 คนนับถือศาสนาพุทธ และประชากรจำนวน 20,000 คนเลือกที่จะไม่นับถือศาสนาใด ยึดหลักความเป็นกลาง (จากผลสำรวจในปีพุทธศักราช 2544 หรือปีคริสต์ศักราช 2001)", "title": "ประเทศออสเตรีย" }, { "docid": "64751#7", "text": "ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ทุกคนต้องผ่านพิธีรับศีลนี้ก่อน เพื่อแสดงว่าตนเองได้เข้ามาเป็นสมาชิกของศาสนจักรแล้ว จึงจะสามารถรับศีลอื่น ๆ ต่อไปได้อีก การรับศีลล้างบาปนี้กระทำได้เพียงครั้งเดียวในชีวิตแม้ว่าจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น แต่ถ้ากลับมานับถือศาสนาคริสต์อีกก็ไม่ต้องรับศีลนี้ เพราะถือได้ว่าทำการล้างบาปแล้ว ทั้งนี้เพราะชาวคริสต์เชื่อกันว่ามนุษย์มีบาปกำเนิดติดตัวมาตั้งแต่เกิดสืบมาแต่บรรพบุรุษ ซึ่งตามพันธสัญญาเดิม ในศาสนาคริสต์บอกว่าบาบกำเนิดนี้มาจากมนุษย์คู่แรก คือ อาดัมและเอวา", "title": "ศีลศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "139041#18", "text": "สงครามครูเสดเป็นสงครามศาสนาระหว่างผู้นับถือคริสต์ศาสนาจากยุโรป และ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในตะวันออกกลาง เนื่องจากผู้นับถือคริสต์ศาสนาต้องการยึดครองกรุงเยรูซาเลมซึ่งถือว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของคริสต์ศาสนา สงครามครูเสดทำให้คริสต์ศาสนิกชนเพิ่มความตื่นตัวทางด้านศาสนากันมากขึ้น โดยมีการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เจ้านายจากยุโรปที่กลับมาจากสงครามโดยปลอดภัยก็อาจจะสร้างวัดฉลองหรือขยายวัดเดิม หรือถ้าไม่กลับมาคนที่อยู่ข้างหลังก็อาจจะสร้างวัดให้เป็นอนุสรณ์", "title": "สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์" }, { "docid": "357651#25", "text": "ศาสนาที่ชาวเซาท์ซูดานนับถือกันนั้นประกอบด้วยศาสนาชนพื้นเมืองดั้งเดิม ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม[37] แหล่งข้อมูลวิชาการและกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า ชาวเซาท์ซูดานส่วนใหญ่ยังคงนับถือความเชื่อชนพื้นเมืองแต่เดิม (บางครั้งใช้คำว่า วิญญาณนิยม) โดยมีผู้นับถือศาสนาคริสต์รองลงมา[38][39][40][9] ตามข้อมูลของหอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1990 อาจมีประชากรเซาท์ซูดานไม่เกิน 10% ที่เป็นคริสเตียน[41] อย่างไรก็ตาม บางรายงานข่าวและองค์กรคริสเตียนระบุว่า ประชากรเซาท์ซูดานส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์[42][43] คริสเตียนส่วนใหญ่เป็นนิกายคาทอลิกและแองกลิคัน และความเชื่อถือผีนั้นมักจะผสมเข้ากับความเชื่อคริสเตียน[44]", "title": "ประเทศเซาท์ซูดาน" }, { "docid": "48658#27", "text": "คิวบาเป็นสังคมที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติอยู่ปะปนกันโดยไม่มีการแบ่งแยกสีผิว ก่อนการปฏิวัติของฟิเดล คาสโตร ชาวคิวบาสวนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (ร้อยละ 72 ของประชาการทั้งหมด) นอกนั้นนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ศาสนายิว และศาสนาที่ผสมผสานระหว่างศาสนาคริสต์กับลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของของชนชาวผิวดำ ที่มาจากแอฟริกา ส่วนผู้ไม่นับถือศาสนาใดๆมีสูงถึงร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมด ภายหลังการปฏิวัติ รัฐบาลของฟิเดล คาสโตร เห็นว่าศาสนาเป็นสิ่งขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและการปฏิวัติไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้นจึงมุ่งกำจัดอิทธิพลของศาสนาให้หมดไป หนังสือเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนาถูกทำลาย โรงเรียนของศาสนจักรถูกยึดเป็นของรัฐ องค์กรทางศาสนาถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพ อิทธิพลของจักรวรรดินิยมอเมริกา]]ถูกถอนรากถอนโคนจากสังคมคิวบา [[รัฐส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเชื้อชาติและระหว่างเพศ ชาวคิวบา นิยมบริโภคอาหารประจำชาติที่ชื่อว่า เยโย่ โดยทำจากพืชพื้นเมือง", "title": "ประเทศคิวบา" }, { "docid": "144797#4", "text": "มาร์คและมาร์เซลเป็นฝาแฝดเกิดในครอบครัวที่มั่งคั่ง ทั้งสองคนมีภรรยาและมีครอบครัวที่เป็นหลักเป็นฐานอยู่ที่โรมกับบุตรและภรรยา สองพึ่น้องปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีบูชาเทพเจ้าโรมันจึงถูกโดนจับ ทรานควิลลินุสและมาชาผู้เป็นพ่อและแม่มาเยื่ยมในคุกและพยายามเกลี้ยกล่อมให้ลูกเลิกนับถือคริสต์ศาสนา เซบาสเตียนกลับเปลี่ยนใจให้ทั้งทรานควิลลินุสและมาชามานับถือคริสต์ศาสนา พร้อมกับนักบุญไทเบอร์เทียสผู้เป็นลูกของโครมาเทียสผู้เป็นนายทหารที่นั่น นิโคสตราตัสเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งและโซอีผู้ภรรยาก็ทำตาม ตามตำนานโซอีเป็นไบ้มา 6 ปึแต่นางก็บอกความประสงค์แก่เซบาสเตียนว่าต้องการจะนับถือคริสต์ศาสนา และทันที่ที่มานับถือโซอีก็พูดได้ นิโคสตราตัสจึงนำนักโทษที่เหลืออีก 16 คนมาให้เซบาสเตียนเปลี่ยนให้นับถือคริสต์ศาสนา ", "title": "เซบาสเตียน" }, { "docid": "2074#26", "text": "ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนประมาณที่มากถึง 240 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 40% ของประชากรทั้งหมด โดยส่วนมากจะอยู่ที่บรูไน, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศาสนา โดยศาสนาพุทธมีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในไทย, กัมพูชา, ลาว, พม่า, เวียดนาม และสิงคโปร์ ลัทธิบูชาบรรพบุรุษและลัทธิขงจื๊อก็มีผู้นับถือมากในเวียดนามและสิงคโปร์ ส่วนศาสนาคริสต์ก็เป็นที่นิยมในฟิลิปปินส์, ภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย, มาเลเซียตะวันออก และติมอร์-เลสเต โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกมากที่สุดในเอเชีย ส่วนติมอร์-เลสเตก็นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเช่นกัน เนื่องจากเคยตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสมาก่อน", "title": "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "5360#19", "text": "ประเทศโรมาเนียไม่มีศาสนาประจำชาติ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ โดย 81.0% ของผู้ที่ตอบสำมะโนประชากรของประเทศในปี ค.ศ. 2011 ถือนิกายออร์ทอดอกซ์ ซึ่งจัดอยู่ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แห่งโรมาเนีย อีก 6.2% เป็นโปรเตสแตนต์ 4.3% เป็นโรมันคาทอลิก และ 0.8% เป็นออร์ทอดอกซ์แบบกรีก จากประชากรที่เหลือ 195,569 คน นับถือศาสนาคริสต์นิกายอื่น หรือนับถือศาสนาอื่น โดย 64,337 คนนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งโดยมากเป็นชาวโรมาเซียเชื้อสายเติร์กและตาร์ตาร์ ส่วนอีก 3,519 คนเป็นชาวยิว นอกจากนี้ ประชากรจำนวน 39,660 คน ไม่นับถือศาสนาใดเลย หรือถืออเทวนิยม ในขณะที่ที่เหลือไม่มีข้อมูลว่านับถืออะไร[1]", "title": "ประเทศโรมาเนีย" }, { "docid": "148185#1", "text": "จดหมายที่ลงชึ่อโดยจักรพรรดิสององค์เป็นจดหมายเวียนในกลุ่มเจ้าเมืองทางจักรวรรดิโรมันตะวันออกซึ่งประกาศว่าจักรวรรดิจะเป็นทำตัวเป็นกลางในการนับถือศาสนาของประชาชน ซึ่งเป็นการยกเลิกอุปสรรคต่างๆ ในการนับถือคริสต์ศาสนาและศาสนาอื่นๆ จดหมาย “ประกาศอย่างจะแจ้งว่าผู้ลงชื่อของกฎนี้ไม่มีความประสงค์จะลงโทษผู้นับถือลัทธินิยมที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา”", "title": "พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน" }, { "docid": "5380#19", "text": "จังหวัดสิงห์บุรีมีวัดในศาสนาพุทธ จำนวน 178 แห่ง โบสถ์คริสต์ 2 แห่ง วัดคริสต์ 1 แห่ง มัสยิด 2 แห่ง\nจำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.80\nจำนวนผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.02\nจำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.18", "title": "จังหวัดสิงห์บุรี" }, { "docid": "939571#7", "text": "ศาสนาหลักคือ ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก โดยมีผู้นับถือ 80% ของประชากรทั้งหมด ชาวคริสต์ส่วนที่เหลือก็นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ", "title": "นครเซบู" }, { "docid": "69460#0", "text": "ศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนเริ่มแรก คือศิลปะที่สร้างโดยผู้นับถือคริสต์ศาสนาหรือโดยผู้ได้รับการอุปถัมภ์จากผู้นับถือคริสต์ศาสนาที่เริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 100 จนถึงราวปี ค.ศ. 500 ก่อนหน้าปี ค.ศ. 100 ไม่มีหลักฐานทางศิลปะที่หลงเหลือให้เห็นที่จะเรียกได้ว่าเป็นศิลปะหรือสถาปัตยกรรมของผู้นับถือคริสต์ศาสนาได้อย่างแท้จริง หลังจากปี ค.ศ. 500 ศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะของศิลปกรรมแบบไบแซนไทน์", "title": "ศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนเริ่มแรก" }, { "docid": "306673#3", "text": "ประชากรเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ มีประชากรรวมทั้งสิ้น 26,496 คน เป็นประชากรชาย 12,882 คน ประชากรหญิง 13,614 คน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 18,999 คน เป็นชาย 9,147 คน เป็นหญิง 9,852 คน (ที่มา : งานทะเบียนราษฎร สำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (21 เมษายน 2554))\nมีผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.48 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล โดยมีวัด จำนวน 11 วัด ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.51 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล โดยมีโบสถ์คริสต์ จำนวน 3 แห่ง และผู้นับถือศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 0.01 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล", "title": "เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ" }, { "docid": "145590#2", "text": "ในสมัยดิออเกลติอานุสยังมีการการข่มเหงผู้นับถือคริสต์ศาสนากันอย่างเป็นทางการมาจนถึง ค.ศ. 311 ซึ่งเป็นการทำร้ายผู้นับถือคริสต์ศาสนาอย่างรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโร", "title": "จักรพรรดิดิออเกลติอานุส" }, { "docid": "249266#0", "text": "ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน ( มาจากภาษา แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่", "title": "ลัทธินอกศาสนา" }, { "docid": "681295#3", "text": "ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดศาสนาหนึ่ง เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ซึ่งนับถือพระยาห์เวห์เป็นพระเจ้าพระองค์เดียว คำว่า \"พระคริสต์\" มาจากภาษากรีกว่า \"คริสตอส\" แปลว่า ผู้ได้รับเจิม (ให้เป็นตัวแทนของพระเจ้า) ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่เน้นการมอบความรักที่บริสุทธิ์ให้พระเจ้าและให้มนุษย์ด้วยกัน เพราะหลักการของศาสนาคริสต์ถือว่ามนุษย์ทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้า", "title": "ประวัติศาสนาคริสต์" }, { "docid": "155499#2", "text": "ออลบันส์เป็นผู้นอกศาสนาผู้พำนักอยู่ในเมืองเวรูลาเมียมในโรมันอังกฤษที่เป็นที่ตั้งของเมืองนักบุญออลบันในฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษราว 35 กิโลเมตรเหนือกรุงลอนดอนบนถนนวัตลิง (Watling Street) ซึ่งเป็นถนนโรมันโบราณ ก่อนที่คริสต์ศาสนาจะกลายมาเป็นศาสนาทางการของจักรวรรดิโรมัน ผู้นับถือคริสต์ศาสนาก็ถูกไล่ประหัตประหารโดยชาวโรมัน ออลบันส์ให้ที่หลบภัยจากอันตรายในบ้านของตนเองต่อนักบวชแอมฟิบาลัสผู้เป็นผู้เป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนาผู้กำลังถูกโรมันติดตาม และได้รับการเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาโดยแอมฟิบาลัส เมื่อทหารมาถึงบ้านของออลบันส์เพื่อหาตัวแอมฟิบาลัส ออลบันส์ก็แลกเสื้อคลุมกับแอมฟิบาลัสและให้จับตัวไปแทน ออลบันส์ถูกนำตัวไปต่อหน้าผู้พิพากษาและประกาศตนว่าผู้นับถือคริสต์ศาสนาที่เป็นผลทำให้ถูกลงโทษโดยการตัดคอตรงจุดที่สร้างอาสนวิหาร ที่ตั้งของอาสนวิหารอยู่บนเนิน ตำนานกล่าวว่าหัวของออลบันส์กลิ้งลงไปหลังจากถูกตัดและที่ที่ไปหยุดลงก็มีน้ำพุธรรมชาติผุดขึ้นมา", "title": "อาสนวิหารนักบุญออลบัน" }, { "docid": "17607#15", "text": "ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2000 ประชากรกว่า 87.9% นับถือศาสนาคริสต์ ในจำนวนนี้ 78.4% นับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และประมาณ 8% นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในปี ค.ศ. 1990 ปรากฏว่าจำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ลดลง ในส่วนของศาสนาอิสลามและไม่นับถือศาสนาเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว", "title": "ประเทศลิกเตนสไตน์" }, { "docid": "33839#8", "text": "ร้อยละ 58 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 41 นับถือศาสนาอิสลาม และ ร้อยละ 1 นับถือศาสนาอื่นๆ โดยที่ผู้นับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ส่วนผู้นับถือศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้", "title": "ประเทศไนจีเรีย" }, { "docid": "719045#0", "text": "ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ถูกครอบงำโดยลัทธิชินโตเป็นหลักซึ่งเป็นลัทธิเก่าแก่ของชนชาติญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในญี่ปุ่นแต่พุทธสถานเกือบทั้งหมดในญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลจากลัทธิชินโตอยู่ไม่น้อย จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2549 และ 2551 พบว่า ชาวญี่ปุ่นน้อยกว่าร้อยละ 40 ระบุว่าตนเองนับถือศาสนา โดยนับถือศาสนาพุทธ 34%, นับถือสำนักลัทธิชินโตราว 3.0-3.9% และราว 1.0-2.9% นับถือศาสนาคริสต์ ", "title": "ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "5964#32", "text": "จากการสำมะโนประชากรของจังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ประชากรส่วนมากในจังหวัดจันทบุรีนับถือศาสนาพุทธคิดเป็นร้อยละ 97.95 รองลงมานับถือศาสนาคริสต์คิดเป็นร้อยละ 1.22 ศาสนาอิสลามคิดเป็นร้อยละ 0.40 ศาสนาฮินดูคิดเป็นร้อยละ 0.03 ศาสนาอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.23 และมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.17[81] ในกลุ่มศาสนิกชนที่นับถือศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาพุทธส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล[81] ในส่วนของคริสต์ศาสนิกชนในจังหวัดจันทบุรีพบมากที่สุดในเขตเทศบาลเมืองจันทนิมิตโดยมีผู้นับถือศาสนาคริสต์ถึงร้อยละ 50 จากประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล[82]", "title": "จังหวัดจันทบุรี" }, { "docid": "14017#9", "text": "ณ ปี ค.ศ. 2010 ประชากรรัฐเกอดะฮ์ร้อยละt 77.2 นับถือศาสนาอิสลาม, ร้อยละ 14.2 นับถือศาสนาพุทธ, ร้อยละ 6.7 นับถือศาสนาฮินดู, ร้อยละ 0.8 นับถือศาสนาคริสต์, ร้อยละ 0.3 นับถือลัทธิเต๋าหรือศาสนาพื้นบ้านของจีน, ร้อยละ 0.7 นับถือศาสนาหรือลัทธิอื่น ๆ และร้อยละ 0.1 เป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา", "title": "รัฐเกอดะฮ์" }, { "docid": "731856#1", "text": "แนวคิดของการปกครองสาธารณรัฐที่แสดงถึงความหวัง และ ผลสัมฤทธิ์ในรัฐธรรมนูญนั้นคือ: การให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเป็นผู้รับรองสิทธิ์ของศาสนิกชนในการนับถือศาสนาโดยเสรี ปราศจากการบิบบังคับ เสรีภาพทางศาสนารวมถึงการเผยแพร่หลักคำสอน มีสถานการณ์ที่แตกต่างจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ที่มีการใช้กฎหมายบีบบังคับ ซึ่งรวมถึงการนับถือศาสนายูดาห์หรือเปลี่ยนศาสนาจากคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นยูดาห์. กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโรมันได้มีการระบุถึงการยกเลิกโทษประหารชีวิต และบังคับใช้เป็นแห่งแรกในโลก.", "title": "สาธารณรัฐโรมัน (คริสต์ศตวรรษที่ 19)" }, { "docid": "496974#7", "text": "กิจกรรมของมิชชันนารีอเมริกันนิกายโปรเตสแตนต์เพิ่มขึ้นในกัมพูชา โดยเฉพาะในกลุ่มชาวจามและชนเผ่าต่างๆหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2513 และการก่อตั้งสาธารณรัฐเขมร มีรายงานว่ามีผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ 2,000 คนใน พ.ศ. 2505 และใน พ.ศ. 2525 มีรายงานว่ายังมีหมู่บ้านชาวคริสต์ในกัมพูชา แต่ไม่ได้รายงานเรื่องจำนวน รวมทั้งนิกายของพวกเขา ใน พ.ศ. 2523 มีชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์ลงทะเบียนเป็นผู้อพยพในค่ายผู้อพยพในประเทศไทยมากกว่าจำนวนที่เคยมีรายงานใน พ.ศ. 2513 ใน พ.ศ. 2530 คาดการณ์ว่าเหลือชาวคริสต์ในกัมพูชาไม่กี่พันคน ปัจจุบันมีชาวคริสต์ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกในกัมพูชาราว 20,000 คน คิดเป็น0.15% ของประชากรทั้งหมด", "title": "ศาสนาในประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "17203#6", "text": "แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาลเบลารุส กล่าวว่า ในประเทศมีประชากร 58.9% ที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง (ตรวจสอบเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปีค.ศ. 2011) ภายใน 58.9% นั้น โดยมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่าง ๆ ซึ่งในทั่วทั้งประเทศ มีประชากร 82% ที่นับถือ คริสต์ศาสนาคริสตจักรออร์ทอดอกซ์[1]ส่วนผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก โดยมากอาศัยอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของประเทศ บางเขตแดนมีผู้คนนับถือคริสต์ศาสนาคริสตจักรโปรเตสแตนท์ (ซึ่งเป็นคริสตจักรที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขตแดนเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสวีเดน) [2] ในประเทศ มีชนกลุ่มน้อยนับถือศาสนาต่าง ๆ อีกด้วย ได้แก่ คริสต์ศาสนาคริสตจักรกรีกคาทอลิก ศาสนายูดาห์ อิสลาม และ ลัทธินอกศาสนาใหม่ (Neopaganism) มีประชากรจำนวนมากที่ได้เปลี่ยนแปลงศาสนาของตนในช่วงเวลาที่ประเทศเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย โดยประชากรโดยมากได้เปลี่ยนจากศาสนาคริสต์แบบกรีกคาทอลิกเป็นคาทอลิกแบบรัสเซีย", "title": "ประเทศเบลารุส" }, { "docid": "231810#3", "text": "เมื่อคริสต์ศาสนาเริ่มเป็นที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ก็มีการเติมกางเขนขึ้นบนลูกโลกที่กลายมาเป็น “ลูกโลกประดับกางเขน” ที่เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าของคริสต์ศาสนาที่มีอำนาจเหนือทุกอย่างในโลก ตามการใช้ทางสัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนาพระจักรพรรดิหรือพระมหากษัตริย์จะเป็นผู้ถือโลกในอุ้งพระหัตถ์แทนพระเป็นเจ้า แต่สำหรับผู้ที่มิได้นับถือศาสนาคริสต์ผู้ที่คุ้นเคยกับลูกโลกของผู้นอกศาสนา (pagan orb) การใช้ “ลูกโลกประดับกางเขน” ก็เป็นการประกาศถึงชัยชนะของสถาบันคริสต์ศาสนา", "title": "ลูกโลกประดับกางเขน" }, { "docid": "6799#7", "text": "ในช่วงปลายของจักรวรรดิเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างผู้นำตามเกาะต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มที่นับถือศาสนาพื้นเมืองกับกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ สงครามกลางเมืองครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการลอบปลงพระชนม์ตูอิกาโนกูโปลูพระเจ้าตูกูอาโฮ ในท้ายที่สุดตูอิกาโนกูโปลูเตาฟาอาเฮา ซึ่งเป็นกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ได้รับชัยชนะและรวมดินแดนที่แตกแยกเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันในปี ค.ศ. 1845", "title": "ประเทศตองงา" }, { "docid": "80088#12", "text": "คำว่า \"โลกตะวันตก\" ได้เริ่มถูกนำไปใช้ในในการบอกวัฒนธรรมและภูมิรัฐศาสตร์ทางการเมืองในช่วงยุคแห่งการสำรวจซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยุโรปได้แพร่กระจายวัฒนธรรมของตนไปยังส่วนอื่นๆของโลก ในอดีตสองศตวรรษที่ผ่านมาคำว่า \"โลกตะวันตก\" และ \"โลกของชาวศาสนาคริสต์\" มักจะสามารถถูกใช้แทนกันเนื่องจากจำนวนของผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์มากกว่าจำนวนของผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายอื่นๆ รวมถึงผู้ที่ยังคงนับถือความคิดโรมันแบบโบราณและความเชื่อนอกรีต ในขณะที่ความเชื่อยึดติดกับศาสนาของคนเริ่มเสื่อมคลายลงในยุโรปและที่อื่นๆในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 คำว่า \"ตะวันตก\" จึงมีความหมายในแง่ของศาสนาน้อยลงและเริ่มมีความหมายทางการเมืองมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามเย็น นอกจากนั้นความใกล้ชิดที่มากขึ้นระหว่าง \"ตะวันตก\" กับเอเชียและส่วนอื่นๆ ของโลกในเร็วๆนี้ก็มีผลให้ความหมายของคำไม่ชัดเจนเหมือนก่อน", "title": "โลกตะวันตก" }, { "docid": "2568#40", "text": "ประเทศเกาหลีใต้<b data-parsoid='{\"dsr\":[31175,31204,3,3]}'>ไม่มีศาสนาประจำชาติ และประชาชนมีอิสระในการนับถือศาสนา[6] ในปี ค.ศ. 2005 ประชากรเกาหลีใต้เกือบครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธหรือคริสต์ ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการสำรวจสำมะโนประชากร พบว่าร้อยละ 29.2 นับถือศาสนาคริสต์ (ในจำนวนนี้เป็นโปรเตสแตนต์ร้อยละ 18.3 และคาทอลิกร้อยละ 10.9) รองลงมาคือร้อยละ 22.8 นับถือศาสนาพุทธ [7][8]", "title": "ประเทศเกาหลีใต้" } ]
3999
ญี่ปุ่นใช้สกุลเงินอะไร ?
[ { "docid": "5557#0", "text": "เยน (ญี่ปุ่น: 円, สัญลักษณ์ ¥, รหัส ISO 4217 JPY) เป็นสกุลเงินของประเทศญี่ปุ่น มีหน่วย่อยคือ cen =1/100เยน และ rin 1/10cen(ในปัจจุบันได้ยกเลิกแล้ว) โดยมีการใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยนิยมเก็บเป็นเงินสำรอง รองลงมาจาก ดอลลาร์สหรัฐ และ เงินยูโร คำว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[465,474,3,3]}'>เยน ภาษาญี่ปุ่นจะอ่านออกเสียงว่า เอน อย่างไรก็ตามการอ่านออกเสียง เยน ถือเป็นชื่อมาตรฐานใช้กันทั่วโลก สัญลักษณ์ลาตินคือ ¥ ในขณะที่คนญี่ปุ่นจะนิยมเขียนเป็นตัวอักษรคันจิว่า 円", "title": "เยน" } ]
[ { "docid": "593895#2", "text": "ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ - Bank of Japan) \nมีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศญี่ปุ่น ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นสถาบันที่ทันสมัยที่สุด ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นหลังจากมีการฟื้นฟูในสมัย “เมจิ (Meiji) ” ก่อนที่จะมีการบูรณะระบบศักดินาของญี่ปุ่น หัวเมืองทั้งหมดมีการออกเงินของตัวเองมาใช้ “ฮันซัสสุ” ในลำดับของหน่วยที่เข้ากันไม่ได้ แต่พระราชบัญญัติเงินตราใหม่ของเมจิ 4 (1871) ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ และยังเป็นที่ยอมรับให้เป็นสกุลเงินทศนิยมใหม่ อดีตหัวเมืองกลายเป็นจังหวัด และโรงกษาปณ์ของพวกเขากลายเป็นธนาคารเอกชนแบบเช่าเหมา (ธนาคารชาร์เตอร์) ซึ่งในช่วงแรกยังคงสิทธิ์ในการพิมพ์เงิน เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งรัฐบาลกลางและคนเหล่านี้เรียกว่า ธนาคารออกเงินแห่งชาติ ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปีเมจิที่ 15 (1828) และได้รับการผูกขาดในการควบคุมปริมาณเงิน\nจัดตั้งขึ้นเพื่อขจัดภาวะเงินฝืดให้หมดสิ้นไป และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นควบคุมนโยบายการเงิน ประโยชน์ของเสถียรภาพด้านราคาที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้รับหน้าที่ในการตัดสินใจดูแลนโยบายการเงินถูกนำมาเป็นทั้งราคาของสินค้าและบริการที่เราจะได้ราคาที่มีเสถียรภาพ มีผลต่อการก่อตัวของความสนใจในตลาดการเงินที่เป็นสกุลเงินและการควบคุมทางการเงินและมีความเชื่อมั่นจากการใช้เงินเป็นรากฐานของเศรษฐกิจของประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดตามกฎบัตรภารกิจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นคือการจัดเก็บภาษีในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ \"ภาษีประเทศ\"หรือเงินภาษีที่ชำระให้กับประเทศ ซึ่งจะจัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง เช่น ภาษีจากรายได้ ภาษีบริโภค เป็นต้น และ\"ภาษีท้องถิ่น\"หรือเงินภาษีที่ชำระให้กับจังหวัดหรือเทศบาล ซึ่งจะจัดเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่น เช่น ภาษีบุคคล ภาษีสิ่งก่อสร้าง ภาษีรถยนต์ ภาษีที่ชำระให้กับประเทศและภาษีท้องที่สามารถแบ่งออกได้เป็นภาษีโดยตรงและภาษีโดยอ้อม ภาษีโดยตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีนิติบุคคล ภาษีพักอาศัย ภาษีรถยนต์ เป็นต้น ภาษีโดยอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสุรา เป็นต้น", "title": "การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น" }, { "docid": "39196#0", "text": "สกุลเงิน หมายถึงชื่อเรียกเงินตราที่มีใช้ในแต่ละประเทศ สกุลเงินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศหรือกลุ่มประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเงิน หรือการซื้อของหรือบริการระหว่างประเทศที่ใช้สกุลเงินต่างกันจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง ", "title": "สกุลเงินตรา" }, { "docid": "39196#2", "text": "สกุลเงินทั่วไปจะมีหน่วยสกุลเงินย่อย โดยส่วนมากจะเป็นอัตราส่วน 1/100 ของสกุลเงินหลัก เช่น 100 สตางค์ = 1 บาท หรือ 100 เซนต์ = 1 ดอลลาร์ แต่บางสกุลเงินจะไม่มีหน่วยย่อยเช่น สกุลเงินเยน ในหลายหลายประเทศเนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้สกุลเงินย่อยมีการเลิกใช้ไป", "title": "สกุลเงินตรา" }, { "docid": "399537#6", "text": "พ.ศ. 2550 รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมราคาสินค้า ผู้ใดขายสินค้าในราคาเกินกำหนดถือว่ามีความผิด แต่ผลคือ ต้นทุนของสินค้ายังเพิ่มขึ้นจนแพงกว่ากำแพงราคาที่กำหนด ร้านค้าต่างๆ เก็บสินค้าของตนออกไปขายในตลาดมืด เพราะไม่สามารถขายในราคาที่ขาดทุนได้ ทำให้ตลาดมืด (ตลาดผิดกฎหมาย) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประชาชนไม่มีทางเลือก และเกิดการกักตุนสินค้าในตลาดมืดไว้ขายในราคาที่สูงกว่าในวันหน้า และนอกจากนี้ ชาวซิมบับเวเปลี่ยนไปใช้เงินสกุลอื่น หรือใช้สิ่งของในการแลกเปลี่ยนแทนเงินประจำชาติ เพราะมีความเสถียรกว่ามาก มีรายงานว่าแม้แต่โรงพยาบาลบางแห่ง ยังยินดีรับค่ารักษาเป็นถั่วลิสงมากกว่าที่จะรับเงินในสกุล ZWN โดยจะคิดค่ารักษาเป็นจำนวนถังของถั่วลิสง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทาขนมปังให้คนไข้ เงินสกุลนี้ กลายเป็นเงินที่ต้องรีบใช้ เพราะราคาของในเงินสกุลนี้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และการเก็บออมโดยใช้เงินสกุลนี้คงจะยากที่จะมีโอกาสตั้งตัว และมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ต้องพบชะตากรรม เพราะเงินล้านที่ทำงานอดออมมาทั้งชีวิตตลอดก่อนหน้านี้เพื่อหวังจะใช้ชีวิตสบายยามชรา กลับเหลือมูลค่านำมาซื้อได้เพียงข้าวเช้า 1 จานเท่านั้น การควบคุมค่าเงินดูจะเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว เงินเฟ้อประจำปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 66,212.3 ต่อปี", "title": "ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเว" }, { "docid": "594182#2", "text": "ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ - Bank of Japan)\nมีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศญี่ปุ่น ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นสถาบันที่ทันสมัยที่สุด ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นหลังจากมีการฟื้นฟูในสมัย “เมจิ (Meiji)” ก่อนที่จะมีการบูรณะระบบศักดินาของญี่ปุ่น หัวเมืองทั้งหมดมีการออกเงินของตัวเองมาใช้ “ฮันซัสสุ” ในลำดับของหน่วยที่เข้ากันไม่ได้ แต่พระราชบัญญัติเงินตราใหม่ของเมจิ 4 (1871) ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ และยังเป็นที่ยอมรับให้เป็นสกุลเงินทศนิยมใหม่ อดีตหัวเมืองกลายเป็นจังหวัด และโรงกษาปณ์ของพวกเขากลายเป็นธนาคารเอกชนแบบเช่าเหมา (ธนาคารชาร์เตอร์) ซึ่งในช่วงแรกยังคงสิทธิ์ในการพิมพ์เงิน เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งรัฐบาลกลางและคนเหล่านี้เรียกว่า ธนาคารออกเงินแห่งชาติ ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปีเมจิที่ 15 (1828) และได้รับการผูกขาดในการควบคุมปริมาณเงิน\nจัดตั้งขึ้นเพื่อขจัดภาวะเงินฝืดให้หมดสิ้นไป และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นควบคุมนโยบายการเงิน ประโยชน์ของเสถียรภาพด้านราคาที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้รับหน้าที่ในการตัดสินใจดูแลนโยบายการเงินถูกนำมาเป็นทั้งราคาของสินค้าและบริการที่เราจะได้ราคาที่มีเสถียรภาพ มีผลต่อการก่อตัวของความสนใจในตลาดการเงินที่เป็นสกุลเงินและการควบคุมทางการเงินและมีความเชื่อมั่นจากการใช้เงินเป็นรากฐานของเศรษฐกิจของประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดตามกฎบัตรภารกิจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นคือการจัดเก็บภาษีในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ \"ภาษีประเทศ\"หรือเงินภาษีที่ชำระให้กับประเทศ ซึ่งจะจัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง เช่น ภาษีจากรายได้ ภาษีบริโภค เป็นต้น และ\"ภาษีท้องถิ่น\"หรือเงินภาษีที่ชำระให้กับจังหวัดหรือเทศบาล ซึ่งจะจัดเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่น เช่น ภาษีบุคคล ภาษีสิ่งก่อสร้าง ภาษีรถยนต์ ภาษีที่ชำระให้กับประเทศและภาษีท้องที่สามารถแบ่งออกได้เป็นภาษีโดยตรงและภาษีโดยอ้อม ภาษีโดยตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีนิติบุคคล ภาษีพักอาศัย ภาษีรถยนต์ เป็นต้น ภาษีโดยอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสุรา เป็นต้น", "title": "ระบบการคลังสาธารณะประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "627015#0", "text": "โดชคอยน์ (Dogecoin, /'doʊʒkɔɪn/[3][4], code: DOGE, symbol: Ð and D) เป็นสกุลเงินแบบดิจิตัลที่ใช้รูปของสุนัขชื่อโดช(Doge)ที่เป็นอินเทอร์เน็ตมีมของสุนัขญี่ปุ่นพันธุ์ Shiba Inu เป็นโลโก้ของสกุลเงิน[5][6][7][8][9][10] โดชคอยน์ถูกริเริ่มเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2013 [11] เมื่อทำการเปรียบเทียบกับสกุลเงินดิจิตอลอื่น โดชคอยน์มีระยะเวลาการไมนิงจำนวนเหรียญเริ่มต้นเร็วกว่าสกุลเงินอื่น โดยจะมีเม็ดเงินที่เกิดจากการไมนิง 100 พันล้านเหรียญโดยประมาณภายในสิ้นปี 2014 และหลังจากนั้น 5.2 พันล้านเหรียญจะถูกสร้างทุกๆปี ทั้งนี้ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2014 โดชคอยน์จำนวนกว่า 65 พันล้านเหรียญได้ถูกไมนิงได้[12] ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะมีแอปพลิเคชันสำหรับโดชคอยน์ไม่มากนัก แต่จำนวนการใช้โดชคอยน์ผ่านทางระบบการให้ทิปในอินเทอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก โดยระบบนี้ทำให้คนบนโลกโซเชียลมีเดียสามารถให้ทิปคนอื่นที่นำเสนอบนความที่น่าสนใจผ่านทางโดชคอยน์[13] ทั้งนี้สมาชิกในชุมชนโดชคอยน์และชุมชนอื่นๆใช้ประโยคที่ว่า \"To the moon!\" สำหรับเรียกเวลาราคาเหรียญกำลังสูงขึ้น.[14][15][16]", "title": "โดชคอยน์" }, { "docid": "64261#2", "text": "เรอูนียงเป็นแคว้นที่อยู่ห่างไกลที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรปและใช้สกุลเงินยูโร ตามความจริง ตำแหน่งที่ตั้งของเรอูนียงในเขตเวลาทางด้านตะวันออกของทวีปยุโรป ทำให้เรอูนียงเป็นแคว้นแรกในโลกที่ใช้สกุลเงินยูโร และการใช้สกุลเงินยูโรเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 00.01 นาฬิกา เมื่อนายกเทศมนตรีเมืองแซง-เดอนี เรอเน-ปอล วิกโตเรีย ซื้อลิ้นจี่ถุงหนึ่งในตลาด", "title": "เรอูนียง" }, { "docid": "593895#1", "text": "กระทรวงการคลัง (Ministry Finance Japan) มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น สังกัดคณะรัฐมนตรี เป็นศูนย์รวมอำนาจด้านการเงิน มีอำนาจทั้งการจัดทำงบประมาณ งบการเงินและการบัญชีกองทุนปรับงบดุล และได้รับการอนุมัติงบประมาณของแต่ละกระทรวงและการรับรองหน่วยงานเจ้าหน้าที่ในความดูแลของใบเสร็จรับเงินและเบิกจ่ายเงิน ตรวจสอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลการดำเนินการงบประมาณของพนักงานหน่วยงานภาครัฐและการเก็บรวบรวมงบประมาณสำหรับการทำบัญชี การเก็บภาษีการจัดการด้านทรัพย์สินของรัฐบาล มีการใช้ระบบนอกงบประมาณที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 2-3 เท่า ปีงบประมารเริ่มต้น 1 เมษายนของทุกปี รับผิดชอบทั้งการบริหารเงินอย่างถูกต้องในการจัดการสกุลเงินและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและภารกิจคือการให้ความมั่นใจในเสถียรภาพของจัดตั้งแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เกิดการจัดเก็บภาษีของความยุติธรรมและเหมาะสมการบริหารจัดการที่เหมาะสมของภาษีศุลกากร, การจัดการที่เหมาะสมของการบริหารเงินของชาติและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในสกุลเงิน งบประมาณและการบัญชีการเงินของประเทศ สกุลเงิน ภาษีพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น, การลงทุนทางการเงินจากอัตราแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของรัฐ", "title": "การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น" }, { "docid": "5410#3", "text": "เงินยูโรยังสามารถใช้ในการชำระหนี้ในอาณาเขตนอกสหภาพยุโรปบางแห่ง ได้แก่ ประเทศโมนาโก ประเทศซานมารีโน และนครรัฐวาติกัน ซึ่งเคยใช้ฟรังก์ฝรั่งเศสหรือลีราอิตาลีเป็นสกุลเงินทางการ ตอนนี้ได้เปลี่ยนมาใช้สกุลยูโรแทนและได้รับสิทธิ์ในการผลิตเหรียญในสกุลยูโรในจำนวนเงินน้อย ๆ แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปก็ตาม", "title": "ยูโร" }, { "docid": "974481#16", "text": "กระเป๋าเงินสกุลเงินดิจิทัล ทำหน้าที่จัดเก็บคีย์สาธารณะและคีย์ส่วนตัว[30]ที่สามารถนำมาใช้เพื่อรับและใช้จ่ายสกุลเงินดิจิทัลได้ โดยกระเป๋าเงินสามารถจัดเก็บคู่คีย์สาธารณะและส่วนตัวได้หลายคู่ ณ เดือนมกราคม 2018 มีสกุลเงินดิจิทัลมากกว่าหนึ่งพันสามร้อยสกุลเงิน โดยสกุลเงินแรกและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ บิทคอยน์[31] ในส่วนของสกุลเงินดิจิทัลเองไม่ได้เป็นกระเป๋าเงิน หากบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลมาจากกระเป๋าเงิน ถือว่าสกุลเงินดิจิทัลถูกจัดเก็บและรักษาโดยขึ้นกับส่วนกลางในบัญชีแยกประเภท[32][33]ที่เปิดเป็นสาธารณะ ทุกๆ สกุลเงินดิจิทัลมีคีย์ส่วนตัว ด้วยคีย์แยกประเภท มันสามารถเขียนบัญชีแยกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้บิทคอยน์ที่เกี่ยวข้อง[34]", "title": "คูโนส" }, { "docid": "139086#25", "text": "ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน หมายถึงการผูกมูลค่าของสกุลเงินนั่นๆให้เท่ากับมูลค่าของสกุลเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง (ที่มีความแข็งแกร่งเช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐ) หรือสกุลเงินของหลายๆประเทศ การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนสามารถนำมาใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ แต่เนื่องจากมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิงมีการเพิ่มและลดลงตลอดเวลา ดังนั้นมูลค่าของเงินในประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ซึ่งหมายความว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศนั้นๆจะถูกกำหนดโดยอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ดังนั้นการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้ของตัวเองในการที่จะบรรลุเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคได้", "title": "ภาวะเงินเฟ้อ" }, { "docid": "17218#20", "text": "สกุลเงินที่ใช้คือโครนาไอซ์แลนด์ (króna – ISK) ออกโดยธนาคารกลางไอซ์แลนด์ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินด้วย ค่าเงินโครนามีความผันผวนกับสกุลเงินยูโรสูง จึงทำเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโรโดยไม่เข้าร่วมกับกลุ่มสหภาพยุโรป จากการสำรวจในปี 2550 พบว่า 53% ของชาวไอซ์แลนด์สนับสนุนการร่วมใช้สกุลเงินยูโร 37% ต่อต้าน และ 10% ไม่ตัดสินใจ[21] ไอซ์แลนด์มีอัตราการใช้จ่ายด้วยเงินสดในประเทศต่ำมาก (น้อยกว่า 1% ของ GDP)[22] และนับได้ว่าเป็นประเทศที่ใช้ปัจจัยอื่นทดแทนเงินสดได้มากที่สุด[23] ประชากรส่วนใหญ่ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตแม้จะเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อย[24] พลังงานทดแทน ได้แก่พลังงานน้ำและพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นส่วนประกอบถึงมากกว่า 70% ของการบริโภคพลังงานของไอซ์แลนด์[25]", "title": "ประเทศไอซ์แลนด์" }, { "docid": "7635#1", "text": "สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ[2] และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป", "title": "ดอลลาร์สหรัฐ" }, { "docid": "139086#8", "text": "ในช่วงศตวรรษที่ 19 นักเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าการขึ้นลงของราคาสินค้ามีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพื้นฐานหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า (2) การเปลี่ยนแปลงราคาของซึ่งก็คือแร่โลหะที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินนั้นๆเช่น ทองคำ หรือ เงิน และ (3) \"การลดค่าของสกุลเงิน\" ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของปริมาณเงินตรากับปริมาณของโลหะสำรองที่เงินตรานั้นๆสามารถนำไปแลกได้ หลังจากมีการใช้บัตรธนาคาร (ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์) อย่างแพร่หลายในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา คำว่า \"ภาวะเงินเฟ้อ\" จึงเริ่มมีความหมายตรงกับการลดค่าของสกุลเงิน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของบัตรธนาคารได้แซงปริมาณของโลหะที่บัตรธนาคารนั้นๆสามารถทำไปแลกได้ ในสมัยนั้น \"ภาวะเงินเฟ้อ\" จึงหมายถึงการลดค่าของสกุลเงินแทนที่จะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า", "title": "ภาวะเงินเฟ้อ" }, { "docid": "391397#15", "text": "เงินสกุลเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่หลังจากเกิดแผ่นดินไหว และแตะระดับสูงสุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ 76.25 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากมีการคาดคะเนว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะส่งทรัพย์สินกลับประเทศเพื่อใช้จ่ายในการบูรณะ เนื่องจากญี่ปุ่นพึ่งพาภาคการส่งออกเป็นหลัก เงินเยนที่แข็งค่านั้นอาจทำลายเศรษฐกิจยิ่งลงไปอีก ความไร้เสถียรภาพของตลาดการเงินได้ทำให้กลุ่มจี 7 ประชุมกันเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ซึ่งได้ข้อสรุปเป็นความตกลงในการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนกับดอลล่าร์ร่วมกัน ซึ่งนับเป็นพฤติการณ์ดังกล่าวครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2543", "title": "ผลที่ตามมาจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554" }, { "docid": "868473#0", "text": "เปโซคิวบา (English: Cuban peso) คือหน่วยสกุลเงินหนึ่งที่ใช้ในประเทศคิวบาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คิวบาเปโซ (CUP) ถือเป็นสกุลเงินหลักในประเทศ และ<b data-parsoid='{\"dsr\":[1321,1351,3,3]}'>คอนเวอร์ทิเบิลเปโซ (CUC) หรือสกุลเงินที่ออกมาเพื่อใช้แทนดอลลาร์สหรัฐ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐ มีค่าเท่ากับ 1 CUC และ 1 CUC มีค่าเท่ากับ 24 CUP แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินในประเทศถูกกว่าสกุลเงินที่ใช้ทดแทนเงินภายนอกมาก แต่ทั้ง CUP และ CUC สามารถเรียกรวมกัน ง่ายๆ ว่า เปโซ (Peso) ในคิวบาตามร้านค้าจะไม่ค่อยรับ CUC มากนัก หรือรับก็มีมาตรฐานค่าเงินต่างกัน จึงมักเกิดกรณีที่ชาวต่างชาติจ่ายเงินเกินจำนวนบ่อย[3]", "title": "เปโซคิวบา" }, { "docid": "880117#2", "text": "สกุลเงินนี้ใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้แทนสกุลเงินเดนาร์ยูโกสลาเวีย เนื่องจากว่าประเทศมาซิโดเนียได้แยกตัวออกมาจากยูโกสลาเวียแล้ว", "title": "เดนาร์แมซิโดเนีย (สกุลเงิน)" }, { "docid": "399537#16", "text": "แต่การกระทำใดๆ ไร้ผล ที่สุดแล้วรัฐบาลซิมบับเว ประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลลาร์ซิมบับเวในประเทศและยอมรับการใช้เงินสกุลอื่นในประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เมษายน 2552 โดยกล่าวว่า จะหยุดใช้เงินสกุลนี้ไปอย่างน้อยหนึ่งปี จนกว่าประเทศจะพร้อมกลับไปใช้เงินสกุลนี้อีกครั้ง เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเยียวยาตัวมันเอง นับจากวันนั้น ภาวะเงินเฟ้อในซิมบับเวลดลงสู่ระดับเกือบปกติในทันที และไม่เคยพุ่งสูงอีกเลย และจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเลิกใช้เงินสกุลนี้มีแล้วหลายปี แต่ก็ยังไม่ได้ให้ประเทศกลับไปใช้เงินสกุลนี้แต่อย่างใด", "title": "ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเว" }, { "docid": "39196#3", "text": "ตารางแสดงถึงการจัดอันดับสกุลเงิน 15 สกุลเงินที่ใช้ในการชำระเงินข้ามประเทศมากที่สุดในโลก (15 most frequently used currencies in World Payments) โดยสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT)", "title": "สกุลเงินตรา" }, { "docid": "18223#5", "text": "เนื่องจากประเทศอันดอร์ราไม่มีสกุลเงินใช้เป็นของตนเอง โดยก่อนหน้านี้ใช้เงินสกุลฟรังก์ฝรั่งเศสและเปเซตาสเปน ในปัจจุบันใช้สกุลเงินยูโรเป็นหลัก รายได้ GDP ต่อหัว ประมาณ 16,600 ดอลลาร์สหรัฐ และมี GDP โดยรวมประมาณ 1,065,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนประมาณ 15,000,000 คนต่อปี", "title": "ประเทศอันดอร์รา" }, { "docid": "2712#2", "text": "ตามข้อมูลของสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT) สกุลเงินบาทได้รับการอันดับเป็นสกุลเงินอันดับที่ 10 ของโลกที่ใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศ (most frequently used currencies in World Payments)[1]", "title": "บาท (สกุลเงิน)" }, { "docid": "594182#1", "text": "กระทรวงการคลัง (Ministry Finance Japan) มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น สังกัดคณะรัฐมนตรี เป็นศูนย์รวมอำนาจด้านการเงิน มีอำนาจทั้งการจัดทำงบประมาณ งบการเงินและการบัญชีกองทุนปรับงบดุล และได้รับการอนุมัติงบประมาณของแต่ละกระทรวงและการรับรองหน่วยงานเจ้าหน้าที่ในความดูแลของใบเสร็จรับเงินและเบิกจ่ายเงิน ตรวจสอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลการดำเนินการงบประมาณของพนักงานหน่วยงานภาครัฐและการเก็บรวบรวมงบประมาณสำหรับการทำบัญชี การเก็บภาษีการจัดการด้านทรัพย์สินของรัฐบาล มีการใช้ระบบนอกงบประมาณที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 2-3 เท่า ปีงบประมารเริ่มต้น 1 เมษายนของทุกปี รับผิดชอบทั้งการบริหารเงินอย่างถูกต้องในการจัดการสกุลเงินและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและภารกิจคือการให้ความมั่นใจในเสถียรภาพของจัดตั้งแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เกิดการจัดเก็บภาษีของความยุติธรรมและเหมาะสมการบริหารจัดการที่เหมาะสมของภาษีศุลกากร, การจัดการที่เหมาะสมของการบริหารเงินของชาติและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในสกุลเงิน งบประมาณและการบัญชีการเงินของประเทศ สกุลเงิน ภาษีพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น, การลงทุนทางการเงินจากอัตราแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของรัฐ", "title": "ระบบการคลังสาธารณะประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "5410#10", "text": "สหราชอาณาจักร ใช้เงินสกุลปอนด์สเตอร์ลิง(ได้ออกจากEUแล้ว) สวีเดน ใช้เงินสกุลโครนสวีเดน เดนมาร์ก ใช้เงินสกุลโครนเดนมาร์ก DKK 7.46038 XEU 1 = DKK 0.19770007 บัลแกเรีย ใช้เงินสกุลเลฟ DEM 1.95583 XEU 1 = DEM 0.625083268 โรมาเนีย ใช้เงินสกุลเลอู ฮังการี ใช้เงินสกุลโฟรินต์ สาธารณรัฐเช็ก ใช้เงินสกุลโครูนาเช็ก โครเอเชีย ใช้เงินสกุลคูนา โปแลนด์ ใช้เงินสกุลซวอตี", "title": "ยูโร" }, { "docid": "974481#17", "text": "กระเป๋าเงินทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับทำธุรกรรมสกุลเงิน Counos ถึงแม้ว่ากระเป๋าเงินจะถูกจัดว่าเป็นสิ่งที่ใช้จัดเก็บสกุลเงินดิจิทัล Counos ตามการทำงานพื้นฐานของระบบ แต่สกุลเงินดิจิทัล Counos ไม่สามารถแยกออกได้จากการทำธุรกรรมบล็อกเชน แต่หากอธิบายให้ดียิ่งขึ้น กระเป๋าเงิน คือ “สิ่งที่เก็บข้อมูลสำคัญทางดิจิทัลสำหรับเงิน Counos ของคุณ” และช่วยให้คุณสามารถเข้าถึง (และใช้จ่าย) เงินเหล่านั้นได้ กระเป๋าเงิน Counos จะไม่ได้ถูกเก็บไว้ในกระเป๋าเงิน แต่จะจัดเก็บคีย์ส่วนตัว (รหัสดิจิทัลรักษาความปลอดภัยสำหรับคุณและกระเป๋าเงินเท่านั้น) และจะแสดงความเป็นเจ้าของคีย์ดังกล่าว (รหัสดิจิทัลสาธารณะที่เชื่อมต่อกับจำนวนสกุลเงิน) ดังนั้น กระเป๋าเงินของคุณจัดเก็บคีย์ส่วนตัวและสาธารณะเข้าด้วยกัน ทำให้คุณสามารถส่งและรับเหรียญอีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือทำธุรกรรมส่วนบุคคล[35]", "title": "คูโนส" }, { "docid": "39159#0", "text": "ดอลลาร์ (; $) เป็นชื่อของสกุลเงินที่ใช้เหมือนกันในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเงินสกุลสำคัญสกุลหนึ่งของโลก", "title": "ดอลลาร์" }, { "docid": "39196#1", "text": "ในหลายประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ฮ่องกง และดอลลาร์แคนาดา และในหลายประเทศใช้สกุลเงินเดียวกัน เช่นในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินยูโร และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์เช่นประเทศปานามา และ ประเทศเอลซัลวาดอร์ ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ", "title": "สกุลเงินตรา" }, { "docid": "171849#12", "text": "เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยื่นข้อเสนอต่อสภาปกครองฝ่ายพันธมิตรให้สร้างสกุลเงินเยอรมนีใหม่เพื่อแทนที่สกุลเงินไรช์มาร์ค (Reichsmark) ที่มีปริมาณล้นอยู่ในระบบและขาดมูลค่าอย่างแท้จริง สหภาพโซเวียตปฏิเสธข้อเสนอนี้เพราะต้องการให้เยอรมนีคงสภาพอ่อนแอ ประเทศมหาอำนาจตะวันตกทั้งสามจึงร่วมมือกันสร้างสกุลเงินใหม่ขึ้นมาอย่างลับ ๆ และประกาศใช้ในพื้นที่ของตนเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ในชื่อสกุลเงินดอยช์มาร์ค (Deutsche Mark) สหภาพโซเวียตไม่ยอมรับสกุลเงินนี้ แต่ฝ่ายตะวันตกได้แอบลักลอบเอาเงินสกุลใหม่นี้เข้าไปในเบอร์ลินเป็นจำนวนถึง 250,000,000 ดอยช์มาร์คแล้ว ไม่นานนัก ดอยช์มาร์คก็กลายเป็นสกุลเงินมาตรฐานในทุกพื้นที่ของเยอรมนี", "title": "การปิดกั้นเบอร์ลิน" }, { "docid": "974481#10", "text": "สกุลเงินดิจิทัล (หรือสกุลเงินคริปโต) คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาสำหรับใช้แลกเปลี่ยนและทำธุรกรรมทางการเงิน ควบคุมการสร้างหน่วยเงินเพิ่มเติมและตรวจสอบความถูกต้องของการถ่ายโอนทรัพย์สิน[26][27] สกุลเงินดิจิทัลคือสกุลเงินดิจิทัลประเภทหนึ่ง หรือสกุลเงินเสมือนหรือสกุลเงินทางเลือก ทั้งนี้ สกุลเงินดิจัลใช้การควบคุมที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง[28]และต่อต้านเงินอิเล็คทรอนิกที่ขึ้นกับส่วนกลางและระบบการธนาคารกลาง การควบคุมที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลางของแต่ละสกุลเงินดิจิทัลทำงานผ่านเทคโนโลยีการแจกจ่ายหรือที่เรียกว่า บล็อกเชน ที่ทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลธุรกรรมทางการเงินสาธารณะ Bitcoin ซึ่งเปิดตัวเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สครั้งแรกในปี 2009 โดยทั่วไปถือว่าเป็นสกุลเงินคริปโตแรกที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง นับตั้งแต่ การปล่อยบิทคอยน์ อัลท์คอยน์กว่า 4,000,000 เหรียญ (อีกประเภทหนึ่งของบิทคอยน์หรือสกุลเงินคริปโตอื่นๆ ) ได้ถูกสร้าง ขึ้น[29]", "title": "คูโนส" }, { "docid": "2175#0", "text": "ISO 4217 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับรหัสสกุลเงินที่ใช้ในประเทศต่างๆ มักใช้ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตามธนาคาร ประกอบด้วยอักษรละตินตัวใหญ่ 3 ตัวจากชื่อประเทศและชื่อของสกุลเงินที่ใช้ในประเทศนั้น", "title": "ISO 4217" } ]
4001
สกุลยศ มีกี่ชั้น ?
[ { "docid": "26149#1", "text": "สกุลยศของเจ้านายนั้น บรรดาผู้ที่เกิดในราชตระกูลจะเป็นราชบุตร ราชธิดา หรือราชนัดดาก็ตาม จะเรียกว่า เจ้า สกุลยศนั้น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" } ]
[ { "docid": "26149#4", "text": "2. พระองค์เจ้า มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ พระองค์เจ้าชั้นเอก​ เรียกลำลองว่า​ \"เสด็จ</i>พระองค์ชาย/หญิง\" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ เป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[5257,5296,2,2]}'>พระราชโอรสหรือพระราชธิดาของกษัตริย์ อันเกิดด้วยพระสนม (หม่อมเจ้าลงไปถึงเจ้าจอมมารดา) ตรงกับที่เรียกในกฎมณเทียรบาลว่า \"พระเยาวราช\" ใช้คำนำสกุลยศว่าหรืออิสริยยศ \"พระเจ้าลูกยาเธอ, พระเจ้าลูกเธอ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ เรียกลำลองว่า​ \"เสด็จ\" เช่น​ เสด็จพระองค์ชายจิตรเจริญ​ (พระเจ้าลูกยาเธอ​ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระราชโอรสใน ร.4​ กับ​ หม่อมเจ้าพรรณราย)​ ถ้าทรงกรม​ เรียกลำลอง​ \"เสด็จในกรม\" อาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ) พระองค์เจ้า​ชั้นลูกหลวงนี้ไม่มีคำว่า \"สมเด็จ\" นำพระอิสริยยศ ยกเว้นทรงได้รับพระราชทาน \"สมเด็จ\" แล้วจึง เรียกลำลองว่า ​\"สมเด็จฯ\" อาทิ​เช่น \"สมเด็จ​ฯ​ กรมพระสวัสดิ\" (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)​ หรือ​ ได้รับพระอิสริยยศ​ทรงกรมสูงสุด เป็น สมเด็จฯ​ กรมพระยา​ อาทิ​ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ (สมเด็จฯ​ กรมพระยาเทววงศ์) (ถือได้ว่าเป็นพระยศพระองค์เจ้าชั้นสูงสุดในบรรดาสกุลยศพระองค์เจ้าทั้งมวล และเป็นกลุ่มเจ้านาย ในชั้นพระบรมวงศ์) ในรัชกาลปัจจุบันไม่มีสกุลยศในชั้นนี้แล้ว เนื่องด้วยทรงไม่ได้รับพระสนม (เจ้าจอมมารดา) อนึ่งเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ หากพระมหากษัตริย์รับสนองเป็นภรรยาเจ้า พระราชโอรสธิดาที่ถือประสูติมาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกทั้งสิ้น (ทูลกระหม่อม) เพราะพระมารดาเป็นชั้นลูกหลวงหรือพระบรมวงศ์ พระองค์เจ้าชั้นโท เรียกลำลอง \"พระองค์ชาย/หญิง\" เจ้านายชั้นอนุวงศ์ เป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[6523,6558,2,2]}'>พระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ และ พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#19", "text": "อนึ่งกล่าวเพิ่มเติม \"พระองค์เจ้าตั้ง\" ในชั้นนี้มีอย่างทางการและบรรทัดฐานในสกุลยศ​ เช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 7) พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตรากฎหมายในเรื่องการสืบสันดานสกุลยศ หม่อมเจ้าพระโอรสธิดาของ สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นเอก(พระชนนีทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จ)​ มารดาเป็นหม่อมห้าม (หญิงสามัญชน) แรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวง​ ได้รับการสถาปนาตั้งเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า​ ทุกพระองค์ ในสายราชสกุลจักรพันธ์​ุ เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธพิศิษฐพงศ์ , ราชสกุลภาณุพันธุ์ เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต​ , ราชสกุลบริพัตร​ เช่น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ , ราชสกุลจุฑาธุช​ เช่น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช และ ราชสกุลมหิดล​ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ร.8) ทรงได้รับสถาปนาจากสกุลยศ หม่อมเจ้า ชั้นหลานหลวง​ ตั้งเป็น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช (ร.9) ทรงได้รับอิสริยยศเป็น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า ตามกฎหมายนี้", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#11", "text": "ร.6 ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าจุลจักร​พงษ์ จักรพงษ์​ (สกุลยศ หม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวงในร.5) เพิ่มพระอิสริยยศตั้งขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ​ กับหม่อมคัทริน จักรพงษ์ ณ อยุธยา​ สะไภ้หลวง) ​ร. 6 ทรงสถาปนาให้ดำรงพระอิสริยยศ (ไม่ใช่สกุลยศ) ตั้งเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า เป็นพระองค์เจ้าชั้นโทเป็นกาลพิเศษ​เฉพาะพระองค์ แต่พระองค์ก็ยังมีสกุลยศเสมอพระยศหม่อมเจ้า เพราะมีพระธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์​ คือ​ หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "208185#2", "text": "ฐานันดรศักดิ์ หรือ ฐานันดร หมายถึง ฐานะซึ่งเป็นลำดับในการกำหนดชั้นบุคคล ฐานันดรของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เรียกว่า \"พระสกุลยศและพระอิสริยยศ\" หรือ \"พระยศ\" ฐานันดรของนักบวชเรียกว่า \"สมณศักดิ์\" ฐานันดรของขุนนางหรือข้าราชการเรียกว่า \"บรรดาศักดิ์\" หรือ \"ยศ\"", "title": "คำนำหน้าชื่อ" }, { "docid": "26149#7", "text": "3) พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น (เจ้านายที่สถาปนาให้เทียบชั้นพระองค์เจ้าชั้นโท) ใช้คำนำสกุลยศ​ \"พระเจ้าวรวงศ์เธอ\" อาทิ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "174845#41", "text": "สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงยกย่องราชินิกุลเจ้าคุณนวลยิ่งกว่าราชินิกุลบางช้างวงศ์อื่น เพราะเหตุที่เจ้าคุณนวลได้อภิบาลพระองค์มาแต่ยังทรงพระเยาว์ บุตรธิดาเจ้าคุณนวลมียศเป็นเจ้าคุณพระราชพันธุ์ ชั้นที่ ๒", "title": "สกุลบุนนาค" }, { "docid": "797587#1", "text": "เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) เป็นพระปัยกาหรือทวดของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย นายกสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ เป็นต้น อนึ่ง ทายาทสายตรงของพระองค์ที่เกิดแต่พระชายาเอกซึ่งมีพระนามว่าอาชญานางบุษดี ล้วนเป็นผู้สืบสกุลรามางกูร (Ramangkura) สายตรง แห่งอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในภาคอีสานของประเทศไทย และทายาทที่สืบเชื้อสายจากโอรสของพระองค์บางส่วนที่ถือกำเนิดในสกุลรามางกูร ได้อพยพไปตั้งรกราก ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ภายหลังเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองในประเทศลาวแล้ว ทายาทในสกุลรามางกูรสายนครหลวงเวียงจันทน์บางส่วนได้อพยพไปพำนักยังประเทศโลกที่ 3 อีกด้วยความในเอกสารปฐมภูมิคัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสืออุลังคนีทาน หรือ พื้นอุลํกาธา สำนวนที่ 1 ไม่ปรากฏศรัทธาสร้าง ต้นฉบับรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ 24-26 ออกพระนามของเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) ว่า แสนกางน้อยศรีมุงคุร และกล่าวว่าพระองค์ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งพระยศชั้นเจ้าหัวแสน (พระยศสูงกว่าเจ้าหัวพัน) จากสมเด็จพระเจ้าอุปราชนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2283 -2294) พระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ ปรากฏความว่า", "title": "เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)" }, { "docid": "61075#11", "text": "สตรีที่ได้รับพระราชานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สามารถใช้คำนำหน้านามได้ คือ \"คุณ\" สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมรส หรือ ใช้คำนำหน้านามว่า \"ท่านผู้หญิง\" สำหรับผู้ที่สมรสแล้วกับ หม่อมราชวงศ์ ลงมา ส่วนสตรี ผู้ที่สมรสกับเจ้านายฝ่ายหน้าในราชวงศ์จักรี คือ ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป ใช้คำว่า หม่อม หรือ สกุลยศเดิม เช่น หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นท่านผู้หญิง ", "title": "ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ" }, { "docid": "26149#6", "text": "2) พระชนกเป็นสมเด็จพระยุพราช หรือเจ้าฟ้าชั้นเอกและพระชนนีเป็นพระองค์เจ้า (พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าหญิงพระชายาในสมเด็จเจ้าฟ้า) ใช้คำนำสกุลยศ \"พระเจ้าหลานเธอ,พระเจ้าวรวงศ์เธอ\" อาทิ​ พระเจ้าหลานเธอ​ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา​ เรียกลำลอง\"พระองค์ภา\"", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#28", "text": "สกุลยศลำดับที่ 4 และ 5 เป็นเพียงราชนิกุล และเป็นสามัญชน จะไม่นับเป็นเจ้าและเป็นสกุลยศที่ถือกำเนิดในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ตามลำดับ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#15", "text": "พระองค์เจ้าชั้นตรี เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ ใช้คำนำสกุลยศ \"พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า\" เรียกลำลอง​ \"ท่านพระองค์\" เป็นเจ้านายชั้นอนุวงศ์​ (พระองค์เจ้าชั้นนี้เทียบเสมอสกุลยศ หม่อมเจ้า เพราะพระโอรสธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์)", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#16", "text": "1) พระชนกเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและพระชนนีเป็นพระองค์เจ้า อาทิ​เช่น พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (สกุลยศเดิมเมื่อแรกประสูติ) พระราชนัดดาในร.5", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "221238#25", "text": "เมื่อเริ่มต้นจากช่วงปลายของยุคไซลูเรียนเป็นต้นมา ได้มีการค้นพบแอมโมไนต์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอมโมไนต์ในมหายุคมีโซโซอิก แอมโมไนต์หลายสกุลได้วิวัฒนาการอย่างรวดเร็วและสูญพันธุ์ไปหลังจากนั้นไม่กี่ล้านปีต่อมา เนื่องแอมโมไนต์มีการวิวัฒนาการที่รวดเร็วและมีการแผ่กระจายตัวไปอย่างกว้างขวาง นักธรณีวิทยาและนักบรรพชีวินวิทยาจึงได้นำมาใช้ในทางการลำดับชั้นทางชีวภาพ แอมโมไนต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ดีเยี่ยมและเป็นไปได้ที่จะใช้เชื่อมโยงเปรียบเทียบชั้นหินและให้อายุทางธรณีวิทยา", "title": "แอมโมนอยด์" }, { "docid": "26149#2", "text": "1. เจ้าฟ้า มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ เจ้าฟ้าชั้นเอก เรียกลำลองว่า \"ทูลกระหม่อม\" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ \"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ\" และต้องถือประสูติข้างพระมารดาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีหรือพระภรรยาเจ้าชั้นสูง (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมราชเทวี, สมเด็จพระอัครราชเทวี) หรือพระมารดาพระยศ​โดยประสูติเดิมเป็นพระราชธิดา ในพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง, พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะไม่พระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศชั้นพระมเหสีใด ๆ แด่พระมารดา พระราชโอรสธิดาก็ได้รับสกุลยศเจ้าฟ้าในชั้นนี้โดยปริยายเช่นกัน เพราะถือว่าพระมารดาดำรงพระยศพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอยู่แล้วหรือจะเรียกได้ว่า \"ผู้คู่ควรมีบุตรเป็นเจ้าฟ้าโดยสกุลยศ\") บางแห่งเรียกเจ้าฟ้าชั้นนี้ว่า พระหน่อพุทธเจ้า หรือเจ้านายหมู่สืบสันตติวงศ์ (องค์รัชทายาท)ในส่วนเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ ในโบราณกาลมักนิยมขอพระราชทานไปดำรงตำแหน่งพระมเหสี เพื่อหมายให้ทายาทที่ถือประสูติแด่พระนางนั้นได้มีสิทธิ์ในการเป็นรัชทายาทฝ่ายพระมารดาด้วย ดังนั้นถือว่าการสืบสายข้างพระมารดามีศักดิ์สูงยิ่งมีความสำคัญ และมักให้ความสำคัญเสมอหากต้อง พระราชทานแก่พระเจ้าเมืองใด ต้องมีการปรึกษาหารือกับเสนาอามาตย์เสียก่อน นับเป็นเรื่องใหญ่ เจ้าฟ้าชั้นโท เรียกลำลอง​ \"สมเด็จ\" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ \"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ\" มีพระมารดาทรงศักดิ์รองลงมาหรือพระภรรยาเจ้าชั้นรอง (พระราชเทวี, พระนางเจ้า, พระนางเธอ, พระอัครชายา, พระราชชายา) หรือ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า (ต้องรับสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าก่อน) แรกประสูติของพระราชโอรสธิดา ยังไม่ได้รับพระราชทาน \"สมเด็จ\" เมื่อเจริญพระชันษาขึ้น จะได้รับสมเด็จ​ อาทิ​ \"สมเด็จชาย\" สมเด้จฯเจ้าฟ้ายุคล​ พระราชโอรสในร.5 และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดา ใน รัชกาลที่ 6 ที่ถือประสูติแต่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (ยกเว้นในกรณี พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ที่มีพระราชโอรสธิดา เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก เนื่องจากพระองค์เองดำรงพระอิสริยยศสกุลยศ \"พระองค์เจ้าลูกหลวง\" พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ร.4 แต่ตำแหน่งพระนางเจ้า​ พระราชเทวี เป็นการเลื่อนพระยศให้สูงขึ้นทรงดำรงตำแหน่งมเหสีในร.5 และต่อมา​ รัชกาลที่ 7 สถาปนา\"รับสมเด็จ\" เป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ตามลำดับ) อนึ่งเจ้าฟ้าชั้นโท ยังนับรวมเจ้านายที่ดำรงพระยศเป็น พระเชษฐา (พี่ชาย) พระภคินี (พี่สาว) พระอนุชาและพระขนิฐา (น้องชายและน้องสาว) ของกษัตริย์ที่ถือประสูติร่วมพระราชชนนีเดียวกัน (พระราชมารดา) กับพระมหากษัตริย์ และไม่ได้ดำรงสกุลยศเจ้าฟ้ามาก่อน อาทิ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งมีสกุลยศและอิสริยยศเดิม หม่อมเจ้าหญิง และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง ตามลำดับมาก่อน เจ้าฟ้าชั้นตรี เจ้านายชั้นอนุวงศ์ (เจ้านายชั้นอนุวงศ์สูงสุด) เป็นพระยศที่พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานเป็นกรณีพิเศษและมักไม่ค่อยถือประสูติมากนักหรือไม่มีเลย ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นหลานหลวง \"พระเจ้าหลานเธอหรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือ พระวรวงศ์เธอ\" โดยอาศัยการตั้งราชวงศ์ (ปฐมราชวงศ์ครั้งแรก) หรืออีกนัยหนึ่งต้องถือประสูติจากจากพระบิดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) และพระมารดามีพระยศเป็นเจ้าฟ้าด้วยกันหรือพระมารดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) พระบิดาเป็นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าชั้นนี้เสมอพระยศพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง แต่เวลาพระดำเนินตามหลังพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง และพระยศเจ้าฟ้าชั้นนี้เป็นเจ้านายกลุ่มชั้นอนุวงศ์มิใช่กลุ่มพระบรมวงศ์เท่าชั้นพระองค์เจ้าลูกหลวง และเจ้าฟ้าชั้นตรีมีปรากฏในต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ช่วงสมัยรัชกาลที่​ 1 เท่านั้น​ อาทิ​ เจ้าฟ้ามงกุฏ​ (ร.4)​ พระโอรส​ เจ้าฟ้าฉิม (ร.2)​ กับ​ เจ้าฟ้าบุญรอด (มีคำเรียกที่ว่า พระกำเนิดเป็นอุภโตสุชาติ = มีชาติพระกำเนิดที่ประเสริฐทั้งสองฝ่าย) เรียกลำลองว่า \"เจ้าฟ้า​ หรือหากได้รับสมเด็จ เรียกว่า สมเด็จเจ้าฟ้า\"", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "853495#3", "text": "เมื่อแปลพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ไทยเป็นภาษาอังกฤษ ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ \"ไฮเนส\" เป็นคำนำพระนามาภิไธยและพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีพระอิสริยยศและสกุลยศชั้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Her Highness Princess Vimolchatra เป็นต้น", "title": "ไฮเนส" }, { "docid": "22735#3", "text": "สำหรับฝ่ายในนั้น พระองค์ทรงสร้างกล่องหมากและหีบหมากเป็นเครื่องยศสำหรับพระราชทานฝ่ายในทำนองเดียวกันกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า ไม่จำกัดจำนวน แต่ไม่ได้พระราชทานโดยทางสืบสกุล สามารถแบ่งเป็น 3 ชั้น 4 ชนิด มีลักษณะดังนี้\nหลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2436 พระองค์พระราชดำริสมควรที่จะทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในขึ้น เพื่อให้สมาชิกผู้ได้รับพระราชทานได้ประดับตนเป็นที่แสดงเกียรติยศเพิ่มขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า และชั้นที่ 4 จตุตถจุลจอมเกล้า และเมื่อปี พ.ศ. 2442 ทรงพระราชดำริให้เพิ่มเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสำหรับฝ่ายในในชั้นที่ 2 ขึ้นอีก 1 ชนิด เรียกว่า ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เพื่อให้มีจำนวนชนิด 5 ชนิด (ในขณะนั้น) เช่นเดียวกับสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า", "title": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า" }, { "docid": "26149#0", "text": "พระยศเจ้านาย ในราชสกุลมี 2 ประเภทคือ สกุลยศ คือ ยศที่เกิดเป็นเจ้าชั้นใดในเบื้องต้น เจ้านายที่เกิดในสกุลยศชั้นใด ก็อยู่ในชั้นยศชั้นนั้น เป็นยศที่ได้โดยการเกิด และ \"อิสริยยศ\" คือยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาแต่งตั้งให้ทางราชการในภายหลัง และ \"ยศทางสกุล\" โดยชั้นข้าหลวงให้นำหน้าสกุลว่า \"วงค์\" (เมื่อสิ้นสุดรัชกาล สำหรับเมื่อเป็นสามัญชน) เช่น วงค์ปินตา วงค์สมบูรณ์ วงค์บวรคง วงค์ปิ่นแก้ว ฯลฯ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#29", "text": "ขุนหลวง - เป็นคำที่ราษฎรทั่วไปขาน พระเจ้าแผ่นดิน เนื่องด้วยการขานพระนามกันตรง ๆ มักไม่นิยม และมีความยาว พร้อมกับมีศัพท์ที่ไม่ใช้กันข้างนอก บางสันนิษฐานว่าเป็นคำลำลอง เหมือนที่เรียกขานปัจจุบันว่า \"ในหลวง\" เพราะ คำว่า \"ขุนหลวง\" มีใช้เฉพาะปลายกรุงศรีฯ โดยส่วนใหญ่จะเป็นพระราชวงศ์บ้านพลูหลวง นิยมขานพระมหากษัตริย์ ว่าขุนหลวงและตามด้วยพฤติกรรมหรืออุปนิสัยพระองค์นั้น ๆ อาทิ ขุนหลวงหาวัด พระเจ้าอุทุมพร เพราะผนวช, ขุนหลวงมะเดื่อ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ พระนามเดิม และพระยศเดิมก่อนเป็นกษัตริย์ หลวงสรศักดิ์ เป็นต้น ดังนั้น คำว่า \"ขุนหลวง\" มิใช่พระยศอย่างที่เข้าใจ พอเข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ขุนหลวงมิมีใครขานอีก เลยออกพระนามกันใหม่ อาทิ ขุนหลวงเสือ เป็นพระเจ้าเสือ เพิ่มเติม เจ้านายพระองค์ใดเป็นชั้นลูกหลวง เมื่อพ้นรัชกาลแผ่นดินไปแล้ว มีจะมีคำนำ ก่อนอิสริยยศเป็นขั้นปฐม ว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ (สำหรับ เจ้าฟ้า) และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (สำหรับ พระองค์เจ้า ยกเว้น พระราชกรุณาโปรดเกล้าเป็นอย่างอื่น ที่สูงกว่าหรือเกี่ยวข้องกับพระองค์โดยตรง อาทิ สมเด็จพระราชอนุชาฯ และสำหรับบางรัชกาล คำนำสกุลยศ ยังมี พระราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อันเป็นเจ้านายชั้นสูงที่เทียบกับพระบรมวงศ์เธอ แต่มิใช่เจ้านายในวังหลวง แต่เป็นเจ้านายในวังชั้นสูง อาทิ วังหน้า, วังหลัง เป็นต้น", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "12911#45", "text": "28 สิงหาคม พ.ศ. 2539 การหย่าร้างมีผลสมบูรณ์[72] และไม่กี่วันก่อนมีคำสั่งศาลให้ทั้งสองพระองค์หย่าขาด สำนักพระราชวังบักกิงแฮมเผยแพร่เอกสารสิทธิระบุว่า ไดอานาจะต้องสูญเสียฐานันดรศักดิ์ชั้นเจ้าฟ้า (Her Royal Highness) เนื่องจากมิได้เป็นเจ้าหญิงพระชายาในเจ้าชายแห่งเวลส์อีกต่อไป และให้ใช้พระนาม “ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์” แต่เพียงเท่านั้น[85] มีการรายงานเพิ่มเติมว่า สมเด็จพระราชินีนาถทรงตัดสินพระทัยให้คงไว้ซึ่งพระอิสริยศ “เจ้าหญิงแห่งเวลส์” ท้ายพระนามของหลังการหย่าร้าง แต่เจ้าชายชาลส์ทรงคัดค้านและเรียกร้องให้ริบคืนพระอิสริยศดังกล่าวจากอดีตพระชายา", "title": "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์" }, { "docid": "129681#1", "text": "พลอากาศเอกหะริน หงสกุล เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของหลวงอนุภาณดิสยานุสรรค์ กับ พระพี่เลี้ยงหวน หงสกุล(2428-2532) ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ จบการศึกษาชั้นมัธยมจาก โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนนายร้อยทหารบก จากนั้นศึกษาต่อวิชาการบิน และย้ายไปสังกัดกองทัพอากาศไทย และไปศึกษาต่อวิชาเสนาธิการทหารอากาศ ที่ ประเทศอังกฤษ ขณะมียศเป็นนาวาอากาศโท เพื่อเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศและโรงเรียนนายเรืออากาศของไทย นายทหารที่เดินทางไปศึกษาพร้อมกันในครั้งนั้นคือ นาวาอากาศโททวี จุลละทรัพย์ นาวาอากาศตรีสวัสดิ์ โพธิ์วิหคและ นาวาอากาศตรีละเอิบ ปิ่นสุวรรณ์ ", "title": "หะริน หงสกุล" }, { "docid": "138236#12", "text": "สตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า สามารถใช้คำนำหน้านามได้ คือ \"คุณ\" สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมรส หรือ ใช้คำนำหน้านามว่า \"ท่านผู้หญิง\" สำหรับผู้ที่สมรสแล้วกับ หม่อมราชวงศ์ ลงมา ส่วนสตรี ผู้ที่สมรสกับเจ้านายฝ่ายหน้าในราชวงศ์จักรี คือ ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป ใช้คำว่า หม่อม หรือ สกุลยศเดิม เช่น หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นท่านผู้หญิง ", "title": "ปฐมจุลจอมเกล้า" }, { "docid": "853499#2", "text": "เมื่อแปลพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ไทยเป็นภาษาอังกฤษ ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ \"เซอรีนไฮเนส\" เป็นคำนำพระนามาภิไธยและพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีพระอิสริยยศและสกุลยศชั้นหม่อมเจ้า เช่น หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า His Serene Highness Prince Chatrichalerm Yukol เป็นต้น", "title": "เซอรีนไฮเนส" }, { "docid": "26149#30", "text": "อิสริยยศ คือ ยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านายให้มีศักดิ์สูงขึ้น อิสริยยศชั้นสูงสุด คือ พระราชกุมารที่จะรับราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์สืบต่อไป โดยในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตั้งในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อปี พ.ศ. 2001 บัญญัติไว้ว่า พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระอัครมเหสี (มียศ) เป็นสมเด็จหน่อพุทธเจ้า พระราชกุมารอันเกิดแต่พระแม่ยั่วเมืองเป็นพระมหาอุปราช</b>และอิสริยยศยังรวมถึง พระยศที่ได้มาหลังจากประสูติด้วย ในราชวงศ์จักรี มีการสถาปนาเจ้านาย ชั้นหม่อมเจ้า เป็นพระองค์เจ้า ,หรือ พระมเหสีเทวี อาทิ หม่อมเจ้าจุลจักรพงษ์ จักรพงษ์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สกุลยศ หม่อมเจ้า อิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า หรือ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และ พระบรมราชินีนาถ ตามลำดับ สกุลยศ หม่อมราชวงศ์ อิสริยยศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมราชินีนาถ", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "17781#10", "text": "ระหว่างที่เปา เจิ่ง ทำราชการอยู่ในราชสำนักไคเฟิงนั้น จักรพรรดิเหรินจง (仁宗) ประสงค์จะตั้งพระชายาจากสกุลจาง (张) ขึ้นเป็นมเหสี แต่พระพันปีหลิว (刘太后) พระราชมารดา คัดค้าน[7] กระนั้น จักรพรรดิก็ทรงอวยยศให้แก่จาง เหยาจั่ว (張堯佐) ลุงของพระชายาจาง อย่างรวดเร็ว ไม่กี่ปีก็ได้เลื่อนจากขุนนางชั้นล่างขึ้นเป็นขุนนางผู้ใหญ่[8] ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1050 เปา เจิ่ง และผู้ตรวจกำกับอีกสองคน จึงร่วมกันถวายฎีกากล่าวโทษจาง เหยาจั่ว แต่จักรพรรดิทรงเมินเฉย และสี่วันให้หลังยังประทานยศให้แก่น้องสาวของพระชายาจาง เปา เจิ่ง ไม่ลดละความพยายาม เขาถวายฎีกาอีกฉบับหนึ่งแต่ผู้เดียว พรรณนาถึงความไม่เหมาะสมของจาง เหยาจั่ว ในการดำรงตำแหน่งต่าง ๆ[9] แต่จักรพรรดิกลับให้จาง เหยาจั่ว ควบอีกสี่ตำแหน่ง เปา เจิ่ง จึงถวายฎีกาอีกฉบับ ลงวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1050 ว่า ถ้าทรงขืนจะตั้งจาง เหยาจั่ว ให้ได้ ไม่รับฟังคำปรึกษาที่ถวายแล้ว ก็ขอให้ถอดที่ปรึกษาผู้นี้ออกจากตำแหน่งเสียเถิด[10] ในการประชุมคราวถัดมาในท้องพระโรง เปา เจิ่ง และเสนาบดีอีกเจ็ดคน ยังเปิดประเด็นร้อนเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมของจาง เหยาจั่ว ทำให้จักรพรรดิทรงยอมถอดจาง เหยาจั่ว ออกจากตำแหน่งในที่สุด[10]", "title": "เปาบุ้นจิ้น" }, { "docid": "174845#50", "text": "เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณหญิงนวล เป็นสกุลบุนนาคชั้นที่ ๑ และท่านทั้งสองมียศเป็นเจ้าคุณพระราชพันธุ์ชั้นที่ ๑ ด้วย", "title": "สกุลบุนนาค" }, { "docid": "74186#2", "text": "ยศต่าง ๆ ในประเทศไทยสมัยปัจจุบันมีกฎหมายรองรับเป็นพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479 สำหรับยศของสามเหล่าทัพ และพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 สำหรับหน่วยงานตำรวจ สำหรับยศของทหารและตำรวจชั้นสัญญาบัตรของไทยนั้น เป็นยศที่ต้องมีพระบรมราชโองการพระราชทานยศจากพระมหากษัตริย์ ดังนั้น เมื่อส่วนราชการของทหาร-ตำรวจ ได้แต่งตั้งทหาร-ตำรวจให้มียศสัญญาบัตรใด ๆ จะมีคำว่า \"ว่าที่\" (Acting) ของยศนั้นนำหน้า จนกว่าจะได้นำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ให้มีพระบรมราชโองการพระราชทานยศแล้ว จึงจะไม่มีคำว่า \"ว่าที่\" นำหน้ายศนั้น ๆ เว้นแต่ยศทหาร-ตำรวจ ชั้นนายพล ซึ่งพระมหากษัตริย์จะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งยศพร้อม ๆ กับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ยศของทหาร-ตำรวจไทย แบ่งได้ดังต่อไปนี้กองอาสารักษาดินแดนเป็นกองกำลังกึ่งทหารที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย ชั้นยศของอาสารักษาดินแดนเป็นชั้นยศที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบ่งออกเป็นชั้นยศของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน และชั้นยศของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน สำหรับชื่อชั้นยศในภาษาอังกฤษนั้น ยึดถือตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเรียกชื่อยศและตำแหน่งในกองอาสารักษาดินแดนเป็นภาษาอังกฤษ (เพื่อพลาง) พ.ศ. 2511", "title": "ยศทหารและตำรวจไทย" }, { "docid": "26149#20", "text": "4) พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น (เจ้านายที่สถาปนาให้เทียบชั้นพระองค์เจ้าชั้นตรี) ใช้คำนำสกุลยศ​ \"พระวรวงศ์เธอ\" อาทิ ร.4 ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าจิตราภรณ์ นพวงศ์ (สกุลยศ หม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวงองค์ใหญ่ในร.4) พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เพิ่มพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์ และได้ทรงยกพระโอรสธิดาของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์ เป็นหม่อมเจ้า (เดิม หม่อมราชวงศ์) อีกด้วย เป็นกรณีพิเศษเฉพาะพระองค์", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#3", "text": "หมายเหตุ เจ้านายที่จะสามารถดำรงสกุลยศชั้นเจ้าฟ้าได้ต้องถือประสูติจากพระมารดามีพระยศเป็นพระองค์เจ้าในเบื้องต้น เจ้าฟ้าที่ดำรงพระยศชั้นลูกหลวงจะมีสร้อยพระนามท้ายที่ระบุว่าเป็นพระราชโอรสหรือธิดาแห่งกษัตริย์ อาทิ ราชกุมาร/กุมารี ราชสุดา อัครราชกุมาร/กุมารี หรือราชกัญญา เป็นต้น หากไม่มีสร้อยพระนามนี้ถือว่าเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและตรีที่ไม่ใช่ลูกกษัตริย์ และจากข้อสังเกตและประวัติเจ้านายชั้นตรีหลายพระองค์ซึ่งเคยดำรงพระยศ เจ้าฟ้าชั้นตรีหรือเจ้าฟ้าชั้นหลานหลวง จะสืบสายข้างพระมารดาที่มีพระยศเป็นเจ้าฟ้าเป็นปฐม อีกนัยจะกล่าวว่า เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นเจ้าฟ้าตามศักดิ์แห่งพระมารดาแม้ทรงมีพระบิดาชั้นพระองค์เจ้าก็ตาม (พระมารดาเป็นเจ้าฟ้าบิดาเป็นพระองค์เจ้า) ซึ่งบางท่านงง ว่าแล้วเมื่อมีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า ทำไม จึงเป็นเพียงพระองค์เจ้า ชั้นโท นั้นยิ่งแสดงได้ชัดเจนว่า เจ้าฟ้าชั้นตรีเป็นสกุลยศผู้จะสืบยศเจ้าฟ้าข้างพระมารดาเป็นเกณฑ์", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" }, { "docid": "26149#24", "text": "อนึ่ง เนื่องด้วยมีการตรากฎหมายเรื่องการสืบสันดานสกุลยศ ในรัชกาลที่ 7 แห่งพระราชวงศ์จักรีว่าด้วย พระโอรสธิดา​เพิ่มเติม ทำให้หม่อมเจ้าหลานหลวง​ ที่มีพระชนกดำรงสกุลยศเจ้าฟ้าชั้นเอก​(ประสูติแต่พระชนนีชั้นสมเด็จ)​ หม่อมมารดาเป็นสามัญชน พระบุตรได้เพิ่มอิสริยยศตั้งเป็นพระองค์เจ้าชั้นตรี​ เช่น​ หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ​ จุฑาธุช​ พระราชนัดดาในร.5​ เพิ่มอิสริยยศตั้งเป็น พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช โดยโอรสธิดาของหม่อมเจ้าชั้นเอก​ และ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า​ ​นี้​ สมภพ(เกิด)​เป็น​ หม่อมราชวงศ์", "title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย" } ]
4002
นักประวัติศาสตร์ ทำหน้าที่อะไร ?
[ { "docid": "766#0", "text": "ประวัติศาสตร์ (English: history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง \"การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน\") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์[1][2] และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ \"มุมมอง\" ต่อปัญหาในปัจจุบัน[1][3][4][5] เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า \"การสอบสวนอย่างไม่นำพา\" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์[6][7] เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์", "title": "ประวัติศาสตร์" } ]
[ { "docid": "401142#2", "text": "โพรโทคอล โอเมกา เป็นทีมที่เอลโดราโดส่งมาเพื่อทำหน้าที่ในการลบล้างประวัติศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลทั้งหมด โดยทีมนี้ถูกจัดการรูปแบบหลายเวอร์ชันด้วยกันรวมถึงทีมย่อยโดยมีกัปตันและสมาชิกทีมในแต่ละกลุ่ม", "title": "รายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า GO" }, { "docid": "460447#1", "text": " มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปิดสอนวิชาด้านสังคมศาสตร์ตั้งแต่พ.ศ. 2486 เป็นต้นมาพร้อมๆ \nกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายวิชาที่เปิดสอนในระยะแรกได้แก่ \nวิชากฎหมาย เปิดสอนในคณะสหกรณ์ ส่วนรายวิชาด้านสังคมศาสตร์นั้นเปิดสอนเฉพาะบางรายวิชาเช่น \nวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้น สังคมวิทยาชนบท แต่ยังไม่มีภาควิชาสังกัด\nภายในคณะแต่อย่างใด จนกระทั่งวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 จึงได้มีการจัดตั้งภาควิชาขึ้นจำนวน 5 ภาควิชา คือ ภาควิชาจิตวิทยา \nภาควิชาปรัชญาและศาสนา ภาควิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา\nภาควิชาประวัติศาสตร์ ทำหน้าที่ในการผลิตศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ จนกระทั่งในพ.ศ. 2544 ภาควิชาประวัติศาสตร์จึงเปิดสอนหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต\nสาขาวิชาประวัติศาสตร์ร่วมด้วย ภาควิชาได้ผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมไทยรับใช้สังคมในมิติต่าง ๆ ทั้งศึกษาต่อ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชนและต่างประเทศ รวมถึงการผลิตนักประวัตศาสตร์ที่มีคุณภาพ มีความรู้รับใช้สังคมและประเทศชาติ", "title": "ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" }, { "docid": "797197#4", "text": "วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2510 เขาได้ทำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หลังจากการเสียชีวิตจอมพล โรดีออน มาลีนอฟสกี ในช่วงปี พ.ศ. 2513-2519 ที่ เกรชโค ได้ทำหน้าที่เป็นประธานของคณะกรรมการบรรณาธิการจัดบันทึกประวัติศาสตร์โซเวียตในของสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเป็นทางการเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2519 เถ้าของเขาถูกฝังอยู่ในกำแพงเครมลิน", "title": "อันเดรย์ เกรชโค" }, { "docid": "180062#0", "text": "ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organisation)) เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรมและความรู้ท้องถิ่นของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำหน้าที่เก็บรวบรวมบันทึกความรู้ในรูปแบบต่างๆ สนับสนุนการสร้างความรู้ใหม่ และเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าให้แก่ประชาชนทั่วไป", "title": "ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)" }, { "docid": "617583#0", "text": "หนึ่งฤทัย สระทองเวียน หรือ โค้ชหนึ่ง (1 มกราคม พ.ศ. 2515 – ) เป็นอดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ผู้ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลในประเทศไทย ในฐานะผู้ฝึกสอนฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกที่ทำหน้าที่ดังกล่าว", "title": "หนึ่งฤทัย สระทองเวียน" }, { "docid": "229922#0", "text": "สงครามโค่นพันธุ์อสูร () เป็นภาพยนตร์แอ็กชั่น-สยองขวัญเกี่ยวกับความลับในประวัติศาสตร์ของแวมไพร์ และมนุษย์หมาป่า ที่เป็นที่รู้จักในเรื่องว่า ไลแคน เป็นภาพยนตร์ภาคแรกใน 3 ภาค มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเซลีน (เคต เบ็กคินเซล) แวมไพร์ที่มีตำแหน่งเป็นผู้ท้าความตาย ตามล่าพวกไลแคน เธอพบว่าเธอสนใจในมนุษย์ที่ชื่อ ไมเคิล คอร์วิน (สก็อตต์ สปีดแมน) ที่เขาเป็นเป้าหมายของพวกไลแคน หลังจากที่ไมเคิลถูกไลแคนกัด เซลีนจึงต้องตัดสินใจทำตามหน้าที่ทำตามหน้าที่ของเธอและฆ่าเขาหรือฝ่าฝืนกฎและไม่ฆ่าเขา", "title": "สงครามโค่นพันธุ์อสูร" }, { "docid": "624805#1", "text": "เสกสรรค์ เสวกสูตร สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เขาเคยทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตูให้แก่ฟุตบอลทีมชาติไทย รวมถึงเป็นผู้รักษาประตูระดับอาชีพในหลายสังกัดสโมสร นอกจากนี้ เขายังมีผลงานการเป็นผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตูฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยในการแข่งขันระดับนานาชาติ อาทิ ใน พ.ศ. 2553 เสกสรรค์ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนให้แก่ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ในการแข่งขันฟุตบอลในเอเชียนเกมส์ 2010 ที่จัดขึ้น ณ เมืองกว่างโจว ประเทศจีน รวมถึงใน พ.ศ. 2556 ในการแข่งขันซีเกมส์ 2013 ที่ประเทศเมียนมาร์ และใน พ.ศ. 2557 ในการแข่งขันฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2014 ที่จัดขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม โดยเขาได้มีส่วนร่วมในการสร้างประวัติศาสตร์พาทีมเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2015 ที่ประเทศแคนาดาได้สำเร็จ", "title": "เสกสรรค์ เสวกสูตร" }, { "docid": "82210#9", "text": "\"Red Cliff\" (2008) คือผลงานมหากาพย์สงครามเรื่องล่าสุดของจอห์น นับว่าเป็นภาพยนตร์จีนเรื่องแรกของเขาในรอบ 15 ปีที่เขาไปทำหนังอเมริกา นำแสดงโดย เหลียงเฉาเหว่ย, ทาเคชิ คาเนชิโร, จางฟงอี้, จางเจิ้น, เจ้าเวย, ฮูจุน, หยูหยง โดยมีทุนสร้างกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจอห์นทำหน้าที่ทั้ง กำกับ, เขียนบท และอำนวยการสร้าง โดยสร้างจากวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ซึ่งได้ยกเอาเหตุการณ์สำคัญๆในเรื่อง คือ ศึกผาแดง มาถ่ายทอดโดยแบ่งออกฉายเป็นสองภาค", "title": "จอห์น วู" }, { "docid": "352472#7", "text": "3.ผลิตผลเพื่อนการอยู่การกิน การจับจ่ายใช้สอย หรือผู้ทำงานด้านกสิกรรม การค้า หรือการผลิตต่างๆ ให้เป็นหน้าที่ของวรรณะแพศย์", "title": "ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง" }, { "docid": "56714#28", "text": "การทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อพระเจ้าแผ่นดินยังทรงพระเยาว์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน ๆ ในประวัติศาสตร์ แต่ก่อนนั้นพระเจ้าแผ่นดินทรงปรึกษาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แล้วจึงเสด็จออกท้องพระโรงแล้วมีรับสั่งเอง แต่การทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในครั้งนี้อำนาจเด็จขาดทั้งหมดอยู่ที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงต้องคิดวิธีว่าราชการบ้านเมืองในหน้าที่ของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักในการปฏิบัติสืบต่อไป ดังนั้น ในการจัดระเบียบราชการครั้งนี้จึงอาศัยแนวคิด 2 ประการ คือ ประการแรก การบังคับบัญชาข้าราชการบ้านเมืองนั้น ไม่ได้เอาอำนาจไว้แต่ในตัวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น แต่เป็นไปด้วยการปรึกษาหารือพร้อมเพรียงกันของข้าราชการผู้ชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารซึ่งจะมีการประชุมกัน ณ หอวรสภาภิรมย์ ภายในพระบรมมหาราชวัง ประการที่สอง คือ การฝึกหัดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสามารถว่าราชการบ้านเมืองได้เอง[26][27]", "title": "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)" }, { "docid": "916950#6", "text": "ผู้หญิงตอบสนองต่อโรซีคนตอกหมุดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเชื่อว่าพวกเขามีหน้าที่ที่ต้องทำมนฐานะคนรักชาติ บางคนอ้างว่าเธอเปิดโอกาสทำงานสำหรับผู้หญิง แต่คนอื่น ๆ โต้แย้งประเด็นนี้ โดยสังเกตว่าหลังสงครามผู้หญิงหลายคนต้องออกจากงานและงานถูกส่งกลับไปยังผู้ชาย นักวิจารย์อ้างว่าเมื่อสงครามจบลง ผูหญิงส่วนใหญ่จะกลับไปทำงานบ้านหรืองานเลขา บางคนเชื่อว่าสงครามโลกครั้งที่สองเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของผู้หญิง ในขณะที่นักประวัติศาสตร์หลายคนเน้นย้ำว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวและทันทีหลังสงครามจบลง ผู้หญิงคงกลับไปทำหน้าที่ภรรยาและแม่ บางคนเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่สงครามนำพามาเป็นพื้นฐานของการเคลื่อนไหวของสตรี", "title": "โรซีคนตอกหมุด" }, { "docid": "797929#5", "text": "ปัจจุบันสถาบันไทยคดีศึกษาทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัยด้านไทยศึกษา มีบทบาทหน้าที่ในการค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสังคมไทย ควบคู่ไปกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและการเผยแพร่ความรู้สู่สังคมในรูปแบบต่างๆ ภายใต้ปรัชญา “เข้าใจอดีต รู้ทันปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต” พร้อมกันนั้นสถาบันมีนโยบายที่จะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสมานฉันท์ ปลูกฝังคุณธรรม/จริยธรรมแก่เยาวชน ส่งเสริมการศึกษาศิลปวัฒนธรรมโดยเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกับไทย และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ", "title": "สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "45646#19", "text": "เป็นประติมากรรมวัว ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของปราสาทประธานเคียงข้างกับศิวลึงค์ โคนนทิ ([Nandin]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) คือ พาหนะของพระศิวะ โคนนทิเป็นบุตรของพระกัศยปกับโคสุรภี พระศิวะเห็นโคสุรภีก็อยากจะได้เป็นบริวารแต่รังเกียจว่าเป็นเพศเมีย พระกัศยปจึงอาสาผสมพันธุ์กับโคสุรภี จึงให้กำเนิดเป็นวัวเพศผู้ชื่อว่า \"นนทิ\" แล้วถวายเป็นบริวารของพระศิวะ ทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตูวิมานบนเขาไกรลาสด้านทิศตะวันออกคู่กับมหากาลและทำหน้าที่เป็นเทพพาหนะเมื่อพระศิวะเสด็จออกภายนอก", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "987929#0", "text": "เวรียเมียเปร์วืยฮ์ () เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์แนวชีวิตจากประเทศรัสเซียเกี่ยวกับนักบินอวกาศ อะเลคเซย์ เลโอนอฟ บุคคลคนแรกของโลกที่เดินบนอวกาศ ซื่งเลโอนอฟยังได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ \"เวรียเมียเปร์วืยฮ์\" กำกับโดย Dmitriy Kiselev และ อำนวยการสร้างร่วมโดย Timur Bekmambetov และ Yevgeny Mironov ซึ่งต่อมาเขาได้รับบทนำ", "title": "เวรียเมียเปร์วืยฮ์" }, { "docid": "626684#6", "text": "ดวงนภาเป็นหนึ่งในผู้ทำประตูชัยให้แก่ทีมชาติไทย เมื่อครั้งที่พบกับฟุตบอลหญิงทีมชาติเมียนมาร์ ในการแข่งขันฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2014 ที่จัดขึ้น ณ ประเทศเวียดนาม และเธอเป็นผู้ทำหน้าที่ร่วมกับทีมชาติไทย เมื่อครั้งที่พบกับฟุตบอลหญิงทีมชาติเวียดนาม ซึ่งเป็นทีมเจ้าภาพการแข่งขันรายการดังกล่าว โดยทีมของได้เธอเป็นฝ่ายชนะที่ 2 ประตูต่อ 1 ส่งผลให้ทีมชาติไทยได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2015 ที่ประเทศแคนาดาได้เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์", "title": "ดวงนภา ศรีตะลา" }, { "docid": "537454#1", "text": "ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ปิซาร์โรได้ทำประตู 133 ประตู โดยทำลายสถิติของเอลเบอร์ จีอูวาเน ทำให้ปิซาร์โร เป็นนักฟุตบอลชาวต่างชาติที่ทำประตูได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันฟุตบอลในประเทศเยอรมนี ในการแข่งขันนัดระหว่างแวร์เดอร์เบรเมิน กับ โบรุสเซียเมินเชนกลัดบัค ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ปิซาร์โร ได้เป็นผู้เล่นกองหน้าที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของบุนเดิสลีกา ด้วยการทำประตูมากถึง 166 ประตู", "title": "คลาวดีโอ ปีซาร์โร" }, { "docid": "258785#3", "text": "รองประธานาธิบดีอินเดียเป็นนายกราชยสภาโดยตำแหน่ง ส่วนอุปนายกราชยสภานั้นเป็นสมาชิกราชยสภาคนหนึ่งที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกด้วยกันเอง และจะทำหน้าที่กำกับการบริหารและการทำงานตามปกติของราชยสภา รวมทั้งทำหน้าที่ประธานการประชุมในวาระเมื่อรองประธานาธิบดี (นายกราชยสภา) ไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ ราชยสภานี้เปิดประชุมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ของไทย", "title": "ราชยสภา" }, { "docid": "85156#13", "text": "ในอาณาจักรแถบคาบสมุทรเกาหลีได้มีระบบขันทีเช่นเดียวกัน โดยเรียกว่า แนซี () ซึ่งทำหน้าที่สนองพระราชบัญชาพระมหากษัตริย์และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ซึ่งปรากฏการมีอยู่ของขันทีครั้งแรกใน \"โครยอซา\" ( \"ประวัติศาสตร์โครยอ\") ซึ่งบันทึกเรื่องราวช่วงยุคโครยอ และต่อมาในยุคราชวงศ์โชซอน ระบบแนซีได้ถูกแก้ไข และเปลี่ยนแปลงเรียกว่า กรมแนซี ()", "title": "ขันที" }, { "docid": "586268#3", "text": "ภายหลังจากการศึกษาของเขาในสาขาภาษาเยอรมันและวรรณคดี, ประวัติศาสตร์ และพลศึกษาในมิวนิก แฮร์มันน์ รีเดอร์ ก็ได้มีบทบาทในฐานะผู้ช่วยศาสตรารย์ที่มหาวิทยาลัยเวือร์ซบูร์ก ตั้งแต่ ค.ศ. 1968 ถึง 1994 เขาได้ทำการชี้แนะแก่สถาบันการพลศึกษาที่มหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก ที่ซึ่งในภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาใน ค.ศ. 1973 พร้อมกันนี้ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งชาติ ที่ซึ่งเขาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ ค.ศ. 1970 ถึง 1973 จุดสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญด้านการทำงานของเขาได้รวมถึงการก่อตั้งวิทยาศาสตร์การกีฬาในฐานะกฎระเบียบทางวิทยาศาสตร์และการสนับสนุนส่งเสริมการเล่นกีฬาสำหรับคนพิการ นอกจากนี้ รีเดอร์ยังเป็นเลขาธิการของสมาคมจิตวิทยาการกีฬานานาชาติ", "title": "แฮร์มันน์ รีเดอร์" }, { "docid": "513527#0", "text": "แหล่งปฐมภูมิ ในการศึกษาประวัติศาสตร์เป็นสาขาวิชาการ คือ สิ่งประดิษฐ์ เอกสาร บันทึกหรือแหล่งสารสนเทศอื่นที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่กำลังศึกษา ทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศต้นฉบับเกี่ยวกับหัวข้อนั้น นิยามคล้ายกันยังใช้ในบรรณารักษศาสตร์ และสาขาวิชาการอื่น ในวารสารศาสตร์ แหล่งปฐมภูมิสามารถเป็นบุคคลที่มีความรู้สถานการณ์โดยตรง หรือเอกสารที่สร้างโดยบุคคลดังกล่าว", "title": "แหล่งปฐมภูมิ" }, { "docid": "154267#0", "text": "ง่อก๊กไถ้ (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ง่อก๊กไถ้ไม่ใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นชื่อเรียกขาน มีความหมายว่า \"ผู้เป็นใหญ่แห่งง่อก๊ก\" เดิมมีชื่ออย่างไรไม่ปรากฏ เป็นพระมเหสีองค์ที่สองของซุนเกี๋ยน ทรงเป็นน้องสาวของงอฮูหยิน ภรรยาหลวงของซุนเกี๋ยน ผู้เป็นแม่แท้ ๆ ของซุนเซ็กและซุนกวน เมื่อพี่สาวเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ นางได้ฝากซุนกวน บุตรชายคนที่สองที่เพิ่งขึ้นครองแคว้นให้งอก๊กไถ้ดูแลด้วย ซึ่งงอก๊กไถ้ก็ทำหน้าที่นี้ได้อย่างดี จนซุนกวนนับถือนางเหมือนแม่แท้ ๆ ของตัว", "title": "งอก๊กไถ้" }, { "docid": "147755#19", "text": "ผนึกกำลัง สองสิงห์ บนหน้าประวัติศาสตร์สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อ คุณสมพร สิงห์รื่นรมย์ นักธุรกิจหนุ่มเจ้าของธุรกิจจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์รายใหญ่หลายสาขา และเจ้าของฟุตบอลหญ้าเทียม สองสิงห์ อารีน่า สปอร์ตคลับ ได้ก้าวเข้ามานั่งแท่นรองประธานสโมสรฯ พร้อมทำหน้าที่ผู้จัดการทีม", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ" }, { "docid": "166369#18", "text": "กองทัพเยอรมันมีความเหนือกว่ากองทัพโปแลนด์ ทั้งทางด้านจำนวน และด้านคุณภาพ ทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมการรบครั้งนี้ กองทัพบกเยอรมันได้แบ่งรถถังจำนวน 2,400 คัน ออกเป็น 6 กองพลแพนเซอร์ และใช้หลักนิยมทางทหารแบบใหม่เพื่อใช้ในการรบ ซึ่งเป็นการนำกองพลยานเกราะไปปฏิบัติการร่วมกับทหารหน่วยอื่น ๆ มีหน้าที่หลัก คือ เจาะผ่านแนวรบของศัตรู แยกศัตรูออกจากกัน แล้วจึงปิดล้อมและทำลาย หลังจากนั้นหน่วยทหารยานยนต์ประเภทอื่น ๆ และทหารเดินเท้าจึงจะติดตามไป ส่วนกองทัพอากาศทำหน้าที่ยึดครองน่านฟ้าทั้งโดยยุทธศาสตร์และยุทธวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องบินทิ้งระเบิดซึ่งทำหน้าที่ทำลายแหล่งเสบียงและการคมนาคมของศัตรู เมื่อรวมปฏิบัติการทั้งหมดเข้าด้วยกันจะได้เป็นรูปแบบการโจมตีสายฟ้าแลบ นักประวัติศาสตร์สองคน คือ บาซิล ลิดเดลล์ ฮาร์ตและ เอ. เจ. พี. เทย์เลอร์ ได้กล่าวว่า \"โปแลนด์เป็นสนามทดสอบการโจมตีสายฟ้าแลบอย่างเต็มรูปแบบ\" อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์อีกหลายคนไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้", "title": "การบุกครองโปแลนด์" }, { "docid": "980628#2", "text": "ภูมิรัฐศาสตร์มุ่งเน้นถึงอำนาจการเมืองในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะอาณาเขตทางน้ำและทางบกภายใต้ความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์การทูต ในทางวิชาการภูมิรัฐศาสตร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยอ้างถึงภูมิศาสตร์ภายใต้ความสัมพันธ์ทางการเมือง มีกลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลายนอกเหนือจากทางวิชาการที่แสดงถึงการคาดการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงกลุ่มไม่แสวงหาผลกำไรและสถาบันเอกชนที่แสวงหาผลกำไร (เช่น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และบริษัทที่ปรึกษา) หัวข้อของภูมิรัฐศาสตร์ประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างผลประโยชน์ของตัวกระทำการทางการเมืองระหว่างประเทศและผลประโยชน์ที่มุ่งเน้นถึงเนื้อที่ พื้นที่ หรือองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์อันเกี่ยวข้องกับการสร้างระบบภูมิรัฐศาสตร์ \"ภูมิรัฐศาสตร์เชิงวิพากษ์\" โจมตีทฤษฎีคลาสสิกทางภูมิรัฐศาสตร์โดยสะท้อนบทบาททางการเมืองหรือแนวคิดเพื่อมหาอำนาจในช่วงยุคและหลังยุคของจักรวรรดินิยม", "title": "ภูมิรัฐศาสตร์" }, { "docid": "255696#46", "text": "รอมเมิลได้คัดค้านการลอบสังหารฮิตเลอร์ ภายหลังสงคราม ภรรยาหม้ายของเขาได้ยืนยันว่า เขาเชื่อว่าความพยายามลอบสังหารนั้นจะทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ตามที่นักข่าวและนักเขียน William L. Shirer, รอมเมิลได้รู้เกี่ยวกับการสมรู้ร่วมคิดและสนับสนุนให้ฮิตเลอร์ถูกจับกุมและขึ้นศาล นักประวัติศาสตร์ Ian Becket ได้ระบุว่า \"ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่า รอมเมิลมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าและจำกัดในแผนลับ\" และสรุปได้ว่า เขาจะไม่ได้ทำหน้าที่เพื่อช่วยเหลือผู้คบคิดในผลลัพธ์ของความพยายามในวันที่ 20 กรกฎาคม ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ Ralf Georg Reuth ได้เชื่อว่า \"ไม่มีร่องรอยของการมีส่วนร่วมใดๆของรอมเมิลในการสมรู้ร่วมคิด \" นักประวัติศาสตร์ Richard Evans ได้สรุปว่า เขารู้เรื่องแต่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง", "title": "แผนลับ 20 กรกฎาคม" }, { "docid": "6175#27", "text": "การเป็นเจไดคือชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ในฐานะนิกายเจไดซึ่งต้องมีตวามรับผิดชอบสูง ขณะที่เจไดส่วนมากเป็นเจไดรักษาการ บางที่อาจทำหน้าที่พิเศษในบริเวณไม่มากก็น้อย แต่ในการเห็นพ้องต้องกันกับความสนใจของพวกเขาและการเลื่อน หรือเพราะพวกเขาถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบสำหรับพื้ที่ซึ่งต้องการหน่วยพิเศษทำ ด้วยการเป็นหน่วยพิเศษนี้มักกลายเป็นเจไดที่ไม่เหมือนคน ยิ่งกว่านั้น ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของกาแล็กซี่ เจไดบางคนจะทำหน้าที่ทางการทหารและสู้รบเคียงข้างกับกองกำลังของสาธารณรัฐ", "title": "เจได" }, { "docid": "373578#2", "text": "ชาวกัมพูชาเริ่มรู้จักการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกข้าวได้ตั้งแต่เมื่อราว 2,000 ก่อนคริสตกาล สามารถทำเครื่องมือจากเหล็กได้ตั้งแต่ราว 600 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้าที่อิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียจะแผ่เข้ามาถึงดินแดนแถบนี้ ในราวปีที่ 100 ก่อนคริสตกาล", "title": "ประวัติศาสตร์ยุคแรกของกัมพูชา" }, { "docid": "70992#2", "text": "ชาวกัมพูชาเริ่มรู้จักการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกข้าวได้ตั้งแต่เมื่อราว 2,000 ก่อนคริสตกาล สามารถทำเครื่องมือจากเหล็กได้ตั้งแต่ราว 600 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้าที่อิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียจะแผ่นเข้ามาถึงดินแดนแถบนี้ ในราวปีที่ 100 ก่อนคริสตกาล", "title": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา" }, { "docid": "44382#5", "text": "คุณสิริกิติยาสนใจงานภัณฑารักษ์ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันตั้งแต่ทำงานที่แอร์เมส หลังกลับเข้ามาพำนักในไทย จึงเข้าฝึกงานในกลุ่มงานวิชาการการอนุรักษ์ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 และหลังจากฝึกงานเสร็จก็ได้รับการบรรจุเป็นเข้าข้าราชการระดับ 3 ของหน่วยงานดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ในตำแหน่งนักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ช่วยราชการที่สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2560 คุณสิริกิติยารับหน้าที่ดูแลการก่อสร้างพระเมรุมาศสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในฐานะข้าราชการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 คุณสิริกิติยาเป็นผู้อำนวยการโครงการ \"วังน่านิมิต\" ซึ่งเก็บและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งจัดแสดงโดยใช้สื่อเทคโนโลยีในรูปแบบภาพ (visual language) เธอกล่าวเกี่ยวกับความเป็นมานิทรรศการนี้ว่า \"...นิทรรศการนี้จึงทำขึ้นด้วยความตั้งใจที่อยากให้เด็กรุ่นใหม่เห็นว่าประวัติศาสตร์กับปัจจุบันไปด้วยกันได้ และให้รู้สึกว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ไกลจากตัว\"", "title": "คุณสิริกิติยา เจนเซน" }, { "docid": "596784#4", "text": "นอกจากนี้ มนต์ชัยยังทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ในการแข่งวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลก 2014 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสุดท้าย ที่แคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย รวมถึงทำหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย ในการแข่งวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์เอเชีย 2013 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ซึ่งทีมชาติไทยได้อันดับ 6 รวมถึงในการแข่งวอลเลย์บอลในซีเกมส์ 2013 ที่กรุงเนปยีดอ ประเทศพม่า โดยในรอบรองชนะเลิศ ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะทีมชาติเวียดนาม 3-0 เซต และในรอบชิงชนะเลิศ ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะทีมชาติอินโดนีเซีย 3-0 เซต ส่งผลให้ทีมชายของไทยคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 6 และเป็นการป้องกันแชมป์ซีเกมส์ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์", "title": "มนต์ชัย สุภจิรกุล" } ]
4003
ใครเป็นผู้ประพันธ์เรื่องลิลิตพระลอ?
[ { "docid": "93544#0", "text": "ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นบทประพันธ์ประเภทลิลิต ประพันธ์ขึ้นโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวาระงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 โดยตะเลงในที่นี้หมายถึง มอญ แต่ในลิลิตตะเลงพ่าย กล่าวถึงการรบระหว่างไทยกับพม่า ที่มาของเรื่อง 1.พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) 2.วรรณคดีเก่าเรื่อง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ 3.จินตนาการของผู้แต่ง คือ ช่วงบทนิราศ จุดมุ่งหมายในการแต่ง 1.เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 2.ฉลองตึกวัดพระเชนตุพนฯ สมัย รัชกาลที่ 3 3.สร้างสมบารมีของผู้แต่ง (เพราะผู้แต่งขอไว้ว่าถ้าแต่งเสร็จขอให้สำเร็จสู่พระนิพพาน)", "title": "ลิลิตตะเลงพ่าย" } ]
[ { "docid": "12574#3", "text": "มาใช้เป็นแบบโคลง 4 เพราะเอกโทตรงตามตำราหมดทุกแห่ง นอกจากหนังสือจินดามณี ยังมีเค้าเงื่อนอย่างอื่นเป็นที่สังเกต คือ หนังสือบทกลอนแต่งครั้งกรุงศรีอยุธยา (ว่าตามตัวอย่างที่ยังมีอยู่) ในช่วงตอนต้นนับแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมาชอบแต่งลิลิตกันเป็นพื้นมีลิลิตโองการแช่งนํ้าพระพิพัฒนสัตยา ลิลิตเรื่องยวนพ่าย และลิลิตเรื่องพระลอเป็นตัวอย่างสำนวนทันเวลากันทั้ง 3 เรื่อง แต่การกวีนิพนธ์ตอนกลางและปลายกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏว่ามีการแต่งลิลิตเรื่องใดเลย ดังนั้นจึงมีหลักฐานน่าเชื่อว่า ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่แต่งใน กรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวในระหว่าง พ.ศ. 1991 จนถึง พ.ศ. 2026 แต่ยังมีบางท่านเสนอเวลาที่ใหม่กว่านั้น ว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ยังมีผู้คล้อยตามไม่มากนัก เนื่องจากไม่มีหลักฐานสนับสนุน", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "112417#14", "text": "2. ลักษณวดี ใช้สำหรับเขียนนวนิยายรัก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาของเหล่าเจ้าหญิงเจ้าชาย คำว่า \"ลักษณวดี\" มีความหมายว่า \"นางผู้มีลักษณะดี , นางผู้งามเลิศ\" วิมลนำชื่อ \"ลักษณวดี\" ซึ่งเป็นนางในวรรณคดีและเป็นมเหสีของพระลอดิลกราชจากวรรณคดีเรื่อง \"ลิลิตพระลอ\" ", "title": "วิมล เจียมเจริญ" }, { "docid": "12574#13", "text": "และที่แม่น้ำกาหลงนี้เอง ที่พระลอได้ตั้งอธิษฐานว่าหากตนเองได้รอดกลับมาน้ำจะใสและไหลตามปรกติแต่หากต้องตายให้น้ำกลายเป็นสีเลือดและไหลผิดปรกติ หลังจากคำอธิษฐานนั้น แม่น้ำก็เปลี่ยนเป็นสีแดงเลือดในทันทีและไหลเวียนวนผิดปกติ เมื่อพระลอเห็นดังนั้นก็รู้ได้ว่าจะมีเรื่องร้ายรออยู่เบื้องหน้าของพระองค์ แต่ก็ไม่ได้ทำให้พระองค์เกิดความย่อท้อที่จะได้พบกับเจ้าหญิงที่พระทัยของพระองค์เรียกร้องแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าพระองค์นั้นจะไม่เคยพบนางเลย แต่พระองค์คลั่งไคล้ไหลหลงในตัวนางทั้งสองเป็นยิ่งนัก", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "12574#2", "text": "ทั้งเรื่องผู้แต่งและปีที่แต่ง ไม่ปรากฏหลักการหรือข้อความระบุที่ชัดเจน แต่อาจอาศัยเนื้อเรื่องที่ระบุถึงสงครามระหว่างไทยและเชียงใหม่มาเป็นจุดอ้างอิง ซึ่งเดิมนั้นเชื่อว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงกันมาจวบจนปัจจุบัน นักวิจารณ์วรรณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ลิลิตพระลอแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาแน่ และเชื่อว่าเป็นไปได้มากที่จะแต่งขึ้นก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เนื่องจากหนังสือสอนภาษาไทย \"จินดามณี\" ที่แต่งโดยพระโหราธิบดีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้คัดเอาโคลงลิลิตพระลอบทที่ว่า", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "12574#1", "text": "ลิลิตพระลอที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. 2459 ให้เป็นยอดแห่งลิลิต", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "12574#0", "text": "ลิลิตพระลอ เป็นลิลิตโศกนาฏกรรมความรัก ที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์ ", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "12574#6", "text": "อย่างไรก็ตาม นักวรรณคดีบางท่าน เสนอว่า น่าจะอยู่ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077-2089) เนื่องจากเป็นสมัยที่มีสงครามระหว่างไทยกับเชียงใหม่ และเป็นสมัยแรกที่มีการใช้ปืน (ปืนไฟ) ในการรบ", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "12574#4", "text": "นักวรรณคดีมักจะยกโคลงท้ายบทมาเป็นหลักฐานพิจารณาสมัยที่แต่ง ดังนี้", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "63483#0", "text": "ลิลิตยวนพ่าย เป็นวรรณคดีประเภทสดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ จัดเป็นวรรณคดีประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คำว่า \"ลิลิต\" หมายถึง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว ส่วน \"ยวน\" หมายถึง ไทยวน ชาติพันธ์หลักในอาณาจักรล้านนา เพี้ยนมาจาก โยน หรือ โยนก ดังนั้น ลิลิตยวนพ่ายจึงมีเนื้อหากล่าวถึงสงครามที่กรุงศรีอยุธยามีชัยเหนือล้านนานั่นเอง", "title": "ลิลิตยวนพ่าย" }, { "docid": "12574#15", "text": "และแล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่เจ้าหญิงสองคาดไว้ พระลอได้ตามไก่เนรมิตไปจนถึงพระราชอุทยาน และได้พบกับเจ้าหญิงทั้งสองซึ่งกำลังทรงสำราญอยู่ ในทันทีที่ทั้งสามได้พบกันก็เกิดความรักใคร่กันในบัดดล และก็เป็นเวลาเดียวกับที่นายแก้วกับนายขวัญ ได้ตกหลุมรักของนางรื่นและนางโรยผู้ซึ่งเปิดหัวใจต้อนรับชายหนุ่มทั้งสองโดยไม่รีรอเช่นกัน ปรากฏว่าพระลอและบ่าวคนสนิทของพระองค์ลักลอบเข้าไปอยู่ในพระตำหนักชั้นในซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าหญิงทั้งสอง", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "12574#8", "text": "คำประพันธ์ในเรื่องลิลิตพระลอ เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ, ร่ายสอดสร้อย, โคลงสองสุภาพ, โคลงสามสุภาพ และ โคลงสี่สุภาพ สลับกันตามจังหวะ ลีลา และเนื้อหาของเรื่อง", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "594129#3", "text": "เมื่อกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงตั้งคณะละครนฤมิตรขึ้น ท่านก็เป็นกำลังสำคัญในการแต่งเพลงในละครร้องทุกเรื่อง บทละครนั้น กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงนิพนธ์อย่างรวดเร็วและท่านก็บรรจุเพลงได้อย่างรวดเร็วทันท่วงทีด้วย เรียกว่าไวกันกันทั้งคู่ วิธีการนั้นคือ ท่านจะเป็นผู้ดีดจะเข้และร้องเพลงไปพร้อมกัน รวมทั้งคิดท่ารำตีบทให้เสร็จที่ขั้นชื่อมากคือเรื่องพระลอ ละครเรื่องแรกที่ท่านมีส่วนช่วยเหลือมากคือเรื่องอาหรับราตรี ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเรื่องเป็นละครหลวงนฤมิตร จนเมื่อเกิดเป็นโรงละครปรีดาลัยขึ้น ก็เรียกละครปรีดาลัย เพลงต่างๆ ในเรื่อง สาวเครือฟ้า ตุ๊กตายอดรัก พระเจ้าสีป๊อมินทร์ ขวดแก้วเจียรนัย ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของท่านทั้งสิ้น ความเป็นอัจฉริยะทางดนตรีของท่านเห็นได้จากการแต่งเพลงและบรรจุเพลงลงในละครแต่ละเรื่อง เพราะปรากฏว่า ท่านแต่งเพลงเร็วมากและมีลูกเล่นยักเยื้องแพรวพราว เพลงสำเนียงลาวต่างๆ ที่ท่านนำมาบรรจุลงในละครเรื่องพระลอนั้น จริงอยู่ของเก่าก็มีอยู่บ้างแล้วเหมือนกัน แต่ท่านสามารถเปลี่ยนทำนองจนเกิดเป็นเพลงแนวใหม่ขึ้นได้อย่างฉับไว คุณสมบัติข้อนี้จะเห็นได้จากละครเรื่องพระเจ้าสิป๊อมินทร์ อีกเรื่องหนึ่ง เพราะท่านให้กำเนิดเพลงสำเนียงพม่าขึ้นมาใหม่ มีชื่อแปลกๆถึงกว่า 50 เพลง อาทิ พม่าพ้อ พม่าวอน พม่าพิโรธ พม่าตังคียก พม่าพรึม พม่าเหเฮ พม่าละห้อย ฯลฯ มากมายสุดจะพรรณนา ท่านมีอายุยืนมาก และความจำดีจนวาระสุดท้ายเมื่อท่านอายุเกิน 90 ปี ยังนั่งดูละครโทรศัน์ของกรมศิลปากรบ่อยๆ ท่านสามารถติชมวิจารณ์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะถ้าเล่าเรื่องพระลอ แล้ว ท่านจะตั้งใจดูเป็นพิเศษ ถ้าเห็นผิดไปจากแนวเดิมของท่านก็แสดงความขุ่นข้องในใจทุกคราวไป", "title": "หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ" }, { "docid": "12574#7", "text": "ภาษาสำนวนในลิลิตพระลอ อ่านเข้าใจได้ง่ายกว่าวรรณกรรมเรื่องอื่น ๆ ในสมัยอยุธยา แต่ก็ยังมีศัพท์ยาก และศัพท์โบราณอยู่บ้าง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้นักวิจารณ์บางท่านเสนอว่า ลิลิตพระลอแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "12391#3", "text": "ความเป็นมาของลิลิต ไม่ปรากฏแน่ชัด โดยสืบค้นได้เก่าสุดถึงสมัยอยุธยา ได้แก่ ลิลิตยวนพ่าย และลิลิตพระลอ (สำหรับอายุของลิลิตพระลอยังเป็นที่ถกเถียง ยังไม่ยุติ) แต่ถ้าจะนับอย่างธรรมเนียมลิลิตแล้ว น่าจะมีเพียงลิลิตพระลอ เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น เนื่องจากในยวนพ่ายนั้น มีร่ายนำ 1 บท แล้วมีร่ายแทรกตอนปลายๆ (ไม่ใช่ท้ายเรื่อง)กลางเรื่องอีก 1 บทเท่านั้น ส่วนลิลิตพระลอนั้น แต่งด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพอย่างหลากหลาย สลับเป็นช่วงๆ (โปรดอ่านรายละเอียดในหัวข้อ ลิลิตพระลอ) มีทั้งโคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ นอกจากนี้ยังมีร่ายสอดสร้อยอีกด้วย ", "title": "ลิลิต" }, { "docid": "12574#5", "text": "จากโคลงข้างบน มีผู้เสนอว่า \"มหาราช\" คือกษัตริย์ เป็นผู้แต่ง และ \"เยาวราช\" เป็นผู้เขียน (บันทึก) และสันนิษฐานว่า ผู้แต่งน่าจะเป็น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) และผู้เขียน คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระอาทิตยวงศ์) และคาดว่าน่าจะแต่งเมื่อ พ.ศ. 2034-2072", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "166731#44", "text": "มีการใช้ลักษณะ เอก 7 โท 5 และใช้โทคู่ในโคลงสี่สุภาพ เช่น ลิลิตพระลอ มหาชาติคำหลวง โคลงมังทรารบเชียงใหม่ และโคลงนิราศหริภุญชัย", "title": "โคลง" }, { "docid": "936#120", "text": "วรรณกรรมไทยสามารถแบ่งได้เป็นสี่สมัยใหญ่ ๆ ตามราชธานี วรรณกรรมสุโขทัยเน้นกล่าวถึงวัฒนธรรมและศาสนาเป็นหลัก จารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นงานวรรณกรรมแรกที่ใช้อักษรไทย ไตรภูมิพระร่วงแจกแจงปรัชญาพุทธจากคัมภีร์ต่าง ๆ และอาจถือได้เป็นวาทนิพนธ์วิจัยแรกของไทย[198]:65 ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีร้อยกรองรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น ลิลิต กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ กลอนกลบทและเพลงยาว งานวรรณกรรมที่สำคัญในสมัยนี้ เช่น ลิลิตยวนพ่าย, ลิลิตพระลอ, จินดามณีซึ่งเป็นตำราเรียนแรกของไทย, ตำนานศรีธนนชัย รวมทั้งงานวรรณคดีนาฏกรรมอย่างอิเหนาและรามเกียรติ์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีงานเกี่ยวกับสงคราม เช่น การแปลสามก๊กและราชาธิราช[198]:68 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์นักกวี ทรงประพันธ์และทำให้แพร่หลายซึ่งละครและนิยายพื้นบ้านหลายเรื่องอย่างอิเหนา ไกรทอง และสังข์ทอง พระอภัยมณีเป็นผลงานสำคัญของกวีเอกสุนทรภู่ นอกจากนี้งานสำคัญอื่น เช่น เสภาขุนช้างขุนแผน ต่อมา ในห้วงที่มีการตั้งแท่นพิมพ์ในปี 2387 พบการเขียนลีลาตะวันตกในนิตยสารและบทความหนังสือพิมพ์ เรื่องสั้น นวนิยายและการแปลวรรณกรรม[198]:ุ69–70 หลังการปฏิวัติสยามปี 2475 วรรณกรรมเปลี่ยนเป็นวรรณกรรมประชานิยม (popular literature) โดยนวนิยายได้รับความนิยมอย่างมาก[198]:70 นักเขียนสมัยใหม่ที่สำคัญ เช่น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน, สุภา สิริสิงห, กัณหา เคียงศิริ (ก.สุรางคนางค์), จิระนันท์ พิตรปรีชา, จิตร ภูมิศักดิ์, ชาติ กอบจิตติ และกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา)[199]:227", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "168405#0", "text": "โศกนาฏกรรม () คือ วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร (drama) ที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น ลิลิตพระลอ, สาวเครือฟ้า, โรเมโอจูเลียต, คู่กรรม", "title": "โศกนาฏกรรม" }, { "docid": "14464#15", "text": "ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย\nลำดับพระมหากษัตริย์ไทย", "title": "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ" }, { "docid": "12574#9", "text": "ท้าวแมนสรวงเป็นกษัตริย์ของเมืองแมนสรวง พระองค์มีพระมเหสีทรง พระนามว่า “ นาฏบุญเหลือ ” ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสมีพระนามว่า “ พระลอดิลกราช ” หรือเรียกกันสั้นๆว่า “ พระลอ ” มีกิตติศัพท์เป็นที่ร่ำลือกันว่าพระองค์นั้นทรงเป็นชายหนุ่มรูปงามไปทั่วสารทิศจนไปถึงเมืองสรอง ( อ่านว่า เมืองสอง ) ซึ่งเป็นเมืองที่ถูกปกครองโดยท้าวพิชัยวิษณุกร พระองค์มีพระนามว่า “ พรดาราวดี ” และพระองค์ทรงมีพระธิดาผู้เลอโฉมถึงสองพระองค์พระนามว่า “ พระเพื่อน ” และ “ พระแพง ”", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "2173#1", "text": "ดอกไม้ในวรรณคดีไทย หมายถึงดอกไม้ที่บรรดากวีไทยท่านได้พรรณนาไว้เป็นบทร้อยกรองอย่างไพเราะในหนังสือวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา เงาะป่า ดาหลัง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อนิราศธารทองแดง นิราศหริภุญชัย นิราศพระประถม นิราศสุพรรณ นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง นิราศอิเหนา นิราศวัดเจ้าฟ้า ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวของกวีไทย ที่ได้พรรณนาชื่อดอกไม้หลายชนิดไว้อย่างไพเราะ ทั้งลักษณะ สีสัน กลิ่น ทำให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ ประทับใจ เหมือนได้ไปอยู่ ณ ที่นั้นด้วย", "title": "พรรณไม้ในวรรณคดี" }, { "docid": "12574#16", "text": "อย่างไรก็ตาม ความลับนี้ได้ถูกเปิดเผยเข้าจนได้ เมื่อข่าวได้ไปถึงพระกรรณของพระราชาจึงได้เสด็จมาไต่สวนในทันที และเมื่อพระลอกราบทูลให้ทรงทราบเรื่อง พระองค์ก็ทรงกริ้วเป็นยิ่งนัก แต่ก็ทรงเข้าพระทัยในความรักของคนทั้งสาม และทรงจัดพิธีอภิเษกสมรสให้ทั้งสามพระองค์ทันที", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "12574#10", "text": "พระเพื่อนและพระแพงได้ยินมาว่า พระลอเป็นชายหนุ่มรูปงาม ก็ให้ความสนใจอยากจะได้ยล พี่เลี้ยงของพระเพื่อนและพระแพงคือนางรื่น และนางโรยสังเกตเห็นความปรารถนาของนายหญิงของตนก็เข้าใจในพระประสงค์ สองพี่เลี้ยงจึงอาสาจะจัดการให้นายของตนนั้นได้พบกับพระลอ โดยการส่งคนไปขับซอในนครแมนสรวง และในขณะที่ขับซอนั้นจะไห้นักดนตรีพร่ำพรรณนาถึงความงามของเจ้าหญิงทั้งสอง ในขณะเดียวกันนั้นพี่เลี้ยงทั้งสองก็ได้ไปหาปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อที่จะให้ช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอหลงใหลในเจ้าหญิงทั้งสอง", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "12391#7", "text": "ลิลิตเป็นแบบแผนคำประพันธ์ที่มีผู้นิยมแต่งเสมอมา แม้จนปัจจุบัน เนื่องจากสามารถเปลี่ยนลีลาอารมณ์ของบบร้อยกรองได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการส่งสัมผัสระหว่างบท หรือ \"เข้าลิลิต\" นั้นไม่ถือเคร่งครัดนัก", "title": "ลิลิต" }, { "docid": "31568#3", "text": "โขนจัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า \"โขน\" ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า \"\"ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน\"\" โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายในภาษาต่าง ๆ ดังนี้", "title": "โขน" }, { "docid": "12574#14", "text": "ส่วนเจ้าหญิงทั้งสองรอการเดินทางมาของเจ้าชายรูปงามไม่ได้ และเกรงว่ามนต์เสน่ห์ของปู่เจ้าสมิงพรายจะไม่เห็นผล จึงได้ขอร้องให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยเหลืออีกครั้ง โดยให้ช่วยเนรมิตไก่งามขึ้นตัวหนึ่งให้มีเสียงขันที่ไพเราะ ทั้งสองพระองค์คิดว่าไก่ตัวนั้นจะต้องทำให้พระลอสนพระทัยและติดตามมาจนถึงเมืองสรองอย่างแน่นอน", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "166731#4", "text": "วรรณคดีของชาวไทยฝ่ายใต้เรื่องแรกที่ปรากฏโคลงคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ อันแต่งด้วยโคลงห้าและร่ายดั้นสลับกัน กับทั้งยังเป็นวรรณคดีเรื่องเดียวที่ปรากฏโคลงห้าอีกด้วย ต่อมาปรากฏเป็นรูปโคลงสี่ดั้นใน ลิลิตยวนพ่าย โคลงสุภาพ (โคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่) ในลิลิตพระลอ ส่วนโคลงสองดั้นและโคลงสามดั้นเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางวรรณกรรมอาจกล่าวได้ว่ากวีนิยมแต่งโคลงดั้นมาก่อนโคลงสุภาพ", "title": "โคลง" }, { "docid": "12574#18", "text": "และเพื่อที่ปกป้องชีวิตของชายคนรักพระเพื่อนกับพระแพงจึงเข้าขวางโดยใช้ตัวเองเป็นโล่กำบังให้พระลอ ทั้งสามจึงต้องมาสิ้นพระชนม์ในอ้อมกอดของกันและกันท่ามกลางศพของบ่าวไพร่ ณ ที่ตรงนั้นเอง ทันใดนั้นทั้งสองเมืองก็ต้องตกอยู่ในความวิปโยคต่อการจากไปของทั้งสามพระองค์ผู้บูชาในรักแท้", "title": "ลิลิตพระลอ" }, { "docid": "166731#37", "text": "โคลงสี่ปรากฏในวรรณกรรมตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่องคือ ลิลิตพระลอ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ โคลงดั้นมี 1 เรื่องคือ ลิลิตยวนพ่าย", "title": "โคลง" } ]
4004
ภูธเนศ หงษ์มานพ รับบทเป็นใครในเรื่องบ้านนี้มีรัก ?
[ { "docid": "122640#2", "text": "ภูธเนศ หงษ์มานพ รับบท อารักษ์ อยู่เจริญยิ่ง / รัก", "title": "บ้านนี้มีรัก" } ]
[ { "docid": "634460#0", "text": "ลิขิตรัก ลิขิตเลือด เป็นละครโทรทัศน์ แนวละครโรแมนติก-แอ็กชั่น ผลิตโดยบริษัท เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ จำกัด บทประพันธ์และบทโทรทัศน์โดย ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์, ประโยชน์ สุศรีเจริญสุข กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, อรจิรา แหลมวิไล, พิชญา ศรีเทพย์ และ สิรินยา เบอร์บริดจ์ ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.25 - 21.25 น.", "title": "ลิขิตรัก ลิขิตเลือด" }, { "docid": "561486#1", "text": "นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร, ปองศักดิ์ รัตนพงษ์, นิรุตติ์ ศิริจรรยา, อลิชา ไล่สัตรูไกล, อรรถพร ธีมากร, เกรียงไกร อุณหะนันท์, ฝันเด่น จรรยาธนากร และ ภารดี อยู่ผาสุข ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 20.25 - 21.25 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยเริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2551 - 29 เมษายน พ.ศ. 2551 ", "title": "อธิษฐานรัก" }, { "docid": "793584#3", "text": "เพลงนี้ยังถูกนำไปใช้เป็นเพลงประกอบละครเรื่อง เสน่หาข้ามเส้น ออกอากาศทาง ช่องวัน ทุกวันพุธ - วันพฤหัสบดี เวลา 20.30 - 22.00 น. นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ,อรจิรา กุลดิลก,น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์,คีรติ มหาพฤกษ์พงศ์,ซอ จียอน,ชัยพล พูพาร์ต,พิชญา เชาวลิต และ ดาริน แฮนเซน", "title": "ถลำ" }, { "docid": "214341#0", "text": "ภูธเนศ หงษ์มานพ เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไทย เป็นพี่ชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 2 คน มีน้องสาว 1 คน จบการศึกษาระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลทัศนียวรรณ ระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนปลายที่ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย-เยอรมัน ระดับอุดมศึกษาที่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ", "title": "ภูธเนศ หงษ์มานพ" }, { "docid": "626640#3", "text": "และครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2558 ออกอากาศทาง ช่องวัน ใช้ชื่อว่า 2 รัก 2 วิญญาณ ผลิตโดย เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ โดย พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร เป็นผู้จัด กำกับการแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ นำแสดงโดย ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง, แคทรียา อิงลิช, กวี ตันจรารักษ์, ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ และนักแสดงชั้นนำอื่นๆอีกมากมาย โดยออกอากาศให้ชมกันทุกวันพุธ-วันพฤหัสบดี เวลา 20.20 น. ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558", "title": "2 รัก 2 วิญญาณ" }, { "docid": "837632#0", "text": "เสน่ห์นางครวญ เป็นละครโทรทัศน์ไทย แนวพีเรียด-ดราม่า จากบทประพันธ์ของ หงส์หยก ผลิตโดย บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เขียนบทโทรทัศน์โดย วรรณา แต่งพสุเลิศ กำกับการแสดงโดย นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, เวฬุรีย์ ดิษยบุตร, ปริศนา กัมพูสิริ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย ต่อจากละครเรื่อง พ่อปลาไหล", "title": "เสน่ห์นางครวญ" }, { "docid": "393567#6", "text": "นอกจากนี้ โมเมยังมีโอกาสได้และละครโทรทัศน์เรื่องแรก ซึ่งเธอรับบทเป็น เวฬุริยา (นางเอกของเรื่อง) ในละครเรื่อง \"ทิพย์ดุริยางค์\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เมื่อปีพ.ศ. 2543 โดยแสดงคู่กับ \"กัปตัน-ภูธเนศ หงษ์มานพ\"", "title": "นภัสสร บุรณศิริ" }, { "docid": "889844#0", "text": "พินัยกรรม เป็นละครโทรทัศน์แนวดราม่า ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) โดยผู้จัด นฤมล สุทัศนะจินดา, สุบงกช ชลิตเรืองกุล จากเค้าโครงเรื่องของ ประโยชน์ สุศรีเจริญสุข บทโทรทัศน์โดย ประโยชน์ สุศรีเจริญสุข กำกับการแสดงโดย อิสริยะ จารุพันธ์ ออกอากาศทุกวันศุกร์– เสาร์–อาทิตย์ เวลา 20.15 - 21.30 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, ชาคริต แย้มนาม, เก็จมณี วรรธนะสิน, พนมกร ตังทัตสวัสดิ์ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย เริ่มตอนแรกวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2545 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2545", "title": "พินัยกรรม (ละครโทรทัศน์)" }, { "docid": "267247#0", "text": "ชิงชัง เป็นละครโทรทัศน์สัญชาติไทย สร้างโดยบริษัท เอ็กแซ็กท์ แอนด์ ซีเนริโอ จำกัด จากนวนิยายชื่อเดียวกัน ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของ \"จุฬามณี\" ออกอากาศทางช่อง 5 ระหว่างวันที่ 3 สิงหาคม - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 บทโทรทัศน์โดย ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ ควบคุมบทโทรทัศน์โดย ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ และ นิพนธ์ ผิวเณร กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ แสดงนำโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, โสภิตนภา ชุ่มภาณี, รัฐศาสตร์ กรสูต, พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร ละครเรื่องนี้ได้เรตติ้ง 14", "title": "ชิงชัง (ละครโทรทัศน์)" }, { "docid": "177262#8", "text": "ค่ายละครเวทีซีเนริโอ ได้นำทวิภพมาสร้างเป็นละครเวทีในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งมีผู้แสดงนำ 2 คู่ คู่แรกนำแสดงโดยทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี และปนัดดา เรืองวุฒิส่วนคู่ที่สองนำแสดงโดยภูธเนศ หงษ์มานพ และสุธาสินี พุทธินันท์ และละครเรื่องนี้คืนสู่เวทีอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 นำแสดงโดยปกรณ์ ลัม และนัท มีเรีย", "title": "ทวิภพ" }, { "docid": "383642#8", "text": "ภูธเนศ หงษ์มานพ ... ธีร์", "title": "ความลับของ Superstar" }, { "docid": "22729#0", "text": "อรรถพร ธีมากร (หนุ่ม) เกิดวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เป็นนักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร และผู้กำกับละคร บุตรของนายพูลสวัสดิ์ ธีมากร นักแสดงอาวุโส เข้าสู่วงการบันเทิงหลังไปออกรายการ \"จันทร์กะพริบ\" กับคุณพ่อ โดยเล่นละครเรื่อง \"รุ่นหนึ่งตึกห้าหน้าเดิน\" เป็นเรื่องแรก ต่อมามีผลงานแสดงละครและภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง โดยผลงานภาพยนตร์สร้างชื่อ คือ \"2499 อันธพาลครองเมือง\" และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง \"เดอะ เลตเตอร์ จดหมายรัก\" ในการประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2547 มีเพื่อนสนิทในวงการ คือ \"กัปตัน\" ภูธเนศ หงษ์มานพ และ \"ติ๊ก\" เจษฎาภรณ์ ผลดี ด้านการศึกษาและชีวิตส่วนตัว จบบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สมรสกับ อริญรดา ปิติมารัชต์ มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ อันดาและอดัม", "title": "อรรถพร ธีมากร" }, { "docid": "820939#0", "text": "เกมรักพยาบาท เป็นละครโทรทัศน์แนวดราม่า ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด จากเค้าโครงเรื่องของ นิพนธ์ ผิวเณร, กษิดินทร์ แสงวงศ์ บทโทรทัศน์โดย กษิดินทร์ แสงวงศ์ กำกับการแสดงโดย นิพนธ์ ผิวเณร ออกอากาศทุกวันศุกร์– เสาร์–อาทิตย์ เวลา 20.25 - 21.25 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, พิยดา อัครเศรณี และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย เริ่มตอนแรกวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2542–26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542", "title": "เกมรักพยาบาท" }, { "docid": "79298#2", "text": "เอ้กเป็น 1 ใน 5 ได้เป็นดรัมเมเยอร์ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 64 ชีวิตครอบครัว บุษกรสมรสกับ กัปตัน ภูธเนศ หงษ์มานพ หลังคบหากันมานานกว่า 5 ปี มีบุตรด้วยกันคนหนึ่งชื่อภักดีบดินทร์ หงษ์มานพ ชื่อเล่น ดิน (22 ตุลาคม พ.ศ. 2560)", "title": "บุษกร หงษ์มานพ" }, { "docid": "887949#0", "text": "แก้วลืมคอน เป็นละครโทรทัศน์ไทยแนวพีเรียด-โรแมนติก-ดราม่า เค้าโครงบทประพันธ์เรื่องมาจาก เสนีย์ บุษปะเกศ บทโทรทัศน์โดย คฑาหัสต์ บุษปะเกศ, เพ็ญสิริ เศวตวิหารี, ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, พิยดา อัครเศรณี ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี-ศุกร์ เวลา 20:25-21:25 น. เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2548-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2548\nบุคลิกตัวละครเรื่องแก้วลืมคอน ดังนี้", "title": "แก้วลืมคอน" }, { "docid": "351915#1", "text": "ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541 บทโทรทัศน์โดย ศุภชัย สิทธิอำพรพรรณ กำกับการแสดงโดย นิพนธ์ ผิวเณร นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, เก็จมณี พิชัยรณรงค์สงคราม, รุจน์ รณภพ, สรพงศ์ ชาตรี, ณัฐนันท์ คุณวัฒน์, ณหทัย พิจิตรา, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, นภาพร หงสกุล ออกอากาศทุกวันศุกร์ - เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 18.45 น. 17 เมษายน พ.ศ. 2541 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2541", "title": "ชีวิตเพื่อฆ่า หัวใจเพื่อเธอ" }, { "docid": "592891#0", "text": "รักแปดพันเก้า เป็นละครซีรีส์แนวซิทูเอชั่น-ดราม่าที่นำเสนอความรักหลากหลายรูปแบบ ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด (ปี 1) และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด (ปี 2) บทโทรทัศน์โดย กษิดินทร์ แสงวงศ์ (เฉพาะปี 1), ศุภกร เหรียญสุวรรณ (เฉพาะปี 2), พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์, พฤกษ์ เอมะรุจิ (เฉพาะปี 1), ตรึงตา โฆษิตชัยมงคล, สกล วงษ์สินธุ์วิเสส (เฉพาะปี 2) กำกับการแสดงโดย จิรศักดิ์ โย้จิ้ว (เฉพาะปี 1), สิริวิทย์ อุปการ (ปี1,2) อำนวยการสร้างโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ, นิพนธ์ ผิวเณร นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์, อรรถพร ธีมากร, ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ในปี พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2548 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 น.", "title": "รักแปดพันเก้า" }, { "docid": "856039#0", "text": "เสน่หา Diary เป็นละครชุดที่นำเสนอความรักความเสน่หาที่เกิดขึ้นในหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยเป็นอีกหนึ่งในโครงการละครของช่องวัน โดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ ละครชุดดังกล่าวมีจำนวนสามตอน ได้แก่ กับดักเสน่หา นำแสดงโดย พิยดา จุฑารัตนกุล และ ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ บ่วงเสน่หา นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ ศิรพันธ์ วัฒนจินดา และ แสบเสน่หา นำแสดงโดย ธนทัต ชัยอรรถ และ หนึ่งธิดา โสภณ", "title": "เสน่หา Diary" }, { "docid": "878980#2", "text": "และนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2560 เพื่อออกอากาศในปี พ.ศ. 2561 ผลิตโดยบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด บทโทรทัศน์โดย วิสุทธิชัย บุณยะกาญจน กำกับการแสดงโดย ผอูน จันทรศิริ นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, เกริกพล มัสยวานิช, นิดา พัชรวีระพงษ์, เอมี่ กลิ่นประทุม, พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร, ดอม เหตระกูล, ภัณฑิลา วิน ปานสิริธนาโชติ, ภรภัทร ศรีขจรเดชา, วุฒิภัทร โอภาสตระกูล, อัญชสา มงคลสมัย, คามิลล่า กิตติวัฒน์, อรนุช อุ่นสวัสดิ์, กรวิชญ์ สารสิน เริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ต่อจากละครดาวจรัสฟ้า", "title": "สายรักสายสวาท" }, { "docid": "810058#0", "text": "เพื่อน เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก-ดราม่า จากเค้าโครงเรื่องของ ถกลเกียรติ วีรวรรณ, นิพนธ์ ผิวเณร, ทองขาว ทวีปรังษีนุกูล สร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดย เอ็กแซ็กท์-แกรมมี่ เขียนบทโทรทัศน์โดย ทองขาว ทวีปรังษีนุกูล กำกับการแสดงโดย นิพนธ์ ผิวเณร นำแสดงโดยนักแสดงสายเลือดใหม่ในยุคนั้น ภูธเนศ หงษ์มานพ, พุฒิพงศ์ ศรีวัฒน์, เจสัน ยัง, ธัญญาเรศ เองตระกูล ร่วมด้วยนักแสดงมากฝีอีกคับคั่ง ออกอากาศครั้งแรก 7 มิถุนายน พ.ศ. 2540 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2540", "title": "เพื่อน (ละครโทรทัศน์)" }, { "docid": "383011#0", "text": "ญาณกวี บุษราคัมวดี (ชื่อเดิม: นภัสกร) เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน เจฟเป็นบุตรคนที่ 2 เป็นน้องชายของนักแสดงหญิงในสังกัดช่อง 3 ชื่อ ซีน ภัสธรากรณ์ บุษราคัมวดี มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแสดงละครซิทคอม เรื่อง บ้านนี้มีรัก รับบท \"เมธัส เดนนิส\" หรือ \"มิค\" หลานของรัก (อารักษ์ อยู่เจริญยิ่ง รับบทโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ) ลูกชายคนเดียวของแฮงค์ (เมธา เดนนิส รับบทโดย โจโจ้ ไมอ๊อคชิ) และริน (รสริน อยู่เจริญยิ่ง รับบทโดย ชุติมา นัยนา) เป็นเด็กดี มีเหตุผล นิสัยคล้ายๆ รัก แต่ก็ยังคงวุฒิภาวะตามวัยทั้งความร่าเริงสดใส และมีพัฒนาการไปตามวัย รวมเวลาในการแสดงละครซิทคอม บ้านนี้มีรัก เป็นเวลา 10 ปีเต็ม ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในสาขาดนตรีแจส เครื่องดนตรีที่ถนัด คือ Double Bass", "title": "ญาณกวี บุษราคัมวดี" }, { "docid": "487934#0", "text": "บ่วงวันวาร เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติคดราม่า เป็นบทประพันธ์และบทโทรทัศน์โดย ฐา-นวดี สถิตยุทธการ เคยสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2543 ใช้ชื่อว่า รอยรัก รอยอดีต ผลิตโดย เอ็กแซ็กท์ นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, เก็จมณี วรรธนะสิน, ภัคจีรา วรรณสุทธิ์, ภูริ หิรัญพฤกษ์ ", "title": "บ่วงวันวาร" }, { "docid": "214341#1", "text": "มีผลงานแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือ กระโปรงบานขาสั้น ชีวิตส่วนตัว สมรสแล้วกับ เอ้ก บุษกร ตันติภนา หลังคบหากันมานานกว่า 5 ปี หลังจากนั้นในปี 2560 ก็มีทายาทคือเด็กชาย ภักดีบดินทร์ หงษ์มานพ ชื่อเล่น ดิน", "title": "ภูธเนศ หงษ์มานพ" }, { "docid": "561609#2", "text": "ครั้งที่สองปี พ.ศ. 2550 โดยใช้ชื่อว่า ทาสรักทระนง ผลิตโดยบริษัท เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ จำกัด บทโทรทัศน์โดย ตุณย์ กำกับการแสดงโดย สมดุล จันทรบุตร นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร, ภูริ หิรัญพฤกษ์, ปกฉัตร เทียมชัย, เฉลิมชัย มหากิจศิริ ออกอากาศทาง ช่อง 5 ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 20.25 - 21.25 น. เมื่อวันที่ 20 กันยายน – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550", "title": "คนละขอบฟ้า" }, { "docid": "878893#0", "text": "บ่วงเสน่หา เป็นละครโทรทัศน์ไทยแนวโมเดิร์นดราม่า โดยเป็นหนึ่งในละครชุด เสน่หา Diary ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด สร้างจากเค้าโครงเรื่องของ ถกลเกียรติ วีรวรรณ, พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์, ร่มเกล้า บทโทรทัศน์โดย ร่มเกล้า, พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์ กำกับการแสดงโดย ธนวัจน์ ปัญญารินทร์ นำแสดงโดย ศิรพันธ์ วัฒนจินดา, ภูธเนศ หงษ์มานพ, ยุทธนา เปื้องกลาง, อัครัฐ นิมิตชัย และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย ออกอากาศทาง ช่องวัน ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20:30 - 22:00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 3 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560", "title": "บ่วงเสน่หา" }, { "docid": "966393#1", "text": "ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 กำกับการแสดงโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ นำแสดงโดย สินจัย เปล่งพานิช, นพพล โกมารชุน และภูธเนศ หงษ์มานพ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 ทุกวันศุกร์ - วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 20.25 น. เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 - 24 กันยายน พ.ศ. 2542", "title": "บาปรัก" }, { "docid": "755624#0", "text": "เรือนร้อยรัก เป็นละครโทรทัศน์ แนวละครเมโลดราม่า พีเรียด ผลิตโดยเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ เค้าโครงเรื่องโดย นิพนธ์ ผิวเณร, ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์, ชวนนท์ สารพัฒน์, กรณิภา ดวงมุสิทธิ์, อาราดา วริศราภูริชา บทโทรทัศน์โดย ชวนนท์ สารพัฒน์, กรณิภา ดวงมุสิทธิ์, วีรพล บุญเลิศ, อารดา วริศราภูริชา กำกับการแสดงโดย ฉัตรชัย สุรสิทธิ์, วรฐ คงคาลัย นำแสดงโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ, น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์, หนึ่งธิดา โสภณ, ยุทธนา เปื้องกลาง,วนิดา เติมธนาภรณ์ และเก็จมณี วรรธนะสิน ", "title": "เรือนร้อยรัก" }, { "docid": "561609#4", "text": "ละครในชื่อ ทาสรักทระนง ในปี พ.ศ. 2550 ได้รับกระแสการตอบรับที่ดีและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีจากแฟนละครของเอ็กแซ็กท์ในช่วงเวลานั้นโดยเฉพาะพระนางคู่ขวัญของเรื่องอย่าง กัปตัน ภูธเนศ หงษ์มานพ ผู้รับบท ชินภัทร / นายหัวชิน และ พิม พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร ผู้รับบท อาริตา อนุศาสนันท์ ที่แสดงบทบาททางการแสดงจนผู้ชมเชื่อเลยว่าเป็นได้ทั้งคู่รักคู่กัดคู่ฮากันในละครเรื่องดังกล่าวจนเกือบจะได้เป็นคู่ชีวิตจริงๆกันนอกจอจนทำให้เคยมีกระแสจากแฟนๆละครรวมไปถึงแฟนคลับของสองนักแสดงที่ต่างเชียร์ให้คู่นี้สมหวังกันนอกจอแต่ก็ต้องผิดหวังกันไปตามๆกันในห้วงเวลาต่อมา", "title": "คนละขอบฟ้า" }, { "docid": "338954#0", "text": "มาลัยสามชาย เป็นละครดราม่าของเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ (เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์) สร้างจากบทประพันธ์ของว.วินิจฉัยกุล บทโทรทัศน์โดยปราณประมูล ควบคุมบทโทรทัศน์โดยศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ กำกับการแสดงโดยผอูน จันทรศิริ อำนวยการผลิตโดยนิพนธ์ ผิวเณรและถกลเกียรติ วีรวรรณ นำแสดงโดยพิยดา จุฑารัตนกุล, ภูธเนศ หงษ์มานพ, สหรัถ สังคปรีชา, ยุกต์ ส่งไพศาล และอรจิรา แหลมวิไล ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 20.25 น. - 21.25 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553", "title": "มาลัยสามชาย" } ]
4005
สาธารณรัฐลัตเวีย มีพื้นที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "8109#0", "text": "ประเทศสโลวีเนีย (English: Slovenia English pronunciation:/slɔˈʋèːnija/[1][2] sloh-VEE-nee-ə; Slovene: Slovenija [slɔˈʋèːnija])[3] หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Slovene: Republika Slovenija,[4] abbr.: RS[5]) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในยุโรปกลาง ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าและแหล่งวัฒนธรรมหลักของทวีปยุโรป[6][7] มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการีและทางเหนือจรดออสเตรีย[8] มีพื้นที่ประมาณ 20,273 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 2.06 ล้านคน[9] สโลวีเนียเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา[10]และเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและเนโท[11] เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือลูบลิยานา[12]", "title": "ประเทศสโลวีเนีย" } ]
[ { "docid": "510716#7", "text": "เริ่มแรกขุนพิทักษ์ไม่ได้สนใจชุ่มเท่าไหร่ แต่นานวันเข้าความซื่อ ไร้เดียงสาของชุ่ม ทำให้ขุนพิทักษ์หลงรักอย่างไม่รู้ตัว", "title": "บ่วงบาป" }, { "docid": "870747#1", "text": "ในเนื้อเพลง ความอ่อนแอ (Feeling) ชื่อภาษาอังกฤษ (Feeling) ซึ่งเกี่ยวโยงกับเพลง “ความรู้สึกของวันนี้\" (Felt) ด้วยพวกเราทั้ง 4 คนดูแล้วน่าจะไม่เหมาะกับคำว่า “ความอ่อนแอ” เท่าไหร่ แต่จริงๆ แล้วคนที่ดูแข็งแรงเวลาอ่อนแอจะยิ่งเป็นหนักกว่าคนทั่วไปเสียอีก", "title": "ความอ่อนแอ" }, { "docid": "7998#4", "text": "\"ความอดทนและอดกลั้น ต่ออุปสรรคและการดูถูกเหยียดหยาม เป็นเสมือนเสื้อกันความหนาวให้กับเรา อากาศยึ่งเย็นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งต้องสวมใส่เสื้อผ้าเพื่อปกป้องตัวเองมากยึ่งขึ้นเท่านั้น...\"", "title": "เลโอนาร์โด ดา วินชี" }, { "docid": "569316#11", "text": "อย่างไรก็ตาม ในสมัยก่อน สโมสรเจลีกไม่ค่อยจะจริงจังกับการแข่งชันเอเชียนแชมเปียนส์ลีกเท่าไหร่นักเนื่องจากต้องเดินทางไกลและคุณภาพของทีมที่ต้องแข่งด้วยนั้นยังไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แต่ในปี 2008 มีทีมญี่ปุ่นผ่านเข้าไปสู่รอบก่อนรองชนะเลิศถึง 3 ทีมด้วยกัน", "title": "เจลีก ดิวิชัน 1" }, { "docid": "17455#7", "text": "มีผมที่ยาวขึ้น ไม่มีคิ้ว มีนัยน์ตาเป็นสีฟ้า และมีสายฟ้ารอบตัว เป็นร่างที่พัฒนามาจากซุปเปอร์ไซย่า 2 โดยร่างนี้เกิดจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยจะมีพลังและความเร็วเพิ่มขึ้นจากเดิม 400 เท่า เป็นร่างที่ใช้พลังงานมากและร่างกายจะได้รับภาระอย่างหนัก จึงไม่ค่อยได้ใช้สักเท่าไหร่ โดยจะปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงที่สู้กับจอมมารบู", "title": "ซง โกคู" }, { "docid": "217904#4", "text": "ข้ารับใช้ของโมโมะ เป็นแมวดำ มีดวงตาสีทอง และสวมปลอกคอสีแดงห้อยกระดิ่ง มีปีกจึงสามารถบินได้ ที่จริงเหมือนจะสามารถกลายร่างเป็นคนได้ แต่เจ้าตัวไม่ชอบเท่าไหร่ จึงมักอยู่ในร่างแมวเสมอ ", "title": "ยมทูตสีขาว" }, { "docid": "616289#3", "text": "เคเบิลได้พลังจิตมาจากแม่ แต่เขาไม่สามารถใช้งานมันได้อย่างเต็มที่เท่าไหร่ หากเขายังมีทักษะการต่อสู้อันสุดยอดอยู่ และเขาชอบใช้อาวุธล้ำสมัยจากโลกอนาคตเสมอ", "title": "เคเบิล" }, { "docid": "901764#4", "text": "ไม่ว่าระยะจะห่างไปเท่าไหร่ แต่ความสว่างของแสงรวมจะยังคงมีค่าเท่าเดิมตามระยะทาง ซึ่งหมายความว่า แสงแต่ละชั้นจะมีการเพิ่มความสว่างขึ้นมาเรื่อย ๆ และยิ่งมีชั้นเป็นอนันต์ ท้องฟ้ายามค่ำคืนจึงควรที่จะสว่าง", "title": "ปฏิทรรศน์ของออลเบอร์" }, { "docid": "5256#37", "text": "ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "530146#1", "text": "มาถึงวันนี้สี่หนุ่มมาแรงที่เลือกใช้ชื่อวงเท่ๆ ว่า \"PRINCE\" (พริ้นซ์) ก็เริ่มถูกจับตาตั้งแต่ยังไม่ออกอัลบั้มไปซะแล้ว กับซิงเกิ้ลฮอตติดชาร์ทเพลง \"จับตาดูให้ดีดี\"'กับวลีเด็ดที่ล่าสุดแฟนเพลงร้องตามกันได้กระหึ่มคอนเสิร์ต \"จับตาดูให้ดีดี ให้ดีดี ว่าเขาเป็นยังไง เพราะฉันไม่แน่ใจว่าเขารักเธอเท่าไหร่ อยากฝากเท่านี้\"'", "title": "พริ้นซ์" }, { "docid": "13734#22", "text": "กับผู้ชายคนอื่น เธอไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่และมักใช้คนเหล่านั้นเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะเรียวกะ กับ คุโน่ ทาเทวากิ ใครขวางเธอกับรันม่าเธอก็จะอัดโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่กับรันม่าจัมปูขี้อ้อน เอาอกเอาใจเก่ง ซึ่งแม้ว่าจัมปูจะพยายามเท่าไหร่ รันม่าก็ไม่ชอบนิสัยขี้ตื้อของจัมปูเท่าไหร่นัก ส่วนมากจะใช้จัมปูเป็นเครื่องมือทำให้อากาเนะหึง เมื่อหมดความอดทนเธอก็จะใช้กำลังหรืออุบายกับรันม่าแทน", "title": "รันม่า ½" }, { "docid": "28224#1", "text": "จีดีพีแบบความเสมอภาคของอำนาจซื้อ จะสะท้อนว่าประเทศนั้นๆได้ผลิตสินค้าและบริการรวมกันมากน้อยแค่ไหนหากใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ อาทิ ประเทศไทยผลิตน้ำตาลในหนึ่งปีได้หนึ่งแสนตัน การคำนวณแบบ PPP จะไม่สนว่าหนึ่งแสนตันนี้จะจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้เงินเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ แต่เราจะสนว่าราคาน้ำตาลในสหรัฐอเมริกาเป็นเท่าไหร่แล้วจึงนำราคานั้นมาคำนวณมูลค่า ก็จะได้เป็น PPP จากภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทย", "title": "ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ" }, { "docid": "205819#1", "text": "สิ่งเดียวที่เป็นงานหลักที่สามีฝากไว้ให้เธอจำใจต้องทำให้ ทั้งที่เจ้าตัวก็ไม่ค่อยอยากจะทำเท่าไหร่ นั่นคือการเลี้ยงเต่าชื่อ คาเมะทาโร่ ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงของสามี", "title": "Kame Wa Igai To Hayaku Oyogu" }, { "docid": "795107#3", "text": "อำนาจปกครองของสหภาพโซเวียตมาถึงจุดสิ้นสุดในช่วงการล่มสลายของสหภาพ รัฐสภาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียซึ่งได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นอิสระครั้งแรกได้อนุมัติคำประกาศ \"ว่าด้วยการฟื้นฟูเอกราชของสาธารณรัฐลัตเวีย\" เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 โดยกลับมาใช้ชื่อทางการของรัฐลัตเวียว่า สาธารณรัฐลัตเวีย รวมทั้งนำแบบธงและเพลงชาติที่เคยถูกยกเลิกกลับมาใช้อีกครั้ง เอกราชของสาธารณรัฐลัตเวียได้รับการฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ในช่วงที่มีความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต และได้รับการรับรองอย่างสมบูรณ์จากสหภาพโซเวียตในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1991", "title": "สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย" }, { "docid": "930988#1", "text": "เหตุการณ์สุดพลิกผันกลางท้องฟ้าจากความระทึกสุดขั้วสู่ความกลัวสุดขีดตลอดเที่ยวบินเมื่อกลุ่มผู้โดยสารที่นำโดย “แบรด มาร์ติน” และ แอร์โฮสเตสสาว ต้องเผชิญหน้ากับอุบัติเหตุเหนือคาดฝันที่ส่งผลให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต ก่อนที่ผู้โดยสารและลูกเรือแต่ละคนต้องประสบกับการจู่โจมของแรงอาฆาตเร้นลับซึ่งซ่อนตัวอยู่ในทุกพื้นที่ของเครื่องบินลำนี้ ยิ่งเครื่องบินทะยานใกล้โตเกียวมากขึ้นเท่าไหร่ ชีวิตของทุกคนในไฟลท์ “7500” ก็ยิ่งตกอยู่ในความหวาดผวามากขึ้นเท่านั้น ไร้ทางหนี ไม่ทีทางรอด หรือสุดท้ายเครื่องบินลำนี้กำลังจะต้องกลายเป็นสุสานบนน่านฟ้า!", "title": "7500 ไม่ตกก็ตาย" }, { "docid": "51672#11", "text": "ปี 2543 อัลบั้มที่สาม \"X-Ray\" (เอกซ์-เรย์) ซิงเกิ้ลแรกของอัลบั้มคือ \"จะรักกันนานเท่าไหร่ (I love you)\" เป็นเพลงที่แฟนเพลงให้การต้อนรับมากที่สุดจากอัลบั้มนี้", "title": "โฟร์กอตเทน" }, { "docid": "901600#1", "text": "ดร.แบรนแนน ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงกระดูก เพียงแค่เห็นโครงกระดูกก็สามารถระบุได้ว่าเป็นเพศชายหรือว่าหญิง ช่วงอายุ เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ วันหนึ่ง ดร.แบรนแนน ได้เข้าร่วมทีมสอบสวนคดีฆาตกรรมต่างๆกับเจ้าหน้าที่บูธซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ของทาง FBI โดยเจ้าหน้าที่บูธนั้น ต้องการความสามารถของ ดร.แบรนแนน มาช่วยในการวิเคราะห์ เพศ วัย ช่วงเวลาการเสียชีวิต สาเหตุการเสียชีวิต รวมไปถึงระบุข้อมูลคร่าวๆ ว่าผู้เสียชีวิตเป็นใคร เพื่อให้ทาง FBI นั้นสามารถหาได้ว่ามีใครบ้างที่น่าจะเกี่ยวข้องกับคดีฆาตกรรมนั้นๆ", "title": "พลิกซากปมมรณะ" }, { "docid": "354591#2", "text": "เธอมีผลงานมิวสิควิดีโอที่มีชื่อว่า \"คนสำคัญปันใจ\" และผลงานซีดีเพลง โดยมีเพลง คนสำคัญปันใจ, เจ็บปวดไม่เท่าไหร่ และ ง่ายที่จะรักยากที่จะเข้าใจ เป็นเพลงที่สร้างชื่อให้กับเธอ", "title": "ซาซ่า ศ.อารีย์" }, { "docid": "204546#7", "text": "แต่เมื่อภาพยนตร์เข้าฉาย ปรากฏว่าชยามาลานพยายามที่จะดำเนินเรื่องราวด้วยวิธีการตามแบบ \"The Sixth Sense\" ที่แม้แต่ให้นักแสดงคนเดิม คือ บรูซ วิลลิส รับบทนำและมีตัวละครเด็กผู้ชาย อย่าง โจเซฟ คล้ายกับ โคล เซียร์ ใน \"The Sixth Sense\" แต่ \"Unbreakable\" ทำได้น่าเบื่อและไม่น่าติดตามเท่า อีกทั้งการหักมุมตอนท้ายเรื่องก็ไม่มีอะไรน่าแปลกใจเท่าที่ควร ทำให้เสียงวิจารณ์ออกมาในลักษณะที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ โดยบรูซ วิลลิส มีบทรับเชิญท้ายเครดิตของหนังเรื่อง split และ glass จะเป็นการมาเจอกันอีกครั้งของ บรูซ วิลลิส และ ซามูเอล แอล แจ็กสัน และ เจมส์ แม็คอวอย มาร่วมกันแสดงด้วยกัน", "title": "เฉียดชะตา...สยอง" }, { "docid": "304130#45", "text": "เป็นการแข่งขันเล่นท่าทางต่างๆที่กรรมการกำหนดให้ทั้งหมด 25ท่าในประเภทของ Single A ซึ่งจะไล่ระดับความยากของท่าเล่นขึ้นไป โดยจะมีจุดหรือกรอบพื้นที่ เพื่อสำหรับแสดงท่าเล่นต่อกรรมการ ซึ่งผู็เล่นจะต้องเล่นท่าทางที่กรรมการกำหนดให้ในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้นไม่สามารถซ้อมท่าได้ หากต้องการจะตรวจสอบลูกหรือเชือกจะต้องออกจากจุดแสดงท่า โดยในการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องเล่นท่าที่กำหนดให้และเก็บเข้ามือให้สมบูรณ์ มีโอกาสพลาดได้เพียง 2ครั้งเท่านั้นตลอดการเล่น 25ท่า หากพลาดครั้งแรกที่ท่าใหนก็จะข้ามท่านั้นๆไป และพลาดครั้งที่สอง ก็จะจบการแข่งขัน ผู้ที่สามารถเล่นท่าได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ถ้ามีผู้ที่สามารถเล่นได้ถึง25ท่า จะวัดกันที่การพลาดครั้งแรกว่าพลาดก่อนในท่าลำดับที่เท่าไหร่ ผู้ที่พลาดในลำดับหลังจะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าหากเล่นได้ครบ25ท่าโดยไม่พลาดหลายคน กรรมการจะมีท่าตัดสินโดยนับจำนวนครั้งในการทำท่า ผู้ที่ทำท่าได้จำนวนครั้งมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ", "title": "โยโย่" }, { "docid": "288679#5", "text": "\"...คงจะไม่ใช่การปลดฟ้าผ่า คงจะเป็นการเอาไปเก็บไว้ชั่วคราวไว้ก่อน จากการที่มีคนเขียนจดหมายเข้ามาว่า จ่าเฉยยืนอยู่ จ่าจริงไม่มา ใหม่ ๆ ก็อาจเป็นไปได้ว่า หุ่นยืนอยู่ คนผ่านไปมาอาจจะตกใจ แต่หลังจากนาน ๆ เข้า คนเริ่มคุ้นว่าจ่าเฉยยืนอยู่ จ่าจริงก็ไม่ค่อยมีเท่าไหร่\"\"", "title": "จ่าเฉย" }, { "docid": "37703#3", "text": "หลังจากที่เข้าร่วมอย่างไม่ค่อยเต็มในเท่าไหร่ เธอก็ค่อยๆเปลี่ยนไปและเต็มใจจะอยู่กับฝ่ายนี้ในท้ายที่สุด เธอประมือกับทีม X-Men เธอเคยลอบสังหาร วุฒิสมาชิกเคลลี่ ด้วยแต่ก็ถูกขัดขวางไว้โดยมนุษย์กลายพันธุ์ฝ่ายดีทุกครั้ง แต่ยิ่งเธอใช้พลังมากเท่าไหร่ จิตใจของโร้คก็ยิ่งแตกสลายมากขึ้นเท่านั้น จนถึงขั้นที่เธอต้องเข้าพบจิตแพทย์ ฟางเส้นสุดท้ายของเธอกับมิสทีคขาดสะบั้นลง เมื่อโร้คตาสว่างพบว่าแท้จริงแล้วนี่คือแผนร้าย ที่อีกฝ่ายตั้งใจหลอกใช้กันมาตลอด เธอจึงหันหน้าเข้าหาศาสตราจารย์ทเอ็กซ์ และพลพรรคเอ็กซ์ทีม ขอร้องให้เธอควบคุมพลังให้ได้เสียที", "title": "โร้ค" }, { "docid": "321339#7", "text": "ปูทะเลเป็นที่นิยมรับประทานอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเวลาที่กำลังลอกคราบเพราะเนื้อปูจะนิ่ม กระดองยังไม่แข็งเท่าไหร่ ซึ่งเรียกว่า \"ปูนิ่ม\"", "title": "ปูทะเล" }, { "docid": "139528#4", "text": "ปี 2525 อัลบั้มชุดแรก \"รักปักใจ\" ในนามวง \"สาว สาว สาว\" กับสังกัดรถไฟดนตรีและจัดจำหน่ายโดยอีเอ็มไอ (ประเทศไทย) ซึ่งมีเพลงแนะนำคือ “แพะยิ้ม” อัลบั้มชุดนี้เป็นการนำเอาเพลงเก่ามาทำใหม่ และไม่เหมาะกับวัยของ 3 สาวเท่าไหร่นัก ชื่อเสียงของ “สาว สาว สาว” เลยไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่ ระบบในสมัยนั้นตัวเพลงจะทำหน้าที่ขายตัวเองมากที่สุดโดยไม่มีปัจจัยอื่นมาสนับสนุน ประกอบกับภาพลักษณ์ของทางวงไม่ชัดเจน", "title": "เสาวลักษณ์ ลีละบุตร" }, { "docid": "363264#7", "text": "Storage การจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต้องคำนึงว่า เก็บที่ไหน นานเท่าไหร่ หรือการเปลี่ยนที่อยู่ของเอกสารไปเก็บอีกที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับ (Hierarchical storage management) และ การทำลายเอกสาร", "title": "ระบบการจัดการเอกสาร" }, { "docid": "911520#54", "text": "แฮมสเตอร์พี่เลี้ยงของฮักตัน พูดสำเนียงคันไซ เป็นผู้สอนฮานะและทุกคนเกี่ยวกับพริตตี้เคียวแต่ดูจะไม่ค่อยเต็มใจสักเท่าไหร่ สามารถเปลี่ยนร่างเป็นมนุษย์ได้", "title": "ฮักโตะ! พรีเคียว" }, { "docid": "824091#0", "text": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่ เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก-คอมเมดี้ บทประพันธ์ของ นุกูล บุญเอี่ยม, วัชระ ปานเอี่ยม บทโทรทัศน์โดย พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม กำกับการแสดงโดย นุกูล บุญเอี่ยม ผลิตโดย บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัดออกอากาศทุกวันเสาร์–อาทิตย์ เวลา 11.00–11.45 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย เคลลี่ ธนะพัฒน์, น้ำฝน โกมลฐิติ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย", "title": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่" }, { "docid": "578978#4", "text": "เริ่มมีผลงานเพลงตั้งแต่ปี 2538 โดยวงที-สเกิ๊ตนั้น ประกอบสมาชิก 3 คนด้วยกัน คือ อัสมา กฮาร (มาร์) ดวงพร สนธิขันธ์ (จอย) และ ธิติยา นพพงษากิจ (กิ๊ฟท์) มีผลงาน 2 อัลบั้มเต็ม และ 1 อัลบั้มพิเศษก่อนที่ทางค่ายคีตา เรคคอร์ดส จะปิดตัวลงไปเมื่อปี 2539 ผลงานเด่นคือเพลง ไม่เท่าไหร่, เจ็บแทนได้ไหม, ฟ้องท่านเปา, เรื่องมันเศร้า และเพลง ทักคนผิด เป็นต้น ผลงานอัลบั้มชุดแรกชื่อว่า \"T-Skirt\" ออกวางจำหน่ายกลางปี 2538 โดยรายชื่อเพลงมีดังนี้ 1.ไม่เท่าไหร่ 2.เจ็บแทนได้ไหม 3.เรื่องมันเศร้า 4.อย่าเล่นอย่างนี้ 5.ทักคนผิด 6.ฟ้องท่านเปา 7.วันที่ไม่เหงา 8.ทำให้เสร็จ 9.ซึ้ง ๆ หน่อย 10. เพื่อนกัน", "title": "อัสมา กฮาร" }, { "docid": "135543#0", "text": "ผู้หญิง คือมนุษย์เพศหญิง โดยมากมักใช้ในความหมายของผู้ใหญ่ แต่ก็มีความหมายถึงการระบุแยกแยะว่าเป็น มนุษย์เพศหญิง ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ผู้หญิงจะมีโครโมโซม XX ในขณะที่ผู้ชายจะมีโครโมโซม XY", "title": "ผู้หญิง" }, { "docid": "9919#1", "text": "ตัวเลขดรรชนีหักเหนั้นโดยทั่วไปมีค่ามากกว่าหนึ่ง โดยยิ่งวัสดุมีความหนาแน่นมากเท่าไหร่ แสงก็จะเดินทางได้ช้าลงเท่านั้น", "title": "ดรรชนีหักเห" } ]
4006
ประเทศสิงคโปร์ สถาปนาเป็นประเทศเมื่อใด ?
[ { "docid": "1989#1", "text": "หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะฮอร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในนิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่ถูกขับอีกสองปีต่อมาผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงคโปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับการรับรองว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย", "title": "ประเทศสิงคโปร์" } ]
[ { "docid": "351889#8", "text": "เมืองเฉวียนโจว หรือ เมืองจวนจิว เป็นเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับฉายาว่าเป็นช่องทางทะเล เมืองแห่งผ้าไหม สถาปนาในสมัยราชวงค์ถัง ในปี 684 โดย เดิมเมืองชื่ออู่หรงโจว ต่อมาในปี 711 เมืองได้เปลี่ยนชื่อใหม่เฉวียนโจว ในสมัยราชวงศ์หยวนได้เกิดสงครามขึ้นในภาคตะวันออก ในระหว่างสงครามทำให้คนจำนวนมากจากเมืองเฉวียนโจวหลบหนีไปยังฮ่องกงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ที่อพยพจากเฉวียนโจว ส่วนใหญ่ตั้งหลักตัวอยู่ใน ประเทศสิงคโปร์ ซาราวะก์ ประเทศมาเลเซีย จังหวัดชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันตกของไทย เช่น ภูเก็ต ระนอง กระบี่ พังงา ตรัง สตูล ฯลฯ", "title": "ชาวฮกเกี้ยน" }, { "docid": "1989#0", "text": "ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และเป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน", "title": "ประเทศสิงคโปร์" }, { "docid": "469640#0", "text": "กีฬาโอลิมปิกเยาวชน () เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติ ที่จัดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 26 สิงหาคม ค.ศ. 2010 การแข่งขันจะมีขึ้นทุกสี่ปีในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวที่สอดคล้องกับรูปแบบของกีฬาโอลิมปิกในปัจจุบัน โดยมีข้อจำกัดอายุของนักกีฬาอยู่ที่ 14 ถึง 18 ปี ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนำมาจากโยฮัน โรเซนซอพฟ์ จากประเทศออสเตรียใน ค.ศ. 1998 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ทางสมาชิกคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ในการประชุมไอโอซี ครั้งที่ 119 ที่กัวเตมาลาซิตี ได้อนุมัติการสถาปนากีฬาโอลิมปิกระดับเยาวชนขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายของพื้นที่จัดงานจะออกร่วมกันโดยไอโอซีและเมืองที่เป็นเจ้าภาพ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของนักกีฬาและโค้ช ทางไอโอซีเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย", "title": "กีฬาโอลิมปิกเยาวชน" }, { "docid": "898358#0", "text": "องค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ () เป็นหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางของประเทศสิงคโปร์ มีหน้าที่กำกับนโยบายการเงินตลอดจนระบบการเงินของประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2514 องค์การเงินตราของประเทศสิงคโปร์นี้ มีข้อแตกต่างจากธนาคารกลางของประเทศอื่นๆคือ องค์การเงินตราของสิงคโปร์ไม่มีการควบคุมเงินตราผ่านการปรับอัตราดอกเบี้ยนโบบาย แต่ควบคุมเงินตราผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยการเข้าแทรงแซงเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในตลาด", "title": "องค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์" }, { "docid": "675781#1", "text": "หลายมาตราในหลายส่วนของกฎหมายหลักพื้นฐานแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่าด้วยการเลือกตั้งและสถาปนาข้อกำหนดแห่งกฎหมายตามรัฐธรรมนูญอย่างการลงคะแนนลับ และข้อกำหนดว่าการเลือกตั้งทุกครั้งต้องกระทำโดยเสรีและเที่ยงธรรม กฎหมายหลักพื้นฐานยังกำหนดว่า สภานิติบัญญัติสหพันธ์ตรากฎหมายสหพันธ์โดยละเอียดเพื่อปกครองการเลือกตั้ง เรียก กฎหมายเลือกตั้ง มาตราดังกล่าวมาตราหนึ่ง คือ มาตรา 38 ซึ่งว่าด้วยการเลือกตั้งผู้ช่วยในบุนเดชตักสหพันธ์ มาตรา 38.2 แห่งกฎหมายหลักพื้นฐานสถาปนาสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป ว่า \"ผู้ใดอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์จักมีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ใดที่อายุถึงอายุที่บรรลุนิติภาวะอาจได้รับเลือกตั้ง\"", "title": "การเลือกตั้งในประเทศเยอรมนี" }, { "docid": "1953#7", "text": "นครรัฐของชาวปยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองฮะลีนจี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวปยูอีก", "title": "ประเทศพม่า" }, { "docid": "31637#35", "text": "ผลจากความปราชัยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งติดตามมา ประเทศเยอรมนีเสียอัลซาซ-ลอแรน นอร์เทิร์นชเลสวิกและเมเมล ซาร์ลันด์เป็นรัฐในอารักขาของประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขว่าภายหลังผู้อยู่อาศัยจะลงประชามติตัดสินว่าจะเข้ากับประเทศใด ประเทศโปแลนด์แยกออกมาเป็นอีกประเทศหนึ่งและได้ทางออกสู่ทะเลโดยการสถาปนาฉนวนโปแลนด์ ซึ่งคั่นปรัสเซียจากประเทศเยอรมนีส่วนที่เหลือ ดันซิกกลายเป็นนครเสรี[87]", "title": "นาซีเยอรมนี" }, { "docid": "751400#0", "text": "การขนส่งในประเทศสิงคโปร์ มีการขนส่งทางบกเป็นส่วนใหญ่ สถานที่ต่าง ๆ ในสิงคโปร์เข้าถึงได้ด้วยถนน รวมถึงเกาะด้วย เช่น เกาะเซนโตซา และเกาะจูล่ง นอกจากถนนแล้ว การขนส่งหลักในประเทศสิงคโปร์ยังมีระบบราง ไดแก่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งเส้นทางไปทั่วทั้งสิงคโปร์ และรถไฟรางเบาสิงคโปร์ ซึ่งมีเส้นทางภายในประเทศ เกาะใหญ่ของสิงคโปร์เชื่อมเกาะเล็กอื่น ๆ เข้าด้วยกันด้วยบริการเรือข้ามฟาก", "title": "การขนส่งในประเทศสิงคโปร์" }, { "docid": "908999#0", "text": "มิสแกรนด์สิงคโปร์ (; ) เป็นตำแหน่งในการประกวดนางงามระดับประเทศของสิงคโปร์ ผู้ที่ได้รับตำแหน่งจะได้เป็นตัวแทนชาวสิงคโปร์ในการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งจะถูกจัดประกวดขึ้นทุกปีในช่วงปลายปี โดยผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์สิงคโปร์อาจมาจากการแต่งตั้งหรือจากการประกวดบนเวทีระดับชาติอย่างใดอย่างงหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการของผู้ได้รับสิทธิ์ในปีนั้นๆ ปัจจุบัน สิทธิ์ในการส่งตัวแทนจากสิงคโปร์เข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลนั้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของบริษัท อีอาร์เอ็ม สิงคโปร์มาเก็ตติ้ง จำกัด (ERM Singapore Marketing Pte Ltd) ซึ่งดูแลและบริหารงานโดย \"อเล็กซ์ หลิว\" (Alex Liu)", "title": "มิสแกรนด์สิงคโปร์" }, { "docid": "1989#23", "text": "สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า โดยเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าปลอดภาษี ทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและพม่า สิงคโปร์มีประชากรน้อยจึงต้องพึงพาแรงงานจากต่างชาติในทุกระดับ สิงค์โปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่งคั่งที่สุดประเทศนึงในโลก", "title": "ประเทศสิงคโปร์" }, { "docid": "469640#12", "text": "ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 กรุงเอเธนส์, กรุงเทพ, สิงคโปร์, กรุงมอสโก และตูริน ต่างได้รับการคัดเลือกโดยไอโอซี ในฐานะห้าเมืองที่สมัครเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชนครั้งสถาปนา ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 เมืองผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกเหลือเพียงกรุงมอสโกและสิงคโปร์ ในที่สุด ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 เมืองสิงคโปร์ก็ได้รับการประกาศให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชนครั้งสถาปนา ใน ค.ศ. 2010 ซึ่งมีการถ่ายทอดสดจากเมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยเป็นฝ่ายชนะด้วย 53 คะแนนโหวต ในขณะที่กรุงมอสโกได้ 44 คะแนนโหวต", "title": "กีฬาโอลิมปิกเยาวชน" }, { "docid": "461943#1", "text": "ต่อมาในประเทศไทย ราวปี พ.ศ. 2504 ได้เกิด ขนมลอดช่องที่แตกแขนงออกมาอีกชนิดนึง คือ \"ลอดช่องสิงคโปร์\" ทำด้วยแป้งมันสำปะหลังแทนที่จะเป็นแป้งข้าวเจ้าตามแบบลอดช่องดั้งเดิม ชื่อนี้ไม่ได้เกิดจากการนำมาจากสิงคโปร์แต่อย่างใด ประเทศไทยเป็นผู้คิดค้น โดยร้าน \"สิงคโปร์โภชนา\" ซึ่งเป็นร้านอาหารตั้งอยู่ที่หน้าโรงภาพยนตร์สิงคโปร์หรือโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช จึงเป็นที่มาของ \"ลอดช่องสิงคโปร์\" ", "title": "ลอดช่อง" }, { "docid": "746761#8", "text": "หลังจากประสบวิกฤติประชาชนว่างงานและขาดที่อยู่อาศัย ประเทศสิงคโปร์เริ่มโครงการทำให้ทันสมัยในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 มุ่งเน้นการสถาปนาอุตสาหกรรมการผลิต พัฒนาที่ดิน และลงทุนด้านการศึกษาอย่างเข้มข้น ตั้งแต่เป็นอิสระ เศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ประเทศกลายเป็นหนึ่งในชาติที่รุ่งเรืองที่สุด เนื่องจากมีเศรษฐกิจการค้าเสรีที่พัฒนาขึ้นอย่างมาก การค้าขายกับต่างประเทศที่แข็งแกร่ง และดัชนีมวลรวมสูงที่สุดในเอเชีย หากไม่นับประเทศญี่ปุ่น[1]", "title": "ประวัติศาสตร์สิงคโปร์" }, { "docid": "2163#9", "text": "หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปีพ.ศ. 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย\nการพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปีพ.ศ. 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปีพ.ศ. 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปีพ.ศ. 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ", "title": "กล้วยไม้" }, { "docid": "303589#1", "text": "มีประเทศที่แข่งขันได้เหรียญรางวัล ทั้งหมด 76 ประเทศ และไม่ได้เหรียญรางวัลใด ๆ อีก 70 ประเทศ โดยประเทศลาว เลบานอน มองโกเลีย นามิเบีย ปากีสถาน ปาปัวนิวกีนี โรมาเนีย ซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ และซีเรีย แข่งขันได้เหรียญรางวัลเป็นครั้งแรกในกีฬาพาราลิมปิก และนักกีฬาจากโครเอเชีย มองโกเลีย ซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ และเวเนซุเอลาได้เหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาพาราลิมปิก", "title": "สรุปเหรียญพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008" }, { "docid": "314424#1", "text": "ตามราชประเพณี สมาชิกในพระราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์จะได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศที่เกี่ยวข้องกับประเทศอังกฤษ สก็อตแลนด์ ไอร์แลนด์ และเวลส์ สามราชอาณาจักรและหนึ่งนครรัฐซึ่งรวมกันเป็นสหราชอาณาจักร พระอิสริยยศดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์นได้ตั้งตามหนึ่งในสี่มณฑลของประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่รู้จักในตัวสะกดตามภาษาไอริชว่า \"Connacht\" หากพระอิสริยยศดังกล่าวไม่มีผู้ใดถือครองจะพระราชทานให้แก่พระราชโอรสพระองค์ที่สามของพระมหากษัตริย์ โดยพระราชโอรสพระองค์ใหญ่จะได้รับพระราชทานพระอิสริยยศ ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ (ในประเทศอังกฤษ) กับดยุกแห่งโรธเซย์ (ในประเทศสก็อตแลนด์) และจะได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ในช่วงเวลาหนึ่ง ในขณะที่พระราชโอรสพระองค์ที่สองจะได้รับการสถาปนาเป็นดยุกแห่งยอร์ก หากพระอิสริยยศยังไม่มีผู้ใดถือครอง", "title": "ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น" }, { "docid": "1989#3", "text": "ประเทศสิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา รัฐเดี่ยว และใช้ระบบหลายพรรคการเมือง โดยมีการปกครองสภาเดี่ยวระบบเวสต์มินสเตอร์ พรรคกิจประชาชนชนะการเลือกตั้งทุกครั้งนับแต่เริ่มการปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2502 ภาวะครอบงำของพรรคกิจประชาชน ประกอบกับระดับเสรีภาพสื่อต่ำและการปราบปรามเสรีภาพพลเมืองและสิทธิการเมืองนำให้ประเทศสิงคโปร์ถูกจัดเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ (flawed democracy) ประเทศสิงคโปร์เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และสมาชิกการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศสิงคโปร์นำให้มันมีอิทธิพลอย่างสำคัญในกิจการโลก นำให้นักวิเคราะห์บางส่วนระบุว่าเป็นอำนาจปานกลาง (middle power)", "title": "ประเทศสิงคโปร์" }, { "docid": "197577#7", "text": "ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีแดง แย่ที่สุด มี 35 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา กลุ่มสีส้ม หรือสัญญาณเตือนภัย 92 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง ระดับกลางๆ 35 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว ดีที่สุด 15 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศยุโรปตะวันตก ซึ่งรวมถึงแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ โดย 20 อันดับที่แย่ที่สุดได้นำมาแสดงไว้ในด้างล่างนี้ โดยตัวเลขการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมาก (ปี 2007) ได้แสดงไว้ในวงเล็บ \nนอร์เวย์ (177) เป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการดีที่สุดมาสองปีแล้ว ส่วนประเทศที่ล้มเหลวที่สุด คือ โซมาเลีย สำหรับประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 89 ส่วนประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันปรากฏว่าที่แย่ที่สุดอยู่ในกลุ่มสีแดง คือ พม่า (12) กลุ่มสีส้มมี ลาว (40) กัมพูชา (48) อินโดนีเซีย (55) ฟิลิปปินส์ (59) เวียดนาม (60) ไทย (89) มาเลเซีย (118) ส่วนสิงคโปร์อยู่ในกลุ่มสีเหลืองโดยอยู่ในลำดับที่ 159 ซึ่งไม่มีประเทศใดในกลุ่มอาเซียนได้สีเขียว", "title": "รัฐล้มเหลว" }, { "docid": "496126#3", "text": "ประเด็นสำคัญในการพิพากษาของศาลโลกนั้น เห็นว่าสนธิสัญญา พ.ศ. 2367 กำหนดให้เปดราบรังกาอยู่ในเขตของอังกฤษ ต่อมาในจดหมายตอบโต้ระหว่างรัฐมนตรีอาณานิคมแห่งสิงคโปร์กับสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์เมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ว่าเปดราบรังกาอยู่ในอาณาเขตของฝ่ายใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของรัฐยะโฮร์ตอบกลับเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2496 ว่ายะโฮร์ไม่ได้อ้างสิทธิเหนือเปดราบรังกา หลังจากนั้น พฤติการณ์ของมาเลเซียได้แสดงให้เห็นว่ายอมรับอธิปไตยเหนือเปดราบรังกา เช่น มาเลเซียขออนุญาตสิงคโปร์เข้าไปสำรวจน่านน้ำในเปดราบรังกา และในราว พ.ศ. 2513 สิงคโปร์ประกาศถมทะเลรอบเกาะ ได้มีประกาศให้บริษัทเอกชนเข้ามาประมูลอย่างเปิดเผย มาเลเซียมิได้ประท้วง นอกจากนั้น แผนที่ที่ตีพิมพ์ในมาเลเซียระหว่าง พ.ศ. 2505 – 2518 ยอมรับว่าเปดราบรังกาอยู่ในสิงคโปร์ จึงตัดสินว่าเปดราบรังกาเป็นของสิงคโปร์", "title": "กรณีพิพาทเปดราบรังกา" }, { "docid": "1989#53", "text": "สถาบันการศึกษาเอกชน ในสิงคโปร์คุณสามารถเลือกได้ว่าอยากเรียนสถาบันการศึกษาเอกชนแบบไหน เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาเอกชนมากมายที่เปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ กันไปมากกว่า 300 สถาบัน ตั้งแต่ ธุรกิจ เทคโนโลยี ศิลปะ จนถึงโรงเรียนสอนภาษา เพื่อตอบสนองความต้องการของคนสิงคโปร์เองและนักเรียนจากต่างชาติ นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนหลักสูตรระดับใดได้ในสถาบันการศึกษาเอกชน ตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตร อนุปริญญา จนถึงปริญญาระดับต่าง ๆ โดยที่สถาบันการศึกษาเอกชนในสิงคโปร์มีมหาวิทยาลัยพันธมิตรมากมายจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย จึงทำให้นักเรียนได้สัมผัสกับบรรยากาศและสิ่งอำนวยความสะดวกที่พรั่งพร้อม อย่างไรก็ดี เนื่องจากแต่ละสถาบันจัดรับสมัครและการสอบขึ้นเอง นักเรียนจึงต้องติดต่อกับแต่ละโรงเรียนโดยตรงหากสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมและเมื่อสนใจในสถาบันการศึกษาเอกชนใด คุณต้องมั่นใจก่อนเลือกเรียนว่าหลักสูตรนั้น ๆ ครอบคลุมทุกอย่างที่คุณต้องการไม่ว่าจะเป็น", "title": "ประเทศสิงคโปร์" }, { "docid": "32296#1", "text": "ประเทศไทยและสิงคโปร์ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2508 ", "title": "สถานเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย" }, { "docid": "469633#2", "text": "ใน ค.ศ. 2010 โจนส์ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงในการแข่งขัน เทควันโดชิงแชมป์ยุโรป 2010 ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โจนส์เข้าแข่งขันให้แก่ทีมชาติอังกฤษในการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งสถาปนา ที่จัดขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยเธอเป็นฝ่ายชนะนักเทควันโดชาวเวียดนาม ธันห์ เธา เหงียน ด้วยคะแนน 9–6 ของรุ่นน้ำหนัก 55 กก. ในรอบไฟนอล และกลายเป็นนักกีฬาทีมชาติอังกฤษที่ได้รับรางวัลเหรียญทองคนแรกของการแข่งขันนี้ เธอได้รับการยกย่องจาก บีบีซี คั้มรีเวลส์ ให้เป็นนักกีฬาสาวแห่งปี 2010 ", "title": "เจด โจนส์" }, { "docid": "483071#0", "text": "สายการบินสกู๊ต เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ในเครือสิงคโปร์แอร์ไลน์ส โดยวางตัวเป็นสายการบินต้นทุนต่ำระยะไกล และมีเส้นทางบินระยะกลางถึงระยะไกลจาก ท่าอากาศยานนานาชาติชางงี สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมีแผนการบินที่จะเปิดเส้นทางบินไปยัง ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศจีน ใดยใช้เครื่องบินแบบโบอิ้ง 777 สายการบินสกู๊ตเป็นอีกหนึ่งความพยายามของบริษัทแม่อย่างสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ที่จะจับกลุ่มลูกค้าซึ่งต้องการบินในราคาประหยัด โดยสามารถบรรเทาปัญหาค่าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงลิบไปพร้อมๆ กัน โดยเริ่มให้บริการเที่ยวบินแรกจากสิงคโปร์ไปยังนครซิดนีย์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2555 ", "title": "สายการบินสกู๊ต" }, { "docid": "17648#4", "text": "ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะปฏิรูปประเทศไทยให้เจริญทัดเทียมกับประเทศตะวันตก ปัจจัยที่จะนำไปสู่จุดหมายได้คือ คน เงิน และการบริหารที่ดี มีพระราชดำริว่า หนทางแห่งความก้าวหน้าของชาติจะมีมาได้ก็ต้องอาศัยการศึกษาเป็นปัจจัย จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่า เยาวชนรุ่นใหม่ทั้งของราชวงศ์และบุตรขุนนางจะต้องได้รับการศึกษาอย่างดีกว่ารุ่นพระองค์เอง ในระยะแรกอิทธิพลของประเทศตะวันตกที่มีต่อประเทศไทยคือ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์ กับพระยาชัยสุรินทร์ (หม่อมราชวงศ์เทวหนึ่ง สิริวงศ์) ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษเป็นพวกแรก นับว่าเป็นครั้งแรกที่ทรงส่งนักเรียนหลวงไปเรียนถึงยุโรป ต่อมาก็ส่งพระราชโอรสและนักศึกษาไปศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเดนมาร์ก และประเทศรัสเชีย ก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกหม่อมเจ้า 14 คน ไปเรียนหนังสือที่สิงคโปร์ 2 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2413 - พ.ศ. 2415 ในโอกาสที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2413 นั่นเป็นการเตรียมคนที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาพระราชภาระในการปรับปรุงประเทศ การเตรียมปัจจัยการเงินเป็นการเตรียมพร้อมประการหนึ่ง ถ้าขาดเงินจะดำเนินกิจการใดให้สำเร็จสมความมุ่งหมายคงจะเป็นไปได้ยาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า การจัดการเงินแบบเก่ามีทางรั่วไหลมาก พวกเจ้าภาษีนายอากรไม่ส่งเงินเข้าพระคลังครบถ้วนตามจำนวนที่ประมูลได้ พระองค์จึงทรงจัดการเรื่องการเงินของแผ่นดินหรือการคลังทันทีที่พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินเต็มที่ เริ่มด้วยให้ตราพระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ จ.ศ. 1235 (พ.ศ. 2416) มีพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติในปี จ.ศ. 1237 (พ.ศ. 2418) เพื่อจะได้ใช้จ่ายทุนบำรุงประเทศ ต่อมาทรงให้จัดทำงบประมาณจัดสรรเงินให้แต่กระทรวงต่าง ๆ เป็นสัดส่วน", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "67551#3", "text": "ปรีดี พนมยงค์ได้เสนอให้ขุดคลอง เมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 แต่ยังคงไม่มีการขุดคลองแต่อย่างใดจวบจนปัจจุบัน ซึ่งมีหลายเหตุผลคัดค้านรวมถึงไม่ต้องการให้ประเทศไทยแยกออกเป็นสองส่วน ผนวกกับประเทศสิงคโปร์กลัวจะเสียผลประโยชน์ด้วย", "title": "คอคอดกระ" }, { "docid": "496126#0", "text": "กรณีพิพาทเปดราบรังกา เป็นความขัดแย้งระหว่างมาเลเซียกับสิงคโปร์ในการอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ขนาดเล็กในทะเลจีนใต้ กรณีพิพาทนี้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 เมื่อมาเลเซียตีพิมพ์แผนที่ให้บริเวณนี้อยู่ในบริเวณของตน สิงคโปร์ได้ประท้วงแผนที่ฉบับนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ทั้งสองประเทศได้เจรจากันในช่วง พ.ศ. 2536 – 2537แต่ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ จึงส่งเรื่องให้ศาลโลกพิจารณาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ศาลโลกได้พิพากษาเมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ให้เปดราบรังกาเป็นของสิงคโปร์ มิดเดิลร็อกส์เป็นของมาเลเซีย ส่วนเซาท์เลดจ์นั้นให้ขึ้นกับการตกลงแบ่งเขตน่านน้ำทางทะเลระหว่างสองประเทศ", "title": "กรณีพิพาทเปดราบรังกา" }, { "docid": "2694#7", "text": "ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากในประเทศไทยแล้ว เซนต์เซย์ย่ายังได้ไปแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ ทั้งในแถบเอเชียด้วยกัน เช่น ประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกฟากของทวีปอย่างแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมไปถึงลาตินอเมริกา โดยถึงแม้ว่าในแถบยุโรปจะมีความเข้มงวดเกี่ยวกับฉากต่อสู้ที่มีความรุนแรงในเรื่อง แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เซนต์เซย์ย่าเสื่อมความนิยมลงแต่อย่างใด เพราะหลังจากที่แพร่ภาพจบชุด ยังถูกนำกลับมาฉายใหม่อีกหลายครั้ง ส่วนที่ประเทศเม็กซิโกในแถบละตินอเมริกา ก็ได้มีการแพร่ภาพเรื่องเซนต์เซย์ย่าถึง 14 ครั้งด้วยกัน[4]", "title": "เซนต์เซย์ย่า" }, { "docid": "409682#15", "text": "นอกจากนี้ มีการสร้างหมีตัวใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ บางตัวแสดงถึงประเทศที่เพิ่งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม อาทิ สิงคโปร์ และบางตัวก็เพื่อเปลี่ยนกับตัวเก่าที่แสดงถึงประเทศใดประเทศหนึ่ง บางประเทศมีการสร้างสรรค์หมีเป็นตัวที่สามหรือสี่แล้ว หมี \"ตัวเก่า\" มีการประมูลราคาเพื่อสมทบทุนช่วยเหลือ UNICEF", "title": "ยูไนเต็ดบัดดีแบส์" }, { "docid": "751400#1", "text": "ประเทศสิงคโปร์ยังมีการเชื่อมต่อสู่ต่างประเทศ สะพานที่เชื่อมสิงคโปร์กับประเทศมาเลเซียจำนวนสองแห่ง ได้แก่ ยะโฮร์-สิงคโปร์คอสเวย์ และจุดเชื่อมต่อมาเลเซีย-สิงคโปร์แห่งที่ 2 มีท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีเป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญในเอเชีย และมีท่าเรือถ่ายลำเลียงที่สำคัญในการขนส่ง", "title": "การขนส่งในประเทศสิงคโปร์" }, { "docid": "522302#5", "text": "การสงบศึกดังกล่าวยังสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี ซึ่งทั้งสองชาติเกาหลีตัดสินให้เป็นเขตกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร คณะกรรมาธิการตรวจตราชาติเป็นกลาง (NNSC) เป็นผู้ลาดตระเวนเขตดังกล่าว เขตปลอดทหารนี้เป็นไปตามแนวแคนซัสที่ซึ่งทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันจริงขณะที่มีการลงนามการสงบศึก เขตปลอดทหารดังกล่าวเป็นพรมแดนระหว่างประเทศที่มีการป้องกันมากที่สุดในโลก \nการสงบศึกนี้ยังสถาปนาการวางระเบียบเกี่ยวกับเชลยศึก ความตกลงดังกล่าวระบุว่า \"ภายในหกสิบวันหลังความตกลงนี้มีผลบังคับใช้ ต่างฝ่ายต้องส่งเชลยศึกทั้งหมดในการคุมขังที่ยืนยันจะส่งตัวกลับประเทศเดิมไปยังฝ่ายที่เขาเป็นสมาชิก ณ เวลาที่ถูกจับ กลับประเทศเดิมโดยตรงเป็นกลุ่ม โดยไม่มีการขัดขวางใด ๆ\" ท้ายสุด มีทหารเกาหลีเหนือหรือจีนกว่า 22,000 นายที่ปฏิเสธการส่งตัวกลับประเทศเดิม ในทางกลับกัน ทหารเกาหลีใต้ 327 นาย ทหารอเมริกัน 21 นาย และทหารอังกฤษ 1 นายปฏิเสธการส่งกลับประเทศเดิมเช่นกัน และยังคงอยู่ในเกาหลีเหนือหรือจีน", "title": "ความตกลงการสงบศึกเกาหลี" } ]
4007
บริษัส นิสสัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "42222#6", "text": "มาสุจิโร ฮาชิโมะโตะ ได้ตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ไคชินชา ซึ่งแปลว่าบริษัทผลิตรถยนต์ที่ดี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ที่ตำบลอะซะบุในโตเกียว เป็นบริษัทผลิตรถยนต์บริษัทแรกของญี่ปุ่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 บริษัทไคชินชาได้ผลิตรถยนต์รุ่นแรกชื่อว่า \"ดัต\" (DAT)[3][1][2]", "title": "นิสสัน" } ]
[ { "docid": "340047#16", "text": "หลังจากการยกเลิกการผลิต 300ZX ก็มีกระแสเรียกร้องล้นหลามอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนให้กลับมาผลิต Z อีกครั้ง อีกทั้งการยกเลิกรถสปอร์ตรุ่นนี้ ยังทำให้นิสสันสูญเสียภาพลักษณ์ของการเป็นยี่ห้อรถที่ผู้คนหลงใหลใฝ่ฝัน (Image Leader) ตกต่ำกลายเป็นภาพลักษณ์ที่เชื่องช้า ไม่น่าสนใจ นิสสันตกอยู่ในสถานะทางการเงินที่ย่ำแย่ ซึ่งในสมัยนั้น มีรถญี่ปุ่นอีก 2 ยี่ห้อที่อยู่ในสภาวะขาดทุนเช่นเดียวกัน คือ มิตซูบิชิและอีซูซุ แต่นิสสันได้รับการช่วยเหลือ จากการที่บริษัทรถฝรั่งเศส ชื่อเรโนลต์ (Renault) ได้เข้าซื้อหุ้นนิสสัน 44.4% ทำให้ Carlos Ghosn จากเรโนลต์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง CEO นิสสัน เขาตัดสินใจจะให้นิสสันกลับมาผลิต Z อีกครั้ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของ Carlos Ghosn ในฐานะ CEO", "title": "นิสสัน แฟร์เลดี้ แซด" }, { "docid": "71747#0", "text": "เดอะ คาร์ดิแกนส์ () เป็นวงดนตรีจากสวีเดน เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 1992 ในเมือง Jönköping โดย 2 สมาชิกอดีตนักดนตรีแนวเฮฟวีเมทัล มือกีตาร์ ปีเตอร์ สเวนสัน (Peter Svensson) และ มือเบส แมกนัส สเวนิงสัน (Magnus Sveningsson) ร่วมด้วย มือกลอง เบนต์ เลเกอร์เบิร์ก (Bengt Lagerberg) มือคีย์บอร์ด ลาร์ส-โอลอฟ โยแฮนสัน (Lars-Olof Johansson) และ นักร้องนำ นิน่า เพอร์สสัน (Nina Persson)", "title": "เดอะคาร์ดิแกนส์" }, { "docid": "42222#0", "text": "บริษัทนิสสันมอเตอร์จำกัด (อังกฤษ: Nissan Motor Company Ltd ญี่ปุ่น: 日産自動車株式会社) มักเรียกสั้น ๆ ว่า นิสสัน (/ˈniːsɑːn/ หรือ UK: /ˈnɪsæn/) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิชิกุ เมืองโยโกฮาม่า โดยนิสสันได้จำหน่ายรถยนต์ภายใต้ยี่ห้อนิสสัน อินฟินิทีและดัตสัน พร้อมกับรถยนต์ที่ถูกปรับแต่งสมรรถนะชื่อว่านิสโม บริษัทนิสสัน ฯ ได้เข้าร่วมกลุ่มบริษัทที่ทรงพลังของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า ไซบัสสึ ในชื่อนิสสันกรุ๊ป", "title": "นิสสัน" }, { "docid": "435948#13", "text": "สำหรับ NISMO เป็นชื่อย่อของ Nissan Motorsports ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งตลอดระยะเวลา 32 ปีที่ผ่านมา นิสสันได้ใช้แบรนด์ นิสโม ในการทำกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ตจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีเยี่ยม เช่น การกวาดชัยชนะถึง 9 รายการในการแข่งขันระดับโลกเมื่อปี 2558 รวมถึงการแข่งขันรายการซุปเปอร์จีที ที่นิสสันสามารถคว้าแชมป์ทั้งรุ่น GT500 และ GT300 นิสโมมีส่วนสำคัญในการสร้างแบรนด์ของนิสสันให้แข็งแกร่ง ในฐานะแบรนด์ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมยานยนต์ที่ตื่นเต้น เร้าใจ โดยหน้าที่หลักของนิสโมคือ พัฒนาเทคโนโลยีและสมรรถนะสำหรับกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ต และพัฒนา Road Cars หรือรถยนต์ที่ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ด้วยการนำประสบการณ์ แรงบันดาลใจ และเทคโนโลยีจากสนามแข่ง มาใช้ในการพัฒนาสมรรถนะรถของนิสสันมีความเหนือชั้นขึ้นไปอีก ทั้งด้านการดีไซน์ การออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ การควบคุมรถ และสมรรถนะ", "title": "นิสสัน จีที-อาร์" }, { "docid": "912884#0", "text": "นีล ดะแกรส ไทสัน (; เกิด 5 ตุลาคม 1958) เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ผู้ประพันธ์และผู้สื่อสารวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ตั้งแต่ปี 1996 เขาเป็นผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลองเฮย์เดน ณ ศูนย์โลกและอวกาศโรสในนครนิวยอร์ก ศูนย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา ซึ่งไทสันก่อตั้งแผนกฟิสิกส์ดาราศาสตร์ในปี 1997 และเป็นผู้ช่วยวิจัยในแผนกฯ ตั้งแต่ปี 2003", "title": "นีล ดะแกรส ไทสัน" }, { "docid": "42222#19", "text": "รถยนต์นั่งขนาดกลาง ขนาด 2.5 ลิตร และ 2.0 ลิตร นิสสัน เทียน่า (Nissan Teana) รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 4 ประตู (Sedan) ขนาด 1.6 ลิตร และ 1.8 ลิตร นิสสัน ซิลฟี่ (Nissan Sylphy) รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.6 ลิตร และ 1.8 ลิตร นิสสัน พัลซาร์ (Nissan Pulsar) รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.6 ลิตร นิสสัน จู๊ค (Nissan Juke) รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก 4 ประตู (Sedan) ขนาด 1.2 ลิตร นิสสัน อัลเมร่า (Nissan Almera) รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.2 ลิตร นิสสัน โน๊ต (Nissan Note) รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.2 ลิตร นิสสัน มาร์ช (Nissan March) รถยนต์เอนกประสงค์ SUV ขนาด 2.0 ลิตร นิสสัน เอ็กซ์เทรล [ (Nissan X-", "title": "นิสสัน" }, { "docid": "838455#4", "text": "สำหรับในประเทศไทย นิสสัน โน้ต ได้เข้าร่วมโครงการ อีโคคาร์ (เฟส 1) โดยใช้เครื่องยนต์ HR12DE ขนาด 1.2 ลิตร 79 แรงม้า เช่นเดียวกับนิสสัน อัลเมร่า และนิสสัน มาร์ช โดยนิสสัน โน้ต จะเจาะตลาดบนสำหรับกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ระหว่างเมือง แต่นิสสัน มาร์ช จะเจาะตลาดสำหรับกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ในเมือง", "title": "นิสสัน โน้ต" }, { "docid": "999792#0", "text": "คาร์ล เพาล์ ออกุส ฟรีดริช ลีพคเน็ชท์ (; 13 สิงหาคม ค.ศ. 1871 – 15 มกราคม ค.ศ. 1919) เป็นนักสังคมนิยมชาวเยอรมันและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกับโรซา ลุคเซิมบวร์คของสันนิบาติสปาตาคิสท์และพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี เขาได้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในการคัดค้านของเขาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในรัฐสภาไรชส์ทาค และบทบาทของเขาในการก่อการกำเริบสปาตาคิสท์ ในปี ค.ศ. 1919 การก่อการกำเริบครั้งนี้ได้ถูกกวาดล้างอย่างราบคาบโดยรัฐบาลจากพรรคประชาธิปไตยสังคมและกองกำลังไฟร์คอรพ์ (หน่วยกองกำลังกึ่งทหารที่ถูกก่อตั้งโดยทหารผ่านศึกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) ลีพคเน็ชท์และลุคเซิมบวร์คถูกประหารชีวิต", "title": "คาร์ล ลีพคเน็ชท์" }, { "docid": "435948#2", "text": "ระหว่างปี 2512–2517 และระหว่างปี 2532–2545 นิสสันได้ผลิตรถที่มีสมรรถนะสูงที่ต่อยอดมาจากนิสสัน สกายไลน์ คูเป้ ได้ใช้ชื่อว่านิสสัน สกายไลน์ จีที-อาร์ โดยรถคันนี้ได้พิสูจน์ว่าเป็นสัญลักษณ์ของนิสสัน[4][5] และได้ประสบผลสำเร็จทางด้านชื่อเสียงและรางวัลมากมายไม่ว่าจะอยู่บนถนนหรืออยู่ในสนามแข่ง นิสสัน จีที-อาร์ เป็นรุ่นที่ไม่ได้สร้างอยู่บนพื้นฐานของสกายไลน์อีกต่อไป แต่ได้การวิวัฒนาการมาจากนิสสัน สกายไลน์ จีที-อาร์ (โดนนิสสัน สกายไลน์นั้น เปลี่ยนมาเป็นรถบ้านและได้ขายในชื่ออินฟินิตี้ จี35)", "title": "นิสสัน จีที-อาร์" }, { "docid": "42222#11", "text": "นิสสันประเทศไทย ก่อตั้งโดยนายถาวร พรประภา ในกลุ่มของสยามกลการ โดยนิสสันไทยได้รับความไว้วางใจจากนิสสัน มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์นิสสัน นอกประเทศญี่ปุ่นรายแรกของโลก", "title": "นิสสัน" }, { "docid": "52075#0", "text": "อินฟินิที (Infiniti, インフィニティ) รถยนต์นั่งหรู ซึ่งเป็นหนึ่งในรถยนต์คุณภาพจากนิสสัน โดยนิสสันตั้งยี่ห้อนี้ขึ้นมาเพื่อ เจาะตลาดรถยนต์หรู สำหรับตลาดอเมริกาโดยเฉพาะ โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1989 หลังจากที่ตลาดญี่ปุ่นด้วยกันเองเริ่มส่งรถหรูบุกตลาดอเมริกา อย่างโตโยต้า ที่ส่ง เลกซัส และฮอนด้า ส่ง แอคิวรา\nโดยปัจจุบัน นอกจากจะจำหน่ายในอเมริกาแล้ว ยังมีการจำหน่ายในประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชีย รวมถึงในยุโรปบางประเทศด้วย\nตามแผนนโยบายทางธุรกิจ Nissan Value-Up ซึ่งจะหมดในปี 2007 โดยอนาคตก็จะมีแผนจำหน่ายยังบ้านเกิดตัวเองด้วย", "title": "อินฟินิที (รถยนต์)" }, { "docid": "185709#1", "text": "ในปี ค.ศ. 1915 ภายหลังจากพรรค SPD ได้สนับสนุนเยอรมันในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เธอและคาร์ล ลีบค์เน็คท์ร่วมกันก่อตั้งสันนิบาติสปาร์ตาคัส(\"Spartakusbund\") ในการต่อต้านสงคราม, ซึ่งท้ายที่สุดได้กลายเป็นพรรค KPD ในช่วงการปฏิวัติพฤศจิกายน เธอได้ร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า \"Die Rote Fahne\" (\"ธงสีแดง\") หัวใจหลักสำคัญของขบวนการสปาตาคิสต์ ", "title": "โรซา ลุคเซิมบวร์ค" }, { "docid": "493755#5", "text": "โฉมนี้ เคยนำมาขายในไทยอย่างเป็นทางการ โดยเป็นที่รู้จักของคนไทยในชื่อ นิสสัน ซันนี่ นีโอ ช่วงปี พ.ศ. 2543-2549 เป็นตลาดที่ 2 ต่อจากญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2543 และถูกนำไปดัดแปลงเป็น Almera Sedan สำหรับตลาดยุโรป Pulsar Sedan ในออสเตรเลีย และ Sunny Almera ในประเทศไทย เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2545 ใช้เครื่องยนต์ 1.8 ลิตร แต่มียอดขายไปได้เรื่อยๆ ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากการเปิดตัว Toyota Corolla Altis สำหรับตลาดเอเชีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2544 ในตลาดไต้หวัน และเปิดตัวในไทยในงาน Bangkok Motor Show 2001 เริ่มขายจริงเมื่อเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ทำให้ตลาดกลุ่มนี้มีการแข่งขันกันอย่างลุกเป็นไฟ และทำให้รถยนต์ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อที่อยู่ในตลาดช่วงนั้น รวมถึง Sunny Neo กลายเป็นรถยนต์ที่เชย และล้าสมัยไปเพียงชั่วข้ามคืน มียอดขายพอประคองตัวให้อยู่รอดได้เท่านั้น และยังทำให้ยอดขายของนิสสันในไทยในช่วงนั้นเริ่มถดถอย เนื่องจากบริษัทแม่ต้องการเข้ามาทำตลาดเอง แต่สยามกลการ ในฐานะผู้ถือสิทธิ์การผลิต นำเข้าและจำหน่ายนิสสันไม่ยอม ทำให้บริษัทแม่ตัดการช่วยเหลือ และสนับสนุนรถรุ่นใหม่ๆ มาทำตลาด ทั้ง X-Trail รุ่นแรกและ Navara สูญเสียโอกาสในการทำตลาดช้าไปหลายปี ในที่สุด หลังจากเจ้าสัวถาวร พรประภาถึงแก่อนิจกรรมไปได้พักใหญ่ การเจรจากับทางญี่ปุ่นลงตัว นิสสันจึงเข้ามาเพิ่มทุนในสยามกลการ 7.6 พันล้านบาท พร้อมก่อตั้ง Siam Nissan Automobile ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น Nissan Motors Thailand ในปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน", "title": "นิสสัน ซิลฟี่" }, { "docid": "779490#0", "text": "ชาลส์ วัตสัน-เว็นท์เวิร์ธ มาสวิสที่ 2 แห่งร็อกกิงแฮม () เป็นนักการเมืองและรัฐบุรุษชาวอังกฤษ เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองวาระ แต่ละวาระดำรงตำแหน่งสั้นๆ เนื่องจากเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาสั้นๆ จึงไม่ได้มีผลงานโดดเด่นในตำแหน่งนี้ซักเท่าไหร่ เขายังเป็นผู้อุปถัมภ์และผู้นำของของพรรควิก", "title": "ชาลส์ วัตสัน-เว็นท์เวิร์ธ มาร์ควิสที่ 2 แห่งร็อกกิงแฮม" }, { "docid": "19531#0", "text": "จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน () เป็นบริษัทข้ามชาติใน อุตสาหกรรมยา, เครื่องมือแพทย์ และสินค้าอุปโภคบริโภค ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1886 หุ้นสามัญของบริษัทฯ เปิดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average) และเป็นบริษัทนหนึ่งใน 500 ของบริษัทระดับโลกจัดอันดับโดย ฟอร์จูน 500 (Fortune 500) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองนิวบรันสวิค รัฐนิวเจอร์ซีย์ มี บริษัทสาขา (subsidiary) ประมาณ 200 บริษัทซึ่งเปิดดำเนินการอยู่ในมากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก และมีสินค้าของบริษัทฯวางจำหน่ายอยู่มากกว่า 175 ประเทศทั่วโลก", "title": "จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน" }, { "docid": "304339#0", "text": "นิสสัน เทียน่า เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางของบริษัทนิสสัน เริ่มมีการผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 โดยมีชื่ออื่นในการส่งออกเช่น นิสสัน แม็กซิมา และ นิสสัน เซฟิโร่ (เป็นการยืมชื่อมาใช้ เซฟิโร่ตัวจริงเลิกผลิตไปแล้ว เทียน่า เป็นรุ่นต่อของเซฟิโร่ ส่วนแม็กซิมา เป็นรถนิสสันอีกรุ่นหนึ่ง ขายในสหรัฐอเมริกา) ในบางประเทศ นอกจากนี้ เทียน่ายังมีการใช้รูปแบบเดียวกับ นิสสัน อัลติม่า วางขายในทวีปอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น", "title": "นิสสัน เทียน่า" }, { "docid": "174871#0", "text": "นิสโม (Nismo ย่อจาก Nissan Motorsport International Limited; () เป็นบริษัทย่อยของนิสสัน ในการจัดการเรื่องการปรับแต่งสมรรถนะรถยนต์ นิสโมก่อตั้งเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2527 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น", "title": "นิสโม" }, { "docid": "308468#12", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 4 ใช้รหัสการพัฒนาว่า W02A[1] ภายหลังได้ใช้รหัสตัวถังเป็น K13[2][3] เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2552 และเริ่มผลิตในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 รวมถึงประเทศไทยด้วย หลังจากผลิตนิสสัน มาร์ชรุ่นที่ 1 ในประเทศไทยแล้วล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงเมื่อกว่า 20 ปีก่อน นิสสันก็ตัดสินใจผลิตนิสสัน มาร์ชในประเทศไทยอีกครั้ง โดยใช้ชื่อในการโฆษณาว่า \"นิสสัน อีโคคาร์\" (Nissan Ecocar) ซึ่งจะใช้เครื่องยนต์ 1200 ซีซี 3 สูบ ซึ่งสามารถประหยัดน้ำมันได้ไม่แพ้รุ่นก่อนๆ โดยนิสสัน มาร์ช รุ่นใหม่นี้ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานข้อกำหนดรถประหยัดพลังงานสากล (อีโคคาร์) ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "293095#0", "text": "เดอะเพรซิเดนส์ออฟดิยูนิเตดสเตดส์ออฟอเมริกา () หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เดอะเพรซิเดนส์ () เป็นวงอัลเทอร์เนทีฟร็อกอเมริกันที่เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ 2 ครั้ง ก่อตั้งวงในซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ในปี 1993 เป็นวง 3 ชิ้นที่ประกอบด้วย คริส บอลลูว์ (ร้องและนักเล่นเบซิสตาร์), เจสัน ฟินน์ (มือกลองและร้อง) และแอนดรูว์ แม็กคีก (มือเบซิสตาร์และร้อง) และนักร้อง เดฟ เดเดอร์เรอร์ ที่ออกวงไปในปี 2004 หลังจากร่วมวง 11 ปี พวกเขามีผลงานสตูดิโออัลบั้ม 6 ชุดตั้งแต่ก่อตั้งวงในปี 1993", "title": "เดอะเพรซิเดนส์ออฟดิยูนิเตดสเตดส์ออฟอเมริกา" }, { "docid": "507941#0", "text": "นิสสัน นาวารา () เป็นรถกระบะขนาดกลางที่ผลิตโดยนิสสัน เมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยมาทดแทนรถกระบะรุ่นเก่าคือ นิสสัน บิ๊กเอ็ม () ซึ่งนิสสัน นาวาราเคยมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า นิสสัน ฟรอนเทียร์ () ด้วย ในประเทศไทยเริ่มมีการจำหน่ายครั้งแรกใน พ.ศ. 2541 ซึ่งได้รับความนิยม และยังมีขายจนถึงปัจจุบัน", "title": "นิสสัน นาวารา" }, { "docid": "33274#11", "text": "การพิจารณาจัดตั้งมหาวิทยาลัยในนิวยอร์กเริ่มขึ้นในราวปี 2257 แต่มาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในช่วงศตวรรษที่ 176 ในยุคที่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยลและสมาชิกของกลุ่มศาสนาในนิวยอร์ก (ขณะนั้นคือ Church of England ปัจจุบันคือ Episcopal) เริ่มตื่นตัวเมื่อทราบข่าวการก่อตั้งวิทยาลัยนิวเจอร์ซี (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน) ทั้งสองกลุ่มเห็นว่าวิทยาลัยนิวเจอร์ซีก่อตั้งโดยกลุ่มศาสนา new-light Presbyterians ซึ่งมีนิกาย the evangelical Great Awakening สนับสนุน ทั้งยังตั้งอยู่ในท้องที่ ตรงข้ามแม่น้ำฮัตสัน ด้วยเกรงว่านิวยอร์กจะเป็นเมืองด้อยพัฒนาทั้งทานด้านศิลปะและวิทยาการ พวกเขาจึงร่วมกันก่อตั้งสถาบันริมแม่น้ำของพวกเขาในชื่อวิทยาลัยคิงส์ (King's College) มีนายซามูเอล จอห์นสัน (Samuel Johnson) ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก เริ่มเปิดการเรียนการสอนในวันที่ 17 กรกฎาคม 2297 ในโบสถ์ซึ่งมีนายซามูเอลดูแลเพียงคนเดียวเท่านั้น จากนั้นไม่นาน วันที่ 31 ตุลาคมปีเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าจอร์ชที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรได้พระราชทานงบสนับสนุนให้แก่วิทยาลัยคิงส์ ต่อมาในปี 2303 วิทยาลัยคิงส์ย้ายไปตั้งในพื้นที่ของตนเองในปาร์คเพลส (Park Place) ใกล้กับศาลากลาง และในปี 2310 วิทยาลัยได้ก่อตั้งสถาบันแพทย์ขึ้นเป็นแห่งแรกโดยเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา", "title": "มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย" }, { "docid": "340047#12", "text": "บริษัทดัทสัน ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทนิสสันตั้งแต่ปี 2477 แต่แม้จะเปลี่ยนชื่อไปแล้ว รถของนิสสัน ยังคงชื่อดัทสันไว้ในบางประเทศ โดยที่ตัวรถเป็นตัวเดียวกันกับรถที่ใช้ชื่อนิสสัน แต่จะใช้ชื่อใดขึ้นอยู่กับประเทศที่ขาย (รวมทั้งประเทศไทย ที่เคยใช้ชื่อ ดัทสัน มาก่อน) สำหรับชื่อดัทสันจะใช้สำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก ส่วนแต่นิสสันจะใช้สำหรับรถยนต์ขนาดกลางและใหญ่ ในปี พ.ศ. 2528 นิสสัน ได้ยกเลิกชื่อดัทสัน เปลี่ยนมาใช้ชื่อนิสสันทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย เพื่อลดความสับสนและสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแบรนด์ในทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย", "title": "นิสสัน แฟร์เลดี้ แซด" }, { "docid": "283336#1", "text": "แพตสเตเดียมเริ่มก่อสร้างพร้อมกับการก่อตั้งทีมเมื่อปี 2510 โดยหน้าตาสนามนั้นเดิมเป็นสนามฟุตบอล(ไม่มีลู่วิ่ง) ซึ่งเหมือนสนามทีโอที, ลีโอสเตเดียม และธันเดอร์โดมที่เป็นสนามบอลเก่าแก่ โดยอัฒจันทร์ด้านแรกที่เรียกว่าโซน A สร้างสูงจึงทำให้ไม่ค่อยน่าชมการแข่งขันสักเท่าไหร่ เนื่องจากว่าการก่อสร้างต้องการให้ชั้นล่างเป็นฟิตเนส และห้องนักข่าว", "title": "แพตสเตเดียม" }, { "docid": "805680#0", "text": "สจวร์ต เอ อารอนสัน () เป็นทั้งผู้เขียน และนักชีววิทยาโรคมะเร็งชาวอเมริกัน ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เขาเป็นผู้ประพันธ์ผลงานสิ่งพิมพ์กว่า 500 ชุด และถือครองสิทธิบัตรกว่า 50 รายการ รวมถึงดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านโรคเนื้องอกเจน บี และแจ็ค อาร์ อารอน และเป็นประธานวิทยาโรคมะเร็ง ที่โรงพยาบาลเมานต์ซีนาย ในนครนิวยอร์กจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 เมื่อเขาดำรงตำแหน่งผู้ก่อตั้งแผนกวิทยาโรคมะเร็ง ส่วนประธานวิทยาโรคมะเร็งคนปัจจุบัน คือ รามอน อี พาร์สันส์", "title": "สจวร์ต เอ อารอนสัน" }, { "docid": "42222#13", "text": "ในปัจจุบัน นิสสันประเทศไทยบริหารในนามบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด หรือชื่อเดิม บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด โดยดำเนินธุรกิจจำหน่าย ประกอบรถยนต์นิสสัน ภายใต้การบริหารของนิสสัน มอเตอร์ (ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งถือหุ้นใหญ่ในสยามนิสสัน", "title": "นิสสัน" }, { "docid": "493755#3", "text": "นิสสัน บลูเบิร์ด ซิลฟี รุ่นที่ 1 ผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 ใช้รหัสคือ G10 มีเครื่องยนต์ให้เลือก 4 แบบ มีเครื่องยนต์ 1.5 1.6 1.8 และ 2.0 ลิตร มีชื่อในการส่งออกคือ นิสสัน พัลซาร์ (ประเทศออสเตรเลีย) นิสสัน ซันนี่ (ประเทศไทย, สิงคโปร์, ฮ่องกง และในแถบตะวันออกกลาง) นิสสัน เซนทรา (ประเทศไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) นิสสัน อัลเมรา (ประเทศบรูไน)", "title": "นิสสัน ซิลฟี่" }, { "docid": "492967#0", "text": "แบล็ก แอนนิส () เป็นผีที่มีต้นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ มีลักษณะดวงตากลมโตและขุ่นมัว เหยื่อของแบล็ก แอนนิส คือเด็ก มีความเชื่อว่าถ้ามันเห็นเด็กเมื่อไหร่ มันจะขึ้นไปอยู่บนหน้าอก พร้อมกับดูดเอาลมหายใจ ออกมาจากร่างของเด็กคนนั้น เมื่อลมหายใจหมดแล้ว มันก็จะถลกหนังแล้วกินเนื้อของเด็กผู้เคราะห์ร้ายนั้น", "title": "แบล็ก แอนนิส" }, { "docid": "42222#21", "text": "รถยนต์ซีดาน 4 ประตูขนาดเล็ก นิสสัน ซันนี่ (Nissan Sunny) (รุ่นพัฒนา) นิสสัน ซันนี่ นีโอ (Nissan Sunny Neo) รถยนต์ซีดาน 4 ประตูขนาดเล็ก นิสสัน ทีด้า ลาติโอ (Nissan Tiida Latio) รถยนต์ซีดาน 4 ประตูขนาดกลาง นิสสัน เซฟิโร่ (Nissan Cefiro) รถยนต์ซีดาน 4 ประตูขนาดกลาง นิสสัน บลูเบิร์ด (Nissan Bluebird) รถยนต์ซีดาน 4 ประตูแบบหรูหราระดับต้น นิสสัน พรีเซีย (Nissan Presea) รถยนต์ซีดาน 4 ประตูขนาดใหญ่ นิสสัน เซดริค (Nissan Cedric) รถกระบะขนาดเล็ก นิสสัน เอ็นวี ปิคอัพ (Nissan NV Pickup) รถยนต์นั่งสเตชันแวกอนขนาดเล็ก นิสสัน เอ็นวี (Nissan NV) รถกระบะขนาด 1 ตัน ขนาด 2.5 ลิตร นิสสัน นาวารา (Nissan Navara) รถกระบะขนาด 1 ตัน นิสสัน ฟรอนเทียร์ (Nissan Frontier) รถกระบะขนาด 1 ตัน นิสสัน บิ๊กเอ็ม (Nissan Big-M) รถกระบะขนาด 1 ตัน นิสสัน โพรเฟสชินอล (Nissan Professional) รถยนต์ซีดาน 4 ประตูแบบหรูหราขนาดใหญ่ นิสสัน เพรชิเดนท์ (Nissan President) รถยนต์สปอร์ต 2 ประตูขนาดกลาง นิสสัน ชิลเวีย (Nissan Silvia) รถตู้เพื่อการพาณิชย์ ขนาด 2.5 ลิตร นิสสัน บิ๊ก เออร์แวน (Nissan Big Urvan)", "title": "นิสสัน" }, { "docid": "493755#0", "text": "นิสสัน ซิลฟี่ (Nissan Sylphy) หรือในอดีตเรียกว่า นิสสัน บลูเบิร์ด ซิลฟี (Nissan Bluebird Sylphy) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) ผลิตโดยนิสสัน เริ่มการผลิตใน พ.ศ. 2543 เพื่อทดแทนรถยนต์รุ่นก่อนหน้าคือ นิสสัน ซันนี่ และ นิสสัน บลูเบิร์ด ซึ่งทั้ง 2 รุ่นนี้ได้ยุติการผลิตและการทำตลาดแล้ว ", "title": "นิสสัน ซิลฟี่" }, { "docid": "42222#14", "text": "ในโอกาสที่นิสสันครบรอบ 50 ปีในไทย นิสสันได้ผลิตรถยนต์นิสสันในประเทศไทยเป็นคันที่ 1,000,000 โดยคันที่หนึ่งล้านนี้ คือ นิสสัน เซฟิโร่ (A33) นิสสันได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย", "title": "นิสสัน" } ]
4008
เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย สิ้นพระชนม์หรือยัง ?
[ { "docid": "436325#0", "text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย(29 ธันวาคม พ.ศ. 2386 - 3 มีนาคม/2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459) พระนามเดิมคือ เจ้าหญิงพอลีน เอลิซาเบธ ออตติลี หลุยส์ ซู วีด ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนียโดยเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย พระนางทรงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในด้านวรรณกรรมโดยทรงมีนามปากกาว่า \"คาร์เมน ซิลวา\"(Carmen Sylva) ทรงก่อตั้งองค์กรการกุศลขึ้นมากมาย ชาวโรมาเนียจึงให้พระสมัญญาว่า \"Mama răniților\" และชาวโรมาเนียมักจะเรียกพระนางว่า \"พระราชินีคาร์เมน ซิลวา\" ตามนามปากกาของพระนางมากกว่าเรียกพระนามจริง", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" } ]
[ { "docid": "248270#23", "text": "\"ฉันรักเธอมากเท่าไหน เปเรส สวรรค์วัยเด็กของฉันที่จะหายไป!คุณจะรู้ไหมเกี่ยวกับแสงและเงา,เสียงและกลิ่นไอ เป็นที่แห่งความเหงา! เมื่อเราหายใจในปัจจุบันจะทำให้เราคิดกลับสู่อดีต ที่ซึ่งเป็นที่พักในความฝันและมายา สงสัยดังเช่นบทกวี <หิมะอยู่ที่ไหนในปีกลาย?>\"- ที่มาจากไดอารี่ของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ระหว่างทรงลี้ภัยในฝรั่งเศส \"พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงเป็นกษัตริย์ด้วยการตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เองและไม่แสวงหาผลประโยชน์ พระราชินีมารีได้ขึ้นเป็นพระราชินีด้วยความรัก ความทุ่มเทในโรมาเนีย และทรงมีความเฉลียวฉลาด แต่ก็ไม่มีใครสามารถเป็นครูที่ดีแก่ลูกๆได้ ... เกี่ยวกับคาโรล ทายาทที่ไม่มีใครอยากพูดถึง! ลูกคนที่สอง เอลิซาเบธ ไม่สามารถทำหน้าที่พระราชินีแห่งกรีซรวมทั้งเจ้าหญิงแห่งโรมาเนียได้เต็มที่ เธอมักจบวันนั้นในโรงแรมซึ่งทรงเป็นนักผจญภัยที่เดินทางไปทุกที่ มิกนอล ลูกสาวอีกคนกลับได้รับการยอมรับในฐานะพระราชินีแห่งเซอร์เบีย เพราะมือเหล็กของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งเซอร์เบียและสิ่งแวดล้อมที่เคร่งครัดในเซอร์เบีย แต่มิกนอลได้ลืมเลือนว่าตนเป็นชาวโรมาเนีย มีเพียง 2 คนก่อนเมอร์เชียเท่านั้นคือ นิโคลัสและอีเลียนานับเป็นชาวโรมาเนียที่แท้จริง..\"-ที่มาจากเลขาส่วนตัวของเจ้าชายนิโคลัส", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "911771#0", "text": "เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย (1870-1874) ()\nเจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย (1870-1874) ประสูติเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2413 ณ ประเทศโรมาเนีย ทรงเป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวใน สมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย และ เอลิซาเบธแห่งวีด สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย โดยขณะเจริญพระชันษา 2 พรรษา พระองค์สามารถระบุแผนที่และบอกชื่อประเทศได้โดยเพียงทอดพระเนตรเพียงครั้งเดียว โดยก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงตรัสกับพระราชมารดาว่า\nเจ้าหญิงมาเรีย ทรงไม่มีสิทธิในการขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนีย เนื่องจากต้องเป็นบุรุษเท่านั้นที่ทรงราชย์ได้", "title": "เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย (1870-1874)" }, { "docid": "436325#17", "text": "ในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระราชาธิบดีคาโรลและพระราชินีเอลิซาเบธได้พยายามปรับความสัมพันธ์กันโดยทรงเข้าพระทัยและให้อภัยซึ่งกันและกัน ทั้งสองพระองค์กลายเป็นมิตรที่ดีต่อกันในบั้นปลายพระชนม์ชีพ สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2457 (27 กันยายน พ.ศ. 2457 ตามปฏิทินฉบับเก่า) พระราชนัดดาได้สืบราชสมบัติต่อโดยมีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย พระนางเอลิซาเบธได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระพันปีหลวง พระนางทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางการกุศลอย่างมากมายได้แก่ ทรงก่อตั้งองค์การสงเคราะห์คนตาบอดในพระราชินูปถัมภ์ของพระนางและทรงอุปถัมภ์ศิลปะ การดนตรีและวรรณคดีของโรมาเนีย", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "436325#20", "text": "16. เจ้าชายโยฮันน์ ฟรีดิช อเล็กซานเดอร์แห่งวีด8. เจ้าชายฟรีดิช คาร์ลแห่งวีด17. เบอร์เกรฟวีนแคโรไลน์แห่งเคิร์ชเบิร์ก4. เจ้าชายโยฮันน์ ออกุสต์ คาร์ลแห่งวีด18. ลุดวิก เฟอร์ดินานด์ เคานท์แห่งซายน์-วิตเกนสไตน์-เบอเลเบิร์ก9. เคานท์เตสมารีแห่งซายน์-วิตเกนสไตน์-เบอเลเบิร์ก19. เคานท์เตสเฟรเดอริเกแห่งยีเซนบูร์กและบือดินเง็น2. เจ้าชายเฮอร์มานน์แห่งวีด20. เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งซอล์ม-บราวน์เฟล10. เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งซอล์ม-บราวน์เฟล21. เคานท์เตสโซฟีแห่งซอล์ม-เลาบาร์ช5. เจ้าหญิงโซฟี ออกุสเตแห่งซอล์ม-บราวน์เฟล22. คาร์ล เคานท์แห่งซาล์ม-กลัมบาร์ช11. เคานท์เตสออกุสเต ฟรานซิลกาแห่งซาล์ม-กลัมบาร์ช23. เจ้าหญิงเอลิซาเบธ คริสเทียเนแห่งไลนินเกน1. เอลิซาเบธแห่งวีด สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย24. เจ้าชายชาร์ลส์ คริสเตียนแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก12. เจ้าชายเฟรเดอริค วิลเลียมแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก25. เจ้าหญิงแคโรไลนาแห่งออเรนจ์-นัสเซา6. วิลเฮล์ม ดยุคแห่งนัสเซา26. วิลเฮล์ม จอร์จ เคานท์แห่งซายน์-ฮาเชนบูร์ก เบอร์เกรฟแห่งเคิร์ชเบิร์ก13. เบอร์เกรฟวีนหลุยส์ อิซาเบลแห่งเคิร์ชเบิร์ก27. เจ้าหญิงอิซาเบลลา ออกุสเต รอสแห่งกรีซ์3. เจ้าหญิงมารีแห่งนัสเซา28. เออร์เนสต์ เฟรเดอริคที่ 3 ดยุคแห่งแซ็กซ์-ฮิลด์บูร์กเฮาเซน14. เฟรเดอริค ดยุคแห่งแซ็กซ์-อัลเทนบูร์ก29. เจ้าหญิงเออร์เนสทีนแห่งแซ็กซ์-ไวมาร์7. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งแซ็กซ์-ฮิลด์บูร์กเฮาเซน30. ชาร์ลส์ที่ 2 แกรนด์ดยุคแห่งแม็กเคลนบวร์ก-สเตรลิตช์15. ดัสเชสชาร์ล็อต จอร์จีนแห่งแม็กเคลนบวร์ก-สเตรลิตช์31. แลนด์เกรฟวีนเฟรเดอริเกแห่งเฮสส์-ดาร์มสตัดท์", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "436325#18", "text": "พระนางเอลิซาเบธสิ้นพระชนม์ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 (2 มีนาคม พ.ศ. 2459 ตามปฏิทินฉบับเก่า) ที่ เคอเทีย เดอ อาร์เกส,กรุงบูคาเรสต์,ประเทศโรมาเนีย สิริพระชนมายุ 72 พรรษา ทรงสิ้นพระชนม์ก่อนที่ประเทศโรมาเนียจะประกาศสงครามกับเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียงไม่กี่วัน", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "248270#15", "text": "ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2465 เจ้าหญิงเอลิซาเบธพร้อมพระสวามีได้เสด็จกลับโรมาเนียครั้งแรกหลังจากอภิเษกสมรส ในฤดูใบไม้ผลิ พระองค์ทรงพระประชวรอย่างหนักด้วยไข้ไทฟอยด์ พระราชินีมารีต้องเสด็จไปยังกรีซเพื่อดูแลอาการประชวรของเจ้าหญิง การประชวรครั้งนี้สร้างความทรมานอย่างยาวนานแก่เจ้าหญิง ในฤดูร้อน พระอาการประชวรของเจ้าหญิงได้ทุเลาลงมาก พระองค์ได้เสด็จกลับโรมาเนีย เข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกอย่างเป็นทางการของพระบิดาและพระมารดา ระหว่างทรงประทับอยู่ที่โรมาเนีย ได้เกิดเหตุการณ์ใหญ่ในกรีซคือ สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 ทรงถูกยึดอำนาจในเดือนกันยายน พ.ศ. 2465 และต้องเสด็จออกจากประเทศอีกครั้ง พระองค์ได้สละราชบัลลังก์ เจ้าชายจอร์จ พระโอรสได้ครองราชย์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "436325#12", "text": "ในปีพ.ศ. 2441 จากวิกฤตการขาดรัชทายาทสืบราชสมบัติ สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 จึงทรงรับอุปการะพระนัดดาคือ เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งโฮเฮนโซเลิร์น-ซิกมาริงเง็นเป็นพระโอรสบุญธรรม เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ซึ่งย้ายมายังดินแดนแห่งใหม่ทรงเริ่มสนิทสนมกับหนึ่งในนางสนองพระโอษฐ์ของพระราชินีเอลิซาเบธคือ อีลีนา วาคาเรสคู พระนางเอลิซาเบธทรงสนิทกับวาคาเรสคูด้วยเช่นกันและพระองค์ได้พยายามให้ทั้งคู่ชอบพอกันถึงแม้ว่าพระนางจะทราบว่าการอภิเษกสมรสของทั้งคู่จะเป็นข้อห้ามในรัฐธรรมนูญโรมาเนีย(ในรัฐธรรมนูญโรมาเนียฉบับปีพ.ศ. 2409 บัญญัติไว้ว่าองค์รัชทายาทห้ามอภิเษกสมรสกับชาวโรมาเนีย)", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "248270#12", "text": "สงครามโลกครั้งที่ 1 ประทุขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2457 ทำให้การอภิเษกสมรสในกาลข้างหน้าของเจ้าหญิงยุ่งยากขึ้น จุดจบของการนองเลือดในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2461 พระราชวงศ์ได้เสด็จกลับบูคาเรสต์ซึ่งสงบจากสงครามแล้ว พระราชินีมารีทรงตระเตรียมในการหาพระสวามีให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธและพระชายาให้เจ้าชายคาโรล ในปีพ.ศ. 2463 พระราชินีมารีและพระธิดาได้เสด็จไปพักผ่อนที่ลูกาโน เพื่อไปเสด็จเยี่ยมพระมารดาและพระขนิษฐา พระราชินีมารีออกเดินทางไปพร้อมกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ทรงวางแผนที่จะให้เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอิตาลี[7] ผู้ซึ่งทางพระราชวงศ์ได้ตระเตรียมการสมรสแล้ว แต่การพบปะก็ล้มเหลว เจ้าหญิงเสด็จกลับไปที่สวิตเซอร์แลนด์ ในตอนนั้นเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซตกอยู่ในภาวะลำบาก เนื่องจากพระราชวงศ์ถูกเนรเทศจากกรีซในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และพระราชวงศ์อยู่ระหว่างการลี้ภัย เพราะหลังจากสงครามมีหลายประเทศที่ประกาศล้มล้างระบอบกษัตริย์ พวกต่อต้านราชวงศ์มีกำลังกล้าแข็งขึ้น ดังนั้นการสมรสของพระธิดากับพระราชวงศ์ที่ยังเหลืออยู่ในยุโรปเป็นที่ยากยิ่งสำหรับพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย เจ้าหญิงเอลิซาเบธตอบตกลงในการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซในขณะที่มีการจัดเตรียมพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์กกับเจ้าชายคาโรลพระเชษฐา ในการตอบตกลงครั้งนี้เจ้าหญิงเอลิซาเบธยังทรงลังเลพระทัย เจ้าหญิงทรงเขียนบัทึกลับว่า \"ตอนนี้ฉันอายุ 26 ปีและฉันรู้สึกหนักใจ เบื่อในความหวังและความคิดที่ผิดที่ยังคงมาไม่ถึง!\" ด้วยแรงกดดันจากพระราชวงศ์เจ้าหญิงเอลิซาเบธต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2463 สมเด็จพระราชินีมารีทรงบันทึกไว้ว่า \"วันนี้ช่างเป็นวันที่เสียอารมณ์จริงๆ กว่าเอลิซาเบธจะยอมรับการหมั้นอย่างเป็นทางการ... เธอมีความคิดแปลกคือไม่ได้ประทับใจในเจ้าชายจอร์จ เธอไม่ได้มีความรู้สึกที่ดีต่อเจ้าชายจอร์จและเธอคิดว่าการแต่งงานนี้จะทำให้ไม่มีความสุข แต่เธอบอกว่าไม่มีวันที่จะยกเลิกงานหมั้น เนื่องจากเธอมีมุมมองที่ต่างจากนั้นและเธอรู้ว่าอายุเท่านี้เธอควรจะแต่งงานได้แล้ว หลังอาหารกลางวันเธอรู้สึกเศร้ามากทั้งๆที่วันนั้นเป็นวันดี แต่แหมฉันจะได้เห็นการเรียนรู้ต่อไปในชีวิตเธอด้วยเธอเอง!\"[8]", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "436325#6", "text": "พระนางทรงใช้นามปากกา \"คาร์เมน ซิลวา\" พระนางทรงพระนิพนธ์โดยใช้ภาษาเยอรมัน,ภาษาโรมาเนีย,ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ ส่วนหนึ่งของงานพระราชนิพนธ์ของพระนางซึ่งมีมากมายที่ซึ่งรวมทั้งบทกลอน,บทละคร,นวนิยาย,เรื่องสั้น,บทความ,คติพจน์ต่างๆ เป็นต้น ได้ถูกคัดเลือกและได้รับการกล่าวถึงอย่างเป็นพิเศษได้แก่", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "248270#11", "text": "ในปีพ.ศ. 2454 ในวันพระราชสมภพของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระองค์ทรงได้พบปะกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ พระโอรสองค์โตในสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ ราชวงศ์กรีซตอบรับคำเชิญของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ให้เสด็จเยือนโรมาเนียที่กรุงบูคาเรสต์ การพบปะกับเจ้าชายชาวกรีซครั้งแรก เจ้าหญิงทรงปฏิเสธข้อเสนอในการสมรส ซึ่งทำให้ทุกพระราชวงศ์ต่างประหลาดใจ เพราะเจ้าหญิงยังทรงศึกษาอยู่ ก่อนปีพ.ศ. 2457 เจ้าชายจอร์จทรงขอเจ้าหญิงเอลิซาเบธสมรสอีกครั้ง แต่ก็ได้รับการตอบปฏิเสธจากพระองค์เช่นเดิม ซึ่งตอนนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงปฏิเสธจากคำแนะนำของพระอัยยิกา พระนางคาร์เมน ซิลเวีย(อดีตพระราชินีเอลิซาเบธ) ที่ไม่ประสงค์ให้เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ เนื่องจากทรงเชื่อว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธจะสามารถพบพระสวามีที่ดีสำหรับเธอได้ด้วยพระองค์เอง[6]", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "436325#14", "text": "ค่อนข้างที่จะไม่ปกติสำหรับผู้ดำรงเป็นสมเด็จพระราชินี พระนางเอลิซาเบธมีพระบุคลิกและทั้ศนคติโน้มไปทางสาธารณรัฐนิยมมากกว่าระบอบกษัตริย์ ซึ่งเป็นทัศนคติที่ทรงบันทึกอย่างตรงไปตรงมาในพระอนุทินหรือบันทึกส่วนพระองค์ อย่างไรก็ตามพระนางก็มิได้เผยแพร่ทัศนคตินี้สู่สาธารณะ โดยทรงบันทึกว่า", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "436325#13", "text": "จากกรณีอื้อฉาวนี้ทำให้เกิดการต่อต้านจากสภาและส่งผลให้พระนางเอลิซาเบธจำต้องเสด็จลี้ภัยไปยังเนาวีด ส่วนอีลีนา วาคาเรสคูต้องลี้ภัยไปยังปารีส ตลอดจนการเสด็จประพาสประเทศต่างๆทั่งยุโรปของเจ้าชายเฟอร์ดินานด์เพื่อแสวงหาพระชายาในอนาคต และพระองค์ก็ได้พบกับเจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร หลังจากการอภิเษกสมรสพระนางเอลิซาเบธจึงได้รับอนุญาตให้เสด็จกลับโรมาเนีย จากกรณีครั้งนี้ส่งผลช่วยให้บุคคลทั่วไปบรรยายถึงพระนางเอลิซาเบธว่ามีพระบุคลิกช่างฝันและชอบฝ่าฝืนกฎเกณฑ์", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "436325#2", "text": "เมื่อมีพระชนมายุ 16 ชันษา เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงถูกพิจารณาให้อภิเษกสมรสกับ<b data-parsoid='{\"dsr\":[2756,2777,3,3]}'>เจ้าชายเบอร์ตี้ หรืออัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ ซึ่งในเวลาต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร พระราชมารดาของเจ้าชายคือสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร พระนางได้พยายามสนับสนุนให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระสุณิสาและทรงเร่งให้เจ้าหญิงวิกกี้หรือเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารีดูแลเจ้าหญิง [1] เจ้าหญิงเอลิซาเบธถูกเรียกมาประทับที่ราชสำนักเบอร์ลิน ที่ซึ่งพระบิดามารดาของเจ้าหญิงทรงหวังให้เจ้าหญิงถูกอบรมด้านมารยาทต่างๆในราชสำนักเบอร์ลินเพื่อเตรียมการอภิเษกสมรส เจ้าหญิงวิกกี้ทรงตอบกับข้าราชสำนักว่า \"ฉันไม่คิดว่าเธอจะมีรูปลักษณ์ที่โดดเด่นและนั่นเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับรสนิยมของเบอร์ตี้อย่างแน่นอน\" ในขณะที่เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์กมีพระวรกายสูงโปร่งและผอมเพรียวซึ่งลักษณะเหล่านี้\"เป็นลักษณะที่เบอร์ตี้ชื่นชอบมาก\"[1] เจ้าชายเบอร์ตี้ทรงถูกทำให้พบเห็นพระฉายาลักษณ์ของเจ้าหญิงเอลิซาเบธแต่พระองค์ได้ถือพระฉายาลักษณ์เฉยๆและวางลงโดยทรงชำเลืองมองเพียงสองครั้ง[2] ในที่สุดเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์กจึงถูกเลือกให้เป็นพระชายาของเจ้าชายเบอร์ตี้", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "239459#29", "text": "ในปีค.ศ. 1920 เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระธิดาองค์โตของพระนางมารี ทรงหมั้นกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ พระโอรสองค์โตในสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซกับอดีตสมเด็จพระราชินีโซเฟีย พระญาติของพระนางมารี ซึ่งทรงถูกถอดถอนจากราชบัลลังก์กรีซ หลังจากที่พระนางทรงเชิญเจ้าชายจอร์จพร้อมพระขนิษฐาทั้งสองพระองค์คือ เจ้าหญิงเฮเลนและเจ้าหญิงไอรีน มาร่วมประทับพร้อมกับพระนางที่ซินายอา พระนางมารีทรงจัดการกิจกรรมต่างๆมากมายแก่คู่หนุ่มสาวทั้งสองและทรงยินดีอย่างมากที่จะทรงอภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระนางตามที่ทรงคาดหมายไว้แล้ว ซึ่งพระธิดาของพระนางเองนั้นมีข้อด่างพร้อยอย่างรุนแรง ในเดือนตุลาคม มีรายงานข่าวจากกรีซเกี่ยวกับการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์แห่งกรีซ ซึ่งเจ้าหญิงกรีซต้องรีบเสด็จกลับไปพบพระบิดาและพระมารดาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในวันถัดมา มีข่าวแจ้งว่า พระมารดาของพระนางมารีได้สิ้นพระชนม์แล้วอย่างสงบที่ซูริก[117] พระนางมารีทรงเตรียมการเดินทางไปยังสวิตเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งพระนางจะทรงพาเจ้าหญิงเฮเลนและเจ้าหญิงไอรีนไปพบพระบิดาและพระมารดาของทั้งสองพระองค์ได้และเข้าร่วมพิธีฝังพระศพพระมารดาของพระนาง ในขณะที่เจ้าชายจอร์จและเจ้าหญิงเอลิซาเบธยังคงประทับอยู่ที่ซินายอา[118]", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "248270#0", "text": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ (12 ตุลาคม พ.ศ. 2437 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระนามเต็ม: เอลิซาเบธ ชาร์ล็อต โจเซฟีน อเล็กซานดรา วิกตอเรีย) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ พระนางเป็นพระธิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียกับเจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "248270#21", "text": "เหล่าคอมมิวนิสต์มีอำนาตเต็มหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาได้พยายามต่อต้านประเทศที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์และสาธารณรัฐและพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นคอมมิวนิสต์ และปัญหานี้ยังคงยืดเยื้อในโรมาเนีย สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนียทรงถูกบังคับให้ลงนามสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2490 พระราชวงศ์ทุกพระองค์ต้องเสด็จออกจากแผ่นดินโรมาเนีย ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 รถไฟพระที่นั่งที่ซึ่งมีพระราชาธิบดีไมเคิล,สมเด็จพระราชชนนีเฮเลนและเจ้าหญิงอีเลียนา มุ่งหน้าสู่บันล็อก บนชานชลาไม้ของบันล็อก มีสตรี 3 คนรออยู่ซึ่งก็คือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อดีตพระราชินีแห่งกรีซ พร้อมทั้งนางสนองโอษฐ์อีก 2 คน ทั้ง 3 ยืนรอด้วยความหนาวเย็นพร้อมสัมภาระส่วนพระองค์ แต่หลังจากทรงขึ้นรถไฟได้ไม่นาน พระองค์ทรงระลึกถึงความทรงจำที่ตรึงในจิตใจอยู่เบื้องหลัง ประเทศนี้เป็นที่ที่พระองค์ทรงเจริญพระชันษา ที่ที่ประทับอยู่ทั้งสุขและทุกข์ พระองค์ทรงรู้สึกว่าจะต้องแยกจากที่แห่งนี้อีกตลอดกาลโดยทรงทราบว่าพระชนม์ชีพจะอยู่ไม่ถึง 10 ปี [12] หลังจากใช้เวลาอันสั้นประทับร่วมกับพระราชวงศ์ในเยอรมนี ที่ซิกมารินเกน เจ้าหญิงเสด็จไปประทับที่เมืองคานส์ ซึ่งทรงเช่าอพาร์ทเมนต์ ทรงใช้พระชนม์ชีพบั้นปลายด้วยการเล่นเปียโน เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อดีตพระราชินีแห่งกรีซทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 สิริพระชนมายุ 62 พรรษา พระศพถูกฝังที่เฟรนซ์ รีเวียรา", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "436325#10", "text": "รวมทั้งผลงานการแปลของ\"คาร์เมน ซิลวา\" ได้แก่", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "230486#9", "text": "ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2491 พิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นภายในห้องราชบัลลังก์ของพระราชวังหลวง ที่นั้นพิธีกระทำโดยอาร์คบิชอป ดามาสกินอส และสมเด็จพระราชาธิบดีพอลที่ 1 แห่งกรีซทรงเป็นผู้จัดพิธี สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียผู้ซึ่งเป็นพระบิดาของพระราชาธิบดีไมเคิล และพระขนิษฐาของสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรล ได้แก่ เจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย และ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนียทรงได้รับการแจ้งให้ทราบแต่ทรงไม่ได้รับเชิญ หนึ่งในเพื่อนเจ้าสาวในครั้งนั้นคือ เจ้าหญิงโซเฟียแห่งกรีซ ผู้ซึ่งเป็นเจ้าหญิงออร์โธด็อกซ์ซึ่งในที่สุดทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนซึ่งเป็นโรมันคาทอลิกและต่อมาทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสเปน", "title": "สมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "248270#6", "text": "ในฤดูร้อน พ.ศ. 2459 เมื่อโรมาเนียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้พระราชวงศ์และคณะรัฐบาล ถูกบังคับให้ลี้ภัยไปยังเมือง อาซิ เมื่อเยอรมนียึดครองโรมาเนีย ต่อมา 2 ปี พระองค์ต้องลี้ภัยไปยังประเทศมอลโดวา ที่นั่นพระองค์ต้องพำนักที่บ้านในบิคาซ โดยพระราชินีมารี พระมารดาพร้อมกับพระขนิษฐาทั้ง 2 ของพระองค์คือ เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนียและเจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย ได้ประกอบพระกรณียกิจด้านการพยาบาล", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "248270#19", "text": "ไม่กี่ปีหลังจากขึ้นครองราชบัลลังก์โรมาเนีย ในปีพ.ศ. 2473 สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียผู้เป็นพระเชษฐาของพระองค์ ทรงกระทำการอันน่าแปลกใจ คือทรงสร้างพระราชวังขนาดเล็กและสวยงามแก่เจ้าหญิงเอลิซาเบธบนฝั่งทะเลสาบเฮราสทรู รู้จักกันในนาม พระราชวังเอลิซาเบตาและต่อมาจะเป็นที่ที่พระนัดดาของเจ้าหญิงคือ สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย ทรงถูกยึดอำนาจโดย เปทรู กรอซาและจอร์เก จอร์จิอู-เด็จ ทรงถูกบังคับให้ลงพระนามสละราชบัลลังก์ และปัจจุบันที่นี้คือที่ประทับของพระราชวงศ์โรมาเนีย ตอนแรกเจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงประทับที่นี่แต่เสด็จออกไปประทับเพียงลำพัง โดยทรงไปเล่นกอล์ฟเมื่อยามว่าง", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "248270#8", "text": "ด้วยความงดงามของเจ้าหญิง ทำให้ต้องมีคู่ครองซึ่งทำให้เจ้าหญิงทรงขัดแย้งกับพระราชินีมารี เนื่องจากพระนางประสงค์ให้พระธิดาของพระนางสมรสกับเจ้าชายรัชทายาทองค์ใดองค์หนึ่งในประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่าน ในปีพ.ศ. 2466 การแบ็ฟติสท์พระโอรสองค์แรกของพระขนิษฐาของพระองค์ที่เบลเกรด ได้มีข่าวลือว่าสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย ผู้เป็นพระสวามีในพระขนิษฐา ได้เกี้ยวพาราสีเจ้าหญิงเอลิซาเบธ เมื่อพระราชินีมารีทรงทราบ พระนางได้ให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธเสด็จกลับบูคาเรสต์ในทันที นับเป็นเรื่องอื้อฉาวเรื่องแรกของพระองค์[3]", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "436325#19", "text": "29 ธันวาคม พ.ศ. 2386 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412: เจ้าหญิงพอลีน เอลิซาเบธแห่งวีด 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2424: เจ้าหญิงแห่งสหพันธ์ราชรัฐ พระชายาในองค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนีย 26 มีนาคม พ.ศ. 2424 - 27 กันยายน พ.ศ. 2457: สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย 27 กันยายน พ.ศ. 2457 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2459: สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งโรมาเนีย", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "436325#1", "text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งวีดประสูติที่ปราสาทชลูส์ มองเรปอส เมืองเนาวีด ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2386 เป็นพระราชธิดาองค์โตในเจ้าชายเฮอร์มันด์ เจ้าชายแห่งเวดส์กับเจ้าหญิงมารีแห่งนัสเซา เจ้าหญิงมารี พระมารดาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระราชธิดาในวิลเฮล์ม ดยุคแห่งนัสเซากับเจ้าหญิงหลุยส์แห่งแซ็กซ์-ฮิลด์บูร์กเฮาเซน เจ้าหญิงมารีทรงมีศักดิ์เป็นพระขนิษฐาในแกรนด์ดยุกอดอล์ฟแห่งลักเซมเบิร์กและเป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสวีเดนและนอร์เวย์ เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงสนพระทัยในการศึกษาด้านศิลปะ เมื่อทรงพระเยาว์เจ้าหญิงเอลิซาเบธมีพระอุปนิสัยที่สุภาพเรียบร้อยและเสด็จเยี่ยมสถานสงเคราะห์คนวิกลจริตในท้องถิ่นบ่อยๆ", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "436325#3", "text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงพบกับ<b data-parsoid='{\"dsr\":[3910,3989,3,3]}'>เจ้าชายคาร์ล เอเทล ฟรีดิช เซฟีรินัส ลุดวิกแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น</b>ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย ณ กรุงเบอร์ลิน ในปีพ.ศ. 2404 และได้อภิเษกสมรสกับพระองค์ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412 ที่เมืองเนาวีด การอภิเษกสมรสครั้งนี้เป็นหนึ่งในการอภิเษกสมรสที่ไม่เหมาะสมที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยที่เจ้าชายคาโรลมีพระบุคลิกที่สุขุม เยือกเย็นและรอบคอบ ในขณะที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธมีพระบุคลิกช่างฝันและทรงแสดงออกอย่างเปิดเผย มีพระราชธิดาร่วมกันหนึ่งพระองค์คือ เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย ซึ่งสิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุเพียง 3 ชันษาด้วยโรคไข้ดำแดง เจ้าหญิงเอลิซาเบธเสียพระทัยอย่างหนักในการสูญเสียพระราชธิดาทรงผลให้เกิดแผลในจิตใจตลอดพระชนม์ชีพ พระนางทรงกันแสงทุกคืนและส่งผลให้ทั้งสองพระองค์ทรงห่างเหินกันมากขึ้นเนื่องจากต่างโทษกันและกันว่าเป็นต้นเหตุให้พระธิดาสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลทรงได้รับการกล่าวถึงพระอุปนิสัยที่เยือกเย็น พระองค์ทรงยึดมั่นอย่างถาวรในเกียรติยศของพระราชวงศ์ที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้น พระนางเอลิซาเบธทรงกล่าวว่า \"พระองค์ทรงสวมมงกุฎแม้กระทั่งทรงพระบรรทม\"", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "248270#2", "text": "ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2437 เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระชายาในมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์แห่งโรมาเนียมีพระประสูติกาลพระธิดาที่ปราสาทเปเรส เจ้าหญิงมีพระนามว่า เอลิซาเบธหรือเอลิซาเวตา ซึ่งมีพระนามตามพระปิตุจฉาของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงใช้พระชนมชีพในช่วงต้นที่ปราสาทเปเรส เมืองซินายอา ที่ซึ่งมกุฎราชกุมาร ผู้เป็นพระบิดาทรงพำนักอยู่ ในหนังสือ The Story of My Life พระนิพนธ์ในพระราชินีมารี(เจ้าหญิงมารี) ผู้เป็นพระมารดาทรงบันทึกไว้ว่า \"เธอมีผิวที่ขาวดุจดังน้ำนมและมีตาโตสีเขียว มักจะตื่นตกใจกลัวง่าย รักที่จะเก็บและวัดดอกไม้ แต่ในตอนแรกเธอเป็นคนเงียบๆแต่ก็บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับดอกลิลลี่และดอกรักเร่ ดอกใหญ่ ริมสระน้ำ ในตอนอยู่ที่ที่จอดรถใกล้ปราสาท รถม้ากำลังออกตัว ฉันรู้สึกประหลาดใจมากเมื่อเธอได้เล่าเรื่องความฝันของเธอและบอกว่าเธอมีเพื่อนเป็นนางฟ้า ทำให้ฉันรู้สึกว่าเด็กคนนี้ของฉันมีความคิดที่ฉันคาดไม่ถึง\" เนื่องจากเจ้าหญิงมารีในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา และเจ้าหญิงเอลิซาเบธกับเจ้าชายคาโรลพระเชษฐาของพระองค์ได้รับการศึกษาร่วมกัน พระราชินีเอลิซาเบธทรงปลูกฝังพระองค์ให้รักศิลปะ", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "248270#10", "text": "เจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย พระขนิษฐาของเธอซึ่งเป็นพระธิดาลับของพระราชินีมารี ผู้อื้อฉาวกับบาร์บู สเตอบีย์ เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงไม่สงสารพระขนิษฐาซึ่งประสูติท่ามกลางความอื้อฉาวของพระมารดาแต่กลับล้อเลียนเจ้าหญิงอีเลียนาเสมอ คอนสแตนติน อากโทรเอียนนูได้เรียบเรียงเหตุการณ์จากความทรงจำว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงกล่าวกับเจ้าหญิงอีเลียนาว่า \"อีเลียนามาที่หน้าต่างเร็วเข้า มาดูพ่อของเธอ\" ซึ่งบาร์บู สเตอบีย์ได้ออกจากรถพอดี[5]", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "436325#4", "text": "ในสงครามรัสเซีย-ตุรกี(1877 - 1878) พระนางเอลิซาเบธทรงอุทิศพระองค์เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและทรงตั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งเอลิซาเบธ(ไม้กางเขนสีทองบนริบบิ้นสีน้ำเงิน)เพื่อเป็นรางวัลและเกียรติแก่การบริการด้านต่างๆ พระนางทรงอุปถัมภ์การให้การศึกษาในระดับที่สูงแก่สตรีชาวโรมาเนีย และทรงก่อตั้งสมาคมการกุศลต่างๆ", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "911771#1", "text": "ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2474 เจ้าหญิงมาเรียทรงประชวรด้วยไข้หวัดอีดำอีแดง ซึ่งระบาดมากในเมือง บูคาเรสต์ ทำให้มีประชากรล้มตายเป็นจำนวนมาก โดยพระองค์ถูกนำส่งไปที่ประสาทเพลส โดยได้รับการถวายพระโอสถจากนายแพทย์ทีโอดอร์และคณะแพทย์คนอื่นๆอีกมากมาย แต่พระอาการก็ไม่ดีขึ้นและสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2417 สร้างความเสียพระราชหฤทัยอันใหญ่หลวงสู่พระราชบิดาและพระราชมารดารวมทั้งประชาชนโรมาเนียเป็นอย่างมาก โดยพระศพของเจ้าหญิงมาเรียถูกฝังไว้ ณ วิหารคอร์เนีย ตามพระราชประสงค์ของพระราชมารดา โดย เอลิซาเบธแห่งวีด สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย มีพระราชดำรัสถึงพระราชธิดาเป็นครั้งสุดท้ายว่า", "title": "เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย (1870-1874)" }, { "docid": "436325#22", "text": "หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2386 หมวดหมู่:ราชินีแห่งโรมาเนีย หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐไรน์ลันด์-พฟัลซ์ อ อ หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมาเนีย อ หมวดหมู่:ชาวโรมาเนียเชื้อสายเยอรมัน หมวดหมู่:สมเด็จพระราชินี", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" } ]
4009
เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ?
[ { "docid": "230186#0", "text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (เดิม: บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด) เป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ ให้กับช่องวัน และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีช่องวันในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จาก กสทช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิง จำกัด โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ กลุ่มของนายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประกอบไปด้วย ถกลเกียรติ วีรวรรณ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด และบริษัท วัน ทำ ดี จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วน 51% ต่อ 49% ด้วยทุนจดทะเบียน 900,000,000 บาท ภายหลังได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,275,000,000 บาท และได้บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด บริษัทในกลุ่มปราสาททองโอสถ ของ ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ มาร่วมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3,810,000,000 บาท", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" } ]
[ { "docid": "530029#3", "text": "และครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2562 ทางช่องวัน เตรียมนำกลับมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกครั้ง สร้างโดยบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด อยู่ในระหว่างการเตรียมงาน", "title": "บ้านสอยดาว" }, { "docid": "5152#20", "text": "หมวดหมู่:เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ หมวดหมู่:ละครโทรทัศน์ไทย หมวดหมู่:ซิตคอมไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่องวัน หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2559", "title": "1" }, { "docid": "280834#5", "text": "หลังการประมูล จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิ้ง จำกัด โดยบริษัทถือหุ้นจดทะเบียน 100% หลังก่อตั้ง บริษัทฯ ได้แยก เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ และมีมิติ ออกจากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย และรวมเข้ากับ จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิ้ง ภายหลังบริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ใน พ.ศ. 2559", "title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" }, { "docid": "823616#0", "text": "ทาสรักทระนง เป็นละครโทรทัศน์ประเภทละครชุด ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด อำนวยการผลิตโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ นิพนธ์ ผิวเณร เป็นรีบูตของละครเรื่อง คนละขอบฟ้า เมื่อปี พ.ศ. 2559 มีตอนย่อยซึ่งเป็นภาคต่อเนื่องของละคร คนละขอบฟ้า เมื่อ พ.ศ. 2530 ", "title": "ทาสรักทระนง" }, { "docid": "837744#0", "text": "นั่งติดผี The Shock on TV เป็นรายการที่นำเสนอในเรื่องราวของสิ่งเหนือธรรมชาติ ผี วิญญาณ และเรื่องราวชีวิตก่อนและหลังความตาย ผลิตรายการโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด", "title": "นั่งติดผี The Shock on TV" }, { "docid": "230186#8", "text": "รายชื่อละครโทรทัศน์ของเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ถกลเกียรติ วีรวรรณ เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "906752#0", "text": "บ้านสราญแลนด์ เป็นละครโทรทัศน์ประเภทซิตคอม (Situation Comedy) สร้างโดย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นเรื่องราวความอลวนของ 4 ครอบครัวพร้อมก๊วนเพื่อนบ้านตัวจี๊ดที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ชื่อว่า \"บ้านสราญแลนด์\" ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี หลัง ยุทธจักรนักร้อง ทางช่องวัน เวลา 19.00 - 19.55 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกในวันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 ", "title": "บ้านสราญแลนด์" }, { "docid": "247245#0", "text": "สิรีภรณ์ ยุกตะทัต (ชื่อเล่น: แอริน; เกิด: 22 มิถุนายน พ.ศ. 2532) เป็นนักแสดงหญิงชาวไทย และเป็นนักแสดงของค่าย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ", "title": "สิรีภรณ์ ยุกตะทัต" }, { "docid": "280834#7", "text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดย ซีเนริโอ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตละครเวทีชั้นนำของประเทศไทย โดยบริษัทฯ เป็นผู้บริหารโรงละครบอรดเวย์ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ร่วมกับเมืองไทยประกันชีวิต และธนาคารไทยพาณิชย์ และยังเป็นผู้พัฒนาละครเวทีหลากหลายเรื่องดังนี้บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดย บริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด เป็นผู้บริหารสตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ขนาดใหญ่ในตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ภายใต้ชื่อ แอ็กซ์ สตูดิโอ ปัจจุบันสตูดิโอดังกล่าวเป็นสตูดิโอถ่ายทำรายการหลักของทั้งช่องวัน 31 และ จีเอ็มเอ็ม 25", "title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" }, { "docid": "834169#0", "text": "รายการ ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ ฤดูกาลที่ 1 เป็นรายการเกมโชว์การแข่งขันเพลงลูกทุ่ง โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.20 - 20.20 น.ทาง ช่องวัน เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท มีมิติ จำกัด ผู้ดำเนินรายการ ภคชนก์ โวอ่อนศรี (แฟรงค์)", "title": "ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ ฤดูกาลที่ 1" }, { "docid": "624877#0", "text": "เจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์ (2 เมษายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น เจษ เป็นนักแสดงชาวไทยจากค่าย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ (เดิม: เอ็กแซ็กท์) ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีชื่อเสียงจากรับบท พ่อเทพจากละคร \"เรือนเสน่หา\", สุธาวีจากละคร \"จ้าวพายุ\", คิวจากละคร \"สงครามนางงาม\", ศตายุจาก ละคร \"เล่ห์รตี\", ปานเทพจาก ละคร \"บัลลังก์เมฆ\", เชษฐาจาก ละคร \"พิษสวาท\"", "title": "เจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์" }, { "docid": "894934#0", "text": "รายการ ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.20 - 20.20 น.ทาง ช่องวัน เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท มีมิติ จำกัด ผู้ดำเนินรายการ ภคชนก์ โวอ่อนศรี (แฟรงค์)", "title": "ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕" }, { "docid": "964721#0", "text": "วิมานจอเงิน เป็นละครโทรทัศน์แนวเมโลดราม่า ผลิตโดย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ และ อันดา อดัมส์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (Anda Adams Enterprise) กำกับการแสดงโดย อรรถพร ธีมากร นำแสดงโดย ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง, คัทลียา แมคอินทอช, สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์, เจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์, นัตยา ทองเสน, ลัลณ์ลลิน เตจะสา เวศซ์, ชลวิทย์ มีทองคำ, ชิตณรงค์ วิเศษสมภาคย์ ออกอากาศทุก วันจันทร์ - วันอังคาร เวลา 20.10 - 21.30 น. และวันพุธ - วันพฤหัสบดี เวลา 20.10 - 21.20 น. ทางช่องวัน และออกอากาศย้อนหลังเวลา 22.00 น. ทางแอปพลิเคชันไลน์ทีวี เริ่มตอนแรกวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561 – 18 กันยายน พ.ศ. 2561 ต่อจากเรื่องบางกอกนฤมิต", "title": "วิมานจอเงิน" }, { "docid": "969192#23", "text": "หมวดหมู่:เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ หมวดหมู่:จีดีเอช ห้าห้าเก้า หมวดหมู่:ละครโทรทัศน์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่องวัน หมวดหมู่:ละครที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2561 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2561 หมวดหมู่:ละครโทรทัศน์ไทยที่ออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2561 หมวดหมู่:ละครแนวครอบครัว", "title": "เลือดข้นคนจาง" }, { "docid": "848564#0", "text": "ท็อป เชฟ ไทยแลนด์ หรือ Top Chef Thailand เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีเกมโชว์แข่งขันทำอาหาร ที่ผลิตโดยบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท มีมิติ จำกัด เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 20.20 น. - 21.50 น. ทางช่องวัน (ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิตอลหมายเลข 31) ดำเนินรายการโดย แบม-ปิติภัทร คูตระกูล", "title": "ท็อปเชฟไทยแลนด์" }, { "docid": "230186#1", "text": "ในยุคเริ่มแรก ถกลเกียรติ วีรวรรณ หนึ่งในกรรมการบริษัทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และควบตำแหน่งทั้งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ และผู้จัดการทั่วไป โดยรับจ้างผลิตละคร เกมโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เพื่อป้อนลงสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งเริ่มจัดตั้งบริษัทในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และเริ่มออกอากาศละครซิตคอม เรื่อง \"3 หนุ่ม 3 มุม\" เป็นรายการแรกของบริษัท ต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 ได้สร้างละครดราม่าเรื่องแรกของบริษัทเรื่อง รักในรอยแค้น และในปี พ.ศ. 2546 ถกลเกียรติ ได้ก่อตั้ง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด โดยถือหุ้นเอง 75% และให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ถือหุ้น 25% โดยมีจุดประสงค์เดียวกับเอ็กแซ็กท์ คือเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ และละครเวที เพื่อป้อนลงช่องต่าง ๆ ตลอดมา", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "821433#0", "text": "เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ เป็นละครพิเศษเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งในปี พ.ศ. 2559 ละครซีรีส์ชุด \"เราเกิดในรัชกาลที่ ๙\" นั้นสร้างเป็นละครเพื่อเป็นการแสดงความความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรของสถานีโทรทัศน์ช่องวัน ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด", "title": "เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์" }, { "docid": "230186#3", "text": "ข้อมูล ณ วันที่ 17 เมษายน 2560 [1]", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "851262#0", "text": "หาคู่ DUET เป็นการประกวดร้องเพลงในแนวเรียลลิตี้สร้างฝันครั้งแรกในประเทศไทย ที่คนธรรมดาได้ Duet กับศิลปินขั้นเทพ ซึ่งผู้ชนะจะได้ออก Single ใหม่ร่วมกับ 4 นักร้อง จัดทำครั้งแรกโดยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ออกฉายครั้งแรกทางช่องวัน ", "title": "หาคู่ DUET" }, { "docid": "289604#7", "text": "ปี พ.ศ. 2554 รุ่งธรรมได้ร่วมทุนกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด ก่อตั้ง บริษัท มีมิติ จำกัด ขึ้น มีจุดประสงค์ที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ให้กับวงการโทรทัศน์ไทย โดยเฉพาะรายการประเภทเกมโชว์ ควิซโชว์ และเรียลลิตี้ ปัจจุบัน มีมิติ เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด", "title": "รุ่งธรรม พุ่มสีนิล" }, { "docid": "990408#0", "text": "หน้ากากแก้ว เป็นละครโทรทัศน์แนว โมเดิร์นดราม่า-ทริลเลอร์ ผลิตโดยบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ร่วมกับ วอนจิน สถาบันเสริมความงามจากประเทศเกาหลี สร้างจากเค้าโครงเรื่องโดย นิพนธ์ ผิวเณร, ศกุนกานต์ เวชชาชีวะ, วรรณพัทธ ตระกูลทอง ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 ทางช่องวัน หน้ากากแก้วออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 20.45 น. และวันเสาร์ เวลา 20.10 น.", "title": "หน้ากากแก้ว (ละครโทรทัศน์)" }, { "docid": "929861#0", "text": "นรภัทร วิไลพันธุ์ ชื่อเล่น ไบร์ท เป็น นักแสดงชาวไทย สังกัด เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ผลงานเด่นที่ทำให้เป็นที่รู้จักก็คือ ชิตตะวัน จากละครเรื่อง ดอกแก้วกาหลง ไบร์ทยังจัดว่าเป็นน้องใหม่ของวงการบันเทิง เนื่องจากเพิ่งเริ่มมีผลงานละครได้ไม่นาน", "title": "นรภัทร วิไลพันธุ์" }, { "docid": "821057#0", "text": "นางสาวไม่จำกัดนามสกุล เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก คอเมดี้ ดราม่า โดย เอ็กแซ็กท์ (เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ในปัจจุบัน) ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์แล้ว 2 ครั้ง ", "title": "นางสาวไม่จำกัดนามสกุล" }, { "docid": "280834#3", "text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เป็นบริษัทบริหารสถานีโทรทัศน์ ผลิตสื่อ และบริหารนักแสดง บริหารงานโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ และมี บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท", "title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" }, { "docid": "966393#0", "text": "บาปรัก เป็นละครโทรทัศน์แนวดราม่า โดย เอ็กแซ็กท์ (เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ในปัจจุบัน) เค้าโครงเรื่องโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ, กษิดินทร์ แสงวงศ์ เป็นเรื่องราวความรักบนความไม่ถูกต้องของคนสามคน โดยมีแกนกลางเป็นหญิงสาววัยกลางคนที่เป็นทั้งผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ ถูกนำมาสร้างเป็นละครครั้งแรกทางช่อง 5 และครั้งที่สองทางช่องวัน ", "title": "บาปรัก" }, { "docid": "230186#9", "text": "หมวดหมู่:เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ หมวดหมู่:บริษัทของไทย หมวดหมู่:จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หมวดหมู่:ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "15249#39", "text": "ดูเพิ่มเติมที่ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์", "title": "จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" }, { "docid": "45027#0", "text": "เป็นต่อ เป็นละครโทรทัศน์ประเภทซิตคอม ผลิตโดย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ และ ซีเนริโอ อำนวยการผลิตโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ", "title": "เป็นต่อ" }, { "docid": "230186#2", "text": "หลังจากก่อตั้ง เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ นายถกลเกียรติ ได้รวม เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ เข้ามาเป็นบริษัทเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการบริหาร และภายหลังจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้รวมเอา บริษัท มีมิติ จำกัด เข้า เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เพื่อร่วมผลิตเกมโชว์ลงช่องวันและจีเอ็มเอ็ม 25 และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการบริหารให้เป็นหนึ่งเดียว", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" } ]
4010
สาธารณรัฐสเปนที่ 2 คืออะไร?
[ { "docid": "836973#0", "text": "สาธารณรัฐสเปนที่ 2 (Spanish: Segunda República Española) เป็นยุคของสาธารณรัฐฝ่ายซ้ายของสเปน ตั้งแต่ปี 1931 ถึง 1939 ก่อนจะถูกฝ่ายชาตินิยมภายใต้การนำของนายพล ฟรันซิสโก ฟรังโกโค่นอำนาจลงในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน", "title": "สาธารณรัฐสเปนที่ 2" } ]
[ { "docid": "80960#3", "text": "สเปนได้พบกับระบอบการปกครองหลายรูปแบบมาตั้งแต่สมัยระหว่างสงครามนโปเลียนในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการปะทุของสงครามกลางเมือง ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตรวรรษที่ 19 สเปนอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ถูกโจมตีจากหลายทิศทาง สาธารณรัฐสเปนที่หนึ่งจึงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1873 แต่มีอายุสั้นมาก ลัทธิราชาธิปไตยได้กลับคืนมาอีกครั้ง ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1887 ถึงปี ค.ศ. 1931 แต่หลังจากปี ค.ศ. 1923 เป็นต้นมา สเปนก็อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการของมิกูเอล พรีโม ดี ริเวอร์รา ภายหลังจากที่เขาถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1930 ราชวงศ์สเปนก็ไม่อาจรักษาอำนาจของตนไว้ได้ และสาธารณรัฐสเปนที่สองก็ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1931 รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนมาจากพวกหัวซ้ายและพวกสายกลาง และกฎหมายปฏิรูปหลายฉบับก็ถูกผ่านออกมา อย่างเช่น กฎหมายว่าด้วยการแบ่งปันที่ดินแห่งปี 1932 ซึ่งเป็นการแจกจ่ายดินแดนให้กับชาวนาที่ยากจน ชาวสเปนกว่าล้านคนมีชีวิตอยู่ในสภาพถูกปกครองจากเจ้าของที่ดินในลักษณะของกึ่งศักดินา การปฏิรูปหลายอย่างและการห้ามศาสนาเข้ามามีส่วนทางการเมือง รวมทั้งการตัดกำลังทางทหารและการปฏิรูป ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "836973#1", "text": "หลังสงคราม รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น โดยมีที่ตั้งที่สถานทูตในเม็กซิโกซิตี จนถึงปี 1976 หลังมีการพื้นฟูประชาธิปไตยในสเปน รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนจึงถูกยุบลงในปีต่อมา[2]", "title": "สาธารณรัฐสเปนที่ 2" }, { "docid": "80960#9", "text": "ผู้ที่เข้าร่วมทั้งในการรบและตำแหน่งที่ปรึกษาในสงครามกลางเมืองสเปนจำนวนมากนั้นไม่ใช่พลเมืองชาวสเปน รัฐบาลต่างชาติจำนวนมากได้ให้การสนับสนุนทางการเงินและการทหารจำนวนมากให้แก่จอมทัพ ฟรานซิสโก ฟรังโก ส่วนฝ่ายที่อยู่ข้างเดียวกับสาธารณรัฐสเปนที่สองกลับได้รับการสนับสนุนเพียงเล็กน้อยและถูกขัดขวางอย่างร้ายแรงจากการสั่งห้ามขนส่งอาวุธที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศขึ้น", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "80960#0", "text": "สงครามกลางเมืองสเปน (English: Spanish Civil War) เป็นการรบในประเทศสเปนที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้แก่ \"ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ\" ประกอบด้วยกลุ่มมัชฌิมา กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวกาตาลาและชาวบาสก์ที่หัวรักถิ่นและเป็นอนาธิปไตย กับ \"ฝ่ายชาตินิยม\" ที่เป็นฝ่ายก่อการกบฏ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ พวกการ์ลิสต์ พวกคาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสต์ฟรังกิสต์ ซึ่งกองทัพสเปนเองก็ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็พยายามระดมหาพันธมิตรต่างประเทศมาช่วยรบ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐดึงสหภาพโซเวียตและเม็กซิโก ส่วนฝ่ายชาตินิยมดึงพวกฟาสซิสต์จากอิตาลีและนาซีเยอรมนี", "title": "สงครามกลางเมืองสเปน" }, { "docid": "402075#0", "text": "กองพลน้อยนานาชาติ (; ) เป็นหน่วยทหารซึ่งประกอบจากอาสาสมัครจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งเดินทางไปยังประเทศสเปนเพื่อปกป้องสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ในสงครามกลางเมืองสเปนระหว่าง ค.ศ. 1936 และ 1939", "title": "กองพลน้อยนานาชาติ" }, { "docid": "975838#1", "text": "สงครามกลางเมืองสเปนได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการก่อรัฐประหารโดยทหารสเปนบน peninsula (peninsulares) และในโมร็อกโกสเปน (africanistas) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1936 การก่อรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มที่เห็นชอบเป็นส่วนใหญ่ไปยังฝ่ายขวา ชนวนเหตุในสเปน รวมทั้งส่วนใหญ่ของเหล่าคณะนักบวชคาทอลิกของสเปน, กลุ่ม Falange และฝ่ายอัลฟอนซิสท์และฝ่ายคาลิสท์ที่นิยมกษัตริย์ การก่อรัฐประหารครั้งนี้ได้ขยายไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อเป็นเวลาสามปี เมื่อครั้งที่ฟาสซิสต์อิตาลีและนาซีเยอรมนีได้ตกลงกันที่จะให้การสนับสนุนฟรังโก ได้เริ่มต้นด้วยการขนส่งทางอากาศของ africanistas เข้าสู่แผ่นดินแม่ ฝ่ายสนับสนุนอื่นรวมทั้งระบอบเอสตาโด โนโวของโปรตุเกสภายใต้การนำโดย António de Oliveira Salazar ในขณะที่มีการเสนอตั้งชื่อของสงครามกลางเมืองครั้งนี้ว่าเป็น\"สงครามครูเสด\"หรือเรกองกิสตาใหม่ เพื่อดึงดูดความเห็นชอบของชาวคาทอลิกระดับสากลและการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครชาวไอริชคาทอลิก แม้ว่ารัฐบาลสหราชอาณาจักรมีความเห็นใจอย่างมากต่อฝ่ายฟรังโก ในขณะที่แนวร่วมประชาชนของรัฐบาลฝรั่งเศสเกิดความร้อนใจที่จะให้การสนับสนุนสาธารณรัฐ ทั้งสองฝ่ายต่างเฝ้าสังเกตการณ์กับข้อตกลงที่จะไม่เข้าแทรกแซงของเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1936 สาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้รับการหนุนหลังโดยสหภาพโซเวียต (ในเวลาเดียวกันก็มีพันธมิตรร่วมอุดมการณ์เดียวกันของสาธารณรัฐประชาชนตูวาและสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย) และเม็กซิโก แต่ให้ความช่วยเหลือที่น้อยกว่าที่ให้กับฝ่ายชาตินิยมสเปน", "title": "สเปนภายใต้การนำของฟรังโก" }, { "docid": "278570#0", "text": "อิมโนเดเรียโก () เป็นบทเพลงปลุกใจของสเปนที่มีต้นกำเนิดในช่วงสงครามกลางเมืองของสเปนระหว่าง พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2366 โดยชื่อของเพลงนี้มาจากนายพันโท ราฟาเอล เดล เรียโก นายทหารและนักการเมืองสายเสรีนิยมของสเปนที่บทบาทสำคัญในสงครามกลางเมืองครั้งนั้น เพลงนี้ต่อมาได้กลายเป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐสเปน 1 (พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2417) และสาธารณรัฐสเปน 2 (พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2482) ", "title": "อิมโนเดเรียโก" }, { "docid": "186290#2", "text": "เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2474 ขณะที่เจ้าหญิงมีพระชนมายุ 18 พรรษา สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปนเสด็จออกจากประเทศสเปนต่อหน้าการเดินขบวนประท้วงของพวกลัทธิสาธารณรัฐนิยม พระองค์เสด็จไปเพียงลำพังโดยทิ้งพระมเหสีกับพระโอรสและธิดาไว้ แม้ว่าจะไม่ทรงสละราชสมบัติจนกระทั่งถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 พระองค์ประทับลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศโดยทรงมองดูประเทศสเปนที่เต็มไปด้วยการนองเลือด ความรุนแรง และความเป็นอนาธิปไตยภายใต้รัฐบาลสาธารณรัฐใหม่ อันนำไปสู่สงครามกลางเมืองของสเปนในอีกไม่กี่ปีต่อมา", "title": "อินฟันตามารีอา กริสตีนาแห่งสเปน" }, { "docid": "836973#2", "text": "on YouTube (in Spanish) in The Guardian's archives. (in Spanish)", "title": "สาธารณรัฐสเปนที่ 2" }, { "docid": "975798#0", "text": "ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ (), ยังเป็นที่รู้จักกันคือ ฝ่ายจงรักภักดี ( or \"bando gubernamental\"), เป็นฝ่ายในสงครามกลางเมืองสเปน ในปี ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1939 ที่สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนที่ 2 เพื่อต่อกรกับฝ่ายชาตินิยมหรือฝ่ายกบฏของการก่อการกำเริบของทหาร ชื่อนามว่า พวกนิยมสาธารณรัฐ เป็นคำที่ถูกใช้เป็นส่วนใหญ่โดยสมาชิกและฝ่ายสนับสนุน ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามได้ใช้คำหยาบคายว่า Rojos (สีแดง) เพื่อเรียกถึงฝ่ายนั้น", "title": "ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ (สงครามกลางเมืองสเปน)" }, { "docid": "975792#0", "text": "ฝ่ายชาตินิยม () หรือฝ่ายกบฏ() เป็นฝ่ายที่สำคัญในสงครามกลางเมืองสเปน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1939 ประกอบไปด้วยกลุ่มนักการเมืองหลายกลุ่มที่สนับสนุนการก่อรัฐประหารสเปนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1936 เพื่อต่อกรกับสาธารณรัฐสเปนที่ 2 รวมทั้งกลุ่ม Falange, พรรค CEDA และสองคู่แข่งผู้เรียกร้องสิทธิราชบัลลังก์ ฝ่ายอัลฟอนซิสท์และฝ่ายคาลิสท์ ในปี ค.ศ. 1937 กลุ่มทั้งหมดได้เข้าร่วมกับกลุ่ม Falange หนึ่งในผู้นำหลัก()ของการก่อรัฐประหาร ปี ค.ศ. 1936 นายพล ฟรันซิสโก ฟรังโก ได้นำฝ่ายกลุ่มนี้ตลอดในช่วงสงครามและต่อมาก็ได้กลายเป็นผู้นำเผด็จการแห่งเสปน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 ถึง ค.ศ. 1975", "title": "ฝ่ายชาตินิยม (สงครามกลางเมืองสเปน)" }, { "docid": "38200#0", "text": "ฟรันซิสโก เปาลีโน เอร์เมเนคิลโด เตโอดูโล ฟรังโก อี บาอามอนเด ซัลกาโด ปาร์โด () หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ จอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก (Francisco Franco) และ เอลโกว์ดีโย หรือ \"ท่านผู้นำ\" (El Coudillo) (เกิด 4 ธันวาคม พ.ศ. 2435 - ถึงแก่กรรม 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518) เป็นจอมพลและผู้เผด็จการชาวสเปนในช่วงปี พ.ศ. 2479-2518 เกิดที่เมืองเอลเฟร์โรล แคว้นกาลิเซีย ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปน จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยโตเลโดในปี พ.ศ. 2453 ได้รับประสบการณ์ในการรบเป็นอย่างมากในสงครามโมร็อกโก และได้เป็นนายพลที่หนุ่มที่สุดของประเทศสเปนเมื่อปี พ.ศ. 2469 ระหว่างสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (พ.ศ. 2474-2479) ฟรังโกได้เป็นผู้นำทำการปราบปรามกบฏชาวเหมืองอัสตูรีอัส และในปี พ.ศ. ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะเสนาธิการทหาร", "title": "ฟรันซิสโก ฟรังโก" }, { "docid": "862585#2", "text": "ตัวอักษร Ñ กลายเป็นสิ่งแสดงอัตลักษณ์ของภาษาสเปน กองทัพอากาศแห่งสาธารณรัฐสเปนที่ 2 เคยใช้ตัวอักษรนี้ในการระบุอากาศยานของตนเอง", "title": "Ñ" }, { "docid": "251282#2", "text": "คำว่า \"ราชรัฐกาตาลุญญา\" ใช้กันต่อมาจนถึงสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (Second Spanish Republic) เมื่อความนิยมลดถอยลงเพราะความสัมพันธ์กับราชวงศ์ทางประวัติศาสตร์หมดความสำคัญลง แต่บางครั้งก็ยังใช้กันอยู่บ้าง", "title": "ราชรัฐกาตาลุญญา" }, { "docid": "69161#5", "text": "เมื่อสงครามสหรัฐอเมริกา-สเปนขยายตัวมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก จอร์จ ดิวอีย์ได้ทำลายกองทัพเรือสเปนที่มะนิลาเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 อากีนัลโดเดินทางกลับสู่เมืองกาวีเตพร้อมเรือรบของสหรัฐ อากีนัลโดประกาศตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์โดยมีเมืองหลวงที่มาโลส แต่สหรัฐไม่ยอมรับ อากีนัลโดได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 มีการชักธงชาติฟิลิปปินส์ขึ้นสู่ยอดเสา กองกำลังฝ่ายชาวพื้นเมืองล้อมกรุงมะนิลาไว้ได้", "title": "เอมีลีโอ อากีนัลโด" }, { "docid": "854980#3", "text": "แม้ประเทศนี้จะมีขนาดเล็ก แต่กลับมีภูมิประเทศอันเหมาะสมสำหรับการค้าทางทะเลด้วยมีท่าเรือและอู่ต่อเรืออย่างดี ทำให้ที่นี่เป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งมีความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณรัฐเจนัว สังเกตได้จากพ่อค้าเมืองโนลีจะจ่ายภาษีเพียงเหรียญเดียวเพื่ออนุญาตทำการค้าในเจนัว ขณะที่พ่อค้าสเปนที่จะเข้าไปค้าขายในเจนัวต้องจ่ายภาษีถึง 60 เหรียญ และจากการที่โนลีมีอู่ต่อเรือชั้นดี ก็ยิ่งอำนวยให้โนลีมีทัพเรือที่ยิ่งใหญ่แม้จะประเทศจะเล็กก็ตาม ทั้งนี้โนลีได้รับการคุ้มครองจากเจนัว เนื่องจากชาวเรือจากเจนัวมักจอดเรือพักที่ท่าเรือโนลี ทั้งนี้โนลีเคยมีกรณีพิพาทกับซาโวนา (Savona) หลายครั้ง อาทิ การแย่งชิงเมืองสโปตอร์โน (Spotorno) ในปี ค.ศ. 1227 โนลีจึงพยายามเป็นพันธมิตรของเจนัวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1202 และยังคงความเป็นพันธมิตรกับเจนัวจนกระทั่งโนลีล่มสลายในปี ค.ศ. 1797", "title": "สาธารณรัฐโนลี" }, { "docid": "17294#12", "text": "ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1810 นักบวชชาวเม็กซิโกชื่อ มีเกล อีดัลโก ได้ประกาศเอกราชจากสเปนที่เมืองโดโลเรส รัฐกวานาวาโต[23] เป็นตัวเร่งให้เกิดสงครามประกาศเอกราชเม็กซิโก ซึ่งในที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1821 ชาวสเปนได้ออกไปจากประเทศและทำให้เม็กซิโกกลายมาเป็นประเทศเอกราช ผู้นำคนแรกของเม็กซิโก อากุสติน เด อีตูร์บีเด ได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิที่ 1 แต่ด้วยเหตุที่ว่าประชาชนไม่พอใจ อีก 2 ปีต่อมาเม็กซิโกจึงเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ โดยมีกวาดาลูเป บิกโตเรีย เป็นประธานาธิบดีคนแรก", "title": "ประเทศเม็กซิโก" }, { "docid": "69478#6", "text": "สาธารณรัฐสเปนที่ 2 ดำเนินอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ถึง พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)", "title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน" }, { "docid": "143502#5", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 เสด็จพระราชสมภพในขณะที่พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน พระอัยกาของพระองค์ ทรงกำลังลี้ภัยทางการเมืองหลังจากการประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐสเปนที่ 2 เมื่อเจริญพระชนมายุได้ 10 ปี พระองค์ได้เสด็จกลับสเปนเพื่อเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนซานเซบัสเตียน (San Sebastián) และทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ที่สถาบันซานอิซิโดรในกรุงมาดริด ทั้งนี้พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินี พระราชขนิษฐาและ พระราชอนุชาร่วมพระอุทร 3 พระองค์ คือ\nหลังจากได้ทรงจบการศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารซาราโกซาในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1975) แล้ว พระองค์ก็ได้เข้ารับการศึกษาโรงเรียนทหารเรือที่เมืองปอนเตเบดรา และโรงเรียนทหารอากาศที่เมืองมูร์เซียต่อ", "title": "สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน" }, { "docid": "1947#63", "text": "ภาษาสเปนที่ใช้ในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศสเปนประกอบด้วยหน่วยเสียงพยัญชนะ 19 ตัว (ตามที่กล่าวไปแล้ว) แต่ภาษาสเปนที่ใช้ในประเทศอื่น ๆ จะมีหน่วยเสียงพยัญชนะเพียง 17 หน่วยเสียง และบางแห่งมี 18 หน่วยเสียง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยเสียงแปรอีกเป็นจำนวนมาก ความแตกต่างที่สำคัญในด้านสัทวิทยาระหว่างภาษาสเปนในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากความแตกต่างเรื่องเสียงพยัญชนะนั้นมีดังต่อไปนี้\nภาษาสเปนมีสรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์ 3 ตัว ได้แก่ , และอีกตัวหนึ่งซึ่งใช้กันแพร่หลายในทวีปอเมริกา คือ โดยทั่วไปนั้น และ เป็นสรรพนามที่ไม่เป็นทางการ (‘เธอ’) คือผู้พูดจะใช้กับเพื่อนหรือคนในครอบครัว ส่วน (‘คุณ, ท่าน’) เป็นสรรพนามที่ถือว่าเป็นทางการในทุกแห่ง โดยใช้ในทำนองแสดงความนับถือเมื่อพูดกับคนที่มีอายุมากกว่าหรือคนที่ไม่สนิท", "title": "ภาษาสเปน" }, { "docid": "836973#3", "text": "หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์สเปน หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2474", "title": "สาธารณรัฐสเปนที่ 2" }, { "docid": "69478#4", "text": "สาธารณรัฐสเปนที่ 1 ดำเนินอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) ถึง พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874)", "title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน" }, { "docid": "831727#2", "text": "อันเดรส โบนีฟาซีโอ สมาชิกก่อตั้งของกาติปูนันและต่อมากลายเป็นผู้นำสูงสุด สนับสนุนให้ใช้คำว่ากาตากูลากันสำหรับชาติฟิลิปปินส์ คำว่าฟิลิปิโนถูกกำหนดให้ใช้สำหรับชาวสเปนที่เกิดในหมู่เกาะ โดยฟิลิปิโนและฟิลิปินาสมีรากที่เกี่ยวข้องกับอาณานิคม", "title": "สาธารณรัฐตากาล็อก" }, { "docid": "155815#1", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถแมรี สิ้นพระชนม์ในพระราชวัง หัวใจและเครื่องในของพระองค์ถูกฝังไว้ภายในโบสถ์หลวงภายในพระราชวัง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 บรรทมที่นี่คืนหนึ่งระหว่างที่ทรงรอกองทัพเรือสเปนที่ล่องขึ้นมาทางช่องแคบอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 บรรทมที่พระราชวังเซนต์เจมส์คืนก่อนที่จะทรงถูกสำเร็จโทษในปี ค.ศ. 1649 โอลิเวอร์ ครอมเวลล์เปลื่ยนพระราชวังเป็นค่ายทหารระหว่างสมัยสาธารณรัฐอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เปลี่ยนกลับคืนมาเป็นพระราชวังและทรงวางผังอุทยานเซนต์เจมส์", "title": "พระราชวังเซนต์เจมส์" }, { "docid": "308334#1", "text": "พระนางทรงเป็นธิดาในดอน มานูเอล โกเมซ-อเชโบ ยี โมเด็ท,มาควิส เดอ คอร์ทินา กับดอญา มาเรีย เดอ ลาส เมอซิเดส เซจูลา ยี เฟอนันเดส พระบิดาและพระมารดาของพระนางทรงถูกประหารโดยเหล่าสาธารณรัฐสเปนที่ 2ในระยะแรกของสงครามกลางเมืองสเปนปีพ.ศ. 2479 มาร์การิตาเป็นญาติชั้นหนึ่งของหลุยส์ โกเมซ-อเชโบ ยี ดูคิก เดอ เอสตราดา,วิสเคานท์แห่งลาตอร์ซึ่งเป็นพระสวามีในเจ้าหญิงพิลาร์ ดัสเชสแห่งบาดาจอส ปัจจุบันชาวบัลแกเรียได้นับถือมาร์การิตาเป็นซาร์รีนามาร์การิตาแห่งบัลแกเรีย", "title": "มาร์การิตา แซ็กซ์-โคบูร์ก-ก็อตธา" }, { "docid": "122944#2", "text": "เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2474 ขณะที่เจ้าหญิงมีพระชนมายุ 11 พรรษา สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปนเสด็จออกจากประเทศสเปนต่อหน้าการเดินขบวนประท้วงของพวกลัทธิสาธารณรัฐนิยม พระองค์เสด็จไปเพียงลำพังโดยทิ้งพระมเหสีกับพระโอรสและธิดาไว้ แม้ว่าจะไม่ทรงสละราชสมบัติจนกระทั่งถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 พระองค์ประทับลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศโดยทรงมองดูประเทศสเปนที่เต็มไปด้วยการนองเลือด ความรุนแรง และความเป็นอนาธิปไตยภายใต้รัฐบาลสาธารณรัฐใหม่ อันนำไปสู่สงครามกลางเมืองของสเปนในอีกไม่กี่ปีต่อมา", "title": "เจ้าหญิงเบียทริซแห่งสเปน" }, { "docid": "37665#72", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 ทรงสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์สเปนให้แก่พระราชโอรส คือ เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งอัสตูเรียสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 และหลังจากเกิดความวุ่นวายไม่สิ้นสุดในสาธารณรัฐสเปนที่ 1 ชาวสเปนส่วนใหญ่ก็ตกลงใจที่ยอมรับการกลับไปสู่ความมีเสถียรภาพของประเทศภายใต้การปกครองของราชวงศ์บูร์บงอีกครั้ง กองกำลังสาธารณรัฐนิยมในสเปนนำโดยพลจัตวามาร์ตีเนซ กัมโปสที่กำลังปราบปรามการก่อการกบฏของพวกการ์ลิสต์อยู่นั้นได้ประกาศสวามิภักดิ์ต่อเจ้าชายอัลฟอนโซในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1874-1875 ต่อมาสาธารณรัฐสเปนก็สลายตัวไปเมื่อเจ้าชายอัลฟอนโซทรงขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระนามพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 แห่งสเปน ส่วนอันโตเนียว กาโนบัส เดล กัสตีโย ที่ปรึกษาในพระองค์ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในวันสิ้นปี ค.ศ. 1874 พวกการ์ลิสต์ถูกปราบลงอย่างราบคาบโดยกษัตริย์พระองค์ใหม่ซึ่งทรงเข้าไปมีบทบาทในสงครามและทรงได้รับการสนับสนุนจากพสกนิกรส่วนใหญ่ของพระองค์อย่างรวดเร็ว", "title": "ประวัติศาสตร์สเปน" }, { "docid": "39390#3", "text": "ในสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (พ.ศ. 2474-2483) เพลงลามาร์ชาเรอัลถูกงดใช้ในฐานะเพลงชาติและแทนที่ด้วยเพลง \"เอลอิมโนเดเรียโก\" () สมัยนี้เป็นสมัยที่เกิดสงครามกลางเมืองเป็นระยะเวลานาน เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว จอมพลฟรานซิสโก ฟรังโกได้ปกครองประเทศในฐานะผู้เผด็จการ และนำเอาเพลงลามาร์ชาเรอัลกลับมาใช้เป็นเพลงชาติอีกครั้งในชื่อเพลง \"ลามาร์ชากรานาเดรา\"", "title": "มาร์ชาเรอัล" }, { "docid": "69616#5", "text": "ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กาตาลุญญาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสงครามนโปเลียนและสงครามการ์ลิสต์ แต่ในครึ่งหลังของศตวรรษก็มีการพัฒนาอุตสาหกรรม เมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรม จึงเกิดกระแสการฟื้นฟูวัฒนธรรมกาตาลุญญาร่วมกับกระแสชาตินิยม ในขณะเดียวกันก็เกิดขบวนการแรงงานขึ้นมาหลายกลุ่ม และด้วยการกลับมาของระบอบประชาธิปไตยในสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (ค.ศ. 1931–1939) ทบวงการปกครองกาตาลุญญาก็ได้รับการฟื้นฟูในฐานะฝ่ายบริหารของแคว้นปกครองตนเอง หลังสงครามกลางเมืองสเปน รัฐบาลเผด็จการของฟรันซิสโก ฟรังโก ได้ออกมาตรการกดขี่หลายประการ สถาบันต่าง ๆ ของกาตาลุญญาถูกล้มล้าง มีการสั่งห้ามใช้ภาษากาตาลาเป็นภาษาราชการของแคว้นอีกครั้ง จากคริสต์ทศวรรษ 1950 จนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 กาตาลุญญามีความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จึงดึงดูดแรงงานจำนวนมากจากทั่วประเทศสเปนให้เข้ามาทำมาหากิน ทำให้บาร์เซโลนากลายเป็นเขตมหานครอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรปและส่งผลให้กาตาลุญญากลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ นับตั้งแต่สมัยการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของสเปน (ค.ศ. 1975–1982) เป็นต้นมา กาตาลุญญาได้รับอิสระทางการเมืองและวัฒนธรรมกลับคืนมาบางส่วน และเป็นแคว้นที่มีพลวัตทางเศรษฐกิจมากที่สุดแคว้นหนึ่งของสเปนในปัจจุบัน", "title": "แคว้นกาตาลุญญา" } ]
4013
ใครกู้เอกราชคืนจากการการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ?
[ { "docid": "44328#2", "text": "การเสียกรุงครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลายลงแล้ว ตะนาวศรีตอนใต้ยังได้ตกเป็นของพม่าเป็นการถาวร[2] และเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองในระดับต่าง ๆ จนแทบนำไปสู่การล่มสลายของรัฐไทย[9] อย่างไรก็ดี พม่าจำต้องถอนกำลังส่วนใหญ่ในอาณาจักรอยุธยาเดิมกลับคืนประเทศไปเมื่อถูกจีนบุกครอง จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเถลิงอำนาจและตั้งอาณาจักรของคนไทยใหม่", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" } ]
[ { "docid": "17119#33", "text": "พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการ ทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2ให้กับกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา และสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2311 เริ่มปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก แต่ไม่สำเร็จ ปราบชุมนุมเจ้าพิมายสำเร็จเป็นชุมนุมแรก พ.ศ. 2312 ปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชสำเร็จ ยกทัพไปตีเขมรครั้งแรกแต่ไม่สำเร็จ พ.ศ. 2314 ยกทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2 และสามารถปราบเขมรไว้ในอำนาจ นายสวนมหาดเล็กแต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ. 2315 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1 แต่ไม่สำเร็จ พ.ศ. 2316 รบชนะพม่าที่มาตีเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 ทำให้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหัก พ.ศ. 2317 รบชนะพม่าที่บางแก้ว ราชบุรี พม่าถูกจับและเสียชีวิตไปมากมาย ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ได้สำเร็จ พ.ศ. 2318 พม่ายกทัพใหญ่มาตีหัวเมืองเหนือแต่ไม่สำเร็จ ถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน พ.ศ. 2319 พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่สำเร็จ พ.ศ. 2321 โปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ไปตีเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาไว้ที่ กรุงธนบุรี พระแก้วมรกตประดิษฐ์ไว้ที่วัดอรุณฯ ส่วนพระบางคืนไปในสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2323 เกิดจลาจลในเขมร โปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ เจ้าพระยาสุรสีห์ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระองค์เจ้าจุ้ย ยกทัพไปตีกรุงกัมพูชา แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อน หลวงสรวิชิต(หน) แต่งอิเหนาคำฉันท์ พ.ศ. 2324 ส่งทัพไปปราบจลาจลในเขมร พระยาสรรค์เป็นกบฏ พ.ศ. 2325 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 กรุงธนบุรีสิ้นสุดลง", "title": "อาณาจักรธนบุรี" }, { "docid": "37994#6", "text": "หลังจากพระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีแล้ว พระองค์ได้หนีกลับมายังกรุงศรีอยุธยาโดยที่พระเจ้าบุเรงนองทรงยินยอมอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาทรงขอไว้ เมื่อเสด็จกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2115 สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชทานนามให้พระองค์ว่า \"พระนเรศวร\" และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราช พระชนมายุ 17 พรรษา ไปปกครองเมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา[2]", "title": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" }, { "docid": "5964#2", "text": "ต่อมาปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2310 หลังจากกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบุรีนามว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[4231,4249,3,3]}'>เจ้าขรัวหลาน(ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม) ชึ่งราษฎรเลือกขึ้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่าพระยาจันทบูร จะช่วยปกป้องรักษาเมืองจันทบุรีให้อยู่รอดสืบต่อไป ได้ต่อต้านกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ รักษาแผ่นดินไว้ให้ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกำแพงเมืองจนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบุรีได้หลบภัยไปอาณาจักรกัมพูชาจนถึงแก่อสัญกรรม เมืองจันทบุรีจึงตกเป็นของสยามนับแต่นั้นเป็นต้นมา", "title": "จังหวัดจันทบุรี" }, { "docid": "44328#18", "text": "ทางด้านการปฏิบัติของอาณาจักรอยุธยาระหว่างการทัพทั้งสองนั้น กษัตริย์อยุธยาได้ทรงส่งกองทัพมาช่วยเหลือเชียงใหม่ให้เป็นกบฏต่อพม่า และช่วยหัวเมืองมอญที่เมืองทวายให้ประกาศอิสรภาพ ทำให้กองทัพพม่าต้องส่งกองทัพไปตีดินแดนทั้งสองคืน เลยไปจนถึงอาณาจักรล้านช้าง เพื่อตัดชัยชนะของกรุงศรีอยุธยา[42] และในการรุกรานกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้ามังระ กองทัพอยุธยาก็ยังคงเตรียมตัวรับกองทัพพม่าในพระนครอีกเช่นเดิม[42]", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "192519#0", "text": "ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2531 พร้อมกับอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่ได้ใช้ฉะเชิงเทรา และเป็นเส้นผ่าน ของทหารไทย ในการกอบกู้เอกราชหลังเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา ศาลพระเจ้าตากสินอยู่ที่ ถนนจรดวิถีถ่อง ใกล้กับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา", "title": "ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" }, { "docid": "34007#5", "text": "วัดหน้าพระเมรุนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารเป็นครั้งแรกว่า ราวปี พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง (ภายหลังนับเป็นมหาราชองค์ที่ 2 ของพม่า) และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทำสัญญาสงบศึก โดยได้ตั้งพลับพลาสำหรับเป็นที่เสด็จมาทรงทำสัญญาในระหว่างวัดหน้าพระเมรุแห่งนี้กับวัดหัสดาวาส ซึ่งก็ได้เจรจาสงบศึกกันได้สำเร็จในที่สุด โดยกรุงศรีอยุธยายอมมอบช้างเผือก 4 ช้างให้แก่หงสาวดี มอบบุคคลที่เคยทัดทานมิให้มอบช้างเผือกแก่หงสาวดีไปเป็นตัวประกัน ยอมส่งช้างปีละ 30 เชือก และเงินอีกปีละ 300 ช่าง และยอมให้หงสาวดีมีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองมะริด ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาก็ทรงต่อรองขอดินแดนที่ฝ่ายหงสาวดียึดไว้คืนทั้งหมด ฝ่ายหงสาวดีก็ยอมคืนแต่โดยดี และถอยกลับสู่หงสาวดี ทำให้ครั้งนั้นพระเจ้าบุเรงนองยังไม่ได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราช เหตุการณ์เจรจาสงบศึกได้นี้เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์กรุงศรีอยุธยาฯ เสียเอกราชครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นในภายหลัง (ในปี พ.ศ. 2112)[9]", "title": "วัดหน้าพระเมรุ" }, { "docid": "211769#15", "text": "ในวันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 ครั้นถึงเวลา 19.00 น. เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ เมื่อเวลา 03.00 น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณพร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน ส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมืองจนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทายมาศ เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน", "title": "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก" }, { "docid": "211769#11", "text": "พระยาตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง เมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของพระยาตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้เข้าเมือง นับตั้งแต่ได้ถอนตัวออกจากการป้องกันพระนครนั้น ภายในเวลาไม่ถึงเดือนก็สามารถยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่เหนือกว่าชุมนุมอื่น ๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา", "title": "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก" }, { "docid": "211769#13", "text": "อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจายออกไปขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า", "title": "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก" }, { "docid": "862465#1", "text": "เดิมชื่อวัดจันทรคูหาวาส สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ราวปีพ.ศ. ๒๒๘๐ ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในปีพ.ศ.๒๓๑๐ แล้ว วัดบ้านแพนคงได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้อยู่บนเส้นทางเดินทัพของกองทัพพม่า เวลาต่อมาเมื่อพระยาตาก ได้กอบกู้เอกราช และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงธนบุรี ก็ทรงเร่งฟื้นฟูทำนุบำรุงบ้านเมืองเป็นการใหญ่ ทั้งในส่วนของกรุงธนบุรี ที่ทรงใช้เป็นพระนครหลวงราชธานีแห่งใหม่ และในส่วนของกรุงศรีอยุธยาเดิม วัดบ้านแพนก็เช่นเดียวกัน ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๐ ในสมัยกรุงธนบุรี แต่มิได้ระบุไว้ว่าใครเป็นผู้ดำเนินการ ภายหลังเมื่อย้ายพระนครมายังกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพ.ศ.๒๓๒๕ ปัจจุบันสิ่งที่ยังหลงเหลือมาจากอดีต คือ พระประธานในอุโบสถ ที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปศิลาแลง ศิลปะอู่ทอง\nมูลเหตุของการตั้งชื่อวัดนั้น ตำนานเก่าแก่ของท้องถิ่นบอกเล่าไว้ว่า แต่เดิมมีสำเภาใหญ่ล่องมาทางคลองรางจระเข้โดยหารู้ไม่ว่า บริเวณปากคลองนี้มีกระแสน้ำวนเชี่ยวกราก เรือสำเภาจึงเสียการทรงตัว กระแทกเข้าริมตลิ่ง แล้วบ่ายหัวไปอีกทาง สำเภากระแทกเข้ากับทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างไร้ทิศทาง จนเรือล่วงเข้าสู่ท้ายคลองจึงจมลงอย่างสงบนิ่ง มีเพียงเสากระโดงโผล่ขึ้นเหนือน้ำ ส่วนข้าวของและสัมภาระที่ติดมากับเรือต่างลอยกระจายอยู่ทั่วไป ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ ต่างเข้าช่วยเหลือตามกำลัง ส่วนหนึ่งลากเอาเสื่อลำแพนที่ลอยไปติดเนินดินขึ้นตากแดดจนแห้ง ภายหลังจึงเรียกชื่อแห่งนั้นว่า “บ้านแพน”ส่วนกกที่ลอยไปติดใกล้โคกใหญ่ชาวบ้านได้ช่วยกันนำตากบนโคก จึงเรียกบริเวณนั้นว่า “โคกเสื่อ” ส่วนพ่อค้าสำเภา หลังจากเรืออับปาง ก็ตัดสินใจสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นจุดเตือนใจในสัจธรรมของชีวิต และนำเสากระโดงเรือตั้งไว้เป็นสัญลักษณ์ แล้วขนานนามวัดว่า “วัดเสากระโดงทอง” บริเวณที่นำเสื่อลำแพนไปตากนั้น เป็นพื้นที่ในการครอบครองของวัดจันทรคูหาวาส ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาชาวบ้านจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดบ้านแพน” ส่วนเนินดินนั้นเมื่อสายน้ำเปลี่ยนทิศทางผ่านมายังจุดนั้น จึงกลายเป็นชุมทางเรือและการค้าขาย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเสนา\n1.http://www.thailandtemples.org/watbanpan/index.html", "title": "วัดบ้านแพน" }, { "docid": "211769#5", "text": "พระยาตากได้ประกาศนโยบายรื้อฟื้นราชอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความแตกต่างจากชุมนุมอื่น ๆ ที่เป็นเพียงแต่กลุ่มโจรปล้นสะดมเพื่อรักษาความอยู่รอดท่านั้น กิตติศัพท์ดังกล่าวทำให้มีตระกูลขุนนางบางส่วนจากกรุงศรีอยุธยามาสวามิภักดิ์ด้วย", "title": "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก" }, { "docid": "179615#22", "text": "จากผลของการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ทำให้อาณาจักรอยุธยาไม่อาจกลับมาตั้งใหม่เป็นอาณาจักรของคนไทยได้อีก ทั้งยังเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัยในชีวิตตามมา ซึ่งนิธิ เอียวศรีวงศ์อธิบายว่า มีการรวมกลุ่มของประชาชนขึ้นด้วยวัตถุประสงค์แตกต่างกัน แต่สำคัญคือเพื่อเอาชีวิตรอด นอกจากนี้กลุ่มการเมืองหรือ \"ชุมนุม\" ขนาดใหญ่ ๆ นั้นยังแตกออกเป็น 4-6 ชุมนุมใหญ่ แต่ไม่มีก๊กใดเลยที่คิดจะกอบกู้เอกราชหรือฟื้นฟูชาติกลับคืนมาดังเดิม", "title": "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี" }, { "docid": "758127#0", "text": "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว เป็นวรรณกรรมไทย เรื่องราวเหตุการณ์อิงประวัติศาสตร์ ในยุคปลายกรุงศรีอยุธยา ก่อนและหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กอบกู้เอกราชและสถาปนากรุงธนบุรี จากนวนิยายชื่อดังของ วรรณวรรธน์ ผู้แต่งคนเดียวกับ ข้าบดินทร์ ที่สร้างเป็นละครมาแล้วในปี พ.ศ. 2558 ละครเรื่องนี้มีการปรับเปลี่ยนให้เน้นเรื่องความรักชาติเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อปลุกกระแสความเสียสละของบรรพบุรุษไทย ที่สร้างชาติไทยขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้", "title": "หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" }, { "docid": "37994#63", "text": "วันที่ 18 มกราคมของทุกปี เป็นวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ระลึกถึงพระองค์ผู้ทรงต่อสู้อริราชศัตรูและทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะพระมหาอุปราชา และทรงกอบกู้เอกราชประกาศอิสรภาพจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง", "title": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" }, { "docid": "14373#0", "text": "วันที่ 6 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 310 ของปี (วันที่ 311 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 55 วันในปีนั้นวันกอบกู้เอกราชไทย\nสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช\nในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2310 เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจนราบคาบ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 13.00 น. ใช้เวลา 7 เดือนหลังจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยา", "title": "6 พฤศจิกายน" }, { "docid": "13241#19", "text": "เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 จนถึงปี พ.ศ. 2312 จักรวรรดิจีนได้ถูกรุกรานโดยพม่าที่กำลังขยายแสนยานุภาพ จักรพรรดิจีนในสมัยนั้นได้ส่งกองกำลังไปปราบปรามพม่าถึง 4 ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ฝ่ายจีนก็ได้เบนความสนใจมาที่กองทัพพม่าในอาณาจักรอยุธยา ซึ่งกำลังถูกพม่ายึดครอง ขุนพลไทยนาม \"สิน\" ซึ่งมีบิดาเป็นคนจีน และมารดานาม นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวสยาม ได้ใช้สถานการณ์ที่ได้เปรียบนี้ทำให้สามารถกอบกู้เอกราชให้สยามได้สำเร็จ ขุนพลท่านนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แห่งกรุงธนบุรี หรือที่ชาวจีนขนามนามว่า แต้อ๊วง ด้วยความที่ว่าบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นคนจีน ", "title": "ไทยเชื้อสายจีน" }, { "docid": "126121#6", "text": "ชื่อถนนพรานนกตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในช่วงก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ซึ่งพระยาวชิรปราการ (พระเจ้าตากสิน) ได้รวบรวมกำลังพลตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาไปทางทิศตะวันออก เพื่อหลบหนีและเตรียมกอบกู้เอกราชในภายหลัง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากหมู่บ้านรายทางทั้งเรื่องเสบียงและกำลังพล โดยขณะที่ยกทัพมาถึงบ้านพรานนก (ปัจจุบันอยู่ในหมู่ที่ 2 ตำบลโพสาวหาญ อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้เกิดการสู้รบกับทัพพม่า แต่ทัพพระยาตากได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้าน และพรานนกต่อ ซึ่งมีชื่อตามตำนานว่า \"เฒ่าคำ\" จึงสามารถหลบหนีไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้ในที่สุด", "title": "ถนนพรานนก" }, { "docid": "312325#3", "text": "หลังจากพระยาวชิรปราการทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2 ได้สำเร็จ ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วได้ย้ายเมืองหลวงจาก กรุงศรีอยุธยา มายังภาคกลางตอนล่าง แล้วสถาปนาใหม่ว่า กรุงธนบุรี แล้วสถาปนาราชวงศ์ธนบุรีเป็นราชวงศ์ที่ปกครองกรุงธนบุรี", "title": "ราชวงศ์ธนบุรี" }, { "docid": "55138#14", "text": "พระยาพิชัยดาบหัก นับเป็นวีรชนของชาติ ผู้ร่วมกู้เอกราชของชาติไทยในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองและเป็นชาวอุตรดิตถ์ ดังนั้นจึงได้มีการสร้างอนุสรณ์สถาน รวมถึงการนำนามของท่านไปใช้ตั้งชื่อสถานที่ราชการสำคัญเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของท่านขึ้น ตัวอย่างของอนุสรณ์สถานและสถานที่เหล่านี้ เช่น", "title": "พระยาพิชัยดาบหัก" }, { "docid": "87911#1", "text": "มหากาพย์กู้แผ่นดินเป็นเรื่องราวในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาต้อง สูญเสียเอกราชให้แก่อาณาจักรตองอู เมื่อปี พ.ศ. 2112 จนถึงการทำสงครามยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในปี พ.ศ. 2135 โดยดำเนินเนื้อเรื่องผ่านมุมมองของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์และถูกนำตัวไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ซึ่งพระองค์ได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตมากมายจากที่นั่น และเป็นจุดสำคัญในการกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยาให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ", "title": "มหากาพย์กู้แผ่นดิน" }, { "docid": "55138#0", "text": "พระยาพิชัยดาบหัก เป็นขุนนางในสมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรี ปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารเนื่องจากเป็นทหารเอกคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นผู้มีส่วนกอบกู้เอกราชของชาติไทยหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง มีชื่อเสียงอย่างยิ่งจากความกตัญญูกตเวทีและความกล้าหาญ ", "title": "พระยาพิชัยดาบหัก" }, { "docid": "179615#17", "text": "พระเจ้าตากทรงรวบรวมกำลังพลจนมีจำนวน 5,000 นายแล้วยกกองทัพเรือออกจากเมืองจันทบุรี ล่องมาตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อสู้จนยึดเมืองธนบุรีคืนจากพม่าได้ และจับนายทองอิน เจ้าเมืองธนบุรีซึ่งพม่าแต่งตั้งให้นั้นประหารชีวิต[41][42] ต่อจากนั้นได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้นจนสามารถขับไล่ทหารพม่าออกจากอาณาจักรได้และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครองได้เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 13.00 น. โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนหลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา[43]", "title": "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี" }, { "docid": "211769#0", "text": "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นการรวบรวมกองกำลังของเจ้าตาก เพื่อขับไล่กองทัพพม่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยา ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง อันส่งผลให้เกิดสภาพจลาจลโดยทั่วไป ราชอาณาจักรอยุธยาเดิมจึงถูกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ เป็นอิสระต่อกัน", "title": "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก" }, { "docid": "211769#17", "text": "เจ้าตากได้เดินทางกลับจากตราดมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา 3 เดือน พร้อมกับฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ", "title": "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก" }, { "docid": "85430#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2309 รัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ขณะที่กรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าล้อมอยู่นั้น กรมหมื่นเทพพิพิธซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์หนึ่งในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ถูกเนรเทศไปลังกา ได้กลับมาเกลี้ยกล่อมรวบรวมชายฉกรรจ์ทางหัวเมืองภาคตะวันออก ได้แก่ เมืองจันทบูร เมืองระยอง เมืองบางละมุง เมืองชลบุรี และเมืองปราจีนบุรี เข้าร่วมกองทัพอ้างว่าจะยกไปช่วยกรุงศรีอยุธยารบพม่า ในครั้งนั้นชาวชลบุรีได้ให้การสนับสนุนเข้าร่วมในกองทัพเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งเมืองชลบุรีแทบจะกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธยกไพร่พลไปตั้งมั่นที่ปราจีนบุรีแล้ว จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์ ขออาสาช่วยป้องกันพระนคร แต่พระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์ทรงพระราชดำริว่า กรมหมื่นเทพพิพิธเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูงจนถูกเนรเทศมาแล้วครั้งหนึ่ง การที่มาเรียกระดมผู้คนเข้าเป็นกองทัพโดยพลการครั้งนี้ก็เป็นการทำผิดกฎมณเทียรบาล จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธจนบอบช้ำ จากนั้นพม่ายังได้ส่งกองทัพออกไปโจมตีกองทัพกรมหมื่นเทพพิพิธจนแตกกระจายไปอีก จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก เมื่อ พ.ศ. 2310 ชาวชลบุรี ได้ให้ความร่วมมือกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการกอบกู้อิสรภาพอย่างใกล้ชิด จนสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมา", "title": "เทศบาลเมืองชลบุรี" }, { "docid": "44328#40", "text": "ในระหว่างการทัพ กรมหมื่นเทพพิพิธได้หนีจากการคุมขังในเมืองจันทบุรี พร้อมกับจัดตั้งกองทัพอาสาขึ้นเพื่อจะกู้กรุงศรีอยุธยา ในประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2309 นับได้ทหารประมาณ 10,000 นาย ยกมาตั้ง ณ เมืองปราจีนบุรี หลังจากนั้น กองทัพอาสาดังกล่าวได้ทำการรบกับทหารของทางการอยุธยา ซึ่งไม่ไว้ใจกรมหมื่นเทพพิพิธ แต่สู้รบกันหลายครั้ง ก็ไม่ได้มีผลแพ้ชนะเด็ดขาด[74] ก่อนที่มังมหานรธาจะทราบข่าว และได้ส่งทหาร 3,000 นาย ไปปราบกองทัพอาสา ภายหลังจากทัพหน้าถูกตีแตก แม่ทัพหน้าก็ตายในที่รบ กองทัพอาสาดังกล่าวจึงสลายตัวไป ส่วนกรมหมื่นเทพพิพิธหนีไปยังเมืองนครราชสีมา", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "211769#1", "text": "ราวปี พ.ศ. 2309 ก่อนเสียกรุง พระยาตากได้นำทหารในบังคับบัญชาตีฝ่าวงล้อมของกองทัพพม่าไปทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา เพื่อรวบรวมผู้คนและยุทธปัจจัยต่าง ๆ มาสู้รบกับกองทัพพม่าอีกครั้ง ในระหว่างนั้นยังได้ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองระยอง เมื่อ \"เจ้าตาก\" เตรียมกำลังรบจนพร้อมสรรพแล้ว จึงได้เคลื่อนพลกลับไปยังกรุงศรีอยุธยาทางด้านปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อทำการขับไล่ทหารพม่าที่ยังคงเหลืออยู่ออกไปได้สำเร็จ", "title": "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก" }, { "docid": "36559#2", "text": "เริ่มรู้จักกันจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า 3 เดือน พระเจ้าตาก (สิน) ขณะนั้นยังเป็นพระยาวชิรปราการ(เจ้าเมืองกำแพงเพชร) ลงความเห็นว่า หากกรุงศรีอยุธยายังต่อสู้กับพม่าอย่างอ่อนแอเช่นนี้ ต่อไปจะต้องสูญเสียกรุงให้พม่าอย่างแน่นอน พระเจ้าตากจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกออกไปตั้งหลักใหม่ ให้มีกำลังทัพเข้มแข็งขึ้นค่อยกลับมากู้กรุงคืน พระยากำแพงเพชรได้เริ่มเคลื่อนทัพออกจากค่ายวัดพิชัยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สู้พลางร่นถอยหนีการตามล่า ของทหารพม่าไปพลาง จนกระทั่งเลยเข้าแขวงเมืองชลบุรี พระยากำแพงเพชรหยุดพักทัพที่บริเวณหน้าวัดใหญ่อินทารามในปัจจุบัน แล้วเดินทัพมุ่งตรงไปยังจันทบุรี ระหว่างทางได้พักที่บ้านหนองไผ่ ตำบลนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง ปัจจุบันอยู่ด้านหลังสถานีตำรวจภูธรพัทยา", "title": "เมืองพัทยา" }, { "docid": "211769#18", "text": "เมื่อสิ้นฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2310 เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาเข้า ยึดค่ายโพธิ์สามต้นปราบพม่าจนราบคาบ สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 13.00 น. ใช้เวลา 7 เดือนหลังจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยา", "title": "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก" }, { "docid": "107448#12", "text": "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งที่ทรงได้รับคำต่อท้ายพระนามว่า มหาราชแสดงถึงการประกอบพระราชกรณียกิจ อันเอนกอนันต์ต่อชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจในการกอบกู้เอกราช และการรวบรวมคนไทยเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนเราสามารถเป็นชาติมาได้ในปัจจุบัน พระราชประวัติของพระองค์ก่อนเสวยราชสมบัตินั้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าพระองค์ท่านทรงมีเชื้อสายจีน โดยมีบิดาเป็นคนจีน และมารดาเป็นคนไทย จากความสามารถพระองค์ได้เข้ารับราชการในสมัยอยุธยาตอนปลาย และได้ประกอบความดีความชอบมากมายจนได้เป็นถึงเจ้าเมืองตาก ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกพระองค์ท่านทางมีมุมมองอันกว้างไกล และคาดเดาเหตุการณ์ได้ถูกต้องว่า ถ้ายังอยู่ในอยุธยาต่อไปก็คงจะไม่รอดแน่ ดังนั้น จึงทรงรวบรวมไพร่พลตีฝ่าวงล้อมของข้าศึกออกไป แล้วจึงรวบรวมไพร่พลกลับมากู้เอกราชได้ภายในระยะเวลาอันสั้น จากพระราชกรณียกิจดังกล่าว ชาวจังหวัดตาก จึงร่วมใจกันจัดงานตากสินมหาราชานุสรณ์ขึ้น เพื่อน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อบ้านเมืองมาในอดีต", "title": "อำเภอเมืองตาก" } ]
4014
พระครูอินทสรวิสุทธิ์ ชื่อเดิมว่าอะไร?
[ { "docid": "263066#2", "text": "ชื่อ อินสม นามสกุล บุญสุยะ เกิดวันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2463 ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก บิดาชื่อ นายจันทร์ บุญสุยะ มารดาชื่อ นางคำ บุญสุยะ บ้านนาเหลืองใน หมู่ที่ 1 ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" } ]
[ { "docid": "263066#56", "text": "- เป็นประธานเทบริเวณลานวัดเมืองราม สิ้นงบประมาณ 120,000 บาท", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#38", "text": "- ได้อบรมศีลธรรมแก่ประชาชนในหมู่บ้านต่างๆในตำบลนาเหลือง", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#60", "text": "พ.ศ. 2539 - เป็นประธานสร้างกุฎิวัดนาเหลืองใน 1 หลัง สิ้นงบประมาณ จำนวน 1,200,000 บาท", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#55", "text": "- เป็นประธานในการบูรณะหอพระไตรปิฎกในวัดเมืองราม สิ้นงบประมาณ 300,000 บาท", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#36", "text": "พ.ศ. 2532 - เป็นพระธรรมทูตออกเผยแผ่ศีลธรรมแก่ประชาชนในตำบลส้าน อำเภอเวียงสา", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#29", "text": "- ได้อบรมศีลธรรมแก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเหลืองไชยราม", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#28", "text": "พ.ศ. 2530 - เป็นพระธรรมทูตออกเผยแผ่ศีลธรรมแก่ประชาชนในตำบลกลางเวียง", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#44", "text": "- เป็นประธานเปิดหน่วยอบรมประชาชนตำบลนาเหลือง ณ วัดเมืองราม อำเภอเวียงสา", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#41", "text": "- ได้อบรมศีลธรรมแก่ประชาชนในหมู่บ้านต่างๆในตำบลนาเหลือง", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#48", "text": "พ.ศ. 2534 - ได้เป็นประธานสร้างอุโบสถวัดนาเหลืองใน สิ้นค่าก่อสร้างไปแล้ว 3,900,000 บาท", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#31", "text": "พ.ศ. 2531 - เป็นพระธรรมทูตออกเผยแผ่ศีลธรรมแก่ประชาชนในตำบลตาลชุม", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#1", "text": "ชื่อ พระครูอินทสรวิสุทธิ์ ฉายา อินฺทสโร พรรษา 60 น.ธ. เอก วัดเมืองราม ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ดำรงตำแหน่ง คือ 1. เจ้าอาวาสวัดเมืองราม 2. เจ้าคณะตำบลนาเหลือง 3. พระอุปัชฌาย์ 4. ผู้อำนวยการการศึกษาพระปริยัติธรรมในเขตตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 5. ที่ปรึกษาหน่วยอบรมประชาชน ประจำตำบลนาเหลือง อ.เวียงสา จ.น่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#49", "text": "- ได้เป็นประธานสร้างกุฏิวัดเชียงบาล ตำบลนาเหลือง สิ้นค่าก่อสร้าง 350,000 บาท", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#26", "text": "- ได้รับพระภิกษุสามเณร จากวัดต่าง ๆ เพื่อเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมทุกปี", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#42", "text": "พ.ศ. 2534 - เป็นพระธรรมทูตออกเผยแผ่ศีลธรรมแก่ประชาชนในตำบลส้าน อำเภอเวียงสา", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#25", "text": "- ได้จัดพระภิกษุเข้าไปสอนวิชาศีลธรรมตามโรงเรียนต่าง ๆ ของรัฐบาล", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#57", "text": "- เป็นประธานบูรณะศาลาทำบุญ ของวัดเมืองราม สิ้นงบประมาณ 90,000 บาท", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#70", "text": "- ได้ให้ความร่วมมือกับทางหน่วยงานราชการที่พัฒนาตามหมู่บ้านต่างๆ", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#6", "text": "วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามว่า พระครูอินทสรวิสุทธิ์ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์สัญญาบัตรพัดยศ จากชั้นตรี เป็นชั้นโทในพระราชทินนามเดิม วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์สัญญาบัตรพัดยศ จากชั้นโท เป็นชั้น เอกในพระราชทินนามเดิม", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#30", "text": "- ได้อบรมศีลธรรมแก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเหลืองใน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#37", "text": "- ได้อบรมศีลธรรมแก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเหลืองใน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#33", "text": "- ได้อบรมเผยแผ่ศีลธรรมแก่ประชาชนในตำบลนาเหลือง ณ วัดดอนไชยพระบาท", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#34", "text": "- ได้อบรมเผยแผ่ศีลธรรมแก่ประชาชนในตำบลตาลชุม ณ วัดตาลชุม", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#35", "text": "- ได้อบรมศีลธรรมแก่ข้าราชการครูเนื่องในวันครูที่โรงเรียนสา อำเภอเวียงสา", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#66", "text": "- ได้ร่วมบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและอุทกภัย ในเขตจังหวัดน่าน", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#23", "text": "- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานชื่อโรงเรียนว่า \"โรงเรียนพระปริยัติศาสนาภิพัฒน์วัดเมืองราม\"", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#0", "text": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (ครูบาอินสม) คือ เป็นพระเถระองค์สำคัญของตำบลนาเหลืองที่มีลูกศิษย์มากมาย ซึ่งท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2544 สิริอายุได้ 81 พรรษา", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#75", "text": "หมวดหมู่:เจ้าคณะตำบล อินทสรวิสุทธิ์ หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดน่าน‎", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" }, { "docid": "263066#67", "text": "- ได้ร่วมบริจาคเงินบำรุงโรงบาลจังหวัดน่าน และโรงบาลสงฆ์ พญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นประจำทุกปี", "title": "พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (อินสม อินฺทสโร)" } ]
4015
ประเทศสมาชิกอาเซียนมีกี่ประเทศ?
[ { "docid": "2069#0", "text": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (English: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,479,210 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 625 ล้านคน[1] ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ[3]", "title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" } ]
[ { "docid": "2069#24", "text": "รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียน[45] ซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538) ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา (เข้าร่วมในปี 2542)[46][47]", "title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "107607#0", "text": "การทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบก กลุ่มประเทศอาเซียน () เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน ริเริ่มจากผู้บัญชาการทหารบกของประเทศมาเลเซีย ที่ได้หารือกับเหล่าผู้บัญชาการทหารบกของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้มีกิจกรรมทางการทหารที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีและความคุ้นเคยในระดับผู้นำเหล่าทัพ", "title": "การทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน" }, { "docid": "1961#50", "text": "ในด้านการลงทุน ทั้งเวียดนามและประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าไปลงทุนในเวียดนามโดยเวียดนามจะสามารถดูดซึมเทคนิค วิทยาการและเทคโนโลยีที่ผ่านมากับการลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการร่วมทุน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการผลิตของเวียดนาม และขณะเดียวกัน นับตั้งแต่เวียดนามเปิดประเทศและประกาศกฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างก็ให้ความสนใจลพยายามแสวงหาโอกาสเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ทั้งนี้เพราะอาเซียนก็สนใจในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกันทั้งด้านการค้าและการลงทุน เนื่องจากเวียดนามเป็นตลาดใหญ่มีประชากรถึง 73 ล้านคน มีความสมบูรณ์ทางทรัพยาธรรมชาติ มีแรงงานที่มีศักยภาพและมีราคาถูก การมีเวียดนามเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นจะทำให้อาเซียนมีประชากรเพิ่มเป็น 420 ล้านคน และจะมีผลผลิตมวลรวมภายในถึง 500 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ อันจะทำให้อาเซียนมีศักยภาพในการขยายตัวกางเศรษฐกิจได้มากขึ้นไปอีก", "title": "ประเทศเวียดนาม" }, { "docid": "220120#0", "text": "เวลามาตรฐานอาเซียน () คือ แนวคิดของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในการกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศสมาชิกทั้งหมดอยู่ที่ UTC+8 ชั่วโมง โดยที่ธุรกิจบางแห่งได้ปรับใช้เวลามาตรฐานอาเซียนไปเรียบร้อยแล้ว และจะปรากฏตัวย่อ \"ACT\" ในเอกสารทางการ การติดต่อสื่อสารและการแจ้งข่าว และยังมีพลเมืองชาวอาเซียนบางส่วนที่ปรับใช้เวลามาตรฐานอาเซียนแล้วเช่นกันCompanies\nSites", "title": "เวลามาตรฐานอาเซียน" }, { "docid": "386360#11", "text": "ที่ AMM ครั้งที่ 29 พม่าได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในอาเซียน รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าได้ปรึกษากับอาเซียนและเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกเป็นครั้งแรก วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2539 รัฐมนตรีต่างประเทศพม่ายื่นคำขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของพม่า เขายังได้แสดงความปรารถนาว่าประเทศพม่าจะเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนภายใน พ.ศ. 2540 พร้อมกับกัมพูชาและลาว[4]", "title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "2069#12", "text": "ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา[25] ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 ไปพร้อมกับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558[26][27] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553[28][29] นับเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่าจีดีพีคิดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก[30][31]", "title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "1961#51", "text": "ในปัจจุบัน ประเทศที่ได้รับการอนุมัติด้วยมูลค่าลงทุนมากที่สุดได้แก่สิงคโปร์ ซึ่งมีโครงการการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติจำนวนโครงการ ด้วยมูลค่า 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวียดนามคิดได้เป็นร้อยละ 27.69 ของมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิ้นในเวียดนาม กล่าวคือในมูลค่า 8.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิน 29.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีโครงการทั้งสิ้น 337 โครงการ โดยมาเลเซียลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ไทยลงทุนเป็นอันดับ 3 ประเภทของการลงทุนที่สมาชิกอาเซียนดำเนินการในเวียดนาม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้างสำนักงาน ที่อยู่อาศัย การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและการแปรรูปอาหาร เวียดนามหวังว่าการลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนนี้จะมีส่วนช่วยถ่วงดุลการลงทุนจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น", "title": "ประเทศเวียดนาม" }, { "docid": "103462#4", "text": "ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2547 ได้มีการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ กรุงเวียงจันทน์ และบรรดาผู้นำอาเซียนได้ประกาศแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme) ซึ่งได้สนับสนุนการจัดทำกฎบัตรอาเซียนเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2563 และในเดือนธันวาคม 2548 ได้มีการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 11 ณ กรุงบาหลี โดยบรรดาผู้นำได้ร่วมกันประกาศ หลักการสำคัญในการจัดทำกฎบัตรอาเซียนและได้มอบหมายให้ “คณะผู้ทรงคุณวุฒิ” (Eminent Persons Group) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการต่างประเทศจากแต่ละประเทศสมาชิก เป็นผู้จัดทำข้อเสนอแนะเบื้องต้นและลักษณะทั่วไปของกฎบัตรอาเซียน ซึ่งคณะผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้ประชุมหารือร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ จนสามารถสรุปข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการจัดทำกฎบัตรในรูปแบบ “รายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียน” ในเดือนธันวาคม 2549 ล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2550 ในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ณ กรุงเซบู บรรดาผู้นำได้ร่วมกันประกาศ รับรองรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียนและได้มอบหมายให้ “คณะทำงานระดับสูง” หรือ High Level Task Force ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีความเชี่ยวชาญจากแต่ละประเทศสมาชิกเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยให้อาศัยหลักการสำคัญที่บรรดาผู้นำได้ร่วมกันประกาศไว้ ณ กรุงบาหลี และกรุงเซบู รวมถึงให้พิจารณาจากข้อเสนอแนะจากรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จ เพื่อสามารถนำร่างกฎบัตรไปพิจารณาในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 ณ ประเทศสิงคโปร์ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ต่อไป จากนั้นก็จะได้มีการตรวจสอบ รับฟังความคิดเห็น ก่อนผู้นำจะลงนาม", "title": "กฎบัตรอาเซียน" }, { "docid": "217024#3", "text": "เพื่อให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียนบทที่ 40 ซึ่งระบุให้อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดเพลงประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition ทั้งนี้ อาเซียนได้มอบหมายให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและจัดส่งให้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ", "title": "ดิอาเซียนเวย์" }, { "docid": "2069#37", "text": "การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี[62] อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน[62] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547[63]", "title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "1961#49", "text": "การสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจากประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเวียดนามมองว่าเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการปรับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์และการปรับนโยบายต่างประเทศ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนจะทำให้เวียดนามมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศจากสมาชิกต่างๆ อันจะมีส่วนเอื้ออำนวยและเร่งการพัฒนาของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของการแข่งขันได้ในที่สุด เวียดนามให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเข้าร่วมในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและระบบเศรษฐกิจของโลก การเป็นสมาชิกของอาเซียนจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในเขตการค้าเสรีอาเซียน และนำเวียดนามไปสู่ความคุ้นเคยกับแนวทางปฏิบัติในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับโลก อันจะมีผลดีและเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่จะผลักดันเวียดนามให้ก้าวไปสู้การเป็นสมาชิกของ APEC และ WTO ได้ในที่สุด ในฐานะของสมาชิกอาเซียน เวียดนามหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนกับประเทศอาเซียนทั้งหลาย ขณะเดียวกันในขณะที่การค้าภายในกลุ่มอาเซียนกำลังขยายตัว เวียดนามก็ได้ตระเตรียมและปรับทิศทางการส่งออกของตนที่จะไปสู่ตลาดอาเซียนนี้อย่างจริงจังมากขึ้น การนำเข้าของเวียดนามจากอาเซียนในขณะนี้เป็นครึ่งหนึ่งของการนำเข้าทั้งหมดของทั้งหมดของเวียดนาม และประมาณร้อยละ 30 ของการค้าทั้งหมดของเวียดนามที่มีกับอาเซียนนอกจากนี้ เวียดนามยังหวังว่าตนจะได้รับสิทธิพิเศษ GSP อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป และเวียดนามยังจะเป็นจุดส่งออกที่สำคัญสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ", "title": "ประเทศเวียดนาม" }, { "docid": "103462#1", "text": "อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยตราสารที่เรียกว่า ปฏิญญาอาเซียน หรือที่รู้จักในชื่อ ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) โดยหากพิจารณาจากเนื้อหาของตราสารและสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในช่วง พ.ศ. 2510 พิจารณาได้ว่าอาเซียนจำต้องอาศัยรูปแบบความร่วมมือเชิงมิตรภาพในภูมิภาคและเลี่ยงการกำหนดสิทธิหน้าที่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้นำในภูมิภาคได้อาศัยอาเซียนเป็นเวทีดำเนินความร่วมมือบนพื้นฐานของความยินยอมและความสมัครใจของสมาชิกเป็นหลัก การดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือหรือการอาศัยฉันทามติ โดยเลี่ยงการอ้างสิทธิหน้าที่และการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างสมาชิก (non intervention) ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ที่เรียกว่า “The ASEAN Way” ได้ช่วยให้ความร่วมมือดำเนินมาได้โดยปราศจากความขัดแย้งรุนแรงแม้ว่าสมาชิกแต่ละประเทศจะมีระบบกฎหมายและนโยบายทางการเมืองที่แตกต่างกัน ดังนั้น เมื่ออาเซียนมิได้มุ่งที่จะนำกฎหมายระหว่างประเทศมาเป็นฐานในการดำเนินการ จึงมิได้มีการจัดทำสนธิสัญญาหรือกฎบัตรอาเซียนมาตั้งแต่ต้น", "title": "กฎบัตรอาเซียน" }, { "docid": "419002#40", "text": "เวียดนามและจีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของเวียดนาม หวอ วัน เกียตได้เดินทางไปยังปักกิ่งเพื่อเข้าพบนายหลี่ เผิง เพื่อเจรจาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เป็นทางการระหว่างกัน การสิ้นสุดความขัดแย้งในกัมพูชา ทำให้ประเทศในอินโดจีนเข้าร่วมกับอาเซียน ในช่วง พ.ศ. 2534 – 2535 เวียดนามได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสมาชิกอาเซียน และการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวียดนามระหว่าง พ.ศ. 2534 – 2537 คิดเป็น 15% ของการลงทุนของต่างชาติในเวียดนาม ต่อมา ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอันดับที่ 7 ของอาเซียนอย่างเป็นทางการ ต่อมา ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2538 เวียดนามได้ประกาศยกระดับจากตัวแทนจากเป็นสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาหลังจากที่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระดับปกติต่อกันตั้งแต่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 รวมทั้งการเข้าร่วมองค์การการค้าโลก เมื่อปี 2550 และการเข้าร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ทำให้การโดดเดี่ยวเวียดนามออกจากสังคมโลกสิ้นสุดลง", "title": "สงครามกัมพูชา–เวียดนาม" }, { "docid": "2069#36", "text": "ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งหัวหน้ารัฐบาลแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ", "title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "355189#3", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ดร.สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง ได้ไปเป็นผู้อำนวยการสำนัก AFTA สำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเชีย โดยมีหน้าที่ดูแลการดำเนินการและปฏิบัติการตามข้อตกลง เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA) และได้เลื่อนเป็นรองเลขาธิการอาเซียน ฝ่ายปฏิบัติการ (Deputy Secretary General - Operation) ในปี พ.ศ. 2540 -2543 โดยรับผิดชอบดูแลความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งช่วยประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน และการริเริ่มความร่วมมือใหม่ ๆ เช่น ความร่วมมือด้านการเงินระหว่างอาเซียนและประเทศเอเชีย นับเป็นคนไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการอาเซียน ", "title": "สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง" }, { "docid": "374469#1", "text": "ตามแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) สมาชิกในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์อาเซียนจะร่วมกันยกระดับหุ้นในอาเซียนให้เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับ (Asset Class) จากผู้ลงทุนทั่วโลก โดยตลาดหลักทรัพย์สมาชิกมีเป้าหมายร่วมกันที่จะเพิ่มสภาพคล่องของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์สมาชิก ด้วยการส่งเสริมธุรกรรมข้ามตลาด การเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางเข้าถึงตลาดหลักทรัพย์อาเซียนให้สะดวกและง่ายขึ้น และการออกผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ในอาเซียน ทั้งนี้การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์อาเซียนในครั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์สมาชิกได้ทำงานร่วมกับ ASEAN Capital Markets Forum: ACMF ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง และในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554 กลุ่มตลาดหลักทรัพย์อาเซียนได้เปิดตัวเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมข้อมูลให้นักลงทุนทั้งในกลุ่มอาเซียนและทั่วโลกได้ทราบเกี่ยวกับความร่วมมือครั้งนี้ โดยมีกำหนดการดำเนินการร่วมกันของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558มูลค่าทางการตลาดของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีบริษัทรวมทั้งหมดกว่า 3,000 บริษัททั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน", "title": "ตลาดหลักทรัพย์อาเซียน" }, { "docid": "136255#0", "text": "อาเซียนพาราเกมส์ () เป็นการแข่งขันกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการ ที่จัดขึ้นในทุกสองปีต่อเนื่องจากกีฬาซีเกมส์ (SEA Games) โดยมีประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 11 ประเทศ", "title": "อาเซียนพาราเกมส์" }, { "docid": "386360#0", "text": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นกระบวนการซึ่งขยายสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการรับรัฐสมาชิกใหม่เข้ามา กระบวนการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อสมาชิกก่อตั้งห้าประเทศ ที่ได้ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ใน พ.ศ. 2510 นับตั้งแต่นั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เพิ่มเป็นสิบประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมกับอาเซียนคือ กัมพูชา ใน พ.ศ. 2542 ปัจจุบัน การเจรจารับเข้าเป็นสมาชิกกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนกับสองรัฐ ได้แก่ ปาปัวนิวกินี[1][2] กับติมอร์-เลสเต[3]", "title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "2069#18", "text": "กฎบัตรอาเซียน ข้อ 31 ระบุว่า ตำแหน่งประธานอาเซียนจะเวียนกันทุกปีตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษของชื่อรัฐสมาชิก รัฐสมาชิกที่เป็นประธานจะเป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาประสานงานอาเซียน สภาประชาคมอาเซียนสามสภา องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาและข้าราชการอาวุโส และคณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร[41] ประเทศพม่าเป็นประธานในปี 2557", "title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "467950#3", "text": "ประเทศสมาชิกของอาเซียนได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม การประชุมสุดยอดอาเซียนจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพครั้งแรกในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพมหานคร", "title": "การประชุมสุดยอดอาเซียน" }, { "docid": "54263#0", "text": "สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน () หรือ เอเอฟเอฟ () เป็นองค์กรย่อยของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย สำหรับจัดการแข่งขันฟุตบอลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเอฟเอฟก่อตั้งในปี พ.ศ. 2537 โดยมี 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนในปัจจุบันเป็นสมาชิกก่อตั้ง และในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการจัดการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน และ พ.ศ. 2545 มีการจัดการแข่งขัน อาเซียนคลับแชมเปียนชิพ และ พ.ศ. 2559 จัดการแข่งขัน อาเซียนซูเปอร์ลีก", "title": "สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน" }, { "docid": "362171#0", "text": "เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน () เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ. 1995 รวม 13 สถาบัน ต่อมาได้ขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนเพิ่มมากขึ้นทำให้สมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเพิ่มจำนวนเป็น 30 สถาบัน", "title": "เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน" }, { "docid": "467950#5", "text": "การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ณ ประเทศฟิลิปปินส์ โดยผู้นำอาเซียนได้เลื่อนการจัดตั้งสมาคมอาเซียนจากเดิมที่จะจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ให้มาเป็น พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เร็วขึ้นจากเดิมห้าปี นอกจากนี้ ยังมีการตรากฎบัตรอาเซียนขึ้นเป็นกรอบทางสถาบันและกฎหมายอันมีผลใช้บังคับแก่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก", "title": "การประชุมสุดยอดอาเซียน" }, { "docid": "35725#27", "text": "เมื่อประเทศไทยได้ร่วมกับสมาคมอาเซียนจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนโดยมีเป้าหมายหลักคือ การลดภาษีศุลกากรแก่สินค้าที่ขายระหว่างประเทศภาคีอาเซียนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 5 รวมทั้งขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ ภายใน 15 ปี นับจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 กระทรวงการคลังก็ได้ประกาศลดอัตราศุลกากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราอากรสินค้าอุตสาหกรรม ที่นำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 30 นับจากวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการลดภาษีของไทย", "title": "ธนาคารแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "217024#4", "text": "กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ดำเนินการเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดเพลงประจำอาเซียนระดับภูมิภาคในรอบแรก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ที่โรงแรม Pullman Bangkok King Power โดยมีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ซึ่งคณะกรรมการการประกวดได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลงให้เข้ารอบสุดท้าย จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 99 เพลง และได้ดำเนินการประกวดรอบตัดสิน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยคณะผู้ตัดสินประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน 10 คนในรอบแรก และจากประเทศนอกอาเซียนอีก 3 คน ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศออสเตรเลีย โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง \"The ASEAN Way\" (ดิอาเซียนเวย์) ของประเทศไทย ซึ่งประพันธ์โดยกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) สำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน", "title": "ดิอาเซียนเวย์" }, { "docid": "217024#2", "text": "ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 29 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2540 ที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการพิจารณาเพลงประจำอาเซียนที่เข้าประกวดในรอบสุดท้าย โดยเพลงที่เข้ารอบในครั้งนั้นเป็นเพลงจากประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งบทเพลงที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือเพลง ASEAN Song of Unity จากประเทศฟิลิปปินส์ แต่เพลงดังกล่าวนี้ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศสมาชิก เนื่องจากได้ใช้เปิดเฉพาะในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ทำให้การประชุมสุดยอดอาเซียนช่วงต่อมามีการแต่งเพลงเพื่อใช้เปิดในที่ประชุมเป็นคราวๆ ไป", "title": "ดิอาเซียนเวย์" }, { "docid": "776594#0", "text": "กรมอาเซียน (Department of ASEAN Affairs) มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน และการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฐานะสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ เพื่อดำเนินงานความร่วมมือของอาเซียนให้สำเร็จและบรรลุผลตามมติที่ประชุมสุด และเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวที ระหว่างประเทศ ตลอดจนเพิ่มอำนาจต่อรองของประเทศไทยในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ\nhttp://www.mfa.go.th/main/th/organize/107/15332-%A1%C3%C1%CD%D2%E0%AB%D5%C2%B9.html", "title": "กรมอาเซียน" }, { "docid": "2069#1", "text": "อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพฯ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ[4] หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น[5] เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558[6]", "title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "133270#0", "text": "การประชุมผู้บัญชาการทหารบก กลุ่มประเทศอาเซียน () เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จัดควบคู่ไปกับการทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบก กลุ่มประเทศอาเซียน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบกไทยในขณะนั้น", "title": "การประชุมผู้บัญชาการทหารบก กลุ่มประเทศอาเซียน" }, { "docid": "386360#7", "text": "สมาชิกสามประเทศล่าสุดของอาเซียนยื่นคำขอเข้าร่วมกลุ่มในคริสต์ทศวรรษ 1990 ลาวเป็นผู้สังเกตการณ์อาเซียนที่การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน (AMM) ครั้งที่ 25 ที่จัดขึ้นในกรุงมะนิลา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 ที่ AMM ครั้งที่ 28 ในบันดาร์เซอรีเบอกาวัน รัฐมนตรีต่างประเทศลาวกล่าวว่า เขาปรารถนาจะเห็นลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนใน พ.ศ. 2540 ความปรารถนาดังกล่าวแสดงในจดหมายขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของลาว ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539[4]", "title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" } ]
4016
ธุดงค์ คือวัตร หรือแนวทางการปฏิบัติจำนวน กี่ข้อ?
[ { "docid": "109849#2", "text": "ธุดงค์นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่าง ๆ ไว้หลายพระสูตร เมื่อรวมแล้วจึงได้ทั้งหมด 13 ข้อ[1][4][5]", "title": "ธุดงค์" } ]
[ { "docid": "907646#7", "text": "ปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ออกธุดงค์เที่ยวหาเรียนวิชาอาคม หาของขลังและหาความรู้เพิ่มเติม ท่านได้เดินทางขึ้นไปทางสกลนคร นครพนม จึงได้พบกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เมื่อได้ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต แล้ว จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเชื่อว่าหลวงปู่มั่นเป็นผู้มีญาณวิเศษสำเร็จแล้ว เพราะทักท้วงได้อย่างถูกต้องเหมือนตาเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงได้กราบขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ให้ช่วยชี้แนะแนวทางประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และได้จำพรรษาในเขตจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร ", "title": "พระอาจารย์ดี ฉนฺโน" }, { "docid": "109849#12", "text": "ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบถเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "266486#5", "text": "หลังจากที่ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ บรรลุพระอรหัตแล้ว ท่านก็ได้สมาทานธุดงค์ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัดไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ผู้มีวาทะกำจัด หมั่นประกอบในอธิจิต พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านพระปิณโฑลภารัทวาชะ ได้ถือปฏิบัติเช่นนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า", "title": "พระปิณโฑลภารทวาชเถระ" }, { "docid": "680962#23", "text": "สาขาทั้งสองของ EBM ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1980 สมาคมมะเร็งอเมริกัน (American Cancer Society) ได้เริ่มยืนยันให้ทำงานเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติและนโยบาย โดยมีหลักฐานเพื่อยืนยันอิทธิผล[31] ในปี ค.ศ. 1984 USPSTF (คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อการบริการป้องกัน [ทางสุขภาพ] ประเทศสหรัฐอเมริกา) ซึ่งเป็นคณะกรรมการอิสระของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา เริ่มการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อการแทรงแซงป้องกันเพื่อสุขภาพโดยใช้หลักอาศัยหลักฐาน[32] ในปี ค.ศ. 1985 กลุ่มประกันสุขภาพ Blue Cross Blue Shield Association เริ่มบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดอาศัยหลักฐาน ในการจ่ายค่าคุ้มครองสุขภาพสำหรับเทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ[33] เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 สมาคมแพทย์เฉพาะทางต่าง ๆ เช่น วิทยาลัยแพทย์อเมริกัน (American College of Medicine) และองค์กรสุขภาพอื่น ๆ เช่น สมาคมหัวใจอเมริกัน (American Heart Association) ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่อาศัยหลักฐานเป็นจำนวนมาก ในปี ค.ศ. 1991 Kaiser Permanente ซึ่งเป็น managed care organization ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เริ่มใช้แนวทางปฏิบัติอาศัยหลักฐาน[34] ในปี ค.ศ. 1991 ริชาร์ด สมิธ เขียนบทบรรณาธิการใน BMJ เริ่มไอเดียของการใช้นโยบายอาศัยหลักฐานในสหราชอาณาจักร[35] ในปี ค.ศ. 1993 Cochrane Collaboration เริ่มสร้างเครือข่ายบุคคลากรใน 13 ประเทศเพื่อทำงานปริทัศน์แบบเป็นระบบ (systematic review) และตั้งแนวทางการปฏิบัติแบบเป็นระบบ (systematic guideline)[36] ในปี ค.ศ. 1997 สำนักงานวิจัยและคุณภาพการรักษาสุขภาพ (Agency for Healthcare Research and Quality ตัวย่อ AHRQ) ของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้งศูนย์การปฏิบัติอาศัยหลักฐาน (Evidence-based Practice Centers) เพื่อทำรายงานเกี่ยวกับหลักฐาน และทำการประเมินเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแนวทางปฏิบัติ[37] ในปีเดียวกัน AHRQ ได้ร่วมกับสมาคมแพทย์อเมริกัน (AMA) และสมาคมผู้ขายประกันสุขภาพ America's Health Insurance Plans ได้จัดตั้งฐานข้อมูล National Guideline Clearinghouse ที่เก็บเอกสารเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกและนโยบายอาศัยหลักฐาน[38] ใน ปี ค.ศ. 1999 องค์กร National Institute for Clinical Excellence (NICE) ที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติทางการแพทย์เป็น 4 ประเด็น ก็ได้จัดตั้งขึ้นในสหราชอาณาจักร[39]", "title": "เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน" }, { "docid": "706443#2", "text": "รายงานเค้สปกติจะพิจารณาว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของหลักฐานโดยเรื่องเล่า (anecdotal evidence) \nเพราะมีความจำกัดโดยธรรมชาติของระเบียบวิธีที่ใช้ รวมทั้งการขาดการสุ่มตัวอย่างทางสถิติ รายงานเค้สจัดเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้น้อยที่สุดในลำดับชั้นหลักฐานทางคลินิก เช่นเดียวกับ case series \nแต่ก็ยังมีประโยชน์ในงานวิจัยทางการแพทย์และเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน \nโดยเฉพาะก็คือ ช่วยให้รู้จักโรคใหม่ ๆ และผลที่ไม่พึงประสงค์ของการรักษาพยาบาล \nรายงานเค้สมีบทบาทในการศึกษาเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากยา (pharmacovigilance) \nช่วยให้เข้าใจขอบเขตทางคลินิกของโรคหายากและอาการปรากฏที่ไม่ทั่วไปของโรคสามัญ \nช่วยสร้างสมมุติฐานเพื่อการศึกษารวมทั้งกลไกของโรค \nและอาจช่วยแนะนำแนวทางในการปรับการรักษาพยาบาลให้เข้ากันกับคนไข้แต่ละคน \nผู้สนับสนุนแบบงานศึกษาได้ร่างข้อดีอย่างย่อ ๆ ของรายงานเค้ส คือ\nทั้ง case report (รายงานเค้ส) และ case series มีความไวสูงในการตรวจจับความแปลกใหม่ และดังนั้นจะดำรงเป็นหลักสำคัญในความก้าวหน้าทางการแพทย์\nและสามารถให้ไอเดียใหม่ ๆ มากมายทางการแพทย์ \nเปรียบเทียบกับการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมซึ่งสามารถตรวจสอบตัวแปรอย่างหนึ่งหรือไม่กี่อย่าง ที่ไม่สามารถสะท้อนสภาพความเป็นจริงของสถานการณ์ทางการแพทย์ที่ซับซ้อน รายงานเค้สสามารถให้รายละเอียดด้านต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกันสถานการณ์ของคนไข้ (เช่น ประวัติผู้ป่วย การตรวจร่างกาย ข้อวินิจฉัย สภาพจิตและสังคม และการดูแลติดตาม)", "title": "รายงานผู้ป่วย" }, { "docid": "85555#18", "text": "ปังสุกุลิกังคธุดงค์ - ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ปิณฑปาติกังคธุดงค์ - ถือภิกขาจารวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ เอกปัตติกังคธุดงค์ - ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ เอกาสนิกังคธุดงค์ - ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ - ถือลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม เตจีวริตังคธุดงค์ - ถือใช้ผ้าไตรจีวร 3 ผืน อารัญญิกังคะ - ถือละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน", "title": "พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต" }, { "docid": "177703#0", "text": "ห่มดอง คือการห่มผ้าของพระสงฆ์แบบหนึ่งโดยห่มเฉวียงบ่าคือเปิดบ่าขวา ปิดบ่าซ้าย พาดสังฆาฏิ แล้วคาดอกด้วยผ้ารัดอก การห่มดองถือว่าเป็นการนุ่งห่มของพระธรรมยุตินิกาย แต่ปัจจุบันเป็นการห่มครองที่นิยมในกลุ่มพระฝ่ายมหานิกายมากกว่า ฝ่ายธรรมยุติไม่ใคร่นิยมแล้ว นิยมห่มในภาคเหนือของประเทศ (อาจจะเพราะครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวล้านนาห่มดอง)และวัดที่เป็นสำนักเรียนส่วนใหญ่จะกำหนดให้พระและสามเณรนุ่มห่มเพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกัน อาจเพราะเนื่องจากมีสามเณรเป็นจำนวนมาก ซึ่งการห่มดองไม่หลุดง่าย บางท้องที่ถือว่าเป็นการห่มของของสามเณร ไม่ใช่การห่มของพระก็มี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งจะกำหนดให้พระนิสิตนุ่มห่มเมื่อมามหาวิทยาลัย แม้แต่กลุ่มวัดพระธรรมกาย ก็ยึดถือเป็นการห่มที่กลุ่มสาขาต้องห่มเหมือนกัน และยังส่งเสริมให้พระสงฆ์ในประเทศห่มอีกด้วย รูปปั้นพระสีวลีปางเดินธุดงค์ส่วนมากจะนุ่มห่มดองเช่นกัน และมีพระธุดงค์บางกลุ่มนิยมห่ม เมื่อออกเดินธุดงค์โดยจะถือเป็นสัญญลักษณ์หรือธรรมเนียมของกลุ่ม เช่น วัดศีรีล้อม ถ้ำนิรภัย (สำนักท่องปาฏิโมกข์ อำเภอตากฟ้า นครสวรรค์)", "title": "ห่มดอง" }, { "docid": "109849#16", "text": "การจาริก ด้วยเท้า ของพระสงฆ์ในประเทศไทย มักเข้าใจปะปนกับคำว่า ธุดงค์ ทั้งนี้เนื่องจากบางข้อของธุดงควัตร เช่น อรัญญิกังคะ หมายถึงการอยู่ในบริเวณป่า ทำให้พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะต้องเดินทางไปหาที่วิเวกในบริเวณป่าและไม่อยู่ติดที่เป็นเวลานาน เพื่อให้ห่างไกลจากการรบกวนของผู้คน การทำเช่นนี้ของพระสงฆ์มีมาตั้งแต่พุทธกาล[5] พระสงฆ์ในประเทศไทยคงได้ถือคตินี้และปฏิบัติมาแต่โบราณ ทำให้คนทั่วไปในปัจจุบันมักเรียกกิริยาเช่นนั้น (การจาริกเดินเท้าของพระสงฆ์โดยแบกบริขาร เช่น กรดย่าม และบาตร เพื่อเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ) ว่า พระเดินธุดงค์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นเพียงคำเรียกทั่วไป ที่หากพระสงฆ์ผู้เดินจาริกไม่ได้ถือสมาทานองค์คุณแห่งธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ใช่ความหมายของคำว่าธุดงค์ตามนัยในพระไตรปิฎก[7]", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "109849#8", "text": "ธุดงควัตร หมายถึงกิจวัตรของการธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตมี 13 วิธีจัดเป็นข้อสมาทานละเว้น และข้อสมาทานปฏิบัติ คือ", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "123382#2", "text": "ภายนับได้กึ่งพุทธกาล บูรพาจารย์พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) ท่านได้ธุดงค์วัตรไปอุปสมบท และศึกษาพระธรรมวินัย 2 ปี สำนักสังฆปรินายกนิกายวินัย ของนิกายหลุกจง นิกายวินัย วัดล่งเชียงยี่ บนภูเขาป๋อฮั้วซัว มณฑลกังโซว ประเทศจีน เมื่อสำเร็จธรรมท่านเดินทางกลับมาพร้อมพระคัมภีร์มหายานนิกายวินัย และมีการแปลพระวินัยฉบับมหายานสู่ภาคไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาท่านได้ธุดงค์วัตรไปไกลถึงทิเบต ตะวันออกและได้เข้าศึกษานิกายมิกจง หรือนิกายมนตรายาน ณ อารามรินโวเช่ แคว้นคามทิเบตตะวันออก เป็นเวลา 6 ปี หลังจากนั้นท่านได้ธุดงค์กลับ เพราะคำสั่งของพระอาจารย์มหาชีวินพุทธนอร่ารินโปเช่ พร้อมทั้งท่านได้มอบตราประจำตำแหน่งพระสังฆนายก นิกายมนตรยาน และมอบพระคัมภีร์ฝ่ายวัชรยาน กลับสู่เมืองไทย ก่อนที่ทิเบตจะแตก 2 ปี", "title": "วัดเทพพุทธาราม" }, { "docid": "109849#3", "text": "ธุดงค์ในปัจจุบันยังคงเป็นแนวการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมของชาวพุทธเถรวาททั่วไปในหลายประเทศ โดยไม่จำกัดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น คฤหัสถ์ทั่วไปก็ถือปฏิบัติได้บางข้อเช่นกัน[6]", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "28341#8", "text": "1. ธรรมเทศนา \nสำหรับบรรพชิต สำหรับคฤหัสถ์ เสียสละเพื่อธรรม การเข้าสู่หลักธรรม ธรรมะที่หยั่งรู้ยาก ธรรมะธรรมชาติ \nปฏิบัติกันเถิด ธรรมปฏิสันถาร สองหน้าของสัจธรรม ปัจฉิมกถา การฝึกใจ มรรคสามัคคี \nดวงตาเห็นธรรม อยู่เพื่ออะไร เรื่องจิตนี้ น้ำไหลนิ่ง ธรรมในวินัย บ้านที่แท้จริง สัมมาสมาธิ ขึ้นตรงต่อพระพุทธเจ้า ความสงบบ่อเกิดปัญญา พระองค์เดียว นอกเหตุเหนือผล สมมตติและวิมุตติ \nการทำจิตให้สงบ ตุจโฉโปฎฐิละ ดวงตาเห็นธรรม ทำใจให้เป็นบุญ ทรงไว้ซึ่งข้อวัตร เหนือเวทนา เพียรละกามฉันทะ ทางพ้นทุกข์ ไม่แน่คืออนิจจัง โอวาทบางตอน อ่านใจธรรมชาติ อยู่กับงูเห่า \nสัมมาทิฐิที่เยือกเย็น มรรคผลไม้พ้นสมัย นักบวชนักรบ ธุดงค์ทุกข์ดง สัมมาปฏิปทา พึงต่อสู้ความกลัว \nกว่าจะเป็นสมณะ เครื่องอยู่ของบรรพชิต กุญแจภาวนา วิมุตติ ", "title": "พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)" }, { "docid": "28341#6", "text": "เสร็จภารกิจการศึกษา ประกอบกับเกิดธรรมสังเวชคราวโยมบิดาเสียชีวิต จึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรม โดยออกธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติในสำนักต่างๆ ผ่านอาจารย์ก็มากมาย เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดได้รับอาราธนาจากโยมมารดาและพี่ชาย เพื่อกลับไปโปรดสัตว์ที่บ้านเกิด เมื่อ พ.ศ. 2497 ก็ได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ", "title": "พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)" }, { "docid": "109849#6", "text": "ธุดงค์ ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์ เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "63859#23", "text": "ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นหัวข้อที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าขาดหลักฐานทางด้านการวิจัย[25] ช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 การสำรวจของนักกายภาพบำบัดชาวอังกฤษ และ ออสเตรเลีย พบว่าน้อยกว่า 5% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่า ได้อ่านงานวิจัยสม่ำเสมอและนำไปใช้เป็นแนวทางในการรักษา[26][27] แม้จะมีทรรศนะคติที่ดีมากต่อเรื่อง “เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน'' (evidence based practice) แต่นักกายภาพบำบัดส่วนใหญ่ ก็ยังใช้หลักการรักษา ที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนเพียงเล็กน้อย และแม้จะมีการเรียกร้องเป็นจำนวนมากให้มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ หลักฐานทางการวิจัยและหลักทางวิทยาศาสตร์ เป็นแนวทางในการต้ดสินใจรักษา แต่นักกายภาพบำบัดส่วนใหญ ก็ยังคงปฏิบัติตามหลักการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเพื่อจะลบล้างข้อจำกัดนั้น สหพันธ์กายภาพบำบัดโลก (World confederation for physical therapy) (WCPT) สมาคมกายภาพบำบัดสหรัฐอเมริกา (APTA) และศาสตราจารย์จำนวนหนึ่ง ได้ใช้และรวบรวมแนว “เวชปฏิบัติตามแนวทางหลักฐานอ้างอิง” (evidence based practice) ไว้เป็นแหล่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ [28]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "109849#7", "text": "ธุดงค์ ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์โดยการปฏิบัติที่ว่าด้วยการออกเดินทางนั้น เป็นข้อวัตรปฏิบัติพิเศษที่ชื่อว่า โมเนยยปฏิบัติ คือการอย่าเที่ยวภิกขาจารในที่เดิมซ้ำ อย่านอนในที่เดิมซ้ำ เพื่อไม่ตัดสินว่าใครดีชั่ว เพื่อไม่พิจารณาว่าสิ่งใดที่ไหนหยาบปราณีต เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์ ธุดงค์ในภาษาไทยนี้จึงมีความหมายเฉพาะตัวตามประเพณีของพระวัดป่าของประเทศไทย[7]", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "66896#2", "text": "คองสิบสี่ เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คอง หมายถึง แนวทาง หรือ \"ครรลอง\" ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคองสิบสี่จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายมุมมองดังนี้", "title": "ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่" }, { "docid": "841089#4", "text": "ท่านเคยเล่าเหตุการณ์ของพระธุดงค์สมัยก่อนนั้นว่า “สมัยโน้นพระธุดงค์ก็ลำบาก ชาวบ้านก็ลำบาก เพราะไม่เจริญอย่างปัจจุบันนี้นะ แต่มีความเพียรแรงกล้า มุ่งอรรถมุ่งธรรมกันจริงๆ มาสมัยนี้หละหลวมไม่เอาดีเลย สอนแล้วก็ลืม…ลืมปฏิบัติกัน !”\nต่อมา พระอาจารย์ลี ธัมมธโร แจ้งให้ทราบว่า หลวงปู่มั่นจำพรรษาที่จังหวัดสกลนคร จึงพากันเดินทางไปขอคำปรึกษาข้อปฏิบัติธรรมที่ติดขัด หลวงปู่มั่นแนะให้ไปฝึกกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย\nเมื่อทราบว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ถึงแก่มรณภาพลงที่จังหวัดสกลนคร หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ดูลย์, หลวงปู่แหวน, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่สาม, พระอาจารย์ลี, พระอาจารย์อ่อน, พระอาจารย์วัน และพระอาจารย์จวน ไปร่วมจัดงานบุญให้หลวงปู่มั่น\n“ปฏิปทาของหลวงปู่สาม อกิญฺจโน นั้น สาธุชนที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการคงจะตระหนักดีว่า มีความคล้ายคลึงกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มากทีเดียว ท่านมากไปด้วยขันติ โสรัจจะ อดทน สงบเงียบ เยือกเย็น ชีวิตเพศแห่งสมณะหลวงปู่ไม่เคยว่างเว้นในการเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาและใน จังหวัดต่างๆ จิตของท่านเต็มไปด้วยเมตตา ไม่เคยขัดศรัทธาคณะศรัทธาญาติโยมใครๆ เลย”\nหลวงปู่สาม อกิญฺจโน ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย บ่อยครั้งเกิดอาการอาพาธ ต้องเข้า-ออกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จนกระทั่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หลวงปู่สามได้มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุรวม 91 พรรษา 71 ท่ามกลางความเศร้าสลดของคณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก", "title": "หลวงปู่สาม อกิญฺจโน" }, { "docid": "908995#13", "text": "ปี พ.ศ. 2470 ในวันเพ็ญ เดือน 3 ก่อนเข้าพรรษา คณะพระธุดงค์กรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ปักหลักอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และได้จัดประชุมคณะสงฆ์ขึ้นในช่วงวันมาฆบูชา ซึ่งในการนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ปรารภถึงการออกธุดงค์วิเวกเพียงลำพังเพื่อพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติอันเป็นธรรมอันสูงสุด และได้มอบภารธุระทุกอย่างให้แก่ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ศิษย์อาวุโสเป็นผู้บริหารปกครองหมู่คณะสงฆ์ แนะนำพร่ำสอน ตามแนวทางที่ท่านได้ให้ไว้แล้วต่อไป", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "679689#19", "text": "นอกจากการกำหนดกติกาสงฆ์ข้างต้นแล้ว หลวงปู่ยังได้กำหนดให้ วัตร 14 เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติต่างๆภายในวัดหนองป่าพงและสำนักสาขา[3] ซึ่ง วัตร 14 (ขันธวัตร 14) นั้นก็คือ วัตตขันธกะ ขันธกะที่ ๘ แห่งคัมภีร์จุลวรรค วินัยปิฎก[6][7] รวมทั้งยังได้กำหนด ธุดงควัตร 13 ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติอันบุคคลทำได้ยาก ให้ภิกษุสงฆ์วัดหนองป่าพงและสำนักสาขาได้ปฏิบัติตามความสมัครใจอีกด้วย[1] โดยที่ขันธวัตร 14 และ ธุดงควัตร 13 นั้นถือเป็นปฏิปทาที่พระธุดงค์กรรมฐานหรือพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ยึดถือปฏิบัติ[8] ตามแนวปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่สายกรรมฐานและเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญของหลวงปู่ชา สุภทฺโท", "title": "วัดหนองป่าพง" }, { "docid": "399866#3", "text": "หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็อยู่รับใช้ปรนนิบัติพระอุปัชฌาย์ รับฟังโอวาทจากพระอุปัชฌายะชั่วระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นท่านก็กราบลาพระอุปัชฌาย์ ไปศึกษาเล่าเรียนต่อกับพระอาจารย์เอียด วัดบน พระอาจารย์เอียดเก่งทั้งทางโลกและทางธรรม อบรมสั่งสอนให้รู้จักตัดกิเลสออกไปจากจิตใจได้ จนท่านตั้งใจว่า ขอถือบวชอยู่ในพุทธศาสนาตลอดไป หาทางพ้นทุกข์ตัดอาสวะกิเลสให้สิ้น หลวงปู่เขียวท่านตัดสินใจเดินธุดงค์เป็นวัตร คือ ถือผ้านุ่งห่มบังสกุล 3ชิ้น มีผ้าสบง อังสะ จีวร บิณฑบาตร และฉันอาหารมื้อเดียว(เอกา)เป็นวัตร จึงกราบลาอาจารย์เดินธุดงค์สู่ป่าเขาลำเนาไพร และธุดงค์ไปบำเพ็ญสมาธิ ฝึกจิตให้แก่กล้าขึ้น ผู้ที่ร่วมเดินทางไปกับท่านก็คือ พระครูนนทจรรยาวัตรหรือพระครูนนท์ ยอดพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งของภาคใต้ ด้วยวัตถุมงคลของท่าน ประชาชนชาวสยาม (ชาวไทย) ในปัจจุบัน ได้นำวัตถุมงคลของท่านไปบูชา ท่านได้สร้างลูกอมและผ้ายันต์รอยมือรอยเท้ามีหลายแบบ ผ้ายุคแรกๆ จะประทับด้วยผงขมิ้นละลายน้ำ รุ่นหลังจากนั้นจะประทับด้วยคราม หมึกน้ำเงิน และหมึกดำ ผ้าบางผืนก็มีแต่รอยเท้าอย่างเดียว เป็นที่นิยมกันมาก ผืนที่มีสภาพสมบูรณ์เช่าหากันหมื่นกว่าบาทและมีประสบการณ์ไม่แพ้ไปกว่าลูกอม ส่วนเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของท่านก็อ เหรียญปี 2513", "title": "หลวงปู่เขียว อินฺทมุนี" }, { "docid": "112394#62", "text": "ตามธรรมเนียอีสานล้านช้างโบราณ ผู้เป็นนักปกครอง เจ้านายราชวงศ์ หรือเจ้าบ้านผ่านเมืองและคณะอาญาสี่พร้อมทั้งกรมการเมือง จะต้องปฏิบัติตามครรลองครองธรรม ๑๔ ประการ เพื่อความเป็นปกติสุขของอาณาประชาราษฎร ในทำนองเดียวกับหลักทศพิธราชธรรม ๑๐ หรือหลักจักรวรรดิวัตร ๑๒ ของไทยสยาม ครรลองล้านช้างนี้เรียกว่า คองสิบสี่ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่คู่กันกับหลัก ฮีตสิบสอง รวมเรียกว่า ฮีตสิบสองคองสิบสี่ คำว่า คอง แปลว่า แนวทาง หรือ ครรลอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคองสิบสี่จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายความเห็นว่าเป็นหลักปฏิบัติกล่าวถึงครอบครัวในสังคม ตลอดจนผู้ปกครองบ้านเมือง เป็นหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง และหลักปฏิบัติของประชาชนต่อพระมหากษัตริย์ เป็นหลักปฏิบัติที่พระราชายึดถือปฏิบัติ เน้นให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และคนในครอบครัวที่ปฏิบัติต่อกัน และเป็นหลักปฏิบัติในการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เป็นสุขตามจารีตประเพณี หลักแต่ละข้อนี้มีคำว่า ฮีต นำหน้าด้วย (อาจทำให้เกิดความสับสนกับฮีตสิบสอง) แต่ละคองจะมีสิบสี่ฮีต สี่ฮีตแรกจะเป็นฮีตที่เกี่ยวกับเจ้านายราชวงศ์ในระบบอาญาสี่ และเจ้านายกรมการท้าวเพีย คือ", "title": "อาญาสี่" }, { "docid": "395160#0", "text": "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม เคยดำรงตำแหน่งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย งดงาม น่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกัมมัฏฐาน ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปบนเส้นทางเดียวกับพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เน้นการปฏิบัติภาวนาพร้อมกับการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทาง “คันถธุระ” จนประสบผลส่าเร็จสูงสุด ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้น้อมนำหลักธรรมค่าสอนของพระพุทธองค์มาสู่การปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ นำความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม", "title": "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)" }, { "docid": "76963#3", "text": "เมื่อครูบาพรหมาอายุได้ 24 ปี บวชได้ 4 พรรษา ท่านได้ออกธุดงค์ โดยครั้งแรกไปจำพรรษา ณ ดอยน้อย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นท่านได้ธุดงค์ไปในสถานที่ด่างๆ ทั่วภาคเหนือ และประเทศพม่า และได้จำพรรษาในเขตพม่าเป็นเวาถึง 5 ปี ท่านได้จาริกธุดงค์ถึง 20 พรรษา โดยถือธุดงควัตร อยู่ป่าเป็นวัตร ออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตร ฉันภัตตาหารมื้อเดียว นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ท่านเพียรพยายามอดทนด้วยวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดที่สุด", "title": "พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก)" }, { "docid": "240873#0", "text": "หีนยาน (บาลี; \"Hīnayāna\") แปลว่า ยานชั้นเลวหรือยานชั้นต่ำ เป็นคำที่คณาจารย์ฝ่ายมหายานใช้เรียกแนวการปฏิบัติใด ๆ ในศาสนาพุทธที่ไม่ได้ยึดแนวทางแบบพระโพธิสัตว์ แต่เน้นการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นเฉพาะตนแบบพระสาวกหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเรียกอีกอย่างว่าสาวกยานและปัจเจกยาน ต่างจากมหายานซึ่งเป็นแนวทางที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีมุ่งบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์จำนวนมากได้พ้นทุกข์ตามไปด้วย แนวทางอย่างหลังนี้จึงเรียกว่า มหายาน แปลว่ายานใหญ่", "title": "หีนยาน" }, { "docid": "334514#4", "text": "หลังจากบรรพชาอุปสมบท หลวงพ่อสมชาย ได้ศึกษาปริยัติธรรมจนจบนักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ. 2533 ท่านได้ปฏิเสธการรับตำแหน่งพระสังฆาธิการเจ้าอาวาส และได้มีศรัทธาออกธุดงค์ในช่วงหลังออกพรรษาของทุกปีไปยังพื้นที่ป่าเขาชนบททั้งในและนอกประเทศ เพื่อโปรดสาธุชนและฝึกปฏิบัติธรรม ตั้งแต่สิบสองปันนา (ประเทศจีน) เชียงตุง (ประเทศพม่า) รัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า) กัมพูชา รวมถึงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2534 หลวงพ่อสมชายได้ธุดงค์ไปจังหวัดภาคใต้ และได้เข้าพักที่สวนโมกขพลาราม และอยู่ฝากตัวเพื่อปฏิบัติศึกษาธรรมกับหลวงพ่อพุทธทาสก่อนที่ท่านพุทธทาสจะมรณภาพ และเป็นหนึ่งในพระลูกศิษย์ไม่กี่รูปที่อยู่ในวันฌาปนกิจสรีระของหลวงพ่อพุทธทาสในปี พ.ศ. 2536", "title": "พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ" }, { "docid": "109849#5", "text": "ธุดงค์ คือวัตร หรือแนวทางการปฏิบัติจำนวน 13 ข้อ ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ให้แก่พระสงฆ์สำหรับเลือกนำไปปฏิบัติ เพื่อมุ่งให้เป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมของพระสงฆ์ที่ตั้งใจสมาทานความเพียรเพื่อมุ่งขัดเกลาทางจิตเพื่อกำจัดกิเลส โดยธุดงค์นี้เป็นเพียงวัตร หรือแนวทางการประพฤติ ที่ไม่ใช่ศีลของพระสงฆ์ พระสงฆ์จึงเลือกปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ[1] และการปฏิบัติธุดงค์", "title": "ธุดงค์" }, { "docid": "908995#6", "text": "ปี พ.ศ. 2458 หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กลับจากเขาสาริกา จังหวัดนครนายก ไปพักจำพรรษา ณ วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี มีกิตติศัพท์ขจรไปว่า ท่านได้สำเร็จธรรมจากเขาสาริกา ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม[1] จึงได้ไปศึกษากรรมฐานกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านให้กรรมฐาน กายคตาสติ ข้อ ปัปผาสะ ปัญจกะ (คือ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ) ให้เป็นบทบริกรรม ในช่วงปีนี้ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมกับเพื่อนสหธรรมิกคือ พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล เมื่อได้ถวายตัวเป็นศิษย์และได้ฝึกทำสมาธิกับครูบาอาจารย์ จิตใจสงบดี มีความสังเวชสลดใจเกิดความเบื่อหน่ายในการประกอบคันถธุระ เชื่อแน่ว่ายังไม่หมดเขตสมัยมรรคผลนิพพาน เพราะหนทางการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ จึงตกลงบำเพ็ญด้านวิปัสสนาธุระสืบไป และได้ออกธุดงค์ติดตาม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นับแต่นั้นมาไป ซึ่งท่านได้ธุดงค์วิเวกตามป่าเขาสถานที่ต่างๆในเขตจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "907939#3", "text": "ปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ออกธุดงค์เที่ยวหาเรียนวิชาอาคม หาของขลังและหาความรู้เพิ่มเติม ท่านได้เดินทางขึ้นไปทางสกลนคร นครพนม จึงได้พบกับ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต ที่บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เมื่อได้ฟังธรรมกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต แล้วก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเชื่อว่าเป็นผู้มีญาณวิเศษสำเร็จแล้ว เพราะได้ทักท้วงท่านเหมือนตาเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงกราบขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ใช้ช่วยชี้แนะแนวทางประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และได้จำพรรษาในเขตจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร ", "title": "วัดป่าสุนทราราม" }, { "docid": "242865#25", "text": "“พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนาและธุดงค์วัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ยมีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยงกินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้นลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟแต่ไม่ขึ้นรถไฟเว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯ กลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา 40 ปีแล้ว", "title": "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ (ปาน อคฺคปญฺโญ)" } ]
4018
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีพี่น้องกี่คน?
[ { "docid": "63252#5", "text": "ยิ่งลักษณ์เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของเลิศ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) ยิ่งลักษณ์มีพี่น้อง 10 คน เช่น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ, เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และพายัพ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นน้องสะใภ้ของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านทางเยาวภาผู้เป็นพี่สาว", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" } ]
[ { "docid": "63252#6", "text": "ยิ่งลักษณ์เป็นหลานอาของสุเจตน์ ชินวัตร อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และสุรพันธ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยพลเอก ชัยสิทธิ์เป็นบุตรชายของพันเอกพิเศษ ศักดิ์ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชายคนโตของเลิศ ยิ่งลักษณ์ยังเป็นญาติของพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผ่านทางคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยาของทักษิณอีกด้วย[6]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#7", "text": "Family of Main Page 16. เช้า แซ่คู8. ง่วนเส็ง แซ่คู4. ชุนเชียง แซ่คู2. เลิศ ชินวัตร5. แสง สมณะ1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร6. เจริญ ทุ่งซิ้ว3. ยินดี ระมิงวงศ์28. เจ้าน้อยรถ ณ เชียงใหม่14. เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)29. เจ้าเอื้องผึ้ง ณ เชียงใหม่7. เจ้าจันทร์ทิพย์ ณ เชียงใหม่15. หม่อมอุษา ณ เชียงใหม่", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "622642#49", "text": "คืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ทหารจับกุมนักการเมืองเพิ่มเติม รวมทั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง[76] วันรุ่งขึ้น คสช. เรียกสมาชิกพรรคเพื่อไทยและตระกูลชินวัตร รวมทั้ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[77][78] นิวัฒน์ธำรงและยิ่งลักษณ์มารายงานตัวต่อ คสช. ในเช้าวันนั้น[79]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557" }, { "docid": "202656#2", "text": "ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย", "title": "ชัยสิทธิ์ ชินวัตร" }, { "docid": "107037#5", "text": "เขมนิจ มีแรงบันดาลใจในวัยเด็กว่าอยากเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เนื่องมาจากมารดาของเขมนิจเคยทำงานที่การบินไทย ในวัยเด็กประมาณ 2 ปี บิดาและมารดาของเขมนิจได้พาเขมนิจไปยังสหรัฐอเมริกาด้วย เมื่อครั้งไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ซึ่งการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ทำให้ครอบครัวจามิกรณ์ได้รู้จักกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันเดียวกัน และเช่าบ้านหลังเดียวกันกับครอบครัวจามิกรณ์ เขมนิจจึงรู้จักยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในฐานะเพื่อนรุ่นน้องของบิดาและมารดาของเขมนิจ และเขมนิจได้เรียกยิ่งลักษณ์ ชินวัตรว่า \"อาปู\" ด้วยความสนิทสนมชิดเชื้อกันอยู่บ้างแล้ว", "title": "เขมนิจ จามิกรณ์" }, { "docid": "63252#4", "text": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เป็นบุตรของเลิศ และยินดี ชินวัตร (สกุลเดิม ระมิงค์วงศ์) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย[5] เข้ารับพระราชทานปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สิงห์ขาวรุ่น 21) เมื่อปี พ.ศ. 2531 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2533", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "489537#0", "text": "พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชุดที่ 3 อดีตที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10", "title": "พฤณท์ สุวรรณทัต" }, { "docid": "63252#10", "text": "หลังจากสกุลชินวัตรและดามาพงศ์ ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของรัฐบาลสิงคโปร์ ยิ่งลักษณ์ก็ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยก่อนหน้านั้น เธอขายหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2548 เพื่อไปบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คือ บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวชินวัตรโดยตรง ด้วยการเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ดูแลพอร์ตการลงทุนพัฒนาที่ดินทั้งหมดแทนบุษบา ดามาพงศ์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 และยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เมื่อปี พ.ศ. 2550 ในยุคที่ทักษิณเป็นประธานสโมสรฯ[10] นอกจากนี้ ยังเป็นอดีตที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการต่างประเทศ ของวุฒิสภา[11] ปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ดำรงตำแหน่ง กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม เพื่อการศึกษาของเยาวชนและสาธารณกุศลต่าง ๆ ที่ทักษิณเป็นผู้ก่อตั้ง", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#39", "text": "พ.ศ. 2554 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนแก่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็น นายกองใหญ่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 ในฐานะนายกรัฐมนตรี หัวหน้าของผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน และ หัวหน้ารัฐบาล[77]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#46", "text": "วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2546 วีไอเอฟสละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุน บมจ.เอสซีแอสเสทฯ ในราคาพาร์ให้บุตรสาวสองคนของทักษิณ ทั้งที่ในการประชุมครั้งเดียวกันนั้น มีวาระให้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป เพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย เป็นเหตุให้วีไอเอฟต้องเสียผลประโยชน์ จากส่วนต่างของราคาหุ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2547 บจก.วินมาร์คขายหุ้นบริษัทของครอบครัวชินวัตร 5 แห่ง ให้พิณทองทา ชินวัตร และบริษัทของครอบครัวชินวัตรอื่นอีก 2 บริษัทรวมเป็นเงิน 18.8 ล้านดอลลาร์ โดย บจก.วินมาร์คไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุน ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสงสัยว่า บจก.วินมาร์ค วีไอเอฟ โอจีเอฟ และโอดีเอฟ อาจเป็นนิติบุคคลอำพรางการถือหุ้น (นอมินี) ของทักษิณและครอบครัว[96] อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าความเป็นธุรกิจของครอบครัวชินวัตร กับความวุ่นวายของคดีความที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเอสซีแอสเสทหรือไม่ ยิ่งลักษณ์ตอบว่า \"90% ของลูกค้าที่เข้าชมโครงการ รับรู้อยู่แล้วว่าธุรกิจเราเป็นของใครตั้งแต่ทำมา เพิ่งมีลูกค้าเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ขอเงินคืน หลังจากที่รู้ว่าเราเป็นใคร เพราะไม่มั่นใจว่าอนาคตเราจะเป็นอย่างไร\"[97]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "371185#7", "text": "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคพลังประชาชน และต่อมาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย จนกระทั่งในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ในเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้มีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค แทนนายสุพล ฟองงามที่ลาออกไปก่อนหน้านั้น ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากนั้นจึงได้ลาออกจากการเป็น ส.ส.ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)", "title": "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" }, { "docid": "63252#11", "text": "เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ในราวปลายปี พ.ศ. 2551 และหลังจากนั้นก็มี ส.ส.กับสมาชิกพรรคจำนวนมาก ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย ยิ่งลักษณ์ก็เป็นทางเลือกแรกของทักษิณ ที่จะให้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธโดยกล่าวว่า ตนไม่เคยต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรี และเพียงแต่สนใจจะทำธุรกิจของตนเท่านั้น โดยเธอจะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นบางครั้ง เฉพาะเมื่อทางพรรคส่งจดหมายเชิญเท่านั้น[12] ยงยุทธ วิชัยดิษฐจึงได้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแทน และในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมกับพวกอีก 28 คน ในคดีโครงการรับจำนำข้าว โดยมีข้อกล่าวหาว่าปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริตโดยไม่ยับยั้ง ซึ่งศาลได้นัดพิจารณาคดีในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลา 9.00 น. ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่ได่เดินทางไปฟังคำพิพากษาจนกระทั่งนำไปสู่การออกหมายจับ กลายเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง[13]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#32", "text": "วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ป.ป.ช. ตกลงอย่างเป็นเอกฉันท์ฟ้องคดีอาญายิ่งลักษณ์ในคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงโครงการรับจำนำข้าว โดยอ้างว่าชาวนาหลายล้านคนยังไม่ได้เงิน[62][63][64]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "306281#0", "text": "เลิศ ชินวัตร (พ.ศ. 2462-23 ตุลาคม พ.ศ. 2540) อดีตนักการเมืองชาวเชียงใหม่ เป็นบิดาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 และนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ", "title": "เลิศ ชินวัตร" }, { "docid": "63261#0", "text": "เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ คนที่ 20 อดีตนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุบลราชธานีเป็นผู้ดูแลพื้นที่ภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย และเป็นน้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และเป็นพี่สาวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย", "title": "เยาวเรศ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#8", "text": "ยิ่งลักษณ์สมรสกับอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอดีตกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็มลิงก์เอเชียคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานในพิธีมงคลสมรส[7] แต่มิได้จดทะเบียนสมรส[8] โดยมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือ ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ชื่อเล่น: ไปค์)[9]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "120487#19", "text": "ณัฐวุฒิได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2) เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555[8] แทนนายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)[9]", "title": "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" }, { "docid": "530858#1", "text": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร เกิดวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรคนโตของนายเลิศ ชินวัตร กับนางยินดี ชินวัตร มีน้อง 9 คน ได้แก่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร), นางเยาวเรศ ชินวัตร (สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์), นางปิยนุช (สมรสกับนายสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ), นายอุดร ชินวัตร, นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (สมรสกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์), นายพายัพ ชินวัตร (สมรสกับนางพอฤทัย จันทรพันธ์), นางมณฑาทิพย์ (สมรสกับนายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล), นางทัศนีย์ ชินวัตร และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร) ", "title": "เยาวลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "440768#1", "text": "เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2504 เป็นบุตรของนายปรีชา และนางณัฐธร มัธยัสถ์สิน มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า สมรสกับนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) มีบุตร 4 คน", "title": "เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข" }, { "docid": "63252#0", "text": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (; เกิดวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28, นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทย ด้วยวัย 44 ปี จัดว่าเป็นนายกรัฐมนตรีไทยซึ่งอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี[1][2], กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม และ เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนยศนายกองใหญ่", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "6131#27", "text": "ใน พ.ศ. 2554 พรรคชาติไทยพัฒนา ร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากทั้งสองพรรคมีความเป็นศัตรูกันอย่างชัดเจนโดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่างประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อใช้กับนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามส่งผลให้เกิดคดี นักการเมืองจากทั้งสองพรรค ถูกศาลออกหมายจับ ในข้อหาทำผิดกฎหมายดังกล่าวจำนวนมาก ในขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนาได้ผลประโยชน์จากการร่วมงานกับทั้งสองพรรคกล่าวคือ ชุมพล ศิลปอาชาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาและธีระ วงศ์สมุทรเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "781740#4", "text": "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ซึ่งเขามีส่วนในการตัดสินคดีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องจากเขาเป็นตุลาการเสียงข้างมากที่มีมติให้คำสั่งย้ายนาย ถวิล เปลี่ยนศรี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้มีคำสั่งคุ้มครองย้อนไปในอดีตตั้งแต่ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้ นาย ไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังจากการตัดสินคดีนี้ ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มนปช. และนักการเมืองพรรคเพื่อไทย นอกจากนั้น เขาเคยมีส่วนในการตัดสิน คดีเขาพระวิหาร โดยมีมติเสียงข้างมากถอดถอนมติคณะรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวชและ คดีมาบตาพุด", "title": "หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล" }, { "docid": "117172#10", "text": "วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เขาถูกวิจารณ์อีกครั้งภายหลังที่เขาโพสต์ขอโทษ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องมาจากการส่อเสียดในรายการสายล่อฟ้าโดยปรากฎคำพูดออกรายการในขณะนั้นว่า ยิ่งลักษณ์ เอาอยู่ โดย นาย ศิริโชค เจตนาให้ผู้ชมเข้าใจคำว่า เอาอยู่ ในลักษณะที่หมิ่นประมาทว่า ยิ่งลักษณ์ กำลังมีเพศสัมพันธ์ อยู่ ณ โรงแรมโฟร์ซีซันส์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ ห้าหมื่นบาท และคดีกำลังเข้าสู่ศาลฎีกา ปรากฎว่า นายศิริโชคขอไกล่เกลี่ยเป็นการขอโทษผ่านเฟสบุ๊ค ภายหลัง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื่นถอนฎีกาแล้ว ปรากฎว่า เขาลบข้อความขอโทษออกทันที ซึ่งได้รับคำวพากษ์วิจารณ์อย่างมาก จนสุดท้ายเขาขอประกาศลงคำขอโทษไว้ 7 วัน", "title": "ศิริโชค โสภา" }, { "docid": "63252#44", "text": "ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ มีการเจรจาขายหุ้นชินคอร์ปครั้งประวัติศาสตร์กว่า 70,000 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก เพื่อขจัดข้อครหาผลประโยชน์แฝง ในการบริหารประเทศของทักษิณ[93] ที่ถูกกล่าวหาว่าอาศัยอำนาจทางการเมือง เอื้อต่อธุรกิจของครอบครัว[94]นั้น พบว่าระดับราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พบว่า ผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ปก็มีการขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่าสังเกตว่า กรณีที่ยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในชินคอร์ปจำนวน 20 ล้านหุ้น ซึ่งได้ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเส็ก ไปพร้อมกับครอบครัวนั้น ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548-มกราคม พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจรจาการซื้อขายหุ้นอย่างชัดเจน โดยในช่วงเดือนเศษ มีการเทขายหุ้น บมจ.เอไอเอส 11 ครั้ง เป็นจำนวน 278,400 หุ้น ในระดับราคาตั้งแต่ 101-113 บาทต่อหุ้น ในกรณีนี้ถือเป็นข้อกังขาว่า ยิ่งลักษณ์ใช้ข้อมูลอินไซเดอร์หรือไม่ เพราะยิ่งลักษณ์เป็นหนึ่งในผู้ที่ตกลงขายหุ้นให้แก่เทมาเส็ก ยอมรับทราบข้อมูลการเจรจาตกลงเป็นอย่างดี การที่ขายหุ้น บมจ.เอไอเอสอย่างต่อเนื่องเช่นนั้น ในขณะที่ต่อมาทางกลุ่มผู้ซื้อ ประกาศทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้น บมจ.เอไอเอส ในราคาเพียงหุ้นละ 72.31 บาท[95]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#29", "text": "การประท้วงต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 หลังช่วงที่การเมืองค่อนข้างมีเสถียรภาพนานสองปี จนวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ประกาศทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาขอยุบสภาผู้แทนราษฎร[57] โดยคณะรัฐมนตรีจะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "126290#0", "text": "นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นอดีต ส.ส.พิจิตร มีชื่อเล่นว่า \"ยอด\" หรือ \"ลูกยอด\" เกิดวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2516 เป็นบุตรของ \"เสธ.หนั่น\" พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา กับ นางฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ เป็นลูกคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้อง 4 คน ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ สิชา อัญชนานันท์", "title": "ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์" }, { "docid": "63252#53", "text": "ในระหว่างพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ยิ่งลักษณ์ยืนก้มหน้าและใช้มือกดโทรศัพท์มือถือ จนเป็นที่วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมระหว่างรอเข้าสู่พิธีการสำคัญ[106] โดยพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท. ทักษิณ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชายของยิ่งลักษณ์ ชี้แจงแทนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่า เธอกำลังปิดโทรศัพท์ก่อนเริ่มพิธีฯ เนื่องจากในภาพ ตำแหน่งของยิ่งลักษณ์ยืนอยู่หลังผู้บัญชาการเหล่าทัพ แต่ตามตำแหน่งริ้วขบวนในพิธี เธอจะต้องยืนอยู่หน้าผู้บัญชาการเหล่าทัพ[107]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "63252#1", "text": "ยิ่งลักษณ์เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลัง เป็นประธานบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "386578#2", "text": "ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 แล้วนั้น บัดนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี (ตามรายนามข้างล่าง) ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60" } ]
4019
มหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือมหาสมุทรใด ?
[ { "docid": "3785#0", "text": "มหาสมุทรแปซิฟิก (English: Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง \"สงบสุข\" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร", "title": "มหาสมุทรแปซิฟิก" } ]
[ { "docid": "3753#19", "text": "นักวิจัยบางส่วนเชื่อว่าส่วนใหญ่ของพิ้นที่ราบต่ำทางตอนเหนือของดาวเคยถูกมหาสมุทรปกคลุมด้วยความลึกหลายร้อยเมตร ทั้งนี้ยังอยู่ในระหว่างการโต้แย้ง ในเดือนมีนาคม 2015 นักวิทยาศาสตร์ระบุว่ามหาสมุทรดังกล่าวอาจมีขนาดราวมหาสมุทรอาร์กติกของโลก การวินิจฉัยนี้ได้มาจากการประเมินอัตราส่วนระหว่างน้ำและดิวเทอเรียมในบรรยากาศปัจจุบันของดาวอังคารเทียบกันกับอัตราส่วนที่พบบนโลก ปริมาณดิวเทอเรียมที่พบบนดาวอังคารมีมากกว่าที่ดำรงอยู่บนโลกถึงแปดเท่า บ่งชี้ว่าดาวอังคารครั้งโบราณกาลมีน้ำเป็นปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญ ผลสำรวจจากยาน\"คิวริออซิตี\" มาพบในภายหลังว่ามีดิวเทอเรียมในอัตราส่วนสูงในหลุมอุกกาบาตเกล อย่างไรก็ตามค่าที่ได้ยังไม่สูงพอที่จะสนับสนุนว่าเคยมีมหาสมุทรอยู่ นักวิทยาศาสตร์รายอื่น ๆ เตือนว่าการศึกษาใหม่นี้ยังไม่ได้รับการยืนยัน และชี้ประเด็นว่าแบบจำลองภูมิอากาศดาวอังคารยังไม่ได้แสดงว่าดาวเคราะห์มีความอบอุ่นเพียงพอในอดีตที่ผ่านมาที่จะเอื้อให้น้ำคงอยู่ในรูปของเหลวได้", "title": "ดาวอังคาร" }, { "docid": "3875#24", "text": "เมื่อแผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนตัว เปลือกโลกส่วนมหาสมุทรจะมุดตัวลงใต้ขอบปะทะของแผ่นเปลือกตามแนวขอบเขตแบบเข้าหากัน ในเวลาเดียวกัน การไหลเลื่อนขึ้นของเนื้อชั้นเนื้อโลกที่ขอบเขตแบบแยกจากกันจะก่อให้เกิดสันกลางมหาสมุทร กระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้รวมกันทำให้เกิดการรีไซเคิลแผ่นเปลือกมหาสมุทรกลับสู่เนื้อโลก ด้วยการรีไซเคิลนี้เองพื้นมหาสมุทรส่วนใหญ่จึงมีอายุไม่เกิน 100 ล้านปี เปลือกโลกส่วนมหาสมุทรที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในบริเวณแปซิฟิกตะวันตกโดยมีอายุประมาณกว่า 200ล้านปี[95][96] เมื่อเทียบกันแล้ว เปลือกโลกส่วนทวีปที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุถึง 4030ล้านปี[97]", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "852359#2", "text": "ในขณะที่ Electrona risso สามารถพบได้ทั่วโลกแพร่หลายในมหาสมุทรอินเดีย,มหาสมุทรแปซิฟิก,มหาสมุทรแอตแลนติกและเมดิเตอร์เรเนียนอีกสี่สายพันธุ์ถูก จำกัด ไว้ที่ซีกโลกใต้ส่วนใหญ่จำกัดอยู่ที่ใต้มหาสมุทร การกระจายตัวของพวกมันขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างการกระจายตัวของตัวอ่อนที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันและพฤติกรรมการกลับถิ่นนอกจาก E. rissoi E. paucirastra เป็นสายพันธุ์เดียวที่พบได้ทางตอนเหนือของมหาสมุทรใต้ แอนตาร์กติกาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใต้แอนตาร์กติกลึกและน้ำอุ่นดังนั้น E. carlsbergii อาศัยอยู่ทางใต้ของทวีปแอนตาร์กติกาลู่ไปยังชายฝั่งแอนตาร์กติกและระหว่างทวีปแอนตาร์กติกและแอนตาร์กติก convergences [5] รูปแบบของน้ำลึกหลายชนิดพบอยู่ในน่านน้ำในน่านน้ำ รูปแบบการย้ายถิ่นจะแตกต่างกันไประหว่างชนิดพันธุ์กลุ่มอายุช่วงอายุของชีวิตเพศละติจูดเวลาและฤดูกาล Migration patterns vary between different species, size groups, life history stages, sex, latitude, time and season.\nปลาเหล่านี้แสดงรูปแบบการย้ายถิ่นประจำวัน ในระหว่างวันพวกมันขึ้นในความลึกระหว่าง 400-1000 เมตร ในช่วงกลางคืนพวกมันจะอพยพเข้ามาใกล้พื้นผิวระหว่าง 5-100 เมตร การย้ายถิ่นตามแนวตั้ง การกระทำนี้ดำเนินการโดยหลักๆแล้วเพื่อการล่าแพลงก์ตอนสัตว์ซึ่งเป็นอาหารหลักของพวกมันและพวกมันยังมีการกระจุกตัวอยู่ในชั้นผิวน้ำและเดินทางลงน้ำลึกในระหว่างวันเพื่อหลีกเลี่ยงนักล่า", "title": "Electrona" }, { "docid": "3785#5", "text": "มหาสมุทรแปซิฟิกทอดตัวยาวลงมาตั้งแต่ทะเลแบริ่งในแถบอาร์กติกไปจนถึงเส้นขนานที่ 60 องศาใต้ซึ่งเป็นตอนเหนือของมหาสมุทรใต้ (ในอดีตมีพื้นที่ถึงทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกา) จุดที่มหาสมุทรแปซิฟิกมีขนาดแผ่นดินใหญ่ห่างกันที่สุดอยู่ที่เส้นขนานที่ 5 องศาเหนือโดยทอดยาวเป็นระยะทางครึ่งโลกหรือประมาณ 19,800 กิโลเมตรจากอินโดนีเซียไปยังชายฝั่งของโคลอมเบีย ซึ่งความยาวนี้ยาวกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ถึง 5 เท่า[3] จุดที่ลึกที่สุดคือร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาวัดได้ 10,911 เมตรใต้ระดับน้ำ ความลึกเฉลี่ยของแปซิฟิกคือ 4,280 เมตร มีปริมาณน้ำทั้งหมด 710,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร[1]", "title": "มหาสมุทรแปซิฟิก" }, { "docid": "3942#0", "text": "มหาสมุทรอาร์กติก () ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด", "title": "มหาสมุทรอาร์กติก" }, { "docid": "202178#0", "text": "มหาสมุทรพายุ (; ) คือแอ่งกว้างใหญ่บนดวงจันทร์ของโลก อยู่ทางขอบด้านตะวันตกของด้านใกล้ของดวงจันทร์ ที่จริงแล้ว ไม่ได้เป็น มหาสมุทร เพราะไม่ได้มีน้ำแต่อย่างใด แต่เป็นที่ราบขนาดพื้นที่ราว 4,000,000 ตาราง กม. ความยาวจาก เหนือ - ใต้ ราว 2500 กม. เกิดจากการที่ภูเขาไฟระเบิด ทำให้พื้นเป็นหินบะซอลต์", "title": "มหาสมุทรพายุ" }, { "docid": "3901#1", "text": "ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร", "title": "มหาสมุทรอินเดีย" }, { "docid": "357229#0", "text": "แชลเลนเจอร์ดีป () เป็นจุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรของโลกเท่าที่รู้จัก โดยมีระดับความลึก 10,911 เมตร ตั้งอยู่ทางปลายด้านใต้สุดของร่องลึกมาเรียนา ใกล้กับกลุ่มหมู่เกาะมาเรียนา แชลเลนเจอร์ดีปมีลักษณะเป็นแอ่งขนาดเล็กที่ก้นของร่องลึกใต้มหาสมุทรรูปดวงจันทร์เสี้ยวขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งร่องเหล่านี้ก็เป็นลักษณะภูมิประเทศที่ลึกผิดปกติใต้ท้องมหาสมุทรอยู่แล้ว แผ่นดินที่อยู่ใกล้กับแชลเลนเจอร์ดีปที่สุด คือ เกาะไฟส์ (ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะแย็พ) ห่างออกไป 289 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และกวม ห่างออกไป 306 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แอ่งดังกล่าวได้ชื่อตามเรือสำรวจราชนาวี เอชเอ็มเอส แชลเลนเจอร์ ซึ่งจัดการสำรวจใน ค.ศ. 1872-76 เป็นการบันทึกความลึกของมหาสมุทรเป็นครั้งแรก", "title": "แชลเลนเจอร์ดีป" }, { "docid": "849842#5", "text": "ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ที่มนุษย์รู้จักมีทั้งดาวเคราะห์ยักษ์ที่เป็นแก๊สและดาวเคราะห์คล้ายโลกที่เป็นของแข็ง ดาวเคราะห์คล้ายโลกประกอบด้วยดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร โดยพื้นผิวของดาวเคราะห์ชั้นในเหล่านี้มีมีองค์ประกอบของหินและแกนกลางเป็นโลหะ ขณะที่ดาวเคราะห์ยักษ์ประกอบด้วยดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูนซึ่งเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่มีพื้นผิวดินเป็นแกนหินขนาดเล็กเพียงอย่างเดียวล้อมรอบด้วยชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น ดาวแก๊สยักษ์คือดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์มีชั้นพื้นผิวที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนเหลวแทนที่จะเป็นพื้นดินแข็งซึ่งในทางธรณีวิทยาดาวเคราะห์ยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก ความเป็นไปได้ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน (ดาวน้ำแข็งยักษ์) มีความร้อนแรงอัดสูงและน้ำยิ่งยวดภายใต้ชั้นบรรยากาศหนาทึบได้รับการตั้งสมมุติฐานขณะที่องค์ประกอบของดาวเคราะห์ยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก การศึกษาของวิคโทโรวิคซ์และคนอื่น ๆ ในปี 2006 ได้ตัดความเป็นไปได้ของการมีน้ำใน \"มหาสมุทร\" ที่มีอยู่ในดาวเนปจูน แม้ว่าบางการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่ามหาสมุทรซึ่งมีองค์ประกอบของเพชรเหลวสามารถเป็นไปได้ พื้นผิวทั้งหมดของดาวเคราห์หินหรือดวงจันทร์ถือว่าเป็นพื้นดินแม้ว่าจะไม่มีทะเลหรือมหาสมุทรก็ตาม ส่วนประกอบของดาวเคราะห์ที่มีชั้นบรรยากาศบาง ๆ มักมีพื้นดินที่เด่นชัดจากการตกของอุกกาบาตเนื่องจากสภาพของชั้นบรรยากาศมักจะเผาไหม้วัตถุที่ตกลงมาและกระทบพื้นผิวอย่างรุนแรง พื้นดินของดาวเคราะห์นอกเหนือจากโลกยังสามารถซื้อและขายได้แม้ว่ากรรมสิทธิ์ของอสังหาริมทรัพย์นอกโลกจะไม่เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานใด ๆ", "title": "พื้นดิน" }, { "docid": "356375#3", "text": "พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ซึ่ง ปลากระเบนแมนตา (\"Manta\" spp.) ซึ่งเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็อยู่ในวงศ์นี้ด้วย ", "title": "วงศ์ปลากระเบนนก" }, { "docid": "663682#1", "text": "ปลาแฮลิบัตเป็นปลาซีกเดียวที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นปลาซีกเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาวเต็มที่ที่พบคือเกือบ 3 เมตร น้ำหนักกว่า 50 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ทั้งมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ", "title": "ปลาแฮลิบัต" }, { "docid": "343228#2", "text": "มหาสมุทรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก - มหาสมุทรแปซิฟิก พื้นที่ประมาณ 165,246,000 ตารางกิโลเมตร มหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดในโลก - มหาสมุทรอาร์กติก พื้นที่ประมาณ 14,438,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก - ทะเลจีนใต้ พื้นที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก - ทะเลเหลือง พื้นที่ประมาณ 466,200 ตารางกิโลเมตร ทะเลซึ่งมีความลึกที่สุดในโลก - ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ในมหาสมุทรแปซิฟิก ความลึก 11,034 เมตร ทะเลสาบปิดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก - ทะเลแคสเปียน พื้นที่ประมาณ 371,000 ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วย 5 ประเทศ ทะเลสาบซึ่งมีความลึกที่สุดในโลก - ทะเลสาบไบคาล สหพันธรัฐรัสเซีย จุดที่ลึกที่สุด มีความลึกประมาณ 1,640 เมตร ทะเลสาบซึ่งมีความเค็มที่สุดในโลก - ทะเลสาบดอนฮวน ทวีปแอนตาร์กติกามีเกลือเจือปนอยู่ร้อยละ 42[1][2] แม่น้ำสายกว้างที่สุดในโลก - แม่น้ำแอมะซอน ในทวีปอเมริกาใต้ ความกว้าง 335 กิโลเมตร แม่น้ำสายยาวที่สุดในโลก - แม่น้ำไนล์ ในทวีปแอฟริกา ความยาว 6,695 กิโลเมตร แม่น้ำสายสั้นที่สุดในโลก - แม่น้ำดี สหรัฐอเมริกา ความยาว 130 เมตร น้ำตกสายกว้างที่สุดในโลก - น้ำตกไนแอการา ประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ความกว้าง 148 กิโลเมตร น้ำตกสายสูงที่สุดในโลก - น้ำตกเอนเจล สาธารณรัฐโบลีวาร์แห่งเวเนซุเอลา ความสูง 979 เมตร", "title": "ที่สุดในโลก" }, { "docid": "728704#1", "text": "หากดาวเคราะห์มหาสมุทรโคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์แม่จนทำให้อุณหภูมิสูงถึงจุดเดือดของน้ำแล้ว น้ำจะอยู่ในสถานะวิกฤตยิ่งยวดและทำให้ไม่สามารถกำหนดอาณาเขตของพื้นผิวดาวเคราะห์ได้อีกต่อไป สำหรับดาวเคราะห์มหาสมุทรที่เย็นกว่า ก็อาจยังคงมีชั้นบรรยากาศที่หนากว่าโลกมากเนื่องจากประกอบด้วยไอน้ำปริมาณมหาศาล สามารถนำไปสู่ภาวะเรือนกระจกขั้นรุนแรงได้ ดาวเคราะห์น้ำขนาดเล็กควรมีชั้นบรรยากาศเบาบางกว่าเนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงต่ำ ซึ่งน้ำสามารถระเหยได้ง่ายกว่าดาวเคราะห์ที่มีมวลมาก และในทางทฤษฎี ดาวเคราะห์น้ำขนาดเล็กอาจมีคลื่นสูงกว่าดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เพราะมีแรงโน้มถ่วงต่ำกว่าเช่นกัน ดาวเคราะห์มหาสมุทรอาจเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำได้", "title": "ดาวเคราะห์มหาสมุทร" }, { "docid": "3875#22", "text": "ค่าเฉลี่ยของการสูญเสียความร้อนจากโลกอยู่ที่ 87 มิลลิวัตต์ต่อตารางเมตร คิดรวมทั้งโลกจะสูญเสียความร้อนที่ 4.42 × 1013 วัตต์[89] พลังงานความร้อนบางส่วนจากแก่นถูกแมนเทิลพลูมส่งผ่านขึ้นมายังเปลือกโลก ซึ่งเป็นการพาความร้อนแบบหนึ่งที่เกิดจากการไหลขึ้นของหินอุณหภูมิสูง พลูมนี้สามารถทำให้เกิดจุดร้อนและทุ่งบะซอลท์[90] ความร้อนจากภายในโลกส่วนใหญ่สูญเสียไปกับการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค โดยการไหลขึ้นของเนื้อโลกที่สัมพันธ์กับสันกลางมหาสมุทร หนทางการสูญเสียความร้อนสำคัญสุดท้ายคือการนำความร้อนผ่านธรณีภาคซึ่งปรากฏใต้มหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่เพราะเปลือกโลกบริเวณนั้นบางมากกว่าแผ่นเปลือกทวีปมาก[91]", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "498813#1", "text": "ถึงแม้ว่า โครงการต่าง ๆ ที่เขาตั้งใจไว้จะไม่สำเร็จเสมอไปเพราะพวกเขามักจะมีปัญหาด้านวิศวกรรมอยู่บ่อยครั้ง แต่ถึงอย่างไรก็ดี เขาก็ยังได้ขึ้นชื่อว่าเป็น \"คนแรก\" ในหลาย ๆ ด้านทางวิศวกรรม โดยเฉพาะหลักการของเขาที่สามารถช่วยสร้างอุโมงค์ข้ามแม่น้ำ ซึ่งยากต่อการสร้างได้ และเขายังเป็นผู้พัฒนาออกแบบเรือเอสเอสเกรตบริเตน (SS Great Britain) ซึ่งเป็นเรือที่ทำด้วยเหล็กกล้าและใช้ใบจักรแบบสกรูครั้งแรกของโลก และได้ถูกนำไปใช้ในการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นลำแรกของโลก และนอกจากนี้ยังเป็นเรือที่ใหญ่สุดในโลกเท่าที่มีการสร้างมาในขณะนั้น ในปี ค.ศ. 1843 และเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาคือ เรือเอสเอสเกรตอีสเทิร์นซึ่งครองตำแหน่งเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกยาวนานถึง 34 ปี เป็นเรือที่มีขนาดก้าวกระโดดกว่าลำใด ๆ ในยุคนั้น ", "title": "อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล" }, { "docid": "495372#2", "text": "ในมหาสมุทรอินเดียเหนือ จะใช้มาตราของกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย ซึ่งแบ่งการจัดความรุนแรงออกเป็น 7 ขั้น โดยอ้างอิงความเร็วลมที่ความเร็วลมสูงสุดโดยประมาณที่พัดต่อเนื่องใน 3 นาที ส่วนพายุหมุนเขตร้อนที่พัฒนาในซีกโลกใต้จะถูกจัดความรุนแรงโดยศูนย์เตือนภัย ตามมาตราใดมาตราหนึ่งจากเพียงสองมาตราที่ใช้ในซีกโลกใต้ ซึ่งทั้งสองมาตราต่างอ้างอิงความเร็วลมโดยประมาณใน 10 นาทีเช่นเดียวกัน โดยมาตราพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลีย จะใช้จัดความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนในทวีปออสเตรเลีย (รวมมหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันออก) และในแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ส่วนในมหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันตกจะใช้มาตราของเมเตโอฟร็องส์ ซึ่งถูกใช้อย่างหลากหลายในดินแดนของฝรั่งเศส รวมถึงนิวแคลิโดเนียและเฟรนช์พอลินีเชียด้วย", "title": "มาตราพายุหมุนเขตร้อน" }, { "docid": "3958#0", "text": "มหาสมุทร (English: ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก[1][2] คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า \"ocean\" หรือ \"มหาสมุทร\" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน[3]", "title": "มหาสมุทร" }, { "docid": "3937#0", "text": "มหาสมุทรแอตแลนติก () เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง \"ทะเลของแอตลาส\" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง", "title": "มหาสมุทรแอตแลนติก" }, { "docid": "495372#1", "text": "พายุหมุนเขตร้อนที่พัฒนาขึ้นในซีกโลกเหนือจะถูกจัดความรุนแรงโดยศูนย์เตือนภัย ตามมาตราใดมาตราหนึ่งจากสามมาตราที่ใช้ในซีกโลกเหนือ โดยพายุหมุนเขตร้อนหรือพายุหมุนกึ่งเขตร้อนที่ปรากฏอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ หรือมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเมื่อแรกพายุจะถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและพายุโซนร้อนตามลำดับ จนเมื่อพายุโซนร้อนทวีกำลังแรงขึ้น จะถูกจัดเป็นพายุเฮอร์ริเคน และหลังจากนั้นจึงจะถูกจัดความรุนแรงด้วยมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน โดยอ้างอิงความเร็วลมที่ความเร็วลมสูงสุดโดยประมาณที่พัดต่อเนื่องใน 1 นาที ส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก พายุหมุนเขตร้อนจะถูกจัดความรุนแรงตามมาตราของคณะกรรมการไต้ฝุ่นของ ESCAP/WMO ซึ่งเป็นมาตราที่แบ่งความรุนแรงของพายุออกเป็นสี่ขั้น โดยอ้างอิงความเร็วลมที่ความเร็วลมสูงสุดโดยประมาณที่พัดต่อเนื่องใน 10 นาที", "title": "มาตราพายุหมุนเขตร้อน" }, { "docid": "735380#1", "text": "ซีกโลกเหนือประกอบด้วยพื้นน้ำมากกว่าแผ่นดินอย่างชัดเจน แต่ก็ยังปกคลุมด้วยแผ่นดินมากกว่าซีกโลกใต้ ซีกโลกเหนือประกอบด้วยแผ่นดิน 39 % และพื้นน้ำ 61 % ประชากรราว 90 % ของโลกอาศัยอยู่ในซีกโลกเหนือ แผ่นดินส่วนใหญ่เป็นทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทวีปอเมริกาเหนือ และส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ยังมีบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ กรีนแลนด์ เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มหาสมุทรที่มีพื้นที่อยู่ในซีกโลกเหนือได้แก่มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติกราวครึ่งหนึ่ง และมหาสมุทรอินเดียบางส่วน", "title": "ซีกโลกเหนือ" }, { "docid": "728704#0", "text": "ดาวเคราะห์มหาสมุทร หรือ ดาวเคราะห์น้ำ () คือดาวเคราะห์ตามสมมติฐานประเภทหนึ่งที่ประกอบด้วยน้ำเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วพื้นผิวทั้งหมดของดาวเคราะห์ประเภทนี้จะจมอยู่ใต้ปริมาณน้ำมหาศาล ซึ่งอาจลึกได้หลายร้อยกิโลเมตร ลึกมากกว่าตำแหน่งใด ๆ ของมหาสมุทรบนโลก ความดันเนื่องจากแรงกดทับอันมหาศาลของน้ำด้านบนอาจก่อให้เกิดชั้นน้ำแข็งขึ้นภายใต้มหาสมุทร ชั้นน้ำแข็งที่เกิดขึ้นจากความกดดันนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเย็นเหมือนก้อนน้ำแข็งธรรมดาเสมอไป", "title": "ดาวเคราะห์มหาสมุทร" }, { "docid": "67671#0", "text": "ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน. เมื่อกล่าวถึงกว้าง ๆ ทะเล คือระบบที่เชื่อมกันระหว่างผืนน้ำมหาสมุทรน้ำเค็มบนโลก ถือเป็นมหาสมุทรโลก หรือแยกเป็นมหาสมุทรหลาย ๆ แห่ง ทะเลบรรเทาภูมิอากาศของโลก และมีบทบาทสำคัญในวัฏจักรน้ำ และวัฏจักรคาร์บอน แม้ว่ามีการเดินทางและสำรวจทะเลตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เกี่ยวกับทะเลที่เรียกว่า สมุทรศาสตร์ สืบย้อนไปได้ถึงคณะเดินทาง\"แชลเลนเจอร์\"ของชาวอังกฤษในคริสต์ทศวรรษ 1870 ทะเลถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้ 5 ส่วน รวมถึงมหาสมุทร 4 แห่ง ที่ตั้งชื่อโดยองค์การอุทกศาสตร์สากล (มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรอาร์กติก) และมหาสมุทรใต้ ทะเลที่มีขนาดเล็กกว่า และอยู่ในระดับรองลงมา เช่น ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน", "title": "ทะเล" }, { "docid": "3785#4", "text": "มหาสมุทรแปซิฟิกแยกทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและทวีปอเมริกาออกจากกัน เส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นที่แบ่งมหาสมุทรแปซิฟิกออกเป็นแปซิฟิกเหนือและแปซิฟิกใต้ ทางเหนือติดภูมิภาคอาร์กติกส่วนทางใต้ติดแอนตาร์กติกา[1] มหาสมุทรแปซิฟิกครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลกและมีพื้นที่ 165,200,000 ตารางกิโลเมตรซึ่งใหญ่กว่าแผ่นดินทั้งหมดของโลก[2]", "title": "มหาสมุทรแปซิฟิก" }, { "docid": "3785#12", "text": "แปซิฟิกเป็นมหาสมุทรที่มีเกาะมากที่สุดในโลก มีการประมาณว่ามีเกาะทั้งหมด 25,000 เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก[13][14][15] เกาะในแปซิฟิกจะแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ คือไมโครนีเซีย เมลานีเซียและโปลินีเซีย", "title": "มหาสมุทรแปซิฟิก" }, { "docid": "3989#4", "text": "โลกของ\"วันพีซ\"มีมนุษย์และเผ่าพันธุ์อื่นจำนวนมากอาศัยอยู่ เช่น \"มนุษย์เงือก\" คนแคระ เผ่ามิงค์ (เผ่าพันธุ์สัตว์คล้ายมนุษย์) ชาวเกาะท้องฟ้า และยักษ์ กินอาณาเขตสองมหาสมุทร ซึ่งคั่นด้วยเทือกเขาขนาดยักษ์เรียก เรดไลน์ ( Reddo Rain) ซึ่งเป็นทวีปเดียวในโลก แกรนด์ไลน์ () ทะเลซึ่งทอดตั้งฉากกับแกรนด์ไลน์ แบ่งมหาสมุทรออกเป็นสี่ทะเล ได้แก่ นอร์ทบลู () อีสบลู () เวสต์บลู () และเซาท์บลู () มีทะเลสองสายล้อมรอบแกรนด์ไลน์ เรียก คามเบลท์ () คล้ายกับละติจูดม้า ซึ่งแทบไม่มีลมหรือกระแสน้ำมหาสมุทร และเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์ทะเลขนาดใหญ่มาก เรียก ด้วยเหตุนี้ คามเบลท์จึงเป็นปราการอย่างดีแก่ผู้ที่พยายามเข้าแกรนด์ไลน์ ทว่า เรือกองทัพเรือ สมาชิกองค์การระหว่างรัฐบาลที่เรียก รัฐบาลโลก สามารถใช้ เพื่ออำพรางตนจากเจ้าทะเลและสามารถผ่านคามเบลท์ได้ เรืออื่นถูกบีบให้ใช้เส้นทางอันตรายกว่า ผ่านภูเขาที่แยกแรกของแกรนด์ไลน์กับเรดไลน์ เป็นระบบคลองที่เรียก น้ำทะเลจากมหาสมุทรทั้งสี่ไหลขึ้นภูเขานั้นและรวมกันบนยอดไหลลงมาเป็นคลองที่ห้าเข้าสู่ครึ่งแรกของแกรนด์ไลน์ ครึ่งหลังของแกรนด์ไลน์ซึ่งอยู่เลยแยกท่สองกับเรดไลน์ เรียกว่า ", "title": "วันพีซ" }, { "docid": "3901#2", "text": "ริมขอบของมหาสมุทรมีเกาะเล็กๆจำนวนมาก ประเทศที่เป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ มาดากัสการ์ (เดิมเป็นสาธารณรัฐมาลากาซี) ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รวมทั้งคอโมโรส, เซเชลส์, มัลดีฟส์, มอริเชียส และศรีลังกา รวมทั้งหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซีย และประเทศติมอร์-เลสเตทางฝั่งตะวันออกของเกาะติมอร์ มหาสมุทรอินเดียมีความสำคัญในฐานะเส้นทางผ่านระหว่างเอเชียและแอฟริกา ในอดีตจึงมีข้อพิพาทบ่อยครั้ง แต่เนืองจากมหาสมุทรมีขนาดใหญ่ ไม่มีประเทศใดที่สามารถครอบครองได้จนกระทั่งต้นทศวรรษ 1800 เมื่อสหราชอาณาจักรเข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่รอบ ๆ", "title": "มหาสมุทรอินเดีย" }, { "docid": "3941#0", "text": "มหาสมุทรใต้ () หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก () เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2543 แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนหน้านั้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสมุทรศาสตร์นานแล้ว โดยในอดีต มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขอบเขตไกลลงไปถึงทวีปแอนตาร์กติกา", "title": "มหาสมุทรใต้" }, { "docid": "615969#1", "text": "ปลาหมอทะเลกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตอบอุ่นทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย มีจำนวนสมาชิกในสกุลนี้ราว 99 ชนิด นับว่ามากที่สุดในวงศ์นี้ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาหมอทะเล (\"E. lanceolatus\") ที่ใหญ่ที่สุดได้เกือบ 3 เมตร และหนักได้ราว 200 กิโลกรัม", "title": "ปลาหมอทะเล (สกุล)" }, { "docid": "3875#33", "text": "ค่าเฉลี่ยความเค็มของมหาสมุทรโลกอยู่ที่ประมาณ 35 กรัมเกลือต่อกิโลกรัมน้ำทะเล (มีเกลือร้อยละ 3.5)[116] เกลือส่วนมากถูกขับออกจากกัมมันตภาพภูเขาไฟหรือชะออกมาจากหินอัคนีเย็น[117] มหาสมุทรยังเป็นแหล่งสะสมของก๊าซในบรรยากาศที่ละลายได้ซึ่งมีความจำเป็นต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำจำนวนมาก[118] น้ำทะเลถือว่ามีอิทธิพลสำคัญต่อภูมิอากาศโลกโดยมหาสมุทรเป็นแหล่งสะสมความร้อนขนาดใหญ่[119] การเปลี่ยนแปลงการกระจายของอุณหภูมิมหาสมุทรสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศอย่างสำคัญได้ เช่น เอลนีโญ–ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้[120]", "title": "โลก (ดาวเคราะห์)" }, { "docid": "240735#10", "text": "โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือวิจัยเวม่าซึ่งเป็นเรือสำรวจโลกลามอนต์-โดเฮอร์ทีของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้ทำการสำรวจแนวขวางมหาสมุทรแอตแลนติกได้ทำการบันทึกข้อมูลพื้นผิวมหาสมุทร คณะสำรวจนำโดยแมรี ธาร์พ และบรูซ ฮีเซนได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปว่ามีแนวเทือกเขาใหญ่อยู่ตรงกลางของมหาสมุทรแอตแลนติก แนวเทือกเขาดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่าเทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติกซึ่งยังถือว่าเป็นส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดของเทือกเขากลางสมุทร ถือเป็นเหตุผลของการใช้คำว่า “กลางสมุทร” ในหัวข้อบทความนี้เนื่องด้วยมีเพียงที่แอตแลนติกเท่านั้นที่ระบบเทือกเขาอยู่ตรงกลางของมหาสมุทร", "title": "เทือกเขากลางสมุทร" } ]
4020
เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ สร้างโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบใด?
[ { "docid": "225463#0", "text": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (English: Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1546 ถึง 1556 แอบบีย์ได้รับเลื่อนฐานะขึ้นเป็นอาสนวิหาร ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แอบบีย์นี้ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอารามหลวง (Royal Peculiar)", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" } ]
[ { "docid": "225463#2", "text": "ภาพของแอบบีเดิมที่ในลักษณะที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ก็เหลืออยู่เพียงภาพที่ปรากฏอยู่ข้างๆ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์บนผ้าปักบายู ทางแอบบีย์มีรายได้เพิ่มขึ้นจนขยายตัวจากนักพรตราวสิบกว่ารูปขึ้นไปเป็นราวแปดสิบรูป[2]", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "9956#49", "text": "รูปปั้นครึ่งตัวของเชกสเปียร์ที่โบสถ์โฮลี่ทรินิตี้ ในเมืองสแตรทฟอร์ด ซึ่งเป็นสถานที่ฝังศพของเชกสเปียร์ โกเวอร์เมมโมเรียล ที่อุทยานบันครอฟต์ เมืองสแตรทฟอร์ด เป็นรูปปั้นเชกสเปียร์ในท่านั่ง ด้านข้างมีรูปปั้นของเลดี้แมคเบธ เจ้าชายฮัล แฮมเล็ต พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 และฟอลสตัฟฟ์ เป็นตัวแทนหมายถึง ปรัชญา โศกนาฏกรรม ประวัติศาสตร์ และความขบขัน ผู้อนุเคราะห์การก่อสร้างคือลอร์ดโรนัลด์ ซุทเทอร์แลนด์-โกเวอร์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1888 ที่จัตุรัสเลสเตอร์ ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน เป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ของเชกสเปียร์ โดยเป็นน้ำพุอยู่กลางจัตุรัส อนุสาวรีย์เชกสเปียร์ที่ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ กรุงลอนดอน โดยตั้งอยู่ที่ \"มุมกวี\" (Poets' Corner) ของวิหาร สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1740 รูปปั้นครึ่งตัวของเชกสเปียร์ สร้างโดย ลูอิส ฟรังซัวส์ โรบิลเลียค ศิลปินงานปั้นชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม ประเทศอังกฤษ อนุสาวรีย์เชกสเปียร์ที่ เซนทรัลปาร์ก ในเมืองนิวยอร์ก สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1864 ในโอกาสครบรอบ 300 ปีวันเกิดของเชกสเปียร์", "title": "วิลเลียม เชกสเปียร์" }, { "docid": "138447#30", "text": "นอกจากยุบอาสนวิหารเดิมแล้วพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงสร้างอาสนวิหารขึ้นใหม่ 6 แห่งจากอารามเดิม แต่ละแห่งปกครองโดยแคนันประจำมุขมณฑล (secular canon) ทั้ง 6 แห่งมี เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ เท่านั้นที่มิได้รักษาฐานะอาสนวิหารเอาไว้", "title": "อาสนวิหาร" }, { "docid": "225463#7", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกได้พระราชทานแอบบีเวสต์มินสเตอร์คืนให้กับนักพรตเบเนดิกติน แต่ก็มาถูกยึดคืนโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี ค.ศ. 1559 ยี่สิบปีต่อมาในปี ค.ศ. 1579 พระองค์ก็พระราชทานฐานะแอบบีให้เป็น “พระอารามหลวง” ซึ่งหมายถึงการเป็นโบสถ์ที่ขึ้นตรงต่อองค์รัฏฐาธิปัตย์แทนที่จะขึ้นอยู่กับมุขนายกเขตมิสซัง และพระราชทานชื่อใหม่ว่า “คริสตจักรเซนต์ปีเตอร์” (Collegiate Church of St Peter) ซึ่งเท่ากับเป็นการสิ้นสุดจากการเป็นแอบบีหรืออารามมาเป็นโบสถ์ที่ปกครองโดยดีน (dean) อธิการองค์สุดท้ายของแอบบีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นดีนองค์แรก", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "271628#8", "text": "ในคริสต์ทศวรรษ 1170 สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มเข้ามาในอังกฤษจากฝรั่งเศสโดยเริ่มที่แคนเตอร์บรีและเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ และเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมกันในอังกฤษต่อมาอีก 400 ปีบางครั้งก็จะมีการวิวัฒนาการที่คล้ายคลึงกับลักษณะของยุโรปภาคพื้นทวีป แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นลักษณะที่แตกหน่อออกไป ตามความแตกต่างของท้องถิ่นของสิ่งก่อสร้างและที่มา", "title": "สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ" }, { "docid": "225463#6", "text": "ในปี ค.ศ. 1535 จากการสำรวจทรัพย์สินและรายได้ของโบสถ์ในอังกฤษก่อนการยุบอารามทางการพบว่ารายได้ประจำปีของแอบบีเวสต์มินสเตอร์เป็นจำนวนประมาณ £2400-2800 ซี่งเป็นจำนวนที่มากเป็นที่สองรองจากแอบบีกลาสตันบรี (Glastonbury Abbey) หลังจากนั้นพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ก็ทรงยึดการปกครองจากนักพรตมาทรงปกครองด้วยพระองค์เองในปี ค.ศ. 1539 และทรงยกฐานะแอบบีขึ้นเป็นอาสนวิหารในปี ค.ศ. 1540 และพระราชทานพระราชเอกสารสิทธิ (letters patent) ก่อตั้งให้แอบบีเวสต์มินสเตอร์เป็นมุขมณฑลอิสระ--มุขมณฑลเวสต์มินสเตอร์ การก่อตั้งแอบบีเวสต์มินสเตอร์ให้เป็นอาสนวิหารทำให้แอบบีรอดจากการถูกทำลายอย่างยับเยินเช่นแอบบีอื่นๆ เกือบทุกแอบบีในราชอาณาจักรอังกฤษในยุคเดียวกัน แต่เวสต์มินสเตอร์ก็เป็นอาสนวิหารอยู่ได้เพียงสิบปีจนถึงปี ค.ศ. 1550 วลี “โขมยจากปีเตอร์ไปจ่ายให้พอล” (robbing Peter to pay Paul) อาจจะมีรากมาจากยุคนี้คือเมื่อรายได้ที่ควรจะเป็นของแอบบีเวสต์มินสเตอร์ (ซึ่งเป็นแอบบีที่อุทิศให้แก่นักบุญปีเตอร์) ถูกโอนไปให้กับคลังของมหาวิหารเซนต์พอล", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "216944#13", "text": "หลังการดองศพ ที่ในคริสตศตวรรษที่ 13 มีการนำเอาอวัยวะภายในออกมา อวัยวะภายในของพระราชินีเอเลนอร์ถูกฝังในมหาวิหารลินคอล์นและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้จำลองสุสานเวสต์มินสเตอร์มาไว้ที่นี่ หัวใจของพระราชินีเอเลนอร์ถูกนำไปที่ลอนดอนพร้อมกับร่างของพระองค์และถูกฝังที่ศาสนสำนักแบล็คไฟรยาร์ส พิธีศพของพระราชินีเอเลนอร์ถูกจัดขึ้นในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1290", "title": "เอเลเนอร์แห่งคาสตีล" }, { "docid": "68672#27", "text": "9 เมษายน ซึ่งเป็นวันพิธีพระบรมศพ พสกนิกรมากกว่าหนึ่งล้านคนอยู่เต็มลานนอกเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และยาวตลอด 23 ไมล์จากใจกลางกรุงลอนดอนจนถึงที่พำนักสุดท้ายของพระองค์เคียงข้างพระราชสวามีและพระราชธิดาองค์เล็กในโบสถ์เซ็นต์จอร์จ ที่ปราสาทวินด์เซอร์ และจากความต้องการของพระองค์ หลังจากพิธีพระบรมศพให้นำพวงหรีดที่ได้วางอยู่บนโลงพระศพไปวางไว้บนหลุมฝังศพของทหารนิรนามในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ซึ่งสะท้อนให้รำลึกถึงวันอภิเษกสมรสของพระองค์", "title": "สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี" }, { "docid": "225463#1", "text": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 616 ณ ที่ตั้งปัจจุบันที่เดิมเรียกว่าธอร์น อาย (เกาะธอร์น) ซึ่งเป็นเกาะกลางแม่น้ำ ตามตำนานกล่าวว่าคนหาปลาในแม่น้ำเทมส์ชื่ออัลดริชเห็นนักบุญซีโมนเปโตรมาปรากฏตัวใกล้กับที่ตั้งแอบบีย์ในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลของการที่แอบบีย์ได้รับปลาซาลมอนจากคนหาปลาในแม่น้ำเทมส์ต่อมา แต่ตามหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่ากล่าวว่าในคริสต์ทศวรรษ 960 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 970 นักบุญดันสตันร่วมกับพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบได้ก่อตั้งอารามคณะเบเนดิกตินขึ้นที่นี่ ต่อมาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีก็สร้างแอบบีย์ให้เป็นโบสถ์หินระหว่างปี ค.ศ. 1045 ถึงปี ค.ศ. 1050 เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังของพระองค์ แอบบีย์ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1065[1] เพียงอาทิตย์เดียวก่อนที่จะเสด็จสวรรคตและใช้เป็นที่ฝังพระศพของพระองค์เอง ในปี ค.ศ. 1245 พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ก็ทรงสร้างแอบบีใหม่แทนแอบบีย์เดิมและทรงเลือกให้เป็นที่บรรจุพระศพของพระองค์เอง", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "207451#12", "text": "หลังมาทิลดาสิ้นพระชนม์ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1118 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ทรงถูกฝังที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ การสิ้นพระชนม์ของพระโอรส วิลเลียม อาเดลิน ในหายนะสุดเศร้าของเรือขาว (พฤศจิกายน ค.ศ. 1120) และเฮนรีล้มเหลวในการผลิตพระโอรสในสมรสจากการแต่งงานครั้งที่สองที่นำไปสู่วิกฤตการสืบราชบัลลังก์ดิ อานาร์คี (ภาวะอนาธิปไตย)", "title": "มาทิลดาแห่งสกอตแลนด์" }, { "docid": "211349#5", "text": "ในเดือนมิถุนายนของปี ค.ศ. 1394 แอนน์ป่วยเป็นกาฬโรคขณะอยู่ที่พระราชวังชีนกับพระสวามี ทรงสิ้นพระชนม์สามวันต่อมาในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1394 ด้วยพระชนมายุ 28 พรรษา พระเจ้าริชาร์ดโศกเศร้าอย่างยิ่งกับการสิ้นพระชนม์ของแอนน์จนสั่งให้ทำลายพระราชวังชีน เป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่มันมีสภาพเป็นซากปรักหักพังจนกระทั่งพระเจ้าเฮนรีที่ 5 เริ่มโครงการสร้างใหม่ในปี ค.ศ. 1414 พระเจ้าริชาร์ดจัดพิธีศพให้แอนน์อย่างยิ่งใหญ่งดงาม มีการจุดเทียนและคบเพลิงที่ทำจากไขที่นำเข้าพิเศษมาจากฟลานเดอร์ส์ตลอดทางจากพระราชวังชีนถึงเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ผู้ร่วมพิธีทุกคนสวมเสื้อผ้าดำล้วนและผ้าคลุมศีรษะสีดำ พระเจ้าริชาร์ดโกรธเมื่อริชาร์ด ฟิตซ์อลัน เอิร์ลที่ 11 แห่งอารันเดลมาถึงพิธีศพช้า กษัตริย์ฟาดหน้าเอิร์ลด้วยคทา และริชาร์ดได้สร้างหลุมฝังศพให้พระมเหสีที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์", "title": "แอนน์แห่งโบฮีเมีย" }, { "docid": "369162#18", "text": "ในพระราชพิธีเสกสมรส เจ้าชายวิลเลียมและแคเธอริน ได้ประกอบพิธีทางศาสนาคริสต์นิกายแองกลิคัน ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ โดยมีดีนแห่งเวสต์มินสเตอร์เป็นผู้ดำเนินพิธี ส่วนอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี (ผู้นำของคริสตจักรแห่งอังกฤษ) เป็นผู้โปรดศีลสมรส และบิชอปแห่งลอนดอนผู้สนิทกับเจ้าชายชาลส์พระบิดาของเจ้าชายวิลเลียมเป็นผู้เทศน์ เสร็จพิธีแล้วเสด็จเพื่อเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ พระราชวังบักกิงแฮม", "title": "พระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมกับแคเธอริน มิดเดิลตัน" }, { "docid": "225463#15", "text": "แอบบีเวสต์มินสเตอร์ ด้านหลังที่ภายในเป็นชาเปลพระแม่มารี ทิวทัศน์กลางคืน ค้ำยันด้านนอก ทางเดินกลาง เพดานโค้งแบบกอธิค ฉากกางเขน พรมทอแขวนผนัง ภายในชาเปลพระแม่มารี พระบรมศพของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "369162#11", "text": "พระราชพิธีเริ่มต้นขึ้นในช่วงบ่ายตามเวลาในประเทศไทยของวันที่ 29 เมษายน นำโดยขบวนรถพระที่นั่งของ เจ้าชายวิลเลียม และเจ้าชายแฮร์รี พระอนุชา วิ่งเข้าสู่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ โดยมีประชาชนต้อนรับเสด็จฯ รอบแอบบีย์ ซึ่งเจ้าชายวิลเลียมทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารของหน่วยไอริชการ์ดซึ่งเป็นชุดสีแดงสด ขณะที่เจ้าชายแฮร์รีที่เป็นเพื่อนเจ้าบ่าวทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารของเหล่าทหารม้า และเจ้าชายชาร์ลส์ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ หลังจากนั้นเจ้าชายชาลส์ พร้อมด้วยคามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ เสด็จพระราชดำเนินถึงยังเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ตามด้วยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่เสด็จมาพร้อมกับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามี โดยทรงฉลองพระองค์และพระมาลาสีเหลือง", "title": "พระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมกับแคเธอริน มิดเดิลตัน" }, { "docid": "225463#10", "text": "จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แอบบีเวสต์มินสเตอร์ก็เป็นสถานศึกษาลำดับที่สามของอังกฤษรองจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเป็นสถานที่ที่หนึ่งในสามตอนแรกของคัมภีร์ไบเบิลฉบับพระเจ้าเจมส์ (King James Bible) ของพันธสัญญาเดิมและครึ่งหลังของพันธสัญญาใหม่ได้รับการแปล ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แอบบีก็เป็นที่รวบรวมคัมภีร์ไบเบิลภาษาอังกฤษฉบับใหม่ (New English Bible) แอบบี เวสต์มินสเตอร์ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยระหว่างการทิ้งระเบิดในลอนดอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "225463#9", "text": "หอสองหอด้านหน้าแอบบีสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1722 ถึงปี ค.ศ. 1745 โดยนิโคลัส ฮอคสมัวร์ (Nicholas Hawksmoor) จากหินพอร์ตแลนด์ และเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค การขยายต่อมาทำในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายใต้การควบคุมของเซอร์จอร์จ กิลเบิร์ต สกอตต์ (George Gilbert Scott) ปฏิมณฑลสำหรับด้านหน้าออกแบบโดยเซอร์เอ็ดวิน ลูเต็นส (Edwin Lutyens) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ไม่ได้สร้าง", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "225463#13", "text": "พระบรมศพหรือพระศพของพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์จะบรรจุไว้ภายในชาเปลต่างๆ ภายในแอบบี ส่วนศพของนักบวชและผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับแอบบีเวสต์มินสเตอร์ก็จะบรรจุภายในระเบียงฉันนบถและบริเวณอื่นๆ ในแอบบี เช่นกวีคนสำคัญของอังกฤษเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ผู้เคยพำนักอยู่ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์และเป็นข้าราชสำนักขณะที่มีชีวิตอยู่ กวีคนอื่นๆ ก็ถูกบรรจุไว้ในบริเวณเดียวกันที่เรียกกันว่า “มุมกวี” ที่ได้แก่; วิลเลียม เบลค, โรเบิร์ต เบิร์นส และวิลเลียม เชกสเปียร์เป็นต้น ต่อมาการบรรจุศพกันในแอบบีกลายมาเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตา จึงทำให้เผยแพร่ไปยังการบรรจุศพบุคคลสำคัญๆ จากอาชีพต่างๆ เช่นนักการเมือง, นักวิทยาศาสตร์ หรือนักการทหารเป็นต้น", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "158575#10", "text": "เฮนรีเริ่มป่วยหนักขึ้นและอ่อนแอลงในช่วงปีท้ายๆ พระโอรสและทายาทของพระองค์ เอ็ดเวิร์ด กลายเป็นผู้ดูแลของอังกฤษและเริ่มมีบทบาทอำนาจมากขึ้นในการบริการปกครอง มรดกที่สำคัญที่สุดของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 คือเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ในปี ค.ศ. 1042 เอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพเริ่มสร้างแอบบีย์ของนักบุญปีเตอร์ขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างที่ฝังพระศพหลวงให้ตนเอง เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ยุคแรก การก่อสร้างโบสถ์ในยุคที่สองและเป็นโบสถ์ปัจจุบันเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1245 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ที่เลือกให้เป็นที่ฝังพระศพของตนเอง ในปี ค.ศ. 1269 เฮนรีกำกับดูแลพิธีการใหญ่เพื่อฝังเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพใหม่ในแท่นบูชาใหม่ที่วิจิตรงดงาม ทรงให้ความช่วยเหลือเป็นการส่วนตัวในการแบกพระศพไปสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่", "title": "พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "548915#0", "text": "มงกุฎพระราชินีเอลิซาเบธ () เป็นมงกุฎตัวเรือนทำจากแพลตินัมของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มงกุฎองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระราชสวามีที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์", "title": "มงกุฎพระราชินีเอลิซาเบธ" }, { "docid": "225463#3", "text": "อธิการของแอบบีผู้ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียนพำนักอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองมาตั้งแต่หลังจากการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 และต่อมาอีกหลายร้อยปี ก็มักจะได้รับตำแหน่งในพระราชสำนักและในที่สุดก็มีสิทธิได้เป็นสมาชิกในสภาขุนนาง เมื่ออำนาจทางด้านการเป็นผู้นำของคณะถูกย้ายไปอยู่ที่อารามกลูว์นีในฝรั่งเศสในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 นักพรตของเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ก็มีโอกาสในการบริหารบริเวณที่ดินต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าของซึ่งบางครั้งก็ไกลไปจากเวสต์มินสเตอร์เองมาก “นักพรตคณะเบเนดิกตินดูเหมือนจะปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตอย่างฆราวาสได้เป็นอย่างดี และโดยเฉพาะกับในหมู่ชนชั้นสูง” เป็นคำสรุปของบาร์บารา ฮาร์วีย์ ที่ทำให้เห็นภาพพจน์ของชีวิตประจำวัน[3] ในแง่มุมของชนชั้นผู้ดีในสังคมชั้นสูงในสมัยกลางและปลายสมัยกลาง", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "215546#5", "text": "ตอนที่ทั้งคู่แต่งงานกัน เฮนรีพระชนมายุราว 37 ส่วนโจนราว 35 แต่ทั้งคู่ไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน โจนเข้ากันได้ดีกับพระโอรสธิดาเลี้ยงโดยเฉพาะเฮนรีแห่งมอนเมาธ์ เจ้าชายแห่งเวลส์ อนาคตพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ ในปีสุดท้ายของพระองค์ พระเจ้าเฮนรีที่ 4 ทรมานจากโรคที่ทำให้เสียโฉม (อาจเป็นโรคเรื้อน, โรคซิฟิลิส หรือโรคสะเก็ดเงิน) และป่วยหนัก (อาจจะด้วยโรคลมบ้าหมูหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ) ขณะกำลังสวดมนต์ที่แท่นบูชาเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ เฮนรีทรมานกับอาการป่วยที่สาหัสถึงตายได้ อาจเป็นเส้นเลือดในสมองแตก พระองค์ถูกหามไปที่ห้องเยรูซาเล็ม ห้องในบ้านของพระอธิการของแอบบีย์ ที่พระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุ 45 พรรษา เฮนรีไม่ได้ถูกฝังที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ แต่กลับเรียกร้องให้ฝังตนเองที่อาสนวิหารแคนเทอร์บรี สันนิษฐานว่าเป็นเพราะความเกี่ยวดองกับนักบุญโธมัสที่มีแท่นบูชาอยู่ที่นั่น", "title": "โจแอนนาแห่งนาวาร์" }, { "docid": "225463#8", "text": "ในคริสต์ทศวรรษ 1640 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษแอบบีได้รับความเสียหายจากกลุ่มเพียวริตันที่พยายามบุกเข้ามาทำลายรูปเคารพต่างๆ แต่ก็ได้รับการปกป้องเพราะความที่อยู่ใกล้กับรัฐบาลเครือจักรภพ เมื่อเจ้าผู้พิทักษ์โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ถึงแก่อสัญกรรมก็ได้รับการทำพิธีฝังศพกันอย่างอย่างใหญ่โตที่แอบบีในปี ค.ศ. 1658 แต่ร่างของครอมเวลล์ก็มาถูกขุดขึ้นมาเพียงอีกสามปีต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1661 เพื่อนำมาแขวนคอที่ตะแลงแกงไม่ไกลจากแอบบีนัก", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "207163#7", "text": "แฮโรลด์ กอดวินสัน พระเจ้าแฮโรลด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ถูกปราบและสังหารที่สมรภูมิเฮสติงส์ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066 ในวันคริสต์มาส ค.ศ. 1066 วิลเลียมได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ในเดือนมีนาคมของปี ค.ศ. 1067 วิลเลียมกลับไปนอร์มองดีและยังคงอยู่ที่นั่นจนถึงต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1067 ช่วงวันท้ายๆ ในนอร์มองดีนี่เองที่พระโอรสธิดาคนสุดท้องของมาทิลดากับวิลเลียม อนาคตพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ มาอยู่ในครรภ์ มาทิลดาที่ตั้งครรภ์ออกจากนอร์มองดีไปอังกฤษในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1068 พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระราชินีในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1068 ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์", "title": "มาทิลดาแห่งแฟลนเดิร์ส" }, { "docid": "158575#11", "text": "พระเจ้าเฮนรีที่ 3 สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุ 69 พรรษาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ด้วยการกำหนดของพระองค์เอง เฮนรีถูกฝังในโลงศพเดิมของเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ สุดท้ายแล้วหลุมฝังศพที่ใหญ่กว่าเดิมถูกสร้างขึ้นมาให้เฮนรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1209 อัฐิของพระองค์ถูกย้ายไปตำแหน่งที่ตั้งในปัจจุบันในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ในสุสานที่อยู่ตรงไปทางเหนือของแท่นบูชาของเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ", "title": "พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ" }, { "docid": "971006#2", "text": "เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1269 เอ็ดมุนด์แต่งงานกับอีฟลิน เดอ ฟรอซ เคานเตสแห่งโอแมลและเลดี้แห่งโฮลเดอเนส ลูกสาวของวิลเลียม เดอ ฟรอซ เอิร์ลที่ 4 แห่งแอลเบอมาร์ล กับอิซาเบลลา เดอ ฟอร์ติบัส เคานเตสแห่งเดวอน พระมารดาของเอ็ดมุนด์ เอเลนอร์แห่งโพรวองซ์ ได้จัดแจงเรื่องการแต่งงานกับทายาทหญิงคนสำคัญกับแม่และยายของเจ้าสาว อาไมซ์ เดอ แคลร์ ลูกสาวของจิลแบร์ต์ เดอ แคลร์ เอิร์ลที่ 4 แห่งเฮริฟอร์ดกับอิซาเบล มาร์แชล เอ็ดมุนด์กับอีฟลินเป็นคู่สามีภรรยาเชื้อพระวงศ์คู่แรกที่แต่งงานในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ พระบิดาของเอ็ดมุนด์ พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ได้เริ่มสร้างแอบบีย์เก่าของนักบุญเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1245 เพราะอีฟลินอายุเพียง 10 ปี การแต่งงานจึงไม่สมบูรณ์อยู่เป็นเวลาสี่ปี อีฟลินตายตอนอายุ 15 ปี อาจจะในการคลอดลูกหรือไม่ก็หลังจากแท้งไม่นาน และถูกฝังที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ผ่านทางอีฟลิน เอ็ดมุนด์มีความหวังว่าจะได้เอิร์ลดอมแห่งเดวอนและโอแมลมาเช่นเดียวกับการเป็นเจ้าของที่ดินโฮลเดอร์เนสกับเกาะไวจ์ต์ ทว่าการตายของอีฟลินทำให้ดินแดนของเธอกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ที่ทำให้เอ็ดมุนด์ไม่ได้สืบทอดต่อ", "title": "เอ็ดมุนด์หลังกางเขน เอิร์ลที่ 1 แห่งแลงคาสเตอร์" }, { "docid": "225463#5", "text": "แอบบีกลายเป็นสถานที่ในการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเศกของพระมหากษัตริย์นอร์มันแต่ไม่มีองค์ใดที่ถูกฝังที่นั่นมาจนมาถึงพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ผู้ทรงอุทิศพระองค์แก่ลัทธินิยมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี พระองค์ทรงสร้างแอบบีเวสต์มินสเตอร์ใหม่ในแบบสถาปัตยกรรมกอธิคเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี ผู้ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในปี ค.ศ. 1161 และเป็นที่สำหรับฝังพระบรมศพของพระองค์เอง งานการก่อสร้างยังคงทำกันต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1245 ถึงปี ค.ศ. 1517 และส่วนใหญ่ทำโดยสถาปนิกเฮนรี เยเวล (Henry Yevele) ในสมัยพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ต่อมาในปี ในปี ค.ศ. 1503 พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ก็ทรงต่อเติมชาเปลแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ (Perpendicular Period) ทางด้านหลังสุดของแอบบีที่อุทิศให้แก่พระนางมารีย์พรหมจารี (ที่รู้จักกันว่า “ชาเปลพระแม่มารีของพระเจ้าเฮนรีที่ 7”) หินที่ใช้สร้างแอบบีย์มาจากค็อง (Caen) ในฝรั่งเศส และในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "225463#14", "text": "คริสต์ศาสนสถาน สถาปัตยกรรมกอธิค มหาวิหารในสหราชอาณาจักร แผนผังมหาวิหาร สถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารในยุโรปตะวันตก", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" }, { "docid": "142776#3", "text": "ที่ตั้งของอาสนวิหารปัจจุบันกล่าวกันว่าเคยเป็นที่ตั้งของวงหิน (stone circle) เป็นโบสถ์ที่อุทิศให้เทพีไดแอนนา ซึ่งตั้งตรงกันข้ามกับวิหารอพอลโลที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ แต่คริสโตเฟอร์ เรน (Christopher Wren) ผู้เป็นสถาปนิกไม่พบสิ่งใดที่เป็นหลักฐานตามที่กล่าว แต่ก็อาจจะเป็นได้ว่าโบสถ์เดิมเป็นเพียงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ และอาจจะถูกทำลายหลังจากที่เมลลิทุสถูกไล่ออกจากเมืองไปชั่วคราวโดยผู้นอกศาสนาที่สืบเชื้อสายมาจากแซร์เบิร์ธ (Saeberht) และตัวโบสถ์เองก็ถูกเผาเมื่อปี ค.ศ. 675 โบสถ์ที่สร้างแทนที่เป็นหิน (ค.ศ. 685) ภายในโบสถ์เป็นที่ฝังพระเจ้า/นักบุญเซ็บบีแห่งเอสเซ็กซ์ ต่อมาโบสถ์นี้ก็ถูกไวกิงปล้นทำลายเมื่อปี ค.ศ. 961 ตามที่กล่าวใน “บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน”", "title": "อาสนวิหารนักบุญเปาโล" }, { "docid": "225463#4", "text": "แต่การที่มีที่ตั้งที่อยู่ไม่ไกลจากพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ก็มิได้ทำให้นักพรตมีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์มากไปกว่าปกติ ในทางสังคมนักพรตของแอบบีก็ยังปฏิบัติตัวอย่างสมถะเช่นเดียวกับนักพรตอื่นๆ ในคณะเดียวกันที่อยู่ที่อื่น อธิการแอบบีก็ยังคงมีฐานะเป็นผู้เป็นเจ้าของที่ดินของชุมชนราวสองสามพันคนรอบๆ แอบบี ในฐานะผู้บริโภคและนายจ้างทางราชสำนักก็ช่วยส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจของเวสต์มินสเตอร์ นอกจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักกับเวสต์มินสเตอร์ก็เป็นความสัมพันธ์อันดี แต่ทางเวสต์มินสเตอร์ก็มิได้รับสิทธิพิเศษในการค้าขายใดๆ ในยุคกลาง[4] แอบบีเวสต์มินสเตอร์สร้างร้านค้าและที่อยู่อาศัยทางด้านตะวันตกแต่ก็เริ่มรุกเข้ามาในบริเวณของนักพรต", "title": "เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์" } ]
4024
เกมวอร์คราฟต์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "15294#0", "text": "สตาร์คราฟต์ เป็นวิดีโอเกมประเภทวางแผนเรียลไทม์และบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์การทหาร พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2541[1] ต่อมา เกมขยายเป็นแฟรนไชส์ และเป็นเกมแรกของซีรีส์<i data-parsoid='{\"dsr\":[1624,1639,2,2]}'>สตาร์คราฟต์ รุ่นแมคโอเอสออกในเดือนมีนาคม 2542 และรุ่นดัดแปลงนินเทนโด 64 ซึ่งพัฒนาร่วมกับแมสมีเดีย ออกในวันที่ 13 มิถุนายน 2543[2] การพัฒนาเกมนี้เริ่มขึ้นไม่นานหลังวอร์คราฟต์ 2: ไทด์สออฟดาร์กเนส ออกในปี 2538 สตาร์คราฟต์</i>เปิดตัวในงานอี3 ปี 2539 ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบน้อยกว่า<i data-parsoid='{\"dsr\":[2083,2099,2,2]}'>วอร์คราฟต์ 2 ฉะนั้น โครงการจึงถูกพลิกโฉมทั้งหมดแล้วแสดงต่อสาธารณะในต้นปี 2540 ซึ่งได้รับการตอบรับดีกว่ามาก", "title": "สตาร์คราฟต์" } ]
[ { "docid": "19516#7", "text": "วอร์คราฟต์ 3 เป็นเกมในลำดับที่สามของชุดเกมวางแผนเรียลไทม์ของบริษัทบลิซซาร์ด วอร์คราฟต์ นับตั้งแต่เกม วอร์คราฟต์ 2 เป็นต้นมา บลิซซาร์ดได้บรรจุ \"เวิลด์ เอดิเตอร์\" เพิ่มในตัวเกมด้วย ทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างฉาก หรือเรียกว่า \"แผนที่\" ให้กับเกมได้ด้วยตนเอง ซึ่งยังสามารถเล่นออนไลน์กับผู้เล่นคนอื่นผ่านทางแบทเทิล.เน็ต ฉากซึ่งสร้างขึ้นใหม่นี้มีตั้งแต่การดัดแปลงสภาพภูมิประเทศเพียงเล็กน้อย และคงรูปแบบการเล่นเหมือนเกมทั่วไป ไปจนถึงการสร้างฉากขึ้นใหม่ทั้งหมด นับตั้งแต่จุดมุ่งหมายของฉาก ยูนิต ไอเท็ม และเหตุการณ์ เหมือนกับดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์[13] ซึ่งบริษัทบลิซซาร์ดเองก็ได้ชี้ว่าฉากดังกล่าวเป็นตัวอย่างจากผลของการใช้เครื่องมือตกแต่งฉากนี้ด้วยเช่นกัน[14]", "title": "ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์" }, { "docid": "91173#7", "text": "โหมดยุทธการของ\"วอร์คราฟต์ 3\" แบ่งออกเป็น 5 โหมดยุทธการ แต่ละโหมดยุทธการ ผู้เล่นจะได้ควบคุมยูนิตทั้งสี่เผ่าพันธุ์ และจะมีภารกิจแยกย่อยออกไป ตัวเกมยังมีการมอบหมายเควสให้แบบใหม่โดยที่ไม่เหมือนกับเกมอื่น ๆ ที่เคยสร้างมา โดยในคัตซีนผู้เล่นจะไม่ได้รับแจ้งโดยตรงว่าเควสให้ทำอะไร วอร์คราฟต์ 3 ใช้ระบบของ \"เควสไม่นำร่อง\" ซึ่งเควสดังกล่าวจะปรากฏขึ้นในระหว่างการเล่นเกม ไม่เพียงแต่ในคัดซีนเพียงอย่างเดียว", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#28", "text": "บริษัทบลิซซาร์ดยังได้ออก \"วอร์คราฟต์ 3 แบทเทิล เชสต์\" ซึ่งประกอบด้วยแผ่นเกมของ \"วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส\" และ \"วอร์คราฟต์ 3: บัลลังก์น้ำแข็ง\" เข้าด้วยกันในกล่องเดียว และยังมีคู่มือแนะนำการเล่นจากบราดีเกมส์ (BradyGames)", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#32", "text": "การตอบรับของเกมวอร์คราฟต์ 3 เป็นการตอบรับในด้านดีมาก ๆ แม้ว่าการประเมินโดย GamePro จะบอกว่า \"เกมวอร์คราฟต์ 3 ไม่ได้ปฏิวัติวงการเกมวางแผนเรียลไทม์แต่อย่างใด\" แต่ก็ยังยกย่องบริษัทบลิซซาร์ดว่า \"วางโครงเรื่องได้เป็นอย่างดี การเล่นเป็นจังหวะ และมีการเล่นแบบออนไลน์ที่จะไม่ตกยุค\" GameSpot ได้ประเมินวอร์คราฟต์และสตาร์คราฟต์ที่ได้ให้ประสบการณ์การเล่นที่แปลกใหม่ และนับว่าเป็น \"ปรากฏการณ์ใหม่\" ผู้ประเมินจำนวนมากยังวิจารณ์ว่าเกมวอร์คราฟต์เป็นเกมที่มีความสนใจ เนื่องจากการเล่นในเกมวางแผนเรียลไทม์เกมอื่น ๆ ในช่วงต้นของเกมจะเป็นการแข่งขันกับเพื่อสร้างยูนิตที่ดีที่สุดขึ้นมาเท่านั้น และผู้ประเมินยังได้บอกอีกว่าเกมวอร์คราฟต์ 3 เป็นการเริ่มต้นของการแยกทุกเผ่าพันธุ์ออกจากกัน ทำให้ทุกเผ่าพันธุ์ต่างมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ส่วน IGN กล่าวว่า \"วอร์คราฟต์ไม่ได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาเป็นตัน แต่ว่าตัวเกมจะดีพอที่คุณจะไม่สนใจหรือไม่สังเกตเลยด้วยซ้ำ\"", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#10", "text": "\"วอร์คราฟต์ 3\" เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกที่ชื่อว่า อาร์เซรอธ หลายปีก่อนที่เรื่องราวในเกมจะเริ่มขึ้น กองทัพปีศาจซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม เบิร์นนิง ลีเจียน พยายามที่จะทำลายโลกอาร์เซรอธ โดยส่งเผ่าพันธุ์ที่ถูกควบคุมจิตใจ ซึ่งเรียกว่า ออร์ก หลังจากสงครามยาวนานหลายปี พวกออร์กได้พ่ายแพ้ต่อกองกำลังผสมของมนุษย์ คนแคระและเอลฟ์ พวกออร์กที่รอดชีวิตอยู่ถูกจำขังไว้ในค่ายกักกัน หลังจากการกักขังอันยาวนาน ทำให้พวกออร์กเหล่านี้หมดความปรารถนาที่จะสู้รบ เมื่อไม่มีศัตรูให้เห็น สันติภาพจึงบังเกิด แต่ว่าฝ่ายพันธมิตรทำท่าว่าจะแตกสลาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน \"วอร์คราฟต์ 3\" ได้เกิดขึ้นภายหลังจากช่องว่างจาก \"วอร์คราฟต์ 2\" ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเคยจะถูกสร้างให้เป็นเกมที่ชื่อว่า \"วอร์คราฟต์ แอดเวนเจอร์\" แต่ว่าเกมดังกล่าวถูกยกเลิกระหว่างการพัฒนากลางคันธรอลล์ ผู้นำแห่งอนารยชนออร์คในอาณาจักรตะวันออกตื่นขึ้นจากฝันร้ายที่เหมือนจริงว่า สงครามระหว่างเผ่าพันธุ์กำลังจะเกิดขึ้น ธรอลล์ ได้รับคำแนะนำของเมดีฟผู้พยากรณ์ ให้แล่นเรือและพาพวกอนารยชนออร์คที่เหลือทั้งหมดบนแผ่นดินตะวันออกไปทางทิศตะวันตกสู่ดินแดนคาลิมดอร์ อันเป็นสถานที่ปลอดภัยตามคำแนะนำของมาดีฟ เขาจึงรวบรวมกองทัพที่เหลือ และช่วยกรอม เฮลสครีมจากการจำขังของพวกมนุษย์ก่อนจะแล่นเรือไป", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#5", "text": "ในภาคที่ผ่านมาของเกมชุดวอร์คราฟต์มีเผ่าพันธุ์ให้เลือกเล่นเพียง 2 เผ่าพันธุ์ คือ มนุษย์และออร์ก ซึ่งไม่ค่อยจะมีการเล่นที่แตกต่างกันมากนัก แต่ในวอร์คราฟต์ 3 มีเผ่าพันธุ์เพิ่มเข้ามา 2 เผ่าพันธุ์ คือ เอลฟ์ราตรีและอันเดต และเริ่มมองเห็นความแตกต่างกันของยูนิต สิ่งปลูกสร้าง เทคโนโลยีและวิธีการสร้างสิ่งปลูกสร้างได้แล้ว", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#31", "text": "หลังจาก \"วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส\" แล้ว เรื่องราวในจักรวาลของวอร์คราฟต์ดำเนินต่อไปในเกม \"วอร์คราฟต์ 3: บัลลังก์น้ำแข็ง\" ซึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากยุทธการแห่งยอดเขาไฮจอลแล้ว ซึ่งเนื้อเรื่องยังได้เกี่ยวโยงไปถึงเผ่าพันธุ์ใหม่ ยูนิตใหม่และโลกใหม่ที่แตกต่างออกไป โดยในภาคต่อของเกมวอร์คราฟต์นี้ได้มีการออกแพทช์ใหม่ขึ้นมาแก้ไขปัญหาของเกม รวมไปถึงการจัดการระบบหลายผู้เล่น และโปรแกรมสร้างแผนที่ที่ดีกว่าเดิม และยังเป็นภาคต่อที่ได้รับรางวัลหลายอย่างเช่นเดียวกับวอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออสด้วย โดยเกมวอร์คราฟต์ 3: บัลลังก์น้ำแข็งนี้วางจำหน่ายวันแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2003", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#35", "text": "เกมวอร์คราฟต์ 3 มีความโด่งดังเป็นอย่างมากในจีน เยอรมนีและเกาหลีใต้ ทำให้มีการจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการขึ้น อย่างเช่น รายการเวิลด์ไซเบอร์เกมส์ รายการอิเล็กทรอนิกส์สปอร์ตเวิลด์คัพ รายการเวิลด์อีสปอร์ตเกมส์ และรายการเวิลด์ซีรีส์ออฟเกมส์ ผู้เล่นจะได้รับเงินจากแหล่งต่าง ๆ โดยในประเทศเดนมาร์ก ผู้เล่นที่แข่งขันแบบมืออาชีพได้รับค่าแรงกว่า 300,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปีจากองค์การที่เกี่ยวกับการเล่นเกมโดยเฉพาะ", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#9", "text": "\"วอร์คราฟต์ 3\" มีระบบหลายผู้เล่นเหมือนกับ \"สตาร์คราฟต์\" และ \"ไดอะโบล\" เกมนี้ใช้ระบบเครือข่ายหลายผู้เล่นแบบ Battle.net ซึ่งผู้เล่นสามารถสร้างบัญชีรายชื่อได้ใน \"เกทเวย์\" (Gateway) ซึ่งมีส่วนช่วยลดการแล็กของเครื่อง เกทเวย์เหล่านี้ประกอบด้วย \"เอเซอร์รอธ\" (สหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออก), \"ลอร์เดอรอน\" (สหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตก), \"นอร์เธอเรนด์\" (ยุโรป) และ \"คาเล็มดอร์\" (เอเชีย) วอร์คราฟต์ 3 ยังได้มีการพัฒนาระบบ Battle.net ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งโดยการมีแม่สื่อที่เป็นชื่อลับ ซึ่งจะจับคู่ให้ผู้เล่นโดยอัตโนมัติโดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการเล่นของผู้เล่นและความชื่นชอบในประเภทเกมการเล่น เพื่อป้องกันการโกงและการบันทึกการแข่งขันไว้ให้สำหรับตัวเอง แต่ถ้าผู้เล่นต้องการเล่นกับเพื่อนในโหมดการแข่งขันจัดอันดับ ตัวเกมได้จัดให้มี \"โหมดกำหนดทีม\" ซึ่งจากผลของแม่สื่อของเกม ทำให้ทั้งสองฝ่ายถูกจับคู่โดยอัตโนมัติและไม่ทราบทีมคู่แข่งล่วงหน้าก่อนการแข่งขันเลย นอกจากนี้ยังมีระบบรายชื่อเพื่อนและห้อง (Channel) \"วอร์คราฟต์ 3\" ยังให้ผู้เล่นสามารถจัดทีมของตัวเองขึ้นมา เรียกว่า \"แคลน\" (Clan) ซึ่งจะมีส่วนร่วมในการเล่นในทัวนาร์เมนต์หรือเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของวอร์คราฟต์ได้ โดยที่คะแนนสะสมและฐานะในเกมแม่สื่อจะถูกจัดเก็บไว้ใน \"แล็ดเดอร์\" (Ladder)", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#22", "text": "เกม\"วอร์คราฟต์ 3\" เริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 โดยตัวเกมได้กล่าวอ้างถึงความเป็นเกมผสมระหว่างเกมวางแผนและเกมสวมบทบาท ซึ่งใช้เวลาพัฒนานานหลายปี เพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบสามมิติเป็นครั้งแรกของบริษัทบลิซซาร์ด ทำให้ภาพที่ได้ออกมาสวยงาม ทั้งสภาพแวดล้อม รายละเอียดและแอนนิเมชั่น การทดสอบเวอร์ชันบีตาของเกมเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2002 โดยกว่า 5,000 คนเข้าร่วมการทดสอบ โดยใช้เวลานานทั้งสิ้นหกเดือน หลังจากการทดสอบแล้วตัวเกมได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นเป็นอย่างมากจากเวอร์ชันอัลฟา ส่วนระบบหลายผู้เล่นของเกมก็เป็นที่นิยมในช่วงทดสอบเวอร์ชันบีตาอีกด้วย ", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "285117#0", "text": "วอร์คราฟต์ 3 เวิลด์ เอดิเตอร์ เป็นเลเวล เอดิเตอร์ สำหรับเกมวางแผนเรียลไทม์ \"\" และภาคต่อ \"\" ได้รับการพัฒนาต่อจากเลเวลเอดิเตอร์ของเกม \"สตาร์คราฟต์\" ที่ผ่านมา ของบริษัทบลิซซาร์ด ซึ่งให้ผู้เล่นสร้างและปรับแต่งแผนที่และการทัพของตนได้ในรายละเอียดลึกซึ้งและความยืดหยุ่น", "title": "วอร์คราฟต์ 3 เวิลด์ เอดิเตอร์" }, { "docid": "91173#1", "text": "เกมวอร์คราฟต์ 3 เป็นหนึ่งในเกมที่เป็นที่รอคอยของแฟน ๆ มากที่สุดและเป็นเกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยสามารถขายปลีกได้กว่า 4.5 ล้านแผ่น และขายได้จำนวนครบ 1 ล้านแผ่นภายในเวลาหนึ่งเดือน วอร์คราฟต์ 3 ยังคว้ารางวัลเกมยอดเยี่ยมได้หลายรางวัล รวมทั้ง รางวัล \"เกมแห่งปี\" จากสิ่งตีพิมพ์มากกว่าหกแหล่ง", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#4", "text": "นอกจากนี้ เกมยังมี\"ครีป\" (Creep) ซึ่งเป็นยูนิตที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ที่เป็นศัตรูกับผู้เล่นทุกคน ครีปจะยึดครองพื้นที่บางส่วนของแผนที่ อย่างเช่น เหมืองทองคำหรือสิ่งปลูกสร้างของฝ่ายเป็นกลาง (Neutral Building) ทำให้ผู้เล่นต้องเปลี่ยนรูปแบบการเล่นเป็นฝ่ายรุกแทนที่จะตั้งรับอย่างเดียว ตัวเกมยังมีระบบกลางวัน-กลางคืนด้วย และยังมีการปรับเปลี่ยนอีกเล็กน้อยเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศแบบ 3 มิติในตัวเกม อย่างเช่น ยูนิตซึ่งอยู่บนพื้นที่ที่สูงกว่าจะโจมตียูนิตที่อยู่ต่ำกว่าด้วยพลังโจมตีที่เพิ่มมากขึ้น", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#2", "text": "เกม\"วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส\" เป็นเกมแรกของบริษัทบลิซซาร์ดที่สร้างลงบนแพลตฟอร์มวินโดวส์และแม็ก โอเอสพร้อมกัน เกมวอร์คราฟต์ 3 ยังได้มีรายละเอียดสูง และมีลักษณะของภาพเป็นแบบ 3 มิติ รวมไปถึงยังได้มีการใส่เพิ่มเติมเทคโนโลยีที่ทันสมัยในยุคนั้นอีกด้วย", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#0", "text": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส () เป็นเกมคอมพิวเตอร์ประเภทวางแผนเรียลไทม์ ภาคต่อในชุดเกมวอร์คราฟต์ สำหรับวินโดวส์ และ แมคอินทอช เกมวอร์คราฟต์ 3 ได้รับการพัฒนาโดย Blizzard Entertainment เกมเริ่มออกสู่ตลาดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 ", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#23", "text": "เหมือนกับโปรแกรมสร้างแผนที่ใหม่ที่เคยทำไว้ในเกม \"วอร์คราฟต์ 2\" และ \"สตาร์คราฟต์\" ก่อนหน้านั้น เกมวอร์คราฟต์ 3 มีโปรแกรมสำหรับสร้างแผนที่ด้วยตัวเอง ซึ่งสามารถกำหนดให้แผนที่ดังกล่าวแตกต่างจากแผนที่ทั่วไปซึ่งติดมากับเกมอยู่ก่อนแล้ว โปรแกรมสร้างแผนที่สามารถปรับแต่งยูนิตและเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้น ผู้เล่นยังสามารถดาวน์โหลดแผนที่ที่เป็นของผู้เล่นคนอื่นได้ รวมไปถึงยังมีโปรแกรมของบุคคลที่สามซึ่งสามารถทำให้การสร้างแผนที่มีความหลากหลายมากขึ้น โปรแกรมสร้างแผนที่ยังถูกเพิ่มเติมขึ้นหลังจาก \"\" ออกวางจำหน่ายแล้ว แม้ว่าโปรแกรมสร้างแผนที่จะได้รับการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ เช่นเดียวกับแพทช์ของเกม แต่ว่าโปรแกรมสร้างแผนที่ดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นสินค้าของบริษัทบลิซซาร์ดอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "15294#15", "text": "บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์เริ่มการพัฒนา<i data-parsoid='{\"dsr\":[18951,18966,2,2]}'>สตาร์คราฟต์</i>ในปี 2538 ไม่นานหลังออกวอร์คราฟต์ 2: ไทด์สออฟดาร์คเนสที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง[24] สตาร์คราฟต์เปิดตัวในงานอี3 ปี 2539[25] โดยใช้เกมเอนจินของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[19561,19581,2,2]}'>ไทด์สออฟดาร์คเนส</i>เป็นฐาน รุ่นดังกล่าวของเกมที่ประกอบโดยบ็อบ ฟิทช์ หัวหน้าโปรแกรมเมอร์ ซึ่งถูกจัดแสดง ได้รับการตอบรับค่อนข้างอ่อนจากงาน และถูกหลายคนวิจารณ์ว่าเป็น \"วอร์คราฟต์</i>ในอวกาศ\"[26] ผลคือ มีการยกเครื่องใหม่ทั้งโครงการ โดยนำความสนใจมายังการสร้างสามสปีชีส์แยกกัน บิล โรเปอร์ (Bill Roper) ผู้ผลิตเกมคนหนึ่ง แถลงว่า นี่จะเป็นการเบี่ยงเบนครั้งสำคัญจากแนวการเข้าสู่<i data-parsoid='{\"dsr\":[20151,20165,2,2]}'>วอร์คราฟต์ โดยเทียบสองฝั่งเท่ากันกับหมากรุก และแถลงว่า สตาร์คราฟต์</i>จะให้ผู้เล่น \"พัฒนายุทธศาสตร์เอกลักษณ์ขึ้นอยู่กับว่ากำลังเล่นสปีชีส์อะไร และจะกำหนดให้ผู้เล่นต้องคิดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อต่อสู้กับอีกสองสปีชีส์\"[27] ต้นปี 2540 มีการเปิดตัว<i data-parsoid='{\"dsr\":[20636,20651,2,2]}'>สตาร์คราฟต์</i>รุ่นใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับดีกว่ารุ่นแรกมาก", "title": "สตาร์คราฟต์" }, { "docid": "91173#30", "text": "วอร์คราฟต์ 3 เป็นเกมหนึ่งที่อยู่ในระดับขายดีในระดับเดียวกับเกมชุดสตาร์คราฟต์ เกมชุดไดอะโบล และเกมชุดวอร์คราฟต์ภาคก่อนหน้า และยังเทียบเท่าได้กับเกมคัดสรรจากบริษัทอื่นนอกเหนือจากบริษัทบลิซซาร์ดอีกด้วย", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#25", "text": "เพลงส่วนใหญ่ที่ใช้ประกอบในเกมวอร์คราฟต์ 3 แต่งโดย เทรซี่ ดับเบิลยู. บุช, เดเร็ก ดุค, เจสัน ฮาเยสและเกล็นน์ สตาฟฟอร์ด เกม\"วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส\" ได้ถูกจัดทำขึ้นเป็นภาคจำนวนจำกัดมีเพลงออเครสตร้าประกอบด้วยเป็นจำนวนมากในซาวน์แทร็กที่แยกออกไปต่างหาก ส่วนเผ่าพันธุ์ทั้งสี่ได้ใช้เสียงเพลงประกอบที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น เพลงที่เกี่ยวกับศาสนาใช้ประกอบการเล่นเผ่ามนุษย์ ดนตรีแอมเบียนต์และเพลงของอเมริกันอินเดียนใช้ประกอบการเล่นเผ่าเอลฟ์ราตรี เพลงทำสงครามของชาวแอฟริกันประกอบการเล่นเผ่าออร์ก และเพลงเร็วสยองขวัญสำหรับการเล่นเผ่าอันเดต", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "212709#0", "text": "การแข่งขันแบบมืออาชีพของเกมวอร์คราฟต์ 3 เกิดขึ้นเนื่องจากความนิยมในตัวเกม \"\" และ \"\" ซึ่งมีการแข่งขันกันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน เยอรมนีและเกาหลีใต้ เกมวอร์คราฟต์ 3 ถูกจัดให้มีการแข่งขันในเทศกาลเกมหลายอย่าง เช่น เวิลด์ไซเบอร์เกมส์ อิเล็กทรอนิกส์สปอร์ตคัพ เวิลด์อีสปตอร์ตเกมส์ และเวิลด์ซีรีส์ออฟวีดีโอเกมส์ และนอกเหนือจะมีการแข่งขันในระดับมืออาชีพแล้ว ยังมีการจัดการแข่งขันทั่วไปอีกหลายอย่าง เนื่องจากมีผู้เล่นที่เล่นใน Battle.net มีจำนวนอยู่คงที่ระหว่าง 70,000 - 100,000 คนที่ทุกเวลา ในประเทศจีน ผู้เล่นเกมชาวจีนกว่า 500,000 ถูกจัดอันดับสำหรับเวิลด์ไซเบอร์เกมส์ปี 2006 โดยที่มีรางวัลสำหรับการแข่งขันต่อเดือนโดยเฉลี่ย 64,642 ดอลลาร์สหรัฐ. โดยผู้เล่นเกมมืออาชีพจะสามารถได้รับเงินจากหลายแห่ง โดยผู้เล่นมืออาชีพที่มีประสบการณ์มากจะมีสังกัดทีม โดยที่องค์การเล่นเกมของเดนมาร์ก Meet Your Makers รายงานว่าตนได้มีเงินจ่ายให้แก่นักเล่นเกมกว่า 300,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี", "title": "การแข่งขันแบบมืออาชีพของเกมวอร์คราฟต์ 3" }, { "docid": "19516#0", "text": "ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ ([Defense of the Ancients]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help); ตัวย่อ: DotA) เป็นฉาก (scenario) ดัดแปลงสำหรับเกมวางแผนเรียลไทม์ วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส และภาคต่อ วอร์คราฟต์ 3: โฟรเซนโธรน โดยพัฒนาต่อมาจากแผนที่ \"อีออนออฟสไตรฟ์\" (Aeon of Strife) ในเกมสตาร์คราฟต์ จุดมุ่งหมายของแต่ละทีมในฉาก คือ การทำลายฐานทัพของฝ่ายตรงข้าม (เรียกว่า แอนเชียนส์) ซึ่งมีการป้องกันอย่างแน่นหนาตรงมุมของแผนที่ โดยผู้เล่นจะได้ควบคุมยูนิตทรงพลัง ที่เรียกว่า \"ฮีโร่\" ร่วมกับพลพรรคซึ่งถูกควบคุมผ่านปัญญาประดิษฐ์ เรียกว่า \"ครีป\" (Creep) และจากรูปแบบการเล่นของเกมเล่นตามบทบาท ผู้เล่นจะเลเวลอัพฮีโร่ของตนและใช้ทองเพื่อซื้อไอเท็มระหว่างการเล่น[1]", "title": "ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์" }, { "docid": "91173#27", "text": "นอกเหนือจากจะมีการผลิตในรูปแบบปกติแล้ว ยังได้มีการผลิตวอร์คราฟต์ 3 ในรูปแบบนักสะสม ซึ่งในรูปแบบนักสะสมนี้ ประกอบด้วยแผ่นดีวีดีที่เป็นฉากของวอร์คราฟต์ 3 รวมไปถึงมีตัวอย่างเบื้องหลังการทำงาน และฉากดำเนินเรื่องตั้งแต่เริ่มเกมจนจบ ซาวน์แทร็กในรูปแบบนักสะสม คู่มือแนะนำการเล่นในรูปแบบนักสะสม หนังสือ \"Art of Warcraft\" และแบบพิมพ์การพิมพ์หิน", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "91173#26", "text": "อีกหนึ่งลักษณะเฉพาะตัวของเกมในเครือของบลิซซาร์ด คือ คำประจำตัวของยูนิต ถ้าเราคลิกไปบนยูนิตตัวเดิมซ้ำ ๆ ติด ๆ กันหลายครั้ง เสียงของยูนิตก็จะเริ่มตลกขบขันมากขึ้นเท่านั้น ยูนิตอาจจะพาลโกรธใส่ผู้เล่น หรือเริ่มที่จะพาดพิงถึงเกมอื่น ภาพยนตร์หรือมุขตลก อย่างเช่นจาก ภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส เป็นต้น", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "15294#16", "text": "กระนั้น เกมยังประสบอุปสรรคทางเทคนิค ฉะนั้นบ็อบ ฟิทช์ จึงออกแบบเอนจิน<i data-parsoid='{\"dsr\":[20765,20781,2,2]}'>วอร์คราฟต์ 2 ใหม่ทั้งหมดในสองเดือนเพื่อประกันว่าคุณลักษณะจำนวนมากที่นักออกแบบต้องการ เช่น ความสามารถชอนไช (burrow) และอำพรางของยูนิต สามารถทำให้เกิดผลได้[28] การปรับปรุงเกมภายหลังรวมถึงสไปรท์ (sprite) และพื้นหลังก่อนให้แสงและเงา ซึ่งสร้างโดยใช้ 3ดี สตูดิโอแม็กซ์ มีการนำมุมมองสมมิติในเกมมาใช้เช่นกัน ตรงข้ามกับทัศนมิติ 3/4เอส เบิดส์อาย (3/4s birdseye perspective) ของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[21403,21419,2,2]}'>วอร์คราฟต์ 2 ยิ่งไปกว่านั้น เกมยังใช้ดนตรีคุณภาพสูง ซึ่งประพันธ์โดยคีตกวีประจำของบลิซซาร์ด และมีการจ้างนักพากย์เสียงอาชีพ[29]", "title": "สตาร์คราฟต์" }, { "docid": "285185#0", "text": "บริษัท บลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ () เป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวิดีโอเกมสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยใช้ชื่อว่า ซิลิกอน & ไซแนพซ์ เดิมเป็นบริษัทผลิตพอร์ตเกมสำหรับค่ายเกมอื่น ๆ ก่อนที่จะเริ่มการพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนในปี พ.ศ. 2536 ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2537 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ บริษัทดังกล่าวได้ผลิตเกมพีซีซึ่งขายดีและประสบความสำเร็จหลายอย่าง รวมทั้ง \"วอร์คราฟต์\", \"สตาร์คราฟต์\", \"เดียโบล\" และ \"โอเวอร์วอตช์\" และเกมสวมบทบาทออนไลน์ \"เวิลด์ ออฟ วอร์คราฟต์\"", "title": "บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์" }, { "docid": "91173#3", "text": "เกมการเล่นของวอร์คราฟต์ 3 เกิดขึ้นในแผนที่และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ในโหมดยุทธการ เมื่อเริ่มเกมมา แผนที่จะปกคลุมไปด้วย\"แบล็กมาสก์\" (Black Mask) ซึ่งเป็นชั้นสีดำที่จะปกคลุมสภาพภูมิประเทศเอาไว้จนกว่าพื้นที่แถบนั้นจะได้รับการสำรวจ ซึ่งจะทำให้แบล็กมาสก์หายไปตลอดทั้งเกมการเล่น ส่วนพื้นที่ที่ได้รับการสำรวจแล้ว แต่ไม่อยู่ในระยะมองเห็นของยูนิตหรือสิ่งปลูกสร้างของฝ่ายเดียวกันจะถูกปกคลุมด้วยหมอกแห่งสงคราม ซึ่งเรามองเห็นสภาพภูมิประเทศ แต่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งปลูกสร้างหรือยูนิตของศัตรูได้ ระหว่างการเล่น ผู้เล่นต้องสร้างถิ่นฐานขึ้นเพื่อเก็บทรัพยากร ป้องกันการบุกของศัตรู สร้างยูนิตและทำลายฐานทัพของศัตรู ทรัพยากรหลักทั้งสามในเกมวอร์คราฟต์ 3 คือ ทองคำ ไม้และอาหาร โดยทรัพยากรทองคำและไม้ใช้สำหรับการสร้างยูนิตและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนอาหารจะเป็นตัวกำหนดจำนวนสูงสุดของยูนิตที่สามารถควบคุมได้ ", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" }, { "docid": "460821#3", "text": "ต่อมา พ.ศ. 2545 เกม วอร์คราฟต์ 3 ก็มีเครื่องมือในการสร้างแผนที่โดยผู้เล่นกันเอง เช่นกัน ผู้สร้างแผนที่ (modder) ชื่อ Eul สร้างแผนที่ชื่อ Defense of Ancients (DotA) โดยดัดแปลงจาก Aeon of Strife ให้เขากับระบบเกมของ วอร์คราฟต์ 3 และมีผู้สร้างแผนที่ต่อมาอีกหลายคนหลายรุ่น ในชื่อ DotA: AllStars เติมแต่งฮีโร่ตัวละคร และกลไล จนกระทั่ง ผู้สร้างแผนที่ชื่อ ได้ปรับปรุงกลไกการเล่น ให้มีมิติที่สนุกสนาน มีการใช้ทักษะ และไอเท็ม ที่ปรับแต่งได้ จนเป็นที่ยอมรับ จนได้รับความนิยมทั่วโลก จนกลายเป็นทางเลือกใหม่ของคนที่เล่นวอร์คราฟต์ 3 ที่ไม่ต้องควบคุมเกมแบบกองทัพ แต่ควบคุมเพียงตัวฮีโร่ตัวเดียว แล้วร่วมทีมละ 5 คน ต่อสู้กันสองทีม โดยที่ทีมที่สามารถทำลายฐานฝ่ายตรงข้ามได้เป็นทีมที่ชนะ", "title": "โมบา" }, { "docid": "460821#1", "text": "เกมประเภทนี้มีที่มาจาก \"อีออนออฟสไตรฟ์\" (Aeon of Strife) แผนที่ดัดแปลงของ\"สตาร์คราฟต์\", \"ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์\" (Dota) แผนที่ซึ่งอิง\"อีออนออฟสไตรฟ์\" ใน\"\" และ\"\" เป็นหนึ่งในเกมโมบาหลักเกมแรก โดยเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนเกม (mod) กลายเป็นเกมโหมดใหม่ อ้างอิงท่าไม้ตายและภาพลักษณ์ตัวละครจาก วอร์คราฟต์ 3 เกมโมบารุ่นต่อมาได้แก่ League of Legends และ Horoes of Newerth ซึ่งเป็นเกมที่เล่นได้บนคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็มีผู้พัฒนาเกมภาคต่อ Dota 2 (ซึ่งปรับเกมและการออกแบบโดยอ้างอิง วอร์คราฟต์ 3 น้อยลง หลีกเลี่ยงเรื่องลิขสิทธิ์) ในขณะที่ทาง บลิซซาร์ด เองก็ได้ผลิตเกมโมบา ของตนเองชื่อ Heroes of the Storm ต้นคริสต์ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา เกมประเภทนี้กลายเป็นเกมสำคัญในอีสปอตส์", "title": "โมบา" }, { "docid": "91173#34", "text": "เกมวอร์คราฟต์ 3 ได้รับรางวัลจำนวนมากจากสิ่งตีพิมพ์และเว็บไซต์หลายแห่ง อย่างเช่นเกมวอร์คราฟต์ 3 ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างมาก และเป็นการ \"ขยายจักรวาลของวอร์คราฟต์ให้กว้างยิ่งขึ้นไปอีก\" ทำให้มีฐานผู้บริโภคกว้างขวางยิ่งขึ้น และจะมีผู้ซื้อที่ติดตามผลงานอย่างต่อเนื่อง และเกมยังคงเป็นที่นิยมมาตั้งแต่วันเปิดตัววันแรกมาจนถึงปัจจุบัน เหมือนกับเกม \"สตาร์คราฟต์\" \"ไดอะโบล\" \"เคาน์เตอร์-สไตรก์\" และ \"ฮาล์ฟ-ไลฟ์\"", "title": "วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส" } ]
4025
ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงเมื่อใด ?
[ { "docid": "420366#0", "text": "การปฏิวัติซินไฮ่ (English: Xinhai (Hsinhai) Revolution) หรืออีกชื่อว่า การปฏิวัติ ค.ศ. 1911 หรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[2613,2632,3,3]}'>การปฏิวัติจีน เป็นการปฏิวัติซึ่งโค่นล้มราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองจีน การปฏิวัติได้เปลี่ยนการปกครองของประเทศไปสู่ประชาธิปไตยและสถาปนาสาธารณรัฐจีน การปฏิวัตินี้ได้ชื่อว่าซินไฮ่เพราะมีขึ้นใน ค.ศ. 1911 ซึ่งตรงกับอักษรซินไฮ่ในแผนภูมิสวรรค์ในปฏิทินจีน[1]", "title": "การปฏิวัติซินไฮ่" } ]
[ { "docid": "86334#0", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดิซุ่นจื้อ () จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ชิง แต่ในบางครั้งจะนับพระองค์เป็น ปฐมจักรพรรดิ ของราชวงศ์ชิง ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิแมนจูพระองค์แรกที่ได้ประทับในพระราชวังต้องห้ามที่กรุงปักกิ่ง และราชวงศ์หมิงถึงกาลสิ้นสุดอย่างแท้จริง", "title": "จักรพรรดิซุ่นจื้อ" }, { "docid": "74778#0", "text": "อักษรแมนจู (จีนกลาง: 满文; พินอิน: mǎn wén \"หม่าน เหวิน\", ) เริ่มปรากฏเมื่อ พ.ศ. 2142 ประดิษฐ์โดยผู้นำชาวแมนจู นูร์ฮาจี ผู้สถาปนารัฐแมนจู พัฒนามาจากอักษรมองโกเลียโบราณ มีการปรับปรุงเล็กน้อยเมื่อ พ.ศ. 2175 เมื่อชาวแมนจูสถาปนาราชวงศ์ชิงเมื่อ พ.ศ. 2187 ช่วง 200 ปีแรก ภาษาแมนจูเป็นภาษาราชการหลักและใช้เป็นภาษากลาง เมื่อราว พ.ศ. 2393 ชาวแมนจูจำนวนมากหันมาใช้ภาษาจีนและเขียนภาษาแมนจูด้วยอักษรจีนจนกระทั่งสิ้นสุดราชวงศ์ชิง ", "title": "อักษรแมนจู" }, { "docid": "2032#16", "text": "การปฏิวัติซินไฮ่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (สิ้นสุดลงในปี พ.ศ 2455) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้น่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ผู้นำประเทศจักรพรรดิแมนจูไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (พ.ศ. 2187 – 2455) มีแต่การแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์ชิง", "title": "ประเทศจีน" }, { "docid": "35283#4", "text": "การใช้ภาษาแมนจูในสถานะภาษาราชการในสมัยราชวงศ์ชิงลดลงเรื่อยๆ ในช่วงต้นของราชวงศ์ เอกสารที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองหรือเป็นหัวข้อทางการจะเขียนเป็นภาษาแมนจูไม่ใช้ภาษาจีน บันทึกลักษณะนี้ยังคงเขียนต่อมาจนถึงปีท้ายๆของราชวงศ์ที่สิ้นสุดใน พ.ศ. 2455 เอกสารภาษาแมนจูยังถูกเก็บรักษาในฐานะเอกสารสำคัญสมัยราชวงศ์ชิง ในปัจจุบัน ตัวเขียนภาษาแมนจูยังเห็นได้ในสถาปัตยกรรมของนครต้องห้าม สัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์จะเขียนทั้งในภาษาแมนจูและภาษาจีน ภาษานี้ใช้ในการออกคำสั่งทางทหารจนถึง พ.ศ. 2421", "title": "ภาษาแมนจู" }, { "docid": "4554#39", "text": "ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฏประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลาเกือบ 20 ปี", "title": "ประวัติศาสตร์จีน" }, { "docid": "35293#0", "text": "อ้ายซินเจว๋หลัว (อักษรจีนตัวเต็ม: 愛新覺羅; อักษรจีนตัวย่อ: 爱新觉罗; พินอิน: àixīn juéluó แมนจู: ) เป็นราชตระกูลในราชวงศ์ชิงซึ่งมีเชื้อสายแมนจู ในภาษาแมนจู \"อ้ายซิน\" มีความหมายว่า \"ทอง\" ราชวงศ์ชิงมีปฐมจักรพรรดิคือหนูเอ่อฮาชื่อ หนูเอ่อฮาชื่อแห่งตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัวได้สถาปนาราชวงศ์จินขึ้นมา ก่อนจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นราชวงศ์ชิงในสมัยของจักรพรรดิหวงไท่จี๋ ราชวงศ์ชิงครองแผ่นดินจีนจนถึงปี พ.ศ. 2454 ก็เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ อันเป็นการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐโดยซุน ยัตเซ็น และใน พ.ศ. 2455 จักรพรรดิผู่อี๋ ผู้ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงและของจีนได้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ชิงและการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจักรวรรดิจีนในที่สุด", "title": "อ้ายซินเจว๋หลัว" }, { "docid": "798842#0", "text": "จี๋ หรือ ทวนวงเดือน (; ) เป็นอาวุธของจีนโบราณ จัดเป็นอาวุธยาวประเภททวนหรือหอกชนิดหนึ่ง มีอายุเก่าแก่ยาวนานกว่า 3,000 ปี นับตั้งแต่ยุคต้นราชวงศ์ซาง จนกระทั่งถึงสิ้นสุดราชวงศ์ชิง", "title": "จี๋ (อาวุธ)" }, { "docid": "521980#0", "text": "องค์ชายรัชทายาทโซฮยอน (소현세자, 昭顯世子, 1612-1645) เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าอินโจกับพระมเหสีอินรยอล ตระกูลฮัน องค์ชายโซฮยอนถูกส่งไปเป็นองค์ประกันของราชวงศ์ชิงที่เสิ่นหยางตามข้อตกลงหลังสิ้นสุดสงครามในปีค.ศ.1636 และเมื่อราชวงศ์ชิงยึดเมืองหลวงของราชวงศ์หมิงได้แล้วจึงย้ายไปอยู่ที่ปักกิ่งในค.ศ.1644 และมีการติดต่อกับ จอห์น อดัม อยู่เสมอ และทรงสิ้นพระชนม์ในค.ศ.1645 หลังจากนิวัติกลับโชซอนได้ไม่นาน", "title": "เจ้าชายโซฮยอน มกุฎราชกุมารแห่งโชซอน" }, { "docid": "12891#3", "text": "หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ", "title": "จักรพรรดิจีน" }, { "docid": "217581#1", "text": "จู โหย่วเจิน สั่งให้แม่ทัพหฺวัง ฝู่หลิน (皇甫麟) ปลงพระชนม์พระองค์ในปี 923 เมื่อหลี่ ฉุนซฺวี่ (李存朂) แม่ทัพศัตรู ยกกำลังเข้าชิงเมืองไคเฟิงราชธานีเป็นผลสำเร็จ เมื่อจู โหย่วเจิน ตาย ราชวงศ์เหลียงยุคหลังซึ่งดำรงอยู่มายาวนานที่สุดในบรรดาราชวงศ์ทั้งห้าก็เป็นอันสิ้นสุดลง เมื่อหลี ฉุนซฺวี่ ยึดเมืองได้แล้ว ก็สั่งให้เผาทำลายบันทึกเกี่ยวกับราชวงศ์เหลียงยุคหลังไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เรื่องราวเกี่ยวกับจู โหย่วเจิน กระท่อนกระแท่น", "title": "จู โหย่วเจิน" }, { "docid": "311984#4", "text": "บทภาพยนตร์ของซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงจากประวัติศาสตร์ ถือเป็นช่วงแก่งแย่งชิงแผ่นดิน และการสิ้นสุดของราชวงศ์สุย หาอ่านเรื่องราวในยุคสมัยนี้ได้จาก นิยายอิงประวิติศาสตร์ ยุทธการล่าบัลลังก์ จากบทประพันธ์ของ \"จิ่วถู\" และแปลเป็นไทย โดย น.นพรัตน์ ซึ่งกล่าวถึงช่วงปลายราชวงศ์สุย แผ่นดินเกิดกลียุค เกิดการรบราฆ่าฟันทุกหย่อมหญ้า และไปอ่านอีกเรื่อง จากบทประพันธ์เรื่อง มังกรคู่สู้สิบทิศ (大唐雙龍傳) ของหวงอี้ และแปลเป็นไทย โดย น.นพรัตน์ เช่นกัน ซึ่งว่ากันถึงการสิ้นสุดของราชวงศ์สุย และสถาปนาราชวงศ์ถัง ซึ่งรุ่งเรืองต่อมา จัดว่าเป็นซีรีส์ที่ใช้ทุนสร้างสูง เพลงประกอบ \"雄霸天下\" ร้องโดย เหลียง เฉาเหว่ย และ หลี่ ฟัง มีความยาวทั้งสิ้น 58 ตอน และเคยนำเข้ามาฉายในประเทศไทยทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2531 ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนต้องมีการสร้างต่อเป็นภาค 2 และภาคที่ 3 และในปี 2558 ทางช่อง 3 แฟมิลี ได้นำซีรีส์อมตะเรื่องนี้กลับมาฉายอีกครั้ง", "title": "ศึกลำน้ำเลือด" }, { "docid": "346996#12", "text": "ยุคสุดท้ายของราชวงศ์ชิง เมื่อถึงการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิกวงสู ปูยีได้ขึ้นครองราชย์แทน ด้วยการเป็นหุ่นเชิดของพระนางซูสีไทเฮาต่อไป และได้เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายในหน้าประวัติศาสตร์จีน ด้วยการสละราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1911 สิ้นสุดราชวงศ์ชิงที่มีอายุกว่า 268 ปี และถือเป็นการสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีนที่ปกครองอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี", "title": "13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "966600#1", "text": "ใน ค.ศ. 1644 กองทัพแมนจูชนเผ่าจากนอกกำแพงเมืองจีน บุกเข้าปักกิ่ง ราชธานีของราชวงศ์หมิง เป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์หมิงและจุดเริ่มต้นของราชวงศ์ชิง อีก 2 ปีต่อมาราชวงศ์ชิงก็สามารถควบคุมภาคเหนือของจีนได้ทั้งหมด จูโหย่วหลาง จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งหมิงใต้ และผู้ที่ยังภักดีต่อราชวงศ์หมิงที่เหลืออยู่รวมตัวกันอีกครั้งที่ทางใต้ ปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 1659 กองทัพชิงบุกเข้าเมืองหลวงของยูนนานเพื่อให้ส่งตัวองค์จักรพรรดิ ส่งผลให้จักรพรรดิหย่งลี่ (จูโหย่วหลาง) หนีเข้าไปใกล้พม่า ซึ่งขณะนั้นปกครองโดย พระเจ้าปีนดะเล แห่ง ราชวงศ์ตองอู", "title": "สงครามพม่า-สยาม (1662-1664)" }, { "docid": "483703#2", "text": "ประวัติของการกำหนดธงชาติจีนในยุคราชวงศ์ชิงสามารถสืบย้อนไปได้ราวปี ค.ศ. 1856 ในเวลานั้นได้เกิดกรณีเรือแอโรว์ ซึ่งมีสาเหตุจากเรือสินค้าจีนได้ชักธงเรือของต่างประเทศ (อังกฤษ) ขึ้นท้ายเรือของตน เนื่องจากในเวลานั้นประเทศจีนยังไม่มีธงสัญลักษณ์ของชาติอย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี ค.ศ. 1862 กะลาสีเรือของจักรพรรดินาวีต้าชิงและราชนาวีอังกฤษได้รบกันในแม่น้ำแยงซีเกียง เพื่อเป็นการตอบสนองคำชี้แจงของราชนาวีอังกฤษในเรื่อการไม่อาจแยกแยะเรือของจีนออกจากเรือของชาติอื่นได้ เจ้าชายก่ง (ก่งชินหวัง - 恭親王) จึงกระตุ้นให้เจิง กว๋อฟาน (曾國藩) สร้างธงราชการสำหรับรัฐบาลราชวงศ์ชิงขึ้น และแนะนำให้ใช้ธงมังกรพื้นเหลือง ซึ่งมีใช้อยู่ในแปดกองธงของแมนจู และ กองทัพต้าชิง ในเวลานั้น เจิง กว๋อฟานจึงเอาแบบธงดังกล่าวซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มาตัดออกมุมหนึ่งให้เป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อให้แตกต่างจากธงเดิม และได้ใช้ในราชการระหว่าง ค.ศ. 1862 - 1889 โดยเป็นการเฉพาะในวงราชการและกองทัพเรือจีนเท่านั้น เรือของพลเรือนทั่วไปไม่สามารถใช้ได้ และ ไม่มีการกำหนดให้ธงนี้เป็นธงชาติแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในโอกาสทางการทูตหรือการแสดงนิทรรศการนานาชาติ ก็ได้มีการใช้ธงรูปสามเหลี่ยมดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์แทนประเทศจีนเช่นกัน ภายหลังจึงได้แก้แบบให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในปี ค.ศ. 1890 และใช้สืบมาจนกระทั่งสิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์ชิง", "title": "ธงราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "85138#6", "text": "การค้าในระบบจิ้มก้องอย่างเป็นทางการระหว่างจีนกับสยาม สะดุดหยุดลงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อราชวงศ์ชิง (แมนจู) ที่เพิ่งสถาปนาขึ้นใหม่ ประกาศห้ามชาวจีนออกทะเล เพื่อหวังป้องกันมิให้พวกคนเหล่านี้หลบหนีออกนอกประเทศ และต้องการปราบปรามพวกกลุ่มต่อต้านที่ต้องการล้มล้างราชวงศ์ชิง กอบกู้ราชวงศ์หมิง\nใน ค.ศ. 1664 ต้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันตรงกับปีที่ 3 จักรพรรดิคังซี ราชวงศ์ชิง เมื่อสยามส่งทูตไปจิ้มก้องตามธรรมเนียมปฏิบัติแต่เดิมมา ราชสำนักจีนปฏิเสธไม่รับของกำนัล และ ประกาศห้ามมิให้ผู้ใดรับของกำนัลจากต่างประเทศ การค้าระหว่างไทยกับจีนจึงหยุดชะงักไป 8 ปี จนต่อมาอีก 3 ปี จึงกลับมามีความสัมพันธ์อันดีต่อกันเหมือนเดิม", "title": "จิ้มก้อง" }, { "docid": "88096#1", "text": "ยุคสมัยดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อราชวงศ์ถังล่มสลายลงใน ค.ศ. 907 และสิ้นสุดลงเมื่อราชวงศ์ซ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 960 กินเวลากว่า 50 ปี รัฐที่ตั้งตนต่าง ๆ นี้เดิมเป็นราชอาณาจักรอิสระมาก่อนแล้ว ครั้นราชวงศ์ถังถึงจุดจบ ผู้ปกครองรัฐดังกล่าวก็พากันประกาศตนเป็นจักรพรรดิ จึงเกิดสงครามเพื่อชิงอำนาจกันเป็นจักรพรรดิที่ชอบธรรมแต่ผู้เดียว อย่างไรก็ดี แม้จะถือกันว่า ยุคนี้ยุติลงด้วยการตั้งราชวงศ์ซ่งเมื่อ ค.ศ. 960 แต่กว่าจะปราบปรามฮั่นเหนือ (北漢) รัฐสุดท้ายในหมู่ห้าวงศ์สิบรัฐ ได้ก็ล่วงสู่ ค.ศ. 979 แล้ว", "title": "ยุคห้าวงศ์สิบรัฐ" }, { "docid": "23110#71", "text": "การล่มสลายของราชวงศ์ชิงใน พ.ศ. 2454 ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีนที่มีมายาวนานกว่า 5,000 ปี", "title": "ราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "139421#0", "text": "จักรวรรดิจีนก่อตั้งโดยราชวงศ์ฉินนำโดยฉินซื่อหวงตี้ซึ่งได้รวบรวมรัฐของจีนที่แตกออกเป็น 7 รัฐให้เป็นหนึ่งเดียวได้ ฉินซื่อหวงตี้บริหารประเทศโดยใช้ระบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางซึ่งจักรวรรดิจีนมีอายุยืนยาวมากประมาณ 2113 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ ราชวงศ์ฉิน, ราชวงศ์ฮั่น, ราชวงศ์จิ้น, ราชวงศ์สุย, ราชวงศ์ถัง, ราชวงศ์ซ่ง, ราชวงศ์หยวน, ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ ราชวงศ์ชิง", "title": "จักรวรรดิจีน" }, { "docid": "151543#0", "text": "เมื่อราชวงศ์ซินสิ้นสุดอำนาจ หลิวซิ่ว ซึ่งเป็นราชนิกุลในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและเป็นผู้นำกองทัพชงหลิงโค่นล้มราชวงศ์ซินเริ่มฟื้นฟูราชวงศ์ใหม่โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมืองลั่วหยัง แล้วสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฮั่นกวงอู่ นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลาปกครองนี้ว่า อาณาจักรฮั่นตะวันออก ช่วงต้นราชวงศ์มีการฟื้นฟูบูรณะเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของราษฎร ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ของบ้านเมือง เชิดชูหลักคำสอนของลัทธิขงจื๊อซึ่งเน้นคุณธรรมอันส่งผลให้เกิดกระแสที่ปัญญาชนกล้าวิจารณ์ราชสำนักเพิ่มขึ้น ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกสามารถครองแผ่นดินจีนต่อเนื่องกันนาน 200 ปี ท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมและการแย่งชิงอำนาจระหว่างพระญาติวงศ์และขันทีอย่างดุเดือด", "title": "ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก" }, { "docid": "757084#0", "text": "ราชวงศ์เทพวงศ์ หรือ ราชวงศ์แพร่ เป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาเทพวงศ์ ที่ปกครองนครแพร่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2348 มาจนถึง พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่ จากเหตุการณ์ครั้งนี้เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว ท่านจึงหลีภัยไปเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 หลังจากนั้นทางราชสำนักสยามก็ไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกจึงถือเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นมา", "title": "ราชวงศ์เทพวงศ์" }, { "docid": "216884#5", "text": "คังซีปีที่ 19 ปี1680 ผู้บัญชาการทหารราชวงศ์ชิงเสนอความคิดเห็นจากหูหนาน กว่างซี เสฉวน สามทางรวมตียูนนาน คังซีปีที่ 20 ปี1681 ล้อมเมืองคุนหมิง เดือนตุลาคม ผู้บัญชาการทหารราชวงศ์ชิงบัญชาการทหารบุกตีคุนหมิงแตก วันที่ 28 อู๋ซื่อฝานหมดหวังจึงฆ่าตัวตาย วันที่ 29กองทัพอู๋ออกเมืองยอมจำนน ราชวงศ์ต้าโจวสิ้นสุดปี1681", "title": "กบฏสามเจ้าศักดินา" }, { "docid": "72630#6", "text": "ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง ", "title": "จักรพรรดิเฉียนหลง" }, { "docid": "96358#11", "text": "เมื่อเจิ้ง จิง ตายในปี 1681 มีการชิงอำนาจกันสืบ ๆ มา ราชวงศ์ชิงจึงอาศัยความวุ่นวายนี้ส่งกำลังเข้ายึดครองเกาะไต้หวัน ชือ หลัง () ผู้บัญชาการราชนาวีชิง นำทัพเรือเข้าหักเอาเกาะไต้หวัน และเอาชัยเหนือทัพเรือตงหนิงบนเกาะเผิงหูได้ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1683 สองวันถัดมา กองทัพชิงจึงขึ้นบกเพื่อปราบปรามการแข็งข้อที่ยังมีอยู่อีกประปราย ในที่สุด จักรวรรดิชิงก็สามารถผนวกอาณาจักรตงหนิงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนได้ในปี 1684 โดยรวมกับมณฑลฝูเจี้ยน (; Fujian Province) เป็นอันสิ้นสุดการปกครองของตระกูลเจิ้งซึ่งมีมาราวยี่สิบปี[7] จากนั้น จักรวรรดิชิงได้ตั้งเมืองไต้หวัน (; Taiwan Prefecture) ขึ้น ณ บริเวณซึ่งเป็นไถหนานปัจจุบัน", "title": "ไถหนาน" }, { "docid": "23110#91", "text": "หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศจีน หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หมวดหมู่:ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2187 หมวดหมู่:สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2455", "title": "ราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "23110#26", "text": "เนื่องจากต้นราชวงศ์มีกบฏเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากทำให้ราชวงศ์ชิงต้องร่วมมือกับขุนนางราชวงศ์หมิงที่ทรยศชาติปราบกบฏหมิงใต้ หลังจากกบฏหมิงใต้สิ้นสุดเมื่อปี 1662 ปี 1673 เกิดกบฏสามเจ้าศักดินา ราชวงศ์ชิงใช้เวลาปราบกบฏทางใต้ 8 ปี 1673-1681", "title": "ราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "399040#1", "text": "วันชาติสาธารณรัฐจีน อาจเรียกอีกชื่อได้ว่า วันดับเบิลเท็น หรือ วันสองสิบ นั้นมีความสำคัญที่ตรงกับวันที่ 10 เดือน 10 ปี ค.ศ. 1911 ได้มีการก่อการกำเริบอู่ชางเกิดขึ้น เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ตามมา จนนำไปสู่การสละราชสมบัติของจักรพรรดิผู่อี๋จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง สิ้นสุดการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีนที่มียาวนานกว่า 5,000 ปี และได้มีการเริ่มต้นการปกครองประเทศแบบ \"สาธารณรัฐจีน\" ดร.ซุน ยัตเซ็น ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวคนแรกของสาธารณรัฐ วันดับเบิลเท็นหรือวันสองสิบได้กลายเป็นวันชาติของสาธารณรัฐจีนตลอดที่ปกครองในแผ่นดินใหญ่ ", "title": "วันชาติสาธารณรัฐจีน" }, { "docid": "384396#4", "text": "ซึ่งสงครามครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออาณาจักรโกนบอง ที่ถือได้ว่ามีอำนาจสูงสุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ขณะนั้น ซึ่งนับจากนี้ต่อไป พม่าไม่อาจจะแสดงอิทธิพลหรือแผ่แสนยานุภาพใด ๆ อีกต่อไป และนำไปสู่การสิ้นสุดลงของราชวงศ์โกนบอง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายในประวัติศาสตร์พม่า และถือเป็นสิ้นสุดของระบอบราชาธิปไตยของพม่าในปี ค.ศ. 1885 หลังสิ้นสุดสงครามพม่า-อังกฤษ ครั้งที่ 3", "title": "สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง" }, { "docid": "2123#5", "text": "มองโกเลียเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมองโกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งต่อมาได้ยึดอำนาจเข้าปกครองจีนในนามของราชวงศ์หยวนแต่ก็ต้องมาเสียอำนาจเมื่อราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจซึ่งทางมองโกเลียเองต้องอยู่ใต้อำนาจของราชวงศ์ดังกล่าวอีกด้วย มองโกเลียได้รับเอกราชจากจีนเมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) จากการช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตแต่ต้องสถาปนาการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ตามแบบประเทศเพื่อนบ้าน ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงจากมองโกเลียเมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ปีเดียวกันกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมามองโกเลียได้นำระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาใช้กับตน", "title": "ประเทศมองโกเลีย" }, { "docid": "262419#6", "text": "เพียงไม่กี่วันของการสิ้นสุดราชวงศ์ชิง พระพันปีหลงยฺวี่ทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ที่ปักกิ่ง พระชนมายุ 50 พรรษา เพราะพระนางทำใจไม่ได้ที่ราชวงศ์ชิงนั้นล่มสลายแต่พระนางก็ทำได้ดีที่สุดแล้ว และพระนางเป็นพระจักรพรรดินีแห่งจีนพระองค์เดียวที่หีบพระศพได้ถูกย้ายจากพระราชวังต้องห้ามไปยังสุสานโดยทางรถไฟ ในพระราชพิธีฝังพระศพ หลี่ หยวนหง รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน ได้กล่าวสรรเสริญพระนางว่า \"ทรงเป็นสตรีผู้ดีเลิศยิ่งท่ามกลางสตรีทั้งปวง\"", "title": "จักรพรรดินีหลงยฺวี่ พระพันปีหลวง" }, { "docid": "247324#1", "text": "ตระกูลกาแปมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1328 เมื่อไม่มีพระราชโอรสองค์ใดในสามองค์ของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 ที่สามารถมีทายาทสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศสได้ เมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 4 เสด็จสวรรคตราชบัลลังก์จึงตกไปเป็นของราชวงศ์วาลัวผู้สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากชาร์ลแห่งวาลัว พระราชโอรสองค์รองในพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ต่อมาราชบัลลังก์ก็ตกไปเป็นของราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์ออร์เลอ็อง ทั้งสองราชวงศ์สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 9) ซึ่งต่างก็สืบเชื้อสายไม่ทางใดทางหนึ่งก็มาจาก \"อูก กาแป\"", "title": "ตระกูลกาแป" } ]
4026
ธงชาติไทยสีขาวหมายถึงอะไร?
[ { "docid": "8855#0", "text": "ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงินขาบ ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)", "title": "ธงชาติไทย" } ]
[ { "docid": "132152#3", "text": "สีแต่ละสีในธงชาติล้วนมีนัยความหมายต่างๆ แฝงอยู่ โดยสีแดงหมายถึงจิตวิญญาณการต่อสู้เพื่อลัทธิสังคมนิยม แถบสีน้ำเงินหมายถึงอำนาจอธิปไตย สันติภาพ และมิตรภาพของประชาชน สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งอุดมคติของชาติ ดาวแดงหมายถึงความมุ่งหวังถึงความสุขของประชาชน ภายใต้การชี้นำของพรรคแรงงานเกาหลี วงกลมสีขาว (แทกึก) คือสัญลักษณ์ของจักรวาล ตามที่ปรากฏในธงชาติเกาหลีเดิม ซึ่งปัจจุบันคือเกาหลีใต้", "title": "ธงชาติเกาหลีเหนือ" }, { "docid": "168301#2", "text": "ธงชาติคอสตาริกา มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับธงของชาติอื่นอย่างน้อย 2 ชาติ คือ ธงชาติไทยและธงชาติเกาหลีเหนือ ซึ่งมีรูปแบบการเรียงแถบสีธงชาติในลักษณะเดียวกัน แต่เรียงลำดับสีสลับกันเท่านั้น กล่าวคือ ธงชาติไทยเรียงสีธงเป็นแถบสีแดง-ขาว-น้ำเงิน-ขาว-แดง และใช้สัดส่วนความกว้างของแถบธงอย่างเดียวกับธงชาติคอสตาริกา ส่วนธงชาติเกาหลีเหนือนั้นเรียงเป็นสีน้ำเงิน-ขาว-แดง-ขาว-น้ำเงิน อย่างเดียวกับธงชาติคอสตาริกา แต่ใช้สัดส่วนที่ต่างออกไป และจัดให้แถบสีขาวเป็นแถบที่แคบที่สุด โดยเพิ่มรูปดาวแดงในวงกลมสีขาวลงบนแถบกลางด้วย", "title": "ธงชาติคอสตาริกา" }, { "docid": "168301#1", "text": "ธงชาติคอสตาริกามีลักษณะคล้ายกับธงชาติไทย ต่างกันตรงวางตำแหน่งสีธงสลับกันเท่านั้น และแต่ละสีนั้นก็มีความหมายใกล้เคียงกัน กล่าว คือ สีแดง หมายถึง เลือดเนื้อ จิตวิญญาณ, สีขาว หมายถึง ความสงบสุข ส่วนสีน้ำเงิน หมายถึง ท้องฟ้า และ โอกาส", "title": "ธงชาติคอสตาริกา" }, { "docid": "232091#1", "text": "ดวงตราแผ่นดินของเวเนซูเอลาในปัจจุบันได้กำหนดขึ้นตามรัฐบัญญัติว่าด้วยธงชาติ ตราแผ่นดิน และเพลงชาติของเวเนซูเอลา (\"Ley de Bandera, Escudo e Himno Nacionales\") ลงนามวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954 โดยประธานาธิบดีมาร์กอส เปเรซ จีเมเนส (Marcos Pérez Jiménez) ลักษณะของตราประกอบด้วยโล่ซึ่งแบ่งภายในเป็น 3 ช่องตามสีของธงชาติเวเนซุเอลา โดยช่องซ้ายบนมีพื้นสีแดงมีรูปมัดรวงข้าวสาลี 20 ต้น หมายถึงรัฐทั้ง 20 รัฐของประเทศเวเนซุเอลาและความมั่งคั่งของชาติ ในช่องขวาบนเป็นพื้นสีเหลือง มีรูปดาบ 1 เล่ม กระบี่ 1 เล่ม หอก 3 เล่ม และธงชาติเวเนซูเอลา 2 ผืน มัดไขว้รวมกันด้วยช่อใบลอเรล หมายถึงชัยชนะในสงคราม ช่องล่างสุดเป็นพื้นสีน้ำเงิน มีรูปม้าป่าสีขาววิ่งอย่างเป็นอิสระ (รูปม้าขาวนี้ยังอาจหมายถึงม้าขาวของนายพลซีมอง โบลีวาร์ ซึ่งมีชื่อว่า \"ปาโลโม\" (\"Palomo\") หมายถึงเอกราชและเสรีภาพ เหนือรูปโล่นั้นมีรูป \"กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์\" ไขว้กันและหลั่งเอาความอุดมสมบูรณ์ออกมา โดยแสดงไว้ในรูปของกอดอกไม้ 2 กอที่ปากกรวย รอบโล่นั้นโอบล้อมด้วยช่อใบมะกอกและใบปาล์ม ซึ่งมีแพรแถบสีธงชาติพันอยู่ที่ตอนล่าง (แถบสีเหลืองหมายถึงความมั่งคั่งของชาติ สีน้ำเงินหมายถึงมหาสมุทรซึ่งแบ่งแยกเวเนซุเอลาออกจากสเปน สีแดงหมายถึงโลหิตและความหาญกล้าของประชาชน) ภายในแพรแถบสีธงชาติมีข้อความจารึกในแถบสีน้ำเงินดังต่อไปนี้", "title": "ตราแผ่นดินของเวเนซุเอลา" }, { "docid": "168554#1", "text": "ด้วยความเชื่อข้างต้น โบกองดาจึงได้รวมเอาสีจากธงชาติฝรั่งเศสเข้ากับสีพันธมิตรแอฟริกาในธงนี้ โดยสีแดงนั้นหมายถึงเลือดของประชาชนที่หลั่งออกมาในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช และจะไหลรินเพื่อปกป้องชาติต่อไป สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและเสรีภาพ สีขาวคือตัวแทนของความบริสุทธิ์และความสง่างาม สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและความเชื่อมั่น และสีเหลืองเป็นเครื่องหมายของความมีขันติธรรม ดังนั้น ความหมายโดยรวมของธงชาติ จึงหมายถึงความปรารถนาของชาวแอฟริกากลางในความเป็นเอกภาพของชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนชาวแอฟริกาด้วยกัน", "title": "ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง" }, { "docid": "8855#28", "text": "สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระรัตนตรัยและธรรมะอันเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ [17] แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์[18]", "title": "ธงชาติไทย" }, { "docid": "97167#8", "text": "ในธง \"ท้องฟ้าสีคราม ตะวันสาดส่อง\" ของลู่เฮาตง รัศมีทั้ง 12 แฉกของดวงอาทิตย์สีขาวหมายถึงเดือนทั้ง 12 เดือนและระบบการแบ่งเวลาเป็น 12 ชั่วโมงแบบจีน (時辰, shíchén) ซึ่ง 1 ชั่วโมงจีนเท่ากับ 2 ชั่วโมงสากล ดังนั้น 12 ชั่วโมงจีนจึงเท่ากับ 24 ชั่วโมงสากล หรือเวลาใน 1 วัน ต่อมา ดร. ซุนยัดเซ็นได้เพิ่ม \"แผ่นดินอุดมสีแดง\" หรือพื้นสีแดง เพื่อหมายถึงเลือดของนักปฏิวัติผู้เสียสละตนเองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลราชวงศ์ชิงและสถาปนาสาธารณรัฐจีน นอกจากนั้นธงนี้ยังได้สือความหมายของหลักลัทธิไตรราษฏร์ของ ดร. ซุนยัตเซ็นไว้ ดังนี้จะเห็นได้ว่าความหมายของสีทั้งสามในธงชาติสาธารณรัฐจีนมีแนวคิดเดียวกับหลักการ \"เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ\"(Liberté, égalité, fraternité) ของประเทศฝรั่งเศส แล้วธงก็มีลักษณะคล้ายคลึงธงชาติสหรัฐอเมริกาคือ สีแดงตรงผืนใหญ่ และข้างบนซ้ายจะมีนำเงิน ดวงอาทิตย์ขาวซึ่งคล้ายกันมากแต่ก็ต่างกันมากเช่นกัน", "title": "ธงชาติสาธารณรัฐจีน" }, { "docid": "110182#0", "text": "ธงชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ( / \"suaitheantas na hÉireann\") เป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งแถบสีตามแนวตั้ง แต่ละแถบมีขนาดเท่ากัน เรียงตามลำดับ คือ สีเขียว สีขาว และสีแสด ธงนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ \"ธงไตรรงค์ไอริช\" หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า \"Irish tricolour\" สัดส่วนของธงกว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน โดยทางการแล้ว ความหมายของธงไชาติไอร์แลนด์มิได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ แต่โดยทั่วไปแล้ว ได้มีนิยามความหมายของธงไว้ว่า สีเขียวคือสีแห่งความเป็นชาตินิยมของชาวไอริชตามธรรมเนียมปฏิบัติ สีแสดเป็นสีของกลุ่มออเรนจ์อินสติติวชั่น (Orange Institution) ซึ่งเป็นชื่อขององค์กรศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์แห่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของไอร์แลนด์ ส่วนสีขาวซึ่งแทรกอยู่ระหว่างสีทั้งสองถือเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ สีขาวที่กลางธงนี้ยังอาจหมายถึงการสงบศึกครั้งสุดท้ายระหว่างฝ่ายสีเหลืองกับฝ่ายสีแสดก็ได้", "title": "ธงชาติไอร์แลนด์" }, { "docid": "148969#5", "text": "นอกจากนี้ยังมีการตีความว่า สีทั้งสามในธงชาติแสดงถึงการจัดลำดับชั้นทางสังคมในสมัยจักรวรรดิรัสเซีย โดย สีขาวหมายถึงพระเจ้า สีน้ำเงินหมายถึงพระเจ้าซาร์ (จักรพรรดิ) สีแดงหมายถึงพลเมืองทั้งหมด หรือในอีกทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายโดยทั่วไป เป็นการตีความว่าสีทั้งสามหมายถึงดินแดนรัสเซียส่วนต่างๆ กล่าวคือ สีขาวหมายถึงเบลารุส (แปลว่า รัสเซียขาว) สีน้ำเงินหมายถึงยูเครน หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ มาโลรอสเซีย (แปลว่า รัสเซียน้อย) และสีแดง หมายถึงดินแดนรัสเซียใหญ่ (Great Russia)", "title": "ธงชาติรัสเซีย" }, { "docid": "149854#4", "text": "มีอยู่บางกลุ่มที่ให้นิยามความหมายของสีธงชาตินี้เป็นการเฉพาะว่า สีเขียวเป็นตัวแทนของที่ราบและหุบเขาอันเขียวขจีในประเทศอิตาลี สีขาวคือสีขาวหิมะบนเทือกเขาแอลป์ และสีแดงหมายถึงเลือดที่รินไหลในสงครามประกาศเอกราชอิตาลี การให้คำนิยามธงชาติอิตาลีในอีกที่หนึ่ง ซึ่งมีความหมายค่อนข้างอยู่ในเชิงศาสนา โดยอิงจากคุณธรรม 3 อย่าง ในศาสนาคริสต์ (Theological virtues) กล่าวคือ สีเขียว หมายถึง ความหวังใจ (Hope) สีขาวหมาวถึง ความเชื่อมั่น (Faith) และสีแดงหมายถึงความรัก (Charity)", "title": "ธงชาติอิตาลี" }, { "docid": "53510#0", "text": "ธงชาติกัมพูชา (; ทง่ชาติกมฺพุชา; ต็วงเจียตกำปูเจีย) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า \"\"ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์\"\" ( \"ชาติ สาสนา พฺระมหากฺสตฺร\") โดยพื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็เหมือนกับธงชาติไทย ที่สีแดงคือชาติ สีขาวคือศาสนา และสีน้ำเงินคือพระมหากษัตริย์นั่นเอง", "title": "ธงชาติกัมพูชา" }, { "docid": "216274#1", "text": "เมื่อพรรคนาซีเข้าบริหารประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1933 ธงชาติสีดำ-แดง-ทองถูกประกาศเลิกใช้เป็นธงชาติของนาซีเยอรมนี ต่อมา คำสั่งในวันที่ 12 มีนาคม รัฐบาลได้ประกาศใช้ธงสามสี คือ ดำ-ขาว-แดง ซึ่งเป็นธงชาติที่ใช้มาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเยอรมัน และ ธงสวัสดิกะของพรรคนาซีให้เป็นธงชาติของรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งสองแบบ ในปี 1935 หลังจากประธานาธิบดี เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก ถึงแก่อสัญกรรม ฮิตเลอร์ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฟือเรอร์ การใช้ธงชาติประจำรัฐสองผืนถูกยกเลิก และ ประกาศใช้ธงสวัสดิกะเป็นธงชาตินาซีเยอรมนี ขณะที่ธงสีดำ-ขาว-แดงแบบเก่าถูกห้ามใช้ด้วยเหตุผลที่ว่า \"ถอยหลังลงคลอง\"\nการออกแบบธงประจำพรรคนาซีเริ่มขึ้นในฤดูร้อนปี 1920 โดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ โดยใช้ธงที่มีพื้นหลังสีแดง วงกลมสีขาว และสัญลักษณ์สวัสดิกะสีดำตรงกลาง โดยที่สีบนพื้นธงได้แสดงความเชื่อมโยงถึงจักรวรรดิเยอรมัน เนื่องจากเลือกใช้สีบนธงตรงกับสีธงชาติจักรวรรดิเยอรมัน นอกจากนี้ ธงประจำพรรคนาซียังมีความหมายมากกว่านั้น ตามที่ฮิตเลอร์ได้เขียนเอาไว้ในไมน์คัมพฟ์ สีขาว หมายถึง ชาตินิยม สีแดง หมายถึง สังคมนิยม และเครื่องหมายสวัสดิกะ ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายของ เชื้อชาติอารยัน ", "title": "ธงชาตินาซีเยอรมนี" }, { "docid": "423320#0", "text": "ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (; ) ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 โดยรัฐบาลติมอร์-เลสเต เมื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชจากอินโดนีเซีย ความหมายของสีธงชาติที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญดังนี้ สามเหลี่ยมสีเหลือง (PMS 123) หมายถึง \"ประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมโปรตุเกส \". สามเหลี่ยมสีดำ หมายถึง \"การกดขี่ และ ความเจ็บปวดในอดีต\"; พื้นธงสีแดง (PMS 485) หมายถึงการต่อสู้เพื่อเอกราช และ เสรีภาพ\"; ดาว 5 แฉก, หรือ \"แสงสว่างนำทางของชาติ\", สีขาว หมายถึง สันติภาพ และ ความสงบสุข.", "title": "ธงชาติติมอร์-เลสเต" }, { "docid": "313958#2", "text": "ความหมายของธงชาติชิลีประกอบด้วย พื้นสีขาวหมายถึงหิมะเหนือเทือกเขาแอนดีส พื้นสีแดงหมายถึงเลือดของผู้ที่ต่อสู้เพื่อเอกราช สี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและมหาสมุทรแปซิฟิก ดาวสีขาวหมายถึงสัญลักษณ์นำทางสู่ความก้าวหน้าและเกียรติยศ", "title": "ธงชาติชิลี" }, { "docid": "169998#2", "text": "แม้ในเอกสารราชการจะไม่มีการกำหนดความหมายของธงชาติที่แน่นอนไว้ แต่ก็ปรากฏว่ามีแหล่งข้อมูลหลายแหล่งที่มีการนิยามความหมายของธงนี้ บทนิยามของธงชาติที่กล่าวไว้โดยทั่วไประบุว่า แถบสีส้มหมายถึงภูมิภาคตอนเหนือของทะเลทรายซาฮารา บางครั้งแถบสีนี้หมายถึงแนวซาเฮล (เป็นแนวทุ่งหญ้าสะวันนาที่พาดผ่านกลางทะเลทรายซาฮารา จากชายฝั่งด้านตะวันออกถึงด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา) แถบสีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ หรือในอีกความหมายหนึ่งคือแม่น้ำไนเจอร์ แถบสีเขียวหมายถึงความหวังและแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ทางภาคใต้ของประเทศ ดวงกลมสีส้มหมายถึงดวงอาทิตย์หรือเอกราชของชาติ", "title": "ธงชาติไนเจอร์" }, { "docid": "451033#1", "text": "ธงชาติคิวบากำเนิดขึ้นโดย นายพลนาร์ซิสโก โลเปซ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1849 (พ.ศ. 2392), ออกแบบธงโดย เอมิเลีย เทเบอร์ โตลอง.\nธงผืนต้นแบบนั้นเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1849, เมื่อการเรียกร้องเอกราชเพื่อปลดปล่อยคิวบาจากอาณานิคมสเปน, ต่อมาชาวคิวบาที่ลี้ภัยในสหรัฐอเมริกา ที่ถูกอาณานิคมสเปนเนรเทศ ได้มีการรวมตัวจัดตั้งขบวนการปลดปล่อย ซึ่งนำโดยนายพลนาร์ซิสโก โลเปซ พร้อมกับประกาศใช้ธงที่ เอมิเลีย เทเบอร์ โตลอง ได้ออกแบบไว้ล่วงหน้า. ความหมายของธงชาติเป็นดังนี้ แถบตามยาวสีน้ำเงิน สามแถบ หมายถึง เมือง3แห่งในศตวรรษที่ 19 ส่วนความหมายอีกนัยหนึ่งนั้น หมายถึง เสรีภาพ ความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง และ ความเสมอภาค, แถบสีขาว สองแถบ หมายถึง ความสะอาด ความบริสุทธิ์ของผู้ร่วมขบวนการปลดปล่อยชาติ. ดาวห้าแฉกสีขาวอยู่ภายในสามเหลี่ยมด้านเท่าสีแดง หมายถึง เอกราช และ อิสรภาพ ที่ต้องแลกด้วยส่วนเลือดเนื้อวีรชนบรรพบุรุษที่เสียสละเพื่อมาตุภูมิสงครามที่สมรภูมิคาร์เดนาส และ พลายิตาส (ค.ศ. 1850) โดยให้นิยามว่า ทองฟ้าสีแดงฉานท่ามกลางเลือดเนื้อวีรชนนักรบ, แม้ในสงครามปลดปล่อยชาติ ต้องพบเจอความพ่ายแพ้ในหลายครั้ง แต่ ธงผืนนี้ยังคงโบกสะบัดตลอดมา. ในอีกนัยหนึ่ง หมายถึงดาวดวงใหม่ที่อาจบวกเข้ากับ \"กลุ่มดวงดาวอเมริกาเหนือที่แสนงดงาม\" (ซึ่งก็คือธงชาติสหรัฐอเมริกา)", "title": "ธงชาติคิวบา" }, { "docid": "168193#0", "text": "ธงชาติซามัว มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดง ที่มุมบนด้านคันธงมีสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในรูปดังกล่าวมีดาวห้าแฉกสีขาวดวงใหญ่ 4 ดวง ดวงเล็ก 1 ดวง เรียงกันเป็นกลุ่มดาวกางเขนใต้ เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 พื้นสีแดงหมายถึงความกล้าหาญ สีน้ำเงินหมายถึงเสรีภาพ สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์", "title": "ธงชาติซามัว" }, { "docid": "113120#6", "text": "คำอธิบายสีธงชาติแอฟริกาใต้อย่างไม่เป็นทางการแห่งหนึ่งได้ระบุไว้ว่า แนวแถบคล้ายตัว Y นั้น หมายถึงการรวมชาติให้เป็นเอกภาพ สีน้ำเงินนั้นหมายถึงผืนฟ้าและมหาสมุทรที่โอบล้อมประเทศนี้ไว้ สีเขียวหมายถึงการกสิกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบสำคัญของแอฟริกาใต้ ซึ่งจะขาดไปมิได้ สีเหลืองหมายถึงทรัพยากรแร่ธาตุภายในประเทศและประชาชนเชื้อชาติต่างๆ ในแอฟริกาใต้ และสีขาว หมายถึงสันติภาพและชนผิวขาวในประเทศนี้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ปฏิเสธการนิยามความหมายในเชิงสัญลักษณ์ดังกล่าว", "title": "ธงชาติแอฟริกาใต้" }, { "docid": "137699#3", "text": "ธงชาติแบบดังกล่าวนี้ ได้รับอนุญาตให้ใช้ชักในจังหวัดเคอร์ดิชสถาน ซึ่งเป็นเขตปกครองของชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ด ส่วนธงในรุ่นหลัง ซึ่งมีการใช้ในกลุ่มสมาชิกพรรคบะอัธ และกลุ่มสมาคมพันธมิตรอาหรับ ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้\nต่อมาเมื่อรัฐบาลปฏิวัติของอับดุล การิม คัสซิมถูกโค่นอำนาจโดยพรรคบะอัธ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติอิรักอีกครั้งหนึ่ง ตามกฎหมายเลขที่ 28 ค.ศ. 1963 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ธงแบบใหม่นี้เป็นธงริ้วสามสีแนวนอนพื้นสีแดง-ขาว-ดำ มีดาว 5 แฉกสีเขียว 3 ดวง ในแถบสีขาว ซึ่งดาวสีเขียวในธงนี้ เดิมได้กำหนดไว้ในธงเพื่อแทนความหมายถึง ความต้องการก่อตั้งสหภาพสาธารณรัฐอาหรับ โดยความร่วมมือกันระหว่าง 3 ประเทศ คือ อิรัก อียิปต์ และซีเรีย ซึ่งในขณะนั้นทั้งสองชาติหลังมีการใช้ธงที่มีดาวสีเขียว 2 ดวงอยู่กลางธงเหมือนกัน หากการก่อตั้งสหภาพเกิดขึ้นจริงแล้ว ทั้งอียิปต์และซีเรียนั้นก็จะเพิ่มจำนวนดาวในธง ในลักษณะเดียวกับธงชาติอิรักในเวลานั้นด้วย \nในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2534 ได้มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติอิรักอีกครั้ง โดยธงชาติมีลักษณะคล้ายกับธงชาติยุค พ.ศ. 2506 แต่มีการเปลี่ยนนิยามความหมายของดาว 3 ดวงในธง ให้หมายถึงหลัก 3 ข้อคำขวัญของพรรคบะอัธ คือ เอกภาพ เสรีภาพ สังคมนิยม (อาหรับ: \"Wahda, Hurriyah, Ishtirakiyah\") และเพิ่มข้อความอักษรคูฟิก ภาษาอาหรับ แทรกระหว่างดาวสีเขียว 3 ดวงว่า \"\"อัลลอหุ อักบัร\"\" โดยประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เป็นผู้ออกคำสั่งให้เพิ่มข้อความข้างต้น แม้จะไม่เป็นที่ยืนยันนัก แต่ก็มีการกล่าวกันว่า ข้อความอักษรคูฟิกดังกล่าวเป็นลายมือของซัดดัม ฮุสเซนเอง ทั้งยังมีอีกหลายคนตีความกันว่า ที่ซัดดัมทำเช่นนี้ก็เพื่อแสวงหาความสนับสนุนจากโลกอิสลามในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก (พ.ศ. 2534) \nหลังการสิ้นอำนาจของซัดดัมใน พ.ศ. 2547 ได้มีการเสนอธงชาติแบบใหม่ให้แทนธงเดิมในเดือนเมษายนปีเดียวกัน แต่ก็ไม่เคยมีการนำมาใช้แต่อย่างใด (ดูเพิ่มเติมข้างล่าง) ต่อมาในพิธีการส่งมอบอำนาจแก่รัฐบาลรักษาการณ์ของอิรัก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547 นั้น ได้มีการตกแต่งเวทีโดยใช้ธงซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับธงชาติแบบเดิม กล่าวคือ เป็นธงสามสีแนวนอนพื้นสีแดง-ขาว-ดำ กลางแถบสีขาวมีรูปดาวสีเขียว 3 ดวง ระหว่างดาวทั้งสามมีข้อความภาษาอาหรับ เขียนด้วยอักษรคูฟิกว่า \"อัลลอหุ อักบัร\" ในลักษณะเป็นอักษรตัวเหลี่ยมสมัยใหม่ ธงชาติอิรักแบบแก้ไขเพิ่มเติมนี้ได้มีการเชิญขึ้นสู่ยอดเสาที่สถานทูตอิรักในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547\nวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2547 สภาการปกครองอิรัก (Iraqi Governing Council หรือ IGC) ได้ประกาศใช้ธงชาติอย่างใหม่แทนธงเดิมในยุคของซัดดัม ฮุสเซน โดยเลือกจากธงที่ได้มีการการส่งเข้าประกวด 30 แบบ ซึ่งแบบธงที่ได้รับการคัดเลือกนี้ เป็นผลงานของของริฟัต อัล ชาเดอร์ชี (Rifat al-Chaderchi) ศิลปินและสถาปนิกชาวอิรัก ซึ่งพำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และเป็นพี่ชายของสมาชิกสภาการปกครองอิรักคนหนึ่งด้วย", "title": "ธงชาติอิรัก" }, { "docid": "169698#1", "text": "พื้นสีเขียวในธงชาติ หมายถึงศาสนาอิสลาม อันเป็นศาสนาของชนส่วนใหญ่ในประเทศ แถบสีขาวที่ต้นธง หมายถึงศาสนาอื่น ๆ ของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในปากีสถาน รูปพระจันทร์เสี้ยวที่กลางธงหมายถึงความก้าวหน้า ส่วนดาวห้าแฉกสีขาวคือแสงสว่างและความรู้ ความหมายของธงโดยรวมจึงหมายถึงศาสนาอิสลาม โลกอิสลาม และสิทธิของชนกลุ่มน้อยผู้นับถือศาสนาอื่น ธงชาติปากีสถานจะใช้ประดับในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ของแต่ละปี เช่น วันสาธารณรัฐ (23 มีนาคม) และวันเอกราช (14 สิงหาคม) เป็นต้น ", "title": "ธงชาติปากีสถาน" }, { "docid": "112826#0", "text": "ธงชาติอินโดนีเซีย หรือ ซังเมราห์ปูติห์ (, สีแดง-ขาว) เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ ครึ่งล่างสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม", "title": "ธงชาติอินโดนีเซีย" }, { "docid": "462117#0", "text": "ธงชาติฮังการี () เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1957 มีทั้งหมด 3 สี คือ สีแดง ,สีขาว และ สีเขียว โดยสีแดง หมายถึง เลือดของผู้รักชาติ สีขาว หมายถึง สันติภาพและแม่น้ำดานูบ สีเขียว หมายถึง ความหวังและธรรมชาติ ในประเทศฮังการี และเคยเป็นธงประจำสาธารณรัฐประชาชนฮังการี\nรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฮังการีมิได้กำหนดสัดส่วน ความกว้าง:ความยาว ของธงชาติ; แต่, รัฐบัญญัติที่ออกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1957 ได้มีการกำหนดสัดส่วน ความกว้าง:ความยาว ของธงเรือแห่งชาติ โดยมีลักษณะเดียวกับธงชาติ (ธงแถบสีแดง-ขาว-เขียว) ในสัดส่วน 2:3.", "title": "ธงชาติฮังการี" }, { "docid": "137699#2", "text": "ธงชาติแบบแรกสุดของประเทศอิรัก กำหนดให้มีขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งประเทศในปี พ.ศ. 2464 โดยเป็นรัฐอารักขาเมโสโปเตเมียของสหราชอาณาจักร ลักษณะเป็นธงสามสีพื้นสีดำ-ขาว-เขียว ที่ด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมคางหมูในแนวตั้งพื้นสีแดง (บางแบบก็เป็นรูปสามเหลี่ยมก็มี) ในพื้นสีแดงนั้นมีดาว 7 แฉก 2 ดวง เรียงกันในแนวตั้ง หมายถึงทั้ง 14 จังหวัดของราชอาณาจักรอิรักในขณะนั้น สังเกตได้ว่า ธงนี้มีความคล้ายคลึงกับธงชาติจอร์แดนเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าสีในธงทั้งหมดนั้น บรรดาเจ้าผู้ครองนคร (Hashemite leaders) ในการปฏิวัติอาหรับ ซึ่งเป็นผู้สถาปนาประเทศนี้ เป็นผู้เลือกให้ใช้ในธงชาติอิรัก ธงนี้มีการใช้มาตลอดสมัยที่อิรักปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึง พ.ศ. 2502 ซึ่งในหมู่พวกนิยมกษัตริย์ในอิรัก ก็ยังมีการใช้ธงนี้อยู่\nหลังจากการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้การนำของอับดุล การิม คัสซิม (Abdul Karim Qassim) ในปี พ.ศ. 2501 ประเทศอิรักก็ได้มีการออกกฎหมายเลขที่ 102 ค.ศ. 1959 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ให้ใช้ธงชาติอย่างใหม่ของสหพันธรัฐอาหรับอิรักและจอร์แดน ซึ่งมีลักษณะเป็นธงสามสีแนวตั้ง พื้นสีดำ-ขาว-เขียว ที่กลางแถบสีขาวนั้นมีรูปดาว 8 แฉกสีแดง 1 ดวง ภายในมีวงกลมสีเหลือง ความหมายของสีดำและสีเขียวคือเป็นสีพันธมิตรอาหรับ ดวงตะวันสีเหลืองหมายถึงชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ด ส่วนดาว 7 แฉกสีแดงนั้นหมายถึงชนกลุ่มน้อยชาวอัสซีเรีย", "title": "ธงชาติอิรัก" }, { "docid": "83541#2", "text": "หลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 จึงได้มีการกำหนดแบบธงชาติพม่าใหม่ ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง ที่มุมบนด้านคันธงเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในพื้นสีน้ำเงินนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 1 ดวง ล้อมรอบด้วยดาวสีขาวดวงเล็กอีก 5 ดวง ดาวดวงใหญ่หมายถึงสหภาพพม่า ดาวดวงเล็กทั้ง 5 หมายถึงชาวพม่า ชาวไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ชาวชิน และชาวคะฉิ่น ส่วนสีขาวนั้นหมายถึงความซื่อสัตย์ ธงนี้ได้รับการรับรองด้วยรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพพม่า ฉบับลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2490 และชักขึ้นเหนือแผ่นดินพม่าครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 เวลา 4.25 น.", "title": "ธงชาติพม่า" }, { "docid": "196189#0", "text": "ธงชาติกรีซ (, โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า \"Γαλανόλευκη\" หรือ \"Κυανόλευκη\" แปลว่า \"ธงน้ำเงิน-ขาว\") เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงเป็นแถบริ้วสีน้ำเงินสลับขาวรวมทั้งหมด 9 แถบ ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีน้ำเงิน กว้างยาวเป็น 5 ใน 9 ส่วนของความกว้างธง ภายในมีรูปกางเขนสีขาวมีปลายจดขอบสีน้ำเงิน กางเขนดังกล่าวนี้หมายถึงศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ส่วนแถบสีน้ำเงินสลับขาว 9 แถบนั้น โดยทั่วไปชาวกรีกหมายถึงพยางค์ 9 พยางค์ในประโยคภาษากรีกที่ว่า \"Ελευθερία ή Θάνατος\" (อ่านว่า \"เอ-เลฟ-เท-ริ-อา-อิ-ทา-นา-ทอส\" (\"E-lef-the-ri-a i Tha-na-tos\") แปลว่า เสรีภาพหรือความตาย) โดยแถบสีน้ำเงิน 5 แถบหมายถึง 5 พยางค์แรก ส่วนแถบสีขาว 4 แถบ หมายถึง 4 พยางค์สุดท้ายของประโยคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า แถบทั้ง 9 แถบนี้หมายถึงเทพธิดามิวเซส (Muses) ผู้เป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการต่างๆ ทั้ง 9 องค์ ในตำนานกรีกโบราณ สำหรับสัดส่วนธงอย่างเป็นทางการนั้นกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ", "title": "ธงชาติกรีซ" }, { "docid": "83541#0", "text": "ธงชาติสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ธงนี้ได้เริ่มชักขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ในเวลา 15.00 น. ที่กรุงเนปยีดอ และในเวลา 15.33 น. ที่อาคารศาลาว่าการนครย่างกุ้ง (อ้างอิงตามเวลาท้องถิ่น) อันเป็นเวลา 17 วัน ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของพม่า ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ", "title": "ธงชาติพม่า" }, { "docid": "8855#29", "text": "ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีบันทึกเรื่องธงชาติ ใน พ.ศ. 2470 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงธงชาติจากบุคคลกลุ่มต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีการเปลี่ยนธงชาติหลายครั้ง กรมราชเลขาธิการได้รวบรวมความเห็นเรื่องนี้จากที่ต่าง ๆ รวมทั้งในหนังสือพิมพ์ เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งในบรรดาเอกสารดังกล่าว ปรากฏว่าในหมู่ผู้ที่สนับสนุนให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป ได้มีการให้ความหมายของธงที่กระชับกว่าเดิม กล่าวคือ สีแดงหมายถึงชาติ สีขาวหมายถึงพุทธศาสนา สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ไปเล็กน้อย แต่ยังครอบคลุมอุดมการณ์ \"ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์\" ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้เช่นเดิม และยังเป็นที่จดจำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน[19]", "title": "ธงชาติไทย" }, { "docid": "169537#1", "text": "ก่อนหน้านั้น คูเวตใช้ธงสีแดงเป็นธงสำหรับชาติเช่นเดียวกับประเทศอาหรับทั้งหลาย ส่วนสีบนธงชาติในปัจจุบันนี้เป็นสีพันธมิตรอาหรับ แต่ละสีล้วนมีความหมายต่างๆ คือ สีดำหมายถึงความพ่ายแพ้ของพวกศัตรู สีแดงคือเลือดที่เปือนบนดาบของชาวคูเวต สีขาวเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ และสีเขียวหมายถึงแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้ ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งเกี่ยวกับสีธงชาติคูเวตกล่าวว่า รูปสี่เหลี่ยมคางหมูสีดำนั้นอาจมีที่มาจากธงชาติอิรักในช่วงก่อน พ.ศ. 2500 ก็ได้ (ธงชาติอิรักในยุคนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีดำ-เขียว-ขาว มีรูปสี่เหลี่ยมคางหมูสีแดงที่ด้านคันธง ภายในรูปดังกล่าวมีดาวสีขาว 2 ดวง)", "title": "ธงชาติคูเวต" }, { "docid": "157972#1", "text": "ในธงนี้ แถบสีดำหมายถึงแคว้นกาหลิบอับบาซิด (Abbasid Caliphate) แถบสีเขียวหมายถึงแคว้นกาหลิบอูมายยัด (Umayyad Caliphate) แถบสีขาว หมายถึง แคว้นกาหลิบฟาติมิด (Fatimid Caliphate) รูปสามเหลี่ยมสีแดงหมายถึงอาณาจักรฮัชไมต์ (Hashemite) และการปฏิวัติอาหรับ ดาวเจ็ดแฉกสีขาว ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้แยกความแตกต่างของธงนี้จากธงชาติปาเลสไตน์ได้ มีความหมายอยู่ 2 นัย นัยหนึ่งหมายถึงบทสวดในซูเราะฮ์ 7 บทแรกในพระคัมภีร์อัลกุรอาน อีกนัยหนึ่งหมายถึงความสามัคคีของชนชาวอาหรับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งยังเชื่อกันว่าดาวนี้หมายถึงเนินเขา 7 ลูกซึ่งอยู่ในที่ตั้งของกรุงอัมมาน เมืองหลวงของประเทศ", "title": "ธงชาติจอร์แดน" } ]
4027
MRI เป็นการตรวจสอบของทางเลือกในขั้นตอนก่อนผ่าตัดของโรคมะเร็งทวารหนักและโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "136166#8", "text": "MRI เป็นการตรวจสอบของทางเลือกในขั้นตอนก่อนผ่าตัดของโรคมะเร็งทวารหนักและโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก, และมีบทบาทในการวินิจฉัย, การเตรียมการ, และการติดตามผลของเนื้องอกอื่นๆ[21].", "title": "การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก" } ]
[ { "docid": "10649#73", "text": "หน่วยงานการบริการป้องกันของสหรัฐ (USPSTF) ได้แนะนำอย่างแข็งแรงให้ไปรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงที่ยังมีกิจกรรมทางเพศสัมพันธอย่างน้อยจนถึงอายุ 65[98] หน่วยงานยังแนะนำให้ชาวอเมริกันมีการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการทดสอบเลือดในอุจจาระ (English: fecal occult blood), การส่องตรวจไส้ใหญ่ส่วนคด (English: sigmoidoscopy), การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยกล้อง (English: colonoscopy) เริ่มต้นที่อายุ 50 ปีจนอายุ 75[99] แต่มีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะแนะนำหรือคัดค้านการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนัง[100] รวมทั้งมะเร็งในช่องปาก[101] กับโรคมะเร็งปอด[102] และมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายอายุต่ำกว่า 75[103] การตรวจคัดกรองเป็นประจำไม่แนะนำสำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ[104] รวมทั้งโรคมะเร็งอัณฑะ[105] และมะเร็งรังไข่[106] และโรคมะเร็งตับอ่อน[107] และมะเร็งต่อมลูกหมาก[108]", "title": "มะเร็ง" }, { "docid": "136166#3", "text": "MRI เป็นเครื่องมือสืบสวนสำหรับโรคมะเร็งทางระบบประสาทเพราะมันมีความไวมากกว่า CT สำหรับเนื้องอกขนาดเล็กและให้การแสดงผลที่ดีกว่าของโพรงหลังในร่างกาย. แสงที่ตัดกันระหว่างเรื่องสีเทาและสีขาวทำให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับหลายเงื่อนไขของระบบประสาทส่วนกลางรวมทั้งโรคเสื่อมของเซลล์ประสาท, โรคจิตเสื่อม, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคติดเชื้อและโรคลมบ้าหมู[10]. MRI ยังช่วยในการศัลยกรรมสมองที่อาศัยภาพสามมิติและรังสีศัลยกรรม สำหรับการรักษาเนื้องอกในสมอง, หลอดเลือดแดงและดำผิดรูป, และสภาวะในการรักษาด้วยการผ่าตัดอื่นๆ[11][12].", "title": "การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก" }, { "docid": "365720#6", "text": "โปรแกรมการตรวจคัดกรองในปีต่อมาคือปี 2012 พบว่ามากกว่าหนึ่งในสาม (36%) ของเด็กในฟุกุชิมะมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในต่อมธัยรอยด์ของพวกเขา เมื่อเดือนสิงหาคม 2013 มีเด็กมากกว่า 40 คนถูกวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์และโรคมะเร็งอื่น ๆ ในจังหวัดฟุกุชิมะโดยรวม อย่างไรก็ตาม ข้อสงสัยที่ว่าอุบัติการณ์เหล่านี้ของโรคมะเร็งจะสูงกว่าอัตราในพื้นที่ที่ไม่ปนเปื้อนและดังนั้นอุบัติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นเนื่องมาจากการสัมผัสกับรังสีนิวเคลียร์หรือไม่นั้นไม่เป็นที่รู้จักในขั้นตอนนี้ ข้อมูลจากอุบัติเหตุเชอร์โนบิลแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นที่แน่แท้ในอัตราการเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์หลังจากภัยพิบัติในปี 1986 จะเริ่มต้นหลังจากระยะฟักตัวของมะเร็งที่ 3-5 ปีเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีข้อสงสัยว่าข้อมูลนี้จะสามารถนำมาเปรียบเทียบโดยตรงกับภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะได้หรือไม่ยังไม่สามารถกำหนดได้", "title": "ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง" }, { "docid": "720574#30", "text": "สารเพคตินจากพืชตระกูลส้มที่ผ่านการดัดแปลง - เป็นสารเคมีที่สกัดจากผลไม้ตระกูลส้ม (English: citrus fruit) และทำการตลาดในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งผิวหนัง อ้างถึงการวิจัยโรคมะเร็งในสหราชอาณาจักร มัน \"ไม่ได้แสดงว่ามีการดำเนินการใด ๆ ในการต่อสู้กับโรคมะเร็งในคน\"[98] Moxibustion - เป็นการรักษาที่ใช้ร่วมกับการฝังเข็มหรือการกดจุด โดยการเผาไหม้ mugwort (พืชจำพวก โกฐจุฬาลัมพาจีน)แห้งใกล้ผู้ป่วย สมาคมโรคมะเร็งอเมริกันให้ความเห็น \"หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่ได้สนับสนุนการอวดอ้างที่ว่าการเผาวัชพืชกลิ่นหอมมีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ \"[99] เห็ด - มีการส่งเสริมบนอินเทอร์เน็ตว่าเป็นประโยชน์สำหรับการรักษาโรคมะเร็ง อ้างถึงการวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักร \"ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าเห็ดหรือสารสกัดจากเห็ดใด ๆ สามารถป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็ง\"[100] พืชจำพวก Nerium เช่น ยี่โถ (หรือoleander) - เป็นหนึ่งในพืชมีพิษมากที่สุดที่ปลูกกันทั่วไปในสวน เป็นพื้นฐานของสารสกัดที่ได้รับการส่งเสริมในการรักษาโรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ อ้างถึงสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน \"แม้เพียงเล็กน้อยของยี่โถสามารถทำให้เกิดการเสียชีวิตได้\" และ \"ประสิทธิภาพของยี่โถยังไม่ได้รับการพิสูจน์\"[101] น้ำลูกยอ - เป็นน้ำผลไม้ที่ได้มาจากผลของต้นยอ (English: Morinda citrifolia) ซึ่งเป็นต้นไม้พื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ออสเตรเลียและแคริบเบียน น้ำลูกยอได้รับการส่งเสริมเป็นยารักษาโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามสมาคมโรคมะเร็งอเมริกันกล่าวว่า \"ไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่เชื่อถือได้ว่าน้ำลูกยอมีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ ในมนุษย์\"[102] Pau d'arco - เป็นต้นไม้ป่าฝนอเมริกาใต้ขนาดใหญ่ที่เปลือกของมัน (บางครั้งถูกกลั่นให้เป็นชา \"Lapacho\") ได้รับการส่งเสริมให้รักษาโรคจำนวนมากรวมทั้งโรคมะเร็ง อ้างถึงสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน \"หลักฐานจากการศึกษาที่มีการออกแบบและควบคุมที่ดี, ไม่สนับสนุนสารนี้ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์\"[103] Rauvolfia serpentina (หรือ Snakeroot) - เป็นพืชที่ใช้เป็นพื้นฐานของยาสมุนไพรที่บางคนเชื่อว่าอาจใช้รักษาโรคมะเร็งได้ อ้างถึงสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน: \"หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่สนับสนุนการอวดอ้างที่ว่า Snakeroot อินเดียมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็ง [... ] นอกจากนี้มันยังมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลายอย่างและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง\"[104] Red clover (pratense Trifolium) - เป็นพันธุ์ไม้เตี้ยสายพันธุ์ยุโรปชนิดหนึ่ง ใช้เป็นอาหารของม้าและวัวควาย ใบมีสามแฉก ได้รับการส่งเสริมให้รักษาสภาวะทางสุขภาพที่หลากหลายรวมทั้งโรคมะเร็ง อ้างถึงสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน \"หลักฐานทางคลินิกที่มีอยู่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า Red clover จะมีประสิทธิภาพในการรักษาหรือการป้องกันโรคมะเร็ง, อาการวัยหมดประจำเดือน, หรือสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ \"[105] Saw palmetto (หรือ Serenoa repens) - เป็นต้นปา​​ล์มชนิดหนึ่งที่พบเติบโตในทิศตะวันออกของสหรัฐฯ สารสกัดของมันได้รับการส่งเสริมให้เป็นยารักษามะเร็งต่อมลูกหมาก; แต่อ้างถึงสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน \"การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่ได้สนับสนุนการอวดอ้างที่ว่า Saw palmetto สามารถป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในมนุษย์ได้\"[106] Seasilver - เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารราคาแพงที่ส่วนใหญ่ทำจากสารสกัดจากพืชและส่งเสริมโดยสองบริษัทสหรัฐ การอวดอ้างอย่างฟุ่มเฟือยสำหรับอำนาจในการรักษาที่นำไปสู่​​การฟ้องร้องและค่าปรับของเจ้าของบริษัท[22] อ้างถึงศูนย์มะเร็งอนุสรณ์ Sloan-Kettering \"การศึกษาไม่ได้แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ราคาแพงนี้\"[107]", "title": "การรักษามะเร็งแบบทางเลือก" }, { "docid": "720574#25", "text": "การรักษาด้วย Hoxsey - เป็นการรักษาที่ประกอบด้วยสมุนไพรแบบละลายได้ชนิดพอกสำหรับรักษามะเร็งภายนอกหรือส่วนผสมสมุนไพรสำหรับโรคมะเร็ง \"ภายใน\" ร่วมกับยาระบาย, การสวนล้างช่องคลอด, อาหารเสริมวิตามินและการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหาร จากรายงานของศูนย์มะเร็งอนุสรณ์ Sloan-Kettering ไม่พบหลักฐานว่าการรักษาด้วย Hoxsey มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็ง[59] การรักษาแบบ Issels -เป็นระบอบที่แนะนำให้นำมาใช้ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจุบัน มันต้องมีการกำจัดโลหะอุดฟันออกมาจากปากของผู้ป่วยและการยึดมั่นกับการรับประทานอาหารที่เข้มงวด การวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักรกล่าวว่า: \"ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์ที่จะสนับสนุนข้อแอบอ้างที่ทำโดยเว็บไซต์ของ Issels \"[60] การรักษาแบบเคลลี่ - เป็นระบอบการรักษาที่คิดค้นโดย William Donald Kelley (1925-2005) ที่อยู่บนพื้นฐานของการรักษาแบบ Gerson กับคุณสมบัติเพิ่มเติมที่รวมทั้งการสวดมนต์และการจัดการการรักษาโรคกระดูก ที่มีชื่อเสียงคือสตีฟแมคควีนที่ใช้มันเป็นเวลาสามเดือนก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ตามที่ศูนย์มะเร็งอนุสรณ์ Sloan-Kettering การรักษาแบบเคลลี่เป็นชนิดหนึ่งของการรักษาด้วยการเผาผลาญอาหารที่ \"ไม่มีหลักฐานของความสามารถ\" จะแสดงให้เห็น[58] การวิเคราะห์เลือดสด - ในการแพทย์แบบทางเลือก, การตรวจสอบตัวอย่างเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังสูงได้รับการแอบอ้างว่าสามารถตรวจพบและคาดการณ์การเกิดโรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้นมันจึงนำไปสู่​​การสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่คาดว่าจะทำหน้ที่ในการรักษา การปฏิบัติแบบนี้ถูกปลดปล่อยว่าเป็นการหลอกลวงโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์[61] การบำบัดแบบ Livingston-Wheeler - เป็นระบอบการรักษาที่รวมถึงการจำกัดอาหาร, ยาต่างๆ, การรักษาและการสวนทวารหนักโดยใช้น้ำยา ตามที่สมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน \"หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่ได้สนับสนุนการแอบอ้างที่ว่าการรักษาแบบ Livingston-Wheeler มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ \"[62] โปรแกรม 10 ขั้นตอนของ Lorraine Day - เป็นระบอบการรักษาที่คิดค้นโดย Lorraine Day ที่ขึ้นอยู่กับอาหารที่เข้มงวดและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเช่นหยุดการทำงานและหยุดดูโทรทัศน์ Stephen Barrett เขียนใน Quackwatch \"ในความคิดของข้าพเจ้าคำแนะนำของเธอไม่น่าไว้วางใจและเป็นอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นโรคมะเร็ง\"[63] การรักษาด้วยการเผาผลาญอาหาร - เป็นคำที่ครอบคลุมสำหรับระบอบการรักษาแบบ \"การล้างพิษ\" โดยใช้การรับประทานอาหารและโดยการสวนทวารหนักโดยใช้น้ำยา เช่นการรักษาแบบ Gerson ที่ส่งเสริมเพื่อการรักษาโรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ ศูนย์มะเร็งอนุสรณ์ Sloan--Kettering กล่าวว่า: \"รายงานย้อนหลังของการรักษาแบบ Gerson, แบบเคลลี่และแบบ Contreras ไม่แสดงหลักฐานว่ามีความสามารถ\"[58]", "title": "การรักษามะเร็งแบบทางเลือก" }, { "docid": "720574#33", "text": "การทำกายภาพประยุกต์ (English: Applied Kinesiology) - เป็นการวินิจฉัยและรักษาความเจ็บป่วยโดยการสัมผัสและการสังเกตผู้ป่วยเพื่อตรวจหาสัญญาณที่มีความหมายในกล้ามเนื้อ มีการอวดอ้างว่าเพียงหนี่งครั้งของการรักษา \"การทุเลาที่เกิดขึ้นเอง\" ของโรคมะเร็งจะสามารถสังเกตได้ อย่างไรก็ตาม อ้างถึงสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน \"หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่ได้สนับสนุนการอวดอ้างที่การทำกายภาพประยุกต์สามารถวินิจฉัยหรือรักษาโรคมะเร็งหรือความเจ็บป่วยอื่น ๆ \"[115] ไคโรแพรคติก* - เป็นการจัดกระดูกสันหลังเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลายอย่าง อ้างถึงสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน \"หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่ได้สนับสนุนการอวดอ้างว่าการรักษาไคโรแพรคติกสามารถรักษาโรคมะเร็งหรือความเจ็บป่วยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอื่น ๆ \"[116] Craniosacral therapy (หรือ CST) - เป็นการรักษาที่คิดค้นโดยจอห์น Upledger ในปี 1970 ผู้ประกอบการ CST จะนวดหนังศีรษะของผู้ป่วยในความเชื่อที่ว่าการวางตำแหน่งที่แม่นยำของกระดูกกะโหลกศีรษะของพวกเขาสามารถมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อสุขภาพของพวกเขา อย่างไรก็ตาม อ้างถึงสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน \"หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่ได้สนับสนุนการอวดอ้างที่ว่าการรักษาแบบ Craniosacral จะช่วยในการรักษาโรคมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ \"[117] การทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ - เป็นการทำความสะอาดลำไส้ใหญ่โดยใช้ยาระบายและการสวนทวารหนักโดยใช้น้ำยาเพื่อที่จะ \"ล้างพิษ\" ที่อยู่ในร่างกาย การสวนทวารหนักโดยใช้กาแฟได้รับการส่งเสริมให้เป็นการรักษาโรคมะเร็ง อ้างถึงสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน \"หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่ได้สนับสนุนการอวดอ้างที่ว่าการบำบัดลำใส้ใหญ่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ \"[118] การวางถ้วย - เป็นขั้นตอนที่ใช้ถ้วยในการสร้างพื้นที่ของการดูดบนร่างกาย แม้ว่าจะใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็ง สมาคมโรคมะเร็งอเมริกันพูดว่า \"หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่ได้สนับสนุนการอวดอ้างที่ว่าการวางถ้วยมีประโยชน์ต่อสุขภาพ\"[119] การรักษาด้วยการเต้นรำ - เป็นการใช้การเต้นรำหรือการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อปรับปรุงเป็นอยู่ที่ดีของร่างกายหรือจิตใจ สมาคมโรคมะเร็งอเมริกันกล่าวว่า \"การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่กี่อย่างได้มีการดำเนินการเพื่อประเมินผลกระทบของการรักษาด้วยการเต้นรำที่มีต่อสุขภาพ เพื่อการป้องกัน และเพื่อการกู้คืนจากการเจ็บป่วย รายงานทางคลินิกแนะนำว่าการรักษาด้วยการเต้นรำอาจจะมีประสิทธิภาพในการปรับปรุงความนับถือตนเองและลดความเครียด ในรูปแบบของการออกกำลังกาย, การรักษาด้วยการเต้นรำจะมีประโยชน์กับคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกายและด้านอารมณ์\"[120] รายงานของ Cochrane พบว่ามีการศึกษาไม่มากนักที่จะให้ข้อสรุปใด ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นผลกระทบเนื่องจากการรักษาด้วยการเต้นรำที่มีทางจิตวิทยาหรือทางกายภาพในผู้ป่วยมะเร็ง[121] การวางเทียนในหู - เป็นเทคนิคการแพทย์ทางเลือกที่มีการจุดเทียนวางไว้ในหูเพื่อให้มีผลในการรักษาที่ควร การปฏิบัติแบบนี้ได้รับการส่งเสริมที่มีการอวดอ้างอย่างยิ่งใหญ่ว่าสามารถ \"ฟอกเลือด\" หรือ \"รักษา\" โรคมะเร็งได้ แต่สาธารณสุขแคนาดาได้พบว่ามันไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ; แต่มันมีความเสี่ยงที่ร้ายแรงของการบาดเจ็บ[122] การผ่าตัดกายสิทธิ์ - เป็นเคล็ดลับของความเชื่อมั่นที่ใช้ความว่องไวของมือที่ผู้ประกอบการแสร้งว่าเอาก้อนเนื้อ (โดยปกติเป็นเครื่องในสัตว์ดิบที่ซื้อมาจากร้านขายเนื้อ) จากคน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นผลกระทบจึงเกิดขึ้นไม่ได้ เรกิ - เป็นขั้นตอนหนึ่งที่ผู้ประกอบการอาจมอง, เป่า, แตะและสัมผัสผู้ป่วยในความพยายามที่จะสร้างผลกระทบต่อ \"พลังงาน\" ในร่างกายของพวกเขา ถึงแม้จะมีหลักฐานบางอย่างที่การบำบัดเรกิเป็นการผ่อนคลายและอาจจะปรับปรุงความเป็นอยู่ทั่วไปให้ดีขึ้น แต่การวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักรกล่าวว่า \"ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าเรกิสามารถป้องกัน, บำบัดหรือรักษาโรคมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ \"[123] Shiatsu - เป็นชนิดหนึ่งของการแพทย์ทางเลือกประกอบด้วยการกด การยีดดและเทคนิคการนวดอื่น ๆ ที่นิ้วและฝ่ามือ อ้างถึงการวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักร \"ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะพิสูจน์ว่า Shiatsu จะสามารถรักษาหรือป้องกันประเภทใด ๆ ของโรครวมทั้งโรคมะเร็ง\"[124]", "title": "การรักษามะเร็งแบบทางเลือก" }, { "docid": "638514#29", "text": "การถ่ายภาพรังสีไม่สามารถแยกแยะระหว่างเนื้องอกธรรมดาไม่ร้ายแรงกับเนื้อร้ายได้ อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจภายหลังค่อนข้างหายากที่จะเห็นก้อนเนื้องอกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหรือการเจริญเติบโตที่ไม่คาดคิด เช่นการขยายตัวของเนื้องอกหลังวัยหมดประจำเดือน จะเพิ่มระดับความสงสัยได้ว่าเนื้องอกนั้นอาจจะเป็นก้อนเนื้อมะเร็ง โดยเนื้องอกอาจจะพัฒนาเป็นมะเร็งได้สูงโดยดูจากตำแหน่งที่เนื้องอกที่ขยายไป การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ชี้ให้เห็นว่าความสามารถในการวินิจฉัยโดยใช้ MRI มีการปรับปรุงความสามารถในการตรวจหารอยของโรคทางด้านเนื้องอกได้ การผ่าตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ(Biopsy)จะดำเนินการน้อยมากและหากดำเนินการจะไม่ค่อยมีการวินิจฉัย ควรจะมีการวินิจฉัยที่ก้อนเนื้องอกถ้ามีความไม่แน่ใจหลังจากการทำอัลตร้าซาวด์และภาพถ่ายจาก MRI ซึ่งชี้ให้เห็นข้อบ่งชี้โดยทั่วไป", "title": "เนื้องอกมดลูก" }, { "docid": "10649#84", "text": "การผ่าตัดเป็นวิธีการเบิ้องต้นของการรักษาโรคมะเร็งที่เป็นของแข็งแยกส่วนส่วนใหญ่และอาจมีบทบาทในการบรรเทาและการยีดอายุการอยู่รอด ปกติแล้วส่วนสำคัญของการวินิจฉัยที่ชัดเจนและการหาระยะของเนื้องอกด้วยวิธีตรวจชิ้นเนื้อมักเป็นสิ่งจำเป็น ในการหาตำแหน่งของมะเร็ง การผ่าตัดมักจะพยายามตัดเอาก้อนเนื้อทั้งหมดออกมา(ในบางกรณี)พร้อมกับต่อมน้ำเหลืองในพื้นที่ สำหรับโรคมะเร็งบางชนิด การตัดออกทั้งหมดเป็นสิ่งที่จำเป็นในการกำจัดโรคมะเร็ง[115]", "title": "มะเร็ง" }, { "docid": "994747#1", "text": "การศึกษาในเรื่องนี้ต้องเผชิญกับปัญหาอคติเพราะเวลานำ (lead time bias) และอคติเข้าข้างเวลายาว (length time bias)\nอคติเพราะเวลานำเป็นแนวคิดว่า การวินิจฉัยพบโรคได้เร็วอาจทำให้สถิติของเวลาที่รอดชีวิตจากมะเร็งเกินจริง โดยไม่ได้ปรับปรุงการดำเนินของโรคจริง ๆ \nส่วนอคติเข้าข้างเวลายาวเป็นแนวคิดว่า เนื้องอกที่โตช้ากว่ามีโอกาสวินิจฉัยพบมากกว่าด้วยการตรวจคัดกรองโรค แต่การปรับปรุงให้ตรวจพบมะเร็งที่โตช้าเป็นจำนวนมากกว่าอาจไม่ทำให้คนไข้ได้ผลดีจริง ๆ \nปัญหาที่เกี่ยวกันอีกอย่างหนึ่งก็คือการวินิจฉัยพบโรคเกินจริง คือการตรวจคัดโรคมีแนวโน้มในการวินิจฉัยพบโรคโดยไม่มีผลเพิ่มชีวิตคนไข้ได้จริง ๆ\nตัวอย่างเด่น คือมะเร็งต่อมลูกหมากกับการตรวจคัดโรคด้วยการเช็คค่าแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (Prostate-specific antigen, PSA)", "title": "วิทยาการระบาดของมะเร็ง" }, { "docid": "960987#24", "text": "ความขัดแย้งที่ปรากฏเยี่ยงนี้ อาจเป็นเพราะมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคสามัญมาก\nในการตรวจศพชายช่วงอายุแปดสิบ 80% จะมีมะเร็งต่อมลูกหมาก", "title": "เทสโทสเตอโรน (ยา)" }, { "docid": "720574#20", "text": "\"รักษามะเร็งได้ทั้งหมด\" ของคลาร์ก - เป็นระบอบการแพทย์ทางเลือกที่ส่งเสริมโดย Hulda Regehr Clark (1928-2009) ผู้ที่ (ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง) อ้างว่าสามารถรักษาโรคของมนุษย์ทุกโรครวมทั้งโรคมะเร็งทั้งหมด ระบอบการแพทย์นี้มีพื้นฐานอยู่บนความเชื่อที่ว่าโรคเหล่านี้เกิดจาก \"ปรสิต\" และรวมถึงการรักษาด้วยสมุนไพร, การรักษาด้วยคีเลชั่น(ขบวนการสกัดโลหะหนักออกจากสายเลือดด้วยการทำคีเลท(ขบวนการนี้จะก่อตัวให้เป็นรูปวงแหวนด้วยพันธะไฮโดรเจนหนึ่งตัวหรือมากกว่าหนึ่งตัว)เหมือนกับการบำบัดพิษจากตะกั่วและปรอท)และการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ Quackwatch ได้อธิบายความคิดของเธอว่า \"ไร้สาระ\"[55] การรักษาโดย Francisco Contreras - เป็นการรักษาที่จัดให้ ณ โอเอซิสของโรงพยาบาลแห่งความหวังในเมือง Tijuana ประเทศเม็กซิโกซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การล้างพิษที่เรียกว่า Detoxification การรับประทานอาหารประเภทไขมันต่ำโปรตีนต่ำคาร์โบไฮเดรตสูงอย่างเข้มงวด การใช้วิตามินจำนวนมาก กระดูกอ่อนปลาฉลาม ต่อมไทมัส และยาลีวาไมโซล การใช้อะมิกดาลินที่สกัดจากเมล็ดแอพลิคอท", "title": "การรักษามะเร็งแบบทางเลือก" }, { "docid": "10649#81", "text": "ประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัดขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็งและระยะของโรค เมื่อใช้ร่วมกับการผ่าตัด เคมีบำบัดได้พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ในหลายชนิดมะเร็งที่แตกต่างกัน ได้แก่:. มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งกระดูก, มะเร็งอัณฑะ, มะเร็งรังไข่และมะเร็งปอดบางอย่าง[115] ประสิทธิภาพโดยรวมมีช่วงจากอยู่ระหว่างการรักษาโรคมะเร็งบางชนิดเช่น leukemias บางชนิด[116][117] จนถึงไม่สัมฤทธิ์ผลเช่นในบางขนิดของเนื้องอกในสมอง[118] จนถึงไม่จำเป็นในมะเร็งอื่น ๆ เช่นมะเร็งผิวหนังที่ไม่ใช่เนื้องอกส่วนใหญ่[119] ประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัดมักจะถูกจำกัดโดยความเป็นพิษต่อเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกาย ถึงแม้ในขณะที่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ยาเคมีบำบัดสามารถรักษาโรคได้อย่างถาวร เคมีบำบัดอาจจะมีประโยชน์ในการลดอาการเช่นอาการปวดหรือเพื่อลดขนาดของเนื้องอกที่ไม่ทำงานในความหวังว่าการผ่าตัดจะเป็นไปได้ในอนาคต", "title": "มะเร็ง" }, { "docid": "10649#101", "text": "โรคมะเร็งบางชนิดมีการเจริญเติบโตที่ช้าเป็นเรื่องปกติ การศึกษาด้วยการชันสูตรศพในยุโรปและเอเชียได้แสดงว่าสูงถึง 36% ของคนได้รับการวินิจฉัยที่ต่ำเกินจริงและปรากฏว่าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยในช่วงเวลาที่พวกเขาเสียชีวิตและว่า 80% ของผู้ชายมีการพัฒนาเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากตอนอายุ 80[147][148] เนื่องจากว่าโรคมะเร็งเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของบุคคลนั้น การระบุโรคเหล่านี้จึงเป็นการวินิจฉัยที่มากเกินจริงเกินกว่าจะเป็นการดูแลทางการแพทย์ที่มีประโยชน์", "title": "มะเร็ง" }, { "docid": "10649#4", "text": "ในปี 2012 มีมะเร็งรายใหม่เกิดขึ้นทั่วโลกประมาณ 14,100,000 ราย (ไม่รวมถึงโรคมะเร็งผิวหนังอื่นที่ไม่ใช่เนื้องอก)[5] มันะทำให้เกิดการเสียชีวิต 8,200,000 รายหรือ 14.6% ของการเสียชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด[5][16] ชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคมะเร็ง ในเพศชายเป็นมะเร็งปอด, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งลำไส้ใหญ่, และมะเร็งกระเพาะอาหาร ในเพศหญิงชนิดที่พบมากที่สุดคือมะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งปอด, และมะเร็งปากมดลูก[5] หากมะเร็งผิวหนังอื่นที่ไม่ใช่เนื้องอกถูกรวมอยู่ใน มะเร็งใหม่ทั้งหมด ในแต่ละปีมะเร็งดังกล่าวจะคิดเป็นประมาณ 40% ของผู้ป่วย[17][18] ในเด็ก โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบ lymphoblastic เฉียบพลันและเนื้องอกในสมองเป็นโรคส่วนใหญ่ร่วมกันยกเว้นในทวีปแอฟริกาที่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดแพร่กระจายเร็วเกิดขึ้นบ่อย[14] ในปี 2012 เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีประมาณ 165,000 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเ​​ป็นมะเร็ง ความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตามอายุและมะเร็งหลายชนิดเกิดขึ้นได้ทั่วไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว[5] อัตราเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่อประชาชนมีชีวิตมากขึนและวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศกำลังพัฒนา[19] ต้นทุนทางการเงินของโรคมะเร็งอยู่ที่ประมาณ US$ 1.16 ล้านล้านต่อปีในปี 2010[20]", "title": "มะเร็ง" }, { "docid": "136166#62", "text": "ส่วนย่อยของ MRI แบบแทรกแซงซึ่งมีความเป็นพิเศษเพิ่มขึ้นก็คือส่วนของ MRI ที่ทำงานในระหว่างการผ่าตัด (English: intraoperative MRI) ในที่ซึ่ง MRI จะถูกใช้ในขั้นตอนการผ่าตัด. บางระบบของ MRI ที่เชี่ยวชาญพิเศษได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยให้ทำการถ่ายภาพพร้อมไปกับการผ่าตัด. อย่างไรก็ตาม ที่ใช้กันโดยทั่วไปมากขึ้น วิธีการผ่าตัดจะถูกขัดจังหวะชั่วคราวเพื่อทำการถ่ายภาพ MR เพื่อตรวจสอบความสำเร็จของขั้นตอนหรือแนวทางการทำงานภายหลังการผ่าตัด.", "title": "การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก" }, { "docid": "331560#14", "text": "โรคริดสีดวงทวารโดยปกติแล้วจะวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกาย[8] การตรวจดูปากทวารและบริเวณใกล้เคียงอาจทำให้วินิจฉัยได้ว่า เป็นโรคริดสีดวงภายนอกหรือแบบยื่นย้อยออกมา (prolapsed)[2] การตรวจปลายลำไส้ตรงอาจทำเพื่อแยกว่าเป็นเนื้องอกในลำไส้ตรง ติ่งเนื้อเมือก ต่อมลูกหมากโต หรือฝี หรือไม่[2] โดยอาจต้องใช้ยาระงับประสาทที่เหมาะสมเพื่อระงับความเจ็บ แม้ริดสีดวงภายในส่วนมากจะไม่เจ็บ[7] เพื่อให้แน่ชัดว่าเป็นโรคริดสีดวงภายใน อาจต้องส่องกล้องทวารหนัก (anoscopy) โดยใช้อุปกรณ์เป็นท่อกลวงซึ่งมีไฟติดที่ข้างหนึ่ง[9]", "title": "โรคริดสีดวงทวาร" }, { "docid": "974684#11", "text": "อาการท้องผูกยังเกิดพร้อมกับปัญหาทางกายภาพ (ไม่ว่าจะโดย โดย หรือโดย)\nเพราะสร้างรอยโรคซึ่งกินเนื้อที่ในลำไส้ใหญ่และขวางทางเดินของอุจจาระ\nปัญหาเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่, , , ความเสียหายของหูรูดทวารหนัก, สภาวะวิรูปที่ส่วนต่าง ๆ, หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลังจากผ่าตัด\nก้อนเนื้อนอกลำไส้ เช่น มะเร็งในที่อื่น ๆ ก็อาจทำให้ท้องผูกเพราะกดลำไส้", "title": "อาการท้องผูก" }, { "docid": "306726#28", "text": "มะเร็งท่อน้ำดีเป็นมะเร็งชนิดต่อมของทางเดินน้ำดีเช่นเดียวกันกับมะเร็งตับอ่อน (ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่า 20 เท่า) มะเร็งถุงน้ำดี (เกิดขึ้นบ่อยกว่า 2 เท่า) และมะเร็งของกระเปาะของวาเตอร์ (ampulla of Vater) วิธีการรักษาและงานวิจัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งตับอ่อนซึ่งมีจำนวนมากกว่างานที่เกี่ยวกับมะเร็งท่อน้ำดีจึงมักถูกใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี แม้ชีววิทยาของทั้งสองโรคจะแตกต่างกันถึงขั้นที่ว่ามะเร็งตับอ่อนอาจรักษาได้ด้วยเคมีบำบัดจนโรคอยู่ในระยะสงบถาวร (permanent remission) แต่กับมะเร็งท่อน้ำดีนั้นถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีรายงานถึงการรอดชีวิตระยะยาวหลังรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาในผู้ป่วยที่ผ่าตัดได้", "title": "มะเร็งท่อน้ำดี" }, { "docid": "520124#1", "text": "ดร.โจนาธาน เทย์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของเรโนไซเบอร์ไนฟ์ เขามีความคล่องแคล่วในด้านสายตรวจทางคลีนิก และได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมากรวมถึงการรักษา ภายใต้การนำของเขา เรโนไซเบอร์ไนฟ์ได้มีการพัฒนางานวิจัยทางคลินิกโรคมะเร็ง และดำเนินการการบำบัดมะเร็งต่อมลูกหมากหลายรูปแบบ ดร.เทย์ ยังเป็นหนึ่งในผู้ได้รับการจารึกชื่อเป็น \"วีรบุรุษแห่งการดูแลสุขภาพ\" ของนิตยสารเนวาดาบิสิเนส 2010 สำหรับผลงานของเขาในด้านการแพทย์", "title": "เรโนไซเบอร์ไนฟ์" }, { "docid": "33216#7", "text": "วันที่ 8 มกราคม 1996 อดีตประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง ถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 79 ปี ขณะที่หลับอยู่ในอพาร์ทเมนต์ข้าง ๆ สำนักงานของเขา หลังต่อสู้กับความเจ็บปวดจากโรคมะเร็งที่ต่อมลูกหมากมาเป็นระยะเวลาหลายปี และต้องได้รับการผ่าตัดถึง 3 ครั้ง", "title": "ฟร็องซัว มีแตร็อง" }, { "docid": "306726#2", "text": "มะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคที่สามารถมีอันตรายถึงตายได้อย่างรวดเร็วและไม่มีทางรักษาหากไม่สามารถตัดเนื้อมะเร็งออกให้หมดได้ ยังไม่มีการรักษาใดๆ ที่มีโอกาสรักษาโรคให้หายได้นอกจากการผ่าตัด ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะได้รับการวินิจฉัยก็เป็นระยะที่โรคลุกลามไปมากและไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมักได้รับการดูแลรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ยังใช้ร่วมกับการผ่าตัดหลังการผ่าตัดสำเร็จด้วย งานวิจัยทางการแพทย์บางสายพยายามใช้วิธีการใหม่ๆ ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดี วิธีการเหล่านี้เช่น การรักษาด้วยยาแบบ targeted therapy (เช่น ยา erlotinib) หรือ photodynamic therapy รวมทั้งมีการวิจัยหาทางวินิจฉัยโรคโดยใช้การตรวจวัดระดับของผลผลิตจากเซลล์สโตรมัลของมะเร็ง", "title": "มะเร็งท่อน้ำดี" }, { "docid": "620439#0", "text": "มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (รู้จักในชื่อของมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไส้ตรงหรือมะเร็งลำไส้) คือโรคมะเร็งที่เกิดในลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง (ส่วนของ ลำไส้ใหญ่) เกิดจากการเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ซึ่งสามารถลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ สัญญาณและอาการของโรคอาจได้แก่การอุจจาระเป็นเลือด การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่เปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักลดและมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียตลอดเวลา\nโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงส่วนใหญ่เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตและอายุที่มากขึ้น รวมทั้งจากความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่ปัจจัยนี้จะพบได้ในน้อยราย ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร โรคอ้วน การสูบบุหรี่ และการขาดการออกกำลังกาย ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ การรับประทาน เนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งก็คือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบซึ่งได้แก่ โรคโครห์นและลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ภาวะของความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงบางภาวะได้แก่ ติ่งเนื้องอกที่เกิดจากพันธุกรรม และ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบไม่พบติ่งเนื้อ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยจากสาเหตุนี้มีน้อยกว่า 5% เมื่อเทียบกับกลุ่มสาเหตุอื่นๆ โดยทั่วไปในเบื้องต้นจะพบเนื้องอกชนิดไม่เป็นอันตรายซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อ เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อนี้จะกลายเป็นมะเร็ง\nการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจทำได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อตัวอย่างที่ตัดจากลำไส้ใหญ่ในระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายหรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด แล้วตามด้วยขั้นตอนการฉายแสงเพื่อตรวจวิเคราะห์ว่ามีการแพร่กระจายหรือไม่ การคัดกรองหรือการตรวจหาโรคก่อนที่จะมีอาการเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการลดโอกาสของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จึงแนะนำให้มีการเข้ารับตรวจหาโรคเมื่ออายุ 50 ปีและรับการตรวจหาโรคต่อไปจนอายุ 75 ปี ระหว่างการส่องกล้องตรวจสำไส้ใหญ่ทั้งหมดจะมีการตัดติ่งติ่งเนื้อออก ยาแอสไพรินและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ลดความเสี่ยงได้ แต่โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์นี้เนื่องจากมีผลข้างเคียง\nการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอาจใช้วิธีการรักษาแบบผสมวิธีต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ การผ่าตัด การบำบัดด้วยรังสี เคมีบำบัดและการรักษาแบบมุ่งเป้า มะเร็งที่งอกอยู่ในผนังลำไส้ใหญ่อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่หากมีการกระจายของเชื้อมะเร็งไปทั่วแล้วโดยปกติไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาแบบเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตให้ดีดีขึ้นและการบำบัดตามอาการ อัตรารอดที่ห้าปีในประเทศสหรัฐอเมริกามีอยู่ที่ประมาณ 65% อย่างไรก็ตามนี่ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้ลุกลามไปมากน้อยเท่าไร ได้รับการผ่าตัดมะเร็งออกไปหรือไม่และสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับที่สามโดยคิดเป็น 10% จากทั้งหมด ในปี 2012 พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 1.4 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน 694,000 ราย โรคนี้มักจะพบได้มากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งคิดเป็นจำนวนที่มากกว่า 65% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง", "title": "มะเร็งลำไส้ใหญ่" }, { "docid": "28219#9", "text": "เวชศาสตร์นิวเคลียร์เป็นศาสตร์ที่แตกต่างจากรังสีวินิจฉัยและรังสีรักษาอย่างมากเพราะเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้อกับการนำนิวเคลียร์เทคโนโลยี่มาใช้ประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ โดยให้สารกัมมันตภาพรังสีเข้าไปในร่างกายโดยการฉีดหรือรับประทานและต้องเตรียมเภสัชรังสีให้เหมาะสมกับการ ตรวจรักษาโรคแต่ละชนิดต้องมีการควบคุมคุณภาพและให้ปลอดเชื้อตลอดจนการคำนวณขนาดของรังสีที่จะให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายก่อนที่จะมีการฉีดหรือ ให้ผู้ป่วยรับประทานแล้วศึกษาการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกายตลอดจนกลไกพยาธิสรีรวิทยาอย่างละเอียด โดยการถ่ายภาพทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และยังใช้ในการตรวจโรคระบบโลหิตตลอดจนการตรวจเลือด ปัสสาวะฯลฯ เพื่อวัดระดับฮอร์โมน สารและยาต่างๆในร่างกาย จึงแตกต่าง จากการ วินิจฉัยโรคด้วยการเอกซเรย์อย่างสิ้นเชิง ในด้านการรักษาโรคนั้น สารกัมมันตรังสีที่ใช้เป็นชนิด unsealed source ซึ่งแตกต่างจากด้านรังสีรักษาที่ใช้ sealed source จะต้องมีมาตรการป้องกันอันตรายจากรังสีเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานด้านนี้จะต้องมีความรู้ความ สามารถและได้รับการฝึกอบรมด้านนี้โดยเฉพาะเพื่อการใช้สารกัมมันตรังสีทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความปลอดภัยการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคด้วยวิทยาการทางนิวเคลียร์และเทคโนโลยี่ที่เกี่ยวข้องมีความเจริญก้าวหน้าและขยายออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง เนื่องจากการตรวจ วินิจฉัยโรคและการรักษาโรคทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ไม่อาจทดแทนด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคโดยวิธีการอื่นเช่นการตรวจการทำงานของ\nอวัยวะ ต่างๆไม่ว่าจะเป็น หัวใจ ไต ต่อมธัยรอยด์ เป็นต้น หรือการตรวจดูการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่อวัยวะต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูง ด้วยการตรวจด้วยสารกัมมันตภาพรังสีในเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คือ SPECT( Single Photon Emission Tomography)และ PET (Positron Emission Tomography ) ตลอดจนการรักษาโรคต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพสูง เช่นการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษการรักษาโรคมะเร็งต่างๆ เช่น ต่อมธัยรอยด์ ต่อมหมวกไต ตับ เป็นต้น รวมทั้งโรคบางชนิดทางระบบโลหิตวิทยาในปัจจุบันนี้มีการนำภาพจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)และเครื่องตรวจด้วย คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) มาควบคู่กับภาพ SPECT และ PET ซึ่งภาพจากเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์และเครื่องตรวจด้วย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะแสดงข้อมูล ทาง กายวิภาคของอวัยวะสั้นๆแล้วนำภาพทั้ง2 ระบบมารวมกันกลายเป็นภาพ SPECT/CT ( Single Photon Emission Tomography/ Computed Tomography),PET/CT ( Positron Emission Tomography/Computed Tomography และ PET/MRI ( Positron Emission Tomography/Magnetic Resonance Imaging) ทำให้ได้ข้อมูลทั้งทางด้านสรีรวิทยา,ชีววิทยาโมเลกุล และกายวิภาคพร้อมในคราวเดียวกัน", "title": "รังสีวิทยา" }, { "docid": "136166#39", "text": "MRI และการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT) เป็นเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่เกื้อกูลกันและแต่ละเทคโนโลยีก็มีข้อดีและข้อจำกัดสำหรับการใช้งานเฉพาะอย่าง. CT ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางมากกว่า MRI ในประเทศ OECD ที่มีค่าเฉลี่ยการตรวจสอบจาก 132 ต่อ 46 ต่อ 1000 ประชากรตามลำดับ[59]. มีความกังวลสำหรับ CT ที่อาจมีศักยภาพที่จะนำไปสู่​​โรคมะเร็งอันเกิดจากรังสีและในปี 2007 คาดว่า 0.4% ของโรคมะเร็งในปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดเนื่องจาก CTs ที่ดำเนินการในอดีต, และในอนาคตตัวเลขนี้อาจเพิ่มขึ้นเป็น 1.5-2% ขึ้นอยู่กับอัตราในประวัติของการใช้งาน CT[60]. การศึกษาในประเทศออสเตรเลียพบว่าหนึ่งครั้งในทุก 1,800 CT สแกนจะเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งส่วนเกิน[61]. ข้อดีของ MRI ก็คือไม่มีการใช้รังสีและดังนั้นมันจึงถูกแนะนำเหนือกว่า CT เมื่อวิธีใดวิธีหนึ่งในสองอย่างนี้สามารถให้ข้อมูลการวินิจฉัยเดียวกัน[5]. อย่างไรก็ตามแม้ว่าค่าใช้จ่ายของ MRI ได้ลดลงทำให้มันสามารถแข่งขันได้มากขึ้นกับ CT, มีสถานการณ์การถ่ายภาพร่วมกันไม่มากในการที่ MRI สามารถแทนที่ CT ได้อย่างเด็ดขาด, แม้ว่าการทดแทนนี้ได้รับการแนะนำสำหรับการถ่ายภาพของโรคตับ[62]. ผลกระทบของปริมาณต่ำของรังสีในการเกิดมะเร็งยังมีการถกเถียงกัน[63]. แม้ว่า MRI มีความสัมพันธ์กับผลกระทบทางชีวภาพ, สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์เลยว่าทำให้เกิดอันตรายที่สามารถวัดได้[64]. ในการเปรียบเทียบผลกระทบที่เป็นไปได้ของพิษของยีน (English: genotoxic) จาก MRI เมื่อเปรียบเทียบกับ CT สแกน, Knuuti และคณะ ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าการศึกษาก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นถึงการทำความเสียหายให้กับดีเอ็นเอจะเชื่อมโยงกับ MRI ก็ตาม, \"การแบ่งดีเอ็นเอสองเส้น (English: double-strand breaks), ที่เกิดจาก MRI, ทางชีวภาพและทางคลินิกอย่างมีนัยสำคัญในระยะยาวยังคงไม่ทราบ\"[42].", "title": "การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก" }, { "docid": "253607#19", "text": "วิธีนี้มีข้อจำกัด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพบหลอดอาหารอักเสบหรือเยื่อบุผิวเสี่ยงมะเร็งในหลอดอาหารคือ Barrett's esophagus นี่เท่ากับยืนยันวินิจฉัยโรคนี้อย่างเฉพาะเจาะจง แต่การมีหลอดอาหารปกติก็ไม่ได้กันว่าไม่มีโรคนี้ คนไข้โรคนี้โดยมากจะไม่มีอะไรผิดปกติที่เห็นได้ผ่านกล้อง ดังนั้น จึงจะใช้ต่อเมื่อมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือเพื่อประเมินโรคอื่น หรือเพื่อการติดตั้งแคปซูลตรวจความเป็นกรดด่างแบบไร้สาย คนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างต่อมะเร็งชนิดต่อมที่หลอดอาหาร (esophageal adenocarcinoma) (รวมทั้งอายุมากกว่า 50 เป็นชาย เป็นโรคนี้แบบเรื้อรัง กระเพาะอาหารเลื่อนผ่านกะบังลม ดัชนีมวลกายสูง ไขมันสะสมที่ท้อง) และเพื่อตรวจคัดกรองว่ามี Barrett's esophagus หรือไม่\nเมื่อส่องกล้อง นอกจากจะตรวจดูหลอดอาหารแล้ว แพทย์ยังสามารถตัดเนื้อออกตรวจถ้าเห็นความเปลี่ยนแปลงผิดปกติ ส่วนตีบ หรือก้อนเนื้อ \nการตัดเนื้อออกตรวจอาจแสดง\nการวัดค่าความเป็นกรดด่างและค่าอิมพีแดนซ์ในหลอดอาหาร (esophageal pH and impedance monitoring) เป็นวิธีการตรวจสอบกรดไหลย้อนที่แม่นยำที่สุด เป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคนี้ เป็นการตรวจสอบที่เป็นปรวิสัยมากที่สุดเพื่อวินิจฉัยโรคนี้ และช่วยให้เฝ้าสังเกตการตอบสนองของคนไข้ต่อการรักษาไม่ว่าจะโดยยาหรือผ่าตัดด้วย\nเป็นการวัดค่ากรดในหลอดอาหารเมื่อคนไข้ทำกิจกรรมชีวิตประจำวันปกติรวมทั้งทานอาหารและนอน", "title": "โรคกรดไหลย้อน" }, { "docid": "253607#0", "text": "โรคกรดไหลย้อน () เป็นภาวะระยะยาว (เช่น มีอาการมากกว่า 2 ครั้งต่ออาทิตย์เป็นเวลาหลายอาทิตย์) ที่สิ่งซึ่งอยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารซึ่งทนต่อกรดและเอนไซม์ย่อยอาหารได้แค่ระดับหนึ่ง แล้วทำให้เกิดอาการต่าง ๆ หรือนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ\nอาการรวมทั้งเรอเปรี้ยวเรอขม คือได้รสกรดหรือรสขมที่ใกล้ ๆ คอ แสบร้อนกลางอก/ยอดอก ปวดหน้าอก ลมหายใจเหม็น อาเจียน หายใจมีปัญหาเช่นหายใจไม่ออกเวลานอนหรือเจ็บคอ และฟันกร่อน\nอาการอาจแย่ลงจนเกิดภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งหลอดอาหารอักเสบ หลอดอาหารตีบ และเกิดเยื่อบุผิวเสี่ยงมะเร็งในหลอดอาหาร\nซึ่งอย่างสุดท้ายพิจารณาว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารก่อนจะเป็นมะเร็ง แล้วอาจกลายเป็นมะเร็งชนิดต่อมซึ่งบ่อยมากทำให้เสียชีวิต\nปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งโรคอ้วน การตั้งครรภ์ การสูบบุหรี่ การได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ กระเพาะอาหารเลื่อนผ่านกะบังลม (hiatus hernia)\nและการใช้ยาบางประเภท\nยาที่อาจมีบทบาทรวมทั้งสารต้านฮิสตามีน (เช่น ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก) แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ยาแก้ซึมเศร้า และยานอนหลับ\nโรคมีเหตุจากหูรูดหลอดอาหารด้านล่าง (ส่วนต่อระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร) ปิดได้ไม่ดี คือคลายตัวบ่อยเกิน\nการวินิจฉัยสำหรับคนไข้ที่ไม่ดีขึ้นด้วยการตรวจรักษาปกติ อาจรวมการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน การกลืนแป้งถ่ายภาพรังสี และการวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร\nโรคที่ไม่ได้รักษาดูแล สามารถทำความเสียหายต่อหลอดอาหารอย่างถาวร \nการรักษาปกติคือให้เปลี่ยนอาหารพร้อมพฤติกรรม การใช้ยา หรือบางครั้งการผ่าตัด\nการเปลี่ยนพฤติกรรมอาจรวมไม่นอนในระยะ 2-3 ชม. หลังทานอาหาร, ลดน้ำหนัก, เลี่ยงอาหารบางประเภท, เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่\nยารวมทั้งยาลดกรด ยาต้านตัวรับเอช2 ยายับยั้งการหลั่งกรด () และยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็ก (prokinetics)\nการผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกสำหรับคนไข้ที่รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่หาย\nประชากรประมาณ 7.4% ในประเทศไทยเป็นโรคนี้\nในเอเชีย อาจมีประชากรน้อยกว่า 5% ที่มีโรค \nแต่ในโลกตะวันตก ประชากรถึงระหว่าง 10-20% อาจมีโรคนี้\nถึงกระนั้น การมีกรดไหลย้อนธรรมดา () เป็นบางครั้งบางคราว (คือมีอาการ 2 ครั้งหรือน้อยกว่าต่ออาทิตย์) โดยไม่มีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ก็เป็นเรื่องสามัญกว่า\nโรคแม้จะไม่ร้ายแรงเหมือนกับโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจ แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน ลดคุณภาพชีวิตอย่างมากทั้งในด้านร่างกายและจิตใจและลดประสิทธิภาพการทำงาน\nรายละเอียดของอาการนี้ได้กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในปี 1935 โดยแพทย์โรคทางเดินอาหารชาวอเมริกัน\nแต่อาการแบบคลาสสิกก็กล่าวถึงตั้งแต่ปี 1925 แล้ว", "title": "โรคกรดไหลย้อน" }, { "docid": "136166#33", "text": "แม้จะมีความกังวลเหล่านี้, MRI กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในความสำคัญสำหรับวิธีการวินิจฉัยและการตรวจสอบข้อบกพร่องแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ เพราะมันสามารถให้ข้อมูลการวินิจฉัยมากกว่าอัลตราซาวนด์และมันไม่ใช้รังสีแบบ CT. MRI โดยไม่ใช้สารสร้างความแตกต่างของภาพ (English: contrast agent) เป็นโหมดการถ่ายภาพทางเลือกสำหรับการวินิจฉัยก่อนการผ่าตัดโรคในมดลูกและการประเมินผลของเนื้องอกของทารกในครรภ์, เนื้องอกไม่มีรูปเบิ้องต้น, อำนวยความสะดวกในการผ่าตัดทารกในครรภ์แบบเปิด, การแทรกแซงอื่นๆของทารกในครรภ์, และการวางแผนสำหรับขั้นตอนต่างๆ (เช่นขั้นตอน EXIT) เพื่อทำคลอดได้อย่างปลอดภัยและรักษาทารกที่มีความผิดปกติมิฉะนั้นจะเป็นอันตรายถึงชีวิต.", "title": "การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก" }, { "docid": "628837#0", "text": "มะเร็งผิวหนัง หรือ เนื้องอก เป็นชนิดของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในการตรวจม้า ที่ประมาณ 45 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ของโรคมะเร็งที่ได้รับการตรวจทั้งหมด ซาร์คอยด์เป็นชนิดของโรคผิวหนังที่พบมากที่สุดและเป็นชนิดที่พบมากที่สุดของโรคมะเร็งโดยรวมในม้า ส่วนมะเร็งผิวหนังสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่สองที่พบโดยส่วนใหญ่ และตามด้วยชนิดเมลาโนมา ซึ่งมะเร็งผิวหนังสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมาและเมลาโนมามักจะเกิดขึ้นในม้าที่มีอายุมากกว่า 9 ปี ในขณะที่ชนิดซาร์คอยด์โดยทั่วไปจะมีในม้าอายุ 3 ถึง 9 ปี การตัดเนื้อออกตรวจเป็นทางเลือกที่ใช้มากที่สุดในการตรวจมะเร็งผิวหนังในม้า แต่มีข้อห้ามสำหรับกรณีของชนิดซาร์คอยด์ ทั้งนี้การวินิจฉัยและการรักษาโรคจะมีประสิทธิภาพแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็ง, ระดับของการทำลายเนื้อเยื่อเฉพาะที่, หลักฐานของการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น (การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง) และตำแหน่งของเนื้องอก ซึ่งไม่ใช่การแพร่กระจายของโรคมะเร็งทั้งหมด และบางส่วนสามารถรักษาให้หายหรือลดลงโดยการผ่าตัดเนื้อเยื่อมะเร็ง หรือผ่านการใช้ยาเคมีบำบัด", "title": "มะเร็งผิวหนังในม้า" }, { "docid": "10649#38", "text": "ฮอร์โมนเป็นตัวการสำคัญในการเกิดโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับเพศ เช่นโรคมะเร็งของเต้านม, เยื่อบุมดลูก, ต่อมลูกหมาก, รังไข่, และอัณฑะ รวมทั้งโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์และมะเร็งกระดูก[59] ตัวอย่างเช่นหญิงที่มีมารดามีมะเร็งเต้านมจะมีระดับของเอสโตรเจนและ progesterone ที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าหญิงที่มีมารดาที่ไม่มีมะเร็งเต้านม การเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนอาจจะอธิบายได้ว่าทำไมผู้หญิงเหล่านี้จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้แม้ว่าจะไม่มียีนมะเร็งเต้านม[59] ในทำนองเดียวกันชายเชื้อสายแอฟริกันมีระดับเทสโทสเทอโรนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าชายเชื้อสายยุโรปจึงมีระดับที่สอดคล้องกันของมะเร็งต่อมลูกหมากที่สูงมาก[59] ชายเชื้อสายเอเชียที่มีระดับต่ำสุดของ androstanediol glucuronide ที่เกิดจากเทสโทสเทอโรน ก็มีระดับต่ำสุดของมะเร็งต่อมลูกหมาก[59]", "title": "มะเร็ง" } ]
4028
สวลี ผกาพันธุ์ เกิดวันที่เท่าไหร่ ?
[ { "docid": "59228#0", "text": "สวลี ผกาพันธุ์ มีชื่อจริงว่า เชอร์รี่ เศวตนันทน์[1] (สกุลเดิม: ฮอฟแมนน์; 6 สิงหาคม พ.ศ. 2474 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) เป็นนักร้องเพลงลูกกรุง และนักแสดงชาวไทย สวลีมีผลงานบันทึกเสียงประมาณ 1,500 เพลง และเธอได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของวงการเพลงลูกกรุง[2] สวลีถือเป็นนักแสดงรุ่นบุกเบิกของวงการภาพยนตร์ไทยยุคฟิล์ม 16 มิลลิเมตร มีผลงานแสดงสร้างชื่อจากภาพยนตร์เรื่อง ดรรชนีนาง รับบทเป็น \"ดรรชนี\" และเป็นนักแสดงคนแรกที่รับบทเป็น \"พจมาน สว่างวงศ์\" จากละครเวทีเรื่อง บ้านทรายทอง[3]", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" } ]
[ { "docid": "59228#15", "text": "พระเจ้ากรุงธนบุรี (2495) - นำแสดงโดย ถนอม อัครเศรณี ,สวลี ผกาพันธ์ ,ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร ณ อยุธยา ,ปทุม ประทีปเสน,ไสว ประพันธ์, สร้างโดย บันเทิงไทย กำกับโดย เชื้อ อินทรทูต ฉายปี พ.ศ. 2495 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "37241#16", "text": "เสด็จพระองค์ชายใหญ่ทรงตั้งคณะอัศวินการละคร สัญลักษณ์ \"พระอัศวเทพ\" ในยุคละครเวทีเฟื่องฟู มีผลงานเด่น ที่ศาลาเฉลิมไทย เมื่อ พ.ศ. 2494 ผู้ชมเรียกร้องให้นำนวนิยายเรื่อง บ้านทรายทอง ที่กำลังดังมากเวลานั้นมาทำเป็นละครเวที ทรงให้ สวลี ผกาพันธ์ และ ฉลอง สิมะเสถียร แสดงนำ ได้รับความสำเร็จอย่างสูง ทั้งได้ทรงพระนิพนธ์คำร้องเพลงเอก ชื่อ หากรู้สักนิด ซึ่งกลายเป็นเพลงอมตะคู่บทประพันธ์ ,มโนราห์ ละครที่มีคำร้องของเพลงเอกงดงามในเชิงวรรณศิลป์อย่างยิ่ง นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธ์ และ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ฯลฯ", "title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล" }, { "docid": "59228#24", "text": "เสือน้อย (2498) - นำแสดงโดย ทักษิณ แจ่มผล ,ส.อาสนจินดา ,พันคำ ,สวลี ผกาพันธุ์ ,ล้อต๊อก ,จำรูญ ,สาหัส บุญหลง สร้างโดย บาร์โบสภาพยนตร์ กำกับโดย ส.อาสนจินดา (ฉายต่อจากเรื่อง โบตั๋น ปี พ.ศ. 2498) ที่โรงหนังคาเธ่ย์", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#7", "text": "หลังจากมีประสบการณ์ในวงการละครเวทีมาระยะหนึ่ง สวลีและ อดีศักดิ์ เศวตนันทน์ สามี ตั้งคณะละคร นันทน์ศิลป เปิดการแสดงที่ศาลาเฉลิมนคร [8]และต่อมาในชื่อ คณะชื่นชุมนุมศิลปิน ประสบความสำเร็จเป็นอันดีจนถึงปลายยุคละครเวที ส.อาสนจินดา ได้ชักชวนสมัครพรรคพวกที่เคยร่วมงานละครเวทีกันมาก่อนมาแสดงภาพยนตร์ที่เตรียมสร้างโดยมีสวลีเป็นนางเอกอยู่ระยะหนึ่งกับมีโอกาสทำหน้าที่พากย์หนังด้วย ระยะนี้เริ่มร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียง ผลงานล้วนประสบความสำเร็จอย่างสูง เช่น ลมหวน โรครัก ,หน้าชื่นอกตรม ,รักมีกรรม ฯลฯ", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#4", "text": "ความสนใจทางด้านการขับร้องและดนตรี เริ่มตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยม และด้วยความเป็นผู้มีน้ำเสียงดี จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำในการร้องเพลงชาติทุกวัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ขณะที่อายุได้ 17 ปี และกำลังทำงานที่บริษัทสหไทยวัฒนานั้น คุณมยุรี จันทร์เรือง ครูสอนวิชาขับร้องที่โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ได้ชวนไปดูการฝึกซ้อมละครของคณะผกาวลี ซึ่งเป็นของญาติ ทำให้มีโอกาสรู้จักกับ ครูลัดดา สารตายน (ศิลปบรรเลง) ผู้ฝึกซ้อมและกำกับการแสดง", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#18", "text": "น้ำตาชาย (2497) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ ,สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ,สมควร กระจ่างศาสตร์ ,ทักษิณ แจ่มผล สร้างโดย บาร์โบสภาพยนตร์ กำกับโดย วิเชียร ฉวีวงศ์ ฉายต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2497 ที่โรงหนังควีนส์", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#9", "text": "ด้วยประสบการณ์หลายด้านในวงการบันเทิงที่ประสบความสำเร็จถึงจนเป็นหนึ่งในทำเนียบแห่งศิลปินแห่งชาติท่านหนึ่งของประเทศไทย[9]", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#28", "text": "สวรรค์หาย (2501) - นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ,อาคม มกรานนท์ ,อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ,สวลี ผกาพันธุ์ , แขไข ,สาหัส ,ฑัต ,จรูญ สร้างโดย บริการสากลภาพยนตร์ โดย สกุล เกตุพันธ์ อำนวยการสร้าง กำกับโดย รังสี ทัศนพยัคฆ์ ฉายวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2501 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง-เฉลิมบุรี", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#21", "text": "แม่พระ (2498) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ ,ฉลอง สิมะเสถียร ,สาหัส บุญหลง ,ฑัต เอกฑัต สร้างโดย ทิดเขียวภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย พันคำ ฉายเดือนเมษายน พ.ศ. 2498 ที่โรงหนังควีนส์", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#29", "text": "ขบวนเสรีจีน (2502) - นำแสดงโดย มิสคูมี่ ,สุเทพ วงศ์กำแหง ,ประจวบ ฤกษ์ยามดี ,สวลี ผกาพันธุ์ ,ชาลี อินทรวิจิตร ,ศรินทิพย์ ,จรูญ สร้างโดย คันจราภาพยนตร์ โดย เทวะมิตร์ อำนวยการสร้าง กำกับโดย ลัดดา สารตายน ฉายวันที่ 6 มิถุนายน 2502 ที่โรงหนังคาเธ่ย์", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#20", "text": "เริงริษยา (2498) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ และ โชติ สโมสร สร้างโดย รัตนภาพยนตร์ ฉายวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2498 ที่โรงหนังเอ็มไพร์", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#22", "text": "ล้มบาง (2498) - นำแสดงโดย ทักษิณ แจ่มผล ,ฑัต เอกฑัต ,สวลี ผกาพันธุ์ ,มาลิน เลขะวัฒนพิจารณ์ สร้างโดย บาร์โบสภาพยนตร์ กำกับโดย ส.อาสนจินดา ฉายวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2498 ที่โรงหนังควีนส์", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#25", "text": "เพลิงโลกันต์ (2498) - นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ,สวลี ผกาพันธุ์ ,แน่งน้อย ,มาลิน ,ไสล ,มนูญ ,สุรชาติ สร้างโดย เอราวัณภาพยนตร์ กำกับโดย เสนีย์ บุษปะเกศ ฉายปี พ.ศ. 2498", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#1", "text": "สวลีเป็นนักร้องสตรีรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานมากที่สุดถึง 4 ครั้ง และรับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) พ.ศ. 2532[4]", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "31981#3", "text": "ภายหลังจากออกจากกองทัพอากาศแล้ว คุณสุเทพก็ได้ร้องเพลงเป็นอาชีพหลักอย่างเต็มตัว ท่านได้เข้าร่วมกับคณะชื่นชุมนุมศิลปิน และได้มีโอกาสร้องเพลงทั้งในรายการวิทยุและโทรทัศน์อยู่เนือง ๆ ทำให้ชื่อเสียงของท่านเริ่มเพิ่มขึ้น งานต่าง ๆ จึงหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย และยิ่งในช่วงนั้น วงการภาพยนตร์ไทยกำลังเฟื่องฟู ท่านจึงได้งานร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้ร่วมแสดงภาพยนตร์บางเรื่องด้วย ท่านได้มีโอกาสร้องเพลงคู่กับนักร้องรุ่นพี่ท่านหนึ่งคือ คุณสวลี ผกาพันธุ์ อยู่เสมอ ในเวลานั้น คุณสวลีเป็นนักร้องยอดนิยมแห่งยุคที่มีแฟนเพลงชื่นชอบมากมาย ดังนั้นเมื่อใครซื้อแผ่นเสียงของคุณสวลีไป ก็มักจะมีเสียงคุณสุเทพติดไปด้วย ชื่อเสียงของคุณสุเทพจึงโด่งดังขึ้นเป็นอย่างมาก ดังนั้น คุณสุเทพจึงถือว่าความสำเร็จในเบื้องต้นส่วนหนึ่งของท่านนั้น ได้รับอานิสงส์มาจากการที่ได้ร้องเพลงคู่กับคุณสวลี ผกาพันธุ์ด้วย", "title": "สุเทพ วงศ์กำแหง" }, { "docid": "551450#3", "text": "ปีเดียวกัน บนเวทีศาลาเฉลิมไทย นำแสดงเป็น กษัตริย์อริยวัต ในละครประกอบเพลงวงสุนทราภรณ์ \"จุฬาตรีคูณ\" ของ พนมเทียน ซึ่งมี มัณฑนา โมรากุล รับบท เจ้าหญิงดาราราย ,ชาลี อินทรวิจิตร รับบท เจ้าชายอนุวัต และ สวลี ผกาพันธุ์ รับบท เจ้าหญิงอารียา บทเด่นที่ยังเป็นที่กล่าวขวัญจนทุกวันนี้คือ ชายกลาง คู่กับ พจมาน (สวลี ผกาพันธุ์) คู่แรกของเมืองไทย ใน \"บ้านทรายทอง\" ของ ก.สุรางคนางค์ โดยคณะอัศวินการละคร ปีต่อมา และบทอื่นๆ เช่น ขุนวรวงศาธิราช ใน \"เจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์\" เป็นต้น ", "title": "ฉลอง สิมะเสถียร" }, { "docid": "59228#6", "text": "เมื่องานการขับร้องเพลงและการแสดงละครมีมากขึ้น จึงตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมาทำงานด้านการบันเทิงอย่างเต็มตัว ต่อมาไม่นานได้รับบทนางเอกครั้งแรกใน ความพยาบาท ทำให้มีชื่อเป็นที่รู้จักทั่วไปและได้แสดงนำอีกหลายเรื่องจนคณะผกาวลีเลิกกิจการลงจึงได้ย้ายไปแสดงอยู่กับคณะอัศวินการละคร เป็นนางเอกเรื่อง มโนราห์ คู่กับ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ และเรื่องอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ บ้านทรายทอง บทประพันธ์อมตะตลอดกาลของ ก.สุรางคนางค์ (ซึ่งต่อมาเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์อีกหลายครั้ง) รับบทเป็น “พจมาน” คนแรก และได้ร้องเพลงไพเราะ หากรู้สักนิด ผลงานการประพันธ์ของ หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ เป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้ร่วมแสดงกับคณะเทพศิลป์ และคณะศิวารมย์เป็นครั้งคราว", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#5", "text": "ครูมยุรีได้เล่าให้ครูลัดดาฟังว่าเชอร์รี่ร้องเพลงได้ดี ครูลัดดาจึงลองทดสอบเสียงโดยให้ร้องเพลงพระราชนิพนธ์สายฝน ปรากฏว่าเป็นที่พอใจ จึงชวนมาร้องเพลงสลับฉากละครในตอนเย็นหลังเลิกงาน เพลงแรกในชีวิตมีชื่อว่าเพลง หวานรื่น ผลงานเพลงของครูประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง โดยร้องคู่กับ วลิต สนธิรัตน์ ในวันนั้น นอกจากจะเป็นวันที่เริ่มต้นชีวิตการเป็นนักร้องแล้ว ยังเป็นวันที่ครูลัดดาได้ตั้งชื่อให้ท่านใช้ในการแสดงว่า สวลี แปลว่า \"น้ำผึ้ง\"[7] ส่วนนามสกุล ผกาพันธุ์ นั้น สด กูรมะโรหิต เป็นผู้ตั้งให้ในเวลาต่อมา โดยมีความหมายว่า \"เผ่าพันธุ์ของดอกไม้\" ซึ่งนำมาจากชื่อจริงของเธอคือ \"เชอร์รี่\"[7] จากนั้นมาได้มีโอกาสร้องเพลงสลับฉากเพิ่มขึ้นกับเริ่มแสดงเป็นตัวประกอบ มีบทพูดเล็ก ๆ น้อย ๆ และร้องเพลงในเรื่อง", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#12", "text": "เพลง มารหัวใจ เพลง ฤทธิ์กามเทพ เพลง ให้ อัลบั้มเดี่ยว อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธ์ 34 ต้นฉบับเพลงฮิตดีที่สุด อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธุ์ รักเธอเสมอ อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธุ์ จำเลยรัก อัลบั้มชุด แม่ไม้เพลงไทย สวลี ผกาพันธุ์ ชุด ใครหนอ อัลบั้มชุด ต้นฉบับเพลงฺฮิต สวลี ผกาพันธุ์ รักเธอไม่ถึงบาท (สังกัด โรสวิดีโอ ปัจจุบันคือ โรส มีเดียฯ) อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธุ์ ฆ่าฉันให้ตายดีกว่า อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธุ์ ปล่อยฉันไป อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธุ์ ถ้าวันนี้ยังมีเขาอยู่ อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธุ์ บำนาญรัก อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธุ์ อภิมหาอมตะนิรันดร์กาล (สังกัด นิธิทัศน์) อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธุ์ อมตะประทับใจ อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธุ์ แฟนคลับ อัลบั้มชุด สวลี ผกาพันธุ์ BEST OF", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#17", "text": "คำสั่งคำสาป (2497) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธ์ ,อารี โทณวนิก ,มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ,อุโฆษ จันทร์เรือง ,วสันต์ สุนทรปักษิณ ฉายปี พ.ศ. 2497 (ต่อจากเรื่อง แผลเก่า ที่โรงหนังเฉลิมบุรี ) โฆษณาว่าเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่อัดเสียงลงฟิล์ม", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#13", "text": "รายชื่อบางส่วน ซึ่งถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม.", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#2", "text": "สวลี ผกาพันธ์ เสียชีวิตจากการสำลักยาจนขาดอากาศหายใจ ที่บ้านพักของตนเองเมื่อเวลา 20.00 น. ของคืนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 สิริอายุ 86 ปี 97 วัน[5]", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#27", "text": "ไกรทอง (2501) - นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์ ,ชนะ ศรีอุบล ,สวลี ผกาพันธุ์ ,ประภาพรรณ นาคทอง ,วงทอง ผลานุสนธิ์ ,แขไข สุริยา ,อบ ,ดอกดิน ,สมศรี อธึก ,ทองแถม สร้างโดย ภาพยนตร์สวัสดิการตำรวจ ฉายวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ที่โรงหนังเอ็มไพร์", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#26", "text": "ไฟชีวิต (2499) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ ,สุรชัย ลูกสุรินทร์ ,สมศรี เทียมกำแหง ,จรูญ ,ชูศรี สร้างโดย เกรียงศักดิ์ หาญวานิช กำกับโดย ลัดดา สารตายน ฉายปี พ.ศ. 2499 ที่โรงหนังนิวโอเดียน", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#16", "text": "สามหัวใจ (2497) - นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ,ส.อาสนจินดา ,พันคำ ,วิไลวรรณ วัฒนพานิช ,สวลี ผกาพันธ์ ,จุรี โอศิริ ,ทักษิณ แจ่มผล ,ไสว ประพันธ์ สร้างโดย โยคีทองมูน กำกับโดย เนรมิต", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#19", "text": "ศรีราชา (2497) - นำแสดงโดย ส.อาสนจินดา ,สมควร กระจ่างศาสตร์ ,สวลี ผกาพันธุ์ ,ทักษิณ แจ่มผล ,จำรูญ หนวดจิ๋ม ,สมพล กงสุวรรณ สร้างโดย วชิราภาพยนตร์", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#14", "text": "กฤษดาอภินิหาร (2493) - นำแสดงโดย จมื่นมานิตย์นเรศ ,อบ บุญติด ,อารีย์ โทนะวนิก ,สวลี ผกาพันธุ์ ,พรรณี เกษแก้ว ,ชูศรี ผกาวลี กำกับโดย ลัดดา สารตายน ฉายครั้งแรกวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ที่โรงหนังเฉลิมนคร", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#23", "text": "ผารีซอ (2498) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ ,ฤทธิ์ อินทนันท์ ,มนูญ ชูเกษ ,วิรัติ ภู่จีนาพันธ์ ,ล้อต๊อก ,ด.ช.สำรวย นิลประภา สร้างโดย หนังสือพิมพ์ปิยะมิตร โดย วิรัตน์ คูห์สุวรรณ อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย คุณาวุฒิ ฉายวันที่ 26 กรกฎาคม 2498 ที่โรงหนังศรีราชวงศ์", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" }, { "docid": "59228#3", "text": "สวลี ผกาพันธุ์ เกิดวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อจริงแต่แรกเกิดว่า เชอร์รี่ ฮอฟแมนน์ เป็นลูกครึ่งที่เกิดแต่บิดาชาวเดนมาร์กกับมารดาชาวไทย มีพี่น้องสองคน[6] เธอสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม เมื่อปี พ.ศ. 2483 จากนั้นได้เรียนต่อเพิ่มเติมทางด้านชวเลข และพิมพ์ดีด เมื่อเรียนจบแล้วได้เข้าทำงานเป็นเสมียนพิมพ์ดีดอยู่ที่เทศบาลนครกรุงเทพ และบริษัทสหไทยวัฒนา", "title": "สวลี ผกาพันธุ์" } ]
4029
แป้งมันสำปะหลัง ทำมาจากอะไร ?
[ { "docid": "234630#0", "text": "แป้งมันสำปะหลัง เป็นแป้งที่ได้จากมันสำปะหลัง ลักษณะของแป้งมีสีขาว เนื้อเนียน ลื่นเป็นมัน[1] เมื่อทำให้สุกด้วยการกวนกับน้ำไฟอ่อนปานกลาง แป้งจะละลายง่าย สุกง่าย แป้งเหนียวติดภาชนะ หนืดข้นขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีการรวมตัวเป็นก้อน เหนียวเป็นใย ติดกันหมด เนื้อแป้งใสเป็นเงา พอเย็นแล้วจะติดกันเป็นก้อนเหนียว ติดภาชนะ [2] ใช้ทำลอดช่องสิงคโปร์ ครองแครงแก้ว เป็นต้น และยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆเช่น อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมกาว เป็นต้น", "title": "แป้งมันสำปะหลัง" } ]
[ { "docid": "43476#9", "text": "ตราสารอนุพันธ์ประเภทอื่น ๆ ที่มีในประเทศไทยในขณะนี้อีกประเภทหนึ่ง ก็คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures Contract) สินค้าเกษตร ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็นสัญญาที่ตกลงซื้อขายสินค้าเกษตร เช่น มันสำปะหลังเส้น แป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ ข้าวขาว 5% ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง STR20 และน้ำยางข้น ซึ่งการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรนี้จะช่วยให้ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้สินค้าเกษตรดังกล่าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่น ๆ สามารถกำหนดราคาซื้อขายล่วงหน้าได้ การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้เป็นการประกันว่าสินค้าเกษตรดังกล่าวเมื่อผลิตออกมาแล้ว ผู้ขายสินค้าเกษตรจะสามารถขายได้ราคาตามที่ต้องการ และจะผลิตสินค้าออกมาตามความต้องการใช้ของตลาด ไม่มีสินค้าล้นตลาด ส่วนด้านของผู้ซื้อก็จะสามารถมั่นใจได้ว่าราคาวัตถุดิบที่ต้องการซื้อนั้น จะเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ไม่เกิดความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร", "title": "ตราสารอนุพันธ์" }, { "docid": "228319#4", "text": "คำศัพท์เกี่ยวกับมันสำปะหลัง แป้งมัน", "title": "มันเส้น" }, { "docid": "460785#1", "text": "ในประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซียเรียกว่า \"โอเจี้ยน\" (蚝煎)\nโอต้าว มีลักษณะคล้ายหอยทอดของภาคกลาง แต่เนื้อแป้งเหนียวนุ่มกว่า(แป้งสาลีผสมแป้งมันสำปะหลัง) เพราะผ่านการปรุงพิเศษ รสชาติจัดจ้าน มีส่วนผสมของหอยนางรมตัวเล็กๆ (ชาวภูเก็ตเรียก หอยติบ) ผสมกับเผือกนึ่ง ไข่ไก่ ไม่ใส่ถั่วงอกแต่จะนิยมทานเป็นเครื่องเคียง ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว พริกไทย น้ำตาล ผัดให้เข้ากัน แต่งหน้าด้วยการโรยกากหมู กุ้งแห้งหอมแดงเจียว นิยมเสิร์ฟพร้อมถั่วงอกและซอสพริกเพื่อแก้เลี่ยนและเติมรสชาติความเข้มข้นของโอต้าว หากจะทานให้อร่อยยิ่งขึ้น ต้องห่อด้วยใบตองแบบโบราณจะทำให้โอต้าวหอมอร่อยและไม่เยิ้มไปด้วยน้ำมัน\nชาวภูเก็ตนิยมรับประทานโอต้าวเป็นอาหารว่าง โดยมากนิยมรับประทานกันตอนบ่าย และ ตอนกลางคืนโดยเป็นอาหารว่างมื้อดึก มีรสชาติจัดจ้าน สามารถปรุงรสเพิ่มเติมได้ตามใจผู้รับประทาน ซึ่งแหล่งขายโอต้าวขึ้นชื่อในจังหวัดภูเก็ตที่สำคัญคือ โอต้าว บางเหนียว ตลาดเกษตร สะปำ และ โอต้าว ถนนปฏิพัทธ์", "title": "โอต้าว" }, { "docid": "444759#2", "text": "เมื่อศึกษาจบแล้ว ได้ช่วยงานในกิจการโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว และมีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นโปรโมเตอร์มวยร่วมกับนายส่ง ซึ่งเป็นบิดา และเข้าเป็นโปรโมเตอร์เต็มตัวเมื่อนายส่งถึงแก่กรรมไป โดยอาจเรียกได้ว่า เป็นโปรโมเตอร์หญิงคนแรกของไทย โดยมีนักมวยหลายคนในสังกัด ซึ่งมักจะเป็นนักมวยในช่วงชีวิตท้าย ๆ การชกมวยแล้ว เช่น เมืองชัย กิตติเกษม, โนรี จ๊อกกี้ยิม และต่อศักดิ์ ศศิประภายิม", "title": "อรทัย ฐานะจาโร" }, { "docid": "44617#8", "text": "การนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำข้าวยาคู พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือกยังเป็นสีเขียวนำมาทำข้าวเม่า ข้าวเม่าที่ได้นำไปทำขนมได้อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ กระยาสารท ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน และที่นำไปทำเป็นแป้ง เช่น แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว นอกจากนั้นยังใช้แป้งมันสำปะหลังด้วย ส่วนแป้งสาลีมีใช้น้อย มักใช้ในขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ", "title": "ขนมไทย" }, { "docid": "343413#0", "text": "ตูโบ้, โบโบจาจ้า หรือ ต้มบวดรวมมิตร อาหารหวานท้องถิ่นภูเก็ต ทำจากถั่วแดงเม็ดเล็ก (คนภูเก็ตเรียกว่า ถั่วย้อแย้) มันเทศ เผือก (คนภูเก็ตเรียกว่า หัวบอน) และแป้งมันสำปะหลัง (คนภูเก็ตเรียกว่า แป้งตั่วจูหุ้น) ต้มรวมกันในน้ำกะทิเติมน้ำตาลและเกลือพอให้มีรสหวานนำและเค็มปะแล่ม จะทานร้อน ๆ หรือเติมน้ำแข็งก็ได้", "title": "ตูโบ้" }, { "docid": "423118#0", "text": "มูลนิธิสถาบันฯ ได้ตั้งสถาบันพัฒนามันสำปะหลัง ขึ้นที่ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา บนเนื้อที่ 2,000 ไร่ ขึ้นในปี 2536 เพื่อดำเนินการตามโครงการผลผลิตและลด ต้นทุน รวมทั้ง ในการสนับสนุนการพัฒนาพันธุ์ใหม่ ๆ เป็น ระยะ ๆ โดยคัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีมาเร่งทำการ ขยายพันธุ์ แล้วแจกจ่ายแก่เกษตรกร โดยไม่คิดมูลค่า รวมทั้ง การนำเกษตรกรมาฝึกอบรมวิธีการปลูกใหม่ ใน ขณะเดียวกันก็เร่งทำการวิจัยทดลองด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนา คุณภาพของผลิต ภัณฑ์มันสำปะหลังและถ่ายทอดความรู้ และเทคนิคการผลิตสู่ภาคอุตสาหกรรม", "title": "สถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "127222#22", "text": "ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ เช่น การปลูกพริก มันสำปะหลัง ข้าวโพด และทำนาปี บางส่วนไปประกอบอาชีพที่ต่างจังหวัด เนื่องจากประชาชนนิยมปลูกมันสำปะหลังจำนวนมาก จึงเกิดโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันขึ้นในพื้นที่บ้านดอนละนาม ตำบลละหาน เพื่อรองรับผลิตผลมันสำปะหลังจากเกษตรกร ทำให้เกิดรายได้และอาชีพรับจ้างในโรงงานเกิดขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆที่สำคัญ ได้แก่ โรงงานทอผ้า โรงงานทอกระสอบ และปัจจุบันรัฐบาลได้เปิดศูนย์รับซื้อผลผลิตยางพาราและจำหน่ายปัจจัยการผลิตขึ้นที่อำเภอจัตุรัส (1 ใน 3 แห่งของภาคอีสาน) บริการเกษตรกรในเขตจังหวัดชัยภูมิ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา จึงได้มีการส่งเสริมการปลูกยางพาราในพื้นที่มากขึ้น", "title": "อำเภอจัตุรัส" }, { "docid": "234630#2", "text": "หลังจากนั้นมันสำปะหลังที่บดจนเป็นชิ้นละเอียดจากเครื่องเครื่องขูดหรือบดซึ่งจะมีส่วนประกอบของน้ำแป้ง กาก และเส้นใยจะถูกเติมน้ำก่อนจะนำเข้าสู่เครื่องสกัดแป้ง (Extractor) หน้าที่ของหน่วยสกัดคือ การแยกแป้งออกจากเซลลูโลส เครื่องสกัดแป้งจะประกอบไปด้วยตะแกรงและผ้ากรองเป็นส่วนประกอบ หลักการทำงานของเครื่องจะใช้หลักการของแรงหมุนเหวี่ยง (Centrifugal Force) โรงงานส่วนใหญ่จะใช้ชุดสกัด 3 ชุด แต่โรงงานขนาดใหญ่ อาจใช้ชุดสกัดถึง 4 ชุดต่อเนื่องกันเพื่อสกัดแป้งออกจากเซลลูโลสให้ได้มากที่สุด เครื่องสกัดแป้งแบ่งตามหน้าที่ตามกรองออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดสกัดหยาบ (Coarse Extractor) และชุดสกัดละเอียด (Fine Extractor) น้ำแป้งจะผ่านเข้าชุดสกัดหยาบก่อน เพื่อแยกกากหยาบออกแล้วจึงเข้าสู่ชุดสกัดละเอียดเพื่อแยกกากอ่อน กากหยาบและกากอ่อนที่ได้จะถูกเหวี่ยงออกทางด้านบนของตะกร้ากรองแล้วเข้าสู่เครื่องสกัดชุดสกัดกาก (Pulp Extractor: เป็นเครื่องสกัดหยาบ ทำหน้าที่สกัดแป้งที่หลุดออกไปกับกาก) และเครื่องอัดกากต่อไป โดยที่เครื่องสกัดหยาบมีตะกร้ากรองเป็นสแเตนเลส (Stainless Screen) ขนาดรูกรอง 35-40 mesh มีการใช้น้ำหมุนเวียนหรือน้ำดีเพื่อช่วยในการสกัดแป้งออกจากกากหยาบ ส่วนเครื่องสกัดละเอียดตะกร้ากรองเป็นสแตนเลสมีรูกรองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. และใช้ผ้ากรองไนลอนทรงกรวยเหมือนตะกร้ากรองวางด้านบนแล้วยึดด้วยสายรัดโลหะ ผ้ากรองที่ใช้มีขนาดรูกรองสองแบบคือ 100-120 mesh และ 140-200 mesh มีการใช้น้ำกำมะถันและน้ำดีช่วยในการสกัดแป้งจากกากอ่อน น้ำกำมะถันช่วยกำจัดการเกิดเมือกที่จะไปอุดตันแผ่นกรอง ป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียแป้งจากจุลินทรีย์และช่วยฟอกสีแป้งให้ขาว กากมันสำปะหลังจะถูกแยกออกจากน้ำแป้งเพื่อนำเข้าสู่เครื่องอัดกากและนำไปตากแดดเพื่อนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์หรือนำไปผสมกับมันเส้นเพื่อทำมันอัดเม็ด", "title": "แป้งมันสำปะหลัง" }, { "docid": "226984#2", "text": "ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี และมูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ร่วมกันเผยแพร่และจัดทำโครงการอบรม การใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ ให้แก่สมาชิกสหกรณ์โคนม ในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ปลูกมันสำปะหลัง เพื่อผลิตเป็นมันเส้นสำหรับการเลี้ยงโคนมเพราะมีราคาถูก แต่สภาพภูมิอากาศไม่อำนวย มีฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูงจึงประสบกับปัญหาในการผลิตมันเส้น ถ้าเกษตรกรซื้อมันเส้นจากแหล่งผลิตอื่นจะมีราคาแพง (ประมาณ 5.5 - 6.0 บาทต่อกิโลกรัม)\nทำให้มีการศึกษาการหมักมันสำปะหลังสดร่วมกับวัสดุในท้องถิ่น เช่น เหง้าสับปะรด ใบกระถิน และกิ่งอ่อนสับ พบว่าสามารถนำมันสำปะหลังหมัก แทนการทำมันเส้นได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและฤดูกาล และการหมักมันสำปะหลังสดร่วมกับกระถินและกิ่งอ่อนสับช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนา โดยเฉพาะปริมาณโปรตีน และเป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุในท้องถิ่น จึงเผยแพร่ต่อเกษตรกรและได้รับความสนใจในการนำมันสำปะหลังหมักในอาหารโคที่เรียกว่า \"มันหมัก\" แทนการใช้มันเส้น สามารถลดต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกร และลดต้นทุนในการเลี้ยงโคเนื้อได้เป็นอย่างดี", "title": "มันหมัก" }, { "docid": "632654#0", "text": "ฟูฟู (fufu หรือ foufou) เป็นอาหารหลักของหลายประเทศในแอฟริกาและแคริบเบียน โดยมากทำจากแป้งมันสำปะหลัง แต่บางครั้งอาจทำจากแป้งข้าวโพดหรือแป้งเซโมลินา", "title": "ฟูฟู" }, { "docid": "22630#6", "text": "กระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคส (Liquefaction and Saccharification): แป้งมันสำปะหลัง (Tapioca starch) ใช้เอนไซม์อะมัยเลส และอะมัยโลกลูโคลซิเดส ย่อยแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคส ที่ 60 องศาเซลเซียส กระบวนการหมักเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นกรดกลูตามิก (Fermentation): เติมเชื้อจุลินทรีย์ (Corynebacterium glutamicum ปัจจุบันเป็น Brevibacterium lactofermentum) ลงในสารละลายน้ำตาลกลูโคส (Glucose solution) เพื่อเปลี่ยนกลูโคสเป็นกรดกลูตามิก โดยมีการเติมกรดหรือด่างเพื่อ pH ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และเติมยูเรีย (Urea) หรือ แอมโมเนีย (NH4) เพื่อเป็นแหล่งไนโตรเจนของเชื้อจุลินทรีย์ กระบวนการตกผลึกกรดกลูตามิก (Precipitation): เมื่อกระบวนการหมักเสร็จสสิ้น ในน้ำหมัก (Broth)จะมีสารละลายกรดกลูตามิกอยู่เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นจะปรับ pH ด้วยกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เพื่อให้กรดกลูตามิกตกผลึกเบื้องต้น กระบวนการทำให้เป็นกลาง (Neutralization): โดยการเติม โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เพื่อให้กรดกลูตามิกเป็นโมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) ที่สภาวะเป็นกลาง กระบวนการกำจัดสีและสิ่งเจื่อปน (Decolorization): โดยการผ่านสารละลายไปในถังถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) และตกผลึก (Crystalization)ได้ผลึกโมโนโซเดียมบริสุทธิ์ กระบวนการทำแห้งและแบ่งบรรจุ (Drying and Packing): เป่าผลึกโมโนโซเดียมบริสุทธิ์ด้วยลมร้อน(ที่กรองละอองฝุ่นออกแล้ว) จนกระทั่งผลึกแห้ง แล้วคัดแยกขนาด ตามจุดประสงค์การใช้งานแล้วแบ่งบรรจุ ลงในบรรุภัณฑ์ตามมาตรฐาน", "title": "โมโนโซเดียมกลูตาเมต" }, { "docid": "60247#2", "text": "วิธีทำเฉาก๊วยอย่างง่ายๆ คือ นำต้นเฉาก๊วยแห้งมาต้ม จนยางไม้และแพคตินละลายออกมาได้น้ำสีน้ำตาลดำ เรียกว่า ชาเฉาก๊วย จากนั้นก็กรองเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมกับแป้งพืช เพื่อให้เฉาก๊วยคงตัวเป็นเจลลี่ ซึ่งส่วนประกอบนั้น แต่ละเจ้าจะมีสูตรของตนเอง วิธีที่เป็นต้นตำรับโบราณนั้น นิยมผสมกับแป้งท้าวยายม่อม และแป้งมันสำปะหลัง อัตราส่วนตามความเหมาะสม โดยแป้งมันจะทำให้เนื้อเฉาก๊วยนิ่ม (ใส่มากจะเหลว) ส่วนแป้งท้าวยายม่อมจะให้เนื้อเฉาก๊วยคงรูปได้นาน อาจปรับปรุงโดยใส่แป้งข้าวเจ้าเพื่อให้แข็งตัวขึ้น หรือเพิ่มแป้งข้าวเหนียวให้มีความหนุบหนับ หรือใส่ส่วนผสมอื่นๆ ก็ได้ ปัจจุบัน มีผู้ค้าบางรายใส่สีผสมอาหารให้สีดำเข้มบ้าง ใส่วุ้น-เจลาติน เพื่อประหยัดต้นทุนก็มี ", "title": "เฉาก๊วย" }, { "docid": "16419#47", "text": "เฉาก๊วย หรือวุ้นดำของเบตง ขึ้นชื่ออยู่ ณ บ้าน กม.4 เพราะเป็นรสชาติของเฉาก๊วยโบราณแท้ ๆ ที่ได้นำเอาหญ้าวุ้นดำจากประเทศจีนมาเป็นส่วนผสมสำคัญ ทำให้เฉาก๊วยมีสีดำขลับ เหนียว และนุ่ม การทำเฉาก๊วยนั้นเริ่มแรก ให้นำหญ้าวุ้นดำมาต้มกับน้ำ แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อแยกหญ้าวุ้นดำออกจากน้ำ ซึ่งกลายเป็นสีดำ จากนั้นนำแป้งมันสำปะหลังผสมกับน้ำที่ได้จากการกรอกในขณะที่ยังร้อน แล้วคนให้เข้ากัน และทิ้งไว้จนกว่าจะกลายเป็นวุ้น เวลาจะรับประทานก็ตัดเป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการ นิยมรับประทานกับน้ำเชื่อม และอาจเติมสีสันของน้ำกลิ่นสละ แล้วเติมน้ำแข็ง รสชาติอร่อยชื่นใจทีเดียว แถมยังมีสรรพคุณด้านการแก้ร้อนในได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถเป็นของฝากที่ถูกใจผู้รับอีกต่างหาก", "title": "อำเภอเบตง" }, { "docid": "22630#3", "text": "ผงชูรสมีการขายในเชิงพานิชย์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) ภายใต้ชื่อการค้าเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า อายิโนะโมะโต๊ะ (Ajinomoto หมายถึง แก่นแท้ของรสชาติ) ในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้วิธีการย่อยแป้งสาลีด้วยกรดเพื่อให้ได้กรดอะมิโนแล้วจึงแยกกลูตาเมตออกมาภายหลัง ผงชูรสที่ผลิตในเชิงพาณิชย์ในสมัยใหม่ผลิตขึ้นโดยการหมักด้วยจุลินทรีย์ในกลุ่ม Corynebacterium ในประเทศไทยใช้แป้งมันสำปะหลังและกากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบหลัก ตลาดผงชูรสโลกมีขนาด 1.5 ล้านต้น ในปี พ.ศ. 2544 และคาดว่ามีการเติบโตในอัตราปีละ 4% ในเชิงพานิชย์มีการใช้ผงชูรสเป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุญาตให้ใช้ได้ในอาหารที่บริโภคโดยคนทั่วไป และพบได้ในอาหารว่างประเภทขนมขบเคี้ยว อาหารแช่แข็ง และอาหารปรุงสำเร็จ เช่น เครื่องปรุงรสสำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น ในภาษาจีน เรียกผงชูรสว่า เว่ยจิง", "title": "โมโนโซเดียมกลูตาเมต" }, { "docid": "461943#1", "text": "ต่อมาในประเทศไทย ราวปี พ.ศ. 2504 ได้เกิด ขนมลอดช่องที่แตกแขนงออกมาอีกชนิดนึง คือ \"ลอดช่องสิงคโปร์\" ทำด้วยแป้งมันสำปะหลังแทนที่จะเป็นแป้งข้าวเจ้าตามแบบลอดช่องดั้งเดิม ชื่อนี้ไม่ได้เกิดจากการนำมาจากสิงคโปร์แต่อย่างใด ประเทศไทยเป็นผู้คิดค้น โดยร้าน \"สิงคโปร์โภชนา\" ซึ่งเป็นร้านอาหารตั้งอยู่ที่หน้าโรงภาพยนตร์สิงคโปร์หรือโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช จึงเป็นที่มาของ \"ลอดช่องสิงคโปร์\" ", "title": "ลอดช่อง" }, { "docid": "551436#3", "text": "สภาพภูมิประเทศของตำบลวังกะทะ มีลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับกับที่ราบลุ่มเป็นช่วงๆ โดยมีลักษณะของดินส่วนใหญ่พื้นที่เป็นดินร่วน และในบางพื้นที่เป็นดินเหนียวและดินลูกรัง ซึ่งเป็นภูมีประเทศที่เหมาะสมกับกานเพาะปลูกพืชไร่ และพืชเศรษฐกิจของตำบลได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย สวนผลไม้ ผักปลอดสารพิษ และยางพารา การใช้พื้นที่โดยแยกพันธ์ที่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่มีดังต่อไปนี้\n1. มันสำปะหลัง พื้นที่ทำการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ปี 2550 จำนวน 4,615 ไร่\n2. อ้อย พื้นที่ทำการเพาะปลูก ปี 2550 จำนวน 14,730 ไร่ พันธ์ที่ปลูกได้แก่ อ้อนโรงงานและอ้อยคั้นน้ำ\n3. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ทำการเพาะปลูก ปี 2550 จำนวน 49,834 ไร่\n4. ข้าวโพดหวาน พื้นที่ทำการเพาะปลูก ปี 2550 จำนวน 50 ไร่\n5. ยางพารา พื้นที่ทำการเพาะปลูก ปี 2550 จำนวน 10 ไร่\n6. สวนผัก พื้นที่ทำการเพาะปลูก ปี 2550 จำนวน 162 ไร่ พืชผักที่ปลูกได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงต่างๆ \n7. สวนผักผลไม้ พื้นที่ทำการเพาะปลูก ปี 2550 จำนวน 7,000 ไร่ ผลไม้ที่ปลูกได้แก่ มะม่วง มะขาม และน้อยหน่า", "title": "องค์การบริหารส่วนตำบลวังกะทะ" }, { "docid": "847161#2", "text": "ในญี่ปุ่น นอกจากตามถนนหนทางแล้ว ยังมีการขายคากิโงริตามงานเทศกาล ร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ และร้านอาหาร ระหว่างช่วงเดือนในฤดูร้อนจะมีคากิโงริวางขายแทบทุกที่ บางร้านก็เสิร์ฟคากิโงริพร้อมไอศกรีมและถั่วแดงหวานหรือไข่มุก (เม็ดแป้งมันสำปะหลัง)", "title": "คากิโงริ" }, { "docid": "5272#25", "text": "อำเภอเมือง เป็นพื้นที่ที่มีโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นมากเป็นอันดับ 1 และมีจำนวนการจ้างงานสูงเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ อำเภอจัตุรัส มีจำนวนโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นเป็นอันดับ 2 มีจำนวนการจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัด และมีเงินทุนภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ การจ้างแรงงานที่สูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดเป็นการจ้างงานในประเภทอุตสาหกรรมสิ่งทอ อำเภอแก้งคร้อ เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของกลุ่มอุตสาหกรรมถักทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นพื้นที่ที่มีการจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับ 3 ของจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมเกษตร (น้ำตาลทราย) ผลิตเอทานอล การผลิตกระแสไฟฟ้า และการผลิต PARTICLE BOARD มีเงินทุนภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับที่ 1 ของจังหวัดชัยภูมิ อำเภอบำเหน็จณรงค์และอำเภอหนองบัวระเหว เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นแหล่งที่ตั้งเหมืองโปแตชของโครงการอาเซียน", "title": "จังหวัดชัยภูมิ" }, { "docid": "234630#1", "text": "หัวมันสำปะหลังที่ผ่านการล้างและปอกเปลือกที่สะอาดจะจะถูกลำเลียงโดยสานพานเข้าสู่เครื่องโม่ (Rasper) จะมีมีดโดยใบมีดขนาดใหญ่ในแนวตั้งฉากกับผิวหน้า โดยมีอัตราการหมุนประมาณ 1000 rpm และทำการติดตั้งใบมีดตั้งแต่ 100 ใบขึ้นไป ใบมีดแต่ละใบมีความยาว 30 เซนติเมตร ซึ่งในขั้นตอนนี้จะได้ของเหลวข้นที่มีส่วนผสมของแป้ง น้ำ กากมัน และสิ่งเจือปนต่าง ๆ ระหว่างกระบวนโม่จะมีการจ่ายน้ำจากกระบวนการเพื่อช่วยในการทำงานของเครื่องให้สะดวกยิ่งขึ้น", "title": "แป้งมันสำปะหลัง" }, { "docid": "127222#26", "text": "โรงงานขนาดกลาง 5 แห่ง บริษัทชัยภูมิต๊าช ตำบลละหาน ผลิตแป้งมันสำปะหลัง บริษัท เอ.ซี.พี.แอ็พแพเร็ล จำกัด ตำบลละหาน ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป บริษัทบางนากระสอบ จำกัด ตำบลละหาน ผลิตกระสอบ บริษัท ไฮแอ็พ เอราวัล จำกัด ตำบลหนองบัวโคก ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป บริษัท บางกอกไพศาลอุตสาหกรรมการทอ จำกัด ตำบลหนองบัวโคก ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป", "title": "อำเภอจัตุรัส" }, { "docid": "525166#0", "text": "บีกาอัมบน () เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งในประเทศอินโดนีเซียทำจากสาคูที่ทำจากแป้งมันสำปะหลังและแป้งจากต้นสาคู ไข่ น้ำตาล และกะทิ มีหลายรส เช่น รสใบเตย กล้วย ทุเรียน เนย ช็อกโกแลต\nแม้ว่าชื่อของขนมชนิดนี้มีคำว่าอัมบนซึ่งเป็นชื่อเกาะและชื่อเมืองใหญ่ แต่บีกาอัมบนก็เป็นที่รู้จักในเมืองเมดาน จังหวัดสุมาตราเหนือ และเป็นของฝากที่มีชื่อเสียง ที่มาของขนมนี้ไม่ทราบแน่ชัด คาดว่ามาถึงเมืองเมดานโดยพ่อค้าชาวอัมบน", "title": "บีกาอัมบน" }, { "docid": "443777#1", "text": "ต้นสาคูที่อายุ 9 ปี ขึ้นไปจะสะสมแป้งในลำต้นมาก เมื่อโค่นต้นจะจะลอกเอาแป้งที่มีลักษณะข้นเหนียวมาทำอาหารได้ เป็นอาหารที่ใช้ในยามขาดแคลนข้าว ในเกาะบอร์เนียว โดยนำแป้งไปใส่ถุงเสื่อแขวนไว้ให้ลอดช่องออกมาเป็นเม็ดๆ นำไปตากแห้ง แล้วจึงนำไปทำอาหาร เมื่อเริ่มมีพ่อค้าจากจีนและตะวันตกเข้ามาค้าขายในบริเวณหมู่เกาะโมลุกกะ เมื่อได้ชิมอาหารที่ปรุงจากสาคูและมีความชื่นชอบ ทำให้แป้งสาคูกลายเป็นสินค้า ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยเม็ดสาคูที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูบริสุทธิ์มีอะไมโลส 27% อะไมโลเพกติน 73%", "title": "สาคู (ปาล์ม)" }, { "docid": "629501#0", "text": "บับเบิลที (หรือที่เรียกกันว่า เพิร์ลมิลก์ที (ชานมไข่มุก) บับเบิลมิลก์ที หรือ ปัวป้ามิลก์ที) (Chinese:波霸奶茶; pinyin:bōbà nǎichá ถ้ามีไข่มุก 珍珠奶茶; zhēnzhū nǎichá) เครื่องดื่มประจำชาติไต้หวัน ก่อกำเนิดในช่วงปี 1980 เคี้ยวหนึบหนับ ลูกกลม ๆ ที่ทำมาจากแป้งมันสำปะหลังนี้เป็นที่นิยมนำมาใส่ในเครื่องดื่ม คนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า \"ไข่มุก\"", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "376166#3", "text": "เมื่อเกิดสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพ อยู่ที่อู่ตะเภา ทหารจีไอชาวอเมริกันผ่านพื้นที่หาดพัทยาหลงใหลในความสวยงามของหาดทราย จึงมาตั้งแคมป์พักผ่อนเมื่อว่างจากการสู้รบ ทำให้หาดพัทยามีชื่อเสียงขจรไกลไปทั่วโลกนับตั้งแต่บัดนั้น จนพัฒนามาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ\nเมืองหนองปรือ ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง รองลงมามีอาชีพค้าขายและทำการเกษตรกรรมจำนวนน้อยประมาณร้อยละ 7 มีกลุ่มอาชีพ กลุ่มสตรี กลุ่มเกษตร และกลุ่มมวลชนดูแลประสานงาน ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองหนองปรือมีโรงงานอุตสาหกรรมประเภทโรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำแข็ง โรงงานคอนกรีต และธุรกิจโครงการบ้านอยู่อาศัยประมาณ 40 โครงการ", "title": "เทศบาลเมืองหนองปรือ" }, { "docid": "443138#0", "text": "แสมดำ () เป็นพืชในป่าชายเลน พบได้ทั้งหาดทรายปนเลนและหาดเลน เป็นแนวป่าที่ช่วยดักตะกอนดินสำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลน รากเป็นร่างแห มีรากหายใจเป็นแท่งโผล่ขึ้นดิน เปลือกต้นเรียบ สีเขียวเข้มถึงเทาเข้ม ใบแตกตรงข้ามเป็นคู่ ใต้ใบไม่ซีดแบบแสมขาว ใบหนาอวบน้ำป้องกันการสูญเสียน้ำ มีต่อมเกลือที่ใบช่วยขับเกลือออก ดอกสีขาว-เหลือง 4 กลีบ เป็นช่อคล้ายดอกแสมขาว แต่ดอกใหญ่กว่า ผลเป็นรูปกระเปาะคล้ายแสมขาว แต่สั้นกว่า ผลเป็นรูปหยดน้ำ ปลายผลงอ มีขนสีน้ำตาลอ่อนคลุมทั้งผล ผลลอยน้ำได้\nมีสารแทนนินในเปลือกใช้ฟอกหนัง ผลใช้ทำขนมลูกแสมซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีได้ โดยนำลูกแสมมาแกะไส้กลางซึ่งเป็นเอ็มบริโอออกไปก่อน นำไปต้มไล่ความขมออกหลายน้ำจนจืด นำลูกแสมต้มนี้ไปคลุกเกลือรับประทาน หรือนำไปผสมกับแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ น้ำตาลปี๊บ แล้วนำไปนึ่ง ลูกแสมที่นิยมนำมาทำขนมจะเป็นผลอ่อน เปลือกสีเขียวอ่อน ถ้าผลแก่จะใช้ทำขนมไม่ได้", "title": "แสมดำ" }, { "docid": "629501#2", "text": "ชาไข่มุกสูตรดั้งเดิม ทำมาจาก ชาดำไต้หวันร้อน ใส่ไข่มุกที่มาจากแป้งมันสำปะหลัง (粉圓) เม็ดเล็ก ๆ นมข้นหวาน และน้ำเชื่อม (糖漿) หรือน้ำผึ้ง ต่อจากนั้นก็มีสูตรใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ต่างก็ชื่นชอบดื่มแบบเย็นกันมากกว่าดื่มแบบร้อน มีการทดลองเปลี่ยนประเภทของชาที่ใช้อยู่ตลอดเวลา แต่เดิมเริ่มจาก ชาเขียวไข่มุก ซึ่งใช้ ชาเขียว (茉香綠茶) กลิ่นมะลิมาแทนชาดำที่เคยใช้ เพิ่มขนาดเม็ดไข่มุกให้ใหญ่ขึ้น (波霸/黑珍珠)[1] มีการเพิ่มรสชาติของลูกพีช และผลพลัม ต่อมามีการเพิ่มรสชาติของผลไม้หลากหลายชนิด ในบางสูตร ถึงกับตัดชาออกไป ไม่เหลือส่วนผสมของชาไว้เลย เพื่อคงรสชาติผลไม้ไว้ให้ได้มากที่สุด มีการค้นพบว่า น้ำผลไม้เหล่านี้ ทำให้ไข่มุกเปลี่ยนสี (รวมถึง \"เยลลี่ชิ้นเล็ก ๆ \" ในเครื่องดื่มพวกทาโฮ คล้าย ๆ เต้าฮวย) เพราะฉะนั้น จึงมีการเลือกสีของไข่มุกให้เข้ากับเครื่องดื่มผลไม้แต่ละชนิด และเพื่อให้ได้รสชาติของชาดำร้อนหรือชาเขียวที่ดีขึ้น อาจมีการเติมผงสกัด น้ำผลไม้ เนื้อผลไม้ น้ำเชื่อม ลงไป เมื่อใส่รวมกันในกระบอกเชคเกอร์ หรือปั่นรวมกับน้ำแข็งในเครื่องปั่นรวม เพิ่มไข่มุกและส่วนผสมอื่น ๆ (อย่างเช่น วนิลลา น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือ น้ำตาล) ในตอนสุดท้าย", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "444759#0", "text": "อรทัย ฐานะจาโร (ชื่อเล่น: เหน่ง) เดิมมีชื่อว่า อรทัย กาญจนชูศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 ที่ย่านเยาวราช โดยเป็นบุตรสาวของนายส่ง กาญจนชูศักดิ์ (หรือที่รู้จักกันโดทั่วไปว่าแชแม้)โปรโมเตอร์มวยชื่อดังและนักธุรกิจโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังยี่ห้อ \"\"ปลามังกร\"\" กับนางฉลวย กาญจนชูศักดิ์", "title": "อรทัย ฐานะจาโร" }, { "docid": "624260#1", "text": "ตัวแป้งทำจากแป้งตังหมิ่นผสมแป้งมันที่ทำจากมันสำปะหลังหรือมันฝรั่ง เมื่อสุกจะเหนียวและใส มองเห็นไส้ด้านใน จัดเป็นติ่มซำที่ต้องใช้ฝีมือในการทำชนิดหนึ่ง ", "title": "ฮะเก๋า" } ]
4030
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพมีหน้าที่หลักอะไร?
[ { "docid": "30674#0", "text": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ชื่อย่อ: สสส.) เป็นองค์การมหาชน[1] อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 เพื่อเป็นองค์กรหลัก ซึ่งทำหน้าที่ผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน และร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ โดยมุ่งหมายให้คนไทย มีสุขภาพกาย จิต ปัญญา และสังคมที่ดี ด้วยการกระตุ้นให้เกิด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความเชื่อ และสภาพแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อคุณภาพชีวิต อันจะช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ โดยมีเป้าหมายในการลดอัตราการเจ็บป่วย และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนไทย ทั้งนี้ ทุนอุดหนุนของ สสส. โดยส่วนมากได้มาจาก เงินที่รัฐจัดเก็บจากผู้ผลิตและนำเข้าสุราและยาสูบ ในอัตราร้อยละ 2 ของภาษีที่ต้องชำระ[2] สสส.ถือเป็นองค์กรด้านสุขภาพรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับมติของสมัชชาสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (World Health Assembly Resolution 12.8: Health Promotion and Health Life-Style) ขององค์การอนามัยโลก (WHO)", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" } ]
[ { "docid": "30674#6", "text": "ร่วมผลักดันให้มีการประกาศนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 10 เรื่อง ดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ เพื่อทำหน้าที่ให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ต่อสุขภาวะของสังคม คณะรัฐมนตรีมีมติให้มีวาระเด็กและเยาวชน ปี 2550 เพื่อให้เกิดการพัฒนาเด็กและเยาวชนใน 5 ประเด็นและให้ 5 กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการ กรมประชาสัมพันธ์กำหนดแนวทางให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ดำเนินการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อวิทยุโทรทัศน์ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายห้ามแจกตัวอย่างนมผสมแก่ทารกหลังคลอดในโรงพยาบาลทั่วประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศนโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม มหาเถรสมาคมมีมติให้วัดทุกวัดทั่วประเทศจัดงานเทศกาลและงานต่าง ๆ ในวัด โดยปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กองทัพไทยมีนโยบายและแผนแม่บทการสร้างเสริมสุขภาพกำลังพล โดยให้ทุกเหล่าทัพจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับแผนแม่บทและให้มีการดำเนินการตามแผน คณะรัฐมนตรีมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการควบคุมการตลาดขนมเด็ก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 61 เรื่องการตั้งองค์การอิสระผู้บริโภคและในมาตรา 30 และ 54 เรื่องสิทธิผู้พิการ สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประกาศมาตรฐานตู้ทำน้ำเย็นและห้ามโรงเรียนใช้ตู้ทำน้ำเย็นที่บัดกรีด้วยตะกั่ว", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#10", "text": "คณะกรรมการมีผล 17 ตุลาคม 2560[6]", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#25", "text": "กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หมวดหมู่:องค์การมหาชน หมวดหมู่:กองทุน หมวดหมู่:สุขภาพ หมวดหมู่:องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "49907#4", "text": "GotoKnow.org ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า KnowledgeVolution ซึ่งเป็นระบบการจัดการความรู้ระดับองค์กร (Open-Source Web-Based Enterprise Knowledge Management System) ชิ้นแรกของประเทศไทย ที่พัฒนาโดยทีมงาน UsableLabs และ โดยเริ่มแรกของการพัฒนานั้น ได้รับการสนับสนุนหลักจาก มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) สถาบันกองทุนวิจัยแห่งชาติ (สกว.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)", "title": "โกทูโนว์" }, { "docid": "30674#16", "text": "ดำเนินการโดย คณะกรรมการประเมินผล ซึ่ง พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 มาตรา 38 ให้มีอำนาจหน้าที่ประเมินผลด้านโยบายและการกำหนดกิจการของกองทุน ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน รายงานผลพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#22", "text": "ต่อมามีการคำสั่งให้กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 รายพ้นสภาพจากตำแหน่ง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2559[9]", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#2", "text": "คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ฉบับแรก และอนุมัติให้ใช้งบประมาณเท่าที่จำเป็นในวงเงิน 9.5 ล้านบาท", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#15", "text": "คณะกรรมการบริหารแผน ปัจจุบันมี 7 คณะ มีบทบาทในการพัฒนาแผน กำกับดูแลให้การดำเนินงานตามแผนแต่ละด้านที่รับผิดชอบบรรลุเป้าหมาย คณะอนุกรรมการเฉพาะด้าน ได้แก่ คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการตรวจสอบภายใน คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาสำนักงานกองทุน คณะอนุกรรมการนโยบายทางการเงิน คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะอนุกรรมการสารสนเทศ คณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#5", "text": "คณะกรรมการกองทุนฯ กำหนดวาระหลักประจำปีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในปีแรกใช้ประเด็น “60 ปี 60 ล้านความดีเริ่มที่เยาวชน” สนับสนุนให้สถานที่ราชการเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยดำเนินงานในหน่วยราชการนำร่อง 29 หน่วยงาน เปิดตัวสถานีโทรทัศน์เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว \"ETV \" ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามโรงเรียนทั่วประเทศจำนวน 20,000 แห่ง และครอบครัวที่เปิดรับเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศกว่า 2 ล้านครัวเรือน", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "553072#5", "text": "เป็นบุคคลริเริ่มผลักดันจนสามารถตั้งสถาบันสุขภาพจิต (กรมสุขภาพจิต) และ สถาบันแพทย์แผนไทย (กรมแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก), เป็นผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมสะมาริตันส์ แห่ง ประเทศไทย (Samaritans Thailand) เมื่อพ.ศ.2521 ซึ่งเป็นสมาคมที่ให้บริการเป็นเพื่อนพูดคุยทางโทรศัพท์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย อีกทั้งเป็นผู้จุดประกายกระแสการวิ่งเพื่อสุขภาพ เขียนหนังสือสร้างแรงบันดาลใจ \"วิ่งสู่ชีวิตใหม่\" (พ.ศ. 2539) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน \nต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ในตำแหน่งรองผู้จัดการ และตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมการ ", "title": "อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม" }, { "docid": "644214#38", "text": "กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ราย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ้นสภาพจากตำแหน่ง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่งตั้ง นาย ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2559 หลังจากนั้นมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แต่งตั้ง ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ เป็นผู้จัดการกองทุน และแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ราย[40]วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีอนุมัติ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ราย[41]และอนุมัติการลาออกของ นาย ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ จากตำแหน่งรองประธานกรรมการคนที่สอง[42]", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61" }, { "docid": "51491#0", "text": "สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส) เป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยได้รับทุนสนับสนุนโครงการจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมไม่ใช่หน่วยงานให้ทุนสนับสนุนกิจกรรม (granting agency) ", "title": "สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม" }, { "docid": "274238#12", "text": "ปีการศึกษา 2552 ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการแผนที่สุขภาพเพื่อเพิ่มพื้นที่ดี ลดพื้นเสี่ยงรอบโรงเรียน ปีที่ 2 ของสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)", "title": "โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม" }, { "docid": "30674#19", "text": "ดำเนินการโดย ภาคีเครือข่าย ซึ่งแม้กฎหมายจะไม่ระบุโดยตรงว่าเป็นโครงสร้างของ สสส. แต่ภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ ถือเป็นผู้ปฏิบัติงานที่แท้จริงของโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ ภาคีเครือข่ายยังมีบทบาทในการร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ร่วมพัฒนาอย่างกัลยาณมิตร และร่วมลงทุนในบางกรณีด้วยเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายซึ่งมีประชาชนเป็นผู้รับประโยชน์สุดท้ายร่วมกัน", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#14", "text": "คณะอนุกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งขึ้นเพื่อมอบหมายงาน ได้แก่", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "295810#9", "text": "ในการแข่งขันในครั้งนี้ทางเจ้าภาพตั้งงบประมาณไว้ราว 60 ล้านบาท โดยมีผู้ให้การสนับสนุนการแข่งขันในครั้งนี้เป็นอย่างดีจากภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และภาคเอกชน ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท โรงงานฟุตบอลล์ไทย สปอร์ตติ้งกู๊ดส์ จำกัด เป็นต้น โดยได้รับการสนับสนุนเป็นเงินสดกว่า 35 ล้านบาท[11][12][13]", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38" }, { "docid": "30674#24", "text": "ทั้งหมดพ้นสภาพในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#13", "text": "คณะกรรมการกองทุน มีบทบาทควบคุมดูแลการดำเนินกิจการกองทุนในระดับนโยบายและกำหนดงบประมาณในภาพรวม รวมทั้งออกกฎระเบียบข้อบังคับที่สำคัญในการดำเนินงาน", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "183078#1", "text": "วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง “การศึกษาและการสร้างโมเดลการพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัว” ได้รับทุนวิจัยจาก สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)", "title": "ยุทธนา ภาระนันท์" }, { "docid": "30674#18", "text": "รักษาการผู้จัดการกองทุน ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ เป็นผู้บริหารสูงสุดและเป็นผู้จัดการกองทุนในปี พ.ศ. 2559 รองผู้จัดการกองทุน ผู้อำนวยการสำนัก และเจ้าหน้าที่ มีบทบาทหน้าที่ในการนำนโยบายมาดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์การสนับสนุนภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมพัฒนาและดำเนินกิจกรรม ตลอดจนการพัฒนาระบบและวิธีปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถของบุคลากร และภาคีเครือข่าย ตลอดจนส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ และรวบรวมจัดเก็บบทเรียน ผลงานวิชาการ รวมทั้งเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความรู้ดังกล่าว เพื่อเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ขององค์กร", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#7", "text": "ร่วมสร้าง นโยบาย กฎหมาย และมาตรการ สร้างเสริมสุขภาพระดับชาติ และระดับท้องถิ่น 36 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นนโยบายด้านการลดปัจจัยเสี่ยงหลัก ที่ผ่านการพิจารณาจากฝ่ายนิติบัญญัติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ตุลาคม 2550 - กันยายน 2551) จำนวน 19 เรื่อง ระบบบริการเพื่อสนับสนุนการเลิกสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรูปของศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ และระบบบริการบำบัดของภาครัฐ เอกชน และชุมชน ได้รับการพัฒนาสมรรถนะสู่การให้บริการแก่ประชาชนทั่วประเทศ ผลงานศึกษาวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่เกิดขึ้นจากโครงการที่ สสส. สนับสนุน เพิ่มขึ้นจาก 40 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2550 เป็น 168 เรื่อง หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า ศูนย์วิจัยเรื่องยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ที่ สสส. สนับสนุนให้จัดตั้งขึ้น ได้ร่วมมีบทบาทในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ และระดับนานาชาติ เพื่อนำเสนอข้อมูลใหม่ด้านการป้องกันปัจจัยเสี่ยงหลักทั้ง 3 เรื่อง ดังกล่าวขึ้นเป็นประจำทุกปี เครือข่ายสนับสนุนการลดปัจจัยเสี่ยงหลักทั้ง 4 ประการ ขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น และได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้เฝ้าระวังความเสี่ยง และผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การรณรงค์เพื่อสร้างกระแสสังคมและค่านิยมสนับสนุนการลดปัจจัยเสี่ยงหลักทั้ง 4 ประการ ดำเนินต่อเนื่องโดยผ่านสื่อทุกแขนงตลอดทั้งปี", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "516556#1", "text": "ชุมชนนิมนต์ยิ้มผลิตโดยบริษัท โฮมรัน เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด เพื่อนำหลักธรรมะมาสอดแทรกในการ์ตูนเพื่อให้เด็ก และบุคคลทั่วไปเข้าใจง่ายและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยตัวละครเอก 3 ตัวละคร คือ หลวงพี่พอเพียง เณรธีร์ และเณรปัน ได้แรกบัลดาลใจจากพระสงฆ์ 3 รูป ได้แก่", "title": "ชุมชนนิมนต์ยิ้ม" }, { "docid": "30674#1", "text": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีมีรายได้จากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "185387#10", "text": "ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา โดยมีผลงานในการริเริ่มให้มีการจัดตั้งองค์กรสนับสนุนและพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2539 จนเป็นที่มาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในปัจจุบัน และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งต่อมาถูกปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 ก่อนจะสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน", "title": "ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่" }, { "docid": "30674#8", "text": "18 มกราคม 2559 นาย ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2559[3] 23 มกราคม 2559 ที่ประชุมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ แต่งตั้ง ผู้จัดการกองทุนได้แก่ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ 8 มีนาคม 2559 มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 7 ราย[4]วันเดียวกัน นาย ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรองประธานกรรมการ คนที่สอง[5]", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#12", "text": "ด้านนโยบายและการกำกับดูแล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "49907#3", "text": "สำหรับการบริหารจัดการ GotoKnow.org นั้น ในช่วง 3 ปีแรกของการดำเนินงานได้รับการสนับสนุนงบประมาณในพัฒนาระบบและบริหารจัดการจากสถาบันส่งเสริมการจัดกาความรู้เพื่อสังคม (สคส.) อีกทั้งในช่วงก่อนหมดทุนในปีที่ 3 ได้มีการรับเงินบริจาคจากสมาชิก GotoKnow.org เพื่อสมทบทุน \"กองทุนเพื่อการบริหารจัดการ GotoKnow.org / Learners.in.th\" และ ณ ปัจจุบัน GotoKnow.org ได้รับการสนับสนุนหลักจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นทุนสนับสนุนในการพัฒนาระบบและบริหารจัดการเป็นระยะเวลา 3 ปี", "title": "โกทูโนว์" }, { "docid": "60040#1", "text": "ข้อมูลหลักของระบบเปิดโอกาสให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลความถูกต้องของข้อมูล โดยมีที่มาของข้อมูลแบ่งออกเป็นสองส่วน คือโครงการคลังปัญญาไทย พัฒนาขึ้นโดยใช้ซอฟต์แวร์ ดรูพาล (ส่วนคลังสะสมองค์ความรู้) และมีเดียวิกิ (ส่วนสารานุกรมต่อยอด) ดำเนินการโดย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย โดยความสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกระทรวงศึกษาธิการ มี ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต ดำรงตำแหน่งประธานโครงการ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นที่ปรึกษาโครงการ เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และมีเป้าหมายที่จะจัดตั้ง มูลนิธิคลังปัญญาไทย ในปี พ.ศ. 2550", "title": "คลังปัญญาไทย" }, { "docid": "30674#3", "text": "ร่วมผลักดันให้เกิดการจัดตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน ผลักดันมติคณะรัฐมนตรี ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลังเวลา 22.00 น. ในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ และป้ายโฆษณาใกล้สถานศึกษาเป็นผลสำเร็จ รณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ปีแรกมีผู้งดดื่ม ร้อยละ 40.4 ประชาชน ร้อยละ 84.7 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้ คณะรัฐมนตรี มีมติให้ขยายเวลาออกอากาศของวิทยุโทรทัศน์ให้มีรายการเพื่อเยาวชนและครอบครัวในช่วงเวลาหลัก (prime time) เป็นผล", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" } ]
4031
เอกราชอัสซีเรีย ก่อตั้งโดยใคร ?
[ { "docid": "182819#0", "text": "เอกราชอัสซีเรีย (Assyrian independence) เป็นขบวนการทางการเมืองและลัทธิที่สนับสนุนการสร้างดินแดนอัสซีเรียสำหรับชาวคริสต์อัสซีเรียที่พูดภาษาแอราเมอิกในภาคเหนือของอิรัก การต่อสู้ของขบวนการเอกราชอัสซีเรียเริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน บริเวณที่ชาวอัสซีเรียอาศัยอยู่คือบริเวณนินนาวา-โมซูล ซึ่งเป็นที่ตั้งของนินเนเวห์ เมืองหลวงของอัสซีเรียในคัมภีร์ไบเบิล[1] บริเวณนี้เป็นที่รู้จักในชื่อสามเหลี่ยมอัสซีเรีย[2]", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" } ]
[ { "docid": "182819#13", "text": "อังกฤษปฏิเสธข้อชี้แนะของคณะกรรมการอาณัติด้วยเหตุผลว่าข้อแนะนำเหล่านั้นควรส่งไปที่รัฐบาลตุรกี ไม่ใช่อิรัก แม้ว่าฮักการีเป็นบ้านเกิดของชาวอัสซีเรีย แต่ผู้อพยพออกมาแล้วไม่ควรกลับเข้าไปอีก ควรอยู่ในที่ที่รัฐบาลอิรักจัดให้", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#25", "text": "มัร เอไช ชีมุนได้เสนอข้อเรียกร้องของชาวอัสซีเรียตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อสหประชาชาติ ข้อเรียกร้องหลายข้อใน พ.ศ. 2488 และ พ.ศ. 2489 ถูกส่งไปที่สำนักทั่วไปของสหประชาชาติ", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#28", "text": "สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อซัดดัม ฮุสเซนขึ้นสู่อำนาจ วัฒนธรรมของกลุ่มชาวซีเรียคไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป ใน พ.ศ. 2515 ซัดดัมมีนโยบายเปลี่ยนกลุ่มที่ไม่ใช่ชาวอาหรับให้เป็นชาวอาหรับ ซึ่งได้แก่ ชาวอัสซีเรีย ชาวเคิร์ด ชาวเติร์กเมน และชาวอาร์เมเนีย ระหว่างสงครามอิรัก-อิหร่าน ชาวอัสซีเรียจำนวนมากต้องตายในสงคราม กลายเป็นว่าชาวอัสซีเรียในอิรักฆ่าชาวอัสซีเรียในอิหร่าน คาดว่าชาวอัสซีเรียตายในสงครามนี้ราว 60,000 คน ระหว่างที่ซัดดัมเรืองอำนาจ ชาวอัสซีเรียที่เคยมีอยู่ 2 – 2.5 ล้านคนได้อพยพไปอยู่จอร์แดน ซีเรีย และเลบานอนเป็นจำนวนมาก", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#12", "text": "เมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ชาวอัสซีเรียยังคงคัดค้านการกระทำทารุณต่อพวกเขาและยังส่งจดหมายถึงสันนิบาตชาติ ร้องขอรายงานจากรัฐบาลอังกฤษและอิรักเกี่ยวกับสถานะของตน ศาลถาวรเพื่อการตัดสินระหว่างชาติไม่เชื่อถือรายงานจากอังกฤษและอิรัก และร้องขอให้ประเทศทั้งสองปฏิบัติตามภาระผูกพันต่อชาวอัสซีเรีย", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#4", "text": "ชาวอัสซีเรียจากอิหร่านมาถึงฝรั่งเศสเป็นกลุ่มแรก อังกฤษซึ่งกลัวการปรากฏตัวของชาวอัสซีเรียที่อยู่นอกการควบคุมได้บีบบังคับให้ตัวแทนจากอิหร่านออกจากปารีสไป ต่อมาตัวแทนของชาวอัสซีเรียในสหรัฐมาถึง พวกเขาต้องการดินแดนอัสซีเรียที่เป็นอิสระ ซึ่งรวมภาคเหนือของเบต-นะห์เรน เริ่มตั้งตาทางใต้ของแม่น้ำซับ ดิยาร์ บากีร์ไปจนถึงเทือกเขาอาร์เมเนีย และดินแดนนี้ควรอยู่ในอาณัตของมหาอำนาจ", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#22", "text": "ในวันที่ 24 ตุลาคม ชาวอัสซีเรียส่งข้อเรียกร้องนำโดยเยาซูฟ มาลิก ชาวอัสซีเรียที่ลี้ภัยไปเลบานอน และเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างไซปรัส เบรุตและดามัสกัส ซึ่งแสดงถึงความเป็นไปภายในอิรักและเกมการเมืองของอังกฤษ", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#14", "text": "สนธิสัญญามากมายที่มีการลงนามระหว่างอังกฤษกับอิรักแสดงให้เห็นว่าอังกฤษเตรียมให้อิรักเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติ ข้อเรียกร้องหลักที่คณะกรรมการอาณัติได้จากชาวอัสซีเรียคือ พวกเขากลัวการสิ้นสุดของการอยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษ ข้อเรียกร้องดังกล่าวระบุวันที่ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2474 20 ตุลาคม พ.ศ. 2474 และ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ข้อเรียกร้องนี้บางส่วนถูกปฏิเสธโดยเซอร์ Francis Humphrys เพราะส่งในนามบุคคลไม่ได้ส่งในนามชาวอัสซีเรีย", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#18", "text": "หลังจากการสถาปนาราชอาณาจักรอิรักใน พ.ศ. 2475 ปฏิกิริยาของชาวอัสซีเรียในการปฏิเสธการแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ไฟซาลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รัฐบาลอิรักออกคำสั่งเนรเทศเมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2476 และปลดออกจากการถือสัญชาติอิรัก การลุกฮือขึ้นสู้ที่ล้มเหลวนำไปสู่การฆาตกรรมหมู่ชาวอัสซีเรีย 3,000 คนในภาคเหนือของอิรัก ซึ่งมีพยานรู้เห็นและเขียนบันทึกไว้หลายฉบับ[12]", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#6", "text": "สนธิสัญญาแซแวร์สลงนามเมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ระหว่างอังกฤษ ชาติพันธมิตรและตุรกีเกี่ยวกับการสถาปนาตุรกีใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอัสซีเรียไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเนื่องจากชาวอัสซีเรียไม่ได้มีอำนาจเท่าเทียมกับชาติอื่นๆ แต่มีการนำข้อเสนอของชาวอัสซีเรียมาพิจารณา และมีข้อกำหนดการคุ้มครองชนกลุ่มน้อยในทางศาสนาในสนธิสัญญา[6] ผลของสนธิสัญญานี้ โมซูลเป็นของอิรักโดยฝรั่งเศสได้ส่วนแบ่ง 25% จากรายได้จากน้ำมันในโมซูล", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#17", "text": "คำถามเกี่ยวกับชนชาติอัสซีเรียถูกนำเข้าสู่เจนีวาโดยมัร เอไช ชีมุนที่ 13 อีกครั้ง เขาพยายามเสนอต่อสภาเกี่ยวกับสถานะของชนชาติอัสซีเรีย ที่ประชุมสันนิบาตชาติยืนยันสิทธิของการเป็นชุมชนในอิรักที่มีสิทธิปกครองตนเอง", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "655586#2", "text": "ที่มาของแอปพลิเคชัน Whoscall นั้น มาจากการรวมตัวทางความคิดระหว่างสามผู้ก่อตั้ง จึงเกิดเป็น Gogolook ที่ในขณะนั้นทั้งสามได้ปลีกตัวจากงานประจำของพวกเขาเพื่อตรวจสอบและรวบรวมความคิดที่หลากหลาย จนกระทั่งวันหนึ่งหลังจากมีสายเรียกเข้าแปลก ๆ โทรเข้ามาขณะประชุมกันอยู่ ทั้งสามจึงพยายามเซิร์ชหาว่าเป็นใครบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้ทำให้พวกเขาทั้งหมดเกิดข้อสงสัยว่า ถ้าเป็นแอปพลิเคชันเพื่อตรวจสอบแบบนี้ จะเป็นไปได้หรือไม่\nWhoscall รุ่นแรกถูกปล่อยในเดือนสิงหาคม ปี 2010 และไม่นานก็ได้รับการตอบรับที่ดีขึ้น หลังจาก นายเอริก ชมิดต์ ประธานบริหารของบริษัท Google ได้กล่าวถึง Whoscall ว่า \"แอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Whoscall บอกคุณได้ว่าใครโทรมา ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และมาจากประเทศไต้หวันด้วย\"\nในตอนนั้นเองที่ทั้งสามผู้ก่อตั้งได้ตัดสินใจออกจากงานประจำของพวกเขา เพื่อทุ่มเทกับการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างจริงจัง และได้เกิดเป็น บริษัท Gogolook จำกัด ในปี 2012 \nบริษัทได้รับการสนันสนุนอย่างต่อเนื่องจาก Trinity Investment Corp. และนักลงทุนมากมาย ", "title": "ฮูส์คอลล์" }, { "docid": "182819#15", "text": "ข้อเรียกร้องที่ลงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ส่งโดยมัร เอไช ชีมุนที่ 13 เรียกร้องให้อนุญาตให้ชาวอัสซีเรียออกจากอิรักก่อนการสิ้นสุดการอยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษ และเป็นไปไม่ได้ที่ชาวอัสซีเรียจะอยู่ในอิรัก ผลจากการเรียกร้อง ทำให้คณะกรรมการอาณัติมีความกังวลเกี่ยวกับชาวคริสต์และควรให้สิทธิ์กลุ่มชนเหล่านี้ส่งข้อเรียกร้องสู่สันนิบาตชาติได้โดยตรงในอนาคต ในการตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง รัฐบาลอิรักได้จัดที่อยู่ให้ชาวอัสซีเรีย แต่บริเวณนั้นเป็นบริเวณที่มีไข้มาลาเรียชุกชุม ทำให้ชาวอัสซีเรียนับร้อยคนต้องตายด้วยไข้มาลาเรีย", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#5", "text": "ตัวแทนจากสหรัฐและอังกฤษปฏิเสธแผนการนี้ อธิบายว่าประชาชนของสหรัฐกังวลเกี่ยวแผนการแบ่งแยกตุรกีทุกรูปแบบ ทำให้ตัวแทนชาวอัสซีเรียไม่ประสบความสำเร็จ ตัวแทนอัสซีเรียจากอิรักเดินทางมาถึงล่าช้าเพราะต้องรอให้อังกฤษอนุญาต ออกเดินทางมาปารีสเมื่อ 21 กรกฎาคม โดยต้องเดินทางผ่านลอนดอนและถูกกักตัวที่ลอนดอนจนการประชุมที่ฝรั่งเศสยุติ ตัวแทนของกลุ่มนี้คือนายซูร์มา คานิม เขาต้องการให้อนุญาตให้ชาวอัสซีเรียเดินทางกลับไปฮักการี และผู้ที่ทำร้ายชาวอัสซีเรียต้องถูกลงโทษ", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#16", "text": "สภาแห่งสันนิบาตชาติยอมรับคำชี้แนะและข้อเสนอของอิรักในการรับประกันการคุมครองชนกลุ่มน้อยเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ทำให้อิรักได้เป็นสมาชิกสันนิบาตชาติเมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2475 [11]", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "347763#242", "text": "ซึ่งตนรอคอยตลอด 400 ปี เห็นสงครามมามาก กับเผลอทำหนังสือ E.N.D หายไปด้วย จนเข้าใจ จึงคิดที่จะไม่ยุ่งเกี่ยว หรือไม่เป็นกับศัตรูใครโดยเด็ดขาด เหมือนกับการหลับไหลที่ปิดผนึกตัวเอง กับไปทวีปอาราซิตาเซียที่อยู่ทางตะวันตก ก่อตั้งอาณาจักรอัลวาเรซ เพื่อสร้างกองทัพเพื่อต่อกรกับแอคโนโลเกีย กับออกเดินทางไปทั่วโลก เหล่าจอมเวทต่างก็ต้องการตัว เพราะเชื่อว่าใครที่ครอบครองตน จะสร้างโลกเวทมนตร์ของเซเรฟได้ จนเกิดสาวกมากมาย", "title": "รายชื่อตัวละครในแฟรี่เทล ศึกจอมเวทอภินิหาร" }, { "docid": "182819#1", "text": "ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอัสซีเรียราวครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในตุรกีปัจจุบันโดยเฉพาะบริเวณฮักการี ใน พ.ศ. 2417 ยังเติร์กเริ่มตั้งเป้าหมายที่กลุ่มชาวคริสต์ในเอเชียน้อยและมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นเช่นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอัสซีเรีย ในระยะแรก ผู้นำทางเชื้อชาติและศาสนาถูกกำจัดออกจากชุมชน ในขณะที่จุดหนึ่งนั้นหัวหน้านิกายอัสซีเรียแห่งตะวันออก มาร์ เอไช ชีมุนที่ 13 อายุเพียง 12 ปี [3]", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#19", "text": "ชาวอัสซีเรียออกแถลงการณ์เมื่อ 16 กรกฎาคม ขอความช่วยเหลือภายใน 30 วัน แต่อังกฤษกลัวว่าการส่งทหารเข้าไปจะทำให้ความชอบธรรมในอิรักของตนเสียไปจึงซื้อเวลาเป็นภายใน 4 เดือน กองทหารอังกฤษออกจากอียิปต์เข้าสู่อิรักเมื่อถึงเวลาที่กำหนด หลังจากการเจรจากับหัวหน้าชาวอัสซีเรีย ไม่มีชาวอิรักคนใดต้องรับผิดชอบกับการฆาตกรรม ชาวอัสซีเรียจำนวนมากเริ่มอพยพเข้าสู่ซีเรียซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสในขณะนั้น ทำให้กองทัพของชาวอัสซีเรียถูกแบ่งเป็นสองส่วนด้วย จากเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2476 นี้ ชาวอัสซีเรียกำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแห่งความทุกข์ทรมาน", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#32", "text": "หมวดหมู่:ขบวนการแบ่งแยกดินแดนอัสซีเรีย", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#26", "text": "ข้อเรียกร้องถูกส่งโดยมัร เอไช ชีมุน หัวหน้าของนิกายอัสซีเรียแห่งตะวันออก เขาได้ต่อสู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นเวลากว่า 50 ปี ตั้งแต่ยุคของสันนิบาตชาติจนถึงสหประชาชาติ", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#10", "text": "มีขึ้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2468 โดยกล่าวว่าชาวอัสซีเรียจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ถ้าพวกเขากลับสู่ตุรกี และความสูญเสียระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 จะได้รับการชดใช้[9] และยังระบุว่าหัวหน้าชาวอัสซีเรีย มัร เอไช ชีมุนเบ มีสิทธิในการดูแลชาวอัสซีเรีย แต่คำชี้แนะนี้ไม่ได้รับการยอมรับ", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#11", "text": "ใน พ.ศ. 2468 ศาลถาวรเพื่อการตัดสินระหว่างชาติ (Permanent Court of International Justice) เข้ามาแทรกแซงปัญหาเส้นแบ่งแดน และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2468 เสนอการแก้ปัญหาโดยปฏิเสธการอพยพชาวอัสซีเรียกลับสู่ฮักการีและยกดินแดนนั้นให้ตุรกี ส่วนดินแดนโมซูลยกให้อิรัก และให้มีการจัดแนวชายแดนใหม่ รวมทั้งแนะนำให้อังกฤษดูแลอิรักในฐานะดินแดนในอาณัติต่อไปอีก 25 ปี เพื่อคุ้มครองชาวอัสซีเรีย[10]", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#31", "text": "โบสต์หลายแห่งถูกวางระเบิดเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีผู้เสียชีวิต 19 คน การโจมตีโบสถ์ของชาวอัสซีเรียยังคงดำเนินต่อไป โดยความพยายามในการขอปกครองตนเองของชาวอัสซีเรียในทางการเมืองยังดำเนินการต่อไป ประธานาธิบดีอิรัก อียัด อัลลานีกล่าวว่าเขายอมรับแผนการนี้ แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะเขาพ้นจากตำแหน่งไปหลังการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีต่างประเทศของอิรัก ฮูชียาร์ เซบารี สนับสนุนแนวคิดการจัดตั้งเขตปกครองตนเองของชาวอัสซีเรีย[14] แต่ในสัปดาห์เดียวกันโบสต์ของชาวอัสซีเรีย 5 แห่งในอิรักถูกลอบวางระเบิด[15]ปัจจุบันสถานการณ์ในอิรักยังไม่สงบ", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#24", "text": "ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการก่อตั้งรัฐของชาวอิสราเอลใน พ.ศ. 2491 ทำให้ชาวอัสซีเรียมีความหวังเพิ่มมากขึ้น", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#21", "text": "ในขณะเดียวกัน อาลี อัลกาอิลานี นายกรัฐมนตรีของอิรักประกาศว่าชาวอัสซีเรียควรหาที่อยู่ใหม่นอกเขตอิรัก โดยรัฐบาลอิรักสัญญาว่าจะให้ความร่วมมือในการจัดตั้ง สันนิบาตชาติสั่งให้คณะกรรมการจากชาติสมาชิก 6 ชาติ มองหาความเป็นไปได้ของแผนการนี้เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2476", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#20", "text": "หลังจากที่สันนิบาตชาติรับเรื่องของชาวอัสซีเรียว่าเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้แก้ไข หัวหน้าชาวอัสซีเรียเสนอต่อสันนิบาตให้จัดตั้งดินแดนสำหรับชาวอัสซีเรียและชาวเคิร์ดในจังหวัดโมซูล โดยจักรูปแบบการปกครองแบบพิเศษ เขาได้เสนอแผนการตามคำแนะนำของลอร์ด Curzon รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2462", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#30", "text": "การเคลื่อนไหวของชาวอัสซีเรียในอิรักและสหรัฐมีแนวโน้ม แยกดินแดนเฉพาะส่วนของตนออกมา โดยแต่ละชุมชน (อาหรับ อัสซีเรีย เติร์กเมนและเคิร์ด) ต่างปกครองชุมชนของตัวเองภายในรัฐ สภาของแต่ละชุมชนมีอำนาจเต็มในด้านศาสนา วัฒนธรรม การศึกษา การเกษตร พลังงาน และการป้องกันตนเอง แผนการของเขตปกครองตนเองของชาวอัสซีเรียอยู่ในบริเวณโมซูล", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "812555#2", "text": "ดร.เสน่ห์ ถิ่นแสน มีชื่อในกลุ่มล้มเจ้า ทำผิดคดีมาตรา112 โดยทำงานใกล้ชิดกับนายอเนก ชัยชนะ ในการก่อตั้งภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์กรที่ถูกมองว่า ใกล้ชิดกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร แต่ ดร.เสน่ห์ ยืนยันตลอดว่า ไม่เคยได้รับเงินทองจากใคร หรือเป็นลูกน้องของใคร และเมื่อนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ลี้ภัยไปที่นครซานฟรานซิสโก ดร.เพียงดิน รักไทย มีบทบาทช่วยเหลือด้านการลี้ภัยในนามภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และการก่อตั้งองค์การเสรีไทยเพือสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ", "title": "เสน่ห์ ถิ่นแสน" }, { "docid": "182819#3", "text": "ใน พ.ศ. 2462 บิชอปนิกายซีรีแอกออร์ทอดอกซ์ มอร์ อาฟรัม บาร์ซอม เขียนจดหมายถึงฝ่ายสัมพันธมิตร[5]ว่าชาวอัสซีเรียกว่า 90,000 คนถูกฆาตกรรมโดยชาวตุรกี และชาวอัสซีเรียคัดค้านการขอปกครองตนเองของชาวเคิร์ด จดหมายนี้ทำให้ฝรั่งเศสเชิญตัวแทนของชาวอัสซีเรียสามกลุ่มเข้าร่วมในที่ประชุมระหว่างการประชุมสันติภาพ ได้แก่ชาวอัสซีเรียจากสหรัฐ อิรักและอิหร่าน", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" }, { "docid": "182819#9", "text": "ในที่สุด การประชุมนี้ไม่บรรลุข้อตกลง ตุรกีสั่งให้ยกทหารเข้าประชิดชายแดนเพื่อรวมโมซูลโดยใช้กำลัง กองกำลังทหารเกณฑ์ชาวอัสซีเรีย 2000 คนถูกส่งขึ้นเหนือเพื่อป้องกันอิรัก เพราะกองทัพอิรักในขณะนั้นไม่พร้อมสำหรับหน้าที่นี้ กองทัพชาวอัสซีเรียมีบทบาทมากในการผนวกโมซูลเข้ากับอิรักตามการรับรองของสันนิบาตชาติ", "title": "เอกราชอัสซีเรีย" } ]
4033
ปืนใหญ่ คิดค้นครั้งแรกโดยใคร ?
[ { "docid": "202377#1", "text": "ประเทศจีนเป็นชาติแรกที่ประดิษฐ์ดินปืนขึ้นใช้ได้ และแนวคิดปืนใหญ่เริ่มปรากฎขึ้นในแผ่นดินจีน ในช่วงราชวงศ์ซ่ง หรือราวศตวรรษที่ 12 โดยปรากฎหลักฐานเป็นหนึ่งในรูปปั้นของงานแกะสลักหินแห่งต้าจู๋. อย่างไรก็ดี ปืนใหญ่ไม่ได้รับการผลิตขึ้นใช้จริงจนกระทั่งศตวรรษที่ 13. ในปีคริสต์ศักราช 1288 มีการบันทึกว่า กองทัพของราชวงศ์หยวนมีปืนใหญ่มือไว้ใช้ในการรบ. หลังจากนั้นเทคโนโลยีปืนใหญ่ก็เริ่มปรากฎตัวขึ้นในยุโรปในราวต้นศตวรรษที่ 14.", "title": "ปืนใหญ่" } ]
[ { "docid": "876988#2", "text": "ชายหนุ่มหน้าตาหล่อคมเข้ม ใจร้อน มุทะลุดุดัน และมีความสามารถทางด้านหมัดมวย วันหนึ่งปืนต้องเห็นพี่ชายฆ่าตัวตายต่อหน้าต่อตา และสืบพบสาเหตุว่า พี่ชายถูกผู้หญิงที่รักทิ้งไปหมั้นกับคนอื่น ปืนจึงตั้งใจจะแก้แค้นผู้หญิงคนนั้นให้ได้\nดาราสาวสวยแถวหน้าของวงการ เป็นคนมีเสน่ห์ ภายนอกดูแจ่มใสร่าเริง แต่ภายในเธอมีปมเศร้าเก็บซ่อนอยู่ ในอดีตเคยคบกับเมฆ และมีเหตุต้องห่างกันไป จนได้มาพบกับปืน อินประทับใจในตัวเขาโดยไม่รู้ว่าเธอกำลังถูกล้างแค้น\nหนุ่มนักธุรกิจ ลูกชายเศรษฐีอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ตกเป็นข่าวกับอินดาราสาวโดยบังเอิญ และฉวยโอกาสประกาศหมั้นกับอิน ทั้งที่รู้ว่าอินไม่รักเขาเลย ด้วยความอยากเอาชนะ วารินทร์จึงทำทุกทางเพื่อให้ได้อินมาครอบครอง\nเด็กกำพร้าที่อยู่บ้านป้าแตง เป็นคนขยันเอาการเอางาน ภายนอกดูเป็นสาวห้าว แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าปืน เธอจะดูเป็นกุลสตรีทันที สร้อยเป็นคนเดียวที่เข้าใจความรู้สึกของปืน เพราะผูกพันและใส่ใจปืนตลอดเวลา\nหนุ่มหน้าตายิ้มแย้ม มีนิสัยถ่อมตน เป็นคนประนีประนอม ไม่ชอบมีเรื่องกับใคร เคยคบหากับอิน และมอบความจริงใจให้ทุกอย่าง พอรู้ว่าคนรักกำลังจะหมั้นกับคนอื่น เมฆเลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย แต่รอดชีวิตกลายมาเป็นคนพิการ\nหนุ่มอารมณ์ดี ชอบคุยโม้ไปเรื่อย ไม่มีพิษภัย แต่เสียที่นิสัยติดพนัน เป็นเซียนมวยและข้องเกี่ยวกับธุรกิจมืด เฮียเก๋าสนิทและชื่นชอบในตัวปืน เพราะหลายไฟท์ที่ปืนชกทำให้เฮียเก๋าได้เงินพนันเป็นกอบเป็นกำ\nสาวใหญ่หน้าตาดี แม่เลี้ยงของอินทิรา เป็นคนปากหวานก้นเปรี้ยว ดูเหมือนเธอจะหลอกใช้อินให้หาเงินเข้าบ้าน ทำทุกอย่างเพื่อเงิน เจ้ายศเจ้าอย่าง ชอบมีหน้าตาในสังคม แต่ในที่สุดเธอก็กลับตัวเป็นคนดี\nพ่อของวารินทร์ เจ้าของบริษัททั้งหมดในเครือ เป็นคนดุดัน พูดยังไงต้องได้อย่างนั้น คนรอบข้างต่างเกรงขาม ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งเมียและลูก ๆ\nพ่อของอินทิรา เมียตายเมื่อครั้งยังหนุ่ม และได้เมียใหม่เป็นเด็กเสิร์ฟในร้าน มีลูกด้วยกันอีกสองคน เป็นคนเกรงใจคนโดยเฉพาะเมียใหม่ ไม่ค่อยมีปากมีเสียงอะไรในบ้าน ถือเป็นคนแก่ขี้เหงาใจดีคนหนึ่ง\nน้องสาวของอินทิรา\nอดีตสุดยอดแชมป์มวยในตำนาน ที่ชีวิตตกต่ำ ติดเหล้าไปวันๆ จนได้พบกับปืนและเป็นผู้สอนศิลปะการป้องกันตัวให้ รักและหวังดีกับปืน คอยผลักดันให้ปืนได้เป็นแชมป์มวยอย่างที่เขาเคยเป็น\nหนุ่มร่างท้วมแห่งบ้านเด็กกำพร้าของป้าแตง ชอบวางตัวเป็นพี่ใหญ่ นิสัยไม่ยอมลงให้ใคร ยกเว้นปืน ชอบชวนปืนไปเสียคน ทั้งชวนไปชกมวยเถื่อน และพาไปมีเรื่องชกต่อยกับชาวบ้าน\nผู้จัดการของอินทิรา เป็นสาวเปรี้ยวแต่งตัวจัด แต่จริง ๆ แล้วอ่อนหวาน บุคลิคตรงข้ามกับนิสัยโดยสิ้นเชิง เป็นคนที่อินไว้ใจ และให้คำปรึกษาอินได้ทุกเรื่อง\nน้องชายของอินทิรา", "title": "A Love To Kill รักซ่อนแค้น" }, { "docid": "710056#13", "text": "ยุคนโปเลียนจะเห็นการพัฒนาปืนใหญ่สนามเป็นจำนวนมาก ปืนใหญ่สนาม (มักจะรู้จักในชื่อ ปืนใหญ่เบา) เป็นรูปแบบปืนใหญ่ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ซึ่งใช้สนับสนุนกองทัพในสนามรบ ปืนเหล่านี้ถูกพัฒนาโดยมุ่งเน้นความสามารถด้าน การเคลื่อนพล, การเคลื่อนที่, ความแม่นยำในระยะไกล และความเร็ว ปืนใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้นี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ในสมัย Gustavus Adolphus แห่งสวีเด็นในช่วงสงครามสามสิบปี (1618-1648) Adolphus ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บัญชาการคนแรกที่นำหน่วยปืนใหญ่เบาจำนวนมากเข่าสู่การสู้รบและจัดวางกำลังโดยสนธิกำลังกับหน่วยรบที่ใช้อาวุธประเภทอื่น ในช่วงกลางศตวรรษที่สิบแปด ผู้บัญชาการจากหลากหลายชาติต่างก็มาถึงข้อสรุปที่ว่าปืนใหญ่เคลื่อนที่ได้ซึ่งสามารถติดตามไปเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งและไม่มีกองทัพใดจะมีประสิทธิภาพในการเพียงพอถ้าไม่มีปืนใหญ่เหล่านี้ ความสำคัญของปืนใหญ่สนามมิได้ถูกจำกัดเพียงแค่ภายในระยะการยิงเท่านั้น แต่ปืนใหญ่สนามมีความสำคัญถึงขั้นเปลี่ยนสถานการณ์ภายในสนามรบได้เลย หลังจากการปฏิรูปกองทัพซึ่งแบ่งกองทัพออกเป็นเหล่าๆ กองทัพฝรั่งเศสได้จัดตั้งรูปขบวนปืนใหญ่กึ่งอัตโนมัติโดยมีนายทหารปืนใหญ่เป็นผู้นำและประสานงาน รูปขบวนเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ, กลยุทธ์ และอำนาจการโจมตีของปืนใหญ่สนามในสนามรบ ในสมัยของนโปเลียน ปืนใหญ่สนามจะประกอบไปด้วย ปืนใหญ่เดินเท้า, ปืนใหญ่ม้าลาก และปืนใหญ่ภูเขา ", "title": "ยุทธวิธีแบบนโปเลียน" }, { "docid": "169339#8", "text": "ความแตกต่างระหว่างกระสุนกับอาวุธปืนก็คือบางครั้งกระสุนนั้นหมายถึงอาวุธ ส่วนอาวุธปืนนั้นหมายถึงแท่นอาวุธ ในบางกรณีอาวุธปืนสามารถใช้เป็นอาวุธได้โดยตรงในการต่อสู้ระยะใกล้ ตัวอย่างเช่น ปืนเล็กยาว ปืนคาบศิลา และปืนกลมือสามารถติดดาบปลายปืนจนทำให้มันกลายเป็นหอกหรือหลาว ด้วยบางข้อยกเว้น พานท้ายปืนของปืนยาวสามารถใช้เป็นตะบองเพื่อตีได้ มันยังเป็นไปได้ที่จะตีใครด้วยลำกล้องปืนหรือด้ามจับ ", "title": "อาวุธปืน" }, { "docid": "65884#14", "text": "กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 11 รักษาพระองค์ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 31 รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 12 รักษาพระองค์ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 102 รักษาพระองค์ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์", "title": "ทหารรักษาพระองค์" }, { "docid": "91580#17", "text": "หลังทหารจีนทั้งหมดยอมแพ้ ก็เท่ากับไม่เหลือใครที่จะปกป้องพลเรือนในตัวเมือง ทหารญี่ปุ่นหลั่งไหลเข้ามา ยึดอาคารที่ทำการรัฐบาล ธนาคารและโรงเก็บสินค้า ยิงผู้คนตามท้องถนนอย่างไม่เลือกหน้า โดยใช้ทั้งปืนพก ปืนกล ปืนเล็กยาว ยิงเข้าไปในฝูงคนที่มีทั้งทหารที่บาดเจ็บ หญิงชรา และเด็ก ๆ โดยทหารญี่ปุ่นฆ่าพลเรือนทุกมุมเมือง ไม่ว่าจะตามตรอกเล็ก ๆ หรือถนนสายใหญ่ ในสนามเพลาะ หรือแม้แต่ในอาคารที่ทำการรัฐบาล", "title": "การสังหารหมู่นานกิง" }, { "docid": "84652#28", "text": "แม้ว่าจะมีการประดิษฐ์เกิดขึ้นมากมายเพราะเขา แต่ก็มีผู้มีบางคนโต้แย้งว่า ที่แท้แล้ววัตต์คิดค้นนวัตกรรมต้นฉบับเพียงอันเดียวจากสิทธิบัตรจำนวนมากที่เขาจด อย่างไรก็ตามไม่มีใครแย้งเรื่องที่นวัตกรรมเดียวนั้นเขาได้ประดิษฐ์จริง ก็คือ เครื่องสันดาปแยก (separate condenser) ซึ่งเป็นการฝึกหัดเพื่อเตรียมแนวความคิดที่สร้างชื่อแก่เขา เพราะเขาตั้งใจให้สิทธิบัตรเชื่อถือได้ในความปลอดภัย และทำให้แน่ใจได้ว่า ไม่มีใครได้ฝึกหัดและคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นั้นได้อย่างเขา", "title": "เจมส์ วัตต์" }, { "docid": "268054#1", "text": "ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าใครเป็นคิดค้นการพับเครื่องบินกระดาษเป็นครั้งแรก ระหว่างนักประดิษฐ์ชาวจีนที่เป็นผู้คิดค้นว่าว เมื่อ 2800 ปีก่อน หรือเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่มีหลักฐานแสดงการสร้างแบบจำลองของเครื่องบินจากแผ่นหนัง ในคริสต์ศตวรรษที่ 15", "title": "เครื่องบินกระดาษ" }, { "docid": "184325#24", "text": "แต่ฮิเดโยชิก็ปรับแผนอย่างรวดเร็ว ที่ปูซาน เรือรบญี่ปุ่นถูกปรับปรุงด้วยการเสริมเกราะไม้และปืนใหญ่ และเพิ่มมาตรการป้องกันอ่าวด้วยปืนใหญ่ตามริมแนวชาวฝั่ง โดยสั่งให้โรงหล่อในปูซานหล่อขึ้นมา ที่สำคัญที่สุด ญี่ปุ่นรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลังความกลัวของพวกเขา และอี ซุน-ชินจะต้องถูกกำจัดให้พ้นทาง ตราบใดที่อี ซุน-ชินยังอยู่ ไม่มีอะไรสามารถรับประกันความปลอดภัยทางทะเลให้ญี่ปุ่นได้แน่นอน", "title": "อี ซุน-ชิน" }, { "docid": "886693#0", "text": "เรือรบแนวเส้นประจัญบาน หรือ เรือแนวเส้นประจัญบาน (; ) เป็นเรือรบประเภทหนึ่งที่นิยมต่อขึ้นใช้ ระหว่างศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางศตวรรษที่ 19 เพื่อใช้ในยุทธวิธีทางน้ำที่เรียกกันว่า แนวเส้นประจัญบาน (line of battle) โดยกองเรือของแต่ละฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กัน จะแปรขบวนเรือให้เป็นแถวยาว เพื่อใช้อานุภาพการยิงวอลเลย์จากทางกราบเรืออย่างพร้อมเพรียงกันให้เกิดผลสูงสุด ซึ่งต่างไปจากการประจัญบานทางน้ำในยุคก่อนๆ ซึ่งจะใช้ยุทธวิธีโจมตีโดยนำเรือเข้าประชิดเรือข้าศึก หรือไม่ก็ใช้เรือพุ่งเข้ากระแทก (ramming) เนื่องจากผลแพ้ชนะในยุทธวิธีนี้มักจะขึ้นอยู่กับว่าใครมีเรือระวางขับน้ำมากกว่า และบรรทุกปืนใหญ่อานุภาพสูงได้มากกว่า ความเป็นมหาอำนาจทางทะเลในสมัยนั้นจึงวัดกันว่าใครมีเรือแนวเส้นประจัญบานมากลำกว่า และใหญ่กว่า ", "title": "เรือรบแนวเส้นประจัญบาน" }, { "docid": "74737#31", "text": "เอ-10 ถูกกำหนดให้อยู่ในประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ จนกระทั่งปี 2571 และอาจต่อจากนั้น เมื่อมันอาจถูกแทนที่โดยเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 1 เอ-10 ทั้งกองบินในปัจจุบันยังคงอยู่ภายใต้การพัฒนา เอ-10 อาจอยู่ในกระจำการนานขึ้นเนื่องมาจากมันมีราคาถูกและความสามารถที่ไม่เหมือนใคร อย่างปืนใหญ่ของมัน ความทนทาน และความสามารถในการบินเป็นเวลานาน", "title": "แฟร์ไชลด์รีพับลิค เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2" }, { "docid": "996199#1", "text": "พ่อตาปืนโต ตอน 'หลานข้าใครอย่าแตะ' เป็นภาคต่อจากละครเรื่อง พ่อตาปืนโต ออกอากาศทาง ช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2555 ฝีมือการสร้างและกำกับของ ฉลอง ภักดีวิจิตร ที่สร้างเรตติ้งสูงจนทำให้ช่อง 7 ต้องสั่งให้เพิ่มตอน นำแสดงโดย ธนา สุทธิกมล จีระนันท์ มะโนแจ่ม วินัย ไกรบุตร สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์ ธัญสินี พรมสุทธิ์ จตุรวิทย์ คชน่วม อธิชนัน ศรีเสวก และนักแสดงอีกคับคั่ง ผลิตโดยบริษัท บางกอก ออดิโอ วิชั่น จำกัด", "title": "พ่อตาปืนโต ตอน หลานข้าใครอย่าแตะ" }, { "docid": "96014#10", "text": "\"แม้ในใจของข้าจะแสวงหาความพ่ายแพ้เพราะไม่อาจพบพานคู่มือที่เปรียบติด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะยอมสยบให้ผู้คนโดยง่าย หลังจากนี้ข้าจะลองคิดค้นกระบวนท่าที่จะทำลายพลังลมปราณของเจ้าดูบ้าง! เมื่อเจ้าคิดค้นกระบวนท่าที่ยอดเยี่ยมได้บ้างแล้ว เราสองจงมาประลองกันอีกครั้ง ดูสิว่าใครจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฮะๆๆ\"", "title": "อึ้งเซียะ" }, { "docid": "61784#0", "text": "อัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล (Alfred Bernhard Nobel) (21 ตุลาคม พ.ศ. 2376, สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2439, ซานเรโม ประเทศอิตาลี) นักเคมีชาวสวีเดน วิศวกร นักประดิษฐ์ ผู้ผลิตอาวุธและผู้คิดค้นดินระเบิดไดนาไมท์ เขาเป็นเจ้าของบริษัทโบโฟรส์ (Bofors) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ โดยเขาได้เปลี่ยนแปลงบทบาทของโรงงานจากเดิมที่เป็นโรงงานเหล็กและเหล็กกล้า มาเป็นโรงผลิตปืนใหญ่ และอาวุธต่างๆ", "title": "อัลเฟรด โนเบล" }, { "docid": "51633#8", "text": "ลักษณะเฉพาะเริ่มแรกของเอฟทีพีใช้วิธีการส่งผ่านไฟล์ที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัย เพราะไม่มีวิธีการใดที่ระบุการส่งผ่านแบบเข้ารหัสข้อมูล หมายความว่าภายใต้การกำหนดค่าเครือข่ายส่วนใหญ่ ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน คำสั่งเอฟทีพี และไฟล์ที่ส่งผ่าน สามารถถูกดักจับได้โดยใครก็ตามที่อยู่บนเครือข่ายเดียวกันด้วยตัวดักจับกลุ่มข้อมูล (packet sniffer) สิ่งนี้เป็นปัญหาหนึ่งของโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปเช่น เอชทีทีพี เอสเอ็มทีพี เทลเน็ต เป็นต้น จึงเกิดการคิดค้นเอสเอสแอลเพื่อการเข้ารหัสขึ้นมาใช้ การแก้ปัญหาความปลอดภัยนี้คือใช้ เอสเอฟทีพี (SSH File Transfer Protocol) หรือ เอฟทีพีเอส (FTP over SSL) ซึ่งเพิ่มการเข้ารหัสด้วยเอสเอสแอล (หรือทีแอลเอส) ไปบนเอฟทีพีธรรมดา ตามที่ระบุไว้ใน RFC 4217", "title": "เอฟทีพี" }, { "docid": "215049#1", "text": "ชัค เบอร์รี ถือเป็นบุคคลแถวหน้าของวงการดนตรีร็อกแอนด์โรล จากเว็บไซต์ร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม พูดถึงเขาว่า \"ถ้าไม่มีใครที่สามารถพูดว่าเป็นคนคิดค้นร็อกแอนด์โรลได้ ชัค เบอร์รี ดูจะเป็นคนที่ใกล้เคียงที่สุดกว่าใครที่เป็นคนนำหลาย ๆ สิ่งรวมเข้าด้วยกัน\" จอห์น เลนนอน พูดว่า \"ถ้าคุณพยายามตั้งชื่อร็อกแอนด์โรลอีกชื่อหนึ่ง คุณอาจจะเรียกมันว่า ชัค เบอร์รี\"", "title": "ชัค เบอร์รี" }, { "docid": "74737#12", "text": "เนื่องจากว่าล้อลงจอดด้านหน้าที่ใกล้กับปืนใหญ่หลักของเอ-10 ทำให้ล้อเยื้องไปทางขวาและปืนเยื้องไปทางขวา มันทำให้เอ-10 มีรัศมีการเลี้ยวที่ไม่เหมือนใคร การเลี้ยวขวาบนพื้นจะใช้เนื้อที่น้อยกว่าการเลี้ยวซ้าย", "title": "แฟร์ไชลด์รีพับลิค เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2" }, { "docid": "109400#2", "text": "อาวุธปืนเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างกว้างขวางสำหรับประชาชน เพราะความสนใจอย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตหลายรายจึงเริ่มผลิตปืนสปริง เป็นที่น่าสนใจต่อผู้คนที่สนใจอาวุธปืนในปี พ.ศ. 2513 ปืนดังกล่าวมีลำกล้องหลายขนาด เพื่อใช้ยิงลูกกระสุนพลาสติกและกระสุนยาง โดยกระสุนมีลักษณะเป็นวงกลมหลายขนาด แต่โดยที่สุด กระสุนพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6 มม. และ 8 มม. ถูกบรรจุเข้าเป็นกระสุนมาตรฐาน ต่อมาปืนที่ใช้พลังงานจากสปริง ถูกบรรจุด้วยพลังงานจากแก๊ส เป็นระบบที่มีความหลากหลายมาก ของเล่นเหล่านี้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังอเมริกาเหนือในกลาง แต่สามารถเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิดจาก ทำให้ผู้ผลิตเก่าหลายรายพ่ายแพ้ทางการตลาด เศษของที่ไม่ใช้คิดค้นขึ้นเป็นและเป็นผู้ผลิตปืนยาวไฟฟ้าอัตโนมัติเป็นรายแรกสามารถช่วยเพิ่มความแม่นยำและวิถีกระสุนของอาวุธ ก่อนปี พ.ศ. 2543 Classic Army จากฮ่องกง เข้าร่วมวงการและส่งปืนของตนลงสู่ตลาด เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ทำให้เป็นคู่แข่งและเกิดการแข่งขันกับมารูอิ ไม่กี่ปีต่อมา สินค้าจากประเทศจีนถูกส่งเข้าตลาดเป็นจำนวนมาก แต่เป็นสินค้าระดับต่ำ", "title": "แอร์ซอฟต์กัน" }, { "docid": "198571#28", "text": "ในช่วงระยะต้นของสงคราม ญี่ปุ่นได้เปรียบจากระยะยิงของปืนไฟ 548.64 เมตรที่ไกลกว่า\nส่งเสียงกึกก้องกัมปนาทฟังดูน่าเกรงขามกว่า\nซึ่งสามารถใช้งานได้ในลักษณะการยิงประสานแบบรวมจุดเพื่อทดแทดความไม่แม่นยำ ทั้งในระยะประชิดและระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายของสงคราม เกาหลีและจีนต่างก็นำปืนไฟของญี่ปุ่นเข้ามาใช้เองเป็นจำนวนมาก\nและยังกล่าวกันว่าจีนคิดค้นชุดเกราะกันกระสุนขึ้นมาใช้ในช่วงการรุกรานครั้งที่สองด้วย", "title": "การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)" }, { "docid": "2795#19", "text": "ปกหนังสือมนุษย์ [27] ไม่มีข้อมูล ปฏิทินที่ผันแปรง่าย [41] ไม่มีข้อมูล ปฏิทินมาตรฐานญี่ปุ่น [14] ท่านสามารถกำหนดวันหยุดราชการของญี่ปุ่นได้ด้วยตนเอง ด้วยการนำสติ๊กเกอร์รูปสัญลักษณ์ประเทศญี่ปุ่นติดลงในวันที่ต้องการ และเขียนชื่อวันหยุดราชการ ก็สามารถทำให้เป็นวันหยุดราชการได้ ประตูไปที่ไหนก็ได้ ดูรายระเอียดที่ ประตูทุกหนแห่ง' ประตูขออาศัย เป็นประตูที่สามารถสร้างห้องใหม่ได้ในชั่วพริบตา แต่เพื่อเป็นการปกปิดผู้คน ต้องเอาประตูออกจากฝาผนังด้วย ประตูเวลา [31] เพียงเปิดในจุดกิ่งกลาง เวลาจะมีมาก แต่ถ้าปิด เวลาจะหยุดได้ตามคาดหมาย ปลอกแขนดุผู้ใหญ่ เพียงสวมปลอกแขนนี้ก็สามารถสั่งสอนผู้ใหญ่ได้ แต่ห้ามใช้กับเด็ก (ตอน ปลอกแขนดุผู้ใหญ่) ปลอกแขนทดสอบอาชีพ เมื่อเขียนอาชีพที่ต้องการลงไปและสวมไว้ จะทำให้ทดลองเป็นอาชีพนั้นได้ชั่วคราว ปลอกคอเรียกหา [14] ถ้าเรียกชื่อคนหรือสัตว์ที่ใส่ปลอกคอนี้ ก็จะมาหาทันที ปล่องไฟซานตาครอส เขียนสิ่งที่อยากได้บนกระดาษใส่ลงไป ท่านจะได้รับในสิ่งที่ท่านต้องการ แต่ถ้าหากท่านเขียนแล้วใส่ปล่องไฟในทางกลับด้าน ท่านก็จะโดนเอาของนั้นๆ ไปแทนและอดได้ในสิ่งที่ต้องการ ปลาดุกแผ่นดินไหว [26] ถ้าปลานี้ไปอยู่ที่ใคร ถ้าคนๆ นั้นพูดว่า แผ่นดินไหวเมื่อไหร่ คนๆ นั้นก็จะรู้สึกว่าแผ่นดินไหวจริงๆ ป้อมปืนใหญ่ไร้เทียมทาน [38]เป็นป้อมปืนใหญ่ที่เจ้าของควบคุได้เพียงคนเดียวสั่งให้ยิงใครก็ได้ผู้ถูกยิงไม่สามารถหลบหรือป้องกันได้ ปั๊มซิมุเลเตอร์ผิวน้ำมโนภาพ [41] (จากที่ปรากฏในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน สงครามเงือกใต้สมุทร) มีวิธีใช้คือถ้าใส่แว่นมองน้ำสมมุติ ก็จะเปียกน้ำเสมอไป ส่วนผู้ใช้จะเคลื่อนไหวโดยใช้มือ แต่ถ้าไม่ทำอะไรก็จะทำด้วยตัวมันเอง ปั้มแก๊สสะดือ ถ้าอยากให้ทุกข์หายไป ท่านสามารถปลดเสื้อนำแก๊สสะดือมาสูปที่สะดือ เท่านี้ทุกข์จะกลายเป็นสุข (ตอน สุขด้วยแก๊สสะดือ) ปากกาขนหัวลุก เพียงเขียนสิ่งที่ต้องการลงกระดาษแล้วเอาไปแปะคนใดคนหนึ่ง อีกคนก็จะกลัวทันที ปากกาเขียนจดหมายตัวอย่าง [23] คุณสามารถเขียนข้อความเพื่อคัดลอกลงกระดาษแผ่นใหม่ ปากกาเขียนใบหน้า ไว้ใช้สำหรับตกแต่งใบหน้าของคุณ ปากกาความลับ [14] เป็นปากกาที่ใช้เก็บความลับ ผู้ที่จ่าหน้าไว้เท่านั้นจึงจะเห็นข้อความ เหมาะสำหรับเวลาต้องการเก็บความลับ พีระมิดขนาดพกพา เพียงนำไปไว้บนศีรษะ เราสามารถทำงานได้หลายอย่าง ซึ่งจะช่วยในการดึงพลังของพีระมิดออกมา ปีกผีเสื้อหรรษา เพียงติดปีกนี้ไว้ที่กลางหลังเราก็จะโบยบินได้เหมือนผีเสื้อ ปืนกาลเวลา หากยิงคนที่ถูกยิงนั้นจะหายไปตามเวลาที่กำหนด ปืนคล้อยตาม [38] ไม่มีข้อมูล ปืนช็อค [พิเศษ3] สิ่งที่ยิงออกมาจากปืนจะเป็นกระแสไฟฟ้า นิยมใช้ในสถานการณ์คับคัน ปืนดูดความง่วง [38] ถ้าท่านยิงปืนที่คนนอนอยู่ ก็จะตื่นโดยไม่รู้ สดชื่น แต่ถ้ายิงคนเล่น (ในปืนยังมีความง่วงของคนใดคนหนึ่ง) ก็จะหลับทันที (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ฉบับการ์ตูน ตอน โนบิตะกับตำนานยักษ์พฤกษา ปืนปรับสภาพ (หรือลำแสงปรับสภาพ)[พิเศษ4] เมื่อยิงแสงจากปืนนี้ใส่คนจะทำให้คนๆ นั้นไปที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าในน้ำหรืออวกาศ ปืนเปลี่ยนเทหวัตถุ [38] ถ้ายิงที่วัตถุนั้นๆ ก็จะเปลี่ยนไปเลย ปืนฟองสบู่ พอยิงแล้วจะขังคนที่ถูกยิงไว้ในฟองสบู่ แต่ถ้าท่านเข้าไปอยู่ในฟองสบู่ซะเอง ก็เดินเล่นกลางอากาศได้ ปืนแม่นเป้า ถึงจะยิงแย่อย่างไรก็สามารถไปที่เป้าได้อย่างแม่นยำ ปืนวิวัฒนาการบางส่วน [29] ถ้ากดปุ่มควบคุมก็สามารถปรับวิวัฒนาการได้สมใจนึก เช่น ปรักให้สุนัขเหมือนคน ปืนสลับตำแหน่ง [44] เมื่อยิงออกไปแล้ว จะทำให้ตำแหน่งของผู้ยิง สลับกับผู้ที่ถูกยิง สมมุติเช่น ท่านกำลังยืนหัวเราะเยาะเพื่อนของท่านที่โดนผลักตกน้ำ พอเพื่อนของท่านยิงปืนใส่ท่าน ตำแหน่งของทั้งคู่ก็จะสลับสับเปลี่ยนกัน กลายเป็นท่านไปตกอยู่ในน้ำแทน ปืนแห่งโชค [4] มีลักษณะเป็นปืนลูกโม่ มีกระสุนอยู่ 4 ลูก เป็นลูกสีแดง 3 ลูก และลูกสีดำ 1 ลูก หากถูกยิงด้วยลูกสีแดง จะทำให้โชคดีไปตลอดทั้งวัน แต่ตรงกันข้าม ถ้าถูกยิงด้วยลูกสีดำ ก็จะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งวัน เรียกได้ว่าเป็นการวัดดวงในอัตรา 3 ต่อ 1 ทั้งนี้เวลาจะยิงท่านต้องใส่กระสุนให้ครบทั้ง 4 ลูก หากเอาลูกใดลูกหนึ่งออก ปืนก็จะไม่มีฤทธิ์ ปืนใหญ่ที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น [6] ท่านสามารถยิงคนในปืนใหญ่ไปที่ไหนก็ได้ ปืนใหญ่อัดอากาศ [พิเศษ2] เป็นปืนใหญ่ใส่ที่แขน ใช้การอัดตัวของอากาศแทนลูกกระสูนของปืนใหญ่ นิยมใช้ในสถานการณ์คับคัน แป้งดำดิน เมื่อทาแล้วจะสามารถเคลื่อนไหวในดินได้ แต่อย่าให้จมดิน เพราะต้องขุดให้ขึ้นมา", "title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน" }, { "docid": "156977#17", "text": "ก่อนที่สมเดชจะตายเพราะน้ำมือของธีรัชที่ยืนดักฟังสมเดชพูดกับนัทธมน ธีรัชตามล่าเพชรและนัทธมนไป ที่สลัมเพื่อกำจัดทั้งสองเสีย และเมื่อเพชรกับธีรัชเจอหน้ากัน ทั้งสองต่อสู้กันอย่างชุลมุน จนแยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร ปืนของธีรัชหลุดจากมือมาหล่นที่หน้านัทธมน ด้วยความตกใจและรู้สึกสับสนไม่รู้ว่าใครเป็นใคร", "title": "คน 2 คม" }, { "docid": "594296#13", "text": "ขณะที่ทหารที่ถืออาวุธปืนสามารถสร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่ทหารม้าได้จากระยะปานกลาง ในระยะประชิด ทหารม้าสามารถสังหารทหารราบที่ถือปืนคาบศิลาได้หากสามารถทลายรูปขบวนของทหารราบและอยู่ใกล้พอที่จะประจัญบานอย่างชุลมุน เป็นเวลาหลายปีที่รูปขบวนทหารราบมีกำลังพลผสมกันซึ่งถือทั้งอาวุธปืนซึ่งให้อำนาจโจมตีและหอกเพื่อให้การป้องกันพลปืนไฟหรือพลปืนคาบศิลาจากการบุกตีของทหารม้า การคิดค้นดาบปลายปืนทำให้มีการรวมอาวุธสองอย่างนี้เป็นหนึ่งในคริสต์ทศวรรษ 1690 ซึ่งเปลี่ยนทหารราบให้เป็นเหล่าที่สำคัญที่สุดในการทหารสมัยใหม่ตอนต้น ซึ่งใช้ปืนคาบศิลาแบบนกปืนชนวนกระสุนด้วยหินเหล็กไฟแล้วติดดาบปลายปืนอย่างเดียวกันทั้งหมด", "title": "การสงครามสมัยใหม่ตอนต้น" }, { "docid": "255754#3", "text": "ด้วยความที่หาได้ง่ายของดินดำ (ดินปืน) ได้ถูกนำมาใช้ขับดันกระสุนยิงอันเป็นพัฒนาการยุคเริ่มแรกของจรวดเชื้อเพลิงแข็ง วิทยาการจรวดเริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 มีการคิดค้นดินปืนโดยนักพรตชาวจีนในลัทธิเต๋าซึ่งได้ค้นพบผงสีดำในขณะที่กำลังทำการค้นหาตัวยาสำหรับการทำชีวิตให้เป็นอมตะ การค้นพบโดยบังเอิญนี้ได้นำไปสู่การทดลองทำเป็นอาวุธเช่น ระเบิด, ปืนใหญ่, ธนูไฟ สำหรับการก่อความไม่สงบและจรวดขับเคลื่อนธนูไฟ การค้นพบดินปืนอาจเป็นผลผลิตแห่งศตวรรษของการทดลองเล่นแร่แปรธาตุในลัทธิเต๋าซึ่งนักเล่นแร่แปรธาตุได้พยายามที่จะสร้างยาอายุวัฒนะ แห่งความเป็นอมตะที่จะช่วยให้คนที่กินมันจะกลายเป็นอมตะทางร่างกาย ", "title": "จรวด" }, { "docid": "618657#98", "text": "ปืนเรดาร์หรือปืนความเร็วเป็นปืน Doppler ขนาดเล็กที่ใช้ในการตรวจสอบความเร็วของวัตถุ, มันทำงานขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ดอปเพลอร์(English: Doppler effect) ที่นำไปใช้กับ ลำแสงเรดาร์ในการวัดความเร็วของวัตถุที่มันยิงไปถึง. ปืนเรดาร์อาจจะเป็นแบบมือถือหรือติดตั้งบนยานพาหนะ. ไบรซ์ เค บราวน์ คิดค้นปืนเรดาร์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1954.[90]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "901889#2", "text": "ฝ่ายอังกฤษแบ่งเรือรบออกเป็นสองกอง คือกองหน้าของพลเรือโทเนลสันนำโดยเรือหลวงเอเลแฟน (HMS \"Elephant\") เป็นเรือธง และกองหลังของพลเรือโทปาร์เกอร์นำโดยเรือหลวงลอนดอน (HMS \"London\") เป็นเรือธง ระหว่างการรบนั้นเอง พลเรือโทปาร์เกอร์ไม่สามารถมองเห็นสถานการณ์รบได้ถนัดเนื่องจากควันปืนใหญ่คละคลุ้งไปหมด ทำให้ไม่รู้ว่าตอนนี้อังกฤษกำลังได้เปรียบหรือกำลังเพลี่ยงพล้ำ แต่ปาร์เกอร์ดันไปเห็นธงสัญญาณบอกว่าไม่สามารถรุดหน้าได้ จากเรือรบสามของกองเรือเนลสันได้ ทำให้ปาร์เกอร์คิดว่า เนลสันอาจจะอยากถอนกำลังแต่ติดที่ไม่สามารถทำได้โดยไม่มีคำสั่งจากเขา แต่ด้วยความที่ปาร์เกอร์รู้นิสัยของเนลสัน ในเวลาบ่ายโมงครึ่ง ปาร์เกอร์จึงบอกให้นายธงว่า \"\"ชั้นจะให้สัญญาณตามที่เนลสันต้องการ ถ้าเกิดเขาคิดว่าเขายังสู้ไหว เขาก็คงปล่อยผ่านเอง แต่ถ้าไม่ใช่แบบนั้น เขาจะได้มีข้อแก้ตัวและไม่มีใครตำหนิที่เขาถอนทัพ\"\"\nเนลสันสามารถมองเห็นธงสัญญาณถอนทัพของปาร์เกอร์ได้ แต่ก็หันไปบอกกับนายธงของตัวเองว่า \"\"นายก็รู้หนิ ฟอเลย์! ชั้นมีตาแค่ข้างเดียว — ชั้นมีสิทธิที่บางครั้งจะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น\"\" หลังจากนั้น นายพลเรือเนลสันก็ยกกล้องส่องทางไกลขึ้นส่องด้วยตาข้างที่บอด และบอกว่า \"\"ให้ตายสิ ชั้นมองไม่เห็นสัญญาณเลย!\"\" กองเรือแนวหน้าของอังกฤษจึงยังคงสู้ต่อไป มีเพียงเรือหลวงอแมซอน (HMS \"Amazon\") เท่านั้นที่มองไม่เห็นเรือธงของเนลสัน จึงต้องยอมรับคำสั่งถอนกำลังจากเรือปาร์เกอร์ การที่เนลสันเพิกเฉยต่อคำสั่งถอนกำลัง อานุภาพหมู่ปืนใหญ่ของอังกฤษเริ่มเห็นผล การเสียงปืนใหญ่จากกองเรือเดนมาร์กทางทิศใต้เริ่มแผ่วลงจากความเสียหายที่ได้รับ เรือเดนมาร์กจำนวนมากหยุดชะงักการยิงในเวลาบ่ายสอง ทำให้เรืออังกฤษพยายามฝ่าเข้าไปยังท่าเรือ ในไม่ช้า ฝ่ายเดนมาร์กก็ยกธงขาว ตลอดเหตุการณ์นี้ มกุฎราชกุมารเฟรเดริก ผู้สำเร็จราชการแห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ทรงทอดพระเนตรอยู่จากหอบนกำแพงปราสาท", "title": "ยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน" }, { "docid": "886427#0", "text": "ปืนกลมือทอมป์สันเป็นปืนกลมือสัญชาติอเมริกัน ที่ถูกคิดค้นโดยจอห์น ที. ทอมป์สันในปี ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นช่วงที่น่าอัปยศในช่วงยุคต้องห้ามสุรา(Prohibition).ปืนถูกใช้โดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและอาชญากรหรือมาเฟีย ปืนกลมือทอมป์สันยังเป็นที่รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ \"ปืนทอมมี่\", \"แอนนิฮิเลเตอร์\", \"ชิคาโก้ ไทป์ไวร์เตอร์\", \"ชิคาโก้ เปียโน\", \"ชิคาโก้ สไตล์\", \"Chicago Organ Grinder\", \"Trench Broom\", \"Trench Sweeper\", \"เดอะ ช็อปเปอร์\", และคำว่า \"เดอะ ทอมป์สัน\"", "title": "ปืนกลมือทอมป์สัน" }, { "docid": "634892#1", "text": "สนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งร่างขึ้นโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ห้ามไรชส์แวร์แต่งตั้งนายทหารยศนายพล, ห้ามมีปืนใหญ่ขนาดเกินกว่า 105 มม, ห้ามมีรถหุ้มเกราะ, ห้ามมีเรือดำน้ำ, ห้ามมีเรือรบขนาดใหญ่ ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ ไรชส์แวร์จึงเปรียบเสมือนกองกำลังป้องกันตนเองที่ไม่สามารถรุกรานใครได้ ทำได้เพียงรักษาความสงบในประเทศและตามแนวชายแดนเท่านั้น ต่อมาเมื่อนาซีเรืองอำนาจและฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายทิ้ง ฮิตเลอร์ได้มีการยกระดับไรชส์แวร์ขึ้นเป็นกองทัพแบบเต็มรูปแบบที่เรียกว่า \"แวร์มัคท์\" ในปี 1935", "title": "ไรชส์แวร์" }, { "docid": "618657#49", "text": "เครื่องทำหิมะคือการผลิตหิมะเทียมด้วยการบังคับให้น้ำและแรงดันอากาศผ่าน\"ปืนหิมะ\" หรือ \" ปืนใหญ่หิมะ\" บนลานสกี, ส่วนใหญ่จะใช้ที่สกีรีสอร์ทเพื่อเสริมหิมะธรรมชาติ. เครื่องนี้จะช่วยให้สกีรีสอร์ทในการปรับปรุงความน่าเชื่อถือของหิมะปกคลุมและขยายฤดูกาลสกีของพวกเขา. ค่าใช้จ่ายที่สูงในการผลิตของเครื่องทำหิมะต้องใช้อุณหภูมิที่ต่ำ. อุณหภูมิที่เป็นเกณฑ์สำหรับเครื่องทำหิมะจะลดลงเมื่อความชื้นลดลง. หิมะที่ทำจากเครื่องครั้งแรกร่วมคิดค้นโดยวิศวกรสาม คนคือ Art Hunt, Dave Richey และ Wayne Pierce แห่งมิลฟอร์ด, คอนเนตทิคัทเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1950. สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรของพวกเขาคิอ\"ปืนใหญ่หิมะ\"ต้วแรกที่ใช้ ท่อรดน้ำในสวน, คอมเพรสเซอร์ 10 แรงม้าและหัวฉีดปืนสเปรย์ซึ่งผลิตหิมะได้ประมาณ 20 นิ้ว. [53]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "280056#24", "text": "การปะทะระลอกแรก กองทัพสวีเดนระดมยิงปืนใหญ่จากฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำเดากาวาใส่ค่ายกองทัพฝ่ายพันธมิตรอย่างไม่ทันให้ได้ตั้งตัว ทันทีที่ควันปืนเริ่มสลายออกไป กองทัพแซกซอนก็เริ่มรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วเปิดกำลังเข้าจู่โจมกองทัพสวีเดนกลับทันที ในขณะที่กองทัพสวีเดนภายใต้พระบัญชาแห่งพระเจ้าชาลส์ที่ 12 ก็ยังคงเดินหน้าเข้าปะทะอย่างไม่หวั่นเกรงและไม่มีใครถอยกลับ หลังจากการปะทะระลอกแรกผ่านไปชั่วครู่ กองทัพสวีเดนก็เข้าโจมตีฝ่ายตรงข้ามเป็นระลอกที่สองอีกครั้ง กระทั่ง 2 ชั่วโมงผ่านไป กองทัพสวีเดนก็สามารถเอาชนะกองทัพพันธมิตรและข้ามแม่น้ำเดากาวาไปได้สำเร็จ", "title": "มหาสงครามเหนือ" }, { "docid": "196537#318", "text": "พอกลับไปรวมตัว นิสัยเปลี่ยนไปเป็นคนละคน ไม่สนใจพวกพ้อง ใครทำงานไม่ได้ตามกำหนดก็ฆ่าทิ้ง อยู่ครึ่งแรกของGL 1 ปีครึ่งผ่านไป พอทราบเรื่อง 7 เทพโจรสลัดจึงคิดจับแฮนค็อกเป็นตัวประกัน กับยิงปืนใหญ่ถล่มRL ที่อาศัยของเผ่ามังกรฟ้า แต่มาผิดที่ คือเกาะที่ลูฟี่ฝึก จึงกับพี่น้องกอร์กอนไปแทน ตนสู้ชนะลูฟี่มา 2 ครั้ง สู้แพ้ลูฟี่มาท้าอีกครั้ง เก็เข้าใจกับขอโทษพี่ชาย ใช้ปืนใหญ่ของตน ยิงออกไปจนล้มลง พี่น้องบันดี้เสียชีวิตที่เรือเพราะถูกเรือรบกองทัพเรือยิงถล่ม", "title": "รายชื่อตัวละครในวันพีซ" }, { "docid": "140040#1", "text": "ในสมัยก่อนอาวุธของมนุษย์ที่ใช้ป้องกันตัวได้แก่ ธนู หน้าไม้ ค้อน กระบอง หอก ฯลฯ ซึ่งเป็นอาวุธประเภทของมีคมหรือประเภทใช้กำลังทุบตี ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักคิดค้นการทำดินปืนจากดินประสิวขึ้น จึงได้พัฒนาทำดินปืนมาใส่กระบอกเพื่อให้เกิดแรงระเบิดผลักดันลูกกระสุนให้วิ่งไปยังเป้าหมายและกลายมาเป็นปืนแก๊ปและปืนประเภทต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนำไม้ดู่หรือไม้แดงมาเหลาให้เข้ารูปแล้วเจาะสำหรับใส่แหนบโกร่งไกถึงช่วงรอยต่อกับเหล็กแป๊ปกระบอกปืน ปลายกระบอกปืนใช้เหล็กอัดลูก จะมีจุดศูนย์เล็งเหล็กที่ใช้อัดปืนเวลายิง ให้ใช้เหล็กหรือไม้สามหุน พานท้ายปืนใช้เขาควายประกบเข้า", "title": "ปืนแก๊ป" } ]
4034
มหาภารตะ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศใด ?
[ { "docid": "31531#0", "text": "มหาภารตะ (Sanskrit: महाभारत มหาภารต) บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า ภารตะ เป็นหนึ่งในสอง ของ มหากาพย์ ที่ยิ่งใหญ่ของ อินเดีย (มหากาพย์อีกเรื่องคือ รามายณะ) ประพันธ์เป็นโศลกภาษาสันสกฤต มหากาพย์เรื่องนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ \"อิติหาส\" (แปลตามศัพท์ว่า \"ประวัติศาสตร์\") และเป็นส่วนหนึ่งทึ่สำคัญยิ่งของ เทพปกรณัมในศาสนาฮินดู", "title": "มหาภารตะ" } ]
[ { "docid": "266988#4", "text": "เขา ได้กล่าวชม มหาภารตะ ถึงความยึ่งใหญ่ของมหากาพย์ นี้ ใน หนังหนังสือพบถิ่นอินเดีย คือ", "title": "ชวาหะร์ลาล เนห์รู" }, { "docid": "317172#0", "text": "นางอุตตรา เป็นตัวละครในมหาภารตะ เป็นพระธิดาของท้าววิราฏแห่งมัสตยะ และเป็นชายาของเจ้าชายอภิมันยุ มีโอรสด้วยกันคือ เจ้าชายปริกษิต", "title": "นางอุตตรา (มหาภารตะ)" }, { "docid": "31531#10", "text": "มหาภารตยุทธ์ แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับของ ฐากูรราเชนทรสิงห์ โดย ร.อ.หลวงบวรบรรณรักษ์ (นิยม รักไทย) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2460 สงครามภารตะคำกลอน แต่งเป็นกลอนสุภาพ โดย พระยาอุปกิตศิลปสาร เนื่องในโอกาสสมโภชพระนครครบ 150 ปี พ.ศ. 2475 มหาภารตะยุทธ เป็นการเล่าเรื่องมหาภารตะโดยสังเขป แบ่งเนื้อหาเป็นบรรพต่าง ๆ ตามเรื่องเดิม เรียบเรียงโดย กรุณา - เรืองอุไร กุศลาศัย ศึกมหาภารตะ เป็นการเล่าเรื่องมหาภารตะในรูปแบบการ์ตูน ผลงานของอารีเฟน ฮะซานี เรื่องเล่าจากมหากาพย์มหาภารตะ เป็นหนังสือปกแข็งเรียบเรียงโดย วีระ ธีรภัทร จัดพิมพ์ 4 เล่ม คือ กำเนิดพี่น้องเการพ-ปาณฑพ เหตุแห่งสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร สงครามบนทุ่งกุรุเกษตร และ อวสานสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร เรื่องเล่าจากมหากาพย์มหาภารตะ (ซีดี) เป็นการรวบรวมเรื่องมหาภารตะที่ วีระ ธีรภัทร เล่าผ่านทางรายการวิทยุ ปัจจุบันมี 64 แผ่นและยังไม่มีกำหนดทำเพิ่ม ตั้งแต่เริ่มเรื่องจนสงครามจบในวันที่สิบแปด โดยมีการเล่าเรื่องแทรกและเกร็ดต่างๆแทรกอยู่เป็นระยะ", "title": "มหาภารตะ" }, { "docid": "129737#0", "text": "พระกฤษณะ () เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง \"มหาภารตะ\" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณะ", "title": "พระกฤษณะ" }, { "docid": "344389#0", "text": "มหาภารตะ (เทวนาครี:महाभारत (टीवी धारावाहिक) อังกฤษ: Mahabharat) เป็นละครอินเดียที่เคยมาฉายที่ ช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นการเล่าของมหาภารตะ ทั้งแต่ต้นเรื่อง จนถึงจบเรื่อง และ กล่าวถึง ภควัทคีตา ที่ พระกฤษณะ แสดงให้กับ อรชุน ให้ สนามรบ ตอน สงครามทุ่งกุรุเกษตร ละครอินเดียนี้ นำแสดงโดย นิทิช ภารทวาช", "title": "มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531)" }, { "docid": "344468#0", "text": "นิตีศ ภารทวาช () เป็นนักแสดงละครทางโทรทัศน์ของอินเดีย ละครเด่น ๆ ของเขา คือ มหาภารตะ และ พระมหาวิษณุ ผู้หยั่งรู้ ซึ่งบทบาทการแสดงที่ทำให้เขาภูมิใจและมีชื่อเสียงจนทุกคนจำเขาได้จนถึงทุกวันนี้ก็คือ บทบาทที่เขา แสดงเป็น พระกฤษณะ ในเรื่องมหาภารตะ", "title": "นิตีศ ภารทวาช" }, { "docid": "867575#0", "text": "มหาภารตะ () เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามมหาภารตะ ระหว่างราชวงศ์เการพ กับราชวงศ์ปาณฑพ ละครเรื่องสร้างขึ้นโดยรีเมคจากละครเรื่อง มหาภารตะ ที่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2531 นำแสดงโดย ซอรับห์ ราจ เจน, ชาเฮียร์ ชีคห์, พูจา ชาร์มา, อฮัม ชาร์มา ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5เป็นตอนแรกในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558", "title": "มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)" }, { "docid": "930614#0", "text": "นางโมหิณี (, \"\") เป็นอวตารที่เป็นสตรีปางเดียวของพระวิษณุ นางโมหิณีได้รับการกล่าวถึงในระบบความเชื่อของฮินดูในมหากาพย์มหาภารตะซึ่งไปแย่งเอาน้ำอัมฤทธิ์กลับคืนจากพวกอสุราเพื่อคืนแก่เทพเทวา นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานอื่นอีก อาทิเช่น การแต่งงานกับพระศิวะและมีบุตรเป็นศัตรา (IAST Śāstā) รวมถึงการทำลายนนทกและกำเนิดหนุมานในเรื่องรามเกียรติ์", "title": "นางโมหิณี" }, { "docid": "31531#3", "text": "มหาภารตะประกอบด้วยบรรพ (อ่านว่าบับ หรือ บับ-พะ แปลว่า ภาคหรือบท) ทั้งหมด 18 บรรพ ดังนี้", "title": "มหาภารตะ" }, { "docid": "964903#1", "text": "มหาภารตะ กล่าวถึงสงครามระหว่าง ตระกูลปาณฑพ ซึ่งประกอบไปด้วยพี่น้อง 5 คน พร้อมด้วยพระนางเทราปตี ชายาของพี่น้องทั้งห้า และตระกูลเการพ ซึ่งมีพี่น้องร้อยคน สงครามครั้งยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นจากความละโมบของกษัตริย์ตระกูลเการพ ที่คิดจะยึดครองดินแดนไว้แต่เพียงฝ่ายเดียว จึงออกอุบายหลอก ยุธิษฐิระ พี่ใหญ่แห่งตระกูลปาณฑพ ผู้ซึ่งหลงใหลในการพนัน ด้วยเกมทอยลูกเต๋าจนเสียพนันทรัพย์สมบัติและดินแดนทั้งหมดที่มีอยู่ รวมถึงการถูกเนรเทศให้ไปอาศัยอยู่ในป่าห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนเป็นเวลา 30 ปี โดยตระกูลเการพสัญญาว่าจะคืนดินแดนให้เมื่อครบกำหนด แต่เมื่อถึงเวลา 13 ปีทางตระกูลเการพกลับผิดสัญญา จึงทำให้เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรม และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง เส้นแบ่งระหว่างความดีกับความชั่วกลับเลือนหายไป คนดีก็ไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง ส่วนคนชั่วก็ไม่ได้ชั่วไปหมดทุกอย่าง เป็นเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? พบกับคำตอบได้ในละครเรื่อง \"มหาภารตะ\"", "title": "มหาภารตะ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2556)" }, { "docid": "173996#0", "text": "ฆโฏตกัจ () เป็นตัวละครในเรื่องมหาภารตะ เป็นโอรสของภีมะ กับนางรากษสหิฑิมพี ซึ่งตำนานกล่าวไว้ว่าแรกเกิดของฆโฏตกัจนั้นได้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ทันที เนื่องจากในหลายปีก่อนนั้นได้มีฤๅษีรากษสบำเพ็ญตบะอยู่หลายล้านปี พระศิวะเห็นใจจึงลงมาให้พร ซึ่งก็ได้ขอพรจากพระศิวะมากมาย และหนึ่งในพรนั้นก็คือขอให้ลูกรากษสที่เกิดมาทุกตนได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ทันทีหลังที่ได้กำเนิดมา", "title": "ฆโฎตกัจ" }, { "docid": "16614#1", "text": "ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน", "title": "นาค" }, { "docid": "599074#2", "text": "ทรงปรากฏในภควัทคีตาและมหาภารตะในพระนาม พระแม่สัตยาภามาพระชายารองของพระกฤษณะและพระแม่อัลดาลซึ่งเป็นที่รู้จักในภาคใต้ของอินเดีย นอกจากนี้เทพนารีหลายองค์ได้มีการกำเนิดคล้ายกับนางสีดา เช่น เอลกูลศรีมหามาลา หรือ พระแม่ปัทมาวดี", "title": "พระภูเทวี" }, { "docid": "31531#23", "text": "อภิปรายเรื่องมหาภารตะฉบับภาษาอินโดนีเซีย", "title": "มหาภารตะ" }, { "docid": "31531#20", "text": "มหาภารตะฉบับย่อ (in English)", "title": "มหาภารตะ" }, { "docid": "31531#24", "text": "หมวดหมู่:มหากาพย์ หมวดหมู่:มหาภารตะ หมวดหมู่:วรรณคดีภาษาสันสกฤต หมวดหมู่:บทความที่ขาดกล่องข้อมูล", "title": "มหาภารตะ" }, { "docid": "130015#2", "text": "2. สมัยพระเวท (ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน (Indo-Aryan) ซึ่ง อพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์", "title": "ประวัติศาสตร์อินเดีย" }, { "docid": "10347#3", "text": "ไม่มีหลักฐานข้อมูลใด ๆ ในงานของนักประพันธ์ที่แสดงว่าควรจะได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวอย่างแรกในเรื่องของการเดินทางข้ามเวลา เนื่องจากจำนวนของผลงานการเขียนของนักประพันธ์ในช่วงยุคต้น ๆ มีองค์ประกอบที่คลุมเครือไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางในเรื่องของการเดินทางข้ามเวลา ในนิทานพื้นบ้านโบราณและตำนานที่เกี่ยวข้องบางอย่างเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คล้ายกับการเดินทางข้ามเวลาไปในอนาคต ตัวอย่างเช่น ในตำนานของศาสนาฮินดู, มหากาพย์เรื่องมหาภารตะกล่าวถึงเรื่องราวของกษัตริย์ ริไวตะ (Revaita), ผู้ซึ่งได้เดินทางไปสวรรค์เพื่อพบกับพระพรหมผู้สร้างโลกและก็ต้องตกใจที่รู้ว่ากาลเวลาได้ผ่านไปนานมากเมื่อเขากลับมายังโลก [4][5]", "title": "การเดินทางข้ามเวลา" }, { "docid": "31531#22", "text": "บทความเกี่ยวกับมหาภารตะ (in English)", "title": "มหาภารตะ" }, { "docid": "31531#9", "text": "งานแปลหรือดัดแปลงเนื้อหาจากมหาภารตะทั้งหมด", "title": "มหาภารตะ" }, { "docid": "908700#0", "text": "นอกจากนี้ มหาภารตะ ยังสามารถหมายถึง:", "title": "มหาภารตะ (แก้ความกำกวม)" }, { "docid": "91675#2", "text": "ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 ถุนชัถถุ รมนุชัน เอซุถาชัน เขียนเอกสารฉบับแรกที่ใช้อักษรครันถะ-มาลายาลัม ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของภาษามาลายาลัม และใช้ในการแปลรามายณะและมหาภารตะมาเป็นภาษามาลายาลัม", "title": "ภาษามาลายาลัม" }, { "docid": "31531#8", "text": "ในประเทศไทยมีผลงานเกี่ยวกับมหาภารตะในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้", "title": "มหาภารตะ" }, { "docid": "964903#0", "text": "มหาภารตะ () เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่กล่าวถึงสงครามมหาภารตะ ระหว่างราชวงศ์เการพ กับราชวงศ์ปาณฑพ กำกับโดย อมาน ข่าน มีเค้าโครงเรื่องมาจาก วรรณกรรมภาษาสันสกฤตเรื่อง มหาภารตะ ให้เสียงพากย์โดยนักแสดงชั้นนำของอินเดียมากมาย อาทิ อมิตาภ พัจจัน, อชัย เทวคัน, วิทยา พาลัน, ซันนี่ ดอล, อนิล คาปัวร์, แจ็กกี ชรอฟฟ์, มาโนช บัจพายี, ธิบดี พาวัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกจำหน่ายในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ ตรงกับวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือว่าลงทุนสร้างสูงที่สุดในวงการภาพยนตร์แอนิเมชันของประเทศอินเดีย", "title": "มหาภารตะ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2556)" }, { "docid": "493301#4", "text": "เชิงเขาไกรลาส เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสายของภูมิภาคแห่งนี้ ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญ คือ \"ทะเลสาบมานสโรวระ\" หรือ \"ทะเลสาบมานัสสะ\" อยู่ทางเหนือของเขาไกรลาส ที่เชื่อกันว่า คือ \"สระอโนดาต\" ในป่าหิมพานต์ เชื่อกันว่าเป็นสถาน ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี ทะเลสาบมานัส ได้ถูกอ้างอิงถึงในรามายณะและมหาภารตะ ที่ระบุว่า \"ทะเลสาบมานัสอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้แต่ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกายหรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ\"", "title": "เขาไกรลาส" }, { "docid": "867575#1", "text": "มหาภารตะ กล่าวถึงสงครามระหว่าง ตระกูลปาณฑพ ซึ่งประกอบไปด้วยพี่น้อง 5 คน พร้อมด้วยพระนางเทราปตี ชายาของพี่น้องทั้งห้า และตระกูลเการพ ซึ่งมีพี่น้องร้อยคน สงครามครั้งยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นจากความละโมบของกษัตริย์ตระกูลเการพ ที่คิดจะยึดครองดินแดนไว้แต่เพียงฝ่ายเดียว จึงออกอุบายหลอก ยุธิษฐิระ พี่ใหญ่แห่งตระกูลปาณฑพ ผู้ซึ่งหลงใหลในการพนัน ด้วยเกมทอยลูกเต๋าจนเสียพนันทรัพย์สมบัติและดินแดนทั้งหมดที่มีอยู่ รวมถึงการถูกเนรเทศให้ไปอาศัยอยู่ในป่าห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนเป็นเวลา 30 ปี โดยตระกูลเการพสัญญาว่าจะคืนดินแดนให้เมื่อครบกำหนด แต่เมื่อถึงเวลา 13 ปีทางตระกูลเการพกลับผิดสัญญา จึงทำให้เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรม และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง เส้นแบ่งระหว่างความดีกับความชั่วกลับเลือนหายไป คนดีก็ไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง ส่วนคนชั่วก็ไม่ได้ชั่วไปหมดทุกอย่าง เป็นเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? พบกับคำตอบได้ในละครเรื่อง \"มหาภารตะ\"", "title": "มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)" }, { "docid": "31531#2", "text": "มหาภารตะ เป็นเรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตรของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม ความดีและความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้", "title": "มหาภารตะ" }, { "docid": "830635#0", "text": "นางหิฑิมพี () ตัวละครฝ่ายหญิงจาก มหากาพย์มหาภารตะ เป็นมเหสีอีกองค์หนึ่งของ ภีมะ พี่น้องคนที่ 2 ในบรรดาพี่น้อง 5 คนจากฝ่าย ปาณฑพ โดยนางเป็นพวกรากษสหรือยักษ์ประเภทหนึ่งซึ่งนางได้ให้กำเนิดบุตรชายให้กับภีมะ 1 คนคือ ฆโฎตกัจ โดยใน สงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร นางหิฑิมพีได้ส่งฆโฎตกัจบุตรชายไปร่วมรบกับภีมะผู้เป็นบิดาในกองทัพฝ่ายปาณฑพด้วย", "title": "นางหิฑิมพี" }, { "docid": "31531#11", "text": "เรื่องย่อยในมหาภารตะที่มีการประพันธ์ใหม่ในภาษาไทย อนุศาสน์ภควัทคีตา", "title": "มหาภารตะ" } ]
4035
รัชกาลที่ 2มีพระนามว่าอย่างไร ?
[ { "docid": "4232#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสวยราชสมบัติเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2352 - 2367 ขณะมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา", "title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย" } ]
[ { "docid": "42043#4", "text": "ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี พระองค์นับเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 เพียง 1 ใน 4 พระองค์ที่ได้ทรงกรม และเป็นเพียง 1 ใน 2 พระองค์ที่ทรงกรมขณะมีพระชนม์ชีพ และพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาในรัชกาลที่ 7", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี" }, { "docid": "235783#5", "text": "กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ นั้นได้จัด 1 กองร้อยปืนใหญ่ยิงสลุต ในขั้นตอนถวายพระพร โดยใช้ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีราบ แบบ 80 ขนาด 75 มิลลิเมตร จำนวน 4 กระบอก ซึ่งปรับปรุงดัดแปลงมาจากปืนใหญ่ที่ผลิตจากบริษัทโบฟอร์ด ราชอาณาจักรสวีเดน ที่เข้าประจำการเป็นปืนใหญ่ของกองพล เมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยทำการยิงตามจังหวะของเพลงสรรเสริญพระบารมีจำนวน 21 นัด\nสมัยก่อนการยิงสลุตในประเทศไทยยังไม่มีข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์อย่างไร เพิ่งจะมีข้อบังคับในการยิงสลุตเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2448 เรียกว่า “ข้อบังคับว่าด้วยการยิงสลุต ร.ศ.125” แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การยิงสลุตหลวง และการยิงสลุตเป็นเกียรติแก่ข้าราชการ ครั้นถึงรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชกำหนดการยิงสลุตขึ้นใหม่ คือ การยิงสลุต ร.ศ.131 (พ.ศ. 2455) กำหนดให้มีจำนวนปืนไม่ต่ำกว่า 4 กระบอก ซึ่งมีขนาดลำกล้องไม่เกิน 120มิลลิเมตร ห้ามยิงตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกไปแล้วจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น แบ่งประเภทการยิงสลุตไว้ 3 ประเภท คือพระราชกำหนดยิงสลุต ร.ศ.131 (พ.ศ. 2455) ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2483 ดังนั้นประเพณียิงสลุตจึงได้อวสานลงเพียงแค่นั้น แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง ทางราชการจึงรื้อฟื้นประเพณียิงสลุตขึ้นมาใหม่ ซึ่งเริ่มยิงสลุตครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2491 เนื่องในพระราชพิธีวันเฉลิมพระชนมพรรษาของรัชกาลที่ 9 ดังนั้นประเพณีการยิงสลุตจึงสืบทอดจากนั้นมาจนทุกวันนี้ โดยกำหนดข้อบังคับไว้โดยสรุปดังนี้ กองทหารซึ่งมีหน้าที่ยิงสลุต เฉพาะเมื่อรับงานหนึ่งๆ การยิงสลุต ให้ใช้ปืนไม่ต่ำกว่า 2 กระบอก โดยปกติห้ามมิให้มีการยิงสลุตในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์อัสดงคตไปจนถึงเวลาธงขึ้น คือ 8 นาฬิกา เว้นแต่เป็นการพิเศษที่มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมเฉพาะคราว", "title": "การยิงสลุต" }, { "docid": "927564#0", "text": "เนื้อหาในหน้านี้เป็นบัญชีรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาประเภทต่างๆ ตามที่ปรากฏหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงแต่รัชกาลปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่พระราชทานตามพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสสริยาภรณ์สำหรับความดีความชอบเหรียญดุษฎีมาลา ปีมะเมีย จัตวาศก ศักราช 1244 และระยะที่พระราชทานตามพระราชบัญญัติเหรียญดุษฎีมาลา พุทธศักราช 2484ตามพระราชบัญญัติเหรียญดุษฎีมาลา พุทธศักราช 2484 ได้กำหนดให้ปรับเปลี่ยนลักษณะเหรียญบางส่วน และพระราชทานเฉพาะเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เท่านั้น", "title": "รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา" }, { "docid": "369795#0", "text": "หอพระนาก ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของพระอุโบสถ ใกล้กับพระวิหารยอดตรงกันข้ามกับ หอพระมณเฑียรธรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นในระยะที่ 2 ของการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อขยายเขตพระระเบียงออกไปทางด้านทิศเหนือ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อและแผลงด้วยนาก ซึ่งอัญเชิญมาจากพระนครศรีอยุธยา และถือพระนากเป็นพระประธานในการ “เปตพลี” (การอุทิศกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ลักษณะของหอพระนากในรัชกาลนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีรูปร่างอย่างไร", "title": "หอพระนาก" }, { "docid": "318008#0", "text": "เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ มีพระนามเต็มว่า เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมาอุบลราชธานีบาล พระนามเดิมว่า เจ้าหน่อคำ ทรงเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่ ๕ ในฐานะเจ้าประเทศราชต่อจากพระพรหมราชวงศา (กุคำ สุวรรณกูฎ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่ ๔ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เดิมมีพระยศในตำแหน่งคณะอาญาสี่เป็นที่เจ้าราชวงษ์นครจำปาศักดิ์ ในสมัยเจ้าราชบุตร (โย่) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ทรงเป็นต้นสกุลพระราชทาน ๒ สกุลคือ พรหมโมบล และ เทวานุเคราะห์", "title": "เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์" }, { "docid": "18659#1", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ มีพระราชปรารภว่า ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงหล่อพระศรีสรรเพชญ์ และพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อๆ มา ทรงหล่อพระรูปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้ทรงเป็นบรมกษัตริย์ขึ้นไว้สักการบูชา ด้วยอาศัยปรารภเหตุทั้งสองอย่างนี้ จึงทรงพระราชศรัทธาสร้างพระพุทธรูปใหญ่ หุ้มด้วยทองคำ เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 เมื่อทรงปรึกษาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังผนวช จึงมีพระราชดำริว่าพระพุทธรูปความมีความสูงในราวหกศอก จึงได้ทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง อย่างจักรพรรดิราช 2 องค์ จารึกพระนามองค์หนึ่งว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช จักรพรรดินารถบพิตร อีกพระองค์หนึ่งจารึกพระนามว่า พระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนารถธรรมิกราชบพิตร ซึ่งเดิมเรียกว่า แผ่นดินต้น แผ่นดินกลาง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงหวั่นวิตกว่าประชาชนจะเรียกแผ่นดินของพระองค์ว่า \"แผ่นดินปลาย\" ซึ่งหมายถึงสิ้นสุดสมัยรัตนโกสินทร์ อันจะเป็นอัปมงคล จึงมีพระบรมราชโองการให้ตั้งนามแผ่นดินตามพระพุทธปฏิมากรทั้ง 2 พระองค์ แผ่นดินต้นให้ใช้ว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แผ่นดินกลางให้ใช้ว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนสร้อยพระนามเป็น “นภาลัย”", "title": "พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย" }, { "docid": "42383#11", "text": "มีเกร็ดเล่ากันว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง หรือพระนามโดยย่อว่า สมเด็จพระพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 6 และ 7 นั้น เนื่องจากทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีมาแต่รัชกาลก่อน ทรงครองพระอิสริยยศสูงสุดเหนือบรรดาพระมเหสีทั้งปวง ประกอบกับทรงเป็น \"น้องเล็ก\" มาก่อนจึงค่อนข้างแต่จะทรงเอาพระราชหฤทัยพระองค์เอง แต่สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีซึ่งทรงครองพระราชอิสริยยศสมเด็จพระอัครมเหสีมาแต่เดิม และพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ทั้ง 2 พระองค์นั้นในฐานะพระเชษฐภคินี (สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าฯ พระบรมราชเทวีนั้น เป็นพระโสทรเชษฐภคินี คือทรงร่วมพระราชบิดา-มารดาเดียวกันกับสมเด็จพระพันปีหลวง ส่วนพระนางเจ้าฯ พระราชเทวีนั้น เป็นพระเชษฐภคินีร่วมพระราชบิดา แต่ต่างพระมารดากันกับสมเด็จพระพันปีหลวง) ก็ทรงประทานอภัยให้เสมอ ในปลายรัชกาลที่ 6 ก่อนที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ จะเสด็จสวรรคตไม่นานนั้น สมเด็จพระเชษฐภคินีทั้ง 2 พระองค์ก็ได้เสด็จไปเยี่ยมพระอาการประชวรสมเด็จพระพันปีหลวง ณ พระราชวังพญาไท อันเป็นพระราชสำนักของสมเด็จพระพันปีหลวงตั้งแต่สิ้นรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต สมเด็จพระพันปีหลวงนั้นถึงกับทรงลงไปกราบถวายบังคมแทบเบื้องพระบาทสมเด็จพระเชษฐภคินีทั้ง 2 พระองค์ ขอพระราชทานอภัยโทษ แล้ว 3 พระองค์พี่น้องก็ทรงกอดกันทรงพระกันแสง จนนางพระกำนัล นางสนองพระโอษฐ์ที่อยู่แถวนั้นต้องร้องไห้ตามๆ กันไป", "title": "สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี" }, { "docid": "170636#19", "text": "พระอุโบสถของวัดก่อเป็นอิฐสูงพ้นดินประมาณ 2 ศอก เอาเสาไม้แก่นเป็นเสาประธาน หลังคามุงกระเบื้อง ฝาผนังเอาไม้สักเป็นฝารอบ มีบานประตูหน้าต่าง แต่กุฎีนั้นทำด้วยเสาไม้แก่น มีหลังคามุงบัง สัณฐานเช่นเรือนโบราณ ครั้นต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เมื่อเจ้าจอมแว่นถึงแก่กรรมแล้ว ได้มีญาติผู้หญิงของเจ้าจอมแว่นท่านหนึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายในมีนามว่า อิน ได้มีจิตศรัทธาจัดการปฏิสังขรณ์วัดขรัวอินเสียใหม่ทั้งวัด การปฏิสังขรณ์คราวนี้ได้รื้อเอาสถานที่ของเก่าออกทิ้งทั้งหมดแล้วสร้างใหม่ โดยสร้างเป็นอุโบสถขนาดเล็ก ก่ออิฐปูนขึ้นใหม่ เสนาสนะก่อด้วยอิฐปูนแต่เครื่องบนใช้ไม้ไผ่สานเป็นแกน เสร็จแล้วได้กราบถวายบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) พระองค์จึงทรงดำริว่า \"วัดขรัวอินนี้แปลก สมภารเจ้าวัดชื่อ อิน ผู้ศรัทธาปฏิสังขรณ์ก็ชื่อ อิน ไม่แต่เท่านั้น ชาวบ้านก็อุตส่าห์ให้เรียกว่า วัดขรัวอิน เสียอีก\" จึงได้พระราชทานนามให้วัดนี้ใหม่ว่า วัดดาวดึงษาสวรรค์ อันหมายถึง สวรรค์ชั้นที่พระอินทร์สถิตย์อยู่[20]", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "7821#27", "text": "รายนามเจ้าเมืองศรีนครลำดวน, เจ้าเมืองขุขันธ์, ข้าหลวงกำกับราชการ, ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์รายนามวาระการดำรงตำแหน่ง1. พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (พระยาขุขันธ์ภักดี-พระไกรภักดีศรีนครลำดวน-หลวงแก้วสุวรรณ หรือตากะจะ) ผู้ก่อตั้งเมือง เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก พ.ศ. 2302 – 2321 (รัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย – รัชกาลพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยกรุงธนบุรี)2. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (หลวงปราบ/เชียงขัน) เจ้ามืองขุขันธ์พ.ศ. 2321 – 2325 (รัชกาลพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยกรุงธนบุรี)3. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวบุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์พ.ศ. 2325 – 2369 (รัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช – รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)4. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (พระสังฆะ บุตรเจ้าเมืองสังฆะ) เจ้าเมืองขุขันธ์พ.ศ. 2369 – พ.ศ. 2393 (รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)5. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวใน หรือ พระยาภักดีภูธรสงคราม) เจ้าเมืองขุขันธ์พ.ศ. 2393 (รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)6. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวนวล หรือ พระแก้วมนตรี) เจ้าเมืองขุขันธ์พ.ศ. 2393 (รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)7. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวกิ่ง หรือ พระภักดีภูธรสงคราม) เจ้าเมืองขุขันธ์พ.ศ. 2393 – พ.ศ. 2395 (รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว – รัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) 8. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าววัง หรือ พระวิชัย) เจ้าเมืองขุขันธ์พ.ศ. 2395 – พ.ศ. 2426 (รัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว – รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) 9. พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา ขุขันธิน ต้นสกุล ขุขันธิน นามสุกลพระราชทาน [21]) เจ้าเมืองขุขันธ์ และผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์(คนแรก)พ.ศ. 2426 – พ.ศ. 2450 (รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) หลวงเสนีย์พิทักษ์ ข้าหลวงกำกับราชการเมืองขุขันธ์(คนที่ 1) ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าเมืองขุขันธ์พ.ศ. 2428 – พ.ศ. 2431 (รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)พระยาบำรุงบุรประจันต์ (ท้าวจันดี หรือ พระรัตนโกศา) ข้าหลวงกำกับราชการเมืองขุขันธ์(คนที่ 2) ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าเมืองขุขันธ์พ.ศ. 2432 – พ.ศ. 2435 (รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)พระศรีพิทักษ์ (ท้าวหว่าง) ข้าหลวงกำกับราชการเมืองขุขันธ์(คนที่ 3) ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าเมืองขุขันธ์พ.ศ. 2436 – พ.ศ. 2450 (รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "461002#0", "text": "วัดดาวดึงษาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 872 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยเจ้าจอมแว่น พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑ สร้างขึ้นทำด้วยเสาไม้แก่น พระอุโบสถก่ออิฐสูงพ้นพื้นดินประมาณ 2 ศอก ชาวบ้านเรียกว่า “วัดขรัวอิน” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ข้าราชการฝ่ายในชื่ออิน ซึ่งเป็นญาติของเจ้าจอมแว่นได้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ เหตุด้วยผู้ครองวัดและผู้ปฏิสังขรณ์วัดมีนามเดียวกันว่า “อิน” พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงพระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดดาวดึงษาสวรรค์”", "title": "วัดดาวดึงษาราม" }, { "docid": "74670#0", "text": "นี่คือรายพระนามรายนามพระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย", "title": "รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 2" }, { "docid": "4219#8", "text": "ลำดับรูปพระนามขึ้นครองราชย์สิ้นสุดการครองราชย์รัชกาลที่ 1พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช6 เมษายน พ.ศ. 23257 กันยายน พ.ศ. 2352รัชกาลที่ 2พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย7 กันยายน พ.ศ. 235221 กรกฎาคม พ.ศ. 2367รัชกาลที่ 3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว21 กรกฎาคม พ.ศ. 23672 เมษายน พ.ศ. 2394รัชกาลที่ 4พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว6 เมษายน พ.ศ. 23941 ตุลาคม พ.ศ. 2411รัชกาลที่ 5พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว1 ตุลาคม พ.ศ. 241123 ตุลาคม พ.ศ. 2453รัชกาลที่ 6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว23 ตุลาคม พ.ศ. 245326 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468รัชกาลที่ 7พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว26 พฤศจิกายน พ.ศ. 24682 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478) (สละราชสมบัติ)รัชกาลที่ 8พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478)9 มิถุนายน พ.ศ. 2489รัชกาลที่ 9พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช9 มิถุนายน พ.ศ. 248913 ตุลาคม พ.ศ. 2559รัชกาลที่ 10สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร13 ตุลาคม พ.ศ. 2559ยังอยู่ในราชสมบัติ", "title": "ราชวงศ์จักรี" }, { "docid": "934036#0", "text": "ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 มหาราช มีพระราชโอรส และ พระราชธิดาจำนวนมาก ซึ่งมีพระราชโอรสประมาณ 48 ถึง 50 องค์ และพระราชธิดาประมาณ 40 ถึง 53 พระองค์ ซึ่งพระองค์ก็ได้ให้สลักรายพระนามพระราชบุตรไว้ในอนุสาวรีย์วิหารหลายแห่ง\nพระราชโอรสองค์แรกของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 มักจะปรากฏในลำดับเดียวกันกับคำพรรณนา รายพระนามพระราชบุตรถูกค้นพบใน Ramesseum, Luxor, Wadi es-Sebua และ Abydos พระนามบางพระนามเป็นที่รู้จักจาก ostraka สุสานและที่อื่น ๆ พระราชโอรสของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 ปรากฏในภาพวาดสงครามและชัยชนะจากสงครามเช่นสงครามแห่งคาเดชและสงครามบุกเมืองซีเรีย ในช่วงรัชกาลของพระองค์ (ปีที่ 5 และ 10 ตามลำดับ) ดังนั้นจึงมีแนวโน้มพระราชบุตรของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 สิ้นพระชนม์ก่อนที่จะขึ้นครองบัลลังก์ไอยคุปต์ ดังนั้นพระราชบุตรของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 หลายพระองค์จึงถูกฝังไว้ในหุบเขากษัตริย์ รหัสสุสาน KV5", "title": "รายพระนามพระราชบุตรของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2" }, { "docid": "170636#18", "text": "วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงแสดงพระอาการว่าสบายพระราชหฤทัย จึงตรัสและทรงพระสรวลอย่างสนุกสนาน เจ้าจอมแว่นเห็นเป็นโอกาสดีก็เข้าไปใกล้พระองค์แล้วทูลว่า \"ขุนหลวงเจ้าขา ดีฉันจะทูลความสักเรื่องหนึ่ง แต่ขุนหลวงอย่ากริ้วหนา\" พระองค์จึงตรัสตอบว่า \"จะพูดอะไรก็พูดไปเถิด ไม่กริ้วดอก\" เจ้าจอมแว่นจึงทูลว่า \"ถ้ายังงั้น ขุนหลวงสบถให้ดีฉันเสียก่อน ดีฉันจึงจะทูล\" พระองค์ก็ตรัสด้วยถ้อยความอันหยาบคายว่า \"อีอัปรีย์ บ้านเมืองลาวของมึง เคยให้เจ้าชีวิตจิตสันดานสบถหรือ กูไม่สบถ พูดไปเถิด กูไม่โกรธดอก\" เจ้าจอมแว่นจึงกระเถิบเข้าพระองค์แล้วกระซิบทูลว่า \"เดี๋ยวนี้ แม่รอดท้องได้ ๔ เดือน\" พระองค์ทรงอึ้งไปครู่หนึ่งแล้วตรัสว่า \"ท้องกับใคร\" เจ้าจอมแว่นจึงทูลว่า \"จะมีกะใครเสียอีกเล่า ก็พ่อโฉมเอกของขุนหลวงน่ะซี\" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงกริ้วนิ่งๆ อยู่เป็นเวลาหลายวัน จึงไม่มีผู้ใดทราบว่าจะทรงทำอย่างไรกันแน่ และพากันเกรงพระราชอาญาแทนเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ไปตามกัน ฝ่ายเจ้าจอมแว่นร้อนใจมากกว่าผู้ใด จึงหาโอกาสเข้าไปทูลถามว่าทารกในพระครรภ์จะเป็นเจ้าฟ้าหรือไม่ พระองค์ก็ตรัสตอบว่าเป็นเจ้าฟ้า เจ้าจอมแว่นและเจ้านายทั้งหลายก็โล่งใจไปตามกัน ในที่สุดกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ก็เข้าไปขอพระพระราชทานโทษแทนพระเจ้าหลานทั้งสองพระองค์ เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นั้นก็คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ภายหลังได้เสด็จเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) กับเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาของเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เจ้าจอมแว่นทรงรักใคร่เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นี้มากเป็นพิเศษถึงกับได้บนบานว่า หากเรื่องคลี่คลายไปในทางที่ดีแล้ว ตนจะสร้างวัดถวายไว้ในพระพุทธศาสนาหนึ่งวัด ในที่สุดเจ้าจอมแว่นก็ได้สร้างวัดขึ้นกลางสวนวัดหนึ่ง ในตำบลบางยี่ขัน ธนบุรี (เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า) เพื่อแก้บน คนทั้งหลายเรียกว่า วัดขรัวอิน[19]", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "95911#1", "text": "เจ้าอนุวงศ์ทรงได้รับการเฉลิมพระนามตามจารึกประวัติศาสตร์ว่า สมเด็จบรมบพิตรพระมหาขัติยธิเบศไชยเชษฐา ชาติสุริยวงศ์องค์เอกอัครธิบดินทรบรมมหาธิปติราชาธิราช มหาจักรพรรดิ์ภูมินทรมหาธิปตนสากลไตรภูวนาถ ชาติพะโตวิสุทธิมกุตสาพาราทิปุลอตุลยโพธิสัตว์ขัติย พุทธังกุโลตรนมหาโสพัสสันโต คัดชลักขรัตถราชบุรีสีทัมมาธิราช บรมนาถบรมบพิตร จากการเฉลิมพระนามนี้ชี้ให้เห็นว่า นครเวียงจันทน์มีเจ้าผู้ปกครองแผ่นดินในฐานะพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงเอกราชมากกว่าที่จะอยู่ในฐานะเมืองขึ้นหรือเมืองส่วยอย่างที่นักวิชาการหลายท่านเข้าใจ นอกจากนี้ ในจารึกหลายหลักยังออกพระนามของพระองค์แตกต่างกันไป ดังนี้ เจ้าอนุวงศ์ เอกสารทางประวัติศาสตร์บางแห่งออกพระนามว่า เจ้าอนุรุธราช ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓ ของสมเด็จพระเจ้าไชยเสฏฐาธิราชที่ ๓ (พระเจ้าสิริบุญสาร หรือ เจ้าองค์บุญ ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๔ และพระมหากษัตริย์เอกราชแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์สุดท้าย ก่อนตกเป็นประเทศราชของกรุงธนบุรี สันนิษฐานว่าพระราชมารดาทรงเป็นพระอัครมเหสีฝ่ายขวา เจ้าอนุวงศ์ทรงเป็นพระราชนัดดาในเจ้าองค์ลอง พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๒ (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๗๓-๒๓๒๒) ส่วนเจ้าองค์ลองนั้นทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (หรือพระไชยองค์เว้) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๑ (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๕๐-๒๒๗๓) เจ้าอนุวงศ์ทรงมีพระราชอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกโดยกำเนิด และมีลำดับในการสืบราชสันตติวงศ์ตามระบบเจ้ายั้งขะหม่อมทั้ง ๔ หรือระบบอาญาสี่ของลาวเป็นลำดับที่ ๓ (โดยนับจากพระเชษฐาสู่พระอนุชา) พระยศของพระองค์ต่างจากพระยศของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) แห่งกรุงเทพมหานครผู้เป็นคู่ปรับของพระองค์ ซึ่งมีพระยศเป็นพระองค์เจ้าโดยกำเนิด ความสัมพันธ์ของเจ้าอนุวงศ์กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ของสยาม ทรงเป็นไปอย่างสนิทแนบแน่นและเป็นความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติ เนื่องจากเจ้าคุณจอมเจ้าหญิงคำแว่น (เจ้าจอมแว่น หรือคุณเสือ) และเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงคำสุก (ทองสุก) พระราชนัดดาทั้งสองของพระองค์ ทรงเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกและพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) และพระราชธิดาของเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงคำสุก (ทองสุก) คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพยวดี หรือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทบุรี ทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้ายในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ด้วย นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และการเมืองบางท่านกล่าวว่า สถานะของพระองค์เมื่อครั้งประทับอยู่ ณ กรุงเทพมหานครนั้นเป็นเสมือนองค์ประกันความจงรักภักดีต่อกรุงสยามของกรุงเวียงจันทน์ เสมอสถานะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อครั้งประทับในกรุงหงสาวดีของพม่า", "title": "เจ้าอนุวงศ์" }, { "docid": "423711#1", "text": "พระสนมฮีบิน มีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏประสูติเมื่อปี ค.ศ. 1494 เป็นธิดาของใต้เท้านัมยางหรือ ฮงคยองจู ขุนนางผู้ใหญ่ที่ช่วยให้พระเจ้าจุงจงได้ครองราชย์ต่อมาใต้เท้านัมยางได้ถวายตัวธิดาให้เป็นพระสนมซึ่งพระนางก็ได้ประสูติพระราชโอรส 2 พระองค์คือ องค์ชายกึมวอน และ องค์ชายพงซอน เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าจุงจงพระนางก็ถูก พระพันปีมุนจอง ขับออกจากวังเพราะความทะเยอทะยานของตัวพระสนมฮีบินเองเมื่อถูกขับออกจากวังพระสนมฮีบินก็ได้ไปบวชเป็นชีที่วัดแห่งหนึ่ง พระสนมฮีบินสิ้นพระชนม์ในรัชกาล พระเจ้าซอนโจ เมื่อปี ค.ศ. 1581 เมื่อพระชนม์ได้ 87 พรรษา", "title": "พระสนมฮีบิน ตระกูลฮง" }, { "docid": "86481#1", "text": "แต่เดิมนั้นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีรัชกาลที่ 1-3 นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยของพระองค์เองโดยขึ้นต้นว่า “สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี” และมีสร้อยพระนามเหมือนกันทั้ง 3 รัชกาล ราษฎรจึงต้องสมมตินามแผ่นดินเอาเองเมื่อกล่าวถึงพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ในสมัยรัชกาลที่ 3 ราษฎรได้เรียกนามแผ่นดินรัชกาลที่ 1 ว่า \"แผ่นดินต้น\" รัชกาลที่ 2 ว่า \"แผ่นดินกลาง\" รัชกาลที่ 3 ว่า \"แผ่นดินนี้\" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ไม่ทรงโปรดการออกนามแผ่นดินดังกล่าว เนื่องจากทรงเกรงว่าต่อไปราษฎรจะเรียกรัชกาลของพระองค์ว่า \"แผ่นดินปลาย\" หรือ \"แผ่นดินสุดท้าย\" อันเป็นอัปมงคล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระมหากษัตริย์สองรัชกาลแรก ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม องค์หนึ่งถวายพระนามว่า \"พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก\" อุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชรัชกาลที่ 1 และอีกองค์หนึ่งถวายพระนามว่า \"พระพุทธเลิศหล้าสุราไลย\" (ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ถวายสร้อยพระนามใหม่ว่า \"พระพุทธเลิศหล้านภาไลย\") อุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถรัชกาลที่ 2 และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกนามแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ทั้งสองรัชกาลตามนามพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้", "title": "พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย)" }, { "docid": "150690#13", "text": "หลังจากนั้นราว พ.ศ. ๑๘๐๐ - ๑๙๐๐ สมัยสุโขทัย วัดพระโมคลาน จึงร้างเพราะไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เนื่องจากท้องที่เป็นที่ทุรกันดาร จนกระทั่งสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเจ้ากรมข้างซ้ายของเมืองนครไปครอบครองเป็นที่รักษาข้าง เรียกว่า “ข้างซ้าย” ตลอดมา จนเมืองนครเลิกตำแน่งข้างซ้าย ข้างขวา ข้างกลาง จึงมีพระสงฆ์เข้ามาตั้งสำนักสงฆ์ ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนนั้นบ้านเมืองเข้าสู่กาลียุค มีภัยต่าง ๆ เข้ารบกวน ต่อมาจนถึงรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระภิกษุสงฆ์องค์หนึ่ง มีนามว่า “ท่านครูป่าน” ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มบูรณะพระบรมธาตุ จึงไปนิมนต์พระพุทธรูปศักดิ์ สิทธิของวัดโมคลานมาไว้ ณ. วัดพระมหาธาตุ มีนามว่า “พระพวย” ปัจจุบันนี้ พระพวย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วิหารโพธิ์ลังกา ด้านหน้าวิหารเขียน และนอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปสมัยทราวดี ซึ่งจัดว่าสมบูรณ์ที่สุดในภาคใต้ ที่นำมาจากวัดโมคลาน", "title": "วัดโมคลาน" }, { "docid": "170636#0", "text": "เจ้าจอมแว่น หรือ เจ้าคุณจอมแว่น พระนามเดิมว่า เจ้านางคำแว่น หรือ อัญญานางคำแว่น บ้างออกพระนามว่า เจ้านางบัวตอง ชาวลาวและชาวอีสานนิยมออกคำลำลองพระนามว่า เจ้านางเขียวค้อม เป็นพระบรมวงศานุวงศ์จากนครเวียงจันทน์ อดีตนางพระกำนัลในพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์[1] ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่เมื่อครั้งรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนผลัดราชวงศ์ใหม่ เจ้าจอมแว่นเป็นพระสนมเอกที่มีอิทธิพลต่อราชสำนักสยามฝ่ายในอย่างสูง จนชาววังได้ยกย่องให้เป็น เจ้าคุณข้างใน และถือเป็นเจ้าคุณคนแรกในพระราชวงศ์จักรี อีกทั้งยังเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่คอยอภิบาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์อย่างเข้มงวด จนได้รับฉายาว่า คุณเสือ[2]", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "34416#8", "text": "ถึงแม้ว่าทูลกระหม่อมปู่ (รัชกาลที่ 5) แม้จะไม่ทรงรับพระนัดดาองค์ใหม่เป็นหลานอย่างเปิดเผย แต่ในที่สุดก็ได้โปรดให้พระนัดดาเข้าเฝ้าในปี พ.ศ. 2453 ที่พระราชวังพญาไท เมื่อพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์อายุครบ 2 ขวบ พระองค์ก็ทรงเล่าให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ถึงพระนัดดาไว้ว่า \"วันนี้ฉันได้พบกับหลานชายของเธอ ดูน่ารักน่าเอ็นดูเหมือนพ่อ ฉันรู้สึกรักและหลงใหลคนนี้ตั้งแต่แรกเห็น เพราะถึงอย่างไรนี่ก็เป็นสายเลือดเชื้อไขของฉันเอง\" และรับสั่งต่อด้วยถ้อยคำที่แฝงความรู้สึกโล่งพระทัยว่า \"และไม่มีเค้าว่า มีเชื้อสายฝรั่งติดมาด้วยเลย\" ภายหลังรัชกาลที่ 5 ได้สวรรคตในปี 2453 ได้ค้นพบหลักฐานจากการบันทึกของหม่อมเจ้าทิพย์รัตน์ประภา เทวกุล ที่ท่านหญิงเคยรับใช้ฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีรับสั่งกับท่านหญิงว่า \"สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงกำลังโปรดตาหนู เสียดายที่มาด่วนสวรรคตไปเร็ว\" ส่วนรัชกาลที่ 6 ทรงพระเมตตารักท่านหนู ถ้าจะใคร่สันนิษฐาน โปรดเพียงใดจะเห็นได้ในประกาศเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เมื่อปี พ.ศ. 2463", "title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์" }, { "docid": "86481#2", "text": "ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชดำริว่าพระนามของพระมหากษัตริย์สืบไปภายหน้าควรใช้แตกต่างกันทุกรัชกาล เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการออกนามแผ่นดินเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว จึงทรงถวายพระนามแก่สมเด็จพระบูรพกษัตริย์รัชกาลก่อนหน้าพระองค์ทั้งสามรัชกาลดังนี้นอกจากนี้ยังทรงกำหนดหลักการเฉลิมพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ตามลำดับรัชกาล โดยรัชกาลที่เป็นเลขคี่ให้ใช้คำว่า \"ปรมินทร\" รัชกาลเลขคู่ให้ใช้คำว่า \"ปรเมนทร\" เป็นเครื่องหมายสังเกต พระนามพระมหากษัตริย์ไทยตามหลักพระราชนิยมดังกล่าวตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมามีดังนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีโดยใช้คำนำหน้าพระนามว่า \"รามาธิบดีศรีสินทร\" ทุกรัชกาล เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ดังนี้", "title": "พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย)" }, { "docid": "56344#1", "text": "ในปี พ.ศ. 2362 สมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงเห็นว่าจะเป็นช่องทางที่ข้าศึกจะยกทัพมาได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นที่ตำบลปากน้ำ โดยใช้เวลาสร้าง 3 ปี และได้จัดสร้างป้อมปราการขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำถึง 6 ป้อม คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมประกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช และป้อมผีเสื้อสมุทร ในขณะที่สร้างเมืองนั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จทอดพระเนตรหลายครั้งและทรงสร้างพระมหาเจดีย์ ขึ้นที่เกาะกลางน้ำแล้วพระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” การสร้างยังมิทันเสร็จได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมา ในรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างต่อจนสำเร็จและสร้างป้อมขึ้นอีก 3 แห่ง คือ ป้อมตรีเพชร ป้อมคงกระพัน และป้อมเสือซ่อนเล็บ ", "title": "วัดพระสมุทรเจดีย์" }, { "docid": "110493#0", "text": "พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) มารดาคือคุณหญิงนก เกิดในสมัยรัชกาลที่ 2 แต่ไม่ทราบปี เข้ารับราชการในกรมท่าขวาในสมัยรัชกาลที่ 3เป็นพระราชเศรษฐี ได้ว่าการคลังวิเศษในกรมท่าหลวง และกำกับชำระตั๋วเฮียชำระฝิ่นและได้เลื่อนเป็นจางวางคลังวิเศษกำกับราชการกรมพระคลังนอก คลังพิเศษ คลังในซ้าย พระคลังใน คลังคำนวณ กำกับภาษีร้อยชักสาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ", "title": "พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม)" }, { "docid": "193972#25", "text": "รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 1 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 2 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 3 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 4 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 5 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 6 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "62794#4", "text": "ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร คงมีนามเรียกเต็มว่า วัดหงสาราม ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือประชุมพงศารภาคที่ ๒๕ ตอนที่ ๓ เรื่องตำนานสถานที่ และวัสดุต่าง ๆ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะ และมีความเกี่ยวเนื่องกับวัดหงส์ฯ ดังมีข้อความกล่าวไว้เป็นเชิงประวัติว่า วัดนี้นามเดิมว่า วัดเจ้าขรัวหงส์ แล้วเปลี่ยนมา เป็น วัดหงสาราม และในสำเนาเทศนาพระราชประวัติรัชกาลที่ ๒ ซึ่ง หม่อมเจ้าพระประภากร บวรวิสุทธิวงศ์ วัดบวรนิเวศน์วิหาร ทรงเทศนาถวาย ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นามว่า วัดหงสาราม ในเรื่องเกี่ยวกับวัดหงส์ฯ แม้แต่ในพระอารามหลวงที่ เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร เรียบเรียงถวายรัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวไว้เช่นเคียวกัน แต่กล่าวพิเศษออกไปว่า เรียกวัดหงสาราม มาแต่รัชกาลที่ ๑ เห็นจะเป็นว่าเมื่อเรียกโดยไม่มีพิธีรีตองสำคัญอะไร ก็คงเรียกวัดหงสาราม ทั้ง ๓ รัชกาล ก็เป็นได้ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) นี้ สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงรับปฏิสังขรณ์จากการทรงชักชวนของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเกณฑ์ต่อให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระยศ เจ้าฟ้ามงกุฎ ให้รื้อพระอุโบสถเก่าแปลงปลูกเป็นวิหาร แต่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงรับทำ จึงเป็นพระภาระของสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ แต่พระองค์เดียว ส่วน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งแรกทรงรับพระภาระสร้างโรงธรรมตึกใหญ่ขึ้นใหม่ แต่ในครั้งหลังสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์สิ้นพระชนม์ การยังไม่เสร็จ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงรับเป็นพระธุระทั้งพระอุโบสถ และพระวิหาร และสิ่งอื่นอีก", "title": "วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร" }, { "docid": "40587#1", "text": "พระโอรส พระธิดา ในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกกันว่า กรมพระราชวังหลัง และพระราชโอรส พระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 นั้น แต่เดิมในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกยังทรงครองราชย์อยู่ ก็ใช้คำนำพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ” หรือ “พระเจ้าหลานเธอ” ตามพระเกียรติยศเช่นเดียวกับพระโอรส พระธิดา ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ในรัชกาลที่ 2 และที่ 3 ไม่ปรากฏว่ามีการใช้คำนำหน้าพระนามพระราชวงศ์ชั้นนี้ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า \"สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ\" และ “พระสัมพันธวงศ์เธอ” ให้เป็นคำนำพระนาม", "title": "พระสัมพันธวงศ์เธอ" }, { "docid": "219163#0", "text": "พระเจ้าชังซู (ค.ศ. 394-491) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 20 แห่งอาณาจักรโกคูรยอ เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าควังแกโทมหาราช ประสูติเมื่อ ค.ศ. 394 ทรงพระนามเดิมว่า \"องค์ชายคอรย็อน\" หรือ \"ย็อน\" ทรงถูกสถาปนาขึ้นเป็นองค์รัชทายาทเมื่อ ค.ศ. 408 ขณะพระชนม์เพียง 14 พรรษาและเมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปี ค.ศ. 413 \"องค์รัชทายาทคอรย็อน\" จึงเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมาทรงพระนามว่า \"พระเจ้าชังซู\" ขณะพระชนม์เพียง 19 พรรษาในรัชกาลนี้ ถือว่าอำนาจของโกคูรยอพุ่งถึงขีดสุดเพราะทรงสืบสานนโยบายของพระราชบิดาไว้อย่างดีปีแรกในรัชกาลหรือตรงกับค.ศ. 414 โปรดให้สร้าง สิ่งสำคัญไว้อย่างหนึ่งคือ หลักศิลาจารึกของพระเจ้าควังแกโท เพื่อระลึกถึง พระเจ้าควังแกโทมหาราช พระราชบิดาและเพื่อบันทึกเรื่องราวในรัชสมัยของพระเจ้าควังแกโทและในยุครัชกาลนี้ถือว่าเป็นยุคทองของโคกูรยอและพระองค์ถือว่าเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกเป็นอันดับ 4 คือ 79 ปี 2เดือน หลังสิ้นรัชกาลของพระองค์ได้มีผู้ถวายพระราชสมัญญาว่า \"พระเจ้าชังซูมหาราช\" พระเจ้าชังซูทรงครองราชย์ได้ 79 ปี 2 เดือนก็สวรรคตเมื่อ ค.ศ. 491 รวมพระชนมายุ 96-97 พรรษา พระราชนัดดาของพระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมาทรงพระนามว่า พระเจ้ามุนจามย็อง", "title": "พระเจ้าชังซูแห่งโคกูรยอ" }, { "docid": "349594#4", "text": "พงศาวดารพม่าให้วันที่คล้ายกัน แต่ระยะเวลารัชกาลทั้งหมดไม่เหมือนกัน ตารางต่อไปนี้ส่วนใหญ่เป็นไปตามวันที่บันทึกในพงศาวดาร \"มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว\" และวันที่บันทึกใน (มหาราชวงศ์ Vol. 2 2006: 352–355). วันที่รัชกาลโดย G.E. Harvey (Harvey 1925: 366) ส่วนใหญ่สิ้นสุดรัชกาลในปีต่อมามากกว่าในพงศาวดารและวันจากการตรวจสอบ", "title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า" }, { "docid": "9097#13", "text": "ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระองค์มีพระประสงค์ทะนุบำรุงวัดพระเชตุพนฯ ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ขนาบข้างกับพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ ดังนั้น จึงเป็นเจดีย์สามองค์เรียงกันจากเหนือจรดใต้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ขนาดและความสูงเหมือนกันทุกประการ ต่างเพียงสีกระเบื้องที่มาประดับเท่านั้น โดยพระมหาเจดีย์ทางทิศเหนือของพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า \"พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิธาน\" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชชนก ซึ่งนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2 ส่วนพระมหาเจดีย์ทางทิศใต้ของพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณนั้น ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า \"พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร\" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 ด้วย", "title": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" }, { "docid": "152988#0", "text": "จู ฉีเจิ้น (; 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1427 – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1464) เป็นจักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิง เสวยราชย์ 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 1435–49 ใช้พระนามว่า เจิ้งถ่ง () แปลว่า \"ครองธรรม\" นับเป็นรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์หมิง ครั้งที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1457–64 ใช้พระนามว่า เทียนชุ่น () แปลว่า \"ภักดิ์ฟ้า\" นับเป็นรัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์หมิง นอกจากนี้ ยังเรียกขานพระนามตามวัดประจำรัชกาลที่ชื่อ อิงจง () แปลว่า \"วีรวงศ์\"", "title": "จักรพรรดิเจิ้งถ่ง" } ]
4036
เอ็มมา ชาร์ล็อต ดูแอร์ วอตสัน มีผลงานที่โดดเด่นที่สุดคือเรื่องใด ?
[ { "docid": "137619#0", "text": "เอ็มมา ชาร์ล็อต ดูแอร์ วอตสัน[1] (English: Emma Charlotte Duerre Watson; เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2533)[2] เป็นนักแสดงหญิง นางแบบ และนักกิจกรรมหญิงชาวบริติช เกิดในปารีสและเติบโตในออกซฟอร์ดไชร์ วอตสันเข้าเรียนโรงเรียนดรากอนสกูลขณะเป็นเด็ก และเรียนการแสดงที่โรงเรียนสเตจโคชเธียเตอร์อาตส์ สาขาออกซฟอร์ด เธอเป็นที่จดจำจากบทบาทการแสดงในบทเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ในภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[1969,1988,2,2]}'>แฮร์รี พอตเตอร์ ปรากฏตัวในภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[2009,2028,2,2]}'>แฮร์รี พอตเตอร์</i>แปดภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2554 โดยก่อนหน้านั้นเธอเคยแสดงเฉพาะละครในชั้นเรียน[3] แฟรนไชส์ แฮร์รี พอตเตอร์ ทำให้วอตสันมีชื่อเสียงทั่วโลก ได้รับคำยกย่อง และรายได้มากกว่า 10 ล้านปอนด์[4] เธอยังคงรับงานแสดงนอกจากภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[2927,2946,2,2]}'>แฮร์รี พอตเตอร์ อีก เรื่องแรกคือพากย์เสียงในภาพยนตร์ การผจญภัยของเดเปอโร และปรากฏในภาพยนตร์โทรทัศน์ฉบับดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง รองเท้าบัลเลต์ ตั้งแต่นั้นมา เธอได้รับบทในภาพยนตร์เรื่อง วัยป่วนหัวใจปึ้ก และวัยร้าย วัยลัก ได้รับบทเป็นตนเองในฉบับ \"เกินจริง\" ปรากฏตัวชั่วครู่ในภาพยนตร์ วันเนี๊ย...จบป่ะ[5] และรับบทเป็นบุตรบุญธรรมของตัวละครหลักในเรื่อง โนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก[6]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" } ]
[ { "docid": "137619#30", "text": "วอตสันได้รับรางวัลนักออกแบบชาวบริติชยอดเยี่ยมในงานประกาศรางวัลแฟชันบริติชอะวอดส์ 2014 ในงานยังมีดารามากมาย เช่น เดวิด เบคแคม เอมัล คลูนีย์ เคต มอส และเคียรา ไนต์ลีย์", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#5", "text": "ในปี พ.ศ. 2544 วอตสันเปิดตัวแสดงความสามารถครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[9960,9994,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ภาพยนตร์ทำลายสถิติรายได้ในวันฉายวันแรกและสัปดาห์แรก และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดในปีนั้น[23][24] นักวิจารณ์ชื่นชมการแสดงของนักแสดงนำทั้งสามคน โดยชื่นชมวอตสันเป็นพิเศษ หนังสือพิมพ์เดอะเดลีเทลิกราฟเรียกการแสดงของเธอว่า \"น่าชื่นชม\"[25] และเว็บไซต์ไอจีเอ็นกล่าวว่าเธอ \"โดดเด่นมากกว่าคนอื่น ๆ\"[26] วอตสันได้เข้าชิงรางวัลห้ารางวัลจากเรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[11300,11315,2,2]}'>ศิลาอาถรรพ์ และได้รับรางวัลนักแสดงเด็กสาขานักแสดงนำเด็กหญิง[27]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#13", "text": "วอตสันพากย์เสียงให้บทเจ้าหญิงพีในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง เดเปอโร...รักยิ่งใหญ่จากใจดวงเล็ก ภาพยนตร์ตลกสำหรับเด็กนำแสดงโดยแมททิว บรอเดริก และนักแสดงร่วมเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ร็อบบี โคลเทรน (รูเบอัส แฮกริด) แสดงในเรื่องนี้เช่นกัน[57] การเดเปอโร...รักยิ่งใหญ่จากใจดวงเล็ก</i>ออกฉายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 และทำรายได้ได้ 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก[58]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#9", "text": "ภาพยนตร์เรื่องที่ห้าในแฟรนไชส์คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ ออกฉายในปี พ.ศ. 2550 จากความสำเร็จด้านรายได้ครั้งใหญ่ ภาพยนตร์ทำสถิติทำรายได้ในสัปดาห์แรกสูงที่สุดที่ 332.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[42] วอตสันชนะรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม[43] เนื่องจากชื่อเสียงของวอตสันและภาพยนตร์ยังคงดำเนินต่อเนื่อง วอตสันและนักแสดงภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และรูเพิร์ต กรินต์ พิมพ์ฝ่ามือ รอยเท้า และไม้กายสิทธิ์ที่บริเวณหน้าโรงละครกรอแมนส์ไชนีสเธียเตอร์ในฮอลลิวูดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[44]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#28", "text": "ในปี พ.ศ. 2548 วอตสันเริ่มงานอาชีพนางแบบด้วยการถ่ายโฟโตชู้ตให้นิตยสารทีนโว้ก และเป็นดาราอายุน้อยที่สุดที่ได้ขึ้นปก[2] สามปีต่อมา สื่อของบริติชรายงานว่าวอตสันจะเป็นพรีเซนเตอร์ของเชอแนลแทนเคียรา ไนต์ลี แต่ทั้งสองคนปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง[93] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 หลายปีหลังข่าวลือ วอตสันยืนยันว่าเธอจะร่วมกับเบอร์เบอรี เป็นพรีเซนเตอร์ในโครงการฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเธอได้รับค่าตอบแทนประมาณหกหลัก[8][94] เธอยังปรากฏตัวในโครงการโครงการฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวปี พ.ศ. 2553 ของเบอร์เบอรีร่วมกับอเล็กซ์ น้องชายของเธอ จอร์จ เครก และแมตต์ กิลเมอร์ นักดนตรี และแม็กซ์ เฮิร์ด นายแบบ[95] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 วอตสันได้รับรางวัลสไตล์ไอคอนจากนิตยสารแอล มอบโดยวิเวียน เวสต์วูด[96] วอตสันยังคงทำงานโฆษณาแฟชันต่อไปหลังเธอประกาศว่าเธอเป็นพรีเซนเตอร์ให้ผลิตภัณฑ์ลังโคมในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[9]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#7", "text": "ในปี พ.ศ. 2547 ภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันออกฉาย วอตสันรู้สึกพอใจในบทบาทเฮอร์ไมโอนี่ซึ่งเธอแสดงออกอย่างเต็มที่มากขึ้น โดยเธอเรียกตัวละครของเธอว่า \"มีเสน่ห์\" และเป็น \"บทอัศจรรย์\"[31] แม้ว่านักวิจารณ์ตำหนิการแสดงของแรดคลิฟฟ์ มองว่าเขา \"เล่นแข็ง\" แต่พวกเขายกย่องวอตสัน หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ชมเชยการแสดงของวอตสันว่า \"โชคดีที่คุณแรดคลิฟฟ์ที่ไร้อารมณ์ถูกชดเชยด้วยความอดทนของคุณวอตสัน แฮร์รีได้อวดทักษะพ่อมดที่หลากหลายขึ้น แต่เฮอร์ไมโอนี่ได้รับเสียงปรบมือดังที่สุดจากหมัดปราศจากเวทมนตร์ต่อยเข้าที่จมูกของเดรโก มัลฟอย\"[32] แม้ว่าเรื่องนักโทษแห่งอัซคาบันจะเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้น้อยที่สุดในภาพยนตร์ชุด แต่การแสดงของวอตสันจะชนะรางวัลออตโตสองรางวัล และรางวัลการแสดงเด็กแห่งปีจากนิตยสารโททัลฟิล์ม[33][34]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#20", "text": "ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 วอตสันยืนยันบทไอลาในภาพยนตร์เรื่อง โนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก ของแดร์เรน อาโรนอฟสกี ถ่ายทำในเดือนถัดมาและออกฉายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557[6] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 มีรายงานว่าวอตสันกำลังเจรจาแสดงเป็นตัวละครซินเดอเรลล่า ในภาพยนตร์ดิสนีย์ฉบับคนแสดง เค็นเน็ท แบรเนอ กำกับภาพยนตร์ ขณะเคต แบลนเชตต์ รับบทเป็นแม่เลี้ยงใจร้าย วอตสันได้รับข้อเสนอให้เสนอบทดังกล่าว แต่เธอปฏิเสธ[78]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#18", "text": "ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีรายงานว่าวอตสันกำลังพิจารณาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง วัยป่วนหัวใจปึ้ก[74] ภาพยนตร์เริ่มถ่ายทำในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2554 และออกฉายเดือนกันยายน พ.ศ. 2555[75]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2542 การคัดเลือกนักแสดงภาพยนตรเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เริ่มขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายที่ขายดีที่สุดของเจ. เค. โรว์ลิง เจ้าหน้าที่ที่คัดเลือกนักแสดงพบวอตสันผ่านทางครูของเธอที่โรงละครออกซฟอร์ด และโปรดิวเซอร์รู้สึกประทับใจในความมั่นใจในตนเองของเธอ หลังการออดิชันแปดครั้ง โปรดิวเซอร์ เดวิด เฮย์แมน บอกวอตสันและผู้สมัครอีกสองคนคือ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ และ รูเพิร์ต กรินต์ว่าพวกเขาได้รับเลือกให้เป็นตัวละครเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ และรอน วีสลีย์ โดยเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกัน โรว์ลิงสนับสนุนวอตสันตั้งแต่การทดสอบหน้ากล้องครั้งแรก[18]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#19", "text": "ภาพยนตร์เรื่อง วัยร้าย วัยลัก (2556) วอตสันรับบทเป็นนิกกี ภาพยนตร์สร้างจากเหตุการณ์ของกลุ่มโจรปล้นบลิงริงที่เกิดขึ้นจริง โดยวอตสันเล่นเป็นอเล็กซิส เนเออส์ ในโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวัยรุ่นเจ็ดคนที่เข้ามาพัวพันกับการปล้น ภาพยนตร์ได้รับคำวิจารณ์คละกันเป็นส่วนใหญ่ แต่นักวิจารณ์ให้คำชมวอตสันที่แสดงเป็นนิกกีอย่างเป็นเอกฉันท์ วอตสันยังได้แสดงในภาพยนตร์ตลกพยากรณ์<!--apocalyptic-->เรื่อง วันเนี๊ย...จบป่ะ (2556) โดยเธอ เซธ โรเกน เจมส์ แฟรนโก และคนอื่น ๆ เล่นเป็น \"ตนเองในแบบเกินจริง\"[5] และวอตสันได้ทิ้ง \"ระเบิด f-bomb\" ครั้งที่เป็นที่จดจำในเรื่อง[76] เธอกล่าวว่าเธอไม่อาจพลาดโอกาสที่เธอจะได้แสดงภาพยนตร์ตลกเรื่องแรก และ \"ทำงานร่วมกับนักแสดงตลกที่ดีที่สุด...ในโลกในตอนนี้\"[77]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#35", "text": "วอตสันส่งเสริมการศึกษาของเด็กหญิงด้วยการแวะเยี่ยมประเทศบังกลาเทศและแซมเบีย[117] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 เธอมีนัดพบในฐานะทูตสันถวไมตรีสตรีของสหประชาชาติ[12] ในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้น วอตสันซึ่งยอมรับว่ารู้สึกกังวลใจ[118] ส่งที่อยู่ให้สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครนิวยอร์กเพื่อออกโครงการรณรงค์ฮีฟอร์ชี (HeForShe) ซึ่งเรียกร้องให้ผู้ชายสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศ ในสุนทรพจน์ครั้งนั้น เธอกล่าวว่าเธอเริ่มสงสัยถึงสมมุติฐานเกี่ยวกับเพศเมื่ออายุแปดขวบเมื่อเธอถูกเรียกว่า \"เจ้ากี้เจ้าการ\" (ลักษณะนิสัยที่ทำให้เธอเป็นผู้สมบูรณ์แบบ)[119] ขณะที่เด็กชายไม่ถูกเรียกเช่นนั้น และขณะอายุ 14 ปี เมื่อเธอ \"ถูกสื่อบางแหล่งให้ความสำคัญทางเพศ\"[120] คำกล่าวของวอตสันได้ชื่อว่ามีคตินิยมสิทธิสตรี \"ความเชื่อที่ว่าผู้ชายและผู้หญิงควรมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน\" และเธอประกาศว่าเรื่องที่เธอ \"เกลียดผู้ชาย\" เป็นสิ่งที่เธอ \"ต้องหยุดให้ได้\"[118] ต่อมาวอตสันได้รับภัยคุกคามหลังจากกล่าวสุนทรพจน์ไม่ถึง 12 ชั่วโมง ทำให้เธอรู้สึก \"โกรธเกรี้ยว ถ้าพวกเขาพยายามทำให้ฉันเลิกทำสิ่งนี้ มันจะเป็นตรงข้ามกันเลย\"[121] ในปี พ.ศ. 2558 มาลาลา ยูซาฟไซ บอกกับวอตสันว่าเธอตัดสินใจเรียกตนเองว่าผู้สนับสนุนสิทธิสตรีหลังจากได้ฟังสุนทรพจน์ของวอตสัน[122]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#22", "text": "จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 วอตสันมีกำหนดได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[34656,34676,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ เดวิด เฮย์แมน ในภาพยนตร์เรื่อง ควีนออฟเดอะเทียร์ลิง สร้างจากหนังสือไตรภาพที่ยังไม่วางจำหน่าย เธอจะรับบทนำเป็นฮีโรผู้หญิง เคลซี กลินน์ รวมถึงเป็นผู้ควบคุมงานสร้างด้วย[81] วอร์เนอร์บราเธอส์เป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์[82]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#25", "text": "วอตสัน ร่วมกับจูดี เดนช์ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ไมก์ ลี จูเลีย ลุยส์-เดรย์ฟัส และมาร์ก รัฟฟาโล ได้รับรางวัลบริเทนเนียอะวอดส์ 2014 จัดขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคมที่ลอสแอนเจลิส วอตสันได้รับรางวัลศิลปินชาวบริติชแห่งปี และมอบรางวัลให้มิลลี หนูแฮมสเตอร์ของเธอที่ตายขณะวอตสันถ่ายทำเรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[37683,37698,2,2]}'>ศิลาอาถรรพ์[11]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#21", "text": "วอตสันได้รับการติดต่อให้แสดงบทเอ็มมา ฟอร์เรสต์ ในภาพยนตร์เรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[33582,33605,2,2]}'>ยัวร์วอยซ์อินมายเฮด ในขณะนั้น ผู้กำกับ<i data-parsoid='{\"dsr\":[33624,33642,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอ</i>ร์ เดวิด เยตส์ ก็ได้รับการติดต่อเช่นกัน ในบทสัมภาษณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ปรากฏว่าวอตสันไม่ได้แสดงในภาพยนตร์ดังกล่าวแล้ว สแตนลีย์ ทุชชีกล่าวว่าบทนั้นจะให้เอมีลี บลันต์แสดงแทน[79] อย่างไรก็ตาม ก่อนเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 มีการยืนยันว่าวอตสันจะได้กลับมารับบทฟอร์เรสต์อีกครั้ง และภาพยนตร์จะเริ่มถ่ายทำเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน โดยผู้กำกับคนใหม่คือ ฟรานเซสกา เกรกอรินี[80]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#11", "text": "แม้ว่าภาพยนตร์เรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[20493,20510,2,2]}'>ภาคีนกฟีนิกซ์</i>ประสบความสำเร็จ อนาคตของแฟรนไชส์แฮร์รี่ พอตเตอร์กลายเป็นความไม่แน่นอน เมื่อนักแสดงทั้งสามคนลังเลที่จะต่อสัญญาการแสดงบทบาทของพวกเขาต่อไปในภาพยนตร์สองตอนสุดท้าย[47] ในที่สุดแรดคลิฟฟ์ยินยอมรับแสดงภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550[47] แต่วอตสันยังคงลังเลใจต่อไป[48] เธออธิบายว่าเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ เนื่องจากเป็นการผูกมัดเธอกับบทบาทนี้ไปอีกสี่ปี แต่ในที่สุดเธอยอมรับว่าเธอ \"ไม่อยากทิ้ง[บทเฮอร์ไมโอนี่]ไป\"[49] และรับแสดงบทดังกล่าวในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2550[50]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#3", "text": "เมื่ออายุ 10 ขวบ วอตสันได้แสดงในละครเวทีของโรงเรียนสเตจโคชหลายเรื่อง รวมถึงเรื่อง อาร์เธอร์: เดอะยังเยียร์แอนด์เดอะแฮปปีพรินซ์[20] แต่เธอไม่เคยแสดงมืออาชีพใด ๆ ก่อนภาพยนตร์ชุดแฮร์รี พอตเตอร์ หลังจบโรงเรียนดรากอนสกูล วอตสันย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเฮดิงตันสกูล[13] ขณะอยู่ที่กองถ่ายภาพยนตร์ เธอและเพื่อน ๆ มีครูสอนพิเศษให้วันละห้าชั่วโมง[21] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 เธอเข้าสอบ GCSE 10 วิชา ได้รับเกรด A* 8 วิชา และเกรด A 2 วิชา[13][22]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#12", "text": "วอตสันแสดงภาพยนตร์ที่ไม่ใช่<i data-parsoid='{\"dsr\":[22289,22309,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>เรื่องแรกคือเรื่อง รองเท้าบัลเลต์ ออกอากาศทางช่องบีบีซีในปี พ.ศ. 2550 ดัดแปลงจากนวนิยายในชื่อเดียวกัน เขียนโดยโนล สเตรตเฟลด์[51][52] ผู้กำกับภาพยนตร์ แซนดรา โกลด์บาเชอร์ ให้ความเห็นว่าวอตสันแสดงได้ \"สมบูรณ์แบบ\" กับบทบาทนักแสดงหญิง พอลีน ฟอสซิล \"เธอมีออร่าที่เฉียบแหลมละเอียดอ่อนที่ทำให้คุณอยากจ้องมองที่เธอ\"[53] รองเท้าบัลเลต์ ฉายในสหราชอาณาจักรในวันเปิดกล่องของขวัญปี พ.ศ. 2550 ให้ผู้ชม 5.7 ล้านคน ได้รับคำวิจารณ์คละกันไป[54][55][56]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#6", "text": "ปีต่อมา วอตสันรับบทเป็นเฮอร์ไมโอนี่อีกครั้งในภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ภาพยนตร์เรื่องที่สองในชุด นักวิจารณ์ชื่นชมการแสดงของเธอ หนังสือพิมพ์<i data-parsoid='{\"dsr\":[11783,11807,2,2]}'>เดอะลอสแอนเจลิสไทมส์</i>กล่าวว่าวอตสันและเพื่อน ๆ เติบโตขึ้นจากเรื่องเดิม[28] ขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะไทมส์วิจารณ์ผู้กำกับ คริส โคลัมบัส ที่จ้างวอตสันมาเป็นตัวละครยอดนิยมด้วยค่าตัวที่น้อย[29] การแสดงของวอตสันทำให้เธอได้รับรางวัลออตโตจากนิตยสารเยอรมัน บราโว[30]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#17", "text": "หลังจบเรื่อง<i data-parsoid='{\"dsr\":[29793,29813,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ วอตสันแสดงภาพยนตร์เรื่อง 7 วัน แล้วคิดถึงกันตลอดไป รับบทเป็นลูซี ผู้ช่วย ที่ถูกตัวละครหลัก โคลิน คลาร์ก เกี้ยวพาราสี และออกเที่ยวกับเขาหลายครั้ง[72][73]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "56795#1", "text": "จอห์น โบรดัส วอตสัน เกิดในแทรเวเลอส์เรสต์ รัฐเซาท์แคโรไลนา เป็นบุตรชายของพิกเกนส์ บัตเลอร์ และ เอ็มมา (สกุลเดิม โร) วอตสัน แม่ของเขา เอ็มมา เป็นคนที่ศรัทธาในนิกายโปรเตสแตนต์ที่เคร่งครัด พ่อของเขา พิกเกนส์ เป็นคนติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เขาทิ้งครอบครัวไปอาศัยอยู่กับหญิงชาวอินเดียสองคน ขณะวอตสันอายุ 13 ปี ด้วยความที่ครอบครัวของเขาขัดสนเงิน แม่ของเขาจึงขายฟาร์มที่มีอยู่ และย้ายไปอาศัยอยู่ในกรีนวิลล์ รัฐเซาท์แคโรไลนา เพื่อให้วอตสันมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ การย้ายจากหมู่บ้านชนบทที่ห่างไกลไปยังกรีนวิลล์ พิสูจน์ให้เห็นว่ามันสำคัญมากสำหรับวอตสัน โดยการให้โอกาสเขาได้สัมผัสกับความหลากหลายของคนประเภทต่าง ๆ ซึ่งเขายังนำใช้ศึกษาทฤษฎีในด้านจิตวิทยา ", "title": "จอห์น บี. วอตสัน" }, { "docid": "137619#34", "text": "ขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องโนอาห์ มหาวิบัติวันล้างโลก วอตสันถูกถามเกี่ยวกับศรัทธา และเธอบรรยายตนว่าเป็นผู้มีจิตใจรอบรู้กว้างขวาง[116]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#14", "text": "การถ่ายทำฉากสำคัญ<!--Principal photography-->ให้ภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[25458,25478,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>เรื่องที่หก เริ่มขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2550 โดยในส่วนของวอตสัน ถ่ายทำตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ถึง 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[59][60] แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ฉายรอบปฐมฤกษ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[61] เลื่อนจากเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[62] เนื่องจากนักแสดงหลายคนเป็นวัยรุ่นตอนปลาย นักวิจารณ์วิจารณ์พวกเขาในระดับเดียวกับนักแสดงคนอื่น ๆ ในเรื่อง โดยหนังสือพิมพ์<i data-parsoid='{\"dsr\":[26763,26783,2,2]}'>ลอสแอนเจลิสไทมส์</i>บรรยายเป็น \"การแนะนำสู่การแสดงแบบทันสมัย\"[63] หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์รู้สึกว่าวอตสัน \"แสดงได้มีเสน่ห์ที่สุดจนถึงทุกวันนี้\"[64] ขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะเดลีเทลิกราฟบรรยายถึงนักแสดงนำว่า \"กระตือรือต้น อิสระ และมีพลังที่จะแสดงสิ่งที่พวกเขามีให้กับส่วนที่เหลือของเรื่อง\"[65] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 วอตสันกล่าวว่าเธออยากเรียนระดับมหาวิทยาลัยหลังเธอถ่ายทำภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[28041,28061,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>จบทั้งหมด[66]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#8", "text": "ด้วยภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ทำให้ทั้งวอตสันและภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญครั้งใหม่ ภาพยนตร์ทำสถิติสำหรับสัปดาห์ออกฉายสัปดาห์แรกของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นภาพยนตร์ไม่ได้เริ่มฉายในสหรัฐอเมริกาในวันสุดสัปดาห์ของเดือนพฤษภาคม และเป็นภาพยนตร์ที่ฉายสัปดาห์แรกในสุดสัปดาห์ในสหราชอาณาจักร นักวิจารณ์ชื่นชมการเติบโตของวอตสันและการแสดงวัยรุ่นของเธอ หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ชมการแสดงของเธอว่า \"เอาจริงเอาจังอย่างน่าประทับใจ\"[35] สำหรับวอตสัน เรื่องขบขันในภาพยนตร์ส่วนมากเกิดจากความเครียดในหมู่ตัวละครหลักสามคนขณะที่พวกเขากำลังเติบโต เธอกล่าวว่า \"ฉันชอบทุกตอนที่เราทะเลาะกัน ฉันคิดว่ามันเหมือนจริงมากที่พวกเขาทะเลาะกันและที่จะมีปัญหามากมาย\"[36] หลังจากภาพยนตร์เรื่องถ้วยอัคนีได้เข้าชิงสามรางวัล วอตสันชนะรางวัลออตโตเหรียญทองแดง[37][38] ต่อมาในปีนั้น วอตสันกลายเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดบนปกนิตยสารทีนโว้ก[39] เมื่อเธอปรากฏตัวอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552[40] ในปี พ.ศ. 2549 วอตสันรับบทเฮอร์ไมโอนี่ในละคร<i data-parsoid='{\"dsr\":[17690,17712,2,2]}'>เดอะควีนส์แฮนด์แบก ตอนพิเศษของแฮร์รี่ พอตเตอร์เพื่อธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร[41]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#26", "text": "ปี พ.ศ. 2558 มีผลงานที่เอ็มมาแสดงออกฉาย เช่น โคโลเนีย หนีตาย ร่วมแสดงโดยแดเนียล บรูล และมีคาเอล นีควิสต์[87] วอตสันจะรับบท เบลล์ ในภาพยนตร์คนแสดงดัดแปลงเรื่อง บิวตีแอนด์เดอะบีสต์ พ.ศ. 2560 คู่กับแดน สตีเวนส์ ซึ่งรับบทเป็นบีสต์.[88] เธอจะร้องเพลงในภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ซึ่งเธอเรียกว่า \"น่าหวาดกลัวในตัวเอง\"[89] เธอยังร่วมแสดงในภาพยนตร์ รีเกรสชั่น สัมผัส…ผวา ภาพยนตร์ระทึกขวัญออกฉายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 แสดงร่วมกับอีธาน ฮอว์ก และเพื่อนนักแสดงจากแฮร์รี่ พอตเตอร์ เดวิด ทิวลิส[90] และเซ็นชื่อรับแสดงคู่กับทอม แฮงส์ ในภาพยนตร์ดัดแปลงเรื่อง เดอะเซอร์เคิล[91]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#2", "text": "เอ็มมา วอตสันเกิดที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เธอเป็นลูกสาวของทนายความชาวอังกฤษชื่อ แจ็กลีน ลิวสบี และคริส วอตสัน[13][14][15] วอตสันอาศัยอยู่ในปารีสจนอายุ 5 ขวบ พ่อแม่ของเธอแยกทางกันตั้งแต่เธอยังเด็ก หลังจากพ่อแม่หย่าร้างกัน วอตสันย้ายกลับมาอยู่กับมารดาที่ออกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ และอยู่กับบิดาที่ลอนดอนในวันสุดสัปดาห์[13][16] วอตสันเคยกล่าวว่าเธอพูดภาษาฝรั่งเศสได้บ้าง แม้ว่า \"ไม่คล่องแคล่ว\" เท่าที่เคย[17] หลังจากย้ายไปที่ออกซฟอร์ดกับมารดาและน้องชาย เธอเข้าศึกษาที่โรงเรียนดรากอนสกูลในออกซฟอร์ด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 เธออยากเป็นนักแสดงตั้งแต่อายุ 6 ขวบ[18] และเรียนร้องเพลง เต้นรำ และการแสดงที่โรงเรียนสเตจโคชเธียเตอร์อาตส์แบบไม่เต็มเวลา[19]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#23", "text": "มีรายงานในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ว่าวอตสันจะแสดงในภาพยนตร์เรื่อง ไวล์เวอร์ยัง ภาพยนตร์ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง 29 ของอะดีนา แฮลเพิร์น ที่เป็นเรื่องราวของคุณยายที่จิตใจยังสาวที่ใช้เวลากับหลานสาว (วอตสัน) แทนที่จะอยู่กับลูกสาวของเธอเอง ภาพยนตร์กำกับโดยสตีเฟน เชอบอสกี ที่เคยร่วมงานกับวอตวันในภาพยนตร์เรื่อง วัยป่วนหัวใจปึ้ก[83] วอตสันยังได้รับคัดเลือกแสดงคู่กับอีธาน ฮอว์ก ในภาพยนตร์ระทึกขวัญเรื่อง รีเกรสชัน อเลฮานโดร อาเมนาบาร์ เขียนบทและกำกับภาพยนตร์ ออกฉายในปี พ.ศ. 2558[84]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#27", "text": "ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 วอตสันประกาศว่าพักงานแสดงเป็นเวลาหนึ่งปี เธอวางแผนใช้เวลากับ \"การพัฒนาส่วนบุคคล\" และงานเกี่ยวกับสิทธิสตรี[92]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#10", "text": "จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 กล่าวกันว่างานแสดงของวอตสันในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์สร้างรายได้ให้เธอมากกว่า 10 ล้านปอนด์ และเธอตระหนักว่าเธอไม่ต้องทำงานเพื่อเงินอีกต่อไป[4] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เธออยู่ในอันดับที่ 6 ในรายชื่อ \"ดาราหนุ่มสาวที่มีรายได้มากที่สุด\" จัดโดยนิตยสารฟอบส์[45] และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เธอได้ชื่อเป็นดาราสาวที่มีรายได้สูงสุดของฮอลลิวูด โดยมีรายได้ประมาณ 19 ล้านปอนด์ใน พ.ศ. 2552[46]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "137619#33", "text": "วอตสันพบและเริ่มคบหากับนักเรียนที่ออกซฟอร์ด วิล แอดาโมวิกซ์ ในปี พ.ศ. 2554 ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัยปีแรก[111] เขาไปกับเธอในงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีมูวีอะวอดส์ 2013 ซึ่งวอตสันได้รับรางวัลเทรลเบลเซอร์[112] ทั้งคู่เลิกรากันในต้นปี พ.ศ. 2557[113] ต่อมาในปีนั้น วอตสันคบหากับนักกีฬารักบี้ของออกซฟอร์ดชื่อ แมทธิว แจนนี[114] ความสัมพันธ์สิ้นสุดลงในเดือนพฤศจิกายน ผู้แถลงข่าวแทนวอตสันกล่าวว่าทั้งคู่เลิกรากันเนื่องจาก \"ตารางงานไม่มีเวลาว่าง\"[115]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" } ]
4037
ความจำโดยปริยายสามารถนำไปสู่ปรากฏการณ์อะไร?
[ { "docid": "638072#1", "text": "ความจำโดยปริยายสามารถนำไปสู่ปรากฏการณ์ความจริงเทียม (illusion-of-truth effect) ซึ่งแสดงว่า เรามักจะคิดว่าคำอ้างอิงหนึ่ง ๆ ว่าเป็นจริงถ้าเคยได้ยินมาก่อน ไม่ว่าคำนั้นจะตรงกับความจริงแค่ไหน[5] ในชีวิตประจำวัน เราพึ่งความจำโดยปริยายทุก ๆ วันในรูปแบบของความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) ซึ่งเป็นรูปแบบของความจำที่ทำให้เราสามารถจำได้ว่า จะผูกเชือกรองเท้าอย่างไร หรือจะขี่จักรยานอย่างไร โดยไม่ต้องคิดถึงวิธีการทำกิจเหล่านั้น งานวิจัยเกี่ยวกับความจำโดยปริยายแสดงว่า ความจำนี้เกิดขึ้นผ่านกระบวนการทางจิตใจที่ต่างไปจากความจำชัดแจ้ง (explicit memory)[2]", "title": "ความจำโดยปริยาย" } ]
[ { "docid": "638072#2", "text": "งานศึกษาในระดับสูงเกี่ยวกับความจำโดยปริยายพึ่งเกิดขึ้นภายใน 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา งานวิจัยเป็นจำนวนมากได้พุ่งความสนใจไปที่ปรากฏการณ์/ผลของความจำโดยปริยายที่เรียกว่า priming (การเตรียมการรับรู้)[2] งานวิจัยหลายงานยืนยันถึงความมีอยู่ของระบบความจำต่างหากซึ่งก็คือความจำโดยปริยาย ในการทดลองหนึ่ง ผู้ร่วมการทดลองฟังเพลงหลายเพลงแล้วตัดสินใจว่าคุ้นเคยกับเพลง ๆ หนึ่งหรือไม่ ผู้ร่วมการทดลองครึ่งหนึ่งฟังเพลงพื้นบ้านอเมริกัน และอีกครึ่งหนึ่งฟังเพลงที่แต่งโดยใช้ทำนองของเพลงที่กลุ่มแรกได้ยินแต่ใช้เนื้อร้องที่แต่งใหม่ ผลแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองกลุ่มแรกมีโอกาสสูงกว่าที่จะรู้สึกว่าเพลงเหล่านั้นเป็นเพลงที่คุ้นเคย ทั้ง ๆ ที่ในกลุ่มทั้งสอง ทำนองเพลงต่างเหมือนกัน[6] งานวิจัยนี้แสดงว่า เราทำการเชื่อมต่อกันระหว่างความจำต่าง ๆ โดยปริยาย (คือไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำใต้อำนาจจิตใจ) และงานวิจัยเป็นจำนวนมากพุ่งความสนใจไปที่ ความจำเชิงสัมพันธ์ (associative memory) ซึ่งเป็นความจำที่เชื่อมสิ่งสองสิ่งเข้าด้วยกัน ส่วนงานวิจัยนี้แสดงว่า เราทำความเชื่อมโยง (โดยปริยาย) ที่มีกำลังระหว่างทำนองเพลงกับเนื้อร้องที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ในภายหลัง", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638072#19", "text": "มีงานทดลองมากมายที่ทำเพื่อแสดงความแตกต่างกันระหว่างความจำโดยปริยายและความจำชัดแจ้ง วิธีการหนึ่งที่ใช้ก็คือ depth-of-processing effect (ผลจากการประมวลผลอย่างลึกซึ้ง) ในงานวิจัยปี ค.ศ. 1981 โดยจาคอบีและดัลลัส มีการให้ผู้รับการทดลองรายการคำศัพท์เพื่อที่จะทำการปฏิสัมพันธ์แบบต่าง ๆ ในคำเหล่านั้น ในศัพท์บางคำ มีการให้ผู้การทดลองทำปฏิสัมพันธ์กับคำเหล่านั้นอย่างตื้น ๆ เช่นนับจำนวนอักษรในคำ ในศัพท์บางคำ ก็ให้ผู้รับการทดลองทำปฏิสัมพันธ์กับคำเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง เช่นตอบคำถามเกี่ยวกับควาหมายของศัพท์นั้น หลังจากนั้น ก็มีการทดสอบว่า ผู้รับการทดลองสามารถจำได้หรือไม่ว่าได้เห็นคำนั้นมาแล้ว เพราะว่า การประมวลผลอย่างลึกซึ้งช่วยความจำชัดแจ้งของคำ ๆ หนึ่ง ดังนั้น ผู้รับการทดลองจึงจำคำที่ต้องทำปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งได้ดีกว่า แต่ว่า ถ้ามีการทดสอบความจำโดยปริยายโดยวิธี priming คือแสดงคำศัพท์อย่างรวดเร็วแล้วให้ผู้รับการทดลองเลือกศัพท์ที่เคยเห็นแล้ว ปรากฏว่ามีผลเท่ากันระหว่างศัพท์ที่ให้ทำปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับคำที่ไม่ได้ให้ทำ นี้บอกเป็นนัยว่า ความจำโดยปริยายไม่ได้อาศัยการประมวลผลอย่างลึกซึ้งเหมือนกับความจำชัดแจ้ง[16]", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638072#18", "text": "นอกจากงานวิจัยเกี่ยวกับคนไข้ภาวะเสียความจำ ยังมีหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงความต่างกันของความจำโดยปริยายและความจำชัดแจ้ง คือ รูปแบบการพัฒนาของความจำชัดแจ้งไม่เกี่ยวกับความจำโดยปริยาย ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ระบบทั้งสองอาศัยกระบวนการที่แตกต่างกัน การทดสอบเด็กวัยต่าง ๆ กันที่อยู่ในระยะการพัฒนาต่าง ๆ กัน ไม่แสดงความพัฒนาขึ้นของความจำโดยปริยายไม่เหมือนกับความจำชัดแจ้ง นี้ก็เป็นความจริงด้วยสำหรับผู้ใหญ่วัยชรา คือ ผลงานวิจัยต่าง ๆ แสดงว่า เมื่อเราถึงวัยชรา การทำงานของความจำชัดแจ้งก็จะเสื่อมลง แต่ว่า การทำงานของความจำโดยปริยายไม่เสื่อมลงเลยโดยประการทั้งปวง[15]", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638125#17", "text": "ความไม่สัมพันธ์กันระหว่างความจำโดยปริยายและความจำชัดแจ้งเพราะมีโครงสร้างประสาทที่ไม่สัมพันธ์กันที่เห็นได้ในกรณีของนายโมไลสัน ได้เป็นข้อมูลที่ช่วยให้เราเข้าใจระบบความจำในมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น ความจำระยะยาวไม่ใช่มีส่วนเดียวแต่สามารถแยกออกเป็นความจำเชิงประกาศและความจำแบบไม่ประกาศ (ความจำโดยปริยาย)[11]", "title": "เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน" }, { "docid": "760104#11", "text": "ในเรื่องบางเรื่อง เช่นการอนุมัติให้ใช้เทคโนโลยีบางอย่างสำหรับมวลชน เป็นสิ่งที่อาจมีผลยาวนานทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และต่อประชากร ถ้าสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ไว้ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหมาย\nแต่ว่า ถ้าหวังว่า นโยบายในเรื่อง ๆ หนึ่งควรจะสะท้อนข้อมูลที่มีอยู่ และสะท้อนแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีการรับรองเป็นอย่างดีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ที่สังเกตเห็นได้ มันก็ไม่มีข้อมูลหลักฐานอื่นที่ดีกว่านอกจาก \"มติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาตร์\" ที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบนโยบายและการบังคับใช้ อย่างน้อยก็ในกรณีที่การออกนโยบายดูจะเป็นเรื่องจำเป็น\nแม้ว่า วิทยาศาสตร์จะไม่สามารถแสดงความจริงสัมบูรณ์ หรือแม้แต่ความผิดพลาดสัมบูรณ์ให้ได้ มันก็ยังมีประโยชน์ในการช่วยแนะแนวทางนโยบาย โดยมีแนวโน้มเพื่อเพิ่มประโยชน์ให้แก่สังคม และเพื่อลดความเสียหาย\nถ้ามีทัศนคติเช่นนี้ การบังคับว่า นโยบายจำต้องอาศัยสิ่งที่พิสูจน์แล้ว เป็น \"ความจริงทางวิทยาศาสตร์\" เท่านั้น นี่จะเป็นเหตุนำไปสู่ความเป็นอัมพาตทางสังคม และโดยปริยาย จะเป็นการใช้นโยบายยอมรับความเสียหายและความเสี่ยง ที่เห็นได้และเห็นไม่ได้ ที่เกิดจากการไม่มีนโยบายที่อาศัยมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาตร์", "title": "ความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์" }, { "docid": "638072#21", "text": "งานวิจัยต่อมาในปี ค.ศ. 1987 พบว่าการเข้าไปกวนความจำของรายการศัพท์ มีผลเป็นนัยสำคัญต่อความสามารถของผู้ร่วมการทดลองในการรู้จำคำในการทดสอบการรู้จำชัดแจ้ง แต่ว่า การกวนนั้นไม่มีผลต่อความจำโดยปริยายเกี่ยวกับรายการศัพท์นั้น[17] นอกจากนั้นแล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่มีสหสัมพันธ์โดยสถิติระหว่างความสามารถในการจำรายการศัพท์โดยชัดแจ้ง กับความสามารถที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจที่ได้รับประโยชน์จากปรากฏการณ์ priming เพื่อช่วยในการระบุคำที่เห็นมาแล้วในการทดสอบเติมคำให้เต็ม[18] ผลเหล่านี้แสดงผลที่ชัดเจนว่า ความจำโดยปริยายไม่ใช่เพียงแค่มีอยู่เท่านั้น แต่มีอยู่โดยเป็นระบบต่างหาก มีกระบวนการของตนเองที่ต่างจากความจำชัดแจ้งโดยนัยสำคัญ", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "556382#1", "text": "ส่วนความจำที่คู่กันก็คือ \"ความจำโดยปริยาย\" (implicit memory) หรือ \"ความจำเชิงไม่ประกาศ\" (non-declarative memory) หรือ \"ความจำเชิงกระบวนวิธี\" (procedural memory)\nซึ่งหมายถึงความจำที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจเช่นทักษะต่าง ๆ (ตัวอย่างเช่น ทักษะในการขี่จักรยาน) การเข้าถึงความจำโดยปริยายไม่ประกอบด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่เป็นการระลึกได้ด้วยความตั้งใจ ให้เทียบกับการระลึกถึงความจำชัดแจ้งซึ่งเป็นการระลึกได้พร้อมด้วยความรู้สึกตัว ตัวอย่างเช่น การระลึกถึงการหัดขับรถชั่วโมงหนึ่งได้เป็นตัวอย่างของการจำได้แบบชัดแจ้ง ส่วนทักษะการขับรถที่พัฒนาขึ้นเพราะการหัดขับรถนั้นเป็นตัวอย่างของการจำได้โดยปริยาย", "title": "ความจำชัดแจ้ง" }, { "docid": "638072#15", "text": "ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ทัศนคติโดยปริยาย (คือทัศนคติที่เรามีโดยไม่รู้ตัว) ควรจะจัดอยู่ใต้ความจำโดยปริยาย (คือ โดยบางส่วนแล้ว ทัศนคติโดยปริยายมีความเหมือนกับความจำเชิงกระบวนวิธีเพราะว่าอาศัยความรู้โดยปริยาย ที่ไม่สำนึกตัว ที่ได้เรียนรู้มาก่อนแล้วในอดีต) หรือว่า นี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่อธิบายได้โดยวิธีอื่น[12]", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "556382#37", "text": "แม้ว่า จะเป็นที่ยอมรับกันว่าสมองมนุษย์จะมีสภาพพลาสติก (คือสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์) \nก็ยังมีหลักฐานที่แสดงว่าการบาดเจ็บในกะโหลกศีรษะ (traumatic brain injury ตัวย่อ TBI) ในเด็กเล็กสามารถมีผลลบต่อความจำชัดแจ้ง\nนักวิจัยได้ทำการตรวจสอบทั้งเด็กทารกและเด็กท้ายวัยเด็ก\nงานวิจัยพบว่า เด็กที่มี TBI อย่างรุนแรงช่วงท้ายวัยเด็กประสบความเสียหายเกี่ยวกับความจำชัดแจ้ง ในขณะที่ไม่มีผลต่อการเกิดขึ้นของความจำโดยปริยาย \nและพบว่า เด็กที่มี TBI อย่างรุนแรงช่วงต้นวัยเด็กมีโอกาสสูงขึ้นที่จะมีความเสียหายทั้งในความจำชัดแจ้งและความจำโดยปริยาย\nแต่แม้ว่า เด็กที่มี TBI อย่างรุนแรงอาจเสี่ยงที่จะมีความจำชัดแจ้งเสียหาย แต่โอกาสที่จะมีความจำชัดแจ้งเสียหายในผู้ใหญ่ที่มี TBI ขั้นรุนแรงนั้นสูงกว่า", "title": "ความจำชัดแจ้ง" }, { "docid": "638072#11", "text": "เนื่องจากว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแม้ไม่รู้ตัว จึงเป็นผลของความจำโดยปริยาย ผู้ร่วมการทดลองบางพวกตัดสินข้อความที่เคยได้ยินแล้วว่าเป็นจริง แม้ว่าจะได้รับแจ้งมาก่อนแล้วว่าเป็นข้อความเท็จ[9] ปรากฏการณ์นี้แสดงภัยที่อาจจะมีเพราะความจำโดยปริยาย เพราะว่า สามารถที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่รู้ตัวเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อความ", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638072#7", "text": "มีหลักฐานโดยการทดลองที่บอกเป็นนัยว่า ทารกมีแต่ความจำโดยปริยายเพราะยังไม่สามารถที่จะดึงความรู้จากความทรงจำ (ชัดแจ้ง) ที่มีอยู่ โดยปกติแล้วเมื่อเจริญวัยขึ้น ก็จะสามารถระลึกถึงความจำได้อย่างจงใจ คือระลึกถึงความจำชัดแจ้งได้ แต่ว่า ก็มีข้อยกเว้นในคนไข้ภาวะเสียความจำ (amnesia) คือ แม้ว่าคนไข้จะยังสามารถเกิดความจำโดยปริยายอาศัยกระบวนการ priming ในระดับหนึ่ง และเนื่องจากว่า ความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) เป็นการตอบสนองโดยอัตโนมัติต่อสิ่งเร้าบางอย่าง เป็นความจำประเภทหนึ่งของความจำปริยาย คนไข้ภาวะเสียความความจำจึงไม่ปรากฏอาการผิดปรกติเมื่อมีพฤติกรรมโดยนิสัย (habit) ที่เกิดขึ้นอาศัยความจำเชิงกระบวนวิธี[7]", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638072#5", "text": "สิ่งที่ค้นพบในงานวิจัยต่าง ๆ เป็นปรากฏการณ์จำนวนมากมายจนกระทั่งว่ายังไม่มีทฤษฎีใดเดี่ยว ๆ ที่สามารถอธิบายสังเกตการณ์เหล่านั้นได้ทั้งหมด แต่ต้องมีทฤษฎี 2 ทฤษฎีที่ใช้อธิบายข้อมูลในส่วนต่าง ๆ กัน", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638138#0", "text": "Priming (หมายความว่า การเตรียมการรับรู้) เป็นปรากฏการณ์เกี่ยวกับความจำโดยปริยายที่การเปิดรับเอาสิ่งเร้าอย่างหนึ่งมีผลต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอีกอย่างหนึ่ง\nผลการทดลองที่มีอิทธิพลของเดวิด ไมเออร์ และรอเจอร์ ชวาเนเวลด์ท ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970\nมีผลให้เกิดงานวิจัยต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับ priming\nผลงานดั้งเดิมของพวกเขาแสดงว่า เราตัดสินใจได้เร็วกว่าว่า\nอักษรติด ๆ กันนั้นเป็นคำ ๆ หนึ่ง ถ้าคำนั้นตามหลังคำที่เกี่ยวข้องกันโดยความหมายหรือโดยความสัมพันธ์\nยกตัวอย่างเช่น เราสามารถกำหนดคำว่า \"นางพยาบาล\" ถ้าตามคำว่า \"นายแพทย์\" ได้เร็วกว่าถ้าตามคำว่า \"ขนมปัง\"\nงานการทดลองหลายงาน สนับสนุนทฤษฎีว่า\nการเกิดการทำงานทางประสาทที่กระจายไปเกี่ยวกับคำที่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับความง่ายขึ้นที่เห็นในแบบการทดลองที่ให้กำหนดว่าเป็นศัพท์หรือไม่เป็นศัพท์ (lexical decision task) .", "title": "Priming" }, { "docid": "645979#23", "text": "โดยเปรียบเทียบกันแล้ว ความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) หรือความจำโดยปริยาย (implicit memory) ไม่ใช่เป็นการระลึกถึงข้อมูลภายใต้อำนาจจิตใจ แต่เป็นการระลึกถึงข้อมูลที่ได้เรียนรู้โดยปริยาย (implicit learning) คือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแม้อาจจะจำเหตุการณ์เกี่ยวกับการเรียนนั้นไม่ได้\nความจำเชิงกระบวนวิธีเป็นความจำที่ใช้ในการเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skill) และพิจารณาว่า เป็นส่วนของความจำโดยปริยาย\nความจำนี้จะปรากฏก็ต่อเมื่อเราสามารถทำงานหนึ่ง ๆ ได้ดีขึ้นเพราะทำบ่อย ๆ แม้ว่าอาจจะไม่มีความจำชัดแจ้งเกี่ยวกับการฝึกซ้ำ ๆ กันนั้น \nเพราะการเข้าถึงทักษะที่ได้เรียนรู้ในประสบการณ์ครั้งก่อน ๆ เป็นไปโดยไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ\nความจำเชิงกระบวนวิธีที่มีบทบาทในการเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหว ต้องอาศัยส่วนต่าง ๆ ในสมองรวมทั้งซีรีเบลลัมและ basal ganglia", "title": "ความจำ" }, { "docid": "1938#82", "text": "ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ การจัดสรรหน่วยความจำในฮีปจำเป็นต้องกระทำพร้อมกับการใช้งานจริงด้วยตนเองในโปรแกรมใด ๆ ก็ตาม เพื่อให้มันสามารถนำกลับมาใช้ใหม่มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีตัวชี้ไปยังฮีปที่ถูกจัดสรรนอกขอบเขต หรือค่าของตัวชี้ถูกเขียนทับก่อนเรียกใช้ codice_208 จะทำให้หน่วยความจำที่ตำแหน่งนั้นไม่สามารถเรียกคืนเพื่อใช้ใหม่ภายหลังและสูญเสียไปกับโปรแกรม อันเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า \"[[หน่วยความจำรั่ว]]\" (memory leak) ในทางกลับกัน การปลดปล่อยหน่วยความจำเร็วเกินไปแล้วยังคงใช้งานอยู่ซึ่งเป็นไปได้ แต่เนื่องจากระบบจัดสรรหน่วยความจำสามารถจัดสรรอีกครั้งหรือใช้หน่วยความจำที่ถูกทำให้ว่าง พฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้ก็อาจเกิดขึ้น โดยปกติอาการจะปรากฏในส่วนของโปรแกรมที่อยู่ไกลจากจุดที่ทำให้เกิดความผิดพลาดจริง ทำให้ตรวจแก้ปัญหาได้อย่างยากลำบาก ปัญหาเช่นนี้ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในภาษาโปรแกรมที่มี[[การเก็บกวาดข้อมูลขยะ|การเก็บกวาดข้อมูลขยะอัตโนมัติ]]", "title": "ภาษาซี" }, { "docid": "638072#20", "text": "งานวิจัยเดียวกันทดสอบผลต่อความจำโดยการเตรียมการรับรู้ (priming) ทางการได้ยิน แล้วทดสอบโดยใช้สิ่งเร้าทางตา ในกรณีนี้ ผลที่เกิดจากการเตรียมการรับรู้ไม่ลดน้อยถอยหลงไปเมื่อทดสอบความจำชัดแจ้งโดยถามตรง ๆ ว่า สามารถจำว่าได้ยินคำนี้มาก่อนในส่วนแรกของการทดลองบ้างไหม แต่ในการทดสอบความจำโดยปริยาย ผลของการเตรียมการรับรู้ลดน้อยถอยลงไปอย่างยิ่งเพราะการเปลี่ยนประสาทสัมผัส[16] ระหว่างส่วนที่ศึกษาคำ (ด้วยการได้ยิน) และส่วนที่มีการทดสอบ (ด้วยการเห็น)", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "645914#54", "text": "โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว งานวิจัยเกี่ยวกับผลของยาต่อความจำเชิงกระบวนวิธียังมีน้อย ซึ่งเป็นผลจากความจริงว่า ความจำเชิงกระบวนวิธีเป็นความจำโดยปริยายและดังนั้นจึงยากที่จะทดสอบ ไม่เหมือนกับความจำเชิงประกาศซึ่งชัดเจนกว่าและสามารถทดสอบได้ง่ายกว่าเพื่อกำหนดผลของยา", "title": "ความจำเชิงกระบวนวิธี" }, { "docid": "710179#0", "text": "จิตไร้สำนึก () ประกอบด้วยกระบวนการในจิตซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและไม่สามารถพินิจภายในได้ มีกระบวนการคิด ความจำ อารมณ์และแรงจูงใจ แม้กระบวนการเหล่านี้มีอยู่ใต้ผิวของความตระหนักพิชาน (conscious) แต่มีทฤษฎีว่า จิตไร้สำนึกส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรม คำนี้บัญญัติโดย ฟรีดริช เชลลิง นักปรัชญาจินตนิยมชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และภายหลังเซมาเอล เทย์เลอร์ โคละริดจ์ กวีและผู้เขียนงานประพันธ์ นำเข้ามาในภาษาอังกฤษ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นักประสาทวิทยาและนักจิตวิเคราะห์ชาวออสเตรียพัฒนาและเผยแพร่มโนทัศน์ดังกล่าว หลักฐานเชิงประจักษ์แนะว่า ปรากฏการณ์ไร้สำนึกมีความรู้สึกที่ถูกกดเก็บ ทักษะอัตโนมัติ สัญชานใต้ระดับ (subliminal perception) ความคิด นิสัยและปฏิกิริยาอัตโนมัติ และอาจยังมีปม (complex) ความกลัวและความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เข้าใจว่ากระบวนการไร้สำนึกแสดงออกในฝันในรูปสัญลักษณ์ เช่นเดียวกับการพลั้งปาก (slips of the tongue) และมุกตลก ฉะนั้น จึงมองได้ว่าจิตไร้สำนึกเป็นบ่อเกิดของฝันและความคิดอัตโนมัติ (ที่ปรากฏโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน) คลังความจำที่ถูกลืม (ซึ่งยังอาจเข้าถึงพิชานในภายหลัง) และที่ตั้งของความรู้โดยปริยาย (implicit knowledge, หมายถึง สิ่งที่สิ่งที่เรียนรู้มาอย่างดีจนทำได้โดยไม่ต้องคิด)", "title": "จิตไร้สำนึก" }, { "docid": "638072#16", "text": "มีหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงว่า ความจำโดยปริยายโดยมากต่างจากความจำชัดแจ้ง และทำงานภายใต้กระบวนการที่ต่างกันในสมอง งานวิจัยเร็ว ๆ นี้ได้พุ่งความสนใจไปในการศึกษาความแตกต่าง โดยเฉพาะในการศึกษาคนไข้ภาวะเสียความจำและผลของปรากฏการณ์ priming", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638072#6", "text": "มีแนวทางสองแนวในการศึกษาความจำโดยปริยาย แนวทางแรกคือการกำหนดลักษณะของความจำชัดแจ้ง (คืออะไรที่ไม่ใช่หน้าที่ของความจำชัดแจ้งก็ต้องเป็นหน้าที่ของความจำโดยปริยาย) ถ้าคนที่มีความจำปกติสามารถผ่านการทดสอบเช่น จำรายการศัพท์ได้ คนนั้นกำลังระลึกถึงความจำนั้นใต้อำนาจจิตใจ แนวทางที่สองไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองทั้งที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจและที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ แต่ขึ้นอยู่กับตัวแปรอิสระหลายอย่างซึ่งมีผลต่อการตอบสนองของความจำโดยปริยายและความจำชัดแจ้ง[7]", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638072#10", "text": "ทฤษฎีเกี่ยวกับ \"ปรากฏการณ์ความจริงลวง\" (illusion-of-truth effect) แสดงว่า เรามีโอกาสที่จะเชื่อข้อความที่คุ้นเคยมากกว่าข้อความที่ไม่คุ้นเคย ในการทดลองในปี ค.ศ. 1977 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองอ่านข้อความ 60 ข้อความที่อาจเป็นไปได้ทุก ๆ 2 อาทิตย์แล้วให้ตัดสินใจว่า เป็นจริงหรือเท็จ ข้อความที่ให้อ่านบางส่วน (เป็นจริงบ้าง เท็จบ้าง) ปรากฏเกินกว่า 1 ครั้งในช่วงการทดลองต่าง ๆ ผลการทดลองแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองมีโอกาสมากกว่าที่จะตัดสินใจว่าข้อความเป็นจริง ถ้าเป็นข้อความที่เคยได้ยินมาแล้ว แม้ว่าจะจำไม่ได้ว่าเคยได้ยินมาแล้ว ไม่ว่าข้อความนั้นจะเป็นจริงหรือเท็จ", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "568311#12", "text": "ในบทความปี ค.ศ. 1990 ที่พิมพ์ใน วารสารจิตเวชศาสตร์แห่งประเทศอังกฤษ (British Journal of Psychiatry) นักจิตวิทยาเฮเด็น เอ็ลลิส และแอนดี้ ยัง ได้ตั้งสมมุติฐานว่า คนไข้อาการหลงผิดคะกราส์อาจจะมีภาวะตรงกันข้ามกันกับภาวะไม่รู้ใบหน้า คือว่า ในอาการหลงผิดคะกราส์ ความสามารถเหนือสำนึกเพื่อรู้จำใบหน้าไม่มีความเสียหาย แต่อาจจะมีความเสียหายในระบบที่ก่อให้เกิดความเร้าความรู้สึกโดยอัตโนมัติ (คือไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) ต่อใบหน้าที่มีความคุ้นเคย[20] ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่คนไข้สามารถรู้จำบุคคลได้ แต่กลับมีความรู้สึกว่า มีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติในบุคคลนี้ ในปี ค.ศ. 1997 เฮเด็น เอ็ลลิสและคณะ ได้พิมพ์ผลงานวิจัยในคนไข้ 5 คนที่มีอาการหลงผิดคะกราส์ ผู้ล้วนแต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท เอ็ลลิสได้รับรองยืนยันสมมุติฐานของตนว่า ถึงแม้ว่า คนไข้จะสามารถรู้จำใบหน้าโดยจิตเหนือสำนึก แต่กลับไม่แสดงความเร้าทางความรู้สึกที่ควรแสดง[21] คือ คนไข้แสดงความรู้สึกอัตโนมัติเหมือนกับเจอกับคนแปลกหน้า ส่วนงานวิจัยของยัง (ค.ศ. 2008) ได้ตั้งสมมุติฐานว่า คนไข้ที่มีโรคนี้สูญเสียความคุ้นเคย ไม่ใช่บกพร่องความคุ้นเคย[22]", "title": "อาการหลงผิดคะกราส์" }, { "docid": "645914#22", "text": "Serial reaction time (SRT) เป็นงานที่ใช้วัดการเรียนรู้โดยปริยาย (implicit learning)[15] ในงาน SRT ผู้ร่วมการทดลองจะต้องตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มีจำกัด ซึ่งเป็นตัวช่วย (cue) ชี้ว่า ต้องตอบสนองอย่างไร (เช่น จะต้องกดปุ่มไหน). โดยที่ผู้ร่วมการทดลองไม่รู้ จะมีความน่าจะเป็นสัมพันธ์กับสิ่งเร้า (เช่นจุดแสงบนจอคอมพิวเตอร์) ซึ่งเป็นตัวกำหนดสิ่งเร้าที่จะปรากฏต่อไป จากสิ่งเร้าหนึ่งไปสู่อีกสิ่งเร้าหนึ่ง และดังนั้น สิ่งเร้าที่จะปรากฏต่อไปสามารถจะพยากรณ์ได้โดยความน่าจะเป็น และดังนั้น การตอบสนอง (reaction time) ของผู้รับการทดสอบจะเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่าผู้ร่วมการทดลองเกิดการเรียนรู้และใช้ความน่าจะเป็น (โดยไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) จากสิ่งเร้าไปสู่สิ่งเร้า[16]", "title": "ความจำเชิงกระบวนวิธี" }, { "docid": "638072#17", "text": "หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับความต่างกันของความจำโดยปริยายและความจำชัดแจ้งอยู่ในงานวิจัยที่ศึกษาคนไข้ภาวะเสียความจำ (amnesia) ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องความจำเชิงกระบวนวิธี คนไข้ภาวะเสียความจำไม่มีความบกพร่องในการเรียนรู้งานและกระบวนวิธีที่ไม่ใช้ความจำชัดแจ้ง ในงานวิจัยหนึ่ง คนไข้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงเกี่ยวกับความจำศัพท์แบบระยะยาว แต่ไม่มีความเสียหายในการเรียนรู้การงานใหม่ที่เรียกว่า pursuit rotor (ดูรูป) คนไข้แสดงการพัฒนาขึ้นเมื่อทำงานซ้ำ ๆ แม้ว่าในแต่ละครั้งจะยืนยันว่าไม่เคยเห็นเกมนี้มาก่อน[13] ผลงานวิจัยนี้แสดงว่า กลไกของความจำเชิงประกาศระยะยาวไม่เหมือนกับความจำโดยปริยาย นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยหลายงานที่ใช้เทคนิค priming ในคนไข้ภาวะเสียความจำยังแสดงว่า ความจำโดยปริยายไม่เกิดความเสียหายแม้ว่าจะมีความเสียหายต่อความจำชัดแจ้งอย่างรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น คนไข้และกลุ่มควบคุมแสดงการทำได้ดีขึ้นในระดับเท่า ๆ กันในเรื่องการเติมคำให้เต็มที่เป็นผลจากปรากฏการณ์ priming แม้ว่าจะจำไม่ได้ว่าได้ทำบททดสอบนั้นมาก่อนแล้ว[14] การที่ปรากฏการณ์ priming เกิดขึ้นโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องจากความจำชัดแจ้งแสดงว่า ระบบความจำทั้งสองมีหน้าที่ต่าง ๆ กันในสมอง", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638072#0", "text": "ความจำโดยปริยาย[1] (English: Implicit memory) เป็นความจำประเภทหนึ่งที่ประสบการณ์ในอดีตช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่ไม่ต้องมีการระลึกรู้ใต้อำนาจจิตใจถึงประสบการณ์ในอดีตนั้น[2] หลักฐานว่ามีความจำโดยปริยายเห็นได้ในปรากฏการณ์ priming (การเตรียมการรับรู้) ซึ่งเป็นการวัดผู้รับการทดลองว่ามีทักษะในงานหนึ่ง ๆ ดีขึ้นเท่าไรเพราะการเตรียมตัวที่ให้กับผู้ทดลองโดยที่ไม่รู้ตัว[3][4]", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "645914#0", "text": "ความจำเชิงกระบวนวิธี[1] (English: procedural memory) เป็นความจำเพื่อการปฏิการงานประเภทใดประเภทหนึ่ง เป็นความจำที่นำไปสู่พฤติกรรมเชิงกระบวนวิธีต่าง ๆ เป็นระบบที่อยู่ใต้สำนึก คือเมื่อเกิดกิจที่ต้องกระทำ จะมีการค้นคืนความจำนี้โดยอัตโนมัติเพื่อใช้ในการปฏิบัติตามกระบวนวิธีต่าง ๆ ที่มีการประสานกันจากทั้งทักษะทางประชาน (cognitive) และทักษะการเคลื่อนไหว (motor) มีตัวอย่างต่าง ๆ ตั้งแต่การผูกเชือกรองเท้าไปจนถึงการขับเครื่องบินหรือการอ่านหนังสือ ความจำนี้เข้าถึงและใช้ได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมหรือความใส่ใจเหนือสำนึก (ที่เป็นไปใต้อำนาจจิตใจ) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาว (long-term memory) และโดยเฉพาะแล้ว เป็นประเภทหนึ่งของความจำโดยปริยาย (implicit memory) ความจำเชิงกระบวนวิธีสร้างขึ้นผ่าน \"การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธี\" (procedural learning) คือการทำกิจที่มีความซับซ้อนนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งระบบประสาทที่เกี่ยวข้องจะสามารถทำงานร่วมกันโดยอัตโนมัติเพื่อให้เกิดการกระทำนั้น ๆ การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธีที่เป็นไปโดยปริยาย (คือไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) เป็นสิ่งที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวหรือแม้แต่ทักษะทางประชาน", "title": "ความจำเชิงกระบวนวิธี" }, { "docid": "638072#9", "text": "ทฤษฎีระบบความจำหลายระบบแสดงว่า ความจำโดยปริยาย (implicit memory) และความจำชัดแจ้ง (explicit memory) ต่างกันเพราะมีโครงสร้างที่เป็นมูลฐานต่างกัน คือบอกว่า ความจำชัดแจ้งเป็นส่วนของระบบความจำเชิงประกาศ (declarative memory) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างตัวแทน (ทางประสาท) ของข้อมูล โดยเปรียบเทียบกัน ความจำโดยปริยายเป็นส่วนของระบบความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) ที่ความจำเป็นเพียงแค่การปรับปรุงกระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติที่มีอยู่แล้ว[2]", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638072#12", "text": "ความจำโดยปริยายที่เราใช้ทุกวันอย่างนี้เรียกว่า ความจำเชิงกระบวนวิธี หรือ ความจำเชิงดำเนินการ หรือ ความจำเชิงกระบวนการ[1] (procedural memory) ซึ่งทำให้เราสามารถทำกิจต่าง ๆ (เช่นเขียนหนังสือหรือขี่จักรยาน) แม้ว่าเราจะไม่ใส่ใจ หรือไม่ได้คิดถึงการกระทำนั้น", "title": "ความจำโดยปริยาย" }, { "docid": "638072#8", "text": "กระบวนการเริ่มการทำงาน (activation processing) เป็นส่วนแรกของทฤษฎีสองกระบวนการ (dual processing theory) ของ ศ. แมนด์เลอร์ ผู้เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันชั้นแนวหน้ากลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ศ. แมนด์เลอร์แสดงว่า มีกระบวนการสองอย่างที่ทำงานกับแบบจำลอง (mental representation) ในสมอง กระบวนการแรกคือ การเริ่มทำ (activation) ซึ่งเพิ่มการทำงานที่ทำให้ความจำหนึ่ง ๆ เด่นขึ้น เป็นการเพิ่มความคุ้นเคยให้กับความจำนั้น ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ priming ส่วนกระบวนการที่สองก็คือ การทำเพิ่ม (elaboration) ซึ่งเป็นการเข้ารหัสความจำชัดแจ้งที่มีส่วนในกระบวนการ<i data-parsoid='{\"dsr\":[6111,6122,2,2]}'>เริ่มทำ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ระหว่างความจำต่าง ๆ ที่มีอยู่[8]", "title": "ความจำโดยปริยาย" } ]
4038
ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์ เคยออกอากาศทางสถานีช่องใดก่อนที่ย้ายมาออกอากาศทางช่อง 3 ?
[ { "docid": "674776#0", "text": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์ (Hollywood Game Night Thailand) หรือชื่อเดิม ซุป'ตาร์ปาร์ตี้ (CELEBRITY GAME NIGHT) เป็นรายการวาไรตี้เกมโชว์ที่ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากรายการ \"Hollywood Game Night\" โดยมีวิลลี่ แมคอินทอช เป็นผู้ดำเนินรายการ ผลิตรายการโดย บริษัท มีมิติ จำกัด (ในซุป'ตาร์ปาร์ตี้ บริษัท เดอะวัน เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด ฝ่ายบริหารรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ช่องวัน ในสังกัด เอ็กแซ็กท์ เป็นผู้ผลิตรายการร่วม) ออกอากาศครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์ช่องวัน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557 จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยย้ายเวลาออกอากาศทั้งหมด 4 ครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม รายการนี้ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งแต่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อรายการไปเป็นชื่อเดียวกันกับรายการจากสหรัฐอเมริกา ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18:20 - 19:50 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ ช่อง 3 เอชดี โดยออกอากาศในรูปแบบซีซั่นฤดูกาล โดยในฤดูกาลที่ 1 ออกอากาศเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 จนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ.2561 จนถึงปัจจุบัน", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" } ]
[ { "docid": "674776#13", "text": "เหมียวรามา แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่ปุ่ม พิธีกรจะเปิดภาพจำของภาพยนตร์บนจอด้านหลัง แต่ตัวละคร,สิ่งมีชีวิตในภาพจะถูกแทนที่ด้วยแมว คนที่กดปุ่มก่อนจะได้ตอบว่าเป็นภาพจากภาพยนตร์เรื่องอะไร หากตอบถูกจะได้คะแนน แต่ถ้าตอบผิดอีกฝ่ายจะมีสิทธิตอบ หากยังไม่มีใครตอบได้ พิธีกรจะมีคำใบ้ให้", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "21299#5", "text": "เกมชีวิต ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยการผลิตของ กันตนา เมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 (วันอาทิตย์ เวลา 17.00 น.) ซึ่งตอนนั้นได้ใช้รูปแบบรายการของเซอร์ไวเวอร์ (Survivor) แต่รูปแบบของของการเล่นเกมส์จะเปลี่ยนทุกซีซั่น ในซีซั่นที่ 3 จึงได้เสียงตอบรับที่ไม่ดีในด้านการดำเนินเกมส์ที่ใช้วิธีของทางทหาร สร้างความกดดันทั้งผู้เล่นเกมส์และคนดู จนคนดูไม่สามารถรับได้ จึงได้ยุติลงในที่สุด Survivor ในประเทศไทย ได้ออกอากาศทางฟรีทีวีและทางเคเบิลทีวี โดยลิขสิทธิ์ทางฟรีทีวี เป็นลิขสิทธิ์ของกันตนา (ฉายฤดูกาลที่ 1-3 ทางช่อง 5 เวลา 19.30 น.- 20.00 น. และฤดูกาลที่ 4-5 ทางช่อง 9 เวลา 22.00 น.-23.00 น. เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546) ส่วนลิขสิทธิ์ทางเคเบิลทีวี คือ ทรูวิชั่นส์ โดยฉายฤดูกาลที่ 1-3 ตามหลังอเมริกาประมาณ 3 เดือนทางช่อง AXN และฉายฤดุกาลที่ 5-ฤดูกาลล่าสุด ตามหลังอเมริกาประมาณ 7 ชั่วโมง ทางช่อง True Series พร้อมทั้งยังมีการออกอากาศซ้ำหลายรอบ (ฤดูกาลที่ 4 เป็นฤดูกาลเดียวที่ไม่ได้ฉายทาง ทรูวิชั่นส์) เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ออกอากาศทางสถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา รักแท้บทที่ 1 ออกอากาศทางสถานีกองทัพบกช่อง5 ในปี พ.ศ. 2548 (วันศุกร์ เวลา 20.30 น.) ผลิตรายการโดย แกรมมี่ เทเลวิชั่น เป็นเรียลลิตีประเภทนัดบอด แต่เนื่องด้วยจากกระแสวิจารณ์ทางสังคม ที่ตีความเนื้อหาของรายการผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงถูกยุติบทบาทลงไปในไม่กี่เดือน ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ออกอากาศทางเคเบิลทีวี ทาง ทรูวิชั่นส์ ซึ่งทรูได้ซื้อลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และได้ออกอากาศทางฟรีทีวีตั้งแต่ ซีซั่น 2 โดย ซีซั่น 2 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2548 และเมื่อขึ้นซีซั่นที่ 3 ได้ออกกาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ในปี พ.ศ. 2549 โดยโมเดิร์นไนน์ทีวีได้ออกอากาศซีซั่นที่ 3 ถึงซีซั่นที่ 10 (พ.ศ. 2549 - 2556) และเปลี่ยนไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลทรูโฟร์ยูในซีซั่นที่ 11 (พ.ศ. 2557) จนถึงปัจจุบัน เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทยและเป็นรายการเรียลลิตีโชว์รายการแรกของไทยที่ถ่ายทอดสดการใช้ชีวิตของผู้เข้าแข่งขันในบ้านตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่ต้นจนจบฤดูกาล UBC Human Resource เป็นรายการประเภทหางาน จัดโดยทรูวิชั่นเองทั้งหมด รูปแบบรายการไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ไม่ตื่นเต้น ไม่สนุกสนาน ไม่สามารถดึงดูดผู้ชมไม่ว่าจะทางด้านใดๆ ได้เลย อีกทั้งยังออกอากาศเฉพาะในทรูเท่านั้น ทำให้รายการไม่เป็นที่รู้จักแต่อย่างใด บิ๊ก บราเธอร์ โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรก วันที่ 2 เมษายน 2548 ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และทางเคเบิล ทางUBC ช่อง 16 (ตลอด 24 ชม.) จนรายการจบ", "title": "เรียลลิตีโชว์" }, { "docid": "674776#23", "text": "ทีวีพันธุ์ผสม แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่ปุ่ม พิธีกรจะโชว์ภาพจากรายการทีวี,ละคร 2 รายการผสมกันบนจอด้านหลังพร้อมกับบอกคำใบ้ให้ คนที่กดปุ่มก่อนจะได้ตอบว่าเป็นรายการทีวี,ละครอะไรผสมกับอะไร หากตอบถูกจะได้คะแนน แต่ถ้าตอบผิดอีกฝ่ายจะมีสิทธิตอบ", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#4", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ เป็นสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีในประเทศไทย 24 ชั่วโมง เป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างเอ็มทีวีเอเชียเน็ทเวิร์ค และบริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด ภายใต้การบริหารงานของบริษัท มิวสิก เทเลวิชั่น เน็ทเวิร์ค จำกัด (บริษัทในเครือบริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544[3] โดยรายการแรกที่ออกอากาศคือรายการ เอ็มทีวีไทยแลนด์ฮิตลิสต์ ดำเนินรายการโดย วีเจแองจี้ ส่วนมิวสิกวิดีโอเพลงแรกที่เปิดคือเพลง \"พันธ์ทิพย์\" ของโลโซ ส่วนเพลงสากลเพลงแรกที่ออกอากาศคือเพลง \"ป็อป\" ของวงเอ็นซิงก์[4] โดยออกอากาศทางช่องยูบีซี 49 แทนช่องเอ็มทีวีเอเชียที่มีอยู่เดิมทางยูบีซี[5] ต่อมา 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ยูบีซีได้จัดลำดับเลขช่องรายการใหม่ โดยย้ายจากช่อง 49 มาอยู่ที่ช่อง 32[6]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "148402#5", "text": "สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (14 ตุลาคม 2532 - 28 ธันวาคม 2540) รวม 7 ปี 2 เดือน 14 วัน เป็นยุคที่เริ่มต้นการออกอากาศของเวทีทอง ในบ่ายวันเสาร์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นย้ายมาเป็นวันอาทิตย์ในช่วง 11 โมง พร้อมกับเพิ่มเวลาเป็น 1 ชั่วโมง 10 นาที ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคกิ๊ก-หม่ำ เมื่อปลายปี 2535 - 2540 จนกระทั่งต้องย้ายการออกอากาศเมื่อช่อง 7 ได้มีนโยบายออกมาให้ทุกรายการของสถานีผลิตรายการด้วยต้นทุนที่ต่ำลงเนื่องจากเหตุการณ์สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 แต่ทางเวิร์คพอยท์ยอมรับนโยบายนี้ไม่ได้ จึงถอนทุกรายการออกจากสถานีทั้งหมด อาทิ \"ชิงร้อยชิงล้าน\" รวมถึง \"เวทีทอง\" ด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (3 มกราคม พ.ศ. 2541 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) รวม 1 ปี 7 เดือน 28 วัน ออกอากาศเป็นระยะเวลาน้อยที่สุด เป็นอยู่ที่เพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 1 ชั่วโมง 15 นาทีพร้อมกับกลับมาออกอากาศวันเสาร์อีกครั้งและเป็นต้นกำเนิดของ \"เวทีทอง Magic\" ในยุคนี้ เวทีทองยุคนี้ทั้งย้ายช่อง, วัน ,เวลาออกอากาศ มาเป็น 9 โมงเช้าของวันเสาร์ ส่งผลให้ไม่ได้รับความนิยมมาก เท่าเดิมที่อยู่ช่อง 7 และต้องย้ายการออกอากาศอีกครั้งเนื่องจากมีปัญหาด้านเวลาออกอากาศ", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "343309#5", "text": "ทีวีแชมป์เปี้ยนได้นำเทปออกอากาศในญี่ปุ่นเข้ามาประเทศไทยทั้ง 6 ครั้งด้วยกันโดยครั้งแรกออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี. ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 19.00-19.30 โดยผู้ที่ออกอากาศคือบริษัท อีฟนิ่งสตาร์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2546 ครั้งที่ 2 ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเปลี่ยนเสียงทีมพากย์เดิมเป็นเสียงพากย์ทางช่อง 3 ออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 14.00 น. โดยประมาณออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 3 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์โดยออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 20.30-21.30 โดยผู้ที่นำออกอากาศคือ บริษัท เดย์ โอเพทส์ จำกัด (มหาชน) โดยนำเทปยุคสุดท้ายของรายการ ครั้งที่ 4 ออกอากาศทางทรูเอ็กไซท์โดยนำเทปทุกซีซั่น ครั้งที่5 ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ทีวี และครั้งล่าสุด ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวีออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 13.00-14.00 นอกจากนี้ประเทศไทยได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการทีวีแชมป์เปี้ยนโดยครั้งแรกที่ถูกซื้อคือบริษัท กันตนา โดยใช้ชื่อว่า \"ทีวีแชมป์เปี้ยนไทยแลนด์\" ในปี พ.ศ. 2539", "title": "ทีวีแชมเปียน" }, { "docid": "674776#1", "text": "ผู้เข้าแข่งขัน 2 ทีม (ประกอบด้วยผู้ชมทางบ้านเป็นหัวหน้าทีม และดารารับเชิญ (ซุป'ตาร์) เป็นลูกทีมอีก 3 คน) แข่งขันเกมทั้งหมด 4 เกม เกมที่ 1-2 คะแนนข้อละ 1 คะแนน, เกมที่ 3 คะแนนข้อละ 2 คะแนน, เกมที่ 4 คะแนนข้อละ 5 คะแนน ทีมที่ทำคะแนนรวมจากทั้ง 4 เกมได้สูงที่สุด หัวหน้าทีมจะมีสิทธิเข้าไปเล่นรอบแจ็คพ็อต (ในกรณีที่คะแนนเสมอกัน ทีมที่ตอบคำถามถูกต้องมากที่สุด หัวหน้าทีมจะมีสิทธิเข้าไปเล่นรอบแจ็คพ็อต)", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#14", "text": "เพลงดีคีย์เดียว แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่ปุ่ม พิธีกรจะเปิดเพลงที่เนื้อร้องถูกคอมพิวเตอร์ทำให้เป็นคีย์เดียวและไม่มีทำนองให้ คนที่กดปุ่มก่อนจะได้ตอบว่าเพลงนั้นชื่ออะไร หากตอบถูกจะได้คะแนน แต่ถ้าตอบผิดอีกฝ่ายจะมีสิทธิตอบ หากยังไม่มีใครตอบได้ พิธีกรจะเปิดเพลงต่อจนกว่าจะมีคนตอบถูก", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#3", "text": "ตบ ติด ตอบ ผู้เล่นทุกคนนั่งอยู่ที่โซฟาของตัวเอง พิธีกรจะบอกหมวดคำแล้วอ่านคำตอบไปเรื่อย ๆ เมื่อผู้เล่นได้ยินคำตอบที่อยู่ในหมวดคำที่กำหนดให้ลุกขึ้นมากดปุ่ม ถ้าตอบถูกจะได้คะแนนและสามารถไล่ฝั่งตรงข้ามออกจากเกมให้ไปนั่งที่เคาน์เตอร์บาร์ได้ แต่ถ้าตอบผิด คนที่ลุกมากดปุ่มจะต้องออกจากเกมเองและฝั่งตรงข้ามจะได้คะแนนแทน เกมจะจบลงเมื่อมีทีมใดทีมหนึ่งออกจากเกมครบทุกคน", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "207875#1", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ฮา ฮอลิเดย์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกในชื่อ ชิงร้อยชิงล้าน ฮามหัศจรรย์วันหยุด เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (วันปิยมหาราช) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในช่วงเวลาเดิมของรายการ ระเบิดเถิดเทิง วันหยุด และเมื่อรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ย้ายมาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ชิงร้อยชิงล้าน ฮามหัศจรรย์วันหยุด ก็ย้ายมาออกอากาศทางช่องเดียวกันด้วย เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2549 (วันจักรี) และในช่วงปี พ.ศ. 2552 รายการได้ปรับเปลี่ยนชื่อโดยตัดคำว่า \"ฮา\" ออก เหลือแต่เพียง ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด เท่านั้น และออกอากาศเรื่อยมาจนถึง 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (วันชดเชยวันรัฐธรรมนูญ) กระทั่งเมื่อ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ย้ายมาออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด จึงได้ย้ายไปออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 ด้วย พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ชิงร้อยชิงล้าน ฮา ฮอลิเดย์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555 (วันมาฆบูชา) ในเวลา 10.40 - 11.40 น. แต่ภายหลังได้มาออกอากาศในเวลา 10.00 - 11.00 น. จนถึงปัจจุบัน ", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ฮาฮอลิเดย์" }, { "docid": "52015#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2555 มติชนได้รุกเข้าสู่การผลิตรายการโทรทัศน์อย่างเต็มรูปแบบ โดยร่วมผลิตรายการข่าวกับช่องเวิร์คพอยท์ โดยเริ่มออกอากาศวันแรกในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555[1] ต่อมาจึงได้เพิ่มภาคข่าวต่างๆและข่าวต้นชั่วโมงเรื่อย ๆ จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2558 ช่องเวิร์คพอยท์เรียกเวลารายการข่าวซึ่งเป็นของมติชนทีวีเดิม มาผลิตเอง[2] มติชนทีวีจึงย้ายไปร่วมผลิตรายการกับทาง วอยซ์ทีวี แทน โดยได้ผลิตรายการข่าวเศรษฐกิจ (มติชนสมาร์ตบิซ) และ รายการข่าววันเสาร์-อาทิตย์ (มติชนวีคเอนด์) ออกอากาศทางวอยซ์ทีวีด้วย [3] จนกระทั่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 วอยซ์ทีวีเรียกเวลารายการเดิมของมติชนทีวีมาผลิตเองทั้งหมด โดยช่วงเวลาของรายการมติชนสมาร์ตบิซแทนที่ด้วยรายการ บิซฟีด ส่วนช่วงเวลาของรายการมติชนวีคเอนด์แทนที่ด้วยรายการทูไนท์ไทยแลนด์ วันเสาร์-อาทิตย์", "title": "มติชน" }, { "docid": "154932#2", "text": "ในส่วนของประเทศไทยเคยออกอากาศทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกันโดยครั้งแรกได้ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2528 และครั้งที่ 2 ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในชื่อ จัสเปี้ยน เมื่อปี พ.ศ. 2530 - 2531 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 10.00-10.30 น. อย่างไรก็ตามได้ออกอากาศอีกครั้งในทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท (โมเดิร์นไนน์ทีวี) ในชื่อ จิ้งจอกอวกาศจัสเปี้ยน เมื่อปี 2543 โดยทีมพากย์ น้าต๋อย เซมเบ้ โดยออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00น. และเคยจัดจำหน่ายรูปแบบวิดีโอเป็นของบริษัท วิดีโอสแควร์ จำกัด ในชื่อ จิ้งจอกอวกาศจัสเปี้ยน", "title": "จิ้งจอกอวกาศจัสเปี้ยน" }, { "docid": "674776#8", "text": "ใบ้ระเบิด แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่โถแล้วผลัดกันหยิบคำใบ้ในโถขึ้นมาใบ้ให้เพื่อนร่วมทีมทาย เมื่อเพื่อนร่วมทีมตอบถูกให้ผลักโถไปฝั่งตรงข้าม ผลัดกันใบ้จนกว่าโถระเบิด โถระเบิดที่ใคร ทีมนั้นจะไม่ได้คะแนน ส่วนอีกทีมจะได้คะแนนตามจำนวนคำที่ใบ้ได้", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#9", "text": "ใบ้คนละคำ ลูกทีมซุป'ตาร์ทั้ง 3 คนจะต้องใบ้คำให้หัวหน้าทีมทาย โดยสามารถใบ้ได้แค่คนละหนึ่งพยางค์ต่อกัน และหัวหน้าทีมสามารถตอบได้แค่ข้อละครั้งเดียว มีเวลาเล่น 90 วินาที", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#22", "text": "ถอดสระหนังดัง แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่ปุ่ม พิธีกรจะโชว์ชื่อภาพยนตร์ที่เอาสระ,วรรณยุกต์ออกไป เหลือแต่พยัญชนะ บนจอด้านหลัง คนที่กดปุ่มก่อนจะได้ตอบว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องอะไร หากตอบถูกจะได้คะแนน แต่ถ้าตอบผิดอีกฝ่ายจะมีสิทธิตอบ หากยังไม่มีใครตอบได้ พิธีกรจะแสดงตำแหน่งของสระ,วรรณยุกต์ให้", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "82514#1", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 2 ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ตั้งแต่วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยมี บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมผลิตด้วยจนถึง พ.ศ. 2552 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกครั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 จนปัจจุบันได้ย้ายมาออกอากาศทาง ช่องเวิร์คพอยท์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน" }, { "docid": "674776#6", "text": "ชื่อฝรั่ง ฝั่งไทย แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่ปุ่ม พิธีกรจะบอกชื่อภาพยนตร์ที่เป็นภาษาไทย คนที่กดปุ่มก่อนจะได้ตอบว่าชื่อภาษาอังกฤษของภาพยนตร์เรื่องนั้นคืออะไร ถ้าไม่มีใครตอบได้ พิธีกรจะมีภาพโปสเตอร์หนังขึ้นบนจอทีละนิดให้ดู", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#29", "text": "หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่องวัน หมวดหมู่:เกมโชว์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2557 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2559 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 3 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2560", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "21299#7", "text": "ไฮโซบ้านนอก ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2548 เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของ คชาภา ตันเจริญ (มดดำ) ซึ่งเป็นคนเปิดเผยและค่อนข้างตรง ทำให้บางครั้งเรื่องราวเกิดขึ้นเพียงคนๆ เดียว เช่น เกือบเผาบ้าน หรือแม้แต่วีนใส่ทีมงาน และอีกอย่าง เนื่องด้วยไฮโซบ้านนอก เป็น เรียลลิตีโชว์แบบเฟค (ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตจริง แต่ทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน ต่างรู้เรื่องราวกันเป็นอย่างดีโดยที่ผู้ชมทางบ้านไม่รู้ว่า นี่คือ การสมรู้ร่วมคิดกันของทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน) ทำให้ถูกวิจารณ์และทำให้ความหมายของคำว่า เรียลลิตีโชว์ ในไทย แปลความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม รายการตัวจริง ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2549 ค้นหาพิธีกรโทรทัศน์ The Arsenal Dream ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2549 (วันอาทิตย์ เวลา 13.00 น.โดยประมาณ) เนื่องจากได้เวลาในช่วงบ่าย ประกอบกับการขาดเรื่องประชาสัมพันธ์ ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น Thailand Next Top Model ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์ก็คือ ซอนญ่า คูลลิ่ง มีการกล่าวถึงเรื่องการดำเนินเกมส์ที่ขาดสีสัน ด้านอารมณ์ ทำให้ผู้เข้าแข่งขันมีลักษณะไปในทางเดียวกัน กล่าวคือ ไม่มีความริษยาหรือโกรธแค้นกลั่นแกล้งกัน ทำให้ความนิยมของรายการไม่กระเตื้องขึ้น ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ทาง BEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้ ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานได้ว่าพวกเธอมีผลงานในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง M Thailand ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 ถึง ต้นปี พ.ศ. 2549 (วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 22.00 น. โดยประมาณ) มีการกล่าวถึงกันมาก เนื่องจากว่ากันว่ารูปแบบรายการได้ลอกเนื้อหามาจาก Thailand's Perfect Man โดยทาง BEC Tero ได้ชิงตัดหน้าขโมยความคิด นำมาทำเป็นรูปแบบเกมส์เรียลลิตีโชว์ก่อน และอีกสาเหตุหนึ่งมาจาก การวิจารณ์ผู้เข้าแข่งขันในรอบคัดเลือก จนไปสร้างความกดดันให้คนดูและผู้เข้าแข่งขัน รวมไปถึง การใช้ไอเดียของรายการ Manhunt ในการซ่อนทีมงานไปปะปนในหมู่ผู้เข้าแข่งขัน ทำให้ถูกพูดถึงในแง่การวิจารณ์เป็นอย่างมากและด้วยการดำเนินรายการของ BEC Tero ที่ไม่มีการโต้แย้งของผู้เข้าแข่งขัน ทำให้เรตติ้งรายการค่อนข้างทรงตัวจนจบการแข่งขัน ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ เนื่องด้วยทาง BEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้กับผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ นอกจากผู้ชนะเลิศของรายการ ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานของผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ ได้ว่าใครไปมีอาชีพในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง Thailand's Perfect Man ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2549 (ต้นเดือนกุมภาพันธ์-ปลายเดือนมิถุนายน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น.) และทาง Chic Channel ของ UBC หลังจากที่ M Thailand ได้ชิงตัดหน้าออกอากาศไปก่อน ทำให้ Thailand's Perfect Man (TPM) ที่ดำเนินบริหารงานโดย เมทินี กิ่งพโยม ได้นำรายการไปเสนอทางไอทีวี และได้ปรับเนื้อหาของเกมส์ จนมีความลงตัวในหลายด้านๆ และไม่มีการสร้างความกดดันให้กับคนดูมากเกินไป แต่ถึงกระนั้นเรตติ้งของรายการก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้น จนกระทั่งได้นำการเดินแบบในชุดว่ายน้ำมานำเสนอ จนทำให้เรตติ้งของรายการเพิ่มขึ้นประกอบกับความขัดแย้งของผู้เข้าแข่งขันในช่วงการแข่งขัน ทำให้เนื้อหามีความน่าติดตามมากยิ่งขึ้น ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ได้มีการประชาสัมพันธ์ติดต่อจากสปอนเซอร์หลัก (ธนาคารไทยพาณิชย์, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, กันตนา ฯลฯ) ทำให้มีงานป้อนเข้ามาเป็นระยะ ซึ่งเป็นการดำเนินงานของ เมทินี กิ่งพโยม อัจฉริยะข้ามคืน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศในปี พ.ศ. 2549 จนถึงต้นปี พ.ศ. 2551 Eco Challenge คนเก่ง เกมนักขับ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2549 ดำเนินการผลิตโดย กันตนา (ออกอากาศต่อจาก Thailand's Perfect Man ประมาณ 1 เดือน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น.) รูปแบบของรายการได้ใช้รูปแบบของรายการเซอร์ไวเวอร์ ผสมกับเทคนิคการขับรถยนต์ในสถานการณ์ทุกรูปแบบ แต่เนื่องจากรูปแบบรายการที่ไม่ชัดเจนและใช้รูปแบบของเซอร์ไวเวอร์ มากถึง 70% ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น ซึ่งผู้ชนะได้รับรถยนต์มิตซูบิชิ และเงินรางวัล 1 ล้านบาท (รายการเป็นรูปแบบเดียวกับทางฝั่งอเมริกาที่เป็นคนเดียวกันกับที่ทำรายการ Survivor และ Eco Challenge) ซีซ่า ทางสายฝันสู่ดวงดาว ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2549 โดยมี มณีนุช เสมรสุต (ครูอ้วน) เป็นผู้บริหารรายการ รายการเป็นรูปแบบแข่งขันร้องเพลงสำหรับเด็ก ทำดีให้พ่อดู เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ ตามติดชีวิตนักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ในซีซั่นที่ 1 ถึง 3 ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อสังคม 12 โครงการ โดยแบ่งผู้ปฏิบัติภารกิจตามสายรหัส V1-V12 ของแต่ละซีซั่น พร้อมทั้งอาสาสมัครบุคคลทั่วไปที่จะร่วมกันสร้างสรรค์ความดี เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ออกอากาศซีซี่นที่ 1 พ.ศ. 2550 ในตอน 12 V 12 ความดีเพื่อพ่อ และออกอากาศซีซั่นที่ 2 พ.ศ. 2552 ในชื่อตอน เรียนรู้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยนักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ในซีซั่นที่ 4 ถึง 6 โดยแบ่งนักล่าฝันเป็นรุ่น 3 รุ่น เพื่อเดินทางไปเรียนรู้งานในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง 4 วัน 3 คืน ณ สถานที่ๆทีมงานกำหนด The Singer ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรายการรูปแบบแข่งขันร้องเพลง โดยมี พุทธธิดา ศิระฉายา เป็นผู้บริหารรายการ อัจฉริยะยกบ้าน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2551 ซูเปอร์สตาร์ ที่สุดแห่งดาว เป็นรายการเรียลลิตีฟอร์มยักษ์ เป็นการแข่งขันของเหล่าดารา เปิดเผยเบื้องหลังที่มาของการแสดงทุกรูปแบบ ดาราที่เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ทีม เพื่อแข่งขันใน 10 หัวข้อการแสดง โดยการฝึกสอนจากเทรนเนอร์ที่เป็นที่สุดของทุกแขนง ออกอากาศซีซั่นแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 The Master ออกอากาศ 24 ชั่วโมงทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง 18 และมีรายการไฮไลท์ประจำวัน และคอนเสิร์ตทุกวันเสาร์ที่ช่อง 19 ทรูอินไซด์ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 เป็นเวลา 1 เดือน รูปแบบรายการเป็นการแข่งขันร้องเพลงและแสดงโชว์ แข่งขันเป็นทีม ทีมละ 5 คน โดยผู้เข้าแข่งขันมาจากตำแหน่งผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับหนึ่งของรายการ ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 1-5 และได้มีการโหวตคัดเลือกผู้แข่งขันนักล่าฝันคนอื่นๆเพิ่มเติมผ่านระบบ SMS รายการนี้จะเน้นการทำงานเบื้องหลังของศิลปิน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงาน คิดและวางแผนโชว์ที่จะเกิดขึ้นในทุกคืนวันเสาร์ด้วยตนเอง ร่วมกับสมาชิกในทีม และทีมเบื้องหลัง และผู้ชนะรายการเพียงหนึ่งเดียวจากผล Popular Vote จะได้ตำแหน่ง สุดยอดเดอะมาสเตอร์ สุภาพบุรุษบอยแบนด์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 The Trainer ปั้นฝันสนั่นเวที รายการเรียลลิตีโชว์สำหรับเด็ก ออกอากาศทาง ช่อง 9 เดือนพฤษภาคม ปี 2552 - ปัจจุบัน ล้านฝันสนั่นโลก ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 The Voyager เกมเดินทางในต่างแดน</b>ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 Teen Superstar เกิดมาเป็นดาว คือรายการ ซุปเปอร์สตาร์ ที่สุดแห่งดาว แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบรายการใหม่ ค้นหาเยาวชน ผู้ชนะ ชาย 2 หญิง2 จะมาจากการโหวดของประชาชน ซึ่งก็คือ ชายและหญิง 2 คนแรก จะได้มีโอกาสไปเป็นศิลปินในประเทศเกาหลี และอีกสองคนจะได้เป็นศิลปินในประเทศไทย ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ประมาณเดือนธันวาคม ปี 2553 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 9 กันยายน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 1 เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ (English: The Comedian Thailand) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ มีจุดประสงค์เพื่อค้นหา \"เอนเตอร์เทนเนอร์\" เป็นตัวแทนถ่ายทอดศาสตร์ตลกและศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อรับรางวัลมากมายพร้อมกับโอกาสที่จะได้ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง ออกอากาศ ช่อง ทรูวิชั่นส์ (ถ่ายทอดสดตลอด 24 ชั่วโมง) ถ่ายทอดสดการประกวด ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 – 21 เมษายน 2556 เดอะวอยซ์ คิดส์ ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 27 เมษายน พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 2 เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ (English: The Comedian Thailand) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ มีจุดประสงค์เพื่อค้นหา \"เอนเตอร์เทนเนอร์\" เป็นตัวแทนถ่ายทอดศาสตร์ตลกและศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อรับรางวัลมากมายพร้อมกับโอกาสที่จะได้ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง ออกอากาศ ช่อง ทรูวิชั่นส์ (ถ่ายทอดสดตลอด 24 ชั่วโมง) ถ่ายทอดสดการประกวด ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 26 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13 เมษายน พ.ศ. 2557 เดอะวินเนอร์อีส ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน เดอะเฟซไทยแลนด์(4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน) เรียลลิตี้โชว์รายการเรียลลิตีเพื่อค้นหาสุดยอดนางแบบ โดยจะมีการแบ่งนางแบบออกเป็น 3 ทีมตามทีมของเมนเทอร์ของตนเอง เนลท์ให้โอกาสประเทศไทยเป็นครั้งแรกในเอเชีย ผลิตรายการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เดอะเฟซเมนไทยแลนด์(29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน) เรียลลิตี้โชว์รายการเรียลลิตีเพื่อค้นหาสุดยอดนายแบบ โดยจะมีการแบ่งนายแบบออกเป็น 3 ทีมตามทีมของเมนเทอร์ของตนเอง ซึ่งเป็นการต่อยอดจากรายการเดอะเฟซไทยแลนด์ ผลิตรายการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) The Mask Singer หน้ากากนักร้อง (6 ตุลาคม พ.ศ.2559 - ปัจจุบัน) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์เพื่อค้นหาบุคคลในวงการบันเทิงที่มีความสามารถในการร้องเพลงมาเข้าร่วมประกวด โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องใส่ชุดหน้ากากเพื่อปิดบังตัวตนของตัวเองไว้ ซึ่งเป็นรายการที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจาก ประเทศเกาหลีใต้ ผลิตรายการโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ซูเปอร์เท็น (7 มกราคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน) เป็นรายการประกวดในรูปแบบที่จะค้นหา<b data-parsoid='{\"dsr\":[16130,16154,3,3]}'>อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว ผลิตรายการโดย บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ (4 มิถุนายน พ.ศ.2560 - ปัจจุบัน) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์เพื่อค้นหาผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเชฟ แต่มีใจรักที่จะทำอาหารและมีความสามารถที่จะไปเป็นเชฟได้ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องผ่านโจทย์การทำอาหารทั้งแบบเดี่ยวและแบบทีมในแต่ละสัปดาห์ รายการ Topchef รายการแข่งทำอาหารของ Chef ชื่อดัง", "title": "เรียลลิตีโชว์" }, { "docid": "628813#0", "text": "The Red Carpet สมรภูมิพรมแดง เป็นรายการวาไรตี้ทอล์คเอ็นเตอร์เทนเม้นท์อวอร์ด โดยได้ทีม “มีมิติ” สร้างสรรค์ร่วมกับ ซีเนริโอ ตัวรายการออกมาในรูปแบบงานประกาศรางวัลระดับฮอลลีวูด โดยได้พิธีกรฝีปากกล้า โอปอลล์ ปาณิสรา อารยะสกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกคืนวันพฤหัสบดี เวลา 23.15-24.15 น. โดยออกอากาศเทปแรกวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ต่อจากซิตคอมวาไรตี้อารมณ์ดีเรื่อง \"ครอบครัวขำ\" และออกอากาศเทปสุดท้ายทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ก่อนที่จะย้ายช่องมาออกอากาศซีซั่นใหม่ทางช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 22:15 - 23:15 น. เป็นต้นไป และเร็วๆ นี้ รายการได้ย้ายมาออกอากาศซีซั่นใหม่ทางช่อง ช่องวัน", "title": "The Red Carpet สมรภูมิพรมแดง" }, { "docid": "674776#21", "text": "ไปไหนดีครับ? แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาเป็นโชเฟอร์ขับรถแล้วถามเพื่อนร่วมทีมว่า \"ไปไหนดีครับ?\" ผู้เล่นคนที่เหลือในทีมผลัดกันมาใบ้ชื่อสถานที่ให้โชเฟอร์ทาย มีเวลาเล่น 90 วินาที", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#12", "text": "ใบ้...ให้ท่า แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาใบ้คำโดยใช้ได้แค่ท่าทางอย่างเดียว พิธีกรจะบอกหมวดคำของแต่ละทีมให้ เพื่อนร่วมทีมคนไหนตอบถูก จะต้องวิ่งออกมาใบ้แทน มีเวลาเล่น 90 วินาที", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#11", "text": "เพลงฮิต ปิดหู หัวหน้าทีมจะต้องใส่หูฟังเพื่อให้ไม่ได้ยินเสียงอะไร ส่วนลูกทีมซุป'ตาร์ที่เหลือทั้ง 3 คนจะต้องใบ้ท่าทางให้หัวหน้าทีมทายชื่อเพลงที่วงดนตรีกำลังเล่นอยู่ให้ถูก มีเวลาเล่น 120 วินาที", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#10", "text": "จิตรกรจิ๋ว แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่ปุ่ม พิธีกรจะโชว์รูปซุป'ตาร์ที่วาดโดยเด็ก 7-9 ขวบ คนที่กดปุ่มก่อนจะได้ตอบว่าเป็นรูปใคร หากตอบถูกจะได้คะแนน แต่ถ้าตอบผิดอีกฝ่ายจะมีสิทธิตอบ หากยังไม่มีใครตอบได้ พิธีกรจะมีคำใบ้ให้", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "157482#4", "text": "รายการสาระแนออกอากาศไปแล้ว 5 ช่องด้วยกัน ครั้งแรกฉายทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ต่อมาในปี 2547 จนถึงปี 2551 ได้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ต่อมาในปี 2551 ก็ได้มาออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก จนถึงต้นปี 2557 โดยชื่อรายการที่ใช้คือ \"สาระแน\" (แต่ในผังรายการของทางสถานีระบุว่า \"สาระแนโชว์\" เหมือนกับครั้งแรกที่เริ่มจัด แต่กระนั้นคนทั่วไปก็ยังเรียกชื่อรายการนี้ว่า \"สาระแน\") ต่อมาในปี 2557 สาระแนได้มีการย้ายมาออกอากาศอีกช่องหนึ่งคือช่องเวิร์คพอยท์ ครีเอทีฟ ทีวี (เวิร์คพอยท์ทีวี) โดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ซึ่งออกอากาศตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 จนถึง 29 มีนาคม 2558 และได้นำมากลับออกอากาศอีกครั้งทาง ไลน์ทีวี ในชื่อ สาระแน on LINE TVสำหรับภาพยนตร์ชุดสาระแน สร้างโดย ลักษ์ฟิล์ม ร่วมมือกับ สหมงคลฟิล์ม (เฉพาะ \"สาระแน โอเซกไก\" ที่ร่วมสร้างโดย เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ และ \"สาระแน เลิฟยูววว\" ที่ร่วมสร้างโดย เทค ไทยแลนด์) โดยใช้ชื่อคำว่า สาระแน นำหน้าในแต่ละเรื่อง ได้แก่ สาระแน ห้าวเป้ง!! (2552), สาระแนสิบล้อ (2553), สาระแนเห็นผี (2553), สาระแน โอเซกไก (2555) และ สาระแน เลิฟยูววว (2560) มีนักแสดงดังต่อไปนี้", "title": "สาระแน (รายการโทรทัศน์)" }, { "docid": "674776#19", "text": "คำนี้ 4 อักษร ผู้เล่นแต่ละทีมปิดตาแล้วถือตัวอักษรคนละ 1 ตัว พิธีกรจะอ่านคำใบ้ ให้ผู้เล่นสลับตัวอักษรที่มีอยู่ให้เป็นคำที่ถูกต้อง เมื่อได้คำที่ถูกแล้ว ก่อนขึ้นคำใหม่จะมีผู้เล่นบางคนถูกเปลี่ยนตัวอักษร มีเวลาเล่น 90 วินาที", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#25", "text": "ปริศนาคำแฝง แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาที่ปุ่ม พิธีกรจะโชว์ชื่อซุป'ตาร์ พร้อมคำใบ้ปริศนาบนจอด้านหลัง โดยคำตอบของปริศนาจะมาจากตัวอักษรในชื่อของซุป'ตาร์ คนที่กดปุ่มก่อนจะได้ตอบว่าคำตอบของปริศนาคืออะไร หากตอบถูกจะได้คะแนน แต่ถ้าตอบผิดอีกฝ่ายจะมีสิทธิตอบ", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#5", "text": "\"อี\" เมโลดี้ แต่ละทีมส่งตัวแทน 1 คนออกมาร้องเพลงโจทย์ให้เพื่อนร่วมทีมทาย โดยร้องได้เฉพาะคำว่า \"อี\" เท่านั้น เพื่อนร่วมทีมคนไหนตอบถูก จะต้องวิ่งออกมาร้องเพลงต่อไปแทน มีเวลาเล่น 90 วินาที", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" }, { "docid": "674776#24", "text": "ตอบปุ๊บ ยิงป๊อบ ผู้เล่นทุกคนนั่งล้อมโต๊ะที่มีเครื่องยิงป๊อบคอร์นหมุนแบบสุ่มอยู่ เครื่องยิงป๊อบคอร์นชี้ไปที่ใคร คนนั้นต้องตอบคำถามโดยคำถามแต่ละข้อจะมีตัวเลือกให้ 2 ข้อ ถ้าตอบถูกจะได้คะแนน แต่ถ้าตอบผิดจะโดนป๊อบคอร์นยิงใส่หน้า", "title": "ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์" } ]
4041
แฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "735189#0", "text": "แฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ (German: Hermine Santruschitz; 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 - 11 มกราคม พ.ศ. 2553) หรือเป็นที่รู้จักทั่วใปในภาษาดัตช์ว่า มีป คีส (Dutch: Miep Gies)[1] คือหนึ่งในชาวดัตช์ผู้ช่วยเหลืออันเนอ ฟรังค์, ครอบครัวของเธอ และชาวยิวอีกสี่คนในการหลบซ่อนตัวจากนาซีเยอรมัน ซึ่งทั้งหมดซ่อนตัวอยู่ในส่วนต่อเติมอาคารที่ทำการของบริษัทค้าขายของออทโท ฟรังค์ บิดาของอันเนอ ฟรังค์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมีป คีส ถือสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด แต่ในปี พ.ศ. 2463 ครอบครัวชาวดัตช์รายหนึ่งรับเธอมาอุปถัมภ์เป็นการชั่วคราวด้วยวัยเพียงเจ็ดขวบ ซึ่งในภายหลังเธอรู้สึกผูกพันกับครอบครัวนี้อย่างมาก เดิมทีครอบครัวรับอุปการะเธอเพียงหกเดือน และก็ถูกขยายออกไปเป็นหนึงปีเนื่องจากสุขภาพร่างกายที่เปราะบางของเธอ จนในที่สุดเธอเลือกที่จะอยู่กับครอบครัวดังกล่าวต่อไป และอาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ไปตลอดช่วงชีวิตที่เหลือ ในปี พ.ศ. 2476 เธอเริ่มทำงานให้กับออทโท ฟรังค์ นักธุรกิจเชื้อสายยิวผู้อพยพครอบครัวจากเยอรมนีมายังเนเธอร์แลนด์เพื่อหลีกเลี่ยงการปราบปรามชาวยิวโดยพรรคนาซี มีป คีส จึงกลายมาเป็นทั้งเพื่อนสนิทและเพื่อนที่ครอบครัวฟรังค์ไว้วางใจ รวมถึงเป็นกำลังสำคัญที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวตลอดระยะเวลาสองปีของการหลบซ่อนตัว เธอคือคนที่เก็บกู้สมุดบันทึกประจำวันของอันเนอไว้ได้หลังจากที่ครอบครัวถูกจับกุม และรักษาสมุดดังกล่าวไว้ในที่ปลอดภัยจนกระทั่งออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตกลับมาจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ในปี พ.ศ. 2488 ทำให้เธอได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของอันเนอ[2][3][4][5][6][7][8] นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ Anne Frank Remembered: The Story of the Woman Who Helped to Hide the Frank Family ร่วมกับแอลิสัน เลสลี โกลด์ และออกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530", "title": "มีป คีส" } ]
[ { "docid": "245183#4", "text": "เว็บแบนเนอร์มีขนาดมาตรฐานหลายขนาด เพื่อให้ใช้กับการจัดวางบนหน้าเว็บที่แตกต่างกัน ขนาดมาตรฐานมีดังต่อไปนี้ (ในหน่วยพิกเซล กว้าง×สูง)", "title": "เว็บแบนเนอร์" }, { "docid": "215267#1", "text": "เมื่อมีการนำโปเกมอนซีรีส์แอดวานซ์ เจเนอเรชันมาพากย์เสียงเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ได้มีการแบ่งออกเป็น 4 ซีซั่นย่อย ๆ คือโปเกมอน แอดวานซ์ เจเนอเรชัน เป็นซีรีส์ใหม่ที่นำมาจากเกม โปเกมอน รูบีและแซฟไฟร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของซีรีส์ที่น่าประหลาดใจแก่ผู้คนมากมาย เพราะว่าเขตภูมิภาคทั้งสามเขตที่พวกซาโตชิเดินทางมานั้นนับรวมกันเป็นซีรีส์เดียว ซึ่งในระหว่างการเดินทางนั้นพวกซาโตชิจะต้องต่อสู้กับแก๊งที่มีอิทธิพลประจำเขตโฮเอน คือ แก๊งแม็กม่า และ แก๊งอควา", "title": "พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ แอดวานซ์ เจเนอเรชัน" }, { "docid": "44795#23", "text": "ออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หลังสงคราม เขากลับไปยังอัมสเตอร์ดัมและได้อาศัยพำนักอยู่กับยันและมีป คีส เพื่อติดตามค้นหาครอบครัวของเขา เขาได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาแล้วตั้งแต่อยู่ที่เอาชวิทซ์ แต่ก็ยังมีความหวังว่าลูกสาวทั้งสองน่าจะรอดชีวิต หลังจากค้นหาอยู่หลายสัปดาห์เขาจึงได้ทราบว่า มาร์กอทและอันเนอเสียชีวิตแล้ว เขาติดตามสอบถามข่าวชะตากรรมของบรรดาสหายของบุตรสาวด้วย และได้ทราบว่าพวกเขาถูกสังหารจนหมด ซูซันเนอ เลเดอร์มันน์ เป็นหนึ่งในชื่อสหายที่ปรากฏบ่อยครั้งอยู่ในสมุดบันทึกของอันเนอ เธอถูกรมแก๊สเสียชีวิตพร้อมกับพ่อแม่ แต่บาร์บารา พี่สาวของซูซันเนอและเพื่อนสนิทของมาร์กอท รอดชีวิต[2] ยังมีเพื่อนร่วมโรงเรียนของพี่น้องฟรังค์อีกหลายคนที่รอดชีวิต เช่นเดียวกับญาติ ๆ อีกหลายคนของทั้งออทโทและเอดิท ฟรังค์ ที่หนีออกจากเยอรมนีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 บางคนไปตั้งรกรากอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "430555#0", "text": "ไฮน์ริช รูด็อล์ฟ แฮทซ์ (; 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 – 1 มกราคม พ.ศ. 2437) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน และเป็นคนแรกที่พิสูจน์ถึงการมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากทฤษฎีของแมกซ์เวลล์ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าของแสง", "title": "ไฮน์ริช แฮทซ์" }, { "docid": "821937#1", "text": "เขาเริ่มอาชีพในกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ใน ค.ศ. 1918 ขณะที่เขาบังคับการเรือดำน้ำ UB-68 เรือถูกกองทัพบริติชจมและเดอนิทซ์ถูกจับเป็นเชลย ระหว่างอยู่ในค่ายเชลยศึก เขาสรุปสิ่งที่ต่อมาเขาเรียกว่ารูเดิลทัคทิค (\"ยุทธวิธีฝูง\" หรือเรียกทั่วไปว่า \"ฝูงหมาป่า\") เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เขาเป็นนายทหารเรือดำน้ำอาวุโสในครีคส์มารีเนอ ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1943 เขาได้ยศจอมพลเรือ และสืบตำแหน่งผู้บัญชาการใหญ่กองทัพเรือจากจอมพลเรือ เอริช เรเดอร์", "title": "คาร์ล เดอนิทซ์" }, { "docid": "320183#3", "text": "ที่ตั้งหลักของ SAIS อยู่บนถนนแมสซาชูเซตส์ใกล้กับวงเวียนดูปองต์ ซึ่งเป็นถนนที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน โดยที่ตั้งของ SAIS อยู่บริเวณเดียวกับสถาบันวิจัยทางนโยบายชั้นนำ อาทิ สถาบันบรูกกิงส์ (Brookings Institution) กองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) และสถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศปีเตอร์สัน (Peterson Institute) รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตอุซเบกิสถาน ชิลี เปรู ตรินิแดดและโตเบโก ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย", "title": "วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์" }, { "docid": "735189#1", "text": "มีป คีส เกิดในเวียนนา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ด้วยชื่อแฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ (ภายหลังสะกดว่า ซันตรูชิตส์ ในเนเธอร์แลนด์) เธอถูกส่งตัวจากเวียนนาไปยังไลเดินในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2463 เพื่อหลีกหนีจากภาวะขาดแคลนอาหารในออสเตรียหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และอาศัยอยู่กับครอบครัวนีวเวินบืร์คซึ่งเป็นครอบครัวชนชั้นแรงงานที่มีบุตรธิดาของตนอยู่แล้ว 6 คนและรับอุปการะเธอเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคน ครอบครัวนี้เองที่เรียกเธอด้วยชื่อเล่นว่า \"มีป\" อันเป็นชื่อที่รู้จักกันเป็นการทั่วไปในภายหลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 เธอย้ายที่อยู่ไปยังบ้านเลขที่ 25 ถนนคาสป์[9] ในกรุงอัมสเตอร์ดัมพร้อมกับครอบครัวผู้อุปการะของเธอ เธอเข้าศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนและเป็นนักเรียนดีเด่น ผู้กล่าวว่าตนเองนั้น \"สงบเสงี่ยมและเป็นตัวของตัวเองมาก\" หลังจากที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม เธอเข้าทำงานในบริษัทสัญชาติเยอรมันที่มาเปิดสาขาในเนเธอร์แลนด์นามว่า \"โอเพคทา\" โดยเริ่มทำงานในฐานะพนักงานบัญชีก่อนที่จะถูกเลื่อนขั้นเป็นเลขานุการในภายหลัง ต่อมาออทโท ฟรังค์ ถูกโยกย้ายจากสำนักงานของบริษัทในเยอรมนีมายังเนเธอร์แลนด์และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการใหญ่ประจำสาขาเนเธอร์แลนด์ ที่ซึ่งบริษัทเพิ่งจะเข้ามาขยายกิจการได้ไม่นาน มีปได้กลายมาเป็นเพื่อนสนิทของครอบครัวฟรังค์เช่นเดียวกับยัน คีส คู่หมั้นของเธอ ต่อมาหนังสือเดินทางของเธอถูกยกเลิก เนื่องจากเธอปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสมาคมสตรีของพรรคนาซี ทำให้เธอได้รับคำสั่งเนรเทศออกจากเนเธอร์แลนด์กลับไปยังออสเตรีย (ซึ่งในขณะนั้นถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีและถือว่าเธอคือพลเมืองชาวเยอรมันคนหนึ่ง) ภายในระยะเวลา 90 วัน เธอและคู่หมั้นจึงรีบแต่งงานกันในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 เพื่อที่จะได้สิทธิการเป็นพลเมืองชาวดัตช์และหลีกเลี่ยงการเนรเทศกลับออสเตรีย ด้วยความเชี่ยวชาญทั้งภาษาดัตช์และภาษาเยอรมันของมีป เธอได้ช่วยครอบครัวฟรังค์ซึมซับเอาวัฒนธรรมและปรับตัวเข้ากับสังคมดัตช์ เธอและสามีจึงเป็นแขกผู้แวะเวียนไปยังบ้านของครอบครัวฟรังค์อยู่เป็นประจำ", "title": "มีป คีส" }, { "docid": "430555#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2423 แฮทซ์ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน และยังคงศึกษาต่อหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกกับเฮล์มโฮลทซ์อยู่อีก 3 ปี ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของเขา", "title": "ไฮน์ริช แฮทซ์" }, { "docid": "107756#16", "text": "ผู้จับโปเกมอนต้องใช้โปเกมอนในการสู้กัน ในเกมเมื่อเจอใช้ท้าสู้กับผู้เล่น โดยเทรนเนอร์ทุกคนจะมีโปเกมอนหลักสูงสุดที่พกติดตัวคือ 6 ตัว กับสามารถจับเพิ่มได้ โดยส่วนเกินนั้นจะเอาไปเก็บในคลังโดยเก็บมากเท่าไหร่ก็ได้ โดยเทรนเนอร์มีลำดับตามกันไปของแต่ละเขต เมื่อเทรนเนอร์ที่อยู่เขตไหนรวบรวมเข็ดกลดครบ 8 อันของเขตนั้น จะสามารถเข้าร่วมแข่งโปเกมอนลีคได้ โดยการแข่งนั้นจะป็นการเฟ้นหาตัวแชมป์เปี้ยน", "title": "โปเกมอน" }, { "docid": "281431#2", "text": "เขาเข้าสู่อุตสาหกรรมหนังโป๊เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี และเขายังทำงานเป็นเทรนเนอร์ส่วนตัว ในช่วงแรกของการแสดงเขายังเคยถูกออรัลเซ็กซ์โดยนักแสดงร่วมไบเซ็กชวล ผลิตโดย ชิ ชิ ลารู ใน \"Fly Bi Night\" จูเรียนแสดงภายใต้ชื่อ จอร์แดน ริเวอร์ส ที่เหลือเขาแสดงในหนังชาย-หญิง", "title": "จูเลียน รุยซ์" }, { "docid": "430555#5", "text": "ในปี พ.ศ. 2428 แฮทซ์กลายเป็นอาจารย์เต็มตัวที่มหาวิทยาลัยแห่งคาลส์รูเออ", "title": "ไฮน์ริช แฮทซ์" }, { "docid": "231754#18", "text": "โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์มี 10 รุ่นย่อยดังนี้", "title": "โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์" }, { "docid": "245183#0", "text": "เว็บแบนเนอร์ () เรียกโดยย่อว่า \"แบนเนอร์\" คือรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด ปกติแล้วภาพในเว็บแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ) ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา (เรียกว่าแบนเนอร์เหมือนกัน) ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ อย่างเช่นบทความจากหนังสือพิมพ์หรืองานเขียนวิพากษ์วิจารณ์\nเว็บแบนเนอร์จะปรากฏขึ้น เมื่อหน้าเว็บที่อ้างถึงภาพนี้ถูกดาวน์โหลดไปยังเว็บเบราว์เซอร์ เหตุการณ์นี้เรียกว่า \"impression\" และเมื่อผู้เข้าชมคลิกที่แบนเนอร์ ระบบจะนำผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณา เหตุการณ์นี้เรียกว่า \"click through\" ในหลายกรณีที่เว็บแบนเนอร์จะถูกส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์โฆษณาส่วนกลาง (central ad server)", "title": "เว็บแบนเนอร์" }, { "docid": "940971#1", "text": "\"แฮร์รี่ พอตเตอร์: ฮอกวอตส์ มิสเตอรี\" เป็นเกมเล่นตามบทบาทจัดในจักรวาล\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\"ของเจ. เค. โรว์ลิง โดยเกมจะจัดในช่วงวันเกิดของแฮร์รี่ พอตเตอร์และบรรยากาศในฮอกวอตส์ ผู้เล่นสามารถสร้างและปรับแต่งอวตารของตนเองได้ โดยเป็นนักเรีนที่กำลังศึกษาอยู่ในฮอกวอตส์ พวกเขาสามารถเรียนวิชาเวทย์มนตร์, ร่ายคาถา, ต่อสู้กับศัตรู และร่วมภารกิจ ในระหว่างที่เล่นเกมอยู่นั้น ผู้เล่นสามารถกำหนดชะตาของตัวละคร ซึ่งจะมีผลต่อความสัมพันธ์ของตัวละคร (และบางครั้งตัวเลือกอาจจะถูกล็อกเนื่องจากสถิตถผู้เล่นยังมีไม่มากพอ) ผู้เล่นสามารถคุยกับบุคคลสำคัญเช่น อัลบัส ดัมเบิลดอร์, รูเบอัส แฮกริด, เซเวอร์รัส สเนป และมิเนอร์ว่า มักกอนนากัล", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์: ฮอกวอตส์มิสทะรี" }, { "docid": "205717#2", "text": "ในสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน ผู้ซึ่งจัดงานวันเกิดครบรอบ 61 ปีของเขาเอง ได้อุทิศชัยชนะเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนก่อนหน้าแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ เพราะว่าเขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ยุติสงคราม โรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมไม่กี่เดือนก่อนหน้าการยอมจำนนจะกิดขึ้น ในวันที่ 12 เมษายน ฝูงชนจำนวนมากมารวมตัวกันที่ชิคาโก ลอสแองเจิลลิส ไมอามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทมส์สแควร์ ในนครนิวยอร์ก", "title": "วันชัยในทวีปยุโรป" }, { "docid": "430555#2", "text": "ไฮน์ริช รูด็อล์ฟ แฮทซ์ เกิดที่เมืองฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี บิดาชื่อ กุสทัฟ แฟร์ดีนันท์ แฮทซ์ (ชื่อเดิม ดาวิท กุสทัฟ แฮทซ์; พ.ศ. 2370–2457) เป็นนักเขียนและสมาชิกวุฒิสภา มารดาคือ อันนา เอลีซาเบ็ท เพ็ฟเฟอร์คอร์น\nระหว่างที่เรียนอยู่ที่โยฮันน็อยม์ในฮัมบวร์ค แฮทซ์ได้แสดงความสามารถด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ได้ดีเทียบเท่ากับการเรียนภาษาอาหรับและภาษาสันสกฤต ได้เรียนวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมในเดรสเดิน มิวนิก และเบอร์ลิน ที่ที่ได้เรียนกับกุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ และแฮร์มัน ฟ็อน เฮ็ล์มฮ็อลทซ์", "title": "ไฮน์ริช แฮทซ์" }, { "docid": "784539#0", "text": "มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก (; 10 เมษายน ค.ศ. 1927 – 15 มกราคม ค.ศ. 2010) เป็นนักชีวเคมีและนักพันธุศาสตร์ชาวอเมริกัน เกิดที่นครนิวยอร์ก เป็นบุตรของแฮร์รี เอ็ดเวิร์ด ไนเรนเบิร์กและมิเนอร์วา บายคอฟสกี ในวัยเด็กไนเรนเบิร์กป่วยเป็นโรคไข้รูมาติก ครอบครัวจึงย้ายไปอยู่ที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ไนเรนเบิร์กสนใจวิชาชีววิทยาตั้งแต่ยังเด็ก เขาเรียนจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และปริญญาโทด้านสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัยฟลอริดา ก่อนจะเรียนต่อปริญญาเอกด้านชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน", "title": "มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก" }, { "docid": "294095#0", "text": "เกิลส์เจเนอเรชัน (; ) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดแรกของ เกิลส์เจเนอเรชัน กลุ่มศิลปินหญิงชาวเกาหลี สังกัด เอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกวางจำหน่ายวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 หลังออกซิงเกิล Into The New World ได้ 3 เดือน โดยมีเพลง \"소녀시대 (Girls' Generation)\" เป็นซิงเกิลหลัก การประชาสัมพันธ์เริ่มต้นขึ้นทันทีในต้นเดือนพฤศจิกายน และด้วยท่าเต้นที่น่ารัก ประกอบกับน้ำเสียงที่สดใส จึงส่งผลให้อัลบั้ม Girls' Generation\" เป็นที่ชื่นชอบของทุกคน โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า 100,000 ชุด โดยในเดือนมกราคมของปีถัดมา โซนยอชิแดก็เริ่มทำการประชาสัมพันธ์ซิงเกิลที่ 2 ของพวกเธอ ในชื่อ \"Kissing You\" ซึ่งมิวสิกวิดีโอเพลงนี้ก็ได้ดงแฮแห่งวงซูเปอร์จูเนียร์มาร่วมแสดงด้วย นอกจากนี้แล้วมิวสิกวิดีโอเพลงนี้ยังขึ้นเป็นอันดับ 1 ของ SBS Inkigayo, M.Countdown! และ KBS Music Bank อีกด้วย", "title": "เกิลส์เจเนอเรชัน (อัลบั้ม)" }, { "docid": "5333#64", "text": "ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน โรสเวลต์ ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง ผู้ที่มารับตำแหน่งต่อคือ รองประธานาธิบดี แฮร์รี เอส. ทรูแมน ขณะที่เบนิโต มุสโสลินีถูกสังหารโดยขบวนการกู้ชาติอิตาลี เมื่อวันที่ 28 เมษายน[244] และอีกสองวันให้หลัง ฮิตเลอร์ก็ยิงตัวตาย และสืบทอดอำนาจต่อให้กับจอมพลเรือ คาร์ล เดอนิทซ์[245]", "title": "สงครามโลกครั้งที่สอง" }, { "docid": "898543#2", "text": "รูเดิลได้หลบหนีไปยังอาร์เจนติน่าในปี ค.ศ. 1948 ด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาและไม่รู้สึกผิดต่ออุดมการณ์นาซี เขาได้ก่อตั้ง \"Kameradenwerk\" องค์กรบรรเทาทุกข์สำหรับอาชญากรนาซีที่ช่วยผู้ลี้ภัยได้หลบหนีไปยังลาตินอเมริกาและตะวันออกกลางร่วมกับ Willem Sassen, รูเดิลได้ช่วยเหลือด้วยการให้ที่พักแก่โยเซ็ฟ เม็งเงอเลอ อดีตแพทย์เอ็สเอ็สที่โด่งดังที่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ เขาได้ทำงานเป็นพ่อค้าขายอาวุธและเป็นที่ปรึกษาทางทหารในระบอบการปกครองของควน เปรอนในอาร์เจนติน่าและของออกุสโต ปิโนเชต์ในชิลี และ Alfredo Stroessner ในปารากวัย เนื่องจากกิจกรรมเคลื่อนไหวเหล่านี้ เขาจึงถูกจับตามองโดยสำนักข่าวกรองกลางแห่งสหรัฐ (CIA)", "title": "ฮันส์-อุลริช รูเดิล" }, { "docid": "153661#6", "text": "เป็นที่เชื่อกันว่าถ้าไม่ได้พระเจ้าลุดวิจ วากเนอร์คงจะไม่ได้เขียนโอเปร่าชิ้นต่อๆ มา ลุดวิจทรงเรียกวากเนอร์ว่า “เพื่อน” แต่ความที่วากเนอร์มีนิสัยอันโอ่อ่าฟุ่มเฟือยของ จึงทำให้วากเนอร์ไม่เป็นที่ต้องใจของชาวบาวาเรียผู้ยังออกจะหัวโบราณ ในที่สุดลุดวิจก็ต้องขอให้วากเนอร์ออกจากเมือง", "title": "พระเจ้าลุดวิจที่ 2 แห่งบาวาเรีย" }, { "docid": "430555#1", "text": "แฮทซ์พิสูจน์ทฤษฎีโดยการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ส่งและรับคลื่นวิทยุโดยใช้การทดลอง นั่นให้เหตุผลถึงปรากฏการณ์แบบไร้สายอื่น ๆ ที่รู้จัก หน่วยวิทยาศาสตร์ของความถี่รอบต่อวินาทีได้รับการตั้งชื่อเป็น \"เฮิรตซ์\" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา", "title": "ไฮน์ริช แฮทซ์" }, { "docid": "518921#15", "text": "สนามนี้มักถูกนำไปใช้ในการจัดคอนเสิร์ตค่อนข้างบ่อย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 สนามนี้จัดคอนเสิร์ตเป็นครั้งแรก คือเทศกาลคอนเสิร์ต \"Rock im Pott\" ซึ่งมีทั้งพลาซีโบ, เดอะบอสส์ฮอสส์, เรดฮอตชิลีเพปเปอส์ ศิลปินอื่น ๆ ที่เคยแสดงดนตรีที่สนามนี้ได้แก่ บรูซ สปริงส์ทีน, บอน โจวี, ร็อบบี วิลเลียมส์, เมทัลลิกา, เอซี/ดีซี, ยูทู และศิลปินเยอรมัน พัวร์และแฮร์แบร์ท เกรอเนอไมเออร์", "title": "อาเรนาเอาฟ์ชัลเคอ" }, { "docid": "430555#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2426 แฮทซ์ก็เข้ามาอยู่ในตำแหน่งวิทยากรวิชาฟิสิกส์ทฤษฎีที่มหาวิทยาลัยแห่งคีล", "title": "ไฮน์ริช แฮทซ์" }, { "docid": "13567#1", "text": "บรูซ วิลลิส ได้สมรสกับนักแสดงสาว เดมี มัวร์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 จนกระทั่งหย่ากันเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ทั้งคู่ไม่ได้ให้เหตุผลของการหย่าร้าง วิลลิสกับมัวร์มีบุตรด้วยกันสามคน รูเมอร์ เกลน วิลลิส (เกิดในปี ค.ศ. 1988) สเกาท์ ลารู วิลลิส (เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1991) และ ทาลูฮาห์ เบลล์ วิลลิส(เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1994) นับตั้งแต่ทั้งคู่แยกทางกัน ก็มีข่าวลือว่าต่างคนต่างจะแต่งงานใหม่ และเดมี มัวร์ก็ได้หมั้นกับดาราหนุ่ม แอชตัน คุชเชอร์ แต่ทั้งคู่ยังคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน และยังพำนักในบ้านหลังเดียวกัน และมีธุรกิจหลายอย่างร่วมกันในเบลนเคาน์ที รัฐโอไฮโอ", "title": "บรูซ วิลลิส" }, { "docid": "222914#1", "text": "วุร์สเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลชร็อพเชอร์, มณฑลสตาฟฟอร์ดเชอร์, มณฑลเวสต์มิดแลนด์, มณฑลวอริคเชอร์ และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ ทางด้านตะวันตกติดกับมาลเวิร์น ฮิลล์ส (Malvern Hills) ที่เป็นที่ตั้งของเมืองมาลเวิร์น ฮิลล์สที่เป็นเมืองบ่อน้ำแร่ ทางด้านด้านตะวันตกของเนินเป็นมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์และทางเหนือของค็อตสวอลด์ส (Cotswolds) ด้านตะวันตกติดกับมณฑลวอริคเชอร์ แม่น้ำสำคัญสองสายที่ไหลผ่านคือแม่น้ำเซเวิร์น และแม่น้ำเอวอน วุร์สเตอร์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 555,600 คน ในเนื้อที่ 1,741 ตารางกิโลเมตร ", "title": "วุร์สเตอร์เชอร์" }, { "docid": "391571#1", "text": "อเมริกาในยุคทศวรรษ 40 เศรษฐกิจกำลังตกต่ำอย่างหนัก ไมเคิล ซัลลิแวน (ทอม แฮงค์) มือปืนรับจ้างสังหาร พร้อมด้วยลูกชายตัวเล็ก ๆ อายุ 12 ขวบ ไมเคิล ซัลลิแวน จูเนียร์ (ไทเลอร์ เฮอคลิน) ผูกพันอยู่กับแก๊งค์มาเฟียเชื้อสายไอริชในชิคาโก ที่มี จอห์น รูนีย์ (พอล นิวแมน) เป็นหัวหน้าใหญ่ รูนีย์รักซัลลิแวนเสมือนลูกชายแท้ ๆ ของตน แม้ว่าจะมี คอนเนอร์ (แดเนียล เคร็ก) ซึ่งเป็นลูกชายตัวจริงอยู่แล้วก็ตาม แต่ในสายตาของรูนีย์แล้ว คอนเนอร์เป็นคนไม่ได้เรื่อง รูนีย์จึงปรารถนาให้ซัลลิแวนเป็นผู้สืบทอดแก๊งค์ต่อจากตน", "title": "ดับแค้นจอมคนเพชฌฆาต" }, { "docid": "80366#33", "text": "ทางวิ่งของโอแฮร์มีจุดตัดของทางวิ่งจำนวนมาก และสามารถก่อให้เกิดปัญหาได้จากภาวะที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย หรือการจราจรที่คับคั่ง หรือกระแสลม ดังนั้นเจ้าหน้าหอบังคับการบินจึงต้องรอจนกว่าทางวิ่งจะว่างโดยตลอด ถึงจะอนุญาตให้ทางวิ่งอีกเส้นที่ตัดกันใช้งานได้ และหากเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินทำงานผิดพลาด ก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และในช่วงหลายปีหลังมาอุบัติเหตุที่เครื่องบินเกือบจะเฉี่ยวหรือชน หรือต้องหักหลบจนเครื่องไถลออกนอกทางวิ่งอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นแผนปรับปรุงที่ผ่านการอนุมัติไปแล้ว ก็จะช่วยแก้ปัญหากรณีนี้ไปได้อย่างมาก", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์" }, { "docid": "650293#2", "text": "เมื่อเทรนเนอร์มีอายุครบ 17 ปี เธอได้ถูกแนะนำโดยอัล แอนเดอร์สัน สมาชิกวงเอ็นอาร์บีคิว ให้คาร์ลา วอลเลซ เจ้าของร่วมและผู้จัดการทั่วไปของค่ายบิ๊กเยลโลด็อกมิวสิค รู้จัก จนเธอได้เข้ามาเซ็นสัญญาเป็นนักแต่งเพลงกับค่ายของวอลเลซหลังจากวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 18 ปีของเทรนเนอร์ได้ไม่นาน ต่อมาในปี ค.ศ. 2011 ระหว่างที่เธอยังเรียนอยู่ที่ไฮสกูล เทรนเนอร์ได้เขียนเพลงและได้ปล่อยอัลบั้มแรกของเธอ \"\"I'll Sing With You\"\" ในวันที่ 31 มกราคม และอัลบั้ม \"\"Only 17\"\" ในวันที่ 14 กันยายน หลังจากนั้นเธอเดินทางไปกับทริปเขียนเพลงที่ลอสแอนเจลิส, นครนิวยอร์ก และแนชวิลล์ และตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แนชวิลล์ตอนอายุ 19 ปี เทรนเนอร์มีผลงานเขียนเพลงให้กับ ซาบรีนา คาร์เพนเตอร์, แรสคอล แพลตส์, อาร์ไฟฟ์ และศิลปินอีกมากมาย", "title": "เมแกน เทรนเนอร์" } ]
4043
การค้าประเวณีผิดกฏหมายในประเทศไทยหรือไม่ ?
[ { "docid": "581944#0", "text": "การค้าประเวณีเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย[1] แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามีการค้าประเวณีอยู่และถูกควบคุมในบางส่วน[2] การค้าประเวณีพบได้ทั่วประเทศ[3][4] เจ้าพนักงานในท้องถิ่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องมักจะปกป้องการค้าประเวณี จำนวนของผู้ค้าบริการทางเพศประมาณให้แน่นอนได้ยาก แต่ละสำนักมีตัวเลขและนิยามที่ต่างกันไป และเป็นที่ถกเถียงกันทั้งในระดับชาติและนานาชาติ[5] ตั้งแต่สงครามเวียดนามเป็นต้นมาประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศจุดหมายปลายทางสำหรับเซ็กซ์ทัวร์ [6]", "title": "การค้าประเวณีในประเทศไทย" } ]
[ { "docid": "368577#1", "text": "ในประเทศนิวซีแลนด์การค้าประเวณีประเภทนี้ถูกกฎหมาย ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกาจะเป็นการผิดกฎหมาย แม้ว่าในบางรัฐการเปิดซ่องจะถูกกฎหมายก็ตาม", "title": "โสเภณีข้างถนน" }, { "docid": "325675#12", "text": "ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการค้าประเวณียังมีเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายก็ตาม โดยรัฐบาลไทยได้มีความพยายามที่จะติดตามและควบคุมปัญหาดังกล่าว คาดว่ามีชาวต่างชาติประมาณ 20% จากการค้าประเวณีทั้งหมดในประเทศไทย และในปัจจุบันยังมีการค้าประเวณีอย่างแพร่หลายในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น เมืองพัทยา, ถนนพัฒน์พงศ์ และหาดป่าตอง", "title": "การท่องเที่ยวในประเทศไทย" }, { "docid": "764158#2", "text": "สหประชาชาติได้กำหนดว่า การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายสากล โดยมีการรณรงค์และองค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติการเช่นนี้", "title": "การค้าประเวณีเด็ก" }, { "docid": "15219#37", "text": "หญิงนครโสเภณีเป็นสิ่งที่ให้โทษอย่างมาก ประการแรก คือ ทำให้มีสถานค้าประเวณีคอยรับซื้อเด็กหญิงมาบังคับเป็นโสเภณี ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังและดาษดื่นอยู่เวลานี้ ทำให้มีคดีฉุดคร่าล่อลวงหญิงมาขายตามสถานดังกล่าว และทำให้มีบุคคลประเภทแมงดาเป็นกาฝากของสังคม รวมตลอดทั้งนักเลงคอยก่อความไม่สงบทำผิดกฎหมายอยู่เสมอ", "title": "การค้าประเวณี" }, { "docid": "764140#17", "text": "แม้ว่าจะไม่สามารถรู้ขอบเขตปัญหาที่แท้จริงได้ เพราะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ข้อมูลแรงงานเด็กทั่วโลกปี 2546 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประมาณว่า มีเด็กเกือบถึง 1.8 ล้านคนที่ถูกฉวยผลประโยชน์โดยการค้าประเวณีและสื่อลามกทั่วโลก[13]", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "581944#3", "text": "อาบอบนวด เป็นสถานบริการทางเพศโดยตรง[11] โดยผู้ขายบริการจะนั่งรอภายในสถานบริการและรอลูกค้าเข้ามาเลือก โดยในสถานบริการจะมีบริการจัดห้องไว้รับรอง สถานบริการอาบอบนวดมีกระจายในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นบางจังหวัด ในกรุงเทพมีมากบริเวณถนนพระราม 9 ถนนเพชรบุรี ถนนรัชดาภิเษก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถพบโฆษณาของอาบอบนวดบางแห่งได้ในอินเทอร์เน็ต หรือในหนังสือพิมพ์กีฬาบางฉบับอีกด้วย ซ่อง คล้ายคลึงกับอาบอบนวด แต่มักไม่เปิดตัวโจ่งแจ้ง และเป็นธุรกิจผิดกฎหมาย ซ่องบางแห่งอาจลักลอบเปิดโดยใช้ธุรกิจนวดแผนโบราณหรือสปาขึ้นบังหน้าเท่านั้นและมีการบริการนวดกระปู๋ สถานบันเทิง คาเฟ่ ร้านคาราโอเกะ สปา หรือร้านตัดผม บางแห่ง มีบริการทางเพศแอบแฝงเพิ่มเติมสำหรับลูกค้า รอลูกค้าที่โรงแรมม่านรูด หรือบริเวณริมถนนบางแห่ง ที่เป็นแหล่งค้าประเวณี การโทรเรียก โดยลูกค้าติดต่อทางนายหน้า (หรือแมงดา หรือมาม่าซัง) เพื่อเรียกมาใช้บริการทางที่พักของลูกค้า หรือทางโรงแรมที่เตรียมไว้ ราคาการให้บริการจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่และชนิด โดยปกติ ผู้ชายที่ให้บริการ จะได้รายได้น้อยกว่าผู้หญิงที่ให้บริการ บางครั้งนายหน้าอาจใช้คำเรียกอาชีพอื่นเพื่อปิดบังการค้าประเวณี เช่น จัดหาพริตตี้ จัดหานางแบบ เป็นต้น การซื้อขายบริการทางเพศผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาจซื้อขายผ่านทางการแชต (เมสเซนเจอร์) แคมฟรอก หรือเฟซบุ๊ก เป็นต้น หรือเว็บไซต์ใต้ดินบางแห่งอาจมีโฆษณาการขายบริการทางเพศ การซื้อขายบริการทางเพศแบบซื้อเหมาในระยะยาว เช่นหนึ่งสัปดาห์ หรือหนึ่งเดือนขึ้นไป โดยในช่วงระยะเวลาที่ตกลงกันนั้น ผู้ซื้อจะผูกขาดการเป็นลูกค้าแต่เพียงผู้เดียว ไม่ยินยอมให้ผู้ขายไปขายบริการหรือไปมีกิจกรรมทางเพศกับบุคคลอื่นอีก ซึ่งอาจถือว่าเป็นการเหมาซื้อทั้งบริการทางเพศและความสัมพันธ์ชั่วคราวในรูปแบบอื่น เช่นแฟนหรือคนรักด้วย บางครั้งเรียกการซื้อแบบนี้ว่า \"ผูกปิ่นโต\" การล่อลวงเหยื่อให้มาค้าประเวณี ผู้ล่อลวงอาจแอบอ้างตัวว่าเป็นธุรกิจอื่น เช่น โมเดลลิ่ง แมวมองดารา เป็นต้น", "title": "การค้าประเวณีในประเทศไทย" }, { "docid": "764158#27", "text": "การค้าประเวณีเด็กมีอยู่ตั้งแต่ในสมัยโบราณ\nเด็กชายก่อนวัยหนุ่มถูกขายประเวณีโดยทั่วไปในซ่องทั้งในกรีซและโรมโบราณ\nตามนักเขียนท่านหนึ่ง \"เด็กหญิงชาวอียิปต์ที่สวยที่สุดและตระกูลสูงที่สุดจะถูกบังคับให้ค้าประเวณี... และจะเป็นเด็กหญิงโสเภณีจนเริ่มมีประจำเดือนเป็นครั้งแรก\"\nส่วนการขายเด็กเพื่อค้าประเวณีของพ่อแม่เด็กจีนและอินเดียเป็นเรื่องปกติ\nและพ่อแม่ในอินเดียบางครั้งจะอุทิศลูกสาวให้กับวัดฮินดูเป็น \"เทวทาสี\"\nซึ่งในอดีตเป็นตำแหน่งมีศักดิ์ศรีในสังคม คือเทวทาสีดั้งเดิมมีหน้าที่รักษาและทำความสะอาดวัดของเทวดาฮินดูที่ตนอุทิศให้ และเรียนรู้การดนตรีและการเต้นรำ\nแต่เมื่อระบบวิวัฒนาการต่อ ๆ มา บทบาทเปลี่ยนกลายเป็นโสเภณีวัด และเด็กหญิงที่ถูกอุทิศให้ก่อนเป็นสาว ก็จะถูกบังคับให้ค้าประเวณีกับชายชั้นสูง\nแม้ว่าข้อปฏิบัติเช่นนี้จะผิดกฎหมายแล้ว แต่ก็ยังมีอยู่ในปัจจุบัน", "title": "การค้าประเวณีเด็ก" }, { "docid": "368069#2", "text": "แนวคิดของโซปแลนด์เริ่มต้นพัฒนาจากที่ประเทศญี่ปุ่นกำหนดให้การค้าประเวณีเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ธุรกิจการค้าประเวณีหลายแห่งได้เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเป็นการให้บริการอาบน้ำแทนที่ โดยให้ผู้หญิงมาอาบน้ำให้ผู้ชายซึ่งไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่อย่างใด ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจลักษณะโซปแลนด์ใช้ชื่อว่า \"โทะรุโกะบุโระ\" ซึ่งหมายถึงการอาบน้ำแบบตุรกี และต่อมาได้มีการประกวดการตั้งชื่อในระดับประเทศ และธุรกิจประเภทนี้ได้กลายมาเป็นชื่อ \"โซปแลนด์\"", "title": "โซปแลนด์" }, { "docid": "930921#0", "text": "พระราชบัญญัติการครองคู่แบบครอบครัว ค.ศ. 2018 () เป็นพระราชบัญญัติของรัฐสภาเบอร์มิวดาที่รับรองการครองคู่แบบครอบครัวสำหรับทั้งคู่รักต่างเพศ และคู่รักร่วมเพศ ทั้งนี้พระราชบัญญัติยังส่งผลให้กฏหมายการแต่งงานสำหรับคู่รักร่วมเพศผิดกฏหมาย รัฐสภาเบอร์มิวดาเป็นรัฐสภาแรกที่ทำให้กฏหมายการแต่งงานเพศเดียวกันผิดกฏหมายอีกครั้ง หลังจากที่เคยถูกกฏหมาย", "title": "พระราชบัญญัติการครองคู่แบบครอบครัว ค.ศ. 2018" }, { "docid": "926584#1", "text": "การร่วมเพศหมู่มักจะเกิดขึ้นในปาร์ตี้เซ็กส์ส่วนตัวหรือกึ่งสาธารณะ การรวมตัวสวิงเกอร์ แต่อาจจะใช้ในสถานอาบอบนวดหรือซ่องโสเภณี หรือในบางเขตอำนาจกฏหมาย ที่มีจุดประสงค์ที่สร้างตำแหน่งพื้นที่ขึ้น เช่น คลับเซ็กส์ ในสถานที่ที่มีเซ็กส์กับผู้ที่ไม่ใช่คู่สมรสนั้นเป็นสิ่งต้องห้ามหรือผิดกฏหมาย การร่วมเพศหมู่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ส่วนตัวหรือที่แอบแฝง รวมทั้งในบ้าน โรงแรม ห้องพัก หรือคลับส่วนตัว", "title": "การร่วมเพศหมู่" }, { "docid": "873373#1", "text": "มีการนำเงินเข้าองค์กร ระหว่าง $500 ล้าน ถึง $1 พันล้านต่อปี หรือมากกว่านี้ และอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการที่ผิดกฏหมาย ตัวอย่างเช่น การปลอมธนบัตร 100 ดอลลาร์, ผลิตสารควบคุม (รวมทั้งการสังเคราะห์เมแทมเฟตามีน และการแปลงมอร์ฟีนที่มีฝิ่นปนเปื้อนสารบริสุทธิ์ เช่น เฮโรอีน) และการฉ้อโกงประกันระหว่างประเทศ", "title": "สำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลี" }, { "docid": "15219#33", "text": "ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 โดยไม่ได้ถูกนำเข้ามาจากชาติตะวันตกตามเรื่องเล่ากัน การค้าประเวณีในไทยเริ่มเป็นที่แพร่หลายกับชาวตะวันตก ในช่วงที่มีการติดต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับชาวตะวันตก มีหลักฐานเป็นศัพท์ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกว่า รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ใน ประมวลกฎหมายตรา 3 ดวง – บทพระไอยการลักษณะผัวเมีย มีการบัญญัติผู้ค้าประเวณีว่า หญิงนครโสเภณี และสมัยสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสถานประกอบการเรียกว่า โรงหญิงนครโสเภณี โดยทั่วไปมีโคมสีเขียวตั้งข้างหน้า จึงเรียกกันว่า สำนักโคมเขียว ทั้งนี้ก่อนปี พ.ศ. 2499 การค้าประเวณีไม่ถือว่า ผิดกฎหมาย แต่เริ่ม พระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 กำหนดว่าการค้าประเวณีเป็นความผิดอย่างชัดเจน แต่ในสังคมยุคใหม่เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในช่วงสงครามเวียดนาม โดยในช่วงนั้นการค้าประเวณีจะเป็นการลักลอบค้าประเวณี และปัจจุบันธุรกิจค้าประเวณีในประเทศไทยเป็นธุรกิจแอบแฝง", "title": "การค้าประเวณี" }, { "docid": "15219#29", "text": "ในประเทศไทย การค้าประเวณีเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่ยอมให้ในสังคมไทยบางส่วน เช่นเดียวกับหลายประเทศในทวีปเอเชีย การเปิดสถานบริการอาบอบนวดในประเทศไทย ถูกจัดให้อยู่ในส่วนของสถานบริการทั่วไป ซึ่งไม่ผิดกฎหมาย โดยการขายบริการทางเพศของผู้ให้บริการถือเป็นการตกลงกันเองระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ ถือเป็นความเข้าใจกันว่าไม่เกี่ยวข้องกับทางสถานบริการ โดยประมาณว่ามีผู้ขายบริการทางเพศในประเทศไทยมีประมาณ 130,000 คนในประเทศไทยรวมทั้งเพศชายและเพศหญิง", "title": "การค้าประเวณี" }, { "docid": "82618#4", "text": "แพร่กระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นของบราซิลทางฝั่งตะวันออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่อยู่ในสถา่นะใกล้สูญพันธุ์เพราะถิ่นที่อยู่ถูกทำลายไปจากการนำไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และถูกจับขายเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งมีทั้งถูกกฏหมายและผิดกฏหมาย", "title": "ลิงไลออนทามารินสีทอง" }, { "docid": "15219#25", "text": "ยืนรอข้างถนน โดยการยืนรอคอยลูกค้าบริเวณหัวริมถนน และขายบริการทางเพศต่อในบริเวณโรงแรม หรือโรงแรมม่านรูด ในกรุงเทพ อาทิ แถวบริเวณ รอบสวนลุมพินี รอบสนามหลวง รอบวงเวียน 22 กรกฎาคม รอบถนนผดุงด้าว (ซอยเท็กซัส) คลองหลอด ฯลฯ อาบอบนวด หรือ ซ่อง เป็นสถานบริการทางเพศโดยตรง โดยผู้ขายบริการจะนั่งรอภายในสถานบริการและรอลูกค้าเข้ามาเลือก โดยในสถานบริการจะมีบริการจัดห้องไว้รับรอง ในต่างจังหวัดบางที่ผู้ให้บริการ จะยืนรวมตัวรอบกองไฟ และมีห้องบริการไว้สำหรับลูกค้าที่ต้องการเข้ามาใช้บริการ ในประเทศไทยราคาการให้บริการมีตั้งแต่ 50 บาท จนถึงหลายหมื่นบาท สถานบริการอาบอบนวดมีกระจายในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ในกรุงเทพมีมากบริเวณถนนพระราม 9 ถนนเพชรบุรี ถนนรัชดาภิเษก สถานบันเทิง คาเฟ่ ร้านคาราโอเกะ สปา หรือร้านตัดผม บางแห่ง มีการบริการพิเศษแอบแฝงเพิ่มเติมสำหรับลูกค้า ซ่องผิดกฎหมายบางแห่งอาจลักลอบเปิดโดยใช้ธุรกิจอื่นขึ้นบังหน้าเท่านั้น หรือบางครั้งอาจแอบอ้างตัวว่าเป็นธุรกิจอื่น เช่น นวดแผนโบราณ สปา จัดหาพริตตี้ เป็นต้น หอพักของผู้ขายบริการ ในหลายประเทศการขายบริการประเภทนี้เป็นประเภทเดียวไม่ผิดกฎหมาย โดยเป็นที่นิยมใน ประเทศเยอรมนี เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยทางผู้ขายบริการจะประกาศโฆษณาตามใบปลิว หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ การโทรเรียกหรือการใช้ช่องทางการค้าประเวณีในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอื่น ๆ โดยลูกค้าติดต่อทางนายหน้า (หรือแมงดา หรือมาม่าซัง) เพื่อเรียกมาใช้บริการทางที่พักของลูกค้า หรือทางโรงแรมที่เตรียมไว้ ราคาการให้บริการจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่และชนิด โดยปกติ ผู้ชายที่ให้บริการ จะได้รายได้น้อยกว่าผู้หญิงที่ให้บริการ. ใน วอชิงตัน ดี.ซี. อ้างอิงจากเอเยนซี ท็อปซ์ (TOPPS) ค่าบริการ ประมาณ 6,000 บาท ($150) และ 10,000 บาท ($250) ต่อชั่วโมงสำหรับหนุ่มบริการ และสาวบริการตามลำดับ โดยทางเอเยนซี่จะได้เงิน ประมาณ 2,000 บาท ต่อชั่วโมง ได้รับจากผู้ให้บริการ ในเมืองมอสโก ประเทศรัสเซีย มีการขายบริการเรียกว่า ตลาดสาว โดยมีผู้หญิงยืนเรียงอยู่ข้างทาง และให้รถขับเข้าไปใน ท็อคกา (ที่จอดรถ) โดยให้ผู้ขับรถเลือกผู้หญิงที่ต้องการแล้วพาไปด้วยกัน ไซด์ไลน์ คือการประกาศขายบริการทางเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยจะมีบ่งบอกอายุ ค่าบริการ กฎข้อห้ามและอื่น ๆ ผู้ใช้บริการจะติดต่อเพื่อใช้บริการโดยติดต่อทางโทรศัพท์หรือไลน์ตามที่ได้ประกาศเอาไว้ หลังจากนั้นก็นัดพบเจอกันและพาไปยังสถานที่ที่พักเพื่อเสพสม ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการขายบริการไซด์ไลน์มากที่สุด ส่วนใหญ่ก็จะมีทั้งนักศึกษาสาวที่มีปัญหาเรื่องทางการเงินสำหรับค่าเทอมเล่าเรียน และมืออาชีพ", "title": "การค้าประเวณี" }, { "docid": "764158#0", "text": "การค้าประเวณีเด็ก () เป็นการค้าประเวณีที่เกี่ยวกับเด็ก เป็นรูปแบบหนึ่งของการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก เด็กในที่นี้มักจะหมายถึงผู้เยาว์ หรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ\nในเขตกฎหมายโดยมาก การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายโดยเป็นส่วนของกฎหมายห้ามการค้าประเวณีโดยทั่ว ๆ ไป", "title": "การค้าประเวณีเด็ก" }, { "docid": "495992#4", "text": "การค้ามนุษย์เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งการล่อลวงและการลักพาชายจากกัมพูชาโดยนักค้ามนุษย์และขายให้แก่เรือประมงผิดกฎหมายซึ่งจับปลาในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ชายเหล่านี้ได้รับสัญญาว่าจะได้ทำงานที่มีรายได้ดีกว่า แต่กลับถูกบังคับให้ทำงานเป็นทาสบนเรือนานถึง 3 ปี การค้าเด็กก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญในประเทศไทยเช่นกัน โดยการบังคับให้เด็กที่ถูกลักพาซึ่งมีอาจมีอายุน้อยเพียง 4 ปีเป็นทาสเพื่อบริการทางเพศในนครใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครและภูเก็ต กิจกรรมดังกล่าวแพร่กระจายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทของประเทศ ในปี พ.ศ. 2558 คณะกรรมการธิการยุโรปมีมติให้ใบเหลืองแก่ประเทศไทยในกรณีการทำประมงผิดกฎหมายตามมาตรฐานยุโรป นาย ภูเบศ จันทนิมิ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าว ตอนหนึ่งว่า \"ผมกล้ารับประกันว่าจะไม่ได้ใบเขียว แค่เราถูกคงที่ใบเหลืองก็พอแล้ว\" แม้รัฐบาลจัดตั้ง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายในปีดังกล่าว แต่คณะกรรมการธิการยุโรปก็มีมติให้ใบเหลืองแก่ประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน", "title": "สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย" }, { "docid": "764140#41", "text": "ในปี 2532 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก โดยมาตราที่ 34 กล่าวว่า “รัฐผู้ร่วมอนุสัญญาจะดำเนินการป้องกันเด็กจากการฉวยประโยชน์และทารุณกรรมทางเพศทุกรูปแบบ เพื่อจุดประสงค์เช่นนี้ รัฐผู้ร่วมอนุสัญญาจะใช้มาตรการระดับชาติ ทวิภาคี และพหุภาคีทุกอย่างเพื่อป้องกัน ก) การชักชวนหรือการบีบบังคับให้เด็กร่วมกิจกรรมทางเพศที่ผิดกฎหมาย ข) การฉวยผลประโยชน์จากเด็กในการค้าประเวณีหรือข้อปฏิบัติทางเพศอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมาย ค) การฉวยผลประโยชน์จากเด็กในการแสดงอนาจารและสื่ออนาจาร[33]”", "title": "การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก" }, { "docid": "767578#13", "text": "รายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า การขายเด็กหญิงพรหมจรรย์ยังเป็นปัญหาหนักในประเทศกัมพูชา และมีชายชาวเอเชียและต่างชาติอื่น ๆ ที่เดินทางไปกัมพูชาเพื่อเที่ยวทัวร์เซ็กซ์เด็ก กฎหมายปราบปรามการลักพาตัว การค้า และการฉวยประโยชน์ของมนุษย์ปี 2539 ของกัมพูชา มีมาตราต่อต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก และแม้ว่ากฎหมายจะพุ่งความสนใจไปที่การค้ามนุษย์ แต่ก็ยังมีกฎเกี่ยวกับการค้าประเวณีด้วย อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ในกัมพูชาอยู่ที่ 15 ปี แต่ว่าไม่ได้กำหนดหรือห้ามการค้าประเวณีเด็กเป็นพิเศษ มีการประเมินว่า 1/3 ของโสเภณีในกัมพูชาเป็นเด็ก\nรายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า รัฐบาลจีนไม่ได้ทำการเพียงพอที่จะลดความต้องการของการใช้แรงงานบังคับ กิจกรรมทางเพศเพื่อการค้า และทัวร์เซ็กซ์เด็ก\nรายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า ทัวร์เซ็กซ์เด็กมีอย่างแพร่หลายทั่วไปในเมืองและในเขตท่องเที่ยวในประเทศอินโดนีเซีย เช่น เกาะบาหลี หมู่เกาะเรียว คือในเร็ว ๆ นี้เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซียได้กลายเป็นแหล่งทัวร์เซ็กซ์เด็ก และเป็นแหล่งการค้ามนุษย์ทางเพศด้วย ตามกฎหมายอาญาของประเทศ ชาวอินโดนีเซียสามารถต้องโทษฐานผิดกฎหมายป้องกันเด็กหรือกฎหมายอาญา ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศ โดยมีกฎหมายป้องกันเด็กที่ 28 เป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อป้องกันสิทธิต่าง ๆ ของเด็ก มีบางมาตราที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการปฏิบัติผิดทางเพศต่อเด็ก เช่นมาตราหนึ่งแสดงว่า ผิดกฎหมายที่จะใช้เด็กเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ทางการค้า ถ้าไม่ทำตามกฎหมายนี้ บทลงโทษรวมทั้งการจำถึง 10 ปี หรือการปรับเป็นเงิน 200 ล้านรูเปียห์ (531,000 บาทต้นปี 2559)\nชายชาวเกาหลีใต้ได้เป็นต้นเหตุสำคัญของทัวร์เซ็กซ์เด็กในเอเชียเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว\nในปี 2548 หนังสือพิมพ์ \"The Korea Times\" รายงานว่า มีการประชุมเอกสารัตถ์นานาชาติเรื่องกลยุทธ์ในการลดนักท่องเที่ยวเซ็กซ์เด็กชาวเกาหลีที่เดินทางไปยังเอเชียอาคเนย์ เป็นงานประชุมที่มื่ชื่อว่า \"สถานะและการป้องกันเซ็กซ์ทัวร์เด็กและเยาวชนในต่างประเทศของชายชาวเกาหลี\" ที่กล่าวถึงประเด็นที่ชายชาวเกาหลีเป็นเหตุการค้าประเวณีเด็กทั่วเอเชีย โดยมีกัมพูชาและฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงที่สุด ผู้ร่วมประชุมกล่าวว่า เชื่อว่า นักท่องเที่ยวชายชาวเกาหลีทารุณเด็กยากจนชาวกัมพูชาโดยฉวยประโยชน์จากสถานการณ์ทางครอบครัวที่ไม่ดี เป็นเด็กผู้ถูกบังคับให้ขายเซ็กซ์เพื่อช่วยครอบครัว ส่วนสำหรับฟิลิปปินส์ รายงานให้ข้อสังเกตว่า \"คนเกาหลีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซื้อเซ็กซ์ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยบางครั้งทารุณหญิงโสเภณี รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้กระตุ้นให้รัฐบาลเกาหลีทำการให้เข้มแข็งในเรื่องชาวเกาหลีจัดหาโสเภณี โดยเฉพาะการซื้อเซ็กซ์จากเด็ก\"", "title": "เซ็กซ์ทัวร์เด็ก" }, { "docid": "15219#27", "text": "ในหลายประเทศ การขายและการซื้อบริการทางเพศถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย แต่กิจการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องถือว่าถูกกฎหมาย รวมทั้งการเรียกเก็บเงินจากผู้ให้บริการ การทำงานในสถานบริการทางเพศ ในประเทศมุสลิมบางประเทศ มีการลงโทษประหารชีวิตสำหรับผู้ให้บริการทางเพศ", "title": "การค้าประเวณี" }, { "docid": "15219#28", "text": "ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การค้าประเวณี หรือการเป็นเจ้าของสถานขายบริการถือเป็นอาชีพที่ต้องเสียภาษี โดยมีกฎหมายให้ผู้ขายบริการต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี กฎหมายในเรื่องของโสเภณีในเยอรมนี นิวซีแลนด์ และ สวิตเซอร์แลนด์ มีลักษณะใกล้เคียงกับเนเธอร์แลนด์ ในสหรัฐอเมริกา มี 48 รัฐที่การขายบริการทางเพศถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายโดยถือเป็นคดีแพ่ง ยกเว้นรัฐเนวาดา (ที่ตั้งของเมืองลาสเวกัส) และรัฐโรดไอแลนด์ ที่การขายบริการไม่ผิดกฎหมาย แต่การขายตามริมถนน หรือการเปิดสถานบริการถือว่าผิดกฎหมาย", "title": "การค้าประเวณี" }, { "docid": "335682#50", "text": "ในปี พ.ศ. 2561 พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ระบุว่ามีผู้ประกอบการ 81 แห่งทั่วประเทศ แม้การค้าขายบริการทางเพศผิดกฎหมายในประเทศไทย แต่การเป็นเจ้าของธุรกิจเหล่านี้ไม่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้นธุรกิจการพนันในประเทศกัมพูชาที่มีเจ้าของเป็นคนไทยยังทำรายได้เข้าประเทศ", "title": "เศรษฐกิจไทย" }, { "docid": "10159#28", "text": "อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า พื้นที่ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ที่มีธุรกิจผิดกฎหมายเติบโตขึ้นอย่างมากอาทิ ธุรกิจยาเสพติด บ่อนการพนัน[47] การค้าประเวณี ธุรกิจน้ำมันเถื่อน และ ตำรวจทหารเป็นคนเก็บเงินค่าส่วยในพื้นที่เสียเอง สถานการณ์จึงยิ่งซับซ้อนขึ้นเนื่องจากทหารและตำรวจ ต้องรบกับทหารและตำรวจส่วนหนึ่ง ที่หันมาเป็นผู้มีอิทธิพลหรือเป็นโจรเสียเอง[48]ปัญหาความไม่ไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารเนื่องจากสงสัยว่าหลายกรณีมีการจับแพะและเคยมีกรณีที่ถูกเจ้าหน้าที่ทรมานผู้ต้องหา ปัญหาการไม่ให้ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ปัญหาความขัดแย้งผลประโยชน์นักการเมืองท้องถิ่น ปัญหาความต้องการแบ่งแยกดินแดน ปัญหาธุรกิจยาเสพติดบ่อนการพนันและค้าประเวณี ปัญหาความไม่แน่ชัดว่าศัตรูของทหาร ตำรวจ และ กองอาสารักษาดินแดน นั้นคือใคร[49]", "title": "ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย" }, { "docid": "152057#2", "text": "ในเดือนเมษายนปี 2015 มอลตาเป็นประเทศแรกที่ทำให้การแทรกแซงทางการแพทย์ที่ไม่ยินยอมเพื่อปรับเปลี่ยนกายวิภาคของเพศรวมทั้งคนที่มีภาวะเพศกำกวมผิดกฏหมาย", "title": "ภาวะเพศกำกวม" }, { "docid": "767578#15", "text": "สถาบันอาชญาวิทยาเกาหลีพิมพ์งานศึกษาในเดือนมกราคม 2556 ที่แสดงว่า ชายเกาหลีใต้เป็นตลาดหลักของเซ็กซ์ทัวร์เด็กในเอเชียอาคเนย์ คือ \"ในบรรดาชาวต่างชาติที่ไปเยี่ยมเอเชียอาคเนย์ คนเกาหลีใต้เป็นกลุ่มหลักที่เพิ่มความต้องการของการค้าประเวณีเด็กทั้งเขต\" บทความกล่าวต่อไปอีกว่า \"รายงานการค้าบุคคลปี 2551 ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐพรรณนาเกาหลีใต้ว่าเป็นแหล่งสำคัญของความต้องการทัวร์เซ็กซ์เด็กในเอเชียอาคเนย์และในหมู่เกาะแปซิฟิก\" โดยมีหัวหน้าองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์เพื่อเซ็กซ์ในกรุงโซลที่อ้างว่า \"ถ้าคุณไปเที่ยวซ่องในเวียดนามหรือกัมพูชาจะเป็นซ่องไหนก็ได้ คุณจะเห็นใบปลิวที่เขียนเป็นภาษาเกาหลี\"\nรายงานการค้าบุคคลปี 2553 รายงานว่านักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้และญี่ปุ่นใช้บริการทัวร์เซ็กซ์เด็กในประเทศมองโกเลีย จนกระทั่งรัฐบาลมองโกเลียได้ออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการค้าประเวณีเด็ก คือกฎหมายอาญาห้ามการค้าประเวณีแบบทำเป็นองค์กรสำหรับบุคคลอายุต่ำกว่า 16 ซึ่งเป็นอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ในมองโกเลีย คือไม่ใช่การร่วมเพศกับโสเภณีอายุน้อยเกินไปเท่านั้นที่ผิดกฎหมาย แต่กับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีทั้งหมดก็ผิดกฎหมายด้วย การไม่ทำตามกฎหมายนี้มีโทษจำขังมากถึง 3 ปี หรือการรับใช้ชุมชนเป็นเวลา 18 เดือน การข่มขืนในมองโกเลียมีโทษจำขัง 2-6 ปี และถ้าทำผิดซ้ำหรือเหยื่อได้รับบาดเจ็บ โทษก็จะหนักขึ้น\nทัวร์เซ็กซ์เด็กเป็นปัญหาหนักของประเทศฟิลิปปินส์ รายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่ามีนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกาเหนือเพื่อจะมีเซ็กซ์กับเด็ก และด้วยเทคโนโลยีเช่นอินเทอร์เน็ต เด็กบางคนมีความสัมพันธ์แบบไซเบอร์กับชายจากประเทศอื่น ๆ และได้รายได้อาศัยการส่งภาพอนาจารทางเน็ต\nในประเทศไทย ทั้งองค์กรของรัฐและนอกภาครัฐได้ทำงานร่วมกันเพื่อปิดซ่อง และได้พยายามเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับทัวร์เซ็กซ์เด็กแล้วพยายามระงับมัน ในปี 2551 มีรายงานสูงเป็นประวัติของเด็กและหญิง 27,000 คน ที่ต้องไปหาแพทย์เนื่องจากความบาดเจ็บที่เกิดจากทารุณกรรมทางเพศ เด็กจำนวนมากไม่ได้ลงทะเบียนเกิด ทำให้ง่ายขึ้นที่จะส่งไปค้านอกประเทศ หรือถูกบังคับให้ทำงาน รวมทั้งการค้าเซ็กซ์", "title": "เซ็กซ์ทัวร์เด็ก" }, { "docid": "37060#3", "text": "การเปิดสถานบริการอาบอบนวดในประเทศไทย ถูกจัดให้อยู่ในส่วนของสถานบริการทั่วไป ซึ่งไม่ผิดกฎหมาย แต่ในปัจจุบันธุรกิจอาบอบนวดยังคงเป็นธุรกิจที่เรียกว่า \"ธุรกิจสีเทา\" เพราะมักจะมีการค้าประเวณีแอบแฝงอยู่เสมอ ๆ โดยการขายบริการทางเพศของผู้ให้บริการถือเป็นการตกลงกันเองระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ และถือเป็นความเข้าใจกันว่าไม่เกี่ยวข้องกับทางสถานบริการ\nปัจจุบันสถานบริการอาบอบนวดเกินกว่า 90% เปิดกิจการอาบอบนวดบังหน้า แต่จริง ๆ แล้ว เป็นสถานบริการที่มีการค้าประเวณีอย่างถูกกฎหมาย สังคมไทยบางส่วนให้การยอมรับ ไม่มีใครคนใดยกเรื่องนี้ขึ้นมาและแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม", "title": "อาบอบนวด" }, { "docid": "405824#47", "text": "ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า pedocriminality (การผิดกฎหมายเกี่ยวกับเด็ก, German: Pädokriminalität, French: pédocriminalité) เป็นคำที่เริ่มใช้ในคริสต์ทศวรรษ 1980 แล้วใช้โดยองค์การต่าง ๆ เช่น กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลก[141] และ Council of Europe[142] เป็นคำหมายถึง ทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก (child sexual abuse) ความรุนแรงทางเพศอื่น ๆ (sexual violence) ต่อเด็ก[143][144] การค้าประเวณีเด็ก การค้าเด็ก และการใช้สื่อลามกอนาจารเด็ก[145] ส่วนคำว่า \"cyber-pedocriminality\" หมายถึงการกระทำของผู้ดูสื่อลามกอนาจารเด็กออนไลน์[146]", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "15219#30", "text": "กฎหมายการซื้อและการขายบริการทางเพศมีการแตกต่างกันในหลายประเทศ เช่น ในประเทศสวีเดน การขายบริการทางเพศไม่ผิดกฎหมาย ในขณะที่การซื้อบริการทางเพศถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายสวีเดน (Brottsbalken \"Criminal Code\" 1962:700, 6 kap, 11 §) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ผู้ซื้อบริการและผู้จัดการจะถือว่าผิดกฎหมาย ถ้าผู้ขายบริการอายุระหว่าง 16-18 ปี และถ้าผู้ขายอายุต่ำกว่า 16 ปีการขายบริการจะผิดกฎหมาย", "title": "การค้าประเวณี" }, { "docid": "764158#19", "text": "การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายสากล\nอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กแห่งสหประชาชาติ มาตราที่ 34 กล่าวว่า\n\"รัฐผู้ร่วมอนุสัญญาจะดำเนินการป้องกันเด็กจากการฉวยประโยชน์และทารุณกรรมทางเพศ รวมทั้งการค้าประเวณีและการมีส่วนร่วมในสื่อลามกอนาจาร\"\nเป็นอนุสัญญาที่เริ่มทำเมื่อปี 1989 และมีประเทศ 193 ประเทศได้เข้าร่วมอนุสัญญาแล้ว\nในปี 1990 สหประชาชาติได้จัดตั้งตำแหน่ง \"ผู้รายงานการประชุมพิเศษว่าด้วยการขายเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกอนาจารเด็ก\" (Special Rapporteur on the sale of children, child prostitution and child pornography) ที่จะสืบสวนการฉวยประโยชน์จากเด็กทั่วโลกแล้วให้คำแนะนำกับรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อยุติปัญหา\nแม้ว่าการค้าประเวณีของผู้ใหญ่จะถูกผิดกฎหมายต่างกันในประเทศต่าง ๆ แต่ว่าการค้าประเวณีเด็กเป็นเรื่องผิดกฎหมายเกือบในทุกประเทศ และทุกประเทศล้วนมีข้อจำกัดบางอย่างในเรื่องนั้น", "title": "การค้าประเวณีเด็ก" } ]
4044
ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ อยู่ที่ใด?
[ { "docid": "34368#0", "text": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลกแหล่งที่ 5 และเป็นอันดับที่ 2 ของมรดกทางธรรมชาติของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 10-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ณ เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก 1 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นราว 3,874,863 ไร่ หรือ 6,155 ตารางกิโลเมตร ถูกเรียกว่าเป็น ผืนป่าตะวันออก เพื่อเทียบเคียงกับ \"ผืนป่าตะวันตก\" บริเวณภาคตะวันตกของไทย", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" } ]
[ { "docid": "34368#19", "text": "จากกรณีที่กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม มีโครงการที่จะขยายถนนเส้น 304 กบินทร์บุรี-ปักธงชัย ถนนที่ผ่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลาน จาก 2 เลน เป็น 4 เลน โดยได้ไถพื้นที่ป่าไปแล้วกว่า 4 กม. ทางด้านกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กล่าวถึงโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 304 ว่า เป็นแผนเมกะโปรเจกต์ของกระทรวงคมนาคมที่นำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มีนายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรีสมัยนั้นเป็นประธาน เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#3", "text": "คำว่าป่าดงพญาเย็นนั้น ได้ถูกกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหลักฐานจากบทพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง เที่ยวตามทางรถไฟ ได้ทรงเล่าถึงป่าดงพญาไฟไว้ว่า", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#5", "text": "\"สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคยพระราชดำริไว้ว่า ไม่ควรเรียกดงพญาไฟเพราะให้คนครั่นคร้าม จึงทรงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้เปลี่ยนชื่อจาก ดงพญาไฟ เป็น ดงพญาเย็น แต่หลายคนยังคงเรียกว่า ป่าดงพญาไฟอยู่ดั้งเดิม\"", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "322284#8", "text": "และชื่อของอำเภอแก่งคอย อำเภอหนึ่งในจังหวัดสระบุรี อันเป็นปากทางเข้าสู่ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่หรือ \"ดงพญาไฟ\" ในอดีต ก็เคยมีชื่อเรียกว่า \"แร้งคอย\" อันเนื่องมาจากการที่ผู้คนที่สัญจรเข้าไปในป่าแห่งนี้ มักจะตายลงด้วยไข้ป่า จนแร้งต้องมาคอยกินซากศพ จึงเป็นที่มาของชื่ออำเภอ", "title": "แร้ง" }, { "docid": "34368#17", "text": "ยูเนสโกได้เสนอข้อเสนอแนะตามมาอีก 7 ข้อ หลังจากได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก ได้แก่", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "10214#1", "text": "ในสมัยก่อน การเดินทางติดต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสานนั้น มีอุปสรรคคือจะต้องผ่านป่าดงดิบขนาดใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายมากมายทั้งสัตว์ร้ายและไข้ป่า ผู้คนที่เดินทางผ่านป่านี้ล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงได้ขนานนามว่า ดงพญาไฟ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านในคราวเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา ทรงเห็นว่าชื่อดงพญาไฟนี้ ฟังดูน่ากลัว จึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเป็นดงพญาเย็นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา", "title": "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" }, { "docid": "34368#10", "text": "เมื่อปราบปรามโจรเสร็จ ทางจังหวัดนครนายกเห็นว่าหากปล่อยให้มีการตั้งตำบลเหมือนเดิม นานเข้าก็จะกลายเป็นชุมโจรอีก จึงมีคำสั่งให้อพยพชาวบ้านกว่า 1,000 คนลงมายังพื้นราบและสั่งให้ยกเลิกตำบลเขาใหญ่ ปล่อยให้กลายเป็นทุ่งหญ้ารกร้างและป่าดั่งเช่นให้เห็นปัจจุบัน", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "79296#1", "text": "เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็น \"มรดกโลกทางธรรมชาติ\" จากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อกลุ่ม \"ดงพญาเย็น-เขาใหญ่\"", "title": "อุทยานแห่งชาติทับลาน" }, { "docid": "34368#7", "text": "ภายหลังชาวบ้านจากบ้านท่าชัยและบ้านท่าด่าน จังหวัดนครนายก ได้อพยพมาบุกเบิกพื้นที่ทำกันบริเวณริมหนองขิง กลางผืนป่าเขาใหญ่ อันเป็นทำเลที่ดีอุดมสมบูรณ์ ถากถางเพื่อทำไร่พริกและนาข้าว เมื่อเห็นว่าสถานที่ดีจึงมีการอพยพเข้ามาถากถางมากขึ้นจนกลายมาเป็นชุมชนกลางป่าที่มีราว 40 หลังคาเรือน กระทั่งพื้นที่ราว 18,750 ไร่ หรือราว 30 ตารางกิโลเมตรได้ถูกถากถางไป", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#6", "text": "ภายหลังเมื่อมีการสร้างทางรถไฟและถนนมิตรภาพจากภาคกลางไปสู่ภาคอีสาน ผู้คนเริ่มที่จะอพยพเข้าไปแล้วถากถางป่าทำไร่ทำนา โดยเฉพาะบริเวณอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "936#76", "text": "ประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก 5 แหล่ง ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "34368#11", "text": "ในปี พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 11 ในขณะนั้น ได้เดินทางไปตรวจราชการในบริเวณดังกล่าว ท่านได้มีโอกาสนั่งเฮลิคอปเตอร์สำรวจป่าและปรากฏว่าจอมพลสฤษดิ์ได้ห่วงกับการทำลายป่าซึ่งมีมากขึ้นทุกวัน ท่านจึงมีคำสั่งให้ทางกระทรวงเกษตรและกระทรวงมหาดไทยร่วมกันสำรวจเพื่อจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2505 ซึ่งถือกำเนิดอุทยานแห่งชาติเป็นแห่งแรกของไทย", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#26", "text": "นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) กล่าวว่า โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำบริเวณพื้นที่ป่า ห้วยโสมง ใสน้อย และใสใหญ่ เป็นเพียง 3 ใน 12 โครงการ ที่กรมชลประทานเคยได้รับอนุมัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ก่อนที่จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2535 ที่ระบุให้ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการนี้ถูกนำมาปัดฝุ่นเป็นโครงการแก้ไขปัญหาน้ำภาคตะวันออก และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 หลังจากดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในวันที่ 14 กรกฎาคมปีเดียวกัน และล่าสุด กรมชลประทานได้ให้ทีมอาจารย์จากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม ศึกษาทางด้านวิศวกรรม [3]", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#27", "text": "เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และทางเทสโก้โลตัส ได้ร่วมลงนามการดำเนินโครงการ \"๙ ล้านกล้า ๘๐ พรรษามหามงคล\" โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกป่าให้ครบ 90 ล้านต้น บนเนื้อที่ 25,000 ไร่ ภายในเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2555 โดยจะดำเนินการปลูกในเขตพื้นที่ของป่าดงพญาเย็น บริเวณ 5 จังหวัด [4]", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "62947#1", "text": "เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็น \"มรดกโลกทางธรรมชาติ\" จากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อ “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่”", "title": "อุทยานแห่งชาติปางสีดา" }, { "docid": "34368#28", "text": "กรมอุทยาน ปัญหาทางหลวงสาย 304", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#29", "text": "หมวดหมู่:มรดกโลกทางธรรมชาติ หมวดหมู่:อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#2", "text": "แหล่งมรดกโลกผืนนี้ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งแต่ก่อนเป็นป่าดงดิบที่ทึบหนา มีสัตว์มากมาย เช่น เสือ กระทิง และช้าง ชุกชุมไปด้วยไข้มาเลเรีย ไม่มีถนนหนทางตัดฝ่าผืนป่าดั่งเช่นในปัจจุบัน การเดินทางจากกรุงเทพไปภาคอีสานจึงยากลำบาก หลายคนต้องเสียชีวิตด้วยไข้ป่าหรือสัตว์ป่า จนไม่ค่อยจะมีใครกล้าเข้ามาในดินแดนนี้ ผู้คนจึงตั้งชื่อให้ผืนป่าแห่งนี้ว่า ป่าดงพญาไฟ", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "467701#3", "text": "เรื่องปัญหาการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานมีความสำคัญมากเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ การดำเนินการรื้อถอนบ้านพักและรีสอร์ทที่บุกรุกพื้นที่จึงเป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งศูนย์มรดกโลกได้ส่งตัวแทนเข้ามาติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และมีข้อมติจากคณะกรรมการมรดกโลกให้ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งจะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 36 ที่ประเทศรัสเซีย เช่น แก้ปัญหาและติดตามการบุกรุกพื้นที่มรดกโลกอย่างใกล้ชิด และมีการปรับปรุงแนวเขตที่เหมาะสม มีการพิจารณาขยายผนวกพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่บุกรุก ลดกิจกรรมการเลี้ยงปศุสัตว์ ลดผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนห้วยโสมง การดำเนินการถนนสาย 304 เพื่อเชื่อมต่อผืนป่า เป็นต้น \nดำรงค์ พิเดช ได้จัดตั้งพรรคการเมือง และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ", "title": "ดำรงค์ พิเดช" }, { "docid": "34368#1", "text": "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "182392#2", "text": "พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ ท้องที่ตำบลนางรอง ตำบลโนนดินแดง กิ่งอำเภอโนนดินแดง ตำบลโคกมะม่วง ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ มีเนื้อที่ 212,500 ไร่ หรือประมาณ 340 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 ตัดผ่าน และรอบแนวเขต เป็นพื้นที่จัดสรรให้ราษฎรทำกินและอยู่อาศัยมีการตัดเส้นทางเข้าไปจนชิดแนวป่า ซึ่งง่ายต่อการบุกรุกถือครองพื้นที่ป่าไม้ ต่อมาทางราชการได้ดำเนินการอพยพย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ป่า เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัย หลบภัย ขยายพันธุ์ และประกอบกิจกรรมของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย ช่วยรักษาพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ไว้ และยังช่วยรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งไหลหล่อเลี้ยง ชีวิตประชาชนชาวบุรีรัมย์ให้คงอยู่ตลอดไป\nเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็น \"มรดกโลกทางธรรมชาติ\" จากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อกลุ่ม “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่”", "title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่" }, { "docid": "34368#21", "text": "ทางป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ยังได้รับงบสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย จำนวน 60 ล้านบาท สำหรับจัดทำแนวเชื่อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และเชื่อมผืนป่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน-ตะวันตก เทือกเขาตะนาวศรี เพื่อศึกษาการเดินทางของสัตว์ที่เดินทางข้ามระหว่างป่าไทยกับป่าพม่าด้วย", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#4", "text": "\"ดงพญาไฟนี้ เป็นช่องสำหรับข้ามไปมา ระหว่างเมืองสระบุรีกับมณฑลนครราชสีมาแต่โบราณ ไปได้แต่โดยเดินเท้า จะใช้ล้อเกวียนหาได้ไม่ ด้วยทางต้องเดินตามสันเขาบ้าง ตามไหล่เขาบ้าง คนเดินตามปกตินั้นตั้งแต่ตำบลแก่งคอย ต้องค้างคืนในป่านี้ถึง 2 คืน ถึงจะพ้น\"", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#12", "text": "แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#8", "text": "ราวปี พ.ศ. 2465 ชุมชนได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็น ตำบลเขาใหญ่ ขึ้นกับ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ชื่อ เขาใหญ่ จึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่นั้นมา ทั้งที่ไม่มียอดเขาแห่งใดที่มีชื่อคำว่าเขาใหญ่", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "10214#6", "text": "เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติจากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่", "title": "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" }, { "docid": "34368#15", "text": "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ \"ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่\" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 29 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#14", "text": "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีชนิดพันธุ์ของพืช และสัตว์ที่ไม่สามารถพบได้ที่อื่นเป็นจำนวนมาก โดยในจำนวนพืชราว 15,000 ชนิดที่พบในประเทศไทย สามารถพบในแหล่งมรดกโลกนี้ถึง 2,500 ชนิด มีพืชเฉพาะผืนป่านี้ถึง 16 ชนิด มีสัตว์ป่ากว่า 800 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 112 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า 209 ชนิด นกกว่า 392 ชนิด และเงือก 4 ชนิด ใน 13 ชนิดที่พบในประเทศไทย", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" }, { "docid": "34368#13", "text": "พื้นที่ตรงผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น เคยได้รับการเสนอชื่อขึ้นไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2533 แล้ว ซึ่งในขณะนั้นได้เสนอแหล่งธรรมชาติอีก 3 แหล่งสู่ที่ประชุมองค์การยูเนสโกเพื่อพิจารณา คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และปรากฏว่า เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุที่ว่าอุทยานแห่งชาติที่เหลือทั้ง 2 แห่งนั้น เล็กเกินไป และยังมีนโยบายที่ไม่แน่นอนและไม่เพียงพอ", "title": "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" } ]
4045
จังหวัดอะไรที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย?
[ { "docid": "17494#2", "text": "ภูมิประเทศของภาคเหนือประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศหลายจุด เช่น พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดสูงสุดของประเทศที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย", "title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)" } ]
[ { "docid": "914491#42", "text": "วันที่ 25 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวชึ้นใกล้กับหมู่เกาะมาร์แชลล์ วันที่ 27 สิงหาคม ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น การหมุนเวียนที่เร็วขึ้นอย่างต่อเนื่องนำพาให้ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ใช้ชื่อว่า เชบี (Jebi) วันที่ 29 สิงหาคม ระบบพายุได้อยู่ในภาวะการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ลูกที่ 3 ของฤดูกาล วันที่ 4 กันยายน เชบีที่อ่อนกำลังลง แต่ยังมีพลังอยู่มากได้พัดขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของจังหวัดโทกูชิมะ ในเวลาประมาณ 12.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (10.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ก่อนจะเคลื่อนตัวไปยังอ่าวโอซากะและขึ้นฝั่งอีกครั้งที่ใกล้ ๆ กับนครโกเบ จังหวัดเฮียวโงะที่เวลาประมาณ 14.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (12.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ต่อมาพายุไต้ฝุ่นเชบีได้พัดไปปกคลุมเหนือจังหวัดเคียวโตะ และสร้างความหายนะอย่างมากขึ้นไปอีก ต่อมาพายุไต้ฝุ่นเชบีเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลญี่ปุ่นในเวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (13.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) พร้อมกันนั้น แนวปะทะอากาศเย็นได้ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่าตัวพายุเชบีเริ่มมีการเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนแล้ว วันที่ 5 กันยายน หลังจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมออกคำเตือนเป็นฉบับสุดท้ายในเวลา 00.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น แล้วพายุไต้ฝุ่นเชบีได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในเวลาประมาณ 03.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (01.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ในขณะที่ระบบอยู่ใกล้กับคาบสมุทรชาโกตันของจังหวัดฮกไกโด พายุเชบีเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างสมบูรณ์ที่แถบชายฝั่งของดินแดนปรีมอร์สกี ประเทศรัสเซีย ในเวลาประมาณ 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นเขตวลาดิวอสต็อก (07.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) หลังจากนั้นพายุหมุนนอกเขตร้อนก็ได้เคลื่อนเข้าสู่แผ่นดินของรัสเซียที่ดินแดนฮาบารอฟสค์ และมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเคลื่อนตัวอยู่ในบริเวณของแผ่นดิน โดยระบบพายุนอกเขตร้อนมีทิศทางเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือก่อน แล้วจึงเปลี่ยนทิศทางไปทางเหนือ วันที่ 7 กันยายน ตัวระบบสลายตัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขตชนบทอายันในช่วงเช้าของวัน", "title": "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561" }, { "docid": "17494#7", "text": "จังหวัดทั้ง 9 ของภาคเหนือในการแบ่งเช่นนี้อาจเรียกว่า ภาคเหนือตอนบน ซึ่งส่วนใหญ่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนามาก่อน (สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดตากเคยเป็นบางส่วน) และมีภาษาถิ่นเป็นคำเมือง ส่วน 8 จังหวัดที่เหลืออาจเรียกว่า ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดนครสวรรค์ อันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ ปัจจุบันการแบ่งแบบนี้ไม่นิยมใช้อ้างอิงในเอกสารของทางราชการและบทความทางวิชาการอื่น ๆ เนื่องจากราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดให้จังหวัดเหล่านี้ เป็นจังหวัดในเขตภาคกลาง ยกเว้นจังหวัดตากอยู่ในภาคตะวันตก", "title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "10159#1", "text": "อดีตรัฐสุลต่านปัตตานีซึ่งมีสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส ตลอดจนบางส่วนของจังหวัดสงขลาที่อยู่ใกล้เคียง และส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซียถูกราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์พิชิตในปี พ.ศ. 2328 และถูกไทยปกครองนับแต่นั้น ยกเว้นกะลันตัน", "title": "ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย" }, { "docid": "17494#4", "text": "เขตแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคอื่น ๆ ของภาคเหนือ เรียงตามเข็มนาฬิกา ได้แก่ ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับประเทศพม่า ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับประเทศลาว ทิศใต้ติดกับภาคกลาง พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และ สุโขทัย ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีพื้นที่ติดกับภาคตะวันตก บริเวณจังหวัดตาก", "title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "303179#1", "text": "ชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้นจะมีภาษาที่แตกต่างออกไปจากภาษาเขมรในประเทศกัมพูชา โดยภาษาเขมรที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรืออีสานใต้ จะเรียกว่า ภาษาเขมรเหนือ หรือเขมรบน โดยมีความต่างจากภาษาเขมรในกัมพูชาในเรื่องของหน่วยเสียงสระ การใช้พยัญชนะ รากศัพท์ และไวยากรณ์ โดยผู้ใช้ภาษาเขมรเหนือจะสามารถเข้าใจภาษาเขมรทุกสำเนียง ส่วนผู้ใช้สำเนียงพนมเปญจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจ นอกจากภาษาเขมรเหนือแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเขมรกลุ่มอื่น ๆ ก็สามารถใช้ภาษาเขมรได้ดีโดยเฉพาะกลุ่มที่ติดชายแดนใกล้กับประเทศกัมพูชา อย่างเช่นแถบจังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด", "title": "ชาวไทยเชื้อสายเขมร" }, { "docid": "5262#0", "text": "จังหวัดเชียงใหม่ (Northern Thai: เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทยเป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา", "title": "จังหวัดเชียงใหม่" }, { "docid": "17498#1", "text": "ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่ทางเหนือสุดของภาคคือ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค (และของประเทศไทย) คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลอันดามัน ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา", "title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "5814#4", "text": "จังหวัดเพชรบูรณ์มีตำแหน่งทางอุตุนิยมวิทยาในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยเกณฑ์การแบ่งภาคของราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดให้เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดในภาคกลาง จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ กับเส้นแวง 101 องศาตะวันออก ส่วนที่กว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว 55 กิโลเมตร ส่วนที่ยาวที่สุดวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ยาว 296 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 346 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21จังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ประมาณ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,917,760 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 114 เมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของประเทศ ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดเพชรบูรณ์นั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วยเนินเขา ป่า และที่ราบเป็นตอน ๆ สลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงไปใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบและมีเทือกเขาขนาบกันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญโดยไหลจากจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ผ่านไปสู่จังหวัดในภาคกลาง แล้วลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตามลำดับ จึงส่งผลให้พื้นที่ดีมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทำการเกษตร ", "title": "จังหวัดเพชรบูรณ์" }, { "docid": "386369#4", "text": "อุทกภัยครั้งนี้เริ่มขึ้นในระหว่างฤดูมรสุม เมื่อ พายุหมุนนกเตน ขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของ เวียดนาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย และทำให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม [6] ภายในสัปดาห์แรกของอุทกภัยก็มีรายงานผู้เสียชีวิตถึง 13 คน [7] อุทกภัยดำเนินต่อไปใน 16 จังหวัดขณะที่ฝนยังคงตกลงมาอย่างหนัก และภายในเวลาไม่นานอุทกภัยก็ลุกลามไปทางใต้เมื่อ แม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับน้ำปริมาณมากจากแม่น้ำสาขา และส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในภาคกลาง จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2554 จังหวัดยังได้รับผลกระทบ และเสี่ยงต่ออุทกภัยเพิ่มเติม เนื่องด้วยเขื่อนส่วนใหญ่มีระดับน้ำใกล้หรือเกินความจุ [8]", "title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554" }, { "docid": "529232#9", "text": "คณะรัฐมนตรีลงมติเมื่อปี พ.ศ. 2502 อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานระดับกอง สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ ขึ้นในส่วนภูมิภาค ภายใต้ชื่อว่า “ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต” (ปัจจุบันคือ สำนักประชาสัมพันธ์เขต) พร้อมทั้งเริ่มจัดตั้ง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ภายในที่ทำการ ของศูนย์ประชาสัมพันธ์เขตทั้งสามแห่ง ด้วยงบประมาณลงทุน 25 ล้านบาท ซึ่งทยอยเริ่มออกอากาศ ตั้งแต่ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2505 และใช้เครื่องส่งขนาด 500 วัตต์ ด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที เช่นเดียวกับในส่วนกลาง ประกอบด้วย สทท.จังหวัดลำปาง ในภาคเหนือ ทางช่องสัญญาณที่ 8, สทท.จังหวัดขอนแก่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางช่องสัญญาณที่ 5 และ สทท.จังหวัดสงขลา ในภาคใต้ ทางช่องสัญญาณที่ 9 ต่อมาภายหลัง กรมประชาสัมพันธ์ทยอยดำเนินการ ปรับปรุงเครื่องส่งให้เป็นระบบแพร่ภาพสีทั้งหมด ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 12 แห่งคือ ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดพิษณุโลก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุบลราชธานี, ภาคกลาง ที่จังหวัดกาญจนบุรี, ภาคตะวันออก ที่จังหวัดจันทบุรี, ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี", "title": "โทรทัศน์ในประเทศไทย" }, { "docid": "7266#4", "text": "จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 4 ลิปดา ถึง 7 องศา 2 ลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 99 องศา 5 ลิปดา ถึง 100 องศา 3 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 973 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 2,478.997 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,549,361 ไร่ เป็นลำดับที่ 63 ของประเทศ และลำดับที่ 12 ของภาคใต้ รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดตรังทางทิศเหนือ จังหวัดสงขลาทางทิศตะวันออก และรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซียตลอดแนวชายแดน (ทางทิศใต้) ยาวประมาณ 56 กิโลเมตร ติดต่อฝั่งอันดามันยาวประมาณ 144.8 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกาะประมาณ 88 เกาะ", "title": "จังหวัดสตูล" }, { "docid": "125170#1", "text": "สถานการณ์ในต่างประเทศ\nพ.ศ. 2545 : พบการระบาดทางตอนเหนือของเมือง Kabalประเทศอัฟกานิสถาน พบผู้ป่วย 200,000 ราย โดยมีสัตว์เป็นแหล่งรังโรค และมีการแพร่ระบาดจากคนสู่คนเป็นวงกว้าง และในจังหวัด Kurramประเทศปากีสถาน พบผู้ป่วย 5,000 ราย ส่วนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี\nพ.ศ. 2549 : ประเทศอัฟกานิสถาน พบผู้ป่วย 2,000 ราย และอาจมากถึง 40,000 ราย และประเทศอิหร่าน พบผู้ป่วย 20,492 ราย ซึ่งเพิ่มจากปี พ.ศ. 2545 ถึง 10,363ราย\nพฤษภาคม พ.ศ. 2552 จังหวัด Measanตอนใต้ของกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก พบผู้ป่วย 190 ราย เจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่\nจากรายงานพบว่า โรคลิชมาเนียมีการแพร่ระบาดไม่ต่ำกว่า 74 ประเทศ อาทิเช่น จีน อินเดีย ประเทศในแถบตะวันออกกลาง แถบเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกาเหนือ อเมริกากลาง และตอนเหนือของอเมริกาใต้ เขตปรากฏโรคทางภูมิศาสตร์ไม่ค่อยแน่นอน เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ต้องแจ้ง แต่ส่วนมากปรากฏอยู่ในเขตชนบท นอกจากนี้ความชุกของโรคสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมของดินฟ้าอากาศ\nพบผู้ป่วย Visceral Leishmaniasisรวม 16 ราย โดย 3 รายแรกเป็น Imported Case ชาวปากีสถาน บังคลาเทศ และอินเดีย ต่อมาในปีพ.ศ. 2528 – 2529 มีรายงานพบผู้ป่วยคนไทย 5 ราย ซึ่งมีประวัติไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย \nสถานการณ์ในประเทศไทย\nหลังจากนั้นเริ่มพบผู้ป่วยที่เป็นคนไทยแบบประปรายรวม 8 ราย ระหว่างปีพ.ศ. 2539 – 2553 ดังนี้\nผู้ป่วยรายแรก (พ.ศ. 2539) เป็นเด็กหญิง อายุ 3 ปี จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ\nผู้ป่วยรายที่สอง (พ.ศ. 2548) เป็นชาย อายุ 40 ปี จากจังหวัดน่าน ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ\nผู้ป่วยรายที่สาม (พ.ศ. 2549) เป็นชาย อายุ 54 ปี จากจังหวัดพังงา ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ\nผู้ป่วยรายที่สี่ (พ.ศ. 2550) เป็นชาย อายุ 44 ปี จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ\nผู้ป่วยรายที่ห้า (พ.ศ. 2550) เป็นชาย อายุ 66 ปี จากจังหวัดกรุงเทพมหานคร ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ\nผู้ป่วยรายที่หก (พ.ศ. 2550) เป็นชายอายุ 81 ปี จากจังหวัดสงขลา มีประวัติเดินทางไประเทศมาเลเซียบ่อย ๆ และมีผลบวกต่อการติดเชื้อ HIV\nผู้ป่วยรายที่เจ็ด (พ.ศ. 2551) เป็นชายอายุ 37 ปี จากจังหวัดจันทบุรี ป่วยเป็นโรคเอดส์ ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ \nผู้ป่วยรายที่แปด (พ.ศ. 2553) เป็นเด็กหญิงอายุ 5 ปี จากจังหวัดสตูล ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ\nสำหรับโรค cutaneous Leishmaniasisในประเทศไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 เป็นต้นมา พบผู้ป่วยที่เป็นคนไทยแล้วไม่น้อยกว่า 10 ราย โดยรายล่าสุดได้รับรายงานในปีพ.ศ. 2551 จากจังหวัดเชียงราย เป็นชาย อายุ 36 ปี อาชีพรับจ้างก่อสร้าง เป็นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย ", "title": "โรคติดเชื้อลิชมาเนีย" }, { "docid": "657963#0", "text": "การปลูกยางพาราในประเทศไทยไม่มีหลักฐานบันทึกแน่นอน แต่คาดว่าน่าจะเริ่มมีการปลูกในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2442-2444 ซึ่งพระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก เนื่องจากพริกไทยราคาตกต่ำ ซึ่งชาวบ้านเรียกต้นยางชุดแรกนี้ว่า \"ต้นยางเทศา\" และต่อมาได้มีการขยายพันธ์ยางมาปลูกในบริเวณจังหวัดตรังและนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการนำพันธุ์ยางมาปลูกในจังหวัดจันทบุรีซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยหลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) เป็นผู้นำพันธุ์ยางมาปลูก และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการขยายพันธุ์ปลูกยางพาราใน 14 จังหวัดภาคใต้ และ 3 จังหวัดภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์ยางมาปลูกในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ", "title": "ยางพาราในประเทศไทย" }, { "docid": "97959#1", "text": "ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ) ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน) ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น หนองคาย ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด​ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย(บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม", "title": "ภาษาไทยถิ่นอีสาน" }, { "docid": "15785#0", "text": "คำเมือง (Northern Thai: ) [กำเมือง]) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ[1] เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย", "title": "ภาษาไทยถิ่นเหนือ" }, { "docid": "4977#0", "text": "จังหวัดเชียงราย (Northern Thai: เจียงฮาย; Burmese: ) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ที่ตั้งของเมืองมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย[1] เมืองเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีน้ำแม่กก น้ำแม่อิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้[2] ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3", "title": "จังหวัดเชียงราย" }, { "docid": "6941#0", "text": "จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในตอนบนของภาคกลาง หรือบางหน่วยงานจัดให้อยู่ในตอนล่างของภาคเหนือ จึงได้รับสมญานามว่าเป็น \"ประตูสู่ภาคเหนือ\" มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก", "title": "จังหวัดนครสวรรค์" }, { "docid": "477142#2", "text": "โดยเมื่อปี พ.ศ. 2524 ซึ่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นปีคนพิการสากล ด้วยการส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้แก่คนพิการ รวมถึงการแข่งขันกีฬา เพื่อให้ได้ออกกำลังกาย ซึ่งประเทศไทยก็สนองนโยบายด้วยการขยายการแข่งขัน ออกไปในส่วนภูมิภาค คือภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร โดยจัดแข่งขันใน 5 ชนิดกีฬาคือ กรีฑา, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, แบดมินตัน และเตะบอลเข้าเป้า มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันรวมทั้งหมด 933 คน[1]", "title": "กีฬาคนพิการในประเทศไทย" }, { "docid": "330764#7", "text": "ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย ผ่านจังหวัดพะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,754 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ชายแดนที่เป็นทั้งภูเขา แม่น้ำ ที่ราบ แม่น้ำโขงเป็นสายน้ำสำคัญระหว่างไทยกับลาว มีการสัญจรติดต่อกันโดยใช้เรือ จึงมีท่าเรือสำคัญทั้งสองประเทศ เส้นทางเชื่อมระหว่างสองประเทศนี้ได้แก่ สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 แห่งที่ 2 แห่งที่ 3 และแห่งที่ 4 ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบเข้าเมือง การลำเลียงยาเสพติด การขนสินค้าหนีภาษี เป็นต้น\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผ่านชายแดนที่เป็นทั้งภูเขาและแม่น้ำ ผ่านจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,800 กิโลเมตร การแบ่งเขตแดนจะแบ่งโดย ถ้าเป็นภูเขาจะใช้สันปันน้ำเป็นแนวเขต แต่ถ้าเป็นแม่น้ำจะใช้ร่องน้ำลึกเป็นแนวเขต เนื่องจากชายแดนด้านนี้มีชนกลุ่มน้อยของพม่าตั้งถิ่นฐานอยู่หลายเผ่า เช่น ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ เป็นต้น อาศัยอยู่ จึงมีมีการอพยพแรงงานเข้ามาในไทย มีการลักลอบค้าของหนีภาษี ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้สัก บ่อนการพนัน การลักลอบขนยาเสพติด เป็นต้น\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยนับตั้งแต่ช่องบก (สามเหลี่ยมมรกต) ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด รวมระยะทางทั้งสิ้น 803 กิโลเมตร บริเวณชายแดนที่ติดกับตอนล่างของภาคอีสานจะใช้ทิวเขาพนมดงรักเป็นเส้นแบ่งเขตแดน แถบจังหวัดสระแก้วเป็นที่ราบและคลอง จึงเป็นเส้นทางเดินติดต่อกันสะดวก พื้นที่แถบนี้เรียกว่า \"ฉนวนไทย\" โดยบริเวณอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีตลาดการค้าขนาดใหญ่เรียกว่า \"ตลาดโรงเกลือ\" ชาวกัมพูชามักจะมาซื้อสินค้าประเภทอาหาร และวัสดุก่อสร้าง ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบค้าของหนีภาษี บ่อนการพนัน และการโจรกรรมรถยนต์จากไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น\nมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวมระยะทางเขตแดน 506 กิโลเมตร ที่จังหวัดสตูลมีรั้วคอนกรีตกั้นแบ่ง แต่ส่วนใหญ่จะใช้แนวทิวเขาสันกาลาคีรีและแม่น้ำโกลกแบ่งเขตแดน ชายแดนด้านนี้มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทั้งทางรถยนต์และรถไฟ ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบขนของหนีภาษี ปัญหาการทำประมง การนับถือศาสนาและความแตกต่างทางวัฒนธรรมเฉพาะพื้นที่ เป็นต้น\nลักษณะภูมิประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของประเทศไทย คือ ภูเขาสูง ที่ราบลุ่มตอนกลาง และที่ราบสูง ภาคเหนือของไทยมีภูเขาทอดผ่านเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ชายแดนพม่าผ่านคอคอดกระและคาบสมุทรมลายู ที่ราบตอนกลางเป็นพื้นที่ลุ่มซึ่งระบายน้ำโดยแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายย่อย ทั้งนี้ แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นระบบแม่น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยไหล่ผ่านไปสู่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งอยู่ที่หัวอ่าวกรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่กว่าหนึ่งในสามของประเทศ ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเป็นที่ราบสูงโคราช พื้นที่มีเนินลาดและทะเลสาบตื้นเขิน มีแม่น้ำมูลไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำโขง ซึ่งไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ โดยมีคลองและเขื่อนเป็นจำนวนมาก", "title": "ภูมิศาสตร์ไทย" }, { "docid": "7043#7", "text": "จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 15 ลิปดาเหนือกับ 15 องศา 45 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศา 30 ลิปดากับ 103 องศา 45 ลิปดาตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 412 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดและประเทศใกล้เคียงดังนี้", "title": "จังหวัดบุรีรัมย์" }, { "docid": "16300#1", "text": "พื้นที่ทิศเหนือของประเทศสยาม ปัจจุบันได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดยโสธร และจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย รวมทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศลาว", "title": "ทำเนียบหัวเมือง" }, { "docid": "2854#0", "text": "มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย", "title": "จังหวัดมุกดาหาร" }, { "docid": "330764#5", "text": "ประเทศไทยมีลักษณะคล้ายขวาน โดยภาคใต้เป็นด้ามขวาน แนวด้านตะวันตกเป็นสันขวาน ภาคเหนือเป็นหัวขวาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเป็นคมขวาน จากลักษณะดังกล่าว ความยาวจากเหนือสุดถึงใต้สุด วัดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายไปจนถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาว 1,650 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างสุดจากตะวันออกไปตะวันตก วัดจากอำเภอพิบูรมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ไปยังด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นระยะทาง 800 กิโลเมตร\nบริเวณแผ่นดินส่วนที่แคบที่สุดของประเทศตั้งอยู่ระหว่างแนวชายแดนกัมพูชากับพื้นที่บ้านโขดทราย ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีระยะทางเพียง 450 เมตร และส่วนพื้นที่บ้านวังด้วน ตำบลห้วยทราย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัดจากชายแดนประเทศพม่าจนถึงทะเลอ่าวไทย มีระยะทาง 10.6 กิโลเมตร สำหรับส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู (แผ่นดินระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน) อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดชุมพรและระนอง มีระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เรียกส่วนนี้ว่า \"คอคอดกระ\"", "title": "ภูมิศาสตร์ไทย" }, { "docid": "105582#2", "text": "ประเทศไทยได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2484 และ สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 ซึ่งได้รับความบอบซ้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เศรษฐกิจและการทหารก็นับว่าอยู่ในระยะที่จะต้องปรับปรุงทั้งสิ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 ปรากฏว่าสถานการณ์รอบ ๆ ประเทศไทยและในภาคพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มตั้งเค้าแห่งความไม่สงบขึ้น เพราะการใช้สงครามบ่อนทำลายของฝ่ายคอมมิวนิสต์มีสิ่งบอกเหตุว่าภยันตรายอาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสู้รบระหว่างฝ่ายเวียตมินต์หรือฝ่ายเวียดนามคอมมิวนิสต์กับฝรั่งเศสมีการแทรกซึมของฝ่ายเวียตมินห์เข้าสู่ประเทศลาวและประเทศเขมร ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่ถูกคุกคามได้ตลอดเวลา ทางด้านภาคเหนือของประเทศไทยได้มีการสู้รบกับระหว่างกองทัพของประเทศพม่ากับกองทหารจีนชาติ(ก๊กมินตั๋ง) ที่ถูกคอมมิวนิสต์ตีถอยร่นลงมาทางใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 และได้เข้าอยู่ในพื้นที่ของบ้านตูมและบ้านญวนในเขตแดนพม่าตรงข้ามกับอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่อื่น ๆ ตรงข้ามกับจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน นอกจากนั้นกองทัพพม่ายังต่อสู้กับกะเหรี่ยงและไทยใหญ่ ที่เรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเอง ซึ่งอยู่ติดกับทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของไทยอีกด้วยทางด้านภาคใต้โจรจีนคอมมิวนิสต์ได้ใช้พื้นที่บริเวณชายแดนไทย - มาเลเซีย เป็นฐานทำการต่อสู้กับรัฐบาลของอังกฤษและรัฐบาลมาเลเซีย ประเทศไทยจึงอยู่ในภาวะที่จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งเพราะภัยที่ยังมองไม่เห็นกำลังคุกคามประเทศรอบด้านในขณะที่เหตุการณ์ภายนอกประเทศมีแนวโน้มซึ่งแสดงการคุกคามต่อประเทศไทยขณะเดียวกันเหตุการณ์ภายในประเทศก็เกิดขึ้นอีกโดยปฏิกิริยาของชาวญวนอพยพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุบลราชธานี", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "479053#6", "text": "มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบทั่วไปในอินเดีย พม่า จีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทย มักพบตามที่โล่งแจ้งในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 45-1058 เมตร ตามริมธารน้ำ เนินเขา บนแนวเทือกเขาเช่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บ้านสานตม ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพบที่ป่าชุมชน บ้านสบลืน ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด", "title": "ตองกง" }, { "docid": "17494#6", "text": "นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว ยังมีหน่วยงานที่เคยจัดแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยขึ้นเพื่อกำหนดแผนบริหารงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างไม่เป็นทางการได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกำหนดให้ภาคเหนือมีทั้งหมด 17 จังหวัด[1] ประกอบด้วย 9 จังหวัดภาคเหนือข้างต้น กับอีก 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี", "title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "180305#0", "text": "น้ำแม่กก () เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากทิวเขาแดนลาวและทิวเขาผีปันน้ำตอนเหนือของเมืองกก จังหวัดเชียงตุงภายในอาณาเขตของรัฐชานในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ช่องน้ำแม่กก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ไหลมาเรื่อย ๆ จนผ่านตัวอำเภอเมืองเชียงราย หลังจากนั้นก็ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่บริเวณสบกก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีความยาว 285 กิโลเมตร (ในประเทศไทยยาว 130 กิโลเมตร) ลำน้ำสาขาที่สำคัญได้แก่ น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรวย", "title": "น้ำแม่กก" }, { "docid": "5031#0", "text": "ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ", "title": "จังหวัดภูเก็ต" }, { "docid": "332066#24", "text": "การวัดสถิติพายุแบ่งตามเดือน พฤษภาคม พายุส่วนใหญ่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันตกของประเทศ บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ของภาคเหนือตอนบนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน และพื้นที่ของภาคกลางในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ต่อเนื่องกับจังหวัดตากและอุทัยธานี โดยคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมซึ่งมีทั้งหมด 6 ลูก มิถุนายน ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกของประเทศ ซึ่งในเดือนนี้บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณจังหวัดนครพนม หนองคายและตอนบนของสกลนคร โดยคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนมิถุนายนซึ่งมีทั้งหมด 6 ลูก สิงหาคม บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือ พื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดน่าน พะเยา แพร่ ลำปาง เชียงรายและเชียงใหม่ รวมถึงพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภูและเลย โดยคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนสิงหาคมซึ่งมี 18 ลูก กันยายน เดือนนี้เป็นเดือนแรกที่พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนตัวเข้ามาในภาคใต้ตอนบน แต่ยังมีโอกาสน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านยังคงเป็นประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลกมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามาคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนเข้ามาในเดือนนี้ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 39 ลูก ตุลาคม เป็นเดือนที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านประเทศไทยได้ทั้งในประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ โดยในเดือนนี้พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างได้บ้างแต่มีโอกาสน้อย ส่วนบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทั้งหมด ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่างต่อเนื่องถึงภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้ซึ่งมีจำนวน 48 ลูก พฤศจิกายน พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ได้มากกว่าประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้ซึ่งมีจำนวน 28 ลูก บริเวณที่พายุเคลื่อนผ่านได้มากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ พื้นที่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสงขลา ซึ่งมีศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมด อย่างไรก็ตามบริเวณประเทศไทยตอนบน ยังมีบางพื้นที่ที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ต่อกับภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสระแก้ว มีพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมด ธันวาคม เดือนนี้เป็นเดือนที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนพายุทั้งหมด จะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดสงขลาและพัทลุงมากที่สุด คือ 75 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 7 ลูกด้วยกัน", "title": "ภูมิอากาศไทย" } ]
4046
สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส อยู่เมืองใด ?
[ { "docid": "431708#0", "text": "สนามกีฬายูเวนตุส (English: Juventus Stadium) เป็นสนามฟุตบอล ที่ตั้งอยู่ในเมืองตูริน และเป็นสนามกีฬาเหย้าของ สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส โดยสนามแห่งนี้สร้างบนที่ตั้งเดิมของ เดลเลอัลปิ สนามฟุตบอลประจำเมืองตูริน", "title": "สนามกีฬายูเวนตุส" } ]
[ { "docid": "58246#6", "text": "ในช่วงทศวรรษต่อมาสโมสรก็ได้แชมป์ลีกอีกครั้งในฤดูกาล1966-67,[4].ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1970 ยูเวนตุสได้เพิ่มความแข็งแกร็งในแต่ละตำแหน่งให้มากขึ้นด้วยการเซ็นสัญญากับ เซสเมียรฺ์ เวียฟซาปาเลก ผู้จัดการทีมชาวเช็กเข้ามาคุมทีมและนำยูเวนตุสคว้าแชมป์เซเรียอาได้ในฤดูกาล1971-72 และ 1972-73,[4]โดยมีนักเตะชื่อดังหลายคนอาทิเช่น โรแบร์โต เบตเตกา, ฟรานโก กาอูซีโอ และ โชเซ อัลตาฟีนี.ในช่วงที่เหลือของทศวรรษที่ 70 สโมสรได้แชมปฺ์ลีกมากขึ้นซึ่งได้มาถึง 5 สมัย โดยมีกองหลังตัวเก่งอย่าง เกเอตาโน ซีซ์เรีย โดยมีผู้จัดการทีม ณ ขณะนั้นคือจีโอวานนี ตราปัตโตนี เป็นคนที่ช่วยนำสโมสรใหก้าวสู่ความยิ่งใหญ่อย่างต่อเนื่องจนถึงทศวรรษที่ 80[9]", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "876009#0", "text": "ฤดูกาล 2017–18 เป็นฤดูกาลที่ 120 ของ ยูเวนตุส และเป็นฤดูกาลที่ 11 ติดต่อกันในลีกสูงสุดของฟุตบอลอิตาลี. เริ่มต้นในวันที่ 1 กีรกฎาคม ค.ศ. 2017, สนามกีฬายูเวนตุส เป็นที่รู้จักในชื่อ อัลลิอันซ์ สเตเดียม ของ ตูริน ภายในหกฤดูกาลตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2023.", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสในฤดูกาล 2017–18" }, { "docid": "58246#0", "text": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส (English: Juventus Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในเมืองตูริน(โตริโน)เป็นสโมสรเก่าแก่สโมสรหนึ่งของประเทศอิตาลี โดยก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) ประสบความสำเร็จมากมาย อีกทั้งยังเป็นสโมสรแรกที่ได้แชมป์ยุโรปทั้งสามรายการ คือ ยูโรเปียนคัพ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก), ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ และยูฟ่าคัพ", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#10", "text": "มาร์เชลโล ลิปปีได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมให้กับสโมสรโดยเริ่มคุมทีมตั้งแต่ฤดูกาล1994-95.[3].ฤดูกาลของเขากับยูเวนตุสก็สามารถนำทีมคว้าแชมป์เซเรียอาได้สำเร็จซึ่งครั้งล่าสุดที่สโมสรได้คือในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980.[4]โดยมีผู้เล่นชื่อดังหลายคนอาทิเช่น ซีโร เฟอร์รารา, โรแบร์โต บักโจ้, จีอันลูกา วีอัลลี และนักเตะเยาวชนะชื่อดังอย่าง อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร.ลิปปีสามารถนำสโมสรเขาไปเล่นแชมเปียนส์ ในฤดกาล 1995-96ซึ่งเขานำยูเวนตุสไปถึงรอบชิงชนะเลิศกับสโมสรเอเอฟซีอาแจ็กซ์ผลออกมาเสมอกันไป 1-1 โดยยูเวนตุสได้จาก ฟาบรีซีโอ ราเวเนลลี ก่อนที่จะชนะด้วยการดวลลูกโทษไป 2-4 แล้วทำให้สโมสรคว้าแชมป์มาได้เป็นสมัยที่ 2.[16] มาร์เชลโล ลิปปี หลังจากคว้าแชมป์ยุโรปได้ไม่นานสโมสร[17]สโมสรได้เสริมทัพด้วยการซื้อผู้เล่นชื่อดังที่มีประสิทธิภาพหลายคนอาทิเช่น ฟีลิปโป อินซากี, ซีเนดีน ซีดาน, เอ็ดการ์ ดาวิดส์.ซึ่งผลจากการซื้อผู้เล่นใหม่มาทำให้สโมสรคว้าแชมป์เซเรียอาได้ใน 1996-97 และ 1997-98 และในช่วงเดียวกันนั้นสโมสรก็สามารถคว้าแชมป์ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้ และ ยูฟ่าซูเปอร์คัพ ได้ในปี ค.ศ. 1996.ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 และปี ค.ศ. 1998 สโมสรสามารถเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้ถึง 2 รอบ แต่ก็ได้แค่รองแชมป์ทั้งสองรอบด้วยการปราชัยให้แก่ โบรุสเซียดอร์ทมุนด์ และ เรอัล มาดริด ตามลำดับ.[18][19]", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#17", "text": "ตั้งแต่ฤดูกาล 1903 (พ.ศ. 2446) เป็นต้นมา สีประจำทีมคือสีขาวและสีดำลายทางและกางเกงสีดำ (ในบางฤดูกาลจะใช้กางเกงขาว) โดยก่อนหน้านี้ทีมใช้เสื้อสีชมพูลายจุด.ซึ่งสมัยก่อนชาวอิตาลีได้เปรียบเทียบชุดแข่งของสโมสรยูเวนตุสเหมือนกับชุดแข่งของสโมสรฟุตบอลนอตส์เคาน์ตี สโมสรฟุตบอลในประเทศอังกฤษ", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#12", "text": "ฟาบีโอ กาเปลโล ได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมให้สโมสรในปี ค.ศ. 2004.คาเปลโลสามารถนำทีมได้อันดับที่ 3 ของลีก.ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ. 2006 ยูเวนตุสกลายเป็นหนึ่งในห้าสโมสรที่เชื่อมโยงกับเรื่องอื้อฉาวในการล้มบอลผลจากการลงโทษทำให้ยูเวนตุสได้ถูกลดชั้นลงไปเล่นเซเรียบีครั้งแรกเป็นประวัติศาสตร์ของสโมสร.นอกจากนั้นสโมสรก็ได้ปลดกาเปลโลที่สามารถนำทีมได้แชมป์ลีกในปี ค.ศ. 2005 และ ค.ศ. 2006 (โดนริบแชมป์) ออกจากเป็นผู้จัดการทีม .[20]", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#2", "text": "สำหรับยูเวนตุส เดิมแฟนฟุตบอลชาวไทยจะอ่านออกเสียงว่า \"จูเวนตัส\" จะเรียกฉายาในภาษาไทยว่า \"ม้าลาย\" หรือ เรียกสั้นๆว่า \"ยูเว่\" ส่วนฉายาในภาษาอิตาลี คือ \"La Vecchia Signora\" ซึ่งแปลได้ว่า \"หญิงชรา\" (อันเป็นฉายาเดียวกับแฮร์ธาเบอร์ลิน ในบุนเดสลีกา เยอรมนี) เนื่องจากในช่วงทศวรรษที่ 30 เป็นช่วงที่ยูเวนตุสประสบความสำเร็จมาก โดยได้แชมป์เซเรียอาติดต่อกันถึง 7สมัย ขณะที่ผู้เล่นคนสำคัญส่วนใหญ่อายุเลย 30 ปีแล้วทั้งนั้น[1]", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#16", "text": "ด้วยแท็กติกและความฉลาดของคอนเตในฐานะผู้จัดการทีมทำให้เขาสามารถคุมทีมยูเวนตุสไปทั้งตลอดฤดูกาล 2011-12. ซึ่งในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาลที่สโมสรต้องแข่งขันแย่งแชมป์เซเรียอากับคู่แข่งทางเหนืออย่างสโมสรเอซี มิลาน โดยสถานการที่ถือว่าตัดสินแชมป์ได้อย่างแท้จริงคือในนัดที่ 37 ของลีกซึ่งยูเวนตุสเอาชนะกายารีไป 2-0 และมิลานแพ้ให้กับคู้แข่งร่วมเมืองอย่างอินเตอร์ มิลานไป 4-2.หลังจากนั้นในนัดสุดท้ายยูเวนตุสเอาชนะสโมสรฟุตบอลอลันตานาไปได้ 3-1 ในนัดสุดท้าย.ซึ่งทำให้ยูเวนตุสเป็นทีมแรกของเซเรียอาที่ไม่แพ้ให้กับทีมใดตลอด 38 เกมที่ทำการแข่งขัน.[25]", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#42", "text": "ยูเวนตุส หมวดหมู่:สโมสรกีฬาที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2440 หมวดหมู่:ตูริน", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "416438#0", "text": "สตาดีโอเดลเลอัลปี () เป็นสนามฟุตบอล สนามกรีฑา ที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี เป็นสนามเหย้าของทั้งสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสและสโมสรฟุตบอลโตรีโน ระหว่างปี ค.ศ. 1990 ถึง 2006 ชื่อของสนามหมายถึง สนามกีฬาแห่งเทือกเขาเอลป์ สนามกีฬาถูกรื้อถอน (ทั้งสองสโมสรใช้สนามกีฬาเหย้า ที่สนามปรับปรุงใหม่ สตาดีโอโอลิมปีโก) และสนามกีฬาแห่งใหม่เรียกว่า สนามกีฬายูเวนตุส เปิดใหม่ในปี ค.ศ. 2011 สถานที่เดิม", "title": "สตาดีโอเดลเลอัลปี" }, { "docid": "48290#3", "text": "ในฤดูกาล 1998/99 เดล ปีเอโรก็ต้องพบกับช่วงเลวร้ายที่สุดของชีวิตนักฟุตบอล เมื่อนัดที่ ยูเวนตุสพบกับอูดิเนเซ่ โดยนัดนี้เองที่เดล ปีเอโร ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงบริเวณหัวเข่า ซึ่งทำให้เอ็นหัวเข่าขาด และต้องพักรักษาตัวถึง 1 ฤดูกาลเต็มๆ แต่หลังจากการรักษาตัว เดล ปีเอโรก็เริ่มกลับมาลงเล่นให้กับทีมอีกครั้ง แล้วก็พายูเวนตุส คว้าแชมป์ลีกได้อีก 2 สมัย ทั้งยังได้เข้าชิงชนะเลิศ ฟุตบอลยูฟ่าแชมป์เปี้ยนลีกอีกด้วย ปัจจุบันเขาเป็นกัปตันทีมยูเวนตุสและดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลของสโมสร โดยตอนนี้เขายิงไปแล้วทั้งสิ้น 195 ประตู แต่จบฤดูกาล 2005/06 ยูเวนตุสถูกปรับตกชั้น เนื่องจากคดีล้มบอล ทำให้ยูเวนตุสต้องลงไปแข่งใน ซีเรียบีทำให้ดาวดังของทีมหลายคนต้องออกจากสโมสรไป แต่เดล ปีเอโร ตัดสินใจอยู่ช่วยทีมต่อไป พร้อมกับ พาเวล เนดเวด และ จานลุยจิ บุฟฟอน ซึ่งเป็นซุปเปอร์สตาร์ที่เหลืออยู่ ทำให้ตอนนี้ ทั้ง 3 กลายเป็นตำนานของสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสไปแล้ว", "title": "อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร" }, { "docid": "58246#5", "text": "หลังจากนั้นเจ้าขององค์กรธุรกิจรถยนต์(เฟียต)ในเมืองตูรินอย่าง เอโดอาร์โด อเกลลี ได้เข้ามาควบคุมกิจการของสโมสรในช่วงปีค.ศ. 1923และได้มีการสร้างสนามเหย้าใหม่ขึ้น (เนื่องจากสนามเดิมได้มีการพังทลายจากเหตุสงครามโลก)[3].พวกเขาได้ช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์ลีกได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1926 ด้วยการชนะ อัลบา โรมา ไปถึง 12-1, ด้วยการยิงของ อันโตนีโอ โวจาค ซึ่งเป็นนักเตะยอดเยี่ยมของฤดูกาล 1925-26.[4]หลังจากนั้นสโมสรได้เป็นกำลังสำคัญในวงการฟุตบอลอิตาลีตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมาและได้กลายเป็นสโมสรมืออาชีพครั้งแรกของประเทศและเป็นสโมสรแรกที่มีแฟนคลับกระจายอยู่หลายประเทศ,[6][7].ในขณะนั้นสโมสรอยู่ภายใต้การคุมทีมของ การ์โล การ์ซาโน อดีตผู้จัดการทีมชาตอิตาลี ซึ่งเขาสามารถนำยูเวนตุสได้แชมป์ลีกในระดับประเทศได้ถึง 4 สมัยติดต่อกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง ค.ศ. 1934 และในช่วงนั้นมีนักเตะระดับสตาร์ชื่อดังมากมายของสโมสรอาทิเช่น ไรมุนโด ออร์ซิ, ลูอิกี เบอร์โทลินี, จิโอวานนี เฟอร์รารี, ลุยส์ มอนตี และอื่นๆอีกมากมาย สโมสรได้ย้ายไปใช้สนามเหย้าใหม่คือ สตาดีโอโอลิมปิกโกดิโทริโน เป็นสนามเหย้า ในช่วงปี ค.ศ. 1933.แต่หลังจากนั้นในช่วงทศวรรษที่ 1940 เป็นต้นมาสโมสรไม่สามารถคว้าแชมป์รายการใหญ่มาได้เลย.หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง, กีอันนี อักเนลลี ได้เขามารับตำแหน่งประธานสโมสร.[3]ต่อมาสโมสรก็สามารถคว้าแชมป์ลีกมาได้อีก 2 สมัยในช่วงฤดูกาล 1949-50 และ 1951-52 โดยในช่วงนั้นสโมสรได้อยู่ภายใต้การคุมทีมของ เจสเซ คาร์เวอร์ ผู้จัดการทีมชาวอังกฤษ.ในฤดูกาล1957-58 สโมสรได้เซ็นสัญญากับสองกองหน้าชื่อดังอย่าง โอมาร์ ซีโบรี นักเตะลูกครึ่งอิตาลี-อาร์เจนตินา และ จอห์น คาร์เลส นักเตะชาวเวลส์ โดยพวกเขาได้เล่นรวมกับ กีอัมปีเอโร โบนีเปอร์ตี นักเตะชื่อดังของสโมสรในเวลานั้น โดยทั้งสามคนเป็นกำลังสำคัญของยูเวนตุสมาโดยตลอด.ต่อมานักเตะใหม่อย่างซีโบรีก็เป็นนักเตะคนแรกของสโมสรที่ได้รับรางวัล นักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1961.ในปีเดียวกันนั้นพวกเขาชนะสโมสรฟุตบอลฟีออเรนตีนา ซึ่งสามารถคว้าแชมป์เซเรียอามาครองได้เป็นสมัยที่ 11 ได้สำเร็จและคว้าแชมป์โกปปาอีตาเลียได้ในฤดูกาลเดียวกันพร้อมสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์สองอย่างครั้งแรกพร้อมกันเป็นครั้งแรกของสโมสรและโบนีเปอร์ตีดาวยิงสูงสุดของสโมสร ณ เวลานั้นก็ได้ตัดสินใจเลิกเล่นอาชีพฟุตบอลไปพร้อมสร้างสถิติทำประตูสูงสุดอีกทั้งหมด 182 ประตู.[8]", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#25", "text": "ยูเวนตุสเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของอิตาลีตามประวัติศาสตร์ โดยคว้าแชมป์มาครองได้ถึง 40 รายการ และยังเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีชื่อเสียง และเกียรติประวัติมากที่สุดในโลก เพราะสามารถคว้าแชมป์ระดับนานาชาติได้ถึง 11 รายการ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในระดับนี้เป็นอันดับ 3 ในยุโรป และอันดับ 6 ของโลก", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#11", "text": "หลังจากผ่านไปนาน ลิปปีก็ได้กลับมาคุมทีมอีกครั้งในปี ค.ศ. 2001.แล้วได้ซื้อผู้เล่นใหม่มามากมายอาทิเช่น จันลุยจี บุฟฟอน, ดาวิด เทรเซกูเอต, ปาเวล เนดเวด และ ลีเลียน ทูร์ราม มาช่วยให้สโมสรสามารถคว้าแชมป์เซเรียอาได้ในฤดูกาล 2001-02และ2002-03[4] ในปี ค.ศ. 2003 ยูเวนตุสในฐานะแชมลีกได้เข้าไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกจนเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศโดยพบกับ เอซี มิลานสโมสรจากประเทศเดียวกันผลออกมาเสมอ 0-0 แต่ยูเวนตุสก็เป็นฝ่ายแพ้ในการดวลจุดโทษ.จากการแข่งขันนี้ทำให้ลิปปีได้ลาออกจากผู้จัดการทีมแล้วไปคุม ฟุตบอลทีมชาติอิตาลีแล้วทำให้ต้องหยุดสถิติการนำยูเวนตุสคว้าแชมป์รายการทั้งหมดไว้แค่ 13 รายการ แต่เขาก็ยังเป็นหนึ่งในผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จกับยูเวนตุสอยู่ในประวัติศาสตร์ของสโมสร.[9]", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "841914#1", "text": "หลังจากเริ่มเล่นฟุตบอลในอาร์เจนตินาในปี 2011 กับอินส์ติตูโตเดกอร์โดบา เขาย้ายไปเล่นให้กับปาแลร์โมสโมสรในอิตาลี ในปี 2012 เขาเล่นให้กับปาแลร์โม 3 ฤดูกาล โดยแบ่งเป็น 2 ฤดูกาลในเซเรียอา และชนะเลิศเซเรียเบ ในฤดูกาล 2013-14 ใน ค.ศ. 2015 เขาย้ายไปร่วมทีมยูเวนตุสโดยมีค่าตัวประมาณ 32 ล้านยูโรและได้ลงเล่นให้กับยูเวนตุสไปมากกว่า 100 นัด ชนะเลิศทั้งเซเรียอา และโกปปาอีตาเลียทั้ง 3 ปีที่เขาเล่นให้กับยูเวนตุส เขาได้เป็นผู้เล่นที่มีชื่ออยู่ในทีมแห่งปีของเซเรียอา 2 ครั้ง ดิบาลาได้ลงเล่นให้ทีมชาติอาร์เจนตินาครั้งแรกเมื่อปี 2015 และเป็นผู้เล่นที่ถูกเลือกติดทีมชาติอาร์เจนตินาชุดฟุตบอลโลก 2018", "title": "เปาโล ดิบาลา" }, { "docid": "58246#8", "text": "นักเตะชาวฝรั่งเศสของสโมสรอีกคนอย่าง มีแชล ปลาตีนี ก็ถูกเสนอชื่อเป็นนักเตะยอดเยี่ยมอีกคน.ซึ่งเขาก็สามารถคว้ารายการนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของยุโรปได้ถึง 3 สมัยติดต่อกันในปี 1983, 1984 และ 1985.[11]โดยยูเวนตุสเป็นสโมสรเดียวที่มีนักเตะจากสโมสรคว้าแชมป์รายการนี้ในรอบ 4 ปีติดต่อกัน.[11] โดยนัดที่สำคัญของปลาตีนีและเป็นนัดที่สำคัญของสโมสรคือนัดที่ปลาตีนีทำประตูชัยในนัด ยูโรเปียนส์คัพ ฤดูกาล 1985 ช่วยให้สโมสรเอาชนะ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล สโมสรฟุตบอลชื่อดังจากอังกฤษไป 1-0 ซึ่งทำให้ยูเวนตุสสามารถคว้าแชมป์ ยูโรเปียนส์คัพ มาเป็นสมัยแรกของสโมสรได้สำเร็จ.แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ยังมีโศกนาฏกรรมที่แฟนบอลทุกคน ณ ขณะนั้นยังจำกันไม่ได้ลืม.[12]ในปีนี้เป็นปีที่ยูเวนตุสกลายเป็นสโมสรแรกในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลยุโรปที่ได้รับรางวัลทั้งสามที่สำคัญการแข่งขันของยูฟ่า[13][14] และหลังจากที่ประสบความสำเร็จของพวกเขาในระดับทวีปถ้วยสโมสรก็กลายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลและยังคงเป็นสโมสรหนึ่งเดียวของโลกในปัจจุบันที่ได้รับรางวัลจากสมาพันธ์การแข่งขันทั้งหมด.[15]", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#26", "text": "ทีมหญิงชราทีมนี้ยังได้มีดาวสีทองสำหรับความยอดเยี่ยมบนเสื้อของทีม 2 ดวง เพื่อแสดงถึงการคว้าแชมป์ลีกนับครั้งไม่ถ้วน โดยการคว้าแชมป์ 10 ครั้ง จะได้สิทธิ์ในการติดดาว 1 ดวง แชมป์ 10 ครั้งแรกนั้นอยู่ในช่วงฤดูกาล 1957-58 และครบ 20 ครั้งในฤดูกาล 1981-82 นอกจากความยิ่งใหญ่ในประเทศ ยูเวนตุสยังเป็นสโมสรเดียวที่ได้แชมป์รายการระดับนานาชาติครบทุกรายการ", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#1", "text": "ยูเวนตุส เป็นสโมรสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดใน เซเรียอา ได้แชมป์ถึง 34 สมัย แชมป์ โคปป้า อิตาเลีย 10สมัย แชมป์ซูเปอร์โคปป้า อิตาเลียน่า อีก 6 สมัย แชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพ 2 ครั้ง และ แชมป์ ยูฟ่าคัพ 3 ครั้ง", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#28", "text": "ขณะเดียวกันยูเวนตุสยังมีชื่อเสียงในด้านลบเกี่ยวกับอิทธิพลมืดในวงการฟุตบอลอิตาเลียน เหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดคือ กัลโช่โปลี ซึ่งยูเวนตุส และอีกหลายๆทีม ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีกำหนดผู้ตัดสินในนัดที่ตัวเองลงแข่ง โดยมีหลักฐานเป็น ซิมการ์ดบันทึกบทสนทนาในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแม้จะไม่มีหลักฐานชี้ไปถึงการกำหนดผลการแข่งขัน แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ศาลกีฬาตัดสินให้ยูเวนตุสตกชั้น และถูกริบแชมป์ ในขณะที่ทีมมิลาน ฟิออเรนติน่า และลาซิโอถูกตัดแต้ม ซึ่งแม้ภายหลังจะมีการตรวจสอบพบหลักฐานที่ทีมอินเตอร์ มิลานก็มีส่วนพัวพันกับคดีนี้ เพราะมีการตรวจพบหลักฐานว่า อินเตอร์มิลานก็มีการติดต่อขอกำหนดตัวผู้ตัดสินในนัดที่ทีมลงแข่ง อีกทั้ง Moratti ผู้เป็นเจ้าของทีม ยังมีหุ้นส่วนใหญ่ใน บริษัทสื่อสาร TIM แต่เนื่องจากคดีหมดอายุความ ทำให้อินเตอร์ มิลานไม่ได้ถูกสอบสวน หรือริบแชมป์ย้อนหลัง แต่อย่างใด", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#15", "text": "อย่างไรก็ตามเฟอร์ราราก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นผู้จัดการทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จกับสโมสร โดยนำยูเวนตุสตกรอบยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มซึ่งได้แค่อันดับที่ 3 แล้วในโกปปาอีตาเลียก็แพ้ให้กับอินเตอร์มิลานในรอบ 8 ทีมสุดท้าย แล้วยังนำยูเวนตุสได่แค่อันดับที่ 6 ในลีก.แล้วในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010สโมสรได้ปลดเฟอร์ราราออก, แล้วแต่งตั้งอัลแบร์โต ซัคเคโรนีเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวแต่ซัคเคโรนีก็ไม่ได้ช่วยให้ยูเวนตุสมีผลงานที่ดีขึ้นได้ซึ่งสโมสรจบอันดับ 7 ของเซเรียอา ในฤดูกาล 2010-11, อันเดรอา อักเนลลี ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรแทน จีน-คลูเด บลันซ์.โดยอักเนลลีได้แต่งตั้งให้อเลสซีโอ เซกโกกับอดีตผู้จัดการทีมของอูนีโอเนกัลโชซัมป์โดเรียอย่าง ลูอีกี เดลเนรีเป็นผู้อำนวยการกีฬาของสโมสรแทนซาดเชโรนี และเขาก็ได้แต่งตั้งให้ กีอูเซปเป มารอตตา เป็นผู้จัดการทีมของสโมสร .[24].แต่การคุมทีมของเดลเนรีก็ล้มเหลวเนื่องจากทำผลงานไม่ได้ดีอย่างที่คิดทางสโมสรจึงแต่งตั้งงให้อดีตผู้เล่นของสโมสรและเป็นผู้เล่นที่แฟนบอลทุกคนชื่นชอบและรู้จักกันดีอย่าง อันโตนีโอ คอนเต ซึ่งคอนเตทำผลงานได้ดีในการเป็นผู้จัดการทีมด้วยการนำทีม สโมสรฟุตบอลเซียนา เลื่อนชั้นจากเซเรียบีขึ้นมาสู่เซเรียอาได้สำเร็จ.", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#4", "text": "ในปี ค.ศ. 1906 สโมสรได้มีการแยกทางกับพนักงานของสโมสรและนักเตะบางส่วนออกไปเนื่องจากต้องการออกไปจากเมืองตูริน.[3] เมื่อประธานสโมสรอัลเฟรโดทราบเหตุการณ์ท่านกังกวลใจและไม่มีความสุขเพราะขาดนักเตะหลักในการเล่นกับ สโมสรฟุตบอลโตริโน สโมสรร่วมเมืองเดียวกันในเกมส์ ดาร์บีเดลลาโมเลและหลังจากนั้นได้ไม่นานก็ได้เกิดสงครามโลกขึ้นอีกทำให้นักเตะต่างได้แยกย้ายออกจากทีมเพื่อหลบหนี้ภัยสงครามเป็นจำนวนมาก.[5] ยูเวนตุสใช้เวลานานในการสร้างทีมขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่องหลังจากจบ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "58246#18", "text": "สโมสรยูเวนตุสนับตั้งแต่ก็ตั้งสโมสรขึ้นมาในปี ค.ศ. 1897 มาจนถึงปัจจุบันสโมสรได้เปลี่ยนสนามเหย้ามาแล้วทั้งหมด 5 สนาม โดยแยกตามปีได้ดังนี้", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "48290#2", "text": "เดล ปีเอโร เริ่มต้นอาชีพ นักฟุตบอลของเขากับ สโมสรฟุตบอลปาโดวา ตั้งแต่อายุ 16 ปี และย้ายมาอยุ่กับสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสในปี ค.ศ. 1993 โดยลงเล่นให้กับยูเวนตุสนัดแรก ในการพบกับ ฟอจจา และมายิงประตูได้นัดในถัดมาที่พบกับ เรจจิน่า เขาสามารถยิง แฮทริกได้ครั้งแรกในนัดที่พบกับ ปาร์มา ตั้งแต่เดล ปีเอโรมาค้าแข่งอยู่กับยูเวนตุส เขาก็พายูเวนตุสคว้าแชมป์ต่างๆ มากมายหลายรายการ ทั้งแชมป์ลีก และแชมป์สโมสรยุโรป ", "title": "อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร" }, { "docid": "217858#21", "text": "และทุกคนได้ประจักษ์ในความสามารถของเขา 2 เดือนถัดมา ในวันที่ 24 สิงหาคม 2005 เกมกระชับมิตรถ้วยประเพณี ฌูอัน กัมเป แข่งกับสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสเมสซิได้เป็นตัวจริงครั้งแรก และโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยม ได้เสียงการปรบมือชื่นชมกึกก้องสนามคัมป์นูว์ และยังสร้างความประทับใจให้ ฟาบีโอ กาเปลโล กุนซือของยูเวนตุสในขณะนั้นเป็นอย่างมาก จนถึงขนาดยื่นขอยืมตัวเขาหลังเกมเลยทีเดียว และยังมีการยื่นขอซื้อตัวเมสซิจากทีมอิตาลี สโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโน (Inter Milan) ซึ่งยอมจ่ายค่าฉีกสัญญาของเขา และเสนอค่าจ้างให้เขาถึง 3 เท่าจากที่ได้รับอยู่เดิม แต่เมสซิก็เลือกอยู่ต่อกับบาร์เซโลนา", "title": "ลิโอเนล เมสซิ" }, { "docid": "58246#3", "text": "ยูเวนตุสก่อตั้งขึ้นปี ค.ศ. 1897 ในชื่อ สปอร์ต คลับ ยูเวนตุส โดยมีนักเรียนที่ชื่อ มัสซิโม เด'อาเซกีโล ที่ศึกษาอยู่ที่เมืองตูรินเป็นผู้ก่อตั้ง,[2].และก็ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นเป็น สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส</b>ในเวลาอีกสองปีถัดมา.[3] สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขัน อิตาเลียนฟุตบอลแชมเปียนส์ชิพ (ปัจจุบันคือเซเรียอา) ในช่วงปี ค.ศ. 1904 ซึ่งใช้ชุดแข่งสีดำและสีชมพูเป็นชุดเหย้าในการแข่งขันและใช้สนามเวโลโดรโมอัมเบรโต Iเป็นสนามเหย้าในการแข่งขัน ยูเวนตุสได้แชมป์ในรายการนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905.แล้วในช่วงเดียวกันนั้นสโมสรได้เปลี่ยนสีประจำทีมจะเป็นสีขาวและสีดำลายทางและกางเกงสีดำ ซึ่งถูกเปรียบเทียบว่าเหมือนสโมสรฟุตบอลในประเทศอังกฤษอย่าง สโมสรฟุตบอลนอตส์เคาน์ตี.[4]", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" }, { "docid": "5424#1", "text": "อ็องรีเกิดที่เมืองเลซูว์ลิส จังหวัดเอซอน (ชานเมืองของปารีส) เขาเล่นให้กับทีมท้องถิ่น เป็นเด็กหนุ่มที่แสดงความมั่นใจในฐานะดาวยิงประตู จนสโมสรฟุตบอลโมนาโกได้เห็นแววในปี ค.ศ. 1990 จนได้เซ็นสัญญาโดยทันที เขาลงแข่งเปิดตัวในฐานะนักฟุตบอลอาชีพในปี ค.ศ. 1994 มีฟอร์มการเล่นที่ดีจนทำให้ติดทีมชาติในปี ค.ศ. 1998 หลังจากที่เขาเซ็นสัญญากับทีมในเซเรียอา สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ในฤดูกาลป้องกันตำแหน่งแชมป์ แต่ก็ผิดหวังไปในการเล่นตำแหน่งปีก ก่อนที่เขาจะเซ็นสัญญากับสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ด้วยค่าตัว 11 ล้านปอนด์ ในปี ค.ศ. 1999", "title": "ตีแยรี อ็องรี" }, { "docid": "50139#0", "text": "ข่าวอื้อฉาวในฟุตบอลอิตาลี พ.ศ. 2549 () เป็นข่าวอื้อฉาวที่เกิดขึ้นในการแข่งขันฟุตบอลเซเรียอา ในฤดูกาล 2005-2006 เรื่องราวทั้งหมดถูกตรวจสอบในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 โดยทีมชั้นนำในฟุตบอลอิตาลีอย่าง ยูเวนตุส เอซี มิลาน ฟิออเรนตีนา ลาซีโอ และ เรจจีนา ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยผู้จัดการของทีมเหล่านี้ได้มีการนัดแนะกับองค์กรของกรรมการตัดสินฟุตบอลก่อนการแข่งขัน ส่งผลให้ทีมฟุตบอล ยูเวนตุสซึ่งได้เป็นแชมป์ตกไปอยู่ เซเรียบี พร้อมทั้ง ฟีออเรนตินา และลาซีโอ ขณะที่ทีมเอซีมิลานและเรจจินาโดนตัดแต้ม และทีมเหล่านี้จะไม่ได้ไปลงแข่งในยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก และ ยูฟ่าคัพ ในฤดูกาล 2006-2007 นอกจากนี้นักฟุตบอล 12 คนจากยูเวนตุสได้ย้ายสโมสรออกไป", "title": "เรื่องอื้อฉาวฟุตบอลอิตาลี พ.ศ. 2549" }, { "docid": "246650#0", "text": "สโมสรฟุตบอลโตรีโน เป็นสโมสรฟุตบอลจากเมืองตูรินและเป็นคู่แข่งกับยูเวนตุส ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1906 โดยในยุคนั้นใช้ชื่อว่า AC Torino และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปี ค.ศ. 2005 ก่อนจะเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น Torino F.C. จนถึงปัจจุบันโตรีโนยิ่งใหญ่มากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 ได้แชมป์มากมายหลายรายการแต่หลังจากเหตุการณ์เครื่องบินตกในปีค.ศ. 1949 ความยิ่งใหญ่ของสโมสรก็สิ้นสุดลง", "title": "สโมสรฟุตบอลโตรีโน" }, { "docid": "58246#9", "text": "สโมสรคว้าแชมป์ เซเรียอา ได้ในฤดูกาล1985-86 ซึ่งเป็นแชมป์สมัยที่ 22 ของสโมสรและเป็นแชมป์สุดท้ายในการคุมทีมของตราปาตโตนีพร้อมกับเป็นแชมป์สุดท้ายในช่วงทศวรรษที่ 80 ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 ยูเวนตุสได้ย้ายสนามเหย้าไปใช้สนาม สตาดีโอเดลเลอัลปี ซึ่งเป็นหนึ่งในสนามที่จะใช้แข่งขัน ฟุตบอลโลก 1990", "title": "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส" } ]
4047
สภาเภสัชกรรม คืออะไร?
[ { "docid": "953218#0", "text": "สภาเภสัชกรรม คือองค์กรควบคุมวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗[1][2]", "title": "สภาเภสัชกรรม" } ]
[ { "docid": "16208#25", "text": "จากผลการรายงาน 50 อันดับของคณะทางสาขาชีวการแพทย์ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2552 โดยประเมินคุณภาพของการเรียนการสอนและงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อันดับที่ 23 และเป็นอันดับที่ 1 ในคณะเภสัชศาสตร์ทั้งหมด[45][46][47] ในส่วนผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยสภาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีร้อยละของนิสิตผู้สอบผ่านมากเป็นอันดับต้นๆ ของคณะเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศ อาทิ ในปี พ.ศ. 2552 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 88.9[48] ปี พ.ศ. 2553 มีนิสิตผ่านร้อยละ 81.7[49] ในปี พ.ศ. 2554 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 96.93 และในปี พ.ศ. 2555 มีนิสิตสอบผ่านร้อยละ 85.9[50] นอกจากนี้เว็บไซต์เด็กดียังจัดอันดับคณะที่มีนักเรียนเลือกมากที่สุด โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์อยู่ในอันดับที่ 5 ในการสอบแอดมิชชันประจำปี พ.ศ. 2555[51]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "953218#4", "text": "กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายกเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้จัดตั้งขึ้นตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอจำนวนห้าคน กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขสามคน จากกระทรวงกลาโหมหนึ่งคน และจากกระทรวงมหาดไทยหนึ่งคน และ กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการ ใน (1) และ (2) รวมกัน", "title": "สภาเภสัชกรรม" }, { "docid": "16208#34", "text": "นิสิตและนิสิตเก่าของคณะมีส่วนร่วมทางด้านการเมืองของประเทศ ในปี พ.ศ. 2505 นักศึกษาของคณะ (สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์) ก็มีส่วนร่วมในการเดินขบวนในกรณีข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร[76] รวมถึงในเหตุการณ์ 14 ตุลาซึ่งมีนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วม อาทิ เภสัชกรหญิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐและจิระนันท์ พิตรปรีชา ด้านวิชาชีพคณะเภสัชศาสตร์ยังร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมในการดำเนินการหลายอย่าง อาทิ การผลักดันให้เกิดการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองเภสัชกรรมในประเทศไทยครบรอบ 100 ปี ครบถ้วนทุกสาขาของวิชาชีพ ได้แก่ เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชกรรมการตลาด เภสัชกรรมโรงพยาบาล เภสัชกรรมชุมชน และเภสัชกรรมคุ้มครองผู้บริโภค การจัดงาน \"สัปดาห์เภสัชจุฬาฯ ไม่แขวนป้าย\" เพื่อร่วมรณรงค์จรรยาบรรณเภสัชกรและกระตุ้นเตือนนิสิต[77] การจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม เป็นต้น และจากอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 นิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ได้ผลิตยารักษาน้ำกัดเท้าและตะไคร้หอมไล่ยุงโดยมีคณาจารย์เภสัชกรเป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมการผลิต ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เพื่อบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัยทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 180,000 ชุด ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการบริจาคของภาคประชาชนและคณะ[78] และได้รับคัดเลือกให้เป็น \"โครงการดีเด่น\" ประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการระดับ \"ดีเด่น\" ในการนำระบบประกันคุณภาพไปใช้ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาประจำปี พ.ศ. 2555 อีกด้วย[79]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "75281#0", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นคณะเภสัชศาสตร์คณะที่ 15ของประเทศไทย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเอกชน แต่เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชนที่เป็นหลักสูตร 6 ปี จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเภสัชกร ที่มีทักษะการปฏิบัติงานด้านบริบาลทางเภสัชกรรม ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เปิดดำเนินการรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ครั้งแรกในภาคการศึกษา พ.ศ. 2549 และได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม" }, { "docid": "223254#1", "text": "\"สหภาพเภสัชกรรมแห่งยุโรป\" เป็องค์กรไม่แสวงหากำไร และไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางเภสัชกรรมภายในยุโรป โดยก่อนหน้านี้ไม่เคยมีองค์กรใดเป็นตัวแทนของเภสัชกรรมได้ทั้งยุโรป โดยประกอบไปด้วย 5 ส่วนคือ สภา (The Parliament), คณะกรรรมการ (The Council), เวทีชุมนุม (The Agora), คณะกรรมการบริหาร (The Board of Directors) และ คณะกรรมการบริหารขั้นสูง (The Executive Board)", "title": "สหภาพเภสัชกรรมแห่งยุโรป" }, { "docid": "953218#2", "text": "รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม วินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๔๒ วรรคสาม รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรม รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน (4) ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพเภสัชกรรม ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาเภสัชกรรม", "title": "สภาเภสัชกรรม" }, { "docid": "64167#4", "text": "และในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554ได้มีประกาศจากสภาเภสัชกรรมว่าด้วยการรับรองปริญญา ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกของสภาเภสัชกรรมและรับการสอบวัดความรู้ความสามารถ เป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรรม", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา" }, { "docid": "16388#2", "text": "สภาเภสัชกรรมได้เริ่มมีบทบาทในการควบคุมการผลิตเภสัชกรมากขึ้น โดยได้กำหนดให้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป เฉพาะหลักสูตรเภสัชศาสตร์ที่เปิดสอน 6 ปี เท่านั้นที่จะได้รับการอนุมัติจากสภาเภสัชกรรมให้สอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้ ทำให้คณะฯ ต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตจากเดิมที่เป็นหลักสูตร 5 ปี ให้เป็นหลักสูตร 6 ปี ในปีการศึกษา 2552 คือหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2552 (Doctor of Pharmacy Program) และมีการปรับปรุงหลักสูตร 6 ปีอีกหลายครั้ง", "title": "วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต" }, { "docid": "953218#7", "text": "หมวดหมู่:เภสัชกรรม หมวดหมู่:องค์กรวิชาชีพ", "title": "สภาเภสัชกรรม" }, { "docid": "378421#0", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่ 5 ของมหาวิทยาลัยเอกชน เปิดดำเนินการรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ครั้งแรกในภาคการศึกษา 2551 ซึ่ง ในปี พ.ศ. 2551 สภาเภสัชกรรม ได้ประกาศข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. 2551 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 67ง หน้า 53-59 ลงวันที่ 3 เมษายน 2551 (ภาคผนวก) ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร การขอความเห็นชอบหลักสูตร การรับรองปริญญา การรับรองสถาบัน โดยมีรายละเอียดตามประกาศสภาเภสัชกรรม พ.ศ. 2551 เรื่องหลักเกณฑ์ว่าด้วยการขอเปิดดำเนินการหลักสูตรปริญญาทางเภสัชศาสตร์ ซึ่งกำหนดให้มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาที่จะดำเนินการผลิตบัณฑิตทางเภสัชศาสตร์ซึ่งสภาเภสัชกรรมให้การรับรองหลักสูตรต้องมีคุณสมบัติ มีความพร้อมในการจัดการศึกษา และมีทรัพยากรต่างๆครบถ้วนตามประกาศดังกล่าวและจะรับรองปริญญาเพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิทธิการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของบัณฑิต ทำให้บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรที่มีการเรียนการสอน 6 ปี และมีการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม ไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมงเท่านั้น ที่มีสิทธิ์สมัครสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย" }, { "docid": "953218#3", "text": "กรรมการสภาเภสัชกรรมมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ประกอบด้วย", "title": "สภาเภสัชกรรม" }, { "docid": "50533#1", "text": "สภาวิศวกร เป็นหนึ่งในสมาพันธ์สภาวิชาชีพ ร่วมกับ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาสถาปนิก สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด ", "title": "สภาวิศวกร" }, { "docid": "360601#3", "text": "เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และอดีตประธานสภา เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่ง รองประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม และภาคีสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสถาน สาขาเภสัชศาสตร์ นอกจากนั้นยังเป็นอดีตนายกสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ไทย", "title": "ภาวิช ทองโรจน์" }, { "docid": "16208#29", "text": "กิจกรรมนิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการบริหารจัดการโดยสโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับหน่วยงานของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรมภายในคณะสามารถแบ่งกิจกรรมออกได้หลายลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมเชิงสันทนาการ เป็นกิจกรรมมุ่งเพื่อสร้างความบันเทิงและความสามัคคีกลมเกลียวให้เกิดแก่นิสิตเป็นหลัก อาทิ กิจกรรมสู่รั้วกระถินณรงค์และกิจกรรมรับน้องเพื่อต้อนรับน้องใหม่ชั้นปีที่ 1 สู่คณะเภสัชศาสตร์ งานคืนถิ่นกระถินณรงค์เป็นงานคืนสู่เหย้าของนิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์และร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ รวมไปถึงกิจกรรมบายบายเฟรชชีและส่งพี่ข้ามฟาก ซึ่งถือเป็นประเพณีของคณะที่จะต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 2 ซึ่งเดิมเรียนในพื้นที่การศึกษาฝั่งตะวันออกของถนนพญาไทหรือจุฬาฯใหญ่ มาเรียนในคณะอย่างเต็มตัว[52] กิจกรรมกีฬาประกอบไปด้วยการแข่งขันกีฬาสีภายใน การแข่งขันฟุตบอลกระถินณรงค์คัพซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างนิสิต นิสิตเก่า คณาจารย์ และบุคลากรภายในคณะ ในด้านวิชาการและวิชาชีพ มีกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางเภสัชกรรมได้แก่การจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรมในสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน โอสถศาลาขึ้นทุกปี ร่วมกับสภาเภสัชกรรม การจัดค่ายอยากเป็นเภสัชกรสำหรับนิสิตช่วงชั้นที่ 4 ในแผนการเรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ที่มีความสนใจศึกษาวิชาเภสัชศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา[53] การจัดบรรยายสายงานในวิชาชีพแก่นิสิต นอกจากนี้ยังมีการจัดทำวารสาร ฟามาซีแอนด์ดิอาเทอร์ (Pharmacy and the others) เพื่อเผยแพร่ความรู้ข่าวสารวงการเภสัชกรรมแจกแก่ประชาชนทั่วไปเป็นรายปี[54] นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมด้านการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม ได้แก่ การรดน้ำดำหัวคณาจารย์และเภสัชกรอาวุโสในวันสงกรานต์ การตักบาตรในวันสำคัญ และการจัดพิธีไหว้ครูช่วงต้นปีการศึกษา ตลอดจนวันสำคัญของคณะ คือวันคล้ายวันครบรอบสถาปนาคณะ[52]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "25396#5", "text": "สภาสถาปนิก มีการบริหารงานภายในองค์กร โดยมีหัวหน้าสำนักงานสภาสถาปนิก หัวหน้าสำนักงานคนปัจจุบัน ชื่อ นางสาวนิธินันท์ บัวขาว สภาสถาปนิกเป็นหนึ่งในสมาพันธ์สภาวิชาชีพ ร่วมกับ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาวิศวกร สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด", "title": "สภาสถาปนิกไทย" }, { "docid": "360601#0", "text": "ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ภาวิช ทองโรจน์ ศาสตราภิชานเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เคยดำรงตำแหน่งอาทิ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และนายกสภาเภสัชกรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม และภาคีสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสถาน สาขาเภสัชศาสตร์", "title": "ภาวิช ทองโรจน์" }, { "docid": "54305#0", "text": "สมาพันธ์สภาวิชาชีพ เป็นกลุ่มเครือข่ายของสภาวิชาชีพ ได้แก่ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด และยังเตรียมเชิญสภาทนายความ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสภาวิชาชีพอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย", "title": "สมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "16160#7", "text": "หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรวิชาชีพได้รับการรับรอง มาตรฐานจากสภาเภสัชกรรม มีเป้าหมายในการผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีงามในการ ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพชั้นสูง การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับ 21st century skill outcomes ในระดับสากล ชั้นปีที่ 1-4 เน้นความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมขั้นพื้นฐาน ชั้นปีที่ 5 และ 6 สามารถเลือกเรียนด้านเภสัชอุตสาหการ (การผลิต ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น ) และด้านบริบาลทางเภสัชกรรม (การดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ร้านขายยา งานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น) นักศึกษาชั้นปีที่ 6 จะได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานวิชาชีพในแหล่งฝึกงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาระดับแนวหน้าของประเทศ โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่เป็นสถานพยาบาลชั้นนำของประเทศรวมถึงร้านยา คุณภาพ การสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมง และต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 225 หน่วยกิต", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "139486#0", "text": "ศาสตราจารย์ เภสัชกร พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ เป็นเภสัชกร, อาจารย์ชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิตระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พรศักดิ์ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2547 สาขาเภสัชศาสตร์ รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2556 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช มีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรม (Pharmaceutical Technology) เน้นการพัฒนาและออกแบบรูปแบบยาและระบบนำส่งยา (Dosage Form and Drug Delivery Design) การผลิตยารูปแบบของแข็ง การใช้พอลิเมอร์ในทางเภสัชกรรมและการเกษตร และนาโนเทคโนโลยีทางเภสัชกรรม", "title": "พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์" }, { "docid": "300497#0", "text": "รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาเภสัชศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค ปัจจุบัน สภาเภสัชกรรมให้การรับรองหลักสูตรทั้งสิ้น 19 สถาบัน ดังนี้", "title": "รายชื่อคณะ วิทยาลัย และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย" }, { "docid": "15599#14", "text": "ประเทศไทย ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์ และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร ต้องผ่านการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม ก่อน ประเทศอังกฤษ ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องฝึกงานทางด้านเภสัชกรรมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนสอบรับใบอนุญาตจากสมาคมเภสัชกรรมอังกฤษ (Royal Pharmaceutical Society of Great Britain) สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องการสอบ 2 ด่าน ดังนี้ การสอบแนปเพลกซ์ (North American Pharmacist Licensure Examination-NAPLEX) การสอบแนบพ์ (National Association of Boards of Pharmacy-NABP)", "title": "เภสัชกร" }, { "docid": "953218#1", "text": "คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้", "title": "สภาเภสัชกรรม" }, { "docid": "953218#6", "text": "ส่งเสริมการศึกษาการวิจัยและการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการเภสัชกรรมและการสาธารณสุข ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการเภสัชกรรมและการสาธารณสุข เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย", "title": "สภาเภสัชกรรม" }, { "docid": "711028#1", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการจัดตั้ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555 ได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 และเริ่มดำเนินการรับนักศึกษาเข้าศึกษา ในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2556 มีจำนวนนักศึกษารวม 23 คน", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "743220#1", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้รับการจัดตั้ง เมื่อพ.ศ. 2549 ปัจจุบันสภาเภสัชกรรมรับรองหลักสูตรแบบห้าปี และมี ดร.ภญ.สรัญญา ชวนพงษ์พานิช เป็นคณบดีปัจจุบัน ", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ" }, { "docid": "166831#2", "text": "หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549) และโครงการจัดตั้งสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ ได้ผ่านพิจารณาอนุมัติจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 และได้รับการเห็นชอบหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2550 และสภาเภสัชกรรมได้รับทราบหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์", "title": "สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์" }, { "docid": "373833#3", "text": "มหาวิทยาลัยบูรพามีความประสงค์ที่จะเปิดรับนิสิตรุ่นแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไปจึงได้ยื่นเอกสารขอรับการรับรองจาก\nสถาบัน และเห็นชอบหลักสูตรจากสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2553 ต่อมาคณะอนุกรรมการการประเมินสถาบันและหลักสูตร\nเภสัชศาสตร์บัณฑิตจากสภาเภสัชกรรมได้ตรวจเยี่ยมคณะฯเมื่อวันที่ 24-25 ธันวาคม 2552 และได้ให้ข้อเสนอแนะกับคณะฯให้มีการ\nปรับปรุงการดำเนินงานบางประการซึ่งทางคณะฯ ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวแล้ว จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553\nสภาเภสัชกรรมจึงได้มีมติเห็นชอบในการรับรองปริญญาของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา\nคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพามุ่งมั่นที่จะพัฒนาคณะฯ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามแนวทางและข้อเสนอแนะจากสภาเภสัชกรรม\nเพื่อให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะฯ", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา" }, { "docid": "16208#19", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนใน 3 ระดับการศึกษา คือ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี) ของคณะใช้ระบบทวิภาคคือ แบ่งปีการศึกษาหนึ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย (หรืออาจมีภาคฤดูร้อนก็ได้) ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาการการบริบาลทางเภสัชกรรมและสาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ ทั้งสองสาขาใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 6 ปี แบ่งเป็นการศึกษาวิชาการศึกษาทั่วไปและวิชาพื้นฐานวิชาชีพเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง และการศึกษาวิชาเฉพาะวิชาชีพเป็นเวลา 3 ปีครึ่ง และฝึกปฏิบัติวิชาชีพ 1 ปี ในสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมจะเน้นด้านการดูแลผู้ป่วยในกระบวนการใช้ยา และในสาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ จะสามารถเลือกวิชาเฉพาะของสาขาใน 3 สาขา ได้แก่ สาขาเภสัชกรรมและเทคโนโลยี สาขาค้นพบและพัฒนายา และสาขาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร ซึ่งทั้งสองหลักสูตรได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรมและสภามหาวิทยาลัย[30][31][32] หลังสำเร็จการศึกษาต้องชดใช้ทุนโดยเป็นเภสัชกรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นระยะเวลา 2 ปี[33] หรือหน่วยงานราชการอื่นที่ระบุตำแหน่งในแต่ละปีการศึกษา[34]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "953218#5", "text": "กรรมการสภาเภสัชกรรมในส่วนที่มาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาเภสัชกรรม จำนวน 12 คน ปัจจุบันได้มีการเลือกตั้งมาแล้วทั้งสิ้น 8 วาระ ดังนี้", "title": "สภาเภสัชกรรม" } ]
4048
นิวยอร์กซิตี มีขนาดพื้นทีเท่าไหร่?
[ { "docid": "8009#12", "text": "นิวยอร์กมีพื้นที่กว่า 113 กม² (28,000 เอเคอร์) ที่มีบริเวณเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่มีต้นไม้ขึ้นเป็นกลุ่มๆ และชายหาดความยาวถึง 22 กิโลเมตร (14 ไมล์) พื้นที่หลายหมื่นเอเคอร์ดังกล่าวเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวนิวยอร์ก และยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบอุทยานแห่งชาติด้วย สำหรับสวนสาธารณะนั้น นิวยอร์กมีสวนสาธารณะกว่า 1,700 แห่ง ทั้งเล็กใหญ่กระจายไปในตัวเมือง ซึ่งที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็ คือ เซ็นทรัลพาร์ก ในแมนแฮตตัน สวนแห่งนี้ถูกออกแบบโดย Frederick Law Olmsted และ Calvert Vaux มีผู้เข้าเยี่ยมชมกว่า 30 ล้านคนต่อปี ถือเป็นสวนสาธารณะที่มีผู้คนเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา (อันดับที่ 2 คือ ลินคอล์นพาร์ก ในชิคาโก) นอกจากนั้น Olmsted และ Vaux ยังเป็นผู้ออกแบบ โพรสเปคพาร์ก ในบรูคลินอีกด้วย ขณะที่ฟลัชชิ่ง เมลโด โคโรน่าพาร์ก ที่ควีนส์ ก็เคยถูกใช้ในการจัดงานเวิลด์แฟร์ ใน ค.ศ. 1939 และ ค.ศ. 1964 มาแล้ว", "title": "นครนิวยอร์ก" } ]
[ { "docid": "229600#0", "text": "การาจเฮาส์ () หรือ ดนตรีการาจ (garage music) เป็นแนวดนตรีแดนซ์ที่ได้รับการพัฒนาคู่กับดนตรีเฮาส์ ซึ่งเพื่มดนตรีอาร์แอนด์บีเข้ามาที่ถูกพัฒนาขึ้นในพาราไดซ์การาจ (Paradise Garage) ไนต์คลับในนิวยอร์กซิตีและคลับแซนซิบาร์ในนิวเจอร์ซีย์ ในช่วงต้นถึงกลางยุค 1980 โดยมักจะเกี่ยวข้องกับดนตรีเฮาส์ยุคแรก ถึงแม้ว่าสองแนวดนตรีจะแตกต่างกันอย่างมาก แต่ชิคาโกเฮาส์ได้ถูกการพัฒนาหน้านี้และตามที่ AllMusic ได้อธิบายว่า ค่อนข้างทีความใกล้ชิดกับดิสโก้มากกว่าแนวเพลงแดนช์อื่นๆ ในขณะที่ชิคาโกเฮาส์ได้รับความนิยมทั่วโลก ดนตรีการาจดิสโก้ได้ถูกจำแนกกับดนตรีเฮาส์", "title": "การาจเฮาส์" }, { "docid": "299697#0", "text": "ซิตี้กรุปเซ็นเตอร์ () เป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในนครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ตึกนี้ตั้งอยู่บนถนนสตรีท 53 ระหว่างเล็กซิงตันอเวนู และอเวนู 3 กลางเขตแมนฮัตตัน มีความสูงทั้งหมด 279 เมตร (915 ฟุต) มีจำนวนชั้น 59 ชั้น ตึกแห่งนี้ยังมีลักษณะภูมิทัศน์ที่โดดเด่นและสวยงามสำหรับเมืองนิวยอร์ก ซึ่งมียอดตึกที่มีความชันถึง 45 องศา และยังมีฐานตึกที่มีลักษณะเป็นเสาขนาดใหญ่ค้ำไว้ พื้นที่ภายในตัวตึกส่วนที่เป็นสำนักงานมีทั้งหมด 120,000 ตารางเมตร (1,300,000 ตารางฟุต) สาเหตุที่ก่อสร้างให้ดาดฟ้าตึกเอียงถึง 45 องศานั้น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์\nซิตี้กรุปเซ็นเตอร์ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอเมริกันชื่อ ฮิวจ์ สทับบินส์ เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) และเปิดทำการเมื่อ ค.ศ. 1977 (พ.ศ. 2520) ปัจจุบันเจ้าของตึกแห่งนี้คือบริษัทบอสตันพรอเพอร์ทีส์ และตึกนี้ยังเป็นตึกที่สูงที่สุดในบรรดาตึกที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับซิตี้กรุปอีกด้วย", "title": "ซิตี้กรุปเซ็นเตอร์" }, { "docid": "8009#16", "text": "นิวยอร์กยังติดอันดับเมืองที่มีการขนส่งทางอากาศมากที่สุด ผู้มาเยือนส่วนใหญ่จะใช้นิวยอร์กเป็นประตูเข้าสู่สหรัฐอเมริกา ในพื้นที่ของเมืองมีท่าอากาศยานที่สำคัญอยู่ถึง 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี (JFK) ท่าอากาศยานนานาชาตินูอาร์ก ลิเบอร์ตี (EWR) และท่าอากาศยานลากวาเดีย (LGA) นอกนั้นยังมีแผนที่จะสร้างท่าอากาศยานแห่งที่ 4 คือ ท่าอากาศยานนานาชาติสจ๊วต (SWF) ใกล้กับเมืองนิวเบิร์ก รัฐนิวยอร์ก ภายใต้ความรับผิดชอบของการท่าแห่งนิวยอร์กและนิวเจอร์ซีย์ (Port Authority of New York and New Jersey) เพื่อที่จะรองรับกับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ใน ค.ศ. 2005 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 100 ล้านคน ที่ใช้ท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่งในการเดินทาง การจราจรทางอากาศในนิวยอร์กถือว่ามีความหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา", "title": "นครนิวยอร์ก" }, { "docid": "684883#0", "text": "สโมสรฟุตบอลนิวยอร์กซิตี () เป็นสโมสรฟุตบอลจากเมืองนิวยอร์กซิตีในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเล่นอยู่ในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ ภูมิภาคตะวันออก ซึ่งสโมสรฟุตบอลนิวยอร์กซิตีเพิ่งได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของเมเจอร์ลีกซอกเกอร์เมื่อปี 2013", "title": "สโมสรฟุตบอลนิวยอร์กซิตี" }, { "docid": "28558#19", "text": "มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 3,400 คน แบ่งเป็น เสียชีวิตบนเครื่องบิน 246 คน ในอาคารและพื้นดินของนครนิวยอร์ก 2,602 คน และในอาคารเพนตากอน 125 คน รวมถึงนักผจญเพลิงนครนิวยอร์ก 343 คน ตำรวจนครนิวยอร์ก 23 คน ตำรวจการท่าเรือของนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี 37 คน และผู้สูญหายอีก 24 คน", "title": "วินาศกรรม 11 กันยายน" }, { "docid": "653312#0", "text": "ตึกนิวยอร์กไทมส์ () คือตึกระฟ้าแห่งหนึ่งในด้านตะวันตกของมิดทาวน์ แมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. 2007 ผู้เช่าหลักของตึกแห่งนี้คือ บริษัทนิวยอร์กไทมส์ ผู้ตีพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ และอินเตอร์เนชั่นแนลนิวยอร์กไทมส์ และหนังสือพิมพ์อื่นๆ การก่อสร้างคือโครงการร่วมกันของบริษัทนิวยอร์กไทมส์ ฟอเรสซิตี้เอ็นเตอร์ไพรส์ (Forest City Enterprises) และไอเอ็นจี (ING Real Estate) ", "title": "ตึกนิวยอร์กไทมส์" }, { "docid": "81078#2", "text": "ท่าอากาศยานแห่งนี้บริหารงานโดยการท่าเรือนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี (Port Authority of New York and New Jersey) ซึ่งเป็นผู้ดูแลท่าอากาศยานแห่ง 3 แห่ง ในเขตเมืองนิวยอร์กซิตีและปริมณฑล ได้แก่ นูอาร์ก ลิเบอร์ตี, ลากวาเดีย และเทเตอร์โบโร โดยทั้งหมดนี้เจเอฟเคเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นฐานการให้บริการของเจ็ตบลู แอร์เวย์ รวมทั้งเป็นท่าอากาศยานหลักของเดลต้า แอร์ไลน์ และอเมริกัน แอร์ไลน์", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี" }, { "docid": "42941#0", "text": "สถาบันเอเชียโซไซตี (Asia Society) เป็นสถาบันความร่วมมือระหว่างชาติที่มีจุดหมายในการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปเอเชียรวมถึงหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2499 โดย จอห์น ร็อกกะเฟลเลอร์ ที่ 3 โดยมีสำนักงานใหญ่ที่ นิวยอร์กซิตี ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานสาขาทั่วโลกที่ ฮิวสตัน ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก วอชิงตัน ดี.ซี. ฮ่องกง มะนิลา เมลเบิร์น เซี่ยงไฮ้ และล่าสุดที่ก่อตั้งในปี 2549 ที่มุมไบ", "title": "สถาบันเอเชียโซไซตี" }, { "docid": "42833#18", "text": "เอเธนส์ อาเรกีปา ปักกิ่ง เบรุต เบอร์ลิน โบโกตา บัวโนสไอเรส ไคโร ชิคาโก ซัวดัดคัวเรซ, รัฐชีวาวา กุสโก โดโลเรสอีดัลโก, รัฐกวานาวาโต กัวเตมาลาซิตี ฮิวสตัน อิสตันบูล คาลินินกราด ลาปาซ ลิมา ลิสบอน ลอนดอน ลอสแอนเจลิส มาดริด Malmö มะนิลา มิวนิก นะโงะยะ นิวยอร์กซิตี นิโคเซีย ปานามาซิตี", "title": "เม็กซิโกซิตี" }, { "docid": "8009#27", "text": "เบสบอล - เมเจอร์ลีกเบสบอล: นิวยอร์กเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองของสหรัฐอเมริกาที่กีฬาเบสบอลดูเหมือนจะได้รับความนิยมมากกว่าอเมริกันฟุตบอล ทีมเบสบอลของนิวยอร์กมีอยู่ 2 ทีม ที่เล่นอยู่ในเมเจอร์ลีกเบสบอล (Major League Baseball หรือ MLB) คือ นิวยอร์ก แยงกีส์ และนิวยอร์ก เม็ตส์ (นิวยอร์กเป็นหนึ่งใน 5 เมืองใหญ่นอกเหนือจาก ชิคาโก วอชิงตัน บอลทิมอร์ ลอสแอนเจลิส และซานฟรานซิสโกเบย์ที่มีทีมเบสบอลอาชีพถึง 2 ทีมที่เล่นอยู่ในลีกสูงสุด) โดยที่แยงกีส์และเม็ตส์จะได้พบกัน 6 ครั้งในแต่ละฤดูกาล นิวยอร์ก แยงกีส์ เคยได้แชมป์เวิลด์ซีรีส์ มาแล้วถึง 26 ครั้ง และเป็นทีมที่คว้าแชมป์รายการนี้มากที่สุดอีกด้วย ขณะที่นิวยอร์ก เม็ตส์ เคยได้แชมป์ในรายการนี้ 2 ครั้ง นิวยอร์กยังเคยเป็นถิ่นของทีมนิวยอร์ก ไจแอนส์ (ปัจจุบันคือ ซานฟรานซิสโก ไจแอนส์) และบรูคลิน ดอร์จเจอร์ (ปัจจุบันคือ ลอสแอนเจลิส ดอร์จเจอร์) ก่อนที่ทั้ง 2 ทีมจะย้ายไปยังแคลิฟอร์เนีย ใน ค.ศ. 1958 นอกจากนั้นแล้วเมืองนี้ยังมีทีมเบสบอลอีก 2 ทีมที่เล่นอยู่ในไมเนอร์ลีกเบสบอล (Minor League Baseball) ด้วย คือ สแตตัน ไอส์แลนด์ แยงกีส์ และบรูคลิน ไซโคลน อเมริกันฟุตบอล - เอ็นเอฟแอล: อเมริกันฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ตัวแทนเข้าไปแข่งขันในลีกอเมริกันฟุตบอล (National Football League หรือ NFL) ของนิวยอร์กมีอยู่ด้วยกัน 2 ทีม คือ นิวยอร์ก เจ็ตส์ และนิวยอร์ก ไจแอนส์ (ชื่อเป็นทางการคือ นิวยอร์ก ฟุตบอล ไจแอนส์ ) โดยใช้สนามไจแอนส์ สเตเดียม ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ เป็นสนามเหย้าของทั้ง 2 ทีม ฮอกกี้ - เอ็นเฮชแอล: อีกหนึ่งชนิดกีฬาที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันอย่างฮอกกี้ ทีมนิวยอร์ก เรนเจอร์ เป็นตัวแทนของเมืองที่เข้าร่วมแข่งขันในลีกฮอกกี้อาชีพ (National Hockey League หรือ NHL) กับอีก 2 ทีมคือ นิวเจอร์ซีย์ เดวิล และนิวยอร์ก ไอแลนเดอร์ ที่เล่นอยู่ในลองไอแลนด์ ฟุตบอล - เมเจอร์ลีกซอกเกอร์: ทางด้านกีฬาฟุตบอล มีทีมเรด บูลล์ นิวยอร์ก เข้าร่วมในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ (Major League Soccer หรือ MLS) และใช้สนามไจแอนส์ สเตเดียม ในนิวเจอร์ซีย์เป็นสนามเหย้า บาสเกตบอล - เอ็นบีเอ: บาสเกตบอลมี ทีมนิวยอร์ นิกส์ ที่เล่นอยู่ในลีกบาสเกตบอลอาชีพ (National Basketball Association หรือ NBA) และทีมบาสเกตบอลหญิง นิวยอร์ก ลิเบอร์ตี ที่เล่นอยู่ในลีกบาสเกตบอลหญิงอาชีพ (WNBA) นิวยอร์กกับบาสเกตบอลมีจุดที่น่าสนใจอยู่ที่สนาม แต่สนามบาสเกตบอลที่สำคัญที่สุดในเมืองนี้ไม่ใช่สนามที่ทันสมัย หรือสนามที่ใหญ่โต แต่เป็นลานบาสเกตบอลที่มีชื่อว่า รัคเคอร์ พาร์ก (Rucker Park) ในเขตชุมชนฮาเล็ม โบโรห์แมนแฮตตัน นักกีฬาที่ได้ก้าวไปสู่การเล่นในระดับอาชีพหลายคน เคยใช้ลานแห่งนี้ในการฝึกฝนทักษะมาแล้ว ซึ่งก็รวมทั้งนักกีฬาบาสเกตบอลที่ได้ก้าวไปสู่การเล่นในเอ็นบีเอด้วย และรัคเคอร์ พาร์ก ยังเป็นสนามให้ผู้เล่นได้เลือกใช้เป็นลานประลองกันในเกม NBA Ballers, NBA Street, NBA Street Vol.2, NBA Street V3, NBA 2K7 และ NBA 2K8", "title": "นครนิวยอร์ก" }, { "docid": "33274#0", "text": "มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University in the City of New York) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของนครนิวยอร์กและเก่าแก่ที่สุดอันดับที่ห้าของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่นิวยอร์กซิตี ในรัฐนิวยอร์กในส่วนของชุมชนมอร์นิงไซด์บริเวณส่วนเหนือของเกาะแมนแฮตตัน ก่อตั้งก่อนการประกาศอิสรภาพของประเทศในปี พ.ศ. 2297 (ค.ศ. 1754) ในชื่อของ วิทยาลัยคิงส์ (King's College) โดยได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งอังกฤษ ภายหลังสหรัฐอเมริกาปฏิวัติ โคลัมเบียได้รับการสนับสนุนในฐานะเอกลักษณ์ทางปรัชญาของรัฐตั้งแต่ปี 2327 - 2330", "title": "มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย" }, { "docid": "679198#0", "text": "นางงามจักรวาล 1981 () เป็นการจัดการประกวดนางงามจักรวาลครั้งที่ 30 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ณ Minskoff Theatre, นิวยอร์กซิตี, รัฐนิวยอร์ก, ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีนี้มีผู้เข้าประกวด 76 คน จากทั่วโลก โดยมี ชอว์น เวทเธอร์ลี่ นางงามจักรวาลปี 1980 เป็นผู้มอบมงกุฏให้กับ อีเรเน ซาเอซ สาวงามวัย 19 ปีจากประเทศเวเนซุเอลา เป็นผู้ครองตำแหน่งนางงามจักรวาลประจำปีนี้รายชื่อคณะกรรมการในวันตัดสิน ประกอบไปด้วย:", "title": "นางงามจักรวาล 1981" }, { "docid": "28567#0", "text": "รัฐนิวเจอร์ซีย์ (, ) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ โดยอยู่ติดกับรัฐนิวยอร์ก ชื่อนิวเจอร์ซีย์มาจากชื่อของเกาะเจอร์ซีย์ บริเวณช่องแคบอังกฤษในยุโรป ชื่อเล่นของรัฐมีชื่อว่า \"การ์เดนสเตต\" (Garden State) ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากในนิวเจอร์ซีย์คือ ชาวสวีเดน และชาวเยอรมัน เมืองสำคัญในรัฐนิวเจอร์ซีย์ได้แก่ นูอาร์ก (น้วก) เจอร์ซีซิตี และ แอตแลนติกซิตี ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ นิวยอร์ก ไจแอนต์, นิวยอร์ก เจ็ต, นิวเจอร์ซีย์ เน็ต, นิวเจอร์ซีย์ เดวิลส์ และ เมโทรสตารส์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน", "title": "รัฐนิวเจอร์ซีย์" }, { "docid": "930997#5", "text": "วันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2015 เขาเซ็นสัญญากับนิวยอร์กซิตีในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ แต่ในช่วงต้นฤดูกาล เขาแทบไม่ได้ลงเล่นเพราะมีผลงานที่ย่ำแย่ โดยเฉพาะใน 9 นัดแรกที่เขาเล่นได้อย่างน่าผิดหวัง ตลอด 594 นาที เขาไม่สามารถทำประตูหรือจ่ายบอลได้เลย และในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2015 เญเม็ตส์กับสโมสรนิวยอร์กก็ตกลงแยกทางกัน และเขาก็ย้ายไปสโมสร Willem II ในเอเรอดีวีซีของประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อนที่ตลาดซื้อ-ขายจะปิดเพียง 15 นาที", "title": "อาดัม เญเม็ตส์" }, { "docid": "129820#2", "text": "นิวยอร์กไทมส์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1851 โดยนักหนังสือพิมพ์และนักการเมืองชื่อ เฮนรี จาร์วิส เรย์มอนด์ และอดีตนายธนาคารชื่อ จอร์จ โจนส์ โดยตอนนั้นมีชื่อว่า \"นิว-ยอร์ก เดลี่ ไทมส์\" ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น \"เดอะนิวยอร์กไทมส์\"ใน ค.ศ. 1857 ในตอนแรก ๆ หนังสือพิมพ์นี้ตีพิมพ์ทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์ จนกระทั่งช่วงเกิดสงครามกลางเมืองอเมริกา จึงเริ่มตีพิมพ์ฉบับวันอาทิตย์ตั้งแต่นั้นมา", "title": "เดอะนิวยอร์กไทมส์" }, { "docid": "429446#0", "text": "เกาะสแตเทน () เป็นโบโรฮ์ในนิวยอร์กซิตี รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง ในอ่าวนิวยอร์ก แยกออกจากเกาะลองไอแลนด์โดยช่องแคบแนร์โรส์ และทางด้านตะวันตกแยกออกจากรัฐนิวเจอร์ซีย์โดยช่องแคบอาร์เทอร์คิลล์ ซึ่งเชื่อมต่ออ่าวนวร์กทางด้านเหนือกับอ่าวแรริตันทางทิศใต้ มีประชากร 468,730 คน เกาะสแตเทนมีประชากรน้อยที่สุดใน 5 โบโรฮ์ แต่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 คือมีพื้นที่ 59 ตร.ไมล์ (153 ตร.กม.) ชาวฮอลันดาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรบนเกาะนี้เมื่อ ค.ศ. 1661 ต่อมาตกเป็นของอังกฤษในปี ค.ศ. 1664", "title": "เกาะสแตเทน" }, { "docid": "307269#0", "text": "มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก () (โดยทั่วไปเรียกว่า NYU หรือ เอ็นวายยู) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง นิวยอร์ก ในรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) มหาวิทยาลัยนิวยอร์กเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีจำนวนนักศึกษากว่า 50,000 คน มหาวิทยาลัยนิวยอร์กประกอบไปด้วย 16 คณะและวิทยาลัย โดยมีวิทยาเขตอยู่ทั้งในใจกลางเกาะแมนฮัตตันและบรู๊กลิน นอกจากนี้ยังมีสำนักงานและสถาบันวิจัยอยู่ทั่วโลก อาทิเช่น ลอนดอน ปารีส มาดริด เบอร์ลิน เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ และวิทยาเขตต่างประเทศที่กรุงอาบูดาบี มหาวิทยาลัยนิวยอร์กมีคณาจารย์และศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลโนเบล 31 คน รางวัลอาเบล 3 คน รางวัลพูลิตเซอร์ 16 คน รวมถึงรางวัลออสการ์ รางวัลเอมมี่ รางวัลแกรมมีและรางวัลโทนีรวม 19 คน มหาวิทยาลัยนิวยอร์กมีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษในด้าน กฎหมาย ธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ การแสดงและการภาพยนตร์ \nมหาวิทยาลัยนิวยอร์กมีคณะและวิทยาลัยทั้งสิ้น 16 คณะ ประกอบไปด้วย", "title": "มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก" }, { "docid": "554297#1", "text": "ฮิวเบอร์ครั้งแรกที่ได้เข้ามวยปล้ำอาชีพเป็นนักมวยปล้ำสนามหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพภายใต้ชื่อวง Huberboy # 2 กับชอบของโคลิน Delaney และพี่ชายในชีวิตจริงของเขาที่ทำงานเป็น Huberboy #1 ฮิวในที่สุดก็ผ่านการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการโดยเคอร์บี้มาร์กอส และริกเมทริกซ์ในโรเชสเตอร์, นิวยอร์ก, และTony Mamaluke ในเนคเลดี้นิวยอร์กและได้เปิดตัวมวยปล้ำร็อคซิตีในช่วงปลายปี 2002 ภายใต้หน้ากากทำงานเป็น Huberboy # 2 เขาเผยในที่สุดขณะที่ยังคงใช้ชื่อ Huberboy #2 ในช่วงปี 2003 ฮิวเริ่มทำงานเป็นโบรดี้ลีโรเชสเตอร์โปรมวยปล้ำ (RPW) เขามากับชื่อโบรดี้ลีจากภาพยนตร์แรตส์โดยการรวมรายชื่อนักแสดงเจสันลีและตัวละครของเขา Brodie บรูซ ฮิวอ้างอิงริกหยาบคายเจคโรเบิร์ตและบิ๊กโชว์ขณะที่อิทธิพลของเขา ตลอดเวลาที่เขาอยู่ ใน RPW ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อ NWA ตอนเหนือของมลรัฐและจากนั้นอีกครั้งเพื่อ NWA นิวยอร์กลีชนะไปชิงแชมป์หลายอย่างรวมทั้งการแข่งขันชิงแชมป์เฮฟวี่เวทสามครั้งแยกแท็กทีมแชมป์ครั้งเดียวและทีวีแชมป์ครั้งที่เขายังดำเนินการต่อไป รวมกับแชมป์เฟรบ Dojo ฮิวได้อธิบายเดิมของเขา \"สิ่งที่เหมาะสม\" เคล็ดลับเป็นเขาว่า \"เพียงแค่มีความสนุกสนาน\" และ \"เป็นครุยเซอร์เวท\"", "title": "ฮาร์เปอร์" }, { "docid": "48982#1", "text": "นอกจากงานเหล่านี้แล้วแอนดียังเป็นผู้ก่อตั้งนิตยสารและเขียนหนังสืออีกหลายเล่ม อาทิ เช่น The Philosophy of Andy Warhol และ Popism: The Warhol Sixties แม้ในช่วงระยะหลังของชีวิตแอนดีจะไม่ค่อยทำงานศิลปะออกมามากเท่าไหร่ แต่เขาก็ยังคงมีงานในด้านอื่นๆ ออกมาให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น งานโฆษณา หรือ งานแสดงที่เขาได้รับเชิญจากภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง เรือรักเรือสำราญ (Love Boat) และนั้นยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความสำเร็จของเขา หลังจากการแสดงงานครั้งสุดท้ายในยุโรป เมื่อกลับมานิวยอร์กได้ระยะหนึ่ง แอนดีก็เสียชีวิตลงในปี 1987", "title": "แอนดี วอร์ฮอล" }, { "docid": "339153#0", "text": "ควีนส์ () เป็นโบโรฮ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของนิวยอร์กซิตี เป็นโบโรฮ์ที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 จากทั้งหมด 5 โบโรฮ์ของนิวยอร์กซิตี ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากรประมาณ 2,306,712 คน", "title": "ควีนส์" }, { "docid": "248220#0", "text": "บรุกลิน ( ตั้งชื่อตามเมืองในเนเธอร์แลนด์ว่า Breukelen) เป็นหนึ่งใน 5 เบอโรในนครนิวยอร์ก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของควีนส์ ทางปลายสุดของลองไอแลนด์ เป็นเมืองอิสระจนกระทั่งรวมกับนิวยอร์กในปี 1898 บรุกลินถือเป็นเบอโรที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของนิวยอร์กซิตี ด้วยจำนวนผู้อยู่อาศัย 2.5 ล้านคน และหากแยกเป็นเมืองแล้ว ถือว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา", "title": "บรุกลิน" }, { "docid": "348442#0", "text": "เรสเซิลมาเนีย ครั้งที่ 1 จัดในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1985 ณ เมดิสัน สแควร์ การ์เดน เมืองนิวยอร์กซิตี รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีจำนวนผู้เข้าชมในสนามทั้งสิ้น 19,121 คน เป็นการจัดขึ้นครั้งแรกของ เรสเซิลมาเนีย และ เป็นรายการจัดขึ้นครั้งแรกของรายการเพย์-เพอร์-วิว", "title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 1" }, { "docid": "295760#2", "text": "เฟลิซิตี ฮัฟฟ์แมน เกิดที่เบดฟอร์ดใน นิวยอร์ก เป็นลูกสาวของ Grace Valle (นักแสดง) กับ Moore Peters Huffman (พนักงานธนาคาร) ทั้งคู่ได้หย่าร้างกันหลังจากคลอดเธอได้ประมาณปีกว่า ซึ่งเธอได้รับการเลี้ยงดูและเติบโตมากับมารดาเป็นส่วนใหญ่ เธอมีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 7 คนด้วยกัน โดยแบ่งเป็นหญิง 6 คน และชาย 1 คน ด้านการศึกษา เธอเข้าเรียนที่ The Putney School โรงเรียนขนาดกลางใน Putney, Vermont และจบการศึกษาจาก Interlochen Arts Academy ที่ รัฐมิชิแกน หลังจากนั้นเธอได้มุ่งหน้าเข้าสู่ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก แล้วสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะศิลปะการแสดงในปี พ.ศ. 2527", "title": "เฟลิซิตี ฮัฟฟ์แมน" }, { "docid": "923404#3", "text": "การขายพิซซ่าเป็นชิ้นพบเห็นได้มากในสหรัฐอเมริกาและมีความต้องการของลูกค้าอยู่มากในสหรัฐ ร้านขายพิซซ่าในนครนิวยอร์กโดยมากขายพิซซ่าสไตลย์นิวยอร์กเป็นชึ้นและบางแห่งก็มีสิซิเลี่ยนพิซซ่าเป็นชิ้นขายด้วยมีร้านขายเป็นพิซซ่ามากกว่าพันร้านในนครนิวยอร์กและหลายร้านขายทั้งถาดและเป็นชิ้นในนครนิวยอร์ก พิซซ่าเป็นชิ้นสไตล์นิวยอร์กเป็นพิซซ่าที่ลูกค้าสั่งมากที่สุด พิซซ่าเป็นอาหารข้างถนนที่พบเห็นได้ง่ายในนครนิวยอร์กหลายร้านแข่งขัน ประชันกันว่าร้านตัวเองขายพิซซ่าชิ้นที่ดีที่สุดในเมือง ", "title": "พิซซาเป็นชิ้น" }, { "docid": "43986#24", "text": "อัลบั้มซัมไทม์อินนิวยอร์กซิตี วางจำหน่ายในปี 1972 อัลบั้มอัดเสียงโดยเลนนอนและโอโนะร่วมมือกับวงดนตรีเบื้องหลังจากนิวยอร์กชื่อ แอลเลอเฟินส์เมมโมรี เนื่องจากอัลบั้มมีเพลงหลายเพลงเกี่ยวกับสิทธิสตรี ความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ บทบาทของบริเตนในไอร์แลนด์เหนือ และปัญหาเกี่ยวกับการครอบครองบัตรสีเขียวของเลนนอน[104] อัลบั้มมีการตอบรับที่ไม่ดีนัก นักวิจารณ์คนหนึ่งกล่าวว่า ทนฟังไม่ได้[105] เพลง \"วูแมนอิสเดอะนิกเกอร์ออฟเดอะเวิลด์\" จำหน่ายเป็นซิงเกิลในสหรัฐอเมริกาจากอัลบั้มดังกล่าวในปีเดียวกัน ออกอากาศทางโทรทัศน์ในวันที่ 11 พฤษภาคม ทางรายการเดอะดิกแควิตต์โชว์ สถานีวิทยุหลายแห่งไม่ยอมออกอากาศเพลงดังกล่าวเพราะมีคำว่า \"nigger\"[106] เลนนอนและโอโนะจัดคอนเสิร์ตสองครั้งร่วมกับวงแอลเลอเฟินส์เมมโมรี และแขกรับเชิญในนิวยอร์กเพื่อหารายได้ช่วยผู้ป่วยในศูนย์สุขภาพจิตของโรงเรียนวิลโลว์บรุกสเตตสกูล[107] คอนเสิร์ตจัดขึ้นที่สวนเมดิสันสแควร์การ์เดนในวันที 30 สิงหาคม 1972 เป็นคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบครั้งสุดท้ายของเขา[108]", "title": "จอห์น เลนนอน" }, { "docid": "357157#0", "text": "อัปเปอร์อีสต์ไซด์ () เป็นชื่อย่านในแมนฮัตตัน หนึ่งในโบโรฮ์ในนิวยอร์กซิตี ตั้งอยู่ระหว่างเซ็นทรัลพาร์กและแม่น้ำอีสต์ รหัสไปรษณีย์ที่ใช้ในแถบอัปเปอร์อีสต์ไซด์คือ 10021, 10022, 10028, 10075, 10065, 10128, 10029.\nตั้งอยู่ระหว่างถนนสาย59 ถีงถนนสาย96 ทางฝั่งตะวันออกของเซนทรัลพาร์ค เป็นย่านที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้สูง โดยเฉพาะตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของเลกซ์ซิงตันอเวนิวถึงฟิฟท์อเวนิว ราคาอสังหาริมทรัพย์เฉลี่ยต่อตารางวาแพงที่สุดในนิวยอร์ก ", "title": "อัปเปอร์อีสต์ไซด์" }, { "docid": "80694#18", "text": "เดลต้า แอร์ไลน์ (ดูที่คองคอส ที) เดลต้า คอนเนคชั่น ให้บริการโดย ชัทเทิลอเมริกา (กัลฟ์พอร์ท/บิล็อกซี, คลีฟแลนด์, โคลัมบัส, ชาร์ล๊อตต์, ชิคาโก-มิดเวย์, ชิคาโก-โอแฮร์ (เริ่ม 1 พฤษภาคม 2550), ซานแอนโตนีโอ, ซาราโวตา/บราเดนตัน, ดัลลาส/ฟอร์มเวิร์ธ, น็อกซ์วิลล์, นิวพอร์ทนิวส์, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, แนชวิลล์, โมลีน/ควอดซิตี, ออสติน, อินเดียนาโปลิส/เซนต์ปอล, ฮุสตัน-อินเตอร์คอนติเนนตัล, ฮุสตัน-ฮ๊อบบี)", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา" }, { "docid": "81078#5", "text": "ท่าอากาศยานแห่งนี้บริหารงานโดยการท่าเรือนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี เช่าพื้นที่จากเมืองนิวยอร์กซิตี มาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2490 การก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใช้เงินจำนวนถึง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปัจจุบัน ได้มีการประเมินแล้วว่าทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจถึง 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการว่าจ้างงานถึง 207,000 ตำแหน่ง", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี" }, { "docid": "81078#4", "text": "และแม้ว่าเจเอฟเคจะเป็นที่รับรู้กันว่าเป็นท่าอากาศยานหลักทั้งของนิวยอร์กซิตีและสหรัฐอเมริกา แต่เจเอฟเคก็ยังให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศ ซึ่งส่วนมากจะเป็นเส้นทางไปยังฝั่งตะวันตกของประเทศ ในปีพ.ศ. 2548 ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับการใช้บริการผู้โดยสารจำนวน 41 ล้านคน ส่วนท่าอากาศยานนูอาร์ก ลิเบอร์ตี ให้บริการ 33 ล้านคน และท่าอากาศยานลากวาเดียให้บริการ 26 ล้านคน รวมแล้วมีผู้มาใช้บริการท่าอากาศยานในเขตเมืองนิวยอร์กกว่า 100 ล้านคน ทำให้น่านฟ้านครนิวยอร์กมีการจราจรทางอากาศหนาแนที่สุดในประเทศ ทะลุผ่านสถิติของน่านฟ้าเมืองชิคาโก", "title": "ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี" }, { "docid": "434504#2", "text": "เธอได้มีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์และสำเร็จการศึกษาในปี 2448 โดยเธอได้เป็นบัณฑิตคนแรกที่ได้รับปริญญาในด้านวิศวกรโยธา ซึ่งต่อมาได้เข้าร่วม สมาคมวิศวกรโยธาอเมริกัน (ASCE) และเป็นสมาชิกหญิงคนแรกของสมาคม เธอเริ่มทำงานในนิวยอร์กซิตีในงานด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในช่วงที่เธอได้ทำงานในนิวยอร์กนั้น เธอเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่เรียกร้องสิทธิสตรีในสหรัฐอเมริกา", "title": "โนรา สแตนตัน แบลตช์ บาร์นีย์" } ]
4049
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ก่อสร้างเสร็จเมื่อใด ?
[ { "docid": "8841#0", "text": "วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2484 และเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2485[1] สร้างในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้สร้างวัดขึ้นบริเวณใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นอนุสรณ์การปกครองระบอบประชาธิปไตย และกำหนดให้แล้วเสร็จทันวันชาติ คือวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สร้างวัดขึ้นโดยให้ชื่อว่า วัดประชาธิปไตย ระหว่างการก่อสร้างพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ขณะมียศเป็นนาวาเอก หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์) ได้เดินทางไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย รวมทั้งกิ่งพระศรีมหาโพธิ 5 กิ่ง จากต้นที่สืบเนื่องมาจากต้นที่พระโคตมพุทธเจ้าเสด็จประทับ และตรัสรู้ พร้อมดินจากสังเวชนียสถานคือสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงปฐมเทศนา และที่ปรินิพพาน รัฐบาลได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์และดินดังกล่าวมาประดิษฐานที่วัดซึ่งกำลังสร้างนี้ ได้มีการตั้งนามวัดว่า วัดพระศรีมหาธาตุ และถวายเป็นเสนาสนะเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485", "title": "วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร" } ]
[ { "docid": "116368#6", "text": "อีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) ขึ้นที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก โปรดเกล้าให้พระยาชลยุทธโยธินทร์ อัญเชิญนำขึ้นแพ ล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ โดยเป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑปแห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ปีเดียวกัน", "title": "พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)" }, { "docid": "61387#0", "text": "พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร", "title": "พระพุทธชินราช (จำลอง)" }, { "docid": "419833#0", "text": "พระศรีศาสดา หรือ พระศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านทิศใต้ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันประดิษฐานอยู ณ มุขหน้าวิหารพระศาสดาคู่กับพระพุทธไสยา ที่ประดิษฐานอยู่ ณ มุขหลัง วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) พร้อมกับ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระเหลือ ", "title": "พระศรีศาสดา" }, { "docid": "64140#4", "text": "ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "64140#2", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[1776,1806,3,3]}'>สร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ ...", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "423150#0", "text": "ในปี พ.ศ. 2511คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก นำโดยนายละเมียด อัมพวะศิริ นายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก และนายเนียม สุขแก้ว เลขานุการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ทราบว่า ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นพระเถราจารย์ในภาคเหนือตอนล่างที่เก็บสะสมมวลสารโบราณไว้มากมายทั้งยังครอบครองดูแลวัตถุโบราณหายากอันทรงคุณค่า และเป็นผู้นำเอาดินก้นกรุและโอ่งใต้ฐานสมเด็จพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกมาเก็บไว้ คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก และพลเอกสำราญ แพทยกุล แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 ในขณะนั้นจึงได้กราบนิมนต์ ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เป็นแม่งานรับผิดชอบในการจัดสร้างพระพิมพ์ชนิดผง และดินผสมผงเก่า เพื่อใช้ในการประกอบพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก วันที่ 19 – 20 มกราคม 2515 ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พิษณุโลก ตามคำเสนอแนะของเจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ในสมัยนั้น", "title": "พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ" }, { "docid": "8726#16", "text": "นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงให้สร้างพระที่นั่งเครื่องไม้ ขนานนามว่าพระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก ขึ้นบริเวณสระน้ำที่เป็นที่ตั้งของพระที่นั่งพิมานดุสิตา ภายหลังหักพังเสียหมด และสร้างวัดพระแก้ววังหน้า ขึ้น โดยโปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก มาประดิษฐานที่พระอุโบสถของวัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดบวรสถานสุทธาวาส[8]", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" }, { "docid": "53236#3", "text": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือที่เรียกว่าวัดพระแก้ววังหน้า โดยที่พระองค์จะทรงสร้างอาคารใหญ่เป็นแบบพระมหาปราสาทมียอดสูง ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงห้ามไว้เนื่องจากไม่มีธรรมเนียมการสร้างอาคารมีเรือนยอดปราสาทในวังหน้ามาแต่ตั้งกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพยังทรงสร้างวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร (บวร หมายถึง วังหน้า, นิเวศ หมายถึง บ้านหรือวัง ความรวมจึงหมายความว่า วัดอันเป็นที่ประทับในวังหน้า นามวัดนี้รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานใหม่ให้เมื่อคราวรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชอยู่เป็นนัยว่า รัชกาลที่ 4 ทรงดำรงอยู่ในสถานะ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) โปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ล่องแพมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2372 อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การก่อสร้างวัดบวรนิเวศวิหารยังไม่เสร็จสิ้น ", "title": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ" }, { "docid": "48101#31", "text": "สำหรับปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง และปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีนั้น มีรูปแบบเป็นอย่างปรางค์ไทยแล้ว[36] ส่วนปรางค์ที่วัดพระพายหลวง สุโขทัย มีที่เรียกว่าปราสาทดังกล่าวมาข้างต้น เพราะมีรูปแบบเป็นปราสาทแบบขอมในศิลปะลพบุรีเช่นกัน แต่เรียกตามความเคยชินว่าปรางค์สามยอดดังได้กล่าวมาแล้วเช่นกัน", "title": "เจดีย์" }, { "docid": "53300#3", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ที่สำคัญมีดังนี้", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร" }, { "docid": "47905#5", "text": "นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ", "title": "พระมหาธรรมราชาที่ 1" }, { "docid": "64140#10", "text": "ภาพเก่าวิหารพระอัฏฐารส ก่อนถูกดินทับถมจนกลายเป็น \"เนินวิหารเก้าห้อง\" (ในภาพยังเห็นเสาและผนังพระวิหารบางส่วนเหลืออยู่) วิหารเก้าห้องประดิษฐานพระอัฏฐารส (เดิมเนินวิหารเก้าห้อง) ขณะกำลังทำการบูรณะขุดแต่งทางโบราณคดี ในปี พ.ศ. 2550 เผยให้เห็นแท่นสักการะและพื้นวิหารเดิม", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "64140#3", "text": "ส่วนในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า \" ในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร ๔ ทิศ มีพระระเบียง ๒ ชั้นและทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง ๓ หลัง\"", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "56255#22", "text": "วัดพระปฐมเจดีย์ วัดสุวรรณดาราราม วัดนิเวศธรรมประวัติ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พิษณุโลก)", "title": "กฐิน" }, { "docid": "64140#8", "text": "วิหารพระเจ้าเข้านิพพาน เป็นวิหารขนาดกลางตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารพระพุทธชินราชนอกเขตระเบียงคต ภายในประดิษฐานหีบปิดทอง(สมมุติ)บรรจุพระบรมศพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำด้วยศิลาตั้งอยู่บนจิตรากาธานประดับด้วยลวดลายลงรักปิดทองร่องกระจกสวยงาม ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพ ซึ่งนับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาวรวิหาร โดยผู้สร้างถือคติว่าเป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า คาดว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "727160#0", "text": "พระเสสันตปฏิมากร (พระราชทานชื่อโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) หรือพระเหลือ ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารน้อย บริเวณโพธิ์สามเส้า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศักราช ๑๙๐๐ ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย จากเศษสำริดที่เหลือหลังการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา พร้อมกับพระอัครสาวกอีก ๑ คู่ ", "title": "พระเหลือ" }, { "docid": "5419#47", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระราชวังจันทน์ (ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) มหาวิหารสมเด็จองค์ปฐม (วัดจันทร์ตะวันตก) พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์) โรงหล่อพระบูรณะไทย สวนนกไทยศึกษา เซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก วัดนางพญา สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บริเวณแยกเรือนแพ (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ) พิษณุโลก เซ็นทรัลปาร์ค บริเวณสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้าง)", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "64140#0", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า \"วัดใหญ่\" ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะสถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "234477#0", "text": "สะพานนเรศวร เป็นสะพานที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นสะพานข้ามแม่น้ำน่าน ระหว่างฝั่งศาลากลาง จ.พิษณุโลก และฝั่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร บนสะพานนเรศวรสามารถชมวิวแม่น้ำน่านที่ไหลผ่านใต้สะพานได้อย่างงดงาม", "title": "สะพานนเรศวร" }, { "docid": "252092#3", "text": "อย่างไรก็ตามต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่สืบหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ในประเทศไทยยังคงมีอยู่หลายต้น เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่วัดต้นศรีมหาโพธิ์ (ที่เชื่อว่านำเข้ามาปลูกสมัยทวาราวดี), วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (ปลูกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นต้น", "title": "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" }, { "docid": "5419#10", "text": "แม้ว่าเมืองพิษณุโลกจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนาและอยุธยากับพม่ามาตลอด แต่การศาสนาก็มิได้ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานชี้ให้เห็นชัดเจนว่า พระพุทธรูปและวัดปรากฏในปัจจุบันเช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา วัดราชบูรณะ วัดสระแก้วปทุมทอง วัดเจดีย์ยอดทอง วัดสุดสวาสดิ์ และวัดวังหิน ล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ของเดิมที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการบำรุงมาโดยตลอด", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "64140#11", "text": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า \"นมัสการพระพุทธชินราชแล้ว ดูธรรมมาสน์เทศน์ ธรรมาสน์สวด ดูเรือนแก้ว แลสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ ล้วนเป็นของดีอย่างเอก ไม่เคยพบไม่เคยเห็น\"", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "64140#12", "text": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงกล่าวถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารไว้ว่า \" เป็นวัดใหญ่และเป็นวัดที่สำคัญกว่าวัดอื่นในเมืองพิษณุโลก มีพระมหาธาตุอยู่กลางเห็นจะสร้างตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี หากแต่ซ่อมแซมมาหลายครั้งหลายสมัย\"", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "117903#0", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดอารามใน ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟลพบุรี สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่มีการปรับปรุงซ่อมแซมหลายครั้งทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระราเมศวร และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี" }, { "docid": "53300#0", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สถานะของวัดในปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดมหานิกาย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร" }, { "docid": "64140#6", "text": "ภายในวิหาร ประดิษฐาน พระพุทธชินราช หรือเรียกว่า \"หลวงพ่อใหญ่\" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "117903#1", "text": "องค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุยังปรากฏบนผลงานภาพจิตรกรรมฯ 8 จอมเจดีย์แห่งสยาม ณ วัดเบญจมบพิตร อีกด้วย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี" }, { "docid": "209267#1", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ได้โอนมาขึ้นในปกครองคณะสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ \nวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย ตรงช่วงแหลมโค้งข้อศอกของแม่น้ำยม หันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก และตั้งอยู่นอกกำแพงด้านใต้ของเมืองศรีสัชนาลัยระยะทาง ๑.๙ กิโลเมตร \nวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ประกอบด้วย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง" }, { "docid": "64140#1", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "61381#21", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระพุทธชินราช (จำลอง) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร", "title": "พระพุทธชินราช" } ]
4050
สัปปายะสภาสถาน โดยใช้งบประมาณทั้งหมดราวเท่าไหร่?
[ { "docid": "783233#2", "text": "สัปปายะสภาสถาน เป็นโครงการสร้างรัฐสภาขนาดใหญ่ บนพื้นที่ดิน 119.6 ไร่ มีพื้นที่ใช้สอยในอาคาร 424,000 ตารางเมตร[3] มีที่จอดรถทั้งสิ้น 2,069 คัน[3] มีพื้นที่สีเขียวรวม 115,529 ตารางเมตร[4] โดยใช้งบประมาณทั้งหมดราว 22,987 ล้านบาท[4] มีความสูงจากฐานถึงยอดเจดีย์พระสุเมรุ 134.56 เมตร ภายในประกอบด้วยส่วนสภาทั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน นอกจากนี้ยังมีการออกแบบพิพิธภัณฑ์ ศูนย์ประชุม ห้องสัมมนา สโมสรจัดเลี้ยง ห้องทำงาน สส. และ สว. อีกด้วย[5]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" } ]
[ { "docid": "783233#14", "text": "สถาปนิกได้ออกแบบนำเสนอคติและสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของไทยในอดีตผสมผสานไปกับเทคโนโลยีการก่อสร้าง ระบบโครงสร้างทางสังคม และระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขในปัจจุบัน ผ่านทางรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่บนพื้นฐานทางภาษาและฉันทลักษณ์ตามอย่างสถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี[17] ตามคติ ไตรภูมิ ที่นอกจากจะแสดงเอกลักษณ์ทางจิตวิญญาณถึงความเป็นไทย ยังมีความหมายเพื่อให้คนไทยและเหล่า ฯพณฯ ที่ดี และพวกบรรดานักการเมืองในเสื้อสูทประชาธิปไตย เมื่อเข้ามาอยู่ในสภาจะสำนึกถึง \"บาปบุญคุณโทษ\" พลิกฟื้นจิตใจผู้คนให้ประกอบกรรมดี[5]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#1", "text": "สัปปายะสภาสถาน เป็นผลงานชนะเลิศการประกวดแบบของธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) จากผู้ส่งประกวดทั้งหมด 5 ราย[2] โครงการได้เริ่มวางเสาเข็มตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทซิโนไทยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งเดิมต้องแล้วเสร็จภายใน 900 วัน หรือในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 แต่ปัจจุบันโครงการได้ล่าช้าออกไป เนื่องจากปัญหาการส่งมอบพื้นที่และการปรับรายละเอียดแบบก่อสร้างในบางส่วน ทำให้โครงการได้เลื่อนออกไป โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#15", "text": "นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดของ \"สถาปัตยกรรมสีเขียว\" (Green Architecture) ซึ่งเห็นได้จากการปลูกต้นไม้ใหญ่ล้อมรอบอาคาร", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "267833#10", "text": "ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 มีรายงานว่าค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก อาจจะมากกว่าการคาดการณ์งบประมาณเดิมถึงสี่เท่า และดังนั้นมีการเสนอให้มีการปรับปรุงแผนงาน เพื่อลดงบประมาณต่างๆ รวมถึงการย้ายสถานที่จัดการแข่งขันออกนอกกรุงโตเกียว\nเขตประวัติศาสตร์มีสถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 7 สถานที่ โดยเขตประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางของกรุงโตเกียว ซึ่งเขตนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านนักกีฬา สถานที่บางส่วนเคยจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964", "title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 2020" }, { "docid": "783233#11", "text": "สัปปายะสภาสถาน ใช้เวลาออกแบบพร้อมเขียนแบบก่อสร้างเพียง 7 เดือน ซึ่งใช้สถาปนิก ทุกภาควิชากว่า 200 คน รวมถึงวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญแขนงงานต่างๆ จากองค์กรต่างๆ มากกว่า 20 องค์กร โดยต้องทำแบบก่อสร้างกว่า 6,000 หน้า และ รายการประกอบแบบกว่า 1 หมื่นแผ่น[15]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#13", "text": "ในด้านงานภูมิสถาปัตยกรรมทั้ง ท่าเรือ ลานประชาธิปไตย สวนภายนอก สนามรัฐสภา ลานประชาชน ออกแบบหลักโดย ปิยเมศ ไกรฤกษ์ จาก บลูแพลนเนตดีไซน์ อินเตอร์เนชั่นแนล[16]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "78737#2", "text": "เป้ออกมาทำงานโดยเป็นนักดนตรีเล่นดนตรีตามสถานบันเทิงต่าง ๆ ยามค่ำคืนตามพี่ชาย แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่อวันแล้วก็เหลือไม่เท่าไหร่ โดยเป้เป็นคนชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กแล้ว โดยมักจะร้องด้วยโทนเสียงสูงไม่ว่าจะเป็นเพลงลูกทุ่งหรือเพลงร็อกเพราะต้องร้องแข่งกับดนตรี เคยตั้งวงดนตรีขึ้นมาเล่น ๆ ในสมัยเด็ก ชื่อ \"เดอะ จักจั่น\"", "title": "อนุวรรตน์ ทับวัง" }, { "docid": "783233#21", "text": "ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า มีจำนวนประชากร 93 ครอบครัว ทางรัฐสภาได้ทำข้อตกลงคล้ายกับชุมชนตระกูลดิษฐ์ โดยจะไปปลูกสร้างในพื้นที่แผนกซ่อมบำรุงเรือกองร้อยขนส่งเรือ (ฝั่งวัดแก้วฟ้าจุฬามณี) โดยจะแบ่งพื้นที่ให้ครอบครัวละ 12 ตารางวา[24]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "135637#5", "text": "ในวันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561 นาย สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 ได้เตรียมจัดประชุมเพื่อเลือกสถานที่ในการเป็นรัฐสภาชั่วคราวในระหว่างที่ สัปปายะสภาสถาน หรือรัฐสภาแห่งใหม่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จโดยห้องประชุมของบริษัท ทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ ถูกคาดหมายว่าจะถูกใช้เป็นห้องประชุมรัฐสภาชั่วคราวในระหว่างเดือน ธันวาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2562", "title": "อาคารรัฐสภาไทย" }, { "docid": "783233#23", "text": "หมวดหมู่:รัฐสภาไทย หมวดหมู่:เขตดุสิต", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#8", "text": "โครงการรัฐสภาแห่งใหม่เป็นการประกวดแบบครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศนับตั้งแต่การประกวดแบบสนามบินสุวรรณภูมิ ชิงเงินรางวัลชนะเลิศการประกวดแบบสูงถึง 200 ล้านบาท[13] มีผู้ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 133 ราย[14] และผ่านเข้าในรอบสุดท้ายทั้งหมด 5 ราย ได้แก่", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "653073#2", "text": "ผลงานออกแบบมีจุดเด่นคือ การออกแบบที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานกับสมัยใหม่อย่างลงตัว ทั้งการจัดให้มีพื้นที่กิจกรรมสันทนาการและการพักผ่อนในบรรยากาศธรรมชาติ รวมถึงการนำลักษณะของภูมิทัศน์และรูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นมาสร้างสภาพแวดล้อม มีงานออกแบบที่สร้างชื่อเสียงอย่าง อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ \"สัปปายะสภาสถาน\" ที่ชนะเลิศการประกวดแบบจากผู้เข้าประกวดกว่า 133 ราย ", "title": "ธีรพล นิยม" }, { "docid": "783233#0", "text": "สัปปายะสภาสถาน เป็นโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ของประเทศไทยและแห่งที่ 3 ของประเทศไทยแทนที่อาคารเดิมบริเวณข้างสวนสัตว์ดุสิต โครงการก่อสร้างตั้งอยู่ติดริ่มฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บนถนนทหาร (เกียกกาย) แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต[1] โครงการได้ริเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 สมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ในการประชุมจัดหาสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จนมีมติเลือกที่เดินราชพัสดุถนนทหาร (เกียกกาย) แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต เป็นสถานที่ในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#12", "text": "ในส่วนงานสถาปัตยกรรมไทยได้ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี และเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ซึ่งต่างเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมไทย ร่วมให้คำแนะนำและออกแบบ[15]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "28453#4", "text": "เมื่อออกพรรษาแล้วพระศรี มหาวีโรในครั้งนั้นได้ออกจาริกแสวงธรรม ไปตามวนาป่าเขาราวไพร อาทิ ภูเก้า ภูผักกูด บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม ซึ่งที่ภูผักกูด หรือภูผากูดแห่งนี้ เป็นสัปปายะสถาน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เคยธุดงค์จาริก มาพำนัก เป็นแหล่งเจริญธรรม ที่ผู้กล้าแห่งกองทัพธรรม ได้มาประพฤติธรรม บำเพ็ญเพียร ด้วยเป็นสถานที่อยู่ไกลจากชุมชน ขาดแคลนขัดสน ในปัจจัยสี่ แต่มีภูมิทัศน์ ที่เหมาะแก่การพัฒนา ภูมิธรรมสัมมาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ", "title": "พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร)" }, { "docid": "783233#22", "text": "โรงเรียนโยธินบูรณะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอายุกว่า 80 ปี ออกทั้งหมดเพื่อใช้สร้างอาคารรัฐสภา โดยในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นวันเปิดเทอมวันแรกของปีการศึกษา ก็ได้มีพิธีมอบพื้นที่โรงเรียนโยธินบูรณะ(เกียกกาย)ให้กับสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาเพื่อใช้ก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ โดยโรงเรียนได้ย้ายไปสร้างใหม่ย่านถนนประชาราษฎร์สาย 1[25]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#3", "text": "ด้วยพื้นที่ในอาคารถึง 424,000 ตารางเมตร ทำให้เมื่อก่อสร้างเสร็จ สัปปายะสภาสถานจะเป็นอาคารของรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกแทนที่อาคารรัฐสภาแห่งโรมาเนีย ซึ่งมีพื้นที่ในอาคาร 365,000 ตารางเมตร โดยจะเป็นรองเพียงอาคารเดอะเพนตากอนที่มีพื้นที่ 600,000 ตารางเมตรเท่านั้น", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#16", "text": "สัปปายะสภาสถาน สร้างบนพื้นที่ขนาด 123 ไร่[18] มีเนื้อที่กว่า 424,000 ตารางเมตร โดยใช้งบประมาณทั้งหมดราว 12,000 ล้านบาท สามารถรองรับผู้คนได้มากกว่า 5 พันคน รองรับการจอดรถได้มากกว่า 2 พันคัน[16] ภายในอาคารประกอบไปด้วย โถงรับรอง ส.ส. และ ส.ว., ห้องประชุมของ ส.ส. หรือที่เรียกว่า \"ห้องพระสุริยัน\", ห้องประชุม ส.ว. หรือที่เรียกว่า \"ห้องพระจันทรา\", โถงรัฐพิธี, พิพิธภัณฑ์ประชาธิปไตย, ห้องอาหาร ส.ส., ห้องอาหาร ส.ว.[19] ในส่วนของดาดฟ้าอาคาร ประกอบด้วยกำแพงแก้วล้อมรอบส่วนเจดีย์และพิพิธภัณฑ์ชาติไทย[19]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#19", "text": "รวมถึงการวิจารณ์ถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าในการก่อสร้างซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#6", "text": "ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการประชุมจัดหาสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยมีสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน และได้พิจารณาพื้นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ บริเวณที่ดินราชพัสดุ ถนนทหาร(เกียกกาย) แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ, ที่ดินราชพัสดุกองคลังแสง กรมสรรพวุธทหารบก ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และที่ดินบริเวณคลังเชื้อเพลิง แขวงคลองเตย เขตคลองเตย จนมีมติที่เดินราชพัสดุถนนทหาร (เกี่ยกกาย) แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต เป็นสถานที่ในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในที่สุด[8]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#10", "text": "โดยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ก็ได้มีการตัดสินคัดเลือกแบบของธีรพล นิยม โดยมีกรรมการ 12 คนประกอบไปด้วย สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ด้านสถาปัตยกรรมสถาน สภาวิศวกรรม และศิลปินแห่งชาติ พิจารณาการประกวดโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#4", "text": "สัปปายะสภาสถาน เป็นการรวมคำระหว่าง \"สัปปายะ\" และ \"สภาสถาน\" โดย \"สัปปายะ\" หรือ \"สัปปายะ 7\" ซึ่งแปลว่า สิ่งที่สบาย, สภาพเอื้อ, สิ่งที่เกื้อกูล, สิ่งที่เหมาะสมกัน[6] เมื่อรวมกับ \"สภาสถาน\" จึงมีความหมายถึง สภาที่มีแต่ความสงบร่มเย็นสบาย[7]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#17", "text": "สัปปายะสภาสถาน ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งการวิจารณ์ว่าออกแบบที่เหมือน \"วัด\"[20][14] จากมุมมองสถาปนิก รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้ออกมาวิจารณ์ว่า \"ใช้ความหมายเดิมๆ ศีลธรรมเป็นเรื่องจอมปลอม ไม่คำนึงถึงปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาของสังคม และการใช้งานไม่เอื้อให้เป็นพื้นที่ของประชาชนอย่างแท้จริง\" และกล่าวเสริมต่อว่า \"การใช้แนวคิดด้านพระพุทธศาสนามากเกินไปจนไม่มีมุมมองด้านประชาธิปไตยและการออกแบบที่ยังคงยวนอยู่ในกรอบของภาษาความเป็นไทยทางสถาปัตยกรรมที่ตื้นเขินและไม่มีอยู่จริง\"[21][22]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "209259#2", "text": "ยิ่งเมล็ดกาแฟถูกคั่วให้เข้มมากขึ้นเท่าไหร่ รสชาติดั้งเดิมของมันก็จะยิ่งถูกบดบังด้วยรสที่เกิดจากการคั่วมากขึ้นเท่านั้น กาแฟบางประเภทที่ถูกคั่ว จนรสชาติแทบจะไม่ได้บ่งบอกถึงสถานที่ปลูกเลย จะถูกขายโดยใช้ระดับของการคั่วเป็นหลัก โดยเริ่มตั้งแต่ \"อบเชยคั่วอ่อนๆ (Light Cinnamon Roast) \" ไปจนถึง \"การคั่วแบบเวียนนา (Vienna Roast) \" และ \"การคั่วแบบฝรั่งเศส (French Roast) \" และอื่นๆ", "title": "การคั่วเมล็ดกาแฟ" }, { "docid": "608770#11", "text": "ราว ๆ พ.ศ. 2520-2530 มหาวิทยาลัยได้สร้างอาคารเรียนใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพัฒนาที่ดินที่ชิลเวิร์ทมาเนอร์ (Chilworth manor) ให้เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์และสถานที่ประชุม ที่ดินที่ท่าเรือก็ได้พัฒนาเป็นศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งชาติ รวมทั้งซื้อที่ดินโรงเรียนทอนตัน (Taunton College) และถนนไวด์เลน (Wide lane) สำหรับใช้เป็นที่ตั้งคณะมนุษยศาสตร์และศูนย์กีฬา ตามลำดับ ขณะเดียวกันแม้จะมีการตัดงบประมาณรัฐบาลกลางสำหรับอุดหนุนสถานศึกษา แต่สภามหาวิทยาลัยก็ได้จัดการปรับอัตรากำลังตามสัดส่วนงบประมาณที่ลดแทนการไล่พนักงานออกจากตำแหน่ง", "title": "มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน" }, { "docid": "783233#9", "text": "กลุ่มนายธีรพล นิยม - ทีมสงบ 10151 บริษัทสถาปนิก 49 จำกัด (A49) กลุ่มนายธรรมศักดิ์ อังศุสิงห์ บริษัทดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผศ.วิเชษฐ์ สุวิสิทฐ์ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "783233#18", "text": "นอกจากนี้ในช่วงก่อนการเลือกแบบได้มีการตั้งกระทู้ในเว็บไซต์พันทิปดอดคอม ในการโหวต 5 แบบสุดท้าย จากผู้โหวตทั้งหมด 168 คน ผลปรากฏว่าเสียงโหวตส่วนใหญ่ตกไปที่แบบที่ 5 ของ ผศ.วิเชษฎ์ สุวิสิทฐ์ ในขณะที่แบบของทีมสงบอยู่ในอันดับที่ 2[23]", "title": "สัปปายะสภาสถาน" }, { "docid": "135637#7", "text": "รัฐสภาไทย วุฒิสภาไทย และสภาผู้แทนราษฎรไทย พระที่นั่งอนันตสมาคม ทำเนียบรัฐบาล สัปปายะสภาสถาน", "title": "อาคารรัฐสภาไทย" }, { "docid": "783233#5", "text": "อาคารรัฐสภาไทยได้มีการเปลี่ยนสถานที่มาแล้วกว่า 2 ครั้ง สถานที่แรกคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งใช้มาตั้งแต่หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 จนในปี พ.ศ. 2517 จึงได้ย้ายไปที่อาคารรัฐสภาแห่งที่ 2 บริเวณข้างสวนสัตว์ดุสิต (สวนสัตว์เขาดิน) จนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากสถานที่ที่เริ่มคับแคบลงเมื่อจำนวน ส.ส. ส.ว. และข้าราชการเพิ่มขึ้น ทำให้ทางรัฐสภาได้แก้ปัญหาโดยการเช่าพื้นที่บางส่วน จนต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จึงเริ่มมีแนวคิดในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่", "title": "สัปปายะสภาสถาน" } ]
4051
ไส้ติ่งเป็นส่วนใดของร่างกาย ?
[ { "docid": "437512#0", "text": "ไส้ติ่ง (English: appendix, vermiform appendix, cecal (หรือ caecal) appendix, vermix) เป็นท่อตันเชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (cecum หรือ caecum) ซึ่งเป็นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายกระเป๋าของลำไส้ใหญ่ที่เชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก", "title": "ไส้ติ่ง" } ]
[ { "docid": "218429#11", "text": "ถ้าไส้ติ่งที่อักเสบอยู่ติดกับกล้ามเนื้อ obturator internus จะตรวจพบการเกร็งของกล้ามเนื้อโดยงอและหมุนข้อสะโพกเข้าด้านใน การกระทำเช่นนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บที่บริเวณท้องน้อย", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "663153#1", "text": "ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ณัฐพลถูกออกหมายจับฐานร่วมกันข่มขืนใจให้กระทำการใดไม่กระทำการใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย หรือเสรีภาพ โดยมีอาวุธโดยร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป และหน่วงเหนี่ยว หรือกักขัง หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใดให้แก่ผู้กระทำ หรือบุคคลอื่น และร่วมกันลักทรัพย์ จากกรณีเดียวกันกับพลตำรวจโท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นอกจากนี้ณัฐพลยังถูกถอดยศทหาร และถูกไล่ออกจากราชการ", "title": "ณัฐพล สุวะดี" }, { "docid": "514316#15", "text": "\"...บุคคลบางประเภทอาจจะไม่สามารถกระทำการอันมีผลทางกฎหมายใด ๆ ได้ด้วยตนเอง เพราะยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรู้และเข้าใจการเคลื่อนไหวร่างกายของตนได้ เช่นผู้เยาว์ที่ไร้เดียงสา อายุเพียงหนึ่งเดือน หรือเพียงหนึ่งปี แม้จะสามารถมีสิทธิแล้ว เพราะมีสภาพบุคคลสมบูรณ์และสามารถเคลื่อนไหวร่างกาย หรือแสดงความต้องการ หรือสื่อความหมายกับผู้อื่นได้แล้ว แต่ก็ไม่อาจถือได้ว่ามีความสามารถจะกระทำการใด ๆ ให้มีผลทางกฎหมายได้ด้วยตนเอง เพราะยังขาดความสามารถรู้และเข้าใจความหมายแห่งการเคลื่อนไหวร่างกายเช่นนั้น ดังนี้ การเคลื่อนไหวร่างกายก็ดี การสื่อความหมาย หรือความต้องการของตนก็ดี ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่มีผลทางกฎหมายใด ๆ และไม่มีทางที่จะเป็นการแสดงเจตนาหรือทำนิติกรรมได้เลย ในกรณีเช่นนี้ การเคลื่อนไหวร่างกายของผู้เยาว์เป็นได้แต่เพียงเครื่องมือหรือผลแห่งการกระทำของบุคคลอื่น เช่น ผู้เยาว์ทำตามคำสั่งหรือลอกเลียนแบบการกระทำของบิดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งสั่งให้ไปซื้อหนังสือพิมพ์ หรือซื้อไอศกรีม ดังนี้ การซื้อขายนั้นไม่อาจนับเป็นการกระทำของผู้เยาว์ แต่ต้องถือเป็นการกระทำของผู้แทนโดยชอบธรรมที่ใช้ผู้เยาว์เป็นเครื่องมือ หรือผู้เยาว์อายุห้าปี เห็นบิดาขว้างมีดหรือยิงปืน จึงนำมีดมาขว้างหรือนำปืนมาเล่นยิงกันบ้าง โดยมิได้เข้าใจในการกระทำเช่นนั้น ดังนี้ การยิงปืนของผู้เยาว์ไม่อาจนับเป็นการกระทำของผู้เยาว์เอง แต่ต้องนับเป็นผลจากการกระทำที่ขาดความระมัดระวังของบิดานั่นเอง\"", "title": "ความสามารถของบุคคล" }, { "docid": "218429#17", "text": "รายงานการค้นพบโรคไส้ติ่งอักเสบที่ไม่มีข้อสงสัยครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นโดย Lorenz Heirster ศาสตราจารย์ทางศัลยศาสตร์ใน Altdorf, Franconia ในปี พ.ศ. 2254 ขณะผ่าตรวจศพ[20] ส่วนการผ่าตัดไส้ติ่งครั้งแรกทำโดย Claudius Amyand ศัลยแพทย์กองทัพอังกฤษ โดย Amyan ทำการผ่าตัดไส้ติ่งในปี พ.ศ. 2278 โดยไม่ใช้ยาสลบเพื่อนำเอาไส้ติ่งที่แตกแล้วออกมา[21] ต่อมา Reginald H. Fitz ซึ่งเป็นนักกายวิภาคพยาธิวิทยาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้อธิบายโรคไส้ติ่งอักเสบไว้ในปี พ.ศ. 2429 หลังจากศึกษากรณีการอักเสบและแตกของไส้ติ่งกว่า 257 กรณี และได้แนะนำให้รักษาโรคนี้โดยการผ่าตัดในระยะแรกๆ ซึ่งคำแนะนำของเขายังเป็นจริงแม้ในปัจจุบัน[2][20] อย่างไรก็ดี เนื่องจาก Fitz ไม่ใช่ศัลยแพทย์ คำแนะนำของเขาจึงถูกเพิกเฉยอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง[21] หลังจากนั้นในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ H. Hancock ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดไส้ติ่งเป็นครั้งแรกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ต่อมาหลายปีหลังจากนี้ C. McBurney ชาวอเมริกาได้ตีพิมพ์รายงานชุดหนึ่งเกี่ยวกับการวินิจฉัยและรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน[22] McBurney ผู้นี้เองที่เป็นเจ้าของชื่อของ McBurney point, McBurney incision และ McBurney's sign[23]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#9", "text": "การกดตรวจลึกบริเวณ iliac fossa ทางด้านซ้ายอาจทำให้มีอาการเจ็บบริเวณ iliac fossa ทางด้านขวา นี่เป็นลักษณะของ Rovsing's sign หรือ Rovsing's symptom ใช้วินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันได้[18]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "437512#3", "text": "ไส้ติ่งมีความยาวเฉลี่ย 11ซม. (ขนาดที่พบได้อาจเป็น 2 ถึง 20ซม.) เส้นผ่านศูนย์กลางของไส้ติ่งปกติอยู่ระหว่าง 7-8 มม. ไส้ติ่งที่ยาวที่สุดที่ถูกผ่าตัดออกมีความยาวถึง 26ซม. พบในคนไข้จากโครเอเชีย.[2]", "title": "ไส้ติ่ง" }, { "docid": "218429#15", "text": "พยากรณ์โรคโดยทั่วไปดีมาก อัตราการตายโดยรวมน้อยกว่า 1% มาก ภาวะเป็นโรคส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับว่าไส้ติ่งนั้นอักเสบเฉียบพลันมากหรือไม่ หรือมีการแตกของไส้ติ่งที่อักเสบหรือไม่ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือการติดเชื้อของแผลผ่าตัด พบในผู้ป่วยไส้ติ่งแตกประมาณ 1-5%", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#3", "text": "จากหลักฐานในปัจจุบันเชื่อกันว่าโรคไส้ติ่งอักเสบเป็นผลที่เกิดจากการมีการอุดตันของไส้ติ่ง[3][4] เมื่อเกิดมีการอุดตันเกิดขึ้นแล้ว ส่วนที่อุดตันนี้จะมีการคั่งของมูกมาอัดแน่นและบวมขึ้น มีความดันภายในส่วนที่อุดตันนี้และตัวผนังไส้ติ่งเองสูงขึ้น เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดขนาดเล็ก ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง น้อยครั้งที่จะมีไส้ติ่งที่เป็นถึงขั้นนี้แล้วกลับหายเป็นปกติได้เอง เมื่ออาการดำเนินต่อไปไส้ติ่งจะขาดเลือดและตายเฉพาะส่วนไป ต่อมาแบคทีเรียที่มีอยู่แล้วในลำไส้จะผ่านผนังไส้ติ่งที่ตายแล้วนี้ออกมา เกิดหนองขึ้นรอบๆ ไส้ติ่ง จนสุดท้ายแล้วไส้ติ่งที่อักเสบมากนี้จะแตกออกทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นพิษและเสียชีวิตได้", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#4", "text": "ในบรรดาสาเหตุต่างๆ ของการอุดตันของไส้ติ่ง เช่น การมีวัตถุแปลกปลอม การมีบาดแผล พยาธิ สาเหตุที่ได้รับความสนใจมากสาเหตุหนึ่งคือการมีนิ่วอุจจาระไปอุดตัน พบว่ามีความชุกของการพบนิ่วอุจจาระในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบในประเทศพัฒนาแล้วมากกว่าในประเทศกำลังพัฒนา[5] และการมีนิ่วอุจจาระอุดตันในไส้ติ่งมักพบว่ามีความสัมพันธ์กับไส้ติ่งอักเสบรุนแรง[6] นอกจากนี้ภาวะท้องผูกก็อาจมีส่วนด้วย ดังที่พบว่าผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบมีจำนวนครั้งการถ่ายอุจจาระต่อสัปดาห์น้อยกว่ากลุ่มควบคุมปกติอย่างมีนัยสำคัญ[7] การเกิดมีนิ่วอุจจาระในไส้ติ่งสัมพันธ์กับการที่มีที่เก็บอุจจาระคั่งในลำไส้ใหญ่ส่วนขึ้นและการมีช่วงเวลาในการบีบไล่อุจจาระนาน[8] จากข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าในกลุมประชากรที่ไม่เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ไม่พบผู้ป่วยโรคกระเปาะลำไส้หรือติ่งเนื้อเลย และพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่น้อยมาก[9][10] นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งไส้ตรงมักเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบนำมาก่อนด้วย[11] มีหลายการศึกษาพบว่าการกินอาหารที่มีกากใยต่ำมีส่วนในการทำให้เกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ[12][13][14] ซึ่งตรงกันกับข้อมูลที่ว่าการกินอาหารที่มีกากใยต่ำทำให้มีช่วงเวลาในการบีบไล่อุจจาระนานขึ้น[15]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#0", "text": "ไส้ติ่งอักเสบ (English: appendicitis) เป็นโรคที่เกิดกับไส้ติ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบทุกรายต้องได้รับการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก หากไม่ได้รับการรักษาแล้วจะมีอัตราการตายสูง การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบและภาวะช็อค[1]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#5", "text": "อาการของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันนั้นอาจแบ่งได้เป็นสองชนิด คือชนิดตรงไปตรงมาและชนิดไม่ตรงไปตรงมา[1] ประวัติของผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันชนิดตรงไปตรงมานั้นจะเริ่มจากมีอาการปวดบริเวณรอบสะดือก่อนที่จะย้ายไปปวดบริเวณหน้าท้องด้านล่างขวา ลักษณะนี้เกิดจากการที่อาการปวดในช่วงแรกเกิดจากเส้นประสาทอวัยวะภายในที่รับความรู้สึกจากไส้ติ่งนั้นแบ่งแยกตำแหน่งความเจ็บปวดได้ไม่ชัดเจนเท่าอาการปวดในช่วงหลังที่เกิดจากอักเสบลุกลามไปยังเยื่อบุช่องท้องซึ่งมีเส้นประสาทโซมาติกที่สามารถระบุตำแหน่งอาการปวดได้ชัดเจนกว่า อาการปวดท้องมักมีร่วมกับอาการเบื่ออาหารและมีไข้ อย่างไรก็ดีไข้ไม่ใช่อาการที่จำเป็นต้องมีเสมอไป อาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน รู้สึกง่วงซึม และรู้สึกไม่สบาย ด้วยอาการแบบตรงไปตรงมานี้ การวินิจฉัยสามารถทำได้ง่าย ผู้ป่วยมักได้รับการผ่าตัดรวดเร็วและผลออกมาไม่รุนแรง[1]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#14", "text": "ผลการรักษาไส้ติ่งอักเสบไม่ว่าจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามส่วนใหญ่ได้ผลดี ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับสู่ภาวะปกติในเวลาไม่นานหลังการผ่าตัด และหลังจากนั้นสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#13", "text": "การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออกในปัจจุบันนิยมใช้การผ่าตัดโดยการใช้กล้องส่องตรวจช่องท้อง ส่วนในประเทศไทยยังนิยมใช้การผ่าตัดโดยการเปิดช่องท้องบริเวณ McBurney's point ตรงตำแหน่งที่เป็นไส้ติ่ง วิธีการกรีดแผลที่เป็นที่นิยมที่สุดคือการผ่าโดยใช้แนว gridion (แนวเฉียง) หรือแนวนอน มีรายงานการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออกในผู้ป่วยสตรีโดยการใช้กล้องส่องตรวจผ่านทางช่องคลอดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551[19]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "500832#0", "text": "จุดแมคเบอร์เนย์ () เป็นชื่อของตำแหน่งหนึ่งบนหน้าท้องบริเวณด้านขวาล่างของหน้าท้อง อยู่บนตำแหน่ง 1/3 ของเส้นที่ลากจาก ASIS ไปยังสะดือ สัมพันธ์กับตำแหน่งของไส้ติ่งในคนส่วนใหญ่ โดยเป็นจุดของฐานของไส้ติ่งบริเวณที่แยกออกมาจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น", "title": "จุดแมคเบอร์เนย์" }, { "docid": "218429#8", "text": "ผลจากการมีไส้ติ่งอักเสบจะทำให้ผนังช่องท้องอ่อนไหวต่อการสัมผัสเบาๆ มากขึ้น มีอาการกดเจ็บที่ท้อง หรือหากมีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องมากอาจมีอาการกดปล่อยแล้วเจ็บ (rebound tenderness) ในกรณีที่ไส้ติ่งของผู้ป่วยอยู่ตำแหน่งหลังลำไส้ใหญ่อาจทำให้ไม่มีอาการเจ็บจากการตรวจทางหน้าท้องได้เพราะลำไส้ใหญ่ที่เต็มไปด้วยอากาศจะกันไม่ให้แรงกดไปสัมผัสโดนไส้ติ่งที่อักเสบ ในกรณีเดียวกัน ถ้าไส้ติ่งอยู่ต่ำลงมาภายในอุ้งเชิงกรานก็จะตรวจไม่พบอาการเจ็บหน้าท้องหรือหน้าท้องแข็งเช่นกัน ในกรณีเช่นนี้การตรวจทางทวารหนักจะตรวจพบอาการเจ็บใน rectovesical pouch ได้ การกระทำใดๆ ที่เพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น การไอ จะทำให้มีอาการเจ็บที่ตำแหน่ง McBurney's point และเป็นวิธีตรวจหาตำแหน่งของไส้ติ่งที่อักเสบที่เจ็บน้อยที่สุด ถ้าตรวจหน้าท้องแล้วพบว่าหน้าท้องแข็งอย่างมากโดยที่ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจเกร็งหน้าท้องแล้วเป็นไปได้มากว่าจะมีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบแล้ว ซึ่งต้องได้รับการผ่าตัดโดยด่วน", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#1", "text": "โรคไส้ติ่งอักเสบได้รับการอธิบายเป็นครั้งแรกโดย Reginald Fitz ในปี พ.ศ. 2429[2] ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดท้องรุนแรงเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "437512#5", "text": "นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเสนอว่าไส้ติ่งอาจเป็นที่อาศัยของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้ใหญ่ของมนุษย์[4]", "title": "ไส้ติ่ง" }, { "docid": "218429#16", "text": "การให้การวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบในผู้ป่วยที่มาอาการชนิดตรงไปตรงมานั้นอาจทำได้ง่าย แพทย์อาจสามารถมั่นใจในการวินิจฉัยได้มากโดยอาศัยข้อมูลจากประวัติและการตรวจร่างกายก็เพียงพอ โดยอาศัยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นการเสริมความสมบูรณ์ของการวินิจฉัยเท่านั้น แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแบบไม่ตรงไปตรงมา เป็นไปได้ยากมากที่จะให้การวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบในระยะแรกๆ ของอาการเจ็บป่วย ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงปวดท้องทั่วๆ คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ซึ่งเป็นอาการที่พบซ้อนกับโรคอื่นๆ เช่นกระเพาะอักเสบหรือลำไส้อักเสบ เวลาที่ผ่านไปมากขึ้นจะทำให้อาการของผู้ป่วยแสดงออกเด่นชัดมากขึ้น จึงทำให้วินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้น ดังนั้นจึงมีกรณีผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง ไปพบแพทย์ในระยะแรกด้วยอาการที่ไม่ชัดเจน และได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (ให้ยา+กลับบ้าน และ/หรือ นัดติดตามการรักษา) ซึ่งต่อมากลับมีอาการไม่ดีขึ้น และไปตรวจอีกครั้งพบว่ามีอาการเป็นไส้ติ่งอักเสบชัดเจน กรณีนี้เช่นนี้พบได้เป็นจำนวนมาก", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "437512#4", "text": "ไส้ติ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ตอนต้นที่หดเล็กลงตามกระบวนการวิวัฒนาการ ในบรรพบุรุษของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์กินพืชลำไส้ใหญ่ส่วนนี้เป็นที่อาศัยของแบคทีเรียที่ช่วยย่อยเซลลูโลสที่พบในพืช[3]", "title": "ไส้ติ่ง" }, { "docid": "437512#2", "text": "ไส้ติ่งพบได้ทั่วไปใน Euarchontoglires และมีวิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระในสัตว์กลุ่ม diprotodont และ marsupials ไส้ติ่งในสัตว์ต่างๆ จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านขนาดและรูปร่าง[1]", "title": "ไส้ติ่ง" }, { "docid": "218429#10", "text": "บางครั้งไส้ติ่งที่อักเสบอาจมีตำแหน่งอยู่บนกล้ามเนื้อ psoas จะทำให้ผู้ป่วยนอนงอสะโพกขวาเพื่อคลายความเจ็บปวดมาก", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#18", "text": "ในปัจจุบันการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออกไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่าเปิดช่องท้องหรือการผ่าแบบส่องกล้องยังคงเป็นวิธีหลักในการรักษาไส้ติ่งอักเสบธรรมดา", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "437512#6", "text": "โรคที่พบบ่อยบริเวณไส้ติ่งได้แก่ไส้ติ่งอักเสบและเนื้องอก มะเร็งไส้ติ่งพบได้ประมาณ 1 ใน 200 ของมะเร็งระบบทางเดินอาหาร", "title": "ไส้ติ่ง" }, { "docid": "218429#6", "text": "อาการที่ไม่ตรงไปตรงมานั้นอาจเริ่มจากมีอาการปวดเริ่มที่หน้าท้องด้านล่างขวาตั้งแต่ต้น ท้องเสีย และมีการดำเนินโรคที่ยาวนานค่อยเป็นค่อยไปกว่า หากไส้ติ่งที่อักเสบสัมผัสกับกระเพาะปัสสาวะอาจทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย หากไส้ติ่งที่อักเสบอยู่ด้านหลังลำไส้เล็กตอนปลายอาจมีอาการคลื่นไส้รุนแรงได้ บางรายอาจรู้สึกปวดเบ่ง[16]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "136169#39", "text": "การใช้งานที่เพิ่มขึ้นของ CT สแกนอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ในสองสาขา: การตรวจคัดกรองของผู้ใหญ่ (คัดกรอง CT ของปอดในผู้สูบบุหรี่, ส่องกล้องลำไส้เสมือน, CT การคัดกรองโรคหัวใจและ CT ทั้งร่างกายในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ) และการถ่ายภาพ CT ของเด็ก. เวลาในการสแกนถูกลดลงให้เหลือประมาณ 1 วินาที, เพื่อขจัดความต้องการที่เข้มงวดสำหรับจุดตรวจที่จะยังคงให้อยู่นิ่งๆหรือผ่อนคลาย, เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นมากในผู้ป่วยเด็ก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวินิจฉัยไส้ติ่ง). ณ ปี 2007 ในประเทศสหรัฐอเมริกา, สัดส่วนของ CT สแกนจะดำเนินการโดยไม่จำเป็น. บางสถานที่ประมาณการตัวเลขนี้อยู่ที่ 30%. มีหลายเหตุผลสำหรับเรื่องนี้ได้แก่:.. ความกังวลทางกฎหมาย, สิ่งจูงใจทางการเงิน, และความปรารถนาโดยประชาชน. ตัวอย่างเช่นผู้มีสุขภาพดีบางคนจ่ายด้วยความโลภที่จะได้รับ CT สแกนเต็มร่างกายในการตรวจคัดกรอง, แต่ก็ไม่ได้เป็นที่ชัดเจนว่าผลประโยชน์จะมีน้ำหนักเกินความเสี่ยงและค่าใช้จ่าย, เพราะการตัดสินใจว่าจะรักษาเนื้องอกที่เจอโดยบังเอิญ () หรือไม่และอย่างไรจะเต็มไปด้วยความซับซ้อน, การได้รับรังสีจะสะสมและไม่ใช่สิ่งที่จะละเลยได้, และเงินสำหรับการสแกนจะเกี่ยวข้องกับต้นทุนค่าเสียโอกาส (มันอาจจะมีการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้นหรือใช้กลยุทธ์ในการดูแลสุขภาพด้วยวิธีอื่นๆ).", "title": "การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "218429#2", "text": "ไส้ติ่งเป็นส่วนขยายของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น มีรูปร่างเรียวหยาวคล้ายหนอน ทำให้มีคำเรียกในภาษาอังกฤษว่า vermiform appendix (ติ่งรูปหนอน) ความยาวโดยเฉลี่ย 8-10 เซนติเมตร (มีขนาดได้ตั้งแต่ 2-20 เซนติเมตร) เจริญขึ้นในเดือนที่ห้าของการตั้งครรภ์ และมีเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (lymphoid follicle) ทั่วชั้นเยื่อเมือก เนื้อเยื่อน้ำเหลืองเหล่านี้จะมีจำนวนมากขึ้นและขยายขนาดเมื่อมีอายุ 8-20 ปี", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "759614#19", "text": "ส่วนอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน โดยในการศึกษาเดียวกันกับการศึกษาดังข้างต้น พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเจ็มไฟโบรซิลมีอุบัติการณ์การเกิดไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกันกับการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis) และนิ่วในถุงน้ำดี (Cholelithiasis) ที่พบอุบัติการณ์การเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเจ็มไฟโบรซิลสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกประมาณ 2 เท่า [15]", "title": "เจ็มไฟโบรซิล" }, { "docid": "218429#12", "text": "ไส้ติ่งอักเสบรักษาโดยการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก (English: Appendectomy) ในช่วงแรกผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมการผ่าตัดโดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำในขณะที่งดน้ำและงดอาหาร อาจมีการให้ยาปฏิชีวนะ (เช่น cefuroxime, metronidazole) ทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการแพร่กระจายของการติดเชื้อในช่องท้อง รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดด้วย ถ้าผู้ป่วยท้องว่างอาจใช้การผ่าตัดโดยการวางยาสลบ หรือไม่เช่นนั้นอาจใช้การทำให้ชาโดยฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#7", "text": "โรคไส้ติ่งอักเสบเรื้อรังต่างจากโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน อาการอาจแตกต่างได้มากในผู้ป่วยแต่ละคน ดังมีคำกล่าวว่า \"ไม่มีลักษณะเฉพาะหรือการตรวจทั่วไปใดๆ ที่จะใช้วินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบเรื้อรังเป็นซ้ำได้ จะต้องวินิจฉัยโดยการคัดออกเท่านั้น...\"[17]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" } ]
4052
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่ใด ?
[ { "docid": "49919#0", "text": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย(อักษรย่อ: ร.ส., R.S.)เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทโรงเรียนชายล้วน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งอยู่เลขที่ 1753 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" } ]
[ { "docid": "49919#3", "text": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เป็นโรงเรียมมัธยมชายขนาดใหญ่ที่สุดประจำจังหวัดนครราชสีมา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย อาคารอำนวยการ อาคารเรียน และอื่นๆ จำนวนกว่ายี่สิบอาคาร มีนักเรียนกว่าสี่พันคน และครูกว่าสองร้อยคน มีนโยบายที่สำคัญในเนื้อหาของการปฏิรูปทางการศึกษา คือการปรับเปลี่ยนบทบาทให้องค์กรการศึกษาสามารถสร้างสรรค์แนวทางเรียนรู้ ความเข้าใจร่วมกัน และก่อกำเนิดรูปแบบใหม่ๆ ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนสามารถเรียนรู้เพื่อเข้าใจชีวิต สังคม และความสัมพันธ์ในภาวะแวดล้อมแบบองค์รวม ถึงพร้อมด้วยการเรียนรู้เพื่อเข้าใจบทบาทหน้าที่ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชน ท้องถิ่น และภูมิภาค มีส่วนในการกำหนดเนื้อหาและแนวทางการเรียนรู้ เพื่อกระจายการมีส่วนร่วมทางการศึกษาในแต่ละชุมชนท้องถิ่นขนานไปกับการศึกษาวิทยาการนานาชาติ ภายใต้แนวทางการพัฒนาแห่งชาติที่กำหนดให้ทรัพยากรบุคคล เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาที่สามารถเข้าใจพื้นฐานของตนเอง และสามารถก้าวย่างไปเพื่อสัมพันธ์กับนานาชาติได้", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#1", "text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นตามมณฑลต่างๆ โดยทั่วกัน ยึดแบบอย่างของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนหลวงแห่งแรกของประเทศไทย (จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2425) ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลในพระองค์ที่มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นนี้ เพราะพระองค์มีพระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่ ดังปรากฏในลายพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งว่า พระบรมราชโองการฯ จัดตั้งโรงเรียนหลวงตามมณฑล ประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2441 ซึ่งมณฑลนครราชสีมา มีเมืองบุรีรัมย์และชัยภูมิ อยู่ในความดูแล ตัวเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหลัก วัดกลางหรือวัดพระนารายณ์เหมาะสมที่จะตั้งโรงเรียนหลวง และมีเจ้าคณะมณฑลพำนักอยู่วัดนี้ จึงได้เปิดทำการสอนครั้งแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2442 ตรงกับปีกุน เอกศกปกติมาส จุลศักราช 1261 รัตนโกสินทร์ศก 118 คริสต์ศักราช 1899", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "346369#0", "text": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา แต่เดิมชื่อโรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัยก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2538โดยอยู่ภายใต้สังกัดกรมสามัญศึกษา เป็นโรงเรียนที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของจังหวัดนครราชสีมาและเพื่อรองรับการสร้าง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในต่างจังหวัดมีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร จึงประกาศจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้นทั้ง 3 แห่งได้แก่\n1.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้(โรงเรียนศรีวิชัย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช)\n2.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ(โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก)\n3.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(โรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา)\nในโครงการของกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้เกิดความล้มเหลวเนื่องจากงบที่จะใช้พัฒนาการศึกษาและพัฒนาโรงเรียน(ในช่วงก่อนจะมีโครงการนี้ขึ้น)ได้ไปเข้าโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนสุรนารีวิทยา โรงเรียนบุญวัฒนา ฯลฯ จนหมด และด้วยเหตุผลเกี่ยวกับผลประโยชน์ไม่ลงตัวของงบประมาณระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมากับกรมสามัญศึกษา เนื่องจากทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาจัดสรรงบประมาณแก่โรงเรียนมากกว่ากรมสามัญศึกษาทางโรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัยจึงขอเข้าสังกัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ทางกระทรวงศึกษาธิการจึงปรับงบในการที่จะสร้างโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาไปที่โรงเรียนสว่างศึกษา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โรงเรียนจึงยังใช้ชื่อโรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัยในฐานะโรงเรียนมัธยมประจำตำบลโคกกรวด จนกระทั่งปีพ.ศ. 2552", "title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา" }, { "docid": "205458#51", "text": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนชายประจำจังหวัด", "title": "โรงเรียนสุรนารีวิทยา" }, { "docid": "49919#9", "text": "พ.ศ. 2542 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี แห่งการสถาปนา พ.ศ. 2544 นายอุดม พรมพันธ์ใจ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2545 จัดตั้งหอสมุด IT, หลังคาคลุมทางเดินเท้า ถมดิน และปรับสนามกีฬาให้เป็นขนาดมาตรฐาน พ.ศ. 2546 พัฒนาการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และพัฒนาห้องเรียนพิเศษ รวมทั้งห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา พ.ศ. 2547 โรงเรียนพัฒนาระบบบริหารให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา เพื่อมุ่งเน้นสู้ความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน พ.ศ. 2548 จัดให้มีกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน พร้อมทั้งจัดตั้งห้องปฏิบัติการพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2549 ได้เปิดทำการสอนห้องเรียน School in school เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน , ปิดรับนักเรียนหญิง พร้อมเข้าสู่โรงเรียนชายล้วน (อีกครั้ง) ในปีการศึกษา 2551 ปรับพื้นที่ศูนย์กีฬาให้เป็นสนามตะกร้อ สนามเทนนิส สนามบาสเก็ตบอล ในระดับมาตรฐาน มูลนิธิสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารมี โดย คุณสรพงศ์ ชาตรี (กรีพงศ์ เทียมเศวต) จัดสร้างสวนหน้าโรงเรียน มอบพระประธาน ปางสุโขทัย 29 นิ้ว 1 องค์ รูปหล่อเหมือนสมเด็จโต 1 องค์ จัดสร้างห้องพุทธศาสน์ เปิดใช้ต้นปี พ.ศ. 2550", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#17", "text": "ราชสีมาวิทยาลัย ราชสีมาวิทยาลัย ราชสีมาวิทยาลัย ราชสีมาวิทยาลัย ราชสีมาวิทยาลัย", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#12", "text": "พ.ศ. 2557 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จัดงานฉลองครบรอบ 115 ปี แห่งการสถาปนา หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ให้เกียรติบรรยายพิเศษและมอบเหรียญที่ระลึกกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิธีเปิด<b data-parsoid='{\"dsr\":[16169,16211,3,3]}'>อาคาร 113 ปี โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย (อาคารหอประชุม-โรงอาหารเอนกประสงค์) ถือเป็นอาคารโรงอาหารเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และ นายบุญเลิศ พ่วงเพ็ชร เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นคนที่ 25", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#4", "text": "ส่วนในอดีตโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยถือได้ว่าเป็นผลผลิตจากการปฏิรูปทางการศึกษาที่สำคัญของประเทศ ภายใต้แนวทางในการพัฒนาการศึกษาและขยายโอกาสในระดับภูมิภาคท่ามกลางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างขนานใหญ่ในรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ที่ทรงวางแนวทางให้โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยเป็นกลไกสำคัญในการวางรากฐานการศึกษาระดับภูมิภาคโดยเฉพาะภูมิภาคอีสาน ในโอกาสที่กระแสการปฏิรูปการศึกษาของประเทศก้าวมาสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญในการปรับกระบวนทัศน์ บทบาท และมุมมองใหม่ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จึงเสมือนหนึ่งบทบันทึกที่สำคัญของก้าวย่างใหม่ในการปรับแนวคิด และกระบวนการปฏิรูปการศึกษาให้กลายเป็นรูปธรรมจากเดิมในการสร้างสรรค์เยาวชนของชาติตลอดระยะเวลามาอย่างยาวนาน", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#8", "text": "พ.ศ. 2532 วงโยธวาทิตของโรงเรียนเข้าร่วมประกวดดนตรีโลก ณ เมืองเกอร์กาเด ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับรางวัลเหรียญทองประเภทดิสเพลย์และมาร์ชชิ่ง นายสุชาติ สุประกอบ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2533 โรงเรียนได้รับเชิญจากกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมประเทศญี่ปุ่น ให้ไปร่วมแสดงวงโยธวาทิต และศิลปะการแสดง พ.ศ. 2534 วงโยธวาทิตของโรงเรียนเข้าร่วมประกวดดนตรีโลก ณ เมืองเกอร์กาเด ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับรางวัลเหรียญทองประเภทดิสเพลย์และมาร์ชชิ่ง นายชวลิต ตัณฑเศรณีวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2535 เปิดโรงเรียนสาขารับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นสหศึกษา พ.ศ. 2536 โรงเรียนแบ่งพื้นที่จำนวน 14 ไร่ ให้กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา จัดตั้งเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[11555,11620,3,3]}'>โรงเรียนศึกษาพิเศษนครราชสีมา (โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล) เปิดสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และบกพร่องทางการได้ยิน ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3 พ.ศ. 2537 โรงเรียนสาขาได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย 2 และย้ายไปทำการสอน ณ ที่แห่งใหม่ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2540 พ.ศ. 2538 นายสุจินต์ แซ่ตั้ง ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิค ณ ประเทศแคนาดา (ซึ่งนับว่าเป็นเหรียญเงินเหรียญแรกของประเทศไทยในสาขาวิชาคณิตศาสตร์) พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างอาคารเรียน 7 ชั้น ชื่อว่า \"อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา\"", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "4051#2", "text": "เข้าโรงเรียนครั้งแรกที่โรงเรียนบูรพาวิทยากร (วัดบูรพ์) จังหวัดนครราชสีมา แต่ไม่สนุกกับการเรียนจึงออกจากโรงเรียนมาอยู่บ้าน กลับเข้าเรียนหนังสือครั้งใหม่เมื่ออายุเก้าปีที่โรงเรียนบูรพาวิทยากร เพราะอยากอ่านหนังสือประเภทนิยาย-นิทานด้วยตนเอง จบการศึกษามัธยม 8 จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เข้าศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างที่ศึกษาอยู่ปีที่ 2 สอบได้ทุนโคลัมโบของรัฐบาลออสเตรเลีย เข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยโมนาช (ประเทศออสเตรเลีย) จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก (ฟิสิกส์)", "title": "ชัยวัฒน์ คุประตกุล" }, { "docid": "185854#2", "text": "ธนา สุทธิกมล มีชื่อจริงว่าธนา อาจาริยางกูล มีมารดาชื่อวาสนา สุทธิกมล สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา, ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี จังหวัดราชบุรี และระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก ", "title": "ธนา สุทธิกมล" }, { "docid": "396120#2", "text": "ภายหลังจากที่ท่านสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบุรีรัมย์วิทยาลัยและเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยแล้ว เข้ามาทำงานเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยอยู่ชั่วระยะเวลา 2-3 ปี ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนสำเร็จปริญญาตรีเมื่อปี พ.ศ. 2498 ทำงานแล้วได้ศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (เกียรตินิยม \"ดี\") ในปี พ.ศ. 2508", "title": "พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)" }, { "docid": "49919#5", "text": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เริ่มขึ้นที่วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลาง) ในปี พ.ศ. 2442 หลังจากมีพระบรมราชโองการฯ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงขยายการศึกษาออกสู่หัวเมือง โดยอาศัยบนโรงเรียนธรรมของวัด มีฐานะเป็นโรงเรียนหลวงมนฑลของนครราชสีมา และได้รับพระราชทานนาฬิกาตั้งพื้นโดยบริเวณส่วนยอดของนาฬิกาประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ต่อมาได้ขยายหัวเมืองโดยอาศัยเรียนบนโรงธรรมของวัด ในวันอาทิตย์ แรม 14 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล จัตวาศก 1264 ตรงกับวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2445 (ร.ศ.121) เรียกชื่อว่า โรงเรียนวัดกลาง", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#16", "text": "สวนสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อาคาร 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา อาคารเรียนวิทยาศาสตร์ อาคาร 3อาคารเรียนวิชาสังคมศึกษา อาคาร4 อาคาร เรียนวิชาภาษาไทย อาคาร7 อาคารเรียนวิชาคณิตศาสตร์​ บริเวณหน้าโรงเรียน", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#7", "text": "พ.ศ. 2456 ได้สร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ ณ บริเวณศาลารัฐบาลมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนศิริวิทยากร (โรงเรียนรวมมิตรวิทยาในปัจจุบัน) และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่าง กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2456 พ.ศ. 2457 โรงเรียนขยายการศึกษาจากระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาเป็นระดับฝึกหัดครู (ป.) เพิ่มขึ้น นับว่าเป็นการฝึกหัดครูแห่งแรกในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2458 มีพระราชบัญญัติการใช้นามสกุลครูและนักเรียนโรงเรียนตัวอย่างและครูทุกคนจึงมีนามสกุลตั้งแต่นั้นมา ครูใหญ่ชื่อ นายศุข อาสนนันทน์ พ.ศ. 2461 ในสมัย<i data-parsoid='{\"dsr\":[6584,6601,2,2]}'>ขุนอักษรเสรฐ เป็นครูใหญ่ โรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประจำมณฑลนครราชสีมา</b>เปิดสอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พ.ศ. 2470 โรงเรียนได้จัดให้มีแตรวงลูกเสือขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดดุริยางค์ลูกเสือ และวงโยธวาทิตของโรงเรียนในปัจจุบัน พ.ศ. 2471 โอนนักเรียนหญิงทั้งหมดจากโรงเรียนประจำมณฑลนครราชสีมาไปอยู่รวมกับโรงเรียนประจำจังหวัด ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่วัดสุทธจินดา (ปัจจุบันคือโรงเรียนสุรนารีวิทยา) จึง<b data-parsoid='{\"dsr\":[7047,7076,3,3]}'>เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชาย พ.ศ. 2476 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ได้มาตรวจโรงเรียนมีนักเรียนกว่า 1,000 คน เห็นควรให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 และ 8 ขึ้น พ.ศ. 2477 ได้ขยายโรงเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โดยมี หลวงทรงวิทยาศาสตร์ เป็นครูใหญ่ พ.ศ. 2478 ได้ขยายนักเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 และได้เปิดสอนแผนกพาณิชยการเพิ่มขึ้น พ.ศ. 2481 ได้ยุบชั้นประถมศึกษาทั้งหมด จึงกลายเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีแต่นักเรียนชายล้วน เปิดถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ยุบแผนกพาณิชยการ และยุบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 และ 8 ไปเปิดสอนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท เพียงแห่งเดียว พ.ศ. 2483 ได้ย้ายโรงเรียนจากสถานที่เดิมไปอยูที่บ้านแสนสุข ติดกับค่ายสุรนารี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2483 นาย สำเนียง ตีระวนิช ป.ม.,อ.บ. เป็นอาจารย์ใหญ่ เกิดคำขวัญ 'มานะ-วินัย พ.ศ. 2484 ก่อตั้งสมาคมนักเรียนเก่าราชสีมาวิทยาลัย (ส.น.ร.) พ.ศ. 2489 เริ่มจัดการศึกษาชั้นเตรียมอุดมศึกษาแผนกวิทยาศาสตร์ และปี พ.ศ. 2490 เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์ นับเป็นโรงเรียนต่างจังหวัดแห่งแรกที่เปิดสอนทั้งสองแผนก นายดำรง มัธยนันท์ เป็นอาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2490 โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกรมวิสามัญศึกษาเป็นโรงเรียนประเคราะห์ (Project School) ของโครงการพัฒนาการศึกษา เรียกย่อ ๆ ว่า ค.พ.ศ. (General Education Development Project G.E.D.) พ.ศ. 2506 กรมวิสามัญศึกษาได้สั่งให้เปิดสอนเป็นโรงเรียนมัธยมแบบประสม (Comprehensive School) โดยเริ่มรับนักเรียนชั้น ม.ศ. 1 จำนวน 8 ห้อง พ.ศ. 2510 โรงเรียนได้ย้ายจากสถานที่เดิม ณ บ้านแสนสุข มาอยู่ ณ ที่ตั้งในปัจจุบัน เลขที่ 1753 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง (เดิมคือ ตำบลบ้านใหม่) อำเภอ เมือง จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ 176 ไร่ 3 งาน 14 ตารางวา นายคณิต พุทธิรัตน์ เป็นอาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2511 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการมัธยมแบบประสม แบบที่ 1 (คมส.1 ) (Comprehensive School) โดยจัดหลักสูตรให้กว้างขวางเพื่อให้นักเรียนที่มีความสามารถและความสนใจแตกต่างกันได้เลือกเรียนตามสาขาวิชาต่างๆ ที่สนใจและถนัดในหลักสูตร มีทั้งวิชาสามัญที่นักเรียนจำเป็นต้องเรียน และมีวิชาที่นักเรียนเลือกเรียนได้ตามความถนัดและความสนใจของแต่ละคนทั้งด้านวิชาสามัญและวิชาชีพ พ.ศ. 2517 นายคณิต พุทธิรัตน์ อาจารย์ใหญ่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนชั้นพิเศษ เปิดสอนนักศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ 5 เรียกว่า โรงเรียนผู้ใหญ่ราชสีมาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2525 โรงเรียนเปิดรับเฉพาะนักเรียนชาย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[9723,9752,3,3]}'>โรงเรียนประจำจังหวัดชาย พ.ศ. 2526 เปิดรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นมา จึงเป็นโรงเรียนสหศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นยังคงเปิดรับเฉพาะนักเรียนชาย นายมาโนช ปานโต เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2531 วงโยธวาทิตโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศแห่งประเทศไทยรับถ้วยพระราชทานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นปีสุดท้ายของการประกวดที่กำหนดให้มีถ้วยรางวัลพระราชทานประเภทเดียว ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่น รางวัลพระราชทานโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ของเขตการศึกษา 11 นายสุชาติ สุประกอบ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "5114#85", "text": "โรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัด: โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด: โรงเรียนสุรนารีวิทยา โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนบุญวัฒนา โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "5114#86", "text": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนสุรนารีวิทยา โรงเรียนบุญวัฒนา โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "256641#1", "text": "นิวจบการศึกษาระดับอนุบาลจากโรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร จบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้นจากโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม (ม.1-2) จบการศึกษาระดับมัธยมตอนปลายจากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย (ม.3-6) จบการศึกษาปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภูมิลำเนาเดิมจังหวัดนครราชสีมา", "title": "วงศกร ปรมัตถากร" }, { "docid": "73542#25", "text": "และยังมีนักเรียนของโรงเรียนที่ได้รับเกียรติบัตรรางวัลพระราชทานเช่นกัน ซึ่งได้รับในปีข้อสังเกต โรงเรียนประจำมณฑลส่วนใหญ่จะมีคำสร้อย \"วิทยาลัย\" ต่อท้าย อาทิ ราชสีมาวิทยาลัย (โรงเรียนประจำมณฑลนครราชสีมา), ยุพราชวิทยาลัย (โรงเรียนหลวงประจำมณฑลพายัพ), ภูเก็ตวิทยาลัย (โรงเรียนตัวอย่างมณฑลภูเก็ต), ร้อยเอ็ดวิทยาลัย (โรงเรียนประจำมณฑลร้อยเอ็ด) และอยุธยาวิทยาลัย เป็นต้น", "title": "โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#10", "text": "พ.ศ. 2550 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ วมว.) โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 1 ห้องเรียน (ทั่วประเทศมี 4 โรงเรียน โดยโรงเรียนเป็นโรงเรียนสังกัดสพฐ. ได้เปิดทำการสอนห้องเรียน English-Technology (ET) เป็นห้องเรียนภาษาอังกฤษ ในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน และเปิดห้องเรียน คู่ขนานของโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งมีนักเรียน 35 คน เป็นนักเรียนชายล้วนทั้งหมด", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#2", "text": "อันถือเป็นจุดกำเนิดของ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ซึ่งประวัติของโรงเรียนจัดแบ่งตามสถานที่ตั้งโรงเรียนได้ 4 ยุค คือ ยุคที่ 1 วัดกลางหรือวัดพระนารายณ์ ยุคที่ 2 โรงเรียนประจำมณฑล ยุคที่ 3 เสือดงจิระ และยุคที่ 4 บ้านใหม่กิโลเก้า ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ด้วยเนื้อที่ 176 ไร่ 3 งาน 14 ตารางวา", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "216117#2", "text": "ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางเต็มศิริ ชาญนุกูล ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพี่สาวของพลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายตะวัน ชาญนุกูล", "title": "วรรณรัตน์ ชาญนุกูล" }, { "docid": "286412#1", "text": "ประจิม วงศ์สุวรรณ เป็นชาวจังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องสามคน จบการศึกษาจากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จากนั้นสอบผ่านข้อเขียนเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร แต่ไม่ผ่านภาคปฏิบัติ จึงเข้าเรียนที่โรงเรียนนายสิบทหารบก และรับราชการทหาร พร้อมกับเป็นนักกีฬากรีฑาทีมชาติไทย เป็นนักวิ่งระยะสั้น เคยได้รับเหรียญทองวิ่ง 400 เมตรชาย จากเอเชียนเกมส์ 1962 ที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และเข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1960 ที่โรม ประเทศอิตาลี ", "title": "สยุมภู ทศพล" }, { "docid": "49919#13", "text": "อาคาร 1 เป็นอาคาร 3 ชั้น แบบ 324 ชั้นล่างจัดเป็นห้องทำงาน สำนักงานต่างๆ ได้แก่ ห้องกลุ่มบริหารงานงบประมาณ ห้องทะเบียน ห้องกลุ่มบริหารงานทั่วไปและงานสารบรรณ ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องแนะแนว สำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน อาคาร 2 หรืออาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เป็นอาคาร 7 ชั้น ประกอบด้วย ศูนย์ถ่ายเอกสาร , ห้องดนตรีไทย , ศูนย์คอมพิวเตอร์ , ห้องกลุ่มงานบริหารบุลคล , ห้องกลุ่มงานบริหารวิชาการ , ห้องเรียนวิทยาศาสตร์แบบพิเศษ , ห้องประชุมอเนกประสงค์ , ห้องพิพิธภัณฑ์พืช , ห้องผู้อำนวยการ ,จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อาคาร 3 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อาคาร 4 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อาคาร 5 เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาธุรกิจ อาคาร 6 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ อาคาร 7 เป็นอาคาร 4 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อาคารศิลปศึกษา จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา มีรูปปั้นพระวิษณุอยู่ด้านหน้า อาคารศูนย์เกษตรกรรม มี 2 ห้องเรียน และมีอาคารศูนย์เกษตรเพื่อประสานงานดูแลรับผิดชอบเนื้อที่ 80 ไร่ ซึ่งเป็นแปลงไม้ดอก ไม้ประดับ และสวนพฤกษศาสตร์ราชสีมาวิทยาลัยรวมทั้งสัตว์เลี้ยงต่างๆ อาคารศูนย์กีฬาราชสีมาวิทยาลัย ชั้นบน เป็นสนามบาสเกตบอลมีอัฒจันทร์รอบด้านทั้ง 4 ด้าน บรรจุคนได้ประมาณ 800 คน ชั้นล่าง เป็นห้องพักอาจารย์ ห้องเก็บตัวนักกีฬา ห้องเรียน และยังใช้เป็นศูนย์ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย อาคารกิจกรรมลูกเสือ อยู่ทางทิศตะวันออกของอาคารศิลปศึกษา อาคารหอประชุม 90 ปี ชั้นบนเป็นหอประชุมใช้ในการจัดงาน-พิธีต่างๆ และชั้นล่างเป็นห้องสมุดของโรงเรียน อาคาร 80 ปี ราชสีมาศิษยานุสรณ์ เป็นอาคารจากการจัดงานครบรอบ 80 ปี ของโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จัดสำหรับเป็นที่ประดิษฐานท่านท้าวสุรนารี (องค์ต้นแบบองค์ที่อนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารีปั้นโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และปัจจุบันได้ทำการย้ายสถานที่ประดิษฐานท่านท้าวสุรนารีไปอยู่ ณ ศาลาใหม่หน้าบริเวณทางเข้าโรงเรียน) และที่ทำการกองบังคับการกรมนักศึกษาวิชาทหารโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยมณฑลทหารบกที่ 21 อาคารธรรมสถาน ใช้เป็นที่ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและเรียนวิชาพระพุทธศาสนา เป็นที่ประดิษฐาน<b data-parsoid='{\"dsr\":[20557,20584,3,3]}'>พระพุทธราชสีมามงคลชัย</b>พระพุทธรูปประจำโรงเรียน รวมทั้งใช้เป็นอาคารประชุมเอนกประสงค์ เรือนพยาบาล เป็นอาคารที่ ม.ศ.5 รุ่นสุดท้ายหาทุนสร้างให้เป็นอนุสรณ์สำหรับใช้บริการตรวจสุขภาพและปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีห้องผ่าตัดขนาดเล็ก โรงอาหาร ใช้เป็นที่รับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน (พ.ศ. 2509-2554) โรงอาหารใหม่ ใช้เป็นที่รับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน (พ.ศ. 2535-2554) ศาลากฤษณ์ จันทนโรจน์ ตั้งอยู่หน้าอาคาร 80 ปี ราชสีมาศิษยานุสรณ์ อาจารย์จินตนา จันทนโรจน์ สร้างให้เป็นอนุสรณ์ให้<b data-parsoid='{\"dsr\":[21072,21097,3,3]}'>นายกฤษณ์ จันทนโรจน์ สำนักงานพัสดุ ตั้งอยู้ด้านทิศตะวันออกของอาคาร 1 อาคารอุตสาหกรรม ใช้เป็นสถานที่เรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี แบ่งสายงานดังนี้ อาคารโรงงาน 1 แผนกช่างเขียนแบบ อาคารโรงงาน 2 แผนกช่างยนต์และแผนกช่างโลหะ อาคารโรงงาน 3 แผนกช่างไฟฟ้าและแผนกช่างไม้ก่อสร้าง อาคารโรงงาน 4 แผนกคหกรรม ศาลาพระอาจารย์ศุภชัย อัคฺคธมฺโม</b>เป็นที่ตั้งสำนักงานสภาผู้ปกครองและครูแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกลุ่มงานกิจการนักเรียน สวนป่า ใช้เป็นที่เรียนกิจกรรมลูกเสือ อาคารสำนักงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด To be Number Oneตั้งอยู่บริเวณหน้าอาคาร 5 อาคารสำนักงานคณะกรรมการนักเรียน เป็นห้องปฏิบัติงานของคณะกรรมการนักเรียน ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น (Friend Corner) ชั้นหนึ่ง อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ห้องพุทธศาสน์</b>ชั้นหนึ่ง อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ประดิษฐาน พระพุทธรังสีราชสีมามงคลและรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อาคาร 111 ปีราชสีมาวิทยาลัย เป็นลานเอนกประสงค์ มีหลังคาครอบขนาดใหญ่ เป็นอาคารที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงเรียนซึ่งครอบคลุมบริเวณสนามเทนนิส , สนามฟุตบอล , สนามบาสเก็ตบอล , สนามเซปักตระกร้อ และสนามวอลเล่ย์บอลเดิมของโรงเรียน อาคารโรงอาหาร 113 ปีราชสีมาวิทยาลัย เป็นโรงอาหารที่ขึ้นชื่อว่าใหญ่ที่สุดในasean ขนาด 2 ชั้น ชั้นบน</b>ใช้เป็นที่รับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน ชั้นล่าง</b>ใช้เป็นห้องเรียน ห้องประชุม ธนาคารโรงเรียน ห้องสมาคมนักเรียนเก่า สำนักงานพัสดุ สำนักงานสภานักเรียน มินิมาร์ทซันดิว", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#11", "text": "พ.ศ. 2551 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จทรงเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น To Be Number One Friend Corner ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทรงเปิดป้ายอาคารวิทยาศาสตร์ ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยได้ทำการตั้งเสาธงใหม่สูง 37 เมตร โดยใช้ฤกษ์ในการตั้งเวลา 09.19 น. นับได้ว่าเป็นเสาธงของสถานศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด พ.ศ. 2553 ครบรอบ 111 ปี แห่งการสถาปนาโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย และ นายอุทัย หวังอ้อมกลาง เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นคนที่ 24 พัฒนาอาคารสถานที่ สร้างบ้านคุณย่าโม สนามมวยผวนกาญจนกาศ และอาคารโดม 111 ปี โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย พ.ศ. 2554 จัดการเรียนการสอนใช้หลักสูตรมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ดำเนินการก่อสร้าง อาคารหอประชุม-โรงอาหารเอนกประสงค์ พ.ศ. 2555 ดำเนินการก่อสร้าง อาคารหอประชุม-โรงอาหารเอนกประสงค์ พ.ศ. 2556 ดำเนินการก่อสร้าง อาคารหอประชุม-โรงอาหารเอนกประสงค์ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยและสพม.31 ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ.เกมส์ 2555 ครั้งที่ 2 รอบชิงชนะเลิศ นักเรียนราชสีมาวิทยาลัยที่คว้าแชมป์ประเทศไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง การแข่งขันหุ่นยนต์ว่ายน้ำอัตโนมัติควบคุมด้วยอุปกรณ์สื่อสารไร้สายสมัยใหม่ ในรายการ 2012 Thailand Swimming Robot ในงาน ZEER Robotic Open 2013 พิธี<b data-parsoid='{\"dsr\":[15866,15932,3,3]}'>เปิดธนาคารโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ธนาคารโรงเรียนลำดับที่ 776 ของประเทศ (โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารออมสิน)", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "5114#94", "text": "วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างกลพณิชยการนครราชสีมา วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึษานครราชสีมา โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเมรี่เทคโนโลยี (ยุบรวมเข้ากับมารีย์บริหารธุรกิจ เมื่อปี 2561) วิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ นครราชสีมา (สถาบันในเครือมารีย์วิทยา) โรงเรียนเทคโนสุระ บัวใหญ่เทคโนโลยีพณิชยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการปากช่อง วิทยาลัยเทคโนโลยีสายมิตร นครราชสีมา โรงเรียนกุสุมภ์เทคโนโลยี", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "287367#0", "text": "สุนทร จันทร์รังสี เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2490 เป็นชาวจังหวัดนครราชสีมาโดยกำเนิด จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ประกาศนียบัตรวิชาชีพแผนกพาณิชยการ โรงเรียนกรุงเทพพณิชยการ วุฒิบัตรนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาค คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับการศึกษาสูงสุด รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช", "title": "สุนทร จันทร์รังสี" }, { "docid": "49919#6", "text": "พ.ศ. 2447 วันที่ 1 พฤษภาคม ได้กระทำเปิดพิธีโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โดยมี พระยากำแหงสงคราม สมุหเทศาภิบาล เป็นประธานในพิธี มีนักเรียน 110 คน พระสมุห์จริง ป. เป็นครูใหญ่ จัดการเรียนการสอนเพียงประโยคประถมศึกษา", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" }, { "docid": "49919#14", "text": "ความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์ (Gifted Mathematics Student Project) ความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ (School in School) ความสามารถพิเศษทางด้านภาษาอังกฤษ (English Program) ความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตร สสวท. และ สอวน. ห้องเรียน Cadet (เตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่การเข้าเรียนในโรงเรียนเตรียมทหาร) ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ วมว.) โดยจัดร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (บังคับให้เปิดแบบสหศึกษาเพียงโครงการเดียวของโรงเรียน) เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (โครงการ พวค.) เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย", "title": "โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย" } ]
4055
ทาทา ยังมีบิดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "120787#3", "text": "ทาทา ยัง เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2523 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เป็นธิดาคนแรกและคนเดียวของทิโมที ไมเคิล \"ทิม\" ยัง (มีชื่อไทยว่า วันชัย)[5][6] กับบัญชร ยัง[7][8] บิดาเป็นชาวอเมริกัน และมารดาเป็นชาวไทย มีพี่สาวบุญธรรมหนึ่งคน ชื่อเล่นว่า แก้ม[9][10] ซึ่งเป็นบุตรของน้า (น้องสาวของบัญชร) ที่บัญชรนำมาเลี้ยงดูก่อนทาทาเกิด[11]", "title": "ทาทา ยัง" } ]
[ { "docid": "7156#4", "text": "ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน เกิดที่เมืองชรูซบรี ชรอพเชอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่บ้านของตระกูล คือเดอะเมานท์[16] เขาเป็นบุตรคนที่ห้าในจำนวนทั้งหมด 6 คนของครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ บิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน มารดาชื่อ ซูซานนา ดาร์วิน (สกุลเดิม เวดจ์วูด) เขาเป็นหลานของเอรัสมัส ดาร์วิน กับ โจสิอาห์ เวดจ์วูด ทั้งสองตระกูลนี้เป็นคริสตชนยูนิทาเรียน (Unitarian) ผู้เคร่งครัดที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียว แต่ตัวโรเบิร์ต ดาร์วิน นั้นเป็นคนหัวเสรี และให้ชาลส์บุตรชายไปรับศีลในโบสถ์ของนิกายแองกลิกัน แต่ชาลส์กับพี่น้องก็ไปเข้าโบสถ์ของยูนิทาริสต์กับมารดา เมื่อชาลส์อายุ 8 ขวบ ได้หลงใหลในประวัติศาสตร์ธรรมชาติและเริ่มสะสมสิ่งต่างๆ เมื่อเขาเข้าโรงเรียนเมื่อปี ค.ศ. 1817 มารดาของเขาเสียชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนั้น นับจากเดือนกันยายน ค.ศ. 1818 เขาก็ไปอยู่ประจำที่โรงเรียนซรูซบรีอันเป็นโรงเรียนนิกายแองกลิกัน กับพี่ชายของตนคือ เอรัสมัส อัลวีย์ ดาร์วิน[17]", "title": "ชาลส์ ดาร์วิน" }, { "docid": "956297#0", "text": "ทาเกดะ คัตสึโยริ ( Takeda Katsuyori/武田 勝頼 ) เกิดในปี ค.ศ.1546 เป็นบุตรชายของทาเกดะ ชิงเง็ง ไดเมียวแห่งแคว้นคาอิและเป็นผู้นำตระกูลทาเกดะ หลังจากที่ชิงเง็งผู้เป็นบิดาเสียชีวิตในปี ค.ศ.1573 คัตสึโยริขึ้นเป็นผู้นำตระกูลแทน และนำทัพเข้าโจมตีตระกูลโทกูงาวะ โทกูงาวะ อิเอยาซุสู้ไม่ได้จึงต้องขอความช่วยเหลือจากโอดะ โนบูนางะ ทางด้านทาเกดะก็บุกทะลวงด่านของตระกูลโทกูงาวะแตกไปหลายด่าน จนถึงด่านนากาชิโนะ ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายของโทกูงาวะ และถ้านากาชิโนะถูกทาเกดะยึดเมื่อใด โทกูงาวะก็จะล่มสลาย ดังนั้นโนบูนางะจึงส่งทหารเข้าช่วยเหลืออิเอยาซุ และเกิดยุทธการที่ทหารม้าทาเกดะต้องพ่ายทหารปืนโอดะในนามยุทธการนากาชิโนะ", "title": "ทาเกดะ คัตสึโยริ" }, { "docid": "967807#1", "text": "พระนางสิริมหาจันทาเทวีสืบเชื้อสายมาจากเชื้อพระวงศ์แห่ง อังวะ ทั้งสองฝั่ง พระนางมีพระนามเดิมว่า มีนลาตุ (, ) พระนางประสูติที่ สาลิน ซึ่งขณะนั้นพระบิดาของพระนาง ตะโดธรรมราชา เป็นอุปราชและปกครองสิบเมืองในพม่าตอนกลาง (ทุกวันนี้คือ เขตมะเกว) ใน ค.ศ. 1483 พระบิดาของพระนางได้ก่อกบฏต่อพระเชษฐา พระเจ้ามังฆ้องที่ 2 ตั้งแต่ ค.ศ. 1481 แต่ไม่สำเร็จและสิ้นพระชนม์ พระปิตุลาของพระนางได้ส่งพระราชนัดดาไปยัง อังวะ พระนางสิริมหาจันทาเทวีมีพระพี่นาง Min Shwe Kyu และพระขนิษฐา ซินทเว ", "title": "สิริมหาจันทาเทวีแห่งตองอู" }, { "docid": "900864#7", "text": "เทหยักษา เป็นเทพแห่งยักษ์ เดิมชื่อทารคา เป็นราชบุตรของอนันตยักษาผู้ปกครองนครคีรีกัณฑ์ แต่ถูกกาฬสูตรซึ่งเป็นยักษ์ต่างเมือง จาก นรกัณฑ์ลอบโจมตีโดยใช้เชลยมนุษย์เป็นไส้ศึก บิดาของทารคาถูกฆ่าตาย เขาจำต้องหลบหนีออกจากเมืองพร้อมน้องชาย และเติบโตมาท่ามกลางภัยอันตราย ทั้งจากสัตว์ร้ายและมนุษย์ที่คอยตามล่าเพราะชิงชังบิดาของเขา เวลาผ่านไป บนเส้นทางแห่งการเข่นฆ่าเพื่อเอาตัวรอด ทักษะการต่อสู้ของทารคาพัฒนาถึงขั้นสูง ขณะเดียวกันความพยาบาทที่ฝังลึกในใจ ก็ทำให้ทารคากลายเป็นยักษ์ที่โหดเหี้ยม ดุร้าย ยากหาใครมาต่อกร ซึ่งยิ่งทำให้ทารคาหรือเทหยักษาหลงใหลในอำนาจ ปรารถนาจะครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง โดยมีแม่หมอการ์ณีชา ยักษีชราเป็นผู้รับใช้", "title": "9 ศาสตรา" }, { "docid": "659535#4", "text": "ในตอนแรก วัดจะถูกตั้งชื่อว่า \"วัดเรียกูโอชิเซเซ็น\" () ซึ่งเป็นนามรัชสมัยของจักรพรรดิในราชวงศ์เหนือขณะนั้น แต่เนื่องจากทาดาโยชิน้องชายของทากาอูจิ ได้ฝันถึงมังกรทองที่กำลังบินผ่านแม่น้ำโออิ (อีกชื่อคือแม่น้ำโฮซุ) ที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัด วัดจึงถูกตั้งชื่อว่า วัดเท็นรีว ที่แปลว่า วัดมังกรสวรรค์", "title": "วัดเท็นรีว" }, { "docid": "58914#21", "text": "อินเดียตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ได้มีบทบาทอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์อารยธรรมของชมพูทวีป รวมทั้งบทบาทของมหาวิทยาลัยนาลันทานี้ด้วย ใน พ.ศ. 2494 ก็ได้มีการจัดตั้งสถาบันบาลีนาลันทา ชื่อว่า “นวนาลันทามหาวิหาร” (นาลันทามหาวิหารแห่งใหม่) ขึ้น เพื่อแสดงความรำลึกคุณและยกย่องเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นาลันทามหาวิหาร มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ในสมัยอดีต", "title": "นาลันทา" }, { "docid": "229946#30", "text": "ออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีเอ) ของการ์ตูนกินทามะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ โอวีเอตอนแรก ใช้ชื่อตอนเดียวกับชื่อเรื่อง ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2005 โอวีเอตอนที่สองใช้ชื่อว่า \"ชิโระยะฉะ โคทัน\" () ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2008 ดีวีดีของโอวีเอทั้งสองตอน ใช้ชื่อว่า \"Gintama Jump Anime Tour 2008 & 2005\" ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทอะนิเพล๊กซ์ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 ", "title": "กินทามะ" }, { "docid": "460822#1", "text": "ส่วนในประเทศไทย สมัยก่อนเป็นยุคของการ์ตูนไร้ลิขสิทธิ์ สำนักพิมพ์ต่างๆมีการแข่งขันกัน ดังนั้นสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้จึงใช้ชื่อต่างกันออกไป เช่น สำนักพิมพ์หมึกจีนใช้ชื่อว่าโคทาโร่ ส่วนทางสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ใช้ชื่อว่าโคทาโร่เช่นเดียวกัน และสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจโดยใช้ชื่อว่าข้าชื่อโคทาโร่ ซึ่งตีพิมพ์ลงในนิตยสารเดอะซีโร่(The Zero) ต่อมาหลังจากปีพ.ศ. 2531ได้ย้ายไปลงในนิตยสารAnimage Weekly ต่อมาทางเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ออกมาสั่งห้ามสำนักพิมพ์ทุกสำนักพิมพ์ตีพิมพ์การ์ตูนที่ละเมิดลิขสิทธิ์ทุกเรื่อง", "title": "ข้าชื่อโคทาโร่!" }, { "docid": "229946#1", "text": "ออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีเอ) ของการ์ตูน\"กินทามะ\" ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2006 อนิเมะทัวร์ ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นบริษัทซันไรส์ได้นำการ์ตูน\"กินทามะ\"มาจัดทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนฉายทางช่องทีวีโตเกียว ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 รวมจำนวนตอนทั้งสิ้น 201 ตอน และได้มีการออกอากาศภาคต่อของภาพยนตร์การ์ตูน\"กินทามะ\" โดยใช้ชื่อว่า \"กินทามะ'\" (มีเครื่องหมายอะพอสทรอฟีปรากฏหลังคำว่า \"กินทามะ\") ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 จนถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 และออกอากาศอีกครั้งพร้อมกับออกอากาศตอนเก่าโดยใช้ชื่อว่า \"กินทามะ ภาคล่วงเวลา\" ฉายระหว่างวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการออกกากาศภาคต่ออีกครั้งโดยใช้ชื่อว่า \"กินทามะ°\" ผลิตโดยบันไดนัมโคพิกเจอส์ เรี่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559", "title": "กินทามะ" }, { "docid": "262619#0", "text": "พระเจ้าพินดาเล (, ; 23 มีนาคม 2151 - 3 มิถุนายน 2204) กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ตองอู เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าทาลุน เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาเมื่อปีพ.ศ. 2191 โดย 13 ปีแห่งการครองราชย์บ้านเมืองของพระองค์กลับอ่อนแอลง ตรงข้ามกับรัชสมัยของพระเจ้าอโนเพตลุน สมเด็จพระปิตุลา (ลุง) ของพระองค์ และพระเจ้าทาลุนพระราชบิดาของพระองค์ที่พาราชวงศ์ตองอูกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง", "title": "พระเจ้าปีนดะเล" }, { "docid": "892135#1", "text": "พระนางอาโมส-เฮนุททาเมฮู เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทาโอที่สองกับพระเชษฐาภคินีของพระองค์พระนางอาห์โมส อิตาปิ พระองค์อาจจะอภิเษกสมรสกับพระเชษฐาของฟาโรห์อาโมสที่หนึ่ง พระนางอาโมส-เฮนุททาเมฮูเป็นพระเชษฐาภคินีร่วมพระราชบิดาคือพระนางอาโมส-เนเฟอร์ทาริ", "title": "อาโมส-เฮนุททาเมฮู" }, { "docid": "440091#1", "text": "ทะกะอุจิ เกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1305 เป็นบุตรชายที่สองของ อะชิกะงะ ซะดะอุจิ () ซึ่งเป็น\"โกะเกะนิง\" () หรือซะมุไรซึ่งทำงานรับใช้รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ กับนางอุเอะซุงิ คิโยะโกะ () ซึ่งเป็นภรรยาน้อยของซะดะอุจิ ทะกะอุจิเกิดที่แคว้นทัมบะ อันเป็นบ้านเกิดของมารดา เดิมชื่อว่า ยูทาโร่ () ยูทาโร่มีพี่ชายต่างมารดาชื่อว่า อะชิกะงะ ทะกะโชะชิ () ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของซะดะอุจิซึ่งเกิดกับภรรยาเอก แต่ทะกะโยะชิเสียชีวิตเมื่อค.ศ. 1317 ยูทาโร่จึงขึ้นมาเป็นผู้สืบทอดตระกูลอะชิกะงะแทนที่พี่ชาย นอกจากนี้ทะกะอุจิยังมีน้องชายร่วมมารดากันชื่อว่า อะชิกะงะ ทะดะโยะชิ () ค.ศ. 1319 ยูทาโร่ผ่านพิธี\"เง็มปุกุ\" ได้รับชื่อว่า ทะกะอุจิ (高氏 ต่อมาเปลี่ยนตัวอักษรจาก 高 เป็น 尊 อ่านว่า ทะกะ เช่นเดิม เนื่องจากตรงกับพระนามของพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ) ", "title": "อาชิกางะ ทากาอูจิ" }, { "docid": "548424#2", "text": "ทาทา อินดิโก รุ่นที่ 2 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2552 ใช้ชื่อว่า Indigo Manza เนื่องจากทาทา มอเตอร์สยังขายอินดิโกรุ่นเดิมอยู่ รุ่นนี้มีเฉพาะตัวถังซีดาน 4 ประตู เครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์เบนซิน 1.4 ลิตร และเครื่องยนต์ดีเซล 1.3 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด โดยยังไม่มีเกียร์อัตโนมัติให้เลือกแต่อย่างใด และใช้ชิ้นส่วนร่วมกับทาทา อินดิกา () เช่นเดิม ออกแบบโดยทาทา มอเตอร์สเอง โดยมีรถต้นแบบที่นำมาใช้ในการออกแบบในชื่อ Tata Elegante", "title": "ทาทา อินดิโก" }, { "docid": "284999#0", "text": "ไซโง ทากาโมริ (, 23 มกราคม ค.ศ. 1828 - 24 กันยายน ค.ศ. 1877) เป็นหนึ่งในซามูไรผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น มีชีวิตอยู่ระหว่างปลายยุคเอโดะ (บากุมัตสึ) ถึงช่วงต้นยุคเมจิ ผู้ได้รับการขนานนามว่า \"ซามูไรที่แท้จริงคนสุดท้าย\" (\"the last true samurai'\") ไซโงมีชื่อในวัยเด็กว่า \"ไซโง โคกิจิ\" และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า \"ไซโง ทากาโมริ\" เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้เขายังใช้ชื่อในงานเขียนกวีนิพนธ์ว่า \"ไซโง นันชู\"", "title": "ไซโง ทากาโมริ" }, { "docid": "120787#22", "text": "ภายหลังการประชาสัมพันธ์อัลบั้ม ไอบีลีฟ ทาทาได้ออกอัลบั้มภาษาไทยในชื่อว่า แดนเจอรัสทาทา (English: Dangerous Tata)) โดยมีเพลง \"แดนเจอรัส\" เป็นซิงเกิลแรก เพลงดังกล่าวได้ขับร้องร่วมกับไทยเทเนี่ยม นอกจากนี้อัลบั้มดังกล่าวยังได้ร่วมงานกับศิลปินอื่นๆ อาทิ นภ พรชำนิ, ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร , ตรัย ภูมิรัตน์ และบีไฟฟ์ (B5) มียอดจำหน่ายในวันแรกกว่า 1 แสนชุดทำให้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว (Platinum) ในวันแรกที่ออกจำหน่าย", "title": "ทาทา ยัง" }, { "docid": "120787#6", "text": "ในปี พ.ศ. 2538 ทาทาได้ออกอัลบั้มภาษาไทยในชื่อว่า อมิตาทาทายัง นับเป็นอัลบั้มแรกและเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในเวลานั้น โดยมีเพลง \"โอ๊ะโอ้ย\" เป็นเพลงเปิดตัวอัลบั้ม อัลบั้มดังกล่าวมียอดจำหน่ายมากกว่า 1.3 ล้านชุดภายในเวลาไม่ถึง 5 เดือนหลังออกจำหน่าย [12] ทำให้เธอออกอัลบั้ม ทาทาวันมิลเลียนกอปปีส์เซเลอเบรชัน เพื่อเป็นการขอบคุณแฟนเพลง โดยในอัลบั้มนี้เธอได้ขับร้องเพลง \"ฉันรักเธอ\" ซึ่งอัลบั้มนี้ก็มียอดขายเกิน 1 ล้านชุดอีกเช่นกัน ส่งผลให้เป็นนักร้องที่มีอายุน้อยที่สุดที่มีอัลบั้มทะลุล้านตลับถึง 2 อัลบั้มติดต่อกัน [13] นอกจากนี้เธอยังได้จัดคอนเสิร์ต นานาทาทา 2 รอบการแสดงและคอนเสิร์ตตอนพิเศษ \"ไอเลิฟยู\" ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้เธอได้รับรางวัล \"นักร้องแห่งปี\" จากนิตยสารบางกอก และรางวัล \"ศิลปินยอดเยี่ยม\" ประจำปี พ.ศ. 2538, \"มิวสิกวิดีโอแห่งปี\" และรางวัล \"อัลบั้มแห่งปี\" จากเรดิโอโวต[14]", "title": "ทาทา ยัง" }, { "docid": "524263#0", "text": "เกทท์เป็นผู้บัญชาการ โคลนทรูปเปอร์ในกองทัพแห่งสาธารณรัฐ, ทำหน้าที่ให้กับนายพลเจได อีทาอิน ทัว-มูคัน ไม่เหมือนโคลนตัวอื่นๆ, เขาไม่คิดว่านายพลเจไดของเขาจะสามารถทำได้ทุกสิ่ง, อีทาอินชอบและเคารพเขาในเรื่องนั้น เขาบัญชาการนายทหารของยานจู่โจม แอคคลาเมเตอร์-คลาสชื่อว่า \"เฟียร์เลซ\"หนึ่งปีหลังจากยุทธการจีโอโนซิส เขาคุมกองร้อยอิมพรอคโคเหนือดาวดินโล\nเกเลน เออโซ () รับบทโดย Mads Mikkelsen (\"Rogue one\") นักวิจัยของจักรวรรดิกาแลกติก บิดาของจิน เออร์โซ เป็นผู้ออกแบบหลักของสถานีอวกาศดาวมรณะ และเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับจุดอ่อนสำคัญของดาวมรณะให้กับฝ่ายกบฎ ทำให้ฝ่ายกบฎสามารถโจมตีสถานีรบอวกาศที่ดูเหมือนจะไม่มีจุดอ่อนนี้ได้", "title": "รายชื่อตัวละครในสตาร์ วอร์ส" }, { "docid": "44649#11", "text": "ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน เธอได้ออกผลงานซิงเกิลมาอีกหนึ่งเพลง โดยใช้ชื่อว่า \"ทาการะโมโนะ\" หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ \"เซ็ง\" ซึ่งชื่อที่สองนี้มีที่มาจากชื่อของตัวละครหลักที่รับบทโดยอะเบะ ในเรื่อง \"ทาการะโมโนะ\" นั่นเอง", "title": "นัตสึมิ อาเบะ" }, { "docid": "467110#2", "text": "ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม บุตรที่เกิดจากน้องสาวของนางกิองนั้นถือเป็นบุตรชายของทาดาโมริ เกิดที่นครเฮอังเกียว หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน โดยมีภรรยาเอกของทาดาโมริคือ ฟุจิวะระ มุเนะโกะ (藤原宗子) หรือที่ต่อมาบวชเป็นชีแล้วมีนามว่า \"อิเกะโนะเซ็นนิ\" (池禅尼) เป็นแม่เลี้ยง เมื่ออายุครบกำหนดจึงประกอบพิธี เง็มปุกุ ได้รับชื่อว่า \"ไทระ โนะ คิโยโมริ\" รับราชการเป็นทหารองค์รักษ์อยู่ในพระราชวัง ใน ค.ศ. 1146 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองแคว้นอะกิ (安芸守) ทางตะวันตก จนกระทั่งในค.ศ. 1153 ทาดาโมริผู้เป็นบิดาได้เสียชีวิตลง คิโยโมริจึงขึ้นเป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[2317,2328,2,2]}'>โทเรียว (棟梁) หรือประมุขตระกูลไทระต่อมา", "title": "ไทระ โนะ คิโยโมริ" }, { "docid": "8831#1", "text": "พีทาโกรัสได้ชื่อว่าเป็น\"บิดาแห่งตัวเลข\" พีทาโกรัสไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อคณิตศาสตร์ เขายังได้สร้างสรรค์ความคิดหลายอย่างให้กับปรัชญาและศาสนา ในปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ถึงทุกวันนี้ เราไม่สามารถที่จะพูดถึงชีวประวัติของพีทาโกรัสได้ด้วยความแน่นอน เพราะตำนานและเรื่องเล่าต่าง ๆ นานาปิดบังข้อเท็จจริงของชีวิตพีทาโกรัสมากกว่าปราชญ์ใด ๆ ในยุคก่อนโสกราตีส", "title": "พีทาโกรัส" }, { "docid": "223706#2", "text": "เอดเวิร์ด มอนทากิวเป็นอีกผู้หนึ่งที่ร่วมเดินทางไปสเปนกับเจ้าชายชาลส์ ระหว่างปี ค.ศ. 1623 เพื่อไปดำเนินการเรื่องการเจรจาตกลงเรื่องโอกาสที่จะเสกสมรสกับเจ้าหญิงสเปน เอดเวิร์ด มอนทากิวเป็นสมาชิกรัฐสภาจากเทศมณฑลฮันติงดันเชอร์ระหว่างปี ค.ศ. 1623 ถึงปี ค.ศ. 1624, ในปี ค.ศ. 1625 และระหว่างปี ค.ศ. 1625 ถึงปี ค.ศ. 1626 เมื่อพระเจ้าชาลส์ขึ้นครองราชสมบัติในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1626 เอดเวิร์ด มอนทากิวก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น \"Knight of the Bath\" เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ได้ร่วมเดินทางไปสเปน ในเดือนพฤษภาคมมอนทากิวได้เข้านั่งในสภาขุนนางด้วยความช่วยเหลือของจอร์จ วิลเลียรส์ ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 1 และได้รับเขตการปกครองบารอน (barony) ของบิดาที่คิมโบลตันและได้ชื่อว่า \"ไวเคานต์แมนดิวิลล์\" เป็นตำแหน่งมารยาท (Courtesy title) เมื่อบิดาได้รับตำแหน่งเอิร์ลแห่งแมนเชสเตอร์ในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อรัฐสภาเริ่มสมัยประชุม", "title": "เอดเวิร์ด มอนทากิว เอิร์ลที่ 2 แห่งแมนเชสเตอร์" }, { "docid": "530113#0", "text": "ตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะ (; ) คือ การ์ตูนแอนิเมชั่นเวอร์ชันโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลิตโดย บริษัท เกียวโตแอนิเมชัน กำกับโดย ยามาดะ นาโอโกะ โดยการ์ตูนเรื่องนี้ ได้ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม จนกระทั่งถึงวันที่ 28 มีนาคม 2556\nคิตะชิราคาวะ ทามาโกะ พี่สาวคนโตของครอบครัวร้านขายโมจิที่ชื่อว่า ทามา-ยะ โมจิ ในย่านการค้า อุซางิยามะ () และแล้ววันหนึ่งเธอได้ไปพบกับนกประหลาดที่สามารถพูดได้ในร้านขายดอกไม้ ที่ชื่อว่า เดร่า โมจิมัตซุย \nซึ่งกำลังตามหาคู่แต่งงานของเจ้าชายที่เป็นนายของเขา แต่หลังจากที่เขาได้เข้ามาอาศัยในร้านโมจิ เขารับประทานโมจิมากไปจนอ้วนกลม และมีความจำเป็นต้องอยู่ที่ร้านโมจิของตระกูลคิตะชิราคาวะต่อไป ซึ่งเรื่องนี้จะนำเสนอเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นภายในย่านการค้า อุซากิยามะ และเหล่าเพื่อน ๆ ครอบครัว ของ ทามาโกะ รวมไปถึง นกประหลาดตัวนี้ด้วย", "title": "ตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะ" }, { "docid": "94622#4", "text": "ในเวอร์ชันวิดีโอเกม จะใช้ชื่อว่า \"Lucky☆Star โมเอะ ดริล\" () ซึ่งวางจำหน่ายไปในวันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2547]] ในเครื่อง [[นินเทนโด ดีเอส]] ซึ่งจะมีแบบจำนวนจำกัดอยู่ด้วย ซึ่งในรูปแบบจำนวนจำกัดนั้นมีส่วนพิเศษเพิ่มมามากมาย ซึ่งจะวางจำหน่ายปะปนไปกับแบบธรรมดา และแบบจำนวนจำกัดนี้จะถูกเรียกว่า \"DX Pack\" และต่อมาก็ได้มีการวางแผนที่จะจำหน่ายเกมใหม่ ภายใต้ชื่อว่า \"ชิน Lucky☆Star โมเอะ ดริล ~ทาบิดาจิ~\" () สำหรับเครื่อง นินเทนโด ดีเอส ในวันที่ [[24 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2550]]", "title": "ลักกีสตาร์ (มังงะ)" }, { "docid": "229946#48", "text": "นิยายไลท์โนเวลที่อิงจากหนังสือการ์ตูน \"กินทามะ\" เขียนเนื้อเรื่องโดยโทโมฮิโตะ โอซากิ วาดภาพประกอบโดยฮิเดอากิ โซราจิ เจ้าของเรื่องต้นฉบับ และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ฉากของเรื่องเป็นโรงเรียนชื่อ\"โรงเรียนกินทามะ\" โดยกินโทกิรับบทอาจารย์โดยใช้ชื่อว่า \"ซากาตะ กินปาจิ\" และตัวละครอื่น ๆ ส่วนใหญ่รับบทนักเรียนหรืออาจารย์คนอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื้อเรื่องของไลท์โนเวลกินทามะตีพิมพ์ในนิตยสาร จัมป์สแควร์ ใช้ชื่อเรื่องว่า \"ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ\" () ไลท์โนเวลเล่มแรกตีพิมพ์ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และตีพิมพ์ถึงเล่มที่ 7 ซึ่งมีชื่อเรื่องดังต่อไปนี้", "title": "กินทามะ" }, { "docid": "120787#27", "text": "ในช่วงกลางเดือนเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทาทาจะเดินทางยังประเทศเยอรมันเพื่อจัดทำอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดที่ 3 มีการคัดเลือกเพลงเพื่อสร้างอัลบั้มนี้จากกว่าหนึ่งพันเพลง และได้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในชื่อ เรดีฟอร์เลิฟ (English: Ready For Love) โดยใช้เพลง \"เรดีฟอร์เลิฟ\" เป็นซิงเกิลแรกซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และได้จัดงานเปิดอัลบั้มในชื่อว่า ทาทาเทกยูทูเดอะเวิลด์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และมีการปฐมทัศน์มิวสิกวิดีโอที่ 2 จากอัลบั้มคือ \"มายบลัดดีวาเลนไทน์\" อีกด้วย และเธอได้ตัด Video Mission is you เพื่อเป็นการโปรโมท งานแถลงข่าว เปิดตัวอัลบั้มของเธออย่างเป็นทางการในงาน \"ทาทา ยัง เทกยูทูเดอะเวิลด์\" อีกด้วย และต่อมาหลังจากนั้นเธอได้เดินทางไปที่ประเทศ ออสเตรเลีย ในงานเทศกาลดนตรี One Movement Music Festival ,The Esplanade Perth Australia 17 ตุลาคม 2552 และจะมีแผนกลับไปโปรโมทที่ประเทศออสเตรเลียในเดือนมีนาคม 2553 นี้ [26]", "title": "ทาทา ยัง" }, { "docid": "91933#23", "text": "มีการนำเรื่องราวของเรือรบยะมะโตะมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ในปี 2548 โดยใช้ชื่อว่า \"男たちの大和 (Otoko-tachi no Yamato)\" หรือในประเทศไทยใช้ชื่อว่า \"ยะมะโตะ พิฆาตยุทธการ\" มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการทำสงครามของเรือรบยะมะโตะและชีวิตของลูกเรือระหว่างสงคราม และภาพยนตร์เรื่องล่าสุดคือ 2199 ยะมะโตะกู้จักรวาล (Space Battleship Yamato) กำกับโดย ทาคาชิ ยามาซากิ และนำแสดงโดย ทาคุยะ คิมูระ เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554", "title": "เรือประจัญบานยามาโตะ" }, { "docid": "958237#1", "text": "ทอง กันทาธรรม หรือเป็นที่รู้จักว่า \"พ่อเลี้ยงทอง\" เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2454 ที่อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ เป็นบุตรชายคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของนายเทพ กันทาธรรม กับนางศรีเวย กันทาธรรม บิดามีเชื้อสายเจ้านายของเมืองเชียงแสน ส่วนมารดาสืบเชื้อสายจากเจ้านายของพวกไทยลื้อ มีพี่ชายเติบโตมาด้วยกันคือ นายอุทัย หรือพ่อเลี้ยงอุทัย กันทาธรรม และน้องชายคือ นายสม หรือพ่อเลี้ยงสม กันทาธรรม เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ต่อมาย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จนถึงชั้นมัธยมปีที่ 7 จากนั้นจึงย้ายเข้าไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 เข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์", "title": "ทอง กันทาธรรม" }, { "docid": "313850#1", "text": "ทากานิ เมงุมิ เกิดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2400 ตระกูลทากานิของเธอเป็นตระกูลที่สืบทอดการเป็นหมอมาหลายชั่วอายุคนแถบไอซุ (ปัจจุบันคือจังหวัดฟุกุชิมะ) ซึ่งถือเป็นชนชั้นสูงในขณะนั้น ครอบครัวของเธอมีอุดมการณ์ที่มุ่งหมายที่จะรักษาประชาชนทุกคนโดยไม่แบ่งชนชั้น และอุดมการณ์ดังกล่าวกลับสร้างความไม่พอใจกับกลุ่มซามูไรนัก บิดาของเธอคือทากานิ ริวเซ ได้ไปยังนะงะซะกิเพื่อจะไปศึกษาการแพทย์แผนตะวันตก ได้ละทิ้งครอบครัวไว้ทีไอซุ ทั้งนี้ครอบครัวของเขาได้รับการอนุญาตให้เป็นแพทย์ในสนามรบ แต่ริวเซถูกสังหารในเวลาต่อมา ส่วนแม่และพี่ชายอีกสองคนของเมงุมิหายสาบสูญไป", "title": "ทากานิ เมงุมิ" }, { "docid": "158152#0", "text": "แอนดี้ ทานาบาส () หรือ อันเดร อาโบส ตานาบาส (Andre Abos Tabanas) นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์ เกิดเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 สถิติการชก 47 ครั้ง ชนะ 40 (น็อค 24) เสมอ 2 แพ้ 5 \nทานาบาสขึ้นชกมวยสากลครั้งแรกเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2532 ชนะน็อค เซอร์จิโอ อัลโกบาร์ ยก 2 จากนั้นขึ้นชกชนะรวด รวมทั้งชนะคะแนน อีริค ชาเวซ และโจ คอนสแตนติโนด้วย จากนั้น ทานาบาสเดินทางมาชิงแชมปืโลกรุ่นมินิฟลายเวท IBF ในไทยเมื่อ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งทานาบาสเป็นฝ่ายแพ้คะแนนฟ้าลั่น ลูกมิ่งขวัญไป จากนั้น ทานาบาสยังขึ้นชกชนะอย่างต่อเนื่อง และได้ไปชกมวยที่ญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า ตานาบาส โอตสุกะ ซึ่งชกชนะที่ญี่ปุ่นถึง 6 ครั้ง แพ้ 1 ในที่สุด ทานาบาสได้ชิงแชมป์โลกอีกครั้งเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 โดยขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่นสตรอเวท WBC ปรากฏว่าเป็นฝ่ายแพ้น็อคริคาร์โด โลเปซในยกที่ 12", "title": "แอนดี้ ทานาบาส" } ]
4056
สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย เป็นผู้หญิงใช่หรือไม่ ?
[ { "docid": "521504#0", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย (Zewditu I, Zawditu หรือ Zauditu; อักษรกีเอส:ዘውዲቱ ; 29 เมษายน พ.ศ. 2419 - 2 เมษายน พ.ศ. 2473) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเอธิโอเปียตั้งแต่พ.ศ. 2459 ถึงพ.ศ. 2473 ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐที่เป็นสตรีพระองค์แรกแห่งรัฐที่เป็นที่รู้จักอย่างสากลในทวีปแอฟริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 พระนางเป็นที่จดจำในฐานะทรงเป็นผู้ทำการต่อต้านการปฏิรูปของเจ้าชายตาฟารี มาคอนเนน (ต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย) และพระนางทรงอุทิศเพื่อพระศาสนาอย่างแรงกล้า", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" } ]
[ { "docid": "521504#2", "text": "ในปีพ.ศ. 2429 เจ้าหญิงเซาดีตูในพระชนมายุ 10 ชันษา ทรงอภิเษกสมรสกับ ราส อารายา เซลาสซี โยฮันเนส พระราชโอรสและทรงเป็นองค์รัชทายาทในสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสที่ 4 แห่งเอธิโอเปีย เป็นการอภิเษกสมรสทางการเมืองซึ่งถูกจัดการเมื่อเนกัสเมเนลิกทรงยอมรับในพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนส ในที่สุดสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสและเนกัสเมเนลิกทรงขัดแย้งกันอีกครั้ง ซึ่งเนกัสเมเนลิกทรงก่อการกบฏต่อต้านพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนส พระชนม์ชีพการอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงเซาดีตูไม่มีพระโอรสและพระธิดาร่วมกัน เนื่องจากยังทรงพระเยาว์เกินกว่าที่จะอภิเษกสมรส ถึงแม้ว่าพระสวามีของพระนางจะมีพระโอรสกับสตรีอื่น เมื่ออารายา เซลาสซีสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2431 พระนางทรงออกจากเมืองเมเคเลและทรงกลับไปยังราชสำนักของพระราชบิดาในชีวา แม้ว่าเนกัสเมเนลิกกับสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสจะทรงเป็นอริต่อกัน เจ้าหญิงเซาดีตูทรงจัดการกับความขัดแย้งให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เจ้าหญิงเซาดีตูทรงอภิเษกสมรสครั้งที่ 2 กับ ราส กักซา เวลเล กักซา เวลเลเป็นพระราชนัดดาในพระนางเตย์ตู พระมารดาเลี้ยงของเจ้าหญิงเซาดีตู เจ้าหญิงเซาดีตูทรงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระนางเตย์ตู แต่การสร้างความสัมพันธ์ทางตรงกับทั้งสองสามารถทำให้ความสัมพันธ์แนบแน่นขึ้นได้ ไม่มีพระชนม์ชีพในการสมรสของพระนางเมื่อครั้งก่อน การอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงเซาดีตูกับกักซา เวลเลคาดว่าเป็นไปอย่างมีความสุข", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#9", "text": "รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูซึ่งมีความก้าวหน้าที่แตกต่างในภาพรวมที่ค่อยๆกว้างขึ้นระหว่างพระนางและรัชทายาทที่ทรงแต่งตั้ง เจ้าชาย(ราส)ตาฟารี มาคอนเนน เจ้าชายตาฟารีทรงเป็นนักปฏิรูป ทรงเชื่อว่าเอธิโอเปียจำต้องเปิดประเทศสู่โลกเพื่อให้อยู่รอดได้ ในเรื่องนี้พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางหนุ่มมากมาย อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงเป็นนักอนุรักษนิยมทรเชื่อในการปกปักรักษาวัฒนธรรมประเพณีเอธิโอเปีย พระนางทรงได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากคริสตจักรในความเชื่อนี้ แต่สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงเริ่มถอนพระองค์จากบทบาททางการเมืองอย่างช้าๆ และทรงปล่อยให้อำนาจของเจ้าชายตาฟารีมีมากขึ้นและมากขึ้น ภายใต้การบริหารราชการของเจ้าชายตาฟารี ทรงนำเอธิโอเปียเข้าร่วมสันนิบาตชาติและทรงประกาศยกเลิกระบบทาส สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงเอาพระทัยใส่ในกิจกรรมทางศาสนา ดังเช่น ทรงสร้างโบสถ์มากมาย", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "993560#0", "text": "อิทโยปิยา ฮอย เดส ยิบิลิช ( \"Ityopp'ya Hoy dess yibelish\"), แปลว่า \"เอธิโอเปีย จงมีความสุข\" เป็นเพลงชาติ และ เพลงสรรเสริญพระบารมี ของจักรวรรดิเอธิโอเปีย ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1. ทำนองโดย Kevork Nalbandian ในปี ค.ศ. 1926, บรรเลงครั้งแรกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930. จนถึง ค.ศ. 1975 เมื่อจักรพรรดิเซลาสซีสละราชบัลลังก์ ต่อมาถูกสำเร็จโทษโดยคณะเผด็จการคอมมิวนิสต์เดร็ก.", "title": "อิทโยปิยา ฮอย เดส ยิบิลิช" }, { "docid": "525561#0", "text": "นี่คือ รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปียตั้งแต่ราชวงศ์ซักเว กษัตริย์แห่งอาซุมและดาม็อทไม่รวมอยู่ในนี้เนื่องจากมีช่องว่างมากมายและมีความยืดหยุ่นของเหตุการณ์มาก", "title": "รายพระนามจักรพรรดิเอธิโอเปีย" }, { "docid": "705237#1", "text": "ในคติชนเอธิโอเปียว่า พระราชินีแห่งชีบาทรงมีสัมพันธ์สวาทกับกษัตริย์ซาโลมอน ดังปรากฏใน \"เกแบรแนแกสต์\" (กีเอซ: ክብረ ነገሥት, \"\") อันเป็นวรรณกรรมของเอธิโอเปีย กล่าวถึงผลจากความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้นางตั้งพระหน่อประสูติกาลเป็นจักรพรรดิเมเนลิกที่ 1 จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งเอธิโอเปีย", "title": "พระราชินีแห่งชีบา" }, { "docid": "521504#6", "text": "ในขั้นต้น สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูไม่มีพระราชอำนาจในการปกครองด้วยพระนางเอง พระราชอำนาจทรงถูกแทนที่ด้วยพระญาติของพระนาง เจ้าชาย(ราส)ตาฟารี มาคอนเนน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และนายพลอาวุโสในสมัยพระราชบิดาของพระนาง ฟิตาวารี(ผู้บัญชาการทัพหน้า) ฮัปเต จิออร์จิส ดินักเด ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เจ้าชายราสตาฟารีได้กลายเป็นองค์รัชทายาทในสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู เนื่องจากพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระนางเซาดีตูสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ทั้งสิ้น ในปีพ.ศ. 2471 หลังจากที่พระนางทรงพยายามถอดถอนเจ้าชายราสตาฟารีออกจากอำนาจแต่แผนการของพระนางล้มเหลว สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงถูกบังคับให้สถาปนาพระญาติองค์นี้ขึ้นเป็น เนกัส (กษัตริย์)", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "972563#2", "text": "ต่อมาพระองค์ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2454 ขณะนั้นจักรพรรดิเฮลี ยังทรงพระอิสริยยศ รัชทายาทแห่งเอธิโอเปีย พระองค์จึงได้รับการสถาปนาที่ เจ้าหญิงเมเนน อัสเฟา รัชทายาทแห่งเอธิโอเปีย พระวรชายา ต่อมาเมื่อปี 2484 พระราชสวามีเสวยราชสมบัติ พระองค์จึงรับการสถาปนาที่ สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งเอธิโอเปีย มีพระราชบุตรดังนี้\nสมเด็จพระจักรพรรดินีเมเนน อัสเฟาแห่งเอธิโอเปีย เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2505 สิริพระชนมายุ 72 พรรษา ", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเมเนน อัสเฟาแห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#10", "text": "ในปีพ.ศ. 2471 เกิดการลุกฮือเล็กน้อยเพื่อต่อต้านการปฏิรูปของเจ้าชายตาฟารี ในการรัฐประหารเอธิโอเปียปีพ.ศ. 2471โดยฝ่ายสนับสนุนสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู แต่ไม่สำเร็จ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงถูกบังคับให้ยอมรับเจ้าชายตาฟารี ผู้ซึ่งตอนนี้สามารถควบคุมรัฐบาลส่วนใหญ่ได้แล้ว ด้วยตำแหน่ง เนกัส (กษัตริย์) ในขณะที่เนกัสตาฟารีทรงอยู่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู (ซึ่งตอนนี้ยังทรงเป็น Negiste Negest, \"ราชินีแห่งปวงราชันย์\" หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ) ตอนนี้เนกัสตาฟารีสามารถปกครองเอธิโอเปียอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพยายามหลายครั้งเพื่อมีอำนาจแทนที่พระองค์ แต่ทั้งหมดไม่ประสบความสำเร็จ ในปีพ.ศ. 2473 พระสวามีของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู เจ้าชาย(ราส)กักซา เวลเลทรงก่อกบฏในกบฏกักซา เวลเลเพื่อต่อต้านเนกัสตาฟารีที่เบเกมเดอร์เพื่อยุติการสำเร็จราชการของเนกัสตาฟารีทั้งๆที่พระมเหสีทรงทั้งอ้อนวอนและมีพระราชโองการให้พระองค์หยุดต่อต้าน แต่เจ้าชายกักซา เวลเลทรงพ่ายแพ้และสิ้นพระชนม์ในสนามรบโดยกองทัพปฏิรูปเอธิโอเปียในสมรภูมิอันเชมในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2473", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#8", "text": "ช่วงต้นรัชกาลของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูได้มีการทำสงครามต่อต้านเจ้าชายลิจ อิยาซู อดีตจักรพรรดิ ซึ่งทรงหลบหนีออกจากสถานที่คุมขัง ทรงกลับไปพบพระราชบิดาของพระองค์ เนกัส มิคาเอลแห่งวอลโล อดีตจักรพรรดิอิยาซูทรงเข้าร่วมเพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์คืน แต่ทั้งสองพระองค์ไม่สามารถประสานกำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ประสงค์ อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับชัยชนะในขั้นต้น พระราชบิดาของอดีตจักรพรรดิอิยาซูได้พ่ายแพ้และทรงถูกจับกุมในสมรภูมิเซกาเล องค์เนกัสทรงถูกล่ามโซ่ตรวนแห่ประจานรอบกรุงแอดดิส อบาบา ทรงต้องแบกหินสำนักผิดไว้บนพระอังสาก่อนที่จะทรงเข้าท้องพระโรงและทรงต้องจุมพิตพระบาทของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูเพื่อวิงวอนขอพระเมตตา องค์รัชทายาทแห่ราชบัลลังก์ เจ้าชายราสตาฟารี มาคอนเนนไม่ทรงอยู่ทอดพระเนตรเหตุการณ์นี้เพราะทรงเห็นพระทัยพระชายา ผู้ซึ่งเป็นพระราชนัดดาในองค์เนกัสมิคาเอล หลังจากที่ทรงทราบเรื่องการพ่ายแพ้ของพระราชบิดา อดีตจักรพรรดิอิยาซูทรงหลบหนีไปยังแคว้นอะฟาร์ หลังจากหลายปีของการหลบหนี อดีตจักรพรรดิอิยาซูทรงถูกจับกุมโดยเดจาซมาซ (ผู้บัญชาการแห่งประตู) กักซา อารายา เซลาสซี พระราชโอรสในพระสวามีพระองค์แรกของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ประสูติแต่พระชายาพระองค์อื่น กักซา อารายาได้รับการแต่งตั้งเป็น ราส (เจ้าชาย)จากอดีตพระมารดาเลี้ยง และทรงมอบเจ้าหญิงเยชาชีว็อค ยิลมา พระราชนัดดาในเจ้าชายตาฟารี มาคอนเนนให้เป็นพระชายา เมื่ออดีตจักรพรรดิอิยาซูทรงถูกจับกุม สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงหลั่งพระเนตรร้องขอให้คุมขังอดีตจักรพรรดิไว้ในตำหนักพิเศษในบริเวณพระราชวังที่ซึ่งพระนางสามารถเห็นสภาพความเป็นอยู่และอดีตจักรพรรดิควรได้รับข้อเสนอแนะทางศาสนา พระนางต้องพบว่าเจ้าชายราสตาฟารีและฟิตาวารี(ผู้บัญชาการทัพหน้า) ฮัปเต จิออร์จิส ดินักเดยืนยันที่จะไม่รับข้อเสนอของพระนาง พระนางทรงกระทำได้เพียงให้อดีตจักรพรรดิได้รับพระกระยาหารที่พิเศษและทรงโปรดปรานและทรงจัดหาฉลองพระองค์และให้ความหรูหราเล็กๆแก่เจ้าชายลิจ อิยาซู ในสถานที่คุมขังที่เซลลาเล ในวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพของพระนาง ทรงกล่าวถึงพระราชนัดดาที่ถูกถอดถอนพระองค์นี้ว่า \"เกตาเย (องค์พระผู้เป็นเจ้า)อิยาซู\"", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "277105#10", "text": "สงครามกลางเมืองกรีกจบลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2492 เป็นโอกาสที่ดีของเหล่าผู้ปกครองที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบอบกษัตริย์ ทั้ง 2 พระองค์ให้ความสำคัญกับการเยือนต่างประเทศคือ โจซิป โบรซ ติโตในเบลเกรด ประธานาธิบดีลุยกิ อายเนาดีแห่งอิตาลีที่โรม ธีโอดอร์ เฮิสแห่งเยอรมนีตะวันตก เบชารา เอล โควรีแห่งเลบานอน สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย จักรกาวาตี ราชาโกปาลาชาลีแห่งอินเดีย สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร และทรงเป็นแขกของประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์แห่งสหรัฐอเมริกา", "title": "เฟรเดอริกาแห่งฮาโนเวอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "327885#43", "text": "ในวันที่ 30 มิถุนายน จักรพรรดิเฮลี เซลาสซี มีพระราชดำรัสยังที่ประชุมสันนิบาตชาติ โดยประธานแห่งสันนิบาติชาติได้เอ่ยแนะนำพระองค์ในฐานะจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย (\"Sa Majesté Imperiale, l'Empereur d'Ethiopie\") ปรากฏว่านักหนังสือพิมพ์ชาวอิตาลีกลุ่มหนึ่งได้ตะโกนประท้วงและและกล่าวคำละเมิดต่อจักรพรรดิเอธิโอเปียจนถูกขับออกจากที่ประชุม นิโคไล ติตูเลสคู (Nicolae Titulescu) ประธานในที่ประชุมชาวโรมาเนีย ได้ตะโกนขับนักหนังสือพิมพ์ชาวอิตาลีด้วยคำว่า \"ไปที่ประตูเสียเถอะ พวกป่าเถื่อน!\" (\"A la porte les sauvages!\") [25]", "title": "สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง" }, { "docid": "521504#13", "text": "หมวดหมู่:จักรพรรดิเอธิโอเปีย", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#11", "text": "ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2473 หลังจากเจ้าชายกักซา เวลเลสิ้นพระชนม์ในสนามรบ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน เป็นที่รู้กันในทุกวันนี้ว่าทรงพระประชวรด้วยโรคเบาหวานและทรงพระประชวนหนักด้วยไข้รากสาดน้อยแต่ในระดับสากลไม่เห็นด้วยกับสาเหตุการเสด็จสวรรคตของพระนาง ตามประวัติศาสตร์ที่เป็นที่นิยมบันทึกว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูเสด็จสวรรคตจากพระอาการช็อกและความเสียพระทัยที่ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระราชสวามี แต่ตามบันทึกอื่นๆโต้แย้งบันทึกนี้ ซึ่งบันทึกว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูไม่ทรงได้รับทราบผลการสู้รบก่อนที่จะเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน จากหลักฐานของคณะทูตในกรุงแอดดิส อบาบารายงานว่าในช่วงนั้นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูซึ่งทรงพระประชวรทรงแช่พระองค์ในภาชนะขนาดใหญ่ที่ใส่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เย็นในการรักษาพระอาการประชวรของพระนางแต่พระวรกายของพระนางช็อกและและพระนางเสด็จสวรรคตหลังจากนั้นไม่นาน[3] ช่วงเวลาการเสด็จสวรรคตของพระนางเกิดในทันทีหลังจากข่าวผลการสู้รบได้มาถึงในกรุงแอดดิส อบาบาได้ก่อให้เกิดการพิจารณาว่าเป็นสาเหตุที่พระนางเสด็จสวรรคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการวิพากษ์วิจารณ์องค์รัชทายาทของพระนางโดยฝ่ายอนุรักษนิยม สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีทรงถูกกล่าวหาว่าเมื่อการจลาจลถูกปราบปรามอย่างเด็ดขาด พระองค์หรือผู้สนับสนุนพระองค์จะรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นในการวางยาพิษปลงพระชนม์สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู การพิจารณาทฤษฎีการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "5177#2", "text": "ราชอาณาจักรอิตาลีโจมตีเอธิโอเปียเมื่อ พ.ศ. 2479 และเข้าครอบครองได้สำเร็จใน พ.ศ. 2484 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของเอธิโอเปีย เฮลี เซลาสซีที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งระบบรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. 2474", "title": "ประเทศเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#1", "text": "เจ้าหญิงประสูติในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2419 เจ้าหญิงได้รับการแบ็ฟติสท์ในพระนาม อัสคารา มาเรียม (แปลว่า \"Askal of Mary\" เป็นชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่ง) แต่ทรงใช้พระนามจริงว่า เซาดีตู (ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่ามีพระนามว่า จูดิธ [Judith] ในภาษาอังกฤษ) พระนางเป็นพระราชธิดาใน เนกัส(กษัตริย์) เมเนลิกแห่งชีวา ซึ่งทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แห่งเอธิโอเปียในอนาคต พระราชมารดาของพระนางคือ เวย์ซิโร(ท่านผู้หญิง) อาเบชี เป็นท่านผู้หญิงแห่งวอลโล และเป็นพระชายาของเนกัสเมเนลิกเพียงชั่วครู่ พระราชมารดาของพระนางทรงแยกทางกับเนกัสเมเนลิกเมื่อเจ้าหญิงเซาดีตูยังทรงพระเยาว์ และเจ้าหญิงทรงได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากพระราชบิดาและพระชายาอีกองค์หนึ่งของพระบิดาคือ บัฟฟานา หลังจากนั้นเนกัสเมเนลิกทรงอภิเษกสมรสกับเตย์ตู เบตุล แต่พระองค์ไม่มีพระโอรสธิดากับพระนางเตย์ตู เบย์ตุล เนกัสเมเนลิกมีพระโอรสธิดาซึ่งเป็นที่รู้จัก 3 พระองค์ได้แก่ เจ้าหญิงเซาดีตู, พระโอรส เจ้าชายอัสเฟา วอซเซน ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ และพระราชธิดาอีกพระองค์คือ เจ้าหญิงชีวา เร็กกา ซึ่งเป็นพระราชมารดาใน เจ้าชายลิจ อิยาซู ซึ่งในที่สุดเจ้าชายจะเป็นรัชทายาทของจักรพรรดิเมเนลิก อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิยังทรงสนิทสนมกับเจ้าหญิงเซาดีตู ซึ่งพระนางทรงมีความสัมพันธ์อันดีกับพระมารดาเลี้ยงคือ สมเด็จพระจักรพรรดินีเตย์ตู และทรงเป็นส่วนหนึ่งของราชสำนักของพระราชบิดาในชั่วพระชนม์ชีพส่วนใหญ่ของพระนาง", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "197300#1", "text": "ในการประชุมองค์การสันนิบาตชาติเมื่อปี ค.ศ. 1936 สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี ได้ให้การกล่าวหา อิตาลี เกี่ยวกับการใช้อาวุธเคมีในช่วง สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง ด้วยมุมมองที่แข็งกร้าวประกอบกับบุคลิกที่เป็นสากลของพระองค์ จึงนำพา เอธิโอเปีย เป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของ สหประชาชาติ ในเวลาต่อมา", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "197300#2", "text": "พระองค์เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพระเจ้าในร่างมนุษย์ในขบวนการราสตาฟารี ซึ่งมีผู้คนผู้นับถือประมาณ 600,000 คน พวกราสตาฟารียังเรียกพระองค์ด้วยชื่ออื่นด้วยได้แก่ ฮิม, ญาฮ์, ราส ตาฟารี และ ญาฮ์ ราสตาฟารี", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#5", "text": "จากความกลัวในความวุ่นวายที่อาจจะเกิด คณะรัฐมนตรีได้ตัดสินใจไม่ประกาศข่าวการสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 ต่อสาธารณะ เป็นผลให้สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 ทรงไม่ได้รับการประกาศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิอย่างเป็นทางการ หรือ ยังไม่ได้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์ที่สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกสวรรคตและการที่สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงปกครองโดยพฤตินัยได้กลายเป็นที่รับรู้และยอมรับไปในวงกว้าง ผู้มีอำนาจในศาสนจักร ลอร์ดผู้สำเร็จราชการ ราส เทสเซมา และคณะรัฐมนตรีเห็นด้วยกับแผนการพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูว่าควรเลื่อนออกไปจนกว่าที่สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเจริญพระชันษามากกว่านี้ อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงต้องประสบกับปัญหาอย่างทันทีด้วยการที่ทรงปกครองแต่มิได้ทำการราชาภิเษก พระองค์ทรงถูกชิงชังโดยชนชั้นสูงจากการที่ทรงมีพฤติกรรมที่แปรปรวน และทางคริสตจักรสงสัยและกล่าวหาพระองค์ว่าทรงนิยมศาสนาอิสลาม หลังจากที่ทรงพบกับปัญหาในช่วงไม่กี่ปี สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงถูกรัฐประหารและทรงถูกถอดออกจากราชบัลลังก์ เจ้าหญิงเซาดีตูทรงถูกเรียกพระองค์กลับมายังเมืองหลวง และในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2459 ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาและคริสตจักรออร์ทอดอกซ์เอธิโอเปีย เทวาฮีโดได้ประกาศการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 อย่างเป็นทางการและประกาศถอดถอนสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 ออกจากราชบัลลังก์ตามพระราชประสงค์ของพระนางเซาดีตู[2] พระนางเซาดีตูทรงเฉลิมพระนามอย่างเป็นทางการว่า \"ราชินีแห่งปวงราชันย์\" (\"Queen of Kings\"; Negiste Negest) เป็นการเปลี่ยนแปลงจากตำแหน่งเดิมคือ \"ราชาแห่งปวงราชันย์\" (\"King of Kings\"; Nəgusä Nägäst)", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "197300#4", "text": "ต่างประเทศ", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "265169#0", "text": "ขบวนการราสตาฟารี () หรือเรียกโดยย่อว่า ราสตา () เป็นขบวนการเชิงศาสนาประเภทเอกเทวนิยม (นับถือพระเจ้าองค์เดียว) โดยนับถือ สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย เสมือนพระเจ้าในร่างมนุษย์", "title": "ขบวนการราสตาฟารี" }, { "docid": "521504#4", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิก พระราชบิดาของพระนางทรงสถาปนาพระราชอำนาจสูงสุดภายในและพระเกียรติยศสู่ภายนอก โดยพระองค์ทรงทำการขยายอาณาเขตของจักรวรรดิและสถาปนาจักรวรรดิสมัยใหม่ได้สำเร็จในปีพ.ศ. 2441[1] นอกจากนี้สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรวรรดินิยมอิตาลีภายใต้สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลีที่ทรงต้องการยึดเอธิโอเปียเป็นอาณานิคมซึ่งทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิมีพระเกียรติยศขจรขจายไกลจาก ชัยชนะในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 1 ณ สมรภูมิแอดวา ถือเป็นการรับรองอิสรภาพของเอธิโอเปียจากมหาอำนาจภายนอกและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยตัวแทนในราชสำนักสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกและสามารถอธิบายเขตแดนกันชนกับอาณานิคมอื่นๆได้[1] สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2456 เจ้าชายลิจ อิยาซู พระราชโอรสในเจ้าหญิงชีวา เร็กกา พระขนิษฐาต่างมารดาของเจ้าหญิงเซาดีตู ซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นองค์รัชทายาทอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2452 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปียแต่ยังไม่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงเกรงว่า เจ้าหญิงเซาดีตูผู้เป็นพระมาตุจฉาทรงทำการคุกคามพระราชอำนาจโดยชอบธรรมของพระองค์ พระองค์จึงมีพระราชโองการให้เนรเทศเจ้าหญิงเซาดีตูและพระสวามีออกไปอยู่ชนบท อีกทั้งสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูยังทรงเนรเทศสมเด็จพระจักรพรรดินีเตย์ตู เบตุล ผู้เป็นพระอัยยิกาเลี้ยงออกจากพระราชวังหลวงและให้ไปประทับที่พระราชวังเก่าบนภูเขาเอ็นโตโต", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#12", "text": "เนกัสตาฟารีได้สืบราชบัลลังก์ต่อจากการสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู ในพระนาม สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#3", "text": "จากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสที่ 4 ในสมรภูมิกัลลาบัต (หรือ \"สมรภูมิเมเต็มบา\") จากการที่ทรงสู้รบกับมุสลิมมะห์ดีแห่งซูดาน เนกัสเมเนลิกแห่งชีวาทรงรับพระราชอำนาจและทรงดำรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แห่งเอธิโอเปียในปีพ.ศ. 2432 เหตุการณ์ครั้งนี้ถ่อเป็นการฟื้นฟูสายสืบราชสันตติวงศ์บุรุษ ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ผ่านสายสันตติวงศ์สตรี ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 พระนางเซาดีตูจึงทรงสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถพระองค์สุดท้ายซึ่งเป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์จากบุรุษแห่งราชวงศ์โซโลมอน เนื่องจากรัชทายาทของพระนางคือ สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย ทรงสืบราชสันตติวงศ์ผ่านทางสตรี", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "521504#7", "text": "ในขณะที่ชนชั้นสูงเอธิโอเปียซึ่งเป็นพวกอนุรักษนิยมโดยทั่วไปได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้แสดงความกระตือรือร้นน้อยเกี่ยวกับพระญาติของพระนางซึ่งมีมากมาย สมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวงเตย์ตู เบตุล พระมารดาเลี้ยงของพระนางเซาดีตูและเป็นพระปิตุจฉาในพระสวามีของพระนาง ได้เสด็จออกจากเมืองหลวงหลังการสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แต่ยังทรงมีความคลางแคลงพระทัยจากการที่ทรงทำการเล่นพรรคเล่นพวกอย่างเห็นได้ชัดซึ่งพระนางทรงกระทำการเป็นประจำในรัชสมัยของอดีตพระราชสวามี จากความพยายามที่จะขจัดอิทธิพลของสมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวง กลุ่มชนชั้นสูงได้กระทำการแต่งตั้งพระนัดดาของพระนาง(เจ้าชาย[ราส] กักซา เวลเล พระสวามีของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู)ให้ไปเป็นข้าหลวงปกครองในที่ห่างไกลเพื่อขจัดเจ้าชายออกจากอิทธิพลในราชสำนัก การกระทำการครั้งนี้ถือเป็นการต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวงเตย์ตู เบตุลแทนที่จะต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูซึ่งเชื่อว่าสร้างความขุ่นเคืองพระทัยสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูอย่างมาก สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูยังต้องทรงทนรับความรู้สึกผิดต่อการที่ทรงยึดพระราชบัลลังก์มาจากสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซู ซึ่งขณะนี้คือ เจ้าชายลิจ อิยาซู ผู้ซึ่งพระราชบิดาของพระนางมีพระราชประสงค์ให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ ในขณะที่พระนางทรงเชื่อว่าการยึดอำนาจสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูเป็นสิ่งที่จำเป็น พระนางทรงมีความเคารพในพระราชบิดาของพระนางอย่างมาก และไม่ทรงมีความสุขจากการที่ขัดพระราชประสงค์ของพระราชบิดา การที่ทรงต้องแยกจากพระราชสวามีและทรงรู้สึกผิดต่อการยึดราชบัลลังก์สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทำให้พระนางเซาดีตูไม่ทรงมีความสุขในขณะที่ดำรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ เป็นที่น่าสนใจแม้ว่า อดีตสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงปฏิบัติต่อพระนางอย่างน่ารังเกียจ แต่พระนางทรงให้ความรักและเอ็นดูอดีตสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซู พระราชนัดดาองค์นี้ยิ่ง และมีการกล่าวกันว่าทรงร่ำไห้อย่างข่มขื่นพระราชหฤทัยเมื่อมีการกล่าวว่าพระนางได้กลายเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถในขณะที่พระราชนัดดาของพระนางทรงถูกบัพพาชนียกรรมจากการที่ทรงเลิกศรัทธาในศานาคริสต์ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงพยายามละออกจากความรับผิดชอบหลักๆเหล่านี้อย่างมากขึ้นโดยทรงเข้าสู่โลกทางธรรมโดยการถือศีลอดและการสวดมนต์ จากการที่ทรงเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่ทรงได้รับการสืบทอดมา เจ้าชายราสตาฟารี มาคอนเนนจึงสามารถเข้ามามีอำนาจและอิทธิพลในราชสำนักได้", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "539305#0", "text": "รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในจักรพรรดิเอธิโอเปีย", "title": "รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในจักรพรรดิเอธิโอเปีย" }, { "docid": "972563#0", "text": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเมเนน อัสเฟาแห่งเอธิโอเปีย () เสด็จพะราชสภมพเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2432 ณ จักรวรรดิเอธิโอเปีย เป็นบุตรสาวของ อัฟฟาล จินติราแห่งอัมบาเซล และ ซ๊ฮิน มักลี ทรงเป้นพระภาคิไนย (หลานลุง) ใน สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปีย พระองค์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับ เดจามัส อาลี มีพระราชบุตรคือ ", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดินีเมเนน อัสเฟาแห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "493999#51", "text": "ในฐานะจักรพรรดิแห่งบราซิล พระองค์มีพระอิศริยยศเต็มว่า \"ท่านเปดรูที่ 1 , สมเด็จพระจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญและผู้ปกป้องตลอดกาลแห่งบราซิล\"\nในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส พระองค์มีพระอิสริยยศเต็มว่า \"ท่านเปดรูที่ 4 , พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ, แห่งอีกด้านหนึ่งของทะเลในทวีปแอฟริกา, ลอร์ดแห่งกีนีและแห่งผู้พิชิต, นาวิกราชและการค้าแห่งเอธิโอเปีย, อะราเบีย, เปอร์เซีย และอินเดีย, ฯลฯ\"", "title": "จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล" }, { "docid": "197300#3", "text": "จักรวรรดิเอธิโอเปีย", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" }, { "docid": "197300#0", "text": "เฮลี เซลาสซีที่ 1 (ภาษาอังกฤษ:Haile Selassie I) (ภาษาเกเอซ: แปลว่า \"ผู้เป็นพลังแห่งตรีเอกานุภาพ\" 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1892 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1975) เฮลี เซลาสซี ที่ 1 (Haile Selassie I) เดิมชื่อตาฟารี มาคอนเนน (Tafari Makonnen) เป็นผู้สำเร็จราชการของเอธิโอเปีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1916 ถึง ค.ศ. 1930 และยังเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเอธิโอเปีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง ค.ศ. 1974 อีกด้วย พระองค์เป็นรัชทายาทสืบเชื้อสายมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นเชื้อสายที่สืบย้อนไปถึงกษัตริย์โซโลมอนและราชินีชีบา พระองค์ยังจัดเป็นบุคคลสำคัญของทั้งประวัติศาสตร์เอธิโอเปียและประวัติศาสตร์แอฟริกาด้วย ", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย" } ]
4058
การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "120626#1", "text": "การฟื้นฟูกีฬาโอลิมปิกยุคโบราณได้ดึงดูดนักกีฬาจาก 14 ประเทศ ด้วยผู้แทนนักกีฬากลุ่มใหญ่จาก ประเทศกรีซ เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2439 นายเจมส์ คอนนอลลี่ ชาวอเมริกัน ชนะการแข่งขันกระโดดสามเท่า ซึ่งกลายเป็นผู้ชนะเลิศในโอลิมปิกคนแรกในรอบมากกว่า 150 ปี ผู้ชนะได้รับรางวัลเป็นเหรียญเงินและช่อโอลีฟ[1]", "title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 1896" } ]
[ { "docid": "715876#1", "text": "รอบคัดเลือกซึ่งจัดขึ้นในประเทศเยอรมนี มีทั้งหมด 8 ทีมได้แก่ เจ้าภาพ และ 7 ทีมจากอันดับทวีปยุโรป โดยจะมีเพียงทีมจาก 1 ทีม จะผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ตัวเลขในวงเล็บเป็นอันดับทวีปยุโรป เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2015 ยกเว้นเจ้าภาพอันดับที่ 4ในการแข่งขันหากผลว่ามีผลเท่ากันจะตัดสินตามลำดับดังนี้", "title": "วอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 – รอบคัดเลือกโซนยุโรป" }, { "docid": "715874#1", "text": "รอบคัดเลือกซึ่งจัดขึ้นในประเทศตุรกี มีทั้งหมด 8 ทีมได้แก่ เจ้าภาพ และ 7 ทีมจากอันดับทวีปยุโรป โดยจะมีเพียงทีมจาก 1 ทีม จะผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ตัวเลขในวงเล็บเป็นอันดับทวีปยุโรป เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2015 ยกเว้นเจ้าภาพอันดับที่ 4ในการแข่งขันหากผลว่ามีผลเท่ากันจะตัดสินตามลำดับดังนี้", "title": "วอลเลย์บอลหญิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 – รอบคัดเลือกโซนยุโรป" }, { "docid": "267833#10", "text": "ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 มีรายงานว่าค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก อาจจะมากกว่าการคาดการณ์งบประมาณเดิมถึงสี่เท่า และดังนั้นมีการเสนอให้มีการปรับปรุงแผนงาน เพื่อลดงบประมาณต่างๆ รวมถึงการย้ายสถานที่จัดการแข่งขันออกนอกกรุงโตเกียว\nเขตประวัติศาสตร์มีสถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 7 สถานที่ โดยเขตประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางของกรุงโตเกียว ซึ่งเขตนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านนักกีฬา สถานที่บางส่วนเคยจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964", "title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 2020" }, { "docid": "120640#0", "text": "โอลิมปิกฤดูร้อน 1964 หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 18 เป็นงานแข่งขันกีฬาหลายประเภทระหว่างประเทศจัดขึ้นในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 2 ถึง 18 ตุลาคม พ.ศ. 2507 โตเกียวได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1940 แต่เกียรตินี้ถูกส่งมอบแก่เฮลซิงกิเพราะการรุกรานจีนของญี่ปุ่น ก่อนจะถูกยกเลิกไปในที่สุดเพราะสงครามโลกครั้งที่สอง โอลิมปิกฤดูร้อนครั้งนี้เป็นโอลิมปิกครั้งแรกที่จัดในทวีปเอเชีย และเป็นครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ถูกห้ามเข้าร่วมแข่งขันเพราะระบบการถือผิวในกีฬา อย่างไรก็ดี แอฟริกาใต้ได้รับอนุญาตให้เข้าแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 1964 ซึ่งจัดในกรุงโตเกียวเช่นกัน และนับเป็นครั้งแรกที่แอฟริกาใต้เข้าแข่งขันพาราลิมปิก โตเกียวได้รับเลือกเป็นเมืองเจ้าภาพระหว่างสมัยประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่ 55 ในเยอรมนีตะวันตก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2502", "title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 1964" }, { "docid": "671141#0", "text": "วอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในร่ม ประเภททีมชาย ที่จะจัดแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ณ รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล มีจำนวนชาติที่เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 12 ทีมเป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย จำนวน 12 ทีม ภายใต้การกำกับดูแลการแข่งขันโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ร่วมกับ สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (เอฟไอวีบี) และนับเป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลในโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 14 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 7 สิงหาคม ถึง 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ที่ฌีนาซีอูดูมารากานังซิญญูในการแข่งขันหากผลว่ามีผลเท่ากันจะตัดสินตามลำดับดังนี้", "title": "วอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "135721#4", "text": "และล่าสุด เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2013 ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้มีมติ ให้ถอดถอนการแข่งขันกีฬาชนิดนี้ ออกจากการเป็นหนึ่งในชนิดกีฬาของการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน โดยจะมีผล หลังจากจบการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ซึ่งหมายความว่า นับจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020เป็นต้นไป จะไม่มีการแข่งขันกีฬามวยปล้ำในโอลิมปิกต่อไป", "title": "กีฬามวยปล้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน" }, { "docid": "135315#3", "text": "และในโอลิมปิกครั้งที่ 27 ปี 2000 มีการบรรจุปัญจกีฬาหญิงเป็นครั้งแรก ทำให้นักกีฬาชายลดจำนวนลงเหลือ 16 คนเท่ากัน เพราะแต่เดิมมีการแข่งขันเฉพาะประเภทชายเท่านั้น ซึ่งจะมีนักกีฬาแข่งขันทั้งหมด 32 คน", "title": "กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ในโอลิมปิกฤดูร้อน" }, { "docid": "290405#0", "text": "สนามแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 และพาราลิมปิก 2012 เป็นสนามแข่งขันกีฬาต่างๆ ทั้งหมดที่ใช้ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 20 หรือโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ", "title": "สนามแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012" }, { "docid": "844913#3", "text": "นครลอสแอนเจลิสเคยเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 1932 และโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 นอกจากนี้จะเป็นครั้งที่สามของนครลอสแอนเจลิสในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน หากได้รับสิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 หรือ โอลิมปิกฤดูร้อน 2028 นครลอสแอนเจลิสจะกลายเป็นเมืองแรกที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในประเทศสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่โอลิมปิกฤดูหนาว 2002 ณ เมืองซอลต์เลกซิตี และเป็นเมืองแรกที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันทั้งหมดสามครั้ง โดยในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นับเป็นวันครบรอบ 40 ปีของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 และวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นับเป็นวันครบรอบ 92 ปีของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1932 ณ นครลอสแอนเจลิส นอกจากนี้วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2571 นับเป็นวันครบรอบปีที่ 44 ของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 และวันที่ 30 กรกฎาคม 2028 เป็นวันครบรอบ 96 ปีของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1932 ณ นครลอสแอนเจลิส", "title": "การเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ของลอสแอนเจลิส" }, { "docid": "120627#0", "text": "กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนประจำปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ. 2443) หรืออย่างเป็นทางการว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 2 คือกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่จัดที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เดิมทีได้มีความพยายามที่จะให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นในกรีกเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ ปิแอร์ เดอ ดูเบอร์แตง ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ขึ้นมา ได้ยืนยันเจตนารมณ์เดิมที่จะให้มีการแข่งขันเวียนไปตามประเทศต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมการแข่งขันกีฬา", "title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 1900" }, { "docid": "606951#0", "text": "วอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 เป็นการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในร่ม ประเภททีมชาย ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร มีจำนวนชาติที่เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 12 ทีม ภายใต้การกำกับดูแลการแข่งขันโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ร่วมกับ สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (เอฟไอวีบี) และนับเป็นการแข่งขันครั้งที่ 13 ของกีฬาวอลเลย์บอลในโอลิมปิกฤดูร้อน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 12 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ที่อีเลส คอร์ต เอ็กฮิตบิชั่น เซนเตอร์ โดยวอลเลย์บอลชายทีมชาติรัสเซีย สามารถคว้าเหรียญทองไปครองได้เป็นสมัยแรก", "title": "วอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012" }, { "docid": "498294#1", "text": "ในทศวรรษที่ 70 ของเขา ณ ค.ศ. 1968 เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยดุ๊กและได้รับการยกย่องในฐานะ \"ความหวังของชายชรา\" เขาเป็นนักกีฬาที่มีอายุมากที่สุดในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และ 2012 โฮะเคะสึเป็นนักกีฬาโอลิมปิกที่มีอายุมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในการแข่งขันให้แก่ทีมชาติญี่ปุ่น และเป็นนักกีฬาโอลิมปิกที่มีอายุมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาเป็นอันดับสาม ถัดจากออสการ์ สวอห์น ซึ่งเป็นนักยิงปืนจากสวีเดนผู้ซึ่งชนะรางวัลเหรียญเงินในโอลิมปิกฤดูร้อน 1920 และอาเทอร์ ฟอน พอนเกรซ ผู้ซึ่งเข้าแข่งขันขณะมีอายุได้ 72 ปีในประเภทเดรสซาจในโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 ที่กรุงเบอร์ลิน", "title": "ฮิโระชิ โฮะเคะสึ" }, { "docid": "464112#1", "text": "อุทยานโอลิมปิกเริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันฤดูร้อนครั้งที่ 4 ในกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันระบุว่า การแข่งขันทั้งหมดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งประกอบด้วย ว่ายน้ำ ยิงธนู ฟันดาบ เป็นต้น จะจัดขึ้นบนทำเลเดียวกัน ซึ่งจะมีการจัดสร้างอัฒจันทร์ สำหรับกรีฑาประเภทลู่และกีฬาจักรยาน แต่การจัดตั้งศูนย์กีฬารวมในลักษณะนี้ มิได้ปรากฏในการแข่งขันทุกครั้งแต่อย่างใด โดยในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 16 เมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) และครั้งที่ 21 เมื่อปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) มีการกระจายสนามแข่งขันออกไปในวงกว้าง อนึ่ง ในปีหลังนี้มีสนามแข่งขันรายการนอร์ดิกสกีใช้ชื่อว่า “อุทยานโอลิมปิกวิสต์เลอร์” (Whistler Olympic Park) สำหรับในการแข่งขันฤดูร้อนครั้งที่ 31 ที่กรุงริโอเดจาเนโรของบราซิล ในปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) จะแบ่งสนามแข่งขันออกเป็น 4 กลุ่ม มากกว่าจะรวมกันอยู่ในอุทยานแห่งเดียว", "title": "อุทยานโอลิมปิก" }, { "docid": "682067#0", "text": "กีฬาลาครอส เป็นชนิดกีฬาที่เคยจัดแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน เพียง 2 ครั้ง คือในโอลิมปิกฤดูร้อน 1904 และ โอลิมปิกฤดูร้อน 1908 และถูกจัดแข่งขันเป็นกีฬาสาธิตอีก 3 ครั้ง ใน โอลิมปิกฤดูร้อน 1928 1932 และ 1948", "title": "กีฬาลาครอสส์ในโอลิมปิกฤดูร้อน" }, { "docid": "932273#0", "text": "การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถือเป็นกิจกรรมที่มีการแข่งขันหลายกีฬาใหญ่ที่สุด มีการคว่ำบาตรอยู่ทั้งหมด 7 ครั้งของการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน การคว่ำบาตรครั้งแรกเกิดขึ้นในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 และการคว่ำบาตรครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ประเทศโรดีเชียเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีสิทธิ์ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน เกิดเหตุเมื่อการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติยกเลิกการให้ประเทศโรดีเชียเข้าร่วม เนื่องจากบางประเทศในกลุ่มแอฟริกันประท้วง", "title": "รายการการคว่ำบาตรกีฬาโอลิมปิก" }, { "docid": "714090#7", "text": "วอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 รอบคัดเลือกซึ่งจัดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น มีทั้งหมด 12 ทีมได้แก่ เจ้าภาพ และ 11 ทีม การแข่งขันจะแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก (การแข่งขันทัวร์นาเมนต์ที่ 1) รวมกับการแข่งขันโอลิมปิกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย จะมีทีมที่ได้อันดับ 1–4 ทีมแรก ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ส่วนกลุ่มที่ 2 (การแข่งขันทัวร์นาเมนต์ที่ 2) ประกอบด้วย 4 ทีม และมีเพียงทีมจาก 1 ทีม จะผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016", "title": "วอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 รอบคัดเลือก" }, { "docid": "673419#0", "text": "จักรวรรดิรัสเซียในโอลิมปิก เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ตามประวัติศาสตร์แล้วรัสเซียเข้าร่วมแข่งขันในนามของหลายชาติด้วยกัน และจักรวรรดิรัสเชียเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1900 เป็นครั้งแรก ก่อนที่จะหยุดไปและกลับเข้าร่วมแข่งขันอีกครั้งในโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 และ โอลิมปิกฤดูร้อน 1912 และหลังจากการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 ก็ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันโอลิมปิกในนามสหภาพโซเวียต ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952", "title": "จักรวรรดิรัสเซียในโอลิมปิก" }, { "docid": "5513#50", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในวันที่ 27 กรกฎาคม และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในวันที่ 29 สิงหาคม ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังทรงร่วมแสดงคู่กับแดเนียล เคร็ก ผู้รับบทเป็นสายลับเจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์สั้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012[158] ด้านพระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงเคยเปิดการแข่งกันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 ส่วนพระปัยกา (ปู่ทวด) สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ก็ทรงเคยเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเคยเสด็จฯ ไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดามาแล้วครั้งหนึ่ง ด้านพระราชสวามี เจ้าชายฟิลิป ก็เคยเสด็จฯ ไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1956 ที่นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียด้วยเช่นกัน[159] ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขแห่งรัฐพระองค์แรกที่ได้ทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้งใน 2 ประเทศ[160]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "681669#0", "text": "กีฬาจักรยานในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันกีฬาจักรยานที่จะจัดขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 ถึง 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ครั้งนี้จักรยานถูกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท และ 18 รายการ เช่นเดียวกับกีฬาจักรยานในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โดยแข่งขันภายใน 4 สนาม ดังนี้บราซิลเป็นประเทศเจ้าภาพ ได้รับโควต้าโดยไม่ต้องผ่านรอบคัดเลือกใด ๆ", "title": "กีฬาจักรยานในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "315298#1", "text": "ประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้ร่วมเดินสวนสนามภายใต้ธงรวมเกาหลีในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย, โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ, โอลิมปิกฤดูหนาว 2006 ที่เมืองโตริโน ประเทศอิตาลี และในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขันกีฬารายการดังกล่าว ทั้งสองประเทศจะแยกกันแข่งขันกีฬาในนามของชาติตนเอง ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งนั้นได้วินิจฉัยว่าทั้งสองประเทศต้องเข้าร่วมแข่งขันแยกกันตามประเทศของตน ทำให้ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งนี้ไม่มีการใช้ธงรวมเกาหลี ธงรวมเกาหลีจะนำกลับมาใช้อีกครั้งในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 และ เอเชียนเกมส์ 2018.", "title": "ธงรวมเกาหลี" }, { "docid": "714575#6", "text": "วอลเลย์บอลหญิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 รอบคัดเลือกซึ่งจัดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น มีทั้งหมด 12 ทีมได้แก่ เจ้าภาพ และ 11 ทีม การแข่งขันจะแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก (การแข่งขันทัวร์นาเมนต์ที่ 1) รวมกับการแข่งขันโอลิมปิกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย จะมีทีมที่ได้อันดับ 1–4 ทีมแรก ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ส่วนกลุ่มที่ 2 (การแข่งขันทัวร์นาเมนต์ที่ 2) ประกอบด้วย 4 ทีม และมีเพียงทีมจาก 1 ทีม จะผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016", "title": "วอลเลย์บอลหญิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 รอบคัดเลือก" }, { "docid": "306345#0", "text": "ประเทศสิงคโปร์ เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 เมื่อแยกตัวออกจากอาณานิคมช่องแคบและส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเรื่อยมาจนถึงกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน พ.ศ. 2507 ซึ่งสิงคโปร์รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย หลังจากที่เป็นเอกราชจากมาเลเซียใน พ.ศ. 2508 สิงคโปร์ได้เข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกอีก และเข้าแข่งขันทุกครั้งยกเว้นกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน พ.ศ. 2523 สิงคโปร์ไม่เคยเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว แต่ได้พยายามจะเข้าแข่งขันใน พ.ศ. 2557 โดยได้สร้างสนามสเกตน้ำแข็งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555", "title": "ประเทศสิงคโปร์ในโอลิมปิก" }, { "docid": "671146#0", "text": "วอลเลย์บอลหญิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง จำนวน 12 ทีม ภายใต้การกำกับดูแลการแข่งขันโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ร่วมกับ สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (เอฟไอวีบี) และนับเป็นการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 14 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 6 สิงหาคม ถึง 20 สิงหาคม 2016 ที่ฌีนาซีอูดูมารากานังซิญญูในการแข่งขันหากผลว่ามีผลเท่ากันจะตัดสินตามลำดับดังนี้", "title": "วอลเลย์บอลหญิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "9698#25", "text": "คาดว่ามีนักกีฬาราว 10,800 คน จาก 204 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่านักกีฬาที่เข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 ซึ่งจัดที่กรุงลอนดอน และกีฬาเครือจักรภพ 2002 ซึ่งจัดที่แมนเชสเตอร์ โอลิมปิกครั้งนี้จึงเป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดในสหราชอาณาจักร", "title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 2012" }, { "docid": "185875#0", "text": "พิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2008 ณ สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง (สนามกีฬารังนก) กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยเริ่มเมื่อเวลา 20.00 น. (8:00 PM) ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 19.00 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยมีจาง อี้โหมว ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีนที่มีผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น \"Hero\", \"House of Flying Daggers\" และ\"Curse of the Golden Flower\" เป็นต้น และ จาง ฉีกัง รับหน้าที่กำกับการแสดง ซึ่งการแสดงทั้งหมดจะเน้นถึงอารยธรรมจีนโบราณ ผสมผสานกับความทันสมัยในโลกปัจจุบัน โดยใช้นักแสดงกว่า 15,000 คน พิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ได้รับคำชื่นชมว่าเป็นพิธีเปิดโอลิมปิกที่ดีที่สุดเท่าที่มีการจัดการแข่งขัน\nจาง อี้โหมว ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีนและจาง ฉีกัง ได้รับเลือกจากคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ให้เป็นผู้กำกับการแสดงร่วมกัน นอกจากนี้ในปี ค.ศ. 2006 คณะกรรมการยังได้เลือก สตีเว่น สปีลเบิร์ก อีเวส เปปิน และริก เบิร์ช เป็นคณะที่ปรึกษา แต่สปิลเบิร์กถอนตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 เนื่องจากไม่พอใจที่จีนสนับสนุนรัฐบาลซูดานในเหตุการณ์รุนแรงที่เขตดาฟูร์", "title": "พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008" }, { "docid": "185875#1", "text": "พิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 มีพระประมุข ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้แทนประเทศเข้าร่วมพิธีเปิดกว่า 100 ประเทศ ซึ่งมากที่สุดเท่าที่มีการจัดการแข่งขันโอลิมปิก สำหรับประเทศไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพิธีในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนายสมัคร สุนทรเวช เข้าร่วมในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย", "title": "พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008" }, { "docid": "135895#1", "text": "ในการประชุมไอโอซีเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เบสบอลและซอฟต์บอลถูกลงคะแนนเสียงออกจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร นับเป็นกีฬาชนิดแรกที่ถูกลงคะแนนออกจากโอลิมปิกนับตั้งแต่โปโลที่ถูกลงคะแนนเสียงออกในโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 การตัดออกดังกล่าวได้ตัดนักกีฬากว่า 300 คน จาก 16 ทีมออกจากโอลิมปิก 2012 ชนิดกีฬาที่ว่างลงสองชนิดถูกแทนที่ด้วยกอล์ฟและรักบี้ 7 คน ใน พ.ศ. 2559 การตัดสินใจดังกล่าวได้รับการยืนยันอีกครั้งในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ระหว่างการแข่งขันรอบชิงเหรียญทองแดงระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2548 ประธานไอโอซี ฌักส์ ร็อกก์ (Jacques Rogge) ให้สัมภาษณ์กับมาร์ค นิวแมนจาก MLB.com และอ้างเกณฑ์สารพัดที่เบสบอลต้องผ่านจึงจะกลับมาบรรจุในโอลิมปิกอีกครั้งว่า \"ในการที่จะอยู่ในโครงการโอลิมปิกนั้นเป็นประเด็นที่คุณต้องการความเป็นสากลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ คุณต้องมีกีฬาที่มีสิ่งเหล่านี้ คุณต้องมีผู้เล่นที่ดีที่สุด และคุณต้องยินยอมตาม WADA (องค์การควบคุมการใช้สารกระตุ้นโลก) อย่างเข้มงวด และเหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่ต้องมี เมื่อคุณมีทั้งหมดนั้น คุณต้องเอาชนะใจ (heart) คุณสามารถเอาชนะจิต (mind) แต่คุณยังต้องชนะใจด้วย\" มีการตัดสินใจอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ในการประชุมคณะกรรมการไอโอซีที่กรุงเบอร์ลิน ว่า เบสบอลจะไม่ถูกบรรจุในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ด้วย", "title": "กีฬาเบสบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน" }, { "docid": "672276#0", "text": "กีฬาวอลเลย์บอลในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลนานาชาติระดับเยาวชน อยู่ภายใต้การกำกับของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท วอลเลย์บอลในร่มประเภททีมหญิงและทีมชาย โดยจะหมุนเวียนจัดทุก ๆ สี่ปี วอลเลย์บอลได้รับการบรรจุเข้าเป็นรายการแข่งขันครั้งแรกในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ณ ประเทศสิงคโปร์ แต่ในการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2014 วอลเลย์บอลในร่มถูกแทนที่ด้วยวอลเลย์บอลชายหาด", "title": "กีฬาวอลเลย์บอลในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน" }, { "docid": "673549#0", "text": "สรุปเหรียญรางวัลโอลิมปิกเยาวชนตลอดกาล เป็นรายชื่อประเทศที่เคยได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชนทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว ตั้งแต่โอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ถึงโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2014 ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วมี 114 ชาติที่เคยได้รับเหรียญรางวัลอย่างน้อย 1 เหรียญจากการแข่งขัน แบ่งเป็น 111 ชาติในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนและอีก 30 ชาติในโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวที่ได้รับเหรียญรางวัล ", "title": "สรุปเหรียญรางวัลโอลิมปิกเยาวชนตลอดกาล" }, { "docid": "244122#0", "text": "สหรัฐอเมริกา เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้เข้าแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อนสมัยใหม่ทุกครั้ง ยกเว้นโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ที่กรุงมอสโกที่ได้รับการคว่ำบาตร คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งสหรัฐอเมริกาได้ทำการส่งนักกีฬารวม 596 คนไปยังกรุงปักกิ่ง (ชาย 310 คน และหญิง 286 คน) และได้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทุกรายการยกเว้นแฮนด์บอล", "title": "สหรัฐอเมริกาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008" } ]
4059
ศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดในโลกพบได้ที่ไหน?
[ { "docid": "220959#3", "text": "จิตรกรรมที่เก่าที่สุดพบที่ถ้ำโชเวท์ (Grotte Chauvet) ในประเทศฝรั่งเศสที่นักประวัติศาสตร์อ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปี เป็นภาพที่แกะและทาสารสีแดงและดำเป็นภาพม้า, แรด, สิงห์โต, ควาย, ช้างแมมมอธ, และมนุษย์ที่ส่วนใหญ่อยู่ในท่าล่าสัตว์ นอกจากฝรั่งเศสแล้วจิตรกรรมผนังถ้ำก็ยังพบทั่วโลกเช่นในที่อื่นในประเทศฝรั่งเศส, อินเดีย, สเปน, โปรตุเกส, จีน, ออสเตรเลียและอื่นๆ ความเห็นถึงสาเหตุที่เขียนและความหมายของภาพก็มีกันไปต่างๆ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาจจะเขียนภาพสัตว์เพื่อ “ยึด” เอาวิญญาณของสัตว์เพี่อจะได้ทำให้การล่าสัตว์ง่ายขึ้น หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อสักการะธรรมชาติรอบข้าง หรืออาจจะเป็นความต้องการธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการแสดงออก หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อเป็นการสื่อความหมายที่มีประโยชน์ก็ได้", "title": "ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม" } ]
[ { "docid": "4218#177", "text": "ภาพศิลป์ในถ้ำ ที่เก่าที่สุดพบในภาคเหนือของประเทศสเปนมีอายุกว่า 40,800 ปี ซึ่งอาจวาดโดย H. sapiens[214] แต่นักวิทยาศาสตร์บางพวกเสนอว่าอาจวาดโดย Neanderthal[215] ศิลปะรูปลักษณ์ทั้งของสัตว์และมนุษย์ ที่เก่าที่สุดของมนุษย์พบที่ประเทศเยอรมนี เป็นรูป 3 มิติชื่อว่า \"Venus of Willendorf\" สูง 6 ซม มีอายุ 35,000-40,000 ปีก่อน เป็นศิลปะรูปลักษณ์ของมนุษย์ที่เก่าที่สุดของโลก ที่เก่าของสัตว์พบที่ประเทศเยอรมนี เป็นรูป 3 มิติทำด้วยงาชื่อว่า \"Lion man of the Hohlenstein Stadel\" สูง 29.6 ซม มีอายุ 40,000 ปีเป็นศิลปะรูปลักษณ์ที่เก่าที่สุดของโลก[216] เครื่องดนตรี ที่เก่าที่สุดในโลกเป็นขลุ่ยทำด้วยงามีอายุ 42,000 ปี พบในประเทศเยอรมนี[217]", "title": "วิวัฒนาการของมนุษย์" }, { "docid": "66957#36", "text": "ทัวร์กอล์ฟอาวุโสไม่มีรายการเมเจอร์ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก เช่นเดียวกับในกอล์ฟหญิง ปัจจุบันมีการแข่งขันห้ารายการ ที่ได้รับสถานะเมเจอร์ในแชมเปียนทัวร์ของสหรัฐอเมริกา โดยในอดีตมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง แต่ว่าทุกครั้งจะเป็นการเพิ่มรายการใหม่ นั่นหมายความว่ายังไม่มีรายการได้ที่สูญเสียสถานะเมเจอร์ ห้ารายการในปัจจุบันได้แก่ ซีเนียร์พีจีเอแชมเปียนชิป ยูเอสซีเนียร์โอเพน ซีเนียร์บริติชโอเพนแชมเปียนชิป เดอะเทรดิชัน และซีเนียร์เพลเออร์สแชมเปียนชิป จากห้ารายการนี้ ซีเนียร์พีจีเอ เป็นรายการที่เก่าแก่ที่สุด โดยก่อตั้งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2480 รายการที่เหลือนั้น เพิ่งเริ่มเมื่อพุทธทศวรรษ 2520 เมื่อทัวร์กอล์ฟอาวุโสเริ่มประสบความสำเร็จทางการค้า แชมเปียนทัวร์ไม่ยอมรับสถานะเมเจอร์ของซีเนียร์บริติชโอเพนจนกระทั่งปีพ.ศ. 2546", "title": "กอล์ฟ" }, { "docid": "41865#1", "text": "ถ้าจะให้นึกถึงวงดนตรีแนวคันทรี่ร็อคสักวงที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังประมาณช่วงกลางทศวรรษที่ 2530 เข้าใจว่าอาจทำให้ใครหลายคนคงนึกยากสักหน่อย\nแต่ถ้าให้นึกว่ามีวงดนตรีไหนบ้าง ที่มีนักดนตรีทุกคนผมยาวสลวย สามารถร้องประสานเสียงกันอย่างลงตัว และมีสำเนียงแตกต่าง กว่าวงไหนดนตรีไหนๆในยุค ใครหลายคนคงนึกไม่ยาก\nหากจะให้ง่ายเข้าไปอีก คงไม่มีคนวัยสามสิบต้นๆคนไหนที่นึกไม่ออกบอกไม่ถูก หากจะถามว่า วงดนตรีวงไหนที่เปล่งประสานเสียงเพลงที่ว่า \n“...หมากเกมนี้ฉันก็รู้ว่าจะต้องลงเอยอย่างไร...” จนยังกระหึ่มอยู่ในใจของใครบางคนมาจนถึงบัดนี้ ใช่, วงดนตรีวงนั้น - วงดนตรีที่มีชื่อเหมือนกับจักรวรรดิ\nโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ \"อินคา\"", "title": "อินคา (วงดนตรี)" }, { "docid": "73076#0", "text": "พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ () หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่งแอนทีออก ในปี พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก และยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส", "title": "พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์" }, { "docid": "37010#6", "text": "และสิ่งที่พิเศษและดูแปลกตาก็คือโบสถ์ของวัดบางอ้อยช้างแห่งนี้ เพราะที่โบสถ์วัดบางอ้อยช้างมีสถาปัตยกรรมที่ถูกแต่งแต้มด้วยโทนสีร้อน และได้รับคำยืนยันว่าเป็นที่เดียวที่ใช้โทนสีร้อนในการตกแต่ง เพราะวัดส่วนใหญ่ที่เห็นจะใช้สีเย็นในการตกแต่ง ช่างเป็นวัดที่มีความหลากหลาย อีกวัดหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพื่อนๆ คนไหนสนใจอยากเห็นศิลปะโทนสีร้อนก็สามารถมาดูได้ที่วัดบางอ้อยช้างแห่งนี้", "title": "พีดีเอ" }, { "docid": "717748#63", "text": "ในปี ค.ศ. 1950 นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ดร. เอนริโก แฟร์มี ตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมมนุษย์จึงยังไม่พบเจออารยธรรมต่างดาว แล้วถามว่า \"แล้วทุกคนไปอยู่ไหนหมด\" \nเพราะอายุของเอกภพที่เก่าแก่ และจำนวนดาวฤกษ์ที่มีอยู่มากมาย ถ้าโลกไม่ผิดปกติ สิ่งมีชีวิตต่างดาวก็ควรจะมีอยู่อย่างสามัญ\nดังนั้น ทำไมจึงไม่มีหลักฐานว่ามีอารยธรรมต่างดาว คำถามนี้ รู้จักกันว่า พาราด็อกซ์ของแฟร์มี", "title": "ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก" }, { "docid": "216342#0", "text": "พิพิธภัณฑ์แอร์มิทาช (; ; ) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในประเทศรัสเซีย พิพิธภัณฑ์แอร์มิทาชเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งที่มีงานศิลปะในความครอบครองเป็นจำนวนราวสามล้านชิ้น และพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เก่าที่สุดในโลก งานศิลปะจำนวนมหาศาลตั้งแสดงอยู่ในอาคารหกหลัง อาคารเอกคือพระราชวังฤดูหนาวที่เคยเป็นที่ประทับของซาร์ แอร์มิทาชมีสาขาที่อัมสเตอร์ดัม, ลอนดอน, ลาสเวกัส และแฟร์ราราในอิตาลี พิพิธภัณฑ์แอร์มิทาชได้รับการบันทึกในหนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ว่าเป็นหอศิลป์ที่มีงานสะสมมากชิ้นที่สุดในโลก", "title": "พิพิธภัณฑ์แอร์มิทาช" }, { "docid": "872398#27", "text": "ปัจจุบัน มีมติร่วมกันในบรรดานักโบราณคดีว่า ศิลปะและวัฒนธรรมสัญลักษณ์แรกของโลกมาจากแอฟริกาใต้สมัย MSA\nวัตถุที่โดดเด่นมากที่สุด รวมทั้งดินสีแท่งสีแดงที่สลักลาย ผลิตขึ้นที่ถ้ำบลอมโบส์ในแอฟริกาใต้ 70,000 ปีก่อน\nลูกประคำที่ทำจากเปลือกหอยฝาเดียวสกุล \"Nassarius\" โดยเจาะรูแล้วระบายสีดิน ก็พบด้วยที่ถ้ำ โดยมีตัวอย่างที่เก่าแก่ยิ่งกว่านั้นจากวัฒนธรรมอะทีเรียนช่วง MSA ที่ Taforalt Caves\nส่วนหัวลูกศรและเครื่องมือทำหนังก็พบที่ถ้ำซิบูดู\nตลอดจนหลักฐานการทำอาวุธด้วยกาวผสมที่เผาไฟ", "title": "ยุคหินกลาง (แอฟริกา)" }, { "docid": "8157#4", "text": "ปัจจุบันสามารถพบเห็นกริฟฟินได้ทั่วไปจากงานศิลปะในหลาย ๆ วัฒนธรรม และพบได้ในตราประจำตระกูล รูปสัตว์ต่าง ๆ , ประติมากรรมเก่าแก่, โมเสกนูนต่ำ, นิทาน และในตำนานต่าง ๆ ทั่วโลก", "title": "กริฟฟอน" }, { "docid": "4775#3", "text": "เพชรบุรี (ศรีชัยวัชรบุรี) เป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณ เคยเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ อาณาจักรหนึ่ง บางสมัยมีเจ้าผู้ครองนครหรือกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระ บางสมัยอาจจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรที่เข้มแข็งกว่า เจ้าผู้ครองนครได้ส่งเครื่องบรรณาการไปยังเมืองจีนเป็นประจำ เพชรบุรีมีปรากฏเป็นหลักฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่น พระปรางค์ 5 ยอด ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร และปราสาทหินศิลาแลง ณ วัดกำแพงแลงเป็นต้น โดยที่มาของชื่อเมืองนั้นอาจเรียกตามตำนานที่เล่าสืบกันมาว่าในสมัยโบราณเคยมีแสงระยิบระยับในเวลาค่ำคืนที่เขาแด่น ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่ามีเพชรพลอยบนเขานั้นจึงพากันไปค้นหาแต่ก็ไม่พบ จึงได้ออกค้นหาในเวลากลางคืนแล้วใช้ปูนที่ใช้สำหรับกินหมากป้ายเป็นตำหนิไว้เพื่อมาค้นหาในเวลากลางวัน แต่ก็ไม่พบ บ้างก็ว่าเรียกตามชื่อของแม่น้ำเพชรบุรี เมืองเพชรบุรีมีศิลปวัตถุมากมาย เป็นหลักฐานที่แสดงว่าเพชรบุรีเคยเป็นบ้านเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชุมชนถาวรมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น ศิลปะปูนปั้น ทั้งนี้ก็เป็นไปได้ที่มีการเปลี่ยนชื่อ \"วัชรปุระ\" เป็น \"เพชรบุรี\" จากแผลงคำในชื่อ \"วัชร\" เป็น \"เพชร\" โดยเปลี่ยนจาก \"ว\" เป็น \"พ\"", "title": "จังหวัดเพชรบุรี" }, { "docid": "4918#0", "text": "ในคณิตศาสตร์ ข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาค (Goldbach's conjecture) เป็นหนึ่งในปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ที่เก่าแก่ที่สุดในทฤษฎีจำนวน และในคณิตศาสตร์ ซึ่งกล่าวว่า\nตัวอย่างเช่น", "title": "ข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาค" }, { "docid": "12431#63", "text": "เขาเรียกร้องให้ประชาชนชาวอเมริกันเข้าร่วมมวลชนประท้วงต่อต้านบุช และเรียกร้องเหล่าผู้นำทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีสิทธิ์วีโต้ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ให้ต่อต้านบุชด้วย[126] \"สิ่งที่ข้าพเจ้าประณามคือ อำนาจหนึ่งในมือของประธานาธิบดีผู้ไร้วิสัยทัศน์และไม่สามารถคิดได้อย่างเหมาะสม กำลังทุ่มโลกใบนี้ให้แหลกพินาศ\" เขายังกล่าวโจมตีสหรัฐอเมริกาด้วยเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง \"ถ้าจะมีประเทศไหนต้องรับผิดชอบกับความร้ายกาจขนาดที่ไม่อาจกล่าวออกมาได้ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ประเทศนั้นก็คือสหรัฐอเมริกา พวกเขาไม่สนใจอะไรเลย\"[125]", "title": "เนลสัน แมนเดลา" }, { "docid": "191420#0", "text": "สถาบันศิลปะดึสเซิลดอร์ฟ () คือโรงเรียนศิลปะแห่งเมืองดึสเซิลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากศิลปินศิษย์เก่าชื่อ Joseph Beuys", "title": "สถาบันศิลปะดึสเซิลดอร์ฟ" }, { "docid": "144889#54", "text": "ประตูหน้าและประตูอื่นๆ ถูกควบคุมโดยวันเสาร์เลอเลิศ เธอมีอำนาจในการส่งเปิด/ปิดประตูไหนก็ได้ รวมทั้งประตูหน้าด้วย ประตูที่สถานีบนในผืนดินไกลสามารถเปิดเป็นประตูหน้าได้ในช่วงสั้นๆ หากรู้เวทมนตร์ ประตูที่จะพาไปยังทะเลกั้นอาณาเขตอยู่ในท่าเรือวันพุธเก่าซึ่งไม่สามารถเปิดได้เพราะน้ำทะเลจะทะลักเข้ามา ประตูในวงกตยิ่งใหญ่ที่ประตูหน้าสามารถเปิดไปได้ไปยังป้อมกลางได้ที่เดียว เมื่อเราเข้าประตูไปแล้ว ประตูนั้นจะพาผู้เดินทางไปยังที่ที่มันเปิด เราไม่สามารถเปลี่ยนไปที่อื่นได้ นั่นคือกฎของประตู วันเสาร์ได้สั่งปิดประตูหน้าเพื่อไม่ให้อาเธอร์เดินทางมายังบ้านเบื้องกลางได้", "title": "บ้าน (อาณาจักรแห่งกาลเวลา)" }, { "docid": "9066#1", "text": "ด้วยคำจำกัดความหลายแบบของมหาวิทยาลัย จึงเป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่ามหาวิทยาลัยไหนเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีกล่าวถึงมหาวิทยาลัยของเพลโต ในช่วงราว พ.ศ. 200 ว่าเป็นมหาวิทยาลัยในยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามมีการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า มหาวิทยาลัยโบโลญญา ในเมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1631 (ค.ศ. 1088) ถัดมาคือ มหาวิทยาลัยปารีส ในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1693 (ค.ศ. 1150) และถัดมาคือ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในเมืองออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1710 (ค.ศ. 1167)", "title": "มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "748273#0", "text": "ศิลปะการต่อสู้เกาหลี (อักษรฮันกึล: 무술 หรือ 무예, อักษรฮันจา: 武術 หรือ 武藝) คือหลักปฏิบัติหรือยุทธวิธีทางการต่อสู้ที่มีการบันทึกลงในประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลี แต่ได้รับการดัดแปลงให้ใช้งานได้เพื่อจุดประสงค์ทางทหารและเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ส่วนบุคคล ศิลปะการต่อสู้ใช้อาวุธที่มีชื่อเสียงของเกาหลีคือการยิงธนูและกีฬาฟันดาบคึมโดซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกีฬาฟันดาบเค็นโดของญี่ปุ่น ศิลปะการต่อสู้มือเปล่าของเกาหลีที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเทควันโดและฮับกีโด กระนั้น ศิลปะการต่อสู้เก่าแก่เช่นมวยปล้ำชีรึมและมวยใช้เท้าแทกย็อนก็เริ่มเป็นที่นิยมทั้งในและนอกประเทศเกาหลีแล้ว ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ลงชื่อมวยแทกย็อนให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ นอกจากนั้นยังมีการฟื้นฟูศิลปะการฟันดาบดั้งเดิมของเกาหลีรวมทั้งการต่อสู้ด้วยมีดและธนู ปัจจุบัน ศิลปะการต่อสู้เกาหลีได้รับการฝึกสอนอย่างแพร่หลายทั่วโลก ผู้คนมากกว่าหนึ่งในร้อยจากทั่วโลกได้ฝึกฝนเทควันโดอย่างน้อยหนึ่งรูปแบบ", "title": "ศิลปะการต่อสู้เกาหลี" }, { "docid": "323076#4", "text": "ความสัมพันธ์กับบริเวณอื่นของวัฒนธรรมลาแตนจะเห็นได้จากโบราณวัตถุจากต่างแดนที่ฝังไว้ในหลุมศพของชนชั้นสูง อิทธิพลที่มีต่อลักษณะของงานศิลปะของวัฒนธรรมลาแตนก็ได้แก่จากอารยธรรมอีทรัสคัน, กลุ่มชนอิตาลิคโบราณ, ศิลปะยุคกรีก และซิทเธีย เครื่องปั้นดินเผาของกรีกที่สามารถบ่งเวลาที่สร้างได้ที่พบในแหล่งโบราณคดีลาแตน และการวิจัยด้วยการฉายความร้อน (thermoluminescence) และ กาลานุกรมต้นไม้ ทำให้ทราบถึงช่วงเวลาของลำดับงานของแหล่งโบราณคดีลาแตนบางแหล่ง", "title": "วัฒนธรรมลาแตน" }, { "docid": "282017#0", "text": "กรากุฟ (Polish: Kraków) หรือ คราเคา (English: Krakow หรือ Cracow) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและเก่าแก่ที่สุดในโปแลนด์และเป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมของนักท่องเที่ยว[1][2]เขตเมืองเก่าได้รับการบรรจุอยู่ในรายชื่อมรดกโลก[3] เมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวิสตูลาในจังหวัดมาวอปอลสกา (เลสเซอร์โปแลนด์) เมืองมีที่มาตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 7[4] กรากุฟเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางชั้นนำอย่างมีแบบแผนของสถาบันการศึกษาโปแลนด์ วัฒนธรรมและชีวิตศิลปะ และยังเป็นหนึ่งเมืองศูนย์กลางสำคัญด้านธุรกิจของโปแลนด์ เป็นเมืองหลวงของโปแลนด์ระหว่างปี ค.ศ. 1038 ถึง ค.ศ. 1596 เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งคราเคาระหว่างปี ค.ศ. 1846 ถึง ค.ศ. 1918 และเมืองหลวงของจังหวัดคราครูฟระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงปี ค.ศ. 1999 และปัจจุบันเป็นเมืองหลักของจังหวัดมาวอปอลสกา", "title": "กรากุฟ" }, { "docid": "13089#20", "text": "นอกจากนี้ ถวัลย์ ดัชนี ยังเป็นกรรมการตัดสินงานศิลปกรรมแห่งชาติ รางวัลจิตรกรรมบัวหลวง รางวัลศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย รางวัลพานาโซนิค ศิลปะร่วมสมัยมาตลอดระยะเวลา ๒๕ ปี เป็นมาสเตอร์เอเชีย อบรมยุวศิลปินทั่วเอเชีย ๑๐ ประเทศ เป็นอาจารย์ในพำนักสอนศิลปะ ปรัชญาทั้งในยุโรป อเมริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และหลายมหาวิทยาลัย สถาบันศิลปะหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศให้ทุนวิจัยศิลปินในพำนักที่บ้านดำ นางแล มาตลอด ๒๕ ปี แก่ศิลปินทั่วโลกโดยทุนส่วนตัว ทะนุบำรุงจิตรกร ปฏิมากร คีตกร นาฏกร ทั้งในและต่างประเทศมาตลอดเวลาของชีวิต เขียนบทนำ บทความแนะนำตัวผู้รังสรรค์ศิลปะมาโดยตลอด หลังจากอายุ ๖๐ ปี ร่วมมือกับชาวสล่าเชียงรายทำงานเผยแพร่อนุรักษ์ วิจัยระบบนิเวศวิทยาเชิงศิลปะ และรวบรวมงานศิลปะทางมานุษยวิทยา พัฒนาไปสู่ความร่วมสมัยเป็นประธานและหัวหน้าคณะทำงานจิตวิญญาณตะวันออก ลมหายใจไทย ร่วมมือกับบุญชัย เบญจรงคกุล ดีแทค จัดประกวดงานศิลปะร่วมสมัยขึ้นเป็นปีแรก ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ เขียนตำรากายวิภาคคน สัตว์ แมลง สัตว์เลื้อยคลาน และนก จัดพิมพ์โดยสหประชาชาติ ร่วมมือกับ มร.โคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ให้ทุนวิจัยดนตรี กวีและการละเล่นพื้นเมือง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ทุนแก่ยุวจิตรกรเชียงรายที่เขียนภาพผนังหลายวัดในจังหวัดเชียงราย ร่วมมือกับไร่แม่ฟ้าหลวง สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงราย จัดนิทรรศการหมุนเวียนมาตลอด ๒๕ ปี ให้ทุนสนับสนุนสมาคมศิษย์เก่าเพาะช่าง มหาวิทยาลัยศิลปากรมาโดยตลอด [4]", "title": "ถวัลย์ ดัชนี" }, { "docid": "47958#0", "text": "ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน มีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องจากศิลปะทวารวดีและลพบุรีมาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อพญามังรายได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่", "title": "ศิลปะล้านนา" }, { "docid": "957288#0", "text": "ราชสถานศิลปะการละคร (, หรือ สถาบัน RADA) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางศิลปะการละคร ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ให้การศึกษาและฝึกอบรมทางด้านภาพยนตร์ โทรทัศน์ และโรงละคร เป็นสถาบันสอนศิลปะการแสดงละครที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1904 โดยเฮอร์เบิร์ต เบียร์บุช ทรี", "title": "ราชสถานศิลปะการละคร (ประเทศอังกฤษ)" }, { "docid": "138472#5", "text": "ทั้งสองมีธิดา 2 พระองค์ และบุตร 1 พระองค์ ดังนี้\nหลังจากสมรสแล้ว ก็ทำงานต่าง ๆ เพื่อแบ่งเบาภาระของบิดามารดาของสามี เธอสนใจเรื่องศิลปะเป็นพิเศษ อย่างเช่น เมื่อเหตุสงครามยูโกสลาฟ เมื่อระหว่างปีพ.ศ. 2534 ถึงพ.ศ. 2544 สงบลง เธอก็ลงพื้นที่ประเทศยูโกสลาเวียเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือผู้บาดเจ็บจากภัยสงคราม นอกจากนี้ด้วยความสนใจในศิลปะแล้ว เธอยังทรงช่วยปกป้องสถานที่ที่เป็นมรดกโลก หรือสถานที่เก่าแก่ต่าง ๆ ของประเทศ โดยทรงบูรณปฏิสังขรณ์โบสถ์ หรือสถานที่เก่าแก่อันเป็นผลงานศิลปะชิ้นเอกที่ถูกทำลายจากภัยสงคราม ", "title": "ฟรันเซสกา ฟอน ฮับส์บูร์ก" }, { "docid": "322871#5", "text": "เครื่องดนตรียุคกลางที่เก่าแก่ที่สุดก็คือเสียงของมนุษย์ การเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในยุคมืด (Dark Ages) และในช่วงต้นยุคกลาง (Middle Ages) ก่อให้เกิดบทสวด Hymns และบทเพลงทางโลกขึ้น โดยออร์แกนที่เล่นในโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดย้อนกลับไปได้ถึงศตวรรษที่ 8(ค.ศ. 700-709) และเครื่องดนตรีในยุคกลางหลายชนิดก็เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีสมัยใหม่", "title": "ศิลปะสมัยกลาง" }, { "docid": "249056#1", "text": "ไรเชอเนาได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปีค.ศ. 2000 ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม เพราะเป็นที่ตั้งของอาราม คือ \"อารามไรเชอเนา\" อาสนวิหารของแอบบีย์อุทิศให้แก่พระแม่มารีย์และนักบุญมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร โบสถ์อีกสองแห่งอุทิศให้แก่นักบุญจอร์จ และนักบุญเปโตรและเปาโลอัครทูต งานศิลปะที่สำคัญของไรเชอเนาก็รวมทั้งงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบออทโท (Ottonian Renaissance) ที่เป็นภาพปาฏิหาริย์ของพระเยซูภายในโบสถ์เซนต์จอร์จที่เป็นงานที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ผู้ดูแลแอบบีพำนักอยู่ในบ้านสองชั้นที่เป็นบ้านแบบบ้านโครงไม้ (timber framing) ที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นบ้านโครงไม้ที่เก่าที่สุดในทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ", "title": "เกาะไรเชอเนา" }, { "docid": "34007#3", "text": "ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถมีวิหารน้อยที่สร้างขึ้นโดยพระยาชัยวิชิต (เผือก) ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีรูปแบบลอกเลียนมาจากพระอุโบสถ แต่ลดขนาดให้เล็กลงกับทั้งเปลี่ยนหน้าบันให้เป็นลายพรรณษาตามความนิยมของศิลปะในช่วงนั้น ด้านในวิหารน้อยยังมีภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องการค้าสำเภาและพุทธชาดกต่าง ๆ และภายในประดิษฐาน พระคันธารราฐ พระพุทธรูปสมัยทวารวดีขนาดใหญ่ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ อยุธยา เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมคงประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดนครปฐมมาก่อน และได้ย้ายมายังวัดมหาธาตุ อยุธยา ราวรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็เป็นได้ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปศิลาเขียวประทับนั่งห้อยพระบาทที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน[7] ซึ่งมีอยู่ไม่กี่องค์ในเมืองไทยเวลานี้ ความเก่าแก่นั้นกล่าวได้ว่าเก่าแก่ก่อนสมัยสุโขทัย ไล่เลี่ยกับยุคสมัยของโบโรบูดูร์ หรือบรมพุทโธ บนเกาะชวาในอินโดนีเซียเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว นับเป็น 1 ใน 6 พระพุทธรูปที่สร้างจากศิลาที่มีอยู่ในโลก เป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่ามาก[8]", "title": "วัดหน้าพระเมรุ" }, { "docid": "385826#23", "text": "คณะทำงานฝ่ายสามมิติได้ตั้งอยู่บทการเข้าถึงความสุนทรีย์ทางศิลปะ มากกว่าจะเพ่งเป้าหมายไปยังความเหมือนจริง โรเบิร์ต นิวแมน (Robert Neuman) ผู้ควบคุมมุมมองสามมิติของภาพยนตร์ กล่าวว่า \"เรากำลังจมดิ่งสู่ความนุ่มลึกอย่างเป็นศิลปะมากกว่าครั้งไหน ๆ และเราก็ไม่ได้ใส่จะถ่ายทอดความลึกซึ้งของกล้องกับมุมภาพอย่างตรงไปตรงมา หากเราใฝ่ใจจะตีความมันมากกว่า\" ในการนี้ คณะทำงานได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เรียก \"มัลติ-ริกกิง\" (multi-rigging) ที่สร้างขึ้นจากกล้องเสมือนจริงจำนวนหลายคู่ แต่ละคู่ทำหน้าที่อย่างเป็นเอกเทศของตนในแต่ละองค์ประกอบเป็นราย ๆ ไป โดยจะเพิ่มความลึกซึ้งให้แก่ฉาก เช่น ในฉากหลัง, ฉากหน้า และลีลาตัวละคร โดยไม่เกี่ยวโยงกับกล้องคู่อื่น ๆ เลย พอนำกล้องทั้งหมดมาประสมกันในการผลิตขั้นตอนต่อมา จะได้ผลลัพธ์เป็น \"อะไรบางอย่างที่เป็นไปไม่ได้โดยทัศนวิสัยในโลกจริง แต่ก็สร้างภาพลักษณ์น่าดึงดูดให้แก่ภาพยนตร์\"[22]", "title": "ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ" }, { "docid": "872398#4", "text": "กำเนิดวัฒนธรรม MSA โดยมากจะกำหนดโดยการเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีหินแบบอะชูเลียน (Acheulian) ไปเป็นแบบ MSA\nซึ่งพิจารณาว่าเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ ที่เทคโนโลยีมนุษย์ก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว\nแม้ว่าการเปลี่ยนเช่นนี้จะมีอายุต่าง ๆ กัน โบราณสถาน MSA เก่าแก่ที่สุดอันหาอายุน่าเชื่อถือได้ที่สุดก็คือ Gademotta Formation ในเอธิโอเปีย ซึ่งเก่าแก่เกิน 276,000 ปีก่อน", "title": "ยุคหินกลาง (แอฟริกา)" }, { "docid": "639637#1", "text": "มิวสิกวิดีโอเพลง \"เหนื่อยไหมหัวใจ\" เผยแพร่เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556 มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยึดติด และอาลัยกับรักที่ผ่านพ้นไปของคนหนึ่งคน อาจจะด้วยหลายๆ สิ่งที่ทำให้ต้องเลิกราจนทำให้ต้องไกลจากกัน แต่ถึงกระนั้นระยะทางก็ไม่อาจปิดกั้นความรักและความเป็นห่วงที่ยังคงอยู่แม้ว่าอยากจะลืมมันแค่ไหนก็ตามก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงและเป็นห่วง ภาพเก่ายังคงเป็นเงาตามตัว ได้แต่คิดเป็นห่วงและอยากจะรู้ว่าอีกคนเป็นเช่นไร มีใครดูแลไหมและเป็นสุขใจอยู่หรือเปล่า", "title": "เหนื่อยไหมหัวใจ" }, { "docid": "78304#1", "text": "มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชนชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ ดังปรากฏในประวัติศาสตร์และพงศาวดารมาทุกยุคทุกสมัย เป็นการใช้อาวุธของร่างกาย 9 อย่าง หรือที่เรียกว่า นวอาวุธ ได้แก่ มือ 2/เท้า 2/ เข่า 2/ ศอก 2 และศีรษะ 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของโลก จากความสำคัญดังกล่าวมานี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ซึ่งจะเป็นมาตรการสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในคุณค่าการยกย่ององค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ", "title": "วันมวยไทย" }, { "docid": "665#4", "text": "การค้นพบโครงกระดูกฟันกรามเมาเออร์ 1 (Mauer 1) ได้ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์มีการตั้งรกรากในบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบันมาตั้งแต่ 600,000 ปีที่แล้ว[9] เครื่องไม้เครื่องมือในการล่าสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกถูกค้นพบในเหมืองถ่านหินบริเวณเมืองเชินนิงเงิน ซึ่งได้ค้นพบทวนไม้โบราณสามเล่มที่ฝังอยู่ใต้ผืนดินมาเป็นเวลากว่า 380,000 ปี[10] นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบฟอสซิลมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ \"นีแอนเดอร์ทาล\" เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งคาดว่ามีอายุกว่า 40,000 ปี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบหลักฐานของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันในถ้ำของเทือกเขาแอลป์ชวาเบินใกล้กับเมืองอุล์ม และยังมีการค้นพบเครื่องเป่าที่ทำจากงาช้างแมมมอธและกระดูกของนกอายุกว่า 42,000 ปี ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการค้นพบ[11] นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรูปสลัก \"ไลออนแมน\" ที่ตัวเป็นคนหัวเป็นสิงโตจากยุคน้ำแข็งเมื่อ 40,000 ปีก่อน ถือเป็นงานศิลปะอุปมาเลียนแบบกายมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยมีการค้นพบ[12]", "title": "ประเทศเยอรมนี" } ]
4061
เมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือมีชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "2519#0", "text": "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(English: Democratic People's Republic of Korea: DPRK; Korean:조선민주주의인민공화국;Hanja:朝鮮民主主義人民共和國) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (English: North Korea; Korean:북한;Hanja:北韓) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย", "title": "ประเทศเกาหลีเหนือ" } ]
[ { "docid": "227202#0", "text": "เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักรโคกูรยอโบราณ () คือแหล่งมรดกโลกที่ประกอบด้วยแหล่งโบราณคดีในเมือง 3 เมือง ได้แก่ เมืองอู๋หนิ่ว ในมณฑลเหลียวหนิง เมืองกั๋วเน่ย (กุกแนซง - ตามภาษาเกาหลี) และหวันตู (ฮวันโด - ตามภาษาเกาหลี) ในมณฑลจี๋หลิน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และสุสานอีก 40 แห่ง ซึ่งเป็นของราชวงศ์ 14 แห่ง และขุนนาง 26 แห่ง ทั้งหมดแสดงถึงร่องรอยวัฒนธรรมโกคูรยอซึ่งได้มีอำนาจเหนือบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนและคาบสมุทรเกาหลี ในช่วง 277 ปีก่อน ค.ศ. จนถึง ปี ค.ศ. ที่ 668", "title": "เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักรโคกูรยอโบราณ" }, { "docid": "137845#17", "text": "จากมุมมองของนายลีที่มีต่อเกาหลีเหนือ เขาได้ประกาศแผนที่ให้เกาหลีเหนือเข้ามามีส่วนร่วมโดยผ่านทางการลงทุน นายลีได้ให้สัญญาว่าจะจัดตั้งคณะที่ปรึกษากับทางเกาหลีเหนือเพื่ออภิปรายถึงการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ คณะที่ปรึกษาชุดนี้จะมีคณะที่ปรึกษาย่อยด้าน เศรษฐกิจ การศึกษา การเงิน โครงสร้างพื้นฐานและสวัสดิการและกองทุนรวมกว่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เขาได้สัญญาที่จะจัดทำข้อตกลงในการสร้างชุมชนเศรษฐกิจในเกาหลีเพื่อตั้งกรอบการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นระบบสำหรับโครงการที่เกิดจากการเจรจา นายลียังได้เรียกร้องให้มีการรวมตัวกันของสำนักงานให้ความช่วยเหลือในเกาหลีเหนือเพื่อเป็นการช่วยเหลือทางด้านมนุษยชนเกี่ยวกับด้านนิวเคลียร์ นโยบายต่างประเทศของเขามีชื่อว่า หลัก เอ็มบี ซึ่งให้การสนับสนุน “ความร่วมมือ” ของเกาหลีเหนือและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างสหรัฐ อเมริกาและเกาหลี", "title": "อี มย็อง-บัก" }, { "docid": "927635#1", "text": "เมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือที่ 12 ได้นำกองกำลังบุกยึดเมืองทั้งหมดในปริมณฑลปูซาน แต่กองกำลังเกาหลีใต้ที่ 8 และ กองกำลังเมืองหลวงเกาหลีใต้ได้ปกป้องเมืองทั้งหมดในปริมณฑลปูซาน มีการรบอยู่ระหว่างสองกำลัง ได้แก่ กองกำลังเกาหลีเหนือที่ 12 และ กองกำลังเกาหลีใต้ที่ 8 แต่กองกำลังที่ได้รับความเสียหายที่สุดคือ กองกำลังเกาหลีเหนือที่ 12 โดยกองกำลังถูกโจมตีทางอากาศทำให้ทหารในกองกำลังเสียชีวิต 600 คน, รถถังถูกทำลาย 11 คัน จาก 30 คัน, ผู้บัญชาการกองกำลังเกาหลีเหนือที่ 12 ถูกสังหาร ในเวลาต่อมากองกำลังเกาหลีเหนือที่ 12 ถูกโจมตีอย่างมากจึงทำให้ขอยอมจำนน", "title": "ยุทธการที่อันดง" }, { "docid": "6152#0", "text": "ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน: , พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ [4] เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2017 ทั่วกรุงเปย์จิงมีประชากร 21,107,000 คน[5] กรุงปักกิ่งเป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีนและก็เป็นเมืองท่อง เที่ยวที่มีชื่อดังทั้งในประเทศจีนและในโลก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีกำแพงเมืองจีน พระราชวังโบราณ หอสักการะฟ้าเทียนถัน สุสานจักรพรรดิสมัยราชวงศ์หมิง วังพักร้อนอี๋เหอหยวนและภูเขาเซียงซาน เป็นต้น ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูงๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก", "title": "ปักกิ่ง" }, { "docid": "400660#0", "text": "ว็อนซัน () เป็นเมืองท่า ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลญี่ปุ่น ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเกาหลีเหนือ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดคังว็อน เมืองมีประชากรราว 331,000 คน (ในปี ค.ศ. 2000) เป็นเมืองวิศวการและเป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรม", "title": "ว็อนซัน" }, { "docid": "15673#0", "text": "ซีอาน () เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนซีอาน เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเมืองหนึ่ง ความหมาย: \"ความสงบสุขทางตะวันตก\") เป็นเมืองหลวงของมณฑลส่านซี ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์จีน ในอดีตซีอานได้เป็นเมืองหลวงของ 13 ราชวงศ์ รวมทั้ง โจว ชิน ฮั่น และ ถัง ซีอานยังเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางสายไหม ซีอานมีประวัติอันยาวนานมากกว่า 3,100 ปี โดยชื่อเดิมว่า ฉางอาน (长安, 長安 พินอิน: Cháng'ān) ซึ่งมีความหมายว่า \"ความสงบสุขชั่วนิรันดร์\" ซีอานเป็นเป็นเมืองที่เจริญและใหญ่ที่สุดในส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน และเป็น 1 ใน 10 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน", "title": "ซีอาน" }, { "docid": "447817#2", "text": "ชุงนัมเป็นเพียงจังหวัดเดียวนอกจาก[[เขตปริมณฑลและเมืองหลวงแห่งชาติ (เกาหลีใต้)|เขตปริมณฑลและเมืองหลวงแห่งชาติโซล]]ที่มี[[รถไฟไต้ดินโซล สาย1]] ผ่าน พร้อมกับโครงการหลายล้านดอลลาร์ เช่น ศูนย์กลางเมืองอันซานใหม่พร้อมกับการสร้าง[[สถานีรถไฟโชนัน-อันซาน]]ใหม่ ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างเมือง[[โชนัน]] เมืองที่ใหญ่ที่สุดในชุงนัมไปยัง[[สถานีรถไฟโซล]] โดยรถไฟหัวกระสุน[[เคทีเอ๊กซ์]] ซึ่งจะใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที โชนันและอันซานเป็นสองเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กันในจังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของตึกสูงระฟ้าเพนทาพอร์ต โดยมีจำนวน 66 ชั้นและยังเป็นศูนย์กลางของห้างสรรพสินค้าแกลรอเลีย ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียงชาวดัตช์ [[เบน วาน เบอร์เคล]] [[หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศเกาหลีใต้]]\n[[หมวดหมู่:จังหวัดชุงช็องใต้| ]]", "title": "จังหวัดชุงช็องใต้" }, { "docid": "66807#3", "text": "อนึ่ง เพลงชาติของเกาหลีเหนือก็มีชื่อว่าแอกุกกาเช่นกัน หากแต่การสังเกตว่าเพลงแอกุกกาเพลงใดเป็นของเกาหลีเหนือหรือเกาหลีใต้ ให้ดูที่การสะกดในอักษรโรมันเป็นหลัก เพราะการถ่ายเสียงเป็นอักษรโรมันของเกาหลีใต้กับเกาหลัเหนือเป็นคนละระบบกัน โดยเพลงชาติเกาหลีใต้จะเขียนว่า \"Aegukga\" ส่วนของเกาหลีเหนือจะเขียนว่า \"Aegukka\"", "title": "แอกุกกา (ประเทศเกาหลีใต้)" }, { "docid": "564280#0", "text": "หอคอยชูเช (ชื่อทางการ หอคอยแห่งปรัชญาชูเช) เป็นหอคอยแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ ตั้งแต่ตามปรัชญาชูเช ซึ่งคิดค้นโดยคิม อิล-ซ็อง เพื่อแสดงถึงแนวความคิดและชาตินิยมของชาวเกาหลีเหนือ", "title": "หอคอยชูเช" }, { "docid": "17615#9", "text": "แคว้นต่าง ๆ มีชื่อทางการทั้งเป็นชื่อเรียกและตัวเลขโรมัน (เช่น IV - เขตที่ 4) ลำดับตัวเลขเรียงตามที่ตั้งของแคว้นต่าง ๆ ตั้งแต่ทางตอนเหนือลงมาทางตอนใต้ ซึ่งโดยทั่วไป ตัวเลขโรมันจะถูกใช้มากกว่าชื่อของแคว้น ยกเว้นแคว้นอันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ซึ่งเรียกว่า แคว้นเมืองหลวงซานเตียโก (Región Metropolitana de Santiago หรือ RM)", "title": "ประเทศชิลี" }, { "docid": "616146#0", "text": "ซินต์มาร์เติน (, ) เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) แห่งหนึ่งภายในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ มีพื้นที่ครอบคลุมเฉพาะตอนใต้ของเกาะเซนต์มาร์ตินในทะเลแคริบเบียน ขณะที่พื้นที่อีกครึ่งทางตอนเหนือมีสถานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส (มีชื่อว่า แซ็ง-มาร์แต็ง) ซินต์มาร์เตินมีประชากรประมาณ 37,000 คน บนเนื้อที่ 34 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงของดินแดนมีชื่อว่า ฟีลิปส์บืร์ค", "title": "ซินต์มาร์เติน" }, { "docid": "738388#0", "text": "ซารีว็อน () เป็นเมืองหลวงของจังหวัดฮวังแฮเหนือ, ประเทศเกาหลีเหนือ มีประชากรอาศัยราว 310,100 คน", "title": "ซารีว็อน" }, { "docid": "447433#0", "text": "เขตปริมณฑลและเมืองหลวงแห่งชาติโซล (เอสเอ็นซีเอ) เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเรียกภูมิภาคนี้เป็นภาษาเกาหลีว่า ซูโดกว็อน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่รวมเขตการปกครองระดับจังหวัดไว้ 3 เขต คือ โซล, อินช็อน และจังหวัดคย็องกี", "title": "เขตปริมณฑลและเมืองหลวงแห่งชาติ (เกาหลีใต้)" }, { "docid": "126129#0", "text": "เพลงชาติของประเทศเกาหลีเหนือมีชื่อว่า แอกุกกา () เช่นเดียวกับชื่อของเพลงชาติเกาหลีใต้ มีความหมายว่า \"เพลงรักชาติ\" เพลงนี้รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งตามวรรคแรกของเพลงว่า \"อาชิมึน พินนารา\" () แปลว่า \"แสงอรุณจงฉาย\" (\"Let the morning shine\")", "title": "แอกุกกา (ประเทศเกาหลีเหนือ)" }, { "docid": "92774#0", "text": "มณฑลเหลียวหนิง (จีนตัวย่อ: 辽宁省 จีนตัวเต็ม: 遼寧省) ชื่อย่อ เหลียว(辽)ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทิศตะวันตกติดเหอเป่ย์ เหนือติดจี๋หลิน มองโกเลียใน ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงกั้นเขตแดนกับประเทศเกาหลีเหนือ ทางใต้เป็นทะเลเหลืองและทะเลป๋อไฮ่ มีเมืองหลวงชื่อ เฉิ่นหยาง มีเนื้อที่ 145,900 ก.ม. ", "title": "มณฑลเหลียวหนิง" }, { "docid": "177758#0", "text": "คิม จ็อง-อิล () มีชื่อเมื่อแรกเกิดว่า ยูริ อีร์เซโนวิช คิม/Юрий Ирсенович Ким (ตามบันทึกโซเวียต)[1][2][3][4] (16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941/2 – 17 ธันวาคม ค.ศ. 2011[5]) อดีตผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) เขาเป็นเลขาธิการพรรคกรรมกรเกาหลี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลตั้งแต่ ค.ศ. 1948, ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศแห่งเกาหลีเหนือ และผู้บัญชาการกองทัพประชาชนเกาหลีสูงสุด ซึ่งเป็นกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดอันดับสี่ของโลก", "title": "คิม จ็อง-อิล" }, { "docid": "357651#0", "text": "เซาท์ซูดาน (English: South Sudan) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน[1] (English: Republic of South Sudan)[2] เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า จูบา ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐอิเควทอเรียลกลางที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เซาท์ซูดานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ทางตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับเอธิโอเปีย ทางใต้ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทางตะวันตกติดต่อกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง และทางเหนือติดต่อกับซูดาน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบึงตมซึ่งเกิดขึ้นจากแม่น้ำไนล์ขาว", "title": "ประเทศเซาท์ซูดาน" }, { "docid": "447685#8", "text": "จังหวัดคังว็อนและจังหวัดคังว็อนที่อยู่ในเกาหลีเหนือ ต่างก็อยู่ในภูมิภาคควันดง เหมือนกัน ภูมิภาคตะวันตกของเทือกเขาแทแบ็กเรียกว่าภูมิภาคย็องซอ ส่วนภูมิภาคภาคตะวันออกของเทือกเขาเรียกว่าภูมิภาคย็องดง คำว่าย็องดงมักใช้บ่อย ๆ เพื่อใช้เรียกขนส่งมวลชนที่มาจากโซล เมืองหลวงของประเทศ ดังนั้นถ้าโดยสารรถโดยสารหรือรถไฟมาจะใช้ทาง \"เส้นทางย็องดง\" ส่วนถ้าขับรถยนต์ส่วนตัวมาผ่านคังนึงจะผ่านทางด่วนสายย็องดง", "title": "จังหวัดคังว็อน (ประเทศเกาหลีใต้)" }, { "docid": "527199#0", "text": "มหาวิทยาลัยคิมอิลซอง () เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในเกาหลีเหนือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1946 มีเนื้อที่ทั้งหมด 37 เอเคอร์ ในกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของประเทศ มหาวิทยาลัยตั้งตาชื่ออดีตผู้นำเกาหลีเหนือคิม อิลซอง มหาวิทยาลัยคิม อิลซองมีอาคารศึกษาวิชาการทั้งหมด 10 อาคาร แยกออกเป็น 50 ห้อง เช่นห้องสมุด,พิพิธภัณฑ์,ศูนย์ R&D ,หอพักและโรงพยาบาล", "title": "มหาวิทยาลัยคิมอิลซ็อง" }, { "docid": "88116#0", "text": "ไอร์แลนด์เหนือ (; \"ทวฌเชอรท์ เอรัน\") คือ 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของสหราชอาณาจักรซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกและใต้ติดประเทศไอร์แลนด์ ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับช่องแคบเหนือ และทิศตะวันออกติดกับทะเลไอริช เมืองหลวงมีชื่อว่า เบลฟาสต์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 333,000 คน", "title": "ไอร์แลนด์เหนือ" }, { "docid": "445571#0", "text": "จังหวัดพย็องอันใต้ เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศเกาหลีเหนือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1896 และได้กลายเป็นจังหวัดของเกาหลีจนถึง ค.ศ. 1945 หลังจากนั้น ก็ได้เป็นจังหวัดของเกาหลีเหนือจนถึงปัจจุบัน มีเมืองหลวงชื่อ พย็องซ็อง", "title": "จังหวัดพย็องอันใต้" }, { "docid": "2568#7", "text": "อาณาจักรโคกูรยอ มีพื้นที่ตั้งแต่บริเวณตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลีตอนใต้และตอนกลางของคาบสมุทรเหลียวตง เป็นอาณาจักรที่มีกองทัพที่เข้มแข็งเป็นอย่างมาก ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าดงเมียงซอง เมื่อ 37 ปีก่อนคริสต์ศักราช เดิมโคกูรยอคืออาณาจักรพุกพูยอ พระเจ้าดงเมียงซองทรงเปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรเป็นโคกูรยอ เมืองหลวงแห่งแรกคือ เมืองโจลบอน ในสมัยพระเจ้ายูริแห่งโคกูรยอได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองคุงแน และในสมัยพระเจ้าจางซูมหาราชได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองเปียงยาง อาณาจักรโคกูรยอล่มสลายลงเมื่อปี ค.ศ. 668 รัชสมัยพระเจ้าบอจาง จากการโจมตีของราชวงศ์ถังที่ปกครองประเทศจีนและอาณาจักรชิลลาที่อยู่ทางตอนใต้ อาณาจักรโคกูรยอมีอายุถึง 705 ปี อาณาจักรแพ็กเจ ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 18 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพระเจ้าอนจอซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าดงเมียงซอง พระมเหสีโซซอโนพระราชมารดาของพระเจ้าอนจอทรงคิดจะตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นทางตอนใต้ ขึ้นเป็นอาณาจักรพี่น้องกับอาณาจักรโคกูรยอจึงได้อพยพประชาชนมาจากโคกูรยอและรวบรวมชนเผ่าต่างๆ เข้าด้วยกันก่อตั้งขึ้นเป็น อาณาจักรซิปเจ ปกครองโดยพระเจ้าอนจอภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรแพ็กเจ มีเมืองหลวงแห่งแรกคือเมืองวิรเย ในรัชสมัยพระเจ้ามุนจูได้ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองอุงจิน และในรัชสมัยพระเจ้าซองได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองซาบี อาณาจักรแพ็กเจล่มสลายลงเมื่อปี ค.ศ. 660 รัชสมัยพระเจ้าอึยจาจากการโจมตีของอาณาจักรชิลลา อาณาจักรแพ็กเจมีอายุถึง 678 ปี อาณาจักรชิลลา ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 57 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพระเจ้าฮยอกกอเซกษัตริย์พระองค์แรกแห่งชิลลา ทรงรวบรวมชนเผ่าต่างๆเข้าด้วยกันจนกลายเป็นอาณาจักรชิลลา มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองคยองจู อาณาจักรชิลลาสามารถรวบรวมอาณาจักรแพ็กเจและอาณาจักรโคกูรยอเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ในปี ค.ศ. 668 รัชสมัยพระเจ้ามูยอล อาณาจักรคายา ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลีแถบแม่น้ำนักดง ประกอบด้วยห้าราชวงศ์ คือ ราชวงศ์กึมควันคายา ราชวงศ์โกรยองคายา ราชวงศ์พีฮวาคายา ราชวงศ์อาราคายา และราชวงศ์ซองซันคายา ราชวงศ์หลักคือราชวงศ์กึมควันคายา ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าซูโร เมื่อ 42 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีตำนานว่าพระชายาของพระเจ้าซูโรเป็นองค์หญิงที่เดินทางมาจากประเทศอินเดียพระนามว่าองค์หญิงฮอฮวางอ๊ก ในรัชสมัยพระเจ้าคูฮย็องอาณาจักรคายาได้ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรชิลลาในรัชสมัยพระเจ้าบอปฮึง อาณาจักรคายามีอายุถึง 604", "title": "ประเทศเกาหลีใต้" }, { "docid": "745039#0", "text": "จังหวัดชากัง () เป็นจังหวัดของประเทศเกาหลีเหนือ อยู่ทางทิศเหนือของประเทศติดกับประเทศจีน, ติดกับจังหวัดรยังกัง และ ฮัมกย็องใต้ ทางด้านตะวันออก, ติดกับจังหวัดพย็องอันใต้ ทางด้านทิศใต้, และ จังหวัดพย็องอันเหนือ ทางด้านทิศตะวันตก  จังหวัดชากัง ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 เมืองหลวงชื่อกังแจ", "title": "จังหวัดชากัง" }, { "docid": "660292#0", "text": "ช็องซ็อน () เป็นอำเภอในจังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีใต้ มีชื่อเสียงในเรื่องต้นกำเนิดของ \"ช็องซ็อนอารีรัง\" เพลงพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของเกาหลีใต้ และอำเภอนี้ยังเป็นบ้านเกิดของวอน บิน นักแสดงที่มีชื่อเสียงและนักฟุตบอล ซ็อน ฮี-คย็อน\nไฮวันรีสอร์ทเป็นสกีรีสอร์ทตั้งอยู่ที่ตำบลโกฮัน และยังมีคังว็อนแลนด์คาสิโนเพียงแห่งเดียวในเกาหลีใต้ที่เปิดให้ชาวเกาหลีใต้เล่นซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับไฮวันรีสอร์ทโดยรีสอร์ทตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 1,345 เมตร นับเป็นสกีรีสอร์ทที่ตั้งอยู่บนที่สูงที่สุดในเกาหลี", "title": "ช็องซ็อน" }, { "docid": "487956#1", "text": "ภายหลังจากปลดประจำการ เขาได้รับบทนำในละครที่ได้รับความนิยมทั่วเอเชียเรื่อง \"ชีวิตเพื่อชาติ รักนี้เพื่อเธอ\" ละครเรื่องดังกล่าวได้รับความนิยมสูงมาก โดยได้รับเรตติงในตอนจบทั่วประเทศสูงถึง 38.8% และในเขตเมืองหลวง 41.6% จากข้อมูลของเนลสันเกาหลี จากความนิยมที่พุ่งสูงขึ้นทั่วทั้งเกาหลีและเอเชีย ทำให้เขามีชื่อเสียงในระดับฮันรยู และจากละครเรื่องนี้ทำให้ซงได้พบรักกับ ซง ฮเย-กโย นักแสดงซึ่งรับบทเป็นนางเอกของละครเรื่องนี้ โดยก่อนหน้านี้ต้นสังกัดของทั้งคู่ก็ออกมาปฏิเสธเรื่องนี้โดยตลอดแต่ก็ยังมีผู้จับภาพทั้งสองออกเดทและออกท่องเที่ยวด้วยกัน", "title": "ซง จุง-กี" }, { "docid": "45475#0", "text": "เปียงยาง () คือเมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือ เป็นเขตแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศเกาหลีเหนือ ในอดีตนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของหลายอาณาจักร เช่น ใน 2333 ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ ในสมัยนั้นมีชื่อว่าเมืองวังก็อมซ็อง ในปี ค.ศ. 427 ได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโคกูรยอ มีชื่อว่าเมืองเปียงยาง จนถึงปี ค.ศ. 668 ที่อาณาจักรโคกูรยอล่มสลายลง", "title": "เปียงยาง" }, { "docid": "8620#2", "text": "สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี", "title": "สงครามเกาหลี" }, { "docid": "78608#3", "text": "ตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดเกาหลีจากญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2488 เกาหลีจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศที่เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือกล่าวคือ ทางตอนเหนืออยู่ภายใต้การคุ้มครองดูแลของสหภาพโซเวียต มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ทางตอนใต้อยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกา มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) เมื่อเกาหลีพ้นจากการปกครองของญี่ปุ่นแล้ว ชาวพุทธทั้งหลายในเกาหลี โดยเฉพาะพระสงฆ์ได้มีการเคลื่อนไหว โดยการประชุมใหญ่แล้วลงมติให้รัฐบาลยกเลิกข้อบังคับต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกับหลักพระพุทธศาสนาซึ่งตราขึ้นในสมัยที่ญี่ปุ่นยึดครอง พร้อมทั้งให้คณะสงฆ์มีการปกครองตนเอง โดยมีสำนักงานอยู่ในนครหลวงและจังหวัดต่าง ๆ ให้มีสภาบริหารตนเองซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานใหญ่ และได้มีการจัดประชุมเพื่อตราธรรมนูญปกครองคณะสงฆ์ขึ้นที่สำนักงานใหญ่ เมื่อพ.ศ. 2489", "title": "ศาสนาพุทธในเกาหลี" }, { "docid": "444161#0", "text": "แม่น้ำแทดง () เป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศเกาหลีเหนือ ไหลจากภูเขารังนิมทางตอนเหนือทางประเทศ ลงสู่อ่าวเกาหลีที่ นัมโพ นอกจากนี้ ยังไหลผ่านกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของประเทศอีกด้วย", "title": "แม่น้ำแทดง" } ]
4062
ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง ออกอากาศครั้งแรกวันที่เท่าไหร่ ?
[ { "docid": "134806#2", "text": "ระเบิดเถิดเทิง (7 มกราคม 2539 - 27 กันยายน 2552) ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 (4 ตุลาคม 2552 - 1 สิงหาคม 2553) ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง (8 สิงหาคม 2553 - 1 กรกฎาคม 2555) ระเบิดเที่ยงแถวตรง (8 กรกฎาคม 2555 - 25 มกราคม 2558) ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง (1 กุมภาพันธ์ 2558 - 31 มกราคม 2559) ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้ (7 กุมภาพันธ์ 2559 - 26 กุมภาพันธ์ 2560) ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก (5 มีนาคม 2560 - 28 มกราคม 2561) ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ (4 กุมภาพันธ์ 2561 - ปัจจุบัน)", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" } ]
[ { "docid": "237844#8", "text": "อาเท่ง (2558 - 2559) ใน \"ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "675148#10", "text": "ก่อนเริ่มเกมในรอบนี้ โหน่ง ชะชะช่า จะนำแผ่นป้ายบทลงโทษมาให้ดูก่อนว่าบทลงโทษในหัวสิงโตระเบิดในเทปนั้น ๆ จะมีอะไรเป็นบทลงโทษ และ ตั้งแต่เทปวันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยใช้ระเบิดแป้งเหมือนเดิม แทนการใช้บทลงโทษอื่นๆ เพื่อให้เข้ากับคอนเซ็ปของรายการ ", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "675148#14", "text": "เพลงเปิดรายการ\nเพลงปิดรายการ", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "675148#6", "text": "ผู้เข้าแข่งขันทีมแป้ะยิ้ม กับ ทีมซิ้มแย้ม จะต้องเข้าแข่งขันเกม ที่ทางรายการเตรียมไว้ให้ หากทีมใดแพ้ จะต้องเข้ารอบฝ่าด่านสิงโตทอง ซึ่งเกมส่วนมากจะเอามาจากรายการ ชิงร้อยชิงล้าน", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "675148#4", "text": "รอบนี้ จะมีแผ่นป้ายโลโก้รายการอยู่ 8 แผ่นป้าย ด้านหลังแผ่นป้ายจะมีตัวเลขตั้งแต่ 1 จนถึง 100 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องเลือกแผ่นป้ายคนละ 1 แผ่นป้ายเพื่อดูว่าจะได้ตัวเลขเท่าไร คนที่ได้ตัวเลขเยอะสุด จะได้ป้ายอาญาสิทธิ์ หากเปิดป้ายเจอหน้าตัวเองในรอบฝ่าด่านสิงโตทองจะมีสิทธิ์ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ เมื่อใช้อาญาสิทธิ์จะมีสิทธิ์สามารถไม่เข้าหัวสิงโต หรือให้คนอื่นเข้าแทนได้", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "675148#13", "text": "สิ่งที่น่าสังเกตคือยุคนี้เป็นระเบิดเถิดเทิงยุคที่ 2 ต่อจากยุคปี 2546 - 2547 ที่ไม่ใช้โดมระเบิด แต่ใช้หัวสิงโตแทนเพื่อให้เข้ากับรูปแบบรายการ โดยผู้ที่เข้าไปในหัวสิงโตจะให้คนอื่นสับคันโยกแทน เช่นเดียวกับเกมแคปซูลระเบิดปี 2546 - 2547 ที่ให้ผู้ที่ไม่ต้องเข้าไปในแคปซูลสับคัตเอาท์ และยุคนี้เป็นยุคแรกที่ไม่มีการให้รางวัลในช่วงเกม เนื่องจากดารารับเชิญมีหน้าที่แสดงในช่วงละครอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้เชิญมาเล่นเกม ซึ่งในภายหลังได้เชิญให้ดารารับเชิญมาร่วมเล่นเกมด้วย แต่ไม่มีการให้รางวัลแก่ดารารับเชิญ", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "134806#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิง เป็นรายการซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกทุกวันอาทิตย์ โดยในระยะแรกมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ อีก 3 เดือนต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอม ควบคู่กับเกมโชว์ อันเป็นรูปแบบปัจจุบันของรายการ รายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 ตลอดระยะเวลาที่ระเบิดเถิดเทิงออกอากาศจนถึงปัจจุบัน ช่วงซิตคอมระเบิดเถิดเทิงยุคแรกและยุคต่อๆมา (2553-ปัจจุบัน)ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และตัวละครอยู่เรื่อย ๆ นับว่าเป็นซิตคอมที่มีการออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทย", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "237844#96", "text": "\"ดูบทความหลักที่ ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "675148#11", "text": "เกมรอบนี้ จะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย ด้านหลังแผ่นป้ายมีรูปหน้าผู้เข้าแข่งขันของทีมผู้แพ้จากรอบแข่งเกมระเบิดอยู่ คนละ 2 แผ่นป้าย ป้ายอาญาสิทธิ์ 2 แผ่นป้าย และป้ายซูเปอร์อาญาสิทธิ์ 2 แผ่นป้าย", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "675148#5", "text": "ต่อมา จึงเปลี่ยนจากแผ่นป้ายมาเป็นลูกบอล 8 ลูก ในลูกบอลจะมีตัวเลขตั้งแต่ 1 จนถึง 100 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องเลือกลูกบอลคนละ 1 ลูกเพื่อดูว่าจะได้ตัวเลขเท่าไร คนที่ได้ตัวเลขเยอะสุด จะได้ป้ายอาญาสิทธิ์ หากเปิดป้ายเจอหน้าตัวเองในรอบฝ่าด่านสิงโตทองจะมีสิทธิ์ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ เมื่อใช้ป้ายอาญาสิทธิ์จะมีสิทธิ์สามารถไม่เข้าหัวสิงโตและให้คนอื่นเข้าแทนได้ รวมถึงมีสิทธิ์มอบป้ายอาญาสิทธิ์ให้คนอื่นเพื่อเป็นการช่วยก็ได้ แต่ถ้าให้ป้ายอาญาสิทธิ์ไปแล้วจะไม่สามารถขอคืนได้ และเจ้าของคนใหม่ก็ไม่สามารถมอบป้ายอาญาสิทธิ์ให้คนที่เคยครอบครองไปแล้วเช่นกัน", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "758334#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้ เป็นละครซิทคอมควบคู่กับเกมโชว์ซึ่งเป็นภาคต่อของรายการระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และออกอากาศในชื่อชุดนี้เป็นครั้งสุดท้าย วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก จะออกอากาศเป็นละครซิทคอมชุดถัดไป", "title": "ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้" }, { "docid": "675148#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง เป็นละครซิทคอมที่เกี่ยวกับชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีนควบคู่กับเกมโชว์ซึ่งเป็นภาคต่อของรายการระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 ทางเวิร์คพอยท์ทีวี\nสำหรับเกมในระเบิดเถิดเทิงสิงโตทองนั้นยังคงใช้เกมรูปแบบเดิมจากระเบิดเถิดเทิงปี 2539 - 2545, 2548 - 2552 ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 และ ลั่นทุ่ง กับ ระเบิดเที่ยงแถวตรง ในปี 2553 - 2557 และได้เพิ่มเกมอีก 1 เกม", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "134806#60", "text": "แบบแรก เป็นรูปแบบตู้เหลี่ยมๆใสคล้ายกับตู้โทรศัพท์ มีประตูดึงเปิดปิดอยู่ทางข้างซ้ายของตู้ ภายในมีสลักระเบิดเป็นทรงกระบอกใสมีหมายเลขสลักกำกับอยู่ มี 5 สลัก บนเพดานตู้ระเบิดมีรูสี่เหลี่ยมสำหรับเทแป้งและมีเครื่องพ่นควันภายในตู้อีกด้วย(ใช้พ่นใส่ผู้ที่โดนระเบิดพร้อมกับเทแป้งลงไปพร้อมกันเพื่อให้แป้งกระจายทั่วตัวผู้ที่โดนระเบิด และเป็นวิธีที่ใช้มาตลอดจนถึงระเบิดเถิดเทิง ยุคปัจจุบัน) ตรงด้านบนโดมจะเป็นโลโก้ผู้สนับสนุนหลักของรายการ(ทเวลฟ์ พลัส)(ตอนแรกไม่มีโลโก้) ตู้ระเบิดแบบแรกใช้มาตั้งแต่ 7 เมษายน 2539 - 9 พฤษภาคม 2541 แบบที่สอง เนื่องจากตู้ระเบิดรูปแบบแรกมีลักษณะที่คับแคบ ไม่เหมาะสำหรับเข้าไปในตู้หลายคน จึงได้เปลี่ยนมาเป็นโดมกระจกทรงกลมรอบทิศทาง ภายในมีสลักระเบิด 5 สลักคล้ายกับสลักรูปแบบเดิมแต่ยาวกว่า และเพิ่มถังออกซิเจนเพื่อไม่ให้คนที่ถูกระเบิดแป้งหายใจไม่ออก มีประตูเลื่อนเปิดปิดอยู่ทางข้างซ้ายของโดม และด้านบนของโดมจะเป็นโลโก้ผู้สนับสนุนหลักของรายการ(2541-2542 -ทเวลฟ์ พลัส ,2542-2546 -ไอศกรีมวอลล์) ในระยะแรก(16 พ.ค. - 13 มิ.ย. 2541)โดมสามารถหมุนได้และมีสลักระเบิดรอบตัวผู้ที่เข้าตู้ โดมรูปแบบที่สอง ใช้ตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2541 - 26 มกราคม 2546 แบบที่สาม จะเป็นรูปวงกลมสีน้ำเงินมีหนาม คล้ายกับโลโก้รายการ มีประตูเลื่อนเปิดปิดอยู่ทางข้างขวาของโดมและเพิ่มการล้มลุกด้วย ใช้ตั้งแต่ 2 มกราคม 2548 - 27 กันยายน 2552 (โดยในแบบที่สามนี้ในปลายปี 2552 คือในยุคระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 ได้ดัดแปลงโดมดังกล่าวให้เปลี่ยนลักษณะคล้ายเรือดำน้ำ และในยุคระเบิดเที่ยงแถวตรงได้ดัดแปลงเป็นลวดลายพรางทหาร และใช้จนถึงต้นปี 2558) ส่วนแคปซูลระเบิดนั้นจะเป็นลักษณะเป็นตู้รูปร่างคล้ายกับจรวดมีจำนวน 6 แคปซูลเรียงกันฝั่งละ 3 แคปซูลโดยมีป้ายผู้สนับสนุนหลักของรายการอยู่ตรงกลางระหว่างแคปซูล(2546 -ไอศกรีมวอลล์ ,2547 -น้ำผลไม้ Qoo) มีบันได 3 ขั้นขึ้นไปยังประตูซึ่งอยู่หน้าแคปซูล และด้านบนประตูจะมีเลขกำกับของแต่ละแคปซูล ใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2546 - 26 ธันวาคม 2547 แบบสิงโตทอง จะเป็นลักษณะเป็นหัวสิงโตเชิด อยู่ตรงด้านบนตู้และตรงปากสิงโตจะเห็นหน้าของผู้ที่อยู่ในตู้ ส่วนตัวตู้จะมีลักษณะเป็นสีทองมีทางเดินเข้าประตูตู้อยู่ด้านขวา และตอนที่โดนระเบิดช่วงที่เป็นบทลงโทษจะมีทีมงานนำถังที่ใส่บทลงโทษต่างๆมาเทใส่คนที่อยู่ในตู้(คล้ายกับยุทธการขยับเหงือกและยุทธการสะท้านตับ) ภายหลังที่เปลี่ยนเป็นแป้ง ตอนระเบิดจะมีควันทะลักออกมานอกตู้(คล้ายๆกับในปี 39-45) แบบแดนเซอร์ทะลวงใส้ จะเป็นลักษณะคล้ายไมโครโฟนมีทางเดินประตูตู้อยู่ด้านขวา แบบแดร็กคูล่าหารัก ตู้จะเป็นแบบลักษณะคล้ายคลึงกับโบสถ์เพื่อให้เข้าธีมรายการ โดยประตูตู้จะอยู่ด้านซ้ายข้างในจะมีคันโยกและมีสัญลักษณ์ของคันโยกกำกับอยู่ตรงคันโยก และจะมีโบสถ์อีก 2 อยู่ข้างๆกันทั้งด้านซ้ายและขวา ด้านหน้าตู้จะมีที่วางป้ายเพื่อให้สำหรับคนที่เข้าตู้นั้นไม่สับคันโยกผิด และให้คนนอกได้บอกไว้ว่าได้เลือกคันโยกไหนเอาไว้ ซึ่งผู้ที่เข้าตู้จะไม่เห็นสัญลักษณ์ของคันโยกอยู่แล้ว", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "675148#9", "text": "รอบนี้ จะมีแผ่นป้าย 12 แผ่นป้าย", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "675148#8", "text": "รอบนี้ จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 18 แผ่นป้าย ด้านหลังแผ่นป้ายจะมีรูปใบหน้าของผู้เข้าแข่งขันซ่อนอยู่ ตามจำนวนลูกระเบิดที่สะสมจากรอบลุ้นระเบิด (เช่น พิธีกร มีระเบิด 1 ลูก จะมีใบหน้า 1 แผ่นป้าย) โดยผู้ที่มีลูกระเบิดมากที่สุดจะเลือกแผ่นป้ายมา 1 แผ่นป้าย ถ้าเปิดป้ายเจอรูปภาพใบหน้าของผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่ง ผู้นั้นจะต้องเข้าไปในโดม \"หัวสิงโตทอง\" แต่ถ้าเปิดป้ายเจอรูปภาพของผู้เข้าแข่งขันที่ได้ป้ายอาญาสิทธิ์ ผู้ที่มีอาญาสิทธิ์มีสิทธิ์ไม่เข้าหัวสิงโตทองและสามารถเลือกคนอื่นให้เข้าหัวสิงโตทองแทนตัวเองได้ จากนั้นผู้ที่จะต้องเข้าหัวสิงโตทองต้องเลือกคันโยกซึ่งจะมีทั้งหมด 5 คันโยกด้วยกัน โดยให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเป็นผู้สับคันโยก ถ้าโดนระเบิดก็จะมีสิ่งที่เป็นบทลงโทษร่วงลงมาใส่ (เช่น \"ขาวขาว\" คือน้ำแป้งดินสอพอง \"ดำดำ\" คือเฉาก๊วย เป็นต้น) แต่ถ้าไม่โดนระเบิด เกมจะดำเนินต่อไปโดยให้ผู้ที่เข้าหัวสิงโตทองออกมาเลือกแผ่นป้ายต่อไปจนกว่าจะมีผู้ที่โดนบทลงโทษ", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "237844#9", "text": "ชายพเนจรที่มาขออาศัยอยู่ในศาลเจ้าพ่อสิงโต และโกหกว่าเชิดสิงโตเก่ง ปัจจุบันได้กลายเป็น อาจารย์ฝึกสอนในคณะสิงโตทอง", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "134806#61", "text": "แบบแรก เป็นแผ่นป้ายแบบยางยืดดึง ลูกระเบิดในแผ่นป้ายจะเป็นแบบรูปจรวด ,ปลาฉลาม และเปลี่ยนมาเป็นโลโก้รายการแทน เป็นแบบที่ใช้มาตลอดรายการ แต่ในปี2546-2547 จะเป็นแบบเปิดป้ายธรรมดา ภายในแผ่นป้ายจะเป็นรูปจำนวนของจรวด ซึ่งหมายถึงแคปซูลระเบิดที่จะระเบิดตามจำนวนในแผ่นป้ายนั้น และในปี2548 ก็ได้ใช้แบบเดียวกันต่อแต่เปลี่ยนรูปจรวดเป็นรูปโลโก้ของรายการแทน ในระเบิดเที่ยงแถวตรงจะใช้รูประเบิดซึ่งมีหน้าแบบการ์ตูนอยู่ในลูกระเบิด ส่วนสิงโตทองจะใช้เป็นรูปประทัด แบบสอง เป็นแบบแท่นระเบิด ซึ่งแท่นระเบิดนั้นจะเรียกว่าคลังแสงระเบิด มีลูกบอลสีดำ ที่เปรียบเสมือนลูกระเบิดอยู่ แต่ในบางครั้ง ในแท่นระเบิดอาจจะมีลูกระเบิดหลอก ซึ่งเป็นลูกที่ไม่ได้เป็นทรงกลมเต็ม แต่เป็นลูกที่มีรอยแตก(ใช้เป็นบางเทปในปี 2540)", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "675148#12", "text": "ซึ่งถ้าหากเปิดเจอรูปใบหน้าของใคร คน ๆ นั้น จะต้องเลือกคันโยกระเบิดหมายเลข 1-5 แล้วเข้าหัวสิงโตระเบิด ถ้าหากโดนระเบิด เกมก็จะจบทันที แต่ถ้าหากยังไม่โดนระเบิด ก็จะออกมาเลือกแผ่นป้ายต่อไปอีก 1 แผ่นป้าย จนกว่าจะมีผู้โดนระเบิด แต่ถ้าหากเปิดเจอป้ายอาญาสิทธิ์ ผู้เลือกแผ่นป้ายนี้สามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันในทีมที่แพ้ไปเข้าหัวสิงโตระเบิดแทนตนเองได้ แต่ถ้าเปิดเจอป้ายซูเปอร์อาญาสิทธิ์ ผู้เลือกแผ่นป้ายนี้จะสามารถเลือกใครก็ได้ (ทั้งผู้แข่งขันทีมแพ้ ผู้แข่งขันทีมชนะ และพิธีกรหลัก) เข้าไปในหัวสิงโตระเบิดแทนตนเอง", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "237844#38", "text": "อดีตสามีของหงส์ฟ้า มีลูกสาวด้วยกันคือ เหมย ปัจจุบันได้เลิกรากันและไปเป็นคนเฝ้าศาลเจ้าพ่อสิงโตทอง (2553 - 2555) ใน \"ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "134806#63", "text": "ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง ระเบิดเที่ยงแถวตรง ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้ ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "675148#2", "text": "ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 ด้านหลังทั้ง 8 แผ่นป้ายได้ยกเลิกการมีสัญลักษณ์ \"+\" เนื่องจากมีผู้เข้าแข่งขัน 8 คน ซึ่งเท่ากับจำนวนแผ่นป้ายทั้ง 8 แผ่นป้าย", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "237844#37", "text": "เหลียง (2558-2559) ใน \"ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "237844#19", "text": "อาโหน่ง (2558 - 2559) ใน \"ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "134806#21", "text": "ซึ่งเกมวางระเบิดรูปแบบนี้ ได้กลับมาใช้อีกครั้งใน ระเบิดเที่ยงแถวตรงยุคหลัง และระเบิดเถิดเทิงสิงโตทองยุคแรก แต่ได้เปลี่ยนชื่อช่วงเป็น เกมลุ้นระเบิด", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "237844#53", "text": "เฮียฮง (2558-2559) ใน \"ระเบิดเถิดเทิง สิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "675148#7", "text": "ก่อนเริ่มเกมในรอบนี้ จะมี \"แป๊ะยิ้ม\" นำแผ่นป้ายบทลงโทษมาให้ดูก่อนว่าระเบิดในเทปนั้น ๆ จะมีอะไรเป็นบทลงโทษ (เช่น \"ขาวขาว\" \"ดำดำ\" \"เย็นเย็น\" เป็นต้น)", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "675148#1", "text": "รอบนี้ จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 8 แผ่นป้าย ด้านหลังแผ่นป้ายจะมี \"ลูกระเบิด\" ซ่อนอยู่ ซึ่งใน 8 แผ่นป้ายจะมีจำนวนลูกระเบิดรวมกันทั้งหมด 18 ลูก ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องเลือกแผ่นป้ายคนละ 1 แผ่นป้ายเพื่อเป็นการกำหนดโอกาสว่าจะได้เข้าโดมระเบิดมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีจำนวนลูกระเบิดในป้ายที่เลือกน้อย ก็จะมีโอกาสโดนระเบิดน้อย แต่ก็อาจโดนระเบิดได้ แต่ถ้าเปิดได้จำนวนลูกระเบิดมาก โอกาสที่จะโดนระเบิดก็จะมีมากเช่นกัน แต่ก็อาจไม่โดนระเบิด (จำนวนลูกระเบิดเท่ากับจำนวนแผ่นป้ายในรอบฝ่าด่านสิงโตทอง) และ พิธีกรหลักและผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องเลือกแผ่นป้ายคนละ 1 แผ่นป้าย ถ้าผู้เข้าแข่งขันเปิดป้ายมาแล้วเจอสัญลักษณ์ \"+\" จะต้องเปิดป้ายต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีสัญลักษณ์ \"+\" แล้วนำจำนวนลูกระเบิดทั้งหมดมารวมกัน แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันเลือกแผ่นป้ายครบทุกคนแล้วไม่มีใครเจอสัญลักษณ์ \"+\" แผ่นป้ายซึ่งมีสัญลักษณ์ \"+\" ที่เหลืออยู่ก็จะตกเป็นของผู้ที่เลือกแผ่นป้ายคนแรกทันที", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "134806#45", "text": "นอกจากรายการระเบิดเถิดเทิงแล้ว รายการอื่นๆ ในเครือก็นำรูปแบบของรายการไปทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า 2542 (ใช้ชื่อตอนว่า ระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542),2543 (ใช้ชื่อตอนว่า ระเบิดเถิดเทิง เตลิดเปิดเปิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2543),2544(ใช้ชื่อตอนว่า สามช่า ฮาระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2544) ,2546 (ครั้งที่ 1 ในตอน รอยไถ...ใคร ได้นำโดมระเบิดและฉากเจ๊หม่ำมาอยู่ในละครเรื่องนี้ ออกอากาศเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2546,ครั้งที่ 2 ใช้ชื่อละครว่า ระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546),2553(ใช้ชื่อตอนว่า นักเลงหัวไม้ กับบ้านไร่เถิดเทิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553), ว้าว ว้าว ว้าว (ใช้ชื่อตอนว่า ระเบิดเถิดเทิง ฉบับสามช่า ออกอากาศเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2560) ในช่วงละคร และ 20 ปี แก๊ง 3 ช่า (ใช้ชื่อตอนว่า ฮาระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2556 โดยในเทปนี้ได้นำมาทั้งละคร ช่วงลุ้นระเบิด และเกมถอดสลักระเบิด)", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "237844#41", "text": "เสรี (2558 - 2559) ใน \"ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง\"", "title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง" } ]
4063
ทักษิณ ชินวัตร พ้นสภาพจากการเป็นนายกในปีใด ?
[ { "docid": "362887#0", "text": "ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544–2549 ระหว่างดำรงตำแหน่ง ทักษิณริเริ่มหลายนโยบายซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาชนะการเลือกตั้งถล่มทลายถึงสองสมัย[1] นโยบายของทักษิณลดความยากจนในชนบทได้อย่างเด่นชัด[2] และจัดบริการสาธารณสุขในราคาที่สามารถจ่ายได้ ด้วยเหตุนี้ ฐานเสียงสนับสนุนของเขาส่วนใหญ่จึงมาจากคนยากจนในชนบท[1]", "title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร" } ]
[ { "docid": "26218#2", "text": "นอกจากนี้ผู้วิจารณ์ได้แสดงความสงสัยต่อความตั้งใจของ พ.ต.ท. ทักษิณ ที่ให้เหตุผลว่าตระกูลชินวัตรตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดออกไป เนื่องจากต้องการลบเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ที่มีมาตลอดตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกว่า การดำรงตำแหน่งที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายรัฐ และการถือหุ้นหรือมีบุคคลใกล้ชิดถือหุ้นในกิจการที่จะได้รับผลได้เสียจากนโยบายรัฐ ในเวลาเดียวกันนั้น เป็นการขัดแย้งกันเองทางผลประโยชน์ โดยผู้วิจารณ์ได้ตั้งคำถามว่าถ้าหากมีความตั้งใจเช่นนั้นจริง ทำไมจึงไม่ขายหุ้นทั้งหมดเสียตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนายกฯ เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 (5 ปีก่อนหน้า) สำหรับคำถามนี้ พ.ต.ท. ทักษิณตอบว่า เนื่องจากหุ้นเป็นจำนวนเงินสูงมาก การจะหาผู้ซื้อจึงไม่ใช่เรื่องง่าย", "title": "กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป" }, { "docid": "35621#1", "text": "นายศักดิ์ เตชาชาญ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2544 แทนที่ นายโกเมน ภัทรภิรมย์ ที่ลาออก ทำให้นายศักดิ์ได้เข้าร่วมตัดสิน \"คดีซุกหุ้น\" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2544 โดยอยู่ในฝ่ายตุลาการเสียงข้างมากที่ตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นความผิดและให้เหตุผลเหมือนกับตุลาการอีก 3 คนคือ นายกระมล ทองธรรมชาติ นายจุมพล ณ สงขลา และนายผัน จันทรปาน ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะแสดงบัญชีทรัพย์สินได้พ้นตำแหน่งทางการเมืองแล้ว เพียงแต่ยังรักษาการในตำแหน่ง ซึ่งไม่อยู่ในข่ายต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินหรือไม่ ", "title": "ศักดิ์ เตชาชาญ" }, { "docid": "351807#8", "text": "ส่วน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เขาเป็นแนวร่วมคนหนึ่ง อย่าลืมว่าเราเป็นองค์กรแนวร่วม ชื่อเต็ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน ในนี้มีองค์ประกอบ 60-70% ที่รักคุณทักษิณมาก ส่วนที่เหลือคือเฉย ๆ แต่ไม่ถึงกับเกลียด และอาจจะมีคนที่อยากอยู่ห่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง แต่เราเป็นองค์กรแนวร่วม เราต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ความรักคุณทักษิณมันมีเหตุผลของมัน เพราะเขารักตัวเขา รักผลประโยชน์ของเขา เขาหวังว่าคุณทักษิณจะเป็นนายกฯ ที่ตอบสนองผลประโยชน์ของเขา ฉะนั้น คนเหล่านี้มี loyalty มีความจงรักภักดี แม้ผ่านไปหลายปีแต่เขายังรู้สึกได้ดี เพราะคนไทยเป็นคนซื่อตรง คนเหล่านี้ยังมีความรักคุณทักษิณ แม้เขารู้ว่าความหวังที่คุณทักษิณจะกลับมามันรางเลือน แต่นี่เป็นนิสัยที่ไม่หักหลังคน ฉะนั้น เมื่อเรามองอย่างนี้ในแนวร่วม เราจึงจำเป็นให้คุณทักษิณอยู่ในฐานะที่มีบทบาทพอสมควร พูดง่ายๆ คือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่คนหนึ่งในแนวร่วมนี้", "title": "ธิดา ถาวรเศรษฐ" }, { "docid": "263349#40", "text": "ในปีพ.ศ. 2555 คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้แถลงสรุปผลรายงานคอป.ฉบับสมบูรณ์หลังครบวาระการทำงาน 2 ปี ว่า สาเหตุของวิกฤตการณ์ทางการเมืองทั้งหมด เกิดจาก\"คดีซุกหุ้น\" ที่ตุลาการรัฐธรรมนูญปฏิบัติผิดหลักกฎหมาย เนื่องจากใน 8 เสียงที่ตัดสินให้ทักษิณพ้นผิดนั้น มี 2 เสียงที่ลงมติว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ชี้ขาดในตัวคดี แต่มีการนำ 2 เสียงนั้น ไปรวมกับอีก 6 เสียง ทำให้ผลการตัดสินออกมากลายเป็น 8 ต่อ 7 ไม่ใช้ 6 ต่อ 7 ทำให้ทักษิณพ้นผิด ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยในกระบวนการยุติธรรมของไทยในเวลาต่อมา[73]", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "263349#18", "text": "หลังจากความสำเร็จในการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้ตัดสินใจนำบริษัทในกลุ่มชินวัตรเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระหว่างปี 2533 – 2537 อาทิ", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "6303#19", "text": "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ห้ามวิพากษ์วิจารณ์รัชทายาท ทว่า พระชนมชีพส่วนพระองค์ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ชนอย่างกว้างขวาง บีบีซีไทยอ้างว่า พระองค์มักตกเป็นข่าวโดยเฉพาะในเรื่องสตรี การพนัน และเรื่องผิดกฎหมายจนเป็นที่กังขาเกี่ยวกับความเหมาะสมของพระองค์ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2524 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีของพระองค์ ทรงกล่าวโดยนัยเปรียบเปรยพระราชโอรสผู้นี้ว่าทรงเหมือนดอน ควน ที่โปรดการใช้เวลาว่างสุดสัปดาห์ไปกับหญิงงามมากกว่าการประกอบพระราชกรณียกิจ \nวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 นิตยสาร \"ฟาร์อิสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว\" (Far Eastern Economic Review) ลงบทความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารทรงมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ดี ใน พ.ศ. 2553 หลังจากที่ พันตำรวจโท ทักษิณพ้นจากตำแหน่งไปโดยการรัฐประหารแล้ว พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี ยอมรับว่า \"...แน่นอนว่า เจ้าฟ้าชายยังทรงรักษาสัมพันธภาพบางอย่างกับอดีตนายกฯ ทักษิณเอาไว้ พระองค์ทรงพบกับทักษิณเป็นช่วง ๆ...\" วันที่ 12 ธันวาคม ปีเดียวกัน บิลาฮารี เคาสิกัน (Bilahari Kausikan) ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ แถลงว่า พระองค์ทรงติดการพนัน และมีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ คอยสนับสนุนการเงินให้พระองค์ โอกาสเดียวกัน พลเอก เปรม เสริมว่า \"...ทักษิณกำลังเสี่ยงที่จะทำลายตัวเอง เขาอาจคิดว่า เจ้าฟ้าชายจะทรงปฏิบัติกับเขาเหมือนดังเขาเป็นพระสหายหรือผู้สนับสนุน เพียงเพราะเขาส่งเสริมการเงินให้แก่พระองค์ แต่เจ้าฟ้าชายไม่ทรงชอบพระทัยความสัมพันธ์แบบนั้นสักเท่าไร\"", "title": "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" }, { "docid": "263349#0", "text": "ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2549 เป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 และ เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1] เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน (ชั้นยศสูงสุดที่ นายกองใหญ่) อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร[2]", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "178374#5", "text": "ทว่า เมื่อรัฐบาลสมัคร สุนทรเวชเข้ามาบริหารประเทศได้ระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มพันธมิตรฯ เห็นว่า รัฐบาลแทรกแซงสื่อมวลชน รวมทั้งกระบวนการยุติธรรม เช่นการย้ายข้าราชการในกระทรวงยุติธรรม อาทิ การย้ายสุนัย มโนมัยอุดม[6] อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่กำลังดำเนินคดีต่อทักษิณ ชินวัตรและครอบครัว ให้พ้นตำแหน่งอย่างเร่งด่วน พร้อมให้ตำรวจออกหมายจับสุนัย มโนมัยอุดม เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.)[7] ในข้อหาหมิ่นประมาททักษิณ ชินวัตร และย้าย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง[8] ซึ่งมีความใกล้ชิดกับครอบครัวชินวัตร มารักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ[5] และรัฐบาลยังประกาศอย่างชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตรา 237 และมาตรา 309 ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา รวม 164 คน ได้ยื่นหนังสือต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม[9] ซึ่งทางกลุ่มพันธมิตรฯ เห็นว่า การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการหลบเลี่ยงการกระทำความผิดต่อกฎหมายเลือกตั้งที่จะนำไปสู่การยุบพรรคและต้องการยุบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เพื่อตัดตอนคดีความที่กำลังดำเนินต่อทักษิณ ชินวัตร ครอบครัวและพวกพ้อง ตลอดจน ทำให้กระบวนการตรวจสอบนักการเมืองอ่อนแอลงจนไม่สามารถตรวจสอบฝ่ายการเมืองได้[10][11]", "title": "การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551" }, { "docid": "263349#39", "text": "หลังจากที่ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2544 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ทักษิณ ชินวัตร จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งมีความผิดตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 มาตรา 295[67] ซึ่งเป็นความผิดที่จะต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี คดีนี้ถูกเรียกว่า คดีซุกหุ้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าห้ามไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและภรรยาถือหุ้นในบริษัทเอกชนตามที่กฎหมายกำหนด แต่ พ.ต.ท.ทักษิณกลับปกปิดความเป็นเจ้าของหุ้นโดยการโอนหุ้นที่มีอยู่ไปให้คนรับใช้ คนรถ คนสวนถือแทน[68] ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้ชี้แจงข้อกล่าวหาดังกล่าวว่า (1) รัฐธรรมนูญไม่มีนิยามคำว่า \"ทรัพย์สินของตน\", (2) คำอธิบายแบบบัญชีฯ ไม่ชัดเจน, (3) การไม่แสดงทรัพย์สินที่ใช้ชื่อบุคคลอื่นถือแทน ซึ่งเดิมไม่กำหนดให้แสดง ไม่ถือเป็นความผิด, (4) ไม่จงใจไม่แสดงรายการทรัพย์สินที่ใช้ชื่อบุคคลอื่น, (5) ไม่ใช่หน้าที่ที่จะต้องยื่นบัญชีฯ ก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งเพิ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 และ (6) ในหนังสือลับ ลงวันที่ 14, 24 และ 30 พฤศจิกายน 2543 ถึงประธานอนุกรรมการตรวจสอบฯ ผู้ถูกร้อง (ทักษิณ ชินวัตร) ชี้แจงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเหตุผลที่มิได้แสดงไว้ในบัญชีฯ โดยให้ถือการแจ้งรายการทรัพย์สินเพิ่มเติมเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีฯ ที่ยื่นทั้งสามครั้งด้วย ในขณะที่นายกล้าณรงค์ จันทิก เลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ-ปปช. ชี้แจงว่า (1) แม้รัฐธรรมนูญจะไม่นิยามคำว่า \"ทรัพย์สินของตน\" ไว้ แต่เป็นที่เข้าใจได้, (2) คำอธิบายแบบบัญชีฯ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงคงมีสาระสำคัญเหมือนเดิม แต่มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย เพื่อทำให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น, (3) ไม่ปรากฏว่ามีรัฐมนตรีหรือผู้ยื่นบัญชีฯรายใด ยกเหตุไม่แสดงรายการทรัพย์สิน เพราะใช้ชื่อบุคคลอื่นถือแทน โดยอ้างว่าไม่เข้าใจคำอธิบายบัญชีฯ และ (4) แม้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 แต่ผู้ถูกร้องมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีฯตามรัฐธรรมนูญนี้ ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้บังคับ คือ วันที่ 11 ตุลาคม 2540 แล้ว[69] ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยด้วยเสียง 8 ต่อ 7 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้มีเจตนาในเรื่องดังกล่าว ท่ามกระแสกดดันจากสังคมมายังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณกำลังได้รับความนิยมมากในขณะนั้น ควรได้รับโอกาสในการบริหารประเทศ[70] อย่างไรก็ตามก็มีอีกบางส่วนของสังคมที่เคลือบแคลงสงสัยในคำตัดสินของศาล และทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณถูกมองว่าแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรม[71] จนมีการไปร้องเรียนเพื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 คน ในเวลาต่อมา[72]", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "63261#0", "text": "เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ คนที่ 20 อดีตนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุบลราชธานีเป็นผู้ดูแลพื้นที่ภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย และเป็นน้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และเป็นพี่สาวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย", "title": "เยาวเรศ ชินวัตร" }, { "docid": "61561#5", "text": "ร.ต.อ.ปุระชัย คัดค้านที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีมติเห็นชอบ \"ร่างพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ….\" ที่พยายามช่วยเหลือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นความผิด โดยยืนยันว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร ควรที่ต้องรับโทษตามกฎหมายคดีทุจริตคอรัปชันก่อน ถึงจะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับการอภัยโทษความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อรัฐ", "title": "ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์" }, { "docid": "196355#0", "text": "คดีระหว่างอัยการสูงสุด กับทักษิณ ชินวัตร และพจมาน ชินวัตร หรือคดีที่ดินรัชดาฯ เป็นคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1 และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 2 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในความผิดฐาน \"เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงาน และสนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ\" ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2550 และศาลมีคำสั่งรับฟ้องเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550", "title": "คดีที่ดินรัชดาฯ" }, { "docid": "49846#60", "text": "วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ศาลฎีกาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษายึดทรัพย์มูลค่า 46,000 ล้านบาทของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เย็นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ระเบิดเอ็ม 67 ถูกโยนมาจากมอเตอร์ไซค์ด้านนอกธนาคารกรุงเทพสามสาขา ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มผู้ประท้วง นปช. ได้มาบรรจบกันที่กรุงเทพเพื่อแสดงความต้องการให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศเลือกตั้งใหม่ การเคลื่อนไหวดังกล่าว นำโดย นปช. ประกอบด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตย กลุ่มผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ต่อมา ได้มีการประท้วงโดยการรับบริจาคเลือดของผู้ชุมนุมไปเทด้านนอกของบ้านพักนายกรัฐมตรีอภิสิทธิ์", "title": "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553" }, { "docid": "74761#5", "text": "ต่อมาปี พ.ศ. 2550 ลีเดียได้เขียนได้เขียนพ็อกเกตบุ๊กที่มีชื่อ \"ลีเดีย...เฮียร์ ไอ แอม\" แต่เธอได้ตกเป็นข่าวดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ในประเด็นที่ลีเดียสนิทสนมกับครอบครัวชินวัตร โดยในช่วงแรกเธอตกเป็นข่าวกับ โอ๊ค - พานทองแท้ ชินวัตร และต่อมาตกเป็นข่าวกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งความจริงเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า ครอบครัวของลีเดียและครอบครัวของอดีตนายกฯ ทักษิณนั้น มีความสนิทสนม และแนบแน่นกันมานานแล้ว จนมีบางกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เธอสนิทสนมกับอดีตนายกฯ เป็นอย่างมาก แต่เธอก็ปฏิเสธมาโดยตลอด และกล่าวว่าอดีตนายกฯ เปรียบเสมือนเป็นพ่อคนที่ 2", "title": "ศรัณย์รัชต์ ดีน" }, { "docid": "263349#63", "text": "การขับไล่ทักษิณ ให้ลาออกจากตำแหน่ง เริ่มต้นขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2548 จากการนำของสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ต่อมาเปลี่ยนสภาพเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งขยายตัวออกไปยังบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา[90] [91] [92] การขับไล่ทักษิณ สิ้นสุดลงในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหาร", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "223012#3", "text": "สมัยที่สมยศดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมยศได้มีบทบาทชักนำประชาคมธรรมศาสตร์ออกมาเรียกร้องให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อันเนื่องมาจากกรณีขายหุ้นชินคอร์ปที่สะท้อนให้เห็นว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน โดยสมยศได้กล่าวปาฐกถาแสดงความเห็นในกรณีดังกล่าวว่า หลังจากที่ฝ่ายต่าง ๆ เตรียมตรวจสอบความไม่โปร่งใสของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ทำให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใชอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร และกำหนดการเลือกตั้งใหม่อย่างกระชั้นชิดเกินไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนได้กลับเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้ง เขากล่าวว่า", "title": "สมยศ เชื้อไทย" }, { "docid": "3861#0", "text": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในประเทศไทย มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยสาเหตุมาจาก นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบวาระ 4 ปี และต้องพ้นจากตำแหน่งตามวาระ โดยมีพรรคไทยรักไทยของนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ที่รวมสมาชิกจากพรรคต่าง ๆ ได้แก่ พรรคความหวังใหม่, พรรคชาติพัฒนา, พรรคกิจสังคม, พรรคเสรีธรรม และพรรคเอกภาพ เข้ากับพรรคไทยรักไทย ซึ่งได้หมายเลข 9 ใช้คำขวัญหาเสียงว่า \"4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง\" และได้รับการเลือกตั้งเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร คือ 377 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 500 ที่นั่ง แม้ก่อนหน้านี้จะพรรคไทยรักไทยจะได้รับเสียงเกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548" }, { "docid": "33865#0", "text": "พลตำรวจเอก นายกองใหญ่ ดร.ชิดชัย วรรณสถิตย์ (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดอุบลราชธานี) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี (คนที่ 1) สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ในอดีตได้รับราชการเป็นรองผู้บัญชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และยังเคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีด้วย\nพล.ต.อ.ชิดชัย เข้ารับตำแหน่งเมื่อ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549", "title": "ชิดชัย วรรณสถิตย์" }, { "docid": "35618#3", "text": "จุมพล เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้พิพากษาศาลฎีกา และเป็นตุลาการที่ได้เข้าร่วมตัดสิน \"คดีซุกหุ้น\" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2544 โดยอยู่ในฝ่ายตุลาการเสียงข้างมากที่ตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นความผิดและให้เหตุผลเหมือนกับตุลาการอีก 3 คนคือ กระมล ทองธรรมชาติ ผัน จันทรปาน และศักดิ์ เตชาชาญ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะแสดงบัญชีทรัพย์สินได้พ้นตำแหน่งทางการเมืองแล้ว เพียงแต่ยังรักษาการในตำแหน่ง ซึ่งไม่อยู่ในข่ายต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินหรือไม่", "title": "จุมพล ณ สงขลา" }, { "docid": "32631#1", "text": "การประท้วงทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นครั้งแรก และเริ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้นเมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2548 ส่วนหนึ่งจากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และขยายตัวในวงกว้างไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา ในการรณรงค์ขับนี้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นหลาย ๆ กลุ่ม ในเรื่องกระบวนการและประเด็นในการขับ ส่วนในกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงกลุ่มคาราวานคนจน และขบวนรถอีแต๋นเดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็ได้รวมตัวชุมนุมเพื่อสนับสนุนให้นายทักษิณ ชินวัตรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยปักหลักอยู่ที่สวนจตุจักร และตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย ผลจากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ที่อดีตพรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชนและพรรคชาติไทยไม่ได้ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทย ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค ยังคงได้รับคะแนนเสียงข้างมาก (56.45% ในผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ) แต่ในบางพื้นที่ของเขตซึ่งไม่มีผู้สมัครอื่นลงแข่งนั้น ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย แต่ในท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้เป็นโมฆะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีกลุ่มเครือข่ายแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และอาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ล่าชื่อกว่า 92 คน ปลุกกระแส \"ต้านทักษิณ\" และออกแถลงการณ์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ยุติบทบาทจากการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทันที ซึ่งในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการรวมตัวกันครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของแกนนำเครือข่ายการต่อต้าน การประท้วงขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน ขณะที่พ.ต.ท. ทักษิณชินวัตร กำลังเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก", "title": "การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง" }, { "docid": "35625#0", "text": "นายผัน จันทรปาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2481 เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากตุลาการศาลปกครองสูงสุด และเป็นตุลาการที่ได้เข้าร่วมตัดสิน \"คดีซุกหุ้น\" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2544 โดยอยู่ในฝ่ายตุลาการเสียงข้างมากที่ตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นความผิดและให้เหตุผลเหมือนกับตุลาการอีก 3 คนคือ กระมล ทองธรรมชาติ จุมพล ณ สงขลา และศักดิ์ เตชาชาญ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะแสดงบัญชีทรัพย์สินได้พ้นตำแหน่งทางการเมืองแล้ว เพียงแต่ยังรักษาการในตำแหน่ง ซึ่งไม่อยู่ในข่ายต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินหรือไม่", "title": "ผัน จันทรปาน" }, { "docid": "78582#0", "text": "พลอากาศเอก นายกองใหญ่ คงศักดิ์ วันทนา (เกิด 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2488- ชื่อเล่น บิ๊ก) ครองตัวเป็นโสดหลังจากภรรยาเสียชีวิตนานหลายปี หลังจากดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศไม่นาน ก็สมรสกับ นางสาวสลิลลาวัลย์ ศิริวงศ์ ณ อยุธยา เพื่อนสนิทของ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ก่อนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร", "title": "คงศักดิ์ วันทนา" }, { "docid": "35626#0", "text": "ปรีชา เฉลิมวณิชย์ (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 – 21 มกราคม พ.ศ. 2550) เคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งจากผู้พิพากษาศาลฎีกาเมื่อปี 2541 และสิ้นสุดสภาพพร้อมกับศาลรัฐธรรมนูญตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 เมื่อเดือนกันยายน 2549 และเป็นหนึ่งใน 8 ของตุลาการเสียงข้างมากที่ตัดสินให้อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ในคดีซุกหุ้นพ้นความผิด โดยให้เหตุผลเหมือนตุลาการอีก 3 คนคือพลโท จุล อติเรก นายสุจินดา ยงสุนทร และนายอนันต์ เกตุวงศ์ ที่่บอกว่าผู้ถูกร้องไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับคู่สมรสที่ดำเนินการไปตามลำพัง จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกร้องต้องรู้ในกิจการของกันและกันทุกเรื่อง นายปรีชาเสียชีวิตกะทันหันด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2550 ขณะพักผ่อนที่จังหวัดตาก", "title": "ปรีชา เฉลิมวณิชย์" }, { "docid": "263349#66", "text": "นิตยสาร Foreign Policy ในเครือวอชิงตันโพสต์ ยกตัวอย่างทักษิณเป็นอดีตผู้นำของโลกคนหนึ่งที่ไม่ปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดีหลังจากพ้นตำแหน่ง โดยอ้างถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง หลังถูกรัฐประหารด้วยข้อกล่าวหาทุจริต และละเมิดสิทธิมนุษยชน[17] ส่วนนิตยสารฟอบส์ จัดอันดับให้ทักษิณเป็นหนึ่งในบุคคลร่ำรวยที่สุดในโลกที่ใช้ชีวิตในคุกหรืออยู่ระหว่างหลบหนีคดี โดยที่ทักษิณถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ทักษิณปฏิเสธข้อกล่าวหานี้[99]", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "362887#33", "text": "นโยบายต่างประเทศของทักษิณมีลักษณะเป็นการทูตเชิงธุรกิจ[51] จากวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2540 ทำให้ทักษิณหันไปให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียมากขึ้น และยังชูกระแสชาตินิยมและเอเชียนิยม ตลอดจนแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อตะวันตก ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกค่อนข้างห่างเหิน จนทำให้ในช่วงแรกๆของการดำรงตำแหน่งนายกฯ นักลงทุนต่างชาติเกิดความกังวลว่ารัฐบาลทักษิณมีแนวคิดต่อต้านการลงทุนจากต่างชาติและเป็นพวกชาตินิยม[51] จนทักษิณต้องทำการชี้แจงต่อนักลงทุนต่างชาติ", "title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "362887#9", "text": "ในปี 2544 ทักษิณได้สั่งการแก้ปัญหาภาวะขาดทุนของบางจากปิโตรเลียม โดยแปรรูปบริษัทบางจากให้พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจและไปเป็นบริษัทลูกของปตท.แทน[11] ทักษิณยังมีความพยายามแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ถูกระงับแผนไว้จากคำสั่งศาลปกครอง[15]", "title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "263349#49", "text": "ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เอแบคโพลเปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ และผลวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง \"ฐานสนับสนุนนักการเมือง กับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เปรียบเทียบระหว่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ ทักษิณ ชินวัตร\" กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 27 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,286 ครัวเรือน ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 22 - 24 ตุลาคม พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.4 ขออยู่ตรงกลาง ยังไม่สนับสนุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในขณะที่ ร้อยละ 25.0 สนับสนุน ทักษิณ ขณะที่ร้อยละ 21.6 สนับสนุนนายอภิสิทธิ์[82]", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "263349#65", "text": "วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 นิตยสาร \"ฟาร์อิสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว\" (Far Eastern Economic Review) ลงบทความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับ ทักษิณ โดยรัฐบาลไทยออกคำสั่งห้ามจำหน่าย นิตยสารดังกล่าว และระงับหนังสือเดินทาง ของชอวน์ คริสปิน (Shawn Crispin) กับรอดนีย์ แทสเกอร์ (Rodney Tasker) ผู้สื่อข่าวของนิตยสาร โดยให้เหตุผลว่า เป็นภัยต่อความมั่นคง[97] อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2553 หลังจากที่ ทักษิณ พ้นจากตำแหน่งไป โดยรัฐประหารแล้ว พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อ้างว่า \"...เจ้าฟ้าชายยังทรงรักษาสัมพันธภาพบางอย่าง กับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณเอาไว้ พระองค์ทรงพบกับทักษิณเป็นระยะ ๆ ...\"[98]", "title": "ทักษิณ ชินวัตร" }, { "docid": "34099#0", "text": "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ,ประธานคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช, นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ในอดีตได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร สมรสกับคุณหญิง รัชนีวรรณ วัฒนชัยศ.นพ.เกษม วัฒนชัย เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์โท ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2511 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ", "title": "เกษม วัฒนชัย" }, { "docid": "74799#1", "text": "ทฤษฎีนี้ได้ส่งผลกระทบในด้านลบ และสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของทักษิณ ชินวัตร แม้ไม่เคยมีผู้ใดแสดงหลักฐานพิสูจน์ว่าแผนสมคบคิดนี้มีจริง ทักษิณ ชินวัตรและอดีตผู้นำและผู้ร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ปฏิเสธในเวลาต่อมาว่าแผนสมคบคิดนี้ไม่มีจริง และฟ้องร้องดำเนินคดีกับปราโมทย์ นาครทรรพ และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองซึ่งก่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้อ้างแผนการดังกล่าวเป็นสาเหตุของรัฐประหาร", "title": "แผนฟินแลนด์" } ]
4064
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 จัดขึ้นที่ไหน ?
[ { "docid": "120651#0", "text": "กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 (Portuguese: Jogos Olímpicos de Verão de 2016) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 31 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ รีโอ 2016 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญในประเพณีโอลิมปิก ซึ่งจัดในที่นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 ถึง 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559 การแข่งขันครั้งนี้มีจำนวนนักกีฬามากกว่า 10,500 คนจาก 207 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ซึ่งครั้งนี้เป็นการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกของประเทศคอซอวอและประเทศเซาท์ซูดาน กีฬารีโอ 2016 นั้นได้มีการชิงชัยทั้งหมด 307 เหรียญในกีฬาโอลิมปิกทั้งหมด 28 กีฬา — อาทิ กีฬารักบี้ 7 คน และกีฬากอล์ฟ ซึ่งถูกบรรจุโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ใน พ.ศ. 2551 กีฬาต่าง ๆในครั้งนี้จัดแข่งขันทั้งหมดใน 33 สนาม ในเมืองเจ้าภาพ ส่วนอีก 5 สนาม จะจัดขึ้นที่นครเซาเปาลู (เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศบราซิล), นครเบโลโอรีซอนชี, นครซัลวาดอร์, นครบราซีเลีย (เมืองหลวงประเทศบราซิล) และนครมาเนาส์", "title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 2016" } ]
[ { "docid": "705389#0", "text": "การแข่งขันกรีฑาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ได้จัดขึ้นในช่วง 10 วันสุดท้ายของการแข่งระหว่างวันที่ 12–21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ที่สนามกีฬาโอลิมปิก กีฬากรีฑาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท: ประเภทลู่และลาน ประเภทวิ่งถนน และประเภทเดิน", "title": "กีฬากรีฑาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "719987#0", "text": "การแข่งขันบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันบาสเกตบอลโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 6-21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ที่ สนามกีฬาในร่มการีโอกา 3", "title": "กีฬาบาสเกตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "671141#0", "text": "วอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในร่ม ประเภททีมชาย ที่จะจัดแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ณ รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล มีจำนวนชาติที่เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 12 ทีมเป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย จำนวน 12 ทีม ภายใต้การกำกับดูแลการแข่งขันโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ร่วมกับ สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (เอฟไอวีบี) และนับเป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลในโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 14 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 7 สิงหาคม ถึง 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ที่ฌีนาซีอูดูมารากานังซิญญูในการแข่งขันหากผลว่ามีผลเท่ากันจะตัดสินตามลำดับดังนี้", "title": "วอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "135721#4", "text": "และล่าสุด เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2013 ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้มีมติ ให้ถอดถอนการแข่งขันกีฬาชนิดนี้ ออกจากการเป็นหนึ่งในชนิดกีฬาของการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน โดยจะมีผล หลังจากจบการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ซึ่งหมายความว่า นับจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020เป็นต้นไป จะไม่มีการแข่งขันกีฬามวยปล้ำในโอลิมปิกต่อไป", "title": "กีฬามวยปล้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน" }, { "docid": "672481#0", "text": "ประเทศบราซิล จะเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 31 ค.ศ. 2016 ณ รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม – 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 บราซิลในฐานะเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ จะได้รับโควตาเข้าแข่งขันรอบสุดท้ายในโอลิมปิกครั้งนี้ในหลายชนิดกีฬา", "title": "ประเทศบราซิลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "789055#1", "text": "การคัดเลือกของการแข่งขันรอบคัดเลือกของการแข่งขันกีฬาจักรยาน ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016", "title": "กีฬาจักรยานในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 – รอบคัดเลือก" }, { "docid": "713953#0", "text": "รายนามผู้เชิญธงชาติเข้าสู่สนามในพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นรายชื่อของนักกีฬาผู้อัญเชิญธงชาติของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกเข้าสู่สนามกีฬามารากานังในระหว่างพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล โดยผู้อัญเชิญธงชาติของแต่ละประเทศเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการโอลิมปิกแต่ละประเทศเพื่อเชิญธงชาตินำนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ของประเทศตัวเองเข้าสู่สนามกีฬา โดยธรรมเนียมแล้วทัพนักกีฬาจากประเทศกรีซจะเป็นประเทศแรกที่เข้าสู่สนามเพื่อเป็นการให้เกียรติที่โอลิมปิกยุคโบราณจัดขึ้นครั้งแรกที่กรีซ และบราซิลจะเป็นทัพนักกีฬาชาติสุดท้ายที่เข้าสู่สนามในฐานะเจ้าภาพจัดการแข่งขัน", "title": "รายนามผู้เชิญธงชาติเข้าสู่สนามในพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "715365#0", "text": "การแข่งขันกีฬาโปโลน้ำในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันกีฬาโปโลน้ำโอลิมปิกที่จัดขึ้นในรีโอเดจาเนโร, ประเทศบราซิล กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 6–20 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ที่ศูนย์กีฬาทางน้ำมาเรียเลงก์ ในเขตศูนย์การแข่งขันบาร์รา", "title": "กีฬาโปโลน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "798851#0", "text": "การแข่งขันกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 — ทีมชาย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 ถึง 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016).", "title": "กีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 – ทีมชาย" }, { "docid": "671127#0", "text": "การแข่งขันวอลเลย์บอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในร่มที่จะจัดขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 โดยการแข่งขันวอลเลย์บอลในร่มทำการแข่งขันที่ฌีนาซีอูดูมารากานังซิญญู และวอลเลย์บอลชาดหายจัดที่หาดกอปากาบานา", "title": "กีฬาวอลเลย์บอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "715375#2", "text": "นักกีฬา 136 คนจะเป็นตัวแทนของ 29 ประเทศในกีฬากระโดดน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016:", "title": "กีฬากระโดดน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "799306#0", "text": "การแข่งขันกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 — ทีมหญิง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 ถึง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016).", "title": "กีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 – ทีมหญิง" }, { "docid": "739121#0", "text": "สนามกีฬาทางน้ำโอลิมปิก () เป็นสระว่ายน้ำที่มีการวางแผนที่จะสร้างขึ้นในย่านบาราดาชีฌูกาของนครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล โดยจะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันว่ายน้ำและระบำใต้น้ำสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 และจะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2016", "title": "สนามกีฬาทางน้ำโอลิมปิก (รีโอเดจาเนโร)" }, { "docid": "721189#0", "text": "กีฬามวยปล้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันกีฬามวยปล้ำที่จะจัดขึ้นในรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 14–21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ที่สนามกีฬาการีโอกา 2 ในบาราดาชีฌูกา กีฬามวยปล้ำมีการแข่งขันทั้งหมด 2 ประเภท คือฟรีสไตล์ และเกรกโก-โรมัน ซึ่ง", "title": "กีฬามวยปล้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "894974#1", "text": "ประเทศเซเชลส์ได้รับตัวแทนจาก IAAF เพื่อส่งนักกีฬาสองคน (ชายหนึ่งคนและหญิงหนึ่งคน) ไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016ประเทศเซเชลส์ได้ร่วมรับเชิญจาก FINA ซึ่งประเทศเซเชลส์ได้ส่งตัวแทนชายหนึ่งและหญิ่งหนึ่งเพื่อเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อน 2016", "title": "ประเทศเซเชลส์ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "682047#1", "text": "ประเภทการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016มีดังนี้", "title": "กีฬาว่ายน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "120651#15", "text": "คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้แสดงความคิดเห็นในแง่ดีเกี่ยวกับความสามารถของเมืองเจ้าภาพ และประเทศของบราซิลที่มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยโดยบอกว่า เจ็ดปีเป็นเวลามากพอสำหรับนครรีโอเดจาเนโรในการกวาดล้างปัญหาอาชญากรรม[11] นายมาร์ก แอดัมส์ โฆษกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บอกแก่สื่อว่า \"เรามีความเชื่อมั่นในความสามารถของพวกเขาที่จะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกที่ปลอดภัยในรอบเจ็ดปี การรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกไม่ว่ามันอยู่ที่ไหนในโลก โดยปัญหานี้เป็นวาระดับชาติ ภูมิภาค รวมถึงเมืองเจ้าภาพ และเจ้าหน้าที่\"[12] [13][14] นายลูลา ดา ซิลวา อดีตประธานาธิบดีบราซิลตั้งข้อสังเกตว่าการที่ได้เป็นเมืองเจ้าภาพนั้น เจ้าภาพจะต้องเห็นความสำคัญในรายระเอียดต่าง ๆ เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นอย่างการแข่งขันกีฬาแพนอเมริกันเกมส์ 2007[15]", "title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "681669#0", "text": "กีฬาจักรยานในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันกีฬาจักรยานที่จะจัดขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 ถึง 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ครั้งนี้จักรยานถูกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท และ 18 รายการ เช่นเดียวกับกีฬาจักรยานในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โดยแข่งขันภายใน 4 สนาม ดังนี้บราซิลเป็นประเทศเจ้าภาพ ได้รับโควต้าโดยไม่ต้องผ่านรอบคัดเลือกใด ๆ", "title": "กีฬาจักรยานในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "267833#14", "text": "ต่อจากกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้ประเมิน 26 กีฬาหลักที่จัดขึ้นในกรุงลอนดอน ด้วยการพิจารณา 25 กีฬาหลัก และกีฬาใหม่ที่บรรจุในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 คือ กีฬากอล์ฟ และกีฬารักบี้ 7 คน เพื่อที่จะบรรจุในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ซึ่งในที่นี้จะมีกีฬาที่ถูกถอดออก 1 ชนิดกีฬาที่ได้จัดการแข่งขันในนครรีโอเดจาเนโร ซึ่งไอโอซีจะหาทางที่จะบรรจุกีฬาเพิ่มจากตัวเลือกที่มี 7 กีฬา แทนที่กีฬาที่ถูกถอดออกไป เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556 คณะบริหารไอโอซีได้ลงมติให้ถอดถอนกีฬามวยปล้ำออกจากกีฬาโอลิมปิก ซึ่งเป็นการตัดสินที่น่าแปลกใจที่ได้ถอดถอนกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดในกีฬาโอลิมปิก ออกจากการแข่งขันครั้งนี้ หลังจากการตัดสินใจที่ถอดถอนกีฬามวยปล้ำออกจากกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้ ได้ถูกต่อต้านในหลายประเทศสมาชิก ดังนั้นสหพันธ์มวยปล้ำนานาชาติ หรือ ฟีล่า จึงได้ยื่นสมัครเพื่อที่ให้กีฬามวยปล้ำบรรจุเข้าสู่กีฬาโอลิมปิก 2020 อีกครั้ง", "title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 2020" }, { "docid": "789055#0", "text": "กีฬาจักรยานในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 – รอบคัดเลือก เป็นการแข่งขันรอบคัดเลือกของการแข่งขันกีฬาจักรยาน ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016", "title": "กีฬาจักรยานในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 – รอบคัดเลือก" }, { "docid": "384676#1", "text": "สนามกีฬาแห่งนี้จะใช้เป็นสนามแข่งกรีฑาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016, พาราลิมปิกฤดูร้อน 2016 และมิลิทรีเวิลด์เกมส์ 2011 สนามกีฬาสามารถเพิ่มความจุได้ถึง 60,000 คน", "title": "สนามกีฬาโอลิมปิกโฌเอา อาเวลังฌี" }, { "docid": "715375#0", "text": "กีฬากระโดดน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันกีฬากระโดดน้ำโอลิมปิกที่จัดขึ้นในรีโอเดจาเนโร, ประเทศบราซิล กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 7–9 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ที่ศูนย์กีฬาทางน้ำมาเรียเลงก์ ในเขตศูนย์การแข่งขันบาร์รา ซึ่งเป็นกีฬาหนึ่งในสี่ของกีฬาทางน้ำในโอลิมปิกครั้งนี้ นอกจากกีฬาโปโลน้ำ, กีฬาว่ายน้ำ และกีฬาระบำใต้น้ำ", "title": "กีฬากระโดดน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "721430#0", "text": "การแข่งขันขี่ม้าในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันกีฬาขี่ม้าโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 7-19 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ", "title": "กีฬาขี่ม้าในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "682047#0", "text": "การแข่งขันว่ายน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันว่ายน้ำโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 6–13 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ที่สนามกีฬาโอลิมปิกกีฬาทางน้ำ ส่วนว่ายน้ำมาราธอนจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6–7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในฟอร์ตกอปากาบานา", "title": "กีฬาว่ายน้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "894974#0", "text": "ประเทศเซเชลส์ ได้เข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ในเมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิลระหว่างวันที่ 5-21 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นครั้งที่ 8 ของประเทศเซเชลส์ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนยกเว้นโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ที่กรุงโซลเนื่องจากมีส่วนสนับสนุนการคว่ำบาตรของเกาหลีเหนือ", "title": "ประเทศเซเชลส์ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "715138#0", "text": "กีฬากอล์ฟในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 จัดขึ้นที่รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 11–20 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ที่เรแซร์วาจีมาราเปงดี เขตบาร์ราดาชีฌูกา ", "title": "กีฬากอล์ฟในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "739518#0", "text": "ศูนย์ฮอกกี้โอลิมปิก () เป็นสนามกีฬาที่ถูกสร้างขึ้นในนครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล โดยจะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันฮอกกี้สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 และจะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คนและฟุตบอล 7 คนสำหรับการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2016", "title": "ศูนย์ฮอกกี้โอลิมปิก (รีโอเดจาเนโร)" }, { "docid": "720701#0", "text": "การแข่งขันไตรกีฬาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เป็นการแข่งขันไตรกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 18–20 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ที่สนามป้อมกอปากาบานา", "title": "กีฬาไตรกีฬาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016" }, { "docid": "120651#14", "text": "นับตั้งแต่ที่นครรีโอเดจาเนโรได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เทศบาลนครรีโอเดจาเนโรได้เอาใจใส่เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมมากขึ้น ในขณะนั้นนายกเทศมนตรีของนครรีโอเดจาเนโรได้ยอมรับว่า \"ปัญหาใหญ่\" ของการแข่งขันครั้งนี้คือความปลอดภัยที่ปราศจากความรุนแรง อย่างไรก็ตามเขายังกล่าวเกี่ยวกับความกังวล และปัญหาที่จะเผชิญ ขณะเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกแก่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล[10] ผู้ว่าราชการของนครรีโอเดจาเนโรยังเน้นความจริงที่ว่ากรุงลอนดอนต้องเผชิญกับปัญหาด้านความปลอดภัย เนื่องจากมีการโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นหลังจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้เลือกกรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 เพียงไม่กี่ชั่วโมง", "title": "โอลิมปิกฤดูร้อน 2016" } ]
4065
สิทธัตถะ โคตมะ มีบุตรชื่ออะไร?
[ { "docid": "80018#8", "text": "อย่างไรก็ตาม พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงปริวิตกต่อคำทำนายของพราหมณ์หนุ่มที่ว่าเจ้าชายจะทรงออกผนวชแน่นอน จึงทรงจัดการเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์ พร้อมสร้างปราสาท 3 ฤดูให้ประทับ เมื่อพระชมน์ได้ 16 พรรษา ได้เข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา ผู้เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ กษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติกรุงเทวทหะ จนพระชนมายุได้ 29 พรรษา จึงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่าพระราหุล ซึ่งแปลว่า บ่วง", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" } ]
[ { "docid": "157226#1", "text": "พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นพระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้า และเมื่อพระนางสิริมหามายาสวรรคตแล้ว หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วัน ในกาลต่อมาพระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงตั้งพระนางมหาปชาบดีโคตมีไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ซึ่งพระนางได้ทรงถวายการอภิบาลเจ้าชายสิทธัตถะ เสมือนเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง พระนางมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าชายนันทะ และมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าหญิงรูปนันทา\nพระนางได้ทรงแสดงความประสงค์จะบวชต่อพระพุทธเจ้าในคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงอนุญาตให้พระนางผนวช เนื่องจากยังไม่เคยทรงอนุญาตให้สตรีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองเวสาลีและประทับอยู่ที่ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน พระนางปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยเหล่านางสากิยานีจำนวนมาก จึงได้ปลงพระเกศา ห่มผ้ากาสายะ เป็นการแสดงเจตนาที่จะบวชอย่างแรงกล้า โดยเสด็จไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เมืองเวสาลี เพื่อทรงทูลขออุปสมบท โดยพระนางได้ทรงแจ้งพระประสงค์ต่อพระอานนท์ให้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอให้พระนางพร้อมทั้งเหล่านางสากิยานีได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอานนท์ใช้ความพยายามอยู่หลายหน พระพุทธเจ้าจึงทรงออกหลัก ปฏิบัติเป็นพิเศษสำหรับสตรีผู้ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา คือครุธรรม 8 ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยินดีปฏิบัติตามครุธรรม ทั้ง 8 ประการ จึงได้รับการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเหล่านางสากิยานี", "title": "พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี" }, { "docid": "61610#44", "text": "ขณะนั้น พระนางกีสาโคตมี ราชกัญญาแห่งศากยราช ได้ทอดพระเนตรเห็นพระสิทธัตถะ มีพระทัยปฏิพัทธ ได้ตรัสคาถาสรรเสริญพระคุณสมบัติของพระกุมารด้วยสุรเสียงอันไพเราะว่า", "title": "พุทธประวัติ" }, { "docid": "80018#0", "text": "พระโคตมพุทธเจ้า (ออกเสียง: โค-ตะ-มะ) มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า \"ภควา\" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) [1]", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" }, { "docid": "352472#8", "text": "และสุดท้าย แรงงานที่ต้องคอบสนับสนุนเพื่อนให้ทั้ง 3 วรรณะข้างตนทำงานได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ผู้ทำหน้าที่ใช้แรงงานหรือด้านกรรมกรนั้นคือวรรณะศูทร\nคัมภีร์อรรถศาสตร์ คัมภีร์ที่เป็นเสมือนคู่มือนักปกครองในยุคสมัยของอินเดียโบราณ เข้าใจว่าถูกเรียบเรียงโดย เกาติลยะ หรือผู้ที่สามารถยันกองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชย์ที่พยายามขยายอำนาจมาสู่อินเดียเอาไว้ได้ คัมภีร์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสนับสนุนคุณสมบัติของศาสนาพราหมณ์ 3 ประการคือ อำนาจ ธรรมมะ และกามะ ในยุคสมัยอินเดียโบราณจะให้ความสำคัญกับวรรณะพราหมณ์มากกว่าวรรณะกษัตริย์ แต่อรรถศาสตร์จะยึดการให้ความสำคัญกับประมุขของรัฐมากกว่าวรรณะพราหมณ์ แต่ก็ยังคงยอมรับว่าวรรณะพราหมณ์มีชนชั้นสูงกว่า โดยหน้าที่ของวรรณะพราหมณ์นั้นจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องศาสนาและพิธีกรรมมากกว่าการมีบทบาททางราชการของรัฐ\nพระพุทธเจ้า\nเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ จากแคว้นแห่งหนึ่งในชมพูทวีปผู้ค้นพบ(ตรัสรู้)และเผยแพร่ศาสนาพุทธที่เจริญรุ่งเรืองในอินเดียในยุคต่อมาระยะหนึ่ง โดยแก่นสำคัญของปรัชญาชาวพุทธคือการมองชีวิตและสรรพสิ่งในโลกว่าไม่เที่ยงแท้ มีความทุกข์ ไม่ใช่ของตนและมีแต่จะเสื่อมสลายไป ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นทุกสิ่งย่อมมีสาเหตุ เน้นความเป็นเหตุเป็นผล ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนอย่าพึงเชื่ออะไรโดยง่าย ศาสนาพุทธเน้นเดินทางสายกลางและการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายอีกทั้งเน้นในเรื่องของหนทางแห่งการดับทุกข์โดยเห็นว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีหลักคิดสำคัญคือ อริยสัจ 4 \nในทางปรัชญาตวามคิดทางสังคมของศาสนาพุทธ มีความคิดในการยอมรับความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกันของมนุษย์ มีความตรงกันข้ามกับระบบวรรณะของฮินดู โดยมีความคิดที่ว่ามนุษย์จะปฏิบัติอะไรจะเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเองไม่ได้ขึนอยู่กับชาติกำเนิด ศาสนาพุทธไม่เน้นถึงรูปแบบการปกครองแต่จะกล่าวถึงธรรมในการปกครองมากกว่า", "title": "ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง" }, { "docid": "59540#9", "text": "ครั้นกาลเวลาล่วงเลยมาถึง 29 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกบรรพชาโกณฑัญญะพราหมณ์ทราบข่าวก็ดีใจ เพราะตรงกับคำทำนายของตน จึงรีบไปชวนบุตรของพราหมณ์ทั้ง 7 คนที่ร่วมทำนายด้วยกันนั้น โดยกล่าวว่า “บัดนี้ เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จออกบรรพชาแล้ว พระองค์จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญเจ้าแน่นอน ถ้าบิดาของพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็คงจะออกบวชด้วยกันกับเรา ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะบวชก็จงบวชตามเสด็จพระมหาบุรุษพร้อมกันเถิด”", "title": "พระอัญญาโกณฑัญญเถระ" }, { "docid": "266473#1", "text": "พระนาลกะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ มารดาของท่านเป็นน้องสาวของอสิตดาบส (กาฬเทวิลดาบส) อาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะพระชนกของพระพุทธเจ้า ท่านจึงเป็นหลานของอสิตดาบส เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 3 วัน ท่านอสิตดาบสได้ไปเยี่ยมพระเจ้าสุทโธทนะเพื่อดูพระโอรส จึงทราบว่าอีกไม่นานพระโอรสเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท่านได้กลับมาบอกนาลกะหลานชายว่า เจ้าชายสิทธัตถะจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก ให้นาลกะออกบวชเป็นฤๅษีบำเพ็ญฌานรอจนกว่าเจ้าชายสิทธัตถะบรรลุธรรม และให้กลับมาขอให้ทรงประทานโมเนยยปฏิบัติ (การปฏิบัติของมุนี) ซึ่งป็นชื่อเรียกการปฏิบัติให้บรรลุธรรมในยุคที่พระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้", "title": "พระนาลกะ" }, { "docid": "21832#15", "text": "พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า (เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า สิทธัตถะ โคตมะ) ประทับยืนหันพระพักตร์มาข้างหน้า มีพระหัตถ์ข้างซ้ายเหนือสะโพกกำลังแสดงท่าปางประทานอภัย abhaya mudra พร้อมกับพระหัตถ์เบื้องขวา เหรียญเหล่านั้นทั้งหมด เป็นเหรียญทองแดงล้วนล้วนๆและ ถูกใช้สวมใส่ มาค่อนข้างมาก \nจีวรของพระศรีศากยะมุนีพุทธเจ้าค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับบนเหรียญทีมีพระนามปรากฏว่าพระพุทธเจ้า โชว์ให้เห็นพระวรกายอย่างชัดเจน ในรูปแบบที่ค่อนข้างโปร่งใส ผ้าเหล่านี้น่าจะเป็นผ้าสองชั้นของพระสงฆ์คือ ผ้าอันตรวาสก(ผ้าสบง) กับ ผ้าอุตตรวาสก (ผ้าจีวร) นอกจากนี้จีวรยังถูกม้วนคุมแขนซ้าย (คงจะถูกจับไว้ในมือซ้าย) ลักษณะเฉพาะตัวที่ทราบกันใน Bimaran casket และ ดูคล้ายๆกับผ้าพันคอ uttariya พระองค์มีพระโมฬี(จุก)วงกลมหลายๆอันทั่วพระเศียร และมีวงรัศมีหนึ่งหรือสองวง การแผ่พระรัศมีบางครั้งมีรอบๆพระเศียร", "title": "พระเจ้ากนิษกะ" }, { "docid": "266483#4", "text": "เนื่องด้วยพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่าน เคยเป็นพราหมณ์ 1 ใน 8 คนที่ได้รับนิมนต์เข้ารับภัตตาหารในพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์ในวันขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธัตถะหากออกผนวชจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บิดาของท่านจึงตั้งใจว่าหากเจ้าชายออกผนวชตนจะออกบวชตาม แต่ด้วยบิดาของท่านมีอายุมากแล้ว และเกรงว่าตนอาจจะอยู่ไม่ถึงวันที่เจ้าชายบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านจึงสั่งเสียให้ลูกชายคือวัปปะพราหมณ์ออกบวชหากเจ้าชายออกผนวชตามคำทำนาย โดยเมื่อเจ้าชายออกบวชท่านได้ตามโกณฑัญญะพราหมณ์และบุตรพราหมณ์ 108 จำนวน 3 คนออกบวชด้วย", "title": "พระวัปปเถระ" }, { "docid": "266480#2", "text": "พระนันทเถรศากยะ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านเป็นพระภาดาต่างพระราชมารดาของพระพุทธเจ้า พระราชบิดาของท่านคือพระเจ้าสุทโธทนศากยราชาพระมหากษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ โดยเป็นพระราชบิดาร่วมพระองค์กับเจ้าชายสิทธัตถะ พระราชมารดาของพระนันทศากยะมีพระนามว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระมาตุจฉาและทรงเคยเป็นพระอภิบาลของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อยังทรงพระเยาว์", "title": "พระนันทะ" }, { "docid": "266484#4", "text": "เนื่องด้วยพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่าน เคยเป็นพราหมณ์ 1 ใน 8 คนที่ได้รับนิมนต์เข้ารับภัตตาหารในพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์ในวันขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธัตถะหากออกผนวชจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บิดาของท่านจึงตั้งใจว่าหากเจ้าชายออกผนวชตนจะออกบวชตาม แต่ด้วยบิดาของท่านมีอายุมากแล้ว และเกรงว่าตนอาจจะอยู่ไม่ถึงวันที่เจ้าชายบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านจึงสั่งเสียให้ลูกชายคือภัททิยะพราหมณ์ออกบวชหากเจ้าชายออกผนวชตามคำทำนาย โดยเมื่อเจ้าชายออกบวชท่านได้ตามโกณฑัญญะพราหมณ์และบุตรพราหมณ์ 108 จำนวน 3 คนออกบวชด้วย", "title": "พระภัททิยเถระ" }, { "docid": "111872#0", "text": "มหานิบาตชาดก ทศชาติชาดก หรือ พระเจ้าสิบชาติ เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีใน 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระโคตมพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง 10 เรื่อง เพื่อให้จำง่าย มักนิยมท่องโดยใช้พยางค์แรกของแต่ละชาติ คือ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว", "title": "ทศชาติชาดก" }, { "docid": "334628#1", "text": "หลังนั้น พระเจ้าสุกโกทนะก็มีพระมเหสี ทรงพระนามว่า นางกีสาโคตมี และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง พระนามว่า อานนท์ เนื่องจากเจ้าชายอานนท์ประสูติวันเวลาเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ จึงเรียกว่าเป็นสหชาติ", "title": "พระเจ้าสุกโกทนะ" }, { "docid": "80018#9", "text": "เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นอรรถกถากล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยจนมีพระชนมายุได้ 29 พรรษาแล้ว ทรงเสพสุขอยู่บนปราสาท 3 ฤดู มีความสุขทางโลกบริบูรณ์[10] จนวันหนึ่งได้เสด็จประพาสอุทยาน ครั้งนั้นเทวดาได้เนรมิตเทวทูต 4 อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง 4 ก็ทรงบังเกิดความสังเวชในพระทัย และใคร่เสด็จออกผนวชเป็นสมณะ", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" }, { "docid": "266482#4", "text": "เนื่องด้วยพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่าน เคยเป็นพราหมณ์ 1 ใน 8 คนที่ได้รับนิมนต์เข้ารับภัตตาหารในพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์ในวันขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธัตถะหากออกผนวชจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บิดาของท่านจึงตั้งใจว่าหากเจ้าชายออกผนวชตนจะออกบวชตาม แต่ด้วยบิดาของท่านมีอายุมากแล้ว และเกรงว่าตนอาจจะอยู่ไม่ถึงวันที่เจ้าชายบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านจึงสั่งเสียให้ลูกชายคือมหานามพราหมณ์ออกบวชหากเจ้าชายออกผนวชตามคำทำนาย โดยเมื่อเจ้าชายออกบวชท่านได้ตามโกณฑัญญะพราหมณ์และบุตรพราหมณ์ 108 จำนวน 3 คนออกบวชด้วย", "title": "พระมหานามเถระ" }, { "docid": "266481#4", "text": "เนื่องด้วยพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่าน เคยเป็นพราหมณ์ 1 ใน 8 คนที่ได้รับนิมนต์เข้ารับภัตตาหารในพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์ในวันขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธัตถะหากออกผนวชจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บิดาของท่านจึงตั้งใจว่าหากเจ้าชายออกผนวชตนจะออกบวชตาม แต่ด้วยบิดาของท่านมีอายุมากแล้ว และเกรงว่าตนอาจจะอยู่ไม่ถึงวันที่เจ้าชายบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านจึงสั่งเสียให้ลูกชายคืออัสสชิพราหมณ์ออกบวชหากเจ้าชายออกผนวชตามคำทำนาย โดยเมื่อเจ้าชายออกบวชท่านได้ตามโกณฑัญญพราหมณ์และบุตรพราหมณ์ 108 จำนวน 3 คนออกบวชด้วย", "title": "พระอัสสชิเถระ" }, { "docid": "130015#17", "text": "ภาษาที่ใช้ของชาวอารยันในหมู่ชนชั้นสูงคือภาษาสันสกฤต ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปใช้ภาษาปรากฤต กำเนิดศาสนาสองศาสนา คือ พระพุทธศาสนา โดยเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ และศาสนาเชน โดยมหาวีระ ทั้งสองศาสนาเน้นเรื่องการละความสุขทางโลก และสอนเป็นภาษาบาลี จึงเข้าถึงผู้คนได้มาก", "title": "ประวัติศาสตร์อินเดีย" }, { "docid": "959564#0", "text": "อังศุ มลิก (; ; เกิดวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1987) เป็นนักแสดงชาวอินเดีย มีชื่อเสียงโด่งดังจากบทบาท พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาจากเรื่อง ศรีสิทธัตถะ โคตมะ และบทพระแม่ลักษมี จากละครชุด พิฆเนศ มหาเทพไอยรา", "title": "อังศุ มลิก" }, { "docid": "80018#16", "text": "เหตุการณ์จากนี้ ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาระบุตรงกันว่า เมื่อพระองค์ถือเพศบรรพชิตแล้ว ก็ทรงศึกษาในลัทธิคณาจารย์ต่าง ๆ ซึ่งสมัยนั้นนิยมกัน ส่วนเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อครองเพศบรรพชิตแล้ว ทรงถือวัตรปฏิบัติของสมณะ คือปลงผมนุ่งผ้า ย้อมน้ำฝาด (สีเหลืองแก่นขนุน) เลี้ยงชีพด้วยอาหารบิณฑบาต ที่ผู้ต้องการบุญถวายให้ ทรงมีพระนามเรียกขานว่าพระสมณโคดม (คำว่า โคดม มาจากคำว่า โคตมะ ซึ่งเป็นชื่อโคตรของราชวงศ์ศากยะ)", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" }, { "docid": "34082#6", "text": "ต่อมาพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ผู้เป็นพระน้านางและพระมาตุจฉา หรือพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านได้มีศรัทธาอยากออกบวชจึงทูลอ้อนวอนขอบวชต่อพระพุทธเจ้าถึงสามครั้งสามครา แต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งพระอานนท์ได้ทูลขอให้ พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่า พระนางปชาบดีโคตมีจะต้องรับเอาครุธรรมแปดประการ (แปลว่าข้อปฏิบัติที่หนักและทำได้ยาก) ไปปฏิบัติ", "title": "ภิกษุณี" }, { "docid": "332458#1", "text": "พระเจ้าสุปปพุทธะ มีพระราชบุตร 2 พระองค์ องค์แรกเป็นพระราชโอรส มีพระนามว่า เจ้าชายเทวทัต ซึ่งคิดอิจฉาริษยากับพระพุทธเจ้ายิ่งนัก ส่วนพระองค์ที่ 2 เป็นพระราชธิดา มีพระนามว่า นางยโสธรา หรือ พิมพา ซึ่งเป็นพระมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า", "title": "พระเจ้าสุปปพุทธะ" }, { "docid": "20838#18", "text": "ในช่วงแรกนั้น พระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรทางกาย คือ \"ทุกกรกิริยา\"[12] คือ การบำเพ็ญเพียรที่นักพรตผู้บำเพ็ญตบะในสมัยนั้นยกย่องว่าเป็นยอดของการบำเพ็ญเพียรทั้งปวง 3 ประการ โดยในระหว่างบำเพ็ญเพียร ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ผู้เป็นพราหมณ์ (โกณฑัญญะ) และบุตรแห่งพราหมณ์ (ปัญจวัคคีย์ที่เหลือ) ที่ได้ร่วมงานทำนายลักษณะมหาบุรุษแห่งเจ้าชายสิทธัตถะ (ในคราว 5 วันหลังจากประสูติ) ว่า \"ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช จักได้เป็นศาสดาเอกของโลก\" เมื่อท่านเหล่านั้นได้ทราบข่าวการออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ จึงชักชวนกันออกบวชเพื่อตามหาเจ้าชาย และได้พบเจ้าชายสิทธัตถะในขณะกำลังบำเพ็ญทุกกรกิริยาจึงคอยเฝ้าอยู่ปฏิบัติ ต่อมา เมื่อพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญเพียรถึงขั้นยวดยิ่งแล้วแต่ยังไม่ตรัสรู้ พระองค์ได้ทราบอุปมาแห่งพิณ 3 สาย ว่าการปฏิบัติเช่นนี้เป็นหนทางอันสุดโต่งเกินไป จึงได้ละทุกกรกิริยาเสีย หันกลับมาเสวยอาหาร เหล่าปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 จึงคิดว่าพระองค์ทรงคลายความเพียรทางกายด้วยทุกกรกิริยา ไม่มีโอกาสตรัสรู้ได้ จึงพาพวกละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี", "title": "วันวิสาขบูชา" }, { "docid": "80018#5", "text": "เมื่อพระชนมายุ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้เชิญพราหมณ์มา 108 คนเพื่อถวายพระนามพระราชกุมาร จึงได้พระนามว่า \"สิทธัตถะ\" จากนั้น พระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ 8 คนเข้าพิจารณาพระลักษณะของพระกุมารเพื่อถวายคำพยากรณ์ พราหมณ์ 7 คนในจำนวนนั้นทำนายเป็น 2 สถาน คือหากพระราชกุมารครองราชย์จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หากผนวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เว้นแต่พราหมณ์อายุน้อยสุดชื่อ \"โกณฑัญญะ\" พยากรณ์ว่า พระราชกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน[9]", "title": "พระโคตมพุทธเจ้า" }, { "docid": "934#6", "text": "ศาสดาของศาสนาพุทธ คือ พระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติในดินแดนชมพูทวีป ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท ผู้สืบทอดราชบัลลังก์กรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ[15] และเมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราแห่งเมืองเทวทหะ ต่อมาเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา มีพระโอรส 1 พระองค์พระนามว่า ราหุล[16]", "title": "ศาสนาพุทธ" }, { "docid": "266480#0", "text": "พระนันทเถรศากยะ หรือ พระนันทเถระ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระนันทเถรศากยะเป็นพระประยูรญาติของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยท่านเป็นพระภาดา ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระมาตุจฉาของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า", "title": "พระนันทะ" }, { "docid": "61610#31", "text": "และได้พร้อมกันถวายพระนามพระกุมาร ตามคุณพิเศษที่ปรากฏ เพราะพระกุมารมีพระรัศมีโอภาสงามแผ่สร้านออกจากพระสรีระกายเป็นปกติ จึงถวายพระนามว่า อังคีรส และเพราะพระกุมารต้องพระประสงค์สิ่งอันใด สิ่งอันนั้นจะต้องพลันได้ดังพระประสงค์ จึงได้ถวายพระนามว่า สิทธัตถะ แต่มหาชนนิยมเรียกตามพระโคตรว่า โคตมะ (โดยเฉพาะคนไทยเราแต่ก่อนนิยมเรียกว่า สิทธารถ อ่านว่า สิทธาด)", "title": "พุทธประวัติ" }, { "docid": "377771#0", "text": "\"บุดดะ\" ( เป็นชื่อของผลงานมังงะ (นิยายภาพ) ของเทะซึกะ โอะซะมุ ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเดียวของเขาที่สร้างขึ้นเพื่อตีความพุทธประวัติของพระสิทธัตถะโคดมพุทธเจ้า ศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ ข้อวิจารณ์ที่มังงะเรื่องนี้ได้รับบ่อยครั้งเป็นเรื่องของความกล้าของผู้ประพันธ์ในการตีความพุทธประวัติใหม่ให้แตกต่างจากที่บันทึกไว้ในวงการศาสนา", "title": "บุดดะ" }, { "docid": "267847#2", "text": "พระกีสาโคตมีเถรี นี้ เป็นคนละคนกับ พระนางกีสาโคตมี พระธิดาของพระน้านางของเจ้าชายสิทธัตถะ (คือ พระนางปมิตา หรือ อมิตา คนใดคนหนึ่ง) เป็นผู้ตรัสชมเจ้าชายสิทธัตถะว่า ผู้ที่เป็นบิดามารดาหรือชายาของเจ้าชายนี้ ย่อมเป็นผู้หมดทุกข์ (คือมีความสุข)", "title": "พระกีสาโคตมีเถรี" }, { "docid": "377771#5", "text": "เนื้อหาของแอนิเมชั่นเรื่อง \"เทะซึกะ โอะซะมุ โนะ บุดดะ - อะคะอิ ซะบะคุ โยะ! อุซุคุชิคุ\" จะกล่าวถึงช่วงปฐมวัยของพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งพานพบกับชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุขแห่งวรรณะกษัตริย์ ตรงกันข้ามชีวิตกับคู่ขนานของลูกทาสที่ชื่อชาปรา ซึ่งพยายามต่อสู้ดิ้นรนให้ตนเองได้อยู่ในฐานะที่สูงขึ้นและพ้นจากชีวิตอันยากลำบากแร้นแค้นโดยปิดบังชาติกำเนิดในวรรณะศูทรของตนไว้ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของเจ้าชายสิทธัตถะกับนางโจรสาวชื่อมิคาอิลาซึ่งถูกกีดกันโดยพระเจ้าสุทโธทนะ ", "title": "บุดดะ" }, { "docid": "157127#1", "text": "พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีหหนุกับพระนางกัญจนา มีพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระชนกชนนีอีก 6 พระองค์ ได้แก่ สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ ฆนิโตทนะ ปมิตา และอมิตา พระเจ้าสุทโธทนะ มีพระอัครมเหสีนามว่าพระนางสิริมหามายา เจ้าหญิงโกลิยวงศ์จากกรุงเทวทหะ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากพระสิทธัตถราชกุมารประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็สวรรคต พระสุทโธทนะจึงอภิเษกสมรสใหม่กับพระนางมหาปชาบดีหรือโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาร่วมชนนีกับพระนางสิริมหามายา และมีพระโอรสคือ “เจ้าชายนันทะ” และพระธิดาคือ “เจ้าหญิงรูปนันทา”", "title": "พระเจ้าสุทโธทนะ" }, { "docid": "207196#11", "text": "หลังประสูติกาลพระราชกุมารได้เจ็ดวัน พระนางสิริมายามายาก็สวรรคต สร้างความโศกาอาดูรแก่พระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ภายใต้การอภิบาลของพระนางปชาบดีโคตมี พระขนิษฐาพระนางสิริมหามายา ซึ่งต่อมาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระราชโอรส-ธิดาสองพระองค์คือ เจ้าชายนันทะ (Nanda) และเจ้าหญิงรูปนันทา (Rūpanandā) ส่วนพระนางสิริมหามายาได้ไปจุติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิต", "title": "พระนางสิริมหามายา" } ]
4066
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์เมื่อไหร่?
[ { "docid": "4249#1", "text": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติในวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ยังเป็นโทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน และมีพระราชโอรส - พระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 สิริพระชนมายุ 64 พรรษา วัดประจำรัชกาลคือวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร", "title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
[ { "docid": "39975#7", "text": "\"ตามรายงานนี้เห็นได้ชัดว่า เขาเตรียมจะใช้กำลังกับเราอยู่แล้ว เผอิญให้เกิดมีการสวรรคตและเปลี่ยนแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นมาเสวยราชย์ในเวลาที่ทรงทราบเหตุการณ์นอกประเทศดีอยู่แล้ว เพราะทรงมีเวลาศึกษาเพียงพอ ในเวลาที่ผนวชเป็นพระภิกษุถึง 27 ปี พอเสวยราชย์ได้ 4 ปี เซอร์จอน โบว์ริง (Sir John Bowring) เจ้าเมืองฮ่องกง ก็มีจดหมายส่วนตัวเข้ามากราบทูลว่า คราวนี้ตัวเขาจะเข้ามาเป็นราชทูตแทนพระองค์ควีน วิคตอเรีย ไม่ใช่เป็นแต่เพียงทูตมาจากผู้สำเร็จราชการอินเดียเช่นคนก่อน ๆ เพราะฉะนั้นจึงหวังว่าจะไม่มีเรื่องเดือดร้อนถึงต้องขัดใจกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข้อไขอันนี้ดี จึงเปิดประตูรับในฐานะมิตร และเป็นผลให้เราได้พ้นภัยมาได้แต่ผู้เดียวในทางตะวันออกประเทศนี้\"", "title": "พระสยามเทวาธิราช" }, { "docid": "551810#2", "text": "เจ้าพิมพิสารได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็น\"พระยาราชวงศ์\" เมื่อพระยาอินทวิไชยผู้เป็นราชมาตุลาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2390 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็น\"พระยาแพร่\" ขณะมีชันษาได้ 34 ปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระยาพิมพิสารไม่ลงไปเข้าเฝ้า จึงไม่ได้รับพระราชทานนามใหม่ขึ้นเป็นเจ้าอย่างเจ้านครเชียงใหม่ เจ้านครลำพูน เจ้านครลำปาง และเจ้านครเมืองน่าน", "title": "พระยาพิมพิสารราชา" }, { "docid": "41622#0", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หรือ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้านพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย (ธิดาพระอินทรอำไพ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 แรม 10 ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก จ.ศ. 1184 ตรงกับวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2365 ในสมัย ร.2 พระองค์เจ้านพวงศ์ เป็นพระโอรสหนึ่งในสองพระองค์ที่ประสูติก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงขึ้นครองราชย์ (อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร) แรกประสูติ เป็น หม่อมเจ้านพวงศ์ พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ในสมัย ร.4 จึงได้เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส" }, { "docid": "4249#10", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่พระมงกุฎ วชิรญาณะ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าพระมงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แต่พระองค์ยังไม่ทรงลาผนวชและตรัสว่าต้องอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่ควบคุมกำลังทหารเป็นอันมากได้", "title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "41626#0", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร หรือ พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ วรฤทธิราชมกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมเจ้าน้อย ธิดาของพระอินทรอำไพ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์) ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 14 ค่ำ ปีวอกฉศก จ.ศ. 1186 ตรงกับวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2367 ในสมัย ร.2 พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ เป็นพระโอรสหนึ่งในสองพระองค์ที่ประสูติก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะขึ้นครองราชย์ (อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส) แรกประสูติ เป็น หม่อมเจ้าสุประดิษฐ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ในสมัย ร.4 จึงได้เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร" }, { "docid": "53060#1", "text": "วัดป่าเลไลยก์วรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ระดับวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์", "title": "วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร" }, { "docid": "4219#8", "text": "ลำดับรูปพระนามขึ้นครองราชย์สิ้นสุดการครองราชย์รัชกาลที่ 1พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช6 เมษายน พ.ศ. 23257 กันยายน พ.ศ. 2352รัชกาลที่ 2พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย7 กันยายน พ.ศ. 235221 กรกฎาคม พ.ศ. 2367รัชกาลที่ 3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว21 กรกฎาคม พ.ศ. 23672 เมษายน พ.ศ. 2394รัชกาลที่ 4พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว6 เมษายน พ.ศ. 23941 ตุลาคม พ.ศ. 2411รัชกาลที่ 5พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว1 ตุลาคม พ.ศ. 241123 ตุลาคม พ.ศ. 2453รัชกาลที่ 6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว23 ตุลาคม พ.ศ. 245326 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468รัชกาลที่ 7พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว26 พฤศจิกายน พ.ศ. 24682 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478) (สละราชสมบัติ)รัชกาลที่ 8พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478)9 มิถุนายน พ.ศ. 2489รัชกาลที่ 9พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช9 มิถุนายน พ.ศ. 248913 ตุลาคม พ.ศ. 2559รัชกาลที่ 10สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร13 ตุลาคม พ.ศ. 2559ยังอยู่ในราชสมบัติ", "title": "ราชวงศ์จักรี" }, { "docid": "170064#2", "text": "ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เคยอยู่ในเพศบรรพชิตได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดนี้ ในคราวนั้น พระอธิการแก้วเจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่า \"จะได้เป็นเจ้าชีวิตในเร็วๆนี้\" พระองค์จึงมีรับสั่งว่า \"ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่\" หลังจากนั้นหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระราชทานสมณะศักดิ์ พระอธิการแก้วเป็น \"พระมหาพฤฒาจารย์\" และโปรดให้สร้างพระอารามใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2397 จนถึง พ.ศ. 2409 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการสถาปนา ต่อมาเมื่อทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาขึ้นในพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า \"วัดมหาพฤฒาราม\"", "title": "วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร" }, { "docid": "596142#1", "text": "วัดบรมนิวาส เป็นวัดที่พระวชิรญาณเถระโปรดให้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2377 ประกอบด้วยพระอุโบสถ พระเจดีย์ และกุฏิ 14 หลัง การก่อสร้างดังดำเนินมาจนกระทั่งพระวชิรญาณเถระลาผนวชและขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอารามได้รับการปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่อีกครั้งในสมัยที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นเจ้าอาวาส โดยเจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 และพระราชโอรสธิดา เป็นผู้สนับสนุนทุนทรัพย์", "title": "วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร" }, { "docid": "9091#5", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้สวรรคต เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร กราบทูลว่าจะเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎตรัสว่าท่านฟากข้างโน้น (หมายถึงเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์) มีพระชะตาแรงต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ให้ถวายราชสมบัติแก่ท่านนั้นด้วย เพราะหากพระองค์รับราชสมบัติเพียงพระองค์เดียวจะเกิดอัปมงคล ด้วยไปกีดกันบารมีของสมเด็จพระอนุชา ถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์เหมือนอย่างสมเด็จพระนเรศวรสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยก็จะพ้นจากอัปมงคล เจ้าพระยาพระคลังจึงไปเข้าเฝ้าเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ณ พระราชวังเดิมตามรับสั่ง[1] เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เหล่าขุนนางมาประชุมพร้อมกันแล้วกราบทูลเชิญทั้งสองพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ[11] เมื่อเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว จึงมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ก็ทรงพระปรีชารอบรู้กิจการต่าง ๆ มีผู้ใหญ่ผู้น้อยนิยมนับถือมาก สมควรที่จะพระราชทานยศใหญ่กว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลแต่ก่อน ๆ[12] แต่เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯ ยังไม่ได้รับพระสุพรรณบัฏตั้งพระนาม ทำให้ไม่มีพระนามเดิม ดูเป็นการต่ำทรามไป จึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏตั้งพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอิศเรศจุฑามณี ชั้นหนึ่งก่อน[13] แล้วจึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏในการพระราชพิธีบวรราชาภิเษกในวันที่ 25 พฤษภาคม ว่า", "title": "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "260409#4", "text": "จากที่กล่าวข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่าวัดมณีฯ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ด้วยเป็นวัดหลวง ที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์และด้วยเหตุที่สภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีน้ำล้อมรอบ เหมาะแก่การเสด็จประพาสประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ จึงทำให้มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล และเสด็จมาประทับพักผ่อนหลายพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เคยเสด็จท้องพรหมาสตร์เล่นสักวาเมื่อวันขึ้นสิบค่ำ เดือนสิบสอง ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. 2415 ) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชทานกฐิน 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2458 และ พ.ศ. 2469 การเสด็จแต่ละครั้งก็จะประทับ ณ พระตำหนักแพ กลางท้องพรหมาสตร์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เคยเสด็จเมื่อตอนลาผนวชก่อนขึ้นเสวยราชย์ หรือมีพระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุ์วงศ์วรเดช และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็เคยเสด็จถวายพระกฐิน ณ วัดนี้เช่นกัน ", "title": "วัดมณีชลขัณฑ์" }, { "docid": "55065#4", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2411 เจ้าจอมอายุได้ 11 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคต และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เจ้าจอมมารดาทับทิมก็ยังเป็นละครหลวงอยู่ และมีลีลาการฟ้อนรำเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป จนได้ชื่อว่าเป็นนางเอกละครหลวงที่ดีที่สุดคนหนึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลี้ยงเจ้าจอมมารดาทับทิมเป็นเจ้าจอม ประจวบกับเจ้าจอมมารดาเที่ยงออกไปอยู่วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร พระองค์หญิงโสมาวดี (กรมหลวงสมรรัตน์สิริเชษฐ) พระราชธิดาองค์ใหญ่ ซึ่งครอบครองตำหนักต่อมา ทรงพระเมตตารับเจ้าจอมมารดาทับทิมจากสำนักท้าววรคณานันท์ และจัดเรือนในบริเวณตำหนักหลังหนึ่งกับทั้งคนสำหรับใช้สอย ให้ครอบครองสมกับบรรดาศักดิ์ สาเหตุที่ต้องสละการแสดงละครนั้น เพราะเหตุว่าเจ้าจอมมารดาทับทิมทรงครรภ์ พระเจ้าลูกเธอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานตำหนักเจ้านายให้อยู่เป็นอิสระอย่างเจ้าจอมมารดา", "title": "เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "189470#0", "text": "หอระฆัง ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นใหม่โดยมีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมไทย ย่อมุมไม้สิบสอง (สี่ด้าน ด้านละสามมุม) ประดับด้วยเครื่องถ้วยชามแบบจีน เป็นลวดลายต่างๆวิจิตรพิสดารอย่างยิ่ง ปัจจุบันได้มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 ", "title": "หอระฆัง (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)" }, { "docid": "4775#9", "text": "ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไทยยังคงทำสงครามกับพม่ามาโดยตลอดซึ่ง เจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนในการทำสงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษ บทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราชสำนักจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งยังผนวชอยู่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดให้สร้างพระราชวัง วัด และพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัวเมืองและพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์” หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “วังบ้านปืน” และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและน้ำทะเลอาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวัง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ขึ้นที่ชายหาดชะอำเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์", "title": "จังหวัดเพชรบุรี" }, { "docid": "6105#5", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งธรรมยุติกนิกาย ก็ได้ทรงเข้าถือธรรมเนียมนั้นตาม ทรงทำทัฬหีกรรม ณ นทีสีมา โดยมีพระสุเมธมุนี (ซาย พุทฺธวํโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงเป็นพระภิกษุเป็นพระกรรมวาจาจารย์ แล้วศึกษาพระปริยัติธรรมต่อในสำนักพระวิเชียรปรีชา (ภู่) แม้จะไม่เคยสอบพระปริยัติธรรม แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานตาลปัตรสำหรับพระเปรียญที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงเคยรับ ให้ทรงใช้ต่อ", "title": "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์" }, { "docid": "40396#19", "text": "Family of Main Page 16. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย8. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว17. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์18. หลวงอาสาสำแดง (แตง)9. สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม สุจริตกุล)19. ท้าวสุจริตธำรง (นาค)2. หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์20. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว10. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร21. เจ้าจอมมารดาพึ่ง อินทรวิมล5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี11. หม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา1. หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์24. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว12. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว25. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต26. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว13. สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี27. เจ้าคุณจอมมารดาสำลี บุนนาค3. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานต์มณี28. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว14. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย29. เจ้าจอมมารดาห่วง7. หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร15. หม่อมกลีบ ชูกะวิโรจน์", "title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์" }, { "docid": "4054#19", "text": "หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร", "title": "พระสุนทรโวหาร (ภู่)" }, { "docid": "158168#1", "text": "ในรัชสมัยของพระองค์กัมพูชาได้หลุดพ้นการตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามและกลายมาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ทำให้พระองค์ได้ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์แรกที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส \nเมื่อพำนักในกรุงเทพฯ พระองค์มีสถานะเป็นพระราชบุตรบุญธรรมของกษัตริย์สยาม ผนวชในธรรมยุติกนิกาย 1 พรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เมื่อสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชาแล้ว พระองค์ได้ส่งพระราชโอรส คือ นักองค์ราชาวดี เข้ามาทำราชการที่กรุงเทพมหานครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีมีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพมหานครว่า \"ตนมีชนมายุเจริญล่วงมากไปแล้ว ขอพระราชทานให้พระเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงตั้งนักพระองค์ราชาวดี บุตรผู้ใหญ่เป็นมหาอุปราช นักพระองค์ศรีสวัสดิ์บุตรที่ 2 เป็นพระแก้วฟ้า ออกไปช่วยรักษาเมืองเขมร\" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นักพระองค์ราชาวดีมีนามว่า \"\"องค์พระนโรดมพรหมบริรักษ์มหาอุปราช\"\" ตั้งนักพระองค์ศรีสวัสดิ์เป็น \"\"องค์หริราชดะไนไกรแก้วฟ้า\"\" ตามที่พระเจ้ากรุงกัมพูชาทรงขอมา เมื่อ พ.ศ. 2400", "title": "พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร" }, { "docid": "5358#4", "text": "ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ละโว้หรือลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรเขมรเป็นครั้งคราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอในอาณาจักรเขมร ทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งละโว้ด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ปรากฏหลักฐานว่าเมืองลพบุรีน่าจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยครองราชย์มาก่อนที่จะย้ายไปสถาปนาอาณาจักรอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เองที่ลพบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ได้สถาปนาลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ลพบุรีก็ขาดความสำคัญลงมากจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดสถาปนาเมืองลพบุรีเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง", "title": "จังหวัดลพบุรี" }, { "docid": "4236#22", "text": "พ.ศ. 2367 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ \"กรมพระราชวังบวรสถานมงคล\" โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า", "title": "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "193972#25", "text": "รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 1 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 2 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 3 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 4 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 5 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 6 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "7605#14", "text": "ปี พ.ศ. 2400 พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) ได้ถึงแก่พิราลัย ยังแต่พระศรีวรราช (เจ้าเหม็น) บุตรพระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) แลกรมการช่วยกันดูแลราชการบ้านเมืองอยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีวรราช (เจ้าเหม็น) บุตรพระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) เป็นที่พระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชดำรงรักษ์ศักดิยศไกร ศรีพิไชยสงคราม เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร คนที่ 4 (พ.ศ. 2400-2418) ปี พ.ศ. 2416 พระสุนทรราชวงศา (เจ้าเหม็น) พระศรีรราชสุพรหม ผู้เป็นบุตร พร้อมด้วยญาติวงศ์ แลไพร่พลได้พร้อมกันปฏิสังขรณ์วัดท่าแขกที่สร้างขึ้นในสมัยเจ้าฝ่ายบุต แล้วนิมนต์พระเกตุโล (เกตุ) วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มาเป็นเจ้าอาวาส พร้อมตั้งวงศ์ธรรมยุติกนิกายในเมืองยศสุนทรเป็นครั้งแรก และให้ชื่อวัดใหม่ว่า \"วัดศรีธรรมารามหายโศรก\" (วัดศรีธรรมาราม) พระเกตุโล (เกตุ) ยังเป็นพระภิกษุที่ได้รับการอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ จึงเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับว่าวัดศรีธรรมารามหายโศรกเป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของเมืองยศสุนทร", "title": "จังหวัดยโสธร" }, { "docid": "32173#2", "text": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2393 มีพระราชปณิธานช่วยเหลือราษฎรด้านความเป็นอยู่ โดยมีพระราชดำริแตกต่างจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเชษฐา หลายอย่าง โดยทรงเห็นว่าการเปิดให้ค้าข้าวกับต่างประเทศได้อย่างเสรีจะสร้างประโยชน์แก่บ้านเมืองมหาศาล จะทำให้ข้าวราคาสูงขึ้น เพราะมีความต้องการซื้อข้าวจากต่างชาติ ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาลเช่นกัน ตลอดจนทรงเห็นว่านโยบาย \"ปิดข้าว\" สร้างรายได้ให้แก่คนส่วนน้อย ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม", "title": "สนธิสัญญาเบาว์ริง" }, { "docid": "112394#28", "text": "ภายหลังการเสวยราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระองค์ทรงปรารถนาที่จะวางกฎเกณฑ์บรรดาศักดิ์แก่บรรดาเจ้าประเทศราชฝ่ายล้านช้างให้เป็นแบบแผน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาฐานันดรศักดิ์สำหรับลูกท่านหลานเธอแห่งเจ้าผู้ครองนครประเทศราชฝ่ายล้านช้างหลวงพระบางและฝ่ายจำปาศักดิ์ (ยกเว้นนครเวียงจันทน์) ตลอดจนหัวเมืองฝ่ายอีสานบางเมืองขึ้นอีก เรียกว่า เจ้ายั้งขะหม่อม หรือ เจ้าย่ำกระหม่อม รวมเป็น ๑๑ ตำแหน่ง ดังนี้", "title": "อาญาสี่" }, { "docid": "538208#0", "text": "พระราชวังสมุทรปราการ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงโปรดฯ ในการเสด็จประพาสเมืองปากน้ำ(สมุทรปราการในปัจจุบัน) เพราะมีหาดทรายขาว ลำน้ำสงบนิ่ง มีธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงาม (ครั้งยังไม่มีเรือใหญ่แล่นผ่าน) และที่สำคัญที่สุด คือ พระสมุทรเจดีย์ โดยเสด็จลงเรือข้ามจากฝั่งอำเภอเมือง ไปนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์หลายครั้ง บันทึกในพงศาวดารยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทรงปฏิบัติเช่นว่านี้มาตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวช\nเมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริในการปฏิสังขรณ์องค์พระสมุทรเจดีย์ให้ยิ่งใหญ่ด้วยความสูงถึง ๑๙ วา ๒ ศอก ครอบองค์พระเจดีย์ดั้งเดิมที่ก่อสร้างมาแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างการปรับปรุงพระสมุทรเจดีย์ขึ้นใหม่นี้เอง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวัง เพื่อทรงเตรียมไว้เป็นที่ประทับ ในยามเสด็จมาตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการ พระราชวังใหม่สร้างขึ้นที่ฝั่งตัวเมือง (ฝั่งตลาด) ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณถนนด่านเก่า ไปจรดพื้นที่รอบตลาดวิบูลย์ศรีในปัจจุบัน ทรงใช้โอกาสในวันสมโภชพระสมุทรเจดีย์องค์ใหม่ พระราชทานนามว่า “พระราชวังสมุทรปราการ” ", "title": "พระราชวังเมืองสมุทรปราการ" }, { "docid": "62794#4", "text": "ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร คงมีนามเรียกเต็มว่า วัดหงสาราม ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือประชุมพงศารภาคที่ ๒๕ ตอนที่ ๓ เรื่องตำนานสถานที่ และวัสดุต่าง ๆ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะ และมีความเกี่ยวเนื่องกับวัดหงส์ฯ ดังมีข้อความกล่าวไว้เป็นเชิงประวัติว่า วัดนี้นามเดิมว่า วัดเจ้าขรัวหงส์ แล้วเปลี่ยนมา เป็น วัดหงสาราม และในสำเนาเทศนาพระราชประวัติรัชกาลที่ ๒ ซึ่ง หม่อมเจ้าพระประภากร บวรวิสุทธิวงศ์ วัดบวรนิเวศน์วิหาร ทรงเทศนาถวาย ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นามว่า วัดหงสาราม ในเรื่องเกี่ยวกับวัดหงส์ฯ แม้แต่ในพระอารามหลวงที่ เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร เรียบเรียงถวายรัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวไว้เช่นเคียวกัน แต่กล่าวพิเศษออกไปว่า เรียกวัดหงสาราม มาแต่รัชกาลที่ ๑ เห็นจะเป็นว่าเมื่อเรียกโดยไม่มีพิธีรีตองสำคัญอะไร ก็คงเรียกวัดหงสาราม ทั้ง ๓ รัชกาล ก็เป็นได้ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) นี้ สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงรับปฏิสังขรณ์จากการทรงชักชวนของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเกณฑ์ต่อให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระยศ เจ้าฟ้ามงกุฎ ให้รื้อพระอุโบสถเก่าแปลงปลูกเป็นวิหาร แต่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงรับทำ จึงเป็นพระภาระของสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ แต่พระองค์เดียว ส่วน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งแรกทรงรับพระภาระสร้างโรงธรรมตึกใหญ่ขึ้นใหม่ แต่ในครั้งหลังสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์สิ้นพระชนม์ การยังไม่เสร็จ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงรับเป็นพระธุระทั้งพระอุโบสถ และพระวิหาร และสิ่งอื่นอีก", "title": "วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร" }, { "docid": "267041#9", "text": "ลำดับรูปรายพระนาม/รายนามระยะการดำรงตำแหน่งหมายเหตุ1สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาพ.ศ. 2468ผู้สำเร็จราชการในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรเมื่อปลายรัชกาล ซึ่งภายหลังขึ้นครองราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)", "title": "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "196664#2", "text": "เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 ได้ทรงบัญญัติคำนำพระนามพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ และได้ใช้คำนำพระนามนี้มาจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ แทน", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "4529#32", "text": "พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) พระเจ้าประเทศราชผู้ครองนครศรีธรรมราชในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) หรือเจ้าพระยานครพัฒน์ อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระโอรสในกรมหมื่นอินทรพิทักษ์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์) กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) พระมเหสีฝ่ายซ้ายในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) กับหม่อมทองเหนี่ยว เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง พระสนมในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) และเป็นมารดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) หรือเจ้าพระยานครน้อย อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต้นสกุล ณ นคร, โกมารกุล ณ นคร และจาตุรงคกุล เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง และเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ โกมารกุล ณ นคร) บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ต้นสกุล โกมารกุล ณ นคร เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) พระยาเสน่หามนตรี (น้อยเอียด ณ นคร) บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ต้นสกุล จาตุรงคกุล เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระชนนีในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก พระสนมในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และพระชนนีในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช เป็นธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว พระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นธิดาพระยาจักรีเมืองนครศรีธรรมราช และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภัยทัต กรมหลวงเทพพลภักดิ์ และหม่อมไกรสร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ) เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ เจ้าจอมน้อยเล็ก พระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) เจ้าจอมมารดาบัว พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ เจ้าจอมหนูชี พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ ณ นคร) เจ้าจอมอิ่ม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) เจ้าจอมจับ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) เจ้าจอมเป้า พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) เจ้าจอมอำพัน พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอุทัยธานี (ม่วง ณ นคร) เจ้าจอมกุหลาบ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอุทัยธานี (ม่วง ณ นคร) เจ้าจอมเขียน พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร) เจ้าจอมทับทิม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร) เจ้าจอมเกตุ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาวิชิตสรไกร (กล่อม ณ นคร) เจ้าจอมสว่าง พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) และท่านผู้หญิงดาวเรือง เจ้าจอมนวล พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร) เจ้าจอมเพิ่ม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอิศราธิไชย (กลิ่น ณ นคร) เจ้าจอมพิณ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระศรีสุพรรณดิษฐ์ (เสม ณ นคร) เจ้าจอมมิ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในนายสนิทยศสถาน (พร้อม จาตุรงคกุล) เจ้าจอมสุวรรณ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยากาญจนดิษฐบดี (พุ่ม ณ นคร)", "title": "จังหวัดนครศรีธรรมราช" }, { "docid": "4249#8", "text": "ในขณะที่ผนวชอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะดำรงสมณเพศต่อไป ในระหว่างที่ผนวชอยู่นั้นได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทรงเป็นนักปราชญ์รอบรู้ ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี[1] พระองค์ทรงผนวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 จนถึงลาผนวชเพื่อรับการขึ้นครองราชย์ เป็นเวลารวมที่บวชเป็นภิกษุทั้งสิ้น 27 พรรษา (ขณะนั้นพระชนมายุ 48 พรรษา) หมายเหตุ; เวลาที่ผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน", "title": "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
4067
เชียงรุ่ง ตั้งอยู่ในประเทศอะไร?
[ { "docid": "17115#0", "text": "เชียงรุ่ง หรือในภาษาจีนคือ จิ่งหง, เจียงฮุ่ง หรือออกเสียงในภาษาไทลื้อว่า เจงฮุ่ง (Chinese:景洪; pinyin:Jǐnghóng; ไทลื้อใหม่: ; Lao: ຊຽງຮຸ່ງ) เป็นเมืองระดับเทศมณฑล (อำเภอ) และเมืองเอกในเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ตอนใต้ของประเทศจีน มีชายแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศพม่า และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศลาว", "title": "เชียงรุ่ง" } ]
[ { "docid": "109302#11", "text": "เมืองเชียงลาบนั้นพญาเจืองธรรมิกราช ชัยภูมิที่เหมาะสม อีกทั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างหิรัญเงินยางนคร และเชียงรุ่ง ซึ่งหากเกิดข้าศึกรุกรานเชียงรุ่ง ตรงจุดนี้ซึ่งเป็นจุดโขงโค้ง แม่น้ำโขงไหลเชี่ยวที่สุด ประกอบกับและเป็นจุดที่ยากลำบากที่สุดในการคมนาคม หากมีข้าศึกรุกรานจะทำให้ข้าศึกเหนื่อยล้า และสามารถสะกัดกั้นไม่ให้ข้าศึกไปตีเมืองหลวงเชียงรุ่งได้ ดังนั้นจึงได้โปรดให้บริวาร เสนาอามาตย์ สมณะ ครูบาสังฆเจ้า ไพร่พล เดินทางลงเรือ ตามลำน้ำของ เรียกกันว่า \"ล่องของ\" มาขึ้นฝั่งตรงสบลาบ และสร้างเวียงใหม่ขึ้น นามว่า \"เวียงลาบ\" หรือ เชียงลาบ", "title": "เชียงลาบ" }, { "docid": "17115#3", "text": "ฮุง แปลว่า ตะไคร่น้ำ (หากฮุง) มีลักษณะสีเหลือง อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นตาน้ำ หรือบ่อน้ำตามริมห้วย ฮุ่ง แปลว่า เวลารุ่งเช้า (ยามค่ำคืนฮุ่ง) สว่าง แจ้ง (น.)ต้นละหุ่ง ผลของลูกละหุ่ง หรือ ฮุ้ง แปลว่า นกชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเดียวกับเหยี่ยว (ส่วนรุ้ง หรือ สายรุ้ง ที่เกิดบนฟ้านั้นชาวลื้อเรียกว่าแมงอี่ฮุม) ภาษาไทลื้อไม่มีคำว่ารุ้ง การเรียกชื่อเมืองเชียงรุ้ง นั้นจึงไม่ถูกต้อง เพราะภาษาไทลื้อ ออกเสียงว่า เจงฮุ่ง (เดิม อาจออกเสียงว่า เจียงฮุ่ง แต่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) อาจได้รับอิทธิพลจากการออกเสียงในภาษาจีนกลาง) เมื่อเทียบกับภาษาเขียนแล้วเชียงรุ่งในอักษรลื้อ ใช้ตัว ร แต่อ่านออกเสียงตัว ฮ ซึ่งการเรียกชื่อเมืองเชียงรุ่งในศัพท์ภาษาไทยนั้นจึงถูกต้องที่สุด[3][4]", "title": "เชียงรุ่ง" }, { "docid": "17115#1", "text": "ที่มาชื่อนั้น มีตำนาน \"พะเจ่าเหลบโหลก\" (พระเจ้าเลียบโลก)[1] อยู่ว่า เมื่อครั้งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเหินฟ้าเลียบโลกมาโปรดสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งแม่น้ำของ (ภาษาไทลื้อ เรียกว่า น้ำของ ภาษาจีน เรียก หลานชาง คำว่าน้ำโขงจึงไม่มีในภาษาไทลื้อ) ในอาณาจักรของชาวไทลื้อแห่งนี้ ก็เป็นเวลารุ่งอรุณของวันใหม่พอดี จึงเรียกแห่งนี้ว่า \"เชียง\" ที่แปลว่า \"เมือง\" และ \"รุ่ง\" ที่แปลว่า \"รุ่งอรุณ\" ว่า \"เชียงรุ่ง\" จึงแปลได้ว่าเมืองแห่งรุ่งอรุณอันสดใส[2]", "title": "เชียงรุ่ง" }, { "docid": "109302#1", "text": "เชียงลาบซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงไหลเชี่ยวที่สุด หรือที่เรียกว่า \"โขงโค้ง\" เป็นแนวบริเวณที่อันตรายที่สุดในการเดินเรือ เนื่องจากเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงไหลลงมาตรงแล้วกระทบกับโขดหินและไหลย้อยกลับขึ้นไปข้างบน จึงทำให้แม่น้ำโขงในบริเวณนี้ไหลแรงและเชี่ยวที่สุดและต้องใช้ความชำนาญสูงในการเดินเรือสินค้า หากมองด้านจุดยุทธศาสตร์การเมือง การคมนาคม และการค้าขายในอดีต เมื่อสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมา หากต้องเดินทางเดินทางจากเชียงแสนไปเชียงรุ่ง ต้องหยุดพักตรงนี้ เมื่อมีการหยุดพักแล้วจึงมีคารวานต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนสินค้าในบริเวณดังกล่าว จึงทำให้เชียงลาบกลายเป็นเมืองหน้าด่านสู่ประตูสู่เชียงรุ่งโดยปริยาย", "title": "เชียงลาบ" }, { "docid": "517478#1", "text": "เจ้าปางคำ เป็นเชื้อพระวงศ์เชียงรุ่ง แสนหวีฟ้า ที่อพยพลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช กษัตริย์ล้านช้าง ในคราวที่กองทัพฮ่อ ยกทัพมาตีเมืองเชียงรุ่งในปี พ.ศ. 2228 โดยมีเจ้านายเชียงรุ่งที่อพยพมาพร้อมกันคือ เจ้าอินทกุมาร และเจ้าจันทกุมารี(พระมารดา เจ้ากิงกิสราช ปฐมกษัตริย์อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง)\nพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าปางคำ นำครัวเมืองเชียงรุ่งที่ติดตามมา ให้ตั้งอยู่ที่เมืองนครเขื่อนขันกาบแก้วบัวบานหรือเมืองหนองบัวลุ่มภู ซึ่งเป็นเป็นเมืองหน้าด่านเดิมของเวียงจันทน์มาตั้งแต่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชย้ายธานีมาอยู่ที่เวียงจันทน์ และโปรดให้งดการเก็บส่วย บรรณาการเมือง และสิทธิในการสะสมกำลังแก่เจ้าปางคำอีกด้วย ", "title": "เจ้าปางคำ" }, { "docid": "17115#9", "text": "พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) เปิดถนนเชื่อมระหว่างคุนหมิง–เชียงรุ่ง พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) เปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขง พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เปิดทำการสนามบินสิบสองปันนา ใช้เวลาเพียง 45 นาทีในการเดินทางระหว่างคุนหมิงกับเชียงรุ่ง", "title": "เชียงรุ่ง" }, { "docid": "18179#6", "text": "ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 เจ้าสุนันทะ โอรสเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ได้พาบริวารชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ่ง เข้ามาปกครองเมืองยองเหนือคนพื้นเมือง ซึ่งเป็นชาวลัวะ โดยมีทั้งปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ", "title": "ไทลื้อ" }, { "docid": "17115#2", "text": "เชียงรุ่ง หรือ เชียงรุ้ง หากเทียบภาษา และสำเนียงไทลื้อแล้ว จะออกเสียงว่า \"เจงฮุ่ง\" ซึ่งหมายถึง เมืองแห่งรุ่งอรุณ คำว่า \"เชียงรุ้ง\" นั้นเป็นการเลียนในภาษาของชาวบางกอกเสียง ฮ จะเปลี่ยนเป็น ร เช่นคำว่า เฮา ในภาษาเหนือกลายมาเป็น เรา ในสำเนียงชาวบางกอก ภาษาเมื่อเทียบภาษาของชาวไทลื้อ เทียบสำเนียงภาษาไทลื้อแล้ว จะได้ความหมายดังนี้", "title": "เชียงรุ่ง" }, { "docid": "17483#3", "text": "หลังจากนั้น อาณาจักรนี้ก็ถูกโจมตี จนอาณาจักรหอคำเชียงรุ่งล่มสลาย กลายเป็นแคว้นสิบสองปันนา", "title": "อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง" }, { "docid": "406126#3", "text": "สำหรับสะพานแห่งนี้ เป็นสะพานที่เชื่อต่อเส้นทางอาร์ 3 เอจากกรุงเทพ - คุณหมิง เพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015\nเส้นทางอาร์3เอ มีต้นทางเริ่มจากเชียงของ ประเทศไทย-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น ของประเทศลาว-บ่อหาน-เชียงรุ่งหรือจิ่งหง ในแคว้นสิบสองปันนา-นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ของจีน โดยมีระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงคุนหมิงรวมกว่า 1,800 กิโลเมตร \nสำหรับการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจอาร์3เอ เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนับเป็นโครงการบูรณาการเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนับว่าเป็นโอกาสสูงมากที่ประเทศไทยจะมีช่องทาง โอกาสในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนตอนใต้ ที่จะเดินทางมาทางรถยนต์และทางเรือเพื่อมาท่องเที่ยวยังจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย", "title": "สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)" }, { "docid": "109302#13", "text": "หลังสิ้นยุคของพญาเจิงหาญ หรือ ขุนเจือง พญายอง เจ้าเมืองยอง ได้ถือโอกาสยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงลาบ และสามารถยึดเมืองได้ ดังนั้นเชียงลาบจึงเป็นเมืองขึ้นของเมืองยองมาตั้งแต่ต้น ภายหลังเมืองยองขาดเจ้าเมืองปกครอง และถูกเจ้าเมืองเชียงรุ่งร่วมกับทัพเมืองเชียงลาบยกทัพมาตีเมืองคืน และได้ยกทัพขึ้นไปตีเมืองยอง สุดท้ายเมืองยองจึงเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงรุ่ง และเมืองเชียงลาบ", "title": "เชียงลาบ" }, { "docid": "127419#12", "text": "ในที่สุด นายทหารเสรีไทยทั้ง 5 พร้อมด้วย ม.ล.ขาบและนายพลโซะของจีน เดินทางจากซือเหมาบุกป่าฝ่าเขาไปยังเมืองเชียงรุ่ง เมืองหลวงของเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยปลอมตัวเป็นพ่อค้าจีน คนนำทางที่ทางการจีนจัดให้ พา ร.อ.โผนและนายทหารเสรีไทยอีก 4 นายออกเดินทางไปสู่แม่น้ำโขงเมื่อประมาณวันที่ 10 มีนาคม 2487 ตามที่ได้ตกลงกันนั้น การเดินทางจากเชียงรุ่งไปถึงเมืองล่าซึ่งเป็นเมืองติดชายแดนลาวทางตอนใต้ของจีน จะใช้เวลาประมาณ 7 วัน และจากเมืองล่าไปถึงแม่น้ำโขงก่อนข้ามเข้าเขตไทยจะใช้เวลาอีกประมาณ 15 วัน แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น", "title": "โผน อินทรทัต" }, { "docid": "35035#8", "text": "ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มคนไทจากเมืองเชียงรุ่ง นำโดยเจ้าสุนันทะโอรสของเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ได้พาบริวารเข้ามามีอำนาจปกครองเมืองยองเหนือคนพื้นเมือง โดยมีทั้งปัจจัยภายในเป็นสิ่งสนับสนุน ได้แก่การผสมผสานระบบความเชื่อและพิธีกรรมที่มีอยู่แต่เดิมกับพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลัง กับได้สร้างความสัมพันธ์กับคนพื้นเมือง", "title": "เมืองยอง" }, { "docid": "17115#5", "text": "เมืองเชียงรุ่งตั้งอยู่ละหว่างละติจูด 21°27' ถึง 22°36' เหนือ และลองจิจูด 100°25' ถึง 101°31' ตะวันออก ติดต่อกับเมืองผูเอ่อร์ทางทิศเหนือ เทศมณฑลเมิ้งล่าทางทิศตะวันออก และเทศมณฑลเมิ้งฮายทางทิศตะวันตก รวมทั้งติดต่อกับรัฐฉานของประเทศพม่าทางทิศใต้ มีเทือกเขาเหิงต้วน (เหิงตฺวั้น) กั้นทางทิศใต้ของเมือง และมีแม่น้ำโขง (ในประเทศจีนเรียกแม่น้ำหลานชาง) ไหลผ่านเมืองไปทางตะวันออกเฉียงใต้ไปยังประเทศลาวและประเทศพม่า", "title": "เชียงรุ่ง" }, { "docid": "17168#6", "text": "การอ่อนแอของราชวงค์อาฬโวสวนตาลครั้งแรกเริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนต๋าน จากนั้นเกิดความวุ่นวายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายถึงรัชกาลที่ 24 ท้าวอินเมิง (ท้าวอินเมือง) อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด การขยายอาณาเขตเข้าไปยึดถึงเมืองเชียงตุง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตุให้การอพยพชาวไทลื้อจากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน หัวเมืองทางเหนือของลาว ทุกเมือง รัฐฉานของพม่า จนถึงเชียงตุง และแถบไต้คง", "title": "เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา" }, { "docid": "18699#0", "text": "เชียงตุง (; ; ไทเขิน: ; ) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐชานของประเทศพม่า เป็นเมืองของชาวไทเขินและชาวไทใหญ่ ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่าเมืองเชียงใหม่แห่งล้านนาและเมืองเชียงรุ่งแห่งสิบสองปันนา โดยชาวไทใหญ่เรียกชื่อเมืองนี้ว่า \"เก็งตุ๋ง\" ในอดีตเชียงตุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการค้าเชื่อมต่อระหว่างสิบสองปันนากับล้านนา โดยมีพ่อค้าชาวจีนฮ่อเดินทางไปมาค้าขายในเส้นทางนี้", "title": "เชียงตุง" }, { "docid": "49565#3", "text": "1. สำเนียงเชียงรุ่ง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ สำเนียงคนยองถือว่าเป็นสำเนียงภาษากลางของชาวไทลื้อ คือเป็นภาษาของชาวเชียงรุ่ง เป็นสำเนียงที่พูดช้าและฟังดูสุภาพ มักมีคำว่า \"เจ้า\" ต่อท้ายเหมือนคนล้านนา สำเนียงนี้เป็นสำเนียงที่ใช้ในบริเวณสิบสองปันนาตอนกลาง และตะวันตกของสิบสองปันนา ครอบคลุ่มถึงรัฐฉาน ประเทศพม่า ประกอบด้วย (เมืองยอง, เมืองหลวย, เมืองยู้, เมืองเชียงลาบ, เมืองเลน, เมืองพะยาก และเมืองไฮ) เลยมาถึงประเทศลาวแถบเมืองสิงห์ (เชียงทอง), เชียงแขง, เวียงภูคา, บ่อแก้ว, ไชยบุรี, เชียงฮ่อน, เชียงลม และหงสา โดยมีสำเนียงจะออกกลางๆ การผันสำเนียงเสียง จะอยู่ในระดับกลางๆ ขึ้นๆ ลงๆ ค่อนข้างน้อย แต่มักตัดคำพูดควบกันให้สั้นลง และมักเอื้อนเสียงพูด หรือลากเสียงยาว ภาษาชาวไทลื้อกลุ่มนี้พูดกันมากในจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน (นับแต่ ตำบลยม อำเภอท่าวังผา, อำเภอปัว ขึ้นไปจนถึงเมืองเงิน และหลวงพระบาง, เมืองสิงห์ ของประเทศลาว)", "title": "ภาษาไทลื้อ" }, { "docid": "24294#4", "text": "พระองค์เป็นพระราชโอรสของลาวเมง พระมหากษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงลาว กับนางเทพคำขยาย พระราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย พระมหากษัตริย์แห่งเมืองเชียงรุ่งสิบสองปันนา (เชื้อเครือเจ้าแสนวีสิบสองพันนา กล่าวว่า นางเทพคำขยายมีชื่ออีกชื่อว่าอั้วมิ่งไข่ฟ้า หรือ นางอกแอ่น และเป็นน้องสาวของท้าวรุ่งแก่นชาย เมื่ออภิเสกสมรสกับเจ้าลาวเมงแล้ว ได้เปลี่ยนชื่อเป็นนางคำกาย หรืออั้วมิ่งเมือง)", "title": "พญามังราย" }, { "docid": "17115#4", "text": "อีกหนึ่งความเห็น เชื่อว่า \"เชียงรุ่ง\" ได้ชื่อมาจาก ตำนาน เรื่อง ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ซึ่งขยายอำนาจจากเมืองพะเยาไปเมืองเงินยางเชียงแสน (อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) จนถึงตอนใต้ของยูนนานที่สิบสองพันนา (จึงมีชื่อเมืองว่าเชียงรุ่ง หรือเจียงฮุ่ง จาก นามท้าวฮุ่ง)[5]", "title": "เชียงรุ่ง" }, { "docid": "127419#13", "text": "ประมาณกลางเดือนเมษายน 2487 ขณะที่ม.ล.ขาบ กุญชร กำลังรอรับสัญญาณวิทยุจากเสรีไทยทั้ง 5 นายซึ่งในช่วงเวลานั้นควรจะอยู่ในประเทศไทยแล้ว ร.อ.โผน อินทรทัต กลับมาซือเหมาและรายงานว่า ร.ท.การุณ เก่งระดมยิงกับ ร.ท. เอี่ยน ขัมพานนท์เดินทางกลับมาเชียงรุ่งอีก ทั้งๆที่ได้ออกเดินทางมุ่งไปเมืองล่าแล้ว ส่วนร.ท.โผนยังคงติดค้างอยู่ เนื่องจากจีนผู้นำทางไม่ยอมพาไป โดยอ้างข้อขัดข้องสารพัดอย่างและที่สุดก็บอกว่าต้องการยารักษาโรค ทำให้ ร.อ.โผนต้องเดินทางบุกป่ากลับมาที่ฐานปฏิบัติการซือเหมา รวมเวลาที่ ร.อ.โผน อินทรทัต ออกเดินทางไปเชียงรุ่งพร้อมกับ ม.ล.ขาบ กุญชรและเพื่อนเสรีไทยสายอเมริกา 4 นายเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ จนกระทั่งกลับสู่ซือเหมาประมาณเดือนครึ่ง", "title": "โผน อินทรทัต" }, { "docid": "375334#0", "text": "ดินแดนเชียงตุงเป็นดินแดนที่มีความสำคัญมานานในอดีตเช่นเดียวกับเชียงใหม่และเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา)ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์ แต่เดิมเชียงรุ่งเป็นเมืองลูกหลวงของเชียงใหม่ จนกลายเป็นเมืองประเทศราชของพม่าในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง หลังจากนั้น เชียงใหม่ได้แยกตัวเป็นอิสระจากพม่า มาเป็นเมืองประเทศราชของสยาม ส่วนเชียงตุงยังคงเป็นเมืองประเทศราชของพม่า ทำให้เกิดความขัดแย้งเป็นสงครามเชียงใหม่-เชียงตุงถึง 3 ครั้ง ในที่สุด เชียงตุงเป็นอาณานิคมของอังกฤษเช่นเดียวกับพม่า ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทยในชื่อสหรัฐไทยเดิมในเวลาสั้นๆช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อพม่าได้รับเอกราช จึงเป็นส่วนหนึ่งของรัฐฉาน ประเทศพม่า ", "title": "ประวัติศาสตร์เชียงตุง" }, { "docid": "17483#1", "text": "อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง หรือ อาณาจักรเชียงรุ้ง เป็นอาณาจักรที่เคยทรงอำนาจมากในเขตประเทศจีนตอนใต้ ทั้งยังขยายอิทธิพลไปตีเอาเมืองใกล้เคียง เช่น\nมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นของตนเอง ใกล้เคียงกับวัฒนธรรมของพม่า ล้านนา สยาม ลาว และ เวียดนาม โดยแบ่งระบบการปกครองเป็น 12 พันนา 12000 พันนา หรือ 12 เขตการปกครอง โดยแต่ละเมือง จะมีเมืองเล็กๆหลายๆเมือง มารวมกันอยู่เมืองใหญ่ หรือ พันนา พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การปกครองแบบ สหพันธรัฐ และมีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองเชียงรุ่ง การแบ่งเช่นนี้ก็เพราะว่า ความสะดวกในการปกครองและการเก็บส่วยอากร เก็บเครื่องบรรณาการส่งไปยังเชียงรุ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง", "title": "อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง" }, { "docid": "93464#0", "text": "นครลำปาง หรือ เทศบาลนครลำปาง เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลนครที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่สองในภาคเหนือ ถัดจากเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและความเจริญของจังหวัดลำปางและภาคเหนือ เป็นประตูสู่ดินแดนห้าเชียง อันได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, เชียงตุง (พม่า), เชียงรุ่ง (สิบสองปันนา), และเชียงทอง (หลวงพระบาง)", "title": "เทศบาลนครลำปาง" }, { "docid": "17483#0", "text": "อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง คือ อาณาจักรที่เคยตั้งอยู่ในเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน แต่ไม่ค่อยจะมีข้อมูลในประวัติศาสตร์", "title": "อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง" }, { "docid": "17115#10", "text": "หมวดหมู่:มณฑลยูนนาน รุ่ง หมวดหมู่:อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง หมวดหมู่:สิบสองปันนา หมวดหมู่:อาณาจักรล้านนา หมวดหมู่:เมืองในมณฑลยูนนาน หมวดหมู่:เชียงรุ่ง", "title": "เชียงรุ่ง" }, { "docid": "112394#60", "text": "เมืองจัน (เมืองจันทน์) มาจากชื่อเมืองนครเวียงจันทน์ เมืองแสน มาจากชื่อเมืองแสน ในกลุ่มเมืองหัวพันห้าทั้งหก แขวงหัวพัน เมืองซ้าย มาจากชื่อเมืองซ้าย หรือเมืองด่านซ้าย จังหวัดเลย เมืองขวา มาจากชื่อเมืองขวา เมืองฮาม มาจากชื่อเมืองรามราช หรือเมืองลามมะลาด เมืองปาก มาจากชื่อเมืองปากห้วยหลวง ริมปากน้ำห้วยหลวง จังหวัดหนองคาย เมืองปาว มาจากชื่อเมืองภูวานปาว เมืองแฝดกับเมืองภูวานเถ้า เรียกรวมกันว่า ภูวานเถ้าภูวานปาว เมืองคุก มาจากชื่อเมืองเวียงคุก หรือเมืองห้วยคุก ริมปากน้ำห้วยคุก จังหวัดหนองคาย เมืองแพน มาจากชื่อเมืองแพน เมืองซอง มาจากชื่อเมืองซอง เมืองสูง มาจากชื่อเมืองซุง เมืองแฝดกับเมืองโสก รวมเรียกว่าเมืองโสกเมืองซุง แขวงอัตตะปือ เวียงแก (เมืองแก) มาจากชื่อเมืองเวียงแก เวียงคำ มาจากชื่อเมืองเวียงคุคำ หรือเวียงคุกคำ เดิมเรียกว่าเมืองไผ่หนาม เมืองฝาแฝดของเมืองนครเวียงจันทน์ จังหวัดหนองคาย เชียงสา (พลเชียงสา) มาจากชื่อเมืองเวียงเชียงสา เรียกรวมกันกับเมืองเวียงคำว่า เมืองพระน้ำรุ่งเชียงสา น้ำฮุ่ง (นามฮุงศรี) มาจากชื่อเมืองพระน้ำรุ่ง เรียกรวมกันกับเมืองเชียงสาว่า เมืองพระน้ำรุ่งเชียงสา พระชุม (พะชุม) มาจากชื่อเมืองประชุมพนาลัย หรือเมืองประชุม", "title": "อาญาสี่" }, { "docid": "109302#0", "text": "เมืองเชียงลาบ (Keng Lap) หรือ \"เวียงแคว้นสา\" เป็นเมืองเก่าแก่ของชาวไทลื้อบางครั้งจะเรียกชื่อเมืองโขง หรือ เมืองโขงโค้ง หรือ เวียงแคว้นสา ตั้งอยู่ในจังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐชาน ประเทศพม่า ตรงข้ามกับบ้านเชียงกก เมืองลอง แขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว และตั้งอยู่ครึ่งทางระหว่างหิรัญเงินยางนคร (เมืองเชียงแสน) ประเทศไทย และเมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตัวเมืองตั้งอยู่ตรงแหลมเชียงลาบ มีเจ้าผู้ครองเมืองตามนามเมืองว่า \"เจ้าหลวงเชียงลาบ\" ปฐมผู้สร้างเมืองคือ พญาเจิงหาญ หรือ ขุนเจือง หรือ สมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราชสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1วีรบุรุษในตำนานของชนชาติไตย ตลอดลุ่มแม่น้ำโขง แห่งราชวงค์อาฬโวสวนตาน", "title": "เชียงลาบ" }, { "docid": "127419#15", "text": "การเดินทางออกจากซือเหมาอีกครั้งเริ่มต้นเมื่อ 27 เมษายน 2487 โดยมีจุดหมายที่เมืองเชียงรุ่งเป็นแห่งแรก หลังจากนั้นต่างก็แยกย้ายกันไปตามแผนที่กำหนดไว้ ร.อ.โผนเดินทางจากเชียงรุ่งไปเมืองล่า แล้วล้มป่วยด้วยโรคบิดอยู่ที่นั่นจนกระทั่งกลางเดือนพฤษภาคมจึงสามารถเดินทางต่อไปได้", "title": "โผน อินทรทัต" }, { "docid": "17115#7", "text": "เมืองเชียงรุ่งนั้น มีประชากรเป็นชาวไทลื้อเป็นหลัก โดยประชากรชนเผ่าต่าง ๆ รวมทั้งชาวฮั่นและที่ไม่ใช่ชาวไท ผลสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2545 เชียงรุ่งมีประชากร 249,721 คน หรือประมาณร้อยละ 67.27 ของทั้งหมด ส่วนชาวไทนั้นมีร้อยละ 35 ของทั้งหมด มีชาวฮั่น 121,511 คน และ ร้อยละ 32.73 ของทั้งหมด[7]", "title": "เชียงรุ่ง" } ]
4068
คู่สมรสของ เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ มีชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "53291#1", "text": "เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์กับเจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์ พระราชชนนีของพระองค์ทรงครองราชบัลลังก์ในปีพ.ศ. 2491 เจ้าหญิงได้ทรงเป็นทายาทโดยสันนิษฐาน เมื่อพระราชมารดาสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2523 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ได้สืบราชบัลลังก์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถ ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาทั่วไปที่ประเทศแคนาดา ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จากนั้นทรงสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่เนเธอร์แลนด์ในช่วงยุคหลังสงคราม ในปีพ.ศ. 2504 พระนางทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไลเดิน ในปีพ.ศ. 2509 เจ้าหญิงเบียทริกซ์อภิเษกสมรสกับเคลาส์ ฟอน อัมส์เบิร์ก นักการทูตชาวเยอรมัน ซึ่งมีพระโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ (ประสูติ พ.ศ. 2510), เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา (พ.ศ. 2511 - 2556) และเจ้าชายคอนสแตนตินแห่งเนเธอร์แลนด์ (ประสูติ พ.ศ. 2512) เจ้าชายเคลาส์สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2545 ในช่วงที่พระนางสละราชบัลลังก์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์[1]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" } ]
[ { "docid": "53291#38", "text": "พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2523: เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าหญิงแห่งลิปเปอ-บีสเตอร์เฟลด์ (Her Royal Highness Princess Beatrix of the Netherlands, Princess of Orange-Nassau, Princess of Lippe-Biesterfeld) พ.ศ. 2523 - 30 เมษายน พ.ศ. 2556: เฮอร์มาเจสตี สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงแห่งออเร้นจ์-นัสเซา เจ้าหญิงแห่งลิปเปอ-บีสเตอร์เฟลด์ (Her Majesty Queen of the Netherlands, Princess of Orange-Nassau, Princess of Lippe-Biesterfeld) 30 เมษายน พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน: เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าหญิงแห่งออเร้นจ์-นัสเซา,เจ้าหญิงแห่งลิปเปอ-บีสเตอร์เฟลด์ (Her Royal Highness Princess Beatrix of the Netherlands, Princess of Orange-Nassau, Princess of Lippe-Biesterfeld)[3]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#13", "text": "ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2499 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงมีพระชนมายุ 18 พรรษา นับตั้งแต่วันนั้นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงทรงมีสิทธิ์ตามพระราชอำนาจ ในเวลานั้น พระราชมารดาของพระนางทรงแต่งตั้งให้เจ้าหญิงเป็นสมาชิกคณะกรรมการกฤษฎีกาแห่งเนเธอร์แลนด์", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "526364#4", "text": "เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2523 เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ทรงขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ พระองค์จึงทรงเป็นเจ้าชายพระราชสวามี", "title": "เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "853553#0", "text": "เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ () เป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้อง ในอดีตสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ กับ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ และเป็นพระราชอนุชา ในสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ รัชกาลปัจจุบัน ทรงอยู่ในลำดับที่ 4 ของการสืบราชสันตติวงศ์ ทรงอภิเษกสมรสกับ เพทร่า เลาเรนทีน บริงคโฮร์สต์ ชาวดัตช์ มีพระธิดา 2 พระองค์ และพระโอรส 1 พระองค์\nเจ้าชายคอนสตันตินประสูติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2512 ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอูเครก เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กใน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ กับ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นพระราชอนุชาใน สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ กับ เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา เมื่อแรกประสูติทรงอยู่ในลำดับที่ 4 ในการสืบราชสันตติวงศ์ ปัจจุบันทรงอยู่ในลำดับที่ 4 (เนื่องจากเจ้าชายฟรีโซพระเชษฐาสิ้นพระชนม์จึงทรงถูกขยับเลื่อนอันดับ)\nพระองค์ทรงเสกสมรสกับ นางสาวเพตรา ลอเรนทีน บริงคโฮร์สต์ ต่อมาได้รับพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์ พระชายา มีพระโอรส-ธิดา รวม 3 พระองค์", "title": "เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "12911#53", "text": "เดือนมิถุนายน 2525 เสด็จร่วมทอดพระเนตรการสวนสนามทหารกองเกียรติยศในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชินีนาถ และเจ้าหญิงทรงปรากฏพระองค์บนระเบียงมุขพระราชวังบักกิงแฮมต่อประชาชนที่มาเข้าเฝ้า[20]และใน พ.ศ. 2525 เจ้าหญิงไดอานาเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศโดยเพียงพระองค์เดียวเป็นครั้งแรก เพื่อเสด็จไปทรงร่วมพระราชพิธีพระศพของเจ้าหญิงเกรซแห่งโมนาโก ต่อมาในปีเดียวกัน เสด็จพร้อมด้วยเจ้าชายชาลส์ไปในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of the Crown จากสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์[96]", "title": "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์" }, { "docid": "53291#42", "text": "16. จูเลียส เคานท์แห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์8. เออร์เนสต์ที่ 2 เคานท์แห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์17. เคานท์เตสอเดลไฮด์แห่งกัสเตล-กัสเตล4. เจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ18. เคานท์ลีโอโปลด์แห่งวอร์เทนสเลเบน9. เคานท์เตสคาโรไลน์แห่งวอร์เทนสเลเบน19. มาทิลด์ ฮัลบาช2. เจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์20. อดอล์ฟแห่งคลัมม์10. บารอนอาชวินแห่งเซียร์สตอร์ฟ-ครัมม์21. เฮ็ดวิกแห่งครัมม์5. อาร์มการ์ดแห่งเซียร์สตอร์ฟ-ครัมม์22. เอิร์นส์ เคานท์แห่งเซียร์สตอร์ฟ-ดรีบูร์ก11. บารอนเนสเฮ็ดวิกแห่งเซียร์สตอร์ฟ-ดรีบูร์ก23. บารอนเนสคาโรไลน์ ฟอน วินเก1. สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์24. พอล ฟรีดิช แกรนด์ดยุกแห่งเม็คเลนบูร์ก-ชเวริน12. เฟรเดอริค ฟรานซิสที่ 2 แกรนด์ดยุกแห่งเม็คเลนบูร์ก-ชเวริน25. เจ้าหญิงอเล็กซานดรีนแห่งปรัสเซีย6. ดยุกเฮนรีแห่งเม็คเลนบูร์ก-ชเวริน26. เจ้าชายอดอล์ฟแห่งชวาสบูร์ก-รูดอลสตัดท์13. เจ้าหญิงมารีแห่งชวาสบูร์ก-รูดอลสตัดท์27. เจ้าหญิงมาทิลด์แห่งชอนบูร์ก-วัลเดนบูร์ก3. สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์28. พระเจ้าวิลเลมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์14. พระเจ้าวิลเลมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์29. แกรนด์ดัชเชสแอนนา ปาฟลอฟนาแห่งรัสเซีย7. สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์30. จอร์จ วิกเตอร์ เจ้าชายแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์15. เจ้าหญิงเอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์31. เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งนัสเซา", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#21", "text": "ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ได้มีการประกาศพิธีหมั้นระหว่างเจ้าหญิงเบียทริกซ์กับเคลาส์ ฟอน อัมส์เบิร์ก เคลาส์และเจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงพบกันในงานเลี้ยงก่อนการเสกสมรสของเจ้าหญิงทาทีอานาแห่งไซน์-วิทเกินชไตน์-แบร์เลอบวร์คกับโมริทซ์ แลนด์เกรฟแห่งเฮ็สเซิน ในฤดูร้อน ปีพ.ศ. 2507 (ในความเป็นจริงทั้งคู่ทรงพบกันมาก่อนแล้วครั้งหนึ่งในช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ปีพ.ศ. 2505 ที่บาดดรีบูร์ก ในงานเลี้ยงของเคานท์ ฟอน เอินเฮาเซน-เซียร์สตอร์ฟ ซึ่งเป็นพระญาติห่างๆของทั้งคู่) ด้วยการยินยอมของรัฐสภาในการอภิเษกสมรส เคลาส์ ฟอน อัมส์เบิร์กจึงกลายเป็นพลเมืองชาวดัตช์ และเมื่ออภิเษกสมรสก็กลายเป็นเจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ จองคีร์ ฟาน อัมส์เบิร์ก", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "853877#0", "text": "เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา () เป็นพระราชโอรสพระองค์กลางในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์กับ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นพระราชอนุชาใน สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ และเป็นพระเชษฐาในเจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา มีพระธิดารวม 2 พระองค์ พระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ขณะมีพระชันษา 44 ชันษา\nเจ้าชายฟริโซ ประสูติ ณ โรงพยาบาลอูเครก เมื่อวันที่25 กันยายน พ.ศ. 2511 เป็นพระราชโอรสพระองค์กลางใน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อแรกประสูติทรงอยู่ในอันดับที่ 3 ของการสืบราชบัลลังก์ ต่อมาปีพ.ศ. 2523 พระราชมารดาครองราชย์ ทำให้เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ พระเชษฐา เลื่อนเป็นดันดับที่ 1 พระองค์จึงเลื่อนอันดับเป็นที่ 2 ทรงได้รับการบัพติศมาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ในปีเดียวกัน ณ มหาวิหารเซนต์มาร์ตินอูเครก พระบิดkมารดาอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ โจฮัส คริสเตียน บารอนเจนนิส เฮอร์แมน สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์(พระราชอัยยิกา) และ คริสตินา ฟอนส์ อัมส์เบิร์ก(พระปิตุจฉา)", "title": "เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา" }, { "docid": "53291#10", "text": "เจ้าหญิงไอรีนแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงมาร์ครีตแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงคริสตีนาแห่งเนเธอร์แลนด์", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#7", "text": "พระขนิษฐาองค์ที่สองของเจ้าหญิงเบียทริกซ์ คือ เจ้าหญิงมาร์เกรียต[4] ประสูติในออตตาวา ปีพ.ศ. 2486 ในระหว่างทรงลี้ภัยอยู่ในแคนาดา เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้าศึกษาในสถานรับเลี้ยงเด็กและ[8] โรงเรียนเทศบาลร็อคคลิฟปาร์ค โรงเรียนชั้นประถามศึกษาที่เจ้าหญิงทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ \"ทริซี่ออเรนจ์\" (Trixie Orange)[9][10]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#17", "text": "ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 เจ้าหญิงเบียทริกซ์และเจ้าชายเคลาส์ทรงเป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถ ในพระราชพิธีประกาศเอกราชของซูรินามที่เมืองหลวงแห่งใหม่ ปารามารีโบ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#12", "text": "ในปีพ.ศ. 2497 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงทำหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าสาวในงานแต่งงานของบารอนเนสฟาน รันวีเย็ค กับนายที โบอี[12]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#4", "text": "หลังจากทรงสละราชสมบัติแล้ว มีพระนามและพระอิสริยยศเป็น เฮอร์รอยัลไฮนีส เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอแลนด์ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าหญิงแห่งลิปเปอ-บีสเตอร์เฟลด์ (English: Her Royal Highness Princess Beatrix of the Netherlands, Princess of Orange-Nassau, Princess of Lippe-Biesterfeld)[3]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "885331#0", "text": "ลีเออร์ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ พระโอรสนอกสมรสในดยุกเฮนดริกเแห่งเม็คเล็นบูร์ก-ชเวริน ที่เกิดกับ พระชายานอกสมรส มิลิน โอบโบ-เวนเนเกอร์ เขาเป็นพระราชอนุชาต่างมารดาคนเดียวใน สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ และเป็นพระราชมาตุลา(น้าชาย)ใน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นเจ้าเนื่องจากไม่ได้สืบเชื้อสายแห่งพระราชวงศ์ดัตช์ แต่พระราชินีนาถเบียทริกซ์ก็ให้ความเคารพในฐานะพระมาตุลา", "title": "พิม ลีเออร์" }, { "docid": "844221#0", "text": "เจ้าหญิงมาร์ครีตแห่งเนเธอร์แลนด์ () เป็นพระมาตุจฉาของพระราชโอรสทั้ง 3 ในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ คือสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ พระประมุขพระองค์ปัจจุบันแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ กับเจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์ มีพระเชษฐภคินี 2 พระองค์คือ สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงไอรีนแห่งเนเธอร์แลนด์มีพระขนิษฐา 1 พระองค์คือ เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเนเธอร์แลนด์\nเจ้าหญิงคริสตีนาทรงมีพระเชษฐภคินีจำนวน 1 พระองค์และพระขนิษฐา 2 พระองค์ ดังนี้\nเจ้าหญิงมาร์ครีต ทรงปฏิบัติพระกรณียากิจในด้านต่างๆ ดังนี้", "title": "เจ้าหญิงมาร์ครีตแห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "835552#0", "text": "เจ้าหญิงไอรีนแห่งเนเธอร์แลนด์ () 1 ในพระราชธิดาทั้ง4พระองค์ โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สองใน สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ กับ เจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์ ทรงมีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์คือ สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และทรงมีพระขนิษฐา 2 พระองค์คือ เจ้าหญิงมาร์เกรียตแห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเนเธอร์แลนด์ ตามดำลับ\nเจ้าหญิงไอรีน ประสูติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2482 เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 2 ใน สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ กับ เจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์ ณ พระราชวังหลวงเนเธอร์แลนด์ เมื่อแรกประสูติ พระองค์ทรงเป็นพระรัชทายาทลำดับที่ 2 ถัดจากพระภคินีในการสืบราชบัลลังก์\nเจ้าหญิงไอรีนเสกสมรสกับ เจ้าชายคาลอส ฮิวโก้ ดยุกแห่งปาร์มา โดยได้รับพระราชทานพระอิสริยยศอย่างเป็นทางการว่า เจ้าฟ้าหญิงไอรีนแห่งเนเธอร์แลนด์ ดัชเชสแห่งปาร์มา พระชายา โดยทรงมีพระบุตรร่วมกัน 4 พระองค์", "title": "เจ้าหญิงไอรีนแห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#33", "text": "ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เกิดการแยกตัวของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ซึ่งเป็นการสร้างรูปแบบการปกครองตนเองแห่งโบแนเรอ, ซินต์เอิสตาซียึสและซาบา และประเทศองค์ประกอบอีกสองประเทศคือ กือราเซาและซินต์มาร์เติน มีพิธียุบเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสจัดขึ้นที่กรุงวิลเลมสตัด ซึ่งเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ในขณะนั้นคือ เจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์และเจ้าหญิงแม็กซิมา พระชายา เสด็จแทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถในการพิธี", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#8", "text": "ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 กองทัพเยอรมันในเนเธอร์แลนด์ยอมจำนน พระราชวงศ์ได้เสด็จกลับเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนประถมศึกษา De Werkplaats ในบิลโทเฟน พระขนิษฐาองค์ที่สาม เจ้าหญิงคริสตินาประสูติในปีพ.ศ. 2490[4] ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2491 พระราชมารดาของพระนาง เจ้าหญิงยูเลียนา ทรงครองราชบัลลังก์สืบต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินา ในฐานะ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงกลายเป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เนเธอร์แลนด์ขณะมีพระชนมายุ 10 พรรษา", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#27", "text": "ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนา พระราชมารดา สละราชสมบัติ เจ้าหญิงเบียทริกซ์ได้ทรงสืบราชบัลลังก์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#0", "text": "เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (31 มกราคม พ.ศ. 2481) หรือพระนามเต็มว่า เบียทริกซ์ วิลเฮลมินา อาร์มการ์ด (Beatrix Wilhelmina Armgard, Dutch pronunciation:[ˈbeːjaˌtrɪks ˌʋɪlɦɛlˈmina ˈɑrmɣɑrt](listen)) หรือเดิมคือ สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (Dutch: Beatrix der Nederlanden) อดีตสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ ครองราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2523 และทรงสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#14", "text": "ในปีเดียวกันทรงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยไลเดิน ในปีแรกขณะในมหาวิทยาลัย เจ้าหญิงทรงศึกษาสังคมวิทยา นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์การเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ[11] ในหลักสูตรการศึกษาของพระนาง เจ้าหญิงทรงเข้าร่วมการฟังบรรยายเกี่ยวกับวัฒนธรรมของซูรินามและเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส กฎบัตรแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ ประวัติศาสตร์และกฎหมายสหภาพยุโรป", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "853816#0", "text": "เจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา () เป็นพระชายาในเจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา พระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ กับ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์และพระสวามีมีพระธิดารวม 2 พระองค์ หลังจากพระสวามีสิ้นพระชนม์ พระองค์และพระบุตรยังคงพำนักในพระราชวังหลวง ณ กรุงอัมสเตอร์ดัมดั่งเดิม\nนางสาวมาเบล เข้าสู่พระราชพิธีเสกสมรสกับ เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา พระราชโอรสใน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ โดยตามปกติแล้ว เธอจะต้องได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าหญิงแห่งเนเธอร์แลนด์ ดังเช่น เจ้าหญิงลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์ พระชายาใน เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ แต่สำนักพระราชวังดัตช์ ได้แถลงการณ์ว่า เธอจะได้รับพระอิสริยยศที่ เฮอร์รอยัลไฮนีส เจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา และพระบุตรที่เกิดมา จะมีฐานันดร เคานต์ และ เคาน์เตส เท่านั้น", "title": "เจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา" }, { "docid": "853809#0", "text": "เจ้าหญิงลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์ () เป็นพระชายาในเจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ กับ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์และพระสวามีมีพระโอรสและพระธิดารวม 3 พระองค์\nนางสาวลอเรนทีน ได้เสกสมรสกับ เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชโอรสใน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ หลังจากการเสกสมรสแล้ว เธอจะได้รับการสถาปนาเป็น เฮอร์รอยัลไฮนีส เจ้าหญิงลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์ พระชายา แต่พระบุตรที่จะเกิดมา จะมีฐานันดรเพียง เคานต์ และ เคาน์เตส ดังเช่นพระบุตรใน เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา และ เจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา ผู้เป็น พระเชษฐาและพระเชษภคินี(พี่สะใภ้) ของพระสวามี\nภายหลังการเสกสมรสแล้วนั้น เจ้าหญิงลอเรนทีน ทรงงานในเรื่องการสึกษาและการอุทิศพระองค์เพื่อการศึกษาในประเทศ ในปี 2552 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็น ทูตยูเนสโกพิเศษ", "title": "เจ้าหญิงลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#5", "text": "เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงมีพระนามตั้งแต่แรกประสูติว่า เบียทริกซ์ วิลเฮลมินา อาร์มการ์ดแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าหญิงแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์ ประสูติในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่พระราชวังโซเอสดิจ์คในบาร์น เนเธอร์แลนด์ ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกในเจ้าหญิงยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์กับเชื้อสายขุนนางชั้นสูงชาวเยอรมัน เจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์[4] เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้ารับพิธีบัพติศมาในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 ที่มหาวิหารใหญ่ในเดอะเฮก[5] เจ้าหญิงทรงมีพระบืดามารดาอุปถัมภ์ 5 พระองค์ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม, เจ้าหญิงอลิซ เคาน์เตสแห่งแอธโลน, เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์, ดยุกอดอล์ฟ เฟรเดอริกแห่งเม็คเคลนบวร์ก และเคานท์เตสอัลลีน เดอ ค็อทเซเบอ[6] พระนามกลางของเจ้าหญิงเบียทริกซ์มาจากพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ที่ทรงครองราชย์อยู่ในขณะนั้น และพระนามของพระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดาคือ อาร์มการ์ดแห่งเซียร์สตอร์ฟ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "729659#14", "text": "ในสมัยปัจจุบัน การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ลดจำนวนลงจากสมัยก่อนมาก โดยเฉพาะในบรรดาราชวงศ์ของยุโรป เนื่องจากสมาชิกราชวงศ์ในยุโรปหันมาเสกสมรสกับสมาชิกตระกูลขุนนางท้องถิ่นมากขึ้น เช่นในกรณีของพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร, เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์, พระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม และเจ้าชายฮันส์-อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์ หรือเสกสมรสกับสมาชิกตระกูลขุนนางที่ถูกล้มเลิก เช่น พระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม, พระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ หรือแม้กระทั่งกับสามัญชนธรรมดา เช่น พระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน, พระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์, แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก, พระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปน, พระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ และเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 แห่งโมนาโก", "title": "การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์" }, { "docid": "53291#16", "text": "การปรากฏพระองค์ในทางการเมืองของเจ้าหญิงได้เป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งอย่างรุนแรง ในปี พ.ศ. 2508 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงหมั้นกับเคลาส์ ฟอน อัมส์เบิร์ก นักการทูตชาวเยอรมันสังกัดกระทรวงต่างประเทศเยอรมนี การอภิเษกสมรสก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในวันอภิเษกสมรสที่กรุงอัมสเตอร์ดัม วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2509 เจ้าชายเคลาส์ทรงเคยรับราชการในยุวชนฮิตเลอร์และเวร์มัคท์ ดังนั้นจึงเป็นความข้องเกี่ยวระหว่างประชาชนชาวดัตช์กับระบอบนาซีเยอรมัน กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงได้มีข้อความการประท้วงซึ่งเป็นที่จดจำได้แก่ \"Claus 'raus!\" (\"เคลาส์ออกไป!\") และ \"Mijn fiets terug\" (\"เอาจักรยานของเราคืนมา\"-อ้างถึงการยึดครองเนเธอร์แลนด์ของทหารเยอรมันที่ทำการยึดจักรยานของชาวดัตช์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ระเบิดควันถูกโยนเข้าใส่รถม้าพระที่นั่งสีทองโดยกลุ่มโปรโว (Provo) ทำให้เกิดการปะทะกับตำรวจอย่างรุนแรงบนท้องถนน แต่เมื่อเวลาผ่านไป เจ้าชายเคลาส์ทรงกลับกลายเป็นหนึ่งในพระราชวงศ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดของพระราชวงศ์ดัตช์ และการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายในปีพ.ศ. 2545 ได้มีการไว้อาลัยแด่พระองค์ทั่วประเทศ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "860628#0", "text": "เคานต์เคลาส์-คาร์ซีมีร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา () เป็นพระโอรสพระองค์เดียวใน เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ กับ เจ้าหญิงลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาชายเพียงพระองค์เดียวใน เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ และทรงเป็นพระภาติยะชายเพียงพระองค์เดียวใน สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ โดยมีพระบิดามารดาทูลหัวคิอ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชปิตุลา(ลุง) เจ้าชายเมาริทส์แห่งออเรนจ์-นัสเซา ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน พระญาติ", "title": "เคานต์เคลาส์-คาร์ซีมีร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา" }, { "docid": "53291#22", "text": "เจ้าหญิงเบียทริกซ์อภิเษกสมรสกับเคลาส์ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2509 ทั้งรัฐพิธีและพิธีทางศาสนา[14] เจ้าหญิงทรงสวมฉลองพระองค์แบบดั้งเดิมด้วยผ้าไหมซาตินแบบดัชเชส ที่ออกแบบโดยแคโรไลน์ บรีก-ฟาร์วิค แห่งไมซอนลีเน็ตต์ ในเดน บอร์ชและมงกุฎไข่มุกเวือร์เทมแบร์ก", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" }, { "docid": "53291#11", "text": "ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2493 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้า Incrementum ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Baarnsch Lyceum ที่ซึ่งในปีพ.ศ. 2499 เจ้าหญิงทรงผ่านการสอบโรงเรียนของพระนางในสาขาวิชาศิลปะและคลาสสิก[11]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์" } ]
4069
ไพรเมตเห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวยกี่ประเภท?
[ { "docid": "912582#1", "text": "ไพรเมตเห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 3 ประเภท (Trichromacy) ที่ตอบสนองสูงสุดต่อคลื่นแสงสีม่วง (คลื่นสั้น S) สีเขียว (คลื่นกลาง M) และสีเหลือง-เขียว (คลื่นยาว L) โดยมีโปรตีนอ็อปซิน (Opsin) เป็นสารรงควัตถุไวแสง (photopigment) หลักในตา และลำดับ/โครงสร้างของอ็อปซินจะเป็นตัวกำหนดความไวสี/สเปกตรัมต่าง ๆ ของเซลล์รูปกรวย แต่ก็ไม่ใช่ว่า ไพรเมตทั้งหมดจะสามารถเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" } ]
[ { "docid": "11209#24", "text": "เสือเป็นสัตว์ที่มีระบบประสาทสัมผัสที่ดีมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะระบบประสาทในด้านการมองเห็น เสือเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการในหลาย ๆ ด้านเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อ ลูกนัยน์ตาของเสือมีเซลล์ที่สามารถรับภาพที่มีความสำคัญต่อการมองเห็น 2 ชนิด คือ เซลล์รูปแท่ง \" (Rod Cell) \" และ เซลล์รูปกรวย \" (Cone Cell) \" เซลล์รูปแท่งเป็นเซลล์ที่มีความไวต่อแสงมาก ทำหน้าที่รับภาพที่มีแสงสว่างน้อย ๆ เช่น การมองเห็นของเสือในเวลากลางคืน หรือการมองเห็นความเคลื่อนไหวของเหยื่อ ส่วนเซลล์รูปกรวยจะทำหน้าที่รับภาพที่มีแสงมาก เช่น การมองเห็นของเสือในเวลากลางวัน รวมทั้งการมองเห็นภาพที่เป็นสี ซึ่งเซลล์รูปกรวยจะให้รายละเอียดของวัตถุที่อยู่นิ่งกับที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการที่เสือสามารถมองเห็นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีสาเหตุมาจากการที่เสือสามารถขยายรูม่านตาและแก้วตาได้กว้างเมื่อเทียบกับขนาดของจอรับภาพ โดยปกติแล้วรูม่านตาของเสือจะมีลักษณะกลม แต่เมื่อเสือต้องอยู่ในที่ที่มีแสงจ้า เสือในสกุลแพนเทอราจะหดรูม่านตาให้เป็นรูปวงกลม ในขณะที่แมวในสกุลฟิลิสจะหดรูม่านตาให้เป็นรูปวงรี เพราะเซลล์รูปแท่งมีจำนวนมากกว่าเซลล์รูปกรวยซึ่งตรงกันข้ามกับสัตว์ที่หากินในเวลากลางวันซึ่งจะมีเซลล์รูปกรวยมากกว่าเซลล์รูปแท่ง", "title": "เสือ" }, { "docid": "630808#2", "text": "เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยมีหน้าที่แตกต่างกัน คือ เซลล์รูปแท่งไวแสงเป็นพิเศษ มีปฏิกิริยาต่อโฟตอนเพียงแค่ 6 อนุภาค[8] ดังนั้น ในที่มีระดับแสงต่ำ การเห็นเกิดจากสัญญาณที่มาจากเซลล์รูปแท่งเท่านั้น ซึ่งอธิบายว่า ทำไมเราจึงไม่สามารถเห็นภาพสีได้ในที่สลัว ซึ่งก็คือเพราะมีแต่เซลล์รูปแท่งเท่านั้นที่ทำงานได้ในระดับแสงนั้น และเซลล์รูปกรวยเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพสี", "title": "เซลล์รับแสง" }, { "docid": "912582#3", "text": "โดยกรรมพันธุ์แล้ว ไพรเมตสามารถเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทได้ผ่าน 2 กระบวนการ ไพรเมตทั้งหมดมีอ็อปซินแบบ S ที่ยีนออโตโซมบนโครโมโซม 7 เข้ารหัส ส่วนลิงวงศ์ใหญ่ catarrhinni จะมียีนอ็อปซิน 2 ยีนติดกันบนโครโมโซมเอกซ์ ซึ่งเข้ารหัสยีนอ็อปซิน L และ M[6] เทียบกับลิงวงศ์ platyrrhinni ที่มียีนอ็อปซินแบบพหุสัณฐานโดยมีอัลลีลเป็นแบบ M หรือ L ที่โลคัสเดียวกันบนโครโมโซมเอกซ์[6] ดังนั้น ลิงตัวผู้ในวงศ์นี้ทั้งหมดจะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 2 ประเภทเพราะจะมีสารรงควัตถุไวแสงแบบ M หรือ L ที่โครโมโซมเอกซ์เพียงข้างเดียว บวกกับแบบ S ซึ่งเข้ารหัสอยู่บนโครโมโซมที่ต่างกัน แต่เพราะโลคัสที่มีภาวะพหุสัณฐานอาจเข้ารหัสอ็อปซิน M หรือ L ก็ได้ ดังนั้น ลิงตัวเมียที่มีโลคัสนี้แบบพันธุ์ผสม (heterozygous) คือจะมีทั้งอัลลีล M และ L ก็จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท ส่วนตัวเมียที่มีโลคัสนี้แบบพันธุ์แท้ (homozygous) คือจะมีอัลลีล M หรือ L เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ก็จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 2 ประเภทคล้ายตัวผู้[7]", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "625975#11", "text": "รอยบุ๋มจอตาก็ยังมีอยู่ในสัตว์ประเภทอื่น ๆ รวมทั้งปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ปีกอีกด้วย\nในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะพบแต่ในไพรเมตที่มี infraorder แบบ Simiiformes เท่านั้น\nแต่ว่า รอยบุ๋มจอตามีรูปต่าง ๆ กันไปบ้างในสัตว์ประเภทต่าง ๆ \nยกตัวอย่างเช่น ในไพรเมต เซลล์รูปกรวยปกคลุมก้นของรอยบุ๋ม\nและเซลล์อื่น ๆ ที่ในที่อื่นของเรตินาจะซ้อนอยู่บนชั้นเซลล์รูปกรวย ได้เกิดการย้ายออกไปจากรอยบุ๋ม\nตั้งแต่ในช่วงพัฒนาการในครรภ์และหลังจากคลอดในระยะต้น ๆ \nในสัตว์อื่น ชั้นต่าง ๆ ที่ย้ายออกไปจากรอยบุ๋มที่พบในไพรเมต อาจจะเกิดความบางลงเท่านั้น ไม่ถึงกับหายไปทั้งหมด", "title": "รอยบุ๋มจอตา" }, { "docid": "912564#11", "text": "ไพรเมตสามารถแยกแยะสีได้มากที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม\nนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ นพ. โทมัส ยัง ได้เสนอทฤษฎีการเห็นเป็น 3 สี (Trichromatic theory) ในปี พ.ศ. 2345\nตามหมอ ระบบการเห็นของมนุษย์สามารถสร้างสีอะไรก็ได้ที่เห็น ผ่านการประมวลข้อมูลจากเซลล์รูปกรวยทั้งสาม\nซึ่งอาศัยว่าเซลล์แต่ละประเภท ๆ ได้ตรวจจับสีอะไรแค่ไหน", "title": "แบบสิ่งเร้า" }, { "docid": "630808#11", "text": "โปรตีนรับแสงของเซลล์รูปกรวยสามประเภทแตกต่างกันในความไวต่อโฟตอนของแสงมีความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน (ดูรูป) เพราะว่า เซลล์รูปกรวยตอบสนองทั้งต่อความยาวคลื่น (wavelength) และทั้งต่อความเข้ม (intensity) ของแสง จึงต้องวัดความไวต่อความยาวคลื่นโดยอัตราการตอบสนองสัมพัทธ์ (relative rate) ของเซลล์ เมื่อค่าความเข้มแสงคงที่ และค่าความยาวคลื่นเป็นตัวแปร แล้วจึงจะได้ค่าอนุมานของ absorbance (การดูดกลืนแสง)[17] กราฟที่เห็นแสดงค่าดูดกลืนแสงโดยแจกแจงทำให้เป็นบรรทัดฐานที่ 100 (normalized) ยกตัวอย่างเช่น เซลล์รูปกรวย S (ที่ดูดซึมแสงสั้น) ตอบสนองในระดับสูงสุดที่ความยาวคลื่น 420 นาโนเมตร ซึ่งบอกเราว่า เซลล์ชนิดนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะดูดกลืนโฟตอนที่ 420 นาโนเมตรสูงกว่าความยาวคลื่นอื่น ๆ แต่ว่า ถ้าแสงมีความยาวคลื่นต่างจากระดับนั้น เช่นที่ 480 นาโนเมตร แต่ว่ามีระดับแสงที่เข้มขึ้น เซลล์นั้นก็จะตอบสนองในระดับเดียวกัน ดังนั้น เส้นโค้งในกราฟอาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ เพราะว่า เซลล์รูปกรวยจริง ๆ ไม่สามารถตรวจจับสีโดยเพียงลำพัง แต่ว่า การเห็นสีจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสัญญาณจากเซลล์รูปกรวยประเภทต่าง ๆ", "title": "เซลล์รับแสง" }, { "docid": "630808#27", "text": "ดังนั้น เพื่อจะระบุสี ระบบการมองเห็นต้องเปรียบเทียบการตอบสนองของกลุ่มเซลล์รับแสงต่าง ๆ คือโดยเฉพาะแล้ว จากกลุ่มเซลล์รูปกรวย 3 ประเภทที่ดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน และเพื่อที่จะระบุความเข้มแสง ระบบการมองเห็นต้องคำนวณว่ามีเซลล์รับแสงกี่ตัวที่กำลังทำการตอบสนอง นี้เป็นกลไกที่ทำให้เกิดการเห็นโดย 3 สีหลัก (trichromacy) ในทั้งมนุษย์และในสัตว์อื่น ๆ บางชนิด", "title": "เซลล์รับแสง" }, { "docid": "912582#0", "text": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต (English: evolution of color vision in primates) เป็นเหตุการณ์พิเศษในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในเคลดยูเธอเรีย แม้บรรพบุรุษสัตว์มีกระดูกสันหลังของไพรเมตจะเห็นเป็นสีด้วยเซลล์รูปกรวยในจอตา 4 ประเภท (tetrachromacy)[1] แต่บรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลือดอุ่นหากินกลางคืนต่อมา ก็ได้เสียเซลล์รูปกรวย 2 ประเภทไปในยุคไดโนเสาร์ ดังนั้น ปลาใน Infraclass \"Teleostei\" สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ปีกล้วนแต่เห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 4 ประเภท ในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ยกเว้นไพรเมตและสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องบางชนิด[2] ล้วนแต่เห็นเป็นสีด้วยเซลล์รูปกรวยเพียง 2 ประเภท (dichromacy)", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "630808#32", "text": "แม้ว่า เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยทุก ๆ ตัวจะปล่อยสารสื่อประสาทประเภทเดียวกันคือกลูตาเมต แต่ว่าผลที่เกิดขึ้นจากสารสื่อประสาทเดียวกันมีผลต่าง ๆ กันต่อ bipolar cell ต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับหน่วยรับความรู้สึก (receptor) ที่อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของ bipolar cell ถ้ากลูตาเมตเกิดพันธะขึ้นกับ ionotropic receptor เซลล์นี้ก็จะมีสภาพเป็น depolarization ในที่มืดและดังนั้น จะมีสภาพเป็น hyperpolarization เมื่อมีแสงเพราะมีกลูตาเมตในระดับที่ลดลง ในนัยตรงกันข้าม ถ้ากลูตาเมตเกิดพันธะขึ้นกับ metabotropic receptor เซลล์นี้ก็จะมีสภาพเป็น hyperpolarization ในที่มืด และมีสภาพเป็น depolarization เมื่อมีแสงเพราะว่าระดับของกลูตาเมตลดลง", "title": "เซลล์รับแสง" }, { "docid": "469199#25", "text": "การขาดเซลล์รูปกรวยประเภทต่าง ๆ นั่นแหละเป็นเหตุให้มีความบกพร่องในการเห็นภาพสี ทำให้เกิดตาบอดสีประเภทต่าง ๆ\nคือ บุคคลเหล่านี้ไม่ใช่ไม่เห็นวัตถุที่มีสีหนึ่ง ๆ \nแต่ไม่สามารถแยกแยะกลุ่มสีสองกลุ่มที่บุคคลผู้เห็นเป็นปกติสามารถแยกแยะได้\nมนุษย์มีเซลล์รูปกรวย 3 ประเภท (คือมี trichromatic vision มีการเห็นใน 3 สเปกตรัม)\nในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมากไม่มีเซลล์รูปกรวยแดง ดังนั้นจึงมีการเห็นภาพสีที่แย่กว่า (เป็น dichromatic vision มีการเห็นใน 2 สเปกตรัม)\nแต่ว่า ยังมีสัตว์อื่น ๆ อีกที่มีเซลล์รูปกรวย 4 กลุ่ม เช่นมีปลาน้ำจืดประเภทหนึ่ง (trout) ที่มีเซลล์รูปกรวยไวต่อแสงอัลตราไวโอเลต เพิ่มขึ้นจาก 3 ประเภทที่มีในมนุษย์ \nนอกจากนั้นแล้ว ปลาบางประเภทยังไวต่อแสงโพลาไรส์อีกด้วย", "title": "จอตา" }, { "docid": "912582#16", "text": "ดังนั้น การเห็นเป็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้เป็นเหตุเดียวให้เสียการสื่อสารทางฟีโรโมน แต่จะต้องเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างรวมกัน ถึงกระนั้น งานวิจัยก็ยังแสดงสหสัมพันธ์เชิงผกผันอย่างสำคัญระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์สองอย่างนี้ในสปีชีส์ที่เห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทโดยมาก", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "912582#17", "text": "การเห็นเป็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ (และดังนั้น จึงเพิ่มความเหมาะสม) ของลูกหลาน ผ่านกระบวนการเลือกคู่ผสมพันธุ์ การเห็นด้วยเซลล์แบบ M และ L จะช่วยให้เห็นความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด จากการสะท้อนแสงที่ผิวหนัง[20] ดังนั้น การเห็นเป็นสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทในไพรเมตบางสปีชีส์ อาจปรับปรุงสุขภาพของลูกหลาน ซึ่งเพิ่มโอกาสที่การเห็นเช่นนี้จะเป็นส่วนสำคัญของลักษณะปรากฏในสปีชีส์", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "912582#13", "text": "สมมติฐานนี้เสนอว่า การเห็นเป็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถเห็นภาพที่มีความถี่เชิงพื้นที่ต่ำได้ไวขึ้น คือ คุณสมบัติทางพื้นที่-สี ของระบบการเห็นเป็นสีแดง-เขียว อาจได้ปรับให้เหมาะสุดเพื่อตรวจจับวัตถุสีแดงระหว่างใบไม้ที่เป็นสีเขียว ในระยะใกล้ ๆ ปกติพอจะเอื้อมมือไปจับได้[17]", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "912582#11", "text": "ทฤษฎีนี้เสนอว่า ประโยชน์ของการมีเซลล์รูปกรวยแบบ M และ L ที่รับแสงต่างกันก็เพื่อในช่วงเวลาที่ผลไม้ขาดแคลน เพราะสัตว์จะสามารถระบุหาใบไม้ที่อ่อนและแดงกว่า ซึ่งมีโปรตีนมากกว่า ทำให้อัตรารอดชีวิตสูงขึ้น[7][15] ทฤษฎีนี้ได้หลักฐานที่แสดงว่า การเห็นเป็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทเกิดขึ้นดั้งเดิมในแอฟริกา เพราะลูกโพ-ไทร-มะเดื่อและลูกปาลม์ไม่ค่อยมี ดังนั้น ธรรมชาติจึงเพิ่มความกดดันคัดเลือกให้เห็นเป็นสี แต่ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายการคัดเลือกให้มีภาวะพหุสัณฐานในการเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทในสปีชีส์ที่ไม่ได้มาจากแอฟริกา[15]", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "912582#2", "text": "ลิงวงศ์ใหญ่ \"catarrhinni\" ซึ่งรวมลิงโลกเก่าและเอป ปกติจะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท คือทั้งตัวผู้ตัวเมียมีอ็อปซิน 3 ประเภทที่ไวต่อความยาวคลื่นแสงแบบสั้น กลาง และยาว[3] ส่วนในสปีชีส์เกือบทั้งหมดของลิงโลกใหม่ ตัวผู้ทั้งหมดและตัวเมียพันธุ์แท้ จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์เพียง 2 ประเภท และตัวเมียพันธุ์ผสม จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท ซึ่งเป็นภาวะที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า allelic/polymorphic trichromacy (การเห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 3 ประเภทเหตุอัลลีลหรือภาวะพหุสัณฐาน) ในบรรดาลิงโลกใหม่ ลิงสกุล Alouatta (Howler monkey) ปกติจะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท[4][5]", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "630808#3", "text": "ส่วนเซลล์รูปกรวยต้องใช้แสงระดับที่สูงกว่ามาก (คือต้องมีโฟตอนมากระทบมากกว่า) ก่อนที่จะเกิดการทำงาน ในมนุษย์ มีเซลล์รูปกรวยสามประเภท จำแนกโดยการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงที่ต่าง ๆ กัน การเห็นสี (ในภาพ) เป็นการประมวลผลจากสัญญาณที่มาจากเซลล์รูปกรวยสามประเภทเหล่านี้ โดยน่าจะผ่านกระบวนการ opponent process[9] เซลล์รูปกรวยสามอย่างนี้ตอบสนอง (โดยคร่าว ๆ) ต่อแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดสั้น (S) ขนาดกลาง (M) และขนาดยาว (L) ให้สังเกตว่า การยิงสัญญาณของเซลล์รับแสงนั้นขึ้นอยู่เพียงกับจำนวนโฟตอนที่ได้รับเท่านั้น (กำหนดโดยทฤษฎี principle of univariance) ส่วนการตอบสนองที่ต่าง ๆ กันของเซลล์รูปกรวยขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ของโปรตีนรับแสงของเซลล์ที่จะดูดซึมแสงที่ความยาวคลื่นนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เซลล์รูปกรวยแบบ L มีโปรตีนรับแสงที่ดูดซึมแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดยาว (หรือออกสีแดง ๆ) แม้ว่า แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าอาจจะทำให้เกิดการตอบสนองในระดับเดียวกัน แต่จะต้องเป็นแสงที่สว่างกว่ามาก", "title": "เซลล์รับแสง" }, { "docid": "605035#8", "text": "มนุษย์และไพรเมตใน parvorder \"Catarrhini\" ปกติมีเซลล์รูปกรวย 3 ประเภท จึงเป็นสัตว์ประเภท trichromat \nถึงอย่างนั้น ในระดับความแข้มแสงที่ต่ำ เซลล์รูปแท่งอาจมีส่วนในการเห็นสี ดังนั้น สัตว์อาจจะเพิ่มระดับการเห็นสีเป็นแบบ tetrachromatic", "title": "เตตราโครมาซี" }, { "docid": "329363#1", "text": "เซลล์รูปกรวยไวต่อแสงน้อยกว่าเซลล์รูปแท่งในจอตา (ซึ่งสนับสนุนการเห็นในระดับแสงต่ำ) แต่ทำให้รับรู้สี นอกจากนี้ ยังสามารถรับรู้รายละเอียดชัดกว่าและการเปลี่ยนแปลงภาพรวดเร็วกว่า เพราะเวลาการสนองต่อสิ่งเร้าเร็วกว่าของเซลล์รูปแท่ง เซลล์รูปกรวยปกติเป็นหนึ่งในสามชนิด แต่ละชนิดมีสารสีต่างกัน คือ เซลล์รูปกรวย-เอส เซลล์รูปกรวย-เอ็ม และเซลล์รูปกรวย-แอล ฉะนั้นเซลล์รูปกรวยแต่ละเซลล์จึงไวต่อความยาวคลื่นของแสงที่มองเห็นได้ซึ่งสอดคล้องกับแสงความยาวคลื่นสั้น ความยาวคลื่นกลางและความยาวคลื่นยาว เนื่องจากมนุษย์ปกติมี่เซลล์รูปกรวยสามชนิดที่มีโฟตอปซิน (photopsin) ต่างกัน ซึ่งมีโค้งการสนองต่างกันแล้วสนองต่อการแปรผันของสีต่างวิธีกัน มนุษย์จึงมีการรับรู้ภาพสี่สี มีการแสดงว่า สามสารสีซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับแสงมีองค์ประกอบทางเคมีที่แน่ชัดแปรผันเนื่องจากการกลายพันธุ์ แต่ละปัจเจกบุคคลจึงมีเซลล์รูปกรวยที่ไวต่อสีต่างกัน การทำลายเซลล์รูปกรวยจากโรคจะส่งผลให้ตาบอด", "title": "เซลล์รูปกรวย" }, { "docid": "605035#9", "text": "ในมนุษย์ มียีนสีของเซลล์รูปกรวยสองประเภทซึ่งอยู่ที่โครโมโซมเอกซ์ ซึ่งก็คือยีน opsin แบบคลาสสิกกรุ๊ป 2 ที่เรียกว่า OPN1MW และ OPN1MW2\nมีการเสนอว่า เนื่องจากผู้หญิงมีโครโมโซมเอกซ์ 2 โครโมโซมในเซลล์ บางคนอาจจะมียีนสีของเซลล์รูปกรวยที่ต่างจากคนอื่น\nและอาจจะเกิดมากเป็น tetrachromat มีเซลล์รูปกรวย 4 ประเภทที่ทำงานได้พร้อม ๆ กัน\nโดยที่แต่ละประเภทตอบสนองต่อความยาวคลื่นที่ต่าง ๆ กันในช่วงสเปกตรัมที่เห็นได้ ", "title": "เตตราโครมาซี" }, { "docid": "605035#10", "text": "งานวิจัยหนึ่งเสนอว่า 2–3% ของผู้หญิงในโลกอาจจะมีเซลล์รูปกรวยประเภทที่ 4 ที่อยู่ในระหว่างสีแดงและสีเขียวปกติ ซึ่งโดยทฤษฎีแล้ว เพิ่มความสามารถการแยะแยะสีได้อย่างเป็นนัยสำคัญ \nส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งเสนอว่า ผู้หญิงมีจำนวนถึง 50% และผู้ชายถึง 8% อาจจะมีเซลล์รูปกรวยประเภทที่ 4 และมีความสามารถในการแยกแยะสีในระดับที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนเซลล์รูปกรวยนั้น เมื่อเทียบกับมนุษย์ที่เป็น trichromat", "title": "เตตราโครมาซี" }, { "docid": "912582#10", "text": "ทฤษฎีนี้เสนอว่า ลักษณะสืบสายพันธุ์เช่นนี้ช่วยให้สามารถหาผลไม้สุกได้ง่ายขึ้นในระหว่างต้นไม้ที่มีใบแก่ งานวิจัยได้พบว่า ความต่างของสเปกตรัมระหว่างเซลล์รูปกรวยแบบ L และ M จะเป็นไปตามสัดส่วนการเห็นผลไม้ในท่ามกลางใบไม้ได้ดีที่สุด[13] งานศึกษาหนึ่งตรวจสเปกตรัมของแสงสะท้อนจากผลไม้และใบไม้ที่ลิงโลกใหม่พันธุ์ Alouatta seniculus กิน แล้วพบว่า ความไวสีของเซลล์แบบ L และ M จะทำให้สามารถเห็นผลไม้ในท่ามกลางใบไม้ได้ดีสุด[14]", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "912582#6", "text": "สมมติฐานเสนอว่า การไขว้เปลี่ยนที่ไม่เท่ากันนี้จะเกิดในลิง catarrhinni หลังจากการแยกพันธุ์จากลิงโลกใหม่[4] ซึ่งหลังจากการไขว้เปลี่ยนนี้ ลิงในเชื้อสายที่ได้โครโมโซมเอกซ์ข้างหนึ่งที่มีทั้งยีน M และ L จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท ต่อมาหลังจากนั้น โครโมโซมเอกซ์ที่มีเพียงยีน M หรือ L ที่โลคัสเดียวกันก็จะหายไป ทำให้ลิงทั้งหมดเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทเป็นปกติ", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "912582#19", "text": "ในนัยตรงกันข้าม ลิงสกุล Alouatta (howler monkey = ลิงช่างหอน) ที่หากินกลางวัน ได้เกิดการเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทผ่านการเพิ่มยีน (gene duplication) M/L เมื่อไม่นานนี้[7] ซึ่งทำให้ลิงทั้งตัวผู้ตัวเมียสามารถเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท โดยโครโมโซมเอกซ์ได้เกิดโลคัส 2 ตำแหน่งสำหรับอัลลีลแบบสีเขียวและแบบสีแดง การเกิดขึ้นใหม่และการแพร่กระจายอย่างเป็นธรรมดา ๆ ของการเห็นเป็นสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทเช่นนี้แสดงว่า มันให้ข้อได้เปรียบทางวิวัฒนาการแก่ลิง", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "329363#0", "text": "เซลล์รูปกรวย () เป็นเซลล์ตัวรับแสงชนิดหนึ่งจากสองชนิดซึ่งอยู่ในจอตา ซึ่งทำหน้าที่เห็นสี เช่นเดียวกับสภาพรู้สึกสีได้ของตา เซลล์รูปกรวยทำหน้าที่ได้ดีที่สุดในแสงค่อนข้างสว่าง ตรงข้ามกับเซลล์รูปแท่งซึ่งทำงานได้ดีกว่าในแสงสลัว เซลล์รูปกรวยอัดแน่นในรอยบุ๋มจอตา อันเป็นพื้นที่ปราศจากเซลล์รูปแท่งเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 มิลลิเมตรที่มีเซลล์รูปกรวยอัดแน่นบางมากซึ่งลดจำนวนอย่างรวดเร็วเมื่อออกรอบนอกของจอตา ในตามนุษย์มีเซลล์รูปกรวยหกถึงเจ็ดล้านเซลลล์และส่วนมากกระจุกอยู่บริเวณจุดภาพชัด", "title": "เซลล์รูปกรวย" }, { "docid": "912582#14", "text": "ประสาทรับกลิ่นอาจเป็นปัจจัยในการคัดเลือกให้เห็นเป็นสี งานศึกษาได้แสดงว่า การเสียยีนตัวรับกลิ่น (olfactory receptor) อาจเกิดพร้อม ๆ กับการเกิดลักษณะสืบสายพันธุ์ในการเห็นเป็นสีด้วยเซลล์รูปกรวย 3 ประเภท[18] กล่าวอีกอย่างก็คือ เมื่อสามารถได้กลิ่นน้อยลง ซึ่งเป็นสมรรถภาพในการหาอาหารที่สำคัญสุด ความจำเป็นเพื่อมีประสาทสัมผัสอื่นที่ดีขึ้นก็เพิ่มขึ้น และโอกาสการคัดเลือกการกลายพันธุ์เพื่อให้เห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท จึงสูงขึ้น นอกจากนั้น การกลายพันธุ์ให้เห็นภาพสีอาจทำให้การสื่อสารทางฟีโรโมนไม่จำเป็น และดังนั้น จึงเป็นเหตุให้สูญสมรรถภาพนี้ไปด้วย", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "912564#10", "text": "แสงในพิสัยที่มนุษย์มองเห็นได้มีความยาวคลื่นต่าง ๆ ระหว่าง 380-760 นาโนเมตร \nเรามองเห็นได้ก็เพราะมีเซลล์รูปกรวย 3 ประเภทที่จอตา โดยเซลล์แต่ละประเภทมี photopigment ของตนต่างหาก ๆ\nเซลล์สามารถรับแสงได้ดีสุดที่ความยาวคลื่นซึ่งเฉพาะเจาะจง ๆ คือ 420, 530 และ 560 nm หรืออย่างคร่าว ๆ สีน้ำเงิน สีเขียว และสีแดง\nสมองสามารถแยกแยะความยาวคลื่นและสีในขอบเขตการเห็นโดยจับว่า เซลล์รูปกรวยประเภทไหนทำงาน\nลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ของสี ๆ หนึ่งจะรวมความยาวคลื่น ความเข้ม และสเปรกตัมที่จำกัด ในขณะที่ลักษณะทางการรับรู้ต่าง ๆ จะรวมสีสัน (hue) ความสว่าง และความอิ่มตัวของสี (saturation)", "title": "แบบสิ่งเร้า" }, { "docid": "912582#12", "text": "สมมติฐานนี้เสนอว่า การเห็นเป็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภทวิวัฒนาการเกิดขึ้นเพื่อปรับตัวแยกแยะวัตถุต่าง ๆ จากพื้นเพที่เป็นใบไม้เมื่อมองจากไกล ๆ เพราะการเห็นเช่นนี้ทำให้มองเห็นพื้นเพเป็นสีและความสว่างในระดับต่าง ๆ มากกว่าเมื่อมองจากที่ไกล[16]", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" }, { "docid": "630825#2", "text": "Bipolar cell รับข้อมูลผ่านไซแนปส์จากเซลล์รูปแท่งหรือเซลล์รูปกรวย แต่ไม่ใช่ทั้งสองพร้อม ๆ กัน\nดังนั้น จึงมีชื่อว่า rod bipolar cell หรือว่า cone bipolar cell ตามลำดับ\nแต่มี cone bipolar cell ถึง 10 ประเภท\nและมี rod bipolar cell เพียงแค่ประเภทเดียว เพราะว่า เซลล์รูปแท่งเกิดขึ้นในประวัติวิวัฒนาการภายหลังเซลล์รูปกรวย\nในที่มืด เซลล์รับแสงจะปล่อยสารสื่อประสาทกลูตาเมต ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้ง (ทำให้เกิด hyperpolarization) ต่อ ON bipolar cell และมีฤทธิ์กระตุ้น (depolarization) ต่อ OFF bipolar cell\nแต่ในที่สว่าง แสงที่มากระทบกับเซลล์รับแสง\nจะมีผลเป็นการยับยั้งเซลล์รับแสง (เป็น hyperpolarization)\nเพราะปลุกฤทธิ์ของ opsin\nซึ่งจะปลุกฤทธิ์ของ 11-trans-Retinal\nมีผลเป็นการให้พลังงานเพื่อกระตุ้นหน่วยรับความรู้สึก G-Protein coupled receptor ซึ่งปลุกฤทธิ์ของ phosphodiesterase (PDE)\nที่แยก cGMP ออกเป็น GMP.\nปกติแล้วในที่มืด เซลล์รับแสง จะมี cGMP เป็นจำนวนมาก\nมีผลเป็นการเปิดประตูโซเดียมที่เปิดปิดโดย cGMP (cGMP-gated Na Channel)\nและดังนั้น การปลุกฤทธิ์ของ PDE (ที่สืบเนื่องจากการมีแสงสว่าง) ก็จะลดจำนวนของ cGMP\nและลดจำนวนประตูโซเดียมที่เปิด มีผลเป็นภาวะ hyperpolarization ของเซลล์รับแสง\nซึ่งนำไปสู่การลดการปล่อยสารสื่อประสาทกลูตาเมต\nกระบวนการนี้เป็นการระงับการยับยั้งของ ON bipolar cell ทำให้เซลล์เปลี่ยนสภาพเป็น depolarization คือเซลล์เริ่มส่งสัญญาณ\nในขณะที่เป็นการระงับการเร้าของ OFF bipolar cell ทำให้เซลล์เปลี่ยนสภาพเป็น hyperpolarization คือเซลล์จะหยุดส่งสัญญาณ", "title": "Retinal bipolar cell" }, { "docid": "912582#15", "text": "โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว งานวิจัยได้แสดงว่า ความหนาแน่นของตัวรับกลิ่น (olfactory receptor) จะสัมพันธ์กับการได้การเห็นเป็นภาพสีโดยตรง ถึงกระนั้น งานวิจัยก็แสดงด้วยว่าลิงโลกใหม่สกุล Alouatta ไม่ได้มี pseudogene ซึ่งมีบทบาทในการถ่ายโอนฟีโรโมนเป็นกระแสประสาท (pheromone transduction pathway) เหมือนกับที่มนุษย์และลิงโลกเก่ามี ทำให้ลิงประเภทนี้มีทั้งระบบการสื่อสารด้วยฟีโรโมน และการเห็นเป็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภททั้งในตัวเมียตัวผู้[19]", "title": "วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต" } ]
4070
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก มีชื่อเต็มว่าอะไร?
[ { "docid": "32174#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก[1] (English: Queen Margrethe II of Denmark; มาร์เกรเธอ อเล็กซานดรีน ธอร์ฮิลดูร์ อิงกริด ; พระราชสมภพ 16 เมษายน พ.ศ. 2483) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์กกับเจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน พระนางทรงสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2515 จากการสืบราชบัลลังก์ทำให้พระนางทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์กพระองค์แรกนับตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก พระประมุขแห่งสแกนดิเนเวียในช่วงปีพ.ศ. 1918 ถึงพ.ศ. 1955 ในยุคสหภาพคาลมาร์", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" } ]
[ { "docid": "32174#11", "text": "ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 18 พรรษาของเจ้าหญิง ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2501 เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงได้รับตำแหน่งในสภาองคมนตรีเดนมาร์ก เจ้าหญิงทรงเป็นประธานในการประชุมสภาในช่วงที่พระมหากษัตริย์ทรงติดพระราชกิจ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#4", "text": "เจ้าหญิงมาร์เกรเธอประสูติเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2483 ณ พระราชวังอามาเลียนบอร์ก กรุงโคเปนเฮเกน เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในเจ้าชายเฟรเดอริกและเจ้าหญิงอิงกริด มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก พระราชบิดาของพระนางเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์กกับสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรีน และพระราชมารดาของพระนางเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในมกุฎราชกุมารกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดนกับมกุฎราชกุมารีมาร์กาเร็ต เจ้าหญิงประสูติเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากกองทัพนาซีเยอรมนีได้ทำการยึดครองเดนมาร์กในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2463", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#14", "text": "เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงมีความถนัดในภาษาเดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, สวีเดนและเยอรมัน[4]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#33", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์กทรงได้รับแรงสนับสนุนให้ใส่ภาพประกอบในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 พระนางทรงส่งภาพทั้งหมดไปให้เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ซึ่งตกตะลึงเพราะความคล้ายคลึงกันของภาพวาดของพระนางกับแบบของเขาเอง ภาพของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ได้ตีพิมพ์ในฉบับแปลภาษาเดนมาร์ก ซึ่งวาดขึ้นใหม่โดยอีริค ฟราเซอร์ จิตรกรชาวอังกฤษ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "519304#2", "text": "นักประวัติศาสตร์บางคนวิพากษ์วิจารณ์สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ว่าทรงฝักใฝ่เดนมาร์กมากเกินไป และปกครองด้วยเผด็จการอย่างหนัก แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วพระองค์ทรงได้รับการยกย่องอย่างสูงในนอร์เวย์ และเป็นที่เคารพนับถืออย่างยิ่งในเดนมาร์กและสวีเดน พระองค์ทรงถูกแต่งเติมเรื่องราวในแง่ลบจากพงศาวดารทางศาสนาร่วมสมัย ว่าพระองค์ไม่ทรงมีความปราณี ทรงปราบปรามศาสนจักรเพื่อสร้างพระราชอำนาจของราชวงศ์", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#30", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอทรงเป็นผู้สูบบุหรี่จัด และพระนางทรงมีชื่อเสียงจากพฤติกรรมยาสูบของพระนาง[13] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 หนังสือพิมพ์ บี.ที. ของเดนมาร์กได้รายงานว่ามีประกาศจากสำนักพระราชวังที่ระบุว่าในอนาคตสมเด็จพระราชินีจะทรงสูบบุหรี่เฉพาะในเวลาส่วนพระองค์เท่านั้น", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#18", "text": "เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กในฐานะ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และทรงกลายเป็นพระประมุขสตรีพระองค์แรกภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระนางทรงได้รับการประกาศเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ ณ มุขเด็จแห่งพระราชวังคริสเตียนบอร์กโดยนายกรัฐมนตรีเจนส์ ออตโต คร้าก ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า \"พระมหากษัตริย์สวรรคต สมเด็จพระราชินีทรงพระเจริญ\" (The King is dead, long live the Queen!) สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงสละพระอิสริยยศทุกตำแหน่งของอดีตพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ ยกเว้นพระอิสริยยศในเดนมาร์ก ดังนั้นทรงขนานพระนามว่า ด้วยพระคุณของพระเจ้า, สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก (ภาษาเดนมาร์ก: Margrethe den Anden, af Guds Nåde Danmarks Dronning) สมเด็จพระราชินีนาถทรงเลือกคติพจน์ประจำรัชกาลว่า", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#10", "text": "กระบวนการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้เริ่มต้นในปีพ.ศ. 2490 ไม่นานหลังจากพระราชบิดาทรงครองราชบัลลังก์และกลายเป็นที่เข้าใจว่าสมเด็จพระราชินีอิงกริดไม่มีพระประสูติกาลพระบุตรมากไปกว่านี้อีกแล้ว ด้วยกระแสความนิยมในพระเจ้าเฟรเดอริคและพระราชธิดาทั้งสามพระองค์และบทบาทของสตรีในสังคมเดนมาร์กได้ปรากฏเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ได้มีการเริ่มต้นกระบวนการที่ซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ข้อเสนอได้มีการผ่านเข้ารัฐสภาทั้งสองและจากนั้นด้วยการลงประชามติ ที่ซึ่งกำหนดขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์กฉบับใหม่ได้อนุญาตให้สตรีสามารถสืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก ตามที่สิทธิของบุตรหัวปี ซึ่งสตรีสามารถสืบราชบัลลงก์ได้ถ้าหากไม่มีพระเชษฐาหรือพระอนุชา เจ้าหญิงมาร์เกรเธอในขณะนั้นจึงทรงกลายเป็นทายาทโดยสันนิษฐาน", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "519304#3", "text": "ปัจจุบันพระองค์ทรงถูกเรียกว่า \"มาร์เกรเธอที่ 1\" ในเดนมาร์ก เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับสมเด็จพระราชินีนาถองค์ปัจจุบัน ซึ่งทรงใช้พระนามว่า \"มาร์เกรเธอ\" เหมือนกัน ดังนั้นพระประมุของค์ปัจจุบันจึงทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก\nเจ้าหญิงมาร์เกรเธอประสูติในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1353 ทรงเป็นพระราชบุตรพระองค์ที่หก และเป็นองค์สุดท้องในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับเฮลวิกแห่งชเลสวิช เจ้าหญิงประสูติที่ปราสาทซอบอร์ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระราชบิดาของเจ้าหญิง ทรงกักขังพระราชินีเฮลวิก พระราชมารดา เจ้าหญิงทรงเข้ารับบัพติศมาที่รอสกิลด์ และในปีค.ศ. 1359 ขณะมีพระชนายุ 6 พรรษา ทรงหมั้นหมายกับพระเจ้าโฮกุนที่ 6 แห่งนอร์เวย์ วัย 18 พรรษา พระโอรสองค์สุดท้องในพระเจ้ามักนุสที่ 4 และที่ 6 แห่งสวีเดนและนอร์เวย์ตามลำดับ ในสนธิสัญญาการอภิเษกสมรสได้มีข้อตกลงให้กษัตริย์วัลเดมาร์แห่งเดนมาร์กทำการช่วยเหลือกษัตริย์มักนุสแห่งสวีเดนในการต่อต้านพระเจ้าอีริคที่ 12 แห่งสวีเดน พระโอรสในกษัตริย์มักนุสซึ่งในปีค.ศ. 1356 ทำการยึดครองดินแดนภาคใต้ของสวีเดน ซึ่งต่อต้านอำนาจพระราชบิดา การอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์กจึงเป็นส่วนหนึ่งของการแย่งชิงอำนาจในกลุ่มอาณาจักรนอร์ดิก มีความไม่พอใจถึงเหตุการณ์นี้ในกลุ่มแวดวงการเมืองต่างๆ นักกิจกรรมทางการเมืองอย่าง บริจิตแห่งสวีเดน ได้เขียนบรรยายถึงเหตุการณ์นี้ไปยังสมเด็จพระสันตะปาปาว่าเหมือน \"พวกเด็กๆเล่นตุ๊กตา\" เป้าหมายของกษัตริย์วัลเดมาร์ในการอภิเษกสมรสของพระธิดานี้คือการครอบครองแคว้นสคาเนีย ซึ่งถูกจำนองไปให้กับสวีเดนตั้งแต่ปีค.ศ. 1332 ในรัชสมัยกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 2 ตามแหล่งหลักฐานร่วมสมัยระบุว่า สนธิสัญญาการอภิเษกสมรสมีการระบุถึงข้อตกลงในการคืนปราสาทเฮลซิงบอรย์แก่เดนมาร์ก แต่สิ่งนี้ไม่เพียงพอสำหรับกษัตริย์วัลเดมาร์ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1359 ทรงระดมกองทัพขนาดใหญ่กรีฑาทัพข้ามเออเรซุนด์และยึดครองแคว้นสคาเนีย การโจมตีทางตอนใต้ของสวีเดนนี้ถิอเป็นการแสดงให้เห็นว่าเดนมาร์กโจมตีกษัตริย์อีริคที่ 12 และสนับสนุนกษัตริย์มักนุส แต่ในเดือนเดียวกันนั้นกษัตริย์อีริคเสด็จสวรรคต เป็นผลให้สมดุลแห่งอำนาจเปลี่ยน ข้อตกลงระหว่างกษัตริย์วัลเดมาร์และกษัตริย์มักนุสถูกยกเลิกเสียสิ้น รวมถึงการเตรียมอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงมาร์เกรเธอและกษัตริย์โฮกุนแห่งนอร์เวย์ต้องยกเลิกไปด้วย", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#1", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอเสด็จพระราชสมภพในปีพ.ศ. 2483 แต่พระนางไม่ทรงเป็นทายาทโดยสันนิษฐานจนกระทั่งพ.ศ. 2496 เมื่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์กได้อนุญาตให้สตรีมีสิทธิสืบทอดราชบัลลังก์ได้ (หลังจากมีความชัดเจนแล้วว่าพระเจ้าเฟรเดอริกไม่ทรงมีรัชทายาทที่เป็นบุรุษ) ในปีพ.ศ. 2510 ทรงอภิเษกสมรสกับอ็องรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซาและมีพระราชโอรสสองพระองค์คือ เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์กและเจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "519304#1", "text": "พระองค์เป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับพระนางเฮลวิกแห่งชเลสวิช พระองค์ประสูติที่ปราสาทซอบอร์ก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงเป็นผู้ที่โปรดการทรงงาน บริหารราชอาณาจักรด้วยความอดทนและเป็นนักการทูตผู้มีชั้นเชิง ทรงเป็นผู้ที่มีปณิธานอย่างแรงกล้าในการรวมสแกนดิเนเวียให้เป็นรัฐอัตลักษณ์หนึ่งเดียวและมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะแข่งขันทางอำนาจกับสันนิบาตฮันเซอ พระองค์ไม่ทรงมีรัชทายาทตามสายพระโลหิตที่จะมาสืบบัลลังก์ต่อ ด้วยพระโอรสเพียงพระองค์เดียวได้สิ้นพระชนม์ลงเสียก่อนที่พระองค์จะครองราชย์ แม้ว่านักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระองค์ทรงมีพระราชธิดานอกสมรสอีกพระองค์หนึ่งอันประสูติแต่อับราฮัม บรอเดอร์สัน ที่ปรึกษาชาวสวีเดนคนสนิทของพระนาง อย่างไรก็ตามสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดในการประคับประคองกษัตริย์พระองค์ต่อไปซึ่งไร้ความสามารถ โดยทรงอบรมและให้ความรู้แก่อีริคแห่งพอเมอเรเนีย และเจ้าหญิงฟิลิปปาแห่งอังกฤษ พระชายาของพระองค์ อีริคแห่งพอเมอเรเนียเป็นพระนัดดา (หลานยาย) ของพระเชษฐภคินีในพระนางมาร์เกรเธอ โดยพระนางมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงครองราชย์ร่วมกันกับอีริคแห่งพอเมอเรเนีย เป็นพระเจ้าอีริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ทำให้มีพระประมุขสองพระองค์ สมเด็จพระราชินีฟิลิปปาเป็นนักเรียนที่ยอดเยี่ยมภายใต้การอบรมของพระองค์ แต่สิ้นพระชนม์เร็วเกินไป ในที่สุดสหภาพที่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงพยายามอย่างมากที่จะรักษาไว้สืบไปต้องสลายตัวลงอย่างช้าๆ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "402298#0", "text": "เจ้าหญิงอิซาเบลลา เฮนเรียตตา อิงกริด มาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก, เคาน์เตสแห่งมงเปอซา (21 เมษายน พ.ศ. 2550) พระธิดาพระองค์แรกในเจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก กับเจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก เป็นพระราชนัดดาองค์ที่สี่ และเป็นพระราชนัดดาหญิงพระองค์แรกในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทั้งยังเป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ", "title": "เจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#40", "text": "Media related to สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก at Wikimedia Commons", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#27", "text": "ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555 สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงจัดพระราชพิธีครองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี (Ruby Jubilee)[7] พระราชพิธีนี้ประกอบด้วยขบวนรถม้าและการสัมภาษณ์จากโทรทัศน์จำนวนมาก พระราชอาคันตุกะที่มาร่วมพระราชพิธีนี้รวมทั้ง สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์และสวีเดน อดีตสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ และประธานาธิบดีแห่งฟินแลนด์ เป็นต้น [8]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#29", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงเป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จ และทรงจัดแสดงภาพวาดฝีพระหัตถ์มากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา[9] ภาพประกอบของพระนางภายใต้นามแฝงว่า \"อินกาฮิลด์ กราธเมอร์\" เคยนำมาใช้ประกอบในนวนิยายเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ฉบับภาษาเดนมาร์กที่ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2520 และตีพิมพ์ใหม่ในปีพ.ศ. 2545 ในปีพ.ศ. 2543 พระนางทรงใส่ภาพประกอบลงในหนังสือ Cantabile ซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมบทกวีที่พระราชนิพนธ์ขึ้นโดยเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี พระนางยังคงประสบความสำเร็จในฐานะนักแปลและทรงมีส่วนร่วมในการแปลนวนิยายเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในภาษาเดนมาร์ก[9] ทักษะอื่น ๆ นอกำจากนี้ที่ทรงมีคือการออกแบบเครื่องแต่งกาย ทรงออกแบบเครื่องแต่งกายในคณะบัลเล่ต์หลวงเดนมาร์กในเรื่องA Folk Taleและในปีพ.ศ. 2552 ทรงออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับภาพยนตร์เรื่อง \"De vilde svaner\" (the Wild Swans; ห่านป่า) ของผู้กำกับปีเตอร์ ฟลินธ์[10] พระนางยังทรงออกแบบฉลองพระองค์ของพระนางเองด้วยและเป็นที่รู้จักสำหรับฉลองพระองค์ของพระนางที่มีสีสันและบางครั้งทรงเลือกฉลองพระองค์แปลก ๆ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอยังทรงฉลองพระองค์ที่ออกแบบโดยอดีตดีไซนเนอร์ของปิแยร์ บาลเมนคือ อีริค มอร์เทนเซน, จอร์เกน เบนเดอร์, และเบอร์จิเต ทูโลว์[11] พระนางทรงได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งใน 50 คนที่สวมชุดได้ดีที่สุดในช่วงวัย 50 ปีขึ้นไปของนิตยสารการ์เดียนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556[12]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#41", "text": "หมวดหมู่:สมเด็จพระราชินีนาถ หมวดหมู่:บุคคลจากโคเปนเฮเกน หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์เดนมาร์ก หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ในปัจจุบัน หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ม.ภ. หมวดหมู่:เจ้าหญิงเดนมาร์ก หมวดหมู่:เลดีออฟเดอะการ์เตอร์ หมวดหมู่:ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "323907#3", "text": "พระองค์เป็นพระราชขนิษฐาในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระกษัตรีย์องค์ปัจจุบันแห่งเดนมาร์ก และพระองค์ยังเป็นพระญาติวงศ์ในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสวีเดนองค์ปัจจุบัน", "title": "สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ" }, { "docid": "854545#0", "text": "อะเล็กซานดรินแห่งแมคเคลนบูร์ก - เชควริน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระองค์และพระราชสวามีมีพระราชโอรสร่วมกัน 2 พระองค์ คือสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดริคที่ 9 แห่งเดนมาร์กและเจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก ทั้งนี้ พระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชอัยยิกาในพระราชนัดดา 6 พระองค์ คือสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงเบเนดิกเทอแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก เคานต์อิงกอล์ฟแห่งโรเซินบอร์ก และ เคานต์คริสเตียนแห่งโรเซินบอร์ก พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยพระชนมายุ 55 พรรษา", "title": "อะเล็กซานดรินแห่งแมคเคลนบูร์ก-เชควริน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "355025#0", "text": "เจ้าหญิงอเล็กเซียแห่งกรีซและเดนมาร์ก (, ประสูติ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2508) พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ กับสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ พระชนกของพระองค์เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน ส่วนพระชนนีของพระองค์เป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก", "title": "เจ้าหญิงอเล็กเซียแห่งกรีซและเดนมาร์ก" }, { "docid": "289252#0", "text": "เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี ในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (พระนามเต็ม: อ็องรี มารี ฌ็อง อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา; 11 มิถุนายน พ.ศ. 2477 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก พระองค์ประสูติที่เมืองตาลงซ์ แคว้นกีรงด์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นโอรสในเคาต์อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา และเรอเน ดูร์เซโน อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1967 ในขณะที่มีพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงผู้เป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก", "title": "เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี" }, { "docid": "32174#20", "text": "พระนางมีพระราชดำรัสแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการครั้งแรก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 มีพระราชดำรัสว่า", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#9", "text": "เมื่อครั้งประสูติ พระราชวงศ์ฝ่ายชายสามารถสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของพระราชบัญญัติการสืบราชสันตติวงศ์ที่มีการประกาศใช้ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1850 เมื่อสายราชสกุลกลึคส์บูร์กได้รับเลือกให้สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากราชวงศ์โอลเดนบวร์ก ในฐานะที่เจ้าหญิงมาร์เกรเธอไม่มีพระเชษฐาหรือพระอนุชา ได้มีการสันนิษฐานว่าพระปิตุลาของเจ้าหญิงคือ เจ้าชายคนุดแห่งเดนมาร์ก จะได้สืบราชบัลลังก์เดนมาร์กในวันใดวันหนึ่ง", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#8", "text": "ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2490 พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 เสด็จสวรรคตและพระราชบิดาของเจ้าหญิงมาร์เกรเธอได้ครองราชบัลลังก์สืบต่อในพระนาม \"พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก\"", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "519304#0", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 แห่งเดนมาร์ก (, , , ; 15 มีนาคม ค.ศ. 1353 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1412) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินี (พระมเหสี) แห่งนอร์เวย์ (ค.ศ. 1363 - 1380) และสวีเดน (ค.ศ. 1363 - 1364) และจากนั้นทรงเป็นพระประมุขตามสิทธิในราชบัลลังก์ของเดนมาร์ก นอร์เวย์และสวีเดน ซึ่งในภายหลังนี้เกิดความคลุมเครือและสับสนถึงการเรียกพระอิสริยยศของพระองค์ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 ทรงเป็นผู้ก่อตั้งสหภาพคาลมาร์ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมทั่วคาบสมุทรสแกนดิเนเวียเป็นระยะเวลากว่าศตวรรษ พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่ทรงปัญญา ขะมักเขม้นและมีความสามารถ ทรงได้รับพระสมัญญาว่า \"เซมิรามิสแห่งอุดรทิศ\" (Semiramis of the North) หรือ \"เลดี้คิง\" (the Lady King) แม้ว่าพระนามชื่อหลังนี้เป็นพระนามที่เย้ยหยันอันมาจากศัตรูของพระองค์ คือ อัลเบิร์ตแห่งเมคเลินบวร์ค แต่กลับกลายว่าชื่อนี้เป็นที่นิยมใช้เมื่อมีการกล่าวถึงความสามารถของพระองค์", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "843390#3", "text": "สมเด็จพระราชชนนีอึนตอมบีเป็นที่รู้จักแพร่หลายในโลกตะวันตก โดยพระองค์ถือเป็นหนึ่งในสามพระราชินีที่ครองราชย์อยู่ ได้แก่ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร", "title": "สมเด็จพระราชินีอึนตอมบี พระราชชนนี" }, { "docid": "28335#18", "text": "นอกจากนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยังใช้รับรอง และพระราชทานเลี้ยงแก่พระราชอาคันตุกะ อาทิเช่น สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก แห่งประเทศเดนมาร์ก อินฟันตาเอเลนา ดัชเชสแห่งลูโก แห่งประเทศสเปน สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เจ้าชายฟุมิฮิโตะ เจ้าอะกิชิโนะแห่งประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น [2]", "title": "พระราชวังบางปะอิน" }, { "docid": "519304#7", "text": "บทบาทแรกของสมเด็จพระราชินีมาร์เกรเธอแห่งนอร์เวย์หลังการสวรรคตของพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1375 คือ การเตรียมการจัดการเลือกตั้งกษัตริย์ให้เจ้าชายโอลาฟแห่งนอร์เวย์ พระโอรสวัยทารกของพระนางขึ้นเป็นกษัตริย์เดนมาร์ก ทั้งๆที่สิทธิในบัลลังก์ควรเป็นของดยุกเฮนรีที่ 3 แห่งเมคเลินบวร์ค พระสวามี และอัลเบิร์ต พระโอรสของเจ้าหญิงอิงเกบอร์กแห่งเดนมาร์ก ดัชเชสแห่งเมคเลินบวร์ค พระเชษฐภคินีของพระนางมาร์เกรเธอที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนแล้ว พระนางมาร์เกรเธอทรงยืนยังต่อขุนนางว่า เจ้าชายโอลาฟจะได้รับการประกาศให้เป็นรัชทายาทโดยชอบธรรมแห่งราชบัลลังก์สวีเดนและตำแหน่งต่างๆ ซึ่งกษัตริย์โอลาฟที่ 2 ทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองแผ่นดิน และสมเด็จพระราชินีมาร์เกรเธอทรงสามารถพิสูจน์พระองค์เองว่าเป็นผู้นำที่ทรงอำนาจและชาญฉลาดในช่วงหลายปีนี้ กษัตริย์โฮกุน พระสวามีของพระนางสวรรคตในปีค.ศ. 1380 กษัตริย์โอลาฟจึงทรงสืบราชบัลลังก์นอร์เวย์ด้วย แต่กษัตริย์โอลาฟกลับสวรรคตอย่างกระทันหันในปีค.ศ. 1387 ขณะมีพระชนมายุ 17 พรรษา และพระนางมาร์เกรเธอซึ่งปกครองในนามของกษัตริย์ได้รับการสถาปนาเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งนอร์เวย์และเดนมาร์กในปีถัดมา พระนางทรงมีความสามารถทางการปกครองโดยทรงสามารถทวงคืนชเลสวิชมาจากเหล่าเคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-เรนด์บวร์กได้ เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์ถือครองชเลสวิชมาหลายชั่วอายุคนและต่อมาได้ดินแดนกลับคืนมาตามข้อตกลงนีบอร์ก ค.ศ. 1386 แต่ด้วยข้อตกลงที่เข้มงวดในสัญญาดังกล่าว กลายเป็นว่าราชสำนักเดนมาร์กได้ประโยชน์ทั้งหมดจากการทำข้อตกลงนี้ ด้วยข้อตกลงที่เข้มงวดนี้ ทำให้เหล่าขุนนางชาวจูตที่มักจะแข็งข้อต่อราชวงศ์เดนมาร์กสูญเสียกำลังสนับสนุนจากดินแดนชเลสวิชและฮ็อลชไตน์ เมื่อพระนางมาร์เกรเธอทรงแก้ปัญหาภายในอาณาจักรได้แล้ว พระนางจึงหันไปสนใจสวีเดน ซึ่งเกิดขุนนางที่ทำการแข็งข้อต่อกษัตริย์สวีเดน นำโดย บีร์เกอร์ (บุตรชายของบริจิตและพี่ชายของมาร์ธา) เตรียมพร้อมก่อกองกำลังต่อต้านกษัตริย์อัลเบรกท์ ผู้ไม่เป็นที่นิยม ขุนนางผู้มีอำนาจหลายคนเพียนสาส์นถึงพระนางมาร์เกรเธอว่า ถ้าพระนางช่วยสวีเดนกำจัดกษัตริย์อัลเบรกท์ พระนางจะได้รับการสถาปนาเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระนางจึงทรงรีบรวบรวมกองทัพเข้ารุกรานสวีเดน", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#7", "text": "เมื่อเจ้าหญิงมาร์เกรเธอมีพระชนมายุ 4 ชันษาในปีพ.ศ. 2487 พระขนิษฐาพระองค์แรกประสูติคือ เจ้าหญิงเบเนดิกเทอแห่งเดนมาร์ก ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงเบเนดิกเทอทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายริชาร์ดที่ 6 แห่งไซน์-วิตเกนสไตน์-เบอร์เลบูร์กและบางครั้งทรงพำนักที่เยอรมนี พระขนิษฐาองค์สุดท้องคือ เจ้าหญิงแอนน์-มารีแห่งเดนมาร์ก ประสูติในปีพ.ศ. 2489 ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ และปัจจุบันทรงพำนักอยู่ที่ลอนดอน", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "32174#34", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์กกับเจ้าชายเฮนริกมีพระราชโอรสร่วมกัน 2 พระองค์ได้แก่", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก" } ]
4071
กรณ์ จาติกวณิชเกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "52438#0", "text": "กรณ์ จาติกวณิช (เกิด: 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507) เป็นรองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจากรูปร่างที่สูงถึง 193 เซนติเมตร ทำให้ได้สมญานามจากสื่อมวลชนว่า \"หล่อโย่ง\" ซึ่งตั้งให้เข้าชุดกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีสมญานาม \"หล่อใหญ่\" และสมาชิกพรรครุ่นใหม่คนอื่นๆ เช่น อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับสมญานามว่า \"หล่อเล็ก\" และหม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล ที่ได้รับสมญานามว่า \"หล่อจิ๋ว\"", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" } ]
[ { "docid": "52438#22", "text": "โครงการขนส่ง/Logistic จำนวน 571,523 ล้านบาท โครงการด้านทรัพยากรน้ำและการเกษตร จำนวน 238,515 ล้านบาท โครงการด้านการศึกษา จำนวน 137,975 ล้านบาท โครงการสาธารณสุข จำนวน 99,399 ล้านบาท โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว จำนวน 18,537 ล้านบาท", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#15", "text": "กรณ์ จาติกวณิช เคยได้รับเลือกให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเงา ในการติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#12", "text": "กรณ์ จาติกวณิช เคยดำรงตำแหน่งประธาน บริษัทเจพี มอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัดพ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2547 ประธานบริษัทหลักทรัพย์เจเอฟ ธนาคม จำกัด พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2543 เอส จี วอร์เบิร์ก ลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2530", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#1", "text": "ต้นปี พ.ศ. 2549 กรณ์ จาติกวณิช มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ปของ ตระกูลชินวัตร และดามาพงษ์ โดยได้รับมอบหมายจากพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นหัวหน้าคณะ​ทำงานตรวจสอบ​การขายหุ้นชินคอร์ป ซึ่งการขายหุ้นดังกล่าวถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีความเกี่ยวพันกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในประเด็นการซุกหุ้น และหลีกเลี่ยงภาษี", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#9", "text": "กรณ์ จาติกวณิช สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก วินเชสเตอร์ คอลเลจ (Winchester College) หลังจากนั้นศึกษาต่อปริญญาตรี สาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่ เซนต์จอห์น (St.John's) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) จนสำเร็จการศึกษาได้รับ เกียรตินิยมอันดับสอง", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#17", "text": "กรณ์ จาติกวณิช ดำรงตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[4] ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556[5] เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส.", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#23", "text": "วิถีชีวิตของ กรณ์ จาติกวณิช และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีความคล้ายคลึงกันไม่น้อย ตั้งแต่ที่ทั้งคู่ถือกำเนิดในตระกูลเก่าแก่ มีบรรพบุรุษทางบิดาเป็นชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศสยาม ทั้งนามสกุล \"จาติกวณิช\" และ \"เวชชาชีวะ\" ต่างก็เป็นนามสกุลพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ 6", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#6", "text": "กรณ์ จาติกวณิชเกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ที่ Princess Beatrice Hospital ถนน Brompton ประเทศอังกฤษ มีชื่อเล่นว่า \"ดอน\" เป็นบุตรคนกลางของ นายไกรศรี จาติกวณิช อดีตอธิบดีกรมศุลกากร อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กับ นางรัมภา จาติกวณิช (นามสกุลเดิม พรหโมบล บุตรี พระยาบุเรศผดุงกิจ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ)", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#3", "text": "เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ กรณ์ จาติกวณิช ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบดูแลพื้นที่ กรุงเทพมหานคร", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#26", "text": "หลังจากสำเร็จการศึกษา กรณ์และอภิสิทธิ์ได้แยกย้ายกันไปทำงานแตกต่างกัน โดยอภิสิทธิ์ทำงานเป็นอาจารย์ ส่วนกรณ์ทำงานในสายการเงิน แต่ทั้งคู่ยังมีความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอีก เมื่อกรณ์แต่งงานกับ วรกร จาติกวณิช เนื่องจากภรรยาของกรณ์คนนี้เป็นญาติกับอภิสิทธิ์เพราะว่านามสกุลเดิมของเธอคือ สูตะบุตร เช่นเดียวกับมารดาของอภิสิทธิ์ นอกจากนี้ วรกร จาติกวณิชซึ่งเป็นภรรยาของกรณ์ยังสนิทกับ งามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ที่เป็นพี่สาวของอภิสิทธิ์อีกด้วย นอกจากนี้ คุณลุงของกรณ์ คือ ศ.นพ.กษาน จาติกวณิช กับบิดาของอภิสิทธิ์ คือ ศ.เกียรติคุณ นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่างก็เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลมาแล้วเช่นกัน", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#27", "text": "ในที่สุดทั้งอภิสิทธิ์และกรณ์ได้เข้าสู่วงการเมือง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกัน และได้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารพรรคด้วยกันในเวลาต่อมา และหลังจากนั้นอภิสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย โดยมีกรณ์ำดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#30", "text": "โดย กรณ์ จาติกวณิช ได้รับรางวัลพร้อมกับผู้ได้รับรางวัลชาย อีก 4 คน คือ", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#7", "text": "กรณ์ จาติกวณิช สมรสกับวรกร จาติกวณิช (สกุลเดิม: สูตะบุตร) มีบุตรธิดาด้วยกัน คือ กานต์ จาติกวณิช (แจม) และไกรสิริ จาติกวณิช (จอม) นอกจากนี้วรกรยังมีลูกจากการสมรสครั้งก่อนอีก 2 คน คือ พงศกร มหาเปารยะ (แต๊งค์) และพันธมิตร มหาเปารยะ (ติ๊งค์)", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#16", "text": "ทางด้านการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร กรณ์ จาติกวณิช ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองประธานคณะกรรมาธิการการเงินการคลังและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร 2 สมัยติดต่อกัน", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#5", "text": "ต่อมาเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 กรณ์ จาติกวณิช ได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [1] ในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ครม.คณะที่ 59)", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#29", "text": "กรณ์ จาติกวณิช ได้รับรางวัล \"เปรียว อวอร์ด 2005\" [9] ที่นิตยสารเปรียวมอบให้ 10 บุคคลคุณภาพแห่งปี ซึ่งประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และเป็นที่รู้จักในแวดวงสังคมไทย โดยมีการเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ จากหลากหลายวิชาชีพมาทำหน้าที่เป็น คณะกรรมการคัดเลือก และตัดสิน ภายใต้หลักเกณฑ์สำคัญคือ จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อม ทั้งเรื่องบุคลิกภาพ, สัมพันธภาพ, ความฉลาด, ความสง่างาม และมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับในสังคม", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#4", "text": "นอกจากนี้ทางด้านการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร กรณ์ จาติกวณิช ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองประธานคณะกรรมาธิการการเงินการคลังและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#14", "text": "กรณ์ จาติกวณิช เข้าสู่วงการการเมืองจากการชักชวนของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อนนักเรียนเมื่อครั้งเรียนอยู่ที่อังกฤษ โดยชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. เขต 7 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตยานนาวาและเขตสาทรบางแขวงของพรรคประชาธิปัตย์ จากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ด้วยคะแนนเสียง 36,010 คะแนน เป็น 1 ใน 4 ของ ส.ส.กรุงเทพมหานครของพรรคประชาธิปัตย์", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#35", "text": "พ.ศ. 2554 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11] พ.ศ. 2553 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) [12]", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#11", "text": "ต้นตระกูลทางฝ่ายบิดาของ กรณ์ จาติกวณิช เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาตั้งรกรากในประเทศสยาม นามสกุล \"จาติกวณิช\" หรือ \"Chatikavanij\" เป็นนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 1211 ที่พระราชทานแก่ พระอธิกรณประกาศ (หลุย) เจ้ากรมกองตระเวนในขณะนั้น โดยระบุว่าพระอธิกรณประกาศมีปู่คือ พระอภัยวานิช (จาด) และเนื่องจากเป็นสกุลพ่อค้า จีงมีคำว่า \"วณิช\" ในนามสกุล[3] คุณปู่คือ พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช หรือ ซอเทียนหลุย) ได้เข้ารับราชการและดำรงตำแหน่งเป็น อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 2 ของไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น องคมนตรี ในสภากรรมการองคมนตรี สมัยรัชกาลที่ 7 คุณตาคือ พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งต่อจาก พระยาอธิกรณ์ประกาศ ซึ่งเป็นคุณปู่ของกรณ์ พระยาอธิกรณ์ประกาศ มีภรรยา 2 คน ภรรยาคนแรก มีบุตรชาย คือ นายแพทย์กษาน จาติกวณิช คุณหญิงเสงี่ยมภรรยาคนที่สอง มีบุตรชาย 2 คน คือ เกษม จาติกวณิช และ ไกรศรี จาติกวณิช อดีตอธิบดีกรมศุลกากรและกรมสรรพากร อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งเป็นบิดาของกรณ์ คุณลุง คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์กษาน จาติกวณิช อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (สมรสกับ ท่านผู้หญิงสุมาลี (ยุกตะเสวี) จาติกวณิช มีบุตรสาวคือ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) คุณลุงอีกคนคือ นายเกษม จาติกวณิช หรือ \"ซูเปอร์เค\" เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ว่าการคนแรกของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเป็นประธานรถไฟฟ้า BTS สมรสกับ คุณหญิงชัชนี จาติกวณิช (ล่ำซำ) ผู้บริหารกลุ่ม “ล็อกซเล่ย์” คุณย่าเป็นคนเหนือจากจังหวัดลำปาง คุณตา (พระยาบุเรศผดุงกิจ) สืบเชื้อสายโดยตรงจาก เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ คุณยาย เป็นชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย กรณ์ มีเชื้อสายดัตช์ แต่เกิดที่กรุงลอนดอน และเดินทางกลับมาประเทศไทยตั้งแต่อายุ 3 ปี และปักหลักเป็นชาวกรุงเทพมหานครมาจนถึงปัจจุบัน กรณ์ มีพี่น้องเป็นชายล้วน 3 คน คือ อธิไกร กรณ์ และอนุตร ซึ่งอนุตรมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับกรณ์มาก ขนาดที่มีคนจำผิดมาแล้วมากมาย", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#18", "text": "ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบได้ตั้งฉายารัฐบาลและรัฐมนตรี โดยกรณ์ ได้รับฉายาว่า \"โย่งคาเฟ่\" จากผลงานการแสดงบทบาทพันตรีประจักษ์ คู่กับทักษอร ภักดิ์สุขเจริญในภาพยนตร์โฆษณา และการเปิดผับเชียร์ฟุตบอล[6]", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#32", "text": "และผู้ได้รับรางวัลหญิง อีก 5 คน คือ", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#31", "text": "สราวุฒิ มาตรทอง นักแสดงและนักเขียน เรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนอยุธยาเจเอฟ จำกัด เจษฎ์ โทณวณิก นักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา จิตตนาถ ลิ้มทองกุล ผู้บริหาร หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#19", "text": "แผนกระตุ้นเศรษฐกิจกลางปีจำนวน 116,700 ล้านบาท อันไปใช้ในโครงการดังกล่าว[7]", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "131366#1", "text": "นายเกษม จาติกวณิช เกิดวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2467 เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนบุตรธิดา 8 คนของ พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และองคมนตรีในรัชกาลที่ 7 สมรสกับ คุณหญิงชัชนี จาติกวณิช (สกุลเดิม ล่ำซำ บุตรสาวนายโชติ ล่ำซำ และนางน้อม (อึ้งภากรณ์)) มีบุตร-ธิดา 4 คน ", "title": "เกษม จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#8", "text": "ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 นาย พันธมิตร มหาเปารยะ ถูกตำรวจจับพร้อมของกลางยาเสพติดให้โทษประเภท 2 หรือ โคเคน 1 ถุง น้ำหนัก 0.920 กรัม[2]", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "362890#58", "text": "กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เดินทางไปร่วมการประชุมด้านธุรกิจ ที่ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554", "title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" }, { "docid": "52438#34", "text": "เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553 นิตยสาร The Banker นิตยสารชั้นนำของประเทศอังกฤษ คัดเลือกให้กรณ์ จาติกวณิช เป็น \"รัฐมนตรีคลังโลก ปี 2010\" และ \"รัฐมนตรีคลังเอเชียแห่งปี 2010\" โดยคัดเลือกจากรัฐมนตรีคลังในประเทศต่างๆ ทั่วโลก 5 ภูมิภาค ได้แก่ อเมริกา ยุโรป เอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง[10]", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" }, { "docid": "52438#36", "text": "หมวดหมู่:สกุลจาติกวณิช หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายลาว หมวดหมู่:พุทธศาสนิกชนชาวไทย หมวดหมู่:นักการเมืองไทย หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:พรรคประชาธิปัตย์ หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ", "title": "กรณ์ จาติกวณิช" } ]
4072
วิตนีย์ ฮิวสตัน แจ้งเกิดจากผลงานการแสดงเรื่องอะไร ?
[ { "docid": "83623#2", "text": "ฮิวสตันยังได้แสดงภาพยนตร์ครั้งแรกใน The Bodyguard' (2535) (ชื่อไทย: เดอะบอดี้การ์ด เกิดมาเจ็บ เพื่อเธอ) โดยวิตนิย์ยังได้รางวัล รางวัลแกรมมี จากภาพยนตร์เรื่องนี้ จากเพลงประกอบภาพยนตร์ ใน รางวัลแกรมมี สาขาอัลบั้มแห่งปี โดยมีเพลงโดดเด่นคือ I Will Always Love You , ส่งผลให้กลายเป็นซิงเกิ้ลที่ขายดีโดยนักร้องหญิงในประวัติศาสตร์เพลง ในอัลบั้ม , ฮิวสตันยังแสดงบทบาทผลงานเดี่ยว และคณะกลุ่มผู้ชายและหญิง และขายได้มากกว่าล้านแผ่นเสียงของอัลบั้มในสัปดาห์เดียวภายใต้การตรวจสอบของระบบ Nielsen SoundScan[9] โดยอัลบั้มนี้ยังทำให้เธอติดอันดับความชั้นนำของนักร้องหญิงในท็อป 10 อันดับของยอดการขายที่ดีที่สุดตลอดการ , เธอติดอันดับที่ 4 , ฮิวสตันยังเริ่มต้นงานการแสดงอย่างต่อเนื่องและยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลงานเพลงพวกเขา , เช่นภาพยนตร์ Waiting to Exhale (2538) และ The Preacher's Wife (2539) อีกทั้งเพลงประกอบ The Preacher's Wife กลายเป็นอัลบั้มขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของแนวเพลง กอสเปล[10]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" } ]
[ { "docid": "83623#12", "text": "Whitney: The Greatest Hits - 2000 I Will Always Love You: The Best of Whitney Houston - 2012", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "559931#1", "text": "ริงโกะ คิกูจิ แจ้งเกิดจากหนังเรื่อง \"Babel อาชญากรรม / ความหวัง / การสูญเสีย\" ทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลถึง 23 สาขาจาก 19 สถาบันทั่วโลก หลังจากนั้นเธอได้ร่วมแสดงในหนังฮอลลีวู้ด เรื่อง \"The Brothers Bloom พี่น้องบลูม ร่วมกันตุ๋น จุ้นละมุน\" ผลงานการกำกับของ เรน จอนสัน (ผู้กำกับจาก Looper และ Star Wars Episode VIII 2017) และในปี 2013 เธอยังได้รับบทนำในภาพยนตร์แอคชั่นเรื่อง \"แปซิฟิค ริม สงครามอสูรเหล็ก\" ผลงานกำกับของกีเยร์โม เดล โตโร ในปี 2013 และร่วมแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง \"47 โรนิน มหาศึกซามูไร\" ภาพยนตร์ดัดแปลงจากตำนานสี่สิบเจ็ดโรนิน ร่วมแสดงกับ เคอานู รีฟส์ (จาก The Matrix เดอะแมททริก) และ ริงโกะ ก็มีผลงานการแสดงโดยรับบทนำอย่างเป็นทางการในหนังฮอลลีวู้ดเรื่อง \"Kumiko, the Treasure Hunter\" ผลงานการสร้างและกำกับโดยผู้กำกับหน้าใหม่ เดวิด เซลเนอร์ โดยภาพยนตร์ได้ออกฉายตามเทศกาลต่างๆในปี 2014 และเข้าฉายอย่างเป็นทางการในปี 2015 และผลงานการแสดงภาพยนตร์ในปี 2015 คือ \"Nobody Wants the Night\" ผลงานการกำกับของ อิซาเบล โคเซท โดย ริงโกะ เคยแสดงนำในหนังเรื่อง \"Map of the Sounds of Tokyo\" ผลงานการกำกับของ อิซาเบล มาแล้วในปี 2009 และผลงานการแสดงเรื่องล่าสุดคือ \"To Give a Dream\" ละครทีวีในญี่ปุ่นทางสถานี WOWOW ร่วมแสดงกับ นานะ โคมัตสึ (จาก The World of Kanako นางฟ้าอเวจี) และนอกเหนือจากนี้ ริงโกะยังมีโอกาศจะได้กลับมารับบท มาโกะ โมริ ในหนัง \"แปซิฟิค ริม สงครามอสูรเหล็ก\" ภาค 2 ที่จะเริ่มถ่ายทำในปี 2017 แต่ยังไม่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่าเธอจะได้รับบทนี้อีกครั้งหรือไม่", "title": "ริงโกะ คิกูจิ" }, { "docid": "83623#13", "text": "หมวดหมู่:นักร้องอเมริกัน หมวดหมู่:นักแสดงอเมริกัน หมวดหมู่:ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน หมวดหมู่:โปรดิวเซอร์เพลงชาวอเมริกัน หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดแอริสตาเรเคิดส์ หมวดหมู่:ผู้ที่ได้รับรางวัลแกรมมี หมวดหมู่:นักร้องเสียงเมซโซ-โซปราโน หมวดหมู่:บุคคลจากนวร์ก หมวดหมู่:เสียชีวิตจากการจมน้ำ หมวดหมู่:นักร้องหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "83623#0", "text": "วิตนีย์ ฮิวสตัน (English: Whitney Houston) หรือชื่อจริงว่า วิตนีย์ เอลิซาเบธ ฮิวสตัน (Whitney Elizabeth Houston; 9 สิงหาคม 2506 — 11 กุมภาพันธ์ 2555) เป็นนักร้องอเมริกัน , นักแสดง , โปรดิวเซอร์ , และนางแบบในปี พ.ศ. 2552 , บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ อ้างถึงในฐานะที่เป็นหญิงที่ได้รับรางวัลมากที่สุด[1] ฮิวสตัน ยังเป็นหนึ่งในนักร้องเพลงป็อปที่มียอดขายดีตลอดกาล โดยประมาณ 170-200 ล้านแผ่นเสียง[2][3] โดยเธอเองมีผลงานสตูดิโออัลบั้มหกอัลบั้ม , โดยมีอัลบั้มเทศกาลพิเศษ One Wish: The Holiday Album (อัลบั้มฉลองปีใหม่) และสามอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ , โดยทั้งหมดที่กล่าวมายังได้รับรางวัลอัลบั้มแผ่นเสียงเพชร , รางวัลยอดการขายยอดเยี่ยม , แพลตินัมและอัลบั้มคุณภาพ ฮิวสตันก้าวข้ามและติดชาร์จเพลงฮิตจำนวนมาก ,เช่นเดียวกับความโดดเด่นของเธอใน เอ็มทีวี , เริ่มต้นด้วยวิดิโอมิวสิกเพลง How Will I Know[4] และส่งผลให้เป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปินหญิงแอฟริกันอเมริกันจำนวนมากที่เดินตามรอยเท้าเธอ.[5][6]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "83623#5", "text": "เมื่ออายุ 11 , ฮุสตันเริ่มการแสดงในฐานะศิลปะเดี่ยวกับคณะประสานเสียงกลุ่ม กอสเปล ในโบสถ์ New hope baptist ในนครนวร์ก ซึ่งเธอก็ได้รับการเรียนรู้เปียโนด้วย[23] ผลงานการแสดงของเธอในโบสถ์คือเพลง \"Guide Me, O Thou Great Jehovah\"[24] เมื่อฮูสตันเข้าสู่วัยรุ่น , เธอได้เข้าเรียนที่ Mount Saint Dominic Academy เด็กสาวคาทอลิกในโรงเรียนมํธยมที่เคสเวตย์ , นิวเจอร์ซี เมื่อเธอพบกับเพื่อนที่ดีที่สุดของเธอ ร็อบบิ้น แคลทฟอร์ด ซึ่งเธออธิบายว่า เธอไม่เคยมีน้องสาว[25] เมื่อตอนที่ฮุสตันยังเรียนหนังสือ , แม่ของเธอสอนเธอร้องเพลง[5] และฮุสตันยังได้สัมผัสกับเพลงต่างอาทิ ชากา คาน , แกลดีส์ ไนต์ และ โรเบอร์ตา แฟล็ก ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมามีอิทธิพลต่อเธอในฐานะนักร้องและนักดนตรีอย่างมาก[26]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "323419#1", "text": "จากนั้นเธอก็ยังมีผลงานการแสดงภาพยนตร์ เรื่อง \"แชะ แชะ แชะ 2\" ฉบับ โปร่งใส คู่กับ ปริญญ์ ปรัชญา และในปีเดียวกันเองเธอก็ได้รับเลือกให้เป็นนางเอกละครเต็มตัวเรื่องแรกคือละครเรื่อง กาในฝูงหงส์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 คู่กับ สัญญา คุณากร และ ตฤณ เศรษฐโชค ซึ่งเป็นผลงานสร้างชื่อและแจ้งเกิดให้เธออย่างเต็มตัว จากนั้นเธอก็มีผลงานการแสดงมากมายไม่ว่าจะเป็นบทนางเอกหรือนางร้าย ", "title": "นาตยา จันทร์รุ่ง" }, { "docid": "83623#7", "text": "ในต้นยุค 1980s ฮิวสตันทำงานเป็นนางแบบหลังจากที่มีตากล้องไปเห็นเธอใน Carnegie Hall ร้องเพลงกับแม่ ทำให้เธอได้ถูกติดอยู่ในแม็กกาซีน เซเว่นทีน[30] และกลายเป็นหนึ่งในผู้หญิงคนแรกผิวสีที่สง่างามในหน้าปกของนิตยสาร[31] เธอยังเป็นจุดเด่นในหน้าแม็กกาซีน Glamour, Cosmopolitan , Young Miss และปรากฏในโฆษณาเครื่องดิ่ม Canada Dry.[28] รูปลักษณ์และความมีเสนห์ของเธอทำให้กลายเป็นหนึ่งในนางแบบวัยรุ่นในช่วงเวลาขณะนั้น[28] ในขณะเป็นนางแบบ , เธอก็ยังเดินหน้าอัดเพลงโดยมีโปรดิวเซอร์ ไมเคิล เบออินฮอน บิล รัสเวล และ มาร์ติน บิซี ซึ่งเป็นอัลบั้มหัวหอกของพวกเขา One Down จากคณะวง เมททีเรียล หลังโปรเจกต์นั้น , ฮุสตันมีส่วนในเพลง Memerois เพลงโคฟเวอร์โดย ฮิฟ โฮปเปอร์ จากวงซอฟทแมชชีน โรเบริ์ต คริสเกิล จากวง ดิ วิลเลท์ วอยซ์ เรียกผลงานของเธอว่า หนึ่งในเพลงที่งดงามที่คุณเคยได้ยิน\"[32] เธอยังได้ร่วมร้องเพลงในอัลบั้ม พอล จูบาราและพ้องเพื่อน ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดที่ 4 ของพอล จูบารา วางจำหน่ายโดยค่ายเพลง โคลัมเบีย เรดคอร์ดส เมื่อปี 2526[33]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "83623#9", "text": "ผู้มีชื่อเสียงจากหลากหลายแขนงต่างร่วมแสดงความเสียใจต่อการตายของวิทนีย์ เช่น ดอลลี พาร์ตันผู้ที่ร้องเพลง ไอวิลออลเวย์สเลิฟยู ซึ่งวิทนีย์นำมาร้องคัฟเวอร์ใหม่แสดงความเห็นว่า \"จะยังคงรู้สึกสำนึกและเกรงขามต่อการแสดงอันน่าตื่นตะลึงที่เธอได้กระทำกับเพลงของฉัน และขอพูดมันจากก้นบึ้งของหัวใจ 'วิทนีย์ ฉันจะยังคงรักคุณเสมอไป คุณจะยังคงเป็นที่โหยหาจากผู้คน'.\" ส่วนแม่บุญธรรมของวิทนีย์ อาเรธา แฟรงคลิน กล่าวว่า \"มันเป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อและชวนตกตะลึง ฉันไม่อยากจะเชื่อว่าตัวเองเพิ่งจะได้อ่านข่าวนี้ผ่านหน้าจอโทรทัศน์ไป\"[35]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "213857#29", "text": "ในเดือนเมษายน 2018 มีการยืนยันว่าสวิฟต์จะร้องรับเชิญในเพลง \"เบบ\" ของชูการ์แลนด์ จากอัลบัม บิกเกอร์ [lower-alpha 1] สวิฟต์ทัวร์คอนเสิร์ตในชื่อ เทย์เลอร์ สวิฟต์ เรพิวเทชันสเตเดียมทัวร์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2018 เพื่อส่งเสริมอัลบัม<i data-parsoid='{\"dsr\":[115287,115301,2,2]}'>เรพิวเทชัน[190] ในงานประกาศรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด 2018 สวิฟต์ได้รับรางวัลทัวร์แห่งปีจากทัวร์ล่าสุด ศิลปินแห่งปี ศิลปินป็อป/ร็อกหญิงชมเชย และอัลบัมเพลงป็อป/ร็อกชมเชยจากอัลบัม<i data-parsoid='{\"dsr\":[115947,115961,2,2]}'>เรพิวเทชัน จากจำนวนรางวัล 23 รางวัล สวิฟต์จึงเป็นผู้ชนะรางวัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด สถิติเดิมคือวิตนีย์ ฮิวสตัน[191]", "title": "เทย์เลอร์ สวิฟต์" }, { "docid": "61545#10", "text": "วันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2008 บริตนีย์ไม่ยอมที่จะเสียสิทธิ์ในการคุ้มครองบุตรชายทั้งสองให้กับเควิน ต่อมาตำรวจได้รับแจ้งว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นที่บ้านของบริตนีย์ จึงรีบรุดเข้าไป นำทั้งบริตนีย์และลูกชายทั้งสองออกมา และส่งบริตนีย์ไปรับการรักษาที่ \"Cedars-Sinai Medical Center\" ทำให้การนัดฟังคำสั่งศาลเรื่องสิทธิ์ในการคุ้มครองบุตรต้องเลื่อนออกไปก่อน และเควินจึงได้รับสิทธิ์ในการคุ้มครองบุตรตามกฎหมายเพียงฝ่ายเดียว วันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2008 บริตนีย์ได้เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน แผนกจิตเวชที่ \"Ronald Reagan UCLA Medical Center\" ศาลจึงมีคำสั่งให้บริตนีย์ต้องอยู่ในความคุ้มครองของบิดา เจมส์ สเปียส์ และทนาย แอนดรูว์ วอลเลท โดยให้มีอำนาจในการควบคุมดูแลทรัพย์สินทั้งหมดของเธอ หลังจากนั้นบริตนีย์ได้ออกจากโรงพยาบาลในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ซึ่งทั้งบิดาและทนายมีท่าทีผิดหวังและเป็นห่วงกับการที่หมอปล่อยบริตนีย์ออกมาเร็วเกินไป ในเดือนถัดมา บริตนีย์ได้เป็นแขกรับเชิญในซีรีส์ เรื่อง \"How I Met Your Mother ฮาวไอเมตยัวร์มาเธอร์\" ตอน Ten Sessions เทนเซสชันส์ รับบทเป็น Abby แอบบี ในเรื่องการแสดงของเธอได้รับผลตอบรับที่ดีทีเดียว ส่งผลให้ซีรีส์เรื่องนี้ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 บริตนีย์ได้รับสิทธิ์ในการเยี่ยมบุตรอีกครั้งหลังจากได้ทำข้อตกลงกับเควินและทนาย วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2008 บริตนีย์ได้รับรางวัลวิดีโอศิลปินหญิงยอดเยี่ยม วิดีโอเพลงป็อบยอดเยี่ยม และ วิดีโอแห่งปี ในมิวสิกวิดีโอเพลง \"Piece of Me พีซออฟมี\" จากนั้นบริตนีย์ได้ออกวิดีโอชีวประวัติ ตีแผ่เรื่องราวมรสุมที่ผ่านมาในชีวิตของเธอใน \"Britney: For the Record บริตนีย์ฟอร์เดอะเรคคอร์ด\" โดยถ่ายทำใน Beverly Hills เบเวอร์รีฮิลส์ Hollywood ฮอลลีวูด และ New York นิวยอร์ก เมื่อปลายปี ค.ศ. 2008 เริ่มถ่ายเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2 วัน ก่อนที่บริตนีย์จะไปปรากฏตัวที่งานเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอร์ด ฟอร์เดอะเรคคอร์ดออกอากาศที่ช่อง MTV เอ็มทีวี วันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 เปิดตัววันแรกมีผู้ชมมากถึง 5.6 ล้านวิว เอ็มทีวีรายงานว่ารายการของบริตนีย์ได้รับความนิยมมากที่สุดในคืนวันอาทิตย์ที่มีการออกอากาศ", "title": "บริตนีย์ สเปียส์" }, { "docid": "83623#8", "text": "ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 วิทนีย์ถูกพบเสียชีวิตที่โรงแรมเบเวอร์ลีฮิลตัน ในเบเวอร์ลี ฮิลส์, รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของเบเวอร์ลีฮิลส์ระบุว่าพบนักร้องสาวในร่างซึ่งไร้การตอบสนองและได้ทำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพเป็นเวลาประมาณ 20 นาที ก่อนที่จะประกาศว่าเธอได้เสียชีวิตลงแล้ว ณ เวลา 15:55 นาฬิกา[34] ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า \"ไม่มีข้อบ่งชี้ใดที่แน่ชัดว่าการเสียชีวิตเป็นเหตุอาชญากรรม\"", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "971655#1", "text": "เธอเข้าวงการบันเทิงมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 \nซึ่งจริง ๆ แล้ว แรกเริ่มเดิมทีนั้น เธอเริ่มเป็นที่รู้จักและแจ้งเกิดในฐานะนักแสดง จากผลงานละครทีวีของสถานีโทรทัศน์เอทีวี (ATV) และมีผลงานการแสดงอยู่หลายเรื่อง แต่ทว่า...ด้วยหน้าตาของเธอที่ไม่โดดเด่นมากนักออกจะแนวจีนบ้าน ๆ แถมฝีมือการแสดงก็ดูแสนจะธรรมดา จึงทำให้เธอแค่เป็นที่รู้จักเท่านั้น แต่ไม่ได้โดดเด่น หรือโด่งดังอะไรเลย ", "title": "เยี่ย จื่อเหมย" }, { "docid": "205290#0", "text": "อีเลน เพจ () เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1948 เป็นนักร้อง นักแสดงชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักในผลงานการแสดงละครเพลงเวที เติบโตในบาร์เน็ต, นอร์ธ ลอนดอน เพจศึกษาที่ Aida Foster stage school และมีผลงานอาชีพครั้งแรกบนเวทีในปี 1964 และจากการแสดงให้แก่เรื่อง \"Hair\" ในปี 1968 ทำให้เธอแจ้งเกิดบนเวทีเวสต์เอนด์", "title": "อีเลน เพจ" }, { "docid": "83623#1", "text": "วิตนีย์ ฮิวสตันเป็นนักร้องคนเดียวที่ติดชาร์จอันดับที่ 1 ติดต่อกัน 7 เพลงใน บิลบอร์ดฮอต 100[7] เธอยังเป็นนักร้องอันดับที่ 2 รองจาก เอลตัน จอห์น และยังเป็นผู้หญิงคนเดียวที่ได้อันดับ 1 ติดต่อกัน 2 ครั้งใน บิลบอร์ด 200 และได้รับรางวัลอัลบั้มโดดเด่นในบิลบอร์ดแม็กกาซีนชาร์จสิ้นปี [8] อัลบั้มเปิดตัวของเธอ Whitney Houston กลายเป็นอัลบั้มเปิดตัวที่ขายดีที่สุดของนักร้องหญิงในประวัติศาสตร์ [9] นิตรสาร โรลลิงสโตน บอกว่าเป็นอัลบั้มที่ขายดีในปี 2529 และยังติดใน 500 อัลบั้มที่ดีที่สุดตลอดกาล และติดอยู่ในอันดับ 254 ซึ่งจัดโดยแม็กกาซีนโรลลิงสโตน[9] อัลบั้มสตูดิโอที่สองของเธอ Whitney (2530) กลายเป็นอัลบั้มแรกของนักร้องหญิงที่ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในบิลบอร์ด 200 [9]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "637774#5", "text": "ผลงานการแสดงเรื่องแรกของเธอหลังจากจบหลักสูตรก็คือ ซิยิ่นกุ้ย ผู้พิชิตตะวันออก ซึ่งนอกจากจะเป็นผลงานแจ้งเกิดของเธอแล้ว ก็ยังทำให้เธอได้พบรักกับ ว่าน จื่อเหลียง ผู้เป็นรักแรกและเป็นพระเอกของเรื่องอีกด้วย หลังจากนั้นเธอก็มีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมังกรทลายฟ้า ดาบมังกรหยก ตอน เทพบุตรมังกรฟ้า ฤทธิ์นางจิ้งจอกและอื่นๆอีกมากมาย แต่ด้วยความที่เธอเป็นตัวของตัวเองและมีโลกส่วนตัวสูง (จนหลายคนมองว่าดื้อ) จึงทำให้เธอไม่ค่อยชอบใจกับชีวิตในวงการบันเทิงเท่าใดนัก และตัดสินใจหันหลังให้กับงานในวงการขณะที่เธอกำลังรุ่งโรจน์อย่างสุดขีด แล้วบินไปศึกษาต่อด้าน Interior design ที่มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา อันเป็นสถานที่ซึ่งมีอิทธิพลกับอุปนิสัยใจคอและตัวตนของเธอในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เมื่อจบการศึกษาเติ้งชุ่ยเหวินก็กลับมายังบ้านเกิดเมืองนอน ด้วยตั้งใจว่าจะทำงานเก็บเงินสักก้อนเพื่อไปหลงหลักปักฐานที่ต่างประเทศ เธอจึงกลับเข้าสู่วงการบันเทิงอีกครั้งด้วยชื่อเสียงที่ไม่ได้โด่งดังเท่ากับเมื่อหลายปีก่อน ด้วยความที่โตขึ้น เป็นผู้ใหญ่ขึ้น และเห็นโลกมากว้างขึ้น เธอจึงเปลี่ยนแผนและตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเกิดเมืองนอนต่อไป", "title": "เติ้ง ชุ่ยเหวิน" }, { "docid": "56517#3", "text": "แทมมารีนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในการแข่งขันนัดแรกของ สนามอาร์เธอร์ แอช เซ็นเตอร์คอร์ตที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่อาร์เธอร์ แอช นักเทนนิสผิวดำชาวอเมริกันผู้เคยเป็นมือหนึ่งของโลกช่วงทศวรรษ 1970 ในการแข่งขันยูเอสโอเพ่น 1997 นัดเปิดสนามเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2540 ก่อนการแข่งขันมีการแสดงดนตรีโดยวิตนีย์ ฮิวสตัน เป็นที่คาดหมายกันว่า ผู้เล่นในนัดแรกควรจะเป็นนักเทนนิสผิวดำ คือ วีนัส วิลเลียมส์ และชานดา รูบิน (Chanda Rubin) นักเทนนิสดาวรุ่งสหรัฐ แต่แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงตารางผู้เล่นจากวิลเลียมส์เป็นแทมมารีนแทน ผลการแข่งขันปรากฏว่าแทมมารีนเอาชนะรูบินได้ 6-4, 6-0 อย่างพลิกความคาดหมายและกลายเป็นข่าวใหญ่ การแข่งขันครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่แทมมารีนได้เล่นในเซ็นเตอร์คอร์ตของรายการใหญ่และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ", "title": "แทมมารีน ธนสุกาญจน์" }, { "docid": "83623#6", "text": "ฮุสตันในช่วงวัยรุ่นได้ใช่เวลาบางส่วนไปพับที่แม่ของเธอซิสซี่ได้ดำเนินการไว้ , และเธอมักจะได้รับการขึ้นเวทีและการแสดงเป็นบางครั้งบางคราว , ในปี 2520 ขณะอายุ 14 เธอเป็นแบ็คอัพในการร้องให้กับวงไมเคิล เซเจอร์ ในซิงเกิ้ลเพลง \"Life's a Party\"[27] ในปี 2521 ขณะอายุ 15 เธอได้ร่วมร้องประสานในซิงเกิ้ลเพลง I'm Every Woman ของ ชากา คาน โดยเพลงนั้นได้เริ่มทำให้เป็นที่รู้จักตัวของวิตนีย์และมียอดขายที่สูงสำหรับเพลงประกอบภาพยนตร์ เดอะ บอดี้การ์ด[28][29] เธอยังร้องแบ็คอัพให้กับอัลบั้มของ Lou Rawls และ Jermaine Jackson[28]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "83623#11", "text": "Whitney Houston (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2528) Whitney (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2530) I'm Your Baby Tonight (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2533) My Love Is Your Love (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2541) Just Whitney... (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2545) I Look to You (อัลบั้ม) (พ.ศ. 2552)", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "940469#1", "text": "\"ไอวิลออลเวย์เลิฟยู\" ฉบับของพาร์ตัน ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ขึ้นสูงสุดอันดับหนึ่งบนชาร์ต\"บิลบอร์ด\" ฮอตคันทรีซองส์ ถึงสองครั้ง ครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1974 และครั้งที่สองในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1982 ต่อมาเธอได้บันทึกเสียงซ้ำเพื่อรวมอยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง \"เดอะเบสต์ลิตเทิลฮอร์เฮาส์อินเท็กซัส\" ทำให้พาร์ตันกลายเป็นนักร้องคนแรกที่มีเพลงขึ้นอันดับหนึ่งถึงสองครั้งจากเพลงเดียวกัน ต่อมาวิตนีย์ ฮิวสตันได้นำไปขับร้องใหม่ในแนวบัลลาดสำหรับประกอบภาพยนตร์ปี ค.ศ. 1992 เรื่อง \"เดอะ บอดี้การ์ด เกิดมาเจ็บเพื่อเธอ\" เพลงอยู่ในอันดับหนึ่งนาน 14 สัปดาห์บนชาร์ต \"บิลบอร์ด\" ฮอต 100 กลายเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล และถือเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดของนักร้องหญิงในประวัติศาสตร์เพลง \"ไอวิลออเวย์เลิฟยู\" ฉบับของฮิวสตัน กลับเข้าชาร์ต \"บิลบอร์ด\" ฮอต 100 หลังจากที่เธอเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2012 กลายเป็นเพลงที่กลับเข้าชาร์ตใหม่สูงสุดที่อันดับสาม", "title": "ไอวิลออลเวส์เลิฟยู" }, { "docid": "224858#23", "text": "นี-โย ยังเขียนเพลงให้กับวิตนีย์ ฮิวสตัน, เซลีน ดิออน, คอร์บิน โบ และเอนรีเก อีเกลเซียส[3][44] เขายังร่วมงานกับลินด์เซย์ โลฮาน ในเพลงในอัลบั้ม สปิริตอินเดอะดาร์ก กับซิงเกิล \"บอสซี\"[45] นี-โย ยืนยันว่าได้รับการติดต่อจากวิลล์.ไอ.แอม ในการร่วมงานกับอัลบั้มที่จะออกใหม่ของไมเคิล แจ็กสันอีกด้วย[46]", "title": "นี-โย" }, { "docid": "495494#1", "text": "ฉัตรมงคล บำเพ็ญ เริ่มงานด้านการแสดงในฐานะนักแสดงเต็มตัวจากการชักชวนให้เข้าไปเทสต์หน้ากล้องโดยภาคภูมิ เนติลักษณ์ ผลงานการแสดงเรื่องแรกได้รับบทพระอังคารในละครเรื่องมิติมหัศจรรย์ ในปี พ.ศ. 2537 และแจ้งเกิดในวงการบันเทิงจากละครแนวพื้นบ้านในบทชาละวัน จากละครเรื่องไกรทอง จากนั้นจึงมีผลงานการแสดงในละครช่วงกลางคืนจากการสนับสนุนของทางช่อง 7 อย่างเต็มที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างและได้รับความนิยมจากผู้ชมโทรทัศน์ โดยเขาเป็นนักแสดงชายที่รับบทบาทที่แตกต่างได้ทั้งบทพระเอกบทร้าย ", "title": "ฉัตรมงคล บำเพ็ญ" }, { "docid": "83623#3", "text": "ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555 ฮิวสตันเสียชีวิตในห้องพักของเธอที่เบเวอร์ลีฮิลตันโฮเทล ซึ่งตั้งอยู่ในเบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย รายงานการชันสูตรศพได้พิจารณาแล้วว่าเธอจมน้ำในอ่างอาบน้ำ อีกทั้งเธอเองก็เป็นโรคหัวใจและยังมีการใช้โคเคน ซึ่งคาดว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบ[11] ข่าวการเสียชีวิตเธอก่อนจะประกาศผลรางวัลแกรมมี่อวอร์ดครั้งที่ 54 ในอีกวัน ซึ่งสื่ออเมริกาและต่างประเทศต่างนำเสนอข่าวการเสียชีวิตของวิตนีย์ ฮิวสตัน[12]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "763446#11", "text": "กลินน์กล่าวถึงแซม คุก, เดสทินีส์ไชลด์, มารายห์ แครี, วิตนีย์ ฮิวสตัน, อารีธา แฟรงคลิน และเอตตา เจมส์ ว่าเป็นแรงบันดาลใจในรูปแบบการร้องเพลงของเธอ เช่นเดียวกับ เคนดริก ลามาร์, เจย์-ซี, แฟรงก์ โอเชียน และเอ็มมิเน็ม ในรูปแบบการแร็ป กลินน์ยังมีศิลปินคนอื่น ๆ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่เธอ ได้แก่ บียอนเซ่ แมรี เจ. ไบลจ์ และอินเดีย อารี", "title": "เจสส์ กลินน์" }, { "docid": "763446#10", "text": "ในวัยเยาว์กลินน์ได้รับอิทธิพลของดนตรีตอนเธออายุประมาณ 10 ปี หลังจากพ่อของเธอเปิดเพลงจากอัลบั้มของอีวา แคสซิดี \"ซองเบิร์ด\" ซึ่งเธอรู้สึกสัมผัสถึงอารมณ์ของเพลงได้ เธอจึงหลงรักในดนตรีเป็นอย่างมาก โดยเฉาะเพลงของมารายห์ แครี วิตนีย์ ฮิวสตัน และอารีธา แฟรงคลิน โดยเพลง \"ฮีโร\" ของแครีนั้น เป็นแรงผลักดันให้เธอร้องเพลงนี้ในการแสดงความสามารถครั้งแรกที่โรงเรียนมัธยมศึกษาของเธอ นอกจากนี้เธอยังชื่นชอบผลงานของทิมบาแลนด์และจัสติน ทิมเบอร์เลกด้วย กลินน์ตัดสินใจทำงานอาชีพดนตรี เพราะเธอได้รับแรงบันดาลใจหลักมาจากเอมี ไวน์เฮาส์ หลังจากฟังอัลบั้ม \"แฟรงก์\" กลินน์กล่าวว่า \"พวกเราเหมือนพี่น้องกัน [มีเชื้อสายยิวเหมือนกัน] ถ้าเธอ [ไวน์เฮาส์] ทำงานดนตรีได้ ฉันก็ทำได้ เธอคือต้นแบบของการทำด้วยตัวเอง\" หลังจากกลินน์เป็นศิลปินแล้ว เธอก็ได้รับแรงผลักดันในการเริ่มเขียนเพลงจากอิทธิพลจากอัลบั้ม \"เดอะมิสเซดูเคชันออฟลอรีนฮิลล์\" ของลอรีน ฮิลล์ กลินน์ยังยกย่องแฟรงก์ โอเชียน เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจหลักในการทำงาน โดยเธอให้เหตุผลว่าโอเชียนมีแนวทางการทำเพลงให้ออกมามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเพลงของโอเชียนเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจร่วมกับเพลงของพรินซ์และเมวิส สเตเปิลส์ ระหว่างกลินน์ทำอัลบั้ม \"ไอครายเวนไอลาฟ\"", "title": "เจสส์ กลินน์" }, { "docid": "101497#22", "text": "การเล่นเป็นเพลงสมัยนิยมครั้งแรกต่อคนสาธารณชนในอเมริกาเริ่มโดยนักร้องและนักกีตาร์ชาวเปอร์โตริโกโฮเซ เฟลีเซียโน ซึ่งสร้างความโกลาหลทั่วประเทศเมื่อเขาดีดกีตาร์เสียงเพลงอย่างช้า ๆ ในรูปแบบดนตรีบลูส์ ที่สนามกีฬาไทเกอร์แห่งนครดีทรอยต์ก่อนเกมที่ 5 ของ 1968 World Series ระหว่าง Detroit Tigers กับ St. Louis Cardinals เป็นตัวการเริ่มข้อถกเถียงเรื่อง \"ธงอันแพรวพราวด้วยดารา\" สมัยปัจจุบัน โดยได้รับการตอบสนองในเชิงลบจากคนอเมริกันโดยทั่วไปท่ามกลางบรรยากาศแห่งสงครามเวียดนาม ถึงอย่างไรก็ดี การเล่นเพลงของเฟลีเซียโนได้เปิดประตูให้ตีความเพลงในรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมากต่อ ๆ มา\nอาทิตย์หนึ่งหลังการเล่นของเฟลีเซียโน เพลงชาติก็สร้างข่าวอีกเมื่อนักกีฬาโอลิมปิกชาวอเมริกันทอมมี่ สมิธ และจอห์น คาร์ลอส ยกกำปั้นขึ้นเมื่อเล่นเพลง ต่อมา นักร้องมาร์วิน เกย์ได้ร้องเพลงผสมสไตล์โซลในการเปิดการแข่งกีฬา 1983 (ปี 2526) NBA All-Star Game และนักร้องวิตนีย์ ฮิวสตันร้องเพลงในสไตล์เดียวกันก่อนงานซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 25 ในปี 2534 และต่อมาออกแผ่นเป็นเพลงเดี่ยวที่ติดอันดับ 20 ในบิลบอร์ดฮอต 100 ในปี 2534 และอันดับที่ 6 ในปี 2544 ซึ่งร่วมกับโฮเซ เฟลีเซียโน เป็นช่วง ๆ เดียวที่เพลงชาติติดบิลบอร์ด", "title": "เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์" }, { "docid": "61450#4", "text": "เสียงร้องของคริสติน่า อยู่ในช่วงของโซปราโน และมีช่วงเสียงร้องกว้าง 4 ออกเตฟ (Eb2 - C#7) นักวิจารณ์มักจะจับเสียงร้องเธอไปเปรียบเทียบกับวิตนีย์ ฮิวสตัน และ มารายห์ แครี อยู่เสมอ ต้นแบบด้านเสียงร้องของเธอนั้นมาจาก เอตตา เจมส์ นักร้องเพลงบูลส์ระดับตำนาน และเจ้าของเพลง \"At Last\" ที่คริสติน่าร้องมาโดยตลอดช่วงชีวิตการเป็นนักร้องของเธอ เธอกล่าวว่า \"เอตตาคือศิลปินที่ฉันชอบมากที่สุด ฉันกล่าวแบบนี้มาตลอด 7 ปี ตั้งแต่ฉันออกอัลบั้มแรก และทุกๆการสัมภาษณ์\" โดยในงานศพของเอตต้านั้น คริสติน่าได้ขึ้นโชว์เพลง At Last เพื่อรำลึกถึงเอตต้าด้วย นอกจากเอตตา เจมส์แล้ว คริสติน่ายังมีต้นแบบของเธออีกคือ วิตนีย์ ฮิวสตัน มารายห์ แครี มาดอนน่า เจเน็ต แจ็กสัน อารีธา แฟรงคลิน และ นิน่า ซิโมน", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "83623#4", "text": "วิสนีย์ ฮุสตันเกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2506 ในครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางในเมืองนวร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์[13] เธอเป็นลูกสาวทหารและผู้บริหาร จอร์จ รัสเซล ฮุตตัส จูเนียร์ (13 กันยายน 2460 - 2 กุมภาพันธ์ 2546) และเป็นลูกของนักร้องกอสเปล เอมิลี ซิสซี ฮิวสตัน [14] พี่ชายของเธอชื่อไมเคิลเป็นนักร้อง และพี่น้องร่วมบิดายังเป็นอดีตผู้เล่นบาสเก็ตบอล แกรี่ กาแลนด์[15][16] พ่อแม่ของเธอทั้งสองคนเป็นแอฟริกันอเมริกัน โดยเธอมีเชื้อสายอเมริกาและดัตซ์[17] ฮิวสตันเป็นลูกพี่ลูกน้องของนักร้อง ดิออน วอร์วิค และดีดี วอร์วิกเมื่อนับจากฝ่ายมารดา ส่วนแม่อุปถัมภ์ของเธอคือ ดารลีน เลิฟ[18] และป้ากิตติมศักดิ์ของเธอเป็น อารีธา แฟรงคลิน [19][20] เธอได้พบกับป้ากิตติมศักดิ์เมื่อเธออายุ 8 - 9 ขวบ เมื่อแม่ของเธอพาเธอยังห้องอัดเพลง[21] แต่ก็ยังสัมผัสกับโบสถ์ของคริสต์ หลังเกิดจลาจลในนครนวร์กเมื่อปี 2510 ทำให้ครอบครัวต้องย้ายไปยังอีสต์ออเรนจ์ , นิวเจอร์ซี เมื่อเธออายุสี่ขวบ[22]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" }, { "docid": "893405#0", "text": "ตะวัน วิหครัตน์ ชื่อเล่น เต เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไทย แจ้งเกิดจากการเป็นพิธีกรรายการ Five Live Fresh และมีผลงานการแสดงต่อเนื่องเป็นที่รู้จักกันดี จากบท วอร์ม ในเรื่อง Room Alone 401-410 และ Room Alone 2, บท พีท ในเรื่อง Kiss the Series รักต้องจูบ, Kiss Me Again จูบให้ได้ถ้านายแน่จริง, Our Skyy อยากเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างวันนั้น ตอน พีทเก้า, Dark Blue Kiss และบท อลัน ในเรื่อง Secret Seven เธอคนเหงากับเขาทั้งเจ็ด", "title": "ตะวัน วิหครัตน์" }, { "docid": "83623#10", "text": "ทางด้านอดีตสามีของวิทนีย์อย่าง บ็อบบี้ บราวน์ ระบุว่าเขา \"ร้องไห้ไม่หยุด\" หลังจากที่ได้รับทราบข่าวการเสียชีวิต เขาไม่ได้ยกเลิกตารางการแสดงของตัวเองที่กำลังดำเนินอยู่ ภายในหนึ่งชั่วโมงของการตาย บ็อบบี้ได้จุมพิตแล้วโบกไปยังท้องฟ้าพร้อมกับหลั่งน้ำตาก่อนจะพูดว่า \"วิทนีย์, ผมรักคุณ\" ซึ่งผู้ชมการแสดงของเขาในมิสซิสซิปปีต่างร่วมเป็นสักขีพยาน[36][37][38][39]", "title": "วิตนีย์ ฮิวสตัน" } ]
4074
อันเนอลีส มารี "อันเนอ" ฟรังค์ โด่งดังจากอะไร ?
[ { "docid": "44795#0", "text": "อันเนอลีส มารี \"อันเนอ\" ฟรังค์ (Annelies Marie \"Anne\" Frank; 12 มิถุนายน 2472 – ประมาณมีนาคม 2488) หรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[623,641,3,3]}'>แอนน์ แฟรงค์ เป็นเด็กหญิงชาวยิว เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ บรรยายเหตุการณ์ขณะหลบซ่อนตัวจากการล่าชาวยิวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่ถูกเยอรมนีเข้าครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "อันเนอ ฟรังค์" } ]
[ { "docid": "44795#49", "text": "ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีภาพยนตร์เกี่ยวกับอันเนอ ฟรังค์ มากมาย ชีวิตและงานเขียนของเธอได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่กลุ่มศิลปินและนักวิจารณ์สังคม มีการอ้างถึงเธอในแวดวงวรรณกรรม ดนตรี โทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ มากมาย ปี พ.ศ. 2542 นิตยสารไทมส์ ยกย่องอันเนอ ฟรังค์ เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ในหมวดวีรบุรุษและสัญลักษณ์ โดยระบุว่า \"แม้หนังสือจะเก็บไว้เป็นความลับ แต่เธอมิได้หวาดเกรงพวกนาซีเลย กลับส่งเสียงอันอ่อนล้าออกไปก่อแรงใจให้ต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิแห่งความเป็นมนุษย์\"[30]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#32", "text": "เอลินอร์ โรเซเวลต์ เขียนคำนำให้แก่ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เธอบรรยายว่าหนังสือนี้เป็น \"หนึ่งในหนังสือซึ่งบรรยายถึงสงครามกับผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ที่มีชีวิตชีวาและเฉลียวฉลาดที่สุดเท่าที่ดิฉันเคยอ่าน\" จอห์น เอฟ. เคนเนดี เอ่ยถึงอันเนอ ฟรังค์ ในสุนทรพจน์เมื่อปี พ.ศ. 2504 ว่า \"ในบรรดาผู้คนมากมายตลอดห้วงประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเกียรติภูมิแห่งความเป็นมนุษย์ ในช่วงเวลาอันแสนขมขื่นและการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้ใดพรรณนาได้จับใจเท่าอันเนอ ฟรังค์\"[6] ในปีเดียวกันนั้น นักเขียนชาวโซเวียต อิลยา เอเรนบูร์ก เขียนถึงอันเนอว่า \"เสียงเสียงหนึ่งที่เอ่ยแทนผู้คนอีกหกล้าน - เสียงที่มิได้มาจากปราชญ์หรือกวี แต่มาจากเด็กหญิงธรรมดาตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง\"[16]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#28", "text": "หนังสือได้รับการดัดแปลงเป็นละครเวที โดยแฟรนซิส กู๊ดริช และแอลเบิร์ต แฮกเกตต์ แสดงรอบปฐมทัศน์ในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลพูลิตเซอร์สำหรับประเภทละครชีวิต ในปี 2502 ได้สร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง The Diary of Anne Frank ซึ่งประสบความสำเร็จทั้งเงินและชื่อเสียง นักบันทึกชีวประวัติ เมลิสซา มึลเลอร์ เขียนถึงการดัดแปลงบทประพันธ์เป็นการแสดงเหล่านี้ว่า \"แสดงให้เห็นความรักใคร่ ความอ่อนไหว และความเป็นสากลในเรื่องของอันเนอได้อย่างดีที่สุด\"[1] ยิ่งเวลาผ่านไป ความนิยมในงานเขียนก็ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น ในโรงเรียนหลายแห่งโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกานำหนังสือนี้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรด้วย ทำให้อันเนอ ฟรังค์ เป็นที่รู้จักดีของนักอ่านรุ่นใหม่ ๆ", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#14", "text": "อันเนอเขียนเรื่องความขัดแย้งกับแม่เอาไว้บ่อย ๆ รวมถึงความขัดแย้งในใจของเธอเองเกี่ยวกับแม่ด้วย วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เธอบรรยายถึง \"ความเสื่อมศรัทธา\" ที่มีต่อแม่ ทั้งยังไม่สามารถ \"ประจันหน้ากับความสะเพร่า เย็นชา และหัวใจที่แข็งกระด้าง\" ของแม่เธอได้ ก่อนจะสรุปว่า \"เขาไม่ใช่แม่สำหรับฉัน\"[4] ต่อมาเมื่อเธอทบทวนสมุดบันทึกของตัวเอง อันเนอรู้สึกละอายกับทัศนคติแย่ ๆ ของตัวเอง เธอบันทึกว่า \"อันเนอ นั่นเธอหรือที่จงเกลียดจงชังขนาดนั้น โอ อันเนอ เธอทำได้อย่างไร?\"[4] อันเนอเริ่มเข้าใจว่า ความแตกต่างของพวกเขาเป็นผลมาจากความไม่เข้าใจกัน เป็นความผิดของเธอมากเท่า ๆ กับความผิดของแม่ อันเนอยังเห็นว่าเธอได้เพิ่มความทุกข์ใจให้แก่แม่อย่างไม่จำเป็นเลย เมื่อตระหนักดังนี้ อันเนอก็เริ่มปฏิบัติต่อมารดาด้วยความเคารพมากยิ่งขึ้น[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#23", "text": "ออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หลังสงคราม เขากลับไปยังอัมสเตอร์ดัมและได้อาศัยพำนักอยู่กับยันและมีป คีส เพื่อติดตามค้นหาครอบครัวของเขา เขาได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาแล้วตั้งแต่อยู่ที่เอาชวิทซ์ แต่ก็ยังมีความหวังว่าลูกสาวทั้งสองน่าจะรอดชีวิต หลังจากค้นหาอยู่หลายสัปดาห์เขาจึงได้ทราบว่า มาร์กอทและอันเนอเสียชีวิตแล้ว เขาติดตามสอบถามข่าวชะตากรรมของบรรดาสหายของบุตรสาวด้วย และได้ทราบว่าพวกเขาถูกสังหารจนหมด ซูซันเนอ เลเดอร์มันน์ เป็นหนึ่งในชื่อสหายที่ปรากฏบ่อยครั้งอยู่ในสมุดบันทึกของอันเนอ เธอถูกรมแก๊สเสียชีวิตพร้อมกับพ่อแม่ แต่บาร์บารา พี่สาวของซูซันเนอและเพื่อนสนิทของมาร์กอท รอดชีวิต[2] ยังมีเพื่อนร่วมโรงเรียนของพี่น้องฟรังค์อีกหลายคนที่รอดชีวิต เช่นเดียวกับญาติ ๆ อีกหลายคนของทั้งออทโทและเอดิท ฟรังค์ ที่หนีออกจากเยอรมนีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 บางคนไปตั้งรกรากอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#47", "text": "เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 \"บัดดี\" เอลิยัส บริจาคเอกสารของตระกูลกว่า 25,000 ชิ้นให้แก่พิพิธภัณฑ์อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ ในเอกสารเก่าแก่เหล่านั้นมีภาพถ่ายของครอบครัวฟรังค์ทั้งในเยอรมนีและในฮอลแลนด์ รวมถึงจดหมายที่ออทโท ฟรังค์ เขียนไปถึงมารดาในปี พ.ศ. 2488 เพื่อแจ้งข่าวว่าภรรยาและลูก ๆ ของเขาเสียชีวิตแล้วในค่ายกักกันของนาซี[26]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "735189#0", "text": "แฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ (German: Hermine Santruschitz; 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 - 11 มกราคม พ.ศ. 2553) หรือเป็นที่รู้จักทั่วใปในภาษาดัตช์ว่า มีป คีส (Dutch: Miep Gies)[1] คือหนึ่งในชาวดัตช์ผู้ช่วยเหลืออันเนอ ฟรังค์, ครอบครัวของเธอ และชาวยิวอีกสี่คนในการหลบซ่อนตัวจากนาซีเยอรมัน ซึ่งทั้งหมดซ่อนตัวอยู่ในส่วนต่อเติมอาคารที่ทำการของบริษัทค้าขายของออทโท ฟรังค์ บิดาของอันเนอ ฟรังค์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมีป คีส ถือสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด แต่ในปี พ.ศ. 2463 ครอบครัวชาวดัตช์รายหนึ่งรับเธอมาอุปถัมภ์เป็นการชั่วคราวด้วยวัยเพียงเจ็ดขวบ ซึ่งในภายหลังเธอรู้สึกผูกพันกับครอบครัวนี้อย่างมาก เดิมทีครอบครัวรับอุปการะเธอเพียงหกเดือน และก็ถูกขยายออกไปเป็นหนึงปีเนื่องจากสุขภาพร่างกายที่เปราะบางของเธอ จนในที่สุดเธอเลือกที่จะอยู่กับครอบครัวดังกล่าวต่อไป และอาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ไปตลอดช่วงชีวิตที่เหลือ ในปี พ.ศ. 2476 เธอเริ่มทำงานให้กับออทโท ฟรังค์ นักธุรกิจเชื้อสายยิวผู้อพยพครอบครัวจากเยอรมนีมายังเนเธอร์แลนด์เพื่อหลีกเลี่ยงการปราบปรามชาวยิวโดยพรรคนาซี มีป คีส จึงกลายมาเป็นทั้งเพื่อนสนิทและเพื่อนที่ครอบครัวฟรังค์ไว้วางใจ รวมถึงเป็นกำลังสำคัญที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวตลอดระยะเวลาสองปีของการหลบซ่อนตัว เธอคือคนที่เก็บกู้สมุดบันทึกประจำวันของอันเนอไว้ได้หลังจากที่ครอบครัวถูกจับกุม และรักษาสมุดดังกล่าวไว้ในที่ปลอดภัยจนกระทั่งออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตกลับมาจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ในปี พ.ศ. 2488 ทำให้เธอได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของอันเนอ[2][3][4][5][6][7][8] นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ Anne Frank Remembered: The Story of the Woman Who Helped to Hide the Frank Family ร่วมกับแอลิสัน เลสลี โกลด์ และออกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530", "title": "มีป คีส" }, { "docid": "44795#13", "text": "ในบันทึกของอันเนอ เธอบรรยายความสัมพันธ์ระหว่างตัวเธอกับสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ และความแตกต่างในบุคลิกภาพของพวกเขาทั้งหลาย เธอเห็นว่าตัวเองมีความรู้สึกใกล้ชิดกับพ่อมากกว่าคนอื่น ๆ พ่อของเธอบอกภายหลังว่า \"ผมเข้ากับอันเนอได้ดีกว่ามาร์กอทซึ่งมักจะติดแม่แจ อาจเป็นเพราะมาร์กอทไม่ค่อยแสดงความรู้สึกของเธอออกมาเท่าไรนัก และดูเหมือนไม่ต้องการการสนับสนุนมากนัก เธอไม่ค่อยหัวเสียกับอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาเหมือนอย่างที่อันเนอเป็น\"[1] หลังจากมาซ่อนตัว อันเนอกับมาร์กอทก็สนิทกันยิ่งขึ้นกว่าเดิม แม้บางครั้งอันเนอจะรู้สึกอิจฉามาร์กอท เพราะสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้านมักตำหนิเธอว่าไม่มีความอ่อนโยนสุภาพเหมือนอย่างพี่สาว แต่เมื่ออันเนอเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น สองสาวพี่น้องก็เข้ากันได้ดี ในบันทึกของเธอวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2487 อันเนอเขียนว่า \"มาร์กอทดีขึ้นมาก พักหลังนี้เธอไม่ทำตัวเป็นแมวหง่าว และเริ่มเป็นเพื่อนจริง ๆ สักที เธอไม่มองฉันเป็นเด็กทารกอีกแล้ว\"[4]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#2", "text": "อันเนอ ฟรังค์ได้รับสมุดบันทึกเป็นของขวัญวันเกิดครบ 13 ขวบ เธอเริ่มเขียนบันทึกตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2485 และสิ้นสุดในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 บันทึกได้รับการแปลจากภาษาดัตช์ออกเป็นภาษาต่าง ๆ มากมายและกลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีผู้อ่านมากที่สุดในโลก นอกจากภาพยนตร์แล้วยังมีการนำเรื่องราวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดโทรทัศน์ ละครเวที และแม้แต่อุปรากร งานบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ถือว่าเป็นการเขียนงานอย่างผู้ใหญ่เต็มตัวและเต็มไปด้วยความช่างคิด แสดงให้เห็นชีวิตประจำวันที่แท้จริงภายใต้อำนาจพวกนาซี เป็นการพรรณนาถึงเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โด่งดังที่สุด อันเนอ ฟรังค์ ได้รับเลือกจากนิตยสารไทมส์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิของมนุษย์", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#5", "text": "ออทโท ฟรังค์ เริ่มทำงานที่บริษัทโอเพคทาซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายผลไม้ เขามีห้องพักอาศัยแห่งหนึ่งบริเวณจัตุรัสแมร์เวเดอ ([Merwedeplein]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ในกรุงอัมสเตอร์ดัม เอดิทกับลูก ๆ มาถึงอัมสเตอร์ดัมในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 จากนั้นเด็กหญิงทั้งสองจึงได้เข้าโรงเรียน มาร์กอทได้เข้าโรงเรียนรัฐแห่งหนึ่ง ส่วนอันเนอได้เข้าโรงเรียนแบบมอนเตสโซรี (Montessori) มาร์กอทมีความสามารถพิเศษด้านพีชคณิต ส่วนอันเนอชอบการอ่านและเขียนหนังสือ เพื่อนคนหนึ่งของเธอคือ ฮันเนอลี กอสลาร์ เล่าถึงเรื่องในวัยเด็กภายหลังว่า อันเนอมักเขียนหนังสืออยู่เสมอ เธอจะเอามือป้องบังงานของเธอเอาไว้และไม่ยอมพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับงานเขียนของเธอเลย มาร์กอทกับอันเนอมีบุคลิกที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด โดยที่มาร์กอทเป็นคนเรียบร้อย เก็บตัว ชอบศึกษาหาความรู้ ส่วนอันเนอเป็นคนช่างพูด กระตือรือร้น และชอบพบปะผู้คน[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#37", "text": "ปี พ.ศ. 2501 ซีมอน วีเซินทัล ถูกท้าทายจากกลุ่มผู้ต่อต้านขณะแสดงละคร The Diary of Anne Frank ที่กรุงเวียนนา พวกเขากล่าวหาว่า อันเนอ ฟรังค์ ไม่มีตัวตนจริง และท้าให้วีเซินทัลพิสูจน์ตัวตนของเธอโดยหาตัวคนที่จับกุมเธอ วีเซินทัลจึงเริ่มออกติดตามหาคาร์ล ซิลเบอร์เบาเออร์ ตำรวจในคณะจับกุม และพบตัวเขาในปี พ.ศ. 2506 จากการสัมภาษณ์ ซิลเบอร์เบาเออร์ยอมรับบทบาทของเขา และระบุตัวอันเนอ ฟรังค์ ได้จากภาพถ่ายว่าเป็นหนึ่งในคนที่เขาจับกุม เขาให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันนั้น และเล่าถึงการค้นกระเป๋าใบหนึ่งที่เต็มไปด้วยกระดาษโดยการเทลงบนพื้น คำให้การของเขาสนับสนุนเรื่องราวลำดับเหตุการณ์ที่เล่าโดยพยานคนอื่นมาก่อนหน้านี้ เช่น ออทโท ฟรังค์[2]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#3", "text": "อันเนอลีส มารี \"อันเนอ\" ฟรังค์ เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2472 ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เป็นบุตรีคนที่สองของออทโท ฟรังค์ (2432-2523) และเอดิท ฮอลเลนเดอร์ (2443-2488) มีพี่สาวชื่อ มาร์กอท ฟรังค์ (2469-2488) [1] ครอบครัวฟรังค์เป็นชาวยิวหัวก้าวหน้า อาศัยอยู่ในชุมชนผสมระหว่างชาวยิวกับพลเมืองอื่น ๆ ทำให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาในแวดล้อมของสหายกลุ่มต่าง ๆ ทั้งคาทอลิก, โปรเตสแตนต์ และชาวยิวเอง พวกเขาไม่ใคร่เคร่งครัดประเพณีในศาสนายูดายมากนัก เอดิทปกครองเด็ก ๆ อย่างเคร่งครัดมากกว่า ขณะที่ออทโทซึ่งเป็นนายทหารเยอรมันที่ได้รับเหรียญตราจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ให้ความสนใจกับความรู้วิชาการและมีห้องสมุดใหญ่เป็นของตัวเอง ทั้งพ่อและแม่ต่างสนับสนุนให้เด็ก ๆ อ่านหนังสือ[2]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#44", "text": "วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ประชาชนจำนวนหนึ่งรวมทั้งออทโท ฟรังค์ ได้ก่อตั้งกลุ่ม คนรักอันเนอ ฟรังค์ ขึ้น เพื่อพยายามป้องกันมิให้อาคารปรินเซินครัคต์ถูกทุบทิ้ง และพยายามให้อาคารแห่งนั้นเปิดต่อสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ จึงได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ประกอบด้วยพื้นที่คลังสินค้าของบริษัทโอเพคทา ส่วนสำนักงาน และส่วน อัคเตอร์เฮยส์ ไม่มีการตกแต่งภายใน เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเดินผ่านห้องต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ของส่วนตัวบางอย่างของผู้อยู่อาศัยเดิมยังคงประดับอยู่เช่นเดิม เช่นรูปภาพดารานักแสดงซึ่งอันเนอทากาวปิดไว้บนผนัง ขีดบนผนังที่ออทโทบันทึกส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นของลูกสาวทั้งสอง และแผนที่บนผนังที่เขาบันทึกการเคลื่อนที่คืบหน้าของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ปัจจุบันทั้งหมดมีกระดาษใสเคลือบเอาไว้เพื่อรักษาสภาพ จากห้องเล็ก ๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นบ้านของเปเตอร์ ฟัน แป็ลส์ มีทางเดินเชื่อมต่อกับอาคารข้างเคียง มูลนิธิได้ซื้ออาคารนั้นไว้ด้วย ปัจจุบันใช้เก็บรักษาหนังสือบันทึก และจัดนิทรรศการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงความโหดร้ายทารุณในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในกรุงอัมสเตอร์ดัม ในปี พ.ศ. 2548 จำนวนผู้เยี่ยมชมก็สูงกว่า 965,000 คน อันเนอ ฟรังค์ เฮาส์ ยังเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมที่ไม่สะดวกจะเดินทางมายังอัมสเตอร์ดัม ในปี พ.ศ. 2548 มีการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ในประเทศต่าง ๆ 32 ประเทศ ทั้งในยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้[24]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#33", "text": "อันเนอ ฟรังค์ เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นทั้งในฐานะที่เป็นนักเขียนและนักมนุษยนิยม มีการพูดถึงเธอทั่วไป โดยเฉพาะการเป็นสัญลักษณ์ของการถูกทำลายและเป็นตัวแทนของการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฮิลลารี คลินตัน อ่านบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีมอบรางวัล Elie Wiesel Humanitarian Award เมื่อปี พ.ศ. 2537 ว่า \"เธอได้ปลุกพวกเราขึ้นจากความเขลา ให้แลเห็นความตายอันโหดร้ายที่พรากความเยาว์ของเราไปเสีย\" คลินตันเปรียบเทียบเรื่องของอันเนอกับเหตุการณ์ร่วมสมัยในเวลานั้น คือสงครามในซาราเยโว, โซมาเลีย และรวันดา[17] หลังจากที่เนลสัน แมนเดลา ได้รับรางวัลจากมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ เมื่อปี พ.ศ. 2537 เขาเอ่ยกับฝูงชนในเมืองโจฮันเนสเบิร์กว่า เขาอ่านบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ ขณะที่อยู่ในคุก และ \"รู้สึกกล้าหาญขึ้นอย่างมาก\" เขาเปรียบเทียบการต่อสู้ของอันเนอกับพวกนาซี กับการต่อสู้ของเขาเพื่อต่อต้านการเหยียดผิวในแอฟริกาใต้ และว่าปรัชญาทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่ขนานกัน \"เพราะความเชื่อพื้นฐานของมันผิดพลาด มันเคยผิดพลาดและยังคงผิดพลาดต่อไป ทว่าด้วยตัวอย่างจากอันเนอ ฟรังค์ การเหยียดผิวจักต้องพ่ายแพ้\"[18]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#36", "text": "หลังจากบันทึกเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ก็มีการตีพิมพ์ข้อกล่าวหามากมายต่อต้านบันทึกนั้น การวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงแรกเกิดขึ้นที่ประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ คำกล่าวหาข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้เขียนบันทึกนี้คือ ไมเยอร์ เลวิน ส่วนอันเนอ ฟรังค์ ไม่มีตัวตนจริง[21]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#50", "text": "5535 แอนน์แฟรงก์ - ดาวเคราะห์น้อยที่ตั้งชื่อตามอันเนอ ฟรังค์ ในปี ค.ศ. 1995", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#12", "text": "วันที่ 13 กรกฎาคม ครอบครัวฟัน แป็ลส์ ได้มาอาศัยร่วมกับครอบครัวฟรังค์ ได้แก่ แฮร์มันน์, เอากุสต์ และเปเตอร์ ลูกชายอายุ 16 ปี เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนพวกเขาก็ได้ต้อนรับฟริทซ์ พเฟฟเฟอร์ ทันตแพทย์และเพื่อนของครอบครัว อันเนอบันทึกว่าเธอดีใจที่มีเพื่อนคุยด้วย แต่การมีคนจำนวนมากอยู่ร่วมกันในที่แคบ ๆ ทำให้เกิดความเครียด อันเนอใช้ห้องร่วมกับพเฟฟเฟอร์ เธอไม่สามารถทนเขาได้และรำคาญที่ต้องรับเขามาอยู่ด้วย เธอยังทะเลาะกับพเฟฟเฟอร์ซึ่งเธอให้ความเห็นว่าโง่เง่า เธอระบุว่าเขาเป็นคนเห็นแก่ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องปริมาณอาหารที่ได้รับแบ่งปัน[2] ในเวลาต่อมา เธอเริ่มญาติดีกับเปเตอร์ผู้ขี้อายและเชื่องช้า แล้วทั้งสองก็เริ่มตกหลุมรักกัน อันเนอได้จูบเขาเป็นครั้งแรก ทว่าความรู้สึกหลงใหลดูดดื่มของอันเนอค่อย ๆ เจือจางลง เธอตั้งคำถามกับตัวเองว่าความรู้สึกของเธอต่อเปเตอร์นั้นจริงแท้แค่ไหน หรือเป็นเพียงเพราะพวกเขาได้อยู่ร่วมในที่แห่งเดียวกันเท่านั้น อันเนอ ฟรังค์ สนิทสนมกับบรรดาผู้ให้ความช่วยเหลือพวกเขามาก ออทโท ฟรังค์ รำลึกเรื่องนี้ในภายหลังว่า เธอตื่นเต้นกระตือรือร้นที่จะได้พบพวกเขาทุก ๆ วัน เขายังสังเกตว่าเพื่อนสนิทที่สุดของอันเนอคือ แบ็ป โฟสเกยล์ \"เลขานุการสาวผู้นั้น... พวกเธอทั้งสองมักยืนกระซิบกระซาบกันอยู่ตรงมุมห้อง\"[2]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#30", "text": "กอร์เนลิส เซยก์ อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ และประธานศูนย์สหรัฐอเมริกาของมูลนิธิการศึกษาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ประกาศในปี พ.ศ. 2542 ว่า เขาเป็นเจ้าของกระดาษบันทึก 5 แผ่น ซึ่งออทโท ฟรังค์ ดึงออกจากสมุดบันทึกก่อนจะนำไปตีพิมพ์ เซยก์อ้างว่าออทโท ฟรังค์ มอบกระดาษบันทึกเหล่านั้นให้เขาเอง ไม่นานก่อนที่ออทโทจะเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2523 เนื้อหาบันทึกส่วนที่หายไปเกี่ยวข้องกับการที่อันเนอ ฟรังค์ วิพากษ์วิจารณ์ชีวิตแต่งงานของพ่อแม่ของเธอ และยังพรรณนาความรู้สึกไม่พอใจต่อแม่ของเธอด้วย[12] ในเวลาต่อมาเรื่องนี้ก็กลายเป็นที่ถกเถียงกัน เพราะเซยก์เรียกร้องสิทธิ์ในการตีพิมพ์บันทึก 5 แผ่นนี้ และคิดจะนำไปขายเพื่อระดมทุนให้แก่ศูนย์สหรัฐอเมริกาของเขา สถาบันเอกสารหลักฐานสงครามแห่งเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของต้นฉบับ เรียกร้องให้เขาคืนบันทึกทั้ง 5 แผ่นนี้ ในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์แห่งเนเธอร์แลนด์ ยินยอมบริจาคเงินจำนวน 300,000 เหรียญสหรัฐให้แก่มูลนิธิของเซยก์ แล้วบันทึกทั้ง 5 แผ่นจึงได้ส่งคืนในปี พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นจึงได้นำบันทึกทั้ง 5 แผ่นผนวกรวมเข้าไปในหนังสือบันทึกฉบับพิมพ์ครั้งใหม่ ๆ ด้วย", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#35", "text": "ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 นิตยสารไทมส์ตีพิมพ์หนังสือฉบับพิเศษ ใช้ชื่อว่า \"Time 100: The Most Important People of the Century\" (100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษ) อันเนอ ฟรังค์ ได้รับเลือกเป็นผู้หนึ่งในหมวด \"วีรบุรุษและสัญลักษณ์\" รอเจอร์ โรเซนแบลตต์ บรรยายถึงความเป็นตำนานของเธอว่า \"หนังสือเล่มนี้ส่งแรงบันดาลใจ ทำให้ทุกผู้คนรู้สึกเป็นเจ้าของอันเนอ ฟรังค์ เธอโดดเด่นขึ้นมาเหนือเหล่าผู้ถูกทำร้าย เหนือเหล่าชาวยิว เหนือความเยาว์วัย และอาจจะเหนือความดีงาม เธอกลายเป็นสัญลักษณ์บูชาในโลกยุคใหม่ ที่ซึ่งหัวใจแห่งศีลธรรมแต่ละดวงถูกรุมล้อมด้วยการทำลายล้างของเครื่องจักร เธอต่อสู้เพื่อสิทธิที่จะมีชีวิต ที่จะถาม และที่จะหวังถึงอนาคตแห่งมนุษยชาติทั้งปวง\" เขายังให้ความเห็นอีกว่า แม้ความกล้าหาญและการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของเธอจะเป็นที่นิยมชมชอบ ทว่าแท้จริงแล้วปัจจัยที่ทำให้เธอน่าหลงใหล คือความสามารถในการวิเคราะห์ตัวเอง ประกอบกับทักษะการเขียนอันดียิ่ง เขาเขียนว่า \"ความเป็นอมตะของเธอเนื่องมาจากวรรณศิลป์อย่างแท้จริง เธอเป็นนักเขียนที่มีคุณวิเศษตลอดทุกยุคสมัย คุณภาพแห่งผลงานของเธอเป็นผลโดยตรงจากหัวใจอันซื่อตรงอย่างที่สุด\"[20]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#20", "text": "เมื่อถึงวันที่ 28 ตุลาคมก็มีการคัดเลือกผู้หญิงที่จะย้ายไปยังค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ผู้หญิงกว่า 8,000 คน รวมทั้งอันเนอและมาร์กอท ฟรังค์ และเอากุสต์ ฟัน แป็ลส์ ถูกย้ายไป แต่เอดิท ฟรังค์ไม่ได้ไปด้วย เธอเสียชีวิตในเวลาต่อมาเนื่องจากอดอาหาร[1] นักโทษจำนวนมากหลั่งไหลไปที่เบลเซินจนต้องมีการตั้งเต็นท์ชั่วคราวสำหรับเป็นที่พักอาศัย ผลจากจำนวนผู้อาศัยที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดโรคระบาดและอัตราเสียชีวิตก็สูงขึ้นอย่างมาก อันเนอได้พบกับเพื่อนเก่าสองคนคือ ฮันเนอลี กอสลาร์ และนาเนตต์ บลิตซ์ เป็นเวลาสั้น ๆ พวกเธอถูกกักกันอยู่ในคนละพื้นที่ของค่าย กอสลาร์กับบลิตซ์มีชีวิตรอดจนสงครามสิ้นสุด ในภายหลังพวกเธอทั้งสองได้เล่าถึงบทสนทนากับอันเนอเมื่อทั้งหมดได้คุยกันชั่วขณะผ่านรั้วกั้นแดน บลิตซ์บอกว่าอันเนอดูผอมมาก ศีรษะล้าน ตัวสั่นเทา ส่วนกอสลาร์เล่าว่าเอากุสต์ ฟัน แป็ลส์ ได้อยู่กับอันเนอและมาร์กอทด้วย ดูเหมือนเธอจะคอยดูแลสองพี่น้องที่กำลังป่วยหนัก คนทั้งสองไม่ได้พบกับมาร์กอท เนื่องจากเธออ่อนแอจนไม่สามารถลุกจากที่นอนได้ อันเนอบอกกับกอสลาร์และบลิตซ์ว่า เธอคิดว่าพ่อกับแม่คงจะตายไปแล้ว ด้วยเหตุนั้นเธอจึงไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ต่อไป กอสลาร์คิดว่าช่วงที่พวกเขาได้พบกันน่าจะอยู่ในราวปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#43", "text": "เดือนธันวาคม พ.ศ. 2536 อันเนอร์ ฟรังค์ เฮาส์ ที่อัมสเตอร์ดัม ร่วมกับมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ ในเมืองบาเซิล ได้ร่วมกันผลักดันให้มีกฎหมายห้ามการเผยแพร่หนังสือ The Diary of Anne Frank: A Critical Approach ในประเทศเนเธอร์แลนด์ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ศาลประจำกรุงอัมสเตอร์ดัมได้มีประกาศห้ามการต่อต้านความเป็นตัวจริงและความเป็นเจ้าของของหนังสือบันทึกนี้อีก รวมถึงห้ามการเผยแพร่สิ่งพิมพ์ใด ๆ ที่ทำให้เกิดผลดังกล่าว ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกปรับเป็นเงิน 25,000 กิลเดอร์ต่อหนึ่งกรณี[23]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#25", "text": "ช่วงต้นของบันทึกของอันเนอ บรรยายความรู้สึกนึกคิดส่วนตัว และยังระบุหลายครั้งว่าเธอจะไม่ยอมให้ใครได้อ่านมันเลย เธอแอบเขียนบรรยายชีวิตของเธอ ของครอบครัว และเพื่อน ๆ ตลอดจนสถานะของพวกเขา ขณะเดียวกันเธอก็เริ่มมีความคาดหวังจะเขียนนิยายสำหรับพิมพ์เผยแพร่ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2487 อันเนอได้ยินประกาศทางวิทยุโดยแคร์ริต โบลเกอสไตน์ หนึ่งในคณะรัฐบาลพลัดถิ่นของเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่าหลังจากสงครามสิ้นสุด เขาจะจัดทำบันทึกสาธารณะขึ้นเพื่อรวบรวมสิ่งที่เกิดกับชาวดัตช์ระหว่างอยู่ภายใต้รัฐบาลเยอรมนี[4] เขาระบุถึงการเผยแพร่จดหมายและบันทึกต่าง ๆ ทำให้อันเนอตัดสินใจจะส่งงานเขียนของเธอไปร่วมด้วยเมื่อถึงเวลานั้น เธอเริ่มปรับปรุงแก้ไขงานเขียนของเธอ สลับ ย้ายเนื้อหา และเขียนขึ้นใหม่บางส่วน ด้วยมุมมองที่เหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์ สมุดบันทึกเริ่มแรกของเธอสอดแทรกไว้ด้วยสมุดโน้ตเพิ่มเติมและกระดาษเป็นแผ่น ๆ อีกจำนวนมาก เธอคิดชื่อสมมุติขึ้นสำหรับสมาชิกในบ้านและบรรดาผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยเปลี่ยนชื่อครอบครัวฟัน แป็ลส์เป็นแฮร์มันน์, เปโตรเนลลา และเปเตอร์ ฟัน ดาน และเปลี่ยนชื่อฟริทซ์ พเฟฟเฟอร์เป็นอัลแบร์ท ดึสเซิลล์ ในบันทึกฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่นี้ เธอเขียนถึง \"คิตตี\" ซึ่งเป็นตัวละครในนิยายเรื่อง โยปเตอร์เฮิล (Joop ter Heul) ของซิสซี ฟัน มากซ์เฟลต์ ซึ่งอันเนอชอบอ่านบ่อย ๆ ออทโท ฟรังค์ ใช้บันทึกฉบับดั้งเดิมของเธอซึ่งเรียกว่า \"ฉบับเอ\" รวมกับฉบับปรับปรุงแก้ไขที่เรียกว่า \"ฉบับบี\" มาเรียบเรียงใหม่เป็นฉบับตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก เขาตัดเนื้อหาบางส่วนออก โดยเฉพาะส่วนที่อันเนอวิจารณ์พ่อแม่ของเธอ (โดยมากเป็นแม่) และส่วนที่บรรยายถึงการเติบโตทางเพศของอันเนอเอง ออทโทเปลี่ยนส่วนที่ระบุชื่อสมาชิกในครอบครัวของเขาเองให้เป็นชื่อจริง แต่ยังคงใช้ชื่อสมมุติสำหรับบุคคลอื่น ๆ เอาไว้", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "194218#0", "text": "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ () เป็นหนังสือที่สร้างขึ้นจากสมุดบันทึกประจำวันของอันเนอ ฟรังค์ ขณะที่เธอและครอบครัวต้องหลบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลาเกือบสองปี เพื่อหลบหนีการล่าชาวยิวในเนเธอร์แลนด์ขณะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของอันเนอ ฟรังค์ ถูกจับตัวได้ในปี ค.ศ. 1944 และส่งไปยังค่ายกักกันชาวยิว อันเนอผู้เขียนเสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงคราม ออทโท ฟรังค์ พ่อของเธอ ซึ่งเป็นคนเดียวในครอบครัวที่รอดชีวิต ได้นำบันทึกนี้ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ", "title": "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์" }, { "docid": "44795#19", "text": "อันเนอกับผู้หญิงคนอื่น ๆ ที่รอดจากการสังหารหมู่ทันทีที่มาถึง ถูกบังคับให้เปลือยกายและฆ่าเชื้อ พวกเธอถูกจับโกนผมและสักหมายเลขประจำตัวไว้บนแขน ในเวลากลางวัน พวกผู้หญิงจะถูกใช้งานเป็นทาส อันเนอต้องทลายหินและขุดพื้น เมื่อตกกลางคืนพวกเขาต้องเบียดเสียดกันอยู่ในคุกแคบ ๆ พยานหลายคนให้ปากคำในภายหลังว่า อันเนอจะหวาดผวาและร้องไห้ทุกครั้งที่เห็นเด็ก ๆ ถูกนำตัวไปยังห้องรมแก๊ส แต่ก็มีพยานอีกหลายคนบอกว่าบางครั้งเธอก็แสดงความกล้าหาญและความแข็งแกร่ง ความอารีและธรรมชาติความเป็นผู้นำในตัวเธอทำให้เธอมักได้รับส่วนแบ่งขนมปังเพิ่มขึ้นสำหรับให้เอดิท มาร์กอท และตัวเธอเอง ในค่ายสกปรกมาก ไม่ช้าเชื้อโรคก็แพร่ระบาด ผิวของอันเนอติดเชื้อหิดอย่างรุนแรง เธอกับมาร์กอทถูกแยกไปห้องผู้ป่วย ที่ซึ่งมีแต่ความมืดสลัวตลอดเวลา และเป็นที่อยู่ของหนู เอดิท ฟรังค์ เลิกกินอาหารส่วนของตน แต่เก็บเอาไว้เพื่อส่งไปให้ลูกสาวทั้งสอง โดยส่งผ่านรูเล็ก ๆ ที่เธอแอบเจาะไว้ทางด้านหลังกำแพงห้องผู้ป่วย[1]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#31", "text": "บันทึกของอันเนอได้รับคำยกย่องชมเชยในฐานะวรรณกรรมที่ดี ไมเยอร์ เลวิน ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการเขียนของอันเนอว่า \"รักษาความตึงเครียดของนวนิยายซึ่งเขียนโดยมีโครงสร้างอย่างดี\"[13] เขาประทับใจกับผลงานของเธอมากจนต้องร่วมงานกับออทโท ฟรังค์ ในการดัดแปลงบทประพันธ์เป็นบทละคร หลังจากหนังสือได้รับการตีพิมพ์ไม่นานนัก[14] จอห์น เบร์รีแมน กวีชาวอเมริกันเขียนถึงหนังสือนี้ว่า มีถ้อยความพรรณนาที่โดดเด่นมาก มิใช่เพียงแค่เรื่องราวของเด็กสาว แต่เป็น \"การก้าวย่างจากวัยเด็กสู่ผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดจากความแม่นยำ ความเชื่อมั่น เป็นรูปแบบที่ชวนให้พรึงเพริดกับความสัตย์ซื่อของตัวอักษร\"[15]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#46", "text": "สำหรับห้องพักอาศัยเดิมที่จัตุรัสแมร์เวเดอซึ่งครอบครัวฟรังค์เคยอาศัยอยู่ระหว่างปี 2476 ถึง 2485 ยังคงอยู่โดยมีเจ้าของครอบครอง จนกระทั่งถึงช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 สารคดีทางโทรทัศน์รายการหนึ่งจับประเด็นที่อาคารแห่งนี้ว่าสมควรได้รับการเอาใจใส่จากสาธารณะ เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมไปมาก องค์กรบ้านอยู่อาศัยของเนเธอร์แลนด์แห่งหนึ่งได้ซื้อห้องพักอาศัยนี้ไปในเวลาต่อมา แล้วปรับปรุงให้กลับคืนสภาพเดิมโดยอาศัยภาพถ่ายเก่าแก่ของครอบครัวฟรังค์ ประกอบกับคำบอกเล่าถึงลักษณะภายในห้องพักที่ปรากฏในจดหมายจำนวนหนึ่งซึ่งเขียนโดยอันเนอ ฟรังค์ ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์อันเนอ ฟรังค์ คือ เตเรซีน ดา ซิลวา กับญาติของครอบครัวฟรังค์คือ แบร์นฮาร์ด \"บัดดี\" เอลิยัส ได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูห้องพักในครั้งนี้ด้วย ห้องพักอาศัยเปิดขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่อันปลอดภัยสำหรับนักเขียนที่ไม่สามารถเขียนเรื่องราวได้อย่างปลอดภัยที่ประเทศบ้านเกิดของตัวเอง นักเขียนที่ผ่านการคัดสรรแล้วสามารถมาพำนักที่ห้องพักนี้เป็นเวลา 1 ปีเพื่อสร้างงานของเขา นักเขียนคนแรกที่ได้รับเลือกให้มาพำนักคือกวีและนักประพันธ์ชาวแอลจีเรีย ชื่อ El-Mahdi Acherchour[24]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#24", "text": "เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 หลังจากกาชาดสากลยืนยันการเสียชีวิตของอันเนอและมาร์กอทแล้ว มีป คีส จึงมอบสมุดบันทึกและเศษกระดาษบันทึกของอันเนอที่เธอเก็บรักษาไว้ด้วยความตั้งใจจะคืนให้แก่อันเนอ ให้แก่ออทโท ฟรังค์ ออทโทบอกในภายหลังว่า เขาไม่เคยรู้มาก่อนว่าอันเนอได้จดบันทึกอย่างละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาระหว่างการซ่อนตัว ออทโทค่อย ๆ อ่านบันทึกด้วยความปวดร้าว ระลึกถึงแต่ละเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในบันทึก และนึกได้ว่าเขาเคยได้ยินเนื้อความบางส่วนที่ตลก ๆ ซึ่งบุตรสาวของเขาเคยอ่านให้ฟังมาก่อนแล้ว นอกจากนี้เขายังยอมรับว่า เพิ่งเคยได้ทราบความเป็นส่วนตัวบางอย่างของบุตรสาวเป็นครั้งแรก รวมถึงบางส่วนของบันทึกที่เธอไม่เคยพูดถึงกับใครมาก่อน ออทโทกล่าวว่า \"สำหรับผม มันเป็นการเปิดดวงตาครั้งใหญ่... ผมไม่เคยล่วงรู้ความรู้สึกนึกคิดของลูกมาก่อน... เธอเก็บความรู้สึกทั้งหมดนี้ไว้กับตัวเอง\"[2] อันเนอบันทึกความปรารถนาไว้หลายครั้งว่าอยากเป็นนักเขียน ดังนั้น ออทโทจึงเริ่มคิดว่า น่าจะนำบันทึกนี้ไปตีพิมพ์", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#42", "text": "ปี พ.ศ. 2534 รอแบร์ โฟรีซง และซีคฟรีด แฟร์เบเกอ ผู้ปฏิเสธไม่เชื่อเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ได้เขียนหนังสือเล็ก ๆ ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อ The Diary of Anne Frank: A Critical Approach โดยกล่าวหาว่า ออทโท ฟรังค์ เป็นผู้เขียนบันทึกนั้นขึ้นเอง เนื่องจากรายละเอียดหลายอย่างในบันทึกขัดแย้งกันเอง การซ่อนตัวใน อัคเตอร์เฮยส์ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และว่าวิธีการเขียนร้อยแก้วกับลายมือของอันเนอ ฟรังค์ ไม่น่าที่เด็กวัยรุ่นจะทำได้[22]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#48", "text": "เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีการตกลงกันให้ตัดต้นไม้ของอันเนอ ฟรังค์ เพื่อป้องกันการโค่นลงทับอาคารข้างเคียง เนื่องจากรากต้นไม้ติดเชื้อราอย่างหนักและอาจล้มได้ทุกเมื่อ อาร์โนลด์ เฮร์เจอ นักเศรษฐศาสตร์ชาวดัตช์ซึ่งต้องหลบซ่อนตัวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเช่นกัน[27] กล่าวถึงต้นไม้นี้ว่า \"มันไม่ใช่เพียงต้นไม้ธรรมดา ต้นไม้ของอันเนอ ฟรังค์ เป็นศูนย์รวมการถูกทรมานของชาวยิว\"[28] มูลนิธิต้นไม้ซึ่งเป็นกลุ่มผู้อนุรักษ์ต้นไม้พยายามรณรงค์เพื่อป้องกันมิให้โค่นต้นเกาลัดต้นนี้ มีสื่อสากลให้ความสนใจเป็นอันมาก ศาลแห่งเนเธอร์แลนด์สั่งให้ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายผู้อนุรักษ์หาข้อมูลทางเลือกอื่น ๆ มาเสนอเพื่อหาข้อยุติ[29] ในที่สุดทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้โดยสร้างโครงสร้างเหล็กประคองต้นไม้ไว้ ซึ่งจะช่วยยืดอายุไปได้อีกอย่างน้อย 15 ปี[28]", "title": "อันเนอ ฟรังค์" } ]
4075
ประเทศเวียดนามเคยตกเป็นเมืองขึ้นหรือไม่?
[ { "docid": "261754#0", "text": "เวียดนาม เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีเนื้อที่ทั้งหมด 337,912 ตารางกิโลเมตร มีประชากรร่วม 89 ล้านคน (พ.ศ. 2554) เมืองหลวงคือ ฮานอย ประชากรส่วนใหญ่ของชาวเวียดนาม คือ ชาวเวียดนาม มีอยู่ประมาณร้อยละ 86 นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยอีก ได้แก่ โท้ ไต ม้ง เขมร และอื่นๆ ภาษาราชการ คือ ภาษาเวียดนาม ส่วนภาษาอื่นๆที่นิยมใช้ คือ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาของแต่ละชนชาติ", "title": "ประวัติศาสตร์เวียดนาม" } ]
[ { "docid": "362346#0", "text": "สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 (; ) เป็น อนุสัญญา (convention) หรือที่ในสมัยนั้นเรียกว่า \"สัญญาน้อย\" ระหว่าง ราชอาณาจักรสยาม (ต่อมาคือ ประเทศไทย) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ กับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในสมัยของประธานาธิบดีเอมีล ฟรังซัวส์ ลูเบต์ (Émile François Loubet) มีเนื้อหาสำคัญเป็นการกำหนดเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนใกล้เคียงซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นของสาธารณรัฐฝรั่งเศสแล้ว กับทั้งยังให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ชาวฝรั่งเศสหรือผู้อยู่ในบังคับฝรั่งเศสด้วย", "title": "สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122" }, { "docid": "261754#2", "text": "เมื่อเวียดนามยอมจำนนต่อการปกครองของต่างชาติ เป็นเวลา 1,100 ปี เวียดนามได้ตกเป็นดินแดนส่วนหนึ่งที่ถูกประเทศจีนปกครองอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มราชวงศ์จีนเข้าปกครองเวียดนาม อันได้แก่: ราชวงศ์ฮั่น, ง่อก๊ก (สมัยสามก๊ก), ราชวงศ์จิ้น, ราชวงศ์หลิวซ่ง, ราชวงศ์ฉีใต้, ราชวงศ์เหลียง, ราชวงศ์สุย, ราชวงศ์ถัง, และ ราชวงศ์ฮั่นใต้;", "title": "ประวัติศาสตร์เวียดนาม" }, { "docid": "408240#3", "text": "ปัจจุบันเพลงเตี๊ยงก่อยกงเซินยังคงเป็นที่นิยมขับร้องในหมู่ชาวเวียดนามที่ตกเป็นผู้ลี้ภัยสงครามเวียดนามในประเทศสหรัฐอเมริกา (และในประเทศอื่นๆ ที่เป็นถิ่นพำนักของผู้ลี้ภัย) โดยถือว่าเป็นเพลงของประเทศเวียดนามเสรี (Anthem of Free Vietnam) ส่วนในประเทศเวียดนามนั้น แม้ทำนองของเพลงดังกล่าวจะเคยเป็นเพลงชาติเวียดนามใต้มาก่อน แต่ก็ยังคงมีการขับร้องด้วยบทร้องที่เป็นต้นฉบับแรกสุดในภาษาเวียดนาม (\"Sinh Viên Hành Khúc\") โดยถือว่าบทเพลงพร้อมเนื้อร้องแรกสุดนั้นเป็นบทเพลงปฏิวัติ", "title": "เตี๊ยงก่อยกงเซิน" }, { "docid": "623292#1", "text": "หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ โลกได้ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ค่าย คือ ค่ายคอมมิวนิสต์ มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ และค่ายเสรีประชาธิปไตย มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำ ค่ายคอมมิวนิสต์ มีนโยบายรุกราน และต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ของประเทศต่าง ๆ ในโลก ให้เป็นแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯ จึงได้เสนอแผนการมาร์แชล (Marshall Plan) เพื่อบูรณะฟื้นฟูประเทศในยุโรปตะวันตก จากวิกฤตทางเศรษฐกิจ และตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) สำหรับช่วยเหลือในทางทหาร ในเอเชียฝ่ายคอมมิวนิสต์ขยายอิทธิพลด้วยการส่งจารชน และผู้ก่อการร้ายเข้าไปบ่อนทำลายบรรดาประเทศในทวีปเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย เกาหลี ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว และไทย เพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และเข้ายึดครองประเทศเหล่านั้นตามอุดมการณ์ครองโลกของคอมมิวนิสต์ \nสหรัฐฯ ตระหนักดีว่า หากอินโดจีนแพ้สงคราม และตกเป็นของคอมมิวนิสต์แล้ว จะนำไปสู่การสูญเสียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ตามทฤษฎีโดมิโน (Domino Theory) จึงได้ทุ่มเทความช่วยเหลือแก่ เวียดนามใต้ สหรัฐฯจึงเป็นผู้นำในการต่อต้านเวียดนามเหนือ นับตั้งแต่ฝรั่งเศสต่อสู้กับเวียดนามเหนือ เมื่อฝรั่งเศสแพ้ สหรัฐฯ จึงเข้าไปช่วยเหลือเวียดนามใต้ \nในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เวียดนามใต้ตกอยู่ในจุดล่อแหลมที่สุด สหรัฐฯ จึงตกลงใจส่งกำลังทหารเข้าไปปฏิบัติการในเวียดนามใต้ พร้อมกับกำลังของฝ่ายโลกเสรีอีก ๗ ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สเปน ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และไทย การจัดรูปแบบของการรบเป็นในแบบสงครามจำกัด มุ่งให้เป็นการรบของ เวียดนามทั้งสองฝ่ายเท่านั้น", "title": "กองพลทหารอาสาสมัคร" }, { "docid": "1252#4", "text": "อิทธิพลของตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในศรีลังกา เริ่มจากโปรตุเกส ดัตช์ และอังกฤษ ตามลำดับ โดยมาทำการค้าตามเมืองท่าด้านตะวันตกของประเทศ และในปี พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) โปรตุเกสได้เข้ายึดครองพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลและปกครองประเทศก่อนที่ชาวดัตช์จะเข้าครอบครองดินแดนศรีลังกาในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) และต่อมาอังกฤษสามารถครอบครองศรีลังกาเป็นเมืองขึ้นในปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) ภายใต้อนุสัญญา Kandyan รวมเวลาที่ศรีลังกาตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติเกือบ 500 ปี และอังกฤษได้ใช้ศรีลังกาเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งในมหาสมุทรอินเดียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)", "title": "ประเทศศรีลังกา" }, { "docid": "149036#4", "text": "ต่อมาจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสเข้ามาได้เมืองขึ้นในอินโดจีน เช่น ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว โดยลักษณะเดียวกับโปรตุเกสและสเปน คือล่าเมืองขึ้นและเผยแพร่ศาสนาพร้อมกัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จนัก ทำให้อิทธิพลของศาสนาคริสต์ในกลุ่มประเทศนี้มีน้อย อาจเพราะการมุ่งผลทางการเมืองและเศรษฐกิจของผู้ปกครองจักรวรรดินิยมทั้งก่อนหน้าและขณะนั้น ทำให้จุดมุ่งหมายที่ดีงามทางศาสนาถูกผู้คนในประเทศพื้นเมืองตั้งทัศนคติว่ามีเจตนาแอบแฝงเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่ามิชชันนารีจะมีเจตนาแอบแฝงจริงหรือไม่ก็ตาม ", "title": "ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย" }, { "docid": "4202#50", "text": "จำนวนประเทศที่บินมากกว่า 3 เมืองขึ้นไป ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศเยอรมัน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย ประเทศรัสเซีย และ ประเทศไทย", "title": "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" }, { "docid": "285829#2", "text": "ในปี ค.ศ. 1882 ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุเพียง 14 พรรษา อียิปต์ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง แต่พระราชบิดาของพระองค์นิยมตะวันตก และสร้างความแตกแยกในประเทศ ข้าราชการและขุนนางแบ่งกันเป็นฝักฝ่าย ซึ่งส่วนใหญล้วนนิยมต่อต้านตะวันตกทั้งสิ้นต่อมาพระบิดาของพระองค์จึงดำเนินนโยบายเพื่อสานผลประโยชน์แก่ทุกฝ่าย", "title": "พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์" }, { "docid": "1961#8", "text": "วีรสตรีในนาม ฮายบาจึง ได้นำกองกำลังต่อต้านการปกครองของจีน แต่ปราชัยในอีก 3 ปีต่อมาและตกเป็นส่วนหนึ่งของจีน นักโทษปัญญาชนชาวจีนนามว่า หลีโบน ร่วมมือกับปัญญาชนชาวเวียดนามร่วมทำการปฏิวัติ ก่อตั้งราชวงค์หลี ขนานนามแคว้นว่า วันซวน แต่พ่ายแพ้ในที่สุด", "title": "ประเทศเวียดนาม" }, { "docid": "44961#0", "text": "ไมโครนีเซีย () เป็นชื่อกลุ่มเกาะที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปโอเชียเนีย ส่วนใหญ่ในอดีตมักตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาในฐานะดินแดนในภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติแทบทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อก่อนนี้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศเยอรมนี ซึ่งต่อมาประเทศญี่ปุ่นได้ไปยึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1และถูกยึดไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยกเว้นสาธารณรัฐคิริบาสเท่านั้นที่เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ที่สำคัญคือภูมิภาคนี้ยังเป็นสมรภูมิการรบภาคพื้นแปซิฟิกระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาด้วย ทั้งที่ประเทศคิริบาส เกาะเวก เกาะนิวกินี และที่อื่น ๆ ด้วย สำหรับภูมิภาคไมโครนีเซียประกอบด้วย 5 ประเทศและ 2 ดินแดน คือ", "title": "ไมโครนีเซีย (ภูมิภาค)" }, { "docid": "22379#2", "text": "ฮานอย หมายถึงตอนต้นของแม่น้ำ ตั้งอยู่ตอนต้นอยู่บนลุ่มแม่น้ำแดง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลี้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 1553 โดยใช้ชื่อว่า ทังล็อง แปลว่า มังกรเหิน จนกระทั่ง พ.ศ. 2245 กษัตริย์ราชวงศ์เหงียนได้ย้ายเมือหลวงไปอยู่เมืองเว้เมื่อตกเป็นส่วนหนึ่ของอินโดจีนฝรั่งเศส ฮานอยจึงกลับมาเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการอีกครั้งใน พ.ศ. 2430 ภายหลังได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2489 ดินแดนเวียดนามแยกออกเป็นสองประเทศ โดยฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ เมื่อรวมประเทศใน พ.ศ. 2519 จึงเป็นเมืองหลวงหนึ่งเดียวของเวียดนามในปัจจุบัน", "title": "ฮานอย" }, { "docid": "70992#19", "text": "จักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรขอมสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรขอมคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13", "title": "ประวัติศาสตร์กัมพูชา" }, { "docid": "33701#4", "text": "ในยุคนั้น พระองค์ยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ต้องพัฒนาตองงาที่อยู่ในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อให้ได้ อีกทั้งพระองค์ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ตองงารอดพ้นจากการตกเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักรได้ ทำให้ตองงาเป็นประเทศเดียวในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของตะวันตกแม้เพียงครั้งเดียว อีกทั้งพระองค์ยังเป็นชาวคริสต์เวสเลยันที่เคร่งครัดและบำรุงศาสนานี้ในฐานะศาสนาประจำชาติ", "title": "สมเด็จพระราชาธิบดีเตาฟาอาเฮา ตูโปอูที่ 4 แห่งตองงา" }, { "docid": "1961#29", "text": "ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามทางด้านเศรษฐกิจ เวียดนามเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นกาแฟ และยางพารา ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและเป็นวัตถุดิบแก่โรงงานในฝรั่งเศส ที่ดินในเวียดนามถูกยึดและตกเป็นของชาวฝรั่งเศส และเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายในเวียดนาม ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระในการทำงานและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี พ.ศ. 2473 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบท", "title": "ประเทศเวียดนาม" }, { "docid": "35902#1", "text": "แขวงหัวพันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแขวงเชียงขวาง ประวัติศาสตร์ของสองแขวงนี้มีความคล้ายคลึงกัน ในอดีตหัวพันเคยตกเป็นเมืองขึ้นของเวียดนามสลับกับการดำรงอยู่ในฐานะรัฐเอกราช และเพิ่งถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของลาวในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ปัจจุบันมีประชากรราว 322,200 คน ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ อากาศค่อนข้างหนาว ประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยกว่า 20 เผ่า เช่น ไทขาว ไทแดง ไทเหนือ ไทน้อย ม้ง ขมุ ยูนนาน ส่วนใหญ่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท", "title": "แขวงหัวพัน" }, { "docid": "291113#3", "text": "คำให้การชาวกรุงเก่านี้ ได้ต้นฉบับมาจากประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2454 เมื่อปี พ.ศ. 2454 ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิอังกฤษ โดยเชื่อว่าต้นฉบับดั้งเดิมเป็นคำให้การเป็นภาษามอญและได้แปลเป็นภาษาพม่าอีกทอดหนึ่ง แล้วแปลเป็นภาษาไทยเสร็จในปี พ.ศ. 2455 พิมพ์โดยโรงพิมพ์หมอสมิธ (แซมมวล เจ.สมิธ)", "title": "คำให้การชาวกรุงเก่า" }, { "docid": "765205#3", "text": "ประเทศกัมพูชาในตอนต้นของยุคหลังพระนครได้สิ้นอำนาจลง เพราะได้เป็นเมืองขึ้นของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2137 ถึง พ.ศ. 2161 พอได้รับเอกราชจากไทย ก็เกิดปัญหาสงครามกับเวียดนามบ้าง กับไทยบ้าง สงครามภายในบ้าง เป็นเมืองขึ้นของไทย และ เวียดนามด้วย ", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "2568#5", "text": "ดินแดนคาบสมุทรเกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นจีนเมื่อ พ.ศ. 434 เมื่อจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้หรือกวนอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นยกทัพเข้ายึดครองดินแดนของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ และแบ่งเกาหลีเป็น 4 มณฑล คือ อาณาจักรนังนัง ชินบอน อิมดุน และฮย็อนโท อย่างไรก็ตาม จีนปกครองมณฑลนังนังอย่างจริงจังเพียงมณฑลเดียว มณฑลอื่น ๆ จึงค่อย ๆ แยกตัวเป็นเอกราช จน พ.ศ. 856 ชนเผ่าโคกูรยอเข้ายึดครองมณฑลนังนัง ขับไล่จีนออกไปได้สำเร็จ การตกเป็นเมืองขึ้นของจีนทำให้เกาหลีได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนมาก เช่นตัวอักษรและศาสนา (พุทธและขงจื๊อ)", "title": "ประเทศเกาหลีใต้" }, { "docid": "527904#5", "text": "เมื่อ พ.ศ. 2322 อาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 อาณาจักรแล้วสูญเสียเอกราชตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม ประกอบด้วยเมืองขึ้นต่างๆ ของหัวเมืองลาวกาวเช่น เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองขุขันธ์ เมืองกมลาสัย เมืองอุบลราชธานี เมืองศรีสะเกษ เมืองภูแล่นช้าง เมืองกาฬสินธุ์ เมืองเขมราฐ เมืองยโสธร เมืองสุวรรณภูมิ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองมหาสารคาม เป็นต้น", "title": "หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล)" }, { "docid": "279437#2", "text": "ต่อมาเมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ พระเจ้าธีบอ พระนางนางศุภยาลัต รวมถึงพระองค์ ได้ถูกเชิญออกนอกประเทศโดยให้ประทับในเมืองรัตนคีรี ทางใต้ของเมืองบอมเบย์ในบริติชราช ภายหลังพระนางอเลนันดอได้มีเรื่องวิวาทกับพระนางศุภยาลัตซึ่งเป็นพระธิดา ทางอังกฤษสงสาร จึงได้ส่งพระนางอเลนันดอมายังพม่า และใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองมะละแหม่งจนสิ้นพระชนม์", "title": "พระนางอเลนันดอ" }, { "docid": "1961#1", "text": "ทางเหนือของเวียดนามเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิจีนกว่าพันปี ตั้งแต่ 111 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 939 รัฐแรกเริ่มของเวียดนามก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 939 หลังเวียดนามชนัจีนในยุทธนาวีแม่น้ำบักดั่ง เวียดนามและจักรพรรดิเวียดนามก็เจริญรุ่งเรืองและเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่งตกเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ 19", "title": "ประเทศเวียดนาม" }, { "docid": "42713#0", "text": "จักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัย และแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา ", "title": "จักรวรรดิเขมร" }, { "docid": "131215#6", "text": "1.4 \"เมืองหน้าด่าน\" ในขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสได้แผ่ขยายล่าอาณานิคมเพื่อหาเมืองขึ้นในประเทศเวียดนามและเขมร ได้ขยายเข้ามาในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนและมีทีท่าว่าจะรุกล้ำเข้ามาตามลุ่มแม่น้ำมูล ซึ่งหากมีการรุกล้ำดินแดนเกิดขึ้นจริง เมืองพิบูลมังสาหารจะเป็นเมืองหน้าด่านที่สามารถต่อต้านข้าศึกสกัดกั้นไม่ให้ศัตรูเข้ามาถึงเมืองอุบลราชธานีโดยง่าย ", "title": "อำเภอพิบูลมังสาหาร" }, { "docid": "190065#0", "text": "ประเพณีตรุษญวน หรือปีใหม่ของชาวเวียดนาม มีลักษณะเหมือนกับประเพณีตรุษจีนของชาวจีน ในอดีตสมัยที่เวียดนามตกเป็นเมืองขึ้นของจีนนานนับพันปี วัฒนธรรมทางความเชื่อและการดำรงชีวิตตลอดจนภาษาต่างก็ได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งสิ้น ปฏิทินทางจันทรคติของเวียดนามจะตรงกับปฏิทินทางจันทรคติของจีน ดังนั้นวันตรุษญวนหรือวันขั้นปีใหม่เวียดนามจะตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ หรือตรงกับวันตรุษจีนนั่นเอง ", "title": "ตรุษญวน" }, { "docid": "67651#4", "text": "ดินแดนคาบสมุทรเกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นจีนเมื่อ พ.ศ. 434 เมื่อจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้หรือกวนอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นยกทัพเข้ายึดครองดินแดนของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ และแบ่งเกาหลีเป็น 4 มณฑล คือ อาณาจักรนังนัง ชินบอน อิมดุน และฮย็อนโท อย่างไรก็ตาม จีนปกครองมณฑลนังนังอย่างจริงจังเพียงมณฑลเดียว มณฑลอื่น ๆ จึงค่อย ๆ แยกตัวเป็นเอกราช จน พ.ศ. 856 ชนเผ่าโคกูรยอเข้ายึดครองมณฑลนังนัง ขับไล่จีนออกไปได้สำเร็จ การตกเป็นเมืองขึ้นของจีนทำให้เกาหลีได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนมาก เช่นตัวอักษรและศาสนา (พุทธและขงจื๊อ)", "title": "ประวัติศาสตร์เกาหลี" }, { "docid": "765909#1", "text": "ชาวเวียดนามที่ตกเป็นผู้ลี้ภัยสงครามในประเทศสหรัฐอเมริกา (และในประเทศอื่น ๆ ที่เป็นถิ่นพำนักของผู้ลี้ภัย) ได้ใช้ธงนี้เป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองนอกเหนือจากการใช้เป็นธงชาติแล้ว ยังมองว่าธงแดงมีดาวห้าแฉกสีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2002 จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลท้องถิ่นทั้ง 13 รัฐของสหรัฐ, และ 85 เมืองใน 20 รัฐ ได้ประกาศให้ธงสีเหลืองกลางมีแถบริ้วสีแดงสามริ้วมีสถานะเป็นธงของชาวเวียดนามผลัดถิ่นซึ่งสื่อถึงมรดกและความเสรี ในเวียดนามธงนี้ยังใช้เป็นสัญลักษณ์ของ \"กลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์\"A explanation of the flag by the Flags of the World which is the website devoted to vexillology.", "title": "ธงชาติเวียดนามใต้" }, { "docid": "3934#3", "text": "เกือบทั้งหมดเคยตกเป็นเมืองขึ้นของเจ้าอาณานิคมจากโลกตะวันตกมีทั้งประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา", "title": "โอเชียเนีย" }, { "docid": "353799#8", "text": "ช่วงสมัยก่อนการล่าอำนาจจากตะวันตก รัฐสยามหรือ 'เสียมก๊ก' นั้นมีความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการกับประเทศจีน ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่กับประเทศจีนนั้นเป็นในรูปแบบการค้า ความขัดแย้งหรือข้อพิภาคนั้นมีน้อย\nการที่ชาติจีนแพ้ในสงครามฝิ่นให้กับชาติตะวันตก รัฐสยามกลัวการตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเนื่องจากความสัมพันธ์กับจีน ประเทศไทยจึงได้ตัดความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการกับประเทศจีน\nช่วงการสร้างชาติใหม่ของไทยหลังการกู้เอกราชจากพม่า ผู้ปกครองในไทยซึ่งมีเชื้อสายทางเลือดเกี่ยวข้องกับประเทศจีนได้มีนโยบายนำเข้าประชากรฮั่นจากประเทศจีน เนื่องจากได้เสียประชากรจำนวนมากจากสงคราม ส่วนด้านจีนเองก็มีปัญหาสงครามและความแห้งแล้ง\nด้วยเหตุนี้ประชากรจำนวนมากในภาคกลางและตามหัวเมืองใหญ่ของไทยจึงเป็นเชื้อสายจีนจำนวนมาก \nช่วงสงครามเย็น\nเนื่องจากประเทศไทยกลัวการแผ่ขยายเข้ามาของแนวคิดคอมมิวนิสต์ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนจึงเป็นแบบจำกัด ทั้งนี้รวมไปถึงการย้ายเข้าออกและการค้า ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเป็นไปอย่างวาดระแวงและเย็นชา โดยท่าทีของรัฐบาลนั้นเป็นปรปักต์ต่อกันมาก ทางด้านจีนคอมมิวนิสเองก็มีนโยบายส่งออกแนวคิดคอมมิวนิสไปยังประเทศอื่นๆในเอเชียรวมถึงประเทศไทยอีกด้วย ทางด้านรัฐบาลไทยเองจำต้องจัดการปัญหาผู้ก่อกบฏคอมมิวนิสต์ในประเทศ\nประเทศไทยได้กลับมาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอีกครั้งกับรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์พร้อมกับการตัดความสัมพันธ์แบบทางการกับพรรคชาตินิยมจีน (中国国民党;)ซึ่งเสียการครอบครองแผ่นดินใหญ่ไปให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์ประเทศจีนมีส่วนสำคัญในการจัดการหยุดยั้งประเทศเวียดนามเหนือและเวียดกง ที่จะเคลื่อนพลเข้ามายึดประเทศไทย ทั้งนี้ทางจีนเองได้หยุดนโยบายให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ก่อกบฏในไทย\nไทยได้ช่วยเหลือประเทศจีนในการปรับปรุงความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านของไทยในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย\nปัจจุบัน ประเทศไทยและจีนได้กลายเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่สำคัญมาก นอกจากนั้น ในทางการเมืองแล้วสถาบันฯของไทยได้ช่วยเหลือในการเพิ่มความสัมพันธ์ที่แน่นแฟนของทั้งสองประเทศ\nเนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรชาวฮั่น (漢族) ที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก (14% ของประชากรไทย) ความสัมพันระหว่างคนทั้งสองชาติจึงเป็นไปอย่างใกล้ชิด ในช่วงปี 1985-1995 นักลงทุนไทยได้เริ่มเข้าไปลงทุนในประเทศจีน ในเวลาถัดมาช่วงปี1997 บริษัทของรัฐบาลจีนได้เข้ามาลงทุนในไทย\nหอการค้ามณฑลเหอเป่ย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2000", "title": "ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย" }, { "docid": "856283#3", "text": "หลังจากที่ องค์ชายนอคติส ลูซิส เคลัมน์ กษัตริย์รีจิส ลูซิส เคลัมน์ ที่ 113 ทรงพาองค์ชายนอคติสไปรักษาที่เทเนไบร์ โดยมีองค์หญิงลูนาเฟรยา นอกซ์ เฟลเร คอยดูแลอยู่ไม่ห่าง แต่ความสุขก็อยู่ไม่นาน เมื่อนิฟเฟลไฮม์บุกโจมตีหวังจะปลิดชีพกษัตริย์รีจิส และองค์ชายนอคติส กษัตริย์รีจิสจึงพาองค์ชายนอคติสหลบหนี และจากวันนั้น เทเนไบร์ ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของนิฟเฟลไฮม์ไปโดยปริยาย หลังเทเนไบร์ตกเป็นเมืองขึ้นของนิฟเฟลไฮม์ นิฟเฟลไฮม์ก็ไม่หยุดที่จะโจมตีประเทศเพื่อนบ้านไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงสถานที่สุดท้าย​ \"เลสตัลลัม\" ป้อมปราการสุดท้ายของลูซิส กษัตริย์รีจิสทรงรู้อย่างแน่ชัดว่าพระองค์คงไม่สามารถชนะสงครามนี้ได้ จึงได้ตัดสินใจสละดินแดนทั้งหมดรอบๆ อินซอมเนีย ให้ตกเป็นเมืองขึ้นของนิฟเฟลไฮม์ และนำประชาชนทั้งหมดถอยร่นไปอยู่ในอินซอมเนีย จากนั้นไม่นานพระองค์จึงใช้พลังจากคริสตัลชิ้นสุดท้ายในโลก สร้างกำแพงเวทมนตร์ขนาดใหญ่ปกคลุมอินซอมเนียทั้งเมือง ทำให้นิฟเฟลไฮม์ไม่สามารถบุกโจมตีอินซอมเนียทางอากาศได้อีกต่อไป รวมถึงทรงก่อตั้งหน่วยคิงส์เกลฟ หน่วยทหารองครักษ์ที่ได้รับการแบ่งพลังลูซิไอจากกษัตริย์รีจิส เพื่อใช้ปกป้องความสงบสุขของเมืองและเป็นทหารอารักษาส่วนพระองค์", "title": "ไฟนอล แฟนตาซี 15: สงครามแห่งราชันย์" }, { "docid": "1937#23", "text": "จักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13", "title": "ประเทศกัมพูชา" } ]
4076
ปรกติหินบะซอลต์จะถูกนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "60632#1", "text": "ปรกติหินบะซอลต์จะถูกนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ และทำเป็นแผ่นปูพื้นหรือผนัง และยังใช้เป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตแอสฟัลต์", "title": "หินบะซอลต์" } ]
[ { "docid": "52091#18", "text": "ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2538 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายบางกะปิ - สามเสน -ราษฎร์บูรณะ แต่ในภายหลังได้มีการปรับแผนแม่บทฯ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้เส้นทางช่วงสามเสน - ราษฎร์บูรณะกลายเป็นเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (บางใหญ่ - บางซื่อ - สามเสน - ราษฎร์บูรณะ) ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ที่ปรับปรุงมาจากเส้นทางสายสีส้มเดิมและสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเดิม (บางใหญ่ - บางซื่อ) จากนั้นได้ต่อขยายเส้นทางสายสีส้มจากสามเสนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตก กลายเป็นเส้นทางบางกะปิ - สามเสน - บางบำหรุ ต่อมาเส้นทางส่วนต่อขยายที่ต่อเนื่องมาจากสายสีส้มตามแนวถนนรามคำแหงช่วงบางกะปิ - มีนบุรีได้ถูกแยกออกไปเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เมื่อปี พ.ศ. 2548 ปี พ.ศ. 2548 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความพยายามปรับแผนแม่บทโดยเสนอแนวทางเลือกโครงการทดแทนรถไฟฟ้าสายสีส้มด้วยระบบบีอาร์ที ในเส้นทางบางกะปิ-รามคำแหง-คลองตัน เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีรามคำแหงของเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนแทนการเชื่อมต่อกับสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นอกจากบีอาร์ทีแล้ว ยังมีข้อเสนอแนะให้ใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) แทนในเส้นทางช่วงนี้เพื่อให้สามารถก่อสร้างเส้นทางในเขตทางของถนนรามคำแหงที่แคบได้ ขณะที่เส้นทางเข้าสู่ใจกลางเมืองมุ่งหน้าบางบำหรุได้มีข้อเสนอแนะให้ทดแทนด้วยเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงสถานีรถไฟมักกะสัน-ยมราช ต่อเนื่องไปยังระบบรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีแดงที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ช่วงยมราช - ถนนพิษณุโลก - สามเสน - ราชวิถี - ซังฮี้ - บางบำหรุ เนื่องจากเส้นทางสายสีส้มมีแนวเส้นทางคู่ขนานกับสายสีแดงอ่อนอยู่แล้ว[8] แต่แนวคิดที่จะยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มพร้อมกับสายสีม่วงในครั้งนั้นมีประชนส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย ต่อมาก็ไม่ปรากฏเส้นทางทดแทนสายสีส้มนี้ในแผนงานอื่นใดอีก ปี พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช พยายามปรับแผนแม่บท โดยต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มจากบางกะปิไปถึงมีนบุรี และจากบางบำหรุผ่านสถานีตลิ่งชัน ไปสิ้นสุดที่สถานีศาลายา ซึ่งเส้นทางช่วงบางกะปิ-มีนบุรีทับซ้อนกับเส้นทางสายสีน้ำตาล และช่วงบางบำหรุ - ศาลายาทับซ้อนกับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน และส่วนต่อขยายที่มีอยู่ในแผนแม่บทก่อนหน้านั้น แต่ในเวลาต่อมาทาง สนข. ไม่ได้นำเอาเส้นทางดังกล่าวไปบรรจุในแผนแม่บท เนื่องจากไม่เคยมีการศึกษาความเหมาะสมมาก่อน[9] ปี พ.ศ. 2552 การปรับแผนแม่บทฯ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้เส้นทางสายสีน้ำตาลกลับมารวมกันกับเส้นทางสายสีส้มอีกครั้งหนึ่ง และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางสายสีส้มช่วงบางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ มาเป็นตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม โดยสลับกับเส้นทางสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง จากช่วงตลิ่งชัน - มักกะสัน มาเป็นบางบำหรุ - มักกะสัน ส่งผลให้ต้องมีการเสนอการเปลี่ยนแปลงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ การปรับปรุงโครงข่ายเส้นทางครั้งมีส่งผลดี คือเพิ่มความสามารถในการให้บริการประชาชน เนื่องจากสายสีส้มมีลักษณะเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดหนัก มีความถี่ของการเดินรถและสถานีมากกว่ารูปแบบรถไฟชานเมืองของสายสีแดงอ่อน จึงสอดคล้องกับลักษณะพื้นที่ดังกล่าวที่มีการเดินทางสูง (ต่างจากลักษณะการเดินทางตามแนวถนนราชวิถี-สิรินธรที่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นรถไฟชานเมือง) สายสีส้มจะมีแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายอื่นได้มากขึ้น ทำให้เดินทางสะดวก มีการเปลี่ยนต่อรถไฟฟ้าน้อยลง และเพิ่มพื้นที่การให้บริการตามแนวถนนเพชรบุรีและราชปรารภ ทั้งยังเป็นการทดแทนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวอ่อน ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนกในอดีตที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ก่อสร้าง[1] ปี พ.ศ. 2554 สนข. มีการลดระยะทางเปลี่ยนสถานีปลายทางจากสถานีตลิ่งชัน เป็นสถานีบางขุนนนท์ เนื่องจากทับซ้อนกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน - ศาลายา ปี พ.ศ. 2555 มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางในช่วง ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ จากเดิมที่เมื่อออกจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยแล้ว จะเข้าสู่ถนนเทียมร่วมมิตร แล้วตัดข้ามถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่ซอยนวศรี (รามคำแหง 21) เป็นเมื่อออกจากศูนย์ซ่อมบำรุง รฟม. แล้ว จะเข้าสู่ถนนพระราม 9 บริเวณหน้าที่ทำการ รฟม. มุ่งหน้าแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แทน เนื่องจากถนนเทียมร่วมมิตร มีพื้นที่จำกัด อาจเกิดปัญหาตามมาในอนาคต อีกทั้งถนนพระราม 9 ยังสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น [10] ปี พ.ศ. 2557 มีการต่อต้านการก่อสร้างโครงการภายในพื้นที่ชุมชนประชาสงเคราะห์อันเป็นที่ตั้งของ สถานีประชาสงเคราะห์ โดยแกนนำให้เหตุผลว่าเป็นการดำเนินการเพื่อเอื้อผลประโยชน์แก่เอกชน และไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเวนคืนที่ดินไปเพราะเป็นการทำรถไฟฟ้าใต้ดินที่ทำโดยผ่านชุมชน และตัดถนน เพิ่มขนาด 4 เลนตามแนวรถไฟฟ้าทำให้มีประชาชนเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ภายหลัง รฟม. ได้จัดประชุมเพื่อสอบถามความเห็นในการก่อสร้างโครงการ ซึ่งชุมชนยังคงให้เสียงเดียวกันว่า ต้องการให้รถไฟฟ้าไปผ่านถนนหลัก และเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนตรงนั้นแทน หลังจากนั้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 รฟม. ได้มีการจัดประชุมเพื่อสอบถามความเห็นอีกครั้ง เพื่อสอบถามว่าต้องการให้รถไฟฟ้าผ่านทางเส้นทางไหน ซึ่งได้แก่ เส้นทางเดิม รางน้ำ - ดินแดง - ประชาสงเคราะห์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ โดยเส้นทางเดิมจะมีการปรับพื้นที่ของสถานีประชาสงเคราะห์ ไปใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา ที่เลิกกิจการไปแล้ว กับเส้นทางใหม่ซึ่งก็คือ รางน้ำ - เคหะดินแดง - พระราม 9 โดยเอาสถานีประชาสงเคราะห์ออก ย้ายสถานีดินแดงมาตั้งอยู่ด้านหน้าโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง และสถาบันราชานุกูล (ใช้ชื่อว่า สถานีเคหะดินแดง) และย้ายสถานีเชื่อมต่อสายสีน้ำเงินจากเดิมสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็นสถานีพระราม 9 แต่จะไม่เชื่อมกับสถานีเดิมโดยตรง เนื่องจากสถานีพระราม 9 ใหม่จะตั้งอยู่ด้านหน้าซอยพระราม 9 ซอย 3 (ด้านหน้าโครงการ แกรนด์ พระราม 9) บริเวณถนนพระราม 9 แต่การก่อสร้างเส้นทางนี้ จะต้องมีการปิดถนนพระราม 9 เพื่อเปิดหน้าดิน ซึ่งกลุ่มชุมชนก็ให้ความเห็นว่าย้ายไปถนนพระราม 9 ที่มีความต้องการในการใช้ระบบขนส่งมวลชนมากกว่า จะเป็นการให้ผลประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด หลังจากนั้นจึงมีการพิจารณาปรับเส้นทางให้กลายเป็น รางน้ำ - เคหะดินแดง - พระราม 9 ในเวลาต่อมา และมีผลทำให้เส้นทาง มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่กำลังจะประมูลงานก่อสร้าง ต้องมีการพิจารณาเส้นทางเพื่อปรับไปใช้ถนนพระราม 9 จนกลายเป็น มีนบุรี - พระราม 9 ตะวันออก อีกครั้ง พ.ศ. 2558 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร มีมติติให้ยึดการก่อสร้างเส้นทางช่วง รางน้ำ - ดินแดง - ประชาสงเคราะห์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ ตามเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนเส้นทางใดๆ ตามที่ รฟม. เคยประกาศทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางที่มีการสำรวจเส้นทาง ศึกษาแผนงาน และประกาศเส้นทางให้รับทราบมานาน มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับโครงการที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นเส้นทางที่ได้รับความเห็นชอบด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และเป็นเส้นทางที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์กับโครงการและประชาชนมากที่สุด เนื่องจากผ่านย่านชุมชนที่สำคัญ อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ และอยู่ใกล้กับอาคารธานีนพรัตน์ หรือศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางทางราชการของกรุงเทพมหานครในอนาคต[11]", "title": "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม" }, { "docid": "146081#0", "text": "ยางมะตอยเป็นวัสดุที่สกัดจากน้ำมันดิบ มีสีดำ มีลักษณะเหนียวและความหนืดต่ำ ยางมะตอยนิยมมาใช้ในงานก่อสร้างถนน โดยใช้เป็นวัสดุผิวหน้า ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของยางมะตอยทำหน้าที่ประสานระหว่างวัสดุเติมเช่นหินและทราย เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน โดยวัสดุที่นำมาใช้ในการเทผิวหน้าถนนจะเรียกชื่อเต็มว่า แอสฟอลต์คอนกรีต (asphalt concrete) และมักย่อว่า แอสฟอลต์", "title": "ยางมะตอย" }, { "docid": "68816#2", "text": "ต่อมาในสมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลจีนและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอขอพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงสำหรับไปยังภาคตะวันออกของประเทศไทย แต่ในขณะนั้นรัฐบาลเองก็ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเช่นกัน การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงเสนอให้รัฐบาลดำเนินการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงโดยใช้โครงสร้างเดิมของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องมาจากโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ใช้รางรูปแบบเดียวกันกับระบบรถไฟความเร็วสูง คือรางขนาดมาตรฐานความกว้าง 1.435 เมตร หรือ Standard Gauge ดังนั้นหากรัฐบาลต้องการดำเนินโครงการ เพียงแค่ก่อสร้างเส้นทางเพิ่ม และดำเนินการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณในระบบเดิมให้เป็นระบบกลางของรถไฟความเร็วสูง สั่งซื้อขบวนรถใหม่ ก็สามารถเปิดใช้งานต่อได้ทันที เพราะโครงสร้างโดยรวมนั้นถูกออกแบบให้รองรับต่อการปรับแบบเป็นรถไฟความเร็วสูงไว้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว", "title": "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" }, { "docid": "658867#15", "text": "มีสองประเภทหลักของวัสดุที่ใช้ในการปูผิวหน้าของถนน - ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คอนกรีต () และยางมะตอยผสมร้อน (). ภายใต้ผิวบนสุดนี้เป็นชั้นๆของวัสดุที่ให้การรองรับโครงสร้างของระบบการปูผิวหน้า. พื้นผิวที่อยู่ข้างใต้เหล่านี้อาจประกอบด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งคือ base ทำจากหินคลุกและหลายชั้นของ subbase, หรือ base ทำจากว้สดุปรับสภาพ (treated material}}) และหลายชั้นของ subbase, และนอกจากนี้ยังมี subgrade ธรรมชาติหรือ subgrade สารปรับสภาพอยู่ข้างใต้. ชั้นที่ถูกปรับสภาพเหล่านี้อาจถูกปรับสภาพด้วยซีเมนต์, ยางมะตอย, หรือหินปูนเพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับ.", "title": "วิศวกรรมทางหลวง" }, { "docid": "486856#1", "text": "ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมอนคอนกรีตที่จะนำมาใช้ ต้องได้รับการทดสอบทั้งในด้านความทนทานต่อการกดดัน ตลอดจนความต้านทานไฟฟ้าที่อาจจะลัดจากรางเส้นหนึ่งไปหาอีกเส้นหนึ่งได้ เพื่อให้สามารถใช้ระบบวงจรไฟตอน (track circuit) ได้โดยไม่มีปัญหา", "title": "หมอนรองรางรถไฟ" }, { "docid": "274951#0", "text": "อุโมงค์ห้วยแม่ลาน เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของไทย อยู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ กิโลเมตรที่ 574.048-574.178 อยู่ระหว่างสถานีรถไฟบ้านปิน กับสถานีรถไฟผาคัน (จะมีที่หยุดรถไฟห้วยแม่ลานอยู่) โดยตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ มีความยาว 130.20 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต แต่บางส่วนของอุโมงค์จะเป็นหินล้วน ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12 เมตร)", "title": "อุโมงค์ห้วยแม่ลาน" }, { "docid": "400072#16", "text": "คอคอดทั้งหลาย, เช่นที่จุดตัดต่างๆซึ่งมีหลายสายทางมาบรรจบกันและ/หรือจุดตัดกับถนน, จะต้องไม่มี. ด้วยเหตุนี้ ประเทศญี่ปุ่นและจีนมักจะสร้างรถไฟความเร็วสูงของพวกเขาบนสะพานที่ยกสูง (). รถไฟความเร็วสูงจะหลีกเลี่ยงทางโค้งที่แคบซึ่งต้องลดความเร็ว. รัศมีความโค้งโดยปกติจะสูงกว่า 4.5 กิโลเมตร (2.8 ไมล์), และสำหรับสายทางที่รองรับความเร็วที่ 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง (217 ไมล์ต่อชั่วโมง) จะมีรัศมีปกติที่ 7-9 กิโลเมตร (4.3-5.6 ไมล์). รางวิ่งทั้งหมดจะวางอยู่บนหมอนและแท่นรองหมอนแบบเดิม () (สำหรับรถไฟโบราณจะเป็นเพียงไม้หมอนที่วางบนหินกรวด) หรือวางบนแผ่นคอนกรีตและมีรั้วป้องกันการเข้าถึงรางวิ่งโดยการเดินเท้า.", "title": "รถไฟความเร็วสูง" }, { "docid": "3644#20", "text": "วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน - ออกแบบอากาศยาน อวกาศยาน และสิ่งที่เกี่ยวข้อง วิศวกรรมเครื่องกล - ออกแบบระบบเชิงกายภาพหรือกลศาสตร์ ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบกันกระเทือน วิศวกรรเคมี - ใช้หลักการทางเคมีในกระบวนการผลิตเคมีอุตสาหกรรม รวมไปถึงการค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงและวัสดุจำเพาะใหม่ๆ วิศวกรรมไฟฟ้า - ออกแบบระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด วิศวกรรมโยธา - ออกแบบและก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น รางรถไฟ ถนนหนทาง สะพาน ตึกและอาคารบ้านเรือน", "title": "วิศวกรรมศาสตร์" }, { "docid": "486856#5", "text": "ความคิดเรื่องหมอนคอนกรีตอัดแรงมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2420 โดยได้มีการคิดค้นหมอนรองรางที่ทำจากคอนกรีตขึ้น กระนั้นก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จวบจนสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งไม้หาได้ยากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาหมอนคอนกรีตในยุโรป ยิ่งเพิ่มน้ำหนักของรางและเชื่อมยาวรางให้ติดกันมากขึ้นเท่าใด การผลิตหมอนก็ต้องทำให้มีคุณภาพดีมากขึ้นเท่านั้น ในปัจจุบัน หมอนคอนกรีตมีการใช้แพร่หลายกันในหลายประเทศรวมถึงไทย", "title": "หมอนรองรางรถไฟ" }, { "docid": "139041#24", "text": "วัสดุการก่อสร้างจะแตกต่างกันแล้วแต่ละท้องถิ่น ในประเทศอิตาลี โปแลนด์ เยอรมนี และบางส่วนของเนเธอร์แลนด์มักจะสร้างด้วยอิฐ บริเวณอื่นๆ จะใช้ หินแกรนิต หินปูน หรือ หินเหล็กไฟ หินที่ใช้จะตัดเป็นก้อนไม่เท่ากันเชื่อมต่อกันด้วยปูน การตกแต่งหน้าหินยังไม่ใช่ลักษณะเด่นของสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์โดยเฉพาะสมัยโรมาเนสก์ต้น แต่มาปรากฏภายหลังเมื่อมีการใช้หินปูนเป็นสิ่งก่อสร้าง", "title": "สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์" }, { "docid": "486856#3", "text": "อย่างไรก็ตาม ข้อเสียที่สำคัญของหมอนไม้คือผุง่าย และเมื่อใช้ไปนาน ๆ จานรองรางจะกินลึกเข้าไปในเนื้อไม้ ทำให้ระดับสันรางทรุดตัวลง ต้องเปลี่ยนใหม่ นอกจากนี้ ตะปูยึดรางเมื่อได้รับแรงโยกคลอนของขบวนรถที่วิ่งผ่านมาก ๆ เข้า ก็ทำให้ตะปูหลุด ต้องย้ายไปตอกตำแหน่งใหม่หรือแม้แต่เปลี่ยนหมอน ดังนั้น ในปัจจุบัน จึงมีการใช้หมอนคอนกรีตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะทนทานกว่าแล้ว ก็ยังรองรับความเร็วขบวนรถที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย", "title": "หมอนรองรางรถไฟ" }, { "docid": "487142#1", "text": "ในอดีต การอัดหินรองทางทำได้โดยการใช้แรงงานคนคอยตบอัดหินรองทางด้วยเครื่องมือขนาดเล็ก แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้หมอนคอนกรีตซึ่งหนักกว่าหมอนไม้มาก (ราว 200 กิโลกรัม) ก็จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่นเครื่องอัดหินที่ติดกับแขนกลรถขุด หรือเครื่องอัดหินที่ติดกับรถบำรุงทางหนัก ซึ่งอย่างหลังนี้เรียกว่ารถอัดหิน หลักการที่สำคัญของรถอัดหินคือ รถอัดหินจะมีมือกลยกหมอนและรางให้ลอยขึ้นตามค่าที่กำหนดและดันไปทางซ้ายหรือขวาตามค่าที่ต้องการ จากนั้นจะมีก้านอัดที่จะแหย่ลงไปในหินรองทาง หรือหินโรยทาง ให้ปลายใบอัดต่ำกว่าหมอนตามที่กำหนดไว้ แล้วอัดหินรองทางส่วนที่อยู่ใต้หมอนให้แน่นโดยการสั่นสะเทือนและบีบอัดด้วยแรงบีบและระยะเวลาการทำงานที่เหมาะสม ", "title": "รถอัดหิน" }, { "docid": "238423#0", "text": "สถานีรถไฟบ้านปิน เป็นสถานีรถไฟประจำตำบลบ้านปิน และอำเภอลอง อยู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ เป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวในจังหวัดแพร่ที่ระดับสถานีรถไฟ เป็นระดับ 2 มีจำนวนราง 5 ราง เป็นทางหลัก 2 ราง ทางหลีก 3 ราง ทางตัน 1 ราง รางติดชานชาลา 2 ทาง โดยเป็นสถานีรองจากสถานีรถไฟเด่นชัย ที่เป็นสถานีประจำอำเภอเด่นชัย และจังหวัดแพร่ ซึ่งสถานนีรถไฟบ้านปินอยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 563.86 กิโลเมตร ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 203 ถนนเทศบาลตำบลบ้านปิน บ้านใหม่ หมู่ที่4 ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ 54150 ทางเหนือของสถานี มีอุโมงค์ห้วยแม่ลาน ความยาว 130.20 เมตร ระหว่างกิโลเมตรที่ 574.04 ถึง 574.17อยู่ระหว่างสถานีบ้านปิน กับสถานีผาคันและทางด้านขวามีเนินเขาที่ขบวนรถไฟจากกรุงเทพลงเขาก่อนถึงสถานีบ้านปินโดยสถานีรถไฟบ้านปิน อยู่ระหว่างสถานีห้วยแม่ต้า หรือที่หยุดรถไฟห้วยแม่ต้าหมู่ที่7 บ้านห้วยแม่ต้า ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ กับสถานีรถไฟผาคัน หมู่ที่10 บ้านผาคัน ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่สถานีรถไฟบ้านปิน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 เปิดใช้งานเดินรถครั้งแรก วันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2457 หรือคริสต์ศักราช 1914 เป็นช่วงการก่อสร้างเส้นทางและทดลองเดินรถในช่วงที่ 9 ของการสร้างทางรถไฟสายเหนือ ระหว่าง ห้วยแม่ต้า-บ้านปิน ระยะทาง 13 กิโลเมตร โดยการรถไฟหลวงแห่งสยามที่มีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการและมีนายช่างชาวเยอรมัน ชื่อ เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง", "title": "สถานีรถไฟบ้านปิน" }, { "docid": "486856#2", "text": "หมอนไม้ ทำจากไม้เนื้อแข็ง (เช่น ไม้เต็ง ไม้มะค่า ฯลฯ) หรือไม้เนื้ออ่อนชนิดแข็งอาบน้ำยาครีโอโซต (creosote) หรือโบรอนเพื่อกันปลวกแมลงแทะ ถูกนำมาใช้รองรางรถไฟตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน หมอนไม้มีข้อดีคือมีความแข็งแรงพอที่จะถ่ายน้ำหนักขบวนรถลงสู่หินรองราง ตลอดจนมีความอ่อนตัวต่อแรงกระแทก นอกจากนี้ ความที่ไม้เป็นฉนวนไฟฟ้า ก็ทำให้สามารถวางวงจรไฟฟ้าสำหรับติดตามขบวนรถ เมื่อขบวนรถผ่านจะทำให้วงจรต่อครบ แสดงผลออกทางผังบรรยายทาง วงจรชนิดนี้เรียกว่าวงจรไฟตอน", "title": "หมอนรองรางรถไฟ" }, { "docid": "486856#0", "text": "หมอนรองราง (อังกฤษ:railroad sleeper อเมริกา:railroad tie) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ยึดจับรางรถไฟให้อยู่กับที่ ช่วยให้ขอบรางทั้งสองเส้นมีระยะที่เท่ากัน และช่วยถ่ายเทน้ำหนักลงสู่หินหรือวัสดุรองราง หมอนรองรางรถไฟนิยมทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือคอนกรีตอัดแรง ในบางครั้งอาจจะทำจากเหล็กกล้าขึ้นรูปก็ได้ หมอนแต่ละชนิดต่างเหมาะสมกับการใช้ที่แตกต่างกันคือ หมอนไม้สามารถใช้รองรางได้ทั่วไปทั้งทางปกติและสะพาน แต่ปัจจุบันนิยมใช้รองจุดที่รางสองเส้นต่อกัน ส่วนหมอนเหล็ก นิยมใช้บนสะพานเหล็กโดยเฉพาะ", "title": "หมอนรองรางรถไฟ" }, { "docid": "78225#0", "text": "ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ (9 พฤศจิกายน 2443 - 27 สิงหาคม 2524) พระโอรสองค์ที่ 20 ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และเป็นองค์ที่ 3 ของหม่อมบุญ วรรวรรณ ณ อยุธยา สถาปนิกกรมรถไฟ ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ อาจารย์พิเศษและต่อมาป็นอาจารย์ประจำและคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนิกรุ่นบุกเบิกผู้นำเอาเอกลักษณ์ไทยมาประยุกต์กับการออกแบบอาคารสมัยใหม่ ได้ทรงพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่มีใช่ในท้องถิ่นให้เหมาะสม เช่นกระเบื้องปิดหัวจั่วกันผุ รวมทั้งการทดลองการใช้วัสดุพื้นถิ่นเช่นไม้ไผ่ ไม้ระแนงเสริมปูนฉาบซึ่งพบว่าใช้งานได้ดีในระดับเศรษฐกิจขณะนั้น", "title": "หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ" }, { "docid": "282797#4", "text": "ประโยชน์ตะเคียนทอง\n1. ไม้ตะเคียน จัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ เพราะเนื้อไม้มีความทนทาน ทนปลวกดี เลื่อย ไสกบ ตกแต่งและชักเงาได้ดีมาก นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือ เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน เครื่องเรือน หน้าต่าง วงกบประตู ทำพื้นกระดาน ฝ้าหลังคา รั้วไม้ หีบใส่ของ ด้ามเครื่องมือกสิกรรมต่าง ๆ พานท้ายและรางปืน หรือใช้ทำสะพาน ต่อเรือ ทำเรือมาด เรือขุด เรือแคนู เสาโป๊ะ กระโดงเรือ ทำรถลาก ทำหมอนรองรางรถไฟ ตัวถังรถ กังหันนั้น เกวียน หูกทอผ้า ทำไม้ฟืน ฯลฯ ไม้ชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานไม้ได้ทุกอย่างที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน เหนียวและเด้ง\n2. เปลือกต้นให้น้ำฝาดชนิด Catechol และ Pyrogallol\n3. ชันจากไม้ตะเคียนใช้ทำน้ำมันชักเงาตบแต่งเครื่องใช้ในร่ม ใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ยาแนวเรือ หรือใช้ผมกับวัสดุอื่น ๆ เพื่อใช้ในงานต่าง ๆ เช่น ใช้สำหรับทาเคลือบเรือเพื่อช่วยรักษาเนื้อไม้และป้องกันเพรียงทำลาย เป็นต้น\n4. ใบตะเคียนมีสารแทนนินอยู่ประมาณ 10% โดยน้ำหนักแห้ง ส่วนในเปลือกต้นก็มีสารประกอบนี้อยู่ด้วยเช่นกัน โดยคุณสมบัติของแทนนินที่ได้จากไม้ตะเคียนทองนี้ เมื่อนำมาใช้ฟอกหนังจะช่วยทำให้แผ่นหนังแข็งขึ้นกว่าเดิม จึงเหมาะกับการนำมาใช้เฉพาะงานได้เป็นอย่างดี\n5. ใช้ปลูกตามป่าหรือตามสวนสมุนไพรเพื่อเป็นไม้บังลม เพื่อให้ร่มเงา และช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ เพราะไม้เป็นไม้ไม่ผลัดใบพร้อมกัน จึงเป็นไม้ที่ช่วยรักษาความเขียวได้ตลอดปี ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี", "title": "ตะเคียน" }, { "docid": "393503#3", "text": "ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ได้มีการตกลงร่างข้อตกลงเกี่ยวกับการสร้างเส้นทางรถไฟผ่านคอคอดกระ ระหว่างรัฐบาลไทย กับตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตัวแทนฝ่ายไทย และอาเกโต นากามูระ ตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่น ทหารญี่ปุ่นได้ลงมือก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ยาวประมาณ 90 กิโลเมตร การจัดหาไม้หมอน ไม้สะพาน และหินนั้น ทหารญี่ปุ่นได้จัดหาเองและให้นายช่างฝ่ายไทยร่วมด้วยรางรถไฟจะเป็นรางขนาด 50 ปอนด์ และ 60 ปอนด์/หลา โดยนำรางเหล็กมาจากมลายู", "title": "ทางรถไฟสายคอคอดกระ" }, { "docid": "65682#15", "text": "การกำหนดอายุเวลาของโบราณสถานวัดกำแพงแลง กำหนดอายุเวลาในการสร้างอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ระหว่างปี พ.ศ. 1724-1773 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ เป็นศิลปะแบบบายนปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอายุเวลาดังกล่าวมีดังนี้\nเป็นวัสดุที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ช่างนิยมใช้กันเนื่องจากเหตุผลบางประการคือ ขาดแคลนหิน และนำวัสดุที่พบง่ายในท้องถิ่นของตัวเองนำเอามาสร้าง สะดวกในการหาใช้ และต้องการความแข็งแรง คงทนก็คือ ศิลาแลง ซึ่งเราหากมองย้อนไปว่าที่เขมรในช่วงสมัยเมืองพระนคร พุทธศตวรรษที่ 16-17 นั้นปราสาทที่สร้างขึ้นนั้นส่วนใหญ่จะสร้างด้วยหินทรายซึ่งได้มาจากเขาพนมกุเลน พอมาถึงสมัยบายนหินเริ่มขาดแคลนหินที่นำมาก่อสร้างปราสาทบายนนั้นเป็นหินที่ไม่ค่อยมีคุณภาพและเหลือน้อยจึงจำต้องหาวัสดุอื่นมาเสริมก็คือศิลาแลงแต่ก็ใช้ในส่วนที่เป็นฐานเท่านั้น ซึ่งเมื่ออิทธิพลเขมรได้แผ่ขยายเข้าในภาคกลางของประเทศไทยนั้นก็เกิดมีการสร้างปราสาทแบบเขมรจำนวนมาก ปราสาทที่พบร่วมสมัยนี้มักสร้างด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นมาใช้ในการก่อสร้าง ดังนั้นการสร้างปราสาทกำแพงแลง ก็เลยนำวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นอันได้แก่ ศิลาแลง นำมาก่อสร้างซึ่งสันนิษฐานอายุเวลาได้ว่าร่วมสมัยกับศิลปะบายน", "title": "วัดกำแพงแลง" }, { "docid": "486856#7", "text": "ในทางรถไฟสายแยกในประเทศอังกฤษ หมอนรองรางนิยมทำจากเหล็กกล้าเนื่องจากใช้ปริมาณหินรองรางที่น้อยกว่าการใช้หมอนคอนกรีตถึง 60% (น้อยกว่าหมอนไม้ 45%) ตลอดจนสามารถหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้", "title": "หมอนรองรางรถไฟ" }, { "docid": "572743#2", "text": "ใน TVM จะประกอบด้วยสามส่วนหลักๆคือ ระบบรับข้อมูล ระบบประมวลผลข้อมูล และระบบแสดงข้อมูลบนตัวรถไฟ\nระบบจะส่งพิกัดตำแหน่งของรถไฟเพื่อที่จะคำนวณหาความเร็วที่มากที่สุดที่จะวิ่งได้โดยใช้เซนเซอร์ที่อยู่บนพื้นรางรถไฟเป็นตัวกำหนดตำแหน่งของรถไฟแล้วส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลโดยการส่งข้อมูลนี้จะมีโค้ดอยู่ 7 แบบเพื่อบอกให้ทราบว่ารถไฟวิ่งอยู่เส้นทางอะไร \nเมื่อข้อมูลที่มีขนาด 27 บิต จะถูกเข้ารหัสเพื่อจะนำไปประมวลผลโดยในชุดประมวลผลนั้นจะประมวลผลในเรื่องต่อไปนี้\nโดยเมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วจะส่งข้อมูลกลับไปยังขบวนรถเพื่อแสดงผล\nเมื่อได้รับคำสั่งแล้ว ระบบ TVM จะทำการแสดงผลที่หน้าจอของรถไฟเป็นเครื่องหมาย สี หรือ ตัวเลข เพื่อที่จะให้พนักงานขับรถไฟเข้าใจคำสั่งของระบบและปฏิบัติได้ถูกต้องโดยการแสดงผลจะใช้สีเหลืองหรือสีเขียวเท่านั้น ส่วนหน้าจอแสดงคำสั่งของระบบจะอยู่บริเวณหน้าหรือเยื้องคนขับซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น\nระบบแสดงผลโดยใช้สี ตัวเลข และไฟกะพริบ เพื่อที่จะให้คนขับได้ทราบความเร็วที่ระบบคำนวณแล้วว่าปลอดภัยดังตาราง\nเมื่อเราต้องการลดความเร็วของรถไฟลงจากความเร็วปกติ ระบบ TVM จะสั่งให้รถไฟค่อยๆลดความเร็วลงจากความเร็วขณะนั้นจนถึงความเร็วที่ต้องการ\nตัวอย่าง\n300VL , 300V , 270V , 220A , 160A , 160E , 160VL\n300VL , 300V , 270V , 220A , 160A , 80A , 80E โดยหลังจากนี้ในบริเวณเขตก่อสร้างจะปักป้ายที่รถไฟใช้ความเร็วสูงสุดได้\n300VL , 300V , 270V , 220A , 160A , 80A , Zéro , Rouge โดยเมื่อรถไฟหยุดแล้วอาจมีคำสั่งอื่นให้ปฏิบัติตาม\n300VL , 300V , 270V , 220A , 160A , 160E โดยหลังจากนี้ รถไฟจะใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบเดียวกับรถไฟท้องถิ่นในกาารเข้าจอดที่สถานี\nในฝรั่งเศสได้นำระบบ TVM ไปใช้กับเส้นทางรถไฟความเร็วสูง(LGV) ทุกสาย ซึ่ง TGV ทุกรุ่นสามารถรองรับระบบอาณัติสัญญาณนี้ได้ โดยในช่วงแรกได้นำ TVM-300 มาใช้ในการควบคุมความเร็วรถไฟเนื่องจากในสมัยก่อนรถไฟมีความเร็วสูงสุด 270 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ต่อมาก็ได้ใช้รุ่น TVM-430 ทุกขบวน ส่วนการนำไปใช้บนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงนั้นจะใช้กับบนเส้นทางและสถานีที่สร้างใหม่ ส่วนสถานีเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น Gare du Nord เป็นต้น จะอาศัยระบบอาณัติสัญญาณที่ใช้ร่วมกับ RER , TER หรือ Intercités เพื่อที่จะจอดในสถานีหลักได้", "title": "Transmission voie-machine" }, { "docid": "486856#6", "text": "ในบางกรณี เช่นบนสะพานเหล็ก การรองรับรางรถไฟด้วยหมอนคอนกรีต อาจทำให้หมอนคอนกรีตต้องแตกเสียหายจากแรงสะเทือน จึงต้องใช้หมอนที่ทำจากไม้หรือเหล็กขึ้นเพื่อตัดปัญหาดังกล่าว ", "title": "หมอนรองรางรถไฟ" }, { "docid": "108143#9", "text": "ผลกระทบของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองอาจบรรเทาได้เล็กน้อยด้วยการใช้วัสดุที่มีผิวพื้นสีขาว หรือที่เป็นวัสดุสะท้อนความร้อนมาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ลานและถนนซึ่งเป็นการเพิ่มอัตรส่วนรังสีสะท้อน (albedo) โดยรวมของเมือง มีหลายประเทศที่นำวิธีนี้มาใช้นานแล้ว ทางเลือกที่สองได้แก่การเพิ่มจำนวนของพืชพรรณที่คายน้ำมาก วิธีทั้งสองนี้อาจนำมาประยุกต์รวมในรูปของ “หลังคาเขียว”", "title": "ปรากฏการณ์เกาะความร้อน" }, { "docid": "274984#0", "text": "อุโมงค์พระพุทธฉาย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของไทย และเป็นอุโมงค์เพียงแห่งเดียวในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก มีความยาวรองจากอุโมงค์ขุนตานเพียงแห่งเดียว ตัวอุโมงค์ยาว 1,197 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต รูปแบบก่อสร้างเป็นรูปเกือกม้า กว้าง 7 เมตร สูง 5.5 เมตร ใช้หมอนคอนกรีตและรางเชื่อม 100 ปอนด์ ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟบุใหญ่ กับสถานีรถไฟวิหารแดง ในเขตตำบลพระฉาย อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี", "title": "อุโมงค์พระพุทธฉาย" }, { "docid": "486856#4", "text": "ด้วยปัญหาที่มีในหมอนไม้แบบเดิมที่มีมาก และการสงวนพื้นที่ป่าไม้ จึงทำให้มีการพัฒนาหมอนรองรางที่ทำด้วยคอนกรีตอัดแรง ใส่โครงเหล็กไว้ภายใน ซึ่งมีราคาถูกกว่าไม้ และรองรับภาระต่อเพลาได้มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการใช้หมอนคอนกรีตอัดแรงกับรางเชื่อมยาวก็ยังสามารถทำให้ความเร็วขบวนรถมีมาก และลดเสียงรบกวนจากการเด้งของรางได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หมอนคอนกรีตต้องติดตั้งกับหินรองทางที่โรยอย่างหนา และคันทางที่อัดแน่นอย่างดีจึงจะเกิดประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด", "title": "หมอนรองรางรถไฟ" }, { "docid": "275079#2", "text": "อุโมงค์เขาพังเหย ภายในก่อสร้างเป็นผนังคอนกรีต หมอนรถไฟทำด้วยไม้เนื้อแข็ง พร้อมด้วยรางรถไฟ 70 เอ (18.00 เมตร) ความยาวของตัวอุโมงค์ 235.60 เมตร", "title": "อุโมงค์เขาพังเหย" }, { "docid": "274955#0", "text": "อุโมงค์เขาพลึง เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของไทย และเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่าง ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ กับ ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ระหว่างที่หยุดรถไฟเขาพลึง(จ.อุตรดิตถ์)กับ ห้วยไร่(จ.แพร่) มีความยาว 362.44 เมตร อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 516.410-516.773 ภายในอุโมงค์เป็นผนังคอนกรีต แต่จะมีบางส่วนที่เป็นหินล้วนๆ ไม่ได้มีการดาดคอนกรีตลอดอุโมงค์ ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12 เมตร) บริเวณปากอุโมงค์ฯ จะมีที่หยุดรถไฟเขาพลึง ที่ผู้โดยสารสามารถลงที่นี่ได้ โดยมีขบวนรถที่หยุด ณ สถานีนี้เพียง 2 ขบวนรถท้องถิ่น คือ นครสวรรค์-เชียงใหม่ (ขาขึ้น-ขาล่อง)", "title": "อุโมงค์เขาพลึง" }, { "docid": "942581#1", "text": "มีการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2452 และเริ่มมีการสร้างสถานีรถไฟกันตัง (ขณะนั้นใช้ชื่อว่าสถานีรถไฟตรัง) เพื่ออำนวยความสะดวกในการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ จากนั้นจึงมีการสร้างท่าเรือกันตังสำหรับใช้ในการขนส่งเพราะติดชายฝั่งทะเลอันดามัน และสร้างโรงงานประกอบรถจักรและล้อเลื่อนสำหรับใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ เบื้องต้นได้แบ่งการเดินรถออกเป็นสองช่วงคือสถานีรถไฟกันตัง–ห้วยยอด ระยะทาง 49 กิโลเมตร เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 และจากสถานีรถไฟห้วยยอด–ชุมทางทุ่งสง ระยะทาง 44 กิโลเมตร เดินรถเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2456 รวมมีระยะทางทั้งหมด 92.802 กิโลเมตรเมื่อนับจากสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง ถือเป็นเส้นทางรถไฟที่เก่าแก่สายหนึ่ง\nทางรถไฟสายนี้มีสถานีปลายทางคือสถานีรถไฟตรัง ต่อมาได้มีการย้ายตัวเมืองไปที่ตำบลทับเที่ยง สถานีรถไฟตรังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีรถไฟกันตัง ส่วนสถานีรถไฟทับเที่ยงซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองใหม่ก็เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีรถไฟตรังมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตบริเวณสถานีรถไฟกันตัง มีรางรถไฟอีก 500 เมตรมุ่งสู่ท่าเทียบเรือกันตัง จากการที่สถานีรถไฟกันตังตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือกันตัง จึงใช้สำหรับรับสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากยุโรป เช่น ประเทศเยอรมนี, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ และอินเดีย โดยมากเป็นวัสดุสำหรับก่อสร้างและล้อเลื่อนที่สั่งมาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ท่าเรือกันตังมีการส่งต่อสินค้าอาทิ ยางพารา ไม้ยางพารา ยิปซัม และปูนซีเมนต์ไปยังท่าเรือปีนังเป็นสินค้าขาออกอย่างเดียว โดยสินค้าจะส่งต่อไปยังประเทศต่าง ๆ แต่ภายหลังรัฐบาลไทยหันไปนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นแทนยุโรป ทำให้ท่าเรือกันตังซบเซาจนต้องยกเลิกกิจการขนส่งสินค้าจากท่าเรือกันตัง ปัจจุบันรางรถไฟที่มุ่งไปยังท่าเรือกันตังจึงถูกชาวบ้านรุกล้ำ", "title": "ทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง" }, { "docid": "140973#3", "text": "นอกจากนี้ถนนพระรามที่ 4 ในอดีตยังเป็นต้นสายของทางรถไฟสายปากน้ำ สถานีต้นสายชื่อว่าสถานีหัวลำโพง (ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบันแต่ตั้งอยู่กลางถนนพระราม 4 หน้าโรงแรมสยามซิตี้ ส่วนสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบันในอดีตชื่อสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อยกเลิกทางรถไฟสายปากน้ำคนทั่วไป จึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นสถานีรถไฟหัวลำโพงตามความเคยชินและติดปากของประชาชน) โดยรางรถไฟสายนี้วางขนานกับคลองหัวลำโพงมีทางรถไฟอยู่ตรงกลางระหว่างคลองหัวลำโพงกับถนนพระรามที่ 4 ซึ่งรางรถไฟอยู่ฝั่งโรงแรมสยามซิตี้ ตั้งแต่แยกมหาพฤฒารามมาตามถนนพระรามที่ 4 จนข้ามคลองพระโขนง (คลองแสนแสบ)จึงขนานกับแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่เมืองสมุทรปราการ ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นให้ความสำคัญในการเดินทางและขนส่งโดยใช้รถยนต์มากกว่า จึงได้ยกเลิกทางรถไฟสายนี้พร้อมกับถมคลองหัวลำโพงช่วงตั้งแต่คลองผดุงกรุงเกษมจนถึงตลาดคลองเตยทิ้ง เพื่อทำการขยายถนนถนนพระราม 4 ทำให้เขตทางของถนนพระรามที่ 4 กว้างขวางดังเช่นในปัจจุบัน และคลองหัวลำโพงบางส่วนที่ไม่ได้ถมตั้งแต่ตลาดคลองเตยไปจนถึงคลองพระโขนงปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นอยู่ แต่คนทั่วไปนิยมเรียกคลองหัวลำโพงในส่วนนี้ว่า คลองเตย ส่วนเขตทางรถไฟสายปากน้ำตั้งแต่แยกมหาพฤฒารามถึงตลาดคลองเตยเป็นส่วนของถนนพระรามที่ 4 ส่วนตั้งแต่ตลาดคลองเตยจนตัดกับถนนสุขุมวิท ถมเป็นถนนใช้ชื่อว่าถนนทางรถไฟสายเก่า", "title": "ถนนพระรามที่ 4" } ]
4077
วรรณะในอินเดียมีกี่วรรณะ?
[ { "docid": "127256#0", "text": "วรรณะ (สันสกฤต: वर्णः)ในหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู ได้แบ่งคนที่อยู่เป็น 4 วรรณะ มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปตามความสำคัญของแต่ละบุคคล เพื่อแบ่งหน้าที่ทางสังคม เรียงตั้งแต่สูงถึงต่ำคือ", "title": "วรรณะ (ศาสนาฮินดู)" } ]
[ { "docid": "476939#0", "text": "วรรณะทางสังคม, ระบบวรรณะ หรือ วรรณะ () เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมโบราณที่วิวัฒนการผ่านเวลาหลายศตวรรษและยังพบเห็นได้ในหลายส่วนของโลก วรรณะใช้อธิบายกลุ่มคนซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ แต่งงานแต่ในพวกเดียวกัน สืบทอดอาชีพกันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน และรักษาสถานะของพวกตนในลำดับชั้นทางสังคม ซึ่งมีตัวอย่างสำคัญคือระบบวรรณะในอินเดียซึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู ตามนิยามของ Haviland วรรณะเป็นการจัดช่วงชั้นในสังคม ที่แต่ละกลุ่มวรรณะถูกกำหนดแต่กำเนิดและเปลี่ยนแปลงมิได้ตลอดชีวิต แต่ละวรรณะต้องแต่งงานกันเองและลูกหลานที่เกิดขึ้นก็เป็นสมาชิกของวรรณะโดยอัตโนมัติ", "title": "วรรณะทางสังคม" }, { "docid": "127256#6", "text": "นอกจากนี้ยังมีวรรณะอื่นๆ อีก 3,000 วรรณะเกิดจากการแต่งงานของลูกของสามีภรรยาในข้อ 2 และ 3 และยังขึ้นกับการทำอาชีพของคนนั้นๆด้วย เช่น คนวรรณะพราหมณ์ ถ้าทำอาชีพแบบศูทร 7 ชั่วคน ก็จะเป็นวรรณะศูทร เป็นต้น และวรรณะสังกรยกเว้นจัณฑาลก็สามารถเข้าสู่ 4 วรรณะแรกได้ เช่น ตระกูลพราหมณ์ชายที่แต่งงานกับหญิงวรรณะนิษาทะมาแล้ว 7 ชั่วคน ลูกที่เกิดมาในรุ่นต่อมาจะมีวรรณะพราหมณ์", "title": "วรรณะ (ศาสนาฮินดู)" }, { "docid": "352472#8", "text": "และสุดท้าย แรงงานที่ต้องคอบสนับสนุนเพื่อนให้ทั้ง 3 วรรณะข้างตนทำงานได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ผู้ทำหน้าที่ใช้แรงงานหรือด้านกรรมกรนั้นคือวรรณะศูทร\nคัมภีร์อรรถศาสตร์ คัมภีร์ที่เป็นเสมือนคู่มือนักปกครองในยุคสมัยของอินเดียโบราณ เข้าใจว่าถูกเรียบเรียงโดย เกาติลยะ หรือผู้ที่สามารถยันกองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชย์ที่พยายามขยายอำนาจมาสู่อินเดียเอาไว้ได้ คัมภีร์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสนับสนุนคุณสมบัติของศาสนาพราหมณ์ 3 ประการคือ อำนาจ ธรรมมะ และกามะ ในยุคสมัยอินเดียโบราณจะให้ความสำคัญกับวรรณะพราหมณ์มากกว่าวรรณะกษัตริย์ แต่อรรถศาสตร์จะยึดการให้ความสำคัญกับประมุขของรัฐมากกว่าวรรณะพราหมณ์ แต่ก็ยังคงยอมรับว่าวรรณะพราหมณ์มีชนชั้นสูงกว่า โดยหน้าที่ของวรรณะพราหมณ์นั้นจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องศาสนาและพิธีกรรมมากกว่าการมีบทบาททางราชการของรัฐ\nพระพุทธเจ้า\nเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ จากแคว้นแห่งหนึ่งในชมพูทวีปผู้ค้นพบ(ตรัสรู้)และเผยแพร่ศาสนาพุทธที่เจริญรุ่งเรืองในอินเดียในยุคต่อมาระยะหนึ่ง โดยแก่นสำคัญของปรัชญาชาวพุทธคือการมองชีวิตและสรรพสิ่งในโลกว่าไม่เที่ยงแท้ มีความทุกข์ ไม่ใช่ของตนและมีแต่จะเสื่อมสลายไป ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นทุกสิ่งย่อมมีสาเหตุ เน้นความเป็นเหตุเป็นผล ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนอย่าพึงเชื่ออะไรโดยง่าย ศาสนาพุทธเน้นเดินทางสายกลางและการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายอีกทั้งเน้นในเรื่องของหนทางแห่งการดับทุกข์โดยเห็นว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีหลักคิดสำคัญคือ อริยสัจ 4 \nในทางปรัชญาตวามคิดทางสังคมของศาสนาพุทธ มีความคิดในการยอมรับความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกันของมนุษย์ มีความตรงกันข้ามกับระบบวรรณะของฮินดู โดยมีความคิดที่ว่ามนุษย์จะปฏิบัติอะไรจะเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเองไม่ได้ขึนอยู่กับชาติกำเนิด ศาสนาพุทธไม่เน้นถึงรูปแบบการปกครองแต่จะกล่าวถึงธรรมในการปกครองมากกว่า", "title": "ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง" }, { "docid": "43992#5", "text": "ศาสดามหาวีระมีพี่น้องร่วมพระมารดาเดียวกัน 2 องค์ คือ พระเชษฐภคินี และพระเชษฐภาดา โดยท่านมหาวีระ เป็นพระโอรสองค์สุดท้าย\nเมื่อมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา ทรงได้รับพิธียัชโญปวีตคือพิธีสวมด้ายมงคลแสดงพระองค์เป็นศาสนิกตามคติศาสนาพราหมณ์ หลังจากพระบิดาได้ทรงส่งเจ้าชายไปศึกษาลัทธิของพราหมณาจารย์หลายปี เจ้าชายทรงสนพระทัยในการศึกษาแต่ในพระทัยมีความขัดแย้งกับคำสอนของพราหมณ์ที่ว่า วรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุดในโลก ส่วนวรรณะอื่นต่ำต้อย แม้วรรณะกษัตริย์ยังต่ำกว่าวรรณะพราหมณ์ แต่แล้วพวกพราหมณ์ได้ประพฤติกาย วาจาและใจ เลวทรามไปตามทิฏฐิของลัทธินั้นๆ", "title": "ศาสนาเชน" }, { "docid": "102847#0", "text": "ชาวอารยัน หรืออินโดอารยัน เป็นชนเผ่าที่มีถิ่นกำเนิดในรุ่มแม่น้ำ อินดัส และก็ได้กระจายไปอยู่ในแถวประเทศอินเดียและเปอร์เซีย (ปัจจุบันนี้ประเทศ อิหร่าน) เป็นผู้วางรากฐานระบบวรรณะในประเทศอินเดีย ชาวอารยันเคารพบูชาเทพเจ้าหลายองค์ เช่น พระพรหม พระวิษณุ พระอิศวร และถือว่าพระอินทร์เป็นหัวหน้าของเทพเจ้าทั้งปวง", "title": "ชาวอารยัน" }, { "docid": "997439#1", "text": "“พระเจ้านันทะ” เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม แต่เบื้องหลังของพระองค์กลับเป็นเพียงบุรุษผู้มีวรรณะต่ำต้อยจนยากที่จะทำใจยอมรับให้เป็นพ่อของคนทั้งแผ่นดิน ท่ามกลางเสียงสรรเสริญเยินยอในความยิ่งใหญ่ของ “พระเจ้านันทะ” จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่ง “ราชวงศ์นันทะ” ผู้ปกครองแคว้นมคธ ดินแดนอันมั่งคั่งทางตะวันออกของอินเดีย กลับมีเสียงแห่งความสงสัย ไม่พอใจ และไม่ยอมรับในชาติกำเนิดของจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ ที่เป็นเพียงชาย “วรรณะศูทร” ชนชั้นที่ต่ำต้อยที่สุดในสังคมอินเดีย โดย เคอร์ติอุส ริวฟัส นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันได้เล่าไว้ว่า กระทั่งเมื่อพระองค์โตขึ้น ก็ได้คิดการใหญ่ ลุกขึ้นมาโค่นล้มราชบัลลังก์ของ “ราชวงศ์ศิศุนาค” ก่อนจะสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์นันทะ และปกครองแผ่นดินมคธแทน จนกระทั่งต่อมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าธนนันทะ ราชวงศ์นันทะจึงล่มสลาย ภายใต้อำนาจของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เมารยะ", "title": "พระเจ้ามหาปัทมนันทะ" }, { "docid": "28311#2", "text": "กษัตริย์ ในสังคมฮินดู ยังหมายถึงวรรณะที่ 2 จาก 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร", "title": "พระมหากษัตริย์" }, { "docid": "838595#11", "text": "ระบบวรรณะของบาหลีปรากฏอยู่ในเอกสารของชาวยุโรปช่วงศตวรรษที่ 20 แบ่งเป็นสามกลุ่มได้สามกลุ่ม คือ ตรีวังสา (เกิดสามครั้ง) ทวิชาติ (เกิดสองครั้ง) และเอกชาติ (เกิดครั้งเดียว) โดยจะสูงศักดิ์ลดหลั่นลงมาตามลำดับ ส่วนวรรณะทั้งสี่แบบอินเดียนั้นจะออกเสียงแตกต่างออกไป คือ", "title": "ศาสนาฮินดูแบบบาหลี" }, { "docid": "42096#18", "text": "พราหมณ์ คือ ผู้ทำพิธีกรรม มีหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า สั่งสอนศาสนาและประกอบพิธีกรรมแก่ประชาชนทุกวรรณะ รวมถึงมีหน้าที่ศึกษา จดจำและสืบต่อคัมภีร์พระเวท วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากปากของพระพรหม กษัตริย์ คือ กษัตริย์หรือนักรบ ทำหน้าที่ป้องกันชาติบ้านเมือง และทำศึกสงคราม วรรณะนี้เชื่อมากำเนิดมาจากหน้าอกของพระพรหม แพศย์ คือ ผู้ประกอบพาณิชกรรม เกษตรกรรม ซึ่งเป็นวรรณะของคนส่วนใหญ่ในสังคม วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากมือของพระพรหม ศูทร คือ กรรมกร วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากเท้าของพระพรหม ถ้ามีการแต่งงานข้ามวรรณะ บุตรที่เกิดมาก็จะกลายเป็น จัณฑาล (ในภาษาไทยคือ กาลกิณี) เป็นผู้อยู่นอกวรรณะซึ่งเป็นที่รังเกียจของทุกวรรณะ ส่วนในอินโดนีเซียจะไม่ค่อยเคร่งวรรณะเหมือนกับในอินเดีย หนังสือบางเล่มกล่าวว่า วรรณะพราหมณ์, กษัตริย์ และแพศย์ เป็นวรรณะของคนอารยัน คือชนผิวขาวผู้ริเริ่มศาสนา ส่วนวรรณะศูทร เป็นของคนดราวิเดียน ชนผิวดำชนพื้นเมืองเก่าของอินเดีย", "title": "ศาสนาฮินดู" }, { "docid": "127256#3", "text": "สามีวรรณะพราหมณ์ ภรรยาวรรณะกษัตริย์ จะมีลูกเป็นวรรณะมูรธาวสิกตะ สามีวรรณะพราหมณ์ ภรรยาวรรณะแพศย์ จะมีลูกเป็นวรรณะอัมพัษฐะ สามีวรรณะพราหมณ์ ภรรยาวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะนิษาทะ สามีวรรณะกษัตริย์ ภรรยาวรรณะแพศย์หรือศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะมาหิษยะ สามีวรรณะแพศย์ ภรรยาวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะกรณะ สามีวรรณะกษัตริย์ ภรรยาวรรณะจัณฑาล จะมีลูกเป็นวรรณะจัณฑาล", "title": "วรรณะ (ศาสนาฮินดู)" }, { "docid": "42096#5", "text": "ในศาสนาพราหมณ์ [4] คำว่า พราหมณ์ หมายถึง คนในวรรณะที่สูงที่สุดของสังคมอินเดีย มีหน้าที่สอนความรู้เกี่ยวกับพระเวทและทำหน้าที่ติดต่อเทพเจ้า ผู้ที่เป็นพราหมณ์เป็นโดยกำเนิด คือบุตรของพราหมณ์ก็จะมีสถานภาพเป็นพราหมณ์ด้วย", "title": "ศาสนาฮินดู" }, { "docid": "175587#25", "text": "เมื่อทั้ง ๓ พี่น้องได้มาเกิดเป็นเทวดานพเคราะห์ พระอาทิตย์จึงมีรัศมีและวรรณะเปล่งปลั่งดุจทองคำ พระจันทร์มีรัศมีและวรรณะเป็นสีขาวสว่างดุจเงิน และพระราหูมีรัศมีและวรรณะเป็นสีนิลออกไปทางทองแดง (แต่ในบางตำราก็ว่ากายของพระราหูนั้นมีสีดำบ้าง สีทองบ้าง แตกต่างกันไป)", "title": "เทวดานพเคราะห์" }, { "docid": "130015#15", "text": "มหากาพย์ทั้งหลาย ได้แก่ รามายณะและมหาภารตะ ถือกำเนิดในช่วงประมาณพุทธกาล ตอนปลายสมัยพระเวท ชาวอารยันในอินเดียอยู่กันเป็นเผ่า เลี่ยงสัตว์เร่ร่อนแต่ต่อมาเริ่มรู้จักเพาะปลูกตั้งรกราก มี การค้าขายทำให้บางเผ่ารวบรวมตั้งตนเป็นอาณาจักรใหญ่ได้ และเริ่มมีระบบวรรณะ ชัดเจน", "title": "ประวัติศาสตร์อินเดีย" }, { "docid": "127256#5", "text": "ภรรยาวรรณะพราหมณ์ สามีวรรณะกษัตริย์ จะมีลูกเป็นวรรณะสูตะ ภรรยาวรรณะพราหมณ์ สามีวรรณะแพศย์ จะมีลูกเป็นวรรณะไวเทหถะ ภรรยาวรรณะพราหมณ์ สามีวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะจัณฑาล กลุ่มนี้จะถูกเหยียดหยามจากสังคม แตะต้องไม่ได้ แม้แต่เงา ภรรยาวรรณะกษัตริย์ สามีวรรณะแพศย์ จะมีลูกเป็นวรรณะมาคระ ภรรยาวรรณะกษัตริย์ สามีวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะกษัตตฤ ภรรยาวรรณะแพศย์ สามีวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะยาโยควะ", "title": "วรรณะ (ศาสนาฮินดู)" }, { "docid": "105361#1", "text": "มดในตระกูลนี้มีการแบ่งวรรณะเป็น 6 วรรณะคือ", "title": "แมงมัน" }, { "docid": "838595#12", "text": "นักมานุษยวิทยาชาวดัตช์ได้แบ่งกลุ่มวรรณะพราหมณ์ของบาหลีออกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ ซีวา (Siwa) และบูดา (Buda) ซึ่งกลุ่มซีวาสามารถแบ่งย่อยได้อีก 5 กลุ่มย่อย ได้แก่ เกอเมอนุฮ์ (Kemenuh) เกอนีเติน (Keniten) มัซ (Mas) มานูบา (Manuba) และเปอตาปัน (Petapan) คือกลุ่มย่อยที่รองรับการสมรสระหว่างชายวรรณะสูงกับหญิงวรรณะต่ำ และนักมานุษยวิทยายังยังแบ่งวรรณะกลุ่มย่อย ๆ อีกตามเกณฑ์ลักษณะนี้ในศตวรรษที่ 19 ถึง 20 ตามการแต่งงานในกลุ่มวรรณะเดียวกัน ต่างวรรณะ หรืออาจมีปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งคล้ายคลึงกับระบบชนชั้นในอาณานิคมเม็กซิโกของสเปน และการศึกษาระบบวรรณะในอาณานิคมอินเดียของอังกฤษ", "title": "ศาสนาฮินดูแบบบาหลี" }, { "docid": "106999#0", "text": "มด เป็นแมลงในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้", "title": "มด" }, { "docid": "766866#2", "text": "ในศาสนาพราหมณ์ คำว่า พราหมณ์ หมายถึง คนในวรรณะที่สูงที่สุดของสังคมอินเดีย มีหน้าที่สอนความรู้เกี่ยวกับพระเวทและทำหน้าที่ติดต่อเทพเจ้า ผู้ที่เป็นพราหมณ์เป็นโดยกำเนิด คือบุตรของพราหมณ์ก็จะมีสถานภาพเป็นพราหมณ์ด้วย", "title": "ประวัติศาสนาฮินดู" }, { "docid": "903005#1", "text": "ต่างจากสิ่งมีชีวิตนอกโลกเชื้อสายอื่นในนิยายวิทยาศาสตร์ เอเลียนพวกนี้ไม่ใช่ \"ผู้ผลิตเครื่องมือ\" พวกมันไม่มีอารยธรรมทางเทคโนโลยีและเป็นสัตว์ประหลาดที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารโดยไม่มีเป้าหมายที่สูงกว่าการขยายพันธุ์ของพวกมัน และการทำลายล้างทุกรูปแบบอาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อพวกมัน โดยแท้จริงแล้ว มันก็ไม่มีความชัดเจนว่าเอเลียนเหล่านั้นจะมีความฉลาดปราดเปรื่องหรือไม่ เหมือนตัวต่อหรือปลวก เอเลียนมีการอยู่รวมกัน กับควีนเอเลียนเพียงหนึ่งเดียวที่เจริญพันธุ์เอเลียนวรรณะนักรบ, เอเลียนวรรณะแรงงาน หรือเอเลียนที่มีความสามารถพิเศษสายพันธุ์อื่น ๆ ส่วนวงจรชีวิตทางชีววิทยาของเอเลียนเกี่ยวข้องกับการฝังตัวหนอนปรสิตภายในร่างเจ้าของบ้าน จากนั้น เหล่าตัวอ่อน \"เชสเบิร์สเตอร์\" จะปะทุออกจากร่างกายเจ้าของบ้านหลังจากระยะฟักตัวช่วงสั้น ๆ และโตเต็มที่จากวัยเยาว์สู่วัยฉกรรจ์ภายในไม่กี่ชั่วโมง และค้นหาเจ้าของบ้านรายอื่นเพิ่มเพื่อการปลูกถ่าย", "title": "เอเลียน (สัตว์ประหลาดในแฟรนไชส์เอเลียน)" }, { "docid": "28312#1", "text": "สังคมอินเดียในสมัยฤคเวท มี \"ราชัน\" เป็นผู้ปกครองที่มาจากการเลือกตั้งภายในสภาของเผ่า ราชันมีหน้าที่ปกป้องเผ่าและสัตว์เลี้ยง มีพราหมณ์เป็นที่ปรึกษา ต่อมากลุ่มผู้ปกครองนี้ได้กลายมาเป็นชนชั้นหนึ่ง แต่ยังไม่ปรากฏเป็นวรรณะ 4", "title": "กษัตริย์" }, { "docid": "476939#1", "text": "อย่างไรก็ดี ระบบวรรณะมิได้จำเพาะแก่ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการแบ่งชั้นวรรณะปรากฏอยู่ในสังคมมุสลิม คริสเตียน ฮินดู และพุทธ และปรากฏอยู่ในทั้งสังคมอินเดียและสังคมอื่น", "title": "วรรณะทางสังคม" }, { "docid": "102526#8", "text": "ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ กล่าวถึงต้นกำเนิดของช้าง ในเรื่องการสร้างโลกว่าพระวิษณุ (พระนารายณ์) ขณะที่บรรทมอยู่ในเกษียรสมุทรทรงแสดงเทวฤทธิ์อธิษฐาน ให้มีดอกบัวผุดขึ้นจากพระนาภี 1 ดอก ดอกบัวนี้มี 8 กลีบ และมีเกสร 173 เกสร พระวิษณุได้ทรงนำดอกบัวนี้ไปถวายแด่พระศิวะ (พระอิศวร) ซึ่งพระองค์ได้ทรงแบ่งดอกบัวและเกสรดอกบัวนั้นออกเป็น 4 ส่วน และทรงแบ่งให้กับเทวะองค์อื่นๆ อีก 3 องค์ คือ ทรงเก็บไว้เอง ,ทรงแบ่งให้พระวิษณุ,ทรงแบ่งให้พระพรหม และทรงแบ่งให้พระอัคนิ (พระเพลิง) โดยองค์เทวะทั้งสี่ได้ทรงสร้างช้างขึ้นองค์ละตระกูล ดังที่ปรากฏในตำราคชลักษณ์ จึงมีช้าง 4 ตระกูล และช้างทั้ง 4 ตระกูลเหล่านี้ยังถูกแบ่งออกเป็นวรรณะ เช่นเดียวกับการแบ่งวรรณะของคนอินเดียด้วย คือ", "title": "ช้างเผือก" }, { "docid": "673#19", "text": "พระโพธิสัตว์ผู้ได้มาจุติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ ทรงเลือกตระกูลศากยโคตมวงศ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์นคร เพราะได้รับความนับถือมาก และบริสุทธิ์มา 7 รุ่นแล้ว ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้วลงมาจุติแล้วเป็นพระพุทธเจ้าก็ยากที่จะได้รับการนับถือ สาเหตุที่เลือกตระกูลกษัตริย์เพราะในช่วงเวลานั้นมีการแบ่งชนชั้นวรรณะกัน และวรรณะกษัตริย์เป็นวรรณะที่มีคนนับถือมากที่สุด จึงทรงเลือกวรรณะกษัตริย์", "title": "พระพุทธเจ้า" }, { "docid": "68628#1", "text": "พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆ ตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน", "title": "พราหมณ์" }, { "docid": "127256#1", "text": "การแต่งงานโดยที่สามีภรรยาอยู่วรรณะเดียวกัน เมื่อมีลูก ลูกก็จะอยู่ในวรรณะเดียวกับพ่อแม่ แต่หากบุคคลทั้ง 4 วรรณะนี้มีการแต่งงานข้ามวรรณะกัน จะมีวรรณะต่างกันเรียกว่าวรรณะสังกร และมีการแต่งงานประเภทต่าง ๆ ดังนี้", "title": "วรรณะ (ศาสนาฮินดู)" }, { "docid": "332197#6", "text": "พ่อของเขาได้แต่งงานใหม่ในปี ค.ศ. 1898 และย้ายไปที่เมืองบอมเบย์(หรือมุมไบในปัจจุบัน) อามเพฑกรเป็นนักเรียนในวรรณะจัณฑาลคนแรกของโรงเรียน ถึงแม้เขาจะถูกเลือกปฏิบัติ แต่ในปี ค.ศ. 1907 เขาได้รับการยอมรับให้ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยบอมเบย์ เป็นคนในวรรณะจัณฑาลคนแรกที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยในอินเดียเอง โดยมีการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ในหมู่บ้านของเขา", "title": "ภีมราว รามชี อามเพฑกร" }, { "docid": "781599#0", "text": "ในระบบวรรณะของศาสนาฮินดู จัณฑาล เป็นชนชั้นทางสังคมชนชั้นหนึ่งซึ่งจัดว่าอยู่ในชนชั้นต่ำ หมายถึงคนที่มีบิดาและมารดาเป็นคนต่างวรรณะ จึงเกิดมาไร้วรรณะและมีสถานะทางสังคมต่ำยิ่งกว่าวรรณะศูทร จัณฑาลบางคนในอินเดียกำเนิดมาจากวรรณะระดับบน ก็อาจได้รับการยอมรับจากคนในสังคมมากกว่าจัณฑาลที่กำเนิดมาจากวรรณะระดับล่าง ในปัจจุบันมีจัณฑาลหลายคนที่กำเนิดมาจากวรรณะล่าง แต่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของอินเดียได้", "title": "จัณฑาล" }, { "docid": "153120#4", "text": "เมื่อกรรณะโตขึ้นด้วยวรรณะศูทร เขาก็ไปขอเรียนวิชาการยิงธนูกับโทรณาจารย์ซึ่งก็ถูกปฏิเสธเพราะโทรณาจารย์ต้องการสอนเฉพาะบุคคลวรรณะกษัตริย์เท่านั้น แต่กรรณะก็ไม่ลดละความพยายาม จึงไปตามหาภควาจารย์หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ฤๅษีปรศุราม นั่นเอง (ฤๅษีปรศุรามนั้นเปรียบเสมือนยอดธนูในสมัยนั้นเลยก็ว่าได้และเกลียดวรรณะกษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง) โดยกรรณะโกหกกับฤๅษีปรศุรามว่าตนเป็นคนชนชั้นวรรณะพราหมณ์ ฤๅษีปรศุรามจึงสอนกรรณะเสมือนเป็นลูกตนเอง แต่วันหนึ่งความลับก็เผยออกมาเพราะฤๅษีปรศุรามได้นอนบนตักของกรรณะ แล้วเผอิญมีแมลงตัวหนึ่งทั้งกัด ทั้งเจาะด้วยนอที่แหลมคมของมันเข้าที่หน้าขาของกรรณะ กรรณะไม่อยากให้ฤๅษีปรศุรามที่ตนรักและเคารพเหมือนบิดาต้องตื่นขึ้นจึงทนความเจ็บปวดไว้ได้ แต่เลือดของกรรณะกลับกระเด็นเข้าที่ใบหน้าของฤๅษีปรศุราม ฤๅษีปรศุรามตื่นขึ้นและรู้ว่ากรรณะเป็นคนวรรณะกษัตริย์ (เพราะกษัตริย์ทนความเจ็บปวดได้ดีกว่าวรรณะพราหมณ์เป็นอย่างมาก) จึงโมโหมากและสาปแช่งให้กรรณะลืมวิชาที่ตนสอนมาในเวลาที่กรรณะต้องการใช้วิชานั้นมากที่สุด", "title": "กรรณะ" }, { "docid": "28312#0", "text": "กษัตริย์ ( \"กฺษตฺริย\"; \"ขตฺติย\"; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร). จัดเป็นวรรณะของชนชั้นสูงที่มีหน้าที่ปกครองประเทศและเป็นนักรบในภาวะสงคราม", "title": "กษัตริย์" } ]
4079
พระเจ้าอลองพญา สิ้นพระชนม์จากอะไร ?
[ { "docid": "51126#0", "text": "พระเจ้าอลองพญา หรือ พระเจ้าอลองพญารี (English: Alaungpaya, Burmese: အလောင်းမင်းတရား พระนามของพระองค์ออกสำเนียงเป็นภาษาพม่าว่า \"อลองเมงตะยาจี\" หรือ \"อลองพะ\" มีความหมายว่า \"พระโพธิสัตว์\"; สิงหาคม ค.ศ. 1714 — 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1752 ถึง 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760 รวมได้ 8 ปี 51 วัน เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบอง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่าพระองค์กำเนิดเป็นสามัญชน โดยเป็นผู้นำหมู่บ้านแถบพม่าตอนบน สามารถรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นปราบปราม มณีปุระ กอบกู้ ล้านนา คืนจากอยุธยาและขับชาวอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งให้การสนับสนุนราชอาณาจักรหงสาวดีฟื้นฟูของชาวมอญพระองค์ก่อตั้งเมืองย่างกุ้งในปี ค.ศ. 1755 สวรรคตจากพระอาการประชวรระหว่างการบุกอาณาจักรอยุธยา", "title": "พระเจ้าอลองพญา" } ]
[ { "docid": "51126#8", "text": "ราชวงศ์อลองพญา โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์วีระ ธีรภัทร (เมษายนพ.ศ. 2544)", "title": "พระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "372893#32", "text": "พระเจ้าอลองพญาสวรรคตเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2303 ใกล้กับกรุงศรีอยุธยา หลังจากถูกเร่งรุดนำพระองค์มาอย่างรวดเร็วโดยทัพหน้า และจากการสวรรคตนี้เองสงครามครั้งนี้จึงสิ้นสุดลง", "title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "903486#4", "text": "การบุกขึ้นเหนือที่ล้มเหลวของพระองค์ทำให้จากที่เป็นฝ่ายรุก ต้องตกเป็นฝ่ายป้องกันการรุกรานจากกองทัพโกนบอง กระทั่งต่อมาพระเจ้าอลองพญาสามารถเข้ายึดดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีได้สำเร็จ เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1755 และยึดท่าเรือของฝรั่งเศส ที่เมืองตานลยีน ได้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1756 และสุดท้ายยึดหงสาวดีได้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1757 พญาทะละและเชื้อพระวงศ์ถูกจับคุมขังที่มุกโชโบ พระองค์ถูกคุมขังนานถึง 17 ปี จนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1774 พระเจ้ามังระพระราชโอรสพระองค์ที่สองของพระเจ้าอลองพญา รับสั่งประหารชีวิตพญาทะละต่อหน้าสาธารณชนหลังเกิดเหตุการณ์กบฏมอญในปี ค.ศ. 1773 เนื่องจากเข้าใจว่าพระองค์สนับสนุนให้มีการเกิดกบฏ", "title": "พญาทะละ" }, { "docid": "907029#0", "text": "พระนางยุนซาน ( ; 1713–1771) พระอัครมเหสีใน พระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์โกนบอง และเป็นพระราชมารดาของกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลองพญาถึง 3 พระองค์คือ พระเจ้ามังลอก กษัตริย์องค์ที่ 2 , พระเจ้ามังระ กษัตริย์องค์ที่ 3 และ พระเจ้าปดุง กษัตริย์องค์ที่ 6 พระนางเป็นที่รู้จักจากการเข้ามายุติความขัดแย้งของพระราชโอรสองค์ใหญ่ 2 พระองค์คือ มังลอก และ มังระ ภายหลังจากพระเจ้าอลองพญาสวรรคตใน ค.ศ. 1760 ทำให้มังลอกได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าอลองพญา พระนางยุนซานสวรรคตในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1771 ในรัชสมัยพระเจ้ามังระ", "title": "พระนางยูนซาน" }, { "docid": "373494#0", "text": "มังฆ้องนรธา ( ; ประมาณ ค.ศ. 1714 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1760) เป็นแม่ทัพแห่งกองทัพพม่าแห่งราชวงศ์คองบองสมัยพระเจ้าอลองพญา เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้คุมทหารกองหลังในสงครามพระเจ้าอลองพญา ขณะที่กองทัพพม่าเร่งรุดเดินทางเพื่อนำพระบรมศพพระเจ้าอลองพญากลับประเทศ แม่ทัพคนดังกล่าว ซึ่งได้รับความเคารพนับถือจากทหารใต้บังคับบัญชา ได้ก่อกบฏต่อพระเจ้ามังลอก พระมหากษัตริย์พระองค์ถัดจากพระเจ้าอลองพญา เชื่อกันว่าถูกประหารชีวิตโดยพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ผู้ซึ่งมีประวัติปฏิปักษ์ต่อกันมานาน แม่ทัพกบฏผู้นี้ได้ยึดอังวะได้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1760 และสามารถต้านทานการล้อมได้นานกว่าห้าเดือน ถูกสังหารโดยกระสุนปืนคาบศิลาขณะกำลังหลบหนีออกจากเมืองในเดือนธันวาคม พระเจ้ามังลอกซึ่งทรงสำนึกผิดมีบันทึกไว้ว่าได้ทรงเศร้าโศกกับข่าวการเสียชีวิตของศัตรูและเพื่อนผู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระราชบิดา", "title": "มังฆ้องนรธา" }, { "docid": "42753#9", "text": "ในปี พ.ศ. 2297 พระเจ้าอลองพญาสามารถปราบปรามเมืองพม่าและเมืองมอญได้สำเร็จ พระองค์จึงให้เตรียมกองทัพเพื่อยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2302 จนเมื่อพม่ายกทัพเข้ามาใกล้พระนคร บรรดาขุนนางราษฎรทั้งหลายจึงพากันไปกราบทูลวิงวอนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรให้ลาพระผนวชออกมาเพื่อช่วยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศป้องกันพระนครศรีอยุธยา โดยสัญญาว่าหากรบพม่าชนะจะให้พระเจ้าอุทุมพรกลับมาเป็นกษัตริย์[21] โดยการปรับปรุงการตั้งรับข้าศึกจนพม่าไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ ต้องยอมเลิกทัพกลับไป เพราะพระเจ้าอลองพญาทรงประชวรแล้วสวรรคตระหว่างทาง[22] ในตอนแรกไทยไม่รู้ว่าพระเจ้าอลองพญาทรงประชวร และคิดว่าอาจเป็นกลอุบายเลิกทัพ ครั้นรู้ว่าเลิกทัพกลับไปแน่ พระเจ้าอุทุมพรจึงมีรับสั่งให้พระยายมราชกับพระยาสีหราชเดโชยกทัพไปติดตามพม่า ตามไปถึงเมืองตากก็ไม่ทันข้าศึก จึงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์อันใดก็เลิกตาม[23]", "title": "สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร" }, { "docid": "70298#6", "text": "และภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง ราชวงศ์ตองอูก็ยังได้สืบราชสมบัติต่อมา แต่ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เข้มแข็งพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกอบกู้อาณาจักรขึ้นมา แม้นจะมีความพยายามจากพระเจ้าอโนเพตลุน ราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันว่า \"ยุคนยองยาน\" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้ว มอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา", "title": "ราชวงศ์ตองอู" }, { "docid": "51126#5", "text": "พระเจ้าอลองพญาเสด็จสวรรคตระหว่างทางกลับจากการทำสงครามกับอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ซึ่งก่อนจะมาสงคราม พระองค์ส่งพระราชสาสน์ถึงสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ แจ้งเหตุสงครามครั้งนี้ โดยอ้างสิทธิของพม่าเหนืออยุธยาแต่ครั้งพระเจ้าบุเรงนอง และอ้างว่าพระองค์เป็นพระเจ้าช้างเผือก หรือพระเจ้าจักรพรรดิ ตามพงศาวดารไทยระบุว่าสวรรคตเพราะปืนใหญ่แตกที่วัดหน้าพระเมรุ แต่ทางพงศาวดารพม่าระบุว่าสวรรคตเพราะประชวร", "title": "พระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "372893#20", "text": "ฝ่ายพม่าเองก็ได้เตรียมระดมพลกองทัพรุกราน โดยเริ่มจากการเฉลิมฉลองปีใหม่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2302 โดยรวบรวมทหารจากพม่าตอนบนทั้งหมด รวมทั้งจากรัฐฉานและมณีปุระที่อยู่ทางเหนือซึ่งเพิ่งจะถูกยึดครองไปเมื่อไม่นานมานี้ด้วย จนถึงปลายปี พ.ศ. 2302 พระเจ้าอลองพญาทรงสามารถระดมพลได้มากถึง 40 กรมทหาร (ทหารราบ 40,000 นาย และทหารม้า 3,000 นาย) ที่ย่างกุ้ง ซึ่งจากทหารม้าทั้งหมด 3,000 นายนี้ เป็นทหารม้ามณีปุระเสีย 2,000 นาย ซึ่งเพิ่งจะถูกจัดเข้าสู่ราชการของพระเจ้าอลองพญาหลังจากมณีปุระถูกพม่ายึดครองเมื่อปี พ.ศ. 2301[6][27]", "title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "372893#15", "text": "แต่นักประวัติศาสตร์พม่า หม่อง ทินอ่อง กล่าวว่าวิเคราะห์ของพวกเขานั้นบรรยายไม่หมดถึงความกังวลที่แท้จริงของพระเจ้าอลองพญาที่ว่าอำนาจของพระองค์นั้นเพิ่งจะเริ่มสถาปนาขึ้น และพระราชอำนาจในพม่าตอนล่างนั้นยังไม่มั่นคง และพระเจ้าอลองพญาไม่ทรงเคยรุกรานรัฐยะไข่ เนื่องจากชาวยะไข่ไม่เคยแสดงความเป็นปรปักษ์ และเมืองตานด่วยในรัฐยะไข่ตอนใต้ได้เคยถวายเครื่องราชบรรณาการในปี พ.ศ. 2298[10] ถั่น มินอู ยังได้ชี้ให้เห็นว่านโยบายที่มีมาอย่างยาวนานของอยุธยาในการรักษารัฐกันชนกับพม่าศัตรูเก่า ได้กินเวลามาจนถึงสมัยใหม่ซึ่งครอบครัวของชาวพม่าผู้ต่อต้านรัฐบาลได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทย และกองทัพต่อต้านรัฐบาลยังสามารถซื้ออาวุธ เครื่องกระสุน และยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย[25]", "title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "856497#1", "text": "ราชวงศ์ใหม่ที่เรียก ราชวงศ์คองบอง นำโดย พระเจ้าอลองพญา เรืองอำนาจในพม่าตอนบน และท้าทายต่อกองทัพทางใต้ หลังจากการรุกรานภาคเหนือของหงสาวดีพ่ายแพ้ใน พ.ศ. 2297 หงสาวดีได้ประหารเชื้อพระวงศ์อังวะทั้งหมด และแสดงความเป็นชนทางใต้ต่อต้านอลองพญา ใน พ.ศ. 2298 อลองพญารุกรานพม่าตอนล่าง เข้ายึดที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ท่าเรือของฝรั่งเศสที่สิเรียม และยึดพะโคได้ในที่สุดเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2300 ", "title": "อาณาจักรหงสาวดีใหม่" }, { "docid": "372893#13", "text": "พระเจ้าอลองพญาทรงกังวลกับกบฏมอญที่หลั่งไหลเข้าไปสู่ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยาอย่างไม่ขาดสาย โดยทรงเชื่อว่าพวกมอญมักจะเตรียมวางแผนก่อกบฏและพยายามชิงเอาพม่าตอนล่างกลับคืนไปเป็นของตน[19] ความกังวลของพระองค์นั้นถูกพิสูจน์แล้วว่าสมเหตุสมผล มอญได้ก่อกบฏขึ้นหลายครั้งในปี พ.ศ. 2301, 2305, 2317, 2326, 2335 และ 2367-69 ซึ่งการกบฏแต่ละครั้งที่ล้มเหลวนั้นจะตามมาด้วยการหลบหนีของมอญเข้าไปยังอาณาจักรของไทย[21] พระเจ้าอลองพญาทรงเรียกร้องให้อยุธยาหยุดให้การสนับสนุนต่อกบฏมอญ ยอมส่งตัวผู้นำมอญ และยุติการส่งกำลังรุกล้ำเข้าไปทางตอนเหนือของตะนาวศรี ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นดินแดนของพม่า พระมหากษัตริย์อยุธยา พระเจ้าเอกทัศ ปฏิเสธข้อเรียกร้องของพม่า และเตรียมพร้อมทำสงคราม[10]", "title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "372893#0", "text": "สงครามพระเจ้าอลองพญา เป็นชื่อเรียกความขัดแย้งทางทหารครั้งแรกระหว่างอาณาจักรโกนบองแห่งพม่า กับอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง สงครามครั้งนี้เป็นการจุดชนวนการสงครามนานหลายศตวรรษระหว่างทั้งสองรัฐขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะกินเวลานานไปอีกหนึ่งศตวรรษข้างหน้า ฝ่ายพม่านั้นอยู่ที่ \"ขอบแห่งชัยชนะ\" แล้วเมื่อจำต้องถอนกำลังจากการล้อมอยุธยา เนื่องจากพระเจ้าอลองพญาถูกระเบิดปืนใหญ่สิ้นพระชนม์[6] พระองค์สวรรคตและทำให้สงครามครั้งนี้ยุติลง", "title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "963441#1", "text": "เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองย่างกุ้งโดยพระเจ้าอลองพญาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1757 ซึ่งพระเจ้าอลองพญาโปรดเกล้าให้ยกฐานะอดีตหมู่บ้านของ ตะโกง ที่พระองค์ได้เข้ายึดครองเมื่อสองปีก่อนหน้าขึ้นเป็นเมืองท่าหลักของอาณาจักรพระองค์", "title": "เนเมียวนรธา" }, { "docid": "43492#3", "text": "พระองค์ทรงเป็นผู้ที่เคยติดตามพระบิดาคือ พระเจ้าอลองพญา มาทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาโดยพงศาวดารพม่าได้กล่าวถึงพระเจ้ามังระว่าเป็นผู้เตือนพระบิดาถึงความยากลำบากในการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาที่มีปราการธรรมชาติยิ่งใหญ่ขนาดนี้ หากจะอาศัยแต่กำลังพลแลเสบียงอาหารเท่าที่มีอยู่นั้น เห็นจะไม่สามารถปิดล้อมสายส่งกำลังบำรุงทั้งทางเหนือและใต้ของกรุงศรีอยุธยาได้หมด และหากยุทธปัจจัยของกรุงศรียังบริบูรณ์เราจะไม่มีทางทำอะไรกรุงศรีอยุธยาได้เลย ควรยกทัพกลับไปวางแผนใหม่จะดีกว่า แต่พระเจ้าอลองพญาเชื่อมั่นในความสามารถของพระองค์จึงได้ทำการรบพุ่งต่อสุดท้ายการณ์ก็เป็นอย่างที่พระเจ้ามังระตรัสไว้ แม้พระเจ้าอลองพญาจะพยายามอย่างมาก แต่ก็ไม่สามารถหาทางข้ามแม่น้ำเข้ากรุงศรีอยุธยาได้ ด้วยครั้งนั้นอยุธยายังเพรียบพร้อมไปด้วยอาวุธและกำลังพล อีกทั้งสายส่งกำลังบำรุงจากทางเหนือและใต้ก็ยังสามารถส่งอาหารและกระสุนดินดำเข้าสู่พระนครได้อยู่ แลครั้งนั้นกรุงศรียังได้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรออกบัญชาการรบด้วยพระองค์เองสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ทั้งทหารและประชาชนในพระนครเป็นอันมาก จนพระเจ้าอลองพญาต้องมาสิ้นพระชนด้วยกระสุนปืนใหญ่แตกใส่(พงศาวดารฝ่ายไทย) หรือหากอิงตามพงศาวดารพม่าก็จะระบุว่าสวรรคตเพราะประชวร", "title": "พระเจ้ามังระ" }, { "docid": "43492#0", "text": "พระเจ้ามังระ หรือ พระเจ้าซินพะยูชิน (;‌ ) เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในจำนวน 6 พระองค์ของพระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์อลองพญาหรือราชวงศ์คองบอง ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์อลองพญา ในปี พ.ศ. 2306 พระองค์ได้ตามเสด็จพระเจ้าอลองพญาออกรบตั้งแต่อายุ15ปี เมื่ออายุ17ปี ก็สามารถเป็นผู้นำทัพเข้ายึดกรุงอังวะจากทหารมอญทั้งที่มีกำลังพลน้อยกว่ามากได้อย่างน่าประหลาดใจ ครั้นอายุ20 ก็ช่วยพระเจ้าอลองพญารวมแผ่นดินสถาปนาราชวงค์คองบองได้สำเร็จ อีกทั้งยังได้เป็นผู้ติดตามพระราชบิดามาทำสงครามกับอยุธยาในการบุกครั้งแรกด้วย โดยในพงศาวดารของฝั่งพม่าได้กล่าวถึงราชบุตรมังระว่า เป็นผู้เตือนพระบิดาคือพระเจ้าอลองพญาว่า การบุกคราวนี้ยังไม่พร้อมพอที่จะเอาชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยาที่มีปราการธรรมชาติระดับนี้ได้ ซึ่งการณ์ก็เป็นไปดังนั้น และพระองค์ยังต้องเสียพระราชบิดาไปในศึกคราวนี้ด้วย \nต่อมาในปี พ.ศ. 2306 หลังจากขึ้นครองราชย์ พระองค์ปรารภในที่ประชุมขุนนางว่า \"\"อยุธยาไม่เคยแพ้อย่างราบคาบมาก่อน\"\" พระองค์สืบทอดเจตนารมณ์ของพระราชบิดา ด้วยการส่งเนเมียวสีหบดีเข้ามากวาดต้อนผู้คนและกำลังพลจากหัวเมืองทางเหนือก่อนในปี พ.ศ. 2307 และได้ส่งทัพจากทางใต้คือมังมหานรธาเข้ามาเสริมช่วยอีกทัพหนึ่ง ทั้ง 2 ทัพได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง 1 ปีกับสองเดือน แม้ถึงฤดูน้ำหลากก็ไม่ยกทัพกลับ สามารถเข้าตีพระนครได้เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ตรงกับวันอังคาร ขึ้นเก้าค่ำ เดือนห้า ปีกุน ", "title": "พระเจ้ามังระ" }, { "docid": "372893#30", "text": "ตามข้อมูลฝ่ายสยามพระเจ้าอลองพญาทรงเคืองพระทัยที่กองทัพพม่ายึดอยุธยาช้ากว่าที่กำหนดพระองค์จึงทรงนำขบวนไปสังเกตการรบที่แนวหน้าและได้สิ้นพระชนม์จากแรงระเบิดจากปืนใหญ่ซึ่งทรงขึ้นบัญชาการยิงเข้าพระนครด้วยพระองค์เอง[10] หรือจากวัณโรคต่อมน้ำเหลือง[6] แต่พงศาวดารพม่าระบุอย่างชัดเจนว่าพระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคบิด ไม่มีเหตุอันใดที่พงศาวดารพม่าจะปกปิดความจริง เนื่องจากจะเป็นการสมพระเกียรติของพระมหากษัตริย์มากกว่าที่จะสวรรคตจากบาดแผลในการรบมากกว่าสวรรคตด้วยอาการเจ็บป่วยธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้น หากพระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บต่อหน้าทหารทั้งกองทัพ ข้อเท็จจริงนี้ก็จะเป็นที่ที่ทราบไปทั้งกองทัพ และก่อให้เกิดความสับสน[10]", "title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "372893#33", "text": "หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าอลองพญา พระมหากษัตริย์พม่าพระองค์ใหม่ พระเจ้ามังลอก ทรงต้องเผชิญกับการกบฏหลายครั้ง รวมทั้งการกบฏของแม่ทัพมังฆ้องนรธาด้วย และสงครามไม่สามารถดำเนินตอ่ไปได้", "title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "34007#6", "text": "อีกครั้งหนึ่งคือ ราวปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญา (ภายหลังนับเป็นมหาราชองค์ที่ 3 ของพม่า) ได้ยกทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา และตั้งทัพหลวงไว้ตรงทุ่งพระเมรุ พระเจ้าอลองพญาได้ทรงบัญชาการศึกและทรงสั่งการให้นำปืนใหญ่เข้ามาตั้งในเขตวัดหน้าพระเมรุ และให้จุดไฟยิงปืนใหญ่ข้ามไปยังพระราชวังหลวงฝั่งตรงข้าม ปรากฏว่าเกิดเหตุลูกปืนอุดทำให้ปืนใหญ่ระเบิดแตกออก ต้องพระวรกายของพระเจ้าอลองพญาจนสาหัส จนต้องถอยทัพและสิ้นพระชนม์เมื่อถอยยังไม่พ้นเมืองตาก เป็นอันยุติการรุกรานกรุงศรีอยุธยาไปอีกครั้งหนึ่ง เหตุการณ์พระเจ้าอลองพญาบาดเจ็บจนต้องถอยทัพและสิ้นพระชนม์นี้เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์กรุงศรีอยุธยาฯ เสียเอกราชครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นในภายหลัง (ในปี พ.ศ. 2310)[10]", "title": "วัดหน้าพระเมรุ" }, { "docid": "372893#22", "text": "พระเจ้าอลองพญาทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เอง โดยมีพระราชบุตรองค์ที่สอง เจ้าชายมังระ เป็นรองแม่ทัพใหญ่ ส่วนเจ้าชายมังลอก พระราชบุตรองค์โต พระองค์ทรงให้บริหารประเทศต่อไป ส่วนพระราชโอรสที่เหลือนั้นนำทหารราวหนึ่งกองพันทั้งสองพระองค์[28] นอกจากนี้ที่ติดตามกองทัพไปด้วยนั้นยังมีแม่ทัพยอดฝีมือ ซึ่งรวมไปถึงมังฆ้องนรธา ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทางทหารอย่างมาก บางคนในราชสำนักสนับสนุนให้เขาผู้นี้อยู่ข้างหลังและมังระนำปฏิบัติการแทน แต่พระเจ้าอลองพญาทรงปฏิเสธ[29]", "title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "55044#0", "text": "พระเจ้าปดุง () เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์อลองพญา (หรือเป็นองค์ที่ 6 หากนับรวมพระเจ้าหม่องหม่องด้วย) ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า เป็นพระโอรสลำดับที่ 5 ใน 6 พระองค์ของพระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2325 ปีเดียวกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าปดุง เมื่อทรงครองราชย์มีพระนามว่า \"ปโดงเมง\" หมายถึง \"พระราชาจากเมืองปโดง\" แต่มีพระนามที่เป็นที่เรียกขานในพม่าภายหลังว่า \"โบดอพญา\" () แปลว่า \"เสด็จปู่ \" ", "title": "พระเจ้าปดุง" }, { "docid": "927459#1", "text": "พระเจ้าโม่ญี่นตะโดสวรรคตเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1439 ที่ อังวะ ขณะพระชนมายุได้ 59 พรรษาโดย พระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์อลองพญา ได้อ้างว่าพระองค์สืบเชื้อสายจากพระเจ้าโม่ญี่นตะโด", "title": "พระเจ้าโมญีนตะโด" }, { "docid": "279386#0", "text": "พระนางศุภยาลัต (; \"ซุพะยาละ\") ประสูติ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระราชินีพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญา ประสูติแด่พระเจ้ามินดง กับพระนางชินพยูมาชิน (Hsinbyumashin ; นางพญาช้างขาว หรือที่รู้จักกันในนามพระนางอเลนันดอ) ด้วยความทะเยอทะยานของพระนางศุภยาลัต พระนางจึงได้เป็นพระราชินีในพระเจ้าธีบอพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งพม่า", "title": "พระนางศุภยาลัต" }, { "docid": "372893#14", "text": "ขณะที่นักประวัติศาสตร์มีความเห็นโดยทั่วไปว่าการสนับสนุนของอยุธยาต่อกบฏมอญ และการปล้นสะดมข้ามพรมแดนของมอญนั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุของสงคราม แต่ยังไม่มีข้อสรุปถึงแรงจูงใจที่ลึกลับกว่านั้น นักประวัติศาสตร์พม่าสมัยอาณานิคมอังกฤษบางคนลงความเห็นว่าสาเหตุที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น และได้เสนอว่าสาเหตุหลักของสงคราม คือ ความปรารถนาของพระเจ้าอลองพญาที่จะฟื้นฟูจักรวรรดิของพระเจ้าบุเรงนองขึ้นอีกครั้ง ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมถึงอาณาจักรอยุธยาด้วย[22][23] เดวิด ไวอัท นักประวัติศาสตร์ไทย ยอมรับว่าพระเจ้าอลองพญาอาจทรงกลัวการสนับสนุนการฟื้นฟูอาณาจักรหงสาวดีของอยุธยา แต่ได้เสริมว่าพระเจ้าอลองพญานั้นชัดเจนว่าออกจะเป็นชาวชนบทดิบซึ่งมีประสบการณ์ทางการทูตน้อยมาก จึงได้เพียงสานต่อสิ่งต่อพระองค์ได้ทรงแสดงออกมาให้เห็นแล้วว่าพระองค์ทำได้ดีที่สุด ซึ่งก็คือการนำกองทัพไปสู่สงคราม[24]", "title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "71690#0", "text": "พระเจ้ามังลอก () เป็นพระโอรสพระองค์โตของพระเจ้าอลองพญา ในบรรดาพระโอรส 6 พระองค์ ขึ้นครองราชย์เนื่องจากทรงเป็น \"เองเชเมง\" หรือ อุปราชวังหน้า ซึ่งเมื่อการสวรรคตของพระเจ้าอลองพญา ในสมัยของพระองค์ได้เกิดการกบฏครั้งสำคัญคือมังฆ้องนรธาขุนพลคู่บารมีของพระเจ้าอลองพญา รวมไปถึงการแก่งแย่งอำนาจจากเจ้านายฝ่ายพม่าด้วยกันเอง ทำให้ตลอดรัชสมัยของพระองค์ต้องทำการปราบกบฎอยู่หลายครั้ง แต่ด้วยอุปนิสัยที่มีเมตตาของพระองค์ จึงทำเพียงขับไล่ หรือคุมขังผู้ทำผิดเสียเป็นส่วนมาก แต่ไม่ประหารชีวิตบางครั้งก็ถึงกับอภัยโทษให้ผู้ทำผิดอยู่บ่อยๆ", "title": "พระเจ้ามังลอก" }, { "docid": "141158#10", "text": "ปัจจุบัน ทางพม่ายกย่องพระเจ้าอโนรธามังช่อ เป็น 1 ใน 3 กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งพม่า ซึ่งประกอบด้วย พระองค์, พระเจ้าบุเรงนอง แห่งราชวงศ์ตองอู และ พระเจ้าอลองพญา แห่งราชวงศ์อลองพญา และมีการอ้างอิงถึงพระองค์ในภาพยนตร์สัญชาติพม่า ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับวีรกรรมของพระเจ้าจานสิตา ในชื่อเรื่อง \"Kyansit Min\"", "title": "พระเจ้าอโนรธามังช่อ" }, { "docid": "2358#16", "text": "พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงยกทัพรุกรานอาณาจักรอยุธยา หลังจากอยุธยาว่างเว้นศึกภายนอกมานานกว่า 150 ปี จะมีก็เพียงการนำไพร่พลเข้าต่อตีกันเองเพื่อแย่งชิงอำนาจเท่านั้น[17] ซึ่งในขณะนั้น อยุธยาเกิดการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเจ้าฟ้าเอกทัศกับเจ้าฟ้าอุทุมพร อย่างไรก็ดี พระเจ้าอลองพญาไม่อาจหักเอากรุงศรีอยุธยาได้ในการทัพครั้งนั้น", "title": "อาณาจักรอยุธยา" }, { "docid": "372893#31", "text": "แม่ทัพระดับสูงของพม่าเก็บความลับที่ว่าพระเจ้าอลองพญาทรงสิ้นพระชนม์เป็นความลับและสั่งให้มีการถอยทัพทั้งหมด พม่าได้ปกปิดข้อเท็จจริงตรงนี้ไว้โดยอ้างเหตุผลว่าพระมหากษัตริย์นั้นทรงพระประชวรสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอลองพญาทรงเลือกพระสหายขณะยังทรงพระเยาว์ มังฆ้องนรธา รับเกียรติบังคับบัญชาทหารกองหลัง ทหารเหล่านี้เป็น \"ทหารชั้นเลิศของกองทัพ\" ประกอบด้วยทหารราบ 6,000 นาย และทหารม้า 500 นาย โดยทุกนายมีปืนคาบศิลาเป็นอาวุธ มังฆ้องนรธาขยายทหารกองหลังออกเป็นแถวยาวแล้วเฝ้าคอย เป็นเวลาสองวันก่อนที่ฝ่ายอยุธยาจะรู้ว่าทัพหลวงพม่าได้ยกกลับไปแล้ว จากนั้นทัพหลวงของอยุธยาได้ยกออกมาจากกรุง ทหารของเขาเฝ้ามองขณะที่ข้าศึกเข้ามาใกล้พวกเขา และกลัวว่าจะถูกตัดขาดจากส่วนที่เหลือของกองทัพ พวกเขาร้องขอแม่ทัพให้ถอยกลับไปเล็กน้อย แต่มังฆ้องนรธากล่าว่า \"สหาย ความปลอดภัยของพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในการรักษาของพวกเรา ขอพวกเราอย่าถอย ด้วยเสียงของปืนจะไปรบกวนการบรรทมของพระองค์ท่าน\" ภายใต้การนำของเขา กองทัพพม่าจึงล่าถอยได้เป็นระเบียบเรียบร้อยดี และสามารถรวบรวมผู้พลัดหลงกับกองทัพได้ตลอดทาง[10][11]", "title": "สงครามพระเจ้าอลองพญา" }, { "docid": "51126#6", "text": "พระเจ้าอลองพญาทรงครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 1752 ถึง ค.ศ. 1760[1]", "title": "พระเจ้าอลองพญา" } ]
4081
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยคืออะไร?
[ { "docid": "9097#0", "text": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[1] (/พระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม/[2]) หรือ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด<b data-parsoid='{\"dsr\":[1544,1563,3,3]}'>ราชวรมหาวิหาร[3] และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551[4] และวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ", "title": "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" } ]
[ { "docid": "1847#23", "text": "ตามการจัด อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จาก สกอ. ในปี 2549 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับการจัดอันดับที่โดดเด่น ดังนี้ อันดับ 5 ในประเทศไทยในด้านการเกษตร - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อันดับ 5 ในประเทศไทยในด้านการเรียนการสอน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล" }, { "docid": "191454#8", "text": "องค์กร, หน่วยงานราชการ\nกองทัพบก, กองทัพอากาศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงพลังงาน, สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง, กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, กรมสุขภาพจิต, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรมประชาสัมพันธ์, สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, สถาบันดำรงราชานุภาพ, วิทยาลัยปกครอง, สถาบันการประชาสัมพันธ์, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่, สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, การเคหะแห่งชาติ, สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.), การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร, สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ, การไฟฟ้าแห่งผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้านครหลวง, องค์การเภสัชกรรม, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ศูนย์อาเซียนศึกษา, สภากาชาดไทย \nองค์กร, หน่วยงานเอกชน\nกลุ่ม ปตท., บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน), บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด, บริษัท สยามไวเนอรี่ จำกัด, Asia Business Connect Asia Business Forum Asia Dyna Forum (ADF), Business & Manufacturing Network Media (BMN), The Executive Alliance, สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย, สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย, สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย, สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย, สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย, สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย, ชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารไทย \nสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย\nจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มหาวิทยาลัยเกริก, มหาวิทยาลัยรังสิต", "title": "พจน์ ใจชาญสุขกิจ" }, { "docid": "357161#0", "text": "การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 50 มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เข้าร่วมแต่เสนอว่าไม่ต้องการอยู่ในอันดับ และมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้ร่วมด้วยเนื่องจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยแจ้งว่ายังไม่ให้ข้อมูลในปีนั้น", "title": "อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา" }, { "docid": "86785#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย () เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "5114#154", "text": "กีฬาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2541 กีฬาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 \"ราชมงคลเกมส์\" ประจำปีการศึกษา 2540 แข่งขันระหว่างวันที่ 24 – 31 มกราคม 2541 ณ สนามกีฬาวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2548 จัดกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 (สุรนารีเกมส์) จัดการแข่งขันวันที่ 8- 15 มกราคม พ.ศ. 2548 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2557 จัดกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30 “อีสานเกมส์” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ 2557 พ.ศ. 2560 จัดกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 44 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ระหว่างวันที่ 21กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2560", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "295825#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 39 เป็นการแข่งกีฬาของนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 1-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (เดิมกำหนดจัดระหว่างวันที่ 14-24 มกราคม แต่ด้วยอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคกลาง ทำให้มหาวิทยาลัยและ กกมท. ตัดสินใจเลื่อนการจัดการแข่งขัน) ในครั้งนี้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเจ้าภาพ โดยเป็นครั้งที่สองที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ แต่เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยใช้วิทยาเขตหาดใหญ่เป็นศูนย์แข่งขันหลัก", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 39" }, { "docid": "12121#12", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\" โดยในภาพรวมด้านการวิจัยนั้น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 26 ของประเทศไทย และภาพรวมในด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 12 ของประเทศ", "title": "มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง" }, { "docid": "5353#18", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\" โดยในภาพรวมด้านการวิจัยนั้น มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเยี่ยมและเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 9 ของประเทศไทย", "title": "มหาวิทยาลัยนเรศวร" }, { "docid": "560194#1", "text": "เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬาและได้รับเชิญให้เป็นกรรมการกีฬาระดับชาติและนานาชาติหลายครั้ง และมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในด้านต่าง ๆ ทั้งสนามการแข่งขัน การคมนาคม การบริการ อาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกภายในมหาวิทยาลัย สถานที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่และนักกีฬา ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยมีมติให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 การรับเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ครั้งที่ 2 ของวิทยาเขตกำแพงแสน ก่อนหน้านี้ซึ่งเคยรับเป็นเจ้าภาพมาก่อนแล้วในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20(พ.ศ. 2536) ณ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และครั้งที่ 26 (พ.ศ. 2542) ณ วิทยาเขตกำแพงแสน", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42" }, { "docid": "28864#2", "text": "สำหรับในต่างประเทศได้มีการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกจากทั้ง นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ นิตยสารเอเชียวีก บริษัท แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส จำกัด, CWTS, CWUR ฯลฯ รวมทั้งการจัดอันดับความเป็นอิเล็กทรอนิกส์และการเข้าถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์ โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกเสนอชื่อเข้าไปในนั้น ในขณะที่บางลำดับเช่นจาก มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ไม่มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแต่อย่างใด", "title": "อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย" }, { "docid": "13543#26", "text": "ผลจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจาก “Webometrics Ranking of World Universities\" หรือ \"Ranking Web of World Universities\" เว็บไซด์การจัดอันดับชื่อดังของประเทศสเปน ได้ทำการสำรวจมาตรฐานของมหาวิทยาลัยทั่วโลก รวมถึงมหาวิทยาลัยทั้งหมดในประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์ในการจัดทำ Ranking นี้ มีกลุ่มเป้าหมายสำคัญอยู่ที่บรรดาผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่ web performance ของสถาบันการศึกษาใด ได้ลำดับที่ต่ำกว่าความคาดหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบันนั้นๆ ผู้บริหารของสถาบันควรมีการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายด้านการจัดทำเว็บไซต์เพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิตของสิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ทางวิชาการ ในรูปแบบ electronic publications ให้มากยิ่งขึ้น จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้งหมดในประเทศไทย Life on campus ได้ทำการแยกย่อยออกมาเป็นส่วนของ “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” โดยเฉพาะ จัดเป็น 10 อันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏชั้นนำในประเทศไทย โดยเรียงจากอันดับในประเทศ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้ลำดับที่ 9", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์" }, { "docid": "11668#19", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\"[12]โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทยได้คะแนน 47.27% จากคะแนนเต็ม 80% และเป็นอันดับ 5 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยได้คะแนน 78.68% จากคะแนนเต็ม 100%[13]", "title": "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" }, { "docid": "73261#29", "text": "กีฬาคณิตศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ ยูเนียนเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่าง ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ด้วยความร่วมมือของนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ปัจจุบันมีถึง 15 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี", "title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" }, { "docid": "964393#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หลังจากที่เคยเป็นเสนอตัวเจ้าภาพมาแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 41 (พ.ศ. 2557) และ ครั้งที่ 46 (พ.ศ. 25ุ62) แต่ติดปัญหาความพร้อมของสนามที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ จึงไม่ได้รับการคัดเลือก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2561 สกอ.มีมติให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นเจ้าภาพจัดการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 พ.ศ. 2564 หลังจากที่พลาดเป็นเจ้าภาพถึง 2 ครั้ง และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ แห่งที่สอง ที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ ต่อจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48" }, { "docid": "73261#32", "text": "ลักษณะกิจกรรม การแข่งขันกีฬาสากล กีฬาพื้นบ้านของไทย และการประกวดกองเชียร์ - ผู้นำเชียร์ เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีแก่นิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของแต่ละสถาบัน มีสมาชิกทั้งหมด 14 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า\nงานกีฬา-วิชาการจุลชีววิทยาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ Colony Games เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่าง ภาควิชาจุลชีววิทยา จากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และมีการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพไปยังสถาบันต่าง ๆ", "title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" }, { "docid": "11668#1", "text": "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทย และเป็นอันดับ 5 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\" เมื่อปี พ.ศ. 2549[3][4]", "title": "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" }, { "docid": "836846#2", "text": "ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ออกแบบโดยธานี เหมือนนุชโดยมีมีองค์ประกอบจากช่อดอกปีบทอง ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผสมผสานกับเลข 44 ๔๔ ที่สามารถมองได้ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย สื่อถึง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 44 คบเพลิงพลิ้วขึ้นสู่เบื้องบน และห่วง 5 ห่วง สื่อถึง พลังแห่งความสามัคคีและมิตรภาพ ที่จะเกิดขึ้นในการแข่งขันครั้งนี้ มากกว่าชัยชนะในเกมส์กีฬาของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ 5 กลุ่ม และ สีแสด-ทอง สื่อถึง สีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และยังหมายถึง ความรุ่งโรจน์ สำเร็จบรรลุถึงจุดหมาย", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 44" }, { "docid": "465634#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หลังจากที่เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2527) และ ครั้งที่ 17 (พ.ศ. 2532) หลังจากนั้นก็ไม่ได้เป็นเจ้าภาพอีกเลย แต่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เสนอชื่อ เพื่อชิงเป็นเจ้าภาพกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 หลังจากที่ไม่ได้เป็นเจ้าภาพนานกว่า 25 ปี", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41" }, { "docid": "295810#4", "text": "เนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬาและได้รับเชิญให้เป็นกรรมการกีฬาระดับชาติและนานาชาติหลายครั้ง และมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในด้านต่าง ๆ ทั้งสนามการแข่งขัน ด้านการแพทย์ การคมนาคม การบริการ อาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกรอบมหาวิทยาลัย สถานที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่และนักกีฬา[3] ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประธานคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยเป็นประธานในที่ประชุม มีมติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 โดยไม่มีมหาวิทยาลัยอื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพแข่งขัน[4] การรับเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเคยรับเป็นเจ้าภาพมาก่อนแล้วในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2518), ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2527) และครั้งที่ 21 (พ.ศ. 2537)", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38" }, { "docid": "5374#59", "text": "ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\"[56] โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทยได้คะแนน 61.11% จากคะแนนเต็ม 80% และเป็นอันดับ 1 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยได้คะแนน 100.00% จากคะแนนเต็ม 100%[57]", "title": "มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "11994#5", "text": "นอกจากการให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเล็งเห็นถึงแนวโน้มและความสำคัญของนวัตกรรมที่จะมาช่วยผลักดันภาคเศรษฐกิจและธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ที่จะส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง วิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Entrepreneurship) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทางธุรกิจที่กำลังจะกลายเป็นกระแสระดับโลก เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ สภาหอการค้าไทย เป็นผู้นำและสื่อกลางในการประสานกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา และวางรากฐานแนวคิดนี้ในประเทศไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เข้าร่วมโครงการ MIT REAP (Regional Entrepreneurship Acceleration Program) โดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT เพื่อศึกษาแนวทางกระตุ้นการเติบโตด้านเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยอาศัยความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม ", "title": "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" }, { "docid": "714526#33", "text": "วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561 มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย และแสดงบรรยายพิเศษ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย และตอบคำถามอื่น ๆ จากผู้เข้าร่วมงาน โดยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่จัดกิจกรรมครั้งนี้และถือเป็นการทำหน้าที่รับรองผู้นำรัฐบาลต่างประเทศครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[24][25]", "title": "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "292739#2", "text": "ปัญหาที่พบในการจัดการแข่งขัน คือ เรื่องงบประมาณในการจัดการแข่งขัน ซึ่งคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยและศาสตราจารย์อรุณ สรเทศน์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าภาพในการจัดการแข่งขันได้เข้าพบจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เพื่อของบประมาณสนับสนุน นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินจากรายได้ของกองสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวน 40,000 บาท เพื่อให้การสนับสนุนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย พร้อมทั้งแนะนำให้คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยขึ้นตรงกับองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (การกีฬาแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน) เพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณสมทบการจัดการแข่งขันให้เป็นประจำทุกปี", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2" }, { "docid": "5229#112", "text": "ศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20", "title": "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" }, { "docid": "73261#21", "text": "กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ อะตอมเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้มีการตื่นตัวในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่าง นิสิต-นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศในกลุ่มองค์การนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (กวส.) โดยในปี 2558 จะเป็นการจัดกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์ครั้งที่ 24 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 22 มหาวิทยาลัยสำหรับ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอล และ ฟุตบอล เป็นประเพณีด้วย ประกอบไปด้วย 2 งานกีฬาคือ", "title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" }, { "docid": "5519#74", "text": "Accounting & Finance (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้) Architecture / Built Environment Environmental Sciences Geography (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้) Modern Languages Pharmacy & Pharmacology Politics & International Studies (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้)", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "669#36", "text": "ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน \"โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย\"[35]โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 6 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทย และเป็นอันดับ 8 ในด้านการวิจัยของประเทศไทย[36]", "title": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "560194#0", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 หรือ นนทรีเกมส์ จัดที่จังหวัดนครปฐม โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพื่อเฉลิมฉลองวาระที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 72 ปี[1] ระหว่างวันที่ 15 - 24 มกราคม พ.ศ. 2558 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เคยเป็นเจ้าภาพเดี่ยวมาก่อนหน้านี้แล้ว 2 ครั้ง ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 1 ครั้ง คือ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 8 - 15 มกราคม พ.ศ. 2536 และ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 1 ครั้ง คือ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 นนทรีเกมส์ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[2]", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42" }, { "docid": "290867#11", "text": "พิธีปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 จัดขึ้นในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553 ณ สนามกีฬาหลัก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยจัดการแสดงจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ชุด ได้แก่ บ้านเราแสนสุขใจและสามัคคีที่แดนโดม นอกจากนี้ยังมีการจัดการแสดงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในครั้งหน้าอีกด้วย", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37" }, { "docid": "73261#12", "text": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างเหล่านิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขัน 8 มหาวิทยาลัย มีการจัดการแข่งขันมาแล้วรวม 37 ครั้ง โดยปัจจุบันในครั้งที่ 38 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน", "title": "กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" } ]
4082
เภสัชกรโรงพยาบาล มีหน้าที่หลักเช่นการจ่ายยาให้ผู้ป่วยใช่หรือไม่?
[ { "docid": "15599#0", "text": "เภสัชกร (English: pharmacist) คือผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) ที่มีความเชี่ยวชาญด้านยามากที่สุดในสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ ทั้งยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณ เนื่องจากสาขาวิชาชีพเภสัชกรรมนั้นมีความหลากหลาย จึงทำให้หน้าที่ของเภสัชกรจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละสายงาน ถ้าเป็นสายงานที่เกี่ยวข้องกับการบริบาลผู้ป่วย เช่น เภสัชกรโรงพยาบาล อาจมีหน้าที่หลักเช่นการจ่ายยาให้ผู้ป่วย การแนะนำการใช้ยา ติดตามการใช้ยาให้ผู้ป่วย แต่หากเป็นเภสัชกรที่เกี่ยวข้องกับสายงานด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรม การทำงานอาจเป็นการควบคุมและดูแลกระบวนการในการผลิตยา", "title": "เภสัชกร" } ]
[ { "docid": "496536#10", "text": "สำนักงานประกันสังคมได้ขยายการคุ้มครองยาในบัญชีสำหรับผลผู้ทางสุขภาพจิต หรือผู้ป่วยจิตเวชโดยสามารถเบิกยาในบัญชีได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554\nและในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 สำนักงานประกันสังคมเพิ่มสิทธิประโยชน์บริการทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลอื่น ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง\nกองทุนบำเหน็จบำนาญชราภาพจะขาดทุนภายในสามสิบปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2586 เนื่องจากปัญหาโครงสร้างประชากรที่มีวัยทำงานน้อยลงและเงื่อนไขการจ่ายเงินของกองทุนกองทุนบำเหน็จบำนาญชราภาพ", "title": "สำนักงานประกันสังคม" }, { "docid": "15599#40", "text": "- ถามประวัติแพ้ยา กรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยากับโรงพยาบาลที่ไปรักษาจะมีการแสดงชื่อยาและอาการที่ผู้ป่วยแพ้บนใบสั่งยา ซึ่งเภสัชกรจะสามารถเห็นและตรวจสอบได้ แต่หากผู้ป่วยเกิดการแพ้ยาจากที่อื่นการแจ้งประวัติแพ้ยาจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประวัติการแพ้ยาจากแหล่งอื่นจะไม่มีในฐานข้อมูลของโรงพยาบาล และหากผู้ป่วยเกิดการแพ้ยาซ้ำจะทำให้เป็นอันตรายรุนแรงได้", "title": "เภสัชกร" }, { "docid": "163412#1", "text": "ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2490 มีเนื้อที่ 49 ไร่ 2 งาน เปิดให้บริการเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494 มีหอผู้ป่วยรวมรับผู้ป่วย 25 เตียง มีแพทย์ 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คน เภสัชกร 1 คน มีอาคารผู้ป่วยนอก โรงซักฟอก\nเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ได้ขยายหน่วยงานเพื่อรับรองการบริการของผู้ป่วยที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น คือ อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติกรรม เคมีบำบัด“ภายในปี 2020 เป็นโรงพยาบาลศูนย์ชั้นนำที่มีคุณภาพคู่คุณธรรม”", "title": "โรงพยาบาลขอนแก่น" }, { "docid": "289503#0", "text": "โรงพยาบาลโคกสำโรง เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ตั้งอยู่ใน ตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี\nโรงพยาบาลโคกสำโรง เป็นโรงพยาบาลชุมขน 120 เตียง มีแพทย์ 12 คน ทันตแพทย์ 7 คน พยาบาล 123 คน เภสัชกร 10 คน และมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 4 คน จำนวนผู้ป่วยของโรงพยาบาลรัฐ ในจังหวัดลพบุรี ปี 2552 มีผู้ป่วยนอก จำนวน 130,713 คน และมีผู้ป่วยในจำนวน 13,711 คน มีห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการทดสอบ/วิเคราะห์", "title": "โรงพยาบาลโคกสำโรง" }, { "docid": "15374#11", "text": "สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนหรือร้านยา คือสถานที่ปฏิบัติการส่วนใหญ่ของเภสัชกรทางด้านเภสัชกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยคลังยาและการกระจายยา การจ่ายยาของเภสัชกรต้องอ้างอิงถึงใบสั่งแพทย์และการซักถามประวัติผู้ป่วยในเรื่องการใช้ยาเพื่อจ่ายยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ป่วย เภสัชกรทุกคนต้องอยู่ปฏิบัติการ ณ สถานที่ปฏิบัติการที่ตนสังกัดตลอดเวลาที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย ทั้งนี้ครอบคลุมถึงแผนกเภสัชกรรมในห้างร้านต่าง ๆ ด้วย นอกจากสถานที่ปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนจะจ่ายยาแล้ว บางสถานยังเพิ่มสินค้าทางด้านเวชสำอางค์และเวชภัณฑ์อื่น ๆ ตามความเหมาะสม", "title": "เภสัชกรรม" }, { "docid": "15599#25", "text": "- กรณีที่เป็นยาโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังของผู้ป่วย เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน จะต้องตรวจสอบว่าแพทย์มีการปรับเปลี่ยนแผนการรักษา มีการปรับเพิ่มลดหยุดยาตัวใดหรือไม่ หรือแพทย์ลืมสั่งใช้ยาโดยที่ไม่ได้ตตั้งใจหยุดยาหรือไม่ โดยตรวจสอบจากใบสั่งยากับฐานข้อมูลของโรงพยาบาล เพื่อที่จะได้แจ้งให้ผู้ป่วยทราบได้อย่างถูกต้อง", "title": "เภสัชกร" }, { "docid": "310300#2", "text": "ในสมัยอาหรับซึ่งมีความรู้ทางการแพทย์และเภสัชกรรมมากขึ้น ประกอบกับนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมด้านสุขภาพแก่ประชากรชาวอาหรับ ทำให้เกิดการสร้างระบบสาธารณสุขขึ้นซึ่งส่งผลให้เภสัชกรมีลักษณะวิชาชีพที่จำเพาะของตนเอง เดิมการแพทย์ของอาหรับเป็นลักษณะการแพทย์โดยนักบวช แต่ภายหลังคริสต์ศตวรรษที่ 8 ได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลในเมืองดามัสกัสซึ่งเชื่อว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของชาวอิสลาม ทำให้เกิดระบบสุขภาพที่ชัดเจนทำให้เภสัชกรรมได้รับการยกระดับขึ้นเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ โรงพยาบาลที่สนับสนุนโดยรัฐก็มีแผนกเภสัชกรรมเป็นของตนเอง โดยมีห้องปฏิบัติการเพื่อผสมยาและการจ่ายยาในเบื้องต้น เช่น ในรูปแบบไซรัป, อิลิกเซอร์ และยาขี้ผึ้ง และในสมัยกาหลีบ Al-Mansur นครแบกแดดได้กลายเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการบริหาร การพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและองค์ความรู้ทำให้ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีการเปิดร้านยามากมายในนครแบกแดดและเมืองใกล้เคียง เภสัชกรในสมัยนั้นอาศัยการฝึกปฏิบัติในร้านยาจนเกิดความชำนาญทั้งด้านการผสมยา, การเก็บรักษาและบรรจุภัณฑ์ และ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบโดยผู้ที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น (Muhtasib) เพื่อตรวจสอบมาตรฐานของร้านยาถึงมาตรฐานด้านการตวงวัดและความบริสุทธิ์ของตัวยา แต่ทว่าเป็นการประกอบการโดยผู้ที่ปราศจากความรู้ด้านเภสัชกรรม จึงทำให้เกิดการสอนเภสัชกรรมแก่กลุ่มพลเมืองชั้นสูงในสังคมโดยเรียกกลุ่มผู้ฝึกหัดว่า \"sayadilah\" ซึ่งยังคงเป็นคำที่ใช้เรียกผู้ฝึกหัดเภสัชกรรมในอาหรับจนกระทั่งปัจจุบัน ", "title": "เภสัชกรรมอาหรับสมัยกลาง" }, { "docid": "27129#1", "text": "โครงการ HOSxP ริเริ่มโดย ภก.ชัยพร สุรเตมีย์กุล โดยเป็นโครงการทดลองพัฒนาระบบสารสนเทศใช้เองภายในโรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการผู้ป่วย และช่วยลดภาระในการทำรายงานประจำเดือนของฝ่ายต่าง ๆ โครงการเริ่มพัฒนาเมื่อกลางปี พ.ศ. 2542 โดยเริ่มต้นพัฒนา ระบบเวชระเบียน เป็นระบบแรก ตามด้วยระบบผู้ป่วยใน และระบบห้องจ่ายยา หลังจากพัฒนาและแก้ไขได้ประมาณ 1 ปี ก็ได้มีทีมงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด นำทีมโดย นายแพทย์ไพบูลย์ เพ็ญสุวรรณ ติดต่อดูงาน และทำแผนนำไปใช้ใน 10 โรงพยาบาลชุมชนนำร่อง ในจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน โรงพยาบาลโพชัย โรงพยาบาลหนอกพอก โรงพยาบาลเมยวดี โรงพยาบาลศรีสมเด็จ โรงพยาบาลจังหาร โรงพยาบาลเมืองสรวง โรงพยาบาลปทุมรัตน์ โรงพยาบาลพนมไพร และโรงพยาบาลโพนทราย ", "title": "ฮอสเอกซ์พี" }, { "docid": "15599#20", "text": "หน้าที่หลักของเภสัชกรโรงพยาบาลคือการจ่ายยาตามใบสั่งยาของแพทย์ให้แก่ผู้ป่วย แต่การจ่ายยาของเภสัชกรไม่ใช่เพียงจ่ายยาตามรายการที่แพทย์สั่งเท่านั้น ก่อนจ่ายยาเภสัชกรจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยาร่วมกับข้อมูลของผู้ป่วยว่ามีข้อห้ามใช้ยาตัวใดหรือไม่ เนื่องจากโรคหรือยาบางชนิดนั้นอาจเป็นข้อจำกัดในการใช้ยาตัวอื่น", "title": "เภสัชกร" }, { "docid": "76392#8", "text": "ทำหน้าที่เป็นแพทย์ผู้ปกครองโรงพยาบาลและผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัด สร้างนิคมโรคเรื้อนแม่ลาว ตำบลธารทอง อำเภอพาน ด้วยที่ดิน 1,000 ไร่ เริ่มการรักษาโรคทางศัลยกรรมชนบทกับโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคคอพอกในประชาชน ซึ่งเป็นกันถึงร้อยละ 50 ของประชากร เริ่มการป้องกันโรคคอพอกในจังหวัดเชียงรายโดยการให้ไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และในเด็ก ทำการสำรวจไอโอดีนในน้ำ ผัก และอาหารและสร้างอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้านเพื่อการให้ไอโอดีน สร้างเจ้าหน้าที่เสนารักษ์จากกองทัพให้เป็นผู้ช่วยในการผสมยาต่าง ๆ เพราะไม่มีเภสัชกร รวมทั้งสร้างให้เป็นเจ้าหน้าที่ช่วยในห้องผ่าตัด และในการเป็นผู้ให้ยาระงับความรู้สึกด้วยการดมทางจมูก จัดสร้างตึกสูติกรรม นรีเวชกรรม ให้แม่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย สร้างตึก พนม นครานุรักษ์ สำหรับเป็นอาคารสงฆ์อาพาธแยกจากประชาชน เริ่มการให้บริการทางทันตกรรมในชนบทแก่นักเรียนและประชาชนทั่วไป ชักชวนคหบดีในตลาดบริจาคเงินสร้างตึกผ่าตัดโดยเฉพาะ รวมทั้งบริษัทยาสูบอังกฤษ-อเมริกันที่ให้ทุนสร้างอาคารผู้ป่วยพิเศษ และผู้ป่วยทั่วไป สร้างอาคารสำหรับรังสีวิทยาด้วยเงินทุนของโรงพยาบาลและได้ขอให้เทศบาลเมืองเชียงรายสนับสนุนสร้างอาคารครัว โรงซักฟอก และสถานที่เก็บศพ", "title": "เสม พริ้งพวงแก้ว" }, { "docid": "902752#0", "text": "เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmacy Practice) หมายถึง การนำความรู้ด้านเภสัชกรรมมาใช้กับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา โดยรวมทุกกระบวนการเช่น การจ่ายยา การให้คำแนะนำด้านยา การติดตามตรวจวัดระดับยาในเลือด การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การค้นหาปัญหาจากการใช้ยา การวิจัยเชิงคลินิกด้านการใช้ยา การประเมินการใช้ยา การเตรียมยาในโรงพยาบาล การให้ข้อมูลข่าวสารด้านยา ดังนั้นคำว่าเภสัชกรรมปฏิบัติจึงหมายรวมการบริบาลทางเภสัชกรรมและเภสัชกรรมคลินิก รวมทั้งงานด้านอื่นๆของเภสัชกรที่ดูแลด้านยาแก่ผู้ป่วย ", "title": "เภสัชกรรมปฏิบัติ" }, { "docid": "911215#49", "text": "ในปี ค.ศ. 2009 ไลนิโซลิดจัดเป็นยาปฏิชีวนะที่มีราคาค่อนข้างสูง โดยการรักษาในรอบหนึ่งๆ อาจมีใช้ค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายาชนิดนี้มากถึง 1000 – 2000 ดอลลาร์สหรัฐ[58] ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ (อาทิ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล) อย่างไรก็ดี เมื่อยานี้มีการใช้ในวงกว้างมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาในการรักษารอบหนึ่งๆ ในสหรัฐอเมริกาลดลงเป็นอย่างมาจาก โดยในปี ค.ศ. 2016 ค่าใช้จ่ายดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 137.90 ดอลลาร์สหรัฐ[12] ในประเทศอินเดีย จากข้อมูลปี ค.ศ. 2015 การได้รับการรักษาด้วยไลเนโวลิด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการรักษาวัณโรค เป็นระยะเวลา 1 เดือนจะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะยานี้เพียง 137.90 ดอลลาร์สหรัฐ[4] นอกจากนี้แล้ว เนื่องจากการบริหารยาไลนิโซลิดนั้นสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารยาจากการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นการรับประทานทั้งในรูปแบบยาเม็ดหรือยาน้ำได้โดยไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการรักษา ทำให้ผู้ป่วยอาจออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้นและทำการรักษาต่อที่บ้านโดยการใช้ยาในรูปแบบรับประทาน[13] ซึ่งการลดระยะเวลาการพักรักษาในโรงพยาบาลเช่นนี้ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายรวมของการรักษาแม้ไลนีโซลิดจะมีราคาสูงก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะขนานอื่นๆก็ตาม", "title": "ไลนิโซลิด" }, { "docid": "926387#0", "text": "บูโพรพิออน (English: Bupropion) เป็นยาที่มีข้อข่งใช้หลักสำหรับต้านซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่[7][8][9] มีจำหน่ายในตลาดยาสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อการค้า Wellbutrin, Zyban และอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แพทย์มักสั่งจ่ายบูโพรพิออนเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาโรคซึมเศร้าเป็นหลัก[10] ในขณะที่ประเทศอื่นๆนอกเหนือจากนี้นั้น การใช้บูโพรพิออนสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวถือเป็นการใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้ (off-label use)[11] ถึงแม้ว่ายานี้จะมีผลในการต้านซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดีอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ยานี้เป็นยาเสริมในกรณีที่ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาทางเลือกแรกอย่างยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินได้ไม่เต็มที่[12] ปัจจุบัน บูโพรพิออนมีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด โดยส่วนใหญ่แล้วต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์หรือซื้อได้โดยใช้ใบสั่งยาจากแพทย์[10] แต่ในประเทศไทย เนื่องจากสถานะทางกฎหมายปัจจุบันของบูโพรพิออนนั้นจัดเป็นยาอันตราย ประชาชนจึงสามารถเข้าถึงได้จากร้านยาที่มีเภสัชกรปฏิบัติการได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้ที่ใช้ยานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อติดตามประเมินผลและเฝ้าระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด[13]", "title": "บูโพรพิออน" }, { "docid": "15599#38", "text": "การจ่ายยาเป็นขั้นตอนการส่งมอบยาให้ผู้ป่วยหลังจากผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการจ่ายยาในผู้ป่วยแต่ละราย และการจ่ายยาแต่ละชนิดจะต้องอาศัยเทคนิคการจ่ายยาที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้เภสัชกรจะต้องซักถามข้อมูลผู้ป่วยเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการให้คำแนะนำการใช้ยาแก่ผู้ป่วย ขั้นตอนการจ่ายยา ดังนี้", "title": "เภสัชกร" }, { "docid": "15599#19", "text": "บทบาทหน้าที่ของเภสัชกรโรงพยาบาลที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ คือเภสัชกรจะทำงานในห้องจ่ายยา โดยมีหน้าที่เพียงจ่ายยาตามใบสั่งยาของแพทย์และให้คำแนะนำในการใช้ยาแก่ผู้ป่วยเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงนอกจากการจ่ายยาแล้ว เภสัชกรยังทำหน้าที่อีกหลายอย่างทั้งหน้าที่ทีเ่กี่ยวข้องกับการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย และยังมีหน้าที่ด้านการบริหารจัดการระบบยาในโรงพยาบาลอีกด้วย หน้าที่ของเภสัชกรในโรงพยาบาล ได้แก่", "title": "เภสัชกร" }, { "docid": "260835#22", "text": "เมื่อโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาแล้วนั้น ประชาชนส่วนหนึ่งและผู้แสวงบุญชาวตะวันตก ได้ย้ายเข้ามาพำนักอาศัย ณ ทวีปอเมริกา และได้นำวิทยาการทางการแพทย์และเภสัชกรรมเข้ามาพร้อม ๆ กัน ในระยะเริ่มแรกสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงอาณานิคมของประเทศในตะวันตกเท่านั้น ในปี ค.ศ. 1751 ได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลเพนซิลวาเนีย โรงพยาบาลแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยเบนจามิน แฟรงคลิน และ ดร.โทมัส บอนด์ ในส่วนงานเภสัชกรรมได้เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1752 โดยใช้สถานที่คินซีย์เฮาส์เป็นที่ทำการในระยะเริ่มแรก โดยมีเภสัชกรโรงพยาบาลคนแรกคือโจนาธาน โรเบิร์ตส แต่เภสัชกรผู้มีบทบาทในการพัฒนาเภสัชกรรมในสหรัฐอเมริกาคือจอห์น มอร์แกน ศิษย์ของโจนาธาน เขามีบทบาทในการพัฒนาเภสัชกรรมและเวชกรรมในสหรัฐอเมริกาให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ภายหลังที่เขาจบการศึกษาทางเภสัชศาสตร์แล้วนั้น เขาได้ศึกษาในสาขาเวชกรรมในเวลาต่อมา ในส่วนกองทัพของสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการเพิ่มเติมเภสัชกรเป็นหนึ่งในกำลังพลของกองทัพอีกด้วย โดย แอนดรูว์ เครก เป็นเภสัชกรคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการร้านยาแห่งแมตซาซูเซตเข้าร่วมในสงคราม ณ บังเกอร์ฮิลล์ ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1775 เขาทำหน้าที่บริบาลและรักษาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาเมื่อสภาคองเกรสเห็นชอบในการบรรจุบุคลากรทางสาธารณสุขในกองทัพในแผนกการแพทย์ด้วยนั้น แอนดรูว์เป็นเภสัชกรคนแรกที่ได้รับการบรรจุในกองทัพ โดยมีหน้าที่ในการปฐมพยาบาล เก็บรักษา ผลิต และกระจายยาในกองทัพ นอกจากนี้เขายังพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมยาในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย", "title": "ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม" }, { "docid": "53527#2", "text": "ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งมีหน้าที่หลักในการตรวจสิ่งตรวจของผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลนั้น ๆ และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เอกชน เป็นห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล แต่เปิดให้บริการโดยเอกชน เช่น ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของบริษัทประกันชีวิต", "title": "ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์" }, { "docid": "16160#7", "text": "หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรวิชาชีพได้รับการรับรอง มาตรฐานจากสภาเภสัชกรรม มีเป้าหมายในการผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีงามในการ ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพชั้นสูง การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับ 21st century skill outcomes ในระดับสากล ชั้นปีที่ 1-4 เน้นความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมขั้นพื้นฐาน ชั้นปีที่ 5 และ 6 สามารถเลือกเรียนด้านเภสัชอุตสาหการ (การผลิต ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น ) และด้านบริบาลทางเภสัชกรรม (การดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ร้านขายยา งานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น) นักศึกษาชั้นปีที่ 6 จะได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานวิชาชีพในแหล่งฝึกงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาระดับแนวหน้าของประเทศ โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่เป็นสถานพยาบาลชั้นนำของประเทศรวมถึงร้านยา คุณภาพ การสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมง และต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 225 หน่วยกิต", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "15599#22", "text": "เป็นขั้นตอนก่อนที่จะจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา โดยทั่วไปเภสัชกรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยาและเภสัชกรที่ทำหน้าที่จ่ายยาควรจะเป็นคนละคนกัน เพื่อช่วยกันตรวจสอบไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นในขณะที่กำลังทำการจ่ายยาให้กับผู้ป่วย และหากพบความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาเกิดขึ้น เภสัชกรจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อยืนยันหรือปรับเปลี่ยนคำสั่งใช้ยาต่อไป การตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยามีหลายขั้นตอน ได้แก่", "title": "เภสัชกร" }, { "docid": "15599#43", "text": "เภสัชกรชุมชน (Community pharmacist): หรือ เภสัชกรร้านยา หน้าที่หลักของเภสัชกรร้านยาคือให้การวินิจฉัยโรคผู้ป่วยในเบื่องต้นและจ่ายยาที่ตรงกับโรคนั้น ๆ หรือหากประเมินแล้วพบว่าโรคดังกล่าวไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาในร้านยาจะต้องทำการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อไปยังโรงพยาบาล ดังนั้นเภสัชกรชุมชนจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยดูแลผู้ป่วยนอกเหนือจากการให้บริการของโรงพยาบาลหรือคลินิกแพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงร้านยาได้ง่าย จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาในเบื่องต้นได้อย่างรวดเร็ว เภสัชกรสาธารณสุข: เภสัชกรที่ทำงานในสายงานนี้ ได้แก่ เภสัชกรที่ทำงานในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. และเภสัชที่ทำงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ สสจ. เภสัชกรในสายงานนี้จะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตรวจสอบเรื่องยา อาหารเสริม รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ นอกจากนี้ยังตรวจสอบควบคุมการทำงานของเภสัชกรรวมทั้งร้านยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วยและผู้บริโภค เภสัชกรการตลาด: เภสัชกรในสาขานี้ จะถูกเรียกว่า \"ผู้แทนยา\" โดยมีหน้าที่หลักคือนำเสนอข้อมูลยาที่ตนรับผิดชอบให้โรงพยาบาลหรือร้านยาเพื่อให้รับยานั้น ๆ เข้าไปใช้ในโรงพยาบาลหรือร้านยา ซึ่งผู้แทนยาจะมีความเชี่ยวชาญในข้อมูลยาที่ตนรับผิดชอบเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้แทนยาจึงถือว่ามีความสำคัญในการกระจายยาจากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้คิดค้นยาไปยังร้านยาและโรงพยาบาลต่าง ๆ", "title": "เภสัชกร" }, { "docid": "386369#159", "text": "ปัญหายาขาดแคลนและปัญหาโรคที่มากับน้ำ รวมถึงสุขภาพจิตของประชาชนมีเพิ่มขึ้นในช่วงอุทกภัย[216]เช่น ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษประสบปัญหาการขาดยาและเวชภัณฑ์ หลังโรงงานในเขตจังหวัดปริมณฑลถูกน้ำท่วม ส่งผลให้โรงพยาบาลต้องลดปริมาณการจ่ายยาให้ผู้ป่วยเรื้อรัง จากครั้งละ 3 เดือน เป็น 1 เดือน และหมุนเวียนยาร่วมกับโรงพยาบาลใกล้เคียง เพื่อช่วยกระจายยาให้คนไข้[217] คณะกรรมการอาหารและยาอำนวยความสะดวกเป็นผู้สั่งยาโดยตรงกับบริษัทในต่างประเทศ หากเกิดกรณีที่ผู้ประกอบการหรือเภสัชกรต้องการยานั้น ๆ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ประสบอุทกภัยเจ็บป่วยแล้ว 1.6 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ผื่นคัน ไข้หวัดใหญ่[218]", "title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554" }, { "docid": "279999#2", "text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงพยาบาลลพบุรีใหม่ เป็น “โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช” เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ทรงนำความเจริญด้านการแพทย์มาสู่ประเทศไทย และจังหวัดลพบุรี ตั้งเป้าพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ชั้นนำในเขตภาคกลาง ภายในปี 2555 \nนายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อโรงพยาบาลลพบุรีใหม่ ว่า “โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช” ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้ทรงสร้างเมืองลพบุรีให้เป็นราชธานีแห่งที่ 2 ทรงเป็นผู้นำวิทยาการสมัยใหม่และความเจริญด้านต่างๆ เกือบทุกด้านมาสู่ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวดไทย โดยมีการผสมผสานการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนตะวันตก ปรากฏอยู่ในหลักฐานตำรา “พระโอสถพระนารายณ์” เป็นตำรายา 81 ตำรับ มีตัวยาปรากฏในตำรามากกว่า 300 ชนิด \nโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ตั้งอยู่ใน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เปิดบริการมาแล้ว 54 ปี ปัจจุบันมีเตียงรับผู้ป่วย 428 เตียง มีบุคลากรให้บริการ 958 คน โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครบทุกสาขารวม 42 คน ทันตแพทย์ 8 คน เภสัชกร 12 คน พยาบาลวิชาชีพ 310 คน ขณะนี้ได้เร่งพัฒนาคุณภาพบริการทุกด้าน โดยภายในปี 2555 จะพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ชั้นนำในเขตภาคกลาง และเป็นศูนย์แพทย์เชี่ยวชาญด้านมะเร็งในระดับต้น เป็นพึ่งพาของประชาชน \nที่ผ่านมาโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช มีผลงานการพัฒนาดีเด่นมากมาย เช่น เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก ได้รับมาตรฐานการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด เป็นสถานที่ทำงานที่น่าอยู่ งานโภชนาการประกอบอาหารให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลดีเด่นในระดับ “ดีมาก” ได้รับรางวัลเป็นโรงพยาบาลคุณภาพตามมาตรฐานด้านการส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2549 งานอนามัยแม่และเด็กดีเด่นระดับเขต ได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลสายใยรักระดับทอง พ.ศ. 2551 ผ่านการรับรองเป็นโรงพยาบาลคุณภาพตามมาตรฐานสากล ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 และการรับรองการให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลันดีเยี่ยม พ.ศ. 2549 \nต่อวันมีประชาชนเข้ารับบริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 1,363 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 ได้แก่โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 24 รองลงมา คือ เบาหวาน ร้อยละ 15 มีผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลวันละ 355 ราย ที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคท้องร่วงร้อยละ 32 รองลงมา คือ โรคหัวใจล้มเหลวร้อยละ 11 ทำผ่าตัดใหญ่วันละ 29 ราย และกำลังดำเนินการก่อสร้างอาคารเพื่อขยายเป็นโรงพยาบาลศูนย์ต่อไป", "title": "โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช" }, { "docid": "289492#1", "text": "โรงพยาบาลบ้านหมี่ เป็นโรงพยาบาลขนาด 258 เตียง มีแพทย์ 26 คน ทันตแพทย์ 5 คน พยาบาล 230 คน เภสัชกร 8 คน และมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 49 คน จำนวนผู้ป่วยของโรงพยาบาลรัฐ ในจังหวัดลพบุรี ปี 2552 มีผู้ป่วยนอก จำนวน 227,218 คน และมีผู้ป่วยในจำนวน 24,257 คน อาคารสิรินธรเป็นอาคารที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ", "title": "โรงพยาบาลบ้านหมี่" }, { "docid": "260835#25", "text": "ปัจจุบันเภสัชกรรมได้ขยายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกกว่า 50 ประเทศ บทบาทของวิชาชีพมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตกล่าวคือจากการจ่ายยาตามใบสั่งยาได้มีการวิวัฒน์ขึ้นสู่การบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิผลจากวิชาชีพเภสัชกรรมสูงสุด โดยเป็นการพัฒนาวิเคราะห์และแก้ปัญหาการใช้ยาอย่างเป็นระบบ ซึ่งการบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยาหรือหออภิบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงข้อกฎหมายวิชาชีพเภสัชกรรมในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการริเริ่มการคิดค่าธรรมเนียมวิชาชีพเภสัชกรรม การฝึกปฏิบัติทางเภสัชกรรมในปัจจุบันเป็นการเรียนการสอนในโรงเรียนเภสัชกรรมทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงการบริการทางคลินิกที่เภสัชกรจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ อาทิ การวิเคราะห์การใช้ยา เช่น ใช้หรือไม่ใช้ หรือใช้สมุนไพร เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันในสหรัฐอเมริกามีการแยกอำนาจการจ่ายยาให้แก่เภสัชกรอย่างเด็ดขาด ซึ่งผลจากการปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นและค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพจะลดลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เริ่มต้นในบางประเทศ เช่น เภสัชกรในออสเตรเลียซึ่งได้รับค่าตอบแทนจากรัฐบาลในการจัดการด้านยาครอบคลุมการตรวจสอบยาประจำบ้าน ในแคนาดา เภสัชกรในบางรัฐมีสิทธิการจ่ายยาที่จำกัดหรือได้รับการจ่ายค่าทดแทนเพิ่มเติมจากรัฐบาลท้องถิ่นสำหรับการขยายบริการทางสาธารณสุข ในสหราชอาณาจักรที่เภสัชกรมีสิทธิในการจ่ายยาก็ได้รับค่าตอบแทนจากรัฐบาลเช่นกัน ส่วนในสหรัฐอเมริกาในด้านการบริการทางเภสัชกรรมหรือเภสัชกรรมคลินิกมีวิวัฒนาการครอบคลุมในการฝึกปฏิบัติทางเภสัชกรรม ยิ่งไปกว่านั้นผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy) เป็นสิ่งที่สำคัญก่อนการปฏิบัติและเภสัชกรบางส่วนในปัจจุบันได้รับการศึกษาเทียบเท่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรม นอกจากนี้เภสัชกรผู้ให้คำปรึกษา (consultant pharmacist) ซึ่งแต่เดิมจะดูแลในด้านปฐมภูมิก็ได้ขยายสู่การให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยภายใต้คำว่า \"senior care pharmacy\"", "title": "ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม" }, { "docid": "15599#17", "text": "เภสัชกรโรงพยาบาล (Hospital pharmacist): หรืออาจเรียกได้ว่า เภสัชกรคลินิก (Clinical pharmacist) ทั้งโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชนจะมีเภสัชกรทำงานร่วมกับสหวิชาชีพด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ยา การจ่ายยาเภสัชกรจะเป็นผู้จ่ายยาจากใบสั่งแพทย์ และให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับยาและวิธีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย การให้คำปรึกษาเพื่อหาปัญหาจากยาแก่ผู้ป่วยในคลินิกของโรงพยาบาลก่อนหรือหลังพบแพทย์ เช่น คลินิกวัณโรค คลินิกโรคไต คลินิกโรคเบาหวานและความดัน คลินิกยาวาร์ฟาริน แต่ทั้งนี้งานของเภสัชกรโรงพยาบาลยังมีความหลากหลาย เพราะเภสัชกรจะต้องดูแลระบบยาของทั้งโรงพยาบาลเพื่อให้โรงพยาบาลนั้นได้มาตรฐาน ดังนั้นนอกจากทำหน้าที่จ่ายยา เภสัชกรอาจมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคลังยาของโรงพยาบาล การจัดซื้อจัดหายาเข้าโรงพยาบาล การออกหน่วยเยี่ยมบ้านลงชุมชนในเขตที่โรงพยาบาลนั้น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบ การเตรียมยาให้ผู้ป่วยเฉพาะรายซึ่งอาจมีเฉพาะในบางโรงพยาบาล การปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์ตอบคำถามด้านยาให้แก่แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเภสัชกรโรงพยาบาลมีหน้าที่จ่ายยาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ เภสัชกรโรงพยาบาลยังมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลความคลาดเคลื่อนหรือความเสี่ยงด้านยาต่าง ๆ เพื่อนำมาทบทวน วางแผนหรือสร้างระบบป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากยาไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก", "title": "เภสัชกร" }, { "docid": "15374#12", "text": "เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีความแตกต่างกับสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน โดยมีหน้าที่ทางการจัดการด้านคลินิกการแพทย์ เนื่องจากภายในโรงพยาบาลมีงานที่ซับซ้อนกว่า อาทิ เภสัชวินิจฉัย รูปแบบการใช้ยาที่ปลอดภัยเนื่องด้วยยาที่ใช้ในโรงพยาบาลมีความซับซ้อนและมีปฏิกิริยาที่ต้องอยู่ในความควบคุมของเภสัชกร ดังนั้นในโรงพยาบาล เภสัชกรจึงมีความชำนาญเฉพาะด้าน อาทิ โลหิตวิทยา เนื้องอกวิทยา เอดส์ โรคเรื้อรัง บริบาลเภสัชกรรม การแพทย์ฉุกเฉิน พิษวิทยา เป็นต้น", "title": "เภสัชกรรม" }, { "docid": "260835#26", "text": "ในประเทศไทยปัจจุบันได้มีการประกาศใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งทำให้เกิดความแออัดของประชากรขึ้นในโรงพยาบาล ส่งผลต่องานของเภสัชกรโรงพยาบาลรวมถึงบุคลากรทางสาธารณสุขอื่น ๆ เสียงต่อการถูกฟ้องร้องค่าเสียหายทางการรักษา ร้านยาจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกในการบริบาลผู้ป่วยเบื้องต้น นอกจากนี้ยังมีการออกพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องจากการบริการหรือการได้รับผลิตภัณฑ์มาตรฐานได้ ร้านยาจึงควรเพิ่มการพิจารณาด้านการใช้ยาแก่ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิผลมากกว่าการแข่งขันด้านการบริการ ในสถาบันทางเภสัชศาสตร์ของไทยก็ได้มีการขยายหลักสูตรการศึกษาของเภสัชศาสตร์ออกเป็นสองหลักสูตรโดยแยกสายงานบริบาลทางเภสัชกรรมออกจำเพาะเพื่อเพิ่มบทบาทด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมของเภสัชกร และมีการผลักดันการใช้พระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ที่ให้สิทธิขาดแก่เภสัชกรในการจ่ายยา", "title": "ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม" }, { "docid": "15374#13", "text": "งานเภสัชกรรมคลินิกเป็นอีกหนึ่งในบทบาทของเภสัชกร ที่มีหน้าที่โดยตรง ในดูแลผู้ป่วยด้านการใช้ยา เภสัชกรที่ปฏิบัติการในสาขานี้จะปฏิบัติทั้งในโรงพยาบาล ร้านขายยา และคลินิกทางเวชกรรมทั่วไป ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลาการทางสาธารณสุขอื่น ๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการใช้ยาที่ดีขึ้น งานที่ถือว่าเป็นงานเภสัชกรรมคลินิก ได้แก่ การคัดเลือกยาที่ถูกต้องเหมาะสม การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย การให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วย และการจัดการการใช้ยาอันตรายสูง จะต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดจากเภสัชกร", "title": "เภสัชกรรม" }, { "docid": "44984#28", "text": "เภสัชกรรมคลินิกเป็นสาขาทางเภสัชศาสตร์ที่เภสัชกรและนักเภสัชวิทยาดูแลผู้ป่วยและจัดหายาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการและป้องกันโรค เภสัชกรที่ทำงานในสาขานี้เรียกว่าเภสัชกรคลินิกซึ่งมักปฏิบัติการในคลินิกหรือโรงพยาบาล โดยปฏิบัติการร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข", "title": "เภสัชศาสตร์" } ]
4083
มาโต้ ซากุระ มีวันเกิดคือเกิดวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "196170#0", "text": "มาโต้ ซากุระ เป็นตัวละครสมมติจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ สาวน้อยนักเรียนปี 1 โรงเรียนเดียวกันกับที่ ชิโร่ เรียนอยู่ เธอเป็นน้องสาวของ มาโต้ ชินจิ หลังจากที่พ่อของชิโร่ เอมิยะ คิริซึงุ เสียชีวิต เธอก็ได้แวะเวียนมาหาชิโร่ที่บ้านบ่อยๆ ทุกเช้าเพื่อนที่จะช่วยเหลืองานบ้านของเขา ภายนอกเธอดูเหมือนคนขี้อาย แต่แท้จริงแล้วเธอมีพลังที่ยิ่งใหญ่ซุกซ่อนอยู่ภายใน นอกจากนั้นเธอยังแอบชอบชิโร่มานานแล้วด้วย วันเกิดของเธอคือวันที่ 2 มีนาคม กรุ๊ปเลือด O ในช่วงของ เฟท/ซีโร่ เธอสูง 120 ซม. น้ำหนัก 25 กก. 10 ปีผ่านไป เธอได้โตขึ้นเป็นสูง 156 ซม. น้ำหนัก 46 กก. และสัดส่วน B85/W56/H87", "title": "มาโต้ ซากุระ" } ]
[ { "docid": "196170#2", "text": "เธอคือน้องสาวร่วมสายเลือดของ โทซากะ ริน ที่ได้ถูกตระกูลมาโต้รับไปเป็นบุตรบุญธรรมเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะพ่อของเธอ โทซากะ โทคิโอมิ ซึ่งเป็นจอมเวทย์นั้นจะเลือกแค่เพียงลูกสาวเพียงหนึ่งคนไว้เพื่อเป็นคนสืบทอดตระกูลจอมเวทย์ โดยผู้ที่รับอุปถัมภ์เธอคือ มาโต้ โซเค็น ผู้เป็นพันธมิตรกับตระกูลโทซากะมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เพราะเหตุผลที่จะใช้เธอเป็นเครื่องมือแทน มาโต้ ชินจิ ลูกหลานของตนที่ไม่สามารถใช้เวทมนตร์ได้", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "71944#5", "text": "ซึ่งในอะนิเมะจะบ่งบอกได้ว่าเขาได้ใช้คำสั่งมนตราบังคับเพื่อข่มขืนไรเดอร์ และยังข่มขืนซากุระ น้องสาวของตนเองอีกด้วย", "title": "มาโต้ ชินจิ" }, { "docid": "17455#7", "text": "มีผมที่ยาวขึ้น ไม่มีคิ้ว มีนัยน์ตาเป็นสีฟ้า และมีสายฟ้ารอบตัว เป็นร่างที่พัฒนามาจากซุปเปอร์ไซย่า 2 โดยร่างนี้เกิดจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยจะมีพลังและความเร็วเพิ่มขึ้นจากเดิม 400 เท่า เป็นร่างที่ใช้พลังงานมากและร่างกายจะได้รับภาระอย่างหนัก จึงไม่ค่อยได้ใช้สักเท่าไหร่ โดยจะปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงที่สู้กับจอมมารบู", "title": "ซง โกคู" }, { "docid": "196170#7", "text": "ถึงเธอจะเติบโตมาในตระกูลมาโต้ แต่แท้จริงแล้วในตัวเธอก็มีพลังเวทย์ปริมาณมหาศาลซุกซ่อนอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มาตามสายเลือดของโทซากะ แต่ถึงกระนั้นเธอก็ยังมีความรู้ในเรื่องของการใช้เวทมนตร์ และเรื่องที่มานาของเธอถูกจำกัดโดยหนอนของโซเค็นเพียงนิดหน่อยเท่านั้น แม้ว่าเธอจะมีความรู้ในศาสตร์ของตระกูลมาโต้เพียงแค่เป็นทฤษฎี แต่เธอก็เหมาะสมสำหรับการเป็นจอมเวทย์มากกว่าด้วยสายเลือดของเธอ และตัวของเธอที่ถูกบังคับให้ปรับตัวเข้ากับหนอนของโซเค็น เพื่อให้สามารถให้ใช้เวทมนตร์เฉพาะของตระกูลมาโต้ได้ นอกจากนั้น หนอนของโซเค็นยังสามารถทำให้เธอเป็นเหมือนกับ อังรี มานยุ ในตอนที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือเป็น \"เงา\" นั่นเอง ซึ่งทำให้ซากุระต้องทำเดินตามเส้นทางที่โซเค็นกำหนดเอาไว้ด้วยความกลัว อย่างไรก็ตาม หากซากุระบิดเบือนไม่ยอมทำตามที่โซเค็นควบคุม และควบคุมตัวเธอเอง เธอจะกลายเป็น ซากุระด้านมืด ซึ่งเป็นด้านที่โหดร้ายอย่างที่ผิดกับตัวเธอแต่เดิมมากที่สุด เธอจะกลายเป็นคนไร้เหตุผลและอารมณ์ และจ้องแต่จะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างรอบข้างเธอในที่สุด", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "71944#1", "text": "พี่ชายของซากุระ และเพื่อนเก่าของชิโร่ เขาเป็นรองประธานชมรมยิงธนูของโรงเรียนที่ออกจะหลงตัวเองและเป็นที่นิยมในหมู่สาวๆ เขาไม่ได้มีความสามารถโดดเด่นในเชิงเวทย์เช่นเดียวกับชิโร่ แม้ว่าตระกูลมาโต้จะเป็นตระกูลผู้ใช้เวทมนตร์ แต่เขากลับไม่มีความสามารถในเชิงเวทย์เลย จึงทำให้เขาไม่พอใจ และพยายามที่จะพิสูจน์ให้คนอื่นเห็นว่าตนเองก็มีดีด้วยการเข้าร่วมสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 5 นี้ บวกกับความทะเยอทะยานอยากของเขา จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าเขาจะหักหลังเพื่อนของเขาได้อย่างหน้าตาเฉยเพื่อตัวเขาเอง เขาไม่พอใจที่ซากุระน้องสาวของเขาไปหาชิโร่ที่บ้านทุกวันๆ เขาจึงเสนอข้อตกลงกับรินในการร่วมมือกันในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ แต่รินก็ได้ปฏิเสธไปเพราะรู้ถึงเนื้อแท้ของเขานั่นเอง", "title": "มาโต้ ชินจิ" }, { "docid": "87490#6", "text": "เธอคือภรรยาของ โทซากะ โทคิโอมิ มีลูกสาวสองคนคือ ริน และ ซากุระ นอกจากนั้นเธอยังเป็นเพื่อนสมัยเด็กของ มาโต้ คาริยะ ชื่อเดิมของเธอคือ เซนโจ อาโออิ", "title": "โทซากะ อาโออิ" }, { "docid": "196170#13", "text": "ใน อิคลิพส์ ซึ่งเป็นบทพิเศษใน อทาราเซีย เธอได้ร่วมมือกับไรเดอร์ในการยั่วยวนชิโร่ และช่วยกันปรนนิบัติเขา ซึ่งเหตุผลที่ไรเดอร์ทำแบบนี้ก็เพื่อให้ชิโร่หันมาสนใจในตัวมาสเตอร์ของเธอมากยิ่งขึ้น แต่แท้จริงนั่นเป็นเพียงมนต์ของไรเดอร์ ที่อนุมานตัวซากุระขึ้นมาเพื่อแสดงความต้องการที่แท้จริงของตัวเธอเองเท่านั้น", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "196170#4", "text": "ในช่วงที่อาศัยอยู่กับตระกูลมาโต้ เธอได้ถูกข่มเหงทั้งทางกายและใจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งโซเคนได้หาทางที่จะใช้เธอเป็นภาชนะในการรองรับจอกศักดิ์สิทธิ์ในอนาคต โดยใช้พลังของ อังรี มานยุ รวมเข้ากับเศษซากของจอกศักดิ์สิทธิ์ในสงครามครั้งก่อน เขาได้ผสมเลือดสีดำที่เขาได้เก็บสะสมไว้ เข้ากับหนอนที่เขาเพาะไว้ และฝังหนอนเหล่านั้นไว้ในร่างของซากุระ เพื่อที่จะให้มันดูดมานาของเธอ และเพิ่มความต้องการทางเพศอย่างรุนแรงให้กับเธอแทน เพื่อที่จะระงับความรุนแรงนั้น เขาจึงได้สอนให้ชินจิข่มขืนซากุระอยู่เป็นประจำ และด้วยความจงเกลียดจงชังในตัวของซากุระที่ช่วงชิงสิ่งที่เขาควรจะเป็นในนามของตระกูลมาโต้ไป เขาจึงข่มเหงซากุระอย่างทารุณต่อไปด้วยความต้องการของตัวเขาเองเช่นกัน และด้วยตัวหนอนที่โซเคนได้ฝังไว้ในร่างกายของเธอนั้นเอง ทำให้เธอมีสีผมและสีตาเป็นสีม่วงเหมือนสมาชิกคนอื่นๆ ในตระกูลมาโต้", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "78170#2", "text": "เชาหลาง เด็กชายผู้มีเชื้อสายของโคลว์ รีด ผู้ที่สร้างโคลว์การ์ดขั้นมา เขาเดินทางมาจากเกาะฮ่องกง พร้อมกับพกพาความเชื่อว่าคนที่สามารถรวบรวมโคลว์การ์ดได้นั้นต้องเป็นเขา ไม่ใช่ซากุระ คิโนโมโตะ ตามเนื้อเรื่องเขาปรากฏตัวครั้งแรกในฐานะของคู่แข่ง (ในอะนิเมะเขาสามารถรวบรวมโคลว์การ์ดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏในหนังสือการ์ตูนก็ตาม) หลังจากที่ซากุระสามารถเอาชนะยูเอะและได้กลายมาเป็นเจ้าของโคลว์การ์ดแล้วนั้น เขาก็ได้เลิกล้มความคิดในการพยายามรวบรวมโคลว์การ์ดและกลายมาเป็นเพื่อนกับซากุระ เขาเป็นคนไม่ค่อยพูดคุยกับใครเท่าไหร่ จริงจังกับทุกเรื่อง จะใส่ใจแค่เรื่องที่ตนเองสนใจเท่านั้นทำให้ภายนอกดูเป็นคนเย็นชา แต่จริงๆแล้วเชาหลางเป็นคนชอบช่วยเหลือคนอื่นและมีน้ำใจกับเพื่อนเสมอโดยเฉพาะกับซากุระ ", "title": "ลี เชารัน" }, { "docid": "3935#4", "text": "ซากุราดะ เนเน่ มีชื่อเล่นว่า เนเน่จัง เป็นเด็กสาวในกลุ่มของชินโนะสุเกะ มีนิสัยขี้โมโห ชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน(โดยเฉพาะครูที่โรงเรียน) แต่ซ่อนไว้โดยการทำนิสัยน่ารัก ชอบเล่นพ่อแม่ลูกเป็นชีวิตจิตใจและบังคับให้คนอื่นเล่นด้วย เนเน่จังจะต่อยตุ๊กตากระต่ายตัวเล็กที่ติดตัวไว้ใต้ชุดกระโปรงเป็นการระบายอารมณ์ ซึ่งเลียนแบบมาจากคุณแม่ของเนเน่จังนั่นเองอนาคต ตกงาน ต่อมาเป็นครูแต่จนมาก คาซาม่า โทโอรุ มีชื่อเล่นว่า คาซามะคุง เป็นเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่ยุ่งอยู่กับธุรกิจ จึงต้องอยู่ที่แมนชั่น เพื่อให้ สะดวกต่อการย้ายบ้าน จึงทำให้คาซาม่าคุง มีนิสัยขี้โอ่ ชอบอวดร่ำอวดรวยในบางครั้ง และยังติดแม่มาก แต่เป็นเด็กเรียนดีของห้อง เพราะเรียนพิเศษ (บางครั้งก็ไม่อยากเรียน) มักถูกชินโนซึเกะแซวเล่นและคอยปั่นป่วนตลอดเวลา เลยทำให้ไม่กล้าเปิดเผยความชอบส่วนตัวสักเท่าไหร่ (เช่นชอบการ์ตูนสาวน้อยเวทมนตร์ โมเอะ-P) เกรงจะถูกชินโนะสุเกะเอาไปล้อ จริง ๆ แล้วเป็นเพื่อนที่สนิทกับชินจังมาก ชอบแต่งคอสเพลย์เนตัวละครหญิง ในปี2010อยู่มหาวิทยาลัยโตเกียว อนาคต ทำงานและมีธุรกิจเป็นตัวเองและทำงานให้กับคาเงะอาริแต่เลิกทำงานและหางานทำ ซาโต้ มาซาโอะ มีชื่อเล่นว่า มาซาโอะคุง เป็นเด็กผมโล้น มีนิสัยขี้ระแวง ขี้แย อ่อนแอ ถูกหลอกง่ายจึงมักถูกเพื่อน ๆลากไปสร้างวีรกรรมเสมอ ๆ (โดยเฉพาะเนเน่จัง)แต่บางครั้งก็ดูเข้มแข็งขึ้น(จะเห็นได้ชัดจากฉบับการ์ตูนภาพยนตร์) มักถูกเด็กประถมรังแกบ่อยครั้ง มีฉายาว่า หัวข้าวปั้น หลงรักไอย์จังอย่างโงหัวไม่ขึ้นตั้งแต่ไอย์จังมาอยู่โรงเรียนนี้ ถึงแม้ว่าเจ้าตัวจะหลงรักชินโนะซิเกะก็ตาม อนาคต มาซาโอะทำงานขายของแต่ไม่ใช่นักเขียนการ์ตูน โบจัง เป็นเด็กที่พูดน้อยและตัวสูงที่สุดในกลุ่ม ลักษณะเด่นคือ มีน้ำมูกไหลย้อยตลอดเวลาและพูดแค่คำว่า \"โบ\" มีความลับอยู่ในเรื่องครอบครัว เพราะไม่ปรากฏพ่อโบจังเลย (มีตอนที่กลุ่มชินจังพยายามตามสืบหาพ่อแม่ของโบจัง แต่พบแม่โบจังไม่ชัดเจน) มีความเก่งด้านศิลปะเชิงนามธรรม ได่รับรางวัลประกวดวาดภาพหลายครั้ง เช่น หัวใจของอีกา ชอบสะสมหินรูปร่างแปลก ๆ อนาคต ทำงานเป็นนักวิทยาศาตร์ ซึโอโตเมะ ไอย์ มีชื่อเล่นว่า ไอย์จัง เป็นคุณหนูลูกเศรษฐี เป็นทั้งเพื่อนและคู่กัดของเนเน่จัง ปรากฏตัวในหนังสือการ์ตูนเล่มที่ 16 มักจะชอบพูดจาเกี่ยวกับเรื่องฐานะ ซึ่งทำให้มีปัญหากับเนเน่จังอยู่บ่อยครั้ง หลงรักชินโนะสุเกะมาก แต่เจ้าตัวไม่สนใจ มีความสามารถพิเศษในการจัดงานต่าง ๆ (โดยใช้บอดี้การ์ด) และทำให้เด็กผู้ชายคนอื่น ๆตกหลุมรักได้ อนาคต ไม่เป็นเศรษฐีเพราะบ้านถูกทำลายและทำงานอยู่", "title": "เครยอนชินจัง" }, { "docid": "196170#8", "text": "ซากุระด้านมืด จะสามารถสะสมมานาไว้ได้ไม่จำกัดปริมาณ แต่เธอก็สามารถที่จะปล่อยมันออกมาเป็นวงจรเวทย์ได้ โดยสิ่งที่แตะต้องเธอในขณะที่เธออยู่ในด้านมืด ทุกสิ่งจะถูกหลอมละลายและแปรสภาพเป็นมานาบริสุทธิ์ให้กับเธอ และเมื่อสิ่งที่มีลักษณะคล้ายวิญญาน อย่างเช่นพวกข้ารับใช้ เมื่อถูกสัมผัสโดย “เงา” ของเธอ ทั้งจิตใจและร่างกายของข้ารับใช้เหล่านั้นจะถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นด้านมืด ซึ่งจะส่งผลให้ข้ารับใช้เหล่านั้นแข็งแกร่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนั้น เธอยังสามารถควบคุม “เงา” ของเธอให้อยู่ในรูปร่างคล้ายหนวด หรือแม้แต่สร้างอสูรขึ้นมาจากเงาของตนเองเพื่อใช้งานได้ และเธอยังมีความสามารถในการฟื้นฟูสภาพร่างกายขั้นสูงอีกด้วย", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "76637#15", "text": "ทากาชิ ยามาซากิ () \nเพื่อนร่วมชั้นอีกคนหนึ่งของซากุระ ซากุระเรียกเขาว่า \"ยามาซากิคุง\" เขาชอบเล่าเรื่องโกหกให้เพื่อน ๆ ในชั้นฟังเป็นประจำ ในตอนท้ายของเรื่อง [[จิฮารุ มิฮาระ]] บอกกับทุกคนว่าในที่สุดก็มีเรื่องที่เขาไม่พูดโกหก และนั่นก็ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่เรื่องเดียวเท่านั้นที่เขาไม่โกหก อย่างไรก็ตาม คนที่เข้ากับเขาได้อย่างเป็นปี่เป็นขลุ่ยกลับเป็น[[เอเรียล ฮีรากิซาวา]] (CV:[[อิซเซ มิยาซากิ]])ฟูจิทากะ คิโนโมโตะ () \nอาจารย์คิโนโมโตะ อาจารย์สอนวิชาโบราณคดีประจำมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขาพบ[[นาเดชิโกะ อามามิยะ]] เมื่อครั้งที่ยังสอนหนังสืออยู่ในโรงเรียนมัธยม ในตอนนั้นเขาอายุได้ 27 ปี และนาเดชิโกะอายุได้ 16 ปี ครอบครัวของเธอไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานครั้งนี้ อย่างไรก็ตามเขาเป็นคนสุภาพและใจดีคนหนึ่งเป็นที่พึ่งของซากุระเสมอ แท้จริงแล้วเขาคือ อีกครึ่งหนึ่งของโคลว์ที่กลับมาเกิด เวลาว่างเขามักจะชอบทำอาหารและงานฝีมือต่าง ๆ เขาเป็นคนที่ห่วงใยทั้งซากุระและโทยะอย่างมาก (CV:[[ฮิเดยูกิ ทานากะ]])โยชิยูกิ เทราดะ () \nอาจารย์ประจำชั้นอีกคนของซากุระ และเป็นอาจารย์สอนวิชา[[ฟิสิกส์]] และคณิตศาสตร์ เขารู้ว่า ริกะ ซาซากิ ชอบเขา ทำให้เขารู้สึกขัดเขินใจเล็กน้อยและรักษาน้ำใจเธออยู่เสมอ (CV:[[โทรุ ฟุรุซาวะ]] / [[คัตสึยูกิ โคนิชิ]])นาเดชิโกะ คิโนโมโตะ () \nแม่ของซากุระ เธอแต่งงานกับ[[ฟูจิทากะ คิโนโมโตะ]]อาจารย์ที่สอนหนังสือเธอเมื่อสมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยม เมื่ออายุได้ 16 ปี ซึ่งนั่นก็เป็นการสร้างความแตกร้าวครั้งใหญ่ให้กับครอบครัวของเธอ ทั้ง[[โซโนมิ ไดโดจิ]]และ[[มาซากิ อามามิยะ]]ต่างพากันต่อว่าตำหนิฟูจิทากะว่าพรากเอาเธอไปจากพวกเขา นาเดชิโกะเป็นผู้หญิงสวย เธอเป็นนางแบบ เธอไม่ถนัดทั้งเรื่องการทำอาหารหรือแม้แต่งานฝีมือ มีรูปภาพของเธอมากกมายวางอยู่ภายในบ้าน เมื่อซากุระอายุได้ 3 ขวบเธอก็ล้มป่วยและตายจากไป อย่างไรก็ตามเธอก็ยังคงวนเวียนคอยดูแลใกล้พวกเขาเหล่านั้น (CV:[[ยูโกะ มินางุจิ]])โซโนมิ ไดโดจิ () \nลูกพี่ลูกน้องของ[[นาเดชิโกะ คิโนโมโตะ]] เธอพบกับนาเดชิโกะเมื่อครั้งยังเรียนหนังสืออยู่ และมักจะโกรธเคืองฟูจิทากะเวลาที่เขาพูดคุยอยู่กับนาเดชิโกะ ถึงกระนั้นเธอก็ยอมรับว่าเวลาที่นาเดชิโกะอยู่กับฟูจิทากะเธอจะมีความสุขมาก โซโนมิมักจะยุ่งอยู่กับงานในบริษัทของเธอเสมอ แต่ในบางครั้งเธอก็สละเวลามาดูแล[[โทโมโยะ ไดโดจิ|โทโมโยะ]]ลูกสาวของเธอ ของเล่นต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นในบริษัทของเธอ เธอจะถูกส่งมาให้โทโมโยะเป็นประจำ ซึ่งโทโมโยะจะนำมันมาแบ่งให้ซากุระ เชารัน และ เคโระจังได้ใช้อยู่เสมอ ๆ (CV:[[มิกิ อิโต้]])มากิ มัทซึโมโตะ () \nเจ้าของร้านทวิน เบลล์ (Twin Bells) ร้านตุ๊กตาและของกิ๊ฟต์ช็อปที่กลุ่มของซากุระมักแวะไปหาด้วยบ่อย ๆ ร้านที่เธอเปิดนั้น ที่จริงแล้วเป็นร้านที่สามีของเธอที่เสียชีวิตไปก่อนหน้าใฝ่ฝันอยากจะมี เธอเป็นคนทั้งใจดีและสุภาพอ่อนโยน (CV:[[โคโตโนะ มิตสึอิชิ]])มาซากิ อามามิยะ () \nตาของนาเดชิโกะและโซโนมิ เขาเป็นทวดของซากุระและโทยะ เขาอาศัยอยู่นอกเมืองเพียงลำพัง เมื่อครั้งที่นาเดชิโกะแม่ของซากุระยังมีชีวิตอยู่นั้นเวลาที่เธอกลับมาเยี่ยมเขาจะเป็นเวลาที่เขามีความสุขมากที่สุด เขายังคงเก็บภาพสายรุ้งที่เธอวาดให้เขา นับตั้งแต่นาเดชิโกะแต่งงานกับฟูจิทากะ คิโนโมโตะ เขาก็ไม่เคยพูดคุยหรือพบหน้าครอบครัวของซากุระอีกเลย แต่จะมีโซโนมิที่เป็นคนกลางคอยติดต่อให้ระหว่างมาซากิ อามามิยะ กับ ฟูจิทากะ คิโนโมโตะ มีตอนหนึ่งที่พ่อของซากุระพา ครอบครัวไปเที่ยวที่บ้านพักต่างจังหวัด คุณพ่อบอกให้ซากุระเอาขนมไปให้บ้านพักที่อยู่ติดกัน โดยที่ไม่บอกซากุระว่า คุณตาที่บ้านนั้นเป็นใคร เมื่อมาซากิได้พบซากุระก็นึกถึงนาเดชิโกะ แล้วยกชุดเด็กผู้หญิงที่เคยเป็นของนาเดชิโกะให้กับซากุระไป มาซากิ แกล้งถามซากุระว่า คุณพ่อของซากุระเป็นคนยังไงด้วยใบหน้าที่ไม่ค่อยชอบใจ แต่หลังจากที่ได้ฟังซากุระพูดชมและบอกว่ารักพ่อมาก ทำให้มาซากิรู้สึกดีขึ้นว่านาเดชิโกะไม่ได้เลือกคนผิด เหตุการณ์นี้คนที่ทำให้ซากุระได้พบคุณทวด ก็คือฟูจิทากะและคุณแม่ของโทโมโยะ แต่สุดท้ายซากุระก็ยังไม่รู้ว่าคุณตาคนนั้น คือทวดของตัวเอง(CV:[[โอซามุ ซากะ]])[[หมวดหมู่:ตัวละครในซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์| ]]\n[[หมวดหมู่:รายชื่อตัวละครการ์ตูนญี่ปุ่น|ซ]]", "title": "รายชื่อตัวละครในซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์" }, { "docid": "70553#15", "text": "มาโต้ ชินจิ ()พี่ชายชองซากุระ และเพื่อนรักของชิโร่ เขาเป็นรองประธานชมรมยิงธนูของโรงเรียนที่ออกจะหลงตัวเองและเป็นที่นิยมในหมู่สาวๆ คล้ายๆกับริน เขาไม่ได้มีความสามารถโดดเด่นในเชิงเวทเช่นเดียวกับชิโร่ แม้ว่าตระกูลมาโต้จะเป็นตระกูลผู้ใช้เวทมนตร์ แต่เขากลับไม่มีความสามารถในเชิงเวทเลย จึงทำให้เขาไม่พอใจ และพยายามที่จะพิสูจน์ให้คนอื่นเห็นว่าตนเองก็มีดีด้วยการเข้าร่วมสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 5 นี้ บวกกับความทะเยอทะยานอยากของเขา จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าเขาจะหักหลังเพื่อนของเขาได้อย่างหน้าตาเฉยเพื่อตัวเขาเอง เขาไม่พอใจที่ซากุระน้องสาวของเขาไปหาชิโร่ที่บ้านทุกวันๆ เขาจึงเสนอข้อตกลงกับรินในการร่วมมือกันในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ แต่รินก็ได้ปฏิเสธไปเพราะรู้ถึงเนื้อแท้ของเขานั่นเอง", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "14542#52", "text": "หน้าไพ่ & ลักษณะการปรากฏตัว:หญิงสาวมีปีกคลุมทั่วร่าง ทำผมคล้ายๆปีกผีเสื้อซากุระการ์ด เป็นการ์ดที่เกิดขึ้นที่หลังจากที่ได้รวบรวม Clow Cards ทั้ง 52 ใบข้างต้นครบแล้ว ซากุระได้สร้างการ์ดขึ้นมาอีก 2 ใบ ซึ่งจะมีสีและลักษณะไม่เหมือน Clow Cards คือจะมีสีชมพู และด้านล่างมีชื่อ ซากุระ ผู้ซึ่งเป็นคนสร้างการ์ดใบนี้ขึ้นมา\nแต่ในที่สุด การ์ด 2 ใบนี้จะผสานเข้าด้วยกันเป็นใบเดียวคือ", "title": "โคลว์การ์ด" }, { "docid": "76637#4", "text": "แท้จริงแล้ว เอริออลเป็นโคลว์รีดที่กลับชาติมาเกิดใหม่พร้อมกับซากุระ โดยก่อนที่จะตาย โคลว์รีดได้แบ่งวิญญาณของตนเป็นสองส่วนคือ คุณพ่อ\nของซากุระ คือ ฟูจิทากะ คิโนโมโตะ และตัวของเขา ซึ่งเขามาปรากฏตัวที่ญี่ปุ่น เพื่อที่จะให้ซากุระเปลี่ยนการ์ดที่โคลว์รีดสร้าง ให้กลายเป็นการ์ดที่\nซากุระสร้างด้วยตนเอง และเฝ้าช่วยเหลือซากุระในฐานะโคลว์รีดที่กลับชาติมาเกิด จนกว่าซากุระจะเปลี่ยนโคลว์การ์ดให้เป็นซากุระการ์ดได้หมด (CV:[[โนโซมุ ซาซากิ]])[[ไฟล์:Supinerusun.jpg‎|right|100px|สปิเนล ซัน]]\nสปิเนล ซัน () หรือ ชุปปี้\nสัตว์อสูร เอริออลเป็นคนสร้างขึ้นมา ในเวลาปกติรูปร่างจะคล้ายกับแมวสีดำมีปีกอยู่บริเวณกลางหลัง แต่ร่างที่แท้จริงนั้นเหมือนเสือดำตัวใหญ่ สปิเนล ซัน มีลักษณะคล้ายกับเคโระจัง และนอกจากนั้นมีสัญลักษณ์ของเขาก็ยังเป็นดวงอาทิตย์เหมือนกับเคโระจังอีกด้วย เขามักใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ในการอ่านหนังสือ สิ่งที่เขาไม่ชอบคือขนมหวาน นั่นก็เพราะเวลาเขาจะทานขนม ก็จะเกิดอาการเมาไม่ได้สติทุกครั้งและจะบินหาขนมทานไปทั่ว(CV:[[ยูมิ โทมะ]]", "title": "รายชื่อตัวละครในซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์" }, { "docid": "196170#14", "text": "หมวดหมู่:ตัวละครในมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "196170#15", "text": "en:List of Fate/stay night characters#Main characters", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "516436#1", "text": "หนังสือเรื่องมูซาชิ เล่าว่า มูซาชิเป็นบุตรของนักรบที่เกิดในเขต ฮาริมา มีชื่อเดิมว่า ทาเกโซ เกิดในตระกูล ชินเม็ง เหตุการณ์การต่อสู้ในท้องทุ่งพิฆาต เซกิงาฮารา กลับกลายและเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา ชื่อที่เป็นที่รู้จักของเขาคือ มิยาโมโต้ มูซาชิ เขาเป็นนักดาบที่มีชื่อเสียง ถึงกระทั่งบั้นปลายของชีวิตก็บรรลุผลสูงสุด ด้วยการเป็นครูทางจิตใจ มูซาชิ เป็นนักต่อสู้ธรรมดา ที่ต่อสู้เพื่อชนะ แต่ชีวิตของเขาเป็นทั้งเรื่องจริง ทั้งเป็นนิยายอย่างยิ่ง ที่ระดับวรรณกรรม และระดับโลก มูซาชิผ่านการต่อสู้ด้วยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันมากกว่า 60 ครั้ง เขามีความสามารถที่จะรบชนะ และมีความสูงสุดในวิชาการต่อสู้มากกว่าความเชี่ยวชาญในวิชาคัมภีร์ดาบแบบเก่า นิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องมูซาชิ ในภาษาไทย ประชาชนให้ความรู้จักและเรียกชื่อว่า หนังสือ มูซาชิ ฉบับท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลโดยนักเขียนที่ชำนาญวิชาการต่อสู้และภาษาญี่ปุ่น จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์คบไฟ ตามประวัติในหนังสือ เชื่อว่ามูซาชิมีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1584-1645 และบันทึกคัมภีร์ห้าห่วงก็เช่นกัน ได้ถูกเขียนขึ้น ในปีเดียวกันกับปีที่เขาเสียชีวิต เรื่องราวของมูซาชิในหนังสืออมตะนิยายเป็นเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจ เร้าใจ และเป็นที่นิยมกันอย่างล้นหลาม หนังสือมูซาชิฉบับอมตะนิยาย ของ โยชิคาว่า เอญิ ได้รับการแปลอย่างมาก ในเรื่องการต่อสู้ของสำนักโยชิโอกะ และการต่อสู้แบบซามูไรกับ ซาซากิ โคยิโร่ เพราะความนิยมจิตใจแบบซามูไร กระทั้งคำประพันธ์ ในหนังสือก็ได้รับการยกย่องและได้รับการยอมรับว่างดงามดุจดอกซากุระที่มีจิตวิญญาณทางอุดมคติที่แข็งแกร่ง และวิถีบูชิโดของนักรบเอง ก็ได้รับความนับถือมาจาก เรื่องมูซาชิ ซึ่งมีทั้งเรื่องจริง และที่ออกมาเป็นนิยายแบบวรรณกรรม", "title": "มูซาชิ" }, { "docid": "196170#9", "text": "บทบาทของเธอในเนื้อเรื่อง ทั้งบทเฟท และบท อันลิมิเต็ด เบลด เวิร์คส เธอจะเป็นเพียงแค่ตัวละครรองเท่านั้น แต่ในเนื้อเรื่องบทที่ 3 หรือบท เฮฟเว่นส์ ฟีล ซึ่งเป็นบทของเธอโดยเฉพาะ จะกล่าวถึงปูมหลังในช่วงที่เธออาศัยอยู่กับตระกูลมาโต้ โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ มาโต้ โซเคน ไม่พอใจที่ชินจิ หลานชายของตนไม่สามารถเป็นมาสเตอร์ได้ จึงได้ทำการล่าล้างข้ารับใช้ทุกตน โดยใช้ซากุระ และ ทรู แอสซาซิน เป็นเครื่องมือ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น เบอร์เซิร์กเกอร์, แลนเซอร์, เซเบอร์ และ อาเชอร์ ได้ตกลงสู่ตรีเอกานุภาพแห่งความมืด และเธอก็ได้เข้าครอบงำ เซเบอร์ด้านมืด และ เบอร์เซิร์กเกอร์ด้านมืด ให้เป็นข้ารับใช้ของเธออีกด้วย ในคืนเดียวกัน เธอก็ได้ออกอาละวาดทำลายเมืองฟุยูกิ สังหารผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก เพื่อสะสมมานานั่นเอง ในเหตุการณ์ครั้งนั้น กิลกาเมชก็ได้ปรากฏตัวขึ้น และโจมตีเธอด้วย เกท ออฟ บาบิโลน ของเขา แต่เมื่อต้องปะทะกับความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายอันเหนือธรรมชาติของเธอ จึงทำให้เธอแทบไม่ได้รับผลอะไรเลย และท้ายสุด เขาก็ได้ถูกกลืนกินเข้าไปอีกคน", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "196170#3", "text": "ใน เฟท/ซีโร่ ได้เปิดเผยว่า มาโต้ คาริยะ ลุงของซากุระในขณะนั้น ได้ทำข้อตกลงกับโซเค็น ไว้ว่าหากเขาชนะในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 เธอจะได้เป็นอิสระจากโซเค็น และกลับไปอยู่กับตระกูลโทซากะ ซึ่งตัวเขาเองเป็นสมาชิกในตระกูลมาโต้เพียงคนเดียวที่รักและห่วงใยซากุระ และเขายังเป็นเพื่อนกับ โทซากะ อาโออิ (แม่ของซากุระ) ตั้งแต่เด็กอีกด้วย เขาเข้ากันได้ดีกับซากุระ และพี่สาวของเธอ นอกจากนั้นเขายังเคยรักอาโออิเพียงข้างเดียว และยอมปล่อยเธอมีความสุขกับโทคิโอมิแต่โดยดี แต่เดิมเขาไม่เคยถูกฝึกให้เป็นจอมเวทย์ (ถึงแม้ว่าเขาจะมีความสามารถที่เหนือกว่า มาโต้ เบียคุยะ พ่อของชินจิ ซ่อนเอาไว้อยู่ก็ตามที) แต่เขาก็มีหนอนฝังอยู่ในร่างกายเขาเพื่อใช้ในการกระตุ้นวงจรเวทย์ในตัวเขา ซึ่งมันก็จะทำให้ชีวิตของเขาสั้นลง พร้อมกับทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเนื่องจากถูกกัดกินวงจรเวทย์ไปด้วยนั่นเอง กระนั้นแล้วเขาก็ยังเป็นมาสเตอร์ของข้ารับใช้สายเบอร์เซิร์กเกอร์ ซึ่งเป็นสายที่กินมานามากที่สุด จึงไม่แปลกถ้าเขาจะได้รับความพ่ายแพ้ในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 เพราะข้ารับใช้ของเขาเอง", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "78170#8", "text": "ก่อนหน้าที่ความสัมพันธ์ระหว่างเชารันกับซากุระจะเปลี่ยนไปจากการเป็นคู่แข่งกันนั้นดูเหมือนว่า เชารันจะมีความสนใจในตัวของยูกิโตะ ซึกิชิโระ เมื่ออยู่ใกล้ ๆ กันกับยูกิโตะนั้นเขามักจะมีอาการหน้าแดง ตื่นเต้นและจะวิ่งหนีออกไปแทบทุกครั้ง และนอกจากนั้นเขาเองก็รู้เช่นกันว่าซากุระก็หลงใหลในตัวยูกิโตะ ดังนั้นจึงทำให้เขาพยายามแย่งความสนใจของยูกิโตะมาจากเธอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารที่ยูกิโตะชอบหรือทำมาให้ หรือคำชมในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งเขามารู้เอาในตอนหลังว่าเกิดจากพลังของดวงจันทร์ที่มีอยู่ในตัวของยูกิโตะส่งผลกระทบมายังเชารัน (นั่นเพราะพลังของทั้งยูกิโตะและเชารันต่างมีพื้นมาจากพลังดวงจันทร์ด้วยกันทั้งคู่) ซึ่งในด้านของซากุระแล้วการที่เธอชอบยูกิโตะนั้นไม่ใช้ผลที่สืบเนื่องมาจากพลังของดวงจันทร์เลย", "title": "ลี เชารัน" }, { "docid": "76637#7", "text": "ความจริงแล้ว เธอคอยช่วยฮิอิรางิซาวะ เอริออล เมื่อเธอรู้ว่าเขาคือ โคลว์รีดที่กลับชาติมาเกิด มีอยู่หลายครั้งที่เธอจะใช้กระดิ่งที่เธอบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ตกทอดกันมาในศาลเจ้า แต่แท้จริงแล้วนั่นเป็นสิ่งที่โคลว์รีดมอบให้กับเธอเพื่อมอบโอกาสให้ซากุระอีกครั้ง ในการทดสอบสุดท้าย (CV:[[เอมิ ชิโนฮาระ]])[[ไฟล์:Clowreed.jpg‎|right|100px|โคลว์รีด]]\nโควล์รีด () \nจอมเวทย์ที่มีพลังเวทมนตร์มากที่สุดคนหนึ่ง เขาเป็นคนที่สร้างโควล์การ์ดขึ้นมาโดยใช้การผสมผสาญกันระหว่างเวทมนตร์ตะวันออกและเวทมนตร์ตะวันตก นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้สร้าง[[เคลเบรอส (เคโระจัง)|เคลเบรอส]] และ [[ยูกิโตะ ซึกิชิโระ (ยูเอะ)|ยูเอะ]] เพื่อคอยปกป้องดูและโควล์การ์ด โควล์จากโลกนี้ไปเมื่อนานมาแล้วและเขาได้เลือกซากุระ เป็นผู้สืบทอดโคลว์การ์ด เคลเบรอสกล่าวไว้ว่าเขามีนิสัยเพี้ยนๆอยู่นิดหน่อย (CV:[[คาซึโอะ ฮายาชิ]])ชิโนโมโตะ อากิโฮะ ()\nเด็กผู้หญิงที่เป็นเพื่อนใหม่ของซากุระที่ย้ายมาจากฮ่องกง ซึ่งเธอเป็นลูกคุณหนูที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส และ เยอรมนี มาก่อนหน้านี้ เธอหลงรักไคโตะคุงและเข้ากันได้ดีกับซากุระ แต่เชาหลางดูไม่ค่อยวางใจเธอมากนัก (CV:[[มิโนริ สึซึกิ]])", "title": "รายชื่อตัวละครในซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์" }, { "docid": "14542#50", "text": "The Watery เคยช่วยซากุระในการจับการ์ด The Illusion โดยทำเป็นบาร์เรียน้ำ เพื่อลงไปตรวจสอบใต้ท้องน้ำ และ The Shadow ช่วยดับไฟ หลังจากที่จุดไฟโดย The Thunder การจับ The Watery มีอยู่ด้วยกันสองแบบ ดังนี้ (1) ภาคอะนิเมะ ซากุระไปธัศนศึกษาที่พิพิตพันธ์ที่นั้นเกิดเหตุการ์ณ์ประหลาดเกิดขึ้น หลังจากนั้นซากุระจึงไปสำรวจอีกครั้งกับคุณยูกิโตะ และได้เจอเข้ากับ The Watery หลังจากนั้น ซากุระได้มาอีกครั้ง เพื่อจับ The Watery โดยล่อให้ The Watery เข้าไปในห้องทำความเย็น The Watery จึงแข็งตัว และจับได้ในที่สุด (2) ภาคหนังสือการ์ตูน ที่โรงเรียนมีข่าวลือเกี่ยวกับสระน้ำ ในชั่วโมงว่ายน้ำของซากุระ ซากุระได้เจอกับ The Watery และหาหนทางจับมัน หลังจากนั้น ซากุระได้มาอีกครั้ง เพื่อจับ The Watery โดยล่อให้ The Watery เข้าไปในห้องทำความเย็น The Watery จึงแข็งตัว และจับได้ในที่สุด", "title": "โคลว์การ์ด" }, { "docid": "556487#85", "text": "ซากุระเฮอร์ริเคน มอเตอร์ไซต์ของไกมุ, บราโว, คุโรคาเงะ ที่เกิดจากการเปลี่ยนร่างจาก ซากุระล็อกซีด โรสแอ็กแท็คเกอร์ มอเตอร์ไซต์ของบารอน, ริวเกน, กริดอน ที่เกิดจากการเปลี่ยนร่างจาก โรสล็อกซีด แดนดิไลเนอร์ ยานโฮเวอร์คล้ายมอเตอร์ไซค์รูปดอกแดนดิไลน์ของ ไกมุ บารอน เหล่าคุโรคาเกะทรูปเปอร์ ที่เกิดจาก แดนดิไลน์ล๊อคซีด เป็นรูปแบบยานลอยตัว ทิวลิปฮอปเปอร์ ยานพาหนะที่มีขาขนาดใหญ่ 2 ขา มีพลังกระโดดสูง มีลำแสงที่ใช้เปิดแคร็กได้ ส่วนมากใช้โดยคุโรคาเกะทรูปเปอร์ของอิกดราซิล และอีกอันที่ดีเจซาการะได้มอบให้โคตะ สามารถใช้เป็นโหมดออโต้ที่ไม่ต้องมีคนบังคับขับก็ได้ โดยบริษัทยุกดราชิลคอร์ปอร์เรชันใช้เป็นระบบรักษาคววามปลอดภัยอัตโนมัติ", "title": "มาสค์ไรเดอร์ไกมุ" }, { "docid": "87490#8", "text": "โทคิโอมิได้ตัดสินใจที่จะมอบซากุระให้กับ มาโต้ โซเคน รับไปเลี้ยงดู ซึ่งสร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับเธอเป็นอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นเธอก็ยังคงไม่เปิดเผยความรู้สึกเศร้าโศกนี้ออกมาได้ เธอจึงหนีไปอาศัยอยู่ที่บ้านญาติของเธอพร้อมกับรินที่ยังเล็กอยู่ในช่วงที่สงครามกำลังเริ่มต้นขึ้น", "title": "โทซากะ อาโออิ" }, { "docid": "14447#6", "text": "การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาพยนตร์ภาคแรก () เรื่องราวของภาพยนตร์ตอนพิเศษนี้จะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างตอนในอนิเมะะที่ 35 และ 36 เนื้อเรื่องจะอยู่ในช่วงปิดเทอม ซากุระซึ่งในครั้งนั้นเธอจับลูกบอลรางวัลได้รางวัลไปเที่ยวฮ่องกง และเมื่อไปถึงฮ่องกง พวกเธอก็ได้พบว่าการมาฮ่องกงครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ ในตอนพิเศษนี้ ซากุระไม่ได้ต่อสู้กับโคลว์การ์ด หากแต่เป็นวิญญาณของหญิงสาวที่มีความเกี่ยวพันกับ โคลว์รีด ในอดีต", "title": "ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์" }, { "docid": "14447#17", "text": "ช่วงแรก เล่มที่ 1 - 6 (โคลว์การ์ด) สังเกตได้จาก หน้าปก ซากุระจะถือคฑาเวทย์ของโคลว์ ลีด หน้าด้านใน จะมีรูป คัมภีย์เวทมนตร์ของโคลว์ และคำว่า \"โคลว์การ์ด\" ยามใดเมื่อผนึกนี้คลายลง เมื่อนั้นหายนะจะเกิดขึ้นในโลกนี้...", "title": "ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์" }, { "docid": "196170#1", "text": "สำหรับ เสียงพากย์ ของซากุระนั้นคือเสียงของ ชิทายะ โนริโกะ ในภาษาญี่ปุ่น ส่วนภาษาอังกฤษนั้นเป็นของ เชอร์รี่ ลิน[1]", "title": "มาโต้ ซากุระ" }, { "docid": "168840#7", "text": "มาสเตอร์ที่แท้จริงของเธอนั้นคือ มาโต้ ซากุระ แต่ที่เธอมาเป็นข้ารับใช้ของชินจินั้นเป็นเพราะซากุระได้ถูกแย่งคำสั่งมนตราไป ถึงแม้ว่าเธอจะเป็นข้ารับใช้ของชินจิ แต่ในใจเธอก็ไม่ได้ต้องการทำเพื่อคนที่ชั่วช้าอย่างเขาเลยแม้แต่น้อย ที่เธอทำเป็นคอยรับใช้อย่างซื่อสัตย์นั้นเป็นเพราะต้องการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของข้ารับใช้ให้สมบูรณ์เท่านั้น และเพื่อเป็นการปกป้องซากุระ คนที่เหมือนกับเธอในหลายๆ อย่างเท่านั้น และในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 5 เธอก็ไม่ได้มีจุดประสงค์อะไรในจอกศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกันกับข้ารับใช้ตนอื่นๆ ในสงครามครั้งนี้", "title": "ไรเดอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)" } ]
4084
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงแต่งงานกับใคร?
[ { "docid": "19590#6", "text": "เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์[1] เพื่อทรงอภิเษกสมรสกับปีเตอร์ แลด เจนเซน ชาวอเมริกัน ในพระบรมหาราชวังตามราชประเพณี และเสด็จประทับอยู่สหรัฐอเมริกา ทั้งทรงเปลี่ยนพระนามเป็น จูลี เจนเซน (English: Julie Jensen)[5][6][7][8] ทั้งสองมีโอรส-ธิดา 3 คน ทั้งหมดเกิดในสหรัฐอเมริกา ได้แก่", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" } ]
[ { "docid": "19590#34", "text": "ครั้งที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงนั้น ทรงมีเครื่องอิสริยยศประจำพระองค์ที่ทรงได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเมื่อทรงลาออกฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์แล้ว ได้คืนเครื่องอิสริยยศดังกล่าวทั้งสิ้น เครื่องอิสรริยยศเหล่านั้นประกอบด้วย", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "47429#6", "text": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เริ่มทรงพระอักษรชั้นอนุบาล 1 ณ พระที่นั่งอุดร ณ วันที่ 10 มกราคม 2498", "title": "โรงเรียนจิตรลดา" }, { "docid": "198123#2", "text": "เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (ฐานันดรศักดิ์ในขณะนั้น) ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน พระราชทานชื่อเขื่อนนี้ว่า \"เขื่อนอุบลรัตน์\"", "title": "เขื่อนอุบลรัตน์" }, { "docid": "19590#20", "text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีพระปรีชาในกีฬาเรือใบ และเคยทรงลงแข่งกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อแปรพระราชฐานยังพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ ทรงเคยเข้าร่วมการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในฐานะนักกีฬาทีมชาติ ที่งานกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 และทรงทำคะแนนรวมได้เป็นที่ 1 เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงร่วมการแข่งขันเช่นกัน จึงได้รับพระราชทานเหรียญทองจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[16]", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "168370#9", "text": "หลังจากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรวรางกูร ขณะทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พร้อมด้วย คุณสิริกิติยา เจนเซน เสด็จพระราชดำเนินถึงโรงพยาบาลศิริราชตามลำดับ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "19590#44", "text": "พงศาวลีของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี 16. (=18) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว8. (=24) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว17. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี4. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก18. (=16) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว9. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า19. สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา2. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช20. ชุ่ม ชูกระมล10. ชู ชูกระมล21.5. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี22.11. คำ ชูกระมล23. ผา1. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี24. (=8) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว12. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ25. เจ้าจอมมารดาอ่วม6. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ26. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ13. หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร27. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา3. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ28. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์14. เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)29. หม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา7. หม่อมหลวงบัว กิติยากร30.15. ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)31.", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "19590#0", "text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี; ประสูติ: 5 เมษายน 2494) เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระเชษฐภคินีพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "19590#2", "text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494[2] เวลา 23.28 น. ณ โรงพยาบาลมองชัวซีส์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และได้เสด็จนิวัตพระนคร แล้วประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และเมื่อถึงงานพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศเมื่อประสูติ คือ \"สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี\" โดยพระนามของพระองค์มาจากพระนามและนามของพระประยูรญาติหลายพระองค์ อันได้แก่", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "19590#40", "text": "วัดศรีอุบลรัตนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อาคารปฏิบัติธรรม อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี วัดพรหมมหาจุฬามณี พรหมรังษี ตำบลดอนยออำเภอเมือง จังหวัดนครนายก อาคารปฏิบัติธรรม อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี วัดป่าท่าพง จังหวัดสระบุรี", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "41590#10", "text": "วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร , สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์, หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล, ", "title": "คุณพุ่ม เจนเซน" }, { "docid": "19590#18", "text": "ต่อมา รัฐบาลสหรัฐแม็กซิโกได้กราบทูลเชิญทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อทรงเป็นองค์ประธานในงานประชุมเยาวชนโลก (World Youth Conference) ประจำปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโก โดยเม็กซิโกให้ความสนใจโครงการทูบีนัมเบอร์วันและให้การยกย่องว่า เป็นต้นแบบในการป้องกันเยาวชนติดยาเสพติดเป็นผลสำเร็จ และต่างชื่นชมในความเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "181173#11", "text": "ปัจจุบัน ใช้เป็นที่ทรงงานในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อเสด็จออกรับบุคคลที่ขอเข้าเฝ้าและใช้เป็นกองงานในพระองค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี", "title": "สวนศิวาลัย" }, { "docid": "19590#11", "text": "เมื่อทรงหย่ากับปีเตอร์ แลด เจนเซน เมื่อ พ.ศ. 2541 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จนิวัตประเทศไทยและประทับอยู่เป็นการถาวรเมื่อ พ.ศ. 2544", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "19590#43", "text": "อาคารอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ อาคารอุบลรัตนราชกัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "45112#4", "text": "ปัจจุบันเป็นเขตพระราชฐานส่วนพระองค์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ใช้เป็นที่ประทับเป็นการถาวรหลังจากนิวัตประเทศไทย ควบคู่กับ พระตำหนักพลอยปทุม จ.ปทุมธานี โดยด้านหลังของพระที่นั่งองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้าง อาคารรับรองด้านหลัง A และ B ใช้เป็นที่พักรับรองผู้ติดตามพระราชอาคันตุกะชั้นประมุขและพระราชวงศ์ชั้นสูง ปัจจุบัน ใช้เป็นที่ทรงงานในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อเสด็จออกรับบุคคลที่ขอเข้าเฝ้า และใช้เป็นกองงานในพระองค์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ", "title": "พระที่นั่งบรมพิมาน" }, { "docid": "230857#8", "text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าร่วมแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบัน คือ กีฬาซีเกมส์) ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 9 ถึง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 โดยทรงลงแข่งขันในกีฬาเรือใบประเภท โอ เค ซึ่งเป็นเรือที่ทรงต่อเอง ร่วมกับ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระราชธิดาพระองค์โต ทรงร่วมการแข่งขันในฐานะนักกีฬาทีมชาติไทยคนหนึ่ง ทรงซ้อมและเก็บตัวเหมือนนักกีฬาทั่วไป", "title": "การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "19590#9", "text": "เมื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประทับอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น บางปีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จมาเยี่ยมบ้าง และพระองค์เสด็จนิวัตประเทศไทยเพื่อทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้งได้ทรงร่วมงานพระราชพิธีต่าง ๆ พร้อมด้วยพระโอรสและพระธิดาดังนี้", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "19590#21", "text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรกซึ่งทรงเป็นดาราและทรงเล่นละครด้วยพระองค์เอง", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "19590#31", "text": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (5 เมษายน พ.ศ. 2494 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515) ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เจนเสน / จูลี เจนเซน[8][19] (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2541) ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน)", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "12935#28", "text": "อย่างไรก็ดี เนื่องจากความจำเป็นทางพระสุขภาพ ที่จะต้องทรงอยู่ในความดูแลของแพทย์ จึงตัดสินพระทัยเสด็จฯไปสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2493 โดยหนึ่งปีหลังจากนั้น ได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรกคือ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี” ที่เมืองโลซานน์ แต่ด้วยหน้าที่และสมควรแก่เวลา ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริจะเสด็จฯ กลับเมืองไทย เพื่อทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชน", "title": "พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "415256#3", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาประกอบพิธีฉลองสมโภชฝังลูกนิมิตร และยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม จึงได้ทูลเกล้าถวายพระอุโบสถหลังนี้ ให้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เปลี่ยนชื่อจากวัดศรีทองเป็น \"วัดศรีอุบลรัตนาราม\" ตามนามขององค์อุปถัมภ์", "title": "วัดศรีอุบลรัตนาราม" }, { "docid": "43442#1", "text": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติที่โรงพยาบาลแห่งนี้", "title": "สถานพยาบาลมงชัวซี" }, { "docid": "317870#1", "text": "ในปี 2495 ขณะที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรงพระครรภ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นพระอภิบาลทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ครั้นยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ จากนั้น ได้เป็นคุณพยาบาลผู้ใหญ่ประจำพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี", "title": "วิไล อมาตยกุล" }, { "docid": "19590#13", "text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจด้านการช่วยเหลือราษฎรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยทรงตั้งมูลนิธิชีวิตสดใสเป็นองค์การสาธารณกุศล", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "4219#7", "text": "จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ใหญ่) วัชรเรศร วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สอง) จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สาม) วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สี่) คุณพลอยไพลิน มหิดล เจนเซน และเดวิด วีลเลอร์ (พระธิดาคนโตในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและสามี) แม็กซิมัส วีลเลอร์ (พระนัดดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) ลีโอนาร์โด วีลเลอร์ (พระนัดดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) คุณสิริกิติยา เจนเซน (พระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย และสินธู ศรสงคราม (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสามี) ร้อยเอก จิทัศ และเจสสิกา ศรสงคราม (พระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และภรรยา) สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (อดีตหม่อมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร) ปีเตอร์ เจนเซน (อดีตพระสวามีในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) พลตรีหญิง ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (อดีตพระมเหสีในรัชกาลปัจจุบัน)", "title": "ราชวงศ์จักรี" }, { "docid": "181173#0", "text": "สวนศิวาลัย หรือ สวนขวา เป็นสวนภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของพระอภิเนาว์นิเวศน์อันเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชมณเฑียรดังกล่าวได้ชำรุดทรุดโทรมจำต้องรื้อถอนไปเกือบหมดสิ้น คงแก่อาคารสำคัญ เช่น พระพุทธรัตนสถาน พระที่นั่งมหิศรปราสาท และได้สร้างพระที่นั่งเพิ่มอีก 2 องค์ คือ พระที่นั่งบรมพิมาน และพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท และปรับเป็นสวน\nปัจจุบัน เป็นเขตพระราชฐานส่วนพระองค์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี โดยมีพระที่นั่งบรมพิมานเป็นที่ประทับเป็นการถาวรหลังจากทรงนิวัติประเทศไทย และอาคารรับรองด้านหลัง A และ B ใช้เป็นที่ทรงงานในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อเสด็จออกรับบุคคลที่ขอเข้าเฝ้า และใช้เป็นกองงานในพระองค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี", "title": "สวนศิวาลัย" }, { "docid": "405774#1", "text": "ท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ เริ่มเข้าทำงานเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อ พ.ศ.2498 โดยได้เข้าถวายการสอนแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งท่านเป็นอาจารย์คนแรกที่เข้าถวายการสอน พร้อมกับพระสหาย 7 คน ปัจจุบัน ท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ เป็นที่ปรึกษาโรงเรียนจิตรลดา", "title": "ทัศนีย์ บุณยคุปต์" }, { "docid": "12226#14", "text": "ต่อมา ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณีเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ จนกระทั่ง พระองค์มีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมีพระชันษาได้ 3 เดือน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระบรมราชินีจึงเสด็จนิวัติประเทศไทย", "title": "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" }, { "docid": "45706#27", "text": "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" } ]
4086
จังหวัดพิษณุโลก มีกี่อำเภอ?
[ { "docid": "5419#0", "text": "จังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี พ.ศ. 2558 จำนวน 863,404 คน[1] มีพื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 9 อำเภอ มีเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นเขตเมืองศูนย์กลางของจังหวัดและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงไชยบุรี ประเทศลาวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" } ]
[ { "docid": "400929#2", "text": "(1) พระราชธรรมคณี (นารถ ลวณรกฺโณ น.ธ.เอก) เจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม ตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "37994#62", "text": "สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้เป็นที่สักการบูชา ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ได้โปรดให้สร้างไว้อีก พระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรยังประดิษฐานไว้เป็นที่สักการบูชา อยู่ในพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (ปัจจุบันคือ พระที่นั่งบรมพิมาน) จนทุกวันนี้[53] ตราประจำจังหวัดของไทยที่มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดหนองบัวลำภู มีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในหลายแห่งทั่วประเทศ เช่น พระบรมราชานุสรณ์ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก, ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา, พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี, ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ริมหนองบัวลำภู ในจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นต้น มีการนำพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราขไปตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก[54][55] และค่ายทหารต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่จังหวัดพิษณุโลก ค่ายนเรศวร ที่จังหวัดลพบุรี ค่ายนเรศวรมหาราช ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนทางกรมตำรวจได้นำพระนามของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อค่ายตำรวจตระเวนชายแดนที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีว่า \"ค่ายนเรศวร\" ด้วยเช่นกัน[56] ชาวไทยนิยมนำหุ่นรูปไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาวไปบนบานกับพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะเชื่อกันว่าเป็นไก่พันธุ์เดียวกับตัวที่เอาชนะไก่ชนของพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีได้[57]", "title": "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" }, { "docid": "5419#32", "text": "จังหวัดพิษณุโลกแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 9 อำเภอมีดังนี้", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "118639#3", "text": "จากนั้นตัดผ่านอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร และเข้าสู่จังหวัดพิษณุโลกในเขตอำเภอบางระกำ จากนั้นจึงเข้าสู่อำเภอเมือง ผ่านสี่แยกหนองอ้อ (ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศใต้) แยกถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ สามแยกต้นหว้า (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1058 ทางเข้าเมืองพิษณุโลก) และสิ้นสุดที่สี่แยกบ้านคลองในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยตัดกับถนนสิงหวัฒน์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12) ชื่อเรียกถนนตั้งแต่แยกเอ็กซ-เรย์จนถึงสี่แยกบ้านคลองมีชื่อว่า ถนนสีหราชเดโชชัย", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117" }, { "docid": "208538#2", "text": "ถนนวงแหวนส่วนนี้เป็นถนนลาดยางขนาด 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจร มีสะพานต่างระดับที่แยกตัดกับถนนสิงหวัฒน์ และแยกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (พิษณุโลก - อุตรดิตถ์) นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามทางรถไฟ และสะพานข้ามแม่น้ำน่านอีกด้วยถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศใต้ มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกอินโดจีน (6 กิโลเมตรจากเมืองพิษณุโลก) จากนั้นมุ่งหน้าทางทิศใต้ แล้วจึงโค้งมาทางทิศตะวันตก ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1064 (ถนนบึงพระ) ผ่านวิทยาลัยเทคนิคสองแคว แล้วตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1063 (ทางไปอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก) ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำน่าน ผ่านสี่แยกหนองอ้อ (ถนนนครสวรรค์-พิษณุโลก) และสิ้นสุดโดยบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1065 (ทางไปอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก)", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126" }, { "docid": "6470#19", "text": "ต่อมาหลังจากการตัดเส้นทางรถไฟผ่านเมืองอุตรดิตถ์สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทำให้แหล่งชุมนุมการค้าย่านท่าเสาและท่าอิฐเริ่มหมดความสำคัญลง เพราะรถไฟสามารถวิ่งขึ้นเมืองเหนือได้โดยไม่ต้องหยุดขนถ่ายเสบียงที่เมืองอุตรดิตถ์ และประกอบกับการที่ทางราชการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ปิดกั้นแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าปลาในปี พ.ศ. 2510 ทำให้การคมนาคมทางน้ำยุติลงสิ้นเชิง โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้น เส้นทางคมนาคมทางถนนในจังหวัดอุตรดิตถ์มีเพียงไม่กี่เส้นทาง และด้วยทำเลที่ตั้งและความไม่สะดวกในการคมนาคมทางถนนในช่วงนั้นดังกล่าว ทำให้ตัวเมืองอุตรดิตถ์ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคเหนือกลายเป็นเมืองในมุมปิด ไม่เหมือนเมื่อครั้งการคมนาคมทางน้ำรุ่งเรือง และด้วยภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยดังกล่าว จึงทำให้ในช่วงต่อมารัฐบาลได้หันมาพัฒนาเมืองพิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างแทน[19]", "title": "จังหวัดอุตรดิตถ์" }, { "docid": "816546#0", "text": "โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพิษณุโลก เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่างท้องที่ประสบปัญหาอุทกภัย รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกทั่วไปฤดูฝนและฤดูแล้ง ตลอดจนสำหรับการอุปโภค-บริโภค มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำที่ระดับกักเก็บ 61.39 ตารางกิโลเมตร ความจุอ่าง 769 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตร 155,166 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวังทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก และอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกกั้นแม่น้ำแควน้อย", "title": "เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน" }, { "docid": "966906#1", "text": "ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 11 บ้านหนองหิน ตำบลพันชาลี อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ", "title": "วัดหนองกาดำบำรุงธรรมตำบลพันชาลีอำเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "97959#1", "text": "ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ) ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน) ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น หนองคาย ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด​ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย(บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม", "title": "ภาษาไทยถิ่นอีสาน" }, { "docid": "400929#4", "text": "(3) พระครูศรีสุธรรมาภรณ์ (ยงยุทธิ์ ป.ธ.6) รองเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก รูปที่ 1 วัดมะขามเตี้ย ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(1) พระราชธรรมคณี (นารถ ลวณรกฺโณ น.ธ.เอก) เจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม ตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "5487#3", "text": "ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ และอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพรหมพิราม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก และอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง", "title": "จังหวัดสุโขทัย" }, { "docid": "118639#1", "text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 ในช่วงนครสวรรค์ถึงพิษณุโลก สัญญาก่อสร้างเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 47 เดือนจนแล้วเสร็จ และเปิดใช้งานในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2525 โดยมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 131 กิโลเมตร แต่เดิมเป็นเส้นทางลาดยางขนาด 2 ช่องจราจร และได้รับการขยายเป็น 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจรตลอดเส้นทางในปี พ.ศ. 2545–2547 โดยมีบางช่วงในจังหวัดพิษณุโลกมีการขยายการจราจรถึง 12 ช่องจราจร โดยเป็นช่องทางหลัก ทิศทางละ 4 ช่องจราจร และช่องทางคู่ขนาน ทิศทางละ 2 ช่องจราจร (ช่วงหน้ามหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก) สำหรับช่วงที่เหลือมีการรวมสายทางทางหลวงหมายเลข 1325 และ 1104 ในช่วงอำเภอเมืองพิษณุโลกถึงอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1047 ในช่วงอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ถึงอำเภอบ้านโคก เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรตลอดสาย ", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117" }, { "docid": "947327#0", "text": "แม่น้ำแควน้อย มีต้นกำเนิดจากเขาสูงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดพิษณุโลก มีต้นน้ำอยู่ในอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นกลุ่มภูเขาในทิวเขาของหลวงพระบางและทิวเขาเพชรบูรณ์ ภูเขาที่เป็นต้นน้ำ ได้แก่ ภูไก่ห้อย ภูขัด ไหลลงมาในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านที่ราบหุบเขาแควน้อยซึ่งเป็นหุบเขาแคบๆทางตอนเหนือของอำเภอนครไทย ผ่านอำเภอวัดโบสถ์ มีเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริรัชกาลที่ 9 กักเก็บน้ำ ผ่านตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม และบรรจบกับแม่น้ำน่านในบริเวณบ้านปากโทกอำเภอเมืองพิษณุโลก รวมความยาวแม่น้ำแควน้อย 185 กิโลเมตร", "title": "แม่น้ำแควน้อย (จังหวัดพิษณุโลก)" }, { "docid": "75101#0", "text": "อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก", "title": "อำเภอเมืองพิษณุโลก" }, { "docid": "129000#2", "text": "เมื่อมาถึงแยกวังทอง บริเวณกิโลเมตรที่ 211+841 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 จะใช้เส้นทางนับเลขกิโลเมตรร่วมกันกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เป็นระยะทาง 11.894 กิโลเมตร จนถึงสี่แยกอินโดจีน ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จึงได้เริ่มต้นเส้นทางใหม่ บริเวณกิโลเมตรที่ 223+735 ขึ้นไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126) ที่แยกดงประโดก ผ่านอำเภอวัดโบสถ์ ผ่านตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิรามเพียง 11 กิโลเมตร แล้วเข้าอำเภอวัดโบสถ์อีกครั้ง ก่อนที่จะเข้าเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านตำบลนาอิน ตำบลนายาง อำเภอพิชัย ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน ตำบลวังกะพี้ ตำบลป่าเซ่า ตำบลคุ้งตะเภา ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ขึ้นเขาพลึงเข้าเขตจังหวัดแพร่ โดยบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ที่ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย โดยเส้นทางตั้งแต่พิษณุโลกถึงอำเภอเด่นชัย เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 13 จากนั้นใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 มาทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 11.513 กิโลเมตร แล้วแยกทางจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ที่ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย ไปทางทิศตะวันตก และผ่านอำเภอลองเป็นอำเภอสุดท้าย", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11" }, { "docid": "400929#5", "text": "(2) พระศรีรัตนมุนี (ขวัญรัก ป.ธ.9) เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก (ตามมติประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 05/2561 มติที่ 125/2561 เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ การเสนอแต่งตั้ง พระศรีรัตนมุนี ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ได้รับตราตั้งพระบัญชาฯ วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "5419#34", "text": "thumbnail|220px|ตัวเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลกมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 103 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง, เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพิษณุโลก, เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองอรัญญิก, เทศบาลตำบล 24 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 76 แห่ง[5] โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "709773#2", "text": "หลังจากการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 อัมพร จันทรวิจิตร ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 39 ของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ระหว่างดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ เช่น เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียนโรงเรียนบ้านสวนวิทยาคม อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียนโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนบ้านผาหลังมี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ", "title": "อัมพร จันทรวิจิตร" }, { "docid": "129000#1", "text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ที่ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี ตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีเส้นทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร มีระยะทางในจังหวัดสิงห์บุรีเพียง 7 กิโลเมตรเท่านั้น ก็เข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นข้ามคลองอนุศาสนนันท์ ข้ามทางรถไฟสายเหนือ แล้วตัดกับถนนพหลโยธิน (ครั้งที่ 1) ที่ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นเส้นทางตรงขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอท่าตะโก อำเภอไพศาลี อำเภอหนองบัว แล้วเข้าสู่เขตจังหวัดพิจิตร ผ่านอำเภอดงเจริญ แล้วตัดกับทางหลวงหมายเลข 113 (พิจิตร-บ้านวังชมภู) ที่ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ แล้วขึ้นไปอำเภอวังทรายพูน อำเภอสากเหล็ก และเข้าสู่เขตจังหวัดพิษณุโลก ผ่านอำเภอบางกระทุ่มเป็นระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร และไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่แยกวังทอง ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11" }, { "docid": "114522#3", "text": "ถนนในช่วงสุโขทัย–พิษณุโลก มีชื่อเรียกว่า ถนนสิงหวัฒน์ เริ่มต้นในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มุ่งไปยังทิศตะวันออก บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125 หรือถนนเลี่ยงเมืองสุโขทัย จากนั้นผ่านอำเภอกงไกรลาศ เข้าสู่จังหวัดพิษณุโลก ผ่านอำเภอพรหมพิราม จากนั้นเข้าสู่อำเภอเมืองพิษณุโลก ตัดกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 ที่แยกเลี่ยงเมือง (บ้านกร่าง) จากนั้นผ่านศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก ศาลหลักเมืองพิษณุโลก ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก สิ้นสุดที่เชิงสะพานนเรศวรริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ภายในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12" }, { "docid": "400929#6", "text": "(3) พระครูศรีสุธรรมาภรณ์ (ยงยุทธิ์ ป.ธ.6) รองเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก รูปที่ 1 วัดมะขามเตี้ย ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "114522#4", "text": "ถนนในช่วงพิษณุโลก–หล่มสัก มีชื่อเรียกว่า ถนนมิตรภาพ เป็นถนนสายที่สองที่ได้รับการช่วยเหลือในการก่อสร้างจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา หลังจากก่อสร้างถนนมิตรภาพสายแรก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ช่วงสระบุรี–นครราชสีมา) ถนนในช่วงนี้เริ่มต้นที่เชิงสะพานนเรศวร ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ตัดผ่านใจกลางเมืองพิษณุโลก ข้ามทางรถไฟสายเหนือ แล้วตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 กับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศใต้ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 ที่สี่แยกอินโดจีน แล้วบรรจบกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ ที่แยกซีพี จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกไปยังอำเภอวังทอง เข้าสู่เขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านอำเภอเขาค้อ จนสิ้นสุดที่สี่แยกพ่อขุนผาเมือง ซึ่งตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2466 ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันได้รับการขยายเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรตลอดทั้งสาย", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12" }, { "docid": "193388#1", "text": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เดิมชื่อ โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 289 หมู่ 5 ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดแห่งที่ 3 ของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้ทำการเปิดเรียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2517 สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2511 ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา (ต่อมาเป็นกรมสามัญศึกษา) ในขณะนั้นได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โดยมีนายมานะ เอี่ยมสกุล เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมและได้ปรารภกับ นายมานะ เอี่ยมสกุล ว่าต้องการจะได้ที่ดินประมาณ 200 ไร่ เพื่อก่อตั้งวิทยาลัยชั้นสูงหรือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ขึ้นในจังหวัดพิษณุโลกอีกหนึ่งแห่ง ต่อมานายละเมียน อัมพวะสิริ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมในสมัยนั้น ได้ทราบจากนายประเสริฐ สิทธิชัย ผู้จัดการโรงงานพิษณุโลกองค์การทอผ้า ว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าเป็นพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งกระทรวงกลาโหมควบคลุมดูแลอยู่ประมาณ 200 ไร่เศษ ตั้งอยู่ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายมานะ เอี่ยมสกุล ได้แจ้งให้อธิบดีกรมสามัญศึกษาทราบ ต่อมากรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ติดต่อขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาอีกหนึ่งแห่ง อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้แจ้งให้อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ทราบว่า กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกบนพื้นที่ดังกล่าวอีกหนึ่งแห่ง และได้เปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2517 โดยนายประสิทธิ์ มากลิ่น ดำรงตำแหน่งผู้บริหารคนแรกและได้เปิดรับนักเรียน ครั้งแรกระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง 186 คน ครูอาจารย์จำนวน 7 คน โดยได้ฝากที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมก่อน ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน 2518 นายประสิทธิ์มากลิ่น อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษาคนแรก ได้ทำการย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม มาทำการเรียน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน", "title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ" }, { "docid": "400929#3", "text": "(2) พระศรีรัตนมุนี (ขวัญรัก ป.ธ.9) เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก (ตามมติประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 05/2561 มติที่ 125/2561 เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ การเสนอแต่งตั้ง พระศรีรัตนมุนี ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ได้รับตราตั้งพระบัญชาฯ วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ", "title": "เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "5419#33", "text": "อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "684381#1", "text": "เริ่มต้นจากเมืองไชย แขวงอุดมไซ ประเทศลาว ผ่านทางหลวง 2W ผ่านพรมแดนลาวที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ถึงสามแยกแม่จั๊ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้าย ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ช่วงถนนพิษณุโลก - เด่นชัย ผ่านอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอตรอน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก ถึงสี่แยกอินโดจีน เลี้ยวขวาผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ช่วงถนนมิตรภาพ เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 ช่วงถนนนครสวรรค์ - พิษณุโลก ผ่านอำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ผ่านอำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอบึงนาราง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ผ่านอำเภอบรรพตพิสัย อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ บรรจบกับทางหลวงเอเชียสาย 2 ถนนพหลโยธิน ที่จังหวัดนครสวรรค์ รวมระยะทางที่ผ่านในประเทศลาว 203 กิโลเมตร และประเทศไทย 557 กิโลเมตร", "title": "ทางหลวงเอเชียสาย 13" }, { "docid": "5419#27", "text": "ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเนินมะปราง อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "182490#0", "text": "ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นศูนย์วิจัยด้านดัชนีความเป็นธรรมทางการแพทย์และการสาธารณสุข โดยเป็นหน่วยงานอิสระในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักงานตั้งอยู่ ณ อาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก \nปัจจุบันได้รับการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ(มศธส.) สำนักงานตั้งอยู่ที่ 173/113 หมู่ที่ 7 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000", "title": "ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" }, { "docid": "54475#1", "text": "อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว แต่เดิมเป็นวนอุทยานภูสอยดาว ได้สำรวจจัดตั้งเป็นวนอุทยานภูสอยดาว โดยสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 มีพื้นที่เพียง 20,000 ไร่ จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2535 กรมป่าไม้ได้จัดสรรงบประมาณให้สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลกทำการสำรวจพื้นที่ เพิ่มเติมเพื่อผนวกเข้ากับพื้นที่เดิมของวนอุทยานภูสอยดาว ผลการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และในเขตป่าไม้ถาวรตามป่าภูสอยดาวท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ป่าภูสอยดาว ท้องที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ตามมติคณะรัฐมนตรีได้เนื้อที่รวม 48,962.5 ไร่ หรือ 78.34 ตารางกิโลเมตร", "title": "อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว" } ]
4087
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "37927#0", "text": "นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิม พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (23 มกราคม พ.ศ. 2424 - 14 กันยายน พ.ศ. 2479) อดีตจเรทหารช่าง อดีตผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง อดีตเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และ ผู้ริเริ่มการค้นหาปิโตรเลียมในประเทศสยามเป็นครั้งแรก", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน" } ]
[ { "docid": "179409#1", "text": "หม่อมเจ้าโสภณภราไดย เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2473 มีโอรสคือ หม่อมราชวงศ์พรรธนภณ สวัสดิวัฒน์ (นามเดิม หม่อมราชวงศ์ฉัตรโสภณ สวัสดิวัตน์) ", "title": "หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์" }, { "docid": "50380#0", "text": "สถานีกำแพงเพชร (, รหัส BL12) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนกำแพงเพชร กรุงเทพมหานคร ใช้ชื่อตามถนนกำแพงเพชร ซึ่งตั้งตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ตั้งอยู่ใจกลางแหล่งค้าขายที่สำคัญคือตลาดนัดจตุจักร ตลาดกลางองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และตลาดสัตว์เลี้ยง องค์การส่งเสริมกิจการโคมนมแห่งประเทศไทย", "title": "สถานีกำแพงเพชร" }, { "docid": "74178#1", "text": "ครั้นวันรุ่งขึ้น วันที่ 8 มีนาคม 2448 ร.5 ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ตั้งหม่อมเจ้า บุตรีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล เป็นพระองค์เจ้าตามพระมารดา ตามกฎมณเฑียรบาลราชประเพณีที่มีมา โดยทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็น พระหลานเธอ พระองค์เจ้า ทั้งสายที่จะร่วมพระครรภ์สืบไป ", "title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร" }, { "docid": "45090#2", "text": "เจ้าลดาคำ เสกสมรสครั้งแรกกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระธิดาสององค์ได้แก่", "title": "เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่" }, { "docid": "307814#0", "text": "ตราบุรฉัตร เป็นตราวงกลมทำจากเหล็กหล่อสีแดงน้ำหมาก สร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ในการที่พระองค์ทรงนำรถจักรดีเซลคันแรกมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2471 โดยตราบุรฉัตรจะติดข้างรถจักรดีเซลไฟฟ้าทุกคัน", "title": "ตราบุรฉัตร" }, { "docid": "37927#1", "text": "พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาวาด ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2424 ขณะทรงพระเยาว์เริ่มศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน" }, { "docid": "46303#0", "text": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร (27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 — 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ประสูติแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร" }, { "docid": "37927#8", "text": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมกรมทางไปขึ้นกับกรมรถไฟหลวง โดยให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงรับผิดชอบงานสร้างถนนและสะพานทั่วประเทศ เช่น สะพานกษัตริย์ศึก เป็นสะพานลอยข้ามทางรถไฟแห่งแรก และสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง สะพานพุทธ สะพานพระราม 6", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน" }, { "docid": "224450#0", "text": "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม: สารสาส; 7 มิถุนายน พ.ศ. 2458 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2526) เป็นหม่อมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล", "title": "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา" }, { "docid": "74181#0", "text": "ศาสตราจารย์พิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร (12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524) พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล ประสูติเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 ", "title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร" }, { "docid": "161510#5", "text": "ประยอม ซองทอง สมรสกับ หม่อมราชวงศ์อรฉัตร สุขสวัสดิ์ ธิดาหม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ โอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช กับ หม่อมเขียน และหม่อมเจ้าหญิงกาญจนฉัตร ฉัตรไชย ธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน กับ หม่อมเพี้ยน สุรคุปต์ มีบุตรธิดา 3 คน คือ", "title": "ประยอม ซองทอง" }, { "docid": "145693#0", "text": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล (11 มิถุนายน พ.ศ. 2428 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506) เป็นพระธิดาพระองค์สุดท้องในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ และเป็นพระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน", "title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล" }, { "docid": "145693#3", "text": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล เป็นพระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน มีพระโอรส 1 องค์ และ พระธิดา 3 องค์ ซึ่งพระโอรสธิดาที่ประสูติแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล จะมีฐานันดรศักดิ์เป็น\"พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า\"ทั้งหมด", "title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล" }, { "docid": "573323#1", "text": "หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย ประสูติเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2472 เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินกับหม่อมเผือด พึ่งรักวงศ์ พระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย" }, { "docid": "46303#1", "text": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร มีพระนามเล่นว่า ตุ๊ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 พระองค์มีพระเชษฐภคินีและพระเชษฐา คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร, พระองค์เจ้าหญิง และพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร", "title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร" }, { "docid": "184771#27", "text": "เป็นทรงแปดเหลี่ยมซ้อนกัน ก่ออิฐถือปูนทำผิวหินล้าง มีลายปั้นเป็นแบบรักร้อยห้องทั้ง 4 ด้าน บนสุดเป็นฉัตรโลหะ 5 ชั้นตามพระนาม ภายในบรรจุพระสรีรางคารของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (ในเจ้าจอมมารดาวาด กัลยาณมิตร) พระชายา พระโอรสและพระธิดา ในสายราชสกุลฉัตรไชย", "title": "สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร" }, { "docid": "237529#1", "text": "หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล มีบุตรและธิดา คือหม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2501 สิริพระชันษา 44 ปี", "title": "หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย" }, { "docid": "37927#7", "text": "การดำเนินกิจการรถไฟในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงให้ชาวต่างประเทศเป็นผู้ควบคุมการบริหารกิจการทั้งหมด กระทั่งปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ ในปี พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า \"กรมรถไฟหลวง\" และให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และทรงบุกเบิกพัฒนากิจการต่างๆ ของกรมรถไฟหลวง ขยายเส้นทางเดินรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สายตะวันออกเฉียงเหนือทรงสร้างทางรถไฟจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี สายตะวันออกจากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ และในปี พ.ศ. 2471 พระองค์ยังได้ทรงสั่งซื้อรถจักรดีเซล จำนวน 2 คัน (หมายเลข 21 และ 22) จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยมีกำลัง 180 แรงม้า เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่า รถจักรไอน้ำลากจูงขบวนรถไม่สะดวก และไม่ประหยัด อีกทั้งลูกไฟที่กระจายออกมาเป็นอันตรายต่อผู้โดยสาร และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ไม้หมอนอีกด้วย ซึ่งรถจักรดีเซลทั้งสองคันดังกล่าว เป็นรถจักรดีเซลคันแรกในทวีปเอเชีย และถือว่าประเทศไทยนำรถจักรดีเซลเข้ามาใช้งานเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียด้วย [6]", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน" }, { "docid": "748853#1", "text": "หม่อมราชวงศ์อรฉัตร เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2485 เป็นธิดาในหม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ กับหม่อมเจ้ากาญจนฉัตร ฉัตรชัย พระนัดดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ต้นราชสกุลฉัตรชัย และเป็นพระนัดดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ต้นราชสกุลสุขสวัสดิ สำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมรสกับประยอม ซองทอง บุตรของฮด กับมี ซองทอง มีบุตรธิดา 3 คน คือ", "title": "หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง" }, { "docid": "718212#3", "text": "ภายหลังการถึงแก่พิราลัยของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ในปี พ.ศ. 2465 เจ้าบุญสารเสวตร์ จึงได้รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมป่าไม้ของเจ้าบิดาต่อเนื่องมา จนกระทั่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในกรมทางหลวง ภายใต้การบังคับบัญชาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน โดยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สร้างทางหลวงสายแพร่-น่าน", "title": "เจ้าบุญสารเสวตร์ ณ ลำปาง" }, { "docid": "37927#3", "text": "พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2447 ทรงรับราชการทหาร เหล่าทหารช่าง กรมยุทธนาธิการทหารบก ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่างพระองค์แรกในปี พ.ศ. 2451 และทรงดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลา 17 ปี ทรงนำความรู้ในวิชาการทหารแผนใหม่ตามแบบอย่างประเทศตะวันตกมาปรับปรุงกิจการทหารช่าง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่ และกองทัพ", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน" }, { "docid": "201004#14", "text": "ถนนเลียบโครงการโฮปเวลล์ หรือ โลคอลโรด เป็นถนนที่ก่อสร้างในเขตทางรถไฟ เส้นทางเลียบไปกับโครงสร้างของโครงการโฮปเวลล์ ก่อสร้างโดยงบประมาณของกรมทางหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 ส่วนเลียบทางรถไฟสายเหนือ-อีสาน มีชื่อเป็นทางการว่า ถนนกำแพงเพชร 5 และถนนกำแพงเพชร 6 และส่วนเลียบทางรถไฟสายตะวันออก มีชื่อเป็นทางการว่า ถนนกำแพงเพชร 7 ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน", "title": "โครงการโฮปเวลล์" }, { "docid": "608485#0", "text": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย ถือกำเนิดขึ้นระยะแรก ราวปี พ.ศ. 2470-2472 โดยพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงริเริ่มทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง เป็นครั้งแรกในประเทศสยาม โดยทรงตั้งชื่อว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” เนื่องจากส่งกระจายเสียงจากพระราชวังพญาไท และยังทรงมอบหมายให้กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยกองช่างวิทยุ ดำเนินการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง เป็นการคู่ขนานกับสถานีส่วนพระองค์ โดยผู้ฟังนิยมเรียกว่า “สถานีวิทยุศาลาแดง” เนื่องจากสถานีส่งกระจายเสียง ตั้งอยู่ในบริเวณย่านที่เรียกว่าศาลาแดง และต่อมาสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท เปิดกระจายเสียงอย่างเป็นทางการ เริ่มด้วยการถ่ายทอดเสียงสด กระแสพระราชดำรัส เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร", "title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย" }, { "docid": "45090#0", "text": "เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ (7 ธันวาคม พ.ศ. 2439 — 15 มิถุนายน พ.ศ. 2527) เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือท่านหนึ่ง ทั้งเคยเป็นอดีตหม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่" }, { "docid": "573323#0", "text": "หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย (15 มิถุนายน พ.ศ. 2472 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย" }, { "docid": "257786#0", "text": "ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี (นามเดิม: หม่อมเจ้าฉัตรสุดา ฉัตรไชย; เกิด: 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 — ถึงแก่อนิจกรรม 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2539) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน กับเจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ ", "title": "ฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี" }, { "docid": "608485#4", "text": "พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดี กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ในรัชกาลที่ 7 ทรงเป็นผู้บุกเบิกและริเริ่มใ ห้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยปี พ.ศ. 2470 พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ได้ทรงซื้อเครื่องส่งวิทยุเข้ามาเพื่อศึกษายังที่ประทับของพระองค์เองคือวังบ้านดอกไม้ ทั้งศึกษาและทดลองเอาโทรศัพท์และเสียงเพลงมาส่งเสียงพูด พร้อมเสียงดนตรีกระจายออกไป", "title": "วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย" }, { "docid": "74178#0", "text": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร (7 มีนาคม พ.ศ. 2448 — 11 สิงหาคม พ.ศ. 2513) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมลประสูติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2448 เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล ", "title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร" }, { "docid": "135194#0", "text": "ร้อยตรี หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย (6 ตุลาคม พ.ศ. 2477 - 13 มกราคม พ.ศ. 2553) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ประสูติแต่ หม่อมเอื้อม ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม อรุณทัต) และทรงเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้เขียนบทภาพยนตร์ชาวไทย สิ้นชีพิตักษัยที่วัง ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี หลังจากประชวรด้วยโรคพาร์กินสัน เป็นเวลาถึง 15 ปี ซึ่งหม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรไชย เป็นอนุชาต่างมารดา กับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ที่สิ้นพระชนม์ก่อนหม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย เพียง 1 เดือน นับเป็นการสูญเสียเจ้านายชั้นสูงที่นับถือของราชสกุลฉัตรชัย", "title": "หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย" } ]
4088
ร็อคแมน X เขียนขึ้นปีใด ?
[ { "docid": "313145#0", "text": "ร็อคแมน X เป็นหนังสือการ์ตูนที่วาดและเขียนโดยโยชิฮิโระ อิวาโมโตะ ซึ่งได้นำตัวละครจากเกมซีรีส์ ร็อคแมน X ซีรีส์ มาทำในรูปแบบหนังสือการ์ตูนโดยถูกเขียนในเนื้อหาของเกม ร็อคแมน X จนถึง ร็อคแมน X4 ได้เริ่มตีพิมพ์างนิตยสารคอมมิค บอมบอม ในเครือสำนักพิมพ์โคดันฉะ เริ่มตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1994 จนถึง ค.ศ. 1998", "title": "ร็อคแมน X (หนังสือการ์ตูน)" } ]
[ { "docid": "618701#5", "text": "ศิลปินชิปทูนชื่อลุค เอสควิเวล (นามแฝง A_Rival) เป็นผู้แต่งเพลงประกอบให้กับเกมนี้ เอสควิเวลมีส่วนร่วมในการแต่งเพลงนี้เมื่อเขาติดต่อจงฮุยผ่านยูทูป และแสดงความประสงค์เป็นผู้แต่งเพลงในเกมในช่วงปี พ.ศ. 2552-2553 เต็มเวลา หลังจากเขาได้ลองนำผลงานที่แต่งไปเทียบกับดนตรีที่ผู้อื่นแต่งให้เกมนี้ เอสควิเวลใช้วิธีผสมผสานเพลงของร็อคแมนกับเพลงของสตรีทไฟท์เตอร์ในบางเพลง ส่วนในเพลงอื่นเขาใช้วิธีนำทำนองบางส่วนมาจากเพลงอื่น ๆ ของร็อคแมน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียลักษณะทั่วไปของเพลงประกอบดั้งเดิม โดยทำนองที่เอสควิเวลเลือกใช้เป็นทำนองจากสองภาคแรกของเกมร็อคแมน แต่ก็ปรากฏว่ามีทำนองของภาค 3, 4 และ 5 ด้วย นอกจากนี้เขายังแต่งเพลงขึ้นมาใหม่อีกสองเพลง คือ ธีมของวิลลีแมป (Willy Map Theme) และต้นเพลงของเพลงจบเกม เพลงประกอบของเกมนี้มีการผสมผสานธีมที่ได้รับความนิยมของทั้งสองแฟรนไชส์ เป็นต้นว่าผสมผสานธีมของสเนคแมนใน\"ร็อคแมน 3 จุดจบของ ดร.ไวลี่!?\" กับธีมของดัลซิมใน\"สตรีทไฟท์เตอร์ II\" อัลบั้มเพลงประกอบอย่างเป็นทางการชื่อ \"Street Fighter X Mega Man OST\" ได้เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีผ่านทางเว็บไซต์ของเอสควิเวลเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555 นอกจากนี้ยังมีอีพีสี่เพลงชื่อ \"Street Fighter X Mega Man X-tended Vol. 1\" ออกมาในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556", "title": "สตรีทไฟท์เตอร์ X ร็อคแมน" }, { "docid": "231858#0", "text": "เป็นความสามารถของ X ที่เพิ่มความสามารถจำกัดเฉพาะตัวอย่างเช่น เกราะหัว มีความสามารถค้นหาไอเท็มได้(ร็อคแมน X2) และอื่นๆโดยมีพลังสุดยอดซ่อนอยู่ในชุดเกราะ อย่างเช่นภาค 2ท่าไม้ตายคือกีก้าแครชสามารถระเบิดร่างให้ศัตรูกระจุยได้ ในร็อคแมน X นี้ทุกภาคก็จะต้องตามหาแคปซูนของ Dr.ไลท์ เพื่อที่จะเพิ่มความสามารถของ X ได้ ที่ซ่อนอาจหาไม่ได้ยากคือแค่เจอที่สงสัยที่สุดนั้นก็คือที่นั้นที่ๆ มีแคปซูลซ่อนอยู่...", "title": "เกราะ X" }, { "docid": "231731#0", "text": "ร็อคแมน X (; ) หรือถูกเรียกย่อๆว่า X เป็นชื่อตัวละครในเกมซีรีส์ร็อคแมน X ซีรีส์", "title": "ร็อคแมน X (ตัวละคร)" }, { "docid": "618701#0", "text": "สตรีทไฟท์เตอร์ X ร็อคแมน (; ) หรือที่เรียกในชื่อ สตรีทไฟท์เตอร์ X เมกะแมน () สำหรับเวอร์ชันภาษาอังกฤษ เป็นเกมแพลตฟอร์มข้ามฝั่ง พัฒนาโดยแฟนเกมชาวสิงคโปร์ชื่อเสี้ยว จงฮุย เดิมเกมนี้เป็นเกมที่พัฒนาโดยแฟนเกม แต่ต่อมาได้รับการสนับสนุนการผลิตโดยแคปคอม เกมดังกล่าวได้รับการปล่อยให้ดาวน์โหลดจากแคปคอม-ยูนิตี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 25 ปีแฟรนไชส์ร็อคแมนและสตรีทไฟท์เตอร์ โดยใช้รูปแบบการออกแบบฉบับคลาสสิกของเกมร็อคแมน แทนที่ตัวร้ายสำคัญ ๆ ด้วยตัวละครจาก\"สตรีทไฟท์เตอร์\" เกมได้รับเสียงวิจารณ์ไปในทางบวก ส่วนใหญ่วิจารณ์ในกรณีที่เกมดังกล่าวไม่มีระบบเซฟเกมให้ รวมถึงบั๊กอื่น ๆ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จึงได้มีการออกอัปเดตชื่อ \"สตรีทไฟท์เตอร์ X ร็อคแมน V2\" ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยเพิ่มระเบบเซฟและแก้บั๊กบางประการ", "title": "สตรีทไฟท์เตอร์ X ร็อคแมน" }, { "docid": "171723#0", "text": "ซีรีส์ ร็อคแมนซีโร่ () หรือ เมกาแมนซีโร่ (Mega Man Zero) เป็นซีรีส์ภาคต่อชุดที่สี่ของเกมชุดร็อคแมน โดยดำเนินเนื้อเรื่องต่อเนื่อจากซีรีส์ ร็อคแมน X ซึ่งมีซีโร่เป็นตัวเอกของเกม ซีรีส์นี้วางจำหน่ายมาแล้วทั้งหมด 4 ภาค และถูกผลิตสำหรับเล่นบนเครื่องเกมบอยแอดวานซ์", "title": "ร็อคแมนซีโร่ซีรีส์" }, { "docid": "310443#0", "text": "ร็อคแมน X8 () หรือ เมกาแมน X8 () เป็นวิดีโอเกมชุดที่ 8 ของซีรีส์ \"ร็อคแมน X\" โดยวางจำหน่ายในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.2005 ที่ประเทศญี่ปุ่นวางจำหน่ายในเครื่องเล่นเกม เพลย์สเตชัน 2", "title": "ร็อคแมน X8" }, { "docid": "229134#0", "text": "ร็อคแมน X3 () หรือ เมกาแมน X3 (Mega Man X3) เป็นวิดีโอเกมชุดที่ 3 ของซีรีส์ร็อคแมน X โดยวางจำหน่ายในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1995 ที่ประเทศญี่ปุ่น และวางจำหน่ายในต่างประเทศเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1996 ที่สหรัฐอเมริกา และวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1996 ที่ทวีปยุโรป วางจำหน่ายในเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมและเป็นเกมสุดท้ายของซีรีส์ร็อคแมน X ที่ลงในเครื่องซูเปอร์แฟมิคอม ในปีต่อมาได้จัดจำหน่ายอีกครั้งในเครื่องเล่นเกม เพลย์สเตชัน และ เซกา แซทเทิร์น เมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1996 แต่ภายหลังได้มีการจัดจำหน่ายอีกครั้งบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์อีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1997", "title": "ร็อคแมน X3" }, { "docid": "239196#4", "text": " ร็อคแมน Model Hx เป็นร็อคแมนที่ Double Rock On มาจาก Model H และ Model X โดย วานท์หรือเอล ใช้ Double Saber เป็นอาวุธหลัก รูปแบบการต่อสู้เหมือนกับ ฮาร์เปีย อดีต 1 ใน 4 จตุรเทพของ นีโออาคาเดีย มีคุณสมบัติประจำตัวเป็น สายฟ้า ความสามารถพิเศษในจอ Touch Screen คือ ระบุพลังชีวิตและจุดอ่อนของศัตรูทุกตัว", "title": "รายชื่อร็อคแมนในร็อคแมน ZX" }, { "docid": "239196#7", "text": " ร็อคแมน Model Px เป็นร็อคแมนที่ Double Rock On มาจาก Model P และ Model X โดย วานท์หรือเอล ใช้ Kunai เป็นอาวุธหลัก รูปแบบการต่อสู้เหมือนกับ แฟนทอม อดีต 1 ใน 4 จตุรเทพของ นีโออาคาเดีย ไม่มีคุณสมบัติประจำตัว มีความสามารถในการมองในที่มืดได้กว้างกว่าปกติ ความสามารถพิเศษในจอ Touch Screen คือ สามารถระบุตำแหน่งของศัตรูที่อยู่ใกล้ตัวได้", "title": "รายชื่อร็อคแมนในร็อคแมน ZX" }, { "docid": "245470#1", "text": "ร็อคแมน (ロックマン, Mega Man ในภาษาอังกฤษ) ในเกมต้นฉบับเป็นหุ่นยนต์งานบ้านของดร.โธมัส ไลท์โดยมีหน้าตาและสวมเสื้อผ้าเหมือนมนุษย์ ภายหลังจากที่ดร.อัลเบิร์ต ไวลี่เข้าแทรกแซงหุ่นยนต์ของดร.ไลท์ให้กลายเป็นหุ่นยนต์ชั่วร้าย ดร.ไลท์จึงได้ทำการสร้างบลูส์ แต่ปรากฏว่าบลูส์หายตัวไป ดร.ไลท์จึงได้ทำการดัดแปลงร็อคแมนให้กลายมาเป็นหุ่นยนต์สำหรับต่อสู้แทน โดยเปลี่ยนร่างกายเป็นสีฟ้าและสวมหมวก\nในร็อคแมนภาคแรกสุด ร็อคแมนจะมีความสามารถในการยิงและกระโดดเท่านั้น แต่ความสามารถหลักๆของร็อคแมนคือการดูดกลืนความสามารถของหุ่นยนต์ตัวอื่นให้มาเป็นอาวุธของตนเองได้ และในภาคหลังๆดร.ไลท์ก็ได้เพิ่มความสามารถชาร์จยิง, สไลด์ รวมทั้งหุ่นยนต์ช่วยเหลือทั้งรัชและบีทอีกด้วย\nร็อคแมน X (ロックマンエックス, Mega Man X ในภาษาอังกฤษ) หรือถูกเรียกย่อๆว่า X คือชื่อของร็อคแมนในเกมร็อคแมน X ซึ่งแท้จริงแล้วร็อคแมน X ไม่ใช่ที่ร็อคแมนตื่นจากการหลับใหลนานนับร้อยปี แต่ X เป็นหุ่นตัวใหม่ที่ โทมัส ไรท์ สร้างขึ้นในบั้นปลายชีวิต โดยใส่ข้อมูลความสามารถหลักๆของร็อคแมน เป็นอิเรกูลาร์ฮันเตอร์\nร็อค วอลนัท (Mega Man Volnutt ในภาษาอังกฤษ) ในเกมร็อคแมนแดช เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกบาร์เรล แคสเก็ทค้นพบจากการหลับใหลนับร้อยๆปี\nร็อคแมนเอ็กเซ่ (Mega Man.Exe ในภาษาอังกฤษ) เป็นชื่อของร็อคแมนจากเกมร็อคแมนเอ็กเซ่เน็ตนาวิของ ฮิคาริ เน็ตโตะ (Lan Hikari ในภษาอังกฤษ) ในเกมได้เปิดเผยว่าแท้จริงแล้วเขาคือ ฮิคาริ ไซโตะ (Hub Hikari ในภาษาอังกฤษ) พี่ชายของเน็ตโตะ แต่หลังจากเกิดได้ไม่นานเขาก็เสียชีวิต ฮิคาริ ยูอิจิโร่ พ่อของเขาจึงถ่ายทอดความทรงจำบางอย่างมาสร้างเป็นร็อคแมน.Exe ให้ร็อคแมน.Exe เป็นนาวิแบบพิเศษที่มีหน่วยความจำและความสามารถมากกว่านาวิทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นสไตล์เชนจ์, โซลยูนิชั่น, ครอสฟิวชั่น, บีสต์เอาท์\nร็อคแมน ZX คือการรวมร่างกันระหว่าง โมเดล X และ โมเดล Z โดยที่ตัวเอกทั้งสองของเกมร็อคแมน ZX วานและเอล อีกทั้งในภายหลังทั้งสองจะได้รับโมเดลเพิ่มเติมและสามารถเปลี่ยนร่างเป็น ร็อคแมน HX, ร็อคแมน FX, ร็อคแมน PX, ร็อคแมน LX, ร็อคแมน OX\nร็อคแมน ในเกม ริวเซย์โนะร็อคแมน ชื่อจริงของเขาคือ โฮชิคาวะ ซูบารุ (星河スバル, Geo Stelar ในภาษาอังกฤษ) เด็กผู้ชายอายุ 11 ปี ภายหลังจากได้พบกับ วอร์ร็อค (ウォーロック, Omega-Xis ในภาษาอังกฤษ) ทั้งสองร่วมมือกันให้ซูบารุแปลงร่างเป็นร็อคแมนและเข้าสู่โลกคลื่นไฟฟ้าได้", "title": "ร็อคแมน (ตัวละคร)" }, { "docid": "227799#0", "text": "ร็อคแมน X5 () หรือ เมกาแมน X5 (Mega Man X5) เป็นวิดีโอเกมชุดที่ 5 ของซีรีส์ร็อคแมน X โดยวางจำหน่ายในวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 ที่ประเทศญี่ปุ่นวางจำหน่ายในเครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชันในเวอร์ชันภาษาอังกฤษได้มีชื่อที่ 2 ซิ่งมาจากในเวอร์ชันอังกฤษมาจากหนังสือ Mega Man X Official Complete Works และ MM25 Mega Man & Mega Man X Official Complete Works นอกจากนี้ลงในเกม ร็อคแมน X Anniversary Collection 2 โดยชื่อถูกปรับเปลี่ยนให้เหมือนของต้นฉบับในญี่ปุ่นX-buster (エックスバスター) อาวุธปกติของเอ็กซ์และสามารถชาร์จยิงได้", "title": "ร็อคแมน X5" }, { "docid": "138789#0", "text": "ร็อคแมน X () หรือ เมกาแมน X (Mega Man X) เป็นซีรีส์ภาคต่อชุดที่สองของเกมชุดร็อคแมน ซึ่งได้รับสัมปทานการสร้างภาคต่อจากแคปคอม ออกวางตลาดครั้งแรกที่ญี่ปุ่นในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2536 และออกวางตลาดครั้งแรกที่อเมริกาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โดยดำเนินเนื้อเรื่องต่อเนื่องจาก ร็อคแมนซีรีส์ โดยดำเนินในช่วงเวลา 100 ปี", "title": "ร็อคแมน X ซีรีส์" }, { "docid": "328913#0", "text": "ร็อคแมน X: คอมมานด์มิชชัน () หรือ เมก้าแมน X: คอมมานด์มิชชัน () เป็นวิดีโอเกมจากซีรีส์\"ร็อคแมน X\" ผลิตโดยบริษัทแคปคอม ซึ่งมีลักษณะต่างจากซีรีส์ก่อนหน้าโดยมีรูปแบบเป็นโรลเพลย์อิงเกมมากกว่าแอ็คชั่นเกมแบบฉายด้านข้าง", "title": "ร็อคแมน X: คอมมานด์มิชชัน" }, { "docid": "239196#5", "text": " ร็อคแมน Model Fx เป็นร็อคแมนที่ Double Rock On มาจาก Model F และ Model X โดย วานท์หรือเอล ใช้ นัคเคิลบัสเตอร์ เป็นอาวุธหลัก รูปแบบการต่อสู้เหมือนกับ แฟฟนีล อดีต 1 ใน 4 จตุรเทพของ นีโออาคาเดีย มีคุณสมบัติประจำตัวเป็น เปลวเพลิง ความสามารถพิเศษในจอ Touch Screen คือ การปรับแต่งเส้นทางการยิงของ นัคเคิลบัสเตอร์ แต่ละข้างได้", "title": "รายชื่อร็อคแมนในร็อคแมน ZX" }, { "docid": "231759#2", "text": "และในร็อคแมน X5 ซีโร่ได้ถูกหมอในอีเร็กกูล่าฮันเตอร์ตรวจเจอไวรัสทำให้ซีโร่กลัวตัวเองที่เขาจะกลายเป็นศัตรูกับ X จึงได้อาสาไประเบิดยานดาวเทียมแต่ทว่าความกลัวของซีโร่เป็นจริง ซีโร่ได้กลับมาเป็น ไวรัส เหมือนเมื่อก่อนที่เคยต่อสู้กับซิกม่า และ X ได้ทำการต่อสู้กับซีโร่ หลังซีโร่ฟื้นตัวก็ต่อสู้กับซิกม่าจนขาดเป็น 2 ท่อนบนและก็ถูกซิกม่าทำลายทั้ง X และ ซีโร่ แต่ซีโร่ใช้บัสเตอร์ตรงไปที่ซิกม่าอย่างแม่นยำจนทำลายซิกม่าได้ และหลังจากนั้นก็ได้ข่าวว่าหายสาบสูญไป จน ร็อคแมน X6 ได้กลับมาโดย X ใช้ดาบช่วยซีโร่ซึ่งเป็นส่วนของไวรัสทำลายและกลับมาเข้าอีเร็กกูล่าฮัเตอร์อีกครั้งแต่ทว่ามีคนรู้เรื่อง DNA ของซีโร่นั้นก็คือ เกรด ได้ใน DNA ของซีโร่ในทางที่ผิดจึงได้มีผลกระทบกับตัวเกรดเองจึงได้ถูกซิกม่าหักหลังจนซีโร่ต้องสู้กับฮายแม็คและไอซอนแทนจนชนะมาได้ และร็อคแมน X7 ก็ได้รุ่นน้องมาใหม่ชื่อว่า แอ็กเซล ได้ทำงานรวมกันในสนามรบ จนสุดท้ายที่ร็อคแมน X8ได้รวมงานกับ X ช่วยเหลือลูมินี่รู้ความจริงจากเขาที่แอบเอา DNA ไปทดลอง จนผ่านไป 100 ปีจนได้เกิดใน ศต.22XX เป็นร็อคแมน ซีโร่รวมงานกับ เซลล์และร็อคแมน ZXได้กลายเป็นเอฟย์อยู่ในไลฟ์เมตัล Zในส่วนของภาคนี้ ซีโร่จะไม่มีบทบาทมากแต่อย่างใด โดยซีโร่ที่พังเสียหายจากภาคก่อนได้ถูกองค์กรลึกลับที่ชื่อ X Hunter ขโมยไปเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง เอ๊กซจึงรับหน้าที่ไปนำชิ้นส่วนของซีโร่ที่ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว, ส่วนลำตัว และส่วนขาเพื่อนำกลับมาให้ ดร.เคน ซ่อมแซมและดัดแปลงจนสามารถใช้ดาบได้ และในภายหลังซีโร่ที่ถูกซ่อมแซมและดัดแปลงอย่างสมบูรณ์จะเข้าไปช่วยเอ็กซ์ต่อกรกับ Dark Zero ซึ่งเป็นตัวก๊อปปี้ของของเขาเอง และมอบหมายให้เอ็กซ์ไปต่อกรกับซิกม่าต่อไป", "title": "ซีโร่ (ร็อคแมน)" }, { "docid": "239196#1", "text": " ร็อคแมน Model X เป็นร็อคแมนที่ Rock On มาจาก Model X โดย วานท์หรือเอล ใช้ Buster เป็นอาวุธหลัก รูปแบบการต่อสู้เหมือนกับ X อดีตผู้นำ นีโออาคาเดีย ไม่มีคุณสมบัติประจำตัว ", "title": "รายชื่อร็อคแมนในร็อคแมน ZX" }, { "docid": "618701#4", "text": "หลังจากที่เกมถูกปล่อยออกมา มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการที่เกมค้าง อินเตอร์เฟซที่ไม่ชัดเจน และการไม่มีระบบเซฟ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อข้อวิจารณ์ดังกล่าวนี้ สเวนส์สันกล่างว่าได้มีการพูดคุยกับทีมพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านี้ในตัวแก้ไขต่อไป ในตัวแก้ไขนี้ อินเตอร์เฟซมีลักษณะที่ดีขึ้น ตัวควบคุมสามารถเข้ากับเกมได้มากขึ้น มีการแก้ไขบั๊ก เพิ่มระบบเซฟพาสเวิร์ดเช่นเดียวกับที่ปรากฏในเกมร็อคแมนรุ่นแฟมิคอม และบอสใหม่ โดยตัวเกมรุ่นปรับปรุงได้เปิดให้ดาวน์โหลดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ภายใต้ชื่อ \"สตรีทไฟทเตอร์ X ร็อคแมน V2\" ", "title": "สตรีทไฟท์เตอร์ X ร็อคแมน" }, { "docid": "279901#1", "text": "วิดีโอเกมร็อคแมนชุดดั้งเดิมประกอบด้วยเกมหลัก 10 เกม ตั้งแต่ ร็อคแมน จนถึง ร็อคแมน 10 และเกมเสริมอื่น ๆ ทั้งบนพีซีและบนเครื่องเล่นเกมพกพาอย่างเกมบอย โดยเกมชุดนี้ถือเป็นจุดกำเนิดเรื่องราวของร็อคแมนที่เป็นตัวละครแบบดั้งเดิม แต่ในขณะเดียวกันแคปคอมก็ออกเกมชุดอื่น ๆ ที่แสดงเรื่องราวในเวลาถัด ๆ มา ไม่ว่าจะเป็นเกมชุดร็อคแมน X เกมชุดร็อคแมนซีโร่ เกมชุดร็อคแมน ZX และเกมชุดร็อคแมนแดช เกมชุดเหล่านี้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวละครต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเส้นเวลาเดียวกัน นอกจากนี้แล้วยังมีเกมชุดร็อคแมนเอ็กเซ่ และเกมชุดริวเซย์ โนะ ร็อคแมน ที่เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนอีกเส้นเวลาหนึ่งบนโลกที่ต่างออกไป โดยเรื่องราวในริวเซย์ โนะ ร็อคแมน เกิดขึ้นสองศตวรรษหลังเรื่องราวในร็อคแมนเอ็กเซ่", "title": "ร็อคแมน" }, { "docid": "239196#6", "text": " ร็อคแมน Model Lx เป็นร็อคแมนที่ Double Rock On มาจาก Model L และ Model X โดย วานท์หรือเอล ใช้ Halberd เป็นอาวุธหลัก รูปแบบการต่อสู้เหมือนกับ ลีเวียทาน อดีต 1 ใน 4 จตุรเทพของ นีโออาคาเดีย มีคุณสมบัติประจำตัวเป็น น้ำแข็ง ความสามารถพิเศษในจอ Touch Screen คือ สามารถระบุตำแหน่งของไอเท่มต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัวได้", "title": "รายชื่อร็อคแมนในร็อคแมน ZX" }, { "docid": "618701#1", "text": "\"สตรีทไฟท์เตอร์ X ร็อคแมน\"ใช้วิธีการเลียนแบบสไตล์การเล่นและรูปลักษณ์ของเกมชุด\"ร็อคแมน\"บนแฟมิคอม โดยมีเนื้อเรื่องเน้นไปที่การข้ามฝั่งของเกมและการฉลองครบรอบ 25 ปีของแฟรนไชส์ทั้งสอง หลักจากที่ร็อคแมนต่อสู้กับผู้ควบคุมหุ่นยนต์มาตลอดหลายปี เขาก็เตรียมจะหยุดพักฉลองครอบรอบ 25 ปี ริวซึ่งได้ข่าวดังกล่าวจึงขนตัวละครสตรีทไฟท์เตอร์มาประลองกำลังครั้งสุดท้ายก่อนจบการฉลอง 25 ปีของเขาเอง ในเชิงของการเล่น ร็อคแมนใช้วิธีการเคลื่อนไหวและชาร์ตการยิงแบบเดียวกับที่ปรากฏใน\"ร็อคแมน 4\" แต่แทนที่จะใช้ฐานจากร็อคแมนและผู้คุมหุ่นยนต์เป็นบอสในแต่ละด่าน ด่านแต่ละด่านในเกมมีการเปลี่ยนเป็นด่านจากสตรีทไฟท์เตอร์และตัวละครเช่นบลังก้า ชุนลี และริว ในแฟรนไชส์ดังกล่าวกลายเป็นบอสแทนผู้คุมหุ่นยนต์ในแต่ละด่าน ตัวละครในสตรีทไฟท์เตอร์ใช้ท่าอันเป็นเอกลักษณ์ของตนในการโจมตี นอกจากนี้ยังมีซุปเปอร์มิเตอร์ที่เก็บพลังระหว่างที่ถูกโจมตี และปล่อยพลังมหาศาลโจมตีร็อคแมนเมื่อเต็ม เช่นเดียวกับร็อคแมนภาคอื่น ๆ ร็อคแมนจะได้อาวุธใหม่เมื่อเอาชนะบอสแต่ละตัวได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการโจมตี เช่นท่าไม้ตายฮาโดเคนของริว และเฮียคุเร็ตสึเคียคุของชุนลี หลังจากเอาชนะได้แปดด่านแล้ว ผู้เล่นจะพบกับบอสชุดสุดท้าย และหากทำตามเงื่อนไขได้จะมีบอสลับสองตัวปรากฏขึ้นเมื่อจบเกม", "title": "สตรีทไฟท์เตอร์ X ร็อคแมน" }, { "docid": "328913#1", "text": "\"ร็อคแมน X: คอมมานด์มิชชัน\" เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 22XX เมื่อมีสสารชื่อ \"ฟอร์ซเมทัล\" ได้ถูกสกัดออกมาจากอุกกาบาตขนาดเล็ก แล้วนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการปฏิวัติกับทางวิศวกรรมเรพพริลอยด์ ในจิกะซิตี้ซึ่งเป็นเกาะเทียมกลางทะเล ได้สร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายในการทำขุดแร่และหลอมละลายเมทัลฟอร์ซ ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีจนกระทั่งกำลังอาวุธของเหล่าเรพพริลอยด์ได้เปิดการโจมตีบนเกาะแห่งนี้ เอพไซลอนซึ่งเป็นผู้นำ\"อิเรกูลาร์\"โดยรัฐบาล กับทีม\"อิเรกูลาร์ฮันเตอร์\" ได้ถูกสังหารโดยพันเอกเรดิปส์ที่จิกะซิตี้ ตามคำสั่งเพื่อทำการกบฏต่อเอพไซลอน ร็อคแมน X, ซีโร่ และชาโดว์เดินทางมายังซากปรักหักพัง ก่อนที่จะเริ่มในศึกแตกหัก เอ็กซ์ได้ออกสู้ในเส้นทางของเขาก่อนที่จะทำการร่วมมือกับซีโร่ในภายหลัง\"ร็อคแมน X: คอมมานด์มิชชัน\" ได้รับการตอบรับในเกณฑ์ปานกลางจากนักวิจารณ์ โดยในเวอร์ชันเพลย์สเตชัน 2 ได้รับการตอบรับจากเว็บไซต์เกมแรงกิงส์ที่ 69% และ 69 เต็ม 100 จากเมตาคริทิค ส่วนในเวอร์ชันเกมคิวบ์ได้รับคะแนนลดลงเล็กน้อยโดยอยู่ที่ระดับ 68% และ 67 เต็ม 100 ตามลำดับ ส่วนระบบการต่อสู้ได้รับการยกย่องโดยทั่วไป โดยแนวคิดการกดปุ่มร่วมกันในการดึงเทคนิคหรือพัฒนาพลังทางเทคนิคที่ได้รับการกล่าวว่าเป็นไฮไลท์ของเกม ในขณะที่ข้อตำหนิที่พบคือระยะยาวของเกม", "title": "ร็อคแมน X: คอมมานด์มิชชัน" }, { "docid": "111683#2", "text": "การดำเนินเนื้อหาของซีรีส์นี้ได้แตกต่างจากร็อคแมนทุกๆภาคคือซีรีส์นี้ได้ดำเนินเนื้อเรื่องที่ไม่ได้ต่อจากซีรีส์ร็อคแมนภาคอื่นแต่อย่างใด โดยถูกจัดเป็นซีรีส์โลกคู่ขนานของร็อคแมนซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับร็อคแมนยุคใดๆเลยทั้งสิ้นโดยซีรีส์นี้ได้นำตัวละครจากซีรีส์ ร็อคแมน, ร็อคแมน X, ร็อคแมน DASH มาทำในรูปแบบเวอร์ชันของซีรีส์นี้อีกด้วย", "title": "ร็อคแมนเอ็กเซ่ซีรีส์" }, { "docid": "312445#0", "text": "ร็อคแมน X () หรือ เมกาแมน X () เป็นวิดีโอเกมภาคแรก ของซีรีส์ \"ร็อคแมน X\" โดยวางจำหน่ายในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1993 ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวางจำหน่ายในเครื่องเล่นเกม ซูเปอร์แฟมิคอม และจำหน่ายอีกครั้งในรูปแบบระบบปฏิบัติการวินโดวส์อีกเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1995", "title": "ร็อคแมน X (วิดีโอเกมภาคแรก)" }, { "docid": "618701#7", "text": "\"สตรีทไฟท์เตอร์ X ร็อคแมน\"ได้รับเสียงวิจารณ์คละไปในทางบวก โดยชีทโค้ดเซ็นทรัลให้คะแนนเกม 4.1 จาก 5 คะแนน โดยชื่นชมว่าเกมมีลักษณะอันน่ารำลึก แต่ตำหนิในส่วนที่เกมไม่มีระบบเซฟเลย เกมอินฟอร์เมอร์ให้คะแนนเกมที่ 8 คะแนนจาก 10 คะแนน โดยสรุปว่าเกมดังกล่าวดูจะไม่ดีเท่าเกมอื่น ๆ ในยุคคลาสสิกของซีรีส์ แต่ก็เป็นบททดสอบที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้เล่นใหม่ที่ไม่เคยเล่น และเป็นประสบการณ์ที่มีเสน่ห์สำหรับแฟนยาวนานของซีรีส์ อินไซต์เกมมิงเดลีให้คะแนนเกมที่ 8/10 โดยกล่าวว่าแม้เกมจะสั้นและแตกแนวไปจากเกมร็อคแมนดั้งเดิม \"สตรีทไฟท์เตอร์ X ร็อคแมน\"ก็ยังเป็นเกมที่เล่นได้ดี และเชื่อได้ว่าจะมีน้อยเหตุผลที่จะไม่ลองดู ไอจีเอ็นให้คะแนนเกมที่ 7 เต็ม 10 โดยตั้งข้อสังเกตว่า ผลสุดท้ายเกมนี้ก็เป็นเกมที่ดี แฟน ๆ ร็อคแมนน่าจะสนุกกับมันได้ครั้งสองครั้ง แต่เกมนี้ไม่ได้มีอะไรพิเศษที่จะทำให้เทียบชั้นแบบที่เกมร็อคแมนอื่น ๆ เคยทำได้ในยุครุ่งโรจน์ เดสตรักตรอยด์กล่าวถึงในทำนองเดียวกันว่าเกมนี้ไม่ใช่เกมร็อคแมนที่ดีที่สุดที่มีอยู่ แต่เป็นผลงานที่ดีของแฟนเกมผู้อุทิศตัวอย่างมากในการพัฒนา เอมอินดรัสตรีนิวส์ให้คะแนน 3.5 จาก 5 คะแนน และกล่าวถึงเกมในแง่บวกและลบ ทำนองว่าเกมดังกล่าวรวมผลงานของเกมแคปคอมสองเกมที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ในเกมข้ามฝั่งเกมนี้ เกมนี้ให้ความรู้สึกหวนคืนสู่วันเก่า ๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะพาแฟน ๆ ไปสัมผัสเส้นทางแห่งความทรงจำของเกมทั้งสองในขณะที่ยังรุ่งโรจน์ อย่างไรก็ดีการไม่มีความท้าทายหรือฟังก์ชันที่ทำให้เล่นต่อได้หลังจากปิดเครื่อง ทำให้เกมนี้ไม่ได้เป็นเกมล้ำค่าอย่างที่ควรจะเป็น \"นิตยสารเอดจ์\"ให้คะแนนเกมเพียง 5/10 โดยกล่าวว่าการดีไซน์เลเวลที่ไม่ไปในทางเดียวกันและฟังก์ชันอันจำกัดของเกมเป็นข้อผิดพลาดสำคัญที่สุด", "title": "สตรีทไฟท์เตอร์ X ร็อคแมน" }, { "docid": "200219#1", "text": "หลังจากโลกสงบสุขอีกครั้งได้มีบรุษลึกลับที่ชื่อว่ามิสเตอร์ Xได้ให้นักวิทยาศาตร์ต่างประเทศสร้างหุ่นยนต์ต่างหลังจากการประกวดหุ่นยนต์ทั้งหมดได้หายไปซึ่งแท้จริงแล้วเป็นแผนการของมิสเตอร์ Xซึ่งบอกว่าเป็นเบื้องหลังของดร.ไวลี่ร็อคแมนจึงต้องสู้กับหุ่นนานาชาติของมิสเตอร์ Xให้จนได้", "title": "ร็อคแมน 6 การต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์!!" }, { "docid": "189565#1", "text": "ในร็อคแมนเอ็กเซ่ WS นั้นได้ใช้ระบบการเล่นของร็อคแมนซีรีส์และร็อคแมน X ซีรีส์มาอีกครั้ง และได้เพิ่มระบบแบทเทิลชิปนั้นในใช้เพียง 4 ช่องด้วยกันและสามารถเปลี่ยนสไตล์เชนจ์ได้", "title": "ร็อคแมนเอ็กเซ่ WS" }, { "docid": "239196#3", "text": " ร็อคแมน Model Zx เป็นร็อคแมนที่ Double Rock On มาจาก Model Z และ Model X โดย วานท์หรือเอล ใช้ Zx-Saber และ Zx-Buster เป็นอาวุธหลัก รูปแบบการต่อสู้เหมือนกับซีโร่ ไม่มีคุณสมบัติประจำตัว ", "title": "รายชื่อร็อคแมนในร็อคแมน ZX" }, { "docid": "231759#1", "text": "ในเรื่องราวของซีโร่นั้นมีอดีตเก่าๆ ที่เขาลืมไปหมดแล้วแต่ทว่า ในร็อคแมน X4 \"ซิกม่า\"ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับเขาเมื่อ หลายปีก่อน ก่อนที่เขาจะมาเป็น\"อีเรกูลาร์ฮันเตอร์\" เขาไปมีเรื่องกับ ซิกม่า \"(ซิกม่าอีเล็กกูล่าฮันเตอร์)\" ซึ่งได้ปะทะกันอย่างไม่ปราณีจนในระหว่างการต่อสู้ ซีโร่ ได้เกิดอาการไวรัสของ Dr.ไวลลี่ ที่ฝังไว้ในชิฟพลังงานที่หัวทำให้ ซิกม่า ต่อยที่หัวทำลายชิพไวรัส แต่ทว่าได้รับพัทธุกรรมไวรัสเขาไปแทน ความจริงแล้วเรื่องราวก็คลายกับ X ก็คือ ซีโร่ได้ถูกสร้างจาก Dr.ไวลลี่ เป็นรหัส DWN-∞ ซึ่ง\"Dr.ไวลลี่\"สร้างไว้เพื่อที่จะช่วยงานกับ Dr.ไลท์ (ในภาค\"ร็อคแมน&ฟอร์เต้\"ได้กลับตัวกลับใจเป็นคนดีช่วยเหลือDr.ไลท์บ่อยๆ) ซึ่งร่างของซีโร่ถูกดัดแปลงจาก ฟอร์เต้ หุ่นยนต์ที่เคยท้าต่อสู้กับร็อคแมนเป็นประจำ ได้ทำการสร้างใหม่และลงไวรัสลงไปโดยไม่ได่ตั้งใจจนซีโร่ตื่นขึ้นมาและอาละวาดในโลก ศตวรรษที่ 21XX ซึ่งได้ปะทะกับซิกม่าก็ได้ไปอยู่ในอีเล็กกูล่าฮันเตอร์ แต่ทว่าในร็อคแมน Xได้ตายต่อหน้า X และในร็อคแมน X2ได้ต่อสู้กับ X โคนซิกม่าโดยร่างใหม่แต่ทว่าพอผ่านไปถึงภาคที่4ได้หลงรักกับไอริสซึ่งได้เขาทำงานรวมกับซีโร่ด้วยกับซึ่งทำให้โคโน่พี่ชายของเธอเกลียดซีโร่ที่สุดจึงได้ทะเลาะถึงกับสู้กับทำให้ไอริสไม่สบายใจจึงหลังจากนั้นเธอได้รักษาตัวด้วยวัคซีนแต่ทว่าเธอเป็นหุ่นฝาแฝดจึงร่างกายเข้ากับโคโน่ ได้รวมร่างกับโคโน่แน่อาละวาดและพอซีโร่ช่วยเธอ ไอริสก็ได้ตายลงทำให้ซีโร่เสียใจมาก", "title": "ซีโร่ (ร็อคแมน)" }, { "docid": "313145#29", "text": "หมวดหมู่:ร็อคแมน X หมวดหมู่:หนังสือการ์ตูน", "title": "ร็อคแมน X (หนังสือการ์ตูน)" } ]
4089
ไส้ติ่งมีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย ?
[ { "docid": "437512#0", "text": "ไส้ติ่ง (English: appendix, vermiform appendix, cecal (หรือ caecal) appendix, vermix) เป็นท่อตันเชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (cecum หรือ caecum) ซึ่งเป็นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายกระเป๋าของลำไส้ใหญ่ที่เชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก", "title": "ไส้ติ่ง" } ]
[ { "docid": "218429#17", "text": "รายงานการค้นพบโรคไส้ติ่งอักเสบที่ไม่มีข้อสงสัยครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นโดย Lorenz Heirster ศาสตราจารย์ทางศัลยศาสตร์ใน Altdorf, Franconia ในปี พ.ศ. 2254 ขณะผ่าตรวจศพ[20] ส่วนการผ่าตัดไส้ติ่งครั้งแรกทำโดย Claudius Amyand ศัลยแพทย์กองทัพอังกฤษ โดย Amyan ทำการผ่าตัดไส้ติ่งในปี พ.ศ. 2278 โดยไม่ใช้ยาสลบเพื่อนำเอาไส้ติ่งที่แตกแล้วออกมา[21] ต่อมา Reginald H. Fitz ซึ่งเป็นนักกายวิภาคพยาธิวิทยาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้อธิบายโรคไส้ติ่งอักเสบไว้ในปี พ.ศ. 2429 หลังจากศึกษากรณีการอักเสบและแตกของไส้ติ่งกว่า 257 กรณี และได้แนะนำให้รักษาโรคนี้โดยการผ่าตัดในระยะแรกๆ ซึ่งคำแนะนำของเขายังเป็นจริงแม้ในปัจจุบัน[2][20] อย่างไรก็ดี เนื่องจาก Fitz ไม่ใช่ศัลยแพทย์ คำแนะนำของเขาจึงถูกเพิกเฉยอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง[21] หลังจากนั้นในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ H. Hancock ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดไส้ติ่งเป็นครั้งแรกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ต่อมาหลายปีหลังจากนี้ C. McBurney ชาวอเมริกาได้ตีพิมพ์รายงานชุดหนึ่งเกี่ยวกับการวินิจฉัยและรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน[22] McBurney ผู้นี้เองที่เป็นเจ้าของชื่อของ McBurney point, McBurney incision และ McBurney's sign[23]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "343022#7", "text": "สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในชาขาวส่วนใหญ่เป็นสารโพลีฟีนอล (polyphenol) จำพวกสารคาเทชิน (catechin)] ซึ่งพบมากถึง 70% ของปริมาณสารโพลีฟีนอลทั้งหมดที่มีในชาขาว[3] มีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพ คือ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดระดับของคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ต้านแบคทีเรีย ไวรัส และป้องกันฟันผุ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระจากการบริโภคชาขาวหนึ่งแก้ว พบว่าการบริโภคชาขาวได้รับสารปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าการบริโภคผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น ผักโขม บร๊อคโคลี่ สตรอเบอรี่ ในสัดส่วนการบริโภคที่เท่ากัน จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยคิงสตัน (Kingston University) ประเทศอังกฤษซึ่งได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติและสารอาหารจากพืชผักชนิดต่าง ๆ กว่า 21 ชนิดและสารสกัดจากสมุนไพรประเภทต่าง ๆ ว่ามีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกายมนุษย์ พบว่า สารอาหารที่มีประโยชน์ในชาขาวมีปริมาณมากกว่าพืชและสารสกัดจากสมุนไพรชนิดอื่น ๆ การดื่มชาขาวจึงมีผลดีต่อสุขภาพมาก[6]", "title": "ชาขาว" }, { "docid": "2584#49", "text": "ในทางเศรษฐศาสตร์ แนวคิดหนึ่งที่ถือเป็นหัวใจหลักคือ ประโยชน์ สำหรับปัญญาประดิษฐ์ เราสามารถนำค่าของประโยชน์มาวัดได้ว่าของบางอย่างจะมีค่าต่อเอเยนต์ทรงปัญญาได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเครื่องมือคณิตศาสตร์ที่แม่นยำเพื่อวิเคราะห์ว่าเอเยนต์จะตัดสินใจและวางแผนได้อย่างไร โดยใช้วิธีของ Markov เครือข่ายการตัดสินใจแบบพลวัต ทฤษฎีเกม เป็นต้น", "title": "ปัญญาประดิษฐ์" }, { "docid": "437512#3", "text": "ไส้ติ่งมีความยาวเฉลี่ย 11ซม. (ขนาดที่พบได้อาจเป็น 2 ถึง 20ซม.) เส้นผ่านศูนย์กลางของไส้ติ่งปกติอยู่ระหว่าง 7-8 มม. ไส้ติ่งที่ยาวที่สุดที่ถูกผ่าตัดออกมีความยาวถึง 26ซม. พบในคนไข้จากโครเอเชีย.[2]", "title": "ไส้ติ่ง" }, { "docid": "218429#15", "text": "พยากรณ์โรคโดยทั่วไปดีมาก อัตราการตายโดยรวมน้อยกว่า 1% มาก ภาวะเป็นโรคส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับว่าไส้ติ่งนั้นอักเสบเฉียบพลันมากหรือไม่ หรือมีการแตกของไส้ติ่งที่อักเสบหรือไม่ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือการติดเชื้อของแผลผ่าตัด พบในผู้ป่วยไส้ติ่งแตกประมาณ 1-5%", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#3", "text": "จากหลักฐานในปัจจุบันเชื่อกันว่าโรคไส้ติ่งอักเสบเป็นผลที่เกิดจากการมีการอุดตันของไส้ติ่ง[3][4] เมื่อเกิดมีการอุดตันเกิดขึ้นแล้ว ส่วนที่อุดตันนี้จะมีการคั่งของมูกมาอัดแน่นและบวมขึ้น มีความดันภายในส่วนที่อุดตันนี้และตัวผนังไส้ติ่งเองสูงขึ้น เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดขนาดเล็ก ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง น้อยครั้งที่จะมีไส้ติ่งที่เป็นถึงขั้นนี้แล้วกลับหายเป็นปกติได้เอง เมื่ออาการดำเนินต่อไปไส้ติ่งจะขาดเลือดและตายเฉพาะส่วนไป ต่อมาแบคทีเรียที่มีอยู่แล้วในลำไส้จะผ่านผนังไส้ติ่งที่ตายแล้วนี้ออกมา เกิดหนองขึ้นรอบๆ ไส้ติ่ง จนสุดท้ายแล้วไส้ติ่งที่อักเสบมากนี้จะแตกออกทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นพิษและเสียชีวิตได้", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#4", "text": "ในบรรดาสาเหตุต่างๆ ของการอุดตันของไส้ติ่ง เช่น การมีวัตถุแปลกปลอม การมีบาดแผล พยาธิ สาเหตุที่ได้รับความสนใจมากสาเหตุหนึ่งคือการมีนิ่วอุจจาระไปอุดตัน พบว่ามีความชุกของการพบนิ่วอุจจาระในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบในประเทศพัฒนาแล้วมากกว่าในประเทศกำลังพัฒนา[5] และการมีนิ่วอุจจาระอุดตันในไส้ติ่งมักพบว่ามีความสัมพันธ์กับไส้ติ่งอักเสบรุนแรง[6] นอกจากนี้ภาวะท้องผูกก็อาจมีส่วนด้วย ดังที่พบว่าผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบมีจำนวนครั้งการถ่ายอุจจาระต่อสัปดาห์น้อยกว่ากลุ่มควบคุมปกติอย่างมีนัยสำคัญ[7] การเกิดมีนิ่วอุจจาระในไส้ติ่งสัมพันธ์กับการที่มีที่เก็บอุจจาระคั่งในลำไส้ใหญ่ส่วนขึ้นและการมีช่วงเวลาในการบีบไล่อุจจาระนาน[8] จากข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าในกลุมประชากรที่ไม่เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ไม่พบผู้ป่วยโรคกระเปาะลำไส้หรือติ่งเนื้อเลย และพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่น้อยมาก[9][10] นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งไส้ตรงมักเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบนำมาก่อนด้วย[11] มีหลายการศึกษาพบว่าการกินอาหารที่มีกากใยต่ำมีส่วนในการทำให้เกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ[12][13][14] ซึ่งตรงกันกับข้อมูลที่ว่าการกินอาหารที่มีกากใยต่ำทำให้มีช่วงเวลาในการบีบไล่อุจจาระนานขึ้น[15]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#0", "text": "ไส้ติ่งอักเสบ (English: appendicitis) เป็นโรคที่เกิดกับไส้ติ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบทุกรายต้องได้รับการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก หากไม่ได้รับการรักษาแล้วจะมีอัตราการตายสูง การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบและภาวะช็อค[1]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#5", "text": "อาการของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันนั้นอาจแบ่งได้เป็นสองชนิด คือชนิดตรงไปตรงมาและชนิดไม่ตรงไปตรงมา[1] ประวัติของผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันชนิดตรงไปตรงมานั้นจะเริ่มจากมีอาการปวดบริเวณรอบสะดือก่อนที่จะย้ายไปปวดบริเวณหน้าท้องด้านล่างขวา ลักษณะนี้เกิดจากการที่อาการปวดในช่วงแรกเกิดจากเส้นประสาทอวัยวะภายในที่รับความรู้สึกจากไส้ติ่งนั้นแบ่งแยกตำแหน่งความเจ็บปวดได้ไม่ชัดเจนเท่าอาการปวดในช่วงหลังที่เกิดจากอักเสบลุกลามไปยังเยื่อบุช่องท้องซึ่งมีเส้นประสาทโซมาติกที่สามารถระบุตำแหน่งอาการปวดได้ชัดเจนกว่า อาการปวดท้องมักมีร่วมกับอาการเบื่ออาหารและมีไข้ อย่างไรก็ดีไข้ไม่ใช่อาการที่จำเป็นต้องมีเสมอไป อาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน รู้สึกง่วงซึม และรู้สึกไม่สบาย ด้วยอาการแบบตรงไปตรงมานี้ การวินิจฉัยสามารถทำได้ง่าย ผู้ป่วยมักได้รับการผ่าตัดรวดเร็วและผลออกมาไม่รุนแรง[1]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "720574#43", "text": "การรักษาโรคมะเร็งแบบทางเลือกบางอย่างจะอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์หรือพิสูจน์แล้วไม่อนุญาตให้ใช้ของวิธีการที่มะเร็งมีการเริ่มต้นอย่างไรหรืออยู่อย่างยั่งยืนในร่างกายได้อย่างไร บางแนวคิดทั่วไปได้แก่", "title": "การรักษามะเร็งแบบทางเลือก" }, { "docid": "218429#13", "text": "การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออกในปัจจุบันนิยมใช้การผ่าตัดโดยการใช้กล้องส่องตรวจช่องท้อง ส่วนในประเทศไทยยังนิยมใช้การผ่าตัดโดยการเปิดช่องท้องบริเวณ McBurney's point ตรงตำแหน่งที่เป็นไส้ติ่ง วิธีการกรีดแผลที่เป็นที่นิยมที่สุดคือการผ่าโดยใช้แนว gridion (แนวเฉียง) หรือแนวนอน มีรายงานการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออกในผู้ป่วยสตรีโดยการใช้กล้องส่องตรวจผ่านทางช่องคลอดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551[19]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#8", "text": "ผลจากการมีไส้ติ่งอักเสบจะทำให้ผนังช่องท้องอ่อนไหวต่อการสัมผัสเบาๆ มากขึ้น มีอาการกดเจ็บที่ท้อง หรือหากมีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องมากอาจมีอาการกดปล่อยแล้วเจ็บ (rebound tenderness) ในกรณีที่ไส้ติ่งของผู้ป่วยอยู่ตำแหน่งหลังลำไส้ใหญ่อาจทำให้ไม่มีอาการเจ็บจากการตรวจทางหน้าท้องได้เพราะลำไส้ใหญ่ที่เต็มไปด้วยอากาศจะกันไม่ให้แรงกดไปสัมผัสโดนไส้ติ่งที่อักเสบ ในกรณีเดียวกัน ถ้าไส้ติ่งอยู่ต่ำลงมาภายในอุ้งเชิงกรานก็จะตรวจไม่พบอาการเจ็บหน้าท้องหรือหน้าท้องแข็งเช่นกัน ในกรณีเช่นนี้การตรวจทางทวารหนักจะตรวจพบอาการเจ็บใน rectovesical pouch ได้ การกระทำใดๆ ที่เพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น การไอ จะทำให้มีอาการเจ็บที่ตำแหน่ง McBurney's point และเป็นวิธีตรวจหาตำแหน่งของไส้ติ่งที่อักเสบที่เจ็บน้อยที่สุด ถ้าตรวจหน้าท้องแล้วพบว่าหน้าท้องแข็งอย่างมากโดยที่ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจเกร็งหน้าท้องแล้วเป็นไปได้มากว่าจะมีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบแล้ว ซึ่งต้องได้รับการผ่าตัดโดยด่วน", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "437512#5", "text": "นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเสนอว่าไส้ติ่งอาจเป็นที่อาศัยของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้ใหญ่ของมนุษย์[4]", "title": "ไส้ติ่ง" }, { "docid": "912118#6", "text": "ในเริ่มต้นท่านอิมามริฎอ(อฺ)ได้เปรียบร่างกายของมนุษย์เหมือนประเทศหนึ่งซึ่งมีหัวใจเป็นผู้ปกครอง และเส้นเลือดเป็นคือผู้บริหาร และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คือส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของหัวใจ มือและขาทั้งสอง ตา ปาก ลิ้น สองหู คือมิตรสหาย ท้องและหน้าอกคือขุมทรัพย์\nจากนั้นท่านอธิบายถึงแนวทางและขนาดที่ถูกต้องในการกินการดื่ม ท่านยังคงชี้ให้เห็นถึงหนทางในการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของดิน ฟ้า อากาศ มนุษย์ควรจะพักผ่อนอย่างไร ควรดูแลสุขภาพของช่องปากและฟันอย่างไร", "title": "ตำราทองคำ" }, { "docid": "109859#1", "text": "ปฏิบัติบูชา หมายถึงการบูชาด้วยการปฏิบัติตามแบบที่ท่านทำ ปฏิบัติตามคำที่ท่านสอน ได้แก่ท่านปฏิบัติมาอย่างไรก็ปฏิบัติตาม ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร ก็ทำตามด้วยความเต็มใจ ด้วยการประพฤติดีปฏิบัติชอบ กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ เช่นปฏิบัติตามคำสั่งสอน คำเตือน คำแนะนำของพระพุทธเจ้า ของบิดามารดา ของครูอาจารย์ เป็นต้น", "title": "ปฏิบัติบูชา" }, { "docid": "218429#16", "text": "การให้การวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบในผู้ป่วยที่มาอาการชนิดตรงไปตรงมานั้นอาจทำได้ง่าย แพทย์อาจสามารถมั่นใจในการวินิจฉัยได้มากโดยอาศัยข้อมูลจากประวัติและการตรวจร่างกายก็เพียงพอ โดยอาศัยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นการเสริมความสมบูรณ์ของการวินิจฉัยเท่านั้น แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแบบไม่ตรงไปตรงมา เป็นไปได้ยากมากที่จะให้การวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบในระยะแรกๆ ของอาการเจ็บป่วย ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงปวดท้องทั่วๆ คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ซึ่งเป็นอาการที่พบซ้อนกับโรคอื่นๆ เช่นกระเพาะอักเสบหรือลำไส้อักเสบ เวลาที่ผ่านไปมากขึ้นจะทำให้อาการของผู้ป่วยแสดงออกเด่นชัดมากขึ้น จึงทำให้วินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้น ดังนั้นจึงมีกรณีผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง ไปพบแพทย์ในระยะแรกด้วยอาการที่ไม่ชัดเจน และได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (ให้ยา+กลับบ้าน และ/หรือ นัดติดตามการรักษา) ซึ่งต่อมากลับมีอาการไม่ดีขึ้น และไปตรวจอีกครั้งพบว่ามีอาการเป็นไส้ติ่งอักเสบชัดเจน กรณีนี้เช่นนี้พบได้เป็นจำนวนมาก", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "437512#4", "text": "ไส้ติ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ตอนต้นที่หดเล็กลงตามกระบวนการวิวัฒนาการ ในบรรพบุรุษของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์กินพืชลำไส้ใหญ่ส่วนนี้เป็นที่อาศัยของแบคทีเรียที่ช่วยย่อยเซลลูโลสที่พบในพืช[3]", "title": "ไส้ติ่ง" }, { "docid": "437512#2", "text": "ไส้ติ่งพบได้ทั่วไปใน Euarchontoglires และมีวิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระในสัตว์กลุ่ม diprotodont และ marsupials ไส้ติ่งในสัตว์ต่างๆ จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านขนาดและรูปร่าง[1]", "title": "ไส้ติ่ง" }, { "docid": "154177#5", "text": "อัตถัญญุตา ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ เป็นผู้รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น\nอัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตนคือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป\nมัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณ ในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น", "title": "สัปปุริสธรรม" }, { "docid": "218429#10", "text": "บางครั้งไส้ติ่งที่อักเสบอาจมีตำแหน่งอยู่บนกล้ามเนื้อ psoas จะทำให้ผู้ป่วยนอนงอสะโพกขวาเพื่อคลายความเจ็บปวดมาก", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#18", "text": "ในปัจจุบันการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออกไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่าเปิดช่องท้องหรือการผ่าแบบส่องกล้องยังคงเป็นวิธีหลักในการรักษาไส้ติ่งอักเสบธรรมดา", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "437512#6", "text": "โรคที่พบบ่อยบริเวณไส้ติ่งได้แก่ไส้ติ่งอักเสบและเนื้องอก มะเร็งไส้ติ่งพบได้ประมาณ 1 ใน 200 ของมะเร็งระบบทางเดินอาหาร", "title": "ไส้ติ่ง" }, { "docid": "136169#39", "text": "การใช้งานที่เพิ่มขึ้นของ CT สแกนอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ในสองสาขา: การตรวจคัดกรองของผู้ใหญ่ (คัดกรอง CT ของปอดในผู้สูบบุหรี่, ส่องกล้องลำไส้เสมือน, CT การคัดกรองโรคหัวใจและ CT ทั้งร่างกายในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ) และการถ่ายภาพ CT ของเด็ก. เวลาในการสแกนถูกลดลงให้เหลือประมาณ 1 วินาที, เพื่อขจัดความต้องการที่เข้มงวดสำหรับจุดตรวจที่จะยังคงให้อยู่นิ่งๆหรือผ่อนคลาย, เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นมากในผู้ป่วยเด็ก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวินิจฉัยไส้ติ่ง). ณ ปี 2007 ในประเทศสหรัฐอเมริกา, สัดส่วนของ CT สแกนจะดำเนินการโดยไม่จำเป็น. บางสถานที่ประมาณการตัวเลขนี้อยู่ที่ 30%. มีหลายเหตุผลสำหรับเรื่องนี้ได้แก่:.. ความกังวลทางกฎหมาย, สิ่งจูงใจทางการเงิน, และความปรารถนาโดยประชาชน. ตัวอย่างเช่นผู้มีสุขภาพดีบางคนจ่ายด้วยความโลภที่จะได้รับ CT สแกนเต็มร่างกายในการตรวจคัดกรอง, แต่ก็ไม่ได้เป็นที่ชัดเจนว่าผลประโยชน์จะมีน้ำหนักเกินความเสี่ยงและค่าใช้จ่าย, เพราะการตัดสินใจว่าจะรักษาเนื้องอกที่เจอโดยบังเอิญ () หรือไม่และอย่างไรจะเต็มไปด้วยความซับซ้อน, การได้รับรังสีจะสะสมและไม่ใช่สิ่งที่จะละเลยได้, และเงินสำหรับการสแกนจะเกี่ยวข้องกับต้นทุนค่าเสียโอกาส (มันอาจจะมีการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้นหรือใช้กลยุทธ์ในการดูแลสุขภาพด้วยวิธีอื่นๆ).", "title": "การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "218429#6", "text": "อาการที่ไม่ตรงไปตรงมานั้นอาจเริ่มจากมีอาการปวดเริ่มที่หน้าท้องด้านล่างขวาตั้งแต่ต้น ท้องเสีย และมีการดำเนินโรคที่ยาวนานค่อยเป็นค่อยไปกว่า หากไส้ติ่งที่อักเสบสัมผัสกับกระเพาะปัสสาวะอาจทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย หากไส้ติ่งที่อักเสบอยู่ด้านหลังลำไส้เล็กตอนปลายอาจมีอาการคลื่นไส้รุนแรงได้ บางรายอาจรู้สึกปวดเบ่ง[16]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "12911#133", "text": "ผู้สังเกตการณ์หลายคนให้ความเห็นว่า ไดอานาทรงปล่อยให้นักข่าวและช่างภาพปาปารัสซีเข้ามาในชีวิตของพระองค์ เพราะทรงรู้ว่าจะใช้สื่อมวลชนเป็นฐานอำนาจของพระองค์ได้อย่างไร[218] เช่นนั้นจึงทรงออกปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายเกินความจำเป็น และทรงทำลายเส้นแบ่งขอบเขตระหว่างชีวิตส่วนพระองค์และชีวิตสาธารณะ[113][236] พระองค์ถูกวิจารณ์จากศาสตราจารย์ปรัชญา แอนโทนี โอเฮียร์ ว่า \"พระองค์ไม่สามารถปฏิบัติพระราชกิจได้อย่างสมบูรณ์แบบ พฤติกรรมบุ่มบ่ามขาดความยั้งคิดของพระองค์กำลังบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ และทรงงานการกุศลเพียงเพื่อ “ตอบสนองความต้องการส่วนพระองค์” เท่านั้น[164] ภายหลังคำวิจารณ์ของศาสตราจารย์โอเฮียร์ถูกเผยแพร่ออกไป องค์กรการกุศลต่างๆ ที่เจ้าหญิงทรงให้การอุปถัมภ์ได้ออกมาโต้แย้งคำวิจารณ์นี้ว่าน่ารังเกียจและไม่เป็นการมิบังควร[164] กระแสต่อต้านพระองค์ยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีกเมื่อมีการกล่าวหาเจ้าหญิงว่า \"ทรงใช้สถานะพิเศษทางสังคมเพื่อกอบโกยประโยชน์ส่วนพระองค์[79] และเกิดผลเสียร้ายแรงต่อภาพลักษณ์กองงานในพระองค์\"[213] การทรงงานการกุศลของพระองค์ที่บางครั้งเจ้าหญิงมักทรงสัมผัสร่างกายผู้ป่วยโรคร้ายแรงและเป็นเรื่องแปลกใหม่ในสมัยนั้น ก่อให้เกิดกระแสตีกลับในทางลบจากสื่อมวลชน[213]", "title": "ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์" }, { "docid": "161936#16", "text": "พวกเขา... เหล่า “โอปปาติก” จะรับมือกับความจริงนั้น... อย่างไร ?\nคำสาป - ทุกครั้งที่ตายแล้วฟื้นขึ้นมาใหม่ต้องทนกับความเจ็บปวดทางร่างกายคล้ายงูลอกคราบโดยร่างกายเดิมยังคงอยู่ แต่มันก็คงเทียบไม่ได้กับเรื่องราวของการเจ็บปวดจากการสูญเสียในอดีตซึ่งหนักหนากว่าความเจ็บปวดทางร่างกาย", "title": "โอปปาติก เกิดอมตะ" }, { "docid": "299226#8", "text": "ในปัจจุบัน เชื่อว่าฮูดินีเสียชีวิตเพราะไส้ติ่งอักเสบ และการถูกชกเข้าที่หน้าท้องยิ่งทำให้อาการหนักยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางส่วนเชื่อว่าเขาเสียชีวิตเพราะถูกวางยาจากบุคคลที่เสียประโยชน์จากการเข้าทรงที่ฮูดินีได้เปิดโปง", "title": "แฮร์รี ฮูดินี" }, { "docid": "218429#12", "text": "ไส้ติ่งอักเสบรักษาโดยการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก (English: Appendectomy) ในช่วงแรกผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมการผ่าตัดโดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำในขณะที่งดน้ำและงดอาหาร อาจมีการให้ยาปฏิชีวนะ (เช่น cefuroxime, metronidazole) ทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการแพร่กระจายของการติดเชื้อในช่องท้อง รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดด้วย ถ้าผู้ป่วยท้องว่างอาจใช้การผ่าตัดโดยการวางยาสลบ หรือไม่เช่นนั้นอาจใช้การทำให้ชาโดยฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "3949#14", "text": "แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์โปรตีนให้ร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับ แคลเซียม อันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย แมกนีเซียม ยังช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยหน้าที่และประโยชน์ของแมกนีเซียม มีดังนี้", "title": "แมกนีเซียม" }, { "docid": "218429#7", "text": "โรคไส้ติ่งอักเสบเรื้อรังต่างจากโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน อาการอาจแตกต่างได้มากในผู้ป่วยแต่ละคน ดังมีคำกล่าวว่า \"ไม่มีลักษณะเฉพาะหรือการตรวจทั่วไปใดๆ ที่จะใช้วินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบเรื้อรังเป็นซ้ำได้ จะต้องวินิจฉัยโดยการคัดออกเท่านั้น...\"[17]", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" } ]
4090
สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ผลการรบคือกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้รับชัยชนะเหนือกองทัพของจักรวรรดิรัสเซีย ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "8538#2", "text": "ผลการรบคือกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้รับชัยชนะเหนือกองทัพของจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งเป็นที่ไม่คาดคิดสำหรับประเทศผู้สังเกตการณ์ต่างๆ จากสงครามครั้งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนสมดุลของขั้วอำนาจโลก ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแทนรัสเซีย", "title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น" } ]
[ { "docid": "8538#23", "text": "วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1904 ยุทธการที่แม่น้ำยาลู่กลายเป็นการรบภาคพื้นดินครั้งแรกของสงคราม กองพลที่หนึ่งแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งเคลื่อนพลจากเกาหลีได้ข้ามแม่น้ำยาลู่เพื่อมุ่งหน้าเข้าสู้แมนจูเรียได้บุกโจมตีที่ตั้งของรัสเซีย โดยการวางแผนอย่างดีโดยพลตรีคุโระกิ รัสเซียซึ่งพ่ายแพ้ทางกลยุทธ์ของญี่ปุ่นและมีกำลังทางทหารที่น้อยกว่าจึงได้รับคำสั่งให้ถอยทัพ จากความพ่ายแพ้ของกองกำลังเฉพาะกิจรัสเซียตะวันออก ได้ทำให้รัสเซียล้มเลิกความคิดที่ว่า การทำสงครามกับญี่ปุ่นนั้นเป็นเรื่องง่ายและรัสเซียจะได้รับชัยชนะในเวลาอันสั้น[24] ทหารญี่ปุ่นได้รุดหน้าต่อไปยังอีกหลายจุดบนชายฝั่งดินแดนแมนจูเรีย และขับไล่รัสเซียให้ถอยร่นกลับไปพอร์ตอาเธอร์ ซึ่งเมื่อกองทัพญี่ปุ่นตามไปถึงพอร์ตอาเธอร์ในวันที่ 25 พฤษภาคมแล้ว ก็เกิดการรบขึ้นที่เรียกว่ายุทธการที่หนานชาง ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้รับชัยชนะ แต่ก็ต้องสูญเสียกำลังพลไปจำนวนมากจากความพยายามในการรักษาฐานที่มั่นของรัสเซีย", "title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น" }, { "docid": "8538#6", "text": "จากชัยชนะของจักรวรรดิญี่ปุ่นเหนือจักรวรรดิชิง นำไปสู่สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ[4] และจีนสูญเสียอิทธิพลเหนือคาบสมุทรเกาหลีและคาบสมุทรเหลียวตง รวมถึงเสียดินแดนไต้หวัน ให้แก่ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามรัสเซียซึ่งยังมีความทะเยอทะยานในภูมิภาคนี้อยู่ ได้พยายามชักชวนเยอรมันและฝรั่งเศส ในการกดดันและบีบญี่ปุ่น โดยเรียกร้องให้ญี่ปุ่นปลดปล่อยคาบสมุทรเหลียวตง", "title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น" }, { "docid": "626306#0", "text": "ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ (, \"Tsusimskoye srazheniye\"), หรือที่รู้จักกันในชื่อ ยุทธนาวีทะเลญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本海海戦, \"นิฮงไก-ไกเซ็ง\") เป็นการรบทางทะเลครั้งสุดท้ายระหว่างกองเรือของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น โดยที่กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถมีชัยชนะอย่างขาดลอยเหนือกองเรือรัสเซีย นับว่าเป็นยุทธนาวีหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่สร้างความอับยศแก่กองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซียอย่างยิ่ง และยังเป็นยุทธนาวีที่มีการนำระบบวิทยุโทรเลขมาใช้ในการรบทางทะเลเป็นครั้งแรก", "title": "ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ" }, { "docid": "609282#1", "text": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นในปี 1904-1905 ถือเป็นสงครามครั้งใหญ่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในศตวรรศที่ 20 ฝ่ายหนึ่งมีกองทัพบกที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างจักรวรรดิรัสเซีย และฝ่ายที่มีกองทัพเรือที่แข็งแกร่งที่สุดในเอเชียตะวันออกอย่างจักรวรรดิญี่ปุ่น", "title": "สนธิสัญญาพอร์ตสมัท" }, { "docid": "809125#0", "text": "ยุทธการที่แม่น้ำยาลู่ (, ) เป็นการปะทะระหว่างกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นกับกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในระหว่างสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ค.ศ. 1904 การปะทะเกิดขึ้นที่บริเวณแม่น้ำยาลู่ ใกล้กับหมู่บ้านอุยจู (ในเกาหลีเหนือในปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นเป็นชายแดนระหว่างเกาหลีกับแมนจูเรีย (เกาหลี-จีน)", "title": "ยุทธการที่แม่น้ำยาลู่" }, { "docid": "860233#3", "text": "เขาถูกเกณฑ์เข้ากองทัพจักรวรรดิรัสเซีย เขาอยู่ในสังกัดทหารม้าเสริมคอสแซค ที่ 46 ในช่วงสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ช่วงปี พ.ศ. 2447-2448 หลังจากที่สงครามเขาถูกย้ายไป กรมทหารม้า Primorsk ในปีพ.ศ. 2450 เขาถูกส่งไปยังสถาบันการศึกษาสำหรับเจ้าหน้าที่ทหารม้าในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในโรงเรียนสอนขี่ม้า เขาจบการศึกษาครั้งแรกในชั้นเรียนของเขา หลังปีนั้นเขากลายเป็นผู้สอนด้วยยศไม่ใช่นายทหารชั้นสัญญาบัตรตอนต้น เขากลับไปที่กองทหารของเขาในฐานะครูสอนขี่ม้ามียศไม่ใช่นายทหารชั้นอาวุโส ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเข้าร่วมกองพันทหารม้าสำรอง", "title": "เซมิออน บูดิออนนืย" }, { "docid": "8538#38", "text": "ระหว่างวันที่ 25 ถึง 29 มกราคม กองพลที่สองของจักรวรรดิรัสเซียภายใต้บัญชาของ นายพล ออสการ์ กริเปนเบิร์ก เข้าโจมตีขนาบข้างกองทหารญี่ปุ่นใกล้กับตำบลซันเดปุ (ทางใต้ของมุกเดน) โดยที่กองทหารญี่ปุ่นนั้นไม่ทันตั้งตัว การโจมตีดำเนินไปเรื่อยๆ แต่ด้วยขาดการสนับสนุนจากกองทหารรัสเซียหน่วยอื่นทำให้รัสเซียต้องยุติการโจมตีโดยคำสั่งจาก พลเอก อะเลคเซย์ กูโรแพทกิน รัฐมนตรีว่าการสงคราม และไม่สามารถตัดสินผลการรบได้ ในขณะที่กองทัพญี่ปุ่นก็ตระหนักได้ว่า ญี่ปุ่นต้องทำลายกองทหารราบของรัสเซียให้สิ้นก่อนที่กำลังเสริมของรัสเซียจะมาถึงผ่านทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย", "title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น" }, { "docid": "112388#19", "text": "ศูนย์กองบัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในโตเกียวได้เริ่มลังเลถึงการขยายความขัดแย้งที่เข้าสู่สงครามเต็มตัวเป็นความเห็นด้วยที่มีชัยชนะเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือของจีนต่อไปนี้เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล อย่างไรก็ตามรัฐบาลกลางจีนได้กำหนดว่า\"จุดแตกหัก\"ของการรุกรานของญี่ปุ่นได้รับถึงและ เจียงไคเชกได้ระดมกองทัพอย่างรวดเร็วของรัฐบาลกลางและได้เริ่มการพัฒนากองทัพอากาศจีนคณะชาติภายใต้คำสั่งโดยตรงของเขาในการโจมตีกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้เมื่อ 13 สิงหาคม 1937 ซึ่งนำไปสู่การยุทธการเมืองเซี่ยงไฮ้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีการระดมกำลังทหารกว่า 200,000 ควบคู่กับกองเรือและเครื่องบินจำนวนมากในการยึดเซี่ยงไฮ้หลังจากเกินสามเดือนของการต่อสู้ที่รุนแรงกับความสูญเสียที่ไกลเกินความคาดหวังตั้งแต่เริ่มต้นทำให้สร้างความยากลำบากในการที่จะยึดเซี่ยงไฮ้.[10] กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดเมืองนานกิงเมืองหลวงของรัฐบาลกลางจีนและส่านซีตอนเหนือโดยปลายปี ค.ศ. 1937 ในสงครามที่เกี่ยวข้องกับทหารจำนวน 350,000 คนของญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารของแมนจูกัว", "title": "สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง" }, { "docid": "110167#2", "text": "วันที่ 28 กรกฎาคม ความขัดแย้งเปิดฉากขึ้นเมื่อออสเตรีย-ฮังการีรุกรานเซอร์เบีย ตามด้วยการรุกรานเบลเยียม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศสของเยอรมนี และการโจมตีเยอรมนีของรัสเซีย หลังการบุกโจมตีกรุงปารีสของเยอรมนีถูกหยุด แนวรบด้านตะวันตกก็เป็นการรบแห่งการสูญเสียที่อยู่กับที่ด้วยแนวสนามเพลาะซึ่งเปลี่ยนแปลงน้อยมากกระทั่ง ค.ศ. 1917 ในทางตะวันออก กองทัพรัสเซียสามารถเอาชนะกองทัพออสเตรีย-ฮังการี แต่ถูกกองทัพเยอรมันบีบให้ถอยกลับจากปรัสเซียตะวันออกและโปแลนด์ แนวรบใหม่ ๆ เปิดขึ้นเมื่อจักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่สงครามใน ค.ศ. 1914 อิตาลีและบัลแกเรียใน ค.ศ. 1915 และโรมาเนียใน ค.ศ. 1916 จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายใน ค.ศ. 1917 และรัสเซียถอนตัวจากสงครามหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน หลังการรุกตามแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมนีใน ค.ศ. 1918 กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามและกองทัพสัมพันธมิตรสามารถผลักดันกองทัพเยอรมันกลับไปหลังได้รับชัยชนะติดต่อกันหลายครั้ง เยอรมนี ซึ่งประสบปัญหากับนักปฏิวัติถึงขณะนี้ ได้ตกลงหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ วันสงบศึก และชัยชนะตกเป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร", "title": "สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง" }, { "docid": "975481#1", "text": "โดยแรกเริ่มนั้นกองทัพปฏิวัติได้ถูกจัดตั้งโดยการช่วยเหลือทางทหารจากสหภาพโซเวียต เพื่อช่วยให้พรรคก๊กมินตั๋งในการรวบรวมประเทศจีนในช่วงยุคขุนศึก กองทัพปฏิวัติแห่งชาติด้ทำการสู้รบในการรบหลักคือ การกรีฑาทัพขึ้นเหนือ, การต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองและในการสู้รบกับกองทัพปลดปล่อยประชาชนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสงครามกลางเมืองจีน", "title": "กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน" }, { "docid": "345747#2", "text": "ต้นกำเนิดของกองทัพเรือญี่ปุ่นสามารถสืบย้อนไปถึงตอนต้นของการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย เริ่มต้นในตอนต้นของยุคกลางและไปถึงจุดสูงสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ในช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับมหาอำนาจในทวีปยุโรปในระหว่างยุคแห่งการสำรวจ ผ่านไปสองศตวรรษแห่งความซบเซาระหว่างนโยบายสันโดษภายในใต้โชกุนแห่งยุคเอะโดะ กองทัพเรือญี่ปุ่นถูกเปรียบเทียบกับเมื่อในอดีตเมื่อประเทศถูกบังคับให้เปิดการค้าโดยการแทรกแซงของอเมริกาในปี ค.ศ. 1854 เหตุการณ์นี้นำไปสู่การปฏิรูปสมัยเมจิ ประกอบกับการกลับมาสืบเชื้อสายจักรพรรดิ์ในยุคใหม่ที่เรืองรองและการปรับให้สู่อุตสาหกรรม กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นจึงเกิดขึ้น บางช่วงเวลาก็มีการสู้รบบ้างเช่นใน สงครามจีน-ญี่ปุ่นและสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และท้ายสุดโดนทำลายล้างเกือบทั้งหมดโดยกองทัพเรือสหรัฐ (USN) ในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น" }, { "docid": "153970#5", "text": "จนญี่ปุ่นทำข้อตกลงพันธมิตรกับอังกฤษในพ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) ทำให้รัสเซียไม่อาจดึงชาติตะวันตกอื่นๆมาร่วมได้ เพราะจะต้องเป็นปฏิปักษ์กับอังกฤษ ขณะเดียวกันรัสเซียก็เริ่มเคลื่อนไหวที่ริมฝั่งแม่น้ำยาลูฝั่งแมนจูเรีย ในพ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ทูตญี่ปุ่นที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้พยายามเจรจาอีกครั้ง แต่ไม่ประสบผล ในพ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นจึงเริ่มขึ้น โดยรบกันที่พอร์ตอาเธอร์และแม่น้ำยาลูเป็นส่วนใหญ่ ญี่ปุ่นนำกองทัพเคลื่อนผ่านโชซ็อนไปมาโดยที่ขุนนางโชซ็อนไม่สามารถทำอะไรได้เลย เพราะแม้พระเจ้าโกจงทรงอุตสาหะเลื่อนสถานะของประเทศเป็นจักรวรรดิ แต่ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นอยู่ดี", "title": "จักรวรรดิเกาหลี" }, { "docid": "8538#43", "text": "เมื่อการรบสิ้นสุดลง มีเรือรัสเซียเพียง 3 ลำเท่านั้นที่หนีรอดไปถึงวลาดิวอสต็อก ส่วนที่เหลือถูกญี่ปุ่นจมและยึด กำลังพลรัสเซียเสียชีวิตกว่า 5,000 นาย และถูกจับเป็นเชลยกว่า 6,000 นายส่วนกำลังพลญี่ปุ่นเสียชีวิต 117 นาย ข่าวที่กองเรือบอลติกพ่ายแพ้หมดสภาพในเวลาแค่วันเดียว สร้างความตกตะลึงไปทั่วทั้งรัสเซียและยุโรป รัสเซียซึ่งขนะนี้ไม่เหลือศักยภาพที่จะสู้รบกับญี่ปุ่นได้อีก จึงยอมจำนน และนำไปสู่การลงนามสนธิสัญญาพอร์ตสมัท เป็นอันสิ้นสุดสงคราม กองทัพเรือรัสเซียได้ถูกตำหนิอย่างรุนแรงและเกิดความไม่พอใจรัฐบาลขึ้นในหมู่ประชาชน เป็นจุดเริ่มต้นของความตกต่ำของราชวงศ์โรมานอฟ กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ประจักษ์แสนยานุภาพต่อนานาชาติ และขึ้นมาแทนที่อันดับของกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย", "title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น" }, { "docid": "8538#47", "text": "ชัยชนะของญี่ปุ่นในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะในสงครามใหญ่ครั้งแรกของชาติตะวันออกในยุคใหม่ที่มีเหนือชาติยุโรป ข่าวการพ่ายแพ้ของรัสเซียได้สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วทั้งยุโรปตลอดจนอาณานิคมต่างๆ ชื่อเสียงและบารมีของญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในเวทีโลก และเริ่มได้รับการยอมรับในฐานะประเทศทันสมัย ขณะเดียวกัน รัสเซียที่สูญเสียกองเรือบอลติกนั้น แทบจะหมดความภาคภูมิและความน่ายำเกรงต่อชาติอื่นๆในยุโรป ย้อนไปเมื่อครั้งก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ตอนนั้นรัสเซียเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับฝรั่งเศสและเซอร์เบีย การพ่ายแพ้ของรัสเซียในครั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีสำหรับจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เพื่อที่จะวางแผนทำสงครามต่อฝรั่งเศสและเซอร์เบีย", "title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น" }, { "docid": "564348#1", "text": "กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นได้แสดงแสนยานุภาพในสงครามต่างๆ เช่น กบฏนักมวยและสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น จนประเทศตะวันตกต่างก็เกรงใจยอมยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยกองทัพบกได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังพิเศษทางอากาศกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นสำหรับอากาศยานและปฏิบัติการโจมตีทางอากาศจากฐานทัพบนบก กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นคู่ต่อสู้หลักของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก", "title": "กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น" }, { "docid": "8538#1", "text": "รัสเซียได้ร้องขอท่าเรือน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้ [1] เพื่อใช้งานด้านกองทัพเรือและการค้าทางทะเลของรัสเซีย เนื่องจากนครวลาดิวอสต็อกของรัสเซียสามารถเปิดดำเนินการได้อย่างเต็มที่เฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น แต่เมืองพอร์ตอาเธอร์ (ลวี่ชุนเกาในปัจจุบัน) สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอดทั้งปี ซึ่งตั้งแต่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ยุติลง ในปี ค.ศ. 1903 รัสเซียไม่สามารถตกลงและเจรจากับญี่ปุ่นได้[2] ญี่ปุ่นจึงเลือกวิธีการทำสงครามเพื่อให้ได้ครอบงำคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังการเจรจาอันยากเย็นได้จบลงในปี ค.ศ. 1904 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีภาคตะวันออกของรัสเซียที่พอร์ตอาเธอร์ และฐานทัพเรือในจังหวัดเหลียวตง ที่รัสเซียเช่าจากจีนอยู่ รัสเซียไม่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ไม่ว่าจะทั้งทั้งทางบกและทางทะเล", "title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น" }, { "docid": "870109#1", "text": "ซูโวรอฟเกิดที่ มอสโก ในปี 1729 เมื่อตอนที่เขายังหนุ่มเขาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางทหาร และต่อมาเมื่อตอนที่เขาอายุ 17 ปีเขาได้เข้าร่วมกับ กองทัพจักรวรรดิรัสเซีย โดยในช่วง สงครามเจ็ดปี เขาถูกเลื่อนยศเป็นพันเอกในปี 1762 ต่อมาเขาได้เข้าร่วมในสงคราม ในปี 1768, ซูโวรอฟสามารถยึดนครกรากุฟ และมอบความพ่ายแพ้ให้โปแลนด์ที่ และ นำมาสู่ การแบ่งโปแลนด์ เขาถูกเลื่อนยศเป็นนายพลและต่อสู่ต่อใน สงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1768–1774) โดยได้ชัยชนะที่ และถูกเลื่อนยศเป็น ในปี 1786, เขายังได้บัญชาการในช่วง สงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1787–1792) และได้ชัยชนะที่ และ หลังจากนั้น เขายังได้เป็นเคานต์ทั้งใน จักรวรรดิรัสเซีย และ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ ซูโวรอฟ ยังปราบปราม ในปี 1794 ที่ และ", "title": "อะเลคซันดร์ ซูโวรอฟ" }, { "docid": "42827#17", "text": "แม้ว่าพระองค์จะเห็นว่าการทำสงครามเป็นสิ่งจำเป็นต่อญี่ปุ่น แต่พระองค์ก็ไม่ทรงเห็นด้วยกับกองทัพที่ดำเนินนโยบายการสงครามแบบบ้าระห่ำ เมื่อทรงทราบถึงแผนการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกา พระองค์ทรงกังวลมิน้อยว่าการกระทำนี้จะส่งผลร้ายต่อญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงพอพระทัยอยู่เสมอเมื่อทรงทราบว่ากองทัพญี่ปุ่นได้ชัยชนะในศึกสงครามที่อยู่ห่างไกล ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2485 ทรงพอพระทัยไม่น้อยกับชัยชนะอันรวดเร็วของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีเหนือเกาะฮ่องกง, กรุงมะนิลา, สิงคโปร์, ปัตตาเวีย (จาร์กาตา) และย่างกุ้ง", "title": "จักรพรรดิโชวะ" }, { "docid": "8538#22", "text": "อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการเหล่านี้ก้ได้เปิดช่องทางให้กองทัพญี่ปุ่นสามารถยกพลขึ้นบกที่อินชอน ในเกาหลีได้ ซึ่งต่อมาไม่นานญี่ปุ่นก็เข้ายึดครองกรุงฮันยัง (โซล) และเกาหลีก็ตกเป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งต่อมา กองพลที่ 1 แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้บัญชาการของ พลตรี คุโระกิ ทะเมะโมะโตะ ก็พร้อมที่จะข้ามแม่น้ำยาลู่เพื่อยึดครองแมนจูเรีย", "title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น" }, { "docid": "112388#24", "text": "กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีกำลังพลประมาณ 3,200,000 นาย ส่วนใหญ่ประจำการอยู่ที่ประเทศจีนมากกว่าที่สมรภูมิแปซิฟิค จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 20,000 นาย มี 51 กองพล ซึ่ง 35 กองพลประจำการอยู่ที่จีน และ 39 กองพลน้อย คิดเป็น 80% ของกำลังพลทั้งหมดของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีหน่วยพิเศษด้านปืนใหญ่, ทหารม้า, ต่อต้านอากาศยาน, และยานเกราะ เมื่อเทียบกับกองทัพจีนคณะชาติ ทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมียุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ทหารมีประสบการณ์ในการรบมากกว่า และมีแผนการรบที่เหนือกว่าในช่วงต้นของสงคราม", "title": "สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง" }, { "docid": "452973#0", "text": "ยุทธนาวีพอร์ตอาเธอร์ (ญี่ปุ่น: 旅順港海戦 / 旅順口海戦 \"เรียวจุงโก ไคเซ็ง\" หรือ 旅順港外海戦, \"เรียวจุงโกไง ไคเซ็ง\") เป็นการรบกันทางทะเลเมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 ระหว่างฝ่าย จักรวรรดิญี่ปุ่น และ จักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งถือเป็นการเปิดฉากสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น โดยคืนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เป็นฝ่ายโจมตีกองเรือรัสเซียแบบไม่ทันตั้งตัว ที่น่านน้ำของพอร์ตอาเธอร์ ในดินแดนแมนจูเรีย ซึ่งรัสเซียกำลังเช่าบริหารจากจักรวรรดิชิง เป็นผลให้เรือรบบางส่วนของรัสเซียต้องอัปปางลง", "title": "ยุทธนาวีที่พอร์ตอาเธอร์" }, { "docid": "8538#19", "text": "มอนเตเนโกร ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น เป็นสัญญาณของการสนับสนุนศีลธรรมทางทหารสำหรับรัสเซีย เนื่องด้วยเป็นการตอบแทนรัสเซียในการช่วยมอนเตเนโกรต่อการต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดทางการขนส่งและระยะทาง ผลงานและความพยายามในการช่วยเหลือรัสเซียจึงถูกจำกัด โดยการส่งทหารชาวมอนเตรเนโกรจำนวนเล็กน้อยเข้าร่วมกับกองทัพจักรวรรดิรัสเซียแทน", "title": "สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น" }, { "docid": "609282#0", "text": "สนธิสัญญาพอร์ตสมัท () เป็นสนธิสัญญาสันติภาพ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ในปี 1904-1905 จบลงโดยที่มีจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ โดยสนธิสัญญานี้มีการลงนามและประทับตรา ณ อาคารในอู่ต่อเรือพอร์ตสมัทของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 กันยายน 1905 และคณะองคมนตรีแห่งสมเด็จพระจักพรรดิได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1905", "title": "สนธิสัญญาพอร์ตสมัท" }, { "docid": "846250#0", "text": "พลโทนายแพทย์ ชิโร อิชิอิ() เป็นแพทย์ทหารชาวญี่ปุ่นประจำกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นและนักจุลชีววิทยาและผู้อำนวยการของหน่วย 731,หน่วยงานการทดลองอาวุธชีวภาพแห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีส่วนร่วมในการนำชาวจีนและเชลยศึกจากที่ต่างๆเช่น เกาหลี รัสเซีย เป็นต้นมาเป็นเหยื่อการทดลองมนุษย์ที่สุดแสนจะวิปริตทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง(1937–1945).", "title": "ชิโร อิชิอิ" }, { "docid": "22127#2", "text": "เดิมทีปรัสเซียเป็นรัฐบริวารของโปแลนด์ ก่อนที่ในปี 1651 ปรัสเซียจำยอมต้องโอนอ่อนหันไปอยู่กับจักรวรรดิสวีเดน แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปีก็เกิดสงครามเหนือครั้งที่สองขึ้น ปรัสเซียฉวยโอกาสต่อรองกับสวีเดน ว่าจะยอมช่วยสวีเดนทำศึกแลกกับการให้เอกราชแก่ปรัสเซีย หลังปรัสเซียได้รับเอกราชแล้วก็เริ่มผงาดตนเองขึ้นมาจนสามารถสถาปนาเป็นราชอาณาจักรในปี 1701 และมีอิทธิพลสูงที่สุดในศตวรรษที่ 18 ถึง 19 ปรัสเซียรุ่งเรืองอย่างก้าวกระโดดและกลายเป็นมหาอำนาจในสมัยพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 มหาราช โดยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพมากที่สุดในโลก และยิ่งเรืองอำนาจขึ้นอีกในสมัยมุขมนตรี ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ชัยชนะของปรัสเซียในสงครามสามครั้งได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สองกับเดนมาร์กในปี 1864, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในปี 1866 และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียในปี 1870–71 ทำให้บิสมาร์คสามารถรวมรัฐเยอรมันเล็กน้อยต่างๆเข้าด้วยกันเป็นสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ โดยกีดจักรวรรดิออสเตรีย (ซึ่งถือเป็นรัฐเยอรมันเช่นกัน) ออกไป", "title": "ปรัสเซีย" }, { "docid": "150091#4", "text": "หลังจากทั้งสองพระองค์ทรงอภิเษกสมรสไม่นาน กองทัพฝรั่งเศส นำโดยนโปเลียน โบนาปาร์ต ได้ประกาศสงครามเพื่อล้างแค้นอีกครั้ง โดยกองทัพฝรั่งเศสได้บุกเข้าโจมตีรัสเซีย ปรัสเซีย รวมทั้งออสเตรียด้วย โดยเมื่อกองทัพเดินทางเข้ามาถึงจักรวรรดิออสเตรีย อาร์คดยุคคาร์ล บิชอปแห่งเอ็สเตอร์โกม ได้ทรงเดินทางมาเจรจากับนโปเลียน ทรงทูลกับนโปเลียนให้จบสงครามโดยเร็ว เพราะการก่อสงครามกับออสเตรียนั้น จะส่งผลกระทพต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งการอภิเษกสมรสซึ่งผ่านมาไม่นานอีกด้วย สงครามน่าจะจบลงตั้งแต่ตอนนั้น แต่สมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรีย ลูโดวิก้าทรงลุกฮือขึ้นมาต่อต้านและประณามการกระทำของนโปเลียน ที่มาวิพากย์วิจารณ์การอภิเษกสมรสของพระองค์ ซึ่งถือเป็นเรื่องส่วนพระองค์ พระองค์จึงทรงสนับสนุนพระราชสวามีทำสงครามกับจักรวรรดิฝรั่งเศสทันที พระองค์ทรงนำกองทัพเข้าร่วมสงครามจนได้รับชัยชนะเมื่อปีพ.ศ. 2343 โดยในระหว่างสงคราม สมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรีย ลูโดวิก้าทรงเป็นองค์แม่ทัพฝ่ายในปกป้องกรุงเวียนนาจากข้าศึก หลังจากข้าศึกแล้ว ", "title": "มาเรีย ลูโดวีกา แห่งออสเตรีย-เอสเต" }, { "docid": "894526#1", "text": "มอลท์เคอเริ่มดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองทัพปรัสเซียเมื่อปีค.ศ. 1857 เขาได้นำชัยชนะมาแก่กองทัพปรัสเซียมาในสงครามสำคัญสามครั้ง คือ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง (ค.ศ. 1864), สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย (ค.ศ. 1866) และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (ค.ศ. 1870) ชัยชนะดังกล่าวทำให้ปรัสเซียสามารถรวมชาติเยอรมันเป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การสถาปนาจักรวรรดิเยอรมันขึ้นในปีค.ศ. 1871 ในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้ เขาได้รับยศเป็นจอมพล และชื่อตำแหน่งเสนาธิการกองทัพปรัสเซียถูกเปลี่ยนเป็น \"เสนาธิการใหญ่\" (Great General Staff) แห่งกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน และยังได้เป็นสมาชิกไรชส์ทาคแห่งจักรวรรดิเยอรมัน ", "title": "เฮลมุท คาร์ล แบร์นฮาร์ด ฟอน มอลท์เคอ" }, { "docid": "615244#0", "text": "คาบสมุทรเหลียวตง () เป็น คาบสมุทรในมณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ในอดีตอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรโชซอนโบราณ และหลายราชวงศ์ของจีน คาบสมุทรแห่งนี้มีความสำคัญในฐานะบริเวณที่มีความขัดแย้งในช่วงสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ซึ่งจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในสงครามครั้งนั้น ทำให้ญี่ปุ่นได้ดินแดนตอนใต้ของคาบสมุทรนี้", "title": "คาบสมุทรเหลียวตง" }, { "docid": "68851#17", "text": "หลังจากกรุงปักกิ่งและเทียนจินถูกยึดครอง ที่ราบจีนตอนเหนือก็ตกเป็นเป้าการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นที่มีอาวุธทันสมัยต่อจนถูกยึดครองทั้งหมดในปลายปีนั้น กองทัพจีนก๊กมินตั๋งและกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ก็ได้รบไปแต่ล่าถอยไปโดยตลอดจนกระทั่งได้รับชัยชนะต่อกองทัพญี่ปุ่นอย่างยากเย็นที่ไทเออซวง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2480", "title": "จักรวรรดิญี่ปุ่น" } ]
4091
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร มีลูกกี่คน ?
[ { "docid": "155491#2", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 6 มิได้เป็นที่หวังว่าจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินและทรงใช้เวลาสมัยแรกอยู่เบื้องหลังสมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 พระเชษฐา ทรงรับราชการในราชนาวีระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังสงครามแล้วก็ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ ในสังคม ต่อมาเสกสมรสกับเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออนในปี ค.ศ. 1923 และมีพระราชธิดาสองพระองค์คือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน", "title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร" } ]
[ { "docid": "5513#66", "text": "Family of Main Page 32.อเล็คซานเดอร์ สวอน16. เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา8. สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร17. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร4. สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร18. สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก9. เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก19. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล2. สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร20. ดยุกอเล็กซานเดอร์แห่งเวือร์ทเทมแบร์ก10. ดยุกฟรันซิสแห่งเทก21. เคาท์เตสโคลไดน์เรเดย์ ฟอน คิส-เรด5. เจ้าหญิงแมรีแห่งเทก22. เจ้าชายอดอลฟัส ดยุคแห่งแคมบริดจ์11. เจ้าหญิงแมรี อเดเลดแห่งแคมบริดจ์23. เจ้าหญิงออกัสตา แห่งเฮสส์-คาสเซิล1. สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 224. โธมัส ลีออน-โบวส์ ลอร์ดกลาสมิส12. โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 13 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น25. ชาร์ลอตต์ กริมสตีด6. โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 14 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น26. ออสวอลด์ สมิธ13. ฟรานซิส ดอรา สมิธ27. เฮนเรีตตา มิลเดรด ฮอดจ์สัน3. สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี28. ลอร์ดชาลส์ เบนทิงค์14. ชาลส์ วิลเลียม เฟรเดอริก คาเวนดิช-เบนทิงค์29. เลดีเบนทิงค์7. เซซิเลีย นีนา คาเวนดิช-เบนทิงค์30. เอ็ดวิน เบอร์นาบี15. แคโรไลน์ ลุยซา เบอร์นาบี31. แอนน์ แคโรไลน์ ซอลส์บรี", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "171835#1", "text": "เจ้าชายอดอลฟัส ดยุคแห่งแคมบริดจ์ มีพระนามเต็มว่า อดอลฟัส เฟรเดอริค ประสูติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2317 ณ พระราชวังบัคกิงแฮม พระราชโอรสพระองค์ที่เจ็ดในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร และสมเด็จพระราชินีชาร์ลอต เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร และสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร", "title": "เจ้าชายอดอลฟัส ดยุกแห่งเคมบริดจ์" }, { "docid": "155491#7", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เสด็จสวรรคตเมื่อ 22 มกราคม ค.ศ. 1901 และเจ้าชายแห่งเวลส์ได้สืบราชบัลลังก์ต่อโดยมีพระนามว่า พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งทำให้พระองค์เลื่อนขึ้นมาอยู่ในลำดับที่สามของการสืบราชสันตติวงศ์ในขณะนั้น", "title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "155491#3", "text": "หลังจากพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1936 พระเชษฐาก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 แต่ไม่ทันถึงปีพระเจ้าเอดเวิร์ดก็มีพระประสงค์ที่จะแต่งงานกับนางวอลลิส ซิมพ์สัน สตรีหม้ายชาวอเมริกัน แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองและทางศาสนาสแตนลีย์ บอลด์วิน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรถวายคำแนะนำว่าการที่จะอภิเษกสมรสกับวอลลิส ซิมป์สันแล้วยังเป็นพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 จึงทรงสละราชสมบัติเพื่อแต่งงานกับวอลลิส ซิมป์สัน เจ้าชายอัลเบิร์ตซึ่งเป็นดยุกแห่งยอร์กในขณะนั้นจึงทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามในราชวงศ์วินด์เซอร์ทรงพระนามสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ต่อจากพระเชษฐาซึ่งนักวิชาการได้สันนิษฐานว่าการใช้พระนามจอร์จนั้นเป็นกุศโลบายเพื่อให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนักในการเสวยราชสมบัติของพระองค์", "title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "710474#0", "text": "เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ ออกัสตา แห่งเวลส์ (; 7 มกราคม ค.ศ. 1796 – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1817) ทรงเป็นพระราชธิดาและบุตรพระองค์เดียวในเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร) กับเจ้าหญิงคาโรลีนแห่งเบราน์ชไวก์ หากว่าเจ้าหญิงทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวกว่าพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร พระอัยกาและเจ้าชายจอร์จ พระราชบิดา พระนางอาจได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ แต่พระนางสิ้นพระชนม์เสียก่อนด้วยพระชนมายุ 21 พรรษา", "title": "เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์" }, { "docid": "221858#3", "text": "ครั้งต่อไป (ในตำแหน่ง\"ดยุกแห่งแคลเร็นซ์และเซนต์แอนดรูว์\") ในปี ค.ศ. 1789 สำหรับเจ้าชายวิลเลียม พระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ต่อมาหลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐา สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1830 ตำแหน่งจึงรวมเป็นส่วนพระมหากษัตริย์", "title": "ดยุกแห่งแคลเรนซ์" }, { "docid": "155491#0", "text": "พระเจ้าจอร์จที่ 6 ([George VI of the United Kingdom]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help); 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 — 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ และเครือจักรภพอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1936 ถึงปี ค.ศ. 1952 เป็นจักรพรรดิอินเดียพระองค์สุดท้าย (จนกระทั่งปี ค.ศ. 1947) และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเสรีรัฐไอริชในทางนิตินัยพระองค์สุดท้าย (จนกระทั่งปี ค.ศ. 1949)", "title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "155491#5", "text": "พระเจ้าจอร์จที่ 6 ประสูติที่นิวยอร์กคอทเทจ ในตำหนักซานดริงแฮมในนอร์ฟลอค์ ในรัชสมัยของพระปัยยิกาคือสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชบิดาของพระองค์คือเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งยอร์ก (ต่อมาคือพระเจ้าจอร์จที่ 5) เป็นพระโอรสองค์ที่สองของเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ (ต่อมาคือพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระมารดาของพระองค์คือดัสเชสแห่งยอร์ก (ต่อมาคือสมเด็จพระราชินีแมรี พระธิดาพระองค์ใหญ่และพระองค์เดียวของดยุกและดัสเชสแห่งเท็ค", "title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "139510#16", "text": "หลังจากช่วงหลายเดือนที่ยากลำบากในเมืองเอ็กคาร์ทเซา เหล่าพระราชวงศ์ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ที่ไม่เคยคาดคิด เจ้าชายซิกซ์ตัสทรงเข้าพบกับสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร และขอให้พระองค์ทรงช่วยเหลือสมาชิกราชวงศ์ฮับส์บูร์ก สมเด็จพระเจ้าจอร์จทรงรู้สึกเห็นใจกับคำขอร้องนี้ (นับเป็นเพียงไม่กี่เดือนตั้งแต่พวกปฏิวัติสังหารสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย พระญาติสนิท) และให้สัญญาว่า \"\"ข้าพเจ้าจะทำทุกอย่างที่จำเป็นโดยทันที\"\"", "title": "เจ้าหญิงซีตาแห่งบูร์บง-ปาร์มา" }, { "docid": "956104#0", "text": "ลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์ ()\nลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2522 ณ โรงพยาบาลเซนต์แมรี กรุงลอนดอน เป็นพระโอรสคนใหญ่ใน เจ้าชายไมเคิลแห่งเคนต์ และ เจ้าหญิงไมเคิลแห่งเคนต์ เป็นพระนัดดาใน เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ และพระราชปนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร โดยปัจจุบันอยู่ในลำดับที่ 48 ในการสืบราชบัลลังก์ โดยเขาเป็นประธานในมูลนิธิ โซดิเออรฺ ออร์ และเป็นประธานโครงการการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพแห่งสหราชอาณาจักร \nลอร์ดเฟรเดอริก พบกัน ชายาในอนาคตคือ โซฟี วิลเคลแมน ในวันวาเลนไทน์เมื่อปี พ.ศ. 2552 ต่อมา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมรสกันในวันที่ 12 กันยายน ปีเดียวกัน โดยทั้งคู่มีบุตรดังนี้\nในปี พ.ศ. 2559 ลอร์ดเฟรเดอริกได้รับแต่งตั้งจาก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้ากองกำลังทหารแห่งสหราชอาณาจักร", "title": "ลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์" }, { "docid": "32264#1", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียประสูติในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1819 เป็นพระราชธิดาในเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์และสแตรธเอิร์น พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรกับพระนางชาร์ลอตต์แห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ พระราชชนนีคือเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์ พระปิตุลา 2 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ได้แก่ พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร และ พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "5513#1", "text": "เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและพระมหากษัตริย์แห่งเจ็ดรัฐเครือจักรภพ เจ็ดรัฐ ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และ ซีลอน พิธีราชาภิเษกของพระองค์ในปีถัดมาเป็นพิธีราชาภิเษกครั้งแรกที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ระหว่าง พ.ศ. 2499 ถึง 2535 จำนวนราชอาณาจักรของพระองค์แปรผันเมื่อดินแดนต่าง ๆ ได้รับเอกราชและบ้างกลายเป็นสาธารณรัฐ ปัจจุบัน นอกจากสี่ประเทศแรกที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ยังเป็นพระราชินีนาถแห่งจาเมกา บาร์เบโดส หมู่เกาะบาฮามาส เกรนาดา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ แอนติกาและบาร์บูดา เบลิซ และเซนต์คิตส์และเนวิส พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระชนมายุมากที่สุดของบริเตน เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 พระองค์เป็นประมุขแห่งรัฐบริเตนที่ทรงราชย์นานที่สุด แซงหน้ารัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผู้เป็นพระมารดาของพระปัยกา (ทวด) ของพระองค์ และเป็นพระราชินีนาถที่ทรงราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกของดยุกและดัชเชสแห่งยอร์ก (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ) พระราชบิดาเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระราชบิดาของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระราชโอรสองค์โตทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งสหราชอาณาจักร", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "155034#0", "text": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร () (12 สิงหาคม ค.ศ. 1762 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1830) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ฮาโนเวอร์ของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และพระเจ้าแผ่นดินแห่งฮาโนเวอร์ แห่งราชอาณาจักรฮาโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1820 จนสวรรคตเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1830", "title": "พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "271717#2", "text": "พระเจ้าคริสเตียนที่ 7 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1749 ที่โคเปนเฮเกนในเดนมาร์ก พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก และ หลุยส์แห่งเกรตบริเตนพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ และทรงเสกสมรสกับคาโรไลน์ มาทิลดาแห่งเกรตบริเตนพระขนิษฐาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1766 พระองค์เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าเฟรเดริคที่ 6 พระเจ้าคริสเตียนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12/13 มีนาคม ค.ศ. 1808 ในเดนมาร์ก พระบรมศพได้รับการบรรจุที่มหาวิหารรอสคิลด์", "title": "พระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก" }, { "docid": "155491#1", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 6 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 ณ ตำหนักซานดริงแฮม นอร์โฟลกในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีแมรี และครองราชย์ระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1936 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 ที่พระราชวังวินด์เซอร์ บาร์คเชอร์", "title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "5513#25", "text": "ช่วงปี พ.ศ 2494 พระพลานามัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 เสื่อมถอยลงและบ่อยครั้งที่เจ้าหญิงต้องเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในครั้งที่เสด็จเยือนแคนาดาและสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ขณะนั้นทรงพบปะกับประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ มาร์ติน คาร์เตริส ก็ได้จัดทำร่างพระราชดำรัสในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเผื่อกรณีที่พระเจ้าจอร์จที่ 6 เสด็จสวรรคตขณะเจ้าหญิงทรงอยู่ต่างประเทศ[52] ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2495 เตรียมเสด็จเยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์โดยเสด็จเยือนเคนยาก่อน ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เมื่อเพิ่งเสด็จถึงบ้านพักที่ประทับซากานาลอดจ์ในเคนยา หลังจากที่คืนก่อนหน้าเสด็จไปประทับที่โรงแรมทรีท็อปส์ ข่าวการสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 6 ก็มาถึงและดยุกแห่งเอดินบะระก็ได้ทรงแจ้งข่าวนี้แก่พระราชินีพระองค์ใหม่[53] มาร์ติน คาร์เตริส ได้ทูลถามถึงพระปรมาภิไธยที่จะทรงใช้ พระองค์ทรงเลือก \"เอลิซาเบธ\" เช่นเดิมแน่นอน[54] พระองค์ทรงประกาศตนเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพพระองค์ใหม่หลังจากที่ทรงเร่งรีบเสด็จกลับสหราชอาณาจักร[55] จากนั้นจึงเสด็จย้ายเข้าไปประทับ ณ พระราชวังบักกิงแฮมพร้อมกับดยุกแห่งเอดินบะระ[56]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "260925#0", "text": "สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย หรือทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม พระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 คาราจอร์เจวิช (ภาษาเซอร์เบีย, ภาษาโครแอต, ภาษาบอสเนีย, ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย: Petar II Karađorđević อักษรซีริลลิก: Петар II Карађорђевић) (6 กันยายน พ.ศ. 2466 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามและองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ก่อนหน้านี้เรียกว่าราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนในช่วงก่อน พ.ศ. 2472 พระองค์เป็นพระโอรสพระองค์โตใน สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย กับ เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย พระบิดามารดาอุปถัมภ์ของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร กับ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออนแห่งสหราชอาณาจักร", "title": "สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย" }, { "docid": "317102#1", "text": "พระราชโอรสที่สำคัญในพระเจ้าจอร์จที่ 3 ได้แก่ พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร และพระเจ้าแอนสท์ เอากุสท์ที่ 1 แห่งฮันโนเฟอร์ ส่วนพระราชนัดดาที่สำคัญ ได้แก่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร และพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งฮันโนเฟอร์ อีกทั้งยังมีพระราชปนัดดาที่สำคัญคือ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายแอนสท์ เอากุสท์ มกุฎราชกุมารแห่งฮันโนเฟอร์", "title": "พระราชสันตติวงศ์ในพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "957411#0", "text": "จอร์จ แลสเซิลส์ เอิร์ลที่ 7 แห่งฮาร์วุด ()\nจอร์จ แลสเซิลส์ เอิร์ลที่ 7 แห่งฮาร์วุด เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 ณ เชอร์เตนเฟรด เฮาส์ เป็นพระโอรสคนใหญ่ใน เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเคาน์เตสแห่งแฮร์วูด และ เฮนรี แลสเซิลส์ เอิร์ลที่ 6 แห่งฮาร์วุด เป็นพระราชนัดดาคนแรกใน พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร และเมื่อเขาเติบใหญ่ เขาได้เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ พระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ผู้เป็นพระมาตุลา โดยเมื่อเจริญวัย เขาได้กลายเป็น หทารบังคับบัญชาแห่งอังกฤษใน สงครามโลกครั้งที่สอง ", "title": "จอร์จ แลสเซิลส์ เอิร์ลที่ 7 แห่งฮาร์วุด" }, { "docid": "154822#2", "text": "ก่อนที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระเจ้าจอร์จที่ 1 ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงได้ดินแดนต่าง ๆ ทางตอนใต้ของรัฐนีเดอร์ซัคเซินซึ่งทำให้อาณาบริเวณในการปกครองขยายออกไปจากดินแดนที่ได้จากสงครามต่าง ๆ ในยุโรปในรัชสมัยของพระองค์ เมื่อพระชนมายุได้ 54 พรรษาทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์แฮโนเวอร์ ถึงแม้ว่าจะมีผู้ที่สมควรได้รับราชบัลลังก์มากกว่าแต่เจ้าหญิงโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์พระราชมารดาของพระองค์ เป็นรัชทายาทต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701 เพราะทรงเป็นโปรเตสแตนต์ แต่เจ้าหญิงโซฟีสิ้นพระชนม์ก่อนพระราชินีนาถแอนน์ราชบัลลังก์จึงตกมาเป็นของพระเจ้าจอร์จที่ 1 ผู้สนับสนุนการตั้งราชวงศ์สจวตเป็นประมุขพยายามโค่นราชบัลลังก์และตั้งเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวตพระราชโอรสของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 (พระราชบิดาของพระราชินีนาถแอนน์) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทนที่แต่ไม่สำเร็จ ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จอำนาจของพระมหากษัตริย์เริ่มลดน้อยลงและระบบการปกครองแบบคณะรัฐมนตรีนำโดยนายกรัฐมนตรีก็เริ่มวิวัฒนาการขึ้น ในปลายรัชสมัยอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่เซอร์โรเบิร์ต วอลโพลมักจะถูกบรรยายว่าเป็น “นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร” คนแรก พระเจ้าจอร์จสวรรคตระหว่างการเสด็จไปฮันโนเฟอร์", "title": "จอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่" }, { "docid": "5513#7", "text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระราชธิดาองค์แรกในเจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก (ภายหลังขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6) กับเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งยอร์ก พระราชบิดาของพระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระราชมารดาของพระองค์เป็นธิดาคนสุดท้ายของขุนนางชาวสกอตแลนด์นามว่า โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 14 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น เจ้าหญิงเอลิซาเบธประสูติโดยการคลอดแบบผ่าท้องเมื่อเวลา 2.40 น. (ตามเวลากรีนิช) ของวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2469 ณ บ้านเลขที่ 17 ถนนบรูตัน เมย์แฟร์ กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นของพระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา (ตา) ในกรุงลอนดอน[1] ต่อมาวันที่ 29 พฤษภาคม ทรงเข้ารับพิธีบัพติศมานิกายแองกลิคันจากคอสโม กอร์ดอน แลง อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก ณ โบสถ์ส่วนพระองค์ภายในพระราชวังบักกิงแฮม[2][note 2] และได้รับพระนาม เอลิซาเบธ ตามพระราชมารดา, อะเล็กซานดรา ตามสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระปัยยิกา (ย่าทวด) ซึ่งสิ้นพระชนม์ก่อนการประสูติของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ 6 เดือน และ แมรี ตามสมเด็จพระราชินีแมรี พระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา (ย่า)[3] เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระราชนัดดาหัวแก้วหัวแหวนของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กล่าวกันว่าเมื่อเจ้าหญิงเอลิซาเบธเสด็จไปเยี่ยมพระอาการประชวรของพระเจ้าจอร์จที่ 5 ในปี พ.ศ. 2472 ทำให้พระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงมีกำลังพระทัยและพระอาการดีขึ้น[4]", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "976106#0", "text": "เซอร์แองกัส โอลกิลวี () เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2471 เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ พันเอกเดวิด โอลกิลวี เอิร์ลที่ 12 แห่งแอร์รีย์ กับ เลดีอเล็กซานดรา โค๊ก เขาเป็นหลานชายของ โทมัส โค๊ก เอิร์ลที่ 3 แห่งเลสเตอร์ ผ่านทางสายมารดา โดยครอบครัวของเขานั้นมีความสินทกับพระราชวงศ์อังกฤษอยู่แล้วเนื่องจาก มาเบลล์ โอลกิลวี เคาน์เตสแห่งแอร์รีย์ ผู้เป็นย่าของแองกัสเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของแมรีแห่งเทก สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร และพ่อของเขานั้นเป็นคนสนิทของ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร พระราชยิดาใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร รัชกาลปัจจุบัน เขายังเป็นญาติใน ไดอานา มิตฟอร์ด กับ พาเมลา แฮร์ริแมน นักการทูตของสหราชอาณาจีกรประจำประเทศฝรั่งเศส", "title": "แองกัส โอลกิลวี" }, { "docid": "155034#1", "text": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1762 ที่พระราชวังวินด์เซอร์ บาร์คเชอร์ สหราชอาณาจักร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร และ สมเด็จพระราชินีชาร์ลอตต์แห่งสหราชอาณาจักร ทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิงคาโรไลน์แห่งบรันสวิค ก่อนขึ้นครองราชย์สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อพระราชบิดา มีพระอาการหนักจากโรคที่ขณะนั้นไม่ทราบสาเหตุที่พระอาการคล้ายกับผู้เป็นโรคจิต แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่าทรงเป็นโรคพอร์ฟิเรีย (porphyria) ", "title": "พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "531682#4", "text": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร – พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร จักรพรรดิแห่งอินเดีย เฮอร์เบิร์ท เฮนรี แอสควิธ – นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร (จนกระทั่ง 5 ธันวาคม 1916) เดวิด ลอยด์ จอร์จ – นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร (ตั้งแต่ 7 ธันวาคม 1916)", "title": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง" }, { "docid": "741390#53", "text": "ต่อมาเกิดการรัฐประหารโดยกลุ่มทหารที่ไม่พอใจ พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 สละราชบัลลังก์เป็นครั้งที่สองในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1922 พระองค์เสด็จลี้ภัยไปยังอิตาลี พร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ รวมทั้ง สมเด็จพระพันปีหลวงโอลกาด้วย และพระโอรสองค์โตของพระองค์ได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อเป็นเวลาไม่กี่เดือน คือ พระเจ้าจอร์จที่ 2 ภายในช่วงหลายเดือนนี้ พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 เสด็จสวรรคตในอิตาลี หนึ่งในพระโอรสของสมเด็จพระพันปีหลวงโอลกา คือ เจ้าชายแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก ถูกจับกุมโดยการปกครองระบอบใหม่ จำเลยหลายคนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นผู้ทรยศต่อชาติในการพิจารณาคดีจำเลยทั้งหกที่ดำเนินการโดยคณะรัฐประหาร อดีตนายกรัฐมนตรี นักการเมืองอาวุโสและนายพลในกองทัพหลายคนที่เป็นฝ่ายกษัตริย์นิยมถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า นักการทูตต่างประเทศมองว่าเจ้าชายแอนดรูว์ทรงตกอยู่ในอันตราย และสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน ประธานาธิบดีแรมง ปวงกาเร รวมถึงสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ทรงส่งผู้แทนไปยังเอเธนส์เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยนให้แก่เจ้าชายแอนดรูว์ เจ้าชายแอนดรูว์ทรงรอดพระชนม์ แต่ทรงถูกเนรเทศตลอดพระชนม์ชีพและครอบครัวของพระองค์ต้องลี้ภัยด้วยเรือเฮชเอ็มเอส คาลิปโซ (ดี61) ของราชนาวีอังกฤษ", "title": "โอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งรัสเซีย" }, { "docid": "92502#0", "text": "พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร () เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ซึ่งทรงสถาปนาขึ้นจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาสายอังกฤษ ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพแห่งอังกฤษ พระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดียและปฐมกษัตริย์เสรีรัฐไอร์แลนด์อีกด้วย พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2461) จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2479", "title": "พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "654094#0", "text": "เจ้าชายจอห์นแห่งสหราชอาณาจักร () หรือพระนามเต็ม จอห์น ชาลส์ ฟรานซิส (; \"ประสูติ\": 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2448; \"สิ้นพระชนม์\": 18 มกราคม พ.ศ. 2462) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรกับสมเด็จพระราชินีแมรีแห่งเทก เจ้าชายจอห์นประสูติในขณะที่พระราชบิดามีพระยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ และรัชทายาทในราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักร ในปีพ.ศ. 2453 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรสวรรคต เจ้าชายจอร์จได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เจ้าชายจอห์นจึงอยู่ในลำดับที่ 5 ของลำดับการสืบราชสันตติวงศ์อังกฤษ", "title": "เจ้าชายจอห์นแห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "539638#0", "text": "เดวิด อัลเบิร์ต ชาร์ลส์ อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน () พระโอรสในเจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน กับอันโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 1 แห่งสโนว์ดอน เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 เขาเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ทั้งยังเป็นพระภาคิไนยใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เขาอยู่ในลำดับโปเจียมพระราชวงศ์ฝ่ายหน้าเป็นคนที่ 10 เขาคือผู้สืบทอดตำแหน่งเอิร์ลแห่งสโนว์ดอน<\nเดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์, ไวเคานต์ลินลีย์ เป็นพระโอรสคนใหญ่ใน เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน และ อันโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ณ โรงพยาบาลพอร์ตแลนด์ เดวิด เป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร และถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 20 ในการสืบราชสันตติวงศ์แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร", "title": "เดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์, เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน" }, { "docid": "173963#1", "text": "เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ ประสูติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2445 ณ ยอร์ค คอทเทจ แซนดริงแฮม พระชนกคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร พระราชโอรสพระองค์ที่สองใน สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระชนนีคือสมเด็จพระราชินีแมรี แห่งเท็คพระราชธิดาในเจ้าชายฟรานซิส ดยุกแห่งเท็ค และเจ้าหญิงแมรี อเดเลดแห่งแคมบริดจ์", "title": "เจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์" } ]
4092
เขาทราย แกแล็คซี่เกิดวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "47201#3", "text": "เขาทรายเป็นบุตรของนายขัน แสนคำ และนางคำ แสนคำ เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ที่บ้านเฉลียงลับ ตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเฉลียงลับวิทยา ชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนประสิทธิวิทยา และระดับอาชีวศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนเทคนิคเพชรบูรณ์", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" } ]
[ { "docid": "156782#0", "text": "ยู มย็อง-อู () เป็นนักมวยสากลชาวเกาหลีใต้ เกิดเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2507 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ สถิติการชก 39 ครั้ง ชนะ 38 (น็อค 14) แพ้ 1 นับว่าเป็นแชมป์โลกชาวเอเชียที่ป้องกันแชมป์ได้เป็นอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย รองจากเขาทราย แกแล็คซี่ และเป็นแชมป์โลกชาวเกาหลีใต้ที่มีสถิติป้องกันแชมป์สูงสุดด้วย มีฉายาว่า \"โซนากิ\" (소나기) แปลว่า \"สายฝน\"", "title": "ยู มย็อง-อู" }, { "docid": "49350#1", "text": "ศักดาเป็นนักมวยคนเดียวที่เคยชกชนะ เขาทราย แกแล็คซี่ แชมป์โลกผู้ยิ่งใหญ่ของไทย ทั้งคู่ชกกันหลังจากที่เขาทรายชกมวยสากลอาชีพมาได้ 6 ครั้ง และขึ้นชิงแชมป์เวทีราชดำเนินรุ่นแบนตัมเวทซึ่งศักดา ศักดิ์สุรีย์ ครองแชมป์แชมป์อยู่ในขณะนั้น เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ก่อนการชก ทุกฝ่ายมั่นใจว่าเขาทรายน่าจะเป็นฝ่ายชนะน็อคได้ไม่ยาก เพราะศักดาน้ำหนักเกินรุ่นแบนตัมเวทไปมาก ถึงวันชั่งน้ำหนักยังต้องอบตัวและออกวิ่งกว่าจะทำน้ำหนักตามพิกัดได้\nเมื่อขึ้นเวทีชกกันจริงๆ ปรากฏว่าเขาทรายเข้าไม่ติด ไม่สามารถใช้หมัดซ้ายชกศักดาได้จังๆเพราะเสียเปรียบช่วงชกมาก ศักดาใช้ช่วงชกที่ได้เปรียบชกทำคะแนนนำไปก่อนแมจะอ่อนแรงในยกท้ายๆและถูกเขาทรายต่อยจนแตกทั้งสองคิ้ว เมื่อเขาทรายชกศักดาลงไปให้กรรมการนับสิบไม่ได้ ครบสิบยก ศักดาจึงเป็นฝ่ายชนะคะแนนไป ", "title": "ศักดิ์ แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#25", "text": "ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557 เขาทรายได้ร่วมกับภรรยาคนปัจจุบัน คุณหนึ่ง เปิดโรงเรียนสอนมวยไทยขึ้นแก่บุคคลทั่วไป ที่ซอยอินทามระ 47 ด้วยทุนกว่า 1,500,0000 บาท โดยใช้ชื่อว่า \"เขาทราย แกแล็คซี มวยไทยยิม\" โดยเขาทรายเป็นผู้ลงมือสอนด้วยตัวเอง[16] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2559 ก็ได้เปิดอีกสาขาหนึ่งที่จังหวัดภูเก็ต พร้อมกับสนามมวยแห่งหนึ่ง และยังผันตัวเองมาเป็นโปรโมเตอร์จัดรายการมวยไทยอีกด้วย[17]", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#7", "text": "ชีวิตการชก มวยไทย ของเขาทราย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนได้รับการปรามาส จากแฟนมวยว่า \"เขาควาย\" จึงเบนเข็มมาชกมวยสากล โดยฝึกมวยสากลจาก \"ครูเฒ่า-ชนะ ทรัพย์แก้ว\" และ \"เกา คิม หลิน-ทวิช จาติกวณิช\" และเมื่อเป็นแชมป์โลกเปลี่ยนมาเป็น \"โกฮง-พงษ์ ถาวรวิวัฒน์บุตร\"", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#18", "text": "หลังแขวนนวม เขาทรายออกอัลบั้มเพลงมาชุดหนึ่ง เพื่อเป็นการขอบคุณแฟน ๆ ที่ให้การสนับสนุน ชื่อชุด \"ขอบคุณครับ\" ภายใต้สังกัด แกแล็กซี่ และมีพิธีมงคลสมรส กับหญิงสาวชาวญี่ปุ่น \"ยูมิโกะ โอตะ\" ที่พบกันในการป้องกันตำแหน่งที่นั่นโดยมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 แต่ได้หย่าขาดกันในเวลาต่อมา โดยเขาทรายให้เหตุผลว่า เพราะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมแตกต่างกัน[7]", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47225#9", "text": "อนึ่ง หลังจากที่เขาค้อได้ครองแชมป์โลกสมัยแรกแล้ว ทางรายการตามไปดูทางช่อง 9 ได้จัดมวยคู่พิเศษตามคำเรียกร้องของผู้ชมรายการ คือ จัดชกระหว่าง เขาทราย และ เขาค้อ ที่เวทีราชดำเนิน โดยให้ทั้งคู่ชกกันจริง ๆ กำหนด 3 ยก เพื่อที่จะหาว่าใครเก่งกว่ากัน ผลการชกปรากฏว่า เขาทรายเป็นฝ่ายชนะคะแนนไปในที่สุด", "title": "เขาค้อ แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#23", "text": "ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เขาทรายได้ย้ายไปอยู่กับพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมกับเพื่อนนักมวยอีก 3 คน คือ สมรักษ์ คำสิงห์, มนัส บุญจำนงค์ และเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง โดยในครั้งนี้เขาทรายได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 2 จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นบ้านเกิด[13] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนไปทั้งสิ้น 8,485 คะแนน[14]", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#6", "text": "หลังการชกกับ กังสดาล ส.ประทีป นิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์ (แชแม้) โปรโมเตอร์ชื่อดังที่ชักชวนให้มาชกที่กรุงเทพฯ ในชื่อ \"เขาทราย วังชมภู\" (ต่อมาเปลี่ยนชื่อหลังตามชื่อค่ายว่า \"แกแล็คซี่\" ซึ่งเป็นชื่อกิจการภัตตาคารของนักธุรกิจชื่อดังคือ นายอมร อภิธนาคุณ ซึ่งเป็นเพื่อนของนิวัฒน์) ได้สนับสนุนให้เขาทรายเปลี่ยนมาชกมวยสากลอาชีพ นับเป็นการเริ่มต้นตำนานแชมป์โลกของ เขาทราย แกแล็กซี่", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#10", "text": "หลังได้ครองแชมป์แบนตั้มเวท ราชดำเนิน เขาทรายลดรุ่นลงมาชกในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท สามารถชกชนะติดต่อกัน 17 ครั้ง โดยเป็นการชนะน็อคถึง 15 ครั้ง รวมทั้งชนะน็อค วิลลี่ เจนเซ่น รองแชมป์โลกจูเนียร์แบนตั้มเวท ได้ขึ้นชิงแชมเปี้ยนโลก รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทที่ว่างลง ของสมาคมมวยโลก(WBA) กับ ยูเซปีโอ เอสปีนัล นักชกชาวโดมินิกัน ที่เวทีมวยราชดำเนิน และสามารถชนะน็อคได้ครองตำแหน่งแชมเปี้ยนโลก เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 และยังทำสถิติป้องกันแชมป์ได้ติดต่อกันถึง 19 ครั้ง มากที่สุดของทวีปเอเชีย โดยทำลายสถิติเดิมของ ชาง จุงกู นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้ ที่ป้องกันได้ 15 ครั้ง และเป็นสถิติโลก ในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท (115 ปอนด์) ด้วย เทียบเท่ากับ ยูเซปิโอ เปรโดซ่า อดีตแชมป์โลก รุ่นเฟเธอร์เวท WBA ที่ทำสถิติป้องกันแชมป์เอาไว้ถึง 19 ครั้งเท่ากัน โดยเขาทรายทำสถิติการชกไว้ทั้งหมด 50 ครั้ง ชนะ 49 ครั้ง โดยชนะน็อกถึง 43 ครั้ง แพ้คะแนนเพียง 1 ครั้ง และในการป้องกันแชมป์ 19 ครั้ง เป็นการชนะน็อกถึง 16 ครั้ง มีเพียง 3 ครั้งที่ชนะคะแนน", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47225#4", "text": "เขาค้อ ใช้ชื่อในการชกมวยไทยว่า \"เด่นจ๋า เมืองศรีเทพ\" โดยสอดคล้องกับเขาทราย คือ \"ดาวเด่น เมืองศรีเทพ\" ทั้งคู่ได้ตระเวนชกไปทั่วจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดใกล้เคียง โดยเขาค้อขึ้นชกมวยไทยก่อนเขาทราย และเคยปลอมตัวชกแทนเขาทรายด้วย[1] จนกระทั่งมาพอกับ \"แชแม้\" นิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์ จึงได้รับทั้งคู่มาอุปการะให้ชกที่กรุงเทพฯ", "title": "เขาค้อ แกแล็คซี่" }, { "docid": "47225#1", "text": "เขาค้อมีชื่อจริงว่า วิโรจน์ แสนคำ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ที่บ้านเฉลียงลับ ตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเขาค้อคลอดทีหลังเขาทราย แต่ความเชื่อของคนต่างจังหวัด แฝดที่คลอดทีหลังจะถือเป็นพี่ เพราะเชื่อว่าพี่จะดันให้น้องคลอดออกมาก่อน เขาค้อ จึงถือเป็นพี่ของเขาทรายไปด้วยความเชื่อนี้", "title": "เขาค้อ แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#0", "text": "เขาทราย แกแล็คซี่ เป็นอดีตนักมวยแชมเปี้ยนโลกชาวไทย รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท (115 ปอนด์) ของ สมาคมมวยโลก (WBA) เป็นแชมป์โลกคนที่ 9 ของไทย มีชื่อจริงว่า สุระ แสนคำ ได้รับฉายาว่า ซ้ายทะลวงไส้ นอกจากนี้แล้ว เขาทรายยังมีพี่ชายฝาแฝด ซึ่งเป็น อดีตแชมป์โลกเช่นเดียวกันคือ เขาค้อ แกแล็คซี่ อดีตแชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวท WBA โดยมีระยะเวลาที่เป็นแชมป์โลกคู่กัน ซึ่งทำให้นับเป็นแชมป์โลกคู่แฝดรายแรกของโลกอีกด้วย", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#24", "text": "ทางด้านการเรียน การศึกษา หลังแขวนนวมแล้ว เขาทรายได้เริ่มต้นศึกษาใหม่ โดยการไปสมัครเรียนในหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนทั้งหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จนกระทั่งจบ และได้เข้าศึกษาต่อคณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา จนกระทั่งจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2555 [15]", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#16", "text": "ทั้งที่เคยเป็นแชมป์โลกมาก่อน และได้เป็นแชมป์โลกในเวลาต่อมามีทั้งหมด 8 ราย คือ", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47225#10", "text": "หลังจากเสียแชมป์โลกในครั้งนี้ไปแล้ว ราว 2 เดือน เขาค้อได้นั่งรถเบนซ์ที่เขาทรายเป็นคนขับ เพื่อที่จะกลับบ้านที่เพชรบูรณ์ หลังจากการไปโชว์ตัวด้วยกัน เกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ เขาค้อเจ็บหนักต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องไอซียูนานถึง 21 วัน และทำให้เขาค้อมีรอยแผลเป็นที่กรามมาจนถึงทุกวันนี้[1] ขณะที่เขาทราย คู่แฝดที่นั่งไปด้วยกัน บาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสามารถกลับมาชกมวยได้ในเวลาไม่นาน", "title": "เขาค้อ แกแล็คซี่" }, { "docid": "47225#7", "text": "แต่ภายหลังที่ได้แชมป์โลกแล้ว เขาค้อไม่สามารถที่จะป้องกันตำแหน่งไว้ได้เลยแม้สักครั้งเดียว โดยป้องกันตำแหน่งครั้งแรกก็แพ้แตก \"ไอ้ผมม้า\" มูน ซัง กิล นักมวยเกาหลีใต้ ถึงโซล ประเทศของผู้ท้าชิง และเมื่อได้โอกาสแก้มือ แม้สามารถเอาชนะไปได้ ได้แชมป์โลกกลับคืน เมื่อต้องป้องกันตำแหน่งครั้งแรก ในสมัยที่ 2 แพ้ทีเคโอ หลุยส์ ซีโต้ เอสปิโนซา นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ไปในยกแรก แบบไม่น่าเชื่อ เพราะการชกยังไม่ทันได้เริ่มขึ้นเท่าไหร่ เขาค้อ จู่ ๆ ก็ล้มลงบนเวทีเสียเฉย ๆ โดยไม่ได้ถูกหมัดของคู่ชก และกรรมการก็ได้โบกมือยุติการชกทันที ด้วยเวลาเพียง 2.13 นาทีของยกแรกเท่านั้น", "title": "เขาค้อ แกแล็คซี่" }, { "docid": "77290#2", "text": "สำหรับในประเทศไทยและทวีปเอเชีย สมาคมมวยโลกมีสถาบันที่ให้การยอมรับ คือ สมาคมมวยภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (Pan Pacific and Asia Boxing Association - PABA) และสหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก (Oriental and Pacific Boxing Federation - OPBF) มีนักมวยไทยเคยเป็นแชมป์โลกของสถาบันนี้มาแล้วหลายคน ได้แก่ โผน กิ่งเพชร, ชาติชาย เชี่ยวน้อย, เบิกฤกษ์ ชาติวันชัย, เขาทราย แกแล็คซี่, เขาค้อ แกแล็คซี่, ชนะ ป.เปาอินทร์, ดาวรุ่ง ชูวัฒนะ, แสน ส.เพลินจิต, วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น, หยกไทย ศิษย์ อ., พิชิต ช.ศิริวัฒน์, สงคราม ป.เปาอินทร์ (เป็นเพียงแค่แชมป์เฉพาะกาล), ศรพิชัย กระทิงแดงยิม, ยอดดำรงค์ สิงห์วังชา, ยอดสนั่น ส.นันทชัย, สมศักดิ์ ศิษย์ชัชวาลย์, เด่นเก้าแสน กระทิงแดงยิม, พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม, ขวัญไทย ศิษย์หมอเส็ง, พรสวรรค์ ป.ประมุข, เทพฤทธิ์ สิงห์วังชา, ไผ่ผารบ พ.นอบน้อม (เป็นเพียงแค่แชมป์เฉพาะกาล), คมพยัคฆ์ ป.ประมุข (เป็นเพียงแค่แชมป์เฉพาะกาล), ยอดมงคล ว.แสงเทพ (เป็นเพียงแค่แชมป์เฉพาะกาล), น็อคเอาท์ ซีพีเฟรชมาร์ท และ แสตมป์ ศิษย์หมอเส็ง (เป็นเพียงแค่แชมป์เฉพาะกาล) และในต้นปี ค.ศ. 2012 ได้ยกย่องให้ เขาทราย แกแล็คซี่ เป็นสุดยอดแชมป์โลก หรือ แชมป์โลกตลอดกาล ในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท หรือซูเปอร์ฟลายเวท (115 ปอนด์)[2]", "title": "สมาคมมวยโลก" }, { "docid": "47225#2", "text": "ทั้งเขาทราย และเขาค้อ เป็นบุตรของนายขัน และนางคำ แสนคำ มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน โดยมีเขาค้อเป็นคนโต เขาค้อเรียนหนังสือพร้อมกับเขาทราย และจบการศึกษาที่โรงเรียนเทคนิคเพชรบูรณ์เหมือนกัน", "title": "เขาค้อ แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#22", "text": "ในทางการเมือง เขาทรายเข้าเป็นสมาชิก พรรคเพื่อแผ่นดิน และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ลำดับที่ 3 กลุ่มจังหวัดที่ 2 ของพรรคเพื่อแผ่นดิน ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "75230#9", "text": "โผน กิ่งเพชร เป็นแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท 3 สมัย คนแรก แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ เป็นคนแรกที่ชกมวย 3 ครั้งแล้วได้เป็นแชมป์โลก เขาทราย แกแล็คซี่ ป้องกันแชมป์โลกได้มากที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นสถิติโลกในรุ่น 115 ปอนด์ เขาทราย แกแล็คซี่ และ เขาค้อ แกแล็คซี่ เป็นแชมป์โลกพี่-น้องคู่แฝด คู่แรกของโลก ชนะ ป.เปาอินทร์ และ สงคราม ป.เปาอินทร์ เป็นแชมป์โลกพี่-น้องคู่แฝด คู่ที่สองของโลก ซึ่งในปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) ยังมีเพียง 2 คู่ในโลกเท่านั้น พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ ป้องกันแชมป์โลกได้มากที่สุดในรุ่น 112 ปอนด์ และป้องกันแชมป์โลกรุ่นนี้ด้วยการชนะน็อคเร็วที่สุด", "title": "มวยสากล" }, { "docid": "47225#5", "text": "การชกมวยสากลอาชีพของเขาค้อ เกิดขึ้นหลังจากเขาทรายได้เป็นแชมป์โลกแล้ว ก่อนหน้านั้นเขาค้อทำหน้าที่เป็นคู่ซ้อมลงนวมให้เขาทราย เมื่อเขาทรายประสบความสำเร็จได้เป็นแชมป์โลกแล้ว เขาค้อจึงรับการผลักดันให้ชกมวยสากลอาชีพบ้าง เขาค้อก็ชกได้ดี ชนะนักมวยฝีมือดีหลายต่อหลายราย จนได้แชมป์แบนตั้มเวทของเวทีมวยราชดำเนิน ต่อมาจึงได้ชกกับนักมวยชาวต่างชาติ และมีชื่อเข้าอันดับโลก", "title": "เขาค้อ แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#11", "text": "เขาทราย แกแล็คซี่ นับว่าเป็นนักมวยที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดกาล ในสมัยที่ยังชกมวยอยู่ ได้รับฉายาจากแฟนมวยว่า \"ซ้ายทะลวงไส้\" จากหมัดซ้ายที่หนักหน่วง และการชกลำตัวที่ยอดเยี่ยม เป็นนักมวยที่ไปชกป้องกันตำแหน่งนอกประเทศหลายครั้ง รวมทั้งเคยป้องกันกับนักมวยชาวไทยด้วยกัน คือ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ และแทบทุกครั้งของการชก เขาทรายจะได้รับชัยชนะอย่างงดงาม ความนิยมในตัวเขาทรายมีถึงขนาดที่ว่า เมื่อใดที่เขาทรายชก ถนนในกรุงเทพฯจะว่าง เพราะทุกคนรีบกลับบ้านไปดูเขาทราย", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#4", "text": "เขาทรายเริ่มหัดชกมวยไทยครั้งแรกกับ ครูปราการ วรศิริ ขณะมีอายุได้ 14 ปี ด้วยน้ำหนักตัว 40 ปอนด์ ขึ้นชกมวยไทยอาชีพครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2515 ใช้ชื่อว่า \"ดาวเด่น เมืองศรีเทพ\" โดยมี ครูมานะ พรหมประสิทธิ์ เป็นเทรนเนอร์ ตระเวนชกในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีปัญหาในการชกมวยไทยเนื่องจากเสียเปรียบความสูง ทำให้ต้องลดน้ำหนักมากเพื่อชกกับมวยรุ่นเล็กกว่า เป็นสาเหตุให้หลายครั้งหมดแรงไม่สามารถชกมวยไทยได้ดีเท่าที่ควร", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "47225#11", "text": "เขาค้อ แกแล็คซี่ จึงต้องแขวนนวมไปโดยปริยายจากเหตุนี้ แต่ก็ยังคงช่วยเขาทรายเป็นคู่ซ้อมอยู่เหมือนเดิม และเมื่อเขาทรายได้แขวนนวมแล้ว เขาค้อก็เป็นผู้ดูแลกิจการต่าง ๆ ที่เขาทรายสร้างไว้ เช่น โต๊ะสนุกเกอร์ เป็นต้น", "title": "เขาค้อ แกแล็คซี่" }, { "docid": "75230#10", "text": "แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ เขาทราย แกแล็คซี่ เขาค้อ แกแล็คซี่ ชนะ ป.เปาอินทร์ พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ ชาติชาย เชี่ยวน้อย แชมป์โลก 2 สถาบันคนแรก วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น ผู้เกือบทำลายสถิติป้องกันแชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท พเยาว์ พูนธรัตน์ แชมป์โลกและนักมวยเหรียญทองแดงโอลิมปิกคนแรก", "title": "มวยสากล" }, { "docid": "47225#0", "text": "เขาค้อ แกแล็คซี่ อดีตแชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวท (118 ปอนด์) ของสมาคมมวยโลก หรือ WBA เป็นคู่แฝดกับเขาทราย แกแล็คซี่", "title": "เขาค้อ แกแล็คซี่" }, { "docid": "47201#15", "text": "คู่ชกของเขาทราย แกแล็กซี่", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" }, { "docid": "49351#4", "text": "ก้องธรณีกลับมาชกชนะอีก 3 ครั้ง จึงมีโอกาสได้ชิงแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท WBA กับ เขาทราย แกแล็คซี่ ซึ่งถือเป็นศึกสายเลือดคู่ที่สองของไทย การชกในครั้งนั้น ก้องธรณีเป็นฝ่ายใช้ชั้นเชิงคอยดักจังหวะชก และเป็นฝ่ายต่อยเขาทรายลงไปให้กรรมการนับแปดในยกที่ 5 แต่หลังจากนั้น ก้องธรณีกลับเอาแต่หนี ไม่ค่อยออกอาวุธ ในขณะที่เขาทรายเป็นฝ่ายรุกไล่เกือบตลอด เมื่อครบยกปรากฏว่าเขาทรายเป็นฝ่ายชนะคะแนนไปอย่างเป็นเอกฉันท์ ก้องธรณีจึงต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่ง", "title": "ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ" }, { "docid": "47201#9", "text": "หลังจากชกแพ้ในครั้งนั้น นิวัฒน์ผู้จัดการจัดให้เขาทรายชกกับสึงูยูกิ โทมะ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่นเป็นการแก้หน้าในครั้งต่อมา ซึ่งเขาทรายเป็นฝ่ายชนะน็อคได้ในยกที่ 4 และในการชกครั้งต่อมาเขาทรายชนะน็อก ศักดิ์สมัย ช.ศิริรัตน์ ได้ครองแชมป์ แบนตั้มเวท เวทีมวยราชดำเนิน ที่ว่างอยู่เนื่องจากศักดาสละแชมป์ไป และนับจากชกชนะสึงูยูกิ เขาทรายไม่เคยแพ้ใครอีกเลยจนได้ชิงแชมป์โลก", "title": "เขาทราย แกแล็คซี่" } ]
4093
ฉัตรปตี ศิวาจีราเช โภสเล เกิดที่ไหน ?
[ { "docid": "871939#1", "text": "ฉัตรปตี ศิวาจีราโช โภสเล หรือพระนามเดิม ศิวาจี โภสเล ประสูติเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1630 (บ้างว่า 6 เมษายน ค.ศ. 1627) ณ ป้อมภูเขาศิวเนรี ใกล้เมืองจุนนา เขตปูเน รัฐมหาราษฏระ ในปัจจุบัน พระนามของพระองค์มีที่มาจากเทพเจ้าศิวาอีซึ่งพระนางชีชาบาอีได้บูชาอยู่ตลอดเวลาที่ทรงครรภ์ศิวาจีอยู่ โดยพระบิดามีพระนามว่า ศาหจี โภสเล เป็นนักรบมราฐีผู้รับใช้อาณาจักรสุลต่านทักขิน (เดคกัน) พระมารดามีพระนามว่า ชีชาบาอี (หรือ ชีชาไบ) บุตรีของราชาลาขุชีราว ชาธัวแห่งสินทเขท ในเวลานั้น อำนาจในแผ่นดินทักขินถูกปกครองร่วมโดยอาณาจักรอิสลาม 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรพีชปุร , อาณาจักรอาเหม็ดนคร และ อาณาจักรโคลโกณทา ศาหจีมักจะเลือกจงรักภักดีอยู่ระหว่าง นิซัมชาห์ฮี แห่ง อาเหม็ดนคร, อทิลศาห์ แห่ง พีชปุร และจักรวรรดิมุคัล แต่ก็ยังครอบครองชาคีร์ (เขตศักดินา) และกองทัพไว้กับตัวอยู่ตลอด", "title": "จักรพรรดิศิวาจี" } ]
[ { "docid": "67944#4", "text": "หนังสือที่ระลึก ในพระราชวโรกาสที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธียกฉัตรพระประธาน และ เททองหล่อพระประจำวันเกิด สมเด็จพระญาณวโรดม ในโอกาสที่จะมีอายุ 90 ปี ณ วัดอุทกเขปสีมาราม หมู่ที่ 4 ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 15.00 น.", "title": "วัดอุทกเขปสีมาราม" }, { "docid": "16801#4", "text": "ภาษามลายูปัตตานีนิยมเรียงประโยคแบบภาษาไทยคือใช้รูปประธานกระทำ ส่วนภาษามาเลเซียใช้ประโยคแบบประธานถูกกระทำ เช่น ภาษามลายูใช้ ตูวัน ดีเปอรานะกัน ตีมานา (ท่านถูกเกิดที่ไหน) ภาษามลายูปัตตานีใช้ ตูแว บือราเนาะ ดีมานอ (ท่านเกิดที่ไหน)", "title": "ภาษามลายูปัตตานี" }, { "docid": "306210#19", "text": "ในปี พ.ศ. 2556 กันยังมีผลงานละครที่ลงจอ เรื่อง คู่กรรม บทประพันธ์ ของ ทมยันตี รับบท วนัส ซึ่งเล่นร่วมแสดงกับ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว, หนึ่งธิดา โสภณ, ปวีณา ชารีฟสกุล, โฉมฉาย ฉัตรวิไล, จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี, สรพงษ์ ชาตรี, สุพรรษา เนื่องภิรมย์, ภูริ หิรัญพฤกษ์, อุดมพร คชหิรัญ, กลศ อัทธเสรี, เกรียงไกร อุณหะนันท์, โอลิเวอร์ พูพาร์ท, อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ, เป็ด เชิญยิ้ม, รอง เค้ามูลคดี, กรุง ศรีวิไล, ไปรมา รัชตะ, นิรุตติ์ ศิริจรรยา, พงศ์สิรี บรรลือวงศ์ และนักร้องน้องใหม่จาก The Star 8 ศุภัคชญา สุขใบเย็น, อติรุจ กิตติพัฒนะ กันได้ร้องเพลงคำสัญญา(เพลงแทนความรู้สึกจากละครคู่กรรม)ออกมาในปีเดียวกัน", "title": "นภัทร อินทร์ใจเอื้อ" }, { "docid": "184660#0", "text": "แฟรี่เทล ศึกจอมเวทอภินิหาร () ) เป็นการ์ตูนแนวแฟนตาซีโดยฮิโระ มาชิม่า ซึ่งมีชื่อเสียงจากผลงานเรื่อง เรฟ ผจญภัยเหนือโลก ในประเทศไทยได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจแฟรี่เทล ศึกจอมเวทอภินิหาร เดอะมูฟวี่ ศึกจอมเวท พันธุ์มังกรตอนถูกเรียกออกมาโดยไม่มีสื่อเป็นรูปธรรม มีวิธีเดียวที่เรียกได้คือ คือผู้ใช้มีพลังเวทระดับสูงถึงขนาดเรียก 3 ตัวพร้อมกัน โดยเจ้านาย-ผู้รับใช้ที่มีความผูกพันกันอย่างลึกซึ้งเท่านั้น เมื่อผู้ใช้ทำลายกุญแจทองคำจึงเรียกออกมาได้ จึงเท่ากับว่าลูซี่เรียกได้อีก 9 ครั้ง เพราะใช้ไปครั้งหนึ่งแล้ว กับยูกิโนะเรียกได้อีก 2 ครั้ง ส่วนกุญแจทองคำที่ใช้ไปจะพัง อีก 1 ปีกุญแจจะไปเกิดใหม่ที่ไหนสักแห่งบนโลก", "title": "แฟรี่เทล ศึกจอมเวทอภินิหาร" }, { "docid": "363045#0", "text": "ด้วยแรงอธิษฐาน เป็นนวนิยายรักจากบทประพันธ์ของ กิ่งฉัตร ที่ผสมผสานระหว่างเรื่องราวของกฎแห่งกรรม การกลับชาติมาเกิด และดวงจิตที่แรงกล้ายามเมื่อลมหายใจสุดท้ายจะหลุดออกจากร่าง ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ตีพิมพ์ครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 14) โดยสำนักพิมพ์อรุณ โดยมีการนำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ในพ.ศ. 2539 และ ในปี พ.ศ. 2553 และมีการนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกในปี พ.ศ. 2561 นำแสดงโดย เจษฎาภรณ์ ผลดี และ นิษฐา จิรยั่งยืน ออกอากาศทุกวันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 20.20 - 22.50 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561 ต่อจากละคร นางบาป", "title": "ด้วยแรงอธิษฐาน" }, { "docid": "14758#3", "text": "หลังจากอุซปได้แยกตัวออกจากกลุ่ม อุซปได้ปลอมเป็นโซเงคิงเพื่อเข้ามาช่วยเหลือพวกของ มังกี้ ดี ลูฟี่ ในตอนที่จะต้องไปช่วยเหลือ นิโค โรบิน จากพวกCP9 มีฝีมือการยิงปืนพอ ๆ กับ อุซป โดยโกหกว่าโซเงคิงอาศัยอยู่ที่เกาะนักแม่นปืน ถ้าถามเค้าว่าเกาะนักแม่นปืนอยู่ที่ไหน เค้าจะตอบว่าอยู่ในใจของเราไง", "title": "อุซป" }, { "docid": "163575#0", "text": "โรงอุปรากรลา สกาลา (ภาษาอิตาลี: Teatro alla Scala หรือ La Scala) เป็นโรงละครสำหรับอุปรากรที่มีชื่อเสียงโรงละครในโลกตั้งอยู่ที่ มิลานในประเทศอิตาลี ที่สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1776 เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก โดยมีจูเซปปี พิแอร์มารินิ (Giuseppe Piermarini) เป็นสถาปนิก โรงอุปรากรเปิดการแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1778 ภายใต้ชื่อใหม่ว่า Nuovo Regio Ducal Teatro alla Scala ด้วยอุปรากรเรื่อง “Europa riconosciuta” โดย อันโตนิโอ ซาลิเอรี (Antonio Salieri). อันโตนิโอ Bernocchi เป็นเงินทุนสูงสุดสำหรับการฟื้นฟู Teatro alla Scala ในมิลานโดยการทำสงครามกับระเบิดและเปิดใหม่ \"ราวกับว่ามันอยู่ที่ไหนและอยู่ที่ไหน\" เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 1946 . ", "title": "โรงอุปรากรลา สกาลา" }, { "docid": "166429#2", "text": "ในสมัยพุทธกาลนี้ พระโคตมพุทธเจ้าได้เกิดเป็นโชติปาลมานพ (อ่านว่า โช-ติ-ปา-ละ อยู่วรรณะพราหมณ์) ผู้เป็นสหายของฆฏิการอุบาสก (อ่านว่าคะ-ติ-กา-ระ บรรลุธรรมระดับอนาคามีบุคคล) โชติปาลมานพในตอนแรกไม่ได้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า แต่เมื่อฆฏิการอุบาสกชวนไปฟังธรรมบ่อยเข้าจึงยอมไป เมื่อไปพบพระกัสสปพุทธเจ้าโชติปาลมานพ ได้กล่าวลบหลู่ว่า \"การตรัสรู้เป็นของยากจะมีโพธิบัลลังก์ที่ไหนให้ท่านได้ตรัสรู้กัน\" แต่เมื่อได้ฟังธรรมแล้วมีจิตเลื่อมใสจึงออกบวช และได้รับพุทธพยากรณ์ว่าต่อไปภายหน้าโชติปาลภิกษุจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป อย่างไรก็ตามพระโคดมพุทธเจ้าเมื่อครั้งตรัสรู้แล้วได้กล่าวไว้ว่าเพราะผลกรรมที่ได้กล่าวลบหลู่พระกัสสปพุทธเจ้าในอดีตทำให้พระองค์ทรงเสียเวลาในการลองผิดลองถูกเป็นเวลานานถึง 6 ปีกว่าจะได้ตรัสรู้ ซึ่งนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของพระพุทธเจ้าที่มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกและระหว่างนั้นพระองค์ได้มีการอดอาหารจนกระทั่งเกือบสิ้นพระชนม์", "title": "พระกัสสปพุทธเจ้า" }, { "docid": "57156#9", "text": "ซึ่งหลังการชกในครั้งนั้น ฉัตรชัยจึงได้แขวนนวมไปในที่สุด ปัจจุบัน ฉัตรชัยมีกิจการส่วนตัว คือ โต๊ะสนุกเกอร์ รวมถึงมีกิจการสอนมวยไทยเป็นของตัวเองในชื่อ สาสะกุลมวยไทยยิม ในซอยรามคำแหง 71 (เดิมอยู่ในซอยลาดพร้าว 128/3 เขตบางกะปิ) และเป็นเทรนเนอร์ให้กับนักมวยของผู้จัดการตนเองคือ นายวิรัตน์ เช่น พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์, คมพยัคฆ์ ป.ประมุขและน็อคเอาท์ ซีพีเฟรชมาร์ท ฉัตรชัยมีกิจกรรมอดิเรกยามว่างที่ชื่นชอบ คือ การร้องเพลงและเล่นกีตาร์", "title": "ฉัตรชัย สาสะกุล" }, { "docid": "55532#7", "text": "คาราบาวประสบความสำเร็จมากที่สุดในปลายปี พ.ศ. 2527 เมื่อได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 เมด อิน ไทยแลนด์ เป็นอัลบั้มชุดที่ 5 ซึ่งทำยอดขายได้ถึง 5,000,000 ตลับ ซึ่งเป็นสถิติยอดจำหน่ายอัลบั้มเพลงของศิลปินไทยที่สูงที่สุดของไทยที่ขณะนั้นยังไม่มีใครทำลายได้[3] และเมื่อคาราบาวจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรก คือ คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ที่เวโลโดรม หัวหมาก ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ก็มียอดผู้ชมถึง 60,000 คน แต่กลับเกิดเหตุสุดวิสัยคือผู้ชมขึ้นไปชมคอนเสิร์ตบนอัฒจันทร์ที่เลิกใช้งานแล้ว และมีผู้ชมตีกันกลางคอนเสิร์ต จนกลายเป็นนิยามว่า คาราบาวเล่นที่ไหนก็มีแต่คนตีกัน[4] แอ๊ดได้เตือนเรื่องความปลอดภัยของอัฒจันทร์เป็นระยะๆ ในที่สุดก่อนจบการแสดงครึ่งชั่วโมง และเหลือเพลงที่ยังไม่ได้แสดงอีก 3-4 เพลง รวมทั้งเพลง เรฟูจี ที่ สุรสีห์ อิทธิกุล และวงบัตเตอร์ฟลาย ต้องขึ้นไปขับร้องกับวงคาราบาวด้วย และ เพลงประจำคอนเสิร์ตทำโดยคนไทย คือ เมด อิน ไทยแลนด์ อัฒจันทร์ก็ได้ถล่มลงมาทับผู้ชม จนมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก แอ๊ดจึงประกาศยุติคอนเสิร์ตโดยทันที และเพลงสุดท้ายที่แอ๊ดร้อง คือ รอยไถแปร", "title": "คาราบาว" }, { "docid": "161510#5", "text": "ประยอม ซองทอง สมรสกับ หม่อมราชวงศ์อรฉัตร สุขสวัสดิ์ ธิดาหม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ โอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช กับ หม่อมเขียน และหม่อมเจ้าหญิงกาญจนฉัตร ฉัตรไชย ธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน กับ หม่อมเพี้ยน สุรคุปต์ มีบุตรธิดา 3 คน คือ", "title": "ประยอม ซองทอง" }, { "docid": "153145#13", "text": "เมื่อสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรเกิดขึ้น ยุธิษฐิระก็ได้เข้าร่วมการรบด้วย แต่ไม่ได้ตายในสงคราม เมื่อสงครามสิ้นสุด ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิกรุงหัสตินาปุระ แต่หลังจากนั้นปาณฑพเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตเพราะเห็นผลของสงคราม จึงยกบัลลังก์ให้ปรีกษิต หลานชายของอรชุน และพี่น้องปาณฑพกับนางเทราปตีก็ออกเดินป่า พร้อมกับสุนัขอีก 1 ตัว สุดท้ายพี่น้องปาณฑพทั้งสี่และนางเทราปตีก็สิ้นชีวิตลงและขึ้นสวรรค์บนยอดเขาหิมาลัย จากนั้นสุนัขที่ติดตามมาด้วยก็กลับกลายเป็นพระธรรมเทพ และพายุธิษฐิระขึ้นไปบนสวรรค์ (แต่ตอนนั้นยุธิษฐิระยังไม่ตาย และมีผู้กล่าวว่ายุธิษฐิระเป็นคนคนเดียวในโลกที่สามารถขึ้นไปยังยอดเขาหิมาลัยได้ทั้งเป็น) แต่กลับพบว่าทุรโยธน์นั่งครองบัลลังก์อยู่ แต่ปาณฑพและนางเทราปตีต้องตกนรกเพราะฆ่าพี่น้องของตน ยุธิษฐิระจึงตัดสินใจตกนรกด้วย จากนั้นพระธรรมเทพจึงบอกว่าทั้งหมดเป็นภาพลวงตา จริง ๆ แล้วเการพต้องตกนรก แต่ปาณฑพอยู่บนสวรรค์ ทั้งหมดที่ทำมาคือการทดสอบจิตใจของยุธิษฐิระ ยุธิษฐิระ พี่น้องปาณฑพและนางเทราปตีก็ได้อยู่บนสวรรค์ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดมา", "title": "ยุธิษฐิระ" }, { "docid": "156300#13", "text": "ในสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า มีมานพผู้หนึ่งนามว่า สรทมานพ เกิดเบื่อหน่ายในโลก จึงบวชเป็นชฎิลดาบส บำเพ็ญเพียรจนสำเร็จวิชาสมถกัมมัฏฐาน เหาะเหินเดินอากาศ มีอิทธิฤทธิ์ ส่งกระแสจิตได้ พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยญาณจึงเสด็จไปโปรดสรทมานพ สรทมานพได้พบพระพุทธองค์เกิดความเลื่อมใสจึงอาราธนาให้ทรงประทับบนบัลบังก์ของตน แล้วส่งกระแสจิตเรียกลูกศิษย์ของตน ขณะเดียวกันพระพุทธองค์ก็ทรงอธิษฐานจิตให้อัครสาวกและสาวกทั้งมวลของพระองค์มารวมกัน ณ ที่แห่งนี้โดยทันที\nสรทดาบสให้ลูกศิษย์นำดอกไม้มาทำเป็นบัลลังก์ ดอกไม้เพียงน้อยนิดทำให้เกิดบัลลังก์ขนาดใหญ่ ยาวหลายโยชน์ แล้งจึงอัญเชิญพระพุทธองค์และเหล่าสาวกประทับนั่งบนบัลลังก์บุปผชาติ พระพุทธองค์ทรงดำริว่าจะเข้าสู่นิโรธสมาบัติ เป็นเวลา ๗ วัน เพื่อที่จะให้การทำสักการะนี้มีอานิสงส์ไพศาล โดยสรทมานพมีศรัทธาแรงกล้า ใช้บุปผาฉัตรกางกั้นเพื่อให้ร่มเงาแก่พระองค์เป็นเวลา ๗ วัน โดยไม่หยุดพัก\nเมื่อครบ ๗ วัน พระพุทธองค์และเหล่าพระสาวกออกจากนิโรธสมาบัติ รับสั่งให้อัครสาวกเบื้องขวา คือพระนิสภะแสดงธรรม สรทดาบสมีจิตใจเลื่อมใสในพระนิสภะ แล้วจึงให้พระอโนเถระแสดงธรรมต่อ แต่ไม่มีผู้ใดสำเร็จมรรคผลเลย พระพุทธองค์จึงทรงแสดงธรรมเอง ทำให้เหล่าลูกศิษย์ทั้งหมดของมานพหนุ่มสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด เหลือแต่สรทมานพเพียงผู้เดียว เพราะคอยถือบุปผาฉัตรตลอดเวลา และชื่นชมในพระนิสภะตลอดเวลา จิตใจจึงไม่ได้สนใจพระธรรม พระพุทธองค์ทรงทราบดีแล้วแต่ก็ตรัสถามว่าเหตุใดถึงเพ่งมองดูพระนิสภะจนมิได้ฟังธรรม สรทมานพจึงตอบไปว่า ท่านไม่หวังเป็นอินทร์พรหมใดๆ ขอเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง\nพระอโนมทัสสี จึงทรงมีกระแสพุทธพยากรณ์แก่สรทมานพ ว่าจะได้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระสมณโคตมพุทธเจ้า นามว่า พระสารีบุตร และสิริวัฒน์เศรษฐี สหายรักของสรทมานพจะได้เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเคียงข้าง นามว่า พระโมคคัลลานะ\nเมื่อสรทมานพได้ฟังก็เกิดจิตใจเลื่อมใส เมื่อพระพุทธองค์และพระสาวกเสด็จกลับแล้ว ก็เหาะไปหาสิริวัฒน์เศรษฐีและแจ้งข่าวนี้ ทั้งสองจึงยินดีบำเพ็ญเพียรเพื่อให้ได้เป็นอัครสาวก ออกบวชในพระพุทธศาสนา สิ้นอายุขัยเวียนว่ายตายเกิดจนสำเร็จพระอรหันต์ในกาลสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้แล", "title": "พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า" }, { "docid": "871939#27", "text": "ศิวาจีทรงขึ้นครองและราชาภิเษก (ราชยภิเษก ในภาษามราฐี) อย่างยิ่งใหญ่ ณ ป้อมรายคัท ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1674 ตรงกับวันที่ 13 เดือน 3 ปี 1596 ตามปฏิทินฮินดู บัณฑิต กากา ภัตต์ เป็นผู้ทำพิธี เป็นผู้ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่มาจาก 7 แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู คือ ยมุนา สินธุ คงคา โคทาวรี กฤษณะ และ กาเวรี นำมารดพระเศียรต่อศิวาจี และทำพิธีสวด หลังจากรับน้ำศักดิ์สิทธิ์แล้ว ศิวาจีทรงกราบเท้าพระมารดาชีชาไบ ผู้คนกว่า 5,000 คน รวมตัวกัน ณ พิธีราชาภิเษกนี้ ศิวาจียังได้ทรงรับมอบสายสิญจน์ พระเวท และลงอาบในบ่อราชาภิเษก ศิวาจีทรงได้รับการเฉลิมพระนามว่า ศากกรตา (ผู้สถาปนายุค) กษัตริยะ กุลาวตานสะ (ผู้นำกษัตริย์) และ ฉัตรปตี (จักรพรรดิ) และยังได้รับพระนามอีกว่า ฮาอินทวา ธรรโมธราอารัก", "title": "จักรพรรดิศิวาจี" }, { "docid": "232668#1", "text": "พุทธศักราช 2106 พระเจ้าบุเรงนองแห่งอาณาจักรตองอูได้ตีหัวเมืองเหนือของสยามไล่มาตั้งแต่สุโขทัย, สวรรคโลก, และที่สองแคว ซึ่งที่พิษณุโลกสองแควนั้น พระมหาธรรมราชา (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) ผู้รั้งเมืองอยู่นั้นได้ขอความช่วยเหลือจากพระนครศรีอยุธยา แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากอยุธยา พระมหาธรรมราชาจึงแปรพักตร์ไปเข้าด้วยกับพระเจ้าบุเรงนองเพื่อร่วมกันโจมตีอยุธยา โดยที่พระเจ้าบุเรงนองได้ขอเอาตัว พระนเรศ หรือ องค์ดำ (ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์) พระโอรสองค์โตในพระมหาธรรมราชาและพระนางวิสุทธิ์กษัตริย์ (ปวีณา ชารีฟสกุล) ไปเป็นตัวประกันในหงสาวดีโดยที่ให้สัตย์สาบานว่าจะเลี้ยงดูอย่างดีดุจพระโอรส", "title": "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา" }, { "docid": "748853#1", "text": "หม่อมราชวงศ์อรฉัตร เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2485 เป็นธิดาในหม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ กับหม่อมเจ้ากาญจนฉัตร ฉัตรชัย พระนัดดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ต้นราชสกุลฉัตรชัย และเป็นพระนัดดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ต้นราชสกุลสุขสวัสดิ สำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมรสกับประยอม ซองทอง บุตรของฮด กับมี ซองทอง มีบุตรธิดา 3 คน คือ", "title": "หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง" }, { "docid": "672399#0", "text": "พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข (7 สิงหาคม 2498 -) ราชองครักษ์พิเศษ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อดีตเสนาธิการทหารบก อดีตรองหัวหน้าส่วนยุทธการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน", "title": "ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข" }, { "docid": "468396#1", "text": "ศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิพนธ์ ฉัตรทิพากร หรือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2511 สมรสกับ รศ.ทพญ.ดร.สิริพร (ไชยสิน) ฉัตรทิพากร มีบุตร 1 คน ชื่อ ดช. คเณศ ฉัตรทิพากร", "title": "นิพนธ์ ฉัตรทิพากร" }, { "docid": "978593#3", "text": "นอกจากนี้ คิวต์เชฟยังเป็นเครื่องหมายการันตีของความอร่อย ผ่านมาตรฐานความสนุกของไอดอลชาย เพื่อที่จะไปคัดสรรหาความอร่อยของร้านอาหาร และอาหารในเมืองไทย ที่ไหนที่ว่าอร่อย ที่ไหนที่ต้องบอกต่อความอร่อย หรือที่ไหนที่ต้องการพัฒนาเพื่อกระตุ้นยอดขายในเชิงการตลาด คิวต์เชฟจะให้ความสำคัญมากในสิ่งนี้", "title": "คิวต์เชฟ" }, { "docid": "476132#1", "text": "วรันดับ ฉัตรกุล ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2454 ณ บ้านของจอมพลเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) ซึ่งอยู่ข้างวัดบุปผาราม ฝั่งธนบุรี เป็นธิดาของพระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) กับหม่อมหลวงวงศ์ สุรวงศ์วิวัฒน์ (สกุลเดิม ฉัตรกุล) มีพี่น้องคือ ศาสตราจารย์แพทย์หญิง คุณ ตวันสุรวงศ์ บุนนาค, นาวาโท ตัปนวงศ์ บุนนาค, ต่อพงศ์ภัสสร์ บุนนาค และภาวาส บุนนาค สำเร็จการศึกษาระดับสามัญจากโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ แล้วลาออกมาศึกษาวิชางานบ้านงานเรือน และภาษาอังกฤษเพิ่มเติมที่บ้าน ", "title": "วรันดับ ฉัตรกุล ณ อยุธยา" }, { "docid": "843076#0", "text": "คลื่นชีวิต เป็นนวนิยายสะท้อนสังคมที่เขียนโดยกรุง ญ.ฉัตร และได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 โครงเรื่องของ \"คลื่นชีวิต\" เป็นเรื่องเกี่ยวกับ \"จีราวัจน์\" นักแสดงชื่อดังที่พยายามปกปิดความอ่อนแอและปมด้อยของตัวเอง จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิด ซึ่งได้เปลี่ยนชีวิตเธอไปตลอดกาล นวนิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงสังคมของมนุษย์ซึ่งนำเสนอผ่านมุมมองของเด็กประเภทหลังที่ถูกทอดทิ้ง", "title": "คลื่นชีวิต (นวนิยาย)" }, { "docid": "982964#1", "text": "สุพรรณ สันติชัย ได้รู้จักกับ ระพี เรือนเพชร (นักแต่งเพลง) และได้แต่งเพลง \"ยืนร้องให้คอยใคร\" โดยที่มาของเพลง \"ระพี\" ถาม \"สันติชัย\" ว่า บ้านอยู่ที่ไหน ? สุพรรณ ตอบว่า กงไกรลาศ จึงเป็นที่มาของเพลง ยืนร้องไห้คอยใคร ที่มีท่อนจำที่ว่า...จะไปบ้านกงหรือจะไปลงสุโข ทัย... เพลงชุดนี้ประกอบด้วย เพลงยืนร้องไห้คอยใคร,พี่คอยที่ซอยบุปผา,นาคเดือนแปด,แต่งแน่แต่ปีหน้า ทั้งหมดเป็นผลงานของ ระพี เรือนเพชร บันทึกเสียงที่ห้องครูไพบูลย์ ศุภวารี เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีโดย อ.แจ่ม จิตรกร บัวเนียม เพลงชุดนี้ก็เกิดโด่งดังขึ้นมา\nสุพรรณ สันติชัย อยู่เบื้องหลังการทำงานเพลงหลายชุด อาทิ", "title": "สุพรรณ สันติชัย" }, { "docid": "56785#0", "text": "ฉัตรชัย เปล่งพานิช นักแสดงชาวไทย มีชื่อเล่นว่า นก เกิดวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2503 ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรชายของ พล.ต.อ.ถวิล เปล่งพานิช ชีวิตวัยเด็กต้องย้ายที่อยู่ตามอาชีพราชการของบิดา เข้าเรียนหนังสือในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี ชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสตรีวรนารถ แล้วไปต่อที่โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ จนจบมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับปริญญาตรี ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์", "title": "ฉัตรชัย เปล่งพานิช" }, { "docid": "748853#2", "text": "ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต และเป็นคณะกรรมการการตัดสินประชันกลอนสด ในรายการคุณพระช่วย ช่วง คุณพระประชัน โดยมีลักษณะการตัดสิน โดยจะเน้นคำและความหมายเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยเป็นตำนานกวีอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ คู่กับอาจารย์ประยอม ซองทอง มีชื่อเสียงเคียงคู่กับอาจารย์นภาลัย สุวรรณธาดา และได้รับการถ่ายทอดการรำในแบบฉบับของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี นัดดาของพระราชชายาฯ ได้รับการถ่ายทอดไว้ และได้สอนลูกหลานราชสกุลฉัตรชัยไว้สามคน คือ อรฉัตร พัฒนฉัตร และ รมณียฉัตร", "title": "หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง" }, { "docid": "37927#23", "text": "หม่อมเจ้าหญิงกาญจนฉัตร ฉัตรไชย (21 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2531) เษกสมรสกับหม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ หม่อมราชวงศ์อดิศรฉัตร ศุขสวัสดิ สมรสกับ สุชาดา จารุเสถียร หม่อมหลวงบวรชัย ศุขสวัสดิ หม่อมหลวงหญิงอุระมา ศุขสวัสดิ หม่อมราชวงศ์หญิงอรฉัตร ศุขสวัสดิ สมรสกับ ประยอม ซองทอง ปริย ซองทอง ปรม ซองทอง ปวร ซองทอง หม่อมราชวงศ์หญิงประกายฉัตร ศุขสวัสดิ หม่อมราชวงศ์ไชยฉัตร ศุขสวัสดิ", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน" }, { "docid": "33445#0", "text": "ยอซีป บรอซ () หรือ ตีโต (, พ.ศ. 2435-2523) เป็นรัฐบุรุษและประธานาธิบดีของประเทศยูโกสลาเวีย (พ.ศ. 2496-2523) เกิดที่เมืองคุมรอเวตส์ อาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในประเทศโครเอเชีย) คำว่า \"ตีโต\" แปลว่า \"นั่น-นี่\" เป็นสมญานามที่ได้มาจากการชอบสั่งนั่นสั่งนี่เป็นประจำของเขาเมื่อมีอำนาจ ", "title": "ยอซีป บรอซ ตีโต" }, { "docid": "871939#0", "text": "ฉัตรปตี ศิวาจีราเช โภสเล (Marathi: छत्रपती शिवाजीराजे भोसले; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1630 – 3 เมษายน ค.ศ. 1680) เป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่ง จักรวรรดิมราฐา ครองราชย์ตั้งแต่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1674 ถึง 3 เมษายน ค.ศ. 1680 เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดชาตินิยมต่อ มหาตมา คานธี และนักสู้เพื่ออิสรภาพชาวอินเดียอีกหลาย ๆ คน", "title": "จักรพรรดิศิวาจี" }, { "docid": "783140#0", "text": "ร่มฉัตร เป็นละครโทรทัศน์ แนวพีเรียดอิงประวัติศาสตร์เล่าถึงชีวิตของสตรีชื่อ แม้นวาด บนแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5 - ปัจจุบัน จากบทประพันธ์อันทรงคุณค่าของ ทมยันตี หรือ วิมล เจียมเจริญ นวนิยายเรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง ", "title": "ร่มฉัตร" }, { "docid": "103530#0", "text": "อะแพชี เวโลซิตี (Apache Velocity) เป็นแพ็กเกจโอเพนซอร์สที่สร้างและกำกับดูแลโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์อะแพชี เวโลซิตีเป็นเอนจินแม่แบบบนพื้นฐานของภาษาจาวา ซึ่งช่วยผูกภาษาแม่แบบกับอ็อบเจกต์ที่อ้างถึงในโค้ดจาวา โดยจุดประสงค์เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนในการแบ่งแยกระหว่างระดับชั้นการนำเสนอกับระดับชั้นธุรกิจบนเว็บแอปพลิเคชัน (ดูเพิ่มที่ Model-view-controller) แอปพลิเคชันที่มักใช้เวโลซิตีเช่น", "title": "อะแพชี เวโลซิตี" } ]
4094
ใครเป็นผู้ตั้งชื่อให้แก่จังหวัดสมุทรสาคร?
[ { "docid": "6744#2", "text": "ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็น เมืองสมุทรสาคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีพระราชดำริที่จะทรงปฏิรูปการปกครองบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล และมีพระราชดำริที่จะสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาล โดยเรียกว่า สุขาภิบาลท่าฉลอม ถือได้ว่าเป็นสุขาภิบาลที่ตั้งขึ้นในหัวเมืองเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) (พ.ศ. 2456) โปรดเกล้าให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร “เมืองสมุทรสาคร” จึงได้เปลี่ยนเป็น จังหวัดสมุทรสาคร มาจวบจนปัจจุบัน[1]", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" } ]
[ { "docid": "6744#12", "text": "ตราประจำจังหวัดสมุทรสาคร เป็นรูปเรือสำเภาจีนแล่นในทะเล ด้านหลังเป็นโรงงานและปล่องไฟ ซึ่งหมายถึงความรุ่งเรืองที่มีมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ตราประจำจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มใช้เมื่อพุทธศักราช 2483 ในสมัยที่หลวงวิเศษภักดี (ชื้น วิเศษภักดี) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด[1]", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "755402#7", "text": "หลังจากคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ข. ประจำปี 2558 และได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 เป็นครั้งแรกใน ฤดูกาล 2559 สโมสรได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และใช้ชื่อในการลงแข่งขันว่า สพล. สมุทรสาคร ยูไนเต็ด โดยได้เช่าสนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสนามเหย้าชั่วคราวในขณะที่ยังปรับปรุงสนามกีฬาของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร ไม่แล้วเสร็จ", "title": "สโมสรฟุตบอลไอพีอี สมุทรสาคร ยูไนเต็ด" }, { "docid": "296780#23", "text": "รายชื่อผู้เล่นของสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาครในอดีต", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "6744#23", "text": "ในปี 2552 จังหวัดสมุทรสาครมีประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 366,896 คน จำแนกเป็นผู้มีงานทำ จำนวน 363,407 คน และผู้ว่างงานหรือไม่มีงานทำ จำนวน3,489 คน ในส่วนของผู้มีงานทำเป็นผู้ที่ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 5.10 (18,557 คน) และผู้ที่ทำงานอยู่นอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ 94.89 (344,850 คน) โดยกลุ่มผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมจะทำงานในสาขาการผลิตมากที่สุดร้อยละ 57.57 (198,522คน)[1]", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "950707#0", "text": "วัดโกรกกราก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลโกรกกราก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นวัดเก่าแก่อายุเกือบ 200 ปี เริ่มมีปรากฏชื่อวัดครั้งแรกเมื่อเรือพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จอดเทียบท่าวัดโกรกกรากเมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นจากบางปะอินไปเพชรบุรี สิ่งที่น่าสนใจของวัดโกรกกรากคือพระประธานในอุโบสถนอกจากจะมีพุทธลักษณะงดงามแล้ว ยังแปลกไปจากพระพุทธรูปที่พบเห็นทั่วไป คือสวมแว่นดำ ", "title": "วัดโกรกกราก" }, { "docid": "6744#14", "text": "เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้รับพระราชทานพันธุ์ไม้ดังกล่าวจากสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดวันรณรงค์โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเพื่อความเป็นศิริมงคลของชาวจังหวัดสมุทรสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครจึงได้นำพันธุ์ไม้สัตบรรณพระราชทานมาปลูก เป็นปฐมฤกษ์ในกิจกรรมวันปลูกต้นไม้ตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2537 ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร จึงถือว่าต้นสัตบรรณเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร[1]", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "168610#0", "text": "แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ตำบลท่าซุงบริเวณปากคลองมะขามเฒ่า จึงเรียกแม่น้ำนั้นว่า คลองมะขามเฒ่า และมาหักเลี้ยวเป็นแยกแม่น้ำที่ไหลไปเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกที ตรงที่เป็นพื้นที่ปากคลอง ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า \"แม่น้ำมะขามเฒ่า\" ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า \"แม่น้ำสุพรรณบุรี\" ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า \"แม่น้ำนครชัยศรี\" ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า \"แม่น้ำท่าจีน\"", "title": "แม่น้ำท่าจีน" }, { "docid": "369440#1", "text": "พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร เกิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2495 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายวิเชียรและนางสีมา สมุทรสาคร มีพี่น้อง4คน สมรสกับนางศิริพร สมุทรสาคร มีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ พันโท กฤติพงศ์ สมุทรสาคร และ พันตรีพิศุทธิ์ สมุทรสาคร\nในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 พล.อ.ธวัชชัยได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา ลำดับที่ 1 ต่อมาหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ยึดอำนาจการปกครองและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แล้วนั้น พล.อ.ธวัชชัยได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง", "title": "ธวัชชัย สมุทรสาคร" }, { "docid": "806795#2", "text": "ฤดูกาล 2559 สโมสรเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ใช้เข้าร่วมการแข่งขันโดยย้ายมาใช้สนามเหย้าที่ ธนบุรี สเตเดี้ยม และสามารถจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 3 ในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (โซนภาคตะวันตก) ทำให้ได้สิทธิเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในไทยลีก 3และ ฤดูกาล 2560 ถึงปัจจุบันสโมสรได้ย้ายที่ทำการของบริษัทมาบ้านเลขที่ 244/1 ถ.สุคนธวิท ต.ตลาดกระทุ่มแบน อ.กระทุมแบน จ.สมุทรสาคร โดยใช้ชื่อสโมสรฟุตบอลราชพฤกษ์ สมุทรสาคร เข้าร่วมการแข่งขัน โดยใช้สนามเย้าที่สนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกับสโมสรสมุทรสาครเอฟซีและเมื่อทางสโมสรสมุทรสาคร เอฟซีได้รับการเลื่อนชั้นไปเข้าร่วมการแข่งขันในระดับดิวิชั่น1เดิมหรือไทยลีก2 ทำให้ไม่สามารถใช้สนามร่วมกันได้ เนื่องจากเป็นกฏระเบียบของบริษัท ไทยลีก จำกัด ผู้จัดการแข่งขัน รวมไปถึงสนามกีฬากลางมีการปิดปรับปรุงเพื่อรองรับการแข่งขันในระดับไทยลีก2 ทำให้ไม่สามารถใช้สนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสาครในเลกแรกของฤดูกาล2018ได้ ทำให้ผู้บริหารได้หาผู้สนับสนุนมาร่วมในการส่งทีมเข้าแข่งขัน โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนจากจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสิทธิในการจัดการส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันโดยนักกีฬาทุกคน ยังคงสังกัดของบริษัทสโมสรฟุตบอลราชพฤกษ์ นนทบุรี จำกัด เช่นเดิม", "title": "สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์" }, { "docid": "184621#2", "text": "ซึ่งในเวลาต่อมา ทางราชการได้มีการขยายการศึกษาไปถึงหัวเมือง จึงได้โอนกิจการโรงเรียนนี้เป็นของรัฐ และให้ชื่อใหม่ว่า โรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรสาคร \"บำรุงวิทยา\" ", "title": "โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ" }, { "docid": "464923#3", "text": "ปลากัดป่ามหาชัย ได้เป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนานแล้ว แต่ยังไม่มีชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ จนกระทั่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 จึงได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ โดยถือเป็นปลากัดชนิดแรกที่ได้รับการพิสูจน์ทั้งยืนยันโดยชาวไทยเอง ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์โดยใช้ชื่อไทยอ้างอิงถึง \"มหาชัย\" (จังหวัดสมุทรสาคร) ที่เป็นแหล่งของปลากัดป่ามหาชัยให้เป็นที่รู้จัก และเพื่อให้ผู้คนในจังหวัดสมุทรสาครและชาวไทยเกิดความภาคภูมิใจ และกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ปลากัดป่ามหาชัยมากยิ่งขึ้นก่อนที่จะสูญพันธุ์ไป สำหรับงานวิจัยที่พิสูจน์ยืนยันชนิดพันธุ์ของปลากัดป่ามหาชัยนี้ ได้ศึกษาโดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีหัวข้อบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Zootaxa ว่า \"\"Betta mahachaiensis\" (ปลากัดป่ามหาชัย) ปลากัดก่อหวอดชนิดใหม่จากจังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย)\" โดยมีผู้วิจัยคือ นายชานนทร์ โควสุภัทร, รศ.ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์, รศ.ดร.พิณทิพ รื่นวงษา, และดร.น้ำค้าง ศรีวัฒนาโรทัย", "title": "ปลากัดป่ามหาชัย" }, { "docid": "806795#0", "text": "สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในปี พ.ศ. 2560 ให้สิทธิในการทำทีมลงแข่งขันภายใต้ชื่อสโมสรฟุตบอลนครศรีธรรมราช ยูนิตี้ เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนหลัก และในปัจจุบัน ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อ สโมสรดับบลิว นครศรีธรรมราช โดยสิทธิขาดยังคงอยู่กับบริษัทสโมสรฟุตบอลราชพฤกษ์ นนทบุรีจำกัดโดยนักกีฬาส่วนมาในทีมคงเป็นนักกีฬาจากสโมสรฟุตบอลราชพฤกษ์ และสโมสรสมุทรสาคร เอฟซี ", "title": "สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์" }, { "docid": "234967#1", "text": "โรงเรียนนานาชาติ นอริช\nโรงเรียนอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2\n13 โรงเรียนสมุทรสาครวุฒิชัย ", "title": "รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "639713#2", "text": "พระเทพวิมลมุนี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 ณ วัดชัยมงคล อำเภอเมือง สมุทรสาคร โดยมีพระครูรอด วัดบางน้ำวน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ พัทธสีมา วัดชัยมงคล อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีพระธรรมสิริชัย วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ พระครูสาครศีลาจารย์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระรามัญมุนี วัดป้อมวิเชียรโชติการาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์", "title": "พระเทพวิมลมุนี (กฤช กิตฺติวํโส)" }, { "docid": "296780#11", "text": "ฤดูกาล 2557 สโมสรเปลี่ยนประธานสโมสรอีกครั้ง โดยได้นายกิระวิศว์ พิทยภูวนันท์ เข้ามาเป็นประธานสโมสร\n ฤดูกาล 2562 วันที่17 ธันวาคม2561 เวลา09.00น ณ.สโมสรฟุตบอล ไทยยูเนี่ยน สมุทรสาครเอฟซี นายกิระวิศว์ พิทยภูวนันท์ ประธานสโมสรฟุตบอลไทยยูเนี่ยน สมุทรสาคร เอฟซี หรือ ทีมสำเภาผยอง แถลงข่าวเปิดตัวผู้บริหารสโมสรชุดใหม่ ณ สนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสาคร โดยมี นายวิชัย ถีระปราโมทย์ รับตำแหน่ง รองประธานสโมสรฯ นายธนบวร สิริคุณากรกุล รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการสโมสรฯ นายมนตรี เรียบร้อยเจริญ รับตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสโมสรฯ นายวุฒิพงษ์ โภชฌงค์ รับตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสโมสรฯ และนายยศกร ศิลาเกษ รับตำแหน่ง ผู้จัดการทีม\nhttps://www.thairath.co.th/content/1447288\nสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร แถลงเปิดตัวผู้บริหารสโมสรฯชุดใหม่ มุ่งพัฒนาให้เป็นสโมสรฟุตบอลระดับประเทศ ตั้งเป้าหมายนำทีมขึ้นชั้นไทยพรีเมียร์ลีก", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "532514#0", "text": "บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด ( มหาชน ) หรือเดิมชื่อบริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) ริเริ่มการดำเนินธุรกิจด้วยการผลิตและจำหน่ายน้ำประปาที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากลให้แก่การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในพื้นที่ฝั่งตะวันตก อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม อำเภอกระทุ่มแบนและอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ในปี พ.ศ. 2551 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศรับหุ้นสามัญของบริษัท ในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร หมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค", "title": "น้ำประปาไทย" }, { "docid": "385996#2", "text": "สำหรับการตั้งชื่อถนนสายใยรักนั้น สุรชัย ศิริดาวทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ได้มีการตั้งชื่อถนนสายใยรัก เนื่องจากถนนสายนี้เชื่อมโยงไปถึงทางหลวงชนบท สค.4011 มุ่งหน้าไปยังอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และเลยไปยังที่ตั้งศูนย์ 3 วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นโครงการในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร", "title": "ถนนสายใยรัก" }, { "docid": "241821#0", "text": "รายชื่อวัดในจังหวัดสมุทรสาคร", "title": "รายชื่อวัดในจังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "954590#25", "text": "AIS DTAC True SCG Chemical - สนับสนุนท่อ HDPE ประมาณ 1000เมตรและอุปกรณ์อื่น ๆ สำหรับสูบน้ำออกจากถ้ำ บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด - สนับสนุนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นรินทร ณ บางช้าง - ได้ส่งทีมนักดำน้ำชาวไทยที่ไปอบรมที่อิตาลี โดยใช้อุปกรณ์จากสวีเดนและอิตาลี[78] สมาคมน้ำบาดาลไทย[79] สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด และแฟนบอล - ยินดีทำตามความฝันผู้ฝึกสอน ตลอดจนเสนอเข้าชมการแข่ง ซึ่งจะออกค่าเดินทาง ที่พัก อาหารให้ทั้งหมด[80][81][82][83] สโมสรฟุตบอลขอนแก่น ยูไนเต็ด - ได้จัดทำชุดกีฬาฟุตบอล ซึ่งมีหมายเลข 13 พร้อมสกรีนชื่อทีม \"MOOPA FC\" ติดที่หลังเสื้อเพื่อให้กำลังใจ และยินดีต้อนรับสู่โรงเรียนฟุตบอลอาชีพ ตามความต้องการของแต่ละคน รวมถึงศรายุทธ ชัยคำดี ซึ่งพร้อมที่จะเป็นโค้ชส่วนตัวให้แก่เด็กทั้ง 12 คน[84] มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง - สนับสนุนทีมนักดำน้ำ กลุ่มเก็บรังนกนางแอ่น เกาะลิบง จังหวัดตรัง - สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการปีนถ้ำ[85] ทีมชลอยกกระบัตร จ.สมุทรสาคร - สนับสนุนเครื่องสูบน้ำและเครื่องปั่นไฟ[86] ทีมเครื่องสูบน้ำซิ่งพญานาค จาก อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และ จ.นครปฐม สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ[87] เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ตำบลโป่งผา ตำบลโป่งงาม ตำบลศรีเมืองชุม และตำบลบ้านด้าย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำที่ระบายออกจากถ้ำหลวง[88]", "title": "ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง" }, { "docid": "296780#10", "text": "ฤดูกาล 2556 นายพลธนวิทย์ เจตสิทธิ์ ได้เข้ามาเป็นประธานสโมสรคนใหม่ โดยใช้ชื่อในการลงแข่งขันตามชื่อผลิตภัณฑ์ของผู้สนับสนุนหลักว่า เจนิฟู้ด สมุทรสาคร เอฟซี และย้ายมาลงแข่งขันในดิวิชั่น 2 โซนภาคกลางและตะวันตก แต่หลังจากเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรได้เพียงแค่ 4 เดือนนายพลธนวิทย์ ก็ลาออกจากตำแหน่งและคืนสิทธิในการบริหารให้กับสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมุทรสาคร โดยในฤดูกาล 2556 สโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 8", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "168610#4", "text": "แม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของบริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจำหน่ายน้ำประปาให้กับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในพื้นที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กับอำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้แหล่งน้ำดิบบริเวณที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปาบางเลน หมู่ที่ 9 ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ก่อนจะส่งจ่ายน้ำประปาที่ผ่านการผลิตไปยังสถานีจ่ายน้ำพุทธมณฑล ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และสถานีจ่ายน้ำมหาชัย ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะจ่ายน้ำไปยังผู้ใช้ต่อไป", "title": "แม่น้ำท่าจีน" }, { "docid": "533056#2", "text": "นอกจากนี้บริษัทยังเสนอบริการสินเชื่อส่วนบุคคลแก่กลุ่มลูกค้าเดิม โดยอาศัยฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติงานที่มีอยู่ในการคัดเลือกลูกค้าเช่าซื้อที่มีประวัติการผ่อนชำระดี นอกจากนี้ บริษัทได้ให้บริการสินเชื่อแก่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการจัดหารถยนต์เพื่อนำมาจำหน่ายอีกด้วย ปัจจุบันบริษัทมีสาขา 3 แห่ง ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันบริษัทเป็นสมาชิกของสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทยและบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau Co., Ltd.)", "title": "เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง" }, { "docid": "296780#3", "text": "หลังจากเกิดแนวคิดดังกล่าว จึงก่อตั้ง สโมสรฟุตบอลสมุทรสาคร เอฟซี ขึ้น โดยได้รับงบประมาณหลักจากสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีนายกิจ มีศรีสุข อดีตโค้ชของ ทีทีเอ็ม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนแรก และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก ฤดูกาล 2553 โดยใช้สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร เป็นสนามเหย้า ซึ่งในการแข่งขันฤดูกาลแรกนี้ สโมสรได้ใช้ชื่อในการแข่งขันตามผู้สนับสนุนว่า สมุทรสาคร เจ.เค. และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 5 รวมถึงได้มีโอกาสลงแข่งขันในฟุตบอลถ้วยรายการสำคัญอย่างไทยเอฟเอคัพ และไทยลีกคัพ", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "6744#33", "text": "วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร รายชื่อวัดในจังหวัดสมุทรสาคร รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดสมุทรสาคร รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดสมุทรสาคร", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "234967#0", "text": "ต่อไปนี้เป็นรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร", "title": "รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "414085#2", "text": "เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ 2554 นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร ถูกยิงเสียชีวิตภายในบริเวณสถานีบริการน้ำมันในจังหวัดสมุทรสาคร ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 นายครรชิต ถูกศาลจังหวัดสมุทรสาคร พิพากษาประหารชีวิตจากการเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว พร้อมให้ชดใช้สินไหมแก่นายมณฑล ผู้เป็นโจทก์ร่วม นางพอใจ ไกรวัตนุสสรณ์ มารดาของผู้เสียชีวิต นางสาวสุรัจนา ศิลาสุวรรณ ภรรยา และบุตรอีก 2 คนของผู้เสียชีวิต", "title": "ครรชิต ทับสุวรรณ" }, { "docid": "52323#8", "text": "ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2552-2558 สโมสรเปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการแข่งขันหลายครั้ง เนื่องจากไม่มีสนามเหย้าประจำเป็นของตนเอง จึงต้องย้ายไปใช้สนามกีฬาตามจังหวัดต่างๆเป็นสนามเหย้าเพื่อใช้ในการแข่งขันแต่ละฤดูกาล โดยใน ฤดูกาล 2552 ทางสโมสรได้มีการเปลี่ยนชื่อสโมสร เพื่อให้เป็นไปตาม วิสัยทัศน์ของเอเอฟซี โดยรวมมือกับทาง จังหวัดสมุทรสาคร และเปลื่ยนชื่อเป็น \"สโมสรฟุตบอลทีทีเอ็ม สมุทรสาคร\" และใน ฤดูกาล 2553 ได้ย้ายทีมมารวมกับจังหวัดพิจิตร ทางสโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"สโมสรฟุตบอลทีทีเอ็ม เอฟซี พิจิตร\" และในฤดูกาล 2555 สโมสรย้ายไปใช้สนามเหย้าที่จังหวัดเชียงใหม่ และใช้ชื่อในการแข่งขันว่าว่า \"สโมสรฟุตบอลทีทีเอ็ม เชียงใหม่\" โดยผลงานของทีมในลีกนั้นไม่ดีเท่าที่ควร จนสโมสรตกชั้นในฤดูกาลนั้น", "title": "สโมสรฟุตบอลยาสูบ" }, { "docid": "132896#2", "text": "สัตบรรณ ถือเป็นไม้มงคลของจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้รับพระราชทานพันธุ์ไม้ดังกล่าวจากสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดวันรณรงค์โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเพื่อความเป็นศิริมงคลของประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาครผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครจึงได้นำพันธุ์ไม้สัตบรรณพระราชทานมาปลูกเป็นปฐมฤกษ์ ในกิจกรรมวันปลูกต้นไม้ตาม โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2537 ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร จึงถือได้ว่าต้นสัตบรรณเป็นต้นไม้มงคลของจังหวัดสมุทรสาคร นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังเป็นต้นไม้ประจำเขตพญาไท ในกรุงเทพมหานครอีกด้วย", "title": "พญาสัตบรรณ" }, { "docid": "852577#0", "text": "ยูโร เค้ก ลีก โปร ฤดูกาล 2017 (ไทยลีก3)\nณ วันที่ 15 เมษายน 2560", "title": "รายชื่อผู้เล่นของสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร" } ]
4095
การจำแนก เหตุผลวิบัติเชิงสาระ นี้ใช้พื้นฐานจากงานเขียนเกี่ยวกับตรรกศาสตร์อะไร?
[ { "docid": "263624#5", "text": "การจำแนก เหตุผลวิบัติเชิงสาระ นี้ใช้พื้นฐานจากงานเขียนเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ ออร์กานอน (Organon) ในส่วน โซฟิสติคัลเรฟิวเทชันส์ (Sophistical Refutations) ของอาริสโตเติล", "title": "เหตุผลวิบัติ" } ]
[ { "docid": "263624#1", "text": "เหตุผลวิบัติสามารถจำแนกออกได้ในหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลวิบัติอย่างเป็นทางการ เกิดจากหลักตรรกะที่ไม่ถูกต้อง เหตุผลวิบัติอย่างไม่เป็นทางการ ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาว่าผิดตามหลักตรรกะ และเหตุผลวิบัติเกี่ยวกับถ้อยคำ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาชักนำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การพูดกำกวม หรือการพูดมากโดยไม่จำเป็น", "title": "เหตุผลวิบัติ" }, { "docid": "710618#17", "text": "การอนุมานอย่างไม่ถูกต้องเรียกว่าเหตุผลวิบัติ (fallacy) นักปรัชญาที่ศึกษาตรรกศาสตร์เชิงอรูปนัย (informal logic) ได้รวบรวมเหตุผลวิบัติไว้เป็นจำนวนมาก และนักจิตวิทยาเชิงประชาน ก็ได้แสดงหลักฐานว่ามนุษย์มีความเอนเอียงทางประชานมากมาย ที่นำไปสู่การอนุมานที่ไม่ถูกต้อง", "title": "การอนุมาน" }, { "docid": "263624#29", "text": "เหตุผลวิบัติเชิงวาจา มักจะเป็นการสรุปที่ใช้คำศัพท์ต่าง ๆ ไม่สมบูรณ์หรือกำกวม ทำให้เข้าใจความหมายผิดไปหรือไม่กระจ่างชัด", "title": "เหตุผลวิบัติ" }, { "docid": "747322#56", "text": "แต่ว่าวิธีการที่ใช้ในงานวิจัย CBT ไม่ใช่เรื่องเดียวที่ถูกคัดค้าน\nนักวิชาการท่านอื่นตั้งข้อสงสัยทั้งในทฤษฎีและการบำบัดของ CBT\nยกตัวอย่างเช่น นักเขียนท่านหนึ่งกล่าวว่า CBT ไม่ได้ให้โครงสร้างของการคิดแบบที่ชัดเจนและถูกต้อง\nคือ เขากล่าวว่า มันแปลกมากที่นักทฤษฎีเกี่ยวกับ CBT จะได้พัฒนาโครงสร้างเพื่อกำหนดความคิดที่บิดเบือน โดยไม่พัฒนาโครงสร้างของความคิดที่ชัดเจน หรืออะไรที่เป็นความคิดที่ถูกสุขภาพและปกติ\nนอกจากนั้นแล้ว ยังกล่าวว่า การคิดที่ไม่สมเหตุผล (irrational) ไม่อาจจะเป็นแหล่งให้เกิดทุกข์ทางใจหรือทางอารมณ์ เมื่อไม่มีหลักฐานว่าความคิดที่สมเหตุผลเป็นเหตุให้มีสุขภาพทางใจที่ดี\nและข้อมูลจากจิตวิทยาสังคมก็ได้แสดงแล้วด้วยว่า ความคิดปกติของบุคคลทั่วไปบางครั้งไม่สมเหตุผล แม้บุคคลที่จัดว่ามีสุขภาพจิตดี\nนักเขียนยังกล่าวอีกด้วยว่า ทฤษฎี CBT ไม่เข้ากับหลักพื้นฐานและผลงานวิจัยเกี่ยวกับความสมเหตุสมผล (rationality) และแม้แต่ไม่สนใจกฎหลายอย่างทางตรรกศาสตร์\nเขาอ้างว่า CBT ได้ทำเรื่องความคิดให้กลายเป็นเรื่องใหญ่และจริงเกินกว่าความคิดจริง ๆ เป็น\nคำค้านอื่น ๆ ของเขารวมทั้ง การดำรงสถานะเดิม (status quo) ตามที่โปรโหมตโดย CBT, การสนับสนุนคนไข้ให้หลอกลวงตัวเอง, วิธีการวิจัยที่ไม่ดี และหลักการบางอย่างของ CBT รวมทั้ง \"หลักอย่างหนึ่งของการบำบัดความคิดก็คือ ยกเว้นวิธีการที่คนไข้คิด ทุกอย่างดีหมด\"", "title": "การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม" }, { "docid": "304218#26", "text": "มีงานวิจัยที่สำรวจปรากฏการณ์นี้ในเด็ก เพื่อเพิ่มความเข้าใจว่า ฮิวริสติกที่ใช้ในการประเมินมีพัฒนาการอย่างไร[19][20] งานวิจัยหนึ่งต้องการที่จะทำความเข้าใจถึงพัฒนาการของฮิวริสติก ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ระหว่างการประเมินทางสังคม (social judgment)[21] และการประเมินแบบอื่น ๆ และว่า เด็กจะใช้อัตราพื้นฐานหรือไม่เมื่อไม่ได้ใช้ฮิวริสติกนี้ นักวิจัยพบว่า การใช้ฮิวริสติกนี้เป็นกลยุทธ์ทางความคิด ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก ๆ และที่เกิดขึ้นอย่างคงเส้นคงวา นักวิจัยพบว่า เด็ก ๆ จะใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกันแต่ละบุคคล เมื่อทำการประเมินทางสังคมในเบื้องต้น และจะเริ่มใช้อัตราพื้นฐานมากขึ้นเมื่อโตขึ้น แต่ก็จะใช้ฮิวริสติกนี้ในทางสังคมมากขึ้นเมื่อโตขึ้น นักวิจัยพบว่า ในบรรดาเด็กที่สำรวจ อัตราพื้นฐานจะใช้ในการประเมินวัตถุมากกว่าการประเมินทางสังคม[20] ต่อมาในปี ค.ศ. 1995 มีงานวิจัยที่สำรวจว่า ฮิวริสติกนี้และ conjunction fallacy (เหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อม) มีความสัมพันธ์กับการเหมารวมของเด็กอย่างไร[19] ผลงานวิจัยสอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมา คือ เด็กจะใช้อัตราพื้นฐานในปัญหาที่มีข้อมูลที่ไม่มีลักษณะที่สามารถเหมารวม หรือว่าเมื่อเด็กโตขึ้น นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยยังพบหลักฐานว่าเด็กก็มีเหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อมด้วย และเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กจะใช้ฮิวริสติกนี้ในปัญหาที่มีข้อมูลที่สามารถเหมารวม และดังนั้นจะทำการประเมินที่สอดคล้องกับการเหมารวมนั้น[19] เพราะฉะนั้น จึงมีหลักฐานที่แสดงว่า แม้เด็กก็ยังใช้ฮิวริสติกนี้ มีเหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อม และละเลยอัตราพื้นฐาน", "title": "Representativeness heuristic" }, { "docid": "720960#4", "text": "ข้ออ้างที่มีเหตุผลวิบัติเช่นนี้ มักจะไม่กล่าวรายละเอียดว่า วิธีแก้ปัญหาที่เสนอยอมรับไม่ได้เพราะอะไร หรือมีปัญหาระดับไหน แต่จะปฏิเสธโดยใช้คำหรือเหตุผลที่คลุมเครือ\nหรือว่า อาจจะใช้พร้อมกับเหตุผลวิบัติ ที่ยกตัวอย่างที่ชัดเจนของความล้มเหลวของการแก้ปัญหาที่เสนอโดยเป็นการทำให้เขว คือยกตัวอย่างที่แสดงรายละเอียดน่าสะเทือนใจ (ดูหลักฐานโดยเรื่องเล่า) แต่ไม่ใส่ใจในอัตราพื้นฐาน (ดูเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน) คือไม่ยกว่า ผลที่ยกมาเป็นตัวอย่างมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นเปรียบเทียบกับผลที่อาจจะได้อื่น ๆ มากน้อยขนาดไหน", "title": "เหตุผลวิบัติโดยอุดมคติเพ้อฝัน" }, { "docid": "604966#0", "text": "แผนภาพเวนน์ หรือ แผนภาพเซต เป็นแผนภาพที่แสดงความเกี่ยวเนื่องเชิงตรรกศาสตร์ทั้งหมดระหว่างเซตจำนวนจำกัด จอห์น เวนน์ คิดแผนภาพเวนน์ขึ้นราวปีค.ศ. 1880 แผนภาพเวนน์ใช้สอนทฤษฎีเซตพื้นฐาน เช่นเดียวกับแสดงภาพความเกี่ยวเนื่องความสัมพันธ์อย่างง่ายในวิชาความน่าจะเป็น ตรรกศาสตร์ สถิติ ภาษาศาสตร์ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์", "title": "แผนภาพเวนน์" }, { "docid": "135190#0", "text": "จอร์จ บูล () เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผลงานสำคัญคือการคิดพีชคณิตแบบบูลขึ้น อันเป็นรากฐานสำคัญของ ตรรกศาสตร์ และวงจรดิจิตอล\nจอร์จ บูล นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัย College Cork ผู้ที่นิยามพีชคณิตดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางตรรกศาสตร์ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 พีชคณิตแบบบูลนำเทคนิคทางพีชคณิตมาใช้กับนิพจน์ในตรรกศาสตร์เชิงประพจน์ ในปัจจุบันพีชคณิตแบบบูลได้ถูกนำไปประยุกต์อย่างแพร่หลายในการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่นำไปใช้คนแรกคือคลาวด์ อี. แชนนอน นักวิทยาศาสตร์แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratory) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนำมาใช้ในการวิเคราะห์วงจรเน็ตเวิร์กที่ทำงานต่อกันหลาย ๆ ภาค เช่น วงจรของโทรศัพท์ เป็นต้น เมื่อมีการพัฒนาวงจร คอมพิวเตอร์ขึ้นก็ได้มีการนำเอาพีชคณิตบูลีนมาใช้ในการคำนวณ ออกแบบ และอธิบายสภาวะการทำงานของสถานะวงจรภายในระบบคอมพิวเตอร์ โดยพีชคณิตบูลีนเป็นพื้นฐานสำคัญในการออกแบบวงจรตรรกของระบบดิจิตอล", "title": "จอร์จ บูล" }, { "docid": "706383#3", "text": "เหตุผลวิบัตินี้มีลักษณะเฉพาะเป็นการไม่มีสมมุติฐานที่เฉพาะเจาะจงก่อนที่จะเริ่มรวบรวมข้อมูล หรือว่าเป็นการตั้งสมมุติฐานภายหลังจากเริ่มเก็บและตรวจดูข้อมูลแล้วเท่านั้น \nดังนั้น จะไม่ใช่เหตุผลวิบัตินี้ถ้าเรามีสมมุติฐาน (หรือความคาดหมาย) เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เป็นประเด็นการศึกษา ก่อนที่จะเริ่มตรวจสอบข้อมูล\nยกตัวอย่างเช่น ถ้าก่อนที่จะตรวจสอบข้อมูล เรามีกลไกทางกายภาพอยู่ในใจที่เป็นกระบวนการที่ทำให้เหตุนำมาซึ่งผล\nดังนั้น เราก็จะสามารถใช้ข้อมูลที่ได้ เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านว่า มีกลไกทางกายภาพนั้นจริง ๆ หรือไม่\nอีกอย่างหนึ่ง ถ้าข้อมูลเพิ่มเติมสามารถหาได้โดยวิธีการเดียวกันกับการหาข้อมูลดั้งเดิม\nเราสามารถใช้ข้อมูลดั้งเดิมในการตั้งสมมุติฐาน แล้วใช้ข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมในการตรวจสอบสมมุติฐานนั้น\nสิ่งที่เราไม่ควรทำก็คือ การใช้ข้อมูลเดียวกันทั้งในการตั้งสมมุติฐานทั้งในการตรวจสอบ\nเพราะว่าการทำเช่นนั้นเป็นกระบวนการสร้างเหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเทกซัส", "title": "เหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเทกซัส" }, { "docid": "710538#7", "text": "มีเหตุผลวิบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ecological fallacy ซึ่งหมายถึงผลที่พบในระดับกลุ่มอาจจะใช้ไม่ได้ในระดับบุคคล\nแต่จริง ๆ แล้ว เหตุผลวิบัติแบบเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นได้ในงานศึกษาแบบสังเกต (observational studies) และงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trials)\nเพราะว่า งานศึกษาทางวิทยาการระบาด ล้วนแต่ต้องตรวจสอบทั้งบุคคลที่มีผลทางสุขภาพที่สัมพันธ์กับองค์ความเสี่ยงที่เป็นประเด็นศึกษา ทั้งบุคคลที่ไม่มี\nยกตัวอย่างเช่น ความแตกต่างทางกรรมพันธุ์จะมีอิทธิพลต่อการตอบสนองต่อยา\nดังนั้น ความวิตกกังวลเกี่ยวกับ ecological fallacy ไม่ควรเป็นเหตุเพื่อตำหนิงานศึกษาแบบนี้ \nเรื่องที่สำคัญกว่าก็คือ ecological study ควรจะรวบรวมองค์ความเสี่ยง (ต่อผลอย่างหนึ่ง) ที่รู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้\nแล้วผลของงานควรประเมินโดยใช้วิธีอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น Bradford Hill criteria เพื่อตรวจสอบความเป็นเหตุผลในระบบชีวภาพ", "title": "การศึกษาทางนิเวศวิทยา" }, { "docid": "27222#11", "text": "การประยุกต์ใช้งานตรรกศาสตร์คลุมเครือโดยทั่วไป จะใช้ในการจำลองความรู้ หรือประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ โดยการใช้เหตุผล หรือ การตัดสินใจต่อสภาวการณ์ต่างๆ ของมนุษย์นั้น สามารถเขียนอยู่ในรูปเชิงภาษาศาสตร์ของ ระบบกฎเกณฑ์(rule-based system) คือ เงื่อนไข IF/THEN หรือ อยู่ในรูปอื่นที่เท่าเทียมกัน เช่น เมทริกซ์เปลี่ยนหมู่ฟัซซี (fuzzy associative matrices)", "title": "ตรรกศาสตร์คลุมเครือ" }, { "docid": "680739#15", "text": "งานของคุณหมอโดซ่ายังปรากฏว่ามีเหตุผลวิบัติเชิงตรรกะอีกด้วย\nคือ หลักฐานโดยคำบอกเล่าที่ใช้มักจะมีการดัดแปลงเพื่อให้สะดวกในการอ่าน ในขณะที่ไม่ใส่ใจในหลักฐานที่คัดค้าน \nซึ่งเป็นเหตุผลวิบัติเชิงตรรกะโดยเสนอแต่กรณีที่เข้ากันกับประเด็นที่เป็นสมมุติฐาน (ดูความเอนเอียงเพื่อยืนยัน) \nคุณหมอยังใช้วิธีการอุธรณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ (appeal to authority) คือกล่าวว่า \"ผู้เชี่ยวชาญ\" ได้ถกประเด็นเรื่องนี้แล้วสรุปว่า เป็นความสามารถของออสการ์ \nและโดยสรุปผิด ๆ ว่า \"เกิดหลังจากสิ่งนี้ ดังนั้น จึงเกิดเพราะสิ่งนี้\" (post hoc ergo propter hoc) \nคือ แม้จะเป็นความจริงว่า ออสการ์จะไปนอนอยู่บนเตียงคนไข้ก่อนที่จะเสียชีวิต แต่อาจจะมีตัวแปรอื่นที่สามารถอธิบายพฤติกรรมนี้ได้ดีกว่าหรือได้ดีเท่า ๆ กัน", "title": "ออสการ์ (แมวพยาบาล)" }, { "docid": "703156#14", "text": "มีการถกเถียงอย่างพอสมควรในสาขาจิตวิทยาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เราจะให้ความสำคัญต่อข้อมูลอัตราพื้นฐาน \nนักวิจัยในเรื่องฮิวริสติกและความเอนเอียงได้เน้นหลักฐานการทดลองที่แสดงว่า เรามักจะละเลยอัตราพื้นฐานและทำการอนุมานที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักเหตุผลของความน่าจะเป็นเช่น Bayes' theorem\nข้อสรุปจากแนวทางของงานวิจัยเหล่านี้ก็คือ กระบวนการความคิดเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของมนุษย์มีข้อบกพร่องและเกิดความผิดพลาดได้ง่าย \nแต่ว่าก็มีนักวิจัยพวกอื่นที่เน้นความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการทางประชานและรูปแบบของข้อมูล และเสนอว่า ข้อสรุปทั่วไปเช่นนี้ยังไม่สมควร เพราะว่าการแสดงปัญหาที่แสดงค่าทางสถิติเหล่านี้ โดยแสดงเป็นค่าอัตราส่วนตามธรรมชาติ แทนที่จะเป็นค่าเศษส่วนบรรทัดฐาน (เช่นค่าเปอร์เซ็นต์) หรือค่าความน่าจะเป็นมีเงื่อนไข จะทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง", "title": "เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน" }, { "docid": "621576#3", "text": "ในการจำแนกเหตุผลวิบัติแบบคลาสสิกที่แยกประเภทออกเป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy), เหตุผลวิบัติทางจิต (psychological), และเหตุผลวิบัติรูปนัย (formal)\nการไม่สนใจหลักฐานค้านน่าจะรวมอยู่ในประเภทเหตุผลวิบัติทางจิต\nคือดูเหมือนจะเป็นวิธีการทางคำพูด รวมทั้งคำอธิบายที่ไม่สมเหตุผลหรือเพื่อเบนเบี่ยงประเด็น\nเป็นเหตุผลวิบัติที่คล้ายคลึงกับการให้เหตุผลด้วยข้ออ้างต่าง ๆ เช่นการอ้างประเพณี การอ้างความแปลกใหม่ การอ้างความน่าจะเป็นไปได้ และการอ้างผู้ที่เชื่อถือได้ (ดูข้ออื่น ๆ ในกาลามสูตร)", "title": "คำให้การพิเศษ" }, { "docid": "621571#0", "text": "No true Scotsman (แปลว่า ไม่มีชาวสกอตแท้) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy คือไม่ใช่วิบัติตามวิธีทางตรรกศาสตร์) เป็นวิธีการ \"เฉพาะกิจ\" ที่ทำให้สิ่งที่ตนกล่าวยืนยันไม่เป็นเท็จ \nคือ เมื่อมีการแสดงให้เจ้าของคำเห็นตัวอย่างที่ไม่ตรงกับคำกล่าวของตน (เช่นคำของเจ้าของว่า \"ไม่มีชาวสกอตที่ไหนทำแบบนี้หรอก \")\nแทนที่จะปฏิเสธว่าตัวอย่างนั้นไม่เป็นจริง หรือยอมว่าคำกล่าวของตนนั้นอาจไม่เป็นจริง \nเจ้าของก็จะเปลี่ยนคำกล่าวเพื่อยกเว้นกรณีนั้นหรือกรณีต่าง ๆ ที่คล้ายกับกรณีนั้นเป็นพิเศษโดยใช้วาทศิลป์ \nโดยไม่ได้อ้างอิงหลักการอะไร ๆ เลย (เช่นแก้ว่า \"ไม่มีชาวสกอต\"แท้\"ที่ไหนทำแบบนี้หรอก \") \nวิธีการนี้ยังเป็นเทคนิคที่สามารถใช้ตั้งข้อแม้ต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นอีกด้วย", "title": "No true Scotsman" }, { "docid": "687319#30", "text": "แม้ว่า นักจิตวิทยาจะถือเอาว่า representativeness heuristic และความเอนเอียงทางประชานประเภทอื่น ๆ เป็นเหตุของเหตุผลวิบัติของนักการพนันบ่อยครั้งที่สุด\nแต่ก็มีงานวิจัยที่เสนอว่า มีองค์ประกอบทางประสาทที่เป็นเหตุด้วย\nคือมีการพบโดยใช้การสร้างภาพสมองโดย fMRI ว่า หลังจากเสียการพนัน เครือข่ายประสาทในกลีบขมับด้านหน้า (frontoparietal network) จะเกิดการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมที่เสี่ยงยิ่งขึ้น\nและมีการทำงานที่ลดระดับลงในอะมิกดะลา, caudate nucleus และ ventral striatum (ซึ่งเป็นส่วนของ ฺbasal ganglia)\nแต่การทำงานของอะมิกดะลานั้นมีสหสัมพันธ์เชิงลบกับเหตุผลวิบัติของนักการพนัน คือยิ่งมีการทำงานเพิ่มขึ้นเท่าไร\nบุคคลนั้นมีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของเหตุผลวิบัติน้อยลงเท่านั้น\nผลการทดลองบอกเป็นนัยว่า เหตุผลวิบัตินี้อาศัยการทำงานของคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) มากกว่า เป็นเขตซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับ executive functions และกระบวนการมีจุดมุ่งหมาย (goal-directed processes) และอาศัยเขตสมองที่ควบคุมการตัดสินใจทางอารมณ์ (มีอะมิกดะลาเป็นต้น) น้อยกว่า ", "title": "เหตุผลวิบัติของนักการพนัน" }, { "docid": "684280#7", "text": "งานวิจัย 3 งานในปี ค.ศ. 2005 แสดงหลักฐานเชิงประสบการณ์ว่า เหตุผลวิบัตินี้มีผลต่อการพยากรณ์งานที่ทำเป็นกลุ่มเช่นเดียวกัน งานวิจัยเน้นความสำคัญว่า กรอบเวลาเช่นเหลือเวลาอีกมาก และความคิดถึงการทำงานเสร็จ มีผลต่อการให้เกิดเหตุผลวิบัตินี้[11]", "title": "เหตุผลวิบัติในการวางแผน" }, { "docid": "703156#0", "text": "เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน () หรือ การละเลยอัตราพื้นฐาน (base rate neglect) หรือ ความเอนเอียงโดยอัตราพื้นฐาน (base rate bias) เป็นเหตุผลวิบัติรูปนัย (formal fallacy) ชนิดหนึ่ง\nที่เมื่อมีการแสดงทั้งข้อมูลเกี่ยวกับอัตราพื้นฐานที่อยู่ในประเด็นแต่ว่าเป็นข้อมูลแบบทั่ว ๆ ไป และทั้งข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงแต่กับบางกรณีเท่านั้น เรามักจะไม่สนใจข้อมูลทั่วไปแต่จะสนใจแต่ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่การประเมินผลที่มีความเอนเอียง", "title": "เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน" }, { "docid": "687319#32", "text": "เนื่องจากเหตุผลวิบัตินี้เป็นความเอนเอียงทางประชานที่ฝังแน่น ดังนั้นการกำจัดจึงเป็นเรื่องยากมาก\nโดยทั่วไปแล้ว การให้ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติของเหตุการณ์สุ่ม ไม่มีผลต่อการลดกำลังหรือกำจัดความเอนเอียงนี้\nในงานวิจัยยุคต้น ๆ ในปี ค.ศ. 1967 มีการใช้ไพ่สับที่แสดงรูปร่างเพื่อให้ผู้ร่วมการทดลองเดาว่า จะจั่วได้รูปไหนในลำดับต่อไป\nมีการให้ข้อมูลกับกลุ่มทดลองเกี่ยวกับธรรมชาติและความเกิดขึ้นของเหตุผลวิบัติของนักการพนัน\nและมีการบอกไม่ให้พึ่งลำดับที่ผ่านมาแล้ว ในการเดารูปร่างที่จะจั่วได้ \nส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับข้อมูลนี้\nถึงกระนั้น สไตล์การเดาของกลุ่มทั้งสองนั้นคล้ายกัน ซึ่งบ่งว่ากลุ่มทดลองก็ยังเลือกอาศัยลำดับที่ผ่านมาแล้ว\nจึงปรากฏชัดว่า การให้ข้อมูลเรื่องเหตุการณ์สุ่ม ไม่เพียงพอในการลดระดับเหตุผลวิบัติของนักการพนัน", "title": "เหตุผลวิบัติของนักการพนัน" }, { "docid": "703156#12", "text": "งานทดลองต่าง ๆ พบว่า เราให้ความสำคัญกับข้อมูลเฉพาะมากกว่าข้อมูลทั่วไป ถ้ามีข้อมูลเฉพาะ\nในงานทดลองงานหนึ่งที่ให้นักศึกษาประเมินเกรดของนักศึกษาสมมุติ\nพบว่า นักศึกษามักจะมองข้ามข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการแจกแจงเกรด (grade distribution) ถ้ามีข้อมูลเฉพาะตัวเกี่ยวกับนักศึกษาสมมุติ\nแม้ว่า ข้อมูลเฉพาะตัวนั้นอาจจะไม่มีความสำคัญอะไรเลยต่อการได้เกรดหนึ่ง ๆ \nมีการใช้ผลงานวิจัยนี้ในการอ้างว่า การสัมภาษณ์ผู้สมัครเป็นนักศึกษา (ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา) ไม่จำเป็นในกระบวนการสอบรับนักศึกษา เพราะว่า ผู้สัมภาษณ์ไม่สามารถที่จะคัดเลือกผู้สมัครได้ดีกว่าค่าสถิติพื้นฐาน", "title": "เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน" }, { "docid": "470391#1", "text": "กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเป็นภาวะนามธรรมของระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น ตัวแบบของฟอน นอยแมน () เป็นกระบวนทัศน์สำหรับคอมพิวเตอร์แบบลำดับ สำหรับการคำนวณแบบคู่ขนานมีกระบวนทัศน์ที่เป็นไปได้หลายกระบวนทัศน์ซึ่งมีหลายวิธีการที่โปรเซสเซอร์สามารถติดต่อกันได้ วิธีการพื้นฐานเช่น การใช้หน่วยความจำร่วมกัน การส่งข้อมูลให้กับหน่วยความจำอื่น หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน \nภาษาโปรแกรมหนึ่ง ๆ สามารถรองรับกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมหลายกระบวนทัศน์ ตัวอย่างเช่น ภาษา C++ หรือ Object Pascal สามารถใช้เขียนได้ทั้งแบบการโปรแกรมเชิงกระบวนการ และการโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือทั้งสองแบบในโปรแกรมเดียวกัน ผู้ออกแบบซอฟต์แวร์ และผู้เขียนโปรแกรมจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าโปรแกรมจะเขียนแบบใด \nการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ผู้เขียนโปรแกรมจะมองโปรแกรมในลักษณะที่เป็นการทำงานร่วมกันของวัตถุ ในขณะที่การโปรแกรมเชิงฟังก์ชันจะมองการทำงานของโปรแกรมในลักษณะลำดับของการประเมินฟังก์ชันแบบไม่มีสถานะ เมื่อเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือระบบให้ประมวลผลแบบหลายโปรเซสเซอร์ การโปรแกรมเชิงกระบวนงาน ผู้เขียนโปรแกรมจะมองแอพลิเคชันในลักษณะเซตของกระบวนงานที่ทำพร้อม ๆ กัน ซึ่งทำงานบนโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ร่วมกันทางตรรกะ \nเช่นเดียวกับกลุ่มของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่ต่างกันที่สนับสนุนวิธีการที่แตกต่างกัน ภาษาโปรแกรมแต่ละภาษาก็สนับสนุนกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมที่แตกต่างกัน ภาษาโปรแกรมบางภาษาถูกออกแบบมาสำหรับกระบวนทัศน์การโปรแกรมกระบวนทัศน์เดียว (เช่น Smalltalk สนับสนุนเฉพาะการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ Haskell สนับสนุนเพียงการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน เป็นต้น) ในขณะที่ภาษาโปรแกรมอื่น ๆ สนับสนุนกระบวนทัศน์การโปรแกรมหลายกระบวนทัศน์ (เช่น Object Pascal, C++, Java, C#, Visual Basic, Common Lisp,Scheme, Perl, Python, Ruby, Oz and F#) กระบวนทัศน์การโปรแกรมหลายกระบวนทัศน์เป็นที่รู้กันดีว่ามีเทคนิคอะไรบ้างที่หายไปและมีเทคนิคอะไรบ้างที่ทำได้ ตัวอย่างเช่น กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ไม่ยอมให้มีการใช้ side-effects ส่วนการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างไม่ยอมให้มีคำสั่ง goto ด้วยเหตุผลนี้ กระบวนทัศน์การโปรแกรมใหม่ มักพิจารณาหลักยึด หรือเข้มงวดมาก โดยยึอถือตามกระบวนทัศน์ก่อนหน้า การหลีกเลี่ยงเทคนิคที่แน่นอนสามารถทำให้การพิสูจน์ทฤษฎีเกี่ยวกับความถูกต้องของโปรแกรมหรือการทำความเข้าใจพฤติกรรมของมันทำได้ง่ายขึ้น", "title": "กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม" }, { "docid": "5128#3", "text": "ความพยายามที่จะจัดการกับการดำเนินการต่าง ๆ ของตรรกศาสตร์รูปนัย ในเชิงสัญลักษณ์ หรือในเชิงพีชคณิตนั้น แม้จะได้มีขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ที่ค่อนไปทางนักปรัชญา เช่นไลบ์นิซ และแลมเบิร์ต แต่งานที่พวกเขาทำนั้นไม่เป็นที่รู้จักและกระจัดกระจาย   จนกระทั่งจอร์จ บูลและตามด้วยออกัสตัส เดอ มอร์แกน ในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้นำเสนอวิธีการที่เป็นระบบเชิงคณิตศาสตร์ (ซึ่งยังไม่เป็นแบบเชิงปริมาณ) สำหรับตรรกศาสตร์   แนวทางการศึกษาตรรกศาสตร์แบบอริสโตเติลจึงได้ถูกปฏิรูปและถูกทำให้สมบูรณ์ จุดนี้ก่อให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือ ที่สามารถใช้เพื่อศึกษามโนทัศน์พื้นฐานของคณิตศาสตร์ได้   คงจะไม่ถูกนักถ้าจะกล่าวว่าการโต้แย้งเชิงรากฐานที่มีขึ้นในช่วง ค.ศ. 1900 - 1925 ได้พบกับคำตอบที่น่าพอใจแล้ว แต่อย่างไรก็ตามตรรกศาสตร์ 'แนวใหม่' นี้ก็ได้ช่วยให้ความกระจ่างในด้านของปรัชญาคณิตศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง", "title": "คณิตตรรกศาสตร์" }, { "docid": "162602#1", "text": "สารคดี () เป็นงานเขียนหรือวรรณกรรมร้อยแก้วในลักษณะตรงข้ามกับบันเทิงคดี (Fiction) ที่มุ่งให้สาระความรู้แก่ผู้อ่านเป็นเบื้องต้น มีความเพลิดเพลินเป็นเบื้องหลัง ที่มุ่งแสดงความรู้ ความคิด ความจริง ความกระจ่างแจ้ง และเหตุผลเป็นสำคัญ อาจจะเขียนเชิงอธิบาย เชิงวิจารณ์เชิงแนะนำสั่งสอน เป็นต้น", "title": "สารคดี" }, { "docid": "680863#2", "text": "การเลือกเก็บเชอร์รี่พบได้ในเหตุผลวิบัติเชิงตรรกะหลายอย่าง \nยกตัวอย่างเช่นเหตุผลวิบัติโดยหลักฐานเป็นเรื่องเล่ามักจะใส่ใจแต่ข้อมูลที่บุคคลต่าง ๆ เล่าให้ฟังแต่ไม่ใส่ใจหลักฐานข้อมูลอื่น ๆ \nส่วน \"การใช้หลักฐานแบบเลือก\" () จะปฏิเสธข้อมูลที่ไม่เข้ากับประเด็นที่อ้าง\nในขณะที่ \"ทวิวิภาคเทียม\" () จะแสดงทางเลือกเพียงแค่สองอย่างแม้จะมีทางเลือกอื่น ๆ ที่ใช้ได้\nการเลือกเก็บเชอร์รี่อาจหมายถึงการเลือกข้อมูลหรือเซ็ตข้อมูล \nที่จะมีผลให้งานศึกษาหรืองานสำรวจ แสดงผลที่ต้องการ\nซึ่งอาจจะเป็นเพียงแค่ความบิดเบือนจนกระทั่งถึงแม้แต่การคัดค้านความเป็นจริง", "title": "เหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์" }, { "docid": "5137#0", "text": "แคลคูลัสเชิงประพจน์ คือระบบรูปนัยสำหรับการใช้เหตุผลแบบนิรนัย ที่มีหน่วยพื้นฐานคือตัวแปรเชิงประพจน์ (ซึ่งจะแตกต่างจากตรรกศาสตร์ภาคแสดงที่อาจมีการใช้ \"ตัวบ่งปริมาณ\" และมีหน่วยพื้นฐานคือฟังก์ชันเชิงประพจน์ และตรรกศาสตร์อัญรูปที่หน่วยพื้นฐานอาจไม่ใช่ประโยคระบุความจริง)", "title": "แคลคูลัสเชิงประพจน์" }, { "docid": "684280#9", "text": "คาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้โดยดั้งเดิมอธิบายเหตุผลวิบัตินี้ว่า ผู้วางแผนเพ่งความสนใจไปที่ผลที่มีการมองในแง่ดีมากที่สุด โดยที่ไม่ได้ใช้ประสบการณ์ของตนอย่างเต็มรูปแบบเพื่อที่จะประมาณเวลาที่จะใช้ทำงานคล้าย ๆ กัน[6] มีนักวิชาการอีกลุ่มหนึ่ง (บูฮ์เลอร์และคณะ) ที่อธิบายเหตุผลวิบัติโดย wishful thinking (ความคิดไปตามความหวัง) พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราคิดว่าจะทำงานได้เสร็จอย่างรวดเร็วและอย่างง่าย ๆ เพราะว่า นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องการ[1] บูฮ์เลอร์และคณะยังเสนออีกคำอธิบายหนึ่งคือ เรามีความเอนเอียงรับใช้ตนเอง (self-serving bias) เมื่ออธิบายการพยากรณ์เวลาและผลงานที่ทำได้จริง ๆ ของงานในอดีต คือเราจะเอาเครดิตสำหรับงานที่ลงเอยด้วยดี แต่จะโทษความล่าช้าต่อปัจจัยภายนอก ด้วยวิธีนี้ เราจึงลดความสำคัญของหลักฐานในอดีตที่บ่งว่างานนี้ควรจะใช้เวลาเท่าไร[1] งานทดลองหนึ่งพบว่า ถ้าเราทำการพยากรณ์แบบนิรนาม ก็จะไม่มีความเอนเอียงโดยมองในแง่ดี ซึ่งบอกเป็นนัยว่า เราทำการประเมินเวลาแบบมองในแง่ดีก็เพื่อจะให้เราดูดีกับผู้อื่น[12] ซึ่งเหมือนกับแนวคิดบางอย่างของ impression management theory (ทฤษฎีบริหารความประทับใจ) อีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า เราไม่สามารถระลึกถึงเวลาที่ใช้ในการทำงานคล้าย ๆ กันในอดีตได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น จึงทำให้เกิดความเอนเอียงในการพยากรณ์งานในปัจจุบัน[13] มีงานวิจัยหลายงานที่เสนอว่า กลุ่มที่เพ่งเล็งความคิดไปที่การทำงานสำเร็จ จะทำการพยากรณ์โดยมองในแง่ดีสำหรับงานนั้น[11] มีอีกคำอธิบายหนึ่ง (focalism) ที่เสนอว่า เรามีเหตุผลวิบัติเช่นนี้เพราะเพ่งเล็งความสนใจไปแต่งานที่จะทำ ไม่ได้ใส่ใจถึงงานคล้าย ๆ กันในอดีตที่ใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้[14] ดังที่ได้พรรณนาไว้ในหนังสือ The Mythical Man-Month (เดือนการทำงานที่เป็นตำนาน) การเพิ่มคนทำงานในโพรเจ็กต์ที่ล่าช้าอยู่แล้ว จะเพิ่มความเสี่ยงต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่น ๆ ที่มักจะทำโพรเจ็กต์ให้ล่าช้ายิ่งขึ้น ปรากฏการณ์นี้เรียกว่ากฏของบรุ๊ก (Brooks's law) คำอธิบายอีกอย่างหนึ่งก็คือ การพยากรณ์ในแง่ดีเป็นความจำเป็นเพื่อให้ได้รับอนุมัติ คือ การวางแผนงานส่วนใหญ่อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องมีการอนุมัติทางการเงิน และผู้ทำการวางแผนมักจะมีส่วนได้ส่วนเสียในการได้การอนุมัติ ซึ่งนำไปสู่แนวโน้มที่ผู้วางแผนจะทำการประเมินเวลาและแรงงานต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างจงใจ เพราะว่า มันง่ายที่จะได้รับอภัยในภายหลังเพราะใช้เวลาเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป กว่าที่จะได้รับการอนุมัติถ้าการประเมินเวลาค่าใช้จ่ายตรงกับความจริง การประเมินต่ำอย่างจงใจเช่นนี้มีชื่อเรียกตามผู้เสนอว่า \"กลยุทธ์การแถลงเท็จ\" (strategic misrepresentation)[15] นอกจากคำอธิบายเชิงจิตวิทยาเหล่านี้ นักสถิติชาวเลบานอน-อเมริกันนาซซิม ทะเล็บ ยังได้อธิบายปรากฏการณ์นี้โดยเป็นปัญหาจากอสมมาตร (asymmetry) โดยธรรมชาติ และปัญหาในการขยายโครงงาน (scaling) คือ อสมมาตรเกิดขึ้น เพราะเหตุการณ์สุ่มที่เกิดขึ้นในระหว่างงาน ให้ผลลบเป็นความล่าช้าหรือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ไม่เสมอกับผลบวก คือผลบวกที่เกิดขึ้นโดยสุ่มน้อยกว่า ส่วนปัญหาการขยายโครงงาน มาจากข้อสังเกตว่า อัตราข้อผิดพลาดโดยเทียบกับขนาดโครงงาน ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเชิงเส้น ซึ่งก็คือ เมื่อโครงงานใหญ่ขึ้น ระดับความผิดพลาดกลับเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่า เพราะโครงงานที่ใหญ่ขึ้นมีระดับประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อปัญหาที่ลดลง โดยเฉพาะในโครงงานที่ไม่สามารถแบ่งออกเป็นระยะ ๆ หรือเป็นภาค ๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับโครงงานใหญ่ ๆ ในอดีตที่เคยทำสำเร็จได้ตามระยะเวลาที่ตั้งไว้ (เช่น ตึกเอ็มไพร์สเตตและสะพานโกลเดนเกตในสหรัฐอเมริกา และวังแก้วในสหราชอาณาจักร) ก็อาจทำให้สรุปได้ว่า มีความบกพร่องตามปกติวิสัยของระบบการวางแผนปัจจุบัน และโครงงานปัจจุบันมีความเปราะบางอะไรบางอย่างที่ยังไม่ชัดเจน (ยกตัวอย่างเช่น งานปัจจุบันมักจะมีการควบคุมโดยคอมพิวเตอร์เป็นบางส่วน และเป็นงานที่ไม่ได้ทำจำกัดเฉพาะที่ มีผลทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานน้อยกว่า มีการควบคุมได้น้อยกว่า และต้องอาศัยระบบการขนส่งมากกว่า)[16]", "title": "เหตุผลวิบัติในการวางแผน" }, { "docid": "706383#2", "text": "เหตุผลวิบัตินี้มักเกิดขึ้นเมื่อเรามีข้อมูลเป็นจำนวนมาก\nแล้วเพ่งความสนใจไปที่เพียงกลุ่มน้อย ๆ ของข้อมูลที่มีนั้น\nกลุ่มที่เพ่งดูนั้นอาจจะมีลักษณะอะไรบางอย่างที่เหมือนกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะเหตุอะไรอย่างอื่น \nซึ่งไม่ตรงกับเหตุที่เราเสนอ\nดังนั้น โดยสาระก็คือ ถ้าเราพยายามที่จะอธิบายเหตุของลักษณะข้อมูลที่เหมือนกันกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลที่มีมาก โดยแสดงเหตุที่ไม่เป็นจริง (เช่นแสดงกลุ่มลูกปืนที่ยิงเข้าใกล้ ๆ กันโดยบังเอิญว่ามีเหตุจากความที่เราเป็นนักแม่นปืน) เราก็อาจจะกำลังสร้างเหตุผลวิบัตินี้อยู่", "title": "เหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเทกซัส" }, { "docid": "304218#24", "text": "ดังที่เห็น อัตราพื้นฐาน (base rate) คือ P(H) ไม่ได้รับความสนใจในสมมติฐานนี้ ซึ่งนำไปสู่เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน (base rate fallacy) อัตราพื้นฐานก็คืออัตราการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์โดยพื้นฐาน ดังนั้น เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐานหมายถึงความที่เราไม่ใช้อัตราพื้นฐานของเหตุการณ์ในการคำนวณความน่าจะเป็น[15] ในปี ค.ศ. 1993 มีอีกงานวิจัยหนึ่งที่ทดสอบเหตุผลวิบัตินี้อย่างชัดแจ้ง[16] ที่ให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินอัตราพื้นฐานของคนที่มีนิสัยแต่ละอย่าง และความน่าจะเป็นที่คนหนึ่งที่มีนิสัยอย่างหนึ่ง จะมีนิสัยอีกอย่างหนึ่งด้วย ยกตัวอย่างเช่น มีการให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินว่า จากคน 100 คน จะมีกี่คนที่บอกว่า \"ข้าพเจ้าเป็นคนเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง\" และถ้าบุคคลหนึ่งบอกอย่างนี้แล้ว ในจำนวนนั้น จะมีอีกกี่คนที่บอกว่ามีนิสัยอย่างอื่นอีกด้วย นักวิจัยพบว่า ผู้ร่วมการทดลองสมมติว่า ความน่าจะเป็นกับความน่าจะเป็นผกผันมีค่าเท่ากัน คือ P(เป็นคนเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง|เป็นคนอ่อนไหวง่าย) = P(เป็นคนอ่อนไหวง่าย|เป็นคนเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง) แม้ว่าจะชัดเจนอยู่แล้วว่า ไม่สามารถที่จะเท่ากันได้จริง ๆ (ในการทดลองนี้ ผู้ร่วมการทดลองตอบคำถามทันทีต่อ ๆ กัน)", "title": "Representativeness heuristic" }, { "docid": "703156#13", "text": "นักจิตวิทยาชาวอเมริกันยุคต้น ๆ ที่ทำการศึกษาเช่นนี้คือ แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ได้อธิบายปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นการคิดหาคำตอบโดยใช้ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน\nพวกเขาอ้างว่า มนุษย์ประเมินค่าความน่าจะเป็นหลายอย่าง หรือประเมินตัดสินเหตุและผล อาศัยว่าสิ่งหนึ่งมีความเป็นตัวแทน คือเหมือน กับอีกสิ่งหนึ่ง หรือกับประเภทหนึ่ง ๆ มากเท่าไร \nดร. คาฮ์นะมันพิจารณาว่า การละเลยอัตราพื้นฐานเช่นนี้ เป็นรูปแบบหนึ่งของ extension neglect \nส่วนนักจิตวิทยาริชาร์ด นิสเบ็ตต์ ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนเสนอว่า attribution bias เช่น fundamental attribution error เป็นรูปแบบอย่างหนึ่งของเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน\nคือ มนุษย์ไม่ใช้ข้อมูลที่ปรากฏโดยทั่วไป (คืออัตราพื้นฐาน) ว่าคนอื่น ๆ มีพฤติกรรมอย่างไรในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน แต่กลับไปใช้ข้อมูลเฉพาะคือการแสดงเหตุโดยนิสัย (dispositional attribution) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่า", "title": "เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน" } ]
4096
ไข่มุกพบได้ในหอยชนิดใด ?
[ { "docid": "47751#0", "text": "ไข่มุก เป็นอัญมณี มีสีขาว เงินยวง ชมพูและสีทอง โดยนำมาจากสัตว์จำพวกหอยนางรม อาจจะนับได้ว่าเป็นอัญมณีชนิดเดียวในโลกที่เกิดมาจากสัตว์ ไข่มุกสามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับ หรือนำมาบดในการใช้เป็นเครื่องสำอาง", "title": "ไข่มุก" } ]
[ { "docid": "629501#14", "text": "ร้านชาชุน ฉุ่ยถังในเมืองไถจง น่าจะเป็นร้านแรกที่คิดค้นเมนูชาไข่มุกขึ้นมา เมื่อปี 1988 ขณะที่กำลังประชุมอยู่นั้น คุณหลินชิ่วฮุย (ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์) ได้เทขนมหวานชิ้นเล็ก ๆ ลงไปในชา[5] ทุกคนในห้องประชุมเห็นว่าน่าสนใจ จึงทำออกมาขาย ปรากฏว่า ยอดขายดีมาก ทำลายสถิติเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ[5] บ้างก็ว่า ชาไข่มุกน่าจะมีที่มาจากร้านชาหานหลิน ที่เมืองไถหนาน ประเทศไต้หวัน ของนายถัวซ่งเหอ เขาใส่เม็ดสาคูสีขาวลงไปในชา ทำให้มันเหมือนไข่มุก เป็นที่มาของคำว่า \"ชาไข่มุก\" หลังจากนั้นไม่นาน หานหลินเปลี่ยนสีสาคูจากสีขาวเป็นสีดำแบบที่นิยมกันในปัจจุบัน ช่วงปี 1990 เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1]", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "327595#2", "text": "ไข่มุกตามธรรมชาติหมายถึงไข่มุกซึ่งเกิดขึ้นเองในธรรมชาติ ซึ่งมีโอกาสน้อย ตรงกันข้ามกับไข่มุกเลี้ยง ซึ่งเป็นการเกิดไข่มุกโดยอาศัยการช่วยเหลือของมนุษย์ คือ การใส่เนื้อเยื่อของหอย จากนั้นถุงมุกจะก่อตัวขึ้น และแคลเซียมคาร์บอเนตจะตกตะกอนในรูปของน้ำมุก", "title": "ไข่มุกเลี้ยง" }, { "docid": "57210#4", "text": "ยังสามารถสร้างเครื่องประดับแสนงาม อย่างไข่มุกได้อีกด้วย แต่อาจไม่สวยเท่าไข่มุกที่ได้จากหอยมุกเท่าใดนัก", "title": "หอยนางรม" }, { "docid": "136807#4", "text": "มีเพียงวงศ์เดียว คือ Nautilidae มีอยู่ด้วย 6 ชนิดใน 2 สกุล ตัวต้นแบบมาจากสกุล \"Nautilus\" ซึ่งมักอ้างอย่างเฉพาะเจาะจงลงไปที่ หอยงวงช้างมุก (\"N. pompilius\") และยังใช้เรียกชนิดใดก็ตามที่อยู่ในวงศ์เดียวกันนี้ โดยการปรับตัวอยู่ในน้ำลึกมาหลายล้านปีทำให้หอยงวงช้างเป็นสมาชิกเพียงจำพวกเดียวของ ชั้นย่อย Nautiloidea ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมักจะพบเป็นฟอสซิลตามหินฟอสซิลโบราณนักชีววิทยาจึงจัดให้เป็นฟอสซิลที่ยังมีชีวิตอยู่", "title": "หอยงวงช้าง" }, { "docid": "213693#5", "text": "มุขด้านหลังวัดที่มีหลังคาหอยครึ่งวงกลมและมีไข่นกกระจอกเทศห้อยลงมาตรงกลาง หอยเป็นสัญลักษณ์ของวีนัสใหม่ หรือพระแม่มารีและความงามอันชั่วนิรันด์ แต่สิ่งที่พระแม่มารีต่างจากเทพีกรีกก็ตรงที่ความงามของพระองค์เป็นความงามตลอดกาลในอาณาจักรของพระเจ้า อีกทฤษฎีหนี่งกล่าวว่าไข่นกกระจอกเทศคือไข่มุกและหอยหมายถึงปาฏิหาริย์ของ การกำเนิดบริสุทธิ์ (Immaculate conception) ของพระเยซู เพราะมุกเกิดขึ้นโดยมิต้องมีเชื้อจากหอยตัวผู้ และไข่โดยทั่วไปถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสร้างโลกของพระเจ้าหรือหมายถึงการกำเนิดของกุยโดบาลโด นอกจากนั้นนกกระจอกเทศก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของตราประจำตระกูลของตระกูลมอนเตเฟลโตร", "title": "ฉากแท่นบูชาเบรรา" }, { "docid": "46567#0", "text": "สัตว์มีกระดอง คือ สัตว์ชนิดพิเศษที่มีกระดองห่อหุ้ม เช่น เต่า ตะพาบ เป็นต้น กระดองช่วยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ จากธรรมชาติได้ และช่วยในการหายใจ สัตว์มีกระดองพบได้ในทะเล หรือน้ำเค็มบนบก สัตว์มีกระดองบางชนิดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ สัตว์มีกระดองจะมีพฤติกรรมเชื่องช้า หรือการเคลื่อนไหวที่ช้ากว่าสัตว์ใด ๆ เพราะไม่ต้องวิ่งหนีจากสัตว์นักล่า เมื่อมีภัยก็จะหลบอยู่ในกระดอง รักสงบ คล้ายกับสัตว์จำพวกหอยที่มีเปลือก สัตว์จำพวกนี้ก็เคลื่อนไหวช้า ๆ", "title": "พวกสัตว์มีกระดอง" }, { "docid": "57210#20", "text": "มีบางความเชื่อว่า หอยบางชนิดสามารถทานเป็นอาหารเจได้ โดยมีตำนานมาจากเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านซึ่งพาประชาชนส่วนหนึ่งทีนับถือในพระพุทธศาสนาหนีจากการเข่นฆ่าจากพระเจ้าเมี่ยวจวงลงเรือออกทะเลไป พอนานๆวันเข้าเสบียงที่เตรียมมานั้นก็เริ่มจะหมดลงทุกทีจนหมด ผู้คนขาดอาหารเกิดความหิวโหย เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านทรงตั้งจิตอธิษฐานโดยเอาไม้พายจุ่มลงสู่ทะเลว่าหากสิ่งใดติดขึ้นมาก็จะทานสิ่งนั้นเป็นอาหาร ผลปรากฏว่ามีหอยนางรมติดไม้พายขึ้นมา ด้วยหอยนางรมเองก็ยอมปวารณาตนถวายแด่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านและเหล่าพุทธศาสนิกชน จากนั้นเป็นต้นมา หอยนางรมจึงสามารถทานเป็นอาหารเจได้ และถูกทำเป็นซอสปรุงอาหารผัดกับผักต่างๆ เช่น คะน้าน้ำมันหอย เป็นต้น", "title": "หอยนางรม" }, { "docid": "443826#3", "text": "ในน่านน้ำไทยพบหอยมือเสืออยู่ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบทั้งหมด 5 ชนิด จำนวนประชากรหอยมือเสือในน่านน้ำไทยในปัจจุบันมีเหลืออยู่ไม่มาก เนื่องจากหอยมือเสือมีแหล่งอาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีระดับน้ำไม่ลึกเพราะต้องอาศัยแสงสว่างในการดำรงชีพเพื่อให้สาหร่ายซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อสามารถสังเคราะห์แสงได้จึงทำให้หอยมือเสือถูกจับขึ้นมาได้ง่าย ปัจจุบัน หอยมือเสือทุกชนิดได้มีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในประเทศไทย ยกเว้น ชนิด หอยมือเสือยักษ์ (\"T. gigas\") เท่านั้น เนื่องจากหาพ่อแม่พันธุ์ไม่ได้", "title": "วงศ์ย่อยหอยมือเสือ" }, { "docid": "58519#4", "text": "จากการสำรวจบริเวณดอนหอยหลอด พบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอย่างน้อย 42 ชนิด เช่น แมงกะพรุนไฟ หนอนริบบิ้น (Ribbin worm) แม่เพรียงทะเล (King ragworm) ในจำนวนนี้เป็นสัตว์จำพวกมอลลัสก์ประมาณ 10 ชนิด เช่น หอยมวนพลู (Screw turritella) หอยกะพง (Horse mussel) หอยเสียบ (Common donax) หอยปากเป็ด (Tongue shell) หอยแครง (Ark shell) หอยหลอด (Razor clam) เป็นต้น", "title": "ดอนหอยหลอด" }, { "docid": "215173#3", "text": "อยู่ห่างจากหลุมขุดค้นที่ 2 ประมาณ 40 เมตร เป็นชั้นหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียสตอนต้น (ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว) ที่มีเปลือกหอยสะสมตัวอย่างหนาแน่น แผ่กระจายกว้างออกไป ชั้นหอยประกอบด้วยเปลือกหอยชนิดสองฝามากถึง 9 ชนิด แต่โดดเด่นด้วยเปลือกหอยสกุล ไทรโกนิออยดีส ซึ่งเป็นหอยน้ำจืด ทำให้ทราบได้ว่าเทือกเขาภูเวียงเมื่อ 130 ล้านปีก่อนเคยเป็นที่ราบกว้างมีแหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยของหอยชนิดต่างๆดังกล่าว", "title": "แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง" }, { "docid": "573517#0", "text": "หอยมือเสือเล็บยาว หรือ หอยมือเสือเกล็ด (; ) เป็นมอลลัสกาจำพวกหอยสองฝาชนิดหนึ่ง ในกลุ่มหอยมือเสือ นับเป็นหอยสองฝาอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก", "title": "หอยมือเสือเล็บยาว" }, { "docid": "443451#7", "text": "หอยมือเสือ เป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว เนื้อของหอยมือเสือโดยเฉพาะกล้ามเนื้อยึดเปลือก เป็นอาหารซึ่งมีราคาแพง เป็นที่นิยมบริโภคในหลายประเทศ เปลือกใช้ทำเครื่องใช้, เครื่องประดับ รวมทั้งไข่มุก ซึ่งหอยมือเสือก็สามารถให้ได้เหมือนกัน และเป็นไข่มุกที่มีราคาแพงกว่าไข่มุกปกติธรรมดา เนื่องจากมีขนาดใหญ่และหาได้ยากมาก ส่วนหอยมือเสือขนาดเล็กนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลาทะเลสวยงาม จึงทำให้หอยมือเสือถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์มากจนเกินกำลังธรรมชาติจะทดแทนได้ทันในทุกแหล่งการแพร่กระจายจนกระทั่งอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ หรือบางชนิดถูกทำลายจนหมดไปจากบางแหล่ง จึงเป็นหนึ่งในจำนวนสัตว์น้ำที่ได้รับการขึ้นบัญชีในรายชื่อสัตว์และพืชที่ใกล้สูญพันธุ์หรือหายากในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือ CITES และจัดอยู่ในบัญชีสัตว์สงวนและคุ้มครองประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ของกฎหมายไทย\nในน่านน้ำไทยพบหอยมือเสืออยู่ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบทั้งหมด 5 ชนิด จำนวนประชากรหอยมือเสือในน่านน้ำไทยในปัจจุบันมีเหลืออยู่ไม่มาก เนื่องจากหอยมือเสือมีแหล่งอาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีระดับน้ำไม่ลึกเพราะต้องอาศัยแสงสว่างในการดำรงชีพเพื่อให้สาหร่ายซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อสามารถสังเคราะห์แสงได้จึงทำให้หอยมือเสือถูกจับขึ้นมาได้ง่าย ปัจจุบัน หอยมือเสือทุกชนิดได้มีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในประเทศไทย โดยชนิดแรกที่เพาะขยายพันธุ์ได้ คือ หอยมือเสือเล็บยาว (\"T. squamosa\") ส่วนชนิด หอยมือเสือยักษ์ (\"T. gigas\") ที่เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดนั้นไม่สามารถเพาะได้เนื่องจากหาพ่อแม่พันธุ์ไม่ได้", "title": "หอยมือเสือ" }, { "docid": "441447#2", "text": "สีของเปลือกโดยปกติจะเป็นสีเดียวทั้งเปลือก คือ สีแดงปนส้มสด มีตุ่มเป็นแนวเพียงเล็กน้อย แต่ในบางตัวที่จัดว่าสวยจะนิยมเก็บเป็นของสะสม คือ เปลือกมีสีส้มสลับกับแดงสด มีแถบสีเข้ม-อ่อนสลับกันไล่เรียงเป็นทางยาวตลอดทั้งเปลือก ขณะที่ทางก้นหอยเป็นแต้ม และแถบสลับสีแดงและส้ม ตุ่มขึ้นชัดเจนเหมือนไข่มุกถึง 3-4 ชั้น", "title": "หอยเต้าปูนหาดราไวย์" }, { "docid": "629501#5", "text": "ความหลากหลายของส่วนผสมในชาไข่มุกนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของชา โดยส่วนมาก จะใช้ชาประเภทที่ต่างกัน เช่น ชาดำชนิดต่าง ๆ ชาเขียว หรือแม้เต่กาแฟ ชาที่นิยมคือ ชาอู่หลง และเอิร์ลเกรย์ ส่วนชามะลิก็เป็นชาที่นิยมกันมากอยู่แล้ว ชนิดอื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันคือ หยวนหยาง (鴛鴦 แปลว่า เป็ดแมนดาริน/นกเป็ดน้ำ) ค้นพบในฮ่องกง ประกอบไปด้วยชาดำครึ่งหนึ่ง และกาแฟครึ่งหนึ่ง บ้างนิยมผสมนมลงไป หรือถ้าเป็นชาที่ชงใหม่ ๆ จะได้เป็นรสชาติของชาอ่อน ๆ มาแทน", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "370829#0", "text": "หอยทอด (; ; พินอิน: \"Háo zǐ bǐng\") เป็นอาหารจีนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย แป้ง ไข่และหอย หอยทอดมีสองชนิดคือแบบแป้งกรอบและแบบแป้งนิ่ม แบบแป้งนิ่มนั่นใช้หอยนางรมผสมกับแป้ง เครื่องปรุงรส ทอดในกระทะที่ร้อนจัด ใส่ไข่ โดยแป้งที่ใช้เป็นแป้งใส เหนียว เสิร์ฟในกระทะร้อน พร้อมถั่วงอกและซอสพริก มีชื่อเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า \"ออส่วน\" (蚝煎) แบบแป้งกรอบถ้าใช้หอยนางรมเรียก \"ออลัวะ\" (蠔烙) ถ้าใช้หอยแมลงภู่เรียก \"ไช่ลัวะ\" (蚌烙) แต่ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นอาหารไทย เหมือนอาหารจีนอีกหลาย ๆ ชนิดที่มาจากประเทศจีนแล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความชอบของคนไทย หอยทอดที่ทำขายในแต่ละท้องถิ่นและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ได้แก่ในปี พ.ศ. 2560 สภาอาหารริมทางโลกได้ยกให้หอยทอดเป็นหนึ่งในสามเมนูอาหารริมทางที่ดีที่สุดของกรุงเทพมหานคร", "title": "หอยทอด" }, { "docid": "76471#1", "text": "ทะเลสาบแห่งนี้มีขนาดพื้นที่ 670 ตารางกิโลเมตร เท่ากับเกาะอาวาจิ มีแม่น้ำหลายสายไหลจากภูเขารอบ ๆ ลงสู่ทะเลสาบ เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญสำหรับเมืองเกียวโตและโอตสึ มีการใช้ประโยชน์จากทะเลสาบแห่งนี้มากมายหลายทาง เช่น เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญสำหรับโรงงานทอผ้าในบริเวณใกล้เคียง แหล่งผลิตน้ำดื่มหล่อเลี้ยงคนกว่า 15 ล้านคนทั่วภูมิภาค แหล่งเพาะและผสมพันธุ์ปลาน้ำจืดหลายชนิดอย่างเช่นปลาเทราท์ และแหล่งเลี้ยงหอยในอุตสาหกรรมผลิตไข่มุก", "title": "ทะเลสาบบิวะ" }, { "docid": "629501#18", "text": "ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2012 นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยอาเคิน (RWTH) ในประเทศเยอรมันได้ทำการวิเคราะห์ส่วนผสมของชาไข่มุกเพื่อหาสารอาจที่ก่อให้เกิดการแพ้ ผลการตรวจสอบ พบว่า มีส่วนผสมของ สไตรีน, อะซีโตฟีโนน และ สารที่ผ่านกรรมวิธีการเติมโบรมีน[11][12] หนังสือพิมพ์ในประเทศเยอรมัน Rheinische Post ตีพิมพ์บทวิเคราะห์ดังกล่าว ส่งผลให้ตัวแทนในประเทศเยอรมันของทางไต้หวันต้องออกมาแถลงการณ์ กล่าวว่า จะมีการตรวจสอบอาหารทุกประเภทในไต้หวันอย่างละเอียด[13] ต่อมา ในเดือนกันยายน องค์การอาหารและยาของไต้หวันได้ออกมาแจ้งผลการวิเคราะห์รอบสองซึ่งผ่านการควบคุมโดยองค์กรประเทศเยอรมัน พบว่า ชาไข่มุกของไต้หวันปลอดจากสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่พบส่วนผสมของโลหะหนัก หรือสารอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด[14]", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "327595#1", "text": "ไข่มุกเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อปลายยอดชั้นนอกได้รับความเสียหายจากปรสิต, จากการกัดกินของปลาหรือเหตุการณ์อื่นซึ่งสร้างความเสียหายแก่บริเวณขอบที่อ่อนแอของเปลือกสัตว์จำพวกพวกหอยชั้น Bivalvia หรือแกสโทรโพดา เนื้อเยื่อปลายยอดชั้นนอกจึงตอบสนองโดยการหลั่งน้ำมุกเข้าไปเคลือบสิ่งแปลกปลอมนั้น ในทางเคมี สารที่หลั่งออกมานี้เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตและเส้นใยโปรตีนที่เรียกว่า คอนชิโอลิน เมื่อน้ำมุกถูกสร้างขึ้นในชั้นของอะราโกไนต์บาง ๆ แล้ว มันจะสะสมถุงไข่มุกจนกระทั่งเติบโตขึ้นเป็นไข่มุก โดยมีการเล่ากันว่าเม็ดทรายสามารถก่อให้เกิดไข่มุกได้ อย่างไรก็ตาม น้ำมุกจะไม่หลั่งออกมาเคลือบสิ่งไม่มีชีวิตแต่อย่างใด ", "title": "ไข่มุกเลี้ยง" }, { "docid": "441435#1", "text": "หอยเต้าปูนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีเปลือกห่อหุ้มอยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อเป็นการป้องกันอันตราย จากสัตว์อื่น ๆ ในท้องทะเล มีเข็มพิษเป็นอาวุธ พิษของหอยเต้าปูนเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความซับซ้อนในโครงสร้างของพิษ อีกทั้งยังออกฤทธิหลากหลาย ทำให้ยากที่จะป้องกันได้ ซึ่งพัฒนาการนี้เองทำให้หอยเต้าปูนได้เปรียบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น สามารถทำให้เหยื่อเป็นอัมพาตชนิดเฉียบพลันได้ภายใน 1/200 วินาที ความเร็วในการจู่โจมอยู่ที่ 1/4 วินาที\nหอยเต้าปูนสายพันธุ์ \"Conus geographus\" ที่รู้จักกันชื่อ หอยบุหรี่ มีเข็มพิษที่ร้ายแรงมาก ถึงกับมีคำกล่าวว่า หากใครถูกเข็มพิษของชนิดนี้เข้า จะมีชีวิตอยู่ได้เพียงช่วงเวลา ของบุหรี่ 1 มวน ในสายพันธุ์ของเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ เข็มพิษจะสามารถเจาะทะลุถุงมือหรือชุดว่ายน้ำได้ พิษของมันจะทำให้ ปวด บวม ชา ในกรณีที่ร้ายแรง จะทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต สายตาพร่ามัว ระบบหายใจล้มเหลว ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดจะช่วยเยียวยาหรือรักษาพิษของหอยเต้าปูนได้", "title": "หอยเต้าปูน" }, { "docid": "122531#1", "text": "หอยหลอดจะฝังตัวตามแนวดิ่งในตะกอนดินโคลนบริเวณปากแม่น้ำ โดยอาศัยอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลตั้งแต่ 50 เมตรไปจนถึง 3 กิโลเมตรแล้วแต่ชนิด บริเวณที่มีหอยหลอดเป็นจำนวนมากในไทยคือดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากที่ดอนหอยหลอดแล้ว ยังพบตามชายฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันของจังหวัดอื่นด้วย. ชนิด \"S. corneus\", \"S. regularis\", \"S. strictus\" และ \"S. thailandicus\" พบมากที่จังหวัดตราด จันทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม (ดอยหอยหลอด) และเพชรบุรี; ชนิด \"S. vagina\" พบมากที่จังหวัดตรัง ส่วนชนิด \"S. grandis\" และ \"S. exiguus\" พบที่จังหวัดสตูล แต่มีปริมาณน้อย", "title": "หอยหลอด" }, { "docid": "657138#10", "text": "เดิมที่เขาพระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ไม่มีผู้คนอาศัยและไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆจนกระทั่งในวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ (ดาวเรือง อาจารคุโณ) เจ้าอาวาสวัดหนองหอยรูปปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงสามเณร ได้ขึ้นมาพำนักอาศัยเพื่อปฏิบัติภาวนา จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ท่านได้นิมิตเห็นองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านได้เกิดศรัทธาต่อองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม เพราะพระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นพระโพธิสัตว์ที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ท่านจะโปรดสัตว์โลกทุกชนิด โดยไม่เลือกว่าในฐานะใด จะยากดีมีจน และไม่เลือกกาลเวลา พระเดชพระคุณ พระราชวัลภาจารย์ จึงเกิดความตั้งใจ ที่จะสร้างรูปเหมือนองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชา จึงได้ขออนุญาต พระครูบรรพตพัฒนคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองหอย ทำการสร้างศาลาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์กวนอิม โดยท่านให้ช่างปั้นรูปเหมือนพระโพธิสัตว์กวนอิม สูงประมาณ ๑ เมตร และอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในศาลาเป็นครั้งแรก กาลต่อมามีสาธุชนทั่วไปทราบข่าว ได้มาร่วมสร้าง รวมทั้งสร้างวิหารพระโพธิสัตว์กวนอิมด้วยใช้เวลาในการก่อสร้างมาถึงปัจจุบัน ๓๐ ปีเศษ", "title": "วัดหนองหอย" }, { "docid": "2805#9", "text": "ด้านการประมง หมู่เกาะมาร์แชลล์มีทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาทูน่า เปลือกหอย และไข่มุกดำ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา บริษัทของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เข้าไปจับปลาทูน่าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม แม้จะมีวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ แต่หมู่เกาะมาร์แชลล์ก็ยังมีความต้องการที่จะนำเข้าปลากระป๋องเป็นจำนวนมากเช่นกัน", "title": "สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์" }, { "docid": "248859#1", "text": "หอยชนิดนี้ชอบฝังตัวตามแนวดิ่งในตะกอนดินทรายปนโคลนบริเวณปากแม่น้ำ ในต่างประเทศพบที่เกาะบอร์เนียวและออสเตรเลีย ส่วนในไทยจะพบหอยชนิดนี้แพร่กระจายหนาแน่นตามจังหวัดบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย เช่น จังหวัดตราด สมุทรปราการ สมุทรสงคราม เพชรบุรี เป็นต้น หอยในสกุล \"Solen\" ที่พบร่วมกับหอยชนิดนี้ได้แก่ \"S. corneus\", \"S. strictus\" และ \"S. thailandicus\" หอยเหล่านี้มีชื่อสามัญร่วมกันเป็นภาษาไทยว่า \"หอยหลอด\"", "title": "Solen regularis" }, { "docid": "57210#15", "text": "คูมาโมโต (Kumamoto) \nหอยนางรมชนิดนี้โตช้ามากๆ จึงมักมีขนาดเล็ก เพาะเลี้ยงกันมากมานานกว่า 20 ปีแล้วตามชายฝั่งทะเลแคลิฟอร์เนีย โอเรกอน และวอชิงตัน เพิ่งมาได้รับความนิยมในการรับประทานและสร้างตลาดได้ราวกลางปีค.ศ.1980 คูมาโมโตให้กลิ่นและรสชาติที่เต็มปากเต็มคำ การรับประทานหอยนางรมชนิดนี้จะได้กลิ่นและรสชาติที่คล้ายเนยและเค็มนิดๆ ปิดท้ายด้วยรสและกลิ่นหวานอ่อนๆ แบบผลไม้เจือแร่ธาตุ ความจริงหอยนางรมชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นได้ทำเรื่องขอพันธุ์หอยนางรมชนิดนี้กลับไปเพาะพันธุ์ใหม่ ", "title": "หอยนางรม" }, { "docid": "875593#0", "text": "หอยหวีวีนัส(,ชื่อวิทยาศาสตร์:\"Murex pecten\")เป็นหอยทากทะเลชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์หอยหนามหอยชนิดนี้อยู่บริเวณทะเลอินโดแปซิฟิกพวกมันกินหอยด้วยกันเองเป็นอาหาร หอยชนิดนี้มีหนามทียาวและเรียงตัวสวยจึงทำให้เป็นที่ชื่นชอบในการนำมาเก็ยสะสม", "title": "หอยหวีวีนัส" }, { "docid": "327595#3", "text": "ไข่มุกเลี้ยงสมัยใหม่ส่วนมากมักเป็นผลมาจากการค้นพบในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น มิเซะและนิชิกาวา ถึงแม้ว่าในการเพาะเลี้ยงบางครั้งจะยาวนานจนสามารถกระตุ้นให้สัตว์พวกหอยสามารถผลิตไข่มุกได้โดยมนุษย์ แต่ไข่มุกประเภทนี้มักบวมพองมากกว่าจะกลม วิธีการที่มิเซะและนิชิกากวาค้นพบนั้นเป็นเทคนิคเฉพาะในการชักนำให้เกิดการผลิตไข่มุกกลมภายในอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์จำพวกหอย ซึ่งเทคนิคนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรโดยโคกิชิ มิกิโมโตไม่นานหลังจากนั้น และผลผลิตรอบแรกผลิตเสร็จในปี ค.ศ. 1916", "title": "ไข่มุกเลี้ยง" }, { "docid": "629501#2", "text": "ชาไข่มุกสูตรดั้งเดิม ทำมาจาก ชาดำไต้หวันร้อน ใส่ไข่มุกที่มาจากแป้งมันสำปะหลัง (粉圓) เม็ดเล็ก ๆ นมข้นหวาน และน้ำเชื่อม (糖漿) หรือน้ำผึ้ง ต่อจากนั้นก็มีสูตรใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ต่างก็ชื่นชอบดื่มแบบเย็นกันมากกว่าดื่มแบบร้อน มีการทดลองเปลี่ยนประเภทของชาที่ใช้อยู่ตลอดเวลา แต่เดิมเริ่มจาก ชาเขียวไข่มุก ซึ่งใช้ ชาเขียว (茉香綠茶) กลิ่นมะลิมาแทนชาดำที่เคยใช้ เพิ่มขนาดเม็ดไข่มุกให้ใหญ่ขึ้น (波霸/黑珍珠)[1] มีการเพิ่มรสชาติของลูกพีช และผลพลัม ต่อมามีการเพิ่มรสชาติของผลไม้หลากหลายชนิด ในบางสูตร ถึงกับตัดชาออกไป ไม่เหลือส่วนผสมของชาไว้เลย เพื่อคงรสชาติผลไม้ไว้ให้ได้มากที่สุด มีการค้นพบว่า น้ำผลไม้เหล่านี้ ทำให้ไข่มุกเปลี่ยนสี (รวมถึง \"เยลลี่ชิ้นเล็ก ๆ \" ในเครื่องดื่มพวกทาโฮ คล้าย ๆ เต้าฮวย) เพราะฉะนั้น จึงมีการเลือกสีของไข่มุกให้เข้ากับเครื่องดื่มผลไม้แต่ละชนิด และเพื่อให้ได้รสชาติของชาดำร้อนหรือชาเขียวที่ดีขึ้น อาจมีการเติมผงสกัด น้ำผลไม้ เนื้อผลไม้ น้ำเชื่อม ลงไป เมื่อใส่รวมกันในกระบอกเชคเกอร์ หรือปั่นรวมกับน้ำแข็งในเครื่องปั่นรวม เพิ่มไข่มุกและส่วนผสมอื่น ๆ (อย่างเช่น วนิลลา น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือ น้ำตาล) ในตอนสุดท้าย", "title": "ชานมไข่มุก" }, { "docid": "221238#33", "text": "หอยงวงช้าง (นอติลอยด์ - ปัจจุบันยังพบมีชีวิตอยู่ 6 ชนิด) และแอมโมไนต์ (แอมโมนอยด์) ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ 65 ล้านปีก่อน จัดเป็นหอยอยู่ในกลุ่มของเซฟาโรพอดด้วยกันซึ่งรวมถึงหมึกและหมึกยักษ์ด้วย หอยงวงช้างและแอมโมไนต์มีเปลือกกระดองขดม้วนในแนวระนาบแบบเดียวกันซึ่งโดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงกันมาก หอยงวงช้างวิวัฒน์ขึ้นมาครั้งแรกในช่วงปลายของยุคแคมเบรียน (ประมาณ 500 ล้านปีมาแล้ว) ขณะที่แอมโมไนต์ได้เริ่มวิวัฒน์ขึ้นมาในยุคดีโวเนียน (ประมาณ 400 ล้านปีมาแล้ว) หอยทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากแต่สามารถแยกแยะความแตกต่างกันได้ที่ตำแหน่งของท่อสูบฉีดน้ำ (siphuncle) ทั้งนี้โพรงด้านในของเปลือกกระดองของหอยทั้งสองชนิดนี้ จะถูกแบ่งออกเป็นห้องย่อยๆด้วยแผ่นผนังกั้นห้อง (septa) โดยหอยงวงช้างจะมีท่อสูบฉีดน้ำเชื่อมต่อระหว่างแผ่นผนังห้องดังกล่าวที่บริเวณตรงกลางของแผ่นผนังกั้น ขณะที่ท่อสูบฉีดน้ำในแอมโมไนต์จะอยู่ชิดไปทางขอบด้านนอกของเปลือกหอย แผ่นผนังห้องในหอยงวงช้างจะมีความเรียบง่าย โดยระนาบแผ่นผนังจะตัดกับผิวเปลือกหอยเป็นเส้นโค้งหรือเกือบตรง (simple suture) มีความแข็งแรง และสามารถอาศัยอยู่ในที่น้ำลึกๆได้ ขณะที่ลักษณะดังกล่าวในแอมโมไนต์แผ่นผนังกั้นจะบิดเบี้ยวคดโค้งไปมา ทำให้ผนังกั้นไปตัดกับเปลือกหอยเกิดเป็นเส้นคดโค้งไปมา (lobes and saddles suture) ซึ่งเป็นลักษณะที่วิวัฒนาการไปอาศัยอยู่ในที่น้ำตื้นกว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมบนพื้นผิวโลกจึงยังผลให้แอมโมไนต์สูญพันธุ์ไป ขณะที่หอยงวงช้างบางชนิดซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำลึกกว่าจึงรอดพ้นจากการสูญพันธุ์มาได้จนถึงปัจจุบัน", "title": "แอมโมนอยด์" }, { "docid": "132875#0", "text": "หอยชักตีน () เป็นชื่อของหอยทะเลชนิดฝาเดียวเปลือกบางชนิดหนึ่ง โดยมีรูปร่างคล้ายหอยสังข์ขนาดเล็ก บางทีจึงเรียกว่า หอยสังข์ตีนเดียว หรือ หอยสังข์กระโดด", "title": "หอยชักตีน" } ]
4097
พระนางเธอลักษมีลาวัณ เกิดที่ไหน ?
[ { "docid": "70081#3", "text": "พระนางเธอลักษมีลาวัณประสูติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 ณ วังวรวรรณ ตำบลแพร่งนรา จังหวัดพระนคร[1] พระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมหลวงตาด วรวรรณ (ราชสกุลเดิม มนตรีกุล) มีพระนามเรียกกันในหมู่พระญาติว่า ท่านหญิงติ๋ว ทั้งนี้พระองค์ได้รับการเลี้ยงดูและอบรมจากเจ้าจอมมารดาเขียน ผู้เป็นย่ามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ต่อมาได้เสด็จไปประทับอยู่กับสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี[2]", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" } ]
[ { "docid": "70081#14", "text": "วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 นายแสง หรือ เสงี่ยม หอมจันทร์ กับนายวิรัช หรือเจริญ กาญจนาภัย อดีตคนสวนที่ถูกพระนางเธอลักษมีลาวัณไล่ออกไปเห็นว่าพระนางเธอทรงเป็นเพียงเจ้านายสตรีทั้งยังชรา และอาศัยเพียงลำพัง กับทั้งเคยสังเกตว่าในตู้ชั้นล่างพระตำหนักลักษมีวิลาศมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เข้าใจว่าเป็นของมีราคาทั้งสองจึงกลับเข้ามายังพระตำหนักลักษมีวิลาศ", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "229179#4", "text": "ที่ดินของอาคารวรรณสรณ์ไม่ใช่วังเก่าของพระนางเธอลักษมีลาวัณ มีหลายคนเข้าใจผิด ว่าที่ดินและบ้านหลังดังกล่าวเป็น \"วังลักษมีวิลาศ\" ซึ่งเป็นวังเก่าของพระนางเธอลักษมีลาวัณ ในรัชกาลที่ 6 และเป็นสถานที่ที่พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2504 ซึ่งคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดังดูได้จากหลักฐานโฉนดที่ดินที่ระบุชัดเจนว่า จมื่นมานิตย์นเรศร์ (ล้วน คชนันท์น) หรือ พระยาคชนันทน์นิพัทธพงศ์ เป็นผู้ครอบครองมาตั้งแต่แรกเมื่อปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมาแล้วถูกเปลี่ยนมือเป็นผู้อื่นครอบครองหลายครั้งตามลำดับ ซึ่งความจริงแล้ววังลักษมีวิลาศ ของ พระนางเธอลักษมีลาวัณ อยู่ฝั่งตรงข้ามกับอาคารวรรณสรณ์ ปัจจุบันเป็นอาคารศูนย์รวมนักศึกษาแป๊บติสต์ (BSC) ที่อยู่หัวมุมถนนสี่แยกพญาไทเช่นเดียวกัน ดังมีประวัติอย่างชัดเจนอยู่ในหนังสือ“ประภาคารแห่งอนาคต” ของศูนย์รวมนักศึกษาแป๊บติสต์ ซึ่งมีรูปภาพและข้อความปรากฏเป็นหลักฐานอยู่", "title": "อาคารวรรณสรณ์" }, { "docid": "603060#10", "text": "เคลื่อนพระศพพระนางเธอลักษมีลาวัณสู่วัดมกุฎกษัตริยาราม โดยเชิญพระศพประดิษฐานในพระโกศกุดั่นน้อย ประดิษฐานที่ศาลามรุพงศ์ ภายใต้ฉัตรโหมดทอง 5 ชั้น รายล้อมด้วยอภิรุม ชุมสาย ฉัตร บังแทรก บังสูรย์ พัดโบก โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นองค์ประธานในการพระราชทานน้ำสรงพระศพ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#9", "text": "ในกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าวัลลภาเทวี ขึ้นเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ในฐานะพระคู่หมั้นในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน[7] แต่กระนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าก็ทรงคบหากับหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ พระขนิษฐาของพระวรกัญญาปทานอย่างเปิดเผย ทั้ง ๆ ที่อยู่ระหว่างที่ทรงหมั้นอยู่[8] และพบว่าทรงติดต่อกันทางจดหมายเพื่อระบายความทุกข์ส่วนพระองค์[9] และหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถอนหมั้นกับพระวรกัญญาปทาน ได้ทรงมีพระราชนิพนธ์ถึงหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณอยู่เสมอ เช่น[9]", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#19", "text": "ส่วนพระกิริยาอัธยาศัย ก็งดงามนัก ดังพระราชนิพนธ์ ความว่า[16]", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#11", "text": "หลังจากการเฉลิมพระยศได้เพียงหนึ่งเดือนสิบเก้าวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงอภิเษกสมรสกับ พระสุจริตสุดา ธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464[8] และทรงตัดสินพระราชหฤทัย \"แยกกันอยู่\" กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณซึ่งยังมิได้อภิเษกสมรสกัน ต่อมาพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณก็ได้รับโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น พระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465[13] เสมือนรางวัลปลอบพระทัย[8]", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#2", "text": "พระนางเธอลักษมีลาวัณถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 สิริพระชันษา 62 ปี ซึ่งผู้ก่อคดีฆาตกรรมคืออดีตคนสวนที่พระองค์ไล่ออก และก่อคดีดังกล่าวด้วยประสงค์ในทรัพย์สินส่วนพระองค์", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#21", "text": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ ทรงแยกจากเจ้าพี่เจ้าน้องอยู่ตามลำพัง ณ พระตำหนักในซอยพร้อมพงศ์ริมคลองแสนแสบ ทรงใช้ชีวิตอย่างสงบ และทรงใช้เวลาว่างในการทรงพระนิพนธ์ร้อยกรอง บทละคร และนวนิยายไว้เป็นจำนวนมาก และทรงรับคณะละครปรีดาลัยไว้ในพระอุปถัมภ์ ทรงสร้างศิลปินนักแสดงที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น มารุต, ทัต เอกทัต และจอก ดอกจันทน์", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#28", "text": "หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ (10 มิถุนายน พ.ศ. 2442 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2463) หม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ วรวรรณ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2463 - 4 เมษายน พ.ศ. 2464) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ (4 เมษายน พ.ศ. 2464 - 8 กันยายน พ.ศ. 2464) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ (8 กันยายน พ.ศ. 2464 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465) พระนางเธอลักษมีลาวัณ (27 สิงหาคม พ.ศ. 2465 - ปัจจุบัน)", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "572990#2", "text": "ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ วังได้ถูกทิ้งร้างอยู่นานเป็นปีด้วยเหตุลอบปลงพระชนม์เจ้านายกลายเป็นข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ยุคนั้น วังจึงถูกทิ้งไว้จนรกร้างวังเวง ประกอบกับมีเรื่องโจษขานถึงวิญญาณของผู้เป็นเจ้าของสถานที่ตามความเชื่อแบบไทยๆ จึงไม่มีทายาทคนใดกล้าเข้ามาพำนักที่วังนี้ ต่อมานายฮาโรลด์ และนางโรส รีฟส์ มิชชั่นนารีจากคริสตจักรแบ๊บติสต์ในสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในเมืองไทย กำลังมองหาที่ตั้งถาวรเพื่อสร้างอาคารศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ จนกระทั่งมาพบที่ดินวังเก่าของพระนางเธอลักษมีลาวัณเข้า จึงมีการเจรจาขอซื้อที่ดินผืนนี้จากทายาทผู้สืบมรดกและสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครั้งนั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระเชษฐาของพระนางเธอลักษมีลาวัณ ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขอพระบรมราชานุญาตขายที่ดินผืนนี้ ที่ดินผืนนี้จึงตกเป็นสมบัติของคริสตจักรแบ๊บติสต์ ", "title": "วังลักษมีวิลาศ" }, { "docid": "603060#9", "text": "เคลื่อนพระศพจากวังลักษมีวิลาสไปยังโรงพยาบาลตำรวจ เพื่อทำการชันสูตรพระศพโดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน และมีตำรวจ 30 นายรักษาความปลอดภัยรอบโรงพยาบาลตำรวจ มิให้ผู้ใดเข้าใกล้พระศพได้ ซึ่งแพทย์ได้วินิจฉัยว่าพระนางเธอฯ สิ้นพระชนม์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 วัน", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#12", "text": "การนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระบิดา ได้ประทานบทกลอนปลอบพระทัยพระนางเธอลักษมีลาวัณ ความว่า[12]", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#10", "text": "และหลังจากการถอดถอนหมั้นเพียงไม่กี่เดือน[8] ก็ทรงสถาปนาหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2464[10] ขณะพระชันษา 22 ปี และในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2464 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ พร้อมกับทรงหมั้น และมีพระราชวินิจฉัยว่า จะได้ทรงทำการราชาภิเษกสมรส[11] กระนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ประทานกลอนเตือนพระสติ ความว่า[12]", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "572990#1", "text": "วังลักษมีวิลาศสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่ประทับของพระนางเธอลักษมีลาวัณ มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ตัววังมีลักษณะเป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ พระนางเธอลักษมีลาวัณได้ประทับอยู่ที่นี่ตั้งแต่เป็นพระมเหสีตราบจนกระทั่งสิ้นพระชนม์", "title": "วังลักษมีวิลาศ" }, { "docid": "70081#13", "text": "หลังจากนั้นพระนางเธอลักษมีลาวัณก็ทรงพอพระทัยที่จะแยกพระตำหนักไปประทับอยู่ห่างจากเจ้าพี่เจ้าน้อง ทรงประทับอยู่อย่างสันโดษ และเพื่อเลี่ยงความเงียบเหงาพระนางจึงทุ่มเทไปกับงานพระนิพนธ์ และการเขียนบทละครร้องและการรื้อฟื้นคณะละครปรีดาลัยของพระบิดา ทั้งนี้หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้รับส่วนแบ่งจากพระราชมรดก อาทิ เพชร, ทอง, สังวาล, กระโถนทอง และพานทอง[14]", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#1", "text": "พระองค์เป็นผู้ริเริ่มรื้อฟื้น คณะละครปรีดาลัย ของพระบิดาขึ้นมาอีกครั้ง ทรงปลีกพระองค์ประทับอยู่เพียงลำพัง ทรงใช้เวลาที่มีอยู่ในการประพันธ์นวนิยาย ร้อยกรอง และบทละครจำนวนมาก โดยใช้นามปากกาว่า ปัทมะ, วรรณพิมล และพระนางเธอลักษมีลาวัณ", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "603060#3", "text": "วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 นายแสง หรือ เสงี่ยม หอมจันทร์ กับนายวิรัช หรือเจริญ กาญจนาภัย อดีตคนสวนที่ถูกพระนางเธอลักษมีลาวัณไล่ออกไปเห็นว่าพระนางเธอทรงเป็นเพียงเจ้านายสตรีทั้งยังชรา และอาศัยเพียงลำพัง กับทั้งเคยสังเกตว่าในตู้ชั้นล่างพระตำหนักลักษมีวิลาศมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เข้าใจว่าเป็นของมีราคาทั้งสองจึงกลับเข้ามายังพระตำหนักลักษมีวิลาศ ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "4261#27", "text": "ด้วยเหตุที่พระอินทราณีได้ตั้งครรภ์ จึงได้รับการสถาปนาเป็น พระวรราชชายาเธอ[45] และพระบรมราชินี[46] ตามลำดับ แต่ในปลายปีเดียวกันนั้นก็ได้สถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ขึ้นเป็น พระนางเธอลักษมีลาวัณ[47] แต่ทั้งสองพระองค์มิได้อภิเษกสมรสหรือมีโอรสธิดาด้วยกัน ท้ายที่สุดจึงตัดสินพระทัยแยกกันอยู่", "title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "70081#0", "text": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504) พระนามเดิม หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมหลวงตาด วรวรรณ (ราชสกุลเดิม มนตรีกุล) ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะพระนางเธอในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระขนิษฐาต่างพระชนนีของอดีตพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "603060#1", "text": "เมื่อทรงพระชรา พระองค์ก็ทรงมีพระจริยาวัตรหงุดหงิดง่าย ใครเข้าพระพักตร์ไม่ใคร่จะได้ พระประยูรญาติจึงมิใคร่สามารถทนอยู่ถวายปรนนิบัติได้ ประกอบกับพระนางเธอฯ ปรารถนาจะประทับโดยสันโดษ ทรงโปรดความวิเวก ทำสวน และเพื่อประโยชน์ในการทรงงานประพันธ์ ซึ่งบรรดาข้ารับใช้ในพระนางเธอไม่มีผู้ใดจะทนอยู่ได้นานนัก", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "603060#0", "text": "พระนางเธอลักษมีลาวัณสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 เวลา 15:00 นาฬิกา ณ พระตำหนักลักษมีวิลาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติ หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระศพระหว่างวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2504 - 17 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ณ ศาลามรุพงศ์ วัดมกุฎกษัตริยาราม กำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพฯ ระหว่างวันที่ 18 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ซึ่งพิธีจะมีขึ้น ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "603060#6", "text": "สำนักพระราชวัง มีประกาศเรื่อง พระนางเธอลักษมีลาวัณ ในรัชกาลที่ 6 สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2504 มีใจความว่า", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#8", "text": "หม่อมเจ้าวรรณวิมล เป็น หม่อมเจ้าวัลลภาเทวี หม่อมเจ้าวิมลวรรณ เป็น หม่อมเจ้าวรรณีศรีสมร หม่อมเจ้าพิมลวรรณ เป็น หม่อมเจ้านันทนามารศรี หม่อมเจ้าวรรณพิมล เป็น หม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ หม่อมเจ้าวัลลีวรินทร์ เป็น หม่อมเจ้าศรีสอางค์นฤมล", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "603060#7", "text": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ เสด็จพระดำเนินไปทรงร่วมงานการกุศลของมูลนิธิสตรีภาคพื้นแปซิฟิกนำโดยหม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระเชษฐา โดยมีชื่องานว่า งานเมตตาบันเทิงรื่นฤดี ซึ่งขอพระราชทานพระอนุญาตจัดขึ้นที่วังรื่นฤดีของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในงาน ซึ่งเป็นพระกรณียกิจครั้งสุดท้ายของพระนางเธอลักษมีลาวัณ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#23", "text": "พระนางเธอลักษมีลาวัณทรงใช้ชีวิตเพียงลำพัง ต่อมาโดยใช้เวลาว่างให้หมดไปกับการทรงพระอักษรและพระนิพนธ์ไว้หลายเรื่องโดยใช้นามปากกาว่า ปัทมะ และ วรรณพิมล โดยมีผลงานพระนิพนธ์ดังนี้", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#30", "text": "พงศาวลีของพระนางเธอลักษมีลาวัณ 16. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก8. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย17. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว18. เงิน แซ่ตัน9. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี19. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์10. อ้น สิริวันต์5. เจ้าจอมมารดาเขียน11. อิ่ม สิริวันต์1. พระนางเธอลักษมีลาวัณ24. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี12. หม่อมเจ้าแบน มนตรีกุล6. หม่อมราชวงศ์ตาบ มนตรีกุล3. หม่อมหลวงตาด วรวรรณ7. หม่อมยิ้ม มนตรีกุล ณ อยุธยา", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "70081#18", "text": "พระนางเธอลักษมีลาวัณทรงมีพระสิริโฉมงดงาม ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพรรณนาไว้ว่า[16]", "title": "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "603060#2", "text": "ในการพอพระทัยแบบสันโดษนี้เอง ได้เคยมีพระประยูรญาติที่หวังดีเตือนพระสติว่าไม่เป็นการปลอดภัยและเสี่ยงต่อภยันตรายยิ่งนัก แต่ทุกองค์ที่หวังดีกลับได้รับสั่งจากพระนางเธอฯ ว่า “ก็ให้มันรู้ไป ใครจะมาทำพระนางเธอลักษมีลาวัณ บ้านก็อยู่ใกล้กรมทหาร ติดถนนใกล้โรงพักอย่างนี้” พระนางเธอฯ ทรงกล้าหาญเด็ดเดี่ยวไม่ทรงกลัว จึงยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คนร้ายวางแผนชิงพระราชทรัพย์ได้ ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ" }, { "docid": "603060#8", "text": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระเชษฐาต่างพระมารดาของพระนางเธอ ทั้งยังเป็นรองนายกรัฐมนตรี ได้รับโทรศัพท์จาก นางสาวแน่งน้อย แย้มศิริ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตข้าในพระองค์ของพระนางเธอฯ ในเวลา 15.30 น. ว่าเธอกับมารดาไปกดออดและโทรศัพท์เข้าไปยังวังลักษมีวิลาศ แต่ไม่มีใครตอบหรือรับสาย อาจจะมีเหตุร้าย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ จึงเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ไปยังวังลักษมีวิลาศ เมื่อนายเสงี่ยม ศิริสัง เทียบรถพระที่นั่งกับพระทวารแล้ว ก็เสด็จขึ้นชั้นบน พร้อมตรัสเรียกพระขนิษฐาตลอดเวลา เมื่อเสด็จถึงห้องพระบรรทมพบว่าเครื่องฉลองพระองค์และพระราชทรัพย์ในห้องถูกรื้อกระจาย พอเสด็จลงมาด้านล่างก็ได้กลิ่นเหม็นคละคลุ้งขึ้นมา เมื่อทรงตรวจดูก็พบพระศพของพระนางเธอลักษมีลาวัณขึ้นอืดเสียแล้ว อยู่บริเวณข้างโรงรถ จากนั้นจึงทรงโทรศัพท์แจ้งตำรวจ สน.พญาไท เพื่อให้มาชันสูตรพระศพ เมื่อเสด็จไปที่พระทวารหลังวัง ก็ทรงพบกระเป๋าทรงของพระนางเธอทิ้งอยู่ เมื่อตรวจสอบก็พบว่าเงินสดจำนวนหนึ่งและปืนพกขนาดเล็กได้หายไป เหล่าพระราชวงศ์ พระอนุวงศ์ เมื่อทราบข่าวก็ทรงรีบเสด็จรุดมาเฝ้าพระศพที่วังลักษมีวิลาศ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ" } ]
4098
แอนเธมเรสต์ลิงเอ็กซ์ไฮบิชั่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด?
[ { "docid": "201836#0", "text": "แอนเธมเรสต์ลิงเอ็กซ์ไฮบิชั่น (d.b.a. อิมแพ็ค เรสต์ลิง (Impact Wrestling)) มีชื่อเดิมว่า โกเบิล ฟอร์ซ เรสต์ลิง (Global Force Wrestling หรือ GFW) และ โทเทิลนอนสต็อปแอคเชินเรสต์ลิง หรือ ทีเอ็นเอ (Total Nonstop Action Wrestling or TNA) เป็นสมาคมมวยปล้ำอาชีพของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดยเจฟ จาร์เรตและเจร์รี จาร์เรตเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 ในปัจจุบันบริษัท ในเครือขององค์กรสื่อแบบบูรณาการในนิวยอร์กและโตรอนโต Anthem Sports & Entertainment เป็นผู้ถือหุ้นหลัก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่แนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี และสำนักงานที่ออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ต่อมาได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ Toronto, Canada ในปี ค.ศ. 2017", "title": "อิมแพ็ก เรสต์ลิง" } ]
[ { "docid": "239845#0", "text": "ราชรัฐแอนติออก () ที่มีอาณาบริเวณบางส่วนที่อยู่ในตุรกีและซีเรียปัจจุบันเป็นนครรัฐครูเสด ที่ก่อตั้งระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1098 ถีงปี ค.ศ. 1268 โดยมีเมืองแอนติออกเป็นศูนย์กลาง", "title": "ราชรัฐแอนติออก" }, { "docid": "645165#0", "text": "แอนตัน ซานดอร์ ลาวี (, 11 เมษายน ค.ศ. 1930 - 29 ตุลาคม ค.ศ. 1997) นักเขียนชาวอเมริกา ผู้ศึกษารหัสยศาสตร์ และนักดนตรี เขาเป็นผู้ก่อตั้งโบสถ์ของซาตาน ผู้เขียนไบเบิลซาตาน และเป็นผู้ก่อตั้งลัทธิซาตานลาวี (LaVeyan Satanism) ซึ่งเป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่ออธิบายเกี่ยวกับความเข้าใจของเขาทางด้านธรรมชาติของมนุษย์และความเข้าใจของนักปรัชญาที่สนับสนุนแนวคิดวัตถุนิยมและปัจเจกชนนิยม", "title": "แอนตัน ลาวี" }, { "docid": "22469#1", "text": "โดยสโมสรฟุตบอลชาร์ลตัน แอธเลติก ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ.1905 เมื่อสโมสรฟุตบอลระดับเยาวชนในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน รวมถึงย่านอีสต์ สตรีท และบลุนเดลล์ ได้รวมตัวกันก่อตั้งสโมสรขึ้นมาใหม่ในชื่อ ชาร์ลตัน แอธเลติก โดยมีสนาม \"ซีเมนส์ มีโดว์\" เป็นสนามเหย้าแห่งแรก จากนั้นสโมสรได้เปลี่ยนสนามเหย้าอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1919 ได้ใช้สนาม เดอะ วัลเลย์ เป็นสนามเหย้าจนถึงปัจจุบัน", "title": "สโมสรฟุตบอลชาร์ลตันแอธเลติก" }, { "docid": "447297#0", "text": "แซนตาแอนนา () เป็นเคาน์ตีซีตและเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของออเรนจ์เคาน์ตี รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยมีประชากร 324,528 คน จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2010 แซนตาแอนาเป็นเมืองที่มีประชากรเป็นอันดับ 57 ของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมืองในปี ค.ศ. 1869 เมืองตั้งอยู่ทางใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย", "title": "แซนตาแอนา (รัฐแคลิฟอร์เนีย)" }, { "docid": "521601#2", "text": "แอนติโปรตอนได้รับการยืนยันเชิงทดลองในปี 1955 โดยนักฟิสิกส์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เอมิลิโอ เซอเกรและโอเวน แชมเบอร์เลน ซึ่งทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1959 แอนติโปรตอนประกอบด้วยแอนติควาร์กขึ้น 2 ตัว และแอนติควาร์กลง 1 ตัว (uud) คุณสมบัติของแอนติโปรตอนที่มีการวัดทั้งหมดตรงกับคุณสมบัติของโปรตอน โดยมีข้อยกเว้นว่าแอนติโปรตอนมีประจุไฟฟ้าและโมเมนต์แม่เหล็กตรงข้ามกับโปรตอน คำถามที่ว่าสสารแตกต่างจากปฏิสสารอย่างไรนั้นยังไม่มีคำตอบ เพื่ออธิบายว่าเหตุใดเอกภพจึงรอดจากบิกแบงและเหตุใดปฏิสสารจึงเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน", "title": "แอนติโปรตอน" }, { "docid": "178424#4", "text": "บริษัทแอนดรอยด์ ก่อตั้งขึ้นที่พาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 โดยแอนดี รูบิน (ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแดนเจอร์), ริช ไมเนอร์ (ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไวลด์ไฟร์คอมมูนิเคชัน), นิก เซียส์ (ซึ่งเคยเป็นรองผู้จัดการที่ทีโมบายล์) และ คริส ไวท์ (หัวหน้าฝ่ายออกแบบและการพัฒนาอินเตอร์เฟซ ที่เว็บทีวี) สำหรับการพัฒนานั้น จากคำพูดของรูบิน \"โทรศัพท์มือถือที่มีความฉลาดขึ้นและตระหนักถึงสถานที่ของเจ้าของมากขึ้น\" จุดประสงค์แรกของบริษัทคือการพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับกล้องดิจิทัล แต่เมื่อถูกตระหนักว่าไม่ใช่ตลาดที่กว้างพอ และต่อมาได้เบี่ยงเบนความพยายามเพื่อที่จะทำระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ตโฟน เพื่อแข่งกับซิมเบียน และ วินโดวส์โมบาย (ในขณะนั้น ไอโฟน ยังไม่ได้วางขาย) แม้จะมีประวัติความสำเร็จของผู้ก่อตั้งและพนักงานของบริษัทในช่วงแรก บริษัทแอนดรอยด์ ได้ดำเนินการอย่างเงียบๆ ให้เห็นเพียงว่าเป็นบริษัทที่ผลิตระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือ ในปีเดียวกัน รูบิน ไม่มีเงินเหลือแล้ว สตีฟ เพอร์ลแมน เพื่อนสนิทของรูบิน ได้ให้ยืมเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยส่งเงินใส่ในซองมาให้ และ ปฏิเสธที่จะถือหุ้นในบริษัท", "title": "แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)" }, { "docid": "466601#11", "text": "แอนโดเวอร์เป็นสมาชิกของกลุ่ม Eight Schools Association ซึ่งเริ่มขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในปี 1973–74 และเป็นทางการในปี 2006 นอกจากนี้แอนโดเวอร์ยังเป็นสมาชิกขององค์การ Ten Schools Admissions Organization ซึ่งก่อตั้งในปี 1966 นอกจากนี้ แอนโดเวอร์ยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม G20 Schools องค์การนานาชาติของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีการคัดเลือกสูง", "title": "วิทยาลัยฟิลลิปส์" }, { "docid": "485370#5", "text": "อย่างไรก็ตามผลงานภาพถ่ายของ ไดแอน อาร์บัส ยังคงเป็นที่กล่าวถึงอยู่ในยุคสมัยปัจจุบัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ความงามทางด้านทัศนศิลป์ ความหมายที่แอบแฝงไว้ในภาพถ่าย หรือมุมมองแนวคิดของเธอ ท้ายที่สุดแล้วนั้นเราต่างต้องยอมรับว่า ไดแอน อาร์บัส เป็นศิลปินภาพถ่ายในสมัยศตวรรษที่ 20 ที่ได้ส่งอิทธิพลต่อแนวคิดในการถ่ายภาพและกระแสศิลปะในสาขาภาพถ่ายในยุคนั้นและยุคต่อ ๆ มา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน", "title": "ไดแอน อาร์บัส" }, { "docid": "732119#2", "text": "สโมสรฟุตบอลดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1992 จากการควบรวม \"สโมสรฟุตบอลเรดบริดจ์ ฟอเรสต์\" ในระดับฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ และ \"สโมสรฟุตบอลดาเกแนม\" ในระดับอิสธเมียน พรีเมียร์ลีก โดยทั้ง 2 สโมสรกำลังประสบปัญหาเรื่องผู้ชมในสนามที่ลดน้อยลง หลังจากมีการควบรวมกิจการสโมสร และก่อตั้งขึ้นใหม่ในชื่อ ดาเกแนม แอนด์ เรดบริดจ์ สโมสรได้เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลคอนเฟเรนซ์ แทนที่สโมสรเรดบริดจ์ ฟอเรสต์ ที่ถูกยุบไป", "title": "สโมสรฟุตบอลดาเกแนมแอนด์เรดบริดจ์" }, { "docid": "832710#2", "text": "โดยสโมสรเคยเล่นอยู่ในลีกสูงสุดของประเทศเพียง 4 ฤดูกาล ในช่วงทศวรรษที่ 80 เกียรติประวัติสูงสุดของสโมสรที่เคยได้คือ รองแชมป์เอฟเอคัพเมื่อปี ค.ศ. 1983 โดยเข้าชิงชนะเลิศกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นสโมสรที่ใหญ่และมีเกียรติประวัติมากกว่า โดยนัดแรกสามารถเอาเสมอไปได้ 2–2 ที่สนามของตนเอง ทำให้ต้องมีการแข่งกันในนัดที่สอง ปรากฏว่าไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนเป็นฝ่ายแพ้ไป 4–0 และในการแข่งขันฟุตบอลลีกหรือลีกอาชีพไม่ว่าระดับใดก็ยังไม่เคยได้แชมป์ อย่างไรก็ตามในช่วงแรกของการก่อตั้งสโมสร สโมสรเคยคว้าแชมป์เซาท์เทิร์นลีก ดิวิชัน 1 ซึ่งเป็นลีกสมัครเล่นได้ในฤดูกาล 1909–1910", "title": "สโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน" }, { "docid": "114504#6", "text": "เมื่อกลางปี พ.ศ. 2553 ได้ตกเป็นข่าวฮือฮาว่าทำ แอนนี่ บรู๊ค อดีตนักแสดงและนางแบบตั้งครรภ์ จนได้คลอดบุตรชายออกมาคนหนึ่ง โดยไม่รับผิดชอบใด ๆ ซึ่งทางแอนนี่กล่าวว่า ฟิล์ม ได้ตั้งชื่อเล่นให้กับลูกชายคนนี้ว่า \"น้องสตาร์\" ซึ่งทางฟิล์มได้แถลงข่าวยอมรับว่าเคยคบหากับแอนนี่จริง แต่ปฏิเสธที่จะรับเป็นลูก โดยยืนยันให้ทางแอนนี่ตรวจดีเอ็นเอเสียก่อน แต่ทางแอนนี่ไม่ยอม ซึ่งเรื่องนี้ได้กลายเป็นข่าวทางสังคมที่ฮือฮาข่าวหนึ่งในปีนั้น ท้ายที่สุด ฟิล์มได้ลาบวช ยุติการแสดง และเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ \nโดยปัจจุบันสรุปได้แล้ว “ว่าน้องสตาร์” ไม่ใช่ลูกของฟิล์มจริงๆ ", "title": "รัฐภูมิ โตคงทรัพย์" }, { "docid": "85191#29", "text": "ชีวประวัติของแหม่มแอนนาที่ W.S. Bristowe กล่าวหาว่าโป้ปดขึ้นนั้น ปรากฏอยู่ในนวนิยายเรื่อง The King and I ซึ่งเป็น \"นิยาย\" ที่มาร์กาเร็ตแต่งขึ้นเพิ่มเติมภายหลัง ดังที่ Bristowe เขียนไว้ว่า \"ประวัติแหม่มแอนนาที่เล่ามา ล้วนได้จากบันทึกของเธอเอง ซึ่งมาร์กาเร็ต แลนดอน นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่\" มิได้มีอยู่ในหนังสือทั้ง 2 เล่มของแหม่มแอนนาแต่อย่างใด ในหนังสือของแหม่มแอนนาเองแทบจะไม่มีข้อความที่กล่าวถึงชีวประวัติของตนเองเลย [9]", "title": "แอนนา ลีโอโนเวนส์" }, { "docid": "291062#64", "text": "ภาพเขียนอีกสามภาพเป็นภาพเหมือนของพระราชบิดามารดาของพระราชินีมารี: ฟรันเชสโกที่ 1 เด เมดีชี และอาร์ชดัชเชสโจแอนนาแห่งออสเตรีย ที่ตั้งอยู่สองข้างเตาผิง ภาพเหมือนของฟรันเชสโกอยู่ทางขวาที่มองตรงไปยังทางเดินไปทางที่ประทับส่วนพระองค์ของพระราชินีมารี ในภาพฟรันเชสโกสวมเสื้อคลุมที่แต่งตรงชายด้วยขนเออร์มิน โดยมีตราลัทธิเซนต์สตีเฟ็นแห่งทัสเคนีที่ฟรันเชสโกเองเป็นผู้ก่อตั้งห้อยอยู่รอบคอ ภาพของพระมารดาอาร์ชดัชเชสโจแอนนาอยู่ทางซ้ายด้านที่นักท่องเที่ยวจะมองเห็นเมื่อเดินเข้ามา โจแอนนาแต่งตัวด้วยเสื้อที่ปักด้วยด้ายเงินและทองแต่ไม่ได้สวมเครื่องทรงอย่างอื่นที่แสดงฐานะอันสูงส่ง การวางรูปแบบของภาพนี้มาจากภาพเขียนของอาเลสซานโดร อัลโลรี (Alessandro Allori) ที่ต่อมาจิโอวานนิ บิซเซลลิ (Giovanni Bizzelli) ก๊อบปี้ รือเบินส์คงจะมีโอกาสได้เห็นภาพนี้จึงนำอิทธิพลมาใช้ในการวางรูปแบบของภาพเขียนของโจแอนนา แต่งานชิ้นนี้ของรือเบินส์ไม่เด่นเท่ากับงานดั้งเดิมที่ไปรับอิทธิพลมา ภาพเหมือนของอาร์ชดัชเชสโจแอนนาโดยทั่วไปแล้วก็เป็นเพียงภาพของสตรีที่ปราศจากความรู้สึก ในกรณีนี้รือเบินส์ไม่ได้ใช้ธรรมเนียมการวางท่าของตัวแบบในภาพเหมือนที่เขียนกันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ทำให้ผู้เป็นแบบดูสบาย ๆ ส่วนผู้เป็นแบบแทนฟรันเชสโกนั้นไม่ทราบกันว่าเป็นผู้ใด แต่ก็เป็นที่สงสัยกันว่ารือเบินส์ใช้ปรัชญาการเขียนจากปารีสในการพยายามสร้างให้ผู้เป็นแบบดูมีอำนาจและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ลักษณะการเขียนภาพสองภาพนี้แตกต่างกันมากและดูจะไม่พ้องกันกับภาพอื่นในภาพชุดเดียวกัน เมื่อเทียบกับ \"ภาพชุดพระราชินีมารี\" แล้วภาพนี้ก็ดูเรียบไม่มีชีวิตชีวาเหมือนภาพอื่น ๆ ของพระราชินีมารีที่ดูเต็มไปด้วยชีวิตจิตใจและความงดงาม นอกจากนั้นการใช้อุปมานิทัศน์ต่าง ๆ ของรือเบินส์ในภาพอื่นก็มิได้นำมาใช้กับภาพสองภาพนี้ ซึ่งทำให้กลายเป็นภาพเหมือนที่เรียบ ๆ ธรรมดา นอกจากนั้นแล้วก็ยังกล่าวกันว่าทั้งสองภาพไม่มีความคล้ายคลึงกับตัวแบบจริงแต่อย่างใด", "title": "ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส" }, { "docid": "301749#1", "text": "จังหวัดแอนเป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดเดิมที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 ที่ก่อตั้งขึ้นจากบางส่วนของอดีตจังหวัดอีล-เดอ-ฟร็องส์และช็องปาญ", "title": "จังหวัดแอน" }, { "docid": "178424#0", "text": "แอนดรอยด์ () เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S800C กล้องดิจิตอลระบบแอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ทำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548 แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา โดยสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เครื่องแรกของโลกคือ เอชทีซี ดรีม วางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2551", "title": "แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)" }, { "docid": "281976#1", "text": "คาบสมุทรแอนตาร์กติกมีความสำคัญต่อการค้นคว้าที่ทำให้ทราบว่าความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภูมิภาค ตำแหน่งที่อยู่ในเขตขั้วโลกทำให้มีสถานีการทดลองหลายสถานีจากหลายชาติมาตั้งกันอยู่ประปราย แต่ละประเทศต่างก็อ้างสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของดินแดนต่าง ๆ เช่น แอนตาร์กติกาของอาร์เจนตินา ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร และดินแดนแอนตาร์กติกาของชิลี ซึ่งไม่มีการอ้างสิทธิ์ใดที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังไม่มีประเทศใดที่พยายามอ้างสิทธิ์อย่างจริงจัง", "title": "คาบสมุทรแอนตาร์กติก" }, { "docid": "769237#0", "text": "คณะเผยแพร่ศาสนาแอละโมในแซนแอนโทนีโอ () หรือทั่วไปเรียก ดิแอละโม (the Alamo) เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกคณะเผยแพร่ศาสนาแซนแอนโทนีโอในแซนแอนโทนีโอ รัฐเทกซัส สหรัฐ ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นคณะเผยแพร่ศาสนาโรมันคาทอลิกและป้อมปราการ (fortress compound) เป็นสมรภูมิของยุทธการที่ดิแอละโมใน ค.ศ. 1836 ปัจจุบันแอละโมเป็นพิพิธภัณฑ์ในเขตประวัติศาสตร์จัตุรัสแอละโม", "title": "คณะเผยแพร่ศาสนาแอละโมในแซนแอนโทนีโอ" }, { "docid": "48982#35", "text": "ในภายหลังนั้นญาติของแอนดีได้พยายามที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโรงพยาบาลเนื่องจากความบกพร่องของคณะแพทย์ทำให้คนไข้เสียชีวิต เนื่องจากแอนดีไม่มีทายาทใดๆ พี่ชายและน้องชายของเขาจึงเป็นผู้รับมรดกซึ่งภายหลังมีการเปิดเผยทรัพย์สินที่แอนดีทิ้งไว้นั้นมีเงินจำนวนมากว่า 500 ล้านดอลลาร์ในธนาคาร ที่ดินอีกมากมาย อาคาร และอพาร์ตเมนต์ต่างๆอีกหลายแห่งในที่ต่างๆรวมทั้งงานศิลปะอีกมากมายที่เขาเก็บสะสมเอาไว้กับผลงานของเขา ซึ่งในเวลาต่อมาทั้งพี่ชายและน้องชายของเขาก็ร่วมกันในชื่อของครอบครัวช่วยกันกับเพื่อนๆของแอนดี ก่อตั้งมูลนิธิแอนดี วอร์ฮอ ล ขึ้น และเปิดพิพิธภัณฑ์ แอนดี วอร์ฮอล ที่ในบ้านเกิดของเขาในพิตส์เบิร์ก ส่วนร่างของเขานั้นได้ถูกนำไปฝังที่สุสานไบแซนไทน์ เซนต์ จอห์น เดอะ แบ็บติส (St. John the Baptist Byzentine Cemetery) ในพิตส์เบิร์ก ร่วมกับพ่อและแม่ของเขา", "title": "แอนดี วอร์ฮอล" }, { "docid": "197544#13", "text": " ปรัชญาการแบ่งปันของพวกฮิปปี้ได้รับการยอมรับและได้ขยับขยายกลายเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เช่น กลุ่มผู้ก่อตั้งโรงละคร Diggers ได้แจกอาหารฟรี และ เปิดโรงละครให้เป็นที่พักอาศัยแก่เหล่าผู้คนที่เข้ามาในย่านไฮท์-แอสบิวรี่ กลุ่มทางการแพทย์ก็เปิดคลินิกให้รักษาฟรี และ ที่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือการได้เสพย์สิ่งเสพติดทั้ง กัญชา LSD ที่ทำให้รู้สึกเคลิ้บเคลิ้ม สิ่งเหล่านี้ทำให้ชื่อเสียงของย่านไฮท์-แอสบิวรี่ (Haight-Ashbury)  เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว", "title": "ฮิปปี้" }, { "docid": "3902#8", "text": "เพื่อให้การศึกษาวิจัยด้านทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในทวีปแอนตาร์กติกา ประเทศต่าง ๆ จึงได้ตกลงร่วมมือสร้างศูนย์วิจัย โดยเริ่มเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 ทำให้สามารถวัดความหนาและปริมาณของน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกาได้ และยังค้นพบว่าภายใต้น้ำแข็งที่หนากว่า 2,000 เมตรนั้น ยังมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่อยู่ หลังจากนั้นการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับทวีปแอนตาร์กติกาก็ได้รับความสนใจมากขึ้นทีเดียว และในปี ค.ศ. 2010 หลายประเทศได้ร่วมลงนามก่อตั้งสนธิสัญญาสำหรับทวีปแอนตาร์กติกาขึ้น โดยให้ทุกประเทศสามารถเข้าทำการศึกษาวิจัยได้ ยกเว้นแต่การทำกิจกรรมด้านทหาร", "title": "ทวีปแอนตาร์กติกา" }, { "docid": "68235#0", "text": "เอทีแอนด์ทีโมบิลิตี () เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีผู้ใช้บริการประมาณ 59 ล้านราย (ณ ปี 2549) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย บริษัทก่อตั้งในปีพ.ศ. 2544 โดยการรวมตัวกันของเอสบีซี(ซึ่งต่อมากลายเป็นเอทีแอนด์ที) และเบลล์เซาท์(ซึ่งต่อมาบริษัทกลายเป็นส่วนหนึ่งของเอทีแอนด์ทีเช่นกัน) ", "title": "เอทีแอนด์ทีโมบิลิตี" }, { "docid": "139499#0", "text": "พรรคเอกราชมลายา () ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2494 เป็นองค์กรไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเพื่อกระตุ้นให้อังกฤษให้เอกราชแก่มลายา ผู้ก่อตั้งคือ ดาโต๊ะ โอนท์ บิน จาอาฟาร์ ซึ่งเป็นประธานอัมโนคนแรกด้วย จาอาฟาร์สนับสนุนให้มีการยอมรับคนกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ชาวมลายูด้วย แต่สมาชิกอัมโนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย จาอาฟาร์จึงแยกออกมาตั้งพรรคเอกราชมลายาเมื่อ พ.ศ. 2494 แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนไม่ว่าจากชนเชื้อชาติใด ๆ พรรคเริ่มเสื่อมสลายหลังจากจาอาฟาร์เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2505 และถูกยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2510", "title": "พรรคเอกราชมลายา" }, { "docid": "289809#0", "text": "เอิร์ธ, วินด์แอนด์ไฟร์ () เป็นวงอาร์แอนด์บีอเมริกัน ก่อตั้งวงในชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ในปี ค.ศ. 1970 นำโดยผู้ก่อตั้งวงเมอริซ ไวต์ เป็นวงที่ได้รับ 10 รางวัลแกรมมี่และ 4 รางวัลอเมริกันมิวสิกอวอร์ดส พวกเขายังมีชื่ออยู่ทั้งในร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟมและโวคอลกรุปฮอลออฟเฟม มียอดขายอัลบั้มมากกว่า 90 ล้านชุดทั่วโลก และยังติดอันดับศิลปินดนตรีที่มียอดขายมากที่สุด อันดับ 17 ของรายชื่อวงอเมริกาที่มียอดขายดีที่สุดตลอดกาล ในปี ค.ศ. 1998 วีเอชวันให้พวกเขาติดอันดับ 60 ในหัวข้อ 100 ศิลปินที่ยอดเยี่ยมที่สุดในร็อกแอนด์โรล", "title": "เอิร์ธ, วินด์แอนด์ไฟร์" }, { "docid": "246633#0", "text": "ราชอาณาจักรโรมัน (ละติน: Regnum Romanum) เป็นอาณาจักรที่มีผู้ปกครองเป็นกษัตริย์แห่งโรมซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรโรมันไม่เป็นที่ทราบแน่นอนเพราะไม่มีหลักฐานใดใดจากสมัยนั้นนอกจากประวัติศาสตร์ที่มาเขียนขึ้นภายหลังระหว่างสมัยสาธารณรัฐโรมันและในสมัยจักรวรรดิโรมันและส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาที่มาจากตำนาน แต่ประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรโรมันเริ่มด้วยการก่อตั้งกรุงโรมที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นในปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชและมาสิ้นสุดลงด้วยการโค่นราชบัลลังก์และการก่อตั้งสาธารณรัฐในปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช", "title": "ราชอาณาจักรโรมัน" }, { "docid": "14288#35", "text": "คริส เอสปิโนซา: \"แผนการมโหฬารที่จะให้แมคอินทอชเป็นอย่างไรในอนาคตนั้น ช่างห่างไกลจากความจริงที่สินค้าชิ้นนี้เป็นอยู่ และความจริงที่สินค้านี้เป็นอยู่ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร ยังสามารถกู้สถานการณ์ได้ แต่ช่องว่างระหว่างสิ่งทั้งสองนั้นมีมากเหลือเกิน จนต้องมีใครสักคนหนึ่งทำอะไรกับมัน และใครคนนั้นในตอนนั้นก็คือจอห์น สกัลลีย์\" จอห์น สกัลลีย์: \"คณะกรรมการจะต้องตัดสินใจเลือก และผมพูดว่า เอาละ มันเป็นบริษัทของสตีฟ ผมมาที่นี่เพื่อช่วย ถ้าคุณต้องการให้เขาบริหารงาน ผมก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่อย่างน้อยที่สุดเราต้องตัดสินใจว่าเราจะทำอะไร และทุกคนต้องหนุนหลังมันอยู่ ... และในที่สุดแล้วเมื่อคณะกรรมการได้พูดกับสตีฟ และกับผม เราตัดสินใจที่จะเดินหน้าแผนการของผมต่อไป และสตีฟก็จากไป\" สตีฟ จอบส์: \"ผมจะพูดอะไรได้? ผมจ้างคนผิด เขาทำลายทุกสิ่งที่ผมสร้างไว้ด้วยการทำงานยาวนานถึง 10 ปี ทุกอย่างเริ่มที่ตัวผมเอง แต่นั่นไม่ใช่ส่วนที่น่าเศร้าที่สุด ผมคงจะยินดีออกจากแอปเปิลหากว่าแอปเปิลยอมทำอย่างที่ผมต้องการ\" แลรี เทสเลอร์: \"คนในบริษัทรู้สึกกันไปต่าง ๆ นานากับเรื่องนี้ ทุกคนต่างเคยถูกสตีฟ จอบส์เล่นงานมาไม่ว่าช่วงใดช่วงหนึ่ง ดังนั้นพวกเขาก็โล่งใจที่ผู้ก่อการร้ายจะไปเสียที แต่อีกแง่มุมหนึ่ง ผมคิดว่าคนเดียวกันมีความเคารพในตัวจอบส์อย่างมาก และเราทุกคนต่างเป็นกังวลอย่างมากว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทนี้ต่อไปเมื่อปราศจากวิสัยทัศน์ ปราศจากผู้ก่อตั้ง ปราศจากผู้มีบุคลิกโดดเด่น\" แอนดี เฮิร์ทซเฟลด์: \"เขาถือว่ามันเป็นการจู่โจมส่วนบุคคล โดยเริ่มจากการโจมตีสกัลลีย์ ซึ่งมันทำให้เขาจนมุม เพราะเขาแน่ใจว่าคณะกรรมการจะสนับสนุนเขา ไม่ใช่สกัลลีย์...แอปเปิลไม่เคยฟื้นตัวจากการสูญเสียสตีฟ สตีฟเป็นหัวใจ จิตวิญญาณ และแรงขับเคลื่อน ที่นั่นคงเป็นที่ ๆ ต่าง ๆ ไปจากนั้นในเวลานี้ พวกเขาได้สูญเสียจิตวิญญาณของพวกเขาไป\"", "title": "สตีฟ จอบส์" }, { "docid": "68104#0", "text": "แอนโดเวอร์ (Andover) อาจหมายถึงเมืองใดเมืองหนึ่ง ต่อไปนี้:", "title": "แอนโดเวอร์" }, { "docid": "944672#3", "text": "เมืองเพลลาเข้าสู่ยุคที่มีขีดความมั่งคั่งสูงสุดหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของราชวงศ์แอนติปาทริด - ราชวงศ์อายุสั้นที่ก่อตั้งโดยแอนติปาเตอร์ และมีคาสซานเดอร์เป็นปฐมกษัตริย์ - และราชวงศ์แอนติโกนีด สิ่งก่อสร้างใหญ่โตที่หลงเหลือให้เห็นในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีส่วนใหญ่สร้างในรัชสมัยของแอนติโกนัสที่ 2 ", "title": "เพลลา" }, { "docid": "944482#0", "text": "ราชวงศ์แอนติโกนีด (; \"อันติกอนิได\") เป็นราชวงศ์ในยุคเฮเลนิสติกที่ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 4 ก่อนค.ศ. โดยพระเจ้าแอนติโกนัสตาเดียว หรือ \"อันติโกนอส I มอน็อพธาลมอส\" () อดีตนายพลของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ราชวงศ์แอนติโกนีด สืบทอดอำนาจต่อมาจากราชวงศ์แอนติปาทริด ของแอนติปาเตอร์ อดีตนายพลและรัฐบุรุษของราชอาณาจักรมาเกโดเนีย (ภายใต้พระเจ้าพีลิปโปสที่ 2) ผู้ขึ้นมาเป็นอุปราชดูแลจักรวรรดิมาเกโดเนียหลังพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สวรรคตใน ปีที่ 323 ก่อนค.ศ. และประกาศตัวเป็นกษัตริย์ของมาเกโดเนียในปีที่ 302 ก่อน ค.ศ.", "title": "ราชวงศ์แอนติโกนีด" }, { "docid": "35880#0", "text": "มหาวิทยาลัยแอเบอร์ดีน () เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสกอตแลนด์ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1495 เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับสามของสกอตแลนด์ และอันดับห้าของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ในเมืองแอเบอร์ดีน ทางด้านตะวันออกของสกอตแลนด์", "title": "มหาวิทยาลัยแอเบอร์ดีน" } ]
4099
ช่อง 7 ยุติการออกอากาศระบบอะนาล็อคเมื่อไหร่?
[ { "docid": "59413#5", "text": "สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้เตรียมที่จะกำหนดยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อก ก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง (สัมปทาน 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2566) ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยทางบริษัทฯ เห็นความจำเป็นในการยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกเพื่อลดต้นทุนการส่งสัญญาณ ประกอบกับโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่ช่อง 7 เช่าใช้ร่วมกับ ททบ. ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว [9] โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย ชุมพร พังงา พัทลุง และสงขลา และวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ตราด บุรีรัมย์ นครสวรรค์ แพร่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน ระนอง นครศรีธรรมราช สตูล และยะลา และจะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกโดยสมบูรณ์จากสถานีกรุงเทพมหานครในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 พร้อมกับสถานีอื่นๆ อีก 18 สถานี[10]ทั้งนี้ พันธะผูกพันต่างๆกับกองทัพบกในฐานะคู่สัญญาสัมปทานยังคงมีอยู่จนกระทั่งหมดสัญญาสัมปทาน [9]", "title": "ช่อง 7 เอชดี" } ]
[ { "docid": "202881#0", "text": "กามเทพผิดคิว เป็นรายการประเภทเกมโชว์แนวนัดบอดเป็นรายการของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด โดยมีพิธีกรคือ เกียรติ กิจเจริญ (ตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ถึง กลางปี พ.ศ. 2540) และ หนู คลองเตย (ตั้งแต่ กลางปี พ.ศ. 2540 ถึง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 และยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540 โดยออกอากาศทุกวันศุกร์เวลา 12.15 - 13.15 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นรายการเกมโชว์รายการแรกและรายการเดียวของเวิร์คพอยท์ที่ออกอากาศในช่วงกลางวันในวันธรรมดา และกลับมาออกอากาศอีกครั้งหนึ่งทางช่อง 6 รอบรู้ ดูสนุก ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 11.30 - 12.20 น. หลังจากยุติการออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ไป 1 ปีเศษในเกมนี้พิธีกรจะบอกโจทย์คำถามโดยแขกรับเชิญต้องสอบถามปรัศนีทั้ง 3 คนด้วยกันและสอบถามตามคำถามนั้นในแต่ละข้อและช่วงสุดท้ายพิธีกรจะให้แขกรับเชิญกดไฟของปรัศนีทั้ง 3 และเมื่อกดแล้วพิธีกรจะเผยโฉมปรัศนีทั้ง 3 คน", "title": "กามเทพผิดคิว" }, { "docid": "206434#104", "text": "C หมวดหมู่:เกมโชว์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ในอดีต หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2541 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2551 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2552 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2554 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 3 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 5 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 7 หมวดหมู่:เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "235731#0", "text": "แก๊งการ์ตูน แชนแนล () เป็นช่องการ์ตูน 24 ชั่วโมง ของ บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ส่วนใหญ่จะออกอากาศเกี่ยวกับการ์ตูนอนิเมะที่บริษัทได้รับลิขสิทธิ์ ถ่ายทอดทางสัญญาณดาวเทียมทั่วประเทศไทยผ่านระบบ C-Band (ซี-แบนด์) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ช่องแก๊งการ์ตูน ได้ออกอากาศในระบบ KU-BAND (เคยู-แบนด์) ปัจจุบันยุติการออกอากาศผ่านทางดาวเทียมเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 แต่ออกอากาศในรูปแบบทีวีสตรีมมิงผ่านแอปพลิเคชัน Gangcartoon และเว็บไซต์ของช่องแทน", "title": "แก๊งการ์ตูนแชนเนล" }, { "docid": "148402#6", "text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (7 สิงหาคม 2542 - 13 มกราคม 2550) รวม 7 ปี 4 เดือน 8 วัน ออกอากาศเป็นระยะเวลามากที่สุด เป็นยุคที่กลับมาออกอากาศ 1 ชั่วโมงอีกครั้ง พร้อมย้ายเวลาเป็นช่วง 11 โมง ,เที่ยงตรง ,บ่าย 2 ,และ 4 ทุ่มตามลำดับ มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุค \"เวทีทอง Magic\" เมื่อปี 2542-2545 และได้รับความนิยมน้อยที่สุดในช่วง \"เวทีทอง\" ยุคดีเจภูมิและแอนดี้ ที่ย้ายเวลามาเป็น 4 ทุ่ม จนกระทั่งยุติการออกอากาศในที่สุด (ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ \"การยุติการออกอากาศ\") ช่องเวิร์คพอยท์ (10 มกราคม 2559 - ปัจจุบัน)", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "442048#0", "text": "มีเดีย นิวส์ แชนแนล เป็นช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ. 2554 โดยบริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด (ในเครือมีเดีย ออฟ มีเดียส์) เพื่อนำเสนอข่าว และรายการข่าวสถานการณ์ปัจจุบัน โดยต่อยอดจากรายการข่าวของ บจก.มีเดียสตูดิโอฯ ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว โดยนำรายการบางส่วนไปออกอากาศ ทางช่องมีเดียแชนแนล", "title": "มีเดียนิวส์แชนแนล" }, { "docid": "253551#3", "text": "ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 สทท.ในส่วนภูมิภาค ยุติออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในแต่ละจังหวัดของประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ทั้งนี้ สทท.ในส่วนภูมิภาค ยังสามารถมารับชมผ่านช่องทางโทรทัศน์ในระบบจานดาวเทียมไทยคม 5 ระบบซีแบนด์ระยหนึ่ง และกลับมาออกอากาศ สทท.ในส่วนภูมิภาค ผ่านช่องทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน ในแต่ละภูมิภาค ทางช่องหมายเลข11 เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ออกอากาศวันละ 15 ชั่วโมง ตั้งแต่ 06:00-21:00 น.", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค" }, { "docid": "170942#2", "text": "ในสมัยนั้นในช่วงที่มีการแข่งขันในด้านละครจักรๆ วงศ์ๆ มีคู่แข่งทั้ง 7 ช่องรายการ เช่น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มักจะแข่งขันกันที่เวลา ฐานการรับชม และการออกอากาศเป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบันนี้ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 ช่อง NBT ไอทีวี ทีไอทีวี และ ไทยพีบีเอส ยุติการออกอากาศละคร จักร์ๆ วงศ์ๆ แล้วสาเหตุมาจากฐานการรับชมมีน้อย", "title": "ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ" }, { "docid": "94862#0", "text": "บีบีซี เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นช่องรายการบันเทิงจากเกาะอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งโดย BBC Worldwide\nช่องรายการนี้เปิดตัวครั้งแรกใน เอเชีย แทนที่ช่อง BBC Prime โดยภายในปี 2549 ช่องรายการ BBC Entertainment จะแทนที่ BBC Prime ใน ยุโรป แอฟริกา และ ตะวันออกกลาง ในประเทศไทย BBC Entertainment ออกอากาศผ่านทาง True Visions ช่อง 354 ในระบบดิจิตอล (เดิมเคยออกอากาศช่อง 35 ในปี พ.ศ. 2547 (ตั้งแต่ BBC Prime)) แต่ในปัจจุบันได้ถูกยุติออกอากาศไปในปี พ.ศ. 2560 พร้อมกับช่อง Cbeebies", "title": "บีบีซี เอ็นเตอร์เทนเมนต์" }, { "docid": "253551#4", "text": "รายละเอียดทั้งหมดนี้ เป็นรายละเอียดสถานีส่วนภูมิภาค ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ช่องหมายเลข11 โดยแบ่งตามช่องภูมิภาคในประเทศไทยดังต่อไปนี้ (สำหรับรายละเอียดสถานีคลื่นความถี่ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล(ใช้โครงข่าย MUX1 ของกรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับช่องNBT2HD)นั้น โปรดติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ระบบตรวจสอบพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณทีวีดิจิตอล ของสำนักงาน กสทช. แทน )\nรายละเอียดทั้งหมดนี้ เป็นรายละเอียดสถานีส่วนภูมิภาคที่เคยออกอากาศภาคพื้นดินระบบอนาล็อกทั้งสิ้น แต่ปัจจุบันได้ยุติการออกอากาศในระบบดังกล่าวไปแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา\nสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค แต่ละแห่ง ในส่วนสถานีโทรทัศน์ หรือ สถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ระบบวีเอชเอฟ และระบบยูเอชเอฟ\nจะมีที่ตั้ง ใกล้กับ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค พร้อมทั้ง สำนักประชาสัมพันธ์เขต หรือ สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดแต่ละแห่ง", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค" }, { "docid": "43460#13", "text": "สำหรับสถานีส่งหลักในกรุงเทพมหานคร บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบัน คู่สัญญาเปลี่ยนเป็นองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย) ลงนามในสัญญาร่วมใช้เสาส่งโทรทัศน์ และระบบสายอากาศโทรทัศน์บนอาคารใบหยก 2 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ก่อนจะเริ่มแพร่ภาพทางช่อง 32 อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เวลา 09:39 น. ของวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งในระยะแรกสามารถรับชมได้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล และอีก 17 จังหวัดใกล้เคียง โดยยังคงออกอากาศคู่ขนาน ในระบบวีเอชเอฟความถี่ต่ำทางช่อง 3 เพื่อทอดเวลาให้ผู้ชมสามารถเปลี่ยนแปลงระบบการรับชมได้ทันการณ์ จนกระทั่งวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 จึงยุติการออกอากาศระบบวีเอชเอฟ จากสถานีส่งหลักในกรุงเทพมหานคร และออกอากาศด้วยระบบยูเอชเอฟเพียงช่องทางเดียว[2][3]", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3" }, { "docid": "4801#21", "text": "ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 18:30 น. มีแผนที่จะยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ 13 สถานี เป็นลำดับแรก โดยจะมีผลกระทบต่อผู้ชมในพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน (รวมไปถึงที่อำเภอแม่สะเรียง) จังหวัดน่าน จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง (รวมไปถึงอำเภอตะกั่วป่า) จังหวัดสตูล และวันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม ปีเดียวกัน จะยุติการออกอากาศจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ที่เหลืออีก 23 สถานี ซึ่งรวมไปถึงสถานีกรุงเทพมหานคร เป็นลำดับสุดท้าย เนื่องจากโครงข่ายการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลของบมจ.อสมท ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศแล้วนั้น และจะเหลือแต่เพียงแค่การออกอากาศในระบบดิจิทัล ทางช่องหมายเลข 30 (ภาพความคมชัดสูง) แต่เพียงอย่างเดียว", "title": "เอ็มคอตเอชดี" }, { "docid": "42149#12", "text": "และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สทท. จะยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบอนาล็อกจากกสถานีส่ง 12 สถานีทั่วประเทศที่เหลือ (โดยเลื่อนแผนออกไปจากเดิมที่ก่อนหน้านี้มีแผนกำหนดว่าจะให้ยุติการออกอากาศในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ซึ่ง 37 สถานีได้ยุติระบบอนาล็อกตามแผนกำหนด)[7] ซึ่งเป็นไปตามที่ทางสถานีฯได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สังกัดคณะกรรมการ กสทช. ว่าด้วยแผนการยุติการออกอากาศระบบอนาล็อกของสถานีเอง เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 และจะเหลือแต่เพียงแค่การออกอากาศในระบบดิจิตอลภาพคมชัดสูง หมายเลข 2 เท่านั้น ในวันถัดไป (ก่อนหน้านั้น เอ็นบีทีได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบอนาล็อกในพื้นที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2559)[8]", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย" }, { "docid": "484737#4", "text": "ขณะเดียวกัน ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนแรง ธีมะก็ได้รับการชักชวนจากรุ่นพี่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มาทำรายการบันเทิง GANG'MENT ทางช่องจีทีเอชออนแอร์ควบคู่ไปด้วย เพราะการทำรายการการเมืองอย่างเดียวรายได้ไม่เพียงพอ หลังจากนั้นได้รับโอกาสให้ทำรายการ 7 วันทันข่าว จนกระทั่งช่องจีทีเอชออนแอร์ปิดตัวลง แล้วได้ถ่ายโอนรายการบางส่วนไปออกอากาศทางช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 ธีมะก็ยังคงทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการ 7 วันทันข่าว เรื่อยมา จนในที่สุดรายการก็ได้ยุติการออกอากาศในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559", "title": "ธีมะ กาญจนไพริน" }, { "docid": "4801#10", "text": "บจก.ไทยโทรทัศน์ เริ่มออกอากาศเป็นภาพสี 625 เส้น ในย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 9 ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยแพร่ภาพออกอากาศคู่ขนานกับช่องสัญญาณที่ 4 ในระบบภาพขาวดำ เป็นเวลาประมาณ 4 ปี[3] กระทั่งราวต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 จึงยุติการออกอากาศในระบบภาพขาวดำ 525 เส้น ทางช่องสัญญาณที่ 4 คงไว้เพียงระบบภาพสี มาจนถึงราวปี พ.ศ. 2519 โดยทางช่องสัญญาณที่ 9 อย่างสมบูรณ์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น \"สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9\" (English: Thai Color Television Channel 9) พร้อมทั้งย้ายห้องส่งโทรทัศน์ รวมถึงที่ทำการทั้งหมด ไปยังอาคารพาณิชย์ขนาด 5 คูหา ย่านถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู (ดังที่ผู้ชมทั่วไป มักเรียกว่า \"ช่อง 9 บางลำพู\" ในสมัยนั้น) เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย เสนอซื้อที่ดิน, อาคารที่ทำการ บจก.ไทยโทรทัศน์ และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ซึ่งอยู่ภายในบริเวณวังบางขุนพรหม", "title": "เอ็มคอตเอชดี" }, { "docid": "593911#1", "text": "โดยตามแผนของ กสทช.จะเริ่มทำการยุติการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก ภายในปี พ.ศ. 2558 แต่ในแผนดำเนินการจริง ของสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก เมื่อถึงปี พ.ศ. 2558 ไทยพีบีเอส ยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 2 พื้นที่แรก รวมถึงเอ็นบีทีที่สถานีสมุย พ.ศ. 2559 ไทยพีบีเอส จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 26 พื้นที่ พ.ศ. 2560 ไทยพีบีเอส จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 21 พื้นที่ เอ็นบีที จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 37 พื้นที่ ช่อง 5 จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 4 พื้นที่ รวมถึงช่อง 7 HD จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 16 พื้นที่ วันที่15 เมษายน พ.ศ. 2561 ช่อง 9 จะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกใน 13 พื้นที่ ", "title": "โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย" }, { "docid": "59413#0", "text": "ช่อง 7 เอชดี (Channel 7 HD) (ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 English: Bangkok Broadcasting Television Channel 7) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินซึ่งออกอากาศด้วยระบบภาพสีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก เริ่มแพร่ภาพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 9[1] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบภาพสี และย้ายการออกอากาศ ไปทางช่องสัญญาณที่ 7 จนถึงปัจจุบัน มีกฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด และสมเกียรติ เจริญภิญโญยิ่ง เป็นกรรมการผู้จัดการ", "title": "ช่อง 7 เอชดี" }, { "docid": "43460#24", "text": "ต่อมาในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 กสทช. ได้มีมติให้ยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อกอย่างเป็นทางการ หลังจากที่สถานีโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกเดิม ได้แก่ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้ยุติการออกอากาศในระบบเดิมทั้งหมดไปเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ได้ยุติการออกอากาศในระบบเดิมไปเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ได้ยุติการออกอากาศระบบเดิมเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ได้ยุติการออกอากาศระบบเดิมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน กสทช.​จึงมีมติให้วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถือเป็นวันสิ้นสุดการออกอากาศในระบบแอนะล็อกเดิมเพื่อที่จะได้นำคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซ์ที่ใช้งานกับระบบดิจิทัลชั่วคราว กลับมาจัดสรรใหม่ให้กิจการโทรคมนาคมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับระบบ 5 จี ในอนาคต และได้มีมติให้ช่อง 3 ยกเลิกการออกอากาศคู่ขนานกับระบบดิจิทัลทางช่อง 33 โดยหากช่อง 3 ยังต้องการออกอากาศแบบคู่ขนาน ให้ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด เป็นผู้จัดสรรเนื้อหาให้ช่อง 33 แต่เพียงผู้เดียว แล้วให้ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนต์เมนต์ จำกัด นำเนื้อหาของช่อง 33 ไปออกอากาศทางระบบแอนะล็อกเดิมแทน อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 ได้ยื่นคัดค้านมติ เนื่องจากช่อง 3 ไม่สามารถยกเลิกระบบเดิมได้ โดยมีสาเหตุมาจากยังไม่หมดสัมปทานที่ทำไว้กับ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งแตกต่างจากกรณีของช่อง 7 เนื่องจาก บมจ.อสมท ถือเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานได้ รวมถึงการให้ บีอีซี-มัลติมีเดีย เป็นผู้จัดสรรเนื้อหาแต่เพียงผู้เดียว ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์รายการของ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และ อสมท ด้วย และอาจมีผลทำให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในด้านลิขสิทธิ์ในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 รับมติของ กสทช. เพียงเรื่องเดียว คือการแยกตราสัญลักษณ์ของสถานีออกจากกัน โดยช่อง 3 ใช้วิธีการแสดงสัญลักษณ์ของระบบแอนะล็อกไว้ที่มุมล่างขวา ในขณะที่ระบบดิจิทัลยังคงยึดตำแหน่งเดิมคือมุมบนขวา", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3" }, { "docid": "332348#4", "text": "โดยในด้านของละครโทรทัศน์ จิมเริ่มงานแสดงด้วยละครโทรทัศน์เรื่อง \"ม่ายค่ะ\" ของบริษัท เอ็กแซ็กท์ ที่ออกอากาศอย่างต่อเนื่องทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และมีผลงานละครโทรทัศน์ตามมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ พริกขี้หนูกับหมูแฮม, ลูกสาวเจ้าพ่อ, รักนิดๆ คิดเท่าไหร่, กว่าจะรู้เดียงสา, 6/16 ร้ายบริสุทธิ์ เป็นต้น ปัจจุบันเป็นนักแสดงในสังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7", "title": "เจจินตัย อันติมานนท์" }, { "docid": "831782#0", "text": "อักษรล่าแสน The Alphabet Thailand หรือเรียกโดยย่อว่า อักษรล่าแสน เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ ที่ผลิตโดยบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ดำเนินรายการโดย ณัฏฐ์ปวินท์ กุลกัลยาดี (เจ็ม) และ มารุต ชื่นชมบูรณ์ (อาร์ต) เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิศ เวลา 12.00 - 13.00 น. ทางช่องวัน (ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิตอลหมายเลข 31) และตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รายการจะย้ายไปออกอากาศในเวลาใหม่ 14.00 - 15.00 น. และตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาทางรายการได้ลดวันออกอากาศเหลือเพียงแค่วันเสาร์วันเดียวเท่านั้นและได้ย้ายไปอยู่เวลาใหม่เป็น 13.15 น. ซึ่งจะทำให้ไม่มีเทปรายการที่เป็นวันอาทิตย์ แต่เป็นเทปที่เอา ผู้ชมทางบ้าน สลับกับ ดารารับเชิญ แบบสัปดาห์เว้นสัปดาห์ และตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป รายการได้ย้ายไปอยู่เวลาใหม่เป็นเวลา 13.30 น. และออกอากาศเป็นเทปสุดท้ายเมื่อ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว", "title": "อักษรล่าแสน The Alphabet Thailand" }, { "docid": "349654#8", "text": "สยามสปอร์ต นิวส์ (Siamsport News) นำเสนอข่าวสารและสาระบันเทิง พร้อมทั้งรายงานสดข่าวด่วน ทันเหตุการณ์ จากขอบสนามถึงหน้าจอโทรทัศน์ โดยคณะผู้สื่อข่าวมืออาชีพ ผู้มีความรู้และมีชื่อเสียงทางกีฬาทุกประเภท ออกอากาศแทนฟุตบอลสยามทีวี[7] และช่องดังกล่าวได้สิ้นสุดสัญญาการออกอากาศหรือยุติการออกอากาศช่องไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา สยามสปอร์ต ฟุตบอล (Siamsport Football) นำเสนอข่าวสารกีฬาฟุตบอล ทั้งของไทยและต่างประเทศ พร้อมบทวิเคราะห์วิจารณ์ จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในเชิงลูกหนัง พร้อมทั้งการถ่ายทอดสด ฟุตบอลลีกอาชีพของไทยในทุกรายการ ออกอากาศแทนสตาร์ซอคเก้อร์ทีวี[7] และช่องดังกล่าวได้สิ้นสุดสัญญาการออกอากาศหรือยุติการออกอากาศช่องไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา สยามสปอร์ต ไลฟว์ (Siamsport Live) นำเสนอไฮไลต์กีฬาต่างประเทศหลายชนิด เกาะติดสถานการณ์เบื้องหน้าเบื้องหลัง ของการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ พร้อมทั้งการถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬาหลายรายการ ออกอากาศแทนสยามกีฬาทีวี[7] ทว่ายุติการออกอากาศลงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยหมายเลขช่องเดิมทางทรูวิชันส์ นำช่องทีสปอร์ตสแชนเนลมาออกอากาศแทน", "title": "สยามสปอร์ตเทเลวิชัน" }, { "docid": "973511#0", "text": "หัวหน้าห้าขวบ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ที่ให้เด็กหรือเยาวชน รับบทบาทในฐานะ \"\"หัวหน้า\"\" ที่จะต้องปฎิบัติภารกิจออกคำสั่งหรือแสดงความสามารถทางด้านต่าง ๆ เพื่อให้ฝ่ายผู้ใหญ่หรือ \"\"ลูกน้อง\"\" ที่ตนได้เลือกไว้ต้องร่วมปฎิบัติภารกิจให้สำเร็จ ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ (ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลหมายเลข 23) ดำเนินรายการโดย ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว", "title": "หัวหน้าห้าขวบ" }, { "docid": "43460#22", "text": "ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 กสทช.ลงมติเพิกถอนโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก จากส่วนที่ให้บริการเป็นการทั่วไป จึงต้องยุติการออกอากาศ ผ่านระบบโทรทัศน์ดาวเทียม และเครือข่ายโทรทัศน์ทางสายเคเบิล ตามที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน เป็นต้นไป[6] โดยทางไทยทีวีสีช่อง 3 อาศัยความในประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 27 ประกอบกับ ความในสัญญาสัมปทาน โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก ซึ่งทำไว้กับ อสมท จนถึงปี พ.ศ. 2563 เพื่อรักษาสิทธิในการ ออกอากาศต่อไปตามเดิม[7] วันต่อมา (3 กันยายน) กสทช.ทำหนังสือถึง ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ผ่านระบบดาวเทียมและสายเคเบิล ให้งดการแพร่ภาพ ไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนาล็อก โดยกำหนดเวลาภายใน 15 วัน พร้อมทั้งเสนอ ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เพื่อทำให้ไทยทีวีสีช่อง 3 นำสัญญาณจากช่องในระบบแอนะล็อก มาออกอากาศคู่ขนาน ทางช่องในระบบดิจิทัลได้[8] ไทยทีวีสีช่อง 3 นำความขึ้นร้องต่อศาลปกครอง ชั้นต้นวินิจฉัยให้ กสทช.กับผู้บริหารไทยทีวีสีช่อง 3 เปิดการเจรจากัน แต่ไม่ได้ข้อยุติ ศาลปกครองสูงสุดจึงเข้าไกล่เกลี่ย โดยทำข้อตกลงให้บีอีซี-มัลติมีเดีย นำสัญญาณภาพและเสียงทั้งหมด ของไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนะล็อก ไปออกอากาศด้วยภาพคมชัดสูง ทางช่องหมายเลข 33 ของตนในระบบดิจิทัล ภายในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557[9]", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3" }, { "docid": "152472#0", "text": "หมู่ 7 เด็ดสะระตี่ เป็นรายการละครซิตคอม (Situation Comedy) ของบริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ทุกวันอังคารและวันพุธ เวลา 10.30-11.25 น. โดยออกอากาศตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2554 จึงได้ยุติการออกอากาศ เนื่องจากทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้นำรายการใหม่มาขึ้นผังออกอากาศแทน รายการนั้นก็คือรายการห้องข่าว 7 สี", "title": "หมู่ 7 เด็ดสะระตี่" }, { "docid": "119652#0", "text": "The Soundtrack Channel (STC) เป็นช่องรายการเคเบิลและดาวเทียมที่เกี่ยวกับบทเพลงจากภาพยนตร์และโทรทัศน์ต่างๆ ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง โดยช่องรายการนี้จะออกอากาศมิวสิกวิดีโอและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย STC ออกอากาศมิวสิกวิดีโอจากภาพยนตร์และโทรทัศน์ในแบบ Exclusive ซึ่งรวมถึงมิวสิกวิดีโอที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับช่องรายการนี้เท่านั้นด้วย ช่อง STC ยังออกอากาศข่าวบันเทิง เบื้องหลังต่างๆ ของกระบวนการสร้างภาพยนตร์ รวมถึงบทสัมภาษณ์จากนักแสดงมากมาย ในประเทศไทย สามารถรับชมช่อง STC ได้ผ่านทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง 39 ในระบบดิจิตอล ปัจจุบันนี้ได้ยุติการออกอากาศแล้ว เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา\nThe Soundtrack Channel เริ่มออกอากาศครั้งแรกในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2002 โดยมีสถานีหลักอยู่ที่ ซานต้า โมนิก้า รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยช่องรายการนี้ออกอากาศในต่างประเทศมากกว่า 35 ประเทศ", "title": "เดอะ ซาวด์แทร็ก แชนแนล" }, { "docid": "593911#2", "text": "วันที่16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ช่อง 5 ช่อง 7 HD และไทยพีบีเอส ยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกครบทั้งประเทศ แต่ช่อง 5 ภายหลังได้มีการเลื่อนวันยุติออกอากาศ เป็นหลังวันที่ 21 มิถุนายน 2561 แทน ส่วนวันที่16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ช่อง 9 และ เอ็นบีที ยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกทั้งประเทศ ส่วนช่อง 3ยังไม่มีกำหนดยุติออกอากาศ แต่จะอยู่ภายในปี พ.ศ. 2561", "title": "โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย" }, { "docid": "59413#2", "text": "ในระยะเดียวกัน จอมพลประภาส ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก มีนโยบายให้ คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ลงมติอนุมัติให้ร่วมกับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ดำเนินการติดต่อให้นำเครื่องส่งโทรทัศน์สี ของบริษัทฟิลิปส์แห่งฮอลแลนด์ ระบบแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที มาทดลองใช้งาน โดยบันทึกภาพการประกวดนางสาวไทย ภายในงานวชิราวุธานุสรณ์ ที่พระราชวังสราญรมย์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มาถ่ายทอดผ่านคลื่นวิทยุ ในย่านความถี่สูงมาก ทางช่องสัญญาณที่ 7 และออกอากาศคู่ขนาน ด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 9[1] ในอีกสองวันถัดมา คือวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน หลังจากนั้น ก็ยุติการแพร่ภาพชั่วคราว เพื่อดำเนินการในทางเทคนิค โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม มีการประกอบพิธีสถาปนา บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ อย่างเป็นทางการ โดยในปีถัดมา (พ.ศ. 2511) ผู้ถือหุ้นมีมติให้เฑียร์ ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการบริษัท, หัวหน้าฝ่ายรายการ และหัวหน้าฝ่ายเทคนิค โดยแต่งตั้งให้สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เข้าเป็นกรรมการแทน พร้อมถือ 80 หุ้น[3] และในปีเดียวกัน คณะกรรมการฯ ทำสัญญาร่วมกับทาง บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ซึ่งกำหนดให้บริษัทฯ จัดสร้างอาคารที่ตั้ง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ภายในบริเวณที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.) สนามเป้า พร้อมติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ เพื่อมอบทั้งหมดให้แก่ ททบ.5 แล้วจึงทำสัญญาเช่าช่วงจาก ททบ.เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อเข้าบริหารงานอีกทอดหนึ่ง โดยในระยะสองปีแรก ใช้บุคลากรและห้องส่ง ร่วมกับ ททบ. พร้อมทั้งนำรถประจำทางเก่าสามคัน เข้าไปจอดไว้ภายในที่ทำการ ททบ5.สนามเป้า แล้วรื้อที่นั่งออกทั้งหมด เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไปพลางก่อน", "title": "ช่อง 7 เอชดี" }, { "docid": "69424#3", "text": "เป็นการจัดการศึกษา เพื่อให้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป (Informal Education) การจัดการศึกษาผ่านดาวเทียม เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยนี้ กำหนดเนื้อหารายการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และ ความต้องการของประชาชน ในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน\nสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จะยุติการออกอากาศในระบบความคมชัดมาตราฐาน (Standard Definition หรือ SD) ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ซึ่งการรับชมดีแอลทีวีหลังจากนี้ต่อไป สามารถรับชมช่อง NEW DLTV HD ได้ตามปกติ ระบบใหม่ ความคมชัดสูง HD (โดยเลื่อนแผนออกไปจากเดิมที่ก่อนหน้านี้มีแผนกำหนดว่าจะให้ยุติการออกอากาศในระบบความคมชัดมาตราฐาน ภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561) (จำเป็นต้องติดตั้งและรับสัญญาณจากกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ความคมชัดสูง หรือ Set-top-box) โดยจะต้องสังเกตด้านหลังกล่อง ดังกล่าว ซึ่งจะมีช่องต่อสายที่รองรับการออกอากาศจากระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูง หรือ สาย HDMI เป็นต้น", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม" }, { "docid": "59413#26", "text": "โดยการออกอากาศระบบแอนะล็อกเฟสที่ 3 ของช่อง 7 ยุติลงในเวลา 00:01 น. ของวันที่ 17 มิถุนายน 2561 โดยตัดเข้าสู่หน้าจอแจ้งผู้ชมซึ่งมี 2 รูปแบบ คือแบบแรกเป็นแถบสี หรือ คัลเลอร์บาร์ และข้อความแสดงการยุติออกอากาศในระบบแอนะล็อก และพื้นหลังสีฟ้า พร้อมข้อความแจ้งช่องทางการรับชมหลังจากการยุติการออกอากาศ", "title": "ช่อง 7 เอชดี" }, { "docid": "41115#21", "text": "เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ส่งหนังสือยกเลิกสัญญามายัง บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ผ่านระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 อย่างเป็นทางการ ในเวลา 24.00 น. ของวันดังกล่าว ทั้งนี้ ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้พนักงานไอทีวีดำเนินการออกอากาศได้ต่อไป ในคลื่นความถี่เดิมอย่างต่อเนื่อง โดยให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินการ ใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันที่ 8 มีนาคม เป็นต้นไป", "title": "สถานีโทรทัศน์ไอทีวี" } ]
4100
นัยน์ตาปีศาจ เป็นความเชื่อตั้งแต่สมัยใด?
[ { "docid": "307962#5", "text": "หลักฐานทางลายลักษณ์อักษรและหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่าความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจทางตะวันออกของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนดำเนินมาเป็นเวลาหลายพันปี ที่เริ่มด้วย เฮซิโอด, คาลลิมาคัส, เพลโต, ดิโอโดรัส ซิคัลลัส, ธีโอคริตัส, พลูทาร์ค, พลินิ และ ออลัส เกลลิอัส ในงานเขียน “Envy and the Greeks” (Thai: ความอิจฉาและชาวกรีก) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1978) ปีเตอร์ วอลค็อทกล่าวถึงงานอ้างอิงกว่าร้อยชิ้นของนักประพันธ์ผู้เขียนงานเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจ การศึกษางานอ้างอิงเหล่านี้เพื่อทำการเขียนเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจก็ยิ่งทำให้มองเห็นภาพที่ขาดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจากมุมมองของตำนานพื้นบ้าน, เทววิทยา, คลาสสิก หรือ มานุษยวิทยา ขณะการเขียนจากแนวต่างๆ เหล่านี้มักจะอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน แต่กระนั้นแหล่งข้อมูลแต่ละแหล่งก็จะมีมุมมองของความเข้าใจนัยน์ตาปีศาจที่ต่างกันออกไป ที่ว่าเป็นความเชื่อที่ว่าบุคคลบางคนมีตาที่มีอำนาจในการก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือความตายแก่ผู้ที่ถูกจ้องมองได้ไม่ว่าจะโดยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" } ]
[ { "docid": "307962#23", "text": "คาถาเหล่านี้ก็แตกต่างกันไปตามแต่ท้องถิ่น แต่บทที่นิยมใช้กันก็จะเป็นคาถาที่อ้างถึงพระแม่มารี ที่ท่องสามครั้ง กล่าวกันว่าถ้าผู้ใดถูกมนต์ของนัยน์ตาปีศาจเข้าทั้งผู้ถูกมนต์และผู้รักษาก็จะมีอาการหาวอย่างต่อเนื่องกัน ผู้รักษาก็จะทำสัณญาณกางเขนสามครั้ง และ ถุยน้ำลายขึ้นไปสามครั้ง", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#43", "text": "ในปี ค.ศ. 1946 นักมายากลเฮนรี กามาชีตีพิมพ์หนังสือชื่อ “Terrors of the Evil Eye Exposed!” (เผยความกลัว “นัยน์ตาปีศาจ”!) ที่บอกวิธีป้องกันตนเองจาก “นัยน์ตาปีศาจ” งานเขียนของกามาชีเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง “นัยน์ตาปีศาจ” แก่นักปฏิบัติวูดูแอฟริกันอเมริกันทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#22", "text": "นัยน์ตาปีศาจในภาษากรีกเรียกว่า “ματι” ที่ใช้เป็นเครื่องยันต์มาตั้งแต่อย่างน้อยก็ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ที่พบเสมอบนภาชนะสำหรับดื่ม[9] ในกรีซนัยน์ตาปีศาจถูกกำจัดโดย “ξεμάτιασμα” (“xematiasma”) โดยผู้ทำการจะท่องมนต์คาถาลับที่ได้มาจากญาติโยมอาวุโสเพศตรงข้ามที่มักจะเป็นปู่ย่า คาถาจะได้รับก็เมื่อมีสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงเกิดขึ้น เพราะผู้ที่ถ่ายทอดคาถาเมื่อถ่ายทอดแล้วตนเองก็จะหมดอำนาจในการขจัดภัยจากนัยน์ตาปีศาจ", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#29", "text": "ในหนังสือ “A History of Oral Interpretation” (ประวัติของการตีความหมาย) โดยยูจีน บาห์น และ มาร์กาเร็ต แอล. บาห์นกล่าวว่า “'วัตถุประสงค์สำคัญของคำพูดคือการพิทักษ์จากนัยน์ตาปีศาจ และแม้ในปัจจุบันก็ยังคงมีบทขับสำหรับป้องกันจากความโชคร้ายในสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง” ที่มีสาเหตุมาจาก “อุปกรณ์เพื่อยับยั้งความอิจฉาของจิตวิญญาณที่มีอำนาจเหนือชะตาของมนุษย์. . .”", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#40", "text": "วิธีรักษาอีกวิธีหนึ่งในเม็กซิโกก็โดย “curandero” (พ่อมด) จะลูบตัวผู้ต้องมนต์ด้วยฟองไข่ไก่ดิบเพื่อกำจัดอำนาจของผู้ที่มีอำนาจในการใช้ “นัยน์ตาปีศาจ” แล้วก็เอาไข่ไก่ไปทุบใส่ชามแก้วเพื่อตรวจสอบรูปร่าง รูปทรงไข่แดงเชื่อกันว่าสามารถบอกได้ว่าผู้มีเวทมนตร์เป็นชายหรือหญิง ตามธรรมเนียมฮิสปานิคของทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และบางส่วนของเม็กซิโก เมื่อลูบตัวเสร็จ ผู้ต้องมนต์ก็จะตอกไข่ในชามน้ำ แล้วคลุมด้วยฟาง เอาไปวางไว้ใต้หัวของคนไข้ขณะที่ยังคงหลับ หรืออาจจะให้ไข่กลับโดยการทำเป็นเครื่องหมายกางเขน จากนั้นก็จะทำการตรวจตราใข่ในชามเพื่อจะดูว่าสำเร็จไปได้แค่ไหนเท่าใด[12]", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#37", "text": "ในทิเบตและบริเวณใกล้เคียงลูกปัดซี (Dzi bead) ถือกันว่าเป็นเครื่องรางในการขจัดภัยจาก “นัยน์ตาปีศาจ” และเป็นเครื่องรางที่นำโชค ขึ้นอยู่กับลวดลายและจำนวนตา ลูกปัดซีโบราณเป็นลูกปัดที่มีราคาสูงที่สุดเท่าที่ทราบกันมา หินซีเริ่มปรากฏขึ้นราว 2000 ถึง 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราชในทิเบตโบราณ กล่าวกันว่าลูกปัดหลายแสนลูกถูกนำกลับมาโดยนักรบทิเบตจากภูมิภาคบัคเทรียเหนือเทือกเขาฮินดูกูชหรือทาจิกิสถานโบราณระหว่างที่ไปทำการปล้นรบ หรือ ต่อมายึดครอง ความกลัวอำนาจของ “นัยน์ตาปีศาจ” เป็นเรื่องที่จริงจังในหมู่ชนทิเบต ซึ่งทำให้เกิดการสร้างเครื่องรางในการป้องกันภัยอันเกิดจากอำนาจของ “นัยน์ตาปีศาจ” ขึ้นที่เป็นรูปตาเช่นกัน ลูกปัดซีสร้างด้วยโมราตกแต่งด้วยเส้นและวงโดยใช้วิธีโบราณอันเป็นเอกลักษณ์ เช่นทำสีให้เข้มขึ้นโดยการใช้น้ำตาลพืช และ ทำให้ร้อนและลอกให้สีอ่อนลง และเส้นตัดสีขาวทำด้วยนาทรอนโบราณ หรือด่างชนิดอื่น บางส่วนก็ทิ้งเอาไว้โดยไม่ก็ใช้ไขมัน, ดินเหนียว, ขี้ผึ้ง หรือ สารประเภทดังกล่าว วิธีการทำในสมัยโบราณได้แต่เพียงสันนิษฐานกันเท่านั้น", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#8", "text": "ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจในสมัยโบราณก็ต่างกันออกไปตามแต่ภูมิภาคและยุคสมัย และความกลัวนัยน์ตาปีศาจก็รุนแรงไม่เท่าเทียมกันไปทุกมุมเมืองในจักรวรรดิโรมัน บางท้องที่ก็อาจจมีความหวาดกลัวที่สูงกว่าท้องที่อื่น ในสมัยดรมันไม่แต่บุคคลเท่านั้นที่เชื่อกันว่าอาจจะเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ และ อาจจะเป็นกลุ่มชนทั้งกลุ่ม โดยเฉพาะประชากรชาวพอนทัส หรือ ซิทเธียที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มชนที่มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#32", "text": "นอกจากตั้นก็อาจจะมีการใช้แป้งสีคุมคุมบนแก้คู่บ่าวสาวหรือเด็กก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการขจัดอำนาจของ “นัยน์ตาปีศาจ” ทารกหรือเด็กโดยทั่วไปจะถือว่ามีความบริสุทธิ์และจะดึงดูด “นัยน์ตาปีศาจ” แม่จึงมักแต้มจุดบนแก้มหรือหน้าผากของเด็กเพื่อให้เป็นตำหนิที่กันจาก “นัยน์ตาปีศาจ” หรืออาจจะผูกสายด้ายสีดำรอบเอวเด็กเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน บางครั้งก็อาจจะแขวนห้อยหรือเครื่องรางบนสายคาดเอ็วด้วยก็ได้", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#13", "text": "ชาวยิวอัชเคนาซิในยุโรปและสหรัฐอเมริกา มักจะอุทานว่า “Keyn aynhoreh” (Thai: ไม่เอานัยน์ตาปีศาจ) ในภาษายิดิช เพื่อเป็นการป้องกันจากการสาปแช่งหลังจากที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับคำชมโดยไม่ทันคิด หรือ หลังจากการประกาศข่าวดี", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#7", "text": "ในสมัยกรีก-โรมันคำอธิบายอย่างมีเหตุผลของอำนาจของนัยน์ตาปีศาจเป็นสิ่งที่ปรากฏทั่วไป คำอธิบายของพลูทาร์คกล่าวว่าตาคือสิ่งที่สำคัญที่สุดถ้าไม่เป็นสิ่งเดียว ที่เป็นที่มาของรังสีที่เป็นอันตรายที่พุ่งออกมาราวกับศรพิษจากส่วนลึกของบุคคลผู้เป็นเจ้าของอำนาจของนัยน์ตาปีศาจ (Quaest.Conv. 5.7.2-3=Mor.80F-81f) พลูทาร์คกล่าวถึงอำนาจของนัยน์ตาปีศาจว่าเป็นสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งไม่อาจจะอธิบายได้ที่เป็นแหล่งของอำนาจอันวิเศษและเป็นที่มาของความน่ากังขา", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#9", "text": "การเผยแพร่ของความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจไปทางตะวันออกเกิดขึ้นระหว่างการขยายอำนาจของอเล็กซานเดอร์มหาราชที่เป็นการเผยแพร่ความเชื่อนี้และความเชื่อต่างๆ ของกรีกไปทั่วจักรวรรดิ", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#0", "text": "นัยน์ตาปีศาจ (English: Evil eye) เป็นการมองที่เชื่อกันในหลายวัฒนธรรมว่าสามารถทำให้ผู้ถูกมองได้รับการบาดเจ็บหรือโชคร้าย อันเกิดจากการจ้องมองด้วยความอิจฉาหรือความเดียดฉันท์ คำนี้มักจะหมายถึงอำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการก่อให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายได้ด้วยการมองอย่างประสงค์ร้าย", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#1", "text": "ความเชื่อดังกล่าวทำให้วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมพยายามหาทางป้องกันก่อนที่จะเกิดสิ่งที่เลวร้ายขึ้น ความคิดและความสำคัญของนัยน์ตาปีศาจก็แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ความเชื่อนี้ปรากฏหลายครั้งในบทแปลของพันธสัญญาเดิม[1] และแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางในบรรดาอารยธรรมของกลุ่มชนต่าง ๆ ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน กรีซคลาสสิกอาจจะเรียนรู้จากอียิปต์โบราณ และต่อมาก็ผ่านความเชื่อนี้ต่อไปยังโรมันโบราณ[2][3]", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#3", "text": "ความเชื่อเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจในรูปแบบหนึ่งกล่าวว่า ผู้หนึ่งตามปกติแล้วจะมิได้เป็นผู้มีความประสงค์ร้ายต่อผู้ใดอาจจะมีอำนาจในการทำร้ายผู้ใหญ่, เด็ก, สัตว์เลี้ยง หรือ สิ่งของได้โดยเพียงแต่จ้องด้วยความอิจฉา คำว่า “Evil” อาจจะเป็นคำที่ทำให้เข้าใจผิดในบริบทนี้ เพราะเป็นคำที่มีนัยยะว่าบุคคลดังกล่าวจงใจที่จะ “แช่ง” ผู้โชคร้าย ความเข้าใจในความคิดเกี่ยวกับ “evil eye” ให้ดีขึ้นอาจจะมาจากคำภาษาอังกฤษสำหรับการจ้องมองด้วยนัยน์ตาปีศาจที่เรียกว่า “overlooking” ที่เป็นนัยยะว่าเป็นการจ้องอย่างจงใจเป็นเวลานานกว่าเหตุต่อสิ่งที่ประสงค์จะจ้องไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์เลี้ยง หรือ สิ่งของ", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#47", "text": "หมวดหมู่:ความเชื่อ หมวดหมู่:อคติ หมวดหมู่:ไสยศาสตร์ หมวดหมู่:การสาปแช่ง หมวดหมู่:ความเชื่องมงาย หมวดหมู่:ปรัมปราวิทยา หมวดหมู่:เครื่องราง", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#44", "text": "นัยนาของโฮรัส - โฮรัสเป็นเทพแห่งท้องฟ้าของอียิปต์โบราณที่มาในรูปของเหยี่ยว ตาขวาเป็นสัญลักษณ์ของตาเหยี่ยวและเครื่องหมายรอบตา ที่บางครั้งก็จะรวมทั้งรอยน้ำตาใต้ตา ตาขวาของโฮรัสตามความเชื่อของวัฒนธรรมอียิปต์โบราณเชื่อกันว่ามีอำนาจในการป้องกันอันตรายจาก “นัยน์ตาปีศาจ” ในอียิปต์สมัยใหม่ก็จะใช้เครื่องรางเช่น “มือฮัมซา” ในการป้องกัน", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#4", "text": "ขณะที่วัฒนธรรมบางวัฒนธรรมเชื่อว่านัยน์ตาปีศาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจโดยผู้ที่โชคร้ายพอที่จะถูกแช่งโดยอำนาจที่มาจากการจ้องมอง แต่กระนั้นก็มีผู้ที่เชื่อว่าเป็นอำนาจที่เกิดขึ้นที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างจงใจแต่ก็เป็นอำนาจที่มาจากความอิจฉา", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#25", "text": "คริสต์ศาสนปราชญ์ของกรีกยอมรับความเชื่อเรื่องนัยน์ตาปีศาจเกี่ยวกับปีศาจ และ ความอิจฉา ในเทววิทยาของกรีกนัยน์ตาปีศาจ หรือ “βασκανία” (vaskania) ถือว่าเป็นสิ่งที่มีอันตรายต่อผู้ที่แสดงใช้ความอิจฉาในการสร้างอันตรายต่อผู้อื่นนอกไปจากผู้ที่ถูกต้องมนต์เอง ลัทธิกรีกออร์โธด็อกซ์มีบทสวดมนต์สำหรับป้องกันจาก “βασκανία”จากหนังสือสวดมนต์ อ “Μέγαν Ιερόν Συνέκδημον” (Mega Hieron Syenekdymon).", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#41", "text": "ในบางส่วนของอเมริกาใต้ การทำ “Ojear” หรือที่แปลว่า “ก่ออันตรายโดยนัยน์ตาปีศาจ” ให้กับเด็ก, สัตว์โดยการจ้อง การกระทำเช่นนี้อาจจะก่อให้เกิดความเจ็บป่วย หรือการใช้งานไม่ได้ถ้าเป็นสิ่งของหรือยานยนตร์ นอกจากนั้นแล้วก็ยังเชื่อกันว่า “การจ้อง” เป็นการกระทำโดยไม่จงใจ ฉะนั้นการป้องกันก็อาจจะทำได้โดยการผูกริบบอนสีแดงกับสัตว์, เด็ก หรือสิ่งของ เพื่อหันเหความสนใจให้ไปจ้องริบบอนแทน[13]", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#2", "text": "แนวความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจเชื่อว่าคนบางคนสามารถนำอันตรายมายังผู้อื่นได้ด้วยการจ้องด้วยตาที่มีเวทมนตร์ที่ประสงค์ร้าย แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นการจ้องด้วยความอิจฉา และความรุนแรงของอันตรายต่อผู้ที่ถูกจ้องก็ต่างกันออกไป ในบางวัฒนธรรมก็กล่าวว่าผู้ถูกจ้องจะประสบกับโชคร้าย หรือในกรณีอื่นก็เชื่อว่าการจ้องจะทำให้ผู้ถูกจ้องป่วย และบางครั้งอาจจะมีอาการหนักถึงเสียชีวิตได้ ในวัฒนธรรมเกือบทุกวัฒนธรรมเหยื่อของเวทมนตร์ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าจะเป็นเด็กหรือทารก เพราะเด็กมักจะได้รับการเยินยอสรรเสริญจากคนแปลกหน้า หรือ จากสตรีที่ไม่มีบุตร แอแลน ดันด์สศาสตราจารย์สาขาวิชาตำนานพื้นบ้านแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อนี้ในวัฒนธรรมต่างๆ และพบว่ามีพื้นฐานร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งที่ว่าการแก้เคล็ดจะเกี่ยวกับการทำให้ชื้น และ การป้องกันจากภัยของการถูกมนต์ขลังของนัยน์ตาปีศาจ ที่ทำได้ด้วยปลาในบางวัฒนธรรมมีความเกี่ยวโยงกับปลาจะเปียกอยู่ตลอดเวลา[4] ดันด์สข้อสังเกตตังกล่าวใน “Wet and Dry: The Evil Eye”", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#42", "text": "ในบราซิลสิ่งที่คล้ายคลึงกับ “นัยน์ตาปีศาจ” คือ “olho gordo” (แปลง่ายๆ ว่า “ตาโต”) เชื่อกันว่าเมื่อถ้าผู้ใดชมสิ่งของที่เป็นของผู้อื่น เจ้าของก็ควรจะระมัดระวังว่าผู้ชมคือใคร ถ้าการชมเป็นไปด้วยความประสงค์ดีก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามสิ่งของนั้นก็อาจจะตกไปเป็นของผู้นั้นหรือสูญหายไป ถ้าสิ่งของได้รับความเสียหายในอนาคตก็เชื่อกันว่าเกิดจากการกระทำของผู้ที่มีความอิจฉาผู้กล่าวชมสิ่งของนั้น", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#30", "text": "“นัยน์ตาปีศาจ” ได้รับการกล่าวถึงหลายครั้งใน “Ethics of Our Fathers” (หลักจริยธรรมของบรรพบุรุษ) โดย Pirkei Avot ในบทที่ 2 กล่าวถึงลูกศิษย์ห้าคนของราไบโยคานัน เบน ซาไคที่ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในแนวทางที่ดีและเลี่ยงการทำความชั่ว ราไบเอลิเอเซอร์กล่าวว่านัยน์ตาปีศาจเลวร้ายกว่าเพื่อน หรือ เพื่อนบ้านที่เลว หรือ ผู้ประสงค์ร้าย ศาสนายูดาห์เชื่อว่า “ตาดี” เป็นตาที่ส่งความประสงค์ดีและความกรุณาต่อผู้อื่น ผู้ที่มีทัศนคติดังกล่าวจะมีความสุขกับการได้ดีของผู้อื่น และเป็นผู้มีความประสงค์ดีต่อเพื่อนมนุษย์ ส่วน “นัยน์ตาปีศาจ” เป็นทัศนคติตรงกันข้าม ผู้ที่เป็นเจ้าของ “นัยน์ตาปีศาจ” นอกจากจะเป็นผู้ที่มีแต่ความทุกข์และจะมีความทุกข์ทรมานเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี แต่จะมีความสุขเมื่อเห็นผู้ใดประสบเคราะห์ ผู้ที่มีบุคลิกดังกล่าวเป็นอันตรายต่อความบริสุทธิ์ของจริยธรรมของคนทั่วไป[10] นี่คือทัศนคติโดยทั่วไปของศาสนายูดาห์เกี่ยวกับ “นัยน์ตาปีศาจ” ผู้ที่มีความเชื่อในคาบาลาห์หรือตำนานความเชื่อเรื่องลึกลับของยิวเชื่อว่าการใช้ด้ายแดงจะช่วยกันภัยจาก “นัยน์ตาปีศาจ” และกล่าวกันว่าการเห็นด้ายแดงตัดกับสีผิวก็ควรจะเป็นเครื่องเตือนเกี่ยวกับบทเรียนของเรเชล และสนับสนุนให้เราประพฤติตัวในวิถีทางที่จะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ชีวิตในทางที่ถูกที่ควร", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#14", "text": "ในบริเวณภูมิภาคอีเจียน และอื่นๆ ที่ผู้มีตาสีอ่อนน้อย ก็เป็นที่เชื่อกันว่าผู้ที่มีตาสีเขียวเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจไม่ว่าจะโดยการจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม[7] ความเชื่อนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากการที่ผู้คนจากต่างวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นกับความเชื่อดังกล่าว เช่นผู้คนจากทางเหนือของยุโรป อาจจะปฏิบัติในสิ่งที่ขัดกับประเพณีท้องถิ่นในการจ้องมองหรือการชมความงามของเด็ก ฉะนั้นในกรีซและตุรกีเครื่องรางที่ใช้ในการต่อต้านอำนาจของนัยน์ตาปีศาจจึงเป็นตาสีฟ้า", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#11", "text": "ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจพบในบทเขียนของอิสลามที่ศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “อิทธิพลของนัยน์ตาปีศาจเป็นเรื่องที่จริง...”[5] นอกจากนั้นกิจการการขจัดนัยน์ตาปีศาจก็ยังเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายโดยมุสลิม เช่นแทนที่จะกล่าวชมความงามของเด็กโดยตรง ก็มักจะกล่าวว่า “ما شاء الل” ที่แปลว่า “ถ้าเป็นสิ่งพระเจ้ามีพระสงค์” แทนที่ ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวว่าเป็นพรที่เป็นอำนาจของพระเจ้าที่ประทานให้บุคคลที่ได้รับการชื่นชม[6] นอกจากจะมีหลักฐานสนับสนุนในบทเขียนของอิสลามแล้ว ก็ยังมีความเชื่ออื่นๆ ในเรื่องนัยน์ตาปีศาจที่ไม่มีหลักฐานยืนยันที่พบในศาสนาพื้นบ้านที่มักจะเกี่ยวกับการใช้เครื่องรางในการป้องกันจากภัยที่อาจจะประสบ", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#10", "text": "ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจที่รุนแรงที่สุดอยู่ในบริเวณตะวันออกกลาง, แอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาตะวันตก, อเมริกากลาง, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ ยุโรป โดยเฉพาะในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ที่นอกจากนั้นแล้วก็ยังเผยแพร่ไปยังบริเวณอื่นที่รวมทั้งตอนเหนือของยุโรป โดยเฉพาะในบริเวณวัฒนธรรมเคลต์ และใน อเมริกา ที่นำเข้าไปโดยนักอาณานิคมยุโรป และต่อมาผู้ย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่มาจากตะวันออกกลาง, แอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาตะวันตก, อเมริกากลาง", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#26", "text": "ในสมัยโรมันโบราณมีผู้ที่เชื่อว่าเครื่องรางองคชาต และ สิ่งตกแต่งเป็นสิ่งที่ใช้กันนัยน์ตาปีศาจ เครื่องรางดังกล่าวในภาษาละตินเรียกว่า “Fascinus” หรือ “หน่อองคชาต” ที่มาจากคำกิริยา “Fascinare” (ต้นรากของคำว่า “Fascinate” ในภาษาอังกฤษ) ที่แปลว่า “แช่งชัก” เช่นเดียวการใช้นัยน์ตาปีศาจ", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#15", "text": "สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อในเรื่องของอำนาจของนัยน์ตาปีศาจ คำเปรยเช่น “to give someone the evil eye” จึงมักจะมีความหมายเพียงว่าเป็นการจ้องมองด้วยความโกรธหรือความเดียดฉันท์เท่านั้น", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#31", "text": "อินเดีย “นัยน์ตาปีศาจ” ที่เรียกว่า “drishtidosham” (แปลตรงตัวว่า “ตาแช่ง”) หรือ “nazar” เป็นตาที่ถอดจาก “Aarti” กระบวนการถอดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แล้วแต่ผู้ถูกถอด ถ้าเป็นการถอด “นัยน์ตาปีศาจ” ของมนุษย์ก็จะมีการทำพิธีไฟศักดิ์สิทธิ์บนถาดตามประเพณีฮินดู โดยการวนถาดหน้าผู้นั้นเพื่อดึงความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นออกจากผู้นั้น บางครั้งผู้ถูกแก้มนต์ก็อาจจะต้องถ่มน้ำลายลงบนกองพริกบนถาด แล้วเอาไปโยนเข้ากองไฟ ถ้ามีควันขึ้นมามากผู้นั้นก็จะถูกเย้ยหยันและจะไม่มีใครจ้องด้วยนัยน์ตาปีศาจได้ แต่ถ้าไม่มีควัน ผู้นั้นก็จะปลอดจาก “นัยน์ตาปีศาจ” แต่ถ้าเป็นยานพาหนะก็จะใช้มะนาวแทนพริก โดยให้รถแล่นทับมะนาวจนแตกเละ แล้วเอามะนาวลูกใหม่แขวนไว้กับพริกเพื่อกัน “นัยน์ตาปีศาจ” ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต การแขวนดังกล่าวอาจจะพบในร้านค้าหรือบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ที่มักจะแขวนกันตรงประตู เจ้าของร้านชาวอินเดียบางคนก็อาจจะเผากระดาษหนังสือพิมพ์แล้วโบกเวียนก่อนที่จะปิดร้านกลับบ้าน", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" }, { "docid": "307962#6", "text": "ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจในสมัยโบราณมีพื้นฐานมาจากหลักฐานของแหล่งข้อมูลเช่น อริสโตฟานีส, เอเธเนียส และ พลูทาร์ค และยังมีผู้คาดกันว่าโสกราตีสเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ และผู้ติดตามและผู้ชื่นชมในตัวโสกราตีสต่างก็หลงเสน่ห์จากการจ้องมองอย่างเอาจริงเอาจังของโสกราตีส ลูกศิษย์ของโสกราตีสเรียกกันว่า “Blepedaimones” ที่แปลว่าการมองอย่างดีมอน (demon) ไม่ใช้เพราะเป็นผู้ที่ถูกสิงหรือมีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ แต่เพราะถูกสงสัยว่าเป็นผู้ที่ตกอยู่ภายใต้การสะกดจิตและอันตรายจากการชักจูงของโสกราตีส", "title": "นัยน์ตาปีศาจ" } ]
4101
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เกิดที่ประเทศอะไร ?
[ { "docid": "4284#3", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลแบร์ก สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี) ขณะที่สมเด็จพระราชชนกทรงศึกษาการแพทย์ที่ประเทศเยอรมนี โดยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล [3][4] โดยสมเด็จพระราชชนนีทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า นันท [5] พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" } ]
[ { "docid": "4284#18", "text": "หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#21", "text": "ในปี พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ให้สำนักพระราชวังจัดสร้างพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลขึ้น ซึ่งเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) สมุหพระราชวัง ได้ปรับปรุงพระราชลัญจกรรูปพระโพธิสัตว์สวนดุสิต ที่เคยใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ โดยการสร้างพระราชลัญจกรนั้น ใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ \"อานันทมหิดล\" ซึ่งหมายถึง เป็นที่ยินดีแก่แผ่นดิน ดังนั้น จึงได้ใช้รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีหมายความเดียวกันว่า เป็นความยินดีและเป็นเดชยิ่งในพื้นพิภพ มาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "66489#4", "text": "เหตุเกิดที่ชั้น 2 ของพระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมหาราชวัง ", "title": "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล" }, { "docid": "4284#34", "text": "โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งแสนบาท สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 1 หลัง หอประชุม 1 หลังพร้อมบ้านพักครูอีก 20 หลัง และในวันที่ 19 กรกฎาคม 2519 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์เสด็จมาเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#17", "text": "การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทำให้เกิดปัญหาในการเรียกขานพระนาม เนื่องจากพระองค์ยังไม่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี แต่ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลว่ายังพอจะสนองพระเดชพระคุณให้สมพระเกียรติได้ ด้วยการเฉลิมพระปรมาภิไธยและถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางองค์ เช่น นพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งใช้กางกั้นพระบรมศพและพระบรมอัฐิ ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย[1]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#52", "text": "รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ราชสกุลวงศ์ในราชวงศ์จักรี วันอานันทมหิดล.", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#51", "text": "พงศาวลีของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร 16. (=20) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย8. (=10) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว17. (=21) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว18. สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์9. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี19. หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา2. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก20. (=16) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย10. (=8) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว21. (=17) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี5. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า22. หลวงอาสาสำแดง (แตง สุจริตกุล)11. สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา23. ท้าวสุจริตธำรง (นาค สุจริตกุล)1. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร12. ชุ่ม ชูกระมล6. ชู ชูกระมล13.3. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี14.7. คำ ชูกระมล15. ผา", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "93741#42", "text": "ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จนิวัติพระนครพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งการเสด็จนิวัติประเทศในครั้งนี้ ทางราชการได้จัดพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ ", "title": "สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย" }, { "docid": "4284#40", "text": "สวนหลวงพระราม 8 เป็นสวนสาธารณะเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด ฝั่งธนบุรี ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชว่า \"สวนหลวงพระราม 8\" ณ สวนแห่งนี้ มีพระบรมราชานุสาวรีย์ที่ทางกรุงเทพมหานคร สร้างร่วมกับกรมศิลปากร ความสูงขนาด 3 เท่าของพระองค์จริง คือ ประมาณ 5.4 เมตร พระอิริยาบถทรงยืน ประดิษฐานบนแท่นที่ความสูงระดับเดียวกันกับราวสะพานพระราม 8 เพื่อเป็นสิริมงคลแก่สวนแห่งนี้ด้วย นอกจากนั้น บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติข้างใต้พระบรมราชานุสาวรีย์ยังจัดให้มีห้องรวบรวมพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจขององค์รัชกาลที่ 8 เพื่อให้ประชาชนที่สนใจพระราชประวัติเข้าไปทรงศึกษาค้นคว้าเรื่องราว[28] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสวนหลวงพระราม 8 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555[29]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#44", "text": "อาคาร \"อปร\" และอาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "415962#1", "text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ที่จะทรงสนับสนุนการพัฒนาประเทศ และทรงตระหนักว่าประเทศไทยยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการต่างๆ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาชาติบ้านเมือง จึงมีพระราชดำริที่จะทรงสนับสนุนให้นักศึกษาและบัณฑิตชาวไทยผู้มีความเป็นเลินทางวิชาการสาขาต่างๆ ได้ไปเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญ ณ ต่างประเทศ จนถึงระดับสูงสุด เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจักได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญนั้นกลับมาพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้น ใน พ.ศ. 2498 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งทุนการศึกษาขึ้นและพระราชทานนามว่า ทุนอานันทมหิดล เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรและได้พระราชทานทุนเริ่มแรกจำนวน 20,000 บาท", "title": "มูลนิธิอานันทมหิดล" }, { "docid": "4284#9", "text": "รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนคร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์ไม่สมบูรณ์แข็งแรงจึงได้เลื่อนกำหนดออกไปก่อน และได้กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2478 แต่ก็ทรงติดขัดเรื่องพระพลานามัยอีกเช่นกัน หลังจากนั้น รัฐบาลได้ส่งพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์) ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชชนนีที่โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้งในปี พ.ศ. 2479 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างเตรียมการเสด็จนิวัตพระนครนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ คณะรัฐบาลใหม่จึงขอเลื่อนการรับเสด็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด[16]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#30", "text": "วัดสุทัศนเทพวรารามถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ ดังนั้น จึงมีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ บริเวณลานประทักษิณ ชั้นล่างมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พระวิหารหลวง พระบรมรูปหล่อด้วยสำริด ขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนยกพื้นสูง มีแผ่นทองเหลืองจารึกเกี่ยวกับกำหนดการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เบื้องหลังเป็นแผ่นหินอ่อนวงโค้ง ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ \"อปร\" ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ[25]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#45", "text": "สืบเนื่องจากความไม่เพียงพอของแพทย์ รัฐบาลจึงมีนโยบายให้คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งผลิตแพทย์เพิ่ม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างตึกใหม่ เพื่อรองรับจำนวนนิสิตแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 90 คนต่อปี โดยได้รับอนุมัติงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2536 และในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญอักษรพระปรมาภิไธย \"อปร\" มาเป็นชื่ออาคาร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งได้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2539 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย \"อปร\" เป็นชื่ออาคาร เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเมื่อวันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2546 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 8 อาคารดังกล่าวเป็นย่อมุม 8 มุม สูง 19 ชั้น บนยอดอาคารประดับอักษรพระปรมาภิไธย \"อปร\" ตั้งอยู่ริมถนนราชดำริ[31] นอกจากนี้ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังมีอาคารอานันทมหิดลอีกด้วย", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#28", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้ทรงปฏิบัติพระราชกิจสำคัญน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เช่น", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "172364#2", "text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉิดโฉม ทรงประชวร พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดให้พระองค์เจ้าเฉิดโฉมเสด็จออกจากพระบรมมหาราชวัง ไปเข้ารับการรักษาพยาบาลอยู่ที่ตึกปัญจมราชินี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเพียงสองวัน สิริพระชนมายุได้ 90 ปี และถือเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สิ้นพระชนม์เป็นลำดับหลังสุด", "title": "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉิดโฉม" }, { "docid": "4284#41", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทุนอานันทมหิดลขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2498 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระองค์มีพระราชดำริที่จะพระราชทานทุนให้นักทรงศึกษาผู้มีความสามารถยอดเยี่ยม ไปทรงศึกษาต่อให้ถึงระดับความรู้ชั้นสูงสุดยังประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาประเทศชาติและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ หลังจากนั้น ได้จัดตั้งขึ้นเป็น มูลนิธิอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2502 เดิมทุนนี้จะพระราชทานให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ แต่เมื่อความต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่น ๆ มีเพิ่มมากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนในสาขาอื่น ๆ ปัจจุบัน การพระราชทานทุนนั้นสามารถแบ่งออกเป็นแผนกต่าง ๆ ได้ ดังนี้ แผนกแพทยศาสตร์ แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกวิศวกรรมศาสตร์ แผนกเกษตรศาสตร์ แผนกธรรมศาสตร์ แผนกอักษรศาสตร์ แผนกทันตแพทยศาสตร์ และแผนกสัตวแพทยศาสตร์ [6]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#38", "text": "เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลมีพระราชปรารภต่อรัฐบาลในสมัยนั้น เรื่องการผลิตแพทย์เพิ่มให้เพียงพอต่อประชาชน อันเป็นจุดกำเนิดโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ของประเทศ ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงได้ติดต่อให้ คุณไข่มุกด์ ชูโต เป็นผู้ออกแบบปั้นพระบรมราชานุสาวรีย์ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมของทองเหลืองและทองแดง มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาเล็กน้อย ประดิษฐาน ณ ลานหน้าอาคาร อานันทมหิดล ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[27]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#20", "text": "นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#32", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2475 เลขประจำพระองค์ 2329 หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงมีความผูกพันกับโรงเรียนเทพศิรินทร์มาโดยตลอด มีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ตลอดจนมวลหมู่ลูกแม่รำเพยทุกคน ซึ่ง พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ มีขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน เช่นเดียวกับ พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ด้วยพระองค์เอง", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#36", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างโรงพยาบาลในจังหวัดลพบุรี และพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า โรงพยาบาลอานันทมหิดล[26] หลังจากการสร้างแล้วเสร็จ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงพยาบาลแห่งนี้เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2481 ดังนั้น คณะกรรมการโรงพยาบาลจึงได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ หน้าตึกอำนวยการของโรงพยาบาล", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#19", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร [20]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#35", "text": "พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงพยาบาลอานันทมหิดล", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#15", "text": "วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศน์เทพวราราม และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม[19]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "66489#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สวรรคตเพราะต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะเทือนต่อการเมืองไทยอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และการลดบทบาททางการเมืองของปรีดี พนมยงค์ ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทุกวันนี้กรณีดังกล่าวยังคงมีการถกเถียงกันอยู่และได้รับความสนใจในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ แต่ไม่เป็นประเด็นสาธารณะเพราะกรณีดังกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยโดยตรง", "title": "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล" }, { "docid": "4284#48", "text": "หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล (20 กันยายน พ.ศ. 2468 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2477) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2477) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (25 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย (11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2559)", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#47", "text": "ในวันอานันทมหิดล มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์, พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ อาคารวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึก, การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชิงโล่พระราชทาน, การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#43", "text": "สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นประจำ จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อเป็นทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัด และส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณรคณะกรรมการจึงได้จัดตั้งเป็น มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2518 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร[16][30]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" } ]
4102
แม่น้ำสินธุ มีความยาวเท่าไหร่?
[ { "docid": "264146#0", "text": "แม่น้ำสินธุ (English: Indus River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในปากีสถาน[1] และเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 21 ในแง่ของการไหลผ่านประจำปี มักถูกพูดว่าเป็นเส้นชีวิตของชาวปากีสถาน ต้นกำเนิดของแม่น้ำอยู่บริเวณที่ราบสูงทิเบต ใกล้กับทะเลสาบมานาซาโรวาร์ ความยาวรวมของแม่น้ำมีความยาว 3,180 กิโลเมตร (1,976 ไมล์) และมีการไหลของน้ำมากกว่า 1,165,000 ตร.กม. (450,000 ตร.ไมล์)", "title": "แม่น้ำสินธุ" } ]
[ { "docid": "41783#0", "text": "ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ ( \"บึงทนฺเลสาบ\") เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 7 เท่า ความลึกโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 10 เมตร และเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ทำให้โตนเลสาบขยายตัวออกกว้างมากถึง 6 เท่า ทะเลสาบเขมรเกิดจากแม่น้ำโขง ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่านมีความยาวถึง 500 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดของกัมพูชา ได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ เป็นทะเลสาบที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมมากแห่งหนึ่งประมาณ 300 ชนิด จึงมีชาวกัมพูชาเป็นจำนวนมากที่ประกอบอาชีพประมงในบริเวณทะเลสาบแห่งนี้", "title": "โตนเลสาบ" }, { "docid": "63678#2", "text": "โดยการเพาะขยายพันธุ์สำเร็จเป็นครั้งแรกที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาท โดยพ่อแม่ปลาเป็นปลาที่จับมาจากแม่น้ำโขง เมื่ออายุประมาณ 1 ปี น้ำหนักประมาณ 100-120 กรัม ใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 ปี ในตู้กระจก จนปลามีความสมบูรณ์เต็มที่เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์พบว่าตัวผู้มีน้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.1 กิโลกรัม โดยตัวผู้มีความยาวครีบท้องมากกว่าตัวเมียถึงสองเท่า ", "title": "ปลาตองลาย" }, { "docid": "746454#0", "text": "แม่น้ำเฌลัม (; ) เป็นแม่น้ำสายหลักในประเทศอินเดียและปากีสถาน เป็นหนึ่งในแม่น้ำใหญ่ทั้งห้าสาย (ปัญจนที) ของภูมิภาคปัญจาบและเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวรวม 725 กิโลเมตร (450 ไมล์) แม่น้ำเฌลัมเป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภูมิภาคปัญจาบ มีต้นน้ำอยู่ที่บ่อน้ำพุเวรีนาค ตีนเขาปีร์ปัญชัล (Pir Panjal) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ไหลผ่านเมืองศรีนครและทะเลสาบวูลาร์ ก่อนจะไหลรวมกับแม่น้ำคุนฮาร์ในหุบเขาคากาน แม่น้ำสายนี้ไหลเข้าแคว้นปัญจาบในปากีสถานที่เขตเฌลัมและไหลผ่านที่ราบปัญจาบไปรวมกับแม่น้ำจนาพที่เขตฌังค์ (Jhang)", "title": "แม่น้ำเฌลัม" }, { "docid": "287239#9", "text": "ระบบการวัดแรกสุดที่ใช้ตุ้มน้ำหนักและมาตรวัดเท่าที่ทราบทั้งหมด ดูเหมือนว่าถูกสร้างขึ้นในบางยุคสมัยระหว่างสหัสวรรษที่ 4–3 ก่อนคริสตกาล ในช่วงที่มีอารยธรรม[[อียิปต์โบราณ]] [[เมโสโปเตเมีย]] และลุ่มแม่น้ำสินธุ และบางทีอาจมี[[เอลาม]] (ในอิหร่าน) ด้วย สิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดระหว่างระบบการวัดโบราณเหล่านี้คือระบบของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ พลเมืองของอารยธรรมนี้ได้รักษาความเที่ยงตรงของการวัดความยาว มวล และเวลาไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม การวัดของพวกเขาแม่นยำมากแม้ว่าจะเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด คือเครื่องหมายขนาด 1.704 มิลลิเมตรบนเถาวัลย์ที่มีสเกลซึ่งค้นพบในเมือง[[ลอทัล]] (Lothal) เป็นหน่วยวัดที่เล็กที่สุดที่บันทึกได้ในใน[[ยุคสำริด]]", "title": "การวัด" }, { "docid": "498577#3", "text": "แต่โลมาแม่น้ำ มีความแตกต่างไปจากโลมากลุ่มอื่น คือ ส่วนจมูกที่เรียวยาวกว่า มีความยาวประมาณ 58 เซนติเมตร (2 ฟุต) หรือประมาณสี่เท่าของความยาวของโลมาทะเล ส่วนใหญ่จะมีดวงตาขนาดเล็ก และมีความสามารถในการมองเห็นน้อยกว่า เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่อาศัยส่วนใหญ่จะเป็นแม่น้ำที่มีน้ำขุ่น สภาพพื้นน้ำเป็นโคลนตมขุ่นมัว นอกจากนี้แล้วโลมาแม่น้ำมีความกระตือรือร้นน้อยกว่าโลมาทะเล อันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการเนื่องจากสภาพแวดล้อม โลมาแม่น้ำจะกินปลาเป็นอาหารหลัก", "title": "โลมาแม่น้ำ" }, { "docid": "164529#0", "text": "แม่น้ำหวางเหอ, หวง หรือ แม่น้ำฮวง, ฮวงโห ( แปลว่า \"แม่น้ำเหลือง\") เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศจีน รองจากแม่น้ำแยงซี และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 6 ของโลก มีความยาว 3,395 ไมล์ หรือ 5,464 กิโลเมตร สูงเหนือระดับน้ำทะเล ถึง 5,400 เมตร (ยาวกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 15 เท่า) ไหลจากฝั่งตะวันตกมาทางตะวันออก ผ่านมณฑลชิงไห่, เสฉวน, กานซู, หนิงเซี่ย, มองโกเลียใน, ซานซี, เหอหนาน และออกสู่ทะเลโป๋ (โป๋ไห่) ใน มณฑลซานตง ซึ่งเป็นทะเลในอ่าวทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน", "title": "แม่น้ำหวง" }, { "docid": "341198#1", "text": "ครั้นพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่แว่นแคว้นดังกล่าวจากทางแม่น้ำสินธุ ก็เกิดเรื่องเล่าใหม่ว่า สตรีผู้หนึ่งซึ่งบุตรถูกนางหาริตีลักไปได้วอนขอให้พระโคตมพุทธเจ้าทรงช่วยปกป้องบุตรนางด้วย พระองค์จึงทรงลักพาไอชี (Aiji) บุตรสุดท้องของนางหารีตีไปซ่อนไว้ได้บาตร นางหารีตีออกตามหาบุตรไปทั่วท้องจักรวาลแต่ก็ไม่พบ ที่สุด นางจึงมาอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า นางเองบุตรหายไปหนึ่งเวลายังเป็นทุกข์ร้อนถึงเพียงนี้ แล้วบิดามารดาผู้อื่นซึ่งบุตรถูกนางลักไปฆ่ากินนั้นจนล่วงลับตลอดไปนั้นจะไม่ร้อนรนเป็นร้อยเท่าพันเท่าหรือ นางหารีตีเมื่อเข้าใจถึงความทุกข์ทรมานใจของบิดามารดาผู้อื่น จึงปวารณาตัวเป็นผู้คุ้มครองเด็กและเป็นอุบาสิกา ทั้งหันไปบริโภคผลมณีพืชแทนเนื้อเด็ก ภายหลัง นางกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการพิทักษ์รักษาเด็ก การคลอดง่าย การเลี้ยงดูอุ้มชูเด็กอย่างมีความสุข ชีวิตคู่ผัวตัวเมียสุขสันต์ปรองดอง และชีวิตครอบครัวร่มเย็นมั่นคง นางหาริตียังคุ้มครองพุทธศาสนิกชนผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑรีกสูตร และสตรีไร้บุตรยังมักกราบไหว้นางหาริตีเพื่อขอบุตรด้วย", "title": "หาริตี" }, { "docid": "818548#0", "text": "แม่น้ำราวี (, ) เป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและทางตะวันออกของประเทศปากีสถาน มีความยาวรวม 720 กิโลเมตร (450 ไมล์) เป็นหนึ่งในแม่น้ำในระบบแม่น้ำสินธุและหนึ่งในแม่น้ำห้าสายแห่งภูมิภาคปัญจาบ", "title": "แม่น้ำราวี" }, { "docid": "4775#12", "text": "พื้นที่ด้านตะวันตกเป็นป่าไม้และภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับพม่า เฉพาะในเขตจังหวัดเพชรบุรีมีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร แม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี มีความยาวตลอดสาย 227 กิโลเมตร แม่น้ำบางกลอย มีความยาว 44 กิโลเมตร และแม่น้ำบางตะบูน มีความยาว 18 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยหนาแน่นทางตะวันออกของพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดเพชรบุรี แบ่งเป็น 3 เขต คือ", "title": "จังหวัดเพชรบุรี" }, { "docid": "7137#13", "text": "สภาพพื้นที่ทั่วไปไม่มีภูเขาสูง เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำท่าตะเภา ในอำเภอเมืองชุมพร มีความยาว 33 กิโลเมตร แม่น้ำสวี ในอำเภอสวี มีความยาว 50 กิโลเมตร และ แม่น้ำหลังสวน ในอำเภอหลังสวน มีความยาว 100 กิโลเมตร แม่น้ำทุกสายไหลลงสู่อ่าวไทย ในทะเลนอกฝั่งของจังหวัดชุมพร มีเกาะน้อยใหญ่เกือบ 50 เกาะ", "title": "จังหวัดชุมพร" }, { "docid": "320930#7", "text": "การเป็นติ่ง อะไรบางอย่าง ทำให้คนในสังคมไม่ค่อยชอบนัก เช่น การเป็นติ่งวัฒนธรรมของชาติอื่น เพราะทำให้คนในสังคมมีความคิด ความรู้สึกว่า คนพวกนี้ไม่รักชาติ แต่ความคิดนี้ไม่ถูกเสียเท่าไหร่ เพราะการที่ไปชอบวัฒนธรรมของชาติอื่น ไม่ได้หมายความว่าไม่รักชาติ เอาตรงนี้มาตัดสินไม่ได้", "title": "ติ่งหู" }, { "docid": "101715#1", "text": "ส่วนที่ลึกที่สุดของทะเลอาหรับลึก 4,652 เมตร ส่วนที่ยาวที่สุดยาว 2,400 กิโลเมตร แม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดที่ไหลลงทะเลอาหรับคือแม่น้ำสินธุ", "title": "ทะเลอาหรับ" }, { "docid": "202395#6", "text": "แต่เดิมในบริเวณนี้มีคลองบางยางเป็นคลองธรรมชาติแยกจากแม่น้ำท่าจีน มีความยาว 3.8 กิโลเมตร เมื่อเริ่มขุดคลองดำเนินสะดวกจึงขุดต่อจากต้นคลองบางยางไปออกแม่น้ำแม่กลอง มีประตูน้ำกั้นคลองบางยางกับคลองขุดใหม่ ถ้านับตามนี้จะมีความยาว 840 เส้น (32กิโลเมตร) แต่ถ้าหากเริ่มนับตั้งแต่แม่น้ำท่าจีนจะมีความยาว 895 เส้น (35.8 กิโลเมตร)", "title": "คลองดำเนินสะดวก" }, { "docid": "629506#23", "text": "การวัดจะอ้างจากกลุ่ม(reference group)ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีรอบของประจำเดือน(menstrual cycle) 28 วัน และเป็นวันเริ่มทางธรรมชาติในการคลอดบุตร ความหมายคือ ช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์จะอยู่ช่วงประมาณ 283.4 วันของอายุครรภ์(gestational age) โดยเริ่มการนับคือวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย(last menstrual period) ที่จะต้องจดจำได้โดยแม่, และ 280.6 วันโดยการประมาณการอายุครรภ์จากการวัดเวลาอัลตราซาวนด์การคลอดบุตร(obstetric ultrasound)ของเส้นผ่าศูนย์กลางความยาวของกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ (fetal biparietal diameter ย่อว่า BPD) ในไตรมาสที่สอง[26] ส่วนขั้นตอนวิธีการอื่นนั้นต้องคำนึงถึงตัวแปรที่มีความหลากหลายอื่นๆ เช่น เป็นลูกคนแรกหรือเป็นลูกคนที่เท่าไหร่ (เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่เป็น ผู้ที่คลอดบุตร/ตั้งครรภ์ครั้งแรก(primipara) หรือผู้ที่คลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง/ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง(multipara) เชื้อชาติของ, อายุ, ระยะของรอบเดือนและความสม่ำเสมอของมารดา) แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็ไม่ค่อยได้ใช้ในสำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อให้มีสิ่งอ้างอิงถึงมาตรฐาน ระยะเวลาของการตั้งครรภ์โดยปกติทั่วไปคือ 280 วัน (หรือ 40 สัปดาห์) ของอายุครรภ์", "title": "การตั้งครรภ์" }, { "docid": "351493#0", "text": "แม่น้ำอาเร () เป็นสาขาของแม่น้ำไรน์ เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดที่มีต้นกำเนิดและสิ้นสุดในภายในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แม่น้ำมีความยาวตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดบรรจบกับแม่น้ำไรน์ มีความยาวราว 295 กม.", "title": "แม่น้ำอาเร" }, { "docid": "749874#0", "text": "แม่น้ำสตลุช (; ; (ศตทรุ)) เป็นแม่น้ำในประเทศอินเดียและปากีสถาน เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดและอยู่ทางตะวันออกสุดของบรรดาแม่น้ำห้าสาย (ปัญจนาที) ของภูมิภาคปัญจาบ และเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวประมาณ 1,500 กิโลเมตร (932 ไมล์) มีต้นน้ำอยู่ที่ทะเลสาบรากษสตาล (Lake Rakshastal) ทางใต้ของเขาไกรลาสในทิเบต ก่อนจะไหลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 260 กิโลเมตร (160 ไมล์) เข้าประเทศอินเดียทางช่องเขาชิปกีลา (Shipki La) แล้วไหลลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 360 กิโลเมตร (220 ไมล์) ไปรวมกับแม่น้ำบีอาส ที่ใกล้เมืองมาคู (Makhu) รัฐปัญจาบ แม่น้ำสายนี้จะไหลเข้าประเทศปากีสถานต่อไปเพื่อไปรวมกับแม่น้ำจนาพ กลายเป็นแม่น้ำปันชนัทที่ตำบลพหาวัลปุระ (Bahawalpur) แคว้นปัญจาบ และไหลไปรวมกับแม่น้ำสินธุในที่สุด", "title": "แม่น้ำสตลุช" }, { "docid": "169196#9", "text": "Leganchor the Gelroid ร่าง Pseudoroid ที่อดีตเป็นชายชราที่ไม่ค่อยจะมีความเป็นมาที่ดีเท่าไหร่ เพราะเขามักจะพูดถึงเหล่าวัยหนุ่มสาวที่ไม่มีความเคารพผู้สูงอายุตามประสาคนชราที่ใจแคบหรือเอาแต่ใจ หลังจากที่เขากลายเป็นผู้รอดชีวิตจากการจลาจลของอิเรกูลาร์ที่คาดว่าจะ ต้องเสี่ยงตาย โดยที่ไม่มีพวกหนุ่มสาวที่เขาชอบบ่นได้ยื่นมือมาช่วยเหลือเลย เซนปัลเห็นจุดนี้ของเขาจึงได้มอบพลังให้", "title": "ร็อคแมน ZX" }, { "docid": "3966#0", "text": "เทือกเขาหิมาลัย () เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า \"หิมาลัย\" มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง \"ที่อยู่ของหิมะ\" (\"หิม\" + \"อาลย\") เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง", "title": "เทือกเขาหิมาลัย" }, { "docid": "4893#15", "text": "กำหนดสามเหลี่ยม ABC มีด้านสามด้านที่มีความยาว a,b และ c และ formula_6 เราจะต้องพิสูจน์ว่ามุมระหว่าง a และ b เป็นมุมฉาก ดังนั้น เราจะสร้างสามเหลื่ยมมุมฉากที่มีความยาวของด้านประกอบมุมฉาก เป็น a และ b แต่จากทฤษฎีบทปีทาโกรัส เราจะได้ว่าด้านตรงข้ามมุมฉาก ของสามเหลื่ยมรูปที่สองก็จะมีค่าเท่ากับ c เนื่องจากสามเหลี่ยมทั้งสองรูปมีความยาวด้านเท่ากันทุกด้าน สามเหลี่ยมทั้งสองรูปจึงเท่ากันทุกประการแบบ \"ด้าน-ด้าน-ด้าน\" และต้องมีมุมขนาดเท่ากันทุกมุม ดังนั้นมุมที่ด้าน a และ b มาประกอบกัน จึงต้องเป็นมุมฉากด้วย", "title": "ทฤษฎีบทพีทาโกรัส" }, { "docid": "357548#1", "text": "เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนา เช่นในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า\nแต่ปัจจุบัน พบหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ\nโบราณสถานเหอหมู่ตู้ ในประเทศจีน หรือ 7,000 ปีมาแล้ว ได้พบข้าวโบราณจำนวน 12 ตัน และเครื่องมือแปรรูปธัญพืช 170 กว่าชิ้น ในโบราณสถานเหอหมู่ตู้ เมืองอวี๋หยาว ", "title": "ประวัติศาสตร์โลก" }, { "docid": "380738#0", "text": "แม่น้ำแมกเคนซี (; ) เป็นแม่น้ำในดินแดนนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ ประเทศแคนาดา ไหลจากทางตะวันตกสุดของทะเลสาบเกรตสเลฟไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลงสู่อ่าวแมกเคนซีในทะเลโบฟอร์ต มหาสมุทรอาร์กติก เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศแคนาดา มีความยาว 1,738 กม. (1,080 ไมล์) แต่ถ้ารวมความยาวกับแม่น้ำพีซและแม่น้ำฟินลีย์เข้าไปด้วยจะมีความยาวเป็น 4,241 กิโลเมตร (2,635 ไมล์) จัดเป็นแม่น้ำยาวเป็นอันดับ 2 ของทวีปอเมริกาเหนือ แม่น้ำแมกเคนซีและแควย่อย มีปริมาณน้ำไหล 1,805,200 ตร.กม. (697,000 ตร.ไมล์) หรือไหล 10,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (380,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวินาที)", "title": "แม่น้ำแมกเคนซี" }, { "docid": "993377#1", "text": "เมืองตั้งอยู่บนแควของแม่น้ำสินธุ ห่างจากเมืองเปศวาร์ไปทางทิศใต้ 60 กม. ติดต่อกับเปศวาร์โดยใช้ช่องเขาโกหัตที่มีความกว้าง 360 ม. ถึง 2 กม. ยาว 21 กม.", "title": "โกหัต" }, { "docid": "14558#0", "text": "แม่น้ำอะเมซอน (บราซิล : ริโอ อมาซอนนาส (Rio Amazonas) , ; ; ,) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,992 กิโลเมตรน้ำที่มีปากแม่น้ำกว้างที่สุดในโลก ซึ่งอยู่บริเวณทางเหนือของบราซิล แม่น้ำแอมะซอนเป็นแม่น้ำสายที่มีปริมาณน้ำมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ไหลออกยังมหาสมุทรแอตแลนติกมากถึง 45 ล้านแกลลอนต่อวินาทีในฤดูฝน ฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนเฉลี่ยปีละ 3 เมตร (สูงสุด 6 เมตร) แต่ฝนจะตกเพียงไม่กี่เดือน ต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนตุลาคม น้ำจะลดปริมาณลงจนเห็นสันทรายและเกิดเป็นทะเลสาบต่าง ๆ บางแห่งตัดขาดจากกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมป่าทุกปี ในเนื้อที่ประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดเท่าประเทศอังกฤษ และยังถือเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากถึง 1 ใน 5 ส่วนของโลก มีแม่น้ำสาขาที่แยกออกจากแอมะซอนมากกว่า 1,100 สาขา อีกทั้งยังถือเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ปลามากที่สุดในโลก กว่า 3,000 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกเสียอีก", "title": "แม่น้ำแอมะซอน" }, { "docid": "818548#3", "text": "แม่น้ำราวีเป็นหนึ่งในแม่น้ำสามสาย (อีกสองสายคือ แม่น้ำบีอาสและแม่น้ำสตลุช) ที่อยู่ในการดูแลของอินเดียตามสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ มีการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำในด้านประมงและชลประทาน และมีการสร้างเขื่อนรันชีตสาครขึ้นเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้เมืองปฐานโกฏ เริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1981 สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2001 มีความจุ 3,280 ล้านลูกบาศก์เมตร มีโรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิต 600 เมกะวัตต์", "title": "แม่น้ำราวี" }, { "docid": "746778#0", "text": "แม่น้ำบีอาส (; ; ) เป็นแม่น้ำทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งในแม่น้ำใหญ่ทั้งห้าสาย (ปัญจนที) ของภูมิภาคปัญจาบและเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวรวม 470 กิโลเมตร (290 ไมล์) มีพื้นที่ลุ่มน้ำกว้างถึง 20,303 ตารางกิโลเมตร (7,839 ตารางไมล์) แม่น้ำบีอาสมีต้นน้ำอยู่ทางทิศใต้ของช่องเขาโรห์ตัง (Rohtang Pass) ในเทือกเขาหิมาลัย รัฐหิมาจัลประเทศ ตัดผ่านเขตมัณฑี (Mandi) และเข้าเขตกางครา (Kangra) ก่อนจะอ้อมเนินเขาศิวาลิกในเมืองโหศยารปุระ (Hoshiarpur) และไหลผ่านเป็นพรมแดนระหว่างเมืองอมฤตสาร์กับเมืองกปูรถลา (Kapurthala) ไปบรรจบกับแม่น้ำสตลุชที่พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองกปูรถลา แม่น้ำบีอาสเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านทรัพยากรน้ำระหว่างอินเดียกับปากีสถาน", "title": "แม่น้ำบีอาส" }, { "docid": "92401#3", "text": "เคยมีการสันนิษฐานว่าจมูกที่ยาวของมีไว้เพื่อใช้ในการว่ายน้ำ แต่เหตุผลข้อนี้ก็ต้องตกไป เพราะตัวเมียก็ว่ายน้ำเหมือนกัน แต่ตัวเมียกลับมีจมูกที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของตัวผู้ นักชีววิทยาบางกลุ่มก็สันนิษฐานว่า จมูกมีหน้าที่ในการระบายอากาศจากภายในร่างกาย เนื่องจากตัวผู้มีขนาดตัวและมีกระเพาะที่ใหญ่มาก ภายในร่างกายจึงมีความร้อนมาก บ้างก็อธิบายโดยใช้หลักการของชาร์ล ดาร์วิน ว่า ตัวเมียจะชอบตัวผู้ที่มีจมูกใหญ่ เมื่อนานเข้าตัวผู้ที่มีจมูกเล็กจึงลดจำนวนลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหลือแต่ตัวที่จมูกใหญ่ คล้ายกับว่ายิ่งตัวผู้มีจมูกยาวใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นที่สนใจของตัวเมียมากขึ้นเท่านั้น ", "title": "ลิงจมูกยาว" }, { "docid": "135543#0", "text": "ผู้หญิง คือมนุษย์เพศหญิง โดยมากมักใช้ในความหมายของผู้ใหญ่ แต่ก็มีความหมายถึงการระบุแยกแยะว่าเป็น มนุษย์เพศหญิง ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ผู้หญิงจะมีโครโมโซม XX ในขณะที่ผู้ชายจะมีโครโมโซม XY", "title": "ผู้หญิง" }, { "docid": "9919#1", "text": "ตัวเลขดรรชนีหักเหนั้นโดยทั่วไปมีค่ามากกว่าหนึ่ง โดยยิ่งวัสดุมีความหนาแน่นมากเท่าไหร่ แสงก็จะเดินทางได้ช้าลงเท่านั้น", "title": "ดรรชนีหักเห" }, { "docid": "633862#0", "text": "แม่น้ำเจมส์ () เป็นแม่น้ำในรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา มีความยาว 560 กิโลเมตร (348 ไมล์) แต่ถ้านับแม่น้ำแจ็คสันด้วย ก็จะมีความยาว 715 กิโลเมตร มีบริเวณลุ่มน้ำ 27,020 ตารางกิโลเมตร (10,432 ตารางไมล์) แม่น้ำเจมส์เป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ 12 ของสหรัฐอเมริกาที่อยู่ภายในหนึ่งรัฐทั้งหมด", "title": "แม่น้ำเจมส์" } ]
4103
ใครเป็นผลิตดาวเทียมดวงแรกของไทย?
[ { "docid": "74481#3", "text": "ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)", "title": "ดาวเทียมไทยคม" } ]
[ { "docid": "788843#0", "text": "ไทยคม 6 () เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทยของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และถือเป็นดาวเทียมไทยคมดวงที่ 6 โดยถูกยิงขึ้นจากฐาน ณ แหลมคะแนเวอรัล ในรัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2557 โดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ ดาวเทียมไทยคม 6 โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ตำแหน่งเดียวกับดาวเทียมไทยคม 5 ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก มีจานรับส่งสัญญาณ ซี-แบนด์ (C-Band) จำนวน 18 ช่องรับส่ง และเคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 6 ช่องรับส่ง ซึ่งครอบคลุมการแพร่สัญญาณในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด", "title": "ไทยคม 6" }, { "docid": "74481#19", "text": "การส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจร เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับ ให้ไทยคมมีช่องสัญญาณเพียงพอต่อการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ของไทย โดยเฉพาะทีวีดิจิตอล โดยเสริมช่องสัญญาณบนดาวเทียมไทยคม 5 และ 6 ที่ให้บริการเต็มในปัจจุบัน การมีดาวเทียมเพิ่มเติมอีกดวงหนึ่งนี้ จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการให้บริการและช่วยขยายตลาดของไทยคมในต่างประเทศด้วย", "title": "ดาวเทียมไทยคม" }, { "docid": "74481#2", "text": "ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารภายใต้ชื่อ ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 8 ดวง ใช้งานได้จริง 5 ดวง ดังนี้", "title": "ดาวเทียมไทยคม" }, { "docid": "618657#139", "text": "ดาวเทียมสภาพอากาศเป็นดาวเทียมประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นหลักในการเฝ้าดูสภาพอากาศและ สภาพภูมิอากาศของโลก. ดาวเทียมสภาพอากาศดวงแรก, Vanguard 2, ถูกยิงขึ้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1959, แม้ว่าดาวเทียมสภาพอากาศดวงแรกที่จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นความสำเร็จจะเป็น TIROS-1 ซึ่งยิงขึ้นโดยองค์การนาซ่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1960.[124]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "108249#0", "text": "ไทยทีวีโกลบอลเน็ทเวิร์ค () เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 โดยได้แพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ เพื่อคนไทยที่อาศัยอยู่ทั่วโลก 170 ประเทศ และต่างชาติที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทย ก่อนมีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 จึงเป็นโทรทัศน์ดาวเทียมแห่งเดียวที่ ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิงออกไปสู่สายตาของผู้ชมทั่วโลกโดย ออกอากาศ 24 ชั่วโมงต่อวัน ส่งสัญญาณ รายการผ่านดาวเทียมถึง 5 ดวง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 177 ประเทศทั่วโลก ผังรายการ TGN เป็นผังรายการที่จัดขึ้นใหม่ แยกจากผังรายการของ ททบ.5 แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เป็นรายการที่ TGN เป็นผู้ผลิตเอง, ผู้จัดรายการผลิตรายการขึ้นใหม่เพื่อเช่าเวลา ส่วนที่เหลือเป็นรายการที่เช่าเวลากับ ททบ.5 นำมาเช่าเวลาเพื่อออกอีกรอบทาง TGN รวมถึงรายการถ่ายทอดสดที่รับสัญญาณจากททบ.5 ลและจากสถานีอื่นที่ไม่ใช่ ททบ.5 (เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย,เอ็นบีทีเวิลด์ ฯลฯ)ดังนั้น ผังรายการ TGN จึงมีรายการที่มีความหลากหลายน่าสนใจ\nสามารถรับชม TGN ได้ 170 ประเทศ ทั่วโลก ได้แก่สถานีโทรทัศน์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดำเนินการโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย\nสถานีโทรทัศน์เพื่อเศรษฐกิจและการลงทุน ดำเนินการโดย บริษัท แฟมมิลี่โนฮาว จำกัด\nช้อป แชนแนล ทีวีช้อปปิ้งอันดับ 1 ของญี่ปุ่น ดำเนินการโดย บริษัท ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด", "title": "ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก" }, { "docid": "2795#12", "text": "ดวงตา 1 ล้านโวลต์ พอคุณแปะก็จะทำให้คนอื่นหลงรัก ดอกไม้ลบความจำ ถ้าใครดมดอกไม้นี้เข้าไป จะทำให้ลืมทุกสิ่งทุกอย่างที่จะทำแค่ชั่วคราว โดยที่ปรากฏในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะและอัศวินแดนวิหค ได้ถูกใช้เพื่อให้ยามที่เฝ้าซูเนะโอะและไจแอนท์ภายในห้องขังลืมเรื่องกฎหมายของเบิร์ดโดเปีย (คิบิ) ดังโงะ (ตรา) โมโมทาโร่ [16,พิเศษ 1] ดูรายละเอียดที่ ดังโงะโมโมทาโร่(ตอน ทาร์ซานอวกาศ) ดาบแบ่งครึ่ง [42] ใช้ดาบนี้แบ่งหนึ่งกล่องใบก็จะกลายเป็นกล่องสองใบขนาดลดลงครึ่งนึงถ้าผ่าทีวีก็จะดูได้เหมือนเดิมแต่มีทีวีสองเครื่องขนาดลดลงครึ่งหนึ่ง(ตอน ครึ่งของครึ่งของครึ่ง) ด้ายผูกมัด [31] เมื่อเอาไปมัดตรงใดตรงหนึ่งตัวเราจะมีอาการเคลื่อนไหวคล้อยตามสิ่งนั้นๆ (ตอน ด้ายผูกมัดกระชับร่าง) ดวงดาวภาวนา ถ้าขอสิ่งใดจะทำให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา แต่ดาวขอพรนั้น เพราะด้วยความชำรุดทำให้หูฟังไม่ชัดและเข้าใจผิด ทำให้ในบางครั้งอาจจะส่งอย่างอื่นให้เราแทน เพราะสิ่งที่เราต้องการ (ในภาษาญี่ปุ่น) นั้น เป็นคำพ้องเสียงกับของที่ส่งมา จึงควรระมัดระวัง(ตอน ดาวขอพร) ดาวเทียมถ่ายทอดอากาศ [26] ไม่มีข้อมูล(ตอน ดาวเทียมถ่ายทอดอากาศ) ดาวเทียมส่วนบุคคล [พิเศษ 3] ดาวเทียมจะโคจรไปรอบโลกแล้วส่งภาพถ่ายมาที่เครื่องควบคุม สามารถเปลี่ยนวงโคจรได้ ดินสอเขียนเงิน [25] เมื่อเขียนจำนวนเงินลงบนกระดาษแล้ว กระดาษแผ่นนั้นจะกลายเป็นเงินได้(ตอน ร่ำรวยด้วยดินสอ) ดินสอคอมพิวเตอร์ [1] เมื่อใช้ดินสอนี้จะสามารถเขียนคำตอบให้กับคำถามได้โดยอัตโนมัติ เหมาะกับใช้ในการทำการบ้าน หรือในการสอบ(ตอน ขอให้ได้ร้อยคะแนนสักครั้งในชีวิต) ดินแห่งจิตใจ [26] ถ้าโปรยรอบๆ สถานที่ๆ มีต้นไม้ ก็จะมีชีวิตขึ้นมาเอง(ตอน ป่าไม้มีชีวิต) โดราโบรท ถึงเป็นเพียงแค่เรือคายัคธรรมดา แต่สามารถนั่งได้ถึง 5 คน ดวงอาทิตย์มินิ ให้แสงสว่างได้เวลาอยู่ในที่มืด", "title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน" }, { "docid": "82735#5", "text": "1. เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทย ที่มีชื่อว่า ดาวเทียมไทยโชต ", "title": "สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)" }, { "docid": "320837#0", "text": "มูลนิธิโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติผ่านดาวเทียม จัดตั้งขึ้นด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยทุกคน โดยมุ่งผลิตและเผยแพร่รายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ตลอดจนข่าวพระราชกรณียกิจของทุกพระองค์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ผลิตและเผยแพร่สารคดีเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ของทุกพระองค์ โดยออกอากาศในระบบดาวเทียม (DSTV) (KU-BAND), ระบบเคเบิลใยแก้ว (CATV) และระบบเคเบิลทีวี (True Visions 163) เป็นประจำทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 06.00 น.-12.00 น. และ 24.00 น.-02.00 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 06.00 น.-09.00 น. และ 24.00 น.-02.00 น.เพื่อปลูกจิตสำนึกของเด็ก, เยาวชน และประชาชนชาวไทยให้มีความจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นสถาบันสูงสุดของประชาชนชาวไทยทุกคน (ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553)", "title": "สถานีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติผ่านดาวเทียม" }, { "docid": "485694#6", "text": "โทรศัพท์ถูกติดตั้งขึ้นมาแทนที่ โดยเชื่อมต่อดาวเทียมหลายดวงเข้าด้วยกัน โดยมีดาวเทียม Intelsat ของสหรัฐฯ 2 ดวง และดาวเทียม Molniya II ของโซเวียตอีก 2 ดวง เชื่อมต่อกัน การปรับปรุงครั้งนี้ใช้เวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 ถึง 1978 ในระหว่างการปรับปรุง มีการเลิกใช้สายส่งสัญญาณวิทยุ Washington-Tangier-Moscow", "title": "สายตรงมอสโก–วอชิงตัน" }, { "docid": "60933#3", "text": "โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมากๆ (amptitude) ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า \"aerospike\" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสุญญากาศ ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม โดยมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล และประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์ หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้ เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อยๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ", "title": "ดาวเทียม" }, { "docid": "121130#0", "text": "sun outage เป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อโลก ดาวเทียม และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ทำให้จานสายอากาศของสถานีภาคพื้นดิน รับสัญญาณจากดวงอาทิตย์(ที่เป็นแหล่งกำเหนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกำลังงานขนาดมหาศาล) ซึ่งจะผลิตสัญญาณทุกย่านความถี่ เกิดขึ้นเป็นสัญญาณรบกวน ปะปนเข้ามากับสัญญาณสื่อสารข้อมูล ที่สถานีภาคพื้นดินนั้นๆรับจากดาวเทียม ทำให้สถานีสื่อสารภาคพื้นดิน ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเหตุการณ์ sun outage จะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลานาน 5-10 วัน วันละประมาณ 15 นาที และการเกิดปรากฏการ sun outage นี้จะเกิดกับสถานีดาวเทียมที่ติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ไม่พร้อมกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสถานีภาคพื้นดินบนพื้นโลก ", "title": "ซันเอาท์เทจ" }, { "docid": "74435#0", "text": "ดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) หรือ ดาวเทียมธีออส (THEOS: Thailand Earth Observation Satellite) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย \nโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี \nร่วมกับ บริษัท อี เอ ดี เอส แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท \nนับเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้", "title": "ดาวเทียมไทยโชต" }, { "docid": "458406#1", "text": "สถานีภาคพื้นดินรับสัญญาณดาวเทียม SMMS (Small Multi Mission Satellite) “HJ-1A” กับ Mr.Zhang Xiaodong, Vice President, China Great Wall Industry Company และ Mr.Xu Wen, General Director, China Center for Resource Satellite Data and Applications (CRESDA) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสภาเทคโนโลยีอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Academy Space Technology: CAST) ผู้ผลิตและส่งมอบ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 โดยมก.ได้จัดสร้างสถานีรับสัญญาณดาวเทียม SMMS “HJ-1A) ร่วมกับศูนย์ประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมสำรวจโลกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CRESDA) ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงไอซีที ดาวเทียม SMMS ได้ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพสีแบบ CCD ที่สามารถถ่ายภาพได้กว้างถึง 720 กิโลเมตร และอุปกรณ์ถ่ายภาพ Hyperspectrum แบบ 115 แถบความถี่ โดยสามารถรับข้อมูลจากดาวเทียม SMMS โดยตรงวันละ 1-2 รอบ เพื่อให้นักวิจัยของไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลดาวเทียมได้มากขึ้นและเสริมสร้างศักยภาพในการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมในกิจการสำคัญ ๆ เช่น ภัยพิบัติดินถล่ม น้ำท่วม ภัยแล้ง การวางแผนทางการเกษตร การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการประเมินผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น ทั้งนี้ได้ทำการทดสอบการรับสัญญาณข้อมูลดาวเทียม SMMS ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 และทดสอบการดำเนินการระบบในภาพรวม (operational test run)", "title": "สถานี​รับ​สัญญาณดาวเทียม​จุฬาภรณ์" }, { "docid": "128991#7", "text": "ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)", "title": "ดาวเทียมสื่อสาร" }, { "docid": "128991#5", "text": "วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1965 COMSAT ส่งดาวเทียม “TELSAT 1” หรือในชื่อว่า EARLY BIRD ส่งขึ้นเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ถือว่าเป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร เพื่อการพานิชย์ดวงแรกของโลก ในระยะหลังมี่่อินโดนีเซีย ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ชื่อ \"ไทยคม\" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารภายใต้ชื่อ ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 7 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง ดังนี้", "title": "ดาวเทียมสื่อสาร" }, { "docid": "784747#0", "text": "ไทยคม 8 () เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทยจากดาวเทียมไทยคมซีรีส์ ประกอบการโดยบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน), บริษัทสาขาของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และถือเป็นดาวเทียมไทยคมดวงที่ 8 ", "title": "ไทยคม 8" }, { "docid": "46151#34", "text": "ความจริงเหตุการณ์ครั้งนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 11 ปีมาแล้ว แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์รู้อีกว่า ทุกๆ 11 ปีจะเกิดเหตุการณ์พายุสุริยะ ที่รุนแรงบนดวงอาทิตย์อีก ดังนั้นปี พ.ศ. 2543 จึงเป็นปีที่นักวิทยาศาสตร์คาดหวังจะเห็นโลกถูกดวงอาทิตย์คุกคามอย่างหนักอีก ครั้งหนึ่ง และเมื่อขณะนี้โลกมีดาวเทียมที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ประมาณ 800 ดวงและสหรัฐอเมริกาเองก็มีโครงการจะส่งนักบินอวกาศ ขึ้นไปสร้างสถานีอวกาศนานาชาติในปีนั้นอีกเช่นกัน บุคลากรและดาวเทียมเหล่านี้จึงมีโอกาสถูกพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดกระหน่ำ จนเป็นอันตรายได้ ก็ในเมื่อเวลาพายุไต้ฝุ่นหรือทอร์นาโดจะพัด เรามีสัญญาณเตือนภัยห้ามเรือเดินทะเลและให้ทุกคนหลบลงไปอยู่ห้อง ใต้ดิน จนกระทั่งพายุพัดผ่านไป การเตือนภัยพายุสุริยะก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน เพราะถ้าเรารู้ว่าพายุสุริยะกำลังจะมาถึงโลก โรงไฟฟ้า ก็ต้องลดการผลิตกระแสไฟฟ้า คือไม่ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกจากเครื่องเต็มกำลังเพราะถ้าไฟฟ้าเกิดช็อต ภัยเสียหายก็จะไม่มาก ดังนั้น การแก้ไขล่วงหน้าก็จะสามารถทำให้ความหายนะลดน้อยลง แต่ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญสภาวะของอวกาศ วันนี้ก็ดีพอๆ ความสามารถของนักอุตุนิยมวิทยาที่สามารถทำนายสภาพของอากาศ บนโลก เมื่อ 40 ปีมาแล้ว ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์สภาวะแวดล้อมของอวกาศ (Space Environment Center) ขึ้นมา โดยให้นักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ทำนายสภาพของอวกาศล่วงหน้า และผลงานการพยากรณ์เท่าที่ผ่านมาได้ทำให้เรารู้ว่า คำพยากรณ์นี้มี เปอร์เซ็นต์ถูกถึง 90% ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดในหนึ่งชั่วโมง แต่เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดก็จะสูง ถ้าเป็นกรณีการทำนายล่วงหน้า หลายวัน", "title": "ออโรรา (ดาราศาสตร์)" }, { "docid": "4817#26", "text": "ดาวเทียมเทลสตาเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ใช้งานถ่ายทอดโดยตรงในเชิงพาณิชย์ เป็นของ AT & T ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างชาติ ระหว่าง AT & T, Bell Telephone Laboratories, นาซ่า, การไปรษณีย์อังกฤษ และการไปรษณีย์แห่งชาติฝรั่งเศส เพื่อพัฒนาการสื่อสารดาวเทียม Relay 1 ถูกส่งขึ้นไปเมื่อ 13 ธันวาคม 1962 และกลายเป็นดาวเทียมดวงแรก ที่จะส่งสัญญาณออกอากาศข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อ 22 พฤศจิกายน 1963 .", "title": "โทรคมนาคม" }, { "docid": "52640#22", "text": "Explorer 1 – ดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐ Project SCORE – ดาวเทียมสื่อสารดวงแรก Solar and Heliospheric Observatory (SOHO) - โคจรรอบดวงอาทิตย์ใกล้ L1 Sputnik 1 – ดาวเทียมดวงแรกของโลก Sputnik 2 – สัตว์ตัวแรกในวงโคจร (ไลก้า) Sputnik 5 – แคปซูลตัวแรกที่กู้ได้จากวงโคจร (ตัวที่มาก่อน Vostok ) – สัตว์รอดชีวิต Syncom – ดาวเทียมสื่อสารแบบ geosynchronous ดวงแรก Hubble Space Telescope – การสำรวจวงโคจรที่ใหญ่ที่สุด Boeing X-37]] – spaceplane", "title": "ยานอวกาศ" }, { "docid": "618657#146", "text": "การนำวิถีทั่วโลกด้วยระบบดาวเทียม (English: global navigation satellite system (GNSS)) ให้ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ครอบคลุมทั่วโลก. GNSS ยอมให้เครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กสามารถกำหนดตำแหน่งของตัวเอง เช่น ลองจิจูด, ละติจูด และระดับความสูงให้ภายในระยะไม่กี่เมตรโดยใช้สัญญาณเวลาที่ส่งไปตามเส้นสายตา(English: line of sight)โดยสัญญาณวิทยุจากดาวเทียมในอวกาศ. เครื่องรับบนพื้นดินที่มีตำแหน่งคงที่ยังสามารถถูกนำมาใช้ในการคำนวณเวลาที่แม่นยำเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์. ระบบแรกดังกล่าวคือ\"Transit\", ถูกพัฒนาโดยห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ของ Johns Hopkins University ภายใต้การนำของ ริชาร์ด Kershner. การพัฒนาระบบสำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯเริ่มต้นขึ้นในปี 1958 และดาวเทียมต้นแบบ Transit 1A, ถูกยิงขึ้นในเดือน กันยายน 1959. ดาวเทียมดวงนี้ล้มเหลวในการที่จะไปถึงวงโคจร. ดาวเทียมดวงที่สอง, Transit 1B, ถูกยิงขึ้นประสบความสำเร็จในวันที่ 13 เมษายน 1960 โดยจรวด Thor-Ablestar. การส่งดาวเทียมTransitดวงสุดท้ายเกิดขึ้นในเดือน สิงหาคม 1988.[129]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "74481#5", "text": "ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)", "title": "ดาวเทียมไทยคม" }, { "docid": "11586#0", "text": "ไทยคม 4 (THAICOM 4) หรือ ไอพีสตาร์-วัน (IPStar-1) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทยของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และเป็นดาวเทียมไทยคมดวงที่ 4 ดาวเทียมไทยคม 4 เคยเป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่และมีน้ำหนักมากที่สุดในโลก ณ วันที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจร", "title": "ไทยคม 4" }, { "docid": "396744#0", "text": "NOAA เป็นชื่อที่ใช้เรียกดาวเทียมขององค์กร NOAA ของสหรัฐ (ชื่อดาวเทียมคือ Advanced Television Infrared Observation Satellite ย่อเป็น TIROS-N หรือ ATN) ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจอุตุนิยมวิทยา ที่มีวงโคจรในแนวเหนือใต้ ดาวเทียมในชุดนี้จะทำงานพร้อมกัน 2 ดวง เพื่อให้ได้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในบริเวณต่างๆ ทุก 6 ชั่วโมง ดวงหนึ่งจะตัดแนวเส้นศูนย์สูตรจากเหนือลงใต้เวลา 7.30 น. (เรียก morining orbit มีระดับวงโคจรที่ 830 กม.) อีกดวงจะตัดแนวเส้นศูนย์สูตรจากเหนือลงใต้เวลา 13.40 น.(เรียก afternoon orbit มีระดับวงโคจรที่ 870 กม.)", "title": "NOAA" }, { "docid": "194871#0", "text": "โอสุมิ (ภาษาญี่ปุ่น おおすみ, \"Ōsumi\" ) \nเป็น ดาวเทียมดวงแรกของญี่ปุ่น \nและเป็นดวงแรกของเอเชีย \nทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ 4 (ถัดจากฝรั่งเศส) ที่ส่งดาวเทียมสู่วงโคจรด้วยตนเอง ", "title": "ดาวเทียมโอซุมิ" }, { "docid": "52271#3", "text": "ดาวเทียมของจีพีเอสเป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 20,000 กิโลเมตร จากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ ที่ความเร็ว 4 กิโลเมตร/วินาที การโคจรแต่ละรอบนั้นสามารถได้เป็น 6 ระนาบ ระนาบละ 4 ดวง ทำมุม 55 องศา โดยทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียม 24 ดวง หรือมากกว่า เพื่อให้สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก ปัจจุบัน เป็นดาวเทียม GPS Block-II มีดาวเทียมสำรองประมาณ 4-61 ดวง", "title": "ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก" }, { "docid": "804147#45", "text": "ค.ศ. 1957 ขีปนาวุธอาร์-7 เป็นขีปนาวุธข้ามทวีปลูกแรก[21] ค.ศ. 1957 สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมดวงแรก ค.ศ. 1957 ไลก้า เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศในสปุตนิก 2 ค.ศ. 1959 ลูนา 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดวงจันทร์[22] ค.ศ. 1959 ลูนา 2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดวงจันทร์ [23] ค.ศ. 1959 ลูนา 3 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ถ่ายภาพแรกของอีกฟากหนึ่งของดวงจันทร์ [24] ค.ศ. 1960 เบลก้า (Belka) และ สเตรลก้า (Strelka) ในสปุตนิก 5 เป็นสิ่งมีชีวิตเดินทางไปอวกาศและกลับมาอย่างปลอดภัย ค.ศ. 1961 เวเนรา 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดาวศุกร์ [25] ค.ศ. 1961 ยูริ กาการินเป็นมนุษย์คนแรกในอวกาศ ใน วอสตอค 1 ค.ศ. 1961 คนแรกที่จะใช้เวลาในอวกาศ 24 ชั่วโมงคือ Gherman Titov ใน วอสตอค 2[17] ค.ศ. 1962 วอสตอค 3และวอสตอค 4 เป็นการปล่อยยานคู่กันเป็นครั้งแรก [26] ค.ศ. 1962 มาร์ส 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดาวอังคาร ค.ศ. 1963 วาเลนตีนา เตเรชโควา เป็นผู้หญิงคนแรกในอวกาศใน วอสตอค 6 [27] ค.ศ. 1964 วอสฮอด 1 เป็นยานที่สามารถบรรทุกลูกเรือได้3 คนลำแรก ค.ศ. 1965 อเล็กซี ลีโอนอฟ เป็นมนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ ใน วอสฮอด 2[28] ค.ศ. 1965 เวเนรา 3 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดาวศุกร์ ค.ศ. 1966 ลูนา 9 เป็นดาวเทียมดวงแรกลงจอดบนดวงจันทร์ ค.ศ. 1966 ลูนา 10 เป็นยานที่ลงจอดบนดวงจันทร์ลำแรก ค.ศ. 1967 คอสมอส186 กับ คอสมอส188 เป็นการนัดพบและเทียบท่าไร้คนขับครั้งแรก ค.ศ. 1968 สิ่งมีชีวิตตัวแรกที่โครงจรรอบดวงจันทร์และกลับมาอย่างปลอดภัย เต่ารัสเซีย ในซอนด์ 5 ค.ศ. 1969 โซยุซ 4และโซยุซ 5 เป็นการนัดพบและเทียบท่าแบบมีคนขับครั้งแรก ค.ศ. 1970 ลูนา 16 เป็นยานที่มีการเก็บตัวอย่างหินดวงจันทร์โดยใช้ยานระบบอัตโนมัติครั้งแรก[29] ค.ศ. 1970 ลูโนฮอด 1 การนำหุ่นสำรวจอัตโนมัติมาใช้บนดวงจันทร์ครั้งแรก ค.ศ. 1970 เวเนรา 7 เป็นยานอวกาศที่ลงจอดและสำรวจดาวศุกร์ยานแรก [30] ค.ศ. 1971 ซัสยุส 1 เป็นสถานีอวกาศลำแรก ค.ศ. 1971 มาร์ส 2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดาวอังคาร ค.ศ. 1971 มาร์ส 3 เป็นยานอวกาศลำแรกที่จะลงจอดบนดาวอังคาร ค.ศ. 1975 เวเนรา 9 ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวศุกร์เป็นภาพแรก [31] ค.ศ. 1980 Arnaldo Tamayo Méndez (คิวบา) เป็นชาวลาตินและผิวสีคนแรกในอวกาศ โซยุซ 28[32][33] ค.ศ. 1984 Svetlana Savitskaya เป็นผู้หญิงคนแรกที่เดินในอวกาศ ในสถานีอวกาศซัสยุส 7 ค.ศ. 1986 ลูกเรือใน สถานีอวกาศซัสยุส 7กับสถานีอวกาศเมียร์ เป็นลูกเรือชุดแรกที่เยือนสถานีอวกาศสองที่ ในภารกิจเดี่ยวกัน ค.ศ. 1986 เวกา 1 และ เวกา 2 เป็นยานแรกที่ใช้บอลลูนบังคับในการสำรวจดาวศุกร์ และการถ่ายภาพระยะใกล้ของดาวหางครั้งแรก ค.ศ. 1986 สถานีอวกาศเมียร์ เป็นสถานีอวกาศแบบประกอบลำแรก ค.ศ. 1987 Vladimir Titov และ Musa Manarov เป็นลูกเรือชุดแรกที่จะใช้เวลาในอวกาศ มากกว่า1ปี[34] ในโซยุซทีเอ็ม-4", "title": "โครงการอวกาศโซเวียต" }, { "docid": "128991#2", "text": "ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ข้อคิดในบทความของอาร์เธอร์ ซี คลาร์ก เริ่มเป็นจริงขึ้นมาเมื่อสหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียมสปุตนิก ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1958 สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารดวงแรกที่ชื่อว่า สกอร์ (SCORE) ขึ้นสู่อวกาศ และได้บันทึกเสียงสัญญาณที่เป็นคำกล่าวอวยพรของดไวต์ ดี. โอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ เนื่องเทศกาลคริสต์มาสจากสถานีภาคพื้นดินแล้วถ่ายทอดสัญญาณจากดาวเทียมลงมาสู่ชาวโลก นับเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงจากดาวเทียมภาคพื้นโลกได้เป็นครั้งแรก", "title": "ดาวเทียมสื่อสาร" }, { "docid": "3841#19", "text": "วันที่ 9 ตุลาคม 2009 ครบ 100 วันการส่ง LCROSS ไปโคจรรอบดวงจันทร์ ทางนาซ่าก็ยิงจรวดที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียมพร้อมกับปล่อยให้ตัว ดาวเทียมตกกระทบพื้นดวงจันทร์ นาซ่าก็แถลงผลวิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์บนดาวเทียมว่า ฝุ่นที่กระจายขึ้นมานั้นมีน้ำประมาณ 90 ลิตร", "title": "ดวงจันทร์" }, { "docid": "204997#0", "text": "โครงการแวนการ์ด () เป็นโครงการของ \"หน่วยวิจัยกองทัพเรืออเมริกา\" () ที่มีแผนจะปล่อยดาวเทียมดวงแรกของประเทศอเมริกาโดยใช้จรวดแวนการ์ด เนื่องจากการล้ำหน้าของสหภาพโซเวียตที่ปล่อยดาวเทียม Sputnik 1 เมื่อ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ทำให้อเมริกาต้องรื้อฟื้นโครงการ Explorer ที่ถูกยกเลิกไป ก่อนที่โครงการทั้ง 2 ของอเมริกาจะเสร็จสิ้น โซเวียตได้ล้ำหน้าไปอีกด้วยการปล่อยดาวเทียมดวงที่ 2 คือ Sputnik 2 เมื่อ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957 และการปล่อยจรวด Vanguard TV3 เมื่อ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1957 ที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ แต่จรวดกลับพุ่งขึ้นจากแท่นยิงได้เพียง 4 ฟุต (1.2 เมตร) หรือเพียง 2 วินาที ก็ตกลงมา และระเบิด โชคดีที่ดาวเทียมที่อยู่ส่วนบนเสียหายไม่มาก ยังคงซ่อมแซมได้ สุดท้ายเมื่อ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 ดาวเทียม Vanguard 1 ได้กลายเป็นดาวเทียมดวงที่ 2 ของประเทศอเมริกา ส่วนดวงแรกก็คือ Explorer 1 ที่ปล่อยเมื่อ 31 มกราคม ค.ศ. 1958", "title": "โครงการแวนการ์ด" } ]
4104
ในพืชมี ดีเอ็นเอหรือไม่?
[ { "docid": "3098#2", "text": "ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์[1] ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหัส", "title": "ดีเอ็นเอ" } ]
[ { "docid": "476145#0", "text": "เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA Marker) หมายถึง ลำดับเบสช่วงหนึ่งของดีเอ็นเอที่ใช้เป็นเครื่องหมายบ่งชี้ความเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิต โดยอาจมีตำแหน่งบนโครโมโซม ในนิวเคลียส (nuclear DNA) หรือใน ออร์แกเนลล์ (mitochondria DNA หรือ chloroplast DNA) และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ พืชแต่ละชนิดแต่ละสายพันธุ์ มีการจัดเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอที่เป็นเอกลักษณ์ ความแตกต่างหรือโพลีมอร์ฟิซึม การใช้ดีเอ็นเอเป็นเครื่องหมายในการบ่งบอกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต สามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบลักษณะของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ โดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า(polymorphisms) ของลำดับเบสในโมเลกุลของดีเอ็นเอนี่เอง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างกัน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลได้ “ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ” (DNA Fingerprinting) ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้น หมายถึง แบบแผนดีเอ็นเอที่จำเพาะของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ นั่นเอง สามารถนำมาตรวจสอบความแตกต่างหรือโพลีมอร์ฟิซึมของสิ่งมีชีวิตหรือสายพันธุ์พืชที่ต้องการตรวจสอบได้", "title": "เครื่องหมายดีเอ็นเอ" }, { "docid": "476142#1", "text": "คือ แถบดีเอ็นเอที่มีขนาดแตกต่างกันที่เกิดจากการเข้าคู่ระหว่างชิ้นดีเอ็นเอขนาดต่างๆ ที่สามารถเข้าคู่กับชิ้นดีเอ็นเอตรวจสอบได้ บนแผ่นเม็มเบรนพิเศษจากการทำปฏิกิริยาของสารกัมมันตรังสีบนชิ้นดีเอ็นเอตรวจสอบ ซึ่งขนาดของชิ้นดีเอ็นเอที่ได้เป็นผลมาจากความหลากหลายของตำแหน่งจดจำ (recognition site) ของเอนไซม์ตัดจำเพาะบนสายดีเอ็นเอนั้นๆ", "title": "RFLP" }, { "docid": "686167#35", "text": "น้ำมันพืชจะไม่มีโปรตีนหรือดีเอ็นเอจากพืชจีเอ็มเดิมหรือมีในปริมาณที่น้อยเต็มที น้ำมันพืชถูกทำจากไตรกลีเซอไรด์ที่สกัดจากพืชหรือเมล็ดพืชแล้วกลั่น จากนั้นอาจผ่านกระบวนการต่อไปผ่านทาง hydrogenation เพื่อเปลี่ยนน้ำมันจากของเหลวให้เป็นของแข็ง กระบวนการกลั่น ลบทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดของส่วนผสมที่ไม่ใช่ไตรกลีเซอไรด์", "title": "อาหารดัดแปรพันธุกรรม" }, { "docid": "3103#23", "text": "พืชดัดแปลงพันธุกรรม () หรือ \"พืชจีเอ็ม\" หรือ \"พืชเทคโนโลยีชีวภาพ\" เป็นพืชที่ใช้ในการเกษตร, ดีเอ็นเอของมันได้รับการแก้ไขโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม. ในกรณีส่วนใหญ่จุดมุ่งหมายคือเพื่อแนะนำลักษณะทางชีวภาพใหม่ให้กับพืชที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสปีชีส์.", "title": "เทคโนโลยีชีวภาพ" }, { "docid": "686167#6", "text": "นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบในปี 1946 ว่าดีเอ็นเอสามารถถ่ายโอนระหว่างสิ่งมีชีวิต ครั้งแรกของพืชดัดแปรพันธุกรรมถูกผลิตขึ้นในปี 1983 โดยใช้พืชยาสูบที่ทนต่อยาปฏิชีวนะ ในปี 1994 การดัดแปรพันธุกรรมมะเขือเทศ Flavr SAVR ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสำหรับการตลาดในสหรัฐอเมริกา การดัดแปลงทำให้มะเขือเทศชะลอการสุกหลังจากเก็บเกี่ยว ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 chymosin recombinant ได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้ในหลายประเทศทดแทนกระเพาะวัวในการทำเนยแข็ง", "title": "อาหารดัดแปรพันธุกรรม" }, { "docid": "24220#27", "text": "ถ้าเป็น ดีเอ็นเอ สายเดียว (+) ก็จะสร้าง ดีเอ็นเอ สาย (-) ก่อน ดีเอ็นเอ สาย (-) ก็จะเป็นแม่พิมพ์ในการสร้าง ดีเอ็นเอ สาย (+) ต่อมาเฉพาะ ดีเอ็นเอ สาย (-) เท่านั้นจะสลายเหลือแต่ ดีเอ็นเอ สาย (+) อย่างเดียว", "title": "ไวรัส" }, { "docid": "53095#22", "text": "ประมาณ 10% เท่านั้นของแบคทีเรียที่โดยธรรมชาติมีความสามารถดูดกลืนดีเอ็นเอต่างถิ่น. อย่างไรก็ตาม, ความสามารถนี้สามารถถูกเหนี่ยวนำให้เกิดในเชื้อแบคทีเรียอื่นผ่านความเครียด (เช่นช็อกด้วยความร้อนหรือไฟฟ้า), จึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการซึมผ่านของเยื่อหุ้มเซลล์ให้กับดีเอ็นเอ, ดีเอ็นเอที่ถูกดูดกลืนสามารถรวมเข้ากับจีโนมหรือมีอยู่เป็นดีเอ็นเอแบบหลายโครโมโซม (English: extrachromosomal DNA). ดีเอ็นเอถูกแทรกโดยทั่วไปเข้าสู่เซลล์สัตว์โดยใช้ microinjection, ที่มันสามารถถูกฉีดผ่านเปลือกนิวเคลียร์ของเซลล์โดยตรงเข้าสู่นิวเคลียสหรือผ่านการใช้ viral vectors[63]. ในพืช, ดีเอ็นเอถูกแทรกโดยทั่วไปโดยใช้การรวมแบบพึ่งพาแบคทีเรียเกษตร ([Agrobacterium-mediated recombination]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) หรือ biolistics(การฉีดเซลล์ด้วย gene gun)[64].", "title": "พันธุวิศวกรรม" }, { "docid": "556442#7", "text": "ที่ราชวิทยาลัยลอนดอน มอริสได้ศึกษาการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของดีเอ็นเอที่ได้จากต่อมไทมัสของลูกวัว โดยมีรูดอล์ฟ ซิกเนอร์ (Rudolf Signer) นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสเป็นผู้สกัดดีเอ็นเอ นอกเหนือจากการง่วนกับงานวิจัยสาขาอื่น ๆ มอริสค้นพบว่า ดีเอ็นเอจากห้องปฏิบัติการของซิกเนอร์มีสภาพสมบูรณ์กว่าดีเอ็นเอที่แยกได้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้เขายังพบว่าสามารถผลิตเส้นใยดีเอ็นเอที่เรียงตัวเป็นระเบียบเพื่อนำไปถ่ายภาพผลึกด้วยรังสีเอกซ์[6] จากการเลือกเส้นใยดีเอ็นเออย่างระมัดระวัง และใส่น้ำตลอดเวลาให้เส้นใยพองตัว มอริสและนักศึกษาปริญญาเอก เรย์มอนด์ กอสลิง ก็สามารถถ่ายภาพรังสีเอกซ์ของดีเอ็นเอได้ จากภาพแสดงให้เห็นว่าโมเลกุลดีเอ็นเอเป็นเพียงภาพผลึกธรรมดา ภาพนี้ถูกนำไปเสนอต่อที่ประชุม จนเจมส์ วัตสันก็เริ่มสนใจในดีเอ็นเอ[7] นอกจากนี้ มอริสยังได้ชักชวนฟรานซิส คริก ให้มาทำงานนี้ด้วยกัน กระนั้น มอริสยังคงคิดว่า หากใช้ดีเอ็นเอบริสุทธิ์ จะต้องใช้เครื่องมือรังสีเอกซ์ที่ดีกว่านี้ จึงได้ตัดสินใจซื้อหลอดรังสีเอกซ์และกล้องเล็กใหม่", "title": "มอริส วิลคินส์" }, { "docid": "641168#0", "text": "อันดับหน่อไม้ฝรั่งหรือAsparagales เป็นอันดับของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ใช้การจัดจำแนกพืชระบบ APG III ตั้งชื่อตามวงศ์ Asparagaceae อันดับนี้เสนอขึ้นครั้งแรกโดย Huber เมื่อ พ.ศ. 2520 และต่อมาได้นำไปใช้ในระบบ Dahlgren system]] ใน พ.ศ. 2528 ก่อนหน้านี้ สมาชิกส่วนใหญ่ของอันดับนี้เคยอยู่ในอันดับ Liliales ซึ่งเป็นที่รวมของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่กลีบรวมมีสี และไม่สะสมแป้งในเอนโดสเปิร์ม แต่จากการศึกษาทางด้านดีเอ็นเอได้แสดงให้เห็นว่าอันดับ Liliales ควรแ่บ่งออกเป็นอย่างน้อย 3 อันดับคือ Liliales, Asparagales และ Dioscoreales", "title": "อันดับหน่อไม้ฝรั่ง" }, { "docid": "476130#6", "text": "คือ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่เกิดจากการทำ AFLP มีลักษณะเป็นลายพิมพ์แบบสุ่ม (random fingerprint) ซื่งใช้กับดีเอ็นเอใดๆก็ได้ ไม่ขึ้นกับขนาดและความซับซ้อนของจีโนม สามารถปรับให้เกิดลายพิมพ์ที่เหมาะสมโดยการปรับจำนวนเบสคัดเลือกที่ปลาย 3’ ของไพรเมอร์ที่ใช้ แม้ว่าวิธีการทำ AFLP จะค่อนข้างยุ่งยาก แต่ผลที่ได้นับว่าดี เพราะสามารถทำซ้ำได้ผลคงเดิม (reproducible) และสามารถเลือกคู่ผสมของไพรเมอร์ได้หลายแบบ ทำให้เกิดลายพิมพ์ดีเอ็นเอจำนวนมาก ในการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยไรเมอร์คู่หนึ่งๆ นั้นจะเกิดแถบดีเอ็นเอจำนวนมากในเวลาเดียวกัน แบบของแถบดีเอ็นเอที่แตกต่างกันในแต่ละตัวอย่าง หรือพอลิเมอร์ฟิซึมที่เกิดขึ้น มาจากการเปลี่ยนแปลงเบส (point mutation) มีตำแหน่งจดจำของเอนไซม์ ทำให้ตำแหน่งจดจำของเอนไซม์หายไปหรือเกิดขึ้นใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงของเบสที่ตำแหน่งติดกับตำแหน่งจดจำของเอนไซม์ ตรงส่วนที่มีการเพิ่มเบสเพื่อคัดเลือกของไพรเมอร์ที่ใช้ ทำให้สามรถหรือไม่สามารถเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอดังกล่าวแล้วแต่กรณี หรือ อาจเกิดจากมีชิ้นดีเอ็นเอสั้นๆ ขาดหายไป หรือ สอดแทรกเข้ามา(deletion/insertion) ในระหว่างตำแหน่งตัดจำเพาะของเอนไซม์ ผลที่เกิดขึ้น คือ การมีแถบดีเอ็นเอหรือไม่มีแถบดีเอ็นเอที่ตำแหน่งนั้นๆ หรือชิ้นดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณได้มีขนาดเปลี่ยนไป การถ่ายทอดลักษณะของแถบดีเอ็นเอจากการทำ AFLP จึงมีทั้งแบบที่แสดงลักษณะข่ม (dominance) โดยปรากฏเป็นการมีหรือไม่มีแถบดีเอ็นเอ และแบบที่แสดงลักษณ์ข่มร่วมกัน (codominance) โดยปรากฏเป็นแถบดีเอ็นเอที่มีขนาดต่างกัน โดยทั่วไปจะพบเครื่องหมาย AFLP (AFLP marker) แบบที่เป็นลักษณะข่มมากกว่า", "title": "เอเอฟแอลพี" }, { "docid": "448304#0", "text": "การซ่อมแซมดีเอ็นเอ () คือชุดของกระบวนการที่เซลล์ตรวจพบและแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอที่ประกอบกันเป็นจีโนมของเซลล์นั้น ในเซลล์มนุษย์กระบวนการเผาผลาญตามปกติและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น รังสียูวีหรือรังสีอื่นทำให้ดีเอ็นเอเสียหายและก่อให้เกิดรอยโรคระดับโมเลกุลได้สูงสุดถึงหนึ่งล้านตำแหน่งต่อเซลล์ต่อวัน รอยโรคเหล่านี้หลายอันทำให้เกิดความเสียหายระดับโครงสร้างของโมเลกุลดีเอ็นเอ และอาจส่งผลเปลี่ยนแปลงหรือระงับความสามารถของเซลล์ที่จะถอดรหัสยีนที่สร้างจากดีเอ็นเอส่วนนั้นๆ รอยโรคบางแบบอาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในจีโนมของเซลล์ซึ่งมีโอกาสเป็นอันตรายได้ ทำให้ส่งผลต่อการอยู่รอดของเซลล์ที่ได้จากการแบ่งตัวของเซลล์นั้นๆ เช่นนั้นแล้วกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอจึงเป็นกระบวนการที่มีการทำงานตลอดเวลาเพื่อตอบสนองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างดีเอ็นเอ หากกระบวนการซ่อมแซมล้มเหลว และเซลล์ที่มีดีเอ็นเอที่เสียหายนั้นไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการอะพอพโทซิสหรือกระบวนการทำลายเซลล์ตามปกติได้สำเร็จ จะเกิดเป็นความเสียหายต่อดีเอ็นเอที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ อาจเกิดเป็นจุดแตกหักของโครงสร้างเกลียวคู่ หรือเกิดการจับใหม่ข้ามจุด (crosslink) ของดีเอ็นเอ", "title": "การซ่อมแซมดีเอ็นเอ" }, { "docid": "5186#42", "text": "ระหว่างการถ่ายแบบดีเอ็นเอนั้นอาจเกิดความผิดพลาดระหว่างการต่อสายดีเอ็นเอสายที่สอง ความผิดพลาดนี้เรียกว่าการกลายพันธุ์ โดยปกติแล้วอัตราการเกิดความผิดพลาดนั้นมีต่ำมากที่ประมาณ 1 ครั้งในทุก ๆ 10-100 ล้านเบส เนื่องจากในเอนไซม์ดีเอ็นเอโพลีเมอเรสที่ทำหน้าที่ในกระบวนการถ่ายแบบดีเอ็นเอนั้นมีกระบวนการตรวจทานอยู่ หากไม่มีกระบวนการตรวจทานนี้อัตราการเกิดความผิดพลาดอาจเพิ่มขึ้นเป็นพันเท่า (ดังนั้นไวรัสซึ่งใช้เอนไซม์ดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสที่ไม่มีการตรวจทานจึงเกิดการกลายพันธุ์ได้มาก) สิ่งใดที่เพิ่มอัตราการเกิดความผิดพลาดในการถ่ายแบบดีเอ็นเอเรียกว่าสารก่อกลายพันธุ์ ซึ่งสารเคมีที่เป็นสารก่อกลายพันธุ์จะทำให้การถ่ายแบบดีเอ็นเอมีความผิดพลาดมากขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการรบกวนโครงสร้างของการจับคู่เบส ในขณะที่รังสีอัลตราไวโอเลตนั้นก่อการกลายพันธุ์โดยการทำลายโครงสร้างดีเอ็นเอโดยตรง ในธรรมชาติก็มีสารเคมีทำลายโครงสร้างดีเอ็นเออยู่เนือง ๆ แต่เซลล์มีกลไกซ่อมแซมดีเอ็นเออยู่ซึ่งซ่อมแซมดีเอ็นเอที่จับคู่ผิดและสายแตกได้ อย่างไรก็ดีกระบวนการซ่อมแซมเหล่านี้บางครั้งก็ยังไม่สามารถคืนลำดับดีเอ็นเอให้เหมือนเดิมได้", "title": "พันธุศาสตร์" }, { "docid": "53095#18", "text": "ขั้นตอนแรกคือการเลือกและแยกยีนที่จะแทรกเข้าไปในสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม. ณ ปี 2012, ในพืชจีเอ็มเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่มียีนที่โอนเข้ามาในตัวมันที่ให้การป้องกันแมลงหรือทนทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช[50]. ยีนสามารถแยกได้โดยการใช้เอนไซม์ข้อจำกัด (English: restriction enzymes) เพื่อตัดดีเอ็นเอให้เป็นเศษๆและใช้วิธี gel electrophoresis เพื่อแยกพวกมันออกตามความยาว[51]. ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอร์ (PCR) ยังสามารถเพื่อขยายขึ้นส่วนของยีน, ซึ่งจากนั้นจะสามารถแยกได้ผ่านวิธีการ gel electrophoresis[52]. ถ้ายีนที่ถูกเลือกหรือจีโนมของสิ่งมีชีวิตผู้บริจาคได้มีการศึกษามาดี, มันก็อาจจะปรากฏในห้องสมุดทางพันธุกรรม. ถ้ารู้ลำดับดีเอ็นเอ, แต่ไม่มีสำเนาของยีน, มันก็สามารถถูกสังเคราะห์แบบเทียมได้[53].", "title": "พันธุวิศวกรรม" }, { "docid": "5186#26", "text": "ยีนจัดเรียงตัวเป็นเส้นตรงตามสายลำดับคู่เบสดีเอ็นเอ โดยในแบคทีเรียดีเอ็นเอเหล่านี้จะเรียงตัวเป็นวงกลมเรียกว่าจีโนฟอร์ ขณะที่ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตยูคารีโอต (รวมถึงพืชและสัตว์) จะเรียงตัวเป็นเส้นตรงหลายอันเรียกว่าโครโมโซม สายดีเอ็นเอเหล่านี้ส่วนใหญ่จะยาวมาก ตัวอย่างเช่นโครโมโซมที่ยาวที่สุดของมนุษย์มีความยาวประมาณ 247 ล้านคู่เบส ดีเอ็นเอในโครโมโซมจะจับกับโปรตีนโครงร่างซึ่งจัดระเบียบและควบคุมการแสดงออกของดีเอ็นเอให้เกิดเป็นรูปร่างที่เรียกว่าโครมาติน ในเซลล์ยูคารีโอตนั้นโครมาตินมักประกอบด้วยนิวคลีโอโซม โดยส่วนของดีเอ็นเอจะพันล้อมโปรตีนฮิสโตน สารพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต (โดยทั่วไปคือลำดับดีเอ็นเอทั้งหมดในทุกโครโมโซม) เรียกรวมว่าจีโนม", "title": "พันธุศาสตร์" }, { "docid": "24220#26", "text": "ดีเอ็นเอ สร้าง ดีเอ็นเอ ซึ่งยีนของไวรัสเป็น ดีเอ็นเอ เช่น ไวรัสฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ถ้าเป็นดีเอ็นเอ สองสาย (+ และ -) เฉพาะ ดีเอ็นเอ สาย (+) จะสร้าง ดีเอ็นเอ สาย (-) ส่วน ดีเอ็นเอ สาย (-) จะสร้าง ดีเอ็นเอ สาย (+) ทำให้ ดีเอ็นเอ สองสาย ทั้งคู่ใหม่และคู่เก่าเหมือนกันทุกประการ", "title": "ไวรัส" }, { "docid": "907473#0", "text": "ไพรเมอร์ () เป็นสายสั้น ๆ ของอาร์เอ็นเอหรือดีเอ็นเอ (ปกติมีจำนวน 18 ถึง 22 เบส) ที่ทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของการจำลองดีเอ็นเอเนื่องจากดีเอ็นเอพอลิเมอเรส (เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยากระบวนการนี้) สามารถเพิ่มนิวคลีโอไทด์เบสใหม่บนสายดีเอ็นเอที่มีอยู่แล้วได้เท่านั้น ซึ่งการใช้ไพรเมอร์นี้จะใช้ในการสร้างดีเอ็นเอสายใหม่ ทั้งสายแบบต่อเนื่อง (leading strand) และสายแบบไม่ต่อเนื่อง (lagging strand) ไพรเมอร์ส่วนใหญ่แล้วสร้างโดยดีเอ็นเอไพรเมสในรูปของอาร์เอ็นเอไพรเมอร์ หรือในรูปของดีเอ็นเอไพรเมอร์ในสัตว์บางชนิด", "title": "ไพรเมอร์" }, { "docid": "476130#1", "text": "การเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอที่มาจากการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ ทำได้โดยการเชื่อมต่อ adapter เข้าที่ปลายของชิ้นดีเอ็นเอต่อจากตำแหน่งตัดจำเพาะของเอนไซม์ โดย adapterเป็นดีเอ็นเอสายคู่ชิ้นสั้นๆ ที่มีปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเหนี่ยว เหมือนกับปลายโมเลกุลของดีเอ็นเอที่ตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะที่เลือกใช้ ดังนั้น จึงสามารถเชื่อมต่อกับชิ้นดีเอ็นเอที่ตัดไว้โดยใช้ปลายเหนี่ยว (sticky end ligation) และจะทำหน้าที่เป็นตำแหน่งที่จับของไพรเมอร์ในการทำ PCR ต่อไป ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ ชิ้นดีเอ็นเอที่ได้จากการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะก็จะสามารถเพิ่มปริมาณได้โดยใช้ไพรเมอร์ที่มีลำดับเบสตรงกับส่วนของ adapter รวมกับส่วนของเบสที่ตำแหน่งตัดจำเพาะของเอนไซม์ อย่างไรก็ตาม จำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่สามารถเพิ่มปริมาณได้ในคราวเดียวกันมีมาก และไม่สามารถจะแยกจากกันหรือตรวจสอบโดยวิธีทั่วๆไป เช่น การทำอิเล็คโทรโฟรีซิส ดังนั้นการสังเคราะห์ไพรเมอร์ในการทำ AFLP จึงเพิ่มเบสเพื่อคัดเลือกเข้าที่ปลาย 3’ ต่อจากเบสที่ตำแหน่งตัดจำเพาะของเอนไซม์ เพื่อให้เลือกจับกับชิ้นดีเอ็นเอที่มีลำดับเบสส่วนที่อยู่ต่อจากบริเวณตัดจำเพาะสอดคล้องกับเบสที่เพิ่มเข้าไปที่ปลาย 3’ ของไพรเมอร์นั้นเท่านั้น ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอเพียงบางส่วนและสามารถกำหนดจำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่ต้องการเพิ่มปริมาณได้โดยจำนวนเบสที่เพิ่มเข้าไปนั่นเอง ถ้าดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตหรือจีโนมที่ศึกษามีส่วนประกอบของเบสทั้ง 4 ชนิด (G,A,C,T) ในสัดส่วนเท่ากัน การเพิ่มเบสเข้าที่ปลาย 3’ ของไพเมอร์เพื่อคัดเลือก 1 เบสจะช่วยลดจำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่จะเพิ่มปริมาณเหลือเพียง 1 ใน 4 ของทั้งหมด ถ้าเพิ่มเบสเพื่อคัดเลือก 2 เบส จำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่ตรวจสอบได้ก็จะลดลงเหลือ (1/4)^2 หรือ 1 ใน 16 ของชิ้นดีเอ็นเอที่ตัดได้ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น จึงสามารถควบคุมให้เกิดการเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอในจำนวนที่เหมาะสมได้ โดยจำนวนเบสที่เพิ่มเข้าไปแต่ละเบสจะลดปริมาณชิ้นดีเอ็นเอลงเหลือ (1/4)^n ของทั้งหมด ( n คือ จำนวนเบสสำหรับคัดเลือกที่เพิ่มขึ้น) ในทางปฏิบัติ ต้องการให้มีจำนวนชิ้นดีเอ็นเอในช่วง 50-100 แถบ ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีอิเล็กโทรโฟรีซิสใน denaturing polyacrylamide gel ในสิ่งมีชีวิตที่มีจีโนมขนาดเล็กจะใช้ไพรเมอร์ที่มีการเพิ่มเบสเพื่อคัดเลือกจำนวนน้อย เพราะจำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่ได้จากการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะมีจำนวนน้อย ในขณะที่การตรวจสอบดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตที่มีจีโนมขนาดใหญ่หรือมีความซับซ้อนมาก ต้องใช้ไพรเมอร์ที่มีการเพิ่มเบสเพื่อคัดเลือกจำนวนมากขึ้น เพื่อปรับจำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่จะเพิ่มปริมาณให้มีจำนวนพอเหมาะ แบบของแถบดีเอ็นเอที่เกิดขึ้นจากการทำ PCR โดยใช้ไพรเมอร์คู่หนึ่งๆ เรียกว่า ลายพิมพ์ AFLP (AFLP fingerprint) ดังนั้นเทคนิค AFLP จึงเป็นวิธีตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอวิธีหนึ่ง แถบดีเอ็นเอในลายพิมพ์ของแต่ละตัวอย่างบ่งบอกถึงความแตกต่างของชิ้นดีเอ็นเอที่ตัดได้ด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ จึงสามารถใช้เป็นเครื่องหมาย เรียกว่า เครื่องหมาย AFLP (AFLP marker) ใช้ศึกษาความหลายหลากของสิ่งมีชีวิตได้เช่นเดียวกับเครื่องหมายดีเอ็นเอแบบอื่น (สุรินทร์, 2552)", "title": "เอเอฟแอลพี" }, { "docid": "686167#30", "text": "แป้งสามารถดัดแปลงเพิ่มเติมเพื่อสร้าง'แป้งดัดแปลง'เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง รวมทั้งการผลิตน้ำตาลจำนวนมากในอาหารแปรรูปหลายอย่าง น้ำตาลเหล่านั้นรวมถึง:น้ำมันข้าวโพดและน้ำมันถั่วเหลืองที่เป็นอิสระจากโปรตีนและดีเอ็นเออยู่แล้ว เป็นแหล่งที่มาของเลซิตินซึ่งถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารแปรรูปโดยทำตัวเป็นอิมัลซิฟายเออร์ เลซิตินถูกแปรรูปอย่างหนัก ดังนั้นโปรตีนหรือดีเอ็นเอที่ถูกดัดแปลงจากพืชที่มีการดัดแปลงมาแต่เดิมและนำมาทำอนุพันธ์มักจะไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีการทดสอบมาตรฐาน - พูดอีกอย่างคือ มันก็ไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากเลซิตินที่ได้มาจากพืชที่ไม่ได้ดัดแปลง อย่างไรก็ตาม ความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรมได้ขยายไปยังอนุพันธ์บริสุทธิ์สูงจากอาหารดัดแปลงเช่นเลซิติน ความกังวลนี้นำไปสู่​​การเปลี่ยนแปลงในนโยบายและกฎระเบียบในยุโรปในปี 2000 เมื่อกฎหมาย Regulation (EC) 50/2000 ผ่านออกมา ซึ่งกำหนดให้ทำการติดฉลากสำหรับอาหารที่มีสารเติมแต่งที่ได้มาจากการตัดแต่งพันธุกรรมรวมทั้งเลซิติน เพราะมันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจสอบที่มาของอนุพันธ์เช่นเลซิตินด้วยวิธีการทดสอบในปัจจุบัน กฎระเบียบของยุโรปกำหนดให้ผู้ที่ต้องการที่จะขายเลซิตินในยุโรปจะต้องใช้ระบบที่พิถีพิถันของการเก็บรักษาเอกลักษณ์ () ", "title": "อาหารดัดแปรพันธุกรรม" }, { "docid": "53095#23", "text": "ในการรวมแบบพึ่งพาแบคทีเรียเกษตร, โครงสร้างพลาสมิดจะประกอบด้วย Transfer DNA (T-DNA), ดีเอ็นเอซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการแทรกของดีเอ็นเอเข้าสู่จีโนมพืชเจ้าภาพ. พลาสมิดนี้จะถูกแปลงให้เป็น \"Agrobacterium\" ที่ไม่มีพลาสมิดก่อนที่จะติดเชื้อเซลล์พืช. Agrobacterium จากนั้นโดยธรรมชาติจะแทรกสารพันธุกรรมเข้าไปในเซลล์พืช[65]. ในการแปลงแบบ biolistics, อนุภาคของทองหรือทังสเตนจะถูกเคลือบด้วยดีเอ็นเอจากนั้นจะถูกยิงเข้าไปในเซลล์พืชอ่อนหรือตัวอ่อนของพืช. บางสารพันธุกรรมจะเข้าสู่เซลล์และแปลงพวกมัน. วิธีการนี้สามารถนำมาใช้กับพืชที่ไม่ไวต่อการติดเชื้อ Agrobacterium และยังช่วยในการแปลงของ plastids พืช. วิธีการอีกวิธีหนึ่งสำหรับเซลล์พืชและสัตว์คือ Electroporation. Electroporation เกี่ยวข้องการช๊อคด้วยไฟฟ้ากับเซลล์พืชหรือสัตว์, ซึ่งสามารถทำให้เยื่อหุ้มเซลล์สามารถดูดซึมเข้าไปในพลาสมิดดีเอ็นเอ. ในบางกรณีเซลล์ที่ถูก electroporated จะรวมดีเอ็นเอเข้าไปในจีโนมของพวกมัน. เนื่องจากความเสียหายที่เกิดจากเซลล์และดีเอ็นเอ, ประสิทธิภาพการแปลงของ biolistics และ electroporation จะต่ำกว่าการแปลงแบบ agrobacterial mediated และ แบบ microinjection[66].", "title": "พันธุวิศวกรรม" }, { "docid": "879375#6", "text": "สิ่งมีชีวิตที่รู้จักทั้งหมดมีมูลฐานจากกระบวนการทางชีวเคมีพื้นฐานที่เหมือนกัน คือ ข้อมูลทางพันธุกรรมที่เข้ารหัสอยู่ในดีเอ็นเอ คัดลอกเป็นอาร์เอ็นเอผ่านปฏิกิริยาของโปรตีนและเอนไซม์ (RNA polymerase) แล้วแปลงเป็นโปรตีนโดยไรโบโซม โดยมี ATP, NADPH, และโมเลกุลอื่น ๆ เป็นแหล่งพลังงาน เป็นต้น อนึ่ง รหัสพันธุกรรม (คือข้อมูลดีเอ็นเอที่ใช้แปลงเป็นโปรตีน) ยังแทบเหมือนกันในสิ่งมีชีวิตที่รู้จักทั้งหมด ตั้งแต่แบคทีเรีย อาร์เคีย สัตว์ ตลอดจนถึงพืช นักชีววิทยาทั่วไปมองความสากลของรหัสเช่นนี้ว่า เป็นหลักฐานให้น้ำหนักแก่ทฤษฎีการสืบเชื้อสายร่วมกันสากล (universal common descent)", "title": "การสืบเชื้อสายร่วมกัน" }, { "docid": "942142#0", "text": "วงศ์ผักเสี้ยน หรือ Cleomaceae เป็นวงศ์ขนาดเล็กของพืชมีดอก อยู่ในอันดับ Brassicales ประกอบด้วย 300 สปีชีส์ใน 10 สกุลหรือประมาณ 150 สปีชีส์ใน 17 สกุล แต่เดิมสกุลเหล่านี้อยู่ในวงศ์ Capparaceaeแต่ถูกแยกออกมาเพราะมีข้อมูลดีเอ็นเอที่แสดงถึงความใกล้เคียงกับวงศ์ Brassicaceae มากกว่า Capparaceae ระบบ APG II ให้ Cleomaceae รวมอยู่ใน Brassicaceae\nใน พ.ศ. 2537 กลุ่มของนักวิทยาศาสตร์ นำโดย Walter Stephen Judd เสนอให้รวม Capparaceae (ซึ่งในเวลานั้นรวม Cleomaceae ด้วย) เข้ากับ Brassicaceae การวิเคราะห์ดีเอ็นเอในช่วงแรกแสดงให้เห็นว่า Capparaceae - ซึ่งในเวลานั้นถือเป็น paraphyletic และคนอื่นๆ เสนอให้แยกสกุลที่ใกล้เคียงกับ Brassicaceae ไปยังวงศ์ Cleomaceae. วงศ์ Cleomaceae และ Brassicaceae แยกออกจากกันเมื่อประมาณ 41 ล้านปีที่แล้ว ทั้งสามวงศ์นี้จัดอยู่ในอันดับ Brassicales). ระบบ APG II รวม Cleomaceae และ Brassicaceae การจัดจำแนกแบบอื่นยังคงให้อยู่ใน Capparaceae แต่ทางเลือกโดยมีการจัดให้สกุล \"Cleome\" และใกล้เคียงอยู่ใน Brassicaceae หรือแยกมาอยู่ในวงศ์ Cleomaceae ระบบ APG III system เลือกที่จะแยกวงศ์ออกมา ข้อมูลความสัมพันธ์กับวงศ์ ตามข้อมลดีเอ็นเอเมื่อ พ.ศ. 2555 สรุปได้ดังนี้ ", "title": "วงศ์ผักเสี้ยน" }, { "docid": "10435#2", "text": "ปัจจุบันนี้ มีการใช้เทคนิคในการระบุเอกลักษณ์ด้วยดีเอ็นเอ (DNA) และมีการเสนอว่าอาจจะมีชนิดพื้นฐานของส้มอย่างกว้างๆ 4 ชนิด ด้วยกัน คือ\nส้มเป็นพืชอยู่ในตระกูล Rutaceae สกุล Citrus สำหรับประเทศไทย มีการจำแนกพืชตระกูลส้ม พบว่าตระกูลย่อยที่สำคัญที่สุด คือ ตระกุลย่อยของส้ม ซึ่งประกอบด้วยส้มชนิดต่าง ๆ มะขวิด มะตูม และส้มสามใบ อย่างไรก็ดี พืชตระกุลย่อยนี้ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม ได้แก่", "title": "ส้ม" }, { "docid": "3098#5", "text": "แกนกลางของสายดีเอ็นเอเป็นหน่วยย่อยน้ำตาลกับฟอสเฟต[7] น้ำตาลในดีเอ็นเอ คือ 2-ดีออกซีไรโบส ซึ่งเป็นน้ำตาลเพนโทส (5 คาร์บอน) น้ำตาลถูกเชื่อมเข้าด้วยกันโดยหมู่ฟอสเฟตซึ่งสร้างพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ระหว่างคาร์บอนอะตอมที่สามและที่ห้าของวงแหวนน้ำตาลที่อยู่ติดกัน พันธะที่อสมมาตรนี้ หมายความว่า สายดีเอ็นเอมีทิศทาง ในเกลียวคู่ ทิศทางของนิวคลีโอไทด์สายหนึ่งจะตรงกันข้ามกับทิศทางในอีกสายหนึ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า ทั้งสองสายขนานกันในทิศตรงข้าม (antiparallel) ปลายอสสมาตรของสายดีเอ็นเอ เรียกว่า 5′ (ไพรม์) และ 3′ โดยที่ 5′ มีหมู่ฟอสเฟต และที่ปลาย 3′ มีหมู่ไฮดรอกซิล ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งระหว่างดีเอ็นเอกับอาร์เอ็นเอ คือ น้ำตาล โดยที่ 2-ดีออกซีไรโบสในดีเอ็นเอจะถูกแทนที่ด้วยไรโบสซึ่งเป็นน้ำตาลเพนโทสอีกชนิดหนึ่ง ในอาร์เอ็นเอ", "title": "ดีเอ็นเอ" }, { "docid": "473336#7", "text": "อย่างไรก็ตาม จากการทดลองของนักวิจัยหลายท่านพบว่าจำนวนแถบดีเอ็นที่เกิดขึ้นไม่ได้ขึ้นกับขนาดของจีโนม พืชที่มีจีโนมขนาดใหญ่อาจเกิดแถบดีเอ็นเอที่น้อยกว่าพืชที่มีจีโนมขนาดเล็กก็ได้ การเกิดแถบดีเอ็นเอเป็นผลมาจากไพรเมอร์เข้าไปเกาะได้หลายบริเวณ ถ้าไพรเมอร์ไปเกาะกับดีเอ็นเอ 2 บริเวณที่อยู่ไม่ไกลกันมาก โดยเกาะกับดีเอ็นเอคนละสายในทิศทางเข้าหากัน (5’ -> 3’) จะสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในช่วงดังกล่าวได้ แต่ถ้าไพรเมอร์เกาะกับดีเอ็นเอสายเดียวกันในทิศทางเดียวกัน หรือเกาะกับดีเอ็นเอคนละสายแต่ทิศทางแยกออกจากกันหรือเกาะได้ใน 2 สายที่ห่างไกลกันมาก แม้ทิศทางจะเข้าหากันก็ไม่สามารถจะเกิดผลผลิตได้ ความแตกต่างของแถบ RAPD หรือที่เกิดขึ้นระหว่างแต่ละตัวอย่างอาจจะเกิดจากอย่างไรก็ดี พอลิมอร์ฟิซึมของ RAPD มักเกิดขึ้นในลักษณะการมีและไม่มีแถบดีเอ็นเอที่ตำแหน่งหนึ่ง ๆ มากกว่าการเปลี่ยนขนาดของแถบดีเอ็นเอ เนื่องจากดีเอ็นเอของพืชพบทั้งจากนิวเคลียส คลอโรพลาสต์ และไมโทคอนเดรีย ในการสกัดดีเอ็นเอจากเซลล์ทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ RAPD พบว่าแถบดีเอ็นเอบางส่วนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์เกิดจากการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในส่วนของไมโทคอนเดรีย และน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์มาจากดีเอ็นเอในคลอโรพลาสต์ ดังนั้นแถบดีเอ็นเอของเครื่องหมาย RAPD (RAPD marker) ส่วนใหญ่จึงมาจากดีเอ็นเอในนิวเคลียส ซึ่งมีการถ่ายทอดมาจากทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ แม้ว่าเทคนิค RAPD จะทำได้ง่าย รวดเร็ว และให้ข้อมูลได้มาก แต่ก็มีข้อเสียในเรื่องการทดลองซ้ำ บางครั้งได้ผลที่ต่างจากเดิมเนื่องจาก RAPD มีความไวต่อการเปลี่ยนสภาวะต่าง ๆ จึงต้องระมัดระวังและควบคุมสภาพการทดลองให้คงที่ นอกจากนี้แถบดีเอ็นเอที่เกิดจาก RAPD ยังแสดงการข่ม (dominance) ต่อการไม่เกิดแถบดีเอ็นเอ ซึ่งทำให้ไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างโฮโมไซโกตและเฮเทอโรไซโกตได้", "title": "อาร์เอพีดี" }, { "docid": "907475#0", "text": "ดีเอ็นเอไพรเมส () เป็นเอนไซม์ที่ใช้ในก่ารจำลองดีเอ็นเอและเป็นชนิดหนึ่งของดีเอ็นเอพอลิเมอเรส ไพรเมสทำการเร่งปฏิกิริยาของการสังเคราะห์เส้นอาร์เอ็นเอหรือดีเอ็นเอสั้น ๆ เรียกว่าไพรเมอร์ ประกอบคู่กับดีเอ็นเอสายเดี่ยว ซึ่งไพรเมสเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการจำลองดีเอ็นเอเพราะไม่มีดีเอ็นเอพอลิเมอเรสอื่นใดที่สามารถเริ่มกระบวนการทางเคมีได้หากไม่มีดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอไพรเมอร์ หลังจากการสร้างดีเอ็นเอสายใหม่แล้ว สายอาร์เอ็นเอที่สร้างโดยไพรเมสจะถูกเอนไซม์ เอ็กโซนิวคลีส ลบออกจาก 5' ไป 3' และจะแทนที่ด้วยดีเอ็นเอ", "title": "ไพรเมส" }, { "docid": "135638#13", "text": "ความเสียหายต่อดีเอ็นเอถือว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเนื้องอกร้ายหรือมะเร็ง รูปในส่วนนี้แสดงถึงบทบาทของความเสียหายบนดีเอ็นเอที่นำไปสู่มะเร็ง (ลักษณะหลักของความเสียหายต่อดีเอ็นเอ คือการเปลี่ยนแปลงทางอีพีเจเนติกส์และการซ่อมแซมดีเอ็นเอที่ไม่สมบูรณ์ โดยทั้งหมดมีสีแดงในรูป) ความเสียหายต่อดีเอ็นเอเกิดขึ้นเป็นปกติ ส่วนใหญ่เป็นผลจากกระบวนการเมแทบอลิซึมเซลล์และคุณสมบัติของดีเอ็นเอในน้ำภายใต้อุณหภูมิร่างกาย โดยเกิดขึ้นในอัตราความเสียหายใหม่จำนวน 60,000 ครั้งโดยเฉลี่ยต่อเซลล์มนุษย์ต่อวัน ความเสียหายอื่นอาจมาจากสิ่งภายนอก เช่น ควันยาสูบที่มักสร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอและมักนำไปสู่มะเร็งปอดเนื่องจากการสูบบุหรี่ แสงยูวีจากรังสีอาทิตย์สร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอและอาจทำให้เกิดเมลาโนมา การติดเชื้อแบคทีเรีย \"Helicobacter pylori\" สร้างอนุมูลอิสระจำนวนมากที่นำไปสู่มะเร็งกระเพาะอาหาร กรดน้ำดี (bile acids) ปริมาณมากในลำไส้ของคนที่กินอาหารไขมันสูงสามารถสร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอและทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ งานวิจัยชี้ว่าแมคโครฟาจและนิวโตรฟิลในเนื้อเยื่อบุผิวลำไส้ที่อักเสพเป็นแหล่งอนุมูลลิสระที่สร้างความเสียหายแก่ดีเอ็นเอและเป็นตัวตั้งต้นให้เกิดเนื้องอกในลำไส้ ปัจจัยอื่นที่สร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเออยู่ในกล่องตรงส่วนบนของภาพในส่วนนี้", "title": "เนื้องอก" }, { "docid": "5186#52", "text": "ชิ้นส่วนดีเอ็นเอสามารถนำมาต่อกันได้ด้วยเอนไซม์ต่อเชื่อม และจากการที่นักวิจัยสามารถนำชิ้นส่วนดีเอ็นเอจากหลาย ๆ แหล่งที่นำมาต่อเข้าด้วยกันนั้น ทำให้สามารถสร้างดีเอ็นเอลูกผสมขึ้นมาได้ ซึ่งมีความสำคัญกับการตัดต่อพันธุกรรม นอกจากจะใช้ในการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว ยังเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างพลาสมิด (ดีเอ็นเอรูปวงกลมขนาดเล็ก ๆ ที่มียีนจำนวนไม่มาก) นักวิจัยสามารถใส่พลาสมิดที่สร้างขึ้นเข้าไปในแบคทีเรีย และเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนโคลนของแบคทีเรียที่มีพลาสมิดนี้อยู่ ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนชิ้นส่วนดีเอ็นเอที่ใส่ไว้นี้ได้ด้วยกระบวนการนี้ซึ่งเรียกว่าการโคลนเชิงโมเลกุล\nนอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอผ่านกระบวนการปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (PCR) ได้ด้วย โดยสามารถเพิ่มจำนวนเฉพาะบริเวณหนึ่ง ๆ ของดีเอ็นเอได้ในอัตราก้าวหน้าแบบเอกซ์โพเนนเชียล ซึ่งจากที่ PCR สามารถเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอจากตัวอย่างที่อาจมีปริมาณน้อยมาก ๆ ได้นี้เอง ทำให้มักถูกใช้ในการตรวจหาว่าตัวอย่างที่สนใจนั้นมีลำดับดีเอ็นเอหนึ่ง ๆ ที่ต้องการหรือไม่", "title": "พันธุศาสตร์" }, { "docid": "872369#54", "text": "สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่ทั้งหมด (อาจยกเว้น ไวรัสแบบอาร์เอ็นเอ) มีดีเอ็นเอ ที่มีข้อมูลทางกรรมพันธุ์\nส่วนยีนก็คือกลุ่มดีเอ็นเอเช่นนี้ ซึ่งมีอิทธิพลต่อลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต\nยีนจะกำหนดรูปร่างทั่วไปและพฤติกรรมบางส่วนของสิ่งมีชีวิต\nถ้าสิ่งมีชีวิตสองชนิดเป็นญาติใกล้ชิด ดีเอ็นเอของพวกมันก็จะคล้ายกันมาก\nในนัยตรงข้าม สิ่งมีชีวิตสองชนิดยิ่งห่างกันเท่าไร ดีเอ็นเอก็จะต่างกันเท่านั้น\nยกตัวอย่างเช่น พี่น้องจะใกล้ชิดกันอย่างยิ่ง จึงมีดีเอ็นเอที่คล้ายกันมาก ในขณะที่ลูกพี่ลูกน้องห่างกันมากกว่า ดีเอ็นเอจึงต่างกันมากกว่า", "title": "บทนำวิวัฒนาการ" }, { "docid": "473336#9", "text": "จากแถบดีเอ็นเอที่ได้ สามารถใช้แยกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวอย่าง และบอกความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างตัวอย่างได้ด้วย โดยการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของแถบดีเอ็นเอที่เกิดขึ้น โดยตัวอย่างที่พบแถบดีเอ็นเอที่ตำแหน่งหนึ่ง ๆ ให้สัญลักษณ์เป็น \"+\" หรือให้คะแนนเป็น \"1\" ส่วนตัวอย่างที่ไม่พบแถบดีเอ็นเอที่ตำแหน่งเดียวกันนั้นให้สัญลักษณ์เป็น \"-\" หรือให้คะแนนเป็น \"0\" ในการให้คะแนนแถบดีเอ็นเอเกิดปัญหาได้บ่อยๆ เช่น แถบดีเอ็นเอในบางแถวจางหรือไม่ชัดเจน หรือตำแหน่งอาจคลาดเคลื่อนจากกัน เนื่องจากเจลเกิด smile อันมีสาเหตุจากแถบดีเอ็นเอแถวที่อยู่ด้านนอกเคลื่อนที่ไปช้ากว่าแถบดีเอ็นเอที่อยู่แถวกลาง เป็นต้น ในกรณีดังกล่าวนี้ถ้าแถบดีเอ็นเอในแถวใดไม่ชัดเจน ไม่อาจบอกได้แน่ชัด ให้ตัดแถบดีเอ็นเอดังกล่าวออกไปไม่ต้องนำมาคิด การให้คะแนนหรือตรวจดูแถบดีเอ็นเอนี้อาจดูด้วยสายตาหรือใช้เครื่องอ่านก็ได้ เปรียบเทียบความเหมือนของแถบของดีเอ็นเอที่ได้จากแต่ละคู่โดยใช้ค่า similarity index (S) โดย S จะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 โดย 0 คือ ทั้งสองตัวอย่างไม่มีแถบดีเอ็นเอที่เหมือนกันเลย และ S=1 หมายถึง ทั้งสองตัวอย่างมีแถบดีเอ็นเอเหมือนกันทั้งหมด", "title": "อาร์เอพีดี" } ]
4105
รายการเกมโชว์ควิซโชว์ ยกสยาม ออกอากาศครั้งแรกที่สถานีอะไร?
[ { "docid": "146940#0", "text": "เกมทศกัณฐ์ ยกสยาม (เดิมชื่อ เกมทศกัณฐ์ ยกสยาม) เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ ที่เน้นส่งเสริมให้คนในแต่ละจังหวัดรักบ้านเกิด ส่งเสริมให้เกิดการใช้ความรู้ความสามารถ ที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัด ถ่ายทอดผ่านเกมได้อย่างสนุกสนาน เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 18.30 น. ทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล", "title": "ยกสยาม" } ]
[ { "docid": "298564#0", "text": "ยกสยาม ๑๐๐ (ในรายการ คุณปัญญามักจะประกาศชื่อรายการว่า ยกสยาม ๑๐๐ ข้อ) เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ ที่เน้นส่งเสริมให้คนในแต่ละจังหวัดรักบ้านเกิด ส่งเสริมให้เกิดการใช้ความรู้ความสามารถ ที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัด ถ่ายทอดผ่านเกมได้อย่างสนุกสนาน ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.30 - 18.55 น.ทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี", "title": "ยกสยาม ๑๐๐" }, { "docid": "220594#2", "text": "บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ต่อมาได้ขยายการผลิตรายการในหลากหลายรูปแบบ และหลายสถานี เช่น ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 3 ช่อง 9 (โมเดิร์นไนน์ทีวี) ช่อง ITV ช่องไทยรัฐทีวี และอื่นๆ เป็นจำนวนกว่า 100 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศ เช่น เกมโชว์ ควิซโชว์ เรียลลิตี้โชว์ การประกวด วาไรตี้โชว์ ทอล์คโชว์ รายการตลก ละครเวที ละครซิทคอม ละครเรื่องยาว ละครสั้น สารคดีโทรทัศน์ และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศ ทุกวัย และยังได้รับรางวัลจากหลายสถาบัน ", "title": "เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย" }, { "docid": "747187#0", "text": "The Money Drop Thailand เป็นรายการเกมโชว์แนวควิซโชว์ที่ทดสอบความรู้รอบตัวของผู้เข้าแข่งขัน ผ่านคำถามทั้งหมด 7 ข้อ เพื่อรักษาเงินสดที่มีอยู่กลับไปให้ได้มากที่สุด เกมโชว์นี้มีต้นแบบมาจากรายการ \"The Money Drop\" (เดิมใช้ชื่อว่า \"The Million Pound Drop\") ซึ่งผลิตโดยบริษัท Endemol ในประเทศอังกฤษ (ในนาม Endemol Shine Group) และบริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้ทำการซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ปัจจุบันออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 17.30 - 18.00 น. (จากเดิม เคยออกอากาศครั้งแรกทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 18.30 น.) โดยมี วราวุธ เจนธนากุล เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว", "title": "The Money Drop Thailand" }, { "docid": "210176#0", "text": "ยกสยาม เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ ซึ่งเน้นส่งเสริมให้คนในแต่ละจังหวัดรักบ้านเกิด รวมทั้งใช้ความรู้ความสามารถที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดเพื่อตอบคำถาม หลังจากที่ประสบความสำเร็จใน ยกสยามปี 1 ทำให้มีการจัดการแข่งต่อในปีที่สอง ออกอากาศตั้งแต่ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 18.27 - 18.52 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 ทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล ", "title": "ยกสยามปี 2" }, { "docid": "220594#6", "text": "เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย ผลิตรายการต่างๆ ทั้งเกมโชว์ ควิซโชว์ เกมโชว์สำหรับเด็ก ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ วาไรตี้คอเมดี้โชว์ เรียลลิตี้โชว์ การประกวด ละครเวที สารคดี และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นจำนวนกว่า 100 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, สถานีโทรทัศน์ช่องวัน, สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์, สถานีโทรทัศน์นาว 26, สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ,สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี และ สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี ปัจจุบัน เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย มีรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 10 รายการ เป็นรายการประเภททอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ วาไรตี้เกมโชว์ สารคดี เรียลลิตี้โชว์ และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ ออกอากาศทางช่อง 5 HD ช่อง 7 HD ช่อง 9 MCOT HD และช่องไทยพีบีเอส HD (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา รายการที่ขายลิขสิทธิ์และออกอากาศในแอปพลิเคชัน LINE TV และ AIS PLAY เน้น \"ตัวเอน\")", "title": "เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย" }, { "docid": "322239#0", "text": "ยกสยาม ๑๐ ข้อ เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ ที่เน้นส่งเสริมให้คนในแต่ละจังหวัดรักบ้านเกิด ส่งเสริมให้เกิดการใช้ความรู้ความสามารถ ที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัด ถ่ายทอดผ่านเกมได้อย่างสนุกสนาน ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.00 - 18.30 น.ทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี", "title": "ยกสยาม ๑๐ ข้อ" }, { "docid": "146648#0", "text": "อัจฉริยะยกบ้าน (Family Genius) เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ปรับรูปแบบมาจากรายการอัจฉริยะข้ามคืน โดยเปลี่ยนการแข่งขันที่เน้นความเป็นอัจฉริยะจากรายบุคคล มาเป็นการแข่งขันแบบครอบครัว 3 คน ประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 22.00 - 23.00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ส่วนหนึ่งของรายการใช้รูปแบบที่ได้รับลิขสิทธิ์จากรายการ Ultimate Family Challenge ของ Fuji TV ประเทศญี่ปุ่น", "title": "อัจฉริยะยกบ้าน" }, { "docid": "375557#0", "text": "เอ็กซ์เกม เป็นรายการเกมโชว์ประเภทควิซโชว์ โดยได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อ วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ ไตรภพ ลิมปพัทธ์ ผลิตรายการโดยบริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด", "title": "เอ็กซ์เกม (รายการโทรทัศน์)" }, { "docid": "939148#6", "text": "ปัจจุบัน เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ มีรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่ 10 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์, ควิซโชว์, วาไรตี้โชว์, เรียลลิตี้โชว์ และละครโทรทัศน์ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ โดยรายชื่อของรายการโทรทัศน์ทั้งหมดของบริษัทฯ จะเรียงตามปีที่เริ่มแพร่ภาพออกอากาศ ทั้งนี้ รายการโทรทัศน์ที่กำลังจะออกอากาศในอนาคตเน้น \"\"ตัวเอน\"\" และรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่ในปัจจุบันเน้น \"ตัวหนา\"", "title": "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "765104#0", "text": "4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม () หรือมักเรียกโดยย่อว่า 4 ต่อ 4 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวทายปัญหา (ควิซโชว์) โดยมีรูปแบบรายการต้นฉบับมาจากรายการ \"แฟมิลีฟิวด์\" (Family Feud) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2544 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และต่อมาได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน", "title": "4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม" }, { "docid": "363311#0", "text": "ราชรถมาเกย เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ควิซโชว์ ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทุกวันพุธถึงศุกร์ เวลา 18.00 - 18.45 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 และออกอากาศครั้งสุดท้ายวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ลักษณะของรายการเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้าน ตอบคำถาม 1 ข้อ และรับรถยนต์เป็นของรางวัลแจ็คพ็อต", "title": "ราชรถมาเกย" }, { "docid": "334810#0", "text": "หนูน้อย กู้อีจู้ เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่แสดงความสามารถของหนูน้อยในวัยต่างๆ ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยมีพิธีกรคือ ปัญญา นิรันดร์กุล ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 18.00-18.30 น. เริ่มออกอากาศวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และสิ้นสุดวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังจากนั้นกลับมาออกอากาศอีกครั้งทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.20 - 19.10 น.", "title": "หนูน้อย กู้อีจู้" }, { "docid": "426414#0", "text": "บ้านเจ้าปัญญา เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท SCG ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 น. - 17.50 น. มาแทนรายการเกมเผาขน โดยรายการนี้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล และออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556จะมีคนเข้าแข่งขัน 3 คู่ด้วยกัน โดยที่จะมีคำถาม อยู่ 3 ข้อ โดยที่คู่ไหนที่ได้ 2 คะแนน จะได้สิทธิในการเข้ารอบแจ็กพอต โดยมีการแข่ง 2 แบบ คือ", "title": "บ้านเจ้าปัญญา" }, { "docid": "230186#7", "text": "เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ ได้ผลิตรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์ต่างๆ ทั้งเกมโชว์ ควิซโชว์ เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ วาไรตี้โชว์ซิตคอม ละครโทรทัศน์ ละครซิทคอม ละครซีรีส์ และเรียลลิตี้โชว์เป็นจำนวนกว่า 250 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์วัน ปัจจุบันเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอมีรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 12 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ ละครโทรทัศน์และละครซิตคอม ออกอากาศทางช่องวัน 31", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "679482#0", "text": "เกมแจกเก๋ง เป็นรายการเกมโชว์แนวควิซโชว์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันมีโอกาสได้เป็นเจ้าของ \"รถเก๋งป้ายแดง\" ได้ง่าย ๆ เพียงแค่นั่งอยู่บนเก้าอี้ให้ได้จนจบเกมโดยที่ไม่ \"หงายเก๋ง\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 19:00 - 19:40 น. และออกอากาศซ้ำอีกครั้งในเวลา 11:20 - 12:00 น. ของวันถัดไป โดยมีสัญญา คุณากรเป็นผู้ดำเนินรายการ", "title": "เกมแจกเก๋ง" }, { "docid": "34424#7", "text": "การบินไทยไขจักรวาล (พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2548) รายการตอบปัญหาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งมีการบินไทยเป็นผู้สนับสนุน ออกอากาศทุกวันอังคารที่ 1 และ 3 ของเดือน เวลา 17.00 น. (ภายหลังออกอากาศทุกวันศุกร์ สัปดาห์และเวลาออกอากาศเดียวกัน) ถ่ายทอดสดจากห้องส่งของสถานีฯ ดำเนินรายการโดย พลตรีถาวร ช่วยประสิทธิ์ (2518-2521) และหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ (2521-2548) เกมจารชน (16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2548) เกมโชว์แนวสายลับรายการแรก และได้รับรางวัลเอเชียนเทเลวิชั่นอวอร์ด ปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) สาขาเกมโชว์ยอดเยี่ยม เป็นรายการแรกของไทย ดำเนินรายการโดย ศัลย์ อิทธิสุขนันท์, มยุรา เศวตศิลา, เกียรติศักดิ์ อุดมนาค (พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2543), โหน่ง ชะชะช่า (พ.ศ. 2543-พ.ศ. 2548) ครอบจักรวาล รายการสารคดีปกิณกะ ว่าด้วยการท่องเที่ยวและแนะนำอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ ผลิตโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัดถนัดศรี ดำเนินรายการโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ คอนเสิร์ต คอนเทสต์ (พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2531) รายการประกวดร้องเพลงและการแสดงจากศิลปินต้นแบบ เพื่อชิงแชมป์ออฟเดอะแชมป์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 - 14.00 น. คู่สร้างคู่สม (พ.ศ. 2519-พ.ศ. 2533, พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2543) รายการทอล์คโชว์เรื่องราวของสามีภรรยาที่มีชีวิตรักอันหลากหลาย ยุคแรก ดำเนินรายการโดย ดำรง พุฒตาล และยุคหลังดำเนินรายการโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง และ ญาณี จงวิสุทธิ์ ออกอากาศวันอาทิตย์เวลา 23.25 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เจาะใจ (3 มกราคม พ.ศ. 2534 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2558) รายการทอล์คโชว์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน โดยไม่ย้ายวันออกอากาศ ปัจจุบันออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.35-23.40 น. ยุคแรกที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ดำเนินรายการโดย ดำรง พุฒตาล และ สัญญา คุณากร ซีอุย (พ.ศ. 2527) ละครสำหรับผู้ใหญ่เรื่องแรกๆ ผลิตโดยกันตนา ออกอากาศทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 15.30 น. ตามล่าหาความจริง (พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2547) รายการสารคดีเชิงข่าวรายการแรกๆ ของแปซิฟิกฯ ดำเนินรายการโดย ประไพพัตร โขมพัตร ออกอากาศวันอาทิตย์เวลา 22.00 น. ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ย้ายไปออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 18.00 น. จนยุติการออกอากาศ ที่นี่..ประเทศไทย (2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2547) รายการวาไรตี้ เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศไทยในเรื่องต่างๆ ของ บมจ.มีเดีย ออฟ มีเดียส์ ยุคบริหารโดย โฆสิต สุวินิจจิต และ ยุวดี บุญครอง ดำเนินรายการโดย ลอร่า-ศศิธร รามโกมุท วัฒนกุล และ แอ๊ด-ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 21.15-22.00 น. บ้านเลขที่ 5 (พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2549) รายการที่มีผู้ชมมากที่สุดในระยะ 10 ปีแรก ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 07.30 น. โดยราวหนึ่งปีก่อนหน้านั้น แปซิฟิกฯ ผู้เช่าเวลา ทำการถ่ายทอดข่าวจากซีเอ็นเอ็น และต่อมาหลังจากนั้น เปลี่ยนชื่อเป็นสยามทูเดย์ และย้ายเวลาไปเป็นช่วงเย็น ปัจจุบันยุติรายการแล้ว แบบว่าโลกเบี้ยว (พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2546) รายการมิวสิกวิดีโอสลับการแสดงตลก โดยภิญโญ รู้ธรรมและคณะ ผลิตโดย แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (ต่อมาโอนให้บริษัทลูก ทีนทอล์ค) ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 12.30 น. ก่อนจะย้ายเป็นทุกวันพุธ เวลาบ่าย ป๊อบท็อป รายการวาไรตี้เกมโชว์รายการแรกของสถานี ดำเนินรายการโดย พันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง แผ่นดินธรรม (พ.ศ. 2530 - ปัจจุบัน) - รายการสารคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และชีวประวัติของพระองค์ บรรยายโดย อำรุง เกาไศยนันท์ จัดทำโดย มูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14:00 - 14:30 น. ย้ายไปออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 06:30 - 07:00 น. ย้ายมาออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 06:30 - 07:00 น. ปัจจุบัน ออกอากาศ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:25 - 05:50 น. และมีเผยแพร่ไปตามสถานีเครือข่ายไปทั่วโลกประมาณ 154 ประเทศ พลิกล็อก (พ.ศ. 2525-พ.ศ. 2532) เกมโชว์ในยุคแรกของเจเอสแอลที่มีชื่อเสียง ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00 น. ต่อมาเจเอสแอลนำชื่อรายการและรูปแบบเกมกลับมาผลิตใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2541 พิภพมัจจุราช (พ.ศ. 2511) ภาพยนตร์โทรทัศน์ของรัชฟิล์มทีวี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง พุทธประทีป ไฟว์ไลฟ์ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556) รายการเพลงสำหรับวัยรุ่นนอนดึก ออกอากาศทุกวันจันทร์-เสาร์ , ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 00.30-01.30 น. (ปัจจุบันย้ายไปที่ช่อง แบงแชนแนล) แฟนพันธุ์แท้ (1 กันยายน พ.ศ. 2543 - 17 เมษายน พ.ศ. 2552 และ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557) รายการควิซโชว์ท้าทายความรู้ ความสามารถ ไหวพริบ และปฏิภาณ ในเรื่องราวที่ผู้แข่งขันชื่นชอบ เพื่อพิสูจน์ความเป็นแฟนพันธุ์แท้ตัวจริง ยุคแรกดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล ต่อมาเปลี่ยนเป็น แทนคุณ จิตต์อิสระ และ เอก ฮิมสกุล) และ ปัจจุบัน กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ ดำเนินรายการ ซึ่งล่าสุดรายการนี้หลุดผังรายการของทางสถานีนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 และได้ย้ายไปอยู่ที่ช่อง เวิร์คพอยท์ทีวี เริ่มเดือนเมษายน 2558 เป็นต้นไป มาตามนัด (พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2538) เกมโชว์ที่ออกอากาศช่วงหลังข่าวภาคค่ำเป็นรายการแรกของสถานีฯ และมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ ผลิตโดยรัชฟิล์มทีวี ยุคที่สองซึ่งมีชื่อเสียงมากที่สุด ดำเนินรายการโดย เศรษฐา ศิระฉายา และญาณี จงวิสุทธิ์ พ.ศ. 2555 กลับมาออกอากาศใหม่ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ยุทธการขยับเหงือก (พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2540) รายการตลกปัญญาชนของเจเอสแอล โดยกำหนดให้พิธีกรรายการทุกคน มีคำนำหน้าชื่อเล่นว่า \"เสนา\" รวมดาวสาวสยาม (พ.ศ. 2522-พ.ศ. 2540) รายการปกิณกะเพลงลูกทุ่งรายการแรกที่พลิกโฉมวงการโทรทัศน์ จัดโดย วิญญู จันทร์เจ้า ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.30-15.00 น. ก่อนจะย้ายเป็นวันจันทร์เว้นจันทร์ เวลาเย็น โลกดนตรี (พ.ศ. 2514-พ.ศ. 2539) คอนเสิร์ตทางโทรทัศน์ที่ออกอากาศมานาน ถ่ายทอดสดทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 สงครามชีวิตโอชิน (พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2528) ภาพยนตร์โทรทัศน์ยอดนิยม ที่ผลิตโดยเอ็นเอชเคของญี่ปุ่น ซึ่งรัชฟิล์มทีวีนำมาเสนอฉายเป็นครั้งแรก และต่อมา ไทยทีวีสีช่อง 3 นำมาออกอากาศอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2553 สโมสรผึ้งน้อย (พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2537) รายการสำหรับเด็กรายการแรก ดำเนินรายการโดย น้านิด-พัทจารี อัยศิริ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 16.30 น. มีสมาชิกที่อยู่วงการบันเทิงอย่างยาวนานคือ จอย-ศิริลักษณ์ ผ่องโชค และวงดนตรีเอกซ์วายแซด หุ่นไล่กา (พ.ศ. 2512) ภาพยนตร์โทรทัศน์ของรัชฟิล์มทีวี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ระเบิดเถิดเทิง (7 มกราคม พ.ศ. 2539 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557) ซิทคอมเกมโชว์ที่อายุยาวนานที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในวันอาทิตย์ เวลา 16.00 - 17.00 น. และเวลา 14.00 - 15.25 น. ปัจจุบันออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.35 - 13.55 น. โดยใช้ชื่อว่า ระเบิดเที่ยง แถวตรง ซึ่งล่าสุดรายการนี้หลุดผังรายการของทางสถานีนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 และได้ย้ายรายการนี้ไปอยู่ที่ช่อง เวิร์คพอยท์ทีวี เริ่ม 4 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป รักในรอยแค้น (3 มกราคม–25 เมษายน พ.ศ. 2535) ละครโทรทัศน์เรื่องแรกของเอ็กแซ็กท์ นำแสดงโดย ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง และนุสบา วานิชอังกูร โดยในปี พ.ศ. 2545 เอ็กแซ็กท์นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของละครเรื่องนี้ นำแสดงโดย ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ และเอวิตรา ศิระสาตร์ โรงเรียนของหนู (พ.ศ. 2534-พ.ศ. 2546) เป็นรายการซึ่งนำเสนอเรื่องราว ของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้ประชาชนที่มีรายได้ข้างมากได้ช่วยเหลือเพื่อเป็นทุนการศึกษา ออกอากาศทุกเย็นวันพฤหัสบดี ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางเนชั่นทีวี จนถึงปัจจุบัน ไอคิว 180 (พ.ศ. 2528-พ.ศ. 2541) รายการตอบปัญหาเยาวชน โดยสุ่มตัวเลขมาเป็นโจทย์ให้นักเรียนคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ที่กำหนด โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือซีเมนต์ไทย ดำเนินรายการโดย ดร.ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.30-19.00 น. ต่อมาเปลี่ยนเป็นช่วงเย็นวันธรรมดา และย้ายไปออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "39683#3", "text": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เริ่มทำการผลิตรายการ เวทีทอง ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นรายการแรกในปี พ.ศ. 2532 ต่อมาได้ขยายการผลิตรายการและละครประเภทต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบ และหลากหลายสถานี เป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆมาโดยตลอดเป็นระยะเวลา 29 ปี เช่น เกมโชว์, ควิซโชว์, เรียลลิตี้เกมโชว์ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, วาไรตี้โชว์, ทอล์กโชว์, เกมโชว์สำหรับเด็ก, ควิซโชว์สำหรับเด็ก, เรียลลิตี้โชว์สำหรับเด็ก, เกมโชว์ซิทคอม, ละครซิทคอม, วาไรตี้โชว์ซิทคอม, รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์, ละครซิทคอมวันหยุดนักขัตฤกษ์, วาไรตี้โชว์วันหยุดนักขัตฤกษ์, ละครโทรทัศน์เรื่องยาว, วาไรตี้โชว์และละครเรื่องยาว, ละครเทิดพระเกียรติ และสารคดีโทรทัศน์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากผู้ชมทุกเพศ ทุกวัย และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา รางวัลโทรทัศน์ทองคำ รางวัลนาฏราช TOP AWARDS รางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ รางวัลสื่อมวลชนดีเด่น CATHOLIC MEDIA AWARDS รางวัลองค์กรดีเด่นแห่งปี 2557 ในงาน CEO THAILAND AWARDS 2014 รางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชียASIAN TELEVISION AWARDS (เอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ดส์) รางวัลMaximilian Award รางวัลอินเตอร์ เนชั่นแนล เอมมี่ อวอร์ด รางวัลด้านนวัตกรรมแห่งการสร้างสรรค์และคุณภาพ THE NEW ERA AWARD FOR TECHNOLOGY, INNOVATION & QUALITY จากสถาบัน ASSOCIATION OTHER WAYS MANAGEMENT & CONSULTING PARIS – FRANCE รางวัลองค์กรที่มีการบริหารจัดการภายในยอดเยี่ยม European Award for Best Practices 2016 จากสถาบัน European Society for Quality Research (ESQR) รางวัลวัลองค์กรคุณภาพยอดเยี่ยม The Global Award For Perfection Quality and Ideal Performance จาก OMAC (OTHERWAYS MANAGEMENT AND CONSULTING) เป็นต้น [4]", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "213416#2", "text": "รายการ เกมทศกัณฐ์ ออกอากาศทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์รายการแรกที่รางวัลแจ๊คพอตที่มีเงินรางวัลสูงสุดถึง 10 ล้านบาทนับถือว่าเป็นรางวัลแจ๊คพอตสูงที่สุดในวงการของรายการเกมโชว์โทรทัศน์ไทยและในเอเชีย (โดยเฉพาะ \"เกมทศกัณฐ์ยกทัพ\" ที่มีรางวัลแจ๊คพอตสูงถึง 30 ล้านบาท) เพียงตอบคำถามใบหน้าของบุคคลที่มีชื่อเสียงสำคัญ ๆ ของคนทั่วทั้งโลก ตอบถูกครบ 10 หน้า รับไปเลยรางวัลแจ๊คพอตสูงที่สุด 10 ล้านบาทและนับตั้งแต่ออกอากาศเกมทศกัณฐ์จนไปถึงยกสยาม เป็นเวลาเกือบ 8 ปีทางรายการได้แจกรางวัลไปทั้งหมดเกือบ 70 ล้านบาท", "title": "เกมทศกัณฐ์" }, { "docid": "274668#5", "text": "ทีวี ธันเดอร์ ได้ผลิตรายการต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 200 รายการ ทั้งเกมโชว์ ควิซโชว์ เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ ละครซิทคอม ละครยาว และเรียลลิตี้โชว์ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ทรูโฟร์ยู, สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี และสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี โดยปัจจุบันมีรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวนทั้งหมด 5 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ ควิซโชว์ วาไรตี้โชว์ และเรียลลิตี้โชว์ ทางช่อง 3 HD ช่อง 5 ช่องทรูโฟร์ยู ช่องไทยรัฐทีวี HD และช่อง PPTV HD (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา รายการที่ขายลิขสิทธิ์ลงแอปพลิเคชัน LINE TV เน้น \"ตัวเอน\")", "title": "ทีวี ธันเดอร์" }, { "docid": "43460#44", "text": "ตลกรายวัน[19] (26 มีนาคม พ.ศ. 2513 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2535) - รายการที่สองของสถานีฯ และเป็นรายการสุดท้ายของแต่ละวัน ตามผังรายการครั้งแรกของสถานีฯ มีเนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องตลก ออกอากาศทุกวัน เวลา 11.00-12.00 น. ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ย้ายมาออกอากาศเวลา 21.00-22.00 น. แต่ในต่างจังหวัดยังออกอากาศเวลาเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2516 ออกอากาศเป็นสองช่วงเวลาคือ 20.30-22.00 น. และ 23.00-0.00 น. เฉพาะในกรุงเทพมหานคร และออกอากาศช่วงเดียว คือ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 23.00 น. อวสานสิ้นปี 2535 รับรางวัล (15 มกราคม พ.ศ. 2514) เกมโชว์รายการแรกของสถานีฯ ที่ในระยะแรกออกอากาศเป็นเวลา 10 นาทีของทุกวัน แต่เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้ชมสูงมาก จนกระทั่งสถานีฯ ขยายเวลาในวันจันทร์-วันศุกร์ เป็น 30 นาที และวันเสาร์-วันอาทิตย์ เป็น 1 ชั่วโมง เปาบุ้นจิ้น (พ.ศ. 2517, พ.ศ. 2537 และ พ.ศ. 2558) ภาพยนตร์ชุดจีนจากไต้หวัน ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมาก ในทั้งสองช่วงเวลา (พ.ศ. 2517 ออกอากาศทุกวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 19.00 น. และ พ.ศ. 2537 ออกอากาศทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 20.30 น.) โดยยุคแรกนั้น บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ถึงกับเกาะกระแสด้วยการออกผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก ในเครื่องหมายการค้า เปาบุ้นจิ้น เลยทีเดียว (ปัจจุบันใช้เพียงชื่ออย่างสั้นว่า เปา เท่านั้น) ไฟพ่าย (1 กันยายน พ.ศ. 2519) ละครโทรทัศน์ยุคใหม่เรื่องแรกของสถานีฯ ผลงานของภัทราวดี มีชูธน ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันพุธ เวลา 19.30-20.00 น. ด้วยแนวทางที่ให้ผู้แสดงศึกษาบทล่วงหน้า และจำบทเอง โดยไม่ต้องมีผู้บอกอยู่ข้างฉากเช่นในยุคก่อนหน้า มีการซักซ้อมล่วงหน้า และบันทึกเทปแทนการออกอากาศสด กระบี่ไร้เทียมทาน (พ.ศ. 2523) ภาพยนตร์ชุดจีนที่ได้รับความนิยมอย่างสูงมากอีกเรื่องหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ นำแสดงโดย ฉีเส้าเฉียน (เล่นเป็นตัวละครเอก ฮุ้นปวยเอี๊ยง) ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถึงกับนำกรณีที่ตัวละครในเรื่องนี้นัดหมายพิสูจน์วิชายุทธกัน มาขึ้นเป็นพาดหัวข่าวในหน้า 1 เลยทีเดียว เณรน้อยเจ้าปัญญา (พ.ศ. 2526) ภาพยนตร์การ์ตูนจากญี่ปุ่น ที่สร้างโดยอิงจากชีวประวัติของพระอิกคิว โซจุน ได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชนเป็นอย่างมาก ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเย็น ๆ เนื่องจากความฉลาดรอบรู้ของเณรเด็ก อิกคิวซัง ตัวเอกของเรื่อง อีกทั้งยังมีคติสอนใจในทุกตอนอีกด้วย ภาษาไทยวันละคำ (พ.ศ. 2527) รายการสอนภาษาไทย ในเชิงอธิบายความหมายของถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ ดำเนินรายการโดย ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น ซึ่งได้รับความสนใจ และเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมาก จากผู้ชมทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะเด็กและเยาวชน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของรายการ (รายการนี้ถูกล้อเลียน โดยรายการเพชฌฆาตความเครียด ภายใต้ช่วงว่า \"ภาษาไทยคำละวัน\" ของ ปัญญา นิรันดร์กุล) ดูดีดีมีรางวัล (พ.ศ. 2531) นับเป็นควิซโชว์ตอบคำถามชิงรางวัลในยุคแรก ๆ ที่เปิดรับผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านทั่วประเทศ เนื่องจากทางสถานีฯ กำลังเริ่มโครงการขยายเครือข่ายร่วมกับ อ.ส.ม.ท. จึงเกิดแนวคิดในการสมนาคุณตอบแทนแก่ผู้ชม ที่ติดตามชมรายการของสถานีฯ มาตลอด ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ และ หัทยา เกษสังข์ (ปัจจุบันนามสกุล วงศ์กระจ่าง) ฝันที่เป็นจริง (พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2539) รายการที่นำเสนอวิถีชีวิตของบุคคล ผู้ต่อสู้กับชะตากรรมอันยากลำบาก ผ่านรูปแบบละครสั้น และปิดท้ายรายการด้วยการสนทนากับบุคคลเจ้าของเรื่อง พร้อมทั้งมอบร้านค้ารถเข็น ให้เป็นอุปกรณ์ดำรงชีพต่อไป ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของรายการ เป็นเวทีแจ้งเกิดให้กับ ไตรภพ ลิมปพัทธ์ จนกลายเป็นพิธีกรที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น โดยมีผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก บรีส เป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการ ทไวไลท์โชว์ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 และ 7 มิถุนายน - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557) รายการวาไรตี้ทอล์กโชว์ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ ซึ่งในช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้น ได้รับจัดสรรเวลาจากสถานีฯ ถึง 3 ชั่วโมง (15.00-18.00 น.) ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ แต่เพียงผู้เดียวมาตลอด 14 ปี ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางไอทีวี ราวปี พ.ศ. 2547 ปี 2557 กลับมาออกอากาศอีกครั้ง โดยออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 15.30 - 17.00 น สีสันบันเทิง (พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน) ข่าวบันเทิงรายการแรกของสถานีฯ เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับรายการ แวด-วงบันเทิง ออกอากาศก่อนหน้าละครภาคค่ำทุกวัน เวลาประมาณ 20.20 น. ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ผู้ดำเนินรายการที่มีชื่อเสียงจากรายการนี้ อาทิ หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง, พรหมพร ยูวะเวส เป็นต้น โต้คารมมัธยมศึกษา (พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2538) รายการแข่งขันโต้วาที สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ดำเนินรายการโดย กรรณิกา ธรรมเกษร และ จตุพล ชมภูนิช ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 11.30-12.30 น. เป็นรายการที่สร้างชื่อเสียงแก่นักพูดระดับประเทศ อาทิ สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ สุพจน์ พงษ์พรรณเจริญ เปิดอก (พ.ศ. 2536 -พ.ศ. 2539) วาไรตี้ทอล์กโชว์ แก้ไขปัญหาชีวิตครอบครัวและสังคม ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ จันทร์ และ อังคาร เวลา 18.30 - 19.00 น. ดำเนินรายการโดย ดวงตา ตุงคะมณี มยุรา เศวตศิลา ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี ภาณุเดช วัฒนสุชาติ และเพลงไตเติ้ลรายการโดย เทียรี่ เมฆวัฒนา มาสเตอร์คีย์ (พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน) เกมโชว์ในยุคใหม่ ที่ออกอากาศในช่วงกลางวัน (ปัจจุบันย้ายไปอยู่ช่วงเช้า) ดำเนินรายการโดย เมทนี บุรณศิริ และ สุเทพ โพธิ์งาม โดยทั้งสองเป็นพิธีกรตั้งแต่ครั้งแรกของรายการจนถึงต้นปี 2553 168 ชั่วโมง (พ.ศ. 2538) วาไรอิตีโชว์สำหรับคนนอนดึก ปัจจุบันออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 00.00-00.30 น. ดำเนินรายการโดย จอนนี่ แอนโฟเน่, วิบูลย์ ลีรัตนขจร, วุฒินันท์ ภิรมย์ภักดี, โบ๊ท วิบูลย์นันท์ และ พีรพล เอื้ออารียกูล ตีสิบ (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน) วาไรอิตีทอล์กโชว์ ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 22.30-00.30 น. ปัจจุบันมีระดับความนิยมของผู้ชม (เรตติ้ง) มากที่สุดของสถานีฯ รองจากรายการประเภทละคร มีช่วง<i data-parsoid='{\"dsr\":[41942,41953,2,2]}'>ดันดารา ที่มีชื่อเสียง ดำเนินรายการโดย วิทวัส สุนทรวิเนตร์ และ ณปภา ตันตระกูล ชิงร้อยชิงล้าน (7 มกราคม พ.ศ. 2541 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558) รายการเกมโชว์ยอดนิยมของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยในช่วงปี 2541 ออกอากาศทุกวันพุธ 22.00 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2542 และอีกครั้งในช่วงปี 2555 - 2558 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ 14.45 น. - 16.45 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซือกง (พ.ศ. 2541 - ปลายปี พ.ศ. 2542) ภาพยนตร์ชุดจีนจากไต้หวัน ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.30-19.30 น. สถานีฯ ทำประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ชุดนี้ ด้วยคำขวัญซึ่งเป็นที่นิยมในระยะต่อมาว่า \"อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล\" เกมเศรษฐี (4 มีนาคม พ.ศ. 2543 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2547) ควิซโชว์รูปแบบตอบคำถาม รายการแรกของประเทศไทย มีเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท เพียงตอบคำถามได้ถูกต้องทั้ง 16 ข้อ ดำเนินรายการโดย ไตรภพ ลิมปพัทธ์ ต่อมาย้ายไปออกอากาศทางไอทีวี ราวปี พ.ศ. 2547 กำจัดจุดอ่อน (7 มีนาคม พ.ศ. 2545) ควิซโชว์ตอบคำถาม ซึ่งผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ต้องออกจากการแข่งขันไปทีละคน มีลักษณะเด่นที่ผู้ดำเนินรายการจะใช้วาจาเชือดเฉือนผู้เข้าแข่งขัน ด้วยน้ำเสียงกระด้างและเรียบเฉย จึงมีผู้วิจารณ์ว่าไม่เหมาะกับสังคมไทย ดำเนินรายการโดย กฤษติกา คงสมพงษ์ รักใสใส หัวใจสี่ดวง (พ.ศ. 2545) ภาพยนตร์ชุดไต้หวัน นำแสดงโดย กลุ่มศิลปินเอฟโฟร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในไต้หวันและเมืองไทย เรื่องเล่าเช้านี้ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน) เป็นรายการนำเสนอข่าวที่ใช้รูปแบบการเล่าด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เปลี่ยนไปจากการนั่งอ่านข่าวจากสคริปต์ในรูปแบบเดิม ดำเนินรายการโดย ภาษิต อภิญญาวาท พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ และ เอกราช เก่งทุกทาง โคกคูนตระกูลไข่ (2 สิงหาคม พ.ศ. 2546 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549) ซิตคอมของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) นำแสดงโดย หม่ำ จ๊กมก จินตหรา สุขพัฒน์ สันติสุข พรหมศิริ เท่ง เถิดเทิง ฯลฯ ออกอากาศทุกวันเสาร์ 14.00 น. ก่อนจะย้ายไปออกอากาศทางช่อง 5 ตั้งแต่วันเสาร์ที่4 มีนาคม พ.ศ. 2549 แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง (พ.ศ. 2548 - ต้นปี พ.ศ. 2549) ภาพยนตร์ชุดจากเกาหลีใต้ เรื่องแรกของสถานีฯ ออกอากาศทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 18.00-20.00 น. อัจฉริยะข้ามคืน (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 7 มกราคม พ.ศ. 2551) รายการเรียลลิตี้ควิซโชว์รายการแรกของไทย มีจุดเด่นที่เกมการแข่งขันที่ต้องใช้การวิเคราะห์โจทย์เป็นหลัก โดยเฉพาะเกมที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย นั้นคือ เกมถอดรหัสลับอัจฉริยะ ดำเนินรายการโดย แทนคุณ จิตต์อิสระ และ ปัญญา นิรันดร์กุล สตรอเบอรี่ชีสเค้ก (8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 27 กันยายน พ.ศ. 2558) รายการโทรทัศน์แนววาไรตี้ โดยเปิดโอกาสวัยรุ่นได้แสดงออกทุกรูปแบบ ที่จะให้ผู้ชมได้สัมผัสโลกของวัยรุ่น โดยมีพิธีกรวัยรุ่น 9-15 คน(โดยประมาณ) รับหน้าที่ดำเนินรายการ โดยตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2556 รายการได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่ มีพิธีกรผู้ชายเพิ่มเข้ามาด้วย และเปลี่ยนชื่อรายการเป็น รายการ สตรอเบอรี่ครับเค้ก ถ้าคุณแน่? อย่าแพ้ เด็ก (ประถม) ! (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 29 เมษายน พ.ศ. 2553) ควิซโชว์ที่ผู้ร่วมรายการต้องแข่งขันตอบคำถามกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา จึงเป็นที่นิยมเนื่องจากผู้ชมเอ็นดูในความฉลาดและน่ารักของเด็ก ๆ ดำเนินรายการโดย กนิษฐ์ สารสิน ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ (6 มีนาคม พ.ศ. 2554 - 4 กันยายน พ.ศ. 2559) เรียลลิตี้โชว์ประกวดความสามารถหลากหลายรูปแบบ ไม่จำกัดอายุ เพศ จำนวน ประเภทของโชว์ โดย บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ซื้อลิขสิทธิ์การประกวดบริเทนส์กอตแทเลินต์ จากประเทศอังกฤษ มาออกอากาศในประเทศไทย โดยมี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการผลิตรายการ (ชื่อเต็ม: ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์บันดาลชีวิต โดยซันซิลและเรโซนา) (ปัจจุบัน ย้ายไปออกอากาศช่องเวิร์คพอยท์) เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ (6 กันยายน พ.ศ. 2555 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) เรียลลิตี้โชว์ประกวดร้องเพลง ผลิตรายการ โดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบัน ย้ายไปออกอากาศช่องพีพีทีวี) เดอะเฟซไทยแลนด์ (4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน) เรียลลิตี้โชว์เพื่อค้นหาสุดยอดนางแบบ เทรนเนอร์ ได้แก่ เมทินี กิ่งโพยม, รฐา โพธิ์งาม, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, คริส หอวัง และน้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ เนลท์ให้โอกาสประเทศไทยเป็นครั้งแรกในเอเชีย ผลิตรายการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) Davinci เกมถอดรหัส (2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน) เกมโชว์แนวควิซโชว์ที่ทดสอบความรู้รอบตัวและไหวพริบของผู้เข้าแข่งขันผ่านคำถามที่มาในรูปแบบของรูปภาพที่นำมาร้อยเรียงกันเป็นคำปริศนา ผลิตรายการโดย บริษัท อะมะเตะระสุ จำกัด The Eyes มองตาก็รู้ใคร (5 มีนาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน) เกมโชว์ที่ทดสอบการจดจำดวงตาของเหล่าคนดังทั่วโลกจากทุกวงการ ผลิตรายการโดย บริษัท อะมะเตะระสุ จำกัด", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3" }, { "docid": "68338#0", "text": "ตู้ซ่อนเงิน เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวควิซโชว์ในลักษณะการตอบคำถามผสมกับการ \"สืบสวนสอบสวน\" ผลิตรายการโดย\nบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2550 จนถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 22.00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 รวมระยะเวลาออกอากาศทั้งหมด 1 ปี กับ 6 วัน ดำเนินรายการโดย วราวุธ เจนธนากุล (เอ)", "title": "ตู้ซ่อนเงิน" }, { "docid": "297032#0", "text": "SME ตีแตก เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) รายการนี้มีสโลแกนว่า \"เป็น SME ต้องตีโจทย์ให้แตก\"\nออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 23.00 น. - 00.05 น. โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 จะเลื่อนเวลาออกอากาศเร็วขึ้นเป็น 22.35 น. - 23.40 น.เริ่มวันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554 รายการออกอากาศครั้งสุดท้าย ในวันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555 โดยทางสถานีนำรายการแฟนพันธุ์แท้มาออกอากาศแทน และสำหรับรายการ SME ตีแตก กลับมาออกอากาศอีกครั้งหนึ่งโดยออกอากาศทางช่อง 6 โดยออกอากาศทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 8.00 น.(รีรัน), 14.00 น. และ 22.00 น. จนกระทั่งในวันที่ 5 กรกฎาคม 2557 รายการนี้ได้ถูกนำมาผลิตใหม่อีกครั้ง โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 21:20 น. ทางช่อง 1 เวิร์คพอยท์ โดยมี เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ", "title": "SME ตีแตก" }, { "docid": "330907#0", "text": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เริ่มทำการผลิตรายการ \"เวทีทอง\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นรายการแรก ต่อมา บริษัทขยายการผลิตรายการและละครประเภทต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบ เป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อนำเสนอออกอากาศมาโดยตลอดระยะเวลา 28 ปี ของการดำเนินงานธุรกิจผลิตและรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์ โดยบริษัทมีทีมครีเอทีฟที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ เช่น เกมโชว์, ควิซโชว์, เรียลลิตี้เกมโชว์, เรียลลิตี้เกมโชว์ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, วาไรอิตีโชว์, เกมโชว์ควิซโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน, เรียลลิตี้โชว์สำหรับสำหรับเด็กและเยาวชน, เกมโชว์ซิตคอม, ละครซิตคอม, วาไรตี้โชว์ซิตคอม, วาไรตี้โชว์วันหยุดนักขัตฤกษ์, ละครซิตคอมวันหยุดนักขัตฤกษ์, รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์, ละครโทรทัศน์เรื่องยาว, วาไรอิตีโชว์และละครเรื่องยาว, ละครเทิดพระเกียรติ และ สารคดีทางโทรทัศน์ โดยนำไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ นั่นคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ ช่องเวิร์คพอยท์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศทุกวัย โดยแต่ละรายการของบริษัทฯ ประสบความสำเร็จ และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา, รางวัลโทรทัศน์ทองคำ, รางวัลศิลปินแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และรางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชีย (เอเชี่ยนเทเลวิชั่นอวอร์ดส์) เป็นต้น รวมถึงยอดขายโฆษณาที่สม่ำเสมอของทางบริษัทฯ", "title": "รายชื่อผลงานของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "939148#2", "text": "บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ นั่นคือรายการ \"\"ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์\"\" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นรายการแรกภายในปี พ.ศ. 2553 ต่อมาได้ขยายรูปแบบการผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสถานี เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องทรูโฟร์ยู, ช่องวัน และช่องพีพีทีวี มาโดยตลอดเป็นระยะเวลากว่า 9 ปี โดยมีเนื้อหาและรูปแบบรายการที่หลากหลาย เช่น เกมโชว์, ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน, ทอล์คโชว์, วาไรตี้โชว์, ละครโทรทัศน์ และละครซิทคอม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศทุกวัย และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขาในประเทศ รวมทั้งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลและได้รับรางวัลต่าง ๆ จากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา, รางวัลโทรทัศน์ทองคำ และรางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชีย (เอเชียนเทเลวิชั่นอวอร์ดส์) อีกด้วย", "title": "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "218073#15", "text": "กันตนา ได้ผลิตรายการโทรทัศน์หลายประเภทเช่น เกมโชว์ ควิซโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เรียลลิตี้โชว์ สารคดี วาไรตี้คอเมดี้โชว์ รายการเพลง รายการเด็ก และละคร เป็นจำนวนกว่า 200 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี(ภายหลังใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และปัจจุบันคือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) และสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ปัจจุบันกันตนา กรุ๊ปมีรายการโทรทัศน์และละครที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 14 รายการ ออกอากาศทางช่อง 5 HD ช่อง 7 HD ช่อง 3 HD ช่อง 9 MCOT HD ช่อง 3 SD และช่องไทยรัฐทีวี HD (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา รายการที่ออกอากาศหรือขายลิขสิทธิ์ในแอปพลิเคชัน LINE TV หรือ iflix เน้น \"ตัวเอียง\")", "title": "กันตนา" }, { "docid": "828704#0", "text": "Davinci เกมถอดรหัส เป็นรายการเกมโชว์แนวควิซโชว์ที่ทดสอบความรู้รอบตัวและไหวพริบของผู้เข้าแข่งขันผ่านคำถามที่มาในรูปแบบของรูปภาพที่นำมาร้อยเรียงกันเป็นคำปริศนา ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 17.00 - 17.30 น. โดยมีปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์และเฉลิมพล ฑิฆัมพรธีรวงศ์ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการหลัก และ จะมีดารานักแสดงมาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมสตีลสลับกันไปในแต่ละกลุ่มสายอาชีพต่างๆ เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559", "title": "Davinci เกมถอดรหัส" }, { "docid": "97159#0", "text": "กล่องดำ เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล สร้างสรรค์และควบคุมการผลิตโดย รุ่งธรรม พุ่มสีนิล เริ่มออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึง วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2551 และทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยออกอากาศครั้งสุดท้ายในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากเหตุการณ์อิทธิพลมืดในการปรับผังรายการของททบ.5 และ ในปี พ.ศ. 2551 รายการ กล่องดำ ขายลิขสิทธิ์รูปแบบรายการให้กับประเทศเวียดนาม และ นำไปออกอากาศที่ประเทศเวียดนามชื่อว่า hộp đen ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ฮานอยทีวี ช่อง 6 (HanoiTV)", "title": "กล่องดำ (รายการโทรทัศน์)" }, { "docid": "62504#0", "text": "เกมเศรษฐี เป็นรายการเกมโชว์ประเภทควิซโชว์ ที่ได้รับลิขสิทธิ์จากรายการ \"Who Wants to Be a Millionaire?\" โดยได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยในสมัยแรกมีสโลแกนว่า เกมที่ทำให้คุณเป็นเศรษฐีได้ใน 16 คำถาม ต่อมาได้ย้ายไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ ไตรภพ ลิมปพัทธ์ ผลิตรายการโดยบริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด และใช้ชื่อรายการใหม่ว่า เกมเศรษฐีเด็ก The Team และ เกมเศรษฐี Super Team ต่อมาได้เปลี่ยนกลับมาสร้างเกมเศรษฐีในรูปแบบ 16 คำถาม 3 ตัวช่วยเหมือนเดิม เงินรางวัลสูงสุดคือ 100,000 บาท ปัจจุบันรายการนี้ได้ยุติการออกอากาศลงแล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีได้ยุติการแพร่ภาพลงเพื่อเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ", "title": "เกมเศรษฐี (รายการโทรทัศน์)" }, { "docid": "765104#16", "text": "4 ต่อ 4 ฟรายเดย์ () หรือเดิมเดิมชื่อ 4 ต่อ 4 เซเลบริตี้ () เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวทายปัญหา (ควิซโชว์) โดยมีรูปแบบรายการต้นฉบับมาจากรายการ \"แฟมิลีฟิวด์\" (Family Feud) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นรายการย่อยของ 4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบันสนับสนุนโดย แค็ตตาล็อกฟรายเดย์ ภายใต้การควบคุมของ บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยเริ่มออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 19.10 - 19.55 น. และตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รายการจะย้ายไปออกอากาศในเวลาใหม่ 17.20 - 18.20 น. และตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560 รายการได้ย้ายไปอยู่เวลาใหม่เป็น 17.00 - 18.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน", "title": "4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม" } ]
4106
มะเมียะปรากฏตัวครั้งแรกอยู่ในหนังสือ ?
[ { "docid": "273279#0", "text": "บทความนี้เกี่ยวข้องกับสตรีพม่า สำหรับเพลงและละครโทรทัศน์ โปรดดู มะเมียะ (เพลง) และ มะเมียะ (ละครโทรทัศน์) นางสาวมะเมียะ (พ.ศ. 2430-พ.ศ. 2505) เป็นสาวแม่ค้าชาวพม่าที่อยู่ในเรื่องเล่าของประวัติศาสตร์เชียงใหม่ ซึ่งในขณะนั้นเชียงใหม่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในมลฑลพายัพของสยาม มะเมียะปรากฏตัวครั้งแรกอยู่ในหนังสือ \"เพชรลานนาเล่ม ๑\" ของนาย<b data-parsoid='{\"dsr\":[415,442,3,3]}'>ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง ที่กล่าวถึง ความรักของมะเมียะหญิงสาวชาวพม่ากับกับเจ้าอุตรการโกศลแห่งนครเชียงใหม่ เมื่อครั้งที่เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนที่เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า แต่ความรักต้องจบลงด้วยความโศกสลด อันเป็นที่มาของตำนานความรักที่เล่าขานมาจนถึงปัจจุบัน[1]", "title": "มะเมียะ" } ]
[ { "docid": "769696#0", "text": "หนังสือกรีด () เป็นหนังสือภาพซึ่งออกแบบไว้เป็นพิเศษ\nให้สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวได้เมื่อผู้อ่านทำการพลิกหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว\nหรือเปิดด้วยการ\"กรีด\"ตัวเล่มโดยงอหนังสือแล้วค่อยๆ เลื่อนนิ้วออกจากด้านที่หนังสือเปิด เพื่อให้แต่ละหน้ากระเด้งเปิดต่อๆ กัน", "title": "หนังสือกรีด" }, { "docid": "266444#8", "text": "โอทาเอะปรากฏตัวบนหน้าปกของหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่มที่ 4 โดยนั่งบนหลังของซาดะฮารุ และได้ปรากฏตัวอีกครั้งบนปกหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่มที่ 31 ร่วมกับคางุระ คิวเบ ซัทจัง และซึคุโยะ นอกจากนี้ยังปรากฏตัวบนสันปกของหนังสือการ์ตูนกินทามะเล่มที่ 5", "title": "ชิมูระ ทาเอะ" }, { "docid": "267195#6", "text": "ซัทจังปรากฏตัวบนหน้าปกของหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่มที่ 11 และได้ปรากฏตัวอีกครั้งบนปกหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่มที่ 31 ร่วมกับคางุระ คิวเบ ซัทจัง และซึคุโยะ นอกจากนี้ยังปรากฏตัวบนสันปกของหนังสือการ์ตูนกินทามะเล่มที่ 12", "title": "ซารุโทบิ อายาเมะ" }, { "docid": "358755#14", "text": "ตัวละครหลายตัวจากหนังสือถูกดัดแปลง เด็กฝึกงานของฮาวล์ Michael Fisher เป็นเด็กวัยรุ่น แต่ในภาพยนตร์เป็นเด็กชายตัวเล็กๆ นามว่า Markl และ The Witch of the Wast ในหนังสือเป็นผู้หญิงสาวสวย แต่ในภาพยนตร์เป็นหญิงชราอ้วนท้วนขี้โรค ในหนังสือนางแม่มดนี้เป็นตัวร้ายถาวรที่ทำลายผู้อื่น แต่ในภาพยนตร์นางแม่มดนี้กลายเป็นคุณยายที่ได้รับการยอมรับในบ้านของฮาวล์ Calcifer ปีศาจไฟที่น่าเกรงขาม กลายเป็นเปลวไฟน้อยๆ ที่น่ารัก The Wizard Suliman ในหนังสือเป็นผู้ชายและเป็นมิตร แต่ในภาพยนตร์ Suliman ถูกควบรวมกับ Mrs. Pentstemmon กลายเป็น Madame Suliman นางร้ายในเรื่อง ตัวละครอื่นๆ ในภาพยนตร์ก็เป็นการรวมตัวละครหลายตัวในหนังสือเข้าด้วยกันซึ่งมีแรงบันดาลใจและบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน", "title": "ฮะอุรุ โนะ ยุโงะกุชิโระ" }, { "docid": "140131#7", "text": "พ.ศ. 2549 หนังสือ \"Darth Bane: Path of Destruction\" เขียนโดย Drew Kerpyshyn ได้รับการวางจำหน่าย รายละเอียดหลายอย่างในหนังสือเล่มนี้ขัดกันกับข้อมูลที่ปรากฏก่อนหน้า ต่อมา พ.ศ. 2550 หนังสือภาคต่อ \"Darth Bane: Rule of Two\" ก็วางจำหน่าย และได้แก้ไขความไม่เข้ากันนี้เป็นบางส่วน ส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ทับซ้อนกับเรื่องราวใน \"Bane of the Sith\" พร้อมๆ กับสร้างเรื่องราวระหว่างเบนกับศิษย์ของเขา นิยายเล่มสาม \"Darth Bane: Dynasty of Evil\" วางจำหน่ายใน พ.ศ. 2552 โดยนิยายแต่ละเล่มให้รายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับตัวละคร ในขณะที่นิยายเล่มสามเป็นจุดจบชีวิตของตัวละครดาร์ธ เบน", "title": "ดาร์ธ เบน" }, { "docid": "96522#12", "text": "ไม่กี่เดือนหลังจากที่ไอ้แมงมุมได้ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนอแมซซิงแฟนตาซี ฉบับที่ 15 (ส.ค. 2505) มาร์ติน กู๊ดแมน จากฝ่ายการพิมพ์ของมาร์เวลคอมมิคส์ ก็ได้พบว่า หนังสือการ์ตูนฉบับดังกล่าวนั้นได้กลายเป็นหนึ่งในหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลที่มียอดขายสูงที่สุด[20] ต่อมา ไอ้แมงมุมก็ได้มีหนังสือการ์ตูนชุดเป็นของตนเอง โดยเริ่มต้นที่ “ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน” ฉบับที่ 1 (มี.ค. 2506) เป็นอันดับแรก ซึ่งต่อมาหนังสือการ์ตูนชุดนี้ก็ได้กลายเป็นหนังสือการ์ตูนชุดที่มียอดขายสูงที่สุดของมาร์เวลไปอีกเช่นกัน[21] และจากการสำรวจคะแนนเสียงนักศึกษามหาวิทยาลัยของสำนักเอสไควร์ (Esquire) เมื่อปี พ.ศ. 2508 ว่าใครเป็นสัญลักษณ์ในดวงใจที่มี “ความขบถ” อยู่ในตัว ของพวกเขามากที่สุด ก็ปรากฏว่า อันดับที่ 1 ก็คือไอ้แมงมุม ส่วนอันดับถัดลงมานั้น ก็คือ มนุษย์ยักษ์จอมพลัง (The Hulk) ที่เป็นตัวการ์ตูนจากสังกัดมาร์เวลเหมือนกัน นอกจากนั้นยังมีบ็อบ ดีแลน และเช เกบารา ติดอันดับอยู่ด้วย นักศึกษาผู้หนึ่งได้กล่าวถึงเหตุผลที่ลงคะแนนให้ไอ้แมงมุมว่า เพราะเขาถูก “ห้อมล้อมด้วยความทุกข์ ปัญหาทางด้านการเงิน และความสงสัยเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ ซึ่งพิจารณาให้ดีแล้ว เขาก็คือหนึ่งในพวกเรานั่นเอง”[22]", "title": "สไปเดอร์-แมน" }, { "docid": "246692#4", "text": "คางุระปรากฏตัวบนหน้าปกของหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่มที่ 3 และยังปรากฏตัวบนสันปกของหนังสือการ์ตูนกินทามะเล่มเดียวกัน และได้ปรากฏตัวอีกครั้งบนปกหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่มที่ 31 ร่วมกับโอทาเอะ คิวเบ ซัทจัง และซึคุโยะ", "title": "คางุระ (กินทามะ)" }, { "docid": "464110#0", "text": "เบน () เป็นตัวละครตัวร้ายในหนังสือการ์ตูนชุดของสำนักพิมพ์ดีซีคอมิกส์ มีบทบาทหลักเป็นศัตรูของแบทแมน ปรากฏตัวครั้งแรกใน \"Batman: Vengeance of Bane\" #1 (มกราคม 1993) สร้างสรรค์โดย Chuck Dixon, Doug Moench และ Graham Nolan เป็นหนึ่งในศัตรูที่ฉลาดและมีพละกำลังมากที่สุดของแบทแมน เป็นที่รู้จักจากการที่สามารถหักหลังของแบทแมนได้ในเรื่องชุด Knightfall จนทำให้แบทแมนกลายเป็นคนพิการไปช่วงหนึ่ง ติดอันดับที่ 34 ใน 100 สุดยอดตัวร้ายจากหนังสือการ์ตูนตลอดกาลของ IGN", "title": "เบน (หนังสือการ์ตูน)" }, { "docid": "972324#2", "text": "มาร์ฟ วูล์ฟแมน และ จอร์จ เปเรซ ได้นำหนังสือทีมซูเปอร์ฮีโร่วัยรุ่น \"The Teen Titans\" ที่เคยปิดตัวไปแล้วสองรอบ กลับมาเขียนใหม่ในชื่อว่า \"The New Teen Titans\" ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในหนังสือ \"DC Comics Presents\" เล่ม 26 (ตุลาคม 1980) โดยสมาชิกของทีมนี้เป็นการผสมระหว่างตัวละครที่คนรู้จักกันดีอย่าง โรบิน, วันเดอร์เกิร์ล, คิดแฟลช, บีสต์บอย กับตัวละครที่สร้างขึ้นใหม่สามตัว คือ เจ้าหญิงที่มาจากต่างดาว สตาร์ไฟร์, สาวลึกลับ เรเวน และหนุ่มครึ่งจักรกล ไซบอร์ก ที่มาร่วมผจญภัยด้วยกันโดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่คอยชี้แนะ ซึ่งเรื่องราวของทีมนี้ก็ได้รับความนิยมจนมีหนังสือเป็นของตัวเองในชื่อ \"The New Teen Titans\" (พฤศจิกายน 1980)", "title": "ไซบอร์ก (คอมิกส์)" }, { "docid": "502962#38", "text": "ในภาค A's เธอได้ปลอมตัวเป็นนักเวทย์ลึกลับมาทำร้ายเฟท และขโมยพลังเวทย์ของเธอไป เพื่อจะทำให้หนังสือแห่งความมืดสมบูรณ์ เพราะเจ้านายของเธอรู้ถึงวิธีการปิดผนึกวิทยาการที่สาบสูญ Lost Logia แล้ว แต่ก็ได้เข้าใจผิดคิดไปว่า การทำให้หนังสือแห่งความมืดเสร็จสมบูรณ์จะทำให้เจ้าของหนังสือตาย และจะทำให้หนังสือแห่งความมืดไปเกิดใหม่ทันที และในระหว่างที่มันกำลังซ่อมแซมตัวเองก็จะทำการเก็บหนังสือมา เพื่อที่หนังสือแห่งความมืดจะไม่สามารถหาเจ้านายคนใหม่ของมันได้อีก", "title": "รายชื่อตัวละครในสาวน้อยจอมเวท นาโนฮะ" }, { "docid": "610268#0", "text": "สกายร็อคเก็ต () เป็นตัวละครในหนังสือการ์ตูนชุดของสำนักพิมพ์ดีซีคอมิกส์ เธอปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนเรื่อง \"JLA\" ฉบับที่ 61 (กุมภาพันธ์ 2002) และสร้างสรรค์โดย Kurt Busiek และTom Grummett", "title": "สกายร็อคเก็ต (หนังสือการ์ตูน)" }, { "docid": "579811#0", "text": "แฟลช () เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูนของดีซีคอมิกส์ สร้างสรรค์โดยนักเขียน Gardner Fox และจิตรกร Harry Lampert ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนแฟลชคอมิกส์ ฉบับที่ 1 (มกราคม ค.ศ. 1940)", "title": "แฟลช (หนังสือการ์ตูน)" }, { "docid": "764023#6", "text": "ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับสายรายงานและตัวบทหะดีษถูกบันทึกไว้เป็นหมวดหมู่โดยแบ่งออกเป็นสองประเภทหนังสือ คือ หนังสือที่เกี่ยวกับสายรายงาน เช่น หนังสือริญาล หนังสือตาริค หนังสืออัฏเฏาะบะกอต หนังสือวะฟะยาต หนังสือวุจญ์ดาน หนังสือมุดัลลิสีน เป็นต้น และหนังสือที่เกี่ยวกับตัวบท หะดีษ เช่น หนังสืออิลาล หนังสือมะรอติบ อัลฟาศหะดีษ หนังสือเฆาะรีบ หะดีษ อิมาม อิบนุ อัลมุลักกินได้กล่าวว่า วิชาความรู้ที่เกี่ยวกับหะดีษมีมากกว่า 100 วิชา และอัลหาฟิศ อะบูหาติมได้แบ่งสาขาวิชาออกเป็น 49 สาขาหะดีษ วิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหะดีษ อุละมาอ์หะดีษได้ตั้งชื่อว่า อุลูม อัลหะดีษ หรืออุศูล อัล หะดีษ หรือมุศเฏาะลาหฺ อัลหะดีษ", "title": "อุลูม อัลหะดีษ" }, { "docid": "207637#0", "text": "สำนักพิมพ์ตะวันส่องก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 เริ่มด้วยการจัดพิมพ์หนังสือเพื่อการศึกษา หนังสือนิทานสองภาษา และสารานุกรม\nต่อมาในปี 2549 ได้มีการเปิดตัวสำนักพิมพ์อีกครั้ง โดยปรับรูปแบบให้ทันสมัยยิ่งขึ้น หนังสือที่ใช้ในการเปิดตัวคือ ภูมิแพ้แก้ไม่ยาก\nจากนั้นเป็นต้นมาสำนักพิมพ์ได้มุ่งเน้นที่จะผลิตหนังสือพ๊อคเก็ตบุ๊คที่ทันสมัย และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือสำหรับวัยทำงานที่ใส่ใจ สุขภาพและการปรับปรุงตนเองในแง่มุมต่างๆ\nหรื่อหนังสือสำหรับเยาวชน ที่สนใจอ่านงานวรรณกรรมแฟนตาซี หรือเรื่องราวลึกลับผจญภัยวรรณกรรมไทย", "title": "สำนักพิมพ์ตะวันส่อง" }, { "docid": "922398#2", "text": "หนังสือฉบับปกอ่อนมักตีพิมพ์เพราะสำนักพิมพ์เห็นว่าเป็นหนังสือทุนต่ำ ทั้งถูกกว่าคุณภาพกระดาษต่ำกว่า รวมถึงการใช้กาวติดมีหนังสือปกแข็งจำนวนไม่มากที่มีต้นทุนต่ำหนังสือปกอ่อนอาจเป็นตัววัดว่าหนังสือเหล่านั้นไม่ได้คาดหวังด้านยอดขายจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น นวนิยายจำนวนมากและการตีพิมพ์ครั้งใหม่หรือการพิมพ์ซ้ำของหนังสือเก่า", "title": "หนังสือปกอ่อน" }, { "docid": "610321#0", "text": "เวฟไรเดอร์ () เป็นตัวละครในหนังสือการ์ตูนชุดของสำนักพิมพ์ดีซีคอมิกส์ นักท่องกาลเวลาที่ถูกกลืนไปกับกระแสเวลา ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนเรื่อง \"Armageddon 2001\" ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 1991) และสร้างสรรค์โดย Archie Goodwin และDan Jurgens", "title": "เวฟไรเดอร์ (หนังสือการ์ตูน)" }, { "docid": "780309#0", "text": "มากาเร็ต \"เพ็กกี\" คาร์เตอร์ เป็นตัวละครที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูนอเมริกัน ตีพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ เธอเป็นตัวละครฝ่ายสนับสนุนในหนังสือกัปตันอเมริกา ตัวละครสร้างโดยนักเขียนการ์ตูน สแตน ลี และวาดภาพโดยแจ็ก เคอร์บี เธอปรากฎตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน\"เทลออฟซัสเปนส์\" เล่ม 77 เป็นคนรักของสตีฟ โรเจอส์ในภาพความหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเธอกลายเป็นญาติของชารอน คาร์เตอร์ คนรักยุคปัจจุบันของกัปตันอเมริกา", "title": "เพ็กกี คาร์เตอร์" }, { "docid": "321716#1", "text": "อักษรตัวต้นที่นิยมเขียนกันจะเป็น “สีแดงและน้ำเงิน โดยสีทั้งสองจะแผ่ออกไปตกแต่งถึงขอบหนังสือ โดยการเขียนด้วยปากกาและตกแต่งอย่างวิจิตรตามธรรมเนียมนิยมของสมัย” นอกจากนั้นขนาดและการตกแต่งก็ยังเป็นเครื่องแสดงความสำคัญและสถานที่ที่สร้างหนังสืออีกด้วย อักษรตัวต้นที่เริ่มตอนใหม่ของหนังสือ โดยเฉพาะตอนสำคัญอาจจะใช้เนื้อที่มากกว่าปกติและตกแต่งด้วยความบรรจงกว่าปกติ ในหนังสือที่หรูหราก็อาจจะตกแต่งด้วยอักษรตัวต้นประดิษฐ์ทั้งหน้าก็ได้ ทั้งขนาดและความอลังการของหนังสือสะท้อนให้เห็นถึงฐานะของหนังสือเองและผู้เป็นเจ้าของ หนังสือที่สำหรับใช้ประจำวัน หรือใช้โดยนักบวช หรือใช้โดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมักจะมีการตกแต่งเพียงเล็กน้อย และแทบจะไม่มีการใช้อักษรตัวต้นประดิษฐ์ แต่ถ้าเป็นหนังสือที่ได้รับการสั่งให้ทำโดยผู้จ้างผู้มีฐานะดี หรือสำหรับสำนักสงฆ์สำคัญ ก็จะได้รับการตกแต่งอย่างหรูหราด้วยภาพที่เขียนประดับด้วยทองหรือเงิน วัสดุที่ใช้ในการเขียนภาพก็แตกต่างกันออกไป บางครั้งก็จะเป็นเพียงการตกแต่งด้วยทองหรือเงินเท่านั้น แต่บางครั้งก็จะเพิ่มเติมด้วยวัสดุที่หายากเช่นสีน้ำเงินจากหินลาพิส ลาซูไล หรือสีม่วง หนังสือที่ตกแต่งด้วยวัสดุดังกล่าวมักจะเป็นของผู้เป็นนักสะสมหรือขุนนาง แต่ถ้าแต่งด้วยสีแดง, ดำ หรือหมึกสีน้ำเงินก็จะเป็นหนังสือที่ใช้กันโดยทั่วไป", "title": "อักษรตัวต้นประดิษฐ์" }, { "docid": "610308#0", "text": "พระราม () เป็นตัวละครที่มาจากร่างอวตารแห่งเทพฮินดู พระราม เผยแพร่ในหนังสือการ์ตูนชุดของสำนักพิมพ์ดีซีคอมิกส์ ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนเรื่อง \"Wonder Woman\" ฉบับที่ 148 ซีรีส์ 2 (กันยายน 1999) สร้างสรรค์โดย Eric Luke และYanick Paquette", "title": "พระราม (หนังสือการ์ตูน)" }, { "docid": "38960#37", "text": "ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 สำนักพิมพ์ลิตเติ้ล บราวน์ได้ตีพิมพ์หนังสือ เสียงเพรียกจากคักคู ซึ่งเป็นหนังสือเล่มเปิดตัวของนักเขียนชื่อโรเบิร์ต กัลเบรธ โดยสำนักพิมพ์ได้กล่าวถึงประวัติของ กัลเบรธว่าเป็น “อดีตตำรวจสอบสวนนอกเครื่องแบบของกรมตำรวจ เขาลาออกจากกรมเมื่อปี 2003 เพื่อเข้าทำงานในบริษัทคุ้มครองสิทธิมนุษยชน”[130] หนังสือเสียงเพรียกจากคักคูเป็นเรื่องราวของคอร์โมรัน สไตร์ก นักสืบเอกชนที่ได้รับการว่าจ้างให้ไขคดีการตายของนางแบบสาวซึ่งตำรวจสันนิษฐานว่าเธอฆ่าตัวตาย หนังสือขายไปได้เกือบ 500 เล่มในรูปแบบปกแข็งจากยอดพิมพ์ทั้งหมด 1,500 เล่ม[131] และได้รับคำชื่นชมจากทั้งนักวิจารณ์[132]และนักเขียนบันเทิงคดีอาชญากรรมอีกหลายคน[130] นิตยสารพับลิชเชอร์ส วีคลี่ย์ได้วิจารณ์หนังสือเล่มนี้ว่าเป็น “การเปิดตัวที่เจิดจรัส”[133] ในขณะเดียวกันหมวดนิยายลึกลับของไลบรารี เจอร์เนิล ได้ยกย่องหนังสือเล่มนี้ให้เป็น “การเปิดตัวแห่งเดือน”[134]", "title": "เจ. เค. โรว์ลิง" }, { "docid": "71043#0", "text": "อนาคิน โซโล (Anakin Solo) เป็นตัวละครในเรื่องแต่งชุด \"สตาร์ วอร์ส\" ไม่มีบทบาทในภาพยนตร์ แต่มีบทบาทในหนังสือนิยายและหนังสือการ์ตูนในเรื่องแต่งเสริมจำนวนมาก ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือนิยาย \"Dark Empire\" และปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือนิยาย \"Dark Empire II\"", "title": "อนาคิน โซโล" }, { "docid": "230080#3", "text": "หนังสือของลีถูกวิจารณ์โดยหนังสือพิมพ์และนิตยสารอย่างน้อย 30 ฉบับ ซึ่งบทวิจารณ์แตกต่างกันอย่างมากตามวิธีการตัดสิน ในปี พ.ศ. 2549 บรรณารักษ์อังกฤษได้จัดอันดับให้หนังสือเล่มนี้อยู่ในอันดับสูงกว่าคัมภีร์ไบเบิลใน\"รายชื่อหนังสือที่ผู้ใหญ่ทุกคนควรอ่านก่อนตาย\" หนังสือเล่มนี้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2505 และได้รับรางวัลออสการ์ 3 รางวัล ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 การแสดงนวนิยายเรื่องนี้ถูกจัดขึ้นทุกปีที่มอนโรวิลล์ รัฐแอละแบมา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของฮาร์เปอร์ ลี จนถึงทุกวันนี้หนังสือเล่มนี้เป็นนวนิยายที่ถูกตีพิมพ์เล่มเดียวของลี และถึงแม้เธอจะตอบเกี่ยวกับผลกระทบของหนังสือมาตลอด แต่เธอก็ไม่แสดงตัวต่อสาธารณชนในฐานะตัวของเธอเองตั้งแต่ พ.ศ. 2507", "title": "ผู้บริสุทธิ์" }, { "docid": "347763#240", "text": "ซึ่งตนหวาดกลัวแอคโนโลเกีย แม้ว่าตนเป้นอมตะ แต่ก็สู้ไม่ไหว ต่อให้รอดก็ถูกมันทรมานไปตลอดกาล จึงสร้างสิ่งที่ฆ่าตนได้คือ ปีศาจจากหนังสือของเซเรฟหรืออีเทอร์เรียส 1 ตัวต่อหนังสือ 1 เล่ม โดยทุกตัวรู้เพียงแค่ต้องไปหาตนที่เป็นผู้สร้างเท่านั้น กับนำศพนัตสึมาสร้าง E.N.D ขึ้นมาเป็นปีศาจตัวสุดท้ายกับปิดผนึก แยกหนังสือกับตัวออกจากกัน", "title": "รายชื่อตัวละครในแฟรี่เทล ศึกจอมเวทอภินิหาร" }, { "docid": "1918#3", "text": "ทางผู้เขียนเรื่อง มาซาชิ คิชิโมโตะ และชูเอชะ ได้ออกหนังสือแนะนำตัวละครมา ในชื่อ ฮิเด็นโทโนะโชะ (秘伝・闘の書) ในภาคแรก \nในหนังสือจะมีการกล่าวถึงพื้นฐานและประวัติของตัวละครแต่ละตัว โดยในหนังสือตีพิมพ์ในภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด รายละเอียดในเล่ม หลายอย่าง เช่น วันเกิด กรุ๊ปเลือด อาหารที่ชอบ อาหารที่ไม่ชอบ งานอดิเรก ความสามารถ ตรรกะต่างๆ ระดับขั้นนินจาของทุกคน \nและล่าสุดคือหนังสือฮิเด็นชาโนะโชะ (秘伝・者の書 ― キャラクターオフィシャルデータBOOK) ที่ละเอียดกว่าเล่มแรกมาก จะได้เห็นละเอียดความสามารถการเติบโตของตัวละครที่เพิ่มขึ้นจากภาคแรกอีกด้วย", "title": "นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ" }, { "docid": "334325#1", "text": "เดดพูลเป็นทหารรับจ้างผู้มีจิตใจคุ้มดีคุ้มร้าย ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกในฐานะวายร้ายในหนังสือการ์ตูนชุด นิวมิวแตนท์ และต่อมาในหนังสือการ์ตูนชุด เอ็กซ์ฟอร์ซ ตัวละครนี้ยังได้เป็นดารานำในหลายซีรีส์อย่างต่อเนื่อง โดยมีชื่อปรากฏร่วมกับตัวละครอื่นๆ เช่น เคเบิล เป็นต้น ทั้งนี้ เดดพูลได้รับการจัดอันดับความนิยมเป็นลำดับที่ 182 โดยนิตยสารวิซาร์ด จาก 200 รายชื่อตัวละครในหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมตลอดกาล และได้รับการจัดอันดับความนิยมเป็นลำดับที่ 45 โดยนิตยสารเอ็มไพร์ จากตัวละครในหนังสือการ์ตูนยอดเยี่ยมที่สุดทั้ง 50 ราย", "title": "เดดพูล" }, { "docid": "502962#11", "text": "ในภาค A's ตอนแรกก็เป็นเพียงเด็กธรรมดาเหมือน ๆ กับ นาโนฮะ แต่เธอไม่ได้ไปโรงเรียน เพราะเธอป่วยเป็นอัมพาตที่ขาทั้งสองข้าง และพ่อแม่ของเธอก็เสียชีวิตไปแล้วด้วย แต่ก็มีญาติมาคอยอุปการะเรื่องเงิน ฮายาเตะ เป็นเจ้าของหนังสือแห่งความมืดที่เป็น ลอสโลเกีย มีชื่อเดิมว่า หนังสือแห่งนภาราตรี และครอบครองอาร์ติแฟกท์ที่มีพลังทำลายล้างมหาศาล ในตอนแรกเธอไม่รู้ว่าตัวเธอเองเป็นเจ้าของ แต่แล้ววันหนึ่ง 4 อัศวินผู้พิทักษ์ (เป็นโปรแกรมที่หนังสือแห่งความมืดสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้ที่เป็นเจ้านายของมันในแต่ละรุ่น) ได้ปรากฏตัวต่อหน้าเธอเพื่อที่จะทำให้หนังสือแห่งความมืดเสร็จสมบูรณ์แต่เธอได้ทำความเข้าใจกันกับเหล่าอัศวินว่า ขอเพียงให้ทั้ง 4 คนได้อยู่เป็นเหมือนครอบครัวของเธอก็เพียงพอแล้ว และขอให้ลืมเรื่องการทำให้หนังสือสมบูรณ์ไปซะ แต่สุดท้ายเธอก็ถูกคำสาปของหนังสือแห่งความมืดซึ่งตัวเธอไม่รู้ แต่อัศวินทั้ง4รู้ดี เพราะถ้าเกิดว่าหนังสือมีการเปลี่ยนเจ้านายใหม่ ก็จะต้องเก็บกู้พลังเวทมนตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งหน้าหนังสือที่เสร็จสมบูรณ์ ถ้าไม่ทำ เจ้าของคนปัจจุบันก็จะถูกคำสาปที่แรงมากยิ่งขึ้นไปอีก ทำให้อัศวินแห่งวอลเคนริตเตอร์ทั้ง4ออกรวบรวมพลังเวทมนตร์จากทั่วทุกมิติ ซึ่งเรื่องนี้ฮายาเตะเองก็ไม่รู้เช่นกัน เพราะทั้ง4ทำไปเองโดยไม่ได้บอกเธอ เพราะกลัวว่าเธอจะเป็นห่วงนั่นเอง และเมื่อหน้าหนังสือครบ ฝ่ายจอมเวทย์แห่งมิติเวลา (เอเรียลและลอตเต้ซึ่งเป็นอาจารย์ของโครโน่) ได้เล่นละครตบตาฮายาเตะว่าได้ฆ่าอัศวินทั้ง4ของเธอ ทำให้เธอเสียใจและโกรธมากจนเธอได้ปลดปล่อยพลังที่แท้จริงของหนังสือแห่งความมืดออกมา ในขณะที่เธอถูกหนังสือแห่งความมืดควบคุมจิตใจอยู่ เธอได้เปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น รีนฟอร์ซ (Reinforce) ทำให้ฮายาเตะได้กลายเป็นเจ้าของหนังสือแห่งความมืดอย่างสมบูรณ์และสามารถควบคุมหนังสือแห่งความมืดได้ แต่ไม่สามารถหยุดโปรแกรมทำลายล้างที่ทำงานอยู่เนื่องจากตนเองได้ปลดปล่อยหลังของหนังสือออกมา จึงรวมมือกับนาโนฮะในการทำลายโปรแกรมทำลายล้าง", "title": "รายชื่อตัวละครในสาวน้อยจอมเวท นาโนฮะ" }, { "docid": "304637#8", "text": "คิวเบปรากฏตัวบนหน้าปกของหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่มที่ 14 และปรากฏตัวอีกครั้งบนหน้าปกของหนังสือการ์ตูนกินทามะเล่มที่ 31 ร่วมกับคางุระ โอทาเอะ ซัทจัง และซึคุโยะ และเล่มที่ 39 ร่วมกับ โอทาเอะ ซัทจัง ซึคุโยะ อีกครั้ง + โอโทเซะ และ กินโทกิ นอกจากนี้ยังปรากฏตัวบนสันปกของหนังสือการ์ตูนกินทามะเล่มที่ 15", "title": "ยางิว คิวเบ" }, { "docid": "86399#1", "text": "ศ.เกียรติคุณ ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ เป็นผู้เชี่ยวชาญการวิจัยตัวยาจากสมุนไพรไทย การวิจัยวิธีการสังเคราะห์ใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้สังเคราะห์สารที่เป็นตัวยาและสารที่มีประโยชน์อื่นๆ การวิจัยปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ เพื่อศึกษากลไกการเกิดปฏิกิริยาและเพื่อพัฒนาปฏิกิริยาไปใช้ประโยชน์ในเชิงสังเคราะห์ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2511-2538 จำนวน 40 เรื่อง แต่งหนังสือตำราเคมี 4 เล่ม เป็นตำราภาษาไทย 2 เล่ม และตำราภาษาอังกฤษ 2 เล่ม ผลงานเด่นที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงเคมี คือ หนังสือของสำนักพิมพ์ CRC Press ชื่อ Cyclization Reactions พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1994 ความยาว 370 หน้า ซึ่งได้ลางาน (Sabbatical) เป็นเวลา 1 ปี เพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้ ร่วมกับ ศ.ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์ เป็นหนังสือที่ได้รับ review ที่ดีมาก นับเป็นเกียรติประวัติของนักวิจัยไทยที่ได้รับเชิญให้เขียนหนังสือในระดับ “New Directions” Series ของวงการหนังสือวิชาการแนวหน้าของโลก", "title": "ชัชนาถ เทพธรานนท์" }, { "docid": "502962#36", "text": "ในภาค A's เธอได้ปลอมตัวเป็นนักเวทย์ลึกลับมาทำร้ายนาโนฮะ และขโมยพลังเวทย์ของเธอไป เพื่อจะทำให้หนังสือแห่งความมืดสมบูรณ์ เพราะเจ้านายของเธอรู้ถึงวิธีการปิดผนึกวิทยาการที่สาบสูญ Lost Logia แล้ว แต่ก็ได้เข้าใจผิดคิดไปว่า การทำให้หนังสือแห่งความมืดเสร็จสมบูรณ์จะทำให้เจ้าของหนังสือตาย และจะทำให้หนังสือแห่งความมืดไปเกิดใหม่ทันที และในระหว่างที่มันกำลังซ่อมแซมตัวเองก็จะทำการเก็บหนังสือมา เพื่อที่หนังสือแห่งความมืดจะไม่สามารถหาเจ้านายคนใหม่ของมันได้อีก", "title": "รายชื่อตัวละครในสาวน้อยจอมเวท นาโนฮะ" } ]
4107
นอร์เวย์ ตั้งอยู่ที่ไหน ?
[ { "docid": "13251#0", "text": "นอร์เวย์ (English: Norway; Bokmål: Norge; Nynorsk: Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (English: Kingdom of Norway; Bokmål: Kongeriket Norge; Nynorsk: Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง", "title": "ประเทศนอร์เวย์" } ]
[ { "docid": "703105#11", "text": "แต่ว่าก็มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับการตีความหลักฐานต่าง ๆ ว่า เป็นการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน ว่าสัตว์อื่นมีทฤษฎีจิต \nมีตัวอย่างที่เห็นได้คือ ในปี ค.ศ. 1990 มีงานวิจัย \nที่แสดงผู้ทำการทดลองสองคนให้ลิงชิมแปนซีเห็นเพื่อที่จะขออาหาร\nคนหนึ่งจะเห็นว่าอาหารซ่อนอยู่ที่ไหน อีกคนหนึ่งจะไม่เห็นเพราะเหตุต่าง ๆ (เช่นมีถังหรือถุงครอบศีรษะ มีอะไรปิดตาอยู่ หรือว่าหันไปทางอื่น) ดังนั้นจะไม่รู้ว่าอาหารอยู่ที่ไหนและจะได้แต่เดาเท่านั้น\nนักวิจัยพบว่า ลิงไม่สามารถแยกแยะผู้ที่รู้ว่าอาหารอยู่ที่ไหนเพื่อที่จะขอให้ถูกคน\nแต่อีกงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 2001 \nพบว่า ลิงชิมแปนซีที่เป็นรองสามารถใช้ความรู้ของลิงชิมแปนซีคู่แข่งที่เป็นใหญ่ในการกำหนดว่า ที่เก็บอาหารไหนที่ลิงที่เป็นใหญ่ได้เข้าไปตรวจสอบ\nและก็มีนักวิจัยอื่น ๆ ที่ไม่สงสัยเลยว่า ลิงโบโนโบ (ลิงชิมแปนซีประเภทหนึ่ง) มี ToM โดยอ้างการสื่อสารกับลิงโบโนโบที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่งชื่อว่า Kanzi เป็นหลักฐาน", "title": "ทฤษฎีจิต" }, { "docid": "16801#4", "text": "ภาษามลายูปัตตานีนิยมเรียงประโยคแบบภาษาไทยคือใช้รูปประธานกระทำ ส่วนภาษามาเลเซียใช้ประโยคแบบประธานถูกกระทำ เช่น ภาษามลายูใช้ ตูวัน ดีเปอรานะกัน ตีมานา (ท่านถูกเกิดที่ไหน) ภาษามลายูปัตตานีใช้ ตูแว บือราเนาะ ดีมานอ (ท่านเกิดที่ไหน)", "title": "ภาษามลายูปัตตานี" }, { "docid": "933411#3", "text": "วลีติดปาก(Catchphrase): \"ถ้าฉันพูดว่าหนึ่งสอง ให้ทุกคนพูดว่าแดนซ์นะคะ อิสึรินะอยู่ที่ไหน อยู่ที่ไหน หนึ่งสอง!!! (แดนซ์!!!)\"", "title": "รินะ อิซึตะ" }, { "docid": "922179#0", "text": "โฮกุ้น ลอเรนต์ซัน ()\nโฮกุ้น ลอเรนต์ซัน เกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ณ ออสโล ราชอาณาจักรนอร์เวย์ เป็นพระโอรสคนใหญ่ใน เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์ กับพระภัสดา แอร์ลิง ลอเรนต์ซัน เขาเป็นพระภาคิไนยใน สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ และเป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ โดยเขานั้นเติบโตในบราซิล ต่อมาเขาได้ย้ายตามพระมารดาและน้องของเขา 2 คนกลับนอร์เวย์ เขากลายเป็นพลเมืองและเป็นทหารในนอร์เวย์ โดยเขาจบคณะเศรษฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยรีโอเดจาเนโร และได้จบหลักสูตรกาจัดการ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ", "title": "โฮกุ้น ลอเรนต์ซัน" }, { "docid": "362606#0", "text": "เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอแห่งนอร์เวย์ (; ประสูติ: 22 กันยายน ค.ศ. 1971) พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ กับสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ พระองค์เป็นพระเชษฐภคินีของ เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ หลังจากการเปลี่ยนแปลงกฎมนเทียรบาลในปี ค.ศ. 1990 ส่งผลให้พระองค์อยู่ในลำดับที่ 4 ของการสืบราชบัลลังก์นอร์เวย์", "title": "เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอแห่งนอร์เวย์" }, { "docid": "174812#36", "text": "ดูบทความหลักได้ที่ การยึดครองนอร์เวย์ของนาซีเยอรมนี กองทัพสัมพันธมิตรถอนตัวออกจากนอร์เวย์ กองทัพนอร์เวย์ยอมจำนนแก่กองทัพเยอรมัน เยอรมนีก็เริ่มการยึดครอง ระหว่างการยึดครอง ก็ได้มีขบวนการกู้ชาติของนอร์เวย์ปรากฏขึ้น ในการกระทำของกองเรือพาณิชย์นอร์เวย์ ประชาชนผู้ต่อต้านและทหารอาสาสมัครนอร์เวย์ในกองทัพอังกฤษ กษัตริย์นอร์เวย์และผู้นำทางการเมืองได้ลี้ภัยไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้ชี้แนวทางให้แก่ขบวนการกู้ชาติในนอร์เวย์ซึ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาของการยึดครอง", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "362360#1", "text": "เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ ประสูติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1973 ณ โรงพยาบาลแห่งชาตินอร์เวย์ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ กับสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ พระองค์มีพระบิดาและพระมารดาอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์, เจ้าชายคาร์ล เบอร์นาดอตต์, สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน, เจ้าหญิงแอนน์ พระวรราชกุมารี เนื่องจากพระองค์ได้สืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์จึงอยู่ในลำดับที่ 16 ของการสืบราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักร และถือเป็นพระญาติชั้นที่สามของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์", "title": "เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์" }, { "docid": "390130#0", "text": "เจ้าหญิงรัญฮิลด์ อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์ (ประสูติ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1930 ณ พระราชวังหลวง กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ - สิ้นพระชนม์ 16 กันยายน ค.ศ. 2012 ณ รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล) พระราชธิดาองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์‎ กับเจ้าหญิงมาร์ธา มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ เป็นพระเชษฐภคินีในเจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์ และสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์", "title": "เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์" }, { "docid": "13251#48", "text": "สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของนอร์เวย์ในระดับภูมิภาคยุโรป นอกเหนือจากการส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic) ซึ่งประกอบด้วยเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน แล้ว นอร์เวย์ยังเป็นสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association - EFTA) ซึ่งมีสมาชิกประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์ได้เจรจากับสหภาพยุโรป (European Union - EU) เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area - EEA) ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2537", "title": "ประเทศนอร์เวย์" }, { "docid": "183349#38", "text": "หลังจากนั้น เจมส์ บาลาสโก สัญชาติอเมริกัน พยายามจะถ่ายภาพไบรแอนต์ด้วยกล้องวิดีโอและทำได้สำเร็จ แต่ไบรแอนต์ก็พบเขาและยิงเขา แต่ถูกรถในบริเวณนั้น ณ เวลานี้ หลายคนไม่สามารถใช้รถของเขาที่จอดทิ้งไว้ได้ กำลังซ่อนตัว หรือวิ่งหนีไปตาม ถนน เจ็ทตี้ หรือที่ท่าน้ำ คนส่วนมากไม่รู้ว่าไบรแอนต์อยู่ที่ไหนเพราะเสียงปืนดังมาก ยากแก่การระบุทิศ ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ไบรแอนต์อยู่ที่ไหน หรือปืนยิงมาจากทิศใด", "title": "การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ (ออสเตรเลีย)" }, { "docid": "77336#0", "text": "ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ ภาษาบุ๊กมอล (Bokmål) (หมายถึง \"ภาษาหนังสือ\") และ ภาษานือนอชก์ (Nynorsk) (หมายถึง \"ภาษานอร์เวย์ใหม่\")", "title": "ภาษานอร์เวย์" }, { "docid": "13251#56", "text": "ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของ<b data-parsoid='{\"dsr\":[32202,32222,3,3]}'>ประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ ภาษาบุ๊กมอล (Bokmål) (หมายถึง \"ภาษาหนังสือ\") และ ภาษานือนอสก์ (Nynorsk) (หมายถึง \"ภาษานอร์เวย์ใหม่\") ภาษานอร์เวย์อยู่ในอันดับที่ 108 ผู้พูด 4.7 ล้านคน ตระกูลภาษามาจากสแกนดิเนเวียตะวันออกและตะวันตก", "title": "ประเทศนอร์เวย์" }, { "docid": "362905#0", "text": "เจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์ (ประสูติ: 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 ณ วิลลาซูลบักเคิน กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์) พระราชธิดาองค์รองในสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์‎ กับเจ้าหญิงมาร์ธา มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ เป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ และเป็นพระขนิษฐาในเจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์", "title": "เจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์" }, { "docid": "625336#2", "text": "ปัจจุบัน เขตสังกัดของนอร์เวย์ทั้งหมดอยู่ในแถบขั้วโลกใต้ ได้แก่\nเป็นดินแดนที่นอร์เวย์ได้จากการรวมกันเป็นสหภาพเดนมาร์กและนอร์เวย์ แต่ดินแดนเหล่านี้ก็ต้องคืนให้เดนมาร์ก หลังจากที่เดนมาร์กและนอร์เวย์ยุติการมีประมุขร่วมกันในปีค.ศ. 1814", "title": "รายชื่อการครอบครองของประเทศนอร์เวย์" }, { "docid": "329871#4", "text": "“การกลับไปได้เห็น” ของมณีจันทร์เหมือนความฝันที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้าน” ก็ยังเป็นสิ่งเตือนใจเสมอ ..แต่ที่ไหนล่ะคือบ้านที่แท้จริงของเธอ ? ที่ใดคือปัจจุบันของเธอ ? ความรักอยู่ที่ภพไหน ? ", "title": "ทวิภพ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "362606#1", "text": "เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอ ประสูติเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1971 ณ โรงพยาบาลแห่งชาตินอร์เวย์ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ กับสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ มีพระบิดา-มารดาอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์, เจ้าหญิงมาร์กาเรธาแห่งสวีเดน, เคานท์เฟลมมิงแห่งโรเซนบอร์ก, เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์, นางดักนี ฮารัลด์เซน, นายโฮกุ้น ฮารัลด์เซน, นีลส์ เยอร์เกิน อัสทรุป และอิอิมี ริดแดร์โวลด์", "title": "เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอแห่งนอร์เวย์" }, { "docid": "174812#14", "text": "เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 1939 ฮิตเลอร์และเรดเดอร์ได้เดินทางไปพบกับวิดคัน ควิสลิง (ต่อมาเขาก็ได้รับฉายาว่าเป็น \"ผู้ทรยศระหว่างโลก\" เลยทีเดียว) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลนิยมนาซีมาก่อนในนอร์เวย์ เขาได้บอกกับฮิตเลอร์และเรดเดอร์ถึงภัยคุกคามขนาดใหญ่ที่อังกฤษอาจจะโจมตีนอร์เวย์และรัฐบาลนอร์เวย์จะสนับสนุนการยึดครองของเยอรมนีอย่างเป็นความลับ (ข้อความในตอนหลังนั้นไม่เป็นความจริง) เขายังบอกกับอีกสองคนด้วยว่าเขาอยู่ในตำแหน่งที่รับประกันจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่กองทัพเยอรมัน รวมไปถึงการลดปริมาณยามฝั่งของนอร์เวย์และช่วยอำนวยความสะดวกที่จะสร้างฐานทัพให้แก่เยอรมนี อีกสามวันต่อมา ฮิตเลอร์เรียกประชุมเพื่อที่จะวางแผนการรุกรานนอร์เวย์", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "13251#39", "text": "ประเทศไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 หลังจากที่นอร์เวย์ได้ประกาศเอกราชและแยกตัวออกจากสวีเดนโดยสันติ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนอร์เวย์ใกล้ชิดมากขึ้นจากการเสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเดือนมิถุนายน 2450 ซึ่งได้ทรงลงพระนามาภิไธยย่อ “จปร” ไว้บนก้อนหิน ณ บริเวณนอร์ดแคปป์ (Nordkapp) ต่อมา ได้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานไทย ณ นอร์ดแคปป์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ เพื่อทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว เมื่อปี 2532", "title": "ประเทศนอร์เวย์" }, { "docid": "174812#6", "text": "การยึดครองนอร์เวย์ยังมีผลสำคัญยิ่งต่อความสามารถในการใช้อำนาจทางทะเลเพื่อต่อกรกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร เมื่อนอร์เวย์ยังคงดำรงตนเป็นกลาง โดยไม่ถูกยึดครองโดยคู่สงครามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอร์เวย์ก็จะยังคงไม่เป็นพิษภัย แต่ความอ่อนแอในการป้องกันชายฝั่งของนอร์เวย์ และความไร้ความสามารถของกองทัพบกที่จะต่อกรกับศัตรูที่เข้มแข็งกว่า นายพลเรือรีดเดอร์ได้ชี้ให้เห็นหลายครั้งถึงความเป็นอันตรายของนอร์เวย์ที่จะมีแก่เยอรมนีโดยอังกฤษ เมื่ออังกฤษฉวยโอกาสที่จะรุกรานนอร์เวย์ ถ้ากองเรืออังกฤษยึดเมืองท่าเบอร์เกน นาร์วิกและทรอนด์แฮมได้ เยอรมนีจะถูกปิดล้อมทางทะเลเหนือโดยสิ้นเชิง และกองทัพเรือเยอรมันที่ประจำอยู่ในทะเลบอลติกจะตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "978593#3", "text": "นอกจากนี้ คิวต์เชฟยังเป็นเครื่องหมายการันตีของความอร่อย ผ่านมาตรฐานความสนุกของไอดอลชาย เพื่อที่จะไปคัดสรรหาความอร่อยของร้านอาหาร และอาหารในเมืองไทย ที่ไหนที่ว่าอร่อย ที่ไหนที่ต้องบอกต่อความอร่อย หรือที่ไหนที่ต้องการพัฒนาเพื่อกระตุ้นยอดขายในเชิงการตลาด คิวต์เชฟจะให้ความสำคัญมากในสิ่งนี้", "title": "คิวต์เชฟ" }, { "docid": "174812#23", "text": "ฝ่ายเยอรมนีได้เตรียมการสำหรับการรุกรานนอร์เวย์ไว้แล้ว พบกับความเร่งด่วนหลังเหตุการณ์แอลทมาร์ก เป้าหมายหลักของการรุกราน คือ รักษาเมืองท่าและแหล่งโลหะในนอร์เวย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เมืองท่านาร์วิก และจากนั้นก็เข้ายึดครองประเทศทั้งหมดเพื่อป้องกันมิให้นอร์เวย์ร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ว่าจะถูกแสดงให้เหมือนว่าเยอรมนีจะมาช่วยธำรงความเป็นกลางของนอร์เวย์", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "683928#0", "text": "\"กลัวที่ไหน\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2553 ในสตูดิโออัลบั้ม \"รักนะคะ\" ประพันธ์เนื้อร้องโดย กสิ นิพัฒน์ศิริผล, แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย เรืองฤทธิ์ เอกะหิตานนท์ ออกจำหน่ายในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553", "title": "กลัวที่ไหน" }, { "docid": "179955#6", "text": "หลังจากสหภาพระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ได้มีการยุบเลิกในปีพ.ศ. 2448 คณะรัฐบาลนอร์เวย์ได้ระบุสมาชิกราชวงศ์จำนวนมากของยุโรปในฐานะว่าที่พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์พระองค์แรกโดยของชาวนอร์เวย์เองในหลายศตวรรษ เจ้าชายคาร์ลได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ถูกเลือกอย่างทีละน้อย เนื่องจากโดยส่วนใหญ่พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์พระองค์ก่อนๆที่เป็นอิสระ อีกทั้งพระองค์ยังทรงมีพระราชโอรส (และด้วยเหตุนี้เป็นความชัดเจนในเรื่องรัชทายาทในราชบัลลังก์) และเจ้าหญิงม็อดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์อังกฤษซึ่งทรงถูกมองโดยมากในฐานะผลประโยชน์ของนอร์เวย์ชาติเอกราชแห่งใหม่ เจ้าชายคาร์ลผู้มีพระทัยฝักใฝ่ประชาธิปไตย ทรงตระหนักว่านอร์เวย์ยังคงมีการถกเถียงกันเรื่องการดำรงราชาธิปไตยหรือจะสลับเปลี่ยนไปเป็นรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ พระองค์ทรงถูกยกยอโดยการเกริ่นนำของรัฐบาลนอร์เวย์ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีคริสเตียน มิเคิลเซน แต่พระองค์ทรงปฏิเสธข้อเสนอนี้ในเมื่อปราศจากการลงประชามติเพื่อแสดงว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวเลือกของชาวนอร์เวย์อย่างแท้จริง", "title": "สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์" }, { "docid": "362360#0", "text": "เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ (พระนามเต็ม โฮกุน มักนุส, ประสูติ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1973 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์) พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ กับสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ พระองค์มีพระเชษฐภคินีคือ เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอ", "title": "เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์" }, { "docid": "174812#46", "text": "นอกจากนั้น การยึดครองนอร์เวย์ยังเป็นภาระหนักสำหรับเยอรมนี แนวชายหาดขนาดใหญ่ของนอร์เวย์นั้นเป็นโอกาสสำหรับหน่วยคอมมานโดในปลายปีนั้น การยึดครองนอร์เวย์จำเป็นต้องมีกองกำลังขนาดใหญ่กำกับดูแล ในปี 1944 มีทหารเยอรมันในนอร์เวย์กว่า 400,000 นาย และไม่สามารถถูกย้ายไปสู้รบในฝรั่งเศสหลังปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด หรือถูกดึงไปสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกซึ่งเยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้", "title": "การทัพนอร์เวย์" }, { "docid": "683928#1", "text": "เพลง \"กลัวที่ไหน\"' ติดอันดับสูงสุดที่ 7 จากการจัดอันดับของซี้ดเอฟเอ็ม ในชาร์ตของ ซี้ดเอฟเอ็ม ชาร์ตท็อป 20 ประจำวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554 โดยวัดจากการออกอากาศของคลื่นวิทยุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนาน 40 สถานี", "title": "กลัวที่ไหน" }, { "docid": "84521#1", "text": "ประวัติของขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิตนั้นไม่ใคร่ชัดเจนนัก ไม่มีข้อมูลว่าท่านเกิดที่ไหน เมื่อไร ทราบแต่ว่าเป็นบุตรของนายสอนกับนางเภา ท่านเคยดั้นด้นไปเรียนวิชาจิตรกรรมที่อังกฤษ แล้วเดินทางไปนอร์เวย์ เดนมาร์ก อิตาลี สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย รวมระยะเวลากว่า 20 ปี ต่อมาได้เดินทางกลับเมืองไทยพร้อมคณะซื้อม้าของพระยาคทาทรธรนินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์)", "title": "ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น)" }, { "docid": "24378#20", "text": "ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน", "title": "สงกรานต์" }, { "docid": "179955#3", "text": "เจ้าชายคาร์ลประสูติที่พระราชวังชาร์ล็อตเทนลุนด์ใกล้โคเปนเฮเกน เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราชสกุลชเลสวิก-ฮอลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์กสายราชวงศ์โอเดนบูร์ก ราชวงศ์โอเดนบูร์กเป็นราชวงศ์ของพระบรมวงศานุวงศ์เดนมาร์กตั้งแต่พ.ศ. 1991 ระหว่างพ.ศ. 2081 ถึงพ.ศ. 2357 ราชวงศ์นี้ยังปกครองนอร์เวย์เมื่อนอร์เวย์กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ราชวงศ์นี้ดั้งเดิมมาจากเยอรมนีตอนเหนือ ที่ซึ่งสายราชสกุลกลึคส์บูร์ก (ลิคส์บอร์ก)มีที่ดินศักดินาเล็กๆ ราชสกุลรี้มีสายสัมพันธ์กับนอร์เวย์อย่างถาวรมาตั้งแต่ปลายยุคกลาง บรรพบุรุษหลายๆพระองค์ของเจ้าชายคาร์ลได้เป็นพระมหากษัตริย์ของนอร์เวย์ที่เป็นอิสระ (พระเจ้าโฮกุนที่ 5 แห่งนอร์เวย์, พระเจ้าคริสเตียนที่ 1 แห่งนอร์เวย์, พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1, พระเจ้าคริสเตียนที่ 3, พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2, พระเจ้าคริสเตียนที่ 4และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ผู้ทำการรวมนอร์เวย์เข้ากับรัฐราชวงศ์โอเดนบูร์กร่วมกับเดนมาร์ก, ชเลสวิกและโฮลชไตน์ หลังจากที่ไม่ได้อิสรภาพจนกระทั่งพ.ศ. 2357) เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริก ผู้ซึ่งได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ ในระยะเวลาสั้นๆของปีพ.ศ. 2357 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกภายใต้รัฐธรรมนูญนอร์เวย์พ.ศ. 2357 และการต่อสู้เพื่อเอกราช พระเจ้าคริสเตียน เฟรเดอริกเป็นพระเชษฐาในพระปัยยิกาของเจ้าชายคาร์ล", "title": "สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์" }, { "docid": "732050#0", "text": "สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ หรือ สหภาพสวีเดน–นอร์เวย์ หรือ สวีเดน–นอร์เวย์ (; ) คือรัฐร่วมประมุขระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เบอร์นาดอตต์ ระหว่างปี ค.ศ. 1814 ถึง ค.ศ. 1905 ก่อนที่สวีเดนจะยอมรับการออกจากสหภาพของนอร์เวย์ รัฐทั้งสองมีรัฐธรรมนูญและอธิปไตยทั้งสามเป็นของตนเองซึ่งรวมถึงกองทัพ ศาสนจักร และการคลัง ส่วนพระมหากษัตริย์ประทับในกรุงสตอกโฮล์ม ทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งเอกอัคราชทูตประจำประเทศในต่างแดน ในส่วนของนอร์เวย์มีผู้สำเร็จราชการแทนทำหน้าที่บริหาราชการ ในสวีเดนจนถึง ค.ศ. 1829 และในนอร์เวย์จนถึง ค.ศ. 1856 โดยยกเลิกตำแหน่งรักษาการเมื่อปี ค.ศ. 1873 นโยบายต่างประเทศเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศจนถึง ค.ศ. 1905 ภายหลังการล่มสลายของสหราชอาณาจักร", "title": "สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์" } ]
4108
โรงละครของไทยที่จัดแสดงโขนเป็นที่แรกคือที่ใด ?
[ { "docid": "57424#2", "text": "ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485-2488 (รัชกาลที่ 8) ใช้เป็นที่แสดงละครเวทีและดนตรี เนื่องจากไม่มีภาพยนตร์ฉาย ต่อมามีการปรับปรุงใหญ่โดย บริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ สามารถใช้ได้ทั้งฉายภาพยนตร์และการแสดงบนเวทีขนาดกว้างขวางกว่าเดิม ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ในนาม เฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์ และการแสดงโขนจินตนฤมิตร [2]", "title": "ศาลาเฉลิมกรุง" } ]
[ { "docid": "31568#44", "text": "รามเกียรติ์ตามแบบฉบับของไทย แต่งเป็นบทละครสำหรับแสดงเป็นตอน ๆ หรือแสดงทั้งเรื่อง ใช้สำหรับแสดงโขน หนังใหญ่และละคร แต่งขึ้นหลายยุคหลายสมัย ดังนี้", "title": "โขน" }, { "docid": "31568#30", "text": "การแหวกม่านประเพณีของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานอนุญาตให้มีละครหญิงได้นั้น ทำให้เจ้านายชั้นสูง เสนาอำมาตย์ขุนนางต่าง ๆ พากันเปลี่ยนแปลงเพศของผู้แสดงในสังกัดตนเองเป็นอย่างมาก ทำให้แต่เดิมโขนที่มีเฉพาะผู้ชายล้วนนั้น เริ่มมีการเล่นผสมผสานกับละครหญิง ที่ได้รับความนิยมแทนที่โขนอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้หัวหน้าคณะที่เคยฝึกหัดและทำนุบำรุงโขนไว้ ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงการแสดงในสังกัดตนเอง บางรายก็มีโขนและละครหญิงควบคู่กันไป บางรายถึงกัยยกเลิกโขนในสังกัดและเปลี่ยนมาหัดละครหญิงเพียงอย่างเดียว ทำให้โขนค่อย ๆ สูญหายไป ยกเว้นบางสังกัดที่มีความนิยมชมชอบศิลปะไทยแบบโบราณเช่นโขน ที่ยังคงอนุรักษ์รักษาไว้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และโขนหลวงที่พระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ไว้เท่านั้น รวมทั้งได้ก่อตั้งเป็นกรมโขนขึ้นก่อนจะยกเลิกไปในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3", "title": "โขน" }, { "docid": "31568#4", "text": "จากข้อสันนิษฐานต่าง ๆ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าโขนเป็นคำมาจากภาษาใด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ระบุความหมายของโขนเอาไว้ว่า \"\"โขนหมายถึงการเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่าหัวโขน\"\" หรือหมายความถึงไม้ใช้ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไปที่เรียกว่าโขนเรือ หรือใช้สำหรับเรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่าเรือโขนเช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อยเหลือหลายในลิลิตพยุหยาตรา หรือหมายความถึงส่วนสุดทั้งสองข้างของรางระนาดหรือฆ้องวงใหญ่ที่มีลักษณะงอนขึ้นว่าโขน", "title": "โขน" }, { "docid": "240810#0", "text": "โขนฉาก เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก กรมศิลปากรได้ทำบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดง ชุดพระรามครองเมือง \nการแสดงโขน โดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่อง \"รามเกียรติ์\" กรมศิลปากรเคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องรามเกียรติ์ที่นำมาแสดงโขนนั้นมีหลายสำนวน ทั้งที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะบทในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำนวนของรัชกาลที่ ๒ ที่กรมศิลปากรปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอน เพื่อแสดงโขนฉาก ก็เดินเรื่องตามสำนวนของรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๖ ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ถึง ๖ ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ", "title": "โขนฉาก" }, { "docid": "71608#0", "text": "หนังใหญ่ คือมหรสพที่แพร่หลายของคนไทยอีกอย่างหนึ่ง ตัวหนังจะใช้แผ่นหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ และมีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ตัวหนังตั้งตรงไม่งอ และทำให้มีคันยื่นลงมาใต้ตัวหนังเป็นสองข้างสำหรับจับถือและยกได้ถนัด สถานที่เล่นจะปลูกโรงผ้าใช้ผ้าขาวคาดเป็นจอ ส่วนด้านหลังจอจะจุดไต้และก่อไฟไว้ เพื่อให้แสงทำให้เห็นเงาตัวหนังซึ่งมีลวดลายวิจิตรมาติดอยู่ที่จอผ้าขาว และการเชิดนั้นคนเชิดต้องเต้นไปตามจังหวะดนตรีและบทพากย์บทเจรจาด้วย การแสดงโขนก็ประกอบไปด้วยการพากย์ เจรจา ขับร้อง และการเต้นทำท่าตามบทพากย์ จึงกล่าวได้ว่าโขนนำเอาการพากย์ เจรจา และท่าทางการเต้นการแสดงมาจากหนังใหญ่", "title": "หนังใหญ่" }, { "docid": "464368#18", "text": "ดนตรี เพลง และการขับร้องเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย และเพลงสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย\nประกอบด้วย\nวงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทยคือ วงปี่พาทย์ ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้น ๆ ด้วย เช่น การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า 2 วง การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือการแสดงดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นต้น\"", "title": "นาฏศิลป์ไทย" }, { "docid": "31568#51", "text": "นอกจากนั้นยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ขึ้น โดยทรงชี้แจงไว้ในหนังสือความว่า \"\"บทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่รวมอยู่ในเล่มนี้ เป็นบทที่ข้าพเจ้าได้แต่งขึ้นเป็นครั้งคราวสำหรับเล่นโขน มิได้ตั้งใจที่จะให้เป็นหนังสือกวีนิพนธ์สำหรับอ่านเพราะ ๆ หรือดำเนินเรื่องราวติดต่อกัน บทเหล่านี้ได้แต่งขึ้นสำหรับความสะดวกในการเล่นโขนโดยแท้ จึงมีทั้งคำกลอนอันเป็นบทร้อง ทั้งบทพากย์ และเจรจาอย่างโขนระคนกันอยู่ ตามแต่จะเหมาะแก่การเล่นออกโรงจริง\"\" และมีการพัฒนาบทละครเรื่องมาจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมศิลปากรได้ทำการรื้อฟื้น ปรับปรุงนาฏศิลป์ ละครและดุริยางคศิลป์ของไทยขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในการรื้อฟื้นครั้งนี้ได้นำบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 มาปรับปรุงเพื่อใช้สำหรับแสดงโขนให้ประชาชนได้ชม ต่อมาภายหลังได้ปรับปรุงบทโขนตอนหนุมานอาสาขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งเรื่อง เป็นการดำเนินเรื่องตามบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 เรียบเรียงให้มีทั้งบทขับร้องตามแบบละครใน มีบทพากย์บทเจรจาตามแบบการแสดงโขนแต่โบราณเช่น ชุดปราบนางกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ฯลฯ", "title": "โขน" }, { "docid": "609995#3", "text": "เป็นอันว่านางรัจนา พวงประยงค์ ได้เข้าเรียนในโรงเรียนนาฏศิลป ในชั้นต้นปีที่ 1 เมื่อแรกเรียนวิชานาฏศิลป์สาขาละครนั้น นางรัจนา พวงประยงค์ ฝึกหัดเป็นตัวพระ โดยมีนางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ เป็นครูสอน ผลการเรียนในปีแรกนั้น นางรัจนา พวงประยงค์ ไม่ได้รับเลือกให้แสดงละครหรือนาฏศิลป์ชุดใด ๆ เลย จนกระทั่งสอบไล่ได้ขึ้นไปเรียนชั้นต้นปีที่ 2 ก็ไม่ได้แสดงอะไรอีก จนนางรัจนา พวงประยงค์ เรียนอยู่ชั้นต้นปีที่ 3 ก็ได้รับการคัดเลือกให้แสดงโขนเป็นตัวนางกำนัล ในขณะนั้น นางรัจนา พวงประยงค์ จึงได้รู้จักกับนางเจริญจิต ภัทรเสวี ซึ่งเป็นครูนาง สอนทั้งละครและโขน นางเจริญจิต ภัทรเสวีได้สอนการรำให้แก่นางรัจนา พวงประยงค์ จนมีความสามารถแสดงโขนได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งปลายปีนั้น นางเจริญจิต ภัทรเสวีก็หัดนางรัจนา พวงประยงค์ ให้แสดงเป็นนางเบญจกายในการแสดงโขนตอนหนุมานจับนางเบญจกาย จนกระทั่งเรียนอยู่ชั้นต้นปีที่ 4 นางรัจนา พวงประยงค์ ก็ได้รับคัดเลือกให้แสดงละครเรื่อง รถเสน เป็นตัวนางเมรี จากการแสดงเป็นนางเมรีทำให้นางรัจนา พวงประยงค์ มีชื่อเสียงขึ้นเป็นลำดับ นางรัจนาเรียนต่อมาจนจบชั้นสูงปีที่ 2 อันเป็นหลักสูตรนาฏศิลป์ชั้นสูงจากโรงเรียนนาฏศิลป", "title": "รัจนา พวงประยงค์" }, { "docid": "86188#2", "text": "ระบำวานรพงศ์เป็นชุดการแสดงที่สร้างสรรค์ใหม่ โดยนาย เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๑ สาขาศิลปการละคร ( ถึงแก่กรรม ๒๕๕๐ ) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและสร้างบท นำออกแสดงในโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานชาญสมร ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ นาย กรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๑ สาขานาฏศิลป์โขน ( ถึงแก่กรรม ๒๕๔๑ ) ผู้รับถ่ายทอดท่ารำ คือ นาย ประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป ( เกษียณฯ ๒๕๔๕ )", "title": "วานรสิบแปดมงกุฎ" }, { "docid": "853762#27", "text": "โดยการแสดงโขนเบื้องต้นได้ประสานงานกับสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ซึ่งมอบหมายให้ ประเมษฐ์ บุณยะชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์เป็นผู้จัดทำบทโขนพระราชทานทุกตอนเพื่อกำหนดจำนวนผู้แสดงด้านต่าง ๆ อาทิ ผู้แสดงโขนพระราชทานทั้งตัวพระ นาง เสนายักษ์ 18 มงกุฎ หนุมาน เสนาลิง สุครีพ ชมพูพาน ซึ่งนักแสดงบางส่วนเคยได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แสดงโขนพระราชทานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมาแล้ว ส่วนละครใน เรื่องอิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีผู้แสดงละครนอก แสดงเรื่องมโนราห์ ผู้แสดงบัลเลต์เรื่องมโนราห์ นักดนตรีสากล ส่วนนักดนตรีวงดนตรีไทยที่เข้าไปบรรเลงบริเวณพระเมรุมาศ ส่วนการแสดงหน้าพระเมรุมาศได้เตรียมผู้แสดงแสดงโขนพระรามข้ามสมุทร, ยกรบ, รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และผู้แสดงระบำอู่ทอง ซึ่งจัดทำบทใหม่ โดยใช้คู่พระนางจำนวน 35 คู่ ถือว่าครั้งนี้ใช้ผู้แสดงมากที่สุดเท่าที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และวิทยาลัยนาฏศิลป์เคยจัดการแสดงมหรสพมา โดยขณะนี้ได้เริ่มทดสอบและคัดเลือกนักศึกษาเข้าเป็นผู้ร่วมแสดงมหรสพสมโภช ทั้งโขน ละครใน ละครนอก หุ่นหลวง หุ่นกระบอก และมีการจัดทำสูจิบัตรผู้แสดงแล้ว สำหรับการแสดงมหรสพสมโภชเป็นงานที่จัดขึ้นตามจารีตประเพณีในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ฉะนั้น ผู้แสดงต้องมีทักษะความสามารถด้านนาฏศิลป์ และมีประสบการณ์การแสดงมาพอสมควร ซึ่งขณะนี้สถาบันวางตัวผู้แสดงแล้วจากบทละครที่กำหนด ทั้งตัวพระ นาง ทหาร ระบำ แต่ละสถาบันทั้งครูและนักเรียนผู้แสดงแยกกันซ้อมในที่ตั้ง เมื่อใกล้งานพระราชพิธีถวายพระเพลิง ได้มีกำหนดการตารางซ้อมการแสดงร่วมกัน พร้อมดนตรีสด ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ควบคุม ซึ่งใช้โรงละครวังหน้าฝึกซ้อมรวม ส่วนการแสดงที่สนามหลวงจัดบนเวที มีการผูกโรงแสดง [40]", "title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "31568#0", "text": "โขน เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธ", "title": "โขน" }, { "docid": "71616#1", "text": "โขนชักรอกที่แสดงแบบโขนฉากกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เนื่องจากมีพระราชอาคันตุกะเข้ามาเมืองไทยอยู่เป็นประจำ ทรงจัดให้มีการแสดงโขนรับรองพระราชอาคันตุกะเหล่านั้น ส่วนโขนชักรอกที่แสดงแบบโขนหน้าจอมีคณะเอกชนนำไปแสดง โขนชักรอกแบบการแสดงโขนหน้าจอไม่ค่อยเรียบร้อยและสวยงามเท่าโขนฉาก เพราะโรงโขนหน้าจอไม่มีโครงหลังคาด้านบนที่แข็งแกร่งรับสายรอก เวลาที่ชักรอกจึงเห็นลวดสลิงที่ผูกสายรอกห้อยยานลงมา", "title": "โขนชักรอก" }, { "docid": "448825#13", "text": "ภาระอันหนักจึงตกอยู่กับนายธนิต อยู่โพธิ์ หัวหน้ากองการสังคีต ที่ต้องฟื้นฟูปรับปรุงศิลปะด้านนาฏศิลป์ด้วยความลำบากยากเย็นตลอดมา และต้องประสบอุปสรรคนานาประการ แต่ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นในการปรับปรุงฟื้นฟูศิลปะแขนงนี้ให้จงได้ ท่านจึงได้ทุ่มเททำงานนี้อย่างจริงจัง โดยเริ่มปรับปรุงโขนละคร ในตอนแรกท่านยึดโรงเรียนนาฏศิลป์ (ปัจจุบันเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป์) เป็นหลัก ท่านเน้นหนักไปในการเรียนวิชาศิลปะโขน ละคร ดนตรีไทย ดนตรีสากล และขับร้อง ได้เชิญศิลปินที่มีฝีมือทางด้านนาฏศิลป์และดนตรีจากบุคคลภายนอกมาร่วมเป็นครูฝึกสอนและถ่ายทอดศิลปะให้กับนักเรียนโรงเรียนนาฏศิลป์ ในระยะแรกๆ มีนักเรียนเพียงไม่กี่คน ต่อมาค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น เมื่อนักเรียนเรียนจบแล้ว ท่านหาทางให้มีโอกาสได้แสดงนาฏศิลป์และดนตรีให้ประชาชนชม ในการนี้ท่านได้จัดการซ่อมแซมโรงละครศิลปากร ซึ่งตั้งอยู่ติดกับพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กำหนดจัดแสดงโขน ละคร ปีละ 2 เรื่อง จนเป็นที่นิยมของผู้ชมเพิ่มขึ้นตามลำดับ", "title": "ธนิต อยู่โพธิ์" }, { "docid": "31568#14", "text": "โขนโรงในเป็นโขนที่นำศิลปะการแสดงของละครใน เข้ามาผสมผสานระหว่างโขนกับละครใน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 รวมทั้งมีราชกวีภายในราชสำนัก ช่วยปรับปรุงขัดเกลาและประพันธ์บทพากย์ บทเจรจาให้มีความคล้องจอง ไพเราะสละสลวยมากยิ่งขึ้น โดยนำท่ารำท่าเต้น และบทพากย์เจรจาตามแบบโขนมาผสมกับการขับร้อง เป็นการปรับปรุงวิวัฒนาการของโขน", "title": "โขน" }, { "docid": "31568#18", "text": "โขนฉากเป็นการแสดงโขนที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้มีการจัดฉากในการแสดงแบบละครดึกดำบรรพ์ประกอบตามท้องเรื่อง แบ่งเป็นฉากเป็นองก์ เข้ากับเหตุการณ์และสถานที่ จึงเรียกว่าโขนฉาก ปัจจุบันการแสดงโขนของกรมศิลปากร นอกจากจะแสดงโขนโรงในแล้ว ยังจัดแสดงโขนฉากควบคู่กันอีกด้วยเช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดงและชุดพระรามครองเมือง", "title": "โขน" }, { "docid": "155475#8", "text": "เริ่มฝึกหัดโขนเป็นตัวยักษ์ กับครูอร่าม อินทรนัฏ ครูหยัด ช้างทอง ครูราฆพ โพธิเวสครูจตุพร รัตนวราหะ ครูชิน สีปู่ ต่อมาได้รับการฝึกหัดละครเพิ่มเติมจากท่านผู้หญิง แผ้ว สนิทวงศ์เสนี ครู สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ครูอบเชย ทิพย์โกมุท\nผลงานด้านการแสดง\nเป็นผู้แสดงโขน – ละคร ให้ประชาชนชม ณ. โรงละครแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล และ ตามหน่วย ราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค\nด้านการแสดงโขน\nเป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น พระพิราพ ทศกัณฐ์ สหัสะเดชะ กุมภกรรณ มังกรกัณฐ์ เป็นต้น\nด้านการแสดงละคร \nแสดงเป็นชาละวันตัวมนุษย์ ในละครนอกเรื่องไกรทอง \nแสดงเป็นพระยาเดโช ในเรื่องพระร่วง \nแสดงเป็นพระเจ้าอชาติศัตรู ในละครเรื่องสามัคคีเภท \nแสดงเป็นพระเจ้ากูโลตน ในละครเรื่องศรีธรรมาโศกราช \nแสดงเป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในละครเรื่องศึกเก้าทัพ ฯลฯ\n นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการในประเทศทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังได้รับมอบหมายให้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ณ ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว พม่า เกาหลี สวีเดน เดนมาร์ค อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม เยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย รัสเซีย สหรัฐอเมริกา", "title": "สุดจิตต์ พันธ์สังข์" }, { "docid": "31568#12", "text": "โขนนั่งราวหรือเรียกอีกอย่างว่าโขนโรงนอก วิวัฒนาการมาจากโขนกลางแปลง เป็นโขนที่แสดงบนโรงที่ปลูกสร้างขึ้นสำหรับแสดง ตัวโรงมักมีหลังคาคุ้มกันแสงแดดและสายฝน ไม่มีเตียงสำหรับผู้แสดงนั่ง มีเพียงราวทำจากไม้ไผ่วางพาดตามส่วนยาวของโรงเท่านั้น มีช่องให้ผู้แสดงในบทของตัวพระหรือตัวยักษ์ ที่มีตำแหน่งและยศถาบรรดาศักดิ์ สามารถเดินวนได้รอบราวซึ่งสมมุติให้เป็นเตียง ในส่วนผู้แสดงที่รับบทเป็นเสนายักษ์ เขนยักษ์ เสนาลิงหรือเขนลิง คงนั่งพื้นแสดงตามปกติ", "title": "โขน" }, { "docid": "448825#5", "text": "ฟื้นฟูนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์แบบฉบับของไทย โขน ละคร ฟ้อนรำ และดนตรี ในกรมศิลปากร เวลานั้นเป็่นช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ศิลปะด้านนี้ของไทยเกือบจะดับสูญอยู่แล้ว โรงเรียนนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรต้องปิดและเลิกเรียนไป เนื่องจากถูกกรมสารวัตรทหาร (ส.ห.) เข้าครอบครองสถานที่ นายธนิตเป็นผู้ติดต่อขอโรงเรียนและสถานที่คืน และพยายามปรับปรุงหลักสูตรเพื่อเปิดการสอนนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ในโรงเรียนนาฏศิลป์ขึ้นมาใหม่ จนมีศิลปะผู้สำเร็จการศึกษาทางโขน ละคร ดนตรีไทยจากโรงเรียนนี้เป็นจำนวนมาก และสามารถเล่นโขนละครพร้อมกันได้หลายโรง มีวงดนตรีไทยหลายวงจนสามารถตั้งวงดนตรี 200 คนขึ้นได้ในกรมศิลปากร และเป็นแนวทางขยายการศึกษาบัดนี้ จนกระทั่งเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์ จัดตั้งโรงเรียนช่างศิลป์ขึ้นในกรมศิลปากร ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยช่างศิลป์ จัดให้มีการแสดงโขนและละครเป็นประจำฤดูกาลในโรงละครศิลปากรเดิม และเมื่อสร้างโรงละครแห่งชาติเสร็จก็ย้ายมาแสดงที่โรงละครแห่งชาติตลอดมา จัดให้มี “ดนตรีสำหรับประชาชน” ณ สังคีตศาลา เป็นการเริ่มแรกตั้งแต่ปี 2491 เป็นต้นมา ซึ่งได้จัดให้มีการบรรเลงทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล นับว่าเป็นการริเริ่มครั้งแรกและเป็นตัวอย่างให้มีการจัดขึ้น ณ หน่วยงานอื่นๆ ในกาลต่อมาด้วย เริ่มแรกให้มี “งานสัปดาห์แห่งวรรณคดี” ขึ้นในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และเชิญชวนให้หน่วยราชการ ห้างร้านหนังสือ สำนักพิมพ์ต่างๆ นำหนังสือร่วมจำหน่ายเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูการอ่านทำนองเสนาะ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และเพื่อชักชวนให้ประชาชนมีโอกาสศึกษาหาความรู้ ซึ่งเป็นผลต่อมาให้กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ สมัยนั้นปรับปรุงการอ่านทำนองกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ขึ้น โดยติดต่อกับบุคคลที่กรมศิลปากรจัดหามาอ่านทำนองและอัดเทปอัดเสียงไว้เป็นแบบฉบับต่อมา ริเริ่มจัดให้มี “งานดนตรีมหกรรม” ขึ้นเป็นประจำในต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ณ บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นงานกลางแจ้งประมาณ 1 สัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนได้ชมศิลปะการแสดงแบบต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ศิลปินคณะต่างๆ นำเอาศิลปะพื้นเมืองมาแสดง และเชิญชวนสถานทูต และสำนักวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ ให้นำศิลปะการแสดงประจำชาตินั้นมาร่วมแสดงในงานมหกรรมนั้นด้วย ริเริ่มจัดให้มี “โบราณคดีสัญจร” นำชมโบราณวัตถุสถานในจังหวัดต่าง ๆ ด้วยการจำหน่ายบัตร โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรนำอธิบายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ริเริ่มให้มี “วรรณคดีสัญจร” เป็นครั้งคราว คือ นำชมสถานที่และภูมิประเทศที่กล่าวไว้ในวรรณคดีสำคัญๆ เช่น ในเรื่องขุนช้างขุนแผน เพื่อให้เรียนรู้ประวัติและซาบซึ้งในวรรณคดีสำคัญเรื่องนั้นๆ จัดตั้งหน่วยศิลปากรขึ้น 9 หน่วย ให้มีหน้าที่ตรวจตราดูแลรักษา ซ่อมแซมบูรณะโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ศิลปวัตถุและโบราณสถานในแต่ละหน่วยในท้องที่ของตน เสนอแนะให้นำหลักวิชาและฝีมือช่างทางศิลปะมาใช้เป็นหลักร่วมในการพิจารณาอายุ และสมัยของศิลปวัตถุ โบราณวัตถุและโบราณสถาน จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดต่างๆ และสร้างขึ้นไว้แล้ว 7 แห่ง คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ รวมทั้งได้ปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและโบราณวัตถุในพระนารายณ์ราชนิเวศน์จังหวัดลพบุรีให้ทันสมัย ได้ริเริ่มสำรวจโบราณสถานและขุดค้นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในป่า ในถ้ำ และใต้ดิน ซึ่งพบโบราณวัตถุและศิลปวัตถุทั้งในสมัยประวัติศาสตร์และสมัยก่อนประวัติศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะเรื่องราวของวัฒนธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และวัฒนธรรมบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ได้จัดส่งข้าราชการไทยในกรมศิลปากรไปศึกษาและดูงานด้านพิพิธภัณฑสถานโบราณคดี งานหอสมุดและหอจดหมายเหตุ ณ ประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา ได้ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพิ่มเติม และปรับปรุงบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครขึ้นใหม่ กับทั้งได้ติดต่อกับยูเนสโก ขอให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาและช่วยจัดตั้งแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตามหลักวิชาการพิพิธภัณฑสถานสากลจนเป็นที่เรียบร้อย และเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ดำเนินงานซ่อมปราสาทหินพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมา จนสามารถต่อยอมตามรูปแบบขึ้นไว้ได้ และเริ่มโครงการซ่อมปราสาทหินเขาพนมรุ้งในจังหวัดบุรีรัมย์ในเวลาต่อมา ริเริ่มให้มีการสำรวจและศึกษาจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย โดยนำศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ร่วมเดินทางไปสำรวจด้วยตนเอง พบจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างต่าง ๆ ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น ในถ้ำศิลป์ จังหวัดยะลา ภายในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ซึ่งได้ถ่ายรูปสีและขาวดำไว้ และได้จัดออกแสดงเผยแพร่ให้ประชาชนชม พร้อมทั้งได้เขียนคำอธิบายและจัดพิมพ์เป็นหนังสือ ริเริ่มจัดให้มีสัมมนาทางโบราณคดีขึ้นเป็นครั้งแรก ที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร และต่อมาได้จัดสัมมนาขึ้นที่จังหวัดชัยนาท และนครสวรรค์ ขยายสถานที่และกิจการหอสมุดแห่งชาติ โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาดูงานหอสมุดและหอจดหมายเหตุในต่างประเทศ และสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติขึ้นที่ท่าวาสุกรี แล้วย้ายหอสมุดแห่งชาติจากตึกสังฆิกเสนาสน์ ถาวรวัตถุ ริมถนนหน้าพระธาตุมาจัดตั้ง ณ อาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี และได้วางแผนผังกำหนดสร้างหอจดหมายเหตุแห่งชาติไว้บริเวณเดียวกับหอสมุดแห่งชาติ ดำริและเสนอรัฐบาลให้จัดสร้างโรงละครขึ้นใหม่ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คือ โรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน กำหนดและวางโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติและโรงเรียนนาฏศิลป์ในจังหวัดสำคัญ อันเป็นที่รวมศิลปะของภาคนั้น ๆขึ้นไว้ 5 แห่งคือ จังหวัดเชียงใหม่ นครศรีธรรมราช สงคลา นครราชสีมา และขอนแก่น แต่เวลาและงบประมาณอีกทั้งบุคลากรไม่อำนวย จึงได้สร้างแต่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไว้ในจังหวัดเชียงใหม่และขอนแก่นเท่านั้น ริเริ่มฟื้นฟูปรับปรุงแสดงนาฏศิลป์ไทยขึ้นหลายเรื่อง และหลายชุด รวมทั้งปรับปรุงระบำแบบฉบับของไทย สืบทอดการแสดงพื้นเมือง เช่น เต้นกำรำเคียว รำเหย่อย รำเถิดเทิง เซิ้งประติบข้าว", "title": "ธนิต อยู่โพธิ์" }, { "docid": "31568#15", "text": "ในการแสดงโขนโรงใน ผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนางและเทวดา เริ่มที่จะไม่ต้องสวมหัวโขนในการแสดง มีการพากย์และเจรจาตามแบบฉบับของการแสดงโขน นำเพลงขับร้องประกอบอากัปกิริยาอาการของตัวละคร และเปลี่ยนมาแสดงภายในโรงแบบละครในจึงเรียกว่าโขนโรงใน มีปี่พาทย์บรรเลงสองวง ปัจจุบันโขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงนั้น ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงในซึ่งเป็นการแสดงระหว่างโขนกลางแปลงและโขนหน้าจอ", "title": "โขน" }, { "docid": "193540#5", "text": "ต่อมากรมศิลปากรได้ฟื้นฟูการแสดงโขน ละครขึ้นมาใหม่ แล้วนำออกแสดงให้ประชาชนชมทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ละ ๗ รอบ ที่โรงละครศิลปากร ซึ่งตั้งอยู่ข้างพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (โรงละครนี้ได้ถูกไฟไหม้ไปหมด เมื่อคืนวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓) และยังได้ปรับปรุงการเรียนการสอนของโรงเรียนนาฏศิลป (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป) โดยหาครูมาสอนและรับสมัครนักเรียนเพิ่มขึ้น ในระยะนี้นายหยัด ช้างทอง จึงกลับมาแสดงโขนตามเดิม และเป็นครูสอนวิชานาฏศิลป์โขนฝ่ายยักษ์ให้แก่นักเรียนนาฏศิลป์", "title": "หยัด ช้างทอง" }, { "docid": "65568#0", "text": "กรมศิลปากร รับโอนกิจการ โขน ละคร และดนตรี จากสำนักพระราชวัง มาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 แต่เดิมยังไม่มีโรงละครแห่งชาติ มีแต่โรงแสดงของกรมศิลปากร ซึ่งเป็นหอประชุมเก่าของกรมศิลปากร เป็นอาคารสร้างด้วยไม้หลังคามุงด้วยสังกะสี ตั้งอยู่ด้านขวาของพระที่นั่งศิวโมกขพิมานอันเป็นส่วนหนึ่งของหอสมุดและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ได้ปรับปรุงหอประชุมขึ้นใหม่ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก หอประชุมกรมศิลปากร เป็น \"โรงละคอนศิลปากร\" และเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503", "title": "โรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "31568#34", "text": "ซึ่งบทร้องนั้นเป็นการร้องกลอนบทละคร ใช้สำหรับแสดงโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น บทพากย์ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง เมื่อพากย์จบหนึ่งบท ปี่พาทย์จะตีตะโพนท้าและตีกลองทัดต่อจากตะโพนสองที ผู้แสดงภายในโรงจะร้องรับว่า \"เพ้ย\" พร้อม ๆ กัน ซึ่งคำว่าเพ้ยนี่ สันนิษฐานว่าแต่เดิมนั้น มาจากคำว่า \"เฮ้ย\" ในการบัญชาศึกสงครามของแม่ทัพนายกอง ค่อย ๆ เพี้ยนเสียงจนกลายเป็นคำว่าเพ้ยในปัจจุบัน สำหรับบทพากย์เป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ฉบัง 16 หรือกาพย์ยานี 11 บท มีชื่อเรียกแตกต่างกัน วิธีพากย์บทโขนในการแสดง แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ดังนี้", "title": "โขน" }, { "docid": "71612#0", "text": "โขนโรงใน ได้รับการปรับปรุงผสมผสานโขนกับการแสดงละครใน โดยนำเอาการขับร้องเพลงตามแบบละครในมาร้องแทรกในโขนด้วย และยังมีการแสดงแบบจับระบำรำฟ้อนเช่นเดียวกับละครใน จึงเรียกว่า โขนโรงใน โขนโรงในต้องมีโรงสำหรับแสดงและมีฉากหลังเป็นม่านแบบในละครใน การแสดงมีบทพากย์เจรจาแบบโขนและมีการขับร้องแบบละครใน มีเตียงสำหรับตัวแสดงนั่งแบบละครใน เวลาร้องเพลงและบรรเลงปี่พาทย์ต้องมีการตีกรับเป็นจังหวะแบบละครใน ปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขนหน้าจอใช้ปี่กลางที่มีเสียงสูง ไม่เหมาะสำหรับการแสดงโขนโรงในเนื่องจากปี่กลางเสียงสูงเกินไป ไม่เหมาะแก่การขับร้อง ปี่กลางจึงถูกเปลี่ยนมาเป็นปี่ในตามเสียงที่ลดลงมา วงปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงโขนโรงในนั้นมีเพียงวงเดียว แต่จะเป็นวงปี่พาทย์ชนิดใดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของงาน", "title": "โขนโรงใน" }, { "docid": "193540#3", "text": "เมื่อคณะโขนของนายพานัส โรหิตาจล ไปแสดงที่ใดก็ตาม นายหยัด ช้างทอง ก็จะติดตามไปแสดงด้วยทุกครั้ง ถ้าไม่มีงานแสดงของตน นายพานัส ก็อนุญาตให้นายหยัด ช้างทอง ไปร่วมแสดงโขนกับคณะอื่นได้ การที่นายหยัดได้มีโอกาสไปแสดงกับโขนคณะอื่นนั้น ทำให้รู้จักมักคุ้นกับเพื่อนศิลปินมากขึ้น ประกอบกับนายหยัดเป็นคนเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน มีความสามารถในด้านการแสดงสูง จึงเป็นที่พอใจของครูมัลลี คงประภัศร์ หรือที่ศิลปินโขนละครรู้จักกันในนาม “ย่าหมัน” เจ้าของโขนคณะไทยศิริ จึงได้ชักชวนให้นายหยัด ช้างทอง ไปสมัครเข้ารับราชการในกรมศิลปากร นายหยัดจึงนำเรื่องนี้ไปเรียนปรึกษากับนายพานัส โรหิตาจล ผู้เป็นครู นายพานัสก็เห็นดีและมีความชื่นชมที่ศิษย์จะได้เข้ารับราชการ มีความเจริญก้าวหน้า จึงสนับสนุนให้นายหยัด ช้างทอง ไปสมัครเข้ารับราชการในกรมศิลปากรในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นายหยัด ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญอยู่ ๓ ปี จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งศิลปินจัตวา อัตราเงินเดือน ๒๔ บาท", "title": "หยัด ช้างทอง" }, { "docid": "31568#45", "text": "รามเกียรติ์คำฉันท์ เป็นบทละครที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยใด แต่งขึ้นสำหรับใช้ในการแสดงหนังใหญ่ จากจดหมายเหตุลาลูแบร์ที่มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโขน ทำให้สามารถระบุได้ว่าการแสดงโขนนั้น ต้องมีมาแต่ก่อนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันต้นฉบับคำฉันท์สูญหายไปเกือบหมดตามกาลเวลา มีการกล่าวถึงในหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดีเพียง 3 - 4 บทเท่านั้นคือ บทละครตอนพระอินทร์สั่งให้พระมาตุลีนำราชรถมาถวายยังสนามรบ บทละครตอนพระรามโศกเศร้าเสียใจ รำพันคร่ำครวญเมื่อคราวที่ทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดา บทละครแบบพรรณาตอนมหาบาศบุตรของทศกัณฐ์ และบทละครตอนพิเภกคร่ำครวญหลังทศกัณฐ์ล้ม", "title": "โขน" }, { "docid": "100160#0", "text": "โขนนั่งราว เป็นโขนโรงนอกเป็นโขนที่จัดแสดงบนโรง ไม่มีเตียงสำหรับตัวนายโรงนั่ง มีราวไม้กระบอกพาดตามส่วนยาวของโรง ตรงหน้าฉากออกมามีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราว ตัวโรงมีหลังคา เมื่อตัวโขนแสดงบทของตนแล้วก็ไปประจำบนราวไม้กระบอก สมมติเป็นเตียงหรือที่นั่งประจำตำแหน่ง ลักษณะการนั่งจะนั่งตะแคงข้างมาหน้าเวที พับขาข้างหนึ่งไว้บนราว อีกข้างหนึ่งเหยียบบนพื้น ", "title": "โขนนั่งราว" }, { "docid": "31568#3", "text": "โขนจัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า \"โขน\" ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า \"\"ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน\"\" โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายในภาษาต่าง ๆ ดังนี้", "title": "โขน" }, { "docid": "65568#3", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงนาฏศิลปไทยในวโรกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งชาติ ในคืนวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งได้มีการจัดแสดงรวม 3 ชุด คือ 1.รำดอกไม้เงินดอกไม้ทองถวายพระพร 2.การแสดงละครเรื่องสังข์ศิลป์ชัย ตอนชุบสังข์ศิลป์ชัย 3.โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด รามาวตาร ซึ่งนับเป็นปฐมฤกษ์ของการดำเนินกิจการโรงละครแห่งชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา", "title": "โรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "464368#23", "text": "การแสดงนาฏศิลป์ไทยทั้งโขนและละครนั้นได้จำแนกผู้แสดงออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะของบทบาทและการฝึกหัดคือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง ซึ่งในแต่ละตัวละครนั้น นอกจากบุคลิกลักษณะที่ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมทราบจากการแสดงแล้ว เครื่องแต่งการของผู้แสดงก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผู้นั้นรับบทบาทแสดงเป็นตัวใด", "title": "นาฏศิลป์ไทย" }, { "docid": "31568#8", "text": "โขนเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มักนิยมแสดงเป็นมหกรรมบูชาเจ้านายชั้นสูงเช่น แสดงในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพ แสดงเป็นมหรสพสมโภชเช่น ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และแสดงเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิงในโอกาสทั่ว ๆ ไป นิยมแสดงเพียง 3 ประเภทคือ โขนกลางแปลง โขนหน้าจอและโขนฉาก สำหรับโขนนั่งราวหรือโขนโรงนอกไม่นิยมจัดแสดง เนื่องจากเป็นการแสดงโขนที่มีแต่บทพากย์และบทเจรจาเท่านั้น ไม่มีบทร้อง ใช้ราวไม้กระบอกแทนเตียงสำหรับนั่ง และโขนโรงในซึ่งเป็นศิลปะที่โขนหน้าจอนำไปแสดง แต่เดิมไม่มีองค์ประกอบจำนวนมาก ต่อมาภายหลังเมื่อมีความต้องการในการแสดงมากขึ้น โขนจึงมีวิวัฒนาการพัฒนาเป็นลำดับ แบ่งเป็น 5 ประเภทคือ", "title": "โขน" } ]